พระราชลัญจกร พระราชลัญจกรประจา่ รัชกาลท่ี 1 เป็นตรารปู \"ปทุมอุณาโลม\" หรือ \"มหาอุณาโลม\" หมายถึง ตาท่ีสาม ของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ \"อุ\" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนาตราอุณาโลมท่ีใช้ตีประทับบนเงิน พดด้วงมี รูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระ นามเดมิ ว่า \"ดว้ ง\" อยู่ในกรอบลายกนก เร่มิ ใชเ้ มื่อ พ.ศ. 2328 ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก พระพทุ ธรูปประจาพระชนมวารและประจารชั กาล
พระพุทธรูปประจ่าพระชนมวารเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรตามวันพระบรมราชสมภพ สร้างราว พ.ศ.2410-2411 สร้างด้วยทองค่า บาตรลงยา สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพ่ือทรงอุทิศ พระราชกุศลถวายพระบรมอัยกาธิราช สูง 29.50 เซนติเมตร ประดษิ ฐานในหอพระสรุ าลยั พมิ าน พระพุทธรูปประจ่ารัชกาล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ภายใต้พระเศวตฉัตร 3 ช้ัน สร้างราว พ.ศ. 2367-2394 หน้าตักกว้าง 8.3 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 12.5 ซ.ม. สูงรวม 46.5 ซ.ม. ประดษิ ฐานในหอพระสรุ าลยั พิมาน พระราชกรณียกิจ ฟื้นฟูขนบประเพณี ตลอดจนศิลปกรรมและงานช่างฝีมือต่างๆ พระบรมรปู พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมอ่ื เข้าสู่ยุคสมัยกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเสด็จข้ึนครองราชย์สมบัติในปี 2325 ทรงต้ังพระราชปณิธานที่จะฟ้ืนฟูขนบประเพณี ตลอดจนศิลปกรรมและงานชา่ งฝีมือต่างๆ ใหก้ ลบั คืนดังเดิม ดังนั้นเรือพระราชพิธีจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ และจัดสร้างขึ้นใหม่จากเดิมอีกหลายล่าโดยเฉพาะเรือหลวงช่ือ “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” เพื่อเป็นพระราช พาหนะและในการแห่พระพุทธรูปทางน่้า ซึ่งเรือพระที่น่ังสุพรรณหงส์นี้ มีการจัดสร้างคร้ังแรกในสมัยกรุงศรี อยุธยาต้นรัชกาลพระมหาจักรพรรดิ ส่าหรับการเสด็จพระราชด่าเนินทางชลมารคสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น มีการ กล่าวถึงเม่ือครั้งเสด็จไปพระราชทานกฐินทางชลมารค ณ วัดบางหว้าใหญ่ กับวัดหงส์ ทรงใช้ขบวนเรือ และ เรือพระท่ีน่ัง ได้แก่ เรือทรงพระกฐินใช้เรือพระที่น่ังใหญ่ แคร่จัตุรมุข เรือดั้งอาสาวิเศษ ซ้ายขวาชักเรือพระ กฐิน เรือพระที่นั่งทรง คือเรือพระท่ีน่ังศรีสักหลาด เรือคู่ชัก 2 ล่า คือเรือพระที่น่ังทองแขวนฟ้าของบ้านใหม่ กับของโพเรียง เรือด้ังน่าเสด็จ 4 คู่ เรือตามเสด็จ นอกจากจะมีขบวนหลวงที่จัดเป็นขบวนกรีธาทัพเรืออย่าง โบราณแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และประชาราษฎร์ท่ีมีฐานะยังได้ตกแต่งเรือด้วย ลักษณะต่างๆ เช่น ท่าเป็นจระเข้ หอย ปลา และสัตว์น่้าต่างมาสมทบเข้าขบวน เป็นขบวนน่าและขบวนตาม ขบวนหลวง เรือบางล่ามีวงป่ีพาทย์และการละเล่นต่างๆ ไปในเรือด้วยซึ่งเรือดนตรีในขบวนนี้มีมาแต่โบราณ
แล้วเพ่ือให้ฝีพายไม่เหน็ดเหน่ือยเร็วแต่ให้มีความสนุกสานไปด้วย นอกจากน้ี ในสมัยรัชกาลท่ี 1 ยังพบว่า มีการใช้ขบวนเรือในงานพระเมรดุ ว้ ย แต่ไม่มากนัก เช่น งานพระเมรุพระบรมศพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซ่ึง รชั กาลท่ี 1 ไดเ้ สดจ็ โดยขบวนทางชลมารค ไปยงั วดั ยเ่ี รอื ปจั จุบนั คอื วัดอินทาราม ฝ่ังธนบุรี ประกอบด้วยเรือ พระท่ีนั่งศรสี ักหลาด เรอื พระทน่ี ั่งทองแขวนฟ้า บ้านใหม่ และเรอื พระที่นัง่ ทองแขวนฟ้า โพเรียง พระราชกรณียกจิ ดา้ นการชาระประมวลกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ต้ังคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาช่าระกฎหมายท่ีมีอยู่ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อน่ามาใช้เป็นหลักการ ปกครองต่อไป ซึ่งกฎหมายที่ช่าระขึ้นใหม่มีช่ือว่า กฎหมายตราสามดวง มีความยาวเป็นสมุดยกแปด 3 เล่ม รวม 1,677 หน้า ใช้เวลาในการช่าระ 11 เดือน ซึ่งกฎหมายตราสามดวงน้ีได้ใช้มาอย่างยาวนานจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว (รัชกาลที่ 5) รวมระยะเวลา 131 ปี พระราชกรณียกิจดา้ นการปกครอง การปกครองสมัยน้ันแบ่งเป็นหัวเมืองช้ันในและชั้นนอก ต่าแหน่งท่ีรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ คือ ต่าแหนง่ กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ระบบการบริหารมีอัครเสนาบดี 2 ต่าแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่ถวายค่าปรึกษาแก่ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว และสมุหนายกมหี น้าท่ปี กครองดแู ลความสงบเรยี บร้อยในพระนคร
เสนาบดจี ตุสดมภ์ ดูแลด้านตา่ งๆ มี 4 ตา่ แหนง่ ประกอบดว้ ย 1. เสนาบดีกรมเมือง หรือ กรมเวียง มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจ่าต่าแหน่ง มีหน้าที่บังคับ บญั ชารักษาความปลอดภัยใหแ้ กร่ าษฎรทัว่ ไปในราชอาณาจักร 2. เสนาบดีกรมวัง มตี ราเทพยดาทรงพระนนทิกร(โค) เป็นตราประจ่าต่าแหน่งมีหน้าท่ีบังคับบัญชา ภายในพระบรมมหาราชวัง และพิจารณาความคดีแพง่ 3. เสนาบดีกรมพระคลัง มีตราบัวแก้วเป็นตราประจ่าต่าแหน่งมีหน้าที่ในการรับ – จ่าย และเก็บ รักษาพระราชทรัพย์ท่ีได้จากการเก็บส่วยอากร รวมถึงบังคับบัญชากรมท่าและการค้าขายกับต่างประเทศ รวมถงึ กรมพระคลังต่างๆ เช่น กรมพระคลังสนิ คา้ 4. เสนาบดีกรมนา มีตราพระพิรุณทรงนาคเป็นตราประจ่าต่าแหน่ง มีหน้าท่ีบังคับบัญชาเกี่ยวกับ กจิ การไร่นาท้ังหมด พระราชกรณียกจิ ด้านการฟ้ืนฟูขนบธรรมเนยี ม และศิลปกรรม เครอื่ งราชปู โภค ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการฟ้ืนฟูขึ้นใหม่ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีศรี สัจจปานกาลถือน้่าพระพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีอาพาธพินาศ(เป็นพิธีเกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาดตาม ความเชื่อของสมัยกอ่ น) พระราชพธิ ีสถาปนาเจ้าประเทศราช พระราชพิธีผนวช พระราชพธิ ีโสกันต์ พระราชพิธี เหลา่ นี้ นอกจากท่าเพอ่ื ความเป็นสริ มิ งคล ยังเปน็ การแสดงให้เห็นวา่ บา้ นเมืองเข้าสูส่ ภาวะปกติแล้ว นอกจากนย้ี งั โปรดใหส้ รา้ งสิ่งของเครอ่ื งใช้ประกอบพระเกียรติยศส่าหรับพระมหากษัตริย์รวมเรียกว่า เครื่องราชูปโภค เป็นงานประณีตศิลป์ท่ีทรงคุณค่า เช่น เคร่ืองเบญจราชกกุธภัณฑ์ ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พระแส้จามรีกับวาลวีชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน เครื่องประดับ ต่างๆ เชน่ พระชฎากลีบ พระสงั วาล พระมหาสงั ข์เคร่ืองสูง พระแสงราชศาสตราวุธ พระโกศ เคร่ืองราชูปโภค ดังกล่าว ปัจจุบันยงั คงอัญเชญิ มาใช้ในพระราชพิธสี า่ คญั เสมอ
พระราชกรณียกิจทส่ี าคญั ในการทานุบารงุ พระศาสนา ไดแ้ ก่ การสงั คายนาพระไตรปิฎก เป็นพระราชกรณียกจิ ทส่ี า่ คญั ทีส่ ุด โดยตงั้ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จ พระสังฆราชและพระราชาคณะขึ้นมาเพื่อช่าระพระไตรปิฎก เน่ืองจากพระไตรปิฎกท่ีมีอยู่มีความผิดเพี้ยน และบันทึกเป็นหลายอักษร ทั้งอักษรลาว รามัญ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่าระให้ถูกต้อง และบันทึกเป็นอักษรขอม จารึกลงบนใบลาน แล้วเก็บไว้ท่ีหอพระมณเฑียรธรรม แล้วสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ตามพระอาราม หลวงต่างๆ เพ่อื ได้ใช้ศกึ ษาตอ่ ไป การกวดขันสมณปฏบิ ตั ิ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระเถระชั้น ผู้ใหญ่ ให้ด่ารงสมณศักดิ์รับผิดชอบศาสนาให้รุ่งเรืองต่อไป และได้ทรงตราพระราชก่าหนดกฎหมายกวดขัน ความประพฤติของพระสงฆ์ไวอ้ ย่างเคร่งครดั วดั พระเชตุพนวิมลมงั คลาราม การสร้างวัด และการบูรณปฏิสังขรณ์ การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เม่ือมีการสร้างพระนครขึ้นใหม่ รัชกาลที่ 1 ได้พยายามสร้างราชธานีให้เหมือนกรุงศรีอยุธยา แม้แต่วัดวา อารามกใ็ ห้มชี อื่ เหมอื นกบั วดั ในสมัยอยุธยา อาทิ การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้อยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นพุทธาวาส ก็เลียนแบบวัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยาสร้างวัดมหาสุทธาราม ( วัดสุทัศน์เทพวราราม ) เพื่อ เป็นที่ประดิษฐาน พระศรีศากยมุนี โดยสร้างเลียนแบบ วัดพนัญเชิง นอกจากวัดท่ีสร้างแล้วยัง บูรณะปฏสิ งั ขรณ์วดั อ่ืน ๆ อกี มาก เชน่ วัดโพธาราม ไดร้ ื้อของเดิมทงั้ หมดแลว้ สรา้ งขน้ึ ใหม่ เปล่ียนชอ่ื เปน็ วดั พระเชตุพนวมิ ลมงั คลาวาส ภายหลังเปล่ียนชอื่ เปน็ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ )วัดน้ีถือว่าเป็น วัดประจ่ารชั กาลที่ 1 วัดสระเกศวรวิหาร ( วดั สระแก ) วัดระฆังโฆสิตาราม ( วัดบางหว้าใหญ่ ) วัดยานนาวา ( วดั คอกกระบือ ) วดั สุวรรณาราม วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา วัดนี้ถือ วา่ เป็นวดั ประจ่าราชวงศจกั รี
พระศรีสักยมนุ ี หรือพระศรศี ากยมุนี (หลวงพ่อโต) พระประธานในพระวหิ ารหลวง วดั มหาธาตยุ วุ ราชรังสฤษฏิ์ การสังคายนาพระไตรปิฏก ในสมัยสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ ได้มีการช่าระพระไตรปิฎก แต่ท่าไม่ส่าเร็จเพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน ใน ปี พ.ศ. 2331 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ด่าเนินการต่อ โดยมี สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) เป็นประธาน ได้มีการ คัดเลอื กพระสงฆ์ท่ีมีความรู้ทางพระปรยิ ัตธิ รรม กับราชบณั ฑิต มาชว่ ยกันสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรี สรรเพชญ ( วัดนิพพานาราม ) ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ( วัดสลัก ) เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎก เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้คัดลอก สร้างเป็นพระไตรปิฏกฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ แต่เดิมเรียก ฉบับทอง หรือฉบับทองทึบ เพราะปิดทองทึบทั้งหมด แล้วน่าไปไว้ในหอพระมณเทียรธรรม วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม ต่อมาภายหลังได้สร้างขึ้นอีก 2 ชุด เรียก ฉบับทองชุบ และฉบับรองทรง หรือ ฉบับข้างลาย แล้ว โปรดให้คัดลอกแจกจ่ายไปตามวดั วาอารามต่าง ๆ
การรวบรวมพระพทุ ธรูปโบราณ พระพุทธสหิ ิงค์ เน่ืองจากบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ มีพระพุทธรูปท่ีหล่อทิ้งไว้ กลางแดดกลางฝนตามวัดร้างต่าง ๆ มากมายไมม่ ผี ูใ้ ดดแู ลเอาใจใสจ่ ึงโปรดให้อัญเชิญมาไว้ที่ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปส่วนใหญ่น่ามาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ พระพุทธรูปท่ีส่าคัญ ที่อัญเชิญมา ได้แก่ พระพุทธสิงหิงค์ อัญเชิญมาจาก เชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในวังหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน พระศรีศากยมุนี อัญเชิญมาจากวิหาร หลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ในวิหารหลวงวัดสุทัศน์ ฯ พระพุทธเทวปฏิมากร อัญเชิญมา จากวัดศาลาสี่หน้า ( วัดคูหาสวรรค์ ) ธนบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน วิมลมงั คลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระโลกนาถ อัญเชญิ มาจาก วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยา มาประดิษฐานใน พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธ์ิ ) พระศรีสรรเพชญ อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยาแต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ช่ารุดเพราะถูกพม่าเผาเพ่ือลอกเอาทองไป จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ ในพระมหาเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลามราม แล้วพระราชทานนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดา ญาณ ซ่ึงถือกันว่า เป็นพระมหาเจดีย์ประจ่ารัชกาลท่ี 1พระพุทธรูปที่ส่าคัญอีกองค์คือ พระแก้วมรกต ได้ อัญเชิญ นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะคนแก่พระสงฆ์ และทรงคุณธรรมไป ประจ่าอยตู่ ามพระอารามต่างๆและมีความเป็นระเบยี บเรยี บรอ้ ยสบื ตอ่ ไป
ตรากฎหมายพระสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎหมายคณะสงฆ์ท่ี เรียกว่า กฎพระสงฆ์ ขึ้นในระหว่าง ปี พ.ศ.2344 – 2325 ดังท่ีปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวง แห่งกรุง รั ต น โ ก สิ น ท ร์ นั บ เ ป็ น ก ฎ ห ม า ย ค ณ ะ ส ง ฆ์ ชุ ด แ ร ก ที่ ป ร า ก ฎ ห ลั ก ฐ า น อ ยู่ ถึ ง ปั จ จุ บั น ในการตรากฎหมายคณะสงฆ์โดยส่วนรวม ทรงมีพระราชประสงค์ท่ีส่าคัญคือ เพ่ือให้พระภิกษุสงฆ์ และสามเณร ประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ให้พระราชาคณะ เจ้าอธิการ และเจ้าหน้าที่ สังฆการี ท่าการก่ากับดูแลและลงโทษผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัย ตามสมควรแก่โทษหนักเบา ที่ พระพทุ ธเจ้าไดท้ รงบัญญตั ิไว้ รวมทง้ั ที่ทรงตราไวใ้ นกฎพระสงฆน์ ีด้ ้วย นอกจากน้นั ในแต่ละฉบับจะทรงปรารภ เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนเฉพาะกรณี ๆ ไป อันเป็นสาเหตุให้ต้องตราก ฎพระสงฆ์ฉบับนั้น ๆ ขึ้นมา การทม่ี ีกฎพระสงฆข์ นึ้ มาน้ี สะทอ้ นให้เห็นเหตกุ ารณใ์ นครงั้ นัน้ โดยเรม่ิ จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้ง ท่ีสอง เม่ือปี พ.ศ. 2310 เกิดบ้านแตกสาแหรกขาด ประชาชนพลเมืองเกิดความระส่าระสายไปทั่ว ภิกษุ สามเณรประพฤติตนย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ไม่เป็นท่ีต้ังศรัทธาของประชาชนเช่นท่ีเคยเป็นมาในสมัยก่อน พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟา้ ฯ ในฐานะท่ีเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก จึงทรงเร่งรับฟ้ืนฟูสถานภาพของ พระพทุ ธศาสนาไปพร้อม ๆ กนั กบั ทท่ี รงเรง่ รบี ฟืน้ ฟูสภาพของบา้ นเมือง ให้พ้นจากจดุ วกิ ฤตโิ ดยเร็วทสี่ ุด เงินตรา เงินตราที่ใช้กันในรัชกาลที่ 1 นั้น ท่าเป็นเงินพดด้วง (เรียกกันอีกอย่างหน่ึงว่า “เงินกลม”) เช่นเดียวกบั ทเ่ี คยใช้กนั มาแตก่ ่อนซึ่งมอี ยู่ 4ขนาดด้วยกันคือ ชนิดราคา 1 บาท ชนิดราคา 2 สลึง ชนิดราคา 1 สลึง และชนิดราคา 1 เฟ้ือง ส่วนตราท่ีประทับ ในสมัยรัชกาลท่ี 1 – 3 เงินตราหลักที่ใช้ยังคงเป็นเงินพดด้วง เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงตราประจ่ารัชกาลที่ใช้ประทับเท่านั้น โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกโปรดใหม้ กี ารผลิตพดดว้ ง ประทับตรา “บัวอุณาโลม” ซ่ึงเป็นเคร่ืองหมายประจ่ารัชกาล และตราพระ แสงจกั ร ซง่ึ เป็นตราประจ่าแผน่ ดนิ มขี นาดและราคาตา่ ง ๆ เชน่ ต่าลึง บาท กง่ึ บาท สลงึ เฟือ้ ง
การฟ้นื ฟูศิลปวฒั นธรรม การฟ้ืนฟูศิลปวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ส่วนใหญ่จะเป็น การฟ้นื ฟูในด้านวรรณกรรมเป็นสา่ คญั โดยทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองคเ์ องบ้าง กวีและผู้รู้เขียนข้ึนมาบ้าง และด้วยความที่พระองค์ทรงสนพระทัยในงานด้านวรรณศิลป์เป็นอย่างมาก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์งาน วรรณกรรมท่ีทรงคุณค่าไว้จ่านวนหนึ่ง ที่รู้จักกันดีได้แก่ พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรต์ิ อันเป็นสุดยอด วรรณคดี เอกของไทย ดังจะเหน็ ไดว้ ่าเรื่องราวของวรรณคดีเร่ืองนี้ปรากฏอยู่ในงานศิลปะแขนงต่างๆ มากมาย เช่น จิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์วิหารต่างๆ หรือการแสดงโขน เป็นต้น ซ่ึงรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลท่ี 1 น้ี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์ลงในสมุดปกด่าแบบโบราณ ความยาว ประมาณ 102 เล่มจบ นับว่าเปน็ วรรณคดไี ทยทีม่ คี วามรามเกยี รต์ิยาวมากเร่อื งหนงึ่ การติดตอ่ กับตา่ งประเทศ การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้าน การติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325 กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็ คอื องเชยี งสอื ได้ล้ภี ยั จากพวกกบฎแห่งเมอื งไกเชิงไดพ้ ามารดาเขา้ มาอย่ใู นเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภไ์ ว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธ ยุทธภณั ฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า \"พระเจ้า ยาลอง\" การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า การติดต่อกับเขมรนักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมร ยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้ส่าเร็จราชการ ประเทศเขมรทรงชุบเล้ียงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร
ทรงพระนามว่า \" สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี \" และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครอง เมอื งพระตะบองข้นึ กับไทย ผนู้ ้เี ป็นตน้ ตระกลู อภยั วงศ์ การติดต่อกับประเทศตะวันตก ประเทศโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเม่ือ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลท่ี 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่าง สมเกียรติ ประเทศอังกฤษ มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบท่ีประดบั พลอยกบั ปนื ดา้ มเงินกระบอกหน่ึง ตอ่ มาทรงแต่งตั้งให้เปน็ พระยาราชกปั ตนั การปอ้ งกนั ราชอาณาจกั ร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นา ทัพในการทาสงครามกบั พมา่ ทั้งหมด 7 คร้ังในรัชสมยั ของพระองค์ ได้แก่ สงครามครง้ั ที่ 1 พ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ เม่ือจอมร้างบ้านเคียนบิดาของท่านผู้หญิงจัน และท่านผู้หญิงมุก ได้ถึงแก่กรรมลง พระถลางอาด บุตรชายซง่ึ เปน็ น้องชายท่านผู้หญิงจันได้ครองเมืองถลาง ครองได้ไม่นานก็ถูกผู้ร้ายยิงตาย หลังสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีปราบก๊กพระยานครได้ประมาณ 7 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) เป็นเจ้าเมืองถลาง คร้ันเม่ือพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) เจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม กองทหาร จากเมืองหลวงที่ยึดค่ายปากพระได้เข้าเกาะตัวจับกุมท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปท่ีค่ายปากพระ ในข้อ กลา่ วหาอา้ งว่าสามเี ปน็ หนี้แผ่นดนิ
รปู วาดพระราชวังของพระเจา้ ปดงุ ท่ีเมืองอมระปุระ โดยทูตชาวอังกฤษ ช่ือ Michael Symes ในปี พ.ศ. 2338 พระเจ้าปดุง เป็นพระมหากษัตริย์ล่าดับท่ี 5 แห่งราชวงศ์อลองพญา (หรือเป็นองค์ท่ี 6 หากนับรวม พระเจ้าหม่องหม่องด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสล่าดับท่ี 5 ใน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลอง พญา ข้ึนครองราชยโ์ ดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าป ดุง เม่อื ทรงครองราชยม์ พี ระนามวา่ \"ปโดงเมง\" หมายถึง \"พระราชาจากเมืองปโดง\" แต่มีพระนามที่เป็นท่ีเรียก ขานในพมา่ ภายหลงั ว่า \"โบดอพญา\" พระเจ้าปดุง เม่ือเสด็จข้ึนครองราชย์แล้ว ได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต ด้วยกองทัพท่ียิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบ รามัญ ไทใหญ่ มณีปุระ ยะไข่ ซ่ึงการท่าสงครามชนะ ยะไข่ หรอื อะรากัน ซ่ึงเป็นดินแดนทางตะวันตกของพม่า ท่ีพม่าไม่เคยเอาชนะมาก่อนเลย หลังสงครามครั้งน้ี พระองค์ยังได้อัญเชิญพระมหามัยมุนี อันเป็นพระพุทธรูปประจ่าชาติพม่า จากยะไข่มาประทับ ที่มัณฑะเลย์ พระเจ้าปดุง สั่งเกณฑ์ทัพจ่านวนกว่า 1 แสน 2 หมื่นคน แยกเป็น 5 สาย 9 ทัพ มากท่ีสุดเท่าที่ เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์ หรือท่ีเรียกว่า \"สงครามเก้าทัพ\" บุกกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2328 โดย พระองค์ทรงยกมาเป็นทัพหลวง โดยต้ังทัพและตั้งฐานบัญชาการที่เมาะตะมะ แต่เม่ือพระองค์เสด็จจากอังวะ ราชธานีสู่เมาะตะมะแล้ว ในพงศาวดารพม่าระบุว่า เมื่อทรงทราบว่าทางเมาะตะมะเตรียมเสบียงไม่พอ พระองค์ทรงกร้ิว ถึงขนาดขว้างหอกใส่นายทหารผู้รับผิดชอบในงานน้ีในท่ีประชุมพลทันที และจากเหตุครั้งน้ี เอง เป็นสาเหตสุ ่าคญั สว่ นหนึง่ ทท่ี ่าใหก้ องทัพพมา่ ไมพ่ รอ้ ม จงึ ไมส่ ามารถทา่ การสงครามครง้ั น้สี ่าเร็จลงได้
สงคราม 9 ทพั การจัดกาลงั ทัพของฝา่ ยพม่าในการเข้าตีกรงุ เทพฯมีรายละเอยี ดดงั น้ี คร้ันถงึ วันพฤหสั บดี เดือนธันวาคม แรม 4 ค่า ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 พระเจา้ ปดุงส่งั เคลื่อนพลออกจาก เมาะตะมะ ซงึ่ ได้ยกทัพมาเป็นหา้ ทางตามที่พงศาวดารพม่าระบคุ ือ ทางเสน้ มะริด กา่ ลังพล 11,000 ทางเส้นทวาย ก่าลังพล 11,000 ทางเส้นเชยี งใหม่ ก่าลงั พล 33,000 ทางเสน้ ระแหง กา่ ลังพล 5,000 ทางดา่ นเจดยี ส์ ามองค์พมา่ เรียกทางเสน้ ไทรโยค มกี ่าลงั รวม 879,000 แบง่ เปน็ ทัพชา้ ง 500 ทัพมา้ 8,400 และพลเดินเท้า 79,000 รวม 147,900
พระเจ้าปดงุ ส่วนพระราชพงศาวดาร รัชกาลท่ี 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพพากรวงศ์ระบุไว้ว่าทัพพม่ายกมา 103,000 ส่วน พงศาวดารไทยรบพม่าของกรมพระยาด่ารงราชานุภาพระบุไว้ว่าพม่ายกทัพมา 144,000 จัดกระบวนเป็นเก้า ทพั คือ ทัพท่ี 1 เมื่อแรกให้แมงยีแมงข่องกยอเป็นแม่ทัพแต่แมงยีแมงข่องกยอไม่อาจจัดหาเสบียงพอแก่ กองทัพเมือ่ ทัพหลวงยกมาพระเจ้าปดุงจงึ ประหารเสียแล้วจงึ ยกเกงหวุ่นแมงยีมหาสีหะอคั รมหาเสนาบดีเป็นแม่ ทพั แทนนายกองทพั ย่อยมี 2 ทัพได้แก่ 1.นดั มแี ลง,แปดตองจา,นดั จักกีโบ,ตองพะยงุ โบ,ปะเลิงโบคมุ พลตเี มอื งชมุ พร เมอื งไชยา 2.ยี่วุ่น,บาวาเชียง,แวงยงิ เดชะ,บอกินยอตเี มืองถลาง รวมจ่านวนคนท้งั หมด 10,000 ตหี วั เมืองฝา่ ยใต้ ทัพท่ี 2 อนอกแฝกคิดหวนุ่ เป็นแมท่ ัพถือพล 10,000 มาต้งั ที่เมอื งทวาย เดนิ ทัพเข้าด่านบ้องตี้ตีราชบุรี เพชรบุรีไปบรรจบกับทพั ทห่ี นึ่งท่ชี ุมพร นายทพั ยอ่ ยมี 3 ทัพไดแ้ ก่ 1.ทวายวนุ่ ,จิกแก,มนีจอข้อง,สหี ะแยจอขอ้ ง,เบยะโบยกทพั ไปทางดา่ นเจ้าขา้ ว 2.จกิ สิบโบ,ตะเรียงยามะซ,ู มนีสินตะ,สรุ ินทะจอขอ้ ง 3.อนอกแฝกคดิ หวุ่น ทัพท่ี 3 หวุ่นคยีสะโดะศิริมหาอุจจะนาเจ้าเมืองตองอูเป็นแม่ทัพถือพลสามหม่ืนยกมาทางเชียงแสน มาตีเมืองล่าปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลกลงมาบรรจบกับทัพใหญ่ท่ีกรุงเทพนายทัพย่อยมี เนมโยสีหซุย ,ปันยตี ะจองโบ,ลยุ ลั่นจองโบ,ปลนั โบ,มดั ชนุ รันโบ,มิกอุโบ,แยจอนระทา,สาระจอซู ทพั ที่ 4 เมยี นหวุ่นแมงยีมหาทมิ ข่องเป็นแม่ทัพถือพล 11,000 ยกมาต้ังทัพที่เมาะตะมะเป็นทัพหน้าท่ี จะเข้าสู่ด่านเจดีย์สามองค์ นายทัพย่อยประกอบด้วยกลาวุ่น,บิลุ่งยิง,สะเลจอ,ปิญาอู, อากาจอแทง,ลันชังโบ, อะคงุ วุน่ ,บันยตี ะจอง,ละไมวนุ่ ,ซยุ ตองอากา ทัพท่ี 5 เมยี นเมหวุน่ เปน็ แมท่ ัพถอื พล 5,000 มาตั้งท่ีเมาะตะมะเป็นทัพหนุน นายทัพมี ยอยแหลกยา เยข้อง,จอกาโบ,จอกแยกาโบ,ตะเรียงบันยี
ทัพท่ี 6 ตะแคงกามะราชบุตรท่ี 2 (ศิริธรรมราชา) เป็นแม่ทัพถือพล 12,000 มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เปน็ ทัพหน้าของทัพหลวงท่จี ะยกเขา้ กรงุ เทพทางดา่ นเจดยี ์สามองค์ มีจานจุวุ่น,จิตกองสิริย,แยเลวุ่น,อะตอนวุ่น เป็นนายทัพ ทัพที่ 7 ตะแคงจักกุราชบุตรที่ 3 (สะโดะมันซอ)เป็นแม่ทัพถือพล 11,000 มาต้ังที่เมาะตะมะเป็นทัพ หนา้ ทีส่ องของทัพหลวง นายทัพได้แก่ เมมราโบ,อะ กตี อ,อากาปันยี,มะโยลกั วุน ทัพที่ 8 พระเจ้าปดุงเป็นจอมพลนา่ ทพั หลวง 50,000 มาต้งั ทเี่ มาะตะมะ แบง่ เปน็ 5 ทัพ 1.พระเจา้ ปดงุ ทพั กลาง 2.อะแซวงั มู,จาวาโบ,ยะไข่โบ,ปะกนั วุน่ ,ลอกาซนุ ถ่อวุ่น,เมจุนว่นุ เป็นกองหน้า 3.มะยอกวงั มู,อา่ มะลอกวุ่น,ตวนแซงวุน่ ,แลจาลอพวา,ยกั จอกโบ,งาจูวุ่นเปน็ ปกี ขวา 4.ตองแมงวู,แลกรุยกมี ,ู แลแซวุ่น,ยอนจวู นุ่ ,เยกีวา,สบิ จอพวาเปน็ ปกี ซา้ ย 5.อะนอกวังมู,ระวาลักวุ่น,ออกกะมาวนุ่ ,โมกองจอพวา,โมเยียงจอพวา,โมมิกจอพวา ยกมา ทางด่านเจดยี ์สามองค์ ทัพที่ 9 จอข่องนรทาเปน็ แม่ทพั (พงศาวดารฉบบั เจ้าพระยาทพิ ากรวงศว์ า่ ซุยจองเวระจอแทงเป็นแม่ ทพั ยกเข้ามาทางดา่ นแม่ละเมา มาตเี มืองตาก เมอื งกา่ แพงเพชรลงมาบรรจบทัพหลวงทก่ี รงุ เทพ แบ่งเปน็ สอง ทัพ 1.ทพั หนา้ มีซยุ จองเวระจอแทง,ซุยจองนรทา,ซยุ จองสริ ิยะจอจะวา 2.ทพั หลงั มจี อขอ่ งนรทา ทัพพม่าท้งั เก้าน้ีมีแผนที่จะตีหัวเมืองต่างๆของไทยท้ังทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้โดยจะมาบรรจบกัน ทง้ั 5 ทพั ทกี่ รงุ เทพมหานคร หมายจะปิดล้อมจากสามทิศและเข้าตีให้ราบพนาสูรในคราวเดียวเหมือนเมื่อครั้ง กรงุ ศรอี ยธุ ยา สว่ นท่ีเหลืออกี สท่ี พั แบง่ ตีหัวเมอื งฝ่ายเหนอื 2 ทพั และหัวเมืองฝ่ายใตส้ องทพั
ฝ่ายกรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ เดือน12 แรม9ค่า ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 จ.ศ.1147 พวกกองมอญไป ลาดตระเวนสืบทราบมาว่า พม่ายกทัพมาประชุมพลอยู่ท่ีเมืองสมิ(เมาะตะมะ) เตรียมจะยกมาตีพระนคร1 จากน้ันหัวเมือเหนือใต้ทั้งปวงก็แจ้งข่าวพม่ามา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงเรียกประชุม พระบรมวงศานวุ งศ์ และขุนนางน้อยใหญ่เร่อื งการเตรยี มรบั ศกึ พมา่ แลว้ จึงจัดแบง่ เป็นส่ีทพั ออกรบั ศกึ คอื ทพั ท่ี 1 ให้พระเจา้ หลานเธอเจา้ ฟา้ กรมหลวงอนรุ กั ษ์เทเวศรเ์ ป็นแม่ทัพ พรอ้ มดว้ ยกรมหลวงนรนิ ทร รณเรศ เจ้าพระยามหาเสนา พระยาพระคลัง พระยาอุทัยธรรม และเท้าพระยาข้าราชการในกรุงและหัวเมือง ถือพล 15,000 ไปตง้ั ขัดตาทพั พมา่ ทนี่ ครสวรรค์ปอ้ งกนั พม่ายกทัพมาทางเหนือขณะทีท่ พั ใหญร่ บอยู่ท่ลี าดหญ้า
พระบวรราชเจา้ มหาสุรสงิ หนาท ทัพท่ี 2 เป็นทัพใหญ่น่าทัพโดยสมเด็จพระอนุชาธริ าชสมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาสุรสงิ หนาท กรม พระราชวงั บวรสถานมงคล ยกพล 30,000 ไปตงั้ รับทพั พระเจา้ ปดุงที่เมืองกาญจนบุรี ทัพที่ 3 น่าโดยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์(บุญรอด)และพระยายมราชน่าพล 5,000 ไปตั้งอยู่ที่เมือง ราชบุรี คอยรักษาเส้นทางล่าเลียงเสบียงของทัพหลวง และคอยป้องกันพม่าที่จะยกมาจากทางใต้ ทัพท่ี 4 เปน็ ทัพหลวงกา่ ลงั พล 20,000 ตงั้ มัน่ อยทู่ ่กี รงุ เทพ เป็นกองหนนุ ถ้าทัพใดรับศกึ ไม่ไหวกจ็ ะยกไปชว่ ย และคอยเป็นก่าลังรักษาพระนครทัพท้ังสี่นี้ยกออกไปตั้งรับพม่าตามจุดยุทธศาสร์ต่างๆที่พม่าจะยกเข้ามา เพื่อ สกัดกั้นทพั พมา่ มใิ ห้ยกมาได้ถงึ ตวั พระนคร การศกึ ทแ่ี หลมมลายฝู า่ ยใต้ แม่ทัพใหญ่ย่ีหวุ่นคุมก่าลัง 3,000 คน เข้าตีหัวเมืองทางชายฝ่ังทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองกระ ตะก่ัว ป่า ตะกั่วทุ่ง ค่ายปากพระ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายท่ีเมืองถลางขุมคลังของสยาม พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปาก พระ ซึ่งทหารของรชั กาลที่ 1 เป็นผู้บัญชาการค่าย พญาพิพิธโภไคยหนีไปเมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันในขณะน้ัน ยังถอื ว่าเป็นเชลยศึก ไดห้ นีขา้ มชอ่ งปากพระ เขา้ มายงั เมืองถลาง ผ่านบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน อัน เปน็ ทีต่ ง้ั เมืองถลาง สงครามครัง้ ยิ่งใหญท่ ีส่ ุดระหว่างไทยกับพม่า โดยในครัง้ น้ันพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า มีพระประสงค์จะเพิ่มพูนพระเกียรติยศและช่ือเสียงให้ขจรขจายด้วยการก่าราบอาณาจักรสยาม จึงรวบรวม ไพรพ่ ลถงึ 144,000 คน กรธี าทพั จะเข้าตีกรงุ รตั นโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่ เข้าตีจากรอบทิศทาง ส่วน ทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชมีก่าลงั เพียงครึ่งหน่ึงของทหารพม่าคือมีเพียง 70,000
คนเศษเท่าน้ัน ด้วยพระปรีชาสามารถในการท่าสงคราม สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงปรึกษาการ ต่อสู้กองทัพพม่าแล้วโปรดฯให้แบ่งกองทัพเป็น4ทัพคือ กองทัพท่ี 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไป ขัดตาทพั ทเ่ี มืองนครสวรรค์ กองทัพท่ี 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปต้ังรับที่เมืองกาญจนบุรี กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางล่าเลียงติดต่อกองทัพ กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพล่้าก็จะยกไปช่วย ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ไปสกัดทัพพม่าท่ีบริเวณทุ่งลาดหญ้า ท่าให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงส่ังให้จัดทัพแบบ กองโจรออกปล้นสะดม จนทพั พมา่ ขดั สนเสบียงอาหาร เม่ือทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จ พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพต้ังแต่เหนือจรดใต้การ สงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุงโดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดยี ์สามองค์ ชุมพร ไชยา กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึง ข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาว คุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะยึดเมืองถลางได้ สู้รบ กันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบยี งอาหาร จึงเลิกทัพกลับไปเม่ือข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งต้ัง ให้คณุ หญิงจนั ทร์เปน็ ทา้ วเทพกษตั รสี ว่ นนางมกุ เป็นทา้ วศรีสุนทร สงครามครงั้ ที่ 2 พ.ศ. 2329 สงครามทา่ ดนิ แดงและสามสบ สงครามครั้งนี้ ต่อเน่ืองมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้มเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทาง ด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เน่ืองจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ด่าเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ท่าสงคราม มาไม่เคยแพ้ใครมากอ่ นจงึ พยายามท่จี ะตไี ทยใหไ้ ดจ้ งึ รวบรวมก่าลังผู้คนตั้งม่ันอยู่ท่ีเมืองเมาะตะมะ และให้พระ มหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคนตั้งม่ันอยู่ที่ต่าบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพ หลวงในสงครามครงั้ น้ี ทพั พม่าเตรียมเสบยี งอาหารและเสน้ ทางเดนิ ทัพอย่างดีที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มาต้ังค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไดท้ รงยกทพั หลวงเข้าตพี ม่าทค่ี ่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไป ทุกค่าย และพระองค์ยังได้ท่าสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่างๆ ขยายราช อาณาเขต ท่าให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ท่ีสุดในประวัติศาสตร์ ต้ังแต่ดินแดนล้านนา ไทย ใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทร์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเปรักสงครามกับพม่า สงครามครั้งท่ี 3 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมอื งลาปางและเมอื งป่าซาง พระพทุ ธสหิ ิงค์ การท่ีพม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เร่ิมท่าตัวกระด้างกระเดื่อง ต้ังตนเป็นอิสระ พระเจ้า ปดุงจึงสั่งใหย้ กทัพมาปราบปราม พม่าตอ้ งใชเ้ วลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและล่าปาง ซึ่งเป็น เขตไทยขณะท่ตี ีอยนู่ ัน้ ข่าวทราบถึงกรงุ เทพฯ พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชจึงสั่งให้สมเด็จ พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือซึ่งก่าลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้อง เปล่ียนแผน รัชกาลท่ี 1โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองท้ังสองโดยให้คนท่ีอยู่ในตัวเมืองตีด้านใน ทหารท่ีไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งน้ีกรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มา ประดิษฐาน ณ พระทน่ี ่งั พุทธไธสวรรย์
สงครามคร้ังท่ี 4 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมอื งทวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวายโปรดให้กรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หม่ืน ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวน เรือทางล่าน่้าไทรโยคขึ้นยกท่ีท่าตะกั่วข้ามทิวเขาบรรทัด ซ่ึงมีความล่าบาก หนทางกันดาร ท่าให้คนในทัพ เหนื่อยลา้ อดิ โรยจึงตีเมอื งไม่ได้ สงครามครัง้ น้ีไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร ร้ีพล ก็บาดเจ็บจึงโปรดเกลา้ โปรดกระหม่อม ใหถ้ อยทัพกลับกรุงเทพ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวายเมืองตะนาว ศรี และเมอื งมะริด ไดม้ าขอสวามภิ ักดต์ิ อ่ ไทย สงครามครั้งที่ 5 พ.ศ. 2336 สงครามตีเมืองพม่า ในครั้งน้ันเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย รัชกาลที่ 1 ทรงมี พระราชด่าริจะรบกับพมา่ ให้ได้ ไดต้ ้งั พระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรง ยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและ เมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืนได้เกิดกบฎข้ึนในเมือง มะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจ่าต้องท่าสงครามท้ังสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงต้องยกทัพ กลับไป สงครามครงั้ ที่ 6 พ.ศ. 2340 สงครามพม่าที่เมืองเชยี งใหม่ เนื่องจากสงครามในครั้งก่อนๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกคร้ังโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรด เกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ข้ึนไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น
40,000 นาย กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวง อนรุ ักษ์เทเวศร์ ระดมตีค่ายพมา่ เพยี งวันเดียวเท่าน้นั ทพั พมา่ ก็แตกพา่ ยยบั เยนิ สงครามครั้งท่ี 7 พ.ศ. 2346 สงครามพม่าทเ่ี มอื งเชียงใหม่ ครัง้ ที่ 2 ในครั้งน้ันพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองข้ึนของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยก ทัพลงมาตเี มืองเชียงใหมเ่ พื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรด เกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครง้ั นกี้ จ็ บลงด้วยชยั ชนะของฝา่ ยไทย การรุกรานเวียดนาม ใน พ.ศ. 2319 เม่ือกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงียน และประชากรท้องถ่ินเป็นอันมาก เหงียน อ๊ัญ (Nguyễn Ánh) พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายท่ียังมีพระ ชนม์อยู่ ทรงหนขี ้ามแม่น้า่ มายังสยาม ขณะทล่ี ้ีภัยในสยาม เหงียน อ๋ันห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับ กบฏเตย็ เซนิ ออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่ีวาง พระองค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนดา้ นก่าลงั พลและก่าลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. 2326 กลาง พ.ศ. 2327 เหงียน อั๊ญ พร้อมกับกองทัพสยาม 20,000-50,000 นาย และเรือ 300 ล่า เคล่ือน ผา่ นกัมพูชา ทางตะวนั ออกของโตนเลสาบ และแทรกซึมแคว้นอันนัมซงึ่ เพง่ิ ถกู ผนวกล่าสุด ทหาร 20,000 นาย ถึงเกยี นเซียง (Kien Giang) และอกี 30,000 นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เก่ินเทอ (Cần Thơ) ปีเดยี วกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซ่ึงอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหารสยามกระท่าทารุณ ตอ่ ประชากรผตู้ ้งั ถิน่ ฐานชาวเวยี ดนาม ท่าใหป้ ระชาชนทอ้ งถน่ิ หันไปสนบั สนุนเตยเซิน เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคล่ือนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้่าเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลาง แม่น้า่ บางเกาะ เผชิญกับก่าลงั อนื่ ฝ่งั เหนอื พรอ้ มกา่ ลังเสริมทางเรอื ทง้ั สองฝั่งของท่ตี ัง้ ทหารราบ เช้าวันที่ 19 มกราคม เหงวียนเหวทรงสง่ ก่าลังทางเรือขนาดเลก็ ใต้ธงสงบศึก เพอ่ื ลวงให้ฝา่ ยสยามเข้าสู่ กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายคร้ัง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังน้ัน จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าท่าลายแนวของ สยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันต้ังตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกท่าลายส้ิน แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกท่าลาย และมีกองทหารด้ังเดิมเพียง 2,000- 3,000 นายทร่ี อดชวี ติ หลบหนีกลับขา้ มแมน่ ่า้ ไปในสยามได้
แผนที่อาณาเขตประเทศไทยสมัยพระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ลาดบั ประวตั ศิ าสตรเ์ หตกุ ารณ์สาคญั สมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2279 - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระ เจ้าอยู่หวั บรมโกศ พระนามเดมิ ทองดว้ ง พทุ ธศกั ราช 2325 - สมเด็จพระเจา้ ตากสนิ มหาราช เสดจ็ สวรรคต - ปราบดาภเิ ษกขึน้ ครองราชย์เปน็ พระมหากษตั ริย์แห่งราชวงศ์จกั รี - สถาปนากรงุ รัตนโกสินทร์ เปน็ ราชธานี - โปรดเกล้าโปรดกระหมอ่ มใหส้ มเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าขึ้นเปน็ ที่ พระมหาอุปราชฝา่ ยหน้า - โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าทองอิน ข้ึนเป็นที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรม หลวงอนรุ กั ษเ์ ทเวศน์ กรมพระราชวงั บวรสถานภิมขุ ฝา่ ยหลัง' - องเชยี งสอื ขอเขา้ พงึ่ พระบรมโพธิสมภาร (เขมร)และนกั องคเ์ อง (ญวน) - โปรดใหอ้ าลักษณค์ ัดนทิ านอหิ ร่านราชธรรม
พทุ ธศกั ราช 2326 - กา่ หนดระเบยี บการพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก - ทรงพระราชนิพนธบ์ ทละครเร่ืองอุณรุท - เร่ิมงานสร้างพระนคร ขุดคูเมอื งทางฝ่ังตะวนั ออก สร้างก่าแพงและปอ้ มปราการรอบพระนคร - สรา้ งพระบรมมหาราชวงั และวัดพระศรรี ัตนศาสดาราม เสาชงิ ชา้ กรงุ เทพฯ พทุ ธศกั ราช 2327 - โปรดเกล้าฯ ให้อญั เชิญพระพทุ ธมหามณีรตั นปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้าม มาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ พระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม สรา้ งพระมหาปราสาทพรอ้ มกบั ไดอ้ ัญเชญิ พระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง กษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรง พระราชทานนามวหิ ารแห่งน้วี ่า ปฎิสังขรณ์วดั สลัก \"หอพระเทพบดิ ร\" - โปรดเกล้าฯ ใหส้ รา้ งเสาชิงช้า - สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้รวม 9 ทพั แต่ถูกกองทพั ไทยตีแตกทุกทัพ - ทา่ สงครามกบั เวยี ตนาม
พทุ ธศกั ราช 2328 - พ .ศ.2328 หล่อปืนใหญ่ข้ึน 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินข้ึนมากมายฟ้ืนฟูพระราชประเพณี เช่น พระราช พธิ บี รมราชาภิเษก - งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑยี รสา่ เรจ็ เสรจ็ สน้ิ - พระราชทานนามของราชธานีใหม่ พทุ ธศักราช 2329 - สงครามรบพม่าท่ีท่าดนิ แดง - ทรงพระราชนิพนธ์ นริ าศรบพมา่ ทา่ ดนิ แดง - โปรตเุ กสขอเข้ามาเจรญิ พระราชไมตรี - อังกฤษเช่าเกาะปีนงั จากพระยาไทรบรุ ี พระพุทธสิหิงค์ พทุ ธศกั ราช 2330 - อญั เชญิ พระพุทธสิหงิ ค์มาประดิษฐานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล - องเชยี งสอื เขยี นหนังสอื ขอถวายบงั คมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมอื ง
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พทุ ธศกั ราช 2331 - โปรดเกลา้ ฯ ให้สังคายนาพระไตรปฎิ ก ทว่ี ดั มหาธาตยุ วุ ราชรงั สฤษฎิ์ พทุ ธศักราช 2333 - องเชียงสือกูบ้ า้ นเมอื งสา่ เรจ็ และจัดตน้ ไม้เงนิ ต้นไมท้ องมาถวาย พทุ ธศกั ราช 2337 - ทรงอภเิ ษกใหน้ ักองค์เอง เปน็ สมเด็จพระนารายณร์ ามาธบิ ดี ไปครองกรุงกัมพูชา พทุ ธศกั ราช 2338 - โปรดเกลา้ ฯ ใหช้ ่าระพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทานุมาศ - ศาสนา พระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยก สถาปนาต่าแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ท่าสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ ถกู ต้อง - โปรดเกลา้ ฯ ให้สรา้ งพระมหาพิชัยราชรถ พทุ ธศกั ราช 2339 - งานสมโภชพระบรมอัฐสิ มเดจ็ พระปฐมบรมมหาชนก - พทุ ธศกั ราช 2340 - ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรือ่ ง รามเกียรติ์
พทุ ธศักราช 2342 - โปรดเกล้าฯ ใหส้ ร้างเวชยันตราชรถ พทุ ธศักราช 2344 - ฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมงั คลาราม และวัดสระเกศ - ฟืน้ ฟูการเล่นสกั วา - พทุ ธศักราช 2345 - ราชาภิเษกพระเจา้ เวยี ดนามยาลอง(องเชยี งสอื ) - พทุ ธศักราช 2347 - โปรดเกล้าฯ ใหน้ กั ปราชญ์ ราชบณั ฑติ ช่าระกฎหมาย จดั เปน็ ประมวล กฎหมายตราสามดวง ข้นึ - พทุ ธศักราช 2349 - ทรงอภเิ ษกให้ นกั องคจ์ ันทร์ เปน็ สมเดจ็ พระอุทยั ราชา ครองกรุงกัมพูชา
พทุ ธศักราช 2350 - เรมิ่ สรา้ งวดั สุทัศน์เทพวราราม พทุ ธศักราช 2352 - ได้รเิ ร่ิมใหม้ กี ารสอนพระปรยิ ัตธิ รรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของ ข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ข้ึน เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย โปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุง รตั นโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศร)ี เปน็ สมเด็จพระสงั ฆราช วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จสวรรคต หลังจากการฉลองวัดพระศรีรตั นศาสดารามแลว้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกก็ ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชรา พระอาการทรุดลงตามล่าดับ จนกระท่ัง เสด็จสวรรคตเม่ือวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ณ พระที่น่ังไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอยู่ในสิริราช สมบัตินาน 28 ปีเศษ รวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระบรมศพถูกเชิญลงสู่พระลองเงินประกอบด้วยพระ โกศทองใหญ่แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตั้งเคร่ืองสูง และเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ประโคมกลอง ชนะตามเวลา ดังเชน่ งานพระบรมศพพระเจ้าแผน่ ดินสมยั กรงุ ศรอี ยุธยาทกุ ประการ จนกระทั่ง พ.ศ.2354 พระ เมรุมาศซึ่งสร้างตามแบบพระเมรุมาศส่าหรับพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สร้างแล้วเสร็จ จึงเชิญพระ
บรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศ และให้มีการสมโภชพระบรมศพเป็น เวลา 7 วัน 7 คืน แลว้ จงึ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากน้ันให้มีการบ่าเพ็ญกุศลสมโภชพระบรมอัฐิ รวม 7 วัน เมื่อแล้วเสร็จจึงเชิญพระบรมอัฐิมาไว้ท่ีหอพระธาตุมณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรม ราชสรรี างคารเชญิ ไปลอยบริเวณหนา้ วดั ปทุมคงคา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช รัชกาลท่ี 1 (ภาพวาดฝีพระหตั ถ์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฏเกลา้ เจา้ อยู่หวั รัชกาลท่ี 6) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นองค์ปฐมกษัตริย์ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ผูย้ ง่ิ ใหญแ่ ห่งราชวงศจ์ ักรี ท่ีมพี ระอจั ฉรยิ ภาพรอบดา้ น ไม่วา่ จะเป็นด้านการสงคราม ศาสนา การปกครองและ ศิลปวัฒนธรรม ทรงเป็นผู้ก่อต้ังกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใหม่ และฟื้นฟูบ้านเมืองในทุกด้านให้มีความ รุ่งเรืองสง่างามเทียบเท่ากับกรุงศรีอยุธยาราชธานีเก่า ซ่ึงนับว่าเป็นความยากล่าบากอย่างมาก แต่พระองค์ก็ ทา่ จนสา่ เร็จ ในพ.ศ.2525 โอกาสมหามงคลสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปีทั้งฝ่ายรัฐบาล และ ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญา ”มหาราช“ ต่อท้ายพระนามของพระองค์ เพื่อร่าลึกถึง เกียรตปิ ระวตั ิอนั ยง่ิ ใหญข่ องพระองคส์ ืบไป
แหลง่ ข้อมูลอ้างองิ จดหมายเหตคุ วามทรงจ่า กรมหลวงนรินทรเทวี.พรนคร: องคก์ ารค้าครุ ุสภา,2516. ทพิ ยากรณ.์ เจ้าพระยา.พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์.พระนคร: หอสมุดแหง่ ชาติ,2506. พระบาทสมเดจ็ พระเธยี รมหาราชเจา้ , ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรกี ษัตรยิ ส์ ยาม), โรงพมิ พห์ นงั สือพิมพ์ ไทย, 2470. พระราชพงศาวดาร ฉบบั พระราชหัตถเลขา, กรงุ เทพฯ : ส่านักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548. พระราชพธิ สี มโภชกรุงรตั น์โกสินทร์ครบ 200 ปี และพระราชพธิ สี มโภชหลกั เมือง, ส่านักงานส่งเสรมิ สรา้ ง เอกลักษณ์ของชาติ, 2554. พระราชลญั จกรประจา่ รชั กาลที่ 1, หอมรดกไทย, 2554. พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจฬุ าโลก และพระราชสกุล ขอ้ ความและความเหน็ จากเว็บบอรด์ พันทิป สมศกั ด์ิ จา่ ปาเงนิ .รัชกาลท่ี 3 พระบาทสมเดจ็ พระนั่งเกลา้ เจ้าอยหู่ วั พระมหาเจษฎาราชเจา้ . กรงุ เทพฯ: เอกพิมพ์ไท จ่ากดั ,2547. เสทอ้ื น ศภุ โศภณ. ประวตั ิศาสตรไ์ ทย ฉบับพัฒนาการ. พระนคร: อักษรเจริญทัศน์,2506. 6 เมษายน - วันจักรี - พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, กรมสง่ เสริมวัฒนธรรม, 2554. WWW.GOOGLE.COM www.facebook.com www.thairath.co.th www.ilc2012.org sites.google.com catholichaab.com › tententennnn.blogspot.com th.wikipedia.org ขอขอบคุณข้อมลู และภาพจากเวบ็ ไซตต์ ่างๆ .......................................................................
มหาราชพระองค์ที่ 8 พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว (สมเดจ็ พระปิยมหาราช) ผ้เู รียบเรียงนายประสาร ธาราพรรค์ “ถา้ ความเปนเอกราชของกรงุ สยามได้สดุ ส้ินไปเมอื่ ใด ชีวติ ฉนั กค็ งจะสดุ สนิ้ ไปเมอ่ื นนั้ ” พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ในหลวงรชั กาลท่ี 5 ธ ยอมสญู เสียสน้ิ แม้ศักดิ์ศรี ธ ยอมพลี ผนื ภพ จบหม่ืนแสน ธ ยอมเสีย แทบทุกถ่ิน ซ่ึงดินแดน ธ หวงแหน เอกราชไว้ ใหพ้ วกเรา ดว้ ยเกลา้ ดว้ ยกระหม่อมขอเดชะ ขา้ พระพุทธเจา้ นายประสาร ธาราพรรค์ ร้อยกรอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ เนอ่ื งจากพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองคไ์ ดท้ าใหป้ ระชาชนมชี ีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขคงเอกราชนาชาติ รอดพ้นภัยจากการตกเมืองขึน้ ของตะวันตก เป็นประเทศเดยี วในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่รักษาเอกราชของชาติ ไว้ได้ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถย่ิงในการวางรากฐานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า รุง่ เรืองทัดเทยี มนานาอารยประเทศ สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจานวนมาก ด้วยสายพระเนตรท่ียาวไกล ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงริเร่ิมพระราชกรณียกิจท่ีสาคัญ ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณยี ์ โทรเลข โทรศพั ท์ ฯ กลายเป็นรากฐานสาคัญใหก้ บั ประเทศไทยมาจนถงึ ทกุ วนั น้ี
พระราชประวตั ิพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั และ สมเด็จพระเทพศริ นิ ทราบรมราชนิ ี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ สยาม องค์ท่ี 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่า ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ท่ี 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์แรกใน พระองค์เจ้าราเพยภมราภิรมย์ (ในเวลาต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเทพ ศริ ินทราบรมราชินี และสมเดจ็ พระเทพศิรนิ ทรามาตย์ พระบรมราชชนนี ตามลาดบั ) รชั กาลที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรน สมเดจ็ เจา้ ฟ้าภาณุ ในชว่ งทรงพระเยาว์
ทรง ได้รบั พระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บรุ ษุ ยรัตนราชรววิ งศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งคาว่า \"จุฬาลงกรณ์\" น้ันแปลว่า เครื่องประดับ ผม อันหมายถึง \"พระเกย้ี ว\" ทม่ี ีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกฎุ หรือยอดชฎา พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า จันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิ พงศ์ และ สมเดจ็ พระราชปิตุลาบรมพงศาภมิ ุข เจ้าฟ้าภาณรุ งั ษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณพุ ันธวุ งศว์ รเดช พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา แหม่มแอนนา ลโี อโนเวนส์ การศกึ ษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสานัก พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสดุ า ทรงได้การศกึ ษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภริ มย์ ภาษาอังกฤษทรงได้รับการศึกษาจาก นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ ( Anna Leonowens) หรือ แหม่ม แอนนา มีช่ือจริงว่า แอนนา แฮร์เรียต เอ็มมา เอ็ดเวิดส์ แหม่มแอนนาเป็นท่ีรู้จักในฐานะเป็น \"พระอาจารย์ ฝร่ัง\" ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จฯ เจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่น พิฆเนศวรสุรสงั กาศ และเมือ่ พ.ศ. 2409 พระองคผ์ นวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจาก การผนวช พระองคไ์ ด้รับการเฉลิมพระนามาภไิ ธยข้ึนเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุน พินิตประชานาถ เม่ือปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกากับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรม ทหารบกวังหนา้
พระบรมราชาภิเษก สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจ้าฟา้ จฬุ าลงกรณ์ กรมขนุ พนิ ิตประชานาถ(รชั กาลที่ 5) วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออก ทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนท่ีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตน้ัน ได้มีพระ ราชหตั ถเลขาไว้ว่า \"พระราชดาริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดี พร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร\" ดังน้ัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเร่ืองการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใหม่ ซึ่งในท่ีประชุมน้ันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระ เจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิต ประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ ประชุมน้ันมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจาก สมเด็จพระราชบิดา โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ซึ่งการข้ึนครองราชย์ในขณะพระชนมายุ น้อยนน้ั ทาใหพ้ ระองค์มพี ระราชหฤทยั กงั วลอยา่ งยง่ิ ซึ่งทา้ ยสดุ ทุกอย่างก็ผา่ นพน้ ไปด้วยดี
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยิ วงศ์ (ช่วง บนุ นาค) ต่อมาได้มีการแต่งต้ังสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สาเร็จราชการแทน พระองค์ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 มีอานาจสิทธิ์ขาดในราชการแผ่นดินทั่วราชอาณาจักรจนกว่า พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา อีกท้ังท่านยังมีบทบาทในการ อัญเชิญพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั ขน้ึ ครองสริ ิราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ฯ พระจฬุ าลงกรณเ์ กล้าเจา้ อยู่หัว
เม่ือวันท่ี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคร้ังแรก โดยได้รับการ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมพี ระนามตามจารกึ ในพระสบุ รรณบฎั ว่า\"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหา มงกฏุ บรุ ุษรัตนราชรววิ งศ วรตุ มพงศบริพตั ร์ วรขัติยราชนกิ โรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโต สุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษด์ิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคย สรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักด์ิสมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราช ประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสร สมมติ ประสิทธ์วิ รยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิ ลิต สรรพทศทิศวชิ ิตชยั สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอา ชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักด์ิอรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เ กล้า เจ้าอยู่หัว\" ผนวชและบรมราชาภเิ ษกคร้ังที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจฬุ าลงกรณ์ฯ พระจฬุ าลงกรณ์เกล้าเจา้ อยู่หัว ผนวช เมอื่ พระองค์มพี ระชนมายุครบ 20 พรรษาแลว้ เม่ือวนั ท่ี 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จงึ ผนวช ณ วดั พระ ศรีรตั นศาสดาราม เปน็ พระภกิ ษุ แลว้ เสดจ็ ไปประทับ ณ วัดบวรนเิ วศวิหารเป็นเวลา 15 วัน
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว บรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 หลงั จากทรงลาสิกขาแลว้ ได้มกี ารจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคร้ังท่ี 2 ขึ้น เม่ือวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งน้ีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั มพี ระนามตามจารกึ ในพระสบุ รรณบฎั วา่ \"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จฬุ าลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบ รมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ มหามงกุฎราชวรางกูร สุจริตมูลสุ สาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาล เกยี รตคิ ุณอดุลยพเิ ศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วสิ ษิ ฐศกั ดสิ์ มญาพนิ ติ ประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูล มุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ ม หันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินธร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎล เศวตฉัตราดฉิ ตั ร สริ ริ ตั โนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชติ ชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรค นเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหา ราชาธิราช บรมนาถบพติ ร พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั \"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว ทรงมพี ระอคั รมเหสี มเหสีและเจ้าจอมรวม 153 พระองค์ มพี ระราชโอรส 32 พระองค์ พระราชธิดา 44 พระองค์ สาหรับอัครมเหสี สาคญั มี 3 พระองคด์ ังนี้ 1. สมเดจ็ พระนางเจา้ สุนนั ทากุมารรี ตั นพระบรมราชเทวี (อคั รมเหสีองคแ์ รก) หรอื สมเดจ็ พระนางเรือล่ม อบุ ตุ เิ หตุทางเรือทเี่ สดจ็ ไดล้ ม่ ลง ทาใหต้ อ้ งส้นิ พระชนม์ พร้อมกับพระธิดา ที่มี พระชนมายุเพยี ง 2 พรรษาเท่านั้น สว่ น สมเด็จพระนางเจา้ สนุ นั ทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี กม็ ีพระชันษา ยา่ งเขา้ 21 พรรษา และก็กาลังทรงพระครรภ์ 5 เดือน อยู่ดวั ย อุบัติเหตุ เกดิ ท่ี บางพดู อาเภอปากเกร็ด จังหวดั นนทบุรี เมือ่ วันจนั ทร์ท่ี 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 2. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสอี งค์ที่ 2) พระองค์กค็ ือสมเด็จยา่ ของ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวภูมพิ ลอดลุ ยเดช ในหลวงรชั กาลปัจจุบนั ตอ่ มาได้ เลอื่ น พระยศเปน็ สมเดจ็ พระศรีสวรนิ ทราบรมราชเทวี พระพนั วัสสาอัยยิกาเจา้ สน้ิ พระชนม์เม่ือ วนั จนั ทร์ ท่ี 17 ธนั วาคม พ.ศ. 2499 มพี ระชนมายุ 93 พรรษา 3. สมเดจ็ พระศรีพัชรนิ ทราบรมราชนิ ีนาถ ทรงเป็นพระชนนใี นพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หวั รชั กาลท่ี 6 พระองค์ทรงไดร้ ับพระราชหฤทัยให้ ดารงตาแหนง่ เป็นผสู้ าเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงท่พี ระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวได้เสด็จ ประพาส ยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2440 (เสดจ็ คร้งั แรก) พระองคป์ ระสตู เิ ม่อื วนั พฤหัสบดที ่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2406 สน้ิ พระชนม์เม่ือวนั พธุ ท่ี 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 มีพระชนมายุ 56 ปี สมเด็จพระศรพี ชั รนิ ทราบรมราชนิ นี าถ เจ้าจอมพระสนมในรชั กาลที่ 5 พระราชโอรสในรัชกาลท่ี 5 พระราชดิ าในรัชกาลที่ 5
รายพระนามและรายนาม พระอคั รมเหสี พระมเหสี เจา้ จอมพระราชโอรสพระราชธดิ า ในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว สมเดจ็ พระศรีพชั รนิ ทราบรมราชินนี าถ และพระราชโอรส 1. สมเด็จพระศรีพชั รนิ ทราบรมราชินนี าถ สมเดจ็ พระนางเจ้าเสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชินนี าถ (พระเจา้ ลกู เธอ พระองคเ์ จ้าเสาวภาผอ่ งศรี) รายพระนามพระราชบตุ ร สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ พาหรุ ัดมณีมัย สมเดจ็ เจ้าฟา้ ชายมหาวชิราวุธ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายตรีเพช็ รตุ ม์ธารงสมเด็จเจ้าฟา้ ชายจักรพงษ์ภวู นาถ สมเด็จเจา้ ฟา้ ชายศริ ิราชกกธุ ภณั ฑ์ สมเดจ็ เจ้าฟา้ หญิง (ไม่มีพระนาม) สมเด็จเจา้ ฟ้าชายอัษฎางคเ์ ดชาวุธ สมเดจ็ เจา้ ฟ้า ชายจฑุ าธชุ ธราดิลก สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายประชาธิปกศกั ดิเดชน์ (พระเจ้าลูกเธอ พระองคเ์ จ้าเสาวภาผอ่ งศรี) 2. สมเด็จพระนางเจา้ สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระเจ้าลกู เธอ พระองคเ์ จ้าสว่างวัฒนา) รายพระ นามพระราชบุตร สมเดจ็ เจ้าฟา้ ชายมหาวชริ ณุ หิศ สมเด็จเจ้าฟา้ ชายอิศรยิ าลงกรณ์ สมเด็จเจา้ ฟ้าหญิงวิจิตรจริ ประภา สมเด็จเจ้าฟา้ ชายสมมตวิ งศ์วโรทัยสมเด็จเจ้าฟ้าหญงิ วไลยอลงกรณ์ สมเด็จเจา้ ฟา้ หญงิ ศริ าภรณโ์ สภณ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ชายมหิดลอดุลยเดช สมเด็จเจ้าฟ้าหญงิ (ไม่มีพระนาม) 3. สมเดจ็ พระนางเจ้าสนุ ันทากุมารีรตั น์ พระบรมราชเทวี (พระเจา้ ลูกเธอ พระองคเ์ จ้าสุนนั ทากมุ ารี รตั น์) รายพระนามพระราชบุตร สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญงิ กรรณาภรณ์เพชรรตั น์ สมเดจ็ เจ้าฟา้ (ไม่มีพระนาม) 4. พระนางเจ้าสขุ ุมาลมารศรี พระราชเทวี (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจา้ สุขมุ าลมารศรี)พระราชบุตร สมเดจ็ เจ้าฟา้ หญิงสุทธาทิพยรัตน์ สมเด็จเจา้ ฟา้ ชายบริพตั รสขุ มุ พันธ์ุ 5. พระเจา้ พ่ีนางเธอ พระองค์เจา้ ทกั ษิณชา นราธิราชบุตรี (พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจา้ ทักษิณชา นราธริ าชบตุ รี)รายพระนามพระราชบุตร สมเดจ็ เจา้ ฟ้าชาย (ไม่มีพระนาม) 6. พระอรรคชายาเธอ พระองคเ์ จา้ เสาวภาคย์นารรี ัตน์ (หมอ่ มเจ้าป๋ิว ลดาวลั ย์) รายพระนามพระราช บตุ ร สมเดจ็ เจ้าฟ้าหญิงจนั ทราสรัทวาร 7. พระอรรคชายาเธอ พระองคเ์ จา้ อุบลรตั นนารนี าค กรมขุนอรรควรราชกลั ยา(หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์) รายพระนามพระราชบตุ ร สมเดจ็ เจ้าฟา้ หญงิ เยาวมาลยน์ ฤมล
8. พระอรรคชายาเธอ พระองคเ์ จ้าสายสวลีภริ มย์ กรมขุนสุทธาสินนี าฏ(หม่อมเจา้ สาย ลดาวัลย์) ราย พระนามพระราชบตุ ร สมเด็จเจา้ ฟ้าชายยุคลฑิฆมั พร เจา้ ฟ้าหญิงนภาจรจารสั ศรี สมเดจ็ เจา้ ฟ้าหญงิ มาลนิ ีนภ ดารา สมเดจ็ เจา้ ฟา้ หญิงนภิ านภดล 9.เจา้ ดารารัศมี พระราชชายา (เจา้ ดารารัศมแี ห่งนครเชยี งใหม่) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์ เจ้าหญิงวมิ ลนาคนพีสี รายพระนามเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว 27 พระองค์ เจา้ จอมมารดาสดุ 10. เจ้าจอมมารดาสดุ (สุด สกุ มุ ลจันทร์) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองค์เจ้าหญิงวรลกั ษณาวดี
เจ้าจอมมาดาแส 11. เจา้ จอมมารดาแส (แส โรจนดิศ) รายพระนามพะราชบุตร พระองคเ์ จ้าชายเขจรจิรประดษิ ฐ พระองค์เจา้ หญิงอัพภนั ตรีปชา พระองคเ์ จา้ หญิงทิพยาลังการ 12. เจา้ จอมมารดาแสง (แสง กลั ยาณมติ ร)รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจา้ ชายอิศรวงศ์วรราช กมุ าร พระองค์เจ้าชายนภางค์นิพทั ธพงศ์ พระองค์เจ้าหญิงบเี อตริศภัทรายุวดี พระองค์เจา้ หญิงเจรญิ ศรี ชนมายุ 13. เจา้ จอมมารดาหม่อมราชวงศแ์ ข (หมอ่ มราชวงศแ์ ข พ่ึงบญุ ) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์ เจ้าหญงิ ผอ่ ง 14. เจา้ จอมมารดาตลับ (ตลบั เกตทุ ัต) รายพระนามพระราชบุตร พระองคเ์ จา้ หญิงอจั ฉรพรรณรี ชั กญั ญา พระองคเ์ จ้าชายรพีพัฒนศักดิ์ 15. เจา้ จอมมารดามรกฎ (มรกฎ เพ็ญกลุ ) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจา้ หญิงจุฑารตั นราช กมุ ารี,พระองค์เจา้ ชายเพ็ญพัฒนพงศ์ 16. เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ยอ้ ย (หมอ่ มราชวงศย์ ้อย อศิ รางกรู ) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองค์เจา้ หญงิ อรพนิ ทเุ์ พ็ญภาค 17. เจ้าจอมมารดาอว่ ม (อ่วม พศิ ลยบตุ ร) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองคเ์ จ้าชายกิติยากรวร ลักษณ์ 18. เจา้ จอมมารดาแช่ม (แช่ม กัลยาณมิตร) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองคเ์ จ้าชายประวติ รวัฒโน ดม 19. เจา้ จอมมารดาทบั ทิม (ทบั ทมิ โรจนดศิ ) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองคเ์ จา้ ชายจิรประวัตวิ ร เดช พระองคเ์ จ้าหญิงประเวศวรสมัย พระองคเ์ จา้ ชายวฒุ ไิ ชยเฉลิมลาภ 20. เจ้าจอมมารดาบัว รายพระนามพระราชบตุ ร พระองค์เจ้าหญงิ (ไม่มีพระนาม) 21. เจ้าจอมมารดาโหมด (โหมด บุนนาค) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าชายอาภากรเกยี รติ วงศ์ พระองคเ์ จ้าหญงิ อรองค์อรรคยุพา พระองคเ์ จา้ ชายสรุ ิยงประยุรพันธุ์ 22. เจา้ จอมมารดาจันทร์ (จนั ทร์ สกุ มุ ลจนั ทร์) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าหญงิ ศศิพงศ์ ประไพ
เจา้ จอมมารดาเหม 23. . เจ้าจอมมารดาเหม (เหม อมาตยกลุ ) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าหญงิ มัณฑนาภาวดี ภายหลงั เปล่ียนพระนามเปน็ \"เหมวดี\" 24. เจ้าจอมมารดาเรือน (เรอื น สุนทรศารทลู ) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจา้ หญงิ พิสมยั ฯ 25. เจ้าจอมมารดาวาด (วาด กลั ยาณมิตร) รายพระนามพระราชบุตร พระองคเ์ จ้าชายบรุ ฉัตรไชยากร 26. เจ้าจอมมารดาทิพเกษร (เจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองค์เจ้าชาย ดิลกนพรฐั 27. เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนือ่ ง (หมอ่ มราชวงศเ์ น่ือง สนทิ วงศ์) พระราชบตุ ร พระองคเ์ จา้ หญิงเ าวภาพงศส์ นทิ พระองค์เจา้ ชายรังสิตประยรู ศักด์ิ 28. เจ้าจอมมารดาอ่อน (อ่อน บุนนาค) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองคเ์ จ้าหญิงอรประพันธร์ าไพ พระองคเ์ จ้าหญงิ อดิสัยสรุ ิยาภา 29. เจา้ จอมมารดาพร้อม รายพระนามพระราชบุตร พระองคเ์ จา้ หญงิ ประภาพรรณพิไลย พระองค์ เจา้ หญิงประไพพรรณพลิ าส พระองค์เจ้าชายสมัยวฒุ ิวโรดม พระองค์เจ้าหญงิ วาปบี ุษบากร 30. เจ้าจอมมารดาวง (วง เนตรายน) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจา้ หญงิ โกมลเสาวมาลย์ 31. เจ้าจอมมารดาแพ (แพ บนุ นาค) รายพระนามพระราชบุตร พระองคเ์ จ้าหญิงศรีวไิ ลยลักษณ์ พระองคเ์ จา้ หญิงสวุ พกั ตรว์ ไิ ลยพรรณ พระองคเ์ จา้ หญิงบณั ฑวรรณวโรภาส 32. เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศเ์ กสร (หม่อมราชวงศเ์ กสร สนทิ วงศ์) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองคเ์ จา้ ชายอศิ รยิ าภรณ์ พระองค์เจ้าชายอนสุ รสิรปิ ระสาธน์ 33. เจ้าจอมมารดาชุม่ (ชุ่ม ไกรฤกษ์) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าหญงิ อาทรทิพยนิภา พระองคเ์ จ้าหญิงสุจิตราภรณี 34. เจ้าจอมมารดาเลื่อน (เล่ือน นิยะวานนท์) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าหญิง ลวาดวรองค์ พระองคเ์ จา้ ชายอรุ พุ งศ์รัชสมโภช 35. เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จวิ๋ (หมอ่ มราชวงศ์จิ๋ว กปิตถา) รายพระนามพระราชบตุ ร พระองค์ เจา้ หญงิ (ไม่มีพระนาม) 36เจา้ จอมมารดาสาย (สาย สกุ มุ ลจันทร์) รายพระนามพระราชบุตร พระองค์เจ้าหญิง (ไมม่ ีพระนาม)
รายพระนามเจา้ จอมในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั 117 พระองค์ เจา้ จอมสมัยรชั กาลท่ี 5 37. เจ้าจอมเขยี น (เขียน กัลยาณมิตร) 38. เจา้ จอมโหมด (โหมด บุนนาค) 39. เจ้าจอมล้ินจี่ 40. เจา้ จอมนวล (นวล ณ นคร) 41. เจ้าจอมจนั 42. เจา้ จอมหมอ่ มหลวงถนอม (หม่อมหลวงถนอม เทพ หสั ดิน) 43. เจ้าจอมละมา้ ย(ละ มา้ ย สุวรรณทัต) 44. เจ้าจอมแจ่ม (แจม่ ไกรฤกษ์) 45. เจา้ จอมสว่าง (สว่าง ณ นคร) 46.เจา้ จอมเพิม่ (เพมิ่ รตั นทศั นยี ์) 47. เจ้าจอมจีน (จนี บุนนาค) 48. เจา้ จอมเน่ือง (เน่อื ง บุณยรัตพันธุ์) 49. เจ้าจอมเพมิ่ (เพิ่ม ณ นคร) 50. เจ้าจอมเจรญิ 51. เจา้ จอมอน้ (อน้ บุนนาค) 52. เจ้าจอมเอม (เอม พศิ ลย บุตร) 53. เจา้ จอมช่วง (ชว่ ง พศิ ลยบุตร) 54. เจา้ จอมใย (ใย บณุ ยรัตพันธุ์) 55. เจ้าจอมกลีบ (กลีบ เทพหสั ดนิ ณ อยธุ ยา) 56. เจ้าจอมล้ินจ่ี (ลน้ิ จี่ เทพหสั ดนิ ณ อยุธยา) 57. เจ้าจอมฟักเหลือง (ฟกั เหลอื ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 58. เจา้ จอมประคอง (ประคอง อมาตยกุล) 59. เจา้ จอมสงั วาลย์ (สังวาลย์ อมาตยกุล) 60. เจา้ จอม อบ (อบ บนุ นาค) 61. เจา้ จอมหมอ่ มราชวงศแ์ ปน้ (หม่อมราชวงศแ์ ปน้ มาลากลุ ) 62. เจ้าจอมเพิ่ม (เพ่มิ สุจรติ กุล) 63. เจา้ จอมพิศว์ (พิศว์ บนุ นาค) 64. เจ้าจอมถนอม (ถนอม ภัทรนาวกิ ) 65. เจ้าจอมทบั ทิม 66. เจ้าจอม หมอ่ มราชวงศเ์ ย้ือน 67. เจ้าจอมอ่ิม 68. เจา้ จอมเช้อื 69. เจ้าจอมเอี่ยม (เอ่ยี ม บนุ นาค) 70. เจ้าจอมหม่อม ราชวงศเ์ ฉยี ด (หมอ่ มราชวงศเ์ ฉียด ลดาวลั ย์) 71.เจ้าจอมหมอ่ มราชวงศป์ ั้ม (หม่อมราชวงศป์ มั้ ) 72. เจา้ จอม ก้อนแก้ว (ก้อนแกว้ บุรณศริ ิ) 73. เจ้าจอมแฉ่ง 74. เจ้าจอมถนอม (ถนอม บรรจงเจรญิ ) 75. เจ้าจอมหม่อม ราชวงศข์ อ้ (หมอ่ มราชวงศ์ขอ้ สนิทวงศ์) 76. เจา้ จอมน้อม (นอ้ ม โชตกิ เสถียร) 77. เจา้ จอมเจยี น (เจยี น โชตกิ เสถียร) 78. เจ้าจอมเยี่ยม (เยีย่ ม โชติกเถียร) 79. เจ้าจอมกิมเหรยี ญ(กิมเหรียญ โชตกิ เสถียร) 80.เจ้าจอม หมอ่ มราชวงศ์แป้ม (หม่อมราชวงศ์แปม้ มาลากุล) 81. เจ้าจอมหม่อมราชวงศช์ ว่ ง 82. เจ้าจอมเอิบ (เอิบ บนุ นาค) 83. เจา้ จอมหม่อมราชวงศแ์ ปว้ (หม่อมราชวงศ์แปว้ มาลากุล) 84. เจา้ จอมเลยี ม (เลียม บนุ นาค) 85. เจ้าจอมอาบ (อาบ บุนนาค) 86. เจ้าจอมเอื้อน (เอื้อน บุนนาค) 87. เจา้ จอมแส (แส บนุ นาค)
88. เจา้ จอมสมบรู ณห์ รือ สมบุญ (สมบรู ณ์ มนั ประเสริฐ) 89. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดบั (หมอ่ มราชวงศ์สดับ ลดาวลั ย์) 90. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ละม้าย (หม่อมราชวงศ์ละมา้ ย สิงหรา) 91. เจา้ จอมแถม (แถม บุนนาค) 92. เจ้าจอมอา่ (อา่ ครุ ุกุล) 93. เจ้าจอมกิมเนยี ว 94. เจา้ จอมกล่นิ 95. เจา้ จอมแกว้ 96. เจา้ จอมเงนิ (เงิน สิน สุข) 97. เจ้าจอมเงก็ 98. เจา้ จอมหม่อมราชวงศ์จรวย (หม่อมราชวงศ์จรวย ปราโมช) 99. เจ้าจอมจนั 100. เจา้ จอมจ๋วิ 101. เจ้าจอมเจมิ 102. เจ้าจอมเจมิ 103. เจ้าจอมเจิม (เจ้าจอมเจิม ศรีเพญ็ ) 104. เจ้าจอมเจยี ม 105. เจา้ จอมจาเรญิ 106. เจ้าจอมจาเรญิ (จาเริญ โชตกิ สวัสด์ิ) 107. เจ้าจอม จาเริญ (จาเรญิ สุวรรณทัต) 108. เจ้าจอมแฉ่ง (แฉง่ พลกนิษฐ์) 109. เจ้าจอมเชย (เชย บนุ นาค) 110. เจ้าจอมเชื้อ (เช้อื พลกนิษฐ์) 111. เจา้ จอมถนอม (ถนอม แสง-ชูโต) 112. เจา้ จอมทิพมณฑา 113. เจ้าจอมทิพย์ (ทิพย์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) 114. เจา้ จอมทิพย์ (ทพิ ย์ ศกุณะสิงห์) 115. เจ้าจอมน่วม 116. เจา้ จอมนอม 117. เจ้าจอมน้อย 118. เจ้าจอมเนย้ 119. เจา้ จอมบว๋ ย 120. เจ้าจอมประยงค์ (ประยงค์ อมาตยกุล) 121. เจ้าจอมปกุ (ปกุ บุนนาค) 122. เจ้าจอมปุ้ย 123. เจ้าจอมเปรม 124. เจา้ จอม เปลี่ยน (เปลย่ี น ณ บางชา้ ง) 125. เจา้ จอมผาด (ผาด ทันตานนท์) 126. เจ้าจอมพลับ (พลบั พฒั นเวชวงศ์ 127. เจา้ จอมพิณ (พิณ ณ นคร) 128. เจา้ จอมพิพัฒน์ 129. เจ้าจอมหม่อมราชวงศม์ ณี (หมอ่ มราชวงศ์มณี อศิ รางกรู ) 130. เจ้าจอมมอญ 131. เจา้ จอมมิ (มิ จาตรุ งคกุล) 132. เจา้ จอมเมขลา 133. เจ้าจอมเยื้อน (เยื้อน บุนนาค) 134. เจา้ จอมเย้ือน (เยอ้ื น แสง-ชโู ต) 135. เจา้ จอมละมา้ ย (ละม้าย อหะหมัดจุฬา) 136. เจ้าจอมลน้ิ จ่ี (ลน้ิ จี่ จารุจนิ ดา) 137. เจา้ จอมลูกจันทร์ (ลกู จนั ทร์ จารุจินดา) 138. เจ้าจอมลูกจนั ทร์ (ลูก จนั ทร์ เอมะศริ ิ) 139. เจา้ จอมวอน (วอน บนุ นาค) 140. เจ้าจอมวงศ์ 141. เจา้ จอมสวน (สวน บณุ ยรตั พนั ธุ์) 142. เจา้ จอมสวาสดิ์ (สวาสดิ์ สาลกั ษณ์) 143. เจา้ จอมสว่าง 144. เจ้าจอมสาย 145. เจ้าจอมสาล่ี (สาล่ี ศรี เพ็ญ) 146. เจ้าจอมสาอาง (สาอาง บณุ ยรัตพนั ธุ์) 147. เจ้าจอมสนิ (สนิ ศรีเพญ็ ) 148. เจ้าจอมสงิ หรา 149. เจ้าจอมสุวรรณ (สวุ รรณ ณ นคร) 150. เจา้ จอมเหลียน (เหลยี น บุนนาค) 151. เจา้ จอมอิม (อมิ โชตกิ เสถยี ร) 152. เจา้ จอมอิ่ม (อิ่ม คุรุกุล) 153. เจ้าจอมจันทร์ (จันทร์ แสง-ชูโต)
พระราชลัญจกรประจาพระองค์ พระราชลญั จกรประจาพระองคพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าอยหู่ วั เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตร บริวารต้ังขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ช้ัน ทางด้านซ้ายวางสมุดตารา และทางด้านขวาวาง พระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ันเป็นการเจริญ รอยจาลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการสร้างพระลัญจกรประจา พระองค์น้ัน จะใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ดังนั้น จึงเลือกใช้ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ มาใช้เป็นพระราชลัญจกร ประจาพระองค์ พระพุทธรูปประจาพระชนมวารรชั กาลท่ี 5(ปางห้ามพระแกน่ จันทร์) และพระพทุ ธรูปประจารัชกาลท่ี 5 (ปางขัดสมาธเิ พชร) พระพทุ ธรูปประจาพร พระพุทธรูปประจารชั กาล
พระพทุ ธรปู ประจาพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั เป็นพระพุทธรูปปางหา้ ม พระแก่นจันทน์ ซงึ่ โปรดใหส้ ร้างขึน้ แทน ปางไสยาสน์เพราะทรงพระราชสมภพวันองั คาร โดยทรงให้สรา้ งขนึ้ ในราวปี พ.ศ. 2466-2453 สรา้ งด้วยทองคา ความสูงรวมฐาน 34.60 เซนตเิ มตร พระพุทธรูปประจารชั กาล พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวเป็นพระพุทธรูปปางขดั สมาธเิ พชร พระเกตุมาลาเปน็ เปลวเพลิง เหนือพระเศยี รกางก้นั ด้วยฉัตรปรทุ อง 3 ชน้ั สร้างราว พ.ศ. 2453-2468 หน้าตักกว้าง 7.2 น้วิ สงู เฉพาะองค์ พระ 11.8 ซ.ม. สงู รวมฉตั ร 47.3 ซ.ม. เครื่องราชอสิ ริยาภรณ์ เคร่ืองขตั ตยิ ราชอสิ ริยาภรณ์อันมเี กยี รตคิ ุณรุ่งเรืองยงิ่ มหาจกั รบี รมราชวงศ์ เคร่อื งราชอสิ รยิ าภรณอ์ นั เปน็ โบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณจ์ ลุ จอมเกล้า ชน้ั ท่ี 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ เครอ่ื งราชอิสรยิ าภรณ์อันมีศักดิร์ ามาธบิ ดี ช้นั ที่ 1 (เสนางคะบดี) เคร่ืองราชอสิ ริยาภรณ์อนั เปน็ ทีเ่ ชิดชูยง่ิ ชา้ งเผือก ช้ันมหาปรมาภรณช์ า้ งเผอื ก (ม.ป.ช.) เคร่ืองราชอสิ ริยาภรณอ์ นั มีเกียรตยิ ศยง่ิ มงกุฎไทย ชัน้ มหาวชริ มงกุฎ (ม.ว.ม.) เหรยี ญดษุ ฎมี าลา เข็มราชการในพระองค์ และ เหรียญดุษฎมี าลา เขม็ ราชการแผน่ ดิน เหรยี ญจักรมาลา เหรยี ญรัตนาภรณ์ รชั กาลที่ 4 ชัน้ ท่ี 1 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลท่ี 5 ชนั้ ที่ 1 เหรียญราชรจุ ิ รชั กาลท่ี 5 ดอกไมโ้ ปรดของรัชกาลท่ี 5 กหุ ลาบสีชมพู ดอกกุหลาบเป็นดอกไม้ทรงโปรดของรัชกาลท่ี 5 ใครท่ีต้องการบูชารัชกาลท่ี 5 ก็จะใช้ดอกกุหลาบสี ชมพูบชู า เพราะสีชมพเู ปน็ สีประจาวันพระราชสมภพ (วันองั คาร) เหตุทท่ี ราบว่าพระองค์ทรงโปรดดอกไม้ชนิด นี้คงมาจากพระราชหัตถเลขา (จดหมาย)ท่ีพระองค์ทรงเขียนถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดลครั้ง เสดด็จประพาสยโุ รป ได้ตรัสถงึ ความงดงามของดอกกุหลาบไว้หลายตอนน่ันเอง
พระราชกรณียกิจ พระราชกรณยี กจิ ดา้ นเศรษฐกิจ หอรษั ฎากรพิพัฒน์ 1. การปรับปรงุ ระบบการคลัง แยกการคลงั ออกจากกรมทา่ ทรงตงั้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเม่อื พ.ศ. 2416 ข้นึ ตรงตอ่ พระมหากษัตรยิ ์เพ่อื เป็น สานักงานกลางเกบ็ ผลประโยชน์ รายไดภ้ าษอี ากรของแผ่นดนิ มา รวมไว้ที่แห่งเดยี ว ตอ่ มาไดย้ กฐานะหอรษั ฎากรพิพฒั น์ ข้นึ เป็น กระทรวงพระคลังมหาสมบตั ิ เม่ือ พ.ศ. 2435 2. ตรากฎหมายกวดขันภาษีอากร โปรด ฯ ใหต้ ราพระราชบัญญตั สิ าหรับ หอรษั ฎากรพิพัฒน์ ขน้ึ เมื่อ 4 มิถุนายน 2416 โดยวางหลกั เกณฑ์การเรียกเก็บภาษอี ากรให้ทันสมยั ตามแบบสากล 3. การปรบั ปรงุ ระบบภาษีอากรแบบใหม่ พ.ศ. 2435 ทรงตงั้ ข้าหลวงคลงั ไปประจาทุกมณฑล เพื่อทา หนา้ ท่เี ก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง แลว้ รวบรวมสง่ ไปยงั กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 4. ยกเลิกระบบเจา้ ภาษีนายอากร เปลีย่ นใหเ้ ทศาภิบาลเก็บภาษีเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล 5. จัดทางบประมาณแผน่ ดิน ขน้ึ เปน็ ครัง้ แรก เมื่อ พ.ศ. 2439 ต้งั พระคลงั ข้างที่ ขน้ึ สาหรับจดั การ ทรัพย์สินสว่ นพระมหากษตั ริย์ สาหรบั รายไดภ้ าษีอากร ของแผ่นดิน ให้พระคลังมหาสมบตั เิ ปน็ ผู้ควบคมุ ดูแล เงินในสมยั รัชกาลท่ี 5
6. จัดระบบเงนิ ตราใหม่ โดยยกเลกิ ระบบเงนิ พดด้วง หน่วยเงนิ เฟอ้ื ง ซีก เส้ยี ว อัฐ โสลฬ ตาลึง ช่งั โดยสรา้ งหนว่ ยเงินขนึ้ ใหม่ ให้ใช้ เหรียญบาท เหรยี ญสลึง เหรยี ญสตางค์ กาหนดให้ 100 สตางค์ เทา่ กับ 1 บาท พร้อมท้ังผลติ เหรียญสตางคท์ าด้วยทองคาขาวมี 4 ราคา ได้แก่ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางคแ์ ละ 2 สตางคค์ ร่งึ 7. ตราพระราชบัญญัตธิ นบัตร ร.ศ. 121 จัดพิมพ์ธนบตั รร่นุ แรก มีราคา 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาทและ 1000 บาท ต่อมาเพม่ิ ชนิด 1 บาท 8. เปลย่ี นมาตราฐานเงินมาเป็นมาตราฐานทองคา ร.ศ. 127 เม่อื 11 พฤศจิกายน 2451 เพื่อรักษา อัตราแลกเปลย่ี นเงินตราไทยใหส้ อดคล้องกับหลักสากลทั่วไป แบงค์สยามกัมมาจล 9. กาเนิดธนาคารแห่งแรก เดิมเรียกว่า บุคคลัภย์ Book Clup แล้วขอพระราชทานพระบรารา ชานญุ าตจดทะเบียนเปน็ บรษิ ทั ใหถ้ กู ต้องตามกฎหมาย มชี ่ือวา่ บรษิ ทั แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจากัด ต่อมาได้ เปล่ียนชอื่ เปน็ ธนาคารไทยพาณชิ ย์ จากัด เม่ือ พ.ศ. 2482
พระราชกรณยี กจิ ดา้ นการสาธารณูปโภค โรงพยาบาลศริ ริ าช กาเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก ต้ังอยู่ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย ฝง่ั ธนบรุ ี เดิมเรยี ก โรงพยาบาลวงั หลงั ดาเนนิ กิจการเม่ือ 26 เมษายน 2431 ต่อมาภายหลังเปลีย่ นช่อื เปน็ โรงศิรริ าชพยาบาล แตค่ นท่วั ไปชอบ เรียกกนั ว่า โรงพยาบาลศิรริ าช กาเนิดโรงเรียนแพทย์ ในโรงพยาบาลศิรริ าช เม่ือ 2432 เรยี กว่า โรงเรียน แพทยากร ตอ่ มาเรยี ก ราชแพทยาลยั ภายหลังคอื คณะแพทยศาสตร์ ศริ ริ าชพยาบาล ของมหาวิทยาลยั มหดิ ล ในปัจจุบนั กาเนดิ การไฟฟา้ โดยมี จอมพล เจ้าพระยาสรุ ศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชโู ต) เป็นผรู้ เิ รมิ่ จาหน่ายไฟฟ้าและ ขยายกจิ การมาเป็น การไฟฟ้านครหลวงในปัจจบุ นั กาเนิดการประปา ในเดือนกรกฎาคม 2452 ไดโ้ ปรดให้เร่ิมดาเนินการสร้างประปาข้นึ โดยเก็บกักนา้ ทคี่ ลองเชยี งราก จังหวดั ปทมุ ธานี แลว้ ขดุ คลองประปาสาหรับสง่ น้าเขา้ มาจนถงึ คลองสามเสน พร้อมทงั้ ฝงั ท่อ เอกและอปุ กรณ์อน่ื ๆ เพื่อให้ราษฎรมีนา้ สะอาดใช้
สภาอุณาโลมแดง ตั้งสภาอุณาโลมแดง เน่ืองจากกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มที หารไทยบาดเจ็บลม้ ตายเป็นจานวนมาก จึงจัดต้ัง สภาอุณาโลแดงแห่งชาติสยาม ขึ้น เพื่อจัดหาทุนซื้อ ยาและเคร่ืองเวชภัณฑ์ ส่งไปบรรเทาทุกข์ทหารท่ีบาทเจ็บในสงครามครั้งนี้ ต่อมาได้ขยายกิจการช่วยเหลือ กว้างขวางออกไปถึงประชาชนทั่วไปและภายหลังได้เปลี่ยนช่ือเป็น สภากาชาดสยาม และเปลี่ยนเป็น สภากาชาดไทย ในปจั จบุ ัน ต้ังกรมสุขาภิบาล ข้ึนเมื่อ พ.ศ. 2440 เพ่ือดูแลรักษาความสะอาด กาจัดกลิ่นเหม็น ควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ ให้ราษฎรมีสุขภาพอาณามัยท่ีดี แล้วขยายไปยังส่วนภูมิภาค โดยทดลองจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองข้ึนเป็น ครง้ั แรก ท่ี ตาบลทา่ ฉลอม จงั หวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ. 2448 ครัน้ กิจการสุขาภิบาลได้ผลดี เป็นท่ีน่าพอใจ ใน ปี พ.ศ. 2451 ได้จัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นท่ัวไปมีอยู่ 2 ประเภทคือ สุขาภิบาลเมือง และ สุขาภิบาลตาบล ตอ่ มาไดก้ ลายเปน็ เทศบาล จัดตง้ั โอสถศาลารัฐบาล เพือ่ เปน็ สถานประกอบการและผลิตยาสามัญประจาบา้ น ส่งไปจาหนา่ ยแก่ ราษฎร ชาวบา้ นเรียกว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปล่ียนมาเรยี กวา่ ยาตาราหลวง พระราชกรณียกจิ ดา้ นการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร การคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสาโรง คลองแสนแสบ คลองนครเน่ืองเขต คลองรังสิตประยูรศักด์ิ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขุดคลองส่งน้าประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อาเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้าจากแหล่งน้าดิบ เชียงราก ผ่านอาเภอสามโคก อาเภอเมืองปทุมธานี อาเภอคลองหลวง อาเภอธัญบุรีและอาเภอลาลูกกา จงั หวดั ปทุมธานี,อาเภอปากเกรด็ และ อาเภอเมอื งนนทบุรี จังหวัดนนทบรุ ี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขต ดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจกั ร เขตบางซื่อ เขตดสุ ิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
กาเนิดการรถไฟ สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก กรุงเทพฯ – อยุธยา เมื่อ 26 มีนาคม 2439และขยาย กจิ การไป ทั่วทกุ ภมู ภิ าคเรม่ิ กจิ การรถรางในกรงุ เทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2430 เริ่มกิจการไปรษณีย์ โปรดฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เมอ่ื 4 สิงหาคม 2426 เริม่ กจิ การโทรเลข โทรเลขสายแรกคือกรงุ เทพฯ – สมุทรปราการ เมอ่ื พ.ศ. 2412 ต่อมาได้รวม กิจการไปรษณยี ์โทรเลขเข้าด้วยกัน เรยี กว่า กรมไปรษณียโ์ ทรเลข เร่มิ กจิ การโทรศพั ท์ เม่ือปี พ.ศ. 24241
พระราชกรณียกจิ ด้านการเลิกทาส พระราชกรณียกิจอันสาคัญย่ิง ที่ทาให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ก็ คือ “การเลิกทาส”สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติน้ัน ประเทศไทยมีทาส เปน็ จานวนกว่าหน่งึ ในสามของพลเมอื ง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเร่ือยมาไม่ มีท่ีสิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกท่ีเกิดจากพ่อแม่ท่ีเป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรือ่ ยไป กฎหมายท่ีใช้กันอยใู่ นเวลานัน้ ตรี าคาลูกทาสในเรือนเบ้ีย ชาย 14 ตาลึง หญิง 12 ตาลึง แล้วไม่มีการ ลด ตอ้ งเปน็ ทาสไปจนกระท่ัง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คานวณการลดนี้ อายุทาสถึง 100 ปี กย็ ังมคี ่าตัวอยู่ คอื ชาย 1 ตาลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผทู้ ่เี กิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็น ทาสไปตลอดชีวติ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติข้ึน เมื่อวันท่ี 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีท่ี พระองค์เสด็จข้ึนเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซ่ึงเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสทิ ธิได้ลดค่าตวั ทกุ ปี โดยกาหนดว่า เมอ่ื แรกเกิด ชายมคี า่ ตวั 8 ตาลึง หญงิ มีคา่ ตัว 7 ตาลึง เมื่อ ลดคา่ ตวั ไปทกุ ปีแลว้ พอครบอายุ 21 ปกี ็ให้ขาดจากความเป็นทาสทัง้ ชายและหญงิ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
Pages: