Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การโค้ช3_1539206334

การโค้ช3_1539206334

Published by ปาริชาติ ปิติพัฒน์, 2019-09-18 09:10:58

Description: การโค้ช3_1539206334

Search

Read the Text Version

การโคช้ เพอื่ การรคู้ ิด (Cognitive Coaching) รองศาสตราจารย์ ดร.วิชยั วงษ์ใหญ่ อาจารย์ ดร.มารุต พัฒผล

“โค้ชทดี่ ี ตอ้ งได้ใจเดก็ นั่งอย่ใู นหัวใจเดก็ เด็กจะเรียนรู้ส่งิ ต่างๆ ทกุ เรอ่ื งได้อย่างมหศั จรรย์”

การโคช้ เพ่ือการร้คู ิด (Cognitive Coaching) รองศาสตราจารย์ ดร.วิชยั วงษใ์ หญ่ อาจารย์ ดร.มารุต พฒั ผล

การโคช้ เพ่ือการรู้คิด (Cognitive Coaching) รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ อาจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล พมิ พค์ รงั้ ที่ 1 เมษายน 2557 จานวน 100 เลม่ พมิ พค์ ร้งั ท่ี 2 เมษายน 2557 จานวน 100 เล่ม พิมพ์ครั้งท่ี 3 พฤษภาคม 2557 จานวน 1,000 เลม่ ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสานกั หอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ยั วงษใ์ หญ่, ดร.มารุต พฒั ผล. การโค้ชเพอ่ื การรคู้ ดิ (Cognitive Coaching). – กรุงเทพฯ : จรลั สนิทวงศ์การพิมพ,์ 2557. 101 หนา้ . 1. การเรียนร.ู้ I. ชื่อเรือ่ ง ISBN 978-616-348-814-5 ราคา 150 บาท สงวนลขิ สทิ ธเ์ิ น้อื หาและภาพประกอบ ตามพระราชบญั ญตั ลิ ิขสิทธ์ิ พิมพ์ท่ี บริษัท จรลั สนิทวงศ์การพิมพ์ จากดั 233 ซอยเพชรเกษม 102/2 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 โทรศพั ท์ 02-809-2281-3 แฟกซ์ 02-809-2284 www.fast-book.com e-mail: info@fast-books.com

คานา หนังสือ “การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching) เล่มน้ี เขียนข้ึนจากการวิจัยและพัฒนา (research and development) เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ศึกษาเพ่ือเพ่ิมพูนความรู้เกี่ยวกับบทบาทใหม่ของ ผูส้ อนที่นอกจากการจัดการเรียนรู้แล้ว ยังต้องมีบทบาทในการเป็นโค้ช ให้กับผู้เรียนเพ่ือกระตุ้นการรู้คิดอย่างต่อเนื่อง เพ่ือดึงศักยภาพ ของผ้เู รียน การโค้ชเพื่อการรู้คิด (cognitive coaching) เป็นบทบาท ของการเรียนรู้ยุคใหม่ ท่ีพัฒนามาจากบทบาทการสอน (teaching) และการเปน็ ผเู้ ออื้ อานวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator) ดังนั้น การโค้ชจึงเป็นส่ิงจาเป็นสาหรับผู้สอนทุกคนควรเรียนรู้ ฝึกฝน และนาไปโค้ชผเู้ รยี นอย่างตอ่ เน่ือง ขอขอบคุณคณะครูทุกท่านที่ได้นาหนังสือเล่มน้ีไปใช้จริ ง ในพื้นที่ของกระบวนการวิจัย และให้ข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์ในการ ปรับปรุงและพฒั นาหนงั สอื เล่มนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มน้ีจะเป็นประโยชน์กับครู และผ้เู กยี่ วข้องได้มากพอสมควร รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ัย วงษ์ใหญ่ อาจารย์ ดร.มารุต พัฒผล

คานิยม หนังสือ การโค้ชเพ่ือการรู้คิด (Cognitive Coaching) เล่มนี้ เป็ นห นั งสื อ ที่ไ ด้ นา เ สน อ เนื้ อ หา ส าร ะท่ีมี ค วา ม สา คั ญแ ล ะน่ า สน ใ จ เหมาะสาหรับครูยุคใหม่ ท่ีจะทาหน้าท่ีเป็นโค้ชให้ผู้เรียนเกิดการคิด ไม่ว่าจะเป็น soft skills และ hard skills ของผู้โค้ช การตั้งคาถาม ทท่ี รงพลัง (power questions) และหัวข้ออื่นๆ ซ่ึงครูสามารถนาไปใช้ ไดอ้ ยา่ งหลากหลาย ขอเสนอแนะ ให้ครู และผู้สนใจทางการศึกษา ได้อ่าน และทาความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชเพ่ือการรู้คิด แล้วนาไปใช้ในการ พัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดขั้นสูง ซ่ึงเป็นทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ในอนาคตตอ่ ไป ดร.ศรสี มร พุ่มสะอาด อดีตทีป่ รกึ ษาด้านกระบวนการเรียนรู้ สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สารบญั หัวขอ้ หนา้ 1. แนวคิดหลกั การโคช้ เพอ่ื การรู้คิด......................................... 1 2. Soft Skills และ Hard Skills ของการโค้ชเพ่ือการรู้คิด...................................................... 7 3. กลไกของการโค้ช................................................................ 21 4. กระบวนการโคช้ ................................................................. 25 5. ธรรมชาติของผู้เรียนท่ผี โู้ คช้ ควรร.ู้ ....................................... 29 6. การให้ขอ้ มูลท่กี ระตุ้นการเรยี นรู.้ ........................................ 39 7. การสือ่ สารเชงิ บวก (Positive communication).............. 45 8. คาถามทที่ รงพลงั (Power questions).............................. 50 9. การสะท้อนคดิ (Reflection) ............................................. 64 10. การเรียนรู้ยคุ ใหม่จากการใสใ่ จของผ้โู ค้ช.......................... 73 11. การประเมนิ ผลการเรียนรู้ทเี่ สรมิ พลงั ............................... 93 บรรณานุกรม............................................................................107 ดรรชนคี าสาคัญ........................................................................109

บญั ชตี าราง ตาราง หนา้ 1 บทบาท teacher, facilitator และ cognitive coaching.. 6 2 ตวั อย่างคาถามจาแนกตามระดบั การคิด............................. 24 3 บทบาทผู้โคช้ จาแนกตามจริตของผู้เรยี น............................. 34 4 บทบาทผโู้ ค้ชจาแนกตามจริตของผู้เรยี น............................. 41 5 คากริยาทีใ่ ช้ในการตั้งคาถามตามลาดับขัน้ การรู้คดิ ............. 62

บัญชีแผนภาพ แผนภาพ หนา้ 1 จรณทกั ษะ soft skills ของการโคช้ เพ่ือการรคู้ ดิ .................. 11 2 Hard skills ของการโคช้ เพื่อการรูค้ ดิ ................................... 18 3 องคป์ ระกอบของการโค้ชเพ่ือการร้คู ิด.................................. 20 4 ลาดบั ขนั้ การร้คู ดิ ของ Bloom และ Anderson and Krathwohl............................................................................61 5 กระบวนการสะท้อนคิดของ Mental Model....................... 66 6 พฒั นาการของชมุ ชนแหง่ การเรยี นรเู้ ชิงวิชาชพี ..................... 75 7 การผสมผสานแนวคดิ ของชมุ ชนแห่งการเรยี นรเู้ ชิงวชิ าชีพ... 77 8 รปู แบบการประเมนิ ผลการเรียนรู้ที่เสรมิ พลัง...................... 94

1 1. แนวคดิ หลกั การโคช้ เพอื่ การรู้คดิ ความเปน็ มาของการโค้ชเพื่อการรู้คดิ การโค้ชเพอ่ื การรู้คิด (cognitive coaching) เป็นบทบาท ของผู้สอน ในโลกแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ ท่ีพัฒนามาจากบทบาท การสอน (teaching) ทผี่ ู้สอนทาหนา้ ท่ีใหข้ อ้ มูล เนอื้ หาสาระ ให้คาตอบ ท่ีถูกต้อง ใช้ส่ือสารทางเดียว กาหนดทิศทางการเรียน กาหนดงาน ให้ผู้เรียน กาหนดวัตถุประสงค์ กาหนดกิจกรรมการเรียนรู้และเกณฑ์ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ อน่ึงคาว่า “ผู้โค้ช” ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึง ผู้สอนท่ีใช้การโค้ชให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตาม ศกั ยภาพ นอกจากน้ีการโค้ชเพื่อการรู้คิดยังเป็นมากว่าการเป็น ผู้เอ้ืออานวยความสะดวกในการเรียนรู้ (facilitator) ท่ีผู้สอนมีบทบาท กระตุ้นใหม้ กี ารอภิปรายแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ กระตุ้นใหค้ ิดและตัง้ คาถาม ส่ือสารสองทางมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งประสานงาน ในกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถกาหนดวัตถุประสงค์และทิศ ทางการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนกาหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และเกณฑก์ ารวัดประเมินผลการเรยี นรู้ การโค้ชเพื่อการรู้คิด มุ่งเน้นการฝึก (training) หรือ กระบวนการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน ( individual) ให้มีความรู้

2 ความสามารถ การคิด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งแตกต่างจาก การปฏิบตั แิ บบดงั้ เดิม ทผ่ี ู้สอนเปน็ ผ้ทู าหน้าที่จัดการเรยี นรู้ให้กับผู้เรียน ท้งั ชน้ั เรียน ด้วยวธิ ีการเดียวกนั ภายในระยะเวลาท่เี ท่ากัน การโค้ชเพ่ือการรู้คิด มุ่งให้ผู้โค้ชใช้วิธีการฝึกสอน ท่ีหลากหลาย ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล จุดอ่อน และจุดแข็ง ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งมีความต้องการพัฒนาที่แตกต่างกัน ผู้เรียนเกิด การพฒั นาได้เต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ท่ีระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึด หลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญท่ีสุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นสามารถพฒั นาตามธรรมชาตแิ ละเต็มตามศักยภาพ” ความหมายของการโค้ชเพ่อื การรคู้ ดิ การโค้ช หมายถึง การเป็นคู่คิดของผู้ได้รับการโค้ช ในกระบวนการพัฒนาที่สร้างสรรค์ และกระตุ้นให้ผู้ได้รับการโค้ช ได้นาศักยภาพของตนเองออกมาใช้ได้อย่างเต็มท่ีท้ังชีวิตส่วนตัว และอาชีพการโค้ชเนน้ การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนา และการเปล่ยี นแปลงดา้ นดที ่ีเป็นรปู ธรรม

3 การโค้ชเพ่ือการรู้คิด หมายถึง กระบวนการฝึกสอน โดยผู้สอน ซ่ึงทาหน้าที่เป็นโค้ช ดึงศักยภาพของผู้เรียนด้านความรู้ ความสามารถ การคิด ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามทกี่ าหนดไว้ การโค้ช (coaching) เป็นกลไกเพ่ือเสริมสร้างและพัฒนา ผู้เรียน ให้มีความรู้ ความสามารถ การคิดขั้นสูง (higher – order thinking) มีวิธีการเรียนรู้ (learning how to learn) การตรวจสอบ ประเมนิ ตนเอง กาหนดทศิ ทางการพัฒนาตนเองได้ เปา้ หมายของการโค้ชเพอ่ื การรคู้ ดิ การโค้ชเพอ่ื การรู้คิด มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาศักยภาพ ด้านการคิดของผู้เรียน การใคร่ครวญตรวจสอบตนเองเพ่ือนาไปสู่ การพัฒนาอยา่ งตอ่ เนือ่ ง ไม่ใชเ่ ปน็ การอบรมสง่ั สอนโดยตรง แต่เป็นการ ใช้เทคนคิ วิธกี ารตา่ งๆ เช่น การตง้ั คาถาม การใหข้ ้อมลู ยอ้ นกลับ การให้ คาแนะนา การให้หลักคิด วิธีการคิด วิธีการเรียนรู้ ท่ีทาให้ผู้เรียน เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (inspiration) และนาไปสู่การแสวงหา ความรู้ การฝึกฝนทักษะ และการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม และให้ความสาคัญกับกระบวนการเรียนรู้และผลลัพธ์ ของการเรยี นรู้

4 หลักการโค้ชเพือ่ การรู้คิด หลักการโค้ช (coaching) กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียน ท่ีได้รับการโค้ช ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมาย อย่างมี ประสิทธิผล และมีความผูกพันอยู่กับการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้ผู้เรียน ได้ใช้ความคิด และหาคาตอบท่ีถูกต้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพ ไม่ใช่การ บอกคาตอบให้กบั ผู้เรยี น การโค้ชเพ่ือการรู้คิด เป็นมากกว่าการสอน (teaching) การโคช้ เพ่ือการรคู้ ิด มีลกั ษณะดังต่อไปน้ี 1. กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความต้องการ แรงจูงใจ คว าม ปร า รถ นา ทัก ษะ แล ะก ระ บ ว น กา ร คิด ท่ี จ ะน าไ ป สู่ การเรยี นรเู้ พื่อการเปล่ยี นแปลงที่ดีขน้ึ (Transformative learning) 2. ตั้งคาถามผู้เรียนด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง กระบวนการคิด ที่นาไปสู่การวางแผน การแก้ปัญหา และการ สร้างสรรค์ 3. สนบั สนนุ ผู้เรียนให้มีการกาหนดเป้าหมายของการ พัฒนาตนเอง รวมทั้งการวางแผน และการประเมนิ ผลความสาเร็จ 4. สัง เ ก ต แล ะ ป ร ะเ มิ น พั ฒ นา ก า ร ด้า น ต่ า ง ๆ ของผู้เรียนทีเ่ ป็นจดุ เนน้ ของการโค้ชในแตล่ ะคร้ัง

5 5. ประยุกต์เทคนิคการสอนต่างๆ มาใช้ในการโค้ช ผู้เรียน ให้เหมาะสมกับธรรมชาติและความต้องการของแต่ละคน ในลักษณะการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือผู้เรียน (scaffolding) ช้ีแนะ และชว่ ยเหลืออยา่ งเหมาะสม 6. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเช่ือม่ัน ความมุ่งม่ัน ในการปฏบิ ตั ิที่นาไปสกู่ ารพฒั นาทีด่ ีข้นึ 7. ดารงรักษาส่ิงท่ีดีๆ ของผู้เรียน และให้การ สนบั สนุนและพฒั นาอย่างต่อเนอื่ ง โดยไมต่ ดั สิน วิพากษ์ วิจารณ์ จับผดิ 8. ประเมินผลการโค้ช ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง และนาสารสนเทศมาพฒั นาผูเ้ รยี นอยา่ งต่อเน่ือง 9. การดาเนินการโค้ชบนพ้ืนฐานของการเคารพ ในศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ของผ้รู บั การโคช้ เช่น คนอเมริกันตรงไปตรงมา กล้าแสดงออก มีความ ยตุ ธิ รรม มคี วามเป็นประชาธิปไตย ต่อสู้เพื่อสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิ คนอน่ื คนญี่ปนุ่ มีความซ่ือสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความภักดี ต่อองค์กรมีความสามารถทางานเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่มีความประหยัด มคี วามภมู ิใจทเี่ กดิ เป็นชาวญีป่ ุ่น

6 ตาราง 1 บทบาท teacher , facilitator และ cognitiv บทบาทของผูส้ อน (teacher) บทบาทผู้เอื้ออานวยความสะดว ในการเรยี นรู้ (facilitator) 1. ใหข้ ้อมลู เนอ้ื หาสาระ 1. กระตุ้นใหม้ กี ารอภิปรายแลกเป 2. ใหค้ าตอบทถ่ี ูกตอ้ ง เรียนรู้ 3. สอื่ สารทางเดยี ว 2. กระต้นุ ใหค้ ดิ และตั้งคาถาม และทศิ ทางการเรียน 3. สื่อสารสองทางมีปฏิสัมพันธ์ 4. กาหนดงานใหผ้ เู้ รยี น กับผสู้ อนและผู้เรยี น 5. กาหนดวัตถปุ ระสงค์ 4. ประสานงานในกจิ กรรมการเรีย 6. กาหนดกิจกรรมการเรยี นรู้ กับผูเ้ รยี น และเกณฑก์ ารวดั ประเมินผล 5. ผู้เรียนสามารถกาหนดวตั ถปุ ระ การเรียนรู้ และทศิ ทางการเรียนรู้ 6. เปดิ โอกาสให้ผเู้ รยี นกาหนดกจิ ก การเรียนรแู้ ละเกณฑ์การวดั ประเมินผลการเรียนรู้

6 ve coaching วก บทบาทการโค้ชเพือ่ การรูค้ ิด Cognitive Coaching ปลยี่ น 1. พฒั นาความสามารถในการรับรู้ การคดิ และการตดั สินใจ 2. สร้างความรู้ใหม่จากการคิดไตรต่ รอง และการสะทอ้ นคิด (reflective thinking) 3. แลกเปลี่ยนความรู้ ความคดิ ยนรู้ 4. ใชส้ นุ ทรียสนทนา (dialogue) เพ่อื การเรียนรู้สกู่ ารเปลี่ยนแปลง ะสงค์ (transformative learning) 5. ใชค้ าถามทที่ รงพลัง (power questions) กรรม 6. ถอดบทเรยี น (lesson learned) 7. ผเู้ รียนวางแผนพัฒนาการเรยี นรขู้ องตนเอง

7 2. Soft skills และ Hard skills ของการโคช้ เพอื่ การรู้คดิ ทักษะเสริมการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ 1) ทักษะทางสังคม (soft skills) หรือ จรณ (อ่านว่า จะ ระ นะ) เป็นทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ ท่ีแสดงออกผ่านทาง EQ ซ่ึงอยู่ทางสมองซีกขวา เป็นความสามารถ ทางสังคม การจัดการตนเอง การควบคุมอารมณ์ การมองบวก การติดต่อส่ือสาร และความเป็นมิตร และ 2) ทักษะด้านความรู้ ทางวิชาการ (hard skills) จะต้องมีความรู้ ความสามารถท่ีกาหนดโดย เชาวป์ ญั ญา (IQ) ซ่ึงอยูท่ างสมองซีกซา้ ย จรณทักษะ (soft skills) 6 ด้าน สาหรับการโค้ช ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ประกอบด้วย 1) ทักษะการติดต่อส่ือสารระหว่าง บุคคล (interpersonal) 2) จิตวิญญาณของทีม (team spirit) 3) มารยาททางสงั คม (social grace) การสรา้ งความประทับใจเบื้องต้น วัฒนธรรมการสื่อสาร 4) การปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม องค์กร (culture etiquette) 5) ทักษะการต่อรอง (negotiation skills) การตอ่ รองเพอื่ ใหเ้ กิดประโยชนส์ ูงสุดทั้งสองฝ่าย 6) คุณลักษณะ ดา้ นพฤติกรรม (behavioral traits) ทศั นคติ แรงจูงใจ การจดั การเวลา

8 สาหรบั การโค้ชเพอ่ื การรคู้ ิด มจี รณทักษะ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. มีบุคลิกภาพท่ีดี บุคลิกภาพ คือ ภาพท่ีประทับใจ ผู้เรียนและชวนให้ติดตามบทเรียน เช่น การแต่งกายอย่างสุภาพ เรียบร้อย การยิ้มแย้มแจ่มใส การพูดด้วยคาสุภาพและให้เกียรติผู้รับ การโค้ช เป็นต้น บุคลิกภาพท่ีดีของผู้โค้ชทาให้เกิดความเจริญใจของ ผูเ้ รยี น 2. มีมารยาททางสังคม เคารพสิทธิของบุคคล เช่น การกล่าวคาขอบคณุ คาขอโทษ กบั ผ้เู รียน การสนทนาพูดคุยด้วยภาษา สุภาพ เป็นต้น การท่ีผู้โค้ชมีมารยาททางสังคมท่ีดี เป็นการสอนผู้เรียน ใหม้ ีมารยาททางสังคมท่ดี ตี ามไปด้วย เสมอื นลูกไม้หลน่ ไมไ่ กลตน้ 3. สอื่ สารอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ การส่อื สารเป็นหัวใจ สาคัญของการโค้ช การส่ือสารทด่ี ีจะต้องมีความชัดเจน กระชับ ถูกต้อง สุภาพ สร้างสรรค์ เช่ือถือได้ และมีความสมบูรณ์ การสื่อสารแบบ ดูกาลเทศะ อาจไม่พูดอย่างท่ีคิด สื่อสารตรงไปตรงมา คิดอะไร พดู อย่างน้ัน ส่ือสารอ้อม ส่ือสารเปน็ ทางการ สอื่ สารเป็นกันเอง 4. มีความสามารถในการใช้ภาษา โดยการใช้ภาษา ทางบวกในการโค้ช ที่ทาให้ผู้เรียนเกิดกาลังใจ เกิดความเช่ือมั่น และความภาคภูมิใจในตนเอง

9 5. มีมนุษยสัมพนั ธ์ดี สัมพันธภาพที่ดีเป็นปัจจัยทาให้ การโค้ชประสบความสาเร็จ เพราะการโค้ชเป็นเร่ืองของความสมัครใจ และร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้โค้ชและผู้เรียนเป็นสาคัญ ซึ่งไม่สามารถใช้ อานาจในการบงั คับได้ 6. การบริหารเวลา การวางแผนการทางานในเวลา ที่มีอยู่นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มีอยู่อย่างจากัด ด้วยการทาส่ิงต่างๆ ทีละอย่าง การทางานหลายๆ อย่างพร้อมกัน มีผลเสียต่อคุณภาพขอ งาน การมีสติอยู่กับงานท่ีปฏิบัติ ณ ปัจจุบัน คือส่ิงที่ดีท่ีสุด ไม่ยึดติด อย่กู ับอดีต และไม่ฟุ้งซ่านกับอนาคต 7. การตั้งคาถามและการฟัง เป็นทักษะพ้ืนฐาน สาคัญทผี่ ู้โคช้ จะตอ้ งมกี ารตั้งคาถามที่มีประสิทธิภาพจะช่วยกระตุ้นการ คดิ ขัน้ สูงของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี คาถามท่ีมีพลัง (power questions) มุ่งถามใหผ้ เู้ รียนคดิ วเิ คราะห์และแกป้ ัญหา ตลอดจนคาถามที่กระตุ้นให้ ผเู้ รยี นเกิดความสงสัยและเกิดคาถามในการเรยี นรตู้ อ่ ไป ส่วนการฟังน้ัน เป็นการเคารพผู้รับการโค้ช เปิดโอกาสให้กับตนเองได้เรียนรู้ และเป็น ทักษะท่ีทาให้ ผู้โค้ชเข้าใจแนวความคิดและวิธีการคิดของผู้รับการโค้ช การฟังให้เข้าใจ และจับประเด็นสาคัญได้ จะเป็นข้อมูลสารสนเทศท่ีดี สาหรับ การใหค้ าแนะนา ชแี้ นะ ในขณะทีท่ าการโค้ช

10 8. การคิด การโค้ชเพือ่ การรู้คดิ มคี วามจาเป็นอย่างย่ิง ท่ีผู้โค้ช จะต้องมีทักษะด้านการคิด เพราะถ้าผู้โค้ชมีทักษะการคิดแล้ว จะสามารถกระตุ้นให้ผู้รับการโค้ช มีทักษะการคิดตามไปด้วย ทักษะ การคิดที่สาคัญ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด แก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างเป็นระบบ การคิด สรา้ งสรรค์ ทกั ษะการคดิ เป็นส่ิงท่ีต้องได้รับการกระตุ้นและพัฒนาอย่าง ตอ่ เนือ่ ง โดยใช้การตั้งคาถาม การสังเกต การสะทอ้ นคดิ (reflection) 9. การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นทักษะสาคัญ สาหรบั การโคช้ เพอื่ การรคู้ ดิ ผูเ้ รียนซึ่งเป็นผู้รับการโค้ชจะต้องได้รับการ กระตุ้นการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซ่ึงนอกจากจะทาให้สามารถ แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดข้ึนได้แล้ว ยังก่อให้เกิดนวัตกรรมอีกด้วย หากผูโ้ คช้ เองมที กั ษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคแ์ ลว้ ย่อมทาการโค้ช ใหผ้ ู้เรยี นมีทกั ษะการแกป้ ัญหาอยา่ งสรา้ งสรรคไ์ ด้อย่างแนน่ อน

11 Soft skills มีบคุ ลกิ ภาพท่ีดี ของการโค้ชเพ่อื การรู้คดิ มีมารยาททางสังคม ส่อื สารอย่างมีประสทิ ธิภาพ มคี วามสามารถในการใชภ้ าษา มมี นษุ ยสมั พนั ธ์ดี การบริหารเวลา การตั้งคาถามและการฟงั การคดิ การแก้ปัญหาอยา่ งสร้างสรรค์ แผนภาพ 1 จรณทักษะ soft skills ของการโค้ชเพ่ือการรูค้ ิด

12 ดังน้ันผู้สอนที่จะเป็นโค้ชท่ีดี ควรมี Soft skills ในการ โค้ชดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเป็นส่ิงที่สาคัญและจาเป็นต่อการโค้ช เพราะทาให้ผู้เรียนเปิดใจรับฟังผู้โค้ช เกิดการรู้คิด พร้อมที่จะ ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ และปฏิบัติตามคาแนะนา หรือข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ทาให้เกิดการเปล่ียนแปลงท่ีดีข้ึน ท้ังในด้านความรู้ ความสามารถ การคดิ และคณุ ลกั ษณะตา่ งๆ การพฒั นาตนเองเก่ยี วกับ Soft skills ผู้โค้ชท่ีมีประสิทธิภาพมีการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับ soft skills ตา่ งๆ เพือ่ ให้การโค้ชบรรจุความสาเร็จ ซึ่งมีแนวทางดงั ตอ่ ไปนี้ 1. การตระหนักรู้ว่าเป็นส่วนหน่ึงของทีม ผู้โค้ช ควรตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้โค้ช (ผู้สอนคน อื่นๆ) ซึ่งผู้สอนทุกคน คือ ทีมโค้ช ท่ีจะช่วยกันพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุ เป้าหมายของการเรียนรู้ ความเป็นทีมมีลักษณะเป็นทีมเรียนรู้ (team learning) ที่มีการวิเคราะห์เป้าหมาย ดาเนินการ และประเมินผล ดว้ ยความรับผดิ ชอบตอ่ ความสาเร็จร่วมกัน 2. การมีวนิ ยั ในตนเอง เคารพ อดทน โค้ชต้องพัฒนา ตนเองในดา้ นความมีวินยั ในตนเอง (self - discipline) ซึง่ ประกอบด้วย

13 การนาตนเอง (self - direction) การควบคุมตนเอง (self - control) และการกากับตนเอง (self - regulation) ความเคารพบุคคลอ่ืน ซ่ึงทาให้การทาหน้าท่ีโค้ชเป็นไปด้วยความเท่าเทียมกันระหว่างผู้โค้ช และผู้เรียน ผู้โค้ชและผู้เรียนร่วมเรียนรู้ซ่ึงกันและกัน นอกจากน้ีผู้โค้ช ยงั ต้องพฒั นาตนเองในด้านความอดทนและความใจเย็น เพราะการโค้ช แต่ละคร้ังอาจต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ ดังนั้นหากผู้โค้ช ขาดความอดทน และใจร้อน จะทาใหก้ ารโค้ชไม่ประสบความสาเรจ็ 3. ทักษะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลรอบข้าง โค้ชควรพัฒนาตนเองในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น เพื่อเป็น การจัดการความรู้ที่ได้รับจากการโค้ช เช่น การแลกเปล่ียนความสาเร็จ ในการโ ค้ช ผู้เรียน เทคนิคการจูงใจผู้เรียน เป็นต้น ทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีทักษะย่อย ประกอบด้วย ทักษะการนาเสนอ ทักษะการส่อื สาร ทกั ษะการแสดงความคดิ เหน็ ทกั ษะการฟัง 4. การดาเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา การพัฒนา ตนเองด้านนี้มีความสาคัญมาก โค้ชต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ท่ีมีสติ และปัญญาอยู่ตลอดเวลา สติ คือ การรู้ตัว รู้เท่าทันความคิด และอารมณ์ของตนเอง ส่วนปัญญา คือ การคิดเป็น ที่อยู่บนพื้นฐาน ของการมีเหตุผล และการมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การพัฒนาสติ

14 และปัญญานั้น สามารถทาได้ทุกเวลา ทุกสถานท่ี และทุกกิจกรรม โดยไมจ่ าเป็นต้องละท้ิงหนา้ ทกี่ ารงานแต่อยา่ งใด นอกจากการพัฒนาตนเองทางด้านจรณทักษะ ดังกล่าวแล้ว โคช้ ยังตอ้ งมีคณุ ลักษณะเพมิ่ เตมิ อีกดังต่อไปนี้ 1. การยอมรับ (acceptance) ผู้โค้ชควรให้การยอมรับ ความหลากหลายของผู้เรียน ทั้งทางกายภาพ และทางความคิด การยอมรบั ผู้เรยี นทาใหผ้ ู้เรยี นรูส้ กึ วา่ ตนเองเปน็ คนสาคัญ 2. ความเข้าใจ (understanding) ผู้โค้ชควรเปิดใจรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เรียน เคารพสิทธิ มองผู้เรียนด้วยใจที่มีเมตตา โดยไม่ด่วนสรุปและตัดสินผู้เรียน เอาใจของผู้เรียนมาเป็นใจของตนเอง ใหม้ าก 3. ความจริงใจ (sincerity) ผู้โค้ชมีความจริงใจในการพัฒนา ผเู้ รยี นทุกคนโดยไมห่ วังสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณลักษณะ และคุณภาพด้านต่างๆ ที่เป็นรากฐานของการดาเนินชีวิต ในอนาคต

15 4. มีจริยธรรม (ethics) ด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง เป็นครูท่ีดี คิด พูด ทา ในสิ่งที่ตรงกัน รักและเมตตาผู้เรียนอย่างเสมอ ภาค สง่ิ สาคญั ประการหน่งึ ท่ตี อ้ งมี คือ การใหค้ วามยุตธิ รรมกับผู้เรียน ทกุ คน เพราะความยุตธิ รรม เปน็ พื้นฐานของคุณธรรมดา้ นอนื่ ๆ 5. มีความมั่นคงทางอารมณ์ (maturity) สามารถจัดการ อารมณ์ของตนเองได้ การแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการมีอารมณ์ดี ย้ิมแย้มแจ่มใส สนุกสนานร่าเริง เบิกบาน ช่วยทาให้จิตใจของผู้เรียน แชม่ ช่ืน เอื้อต่อการโค้ชมากขึน้ 6. มีค ว ามยื ดหยุ่ น (flexibility) โ ดย กา รไม่ ยึดติ ดกั บ กฎระเบียบ หรือกรอบกติกามากจนเกินไป ทาให้ผู้เรียนไม่ตึงเครียด ผ่อนคลาย และมีความสุขเมื่ออยู่กับผู้โค้ช และผู้เรียนสามารถรับรู้และ เปลย่ี นแปลงตนเองไปสู่เปา้ หมายได้ 7. การประเมินท่ีเสริมพลัง (empowerment evaluation) เป็นการประเมินท่ีเน้นการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียน มีความสุขจากการได้รับการสะท้อนผลการประเมิน สามารถใช้ สารสนเทศนาไปพฒั นาเรยี นรตู้ ่อยอดได้

16 นอกจากผู้โค้ชจะต้องมี “จรณ” หรือ soft skills แล้ว ยังต้องมีทักษะเชิงวิชาการ หรือ วิชา (hard skills) อีกด้วย ซ่ึงท้ัง soft skills และ hard skills เป็นปัจจัยเอ้ือให้การโค้ชดาเนินไปอย่าง ราบรืน่ และประสบความสาเร็จ ทักษะเชิงวิชาการ หรือวิชา (hard skills) ที่ผู้โค้ชต้องมี มีดังตอ่ ไปน้ี 1. ความรู้เกยี่ วกับการวิจัย (Research knowledge) - การวจิ ัยเพื่อพฒั นาการเรยี นรู้ของผู้เรียน - การวิจัยเพอื่ พัฒนาวิธกี ารโค้ชท่มี ปี ระสิทธภิ าพ - การวจิ ยั และพฒั นานวตั กรรม 2. ค ว า ม รู้ เ กี่ ย ว กั บ เ ท ค โ น โ ล ยี Technological knowledge) - การเขา้ ถงึ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี - การนาเทคโนโลยีมาใชใ้ หเ้ หมาะกบั การโคช้ - การนาเทคโนโลยีมาใช้กบั การจัดการเรยี นรู้

17 3. ความร้ใู นวธิ ีการสอน (Pedagogical knowledge) - การคัดสรรวธิ ีการจดั การเรยี นรู้ทเี่ หมาะกับผเู้ รยี น และบริบทของพ้ืนที่ - การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทตี่ อบสนอง ความสนใจ และผลลพั ธ์การเรยี นรู้ - การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง - การใหผ้ ลย้อนกลบั เชงิ สรา้ งสรรค์ 4. ความรู้เก่ียวกับสาระท่ีสอน รวมทงั้ ความรู้ใหม่ๆ (Content knowledge) - การบูรณาการสาระสาคัญ (main concept) ทีเ่ หมาะกับความสามารถของผู้เรยี นแต่ละคน - การปรับ (modify) สาระสาคญั ให้งา่ ย ผูเ้ รยี นทกุ คนสามารถเข้าถงึ ได้

18 สรุปแผนภาพองค์ประกอบของความรู้ทางวิชาการของผู้โค้ช ดงั แผนภาพต่อไปน้ี Research Technological knowledge knowledge Hard skills Pedagogical Content knowledge knowledge แผนภาพ 2 Hard skills ของการโคช้ เพือ่ การรู้คิด

19 การใชส้ ปั ปรุ ิสธรรม 7 ในการดาเนินการโค้ช เน่ืองจากการโค้ชเป็นกระบวนการที่อาศัยความสัมพันธ์ ส่วนบุคคล การรับฟัง และการยอมปฏิบัติตามเพื่อการปรับปรุง และพัฒนา ดังน้ันผู้โค้ชจึงจาเป็นต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความ เก่งในเชิงวิชาการ ซ่ึงหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 คือ หลักธรรมที่ช่วยช้ี แนวทางใหผ้ โู้ ค้ช สามารถปฏบิ ัตกิ ารโคช้ ได้ประสบความสาเร็จ และเกิด การพัฒนาทย่ี ่งั ยืน ดงั น้ี 1. รู้จักเหตุ สามารถคิดไตร่ตรองตามความเป็นจริง รถู้ ึงสาเหตุทีเ่ กิด 2. รู้จักการคาดผล สามารถคาดการณ์ถึงส่ิงท่ี จะเกิดขน้ึ 3. รู้จักตน สารวจวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตน และพฒั นาจดุ แข็งมาใช้ประโยชน์ 4. รู้จักประมาณ การรู้จักประมาณตนในการดาเนิน ชีวิต 5. รู้จักกาล สามารถบริหารเวลาของตนเอง และองค์กรไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ 6. รู้จักชุมชน เข้าใจและเรียนรู้สังคม นามาใช้ให้เกิด ประโยชน์ 7. รู้จักบุคคล การวางตน การเข้าสังคม ได้อย่าง เหมาะสม

20 จากการทไี่ ดก้ ลา่ วถงึ จรณทกั ษะ (soft skills) ทกั ษะเชิงวิชาการ (hard skills) และการใช้สัปปุริสธรรม 7 ของการโค้ช สามารถแสดง เป็นองค์ประกอบของการโค้ชเพ่ือการรู้คดิ ไดด้ งั แผนภาพต่อไปนี้ วชิ า จรณ สัปปุริสธรรม 7 แผนภาพ 3 องค์ประกอบของการโค้ชเพ่ือการรคู้ ดิ

21 3. กลไกของการโคช้ การโคช้ มีกลไกท่ีนาไปสู่กระบวนการโค้ชและความสาเร็จ ของการโค้ชดังตอ่ ไปนี้ 1. สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน (Inspiring your learners) ผู้โค้ชต้องใช้กลวิธี เทคนิคต่างๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนสนใจอยากเรียนรู้ กาหนดเป้าหมายของการ เรียนรู้ และอยากปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลว่าเป็นส่ิงที่มี ความสาคญั และมปี ระโยชน์ 2. ให้กาลังใจสนับสนุนผู้เรียน (encouraging your learners) ผู้โค้ชมีความจริงใจในการชมเชยผู้เรียน เม่ือผู้เรียนทาส่ิง ต่างๆ ได้สาเร็จ และให้กาลังใจเม่ือประสบกับความล้มเหลว โดยใช้ คาถาม เพ่ือการรคู้ ดิ ในการพัฒนาและปรับปรุง โดยไมว่ ิพากษ์ วจิ ารณ์ 3. แก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดให้ผู้เรียน (correcting your learners) ผู้โค้ชท่ีมีประสบการณ์สูง จะสามารถเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดให้กับผู้เรียนได้ โดยใช้คาถาม หรือการให้ผู้เรียนคิดหาแนวทางด้วยตนเอง การเสนอแนวความคิด โดยไม่ลงมือทาให้ เพราะทาใหผ้ ้เู รียนไม่ได้เรยี นรู้

22 4. สร้างความท้าทายให้ผู้เรียน (challenging your learners) ผู้โค้ชจาเป็นต้องทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกท้าทายในการ เรียนรู้ เพราะเมื่อผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าส่ิงที่เขาจะต้องเรียนรู้นั้น เป็นส่ิงที่ท้าทายความรู้ความสามารถของเขา จะทาให้เกิดความมุ่งมั่น ความอตุ สาหพยายามในการทีจ่ ะเรียนรู้ให้สาเรจ็ 5. ภาวะผู้นาทางวิชาการ (academic leadership) ผู้โค้ชที่จะทาการโค้ชได้ดีนั้น จาเป็นต้องมีภาวะผู้นาทางวิชาการ คือ การมีความรู้ในเน้ือหาสาระที่ตนเองจัดการเรียนรู้ และมีความสามารถ ในการนาความคิดรวบยอด หรือ concept ของความรู้น้ันมาใช้ในการ ปฏบิ ัติจริง 6. สุน ทรียสนทน า (dialogue) เป็นการสื่อสาร กบั ผูเ้ รยี น ด้วยจิตใจท่ีบรสิ ทุ ธิ์ ใชเ้ หตุผลหรือปัญญาในการพูด โดยไม่ใช้ อารมณ์หรือความรู้สึก รับฟังผู้เรียนด้วยใจที่เป็นกลางปราศจากอคติ ไม่ด่วนสวนกลับ ไม่ด่วนสรุป สุนทรียสนทนาเป็นปัจจัยของการเรียนรู้ สกู่ ารเปล่ียนแปลง (Transformative learning) 7. การถอดบทเรียน (lesson learned) เป็นการ สังเคราะห์องค์ความรู้ท่ีเกิดจากการปฏิบัติจริง เก่ียวกับการโค้ช เช่น เทคนิคการต้ังคาถาม วิธีการจูงใจ วิธีการให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

23 เป็นต้น ผลจากการถอดบทเรียนจะทาให้ผู้โค้ชมีองค์ความรู้ที่มาจาก การปฏบิ ตั ิ หรอื เรียกวา่ ปญั ญาปฏบิ ตั ิ และสามารถนาไปเรียนรู้ต่อยอด 8. ความผูกพันของผู้เรียนกับผู้โค้ช (engagement) การโค้ชเป็นความผูกพันส่วนบุคคล คือ เป็นส่ิงที่ไม่สามารถออกคาส่ัง หรือบังคับให้ปฏิบัติตามได้ ผู้เรียนท่ีมีความผูกพันกับผู้โค้ช จะรับฟังคา โค้ช (คาแนะนา) และนาไปปฏิบตั ิด้วยตนเอง 9. ก า ร ตั้ ง ค า ถ า ม ก ร ะ ตุ้ น ก า ร คิ ด ( thinking questions) เป็นหัวใจทส่ี าคัญของการโค้ช เพราะการโค้ชที่ดีจะต้องใช้ คาถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและพัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ือง การโค้ชท่ีดี เป็นมากกว่าการให้คาตอบที่ถูกต้อง หากแต่อยู่ที่การดึงศักยภาพของ ผ้เู รียนออกมา แลว้ ให้เขาพัฒนาด้วยตัวของเขาเองเต็มตามศกั ยภาพ

24 ตาราง 2 ตวั อยา่ งคาถามจาแนกตามระดับการคิด สาระสาคญั ความรู้ ความเขา้ ใจ ระดับการ สารเสพตดิ สารเสพตดิ สารเสพตดิ การนาไปใช คอื อะไร ทาให้เกิดโทษ เรามวี ธิ กี าร ต่อร่างกาย หลีกเลยี่ ง อยา่ งไร และป้องกนั ตนเอง ใหห้ า่ งไกล สารเสพตดิ อยา่ งไร

24 รคดิ / ตวั อย่างคาถาม การสรา้ งสรรค์ ช้ การวิเคราะห์ การประเมินคา่ เราควรมีวธิ ีการ ใหม่ๆ ในการ คนที่ใช้ นักเรียนคดิ วา่ ปอ้ งกนั ปัญหา สารเสพตดิ คนที่ใช้ การใช้สารเสพตดิ เป็นประจา สารเสพตดิ ในเดก็ และเยาวชน จะกอ่ ใหเ้ กิด เพอื่ ใหท้ างาน อย่างไร โทษตอ่ ตนเอง ไดม้ ากขนึ้ ครอบครวั เป็นส่งิ ท่ี และสังคม ถูกต้องหรอื ไม่ อย่างไร เพราะเหตใุ ด

25 4. กระบวนการโค้ช ขั้นตอนของการโค้ชที่จะบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) การ กาหนดเป้าหมาย 2) การตรวจสอบสภาพจริง 3) การกาหนดทางเลือก 4) การตัดสินใจ และ 5) การประเมินผลการโค้ช มีรายละเอียด ดงั ต่อไปนี้ 1. การกาหนดเปา้ หมาย (Goal) การกาหนดเป้าหมายของการโค้ชผู้เรียนแต่ละบุคคล มุ่งเน้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ ท้ังด้านการรู้คิด ทักษะกระบวนการ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิธีการต้ังเป้าหมายควรกาหนดพฤติกรรม การเรียนรู้ของผู้เรียน ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม สามารถสังเกตได้ หรอื วดั ได้ เชน่ - ผ้เู รยี นสามารถระบุสระในภาษาองั กฤษได้ - ผเู้ รยี นบวกเลขสองหลกั ได้ - ผูเ้ รียนทางานงานรว่ มกับผอู้ ่นื ได้ - ผ้เู รียนใช้ความพยายามในการปฏิบตั งิ าน - ผู้เรยี นช่วยเหลือแบ่งปันความรกู้ บั เพื่อนๆ

26 การกาหนดเป้าหมายของการโค้ชท่ีมีความชัดเจนและเป็น รูปธรรมสาหรับผู้เรียนแต่ละคน จะช่วยทาให้การโค้ชมีประสิทธิภาพ มากขึน้ กลา่ วคอื ทาให้ผูโ้ ค้ชทที่ าหน้าที่โคช้ มองเหน็ เป้าหมายในการโค้ช ของตนเองดว้ ย อกี ทง้ั ยงั ชว่ ยทาใหก้ ารประเมนิ ผลการโค้ชทาได้ง่ายและ ตรงประเดน็ 2. การตรวจสอบสภาพจรงิ (Reality) การทบทวนสภาพจริงเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนที่เป็นอยู่ ในปจั จุบนั วา่ เปน็ อย่างไร มีความต้องการพัฒนาหรือต้องได้รับการโค้ช ในประเด็นใด ซึ่งวิธีการตรวจสอบอาจเป็นการพิจารณาผลการเรียนรู้ ท่ีผ่านมา พฤติกรรมการเรียนรู้ที่สังเกตพบ หรือใช้วิธีการซักถาม แบบไม่เป็นทางการ ผลของการตรวจสอบสภาพจริงจะเป็นข้อมูล สารสนเทศสาหรับการกาหนดทางเลือกวิธีการโค้ช อีกทั้งการตรวจสอบ สภาพจริงชว่ ยยนื ยนั ความถูกตอ้ งของเป้าหมายการโคช้ ได้อีกดว้ ย 3. การกาหนดทางเลือก (Option) การกาหนดเทคนิควิธีการโค้ชบนพ้ืนฐานของสภาพจริง และตอบสนองเป้าหมายของการโค้ช เช่น การเลือกใช้เทคนิคสร้าง ความไว้วางใจ ด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใส พูดด้วยคาสุภาพ ไพเราะ

27 อ่อนหวาน หรือเทคนิคการต้ังคาถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด แสวงหา คาตอบ ค้นหาทางเลือก การตดั สินใจ และการแก้ปัญหา เปน็ ตน้ การกาหนดทางเลือกในการโค้ช ควรมีความสอดคล้องกับสภาพ ความต้องการได้รับการโค้ชของผู้เรียนแต่ละคน ซ่ึงมีความแตกต่างกัน ตลอดจนสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน สภาพอารมณ์ในขณะน้ัน (จริตในการเรียนรู้ หรือลลี าการเรยี นรู้) การกาหนดทางเลือกของการโค้ชที่ถูกต้อง ช่วยสนับสนุนให้การ โคช้ ประสบความสาเรจ็ คอื การเรยี นรู้และการคิดของผู้เรียน 4. การตดั สนิ ใจ (Will, Way, Forward) Will คอื การตั้งเป้าหมาย การมุ่งม่ันในการโค้ชเพ่ือให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ Way คือ แนวทางการปฏิบัติท่ีนาไปสู่ความสาเร็จ โดยมี เป้าหมายที่ชัดเจน และกาหนดข้ันตอนการประสบความสาเร็จ (Mind Stone) ท่ีจะบรรลุในแตล่ ะข้นั Forward คือ การทบทวนผลการปฏิบัติ รวมท้ังการเรียนรู้ และพัฒนาตอ่ ยอด

28 การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดสาหรับการโค้ช และลง มือปฏิบัติการโค้ชเพ่ือการบรรลุเป้าหมาย คือ การเรียนรู้และการคิด ของผ้เู รียน เกณฑ์การตัดสนิ ใจทางเลอื กทด่ี ที ส่ี ดุ มีดงั น้ี - เกิดประโยชนส์ งู สดุ ต่อผ้เู รยี น - ตอบโจทย์ความต้องการของผูเ้ รียน - เปดิ โอกาสใหผ้ ้เู รยี นคิดและตัดสินใจ - โคช้ แล้วผู้เรยี นมคี วามสขุ ในการเรียนรู้ - โค้ชแล้วผูเ้ รยี นเกดิ กาลังใจและพลงั การเรยี นรู้ 5. การประเมนิ ผลการโค้ช (Evaluation) การประเมินผลการโค้ช มีแนวคิดเพ่ือตรวจสอบว่าผู้เรียน ที่ได้รับการโค้ช มีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ ด้วยวิธีการประเมิน ตามสภาพจริง เป็นรายบุคคล เช่น การทดสอบ การซักถาม การประเมินผลงาน การสังเกตพฤติกรรม การสอบถามจากเพื่อนๆ ร่วมช้ันเรียน เป็นต้น แล้วนาผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียน อย่างตอ่ เน่อื ง

29 5. ธรรมชาติของผู้เรยี นท่ผี ูโ้ คช้ ควรรู้ เดก็ รุ่นใหม่ เป็น Generation Z เกดิ ระหว่าง พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน คนรุ่นน้ีเกิดใหม่น้อยลงเติบโตท่ามกลางการเล้ียงดูที่มีคุณภาพ มากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง พบปัญหาสมาธิส้ัน ภูมิแพ้ ผิวหนัง และไข้หวัด เพราะเกดิ มาในยคุ ท่มี มี ลพิษทางสิ่งแวดล้อม Generation Me (Millennial) ลกั ษณะนสิ ยั มองตนเองเป็นศนู ย์กลาง ยึดตนเองเปน็ หลกั ใหค้ วามสาคัญกับประโยชน์ตนเองเป็นเปา้ หมาย มองวิธกี ารทีต่ นเองจะบรรลุเปา้ หมายเปน็ สาคัญ ตดั ตนเองออกจากสงั คม ใช้ชีวติ สว่ นตัวอยู่กบั เพื่อนๆ มากกว่าครอบครวั สนใจเพ่ือนๆ ใครเด่น เท่ เฟ้ียว เป็นผนู้ าแฟช่ันและกจิ กรรมสุดเจ๋งกว่ากนั นติ ยสารไทม์ ฉัน ฉนั ฉัน มองตนเองมีความสาคัญมากท่ีสุด ตนเองเป็นศูนย์กลาง ของทกุ สงิ่ การทางานจะต้องไดร้ ับผลตอบแทน ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องพิจารณาประสิทธิภาพหรือผลงาน กาลังใหญ่คับโลก

30 Online เป็นผลมาจากปฏิกริ ยิ าทางเคมที างวทิ ยาศาสตร์ “เทคโนโลยี” เป็นตัวเร่งท่ีก่อให้เกิดปฏิกิริยานาไปสู่ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ด้วยพ้ืนท่ี เปิดกว้างและอิสระ ใครอยากทาอะไรก็ทาได้เต็มที่ ทาให้โลก Online เป็นแหล่งบ่มเพาะสร้าง Gen Me ออกมาจานวนมาก การนิยามไม่ได้ กาหนดอายแุ ต่นิยามโดยพฤติกรรมหลายอย่างบนโลก Online Gen X, Baby Boom ก็เป็น Gen Me ได้โดยไม่รู้ตัว โดยคนเข้ามากด Like มากเท่าไหรก่ ย็ งิ่ เท่มากขนึ้ ลักษณะของ Generation Me มองตนเองสาคัญท่ีสุด เป็นศูนย์กลางของทุกส่ิงทุกอย่าง มีความม่ันใจมาก เรียนรู้ได้รวดเร็ว พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับโลก และความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มองโลกในแง่บวก มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักปฏิบัติที่ดี สามารถ แกป้ ญั หาได้ มมุ มองหนึ่งเป็นเร่อื งทม่ี คี นกลา้ คดิ ออกมาให้คนอืน่ เหน็ การอยรู่ ่วมกับ Generation Me 1. ใหอ้ ิสระในการควบคุมตารางงานของตนเอง 2. กาหนดเกณฑ์และหลกั ในการพิจารณาที่ชดั เจน 3. ยดื หยุน่ สถานท่ีทางาน โดยเขา้ อนิ เทอรเ์ น็ต เฟสบุ๊ค ยทู ูป เวปไซตต์ ่างๆ เพอื่ คน้ หาข้อมลู ไอเดยี แรงบันดาลใจ การตดิ ต่องานผ่านสมารท์ โฟน ตามทต่ี นถนัด เพื่อผลงานทมี่ ีคณุ ภาพ

31 4. Update เติมความรใู้ หอ้ ย่างสมา่ เสมอ 5. Gen M กลัวมากทส่ี ดุ คอื ความล้าสมยั 6. การใช้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี เพ่ือนามาใช้ ในการทางานให้มีประสิทธภิ าพ 7. เปิดพนื้ ทใี่ ห้แสดงความคิดเห็น แต่ไม่จาเปน็ ต้องทุกเรื่อง 8. การเข้าถงึ บุคคลท่ีสามารถตดั สนิ ใจในการแกป้ ัญหา เพราะต้องการคาตอบท่แี ก้ปัญหาได้จริง 9. การให้อานาจ (empower) ในขอบขา่ ยหน้าท่ี ความรับผิดชอบ 10. การควบคุมคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลงาน สังคมก้มหน้า Gen Me ในสังคม online มีส่วนกาหนดระบบคิด พฤติกรรม และสังคม การใช้โทรศัพท์ เราไม่สามารถควบคุมกันได้ ไม่สามารถบังคับใช้โทรศัพท์ในเวลาอันควร สิทธิ เสรีภาพ ที่มีขอบเขต จะทาให้สังคมมีระเบียบ มีกติกาทาให้อยู่ได้อย่างสงบ ความมีระเบียบ จะสรา้ งความอดทน Multi Task การทางานหรือกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน เป็นภาพลวง ที่ดูเหมือนว่าเราจะสามารถทางานได้มากกว่าในเวลาเท่าเดิม การที่คน ตอ้ งแบง่ สมอง สมาธิ รา่ งกาย ให้ทางานหลายอย่างพร้อมกัน หรือสลับ

32 ทาไปมา ส่งผลให้คุณภาพของงานตกต่าลง และใช้เวลามากกว่า จะทางานทีละช้ิน โครงสร้างของสมองของคนทางานหลายอย่าง สมองส่วนหนา้ ตอ้ งการให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น ทาให้รู้สึกสมองล้าง่าย มีเพียง 2% ท่ีเป็นคนทางานหลายอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนรุ่น Generation Y หรือ Gen Me มีเพียง 2% ท่ีสามารถทางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การกด Me เอาไว้แชร์ จะก่อปัญหากัดกินสังคมไทย บ่มเพาะนิสัยการเคารพกฎหมาย ขจัดการหลีกเล่ียงกฎที่มีอยู่ เคารพ กฎเกณฑ์ทุกอยา่ ง จะทาใหส้ ังคมไม่ออ่ นแอ จริตในการเรียนรู้ จรติ (อารมณ์ทชี่ อบเกิดขึ้น) ของผู้เรยี นแต่ละคนมคี วามแตกตา่ ง กนั ซง่ึ มีอยู่ 6 แบบ ได้แก่ โทสจริต ชอบความเรว็ ชอบใหส้ รุป ไม่ชอบเยน่ิ เยอ้ โมหะจรติ งว่ งเหงาหาวนอน ชอบหลบั ศรทั ธาจริต เช่ือง่าย ตน่ื เตน้ พทุ ธจรติ ใฝร่ ู้ ช่างสงสัย ชอบซักถาม วิตกจรติ ลังเล ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ราคะจริต ชอบความสวยงาม มองภาพรวม

33 รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Grasha & Reichman แบง่ ออกเป็น 6 รูปแบบ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. แบบแข่งขัน มีลักษณะสาคัญคือ ชอบการเอาชนะ เพ่อื นๆ ในชั้นเรียน ชอบกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมีลักษณะของการแข่งขัน ต่างๆ 2. แบบอิสระ มีลักษณะสาคัญคือ มีความเช่ือม่ัน ในตนเอง ควบคุมตนเองได้ดี วางแผนการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ ดว้ ยตนเอง ไมช่ อบการควบคุมและสัง่ การ 3. แบบหลีกเล่ียง มีลักษณะสาคัญคือ ไม่สนใจปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ มักมีข้ออ้างเพื่อท่ีจะไม่ต้องปฏิบัติกิจกรรมที่ตนเอง ไม่ต้องการ 4. แบบพึ่งพา มีลักษณะสาคัญคือ ขาดความเช่ือมั่น ในตนเอง ต้องมีเพื่อนร่วมปฏิบัติกิจกรรมด้วย ต้องการได้รับการ เสริมแรงจากบคุ คลรอบข้าง 5. แบบร่วมมือ มีลักษณะสาคัญคือ ร่วมปฏิบัติกิจกรรม การเรยี นรูต้ า่ งๆ เช่น การแสดงความคิดเห็น การทางานกลุ่ม 6. แบบมีส่วนร่วม มีลักษณะสาคัญคือ เข้าไปมีส่วน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรม การเรียนรู้

34 เมื่อผู้โค้ชทราบจริตในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแล้ว จะสามารถใช้เทคนิควิธีการโคช้ ได้เหมาะสมกับจริตของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ผู้เรียนที่มีจริตเป็นโทสจริต ผู้โค้ชไม่ควรพูดมาก แต่ควรพูด ให้กระชบั ชัดเจน ตรงประเด็น ไม่ขยายรายละเอียด ถ้าผู้เรียนมีจริต เปน็ ราคะจรติ จะชอบฟงั คาพูดที่ออ่ นหวาน นุ่มนวล ไพเราะ เป็นตน้ ตาราง 3 บทบาทผู้โคช้ จาแนกตามจริตของผู้เรียน จรติ ของผู้เรยี น บทบาทผโู้ ค้ช โทสจรติ รวดเร็ว ชดั เจน ตรงประเดน็ ไม่อ้อมค้อม กระชบั ไมข่ ยายรายละเอยี ด โมหะจริต กระต้นุ ให้ต่นื ตัว กระตุน้ ให้กระฉบั กระเฉง สร้างความสนกุ สนานและท้าทาย ศรทั ธาจรติ อธบิ ายให้เหตผุ ล ยกตัวอยา่ งสนับสนุน แสดงตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง ชี้นาใหป้ ฏิบัติ ชใ้ี ห้เห็นประโยชน์

35 จรติ ของผู้เรยี น บทบาทผโู้ ค้ช พทุ ธจรติ อธบิ ายสาระสาคญั แนะนาแหล่งความรู้ วติ กจรติ ช้แี นะให้ลองปฏิบตั ิ ตั้งคาถามใหค้ ิด ราคะจริต ใหก้ าลังใจ เสริมแรงทางบวก ชมเชย กระตนุ้ ให้ตดั สินใจ ส่งเสริมให้ใช้เหตผุ ล ใช้ภาษาสุภาพออ่ นหวาน นมุ่ นวล ใหค้ วามสาคัญกบั อารมณ์และความรู้สึก

36 9 ลกั ษณะของผู้เรียนทไ่ี ดร้ ับการโคช้ (Coachee) 1. คนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) - จริงจังกับความรบั ผดิ ชอบ - ปรารถนาจะให้สิง่ ท่ีทาไม่มีข้อบกพร่อง - กากบั ตนเองดว้ ยมาตรฐานท่ีสงู - มีความรู้สกึ วา่ ตอ้ งทาได้มากกวา่ นี้ - ช้ขี ้อบกพร่องไดท้ นั ที 2. ผใู้ ห้ (Giver) - ตอ้ งใหผ้ ้อู ่นื อย่างเตม็ ท่กี ่อน จึงจะรับ - ชว่ ยเหลือ สร้างความสมั พันธท์ ี่ดี - เห็นอกเหน็ ใจผู้อ่ืน - สามารถใหใ้ นส่งิ ที่อกี ฝา่ ยต้องการจริงๆ 3. นักแสดง (Performer) - มีพลงั ชอบทางาน - นิสัยแข่งขันสูง - มคี วามทา้ ทายความสามารถของตนเอง - มงุ่ มัน่ สู่เป้าหมาย - เปน็ ผูน้ า

37 4. อารมณ์ศิลปิน (Romantic) - มีอารมณ์ศลิ ปิน - มุง่ มนั่ ในอุดมคติ หรอื งานอันเปน็ แกน่ แท้ - ความหมายของชวี ิต - เข้าใจและเกื้อหนุนผูอ้ ื่น 5. นักสังเกตการณ์ (Observer) - ดาเนนิ ชีวติ โดยวางตวั ห่างๆ - ชอบสงั เกตมากว่าตนเองเข้าไปเกย่ี วข้อง - อยู่อยา่ งพอเพียง - คดิ วเิ คราะห์ - ชอบความเป็นส่วนตวั 6. ผภู้ ักดี (Royal Skeptic) - แสวงหาแหลง่ ทีม่ าเพ่ือปอ้ งกนั - ชอบเกบ็ ตัว มีความกงั วล - ปอ้ งกันตนเอง - ถ้าเป็นมิตรใครจะมีความซื่อสัตย์ - ผกู พนั กบั กลมุ่ ที่เชื่อถือได้

38 7. ผเู้ สพ (Epicene) - มองโลกในแง่ดี - กระตือรือรน้ - หลบหลีกเก่ง - ไมช่ อบถกู บังคบั - มุง่ อนาคต - มีความคิดใหม่ - สร้างเครือข่ายได้ดี 8. ผ้ปู กป้อง (Protect) - มีความเข้มแขง็ มีพลัง - ชอบทาและมีความชดั เจน - ควบคุมตนเอง และอาจจะครอบงาผู้อน่ื - ใช้พลงั อานาจในตน 9. ผู้ประสานไมตรี (Mediators) - มีทักษะมนษุ ยสัมพนั ธ์ - ไม่ชอบความขดั แยง้ - ชอบสบายๆ และไปเรือ่ ยๆ - ชอบผัดผอ่ นสง่ิ ท่จี าเป็นตอ้ งทาของตนเอง - รอจนนาทสี ดุ ทา้ ย

39 6. การให้ข้อมูลทีก่ ระตุ้นการเรียนรู้ ก า ร ใ ห้ ข้ อ มู ล ที่ ก ร ะ ตุ้ น ก า ร เ รี ย น รู้ ข อ ง ผู้ เ รี ย น แ บ่ ง ไ ด้ 3 ประเภท ได้แก่ การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (feed - up) การให้ ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) และการให้ข้อมูลเพ่ือการเรียนรู้ต่อยอด (feed - forward) โดยการให้ข้อมูลกับผู้เรียนทั้ง 3 ประเภท มีจุดมุง่ หมายที่แตกต่างกนั ดงั นี้ Feed – Up การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (feed - up) เป็นการให้ ข้อมูลพื้นฐานของการเรียนรู้ ได้แก่ จุดประสงค์ การเรียนรู้ วิธีการ เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ส่ือการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ ภาระงาน (job and task) ตลอดจนวิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผล ที่ผู้โค้ช ตอ้ งแจ้งให้ผเู้ รยี นทราบก่อนท่จี ะเร่มิ การเรยี นการสอน นอกจากน้ีผู้โค้ชยังต้องสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ที่เน้น แรงจูงใจภายใน (inner motivation) ช้ีแจงให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในสิ่งที่ จะเรียนรู้ การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้เป็นส่ิงที่สาคัญมากของ กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะผู้เรียนได้ทราบข้อมูลที่สาคัญ ก่อนที่จะเริ่มเรยี น อีกท้ังยังมแี รงจูงใจและอยากเรยี นรู้