Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ศาสนพิธีและมารยาทไทย

ศาสนพิธีและมารยาทไทย

Description: ศาสนพิธีและมารยาทไทย.

Search

Read the Text Version

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม การรับพระราชทานส่งิ ของหลายส่งิ การรับพระราชทานส่งิ ของส่ิงเดยี ว การจัดโต๊ะหมใู่ นพิธีรับเครือ่ งราชอิสรยิ าภรณ์ รับมอบจากประธานพิธี 41

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย ๒.๔ การตง้ั โตะ๊ หมใู่ นการรบั เสดจ็ ฯ หรอื ตามเสน้ ทางเสดจ็ ฯ ถอื เปน็ การจดั โตะ๊ หมู่ รบั เสดจ็ ฯ อันเป็นการแสดงออกถงึ ความจงรกั ภกั ดขี องพสกนิกร ผซู้ งึ่ อยูภ่ ายใตพ้ ระบรมโพธสิ มภาร ได้แสดงออกในโอกาสที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมายังท้องถิ่นของตน ซง่ึ นบั เปน็ สิรมิ งคลแกต่ นเองและชมุ ชนที่ตนอยู่อาศัย การจัดโต๊ะหมู่รบั เสดจ็ ฯ มีวธิ ีการจัดตัง้ ดังนี้ การจดั โต๊ะหมู่บูชาในการรับเสดจ็ ฯ หรือตามเสน้ ทางเสดจ็ ฯ การจัดโตะ๊ หมู่บูชาในการรับเสดจ็ ฯ หรือตามเสน้ ทางเสดจ็ ฯ 42

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม ๒.๕ การตง้ั โตะ๊ หมใู่ นพธิ ถี วายสกั การะเนอื่ งในวนั สำ� คญั ของสถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ ในโอกาสต่าง ๆ เป็นการจัดกิจกรรมท่ีข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน มีความร�ำลึกถึง พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ได้ทรงปฏิบัติอันเป็น คณุ ประโยชนแ์ กป่ ระเทศชาตแิ ละประชาชน ซง่ึ ประชาชนชาวไทยไดจ้ ดั ขน้ึ ในสว่ นภมู ภิ าค อนั เปน็ การ ร�ำลกึ ถงึ พระองคอ์ กี โสดหนงึ่ เช่น วนั จักรี วันปยิ มหาราช ซึ่งมกี ารจดั โตะ๊ หมูเ่ พื่อถวายสกั การะ ดงั น้ี การจดั โตะ๊ หมูว่ ันจักรี การจดั โตะ๊ หมู่วันปยิ มหาราช ๒.๖ การต้ังโต๊ะหม่บู ูชาในพิธปี ระชุมหรอื สมั มนา ในพิธีประชุม สัมมนา อบรม หรือ การประสาทปริญญาบัตรที่ไม่มีศาสนพิธีในพิธีการ ดังน้ัน เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีท่ีมีต่อ สถาบนั ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตรยิ ์อนั ถือเปน็ ประเพณี และวฒั นธรรมอันดีงามของสังคมไทย และเพ่ือความเป็นสิริมงคลในการประกอบพิธีที่ไม่ใช่เกี่ยวกับนานาชาติและการประชุมปกติของ คณะกรรมการ นิยมตั้งธงชาติ โต๊ะหมู่ และพระฉายาลักษณ์หรือพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จ พระเจา้ อยู่หัว เพือ่ ใหค้ รบ ๓ สถาบนั คอื ชาติ ศาสนา และพระมหากษตั รยิ ์ ซ่งึ เปน็ การแสดงความ เคารพต่อสถาบันทั้ง ๓ ของสังคมไทย อันเป็นส่ิงท่ีดีงามและมีการปฏิบัติสืบสานต่อเนื่องกันมาจน เป็นประเพณีวัฒนธรรมอนั ดีงามของสงั คมไทย ทไ่ี ด้รว่ มกันอนุรักษ์ด้วยความภาคภมู ิใจในภมู ิปญั ญา แนวคิดท่มี ตี อ่ สถาบนั ของบรรพบรุ ุษ 43

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย การจัดโตะ๊ หมใู่ นห้องประชมุ ขอ้ ควรการปฏิบัติของประธานในพิธปี ระชมุ หรอื สมั มนา ๑) ประธานในพิธี จุดธปู เทียนบูชาพระรตั นตรัย โดยเรม่ิ จดุ เทยี นด้านซา้ ย และด้านขวา จดุ ธูปจากซา้ ย กลาง และขวา ตามลำ� ดับ ๒) ประธานในพธิ ี กราบ ๓ คร้งั (กราบเบญจางคประดิษฐ)์ ๓) เมื่อประธานบชู าพระรัตนตรัยเสรจ็ แลว้ ใหย้ ืนขนึ้ ถอยหลงั ๑ กา้ ว ยืนตรงค้อมศีรษะ ค�ำนับคร้ังเดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติ และพระฉายาลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ตามหนังสือ ท่ี ศธ ๑๓๐๓/๕๕๔๑ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๑ และหนังสือ ที่ พว. ๐๐๑/๓๗๓๕ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๑ เรื่อง ขอหารือเร่ืองการแสดงความเคารพ ณ ท่ีบูชา ดังภาคผนวก หนา้ ท่ี.......... ๒.๗ การตง้ั โตะ๊ หมบู่ ชู าหนา้ ศพ การจดั โตะ๊ หมลู่ กั ษณะนไ้ี มม่ รี ปู แบบการจดั ทแ่ี นน่ อน เพียงแต่จัดเพ่ือประดับดอกไม้ให้ดูสวยงาม ส่วนการบูชาจะใช้เครื่องทองน้อยหรือกระถางธูป เชิงเทียนก็ได้ตามแต่จะจัดหาได้โดยสะดวกไม่เดือดร้อน หากเป็นศพท่ีอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ หรือการจัดงานท่ีเป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของพระสงฆ์นิยมตั้งเคร่ืองทองน้อย ๒ ชุด 44

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ส�ำหรับบูชาศพชุดหน่ึง และส�ำหรับจุดแทนศพเพื่อบูชาธรรมอีกชุดหนึ่ง ใช้โต๊ะหมู่ ๒ ตัว สูงต่�ำ ลดหล่ันกันลงมา ตัวสูงวางด้านในใช้วางเคร่ืองทองน้อยส�ำหรับศพบูชาธรรม ตัวต�่ำอยู่ด้านนอก ส�ำหรับเจ้าภาพจุดเพ่ือสักการะศพ การต้ังเคร่ืองทองน้อยน้ันมีข้อสังเกต คือ จะบูชาสิ่งใด ให้หัน ดอกไม้ไปทางนั้น ส่วนการจัดโต๊ะหมู่บูชา อัฐิ รูปภาพ ป้ายช่ือ รูปหล่อ ในการท�ำบุญอุทิศให้จัด ลกั ษณะเดียวกัน อนง่ึ ในงานศพทัว่ ไป ท่บี ูชามกั มี ๒ ประเภท คอื ๑. ทบี่ ชู าสาธารณะ ๒. ที่บชู าในพธิ กี าร ประเภทท่ี ๑ ส�ำหรับบุคคลท่ัวไปจุดบูชาศพ นิยมใช้กระถางธูปขนาดใหญ่ จุดบูชาได้ ตลอดเวลา ปัจจุบันในส่วนกลางศาลาสวดอภิธรรมศพจะเป็นห้องปรับอากาศ ดังน้ัน จึงไม่อนุญาต ให้จุดธูปเทียนบูชาสาธารณะในศาลา เพียงแต่เข้าไปสักการะหรือกราบศพโดยไม่ต้องจุดธูปเทียน แตถ่ า้ เจา้ ภาพต้องการให้มจี ะจัดตง้ั ไวภ้ ายนอกศาลา ประเภทที่ ๒ ประธานพธิ หี รือเจา้ ภาพจดุ บูชาหรือสกั การะศพ หลักจากประธานจดุ เทยี น บูชาพระธรรม เบื้องหน้าพระสงฆ์ พระอภิธรรม การจัดโตะ๊ หมบู่ ูชาหนา้ ศพพระสงฆ์ 45

ศาสนพธิ ีและมารยาทไทย การจดั เตรียมอาสนส์ งฆ์ ๓. การตง้ั พดั ยศสมณศกั ดแ์ิ ละพดั รอง การจัดที่ตั้งพัดยศสมณศักด์ิและพัดรอง ให้ตั้งไว้ถัดลงมาจากโต๊ะหมู่บูชา ก่อนพระสงฆ์ เนื่องจากพัดยศสมณศักดิ์เป็นการแสดงถึงฐานันดรของพระสงฆ์รูปน้ัน ๆ ซึ่งการตั้งพัดรองหรือ ตาลปัตรก็พึงตั้งในลักษณะเดียวกับการต้ังพัดยศสมณศักดิ์ เพ่ือความเข้าใจง่ายขึ้นให้พึงจ�ำว่า พดั ยศสมณศกั ดห์ิ รือพดั รองใหต้ ้ังถดั จากโตะ๊ หมบู่ ูชา ๔. การวงสายสญิ จน์ การวงสายสิญจน์ให้เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา ลงด้านหลังพระพุทธรูปแล้ว ให้วงที่ฐาน พระพุทธรูปหรือขอบโต๊ะหมู่ตัวท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปโดยเวียนขวา ๓ รอบ ให้เหลือกลุ่ม สายสิญจน์ส�ำหรับพระสงฆ์ถือใส่พานวางไว้ด้านหน้าประธานสงฆ์ ควรวางพานรองสายสิญจน์ ไว้ท้ายอาสน์สงฆ์ด้วย ส�ำหรับในงานพระราชพิธี พระราชกุศล หรืองานเสด็จพระราชด�ำเนิน ให้วงท่ีขอบโต๊ะหมู่ตัวท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปแล้วผูกยึดท่ีหลักพัดยศสมณศักด์ิหรือพัดรอง เหลือกลุ่มสายสญิ จน์สำ� หรับพระสงฆ์ถือใส่พานวางไว้ด้านขวาหรือด้านซ้ายมือประธานสงฆ์ 46

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๕. การเดนิ สายโยงหรือแถบทอง การเดนิ สายโยงหรอื แถบทองหรือสายโยง เปน็ ส่ิงท่ีโยงมาจากศพ อัฐิ ภาพถา่ ย ปา้ ยอุทศิ ใหเ้ ดนิ ชดิ ฝาผนงั ถ้าเดนิ ผ่านโตะ๊ หมบู่ ูชา ให้ผา่ นดา้ นหลงั โต๊ะหมบู่ ชู า และให้เดนิ ตำ่� กว่าพระพุทธรปู ควรระวังไม่ให้สายโยงหรือแถบทองนั้นเกาะหรือเก่ียวกับโต๊ะหมู่บูชา ควรเดินให้ชิดไปทาง ประธานสงฆ์แล้วเชื่อมต่อท่ีพานภูษาโยง ซึ่งต้ังอยู่ด้านข้างประธานสงฆ์ ภูษาโยงนั้น ศาสนพิธีกร ควรวัดความยาว เม่ือลาดตั้งแต่ต้นอาสน์สงฆ์ถึงพระสงฆ์รูปสุดท้ายให้พอดี ท�ำเคร่ืองหมายไว้ว่า จะยกภษู าโยงลงมาจากพานเพื่อตง้ั ไว ้ ณ เบอ้ื งหน้าประธานสงฆ์ให้พอดกี ับการทอดผา้ บังสุกุล ๖. การตงั้ ครอบหรอื ภาชนะทำ� น้�ำพระพุทธมนต์ ภาชนะใส่น้�ำส�ำหรับท�ำน้�ำพระพุทธมนต์ ปัจจุบันนิยมใช้ครอบส�ำริดทองแดง หรือ ทองเหลือง หากไม่มีสามารถใช้บาตรหรือขันแทนได้ ภายในใส่น�้ำสะอาด และติดเทียนบริเวณ ฝาครอบส�ำหรับประธานจุดเพ่ือถวายประธานสงฆ์ท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ไว้ให้เรียบร้อย เมื่อประธาน สงฆ์เข้านั่งประจ�ำอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว จึงน�ำครอบน�้ำมนต์หรือภาชนะใส่น�้ำวางไว้เบ้ืองหน้า ประธานสงฆ ์ สำ� หรบั เทยี นทำ� นำ�้ พระพทุ ธมนต์ ควรใชเ้ ทยี นขผ้ี ง้ึ แท้ นยิ มใชเ้ ทยี นขนาดนำ�้ หนกั ๑ บาท หรือจะหย่อนหรอื เกินบา้ งตามความเหมาะสม ๗. การจัดเครอื่ งรบั รองพระสงฆ์ ตามประเพณีนิยมจะต้องมีการจัดเครื่องรับรองพระสงฆ์ และแขกผู้มาร่วมงาน แต่ในท่ีนี้ จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนที่ต้องเตรียมเครื่องรับรองส�ำหรับพระสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยเคร่ือง รับรองหลัก ดังน้ี น�้ำร้อน น้�ำเย็น ภาชนะใส่น้�ำด่ืมไว้ถวายพระสงฆ์ สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหน่ึง คือ กระโถน ซึ่งถือเป็นสิ่งจ�ำเป็น เน่ืองจากพระสงฆ์เมื่อนั่งในพิธีกรรม ไม่สามารถลุกเพื่อจะน�ำ ส่งิ ที่ไม่ใช้แลว้ ไปทิ้งท่ีอืน่ ได้ สำ� หรบั การจดั ตง้ั เครอ่ื งรับรองพระสงฆน์ ้ัน ใหต้ ้ังกระโถน น�้ำร้อน น�ำ้ เย็น โดยตงั้ กระโถนเปน็ หลกั ไวด้ า้ นใน ระวงั อยา่ ใหล้ ำ้� ไปดา้ นหลงั หรอื ออกมาดา้ นนอกมากนกั ใหพ้ ระสงฆ์ หยบิ ใช้ได้สะดวก และควรต้ังให้เปน็ แนวตรงกันทง้ั ดา้ นขวาง ด้านยาว เมอื่ พระสงฆเ์ ข้านง่ั ทีป่ ระจำ� ยงั อาสน์สงฆ์เรยี บรอ้ ยแล้ว ใหป้ ระเคนน้ำ� ร้อน น�้ำเยน็ ให้เรยี บรอ้ ย 47

ศาสนพธิ ีและมารยาทไทย ๘. เครือ่ งไทยธรรมสำ� หรับถวายพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพมักจะมีการถวาย เคร่ืองไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ดังนั้น ควรมีการจัดเตรียมเคร่ืองไทยธรรมไว้ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เมอื่ พระสงฆป์ ระกอบพธิ กี รรมทางศาสนา และฉนั ภตั ตาหารเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ ใหน้ ำ� เครอื่ งไทยธรรม มาวางไว้เบอื้ งหน้าพระสงฆ์ในพธิ ีทุกรปู แล้วเชิญประธานหรือเจ้าภาพประเคนพระสงฆ์ ๙. ภาชนะส�ำหรบั กรวดน�ำ้ การกรวดน�้ำเป็นการอุทิศแผ่ส่วนบุญกุศลที่ตนได้บ�ำเพ็ญ ส่งไปให้แก่บุรพชนตลอดจน สรรพสตั วท์ ้ังปวง เป็นการอธษิ ฐานใจในสง่ิ ท่ีประสงค์ให้สำ� เรจ็ ตามความปรารถนา ผเู้ ปน็ ศาสนพธิ ีกร จะต้องตรวจสอบภาชนะส�ำหรับใส่น�้ำกรวดให้เรียบร้อย แล้วจัดต้ังไว้ท้ายอาสน์สงฆ์เช่นเดียวกับ เคร่อื งไทยธรรม ๑๐. เชงิ เทียนและเทยี นชนวน เป็นอุปกรณ์ที่อ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เป็นประธานในพิธี หรือเจ้าภาพ ในการจุด ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ผู้เป็นศาสนพิธีกรจะต้องจัดเตรียมให้เรียบร้อย ดูการติดเทียนเข้ากับ เชิงเทียนให้แน่น เพราะอาจหลุดจากเชิงเทียนได้ จัดเตรียมไว้ท้ายอาสน์สงฆ์ เม่ือถึงเวลางานพิธี จะไดจ้ ุดแลว้ นำ� ไปมอบใหป้ ระธานหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบชู าพระรัตนตรัย ๑๑. การทาเชอ้ื ชนวน ธปู เทียน การทาเชื้อชนวนธปู เทียน เพ่ือต้องการใหส้ ่ิงที่จุดบูชานนั้ ติดไฟงา่ ย ดงั นั้น เมอื่ ประธาน จะจดุ บชู าสงิ่ ใด ศาสนพธิ กี รควรเตรยี มทาเชอ้ื ชนวนธปู เทยี น หรอื สงิ่ ทจ่ี ะจดุ ใหเ้ รยี บรอ้ ยกอ่ นถงึ เวลา พิธตี ามก�ำหนดการประมาณไมเ่ กินครึ่งชั่วโมง หากเตรียมไว้นานเกินไปจะทำ� ให้จุดตดิ ชา้ วิธที ำ� เชื้อชนวน (๑) เตรยี มขวดแกว้ ฝาโลหะขนาดพอสมควร ล้างเชด็ ใหแ้ หง้ และสะอาด (๒) นำ� เศษเทียนข้ผี ึง้ แทท้ ีเ่ หลือจากใช้ในพธิ ีต่าง ๆ แล้ว ตดั เป็นชิ้นเลก็ ๆ ใสไ่ วใ้ นขวด (๓) น�ำน�้ำมนั เบนซินใสล่ งไปในขวดให้ท่วมเทียน ปดิ ฝาทง้ิ ไวป้ ระมาณ ๑ คนื (๔) คนให้เทียนกับนำ้� มันผสมเป็นเนื้อเดยี วกัน ไม่ควรใหเ้ หลวหรอื ขน้ เกินไป 48

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม (๕) ปดิ ฝาเกบ็ ไว้ เมอ่ื ตอ้ งการนำ� มาใช้ ใหน้ ำ� ปลายธปู ชบุ ลงไปในขวดเชอ้ื ชนวน หลงั จากนนั้ พันด้วยส�ำลี และชุบลงไปในขวดเชื้ออีก ๑ ครั้ง น�ำมาแต่งให้สวยงาม และทาตรงบริเวณไส้เทียน ทป่ี ระธานจะจดุ ใหเ้ รียบร้อย ถา้ หากเชอื้ แหง้ หรอื เชื้อมีลักษณะแขง็ ให้เตมิ น้�ำมนั เบนซินลงไป หรือ นำ� ขวดเช้ือชนวนไปวางไว้ท่ีที่มอี ากาศรอ้ น ๑๒. การจดั เตรียมเวลาในพิธกี าร งานท่ีเป็นทางการ ควรมีการก�ำหนดรูปแบบท่ีชัดเจน เพ่ือให้มีการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่องมีการก�ำหนดเวลาในแต่ละข้ันตอนของงานท่ีแน่นอน ดังนั้น เร่ือง เวลา ถือเป็นส่ิงส�ำคัญ ศาสนพิธีกรจะต้องจัดล�ำดับเวลาของพิธีการน้ัน ๆ ให้เหมาะสม ไม่เกิดการสะดุดหรือรอคอยเวลา อันเปน็ การแสดงใหเ้ หน็ ความบกพร่องของผูด้ ำ� เนินการ เพราะบางพิธีเปน็ เวลาบงั คบั เช่น เวลาฤกษ์ เวลาพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร เป็นต้น ซ่ึงผู้ด�ำเนินการหรือศาสนพิธีกรควรค�ำนึงถึงเวลาแต่ละข้ันตอน ว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ดังน้ัน จึงควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพ่ือความสะดวกในการก�ำหนดเวลา เริ่มตน้ และเวลาส้นิ สดุ ของพธิ ี ดงั นี้ (๑) เวลาเร่มิ ตน้ พธิ ี ตั้งแต่ผรู้ ่วมพธิ พี ร้อมกนั (๒) เวลาทีป่ ระธานจะเดนิ ทางมาถงึ จุดธูปเทยี นบูชาพระรตั นตรยั และเรม่ิ เขา้ สู่พิธีการ (๓) เวลาพระสงฆเ์ จริญพระพทุ ธมนต์ สวดพระพุทธมนต์ หรอื แสดงพระธรรมเทศนา (๔) เวลาของพิธี ที่มีฤกษ์เริ่มต้น และสิ้นสดุ แหง่ ฤกษ์ เชน่ พธิ ีวางศลิ าฤกษ์ เปิดอาคาร (๕) เวลาทพี่ ระสงฆ์ฉันภตั ตาหาร (๖) เวลาส้นิ สุดของงาน การเตรียมเวลาน้ี เม่ือค�ำนวณและก�ำหนดเวลาแล้ว ให้ระบุไว้ในก�ำหนดการ และ ผู้ด�ำเนินการควรมีความรู้ในเรื่องพิธีแต่ละข้ันตอนด้วย เพื่อน�ำมาปรับให้ยืดหยุ่นได้ตามความ เหมาะสม ท้ังนี้เพ่ือให้การปฏิบตั ิพิธเี ป็นไปอยา่ งต่อเนอื่ ง เรียบรอ้ ย และสวยงาม 49

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย การปฏิบัตงิ านศาสนพิธี เมอื่ ถงึ เวลาจะเรมิ่ ปฏบิ ตั พิ ธิ ี ศาสนพธิ กี รควรแบง่ หนา้ ทปี่ ฏบิ ตั งิ านของแตล่ ะคน ใหเ้ รยี บรอ้ ย ใครมีหน้าที่ท�ำอะไร ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่จะต้องรับผิดชอบหน้าท่ีให้เรียบร้อยจนกว่าจะเสร็จพิธี ถ้าหากมีปัญหาหรือมีเหตุท่ีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบได้ จะต้องแจ้งให้ผู้ร่วมปฏิบัติทราบ หรือมอบให้ผู้อ่ืนปฏิบัติแทน เช่น การเชิญเทียนชนวน การเชิญพัดรองถวาย การจุดธูปเทียนบูชา การอาราธนาศีล การอาราธนาพระปริตร และการอาราธนาธรรม เปน็ ตน้ ๑. การเชญิ เทยี นชนวน เทียนชนวน คอื อุปกรณอ์ �ำนวยความสะดวกสำ� หรับประธานพิธใี ชใ้ นการจุดธปู เทยี นบูชา พระรัตนตรยั หรอื จุดในกรณอี ่นื ๆ ซึ่งท�ำใหก้ ารจดุ น้ัน ๆ งา่ ยข้นึ ศาสนพิธกี รผ้ปู ฏบิ ัติหน้าที่เชญิ เทียน ชนวนควรปฏบิ ัติ ดงั น้ี ๑) ถือเชิงเทียนชนวนด้วยมือขวา ใช้ฝ่ามือรองรับใต้ฐานเชิงเทียนชนวน ใช้นิ้วหัวแม่มือ จบั ด้านบนฐานเชงิ เทียนชนวน มอื ซา้ ยถือไฟแชก็ พรอ้ มจุด ยนื รออยู่ทา้ ยอาสน์สงฆ์ ๒) เริ่มพิธี ศาสนพิธีกรจุดเทียนชนวนท่ีบริเวณท้ายสงฆ์ แล้วเชิญเดินเข้าไปประมาณ กลางอาสนส์ งฆ์ ๓) เม่ือประธานพิธีน่ังอยู่ ให้เดินเข้าไปท่ีประธานสามารถมองเห็น (ประมาณบริเวณ กลางอาสน์สงฆ)์ ให้แสดงความเคารพประธานพิธี (ค�ำนับ วธิ ีการปฏิบตั ิ ให้ยืนตัวตรง สน้ เทา้ ชิดกนั ปลายเทา้ ห่างกันเล็กนอ้ ย มอื ขา้ งขวาถอื เทยี นชนวน ในลักษณะแขนตั้งฉากกับพืน้ เอียงปลายเทยี น ชนวนออกเล็กน้อย มอื ซ้ายถือไฟแช็ค คอ้ มชว่ งไหลแ่ ละศรี ษะลงเลก็ นอ้ ย แลว้ เงยหน้าขน้ึ ในทา่ ตรง) เม่ือประธานพิธีลุกเดินไปที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา หรือที่ซ่ึงต้องจุดธูปเทียน ศาสนพิธีกรพึงเดินไปถึงท่ี ประธานจะจดุ นง่ั คกุ เขา่ สง่ เทยี นชนวนทางดา้ นขวามอื ของประธานพธิ ี (ถ้าสถานทบี่ งั คบั ก็สามารถ ส่งทางด้านซ้ายมือของประธานพิธีได้ ไม่จ�ำเป็นต้องแทรกตัวของศาสนพิธีกร เพ่ือต้องการเข้าไปส่ง ทางด้านขวามือของประธานพิธี) ให้ปลายเทียนหันออกนอกตัวประธาน เพ่ือป้องกันน้�ำตาเทียน หยดใส่ประธาน แล้ววางมือให้เรียบร้อย ไม่ต้องประนมมือ แต่ให้เตรียมพร้อมที่จะรับเทียนชนวน คนื หลังจากประธานพิธีจดุ เรยี บรอ้ ยแลว้ ในกรณีที่พระสงฆ์เป็นประธานในพิธี เม่ือประธานในพิธีรับเทียนชนวนจากเจ้าหน้าที่ ใหเ้ จา้ หนา้ ทพี่ นมมอื ไวป้ ระธาน และวางมอื ใหเ้ รยี บรอ้ ย เมอ่ื ประธานสง่ เทยี นชนวนคนื ใหพ้ นมมอื ไหว้ และใช้มือขวารับเทียนชนวนคืน แล้วเดินเข่าถอยหลัง ๒ ก้าว ลุกข้ึน ยืนตรง (ไม่ต้องค�ำนับ) และ เดนิ ออกไปดบั เทยี นชนวนด้านท้ายอาสน์สงฆ์ 50

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม การเชญิ เทยี นชนวน การสง่ เทียนชนวน ในกรณีที่ประธานพิธีเข้ามายังบริเวณพิธีและเดินเข้าไปยังโต๊ะหมู่บูชาหรือสถานที่จุดบูชา สักการะทีเดียว ศาสนพิธีกรพึงจุดเทียนชนวนแล้ว เชิญตามประธานเยื้องไปทางขวามือประธาน เมื่อถึงสถานท่ีจุด ให้ศาสนพิธีกรน่ังคุกเข่าแล้ว ส่งเทียนชนวนให้ประธานพิธีทางด้านขวามือ ของประธาน ๔) เมอื่ ประธานจดุ ธปู เทยี นเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ สง่ เทยี นชนวนคนื ศาสนพธิ กี รพงึ รบั เทยี น ชนวนคืนด้วยมือขวา โดยการหงายฝ่ามือขวารองรับใต้ฐานเทียนชนวน แล้วใช้หัวแม่มือจับด้านบน ถอยออกมาไดร้ ะยะพอสมควร ลุกขึ้นยืนค�ำนบั ประธาน แล้วเดินถอยออกไปทางท้ายอาสน์สงฆ์ทนั ที ๕) เม่ือถงึ บริเวณทา้ ยอาสนส์ งฆจ์ งึ ดับเทียนชนวน ไม่ควรใช้เป่าหรอื ใช้มอื โบกหรอื สะบัด เพื่อดบั เทียน แต่ให้ใชว้ ธิ ีหาวัสดุ เชน่ ใบไม้ หรือวสั ดอุ ืน่ โดยวธิ จี ับหรอื รูดไส้เทียนใหด้ บั 51

ศาสนพิธีและมารยาทไทย อนึง่ ส�ำหรบั การส่งเทียนชนวนให้ประธานจดุ เทียนน้�ำมนต์ก็พงึ กระท�ำในลกั ษณะเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่า เมื่อประธานพิธีจุดเทียนท�ำน�้ำพระพุทธมนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ศาสนพิธีกร พึงเรียนให้ประธานพิธีประเคนภาชนะท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ด้วย และเมื่อถอยออกมาแล้วต้องรอดู จนกว่าพระสงฆ์จะท�ำน้�ำพระพุทธมนต์เสร็จ แต่ถ้าหากเทียนท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ดับก่อนที่พระสงฆ์ จะท�ำน�้ำพระพุทธมนต์เสร็จ ศาสนพิธีกรพึงจุดเทียนชนวนเข้าไปจุดเทียนน�้ำพระพุทธมนต์เอง โดยไม่ตอ้ งเชิญประธานพิธีเข้าไปจดุ อกี ประธานรับเทยี นชนวน 52

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๒. การเชิญพดั รองถวาย ในงานพิธีบางพิธีมีการจัดท�ำพัดรองหรือตาลปัตรท่ีระลึกถวายแด่พระสงฆ์ นิยมจุด ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วเชิญประธานพิธีถวายพัดรอง ด้วยเหตุผลว่า การท่ีจะกระท�ำ พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาควรบูชาพระรัตนตรัยก่อนการถวายสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้น ศาสนพิธีกร ควรจัดเตรียมพัดรองเพื่อถวายพระสงฆ์ โดยการจัดเรียงพัดรองวางบนตะลุ่มหรือพานหรือโตก โดยให้ใบพัดแยกกัน ดา้ มพดั ทับสลบั กนั ไป เวลาจะถวายให้ใชศ้ าสนพธิ กี ร ๒ คน คนหน่ึงเชิญพดั รอง เลม่ หนงึ่ เขา้ ไปทำ� ความเคารพประธานพธิ ี (คำ� นบั ) เพอื่ เขา้ ไปถวายพดั รองแดพ่ ระสงฆ์ และอกี คนหนงึ่ เชิญตะลุ่มหรือพานพัดรอง เดินตามผู้เชิญพัดรองเพื่อให้ผู้เชิญพัดรองหยิบพัดรองส่งให้ประธาน พิธีถวายพระสงฆ์ทีละด้ามตามล�ำดับ ต้ังแต่ประธานสงฆ์จนถึงพระสงฆ์รูปสุดท้าย เม่ือส่งพัดรองให้ ประธานถวายพระสงฆ์ครบแล้ว ใหท้ ำ� ความเคารพประธานพิธี (คำ� นบั ) พรอ้ มกันแลว้ ถอยออกไป ๓. การอาราธนาศีล อาราธนาพระปรติ ร และอาราธนาธรรม การอาราธนา คอื การนมิ นตใ์ หพ้ ระสงฆป์ ระกอบพธิ ตี า่ ง ๆ ในพธิ กี รรมทางพระพทุ ธศาสนา เช่น ให้ศีล เจริญพระพทุ ธมนต์ หรือสวดพระพุทธมนต์ หรอื แสดงพระธรรมเทศนา ในการอาราธนา แต่ละพิธกี รรม ศาสนพธิ ีกรผู้ท�ำหน้าทีอ่ าราธนาจะต้องศึกษาและมีความรใู้ นแตล่ ะพธิ ีว่า ลำ� ดบั หรอื ขั้นตอนไหน อาราธนาให้พระสงฆท์ ำ� อะไร ตามวัตถุประสงค์ของการบ�ำเพญ็ กุศลของพิธนี ั้น ๆ ๑) งานพิธีที่ไม่มีการเจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดพระพุทธมนต์ มีแต่เพียงการ เจรญิ ชัยมงคลคาถา หรือการถวายทานตา่ ง ๆ เชน่ การถวายสังฆทาน เม่อื ประธานพธิ จี ดุ ธปู เทยี น บชู าพระรตั นตรัยและกลบั ไปน่งั ท่นี ่งั เรยี บรอ้ ยแลว้ พึงเดนิ เขา้ ไปประมาณพระสงฆ์รูป ที่ ๕ หรอื ๖ จากทา้ ยสงฆ์ ยนื ตรงหนั หนา้ ไปทางประธาน ทำ� ความเคารพ (ถา้ ประธานเปน็ พระสงฆ์ พงึ ประนมมอื ไหว้ ประธานเป็นฆราวาส พึงค�ำนับ) แล้วหันหน้าไปทางประธานสงฆ์ในพิธีโดยยืนอยู่ท่ีเดิมน้อมไหว้ (การน้อมไหว้พระ วิธีการปฏิบัติ ให้ประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกันค้อมศีรษะลง หัวแม่มือจรด หว่างควิ้ ปลายนิว้ ช้แี นบสว่ นบนของหนา้ ผาก) แล้วยืนตวั ตรง ประนมมือระหวา่ งอก กล่าวค�ำอาราธนาศีล ไม่ควรเสียงดังหรือเบาเกินไป เมื่อกล่าวค�ำอาราธนาจบแล้ว ให้ยืน รอรบั ศีล เม่ือประธานสงฆ์ในพธิ ีใหศ้ ีล พงึ รับศีลโดยวา่ ตามไปทลี ะขอ้ ๆ จนถึงขอ้ สุดทา้ ย จากนน้ั ประนมมือฟังประธานสงฆ์พิธีสรุปท้ายศีลเรียบร้อยแล้ว พึงน้อมไหว้ จากนั้นหันไปท�ำความเคารพ ประธานพิธีแลว้ ถอยออกไปทางทา้ ยอาสนส์ งฆ์ 53

ศาสนพธิ ีและมารยาทไทย ส�ำหรบั งานพธิ ีหลวงหรืองานพิธีทเ่ี สด็จพระราชดำ� เนินในสถานที่ตา่ ง ๆ เมอ่ื อาราธนา แลว้ ไมต่ ้องเปลง่ เสยี งรบั ศีลตามประธานสงฆ์ พึงยนื สงบโดยรบั ศลี ในใจ จนประธานสงฆถ์ วายศลี จบ จึงหนั ไปถวายความเคารพองค์ประธานพิธี (การถวายความเคารพ ท�ำในลกั ษณะเดียวกับการคำ� นับ แต่ค้อมตัวต�่ำพอสมควร) แล้วถอยออกไปทางท้ายอาสน์สงฆ์ เพื่อเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงานท่ี เกยี่ วขอ้ งต่อไป ๒) งานพธิ ที มี่ กี ารเจรญิ หรอื สวดพระพทุ ธมนตอ์ ยา่ งเดยี ว ศาสนพธิ กี รจะตอ้ งอาราธนา ศีล และอาราธนาพระปริตร การอาราธนาศีลและอาราธนาพระปริตรพึงปฏิบัติเหมือนข้อ ๑ คือ เมอ่ื ทำ� ความเคารพประธานพธิ แี ลว้ หนั ไปประนมมอื นอ้ มไหวป้ ระธานสงฆใ์ นพธิ ี กลา่ วคำ� อาราธนาศลี ประธานสงฆ์กล่าวสรุปศีลจบ ศาสนพิธีกรน้อมไหว้แล้ว กล่าวค�ำอาราธนาพระปริตร เมื่อกล่าว ค�ำอาราธนาพระปริตรจบ น้อมไหว้ไปทางประธานสงฆ์ในพิธี หันไปท�ำความเคารพประธานพิธีแล้ว ถอยออกไปทางทา้ ยอาสนส์ งฆ์ และคอยปฏบิ ตั ิงานในขน้ั ตอนต่อไป ๓) งานพธิ ที ม่ี กี ารเจรญิ พระพทุ ธมนตห์ รอื สวดพระพทุ ธมนต์ ทม่ี กี ารแสดงพระธรรม เทศนารวมอยู่ในพิธีน้ันและต่อเน่ืองกัน ศาสนพิธีกรพึงปฏิบัติโดยอาราธนาพระปริตรให้พระสงฆ์ สวดพระพทุ ธมนตห์ รอื เจรญิ พระพทุ ธมนตก์ อ่ น เมอื่ พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนตห์ รอื เจรญิ พระพทุ ธมนต์ จบแล้ว ก่อนเร่ิมพิธีแสดงพระธรรมเทศนา ประธานจุดเทียนส่องธรรม และเครื่องทองน้อยบูชา ธรรมศาสนพิธีกรพึงนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งยังธรรมาสน์เทศน์แล้ว ศาสนพิธีกรจึงอาราธนาศีลและ อาราธนาธรรม ตามลำ� ดับ เมอ่ื พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนาจบ ศาสนพธิ กี รพงึ เขา้ ไปรบั พดั รองและคมั ภรี เ์ ทศน์ ออกมาทางทา้ ยอาสน์สงฆ์ และควรจดั ผู้ช่วยศาสนพิธกี รเขา้ ไปดูแลพระสงฆ์ลงจากธรรมมาสน์ดว้ ย อนงึ่ ถ้าพธิ ีแสดงพระธรรมเทศนาจัดกอ่ นพิธีเจรญิ หรือสวดพระพทุ ธมนต์ ศาสนพิธกี ร พึงอาราธนาศีล รับศีล จบแล้ว จึงอาราธนาธรรม ตามล�ำดับ และต้องเผดียงพระสงฆ์องค์แสดง พระธรรมเทศนาใหท้ ราบว่า ในกรณนี ี้ ให้อนโุ มทนา (ยถา วาริวหา....) บนธรรมาสน์ ดังน้ัน ศาสนพธิ กี รจงึ ตอ้ งเชญิ ทก่ี รวดนำ�้ ไปใหป้ ระธานในชว่ งน ี้ และเมอื่ ถงึ เวลาพระสงฆเ์ จรญิ พระพทุ ธมนต์ หรือสวดพระพทุ ธมนต์ จึงอาราธนาพระปรติ รตอ่ ไป โดยไม่ต้องอาราธนาศลี อกี ๔) งานพิธีท่ีมีการแสดงพระธรรมเทศนาอย่างเดียว หรืองานมีหลายพิธี แต่จัด คนละเวลา พึงถือวา่ เป็นคนละงาน คนละตอน การอาราธนาหรอื การจุดธปู เทยี นบูชา พงึ กระทำ� โดย แยกปฏบิ ัตเิ ป็นคนละตอน 54

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม การอาราธนาในพธิ แี สดงพระธรรมเทศนา มขี อ้ ปลกี ยอ่ ยอกี คอื งานใดทปี่ ระธานพธิ กี ด็ ี ศพก็ดี อัฐิก็ดี หรือผู้ล่วงลับ ที่เป็นพระสงฆ์ เม่ือศาสนพิธีกรอาราธนาศีล และรับศีลจบแล้ว รอให้ประธานและ/หรือเจา้ ภาพจดุ เครื่องทองนอ้ ยบชู าธรรม และประธานหรอื เจา้ ภาพจุดเครอื่ งทอง นอ้ ยหน้าศพ หรืออัฐิ เพ่ือบูชาธรรมแทนอฐั ิหรอื ผทู้ ี่ล่วงลบั ไปแล้ว กอ่ น จึงอาราธนาธรรมต่อไป การอาราธนาศีลในงานพิธี ๔. การจัดเตรยี มอาหารและจตุปจั จยั เครอื่ งไทยธรรม ในงานพิธีที่นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญหรือสวดพระพุทธมนต์ และมีการถวายอาหาร ศาสนพิธีกรควรประสานเตรียมการเรื่องอาหารถวายพระสงฆ์ให้เรียบร้อยก่อนพระสงฆ์จะเจริญ หรือสวดพระพุทธมนต์จบ เมื่อพระสงฆ์สวดบทถวายพรพระ (พาหุง ฯ) ศาสนพิธีกรพึงจัดผู้ช่วย หรือเจ้าหน้าที่ยกอาหารมาต้ังไว้เบ้ืองหน้าพระสงฆ์พร้อมทั้งน้�ำดื่ม และจัดโต๊ะส�ำหรับต้ังอาหารบูชา พระพทุ ธใหเ้ รยี บรอ้ ย เมอื่ พระสงฆเ์ จรญิ หรอื สวดพระพทุ ธมนตจ์ บแลว้ ศาสนพธิ กี รพงึ ทำ� ความเคารพ และเชิญประธานพิธีและผู้มีเกียรติประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ หากประธานพิธีเป็นพระสงฆ์ ศาสนพธิ ีกรยกอาหารเพ่ือใหป้ ระธานประเคนถวายพระสงฆ์ด้วย 55

ศาสนพิธแี ละมารยาทไทย การจัดเตรียมและยกอาหารน้ี หากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารรวมกันเป็นวงหรือเป็นโต๊ะ ควรรอให้พระสงฆ์เจริญหรือสวดพระพุทธมนต์จบแล้ว และน่ังเป็นวงหรือนั่งประจ�ำท่ีโต๊ะก่อน แลว้ จงึ ยกอาหารมาให้ประธานหรอื เจา้ ภาพประเคนพระสงฆ์ เมื่อศาสนพิธีกรสังเกตเห็นว่า พระสงฆ์ฉันภัตตาหารคาวเรียบร้อยครบทุกรูปแล้ว พึงยกภัตตาหารคาวออกพร้อม ๆ กัน และยกภัตตาหารหวานเขา้ ไปต้ังครบทุกรปู แล้ว เชิญประธาน และผมู้ เี กยี รตมิ าประเคนภตั ตาหารหวานพรอ้ มกนั อกี ครงั้ หนง่ึ แตใ่ นบางกรณปี ระธานและผมู้ เี กยี รติ ต้องท�ำกิจอย่างอ่ืน ไม่สามารถมาถวายภัตตาหารหวานได้ ศาสนพิธีกรพึงถวายเอง เพ่ือพระสงฆ์ จะได้ไม่ต้องรอ ในระหว่างท่ีพระสงฆ์ฉันภัตตาหารศาสนพิธีกรพึงท�ำหน้าท่ีปฏิบัติพระสงฆ์ด้วย ควรส�ำรวจดูว่า พระสงฆ์ต้องการส่ิงหนึ่งสิ่งใดเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น อาหาร น�้ำด่ืม กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น จะได้จัดหามาถวายเพิ่มเติม มารยาทอย่างหนึ่งที่ศาสนพิธีกรต้องพึงระวัง คือ ก่อนจะยก ภัตตาหารคาวหรือหวานเข้า - ออก ต้องรอให้พระสงฆ์ฉันเสร็จครบทุกรูปก่อน (ซ่ึงตามธรรมเนียม หรือประเพณีปฏิบัติของศาสนพิธีกรท่ีปฏิบัติสืบต่อกันมาให้ใช้วิธีสังเกตประธานสงฆ์ในพิธีเป็นหลัก เน่ืองจากธรรมเนียมของพระสงฆ์ให้พระสงฆ์ผู้อาวุโสน้อยสังเกตพระสงฆ์ผู้มีอาวุโสมากกว่า และให้พระสงฆ์ผู้มีอาวุโสมากกว่าเอ้ือเฟื้อแก่พระสงฆ์ผู้มีอาวุโสน้อยกว่า ด้วยการฉันภัตตาหาร คอยพระสงฆร์ ปู อนื่ ๆ เมอื่ ประธานสงฆเ์ หน็ วา่ พระสงฆส์ ว่ นใหญฉ่ นั ภตั ตาหารเสรจ็ แลว้ จะแสดงอาการ ใหศ้ าสนพธิ กี รหรอื ผทู้ ำ� หนา้ ทปี่ ฏบิ ตั พิ ระสงฆไ์ ดท้ ราบ ดว้ ยอาการรวบชอ้ นหรอื ปดิ ฝาสำ� รบั ภตั ตาหาร ให้ผู้ปฏิบัติเห็น) เน่ืองจากหากยกภัตตาหารเข้า – ออกในขณะที่พระสงฆ์บางรูปยังฉันไม่เสร็จ จะเปน็ เสมอื นการเร่งพระสงฆ์ ซ่งึ ถอื เปน็ การเสยี มารยาทของศาสนพธิ กี ร จตุปจั จยั เครื่องไทยธรรม จะต้องจดั เตรยี มวางไว้ทีโ่ ตะ๊ ด้านท้ายอาสน์สงฆ์กอ่ นเรม่ิ พธิ ีเสมอ เมื่อยกส�ำรับภัตตาหารออกหมดแล้ว ศาสนพิธีกรพึงท�ำความสะอาดอาสน์สงฆ์ ซ่ึงอาจเปื้อนหรือ เปยี กนำ้� เสรจ็ แลว้ ยกเครอื่ งไทยธรรมมาวางเรยี งไวใ้ หส้ วยงามเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ยเบอื้ งหนา้ พระสงฆ์ หากมีแจกันดอกไม้ ก�ำดอกไม้ พวงมาลยั ใหว้ างเปน็ อันดบั แรกแลว้ จึงวางสิ่งอ่นื ๆ ตอ่ ไป (การวางให้ วางหนั ดอกไม้เขา้ หาพระสงฆ์เนอื่ งจากเป็นการถวายเคร่ืองไทยธรรมดว้ ยความเคารพ ถ้าประธานพธิ ี เป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่ให้หันดอกไม้มาทางประธานพิธี) เม่ือวางจตุปัจจัยไทยธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เชญิ ประธานพธิ แี ละผมู้ เี กยี รตมิ าประเคนจตปุ จั จยั ไทยธรรม โดยการประเคนดอกไมก้ อ่ นแลว้ ประเคน สงิ่ อน่ื เป็นล�ำดบั ไป อน่งึ เปน็ ธรรมเนยี มท่ีเจา้ ภาพจะถวายปจั จยั ในการบำ� เพ็ญกุศลดว้ ย ศาสนพธิ กี รพงึ เตรยี ม ใบปวารณาเขียนจ�ำนวนเงินและช่ือเจ้าภาพ จัดใส่ซองให้เรียบร้อย และรวมถวายในเวลาที่ถวาย เคร่ืองไทยธรรมน้ีด้วย ส่วนปัจจัยหรือเงินท่ีจะถวาย พึงมอบให้ไวยาวัจกรรับไป โดยให้เซ็นชื่อรับ ในบัญชพี ระสงฆ์ เพือ่ ป้องกันปญั หาซง่ึ อาจจะเกดิ ขึน้ แก่ศาสนพธิ กี รได้ 56

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม การจดั เครอ่ื งไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ๕. การประเคน การประเคนพระสงฆ์ จะเป็นชายหรือหญิงไม่มีห้าม แต่ต้องท�ำให้ถูกลักษณะของการ ประเคน คอื (๑) ส่ิงของท่ีจะประเคนน้ัน ต้องไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป เป็นสิ่งของที่คนปกติ คนเดียวยกไหว โดยตอ้ งยกส่งิ ของนน้ั ให้ขึ้นพน้ จากพื้นทสี่ ่ิงของน้ันตั้งอยู่ (๒) ผู้ประเคนต้องเข้ามาในหัตถบาส คือ อยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนไม่เกิน ๑ ศอก หรือพงึ นำ� ของประเคนเขา้ ไปใหใ้ กล้พระผูร้ บั ประเคนประมาณ ๑ ศอก จะนั่งหรอื ยนื แล้วแต่ สถานท่ที ่พี ระภิกษนุ ัน้ อ�ำนวย (๓) ผปู้ ระเคนน้อมส่ิงของนนั้ เขา้ มาถวายดว้ ยกริ ยิ าอาการแสดงความเคารพ (๔) กิริยาอาการท่ีน้อมส่ิงของเข้ามาถวายน้ัน จะส่งถวายด้วยมือก็ได้ หรือจะตัก ส่งถวายดว้ ยของเนอ่ื งดว้ ยกาย เช่น ใช้ทัพพีตกั ถวายก็ได้ (๕) พระภิกษผุ ู้รับประเคน จะรับดว้ ยมอื ก็ได้ ผ้าทอดรับกไ็ ด้ หรือภาชนะรบั เชน่ บาตรหรือจานรับส่ิงของทเี่ ขาตักถวายกไ็ ด้ ผปู้ ระเคน ตอ้ งเขา้ ไปอยใู่ นทใ่ี กลร้ ะยะดงั กลา่ ว แลว้ ยกสง่ิ ของใหพ้ น้ ขน้ึ จากพน้ื แลว้ นอ้ ม ถวายส่งิ ของท่ีต้องประเคน คือ ส่ิงทจ่ี ะพึงบรโิ ภค เชน่ อาหาร นำ้� ร้อน นำ�้ เย็น เป็นตน้ เมือ่ ประเคน แล้วอย่าไปจับต้องหรือเลื่อนหากจะมีการเลื่อนส่ิงหนึ่งสิ่งใดพระสงฆ์จะเป็นผู้เล่ือนเอง เนื่องจาก เม่ือจบั ต้องแลว้ จะตอ้ งประเคนใหม่ ถ้าส่ิงของน้ันไมใ่ ช่ส่งิ ของทีใ่ ชบ้ ริโภคก็ไม่ต้องประเคน 57

ศาสนพิธีและมารยาทไทย ๖. การเชญิ ทีก่ รวดนำ้� เป็นธรรมเนียมอย่างหน่ึงของผู้ท�ำบุญหรือบ�ำเพ็ญกุศล เมื่อพิธีการต่าง ๆ ด�ำเนินการไป จนถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีการกรวดน�้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติสนิทมิตรสหายและสรรพสัตว์ ศาสนพิธีกรต้องเตรียมที่กรวดน�้ำ โดยท�ำความสะอาดและใส่น้�ำพร้อมต้ังไว้ที่โต๊ะเคร่ืองไทยธรรม ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ เม่ือประธานพิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรมเสร็จและกลับไปน่ังเรียบร้อยแล้ว ศาสนพิธีกรพึงเชิญที่กรวดน้�ำด้วยมือซ้าย ประคองด้วยมือขวาให้มั่นคง เดินเข้าไปใกล้จะถึง ประธานพิธี ท�ำความเคารพ (ค�ำนับ) นั่งคุกเข่าเดินเข่า (การเดินเข่า วิธีการปฏิบัติ ให้น่ังตัวตรง ปลายเท้าตั้ง และใช้เข่าเดินไปข้างหน้า ห้ามลากปลายเท้าโดยเด็ดขาด หากในมือถือส่ิงของ ให้ถือลักษณะข้อศอกต้ังฉากกับพ้ืน หากไม่มีสิ่งของในมือ ให้ปล่อยมือไว้ข้างล�ำตัว ปลายนิ้วแตะ ตะเข็บกางเกงด้านข้าง) เข้าไปทางด้านหน้า โดยให้เย้ืองไปทางเข่าซ้ายของประธานพิธีเล็กน้อย ไม่ชิดหรือห่างเกินไป พอให้ประธานพิธีจับที่กรวดน้�ำได้สะดวก ถือที่รองรับน้�ำไว้ด้วยมือทั้งสอง ย่ืนให้ประธาน ไม่สูงหรือต่�ำเกินไป พอให้ประธานพิธีเทน�้ำกรวดได้โดยไม่ต้องก้มลงหรือยกแขนสูง กว่าปกติ เมือ่ พระสงฆ์เร่ิมอนโุ มทนา “ยถา วารวิ หา...........” ประธานพิธีเร่มิ เทน้ำ� ลงยงั ทีร่ องรับน�ำ้ ท่ีศาสนพิธีกรถืออยู่ เมื่อสังเกตเห็นว่า ประธานพิธีเทน้�ำกรวดจวนหมดแล้ว ศาสนพิธีกรพึงปล่อย มือขวาออกจากที่รองรับน้�ำให้ใช้มือซ้ายถือไว้มือเดียว ยกมือขวาขึ้นรับเต้าน้�ำกรวดที่ประธานพิธี เทหมดแล้ว น�ำเตา้ นำ�้ กรวดมาชดิ กบั ทรี่ องรับน�้ำ เดนิ เขา่ ถอยหลังออกมาจากประธานพธิ ีพอสมควร ลุกข้ึนยืนท�ำความเคารพประธานพิธีแล้วถอยออกไปทางท้ายอาสน์สงฆ์ น�ำน�้ำกรวดไปเทใต้ต้นไม้ท่ี เหมาะสมตามประเพณีโบราณ และตอ้ งเทด้วยอาการส�ำรวมและสภุ าพ ไมเ่ ทในท่ีท่ีไมส่ ะอาด ไม่สาด หรือควำ�่ ภาชนะท่ใี สน่ ้ำ� หากมพี ิธีอน่ื ๆ ต่อจากพิธนี ัน้ อกี ศาสนพธิ ีกรต้องใส่น�ำ้ ในเตา้ น้�ำกรวดไวท้ นั ที เพอื่ พร้อมท่จี ะใช้ในพิธีต่อไป การกรวดนำ้� ในพธิ ีตา่ ง ๆ หากเปน็ พธิ ใี หญ่ ๆ หรอื งานพธิ ที ่เี ป็นทางการ นิยมใช้ท่ีกรวดน�้ำส�ำหรับประธานพิธีที่เดียวเท่าน้ัน ส่วนในงานพิธีของชาวบ้านหรืองานท�ำบุญ ตามวดั วาอารามจะใช้ทกี่ รวดน้ำ� หลายท่ีกไ็ ด้ มิไดม้ ีขอ้ หา้ มอันใด อน่ึง ในพิธีที่เป็นทางการไม่นิยมน�ำท่ีกรวดน�้ำไปต้ังไว้ให้ประธานพิธีก่อน เช่น ท่ีโต๊ะเคียง ด้านหน้า เพราะอาจท�ำให้เกิดข้อผิดพลาดแก่ประธานได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงงานอวมงคล ซึ่งเคยมี เรื่องเล่าว่า ในงานอวมงคลงานหน่ึง ศาสนพิธีกรได้น�ำที่กรวดน้�ำไปตั้งไว้ท่ีโต๊ะเคียงของประธานพิธี เมอื่ ประธานพิธที อดผ้าบงั สุกลุ และกลับมาน่งั ที่เรียบรอ้ ยแลว้ เม่อื พระสงฆต์ ้ังพัดพิจารณาผา้ บังสุกลุ ประธานพิธีก็หยิบท่ีกรวดน้�ำมากรวดน้�ำก่อนท่ีพระสงฆ์จะอนุโมทนา เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นก็มีการ กรวดน้�ำเม่ือพระสงฆ์พิจารณาผ้าบงั สกุ ุลเชน่ เดียวกัน 58

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม การเชญิ ท่ีกรวดน้�ำ ๗. การประพรมน้�ำพระพทุ ธมนต์ เม่ือพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว ถ้าเป็นงานพิธีมงคลจะนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน�้ำ พระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนมากนิยมพระสงฆ์รูปที่เป็นประธานสงฆ์ประพรมน้�ำ พระพุทธมนต์ให้ ควรเชิญประธานพิธีหรือเจ้าภาพเข้ารับการประพรมน้�ำพระพุทธมนต์จาก พระสงฆ์ก่อน ถ้าเป็นงานพิธีมงคลสมรสให้เชิญคู่บ่าวสาวเข้ารับการประพรมน้�ำพระพุทธมนต์ก่อน บุคคลอน่ื เสรจ็ แลว้ จะนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน�้ำพระพทุ ธมนต์ในทีอ่ ่ืน ๆ หรือการประพรมรวมกนั เป็นหมู่ ๆ ศาสนพิธีกรต้องเชิญภาชนะน้�ำพระพุทธมนต์เดินตามโดยเย้ืองไปทางด้านซ้ายของ พระสงฆ์รูปท่ปี ระพรมนำ�้ พระพุทธมนต์ ส้ินสุดพิธี เมื่อส้ินสุดกิจกรรมในศาสนพิธีแล้ว ส่ิงท่ีศาสนพิธีกรจะต้องด�ำเนินการต่อไป เพ่ือให้การปฏิบัติหน้าที่ศาสนพิธีกรเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมบูรณ์ ในช่วงสุดท้ายของ ศาสนพิธี คอื ๑) รบั พระสงฆ์ลงจากอาสนส์ งฆ์ ๒) ประสานงานการสง่ พระสงฆก์ ลบั วัด ๓) ดบั ธปู เทยี นท่ีโตะ๊ หม่บู ชู าให้เรียบร้อย ๔) ส่งคนื อปุ กรณ์ทีย่ ืมมาใชใ้ นงานพธิ ี 59

ศาสนาไมไ่ ด้อย่แู คก่ ับพระกับเณร แตอ่ ยู่กับผ้ปู ฏิบตั ิธรรมท่วั ไป ฆราวาส ญาติโยมกต็ าม หากมีศลี ประพฤติธรรม ศาสนาก็อยู่กับคนนน้ั นนั่ แหละ หลวงปอู่ ่อนสา สขุ กาโร

บทท่ี ๓ แนวทางการจดั งานศาสนพธิ ี กบั สถาบันพระมหากษตั รยิ ์ สังคมไทยได้ยอมรับกันทั่วไปว่า ศาสนามีความส�ำคัญต่อวัฒนธรรมประเพณี เพราะมีผล ต่อความรู้สึกนึกคิด ประเพณี และความเช่ือ ซ่ึงได้ส่ือออกมาในลักษณะกิจกรรมของศาสนพิธี ซ่ึงเปน็ พธิ ีกรรมทางศาสนาท่ีถือปฏบิ ตั เิ ปน็ แบบอย่าง ประเพณี และธรรมเนยี มสบื ต่อกนั มาในขณะที่ พระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ได้ทรงเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติ พระราชกรณียกิจด้านศาสนพิธีสืบต่อกันมาได้อย่างสมบูรณ์ไม่คลาดเคล่ือนจากอดีตถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นราชประเพณีสืบมา ซ่ึงพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อเป็นการ สบื ทอดกจิ กรรมดา้ นศาสนพธิ ใี หค้ งอยแู่ ละแพรห่ ลายไปสสู่ ถาบนั ตา่ ง ๆ ของสงั คมไทยทงั้ ในสว่ นกลาง และภมู ภิ าค ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ชุมชน หรือ องค์กรเอกชน ได้มีการจัดกิจกรรมท่ีเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจ�ำนวนมาก อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีและความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวไทยมีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ ดังน้ัน เพ่ือให้การจัดกิจกรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวกับสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงได้รวบรวมน�ำเสนอไว้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ร่วมกันไวเ้ ปน็ เอกสารเผยแพร่สบื ไป ๑. วนั จักรี วนั จกั รี ตรงกับวันท่ี ๖ เมษายนของทกุ ๆ ปี เป็นวันคลา้ ยวนั ประดษิ ฐานพระราชวงศ์จกั รี ถือเป็นงานรัฐพิธี เป็นโอกาสท่ีพสกนิกรชาวไทยจะได้มีโอกาสร�ำลึกในมงคลที่เกิดจาก พระมหากรุณาธิคุณ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างมหาศาล ในส่วนกลางจัดให้มีพิธีถวาย ราชสักการบูชาพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พิธีนี้ไม่มีพระสงฆ์) ที่เชงิ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟา้ ) 61

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย ส�ำหรับในส่วนภูมิภาค หากมีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ อันเป็นการ ระลึกถึงพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ไดป้ กครองพสกนกิ รดว้ ยหลกั ทศพธิ ราชธรรม และไดท้ รงปฏบิ ตั พิ ระราชกรณยี กจิ อนั เปน็ คณุ ประโยชน์ แก่ประชาชนและประเทศชาติ สมควรที่พสกนิกรจะได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีแด่ พระบรมวงศ์จักรี เพ่ือพร้อมกันถวายพระพรชัยมงคล ขอให้เทพยดาเบ้ืองบนโปรดอภิบาล พระบรมวงศ์จักรี ให้เสด็จสถิตเป็นศรีสถาพรอยู่คู่ประเทศชาติช่ัวนิรันดร์และให้พระเกียรติคุณ อเนกอนันตแ์ ผ่ไพศาลไปทวั่ ทกุ ทิศานทุ ิศ ผู้เปน็ พธิ กี รพงึ ด�ำเนินการ ดงั นี้ การเตรียมการ ๑) จัดเตรยี มพระบรมรปู พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ๙ รชั กาล ๒) จดั เตรียมพระฉายาลักษณส์ มเด็จพระเจา้ อย่หู ัว ๓) จัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชา จ�ำนวน ๓ ชุด ชุดที่ ๑ ประดิษฐานพระพุทธรูป ชุดที่ ๒ ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๙ รัชกาล และชุดท่ี ๓ ประดิษฐาน พระฉายาลกั ษณ์สมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ๔) เตรียมจัดพุ่มดอกไม้ หรือแจกันดอกไม้ประดบั ตามความเหมาะสม ๕) จัดเตรยี มเคร่อื งทองน้อยวางทีโ่ ต๊ะหมูบ่ ูชาแถวกลาง ตัวล่าง (หรือตัวท่ี ๒ ถดั ขน้ึ ไป จากตัวล่าง) ติดธูปเทียนให้พร้อม โดยหันด้านที่มีพุ่มดอกไม้ไปยังพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัว ๙ รัชกาล และหันด้านธูปเทียนออกด้านนอก (เพื่อผ้เู ปน็ ประธานพธิ ีจุดถวายสกั การะ) ๖) จดั โตะ๊ สำ� หรับวางพานพมุ่ ไวห้ น้าโต๊ะหมบู่ ชู า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ๙ รชั กาล จำ� นวน ๑ ตัว ในกรณมี ีการวางพานพมุ่ ถวายสกั การะ ๗) จัดเตรยี มเครอ่ื งใช้พธิ สี งฆ์ (งานพิธมี งคล) ๘) จัดเตรียมกรวยดอกไม้ ธูปเทียนแพ จ�ำนวน ๑ ชุด วางไว้ท่ีโต๊ะหมู่บูชาแถวกลาง ตัวล่าง (หรอื ตวั ที่ ๒ ถัดขนึ้ ไปจากตัวล่าง) หนา้ พระฉายาลกั ษณส์ มเด็จพระเจา้ อยูห่ วั รชั กาลปัจจุบนั เพ่อื ผเู้ ปน็ ประธานจะได้เปดิ กรวยถวายสกั การะสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัว รชั กาลปัจจบุ ัน ๙) จัดโต๊ะส�ำหรับพักพานพุ่ม จ�ำนวน ๑ ตัว ตั้งไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาห่างจาก โต๊ะหมู่บูชาประมาณ ๕ เมตร พักพานพุ่มไว้ พานพุ่มนี้จะเป็นคู่หรือเดี่ยว จะเป็นพุ่มดอกไม้สด หรอื ดอกไม้แห้ง หรือพ่มุ ทอง พุ่มเงนิ ก็ได้ ๑๐) จัดเตรยี มเทียนชนวนไว้เพอื่ ส่งใหป้ ระธานพธิ จี ุดเคร่ืองทองนอ้ ย ๑๑) จัดเตรียมแท่นกราบส�ำหรับประธานกราบหน้าโต๊ะหมู่บูชา หลังจากวางพุ่มดอกไม้ และจดุ เครอ่ื งทองนอ้ ยแล้ว ๑๒) ถา้ มพี ิธีบวงสรวงตอ้ งมีการจดั เตรยี ม และตง้ั เคร่ืองบวงสรวงดว้ ย 62

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม ผงั การจดั กจิ กรรมวันจักรี (มีพธิ ีสงฆ์) ๑. พระบรมฉายาลกั ษณห์ รอื พระบรมสาทสิ ลกั ษณ์ อดตี บรุ พกษตั รยิ ร์ าชจกั รวี งศ์ ๙ รชั กาล และเครอ่ื งทองน้อย ๒. พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเคร่ืองสักการะ (ดอกไม้ธูปเทยี นแพ) 63

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย แนวทางการปฏบิ ัตงิ าน ในการปฏิบัติหากมีหน่วยงานหรือบุคคลอื่นมีความประสงค์จะวางพุ่มดอกไม้ ควรแนะน�ำ ให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้น วางก่อนท่ีประธานจะเดินทางมาถึงบริเวณพิธี เมื่อใกล้จะถึงเวลา ตามก�ำหนดการ ให้ผู้ร่วมพิธีถวายสักการะยืนเข้าแถวให้เป็นระเบียบเรียบร้อยท่ีบริเวณด้านหน้า โต๊ะหมู่บูชา เว้นระยะห่างพอสมควร ข้าราชการแต่งเคร่ืองแบบปกติขาว สวมหมวกยืนด้านหน้า ส่วนผู้มีเกียรติทั่วไปแต่งกายชุดสากล หรือชุดสุภาพ ยืนเข้าแถว เม่ือประธานเดินทางมาถึง ผู้ท่ีไม่ได้ไปยืนเข้าแถว แต่น่ังอยู่ที่เก้าอี้ให้ลุกข้ึนยืนเป็นการต้อนรับและให้เกียรติผู้ท�ำหน้าท่ีประธาน พิธดี ้วย ลำ� ดับขัน้ ตอนการปฏิบตั ิงาน ๑) เม่อื ประธานมาถงึ พิธี เรยี นเชญิ ประธานจุดธูปเทียนบชู าพระรัตนตรัย ๒) เจา้ หน้าท่ีอาราธนาศีล ประธานและผรู้ ่วมพธิ รี ับศลี ๓) ในกรณมี ีพิธบี วงสรวง ประธานพธิ ีถวายพุ่มดอกไมส้ ักการะ (ถ้ามีการถวายพมุ่ ดอกไม้ ๒ พุ่ม ให้ประธานวางพุ่มด้านขวาของประธานพิธีก่อน แล้วจึงวางพุ่มด้านซ้าย) แล้วจุดเครื่องทอง นอ้ ยหนา้ พระบรมรปู ๙ รัชกาล กราบถวายสกั การะ ๑ คร้งั (ไมแ่ บมือท่แี ทน่ กราบ) ออกไปจดุ ธปู เทียนเครอื่ งบวงสรวง (ดรุ ยิ างค์บรรเลงเพลงสาธกุ าร) ๔) เมื่อเสร็จพิธีบวงสรวง ประธานอ่านอาศิรวาทปฐมราชสดุดี จบ (ดุริยางค์บรรเลง เพลงสรรเสรญิ พระบารมี ขณะนี้พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) ๕) ประธานพธิ ถี วายพมุ่ ดอกไม้ และเปดิ กรวยดอกไม้ ธปู เทยี นแพ ถวายสกั การะเบอื้ งหนา้ พระฉายาลกั ษณส์ มเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั รชั กาลปจั จบุ นั ถวายความเคารพ แลว้ ถอยออกมายนื เบอ้ื งหนา้ ผู้ร่วมพิธี กล่าวน�ำถวายพระพรชัยมงคล จบ (ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะน้ี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) ๖) ในกรณมี พี ธิ เี จรญิ พระพทุ ธมนต์ เพอื่ ถวายพระราชกศุ ล เจา้ หนา้ ทอ่ี าราธนาพระปรติ ร ๗) พระสงฆ์เจรญิ พระพุทธมนต์ ๘) จบแล้ว ฉนั ภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว ๙) ประธานพิธี และผรู้ ว่ มพิธี ประเคนจตุปจั จยั ไทยธรรม ๑๐) ประธานพิธกี รวดนำ�้ รับพร ๑๑) พระสงฆอ์ นุโมทนา ถวายอดเิ รก เสรจ็ พิธี หมายเหตุ ๑) พระสงฆใ์ นพธิ ใี ชพ้ ัดยศสมณศกั ดิ์ ถวายอดิเรก (พระสงฆ์ทถี่ วายอดเิ รกได้ จะต้องเป็น พระราชาคณะ และใชพ้ ัดยศสมณศักดิ์ หรือพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะจงั หวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ซ่ึงถือพัดเปลวเพลิง และต้องตั้งพัดยศสมณศักด์ิในการ ถวายอดเิ รก) 64

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๒) ขณะประธานสงฆ์ถวายอดิเรก ประธานพธิ แี ละผู้ร่วมพธิ ีลดมือลง ๓) เมอ่ื พระสงฆ์รูปที่ ๒ รบั “ภวตุ สพพฺ มงฺคลํ ...” ประธานพิธแี ละผูร้ ่วมพธิ พี ึงประนมมือ ขึ้นเพือ่ รับพรต่อ จนกว่าพระสงฆ์จะสวดจบบท ๒. วนั ปิยมหาราช วันปิยมหาราช กาลอันเป็นอภิลักขิตสมัย คล้ายวันสวรรคตแห่งองค์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ซ่ึงได้ก�ำหนดไว้ในวันท่ี ๒๓ ตุลาคมของทุก ปี อันเป็นวันท่ีพสกนิกรชาวไทยแผ่นดินสยามน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทางราชการได้ก�ำหนดให้วันนี้เป็นวันส�ำคัญของชาติ เรียกว่า “วันปิยมหาราช” หรือ “วนั ถวายบงั คมพระบรมรปู ทรงม้า” ส�ำหรับในส่วนกลาง เพ่ือเป็นการน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เนอ่ื งในอภลิ กั ขติ สมยั คลา้ ยวนั สวรรคตในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั สมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวได้ทรงบำ� เพ็ญพระราชกรณียกจิ ๒ ประการ คือ ๑) เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปทรงวางพวงมาลาพระบรมราชานสุ าวรยี ์ ณ ลานพระราชวงั ดสุ ติ ๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ก�ำหนดเป็นงานพระราชพิธีทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ทกั ษิณานุประทานเปน็ ประจ�ำทกุ ปี มีการสวดพระพทุ ธมนต์ ถวายพระธรรมเทศนา และสดับปกรณ์ นิมนต์พระสงฆ์ จ�ำนวน ๕๗ รูป เท่าพระชนมพรรษาของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ซงึ่ ตอ้ งนมิ นตพ์ ระสงฆว์ ดั ทเี่ กย่ี วกบั พระบรมอฐั พิ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระบรมอฐั ิ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และพระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพนั วสั สาอยั ยกิ าเจา้ เปน็ สำ� คญั สว่ นนอกนน้ั นมิ นตต์ ามลำ� ดบั สมณศกั ดจิ์ ากสงู ลงมา งานพระราชพธิ นี ี้ จัดทีพ่ ระทีน่ งั่ อมรินทรวินิจฉยั ส�ำหรบั ส่วนราชการในภูมภิ าค หากจะจดั พธิ ีเพ่ือเปน็ การน้อมรำ� ลกึ ถงึ พระมหากรุณาธิคณุ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของ ประชาชนชาวไทยทม่ี ีแด่พระองคท์ ่าน กส็ ามารถดำ� เนินกิจกรรมตา่ ง ๆ ได้ แตผ่ ทู้ ำ� หน้าที่ศาสนพธิ ีกร พึงท�ำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า มีการจัดกิจกรรมใดบ้าง มีพิธีใด มีพระสงฆ์หรือไม่ เพ่ือจะได้จัด เตรยี มงาน สถานที่ และพธิ กี ารไดถ้ กู ต้องเหมาะสม 65

ศาสนพิธแี ละมารยาทไทย การเตรยี มการ ๑) จัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชา ๒ ชุด ส�ำหรับตั้งเพ่ือบูชาพระรัตนตรัย จ�ำนวน ๑ ชุด (ในกรณีมีพิธีสงฆ์) ส�ำหรับต้ังเพ่ือถวายเครื่องสักการะหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลท่ี ๕ จ�ำนวน ๑ ชดุ ๒) ในกรณีไม่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลท่ี ๕ จะต้องจัดเตรียมพระบรมรูปหล่อ หรือ พระบรมฉายาลกั ษณ์ หรอื พระบรมสาทิสลักษณ์ เพอ่ื ประดิษฐานในสถานทจ่ี ดั ท�ำพธิ ี ๓) จัดเตรียมเคร่ืองสักการะที่น�ำมาแสดงความเคารพบูชา ประกอบด้วยพวงดอกไม้ หรือพุ่มดอกไม้ และมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า ถ้ามิใช่เป็นวันสวรรคตแห่งองค์พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลท่ี ๕ ควรสักการะด้วยพุ่มดอกไม้สด หรือพวงดอกไม้สด และไม่ใช้แถบแพรหรือผ้าผูกเป็น โบสีดำ� เชน่ วันที่ ๖ เมษายน ซง่ึ เป็นวันท่ีระลกึ มหาจักรี แต่วนั ที่ ๒๓ ตลุ าคม ถือเปน็ วนั สวรรคต ของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว ใหใ้ ชแ้ ถบแพรหรือผ้าผูกเปน็ โบดำ� ได้ ๔) จัดเตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย (กรณีมีพิธีสงฆ์) จัดเตรียมเคร่ืองทองน้อย เพ่ือให้ ประธานจดุ บูชาถวายสักการะพระบรมราชานสุ าวรีย์ รชั กาลท่ี ๕ ๕) เตรียมการนิมนต์พระสงฆ์ (มีพิธีสงฆ)์ กรณนี ใี้ ช้พดั รอง หรือตาลปตั ร ๖) จดั เตรยี มเคร่อื งใชพ้ ธิ สี งฆ์ (งานพิธอี วมงคล) ๗) จัดเตรียมขาหย่ัง (ควรให้มีความสูงจากยอดพวงดอกไม้ถึงพ้ืนประมาณ ๒ เมตร, ๓ เมตร, ๔ เมตร แตไ่ ม่ควรเกิน ๖ เมตร) 66

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ผังการจัดกิจกรรมวนั ปยิ มหาราช (มีพิธสี งฆ)์ หมายเหตุ ๑ โต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมรูปหรือพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั รชั กาลที่ ๕ 67

ศาสนพิธแี ละมารยาทไทย แนวทางการปฏบิ ตั งิ าน ในการปฏบิ ัติ หากมีหนว่ ยงานหรอื บุคคลอื่นมีความประสงคจ์ ะวางพมุ่ ดอกไม้ ควรแนะน�ำ ให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ วางพุ่มดอกไม้หรือพวงดอกไม้ก่อนที่ประธานจะเดินทางมาถึง บริเวณพิธี เม่ือใกล้จะถึงเวลาตามก�ำหนดการ ให้ผู้ร่วมพิธีถวายสักการะยืนเข้าแถวให้เป็น ระเบียบเรียบร้อยท่ีบริเวณด้านหน้าโต๊ะหมู่บูชา เบ้ืองหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ เว้นระยะห่าง พอสมควร ข้าราชการแต่งเคร่ืองแบบปกติขาว สวมหมวกยืนด้านหนา้ สว่ นผูม้ เี กียรติท่วั ไปแตง่ กาย ชดุ สากล หรือชุดสภุ าพ ยนื เข้าแถวดา้ นหลัง เมือ่ ประธานเดนิ ทางมาถงึ บริเวณพธิ ี ผู้ทไ่ี ม่ได้ยืนเข้าแถว แตน่ ่งั อยูท่ ี่เกา้ อใ้ี หล้ ุกขน้ึ ยืน เป็นการตอ้ นรบั และให้เกียรตผิ ้ทู �ำหนา้ ทีป่ ระธานพธิ ี ๑) เมอื่ ประธานมาถงึ บรเิ วณพธิ ี เรยี นเชญิ ประธานถวายสกั การะวางพวงดอกไม ้ ยงั ขาหยง่ั ท่จี ดั เตรียมไว้ และวางพมุ่ ดอกไม้ยงั โตะ๊ ท่จี ัดเตรียมไว้ ๒) จุดธปู เทยี นเคร่ืองทองนอ้ ย (กราบท่ีแทน่ กราบ ๑ ครงั้ ไมแ่ บมอื ) ยืนขน้ึ ถอยออกมา ยืนด้านหน้าแถว ถวายความเคารพ (กรณีสวมหมวก แสดงความเคารพ ด้วยการวันทยหัตถ์ กรณไี มส่ วมหมวก ให้โคง้ คำ� นบั พร้อมกนั ๑ คร้ัง) ๓) เดินเขา้ ส่สู ถานทปี่ ระกอบพิธสี งฆ์ ๔) จดุ ธูปเทยี นบูชาพระรตั นตรัย (กราบ ๓ ครงั้ ) ๕) กรณีมีพระบรมรูป หรือพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ ในสถานท่ี ประกอบพิธีสงฆ์ ให้จุดธูปเทยี นเคร่อื งทองนอ้ ย และกราบทแ่ี ท่นกราบ ๑ คร้งั ไมแ่ บมอื ๖) เจ้าหนา้ ท่อี าราธนาศีล ประธานสงฆใ์ ห้ศีล ประธานพิธีและผู้ร่วมพธิ รี ับศลี ๗) เจา้ หนา้ ท่อี าราธนาพระปรติ ร ๘) พระสงฆส์ วดพระพุทธมนต์ จบแลว้ ๙) ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ ์ ๑๐) ประธานพธิ ี และผู้รว่ มพิธี ประเคนจตปุ ัจจัยไทยธรรม ๑๑) เจ้าหนา้ ท่ลี าดผา้ รองโยง และลาดผ้าภษู าโยง ๑๒) ประธานพธิ ี และผรู้ ่วมพธิ ี ทอดผ้าไตรบงั สกุ ลุ ๑๓) เมือ่ ทอดผา้ เสรจ็ เจา้ หนา้ ท่ีเชอื่ มต่อแถบทองกับผ้าภษู าโยง ๑๔) พระสงฆพ์ จิ ารณาผา้ บงั สกุ ุล ๑๕) ประธานพธิ ี กรวดนำ้� รับพร ๑๖) พระสงฆ์อนโุ มทนา เสรจ็ พธิ ี หมายเหตุ (1) ในพิธีนี้ พระสงฆใ์ ช้พัดรองหรอื ตาลปัตร (ไมใ่ ชพ้ ัดยศสมณศกั ด์ิ) 68

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม (2) งานพิธีที่มีลักษณะงานเช่นน้ี เช่น วันท่ี ๒๕ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึก รัชกาลท่ี ๖ ส�ำนักพระราชวัง ได้ออกหมายก�ำหนดการเสด็จพระราชด�ำเนิน ทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่ีสวนลุมพินี กรงุ เทพมหานคร ขา้ ราชการแตง่ เครอื่ งแบบปกตขิ าว หากสว่ นราชการใดจะจดั พธิ ถี วายสกั การะ หรอื จัดพธิ สี งฆ์ พึงจัดอนโุ ลมตามพิธีการท่ีจัดในวันปยิ มหาราช ทงั้ พธิ วี างพวงดอกไม้ และพิธบี ำ� เพ็ญกศุ ล ๓. วนั เฉลิมพระชนมพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ ปวงชน ชาวไทยและชาวต่างประเทศท่ีอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารต่างก็ถือเป็นเร่ืองท่ีปลื้มปีติยินดี ในอนั ทจี่ ะรว่ มกนั เฉลมิ ฉลองในวาระสำ� คญั เชน่ นี้ เนอื่ งจาก ทรงเปน็ ทเี่ ทดิ ทนู ของไพรฟ่ า้ ประชาราษฎร์ ทั่วราชอาณาจักรไทย ซึ่งในการจัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ได้มีการจัดให้เป็นไปตาม พระราชประเพณีทั้งงานในส่วนที่เป็นพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี และงานเฉลิมฉลองอื่น ๆ ท้ังน้ี เพื่อเปน็ การแสดงออกซ่ึงความจงรกั ภักดีที่พสกนกิ รมแี ดส่ มเดจ็ พระเจา้ อยู่หัว ส�ำหรบั การพระราชพธิ ีเฉลมิ พระชนมพรรษา ถา้ สว่ นราชการหรอื องค์กรต่าง ๆ จะจดั เพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พึงจัดก�ำหนดการโดยอนุโลมตามหมายก�ำหนดการ ของส�ำนักพระราชวัง ซ่ึงได้ก�ำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมเน่ืองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาไว้ ๓ แบบ คอื แบบท่ี ๑ การลงนามถวายพระพรชยั มงคล แบบท่ี ๒ การลงนามถวายพระพร และประชุมสดุดถี วายพระพรชยั มงคล แบบท่ี ๓ การลงนามถวายพระพร และบำ� เพ็ญกศุ ลถวายพระราชกุศล การเตรยี มการ แบบที่ ๑ การลงนามถวายพระพรชัยมงคล ๑) จดั แตง่ ห้องประชุมหรือหอ้ งโถง หรอื ศาลาประชาคม ตามความเหมาะสมของสถานที่ ตกแต่งประดบั ธงชาติ ตามประทีปโคมไฟ ตามระเบียบทีท่ างราชการกำ� หนดไว้ ๒) ภายในห้องประชมุ หรอื ห้องโถง หรือเวที ตงั้ โต๊ะหมู่ ๕ หรือ หมู่ ๗ หรอื หมู่ ๙ แล้วแต่ ความสะดวกและเหมาะสม ประดับแจกนั ดอกไม้ พมุ่ ดอกไม้ อญั เชิญพระรูป หรือ พระฉายาลกั ษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสูงสุด) หรือประดิษฐาน พระฉายาลกั ษณ์ พระสาทิสลกั ษณ์ บนขาหยงั่ กไ็ ด้ แต่โต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสงู สุด) ไม่ควรวาง สงิ่ ใด เสมือนประหนง่ึ วา่ พระฉายาลกั ษณ์ หรอื พระสาทิสลกั ษณ์ ประดษิ ฐานอยูบ่ นโต๊ะหมตู่ ัวสูงนน้ั ๓) ต้ังพานธูปเทียนแพและกรวยดอกไม้สดไว้บนโตะ๊ หมู่ตัวกลาง แถวกลาง 69

ศาสนพิธีและมารยาทไทย ๔) จดั โตะ๊ พรอ้ มเกา้ อส้ี ำ� หรบั ลงนามถวายพระพรไวส้ ว่ นใดสว่ นหนงึ่ ของสถานที่ เพอ่ื ลงนาม ถวายพระพร ในที่นี้เพื่อความเหมาะสมควรต้ังไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ท่ีประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ๕) จดั สมดุ พรอ้ มปากกาวางไวบ้ นโตะ๊ และควรมเี จา้ หนา้ ทร่ี บั รองกำ� กบั สมดุ ลงนามไวด้ ว้ ย ๖) ก�ำหนดเวลาลงนามถวายพระพรชัยมงคล ทางราชการส�ำนักพระราชวัง ก�ำหนดไวใ้ น หมายกำ� หนดการ เรมิ่ แตเ่ วลา ๙ นาฬกิ า ถงึ ๑๗ นาฬกิ า แตง่ กายเครอ่ื งแบบปกตขิ าว พอ่ คา้ ประชาชน แตง่ สากลนิยม หรือชุดสุภาพ ส่วนท้องถ่ินควรปฏิบตั ิตามกำ� หนดการสำ� นกั พระราชวงั โดยอนโุ ลม 70

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม แนวทางปฏบิ ัติงาน ๑) เมือ่ ถึงเวลาตามกำ� หนดการจัดเจา้ หน้าท่ีรับรองก�ำกบั สมุดลงนามประจ�ำท่ีโต๊ะลงนาม ถวายพระพรชยั มงคล ๒) ผมู้ าลงนามถวายพระพรชัยมงคล ลงนามในสมดุ ที่จัดไว้เรียบรอ้ ยแล้ว ๓) เดนิ ไปยืน ณ เบอ้ื งหนา้ พระรปู พระฉายาลักษณ์ หรือ พระสาทสิ ลกั ษณ์ ๔) แสดงความเคารพพระรูป พระฉายาลักษณ์ หรอื พระสาทิสลักษณ์ เสรจ็ พธิ ี แบบที่ ๒ การลงนามถวายพระพรและชุมนมุ สดดุ ี ถวายพระพรชัยมงคล ๑) จดั แตง่ หอ้ งประชุม หรอื หอ้ งโถง หรอื ศาลาประชาคม ตามความเหมาะสมของสถานที่ ๒) ตกแตง่ ประดับธงชาติ ตามประทปี โคมไฟตามระเบยี บทท่ี างราชการก�ำหนดไว้ ๓) ภายในห้องประชุมหรือห้องโถง หรือเวที ตั้งโต๊ะหมู่ ๕ หรือ หมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙ แล้วแต่ความสะดวกและความเหมาะสม ประดับแจกันดอกไม้ พุ่มดอกไม้ อัญเชิญพระบรมรูป พระฉายาลักษณ์ หรือ พระสาทิสลักษณ์ ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสูงสุด) หรือประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ บนขาหยั่งก็ได้ แต่โต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสูงสุด) ไม่ควรวางส่ิงใด เสมือนประหน่ึงว่าพระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ประดิษฐาน อย่บู นโต๊ะหมู่ตัวสงู นั้น ๔) ตง้ั พานธูปเทียนแพและกรวยดอกไมส้ ดไว้บนโต๊ะหมู่ตวั กลาง แถวกลาง ๕) จัดโต๊ะพร้อมเก้าอี้ส�ำหรับลงนามถวายพระพรไว้ส่วนใดส่วนหน่ึงของสถานที่ เพ่ือลงนามถวายพระพร ในที่นี้เพื่อความเหมาะสมควรต้ังไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ท่ีประดิษฐาน พระฉายาลักษณ์ หรอื พระสาทสิ ลักษณ์ ๖) จดั สมดุ พรอ้ มปากกาวางไวบ้ นโตะ๊ และควรมเี จา้ หนา้ ทร่ี บั รองกำ� กบั สมดุ ลงนามไวด้ ว้ ย ๗) ก�ำหนดเวลาและมีชุมนุมสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล ในแบบที่ ๒ นี้ อนุโลมตามหมายก�ำหนดการของส�ำนักพระราชวัง ก�ำหนดเสด็จพระราชด�ำเนินออกมหาสมาคม พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการเฝา้ กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที การแต่งกายข้าราชการแตง่ เครื่องแบบเตม็ ยศ ประชาชนแต่งสากลนิยม หรอื ชุดสุภาพ สว่ นทอ้ งถิน่ ควรปฏบิ ตั ิตามก�ำหนดการส�ำนกั พระราชวงั ๘) จัดเตรยี มค�ำประกาศถวายสดดุ ีเฉลิมพระเกียรติให้ประธานพิธี 71

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย แนวทางปฏบิ ตั งิ าน ๑) เม่ือถงึ เวลาผรู้ ่วมพิธมี าประชมุ พรอ้ มกันบริเวณพธิ ีแล้ว ๒) จะจดั ให้น่ังเกา้ อ้ี หรือยนื ตามล�ำดับความเหมาะสม ข้าราชการแตง่ เคร่ืองแบบเตม็ ยศ อยดู่ า้ นหนา้ ผมู้ เี กยี รติ พอ่ คา้ คฤหบดี ประชาชนทไ่ี มไ่ ดแ้ ตง่ เครอื่ งแบบ ควรอยดู่ า้ นหลงั ผทู้ แี่ ตง่ เครอ่ื ง แบบเต็มยศ ๓) ประธานเขา้ สหู่ อ้ งประชมุ เดนิ ตรงไปยนื ทห่ี นา้ โตะ๊ หมปู่ ระดษิ ฐานพระฉายาลกั ษณ์ หรอื พระสาทสิ ลักษณ์ ๔) เปิดกรวยท่ปี ดิ กระทงดอกไม้ธปู เทยี นแพออกวางไว้ดา้ นข้าง ๕) ถอยออกมา ถวายความเคารพพระฉายาลกั ษณ์ หรอื พระสาทสิ ลักษณ์ ๖) เจา้ หนา้ ทส่ี ่งคำ� ประกาศสดุดีเฉลิมพระเกยี รตถิ วายพระพรชยั มงคลใหป้ ระธานพิธี ๗) ประธานพิธีอา่ นคำ� สดุดเี ฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล จบ ๘) ดรุ ยิ างคบ์ รรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี จบ ๙) ประธานพิธี และผรู้ ว่ มพธิ ถี วายความเคารพพร้อมกนั ๑๐) เสร็จพธิ ี 72

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม แบบที่ ๓ การลงนามถวายพระพรชยั มงคล และบ�ำเพ็ญกลุ ถวายเป็นพระราชกศุ ล ๑) จัดเตรียมตกแต่งสถานท่ี ห้องประชุมหรือห้องโถง หรือศาลาประชาคม ตามความ เหมาะสมของสถานที่ ๒) ตกแต่งประดบั ธงชาติ ตามประทปี โคมไฟ ตามระเบียบทที่ างราชการก�ำหนดไว้ ๓) จัดเตรียมอาสน์สงฆ์ ส�ำหรับพระสงฆ์นั่ง ๑๐ รูป (อาสน์สงฆ์จะต้องสูงกว่าเก้าอ้ีท่ี ประธานพิธี ขา้ ราชการ หรอื ผู้รว่ มพธิ ีนัง่ ถ้าจดั งานพธิ ีตอนเชา้ ควรจะเร่มิ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ถ้ามีการถวายภัตตาหารพระสงฆ์ จะตอ้ งมกี ารจัดเตรียมสถานท่ีไว้ให้พร้อม) ๔) จัดเตรียมนิมนต์พระสงฆ์ไว้ก่อนวันงานพิธี (ให้หมายเหตุไว้ท้ายฎีกานิมนต์ใช้พัดยศ โปรดถงึ ก่อนเวลา) แจ้งพระสงฆ์ใหช้ ดั เจน ๕) จดั เตรียมอุปกรณ์เคร่ืองใช้พธิ บี �ำเพ็ญกุศลในงานมงคล ๖) จดั เตรียมเครอื่ งรบั รองพระสงฆ์ ๗) จัดเตรยี มเคร่อื งไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ๘) จดั เตรยี มโตะ๊ หมปู่ ระดษิ ฐานพระพทุ ธรปู จำ� นวน ๑ ชดุ ตง้ั ไวท้ ห่ี วั อาสนส์ งฆ ์ พรอ้ มจดั แต่งดอกไมธ้ ูปเทียนให้พร้อม ๙) จดั ตงั้ โตะ๊ หมู่ ๕ หรือ หมู่ ๗ หรือ หมู่ ๙ จ�ำนวน ๑ ชดุ แลว้ แตค่ วามสะดวกและ ความเหมาะสม ประดับแจกันดอกไม้ พุ่มดอกไม้ อัญเชิญพระรูป หรือ พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสูงสุด) หรือจะประดิษฐาน พระฉายาลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ บนขาหย่ังก็ได้ แต่โต๊ะหมู่ตัวกลางแถวบน (ตัวสูงสุด) ไม่ควร วางสงิ่ ใด เสมอื นประหนง่ึ วา่ พระฉายาลกั ษณ์ หรอื พระสาทสิ ลกั ษณป์ ระดษิ ฐานอยบู่ นโตะ๊ หมตู่ วั สงู นน้ั ๑๐) ต้ังพานธปู เทยี นแพและกรวยดอกไม้สดไวบ้ นโต๊ะหมตู่ วั กลาง แถวลา่ ง แนวทางปฏิบตั ิงาน ๑) เมื่อข้าราชการ ผู้มีเกียรติ พร้อมกันยังมณฑลพิธี เจ้าหน้าที่รับรองเชิญข้าราชการ ผู้มีเกยี รติ นั่งตามลำ� ดับชั้น ตำ� แหนง่ ๒) เจา้ หน้าท่ีพิธจี ัดเตรียมพธิ ีการตา่ ง ๆ ใหเ้ รยี บร้อยพรอ้ มที่จะปฏบิ ัติงาน ๓) ใกล้ถึงเวลาท่ีประธานจะเข้าสู่มณฑลพิธี เจ้าหน้าท่ีพิธีการนิมนต์พระสงฆ์ข้ึนน่ัง ยังอาสน์สงฆ์ ใหต้ ้งั พดั ยศของพระสงฆแ์ ตล่ ะรูปไวท้ างดา้ นโตะ๊ หมบู่ ชู า (หรือก่อนพระสงฆ์แต่ละรปู ) ๔) ประธานพธิ ี เดนิ เขา้ สมู่ ณฑลพธิ ี ขา้ ราชการและผมู้ เี กยี รตทิ กุ ทา่ นทน่ี ง่ั รอรบั ประธานพธิ ี ลุกข้ึนยืนด้วยความเคารพ เพือ่ เป็นการรับประธานพิธี ๕) ประธานพิธีตรงไปท่ีโต๊ะหมู่เคร่ืองบูชา จุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย กราบท่แี ท่นกราบ ๓ คร้ัง 73

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย ๖) ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ (คำ� นบั ) ๗) น่งั ยงั เกา้ อปี้ ระธานทีจ่ ัดเตรยี มไว้ ๘) เจา้ หนา้ ทอ่ี าราธนาศีล ๙) ประธานพธิ ี และผูม้ เี กียรติประนมมอื รับศีลจบ ๑๐) ประธานพิธีลุกจากท่ีนั่ง เดินไปยังโต๊ะหมู่ท่ีประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ ผู้มีเกียรติ ทุกทา่ นยืนพร้อมกบั ประธานพธิ ี ๑๑) ประธานพิธีเปิดฝากรวยดอกไม้ธูปเทียนแพออกวางไว้ด้านข้างพานธูปเทียนแพ แล้วถอยหลังออกมาประมาณ ๑ - ๒ ก้าว ๑๒) ประธานถวายความเคารพ (ค�ำนับ) พระฉายาลักษณ์ ผู้ร่วมพิธีทุกท่านถวายความ เคารพพร้อมกบั ประธานพธิ ี ๑๓) ประธานพธิ อี ่านค�ำสดุดีเฉลมิ พระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล จบ ถวายความเคารพ พรอ้ มกนั (ขณะนพ้ี ระสงฆเ์ จรญิ ชยั มงคลคาถา) และเมอ่ื ดรุ ยิ างคบ์ รรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารมี จบ ถวายความเคารพพร้อมกันอกี คร้ังหนึง่ ๑๔) ประธานพธิ ีกลบั ไปนง่ั ยงั เกา้ อที้ ่ีเดิม ๑๕) (กรณมี ีการเจริญพระพุทธมนต)์ เจา้ หน้าท่ีอาราธนาพระปริตร ๑๖) พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ (หากไม่มีการเจริญพระพุทธมนต์ ไม่ต้องอาราธนา พระปรติ ร เมอ่ื ประธานพิธีกลบั มานง่ั ยงั เกา้ อเี้ รียบรอ้ ยแลว้ พระสงฆ์สวดถวายพรพระ จบ) ๑๗) ถวายภตั ตาหารแดพ่ ระสงฆ์ เมือ่ พระสงฆฉ์ นั ภัตตาหารเรยี บรอ้ ยแล้ว ๑๘) เจ้าหนา้ ท่ตี ้ังเคร่ืองจตปุ จั จัยไทยธรรม เบ้ืองหน้าพระสงฆ์ ๑๙) เชิญประธานพิธี และขา้ ราชการผ้ใู หญ่ถวายจตปุ จั จยั ไทยธรรมแลว้ กลบั นั่งที่เดิม ๒๐) พระสงฆต์ ้ังพดั ยศอนโุ มทนา และถวายอดเิ รกแดส่ มเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ๒๑) ประธานพิธกี รวดน้�ำ รบั พร ๒๒) เจ้าหนา้ ท่ีนิมนตพ์ ระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ ๒๓) ประธานพิธีลุกไปกราบที่แท่นกราบหน้าเคร่ืองนมัสการโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย (ผ้รู ว่ มพิธยี นื พรอ้ มกับประธาน) ๒๔) ประธานพิธีเดินไปยังหน้าโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายความเคารพพระฉายาลกั ษณ์ ผ้รู ว่ มพธิ ถี วายความเคารพพร้อมกับประธาน หมายเหตุ ๑) พระสงฆใ์ ช้พัดยศ ๒) ประธานสงฆ์ที่ถวายอดิเรกจะต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ หรือพระครู เจ้าคณะจังหวัด พระครูรองเจ้าคณะจังหวัด พระครูเจ้าอาวาสพระอารามหลวงช้ันเอก ซ่ึงถือพัด เปลวเพลงิ เท่านั้น 74

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๓) เมื่อประธานสงฆ์ถวายอดิเรกแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานพิธีและผู้ร่วมพิธี ลดมอื ลง จบค�ำถวายอดิเรกแลว้ เมือ่ พระสงฆร์ ปู ท่ี ๒ รับ “ภวตุ สพพฺ มงคฺ ลํ...” จึงยกมอื ขึ้นประนม ไปจนจบ ๔) ก�ำหนดการแต่งกาย ข้าราชการแต่งเคร่อื งแบบเต็มยศ ๕) หากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระองค์ใด ให้ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ พระองคน์ นั้ เชน่ วนั เฉลมิ พระชนมพรรษาของสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั กใ็ หป้ ระดษิ ฐานพระฉายาลกั ษณ์ ของสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว เปน็ ตน้ 75

ศาสนพิธแี ละมารยาทไทย ๔. การถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน การถวายผา้ กฐนิ เปน็ กาลทาน เนอ่ื งจากพระผมู้ พี ระภาคเจา้ ไดด้ ำ� รถิ งึ ความยากลำ� บากของ พระภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐา ที่เดินทางมายังพระเชตวันวิหาร ด้วยหวังจะเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า แต่เมอ่ื เดนิ ทางมายงั ไมถ่ งึ ทป่ี ระทับของพระผู้มพี ระภาคเจา้ กถ็ งึ กาลเข้าพรรษาเสยี กอ่ น จึงจ�ำเป็นต้องพักจ�ำพรรษา ณ เมืองสาเกต คร้ันเม่ือออกพรรษาก็รีบเดินทางผ่านโคลนตม ซึ่งมีน้�ำอยู่ในหลุมในบ่อท�ำให้จีวรเปรอะเปื้อนโคลนตม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ให้ประชุมสงฆ์ และทรงอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินเพื่อน�ำไปตัดไตรจีวรได้เม่ือออกพรรษาแล้ว ด้วยทรงพิจารณา เห็นวา่ “กฐินตถฺ าโร จ นาเมส สพพฺ พทุ ฺเธหิ อนญุ ฺญาโต คอื การกรานกฐนิ นพ้ี ระพทุ ธเจา้ ทกุ พระองค์ ได้ทรงอนุญาตมา” ดังน้ัน การถวายผ้ากฐินจึงเป็นกาลทานตามพระวินัยปิฎกได้ก�ำหนดกาลไว้ คือ ต้ังแต่วันแรม ๑ ค่�ำ เดือน ๑๑ ถึงวันข้ึน ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ ซ่ึงเป็นงานบุญท่ีมีปีละครั้ง ส�ำหรับ การถวายผา้ กฐินในปจั จบุ นั มีรายละเอยี ดดังน้ี ๑) พระกฐินหลวง คือ ผ้าพระกฐินที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นองค์เอกอัคร พุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชด�ำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ผ้แู ทนพระองค์ ไปถวายแทนตามหมายของสำ� นักพระราชวัง ๒) พระกฐินพระราชทาน คือ ผ้าพระกฐินท่ีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ กระทรวง ทบวง กรม องค์การ สโมสร สมาคม หรือเอกชนผู้มีเกียรติ ขอพระราชทานผ่าน กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพือ่ นำ� ไปถวายพระอารามหลวง ๓) กฐินทั่วไปหรือกฐินราษฎร์ คือ ผ้ากฐินท่ีพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาน�ำไปถวาย ณ วัดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่พระอารามหลวง พุทธศาสนิกชนกับทางวัดท่ีจะน�ำไปถวาย โดยการไปกราบ นมสั การกบั เจา้ อาวาสวดั นนั้ วา่ “มคี วามประสงคจ์ ะนำ� ผา้ กฐนิ มาถวายพระสงฆจ์ ำ� พรรษา ณ อารามน้ี และสามารถกำ� หนดวนั ทีจ่ ะนำ� ผา้ กฐนิ มาถวายกับทางวดั ใหเ้ รียบร้อย” พระอารามหลวง ๑๖ พระอาราม ท่ีสงวนไวไ้ มใ่ ห้มีการขอพระราชทานผา้ พระกฐิน มีดงั น้ี ๑) วัดพระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม กรงุ เทพมหานคร ๒) วดั อรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ๓) วดั ราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ๔) วัดราชประดิษฐ์สถติ มหาสมี าราม กรุงเทพมหานคร ๕) วัดเบญจมบพิตรดสุ ติ วนาราม กรุงเทพมหานคร ๖) วดั บวรนิเวศวิหาร กรงุ เทพมหานคร ๗) วดั ราชบพิธสถิตมหาสมี าราม กรุงเทพมหานคร ๘) วัดสทุ ัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร 76

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๙) วัดราชาธวิ าส กรงุ เทพมหานคร ๑๐) วัดมกุฏกษัตริยาราม กรงุ เทพมหานคร ๑๑) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ๑๒) วดั มหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฎ ์ิ กรงุ เทพมหานคร ๑๓) วัดพระปฐมเจดยี ์ จังหวัดนครปฐม ๑๔) วดั นิเวศธรรมประวตั ิ จังหวดั พระนครศรีอยุธยา ๑๕) วดั สุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา ๑๖) วัดพระศรรี ตั นมหาธาต ุ จงั หวดั พษิ ณโุ ลก ส�ำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ซ่ึงกรมการศาสนา จะจัดท�ำประกาศกรมการศาสนา เรื่องการขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน แล้วแจ้งให้ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม รฐั วิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน สมาคม มูลนธิ ิ และเจา้ อาวาสพระอารามหลวง เพ่ือแจ้งก�ำหนดระยะเวลาท่ีจะท�ำการถวายผ้าพระกฐิน ซ่ึงผู้ที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทาน สามารถดำ� เนินการตามขัน้ ตอนตา่ ง ๆ ดังนี้ ๑. กรุงเทพมหานคร ผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินสามารถแจ้งความประสงค์ โดยประสานกบั กองศาสนปู ถมั ภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โทร. ๐๒ ๔๒๒ ๘๘๐๒ - ๗ และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงโดยตรง ซึง่ มขี นั้ ตอนดงั น้ี (๑) ผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินควรประสานสอบถามข้อมูลเบ้ืองต้นจาก กรมการศาสนาหรือพระอารามหลวงน้ันๆ ว่ามีใครแจ้งความประสงค์ไว้ก่อนแล้วหรือไม่ เม่ือได้ พระอารามหลวงที่ต้องการแล้ว ให้ท�ำหนังสือเรียนอธิบดีกรมการศาสนา เพื่อขอรับพระราชทาน ผ้าพระกฐนิ (๒) กรมการศาสนามหี นงั สอื ตอบรบั การขอผา้ พระกฐนิ พระราชทาน และแจง้ กำ� หนด วนั ถวายใหผ้ ขู้ อรบั พระราชทาน และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนัน้ ๆ ได้ทราบ (๓) เม่ือกรมการศาสนาจัดเตรียมเคร่ืองพระกฐินพระราชทานเรียบร้อยแล้ว จะมี หนงั สอื แจง้ ใหผ้ ขู้ อรบั พระราชทานผา้ พระกฐนิ มารบั ผา้ พระกฐนิ และเครอื่ งพระกฐนิ พระราชทานดว้ ย ตนเอง ท่ีกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพอ่ื น�ำไปถวายยังพระอารามหลวง ทีไ่ ดข้ อพระราชทานไว้ ๒. ส่วนภูมิภาค หรือพระอารามที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ขอรับพระราชทาน ผา้ พระกฐินสามารถแจง้ ความประสงค์ โดยประสานกับ กองศาสนปู ถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวง วัฒนธรรม โทร. ๐๒ ๔๒๒ ๘๘๐๒ - ๗ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงโดยตรง และส�ำนกั งานวฒั นธรรม จงั หวดั ทเ่ี ปน็ ทตี่ งั้ พระอาราม ซง่ึ ผทู้ ม่ี คี วามประสงคข์ อรบั พระราชทานสามารถดำ� เนนิ การตามขนั้ ตอน ตา่ ง ๆ ดังนี้ 77

ศาสนพิธีและมารยาทไทย (๑) ผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินควรประสานสอบถามข้อมูลเบ้ืองต้นจาก กรมการศาสนาหรือพระอารามหลวงนั้นๆ หรือส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดที่เป็นท่ีตั้งพระอาราม ว่ามีใครแจ้งความประสงค์ไว้ก่อนแล้วหรือไม่ เม่ือได้พระอารามหลวงที่ต้องการแล้ว ควรมีหนังสือ ถึงวัฒนธรรมจังหวัด ประสานงานกับเจ้าอาวาสพระอารามหลวง และมีหนังสือถึงกรมการศาสนา เพอื่ ด�ำเนนิ การในสว่ นท่ีเกย่ี วข้องต่อไป (๒) กรมการศาสนามหี นงั สอื ตอบรบั การขอผา้ พระกฐนิ พระราชทาน และแจง้ กำ� หนด วนั ถวายใหผ้ ขู้ อรบั พระราชทาน ผวู้ า่ ราชการจงั หวดั และเจา้ อาวาสพระอารามหลวงนน้ั เพอื่ ใหผ้ ขู้ อรบั พระราชทานประสานงานกับทางวดั ก�ำหนดวันถวายผา้ พระกฐินพระราชทานต่อไป (๓) เม่ือกรมการศาสนาจัดเตรียมเครื่องพระกฐินพระราชทานเรียบร้อยแล้ว จะมีหนังสือสอบถามผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินว่า “มีความประสงค์จะรับเครื่องพระกฐิน พระราชทานที่กรมการศาสนาด้วยตนเอง หรือมีความประสงค์จะให้กรมการศาสนาจัดส่งไปยัง สำ� นักงานวัฒนธรรมจงั หวัด ในจังหวัดซึง่ เป็นสถานท่ตี ั้งของพระอารามหลวงท่ไี ดจ้ องไว้” (๔) กรมการศาสนามีหนังสือแจ้งผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน เพ่ือก�ำหนด ช่วงวันเวลาให้มารับเคร่ืองพระกฐินพระราชทานที่กรมการศาสนา หรือส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด แลว้ แตก่ รณตี ามความประสงค์ของผ้ขู อรับพระราชทาน การเตรียมการ ๑) การเตรียมสถานท่ีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในพระอุโบสถ (ตามแผนผังการจัด สถานที)่ ๒) จัดท�ำก�ำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เพ่ือให้มีความเรียบร้อยสวยงาม และสมพระเกียรติ ๓) จัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชา ประดับแจกัน พุ่มดอกไม้ โต๊ะหมู่ตัวกลางสูงสุดประดิษฐาน พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โต๊ะหมู่ตัวกลาง แถวกลางประดษิ ฐานผา้ พระกฐินพระราชทาน ถดั ลงมาตวั กลางแถวล่าง วางพานดอกไม้ธูปเทียนแพ (บนหลงั ธูปเทียนแพ มีกระทงดอกไมก้ รวยครอบ) ๔) ตรวจสอบเครอื่ งพระกฐนิ พระราชทานครบตามจำ� นวนทกี่ รมการศาสนากำ� หนดไวห้ รอื ไม่ ๕) จดั เตรียมเทียนชนวน ทีก่ รวดนำ�้ ค�ำถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ๖) จดั เตรยี มพานสำ� หรบั ประดษิ ฐานผา้ พระกฐนิ พระราชทาน เบอื้ งหนา้ พระบรมฉายาลกั ษณ์ ๗) จัดเตรียมโต๊ะ พานแว่นฟ้า และพานวางเทียนปาฏิโมกข์ ต้ังหน้าพระสงฆ์รูปท่ี ๒ ส�ำหรบั ใหผ้ ขู้ อรับพระราชทานผ้าพระกฐนิ วางผ้าพระกฐินพระราชทานถวายพระสงฆ์ ๘) จดั เตรยี มที่กรวดนำ้� เทียนชนวน 78

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม แนวทางปฏบิ ัตงิ าน ๑) จดั แต่งธปู เทยี นเคร่อื งนมัสการพระพุทธปฏิมาในพระอุโบสถให้เรยี บร้อย ๒) จดั โตะ๊ หมบู่ ชู าเพอื่ ประดษิ ฐานพระฉายาลกั ษณส์ มเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู ทตี่ วั สงู สดุ แถวกลางประดษิ ฐานผา้ พระกฐนิ พระราชทานไวท้ ตี่ วั กลาง แถวกลาง และวางพานดอกไม้ธูปเทยี นแพไวท้ ี่โต๊ะหมูต่ ัวกลางแถวลา่ ง ๓) ผ้าพระกฐินพระราชทาน ให้แกะพลาสติกออก แล้วจึงติดค�ำถวายบนผ้าพระกฐิน พระราชทาน และวางผา้ หม่ พระประธานไวบ้ นคำ� ถวายผา้ พระกฐนิ ควรใชเ้ ทปใสยดึ ตดิ ใหแ้ นน่ ปอ้ งกนั ไม่ให้เล่ือนตก (ส�ำหรับพระอารามหลวงที่สังกัดธรรมยุต หรือพระอารามหลวงที่สังกัดมหานิกาย ซ่ึงมีอยู่ ๕ พระอาราม ซ่ึงมีผ้าขาวให้ใช้ริบบิ้นผูกผ้าขาวติดกับผ้าพระกฐินพระราชทานไว้ให้ เรียบรอ้ ยกอ่ น แล้วจงึ ตดิ คำ� ถวายไว้บนผ้าขาว และนำ� ผา้ ห่มพระประธานวางไวบ้ นคำ� ถวาย และต้อง ใช้เทปตดิ ใหแ้ นน่ เชน่ กัน) คำ� ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประธานพิธีหนั หน้าไปยงั พระประธานประจ�ำพระอโุ บสถ กล่าว นโม ๓ จบ “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ุทฺธสสฺ ” “นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพทุ ฺธสสฺ ” “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ฺธสสฺ ” เสร็จแล้วหนั หนา้ ไปด้านพระสงฆ์ กลา่ วค�ำถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน ดังนี้ “ผา้ พระกฐนิ ทานกบั ทง้ั ผา้ อานสิ งั สบรวิ ารทง้ั ปวงนี้ ของสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู ผทู้ รงพระคณุ อนั ประเสรฐิ กอปรดว้ ยพระราชศรทั ธา โปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ ม ให้ ...................................(กล่าวช่ือหน่วยงาน หรือองค์กรผู้ขอรับพระราชทาน) น้อมน�ำถวายแด่ พระภิกษุสงฆ์ ซ่ึงจ�ำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทาน กระท�ำกฐนิ ัตถารกจิ ตามพระพทุ ธานุญาตน้ัน เทอญ” ๔) เมื่อใกล้ถึงเวลาตามก�ำหนดการ ให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานมาวางไว้บน ตะลุ่มมกุ หรอื พานเบ้อื งหนา้ พระฉายาลักษณ์ ๕) เครื่องบริวารผ้าพระกฐินพระราชทาน ให้น�ำออกจากกล่องหรือพลาสติก แล้วจัดใส่ ตะล่มุ หรอื พานหรอื ภาชนะทเี่ หมาะสม และจดั วางใหเ้ รียบร้อยสวยงาม ๖) จัดโต๊ะปูด้วยผ้าขาว ตั้งไว้ทางท้ายอาสน์สงฆ์ ส�ำหรับวางเครื่องบริวารผ้าพระกฐิน และเครอ่ื งจตปุ ัจจัยไทยธรรมที่จดั ถวายพระภกิ ษุสามเณร 79

ศาสนพิธีและมารยาทไทย ตัวอยา่ ง กำ� หนดการ ในการ (หนว่ ยงาน,องคก์ ร ........................................................ถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน ณ วดั ..................................................................ตำ� บล......................................................................... อ�ำเภอ................................................................จงั หวดั ....................................................................... วันท่.ี ..........................เดือน.............................................พ.ศ. ............................. วันท.ี่ ............เดอื น......................พ.ศ. .................. เวลา......................น. - ข้าราชการ ผ้มู เี กียรติ ผรู้ ่วมพิธี พร้อมกัน ณ พระอโุ บสถ - ประธานเดินทางถึงหน้าพระอุโบสถ ไปที่โต๊ะหมู่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ สมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ วั มหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู - เปิดกรวยดอกไม้ถวายสักการะพระฉายาลกั ษณ์ - ถวายความเคารพ (คำ� นับ หรือถอนสายบวั แล้วแต่กรณ)ี - ยกผา้ พระกฐนิ ขึ้นอุม้ ประคองไว้ตรงอก ยนื ตรง (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) จบ - ถวายความเคารพ - อุม้ ประคองผ้าพระกฐนิ พระราชทานเขา้ ส่พู ระอโุ บสถ - วางผา้ พระกฐินพระราชทานไว้ทพี่ านแวน่ ฟ้า ตรงหนา้ พระสงฆ์รปู ที่ ๒ - จดุ ธูปเทียนบชู าพระประธานประจำ� พระอโุ บสถ - กราบทแี่ ทน่ กราบ ๓ ครัง้ - หยบิ ผ้าห่มพระประธานซง่ึ วางอยบู่ นคำ� กล่าว สง่ ให้เจา้ หนา้ ท่ี - ยกผา้ พระกฐินพระราชทานข้นึ ประคองลักษณะประนมมอื - หันหน้าไปยังพระประธานประจ�ำพระอโุ บสถ กล่าว นะโม ๓ จบ - จบแล้ว หนั หน้าไปดา้ นพระสงฆ์ กล่าวค�ำถวายผา้ พระกฐนิ ที่ติดบนผ้าไตร - วางผ้าพระกฐนิ พระราชทานไว้บนพานแว่นฟ้า ยกประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ - ยกพานเทยี นปาฏิโมกข์ ประเคนพระสงฆร์ ูปที่ ๒ - ประธานไปนง่ั เก้าอ้ที ี่จัดเตรยี มไว้ - พระสงฆ์ทำ� พธิ กี ฐนิ กรรม - พระเถระองค์ครองลุกออกไปครองผ้าพระกฐิน เสร็จแลว้ กลบั เขา้ มานงั่ ยงั ท่ีเดิม (ขณะนถี้ า้ มีการบรรเลงดนตรีไทย จะบรรเลงเพลงสาธุการ เมอ่ื พระเถระครองผา้ เสร็จ จะกลับมาน่งั ยังอาสนส์ งฆท์ เี่ ดมิ ใหด้ นตรีหยุดบรรเลงเพลงทนั ที) 80

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม - ประธานประเคนเครื่องพระกฐินพระราชทาน (ถ้ามีพัดรองท่ีระลึกให้ประเคนต่อจาก เคร่ืองพระกฐนิ พระราชทาน) - ประธานและผูม้ ีเกียรตปิ ระเคนจตุปจั จัยไทยธรรมแดพ่ ระสงฆท์ กุ รปู - ประกาศยอดจ�ำนวนเงินที่มีผู้บริจาคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อถวายแด่พระภิกษุ สามเณร และถวายจตุปจั จยั บ�ำรงุ พระอาราม - พระสงฆอ์ นุโมทนา ถวายอดเิ รก - ประธานกรวดน้�ำ - รบั พร - ประธานกราบลาพระประธานประจ�ำพระอโุ บสถ - ประธานกราบลาพระสงฆ์ - เสรจ็ พธิ ี หมายเหตุ ๑) ถ้าไม่มีโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ และผ้าพระกฐินพระราชทานให้จัด เจ้าหน้าท่ี ซึ่งแต่งเคร่ืองแบบปกติขาวอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานส่งให้ผู้เป็นประธานพิธีถวาย ผ้าพระกฐนิ พระราชทาน ณ เชงิ บนั ไดหรอื หนา้ ประตูพระอุโบสถ ๒) เมอื่ ประธานพธิ รี บั ผา้ พระกฐนิ พระราชทานจากเจา้ หนา้ ทแี่ ลว้ ใหอ้ มุ้ ประคองในลกั ษณะ ประนมมือ ยืนตรงแสดงความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ขณะประธาน รบั ผา้ พระกฐินพระราชทานจากเจ้าหนา้ ท่ี ดรุ ยิ างค์บรรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารมี ผู้รว่ มพธิ ียนื ตรง เป็นการถวายความเคารพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จบ ประธานอุ้มประคองผ้าไตรเข้าสู่พระอุโบสถ) ผู้ร่วมพิธียืนตรงเพ่ือต้อนรับผ้าพระกฐินพระราชทานและประธานพิธี เมื่อประธานพิธีกล่าวค�ำถวาย ผ้าพระกฐินพระราชทาน และประเคนพระสงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประธานพิธีและผู้ร่วมพิธี นั่งยังทีน่ ั่งพรอ้ มกนั ๓) ในพิธีนี้ พระสงฆ์ท่ีมีสมณศักดิ์ใช้พัดยศสมณศักดิ์ พระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์ให้ใช้วิธี ประนมมือ (ไมใ่ ชพ้ ัดรองหรอื ตาลปัตร) ๔) ในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ต้องมีการถวายอดิเรก พระอารามท่ีไม่มี พระราชาคณะ ตอ้ งนมิ นตพ์ ระราชาคณะจากพระอารามหรอื วดั อน่ื มาเปน็ ผถู้ วายอดเิ รก และพระสงฆ์ ทจี่ ะถวายอดเิ รกไดจ้ ะตอ้ งเปน็ พระราชาคณะ หรอื พระครเู จา้ คณะจงั หวดั พระครรู องเจา้ คณะจงั หวดั และพระครเู จา้ อาวาสพระอารามหลวงชัน้ เอก ทีถ่ อื พดั เปลวเพลงิ ขึน้ ไป ๕) ในกรณีท่ีเจ้าอาวาสมีสมณศักด์ิต่�ำกว่าพระสงฆ์รูปอ่ืนภายในพระอารามเดียวกัน ให้เจา้ อาวาสนัง่ อาสนะกอ่ นพระสมณศักดริ์ ปู นัน้ ซ่ึงมีสมณศกั ดส์ิ งู กว่าแตไ่ ม่ได้เปน็ เจา้ อาวาส 81

ศาสนพธิ ีและมารยาทไทย ๖) ในกรณที ผ่ี ขู้ อรบั พระราชทานจดั สรา้ งพดั รองทร่ี ะลกึ หรอื ตาลปตั รทร่ี ะลกึ ถวายพระสงฆ์ ให้ใช้พัดรองหรือตาลปัตรที่ระลึกอนุโมทนา ส่วนรูปอื่นท่ีไม่มีพัดรองหรือตาลปัตรที่ระลึกถวายให้ต้ัง พัดยศตั้งแต่อนุโมทนา และพระสงฆ์ท่ีถือพัดรองอนุโมทนาให้เปลี่ยนมาใช้พัดยศก่อนท่ีประธานสงฆ์ จะกล่าวคำ� ถวายอดิเรก ๗) ในขณะที่ ประธานสงฆ์กลา่ วคำ� ถวายอดิเรก “อตเิ รกวสสฺ สตํ ชีวต.ุ อติเรกวสสฺ สตํ ชวี ต.ุ อติเรกวสสฺ สตํ ชีวต.ุ ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหต.ุ ทฆี ายโุ ก โหตุ อโรโค โหต.ุ สขุ โิ ต โหตุ มหาวชริ าลงฺกรณราชา. สทิ ธฺ กิ ิจจฺ ํ สทิ ฺธกิ มฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นจิ ฺจํ. มหาวชิราลงฺกรณราชวรสสฺ ภวตุ สพพฺ ทา ขอถวายพระพร” ประธานพธิ แี ละผรู้ ่วมพิธที กุ ทา่ นลดมอื ลง เมื่อพระสงฆร์ ปู ที่ ๒ รบั “ภวตุ สพพฺ มงคฺ .ํ ....” ประธานพธิ ีและผรู้ ่วมพิธจี งึ ยกมือขึ้นประนมเพ่ือรบั พรตอ่ ไป ๘) การถวายเครอ่ื งพระกฐินพระราชทานจัดใหป้ ระธานถวายตามล�ำดับ ดังนี้ บาตร เครื่องนอน เครื่องใช้ท่ีเก่ียวกับอาหาร เครื่องท่ีเกี่ยวกับแสงสว่าง เครื่องมือโยธา พัดรองหรือตาลปัตรที่ระลึก และเคร่ืองใชห้ รอื จตุปจั จยั ไทยธรรมทผ่ี ูข้ อรับพระราชทานจัดถวาย การถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน ในปจั จบุ นั หนว่ ยงาน องคก์ ร และสอ่ื ตา่ ง ๆ มคี วามเขา้ ใจ และสับสนเก่ียวกับเรอื่ ง “ผแู้ ทนพระองค”์ สง่ ผลใหม้ ีการดำ� เนนิ การตา่ ง ๆ ไม่ถกู ต้องเหมาะสมหลาย ประการ ท�ำให้ประชาชนท่ัวไปเกิดความเข้าใจผิด ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้มีหนังสือถึง ปลดั กระทรวงวฒั นธรรม ที่ นร ๐๕๐๘/ว๒๘๙ ลงวนั ท่ี ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๕ เกย่ี วกบั คำ� จำ� กดั ความ “ผแู้ ทนพระองค์” จงึ ขออธิบายโดยสงั เขปดงั นี้ ในงานพระราชพธิ ี งานพระราชานุเคราะห์ ผู้ท่จี ะเปน็ ผูแ้ ทนพระองคไ์ ดน้ ั้น ต้องเป็นผ้ทู ่สี มเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั พระบรมวงศ์ หรือ พระอนุวงศ์ ทรงพระกรณุ า โปรดเกลา้ โปรดกระหม่อม หรอื โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม หรอื โปรดให้ปฏบิ ัติ หรือ ปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ี แทนพระองค์ สำ� นกั ราชเลขาธกิ ารจะมหี นงั สอื แจง้ ไปยงั กองราชเลขานกุ ารในพระองค์ หรอื กองกจิ การ ในพระองค์ หรอื กองงานในพระองค์ ของแต่ละพระองคท์ ี่ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหม่อม ให้ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ และมีหนังสือแจ้งหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ ผู้ขอพระราชทาน พระมหากรุณา เลขาธิการพระราชวัง สมุหราชองครักษ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง มหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ เป็นต้น ท้ังน้ี สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ภาคผนวก หน้าที.่ .. 82

บทท่ี ๔ แนวทางการจดั งานมงคลพธิ ี การจัดงานที่เป็นพิธีการมักจะมีล�ำดับข้ันตอน เพ่ือให้การด�ำเนินกิจกรรมในพิธีต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่ท�ำหน้าท่ีประธานในพิธีและผู้ร่วมปฏิบัติงานพิธีมีความ เข้าใจตรงกันในการที่จะด�ำเนินกิจกรรม ศาสนพิธีกรจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในล�ำดับ ขั้นตอน วธิ ีการ ลกั ษณะของการจดั งานพธิ ตี ่าง ๆ ไม่วา่ จะเปน็ งานมงคล งานอวมงคล งานกศุ ลพธิ ี หรืองานบุญพิธี ของงานพิธตี ่าง ๆ อยา่ งชดั เจน เพื่อใหก้ ารปฏิบตั ิงานพิธเี ปน็ ไปดว้ ยความเรยี บร้อย สวยงาม นำ� มาซงึ่ ความศรัทธาเลือ่ มใสของผู้ที่เขา้ ร่วมพิธี จะไดก้ ล่าวรายละเอยี ดดังน้ี งานกศุ ลพธิ ี งานกุศลพิธี คือ การจัดงานด้วยปรารภเหตุการณ์สร้างกุศลให้เกิดแก่ตนเอง เพื่อความ เป็นสวัสดิมงคล ซึ่งบุคคลนั้น ๆ จะจัดเองหรือบุคคลอ่ืนจัดให้ก็ได้ เช่น การบรรพชาสามเณร การบรรพชาอุปสมบทเปน็ พระภกิ ษุ การสมาทานศลี ๕ ศีล ๘ หรอื การถอื อโุ บสถศลี การแสดงตน เปน็ พทุ ธมามกะ ส�ำหรับในทน่ี จี้ ะกลา่ วถึงพธิ แี สดงตนเป็นพุทธมามกะไวเ้ พียงพิธีเดยี ว พิธแี สดงตนเปน็ พุทธมามกะ ๑) ไปนมัสการพระสงฆเ์ พื่อแจ้งความประสงค์ นดั หมายวนั เวลา และนิมนตพ์ ระสงฆ์ ๒) ในวันประกอบพิธี ผู้แสดงตนแต่งกายชุดสีขาวล้วน ชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพสีอ่อน พรอ้ มกัน ณ สถานที่ประกอบพิธี ๓) จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเปล่งวาจาบูชาพระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง (กราบ เบญจางคประดิษฐ์ วิธีการปฏิบัติ เป็นการใช้อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก มือ และข้อศอกท้ัง ๒ เขา่ ท้งั ๒ สมั ผัสกับพ้ืน ผชู้ าย นง่ั คุกเขา่ ตัวตรงปลายเท้าต้งั ปลายเท้าและสน้ เท้าชิดกนั นั่งบนสน้ เท้า เท้าท้ังสองห่างกันพอประมาณ มือท้ังสองวางคว่�ำเหนือเข่าท้ังสองข้าง น้ิวชิดกัน (ท่าเทพบุตร) ส�ำหรับผู้หญิง น่ังคุกเข่าตัวตรงปลายเท้าราบ เข่าถึงปลายเท้าชิดกัน น่ังบนส้นเท้า มือท้ังสอง วางคว�่ำเหนือเข่าท้ังสองข้าง น้ิวชิดกัน (ท่าเทพธิดา) เม่ือพร้อมแล้ว ยกมือข้ึนในท่าประนมมือ (อัญชลี) ยกมือข้ึนไหว้ตามระดับที่ ๑ (การไหว้พระ) แล้วทอดมือท้ังสองลงพร้อม ๆ กัน ให้มือ และแขนท้ังสองข้างราบกับพื้น คว�่ำมือห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือท้ังสอง 83

ศาสนพิธีและมารยาทไทย ผู้ชาย ศอกทั้งสองข้างต่อจากเข่าราบไปกับพ้ืน หลังไม่โก่ง ผู้หญิง ศอกท้ังสองข้างคร่อมเข่า เลก็ นอ้ ย ราบไปกบั พน้ื หลงั ไมโ่ กง่ ทำ� ๓ จงั หวะใหค้ รบ ๓ ครงั้ ยกมอื ขน้ึ ไหวใ้ นทา่ ไหวพ้ ระ แลว้ วางมอื ควำ่� เหนือเขา่ ท้งั สองข้าง ในทา่ เตรียมกราบ จากนน้ั ใหเ้ ปลยี่ นอริ ยิ าบถตามความเหมาะสม ๔) ถือพานเครื่องสักการะเข้าไปหาพระสงฆ์ วางพานไว้ด้านขวามือแล้วกราบ ๓ คร้ัง ยกพานเครอ่ื งสกั การะถวาย (วธิ กี ารประเคนสง่ิ ของแกพ่ ระสงฆ์ กรณที พี่ ระสงฆน์ งั่ กบั พนื้ ใหถ้ อื สง่ิ ของ เดินเข่าเข้าไประยะหัตถบาสแล้วยกส่ิงของขึ้นประเคน ผู้ชายจะประเคนสิ่งของในลักษณะมือต่อมือ สว่ นผู้หญิงจะตอ้ งวางบนผา้ รับประเคน) กราบ ๓ คร้ัง ๕) เปล่งวาจากล่าวคำ� นมัสการ (นะโม ๓ จบ) และค�ำปฏิญาณตนเปน็ พุทธมามกะ จบ ๖) เมอื่ พระสงฆ์รับวา่ สาธุ แลว้ กราบ ๓ คร้งั นงั่ ราบกบั พ้ืน ประนมมือรบั ฟังโอวาทจาก พระสงฆ์ เม่ือจบโอวาทแล้ว รับว่า สาธุแล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ อาราธนาศีล ๕ รับศีลจบแล้ว กราบ ๓ คร้ัง ๗) ผูแ้ สดงตนประเคนจตุปจั จัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ (ถ้ามี) ๘) พระสงฆอ์ นุโมทนา ๙) ผ้แู สดงตนกรวดนำ้� – รบั พร ๑๐) ผแู้ สดงตนกราบ ๓ ครงั้ เป็นเสร็จพธิ ี ค�ำบูชาพระรตั นตรัย อิมนิ า สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมงั ปูเชมิ อิมินา สกั กาเรนะ สังฆัง ปเู ชมิ (ถ้าหลายคน เปลี่ยน ปเู ชมิ เปน็ ปูเชมะ) คำ� กลา่ วแสดงตนเปน็ พทุ ธมามกะ ค�ำกลา่ วแสดงตนสำ� หรับผู้ชายคนเดยี ว ต้งั นะโม ๓ จบ “เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ พทุ ธะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ” ค�ำกล่าวแสดงตนสสำหรบั ผู้หญงิ คนเดยี ว เหมอื นกบั คำ� กล่าวแสดงตนของชาย เพยี งแต่เปลย่ี นค�ำ ว่า พทุ ธะมามะโกติ เปน็ พุทธะมามะกาติ เทา่ น้ัน 84

กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม ค�ำแปล ขา้ แตพ่ ระสงฆผ์ ู้เจรญิ ขา้ พเจ้าขอถึง พระผมู้ พี ระภาคเจ้า พระองค์น้ัน แม้ปรินพิ พานแล้ว ทัง้ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะทร่ี ะลกึ นบั ถือ ขอพระสงฆ์จงรบั ข้าพเจา้ ไว้เป็นพทุ ธมามกะด้วยเถดิ คำ� กลา่ วแสดงตนสำ� หรบั ผชู้ ายหลายคน “เอเต มะยัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ ธัมมัญจะ สงั ฆญั จะ พทุ ธะมามะโกติ โน สงั โฆ ธาเรต”ุ คำ� กลา่ วแสดงตนสำ� หรบั ผู้หญงิ หลายคน เหมือนคำ� กลา่ วแสดงตนของชายหลายคน เพียงแต่เปลี่ยนค�ำว่า เอเต มะยัง เป็น เอตา มะยัง และว่า พุทธะมามะโกต ิ เปน็ พุทธะมามะกาติ เทา่ นน้ั งานบุญพิธี งานบุญพิธี คือ การท�ำบุญเพ่ือให้เกิดความสุขสวัสดีและความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ญาตพิ ีน่ ้อง ครอบครัว หรือบุคคลอน่ื ท่ีมีความปรารถนาดตี ่อกนั สถานท่ี ทเ่ี รยี กวา่ งานมงคล และ การท�ำบุญอทุ ศิ ใหแ้ กบ่ รรพบุรุษ หรอื บคุ คลท่ีเสยี ชวี ติ ไปแล้ว เรยี กวา่ งานอวมงคล สำ� หรับในบทนจี้ ะ กล่าวถึงเฉพาะงานบุญพธิ ที เ่ี ปน็ มงคลเทา่ นัน้ การจัดพธิ ที ำ� บุญงานมงคลทวั่ ไป พิธีท�ำบุญงานมงคลท่ัวไป คอื การท�ำบุญและถวายพระสงฆท์ ว่ั ๆ เม่อื มีโอกาสอันสมควร มิได้ปรารภเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นกรณีพิเศษ เช่น การท�ำบุญเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น มีลำ� ดับขั้นตอนของงาน ดงั น้ี การเตรยี มการ ๑) นิมนต์พระสงฆ์ตามจ�ำนวนท่ีมีความประสงค์ ส่วนมากงานมงคลจะนิมนต์พระสงฆ์ จ�ำนวน ๕ รูป ๗ รูป หรอื ๙ รปู หรือตามจำ� นวนทเ่ี จา้ ของงานประสงค์จะให้นิมนต์ ควรแจง้ ไวใ้ นฎกี า นิมนต์ให้เรียบร้อยในเร่ือง วัน เวลา และสถานทใี่ ห้ชัดเจน การรับ - สง่ พระสงฆ์ ๒) จดั เตรยี มโตะ๊ หม่บู ชู า และเครอื่ งนมสั การ พรอ้ มพระพุทธรูป ๓) อาสน์สงฆส์ ำ� หรับพระสงฆ์นั่งเจรญิ พระพุทธมนต์ ๔) เครื่องอุปกรณ์ศาสนพิธีส�ำหรับงานมงคล เช่น สายสิญจน์ ที่กรวดน้�ำ พานรอง สายสิญจน์ ครอบสำ� หรับทำ� น้ำ� พระพทุ ธมนต์ เทยี นท�ำน้�ำพระพทุ ธมนต์ (เทยี นขผ้ี ้ึง น้ำ� หนกั ๑ บาท) ก�ำหญา้ คาส�ำหรับประพรมน้ำ� พระพทุ ธมนต์ 85

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย ๕) เคร่ืองรับรองพระสงฆ์ เช่น ภาชนะใสน่ ้�ำรอ้ น - น�้ำเย็น กระโถน ๖) ถา้ มกี ารถวายภตั ตาหาร จะตอ้ งมกี ารจดั เตรยี มภตั ตาหารคาว - หวาน ไวถ้ วายพระสงฆ์ ๗) ส�ำรับหรือเคร่ืองใส่อาหารคาว - หวาน เพื่อบูชาพระพุทธ และส�ำรับอาหาร คาว - หวาน สำ� หรบั บชู าพระภูมิเจา้ ท่ี ๘) จตุปจั จัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ เท่ากับ จ�ำนวนพระสงฆ์ท่นี มิ นต์ไว้ แนวทางการปฏิบตั ิงาน ๑) ผู้มีเกยี รตพิ ร้อมกนั ณ บริเวณสถานที่ประกอบพธิ ี ๒) เมือ่ ถงึ เวลาทีก่ �ำหนดประกอบพิธี นิมนต์พระสงฆ์ขน้ึ ประจำ� อาสนส์ งฆ์ ๓) ประธานหรอื เจา้ ภาพจุดธปู เทียนบชู าพระรตั นตรยั แล้ว กราบ ๓ ครง้ั ๔) เจ้าหน้าทอี่ าราธนาศีล ๕) เจา้ ภาพ และผ้มู เี กียรตริ ับศีล ๖) เจ้าหน้าทีอ่ าราธนาพระปรติ ร แลว้ ฟงั พระสงฆเ์ จริญพระพุทธมนต์ ๗) เมื่อพระสงฆ์สวดบท นโม ๘ บท ใกล้จะจบ ประมาณบทท่ี ๖ จุดเทียนชนวน ส่งให้เจ้าภาพหรือประธานจุดเทียนท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึง บท “อเสวนา จ พาลานํ...” ๘) เมื่อจุดเทียนน�้ำพระพุทธมนต์แล้ว ประธานหรือเจ้าภาพยกครอบน�้ำพระพุทธมนต์ ประเคนพระสงฆ์องค์ต้น ๙) พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบท “พาหุ...” หรือ บท “มหาการุณิโก นาโถ...” ใหจ้ ดั เตรียมยกส�ำรบั บชู าข้าวพระพทุ ธ มาตง้ั ยงั ทท่ี ่จี ดั เตรียมไว้หน้าเคร่ืองบูชาพระพุทธ ๑๐) จดั เตรยี มและยกภตั ตาหารสำ� หรบั ถวายพระสงฆม์ าตงั้ ไวย้ งั ทที่ พ่ี ระสงฆจ์ ะฉนั ภตั ตาหาร ๑๑) เชญิ ประธานหรอื เจ้าภาพประเคนภตั ตาหารแด่พระสงฆ์ ๑๒) เมื่อพระสงฆ์เสร็จภัตตกิจแล้ว ให้ยกเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมต้ังไว้ ณ เบื้องหน้า พระสงฆ์แตล่ ะรูป ๑๓) เชญิ เจา้ ภาพหรือประธานประเคนเครื่องจตปุ ัจจยั ไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๑๔) พระสงฆ์อนุโมทนา ๑๕) เจา้ ภาพหรือประธานกรวดน้ำ� - รบั พร ๑๖) เสร็จพธิ ีทำ� บญุ 86

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม การจัดพิธีทำ� บญุ งานมงคลเฉพาะงาน ๑. พิธีหลอ่ พระพุทธรปู การหลอ่ พระพทุ ธรปู หรอื พระสงฆท์ เี่ ปน็ บรู พาจารย์ ในปจั จบุ นั ถอื เปน็ สงิ่ ทน่ี า่ ปตี ยิ นิ ดี และ เป็นกศุ ลอย่างย่งิ เน่ืองจากเปน็ การสรา้ งพระขึน้ ดว้ ยตนเอง แทนทจี่ ะเปน็ การเช่า (ซอ้ื ) เพราะเป็นการกระทำ� ทีเ่ กิดจากความศรทั ธาและถูกตอ้ งตามโบราณประเพณี เนอ่ื งจากการทีจ่ ะหล่อ หรอื สรา้ งพระนนั้ จะตอ้ งมกี ารอญั เชญิ เทวดามาชมุ นมุ เพอื่ รบั ทราบและอนโุ มทนาในการอนั เปน็ มงคล และทเี่ ปน็ กศุ ลสำ� คญั ก็เพราะไดท้ �ำบญุ โดยช่วยให้ผู้ร่วมพิธีได้มีส่วนรว่ มจัดกจิ กรรมและ เกดิ พทุ ธานสุ สตอิ ยเู่ สมอ ยงิ่ กวา่ นนั้ ยงั เชอ่ื กนั วา่ สามารถทำ� ใหผ้ สู้ รา้ งและผรู้ ว่ มพธิ มี ชี าตารงุ่ โรจนห์ รอื ดีขนึ้ กวา่ ธรรมดา ทำ� ใหห้ มดเคราะห์ หมดโศกได้ การเตรยี มการ ๑) รัว้ กา่ ย ๒) ราชวัตรฉตั รธง ๓) ต้นกลว้ ย ต้นอ้อย จำ� นวน ๘ คู่ ๔) สายสญิ จน์ ส�ำหรับวงบรเิ วณราชวัตรฉัตรธง และโยงไปที่พธิ สี งฆ์ ๕) มณฑลพิธี ตั้งหา่ งจากบรเิ วณเผาหนุ่ เททอง ๖) โลหะต่าง ๆ ทจี่ ะใช้หลอ่ พระพุทธรปู หรอื พระบุรพาจารย์ ๗) เครื่องนมสั การพระรัตนตรยั (โต๊ะหมู่บชู า ดอกไม้ ธูป เทียน เปน็ ตน้ ) ๘) เทยี นวปิ สั สี จ�ำนวน ๑ เลม่ น้�ำหนกั ประมาณ ๑๒ บาท ไส้ ๓๒ เสน้ ๙) เครือ่ งใชพ้ ธิ ีสงฆ์ (ตามทีก่ ล่าวไวใ้ นบทที่ ๒ เร่ืองการเตรียมการและปฏิบัตงิ าน) ๑๐) ถ้ามพี ธิ ีบวงสรวง (จะต้องจัดเตรียมเครอ่ื งบวงสรวงบูชาเทวดาประจำ� ฤกษ์) ๑๑) ชอ้ นสำ� หรบั ประธานหรือเจ้าภาพใสท่ องและเทลงสูเ่ บา้ หลอมทอง ๑๒) นิมนต์พระสงฆ์เจรญิ พระพทุ ธมนต์ (ถ้าเป็นส่วนราชการ นิยมนมิ นตพ์ ระสงฆ์ ๑๐ รูป ถ้าเป็นเอกชนนยิ มนมิ นตพ์ ระสงฆ์ ๙ รูป) ๑๓) นิมนตพ์ ระสงฆอ์ ธษิ ฐานจิต ประจำ� ทศิ ทง้ั ๔ ตามราชวัตรฉตั รธง ๑๔) เทียน ๔๐ เล่ม ธูป ๔๐ ดอก (ส�ำหรับเจ้าภาพหรือประธานจุดบูชาหรือสังเวย เทวดา เพอื่ บูชาเทวดานพเคราะห์ ๙ องค์ ตามก�ำลงั เทวดาแตล่ ะองค์ ดาวฤกษ์ ๒๗ พระอินทร์ ๑ พระพรหม ๑ พระยม ๑ และพระกาล ๑) ๑๕) ครอบนำ�้ พระพุทธมนต์ พรอ้ มก�ำหญา้ คาทป่ี ระพรมน�ำ้ พระพทุ ธมนต์ ๑๖) เครอ่ื งจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ 87

ศาสนพิธแี ละมารยาทไทย แนวทางการปฏบิ ตั งิ าน พธิ บี วงสรวงบชู าฤกษ์ (กอ่ นถงึ เวลาฤกษเ์ ททองประมาณ ๒ ชวั่ โมง) ๑) เจ้าหนา้ ทีจ่ ดั โต๊ะเครอ่ื งบวงสรวงบูชาฤกษ์ - สังเวยเทวดา (กลางแจง้ นอกปะรำ� พธิ )ี ๒) จดุ ธปู เทยี นทโ่ี ตะ๊ เคร่ืองบวงสรวงบชู าฤกษ์ - สงั เวยเทวดา ๓) พราหมณ์ หรือ โหร อ่านโองการทำ� พธิ บี วงสรวงบูชาฤกษ์ - สงั เวยเทวดา ๔) นิมนต์พระสงฆข์ ้ึนประจำ� อาสนส์ งฆ์ ๕) ประธานหรือเจ้าภาพจดุ ธปู เทยี นบูชาพระรตั นตรยั กราบพระ ๓ ครั้ง ๖) เจา้ หน้าทีอ่ าราธนาศลี ๗) ประธานหรือเจา้ ภาพ และผ้รู ่วมพธิ รี ับศีล ๘) เจา้ หนา้ ที่อาราธนาพระปริตร ๙) พระสงฆเ์ จรญิ พระพทุ ธมนต์ ๑๐) ก่อนที่จะขน้ึ บท “พทุ ธ.ํ ..” เชญิ เจา้ ภาพจุดเทยี นชยั และเทียนมงคล ๑๑) เมอื่ พระสงฆเ์ จรญิ พระพทุ ธมนตก์ อ่ นจะถึงบท “อเสวนา จ พาลาน.ํ ..” เชิญเจา้ ภาพ จดุ เทยี นทำ� น้ำ� พระพุทธมนต์ และประเคนครอบน�้ำพระพุทธมนตแ์ ดพ่ ระสงฆ์องค์ตน้ ๑๒) พระสงฆเ์ จรญิ พระพุทธมนต์จบ ๑๓) ใกล้เวลาฤกษ์เททองหล่อพระ นิมนต์พระสงฆ์เถราจารย์น่ังประจ�ำอาสน์สงฆ์ เพือ่ อธิษฐานจติ ท่ีส่ีมุมของราชวตั รฉตั รธง ๑๔) นมิ นต์ประธานสงฆ์ประพรมนำ้� พระพุทธมนตท์ ่ัวบรเิ วณสถานที่ประกอบพธิ ีเททอง ๑๕) คร้ันได้เวลาปฐมฤกษ์ เจ้าหน้าที่เชิญประธานพิธีหรือเจ้าภาพจุดเทียนวิปัสสีที่หน้า โต๊ะหม่บู ูชา แล้วออกไปยังสถานท่เี ททอง ๑๖) เจ้าหนา้ ทน่ี �ำเบา้ หลอมทองมาวาง ณ เบอื้ งหนา้ ประธานหรอื เจา้ ภาพ ๑๗) เจ้าหนา้ ทีน่ ำ� ทองท่ีจดั เตรยี มไวส้ ่งใหป้ ระธานพธิ ีหรอื เจ้าภาพ ๑๘) ประธานหรอื เจ้าภาพรับทองจากเจ้าหนา้ ท่ีแลว้ ใส่ทองลงไปในชอ้ นท่ีเจา้ หนา้ ที่ถือ ๑๙) ประธานหรอื เจ้าภาพรบั ดา้ มช้อนทีใ่ ส่ทองแล้ว และเทลงในเบา้ หลอมทอง ๒๐) ประธานหรอื เจา้ ภาพถอื ปลายสญิ จนข์ า้ งหนงึ่ และอกี ขา้ งหนง่ึ เจา้ หนา้ ทน่ี ำ� ไปเชอื่ มตอ่ กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเบ้าหลอมทอง ประธานหรือเจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีประนมมืออธิษฐานจิต จนกวา่ ชา่ งหล่อจะเททองลงหุ่นหล่อพระเสร็จเรียบรอ้ ยทุกหุ่น ๒๑) ขณะช่างหล่อเททองลงหุ่นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาบท “ชยนโฺ ต โพธิยา มเู ล...” ต่อด้วย “โส อตฺถลทฺโธ สุขิโต...” (ถ้าประธานหรือเจ้าภาพเป็น สตรี ให้ต่อด้วย สา อตฺถลทฺธา สุขิตา...”) แล้วต่อด้วย “สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ..., นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ..., ยงฺกิญฺจิ รตนํ โลเก..., สพเฺ พ พุทฺธา พลปฺปตฺตา... ๓ จบ , ภวตุ สพฺพมงคลํ...” ๒๒) ประธานหรอื เจ้าภาพถวายเครือ่ งจตปุ ัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๒๓) พระสงฆ์อนุโมทนา ๒๔) ประธานหรอื เจ้าภาพกรวดน้�ำ - รบั พร ๒๕) เสรจ็ พิธเี ททองหล่อพระ 88

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๒. พิธีพุทธาภเิ ษก หรือ มงั คลาภเิ ษก เม่อื มกี ารหล่อพระพุทธรูป หลอ่ รูปพระเถราจารย์ บุรพาจารย์ การจดั สร้างพระกรง่ิ หรือ การจดั สรา้ งวตั ถมุ งคล มกี ารปลกุ เสกพระพมิ พห์ รอื เครอื่ งรางของขลงั ในการเชน่ น้ี จะมพี ธิ พี ทุ ธาภเิ ษก หรือมงั คลาภเิ ษก ซ่งึ มกั จะทำ� พิธีเช่นนใี้ นอโุ บสถหรอื ศาลาที่มีพระประธานประดษิ ฐานอย่ปู ระจ�ำ การจัดสถานทพ่ี ิธีพทุ ธาภิเษก การจดั สถานที่พธิ พี ุทธาภเิ ษก พระสงฆ์เจรญิ พระพุทธมนตใ์ นพธิ พี ุทธาภเิ ษก สมเดจ็ พระราชาคณะ จุดเทียนชัย สมเด็จพระราชาคณะประพรมน้ำ� พทุ ธมนต์ พระสงฆส์ วดพทุ ธาภิเษก 89

ศาสนพธิ แี ละมารยาทไทย ผงั การจดั พธิ ีพทุ ธาภเิ ษก 90