Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ E-book ประวัติวรรณคดี1

ใบความรู้ E-book ประวัติวรรณคดี1

Published by suttinee5258, 2020-06-10 11:28:36

Description: ใบความรู้ E-book ประวัติวรรณคดี1

Search

Read the Text Version

ประวัติวรรณคดี 11 ครูศุทธินี สุดเอี่ยม เอกสารประกอบหลักสตู ร รายวิชาประวัตวิ รรณคดี 1(เลือกเพิ่มเติม) รหสั วิชา ท 31201 ช้นั มธั ยมศึกษาปที ี่ 4/3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 นางสาวศทุ ธนิ ี สดุ เอ่ยี ม พนักงานราชการ กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย โรงเรียนตานีวิทยา สำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 33 สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร

ประวตั ิวรรณคดี 12 ครูศทุ ธินี สุดเอยี่ ม คำนำ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น โรงเรียนตานี วิทยาโดยกลุ่มบริหารงานวิชาการได้กำหนดให้ครูผู้สอนทุกคนมีบทบาทในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ หลักสตู รรายวิชา ซง่ึ ต้องวิเคราะหม์ าตรฐานการเรยี นรู้ ตวั ชวี้ ัด และสาระการเรียนรู้ เพ่อื ให้ครใู ชเ้ ป็นแนวทางใน การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ครูทุกคนที่รับผิดชอบสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องจัดทำโครงสร้างหลักสูตร รายวชิ าครบทุกรายวชิ า เพอ่ื เปน็ แนวทางในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรยี นรู้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการรวบรวมและเรียบเรียงเป็นเอกสาร หลักสูตรรายวิชา ประกอบด้วย โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พร้อมทั้งมีหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน นอกจากน้ี ยังส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน และส่งเสริมทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 (3R 8D) เพื่อใช้เป็น กรอบหรือทศิ ทางในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตวั ชวี้ ัดของระดบั ช้ัน และของกลุ่มสาระการ เรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดจากการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหน่วย ทั้งนี้ ผู้สอนจะต้อง เตรียมการสอนที่ออกแบบไว้ในระดับหน่วย จัดเตรียมสื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้และวิธีวัดประเมินผล เพื่อใช้ ประกอบการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งให้มีความพร้อมและบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แล ะเกิดประโยชน์ สงู สุดกับผเู้ รยี น หวังเป็นอย่างยง่ิ ว่า เอกสารเล่มน้ีจะเปน็ ประโยชนใ์ นการจดั การศึกษา (นางสาวศุทธนิ ี สุดเอย่ี ม) ตำแหนง่ พนกั งานราชการ

ประวัติวรรณคดี 13 ครศู ุทธนิ ี สดุ เอี่ยม สารบญั อัตลักษณ์ หน้า เอกลักษณ์ ๑ วิสัยทัศน์ ๑ สมรรถนะ ๑ การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงช้ัน (วิเคราะห์ K, P, A, C) ๑ คำอธบิ ายรายวชิ า ๒ โครงสร้างรายวชิ า ๔ โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ๕ หน่วยที่ ๑ วรรณคดีเพ่อื ชีวิต ๖ - เอกสารประกอบการเรยี นเขียนย่อความเร่ืองความรู้ทว่ั ไปเก่ียวกบั วรรณคดีและประวัติวรรณคดี - เรอื่ งความเรื่องความร้ทู ่วั ไปเกี่ยวกบั วรรณคดี และประวัติวรรณคดี ๗ - แบบทดสอบ ๑๖ หน่วยท่ี ๒ พาจติ สสู่ โุ ขทัย ๒๐ - เอกสารประกอบการเรียนเขียนย่อความเรื่องวรรณคดสี มยั กรงุ สุโขทยั - พูดวเิ คราะห์เร่ืองวรรณคดสี มยั กรงุ สุโขทยั ๓๐ - นำวรรณคดีสมัยกรงุ สโุ ขทยั ไปใชใ้ นชวี ติ ประจำวัน ๔๘ - แบบทดสอบ หน่วยท่ี ๓ ยคุ ใหมอ่ ยุธยา ๕๖ - เอกสารประกอบการเรียนเขียนย่อความเร่ืองวรรณคดีสมัยกรงุ ศรีอยุธยาตอนต้น - พดู วิเคราะหเ์ รื่องวรรณคดสี มัยกรุงศรีอยุธยาตอนตน้ ๖๙ - นำวรรณคดีสมยั กรุงศรีอยธุ ยาตอนต้นไปใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ๘๖ - แบบทดสอบ ๙๐ บรรณานุกรม ๙๔

ประวัตวิ รรณคดี 14 ครูศุทธนิ ี สดุ เอยี่ ม อัตลักษณข์ องโรงเรยี น สภุ าพ ออ่ นน้อม สมั มาคาราวะ สมรรถนะของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ๑. มีความสามารถในการสอ่ื สาร ๒. มีความสามารถในการคิด ๓. มคี วามสามารถในการแก้ปัญหา ๔. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวติ ๕. มคี วามสามารถในการใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ผลการเรยี นรู้ [วเิ คราะหค์ วามรู้ (K) กระบวนการ (P) คุณลักษณะ (A) สมรรถนะ (C)] วชิ าประวัติวรรณคดี ๑ ( ท๓1๒๐1 ) ภาคเรยี นที่ ๑ ผลการเรยี นรู้ ความรู้ กระบวนการ คณุ ลกั ษณะ สมรรถนะ (P) (A) (C) (K) (๑๐ คะแนน) (๕ คะแนน) (๕ คะแนน) (ระดบั ๐-๓) ๑. มีความรู้ - ความรูท้ ่วั ไป - กระบวนการ - มีมารยาทและมี -มีความสามารถใน ความเขา้ ใจ เกย่ี วกับวรรณคดี เขยี น นิสยั รกั การเขียน การสื่อสาร เก่ียวกับวรรณคดี และประวตั ิ - กระบวนการพูด - มีมารยาทใน การ และประวตั ิ วรรณคดี การฟงั และดู พดู การฟงั และดู วรรณคดี - รักความเปน็ ไทย ผลการเรียนรู้ ความรู้ กระบวนการ คณุ ลกั ษณะ สมรรถนะ (P) (A) (C) (K) (๑๔ คะแนน) (๗ คะแนน) (๗ คะแนน) (ระดับ ๐-๓) ๒. มีความรู้ - ความรู้ - กระบวนการ - มมี ารยาทและมี -มคี วามสามารถใน ความเข้าใจ ความเขา้ ใจ เขยี น นิสยั รักการเขยี น การส่อื สาร เกย่ี วกบั วรรณคดี เกยี่ วกบั วรรณคดี - กระบวนการพูด - มมี ารยาทใน -มีความสามารถใน สมยั กรุงสุโขทัย สมยั กรุงสโุ ขทยั การฟังและดู การพูดการฟังและ การใชท้ กั ษะชวี ิต - กระบวนการคดิ การดู - เห็นคุณคา่ ของ วรรณคดี - รักความเปน็ ไทย

ประวัติวรรณคดี 15 ครศู ุทธนิ ี สดุ เอี่ยม ๓ ผลการเรียนรู้ ความรู้ กระบวนการ คุณลักษณะ สมรรถนะ (P) (A) (C) (K) (๘ คะแนน) (๘ คะแนน) (ระดับ ๐-๓) (๑๖ คะแนน) ๓. มีความรู้ - ความรู้ - กระบวนการ - มมี ารยาทและมี -มีความสามารถใน ความเข้าใจ ความเข้าใจ เขียน นสิ ยั รกั การเขียน การสื่อสาร เกี่ยวกบั วรรณคดี เก่ียวกบั วรรณคดี - กระบวนการพูด - มีมารยาทใน -มคี วามสามารถใน สมัยอยธุ ยาตอนตน้ สมยั อยุธยาตอนตน้ การฟังและดู การพดู การฟังและ การใช้ทกั ษะชวี ติ - กระบวนการคิด การดู - เหน็ คุณค่าของ วรรณคดี - รักความเป็นไทย

ประวตั ิวรรณคดี 16 ครศู ทุ ธนิ ี สุดเอยี่ ม คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม ท31201 ประวตั วิ รรณคดี 1 กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย ชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 4 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 40 ช่ัวโมง จำนวน 1.0 หน่วยกติ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ศึกษาประวัติวรรณคดีไทย ในสมัยวรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเกี่ยวกับ ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม จดุ มงุ่ หมาย ประวตั ิผูแ้ ตง่ ลกั ษณะการแต่ง วรรณศลิ ป์ ลกั ษณะเด่น โดยฝึกปฏิบัติแสดงความคิดเห็น พินิจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าวรรณคดีไทย สามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีสมรรถนะในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนมีมารยาท มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมในการศึกษาวรรณคดีและ วรรณกรรม เหน็ คณุ ค่า มีความรกั ความหวงแหน วรรณคดไี ทยและรักษาไว้ให้เปน็ มรดกของชาตสิ ืบไปมีความรัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจติ สาธารณะ ผลการเรยี นรู้ 1. มคี วามรเู้ ข้าใจความหมาย จุดมุง่ หมาย ลักษณะการแตง่ ลกั ษณะเดน่ และประเภทของ วรรณคดแี ละวรรณกรรม 2. มคี วามรู้ความเข้าใจเกยี่ วกบั ประวัติความเป็นมาของ กวคี นสำคญั ๆ ในแต่ละยคุ สมยั และ สามารถบอกชื่อผลงานที่แต่งได้ 3. มีความรู้เก่ยี วกับวรรณคดีสมยั กรุงสโุ ขทัย กรงุ ศรีอยุธยาตอนตน้ กรุงศรอี ยุธยาตอนกลาง กรุงศรอี ยุธยาตอนปลาย 4. สามารถแสดงความคดิ เห็น พินจิ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินคา่ วรรณคดีไทย 5. มีมารยาท มคี ณุ ธรรมจริยธรรม และคา่ นิยมทเ่ี หมาะสมในการศึกษาวรรณคดแี ละวรรณกรรม เหน็ คุณคา่ มคี วามรักษ์ความห่วงแหน วรรณคดไี ทยและรักษาไว้ใหเ้ ป็นมรดกของชาติสบื ไป รวมท้ังหมด 5 ผลการเรียนรู้

ประวตั วิ รรณคดี 17 ครูศุทธินี สดุ เอ่ียม โครงสรา้ งรายวิชา ท๓๐๒๐๓ ประวตั วิ รรณคดี ๑ กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๔๐ ชว่ั โมง จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต ภาคเรยี นที่ ๑ ที่ หนว่ ยการเรยี นรู้ ผลการเรยี นรู้ สาระสำคัญ เวลา น้ำหนกั ๑. วรรณคดเี พื่อชีวติ (ช่วั โมง) คะแนน ๑. มคี วามรู้ ความเขา้ ใจ เกย่ี วกบั วรรณคดีและประวัติ การมคี วามรู้ ความ ๑๐ ๒๐ วรรณคดี เขา้ ใจเกย่ี วกับวรรณคดที ำ ให้เกิดความความซาบซ้งึ และเหน็ คุณคา่ ของวรรณคดี ได้ชดั เจนยิง่ ข้ึน ๒. พาจติ สสู่ โุ ขทัย ๒. มคี วามรู้ ความเขา้ ใจ การมคี วามรู้ ๑๕ ๒๘ ๓. ยคุ ใหม่อยธุ ยา ๑๕ เก่ียวกบั วรรณคดีสมัยกรุง ความเขา้ ใจเก่ียวกบั ๔๐ ๓๒ สโุ ขทยั วรรณคดสี มยั กรงุ สโุ ขทยั ใน ๘๐ ๒๐ แง่มมุ ตา่ งๆทำให้ใหเ้ รา ๑๐๐ เขา้ ใจวรรณคดีได้แจ่มแจ้ง ยงิ่ ข้ึน และเกดิ แนว ความคิดในการนำไปใช้ใน ชีวติ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ๓. มคี วามรู้ ความเขา้ ใจ การมีความรู้ เกี่ยวกบั วรรณคดสี มยั อยธุ ยา ความเข้าใจเก่ยี วกบั ตอนต้น วรรณคดีสมยั กรุงศรีอยธุ ยา ตอนต้นในแง่มุมต่างๆทำให้ ให้เราเขา้ ใจวรรณคดไี ด้แจม่ แจ้งยิ่งขนึ้ และเกิดแนว ความคดิ ในการนำไปใชใ้ น ชีวติ ได้เป็นอย่างดี รวมเวลาเรียน / รวมคะแนนระหว่างภาค สอบปลายภาค รวมตลอดภาคเรยี น

ประวตั วิ รรณคดี 18 ครูศุทธินี สุดเอยี่ ม ๖ โครงสรา้ งแผนการจดั การเรียนรู้ รายวิชา ประวตั ิวรรณคดี ๑ รหสั วิชา ท๓๐๒๐๓ ช้ันมัธยมศกึ ษาปที ี่ ๔ ภาคเรยี นที่ ๑ เวลา ๔๐ ช่วั โมง หน่วยการเรียนรู้ แผนการ วธิ ีสอน/กระบวนการ ทักษะ เวลา จดั การเรียนรู้ จดั การเรียนรู้ การคดิ (ช่วั โมง) ๑. วรรณคดีเพือ่ ชวี ติ ๑. เขียนย่อความ - กระบวนการเขียน - สงั เคราะห์ ๖ (ความรู้ทว่ั ไปเกีย่ วกบั ๒. พูดแสดงความรู้ - กระบวนการพูด - วิเคราะห์ ๔ วรรณคดแี ละประวตั ิ วรรณคด)ี ๒. พาจติ สสู่ ุโขทยั ๓. เขยี นยอ่ ความ - กระบวนการเขยี น - สงั เคราะห์ ๘ - กระบวนการพูด - วิเคราะห์ ๔ (วรรณคดสี มัยกรุงสุโขทยั ) ๔. พูดวิเคราะหว์ รรณคดี - กระบวนการปฏิบตั ิ - วิเคราะห์ ๓ ๕. นำคุณคา่ จากวรรณคดไี ป - กระบวนการเขียน - สังเคราะห์ ๘ - กระบวนการพูด - วิเคราะห์ ๔ ใชใ้ นชวี ติ - กระบวนการปฏิบัติ - วเิ คราะห์ ๓ ๓. ยุคใหม่อยธุ ยา ๖. เขียนย่อความ (วรรณคดีสมยั กรุงศรีอยุธยา ๗. พดู วเิ คราะห์วรรณคดี ตอนต้น) ๘. นำคุณค่าจากวรรณคดไี ป ใชใ้ นชีวติ

ประวตั ิวรรณคดี 19 ครูศุทธนิ ี สุดเอี่ยม เอกสารประกอบการเรยี น หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี ๑ วรรณคดีเพอ่ื ชีวติ เขียนยอ่ ความ เรือ่ งความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับวรรณคดีและประวตั ิวรรณคดี ( ๘ คะแนน ) บทเรียนเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดีและประวัติวรรณคดี จากหนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ ประวตั ิวรรณคดี ๑ ของเสนยี ์ วิลาวรรณ และคณะ หนา้ ๑ ถึงหน้า ๖ ความว่า ความหมายของวรรณคดี วรรณคดี เป็นคำที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำ Literature ในภาษาอังกฤษ ปรากฏครั้งแรกในพระราช กฤษฎีกาจัดตงั้ วรรณคดสี โมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หวั คำ วรรณคดี ประกอบขน้ึ จากคำ วรรณ ซ่ึงเป็นคำมาจากภาษาสนั สกฤต แปลวา่ หนงั สือ สว่ นคำ คดี เป็น คำเดียวกับคติ ซึ่งเป็นคำบาลีสันสกฤต แปลว่า เรื่อง ตามรูปศัพท์วรรณคดี แปลว่า เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นหนังสือ แต่ ความหมายเฉพาะหมายถึง หนงั สือที่ได้รับการยกยอ่ งวา่ แต่งดี หนังสือทไ่ี ด้รับการยกย่องวา่ แต่งดีมลี ักษณะดังน้ี ๑.ใช้ถอ้ ยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย ๒.ก่อใหเ้ กิดอารมณ์สะเทอื นใจ ๓.ยกระดบั จติ ใจใหส้ ูง ๔.ใชเ้ ปน็ แบบแผนในการแตง่ ได้ ความหมายของวรรณกรรม วรรณกรรม หมายถึงเรื่องที่เขียนขึ้นทั้งหมด โดยไม่จำกัดรูปแบบ ความมุ่งหมายและคุณค่า วรรณกรรมที่แต่งดีประกอบด้วยศิลปะของการเรียบเรียงหรือที่เรียกว่า วรรณศิลป์ วรรณกรรมนั้นก็จัดเป็น วรรณคดี ประเภทของวรรณคดี การแบง่ ประเภทวรรณคดตี ามเกณฑ์ตา่ ง ๆ แบง่ ตามความมงุ่ หมาย แบ่งได้ ๒ ประเภท คอื ๑. สารคดี ๒. บนั เทิงคดี แบ่งตามลักษณะทีแ่ ตง่ แบ่งได้ ๒ ประเภท คอื ๑. รอ้ ยแก้ว ๒. รอ้ ยกรอง แบง่ ตามลกั ษณะการจดบนั ทกึ แบ่งได้ ๒ ประเภท คอื ๑. วรรณคดีที่บนั ทกึ เป็นลายลักษณ์อกั ษร

ประวัติวรรณคดี 110 ครศู ุทธินี สดุ เอี่ยม ๒. วรรณคดีทไี่ มไ่ ดบ้ นั ทกึ เป็นลายลกั ษณอ์ กั ษร สารคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธีการเขียนให้เกิดความ บนั เทิงเปน็ ผลพลอยได้ไปดว้ ย บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนกุ สนานเพลิดเพลนิ แก่ผู้อ่านมากกวา่ ความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิง คดยี อ่ มมีเน้ือหาท่ี เปน็ สาระสำคัญแทรกอยดู่ ว้ ยในรูปของคติชวี ติ เป็นเกรด็ ความรู้ ร้อยแกว้ หมายถงึ ความเรียงทใ่ี ช้ภาษาพดู ธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะ ด้วยเสียงและความหมาย รอ้ ยกรอง หมายถึง ขอ้ ความที่เรยี บเรียงตามกำหนดของคณะ และสมั ผัสบังคบั ของแต่ละชนิด คณะ ไดแ้ ก่ จำนวนคำและจำนวนวรรคในแต่ละบท ลักษณะบังคับ ได้แก่ กำหนดสัมผัส กำหนดคำเอก คำโท หรือกำหนดลหุ ครุ ร้อยกรองอาจเรียกว่า คำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่งเป็นกลอนโคลง ร่าย กาพย์ และฉนั ท์ วรรณคดีที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีท่ีบันทักไว้เปน็ หนังสือ อาจ เป็นตวั จารึก ตัวเขียน หรือตวั พิมพ์ก็ได้ วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า วรรณคดมี ขุ ปาฐะ เช่น เพลงพ้ืนบ้าน บทเห่กลอ่ ม นิทานพ้ืนบา้ น ปรศิ นาคำทาย การแบง่ ประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเก่ียวกันได้ สารคดีโดยท่ัวไปมักแตง่ เปน็ ร้อยแก้ว แตอ่ าจแตง่ เป็นร้อยกรองก็ได้ บันเทิงคดีอาจแต่ง เป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ หนงั สอื ท่เี ปน็ ยอดแห่งวรรณคดีไทย ประเภทกวีนพิ นธ์ ๑.ลลิ ิตพระลอ เป็นยอดของลิลิต ๒.สมทุ รโฆษคำฉันท์ เปน็ ยอดของคำฉนั ท์ ๓.เทศนม์ หาชาติ เป็นยอดของกลอนกาพย์ (รา่ ยยาว) ๔.เสภาเรื่องขนุ ช้างขนุ แผน เป็นยอดของกลอนสุภาพ ประเภทละคร ๑. บทละครเรือ่ งอิเหนา พระราชนพิ นธใ์ นรัชกาลท่ี ๒ เปน็ ยอดของบทละครรำ ๒. บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์ในรชั กาลท่ี ๖ เปน็ ยอดของบทละครพูด ประเภทนทิ าน เร่ืองสามก๊ก ของเจา้ พระยาพระคลงั (หน) เปน็ ยอดของความเรียงนทิ าน ประเภทอธบิ าย เรอื่ งพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธใ์ นรัชกาลท่ี ๕ เปน็ ยอดของ ความเรยี งอธบิ าย ววิ ัฒนาการของวรรณคดไี ทย นับแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงรัชกาลท่ี ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทย มีลักษณะ เป็นแบบฉบับท่ี ยึดถือสืบตอ่ กนั มา ในรัชกาลที่ ๔ คนไทยเริม่ มีความสมั พันธก์ บั ประเทศตะวนั ตก คตินิยมอนั เป็นวิถี ชวี ติ รวมถงึ ลักษณะของวรรณคดขี องคนไทย เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงและทวมี ากขึ้นเปน็ ลำดบั จนถงึ ปจั จุบนั

ประวตั ิวรรณคดี 111 ครูศทุ ธนิ ี สุดเอยี่ ม ลกั ษณะความแตกต่างระหว่างวรรณคดีไทยดง้ั เดมิ และวรรณคดไี ทยปัจจุบนั ที่สำคัญมีดงั นี้ ๑. อิทธิพล เดิมวรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และประเทศแถบตะวันออกบางประเทศ เช่นจีน ชวา อนิ โดนเี ซยี เปอร์เซยี หรืออิหร่าน ลังกา มอญ ปจั จุบนั ได้รบั อทิ ธิพลจากประเทศยุโรป ๒.ลักษณะคำประพันธ์ เดิมนิยมร้อยกรองขนาดยาวมากกวา่ รอ้ ยแก้ว ใช้ร้อยกรองทุกชนิด และเคร่งครดั ในฉันทลักษณ์ ปัจจุบันนิยมร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง เลือกใช้ร้อยกรองเฉพาะกลอน กาพย์ และโคลง มีการ ดัดแปลงร้อยกรองให้มีรปู ลักษณะผดิ แผกไปจากเดิมและไมเ่ ครง่ ครดั ในฉนั ทลกั ษณ์ ๓.รูปแบบ เดิมนิยมแต่งเป็นนิทาน นิยาย พงศาวดาร ตำนาน ตำรา คำสอน กฎหมาย จดหมายเหตุ บท ละครรำ บทพากย์โขน นิราศ บทสดุดี ปัจจุบันนิยมแต่งเป็นนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ปาฐกถา บันทึก อนุทิน บทละครพดู บทละครวิทยุ บทละครโทรทศั น์ บทภาพยนตร์ ๔.แนวคิด เดิมแทรกคตินิยมแบบอุดมคติโดยมีแบบโรแมนติก และสัญลักษณ์ปนอยู่ด้วย ปัจจุบันเน้นสจั สังคม และสงั คมนยิ ม โดยมสี ญั ลักษณน์ ยิ มปนอย่ดู ว้ ย ๕.เนอื้ เรื่อง เดิมมักเปน็ เรื่องไกลตัว มีลักษณะเชิงจนิ ตนาการ เชน่ เร่อื งศาสนา จกั ร ๆ วงศ์ ๆ เทพเจา้ กษัตริย์ ยักษ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเรื่องใกล้ตัว และมีลักษณะเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ เช่น เรื่องประจำวัน ของคนท่ัวไป ปญั หาสังคม เศรษฐกจิ การเมอื ง ตามท่ีเปน็ จรงิ ๖.ธรรมเนียมนิยม มีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน นิยมเลียนแบบครู เช่น ขึ้นต้นบทประณาม ชมบ้านเมือง ชมการแตง่ กาย ชมไม้ ชมนก ชมเนอ้ื ชมกระบวนทัพ ปัจจบุ นั ไมม่ โี ครงสร้างท่ีเป็นแบบแผนตายตัว ผู้แต่งมีอิสระที่ จะคดิ แบบอยา่ งของตนเอง ๗.ความมุ่งหมาย เดิมมุ่งให้คุณค่าทางอารมณ์ และสร้างศรัทธามากกว่าปัญญา ปัจจุบันเน้นคุณค่าทาง ความคดิ และปญั ญาในการวิเคราะหว์ ิจารณเ์ ป็นสำคัญ ๘.การดำเนินเร่ือง เดิมเน้นศิลปะการใช้ภาษาและรสวรรณคดีมากกว่าองคป์ ระกอบของเรอ่ื ง เช่น โครง เรอ่ื ง แนวคิด ความสมจริง ปัจจุบันให้ความสำคัญขององค์ประกอบของเรื่อง เช่น โครงเรอ่ื ง แนวคิด ความสมจริง มากกวา่ ศิลปะการใช้ภาษาและรสวรรณคดี ๙.ผู้แต่ง เดมิ ผู้แต่งจำกัดเฉพาะพระเจา้ แผ่นดนิ เจ้านาย นักปราชญร์ าชกวี ปัจจบุ ันผู้แตง่ สว่ นมากเป็น ประชาชนทวั่ ไป ๑๐.ผู้อปุ ถมั ภ์ เดมิ พระเจ้าแผ่นดินและเจา้ นายเป็นผชู้ บุ เลย้ี งกวีทส่ี รา้ งสรรคว์ รรณคดี ปจั จบุ ันผู้เขียนมี รายได้จาการขายงานประพนั ธข์ องตน ความสำคัญของการเรยี นประวัตวิ รรณคดี เนื่องจากวรรณคดีส่วนใหญ่เกิดจากแรงบันดาลใจที่ผู้แต่งมีต่อสภาพ และเหตุการณ์แวดล้อมในยุคสมัย ของผูแ้ ต่ง เช่น ผแู้ ต่งมีความชน่ื ชมในวีรกรรม ความสามารถหรือบุญบารมขี องบุคคลสำคัญก็แต่งเป็นเร่ืองประเภท สดดุ ี เชน่ ลิลติ ยวนพ่าย และโคลงเฉลิมพระเกยี รตสิ มเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ถ้ามีความเลอ่ื มใสศรัทธาในศาสนา ก็แตง่ เร่อื งธรรมะและชาดก เชน่ ไตรภูมพิ ระร่วงและมหาเวสสนั ดรชาดก ถงึ แมว้ รรณคดีที่เกดิ จากความสะเทือนใจ สว่ นตัวของผแู้ ต่งเอง เช่น เพลงยาว นิราศ นิทาน และนวนยิ าย ผแู้ ตง่ ก็มกั สรา้ งเน้ือหาและฉากของเร่ืองข้ึนจากส่ิง ที่ผู้แต่งได้ประสบพบเห็นเป็นส่วนมาก นอกจากนี้รูปแบบคำประพันธ์ ประเภท และสาระสำคัญของเรื่องก็มัก เป็นไปตามคตินิยมของสังคมในสมัยที่แต่ง เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดี ให้ได้คุณค่าแท้จริง จำเป็นต้องเรียน วรรณคดีในเชิงประวัติ หรือประวัตวิ รรณคดปี ระกอบด้วย

ประวัติวรรณคดี 112 ครูศทุ ธินี สุดเอย่ี ม การเรียนประวัตวิ รรณคดีในลกั ษณะดงั กล่าว จึงใหป้ ระโยชน์หลายประการ เชน่ ๑.ชว่ ยเพม่ิ ความเข้าใจและความซาบซ้งึ ในคุณค่าของวรรณคดี ๒.ไดค้ วามรู้เกี่ยวกบั ภาษาและลักษณะอกั ขรวิธีสมยั ต่าง ๆ ๓.ไดค้ วามรู้เก่ยี วกับความสัมพันธก์ ับตา่ งประเทศสมัยต่าง ๆ ๔.ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมือง ควบคู่กันไปกับวิวัฒนาการของ วรรณคดใี นสมยั ต่าง ๆ การแบง่ สมัยของวรรณคดีไทย การแบง่ สมยั ของวรรณคดไี ทยนยิ มแบ่งตามชว่ งระยะเวลาทีเ่ กดิ วรรณคดี โดยยดึ ราชธานเี ป็นหลัก ดังน้ี ๑.สมัยกรุงสุโขทยั ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๙๒๐ เปน็ เวลา ๑๒๐ ปี มหี ลักฐานทางวรรณคดีปรากฏอยู่ เพียง ๒ รัชกาล คือสมยั พอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราชและสมัยพระมหาธรรมราชาท่ี ๑ (พระยาลไิ ท) ๒.สมัยกรงุ ศรีอยธุ ยา แบ่งเปน็ ๓ ระยะ คอื ๒.๑ สมยั กรุงศรอี ยุธยาตอนต้น ต้ังแต่สมัยสมเด็จพระรามาธบิ ดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึง สมัยสมเด็จพระพระรามาธิบดีท่ี ๒ พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ เป็นระยะเวลา ๑๗๙ ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป ๙๐ ปี เพราะบา้ นเมอื งไม่สงบสุข มีสงครามกับพม่า ๒.๒ สมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาตอนกลาง ตง้ั แตส่ มัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถงึ สมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๕๓ - ๒๒๓๑ เปน็ เวลา ๗๘ ปี จากนน้ั วรรณคดีเว้นวา่ งไปอีก ๔๔ ปี ๒.๓ สมยั กรงุ ศรอี ยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั บรมโกศจนถึงเสยี กรุงศรอี ยุธยา พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐ เปน็ เวลา ๓๕ ปี ๓.สมยั กรงุ ธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ เป็นเวลา ๑๕ ปี ๔.สมยั กรงุ รัตนโกสนิ ทร์แบง่ ออกเป็น ๒ ระยะ คือ ๔.๑ สมัยกรุงรตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ ตัง้ แตร่ ัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลก มหาราช จนถึงรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระนงั่ เกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๔ เปน็ ระยะเวลา ๖๙ ปี ๔.๒ สมัยกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ปจั จบุ นั หรือสมัยรบั อทิ ธพิ ลตะวนั ตก ต้ังแตร่ ัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว พ.ศ. ๒๓๙๔ ถึงปัจจบุ นั เป็นสมยั ที่วรรณคดีไทยไดร้ บั อิทธพิ ลจากตะวันตก รปู แบบของวรรณคดี เนือ้ เรอ่ื ง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

ประวัตวิ รรณคดี 113 ครูศทุ ธินี สดุ เอ่ยี ม ( ความรู้ทวั่ ไปเก่ยี วกบั วรรณคดีและประวตั ิวรรณคดี ) ๑. ข้อใดให้ความหมายของคำว่า วรรณคดีได้ถูกต้อง ก. หนงั สือทแี่ ต่งข้นึ เพื่อความสนุกสนาน ไมค่ ำนึงถึงสาระแกน่ สาร ข. หนงั สือที่แต่งข้นึ ทุกชนิดไมจ่ ำกัดรปู แบบ ความมุง่ หมายและคุณค่า ค. หนังสือทแี่ ต่งข้นึ โดยการรวบรวมความร้ไู วเ้ ป็นหมวดหมู่ เน้นข้อเทจ็ จริง ง. หนงั สือท่ีแต่งขึน้ โดยมีจุดมุ่งหมายทีจ่ ะแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ และข้อคิดเหน็ ประกอบเหตุผล จ. หนงั สือทแ่ี ต่งขึ้นโดยผูเ้ ขียนต้องการถา่ ยทอดความรสู้ ึกนกึ คดิ ไปสู่ผอู้ ่านด้วยศิลปะการประพันธอ์ ัน วิจติ รประณีต ๒. วรรณกรรมแตกต่างจากวรรณคดใี นเร่ืองใด ก. วรรณคดจี ะแต่งโดยกวีในราชสำนัก สว่ นวรรณกรรมจะแต่งโดยกวีที่เป็นชาวบา้ น ข. เน้อื เร่ืองของวรรณคดีจะเป็นเร่อื งจักรๆวงศๆ์ สว่ นเนือ้ เรอื่ งของวรรณกรรมจะสะท้อนชวี ติ ชาวบา้ น ค. วรรณคดีกำหนดรูปแบบการแตง่ เปน็ รอ้ ยกรอง ส่วนวรรณกรรมกำหนดรูปแบบการแต่งเป็นรอ้ ยแก้ว ง. วรรณคดีจะจำกัดรูปแบบ ความมุ่งหมาย และคุณค่า ส่วนวรรณกรรมไมจ่ ำกัดรูปแบบ ความมงุ่ หมาย และคุณคา่ จ. วรรณคดีจะเน้นความไพเราะของถอ้ ยคำ สำนวนมากกวา่ เนือ้ เรือ่ ง สว่ นวรรณกรรมเน้นเน้อื เรื่อง มากกวา่ ถอ้ ยคำสำนวน ๓. ขอ้ ใดไม่จัด เปน็ งานประเภทวรรณกรรม ก. นทิ านอีสป ข. บทโทรทศั น์ ค. ตำราฉันทลกั ษณ์ ง. คอลัมน์ในหนังสอื พมิ พ์ จ. ปาฐกถาทางวิทยุกระจายเสียง ๔. วรรณคดใี นข้อใดท่บี ันทึกเปน็ ลายลกั ษณ์อกั ษร ก. ศลิ าจารึก ข. นทิ านพ้ืนบ้าน ค. ปรศิ นาคำทาย ง. เพลงกล่อมเด็ก จ. บทร้องเลน่ ของเด็ก

ประวตั ิวรรณคดี 114 ครศู ุทธนิ ี สุดเอ่ียม ๕. ถา้ แบ่งวรรณคดีตามลักษณะของเนื้อเรือ่ ง ข้อใดจัดเป็นวรรณคดพี ธิ ีการ ก. รามเกยี รติ์ ข. มหาชาตคิ ำหลวง ค. ลลิ ิตตะเลงพ่าย ง. ตำราพิชัยสงคราม จ. ลิลิตโองการแช่งน้ำ ๖. วรรณคดีประเภทสารคดีแตกต่างจากวรรณคดีประเภทบนั เทงิ คดตี ามข้อใด ก. สารคดีเนน้ ความสนกุ สนาน ส่วนบันเทิงคดีเนน้ ความรู้ ข. สารคดีเนน้ การท่องเทีย่ ว สว่ นบันเทงิ คดีเนน้ สภาพชีวิตในราชสำนกั ค. สารคดเี น้นการอนรุ กั ษ์ธรรมชาติ สว่ นบนั เทงิ คดเี น้นสภาพชีวิตคนในสังคม ง. สารคดเี น้นการให้ความรูม้ ากกวา่ ความสนุกสนาน ส่วนบันเทิงคดเี นน้ ความสนกุ สนานเพลดิ เพลินและ ใหแ้ งค่ ิด จ. สารคดีเนน้ สภาพความเปน็ อยู่ของชาวชนบท ส่วนบันเทงิ คดีเน้นสภาพความเปน็ อยูข่ องชาวเมือง หลวง ๗. วรรณคดีทเ่ี กี่ยวกบั การเทิดทนู บคุ คลหรือชมบ้านชมเมือง กวีมักจะแต่งดว้ ยคำประพันธ์ประเภทใด ก. โคลง ข. ฉันท์ ค. กาพย์ ง. กลอน จ. ความเรียง ๘. เพราะเหตุใดวรรณคดีในสมยั ก่อนมักจะเปน็ เรือ่ งเกย่ี วกับศาสนา จักรๆวงศๆ์ หรืออิทธฤิ ทธิ์ปาฏิหาริย์ ก. วรรณคดใี นสมัยก่อนจำกดั เนื้อเร่อื งในการเขียน ข. กวใี นสมัยก่อนนยิ มเขียนเรื่องไกลตวั โดยใช้ความคดิ หรือจินตนาการของตนเอง ค. วรรณคดีในสมัยก่อนจะเนน้ ในเรอื่ งการสง่ั สอนใหท้ ำความดี ง. กวมี กั จะนำเรอื่ งใกลต้ วั มาแต่งวรรณคดเี พ่ือสะท้อนเหตุการณห์ รือความเป็นอยใู่ นราชสำนัก จ. กวีตอ้ งการสะท้อนใหเ้ หน็ ความเชอื่ ของสังคมในดา้ นไสยศาสตร์ ๙. เพราะเหตุใดเมือ่ ยุคสมยั เปลี่ยนไป วรรณคดีจงึ ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ก. เพราะกวีต้องการใหว้ รรณคดีท่ีแต่งขนึ้ เป็นเหตุการณป์ ัจจุบัน ข. เพราะกวีตอ้ งการจะอ้างอิงเรื่องราวตา่ งๆเพ่ือเปน็ หลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ ค. เพราะกวีต้องการใหเ้ รื่องท่ีแต่งข้นึ สะท้อนสภาพเหตุการณ์ในสมยั นั้นๆ ง. เพราะกวตี ้องการให้งานเขยี นท่อี อกมามรี ปู แบบทแ่ี ตกตา่ งจากงานเขยี นเดมิ จ. เพราะกวตี ้องการแสดงภูมิร้วู ่าตนมีความรใู้ นเร่ืองน้ันๆจรงิ

ประวตั วิ รรณคดี 115 ครศู ุทธนิ ี สุดเอยี่ ม ๑๐. บทรอ้ ยกรองทีก่ วนี ิยมแตง่ ในปัจจุบันมีลักษณะแตกต่างจากของเดิมตามขอ้ ใด ก. ไมน่ ยิ มสมั ผัส ข. เคร่งครัดในฉนั ทลกั ษณ์มากขึ้น ค. เลียนแบบคำประพนั ธข์ องต่างประเทศ ง. มีรูปแบบใหมๆ่ และไมเ่ ครง่ ครัดในฉนั ทลกั ษณ์ จ. เนน้ ความไพเราะของถ้อยคำ ไม่เน้นเนื้อหาหรอื ความหมาย ๑๑. วรรณคดไี ทยเร่มิ เปลย่ี นแปลงในสมัยใดเปน็ เพราะเหตุใด ก. รชั กาลท่ี ๑ เพราะมีการสร้างเมอื งหลวงใหม่ทำใหว้ ถิ ีการดำเนินชวี ติ ของประชาชนเปลย่ี นไป ข. รชั กาลที่ ๒ เพราะเป็นยุคทองของวรรณคดี กวีเร่ิมแต่งคำประพันธ์รูปแบบต่างๆ ค. รัชกาลที่ ๔ เพราะไทยตดิ ต่อกบั ชาตติ ะวันตกทำให้คตินิยมตา่ งๆเปล่ยี นแปลงไป ทำใหเ้ น้ือเรอื่ งและ รูปแบบของวรรณคดเี ปล่ยี นแปลงตามไปด้วย ง. รชั กาลที่ ๕ เพราะคนไทยเรม่ิ ไปศึกษายังตา่ งประเทศทำให้ค่านยิ มต่างๆเปลีย่ นไป จ. รชั กาลที่ ๖ เพราะกวเี รมิ่ สนใจวรรณคดขี องต่างประเทศ และหันมาแตง่ วรรณคดตี ามรปู แบบ ต่างประเทศมากขน้ึ ๑๒. การแต่งวรรณคดี ในปจั จุบนั เนน้ จุดมงุ่ หมายในข้อใดเป็นสำคญั ก. ม่งุ ให้เกดิ รสของวรรณคดี ข. ม่งุ ใหเ้ กดิ คณุ คา่ ทางอารมณ์ ค. มงุ่ ใหเ้ กดิ ความรู้ความเขา้ ใจ ง. ม่งุ ใหเ้ กดิ ความศรัทธาในผู้เขยี น จ. ม่งุ ใหเ้ กดิ คณุ ค่าทางความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ๑๓. การศึกษาประวตั ิของกวีมคี วามสำคญั ต่อการศึกษาวรรณคดหี รือไม่ เพราะเหตใุ ด ก. มี เพราะทำให้ทราบมลู เหตุและแรงบนั ดาลใจในการแต่งวรรณคดีซงึ่ จะทำให้เข้าใจวรรณคดไี ด้ลกึ ซงึ้ ยง่ิ ข้ึน ข. มี เพราะประวัติของกวที ำใหผ้ ู้อา่ นสามารถจินตนาการเหตุการณ์ในสมัยน้ันๆได้ดีย่ิงขนึ้ ค. ไมม่ ี เพราะเน้ือเร่ืองในวรรณคดีไม่เก่ยี วโยงกบั ประวตั ผิ ู้แต่ง ง. ไม่มี เพราะเนื้อเรื่องในวรรณคดีมีอรรถรสอยแู่ ล้ว ไม่จำเป็นต้องทราบประวัตผิ ู้แต่ง จ. ไม่มี เพราะวรรณคดีแต่ละเรอื่ งจะมคี ่านิยมและสะท้อนเหตุการณต์ า่ งๆอยูแ่ ลว้ จงึ ไม่จำเป็นตอ้ งศึกษา ประวตั ขิ องผแู้ ต่ง ๑๔. เพราะเหตใุ ดการแตง่ วรรณคดีไทยจึงนยิ มข้นึ ต้นดว้ ยบทไหวค้ รู ก. บทไหวค้ รูเป็นบททไ่ี พเราะที่สุด ข. ต้องการให้กวีมีหลกั ยึดเหนีย่ วในการแต่งวรรณคดี ค. ต้องการแสดงความเคารพตอ่ ครู อาจารย์และรักษาขนบอนั ดีงามไว้ ง. บทไหว้ครูเปน็ บททีแ่ ตง่ ยากและแสดงถงึ ความสามารถของผู้แต่ง จ. กวีตอ้ งการขอพรจากครูบาอาจารยเ์ พ่อื ความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้อ่าน

ประวตั ิวรรณคดี 116 ครศู ุทธินี สดุ เอยี่ ม ๑๕. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของวรรณคดี ก. ชว่ ยขดั เกลาจติ ใจของผอู้ ่าน ข. ให้ความสนกุ สนานเพลิดเพลิน ค. เขา้ ใจรูปแบบของวรรณคดไี ด้มากข้นึ ง. ให้ความรแู้ ละเสริมสติปญั ญาแก่ผูอ้ ่าน จ. เขา้ ใจสภาพชีวิต สังคม และวฒั นธรรมของคนแตล่ ะสมัย ๑๖. คำวา่ Literature ใชใ้ นความหมายเฉพาะ ตรงกับคำไทยว่าอะไร ก. กวีนพิ นธ์ ข. วรรณคดี ค. พงศาวดาร ง. นิทานพืน้ บา้ น จ. นิทานชาดก ๑๗. ข้อใดไม่ใชล่ ักษณะของวรรณคดี ก. ยกระดับจติ ใจให้สูงขึ้น ข. ใช้สำนวนโวหารดีสละสลวย ค. ก่อใหเ้ กิดอารมณ์สะเทือนใจ ง. ใช้เป็นแบบแผนในการแตง่ ได้ จ. ม่งุ อบรมคณุ ธรรมจริยธรรม ๑๘. ประเภทวรรณคดใี นข้อใดจับคู่ได้ถูกต้อง ก. นวนยิ ายเปน็ สารคดี ข. พงศาวดารเปน็ บนั เทิงคดี ค. บทละครพูดเป็นบันเทิงคดี ง. จดหมายเหตุเป็นบันเทิงคดี จ. ปาฐกถาเป็นท้ังสารคดีและบันเทงิ คดี ๑๙. ยอดแหง่ วรรณคดปี ระเภทลลิ ิตของวรรณคดสี โมสรคือเรื่องใด ก. ลิลติ พระลอ ข. ลิลิตยวนพา่ ย ค. ลลิ ติ ตะเลงพ่าย ง. ลิลติ โองการแช่งนำ้ จ. ลิลิตนารายณ์สบิ ปาง ๒๐. ถ้าแบ่งวรรณคดีตามความมุง่ หมาย สามกก๊ จัดอยูใ่ นข้อใด ก. ตำนาน ข. พงศาวดาร ค. สารคดี ง. บันเทงิ คดี

ประวตั วิ รรณคดี 117 ครูศุทธินี สุดเอ่ยี ม จ. พงศาวดารแปล ๒๑. การทีว่ รรณกรรมไทยเปล่ียนแปลงจากเร่ืองจกั รๆวงศ์ๆ มาเปน็ เรอื่ งชวี ติ คนท่วั ๆไป เช่นปญั หา เศรษฐกิจ สภาพสังคม ทำใหเ้ กดิ ส่งิ สำคญั ในขอ้ ใด ก. คนไทยเลิกเชือ่ เทพเจา้ ผสี าง ข. คนไทยขาดจินตนาการที่กว้างไกล ค. คนไทยกล้าวเิ คราะห์วิจารณม์ ากขน้ึ ง. คนไทยหันมาสนใจปัญหาใกล้ตวั กันมากข้ึน จ. คนไทยเลิกอา่ นบทวรรณกรรมจกั รๆวงศ์ๆ ๒๒. \"การทอี่ ิทธพิ ลตะวันตกเขา้ มาทำให้วรรณกรรมไทยไม่เคร่งครดั การใช้ฉนั ทลักษณเ์ หมือนอดีตและ ตอ่ ไปคนไทยจะไม่รูจ้ ักฉันทลกั ษณ์ทางวรรณคดีไทย\" คำกล่าวน้ีเปน็ ไปได้หรือไม่ เพราะเหตใุ ด ก. ได้ เพราะคนไทยชอบเลยี นแบบตะวันตก ข. ได้ เพราะเด็กเยาวชนไมไ่ ด้รบั การปลูกฝังค่านยิ มไทย ค. ไม่ได้ เพราะยงั มีการศึกษาฉนั ทลกั ษณ์ตามโรงเรียนท่ัวประเทศ ง. ไม่ไดเ้ พราะกวีไทยหลายคนยังรักษาฉนั ทลักษณ์อย่างเครง่ ครัด จ. ไมแ่ นใ่ จ เพราะเหตกุ ารณย์ งั ไม่เกดิ ๒๓. การเรียนประวัติวรรณคดีให้ประโยชนแ์ กผ่ ู้ศึกษาในแง่ใดมากทส่ี ดุ ก. รฐั ศาสตร์ ข. ภูมศิ าสตร์ ค. จริยศาสตร์ ง. ภาษาศาสตร์ จ. ประวตั ศิ าสตร์ ๒๔. การอ่านบทประพันธห์ รือวรรณคดีบางเร่ืองทำให้รับรู้สภาพและเหตุการณ์บา้ นเมืองในสมยั นั้นๆได้ เพราะเหตใุ ด ก. กวแี ละนักประวตั ิศาสตร์เป็นคนๆเดยี วกนั ข. กวสี อดแทรกเหตกุ ารณ์สำคัญไวใ้ นงานเขยี นของตน ค. ไม่มผี จู้ ดบนั ทึกประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ กวีจึงแตง่ เป็นวรรณกรรม ง. กวที กุ คนได้รบั การปลูกฝังให้บอกเลา่ เหตุการณบ์ ้านเมืองลงไว้ในวรรณคดี จ. กวไี ม่ได้ต้ังใจบันทกึ เหตุการณ์ไว้ เพียงแต่นำเร่ืองราวท่เี กดิ ขึ้นในยคุ ของตนมาเขยี นเท่านั้น ๒๕. คำว่า วรรณคดี บญั ญตั ขิ ึ้นเมื่อใด ก. รชั กาลที่ ๓ ข. รชั กาลที่ ๔ ค. รัชกาลที่ ๕ ง. รัชกาลท่ี ๖ จ. รัชกาลที่ ๗

ประวตั ิวรรณคดี 118 ครศู ุทธินี สดุ เอีย่ ม ๒๖. กลอนสักวา จดั เปน็ วรรณกรรมประเภทใด ก. บทเพลง ข. บทขับร้อง ค. บทละคร ง. เพลงยาว จ. บทพากย์ ๒๗. ขอ้ แตกต่างระหว่างวรรณกรรมกบั วรรณคดี คืออะไร ก. การเล่าเรื่อง ข. การใชค้ ำประพนั ธ์ ค. การแสดงวรรณศิลป์ ง. ความมุ่งหมายในการแต่ง จ. การเสนอประเดน็ ขดั แย้งในการดำเนินเรอื่ ง ๒๘. หากเยาวชนไม่สนใจศกึ ษาวรรณคดี ผลกระทบสำคัญท่จี ะเกิดขึ้นคืออะไร ก. เป็นคนมีจติ ใจหยาบกระด้าง ข. ไมเ่ คารพคำสอนดๆี ในวรรณคดี ค. ประพฤตติ นให้เส่ือมเสยี หรือผิดศลี ธรรม ง. ชอบความฟุ้งเฟ้อตามอย่างค่านิยมตะวนั ตก จ. ขาดความชำนาญด้านภาษาและอกั ขรวิธีสมัยตา่ งๆ

ประวตั วิ รรณคดี 119 ครูศุทธินี สุดเอีย่ ม เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรยี นรู้ที่ ๒ พาจิตสู่สุโขทยั เขียนย่อความเร่ือง วรรณคดสี มยั กรุงสุโขทัย ( ๘ คะแนน ) บทเรียนเรื่อง วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย จากหนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ ประวัติวรรณคดี ๑ ของเสนีย์ วิ ลาวรรณ และคณะ หน้า ๑๕ ถงึ หน้า ๓๙ ความวา่ วรรณคดีไทยซึ่งเก่าแก่ที่สุด และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานปรากฏมาจนทุกวันนี้มี เพียงแต่สมัยสุโขทัยลงมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอักษรไทยเพิ่งเกิดขึ้นในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุง สโุ ขทัยและการเขยี นหนังสอื ในครั้งโนน้ ใชก้ ระดาษข่อยหรือใบลานจงึ สูญหายไปได้งา่ ย วรรณคดใี นสมัยนี้มีลักษณะ เป็นการบรรยายสภาพบ้านเมือง วฒั นธรรม และ การอบรมสงั่ สอนศีลธรรม ซ่งึ ล้วนเปน็ วรรณคดีประยุกต์ มิไดม้ ุ่ง ให้ความบันเทิงโดยตรงและแต่งด้วยร้อยแก้วเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำที่ใช้นอกจากคำไทยโบราณแล้วก็ยังมีคำบาลี สนั สกฤต และเขมรปะปนอยู่ด้วย วรรณคดสี ำคัญในสมัยสุโขทัย มดี งั น้ี ๑. ลายสือไท ๒. ศลิ าจารกึ หลักที่ ๑ ๓. สุภาษติ พระร่วง (บญั ญัตพิ ระรว่ ง) ๔.ไตรภมู ิพระร่วง ๕. ตำรบั ท้าวศรจี ุฬาลักษณ์ (เรวดนี พมาศ , นางนพมาศ) ความสมั พนั ธ์ระหว่างเหตกุ ารณ์ทางประวตั ศิ าสตร์และวรรณคดี เหตกุ ารณ์ทางประวัติศาสตร์ พ.ศ. ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี พอ่ ขนุ ศรีอินทราทิตย์ต้งั กรงุ สุโขทยั เปน็ ราช ๑๘๐๐ ธานี (ประมาณ) พอ่ ขนุ รามคำแหงฯทรงประดิษฐอ์ ักษรไทย พอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราชครองราชสมบัติ ๑๘๒๒ พ่อขนุ รามคำแหงฯโปรดให้จารกึ ศลิ าจารกึ หลัก ที่ ๑๘๒๖ ๑ และทรงพระราชนพิ นธ์สุภาษิตพระร่วง พอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราช โปรดให้สร้าง ๑๘๓๕ พระแทน่ มนังศิลา พญาลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระรว่ ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต ๑๘๔๒ ๑๘๘๘ ความเคลือ่ นไหวทางวรรณคดี พญาลิไทครองราชยส์ มบตั ิ ๑๘๙๐ พญาลิไทให้จารึกศิลาจารกึ หลักต่าง ๆ เหตกุ ารณท์ างประวัติศาสตร์ พ.ศ. นางนพมาศแต่งตำรับท้าวศรีจฬุ าลกั ษณ์ ๑๙๐๔ พญาลิไทเสดจ็ ออกผนวช ๑๙๑๑- พญาลไิ ทเสดจ็ สวรรคต ๑๙๑๗ ๑๙๒๑ พระมหาธรรมราชาท่ี ๒ เสียเอกราชแกก่ รุง ศรอี ยธุ ยา

ประวตั ิวรรณคดี 120 ครศู ุทธนิ ี สุดเอยี่ ม ๑. ลายสือไท ดินแดนสุวรรณภูมิที่ชนชาติไทยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานนั้น มีความเจริญทางวัฒนธรรมจากอินเดีย แพรห่ ลายอยกู่ อ่ น ชนชาตสิ ำคญั ในดินแดนแถบนี้ คอื มอญ อยู่ทางตะวันตก และเขมรอย่ทู างตะวันออกของลุ่ม น้ำเจ้าพระยา กลา่ วเฉพาะความเจริญทางอักษรศาสตร์ เร่ิมแรกชนชาติทั้งสองน้ใี ชต้ วั อักษรคฤนถ์ของอินเดียฝ่าย ใต้ ต่อมาไดด้ ดั แปลงเป็นอักษรของตนเองและตา่ งจารึกเร่ืองราวความรุ่งเรืองของชาตติ นเองไว้บนแผน่ ศิลาเป็นอัน มาก อักษรคฤนถ์ของอินเดียฝ่ายใต้ที่ใช้แพร่หลายในสุวรรณภูมิ ได้แก่ อักษรคฤนถ์สมัยราชวง ศ์ปัลลวะของ กษัตรยิ ์อนิ เดียประมาณ พ.ศ. ๑๑๑๐ อักษรอนิ เดียมี ๒ ชนิด คือ อักษรอนิ เดียฝา่ ยเหนอื และอักษรอินเดียฝ่าย ใต้ ซึ่งต่างมีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีและอักษรพราหมีนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชใช้จารกึ เรื่องราวทางพุทธ ศาสนาและเหตกุ ารณใ์ นสมัยพระองค์ประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ อักษรพราหมี และอกั ษรชนิด ต่าง ๆ ในยุโรปล้วน มตี น้ เคา้ มาจากอักษรฟนี เิ ซยี อกั ษรของคนไทยก่อนพอ่ ขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อกั ษรไทย เมื่อครั้งบรรพบรุ ุษของคนไทยในประเทศไทยปัจจุบนั ยังตั้งภูมิลำเนาอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน คงใช้ อักษรลักษณะเดียวกับจีน เมื่อคนไทยอพยพเข้ามาในสุวรรณภูมิ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากมอญและเขมร ซึ่งมีความเจริญอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อน คนไทยสมัยนั้นจึงมีความคุ้นเคยกับอักษรมอญ อักษรขอม และ อกั ษรปลั ลวะ ซึง่ เป็นต้นแบบของอักษรมอญและอกั ษรขอม ยอรช์ เซเดส์ นักปราชยช์ าวฝร่งั เศสใหค้ วามเหน็ ว่า คนไทยเคยดัดแปลงอักษรมอญมาใช้เรียกว่า อักษรไทยเดิม ต่อมาคนไทยตกอยู่ในอำนาจปกครองของเขมรช่ัว ระยะเวลาหนึ่ง จึงรับอักษรขอมและภาษาขอมมาใช้ ความเคยชินกับอักษรขอมและภาษาขอมยังคงมตี ่อมา แม้ พอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราชทรงประดษิ ฐ์อักษรไทยข้ึน เมอ่ื พ.ศ. ๑๘๒๖ แลว้ ก็ยังปรากฏศลิ าจารกึ อักษรขอมและ ภาษาขอม ในรัชกาลพระยาลิไทมีการศึกษาภาษาขอมและใช้อักษรขอมเขียนคำสอนทางพุทธศาสนาสืบต่อมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั การประดิษฐ์อกั ษรไทย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า ลายสือไท หรือตัวหนังสือไทยไม่เคยมีมาก่อน (อาจ หมายความว่าตวั หนงั สอื ไทยแบบพอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราชนี้ยังไมเ่ คยมีมาก่อน แต่ใชต้ ัวหนงั สือไทยแบบ อ่นื ๆ อยู่แลว้ ) พ่อขนุ รามคำแหงมหาราช ทรงประดษิ ฐข์ ้ึนเม่ือมหาศักราช ๑๒๐๕ ตรงกบั พทุ ธศักราช ๑๘๒๖ ดังข้อความทว่ี า่ เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ ลายสือไทน้ี ลายสือไทนจี้ งึ มเี พอ่ื ขุนผูน้ ้ันใสไ่ ว้ นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในหนังสือจินดามณีฉบับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ วา่ พระรว่ งทรงคิดแบบอกั ษรไทยขนึ้ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖

ประวตั ิวรรณคดี 121 ครูศทุ ธนิ ี สดุ เอย่ี ม ตน้ เค้าของอักษรพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อคนไทยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นแก่เขมรได้สำเร็จในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ เป็นโอกาสที่คนไทยได้ปลดแอกวัฒนธรรมทางภาษาและหนังสือจากเขมร พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึง ทรงริเริ่มประดิษฐ์ลายสือไทขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ และทรงใช้อักษรที่ทรงประดิษฐ์ใหม่นี้จารึกพระราชประวัติ และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในรัชกาลของพระองค์ท่านไว้ด้วยภาษาไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓ ๕ ดัง ขอ้ ความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับต้นเค้าของอักษรพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในทรรศนะต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ยอร์ช เซเดส์ กล่าวว่าอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงปรับปรุงจากอักษรขอมหวัด และ อกั ษรไทยเดมิ เนื่องจากช่วงเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยน้ัน มีอักษรแพร่หลายอยู่แล้ว คือ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ และอักษรขอม จึงเชื่อได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชต้องได้แนวคิดมาจากอักษร ดังกล่าวและคงจะไดเ้ ลือกเอาแต่ลกั ษณะท่สี ะดวกแก่การเขยี นมากทส่ี ุดมาดดั แปลงเปน็ อักษรไทย อกั ษรปลั ลวะ อกั ษรมอญ และอกั ษรขอมมลี กั ษณะที่ตรงกัน ดังน้ี ๑. ใช้อักษรต่างกัน ๒ ชุด สำหรับเขียนอักษรสังโยค คือ พยัญชนะตัวสะกดและตัวนำชุดหนึ่ง กับ พยัญชนะตัวตามอีกชุดหนึ่ง พยัญชนะตัวสะกดและตัวนำอยู่ข้างบน พยัญชนะตัวตามซ้อนอยู่ข้างใต้ มีลักษณะ คลา้ ยตัวย่อของพยญั ชนะตัวสะกดและตัวนำ ๒. รปู สระวางไว้รอบรปู พยัญชนะทงั้ ข้างหน้าขา้ งหลงั ข้างบนและขา้ งลา่ ง ๓. อักษรปัลลวะบางตัวมีขีดอยู่ส่วนบน อักษรขอมมีกนกซึ่งเรียกว่า ศก หรือหนามเตยอยู่ส่วนบนทุกตวั อักษรมอญไมม่ ศี ก หรอื หนามเตย ลักษณะดังกลา่ วของอักษรปัลวะ อกั ษรมอญและอกั ษรขอม มีความยุ่งยากในการเขียน การอา่ นเปน็ อนั มาก ลกั ษณะอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๑. รปู อกั ษร ๑. รูปพยัญชนะมีชุดเดียวใช้ได้ทั้งตัวสะกด ตัวนำและตัวตาม ส่วนมากดัดแปลงมาจากอักษรขอม และอกั ษรมอญ บางตัวมีเคา้ มาจากอักษรปลั ลวะโดยตรง พยญั ชนะทกุ ตัวไมม่ ีศก หรือหนามเตยอย่างอักษรขอม และขีดอย่างอักษรปัลลวะ นอกจากนี้ยังมีรูปพยัญชนะครบทุก เสยี งพยญั ชนะของภาษาไทย ๒. รปู สระคิดขน้ึ ใหม่ ครบทุกเสยี งสระของภาษาไทย สว่ นมากดัดแปลงมาจากอักษรขอม ๓๗ ๓. รูปวรรณยุกต์มี ๒ รูป คือไม้เอก ( ‘ ) ไม้โท ( + ) คิดขึ้นใหม่ทั้งหมด อักษรปัลลวะ อักษรมอญ และอกั ษรขอมไม่มีรปู วรรณยุกต์ ๔. ตัวเลขคิดขึ้นใหมท่ ัง้ หมด สว่ นมากดัดแปลงมาจากเลขขอม ๕. นฤคหิต ใชป้ ระสมกับสระ อา เป็นสระอำ

ประวัตวิ รรณคดี 122 ครูศทุ ธนิ ี สุดเอ่ียม ๒. อักขรวิธี ๑. เรียงพยัญชนะตัวสะกด ตัวตามและตัวนำ ตัวตาม ต่อเนื่องในวรรคเดียวกัน ต่างกับอักษรปัล ลวะ อักษรมอญ และอักษรขอม ซึ่งเขียนตัวตามไว้ข้างใต้ตัวสะกด หรือตัวนำ และใช้พยัญชนะ ต่างชดุ กนั ๒. วางรูปสระไว้บรรทัดเดียวกับพยัญชนะ และสูงเสมอพยัญชนะ สระส่วนมากอยู่หน้าพยัญชนะ เฉพาะสระ อะ อา อำ อยหู่ ลังพยัญชนะ ๓. สระ อะ เม่อื มีตวั สะกด ใชต้ วั สะกดซ้ำกนั เชน่ ขบบ (ขับ) ๔. สระเอีย เม่ือไม่มตี ัวสะกด ใช้ ย ๒ ตัว ถา้ มตี ัวสะกด ใช้ ย ตวั เดียว ๕. สระ อือ สระ ออ เมือ่ ไม่มตี วั สะกด ไมใ่ ช้ อ เคยี ง เชน่ พ่ (พอ่ ) ๖. สระ อัว เมือ่ ไมม่ ีตวั สะกด ใช้ ว ๒ ตวั เมื่อมตี ัวสะกดใช้ ว ตัวเดยี ว เชน่ ตวว (ตัว) ๗. สระ อึ ใช้ หรือ การเปลย่ี นแปลงอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ รัชกาลพญาลิไท การเขียนตัวอกั ษรเปลี่ยนไปจากรชั กาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลายประการเช่น ๑. รูปสระ อิ อี อื อย่บู นพยญั ชนะ อุ อู อยขู่ า้ งลา่ ง ๒. รูปสระ ใ ไ โ สูงขึน้ พน้ พยัญชนะ ๓. เร่ิมใชไ้ มผ้ ดั หรือไมห้ ันอากาศแทนตัวสะกดซ้ำบา้ ง แต่ยงั ไมใ่ ช้ทั่วไป เชน่ วงั ทงั หลงั ถนน ๔. ตวั ญ เพ่ิมเชงิ ขึ้นอย่างปจั จุบัน เดมิ เขียนไมม่ เี ชิง ๕. เพิม่ ตวั ฤๅ ฦๅ ลักษณะอักษรและอักขรวิธีของพอ่ ขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีการดัดแปลงต่อมาจนยตุ ิลงในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑ และใชเ้ ป็นแบบอยา่ งมาจนทุกวันนี้ กล่าวคือ (๑) ใช้ไมผ้ ดั หรือไมห้ ันอากาศทั่วไป (๒) สระเอยี ใช้ เ- ีย อย่างเดยี ว (๓) สระออื สระออ เม่ือไม่มีตวั สะกด ใช้ อ เคยี ง สำหรับเครื่องหมายวรรณยุกต์ สันนิษฐาน มีครบ ๔ รูป คือ ไม้เอก ( ' ) ไม้โท ( ้ ) ไม้ตรี ( ๊ ) ไม้จัตวา ( ๋ ) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประมาณ พ.ศ. ๒๒๗๕ ตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสอื จินดา มณใี นรัชกาลนี้ อกั ษรของพอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราช มคี ุณสมบัตเิ ด่นสะดวกแก่การเขยี นการพมิ พ์ เช่น ๑. ใช้รูปพยญั ชนะชดุ เดยี วทั้งพยัญชนะตัวสะกด ตัวนำ และตัวตาม ๒. ใช้รูปสระทม่ี คี วามสงู เสมอตวั พยัญชนะ ๓. วางรปู สระไวใ้ นบรรทัดเดยี วกับตวั พยัญชนะ และสว่ นมากอย่หู นา้ ตัวพยัญชนะ นอกจากนี้มีรูปพยัญชนะและสระครบทุกเสียง และใช้รูปวรรณยุกต์กำกับระดับเสียงสูงต่ำอันเป็น ลกั ษณะเฉพาะของภาษาไทย รูปอักษรและอักขรวธิ ขี องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงมปี ระสิทธภิ าพมากกว่าของ ชาตอิ ืน่ ๆ เพราะนอกจากเขยี นภาษาไทยได้สะดวกแลว้ ยังสามารถถ่ายเสียงภาษาตา่ งประเทศไดใ้ กล้เคยี งอกี ดว้ ย

ประวตั ิวรรณคดี 123 ครูศุทธินี สดุ เอี่ยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทขึ้นก่อนที่ชนชาติไทยในดินแดนอื่น ๆ จะมีอักษรของ ตนเองโดยเฉพาะปรากฏว่าอักษรของเผ่าชนไทยเหล่านั้นมีอายุน้อยกว่าลายสือไทของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทั้งสิน้ เชน่ อกั ษรไทยอาหม ไทยล้ือ ไทยใหญ่ ไทยเผา่ ต่างๆ ในตงั เกี๋ย ลาว ไทยลา้ นนา และไทยอีสาน ลายสือไทของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากใช้ในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาแล้ว ยังแพร่หลาย เข้าไปในอาณาจักรล้านนา รัฐฉานของพม่า ลาว และแคว้นตังเกี๋ยของเวียดนาม ดังปรากฏหลักฐานศิลาจารึก อักษรแบบลายสือไทลา้ นนาและรฐั ฉาน สว่ นอกั ษรลาวและอักษรไทยในตังเก๋ียได้รับอิทธิพลโดยตรงจากลายสือไท คอื มีรปู ลักษณะและอักขรวิธีคล้ายคลงึ ลายสอื ไทมากทส่ี ดุ หลวงวิจิตรวาทการ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดกี รมศิลปากรได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ลายสือไทของพ่อขนุ รามคำแหงมหาราชไว้ว่า ปัญหาที่ว่าพ่อขุนรามคำแหงจะเป็นคนแรกที่บัญญัติอักษรไทยหรือไม่นั้นก็มีข้อถกเถียงกันอยู่มาก ศาสตราจารย์ เซเดส์ เห็นไปในทางที่ว่า พ่อขุนรามคำแหงไม่ใช่คนแรกที่บัญญัติอักษรไทยขึ้น เพราะก่อนสมัย พ่อขุนรามคำแหงนั้นไทยก็มีตัวหนังสือใช้ ซึ่งศาสตราจารย์ เซเดส์ เรียกว่า อักษรเดิม แต่ตามทางตรวจค้น ปรากฏวา่ ตัวอกั ษรไทยท่มี ีอยู่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงนัน้ ไม่ใช่อักษรไทย เป็นอักษรมอญกบั เขมรที่ไทยเอามาใช้ เขียนภาษาไทย เมื่อเขียนไม่สะดวกโดยตัวอักษรไม่พอกับสำเนียงและภาษาก็เปลี่ยนแปลงบ้าง แต่รูปร่างของ ตัวอักษรก็คงเป็นอักษรมอญเขมรอยู่อย่างชัด พ่อขุนรามคำแหงได้บัญญัติตัวอักษรไทยขึ้นซึ่งเมื่อพิเคราะห์ดูแต่ อักษร ก็น่าคิดไปว่า พ่อขุนรามคำแหงเพียงแต่เอาตัวอักษรแบบมอญเขมรมาเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ความจรงิ นั้นการที่พ่อขุนรามคำแหงบัญญัติอักษรไทยขึ้น ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวอักษร ข้อสำคัญอยู่ที่วิธีเขียน คือ ตัวอักษรมอญเขมรมีตัวซ้อนที่เรียกว่า สังโยค พ่อขุนรามคำแหงได้ยกเลิกวิธีสังโยค ซึ่งต้องนับว่าเป็นโชคลาภ ของชาตไิ ทยนกั หนา เพราะวา่ ถา้ เรายังใช้วิธีสังโยคอยู่จนบัดน้แี ลว้ ไทยเราจะไม่สามารถมีเคร่ืองพิมพ์ดีดใช้ได้เลย ขอ้ สำคัญอกี ประการหนง่ึ คอื สระ ซ่งึ มอญเขมรเอาไว้ขา้ งบนบ้าง ข้างลา่ งบา้ ง พอ่ ขนุ รามคำแหงบัญญัติให้เรียง อยูใ่ นบรรทัดเดยี วกนั ซง่ึ ตรงกับวิธเี ขยี นของยโุ รป พ่อขุนรามคำแหงไม่รู้หนงั สือยโุ รปเลย แตม่ ีความฉลาดตรงกัน เข้าอย่างน่าอศั จรรย์ นอกจากนั้น พ่อขนุ รามคำแหงยังเพมิ่ วรรณยุกต์บอกสำเนยี งไวใ้ หต้ รงตามสำเนยี งไทย ขอ้ บัญญัติเหลา่ นี้ต้องนับว่าเปน็ ของใหม่ และถึงอยา่ งไร ๆ พ่อขนุ รามคำแหงได้รับเกียรติยศวา่ เปน็ คนแรกทบ่ี ัญญตั ิ ลายสือไท ๒. ศลิ าจารึกหลักที่ ๑ ผ้แู ตง่ ศิลาจารึกหลักที่๑ หรอื ศิลาจารกึ พ่อขนุ รามคำแหงมหาราช สนั นิษฐานวา่ พ่อขนุ รามคำแหงฯ ทรงแตง่ เองโดยเฉพาะตอนต้น ซง่ึ เป็นเรอ่ื งเล่าประวตั ขิ องพระองคเ์ องใชค้ ำว่า “กู” ตลอด ตอนตอ่ ไปอาจมพี ระราช ดำรัสสั่งให้แต่งขึ้นและจารกึ ไว้ เนอ่ื งจากตอนน้ีไมใ่ ชค้ ำวา่ “กู” เลยเปลย่ี นใช้คำว่า “พ่อขุนรามคำแหง” พอ่ ขุนรามคำแหงมหาราชทรงเปน็ กษตั รยิ พ์ ระองค์ท่ี ๓ แห่งกรงุ สุโขทัย เสวยราชสมบัติ พ.ศ. ๑๘๒๒ เปน็ พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์กับพระนางเสือง พระนามเดิมของพระองค์ไม่ปรากฏ ส่วนพระ นามรามคำแหงนนั้ พระราชบิดาพระราชทานให้ เมือ่ พระชนมายไุ ด้ ๑๙ พรรษา ภายหลงั ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพระองค์ได้รบั ราชสมบัติจากพ่อขนุ บานเมืองซงึ่ เปน็ พระเชษฐา ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้ เจริญร่งุ เรืองในด้านตา่ งๆ เช่น การปกครอง กฎหมาย การเพาะปลกู การคา้ ขาย การศกึ ษา พุทธศาสนา สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และการขยายอาณาเขต ดังปรากฏหลักฐานในศลิ าจารึกหลกั ที่ ๑ ของ

ประวัติวรรณคดี 124 ครูศุทธนิ ี สุดเอีย่ ม พระองค์ สนั นษิ ฐานว่า พ่อขนุ รามคำแหงฯ ครองราชย์สมบัติ ประมาณ ๒๐ ปี เสดจ็ สวรรคต พ.ศ.๑๘๔๒ ประวัติ สนั นษิ ฐานวา่ ศิลาจารกึ หลักที่ ๑ จารึกขน้ึ เมอ่ื ประมาณ พ.ศ. ๑๘๓๕ เปน็ ปที ี่พ่อขนุ รามคำแหง มหาราชรบั สงั่ ให้สรา้ งพระแทน่ มนังศิลาและจารกึ หลกั อน่ื ๆ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว ขณะดำรงพระอสิ ริยยศเปน็ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ และผนวชท่ีวัด ราชาธิวาสในรัชกาลที่ ๓ ทรงนำศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจากพระราชวังเก่ากรุงสุโขทัยลงมา กรุงเทพฯ พรอ้ มกับพระแท่นมนังศิลา เมอื่ พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ทรงอ่านศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงฯ เป็นอันดับแรก ต่อมาปรากฏว่า เซอร์ จอห์น เบาริง ชาวอังกฤษ ได้พิมพ์ตวั อย่างจารกึ นั้นพร้อมท้ังลายพระหัตถ์คำแปลและพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น ภาษาอังกฤษ บัสเตียนชาวเยอรมันได้พิมพ์คำแปลจารึกของพ่อขุนรามคำแหงฯ เป็นภาษาอังกฤษเผยแผ่ที่ กรงุ เบอร์ลนิ เมอื่ พ.ศ.๒๔๐๘ หลงั จากนน้ั ศาสตราจารยบ์ รัดเลย์ บตุ รชายหมอ บรดั เลย์ ชาวอเมริกัน ได้ศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมและนำไปแสดงปาฐกถา ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุของสยามสมาคม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ภายหลัง ยอร์ซ เซเดส์ ขณะดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ หอพระสมุด วชิรญาณ ได้ตรวจสอบจารึกพ่อขุน รามคำแหงฯ และทำคำอา่ นและแปลเป็นภาษาฝรง่ั เศสไว้อย่างครบถ้วน ศลิ าจารึกของพ่อขนุ รามคำแหงมหาราชฯ นี้ หอพระสมุดวชิรญาณจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกตามคำอ่านของ ยอร์ช เซเดส์ รวมอยู่ในประชุมจารึก ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ต่อมา ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำอ่านเดิมบางคำใน พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ศาสตราจารย์ ม.จ. สภุ ัทรดิศ ดิศกุล ผ้ชู ่วยศาสตราจารยอ์ ไุ รศรี วรศะรนิ นายตรี อมาตยกลุ นายทองสืบ ศภุ ะมารค์ นาย เฉลยี ว จันทรทรพั ย์ และนายประสาร บญุ ประคอง อา่ นและตรวจสอบจารกึ ของ พอ่ ขุนรามคำแหงฯ พรอ้ มทงั้ จารึกสโุ ขทัยท้ังหมดในประชุมจารึกภาคท่๑ี และไดจ้ ัดพมิ พ์ข้นึ นับเปน็ ฉบบั พมิ พภ์ าษาไทยท่ีสมบูรณ์คร้ัง ที่ ๒ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงนำศลิ าจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาไวท้ ว่ี ดั ราชา ธิวาส เป็นแห่งแรกต่อมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอพระสมุดวชิรญาณเดิมและ พิพิธภัณฑสนถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ ประดิษฐานอยู่ที่ พิพธิ ภัณฑสนถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ทำนองแตง่ แตง่ เปน็ ความเรียงร้อยแก้วแต่บางตอนมสี ัมผัส ความมุ่งหมาย เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญของกรุงสุโขทัย ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ และความร่มเยน็ เป็นสุข ของประเทศ และอาณาเขตของบ้านเมืองในเวลานัน้ เร่อื งย่อ ศลิ าจารึกพอ่ ขุนรามคำแหงมหาราช สูงประมาณ ๑ เมตร ๑๐ เซนตเิ มตร มีคำจารึก ๔ ดา้ น กล่าวคอื ดา้ นท่ี ๑ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงพระราชประวัติว่า ทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสื อง เม่ือ พระชนมายุ ๑๙ พรรษา ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดซึ่งมาตีเมืองตาก พระราชบิดาจึงพระราชทาน

ประวตั วิ รรณคดี 125 ครูศทุ ธินี สุดเอย่ี ม นามว่าพระรามคำแหง ในรัชกาลของพระราชบิดา และรัชกาลของพ่อขุนบานเมืองซึ่งเป็น พระเชษฐา พ่อขุน รามคำแหงมหาราชมสี ว่ นชว่ ยทะนบุ ำรงุ บา้ นเมือง เม่ือสน้ิ พ่อขนุ บานเมอื งแลว้ พระองค์จงึ ไดร้ าชสมบตั สิ บื ต่อมา ข้อความตอนนี้คงเป็นถ้อยคำของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพราะทรงใช้สรรพนามแทนพระองค์เองว่า “กู” ตอนที่ ๒ กล่าวถึงความเจรญิ รุ่งเรอื ง และความสมบูรณพ์ นู สขุ ของกรงุ สโุ ขทยั ว่า ในน้ำมปี ลา ในนามขี า้ ว การค้า ขายเป็นไปอย่างเสรี ทรัพย์สมบัติของผู้ตายตกเป็นมรดกแก่ทายาท การตัดสินความเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม พ่อ ขนุ รามคำแหงมหาราชทรงพระเมตตากรุณาแก่ผู้มาพึ่งพาบารมี แมแ้ ต่เชลยศึกก็ไม่ทรงลงโทษ และรบั สงั่ ให้แขวน กระดิง่ สำหรับราษฎรรอ้ งฎกี า ดา้ นท่ี ๒ ความต่อเนื่องมาจากด้านที่ ๑ คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพิจารณาฎีการ้องทุกข์ของราษฎร มีการ สร้างป่าไม้ผลและไม้ใบ มีบ่อน้ำ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และไพร่ฟ้าประชาชนเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา บำเพ็ญศาสนกิจในวันสำคญั ทางศาสนา มีวหิ ารและพระพุทธรปู ขนาดใหญข่ นาดกลาง งดงาม มพี ระเถระผู้ใหญ่ ด้านท่ี ๓ กล่าวถึงการปลูกไม้ตาล และการสกดั พระแท่นมนังศิลาในดงตาล สำหรบั พระสงฆ์แสดง พระธรรมใน วนั พระ ในวนั ธรรมดาพอ่ ขุนรามคำแหงมหาราชประทับว่าราชการ ดา้ นท่ี ๔ กล่าวถึงการก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การประดิษฐ์อักษรไทยเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศกั ราช ๑๘๒๖) ราชฏรมคี วามเข้มแข็งกล้าหาญเป็นทเ่ี กรงขามแก่ขา้ ศึก อาณาเขตกรงุ สโุ ขทัยกว้างขวางทั้ง สีท่ ศิ ทิศตะวนั ออกจดสระหลวง (เมืองเก่าอย่เู หนือหรือตดิ กบั พิษณุโลก) สองแคว (พษิ ณโุ ลก) ลุมบาจาย (นา่ จะ เป็นเมืองในลมุ่ น้ำป่าสัก) สคา (นา่ จะเปน็ เมืองในลมุ่ นำ้ ป่าสกั ) เวียงจันทน์ เวียงคำ ทิศใตจ้ ดคนที (บา้ นโคน อ.เมือง จ.กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท) สุพรรณภูมิ (เมืองเก่าใน จ. สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฝั่งมหาสมุทร ทิศตะวันตกจดเมืองฉอด หงสาวดี ทิศ เหนือจดเมอื งแพล (แพร่) เมอื งมา่ น (น่าน) เมอื งพลัว (อ.ปัว จ. น่าน) ชวา (หลวงพระบาง) ตวั อย่างข้อความบางตอน สภาพบ้านเมอื ง และความเป็นอยูข่ องประชาชน ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบเ่ อาจกอบในไพร่ ลทู ่างเพ่อื นจงู ววั ไปค้าข่ีม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่คา้ มา้ ค้า ใครจกั ใครค่ ้าเงือน (เงิน) ค้าทองค้า พระราชจรยิ วตั รของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงมีความกลา้ หาญเข้มแขง็ ทรงชนช้างชนะขนุ สามชน มีความเคารพจงรกั ภกั ดีต่อพระราชบิดาพระราชมารดา และพระเชษฐา เม่ือชว่ั พอ่ กู กบู ำเรอแก่พ่อกู กบู ำเรอแก่แมก่ ู กูไดต้ ัวเนอ้ื ตวั ปลา กเู อามาแก่พ่อกู กไู ดห้ มากส้ม หมาก หวานอันใด กินอร่อย กินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมืองไดช้ ้างได้งวง ได้ป่ัว ไดน้ าง ได้เงือนไดท้ อง กูไปเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกตู าย ยงั พกี่ ู กูพรำ่ บำเรอแกพ่ ่ีกู ดัง่ บำเรอแกพ่ อ่ กู พี่ กูตายจงึ ได้เมอื งแก่กูท้ังกลม

ประวตั วิ รรณคดี 126 ครูศุทธินี สดุ เอีย่ ม คุณคา่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีคุณค่าทางอักษรศาสตร์เป็นอันมาก ภาษาไทยสมัยพ่อขุน รามคำแหงฯ สว่ นมากใช้คำไทยแท้ มคี ำภาษาอ่นื ปะปนอยบู่ ้าง เช่น ภาษาสนั สกฤต บาลี และเขมร นยิ มใชค้ ำ คลอ้ งจองกัน บางตอนใช้โครงสรา้ งของประโยคซ้ำกนั สว่ นใหญ่เปน็ ประโยคสั้นๆ หมดจด ไมน่ ิยมใช้คำเช่ือมคำ ต่อ นอกจากนี้ศิลาจารึกยังให้ความรู้ทางทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น กล่าวถึงพระราช ประวัติ และพระราชจรยิ วัตรของพอ่ ขุนรามคำแหง สภาพความเป็นอยูข่ องประชาชนในด้านนิสัยใจคอ การทำ มาหาเลี้ยงชีพ การศึกษา การนับถือศาสนา ความเชื่อถือและการเล่นรื่นเริง ในส่วนของบ้านเมืองให้ความรู้ เกยี่ วกับกฎหมาย การปกครองแบบพอ่ ปกครองลูก การปกครองแบบนครรฐั ศิลปกรรม การประดิษฐ์อักษรไทย ความอดุ มสมบูรณ์ และอาณาเขตของบ้านเมอื ง ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้มีการแต่งวรรณกรรมในชั้นหลัง เช่น ลิลิตตำนาน พระแท่นมนังค ศิลาบาต ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และบทละครเรื่องอานุภาพของพ่อขุน รามคำแหงฯของหลวงวิจติ รวาทการ ๓ สภุ าษติ พระรว่ ง (บัญญตั พิ ระรว่ ง) ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิฐานว่า สุภาษิตพระร่วงรวบรวมขึ้นในสมัยพ่อขุน รามคำแหงมหาราช สุภาษิตพระร่วงน่าจะเป็นของพ่อขุนรามคำแหงฯ เพราะในสมัยนั้นไทยเพิ่งพ้นจากอำนาจ ของขอมจำเป็นต้องมีการปรับปรงุ บา้ นเมืองให้เจริญย่ิงกว่าขอมในทุก ๆ ทาง ทั้งในดา้ นจิตใจและความประพฤติ เมอ่ื พจิ ารณาถึงถ้อยคำและลักษณะคำประพนั ธ์ท่ีใช้ พอสรุปได้ว่า เดมิ คงจะเป็นของพระรว่ งสมัยสุโขทัยจริง แต่ ไดม้ ีการจดจำและแตง่ เตมิ คลาดเคล่อื นไปจากเดมิ ปรากฏหลักฐานจากสมุดไทย ในหอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานครว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรง พระราชนิพนธ์โคลงเรอ่ื งประดษิ ฐพ์ ระรว่ งซ่ึงมใี จความคลา้ ยสภุ าษิตพระรว่ ง จงึ มีผสู้ ันนิษฐานวา่ สภุ าษิตพระรว่ งคง จะไม่ได้มีมาแต่สมัยสุโขทัย น่าจะเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสโดยทรง ดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์เรือ่ งประดิษฐ์พระร่วง ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สภุ าษติ พระรว่ ง เมอื่ น้อยใหเ้ รียนวิชา ให้หาสนิ มาเมอ่ื ใหญ่ อยา่ ไฝเ่ อาทรพั ย์ท่าน อยา่ รริ ะรา่ นแกค่ วาม ประดิษฐ์พระร่วง เมอื่ เยาเสาวพากยส้อง แสวงคุณ ครันไวยไพบูลยทนู เทียบไว้ อย่าใฝใ่ นทรัพย์สุน ธรทา่ น อย่าราญการกิจให้ ราษฎรร้อนระสำ่ รสาย ประวัติ สุภาษิตนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบัญญัติพระร่วง ปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือ จารึกที่อยู่ผนัง ระเบียงด้านหน้าพระมหาเจดีย์องค์เหนือของวัดพระเชตุพนฯ ในราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และพิมพ์ ครัง้ แรกในประชมุ จารึกวดั พระเชตพุ นฯ ฉบบั หอพระสมดุ วชิรญาณรวบรวม ทำนองแต่ง ตอนต้นแต่งดว้ ยรา่ ยสุภาพ จบแบบโคลงสองสภุ าพ ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้หนงึ่ บท ความมุ่งหมาย เพ่ือสั่งสอนประชาชน

ประวตั วิ รรณคดี 127 ครศู ทุ ธินี สุดเอย่ี ม เรอ่ื งย่อ เร่ิมต้นกล่าวถึงพระรว่ งเจ้ากรุงสโุ ขทัย ทรงมุ่งประโยชน์ในกาลภายหน้า จึงทรงบญั ญัติสุภาษิตสำหรับ สอนประชาชนขึ้นไว้ สุภาษิตบทแรก คือ “เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินมาเมื่อใหญ่” สุภาษิตทั้งหมด ๑๕๘ บท จบลงดว้ ยโคลงกระทู้ บัณ เจดิ จำแนกแจ้ง พสิ ดาร ความเอย ฑิต ยุบลบรรหาร เหตุไว้ พระ ปนิ่ นคั ราสถาน อุดรสุข ไทยนา ร่วง ราชนามนี้ได้ กล่าวถ้อยคำสอน ตวั อยา่ งข้อความบางตอน เมื่อน้อยให้เรียนวิชา อย่าอวดหาญแก่เพื่อน เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรือนท่าน อย่าน่งงนาน การเรือนตนเร่งคิด อย่าน่งงชิดผู้ใหญ่ อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย โทษตนผิดรำพึง อย่าคะนึงถึงโทษท่าน หว่านพืชน์จักเอาผล เลี้ยงคนจักกินแรง อย่าขัด แขงผู้ใหญ่ เดอรทางอย่าเดอรเปลี่ยว น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ มีสินอย่าอวดมั่ง ผู้เถ้าสั่งจงจำความ ที่มีไภยพึง หลีก ครูบาสอนอยา่ โกรธ อยา่ ขอของรักมิตร คณุ ค่า สภุ าษิตพระรว่ งเปน็ คติโลกและคตธิ รรม ใช้ถอ้ ยคำคลอ้ งจองกัน สำนวนกะทดั รดั จับใจ จงึ มผี ู้จดจำไว้ได้ มาก และนำไปดัดแปลงแทรกไว้ในวรรณคดเี ร่ืองอนื่ เชน่ กาพยม์ หาชาติ สมัยสมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม กณั ฑก์ มุ าร ตอนชชู กตสี องกุมาร พระเวสสันดรทรงรำพึงวา่ เหมอื นชายชาติเส่ือมศรรี ิษยา มาตีก้ันสกัด ปลาที่หน้าไซ ร่ายยาวมหาเวสสันดร ชาดก ตอนพระนางมัทรีตรัสสอนพระชาลีและพระกัณหา ว่า อย่าใฝ่สูงให้ เกินศักดิ์ ตอนชูชกกล่าวแก่เจตบุตรว่า เราคิดว่าจะอาสาเจ้าจนตัวตายตามสุภาษิต และตอนพระเวสสันดร แสรง้ ตรสั ต่อวา่ พระนางมทั รวี ่า เข้าเถอ่ื นเจ้าลมื พรา้ ในเสภาขุนช้างขนุ แผน ตอน กำเนดิ พลายงาม กล่าวถึง วิชาที่พลายงามต้องศึกษาเพิ่มเติมเมื่ออยู่กับเจ้าหมื่นศรีเสาวรักษ์ ว่ามี สุภาษิตบัญฑิต พระร่วง โคลงโลกนิติ กล่าวถึงสุภาษิตหลายบทที่มีใจความตรงกับสุภาษิตพระร่วง เช่น การเรียนวิชา การตำหนิโทษผู้อ่ืน เสยี สินอยา่ เสยี ศักดิ์ การคบคนพาล นอกจากน้ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หวั ทรงนำสุภาษิตพระร่วง มาพระราชนพิ นธ์เป็นโคลงสีส่ ุภาพ ชื่อวา่ สภุ าษติ พระร่วงคำโคลง สุภาษิตพระร่วงแสดงชีวิตและค่านิยมเชิงสังคมของคนไทยไว้หลายแง่มุม เช่น ยกย่องความสำคัญของ การศึกษา รักอิสรเสรี รังเกียจความเป็นทาส รักความสงบ แต่ก็พร้อมที่จะต่อสู้ศัตรูที่มารุกราน มีความ จงรักภักดี และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิต แบ่งชั้นบุคคลตามหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม มี กริ ิยามารยาทเรียบร้อย สุภาพออ่ นน้อม ยกย่องความสัตยส์ ุจรติ ดีตอ่ มิตร และรักศกั ด์ิศรี เปน็ ต้น ๔. ไตรภมู พิ ระรว่ ง ผู้แตง่ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรอื พญาลิไท สันนิษฐานว่า พญาลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระรว่ ง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ ขณะครองเมืองศรีสัชนา ลัย พญาลิไทเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย เป็นพระราชโอรสของพญาเลอไทเสวยราชย์เม่ือ พ.ศ. ๑๘๙๐ พระองค์ทรงสนพระทัยในพุทธศาสนาเป็นพิเศษ ทรงศึกษาพุทธศาสนาและภาษาบาลีอย่าง แตกฉานในพระอาจารย์หลายสำนกั และได้เสด็จออกผนวชช่ัวระยะหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ นอกจากหนงั สอื ไตรภูมิพระร่วงแล้ว พญาลิไทมีพระราชดำรัสสัง่ ใหจ้ ารึกหลักศลิ าไว้ เช่น จารกึ นครชุม และจารึกปา่ มะมว่ ง

ประวตั วิ รรณคดี 128 ครศู ทุ ธินี สดุ เอี่ยม ประวตั ิ ไตรถูมิพระรว่ งเดมิ เรียกอกี อย่างหน่ึงวา่ เตภมู ิกถา หรอื ไตรภูมกิ ถา ซ่ึงตอ่ มาสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ไตรภูมิพระร่วง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่ง กรงุ สโุ ขทัย และเพ่ือให้คกู่ บั สุภาษติ พระรว่ ง หนงั สอื เรื่องนฉี้ บับเกา่ ทสี่ ดุ พระมหาช่วย วดั ปากน้ำหรือวดั กลาง จงั หวัดสมทุ รปราการ จารไวใ้ นใบลานดว้ ยอักษรขอม เมอื่ พ.ศ. ๒๓๒๑ ในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชนอกจากนี้ยังมีฉบับพระมหาจันทร์ จารไว้ด้วยอักษรขอม เช่นกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ หนังสือไตรภูมิพระรว่ งนี้ นายพิทรู มลวิ ลั ย์ ตรวจชำระโดยสอบทานกับตน้ ฉบับเดิมท้ังสอง และทำเชิงอรรถขึ้น ไว้เม่อื พ.ศ. ๒๕๑๗ ทำนองแตง่ เปน็ ความเรียงรอ้ ยแกว้ ความมุ่งหมาย เพอ่ื ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชมารดาและส่งั สอนประชาชน เรื่องย่อ เริ่มต้นเป็นบานแผนกบอกผู้แต่งวัน เดือน ปี ที่แต่งหลักฐานประกอบการเรียบเรียงว่าได้มาจากคัมภีร์ ทางพุทธศาสนาถงึ ๓๐ คมั ภีร์ ตลอดจนสำนกั เรยี นของผแู้ ต่ง และบอกความม่งุ หมายทแี่ ตง่ ว่า เพอ่ื เจริญพระอภิธรรมเทศนาโปรดพระราชมารดา และสั่งสอนประชาชนให้รู้จักกับบาปบุญคุณโทษตั้งอยู่ในคุณงาม ความดี เน้อื เรอื่ งเปน็ การอธิบายภมู ิท้ัง ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ กามภูมิ แบ่งออกเปน็ ๑๑ ประเภท คือ ทุคติภมู ิ หรือ อบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสรุ กาย และ ดิรัจฉาน สุคตภิ ูมิ คอื มนุสสภูมิ ๑ สวรรค์ ๖ ไดแ้ ก่ จตมุ หาราชิก ดาวดึงส์ ยามะ ดุสติ นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวตั ดี รปู ภูมิ แบ่งเป็นพรหมชนั้ ตา่ งๆ ๑๖ ชั้น ตามภมู ิธรรมดงั น้ี ปฐมฌาน ๓ ชัน้ คอื พรหมปารสิ ัชชา พรหมปโุ รหิตา มหาพรหมา ทตุ ิยฌาน ๓ ช้นั คือ ปรติ าภา อปั ปมาณภา อาภสั สรา ตตยิ ฌาน ๓ ชนั้ คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สภุ ากณิ หา จตุตถฌาน ๗ ช้ัน คอื เวหปั ผลา อสญั ญีสตั ตา อวิหา อตปั ปา สุทสั สา สุทสั สี อกนฏิ ฐา พรหม ๕ ชัน้ ต้ังแต่ อวิหาจนถงึ อกนิฏฐา มชี ่ือรวมวา่ พรหมช้นั สทุ ธาวาส อรูปภูมิ แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตอนต่อไปกล่าวถงึ การได้กำเนิด และสภาพความเป็นไปแหง่ ภมู นิ ั้น ๆ อย่างละเอยี ดลออ ตวั อย่างข้อความบางตอน เปรตบางจำพวก เปรตจำพวก ๑ มตี นใหญส่ ูงเพียงลำตาล และมผี มน้ันหยาบนัก แลมีตวั นั้นเหม็นหนักหนาหาที่จะดีบมิได้ สักแห่ง เขานั้นอดอยากเผ็ดเรด็ ไร้หนักหนา แม้นว่าข้าวเมล็ด ๑ ก็ดี น้ำหยาด ๑ ก็ดี ก็มิได้เข้าท้องเลยสักน้อย แลเปรตฝูงนีเ้ ม่อื กำเนดิ ก่อน เขานี้ตระหน่ีหนกั แล เขาบมิมกั กระทำบุญให้ทานเลย เขาเห็น ท่านกระทำบุญให้ทานไส้ มันย่อมหา้ มปรามเสียมิไดใ้ ห้ทา่ นทำบุญใหท้ านได้ ด้วยบาปกรรมอันตนตระหนีแ่ ลมิมัก ทำบญุ ใหท้ านดงั นนั้ เขาใหไ้ ปเปน็ เปรตแลอดอยากหนักหนา

ประวัตวิ รรณคดี 129 ครูศทุ ธินี สุดเอ่ยี ม คุณค่า ไตรภูมิกถานับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่เรียบเรียงตามหลักการค้นคว้าโดยใช้หลักฐานประกอบถึง ๓๐ คัมภีร์ บอกผู้แต่ง วันเดือนปี และความมุ่งหมายที่แต่งไว้ครบถ้วน มีความสำคัญในด้านอักษรศาสตร์ ศาสนา และสงั คม ในทางอักษรศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกบั ภาษา เนื่องจากถ้อยคำสำนวนในหนังสือนี้บางส่วนเก่าเสมอจารกึ ในหลักศิลาสมัยสุโขทัย แต่อาจมีข้อความสมัยหลังปนอยู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามความเก่าและน่าเชื่อถือได้มากกวา่ หนงั สอื ทสี่ ันนษิ ฐานว่าเกิดในสมัยเดยี วกนั คือ สภุ าษติ พระร่วง และตำรับทา้ วศรีจฬุ าลักษณ์ การพรรณนาความ ในหนังสือนี้นับว่าเป็นเลิศทำให้เกิดมโนภาพ เช่น เรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์ เขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ ช้างเอราวัณ แท่นบัณฑุกัมพล ต้นปาริชาต นกกรวิก ( การเวก ) ลักษณะทวีปทั้งสี่ นรกขุม ต่างๆ ให้แนวความคิดแก่กวีชั้นหลังในการแต่งโองการแช่งน้ำ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา มหาชาติ รามเกียรต์ิ สมบัติอมรนิ ทรค์ ำกลอน บทมโหรี เรือ่ งกากี ฯลฯ ในทางศาสนา นบั ว่าหนังสือนี้ชใ้ี ห้เหน็ บาปบญุ คุณโทษสมความมงุ่ หมายของผู้แตง่ ตรึงจิตใจของผู้ได้ อา่ นได้ฟงั มผี นู้ ำเร่อื งราวบางตอนจากหนังสอื นีไ้ ปวาดเปน็ รปู ตามวดั ก็มี ในทางสังคม หนังสือไตรภูมิพระร่วงสะท้อนถึงการศึกษาและการอบรมศีลธรรมในสมัยนั้น พระเจ้า แผ่นดิน เจ้านายและราษฎรสามัญต่างใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนวิชาทั่วไป ตลอดจนปรัชญาและจริยธรรมทาง ศาสนา พระเจ้าแผ่นดินทรงวางพระองค์เสมอบิดาและครูอาจารย์ของราษฎรทรงสั่งสอนราษฎรด้วยพระองค์เอง สงั คมสโุ ขทยั ยดึ ม่ันอดุ มการณส์ ูงสุด ยกยอ่ งคณุ งามความดีของบุคคลเปน็ สำคัญ เชอ่ื ม่นั ในผลแหง่ กรรม พากัน บำเพญ็ ทานและสรา้ งปูชนยี สถาน และถาวรวตั ถไุ วด้ ว้ ยแรงศรัทธา ๕. ตำรับท้าวศรีจฬุ าลักษณ์ ผแู้ ตง่ นางนพมาศ ธิดาพระศรีมโหสถกับนางเรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในรัชกาลพระร่วงเจ้า ซ่ึง สนั นษิ ฐานว่า เปน็ พญาลไิ ท นางนพมาศได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดาท้ังทางจรยิ ศึกษา และพุทธศิ กึ ษา มคี วามรู้ สูงทั้งภาษาไทย และสันสกฤต ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การแต่งกาพย์กลอน โหราศาสตร์ การขับร้อง และการช่างสตรี นางนพมาศได้ถวายตัวรับราชการในพระร่วงเจ้า มคี วามดคี วามชอบเป็นพเิ ศษ เช่นประดิษฐ์โคม ลอยพระประทีปเป็นรปู ดอกบวั ไดร้ บั ตำแหน่งเป็นสนมเอก มีบรรดาศักดิเ์ ป็นท้าวศรจี ุฬาลกั ษณ์ ประวัติ หนังสอื เรอื่ งตำรับทา้ วศรีจฬุ าลักษณ์ มชี ่อื อย่างอน่ื ว่า เรวดนี พมาศ หรอื นางนพมาศ สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยไว้ในคำนำฉบับพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ ว่า เรื่องราวของ หนงั สอื อาจมจี รงิ แตส่ ำนวนภาษาคงจะแต่งข้นึ ใหมร่ ะหวา่ งรชั กาลท่ี ๒ กบั รชั กาลท่ี ๓ โดยเฉพาะนิทานแทรกเร่ือง นางนกกระตอ้ ยติวดิ นางนกกะเรียน และนางชา้ ง ซึ่งเป็นข้อความเปรียบเทยี บบริภาษความประพฤติของนางใน สันนิษฐานว่าเปน็ พระราชนิพนธ์ของรชั กาลท่ี ๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวินิจฉัยว่า นพมาศ เดิมคงหมายถึง พิธี ๙ เดือน คอื เว้นเขา้ พรรษา ๓ เดือน ข้อความที่ยืนยันแจ้งชัดให้เห็นว่าหนังสือเรื่องนี้มีผู้แต่งเติมเพิ่มข้อความขึ้นใหม่ในภายหลัง คือ ตอนว่า ด้วยชนชาติฝรั่งหลายชาติซึ่งยังไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า อเมริกัน ก็ เพิ่งเกิดขึ้นครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะช่างทำแผนที่คนหนึ่งไปทำแผนที่ให้ปรากฏรู้ได้ชัดว่าเป็นทวีปหนึ่งต่างหาก มิใช่อินเดยี ฝ่ายตะวนั ตกดังทเ่ี ข้าใจกันมาแต่ก่อน จึงได้เรียกทวปี นนั้ ว่า อเมรกิ า นอกจากน้ียังมีข้อความกล่าวถึง ปนื ใหญ่ซึ่งยังไม่มีในสมยั นนั้ ด้วย

ประวตั ิวรรณคดี 130 ครูศุทธินี สุดเอีย่ ม ทำนองแตง่ แต่งเป็นความเรยี งร้อยแกว้ บางตอนเปน็ บทดอกสรอ้ ยซ่งึ แต่งเพิม่ เตมิ ภายหลัง ความมุ่งหมาย เพื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมด้านประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในสมัยสุโขทัย และเพื่อเป็นหลักในการ ประพฤตปิ ฏบิ ัติตนแกข่ า้ ราชการฝา่ ยใน เร่อื งยอ่ เริม่ ต้นกล่าวถึงประเทศ ภาษา และชนชาติต่างๆ เช่น ชมพทู วปี มัชฌิมประเทศ ปัจจนั ตประเทศ และ สิงหลประเทศ แบง่ เปน็ ภาษาตา่ งๆ เชน่ มคธพากย์ สยามพากย์ หริภญุ ชยั พากย์ และกล่าวถงึ ชนชาติ ต่างๆ เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า รามัญ และมะริกัน(อเมริกัน) ฯลฯ ต่อจากนั้น ยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า แ ละ สภาพความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย ประวัตินางนพมาศตั้งแต่เยาว์วัย การศึกษา การเข้ารับราชการ ความดี ความชอบในขณะรับราชการ โดยประดิษฐโ์ คมรปู ดอกบวั พานหมากสองชั้นรับแขกบา้ นแขกเมืองและพานดอกไม้ สำหรับบชู าพระรัตนตรัย บรรยายถงึ คุณธรรมของนางสนมตลอดจนพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีจองเปรยี ง ลอยพระประทีป พระราชพิธคี เชนทรัศวสนาน พระราชพธิ ีจรดพระนงั คัล เป็นตน้ ตัวอยา่ งข้อความบางตอน ประวัติลอยกระทง ครั้นถึงโคมรูปดอกกระมุทของข้าน้อย สมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรพลางตรัสชมว่า โคมลอย อย่างนี้งามประหลาดยังหาเคยมีไม่ เป็นโคมของผู้ใดคิดกระทำ ท้าวศรีราชศักดิ์โสภาก็กราบบังคมทูลว่า โคมของ นางนพมาศธิดาพระศรมี โหสถ.... จึงมีพระราชบริหารบำหยัดสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดบั กษัตริย์ใน สยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษว์ ันเพ็ญเดอื นสบิ สองพระราชพธิ ีจองเปรียงแล้ว กใ็ หก้ ระทำโคมลอยเป็นรูป กระมุท อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมา จนเท่าทกุ วนั นี้ คุณคา่ หนังสือเรือ่ งนางนพมาศใหค้ วามรู้ทางขนบธรรมเนยี มประเพณีเปน็ อนั มาก พระบาทสมเดจ็ พระ จลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัวทรงใช้เป็นหลกั ฐานสำคัญในการพระราชนพิ นธพ์ ระราชพธิ สี ิบสองเดอื น ความสำคญั อกี ประการหนึ่งก็คือการแสดงใหเ้ หน็ ศิลปะกางชา่ งสตรี เช่น การประดษิ ฐโ์ คมลอย และการจัดดอกไม้ เปน็ ตน้ หนังสอื นี้เช่อื กันวา่ ได้มกี ารดัดแปลงแต่งเติมภาษาและสำนวนผิดแผกไปจากของเดิมเปน็ อันมาก

ประวตั ิวรรณคดี 131 ครศู ทุ ธนิ ี สดุ เอ่ียม แบบทดสอบ ( ๔ คะแนน )(วรรณคดีสมัยกรุงสโุ ขทัย) [ รัชกาลพ่อขนุ ศรีอนิ ทราทิตย์ ถงึ กรุงสุโขทัยเสียอสิ รภาพแกก่ รงุ ศรอี ยุธยา ( พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๒๑ )] ๑. วรรณคดีไทยสมัยสโุ ขทยั โดยทัว่ ไปมที ำนองแต่งเปน็ อะไร ก. รา่ ย ข. กลอน ค. ร้อยแกว้ ง. คำประพันธ์ชนดิ ตา่ งๆ จ. ร้อยแกว้ ท่ีมคี ำซ้ำและคลอ้ งจอง ๒. พอ่ ขนุ รามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ลายสือไทขนึ้ เม่ือใด ก. พ.ศ. ๑๘๐๐ ข. พ.ศ. ๑๘๒๐ ค. พ.ศ. ๑๘๒๖ ง. พ.ศ. ๑๘๓๕ จ. พ.ศ. ๑๘๔๐ ๓. ขอ้ ใดเป็นเหตุผลสำคัญทส่ี ุดท่ที ำให้พ่อขนุ รามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐต์ ัวอักษรไทยขน้ึ ก. อกั ษรของมอญและขอมใช้เขียนไมส่ ะดวก ข. ตอ้ งการใหก้ ลุ บุตรไทยได้ใช้ศึกษาในโรงเรียน ค. อักษรของมอญและขอมไมพ่ อใช้เขียนเสียงในภาษาไทย ง. ทรงปรารถนาอย่างแรงกลา้ ที่จะใหช้ าตไิ ทยมีตวั หนงั สอื ประจำชาติ จ. ตอ้ งการประกาศว่าไทยเป็นอิสระพ้นจากอำนาจปกครองของขอม ๔. หลกั ศลิ าจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความสำคัญทางวรรณคดีอย่างไร ก. ใช้พรรณนาโวหารอยา่ งแจ่มแจง้ ข. เปน็ หลกั ฐานทางภาษาชน้ิ แรกของไทย ค. เป็นตัวอยา่ งของผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา ง. ใชค้ ำคลอ้ งจองและมีจังหวะไพเราะมาก จ. เป็นหลกั ฐานแสดงชัยชนะในการชนช้างของมหาราชองคแ์ รกของไทย ๕. สำนวนภาษาในศลิ าจารกึ ของพอ่ ขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอยา่ งไร ก. ร้อยกรอง ข. ร่ายโบราณ ค. ร้อยแกว้ ธรรมดา ง. ร้อยแกว้ สลบั รอ้ ยกรอง จ. ร้อยแก้วซึ่งมีคำคลอ้ งจองกนั

ประวัตวิ รรณคดี 132 ครูศุทธินี สุดเอ่ยี ม ๖. ขอ้ ใดเป็นลักษณะเดน่ ทสี่ ุดของอักขรวิธขี องพ่อขนุ รามคำแหงมหาราชซ่ึงแตกต่างกับปัจจบุ นั ก. มีรูปวรรณยกุ ต์ ข. สะกดตวั ตรงตามมาตรา ค. ใช้อักษรซำ้ แทนไม้หนั อากาศ ง. มีอกั ษรครบเสยี งในภาษาไทย จ. สระ พยญั ชนะอยูใ่ นระดับเดยี วกนั ๗. \"ในน้ำมีปลา ในนามีขา้ ว เจ้าเมืองบเ่ อาจกอบในไพร่ลูทา่ งเพ่อื นจูงววั ไปคา้ ขี่มา้ ไปขาย ใครจักใคร่ค้า ช้างค้า ใครจกั ใคร่ค้ามา้ ค้า ใครจกั ใคร่คา้ เงือนค้าทองค้า\" ข้อความนีแ้ สดงให้เห็นสภาพอะไรของกรุงสุโขทยั อย่างตรงทีส่ ดุ ก. ระบอบการปกครองของประเทศ ข. เสรภี าพของปวงชนในการคา้ ขาย ค. สภาพทางภมู ิศาสตร์และการเมือง ง. สภาพบา้ นเมืองและความเปน็ อย่ขู องประชาชน จ. ความอุดมสมบรู ณ์ของบ้านเมืองและการปกครองท่ใี หเ้ สรภี าพแก่ประชาชน ๘. ใครบัญญัตสิ ภุ าษิตพระรว่ ง ก. พญาลไิ ท ข. พญาเลอไท ค. พอ่ ขุนบานเมือง ง. พอ่ ขุนรามคำแหง จ. พอ่ ขนุ ศรีอินทราทิตย์ ๙. ข้อความในศลิ าจารกึ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ข้อใดแสดงใหเ้ หน็ ลักษณะกฎหมายของกรงุ สุโขทยั อยา่ งชัดแจ้งทสี่ ดุ ก. เจา้ เมืองบเ่ อาจกอบในไพร่ ข. ใครจักใคร่คา้ ชา้ งคา้ ใครจักใครค่ า้ มา้ ค้า ค. ไดข้ า้ เสือกขา้ เสือ หวั พงุ่ หัวรบกด็ ี บ่ฆา่ บ่ตี ง. พอ่ กตู าย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดงั บำเรอแกพ่ ่อกู จ. ไพร่ฟา้ หน้าใส ลกู เจ้าลกู ขนุ ผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเช้ือเสื้อคำมนั ช้างขอลูกเมยี เยีย ข้าว…ไวแ้ กล่ กู มนั สิน้ ๑๐. เหตุใดสภุ าษติ พระร่วงจงึ เปน็ ทร่ี ูจ้ ักและอ้างองิ มาถงึ ทกุ วันนี้ ก. เพราะเหน็ ว่าเปน็ หลักธรรมที่แสดงเอกลกั ษณข์ องชาติ ข. เพราะเช่ือวา่ เปน็ พระบรมราโชวาทของพระร่วงซึง่ เปน็ กษัตรยิ ์ที่มีบุญญาธกิ ารยิ่ง ค. เพราะใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประกอบด้วยหลกั ธรรมท่สี ามารถนำมาปฏบิ ัตไิ ดใ้ นชีวิตประจำวัน ง. เพราะในสมยั รัชกาลท่ี ๓ แหง่ กรุงรัตนโกสินทร์ มกี ารจารกึ ไว้ใหค้ นเหน็ ทั่วไป ณ วดั พระเชตุพนฯ จ. เพราะคนไทยทกุ สมัย มคี วามรักและเทิดทูนพระมหากษัตรยิ ์ จงึ เต็มใจนำหลกั ธรรมท่ีทรง สั่งสอน ไปใชใ้ นการดำรงชวี ติ

ประวตั วิ รรณคดี 133 ครูศุทธินี สุดเอ่ียม ๑๑. ข้อใดเป็นสุภาษติ พระรว่ ง ก. คนเดียวหวั หาย ข. ได้หนา้ อยา่ ลืมหลงั ค. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ง. อยา่ ทำนาบนหลงั คน จ. อย่าหักด้ามพร้าด้วยเขา่ ๑๒. คำว่า ไตรภูมิ หมายถงึ ภมู ิทง้ั สามได้แกอ่ ะไรบ้าง ก. กามภมู ิ รปู ภูมิ อรูปภูมิ ข. มนุษยโ์ ลก สวรรค์ นรก ค. โลกน้ี โลกหน้า โลกในอดีต ง. เปรตภูมิ ยักษภ์ ูมิ เทวดาภูมิ จ. โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกบาดาล ๑๓. หนงั สือท่นี างนพมาศแต่งมีลกั ษณะเด่นทางไหน ก. เปน็ ตำราการชา่ งสตรี ข. แสดงประวัติศาสตร์สมยั สุโขทัย ค. เปน็ คำยอพระเกยี รติ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ง. สอนขอ้ ควรประพฤตปิ ฏบิ ตั ิของหญงิ ในราชสำนัก จ. เปน็ หลักฐานคน้ ควา้ สอบสวนขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ ๑๔. ใครเป็นคนแรกทบ่ี ัญญตั ิลายสือไท ก. บสั เตยี น ข. พญาลิไท ค. ยอร์ช เซเดส์ ง. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จ. พอ่ ขุนศรีอินทราทิตย์ ๑๕. สาเหตุสำคัญที่สุด ทท่ี ำให้สันนิษฐานกันวา่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแตง่ ศิลาจารกึ หลกั ท่ี๑ ตอนที่๑ ก. สำนวนภาษาทใ่ี ช้เป็นภาษาโบราณ ข. เนอื้ เรอื่ งเล่าประวตั ิได้ถูกตอ้ งตามความเปน็ จริง ค. หอสมุดวชิรญาณไดต้ รวจสอบหลกั ศลิ าจารกึ แล้ว ง. ศลิ าจารึกถูกคน้ พบจากพระราชวงั เกา่ คือกรงุ สโุ ขทัย จ. เนอ้ื เรอื่ งเกยี่ วกบั พระราชประวัติของพระองค์และทรงใช้สรรพนามแทนพระองคว์ า่ \"กู\"

ประวตั ิวรรณคดี 134 ครูศุทธนิ ี สดุ เอีย่ ม ๑๖. เหตุผลในข้อใดที่ทำใหส้ นั นิษฐานกันวา่ สุภาษิตพระร่วงแตง่ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก. ลักษณะคำสอนเหมือนกับคำสอนท่พี ่อขนุ รามคำแหงมหาราชใชส้ อนประชาชน ข. ถ้อยคำเป็นคำไทยพื้นๆเช่นเดียวกับในหลกั ศิลาจารึกและสำนวนโวหารมลี ักษณะคลา้ ยคลึงกัน ค. เนอ้ื หาในสภุ าษติ กล่าวถงึ ผู้แต่งไว้อย่างชัดเจน ง. ลักษณะคำสอนมลี กั ษณะคล้ายกับทจ่ี ารึกไว้ในหลักศลิ าจารึก จ. เนือ้ เรอ่ื งกลา่ วถงึ หลกั การประพฤตปิ ฏิบัตหิ รือค่านิยมของคนในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๑๗. นางนพมาศมีความสามารถในดา้ นใดมากทส่ี ุด ก. นาฏศลิ ป์ ข. การชา่ งสตรี ค. สถาปัตยกรรม ง. ดตู ำราโหราศาสตร์ จ. การแต่งกาพย์กลอน ๑๘. สภุ าษิตพระร่วงมีคุณคา่ ในเรอ่ื งใดมากทีส่ ุด ก. ใชค้ น้ ควา้ ทีม่ าของสุภาษิตไทย ข. ให้ความรู้ด้านประวตั ิศาสตรไ์ ทย ค. ใชเ้ ปน็ หลกั การดำเนินชีวิตได้ทุกยุคสมยั ง. ใชศ้ กึ ษาสภาพสงั คมในสมัยกรงุ สุโขทัย จ. ใหค้ วามรูเ้ ก่ยี วกบั ขนบธรรมเนยี มตา่ งๆ ๑๙. ขอ้ ความใดท่ีแสดงใหเ้ ห็นถึงการปกครองแบบพอ่ ปกครองลกู ก. เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ข. กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแกแ่ ม่กู ค. คนในเมืองสโุ ขทัยนมี้ ักทาน มักทรงศลี ง. ใครจกั ใคร่ค้าช้างคา้ ใครจักใคร่คา้ ม้าคา้ จ. ในปากประตมู ีกระดิง่ อันณ่ึง แขวนไว้ห้ันไพร่ฟ้าหนา้ ปก ๒๐. วรรณคดีเรอื่ งใดทแี่ สดงให้เหน็ ว่า สตรมี ีความรู้ ความสามารถแต่อดตี ก. ศิลาจารกึ ข. สภุ าษิตพระร่วง ค. ไตรภมู พิ ระร่วง ง. ตำรบั ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จ. พระราชพิธีสิบสองเดอื น

ประวัติวรรณคดี 135 ครศู ทุ ธินี สดุ เอ่ียม ๒๑. \"ใครจกั ใคร่ค้าชา้ งค้า ใครจักใครค่ ้ามา้ คา้ ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า\" จากขอ้ ความนีแ้ สดงใหเ้ ห็น ถึงสง่ิ ใด ก. มีการจำกัดอาชีพใหก้ ับประชาชน ข. ประชาชนสว่ นใหญ่มอี าชีพเลี้ยงสัตว์ ค. ประชาชนสว่ นใหญม่ อี าชพี การเกษตร ง. อาชีพหลักของประชาชนคือการค้าขาย จ. ประชาชนมเี สรภี าพในการประกอบอาชีพ ๒๒. วรรณคดีในขอ้ ใดเปน็ วรรณคดปี ระเภทคำสอนทุกเรื่อง ก. ไตรภมู พิ ระร่วง ศิลาจารึก ข. ศิลาจารกึ สภุ าษิตพระร่วง ค. สุภาษติ พระรว่ ง ไตรภูมิพระร่วง ง. ตำรับทา้ วศรีจุฬาลักษณ์ สภุ าษิตพระรว่ ง จ. ถกู ทุกข้อ ๒๓. การแตง่ เพิ่มเติมในตำรับทา้ วศรจี ฬุ าลักษณ์กอ่ ใหเ้ กิดผลเสียในด้านใด ก. ศลิ ปะการชา่ งสตรีคลาดเคล่ือน ข. พระราชพธิ ใี นเดอื นต่างๆสบั สน ค. ข้อเทจ็ จรงิ ทางประวัตศิ าสตร์ผิดพลาด ง. ขนบธรรมเนยี มประเพณีไทยเปลีย่ นแปลง จ. สตรเี รมิ่ มบี ทบาทในด้านการปกครองมากขน้ึ ๒๔. \"เมือ่ ก่อนลายสอื ไทน้บี ่มี ๑๒๐๕ ศก ปมี ะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใครใ่ จในใจแลใส่ลายสือไทน้ี ลายสือไทนี้ จึงมีเพื่อขนุ ผ้นู ัน้ ใส่ไว้\" หากไมพ่ บข้อความนี้บนหลักศลิ าจารกึ จะเกดิ ผลกระทบตอ่ วงการศกึ ษาของไทยอยา่ งไร ก. ไม่ทราบต้นกำเนดิ ของอักษรไทย ข. ไมท่ ราบว่าเมื่อกอ่ นมีหรือไมม่ ีลายสือไท ค. ไม่ทราบวา่ ลายสือไทเกิดข้ึนปีมะแม ๑๒๐๕ ศก ง. ไมท่ ราบว่าพ่อขนุ รามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อกั ษรไทย จ. ไม่ทราบว่าสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มคี วามเจริญรุ่งเรอื งอยา่ งไรบา้ ง ๒๕. ข้อใดเปน็ ข้อสนั นษิ ฐานท่ีสมเหตสุ มผลสำหรับความแตกต่างในการเขยี นสมยั พ่อขนุ รามคำแหง ซ่ึง เขียนคำว่า \"หนี กดึง ปต\"ู ตรงกบั คำวา่ \"หิน กระดิ่ง ประตู\" ในสมัยปจั จุบันตามลำดับ ก. ในสมัยสโุ ขทยั ยงั ไมม่ ีการกำหนดภาษาไทยมาตรฐาน ข. สมยั สโุ ขทยั ไม่มีพจนานุกรม ทำให้คนเขียนสะกดผิด ค. คนสมยั สุโขทัยออกเสยี งคำต่างกบั คนสมยั ปัจจบุ ัน จงึ เขียนต่างกนั ง. การจารกึ อักษรบนหินยากกว่าการเขียนจึงต้องสะกดคำให้ง่ายทส่ี ุด เพอื่ จะได้จารกึ ง่ายด้วย จ. ในสมัยสโุ ขทยั ไม่นิยมคำควบกลำ้

ประวตั วิ รรณคดี 136 ครูศุทธินี สดุ เอีย่ ม ๒๖. สภุ าษิตพระรว่ งหรือบญั ญตั พิ ระรว่ ง พบหลักฐานเก่าแก่ท่ีสุดอยู่ทีใ่ ด ก. วดั บวรนเิ วศวหิ าร ข. วัดอรุณราชวราราม ค. วัดมหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฎิ์ ง. วดั เบญจมบพิตรดสุ ติ วนาราม จ. วดั พระเชตพุ นวิมลมงั คลาราม ๒๗. เพราะเหตุใดสมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงเปลย่ี นชือ่ เตภูมกิ ถา เปน็ ไตรภูมพิ ระรว่ ง ก. เพราะพระร่วงเปน็ ผู้แตง่ ข. เพราะต้องการใหจ้ ำงา่ ยขึน้ ค. เพราะไตรภมู ิแต่งในสมัยสโุ ขทยั ง. เพราะต้องการใหเ้ ปน็ ชอ่ื ภาษาไทย จ. เพราะต้องการใหค้ ู่กับสุภาษติ พระรว่ ง ๒๘. ตำรบั ทา้ วศรีจฬุ าลกั ษณ์ มตี อนใดแสดงว่าแต่งเพิม่ เติมขน้ึ ภายหลงั ก. กล่าวถึงชาวพม่ารามญั ข. กลา่ วถงึ ชนชาติอเมริกัน ค. กลา่ วถงึ พธิ ีจรดพระนงั คลั ง. กล่าวถงึ ประวัตนิ างนพมาศตอนเดก็ จ. กลา่ วถงึ ประเพณีต่างๆที่กระทำในสมัยสโุ ขทยั ๒๙. ประเพณใี นข้อใดทปี่ รากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักท่ี ๑ ก. แรกนาขวัญ ข. ถวายสงั ฆทาน ค. รดนำ้ ดำหวั ผูใ้ หญ่ ง. ฟังเทศน์ฟงั ธรรมในวันพระ จ. ตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา ๓๐. \"มีสินอยา่ อวดม่งง ผู้เถา้ สงั่ จงจำความ\" สุภาษิตน้ีต้องการปลูกฝังค่านยิ มเรอ่ื งอะไร ก. การไม่อวดดี และการจำคำผูใ้ หญ่สอน ข. การร้จู กั ประมาณตน และเชื่อฟงั ผ้ใู หญ่ ค. การไมป่ ระมาท และการบูชาครูอาจารย์ ง. การไม่หลงตัวเอง และเคารพผอู้ าวุโสกว่า จ. การอดทนอดกลน้ั และการยกยอ่ ง ผใู้ หญ่ ๓๑. วัตถปุ ระสงค์สำคัญในการแตง่ ไตรภูมิพระร่วงคืออะไร ก. แสดงพระปรีชาสามารถทางด้าน คดีโลกและคดธี รรม ข. แสดงธรรมโปรดพระราชมารดาและสัง่ สอนประชาชน ค. ใช้เปน็ แบบเรยี นในการค้นคว้า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ง. เปน็ ตัวอย่างแก่กวีรนุ่ หลังให้เอาเปน็ แบบฉบบั ในการแตง่ ร้อยแกว้

ประวัตวิ รรณคดี 137 ครูศุทธนิ ี สุดเอยี่ ม จ. อธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้งา่ ยข้ึนเพ่อื สอนประชาชน ๓๒. อิทธิพลของไตรภมู ิพระร่วงในดา้ นสงั คมที่เดน่ ชัดท่สี ุดคอื อะไร ก. คนไทยเช่ือเรือ่ งนรกสวรรค์ ข. คนไทยเชื่อเรอ่ื งกรรมดีกรรมชั่ว ค. คนไทยชอบทำบญุ เพราะเชอ่ื ว่าจะได้ข้นึ สวรรค์ ง. คนไทยรักสงบ แต่พร้อมรบเม่ือมคี นมารกุ ราน จ. คนไทยปฏิบัตดิ ีตอ่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพราะเช่ือวา่ จะเป็นการทดแทนพระคุณ ๓๓. ตำรบั ท้าวศรจี ุฬาลักษณ์ ใหค้ ุณค่าตอ่ สังคมไทยในด้านใดมากที่สุด ก. ความงามทางภาษา ข. ความรู้ทางชา่ งสตรี ค. ความรู้ทางโหราศาสตร์ ง. วัฒนธรรมและประเพณโี บราณ จ. มีเรื่องราวบันทึกทางประวตั ิศาสตร์ ๓๔. \"คนไทยมอี สิ ระเสรี สามารถพดู และทำอะไรก็ได้ตราบเท่าทไี่ ม่ก่อความเดือดร้อน และละเมดิ สทิ ธิ ของผอู้ น่ื \" คำกลา่ วน้ยี นื ยันไดด้ ้วยข้อความใดในศิลาจารกึ ของพ่อขนุ รามคำแหงมหาราช ก. ในนำ้ มีปลา ในนามีขา้ ว ข. เจ้าเมอื งบ่เอาจกอบในไพร่ ค. ใครจกั มักเล่นเล่น ใครจักมกั หัวหวั ง. คนในเมืองสโุ ขทัยน้มี ักทานมัก ทรงศีล จ. ใครจกั ใคร่ค้าช้างคา้ ใครจกั ใครค่ ้าม้าค้า ๓๕. เพราะเหตใุ ดวรรณคดีไทยหลายเรอ่ื งจึงมักยกเอาคำพูดในสุภาษติ พระร่วงไปใช้ ก. ใชถ้ ้อยคำคล้องจอง ข. ใช้คำพดู ใหภ้ าพพจน์ ค. แฝงคตสิ อนใจผู้อา่ น ง. สำนวนกะทัดรดั จบั ใจ จ. มีการอุปมาอปุ ไมยให้คิดตาม ๓๖. \"ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน\" สภุ าษติ นตี้ อ้ งการสอนคา่ นิยมในเร่ืองอะไร ก. การวางตัว ข. ความขยนั ค. การเดินทาง ง. ความอดทน จ. การคบเพื่อน

ประวัติวรรณคดี 138 ครศู ุทธนิ ี สดุ เอย่ี ม ๓๗. ไตรภมู ิพระร่วงกลา่ วถงึ นรกขมุ หนึ่งทีค่ นมชี หู้ รือผ้ทู ีน่ อกใจคู่สมรสต้องได้รบั โทษถูกทรมานด้วยการ ปนี ต้นงิ้วหนาม จากการพรรณนาถึงนรกขมุ นี้ ก่อให้เกดิ ผลดตี ่อสงั คมไทยชดั เจนที่สุดตามข้อใด ก. สถิตกิ ารหย่าร้างน้อย ข. คนหนั มาทำบุญทำทานมากขึ้น ค. ลดคดที ีเ่ กิดจากชงิ รักหักสวาทได้ ง. คู่สามภี รรยาเหน็ อกเหน็ ใจกันมากขึ้น จ. ยบั ยงั้ การชิงสุกก่อนหา่ มไดร้ ะดับหนง่ึ ๓๘. หากไม่มีนางนพมาศ สิง่ ใดต่อไปน้จี ะไมเ่ กิดขนึ้ ก. กระทง ข. ศลิ ปะช่างสตรี ค. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ง. พธิ ีจองเปรียงลอยประทปี จ. พานหมากสองชน้ั รับแขกเมือง ๓๙. จากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แสดงให้เห็นว่าสตรไี ทยมีความสามารถมาตงั้ แต่โบราณ ขอ้ ใดเปน็ ความสามารถที่ไดร้ บั การยกยอ่ งท่สี ดุ ของนางนพมาศ ก. ขบั รอ้ ง ข. การช่างสตรี ค. โหราศาสตร์ ง. ภาษาบาลีสันสกฤต จ. การแตง่ โคลงกลอน ๔๐. จากการศกึ ษาศลิ าจารกึ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สภาพชีวติ ของชาวเมืองสโุ ขทัยมีลกั ษณะ อย่างไร ก. เรยี บงา่ ย ข. อิสระเสรี ค. สนกุ สนาน ง. แข่งขันต่อสู้ จ. อดุ มสมบูรณ์ ๔๑. ส่ิงท่ตี รงกนั ระหวา่ งสุภาษติ พระรว่ งกบั ไตรภูมิพระรว่ งคอื อะไร ก. ผู้แตง่ ข. ปที ี่แต่ง ค. ทำนองการแต่ง ง. การดำเนนิ เร่อื ง จ. จุดม่งุ หมายทีแ่ ต่ง

ประวตั วิ รรณคดี 139 ครศู ทุ ธินี สดุ เอย่ี ม เอกสารประกอบการเรียน หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี ๓ ยคุ ใหม่อยุธยา เขยี นยอ่ ความเรอื่ งวรรณคดีสมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยาตอนตน้ ( ๘ คะแนน ) บทเรียนเรื่อง วรรณคดสี มัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากหนงั สือเรยี นสมบูรณ์แบบ ประวตั ิวรรณคดี ๑ ของ เสนีย์ วลิ าวรรณ และคณะ หน้า ๕๑ ถงึ หน้า ๘๘ ความวา่ การแบง่ สมยั วรรณคดี กรุงศรีอยุธยามีอายยุ าวนานถึง ๔๑๗ ปี แต่ช่วงเวลาทีบ่ า้ นเมืองรุ่งเรอื งในด้านต่างๆ พอที่จะเป็นปัจจยั ให้ เกิดวรรณคดีอยู่เฉพาะในบางรัชกาล สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งด้านการปกครอง การทหาร ศาสนา และศิลปกรรม ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทาง วรรณคดีปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าแต่งมหาชาติคำหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ ส่วนลิลิตยวนพ่ายก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์น้ี จึงอาจแต่งในสมัยรัชกาลของ พระองค์ หรือภายหลงั เพียงเล็กน้อย คอื รชั กาลสมเด็จพระรามาธบิ ดที ่ี ๒ นอกจากนวี้ รรณคดีสำคญั เรื่องอ่นื ๆ เช่น ลิลติ พระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาส และโคลงหรภิ ุญชัย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำท่ี ใช้ ก็น่าจะเกิดร่วมสมัยหรือระยะเวลาใกล้เคียงกับมหาชาติคำหลวงและลลิ ิตยวนพ่าย หลงั จากรัชกาลสมเด็จพระ รามาธิบดีท่ี ๒ บ้านเมอื งไมส่ งบสขุ เนือ่ งจากการทำสงครามกับขา้ ศึกภายนอกและ การแตกสามัคคีภายใน เป็น เหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึง่ ศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกทีป่ รากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเดจ็ พระรามาธิบดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีกระยะเวลาหนึ่ง ใน รัชกาลสมเดจ็ พระนารายมหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั บรมโกศ ถ้าพิจารณาถงึ ช่วงเวลาท่เี กดิ วรรณคดเี ปน็ สำคัญ อาจแบง่ วรรณคดีสมยั อยุธยาออกได้ ๒ ตอน คือ ตอนตน้ ระหว่างรัชกาลพระรามาธิบดีที่ ๑ ถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที ๒ (พ.ศ.๑๘๙๓-๒๐๗๒) ตอนปลายระหว่างรัชกาล สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรมถึงสมเด็จพระเจา้ เอกทัศ (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๓๑๐) บางท่านจัดกาพย์มหาชาติซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าท รงธรรมไว้ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพราะเห็นว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องและทำนองแต่งคล้ายมหาชาติคำหลวง แต่พิจารณาถึงระยะเวลาที่กาพย์ มหาชาตแิ ตง่ ห่างจากมหาชาติคำหลวงถงึ ๑๔๕ ปี เป็นสำคญั ก็นา่ จะจดั วรรณคดีเรือ่ งนไ้ี ว้ในสมยั อยุธยาตอนปลาย ลักษณะวรรณคดี วรรณคดีสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นสว่ นใหญม่ ีเร่ืองเก่ียวกบั ศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จงึ มเี น้ือหาคลา้ ยวรรณคดีสมัยสุโขทยั สว่ นลกั ษณะการแต่งต่างกบั วรรณคดีสุโขทัยเปน็ อย่างมาก วรรณคดีในสมัย นี้แต่งด้วยรอ้ ยกรองท้ังสิน้ คำประพนั ธ์ที่ใช้มเี กือบทุกชนิด คอื โคลง รา่ ย กาพย์ และฉนั ท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่ แต่งเป็นลลิ ิต มีคำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากข้นึ

ประวัติวรรณคดี 140 ครศู ทุ ธนิ ี สุดเอยี่ ม วรรณคดีสำคญั ในสมัยน้ี ได้แก่ รัชกาลสมเด็จพระรามาธบิ ดีที่ ๑ ๑. ลลิ ิตโองการแช่งนำ้ รชั กาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๒. ลลิ ติ ยวนพ่าย ๓. มหาชาตคิ ำหลวง วรรณคดีที่สันนษิ ฐานว่าแตง่ ในสมัยอยธุ ยาตอนตน้ ได้แก่ ๔. ลลิ ิตพระลอ ๕. โคลงกำสรวล ๖. โคลงทวาทศมาส ๗. โคลงหรภิ ญุ ชยั ความสมั พันธร์ ะหวา่ งเหตุการณท์ างประวตั ิศาสตร์และวรรณคดี เหตุการณท์ างประวตั ิศาสตร์ พ.ศ. ความเคล่ือนไหวทางวรรณคดี ๑๘๙๓ แต่งลลิ ติ โองการแชง่ น้ำ สมเดจ็ พระรามาธบิ ดีที่ ๑ (พระเจา้ อู่ทอง) ทรงต้ังกรุงศรอี ยุธยา ๒๐๑๗ แต่งลิลติ ยวนพา่ ย (สนั นษิ ฐาน) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตไี ดเ้ มืองเชยี งช่นื ๒๐๒๕ แต่งมหาชาตคิ ำหลวง (เชลียง) แตง่ ลลิ ิตพระลอ (สันนษิ ฐาน) สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลอง ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส (สนั นิษฐาน) วัดพระศรรี ตั นมหาธาตุ (ที่พิษณุโลก) ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพา่ ย (สันนษิ ฐาน) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสดจ็ สวรรคต แต่งโคลงกำสรวล (สันนษิ ฐาน) สมเดจ็ พระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซง่ึ เปน็ แต่งลิลิตพระลอ (สนั นิษฐาน) พระราชโอรสขนึ้ ครองราชย์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เสด็จสวรรคต สมเดจ็ พระรามาธิบดที ่ี ๒ ซ่ึงเปน็ พระราชอนุชา ข้ึนครองราชย์ เหตุการณท์ างประวัตศิ าสตร์ พ.ศ. ความเคลือ่ นไหวทางวรรณคดี ๒๐๖๐ แตง่ โคลงหริภุญชยั (สันนิษฐาน) สมเดจ็ พระรามาธิบดีท่ี ๒ เสด็จสวรรคต สมเดจ็ ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชยั สงคราม พระบรมราชาหนอ่ พทุ ธางกูร ซง่ึ เปน็ พระราชโอรส ๒๐๗๒ ขนึ้ ครองราชย์

ประวัตวิ รรณคดี 141 ครูศุทธินี สดุ เอี่ยม ๑. ลลิ ติ โองการแชง่ น้ำ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานวา่ อาจแต่งในสมัยสมเด็จพระ รามาธบิ ดีที่ ๑ (อ่ทู อง) ผูแ้ ตง่ คงจะเปน็ ผู้รูพ้ ธิ ีพราหมณ์ และรูว้ ิธีการแตง่ คำประพันธข์ องไทยเปน็ อย่างดี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นปฐมกษัตริยแ์ ห่งกรุงศรีอยธุ ยา สมเด็จฯกรม พระ ยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสมเด็จพระบรมรามาธิบดีท่ี ๑ เป็นเชื้อสายของพระเจ้าสิริชัยเชยี งแสน แห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขยของพระยาอู่ทอง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๗ ได้เปน็ เจา้ เมืองอทู่ อง ซ่ึงขณะนนั้ ขนึ้ ต่อกรุงสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาดทรงย้ายราชธานีมาตงั้ ท่ีตำบลหนองโสน แขวงเมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับ พระนามใหม่วา่ สมเด็จพระรามาธบิ ดีที่ ๑ ทรงต้ังพระองค์เปน็ ใหญ่ไม่ขึน้ ต่อกรุงสุโขทยั นับแตส่ ถาปนาราชธานี ใหม่เป็นตน้ มา ในรชั กาลนีไ้ ด้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณเ์ ป็นอนั มาก ภาษาไทยจงึ เรม่ิ มีคำเขมรเข้ามาปะปนมากข้ึน มีการประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรอื พิธีศรสี จั ปานกาล ตามแบบเขมรซ่ึงถา่ ยทอดมาจากพราหมณ์อีก ต่อหนึ่ง ประวัติ ต้นฉบับเดิมทเี่ หลืออยเู่ ขยี นด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพมิ่ ขึน้ ในรชั กาลที่ ๔ ตามหลักฐาน ซ่ึงรัชกาล ที่ ๕ ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ แทงพระแสงศรประลัยวาต แทงพระแสงศรอัคนิวาต และแทงพระแสงศรพรหมาสตร์ หนังสือเรื่องนี้นับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบรูณ์แบบ มีชื่อเรียกแต่ เดิมว่า โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทย จัดวรรค ตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้างสับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและทรงพระราช วินจิ ฉยั เรียบเรยี งวรรคตอนข้นึ ใหม่ ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิตดั้น คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายดั้นโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลง ห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนี้มีคำเขมร และบาลีสันสกฤตปนอยู่ด้วย คำสนั สกฤตมีมากกวา่ คำบาลี ความมงุ่ หมาย ใช้อ่านในพธิ ีถือน้ำพระพฒั น์สตั ยาหรือพิธีศรีสจั ปานกาล ซง่ึ กระทำตั้งแตร่ ัชกาลสมเด็จพระเจ้า อ่ทู องสืบตอ่ กนั มาจนเลิกไปเมอื ประเทศไทยเปลย่ี นการปกครองเป็นระบอบประชาธปิ ไตยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เรื่องย่อ เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม ตามลำดับ ตอ่ จากนนั้ บรรยายดว้ ยโคลงหา้ และรา่ ยดั้นโบราณสลบั กนั กลา่ วถงึ ไฟไหม้โลก เมือ่ ส้นิ กัลป์และพระพรหมสร้าง โลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริม่ มีพระราชาธบิ ดีในหมู่ คน และอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรือง อำนาจมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา อสูร ภูตผีปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผน่ ดิน ส่วนผู้ซือ่ ตรงจงรักภกั ดีขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอ พระเกียรตพิ ระเจ้าแผ่นดนิ ตวั อย่างข้อความบางตอน คำสาปแช่งผคู้ ิดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน

ประวัติวรรณคดี 142 ครศู ทุ ธนิ ี สุดเอีย่ ม จงเทพยดาฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิ เม่ือใดฯ คุณค่า ลิลิตโองการแช่งนำ้ ใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยากและเปน็ คำห้วนหนกั แน่น เพื่อให้เกิดความนา่ เคารพยำ เกรง ความพรรณนาบางตอนละเอียดลออ เช่น ตอนกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีอำนาจ ก็สรรหามากล่าวไว้ มากมาย นอกจากนี้ยังใช้คำประพันธ์ประเภทโคลงหา้ และรา่ ยดัน้ ซึ่งมีจังหวะลีลาไม่ราบรืน่ สะดุดเป็นตอนๆ ยิ่งเพิ่มความขลังขึ้นอีกเป็นอันมาก ซึ่งนับได้ว่าลิลิตเรื่องนี้แต่งได้เหมาะสมกับ ความมุ่งหมายสำหรับใช้ อ่านหรือสวดในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาซึ่งมีความสำคัญแก่การเพิ่มพูนพระบรมเดชานุภาพของ พระมหากษตั รยิ ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธริ าชย์ วรรณคดเี รอื่ งนี้มีกำเนิดจากพระราชพธิ ใี นระบอบสมบูรณาญาสทิ ธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม เขมร และพราหมณอ์ ย่างชัดเจน สมเดจ็ พระเจา้ อทู่ องทรงรบั การปกครองระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ และ พระราชพิธีศรีสัจปานกาลจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจ ปกครองของพระเจ้าแผน่ ดนิ และความม่ันคงของบา้ นเมืองในระยะทีเ่ พ่งิ ก่อตงั้ พระราชอาณาจกั ร ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีพระราชพิธีศรีสัจปานกาล เนื่องจากกษัตริย์สุโขทัยทรงปกครองบ้านเมือง แบบพ่อปกครองลูก ถึงแม้ศิลาจารึกสุโขทัย หลักท่ี ๔๕ มีเนอ้ื ความเก่ียวกับการสบถสาบานระหว่างกษัตริย์ สุโขทัยผู้หลานกับเจ้าเมืองน่านผู้ปู่ และถ้อยคำบางตอนคล้ายกับลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่ก็เป็นการสาบาน ระหว่างบุคคลเฉพาะกรณีไม่ใช่พิธีทางราชการที่ข้าราชการกระทำต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นการทั่วไปอย่างที่กรุงศรี อยุธยา อนึ่งข้อความนี้จารึกไว้ใน พ.ศ. ๑๙๓๕ ซึ่งอาจเป็นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ หรือพระมหา ธรรมราชาท่ี ๓ (ไสยลือไทย) ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระราเมศวรแหง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา เปน็ ชว่ งเวลาท่ีกรงุ สุโขทัย เสยี อิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ตง้ั แต่ พ.ศ. ๑๙๒๑ ถา้ พระราชพิธีศรีสัจ ปานกาลเคยกระทำที่กรุงสุโขทัยก็จะต้องเป็นเวลาภายหลังที่กรุงสุโขทัยตกอยู่ในอ ำนาจปกครองและอิทธิพลทาง วัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒. มหาชาติคำหลวง ผู้แต่ง สมเด็จบรมไตรโลกนาถรบั สงั่ ให้นักปราชญ์ราชบณั ฑิตชว่ ยกนั แต่งขึ้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒ หรือเจ้าสามพระยา ก่อน เสวยราชย์พระราชบิดาอภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช และโปรดให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจ สิทธ์ิขาดในหัวเมอื งฝา่ ยเหนอื ไดร้ ับราชสมบตั สิ บื ตอ่ จากพระราชบดิ า ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทรงแก้ไขการ ปกครองโดยแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน ฝ่ายทหารมีหัวหน้าเป็นสมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนา ยก ทรงตั้งยศข้าราชการลดหลั่นกันตามขั้น เช่น ขุน หลวง พระ พระยา ทรงทำสงครามกับเชียงใหม่ ได้เมืองเชียงชื่นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๗ เป็นเหตุให้เกิดลิลิตยวนพ่าย พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา มาก เสด็จออกผนวชชั่วระยะหนึ่งที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก การทำนุบำรุงศาสนาในรัชกาลนี้ทำให้เกิด มหาชาตคิ ำหลวง ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือประเภทคำหลวงเรื่องแรก มหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลัย มบี รมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อม

ประวัตวิ รรณคดี 143 ครศู ทุ ธินี สุดเอ่ยี ม ให้ครบ ๑๓ กัณฑ์ เมอื่ จุลศกั ราช ๑๑๗๖ หรอื พทุ ธศกั ราช ๒๓๕๗ ได้แก่ กัณฑ์หมิ พานต์ ทานกัณฑ์ จลุ พน มทั รี สกั กบรรพ และฉกษัตริย์ ทำนองแต่ง แตง่ เปน็ คำหลวง หมายถึง แต่งด้วยคำประพนั ธ์หลายอย่าง คอื โคลง รา่ ย กาพย์ และฉันท์ มภี าษาบาลีแทรกตลอดเร่อื ง มหาชาติเรื่องน้ีเป็นหนงั สือประเภทคำหลวง หนงั สือคำหลวงมลี กั ษณะดงั น้ี ๑. เป็นพระราชนพิ นธ์ของพระเจา้ แผน่ ดนิ หรือเจา้ นายช้นั สงู ทรงนพิ นธ์ ๒. เป็นเรอื่ งเกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรมจรรยา ๓. ใชค้ ำประพันธห์ ลายประเภท คอื โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และรา่ ย ๔. ใช้สวดเขา้ ทำนองหลวง ซึ่งสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประดิษฐ์ขนึ้ ได้ ความมุ่งหมาย เพ่ือใชอ้ ่านหรอื สวดในวนั สำคญั ทางศาสนา เช่น วนั เข้าพรรษา เรื่องย่อ แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซ่งึ เรียกว่า กณั ฑ์ ดงั นี้ กณั ฑ์ทศพร เริม่ ตัง้ แต่พระพทุ ธเจ้าตรสั รู้ แลว้ เสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากน้ันเสด็จ ไปโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติทีก่ รุงกบลิ พัสดุ์ เกิดฝนโบกขรพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ ทรงแสดงเรอื่ งมหาเวสสันดรชาดก เรม่ิ ตัง้ แตเ่ มื่อกัปที่ ๙๘ นับแตป่ จั จบุ ัน พระนางผุสดีซง่ึ จะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิษฐานขอเป็นมารดาของผู้มีบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพร ๑๐ ประการจากพระอินทร์ กัณฑ์หิมพานต์ พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยกับนางผุสดี แห่งแคว้น สีวี ราษฏร์ ประสูติที่ตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้รับเวนราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัย นาเคนทร์แก่กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงคราษฏร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ ป่าหิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตสดกมหาทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญงิ โคนม และนางสนม อยา่ งละ ๗๐๐ กณั ฑว์ นปเวสน์ พระเวสสนั ดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลแี ละพระกัณหา พระโอรสธิดา เสด็จจากเมืองผ่านแคว้นเจตราษฏรจ์ นเสด็จถงึ เขาวงกตในป่าหิมพานต์ กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตตดาบุตรสาวของเพื่อนเป็นภรรยา นางใช้ให้ขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบพรานเจตบุตร ลวง พรานเจตบุตรให้บอกทางไปยงั เขาวงกต กณั ฑจ์ ลุ พน ชชู กเดนิ ทางผา่ นป่าตามเสน้ ทางทเ่ี จตบตุ รบอกจนถงึ ทีอ่ ยู่ของอัจจตุ ฤษี กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอจั จตุ ฤษี ให้บอกทางผ่านปา่ ใหญไ่ ปยงั ท่ปี ระทับของพระเวสสันดร กัณฑ์กมุ าร ชูชกทลู ขอสองกุมาร ทบุ ตสี องกมุ ารเฉพาะพระพักตร์พระเวสสนั ดร แลว้ พาออกเดนิ ทาง กัณฑ์มัทรี พระมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่า ออกติดตามสองกุมารตลอดคืน จนถึงทรงวิสัญญี เฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงฟื้นแล้ว พระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนาง ทรงอนโุ มทนาดว้ ย กณั ฑ์สกั กบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะมผี ู้มาขอพระนางมัทรีไปเสีย จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์ชรา มาทูลขอพระนางมทั รี แลว้ ฝากไว้กบั พระเวสสนั ดร

ประวัติวรรณคดี 144 ครศู ทุ ธินี สุดเอย่ี ม กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางไปในแคว้นสีวีราษฏร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับ พระราชทานเลีย้ งและถึงแกก่ รรมดว้ ยกินอาหารมากเกนิ ควร กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระ เวสสนั ดรและพระนางมัทรีกลับ เม่ือกษตั ริย์ท้ังหกพระองค์ทรงพบกันก็ทรงวิสัญญี ตอ่ มาฝนโบกขรพรรษตกจึง ทรงฟืน้ ขึน้ กัณฑน์ ครกณั ฑ์ กษัตริย์หกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดงั เดิม บา้ นเมือง สมบรณู ์พนู สขุ ตัวอย่างข้อความบางตอน นางมทั รโี ศกถึงชาลกี ัณหา ตยฺ ชฺช ปตฺเต น ปสสฺ ามิ พระแกว้ แมเ่ ออย บุรโพน้ ย่อมเคอย คอยรับมารดา ชาลี กณหฺ าชินํ จุโภ วนนนีไ้ ปไหน ไมร่ ูเ้ หน็ หา โอส้ องพงงงา กัณหาชาลี คุณค่า มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง เป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยเล่มแรกที่ ปรากฏหลักฐานเหลอื อยู่ มีใจความใกลเ้ คยี งกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี แสดงถึงความสามารถในการแปล และเรยี บเรียงขอ้ ความ การแทรกบาลีลงไวม้ ากมายเชน่ นี้ ทำ ใหฟ้ ังยากจนตอ้ งมีการแต่งกาพย์มหาชาติข้ึนใหม่ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งซ่อมใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ นักปราชญ์ราชบัณฑติ ที่เป็นกวหี ลายท่านช่วยกนั แต่ง จึงมสี ำนวนโวหารและถ้อยคำไพเราะเพราะ พริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรสวรรณคดีหลายประการ เช่น ความโศก ความอาลัยรัก ความน้อยใจ และ ความงามธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความรู้ในด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และคำ ภาษาต่างประเทศ เช่น สนั สกฤต และเขมร เป็นต้น มหาชาติคำหลวงแสดงถึงความเลื่อมใสในพุทธศาสนา และความเชื่อในบุญกุศลที่เกิดจากการฟังเทศน์ เรื่องมหาชาติของคนไทยสืบต่อมาจากสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมี พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง การที่โปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำ หลวง ก็เทยี บไดก้ ับพญาลิไททรงพระราชนพิ นธไ์ ตรภูมิพระร่วง เร่อื งมหาชาติมีอทิ ธิพลต่อพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาก บันดาลใจใหจ้ ติ รกรวาดภาพจติ รกรรมฝาผนังตาม โบสถ์ วหิ าร และตพู้ ระธรรมอกี ด้วย ๓.ลิลติ ยวนพ่าย ผู้แตง่ ไม่ปรากฏผู้แต่ง ประวัติ สันนิษฐานว่าแตง่ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๗ ซ่ึงเปน็ ปีเสร็จศึก เชียงชื่น แต่ยังมีความเห็นอย่างอื่นว่าแต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) หรือสมเด็จบรม ราชาธิราชที่ ๓ (พระอนิ ทราชา) พ.ศ.๒๐๓๑-๒๐๓๔ เหตุผลที่ว่า ลิลิตยวนพ่าย อาจแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพราะเนื้อเรื่องกล่าวถึง เหตุการณ์สงครามอย่างละเอียดแจ่มชัด เช่น พรรณนาการรบได้อย่างน่าต่ืนเต้นเร้าใจ แสดงว่าจะต้องแต่งใน ช่วงเวลาทไ่ี ด้ชัยชนะในสงครามสดๆ รอ้ นๆ ซง่ึ น่าจะอย่ใู นรัชกาลสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ

ประวตั ิวรรณคดี 145 ครศู ุทธนิ ี สุดเอยี่ ม ส่วนความเห็นที่ว่า ลิลิตยวนพ่ายอาจแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๓ ก็เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์สองพระองค์นี้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ ทรงพระปรีชาสามารถทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญร่งุ เรืองเจรญิ รอยพระราชบิดา อาจทรงพระราชนพิ นธห์ รือโปรด ฯ ใหก้ วแี ตง่ ลิลติ ยวนพ่ายขึน้ เพอ่ื เฉลมิ พระเกยี รตคิ ณุ ของพระราชบดิ าก็เป็นได้ ๘๐ คำว่า “ยวน” ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง “ชาวล้านนา” คำ “ยวนพ่าย” หมายถึง “ชาวล้านนาแพ้” เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายกล่าวถึงชาวล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัช กาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำนองแต่ง แตง่ เปน็ ลิลิตดั้น ประกอบดว้ ยรา่ ยดน้ั กบั โคลงดน้ั บาทกุญชร ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาล นน้ั เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมสั การพระพุทธเจ้าและนำหวั ข้อธรรมมาแจกทำนองยกย่องสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ ว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ แล้วกล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูตจิ นไดเ้ สวยราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียง ชื่น (เชลียง) เอาใจออกห่างนำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก ทรงส่งพระราชโอรสไปสืบพุทธศาสนาที่ลังกาและ นิมนตพ์ ระเถระลงั กาเข้ามา พระองค์เสด็จออกผนวชช่วั ระยะหน่ึง ต่อจากนัน้ กล่าวถึงการสงครามกับเชียงใหม่ อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิต หนานบญุ เรอื งราชบตุ รและหมื่นด้งนครเจา้ เมอื งเชียงชืน่ ภรรยาหมนื่ ดง้ นครไม่พอใจลอบมสี ารมาพึง่ พระบรมโพธิ สมภารของสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถและขอทัพไทยไปชว่ ย พระเจา้ ตโิ ลกราชทรงยกทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรกั ษาเมืองเชยี งใหม่ สมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึน้ ไปสู้รบตที พั เชยี งใหมพ่ ่ายไป ไดเ้ มืองเชียงชนื่ ตอนสดุ ทา้ ยกล่าวสรรเสรญิ พระบารมสี มเดจ็ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถอีกครั้ง หนึ่ง ตวั อยา่ งข้อความบางตอน ความภกั ดตี ่อพระมหากษัตริย์ คำกล่าวของหมื่นดง้ นคร ขา้ ไทยธเิ บศผู้ ใดใด ก็ดี ตายเพ่ือภกั ดโี ดย ชือ่ พร้อม คือคนอย่เู ปน็ ใน อิธโลกย บรโลกยนางฟ้าลอ้ ม เลอศอินทร คุณค่า ลิลติ ยวนพ่ายมลี ักษณะเป็นวรรณคดีสดุดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ แต่งขึน้ เน่ืองจากความปลาบปลื้ม ยินดใี นพระบารมีของพระมหากษตั ริย์ มคี ุณคา่ ทางประวัติศาสตร์ ภมู ศิ าสตร์ การรบทพั จับศึก ค่านิยมทางสังคม และหลักธรรมทางศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้ อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกดิ เหตกุ ารณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์และสภาพเป็นไปในเวลานั้น จึง เป็นหลกั ฐานยนื ยันที่นา่ เชอื่ ถือ ลิลติ ยวนพา่ ยฉบับท่ีตกทอดมาจนทุกวนั นย้ี งั อยู่ในสภาพสมบรู ณ์มิได้ชำรุดหรือถูกแต่งเตมิ เหมือนวรรณคดี บางเรื่องถอ้ ยคำทีใ่ ช้เป็นคำโบราณ และคำสันสกฤตสว่ นมาก ในเมื่อถอ้ ยคำเหลา่ นีย้ ังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคน

ประวตั วิ รรณคดี 146 ครศู ุทธนิ ี สุดเอย่ี ม ชั้นหลังจึงเปน็ ประโยชน์แกก่ ารศึกษาอย่างมากถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจได้ยากและเรื่องส่วนใหญ่เกีย่ วกับ การรบทัพจบั ศึก แต่ลิลิตเรื่องนกี้ ็ยงั มีลักษณะวรรณคดเี ด่นเพราะใช้ถ้อยคำ ๘๑ ไพเราะคมคายโวหารพรรณนาที่ก่อใหเ้ กิดจินตภาพให้อารมณช์ ่ืนชมยนิ ดใี นบุญญาธิการของพระเจา้ แผน่ ดนิ และ ความรุ่งเรอื งของบา้ นเมอื ง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภทสดุดี ความดีเด่นของลิลิตยวนพ่ายทำให้ กวภี ายหลงั ถือเปน็ แบบอย่าง เชน่ พระศรมี โหสถแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชิโนรสทรงนพิ นธ์ลิลติ ตะเลงพา่ ย เพ่ือสดุดีวรี กรรมของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ลิลิตยวนพ่ายมีลักณษะบางประการคล้ายมหากาพย์ (Epic) ซึ่งเป็นคำประพันธ์พรรณนาเกียรติคุณ วีรบรุ ุษในประวัติศาสตร์หรือตำนาน ๔. ลลิ ิตพระลอ ผู้แต่งและสมัยที่แตง่ เมื่อพิจารณาจากร่ายบทนำเรื่อง ซึ่งกล่าวสดุดพี ระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาทีท่ รงมี ชัยแกช่ าวล้านนา ท่วี ่า“ฝ่ายขา้ งยวนแพ้พ่าย ฝ่ายข้างลาวประลัย ฝา่ ยขา้ งไทยชัยเยศ คืนยังประเทศพิศาล” พอสันนิษฐานได้ว่าช่วงเวลาที่แต่งลิลิตพระลอ จะต้องอยู่ภายหลังการชนะศึกเชียงใหม่ครั้งใดครั้งหนึ่ง อาจเป็น รัชกาลสมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ. ๒๐๑๗) หรอื สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๒๐๕) เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ ลิลิตพระลอแต่งด้วยลลิ ิต ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ท่ีนยิ มใช้ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย ส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมแต่งโคลงและฉันท์เป็นส่วนมาก เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรตสิ มเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธ์คำฉันท์ ลิลิตพระลอยังใช้ภาษาเก่ากวา่ ภาษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น คำ ชิ่นแล และคำ แวน่ ซึ่งเป็นคำที่มีใช้ในมหาชาติคำหลวงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากน้ีหนังสือจินดามณี ของพระโหราธบิ ดี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไดย้ กโคลงในลิลติ พระลอเป็นตวั อยา่ งโคลงส่สี ุภาพ ที่วา่ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง อันใด พเ่ี อย เสียงย่อมยอยศใคร ท่วั หล้า สองเขือพีห่ ลบั ใหล ลมื ต่ืน ฤๅพี่ สองพี่คดิ เองอ้า อย่าได้ถามเผือ จากเหตผุ ลดงั กลา่ วพอสรุปไดว้ า่ ลลิ ติ พระลอจะตอ้ งแตง่ ก่อนสมัยพระนารายณม์ หาราช สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพิจารณาโคลงบอกผูแ้ ต่งสองบทท้ายเรือ่ ง ท่ี ขึ้นต้นว่า “จบเสร็จมหาราชเจ้านิพนธ์” และ “จบเสร็จเยาวราชเจ้าบรรจง” ทรงสันนิษฐานว่า ลิลิตพระลอ แตง่ ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ในโคลงบทดงั กล่าว หมายถงึ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ และเจ้าฟ้าอภัยทศพระราชอนุชาเขยี น ทำนองแตง่ เปน็ ลลิ ติ สุภาพ ประกอบดว้ ยรา่ ยสภุ าพและโคลงสุภาพเป็นส่วนใหญ่ ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผน่ ดนิ เพื่อใหเ้ ปน็ ทีส่ ำราญพระราชหฤทยั เรื่องย่อ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นท่ีต้อง พระทัยของพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่น นางโรยพระพี่เลี้ยง

ประวตั วิ รรณคดี 147 ครูศทุ ธนิ ี สดุ เอ่ยี ม ได้ขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรอง เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนาง บุญ เหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดพี ระมเหสี เสดจ็ ไปเมืองสรองพร้อมกบั นายแกว้ นายขวัญพระพ่เี ล้ยี ง พระลอทรงเสี่ยงน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏลางร้ายก็ทรงฝืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปู่เจ้า สมิงพรายล่อพระลอกับนายแก้วและนายขวัญไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นและนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอ กับนายแก้วนายขวัญไปไว้ในตำหนกั ของพระเพ่ือนพระแพง ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงพยาบาทพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสใช้ให้ทหารไปรุมจับ พระลอ พระเพื่อนพระแพงและพระพี่เลี้ยงช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตหมด ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระ เจ้าย่าและทหารรับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์ทั้งสาม ใน ทีส่ ดุ เมืองสรวงและเมอื งสรองกลับเป็นไมตรีต่อกนั ตัวอยา่ งข้อความบางตอน คติธรรม พระลอตรสั ต่อพระนางบุญเหลอื ตอนจะเสดจ็ ออกจากเมือง ใดใดในโลกล้วน อนิจจงั คงแต่บาปบุญยัง เทีย่ งแท้ คอื เงาตดิ ตวั ตรงั ตรึงแนน่ อยู่นา ตามแตบ่ ุญบาปแล้ กอ่ เก้ือรักษา คุณค่า วรรณคดสี โมสรในสมยั รชั กาลท่ี ๖ ไดต้ ดั สินให้ลลิ ติ พระลอเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลติ วรรณคดี เรื่องนี้มีลักษณะเด่นหลายประการ โครงเรื่องประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นสะเทือนใจโดยตลอด มีตอนรัก ตอนสยดสยอง การใชถ้ ้อยคำและโวหารนับวา่ คมคายยงิ่ นกั จึงเปน็ ท่ีนยิ มตลอดมา ลิลิตพระลอให้ข้อคิดในแง่มุมต่างๆมาก เช่น ด้านความรัก ความซื่อสัตย์ กตัญญู ความกล้าหาญ ความพยาบาท และการให้อภัย เกี่ยวกับความรักได้แสดงเปรียบเทียบความสำคัญลดหลั่นระหว่างความรัก ประเภทต่าง ๆ ไวอ้ ยา่ งแยบคาย คือ ระหว่างชู้ สามกี บั ภรรยา แมก่ บั ลกู และข้ากับเจา้ ลิลิตพระลอ ได้เค้าเรื่องจากนิทานพื้นเมืองภาคเหนือ สันนิษฐานว่าน่าจะมีเค้าเรื่องจริง ปราก ฏตาม โครงเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจืองและพงศาวดารโยนกว่าขุนลอแห่งเวียงกาหลง เป็นคนร่วมสมัยกับท้าวฮุ่งท้าวเจือง กษัตริย์สำคัญของไทยล้านช้างราว พ.ศ.๑๖๐๐- ๑๗๐๐ เชื่อกันว่าเมืองสรองและเมืองสรวงอยู่ในจังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ เรื่องนี้แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในเวลานั้นอย่างเด่นชัดหลายประการ ในด้านการ ปกครองแสดงให้เห็นการปกครองระบอบนครรัฐ คือ เมืองเล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน นอกจากนี้เรื่องพระลอ ยงั เปน็ ตัวอยา่ งชัดเจนเกย่ี วกับการปกครองระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ ซึ่งอำนาจ สูงสุดในการปกครองประเทศตกอยู่แก่ประมุขของรัฐแต่ผู้เดียวเกี่ยวกับลัทธิความเช่ือของสังคมก็ ปรากฏเด่นชัดใน ดา้ นภตู ผปี ีศาจ เสน่หย์ าแฝด โชคลาง ความฝนั และความซอ่ื สัตย์ ความจงรกั ภกั ดตี อ่ พระเจ้าแผน่ ดินของพระพ่ี เลี้ยงทั้ง ๔ ดังที่ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ที่ว่า “อาสาเจ้าจนตัวตาย” สภาพสังคมทั่วไปที่เห็นได้จากวรรณคดี เร่ืองน้ไี ด้แก่ การใชช้ า้ งทำสงครามและเปน็ พาหนะ ความนิยมดนตรแี ละขับรอ้ ง และการบรรจพุ ระศพกษัตริย์ลง โลงทองแทนพระโกศอย่างในสมยั หลัง

ประวัติวรรณคดี 148 ครูศทุ ธินี สดุ เอย่ี ม ลิลิตพระลอเปน็ ทนี่ ยิ มยกยอ่ งมาแลว้ ช้านาน เช่น พระโหราธบิ ดีสมยั สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช ไดย้ ก โคลงที่แต่งถูกแผนบังคับและมีความไพเราะจับใจอันเป็นคำของพระเพื่อนพร ะแพงตรัสแก่พระพี่เลี้ยงไปไว้เป็น แบบอยา่ งโคลงส่สี ุภาพในหนังสอื จนิ ดามณี โคลงดังกล่าว คอื เสียงฦๅเสียงเลา่ อา้ ง อนั ใด พเี่ อย เสยี งยอ่ มยอยศใคร ท่วั หล้า สองเขือพห่ี ลับใหล ลืมต่ืน ฤๅพ่ี สองพ่ีคดิ เองอา้ อย่าได้ถามเผือ ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีแบบฉบับ คือ เป็นแบบครูที่วรรณคดีสมัยหลังนิยมเลียนอย่าง ใน การพรรณนาและบรรยายความ เช่น ลิลิตเพชรมงกุฎ และลิลิตตะเลงพ่าย นอกจากนี้กวีในสมัยหลังยังได้นำ เรื่องพระลอมาแตง่ เป็นบทละคร เชน่ บทละครนอกเรือ่ ง พระลอนรลกั ษณ์ ของสมเดจ็ พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ พลเสพย์และบทละครร้องเรื่องพระลอ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทางภาคเหนือมี โคลงพระลอสอนโลก และซอเร่ืองพระลอ ๕. โคลงกำสรวล ผู้แต่ง เคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าศรีปราชญ์แต่งโคลงกำสรวล คราวถูกเนรเทศไปอยู่นครศรีธรรมราช ในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่ก็มีผู้ออก ความเห็นด้านความเช่ือดังกล่าววา่ เรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทาง การเดินทางจากกรุงศรีอยธุ ยาไปสุดแคจ่ ังหวัดประจวบคีรีขนั ธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทกุ ข์ร้อน และมูลเหตุที่ต้อง เนรเทศ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้ โคลงกำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรี อยธุ ยาตอนต้น ทำนองแต่ง แต่งดว้ ยโคลงดั้นบาทกุญชร ความมุ่งหมาย เพ่ือแสดงความอาลัยคนรกั ซ่ึงผูแ้ ต่งตอ้ งจากไป เรื่องยอ่ เร่ิมดว้ ยรา่ ยสดดุ กี รงุ ศรีอยธุ ยาวา่ รุ่งเรืองงดงาม เปน็ ศนู ย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎรสมบรู ณ์ พูนสุข ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใด เดินทางผ่าน ตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำบลที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะ เรียน ดา่ นขนอน บางทรนาว บางขดาน ยา่ นขวาง ราชคราม ทุง่ พญาเมอื ง ละเท เชิงราก บางพดู สำโรง รัตนภูมิ บางบำหรุ บางเขน บางกรดู บางพลู บางระมาด บางฉนงั บางจาก บางผึง้ ปาก พระวาล ก่ันชาววา บางนายยี่ สวาถโกน และ บางสบู นอกจากน้ีได้นำบคุ คลในวรรณคดี มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่ได้พบนางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดี เหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู (สุธนู) กับ นางจิรประภา และพระสมุทรโฆษกับนาง พินทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึง นครศรธี รรมราช

ประวัตวิ รรณคดี 149 ครศู ทุ ธินี สุดเอยี่ ม ตัวอย่างข้อความบางตอน ฝากนาง โฉมแมจ่ กกฝากฟา้ เกรงอินทร หยอกนา อินทรทา่ นเทดิ โฉมเอา สฟู่ า้ โฉมแมจ่ กกฝากดิน ดินทา่ น แล้วแฮ ดินฤๅขดดเจ้าหล้า สสู่ สํ องสํ คุณค่า โคลงกำสรวลเป็นงานนิพนธ์เรื่องเอกของศรปี ราชญ์ มีคณุ ค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยี่ยม ถอ้ ยคำสำนวน โวหารที่ใชค้ มคายจับใจ แสดงความเปน็ ต้นคิดหลายตอน ทำใหก้ วรี ่นุ หลงั มีพระยาตรังคภมู ิบาลและนายนรินทร์ ธเิ บศร เป็นต้น พากันเลียนอยา่ ง เชน่ ตอนชมเมือง และ ตอนฝากนาง โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตร ตระการของปราสาทราชวงั วดั วาอาราม และความรงุ่ เรืองทางพุทธศาสนาของกรุงศรีอยธุ ยา ความเป็นอยู่ของ ประชาชนในดา้ นการแตง่ กาย อาหารการกิน การเลน่ รนื่ เรงิ และสภาพภูมิศาสตร์ ตามเสน้ ทางการเดินทางของกวี ๖. โคลงทวาทศมาส ผู้แต่ง พระเยาวราช ขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกวรี าช ขนุ สารประเสรฐิ ทำนองแตง่ แต่งเปน็ โคลงดัน้ วิวิธมาลี ความมุ่งหมาย มีผู้สันนิษฐานว่าคงแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน มิได้จากนางจริงโดยสมมุติ เหตกุ ารณ์ขึน้ เรื่องย่อ โคลงเรื่องนี้ได้ชื่อว่าทวาทศมาส เพราะพรรณนาถึงความอาลัยรัก และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบสิบสอง เดือน ทวาทศมาส แปลวา่ สิบสองเดอื น ตอนตน้ สรรเสริญเทพเจา้ และพระเจ้าแผน่ ดิน ชมความงามของนางท่ี ต้องจากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระราม พระอนิรุทธ์ พระสมุทรโฆษ พระสุธน พระปราจิตต์ พระสธุ นู แลว้ แสดงความน้อยใจที่ตนไม่อาจไดอ้ ยู่ร่วมกับนางอกี อย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ ต่างๆ และลมฟ้า อากาศในรอบปีหน่ึงๆ ตั้งแต่เดือน ๕ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธอี ะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียด เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธีอาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และเดือนสี่ กระทำพิธีตรุษ เป็นต้น ต่อจากนั้นถามข่าวคราวของนางจาก ปี เดือน วัน และยาม ขอพรเทพเจ้า ให้ไดพ้ บนาง ตอนสุดท้ายกลา่ วสรรเสรญิ พระบารมีพระเจา้ แผน่ ดิน ตัวอย่างข้อความบางตอน คตธิ รรม คล้ายโคลงกำสรวล เพรงเราเคยพรากเน้ือ นกไกล คู่ฤๅ ริบราชเอาของขงง ค่งงไว้ มาทนนปลดิ สายใจ จยรจาก รยมนา มานิรารสให้ หา่ งไกล คุณคา่ โคลงทวาทศมาสมีแนวการบรรยายบทครวญสวาทพิสดารกว่าวรรณคดีเรื่องอื่น โครงเรื่องเป็นทำนอง นิราศแต่ไม่ปรากฏว่าจากนางไปที่ใด แทนที่จะนำตำบลต่าง ๆ มาพาดพิงกับความอาลัยรักกลับใช้ฤดูกาลกับ เหตุการณ์ต่างๆ ในรอบปีแทน ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะยิ่งนัก เป็นพื้นฐานให้กวีภายหลัง เช่น นายนรินทร์ ธเิ บศร พระยาตรงั คภูมิบาล และนายมีไดใ้ ช้เปน็ แนวความคดิ ในงานนิพนธ์

ประวตั วิ รรณคดี 150 ครศู ุทธินี สุดเอย่ี ม วรรณคดเี รอ่ื งน้ี นอกจากจะประกอบดว้ ยรสกวนี ิพนธ์ดงั กล่าวมาแลว้ ยงั ให้ความรู้เก่ยี วกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง โดยบรรยายสภาพดินฟ้าอากาศและกิจพิธี ตา่ งๆ ในแตล่ ะเดอื น ๗. โคลงหริภญุ ชัย ผูแ้ ต่ง ทิพ หรือ ศรีทิพ ทำนองแตง่ เดิมแตง่ ไวเ้ ปน็ โคลงไทยเหนือ ตอ่ มามผี ู้ถอดเป็นโคลงส่สี ภุ าพ ความม่งุ หมาย เพ่อื บรรยายความรูส้ กึ ท่ีตอ้ งจากหญงิ ท่ีรกั ไปนมัสการพระธาตหุ ริภญุ ชยั สว่ นผถู้ อดโคลงนี้เป็น ภาษาไทยกลางแต่ไมป่ รากฏช่ือ คงมคี วามประสงค์เพ่อื เฉลิมพระเกียรติกษตั รยิ ผ์ ู้ยง่ิ ใหญ่องคใ์ ดองค์หนึง่ เรื่องย่อ เริ่มบทบูชาพระรัตนตรัย บอกวัน เวลา ที่แต่ง แล้วกล่าวถึงการที่ต้องจากนางที่เชียงใหม่ไปบูชาพระ ธาตุหริภุญชัยที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก่อนออกเดินทางได้นมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ ขอพรพระมังราช หรือ พระมังรายซ่ึงสถิต ณ ศาลเทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใด ก็พรรณนา คร่ำครวญ รำพันรักไปตลอด จนถึงเมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุสมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งาน สมโภชพระธาตุ ตอนสดุ ท้ายลาพระธาตุกลบั เชยี งใหม่ ตัวอย่างข้อความบางตอน ลาพระพทุ ธสิหิงค์ นบวรเชฐสร้อย สหิ งิ ลาเทพเบญจาจรงิ จงึ่ ผา้ ย เชญิ วานเทพดลถลิง ถลากระหม่อม เรยี มเอย เทาดำเนนิ เย่ือนยา้ ย พรำ่ พร้อมเดินเดยี ว คณุ คา่ การใช้ถ้อยคำไพเราะ มีภาษาไทยเหนือปะปนอยู่มาก นอกจากนี้ วรรณคดีเรื่องนีย้ ังเป็นหลักฐานยืนยัน ถงึ ทต่ี ง้ั ปชู นยี สถาน และโบราณวตั ถุทเี่ ชยี งใหม่ และลำพูน เชน่ พระพทุ ธสหิ งิ ค์ พระแกว้ มรกต


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook