Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

Published by LibrarySpt, 2021-09-15 12:51:19

Description: เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

Search

Read the Text Version

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมพลศึกษา. ส�ำนักนันทนาการ. กลุ่มนันทนาการเด็กและเยาวชน. เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลท่ี 9.-- กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2562. 152 หน้า. 1. เหรียญกษาปณ์ -- ไทย. I. ช่ือเรื่อง. 737.49593 ISBN 978-616-297-560-8 ดาวน์โหลดหนังสือ “เหรียญกษาปณ์สองสีท่ีระลึกในรัชกาลที่ ๙” http://bit.ly/32HNOZP ช่ือหนังสือ เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลท่ี ๙ จัดท�ำโดย กลุ่มนันทนาการเด็กและเยาวชน ส�ำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลขที่ ๑๕๔ ถนนพระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๔ ๐๑๒๐ www.dpe.go.th พิมพ์คร้ังที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์ ออกแบบศิลป์ บริษัทแอนิเมเนีย จ�ำกัด www.animania.co.th

ค�ำน�ำ กรมพลศึกษา มุ่งเน้นสร้างโอกาสให้เด็ก เยาวชน แ ล ะ ป ร ะ ช า ช น โ ด ย ทั่ ว ไ ป ป ร ะ ก อ บ กิ จ ก ร ร ม นั น ท น า ก า ร เป็นประจ�ำจนเป็นวิถีชีวิต กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท การสะสม คือ กิจกรรมนันทนาการประเภทงานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมท่ีท�ำในเวลาว่าง ท�ำแล้วมีความสุข กอ่ ใหเ้ กดิ คณุ คา่ ดา้ นศาสตรก์ ารศกึ ษา การไดแ้ สวงหาความรใู้ หม่ ๆ ได้เรียนรู้ตลอดเวลาในส่ิงท่ีค้นหา และเพลิดเพลินในกิจกรรม การสะสม เพอื่ เปน็ การเผยแพรอ่ งคค์ วามรนู้ นั ทนาการทห่ี ลากหลาย สสู่ าธารณชน กรมพลศกึ ษา โดยสำ� นกั นนั ทนาการ จงึ จดั ทำ� หนงั สอื “เหรียญกษาปณ์สองสีท่ีระลึกในรัชกาลที่ ๙” ข้ึน โดยมุ่งหวัง ใหผ้ อู้ า่ นไดม้ คี วามรคู้ วามเขา้ ใจ และเหน็ ประโยชน์ ในการใชเ้ วลาวา่ ง ในการสะสมเหรียญกษาปณ์สองสีท่ีระลึกในรัชกาลที่ ๙ หวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ หนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ ประโยชนส์ ำ� หรบั เด็ก เยาวชน และประชาชนท่ีสนใจ คณะผู้จัดท�ำ ส�ำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา

สารบัญ หน้า นันทนาการ ๑ ความหมายของนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการ ๑๑ ประเภท ๓ คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการ ๓ การสะสมกับนันทนาการ ๔ คุณค่าของการสะสม ๔ เหรียญกษาปณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ๕ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลท่ี ๙ ชนิดของเหรียญกษาปณ์ ๗ ๑. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ๗ ๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก ๘ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา ๑๐ บาท ๙ (โลหะสองสี) ๖๑ แบบ ๑. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในมหามงคลสมัย ๑๐ พระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ๒. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสที่องค์การอาหาร ๑๒ และเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญแอกริโคลา” แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ๓. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ๑๔ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัลสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ” แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๑๖ โรงพยาบาลกลาง ๕. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ ๑๐๐ ปี เนื่องในโอกาสที่ ๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ๖. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเอเช่ียนเกมส์ ครั้งท่ี ๑๓ ๒๐

สารบัญ หน้า ๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาส ๒๒ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๒๔ พระราชสมัญญามหาราช รัชกาลท่ี ๓ ๙. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๒๕ ปี ๒๖ กรมศุลกากร ๑๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๒๘ กรมแพทย์ทหารบก ๑๑. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๕๐ ปี ๓๐ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๑๒. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๘๐ ปี ๓๒ กระทรวงพาณิชย์ ๑๓. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๓๔ วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๑๔. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๓๖ กรมที่ดิน ๑๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๓๘ กรมชลประทาน ๑๖. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งท่ี ๒๐ ๔๐ ๑๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๙๐ ปี ๔๒ วชิรพยาบาล ๑๘. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๙๐ ปี ๔๔ กรมทางหลวง ๑๙. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๖๐ ปี ๔๖ กรมการค้าภายใน

สารบัญ หน้า ๒๐. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาส ๔๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ ๗๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ ๒๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๕๐ กรมจเรทหารบก ๒๒. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสที่ ๕๒ สมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๓. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๙๐ ปี ๕๔ ธนาคารออมสิน ๒๔. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติครบ ๑๕๐ ปี ๕๖ แห่งวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกการประชุมผู้น�ำเศรษฐกิจเอเปค ๕๘ คร้ังที่ ๑๑ ๒๖. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๐ ปี ๖๐ ราชบัณฑิตยสถาน ๒๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๐ ปี ๖๒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๘. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๖๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ๒๙. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพลังแผ่นดินขจัดส้ินยาเสพติด ๖๖

สารบัญ หน้า ๓๐. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมใหญ่สมัชชา ๖๘ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก คร้ังท่ี ๓ ๓๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๗๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสท่ีวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี ๓๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญา ๗๒ ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ๓๓. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๗๔ กรมการขนส่งทหารบก ๓๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๒ ปี ๗๖ กรมธนารักษ์ ๓๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๒ ปี ๗๘ ส�ำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๓๖. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกงานชุมนุมลูกเสือ ๘๐ ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งท่ี ๒๕ ๓๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสท่ี ๘๒ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๓๘. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสพระราชพิธี ๘๔ สมโภชเดือนและข้ึนพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ๓๙. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๓๐ ปี ๘๖ การตรวจเงินแผ่นดินไทย

สารบัญ หน้า ๔๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๘๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาส พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ๔๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๙๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เนื่องในโอกาสวันประสูติครบ ๑๕๐ ปี ๔๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๙๒ กรมพระธรรมนูญ ๔๓. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๙๔ ธนาคารไทยแห่งแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) ๔๔. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกการประชุมใหญ่สมาคม ๙๖ ศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ ครั้งท่ี ๙ ๔๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี ๙๘ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ๔๖. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถเน่ืองในโอกาสองค์การอนามัยโลก ๑๐๐ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย “รางวัลอาหารปลอดภัย” ๔๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกกีฬามหาวิทยาลัยโลก ๑๐๒ ฤดูร้อน คร้ังที่ ๒๔ ๔๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาส ๕๐ ปี ๑๐๔ เทคนิคการแพทย์ไทย ๔๙. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสท่ี ๑๐๖ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนพรรษา ๗๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐

สารบัญ หน้า ๕๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ๕๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งท่ี ๒๔ ๑๑๐ ๕๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๒๐ ปี ๑๑๒ โรงพยาบาลศิริราช ๕๓. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๒๕ ปี ๑๑๔ ไปรษณีย์ไทย ๕๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๕๐ ปี ๑๑๖ ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ๕๕. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสท่ี ๑๑๘ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๕๖. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๖๐ ปี ๑๒๐ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ๕๗. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๒๐ ปี ๑๒๒ กรมบัญชีกลาง ๕๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก๑๐๐ ปี กรมศิลปากร ๑๒๔ ๕๙. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก ๑๐๐ ปี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ๑๒๖ ๖๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก ๑๐๐ ปี กระทรวงคมนาคม ๑๒๘ ๖๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ ๑๓๐ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ในโอกาสที่วันประสูติ ครบ ๑๕๐ ปี บรรณานุกรม ๑๓๔

นันทนาการ

ความหมายของนันทนาการ นันทนาการ เป็นค�ำมาจากค�ำเดิมว่า “สันทนาการ” ซ่ึงพระยาอนุมานราชธน หรือ เสถียรโกเศศ ได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Recreation” มีการให้ความหมายของนันทนาการไว้หลากหลาย ซ่ึงสามารถ สรุปได้ดังนี้ ๑. การทำ� ใหช้ วี ติ สดชน่ื โดยการเสรมิ สรา้ งพลงั งานขนึ้ ใหม่ หลังจากที่ร่างกายใช้พลังงานแล้วเกิดเป็นความเหน่ือยเมื่อยล้า ทางร่างกาย จิตใจและทางสมอง เม่ือบุคคลเข้าร่วมกิจกรรม นันทนาการจะช่วยขจัด หรือผ่อนคลายความเหนื่อยเมื่อยล้า ทางด้านร่างกายและจิตใจ ในความหมายน้ี นันทนาการจึงเป็น การตอบสนองความต้องการทางกายและจิตใจของบุคคล ได้อย่างแท้จริง ๒. กิจกรรม (Activities) ต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าร่วม ในชว่ งเวลาวา่ ง โดยไมม่ กี ารบงั คบั หรอื เขา้ รว่ มดว้ ยความสมคั รใจ มผี ลกอ่ ใหเ้ กดิ การพฒั นาอารมณส์ ขุ สนกุ สนานหรอื ความสขุ สงบ และกิจกรรมน้ัน ๆ จะต้องเป็นกิจกรรมท่ีสังคมยอมรับ ซง่ึ เปน็ กจิ กรรมทมี่ คี วามหลากหลาย เชน่ กจิ กรรมศลิ ปหตั ถกรรม การอ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการ กลางแจ้งนอกเมือง 1

๓. กระบวนการ (Process) หรือประสบการณ์ท่ีบุคคล ได้รับโดยอาศัยกิจกรรมในช่วงเวลาว่างเป็นสื่อ ก่อให้เกิด การพัฒนาหรือความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคล ๔. เป็นสถาบันทางสังคมหรือแหล่งศูนย์กลางของสังคม เพื่อให้บุคคล หรือสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ แลว้ กอ่ ใหเ้ กดิ ความเจรญิ งอกงามทางรา่ งกาย และพฒั นาทางดา้ น อ า ร ม ณ ์ จิ ต ใ จ แ ล ะ สั ง ค ม ซึ่ ง โ ด ย ป ก ติ รั ฐ มี ห น ้ า ท่ี จัดแหล่งนันทนาการในรูปแบบต่างๆเช่น สวนสาธารณะในเมือง สวนหย่อม ศูนย์เยาวชน ห้องสมุดส�ำหรับประชาชน ดนตรี ส�ำหรับประชาชน วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติ กรมพลศึกษา ได้ให้ความหมาย ของ นันทนาการ (Recreation) ตามแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับท่ี ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมายถึงกิจกรรมที่กระท�ำในยามว่าง จากภารกิจงานประจ�ำ ซ่ึงผู้เข้าร่วมกิจกรรมกระท�ำด้วย ความสมัครใจ และมีความพึงพอใจ โดยกิจกรรมน้ันไม่ขัด ต่อขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และกฎหมายบ้านเมือง ท� ำ ใ ห ้ เ กิ ด ค ว า ม ส นุ ก ส น า น เ พ ลิ ด เ พ ลิ น มี สุ ข ภ า พ ก า ย และสุขภาพจิตที่ดี ก่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเจริญงอกงาม ทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และได้แบ่งกิจกรรม นันทนาการออกเป็น ๑๑ ประเภท 2

กิจกรรมนันทนาการ ๑๑ ประเภท ตามแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ได้แบ่งกิจกรรมนันทนาการ ออกเป็น ๑๑ ประเภท ได้แก่ ๑. ศิลปหัตถกรรม (Arts and Crafts) ๒. เกมและกีฬา (Game and Sports) ๓. การเต้นร�ำ (Dances) ๔. การละคร (Drama) ๕. งานอดิเรก (Hobbies) ๖. การดนตรีและร้องเพลง (Music and Singing) ๗. กจิ กรรมกลางแจง้ /นอกเมอื ง (Outdoor Activities) ๘. วรรณกรรม (อ่าน เขียน พูด) (Reading, Writing, Speaking) ๙. กิจกรรมทางสังคม (Social Activities) ๑๐. กจิ กรรมพเิ ศษตามเทศกาลตา่ งๆ (Special Events) ๑๑. การบริการอาสาสมัคร (Voluntary Services) คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการ คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการคือการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ โ ด ย ใ ช ้ กิ จ ก ร ร ม นั น ท น า ก า ร ท� ำ ใ ห ้ มี คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต ท่ี ดี มีความคิดริเร่ิม สร้างสรรค์ เกิดสัมพันธภาพที่ดีของคนในชุมชน เป็นสังคมแห่งคุณธรรม สมานฉันท์ ม่ันคงท�ำให้ประเทศชาติ พัฒนาอย่างย่ังยืน 3

การสะสมกับนันทนาการ การสะสม คือ กิจกรรมนันทนาการประเภทงานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมที่ท�ำในเวลาว่าง ท�ำแล้วมีความสุข ก่อให้เกิดคุณค่าด้านศาสตร์การศึกษา การได้แสวงหา ความรู้ใหม่ๆได้เรียนรู้ตลอดเวลาในส่ิงที่ค้นหา และเพลิดเพลิน ในกิจกรรมการสะสม นั้น ๆ คุณค่าของการสะสม คุณค่าของนันทนาการที่สอดคล้องกับการสะสม มีดังนี้ ๑. ช่วยผ่อนคลายความเครียด ๒. ส่งเสริมสุขภาวะจิตที่ดี ๓. ต่อต้านความเบ่ือหน่าย ๔. เป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ๕. ทดแทนเวลาท่ีเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ๖. ได้แสวงหาและเรียนรู้ในส่ิงท่ีตนไม่รู้มาก่อน ๗. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้กับชุมชน ๘. มีความซาบซึ้งในสิ่งท่ีตนเองชอบหรือสนใจ ๙. พัฒนาสิ่งท่ีสะสมจนกลายเป็นรายได้เสริม หรืออาชีพได้ 4

เหรยี ญกษาปณใ์ นรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ บ ร ม ช น ก า ธิ เ บ ศ ร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เสร็จข้ึนครองราชย์ เม่ือวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ และได้มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นั บ ต้ั ง แ ต ่ เ ส ด็ จ ขึ้ น ค ร อ ง ร า ช ย ์ ส ม บั ติ จ ว บ จ น เสด็จสวรรคตเป็นเวลา ๗๐ ปี ท่ีประชาชนชาวไทยได้อาศัย ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารซ่ึงยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดในโลก เป็นรัชสมยั ท่ีไทยมกี ารเปลีย่ นแปลงอยา่ งมาก ท้ังทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วิทยาการ และเทคโนโลยี รวมทั้งการผลิตเหรียญกษาปณ์ ท่ีมีการเปล่ียนแปลงลวดลาย โลหะ ส่วนผสม และนวัตกรรมในการผลิต มาโดยล�ำดับ เพ่ือให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจท่ีขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเพ่ือความเป็นสากล รวมทั้งสะดวกต่อการใช้สอย ต ล อ ด จ น ย า ก ต ่ อ ก า ร ป ล อ ม แ ป ล ง แ ม ้ ว ่ า ใ น ป ั จ จุ บั น สภาพเศรษฐกิจสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เปล่ียนแปลงไปอย่างมาก รวมท้ังมีค่านิยมในการใช้จ่ายเงิน เพ่ือซ้ือสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต และช่องทาง อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส ์ ม า ก ขึ้ น ต า ม ล� ำ ดั บ แ ต ่ ค ว า ม ต ้ อ ง ก า ร ใ ช ้ เ ห รี ย ญ ก ษ า ป ณ ์ ยั ง ค ง มี ส ม่� ำ เ ส ม อ มิ ไ ด ้ ล ด น ้ อ ย ล ง เ น่ื อ ง จ า ก เ ห รี ย ญ เ ป ็ น สื่ อ ก ล า ง ท่ี มี ห น ่ ว ย ย ่ อ ย ไ ล ่ เ รี ย ง กั น 5

ถึง ๙ ชนิดราคา จึงเป็นเครื่องมือพยุงราคาสินค้าไม่ให้เพ่ิมข้ึน ใ น ลั ก ษ ณ ะ ก ้ า ว ก ร ะ โ ด ด แ ล ะ ท่ี ส� ำคั ญ เ ห รี ย ญ ยั ง เ ป ็ น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้มีการพัฒนารูปแบบและคุณค่า ท่ีเป็นส่ือท่ีแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และยังคง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ควรแก่การสะสมย่ิง 6

ชนิดของเหรียญกษาปณ์ เหรียญกษาปณ์สามารถแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ ของการน�ำออกใช้ ดังน้ี ๑. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ม ห า ภู มิ พ ล อ ดุ ล ย เ ด ช ม ห า ร า ช บ ร ม น า ถ บ พิ ต ร ได้เริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้เป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ท�ำด้วยโลหะทองแดงและดีบุก จ�ำนวน ๔ ชนิดราคา คือ เหรียญทองแดง ๕๐ สตางค์ ๒๕ สตางค์ ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ รวมทั้งเหรียญดีบุก ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ และใน พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลได้ผลิตเหรียญเงิน ชนิดราคา ๑ บาท เพ่ิมอีกหนึ่งชนิดราคา ต่อมาได้ผลิต เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้อย่างต่อเน่ือง โดยมีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ ลวดลาย เน้ือโลหะ และเพ่ิมชนิดราคา เพื่อให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ โดยมีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกมาใช้มากที่สุด ถงึ ๙ ชนดิ ราคา ประกอบดว้ ย ชนดิ ราคา ๑๐ บาท ๕ บาท ๒ บาท ๑ บาท ๕๐ สตางค์ ๒๕ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๑ สตางค์ แตน่ ำ� ออกมาใชห้ มนุ เวยี นเพยี ง ๖ ชนดิ ราคา โดยเหรยี ญชนดิ ราคา ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๑ สตางค์ ผลติ ขนึ้ เพอ่ื ใชใ้ นระบบบญั ชี เทา่ นนั้ ลวดลายทปี่ รากฏบนเหรยี ญแตล่ ะชนดิ ราคาสอื่ ถงึ สถาบนั ชาติ ศาสนา และพระมหากษตั รยิ ซ์ ง่ึ รปู แบบของเหรยี ญเปน็ พระบรมรปู พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ และมีค�ำว่า 7

“ประเทศไทย” หมายถึงสถาบันชาติ ส่วนด้านหลังเป็นรูป ศาสนสถานส�ำคัญต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย หมายถึง สถาบันศาสนา ๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก เหรยี ญกษาปณท์ รี่ ะลกึ เปน็ เหรยี ญกษาปณท์ ผ่ี ลติ ออกใช้ ใ น ว โ ร ก า ส แ ล ะ โ อ ก า ส ที่ ส� ำ คั ญ ท า ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ์ ที่เก่ียวข้องกับสถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ หน่วยงาน หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดท�ำ ๒ ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน แ ล ะ เ ห รี ย ญ ก ษ า ป ณ ์ ท่ี ร ะ ลึ ก คื อ ก า ร ว า ง ล ว ด ล า ย ด้านหน้าและด้านหลัง โดยเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน จะวางลวดลายแบบ AMERICAN TURNING ซ่ึงจะต้องพลิก ดูลวดลายด้านหลังในแนวด่ิง ส�ำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ได้จัดวางลวดลายแบบ EUROPEAN TURNING ซึ่งจะต้องพลิก แนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง 8

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา ๑๐ บาท (โลหะสองสี) ๖๑ แบบ เหรยี ญกษาปณท์ ร่ี ะลกึ ชนดิ ราคา ๑๐ บาท (โลหะสองส)ี เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาส และโอกาสท่ีส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์ที่เก่ียวข้องกับสถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พ ร ะ บ ร ม ว ง ศ า นุ ว ง ศ ์ ห น ่ ว ย ง า น หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ ตามท่ีกล่าวไว้ข้างต้น โ ด ย น� ำ อ อ ก ม า ใ ช ้ ห มุ น เ วี ย น ร ่ ว ม กั น กั บ เ ห รี ย ญ ก ษ า ป ณ ์ หมุนเวียนปกติ ซึ่งถือเป็นเหรียญกษาปณ์ท่ี เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปสามารถเก็บเป็นท่ีระลึก สะสมได้ง่าย ได้รับความนิยมสูง สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แต่ละช่วงเวลาที่เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกน้ันออกมาใช้โดย กรมธนารักษ์จะจ่ายแลกที่ส�ำนักเงินตราตามระยะเวลาที่ก�ำหนด ซึ่งเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา ๑๐ บาท (โลหะสองสี) ในรัชกาลที่ ๙ นั้น ได้มีการผลิต ท้ังหมด ๖๑ แบบ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงควรค่าท่ีเด็ก เยาวชน ประชาชน จะเก็บสะสมเป็นอย่างยิ่ง 9

๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในมหามงคลสมัย พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พุ ท ธ ศั ก ร า ช ๒ ๕ ๓ ๙ ใ น โ อ ก า ส ท่ี พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้รัฐบาลและประชาชน จัดงานเฉลิมฉลอง พระราชทาน ช่ือพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีกาญจนาภิเษก” ช่ือการจัดงานว่า “งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี” ก�ำหนดขอบเขตการจัดงานเฉลิมฉลอง ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงวันท่ี ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์ งานดังกล่าว โดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระบรมราชวินิจฉัย เพ่ือแก้ไขปรับปรุงแบบตราเพิ่มเติม ก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใ ห ้ ใ ช ้ ไ ด ้ ) ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย พ ร ะ ร า ช ลั ญ จ ก ร ป ร ะ จ� ำ พ ร ะ อ ง ค ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เป็นหลักส�ำคัญ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพชิ ยั มงกฎุ อยดู่ า้ นบน เปน็ เครอ่ื งแสดงถงึ ความเปน็ พระมหากษตั รยิ ์ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพานเคร่ืองสูง ๒ ช้ัน ท่ีมักอยู่ในมโนภาพ ของผู้คนท่ัวไปเมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเคร่ืองหมาย แสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร 10

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร” และ “รัชกาลท่ี ๙” ด้านหลัง สัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี มีข้อความว่า : “ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี กาญจนาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๑๘๑,๔๙๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ 11

๒. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญแอกริโคลา” แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “AGRICOLA” เป็นภาษาลาติน หมายถึงเกษตร ซึ่งองค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติน�ำมาใช้เป็นชื่อเหรียญเชิดชูเกียรติผู้น�ำท่ีมีผลงาน ท่ีมุ่งพัฒนาด้านอาหาร การเกษตร และสภาวะความเป็นอยู่ของประชากรโลก ให้ดีขึ้น และจารึกภาพบุคคลนั้นไว้ในเหรียญ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ไ ด ้ อั น เ ชิ ญ พ ร ะ บ ร ม รู ป พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ บ ร ม ช น ก า ธิ เ บ ศ ร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ลงบนเหรียญแอกริโคลา เพื่อถวายพระเกียรติคุณ และยกย่องให้ประชาคมโลกได้ประจักษ์ถึง พระราชกรณยี กจิ ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การเกษตร เพอื่ พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ชาวนาชนบท ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีข้ึน 12

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดล�ำลองพร้อมกล้องถ่ายรูปและแผนที่ มีข้อความว่า : “SUSTAINABLE DEVELOPMENT FOR A SECURE FUTURE” “FAO. WORLD FOOD SUMMIT. 1996” “ประเทศไทย THAILAND” และ “๑๐ บาท 10 BAHT” ด้านหลัง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ประทบั อยใู่ นนาขา้ วทา่ มกลางชาวนา มีข้อความว่า : “KING BHUMIBOL ADUYADEJ THAILAND” “GOLDEN JUBILEE OF HIS MAJESTY’S REIGN” “เฉลมิ พระเกยี รตใิ นการพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื เพอ่ื อนาคตอนั มนั่ คง” และ “๖ ธันวาคม ๒๕๓๘” จ�ำนวนผลิต : ๕,๐๐๖,๐๑๑ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ 13

๓. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสที่ สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัลสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ” แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงบำ� เพญ็ พระราชกรณยี กจิ นานปั การทลี่ ว้ นทำ� ใหเ้ หน็ ประจกั ษ์ ว่าทรงให้ความส�ำคัญกับการเกษตร โดยเฉพาะอย่างย่ิงเรื่องข้าวมากเป็นพิเศษ ซงึ่ เปน็ เหตผุ ลสำ� คญั ทสี่ ถาบนั วจิ ยั ขา้ วนานาชาติ (International Rice Research Institute : IRRI) ซ่ึงเป็นองค์การวิจัย และฝึกระหว่างประเทศ มีส�ำนักงานใหญ่ ในลอสบาโนส ลากูนา (Los Banos, Laguna) ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองค�ำ (The International Rice Award) แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระองค์แรก เม่ือพุทธศักราช ๒๕๓๙ เพ่ือร่วม เฉลิมพระเกียรติในโอกาสท่ีทรงครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี 14

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ล�ำลอง มีกล้องถ่ายรูปคล้องท่ีพระศอ ทรงแผนที่ มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” และ “รัชกาลท่ี ๙” ด้านหลัง รูปด้านหลังของเหรียญรางวัลสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ มีข้อความว่า : “เหรียญรางวัลสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๙” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๕,๐๐๐,๐๑๑ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ 15

๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาส ครบ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลกลาง เมอ่ื วนั ที่๒๔พฤษภาคมพ.ศ.๒๔๔๑พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้าง โรงพยาบาลขน้ึ บนทห่ี ลวงและทด่ี นิ เอกชน โดยลงมอื สรา้ งเมอ่ื วนั ที่ ๒๐ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เม่ือสร้างเสร็จแล้วได้รับชื่อว่า “โรงพยาบาลหญิงหาเงิน” ดว้ ยมวี ตั ถปุ ระสงคข์ น้ั ตน้ เพยี งเพอื่ กำ� จดั กามโรคมใิ หแ้ พรห่ ลาย โดยรบั การตรวจ และรักษาเฉพาะหญิงนครโสเภณีท่ีป่วยด้วยโรคน้ี จึงเป็นโรงพยาบาลเฉพาะ ในการรักษากามโรคแห่งแรกของประเทศ ท่ีสังกัดกรมสุขาภิบาล ตอ่ มา กรมพลตระเวน (กรมตำ� รวจ) ไดข้ อใชโ้ รงพยาบาลเปน็ ทรี่ กั ษาตำ� รวจ และรับรักษาผู้บาดเจ็บโดยท่ัวไปด้วย ดังน้ัน ภายหลังจึงถูกโอนไปสังกัด กรมพลตระเวนและเปล่ียนชื่อใหม่ว่า “โรงพยาบาลพลตระเวน” หรือ “โรงพยาบาลกรมพลตระเวน”และได้โอนกลับกรมสุขาภิบาลดังเดิม เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งต่อมาได้เปล่ียนซ่ือเป็น “โรงพยาบาลกลาง” และโอนไปสังกัดกองแพทย์สุขาภิบาล มกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ภายหลังมีการเปล่ียนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้โอน โรงพยาบาลกลางใหเ้ ทศบาลนครกรงุ เทพ และเมอ่ื จดั ตง้ั กระทรวงสาธารณสขุ ขน้ึ รัฐบาลได้ประกาศโอนโรงพยาบาลกลางให้กรมการแพทย์ ต้ังแต่วันท่ี ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื่องจากเทศบาลนครกรุงเทพขาดท้ังงบประมาณ เจ้าหน้าท่ี แพทย์และพยาบาล ต่อมาเทศบาลนครกรุงเทพได้ขอรับคืน โรงพยาบาลกลางจากกระทรวงสาธารณสขุ เมอื่ วนั ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ 16

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล เบ้ืองบนมีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ มีข้อความว่า : “รัชกาลท่ี ๕”และ“รัชกาลท่ี ๙” ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายของโรงพยาบาลกลาง ส�ำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี โรงพยาบาลกลาง ส�ำนักการแพทย์ ๒๔๔๑ - ๒๕๔๑” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ 17

๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึก ครบ ๑๐๐ ปี เน่ืองในโอกาสท่ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ก า ร เ ส ด็ จ ป ร ะ พ า ส ยุ โ ร ป ค ร้ั ง แ ร ก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “รัชกาลที่ ๕” เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ป ร ะ ทั บ เ รื อ พ ร ะ ที่ นั่ ง ม ห า จั ก รี อ อ ก จ า ก ท ่ า ร า ช ว ร ดิ ษ ฐ ์ เ มื่ อ วั น ท่ี ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ประพาสประเทศในทวีปยุโรป รวม ๑๓ ประเทศ คือ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย รัสเซีย สวีเดน เดนมาร์ก อังกฤษ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเย่ียม ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส เ พื่ อ เ ป ็ น ก า ร แ ส ด ง ใ ห ้ บ ร ร ด า ป ร ะ เ ท ศ ม ห า อ� ำ น า จ ใ น ยุ โ ร ป เ ห็ น ว ่ า สยามมิได้ล้าหลังและป่าเถื่อน และเพื่อโอกาสในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ความม่ันคงและส่งเสริมความเป็นเอกราชของประเทศสยาม แม้จะอยู่ในช่วง ยุคล่าอาณานิคมก็ตาม ทั้งน้ีก็เพราะมีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่าง สยามกับฝร่ังเศสในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ที่ท�ำให้สยามเสียดินแดนมากท่ีสุดเท่าที่มีการเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตก ในการน้ีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติพระนครพร้อมกับพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่ปวงชนชาวสยาม เม่ือวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ รวมเวลาท่ีเสด็จประพาสท้ังส้ิน ๒๕๓ วัน ผลจากการเสด็จพระราชด�ำเนินดังกล่าวน้ันท�ำให้พระองค์ทรงเป็น พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย ์ พ ร ะ อ ง ค ์ แ ร ก จ า ก ท วี ป เ อ เ ชี ย ท่ี เ ส ด็ จ พ ร ะ ร า ช ด� ำ เ นิ น เยือนทวีปยุโรป โดยทรงรู้จักแฝงแนวความคิดจิตวิทยา และการปฏิบัติ ตามธรรมเนียมยุโรปอีกด้วย หลังจากเสด็จนิวัตพระนครพระองค์ได้สถาปนา ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า เ ส า ว ภ า ผ ่ อ ง ศ รี พ ร ะ อ ร ร ค ร า ช เ ท วี ขึ้ น เ ป ็ น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ นับเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกของสยาม 18

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศจอมพล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลัง มีอักษรพระปรมาภิไธย “จปร.” มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี เสด็จประพาสยุโรป” “ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๐” และ ๑๐ บาท จ�ำนวนผลิต : ๕,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ 19

๖. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก การแข่งขันกีฬาเอเช่ียนเกมส์ ครั้งท่ี ๑๓ กีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซ่ึงมีการจัดข้ึนในทุกส่ีปี เริ่มก�ำหนดการแข่งขัน โดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ต้ังแต่ การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ ๘ และต้ังแต่เอเชียนเกมส์ครั้งท่ี ๙ เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia: OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย กีฬาเอเชียนเกมส์ คร้ังท่ี ๑๓ จัดขึ้นท่ี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันท่ี ๖ ธันวาคม ถึง ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มีประเทศเข้าร่วม การแข่งขันทั้งหมด ๔๑ ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันท้ังหมด ๓๖ ชนิด โดยสนามแข่งขันท่ีใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และศูนย์กีฬาเมืองทองธานี 20

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “ภูมิพลอดุลยเดช” และ “รัชกาลท่ี ๙” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาเอเช่ียนเกมส์ คร้ังท่ี ๑๓ มีข้อความว่า : “ประเทศไทย ๖ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๑” “13th ASIAN GAMES BANGKOK 1998” และ “๑๐ บาท 10 BAHT” จ�ำนวนผลิต : ๘,๐๐๐,๐๒๒ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ 21

๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นพระราชพิธีท่ีจัดขึ้นเน่ืองในโอกาสท่ี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา หรือ ๖ รอบ ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกแบบโดย นายนริ นั ดร์ ไกรสรรตั น์ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ ม พระราชทานให้ใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวในการจัดงานเฉลิมฉลอง โดยมีความหมาย ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อยู่ตรงกลาง ประดิษฐานอยู่เหนือพระที่น่ังอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ เป็นการแสดงความหมายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นท่ียึดเหนี่ยว และเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงสุดของประชาชน สีเหลือง ของอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร เป็นสีประจ�ำวันพระบรมราชสมภพ อยู่บนพื้น วงกลมสีน้�ำเงิน ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ ล้อมรอบด้วยตราพระแสงจักร และมีเลข ๙ บนอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ซึ่งหมายถึง ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ พระองค์ท่ี ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีสัปตปฎลเศวตฉัตร ประกอบอยู่ ๒ ข้าง ซ้ายและขวา และมีนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานอยู่เบ้ืองบนสุด เส้นกรอบรอบนอก ท่ีออกแบบให้มีลักษณะ เป็น ๔ แฉก หรือ ๔ ส่วน แทนประชาชนชาวไทย ทั่วทุกภาคของประเทศ ท่ีอยู่ภายใต้ พระบรมโพธิสมภาร ของพระองค์ ดว้ ยความรม่ เยน็ เปน็ สขุ สพี นื้ จงึ เปน็ สเี ขยี ว อนั แสดงถงึ ความสงบรม่ เยน็ และอดุ มสมบรู ณ์ มดี อกบวั ๔ ดอก แทรกตรงกลางระหวา่ งแฉกทง้ั ๔ แสดงความหมาย เป็นการเทิดทูนบูชา ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ รัศมีสีทองโดยรอบ เปรียบได้ดังพระบุญญาบารมี พระมหากรุณาธิคุณ และน้�ำพระราชหฤทัย ท่ีแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศ ท้ังในและต่างประเทศท่ัวโลก ยังความ ปลาบปลื้ม มาสู่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า เบื้องล่าง ออกแบบเป็นแพรแถบสีน�้ำเงิน แสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีข้อความ “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒” 22

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ครุย มีข้อความว่า : “ภูมิพลอดุลยเดช” และ “บรมราชาธิราช” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ มีข้อความว่า : “มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ” “๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๖,๓๐๐,๐๑๑ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ 23

๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พระราชสมัญญามหาราช รัชกาลท่ี ๓ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า เ จ ษ ฎ า บ ดิ น ท ร ์ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว “รัชกาลที่ ๓” พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั “รชั กาลที่ ๒” กบั เจา้ จอมมารดาเรยี ม เสดจ็ พระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ท ร ง ไ ด ้ รั บ ก า ร ส ถ า ป น า เ ป ็ น พ ร ะ เ จ ้ า ห ล า น เ ธ อ พ ร ะ อ ง ค ์ เ จ ้ า ทั บ แ ล ะ ไ ด ้ รั บ พ ร ะ ร า ช ท า น พิ ธี โ ส กั น ต ์ เ ป ็ น ก า ร พิ เ ศ ษ จ า ก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาเจษฎาบดินทร์ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เม่ือวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ในช่วงตลอดรัชสมัย คือการบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขให้แก่ราษฎร พระองค์ได้ทรงแก้ไขวิธีการ เก็บภาษีอากรแบบเดิม และทรงท�ำสนธิสัญญาเบอร์นีกับประเทศอังกฤษ เม่ือปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ท�ำให้การค้าขายของประเทศรุดหน้าไปอย่างมาก ทางด้านศาสนาก็ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปจ�ำนวนมาก อันท�ำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและศิลปกรรมต่าง ๆ มากมาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเม่ือวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา ครองสิริราชสมบัติ ๒๗ ปี ต่อมาเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานาม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งแปลว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งม่ัน ในการบ�ำเพ็ญพระราชกิจ” 24

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย มีข้อความว่า : “พระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระมหาเจษฎาราชเจา้ ” และ “รัชกาลที่ ๓” ด้านหลัง รูปพระวิมาน ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหนือพระแท่นรูปช้างสามเศียร ขนาบด้วยรูปราชสีห์และคชสีห์ยืนชูนพปฎลเศวตฉัตรเหนือลูกโลก มีข้อความว่า : “เฉลิมฉลองพระราชสมัญญามหาราช ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑” และ “๑๐ บาท ประเทศไทย” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๒๘ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ 25

๙. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๒๕ ปี กรมศุลกากร กรมศุลกากร เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อต้ังเมื่อวันท่ี ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในสมัยรัชกาลท่ี ๕ โดยมีชื่อว่า ”หอรัษฎากรพิพัฒน์” มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ กิ จ ก า ร ศุ ล ก า ก ร ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย เ ริ่ ม มี ม า ต้ั ง แ ต ่ ส มั ย สุ โ ข ทั ย โดยเรียกว่า “จกอบ” ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานท่ีท�ำหน้าที่ ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า “พระคลังสินค้า” ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บ ภาษีอากร เรียกว่า “ระบบเจ้าภาษีนายอากร” ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลท่ี ๔ มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการท�ำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลง การเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น “ภาษีร้อยชักสาม” โดยมีโรงเก็บภาษี เรยี กวา่ “ศลุ กสถาน” ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ไดม้ กี ารจดั ตง้ั หอรษั ฎากรพพิ ฒั น์ เป็นส�ำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการ เร่ือยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าท่ีเน้นการจัดเก็บภาษีอากร จากของที่น�ำเข้าและส่งออกนอกประเทศ 26

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองชุดสากล เบื้องบนมีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ มีข้อความว่า : “ภูมิพลอดุลยเดช ปร.” และ “จุฬาลงกรณ์ ปร.” ด้านหลัง รูปอาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง และรูปอาคารกรมศุลกากร เบื้องบนมีตราสัญลักษณ์ ๑๒๕ ปี กรมศุลกากร มีข้อความว่า : “๔ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ 27

๑๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมแพทย์ทหารบก กิ จ ก า ร ก ร ม แ พ ท ย ์ ข อ ง ท ห า ร บ ก เ ริ่ ม มี ขึ้ น ใ น รั ช ส มั ย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๕ จากการท่ีร้อยเอก เทียนฮ้ี สารสิน คนไทยคนแรก ท่ีส�ำเร็จวิชาการแพทย์จากต่างประเทศ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น ณ บริเวณ ถนนตรีเพชร แต่ภายหลังต้องเลิกกิจการไป เน่ืองจากแพทย์ต้องไปราชการ สงครามปราบฮ่อ ค รั้ น ป ี พ . ศ . ๒ ๔ ๔ ๓ ก ร ม แ พ ท ย ์ ท ห า ร บ ก ไ ด ้ ก ่ อ ต้ั ง ข้ึ น โ ด ย จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้ขอพระราชทานใช้พื้นท่ีบริเวณถนนเจ้าฟ้า ปากคลองตลาด ต้ังข้ึนเป็นกองแพทย์ ข้ึนตรงต่อกรมยุทธนาธิการ เม่ือวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๖ มีพระราชโองการโปลดเกล้าฯ ให้ขยายกองแพทย์ ต้ังข้ึนเป็นกรมแพทย์ทหารบก 28

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศทหารมหาดเล็ก และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เบื้องบนมีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ ๒ องค์ คล้องกัน มีข้อความว่า : “รัชกาลที่ ๕” และ “รัชกาลที่ ๙” ด้านหลัง เคร่ืองหมายของกรมแพทย์ทหารบก มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี กรมแพทย์ทหารบก ๗ มกราคม ๒๔๔๓ - ๒๕๔๓” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๑๗ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ 29

๑๑. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๕๐ ปี ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กอ่ ตงั้ ขน้ึ เมอื่ วนั ที่ ๑๕ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยใชช้ อ่ื วา่ สภาเศรษฐกจิ แหง่ ชาติ มีหน้าที่เสนอความเห็น ค�ำแนะน�ำ ต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ของประเทศ ตอ่ มาใน พ.ศ. ๒๕๐๒ มกี ารเพม่ิ บทบาทหนา้ ทใ่ี หเ้ ปน็ หนว่ ยงานกลาง เพ่ือท�ำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศเป็นการเฉพาะ และเปลี่ยนช่ือเป็น ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ตามค�ำแนะน�ำของผู้เชี่ยวชาญ จากธนาคารโลก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ มีการน�ำแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่ กั บ แ ผ น พั ฒ น า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ เ ป ลี่ ย น ช่ื อ ข อ ง ห น ่ ว ย ง า น ใ ห ม ่ เ ป ็ น ส�ำนักงาน คณ ะกร ร มกา ร พั ฒ นา กา ร เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แล ะ สั ง ค ม แห่ ง ช าติ เป็นหน่วยงานในสังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ จนถึงปัจจุบัน 30

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙” และ “ประเทศไทย” ด้านหลัง เครื่องหมายของ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มีข้อความว่า : “๕๐ ปี ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ” และ “๑๐ บาท ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๔๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ 31

๑๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๘๐ ปี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นส่วนราชการของประเทศไทยที่มีอ�ำนาจหน้าที่ เก่ียวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่น ๆ ตามท่ีมี กฎหมายก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณชิ ยเ์ ดมิ เรยี ก “กระทรวงเศรษฐการ” ตงั้ ขน้ึ เมอื่ พ.ศ. ๒๔๖๓ เม่ือแรกต้ังนั้นกระทรวงพาณิชย์ไม่มีที่ท�ำการกระทรวง เสนาบดีจึงมักจะใช้ บา้ นของตนเปน็ สถานทที่ ำ� งาน ตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ให้ กรมพระจนั ทบรุ นี ฤนาถ ดำ� รงตำ� แหนง่ เปน็ เสนาบดกี ระทรวงพาณชิ ยพ์ ระองคแ์ รก จงึ ไดม้ กี ารสรา้ งอาคาร ที่ท�ำการอย่างถาวร บริเวณวัง ๓ แห่ง คือ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวงบดินทร์ ไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ และใช้ท�ำการมาเป็นเวลากว่า ๗๐ ปี ครั้นสภาพบ้านเมืองเจริญขึ้น รัฐบาลเร่ิมมีนโยบายขยับขยายหน่วยงานราชการออกไปยังชานเมืองมากขึ้น เ พ่ื อ ล ด ป ั ญ ห า ค ว า ม แ อ อั ด ข อ ง ตั ว เ มื อ ง ภ า ย ใ น เ ข ต เ ก า ะ รั ต น โ ก สิ น ท ร ์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ อนุมัติให้ กระทรวงพาณชิ ยใ์ ชท้ ดี่ นิ ราชพสั ดจุ ำ� นวนเนอื้ ท่ี ๔๘ ไรเ่ ศษ บรเิ วณตำ� บลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีส�ำหรับก่อสร้างอาคารท่ีท�ำการ กระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ ซึ่งเป็นท่ีตั้งของกระทรวงจนถึงปัจจุบัน 32

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลท่ี ๙” ด้านหลัง เคร่ืองหมายของกระทรวงพาณิชย์ มีข้อความว่า : “๘๐ ปี กระทรวงพาณิชย์ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๑,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ 33

๑๓. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (เดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ณ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนที่ ๓ ในพระชนกชูและพระชนนีค�ำ มีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่ พระอนุชา คือ คุณถมยา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น พระชายาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนก ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระนามท่ีนิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า พระองค์ได้ประกอบ พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ เ ย่ี ย ม ร า ษ ฎ ร ช า ว ไ ท ย ภู เ ข า ที่ อ า ศั ย ใ น ถ่ิ น ทุ ร กั น ด า ร แ ล ะ ไ ด ้ พ ร ะ ร า ช ท า น ค ว า ม ช ่ ว ย เ ห ลื อ ผ ่ า น ท า ง เ ฮ ลิ ค อ ป เ ต อ ร ์ พ ร ะ ที่ น่ั ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถีชีวิตท่ีดีข้ึน ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามว่า “แม่ฟ้าหลวง” 34

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ฉลองพระองค์เต็มยศ มีข้อความว่า : “สมเด็จพระศรีนครินทรา” และ “บรมราชชนนี” ด้านหลัง อักษรพระนามาภิไธย “สว” มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ” “๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ 35

๑๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมที่ดิน กรมท่ีดิน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมที่ดินข้ึน เมอื่ วนั ที่ ๑๗ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ใหเ้ ปน็ หนว่ ยงานทดี่ ำ� เนนิ งานออกหนงั สอื แสดงสิทธิในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เก่ียวกับท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น รวมถึงการจัดที่ท�ำกิน ใหป้ ระชาชนตามประมวลกฎหมายทดี่ นิ นอกจากนม้ี พี ระบรมราชโองการโปรดเกลา้ ฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการจัดการ ออกโฉนดที่ดินครั้งแรกท่ีเมืองกรุงเก่า (ปัจจุบันคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) โฉนดท่ีดินฉบับแรกออกเม่ือวันท่ี ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ (รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐) 36

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล เบ้ืองบนมีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ มีข้อความว่า : “จุฬาลงกรณ์ ปร.” “ภูมิพลอดุลยเดช ปร.” และ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของกรมท่ีดินบนฉากหลังท่ีเป็นรูปตัวเลขไทย “๑๐๐” มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี กรมท่ีดิน ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ – ๒๕๔๔” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ 37

๑๕. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมชลประทาน กรมชลประทาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหี นา้ ทจ่ี ดั ใหไ้ ดม้ าซง่ึ นำ�้ เพอื่ กกั เกบ็ รกั ษา ควบคมุ สง่ ระบาย หรอื แบง่ นำ้� เพอ่ื การเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และหมายรวมถึงการป้องกัน ความเสียหาย อันเกิดจากน้�ำ กับการคมนาคมทางน้�ำซ่ึงอยู่ในเขตชลประทาน ง า น ช ล ป ร ะ ท า น ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย เ ร่ิ ม ข้ึ น อ ย ่ า ง จ ริ ง จั ง ใ น รั ช ส มั ย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดลอกคลอง และขุดคลองข้ึนใหม่ในบริเวณท่ีราบภาคกลางจ�ำนวนมาก ดำ� เนนิ การโดยเอกชน คอื บรษิ ทั ขดุ คลองแลคนู าสยาม จำ� กดั ไดร้ บั พระบรมราชานญุ าต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ เริ่มขุดคลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ มีระยะเวลาด�ำเนินการ ตามสัมปทาน ๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ว่าจ้างนายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกร ชลประทานชาวฮอลันดามาด�ำเนินงานชลประทานประเทศไทย และทรงแต่งต้ังให้ นายเย โฮมัน เข้ารับราชการ เม่ือวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ พร้อมท้ัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต้ัง “กรมคลอง” และทรงแต่งตั้งนาย เย โฮมัน เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก เพื่อท�ำหน้าท่ีดูแลท�ำนุบ�ำรุงคลองต่าง ๆ ไม่ให้ต้ืนเขิน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พ ร ะ ม ง กุ ฎ เ ก ล ้ า เ จ ้ า อ ยู ่ หั ว ไ ด ้ ท ร ง พ ร ะ ก รุ ณ า โ ป ร ด เ ก ล ้ า ฯ ใ ห ้ จั ด ตั้ ง “กรมทดน�้ำ” ขึ้นแทนกรมคลอง เม่ือวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๗ และทรงแต่งต้ัง นายอาร์ ซี อาร์ วิล สัน เป็นเจ้ากรมทดน�้ำ จ น ใ น รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า ป ร ะ ช า ธิ ป ก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชด�ำริว่า หน้าท่ีของกรมทดน�้ำมิได้ปฏิบัติงาน อยู่เฉพาะแต่การทดน้�ำเพียงอย่างเดียว งานท่ีกรมทดน้�ำปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั้น มีทั้งการขุดคลอง การทดน้�ำ รวมทั้งการส่งน้�ำตามคลองต่าง ๆ อีกท้ังการสูบน้�ำ เพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปล่ียนชื่อ จากกรมทดน�้ำ เป็น กรมชลประทาน เม่ือวันท่ี ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยให้มีหน้าท่ีรับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน�้ำ การส่งน�้ำ และการสูบน้�ำ ช่วยเหลือพ้ืนที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง 38


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook