Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

Published by methinee27022511, 2017-06-01 00:07:54

Description: คู่มือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สำหรับเยาวชน

Search

Read the Text Version

8. กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศใหค้ ำจำกดั ความของคำวา่ “ศกั ด์ศิ รขี องมนุษย์” หรอื ไม่ IHL ไม่ได้นิยามคำจำกัดความของ “ศักด์ิศรีของมนุษย์” ไว้ แต่ข้อกำหนดของกฎหมายนี้มีเน้ือหาที่กำหนดอย่างชัดเจนว่าตอ้ งมีการเคารพศักดิศ์ รีของมนุษย์ในยามพพิ าทกันโดยใช้อาวธุ 9. คณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC) และสภากาชาดและสภาเสยี้ ววงเดอื นแดงประจำประเทศ (National Societies) เกยี่ วขอ้ งกนั อยา่ งไร? ทงั้ สององคก์ รมบี ทบาทหนา้ ทแ่ี ละความรบั ผดิ ชอบภายใน กลุ่มองค์กรกาชาดฯ อยา่ งไรบ้าง คณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC) สภากาชาดและสภาเสยี้ ววงเดอื นแดง (สภากาชาดฯ ประจำประเทศ)และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (สหพันธ์สภากาชาดฯ ระหว่างประเทศ) รวมกันเรียกว่า กลุ่มองค์กรกาชาดและเส้ียววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (กลุ่มองค์กรกาชาดฯ) แต่ละองค์กรมีโครงสร้างและข้ันตอนในการดำเนินการของตนเอง และกลุ่มเหล่านี้สนับสนุนซ่ึงกันและกันในการทำหน้าที่ทางด้านมนุษยธรรมกลมุ่ องคก์ รกาชาดฯ ปฏบิ ตั หิ นา้ ทโ่ี ดยยดึ หลกั พน้ื ฐานเจด็ ประการ กลา่ วคอื หลกั มนษุ ยธรรม การไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั ิ การเปน็ กลางการเป็นอิสระ การให้บริการโดยสมัครใจ ความเป็นเอกภาพ และความเป็นสากล หลักการเหล่าน้ีถือเป็นมาตรฐานสากลสำหรับสมาชิกทัง้ ปวง ICRC ไดก้ อ่ ตงั้ ขนึ้ เมอื่ ปี ค.ศ. 1863 และเปน็ ผรู้ เิ รมิ่ ในการกอ่ ตงั้ กลมุ่ องคก์ รกาชาดฯ ดว้ ย ICRC มหี นา้ ทเ่ี ฉพาะเจาะจงและมปี ระสบการณม์ าชา้ นานเกย่ี วกบั สถานการณพ์ พิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ นอกจากหนา้ ทใ่ี นการปฏบิ ตั กิ ารเพอ่ื คมุ้ ครองและชว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบภัยจากการพพิ าทกนั แล้ว ICRC ยังมหี น้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์ IHL ด้วย สภากาชาดฯ ประจำประเทศมหี นา้ ทชี่ ว่ ยเหลอื เจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ในภารกจิ ดา้ นมนษุ ยธรรมภายในประเทศของตนเองพวกเขาใหก้ ารบรกิ ารหลาย ๆ ดา้ นซงึ่ รวมถงึ การบรรเทาทกุ ข์ งานดา้ นสขุ ภาพและสงั คม ในยามสงคราม สภากาชาดฯประจำประเทศยงั ทำการชว่ ยเหลอื พลเรอื นทไี่ ดร้ บั ผลกระทบ และสง่ เสรมิ การบรกิ ารทางแพทยแ์ กก่ องทพั ของประเทศศตั รูด้วยตามความเหมาะสม ICRC ทำงานร่วมกับสภากาชาดฯ ประจำประเทศภายในประเทศของสภานั้น ๆ รวมท้ังในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะในภาคพ้ืนที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการพพิ าทกันโดยใช้อาวุธ ขณะเดียวกันICRC ยงั รว่ มมอื กบั สภากาชาดฯ ประจำประเทศในยามสนั ตเิ พอื่ เพม่ิ พนู ศกั ยภาพของการปฏบิ ตั หิ นา้ ทใ่ี นภาวะฉกุ เฉนิ ท่อี าจเกดิ ข้นึ ในประเทศด้วย สหพนั ธส์ ภากาชาดฯ ระหวา่ งประเทศอำนวยการและประสานงานระหวา่ งกลมุ่ องคก์ รกาชาดฯ ในการใหค้ วามชว่ ยเหลอืระหว่างประเทศสำหรบั ผู้ประสบเคราะห์จากภยั ธรรมชาติและภัยที่เกิดขน้ึ จากเทคโนโลยีด้วย รวมทั้งใหค้ วามช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หากมีความจำเป็นต้องทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือดังท่ีได้กลา่ วมา ในประเทศทไี่ ดร้ บั ผลกระทบจากการพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ สหพนั ธส์ ภากาชาดฯ ระหวา่ งประเทศจะทำงานรว่ มมอือย่างใกลช้ ดิ กับ ICRC ดว้ ย ความสัมพันธ์ระหว่างสามหน่วยงานของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ จะถูกกำหนดโดยกฎเกณฑ์ที่มีรายละเอียดชัดเจนเพือ่ ใหก้ ารทำหน้าทใ่ี หค้ วามชว่ ยเหลือผเู้ ดอื ดรอ้ นท่วั โลกเปน็ ไปอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ10. หากจุดมุ่งหมายสุดท้ายของสงครามคือชัยชนะ จะถือว่าวิธีการท่ีนำมาซึ่งผลดังกล่าวมีความชอบธรรม ไดห้ รือไม่ สงครามหรือความรุนแรงโดยการใช้อาวุธถูกนำมาเป็นเคร่ืองมือเพ่ือแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธท่ีไม่ใช่รัฐเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์อันทะเยอทะยานบางอย่าง โดยมีการใช้กำลังของกองทัพเพื่อให้ได้ชัยชนะจากฝา่ ยตรงขา้ ม แตผ่ ลสดุ ทา้ ยมเี พยี งชยั ชนะในสงครามเทา่ นนั้ ดงั นน้ั จงึ ไมอ่ าจอา้ งไดว้ า่ สงครามเปน็ วธิ กี ารทช่ี อบธรรมเพราะจะตอ้ งคำนงึ ถึงเหตผุ ลทางดา้ นมนษุ ยธรรมดว้ ยแม้ในยามสงครามก็ตาม ปฏญิ ญาเซนตป์ ีเตอรส์ เบิร์กได้เกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 1868 โดยกำหนดใหว้ ัตถุประสงค์ทีช่ อบดว้ ยกฎหมายของการทำสงครามคือการทำให้ฝ่ายศัตรูอ่อนกำลังลงเท่านั้น ย่ิงไปกว่านี้ ปฏิญญายังได้ยืนยันว่ากฎเกณฑ์ของจารีตประเพณีEHL Exploring Humanitarian Law 145 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

หา้ มใชอ้ าวธุ หวั กระสนุ และวสั ดทุ ถ่ี กู ออกแบบมาใหท้ ำใหเ้ กดิ การบาดเจบ็ โดยไมจ่ ำเปน็ ตงั้ แต่ ค.ศ. 1868 เปน็ ตน้ มา ขอบเขต ของกฎเกณฑ์ในการทำสงครามได้ถูกพัฒนาไปอย่างกว้างขวางขึ้นกว่าเดิมมาก IHL สมัยใหม่จึงจำกัดหรือ ห้ามการใชว้ ธิ กี ารและวิถีทางในการทำสงครามเพิม่ มากข้ึนเพ่อื ใหท้ นั กบั สถานการณ์ทเ่ี ปลี่ยนแปลงไป 11. การพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ทมี่ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศแตกตา่ งกบั ทไ่ี มม่ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศอยา่ งไร การพิพาทกันโดยใช้อาวุธอาจมีลักษณะระหว่างประเทศหรือไม่ใช่ระหว่างประเทศหรือทั้งสองประเภท ในขณะเดยี วกันก็ได้ และ IHL มขี อ้ กำหนดเพื่อคุ้มครองบคุ คลต่าง ๆ ในสถานการณส์ ู้รบทุกรูปแบบ การพพิ าทกันโดยใช้อาวุธระหวา่ งประเทศเกดิ ข้นึ ในกรณดี งั ตอ่ ไปน้ี : - เมื่อมีการประกาศสงครามหรือเมื่อมีการใช้กำลังทางกองทัพระหว่างประเทศสองประเทศหรือกว่าน้ัน (แมว้ า่ รัฐหนึง่ รฐั ใดอาจไมไ่ ดป้ ระกาศหรือยอมรบั วา่ มสี งครามก็ตาม) หรือ - เมื่ออาณาเขตส่วนหน่ึงหรือทั้งหมดของประเทศถูกยึดครอง (แม้ว่าการยึดครองจะไม่ถูกต่อต้านโดยการใช้อาวุธ ก็ตาม) หรือ - เมื่อประชาชนต่อสู้กับการครอบครองโดยลัทธิอาณานิคม หรือการครอบครองของคนต่างด้าว หรือการปกครอง โดยระบอบแบง่ ผิว เพ่อื เป็นการกำหนดเจตจำนงของตนเอง กฎหมายทบ่ี งั คบั ใชใ้ นการพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ทมี่ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศ คอื อนสุ ญั ญาเจนวี าทงั้ สฉ่ี บบั พธิ สี าร เพิ่มเติมฉบับท่ี 1 ค.ศ. 1977 (พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1) อนุสัญญาเกี่ยวกับการใช้อาวุธบางประเภท และกฎหมาย จารตี ประเพณี การพิพาทกนั โดยใชอ้ าวุธท่ไี ม่ใช่ระหว่างประเทศเกดิ ขึ้นในกรณดี งั ตอ่ ไปนี้ : - เมือ่ กองทพั ของรัฐบาลกำลังตอ่ ส้กู ับกองกำลงั ติดอาวุธท่ีถูกจดั ตัง้ ขึ้นอยา่ งมรี ะบบ หรอื - เมอื่ กองกำลงั ติดอาวุธที่ถูกจดั ต้ังขึน้ อยา่ งมรี ะบบหลายกลมุ่ ต่อสรู้ ะหวา่ งกันเอง การต่อสู้ลักษณะน้ีอาจไม่ได้เกิดข้ึนเพียงภายในอาณาเขตของประเทศหน่ึงประเทศใด แต่อาจลุกลามข้ามพรมแดน ของประเทศก็ได้ คุณลักษณะของการพิพาทกันโดยใช้อาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ คือ ฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดในการต่อสู้ เป็นกลมุ่ ตดิ อาวุธทไ่ี มใ่ ช่รัฐบาล กฎหมายที่ใช้บังคับกับสถานการณ์การสู้รบที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ คือ ข้อ 3 ร่วมของอนุสัญญาเจนีวาทั้งสี่ฉบับ (ขอ้ 3 รว่ ม) พธิ สี ารเพม่ิ เตมิ ฉบบั ท่ี 2 ค.ศ. 1977 (พธิ สี ารเพม่ิ เตมิ ฉบบั ท่ี 2) อนสุ ญั ญาเกย่ี วกบั การใชอ้ าวธุ บางประเภท และกฎหมายจารีตประเพณีของ IHL 12. การพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ถกู เปลยี่ นใหม้ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศไดอ้ ยา่ งไร คำวา่ การพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ท่ี “ถกู เปลย่ี นใหม้ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศ” เรมิ่ มาจากการพพิ าททไี่ มใ่ ชร่ ะหวา่ ง ประเทศ และพฒั นาไปสกู่ ารพพิ าทระหวา่ งประเทศ โดยเกดิ จากการแทรกแซงของตา่ งประเทศประเทศหนงึ่ หรอื กวา่ นน้ั สถานการณ์ดังกลา่ วอาจมีการพัฒนาไปส่คู วามยุ่งยากซับซอ้ นได้ ซึ่งรวมถงึ กรณดี ังต่อไปน้ี : - สงครามที่มีการแทรกแซงทางทหาร หรือมีการควบคุมโดยต่างประเทศอันเป็นการสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธท่ีต่อสู้ กบั รัฐบาล - การต่อสู้ระหว่างกลุ่มติดอาวุธสองกลุ่มหรือกว่าน้ันภายในอาณาเขตของประเทศหน่ึง และมีต่างประเทศใช้ อำนาจควบคุมแต่ละฝ่ายท่ตี ่อสู้กัน - สงครามระหว่างต่างประเทศสองประเทศซ่ึงเข้าแทรกแซงทางทหารในการพิพาทกันโดยใช้อาวุธที่ไม่ใช่ระหว่าง ประเทศ โดยให้การสนับสนุนกลุม่ ตดิ อาวธุ สองกลุ่มท่เี ปน็ ปฏปิ ักษต์ ่อกัน146 EHLคูม่ อื การจัดกิจกรรมยวุ กาชาด เรื่อง การเรียนรกู้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวื่อา่ เงยปารวะเชทนศ

หากต่างประเทศถอนกองกำลังจากการต่อสู้หรือยุติการใช้อำนาจควบคุมแล้ว การพิพาทกันโดยใช้อาวุธนั้นก็จะกลับไปสู่สภาวะที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศเช่นเดิม ภายใต้เง่ือนไขว่าการพิพาทนั้นยังคงมีองค์ประกอบของการพิพาทกันโดยใชอ้ าวุธทไ่ี มใ่ ชร่ ะหว่างประเทศอย่างครบถว้ น13. “การลงนาม” และ “การให้สัตยาบนั ” สนธิสัญญาแตกตา่ งกันอยา่ งไร ประเทศตา่ ง ๆ สามารถแสดงเจตนาเพอ่ื ผกู พนั ตามสนธสิ ญั ญาไดห้ ลายวธิ ี เชน่ โดยการลงนามหรอื การใหส้ ตั ยาบนั หลังจากได้มีการยอมรับสนธิสัญญาแล้ว ก็จะมีการเปิดโอกาสให้มีการลงนามในชั่วระยะเวลาหนึ่ง หากประเทศหนึ่งประเทศใดได้ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว ประเทศน้ันก็จะเกิดพันธกรณีท่ีจะต้องละเว้นกระทำการใดท่ีอาจทำลายวัตถุประสงค์หรือความมุ่งประสงค์ของสนธิสัญญาฉบับนั้น หากสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดขั้นตอนเพ่ิมเติมที่จะต้องกระทำหลังจากการลงนาม การลงนามน้ันก็ถือว่าเพียงพอที่จะแสดงถึงความยินยอมของประเทศเพื่อผูกพันตามสนธิสัญญาแล้ว ซ่ึงเรียกว่า “การให้สัตยาบัน” หากต้องมีการให้สัตยาบันกันอีกขั้นหน่ึง การลงนามในสนธสิ ญั ญากเ็ ปน็ เพยี งการแสดงความผกู พนั ของประเทศทจ่ี ะตอ้ งดำเนนิ มาตรการทจ่ี ำเปน็ ในการใหส้ ตั ยาบนั อกี ตอ่ ไปมาตรการเพ่ิมเติมที่เกิดข้ึนนี้มักเป็นส่ิงจำเป็นเพราะรัฐธรรมนูญของหลาย ๆ ประเทศมักกำหนดให้มีการแสดงความเห็นชอบทางกฎหมาย หรือมีการให้ความยินยอมโดยรัฐสภาสำหรับสนธิสัญญาที่ได้มีการลงนามแล้ว ก่อนท่ีส นธิสัญญาน้นั จะมีผลผูกพนั ประเทศนัน้ ๆ14. มีกฎเกณฑ์มนุษยธรรมระหว่างประเทศใดบ้างที่รัฐมีความผูกพันนอกจากกฎหมายมนุษยธรรมท่ีเป็น สนธิสญั ญา กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศถือเป็นส่วนหน่ึงของบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศและมีผลผูกพันประเทศท้งั ปวง แตก่ ฎหมายจารีตประเพณีของ IHL แตกตา่ งจากกฎหมายที่เปน็ สนธิสญั ญาเพราะไม่ไดม้ ีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่จำเป็นต้องมีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่กฎหมายจารีตประเพณีเกิดจากการถอืปฏบิ ตั กิ นั โดยทว่ั ไปอยา่ งกวา้ งขวางในรปู แบบเดยี วกนั และเปน็ ทย่ี อมรบั วา่ เปน็ กฎหมาย “การถอื ปฏบิ ตั โิ ดยรฐั ” คอื การถอืปฏบิ ตั อิ ยา่ งเปน็ ทางการของรฐั และรวมถงึ คำแถลงอยา่ งเปน็ ทางการของรฐั เอกสารทางการประเภทอน่ื ๆ เชน่ คู่มือทหารบันทึกการปฏิบัติการทางทหาร กฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายที่เกิดจากคำวินิจฉัยของศาล เป็นต้น การถือปฏิบัติของรัฐซ่ึง “เป็นท่ียอมรับว่าเป็นกฎหมาย” ทำให้กฎหมายจารีตประเพณีแตกต่างจากนโยบายของรัฐ ดังนั้นกฎหมายจารตี ประเพณจี งึ มีผลผูกพนั รฐั ต่าง ๆ แมว้ ่าจะไม่ได้มีการยอมรับอย่างเปน็ ทางการกต็ าม ย่ิงไปกว่าน้ี กฎหมายจารีตประเพณีของ IHL มีผลบังคับใช้ท้ังในการสู้รบระหว่างประเทศและท่ีไม่ใช่ระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณีจึงช่วยอุดช่องว่างในส่วนท่ีกฎหมายสนธิสัญญาไม่ได้กำหนดไว้ เน่ืองจากกฎหมายส นธสิ ญั ญาเกย่ี วกับการส้รู บทไ่ี ม่ใชร่ ะหว่างประเทศมอี ยู่น้อยและมขี อบเขตทจ่ี ำกัด 15. สนธิสัญญามนษุ ยธรรมระหว่างประเทศที่เปน็ สนธิสญั ญาหลกั มกี ีฉ่ บบั IHL ในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้นเพ่ือให้ทันกับพัฒนาการของอาวุธและวิธีการใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการส้รู บ สนธิสัญญาหลกั ของ IHL ไดเ้ กิดข้ึนตามลำดับดงั ต่อไปนี้ 1864 : อนสุ ญั ญาเจนีวาเพอ่ื ใหผ้ ู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทพั ในสนามรบมีสภาวะดขี นึ้ 1868 : ปฏญิ ญาเซนต์ปีเตอร์สเบริ ์ก (ห้ามใชห้ วั กระสนุ บางชนิดในสงคราม) 1899 : อนุสัญญาเฮก (เก่ียวกับกฎหมายและจารีตประเพณีของสงครามทางบกและปรับเพื่อใชักับสงคราม ทางทะเลภายใต้หลกั ของอนสุ ญั ญาเจนีวา 1864) 1906 : อนุสัญญาเจนีวาเพ่ือให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีข้ึน (พัฒนาการเพิ่มเติม อนุสัญญาเจนวี า 1864)EHL Exploring Humanitarian Law 147 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

1907 : พฒั นาการเพ่มิ เตมิ อนุสัญญาเฮก 1899 และการยอมรับอนสุ ัญญาใหม่ 1925 : พิธีสารเจนวี าเกยี่ วกับการหา้ มใชส้ ารท่ีมีผลตอ่ ทางเดนิ หายใจ สารพิษ แก๊สอื่น ๆ และวิธกี าร ทางชวี ภาพในการทำสงคราม 1929 : อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น (พัฒนาการเพ่ิมเติม อนสุ ัญญาเจนีวา 1906) 1949 : อนุสญั ญาเจนีวา 4 ฉบบั (พฒั นาการเพิ่มเติมอนสุ ัญญาเจนีวา 1929) - เพ่ือใหผ้ บู้ าดเจบ็ และป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดขี นึ้ - เพอื่ ให้ผสู้ ังกดั ในกองทพั ขณะอยู่ในทะเลซ่ึงบาดเจบ็ ป่วยไขแ้ ละเรอื ตอ้ งอบั ปางมีสภาวะดขี ้ึน - การปฏิบตั ติ ่อเชลยศึก - การค้มุ ครองบคุ คลพลเรือนในยามสงคราม 1954 : อนุสัญญาเฮก (และพิธีสาร) เพอ่ื การคมุ้ ครองทรัพย์สนิ ทางวัฒนธรรมในยามสู้รบ 1972 : อนสุ ญั ญาเกยี่ วกบั การหา้ มพัฒนา ผลิต และมไี ว้ในคลังแสง ซ่ึงอาวุธชีวภาพและอาวธุ ทีม่ ีสารพษิ และให้ทำลายอาวุธดังกลา่ ว 1977 : พิธีสารเพิม่ เติมอนุสัญญาเจนีวา 1949 สองฉบับ (พฒั นาเพม่ิ เติมอนุสญั ญาเจนีวา 1949) - พธิ สี ารฉบับที่ 1 เกย่ี วกบั การคุ้มครองผปู้ ระสบภัยจากขอ้ พพิ าทระหวา่ งประเทศทางอาวุธ - พธิ สี ารฉบบั ที่ 2 เกย่ี วกบั การคมุ้ ครองผปู้ ระสบภยั จากขอ้ พพิ าททางอาวธุ ทไ่ี มม่ ลี กั ษณะระหวา่ งประเทศ 1980 : อนุสัญญาเกี่ยวกับการห้ามหรือจำกัดการใช้อาวุธบางประเภทซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเกินขนาดหรือ เกิดผลอยา่ งไม่สามารถเลือกเป้าหมายได้ อนุสัญญานีป้ ระกอบดว้ ยพธิ สี าร ดงั ตอ่ ไปน้ี - พิธีสารฉบบั ท่ี 1 เกี่ยวกบั เศษวัสดุ (ของอาวธุ ) ที่ไมส่ ามารถตรวจพบได้ - พิธสี ารฉบับท่ี 2 เกี่ยวกบั การหา้ มหรอื จำกดั การใช้ทุ่นระเบิด กับดักกลลวง และอปุ กรณอ์ นื่ ๆ - พธิ ีสารฉบับท่ี 3 เกย่ี วกับการหา้ มหรอื จำกัดการใช้อาวธุ เพลงิ 1993 : อนสุ ญั ญาเก่ยี วกบั การหา้ มใช้ พัฒนา ผลติ มไี วใ้ นคลังแสง ซงึ่ อาวธุ เคมี และใหท้ ำลายอาวธุ ดังกลา่ ว 1995 : พิธีสารฉบบั ที่ 4 ของอนสุ ัญญา 1980 เกี่ยวกับอาวธุ เลเซอรท์ ่ที ำใหต้ าบอด 1996 : พธิ สี ารฉบบั ท่ี 2 ของอนสุ ญั ญา 1980 (ฉบบั แกไ้ ข) เกย่ี วกบั การใชท้ นุ่ ระเบดิ กบั ดกั กลลวง และอปุ กรณอ์ นื่ ๆ 1997 : อนสุ ญั ญาเกย่ี วกบั การหา้ มใช้ มไี วใ้ นคลงั แสง ผลติ และโอน ทนุ่ ระเบดิ สงั หารบคุ คล และใหท้ ำลายอาวธุ ดงั กลา่ ว 1998 : ธรรมนูญกรุงโรมของศาลอาญาระหวา่ งประเทศ 1999 : พิธีสารฉบบั ท่ี 2 ของอนสุ ญั ญาเฮกเกีย่ วกบั การคมุ้ ครองทรพั ยส์ นิ ทางวัฒนธรรมในยามสูร้ บ 2000 : พธิ ีสารเพ่มิ เตมิ เลือกรบั ของอนุสญั ญาสิทธิเดก็ เก่ียวกบั การที่เดก็ มสี ว่ นเกี่ยวขอ้ งในการสูร้ บ 2001 : การแก้ไขเพิม่ เตมิ ข้อ 1 ของอนุสญั ญา 1980 2003 : พธิ ีสารฉบบั ที่ 4 ของอนุสัญญา 1980 เก่ยี วกบั วัตถุระเบดิ ที่ตกค้างจากสงคราม 2005 : พธิ สี ารฉบับที่ 3 เพ่มิ เติมอนสุ ัญญาเจนีวา 1949 เกย่ี วกับการยอมรบั สัญลักษณ์อันเดน่ ชัดเพ่ิมขน้ึ 16. กฎหมายสิทธิมนษุ ยชนระหวา่ งประเทศทีเ่ ปน็ กฎหมายหลักมกี ีฉ่ บบั กฎหมายสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เป็นหลักสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ กฎหมายสว่ นนมี้ ีเนอ้ื หาที่ครอบคลุมและบังคบั ใชก้ บั ทกุ คนในโลกน้ี กฎหมายสทิ ธมิ นุษยชนระหว่างประเทศท่ีเป็นกฎหมายหลัก มดี งั ต่อไปนี้ คอื 1926 : อนุสญั ญาเก่ยี วกับระบบทาส148 EHLคมู่ ือการจดั กจิ กรรมยวุ กาชาด เรื่อง การเรยี นรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวือ่ ่าเงยปารวะเชทนศ

1930 : อนุสญั ญาเก่ียวกบั การบังคับใชแ้ รงงาน 1948 : ปฏิญญาสากลวา่ ด้วยสทิ ธิมนษุ ยชน 1950 : อนสุ ญั ญายโุ รปเกี่ยวกับการคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข้นั พื้นฐาน 1951 : อนสุ ัญญาเกยี่ วกับสถานะของผู้ลีภ้ ยั 1954 : อนุสัญญาเกย่ี วกบั สถานะของคนไรร้ ัฐ 1966 : กติการะหวา่ งประเทศวา่ ดว้ ยสทิ ธทิ างเศรษฐกจิ สงั คมและวฒั นธรรม 1966 : พิธสี ารวา่ ด้วยสถานะของผู้ลีภ้ ัย 1969 : อนสุ ัญญาอเมริกันว่าด้วยสทิ ธมิ นษุ ยชน 1973 : อนสุ ัญญาระหวา่ งประเทศว่าด้วยการปราบปรามและลงโทษอาชญากรรมเหยียดผวิ 1979 : อนุสัญญาว่าด้วยการขจดั ใหส้ ้นิ ไปซงึ่ การเลือกปฏิบัติต่อสตรใี นทุกรูปแบบ 1981 : กฎบัตรอฟั ริกันวา่ ดว้ ยสทิ ธขิ องมนุษย์และประชาชน 1984 : อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอย่างทารุณ อย่างไม่ใช่มนุษย์ หรืออย่าง ลดคณุ ค่า 1987 : อนุสัญญายุโรปสำหรับการป้องกันการทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษอย่างทารุณ อย่างไม่ใช่มนุษย์ หรืออย่างลดคณุ คา่ 1989 : อนสุ ัญญาวา่ ดว้ ยสิทธเิ ด็ก 1990 : กฎบตั รอัฟริกันวา่ ดว้ ยสทิ ธิและสวสั ดิภาพของเดก็ 2000 : พธิ สี ารเผ่ือเลอื กของอนสุ ญั ญาวา่ ดว้ ยสิทธิเด็กเก่ียวกบั การมสี ว่ นรว่ มของเดก็ ในการส้รู บ 2006 : กตกิ าระหว่างประเทศสำหรับการปอ้ งกนั บุคคลทง้ั ปวงจากการถูกบังคับให้สูญหาย17. อะไรคอื ความชอบธรรมในการกักขงั พลรบหรอื นกั ต่อสู้ หรอื พลเรือน การจับกุมและการกักขังพลรบหรือนักต่อสู้ในยามท่ีมีการพิพาทกันโดยใช้อาวุธเป็นส่ิงท่ีถูกกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใตก้ ฎเกณฑข์ องสนธสิ ญั ญาหรอื กฎหมายจารตี ประเพณขี อง IHL เกยี่ วกบั สทิ ธกิ ารปฏบิ ตั ิ และการจบั กมุ ตวั เชลยศกึอย่างเคร่งครัด รวมทงั้ บรรทดั ฐานของกฎหมายสทิ ธิมนษุ ยชนดว้ ย การกักขังพลรบหรือนักต่อสู้มีจุดประสงค์เพื่อตัดกำลังทางทหารของฝ่ายตรงข้าม และยังเป็นการลดจำนวนบุคลากรท่ีทำหน้าที่ในการต่อสู้เป็นการแสวงหาข้อมูลเก่ียวกับฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งอาจนำเงื่อนไขในการปล่อยตัวเชลยศึกมาเปน็ ขอ้ ตอ่ รองระหวา่ งทม่ี กี ารพิพาทกันโดยใช้อาวธุ เพอ่ื บรรลุวตั ถุประสงคท์ างยทุ ธศาสตร์ ตามหลักการ พลเรือนอาจถูกจับกุมหรือกักกันได้เมื่อมีสถานการณ์พิเศษเท่าน้ัน พวกเขาอาจถูกควบคุมตัวเน่ืองด้วยเหตุผลทางด้านความม่นั คงทจี่ ำเปน็ อย่างยง่ิ ในกรณีทีม่ ีการครองครองอาณาเขต พลเรือนอาจถกู ควบคุมตัวเน่ืองมาจากได้กระทำความผดิ ต่อผู้ใช้อำนาจครอบครอง พลเรือนท่ีมสี ่วนร่วมในการสรู้ บอาจถูกกักกนั ได้เพ่อื ลดจำนวนนักสู้ท่ีมีส่วนรว่ มในการสูร้ บ18. “ผู้ถูกกักกัน” “ผู้ถูกควบคุม” และ “เชลยศึก” มีความแตกต่างกันอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรม ระหวา่ งประเทศ (IHL) คมุ้ ครองบคุ คลเหลา่ นอี้ ยา่ งไร คำตา่ ง ๆ ที่ได้กล่าวมาขา้ งต้นหมายถึง บุคคลต่าง ๆ ทถี่ ูกลดิ รอนเสรภี าพและมกี ารใช้คำดงั กล่าวแทนทกี่ นั ไดใ้ นกรณีท่วั ไป อยา่ งไรก็ตาม แต่ละคำมคี วามหมายทางกฎหมายเฉพาะตวั ภายใต้ IHL คำว่า “ผถู้ กู กกั กนั ” อาจใชเ้ พ่ือกล่าวถงึ ผู้ซง่ึ ถกู ลดิ รอนเสรีภาพ ผ้ทู ่ถี ูกกกั กนั กอ่ นขน้ึ ศาล ผทู้ ถ่ี กู กกั กันหลังจากถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้ว หรือพลเรือนที่ถูกกักกันหรือเชลยศึกในยามสงครามก็ได้ คำน้ีจึงมีความหมายท่ัวไปอนั เปน็ ทีเ่ ข้าใจว่าหมายถึงบคุ คลซ่ึงถูกลิดรอนเสรีภาพโดยไมต่ อ้ งระบุเหตุผลในการกกั กันแตอ่ ย่างใดEHL Exploring Humanitarian Law 149 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

คำว่า “ผู้ถูกควบคุม” โดยปกติหมายถึงพลเรือนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพในระหว่างที่มีการพิพาทกันโดยใช้อาวุธ ระหว่างประเทศและท่ีไม่ใช่ระหว่างประเทศเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านความม่ันคงที่สำคัญอย่างย่ิง หรือเพ่ือเป็น การคุ้มครองพลเรือนเหล่าน้ันเอง หรืออาจมีสาเหตุมาจากการกระทำความผิดต่อประเทศที่ใช้อำนาจครอบครอง ผู้ท่ีถูกควบคุมตัวในกรณีดังกล่าวต้องได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาฉบับท่ีส่ีและกฎบางข้อของพิธีสาร เพิ่มเตมิ รวมทง้ั กฎหมายจารตี ประเพณขี อง IHL และกฎหมายสิทธิมนษุ ยชนดว้ ย “เชลยศึก” คือ พลรบคนใดก็ตามซึ่งตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายตรงข้ามในยามที่มีการพิพาทกันโดยใช้ อาวุธระหว่างประเทศ พลรบเหล่าน้ีจะต้องได้รับสถานะเป็นเชลยศึกและมีสิทธิได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษตาม IHL คือ อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 รวมท้ังกฎหมายจารีตประเพณีของ IHL และกฎหมาย สทิ ธิมนุษยชนดว้ ย 19. การกกั กนั ตวั เดก็ สามารถกระทำไดห้ รอื ไม?่ กฎขอ้ ใดของกฎหมายมนษุ ยธรรมใชบ้ งั คบั ในกรณนี ้ี เดก็ อาจถกู กกั กนั ได้ แตก่ ต็ อ้ งไดร้ บั การคมุ้ ครองภายใต้ IHL ดงั เชน่ บคุ คลทถ่ี กู กกั กนั อน่ื ๆ ในยามทมี่ กี ารพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ยง่ิ ไปกวา่ นเี้ ดก็ ควรไดร้ บั ความคมุ้ ครองเปน็ พเิ ศษเนอื่ งจากสภาพของเดก็ ทยี่ งั มอี ายนุ อ้ ยและมคี วามตอ้ งการ ที่แตกต่างกัน หากมีการควบคมุ ตวั เดก็ ๆ ทม่ี ีสว่ นรว่ มในการสรู้ บในสถานการณก์ ารพพิ าทกนั โดยใช้อาวธุ ระหวา่ งประเทศ เดก็ เหลา่ นี้ จะตอ้ งไดร้ บั ประโยชนจ์ ากสนธสิ ญั ญา IHL และจากสว่ นทเี่ ปน็ จารตี ประเพณอี นั เกย่ี วกบั เชลยศกึ ดว้ ย หากมกี ารควบคมุ ตัว เดก็ ๆ ทไ่ี มไ่ ดม้ สี ว่ นรว่ มในการสรู้ บ เดก็ เหลา่ นจี้ ะตอ้ งไดร้ บั ความคมุ้ ครองดงั เชน่ พลเรอื นทถ่ี กู ควบคมุ ตวั ภายใตส้ นธสิ ญั ญา IHL และในสว่ นทีเ่ ป็นจารีตประเพณีในเรอ่ื งดังกล่าว ยิ่งไปกว่าน้ี IHL ท้ังในส่วนของสนธิสัญญาและในส่วนของจารีตประเพณีมีบทบัญญัติพิเศษสำหรับเด็ก ๆ ท่ีถูก ลิดรอนเสรีภาพทั้งในยามท่ีมีการพิพาทกันโดยใช้อาวุธระหว่างประเทศและที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ บทบัญญัติเหล่านี้ กำหนดให้เด็ก ๆ ได้อยู่กับผู้ปกครองที่ถูกกักกัน ต้องจัดให้เด็กได้รับการศึกษาระหว่างท่ีถูกควบคุมตัว ให้ได้รับอาหาร เพิม่ ขน้ึ ตามความเหมาะสม ให้มีกิจกรรมกลางแจ้งและได้เล่นกีฬาด้วย ฯลฯ 20. อะไรคอื ความแตกตา่ งระหวา่ งการจบั กมุ และการจบั ตวั เปน็ ประกนั ? กฎขอ้ ใดของกฎหมายมนษุ ยธรรม ใช้บงั คบั ในกรณีดังกลา่ ว การจับกุมและควบคุมตัวพลรบเป็นสิ่งที่กระทำได้ภายใต้ IHL แต่การจับกุมและควบคุมตัวพลเรือนสามารถ กระทำได้เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเท่านั้น (เช่น เมื่อมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ เม่ือมีเหตุจำเป็นอย่างมากทางด้าน ความมั่นคง เพื่อเป็นการคุ้มครองพลเรือนเหล่านั้นเอง หรือเมื่อมีการกระทำความผิดต่อประเทศที่ใช้อำนาจ ครอบครองดนิ แดน เปน็ ต้น) การจบั ตวั เปน็ ประกนั คอื การจบั กมุ หรอื กกั กนั ตวั บคุ คลและขวู่ า่ จะฆา่ หรอื จะทำรา้ ยใหบ้ าดเจบ็ หรอื มกี ารกกั กนั ตวั อย่างต่อเนื่อง อันเป็นข้อต่อรองให้บุคคลที่สามกระทำการหรือละเว้นกระทำการใดเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อย ตัวประกัน การจบั ตัวประกันขัดกบั กฎหมายระหว่างประเทศโดยทั่วไปและขดั กบั IHL ดว้ ย IHL หา้ มการจบั ตวั เปน็ ประกนั ทง้ั ในยามทม่ี ีการพิพาทกนั โดยใชอ้ าวุธระหวา่ งประเทศและทไี่ มใ่ ช่ระหว่างประเทศ หากยังคงมีการจับตัวเป็นประกันเกิดขึ้น ผู้ที่ถูกจับมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับพลรบและ พลเรือน โดยมีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องน้ีในอนุสัญญาเจนีวาฉบับท่ีสามและส่ี พิธีสารเพิ่มเติม กฎหมายจารีต ประเพณีของ IHL และตามกฎหมายสทิ ธมิ นุษยชนด้วย 21. อะไรคอื ปจั จยั ทส่ี ำคญั ทส่ี ดุ ในการพจิ ารณาถงึ หลกั ของความไดส้ ดั สว่ น หลักของความได้สัดส่วนมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นของสงครามและความจำเป็นทาง ดา้ นมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม หลกั การนท้ี างทฤษฎีอาจฟงั ดงู ่ายแต่การนำไปปฏบิ ตั ิทำไดย้ ากมาก150 EHLคู่มอื การจดั กิจกรรมยวุ กาชาด เรื่อง การเรยี นร้กู ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวือ่ ่าเงยปารวะเชทนศ

ขอ้ หา้ มไมใ่ ห้ “โจมตโี ดยไม่คำนงึ ถึงความไดส้ ัดสว่ น” ถกู กำหนดไวใ้ นพธิ สี ารเพม่ิ เตมิ ฉบบั ท่ี 1 ภายใตห้ ลกั ของความได้สัดส่วนว่า “การโจมตีซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียข้างเคียงต่อชีวิตของพลเรือน ทำให้พลเรือนบาดเจ็บกอ่ ความเสยี หายแกว่ ตั ถขุ องพลเรอื น หรือตอ่ สิง่ เหลา่ นั้นรวมกนั เกนิ กวา่ ความไดเ้ ปรียบทางทหารท่ีชดั เจนและโดยตรงดงั ทค่ี าดหวงั ไว”้ วลที วี่ า่ “ความไดเ้ ปรยี บทางทหารทช่ี ดั เจนและโดยตรง” หมายถงึ ความไดเ้ ปรยี บทมี่ ลี กั ษณะทางทหารเทา่ น้นั ซึ่งสามารถคาดคะเนได้ โดยมงุ่ ท่ีจะทำลายหรอื ทำให้กองทัพของศตั รูออ่ นกำลงั ซึง่ ตอ้ งเปน็ ความไดเ้ ปรยี บที่เป็นสาระสำคัญ ความได้เปรียบเล็กน้อยท่ีไม่อาจเห็นได้ชัดเจน หรืออาจเกิดข้ึนในอนาคตไม่ควรจะถูกนำมาใช้เป็นหลกั ตามข้อนี้ หลักของความได้สัดส่วนสามารถนำไปใช้ในกรณีที่มีการโจมตีเป้าหมายทางทหารท่ีชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายข้างเคียงได้ ดังนั้น กฎท่ีห้ามการโจมตีโดยไม่คำนึงถึงความได้สัดส่วนจึงกำหนดให้ต้องมีการประเมินความเสียหายข้างเคียงท่ีอาจเกิดข้ึนได้ก่อนปฏิบัติการโจมตี โดยต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันดังต่อไปนี้ คือ ท่ีต้ังของประชากรพลเรือนและวัตถุของพลเรือน (ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือต้ังอยู่บริเวณเดียวกันกับวัตถุทางทหาร) สภาพภูมิประเทศ ชนิดของอาวุธท่ีจะใช้ (ความแม่นยำ ขอบเขตของการแพร่กระจาย กระสุนท่ีจะใช้ ฯลฯ)สภาพอากาศ (วิสัยทัศน์ ทิศทางลม ฯลฯ) ลักษณะเฉพาะของวัตถุทางทหารที่จะเป็นเป้าในการโจมตี (คลังแสงคลงั เชือ้ เพลิง ถนนสายหลกั อันเป็นเสน้ ทางท่มี ีความสำคญั ทางทหาร หรือบริเวณใกล้เคยี ง แหล่งทอ่ี ยอู่ าศยั ฯลฯ) หากความสูญเสียและความเสียหายที่อาจคาดคะเนได้ว่าจะเกิดกับพลเรือนน้ันเกินกว่าสัดส่วนของความได้เปรียบทางทหารที่จะได้รับ ผลประโยชน์ของพลเรือนต้องมีความสำคัญกว่า ยิ่งไปกว่านี้ IHL กำหนดให้ใช้ความระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะละเว้นพลเรือนและวัตถุของพลเรือน และให้หลีกเล่ียงการโจมตีฝ่ายตรงข้ามซ่ึงจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความเสียหายโดยไม่สมเหตุผล22. อะไรคอื ความแตกตา่ งทส่ี ำคญั ระหวา่ ง “พลเรอื น” และ “พลรบ” กฎขอ้ ใดของกฎหมายมนษุ ยธรรมใช้ บงั คบั เมอื่ พลเรอื นหรอื พลรบถกู จบั กมุ ในการพิพาทโดยใช้อาวุธระหว่างประเทศ พลรบมีสิทธิมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ ดังนั้นพวกเขาจะต้องไม่ถูกดำเนนิ คดสี ำหรบั การทำสงครามภายใตก้ ฎเกณฑข์ องกฎหมาย อยา่ งไรกต็ ามหากมกี ารละเมดิ กฎหมาย พวกเขากอ็ าจถกู ดำเนนิ คดไี ดโ้ ดยเฉพาะสำหรบั ความผดิ ทเี่ ปน็ อาชญากรรมสงคราม พลรบจะไดร้ บั ความคมุ้ ครองภายใต้ IHL จากการใช้วิธีการและวิถีทางในการสงครามบางประเภทไม่ว่าระหว่างที่กำลังต่อสู้หรือเมื่อตกเป็นผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย หรือผู้ต้องเรืออับปางก็ตาม เมื่อพวกเขาถูกจับ พลรบท่ีเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องได้รับสถานะเชลยศึก และได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนวี าฉบับทส่ี าม พิธีสารเพิม่ เติมฉบับทีห่ นึง่ และกฎมายจารีตประเพณที ี่เกย่ี วข้อง บุคคลใดก็ตามที่ไม่ใช่พลรบถือว่าเป็นพลเรือน พลเรือนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกโจมตีและจากผลกระทบของการต่อสู้ หากพวกเขามีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ พวกเขาจะสูญเสียความคุ้มครองในฐานะพลเรือนและตกเปน็ เปา้ หมายซง่ึ อาจถกู โจมตไี ดโ้ ดยชอบดว้ ยกฎหมาย ตราบเทา่ ระยะเวลาทพ่ี วกเขามสี ว่ นรว่ มโดยตรงในการสรู้ บเม่ือพวกเขาถูกจับก็จะได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ส่ี พิธีสารเพ่ิมเติมฉบับที่หน่ึง และกฎหมายจารตี ประเพณีท่เี กย่ี วข้อง ในการพิพาทกันโดยใช้อาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ จะไม่มีสถานะของ “พลรบ” ตามกฎหมาย จะไม่มีการแยกประเภทของ “พลเรอื น” และ “พลรบ” แตอ่ ยา่ งใด ผสู้ งั กดั กลมุ่ กองกำลงั ตดิ อาวธุ ทถี่ กู จดั ตงั้ ขน้ึ ไมม่ สี ทิ ธไิ ดร้ บั สถานะพิเศษใด ๆ ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับเร่ืองดังกล่าว และอาจถูกดำเนินคดีในข้อหามีส่วนร่วมในการสู้รบตามกฎหมายอาญาของแตล่ ะประเทศได้ อยา่ งไรกต็ าม ขอ้ 3 รว่ มของอนสุ ญั ญาเจนวี าซงึ่ เปน็ IHL ทบ่ี งั คบั ใชใ้ นสถานการณด์ งั กลา่ วกฎบางขอ้ ของพธิ สี ารเพมิ่ เตมิ ฉบบั ทสี่ อง กฎหมายจารตี ประเพณขี อง IHL รวมทงั้ กฎหมายสทิ ธมิ นษุ ยชน มขี อ้ กำหนดเก่ียวกับสิทธิของผู้ถูกกักกันท่ีจะได้รับการปฏิบัติและอยู่ในสภาพของการกักกันที่เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมายEHL Exploring Humanitarian Law 151 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

23. สญั ลกั ษณก์ าชาด เสยี้ ววงเดอื นแดง และครสิ ตลั แดงมคี วามสำคญั แตกตา่ งกนั หรอื ไม่ ไมม่ ี สญั ลกั ษณท์ งั้ สามประเภทเปน็ สญั ลกั ษณท์ ก่ี ฎหมายรบั รองโดยมคี วามสำคญั เทา่ เทยี มกนั และใหค้ วามคมุ้ กนั ในลักษณะเดียวกนั เพยี งแต่ถูกรบั รองตามกฎหมายภายใต้สถานการณ์ท่แี ตกตา่ งกนั ในปี ค.ศ. 1863 นายองั รี ดนู งั ตไ์ ดเ้ สนอใหม้ กี ารปรบั ปรงุ การนำความชว่ ยเหลอื ไปสผู่ ปู้ ระสบเคราะหจ์ ากสงคราม รวมทงั้ ชกั ชวนประเทศตา่ ง ๆ ใหท้ ำความตกลงกนั เพอื่ คมุ้ ครองผู้ทำหน้าทีบ่ รรเทาทุกข์ผู้บาดเจ็บ และผปู้ ว่ ยในสนามรบ เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้จึงได้มีการยอมรับสัญลักษณ์อันเด่นชัด ซึ่งมอบการคุ้มครองตามกฎหมายให้แก่หน่วย บรกิ ารทางแพทยข์ องทหารและแกอ่ าสาสมคั รผทู้ ำหนา้ ท่ีบรรเทาทุกข์ สญั ลกั ษณแ์ รกทไ่ี ดม้ กี ารยอมรบั เมอ่ื เดอื นสงิ หาคม ค.ศ. 1864 คอื กาชาดบนพนื้ สขี าว ซงึ่ สลบั กบั สขี องธงชาตสิ วสิ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามระหว่างรัสเซียและตุรกี ค.ศ. 1876-1878 อาณาจักรออตโตมานได้ประกาศว่าตนจะใช้ สญั ลกั ษณเ์ สยี้ ววงเดอื นแดงแทนกาชาด แตย่ งั คงเคารพการใชก้ าชาดโดยฝา่ ยอนื่ ๆ ทำใหเ้ สย้ี ววงเดอื นแดงกลายเปน็ สัญลักษณ์เพ่อื การคุม้ ครองอีกสัญลกั ษณ์หนง่ึ เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการเช่ือมโยงสัญลักษณ์ท้ังสองกับปัจจัยทางวัฒนธรรม ศาสนาหรือทางการเมือง ทำให้เกิด ผลกระทบต่อความคุ้มครองแก่ผู้ประสบเคราะห์จากการสู้รบ รวมทั้งหน่วยแพทย์ของกองทัพและบุคลากรที่ทำหน้าที่ ทางมนษุ ยธรรมด้วย มีบางประเทศและบางสภากาชาดฯ ไม่ประสงค์จะใช้สัญลักษณ์ท้งั สองแบบ ขณะเดียวกันก็มบี างกลุ่ม ต้องการใช้ท้ังสองสัญลักษณ์คู่กัน จึงเกิดความคิดว่าควรมีอีกสัญลักษณ์หนึ่งอันเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ท้ังจาก ประเทศต่าง ๆ และจากสภากาชาดฯ ตา่ ง ๆ ดว้ ย แนวความคดิ นีไ้ ด้รบั การสนบั สนนุ โดยกลุ่มองค์กรกาชาดฯ และได้มี การเห็นชอบโดยท่ีประชุมผู้แทนเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 เป็นสัญลักษณ์ใหม่ คือ คริสตัลแดง เคียงข้างกับ กาชาดและเส้ยี ววงเดือนแดง ปจั จบุ นั กาชาด เสย้ี ววงเดอื นแดง และครสิ ตลั แดง เปน็ สญั ลกั ษณท์ ไ่ี ดร้ บั การเคารพอยา่ งเทา่ เทยี มกนั ตามกฎหมาย ระหวา่ งประเทศ 24. สัญลักษณ์กาชาด เส้ียววงเดือนแดง และคริสตัลแดงสามารถถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง ใครไดร้ บั อนญุ าตใหใ้ ชส้ ญั ลกั ษณเ์ หลา่ นไ้ี ด้ การใชส้ ญั ลกั ษณ์มสี องประเภท คอื การใชเ้ พื่อบง่ ช้ี และการใชเ้ พอ่ื คมุ้ ครอง การใช้เพื่อบ่งช้ีแสดงให้เห็นว่าบุคคล ยานพาหนะหรือวัตถุมีความเช่ือมโยงกับกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ในกรณีพิเศษ สญั ลกั ษณอ์ นั เดน่ ชดั อาจถกู นำมาใชก้ บั รถพยาบาลหรอื สถานปี ฐมพยาบาลเบอ้ื งตน้ ได้ หากไดร้ บั มอบหมายใหป้ ฏบิ ตั ิ ภารกจิ รกั ษาผบู้ าดเจบ็ ผปู้ ว่ ยโดยไมค่ ดิ มลู คา่ การใชส้ ญั ลกั ษณใ์ นกรณดี งั กลา่ วจะตอ้ งมขี นาดเลก็ พอสมควรและตอ้ ง ไม่ถกู นำมาตดิ ไว้บนหลังคาของอาคาร หรอื ที่ปลอกแขน เพือ่ ไมใ่ หเ้ กิดความสบั สนกับสัญลกั ษณท์ ใ่ี ชเ้ พอ่ื การคมุ้ ครอง การใชส้ ญั ลกั ษณเ์ พอื่ บง่ ชที้ แี่ พรห่ ลายทส่ี ดุ คอื โลโกข้ องสภากาชาดฯ ประจำประเทศ ซงึ่ มกั จะมกี ารใชส้ ญั ลกั ษณโ์ ดยมี การระบุชอ่ื หรอื อกั ษรย่อของสภากาชาดฯ นัน้ ๆ กำกับไวด้ ้วย การใช้สัญลักษณ์เพื่อการคุ้มครองจะเป็นการใช้ในยามที่มีการสู้รบเป็นหลัก ในสถานการณ์ดังกล่าวสัญลักษณ์ ซ่ึงสามารถเห็นได้ง่ายเพ่ือการคุ้มครองตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาเจนีวาทั้งส่ีฉบับและพิธีสารเพ่ิมเติมในส่วนที่เกี่ยวกับ หน่วยบริการทางแพทย์และเจ้าหน้าที่ศาสนาของกองทัพ โรงพยาบาลของพลเรือนที่ได้รับอนุญาตให้รักษาผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ และผู้ต้องเรืออับปาง รวมท้ังบุคคล ยานพาหนะ หรือวัตถุท่ีเก่ียวข้องกับกลุ่มองค์กรกาชาดฯ เมื่อมีการ นำสัญลักษณ์มาใช้เพื่อการคุ้มครอง สัญลักษณ์จะต้องมีขนาดใหญ่เท่าท่ีจะเป็นไปได้ และไม่ควรมีข้อความอื่นใด มาปะปนกับสญั ลกั ษณ์ 25. การใชส้ ญั ลักษณ์ “โดยไมช่ อบ” มีลกั ษณะอยา่ งไร การใช้สัญลักษณ์โดยไม่เหมาะสมอาจทำให้ประโยชน์ของการคุ้มครองเสื่อมลง และเป็นการลดประสิทธิภาพ ในการทำหน้าท่ีให้ความชว่ ยเหลือทางมนุษยธรรมด้วย152 EHLคูม่ ือการจดั กิจกรรมยวุ กาชาด เร่อื ง การเรยี นรู้กฎหมายมนุษยธรรมรเะพหว่อื า่ เงยปารวะเชทนศ

การใช้อยา่ งไม่เหมาะสมอาจแยกได้เปน็ 3 ประเภท คอื ประเภทแรก คอื การเลยี นแบบสญั ลกั ษณห์ นงึ่ ใดในสามสญั ลกั ษณ์ ไมว่ า่ จะเปน็ การเลยี นสี รปู รา่ ง หรอื รวมกนั ซ่งึ อาจกอ่ ใหเ้ กิดความสับสนกับสญั ลักษณท์ แี่ ท้จรงิ อนั หนง่ึ อนั ใดซ่ึงได้รบั ความคมุ้ ครองอย่างเปน็ ทางการ ประเภททส่ี อง ซ่ึงมีการละเมิดมากที่สุด คือ การใช้สัญลักษณ์อันเด่นชัดขัดกับบทบัญญัติของ IHL ซ่ึงรวมถึงการใช้สัญลักษณ์โดยบุคคลหรือหน่วยงานที่ไม่ได้รับอนุญาต (เช่น บริษัท ห้างร้าน ร้านขายยา คลินิกเอกชน เอนจีโอหรือโดยคนทั่วไป เป็นต้น) หรือเพอื่ ความมงุ่ ประสงคท์ ่ีไมไ่ ด้เป็นไปตามหลักการพ้นื ฐานของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ประเภทท่ีสาม คือ การใช้สัญลักษณ์อันเด่นชัดในยามที่มีการสู้รบเพื่อคุ้มครองทหารและอุปกรณ์ทางทหารโดยเจตนาที่จะหลอกลวงศัตรูให้เข้าใจผิด หากการใช้ในลักษณะน้ีทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสจะถือว่าเปน็ การหลอกลวงอนั เปน็ ความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม เพอื่ ใหม้ กี ารเคารพและคมุ้ ครองสญั ลกั ษณอ์ ยา่ งเปน็ สากล รฐั ภาคที กุ รฐั ของอนสุ ญั ญาเจนวี ามพี นั ธกรณตี อ้ งออกกฎหมายภายใน กำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้สัญลักษณ์ โดยป้องกันและลงโทษการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในยามสงครามและยามสนั ติ26. การหา้ มไมใ่ หป้ ระชาชนเขา้ ถงึ แหลง่ อาหารหรอื นำ้ หรอื ปจั จยั ทสี่ ำคญั อน่ื ๆ ในยามทม่ี กี ารพพิ าทกนั โดยใช ้ อาวธุ ถอื ว่าเป็นยทุ ธวธิ ีทางทหารที่ถูกตอ้ งหรอื ไม่ ไมถ่ กู ตอ้ ง การปฏเิ สธไมใ่ หพ้ ลเรอื นหรอื พลรบทถี่ กู จบั เขา้ ถงึ สง่ิ จำเปน็ ในการดำรงชพี เปน็ การกระทำทผ่ี ดิ กฎหมาย ในส่วนของพลเรือน IHL เนน้ ถงึ หลักการแบง่ แยกโดยกำหนดใหเ้ ปา้ หมายทางทหารเปน็ เป้าหมายอยา่ งเดยี วทถี่ กูโจมตไี ด้ตามกฎหมาย และกฎหมายยงั คมุ้ ครองวัตถทุ จี่ ำเปน็ สำหรบั การดำรงชพี ของประชาชนพลเรอื นด้วย และห้ามไม่ให้โจมตี ทำลาย เคล่ือนย้าย หรือทำให้ส่ิงต่อไปนี้ไร้ประโยชน์ เช่น แหล่งน้ำ ระบบระบายน้ำ พ้ืนท่ีเพาะปลูกพชื พนั ธธ์ุ ญั ญาหาร พชื ผล ปศสุ ตั ว์ แหลง่ นำ้ บรโิ ภค และสงิ่ ปลกู สรา้ งทางชลประทาน รวมทง้ั สงิ่ อน่ื ๆ ทมี่ คี วามสำคญั เทา่ เทยี มกนั IHL หา้ มการกระทำดงั ทไี่ ดก้ ลา่ วมาไมว่ า่ จะมแี รงจงู ใจอยา่ งไรกต็ าม ไมว่ า่ จะเปน็ การทำใหพ้ ลเรอื นอดอาหารเพ่ือให้อพยพออกจากบริเวณนั้น หรือเพ่ือเหตุผลอื่นใดก็ตาม การบังคับให้พลเรือนต้องอดอาหารถือเป็นอาชญากรรมสงคราม สำหรบั พลรบและนกั ตอ่ สทู้ ถ่ี กู จบั IHL บญั ญตั วิ า่ พวกเขาจะตอ้ งไดร้ บั การปฏบิ ตั อิ ยา่ งมมี นษุ ยธรรม โดยคำนงึ ถงึ ชีวิตและศักดศิ์ รีของพวกเขา การทรมาน การปฏิบตั ิอยา่ งไมช่ อบ และการรังแกซ่ึงเปน็ การฝ่าฝืนสทิ ธิทส่ี ำคัญเปน็ การกระทำที่ต้องห้าม โดยต้องเคารพหลักพ้ืนฐานทางมนุษยธรรม การลิดรอนสิ่งจำเป็นข้ันพ้ืนฐานในการดำรงชีพจากพลรบหรอื นกั ต่อส้ทู ีถ่ ูกจบั ถอื ว่าเปน็ การฝ่าฝนื บรรทัดฐานมนษุ ยธรรม27. เกณฑใ์ นการบรรลุนติ ิภาวะแตกตา่ งกนั ในหลาย ๆ ประเทศทวั่ โลก บคุ คลหนง่ึ บคุ คลใด อาจมสี ถานะ เปน็ ผู้ใหญ่ในประเทศหนง่ึ และอาจเป็นเด็กในอกี ประเทศหนึ่งกไ็ ด้ กรณีเชน่ นมี้ คี วามหมายต่อกฎหมาย มนุษยธรรมอยา่ งไรบ้าง IHL ถกู บญั ญตั ขิ น้ึ มาสำหรบั สถานการณส์ รู้ บโดยเฉพาะ และไมไ่ ดม้ กี ารกลา่ วถงึ คำจำกดั ความของคำวา่ “เด็ก”ไว้แต่อยา่ งใด อนสุ ญั ญาสหประชาชาตวิ า่ ดว้ ยสทิ ธเิ ดก็ ค.ศ.1989 (CRC) ถอื วา่ ทกุ คนทอ่ี ายตุ ำ่ กวา่ 18 ปเี ปน็ เดก็ เวน้ แตใ่ นประเทศที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุน้อยกว่าน้ี CRC ไม่ได้กำหนดว่าอายุเท่าใดควรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถึงการบรรลุนิติภาวะ แต่ปล่อยให้เป็นดุลพินิจของแต่ละประเทศที่จะกำหนด อย่างไรก็ตาม การใช้ดุลพินิจในเรื่องน้ีก็มีข้อจำกัดในการกำหนดระดับอายุท่ีจะบรรลุนิติภาวะได้ โดยจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กเองเป็นสำคัญ ดังนั้นระดับอายุจะบรรลุนิติภาวะได้จะต้องไม่ต่ำเกินไป อายุย่ิงสูงเท่าใดก็จะเป็นการเพ่ิมความคุ้มครองให้แก่เดก็ มากย่งิ ขนึ้ EHL Exploring Humanitarian Law 153 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

กฎของ IHL คมุ้ ครองเดก็ จากผลกระทบของการสรู้ บโดยอาศยั คำจำกดั ความของคำว่า “เด็ก” ดังที่บญั ญตั ิไว้ในCRC นเ่ี ปน็ เหตผุ ลหนงึ่ ทปี่ ระเทศทงั้ หลายไดต้ ดั สนิ ใจเหน็ ชอบใหม้ พี ธิ สี ารเพมิ่ เตมิ ของ CRC เพอ่ื เพม่ิ อายขุ น้ั ตำ่ ของเด็กในการมีสว่ นร่วมในการสรู้ บจาก 15 ปี เป็น 18 ปี28. หากเดก็ อายุ 14 ปี คนหนงึ่ ถอื ระเบดิ มอื ทสี่ ามารถใชฆ้ า่ ทหารของฝา่ ยศตั รไู ดท้ ง้ั กลมุ่ กฎหมายมนษุ ยธรรม อนญุ าตใหใ้ ช้กำลงั กบั เดก็ เพื่อยตุ ิการกระทำดงั กล่าวหรือไม่ IHL บัญญัติถึงแนวทางในการใช้กำลังและกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความประพฤติในยามสงคราม ซ่ึงโดยทั่วไปการใช้กำลังต่อเป้าหมายทางทหารตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือวัตถุก็ตาม จะต้องเคารพหลักของความได้สัดสว่ นเสมอ หากเด็กเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ ไม่ว่าเด็กคนน้ันจะมีอายุเท่าใด ก็จะต้องสูญเสียความคุ้มครองในฐานะพลเรือนจากการถูกโจมตี และตกเป็นเป้าหมายทางทหารตามกฎหมาย ฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้กำลังได้ในกรณีน้ีแต่ต้องเคารพหลกั ของความไดส้ ัดสว่ น29. การบาดเจบ็ ทง้ั ปวงทเี่ กดิ จากการใชอ้ าวธุ ถอื วา่ เปน็ “การบาดเจบ็ ทไี่ มจ่ ำเปน็ ” หรอื ไม่ IHL เป็นกฎหมายที่ยอมรับว่าการสู้รบเกิดข้ึนได้ แต่พยายามที่จะป้องกันและลดผลกระทบที่ตามมา วัตถุประสงค์ทางทหารทช่ี อบดว้ ยกฎหมาย ภายใตก้ ฎหมายนี้ คอื การทำใหฝ้ า่ ยศตั รอู อ่ นกำลงั ลง การใชอ้ าวธุ ทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ความเจบ็ ปวด เกินกว่าสัดส่วนของประโยชน์ทางทหารตามกฎหมายถือว่าเป็น “ความเจ็บปวดท่ีไม่จำเป็น” หรืออีกนัยหน่ึง IHLไม่ห้ามการใช้อาวุธแต่พยายามกำหนดมาตรการเพื่อให้การใช้อาวุธก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กฎหมายจึงห้ามการใช้อาวุธที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากกว่าท่ีจำเป็นเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำการสู้รบอีกต่อไปได้ เพราะในยามสงคราม ความเจ็บปวดที่ไม่จำเป็นอาจเกิดจากประเภทของอาวุธหรือวิธีการในการใช้อาวุธก ไ็ ด้ IHL จึงบัญญัติรายละเอียดไว้สำหรบั สถานการณ์ตา่ ง ๆ ทอ่ี าจเกดิ ขึ้นได้30. การทำลายสภาพแวดลอ้ มระหวา่ งทมี่ กี ารพพิ าทโดยใชอ้ าวธุ เปน็ การฝา่ ฝนื กฎหมายมนษุ ยธรรมหรอื ไม่ อยา่ งไร การสรู้ บทเ่ี กดิ ขนึ้ ในหลายสบิ ปที ผ่ี า่ นมากอ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายตอ่ สภาพแวดลอ้ มในหลายรปู แบบ เชน่ กอ่ ใหเ้ กดิมลภาวะทางเคมีในพื้นดินเป็นเวลานาน มลภาวะทางทะเลและต่อชั้นของบรรยากาศ การทำให้ดินเสื่อมสภาพเน่ืองมาจากทุ่นระเบิด และส่ิงตกค้างอ่ืน ๆ หลังจากสงครามส้ินสุดลง รวมถึงการทำลายแหล่งน้ำและสิ่งจำเป็นอ่ืน ๆในการดำรงชีพ หลกั สำคญั ของการไดส้ ดั สว่ นกำหนดขอบเขตในการทำสงคราม โดยจะตอ้ งไดส้ ดั สว่ นกบั วตั ถปุ ระสงคท์ างทหารท่ี ชอบด้วยกฎหมายและเพียงเทา่ ทจ่ี ำเป็นเพื่อให้บรรลุวตั ถปุ ระสงค์ดงั กลา่ วเท่านนั้ การทำลายล้างอย่างไม่เลือกเปน็ สิง่ ต้องหา้ ม IHL บัญญัติใหใ้ ช้ความระมดั ระวงั เพือ่ ไมใ่ ห้เกดิ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างกว้างขวางและเป็นเวลายาวนาน และยังห้ามการใช้วิธีการและวิถีทางในการสงครามซ่ึงมีเจตนาหรือคาดไดว้ ่าจะก่อให้เกิดความเสียหายดงั กลา่ วดว้ ย31. การผลติ อาวธุ หรอื ภาคอตุ สาหกรรมทข่ี ายอาวธุ เปน็ การฝา่ ฝนื กฎหมายมนษุ ยธรรมหรอื ไม ่ IHL มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดความเสียหายและความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม โดยไม่เพียงแต่คุ้มครองชีวิตและศักด์ิศรีของมนุษย์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไม่อาจมีส่วนร่วมในการสู้รบได้อีกต่อไป ด้วยการห้ามหรือจำกัดวิธีการหรือวิถีทางในการสงครามบางประเภท เช่น ห้ามขายหรือผลิตอาวุธทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพในการทำลายโดยไม่จำกัดขอบเขต เพราะการใช้อาวุธประเภทนี้จะทำให้เกิดความเจ็บปวดโดยไม่จำเป็นหรือทำความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติอยา่ งกวา้ งขวางและเปน็ เวลายาวนาน ประเภทของอาวธุ ทืต่ อ้ งหา้ มอยา่ งชดั เจน คอื อาวธุ เคมแี ละ154 EHLค่มู ือการจดั กจิ กรรมยวุ กาชาด เรอื่ ง การเรียนร้กู ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหว่ือ่าเงยปารวะเชทนศ

ชีวภาพ ทุน่ ระเบิด และยงั หา้ มไมใ่ หใ้ ช้ ผลติ และขายอาวธุ ดงั กลา่ วดว้ ย อย่างไรก็ตาม มีอาวุธหลายประเภทท่ีไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามตาม IHL โดยเฉพาะอาวุธขนาดเล็กและเบา ซ่ึงไม่มีกฎหมายหา้ มการใชอ้ าวธุ ประเภทนโ้ี ดยเฉพาะ การใชอ้ าวธุ ขนาดเลก็ และเบาอยา่ งแพรห่ ลายเทา่ กบั เปน็ การสนบั สนนุ ให้มีการฝ่าฝืน IHL ง่ายข้ึน ส่งผลให้มีการทำร้ายพลเรือนบาดเจ็บเพ่ิมมากขึ้น ทำให้การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนานและยังเป็นอุปสรรคในการนำความช่วยเหลือไปสู่ผู้ประสบเคราะห์ การผลิตอาวุธดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมายและกฎหมายก็ไมไ่ ดจ้ ำกัดการใชด้ ว้ ย เนื่องจากการใช้โดยเจ้าพนักงานเพือ่ รกั ษาความสงบเรียบรอ้ ยตามกฎหมายหรือเพ่ือการปอ้ งกนั ประเทศเปน็ สงิ่ ทถี่ กู กฎหมาย อยา่ งไรกต็ ามหากไมม่ กี ารควบคมุ การโอนอาวธุ ประเภทนจ้ี ะทำใหเ้ กดิ ปญั หาท่ีแก้ไขได้ยากและอาจลุกลามไปท่ัวโลกได้ ในปี ค.ศ. 2001 สหประชาชาติได้เห็นชอบโครงการป้องกัน ปราบปรามและขจัดการคา้ อาวธุ เถือ่ นซง่ึ เป็นอาวธุ ขนาดเล็กและเบาในทุกรปู แบบ (Program of Action) โดยสนบั สนนุ ใหร้ ัฐบาลตา่ ง ๆ ดำเนนิ มาตรการใหม้ กี ารควบคมุ อาวธุ ขนาดเลก็ และเบาใหเ้ ขม้ งวดยง่ิ ขน้ึ โดยเฉพาะในระดบั ประเทศ Programof Action มผี ลผลกั ดนั ใหป้ ระเทศตา่ ง ๆ ดำเนนิ มาตรการทเ่ี พยี งพอในการควบคมุ อาวธุ ขนาดเลก็ และเบา ไมว่ า่ เกยี่ วกบั การผลิตหรือการโอน และร่างกฎหมายควบคุมกิจการค้าขายอาวุธผ่านพ่อค้าคนกลางด้วย รวมถึงการจัดการคลังอาวุธอย่างมีประสิทธภิ าพและปลอดภัย32. “สงครามที่มีความล้ำเหล่ือมกันมาก” ทำให้ขอบเขตความรับผิดชอบและความเส่ียงของแต่ละฝ่ายท่ี เกย่ี วขอ้ งในการสรู้ บเปลยี่ นแปลงไปหรอื ไม่ “สงครามที่มีความล้ำเหล่ือมกันมาก” หมายถึง สถานการณ์การสู้รบซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ท่ีเข้าสู้รบกันมีศักยภาพแตกต่างกันมาก ไม่เพียงแต่ในด้านกองกำลังแต่รวมถึงความสามารถทางด้านวิทยาการและทางอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยเราจะเหน็ ความลำ้ เหลอื่ มระหวา่ งฝา่ ยตา่ ง ๆ ในการสรู้ บทเ่ี กดิ ขน้ึ ในปจั จบุ นั มากขน้ึ เรอื่ ย ๆ อนั มสี าเหตหุ ลกั สองประการ คอืประเทศตา่ ง ๆ ไดพ้ ฒั นาศกั ยภาพของกองทพั ใหส้ งู ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ และกลมุ่ ตดิ อาวธุ เขา้ มารว่ มในการสรู้ บเพม่ิ มากขนึ้ ฝ่ายท่ีอ่อนแอกว่าจึงหันไปใช้กลยุทธ์ที่ผิดกฎหมายเพื่อท่ีจะได้เปรียบคู่ต่อสู้ เช่น โจมตีพลเรือนโดยตรง ใช้มนุษย์เป็นโล่กำบัง จับตัวเป็นประกัน และใช้สัญลักษณ์ในทางท่ีไม่ชอบ เป็นต้น ขณะเดียวกันฝ่ายทหารที่มีศักยภาพเหนือกว่าแต่ต้องเผชิญกับวิธีการโจมตีแบบไม่เลือกของฝ่ายศัตรู อาจใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายมาโต้ตอบ เช่น การโจมตีโดยไม่คำนงึ ถึงสัดส่วน การใชว้ ธิ กี ารสอบสวนทไี่ มช่ อบด้วยกฎหมาย รวมทั้งใช้อาวุธทต่ี ้องหา้ มตามกฎหมายด้วย ภยนั ตรายทจ่ี ะเกดิ ขน้ึ คอื ฝา่ ยตา่ ง ๆ ในการสรู้ บอาจเหน็ วา่ IHL เปน็ อปุ สรรคในการสรู้ บ และอาจทำใหม้ กี ารละเลยกฎหมายได้ในที่สุด ส่ิงท่ีพึงต้องตระหนัก คือ แม้ว่าในการสู้รบแต่ละฝ่ายจะมีศักยภาพท่ีล้ำเหล่ือมกันมาก กฎหมายยังคงมีผลบังคับใช้และผูกพันให้ทุก ๆ ฝ่ายต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นทุกฝ่ายในการสู้รบต้องหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้ความรนุ แรงต่อกนั อย่างไม่มีขดี จำกดั ซึง่ มีผลมาจากการสงครามที่มคี วามลำ้ เหล่อื มกันมาก33. กฎหมายมนษุ ยธรรมบงั คบั ใชก้ บั “สงครามตอ่ ตา้ นการกอ่ การรา้ ย” หรอื ไม?่ “การกอ่ การรา้ ย” เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง สงครามไม่สามารถเกิดข้ึนกับปรากฏการณ์ได้ทั้งในทางปฏิบัติและในทางกฎหมาย แต่เกิดได้กับฝ่ายท่ีมีตัวตนแน่นอนเท่านั้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการสู้รบ ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพพิ าทกันโดยใชอ้ าวธุ ระหว่างประเทศ คือ ประเทศสองประเทศหรือกว่าน้นั ขึ้นไป (หรือระหว่างรัฐบาลและกลุม่ต่อส้เู พือ่ เอกราช) ในการพิพาทกันโดยใชอ้ าวุธทีไ่ ม่ใช่ระหว่างประเทศ ฝา่ ยตา่ ง ๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ งอาจเป็นรัฐบาลและกลมุ่ติดอาวธุ หรอื เพยี งแต่กลุ่มตดิ อาวธุ ตอ่ สู้กันเอง ไม่วา่ กรณหี นงึ่ กรณใี ดท่ไี ด้กล่าวมา ฝ่ายทเี่ ขา้ รว่ มในการพพิ าทกันโดยใช้อาวธุ จะตอ้ งมรี ูปแบบคลา้ ยทหารและมีการจัดตง้ั เป็นระบบใดระดบั หน่ึง มโี ครงสรา้ งของการบงั คบั บญั ชาและมคี วามสามารถในการเคารพและใหส้ มาชกิ ในกล่มุ เคารพ IHL IHL เป็นกฎหมายระหว่างประเทศสาขาหนง่ึ ซึง่ บงั คบั ใชเ้ มอื่ ความรุนแรงจากการใช้อาวุธถงึ ระดบั ของการพพิ าทกนัโดยใช้อาวธุ (เมอ่ื มขี ้อพิพาทระหว่างฝา่ ยท่ขี ดั แยง้ กนั ซงึ่ นำไปสกู่ ารใช้อาวุธต่อสู้กนั ) ไม่ว่าจะมลี กั ษณะระหว่างประเทศหรือไม่ใช่ระหวา่ งประเทศEHL Exploring Humanitarian Law 155 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

หากการใช้อาวุธต่อสู้กันมีความรุนแรงถึงขนาดเป็นการพิพาทกันโดยใช้อาวุธและฝ่ายต่าง ๆ ท่ีเข้ามาเกี่ยวข้อง สามารถกำหนดตัวได้อย่างแน่นอน เมื่อน้ัน IHL จะมีผลบังคับใช้ IHL ห้ามไม่ให้นำวิธีการก่อการร้ายมาใช้ในการ พพิ าทกนั โดยใช้อาวุธ (เชน่ การโจมตพี ลเรอื น “การลอ่ ลวงทผ่ี ดิ กฎหมาย” การปลอมตัวเป็นพลเรือนขณะตอ่ สู้) และยงั ห้ามไม่ใหใ้ ชม้ าตรการหรือการกระทำท่เี ป็นการกอ่ การร้ายดว้ ย อนสุ ัญญาเจนีวาฉบบั ท่ีสบี่ ญั ญตั วิ า่ “การลงโทษแบบ รวมหมู่ และมาตรการทเี่ ปน็ การขม่ ขู่ หรอื การกอ่ การรา้ ยเปน็ สง่ิ ตอ้ งหา้ มตามกฎหมาย” หากกระทำตอ่ บุคคลซ่งึ ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่สามารถทำการสู้รบได้อีกต่อไป พิธีสารเพ่ิมเติมฉบับที่ 1 และ 2 ห้ามการกระทำอันมุ่งท่ีจะก่อให้ เกิดความหวาดกลัวระหว่างประชากรพลเรอื น (เช่น การทิง้ ระเบิดในเมอื งหรอื การลอบสังหาร) หากการกอ่ การรา้ ยเกดิ ขน้ึ นอกสถานการณก์ ารพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ IHL กไ็ มม่ ผี ลบงั คบั ใช้ แตก่ ฎหมายระหวา่ ง ประเทศและกฎหมายภายในประเทศท่ีเก่ียวข้องจะมีผลบังคับใช้ โดยเจ้าหน้าท่ีในประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ มีวิธีการต่าง ๆ มากมายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดข้ึน ไม่ว่าจะเป็นการข่าวกรอง การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหรือ ความร่วมมือทางกฎหมาย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การลงโทษทางอาญา การสืบสวนแหล่งเงินของกลุ่มก่อการร้าย และการใช้มาตรการกดดันทางเศรษฐกจิ กบั ประเทศท่ีถกู กลา่ วหาว่าให้การสนบั สนุนผกู้ ่อการรา้ ย 34. หากฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืนกฎหมายมนุษยธรรมในระหว่างสงคราม อีกฝ่ายหนึ่งสามารถใช้วิธีเดียวกันโต้ตอบ ไดห้ รอื ไม่ IHL แตกต่างกบั กฎหมายระหวา่ งประเทศสาขาอน่ื ๆ เพราะไมไ่ ด้มไี ว้เพ่อื คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐ แตม่ ไี ว้เพ่อื ค้มุ ครองมนุษยจ์ ากความเสียหายท่ีเกิดจากสงคราม เพอื่ ให้บรรลวุ ตั ถุประสงคด์ งั กลา่ ว IHL จึงถือไดว้ ่าเปน็ กฎหมายที่ จำเป็นที่สุดโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการสู้รบไม่ต้องคำนึงว่าอีกฝ่ายหน่ึงจะปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ หน้าที่นี้ได้ถูก บัญญตั ไิ วใ้ นข้อ 1 รว่ มของอนสุ ญั ญาเจนีวาท้ังสฉ่ี บบั ว่าทกุ ฝ่ายจะต้องเคารพกฎหมาย “ไมว่ า่ ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม” ดงั น้นั การที่ฝา่ ยหนงึ่ ได้ฝา่ ฝนื กฎหมายไมอ่ าจถกู นำมาอ้างความชอบธรรมโดยกระทำการฝ่าฝนื กฎหมายเพื่อ เป็นการโต้ตอบได้ 35. มสี ถานการณใ์ ดบ้างท่ีพลเรือนหรือวัตถขุ องพลเรอื นอาจตกเป็นเปา้ หมายของการโจมตี โดยท่ัวไปพลเรือน (ผู้ซึ่งไม่ใช่พลรบ) ได้รับความคุ้มกันจากการถูกโจมตีภายใต้ IHL อย่างไรก็ตาม พลเรือน ที่เข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบจะสูญเสียความคุ้มครองจากการถูกโจมตีตราบเท่าท่ียังคงมีส่วนร่วมโดยตรงในการ สู้รบอยู่ กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้ห้ามพลเรือนเข้ามีส่วนร่วมในการสู้รบ แต่พลเรือนอาจถูกดำเนินคดีตาม กฎหมายภายในประเทศสำหรับการกระทำน้ันได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะของบุคคล กฎหมายให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าบุคคลนัน้ เปน็ พลเรือน วัตถุของพลเรือนคือวัตถุใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่วัตถุซึ่งเป็นเป้าหมายทางทหาร แต่เมื่อพิจารณาจากลักษณะ ทีต่ ั้ง ความมงุ่ ประสงค์ หรอื การใชข้ องวตั ถนุ ้นั ประกอบกนั แล้วไม่กอ่ ให้เกดิ ประโยชน์ทางทหารได้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ และหากมีการยึด ทำลายวัตถุเหล่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือทำให้วัตถุนั้นใช้การไม่ได้ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทางทหารที่แน่นอนด้วย IHL ห้ามไม่ให้โจมตีวัตถุของพลเรือน อย่างไรก็ตามหากวัตถุของพลเรือนถูกนำมาใช้เพ่ือ วัตถุประสงค์ทางทหาร วัตถุน้ันก็จะสูญเสียความคุ้มครองจากการถูกโจมตีและอาจกลายเป็นเป้าหมายทางทหารได้ ในกรณีที่ยังมีข้อสงสัยเก่ียวกับวัตถุท่ีปกติใช้ประโยชน์เพ่ือพลเรือนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าวัตถุน้ันเป็นวัตถุพลเรือน และต้องละเวน้ ไมโ่ จมตี 36. การกระทำลกั ษณะใดคอื “การมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ” แนวความคดิ ของการมสี ว่ นรว่ ม “โดยตรง” หรอื “อยา่ งกระตอื รอื รน้ ” ในการสรู้ บปรากฏอยใู่ นหลายมาตราของ IHL แต่อนุสัญญาเจนีวาทั้งสี่ฉบับและพิธีสารเพิ่มเติมไม่ได้ให้คำจำกัดความไว้ ปัจจุบันพลเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในการสู้ รบมากขึ้นเร่ือย ๆ ท้ังในการสู้รบระหว่างประเทศหรือไม่ใช่ระหว่างประเทศ รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารก็ได้156 EHLคู่มือการจดั กจิ กรรมยุวกาชาด เรื่อง การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหว่อื า่ เงยปารวะเชทนศ

เปล่ียนแปลงจากเดิมท่ีได้กระทำกันในสนามรบมาสู่ท่ามกลางบริเวณที่มีพลเรือนอาศัยอยู่ ทำให้การแบ่งแยกระหว่างพลเรอื นทมี่ สี ว่ นรว่ มในการสรู้ บออกจากพลเรือนทไ่ี ม่เกย่ี วขอ้ งมีความสำคัญมากยิ่งขน้ึ การค้นหาความชัดเจนของคำว่า “การมสี ว่ นรว่ มโดยตรงในการสรู้ บ” จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพ่ือให้สามารถกำหนดขอบเขตของความประพฤตแิ ละกิจกรรมที่อาจทำให้พลเรอื นตอ้ งสูญเสียความคมุ้ กนั จากการถกู โจมตไี ด้ ผู้เชี่ยวชาญยังคงหารือกันเก่ียวกับความหมายทางกฎหมายของวลีน้ี และยังไม่สามารถกำหนดประเภทของการกระทำของ “การมสี ว่ นรว่ มโดยตรงในการสรู้ บ” ได้อย่างแน่นอนว่ามีกี่ประเภทบ้าง ในการกำหนดว่าการกระทำใดเข้าลักษณะเป็นการมสี ว่ นร่วมโดยตรงในการสู้รบจะตอ้ งพิจารณาปัจจยั ดงั ตอ่ ไปน้ี คือ • การกระทำน่าจะก่อให้เกิดภยันตราย (ต้องมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางทหารหรือความสามารถของฝ่าย ศัตรู หรือตอ้ งเปน็ เหตุใหต้ าย บาดเจ็บ หรือเปน็ การทำลายบคุ คลหรอื วตั ถตุ ่าง ๆ) และ • จะต้องมคี วามเชือ่ มโยงโดยตรงระหว่างการกระทำและภยันตรายอนั มีผลมาจากการกระทำน้ัน และ • การกระทำน้ันต้องมเี จตนาโดยเฉพาะเพื่อสนบั สนนุ ฝา่ ยหน่งึ ในการสรู้ บโดยกอ่ ให้เกิดภยันตรายแก่อกี ฝ่ายหนึ่ง37. มกี รณีใดบา้ งท่พี ลรบไม่ต้องตกเป็นเปา้ หมายทางทหารทช่ี อบด้วยกฎหมาย โดยปกติพลรบถือว่าเป็นเป้าหมายทางทหารท่ีชอบด้วยกฎหมาย แต่ในบางสถานการณ์พวกเขาได้รับความคมุ้ ครองภายใต้ IHL จากการถกู โจมตโี ดยตรง สงิ่ ทส่ี ำคญั คอื หากพลรบไมส่ ามารถทำการสรู้ บไดอ้ กี ตอ่ ไป (เชน่ ยอมแพ้บาดเจ็บ ป่วย ต้องเรอื อบั ปาง ถูกกกั กนั เปน็ ตน้ ) และตราบเทา่ ทีย่ ังอยใู่ นสภาพเชน่ น้นั การเปน็ เป้าหมายทางทหารท่ีชอบด้วยกฎหมายต้องยุติลง และต้องได้รับความคุ้มครองจากการถูกโจมตีโดยตรง พลรบท่ีไม่ได้ออกจากการสู้รบจะยังคงตกเป็นเป้าหมายทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมายต่อไป แม้ว่าขณะน้ันพวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบก็ตาม (เช่น ขณะออกเวร ระหว่างลาพัก กำลังนอนหลับ เป็นต้น) หรืออีกนัยหนึ่งขณะที่พลรบไม่ได้หมดสภาพของการเป็นพลรบเขายังคงถูกโจมตีโดยตรงได้ทุกขณะ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าพลรบจะต้องถูกฆ่าเท่าน้ันโดยไม่คำนึงถึงเหตผุ ลอน่ื ๆ การโจมตีพลรบไม่ว่าด้วยวิธีใดจะต้องเป็นไปตามหลักของการแบ่งแยก การใช้ความระมัดระวัง และหลักของความไดส้ ดั สว่ น รวมทงั้ ขอ้ จำกดั ของวธิ กี ารและวถิ ที างอน่ื ๆ ตามท่ี IHL กำหนดไว้ ยง่ิ ไปกวา่ นี้ ปฏญิ ญาเซนตป์ เี ตอรส์ เบริ ก์ค.ศ. 1868 บญั ญตั วิ า่ วตั ถปุ ระสงคท์ ช่ี อบดว้ ยกฎหมายในการสรู้ บ คอื การทำใหก้ องกำลงั ทหารของฝา่ ยศตั รู “ออ่ นแอ” ลงโดยไมจ่ ำเปน็ ตอ้ ง “ฆา่ ใหต้ ายอยา่ งแนน่ อน” หลกั การของประมวลกฎหมายลเี บอร์ ค.ศ. 1863 ซง่ึ ไดถ้ กู นำมากำหนดไว้ในคู่มือทหารหลายฉบับในปัจจุบันก็บัญญัติไว้คล้ายกันอย่างชัดเจนว่า หลักการพื้นฐานของความจำเป็นทางทหารภายใต้ IHL ถือว่าการกระทำทช่ี อบธรรม คอื “มาตรการต่าง ๆ ทไ่ี ม่อาจหลกี เลยี่ งได้เพื่อบรรลวุ ัตถปุ ระสงค์สุดท้ายของสงคราม และตอ้ งถูกต้องตามกฎหมายและแนวปฏบิ ัตใิ นสงครามสมัยใหมด่ ว้ ย” ดังน้ัน แม้ว่าพลรบจะไม่หมดสภาพของพลรบ ระดับและประเภทของกำลังที่ถูกนำมาใช้โจมตีพลรบควรจำกัดเพยี งเทา่ ที่จำเป็นอยา่ งมเี หตุผลเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทช่ี อบดว้ ยกฎหมายทางทหารเทา่ น้นั เชน่ ขณะทพี่ ลรบไม่อยูใ่ นสภาพท่ีจะต่อสู้ได้ก็ควรทำการจับกุมเพราะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ เหตุผลทางมนุษยธรรมกำหนดให้จับตัวเป็นเชลยแทนที่จะฆ่าท้ิง หากเป็นเช่นน้ีหลักท่ีว่าความมุ่งประสงค์ทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมายคือการทำให้กองกำลังทหารของฝา่ ยศตั รอู อ่ นกำลงั ลงกเ็ กดิ ขนึ้ ได้ โดยไมต่ อ้ งทำอนั ตรายพลรบหากไมม่ เี หตจุ ำเปน็ แตอ่ ยา่ งใดในสถานการณเ์ ชน่ นน้ั 38. มกี รณใี ดบา้ งทบ่ี รษิ ทั ทหารหรอื บรษิ ทั รกั ษาความปลอดภยั ของเอกชนมสี ถานะเปน็ “พลเรอื น” หรอื “พลรบ” หากพนักงานของบริษัททหารเอกชน (PMC) หรือบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน (PSC) เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพของรัฐ ก็จะตกอยู่ในประเภท “พลรบ” และกลายเป็นเป้าหมายทางทหารที่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตามรัฐอาจจัดจ้างบุคคลภายนอกให้มาทำหน้าท่ีปกติของกองทัพเพ่ือเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในกรณีเช่นน้ีพนักงานของPMC และ PSC ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพของรัฐและตกอยู่ในประเภท “พลเรอื น” เม่ือมีสถานะเป็นพลเรือนEHL Exploring Humanitarian Law 157 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ย่อมต้องไม่ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี อย่างไรก็ตามพวกเขาอาจสูญเสียความคุ้มกันจากการถูกโจมตีได้ดังเช่น พลเรือนทัว่ ไป ตราบเท่าที่การกระทำของพวกเขาถือวา่ เปน็ การมสี ่วนรว่ มโดยตรงในการสู้รบ พนกั งานของ PMC และ PSC ตอ้ งเคารพ IHL ขณะปฏบิ ตั หิ นา้ ทใี่ นการสรู้ บ หากฝา่ ฝนื IHL กต็ อ้ งมคี วามรบั ผดิ อาญา สำหรบั ความผดิ ทไี่ ดก้ อ่ ขน้ึ ไมว่ า่ พวกเขาจะถกู จา้ งโดยรฐั องคก์ ารระหวา่ งประเทศ เอน็ จโี อ หรอื บรษิ ทั เอกชนกต็ าม 39. ทหารควรปฏิบัติตนอย่างไรหากได้รับคำสั่งที่ฝ่าฝืนกฎหมายมนุษยธรรม ทหารผู้น้ันจะต้องรับผิดชอบ ตอ่ การกระทำตามคำสง่ั นนั้ หรอื ไม่ ทหารต้องรู้กฎพื้นฐานของ IHL เพอ่ื สามารถแยกแยะระหว่างคำส่ังที่ถกู กฎหมายและผิดกฎหมายได้อย่างชัดเจน การเชอ่ื ฟังคำสัง่ ไม่เปน็ ขอ้ แกต้ ัวสำหรับการกอ่ อาชญากรรมสงครามหรือการกระทำที่ฝา่ ฝืน IHL หากทหารไดร้ ับคำส่งั ทผ่ี ดิ กฎหมายอยา่ งชดั เจน ทหารคนนน้ั ตอ้ งปฏเิ สธไมป่ ฏบิ ตั ติ ามคำสงั่ นน้ั หากยงั คงเชอ่ื ฟงั คำสงั่ ทผี่ ดิ กฎหมายกจ็ ะตอ้ ง มคี วามรับผดิ สว่ นตวั สำหรบั การฝ่าฝืน IHL ทไี่ ดก้ อ่ ข้ึน 40. ผบู้ งั คบั บญั ชาควรทำอยา่ งไรหากทหารใตบ้ งั คบั บญั ชาของตนไดก้ อ่ อาชญากรรมสงครามขน้ึ ผบู้ งั คบั บญั ชา จะตอ้ งรบั ผดิ ชอบตอ่ การกระทำของทหารผนู้ น้ั หรอื ไม่ หากผู้บังคับบัญชารู้หรืออยู่ในฐานะที่ควรรู้ว่าทหารของเขากำลังก่อหรือจะก่ออาชญากรรมสงคราม เขาจะต้อง ดำเนินมาตรการทั้งปวงภายในอำนาจของตนเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการก่ออาชญากรรมน้ัน ๆ หรือ เสนอให้มี การสืบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิด หากเขาละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวเขาก็ต้องมีความรับผิดชอบสำหรับ อาชญากรรมสงครามทีเ่ กดิ ขนึ้ จากการกระทำของทหารของเขา (และทหารเองกต็ อ้ งรบั ผดิ ชอบด้วยแน่นอน) 41. “ความยตุ ธิ รรมในชว่ งทมี กี ารเปลยี่ นแปลง” มสี ว่ นชว่ ยแกป้ ญั หาของผลทเ่ี กดิ จากสงครามไดอ้ ยา่ งไร “ความยตุ ธิ รรมในชว่ งทมี่ กี ารเปลยี่ นแปลง” หมายถึง กลไกต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรม สันติภาพ ความปรองดอง อันมีผลมาจากการฝ่าฝืน IHL และกฎหมายสิทธิมนุษยชน กลไกเหล่านี้มักถูกนำมาใช้ใน ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสงครามไปส่สู นั ติภาพ หรอื จากระบอบเผด็จการไปสรู่ ะบอบประชาธปิ ไตย กลไกของความยุติธรรมในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นกลไกทางกฎหมายหรือไม่ใช่กฎหมายก็ได้ ซ่ึงอาจจะ เกยี่ วกบั ภารกจิ หลายอยา่ ง เชน่ การสบื สวนและลงโทษอาชญากรรมสงครามและการละเมดิ สทิ ธมิ นษุ ยชน การบรรเทา ความเสียหายและการส่งเสรมิ ใหเ้ กดิ ความปรองดองกนั ระหว่างผ้กู ระทำความผิดและผเู้ สียหาย เพอ่ื ให้มกี ารเสริมสร้าง สงั คมขน้ึ มาใหม่และเป็นการป้องกันการฝ่าฝืนท่อี าจเกิดขนึ้ อกี ในอนาคต กลไกท่ีถูกนำมาใช้บ่อยที่สุดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ตุลาการผสมระหว่างศาลอาญาภายในและระหว่าง ประเทศ คณะกรรมการแสวงหาข้อเทจ็ จริงและส่งเสรมิ ความปรองดอง และการกระทำเพือ่ บรรเทาความเสยี หาย เชน่ การทำใหก้ ลับสู่สถานะเดมิ การชดเชยทางการเงนิ การฟนื้ ฟู และมาตรการอน่ื ๆ เพอื่ ให้เกิดความพงึ พอใจ 42. นริ โทษกรรมและการใหอ้ ภัยแตกต่างกนั อย่างไร นิรโทษกรรม คือ การกระทำทางกฎหมายหรือทางบริหารซ่ึงรัฐห้ามดำเนินคดีอาญากับกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม สำหรับการกระทำที่โดยปรกติเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศ กลไกทางกฎหมายน้ี มุ่งหมายจะยุติความเกลียดชังเพ่ือประโยชน์ในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ นิรโทษกรรมมีผลมากกว่า “การให้อภัย” (ซ่ึงเพียงยกเว้นให้อาชญากรไม่ต้องรับโทษทั้งหมดหรือที่ยังเหลืออยู่โดยไม่ได้ลบล้างความผิด) เพราะเป็นการลบล้างผลของกฎหมายท้ังปวงทีเ่ กดิ จากการกระทำความผิดให้หมดสน้ิ ไป การให้อภัยไม่ใช่กลไกทางกฎหมายแต่เป็นกระบวนการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาท่ีเกิดจากการกระทำความผิด ดว้ ยเหตผุ ลทางสงั คมหรือทางศีลธรรม158 EHLคมู่ อื การจัดกิจกรรมยุวกาชาด เร่ือง การเรียนร้กู ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวอื่ ่าเงยปารวะเชทนศ

43. การใหน้ ิรโทษกรรมสามารถกระทำไดก้ บั อาชญากรรมทกุ ประเภทหรือไม?่ ไม่ได้ การให้นิรโทษกรรมต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตาม IHL หรือกฎหมายสิทธิมนุษยชนของรัฐ หรือต่อการลงโทษผู้กระทำความผิดท่ีเกิดข้ึน กฎหมายระหว่างประเทศมีข้อยกเว้นห้ามไม่ให้นิรโทษกรรมสำหรับความผิดบางประเภท ประการแรก รัฐมีหน้าท่ีในการปราบปรามการฝ่าฝืน IHL ทัง้ ปวง และยงั มีหน้าท่ตี ้องดำเนินคดีผู้กอ่ อาชญากรรมสงคราม หรืออาจต้องส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนในบางกรณี รวมท้ังผู้ท่ีกระทำความผิดอันเป็นการละเมิดอันร้ายแรงภายใต้อนุสัญญาเจนีวาทั้งส่ีฉบับ (ตามท่ีกำหนดไว้ในกฎหมายสนธิสัญญา) หรือการฝ่าฝืนท่ีร้ายแรงอื่น ๆ ตาม IHL(ในสว่ นทเี่ ป็นกฎหมายจารตี ประเพณ)ี ดว้ ย รัฐยังมีหน้าที่ดำเนินคดีหรือส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อผู้ท่ีถูกกล่าวหาว่าได้ทำความผิดฝ่าฝืนกฎหมายสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงตามที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาหลายฉบับ เช่น การทรมาน การทำลายล้างเผ่าพันธ์ุ การบังคับแรงงานการเหยยี ดผวิ และการจบั ตวั เปน็ ประกนั ยง่ิ ไปกวา่ นี้ ธรรมนญู กรงุ โรมสำหรบั ศาลอาญาระหวา่ งประเทศ (ICC) เตอื นให้รัฐใช้เขตอำนาจทางอาญาต่อผู้ก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงความผิดดังต่อไปนี้ คือ การทำลายล้างเผา่ พนั ธ์ุ อาชญากรรมตอ่ มนษุ ยชาติ และอาชญากรรมสงคราม รัฐไมอ่ าจให้นริ โทษกรรมกับผู้ที่ไดก้ อ่ อาชญากรรมตา่ ง ๆ ดงั ทีไ่ ด้กลา่ วมาขา้ งตน้ เพราะจะเปน็ การฝ่าฝืนหนา้ ท่ีของรัฐภายใต้ IHL และกฎหมายสทิ ธิมนุษยชนดว้ ย อย่างไรก็ตาม รฐั อาจให้นิรโทษกรรมไดใ้ นบางกรณี เชน่ อาชญากรรมทางการเมอื ง ซง่ึ รวมถงึ การทรยศ การกอ่ ความไมส่ งบหรอื การกอ่ กบฏ และสำหรบั พลเรอื นทม่ี สี ว่ นรว่ มโดยตรงในการสรู้ บ44. การใหน้ ริ โทษกรรมจะถกู เพกิ ถอนไดห้ รอื ไม่ หากปรากฏขอ้ เทจ็ จรงิ ในภายหลงั วา่ มกี ารปกปดิ ความจรงิ บางประการ การให้นริ โทษกรรมอาจถูกเพกิ ถอนไดใ้ นบางกรณี อย่างไรกต็ าม การใหน้ ิรโทษกรรมก็ไม่ใชส่ ่ิงที่ใหก้ ันงา่ ย ๆ หรอื ถูกเพิกถอนได้ง่าย ๆ เช่นกัน การตัดสินใจเพิกถอนนิรโทษกรรมจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดข้ึนต่อสังคมหรือต่อก ระบวนการทางกฎหมายหรอื กระบวนการอนื่ ๆ ที่กำลังดำเนนิ อยู่45. ข้อโต้แย้งที่ว่าเม่ือศาลใช้เขตอำนาจสากลต่อความผิดท่ีเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศบางประเภท ถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอ่ืน หากเป็นเช่นนี้จริงจะถือว่าเป็นการละเมิด อำนาจอธปิ ไตยของประเทศอ่ืนด้วยหรือไม่ ประชาคมระหว่างประเทศได้ตกลงกันว่าอาชญากรรมระหว่างประเทศบางประเภทมีความร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อประชาคมระหว่างประเทศท้ังปวง จึงเป็นความรับผิดชอบของรัฐท่ีจะต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอาชญากรรมประเภทแรกที่รัฐมีสิทธิใช้เขตอำนาจสากล คือ โจรสลัด ต้ังแต่ช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ด รัฐต่าง ๆ ได้ตกลงช่วยกันต่อสู้กับอาชญากรรมประเภทนี้ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อประชาคมระหว่างประเทศโดยรวม และหลักนี้ได้พัฒนาต่อมาเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในปัจจุบันอาชญากรรมระหว่างประเทศท่ีรัฐสามารถใช้เขตอำนาจสากลครอบคลุมถึงความผิดดังต่อไปนี้ คือการละเมิดอันร้ายแรงตามอนุสัญญาเจนีวาทั้งส่ีฉบับ การทรมาน(ตามอนสุ ัญญาสหประชาชาติตอ่ ตา้ นการทรมาน ค.ศ.1984) การบงั คบั ให้คนสูญหาย (ตามอนุสญั ญาสหประชาชาติตอ่ ตา้ นการบงั คบั ใหค้ นสญู หาย ค.ศ. 2006) การทำลายลา้ งเผา่ พนั ธ์ุ และอาชญากรรมตอ่ มนษุ ยชาติ (ตามหลกั กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ) เหตุผลหลักของการใช้เขตอำนาจสากลสำหรับอาชญากรรมดังกล่าว คือ ไม่ควรให้ผู้กระทำความผิดมีที่พักพิงและรอดพ้นจากการต้องรับโทษได้ (แม้ว่าในประเทศท่ีมีเขตอำนาจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้แต่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถใช้อำนาจน้ันก็ตาม เช่น เขตอำนาจตามหลักดินแดนหรือหลักบุคคล) การใช้เขตอำนาจสากลอาจถูกมองว่ารัฐต่างประเทศเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอธิปไตยอีกประเทศหน่ึงต่อความผิดที่เกิดข้ึนในดินแดนของเขา หรือผู้กระทำความผิดหรือผู้เสียหายมีสัญชาติของประเทศเขา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาชญากรรมEHL Exploring Humanitarian Law 159 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ระหว่างประเทศเป็นความผิดท่ีมีความร้ายแรงมาก ประชาคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่จึงได้ตกลงกันว่าทุกรัฐควรยอม จำกัดอธิปไตยของตนบางส่วน เพราะการแทรกแซงโดยใช้เขตอำนาจดำเนินคดีดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำในนาม ของรฐั ทงั้ ปวง การอนุญาตให้รัฐใช้เขตอำนาจสากลจงึ เป็นมาตรการเพิ่มเตมิ ในการปอ้ งกันการกอ่ อาชญากรรมท่ีร้ายแรง อกี ทางหน่งึ 46. หลกั ห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังมคี วามสำคัญอยา่ งไร การห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ โดยไม่ให้ผู้ใดต้อง รับผิดสำหรับการกระทำทผ่ี ิดกฎหมายเวน้ แต่กฎหมายไดบ้ ญั ญตั ไิ ว้ก่อนแล้วว่าการกระทำนนั้ เปน็ การกระทำความผดิ หลักน้ีอาจไม่ปรากฏตามกฎหมายภายในของบางประเทศ แต่ปัจเจกบุคคลอาจมีความรับผิดทางอาญาอันเกิดจาก การกระทำของตนภายใตก้ ฎหมายระหวา่ งประเทศทเ่ี ปน็ สนธสิ ญั ญาหรอื ทเี่ ปน็ จารตี ประเพณี เชน่ คดที ศ่ี าลนเู รม็ เบริ ก์ วนิ จิ ฉยั วา่ การทจี่ ำเลยยกขอ้ ตอ่ สวู้ า่ มกี ารบงั คบั ใชก้ ฎหมายยอ้ นหลงั กบั เขา ศาลเหน็ วา่ ความผดิ ทจ่ี ำเลยถกู กลา่ วหาวา่ เปน็ ความผดิ ตามกฎหมายจารตี ประเพณรี ะหวา่ งประเทศ ดงั นนั้ แมว้ า่ การกระทำทถี่ กู กลา่ วหาไมต่ อ้ งหา้ มตามกฎหมายภาย ในหรือกฎหมายระหวา่ งประเทศท่เี ป็นสนธิสญั ญากไ็ ม่เป็นอปุ สรรคในการดำเนินคดกี ับจำเลย 47. เขตอำนาจของศาลอาญาระหวา่ งประเทศซง่ึ เปน็ ศาลถาวร (ICC) มคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั ศาลอาญาเฉพาะกจิ สำหรับอดีตประเทศยูโกสลาเวีย (ICTY) และศาลอาญาเฉพาะกิจสำหรับประเทศรวันด้า (ICTR) อย่างไร ประเด็นนี้ได้มีกล่าวถึงหลังจากได้มีการก่อตั้ง ICC ข้ึนเม่ือไม่นานมานี้ ส่วนหนึ่งเพราะว่าศาลน้ีถูกตั้งขึ้นเพ่ือ ดำเนนิ คดีกบั อาชญากรรมทร่ี า้ ยแรงท่ีสุด ไม่วา่ ความผิดนั้นได้เกิดข้ึน ณ ทใ่ี ดก็ตาม ICTR มีข้อจำกัดของระยะเวลาโดยมีเขตอำนาจดำเนินคดีกับความผิดที่ได้เกิดขึ้นในรวันด้าในช่วงปี ค.ศ. 1994 เทา่ นน้ั สว่ น ICC มเี ขตอำนาจดำเนนิ คดสี ำหรบั อาชญากรรมระหวา่ งประเทศนบั แตเ่ วลาทศี่ าลไดต้ งั้ ขนึ้ เทา่ นน้ั คอื นบั แต่ เดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2002 เป็นต้นไป ดังน้ันจงึ ไม่มปี ญั หาเกีย่ วกับการใชเ้ ขตอำนาจซ้ำซอ้ นกันระหว่างศาลทั้งสอง ICTR ยงั คงดำเนนิ คดีผ้ถู ูกกล่าวหาทงั้ หมดจนเสรจ็ สนิ้ กระบวนการและจะไม่อยภู่ ายใต้เขตอำนาจของ ICC แต่อยา่ งใด สำหรับ ICTY เป็นศาลเปิด กล่าวคือ ศาลมีเขตอำนาจดำเนินคดีกับอาชญากรรมบางประเภทท่ีได้เกิดขึ้นในอดีต ประเทศยูโกสลาเวียต้ังแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นไป ดังนั้นจึงมีความซ้ำซ้อนกับ ICC ซ่ึงมีเขตอำนาจตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2002 แตใ่ นทางปฏบิ ตั ิ ICTY จะมเี ขตอำนาจตามหลกั ดนิ แดนโดยมสี ทิ ธดิ ำเนนิ คดกี บั บคุ คลใดกต็ าม ท่ีมีความผิดสำหรบั การก่ออาชญากรรมระหวา่ งประเทศทไ่ี ด้เกดิ ขนึ้ ในดนิ แดนของอดตี ประเทศยูโกสลาเวีย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของศาลเฉพาะกิจท้ังสองแห่งจะเสร็จสิ้นในไม่ช้านี้ ความผิดที่เกิดขึ้นภายหลังเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และหากไมม่ ีรัฐใดดำเนนิ คดีกบั ผ้กู ระทำความผิด ICC ก็เปน็ ศาลที่สามารถดำเนนิ คดีได้ 48. ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) มีอำนาจพิจารณาคดีความผิดเก่ียวกับการประทุษร้ายทางเพศ และการก่อการรา้ ยหรือไม?่ ICC มีเขตอำนาจดำเนินคดีกับความผิดดังต่อไปน้ี คือ การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และ อาชญากรรมสงคราม ดงั นน้ั ศาลนอ้ี าจดำเนนิ คดผี กู้ ระทำการประทษุ รา้ ยทางเพศ และผกู้ อ่ การรา้ ยได้ เพราะความผดิ ท้ังสองประเภทนเ้ี ข้าขา่ ยเปน็ ความผดิ ภายในเขตอำนาจศาล (เช่น การประทษุ ร้ายทางเพศหลายรปู แบบถกู กำหนดให้ เปน็ อาชญากรรมสงครามและเป็นอาชญากรรมตอ่ มนุษยชาติด้วย) 49. ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) และศาลยุติธรรมระหวา่ งประเทศ (ICJ) แตกต่างกันอยา่ งไร ICC เปน็ ศาลอาญามเี ขตอำนาจดำเนนิ คดีและลงโทษปัจเจกบุคคลท่ไี ดก้ ระทำความผดิ ขณะที่ ICJ ทำหนา้ ท่ีใน การระงบั ขอ้ พพิ าทระหวา่ งประเทศตา่ ง ๆ ICJ เปน็ องคก์ รศาลของสหประชาชาตแิ ตท่ ำงานเปน็ อสิ ระจากสหประชาชาติ (โดยไมม่ เี ขตอำนาจดำเนินคดีอาญา)160 EHLคมู่ ือการจัดกจิ กรรมยุวกาชาด เรอื่ ง การเรยี นรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหวอื่ า่ เงยปารวะเชทนศ

50. หากผู้นำประเทศได้ก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศข้ึน เขาจะได้รับความคุ้มกันจากการถูกดำเนินคดี หรอื ไม่ กฎทว่ั ไปของกฎหมายจารตี ประเพณรี ะหวา่ งประเทศ คอื ผูน้ ำรัฐไดร้ ับความคุ้มกันจากกระบวนการทางกฎหมายท้งั ปวงสำหรบั ความผดิ ทีไ่ ด้กระทำระหว่างที่ยังอยูใ่ นตำแหน่งหนา้ ที่ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นเด็ดขาดหากความผิดน้ันเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ (เช่น อาชญากรรมสงครามการทำลายล้างเผ่าพันธ์ุ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เป็นต้น) ซ่ึงก่อให้เกิดความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้นำรัฐด้วยแม้ว่าความผิดนั้นได้กระทำข้ึนระหว่างที่ยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ก็ตาม ความรับผิดทางอาญานี้ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ว่าก ระบวนการทางกฎหมายอาจเกดิ ข้ึนในระหวา่ งหรือภายหลังจากผู้นำรฐั พน้ ตำแหนง่ แล้ว51. อะไรคืออุปสรรคในการนำตัวผู้ถูกกลา่ วหาว่าก่ออาชญากรสงครามมาดำเนนิ คด?ี มีอุปสรรคหลายประการในการดำเนินคดีกบั ผ้กู ่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ เชน่ รฐั ไม่มเี จตจำนงทางการเมืองท่ีจะดำเนินคดีโดยตรง หรือไม่ให้ความสะดวกในการดำเนินคดี บางรัฐมีกฎหมายภายในให้นิรโทษกรรมสำหรับคนบางกลุม่ แมว้ า่ จะเกีย่ วกบั อาชญากรรมระหว่างประเทศกต็ าม กฎหมายอายคุ วาม (จำกดั เวลาในการดำเนนิ คดกี บั ผู้กระทำความผิดบางประเภท) ไม่มีการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพในระดับระหว่างประเทศ กระบวนการที่ยืดเย้ือเน่ืองจากต้องรวบรวมพยานหลักฐานและสืบพยานจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง และระดับของอาชญากรรม เปน็ ตน้ อุปสรรคดังท่ีได้กล่าวมาข้างต้นอาจเป็นสาเหตุให้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินไปอย่างล่าช้า หรืออาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่ากระบวนการเหล่าน้ีไม่มีประโยชน์ แม้ว่าจะยังไม่มีความสมบูรณ์แต่กระบวนการทางกฎหมายยังมีความสำคัญมากในการนำตัวผู้ถูกกล่าวหาว่าได้ก่ออาชญากรรมสงครามมาสู่กระบวนการยุติธรรม และยังเป็นเคร่ืองมือช่วยสังคมในการเผชิญกับผลที่ตามมาของสงครามและช่วยป ้องกนั การกระทำความผดิ ที่อาจเกดิ ขึน้ อีกในอนาคตดว้ ย52. คณะกรรมการแสวงหาขอ้ เทจ็ จรงิ ทรี่ ฐั บาลแตง่ ตงั้ ขนึ้ ใหพ้ จิ ารณาเกย่ี วกบั การฝา่ ฝนื กฎหมายมนษุ ยธรรม และกฎหมายสิทธมิ นษุ ยชนทีเ่ กดิ จากการกระทำของผแู้ ทนรัฐเองมคี วามนา่ เช่ือถอื เพียงใด? คณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงมักจะถูกแต่งตั้งขึ้นภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองเพ่ือพิจารณาความผิดต่าง ๆ ที่กลุ่มของผู้ใช้อำนาจปกครองเดิมได้ก่อขึ้น แต่ไม่พิจารณาความผิดที่ผู้ใช้อำนาจปกครองต่อมาอาจต้องมีความรับผิด ดังน้ันรัฐบาลใหม่จึงไม่ต้องกังวลว่าตนอาจต้องตกเป็นผู้ถูกไต่สวนและสามารถอำนวยความสะดวกให้แกค่ ณะกรรมการไดอ้ ย่างเต็มทเี่ พือ่ นำมาซึง่ สันติภาพและสร้างความปรองดองกนั ในชาติ53. ใครมสี ทิ ธไิ ดร้ บั การเยยี่ มจาก ICRC ในระหวา่ งถกู กกั ขงั ? ฝ่ายที่ทำการจับกุมถือว่าบุคคลที่ถูกจับเป็นเชลยหรือผู้ท่ีถูกกักขังอันมีสาเหตุเก่ียวข้องกับการสู้รบเป็นศัตรูกับฝ่ายตนฝ่ายที่จับกุมอาจต้องการให้หน่วยงานท่ีมีความเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติงานอย่างอิสระ เข้าไปทำหน้าที่เพื่อให้เกิดความม่ันใจว่าผู้ถูกควบคุมตัวได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม มีสภาพการเป็นอยู่ท่ีเหมาะสม และมีโอกาสไดต้ ดิ ตอ่ สอื่ สารกบั ญาติ ๆ ได้ ICRC ทำหนา้ ทด่ี า้ นนโ้ี ดยการเยย่ี มเชลยศกึ ทหาร และพลเรอื น ภายใตอ้ นสุ ญั ญาเจนีวาฉบับท่ี 3 และ 4 และ ข้อ 3 ร่วมของอนุสัญญาเจนีวาทั้งส่ีฉบับ ICRC มีสิทธิเย่ียมเชลยศึกและพลเรือนที่ถูกกักกันโดยมีสาเหตุเก่ียวข้องกับการสู้รบระหว่างประเทศ นอกจากน้ียังมีสิทธิเสนอให้บริการแก่บุคคลใดก็ตามท่ีถูกจับกุมในระหว่างการสู้รบที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศด้วย (ที่เรียกว่าผู้ถูกกักกันด้วยข้อหาด้านความม่ันคงหรือผู้ถูกกักกันทางการเมือง) ธรรมนูญของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ยังอนุญาตให้ ICRC เสนอให้บริการกับผู้ซ่ึงปราศจากเสรีภาพอันมีสาเหตมุ าจากสถานการณร์ นุ แรงภายในประเทศด้วยEHL Exploring Humanitarian Law 161 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

ICRC ได้ขยายขอบเขตการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ เพ่ิมมากขึ้นในหลายปีทีผ่ ่านมา โดยเพิม่ ผกู้ ระทำความผิดอาญาในกลมุ่บุคคลท่ีทำการเข้าเยี่ยมด้วย หากบุคคลเหล่านี้ถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ต้องขังเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศ หรือได้รับทุกข์เน่ืองจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ละปีผู้แทนของ ICRC เยี่ยมผู้ต้องขังประมาณ440,000 ราย ระหว่างการสู้รบ หรือเยี่ยมผู้ต้องขังอันมีสาเหตุมาจากสถานการณ์รุนแรงอ่ืน ๆ ในท่ีคุมขังประมาณ2,000 แหง่ ในกว่า 70 ประเทศ54. หากมีคนสูญหายไประหว่างการสู้รบหรือสถานการณ์รุนแรงอ่ืนๆ จะสันนิษฐานได้ไหมว่าเขาเหล่านั้น เสยี ชวี ติ แลว้ ? ในระหว่างท่ีมีการสู้รบหรือสถานการณ์รุนแรงอื่น ๆ อาจมีคนสูญหายไปเน่ืองมาจากสาเหตุต่าง ๆ มากมายความวุ่นว่ายที่เกิดข้ึนย่อมเป็นอุปสรรคในการติดต่อส่ือสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว ผู้คนอาจพลัดพรากไปจากถ่ินท่ีอยู่ ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หรืออาจสาบสูญไปเพราะถูกบังคับให้สูญหายก็เป็นได้ หรือบุคคลเหลา่ นีอ้ าจเสียชีวติ แล้วกเ็ ปน็ ไปได้ ควรมีการดำเนินการแสวงหาตัวผู้ที่ได้สูญหายไปไม่ว่าเขาเหล่าน้ันจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม หากพบซากศพก็ต้องมีการพสิ จู น์เอกลักษณ์เทา่ ท่ีสามารถจะทำได้ หลาย ๆ ประเทศมีกฎหมายภายในเก่ียวกับคนสูญหาย โดยการประกาศว่าให้เป็นบุคคลเสียชีวิตตามกฎหมายหลังจากท่ีเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่งและยังไม่ปรากฏข่าวคราวของบุคคลน้ันแต่อย่างใด กระบวนการนี้มีผลทางจิตใจอย่างมากสำหรับผูท้ ่มี คี วามสัมพนั ธใ์ กล้ชิดกับบุคคลที่สญู หายไป และยังมคี วามสำคัญในการดำเนนิ การเกี่ยวกับสทิ ธิและหน้าที่ของญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ (เช่น มีผลต่อพินัยกรรมของผู้สูญหายเพื่อให้ทายาทสามารถดำเนินชีวิตต่อไปเม่ือมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของบุคคลเกิดขึ้น อาจมีการสมรสใหม่ได้ หรือการเปล่ียนแปลงสถานะที่เกิดขึ้นอาจเป็นส่ิงจำเปน็ เพือ่ แสดงเจตนารบั สิทธิประโยชนต์ ่าง ๆ จากรฐั เป็นตน้ ) 55. ICRC สามารถยดึ หลกั ความเปน็ อสิ ระในการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ ไดอ้ ยา่ งไร? ICRC เปน็ องคก์ ารเอกชนสญั ชาตสิ วสิ และไมอ่ ยภู่ ายใตอ้ ำนาจทางการเมอื งของประเทศหนง่ึ ประเทศใด คณะผบู้ รหิ ารงานสูงสุดเป็นชาวสวิสทั้งหมดซ่ึงปฏิบัติหน้าท่ีในฐานะส่วนตัว โดยได้รับเงินบริจาคจากแหล่งต่าง ๆ คือ รัฐบาลท่ัวโลกคณะกรรมการยุโรป องคก์ ารระหว่างประเทศ บรรษทั ข้ามชาติ สภากาชาดฯ ประจำประเทศ และจากแหลง่ อ่ืน ๆ ท้งัภาคเอกชนและภาคสาธารณะ ซ่ึงเป็นงบประมาณในการปฏิบัติภารกิจ เงินบริจาคท่ีได้รับมาทั้งหมดเกิดจากการความสมคั รใจของรฐั บาลต่าง ๆ ทัว่ โลก ICRC รบั เงินบริจาคจากหลายแหล่งที่เปิดเผย แตก่ ารปฏิบัติภารกจิ ของ ICRC ไมไ่ ดอ้ ยูภ่ ายใต้อิทธิพลใด ๆ ของผู้บริจาค ไม่มีผู้บริจาครายใดสามารถเปล่ียนแปลงภารกิจขององค์การได้ แต่อาจมีการกำหนดให้ใช้เงินบริจาคเพื่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (เช่น เพื่อผู้ลี้ภัย เด็ก สตรี ในยามสงคราม เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม เงินบริจาคที่ได้รับมาไม่มีอิทธิพลทางการเมืองต่อการปฏิบัติภารกิจขององค์การแต่อย่างใด ICRC ไม่ต้องรอรับเงินบริจาคเพ่ือปฏิบัติหน้าท่ีกับสภาวะฉุกเฉนิ ที่เกิดข้ึน แต่ผ้บู ริจาคมไี มตรีจิตในการบริจาคเงินอยา่ งรวดเร็วตามความจำเป็นของสถานการณ์ ICRC ทำรายงานประจำปีเก่ียวกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจเสนอต่อสาธารณชนทุกปี โดยมีรายละเอียดชดั เจนเก่ียวกบั การปฏิบตั ิการ สถติ ิ และข้อมลู ทางการเงินทเี่ กยี่ วกับการปฏบิ ัตภิ ารกิจอย่างครบถว้ น เพ่อื ใหก้ ารบริหารเงินบริจาคเปน็ ไปอย่างโปรง่ ใสท่ีสุด 56. หลกั พนื้ ฐานวา่ ดว้ ยความเปน็ กลางและการไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั เิ กย่ี วขอ้ งกนั อยา่ งไร “ความเปน็ กลาง” และ “การไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั ”ิ เป็นหลักพนื้ ฐานสองประการซ่งึ มีความสำคัญในการปฏิบัติภารกจิของ ICRC อย่างมาก เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ความสัมพันธ์ของหลักการทั้งสองเก่ียวข้องกันอย่างมาก ซึ่งเห็นได้ชัดในตัวมันเอง โดยองค์การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และละเว้นไม่เข้ามีส่วนร่วมเมื่อแต่ละฝ่าย162 EHLคมู่ ือการจดั กิจกรรมยุวกาชาด เรอื่ ง การเรียนร้กู ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอื่ ่าเงยปารวะเชทนศ

มีข้อขดั แย้งหรือพพิ าทกัน (ดังน้นั จึงมีความเป็นกลาง) และพร้อมท่ีจะปฏิบัตภิ ารกิจอยา่ งไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั ิ โดยเน้นท่ีการดูแลผู้ท่ีไดร้ ับทกุ ข์ภัยและชว่ ยเหลือเขาเหลา่ น้ันตามสัดสว่ นของทกุ ขภ์ ัยทีพ่ วกเขาได้รบั อย่างเท่าเทยี มกนั 57. พนกั งานของ ICRC ไดร้ บั อนญุ าตใหพ้ กอาวธุ เพอ่ื ปอ้ งกนั ตวั เองหรอื ไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นการเข้าข้างฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดและเพ่ือให้เป็นไปตามหลักการ พนักงานของ ICRCต้องไม่พกอาวุธไม่ว่าเพ่ือป้องกันตนเองหรือเพ่ือป้องกันภารกิจขององค์การก็ตาม วิธีการป้องกันประการแรกท่ีมีประสิทธิภาพท่ีสุดสำหรับพนักงานของ ICRC คือ การใช้สัญลักษณ์อันเด่นชัดไม่ว่าจะเป็นกาชาด เสี้ยววงเดือนแดงหรือ คริสตัลแดง อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ท่ีมีความจำเป็นอย่างย่ิง เมื่อไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ได้ หรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของพนักงานของ ICRC เนื่องจากไม่มีฝ่ายใดเคารพสัญลักษณ์อันเด่นชัด อาจมีการพิจารณาใช้มาตรการคุ้มครองโดยมีอาวุธได้ ในสถานการณ์ดังกล่าวส่ิงแรกท่ีต้องคำนึงถึงคือ การยึดถือหลักการไม่เลือกปฏิบัติ เป็นกลาง และความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าท่ี เพ่ือให้การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ภัยในสถานการณ์การสู้รบและสถานการณ์รุนแรงอื่น ๆ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันตรายและผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดข้ึนจากการหันไปพ่ึงมาตรการคุ้มครองโดยการใช้อาวุธทำให้องค์การจำเป็นต้องยึดถือและเคารพหลักการในการปฏบิ ัตหิ น้าท่ีอย่เู สมอ58. การใชภ้ ารกจิ ทางดา้ นมนษุ ยธรรมเปน็ เครอ่ื งมอื ทม่ี ผี ลรา้ ยอยา่ งไร ควรมีการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้การปฏิบัติหน้าที่ทางด้านมนุษยธรรมเป็นเครื่องมือไม่ว่าภายใต้สถานการณ์ใดกต็ าม คำวา่ “การใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื ” หมายถึง การกระทำที่อาศยั การปฏบิ ัติหนา้ ทที่ างด้านมนษุ ยธรรมเพ่อื แสวงประโยชน์ทางการเมืองหรือทางทหาร ทำให้เกิดความคลุมเครือระหว่างบทบาทและหน้าท่ีของฝ่ายการเมืองและฝ่ายทหาร และของหน่วยงานท่ีทำหน้าท่ีทางด้านมนุษยธรรม และอาจเกิดปัญหาอย่างมากสำหรับองค์การดังเช่น ICRC อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดและยากต่อการยอมรับการปฏิบัติหน้าท่ีขององค์การ และอาจเกิดความเสี่ยงต่อพนักงานขององค์การด้วย หากมกี ารกล่าวถึงกิจกรรมทางเมืองหรอื ทางทหารวา่ มลี กั ษณะ “มนษุ ยธรรม” กอ็ าจส่งผลกระทบต่อหลกั การของ ICRC คือ การไม่เลือกปฏิบัติ การเป็นกลาง และการเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ทางมนุษยธรรมได้ ความคลุมเครือทเี่ กิดข้นึ นอี้ าจทำให้เกดิ อนั ตรายต่อชีวิตของผปู้ ระสบเคราะหแ์ ละต่อพนกั งานของ ICRC ดว้ ยการกระทำดังกล่าวอาจมีผลให้การปฏิบัติหน้าท่ีเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติสำหรับผู้ประสบเคราะห์จากการสู้รบและสถานการณ์รนุ แรงอื่น ๆ ไม่สามารถดำเนนิ ต่อไปได้59. เพราะเหตใุ ด ICRC จงึ มสี ำนกั งานในบางประเทศเทา่ นน้ั ความจำเป็นทางด้านปฏิบัติการและความจำเป็นของสถาบันเป็นปัจจัยที่จะกำหนดว่า ICRC ควรมีสำนักงานอยู่ในประเทศใดบา้ ง ปจั จบุ นั องคก์ ารมสี ำนกั งานและมภี ารกจิ อยใู่ นประมาณ 80 ประเทศและมพี นกั งานกวา่ 12,000 คน ซ่งึ สว่ นใหญเ่ ป็นพนักงานซึ่งมีสัญชาตเิ ดยี วกับประเทศที่สำนกั งานนั้น ๆ ตง้ั อยู่ สำนกั งานใหญใ่ นเมอื งเจนวี า ประเทศสวสิ เซอรแ์ ลนด์ มพี นกั งานประมาณ 800 คน ซงึ่ ทำหนา้ ทเี่ กย่ี วกบั การสนบั สนนุ และให้คำแนะนำกบั พนักงานในภาคสนาม รวมทั้งกำหนดและดำเนินนโยบายขององคก์ าร ICRC มสี ำนกั งานปฏบิ ตั ภิ ารกจิ เฉพาะประเทศหรอื อาจมสี ำนกั งานระดบั ภาคพนื้ ครอบคลมุ หลายประเทศ โดยปกติICRC จะเจรจากับรัฐบาลของแต่ละประเทศเพื่อขออนุญาตเข้าไปต้ังสำนักงานและมีการทำความตกลงเก่ียวกับสำนักงานใหญ่ในหลายประเทศ ความตกลงลักษณะนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจของ ICRC อย่างมากเพราะจะต้องได้รับการยอมรับและเห็นชอบจากรัฐบาลก่อน การทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าท่ีของรัฐจึงเป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ ความตกลงดังกล่าวยังกำหนดขอบเขตของการปฏิบัติภารกิจของ ICRC รวมท้ังกำหนดสิทธิ ความค้มุ กัน และความปลอดภัยของพนกั งานด้วยEHL Exploring Humanitarian Law 163 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

สำนักงานของ ICRC มีภารกิจมากมายหลายประการข้ึนอยู่กับสถานการณ์และความต้องการในแต่ละประเทศ กลา่ วคือ • ให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์จากการสู้รบท่ีกำลังจะเกิดข้ึนหรือท่ีกำลังดำเนินอยู่ และใน สถานการณร์ นุ แรงอน่ื ๆ ดว้ ย (เชน่ พลเรอื น ผปู้ ราศจากเสรภี าพ ครอบครวั ทพี่ ลดั พรากจากกนั ผบู้ าดเจบ็ และผปู้ ว่ ย) • สง่ เสรมิ IHL ทำงานรว่ มกบั สภากาชาดฯ ประจำประเทศ ประสานงานและเจรจาเกยี่ วกบั ภารกจิ ดา้ นมนษุ ยธรรม สำนักงานของ ICRC ยงั มีหนา้ ท่ีเป็นระบบชว่ ยเตือน ซงึ่ สามารถทำใหอ้ งค์การตอบสนองความตอ้ งการไดอ้ ยา่ ง ฉบั พลนั และมีประสทิ ธภิ าพเมือ่ มกี ารสรู้ บหรือความขดั แยง้ เกดิ ข้ึน 60. ICRC ปฏบิ ตั ภิ ารกจิ อยา่ งไร การปฏิบัติภารกิจของ ICRC ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ รวมท้ังปัญหาท่ีได้ประสบและวัตถุประสงค์ ขององคก์ ารกม็ ีผลตอ่ แนวทางในการปฏบิ ัติภารกจิ ด้วย ภารกจิ ขององค์การจะถกู ควบคมุ โดยยทุ ธวธิ ีในการปฏบิ ัตกิ าร ซึง่ มีหลายรปู แบบ วธิ กี ารโนม้ นา้ ว : คอื การเจรจาสองฝา่ ยอยา่ งเปน็ ความลบั กบั ฝา่ ยทเี่ กยี่ วขอ้ งในการสรู้ บ เพอ่ื ชกั จงู ใหม้ กี ารเคารพ IHL และกฎพ้ืนฐานอ่ืน ๆ ท่ีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ประสบเคราะห์จากการสู้รบหรือสถานการณ์รุนแรงอื่น ๆ มากขึ้น และ เพอื่ ใหด้ ำเนนิ มาตรการเพือ่ ปรบั ปรุงสถานการณ์ของผ้ทู ่ไี ดร้ บั ผลกระทบจากสถานการณด์ ังกล่าว การทำงานร่วมกัน : คือ การแจ้งให้รัฐบาลของประเทศท่ีสามทราบถึงผลกระทบของการฝ่าฝืน IHL ท่ีเกิดข้ึน รวมท้งั ใหอ้ งค์การระหว่างประเทศและองค์การระดบั ภาคพ้ืน หรอื ต่อผู้ท่อี ยู่ในฐานะทจี่ ะใหก้ ารสนับสนนุ องคก์ ารทราบ ด้วย ICRC จะเจรจากับฝา่ ยตา่ ง ๆ ในการสรู้ บเพ่อื ให้เคารพกฎหมายต่อเม่อื มีเหตผุ ลที่เช่อื ไดอ้ ยา่ งแน่นอนว่าบุคคลท่ี สามนั้นจะเคารพหลักการทำงานอย่างเป็นความลบั ขององคก์ าร การสนบั สนนุ : คอื การใหค้ วามชว่ ยเหลอื เจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั เพอื่ ใหก้ ารปฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องพวกเขาเปน็ ไปไดส้ ะดวกขน้ึ และ เปน็ ไปตามความรบั ผิดชอบทม่ี อี ยู่ การใหบ้ รกิ ารโดยตรงหรอื การทำหนา้ ทแ่ี ทน : คอื การใหบ้ รกิ ารแกผ่ ทู้ ข่ี าดแคลนโดยตรง โดยเฉพาะเมอื่ เจา้ หนา้ ที่ ของ รฐั ไมส่ ามารถหรือไมต่ ้องการทำหนา้ ท่นี นั้ การประณามตอ่ สาธารณะ (จะใชว้ ธิ นี เ้ี มอื่ มสี ถานการณพ์ เิ ศษเทา่ นน้ั และตอ้ งเปน็ ไปตามเงอื่ นไขอยา่ งเครง่ ครดั ) : คือ การประณามต่อสาธารณะเกี่ยวกับการฝ่าฝืน IHL ท่ีเกิดขึ้นอย่างซ้ำซากในระหว่างที่มีการสู้รบและสถานการณ์ รุนแรงอื่น ๆ เพื่อให้ยุติการฝ่าฝืนนั้น หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการฝ่าฝืนเกิดขึ้นอีกในอนาคต การประณามต่อสาธารณะ จะเกิดข้ึนก็ต่อเม่ือมีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือต่อผู้ท่ีถูกคุกคามเท่าน้ัน ICRC จะใช้มาตรการน้ีหลังจากที่ได้ ดำเนินวิธีการทั้งหมดเพ่ือท่ีจะโน้มน้าวเจ้าหน้าท่ีที่เก่ียวข้องแล้วแต่ไม่เกิดผลใด ๆ ข้ึน และต้องเป็นท่ีปรากฏชัดเจน ว่าการฝา่ ฝืนนั้นเป็นการกระทำตามนโยบายของฝ่ายทีฝ่ า่ ฝนื ด้วย164 EHLคมู่ ือการจดั กิจกรรมยุวกาชาด เรอ่ื ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวื่อ่าเงยปารวะเชทนศ

อกั ษรย่อAdditional Protocol I พิธีสารเพ่มิ เตมิ ของอนสุ ัญญาเจนีวา วันท่ี 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949 และเก่ียวกบั การคมุ้ ครองผู้ประสบเคราะห์จากการพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ระหวา่ งประเทศ (พธิ สี ารเพม่ิ เตมิ ฉบบั ท่ี 1) ไดม้ กี ารยอมรบั เมอื่ วนั ที่ 8 มถิ นุ ายน ค.ศ. 1977Additional Protocol II พธิ ีสารเพมิ่ เตมิ ของอนสุ ัญญาเจนวี า วนั ที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949 และเกี่ยวกบั การคมุ้ ครองผูป้ ระสบเคราะห์จากการพพิ าทกนั โดยใชอ้ าวธุ ระหวา่ งประเทศ (พธิ สี ารเพม่ิ เตมิ ฉบบั ท่ี 2) ไดม้ กี ารยอมรบั เมอ่ื วนั ท่ี 8 มถิ นุ ายน ค.ศ. 1977Additional Protocol III พธิ ีสารเพม่ิ เติมของอนุสัญญาเจนวี า วนั ท่ี 12 สงิ หาคม ค.ศ. 1949 และเก่ียวกับการยอมรับสญั ลกั ษณ์อนั เดน่ ชดัเพม่ิ เติม (พธิ สี ารเพิ่มเตมิ ฉบับที่ 3) ไดม้ ีการยอมรบั เมอื่ วนั ที่ 8 ธนั วาคม ค.ศ. 2005CRC อนุสัญญาว่าดว้ ยสิทธเิ ด็ก ไดม้ ีการยอมรบั เมอื่ วันท่ี 20 พฤศจกิ ายน ค.ศ. 1989EHL โครงการเรียนรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมระหวา่ งประเทศเพื่อเยาวชนFirst Geneva Convention อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 เพื่อการปรับปรุงสภาพของผู้บาดเจ็บ และผู้ป่วยไข้ในยามพิพาทกันโดยใช้อาวุธในสนามรบ ไดม้ กี ารยอมรบั เม่ือวนั ที่ 12 สงิ หาคม ค.ศ. 1949Fourth Geneva Convention อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 เกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนในยามสงคราม ได้มีการยอมรับเม่ือวันที่ 12 สิงหาคมค.ศ. 1949ICRC คณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศIHL กฎหมายมนษุ ยธรรมระหวา่ งประเทศICC ศาลอาญาระหวา่ งประเทศICTR ศาลอาญาเฉพาะกิจสำหรับประเทศรวันด้าICTY ศาลอาญาเฉพาะกิจสำหรับอดีตประเทศยโู กสลาเวยี International Federation สหพนั ธส์ ภากาชาดและสภาเสย้ี ววงเดอื นแดงระหว่างประเทศEHL Exploring Humanitarian Law 165 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

Movement กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดอื นแดงระหวา่ งประเทศ National Societies สภากาชาดและสภาเส้ยี ววงเดือนแดงประจำประเทศ Optional Protocol to CRC พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในการมีส่วนร่วมในการพิพาทกันโดยใช้อาวุธ ได้มีการยอมรับเม่ือ วนั ที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 PMC บรษิ ัททหารของเอกชน PSC บรษิ ัทรักษาความปลอดภยั ของเอกชน Second Geneva Convention อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 2 สำหรับการปรับปรุงสภาพของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยไข้ และผู้ต้องเรืออับปางของสมาชิก ของกองทัพทางทะเล ไดม้ กี ารยอมรบั เมอื่ วนั ที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949 Third Geneva Convention อนสุ ัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 เกีย่ วกบั การปฏบิ ตั ิตอ่ เชลยศกึ ได้มกี ารยอมรับเมอ่ื วนั ที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949 UN สหประชาชาติ UN Convention against Torture อนุสัญญาสหประชาชาติต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติอ่ืน ๆ อันโหดร้าย อย่างไม่ใช่มนุษย์ หรือการปฏิบัติ หรือลงโทษอยา่ งลดคุณค่า ไดม้ ีการยอมรับเมอ่ื วนั ที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1984 UN Convention against Enforced Disappearance อนุสัญญาระหวา่ งประเทศสำหรับการคมุ้ ครองบุคคลทง้ั ปวงจากการถูกบงั คบั ให้สญู หาย พนั ธกิจ พันธกจิ 166 EHLคู่มือการจัดกจิ กรรมยวุ กาชาด เรอื่ ง การเรยี นรกู้ ฎหมายมนุษยธรรมรเะพหวอ่ื ่าเงยปารวะเชทนศ

ภาคผนวก

คณะผ้จู ดั ทำ คู่มอื การจดั กจิ กรรมยุวกาชาด เรอื่ ง การเรียนรู้กฎหมายมนษุ ยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน ทป่ี รึกษานายสายณั ห์ สันทัด ผ้อู ำนวยการสำนกั การลูกเสอื ยุวกาชาด และกิจการนักเรยี น ผ้อู ำนวยการสำนกั งานยุวกาชาด สภากาชาดไทยนางสนุ ันทา ศรอนุสิน หวั หนา้ กลมุ่ สง่ เสรมิ และพฒั นายวุ กาชาด สำนกั การลกู เสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนกั เรยี น สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ ารนางชลรส นงคภ์ า ผ้เู ขยี นและเรยี บเรยี งนางสาวเมอลนิ ดา เสาวลกั ษณ ์ ผชู้ ว่ ยหวั หนา้ ฝา่ ยกาชาดสมั พนั ธ์ สำนกั งานคณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC)นางอัจฉรา เพ่มิ พลู ครชู ำนาญการ โรงเรียนสายปญั ญา ในพระบรมราชินปู ถัมภ์นายธรี พัฒน์ อัศวสังสทิ ธิ ท่ปี รกึ ษากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC)นางสาวนาถศรี ใจชาญสุขกิจ เจ้าหนา้ ที่บำนาญ สภากาชาดไทยนางวธูสริ ิ สวัสดจิ์ ุ้น หัวหน้าฝา่ ยวชิ าการ สำนกั งานยุวกาชาด สภากาชาดไทยนางสุมาลยั กองแก้ว ครชู ำนาญการพิเศษ โรงเรยี นสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์นางรำเพย นามพระจนั ทร ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรยี นชลกนั ยานุกูลนางนภาพร พลายมาศ ครูชำนาญการพเิ ศษ โรงเรียนคณะราษฎรบ์ ำรุงปทมุ ธานีนางสาวธรรญชนก เจรญิ สขุ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนคณะราษฎรบ์ ำรงุ ปทมุ ธานีนางนฤมล เขยี ดทอง ครชู ำนาญการ โรงเรียนมธั ยมประชานเิ วศน์นางสาวจุฬารัตน์ สกุ ใส ครู โรงเรยี นสตรีนนทบุรีนางสาวสิริพรรณ โสฬส ครู โรงเรยี นสตรีนนทบุรีนางสาวศรีสุดา รจนยั ครู โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญ จงั หวดั ศรีสะเกษนางสาวนนั ทยิ า สวุ รรณวงศ ์ ครูผู้ชว่ ย โรงเรยี นเฉลิมพระเกยี รติสมเดจ็ พระศรีนครนิ ทร์ สมุทรสาครนางธัญทพิ ย์ กุลฐติ ิธนารัตน ์ ครูชำนาญการ โรงเรยี นหันคาพทิ ยาคมนายบญุ นิกร คำกองแก้ว ครู โรงเรยี นกาญจนาภิเษกวทิ ยาลัย นครปฐมนางสาวกิตติกลุ ชมสรรเสรญิ ครู โรงเรียนสายปญั ญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์นางสาวชไมพร เสยี งเยน็ เจ้าหนา้ ท่ีฝ่ายกาชาดสัมพันธ์ สำนกั งานคณะกรรมการกาชาดระหวา่ งประเทศ (ICRC)168 EHLคู่มือการจัดกจิ กรรมยุวกาชาด เร่อื ง การเรยี นรูก้ ฎหมายมนษุ ยธรรมรเะพหว่อื า่ เงยปารวะเชทนศ

คณะกรรมการนายสมจติ ต์ ไหมดี หวั หนา้ ฝ่ายส่งเสริมอาสายวุ กาชาด กรรมการ สำนกั งานยวุ กาชาด สภากาชาดไทยนางขนิษฐา ครา้ มศรี นักทรพั ยากรบุคคลชำนาญการพเิ ศษ กรรมการ สำนกั การลกู เสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนักเรยี น สำนักงานปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ นางสาววราลกั ษณ์ ดรุ งคก์ าญจน ์ นกั วชิ าการศกึ ษาชำนาญการพิเศษ กรรมการ สำนักการลูกเสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนักเรยี น สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการนางสาวเมทนิ ี บญุ เกตุ นักวชิ าการศกึ ษาชำนาญการ กรรมการ สำนักการลกู เสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนักเรียน สำนกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธกิ าร นายนนั ทวฒั น์ ภทั รกรนนั ท์ ผ้ชู ำนาญการ วทิ ยาจารย์ 6 ฝ่ายส่งเสริมอาสายวุ กาชาด กรรมการ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทยนายจกั รี มากม ี วทิ ยาจารย์ 5 ฝา่ ยวิชาการ กรรมการ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย นางสาวสิรริ ัตน์ พมุ่ แกว้ วทิ ยาจารย์ 5 ฝ่ายวชิ าการ กรรมการ สำนกั งานยวุ กาชาด สภากาชาดไทยนางสาวมรกต แซ่จิว วิทยาจารย์ 4 ฝ่ายวชิ าการ กรรมการ สำนกั งานยวุ กาชาด สภากาชาดไทยนางวธูสริ ิ สวัสด์จิ นุ้ หวั หนา้ ฝา่ ยวชิ าการ กรรมการและเลขานุการ สำนกั งานยวุ ากชาด สภากาชาดไทยEHL Exploring Humanitarian Law 169 EDUCATION MODULES FOR YOUNG PE0PLE EHL Programme

บรรณาธกิ ารนางชลรส นงคภ์ า หวั หนา้ กลมุ่ สง่ เสรมิ และพฒั นายวุ กาชาด ประธาน สำนกั การลกู เสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนกั เรยี น สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร นางขนษิ ฐา ครา้ มศรี นกั ทรัพยากรบคุ คลชำนาญการพิเศษ สำนกั การลกู เสือ ยุวกาชาด และกจิ การนกั เรยี น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางสาววราลกั ษณ์ ดรุ งค์กาญจน์ นกั วิชาการศกึ ษาชำนาญการพิเศษ สำนกั การลกู เสอื ยวุ กาชาด และกจิ การนกั เรียน สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการนางสาวเมทิน ี บญุ เกต ุ นักวิชาการศกึ ษาชำนาญการ สำนักการลกู เสือ ยวุ กาชาด และกิจการนกั เรยี น สำนกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร



¡Å‹ÁØ Ê§‹ àÊÃÔÁáÅо²Ñ ¹ÒÂÇØ ¡ÒªÒ´ÍÒ¤ÒÃàÊÁÒÃѡɏ ¡ÃзÃÇ§È¡Ö ÉÒ¸¡Ô Òà ¶¹¹ÃÒª´Óà¹Ô¹¹Í¡ ࢵ´ØÊµÔ ¡ÃØ§à·¾Ï 10300 â·ÃÈ¾Ñ ·/ â·ÃÊÒà : 0 2628 6403 www.bureausrs.org


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook