วิชา เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการอาชีพ จัดทำโดย นางสาว พสิกา เจริญลาภ ปวส.ปีที่1 ห้อง3 สาขาการจัดการทั่วไป นำเสนอ นาย ศุภเจริญ นิลพันธุ์
หน่วยที่ 1 Big data บิ๊ก ดาต้า บิ๊ก ดาต้า สำคัญอย่างไรในปัจจุบัน? https://techtrendai.com/big-data-
1 บิ๊กดาต้า (big data) คือ คำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ใน องค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า SUPPLIERS พฤติกรรมผู้ บริโภคTRANSACTION ไฟล์เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ UR LS ลิงก์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่ง ซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอย่างเต็ม ประสิทธิภาพ เพิ่มซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาลของบริษัททุกเรื่องทุก แง่มุม ทุกรูปแบบที่ คุณพอจะนึกออก ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็น ข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data) เช่น ล็อกไฟล์ (Log fles) หรือ แม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบ ปฎิสัมพันธ์ผ่าน สังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น facebook,twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น โดยอาจจะ เป็นข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร และภายนอกที่มาจากการติดต่อกับ Supplier หรือจากทุกช่องทางการ ติดต่อ กับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและ วิเคราะห์ เพื่อนำผลที่ ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ใน รูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ องค์กรบางอย่างแฝงอยู่
2 1. มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า \"Big\"นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาด ใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offine ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป หรือ ปริมาณของข้อมูล ที่ต้องมีคุณค่า และมีมากพอ 2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กัน อย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำ ให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิด ข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้ หรือ ความเร็ว ของข้อมูลที่เข้ามา และการค้นหาข้อมูล แต่ถ้าเข้ามาแล้วค้นหาไม่เร็วไม่ ถือว่าเร็ว 3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่ แตกต่างกันออกไป ทั้งใน รูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E-Commerce ต่างๆ 4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูป แบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ หรือคุณภาพของข้อมูล ต้องเชือถือได้ Volume Velocity ? Scale of Data Analysis of Streaming Data Veriety Different Forms of Data Veracity Uncerisinty https://digitalmarketingwow.com
3 Why Big Data? คุณเป็นลูกค้าของธุรกิจเหล่านี้หรือไม่ Netflix, Youtube, facebook, Twitter, Google, Walmart, Starbucks หนึ่งใน เทคโนโลยีที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จคือ Big Data พวกเขามีข้อมูลในมือจำนวม หาศาล สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อ หาโอกาสทางธุรกิจ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆจากผลประมวลจาก ข้อมูล เหล่านั้น ไม่ใช่แค่ต่างชาติเท่านั้นที่กระโจนเข้าสู่เรืองราวของ Big Data ใน ประเทศไทยก็เช่นกัน การตื่นตัวในการ นำข้อมูลไปใช้ของภาคธุรกิจที่ เพีมมากขึ้น เป็นหนึงสิ่งทีสะท้อนความสำคัญและการเติบโตของ Big Data ใน ประทศไทยได้เป็นอย่างดี ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ (Economic Intelligence Center) เมื่อเดือน กันยายน 2017 ทีผ่านมา พบว่าบริษัทชั้นนำของไทยจากหลากหลาย อุตสาหกรรมรวม 62 แห่ง กว่า 56% เริ่มใช้ Big Data เพื่อ พัฒนาการขายและการตลาดเป็นหลัก และใช้ประโยชน์จากการ ปรับปรุงสินค้า / บริการให้ตอบ โจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุค ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาคการผลิตสนใจนำ ข้อมูล Big Data ไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่ม Productivity ใน กระบวนการผลิตและการดำเนินงาน
4 กระบวนการจาก Big Data สู่ความสัมพันธ์ของข้อมูล 1. Storage: การรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บ การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลที่มีคุณภาพ ข้อมูลที่คาดว่า จะมีประโยชน์ / ไม่ครบถ้วน ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์เสียงทั้งหลาย ถูกส่งมาจัดเก็บที่ถังข้อมูล 2. Processing: การประมวลผล เมื่อข้อมูลต่างๆถูกนำมารวมกันไว้ในที่เดียวแล้ว จะถูกนำไปจัดหมวดหมู่ข้อมูล ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผลคล้ายคลึงกัน แล้วนำมาเปลียนเป็น รูปแบบข้อมูลเพื่อเอาเข้าระบบคลังข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว 3. Analyst: การวิเคราะห์และนำเสนอ จากนั้นข้อมูลมากมายทั้งหมดทีถูกจัดเรียงแล้วในหลายมิติจะถูกนำมา วิเคราะห์หา Pattern ของข้อมูลที่มองไม่ เห็นด้วยตาเปล่า เช่น หารูป แบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ หาแนวโน้มการตลาด เทรนด์ความชอบของ ลูกค้า และ ข้อมูลอื่นๆทีเป็นประโยชน์ทางธุรกิจ และถูกนำเสนอออกมา ในรูปแบบทีเข้าใจง่ายผ่านทางสถิติ กราฟ หรือรูปภาพ นั่นเอง
5 ทำความรู้จักเกี่ยวกับคุกกี้ และ แคช คุกกี้ (Cookie) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์ชนิดหนึ่ง เป็น ไฟล์ที่จะบรรจุข้อมูลการใช้งานของเราอยู่ เช่น ข้อมูลที่บอกว่าเราเข้าไปเยีรยมชม เว็บไชต์ไหนมาแล้วบ้าง ดูลักษณะว่าเราจะมีความสนใจเรื่องใดบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะถูกส่งกลับไปยัง เว็บไซต์ที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อติดตามดูพฤติกรรมของเรา ด้วยจุด ประสงค์ทางการตลาด หรือจุดประสงค์อื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เพือ วิเคราะห์ว่าเรา สนใจอะไรเป็นพิเศษ หรือเพื่อส่งโมษณามาให้เราได้อย่างตรงความต้องการของเรา อันที่จริงแล้ว สำหรับการเข้าชม บางเว็บไซต์ เราสามารถที่จะปฏิเสธไม่รับคุกกี้ได้ แต่ถ้าปฏิเสธ ก็อาจส่งผลให้เราไม่สามารถใช้เว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ คนส่วนมากจึงเลือกที่จะรับคุกกี้ และเข้าชมเว็บไชต์ตาม ปกติ แล้วจึงค่อยมาลบคุกกี้ออกภายหลังนั่นเอง แคช (Cache) เป็นข้อมูลที่มาจากการที่เราเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่คล้ายตัวช่วยอำ นวยความสะดวก เพราะเมื่อเรากลับเข้าไปที่เว็บไซที่เคยเข้าไปชมแล้วก่อนหน้านี้ มันจะทำหน้าที่ค้นหา ภายในเครื่องให้ก่อนเป็นลำดับแรก ช่วยให้เราสามารถเข้า เว็บไซที่เคยเข้าแล้ว หรือเข้าชมเป็นประจำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แต่ในทางกลับ กัน หากเราสะสมเจ้าแคชนี้ไว้มาก ๆ ก็อาจไม่เป็นผลดีต่อการทำงาน เนื่องจาก เปรียบเสมือนไฟล์ขยะที่ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ในเครื่อง ส่งผลให้การทำงานช้าลง หนืด ไม่รวดเร็วอย่างที่ควรจะเป็น
6 ขั้นตอนในการสร้าง Big Data 1. Problem analysis วิเคราะห์และระบุโจทย์สิ่งที่เราอยากรู้ ปัญหาที่เราต้องการแก้ 2. Data Preparation เตรียมข้อมูลให้พร้อม ปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสม ครบถ้วน ถูกต้อง 3. Modeling ออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้ตอบโจทย์ในสิ่งที่เราอยากรู้ หรือปัญหา ที่เราต้องการแก้ 4. Data Analytics นำข้อมูลที่เตรียมไว้มาวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์ เพื่อเข้า ใจสาเหตุของปัญหา เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนำไปสู่แนวทาง แก้ปัญหา ที่เราตั้งเอาไว้ 5. Deployment นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปแสดงผล และใช้งานต่อ เช่น ออก report, Dashbord และนำแนวทางการแก้ปัญหาจากการวิเคราะห์ไปปฏิบัติจริง 6. Evaluation /Monitoring ประเมินว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์ มีความถูกต้อง แม่น ยำ เป็นประโยชน์หรือไม่ หรือแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพ ต่อโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่
ประโยชน์ที่จะนำ Big Data ไปใช้ 1. ลดค่าใช้จ่าย ช่วยตัดสินใจ สร้างโอกาสให้ธุรกิจ 2. การออกโปรดักส์หรือบริการใหม่ มีข้อมูลทำให้ออก ผลิตภัณฑ์ ได้ถูกใจลูกค้า แม้อาจไม่ได้ดีที่สุด ก็ตาม ซึง องค์กรขนาดใหญ่จะใช้ big data มาวิเคราะห์ตลาด แม้แต่ วิเคราะห์คู่แข่ง และ ดูพฤติกรรมลูกค้า สนใจอะไร ใช้วัด เสียงสะท้อนผู้บริโภค 3. การมีข้อมูลทำให้ออกผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วกว่า และถูกใจ ลูกค้ากว่า แม้อาจไม่ได้ดีที่สุดก็ตาม \"หลายๆ ผู้ประกอบการนำ Big data มาวิเคราะห์ตลาด และดูข้อมูลคู่ แข่งว่า ทำอะไรบ้าง ไปถึง ไหนแล้ว และดูพฤติกรรมลูกค้าว่าสนใจอะไร ชอบอะไร โดยดูจาก consumer voice ดู keyword อะไรที่จะโดนใจผู้ บริโภคทำให้ปีเดียวอาหารเสริมยี่ห้อหนึ่งทำยอดขายได้ 600 ล้านบาท\"
กรณีศึกษา กรณีศึกษา : บทความ Deciphering the unstoppable Netflix and the role of Big Data วิเคราะห์ว่า Netflix ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจากการเก็บข้อมูลผู้ ชมทั้งในด้านประวัติการ เข้าชม, การกดหยุดเล่น, อุปกรณ์ที่ใช้, การค้นหา, การให้ คะแนน ฯลฯ นำมาทำเป็น Big Data ที่ วิเคราะห์จากการเลือกดูหนังที่ผ่านมาว่า ผู้ ชมน่าจะอยากดูเรืองใดเป็นเรื่องต่อไป แล้วนำเสนอได้ ตรงหรือใกล้เคียงกับความชอบ และรสนิยมของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อประสบการณ์และ ความพึงพอใจ ทำ ให้มีผู้สมัครสมาชิกมากกว่า 137 ล้านราย (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2018). ขอยกตัวอย่าง Netflix ย้อนกลับไปราวๆปี 2008 ลูกค้าผู้ ใช้บริการ Video on demand กลุ่มใหญ่ต้อง เผชิญหน้ากับปัญหาจอดำ ในขณะที่ลูกค้า Streaming ที่ ใช้บริการผ่านคลาวด์บางรายสามารถใช้งานได้ เป็นปกติ ผลกระทบครั้งใหญ่ในครั้งนี้ กดดันให้ Netflix ต้องเร่งหาทางแก้ไข ก่อนที่คิดจะให้ขยายการให้ บริการออกไปยังต่างประเทศ Big Data คือกุญแจสำคัญ ในการ แก้ปัญหา ทีมงานนำข้อมูลในทุกด้าน ทั้ง ส่วนที่มีความหนาแน่นในการใช้บริการ เครื่องข่าย ความเร็วเน็ต จุดเชื่อมต่อระหว่างการให้บริการด้าน ข้อมูล ฯลฯ ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทาง ป้องกันปัญหา Down-time ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต และนี่คือคำอธิบายของคำว่า Big Data คำจำกัดความของ ข้อมูลต่างๆมากมายทีมา รวมตัวกันเพือรอ การนำไปใช้ให้เกิดประยชน์ในด้านต่างๆทีแตกต่างกันโดย ผ่านการใช้เครืองมือ เฉพาะทางในการวิเคราะห์
หน่วยที่ 2 INTERNET OF THINGS (IOT) INTERNET OF THINGS (IOT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่ง การควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทาง เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้ งานอี่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา SMART ต่าง ๆ ได้แก่ SMART DEVICE, SMART GRID, SMART HOME, SMART NETWORK, SMART INTELLIGENT TRANSPORTATION
\"อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง\" หรือ \"อินเทอร์เน็ตของสรรพสีง\" คือการที่อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเอมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ ด้วยอินเทอร์เน็ต การเชือมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการ ควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่ง คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยี INTERNET OF THINGS นี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพที่ตรง ใจผู้ใช้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น INTERNET OF THINGS มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาทางธุรกิจ ทางสังคม หรือ แม้แต่ช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ประโยชน์และความเสี่ยงของ IOT เทคโนโลยี INTERNET OF THINGS มีประโยชน์ในหลายด้านทั้งเรื่องการ เก็บข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน ช่วยลดต้นทุน แถมยังช่วยเพิ่ม ผลผลิตของพนักงานหรือผู้ใช้งานได้ แม้ว่าแนวโน้มของ I0T มีแต่จะเพิ่ม ขึ้นด้วยคุณาประโยชน์ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ประโยชน์ใดๆนั้นก็มา พร้อมกับความเสี่ยง เพราะความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของ เครือข่ายใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น จะผลักดันให้ผู้เชี่ยวชาญมีการรับมือทางด้าน ความปลอดภัยมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามแฮกเกอร์ หรือผู้ไม่หวังดีก็ ทำงานหนักเพือที่จะเข้าควบคุม โจมตีเครือข่าย หรือเรียกค่าไถ่ในช่องโหว่ที่ I0T มีอยู่ ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญ ด้านความปลอดภัยทาง IOT จึงจำเป็นต้อง พัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไป เพื่อให้ ธุรกิจ และการใช้งาน IOT
วิวัฒนาการยุค 5G ยุค 1G ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ ANALOG คือใช้สัญญาณวิทยุ ในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้ง สิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถ ใช้งาน ทางด้านเสียงได้ อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสายเท่านั้นไม่มีการรองรับการ ใช้งานด้าน DATA ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยัง ทำ ไม่ได้ในยุค 1G ยุค 2G สามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้น ทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่ เรียกว่า CELL SITE และ ก่อให้เกิด ระบบ GSM (GLOBAL SYSTEM FOR MOBILIZATION) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียว ไป ใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือทีเรียกว่า ROAMING ยุค 2G นื้ ถือ เป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลย (พิท วัส กัลยาและเจริญชัย บวรธรรม รัตน , 2551)
ยุค 3G หรือ THIRD GENERATION ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการ สื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้นเป็นเรื่องของความเร็ว ในการเชือมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบ ไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับ ส่งข้อมูล ต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการ MULTIMEDIA ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง ALE ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ VIDEO/CALL CONFERENCE , DOWNLOAD เพลง , ดู TV STREAMING ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่อง สัญญาณความถี่และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะ เลยคุณสมบัติ หลักที่เด่นๆอีกอย่างหนึงของระบบ 3G ก็คือ ALWAYS ON คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย (พิทวัส กัลยา และ เจริญชัย บวรธรรมรัตน , 2551) ยุค 4G คือเทคโนโลยีการสือสารไร้สายผ่าน อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและ แทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4TH GENERATION MOBILE COMMUNICATIONS อาจจะเรียกใน อีกชื่อหนึ่งว่า LTE (LONG TERM EVOLUTION) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและ เปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเองจุดกำเนิด ของระบบ 4G ความเร็วของระบบ 4G ไว้ที 1GBPS แต่ด้วยขีดจำกัด ทางด้าน เทคโนโลยีและความพร้อมของผู้ให้บริการ จึง ทำให้ความเร็วได้เพียง 100-120 MBPS และอัพโหลดที่ระดับความเร็ว 50 MBPS เท่านั้น
ยุค 5G ตอนนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ของเครือข่ายโทรศัพท์มีอถือได้มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดขึ้นและเดิบโตของอุปกรณ์ดีไวซ์ ชนิด ใหม่ๆ หลายประเทศก็เริ่มทดลองเทคโนโลยีนี้เพื่อนำออกมาใช้อยู่ จะผสมผสานเทคโนโลยีสารพัด สามารถส่งข้อมูลจาก WIF จาก 900 1800 2100 เข้ามาที่เครื่องของเรา ใน TRAPAIC ที่เราต้องการ เพราะมัน ก็จะกระโดดขึ้นไปในระดับกิ๊กกะบิทต่อวินาที ไม่ใช่เมกะบิทแล้ว มี ความเร็วสูง กว่า 4G เป็น 1,000 เท่า สามารถดาวน์โหลดไฟล์ขนาด 8 กิ๊กกะไบท์ ใช้เวลา 6 วินาทีเท่านั้น โดย 5G จะเชื่อมโยงกับอุปกรณ์หรือ THINGS หรือ สิ่งของทุกสรรพสิ่งทีเราต้องการธุรกิจโมเดลก็จะเปลี่ยนไป อย่างมากมาย SME ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีนวัตกรรมก็จะรุ่งขึ้นมา 5G จะเข้ามาแทนที่ เครือข่ายแบบมีสายและ W-A ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนบุคคล หรือใช้งานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจาก เรืองความเร็วของการรับส่งข้อมูล การ ตอบสนองที่รวดเร็วกว่าและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้คลื่น ความถีทีดีขึ้นแล้วอุปกรณ์บน เครือข่าย 5G ยังใช้พลังงานน้อยกว่า 4G อีกด้วย ซึ่งถือเป็นความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของ INTERNET OF THINGS ในอนาคต อีกทั้ง 5G ยังสามารถเข้ามาแก้ ปัญหาบางอย่างของ 4G ได้แก่ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง และมาตรฐาน ทางเทคนิคที่ยอมรับ ทั่วโลก ซึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและสังคมอย่าง รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน เช่น ทำให้เกิดโอกาส สำหรับ การเชือมต่อในเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY) การผ่าตัดระยะไกลใน วงการแพทย์ รถยนต์ไร้คนขับ และ INTERNET OF THING (เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรถ ‘2559)
สรุป ระบบ 5G เป็นพื้นฐานของแนวคิด INTERNET OF THING และ MACHINE TO MACHINE ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่า จะเป็น เครื่องมือ ยานพาหนะ หรือ อาคารสีงก่อสร้างที่มีการติดตั้งวงจร อิเลคทรอนิกส์ ซอฟแวร์ เซ็นเซอร์และเครือข่ายการเชือมต่อต่างๆ ที ทำให้ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งผ่านข้อมูลถึงกันโดยมีความล่าช้าของ เวลา (TIME LAG) น้อยมาก ทำให้สามารถใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ต่างๆ ที่เคยทำ ไม่ได้ในอดีต เช่น การผ่าตัดทางไกลที่แพทย์สามารถ ทำการผ่าตัดให้คนไข้ที่อยู่ในอีกชีกโลกได้ ด้งนั้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาค รัฐและเอกชนจึงต้องเร่งพัฒนา เทคโนโลยีให้รองรับกับระบบนี้ ซึ่งการ พัฒนาเหล่านี้จะเปลียนวิถีชีวิตในอนาคตของผู้คนโดยสิ้นเชิง เครือข่าย แบบไร้สายในยุค 5G ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมูลในปริมาณที มากกว่าระบบ 4G ถึง 1,000 เท่า โดยผิวเผินระบบ 5G ถูกมองว่า เป็น เพียงระบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนระบบเดิมด้วย ประสิทธิภาพทีสูง กว่าดังเช่นทีระบบ 4G มาทดแทนระบบ 3G แต่ในความจริงแล้ว 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูง และความสามารถในการส่งข้อมูล ปริมาณมาก จึงทำให้อุปกรณ์ที่รองรับระบบนี้ จะไม่จำกัดเพียงแค่ โทรศัพท์ อีกต่อไป แต่จะรวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องใช้และระบบ สาธารณูปโภคทั้งหมด
ประโยชน์ของ INTERNET OF THING ในยุคดิจิทัล 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน IOT จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก ความสามารถในการทำงานและการ ส่งผ่านข้อมูลของ IOT นั้นสูงกว่า การใช้มนุษย์ทำงานการทำงานของมนุษย์อาจจะทำให้เกิด HUMAN ERR0R และเกิด ข้อจำกัดด้านพลังงาน, เวลา และสถานที่ได้ แต่ I0T มีความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวลผลส่งผ่าน และแสดงผลได้ อย่างรวดเร็วและสามารถรองรับข้อมูลได้เป็น จำนวนมหาศาล 2.ไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ I0T สามารถทำงานได้แบบไร้พรมแดน เพราะขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ต อย่างที่เราทราบกันดีว่าอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมสีงทีอยู่ห่างไกล ให้ใกล้ชิดกันมาก ยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเช็คสถานะการผลิต ได้ แม้ว่าโรงงานจะอยู่คนละจังหวัดหรือประเทศก็ตามและI0T ยังสามารถทำงานได้ ตลอดเวลาต่างจากมนุษย์ที่มีพลังงาน จำกัด ต้องการการพักผ่อน สิ่งนี้ทำให้เห็น ว่าการใช้ IOT ช่วยทำลายกำแพงด้านเวลาและสถานที่ได 3. ช่วยลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้าน ประโยชน์ของ INTERNET OF THING ในยุคดิจิทัลเนื่องจาก IOT มีความ แม่นยำและไรข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที ทำให้ช่วยลดต้นทุนได้หลาย ๆ ด้าน อย่างเช่นต้นทุนการจ้างงาน ต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือต้นทุนการผลิต
ข้อดี - ข้อเสีย INTERNET OF THINGS ข้อดี INTERNET OF THINGS - เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานและการดำเนินชีวิต เช่น หลอดไฟทีเปิดหรือปิดเองได้ตามเวลาที่ตั้งไว้ผ่านมือถือ เป็นต้น - เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำขึ้นได้ - ช่วยลดต้นทุนในด้านต่าง ๆ ลงได้จากการใช้ I0T เช่น แผง เกษตรกรรมที่มีการใช้ IOT ให้รดน้ำตามเวลาและระดับความชื้นที่ กำหนด เป็นต้น ข้อเสีย INTERNET OF THINGS - เพิ่งพาระบบอินเทอร์เน็ต หากไม่ สามารถเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้อาจเกิด ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ไม่สามารถ สังงานอุปกรณ์ได้ เป็นต้น - ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงกันด้วย เครือข่ายเดียวกันทำให้ต้องการบำรุง และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลกับ ซอฟต์แวร์ของ อุปกรณ์อยู่เสมอ - ความผิดพลาดที่เกิดจากการ ประมวลผลผิดพลาด อุปกรณ์ I0T เกิดปัญหาประมอวาลจผลผิดพลาดได้ เนื่องจากการเขียน โปรแกรมที่ไม่รัดกุม และ พอมีอุปกญ์ ตัวไหนตัวหนึ่ง ประมวลผลผิดพลาดจะส่งผลทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ เชื่อมต่ออยู่ด้วยประมวลผลผิดพลาดไปตาม
BOT NET BOTNE Tเป็นกลุ่มของอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์และถูกเปลี่ยนเป็น BOT (ย่อมา จาก ROBOT) ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เว็บแคม เราท์เตอร์ หรือ อุปกรณ์ IOT อื่นๆ ในบ้านของเรา เพื่อรอรับคำสั่งจากแอ็กเกอร์ โดยแอ็กเกร์ จะนำ BOTNET ที่มีไปใช้ในแคมเปญการโจมตีขนาดใหญ่ เช่น DDOS อย่าง กรณีของ MIRAI BOTNET ที่โด่งดังเมื่อ 2 ปีก่อนซึ่งใช้ BOTNET กว่า 300,000 เครื่องในการถล่มระบบของ NETFLIX, TWITTER หรือ REDDIT วิธีป้องกัน BOTNET 1. เปลี่ยนรหัสผ่านของอุปกรณ์ - อุปกรณ์ I0T ที่ใช้รหัสผ่านดั้งเดิมจาก โรงงานมักถูกแฮกแล้วเปลี่ยนเป็น BOTNET ได้ง่าย 2. อัปเดตซอฟแวร์สม่ำเสม - เพื่ออุดช่องโหวไม่ให้แฮกเกอร์ใช้โจมตีอุปกรณ์ 3. ใช้ FIREWALL - FIREWALL ปัจจุบันช่วยตรวจจับทราฟฟิกไม่พึ่งประสงค์ และป้องกันการโจมตีอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายจากแฮกเกอร์ 4. แยกวงอุปกรณ์ 10T ออกมา - แทนที่จะรวมอุปกรณ์ OT ไว้ในเครื่อข่าย หลัก ให้สร้างเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ I0T โดยเฉพาะขึ้นมา และไม่มีการ แชร์ข้อมูลข้ามเครือข่าย เมื่ออุปกรณ์ I0T ถูกโจมตี เครือข่ายหลักจะไม่ได้ รับผลกระทบ 5. ควรระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต - หลีกเสี่ยงการเข้าถึงเว็บโป๊หรือ เว็บการพนัน ไม่กดโฆษณาที่ดูให้ผลตอบแทนเกินจริง รวมไปถึงติดตั้ง โปรแกรมANTIVIRUS และ ADBLOCKER เพื่อป้องกันการลอบขุดเหรียญ เงินดีจิทัล
SMART HOME SMART HOME ( SMART BUILDING ) หรือเรียกอย่างนั่นคือ \"บ้านอัจฉริยะ\" เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย หรือระบบ อัตโนมัติต่างๆ เข้ามาใช้ทั้งภายนอก และภายในบ้าน โดยเชื่อมต่อเข้ากับ อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ โดยผู้อยู่อาศัยสามารถควบคุม (CONTROL) อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้ผ่าน ทาง สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้ได้รับความสะดวกสบาย (CONVENIENCE) แถมยังช่วยประหยัด (SAVINGS) ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รวมไปถึงความปลอดภัย (SAPETY) ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้บ้านอัจฉริยะ ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอันล้ำสมัย เช่นการใช้โครงสร้าง แบบโมดูลาร์ ป้องกันแผ่นดินไหว และนวัตกรรมแห่งการพักอาศัยอื่นๆ ที่ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับทุกคนที่อยู่ในบ้าน
งานวิจัยของ SMART HOME ในปัจจุบันจะ เป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน สามารถแบ่งกลุ่มงาน วิจัยออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการคือ 1. เพื่อความสะดวกสบาย งานวิจัยพวกนี้จะเป็นระบบอัตนมัติต่าง เช่น ประตู อัตโนมัติ,รีโมทอัจฉริยะ ซึ่งสินค้าที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นในกลุ่มนี้ 2. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะเป็นงานวิจัยในการเพิ่มความ สามารถให้กับกล้องวงจรปิดคือนอกจากจะทำการบันทึกภาพอย่างเดียว แล้ว แต่ยังรวมเซนเซอร์ต่างๆเข้ามาเพื่อใช้ในการตรวจตราเช่น เซนเชอร์ ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเพิ่มระบบการขับไล่ผู้ร้ายด้วยการเชื่อมต่อ กับ ALARM หรือแจ้งไปยังสถานีตำรวจ นั่นคือเพิ่มความสามารถในการ ช่วยระงับเหตุเข้ามาด้วย ซึ่งสินค้าในท้องตลาดในกลุ่มนี้ก็มีเช่นกัน 3. เพื่อประหยัดพลังงาน เช่นการเปิดปิดไฟอัตนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิด อัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติด ตั้งแผงวงจรโชลาร์เซลล์ 4. เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่นจะติดตั้งเชนเชอร์ตรวจคลื่น หัวใจ ตรวจจับไฟไหม้ โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
บทที่ 3 BLOCK CHAIN
เป็นนวัดกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยสำหรับ ข้อมูลที่เปิดเผยได้โดยมีแนวคิดว่า การสร้างข้อมูลที่ทุกฝ่ายยอมรับซึ่ง กันและกัน จากนั้น นำข้อมูลบันทึกลงในกล่องสี่เหลี่ยมโดยมีข้อมูล เหมือนกันทุกกล่อง (Block) และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันแบบห่วง โช (Chain) ทำให้บล็อกเชนไม่ต้องผ่านตัวกลางในการส่งข้อมูลอีกต่อ ไป ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน เครื่องมือสื่อสารต้องเดินทางผ่านโอเปอเร เตอร์เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกัน ตอนนี้ก็เริ่มมีการ พัฒนาการส่ง ข้อความตัวอักษรระหว่างเครื่องต่อเครื่อง (P2P : Peer to Peer) ซึ่ง อาจจะทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ขึ้นใน อนาคต แม้ว่าตอนนี้ยังทำได้แค่ตัว อักษรเท่านั้นก็ตาม ความท้าทายของการนำบล็อกเชนไปใช้ยังไม่ได้ จำกัดอยู่เพียงแค่โลกการเงินเท่านั้น การสร้างเอกสารเพื่อการ ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างในประเทศ ฮอนดูรัส ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งผู้ที่ครอบครองที่ดินกว่า 70% เข้าใจว่า ที่ดิน เป็นของตนเอง และมีกรรมสิทธิ์อย่างแน่นอน แต่แล้วการถือ ครองที่ดินกลับมีการเปลี่ยนเจ้าของโดยที่ไม่รู้ตัวทำให้ต้องถูก บังคับ ออกจากที่ดินอย่างไร้ข้อต่อสู้ ซึ่งแน่นอนว่า บล็อกเชนจะเข้าไปช่วยให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเอกสารกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ให้มีความถูกต้อง มากขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามแนวคิดของบล็อกเชนที่ว่า ข้อมูลจะต้องมีความ ปลอดภัย มีการเผยแพร่ และ บันทึกไว้ในทุกที่อย่างเป็นธรรม เพื่อ ป้องกันการปลอมแปลงโดยมิชอบนั่นเอง
จึงกล่าวได้ว่า; การทำงานของ Blockchain คือ เมื่อเกิดการทำธุรกรรมต่างๆ ขึ้นในระบบ ข้อมูลจะถูกบันทึกแบบเข้ารหัสไว้เป็น บล็อกๆ และจะถูกเชื่อมโยง ต่อๆ กัน โดยที่จะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน บล็อกใดๆ ได้เลย สาเหตุก็เพราะทุกคน ต่างก็มีสำเนาหรือประวัติการทำ ธุรกรรมทั้งหมดอยู่กับตัว จึงเป็นเรื่องที่ยากหรือเป็นไปไม่ได้หากจะมีใครซักคน เข้ามาแก้ไขหรือปลอมแปลงข้อมูล โดยปราศจากการรับรู้จากคนส่วนใหญ่ใน ระบบ โดยระบบที่สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ทั้งหมดนี้ถือเป็นเครื่อง มือสำคัญที่สร้างความ น่าเชื่อถือให้กับเทคโนโลยี Blockchain นั่นเอง
ที่มาที่ไปของการมาเป็น Blockchain ก่อนอื่นเราต้องขอย้อนกลับไปทำความรู้จักกับBitcoin กันก่อนชื่งเชื่อว่า หลายท่านพอทราบกันแล้ว ว่าเป็นระบบสกุลเงินใหม่ A Peer-to-Peer Electronic Cash Systemหรือทุกวันนี้ก็เรียกกันอีกอย่าง หนึ่งว่า \"Cryptocurrency (or crypto currency\" หรือสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลงานการออกแบบ ของบุรุษที่ไม่เปิดเผย ตัวตนชื่อ Satoshi Nakamoto ที่เผยแพร่เอกสารการทำงานของ Bitcoin ออกมา ในเดือนพฤศจิกายนปี 2008 และเอกสารอันลึกลับว่าเป็นของใคร นั้นเองก็ได้เปลี่ยนโลกเทคโนโลยีครั้ง ใหญ่เลยทีเดียว ในเอาสารฉบับนั้น ของ Satoshi มีการพูดถึงหลักการของส่งเงินระหว่างกันเอาไว้โดย อาศัย การทำงานของ Blockchain อยู่ด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของการเกิดเทคโนโลยี Blockchain ขึ้นมาใน เดือนมกราคมในปี 2009 ซึ่งขณะนั้นทำขึ้นมาเพื่อใช้ งานกับการส่งเงินสกุล Bitcoin นั่นเอง
ทำความเข้าใจ Blockchain ก่อนอื่นขอให้คุณนึกถึงภาพเปรียบเทียบการส่ง สิ่งของหากหากัน โดยมีบุคคลอื่นเป็นพยานรับรู้ด้วยก่อน ตัวอย่างที่น่าจะ ทำให้ หลายคนเห็นภาพได้ง่ายๆก็คือ \"การเล่นไพ่\"การเล่นไพ่นนั้ ผู้เล่นจะถูก จัดให้อยู่ในวงไพ่ที่เปิดรับในที่นี้เราขอเทียบวงไพ่แต่ละ วงที่ เกิดขึ้นก็เหมือนกับการมี Network ต่างๆในแต่ละอุตสาหกรรม พูดง่ายๆก็คือ วงไพ่ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เปรียบได้กับ Blockchain Network ในแต่ละอุตสหกรรม เช่น วงไพ่ของธนาคารเรียก Blockchain for financial, วงไพ่ของระบบส่ง สินค้าเรียก Blockchainfor Logistic, วงไพ่ของเครือข่ายรถสาธารณะ เรียก ว่า Blockchain for Public Transpotation เป็นต้น ซึ่งใคร อยากจะเข้าร่วม วงพ่วงไหนก็เข้าไปดูเงื่อนไขกันว่าเราสนใจอยากเข้าร่วมด้วยไหม หรือเรา อยากจะตั้งวงไพใหม่ขึ้นมาก็สามารถทำได้เช่นกัน เมื่อเราเข้าใจหลักการของ Blockchain Network ว่าเปรียบเทียบได้กับการเล่นไพ่ คราวนี้เราขอให้คุณ จำกัดประเภทไพ่ที่ จะเล่นกันด้วยว่าเป็นการเล่นไพ่ Poker หรือ เล่นไพ่ สลาฟ(Sเave) ที่ผู้เล่นจะต้องทิ้งไฟให้อีกคนในวงไปเรื่อยๆ ตรงนี้เพื่อ ที่จะ เทียบให้เห็นภาพของการส่งข้อมลู ในระบบ Blockchain ที่ระบุเป็นเงื่อร ไขเอาไว้ว่าทุกคนในแต่ละ Blockchain Network ใดๆ ก็ตามจะต้องเห็น รายการรับ-ส่งข้อมูลร่วมกันทั้งหมดทุกคน ซึ่งก็เหมือนกับการเล่นไพ่ที่ผู้เล่น ทุกคนในวงไพ่จะรับรู้การเคลื่อนไหวของทุกคนที่เล่นด้วยกัน (เทียบเฉพาะ หลักการเล่นพ่แบบไม่โกงและทุกคนในวงร่วมกันเป็นพยาน
ทำความเข้าใจ ทำไมเรียกว่า Chain ต่อมาคือว่า \"Chain\" ซึ่งขออธิบายหลักการทำงานในการรับ-ส่งในระบบ ทั่วไปก่อน ตัวอย่างเช่นการส่งพัสดุของธุรกิจ Logistic ว่า จะมีการจดจำ ข้อมูลของผู้รับของ ข้อมูลของผู้ส่ง ที่ระบุเอาไว้บนหน้ากล่องพัสดุ และผู้นำ ส่ง(บุรุษไปรษณีย์ ซึ่งจะเป็นมีเพียง 3บุคคล เท่านั้นทีเกี่ยวข้องกันในรับรู้ ข้อมูลของการส่งในแต่ละครั้ง แต่ใน Blockchain นั้นผู้ส่ง(ข้อมูล นั้นไม่ใช่บุรุษ ไปรษณีย์แต่เป็นคนใดคนหนึ่ง ในระบบที่สามารถแก้โจทย์ทาง คณิตศาสตร์แบบเดาคำตอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้ก่อน ซึ่งคนๆนั้นก็ จะเป็นผู้ได้สร้าง Block ลำดับ ต่อไป ขอย้อนกลับไปเทียบกับการเล่นไพ่ในตัว อย่างก่อนหน้านี้อีกครั้งว่าการจะส่งไฟ(ไพ่ - ข้อมูล ต่อไปหาใครหรือผู้เล่นคน ต่อไปที่จะได้ ทิ้งไพ้ลงมาได้ก็ต้องอยู่ในเง่อื่ นไขของการเลน่ ไพ่อย่าง Poker หรือ Sเave คือคนท่สีามารถวางไพ่ล ดับถัดไปได้นนั่ เอง และในการเล่นไพ่ นั้นทุกคนในวงไพ่จะต้องจดจำการรับส่งของข้อมูลในที่นี้คือทุกคนต้องจำให้ได้ ว่าใครส่งไพ่หาใครหรือใครทิ้งไพ่ใบไหนไปให้ใครเปรียบ เหมือนการจดจำทุกๆ รายการ(transactions เอาไว้ตลอดการเล่น เหมือนกับว่าทุกๆคนในระบบจะ มีบัญชีประจำตัว(สมองจดจำ ที่ไม่ได้ เอาไว้จดบันทึกรายการของตัว เอง(ไพ่ในมือของเรา เพียงอย่างเดียว แต่การเล่นพ่จะเหมือนกับว่าทุกคนมี บัญชีที่เก็บข้อมูลการทำ รายการของทุกๆคนในระบบเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้น การ เล่นเลย และการจดจำข้อมูลในลักษณะแบบนี้ก็เปรียบได้กับเป็นห่วงโช่ของ ทุกๆ ธุรกรรมต่อกันไปเรื่อยๆนั่นจึงเป็นความหมายและที่มาของคำว่า Chain ในระบบ Blockchain นั่นเอง คำศัพท์ Chain = การจดจำ ทุกๆ ธุรกรรมของ ทุกๆคนในระบบและบันทึกไว้กับบัญชีของ ทุกคน เรียกว่า Chain
การทำงานจริงๆ ของ Blockchain 1.อันดับแรกเลย Alex ก็จะกรอกข้อมูลบัญชีของ Katie ลงไปพร้อมกับจำนวน เงินที่ต้องการโอนและ Sign การ ดำเนินการด้วย Private Key ของเขาลง ไป ซึ่งตามทได้อธิบายไปในบทความที่แล้วว่าตัว Blockchain มันไม่ได้บอก ว่าใครเป็นใคร ดังนั้นบัญชีของ Alex กับkatie จะถูกเก็บเป็นตัวเลขรหัส บัญชียาวๆเท่านั้น ตามรูปด้านล่างเลย 2.จากการดำเนินการที่เกิดขึ้นระบบจะทำการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Transaction เพื่อบอกว่าใครทำอะไร และทำการบันทึกลายน้ำลงไป ด้วยHashfunctionเพื่อป้องกันมีคนมาแก้ไขการดำเนินการตามรูป ด้านล่าง 3.ซึ่งในการสร้าง Transaction แต่ละครั้ง ระบบก็จะไปตรวจสอบ Transaction อื่นๆก่อนหน้าเพื่อดู ความถูกต้องว่า Alex มีเงินพอที่จะโอน หรือเปล่าด้วย ดังนั้น transaction แต่ละตัวระบบก็จะรู้ความ เป็นไปของ บัญชีแต่ละบัญชีนั่นเอง 4.พอถึงช่วงเวลานึง ระบบก็จะเอา transaction ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น . ทั้งหมดมารวมกันในสิ่งที่ เรียกว่า Block และระบบก็จะนำข้อมูลทั้งหมดใน Block นั้นไปเข้า Hash function ขึ้นมาเพื่อป้องกัน คนมาแก้ไข block นั้นๆ เช่นในตัวอย่าง Block 0 ได้ตัวเลขเป็น 0x23e 5.ถัดมาระบบก็จะนำ 6lock ไปเก็บ โดยมันจะมีการบันทึกไว้ด้วยว่า Block ที่ มันสร้างนั้นมันต่อกับ Block รหัสอะไร ซึ่งเราเรียกขั้นตอนนี้ว่าการต่อกัน หรือการ Chain กันนั่นเอง
ลักษณะเด่นของ Blockchain 1. ทุกๆ ข้อมูลที่มีการบันทึกลงไปใน Blockchain นั้นจะไม่สามารถถูกลบ ออกไปได้ และสามารถติดตามลำดับการบันทึก ข้อมูลย้อนหลัง ทั้งหมดได้อย่างโปร่งใส 2. ข้อมูลภายใน Blockchain นี้จะถูกกระจายไปจัดเก็บบน Hardware หลายๆเครื่องซึงเราจะเรียก Hardware แต่ละ ชุดนี้ว่า Node โดยจะมี การรับประกันว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเหมือนกันทั้งหมด ซึ่ง Node เหล่านี้ จะเก็บเอาไว้ในองค์กรเดียวกัน หรือกระจายช่วยกันเก็บในหลาย องค์กรก็ได้เช่นกัน 3. การบันทันทึกข้อมูลใดๆ ลงไปใน Blockchain นั้นจะต้องได้รับการ ตรวจสอบและยืนยันจาก Node อื่นๆ ตามเงื่อนไข การตรวจสอบที่ กำหนด ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านั้นเข้าระบบและกระจายให้ Node ต่างๆ บันทึกข้อมูลชุดเดียวกันลงไป เพื่อให้สามารถปรับใช้งาน ได้ตามความต้องการ 4. รองรับการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลแต่ละชุดได้ ดังนั้นถึงแม้ข้อมูลของเรา จะถูกกระจายไปยัง Node อื่นๆ และอาจถูก บางคนมองเห็น แต่คนอ นี่ ๆ ก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อความของเราได้ นอกจากตัวเราเอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านี้ที่เราอนุญาตให้เข้าถึงได้เท่านั้น
Bitcoin กับ Blockchain เกี่ยวข้องกันอย่างไร บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอลจะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิท คอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความ ต้องการนำ เทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงิน ดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัยและเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความ ปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุก อุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียง แต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้าง เห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายาม ในการทำบิทคอยน์
บทที่ 4 ธุรกรรม ในธุรกิจดิจิตอล
ความหมายของธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล ธุรกรรม ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า transaction (อ่านว่า แทรน-แซก-ชั่น หมายถึง การประกอบกิจกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะด้านธุรกิจและ การเงิน ธุรกิจดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีต่าง เข้ามาพัฒนาธุรกิจที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มความ สะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้ บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ต่าง ๆ
การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (Platform Business) การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (Platform Business) ได้ Geoffrey Parker, Marshal Van Alstyne และ Sanged Choudary ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือที่มีชื่อว่า Platform Revolutioได้ นิยามคำว่า Platform Business คือ โมเดลทางธุรกิจที่สร้าง คุณค่าจากการอำนวยความสะดวกให้เกิดการแลกเปลี่ยน ระหว่างกลุ่มคนหรือผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยทั่วไปก็ดี กลุ่มหนึ่งเป็นผู้บริโภคและอีกกลุ่มเป็นผู้ผลิต Platform Business คือ โมเดลทางธุรกิจที่สร้างคุณค่าจากการอำนวยความสะดวกให้ เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนหรือผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้น ไป โดยทั่วไปก็ดี กลุ่มหนึ่งเป็นผู้บริโภคและอีกกลุ่มเป็นผู้ผลิต
นวัตกรรมกับธุรกิจดิจิทัล เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการ หรือ กระบวนการรูปแบบใหม่ อาศัยข้อมูลข่าวสารและ การดำเนินการทางด้านเทคโนโลยีโดยมีเครื่อง มือ(Tools) หรือแอปพลิเคชั่นโปรแกรม (ApplicationProgram) เข้ามาช่วยในการบริหาร จัดการ รวบรวม วิเคราะห์ พยากรณ์ข้อมูล เพื่อช่วยให้การดำเนินธุรกิจหรือ การค้าของตนเองได้เปรียบ เชิงการแข่งขัน สร้างผลกำไรและสนองต่อ ความต้องการให้กับลูกค้าเป็นหลัก การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใน สินค้าและบริการที่เกิดขึ้น แต่จะทำหน้าที่ในการเป็นผู้ที่จัดหาและอำนวยความ สะดวก ดังต่อไปนี้ 1. การวางโครงสร้างพื้นฐานการออกแบบกฎเกณฑ์และบริหารจัดการสิ่งที่ เกิดขึ้นบนพื้นที่ 2. การดำเนินการสร้างกลุ่มผู้ใช้งานให้เกิดขึ้น 3. การดำเนินการบริหารจัดการ จัดเก็บ และส่งต่อของคุณค่าและข้อมูล
การเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจแบบดั้งเดิม กับธุรกิจแบบแฟลตฟอร์ม ธุรกิจดั้งเดิมในกลุ่มผู้ผลิตจะดำเนินการ การจัดหาวัตถุดิบ การประกอบ การผลิต การจัดจำหน่ายทำการส่งต่อกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจแบบดั้งเดิมจะ มีลักษณะเป็นเจ้าของสินทรัพย์และทรัพยากรเน้นกระบวนการทาง อุปทาน (Supply) การผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นกระบวนการภายใน ของห่วงช่อุปทานส่วนแพลตฟอร์ม จะเน้นกระบวนการภายนอกของห่วงโช่ อุปทานการสร้างและครอบครองกระบวนการในทางอุปสงค์ (Demand) แพลตฟอร์มโมเดลธุรกิจ ระบบนิเวศใหม่ของธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม รูปแบบในการหารายได้มีหลาก หลายรูปแบบส่วนมากจะเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก คุณค่าที่เกิดขึ้น จากการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มลูกค้าหรือผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป รูปแบบ การหารายได้จะไม่มีผลต่อการลดจำนวนของการปฏิสัมพันธ์และจำนวนกลุ่ม ลูกค้าหรือผู้ใช้งาน
โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) การที่จะทราบรายละเอียดของกิจการว่าประกอบกิจการอะไร ขาย อะไร กลุ่มลูกค้าคือใคร ค่าใช้จ่ายอะไร และอื่น ๆ ที่ดูแล้วทราบราย ละเอียดของกิจการว่ามีการเชื่อมอะไรบ้างก็จะเป็นโมเดลทางธุรกิจ (Business Model Canvas) จะเป็นลักษณะของเทมเพลต (Template) โมเดลธุรกิจที่มีส่วนประกอบกัน 9 ต้าน ซึ่งสามารถ ประยุกต์ใช้งานในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ และได้รับความนิยมจากนักการ ตลาดและ SMEs ใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐาน แสดงแผนภูมิภาพ Business Model Canvas ธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการในธุรกิจดิจิทัล การซื้อขายสินค้าและบริการเป็นสิ่งที่มีความคัญของธุรกิจและเป็นธุรกรรม ในธุรกิจดิจิทัลด้วยซึ่งจะก่อให้เกิด รายได้เข้าธุรกิจโดยทำการแยกธุรกิจดิจิทัลตาม แพลตฟอร์มเป็นกลุ่มดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มโมเดลการแลกเปลี่ยนหรือ Marketplace เช่น Grab Airbnb เป็นต้น 2. กลุ่มโฆษณา เช่น YouTube Instagram Facebook 3. กลุ่มค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการ เช่น PayPal AliPay 4. กลุ่มระบบเก็บค่าสมาชิก (Subscription) เช่น Netflix iflix HOOQ VIU 5. กลุ่มฟรีเมียม (freemium) เช่น Spotify Joox 6. กลุ่มโมเดลทางระบบนิเวศ เช่น แพลตฟอร์มของ iOS และ Android
การชำระเงินออนไลน์ การโอนเงิน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Wallet) พร้อมเพย์ บริการชำระบิลข้ามธนาคาร (Cross-Bank Bill payment) Mobile Payment
บทที่ 5 สื่อสังคมออนไลน์ กับธุรกิจดิจิตอล
ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนา ธุรกิจที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและ ผู้บริโภคในการเลือกชื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) ให้ความหมาย สื่อสังคม หมายถึงการสื่อสารของมนุษย์ได้รับการพัฒนาให้สื่อสารถึงกัน อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้ สามารถมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตได้ คุณลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ 1.สื่อสังคมออนไลน์เป็นอินเทอร์เน็ตแอปพลิเคชั่น 2.เนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ถูกสร้างโดยผู้ใช้งานสื่อสังคม 3.ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัวที่เป็นตัวแทนของผู้ใช้ งานบนเว็บไซต์ 4.สื่อสังคมออนไลน์ช่วยในการสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์
ความแตกต่างของสื่อสังคมออนไลน์กับสื่อประเภทอื่น การกระจายตัวของเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นแบบไวรัล(Viral) การที่เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์สามารถถูกเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ปริมาณเนื้อหาบนสื่อสังมออนไลน์มีจำนวนมาก การที่เนื้อหาบนสื่อ สังคมออนไลน์สามารถถูกดัดแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา ประเภทสื่อสังคอมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ได้มีความก้าวหน้าอย่างมากมีการ สนับสนุนทาง ด้านเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ อาทิ การ เive รายการต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุงด้านความ ปลอดภัยโดยการใช้โพลโตคอล https แทน http เพื่อเพิ่มความมั่นในการใช้สื่อสังคมออนไลน์
ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ในธุรกิจดิจิตอล ในยุคดิจิทัลผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นมามีความ จำเป็นที่จะต้องทำการตอบโจทย์ของผู้ใช้สินค้าและผู้ใช้ มีผลย้อนกลับที่ดีก็จะทำให้มีคนมาซื้อสินค้าอีกก็จะ กลายเป็นวัฏจักรการบริโภค
บทที่ 6 ธุฃรกิจดิจิทัลโมไบล์
ความหมายของธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ ธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ (Digital Mobile Business) เป็นการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลต่าง ๆและอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการพกพาเข้ามาพัฒนาธุรกิจเพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค คุณลักษณะธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ ㆍ สามารถสร้างสินด้าหรือบริการใหม่ ที่เรียกว่าการบูรณาการในแนว ตั้ง (Vertical integration ) ㆍสามารถสร้างตลาดหลายด้าน (Multi-sided markets) ㆍ สามารถสร้างการผูกขาดของธุรกิจ ㆍ สามารถสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ง่าย ㆍ สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันระบบการให้บริการได้ตามความ ต้องการ ㆍ ของผู้ใช้งาน สามารถรองรับโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับบริการธุรกิจดิจิทัลจาก หลากหลายผู้ให้บริการหรือนักพัฒนาแอปพลิเดชั่นทั่วไปได้ ㆍสามารถรองรับเทคโนโลยีหรือเทคนิคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ㆍสามารถคงรักษาข้อมูลธุรกรรมสำคัญต่าง ๆ ไว้ได้
โครงสร้างของระบบธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ กลุ่มผู้ใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้ โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ เครือข่ายเคลื่อนที่ไร้สายมิดเดิลแวร์ของระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เคลื่อนที่ไร้สายโมบายมิดเดิลแวร์ เป็นชอฟต์แวร์ที่ทำการเชื่อมต่อ การใช้งานระหว่างระบบปฏิบัติการหรือเชื่อมแอปพลิเคชันที่แตก ต่างกันคือเป็นชอฟด์แวร์ที่ทำงานกันระหว่างระบบปฏิบัติการของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สายประเภทต่าง ๆ และ แอปพลิเคชันหรือโมบายแอปพลิเคชันที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สายเหล่านั้น สามารถชื่อมต่อประสาน (Interface) เข้ากับอุปกรณ์ที่มีระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันที่ ต่างกันได้เพื่อให้การใช้านสามารถใช้งานต่อไปได้อย่างอัดโนมัติกลุ่ม นักพัฒนาระบบและองค์กรธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ไร้สาย แอปพลิเคชันธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ การให้บริการธุรกรรมต่าง ๆ การให้ข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ การพัฒนาแอปพลิเคชัน
การประยุกต์เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ ㆍช่องทางการทำธุรกิจดิจิทัลโมไบล์ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เคลื่อนที่ไร้สาย ㆍการตลาดเคลื่อนที่ (Mobile Marketing) ㆍ การใช้โมไบล์คูปอง ㆍ การชำระเงินเคลื่อนที่ ㆍผู้ช่วยส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Assistant) ㆍการสร้างความภักดีในตัวสินค้าและการบริการเคลื่อนที่ (Mobile ㆍLoyalty) การให้บริการของธุรกิจแบบเคลื่อนที่
บทที่ 7 ความมั่นคงปลอดภัย ในการทำธุรกรรมดิจิทัล
ความเสี่ยงและภัยคุกคามต่อธุรกรรมธุรกิจดิจิทัล จากผลการสำรวจของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WorldEconomic Forum: WEF)ใน ค.ศ. 2019เรื่องความเสี่ยงจาการรับรู้ทั่วโลก ซึ่งพิจารณาจาก ความเสี่ยงที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจจากทั่วโลกมอง และคิดว่าเป็นความเสี่ยงที่คาด การณ์จะมีโอกาสเกิดเพิ่มมากขึ้นใน ค.ศ. 2020 โดยสามารถสรุปแบ่งประเด็นที่ เกี่ยวข้องออกเป็น 5 ความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและ ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงที่ดาดการณ์จะมีโอกาศเกิดเพิ่ม มากขึ้นในปี ค.ศ. 2020ละอันดับ 5 เป็นความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ความเสี่ยงทางการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การขโมยข้อมูลทางการเงิน การโจมตี ทางด้านการบริการจัดการและโครงสร้างพื้นฐานของระบบ ซึ่งเป็นความเสี่ยง และภัยคุกคามจากธุรกรรมดิจิทัลที่มีมากถึง 82 %
ความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกิจดิจิทัล ปัจจุบันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดย เฉพาะจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย มีจำนวนถึง 2,300 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนภูมิภาคที่เหลือจำนวนผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมดรวมกันเพียง 2,233 ล้านคนคิดเป็น 50.3% ของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่โลก รองลงมาเป็นภูมิภาคยุโรป มี จำนวนถึง 727 ล้านดน คิดเป็น 15.9% และน้อยที่สุดคือภูมิภาคโอเชีย เนียออสเตรเลียมีจำนวน 29 ล้านคน คิดเป็น 0.6% ของประชากรที่ใช้ อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
การจัดการความเสี่ยงของภัยคุกคามต่อธุรกรรมดิจิทัล ความเสี่ยง (Risk Definition) หมายถึง ผลของความไม่แน่นอนที่ส่งผล ต่อองค์กรหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อเป้าหมาย ขององคก็กรการจัดการความเสี่ยงและภัยคุกคามธรุ กรรมดิจิทัลเป็น องค์ประกอบสำคัญในการทำธุรกรรมดิจิทัลทั้งกับตนเอง หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ เป็นอย่างมากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความ เสี่ยงและภัยคุกคามธุรกรรมดิจิทัล ประเภทเหตุการณ์ของภัยคุกคามต่อธุรกรรมดิจิทัล จากการสำรวจของศูนย์ปฏิบัติการ Security Operation Center (SOC) ของบริษัทCAT cyfence ผู้ให้บริการดูแลความปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลสถิติภัยคุกคาม บนโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตนล้มเหลวโปรแกรมประสงค์ ร้ายต่าง ๆการกันหาช่องโหว่บนเว็บไชต์จากผู้ไม่ประสงค์ดี การโจมตี ไปยังเป้าหมายโดยตรง การปลอมแปลงเว็บไชค์ในการทำธุรกรรม ดิจิทัลและโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์เพื่อกระทำการบางสิ่ง ซึ่งล้วนแต่ เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่มีผลกระทบ ชนิดเบาไปจนถึงชนิดรุนแรงในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
จะเห็นได้ว่านอกจากจานวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกในแต่ปีจะมี จำนวนเพิ่มขึ้นมากแล้ว ผู้ใช้งานก็ยังสามารถเข้าถึงและใช้บริการ ธุรกรรมดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่มีข้อสถานที่และเวลา มาเป็นตัวกำหนด แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลธุรกรรมดิจิทัลที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการใช้งานก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ขโมย หรือถูก ทำลายได้ โดยเฉพาะการถูกขมยข้อมูลธุรกรรมทางการเงินหรือการ ปล่อยไวรัสโจมตีระบบปฏิบัติการ ก็มีให้พบได้อยู่ตลอดเวลาหากไม่มี ระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ซึ่งภัยคุกคามทาง ไซเบอร์เหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้ หน่วยงานหรือ องค์กรได้ ดังนั้นแนวคิดเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์ (Cyber Security) จึงต้องถูกพัฒนาไปพร้อมกับความ ก้าวหน้าทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของควบคู่ไปด้วย
Search