Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือครูและผู้ปกครอง สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

คู่มือครูและผู้ปกครอง สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

Published by kusumnipa40526, 2021-10-27 13:53:39

Description: คู่มือครูและผู้ปกครอง

Search

Read the Text Version

คู่มือสำหรับ ครูและ ผู้ปกครอง ------ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ -----

คำนำ คู่มือสำหรับครูและผู้ปกครองฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2759287 จิตวิทยาการสอน ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชา จิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2564 อาจารย์ประจำรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์นวรัตน์ หัสดี คู่มือฉบับนี้จัดทำเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษสำหรับครู และ ผู้ปกครอง โดยเนื้อหาคู่มือจะประกอบไปด้วย ความหมายของผู้ที่มีความต้องการพิเศษ สิทธิและ กฎหมายทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ประเภทของความต้องการพิเศษตาม การแบ่งของกระทรวงศึกษาธิการ และเทคนิคทางจิตวิทยาที่ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มี ความต้องการพิเศษ คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นวรัตน์ หัสดี เป็นอย่างสูงที่คอยให้การสนับสนุน และคำปรึกษาตลอดการจัดทำคู่มือฉบับนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสำหรับครูและ ผู้ปกครองฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจ เพื่อช่วยในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มความสามารถตามศักยภาพ ของผู้เรียน คณะผู้จัดทำ

เ รื่ อ ง ห น้ า ส า ร บั ญ ความหมาย \"เด็กที่มีความต้องการพิเศษ\" 1 กฎหมายที่สนับสนุนผู้พิการทางการศึกษา 4 ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 11 - เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 12 - เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 18 - เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น 26 - เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 34 - เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 38 - เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 41 - เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 47 - เด็กออทิสติก 53 - เด็กพิการซ้อน 58 - เด็กที่มีความสามารถพิเศษ 65 เทคนิคทางจิตวิทยาเพื่ อใช้ส่งเสริม 73 เด็กที่มีความต้องการพิเศษ - ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) - ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) 75 - ทฤษฎีสังคมเชิงพุทธิปัญญานิยม 80 - หลักการสอนตามแนวคิด 82 - ของนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยม 83 - ทฤษฎีมนุษยนิยม 84

1 ความหมาย \" เ ด็ ก ที่ มี ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร พิ เ ศ ษ \" ความหมาย คำว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “children with special needs” ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทุกประเภทไม่ได้เจาะจงไปที่เด็กประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จะทำให้เข้าใจถึงลักษณะและประเภทของ เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาแต่ละประเภท อันจะเป็นแนวทางเพื่อ ให้สามารถออกแบบ วางแผนการจัดการเรียนรู้ จัดการศึกษาเพื่อบำบัด ฟื้ นฟู และให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็น พิเศษของเเต่ละบุคคล ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ณัชพร ศุภสมุทร์ ( 2553) เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มี สภาพความบกพร่องในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางด้านพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษาหรือสติปัญญาและไม่สามารถปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ได้ ดังเช่นเด็กปกติทั่ว ๆ ไป รวมถึงทางด้านการจัดการศึกษาซึ่งต้องจัดให้ มีการเรียนการสอนที่ต่างไปจากเด็กปกติ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ สภาพของความบกพร่องของเด็ก ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (2555) เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความ ต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และ การเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการ ของเด็กแต่ละคน

2 ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผดุง อารยะวิญญู (2553) ได้นิยามความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ทางการศึกษา พิเศษ ไว้ดังนี้ 1. Impairment หมายถึง สภาพความบกพร่อง อาจเป็นความบกพร่องทางกาย ทางสติปัญญา เนื้อเยื่อ หรือระบบเส้นประสาทก็ได้ เช่น นิ้วมือด้วน แขนด้วน โรคหัวใจ เป็นต้น 2. Disability หมายถึง การไร้สมรรถภาพ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมไปถึงความบกพร่องใน การทำงานของอวัยวะหากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบกพร่องไปอวัยวะส่วนนั้น ไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนอวัยวะปกติ การไร้สมรรถภาพหรือด้อยสมรรถภาพจึงขึ้นอยู่กับ ความบกพร่อง หากอวัยวะบกพร่องมากอวัยวะนั้นอาจทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำงานไม่ได้เลย แต่ถ้าอวัยวะบกพร่องน้อยอวัยวะนั้นอาจทำงานได้บ้างแต่ไม่อาจทำงานได้เต็มที่เหมือนอวัยวะปกติ ดังนั้นคำว่าสมรรถภาพ จึงหมายถึง การที่อวัยวะทำงานได้น้อยกว่าปกติไปจนถึงทำงานไม่ได้เลย เช่น คนที่นิ้วมือด้วนทุกนิ้วไม่สามารถเขียนหนังสือได้ แต่ถ้านิ้วมือด้วน 2 นิ้ว อาจเขียนหนังสือได้ แต่เขียนได้ด้วยความยากลำบาก ถ้านิ้วมือด้วนเพียงนิ้วเดียว เขาสามารถเขียนหนังสือได้ดี เหมือนคนปกติ เขาสามารถใช้อวัยวะได้ดี เขาจึงไม่มี disability อาจกล่าวได้ว่าร่างกายบางส่วน ของเขาอาจบกพร่องแต่เขายังมีความสามารถในการใช้อวัยวะนั้นเหมือนคนปกติ 3. Handicap หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่อง ความบกพร่องของร่างกายส่งผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการแก้ไข อวัยวะที่บกพร่องให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมแล้วสภาพความบกพร่องอาจหมดไป บุคคลผู้นั้น จึงไม่ใช่ผู้ที่มีความบกพร่องต่อไปอีก เช่น ทหารพรานคนหนึ่งถูกตัดขาข้างหนึ่ง บุคคลผู้นี้มีความ บกพร่องเพราะเขาถูกตัด แต่ถ้าเขาใส่ขาเทียมและฝึกฝนการใช้ขาเทียมจนสามารถเคลื่อนไหวได้ดี สภาพความบกพร่องก็หมดไป เขาเป็นคนที่มีความบกพร่อง (impairment) แต่เขาไม่ใช่ handicap 4. Exceptional children ภาษาไทยใช้คำว่า “เด็กนอกระดับ” หมายถึง เด็กที่มีสภาพร่างกาย และสติปัญญาแตกต่างไปจากเด็กปกติ เด็กนอกระดับ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เด็กที่มีความบกพร่องทางภาษา เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ และเด็กพิการซ้ำซ้อน 5. Children with Special Needs ภาษาไทยใช้คำว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็กปกติ การให้การศึกษาสำหรับ เด็กเหล่านี้จึงควรมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กปกติในด้านเนื้อหา วิธีการและการประเมินผล เด็กกลุ่มนี้มีความหมายเช่นเดียวกับข้อที่ 4 แต่ความหมายของ “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”นี้ เป็นคำใหม่ในวงการศึกษาพิเศษและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เพราะทำให้รู้สึกในทางบวก 6. Special Education ภาษาไทยใช้คำว่า “การศึกษาพิเศษ” หมายถึง การจัดการศึกษาให้ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

3 ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากคำนิยามของเด็กที่มีความต้องการพิเศษดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุ ปความหมายของ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ ดังนี้ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs) หรือเด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาและความต้องการจำเป็นพิเศษซึ่งมากกว่าเด็กปกติทั่วไป แบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการศึกษาทั้ง 9 ประเภท อันได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กออทิสติก เด็กพิการซ้อน 2) กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือที่รู้จักกันในนาม“เด็กปัญญาเลิศ-เด็กอัจฉริยะ” 3) คือกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ซึ่งเด็กทั้ง 3 กลุ่มนี้จำเป็นจะต้องได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ โดยในการเข้ารับบริการทางการศึกษาพิเศษจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทและระดับของ ความบกพร่องหรือความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

4 กฎหมายที่สนับสนุนผู้พิการ ทางการศึกษา

5 สิทธิของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษตามรัฐธรรม นูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อม ได้ รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ หรือ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และ ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสีย ค่าใช้จ่ายสูงเกินควร มาตรา 71 รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และ ผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าว ถูกใช้ ความรุ นแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบำบัด ฟื้ นฟูและ เยียวยาผู้ถูกกระทำการ ดังกล่าว ซึ่งในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคำนึงถึงความจำเป็น และความต้องการที่แตกต่างกันทางเพศ วัยและสภาพของบุคคล เพื่อความเป็นธรรม มาตรา 74 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับ ศักยภาพและวัยและให้มีงานทำและพึงคุ้มครองใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและ มีสุขอนามัยที่ดี ในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพและพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้น วัยทำงาน มาตรา 128 วรรค 2 ได้กำหนดให้ในการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พระ ราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับคนพิการหรือ ทุพพลภาพ จะต้องกำหนดให้มีคนพิการหรือทุพพลภาพดังกล่าวเป็นผู้แทนองค์กรเอกชนที่ ทำงานเกี่ยวกับคนพิการหรือทุพพลภาพร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่ง ในสามของจำนวนกรรมาธิการวิสามัญทั้งหมด (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560)

6 บุคคลที่มีความต้องการพิเศษกับสิทธิทางการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติหลายหมวด หลายมาตราที่มีความ เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนี้ มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกันในการรับการ ศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึงตนเองได้หรือไม่มี ผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ต้องจัดด้วยรู ปแบบที่เหมาะสมโดย คำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น มาตรา 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการ ศึกษาภาคบังคับ ตามมาตรา 17 และมาตราที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษา นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันประกอบการ และ สถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้ 1. สนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่ บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล 2. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความ ดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด 3. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถาบันประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควร แก่กรณี ดังต่อไปนี้ 1. การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคล ซึ่งอยู่ในความ ดูแลรับผิดชอบ 2. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด 3. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กำหนด

7 มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรู ปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 1. การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรู ปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ ของการศึกษาโดย เนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยการศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือ แหล่งความรู้อื่นๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรู ปแบบใดรู ป แบบหนึ่งหรือทั้งสามรู ปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกัน หรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจาก ประสบการณ์การทำงาน มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อน เกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกของเด็กพิการ และ เด็กที่มี ความต้องการพิเศษ หรือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น 2. โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และ โรงเรียนที่สังกัดสถาบัน พุทธศาสนา หรือ ศาสนาอื่นๆ 3. ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนได้ และถือ ว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ เต็มตามศักยภาพ มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา ในฐานะที่มีความสำคัญ สูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษา ดังนี้ 1. จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาค บังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียม 2. จัดสรรเงินทุนการศึกษาในรู ปของกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ น้อย ตามความเหมาะสมและความจำเป็น 3. จัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ ให้เหมาะสมสอดคล้อง ต่อความจำเป็น ในการจัดการศึกษา สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษแต่ละกลุ่ม ตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคที่สี่ โดยคำนึงถึงความเสมอภาคในโอกาส ทางการศึกษาและความเป็นธรรม ทั้งนี้ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง

8 4. จัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการ และงบลงทุนให้สถานศึกษาของรัฐตาม นโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และภารกิจของสถานศึกษาโดยให้มีอิสระการ บริหารงบประมาณและทรัพยากร ทางการศึกษา ทั้งนี้ให้คำนึงถึงคุณภาพและ ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, 2542) พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรู ปแบบการศึกษา โดยคํานึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจําเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ จําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล มาตรา ๖ ให้ครู การศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่ กฎหมายกําหนดให้ครู การศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพ องค์ความรู้การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้ สอดคล้อง กับความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุ งแผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนด ในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสําหรับ คนพิการ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรู ปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียน ร่วม การจัดการศึกษา เฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้ นฟูสมรรถภาพ การ พัฒนาศักยภาพในการดํารงชีวิตอิสระ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จําเป็น การฝากอาชีพ หรือการบริการอื่นใด ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนตลอดจน บริการเทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการ ศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือ จํานวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมตามกฎหมาย

9 ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความ ร่วมมือ จากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการ ทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการ มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น ออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกําหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดําเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะ การจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กํากับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ ตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อให้การดําเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แก่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสําหรับคน พิการ พ.ศ. ๒๕๕๑, 2551) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕ การกําหนดนโยบายระเบียบ มาตรการโครงการหรือวิถีปฏิบัติของหน่วย งานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อคนพิการจะกระทํามิได้ การกระทําในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกระทําหรืองดเว้นกระทําการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือก ปฏิบัติต่อ คนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทํานั้นทําให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ ที่ควรจะได้รับเพราะ เหตุแห่งความพิการด้วย การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะ สนับสนุนให้กระทําได้ตามความจําเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่ เป็นธรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่ผู้กระทําการนั้นต้องจัดให้มีมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาหรือรักษา ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์แก่คนพิการตามความจําเป็นเท่าที่จะกระทําได้ มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิตามมาตรา ๒๐ คนพิการอาจยื่นคําขอ มีบัตรประจําตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ สํานักงาน ทะเบียนกลาง สํานักงานทะเบียนจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการ กําหนด ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือ ในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคําขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคําขอแทนก็ได้ แต่ต้องนําหลักฐาน ว่าเป็นคนพิการไปแสดงต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด แล้วแต่กรณีด้วย การยื่นคําขอมีบัตรประจําตัวคนพิการ การออกบัตร การกําหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ ออกบัตรประจําตัวคนพิการ การกําหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิ ของคนพิการ และ อายัติบัตรประจำตัวคนพิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และ เงื่อนไขตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

10 ในกรณีที่บัตรประจําตัวประชาชนสามารถบรรจุข้อมูลคนพิการได้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บัตรประจําตัวประชาชนแทนบัตรประจําตัวคนพิการ มาตรา ๑๙/๑ คนพิการซึ่งไม่มีสถานะการทะเบียนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการ ทะเบียนราษฎร อาจได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จาก รัฐ ท้ังนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนดในระเบียบ มาตรา ๒๐ คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวก อัน เป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้ (๑) การบริการฟื้ นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาล ค่าอุปกรณ์ เคร่ืองช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพ่ือปรับสภาพทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพ ให้ดีขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด (๒) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติ ตาม ความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือ การศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอํานวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสําหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความ เหมาะสม (๓) การฟื้ นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทํา ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี หรือความช่วยเหลืออื่นใดเพื่อการทำงานและ ประกอบอาชีพของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด (๔) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่าง เต็มที่และ มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตลอดจนได้รับสิ่งอํานวยความ สะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จําเป็นสําหรับคนพิการ (๕) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและ บริการ อันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมาย และ การจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด (๖) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสําหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจน บริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการทระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง (๗) บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด (สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2550)

11 ประเภทของเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ

12 1.เด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา 1. ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา ภาวะที่สมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความบกพร่องทางทักษะ ต่าง ๆ ในระยะพัฒนาการ ส่งผลต่อระดับเชาวน์ปัญญาทุกด้าน เช่น ความสามารถทาง ปัญญา ภาษา การเคลื่อนไหว และทักษะทางสังคม มีความบกพร่องในการปรับตัว รวมถึง อาจจะมีหรือไม่มีความผิดปกติทางกายหรือจิตใจร่วมด้วย โดย ICE (2001) กำหนดการ ประเมินสมรรถภาพของบุคคลที่มีภาวะนี้ไว้ 10 ด้าน การทำงานด้านสติปัญญา การเรียนรู้ ผ่านการเชื่อมโยงกับสิ่งของหรือของเล่น การเรียนรู้ในการอ่าน การรับการสื่อสารด้วย ข้อความภาษาพูด การพูด การทำความสะอาดร่างกายตนเอง การดูแลการกำจัดของเสีย ออกจากร่างกาย การรับประทานอาหาร การทำงานบ้าน และนันทนาการและกิจกรรม ยามว่าง (The International Classification of Functioning, Disability and Health: ICF, 2001) ภาวะที่มีความเกี่ยวเนื่องมาจากความบกพร่องด้านพัฒนาการ (developmental disability) ประเภทหนึ่ง ภาวะดังกล่าวส่งผลให้บุคคลมีความสามารถในการใช้สติปัญญา จำกัดหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีข้อจำกัดในการปรับตัวตามพัฒนาการแต่ละขั้น ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียน เกณฑ์สำคัญ 4 ข้อ คือ ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน (70-75 หรือต่ำกว่านั้น) ตามการทดสอบระดับเชาวน์ปัญญา (IQ test: intelligence quotient test) มีความบกพร่องในการปรับตัวด้านทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นใน การดำรงชีวิตประจำวัน ความบกพร่องเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาการซึ่งจะปรากฏชัดเจน ก่อนอายุ 18 ปี และความบกพร่องเป็นอุปสรรคต่อการเรียน (Individuals with Disability Education Act, 2004) ความบกพร่องที่ส่งผลให้บุคคลมีข้อจำกัดทั้งความสามารถด้านเชาวน์ปัญญา (intellectual functioning) และความสามารถในการปรับตัวในชีวิตประจำวัน (adaptive behavior) ลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนก่อนอายุ 18 ปี ซึ่ง adaptive behavior ได้แก่ ทักษะความคิดรวบยอด (conceptual skills) ทักษะทางสังคม (social skills) และทักษะ การดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน (practical adaptive skills/daily living skills) (The American Association of Intellectual and Developmental Disabilities: AAIDD, 2008)

13 ความหมายของผู้เรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (ต่อ) ภาวะที่มีความผิดปกติเริ่มต้นตั้งแต่ระยะพัฒนาการ ประกอบด้วยความบกพร่องทาง สติปัญญาและการปรับตัว ในบริบทด้านความคิด สังคม และการกระทำ โดยจะต้อง เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย 3 ข้อ ได้แก่ ความบกพร่องด้านความสามารถด้านสติปัญญา (โดย การประเมินทางคลินิกและการทดสอบ) ความบกพร่องด้านพฤติกรรมการปรับตน (โดย ประเมินความสามารถ) และพบได้ตั้งแต่ระยะพัฒนาการ (The American Psychiatric Association, 2013) การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ หรือมีระดับ เชาวน์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี ความพิการ ประเภทนี้ทำให้คนพิการมีข้อจำกัดด้านสติปัญญา การเรียนรู้และการปรับตัวในการดำรง ชีวิตประจำวัน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2552) \"บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา\" ได้แก่ บุคคลที่มีข้อจำกัดอย่างชัดเจนใน การปฏิบัติตน (functioning) ในปัจจุบันซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นชัด คือ ความสามารถทาง สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีก อย่างน้อย 2 ทักษะจาก 10 ทักษะ ได้แก่ การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิต ภายในบ้าน ทักษะทางสังคม/การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การน้ำความรู้มาใช่ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การใช้ เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้การแสดงออกในลักษะดังกล่าว ตามข้อมูลข้างต้นนั้นจะเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552)

14 2. ลักษณะอาการ ระดับน้อย (Mild Mental Retardation) มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-70 อาจไม่แสดง อาการล่าช้าจนกระทั่งวัยเข้าเรียน (แต่ถ้าสังเกตอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าเด็กเหล่านี้มี ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์อย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล) ไม่มีอาการแสดง ทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ หรือทางพฤติกรรมใดโดยเฉพาะ ที่บ่งบอกถึงความบกพร่อง ทางสติปัญญายกเว้นกลุ่มอาการที่มีลักษณะพิเศษทางรู ปร่างหน้าตา ปรากฎให้เห็น ก็จะ ทำให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือในวัยทารก เช่น กลุ่มอาการตาวน์ (Down Syndrome) แต่ความผิดปกติเหล่านี้ ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเด็กในกลุ่มนี้สามารถ พัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มักมีความบกพร่อง ด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้ (educable) ทักษะทางวิชาการ มักเป็นปัญหาสำคัญที่พบในวัยเรียน แต่ก็สามารถเรียนจนจบชั้นประถมปลายได้ สามารถ ฝึกทักษะด้านสังคมและอาชีพ พอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เป็นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือหรือ กึ่งใช้ฝีมือ แต่อาจต้องการคำแนะนำ และการช่วยเหลือบ้างเมื่อประสบความเครียด ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation) มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-50 ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติ แต่พัฒนาการต้านภาษาและ ต้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษาหลังจากระดับชั้น ประถมตัน มักไม่ค่อยพัฒนาสามารถฝึกอบรมได้ (trainable) ในทักษะการช่วยเหลือ ดูแลตนเอง เรียนรู้ที่จะเดินทางได้ด้วยตนเองในสถานที่ที่คุ้นเคย และฝึกอาชีพได้บ้าง สามารถทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ แต่ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ระดับรุ นแรง (Severe Mental Retardation) มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20 -35 มักจะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ต้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะ การสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแลตนเองเบื้องตัน ได้บ้างแต่น้อย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ การทำงาน ต้องการโปรแกรมในชุมชน หรือการให้ความช่วยเหลือที่พิเศษเป็นการเฉพาะ ระดับรุ นแรงมาก ( Profound Mental Retardation) มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดจนในทุก ๆ ด้าน มักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และฝึก การช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมากต้องการ ความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

15 3. การรับรู้และการเรียนรู้ - ด้านสติปัญญา เป็นทักษะการคิด การแก้ปัญหา ความจำและความสนใจ โดย จะสามารถจำและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ จากสิ่งที่เห็นและคุ้นเคย เช่น ของเล่นที่ชอบ พ่อแม่หรือ ผู้ปกครอง แต่เด็กจะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรมและการพูดถึง สิ่งที่ไม่เห็น เช่น เวลา - ด้านการสื่อสาร เป็นทักษะการพูด การฟัง และการเขียน ความเข้าใจและการใช้ ภาษา เช่น การทำให้ผู้อื่นรู้ความต้องการของตัวเอง การทำตามคำสั่ง โดยอาจจะมีช่วง ความสนใจสั้นเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกันหรือสามารถทำตามคำสั่งที่ไม่เกิน 2 ตอน เช่น เดินไปปิดไฟแล้วกลับมานั่งที่ สามารถใช้การใช้สื่อผ่านการเห็น (visual prompts) สามารถช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารได้มากขึ้น - ด้านร่างกาย เป็นทักษะการเคลื่อนไหวโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาศัย Gross motor การเคลื่อนไหวอวัยวะขนาดใหญ่ เช่น เดิน กระโดด ขึ้นลงบันได ขว้างและ รับสิ่งของ การประสานสัมพันธ์ระหว่างแขนกับขา และ Fine motor การหยิบจับสิ่งของ การใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ การประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ อาจมีปัญหา การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น การติด กระดุม การรู ดซิป และการขึ้นลงบันได - ด้านประสาทสัมผัส เป็นทักษะการบูรณาการประสาทสัมผัส เช่น การมอง การฟัง การสังเกตและตอบสนองสิ่งรอบตัว การดมกลิ่น การชิมรส การสัมผัส โดยอาจมีปัญหา เรื่องการทำความเข้าใจจากสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านประสาทสัมผัสหรือรับรู้ความรู้สึก - ด้านอารมณ์และสังคม เป็นทักษะการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น การทำความรู้จัก การเล่น การรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น โดยอาจไม่เข้าใจว่าบุคคลมีความคิดและ ความรู้สึกแตกต่างจากตัวเขา มีปัญหาในการเริ่มบทสนทนาตลอดจนการสนทนากับบุคคล อื่น บุคคลที่มีภาวะนี้มีความต้องการ ความรักและความผูกพัน เช่นเดียวกับคนทั่วไป - ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน โดยจะไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้ เช่น การดูแลตัวเอง อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว หวีผม หรือ รับประทานอาหาร งานบ้านง่าย ๆ เช่น เก็บที่นอน จัดห้องนอน ล้างจาน รวมไปถึง การโดยสารรถประจำทาง การซื้อของใช้ส่วนตัว อาจมีปัญหาในการจัดการ การจัดลำดับ การเผชิญหน้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน - ผลกระทบต่อการเรียนรู้ เนื่องจากความล่าช้าของพัฒนาการและข้อจำกัดในทักษะ ด้านใดด้านหนึ่ง หรือ หลายด้าน บุคคลที่มีภาวะนี้อาจจะต้องการเวลามากขึ้นเพื่อเรียนรู้ และการฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ เรียนรู้ทักษะที่ซับซ้อนด้วยวิธีการแบ่งกิจกรรมเป็นขั้นตอนย่อย ๆ (เทคนิคการวิเคราะห์งาน) ต้องการคำอธิบายและการสื่อสารจากผู้อื่นด้วยภาษาง่าย ๆ บางครั้งอาจใช้ภาพและท่าทางประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจ และจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นจาก วิธีการหรือกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น บทบาทสมมติ การดูวีดิทัศน์ การกระตุ้นเตือน การฝึกฝน

16 4. แนวทางการพัฒนา การช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา แม้ว่าเมื่อเกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญาแล้ว จะไม่อาจรักษาสมองส่วนที่เสียไป ให้กลับคืนมาทำงานได้ตามปกติก็ตาม แต่ก็สามารถจะคงสภาพ หรือฟื้ นฟูสภาพทางสมอง ส่วนที่คงเหลืออยู่ให้ทำงานได้เต็มที่ ดังนั้น การรักษาภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จึงเน้น การฟื้ นฟูสมรรถภาพของสมองและร่างกาย มากกว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว การวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุดและการฟื้ นฟูสมรรถภาพทันทีที่วินิจฉัยได้ จะช่วยหยุดยั้ง ความพิการไม่ให้เพิ่มขึ้น เป้าหมายของการรักษาภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจึงไม่ใช่ มุ่งรักษาให้หายจากโรค แต่เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติ มากที่สุด ให้ช่วยตัวเองได้ และสามารถประกอบอาชีพได้ การฟื้ นฟูสมรรถภาพในบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา มีดังนี้ 1. การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation) การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในช่วงแรกเกิด 6 ปี ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพ นอกจากการส่งเสริมสุขภาพเช่นเด็กปกติ การบำบัดรักษา ความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก Cretinism, PKU, cerebral palsy, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ ให้การส่งเสริมพัฒนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและ สติปัญญา ภาษา สังคมและการช่วยเหลือตนเองเพื่อให้เด็กมีความพร้อมในการเข้าสู่ ระบบการศึกษา การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น อรรถบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น การส่งเสริมพัฒนาการ(Early Intervention) การส่งเสริมพัฒนาการ หมายถึง การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นใน การเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่พัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก จากการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับ การฝึกทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาแต่เยาว์วัย จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าการฝึกเมื่อเด็กโต แล้ว ทันทีที่วินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือเด็ก ที่มีอัตราเสี่ยงสูงว่าจะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด มารดาตก เลือดคณะตั้งครรภ์ เป็นต้น สามารถจัดโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเด็กมาไว้ที่โรงพยาบาล โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ คือ การจัดสภาพ แวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก บิดามารดา และคนเลี้ยงดู มีบทบาทสำคัญ ยิ่งในการฝึกเด็กให้พัฒนาได้ตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ ผลสำเร็จของการส่งเสริม พัฒนาการจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และความตั้งใจจริงของบุคคลในครอบครัวของเด็ก มากกว่าผู้ฝึกที่เป็นนักวิชาชีพ (Professional staff) กายภาพบำบัด เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (motor development) ช้ากว่าวัย นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขนาด หนักและหนักมาก ส่วนใหญ่ก็จะมีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ด้วย ทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว จึงจำเป็นต้องแก้ไขอาการ เคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพื่อช่วยลดการยึดติดของข้อต่อ และการสูญเสียกล้ามเนื้อ เด็กจะช่วย ตัวเองได้มากขึ้น เมื่อเจริญวัยขึ้น

17 แนวทางการพัฒนา (ต่อ) กิจกรรมบำบัด การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การใช้มือหยิบจับสิ่งของ ฝึกการทำงานของตา และมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination) เด็กสามารถหยิบจับสิ่งของ เช่น จับ ถ้วยกินน้ำ จับแปรงสีฟัน หยิบช้อนกินข้าว การรักษาทางกิจกรรมบำบัด จะช่วยให้ การดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกขึ้น อรรถบำบัด เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเกินกว่าร้อยละ 70 มีปัญหาการพูดและ การสื่อความหมาย กระบวนการฝึกในเรื่องนี้ ไม่ใช่เพื่อให้เปล่งสำเนียงเป็นภาษาที่คนทั่วไป เข้าใจเท่านั้น แต่จะเริ่มจากเด็กต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง ออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกพูดต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จึงจะได้ผลดีที่สุด 2.การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation) ในช่วงอายุ 7-15 ปี มีการจัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP) ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นการเรียนใน ชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ ในประเทศไทยโรงเรียนที่รับเด็กที่มี ภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีอยู่ทั่วไปทั้งในกรุ งเทพมหานครและในต่างจังหวัด แต่ใน ทางปฏิบัติก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับเด็กกลุ่มนี้ 3.การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation) เมื่ออายุ 15-18 ปี เป็นการฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็น มากต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำ มาปฏิบัติเอง โดยไม่ต้องมีผู้เตือน การปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานและมารยาทในสังคม เมื่อเข้า วัยผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือให้ได้มีอาชีพที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอิสระ (independent living) ในสังคมได้อย่างคนปกติ (normalization) อาชีพที่บุคคลที่มีภาวะ บกพร่องทางสติปัญญาสามารถทำได้ดี ได้แก่ อาชีพงานบ้าน งานบริการ งานในโรงงาน งานในสำนักงาน เช่น การรับส่งหนังสือ ถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้ บริการด้านนี้ยังมีน้อย คำแนะนำ การฝึกสอนบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีจุดมุ่งหมายสูงสุด เพื่อให้มีความ เป็นอยู่ใกล้เคียงคนปกติซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปร ต่อไปนี้ คือ 1. ระดับของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับ เล็กน้อย มีโอกาสจะพัฒนาให้สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงบุคคลปกติได้ดีกว่า ผู้ที่มีภาวะ บกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางหรือรุ นแรง 2. ความผิดปกติที่พบร่วมด้วยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้ นฟูสมรรถภาพ ทำให้ไม่ ประสบผลดีเท่าที่ควร 3. การส่งเสริมพัฒนาการ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีความพร้อมในการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไปมากกว่าการฝึกเมื่อเด็กโต แล้ว

18 2.เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน 1. หลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์กำหนดความพิการทางการได้ยินหรือ สื่อความหมายตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เรื่องประเภทและ หลักเกณฑ์ความพิการในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 771 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 1. หูหนวก หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการ ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไป มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจาก การมีข้อบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูล ผ่านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยินโดยใช้คลื่น ความถี่ที่ 500 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ (*) ใน หูข้างที่ได้ยิน ดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดัง ของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป 2. หูตึง หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการ ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมี ส่วน ร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมี ข้อบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่าน ทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยินโดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ (*) ในหูข้างที่ได้ยิน ดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง น้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล *หลักเกณฑ์ตามประกาศของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2552*

19 2. ประเภทของความบกพร่องทางการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินหรือความบกพร่องทางการได้ยิน แบ่งเป็นประเภทได้ตามลักษณะ การทำงานในแต่ละส่วนดังนี้ (วิชิต วเรืองโรจน์ : 2550) 1.การสูญเสียการได้ยินชนิดนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) เป็น ภาวะการณ์นำเสียงบกพร่อง ซึ่งเป็นผลจากโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติที่หูชั้นนอกและหู ชั้นกลาง นอกหน้าต่างรู ปไข่ออกมา (Oval window) เป็นผลให้มีความผิดปกติของกลไก การส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน 2.การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติที่หูชั้นใน (Cochiea) ประสาทรับเสียง (Auditory nerve) ทำให้มีความลำบากในการรับฟังเสียงโดยเฉพาะเสียงสนทนาคือได้ยินแต่ ฟังไม่รู้เรื่อง 3.การสูญเสียการได้ยินชนิดการรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติในการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบ ในโรคที่มีความผิดปกติที่หูชั้นนอกและ/หรือหูชั้นกลางร่วมกับความผิดปกติของหูชั้นใน 4.การรับฟังเสียงบกพร่องจากสมองส่วนกลาง (Central hearing loss) เป็นความ บกพร่องของสมองส่วนกลาง (Central hearing loss) เป็นความบกพร่องของส่วนกลาง คือ ได้ยินเสียงแต่ไม่สามารถแปลสัญญาณเสียงนั้นได้ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถได้ตอบ สัญญาณนั้นกลับด้วย 5.การรับฟังเสียงบกพร่องจากสภาวะทางจิตใจ (Functional หรือ Psychological hearing loss) เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ มิใช่จากสาเหตุทางร่างกาย ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผดุง อารายะวิญญู (2542) 1.การพูด เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการพูด เด็กอาจพูดไม่ได้ หรือพูดไม่ชัด ซึ่งขึ้นกับระดับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย อาจพอพูดได้ เด็กที่สูญเสียการได้ยิน ระดับปานกลางสามารถพูดได้แต่อาจไม่ชัด ส่วนเด็กที่ สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวก อาจพูดไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ใน วัยเด็ก นอกจากนี้การพูดขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก เมื่อสูญเสียการได้ยินอีกด้วย หากเด็ก สูญเสียการได้ยินมากมาแต่กำเนิด ปัญหาในการพูดของเด็กนอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความรุ นแรงของระดับการได้ยินแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอายุของเด็กเมื่อเด็กสูญเสียการได้ยิน อีกด้วย 2.ภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาเกี่ยวกับภาษา เช่น มีความรู้ เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เรียงคำเป็นประโยคที่ผิดหลักภาษา ปัญหาทางภาษาของเด็ก คล้ายคลึงกับปัญหาในการพูด คือ เด็กยิ่งสูญเสียการได้ยินมากเท่าใดยิ่งมีปัญหาในทาง ภาษามากขึ้นเท่านั้น

20 3.ความสามารถทางสติปัญญา ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจคิดว่าเด็ก ประเภทนี้เป็นเด็กที่มีสติปัญญาต่ำ ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า ท่านไม่อาจสี่อสารกับเขาได้ หากท่าน สามารถสื่อสารกับเขาได้เป็นอย่างดีแล้ว ท่านอาจ เห็นว่าเขาเป็นคนฉลาดก็ได้ ความจริงแล้วระดับสติปัญญา ของเด็กที่มีความบกพร่อง- ทางการได้ยิน จากรายงานเป็นจำนวนมากพบว่า มีการกระจายคล้ายเด็กปกติ บางคนอาจ เรียนรู้ช้า บางคนอาจเรียนรู้ไว จึงอาจสรุ ปได้ว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ใช่ เด็กโง่ทุกคน 4.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวนมาก มีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวิธีการเรียนการสอน ตลอดจนวิธีวัดผลที่ ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันหมาะที่จะนำมาใช้ ในเด็กปกติมากกว่าวิธีการบางอย่างจึงไม่เหมาะ กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ยิ่งไปกว่านั้นเด็กที่มีความบกพร่องทำการได้ยิน มีปัญหาทางภาษาและทักษะทางภาษาจำกัด จึงเป็นอุปสรรคในการทำข้อสอบ เพราะผู้ที่ จะทำข้อสอบให้ที่นั้นต้องมีความรู้ทางภาษาเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ค่อนข้างต่ำกว่าเด็กปกติ 5.การปรับตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจมีปัญหาในการปรับตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ดี เด็กอาจเกิดความ ขับข้องใจ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กสามารถปรับตัวได้แต่ถ้าเด็กไม่สามารถสื่อสารกับ ผู้อื่นได้ดี เด็กอาจเกิดความขับข้องใจ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยินต้องปรับตัวมากกว่าเด็กปกติบางคนเสียอีก เด็กที่มีความเก่งอาจปรับตัวได้ดี ส่วนเด็กที่อ่อนอาจมีปัญหาในการปรับตัวได้ 3. ลักษณะ ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจสังเกตได้จาก - ไม่แสดงอาการได้ยินเสียง แม้จะเกิดเสียงดังใกล้ ๆ ตัว - ไม่หัดเลียนเสียงพูด และสิ่งแวดล้อม - หัดพูดช้ากว่าเด็กปกติ หรืออายุ 2 ขวบแล้วยังพูดไม่ได้ - ไม่ค่อยเข้าใจคำพูด - พูดไม่ชัด หรือเสียงพูดผิดปกติ - ชอบทำท่าทาง เพราะไม่สามารถบอกความต้องการโดยการพูดได้ - ไม่ค่อยได้ยินเสียง หรือ ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดีดังมาก ๆ - มีความรู้สึกไวต่อการสัมผัสและการเคลื่อนไหวรอบตัว

21 4. สาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน สาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัย อันเกิดแต่กำเนิด (Congenital causes) และปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด (Acquired causes) ปัจจัยอันเกิดแต่กำเนิด (Congenital causes) นำไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินใน ทันทีหลังกำเนิด หรือหลังกำเนิดเพียงเล็กน้อย โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่ง เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ (hereditary genetic factors) ปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งไม่ เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ (non-hereditary genetic factors) หรืออาจเกิดจากภาวะ แทรกซ้อน (complications) ตอนอยู่ในครรภ์ รวมทั้งในช่วงแรกเกิด ซึ่งโดยทั่วไป สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยินอันเกิดแต่กำเนิด มักได้แก่ โรคหัดเยอรมัน (Rubella) ซิฟิลิส (Syphilis) หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ อันเกิดต่อ มารดาในขณะตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (birth asphyxia) การใช้ยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินอย่างไม่เหมาะสมใน ขณะตั้งครรภ์ เช่น อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เป็นต้น เด็กเป็นโรคดีซ่านฉับพลัน (Severe Jaundice) ในช่วงแรกเกิด ซึ่งสามารถทำลาย เส้นประสาทการในได้ยินของทารกได้ ปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด (Acquired causes) สามารถนำไปสู่ภาวะบกพร่อง ทางการได้ยินได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งมักได้แก่ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ อาทิเช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) โรคหัด (Measles) และโรคคางทูม (Mumps) สามารถนำไปสู่ภาวะหูตึงได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อเกิดในเด็ก การติดเชื้อเรื้อรังในหู ซึ่งมักแสดงออกมาในลักษณะโรคหูน้ำหนวก (Discharging ears) โดยนอกจากจะนำไปสู่ภาวะหูตึงแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนที่ รุ นแรง เช่น ฝีในสมอง (Brain abscesses) และโรคหัด การสะสมของของเหลวในหู จนทำให้หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) การใช้ยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินไม่ว่าในช่วงวัยใดก็ตาม เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหูชั้นใน ความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นต่อศีรษะหรือหู การฟังเสียงที่ดังเกินไปอย่างต่อเนื่อง อาการหูตึงที่แปรผันไปตามอายุ หรือ อาการประสาทหูบกพร่องในวัยชรา (Presbycusis) ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเซลล์อันเกี่ยวกับกระแสประสาท ขี้หู รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมที่ขวางอยู่ในช่องหูก็สามารถเป็นสาเหตุของปัญหาความ บกพร่องทางการได้ยินได้ในบุคคลทุกวัย เพียงแต่ลักษณะความหูตึงจากสาเหตุนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงระดับน้อย และสามารถแก้ไขได้ในทันที

22 5. วิธีการช่วยเหลือและพัฒนา หน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทของผู้ปกครองต่อบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยินการพัฒนาด้านพฤติกรรมให้แก่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 1.ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน 2.เรียนรู้ข้อมูลการสูญเสียการได้ยินของลูกเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการ พัฒนาทางด้านภาษาและการเรียนให้กับลูกได้อย่างเหมาะสม 3.ให้การสนับสนุนและปฏิบัติตามคำแนะนำของโสต สอ นาสิกแพทย์ นักแก้ไขการ ได้ยิน นักแก้ไขการพูดและครู หรือนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก 4.ให้ความรัก ความอบอุ่น ความเมตตา ความเอาใจใส่ แต่ต้องไม่ตามใจหรือเคร่งครัด เกินไปให้ความเป็นธรรมเท่าเทียมกันทั้งลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และลูกที่มี ความปกติ จัดหน้าที่และความรับผิดชอบไปตามความสามารถและอายุพยายามให้ลูก มีเหตุผล ชมเมื่อควรชม และตำหนิเมื่อต้องตำหนิ มีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันใน ครอบครัวของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 5.วางระเบียบกฎเกณฑ์รวมทั้งข้อมูลต่างๆให้สมาชิกในครอบครัวทราบ และถือปฏิบัติ ต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเหมือนกัน 6.แนะนำให้ทุกคนในครอบครัวให้ตระหนักว่าจะไม่มีการพูดเปรียบเทียบระหว่างเด็กที่ มีความบกพร่องทางการได้ยินกับเด็กที่ปกติ ให้เกิดความน้อยใจ หมดกำลังใจ และท้อแท้แต่ ควรให้กำลังใจและชี้ให้เห็นทางออกที่จะสามารถแก้ไขอุปสรรคต่าง ได้เรียนรู้และใช้ภาษา สื่อสารกับลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 7.พยายามบอกเล่าให้ลูกได้รู้ในเรื่องต่างๆตามอายุที่ควรจะรู้ เช่น เรื่องความบกพร่อง ทางการได้ยิน การไม่ได้ยินเสียง ความรู้ทางด้านภาษาเครื่องช่วยฟัง จริยธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรมที่ดีของสังคมทีเขาอยู่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน เพื่อเขาจะได้ตอบสนองต่อสังคม รอบด้านได้ถูกต้อง 8.จัดให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมช่วยเหลือสังคมหรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยินหรือกลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องด้านอื่น 9.จัดให้มีเวลาสำหรับครอบครัว สำหรับลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพื่อให้มี บรรยากาศปรึกษาหารือกัน ให้ลูกมีความไว้ใจในการเล่ากิจกรรมต่าง ๆ ถ้ามีกิจกรรม หรือ มีปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขควรแจ้งให้ลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทราบทุกครั้ง ในปัจจุบันนักแก้ไขการได้ยิน (audiologist) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติ ของการได้ยินในเด็กเล็กๆไม่ว่าเด็กจะมีอายุน้อยเพียงใดก็ตามหากวินิจฉัยได้เร็วเท่าไรก็จะ เป็นผลดีต่อการฟื้ นฟูสมรรถภาพการฟังและการพูด การใช้ภาษาในการสื่อสารได้เร็ว เท่านั้น โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนดเด็ก ตัวเขียวหลังคลอด เป็นต้น หากผู้ปกครองประสงค์จะให้เด็กสื่อความหมาย ด้วยการฟังและ พูดจะต้องให้เด็กใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินและจะต้องได้รับ การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินและการพูดอย่างต่อเนื่อง ได้แก่การฝึกฟัง เพื่อให้เด็ก

23 ใช้การได้ยินที่หลงเหลืออยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดการกระตุ้นให้เด็กออกเสียงพูด การสอนให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและท้ศนคติในการโต้ตอบสื่อความหมาย รวมทั้งการ แก้ไขเสียงพูด อย่างไรก็ตามกรณีที่หูสูญเสียการได้ยินมากหรือมีอุปสรรคอย่างอื่นที่ทำให้เด็กไม่มี ความก้าวหน้าในการพังและการพูดหลังจากใส่เครื่องช่วยฟัง เด็กอาจจะต้องเรียนภาษามือ หรือทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเพื่อช่วยให้เด็กรับฟังเสียงได้ดีขึ้น ต้องส่งเสริมให้เด็กได้ รับการศึกษาพัฒณาตนเองตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคนให้มากที่สุด เพื่อที่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อใช้ใน การเรียน และการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ เช่น - ฝึกประสาทสัมผัสการใช้มือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - ฝึกประสาทสัมผัสในการใช้สายตา ให้มีความสัมพันธ์กัน และจับความเคลื่อนไหวของ สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เร็วขึ้น - ฝึกประสาทสัมผัสให้มีความสัมพันธ์กับความคิด สามารถบอก แสดงออก หรือสื่อ ความหมายในการสัมผัสได้ เช่น สามารถบอกได้ว่า สิ่งใดมีความร้อน ความเย็นความเหม็น ความหอม ความเจ็บ ความปวดความแสบได้ - ฝึกออกเสียง ครู ควรคิดหาเทคนิคแปลก ๆ มาใช้ในการสอนออกเสียงควรสอน เทคนิคการจดจำเสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆ มีการใช้สื่อประสมเข้ามาช่วย โดยสอดแทรก อารมณ์ขันให้สนุกสนานเพราะอารมณ์ความรู้สึกที่ประทับใจจะช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็วยิ่ง ขึ้นและจำได้ดีขึ้นเมื่อพบปัญหาการออกเสียงของนักเรียนควรเลือกคำ หรือข้อความ วิธีการ ออกเสียงที่ถูกต้อง ให้เหมาะกับปัญหาของแต่ละคนแล้วช่วยให้เขาทำจนสำเร็จซึ่งนอกจาก จะช่วยแก้ปัญหาแล้วยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองและทำให้เกิดทัศนคติต่อการเรียน อีกด้วย - ฝึกฟัง เช่น เสียงแตรรถยนต์ เสียงเครื่องยนต์ เสียงฟ้าร้อง เสียงระฆัง เสียงกลอง เสียงตะโกน เสียงกระซิบ โดยฝึกทั้งที่ใส่เครื่องช่วยฟัง และตอนที่นักเรียนไม่ใส่ เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเปรียบเทียบเสียงได้ ประโยชน์ของการฝึกฟังก็ เพื่อไม่ให้บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเกิดความตกใจเมื่อได้ยินเสียงที่ดังเกินไป สามารถแยกเสียงแต่ละประเภทได้ และยังสามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้ด้วย - ฝึกคำศัพท์ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ทั้งการพูด และ การเขียน เช่นไป กิน หิว ปวดท้อง สนทนา ฝึกให้อ่านริมฝีปากได้ ถึงแม้จะไม่ได้ยินเสียง โดยเริ่มจากคำศัพท์ง่าย ๆ สั้น ๆ ก่อน - ฝึกให้เด็กรู้จักสัญลักษณ์สากล เช่น ป้ายบอกทิศทาง ช้าย ขวา ห้องน้ำหญิง ห้องน้ำ ชาย เขตอันตราย ห้ามเข้า - ฝึกการใช้ภาษามือโดยเริ่มจากคำศัพท์ในชีวิตประจำวัน อาจมีรู ปภาพและการเขียน เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความจำที่ถาวร - ส่งเสริมความสามารถพิเศษ หรือสิ่งที่เด็กสนใจ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ การแสดง ให้ เต็มตามศักยภาพของเด็ก

24 ทั้งนี้สิ่งต่างๆ จะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากครู ครอบครัว ผู้ปกครอง และบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเอง ที่ต้องมีความพยายามใน การฝึกฝน มีความอดทน มีการให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา เข้าร่วมในการจัดทำ แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับความต้องการของ เด็กส่งเสริมให้เด็กมีความพยายาม และพึ่งตนเองให้มากที่สุด ผู้ปกครองควรเรียนรู้ไป พร้อมกับเด็ก เพื่อที่จะสามารถกลับไปฝึกที่บ้าน และสื่อสารกับเด็กได้ เพื่อเป็นแนวทางให้ กับเด็กในด้านการเรียนและการประกอบอาชีพในอนาคต 6. แนวทางในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน - การแสดงสีหน้า ท่าทาง และภาษามือจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น - ให้เรียกหรือทำให้เด็กรู้ว่าเรากำลังจะพูดด้วยก่อนเสมอ โดยการแตะไหล่ หรือ แขนเบา ๆ และต้องหันหน้าไปทางเด็กเวลาพูดกับเด็ก - อย่าตกใจ ถ้าเด็กไม่เข้าใจเรา หรือเราไม่เข้าใจเด็ก เด็กกับเราจะค่อย ๆ พัฒนา ความคุ้นเคยเมื่อเวลาผ่านไป - ให้สอนคำศัพท์ใหม่ในบริบทต่าง ๆ กันเพื่อเป็นการเสริม และความจำที่ถาวร - ให้จัดลำดับหัวเรื่อง ความสำคัญ ของแผนการสอน ใช้สื่อการสอนที่มีความสัมพันธ์ กับสิ่งที่จะเรียน และต้องบอกโครงร่างของเนื้อเรื่องหรือแผนการสอน หรือกิจกรรมที่จะให้ นักเรียนทำล่วงหน้า และสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากทำกิจกรรมนั้น - การใช้ภาพประกอบในการสอนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ซึ่งเด็กใช้การมองเป็น วิธีหลักในการรับข้อมูล - ถ้าการบ้านยากหรือกำกวม ให้ผู้ปกครองช่วยแจ้งว่าสิ่งที่ยากคืออะไร และครู ควร แก้ไข - ให้เขียน คำสั่ง การบ้านหรือการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนกระดาน หรือป้ายประกาศ และต้องใช้เป็นประจำ จนเด็กเกิดการเรียนรู้ว่าการเขียนบนกระดานหรือ ขึ้นป้ายประกาศ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอ่าน - ไม่ควรพูดในขณะที่เขียนกระดาน ควรเขียนให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยอธิบาย - ให้ใช้สื่อที่มีคำบรรยายร่วมกับเสียง เช่น สื่อCA วีดิทัศน์ภาพยนตร์ - ให้ใช้ล่าม ถ้าจำเป็น และล่ามควรมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่แปลเป็นอย่างดี - อย่าจับเด็กนั่งในที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยง การใช้เสียงที่สั่นรัวหรือเสียงดังเกินไป จัดที่นั่งให้เหมาะสมกับเด็กที่จะได้ยิน มองเห็น และสามารถสื่อสารได้ดีที่สุด - ลดเสียงรบกวนเบื้องหลัง คนทั่วไปที่ได้ยินมักไม่ค่อยคำนึงถึงเสียงรบกวนเท่าไรนัก แต่คนที่ใช้เครื่องช่วยฟังนั้นเสียงดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเด็กเพราะเครื่องขยายเสียงใน เครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทั้งหมดที่รับเข้ามา ทำให้เด็กได้รับเสียงรบกวนที่ดังไปด้วย

25 - สร้างระบบไว้ในถรณีฉุกเฉิน เช่นข้อตกลงในการซ้อมหนีไฟ โดยคุณครู อาจจะเขียน ไว้บนกระดานว่า ซ้อมหนีไฟ เมื่อไฟไหม้ ให้ออกไปประตูหลัง (ถ้ามีเด็กที่ใช้ภาษามือ ให้ครู เรียนภาษามือคำว่า \"ฉุกเฉิน\" \"ไฟไหม้\" \"เดิน\" เป็นต้น - ให้ใช้การเขียนในการสื่อสาร ร่วมด้วย เพื่อให้เด็กมีความรู้ทางด้านการอ่านและการ เขียนให้แทนเสียงออดเตือนภัยด้วยแสงไฟกระพริบ เป็นต้น

26 3.เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเห็น 1. ความหมายของเด็กที่มีความ บกพร่องทางการมองเห็น ความบกพร่องทางการมองเห็น (Visual Impairment) คือ การสูญเสียการมองเห็น (Vision Loss) จนถึงระดับหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสามารถในการมองเห็นที่มี อยู่อย่างจำกัด ซึ่งอาจเกิดจาก โรค(Disease) การบาดเจ็บ (Trauma) รวมถึงความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (Congenital conditions) หรือเสื่อมสภาพในภายหลัง (Degenerative conditions) ในปัจจุบันเด็กจำนวน 1 ใน 5 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการมองเห็น อย่างไรก็ตามเด็กมักไม่รู้ว่าตนเองมีความบกพร่อง ทางการมองเห็น เนื่องจากเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่เติบโต ขึ้นมากับอาการดังกล่าวโดยไม่รู้ว่าการมองเห็นที่ปกติ นั้นเป็นอย่างไร อีกทั้งยังมักเข้าใจว่าคนอื่นก็เห็นโลกใน ลักษณะที่ไม่ต่างไปจากที่เขาเห็นเช่นกัน

27 2. ประเภทของความบกพร่องทางการมองเห็น พบเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้บ่อย ๆ ในโรงเรียนและในสังคมทั่วไป สามารถแบ่งประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนราง (Low Vision) ลักษณะการสูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการหรือเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตา ข้างดีเมื่อแก้ไขเเล้วอยู่ในระดับ 6/18 หรือ 20/70 (บุคคลทั่วไปเห็นในระยะ 70 ฟุต คนที่มี การเห็นเลือนรางจะเห็นที่ระยะ 20 ฟุต) ลานสายตาแคบกว่า 30 องศา 2.ความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองไม่เห็นตาบอด (Blind) บุคคลที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียง หากตรวจวัดความชัด ของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขเเล้วอยู่ในระดับ 62/60 หรือระดับ 20/200 (บุคคลทั่วไปมอง ในระยะ 200 ฟุต คนตาบอดเห็นที่ระยะ 20 ฟุต) ลานสายตาแคบกว่า 20 องศา บุคคลที่มี ข้อจำกัดนี้ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 85) ยังมีความสามารถในการเห็นหลงเหลืออยู่ 3. สาเหตุที่บกพร่องทางการมองเห็น 1.กรรมพันธุ์ (Heredity) โดยความผิดปกติจะสามารถถ่ายทอดมาถึงเด็กได้หาก ครอบครัวมีประวัติสุขภาพของครอบครัว (Family History) ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อ (Familial Cataract) โรคกล้ามเนื้อจอตาเจริญผิดเพี้ยน (Retinal dystrophies) และมะเร็งจอตา (Retinoblastoma) 2.ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) 3.ระหว่างคลอด เช่น โรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity) และอาการเยื่อบุตาอักเสบในเด็กแรกเกิด (Newborn Conjunctivitis) 4.ในวัยเด็ก เช่น การขาดแคลนวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency) โรคหัด (Measles) ตาอักเสบ (Eye Infection) ยารักษาตาแผนโบราณ (Traditional eye medicines) และ อุบัติเหตุ (Injuries) 5.การได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อดวงตาโดยตรงหรือประสาทในการ มองเห็น เช่น สิ่งแปลกปลอมพวกสารเคมีหรือโลหะละลายที่ร้อนเข้าตา อุบัติเหตุรถชน เป็นต้น

28 4. ลักษณะและพฤติกรรมที่สังเกตได้ในเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็น ลักษณะทั่ วไป - มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อย ๆ - มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดเจนในบางครั้ง - เวลามองวัตถุในระยะไกล ๆ ต้องขยี้ตาหรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว -เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้า ๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวาง - มักขยี้ตาบ่อย ๆ - ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สายตา - กระพริบตาบ่อย ๆ - อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น - สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้ ลักษณะทางจิตวิทยา - อัตมโนทัศน์ (Self Concept) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดเกี่ยวกับตนเองในวัยเด็ก พบว่าค่อนข้างเงียบเฉยกว่าเด็กปกติทั่วไป สำหรบเด็กที่มีการสูญเสียการเห็นในระดับ รุ นเเรงอาจแสดงพฤติกรรมกระตุ้นตัวเอง เช่น ส่ายหัวไปมา โยกตัว เล่นเปลือกตา - สติปัญญา เด็กประเภทนี้อาจมีความล่าช้าในด้านความสามารถทางการเรียน เนื่องจากขาดการกระตุ้นทางการเห็นที่ทำให้เด็กขาดการสำรวจสิ่งต่าง ๆ - กล้ามเนื้อ แม้ว่าความบกพร่องทางการมองเห็นไม่ได้ส่งผลโดยตรงแต่อย่างไรก็ดี การพัฒนากล้ามเนื้อก็ย่อมอาศัยทักษะการมองเห็นร่วมด้วย ถ้ามีปัญหาการมองเห็นอาจส่งผล ต่อการเดิน การคลานในวัยเด็กให้ล่าช้า

29 5. การรับรู้และการเรียนรู้ วัยเด็ก/วัยปฐม 1. ร่างกายของตน ผ่านการสัมผัส การเคลื่อนไหว 2. สิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสที่มีอยู่ ดมกลิ่น ชิมรส สัมผัส ฟังเสียง 3. การหัดพูด โดยการฝึกขยับริมฝีปากให้ถูกต้องในการออกเสียง/การพูด ผ่านการ เลียนเเบบเสียงและการสัมผัสริมฝีปากและลำคอ วัยเรียน 1. การฝึกทักษะ Pre-braille ได้แก่ การฝึกประสาทสัมผัส (sensory integration) การพัฒนาความคิดรวบยอด การพัฒนากล้ามเนื้อ การพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการอ่านและการเขียนอักษรเบลล์ 2. การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว : Orientation and Mobility Skills. 6. หลักสูตรและการเรียนการสอน หลักสูตรระดับก่อนประถมศึกษา (0-5 ปี) ประสบการณ์ของเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี และเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในช่วงต่อมา ดังนั้นจึงควรจัดเป็นการศึกษาให้แก่เด็กให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลักสูตรควรครอบคลุมถึง การฝึกประสาทสัมผัสทางการรับรู้การฟัง การสัมผัส เพื่อชดเชยความบกพร่องทางสายตา ตลอดจนการดมกลิ่น การลิ้มรส เด็กควรเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและอุปกรณ์ที่เป็นของ จริง กิจกรรมควรเน้นเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่ (gross motor) กล้ามเนื้อย่อย (Fine motor) พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมและ การพัฒนาทักษะในการช่วยเหลือตนเอง หลักสูตรระดับประถมศึกษา แม้ว่าหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจะเป็นลักษณะเดียวกับ หลักสูตรสำหรับเด็กปกติแต่วิธีการสอนตลอดจนสื่อและอุปกรณ์การสอนอาจแตกต่างไปจาก เด็กปกติบ้าง ควรมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถ ของเด็กและเพิ่มเติมสิ่งที่ยังขาด เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์มากที่สุด เช่น การดัดแปลง โปรแกรมทางการศึกษาจากกการใช้สายตาสู่การได้ยินให้มากที่สุดเพื่อชดเชยกับการรับรู้ ทางสายตาที่สูญเสียไป การจัดการเรียนการสอนควรใช้การรับรู้ทางการฟังซึ่งรวมถึงการจัด สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟัง การใช้เทปบันทึกเสียง การสนทนา การอภิปราย เป็นต้น

30 หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเป็นลักษณะเดียวกับหลักสูตร สำหรับเด็กปกติ เพียงแต่การปรับวิธีการสอน ขั้นตอน วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้สอดคล้อง กับความต้องการและความสามารถของเด็กและควรได้รับบริการเพิ่มเติมทางการแนะแนว และการให้คำปรึกษาในด้านการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนปกติและเพื่อนที่มีความบกพร่อง ทางสายตาจากครู แนะแนว หลักสูตรระดับนี้ควรครอบคลุมด้านอาชีวศึกษานักเรียน ควรได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อการประกอบอาชีพเพิ่มเติมจนมีทักษะพอที่จะทำงานได้ ในหลักสูตรควรมีการปรับปรุ งเรื่องการฝึกการเคลื่อนไหวและการสร้างความคุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมการฝึกทักษะสื่อสารและฝึกประสาทสัมผัสการรับรู้ด้วย 7. อุปกรณ์การสอนที่จำเป็นสำหรับ ผู้เรียนที่บกพร่องทางการมองเห็น การเดินทาง - การปรับสภาพแวดล้อม - การทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation and Mobility Skills) : เป็นวิชาที่สอนให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นรู้จักใช้ประสาทสัมผัส ที่เขามีอยู่ ได้แก่ สายตาบางส่วน การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่น การชิมรส และ ประสบการณ์เดิม โดยเฉพาะการฝึกเดินด้วยไม้เท้าขาว ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการได้ อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สง่างาม และปลอดภัยได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ การอ่าน - ผู้ช่วยอ่าน (Sighted reader) - อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการอ่าน - การใช้ประสาทสัมผัสหลายทาง - หนังสือเสียง (Talking book) - อักษรเบรลล์ (Braille codes) การเขียน - ผู้ช่วยเขียน (Sighted writer) - กระดานและดินสอเขียนอักษรเบลล์ (Slate and Stylus) - เครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ (Brailler) - เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer with specific program)

31 8. การช่วยเหลือจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นของลูก ปัจจัยเรื่องเวลา และความเอาใจใส่ถือเป็นหัวใจสำคัญ พ่อแม่ควรอดทนและเข้าใจลูก รวมทั้งย้ำเตือนตัวเองว่า ทั้งหมดที่ทำไปก็เพื่อให้ลูกกลับมามองเห็นได้ดีดังเดิม ซึ่งหากลูกได้รับการดูแลที่ดีจนสิ้นสุดการ รักษา ลูกย่อมกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ และคนที่จะรู้สึกภูมิใจที่สุดก็คงไม่ใช่ใคร นอกจาก “พ่อแม่” ทั้งนี้วิธีการที่ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางมอง เห็นของลูก ได้แก่ สังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูกตั้งแต่แรกเกิด หากมีความผิดปกติให้พบแพทย์ทันที หากคนครอบครัวมีประวัติของโรคอันเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางการมองเห็น พ่อแม่ ยิ่งจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถถ่ายทอด กันได้ในครอบครัว อย่างน้อยที่สุด พ่อแม่ควรพาลูกไปตรวจการมองเห็น (Vision Screening) ครั้งแรกเมื่อลูก อายุ 3 ขวบ ยึดหลักการ “ยิ่งเร็ว ยิ่งดี” เพราะยิ่งเจอปัญหาไว ยิ่งเข้ารับการรักษาไว ก็ยิ่งหายได้ไว เมื่อลูกโตพอที่จะสื่อสารได้ พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ และควรทดสอบสภาพการมอง เห็นของลูกอยู่เสมอ ไม่นิ่งนอนใจเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขยี้ตา และควรห้ามลูกไม่ให้ไปสัมผัส ดวงตา เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง หากลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็น พ่อแม่ควรพาลูกไป พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ลูกตาบอดสนิทถือว่าเขาขาดโอกาสในการมองเห็นไปตลอดชีวิต จึงเป็นหน้าที่ที่ พ่อแม่ต้องเติมเต็มลูกด้วยความรักและสอนทักษะการใช้ชีวิตให้กับเขา นอกจากจะต้องคอยเติมกำลังใจให้ลูกแล้ว พ่อแม่ก็ควรเติมกำลังใจให้แก่กันด้วย อย่าปล่อยให้ตนเองเครียดกับปัญหาเหล่านี้ ฝึกคิดเชิงบวกและเป็นตัวอย่างในการคิด เชิงบวก เพื่อจะได้มีแรงส่งเขาไปได้ตลอดรอดฝั่ งจนเขาสามารถพึ่งตัวเองได้ หาความรู้เพิ่มเติม เช่น เข้ากลุ่มกับผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อแนะนำและกำลังใจ สนับสนุนให้ลูกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ เช่น อักษรเบรลล์ หนังสือออกเสียงได้ และใช้สื่ออื่นๆ เช่น ซีดี ในการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะอื่นๆที่ลูกสามารถทำได้เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ เช่น ศิลปะ กีฬา ดนตรี รวมถึงเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกทักษะทางวิชาชีพต่อไปในอนาคต

32 9. การช่วยเหลือหรือพัฒนาของครู ต่อ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โดยปกติแล้ว แม้แต่เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นประเภทตาบอดสนิทก็สามารถ เรียนรู้ได้ดีไม่แพ้เด็กปกติ อีกทั้งยังสามารถเรียนร่วมกันได้ด้วย เพียงแต่ครู จะต้องผลิตและใช้ สื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก เช่น ใช้สื่อที่รับได้โดยไม่ต้องใช้สายตา (Non-visual media) หรือในกรณีที่เด็กมีความผิดปกติทางการมองเห็นเพียงเล็กน้อย ครู ก็ควรพิถีพิถันในการเลือกใช้ ตัวอักษร โดยให้มีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะมองเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เด็กย่อมมีข้อจำกัดใน การเรียนรู้บางเนื้อหาหรือกิจกรรม เช่น การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ทั้งนี้เพราะเด็กที่มีความ บกพร่องทางการมองเห็นมักมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป และการเล่นกีฬาหลาย ชนิดยังจำเป็นต้องใช้สายตาเป็นหลักอีกด้วย ถึงกระนั้นครู ก็ควรให้เด็กลองทำทุกกิจกรรมเพื่อ ให้เขาเกิดความรู้ ความเข้าใจ แต่หากเด็กไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวให้ลุล่วงไปได้ ครู ก็ควรให้เด็กหยุดมิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้เขาหงุดหงิดเพราะไม่พอใจความสามารถของตนเอง ครู อาจแก้ไขสถานการณ์โดยเปลี่ยนให้นักเรียนไปทำกิจกรรมที่ตนถนัด ทั้งนี้ครู ควรสังเกตและ จดจำสิ่งที่เขาทำได้ดี พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักเรียนทำสิ่งนั้นต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างทักษะ ความชำนาญ ที่สำคัญเด็กมักมีพรสวรรค์มาทดแทนส่วนที่เขาขาดเสมอ ดังนั้นหากครู สามารถ ช่วยให้นักเรียนพัฒนาได้ เขาย่อมรู้สึกภาคภูมิใจและมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เพิ่มมากขึ้น สำหรับกรณีที่เด็กอยู่ในขั้นตอนของการรักษาอาการบกพร่องทางสายตา ครู ก็ควรดูแล เด็กอย่างใกล้ชิดและหมั่นสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก โดยแสดงให้เห็นว่าครู เต็มใจที่จะช่วย เหลือเขาเสมอ และสนับสนุนให้เด็กนักเรียนที่มีสายตาปกติและเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสายตาอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ มีความเป็นมิตร เอื้อเฟื้ อต่อกัน ช่วยเหลือกัน และเช่นเดียว กับทุก ๆ ปัญหา ครู และผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน หมั่นแลกเปลี่ยนข้อมูลและให้คำแนะนำที่เป็น ประโยชน์แก่กัน หากพ่อแม่และครู พร้อมใจกันช่วยเหลือเด็ก การแก้ปัญหาความผิดปกติของ เด็กก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับตัวและใจของเด็กรวมทั้งการรักษาทางการ แพทย์ เพียงเท่านี้ปัญหาของเด็กก็จะได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์

33 10. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 1. ครอบครัว : ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถเติบโตเป็นคนที่ช่วย ตนเองได้ และมีคุณภาพทัดเทียมกับคนปกติได้ การเลี้ยงดูให้ความช่วยเหลือผู้พิการอย่างเหมาะสม 2. สังคม : หากสังคมยอมรับว่าผู้พิการสายตาก็เปรียบเสมือนคนปกติไม่ได้มีข้อแตกต่างอะไร เพียงแค่ตาพิการเท่านั้น เราจึงปฏิบัติกับคนพิการสายตาอย่างคนปกติ 3. ความมั่นใจในตัวผู้พิการเอง : ผู้พิการทางสายตาที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบให้ช่วยเหลือ ตนเองจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเมื่อสังคมยอมรับเขาเหล่านั้นแล้ว เขาจะยิ่งมีความ มั่นใจที่จะอยู่ร่วมในสังคมยิ่งขึ้น แต่ผู้พิการเองควรสร้างความมั่นใจในตนเองเช่นกัน อย่าโอนอ่อน ไปกับคำเยาะเย้ย ถากถาง ถึงแม้จะรู้สึกบ้างแต่อย่าเอามาคิดมากและที่สำคัญตัวคนพิการเอง ควรมีทักษะเบื้องต้นในการใช้ชีวิตด้วย จึงจะไปไหนมาไหน ทำอะไรได้เช่นเดียวกับคนปกติ

34 4 . เ ด็ ก ที่ มี ค ว า ม บ ก พ ร่ อ ง ท า ง ร่ า ง ก า ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ 1. ความหมายของเด็กที่มีความ บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่ สมส่วน อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุ นแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง ลำบากในการเคลื่อนไหว จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และทำกิจกรรมของเด็ก

35 2. อาการบกพร่องทางร่างกาย 1.ซีพี ( Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือ เป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจน เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกันที่พบส่วนใหญ่ คือ 1.1) อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic) 1.2) อัมพาตลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) ควบคุมการเคลื่อนไหวและ บังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ เป็นความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจและการเคลื่อนไหวที่ประสานกัน จะเริ่มเห็นชัดในช่วง 1-3 ปีแรก พบว่าแขนผิดปกติมากกว่าขา อาการจะเด่นเมื่อมีอารมณ์ ความเครียด 1.3) อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี ใน ลักษณะกางขามากกว่าปกติ 1.4) อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็ง/ช้า ร่างกายสั่นกระตุก 1.5) อัมพาตแบบผสม (Mixed) เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถแยกปัญหาเข้าตามกลุ่ม ข้างต้นได้ หรืออาจมีอาการหลายอย่างเกิดร่วมในคนเดียวกัน 2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของ กล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย 3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่ 3.1) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น - เท้าปุก (Club Foot) ผู้ป่วยโรคเท้าปุกจะมีลักษณะขาและเท้าที่ผิดปกติ คือ เท้าโค้งงอผิดรู ป หลังเท้าพลิกลงพื้น และส้นเท้าบิดเข้าด้านใน หากไม่ได้รับการรักษาอาจ พบว่าเท้าบิดเข้าด้านในมากขึ้น จนเด็กต้องใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักขณะยืนหรือเดิน กล้ามเนื้อน่องของขาข้างที่มีเท้าผิดปกติจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ เท้าข้างที่ผิดปกติมี ขนาดเล็กกว่าเท้าข้างที่เป็นปกติโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 นิ้ว ทั้งนี้ เท้าที่บิดผิดรู ปมักไม่ก่อให้ เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แต่ผู้ป่วยควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพราะอาจส่งผลกระทบต่อ การยืนหรือการเดินในอนาคตได้ - กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน - อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด 3.2) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง 3.3) กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ พิการเนื่องจากไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง 4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไป เจริญที่ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และ เข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วน กลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับ กล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการ เคลื่อนไหว

36 5.แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของ อวัยวะที่มี ความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับ นิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขา ด้วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายใน วัยเด็ก 6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย กระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดจากระดูกหน้าแข้ง 3. ความบกพร่องทางสุขภาพ 1.โรคลมชัก (Epilepsy) อาการจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ 1.1) ลมบ้าหมู (Grand Mal) 1.2) การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) 1.3) การชักแบบรุ นแรง (Grand Mal) 1.4) อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex) 1.5) อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) 2.โรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการเรื้อรังของโรคปอด เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม 3.โรคเบาหวานในเด็ก ร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน 4.โรคข้ออักเสบรู มาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ 5.โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง มักเป็นมาแต่ก่าเนิด ถ้าวินิจฉัยโรคเร็วและ รับการรักษาอย่างถูกต้อง สภาพความพิการจะไม่รุ นแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมี พื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ 6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่ก่าเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโต ไม่สมอายุ ซีด เซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่ก่าเนิด 7.โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระดูก และไต 8.บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 4. ลักษณะความต้องการช่วยเหลือของผู้เรียน ความต้องการพิเศษสำหรับผู้เรียนที่ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย คือ การออกแบบ อาคารสถานที่ที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว มีความปลอดภัย ฝึกทักษะทางสังคม ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การแสวงหาความรู้ และฝึกเรื่องระเบียบวินัย จัดกลุ่ม เพื่อน พี่เลี้ยง เพื่อช่วยในการเรียน ทำกิจกรรมและอยู่ร่วมกันในโรงเรียน ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวย ความสะดวกในการเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่าง ๆ แนะนำช่วยเหลือให้ผู้เรียน ทำงานอดิเรกที่เหมาะสมกับข้อจำกัดของร่างกาย ฝึกการอยู่กับตนเอง ได้ค้นพบความถนัด ของตนเองและเกิดความมั่นใจในตนเอง

37 5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความ ต้องการพิเศษ ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย (Physical limitation) - ความบกพร่อง : ความบกพร่องของระบบประสาท ความบกพร่องทางสุขภาพ ความบกพร่องระบบกล้ามเนื้อและกระดูก - ความพิการ : มองไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด ไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัด เคลื่อนไหวไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ปกติ เจ็บป่วยเรื้อรัง ทำกิจกรรมบางอย่างไม่ได้ 6. แนวทางการช่วยเหลือ - มุ่งเสริมสร้างพัฒนาการและพื้นฟูสมรรถภาพของเด็กแต่ละคน ให้เด็กมีโอกาสนำ ประสบการณ์ขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องเก็บประวัติการรักษา ทางการแพทย์ของเด็ก เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาที่เหมาะสม - เด็กต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง - หลักสูตรสำหรับเด็กกลุ่มนี้ไม่ควรแตกต่างไปจากเด็กปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณหรือประสบการณ์อื่น ๆ - การจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน และทักษะทางอาชีพ - ต้องจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพของเด็กอะไรกิจกรรมที่เด็กบกพร่อง ทางร่างกายและสุขภาพไม่สามารถกระทำได้ เช่น พละศึกษา การศึกษานอกสถานที่ - การให้บริการเสริม o การให้บริการเครื่องมือและเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้นั่งพิเศษ คอมพิวเตอร์ ที่ตั้งหนังสือ ห้องสุขา โดยเฉพาะทางลาดเพื่อขึ้นลงอาคาร o การแก้ไขและบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ จิตแพทย์ เป็นต้น

38 5 . เ ด็ ก ที่ มี ค ว า ม บ ก พ ร่ อ ง ท า ง ก า ร พู ด แ ล ะ ภ า ษ า 1. ประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางภาษาและการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการพูด และผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านภาษา โดยผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการพูดหมายถึง หมายถึงผู้เรียนที่มีความบกพร่องใน การเปล่งเสียงพูด ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุ งระดับและคุณภาพของเสียง มีจังหวะ และขั้นตอนของการพูดที่ไม่ถูกต้อง และผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการใช้ภาษา หมายถึง ผู้เรียนที่มีความบกพร่องใน ความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด ไม่สามารถสื่อสารออกมาให้เหมาะสมได้ แต่ความบกพร่องที่ได้กล่าวไปนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะความแตกต่างทางการพูด และภาษาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาถิ่นหรือการใช้ภาษาที่สอง (สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา, 2553) 2. สาเหตุของความบกพร่องทางการพูดและภาษา สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติของพัฒนาการ ถือเป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการทำงานของสมองผิดไปจากปกติ หากมีความผิดปกติทางด้านนี้ จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านการออกเสียง และประสบปัญหาด้านการสื่อสาร มีข้อจำกัด ในการรับสารจากผู้อื่นด้วย และยังรวมไปถึงความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability) ด้วย สาเหตุต่อมา อาจมาจากปัญหาการได้ยิน ตั้งแต่การมีปัญหากับกระบวนการฟัง (Auditory Processing Disorder) ที่ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถเข้าใจ หรือจดจำในสิ่งที่ได้ยิน ได้ ไปจนถึงการสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความบกพร่อง ทางการพูดและภาษาในระยะยาว

39 อีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ คือสาเหตุทางร่างกาย ตั้งแต่ปัญหาเรื่องโครงสร้างของ ร่างกาย (Structural problems) เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip and cleft palate) ที่เป็นอุปสรรคต่อการพูด หรือภาวะการคลอดก่อนกำหนด (Prematurity) ที่เป็น สาเหตุสำคัญของปัญหาพัฒนาการช้ามากมาย ปัญหาทางระบบประสาท (Neurological problems) เช่น ภาวะสมองพิการ (Celebral Palsy) กล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) และการบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury) ซึ่งอาจก่อให้เกิด ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการพูด หรือกระทั่งออทิซึม (Autism) ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารนั่นเอง หรืออาจมาจากสาเหตุที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดู การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไม่มีการสื่อสารที่เพียงพอ มีการใช้ความรุ นแรงในการเลี้ยงดู ก็จะส่งผลให้ผู้เรียน มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าเช่นกัน (มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ, ม.ป.ป.) 3. ความบกพร่องทางการพูด พิจารณาได้ 3 ด้าน 1.พูดไม่ชัด (Articulator Disorders) แบ่งเป็น 4 ลักษณะ 1.1) เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป (Omissions) เช่น “ความ” เป็น “คาม” 1.2) ออกเสียงของตัวอื่นแทนที่ตัวที่ถูกต้อง (Substitutions) เช่น “กิน” เป็น “จิน” 1.3) เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย (Additions) เช่น “หนัง-งะ-สือ” “อัง-งะ-คาร” 1.4) ออกเสียงเพี้ยน หรือแปร่งไป (Distortion) เช่น “ที่” เป็น “ที้” 2.เสียงพูดผิดปกติ (Voice Disorder) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ 2.1) ความบกพร่องของระดับเสียง พูดเสียงแหลมสูง พูดเสียงต่ำตลอดเวลา หรือ การพูดในระดับเดียวตลอด 2.2) เสียงดังหรือค่อยเกินไป คล้ายการตะโกน หรือการกระซิบตลอดเวลา 2.3) คุณภาพของเสียงไม่ดี เช่น เสียงแหบ เสียงกระด้าง เสียงแตกพร่า 3.ความบกพร่องด้านจังหวะเวลาและความคล่องแคล่วของการพูด (Speech Flow Disorders) แบ่งเป็น 5 ลักษณะ 3.1) การพูดติดอ่าง พูดขาดความต่อเนื่อง 3.2) อัตราพูดช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป 3.3) การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง 3.4) พูดไม่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นตามโครงสร้างภาษา 3.5) จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ

40 4. ประเภทความบกพร่องทางด้านภาษา 1.การพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าวัย (Delayed Language) มี 5 ลักษณะ ได้แก่ 1.1) มีความยากลำบากในการใช้ภาษา 1.2) ไวยากรณ์และโครงสร้างประโยคผิดปกติ 1.3) ไม่สามารถสร้างประโยคได้ 1.4) ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ 1.5) อาจมีความบกพร่องทางปัญญา สังคม หรืออารมณ์ร่วมด้วย 2. ไม่มีความสามารถเข้าใจและสร้างถ้อยคำ (Aphasia) มีผลเนื่องมาจากการบาดเจ็บ ทางสมอง มี 7 ลักษณะ ได้แก่ 1.อ่านไม่ออก 2.เขียนไม่ได้ 3.สะกดคำไม่ได้ 4.ใช้ภาษาสับสน 5.จำคำหรือประโยคไม่ได้ 6.ไม่เข้าใจคำสั่ง 7.อารมณ์ไม่คงที่ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2553) 5. แนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือสำหรับบุคคลที่ มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 1. ฝึกการสื่อสารเพื่อบอกความต้องการ เพื่อให้สามารถสามารถใช้คำพูดบอก ความต้องการพื้นฐานของตนได้อย่างชัดเจน 2. ฝึกการเข้าใจคำพูด ฝึกความเข้าใจบทสนทนา ให้สามารถเข้าใจเนื้อความ และสารที่ผู้อื่นต้องการจะสื่อได้อย่างถูกต้อง 3. ฝึกการบริหารกล้ามเนื้อและพัฒนาอวัยวะที่ใช้ในการพูด เพื่อการพูดที่คล่องแคล่ว และชัดเจน เช่น เป่าลิ้น นวดลิ้น นวดปาก กระพุ้งแก้ม 4. ฝึกการหายใจเพื่อใช้เปล่งเสียงและควบคุมจังหวะในการพูด 5. ฝึกการสื่อสารทางเลือกอื่น เช่น การใช้ภาพสื่อสาร ในกรณียังไม่สามารถฝึก การสื่อสารด้วยการพูดให้ชัดเจน หรือในกรณีที่การใช้คำพูดเพื่อสื่อสารมีความยากลำบาก จนเกินไป 6. ฝึกแก้ไขเสียงพูด พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ให้ชัดเจน รวมถึงพัฒนาเรื่อง ความสัมพันธ์ ความต่อเนื่องในการพูด 7. ฝึกการคิด การจดจำ เพื่อให้สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น (สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ 2553)

41 6. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางพฤติกรรมและอารมณ์ 1. ลักษณะ ข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กล่าวว่า ความบกพร่องทางอารมณ์ซึ่งนำไปสู่ ความบกพร่องทางพฤติกรรมมีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งจำแนกได้เป็นระดับตั้งแต่เบา (MILD) จนถึงรุ นแรง (SEVERE) นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหนึ่งลักษณะอีกด้วย ซึ่งตัวอย่าง ของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล (ANXIETY) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (DEPRESSION) ที่ส่งผลกระทบให้เด็ก 2 คน ในจำนวน 100 คนมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพและขาดแรง กระตุ้นหรือความหวังในชีวิต นอกจากนี้เด็กยังอาจมีความผิดปกติทางการรับประทานร่วมด้วย โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็ก สามารถจำแนกได้ตาม กลุ่มอาการ ดังนี้ 1.1 ปัญหาด้านความประพฤติ (CONDUCT DISORDERS) ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ ลักทรัพย์ ฉ­ุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ เอะอะและหยาบคาย หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน ใช้สารเสพติด หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ 1.2 ปัญหาด้านความตั้งใจและสมาธิ (ATTENTION AND CONCENTRATION)­ มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (SHORT ATTENTION SPAN) ซึ่งอาจไม่เกิน 20 วินาที และสามารถถูกสิ่งรอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

42 1.3 ภาวะอยู่ไม่สุข (HYPERACTIVITY) และสมาธิสั้น (ATTENTION DEFICIT) มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งได้และขยับไปมา พูดคุยตลอดเวลาและมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ 1.4 การถอนตัวหรือล้มเลิก (WITHDRAWAL) หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก 1.5 ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (FUNCTION DISORDER) ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (EATING DISORDER) เช่น การอาเจียนโดย สมัครใจ (VOLUNTARY REGURGITATION) การปฏิเสธที่จะรับประทาน รวมถึงนิสัย การรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้ โรคอ้วน (OBESITY) ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (ELIMINATION DISORDER) 1.6.ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุ นแรง ขาดเหตุผลในการคิด อาการหลงผิด (DELUSION) อาการประสาทหลอน (HALLUCINATION) พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

43 2. สาเหตุของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดจากความซับซ้อนของความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น กลไกทางพันธุกรรมซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติ ได้หลายประการ ซึ่งรวมถึงความเสียหายทางด้านชีวภาพ (BIOLOGICAL INSULTS) ยกตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บของร่างกาย หรือการได้รับสารพิษ นอกจากนี้ ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น ความจน ความรุ นแรง หรือการละเลยของผู้ปกครอง ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาความ บกพร่องทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ ทั้งนี้สาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์สามารถจำแนกได้ดังนี้ 2.1 ปัจจัยทางชีวภาพ (BIOLOGY) ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์อาจได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม เช่น โรคจิตเภทหรือจิตเสื่อม (SCHIZOPHRENIA) และภาวะซึมเศร้า (DEPRESSION) ซึ่งเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ประมาณร้อยละ 20 ถึง 60 นั้น มีสาเหตุมาจากพ่อหรือแม่ที่มีภาวะซึมเศร้า อีกทั้งเมื่อเคมีในร่างกายมีความเชื่อมโยงต่อ ภาวะซึมเศร้าอันเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมอยู่แล้ว ความเครียดหรือเผชิญเหตุการณ์ที่ ตึงเครียดอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เด็กเกิดภาวะซึมเศร้า (DEPRESSIVE EPISODES) ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การบาดเจ็บทางสมอง (BRAIN INJURY) ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เช่นกัน 2.2 ปัจจัยทางจิตสังคม (PSYCHOSOCIAL) โรงเรียนและบ้านเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สำคัญสำหรับเด็กที่สุด ดังนั้น สิ่งแวดล้อม รอบตัวเด็ก อิทธิพลจากคนรอบข้าง รวมถึงปัญหาที่เกิดจากโรงเรียนและบ้าน จึงมีส่วนสำคัญที่อาจนำไปสู่ปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื้อรัง (CHRONIC STRESS) อันเกิดจากการทะเลาะกับผู้ปกครอง รายได้ครอบครัวที่น้อย การอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น หรืออาจเกิดจากเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ตึงเครียดในชีวิต เช่น พ่อแม่แยกทางกัน และการเสียชีวิตของสมาชิก ในครอบครัว รวมไปถึงการทารุ ณกรรมเด็ก (CHILDHOOD MALTREATMENT) ทั้งการใช้ความรุ นแรงและการไม่ใส่ใจเด็กของผู้ปกครอง นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและโรงเรียน เช่น การชิงดีชิงเด่น ระหว่างพี่กับน้อง การถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง หรือการที่ผู้ปกครองมีภาวะซึมเศร้า ล้วนมีส่วน ทำให้เด็กมีปัญหาความปกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ได้

44 3. การรับรู้และการเรียนรู้ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ได้กล่าวว่า ในปัจจุบัน มีประมาณร้อยละ 6 ถึง 10 ของเด็กกำลัง ประสบภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (EMOTIONAL AND BEHAVIORAL DISORDERS) โดยเด็กจำนวนดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ รวมทั้งการรักษาที่ เหมาะสม เพราะการสอนในห้องเรียนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำลายข้อจำกัดในการ เรียนรู้ของเด็กได้ อีกทั้งตัวเด็กเองยังมักเป็นผู้ขัดขวางการเรียนการสอนในห้องเรียนอีกด้วย ทั้งนี้ ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็ก แม้ว่าในความเป็นจริงเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่อย่างใดก็ตาม อีกทั้งยัง สามารถมีผลการเรียนดีเยี่ยม เพียงแต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ความหมายของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ครอบคลุมถึงโรคจิตเภท (SCHIZOPHRENIA) อย่างไรก็ตามความหมายดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหา ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก เว้นเสียแต่ว่าได้รับการรับรองว่าเป็นผลของความบกพร่องทาง พฤติกรรมและอารมณ์ การจำแนกพฤติกรรมตามธรรมชาติของบุคคลกลุ่มนี้อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ : พฤติกรรมภายนอก (EXTERNALIZING) ได้แก่ การแสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น ก่อกวน หาเรื่องชกต่อย และพฤติกรรมภายใน (INTERNALIZING) ได้แก่ ความขัดแย้งภายใน จิตใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล หมกมุ่นกับตนเอง โดยพฤติกรรมทั้ง 2 ประเภทอาจแยกย่อยออกไป ได้อีกดังนี้ (1) ความประพฤติที่ไม่เหมาะสม (CONDUCT DISORDER) เช่น เรียกร้องความสนใจโอ้อวด ชอบทำเด่นทำตนให้เป็นที่น่ารำคาญแก่บุคคลอื่น ต่อสู้เกรี้ยวกราด (2) ก้าวร้าวเชิงสังคม (SOCIALIZED AGGRESSION) เช่น ขโมยของเพื่อน สนับสนุนเพื่อนที่เกเรเพื่อนที่ต้องโทษ หนีโรงเรียนกับเพื่อนร่วมแก๊ง ไม่สนใจความถูกต้องเชิงศีลธรรม ไม่เคารพกฎหมายหรือกฎระเบียบใดๆ (3) มีปัญหาด้านวุฒิภาวะของความตั้งใจ (ATTENTION PROBLEM IMMATURITY) มีความสนใจช่วงสั้นๆ เบนความสนใจง่าย หงุดหงิด เลื่อนลอย ตอบโดยไม่คิด เฉื่อยชา (4) มีพฤติกรรมผิดปกติเชิงจิต (PSYCHOTIC BEHAVIOR) เช่น มีความคิดฝันเฟื่ อง พูดซ้ำ ๆ มีพฤติกรรมแปลกๆ (5) มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป เช่น นั่งเฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวไม่หยุดหย่อน ผ่อนคลายไม่ได้ พูดมากเกินไป

45 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 4.1 ปัจจัยทางร่างกาย การมีข้อจำกัดทางวุฒิภาวะทางอารมณ์ (LIMITATION OF EMOTIONAL MATURITY) ทำให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในกลุ่มนี้ไม่สามารถควบคุมหรือแสดงอารมณ์และ พฤติกรรมที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ จึงอาจถูกมองว่าก้าวร้าว 4.2 ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม ครอบครัวและการเลี้ยงดู อิทธิพลจากเพื่อน ฐานะทางเศรษฐกิจ เจตคติของคนในสังคม 4.3 ปัจจัยด้านประสบการณ์การเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับอาจส่งผลต่อการรับรู้ตนเอง การเรียนรู้ และสัมฤทธิผลทางการเรียนของเด็ก ประสบการณ์ล้มเหลวและสำเร็จจากการเรียน ส่งผลกระทบต่อ SELF-ESTEEM, SELF- EFFICACY, SELF-CONFIDENCE, SELF-CONCEPT, LEARNING MOTIVATION และ LEARNED HELPLESSNESS การแสดงออกในชั้นเรียน อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ครู และเพื่อน ไม่เข้าใจในสิ่งที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็น รวมทั้งครู และเพื่อนไม่ยอมรับ การที่ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงลบต่อตนเอง จะส่งผลเสียต่อตนเอง ได้แก่ ไม่อยากมาโรงเรียน เรียนตามเพื่อนไม่ทัน เบื่อทุกอย่าง ต่อต้าน และไม่มีความสุขในการมาโรงเรียน ผลการเรียน ตกต่ำ ไม่กล้าแสดงออก อายเพื่อน ไม่อยากทำกิจกรรมกับเพื่อน มีความท้อแท้ในการทำงาน ไม่ยอมทำงาน วิตกกังวล หวาดระแวง ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับครู และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ดังนั้นภาวะความบกพร่องอาจเป็นสาเหตุหลักทำให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมี ประสบการณ์ล้มเหลวในการเรียน ซึ่งทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเองและการเรียน อันจะ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนต่ำ นอกจากนี้ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ และความบกพร่องทางการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่เป็น ผลทางลบต่อการเรียนและยอมรับของเพื่อนและครู

46 5. วิธีการดูแลและการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่อง ทางพฤติกรรมและอารมณ์ สำหรับผู้ปกครองและครู 5.1 ให้ความใส่ใจ หมั่นสังเกตแนวโน้มของพฤติกรรมของ หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จึงควรหาสาเหตุของ ปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น ความเครียด ความกลัว หรือภาวะซึมเศร้า เป็นต้น 5.2 การปรับพฤติกรรมการเสริมสร้างพฤติกรรมใหม่ คือเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หลักการในการปรับพฤติกรรมมี 2หลักการคือ การให้การเสริมแรงเมื่อผู้เรียนทำพฤติกรรมที่ พึงประสงค์และให้การลงโทษเมื่อผู้เรียนทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ดังนั้นจะใช้การเสริมแรง เมื่อต้องการให้พฤติกรรมเพิ่มขึ้น และใช้การลงโทษเมื่อต้องการให้พฤติกรรมนั้นลดลง ซึ่งจะ กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในส่วน \"เทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อใช้ส่งเสริมเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษ\" ในหนังสือเล่มนี้ 5.3 การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมอารมณ์เชิงบวก บรรยากาศเวลาที่เด็กอยู่ที่บ้าน ผู้ปกครองไม่ควรบังคับกดดันเด็กจนเกินไป ทำกิจกรรมหรือ งานอดิเรกร่วมกัน แบ่งเวลาในการเรียนรู้และการพักผ่อนหย่อนใจให้เหมาะสม หากมีสิ่งเร้าใด ที่รบกวนเด็กจนเกินไปก็ให้นำออก ส่วนครู ก็ควรจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศเหมาะสมต่อ การเรียนรู้ การใช้กลวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเด็กแต่ละคนรวมไปถึงการ สร้าง แรงจูงใจในชั้นเรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนรับรู้ตนเองเชิงบวกด้วย 5.4 การเสริมสร้างทักษะทางสังคม ให้เด็กฝึกกำกับอารมณ์ของตนเองโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วยฝึกฝนและให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง เช่น Video modeling, Self-monitoring, Games, Explicit teaching เป็นต้น 5.5 ผู้ปกครองและครู ควรพูดคุยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลปัญหาของเด็กที่พบในบ้านและโรงเรียน และร่วมมือกันวางแนวทางใน การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด

47 7. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ 1. ประเภท ประเภทของผู้เรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, 2557) สามารถแบ่ง ออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 ความบกพร่องทางด้านการอ่าน (DYSLEXIA) ในปัจจุบันสามารถพบผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่านได้มากที่สุดจากทั้ง 3 ประเภท ผู้เรียนจะมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ ขาดทักษะในด้านการสะกดคำ และเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้จำกัด จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออย่างน้อยสามารถอ่านได้เฉพาะคำที่ ง่ายสำหรับผู้เรียน มักใช้วิธีการเดาคำเวลาอ่าน อ่านตะกุกตะกัก จับใจความเรื่องที่กำลังอ่านไม่ ได้ หรืออาจมีการประสานกันของกล้ามเนื้อมือกับสายตาทีไม่ประสานกัน เมื่อผู้เรียนที่มีความ บกพร่องการอ่านอ่านหนังสือ มักจะบอกว่าเหมือนตัวหนังสือกำลังเต้นได้ ทำให้ผู้เรียนในกลุ่มนี้ มีความสามารถในการอ่านหนังสือได้ต่ำกว่าผู้เรียนในวัยเดียวกัน