การเปล่ยี นแปลงทางภูมทิ ัศน์และลักษณะอาคารของสถาปัตยกรรม ชโิ น-โปรตกุ สี ในเมอื งภูเก็ต ระหวา่ ง พ.ศ.2545-2559 ปยิ ะนาถ องั ควาณิชกุล ข้อมลู ทางบรรณานกุ รม การเปล่ียนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารของสถาปตั ยกรรมชิโน-โปรตุกสี ในเมอื งภูเก็ต ระหวา่ ง พ.ศ. 2545-2559 / โดย ปยิ ะนาถ อังควาณิชกุล. กรงุ เทพฯ: คณะสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, 2563. 1. สถาปตั ยกรรมชิโน-โปรตุเกส. 2. ยา่ นเมอื งเกา่ ภูเกต็ . 3. ภูเก็ต - ความเปน็ อยแู่ ละ ประเพณี. 4. ภูเก็ต - ภูมิประเทศและการทอ่ งเท่ียว. 709.593 ป621ก ISBN: 978-616-296-219-6 ครงั้ ทพ่ี ิมพ์ พิมพค์ รัง้ ที่ 1 พ.ศ. 2563 จดั พมิ พโ์ ดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ พิมพ์ที่ โรงพิมพว์ ีรณาเพรส 919 ซอยอ่อนนชุ 39 ถนนสขุ ุมวทิ 77 แขวงสวนหลวง ภาพปก เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร.02-728-7701-4 (โทรสาร. 02-728-7783) ปกหนา้ อาคารพพิ ธิ ภัณฑเ์ พอรานากนั นทิ ศั น์ (อดีตอาคารสถานีตำรวจภูเกต็ และ อดตี อาคาร The Chartered Bank) ปกหลัง อาคารบ้านเรือนย่านถนนดบี ุก อำเภอเมือง จงั หวัดภูเกต็ วาดภาพปก โดย ผศ.ดร. อรญั วานิชกร ภาพถา่ ย Street Art “โอวตา้ ว” ถนนพังงา อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู ก็ต โดย ปยิ ะนาถ องั ควาณชิ กุล
คาํ นยิ ม หนังสือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารของ สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสในเมืองภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๙ ของ ดร.ปยิ ะนาถ องั ควาณชิ กลุ ภาควชิ าประวัตศิ าสตร์ คณะสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัย ศรีนครนิ ทรวิโรฒ ผมมโี อกาสได้อ่านผลงานวิจยั บทความวจิ ัย หนังสอื บทความวิชาการของ ดร.ปยิ ะนาถ อังควาณิชกุล หลายเนือ้ หาสาระ ตา่ งกรรมตา่ งวาระกนั เสนห่ ์งาน วิชาการทางประวตั ิศาสตรข์ องเธอ อยู่ทคี่ วามลมุ่ ลกึ ในชนั้ เชงิ ประวัติศาสตร์ ประวัติ ศาสตร์ในบริบทของสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ศิลปกรรมศาสตร์ ได้มโี อกาสฟงั เธอบรรยายประวัติศาสตร์ไทย หลากหลายยุคสมยั หลากหลายแหลง่ ประวัติศาสตร์ ความลมุ่ ลึก ความคมชดั ครอบคลุมบรบิ ทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างย่ิงความเป็นประวัติศาสตร์ที่เช่ือมโยงกับศิลปวัฒนธรรมและศิลป- กรรมศาสตร์ เธอมองประวัติศาสตรแ์ ละบรบิ ทอย่างเป็นเนื้อเดยี วกัน หนังสือ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารของ สถาปตั ยกรรมชโิ น-โปรตกุ ีสในเมืองภูเกต็ ระหวา่ ง พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๙ เลม่ นี้ ปพู น้ื ความเป็นมาของเมืองภูเก็ต เมืองภูเก็ตท่ีเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ศูนย์กลาง เศรษฐกิจ และแหล่งทรัพยากรมาแต่อดีตกาล เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ- พระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว เมืองภเู กต็ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองพร้อมไปกับการปฏิรูปประเทศ ชาวจีนท่ีอพยพมาอยู่ท่ีเมือง ภูเก็ตได้ผสานวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมจากยุโรปและจีนเข้าไว้ด้วยกัน จนก่อ เกิดกระแสสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสอย่างสำคัญย่ิง เธอได้วิเคราะห์แยกแยะ สถาปัตยกรรมชโิ น-โปรตุกีส หลากหลายรูปแบบ หลากหลายอทิ ธิพล หลากหลาย เชิงช่าง วิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมตามย่านต่างๆ ในเมืองภเู กต็ พรอ้ มดว้ ยภาพ ประกอบชัดเจนอยา่ งนา่ สนใจ
พฒั นาการการท่องเทยี่ วในประเทศไทยหลงั ปี ๒๕๔๕ ไดช้ ว่ ยขับเคลอ่ื นให้ เมืองภูเก็ตตืน่ ตัวเร่อื งการทอ่ งเที่ยว เมอื งภูเก็ตได้พัฒนาเป็นแหลง่ ท่องเทีย่ วท่ีสำคัญ ยง่ิ แหลง่ หนงึ่ ในประเทศไทย ชาวเมอื งภูเก็ต นักธรุ กิจ พอ่ คา้ แมข่ าย ได้ตืน่ ตัวใน การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเท่ียว ต่ืนตัวทางธุรกิจ ตื่นตัวในการพัฒนาอาคาร สถานท่ี บ้านเรือน รวมทง้ั การพฒั นาภูมทิ ศั นแ์ ละสถาปตั ยกรรมชิโน-โปรตุกีส เพื่อ ตอบสนองกระแสการทอ่ งเทีย่ ว เธอได้วเิ คราะห์แยกแยะพฒั นาการดงั กลา่ วในยา่ น ต่างๆ อย่างนา่ สนใจยิง่ การศึกษาค้นคว้า การเสนอความคิด ที่ เกิดจากนักวิชาการที่กัดติด นักวิชาการที่ฝังตัวอยู่กับท้องถ่ินน้ันๆ นักวิชาการท่ีมองประวัติศาสตร์อย่างลุ่มลึก และมองบรบิ ทต่างๆ อย่างมตี วั ตน ย่อมท้าทายให้เราตดิ ตามมิใชห่ รอื (ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตงั้ เจรญิ ) อดตี อธิการบดมี หาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ ๑๒ สงิ หาคม ๒๕๖๓
คํานาํ กว่าจะมาเป็น “ภเู ก็ต” ในวนั น้ี “จงั ซลี อน ถลาง ภูเกจ็ ” คำทปี่ รากฏใน เอกสารช้ันต้นท้ังเอกสารไทยและเอกสารต่างชาติ บอกเล่าเร่ืองราวการมีสถานะ เป็นเมืองท่าค้าขายแห่งเมืองชายฝั่งตะวันตกหรือฝ่ังทะเลอันดามันทางภาคใต้ของ ประเทศไทย คำว่า จงั ซลี อน (Junk Ceylon) ปรากฏในบันทกึ ของนักภมู ิศาสตร์ ชาวกรีก คลอดอิ สุ ปโตเลมี สว่ นเมือง ถลาง ปรากฏชอื่ ในฐานะเป็นเมือง 1 ใน 12 เมืองนักษัตรของนครศรีธรรมราช สมัยอยุธยาได้มีการกล่าวถึงแหล่งแร่ดีบุกของ เมืองภูเก็ตซ่งึ เปน็ สินคา้ ออกทส่ี ำคัญ ในสมยั รตั นโกสินทร์ตอนตน้ ผลจากการยกทพั ของพม่านับตั้งแต่เกิดสงครามเก้าทัพและหลังสงคราม ทำให้ผู้คนอพยพล้ีภัยไปต้ัง เมืองใหม่ คือเมืองภูเกต็ แต่เอกสารเดมิ สะกดวา่ ภูเกจ็ ในรัชสมยั พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว เมืองภูเกต็ มผี ู้คนตัง้ หลกั แหลง่ และมคี วามเจริญเตบิ โต จึง ทรงโปรดเกล้าฯ ใหย้ ุบเมอื งถลางไปขึ้นกบั เมืองภูเกต็ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเข้ามาของชาติ ตะวันตกทำให้เกิดการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ การปรับเปล่ียนสยามให้มีความ อารยะทัดเทียมนานาประเทศเป็นผลให้เกิดการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก และการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เมืองภูเก็ตได้มี การพัฒนาขยายเมือง อันเป็นผลจากการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกและการ ตดิ ต่อกับญาตทิ ี่เมอื งปีนงั (ประเทศมาเลเซยี ) พระยารัษฎานปุ ระดษิ ฐ์มหศิ รภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้สร้างที่ทำการราชการตามแบบสถาปัตยกรรม ตะวนั ตก เช่น ศาลากลาง ศาลจงั หวดั เป็นต้น เศรษฐีชาวจีนท่ีเป็นนายเหมอื งแรไ่ ด้ ริเริ่มการสร้างอาคารบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมกับสถาปัตยกรรมแบบ ตะวันตกทเ่ี รียกกนั ว่า สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกสี ซ่ึงแสดงถึงฐานะการเงินที่ ม่ังคงั่ ของนายเหมอื งชาวจนี และเศรษฐกิจท่ีขยายตวั ในเมอื งภูเกต็
สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตกุ ีส หรอื สถาปตั ยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน เป็นภาพสะท้อนในการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของเมืองภูเก็ต การตั้งถิ่นฐานของ ชาวจีนฮกเก้ยี น แขกมลายู แขกเทศ แขกซกิ ซ์ ซึ่งมวี ฒั นธรรมที่แตกต่างกัน ทง้ั น้ี การเข้ามาต้ังรกรากทำเหมืองแร่ดีบุกของชาวจีนฮกเก้ียน มีลักษณะการตั้งถ่ินฐาน แบบถาวร สามารถแต่งงานกับคนทอ้ งถิน่ ซ่ึงเป็นหลักการวฒั นธรรมผสมกลมกลนื ของชาวจีน จึงทำให้เกิดลูกหลานที่สืบเชื้อสายจีนฮกเก้ียน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มากกว่าชาติอืน่ ในขณะที่พวกแขกจะไมน่ ยิ มแต่งงานกับคนท้องถิ่น โดยเฉพาะแขก ซกิ ซ์จะจำกัดการแต่งงานในกลมุ่ ของตนเอง การลงพ้ืนท่ีเก็บข้อมูลของผู้เขียนสัมผัสได้ว่าภูเก็ตวันนี้มีความเปล่ียน แปลงหลายอย่าง วันแรกของการเดินทางข้ามจากตัวจังหวัดพังงาเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ใชเ้ วลาเกือบ 2 ชัว่ โมงและในวนั กลับออกจากภเู กต็ ไปสู่ทางเชอ่ื มกบั จงั หวดั พงั งาเพ่ือเดินทางกลบั ต่อมายงั กรงุ เทพฯ กใ็ ชเ้ วลาช่ัวโมงกวา่ ผู้คนมากหน้า หลายตาจากถิ่นฐานอื่นเข้ามาปักหลักทำมาหากินในจังหวัดภูเก็ต เมืองท่องเท่ียว แห่งน้ีในปัจจบุ นั มีอุโมงค์ขา้ มแยกเพ่ือจัดระเบียบการจราจร การเป็นเมืองทอ่ งเทยี่ ว ทำใหภ้ ูเกต็ มีความเป็นสงั คมเมอื งสูง ซงึ่ ความเป็นสงั คมเมอื งนี้ได้ขยายไปทวั่ แทบทั้ง เกาะภเู กต็ การเตบิ โตแบบสังคมเมอื งย่อมมผี ลทำใหพ้ ฤตกิ รรมและคา่ นยิ มในสงั คม และวถิ ชี วี ติ แบบเดมิ คอ่ ยๆ จางหายไป หนงั สอื การเปลยี่ นแปลงทางภมู ทิ ศั นแ์ ละลกั ษณะอาคารของสถาปตั ยกรรม ชิโน-โปรตกุ ีสในเมืองภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ.2545-2559 นี้ เปน็ ผลผลิตจากงานวิจัย เงนิ งบประมาณรายไดค้ ณะสงั คมศาสตร์ ปี 2561 ขอขอบคณุ การสนบั สนุนตีพมิ พ์ หนังสือ โดยโครงการผลิตหนังสือและตำรา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรนี ครินทรวิโรฒ ผู้เขยี นขอขอบพระคณุ ศาสตราจารย์ ดร.วิรณุ ตั้งเจริญ ผูจ้ ุด ประกายให้เกิดงานวิจัยน้ี และให้เกียรติในการเขียนคำนิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชมพนู ทุ นาคีรักษ์ ในการให้คำปรกึ ษาและสรา้ งองค์ความร้ใู นการวิพากษร์ ปู แบบ สถาปัตยกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ นักวิชาการท้องถ่ิน คนสำคญั ในการใหอ้ งคค์ วามรไู้ มม่ ีทีส่ ิ้นสดุ เกย่ี วกับภูเกต็ แกผ่ ู้เขียนเสมอ
ยอ้ นกลบั ไปยส่ี บิ ปกี อ่ นสบู่ า้ นเกดิ ของคณุ พอ่ จดุ เรมิ่ ตน้ ความสนใจสถาปตั ยกรรม เมืองภเู ก็ตเป็นครั้งแรก ผูเ้ ขยี นเดินเข้าไปในบา้ นคณุ ลงุ ประชา ตณั ฑวณชิ แบบไมม่ ี หนังสือหรือคนแนะนำตัว มีเพียงความสนใจติดตัวไปเท่านั้น แต่คุณลุงประชา ตัณฑวณิช กใ็ หก้ ารต้อนรับเป็นอย่างดี ทา่ นดใี จทม่ี ีคนเห็นความสำคัญและสนใจ ศกึ ษาสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ สี คณุ ลงุ นำเอกสารและขา้ วของเครอ่ื งใชเ้ กา่ แก่ มาให้ดูพร้อมให้ความรู้ กลับไปเก็บข้อมูลภูเก็ตในคร้ังน้ีผู้เขียนยังคงรำลึกถึงท่าน เสมอ ขอบคณุ ขอ้ มลู สมั ภาษณ์ ปา้ แดง คณุ จรญู รตั น์ ตณั ฑวณชิ คณุ ปญั ญา ตอ่ เจรญิ และอาจารย์ชุติมา ต่อเจริญ แห่งบ้านต่อเจริญ อาจารย์เรวดี สกุลพาณิชย์ ผ้แู นะนำและประสานงานในการศึกษาสถาปัตยกรรมของบา้ นต่อเจริญ ในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ ภาพถ่ายส่วนใหญ่เป็นการถ่ายภาพโดยผู้เขียน สำหรับภาพถ่ายทนี่ ำมาจากแหลง่ ข้อมลู อนื่ นั้นผเู้ ขียนไดใ้ สแ่ หลง่ ทีม่ าภาพไว้ ผู้เขียน ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์การจัดทำรายละเอียดในองค์ประกอบของหนังสือ โดย คุณเปยี่ มสุข ทุ่งกาวี บรรณารักษ์ (ชำนาญการพิเศษ) สำนักหอสมดุ กลาง มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ ใหเ้ กยี รตวิ าดและออกแบบปก โดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อรญั วานชิ กร อาจารยป์ ระจำสาขาวชิ านวตั กรรมการออกแบบ วทิ ยาลยั อตุ สาหกรรม สรา้ งสรรค์ มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ ปิยะนาถ อังควาณชิ กลุ ภาควชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ
สารบญั หน้า คำนิยม ศาสตราจารย์ ดร.วริ ุณ ตั้งเจริญ 1 คำนำ 9 10 1 ประวัติและความเปน็ มาของสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น–โปรตุกสี 19 ในเมืองภูเก็ต 21 23 2 สถาปตั ยกรรมแบบชิโน–โปรตกุ ีสในเมืองภเู กต็ 27 29 ลกั ษณะรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบชิโน–โปรตกุ สี ในเมืองภเู ก็ต 30 กล่มุ อาคารและบ้านเรอื นท่ีสร้างสถาปัตยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ ีส 33 37 กล่มุ อาคารยา่ นถนนถลาง กลุ่มอาคารและบ้านเรอื นย่านถนนกระบ่ี 41 กลุ่มอาคารและบา้ นเรือนย่านถนนดบี กุ 41 กลมุ่ อาคารย่านซอยรมณยี ์ 47 กลุ่มอาคารและบ้านเรือนยา่ นถนนเยาวราช 65 กลุม่ อาคารยา่ นถนนพังงาและถนนภูเกต็ 69 72 3 การเปลีย่ นแปลงทางภูมิทศั นแ์ ละลกั ษณะอาคารของสถาปตั ยกรรม 80 แบบชโิ น-โปรตุกีสในเมืองภเู ก็ต ระหวา่ ง พ.ศ.2545-2559 การเปลย่ี นแปลงทางภมู ทิ ศั นแ์ ละลกั ษณะอาคาร กลมุ่ อาคารยา่ นถนนถลาง กล่มุ อาคารและบ้านเรอื นย่านถนนกระบ่ี กลมุ่ อาคารและบา้ นเรือนยา่ นถนนดบี ุก กลมุ่ อาคารย่านซอยรมณีย์ กลุ่มอาคารและบา้ นเรือนย่านถนนเยาวราช กลมุ่ อาคารย่านถนนพงั งาและถนนภเู กต็
4 บทสรุป หนา้ ลักษณะการใช้สอยอาคาร ลกั ษณะการเปล่ียนแปลงทางภมู ิทศั น์ 87 การบรู ณะอาคารสถาปตั ยกรรมแบบชิโน-โปรตุกสี 87 ในย่านอนุรกั ษ์เมอื งเกา่ 88 การทำ Street Art ในย่านอนุรกั ษ์เมอื งเก่า 89 บรรณานุกรม 99 105
1 ประวตั ิและความเปน็ มาของสถาปตั ยกรรม แบบชโิ น – โปรตุกีสในเมืองภูเกต็ จังหวัดภูเก็ตในอดีตเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินเรือต่างชาติมาช้านานแล้ว เนื่องจากภูเก็ตเป็นเกาะต้ังอยู่ริมฝั่งอันดามันตะวันตกของคาบสมุทรมลายู เป็น สถานท่ีที่ผู้เดินเรือผ่านสามารถจอดพักเรือเพื่อหลบพายุได้ ส่งผลให้ภูเก็ตมีสภาพ เปน็ เมืองทา่ คา้ ขาย ชาวตา่ งชาติรูจ้ กั ภเู กต็ ในนาม จงั ซีลอน (Junk Ceylon) มาต้งั แต่ พ.ศ.700 ตามบนั ทึกของคลอดอิ ุส ปโตเลมี นกั ภมู ศิ าสตรช์ าวกรกี 1 ส่วนเอกสาร ไทยน้ันได้ปรากฏช่ือเมืองถลางในเอกสารตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ พุทธศตวรรษท่ี 18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาท่ีเมืองนครศรีธรรมราชหรืออาณาจักร ศรีธรรมโศกราช เป็นเมืองทางใต้ท่ียิ่งใหญ่มีเมืองข้ึนหลายเมืองโดยให้เมืองเหล่าน้ี ถือตราประจำเมืองเป็นตรา 12 นักษัตร ดังน้ี “...จึงพญาศรีธรรมโศกราชตริ ริกันแล้ว ก็ได้สรา้ งเมืองขน้ึ 12 นักษตั ร จอเมืองตะกั่วถลางถือตราสุนัข 1...เมอื ง 12 นกั ษัตรหวั เมอื งขนึ้ แกเ่ มืองนครศรธี รรมราชมหานคร...”2 ในสมัยอยุธยา ปรากฏหลกั ฐานว่าโปรตเุ กสเปน็ ชาตติ ะวันตกชาตแิ รกท่ีเข้า มาทำการรับซ้ือแร่ในถลางประมาณ พ.ศ.2126 – 2135 ต่อมาฮอลนั ดาซงึ่ ทำการค้า ในรูปแบบบริษทั ดัชต์ อสี ต์ อนิ เดีย หรือเปน็ ทร่ี ู้จักกันในนาม VOC สามารถเขา้ มา มีอิทธิพลแทนท่ีโปรตุเกสเข้ายึดครองเมืองมะละกา แล้วทำการขยายอิทธิพล 1สนุ ยั ราชภณั ฑารกั ษ.์ (2518). ภูเก็ต. หนา้ 62. 2กรมศิลปากร. (ม.ป.ป.). ตำนานเมืองนครศรธี รรมราช. หนา้ 51. 1
จนกระทงั่ มาตง้ั สถานกี ารคา้ ทอี่ ยธุ ยาและปตั ตานี สมยั สมเดจ็ พระเอกาทศรถฮอลนั ดา ไดร้ ับอนุญาตให้ต้ังสถานีการคา้ ทเี่ มอื งถลางเพ่อื ซื้อและเก็บสนิ ค้าสำคัญคอื แรด่ ีบกุ สมยั สมเด็จพระนารายณม์ หาราช เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ทูตฝรั่งเศสทมี่ าเจรญิ สัมพนั ธไมตรีได้บันทึกถึงสินค้าแรด่ บี ุกว่าส่วนใหญ่มาจากเกาะถลาง3 เมอื งถลางหรอื เมอื งภเู กต็ จงึ มลี กั ษณะเปน็ เมอื งเปดิ และเปน็ สงั คมนานาชาติ มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งด้านประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย ภาษา อาหาร และอ่นื ๆ ชาติพันธุอ์ ันหลากหลายของภูเกต็ ประกอบไปดว้ ย ชาวพน้ื เมอื งเดิม ชาวจีนฮกเกีย้ น ชาวมาเลย์ แขกเทศ (อนิ เดยี ปากสี ถาน ศรีลงั กา) และชาวเล (ชาวน้ำมหี ลักแหล่งตามเกาะแก่งตา่ งๆ) ประชากรต่างชาติท่ีเข้ามาต้ังหลักแหล่งและประกอบอาชีพที่มีจำนวนมาก ท่สี ดุ คอื ชาวจนี ฮกเก้ียน จากหลักฐานการผูกปีข้ อ้ มือชาวจนี ในรัชสมัยพระบาท- สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว พ.ศ.2407 ได้รายงานวา่ มีชาวจนี อพยพเดินทางมา เกาะภเู กต็ ท้งั หมด 7,201 คน เป็นชาวจนี ฮกเกี้ยน 5,858 คน (81.34%) ชาวจีน ไหหลำ 619 คน (8.59%) ชาวจนี กวางตุ้ง 444 คน (6.16%) และชาวจนี แตจ้ ๋วิ 280 คน (3.88%) โดยอพยพมาจากเมอื งฉวนโจว จางโจว เซียเหมนิ และถงู อันในมณฑล ฮกเกย้ี น (ตามสำเนียงภาษาจนี เรยี กว่า มณฑลฟเู จย้ี น: ผเู้ ขยี น) จากประเทศจีน ตอนใต้4 ชาวจีนฮกเก้ียนหลายคนที่มีโอกาสเข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำท้ังด้านการ ปกครองและด้านเศรษฐกิจในเมืองภูเก็ต ด้านเศรษฐกิจเป็นการเข้ามาเร่ิมต้นทำ 3ปยิ ะนาถ ลม่ิ สกลุ . (2542). การศกึ ษาอิทธิพลของต่างประเทศจากสถาปัตยกรรมในเมอื ง ภูเกต็ ระหว่าง พ.ศ.2411 – 2468. หน้า 15. 4นวลศรี พงศภ์ ทั รวัต. (2543). บทบาทผู้นำชาวจนี ฮกเกย้ี นในเกาะภเู ก็ต ระหวา่ ง พ.ศ. 2396 – 2475. หนา้ ก. – ข. (อ้างจาก ประกาศใหผ้ ูว้ า่ ราชการเมอื งผกู ป้ีขอ้ มือจนี . (อ้างจาก ไมโครฟิลม์ เลขท่ี ม.ร.๔ – กห./๖๕). (จ.ศ.๑๑๒๙). หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ. เอกสารรชั กาลท่ี ๔ กห.เลม่ ท่ี ๒๒ เลขที่ ๖๕). 2
ธรุ กิจโรงเหมอื งแรด่ บี ุก เนือ่ งจากเป็นความถนดั และชำนาญการของชาวจีนฮกเกีย้ น ทอ่ี พยพมาจากมณฑลฟเู จ้ยี น ประกอบกบั เมืองภเู กต็ อดุ มไปดว้ ยทรัพยากรแรด่ บี ุก การทำเหมืองแร่ในสมัยโบราณใช้แรงงานคนขุด เนื่องจากยังไม่มีการคิดค้นนำ เทคโนโลยมี าเป็นเคร่ืองทนุ่ แรง แลว้ จงึ ใช้เลยี ง (อุปกรณท์ ีใ่ ชใ้ นการร่อนแร)่ รอ่ นเอา แร่ หรือใชค้ นงานขนดินบรเิ วณผิวหน้าไปทิง้ แล้วนำแรท่ ต่ี ดิ กับหินหรือรวมกับดนิ และหนิ ในชัน้ ดินตอนล่างไปล้างให้ได้แรส่ ะอาด5 ระยะแรกชาวจนี จะเขา้ ร่วมทนุ กับ เจ้าของเหมืองขนาดเลก็ ประเภทเหมอื งแล่น6 แลว้ พัฒนาวิธกี ารทำเหมอื งแร่ไปสูก่ าร ทำเหมืองขนาดใหญ่ ประเภทเหมืองหาบ7 ซ่ึงเป็นวธิ ีการทำเหมืองทใี่ ชเ้ ทคนิคแบบ จนี 8 ตอ้ งใชแ้ รงงานเป็นจำนวนมาก ธุรกิจเช่นน้ีมีผลกำไรมหาศาลทำให้ชาวจีนฮกเกี้ยนที่เป็นผู้ประกอบการ จึงมีทั้งอิทธิพล กำลังพล และทรัพย์สิน บางคนได้มอบทุนทรัพย์ในการบำรุง สาธารณประโยชน์ เชน่ สร้างถนน สรา้ งโรงเรยี น เปน็ ต้น กลายเป็นผู้ทมี่ ชี ่ือเสยี ง เปน็ ทรี่ ูจ้ กั ในเมอื งภเู ก็ต ประกอบกบั ปัญหากบฏอ้ังยี่ทเี่ รอื้ รังมาต้ังแต่รชั กาลท่ี 3 - รัชกาลที่ 4 รฐั บาลทกี่ รงุ เทพฯ ไม่สามารถปกครองและควบคุมได้ท่วั ถึง และรฐั บาล ต้องอาศัยกลุ่มนายเหมืองชาวจีนฮกเก้ียนที่มีอำนาจเป็นตัวกลางเพ่ือป้องกันและ 5กรมทรัพยากรธรณ.ี (2535). “เหมอื งแร่,” ใน กรมทรพั ยากรธรณี ๑๐๐ ปี. หน้า 152. 6เหมอื งแล่น คือแรท่ อ่ี ยูบ่ นภูเขาไปทำบนแหลง่ ต้นแร่ โดยเอาน้ำจากฝนหรอื นำ้ ตกฉีดข้างบน แล้วทำรางรับ พอแร่หมดกเ็ ปล่ยี นท่ี ฉีดไลไ่ ปตามแหล่งแร่อน่ื จึงไดเ้ รียกว่าเหมืองแลน่ (คำว่าแลน่ ใน ภาษาถ่นิ ภูเก็ต แปลว่า ไม่อย่กู ับท)ี่ (อา้ งจาก ปยิ ะนาถ ล่มิ สกุล. (2542). การศึกษาอิทธพิ ลของตา่ ง ประเทศจากสถาปตั ยกรรมในเมืองภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ.2411 – 2468. หน้า 27 – 28.). 7เหมืองหาบ คอื การทำการสำรวจที่ดนิ ที่ราบ จะมชี ่วงดินและช่วงกระเซาะ ชว่ งกระเซาะ จะมหี ินและแรอ่ ย่ใู นน้นั เหมืองหาบจะหาทท่ี ่ีไมล่ ึกนกั แล้วทำการหาบดินท้ิงจนถงึ ช่วงกระเซาะสว่ นท่มี ี แร่ แลว้ จึงหาบแร่ขน้ึ มาล้าง (อ้างจาก ปยิ ะนาถ ลม่ิ สกุล. (2542). การศกึ ษาอิทธิพลของตา่ งประเทศ จากสถาปตั ยกรรมในเมอื งภเู ก็ต ระหว่าง พ.ศ.2411 – 2468. หนา้ 27.). 8นวลศรี พงศภ์ ัทรวัต. (2543). เล่มเดิม. หน้า ข. (อา้ งจาก กัมพล มณปี ระพันธ์ และสงบ ส่งเมอื ง. (2529). “เหมอื งแร่ในภาคใต้,” ในสารานกุ รมวฒั นธรรมภาคใต้ เล่ม 10. หน้า 4106 – 4109.). 3
แกไ้ ขปัญหาจลาจลที่เกิดจากกลุ่มอั้งยี่ด้วย9 นายเหมอื งชาวจีนฮกเกีย้ นหลายคนได้ เข้ามามีบทบาททางด้านการปกครอง รวมไปถึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก พระมหากษตั รยิ ์ ได้แก่ คอซู้เจยี ง ณ ระนอง ผู้เป็นตน้ ตระกลู ณ ระนอง อพยพเขา้ มาตงั้ หลกั แหล่ง ทำเหมอื งขุดแร่ และคา้ ขายที่ระนองต้งั แตร่ ัชสมัยพระบาทสมเดจ็ - พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลยั (รัชกาลที่ 2) กจิ การประสบความสำเรจ็ และทำใหเ้ มือง ระนองเจรญิ ขึ้น พระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกล้าเจ้าอยูห่ ัว (รชั กาลที่ 3) จึงโปรดเกล้าฯ แตง่ ต้งั ใหค้ อซู้เจยี งเปน็ พระยาดำรงสจุ ริต ผ้วู า่ ราชการเมืองระนอง เป็นหัวเมอื งขึน้ กบั เมอื งชุมพร10 ตอ่ มาในสมัยรชั กาลท่ี 5 คอซิมบี้ ณ ระนอง บตุ รคอซู้เจยี ง ไดร้ ับ พระราชทานบรรดาศักดิเ์ ปน็ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหศิ รภักดี และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหนง่ สมหุ เทศาภิบาลมณฑลภเู กต็ พ.ศ.2444 – 245611 ในเมอื งภเู ก็ต ชาวจนี ฮกเก้ียนหลายตระกูล มตี ้นตระกูลท่ีอพยพเข้ามาต่อ เนื่องจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มต้นจากการรับจ้างเป็นกุลี เก็บสะสมเงิน จากนั้น ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแล้วขยายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกนั ดใี นเมอื งภเู ก็ต มีบทบาททัง้ ด้านการปกครองและเศรษฐกิจ บตุ รหลานเขา้ รับราชการได้รับบรรดาศักด์ิอย่างมั่นคงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจา้ อยหู่ วั และไดร้ บั พระราชทานนามสกลุ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ - เจา้ อยู่หวั ตวั อยา่ งเช่น จีนเน่ยี วยี่ ไดร้ บั บรรดาศักด์ิ เป็นหลวงบำรงุ จีนประเทศ ซงึ่ บุตรชาย 2 คน ได้แก่ ตันมาไส ไดเ้ ปน็ พระพไิ สยสรรพกิจ และตันมาเสียง ไดเ้ ปน็ 9นวลศรี พงศภ์ ทั รวัต. (2543). เลม่ เดมิ . หน้า ค. 10ปยิ ะนาถ ล่ิมสกลุ . (2542). เลม่ เดมิ . หน้า 23. (อ้างจาก กรมศิลปากร. (2511). “ตำนานเมืองระนอง,” ใน ประชมุ พงศาวดาร ภาคท่ี ๕๐ เล่ม ๓๐. หนา้ 71 – 72.). 11ดรุณี แก้วมว่ ง. (2526). พระยารษั ฎานปุ ระดิษฐ์มหิศรภกั ดี (คอซมิ บี้ ณ ระนอง) : ผนู้ ำ การปกครองหัวเมอื งไทยฝงั่ ตะวันตก พ.ศ.2444 – 2456. หน้า จ. 4
พระพิทกั ษช์ นิ ประชา ตน้ ตระกูล “ตณั ฑวณชิ ”12 จีนตนั จน้ิ หงวน ไดร้ ับบรรดาศักด์ิ เปน็ หลวงอนุภาษภเู ก็ตการ โดยมีพช่ี ายรบั ราชการอยูก่ อ่ น เป็นหลวงประเทศจนี อารกั ษ์ และเปน็ ตน้ ตระกูล “หงษห์ ยก” บุตรหลานของหลวงอนุภาษภเู ก็ตการ นอกจากสืบทอดดูแลธุรกิจในเครือบริษัทอนุภาษและบุตรแล้ว ยังมีโอกาสดำรง ตำแหนง่ สำคญั ในเมืองภูเก็ตอกี หลายคน13 จีนตนั ค๊วต เป็นหลวงอำนาจนรารกั ษ์ ต้นตระกูล “ตัณฑเวส” หลวงอำนาจนรารักษ์ผู้น้ีเป็นผู้ท่ีทำให้เกิดประเพณีกินเจ อนั เปน็ ประเพณที มี่ ชี อื่ เสยี งมากของเมอื งภเู กต็ ทส่ี บื ทอดมาจนถงึ ปจั จบุ นั จนี ตนั เพก็ ฮวด เปน็ พระอร่ามสาครเขตร ซง่ึ บิดาคอื จนี ตันหงิมจ้าว เปน็ ผูเ้ ริ่มต้นกจิ การเหมอื งแร่ ของตระกูล ตันเพก็ ฮวดได้สรา้ งสาธารณประโยชน์ คือ สะพานอรา่ มสาครเขตร ข้าม คลองบางใหญ่ทีถ่ นนภูเกต็ และบริจาคทรัพย์ใหแ้ ก่ราชการเสมอ ไดร้ บั พระราชทาน นามสกุลว่า “ตัณฑัยย์” ส่วนใหญ่ลูกหลานในตระกูลท่ีกล่าวมาท้ังหมดยังคงมี บทบาทและมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกับราชการในการพัฒนาเมืองภูเก็ต14 ผู้นำชาวจีนฮกเกี้ยนเหล่านี้ยังมีบทบาทด้านวัฒนธรรมอีกด้วย โดยเป็นผู้มีส่วนใน การเผยแพร่และอนุรักษ์วัฒนธรรมจีนฮกเกี้ยนท้ังทางตรงและทางอ้อมตามลักษณะ วถิ ชี ีวิตแบบดั้งเดิมของบรรพบรุ ษุ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นอยา่ งหนง่ึ ของจงั หวัดภเู กต็ สถาปัตยกรรมแบบชิโน–โปรตุกีส เป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบ จีนและแบบยุโรป รวมท้ังสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษท่ีใช้ในประเทศอินเดียซ่ึงเป็น อาณานคิ มของตนเข้ามาผสมผสานอยดู่ ว้ ย นักวิชาการด้านสถาปตั ยกรรมบางท่าน จงึ เรยี กวา่ สถาปตั ยกรรมแบบโคโลเนยี ล ซง่ึ พบเหน็ ได้ทวั่ ไปในประเทศทช่ี าตติ ะวนั ตก 12ปยิ ะนาถ ลิ่มสกุล. (2542). เลม่ เดิม. หน้า 20. (อ้างจาก ประชา ตณั ฑวณิช เป็นผู้ให้ สัมภาษณ,์ ปยิ ะนาถ ลมิ่ สกุล เปน็ ผู้สัมภาษณ์, ท่บี า้ นเลขที่ 98 ถนนกระบ่ี อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู กต็ เมื่อเดอื นกรกฎาคม 2539.). 13แหลง่ เดมิ . (อา้ งจาก ณรงค์ หงษห์ ยก เปน็ ผใู้ หส้ มั ภาษณ,์ ปยิ ะนาถ ลมิ่ สกลุ เปน็ ผสู้ มั ภาษณ,์ ทบี่ รษิ ัทอนภุ าษและบุตร อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู กต็ เม่ือเดือนกรกฎาคม 2539.). 14โอภาส สุกใสและคนอื่นๆ. (2533). ภเู กจ็ ’๓๓ : บางส่วนเสยี้ วของประวตั ิศาสตร์ ประสบการณแ์ หง่ การต่อสกู้ ารลม่ สลายและการดำรงอย่ขู องผ้คู น. หนา้ 92 – 95. 5
เขา้ ปกครองเปน็ อาณานคิ ม มกี ารถกเถยี งคำเรยี กทถี่ กู ตอ้ งวา่ สถาปตั ยกรรมแบบชโิ น- ยโู รเปียน แต่คำว่า สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตกุ ีสเปน็ ชอื่ เรียกทใ่ี ชม้ าแตเ่ ริ่มแรกท่ี มกี ารกล่าวถึงสถาปตั ยกรรมดังกลา่ วในภูเก็ต สว่ นทมี่ าของชอื่ “ชิโน–โปรตกุ ีส” นน้ั คำว่า ชิโน หมายถึง มคี วามเป็นจีนรวมอยู่ สว่ นคำว่า โปรตุกสี มีความหมายรวมว่า เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สันนิษฐานว่าเป็นการรับรู้ว่าชาติตะวันตกชาติแรกที่ เดินทางเข้ามาในดินแดนสยามรวมถึงภูเก็ตเป็นชาวโปรตุเกส จึงเป็นคำที่ชาว ภูเก็ตเรียกชาติตะวันตกทุกชาติโดยไม่มีการแบ่งว่าเป็นชาติใด โดยชาวจีนฮกเก้ียน ในภเู กต็ เรยี กสถาปตั ยกรรมแบบชิโน–โปรตุกสี ว่า “อง่ั หมอ่ หลาว” หรอื “อา่ งหม่อ หลาว” คำว่า อัง่ หรอื อา่ ง ในภาษาจีนฮกเกีย้ น แปลว่า แดง คำว่า หม่อ หรือ หมอ แปลว่า ผม15 ดงั นน้ั คำว่า อั่งหมอ่ แปลตรงตวั ว่าผมแดง เป็นคำทีช่ าวจนี ฮกเกยี้ น ในภูเก็ตเรยี กรวม หมายถึงชาวตะวนั ตกซง่ึ ส่วนใหญ่มีผมสแี ดง โดยชาวบ้านจะเรยี ก ชาวตะวนั ตกวา่ “พวกฝรั่งอัง่ หมอ่ ” ส่วนคำว่า หลาว หมายถึง อาคาร ทีอ่ ยอู่ าศัย16 ดังน้ันคำว่า “อั่งหม่อหลาว” จึงเป็นคำท่ีชาวจีนฮกเกี้ยนเรียกอาคารบ้านเรือนท่ี สรา้ งตามสถาปตั ยกรรมแบบชิโน–โปรตุกีส สถาปตั ยกรรมแบบชโิ น–โปรตกุ สี หรือสถาปัตยกรรมแบบชโิ น–ยูโรเปยี น เริ่มมีการก่อสร้างมากที่สุดอยู่ระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยหู่ วั จนถงึ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอย่หู วั (พ.ศ.2411– 2468) เนอ่ื งจากเป็นระยะเวลาที่กจิ การเหมอื งแรด่ ีบกุ ในภูเกต็ ไดร้ ับการพัฒนามาก ท่ีสุดและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ชาวจีนท่ีอพยพเข้ามาเป็นกรรมกรใน เหมืองแร่ก็ประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของเหมืองมากที่สุดรวมทั้งมีการติดต่อกับ เมืองปนี งั อยา่ งต่อเนอ่ื ง ทำให้มกี ารรับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบชิโน–โปรตกุ ีสจาก เมืองปีนังมาสร้างที่เมืองภูเก็ต ท่ีสำคัญคือเป็นช่วงสมัยท่ีพระยารัษฎานุประดิษฐ์- 15นพดล กติ ติกลุ . (2534). คำยมื ภาษาจนี ฮกเกีย้ นทใ่ี ชใ้ นภาษาถิน่ จงั หวดั ภเู ก็ต. หนา้ 143. 16แหล่งเดมิ . หน้า 121. 6
มหิศรภักดีเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ท่านได้พัฒนาเมืองภูเก็ตหลายด้าน รวมถึงดา้ นสถาปัตยกรรมจนอาจกลา่ วไดว้ ่า ศาลากลางจงั หวัด ศาลจงั หวัด และ สถานที่ราชการหลายแห่งในภูเก็ตสมัยนั้น ไม่มีท่ีใดในประเทศไทยจะโอ่โถ่งและมี ลกั ษณะเดยี วกับส่ิงก่อสรา้ งในเมืองภูเกต็ 17 17กรมศลิ ปากร. (2530). รายงานการสำรวจโบราณสถานเมืองภูเก็ต. หนา้ 73. 7
8
2 สถาปัตยกรรมแบบชโิ น–โปรตุกีสในเมืองภูเกต็ เนื่องจากเมืองภูเก็ตมีสภาพภูมิศาสตร์ท่ีเอื้ออำนวยให้เป็นเมืองท่าท่ีมีความ สำคญั มาตง้ั แตส่ มยั โบราณ ในหม่นู ักเดินเรอื เพ่อื สำรวจดินแดน แสวงโชค หรือ ทำการค้า ชาวตา่ งประเทศไดเ้ รียกดนิ แดนภเู ก็ตว่า จังซีลอน ถลาง และภูเกจ็ ถงึ รัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว (พ.ศ.2411–2453) นโยบาย ปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยตามแบบอิทธิพลตะวันตก ทำให้สภาพเศรษฐกิจของ ประเทศเจรญิ เติบโตยงิ่ ขนึ้ สำหรับเมอื งภูเกต็ ได้รบั ความเจริญดว้ ยการตดิ ต่อโดยตรง กับเมอื งปนี ัง หรือเมืองจอรจ์ ทาวน์ในปัจจุบันของประเทศมาเลเซยี เพราะระยะทาง ทใ่ี กลก้ วา่ การตดิ ตอ่ กบั กรงุ เทพฯ ประกอบกบั ชาวภเู กต็ มญี าตพิ น่ี อ้ งทอ่ี พยพจากมณฑล ฟูเจ้ียนมาต้ังรกรากท่ีเมืองปีนังด้วย ทำให้มีการติดต่อกับเมืองปีนังอย่างสม่ำเสมอ ภูเก็ตจึงได้รับอิทธิพลการก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลที่กำลังเป็น ท่ีแพรห่ ลายในกลมุ่ เมืองที่ตกอยภู่ ายใต้การปกครองของชาติตะวนั ตก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในการสร้างอาคารบ้านเรือนตามสถาปัตยกรรมแบบ ตะวนั ตกมีความแตกตา่ งกัน คอื ทีส่ งิ คโปรแ์ ละมาเลเซยี สว่ นหนง่ึ เป็นอาคารที่ทำการ ของผู้ปกครองจากประเทศอังกฤษ แต่ที่ภูเก็ตอาคารส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มเจ้าของ เหมืองแร่เช้อื สายจีน มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชน้ั เพื่อใช้เป็นทที่ ำการบรษิ ัทเหมือง แรใ่ นยา่ นถนนถลาง เขตเทศบาลเมืองภเู กต็ ในปจั จุบนั โดยออกแบบใชบ้ ริเวณสว่ น หน้าของชั้นล่างเป็นที่ทำการ ลึกเข้าไปตอนกลางและด้านหลังบ้านจะเป็นพ้ืนท่ี ใช้สอยท่ัวไป สว่ นบริเวณชั้นบนใช้เปน็ ทพ่ี กั อาศยั ศัพท์ทางสถาปัตยกรรม เรียก อาคารแบบน้ีวา่ Shophouse หรืออาคารห้องแถว สว่ นเจ้าของบริษัทเหมอื งแร่ ระดับเศรษฐี สร้างบ้านเดี่ยวหรือคฤหาสน์แยกออกไปจากบริเวณย่านถนนถลาง 9
เชน่ บา้ นพระพิทักษ์ชินประชา ถนนกระบี่ บา้ นพระอร่ามสาครเขตร ถนนภเู ก็ต เปน็ ตน้ บา้ นเดยี่ วหรอื คฤหาสนเ์ ชน่ นช้ี าวจนี ฮกเกยี้ น เรยี กวา่ องั่ หมอ่ หลาว ในภายหลงั อาคารและบ้านเรือนท่ีมีการผสมผสานท้ังวัฒนธรรมชาวจีนและอิทธิพลโครงสร้าง สถาปัตยกรรมแบบตะวนั ตกน้ีถกู เรยี กว่า สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตกุ ีส ลกั ษณะรปู แบบของสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น–โปรตกุ ีสในเมอื งภูเก็ต ลักษณะรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบชิโน–โปรตุกีสท่ีปรากฏในเมือง ภูเก็ต จะก่อสร้างโดยผสมผสานใช้วัสดุและรูปแบบหลากหลาย คือสร้างอาคาร บ้านเรือนด้วยการกอ่ อฐิ ถอื ปูน หลงั คาสว่ นใหญเ่ ปน็ กระเบ้ืองดนิ เผาแบบจีน ประตู หนา้ ตา่ งเปน็ ไม้ มีรูปแบบทงั้ สถาปตั ยกรรมจีน อนิ เดยี และตะวนั ตก สามารถ จำแนกตามการรับอิทธิพลได้เปน็ 2 ประเภทหลกั คอื อทิ ธิพลสถาปัตยกรรมแบบ จีนและอทิ ธิพลสถาปัตยกรรมแบบตะวนั ตก 1.อทิ ธพิ ลสถาปตั ยกรรมแบบจนี ทปี่ รากฏอยู่ในอาคารแบบชิโน–โปรตกุ ีส คือ ที่อย่อู าศยั จะเป็นทั้งบ้านและรา้ นค้าอยทู่ ี่เดยี วกนั (shophouse) มีลักษณะเปน็ ห้องแถวแคบยาว ชั้นล่างใช้ทำการค้าส่วนชั้นบนเป็นท่ีอยู่อาศัย โดยส่วนบนและ ส่วนล่างของอาคารจะเสมอกัน ไม่มีการเหลื่อมล้ำแบ่งเป็นหลายคูหา แต่ละคูหา มีความลกึ มาก บางแห่งอาจลึกถึง 20 เมตร โดยชั้นล่าง จะแบง่ เปน็ ส่วน ส่วนหนา้ สดุ ใช้เปน็ ที่คา้ ขาย หรอื เปน็ หอ้ งรบั แขก บรเิ วณสว่ นกลางบางบ้านมลี านโล่งอเนก ประสงค์พอทำสวนตน้ ไมเ้ ป็นสวนหย่อมหรือใชป้ ระโยชนอ์ ย่างอื่น ถัดเขา้ มามฝี ากน้ั เกอื บเตม็ หอ้ ง ส่วนหน่ึงเปน็ บันไดสำหรบั ขึ้นช้ันบน สว่ นถัดเขา้ มามักมีบอ่ นำ้ อยู่ 1 บอ่ เป็นบอ่ น้ำท่ใี ช้อิฐเรียงขอบเปน็ รูปวงกลม (ในปัจจบุ ันเมอ่ื มีการใชน้ ้ำประปาแทน น้ำบาดาล บริเวณบอ่ นำ้ ถูกดดั แปลงใชส้ อยอยา่ งอืน่ : ผู้เขียน) ลกึ เข้าไปมักเปน็ หอ้ ง รับประทานอาหารและหอ้ งครัว ถดั ไปถา้ มีทอี่ กี มักเป็นหอ้ งเก็บของ มีการเว้นช่วง 10
เปดิ ชอ่ งแสงบรเิ วณเหนอื หน้าต่าง18 มีการใชว้ ัสดุตกแตง่ แบบจนี เชน่ กระเบือ้ ง ดินเผา (เรยี กวา่ กาบู มรี ปู ทรงกระบอกผ่าซกี มุงควำ่ อนั หงายอันสลบั กันทำใหด้ เู ปน็ สนั นูนเป็นแนวขนานกัน) การตกแตง่ หลงั คา ประตหู น้าตา่ งเป็นลวดลายแบบจีน เป็นต้น การตกแต่งประตูและหน้าตา่ งแบบจีน ยา่ นถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู ก็ต 18สมปอง ยอดมณี. (2535). คตนิ ิยมการกอ่ สรา้ งทีป่ รากฏในสถาปตั ยกรรมจนี ในเขต อำเภอเมอื งสงขลา จงั หวัดสงขลา. หนา้ 62. 11
ช่องแสงแบบจนี ที่ได้รบั การอนรุ กั ษโ์ ครงสรา้ งทางสถาปตั ยกรรมแบบเดมิ ถนนถลาง อำเภอเมือง จงั หวัดภูเกต็ ภาพด้านหนา้ ของอาคารหอ้ งแถว (shophouse) บริเวณดา้ นล่างเปน็ รา้ นคา้ ด้านบนเป็นท่ีอยอู่ าศัย รา้ นสริ ิรัตน์ ถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู กต็ 12
การตกแต่งด้านหนา้ ของอาคารร้านสิริรัตน์ท่ีตกแตง่ ดว้ ยกระเบ้ืองเคลอื บแบบจนี ทห่ี าดไู ดย้ าก ภาพบรเิ วณบ้านเรือนที่สร้างตามสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น-โปรตุกสี ทไี่ ด้รบั อิทธพิ ลมาจากเมอื ง ปนี ัง บา้ นหลังนปี้ ระตูหนา้ ต่างแบบจีนยังเป็นโครงสรา้ งแบบเดิม เพียงแต่ทาสใี ห้สวยงามขน้ึ โดยหน้าตา่ งและชอ่ งแสงของบา้ นที่อยู่ตดิ กนั ในถนนดบี กุ นี้ จะไม่มีลวดลายมากนัก ถนนดบี ุก อำเภอเมอื ง จังหวัดภูเก็ต 13
ภาพอาคารบา้ นทเ่ี ป็น shophouse ตดิ กนั เปน็ แนวยาว ยา่ นถนนดบี กุ อำเภอเมอื ง จงั หวัดภูเกต็ บา้ นเรอื นบริเวณถนนดีบุกนีส้ ว่ นใหญย่ งั อนรุ ักษ์โครงสรา้ งและลวดลายแบบเดมิ ภาพอาคารบ้านเรือนทม่ี กี ารทาสีและตกแต่งใหม่ดัดแปลงให้เปน็ ร้านคา้ บริเวณชนั้ บนไดถ้ กู ดัดแปลงแลว้ ถนนดีบกุ อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ 14
2. อิทธิพลสถาปตั ยกรรมแบบตะวันตกหรือแบบยโุ รป เกดิ ขึ้นจากการ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ เพ่ือสรา้ งอาคารท่สี งิ คโปรแ์ ละปนี งั ในระยะเวลา ทด่ี นิ แดนทง้ั สองแหง่ อยภู่ ายใตก้ ารปกครองขององั กฤษ19 สถาปตั ยกรรมแบบตะวนั ตก หรือแบบยโุ รป เปน็ การสร้างสถาปัตยกรรมทีม่ ีองคป์ ระกอบทีแ่ บง่ เป็นสดั สว่ นอย่าง ชดั เจนและมรี ายละเอียด มกี ารนำลวดลายปนู ปัน้ มาตกแตง่ ตามสว่ นต่างๆ เช่น ชอ่ ง แสง เสา สว่ นของหน้าตา่ ง ส่วนของประตู เป็นต้น ลักษณะเด่นของสถาปตั ยกรรม แบบตะวนั ตกท่ีพบเหน็ ในอาคารสถาปัตยกรรมแบบชโิ น–โปรตกุ ีส คอื การตกแตง่ ประดับประดาลวดลายปนู ปน้ั บรเิ วณด้านหนา้ ของอาคาร และซ้มุ หนา้ ต่างซึ่งมอี ยู่ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ ซ้มุ แบบโคง้ คร่ึงวงกลม ซุ้มแบบโค้งเสี้ยววงกลม และซมุ้ แบบ สี่เหลยี่ มด้านบนเป็นรปู จ่วั 20 อทิ ธิพลการประดับประดาลายปูนป้ัน ซุม้ โค้งคร่งึ วงกลมตามสถาปัตยกรรมแบบตะวนั ตก อาคารย่านถนนดีบกุ อำเภอเมือง จังหวดั ภเู ก็ต 19ฮันส์ เดทเลฟ และพรใจ ศริ ิรัตน.์ (2527). โครงการอนรุ ักษส์ ถาปัตยกรรมและพัฒนา เมืองภเู กต็ . งานวจิ ัยแผนกวางแผนพฒั นาชมุ ชนและท้องถิน่ . หน้า 7. 20ปิยะนาถ ลม่ิ สกลุ . (2542). เลม่ เดิม. หนา้ 58. 15
ซุม้ แบบโค้งเสย้ี ววงกลมตามสถาปตั ยกรรมแบบตะวนั ตก อาคารยา่ นถนนดีบกุ อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ ซ้มุ แบบสเี่ หลี่ยมด้านบนเป็นรปู จวั่ ตามสถาปตั ยกรรมแบบตะวนั ตก อาคารยา่ นถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู กต็ 16
ลกั ษณะเดน่ อกี ประการของสถาปัตยกรรมตะวันตก คือนิยมใชโ้ ค้งต่อช่วง เสา ถา้ เปน็ ตกึ แถวเสาและโคง้ น้จี ะเรยี งเป็นแถวอย่หู นา้ ตึกชนั้ ล่างรองรบั ระเบยี งชนั้ สอง เรียกว่า อารเ์ คดหรอื อาเขด (ปจั จบุ ันนิยมสะกดวา่ อาเขต) มาจากคำในภาษา อังกฤษวา่ Arcade (ชาวจนี ฮกเกย้ี นเรยี กวา่ หงอ่ กาก่หี รือหง่อคาขี่ ที่มาจากการ เดนิ 5 ช่วงเท้า : ผู้เขียน) จะมคี วามยาวนับจากแนวประตตู ึกแถวออกไปจรดริมถนน มีระยะทางประมาณ 2.50 เมตร21 ดงั นัน้ ตึกแถวจะมที างเท้าที่มีหลงั คาปกคลุมทาง เดินไว้ต่อเนื่องกันตลอด เพ่ือบังแดดกันฝนสำหรับผู้ใช้ทางเดินเท้าหน้าตึกแถว ตึกแถวย่านถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เคยมีอาเขดยาวที่สุดใน ประเทศไทย เปน็ ท่ีนา่ เสียดายว่านบั ต้ังแต่ พ.ศ.2545 ภายใตน้ โยบายสง่ เสริมการ ท่องเท่ียว ได้ผลักดันให้ภูเก็ตสร้างและพัฒนาแหล่งท่องเท่ียวหลายแห่งจำนวนนัก ท่องเท่ียวในจังหวัดภูเก็ตเพ่ิมสูงขึ้นทุกปี เกิดการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจ ซงึ่ มผี ลต่อย่านอนรุ กั ษ์เมอื งเกา่ ในเขตเทศบาลเมอื งภเู ก็ต โดยเฉพาะยา่ นถนนถลาง ท่ีเป็นอาคารตึกเก่าติดต่อกันที่มีแนวยาวท่ีสุด ราคาท่ีดินและตึกแถวมีราคาสูงข้ึน กว่าเดมิ หลายเทา่ มกี ารปล่อยขายและใหเ้ ชา่ เปลยี่ นเจา้ ของเปน็ จำนวนมาก เจ้าของ หรอื ผู้เช่ารายใหม่ท่ีหวังผลประโยชน์ทางธรุ กิจ เปลยี่ นจากการขายสินค้าทั่วไปและ ผ้าพ้ืนเมอื งกลายเป็นธรุ กจิ โรงแรมขนาดเลก็ โฮสเทล (Hostel) รา้ นกาแฟ (Café) ร้านอาหาร มีการใช้พ้ืนท่ีของตนเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการแขวนป้าย โฆษณาร้าน จดั วางสนิ ค้ากีดขวางในบรเิ วณทเ่ี คยเปน็ อาเขด ทำใหไ้ ม่สามารถเดิน ทะลุได้ตลอดแนว และอาจโดนกอ่ ปนู ก้ันห้องเช่นเดยี วกบั ย่านเก่าในกรงุ เทพฯ 21ปิยะนาถ ลิ่มสกลุ . (2542). เลม่ เดมิ . หน้า 63. 17
ภาพตึกแถวที่มีอาเขด (Arcade) ติดตอ่ กนั ณ เมอื งปนี งั ประเทศมาเลเซยี ทม่ี าภาพ : Khoo Su Nin. (2001). Streets of George Town Penang. p.160. ภาพตกึ แถวย่านถนนถลางที่เคยมี อาเขด (Arcade) ยาวติดต่อกนั มาก ทส่ี ุดในประเทศไทย ถนนถลาง อำเภอเมือง จงั หวัดภูเกต็ 18
กลุ่มอาคารและบ้านเรอื นทสี่ ร้างสถาปตั ยกรรมแบบชิโน-โปรตุกสี เจา้ ของอาคารและบา้ นเรอื นทสี่ รา้ งตามรปู แบบสถาปตั ยกรรมชโิ น-โปรตกุ สี ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษจีนฮกเกี้ยนท่ีอพยพเข้ามาต้ังถิ่นฐานต้ังแต่ รัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ชาวจีนเหล่านเ้ี ขา้ มาประกอบอาชพี ทำเหมืองแร่ซึ่งเป็นความชำนาญของกลุ่มจากมณฑลฟูเจี้ยน เมื่ออพยพเข้ามาสู่ ประเทศไทย ชาวจีนเหล่าน้ีได้เลือกต้ังถิ่นฐานในบริเวณที่มีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์ ภูเก็ตเป็นเมืองสำคัญท่ีชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ ทำเหมืองแร่ด้วยวิธีแบบโบราณ เป็นเหมืองแร่ร่อน จัดแบ่งเป็นเหมืองหาบและ เหมอื งแล่นซ่ึงเน้นการใช้แรงงานกรรมกรเหมือง22 ชาวจีนเหมอื งแรท่ ีม่ ีความขยนั อดออมบางรายก็ได้พัฒนามาเป็นเจ้าของเหมืองแร่ กิจการเหมืองแร่ของชาวจีน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถงึ รัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ทำให้กลมุ่ ชาวจนี ขยายตวั ท้ังในการตั้งถ่ินฐานและขยายกิจการ ระบบเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตก็เจริญเติบโต และมคี วามคล่องตวั ทางเศรษฐกิจสงู ดังจะเห็นได้จากการกอ่ ต้งั ธนาคารชาร์เตอรด์ อีกสาขาหนึ่งที่เมืองภูเก็ตต่อจากกรุงเทพฯ ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความเจริญเตบิ โตของเมืองภูเก็ตในสมัยนน้ั รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภูเก็ตได้มีการติดต่อ คา้ ขายกบั ชาวต่างชาตทิ ้ังกลุ่มแขกและกลมุ่ ชาวตะวันตก นอกจากนั้นยังมีการติดตอ่ กบั เมอื งปีนงั ทั้งการค้าขายและแบบสงั คมเครือญาติ ปลายสมัยรชั กาลที่ 5 กิจการ เหมืองแร่ตามแบบเดิมของชาวจีนเริ่มประสบปัญหา ปัจจัยหลักเกิดจากการเข้ามา ทำเหมอื งแรข่ องบรษิ ทั ชาติตะวนั ตกซ่ึงมีท้งั เงนิ ทุนทีส่ งู กว่า และอปุ กรณเ์ ครอ่ื งมอื ท่ี มีความทันสมัยและมีกำลังผลิตท่ีมากกว่า การเข้ามาของชาติตะวันตกและการ ติดต่อกับเมืองปีนัง ส่งผลให้อิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโคโลเนียล (Colonial) ทีอ่ งั กฤษได้สรา้ งท่ปี ีนงั สงิ คโปร์ และเมืองอาณานิคมอน่ื ๆ ขององั กฤษ 22ปยิ ะนาถ ลิม่ สกุล. (2542). เลม่ เดมิ . หนา้ 27-28. 19
เข้ามาผสมผสานในการสร้างอาคารสถาปัตยกรรมในภูเก็ตท้ังในกิจการของชาว ตะวันตกและสถานท่ีราชการของไทย เชน่ ศาลากลางจงั หวดั ภูเก็ต ศาลจงั หวดั ภูเก็ต เปน็ ตน้ อยา่ งไรกต็ าม ในชว่ งทก่ี จิ การเหมอื งแรด่ บี กุ ทงั้ ของชาวจนี และชาวตะวนั ตก เจริญรุ่งเรือง ภูเก็ตเป็นเมืองที่เป็นสังคมนานาชาติและมีการแลกเปล่ียนวัฒนธรรม บริเวณถนนถลางเปน็ ย่านท่ีตง้ั สำนักงานบริษทั เหมอื งแรต่ ่างๆ โดยสร้างเปน็ อาคารท่ี มีลักษณะผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบจีนและแบบยุโรป ในความหมายที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ ีสนัน้ คำวา่ ชิโน เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมแบบจีน ส่วนคำว่า โปรตุกีส เป็นคำท่ีเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมตะวันตก โดยผู้เขียน สันนษิ ฐานวา่ เกดิ จากการท่ีโปรตุเกสเปน็ ชาวตะวันตกชาตแิ รกที่เดนิ ทางบกุ เบิกเขา้ มาติดตอ่ คา้ ขายเป็นชาติแรกในบรเิ วณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำใหเ้ กิดการเรียก เหมารวมชาวตะวันตกเป็นชาติโปรตุเกส สว่ นคำในภาษาจีน เรียกฝรง่ั วา่ อ่ังหม่อ ซงึ่ หมายถึงพวกผมแดงหรือหวั แดง ก็เปน็ การเรยี กเหมารวมเช่นกัน ดังนน้ั ในสมยั กอ่ น ไม่ได้ให้นิยามความหมายที่หมายถึงประเทศเจ้าของรูปแบบจริงๆ และไม่ได้มีการ เรียกตามชือ่ ประเภทของสถาปตั ยกรรมทีถ่ ูกต้อง หรืออาจจะเปน็ ความตั้งใจทจี่ ะไม่ เรยี กสถาปตั ยกรรมแบบโคโลเนยี ล เพอื่ บง่ บอกวา่ เปน็ เมอื งอสิ ระทไี่ มไ่ ดต้ กอยภู่ ายใต้ การปกครองของประเทศอื่น ซ่งึ แตกตา่ งจากมะละกา ปนี งั และสิงคโปร์ ทเ่ี ปน็ เขต อาณานคิ มของประเทศองั กฤษ การเจริญเติบโตของกิจการเหมืองแร่จึงทำให้เกิดการสร้างถนนถลางใน บริเวณเขตเทศบาลเมอื งภูเกต็ ย่านถนนถลาง โดยเป็นทั้งทต่ี ั้งของสำนกั งานกจิ การ เหมืองแร่ ทอี่ ยอู่ าศัยของนายเหมือง และตลาดรวมสินคา้ เพอ่ื รองรบั คนงานเหมอื ง แร่ด้วย ตามท่สี มหมาย ปิน่ พทุ ธศิลป์ นักวชิ าการท้องถน่ิ ไดใ้ ห้ประเด็นการศกึ ษาไว้ ดงั น้ี “...ภาพถนนถลาง การใช้ถนนคือการใช้รถ มันทำเพื่อใช้รถเปล่ียน เกวียนเป็นรถ ในวันท่ี 27 เมษายน 2452 ปลายรชั กาลทห่ี ้า กค็ อื รชั กาลท่ี 6 ยงั เปน็ สมเดจ็ ฯ พระบรมโอรสาธริ าช มาเปดิ ถนนเทพกระษตั รี 20
แล้วในปีนนั้ มีรถส่คี นั ใช้ไดส้ องคนั ที่บอกในเอกสารวา่ เดนิ ทางในถนน เทพเทพกระษัตรี แคถ่ นนถลางมอี ย่แู ลว้ คอื มมี ากอ่ น 2452 ทำเพ่อื อะไร ทำเพ่อื ให้รถยนต์ใช้ ไม่ใชเ่ พ่อื เกวียน เปลย่ี นจากเกวยี นมาเป็นรถ รถจงึ มใี ชท้ ถี่ ลาง ตอนชว่ งหลงั ทไี่ ดเ้ หน็ คอื คนู ำ้ เวลาจะขา้ มไปสอู่ าคาร แตล่ ะห้อง มันตอ้ งข้ามคูไป คกู วา้ งเกอื บครึง่ เมตร ลึกเกอื บคร่งึ เหมอื น กนั เปน็ คูนำ้ เปลอื ย น่คี อื ลกั ษณะทเ่ี หน็ ถามว่าบา้ นเหลา่ นน้ั ใครอยู่ เครือข่ายที่ทำธุรกิจเชิงสห หรือร่วมกับเหมือง เหมืองอยู่ เขาจึงอยู่ อะไรท่ีเป็นอิทธิพลมาจากเรื่องของเหมือง ถนนถลางเป็นตลาดเป็น ตลาดขนาดใหญ่จนบัดน้ี ตลาดจะต้องสนับสนุนงานคนเกี่ยวกับเรื่อง เหมอื ง...”23 บรเิ วณทมี่ กี ารสรา้ งสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น–โปรตกุ สี ในขอบเขตการศกึ ษา แบง่ ดงั นี้ 1. กลุ่มอาคารย่านถนนถลาง อาคารสองช้ันมลี ักษณะสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน–โปรตกุ ีส กอ่ สรา้ งต่อเนอ่ื งกันยาวท่สี ดุ ในย่านอนรุ กั ษเ์ มืองเก่า (Old Town) อาคารเหล่านีเ้ ป็นที่ต้งั ทำการและชมุ ชนของกิจการเหมอื งแร่ และเป็นอาคารร้านค้า แบบห้องแถว (shophouse) บรเิ วณดา้ นหน้าของแต่ละอาคารไมก่ วา้ งมาก แตเ่ นน้ ความลึกเขา้ ไปข้างใน สว่ นหนา้ มกั จะเป็นทีท่ ำการหรือกจิ การร้านค้า เขา้ ไปบริเวณ ส่วนในของบ้านจนไปถึงด้านหลังจะเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าของอาคาร บริเวณช้ัน สองใช้เป็นทงั้ ท่ีอยู่อาศยั ท่ีทำการ หรือทีเ่ กบ็ สินค้า ซึ่งการสร้างเป็นอาคารรา้ นค้าท่ี ภูเก็ตจะมีรูปแบบเหมอื นกนั กับการสรา้ งในเมอื งปีนงั ประเทศมาเลเซยี 23สมหมาย ปิ่นพุทธศลิ ป.์ (2562, 20 มนี าคม). สัมภาษณ์โดย ปิยะนาถ อังควาณิชกลุ , ท่ีวดั มงคลนมิ ติ ร (วัดกลาง) อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภเู กต็ . 21
ภาพอาคารต่อเนื่องทง้ั สองฟากฝัง่ ของบรเิ วณถนนถลางในปจั จุบนั อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู กต็ ภาพลักษณะอาคารบ้านทีเ่ ป็นรา้ นคา้ (shophouse) ยา่ น China Street เมืองปนี งั ประเทศมาเลเซีย ท่ีมาภาพ : Khoo Su Nin. (2001). Streets of George Town Penang. p.66. 22
ภาพอาคารบ้านที่เปน็ ร้านคา้ เป็นแถวติดกนั (shophouse) ย่าน Kinta Lane เมืองปนี งั ท่ีมาภาพ : Khoo Su Nin. (2001). Streets of George Town Penang. p.7. 2. กลมุ่ อาคารและบา้ นเรอื นย่านถนนกระบี่ ในหนังสือเลม่ นีเ้ ป็นการ ศึกษาอาคารและบ้านเรือนสำคัญที่เคยมีบทบาทและเป็นท่ีรู้จักกันดีในเมืองภูเก็ต ไดแ้ ก่ พพิ ธิ ภัณฑภ์ เู ก็ตไทยหวั บา้ นพระพทิ ักษป์ ระชา บ้านชนิ ประชา สำหรับ พพิ ธิ ภัณฑภ์ เู กต็ ไทยหัว ไดร้ บั การกอ่ ตง้ั โดยปรับเปลย่ี นมาจากโรงเรียนภเู กต็ ไทยหัว ซง่ึ เปน็ โรงเรยี นสอนภาษาจนี ใหแ้ กก่ ลมุ่ ลกู หลานชาวจนี และชาวไทยเชอ้ื สายจนี ทง้ั นี้ เกิดจากแรงผลักดันในการขยายตวั ทางตลาดของอตุ สาหกรรมท่องเท่ียว และความ พยายามในการรวบรวมแหลง่ ขอ้ มลู เศรษฐกจิ สงั คม ชมุ ชนและวถิ ชี วี ติ และวฒั นธรรม ของชาวจีนฮกเกี้ยน ส่วนบ้านพระพิทักษ์ประชาและบ้านชินประชา แห่งตระกูล ตณั ฑวณิช เป็นตัวอย่างของการขยายครอบครวั ของชาวจนี ที่เป็นเจา้ ของเหมอื งแร2่ 4 24สมหมาย ป่ินพทุ ธศลิ ป์. (2562, 20 มนี าคม). สัมภาษณโ์ ดย ปิยะนาถ องั ควาณิชกลุ , ที่วัด มงคลนมิ ติ ร (วดั กลาง) อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู กต็ . 23
ภาพบา้ นพระพทิ ักษ์ชนิ ประชาในช่วงเวลา พ.ศ.2541 – 2542 ถนนกระบ่ี อำเภอเมอื ง จงั หวัดภเู ก็ต ท่มี าภาพ: อ้างจาก ปิยะนาถ ลิม่ สกลุ . (2542). การศึกษาอิทธิพลของต่างประเทศ จากสถาปัตยกรรมในเมอื งภเู กต็ พ.ศ.2411–2468. หน้า 71. เม่ือสมาชิกในครอบครัวของตระกูลเศรษฐีเช้ือสายจีนฮกเก้ียนท่ีประกอบ กิจการเหมืองแร่ดีบุกแต่งงานขยายครอบครัว จะนิยมไปสร้างบ้านหรือคฤหาสน์ที่ เปน็ ลกั ษณะบา้ นเดยี่ วตง้ั ตระหงา่ นและมบี รเิ วณรอบบา้ นกวา้ งขวาง วถิ ชี วี ติ ครอบครวั ของนายเหมืองชาวจีนท่ีประสบความสำเร็จสามารถศึกษาได้จากข้าวของเครื่องใช้ ทีจ่ ัดแสดงเป็นพิพิธภณั ฑ์โดยทายาทในร่นุ ปจั จุบนั ของบ้านชนิ ประชา (คณุ จรูญรัตน์ ตัณฑวณชิ ภรรยาของนายประชา ตณั ฑวณิช และบุตร) 24
ภาพเสี่ยหนา (ภาชนะทช่ี าวจีนฮกเกยี้ นใชใ้ นงานแตง่ งาน) วางอย่ใู กลเ้ ตยี ง บา้ นชนิ ประชา ถนนกระบ่ี อำเภอเมือง จงั หวดั ภูเกต็ ภาพหอ้ งนอนครอบครวั ท่ีมพี อ่ แม่ ลูก บ้านชนิ ประชา ถนนกระบ่ี อำเภอเมือง จงั หวัดภูเก็ต 25
ภาพเตียงเดก็ และเปลเลีย้ งเดก็ ทจ่ี ัดแสดง บ้านชินประชา ถนนกระบ่ี อำเภอเมือง จังหวดั ภูเก็ต บรเิ วณตรงกลางของบ้านชินประชา มีการเวน้ ใหช้ ่องแสงเข้าและตกแตง่ เป็นลานพกั ผอ่ น เป็นลักษณะทบี่ ้านขนาดใหญ่หรอื คฤหาสนเ์ ศรษฐจี ะนิยมสร้างกนั บา้ นชนิ ประชา ถนนกระบ่ี อำเภอเมอื ง จังหวัดภูเกต็ 26
3. กลุ่มอาคารและบา้ นเรอื นย่านถนนดีบุก เปน็ การขยายตวั ของอาคาร จากถนนถลาง ถนนดีบุกเปน็ ถนนคู่ขนานกับถนนถลาง ซึ่งแตเ่ ดิมในย่านถนนดบี ุก สร้างเป็นอาคารแบบหอ้ งแถว (shophouse) ท่ีเน้นใช้เป็นทอ่ี ยอู่ าศยั ไมใ่ ช่รา้ นค้า ตัง้ อยูเ่ รยี งติดกนั คล้ายบา้ นทาว์นโฮมในปัจจุบนั อาคารทสี่ ร้างตดิ กนั แบบน้ภี าษาจนี ฮกเก้ยี น เรยี กว่า เตย้ี มฉู่ สนั นษิ ฐานวา่ เปน็ การลอกเลยี นแบบการสรา้ งในลกั ษณะนี้ มาจากเมืองปนี ัง ประเทศมาเลเซยี ผู้เขยี นเคยไปเก็บข้อมลู ที่เมืองจอรช์ ทาวน์ หรอื เมอื งปีนังในอดีต พบเห็นลักษณะอาคารแบบหอ้ งแถว (shophouse) ทใี่ ช้เป็นทีอ่ ยู่ อาศัยเรียงติดกันเป็นแนวทอดยาวตลอดทั้งสองฟากฝ่ังของถนน การสร้างอาคาร บรเิ วณถนนดบี กุ ที่เนน้ ใชเ้ ปน็ ท่อี ยอู่ าศยั สันนิษฐานว่าเป็นการขยบั ขยายครอบครัว จากอาคารย่านถนนถลางทเ่ี ป็นทัง้ สำนกั งานกิจการเหมอื งแร่ ร้านคา้ และเปน็ ทอี่ ยู่ อาศัย อาจจะแยกท่อี ยู่อาศยั ขยายมาบริเวณใกล้ๆ กัน ภาพบ้านเรือนทส่ี รา้ งเป็นอาคารต่อเนือ่ งกัน ณ เมอื งจอรช์ ทาวน์ ปนี ัง ประเทศมาเลเซีย ที่มาภาพ: อา้ งจาก ปยิ ะนาถ ลมิ่ สกลุ . (2542). การศึกษาอิทธพิ ลของต่างประเทศ จากสถาปตั ยกรรมในเมืองภเู กต็ พ.ศ.2411–2468. หน้า 48. 27
ภาพบา้ นเรือนเปน็ อาคารสองชั้น ใชเ้ ป็นท่อี ยู่อาศัย ณ เมืองจอร์ชทาวน์ ปนี งั ประเทศมาเลเซยี ท่มี าภาพ: อ้างจาก ปิยะนาถ ลม่ิ สกุล. (2542). การศึกษาอทิ ธพิ ลของต่างประเทศ จากสถาปัตยกรรมในเมืองภเู กต็ พ.ศ.2411–2468. หนา้ 48. ภาพบา้ นเรอื นท่ีสรา้ งติดกันท้ังสองฝง่ั ของบริเวณยา่ นถนนดีบุก ซง่ึ ค่ขู นานกับถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวดั ภูเก็ต 28
4. กล่มุ อาคารยา่ นซอยรมณยี ์ ซอยรมณยี ์เปน็ ซอยทเี่ ชอ่ื มระหว่างถนน ถลางและถนนดบี กุ เปน็ กลมุ่ อาคารทอ่ี ยใู่ นยา่ นอนรุ กั ษเ์ มอื งเกา่ ในปจั จบุ นั เปน็ อาคาร ที่ได้รับความสนใจเน่ืองจากมีการทาสีสวยสดงดงามหลากหลายสีเป็นท่ีดึงดูดและ น่าสนใจ และเป็นย่านทีพ่ ักแบบโฮสเทล (Hostel) และร้านกาแฟ (Café) มากมาย มีบรรยากาศคล้ายร้านในต่างประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอย่หู ัว พระยารษั ฎานุประดษิ ฐม์ หศิ รภกั ดี หรือ คอซมิ บี้ ณ ระนอง ผู้ปกครอง สมหุ เทศาภบิ าลมณฑลภูเก็ต ได้จดั ระเบียบการปกครองเมอื งภเู กต็ ให้มีระเบียบและ มีความเจริญตามลักษณะเมืองท่ีมีเศรษฐกิจเติบโตและมีผู้คนเข้ามาต้ังถิ่นฐานชุมชน จำนวนมาก โดยเฉพาะแหลง่ บนั เทงิ และแหลง่ บรกิ ารทางเพศ พระยารษั ฎานปุ ระดษิ ฐฯ์ จึงให้ต้ังแหล่งให้บริการของหญิงโสเภณีในย่านซอยรมณีย์เพื่อสะดวกในการควบคุม โรค ดังนั้นในอดีตย่านซอยรมณีย์จึงเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งบันเทิงของกลุ่มผู้นำ และนายทุนในสมัยน้นั ทางเขา้ ซอยรมณยี ฝ์ ง่ั ถนนถลาง เปน็ จดุ ทนี่ ักทอ่ งเท่ยี วนิยมมาถา่ ยรูป อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู กต็ 29
อาคารสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ สี ท่ีสรา้ งติดกนั ตลอดแนวท้ังสองฝั่งของซอยรมณีย์ ย่านอนรุ ักษเ์ มืองเกา่ (Old Town) อำเภอเมอื ง จงั หวัดภูเกต็ 5. กลมุ่ อาคารและบ้านเรือนยา่ นถนนเยาวราช ถนนเยาวราชในเมอื ง ภเู กต็ เปน็ ถนนทม่ี คี วามยาวมาก ตง้ั แตบ่ รเิ วณจากถนนถลางยาวไปถึงบรเิ วณสามกอง สำหรับบริเวณท่ีเป็นย่านอนุรักษ์เมืองเก่าอยู่บริเวณถนนเยาวราชตรงท่ีเป็นถนนแนว ขวางตัดผา่ นและแบ่งเขตระหว่างถนนถลางและถนนกระบ่ี อีกส่วนหน่งึ ตัดผา่ น กงึ่ กลางของถนนดบี กุ ไปจรดถนนทุง่ คา ในบรเิ วณทอี่ ยใู่ กลถ้ นนถลางจะมีการสร้าง อาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสเป็นแนวยาวติดกันเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็น กิจการร้านค้ามากมายหลายประเภท ในปัจจุบันมีการดัดแปลงกิจการเดิมมาเป็น ที่พักแบบโฮสเทล ร้านอาหาร และร้านกาแฟเช่นกันตามการขยายตัวและเป็น รูปแบบการท่องเท่ียวอันเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ส่วนบริเวณถนนเยาวราชท่ีตัดผ่าน ถนนดีบุกไปจรดถนนทุ่งคา ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนท่ีอยู่อาศัย ในหนังสือเล่มน้ี ผู้เขียนได้ข้อมูลและสำรวจบ้านท่ีเป็นท่ีอยู่อาศัยของตระกูลต่อเจริญ บ้านหลังน้ีก่อ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือ่ พ.ศ.2458 มอี ายรุ าว 30
104 ป2ี 5 เจ้าของบ้านยังสามารถอนุรักษ์และดูแลรักษาอยู่ในสภาพที่ดีมาก (บ้าน ตอ่ เจริญอยู่บริเวณใกลส้ แ่ี ยกถนนเยาวราชตัดถนนดีบุก) อาคารบรเิ วณมมุ ถนนเยาวราชตัดถนนดีบุก ยา่ นอนุรักษเ์ มอื งเกา่ อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภูเกต็ 25ปญั ญา ต่อเจรญิ . (2562, 21 มีนาคม). สัมภาษณโ์ ดย ปิยะนาถ อังควาณชิ กุล ที่บ้านเลขท่ี 112 ถนนเยาวราช อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภเู กต็ . 31
บ้านหวั มุมถนนเยาวราชตดั ถนน ดีบกุ ที่ยงั เกบ็ รกั ษาอาเขด (Arcade) หรอื ทางเดินเท้าแบบเกา่ ไว้ อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู ก็ต ภาพถา่ ยบ้านตอ่ เจรญิ เนือ่ งในงาน แต่งงานคุณปา้ ของคณุ ปญั ญา ต่อเจรญิ ในพ.ศ.2468 ทำให้เหน็ โครงสรา้ งบา้ นแบบเดิม 32
6. กลุม่ อาคารและบา้ นเรอื นยา่ นถนนพังงาและถนนภเู ก็ต บริเวณหัวมมุ ถนนพังงาและถนนภูเก็ต มีอาคารเก่าแก่ที่สำคัญอยู่สองอาคารสร้างข้ึนต้ังแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือสถานีตำรวจเดิม และท่ีต้ังของ ธนาคารชารเ์ ตอร์ด (The Chatered Bank) ซึ่งพระยารัษฎานปุ ระดิษฐม์ หิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตได้ติดต่อให้ธนาคารชาร์เตอร์ดท่ีปีนังมาเปิดสาขาท่ี เมืองภูเก็ตเพ่ือรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการค้าขายกับต่างชาติและ กจิ การเหมอื งแร่ เพราะเกรงวา่ การเกบ็ ทรพั ยส์ นิ จะไมป่ ลอดภยั สนั นษิ ฐานวา่ ธนาคาร ชารเ์ ตอรด์ สรา้ งราว พ.ศ.2450 – 2453 ในปจั จบุ นั อาคารสถานตี ำรวจเดมิ ไดด้ ดั แปลง เป็นอาคารจัดนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับประวัติเมืองและสังคมวัฒนธรรมเมือง ภเู ก็ต ส่วนทีท่ ำการธนาคารชาร์เตอร์ดเดมิ เคยเปลี่ยนมาเป็นธนาคารนครหลวงไทย และในปจั จุบนั เป็นทีต่ ้ังของพิพธิ ภัณฑ์เพอรานากันนทิ ศั น์ Museum Phuket ซึง่ แต่ เดิมอาคารนเ้ี ปน็ อาคารทรัพย์สินของราชพสั ดุ นอกจากน้นั ในบริเวณถนนพังงายังมี อาคารสถาปตั ยกรรมเดมิ ของโรงแรมเกา่ แก่ ชื่อวา่ โรงแรมออนออน ในปัจจุบัน พื้นท่ตี รงขา้ มกับโรงแรมออนออน ธนาคารกสกิ รไทย (สาขาภเู ก็ต ถนนพังงา) ได้ สร้างอาคารข้ึนใหม่โดยการสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมเดิมที่เป็นสถาปัตยกรรม แบบชโิ น-โปรตกุ ีสด้วยการทมุ่ งบประมาณจำนวนประมาณ 56 ลา้ นบาท26 26ส่องตกึ ธนาคารกสกิ รไทย KBANK สาขาภเู กต็ เข้าถึงไดท้ ี่ https://sistacafe.com/ summaries/22430 (แหล่งขอ้ มลู ออนไลน์). 33
ภาพอดตี บริเวณหัวมุมถนนพงั งาตัดถนนภเู กต็ ทางซ้ายท่มี หี อนาฬกิ าคอื อาคารสถานีตำรวจเดมิ ทางขวาเป็นท่ตี ้งั ธนาคารชารเ์ ตอรด์ บริเวณย่านอนรุ ักษเ์ มืองเก่า (Old Town) อำเภอเมือง จังหวดั ภเู ก็ต ทมี่ าภาพ: https://sites.google.com/site/172phuket172/prawatisastr ภาพอาคารในปัจจบุ ันเป็นทต่ี ัง้ ของพิพธิ ภณั ฑ์เพอรานากันนิทศั น์ บริเวณหัวมมุ ถนนพังงาตดั ถนนภูเกต็ ยา่ นอนุรักษเ์ มอื งเกา่ อำเภอเมือง จังหวดั ภูเกต็ 34
ภาพด้านขา้ งของอาคารท่จี ารกึ ช่ือเดิมวา่ The Chartered Bank ถนนพงั งา อำเภอเมือง จงั หวัดภูเกต็ ภาพโรงแรมออนออน โรงแรมเก่าแก่ที่ปรับปรุงใหม่ ต้งั อยู่บนถนนพงั งา อำเภอเมอื ง จังหวัดภเู กต็ 35
ภาพอาคารสรา้ งใหมข่ องธนาคารกสกิ รไทย สาขาภูเก็ต ต้งั อยบู่ รเิ วณถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภเู กต็ 36
3 การเปลีย่ นแปลงทางภูมทิ ัศน์และลกั ษณะอาคารของ สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกสี ในเมอื งภเู ก็ต ระหวา่ ง พ.ศ.2545-2559 ระหว่างพ.ศ.2545–2559 ธรุ กจิ การท่องเท่ยี วขยายตวั อยา่ งรวดเร็วอันเป็น ผลจากการแข่งขันการสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวในตลาดโลก ประเทศไทยเร่ง สนับสนุนทางการท่องเท่ียวอย่างจริงจัง โดยได้ก่อต้ังกระทรวงการท่องเที่ยวและ กฬี าข้ึนใน พ.ศ.2545 เปน็ ผลให้การทอ่ งเทย่ี วแหง่ ประเทศไทย (ททท.) ตอ้ งโอน ภาระงานดา้ นพัฒนาแหลง่ ทอ่ งเที่ยว ด้านพฒั นาบริการท่องเทย่ี ว และด้านธุรกิจ นำเท่ียวไปข้นึ กบั กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกีฬา นับต้งั แต่ พ.ศ.2546 การทอ่ ง เที่ยวแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับแผนการเป็นรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับการก่อต้ัง กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา โดยปรับบทบาทมาเป็นองค์กรท่ีมุ่งเน้นด้านการ บริการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นหลัก ต่อมาในสมยั รฐั บาลท่นี ายอภิสทิ ธิ์ เวชชาชวี ะ ดำรงตำแหน่งนายกรฐั มนตรี (พ.ศ.2551–2554) มตคิ ณะรฐั มนตรเี มอ่ื วนั ที่ 21 เมษายน 2552 มอบหมายให้ กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬาจัดทํายุทธศาสตร์แผนงานฟื้นฟูวิกฤตการท่องเท่ียว ระยะส้ันและระยะยาวให้สอดรับกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการ ท่องเท่ียวแห่งชาติในการจัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติเสนอให้คณะ รัฐมนตรพี ิจารณาอนมุ ตั ิ ตอ่ มาจงึ มีการประกาศใชแ้ ผนพฒั นาการทอ่ งเท่ียวแหง่ ชาติ พ.ศ.2555–2559 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันท่ี 17 มถิ ุนายน พ.ศ.2554 37
แผนพัฒนาการท่องเทยี่ วแห่งชาติ พ.ศ.2555–2559 มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พ่อื ฟื้นฟูและกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวและเกิดความย่ังยืน และเพ่ือเร่งรัด และสร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเท่ียวเพ่ือพัฒนาการท่องเท่ียวของ ประเทศไทยให้มคี วามพรอ้ มท้ังดา้ นคณุ ภาพ การแข่งขัน และให้เกดิ การสรา้ งรายได้ และกระจายรายได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน27 โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ในแผนพัฒนาการท่องเทยี่ ว พ.ศ.2555–2559 ว่า “ประเทศไทยเปน็ แหล่งทอ่ งเที่ยว ท่ีมีคุณภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในระดับโลก สามารถสร้างรายไดแ้ ละกระจายรายได้ โดยคาํ นงึ ถึงความเป็นธรรม สมดลุ และ ย่ังยืน” และได้กำหนดเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนาการท่องเท่ียวแห่งชาติ 3 ประการ ประการแรก ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเท่ียวของ ประเทศไทยเพิ่มข้ึน ประการท่ีสอง รายได้จากการท่องเท่ียวของประเทศเพ่ิมขึ้น โดยเนน้ การพฒั นากจิ กรรมทส่ี รา้ งมลู คา่ และคณุ คา่ ประการสดุ ทา้ ย การสรา้ งรายได้ และกระจายรายได้โดยคํานงึ ถงึ ความสมดุลและย่งั ยืน28 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาแหล่งท่องเท่ียวในเมือง ภูเก็ตอยา่ งมากในช่วงเวลา พ.ศ.2545–2559 ในเขตเทศบาลเมอื งภูเกต็ มีแหล่ง ท่องเทยี่ วทางวฒั นธรรมทีส่ ำคัญและมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน คอื อาคารบา้ นเรอื น ที่มีสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ สี หรอื ที่นักทอ่ งเทีย่ วต่างชาติรู้จกั ในย่านอนุรักษ์ เมอื งเก่า (Old Town) นับจาก พ.ศ.2545 เปน็ ต้นมา นโยบายสง่ เสรมิ การทอ่ งเทย่ี ว และกลมุ่ ผู้ลงทนุ ชาวตา่ งชาติ ไดม้ ีสว่ นทำให้เกดิ การเปล่ียนแปลงทางภมู ิทศั นร์ วมถงึ การเปลยี่ นโครงสรา้ ง รูปแบบของอาคารสถาปัตยกรรมชิโน–โปรตุกีสในเมืองภเู กต็ ในปีเดียวกันนี้ได้มีการริเริ่มจัดต้ังโครงการเปล่ียนโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว ให้เป็น 27กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา. (2554). แผนพฒั นาการท่องเทย่ี วแห่งชาติ พ.ศ.2555– 2559. หนา้ 2 – 3. (ออนไลน)์ . 28กระทรวงการทอ่ งเทยี่ วและกฬี า. (2554). แผนพฒั นาการท่องเท่ยี วแห่งชาติ พ.ศ.2555– 2559. หนา้ 20. (ออนไลน์). 38
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122