Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การศึกษาแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคม จ.ตราด

การศึกษาแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคม จ.ตราด

Description: 3

Search

Read the Text Version

การศกึ ษาแนวทางพฒั นาการเกษตรจากการเปด ประชาคม เศรษฐกจิ อาเซยี นกรณศี กึ ษาเขต เศรษฐกิจพิเศษจังหวดั ตราด สํานกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 สาํ นักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ สาํ นักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6 สาํ นักงานเศรษฐกจิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ

การศกึ ษาแนวทางพฒั นาการเกษตรจากการเปด ประชาคม เศรษฐกิจอาเซยี น กรณีศกึ ษาเขต เศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวัดตราด เนื้อหาสาํ คัญประกอบดวย - สถานการณการคาสินคาเกษตรทีส่ ําคัญระหวา งไทยและกัมพชู าผาน ดานการคา ชายแดนในจังหวัดตราด - แนวทางพฒั นาการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษจังหวัดตราด ไดรบั ความรวมมอื จาก เจาหนา ที่หนว ยงานภาครฐั ภาคเอกชนในจงั หวดั ตราด ผนู าํ องคก ร เกษตรกร เกษตรกรและประชาชนในพน้ื ท่ีเขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษจังหวัดตราด สอบถามขอมลู เพิ่มเตมิ สว นวิจยั และประเมนิ ผล สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 โทร 0-3835-1398 อีเมล [email protected]



(ง) คำนำ การศึกษาแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาเขต เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด เพ่ือทราบสถานการณ์การค้าสนิ คา้ เกษตรท่ีสาคัญระหว่างไทย – กัมพูชา ผ่าน ด่านการค้าชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดตลอดจนการบริหารจัดการด้านการนาเข้าและส่งออก สินค้าเกษตรที่สาคัญของสหกรณ์การเกษตรในพ้ืนท่ี สาหรับเป็นข้อมูลในการดาเนินงานด้านการผลิต การตลาด การส่งออก การวางแผนการค้าการลงทุนรวมท้ังการกาหนดนโยบายมาตรการของภาครัฐในการ ส่งเสริมสนบั สนนุ และพัฒนาขดี ความสามารถทางการแขง่ ขันในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ขอขอบคุณเจ้าหน้าท่ีท้ังจากภาครัฐภาคเอกชนในจังหวัดตราด ผู้จัดการและสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ผู้นาชุมชนและประชาชนในพ้ืนที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด ตราดท่ีให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆเป็นอย่างดีย่ิง และหวังเป็นอย่างย่ิงว่า งานวิจยั ฉบับน้จี ะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้ที่เก่ยี วขอ้ งรวมทัง้ นกั วิจัยและผู้ท่สี นใจต่อไป สานักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6 สานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร กุมภาพันธ์ 2561

(จ) หนา้ (ข) สารบญั (ค) (ง) บทคดั ยอ่ (ช) Abstract (ฌ) คานา 1 สารบญั ตาราง 1 สารบัญภาพ 2 บทที่ 1 บทนา 3 3 1.1 ความสาคัญของการวิจยั 5 1.2 วัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย 6 1.3 ขอบเขตของการวจิ ัย 6 1.4 วิธกี ารวิจยั 7 1.5 ประโยชน์ทคี่ าดวา่ จะไดร้ ับ 14 บทท่ี 2 การตรวจเอกสาร แนวคดิ และทฤษฎี 14 2.1 การตรวจเอกสาร 15 2.2 แนวคดิ และทฤษฎี 20 บทท่ี 3 ข้อมูลท่ัวไป 23 3.1 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษในประเทศไทย 29 3.2 เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวดั ตราด 29 3.3 การผลติ ผลไม้ในเขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษจงั หวัดตราด 3.4 ประเทศกมั พชู า 39 บทที่ 4 ผลการวจิ ยั 4.1 สถานการณ์สินค้าเกษตรท่สี าคัญระหว่างไทย – กัมพชู า ผา่ นด่าน 42 การคา้ ชายแดนคลองใหญ่ จงั หวดั ตราด 4.2 การบริหารจัดการดา้ นการนาเข้าส่งออกสนิ ค้าเกษตรท่ีสาคญั ของ 55 สหกรณก์ ารเกษตรในพืน้ ทีเ่ ขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวดั ตราด 55 4.3 แนวทางการพฒั นาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกจิ 59 อาเซียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวัดตราด 60 บทที่ 5 สรุปและขอ้ เสนอแนะ 5.1 สรปุ 5.2 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม

(ช) สารบญั ตาราง ตารางท่ี 1.1 มลู คา่ การค้าผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2554 – 2558 หนา้ ตารางท่ี 2.1 TOWS Matrix : Threats - Opportunities - Weaknessess - Strengths ) 2 ตารางที่ 3.1 พนื้ ทเี่ ขตพัฒนาเศรษฐกจิ พเิ ศษในประเทศไทย 12 15 ตารางที่ 3.2 เนื้อที่ยืนต้น เน้ือท่ีใหผ้ ล ผลผลติ ไมผ้ ลจังหวัดตราด ปี 2558 ตารางท่ี 3.3 เนอ้ื ที่ยนื ตน้ เนอ้ื ทใี่ หผ้ ล ผลผลิต เงาะ จังหวัดตราด ปี 2558 21 ตารางที่ 3.4 เนอื้ ทยี่ ืนต้น เนื้อท่ีใหผ้ ล ผลผลติ ทุเรยี น จังหวดั ตราด ปี 2558 21 ตารางท่ี 3.5 เนื้อทยี่ ืนต้น เน้อื ที่ใหผ้ ล ผลผลติ มงั คุด จงั หวดั ตราด ปี 2558 22 ตารางที่ 3.6 เนื้อทย่ี นื ต้น เนื้อที่ใหผ้ ล ผลผลติ ลองกอง จังหวดั ตราด ปี 2558 22 ตารางท่ี 4.1 มลู คา่ การค้าผ่านดา่ นการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2554 – 2558 23 ตารางที่ 4.2 ชนดิ สนิ ค้าสง่ ออกทส่ี าคญั ผ่านดา่ นการคา้ ชายแดนคลองใหญป่ ี 2558 30 ตารางที่ 4.3 ชนดิ สินค้านาเข้าที่สาคญั ผ่านด่านการค้าชายแดนคลองใหญ่ ปี 2558 30 ตารางท่ี 4.4 ช่องทางการขนสง่ สนิ คา้ ระหวา่ งไทยและกมั พชู า ปี 2554 – 2558 31 ตารางที่ 4.5 มลู ค่าการคา้ สนิ ค้าเกษตรผ่านดา่ นการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2558 32 ตารางท่ี 4.6 ชนิดสินคา้ เกษตรด้านประมงท่นี าเขา้ จากประเทศกมั พูชาปี 2558 34 ตารางท่ี 4.7 ชนดิ สนิ คา้ เกษตรดา้ นประมงทสี่ ่งออกไปประเทศกัมพูชา ปงี บประมาณ 2558 35 ตารางที่ 4.8 การสง่ ออกสนิ คา้ ดา้ นปศุสตั วป์ งี บประมาณ 2558 35 ตารางท่ี 4.9 มลู ค่าการส่งออกสินคา้ ด้านพชื ปี 2558 36 ตารางที่ 4.10 ความร้คู วามเข้าใจเกย่ี วกับเขตเศรษฐกจิ พิเศษของผู้จัดการสหกรณก์ ารเกษตร 36 ตารางที่ 4.11 จุดแขง็ 43 ตารางที่ 4.12 จดุ ออ่ น 49 ตารางท่ี 4.13 โอกาส 50 ตารางท่ี 4.14 อปุ สรรค 50 52

(ช)

(ฌ) สารบัญภาพ ภาพท่ี 3.1 เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พเิ ศษจังหวดั ตราด หนา้ ภาพท่ี 3.2 จังหวดั ตราด 16 ภาพที่ 3.3 เสน้ ทาง Southern Coastal Aubcorridor 16 24 ภาพที่ 3.4 ประเทศกมั พูชา ภาพที่ 4.1 การค้าทางบกผ่านจดุ ผ่านแดนถาวรบา้ นหาดเลก็ 25 ภาพท่ี 4.2 การคา้ ทางบกผ่านจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก 32 ภาพที่ 4.3 การค้าทางนา้ ผ่านท่าเทียบเรอื เอกชน 32 ภาพที่ 4.4 การคา้ ทางนา้ ผ่านท่าเทียบเรอื เอกชน 33 ภาพที่ 4.5 การค้าผา่ นจุดผอ่ นปรนการคา้ บา้ นมะม่วง 33 ภาพท่ี 4.6 การค้าผา่ นจุดผ่อนปรนการคา้ ชว่ั คราวบ้านทา่ เสน้ 33 ภาพที่ 4.7 การรบั ซอื ผลไม้บริเวณจดุ ผ่านแดนถาวรบ้านหาดเลก็ 33 ภาพที่ 4.8 การขนส่งผลไมผ้ ่านดา่ นชายแดนไปยงั ประเทศกัมพูชา 37 ภาพท่ี 4.9 การค้าผลไมบ้ ริเวณจุดผา่ นแดนถาวรบา้ นหาดเลก็ 37 ภาพที่ 4.10 การคา้ ผลไม้บรเิ วณจดุ ผา่ นแดนถาวรบ้านหาดเลก็ 39 ภาพที่ 4.11 การค้าผลไม้บริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเลก็ 39 ภาพท่ี 4.12 การรวบรวมผลไม้ของสหกรณส์ ง่ เสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จา้ กัด 39 ภาพที่ 4.13 การรวบรวมผลไมข้ องสหกรณ์ส่งเสรมิ ธรุ กิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จ้ากัด 40 ภาพที่ 4.14 การรวบรวมผลไมข้ องสหกรณ์การเกษตรบอ่ ไร่ จ้ากัด 40 ภาพที่ 4.15 การรวบรวมผลไมข้ องสหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ จา้ กดั 41 ภาพท่ี 4.16 การรวบรวมผลไมข้ องสหกรณ์การเกษตรเพ่อื การแปรรปู และส่งออกจงั หวดั ตราด จา้ กัด 41 41

(ข) บทคดั ยอ่ การศึกษาแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาเขต เศรษฐกิจพิเศษอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มวี ัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตร ที่สาคัญระหว่างไทย - กัมพูชา ผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ การบริหารจัดการนาเข้า ส่งออกสนิ ค้าเกษตรที่สาคัญของสหกรณ์การเกษตรในพ้ืนท่ีเขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวทางพฒั นาการเกษตร จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอาเภอคลองใหญ่ โดยสัมภาษณ์ผู้ที่ เก่ียวข้อง วิเคราะหข์ อ้ มลู โดยใช้ SWOT Analysis ผลการศึกษา พบว่า การค้าผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่มีมูลค่าเพ่ิมขึ้นอย่าง ต่อเนอ่ื ง ในปี 2558 มีมูลค่า 31,914.69 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการค้าสนิ ค้าอุปโภคบรโิ ภค สาหรับ การค้าสินคา้ เกษตรมีมูลค่า 967.75 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.03 ของมูลค่าการค้าผ่านด่านท้ังหมด แบง่ เปน็ ดา้ นประมง 827.92 ลา้ นบาท ปศสุ ัตว์ 82.72 ล้านบาทและดา้ นพืช 57.11 ล้านบาท สหกรณ์ การเกษตรที่ทาการศึกษามีการรวบรวมผลไม้เพื่อการส่งออกแต่ไม่ได้ดาเนินการส่งออกด้วยตนเอง เขต เศรษฐกิจพิเศษอาเภอคลองใหญ่มีจุดแข็งที่สาคัญ คือ มีพ่อค้ารับซื้อผลไม้ที่มีความสามารถและมีสาย สัมพันธท์ างการค้ากบั ประเทศกัมพูชามาอย่างยาวนาน มีจดุ อ่อน คอื พ้นื ทปี่ ลูกผลไมย้ ังมีนอ้ ย มีโอกาสใน ดา้ นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการท่องเท่ียว ไทย–กัมพูชา–เวียดนาม ผลไมข้ องประเทศไทยมศี ักยภาพ และเปน็ ท่ตี ้องการ นโยบายภาครฐั ใหก้ ารสนับสนนุ สนบั สนุน มีข้อจากัด คอื กฎระเบยี บยังไมเ่ ออื้ กบั การ ส่งออกผลไม้ การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียวและระบบ National Single Window ยังดาเนินการ ไดน้ ้อย ผทู้ ี่เกย่ี วข้องส่วนใหญ่ยงั ไม่ทราบขอ้ มลู เก่ียวกับเขตเศรษฐกจิ พเิ ศษจงั หวดั ตราด ควรสนับสนุนให้พ่อค้าผลไม้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดส่งออกผลไม้ซึ่งรวบรวม จากเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรในจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรีไปจาหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวและ แหล่งอตุ สาหกรรมในประเทศกมั พชู าโดยเข้าสูร่ ะบบท่ีถกู ต้อง สนบั สนนุ ให้สวนผลไม้เป็นแหลง่ ท่องเท่ียว เชิงเกษตร แหล่งศึกษาดูงาน สถานที่สาหรับจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ โดยเช่ือมโยง กับสวนผลไม้ในจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรี สนับสนุนการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพตรงกับความ ตอ้ งการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม สนับสนุนการเพ่ิมช่องทางการตลาดผลไม้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมจัดทา website เผยแพร่ข้อมูลของเขตพฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวดั ตราด คำสำคญั : แนวทำงพัฒนำกำรเกษตร,เปดิ ประชำคมเศรษฐกจิ อำเซยี น,ผลไม้

(ค) Abstract The Study of Agricultural Development Approach from the Opening of Asian Economic Community , Case Study of Trat Special Economic Zone (Trat SEZ) aims to know the situation of trade of agriculture products between Thailand and Cambodia through the border trade in Trat SEZ ,The management of import-export of agriculture products of agricultural cooperatives and Agricultural Development Approach in Trat SEZ .The involved data were analyzed using SWOT Analysis. The results showed that the trade has increased steadily with a value of 31,914.69 million baths in 2015, mainly trading of consumer products. For agricultural trade worth 967.75 million baht , or 3.03 percent of the total value (827.92 million baths in fishery 82.72 million baths in livestock and 57.11 million baths in crops) The agricultural cooperatives are gathering fruit for exporter but not export by themselves.The strength of fruit in Trat SEZ is fruit trader have the ability and have a good relationship with Cambodia for so long.The opportunities are tourism, the Inline route linking Thailand – Cambodia, hi-potential Thai fruit, The aging society, health care and ecotourism trend.Thai policy support farmers organizations and digital economy.The Treat is one-stop service and National Single Window system has done little. Trader in Trat SEZ should be encouraged to export fruit which is collected from farmers and farmers organizations in Trat and Chanthaburi to the tourism and industry sources in Cambodia. Support the orchard to be a tourist attraction and place of study, develop fruit equality to meet the needs of each consumer group. Increase the marketing channel.Published Trat SEZ data on the website. Keywords : Agricultural Development Approch, the Opening of Asean Economic Community,Fruit

1 บทท่ี 1 บทนำ 1.1 ควำมสำคัญของกำรวจิ ัย ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ครบทั้ง 10 ประเทศ ซ่ึงจะก่อให้เกิด ประโยชน์ท้ังทางด้านการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถในการแขง่ ขัน ของสินค้าไทยในตลาดสากล โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเนื่องจากไทยเป็น ศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอ่ืนๆ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาพ้ืนที่บริเวณชายแดนท่ี เช่ือมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริม การค้าการลงทุนและเตรียมพร้อมรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยได้มีการแต่งต้ัง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) และได้ออกประกาศจัดต้ังเขตพัฒนา เศรษฐกจิ พิเศษทเี่ ช่อื มต่อกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนจานวน 10 เขต แบ่งเป็นระยะที่ 1 จานวน 5 เขต ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดและเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา ระยะท่ี 2 อีกจานวน 5 เขต ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวัด เชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรีและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจงั หวัดนราธิวาส โดยได้ กาหนดมาตรการส่งเสริมสนับสนุนในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน การให้สิทธิ และประโยชน์ การต้งั ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) และมาตรการอานวยความ สะดวกอนื่ ๆ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษท้ัง 10 เขต เป็นพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยที่ติดต่อกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ท่ีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด ตากและเขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษกาญจนบุรี สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาวท่ีเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พเิ ศษจังหวัดหนองคายและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวดั นครพนม ประเทศกมั พชู าท่ีเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ประเทศมาเลเซียท่ีเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลาและเขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษนราธิวาส มูลค่าการคา้ ชายแดน ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านท้ัง 4 ประเทศ มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเน่ืองและมีแนวโน้ม ขยายตัวมากข้นึ โดยเฉพาะภายหลงั การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2 สาหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดต้ังอยู่ท่ีอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดกับอาเภอ มณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพ่ิมข้ึนอย่างต่อเน่ืองจาก 20,207.77 ล้านบาท ในปี 2554 เปน็ 31,914.69 ล้านบาท ในปี 2558 คดิ เปน็ อตั ราการขยายตัว เฉลี่ย ร้อยละ 11.08 ตอ่ ปี สินค้าส่งออกและนาเข้าท่ีสาคญั ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค อยา่ งไรก็ตามเขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษจังหวัดตราดต้ังอยู่ในแหล่งผลไม้ซึ่งเป็นสนิ ค้าทีป่ ระเทศไทยมี ศักยภาพในการแข่งขันสูง มีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนโดยใช้ประโยชน์จากการเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมท้ังนโยบายของภาครัฐท่ีให้ความสาคัญกับการสง่ เสริมและพัฒนา องคก์ รเกษตรกร ไดแ้ ก่ สหกรณ์การเกษตร กล่มุ เกษตรกร ฯลฯ สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จึงได้ศึกษาสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรท่ีสาคัญระหว่างไทย – กัมพูชาผ่านด่านการค้าชายแดน อาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด การบริหารจัดการด้านการนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่สาคัญ ของสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ รวมทั้งการจัดทาแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดเพ่ือให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับ ประโยชน์จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สร้างรายได้และมูลค่าทางการค้าให้กบั ประเทศ เพ่ิมมากข้นึ ตารางท่ี 1.1 มูลคา่ การคา้ ผา่ นดา่ นการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2554 – 2558 หน่วย : ล้านบาท ปงี บประมาณ มลู ค่าการค้ารวม 2554 20,207.74 2555 24,557.70 2556 26,770.38 2557 28,166.85 2558 31,914.50 อัตราการขยายตวั (รอ้ ยละ) 11.08 ท่มี า : ดา่ นศุลกากรคลองใหญ่ , 2559 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของกำรวิจัย 1.2.1 เพื่อทราบสถานการณ์การค้าสนิ คา้ เกษตรท่สี าคัญระหว่างไทย – กัมพูชา ผา่ นด่าน การคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 1.2.2 เพ่ือทราบการบริหารจัดการด้านการนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรท่ีสาคัญของ สหกรณก์ ารเกษตรในพืน้ ทเ่ี ขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจงั หวัดตราด 1.2.3 เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษจงั หวดั ตราด

3 1.3 ขอบเขตกำรวจิ ัย 1.3.1 ขอบเขตด้านเน้ือหา ศึกษาสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรที่สาคัญระหว่างไทย - กัมพูชาผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่ศึกษา คือ ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะและลองกอง ซ่ึงเป็นผลไม้ท่ีสาคัญของจังหวัดตราด การ บริหารจัดการด้านการนาเข้าและส่งออกผลไม้ของสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พเิ ศษจงั หวัดตราด จุดอ่อน จดุ แข็ง โอกาสและข้อจากดั ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด เพื่อจัดทาแนวทางการพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน เขตพัฒ นา เศรษฐกจิ พิเศษจงั หวัดตราด 1.3.2 ขอบเขตด้านประชากร ประชากรกลุ่มเป้าหมายท่ีจัดเก็บข้อมูล ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ผู้ประกอบการผลไม้ ผู้นาท้องถิ่น ผู้จัดการและสมาชิก สหกรณ์การเกษตรทสี่ าคญั ในพน้ื ท่ี 1.3.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ทาการศึกษาในพื้นท่ีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดและ พน้ื ท่ีจงั หวัดตราด 1.3.4 ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษา ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2559 และใชข้ ้อมูลในการวิเคราะห์ช่วงปี 2554 - 2559 1.4 วิธกี ำรวิจยั 1.4.1 การเก็บรวบรวมข้อมลู 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลท่ีได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้ แบบสอบถามกับผู้ท่ีเก่ียวข้อง โดยเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) รวม 109 ราย ประกอบดว้ ย 1.1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สานักงานจังหวัดตราด ศูนย์ OSS ตราด สานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตราด สานักงาน เกษตรจงั หวัดตราด สานักงานเกษตรอาเภอคลองใหญ่ สานักงานสหกรณจ์ ังหวดั ตราด ด่านตรวจ พืชคลองใหญ่ ด่านกักกันสัตว์ตราด ด่านตรวจสัตว์น้าจังหวัดตราด ด่านศุลกากรคลองใหญ่ ด่าน ศุลกากรบา้ นมะม่วง ฐานทหารพรานนาวกิ โยธินทา่ เสน้ สานักงานพาณิชย์จังหวดั ตราด หอการค้า จังหวัดตราด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสานักงานตราด กรม เจา้ ท่า ผู้นาชุมชนและประชาชนในเขตพฒั นาเศรษฐกจิ จังหวดั ตราด รวม 30 ราย 1.2) พ่อค้ารวบรวมผลไม้ในระดับพื้นท่ี พ่อค้ารวบรวมผลไม้ระดับท้องถิ่น พ่อค้าสง่ ออกผลไม้ ผขู้ นสง่ ผลไม้ รวม 40 ราย

4 1.3) ผู้จัดการและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรท่ีสาคัญในพ้ืนท่ี ได้แก่ สหกรณ์ การเกษตรเขาสมิง จากัด สหกรณ์การเกษตรบอ่ ไร่ จากัด สหกรณส์ ่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัด ตราด จากัด สหกรณก์ ารเกษตรเพอ่ื การแปรรูปและสง่ ออกจังหวดั ตราด จากดั รวม 39 ราย 2) ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากเอกสารวิชาการ งานวิจัย รายงานผล ความก้าวหน้าการดาเนินงาน รวมทั้งข้อมูลท่ีเผยแพร่ทาง Website ของหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน 1.4.2 การวิเคราะห์ข้อมลู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) และการ วเิ คราะหเ์ ชิงคณุ ภาพ (Qualitative Analysis) ดังนี้ 1) วตั ถุประสงค์ข้อที่ 1 สถานการณก์ ารค้าสนิ คา้ เกษตรทส่ี าคญั ระหวา่ งไทย – กมั พูชาผ่านดา่ นการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดและวตั ถุประสงค์ข้อท่ี 2 การบริหาร จัดการด้านการนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่สาคัญของสหกรณ์การเกษตรในพ้ืนท่ี เขตพัฒ นา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) อธิบายลักษณะของขอ้ มูลในรปู ของคา่ สถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าผลรวม คา่ เฉลี่ย ค่ารอ้ ย ละ นาเสนอในรปู ของตารางประกอบคาอธบิ าย 2) วัตถุประสงค์ข้อ 3 แนวทางพัฒนาการเกษตรจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเน้ือหาท่ีได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมท้ังใช้การวัดทัศนคติของลิเกิร์ตวัดความ คิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การ ได้รบั สิทธิประโยชน์จากการจัดตง้ั เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบทางการค้า การส่งออก/นาเข้า สนิ ค้าเกษตร เสน้ ทางการขนสง่ สินคา้ โดยกาหนดระดบั คะแนนของความคดิ เห็นเป็น 5 ระดับดังนี้ ช่วงกวา้ งของอนั ตรภาคชัน้ = คะแนนสูงสุด − คะแนนต่าสดุ จานวนชั้น = 5–1 5 = 0.8 เกณฑก์ ารให้คะแนน 5 คะแนน สาหรับระดับความรหู้ รอื การรบั รู้ มากทสี่ ุด 4 คะแนน สาหรบั ระดบั ความรู้หรอื การรบั รู้ มาก 3 คะแนน สาหรับระดับความรู้หรอื การรับรู้ ปานกลาง 2 คะแนน สาหรบั ระดบั ความรู้หรอื การรบั รู้ นอ้ ย 1 คะแนน สาหรับระดับความรู้หรือการรบั รู้ น้อยท่สี ดุ

5 เกณฑ์การแปลความหมาย คะแนนเฉลี่ย 4.21 – 5.00 มีระดบั ความรหู้ รือการรบั รู้มากทส่ี ดุ 3.41 – 4.20 มีระดบั ความรู้หรอื การรบั รู้มาก 2.61 – 3.40 มรี ะดับความรูห้ รือการรบั รปู้ านกลาง 1.81 – 2.60 มรี ะดับความรู้หรอื การรับรู้นอ้ ย 1.00 – 1.80 มรี ะดบั ความร้หู รอื การรับรู้นอ้ ยทส่ี ุด และใช้เทคนิค SWOT Analysis วเิ คราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและขอ้ จากดั ของ การจดั ต้ังเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดและใชเ้ ทคนิค Tow Metrics จับคู่เพอื่ จดั ทากลยทุ ธ์ ในการพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวดั ตราดจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน 1.5 ประโยชนท์ ีค่ ำดวำ่ จะได้รบั 1.5.1 เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้จัดการสหกรณ์ใชเ้ ปน็ แนวทางในการดาเนินงานด้าน การผลิต การตลาด การส่งออก การวางแผนการค้าการลงทุน เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีด ความสามารถทางการแข่งขันในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1.5.2 เจ้าหนา้ ทห่ี น่วยงานภาครัฐทีเ่ กย่ี วข้องสามารถใชข้ อ้ มูลเพ่อื จดั ทานโยบายด้านการ พฒั นาการเกษตรจากการเปดิ ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี นในพน้ื ที่เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พเิ ศษจงั หวดั ตราด

6 บทท่ี 2 กำรตรวจเอกสำร แนวคิดและทฤษฎี 2.1 กำรตรวจเอกสำร การวิจัยถึงผลกระทบของข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผลไม้ เชิงชัย ตันสุชำติและคณะ (2556) ได้ศึกษาผลกระทบข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ต่อผลไม้ กรณีศึกษาประเทศไทยและสาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ พบวา่ ฟิลิปปินสไ์ ดล้ ดภาษีสาหรับผลไม้ ทกุ ชนิดท่นี าเขา้ จากประเทศสมาชิกในอาเซียนเป็น 0 ทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่ไดล้ ดอุปสรรคทางการค้า ที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) โดยอนุญาตให้นาเข้าผลไม้จากประเทศไทยได้เพียง 2 ชนิดคือ มะขามและ ลองกอง คาดวา่ ผลกระทบของข้อตกลงจะสง่ กระทบทางบวกต่อผลไม้ไทยเนื่องจากชาวฟิลิปปนิ ส์มี ทัศนคติที่ดีต่อผลไม้ไทยประกอบกับฟิลิปปินส์มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและระบบ เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตอย่างตอ่ เนื่อง รัฐบาลควรเร่งการเจรจากับฟิลิปปินส์เพื่อลดอุปสรรค ทางการคา้ ที่ไม่ใช่ภาษพี ร้อมยนื ยันถงึ ความปลอดภัยและมาตรฐานของผลไม้ไทย สนบั สนนุ ใหม้ ีการ ขยายชอ่ งทางการขนส่งภายในประเทศให้มากขึ้นโดยเฉพาะการขนส่งทางรถไฟรวมถึงสนับสนุนให้ ผู้ประกอบการไทยเข้ามาลงทุนในกิจการท่ีเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆในห่วงโซ่อุปทานเพ่ือการ สง่ ออกผลไม้เพิ่มมากข้ึน เพิ่มมาตรการควบคุม เฝ้าระวงั และติดตามผลกระทบท่ีเกิดจากการที่มี ลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติท่ีเข้ามาลงทุนในกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานส่งออกผลไม้ ช่วย แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในฤดูกาลเก็บเก่ียวผลไม้ เร่งให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC และความต้องการของตลาดแก่เกษตรกร ขยายการรับรองมาตรฐาน GAP สนบั สนุนการวิจัยด้าน ผลไม้ สรา้ งระบบการตรวจสอบคุณภาพของผลไม้ก่อนการส่งออก เกษตรกรควรให้ความสาคัญ กับการรวมกลุ่มเป็นองค์กรเกษตรกรและการเช่ือมโยงในห่วงโซ่อุปทานเพิ่มมากข้ึน อำรยำและ คณะ (2556) ศกึ ษาศักยภาพการผลิต การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทย ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม พบว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทาให้แรงงาน เคลื่อนย้ายได้มากขึ้นทาให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการผลิตผลไม้น้อยลง สามารถนา ทรัพยากรการผลิตจากประเทศสมาชิกในอาเซียนมาใช้ในการผลิตได้ การค้าการลงทุนมีการ ขยายตัว ระบบขนส่งระหว่างประเทศสะดวกและรวดเรว็ ขึน้ ผลกระทบเชงิ ลบ คือ การแยง่ แรงงาน ระหว่างภาคการผลติ อืน่ ๆ ซ่ึงเติบโตจากการเปดิ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและอตั ราค่าจา้ งแรงงาน มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ประเทศไทยมีโอกาสสูญเสียทรัพยากรการผลิตและอาจทาให้เกิดการ เคล่ือนย้ายเทคโนโลยี การแข่งขันทางการค้ารุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติ สามารถเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมท่ีเกี่ยวข้องในประเทศกัมพูชาและ เวียดนามมากขึ้น ระบบตลาดผลไม้ของประเทศไทยมีโอกาสถูกควบคุมโดยคนต่างชาติมากข้ึน เกษตรกรควรมีการจัดต้ังกลุ่มเครือข่ายหรือสมาคมผู้ผลติ และส่งออกผลไม้แต่ละชนิดเพื่อพัฒนาการ ผลิตและแลกเปลี่ยนขอ้ มูลนามูลการพัฒนาศักยภาพและเสรมิ สร้างความเขม้ แข็ง พ่อค้า ผู้รวบรวม

7 และผู้ส่งออกควรใหค้ วามสาคัญกบั คณุ ภาพของสนิ ค้า สรา้ งตราสินค้า รวมกลุ่มเพื่อสรา้ งอานาจการ ตอ่ รองในการซ้ือขายสินค้าและเสถียรภาพของราคาและป้องกันการครอบงาจากพ่อค้าชาวต่างชาติ ผู้ประกอบ อุตสาหกรรมต่อเนื่องควรมีการพัฒนาผลิตภาพและบรรจุภัณฑ์รวมรวมถึงยกระดับ มาตรการผลิตสินค้า เช่น GMP HACCP เป็นต้น เพ่ือสร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับผลิตภัณฑ์ รัฐบาลควร กาหนดนโยบายสนับสนนุ ใหช้ ัดเจน ส่งเสริมการนาผลการวจิ ัยไปปฏิบตั อิ ยา่ งจริงจัง นายุทธศาสตร์ ไปสกู่ ารปฏิบตั ิอย่างจริงจัง ใหก้ ารสนับสนุนงบประมาณเพอ่ื พัฒนาการรวมกล่มุ ให้สานักงานท่ีเป็น เครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมและการดาเนินกิจกรรมด้างทาทางด้านการผลิตและการตลาด ส่งเสริม การคา้ ผลไม้ผา่ นชายแดนให้เปน็ ระบบมากยง่ิ ข้ึน ด้านศักยภาพและกลยุทธ์ในการแข่งขันของผลไม้ไทยในอาเซียน สำนักวิจัยเศรษฐกิจ กำรเกษตร (2554) ศึกษากลยุทธ์การผลิตการตลาดผลไม้ (กรณีศึกษา ทุเรียน มังคุด เงาะ) พบว่า ผลไม้ไทยมีจุดแข็ง คือ สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเอ้ืออานวย เป็นศูนย์กลางการ คมนาคมขนส่ง เป็นทร่ี ู้จักของผ้บู รโิ ภคท้ังในและต่างประเทศ มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการ ผลิตอย่างต่อเนื่อง มีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ซ่ึงทาหน้าท่ีกาหนดยุทธศาสตร์ ผลไม้รวมท้ังแก้ไขปัญหาต่างๆ จุดอ่อน คือ ผลไม้มปี ริมาณและคุณภาพไม่แน่นอนและออกสตู่ ลาด พร้อมกัน เน่าเสียง่าย การส่งออกผลไม้พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลักเพียงประเทศเดียว มีโอกาส คือ ประเทศไทยมีการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรกี ับหลายประเทศมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออก ได้มากข้ึน มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกไปยังประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน มีการ พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปการยดื อายุผลไมโ้ ดยบรรจุภณั ฑ์เพื่ออานวยความสะดวกด้านการขนส่ง อย่างต่อเนื่อง สาหรับอุปสรรค คือ การค้าขายผลไม้กับประเทศจีนเป็นระบบฝากขาย ผู้ส่งออก เป็นผูร้ ับความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาและผู้นาเข้าผลไม้ในประเทศจีนต้องมีใบอนุญาตการ นาเข้า ผ้สู ่งออกไทยไมส่ ามารถตั้งร้านจาหนา่ ยผลไม้ของตนเองในประเทศจีนได้ถา้ ไม่มีใบอนุญาต 2.2 แนวคดิ และทฤษฎี 2.2.1 การค้าชายแดน การค้าชายแดนมีวิวัฒนาการมาจากการกาหนดเส้นเขตแดนแบ่งพื้นท่ีการปกครองของ ประเทศต่างๆ โดยประชากรมีการไปมาหาสู่กัน มีเชือ้ ชาติ ชนเผา่ ภาษาเหมอื นกนั เกิดความสมั พนั ธ์ และขนมธรรมเนียม ประเพณี มีการนาผลผลติ มาแลกเปลี่ยนกันเพอื่ การดารงชีพ จากปริมาณเพียง เลก็ น้อย ต่อมามีผลผลติ มากขึ้นเกนิ ความตอ้ งการในการดารงชีพจงึ เรม่ิ มีการแลกเปลย่ี นผลผลติ เพื่อ หวงั ผลกาไร แตค่ รอบคลมุ เฉพาะพื้นทบี่ ริเวณแนวชายแดนของประเทศคคู่ ้าทม่ี เี ขตแดนต่อกนั จึงเกิด เป็นการค้าชายแดน นอกจากน้ียังมีการส่งสินค้าผ่านประเทศที่มีชายแดนติดต่อกันไปยังประเทศที่ สามเกิดเป็นสินค้าข้ามแดนด้วย ซ่ึงสานักส่งเสริมการค้าชายแดนและมาตรการพิเศษทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศได้ให้ความหมายของการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนรวมถึงอธิบาย รูปแบบของการค้าชายแดนไวด้ งั น้ี

8 “การคา้ ชายแดน” หมายถึง การคา้ ท่ีเกดิ ขนึ้ ในรปู แบบตา่ งๆ ของประชาชนหรือผู้ประกอบการท่ีมี ภูมิลาเนาอยู่ในจังหวัด อาเภอ หมู่บ้านท่ีมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้ทาการซ้ือขาย แลกเปล่ียนสินค้าระหว่างประชาชนที่อยู่อาศัยตามบริเวณชายแดนของทั้งสองฝ่าย โดยมีมูลค่าครั้ง ละไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีความจาเป็นต่อชีวิตประจาวัน เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกษตรบางชนิดและสนิ ค้าท่หี าได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ของป่า ซากสัตว์ เปน็ ตน้ เป็นการค้า ที่มีกรรมวิธไี ม่ยุ่งยากและมีความสะดวกรวดเร็ว การคา้ ชายแดนมที ้งั ท่ถี ูกต้องตามกฎหมาย โดยผา่ น ดา่ นศุลกากรและลักลอบค้าหรอื การค้าที่ผดิ กฎหมาย การค้าชายแดนจะชว่ ยสง่ เสรมิ ความสามารถ ในการแข่งขนั อ่ืนๆ และยังสามารถทาการค้าผ่านแดนไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น เวียดนาม อินเดีย จนี ตอนใต้ บังคลาเทศและสิงคโปร์ “การค้าผา่ นแดน” หมายถึง การคา้ ท่ีเกิดข้นึ ในรูปแบบต่างๆที่ประชาชนหรือผู้ประกอบการค้า จากประเทศหนึ่งสง่ ผ่านประเทศทสี่ องไปยังประเทศท่ีสามหรือจากประเทศทส่ี ามผา่ นแดนประเทศท่ี สองมายงั ประเทศทห่ี น่ึง ท้ังนี้ แต่ละประเทศจะตอ้ งยนิ ยอมให้มีการขนส่งสนิ ค้าผา่ นแดนกันได้ รูปแบบการคา้ ชายแดน สามารถแบ่งได้เป็นหลายรปู แบบ ดงั นี้ 1) นาติดตวั ไปบรโิ ภค (consumer trade) เปน็ การซ้ือ - ขายกันระหวา่ งประชาชน ในบริเวณแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ ส่วนมากจะเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคซ่ึงจะ ดาเนินการซอื้ - ขายกันทกุ วนั และไม่สามารถเกบ็ เป็นสถิติข้อมูลปริมาณการคา้ ได้ 2) การค้าแบบเงินสด (cash) เป็นการซื้อ – ขายกันในบริเวณชายแดนที่ใช้เงินสด และมีการสาแดงและเสียภาษี ณ ด่านศุลกากรที่ควบคุมพื้นที่นั้นๆ ผู้ซื้อจะเป็นผู้สาแดงตาม ระเบียบศลุ กากรและมีการเกบ็ สถิตขิ ้อมูลทางการคา้ 3) การค้าแบบขายฝาก (sale on consignment license) เป็นการค้าแบบการให้ สินเชื่อซึ่งกันและกัน การค้ารูปแบบน้ตี อ้ งอาศัยความเช่อื ใจกนั ซ่งึ พ่อค้าชายแดนมีความสามารถใน การติดต่อกับพ่อค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นผู้ท่ีต้องการจะไปลงทุนทาการค้ากับประเทศเพื่อน บ้านจะต้องติดต่อกับพ่อค้าชายแดนเพราะจะรู้ข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างดีในการค้าและสามารถให้ สินเชอ่ื แกก่ นั ได้ 4) การคา้ แบบต่างตอบแทน (balance trade) 4.1) Import License คือ กรณีท่ีพ่อค้าในประเทศต้องการซ้ือสินค้าและ นาสินคา้ ของประเทศเพื่อนบ้านเขา้ มาจะต้องส่งสินค้าของประเทศออกไปก่อน จากน้ันเม่ือมกี ารนา สินคา้ เข้าและสนิ ค้าออกในมลู ค่าท่เี ท่ากนั แล้วก็จะได้ license เมือ่ พ่อค้าที่ทาการคา้ ได้ license แล้ว กจ็ ะนา license ท่ไี ด้ไปสั่งสินค้านาเข้าไดใ้ นมูลค่าท่ีเท่ากันกับท่ีส่งสินค้าออกทีท่ ุกประเทศทาการค้า ในรูปแบบนเ้ี พื่อความเสมอภาคทางการคา้ และรักษาเงินตราและเพ่ือปกปอ้ งอุตสาหกรรมทีเ่ กดิ ขนึ้ ใน ประเทศของตน ประเทศเพ่ือนบ้านของไทยที่นิยมใช้วิธีการค้ารูปแบบน้ี คือ สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมยี นมาร์ นิยมใชม้ ากกวา่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพชู า 4.2) border trade agreement เป็นรูปแบบการค้าที่ประเทศเพ่ือนบ้าน เสนอโดยกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุม JTC (Joint Trade Committee) และกระทรวงการ ต่างประเทศเข้าร่วมประชุม JCC ทั้งสองหน่วยงานของไทยประชุมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทุกปี

9 เพื่อเจรจาเร่ืองการค้าที่ค้าขายผ่านบรเิ วณชายแดนให้เป็นการค้าท่ีถกู ต้องและมีรูปแบบท่ีตรงกันแต่ ยังไม่สามารถดาเนินการได้ เนื่องจากสหภาพเมียนมาร์ยังไม่ยอมแก้ไขกฎหมายเพ่ือรองรับการค้า รปู แบบน้ี 5) การค้าแบบหักบัญชี (account trade หรือ counter trade) เป็นนโยบายของ รฐั บาล เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศเพ่ือนบ้านเรียกร้อง เพื่อให้ การค้าชายแดนเป็นการค้าที่ถูกต้อง จึงคิดรูปแบบการค้า โดยการเปิดบัญชีขึ้นมาบัญชีหนึ่ง โดย รฐั บาลของแต่ละประเทศ หากผู้ค้าคนใดจะทาการค้าตอ้ งมาลงทะเบียนเป็นผู้ค้า และดาเนินการสั่ง ของเขา้ มาแล้วไปตดั หรอื หกั บญั ชภี ายหลงั แต่ไมป่ ระสบความสาเรจ็ ปัจจุบันไมไ่ ด้ใชแ้ ล้ว 6) การค้าแบบสากล (normal trade) เป็นการค้าแบบมาตรฐานสากล โดยใช้ วธิ กี ารเปิด L/C เป็นรูปแบบการคา้ ทนี่ ิยมใชแ้ พร่หลาย นอกจากนี้ รูปแบบการค้าชายแดนยังแบ่งเป็นการค้าในระบบและการคา้ นอกระบบ ได้แก่ การค้าชายแดนในระบบ เป็นการค้าท่ีต้องผ่านพิธีการศุลกากรทั้งนาเข้าและส่งออก โดย ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนาเข้าและส่งออก การค้าชายแดนนอกระบบ เป็นการค้าท่ีไม่ผ่านระบบพิธีการศุลกากร เน่ืองจากเป็นการค้าเล็กๆน้อยๆของประชาชนในพ้ืนที่ ชายแดน ส่วนใหญเ่ ป็นสนิ ค้าอปุ โภคบรโิ ภคท่ใี ช้ในชีวิตประจาวัน 2.2.2 จุดผ่านแดนบริเวณชายแดนประเทศไทยกบั ประเทศเพอ่ื นบ้าน เน่อื งจากประเทศไทยและประเทศเพ่ือนบ้านมีชายแดนทีย่ าวติดต่อกัน ทาให้มีช่องทางผ่าน แดนธรรมชาติจานวนมากเพื่อใหป้ ระชาชนอาศัยเดนิ ทางเข้า - ออก และมีการลักลอบนาสนิ ค้าข้าม แดน ได้มีการกาหนดจุดผ่านแดนบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (ด่านศุลกากรอรัญ ประเทศ, ไมร่ ะบุวนั ที่ และสานกั งานสง่ เสรมิ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม, 2550) ไว้ดังนี้ 1) จดุ ผ่านแดนถาวร เป็นจุดผ่านแดนท่ีเปิดขึ้นเพ่ือการค้า การสัญจรไปมาและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองประเทศ มีวตั ถุประสงค์เพ่ือให้ประชาชนท้ัง สองประเทศ นักท่องเที่ยวและยานพาหนะสามารถสัญจรไปมาเพ่ือการค้า การท่องเที่ยวและอนื่ ๆ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เป็นผลู้ งนามในประกาศกระทรวงมหาดไทยตามทคี่ ณะรัฐมนตรเี ห็นชอบและมี ผลบังคับใช้เม่ือประกาศในราชกจิ จานุเบกษา โดยปกติจุดผ่านแดนถาวรนี้จะถูกกาหนดให้เป็นด่าน ศุลกากรเสมอ ซึ่งด่านศุลกากรมีความสาคัญยิ่งตอ่ ระบบการค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดน สินค้าท่ผี า่ นเขา้ ออกเป็นสินค้าทีถ่ ูกต้องตามกฎหมายต้องดาเนินการผ่านพธิ กี ารด่านศลุ กากร 2) จุดผ่านแดนช่ัวคราว เป็ น จุ ดผ่ าน แด น ที่ มี ผู้ ร้ อ ง ขอ ก ร ะ ท ร ว ง ม ห าด ไท ย ให้ เปิ ด เป็ น ก าร ชั่ ว คร าว เพ่ื อ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นการเปิดเพื่อผ่อนผันให้มีการผ่านแดนได้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะภายใน ห้วงเวลาที่กาหนดไว้แน่นอนเฉพาะกิจไมม่ ีผลกระทบด้านความม่ันคงและความปลอดภัย เม่ือครบ กาห นดเวลาหรือบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว จะปิดจุดผ่าน แดน ทัน ที โดยรัฐมน ตรีว่าก าร

10 กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทยประกาศเปิดจุดผา่ นแดนชวั่ คราวตาม ความเหน็ ชอบของคณะอนกุ รรมการพิจารณาเปดิ จดุ ผ่านแดนของสานักงานสภาความมั่นคงแหง่ ชาติ ปัจจุบันจะไมม่ ีดา่ นศลุ กากรใดตั้งอยู่ ณ จุดผ่านแดนชั่วคราวแต่อย่างใด 3) จดุ ผอ่ นปรน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศเพ่ือนบ้านด้านมนุษยธรรมและส่งเสริม ความสัมพันธ์ของประชาชนในระดับท้องถ่ินเพ่ือการผ่อนปรนให้มีการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภค และยารักษาโรคท่ีจาเป็น ซึ่งระดับท้องถิ่นของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกนั ท้ังน้ีการประกาศเปิด จดุ ผ่อนปรนเปน็ อานาจของผูว้ ่าราชการจังหวัดและต้องได้รับความเหน็ ชอบจากกระทรวงมหาดไทย ก่อนด้วย ปจั จุบันจะไมม่ ีด่านศุลกากรใดตัง้ อยู่ ณ จุดผอ่ นปรนแตอ่ ย่างใด 4) จุดผา่ นแดนสารอง เป็นจุดท่ีประชาชนท้ังสองประเทศใช้ผ่านเข้าออกไม่เป็นทางการเป็นไปตาม ธรรมชาตแิ ละลกั ษณะภูมิประเทศ 2.2.3 เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษ เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษชายแดนเป็นแนวคดิ การพัฒนาท่ีมีการรเิ ริ่มดาเนนิ งานในประเทศ ไทยมานานกว่า 10 ปี โดยเร่ิมแรกของการจัดต้ังเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นการใช้ประโยชน์ จากโอกาสของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงท่ีได้กาหนด แผนการดาเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งและ กจิ กรรมทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกจิ (Economic Corridor) แต่การพัฒนาในช่วงแรก ยังไมเ่ กิดผลที่ชดั เจนมากนัก เนื่องจากมีข้อจากัดและปญั หาอุปสรรคในการขับเคลื่อนการดาเนินงาน โดยเฉพาะในด้านความต่อเนื่องของงานภายใต้การเปล่ียนแปลงรัฐบาลบ่อยคร้ังรวมท้ังการบริหาร จดั การเพือ่ ใหไ้ ด้มาซงึ่ ท่ีดนิ สาหรับจดั ตง้ั เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษซงึ่ ใช้เวลาค่อนขา้ งมาก ในช่วงปี 2556 - 2557 ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมเพ่ือใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนซึ่งส่งผลให้พ้ืนที่ชายแดนมีบทบาทสาคัญในการเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับ ประเทศในภูมิภาค โดยต้องเร่งพัฒนาพ้ืนที่ชายแดนให้สามารถรองรับการลงทุนและอานวยความ สะดวกในการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจขา้ มพรมแดน เพมิ่ ศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นทีเ่ พื่อ ใช้ประโยชน์จากการพัฒนา และบริหารจัดการผลกระทบอันอาจเกิดจากการพัฒนา อาทิ การ เคลอ่ื นย้ายแรงงานจากประเทศเพ่ือนบ้าน การลักลอบนาเข้า - สง่ ออกสิง่ ผดิ กฎหมายข้ามพรมแดน เขา้ สู่พ้ืนทีอ่ ่ืนๆ ของประเทศประกอบกบั การพัฒนาพื้นท่ีชายแดนทีม่ ีศักยภาพใหเ้ ป็นพ้นื ที่เศรษฐกิจ ใหม่เพื่อรองรับการลงทุนเพื่อช่วยลดการกระจุกตัวของการลงทุนในพื้นท่ีภาคกลางและสนับสนุน เป้าหมายของไทยในการหลดุ พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้กาหนดนโยบายให้มีการจัดต้ังเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่นาทาง (Roadmap) สนับสนุนการพัฒนาประเทศเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้าและช่วยรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยได้มีคาสั่งที่ 72/2557 เม่ือวันที่ 19 มิถุนายน 2557 แต่งต้ังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา

11 เศรษฐกิจ พเิ ศษ (กนพ.) มีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (หน.คสช.) เป็นประธาน กรรมการ ผู้แทนหน่วยงานที่เก่ียวข้องท้ังภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ ท้ังนี้ หน.คสช. ได้มีดาริให้มี การจัดตงั้ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในทกุ ภาค/ช่องทางท่ีสาคัญซงึ่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นของการ ขบั เคลื่อนนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อย่างจรงิ จังและต่อเน่ือง นับตง้ั แต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของประเทศไทยได้กาหนดวัตถุประสงค์เพ่อื กระจาย ความเจริญสู่ภูมภิ าค ลดความเหลื่อมลา้ ของการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและ เสริมสร้างความม่ันคงบริเวณชายแดนรวมท้ังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพ่ือใช้ ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ภาครัฐให้การสนับสนุนในส่วนท่ีเป็นองค์ประกอบหลักของการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนเพ่ือส่งเสริมและอานวยความสะดวกการลงทุนของภาคเอกชน โดยกาหนดให้เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษชายแดน หมายถึง บริเวณพื้นท่ีที่คณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กาหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งรัฐจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน สิทธิประโยชนด์ ้านการส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแบบไป - กลับ การใหบ้ ริการแบบ จุดเดียวเบ็ดเสรจ็ และการอืน่ ที่จาเปน็ โดยองคป์ ระกอบหลักของการพัฒนาเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ประกอบด้วย 1) การกาหนดพื้นท่ีที่เหมาะสมในการจัดตั้งเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 2) การให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน 3) การจัดตั้งศูนย์บรกิ ารจุด เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ด้านการลงทุน 4) การบริหารจัดการด้านแรงงานและ การจัดต้ังศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความม่ันคง 5) การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและด่านศลุ กากร 2.2.4 การวิเคราะห์ SWOT (Strengths, Weakness, Opportunities and Threats Analysis) และ TOWS Matrix เป็นวิธีการหรือเครื่องมือสาหรับการวางแผนกลยุทธ์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายใน กิจการต่างๆ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT จะทาให้ทราบสถานภาพปัจจุบันขององค์กรว่ามี ลักษณะอยา่ งไร เพอ่ื หากลยุทธ์ทเ่ี หมาะสมให้แก่องค์กรน้นั ๆ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง การตรวจสอบความสามารถ และความพร้อมที่ทาให้ทราบถึงจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อนขององค์กร (Weakness) ซ่ึงจะ ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส (Opportunities) และหลบหลีกจากอุปสรรค(Threats) ที่ เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ การวเิ คราะหจ์ ุดแขง็ และจุดอ่อนยังช่วยระบถุ ึงจุดแขง็ ท่ซี ่อนอยู่ และจุดอ่อนที่ถูกละเลย องค์กรจะต้องสามารถระบุปัจจัยภายในขององค์กรที่เป็นจุดแข็งและ จุดอ่อนได้ เนื่องจากจุดแข็งนาไปสู่การได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นส่ิงซ่ึงองค์กรมีอยู่ทาหรือ สามารถทาได้ดีกว่าคู่แข่งขัน จุดอ่อน คือ ส่ิงซ่ึงองค์กรมีหรือทาหรือไม่มีเลย ซ่ึงในขณะท่ีคู่แข่งขัน สามารถทาได้ดีกว่า การพิจารณาจุดอ่อนและจุดแข็งสามารถเปรียบเทียบได้กับปัจจัย 3 ประการ

12 ได้แก่ ผลการดาเนินงานที่ผ่านมาในอดีตขององค์กร (Past Performance) คู่แข่งขันท่ีสาคัญของ องคก์ ร (Key Competition)และอุตสาหกรรมท้ังหมด 2) การวเิ คราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อม ในการดาเนินธุรกิจท่ีผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงต้องศึกษา สถานการณป์ ัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดลอ้ มดังกลา่ วว่าเป็นไปใน ลักษณะที่เป็นโอกาส หรืออุปสรรคในการดาเนินธุรกิจ ซ่ึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ภายนอกก็ส่งผลต่อองค์กรธุรกิจแต่ละแห่งในลักษณะ ที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิด โอกาสสาหรับองค์กรบางแหล่งอาจจะกลายเป็นข้อกาหนดขององค์กรอน่ื หรือถงึ แม้องค์กรธุรกิจ หลายแห่งอาจจะได้รับประโยชน์จากโอกาสท่ีเกิดข้ึนคล้าย ๆ กัน แต่บางแห่งก็อาจจะได้รับ ประโยชน์มากกว่าแห่งอ่ืน เน่ืองจากลักษณะที่แตกต่างกันขององค์กรธุรกิจและความสามารถของ ผู้บริหารในการท่จี ะกาหนดกลยทุ ธ์ใหไ้ ดร้ บั ประโยชนจ์ ากโอกาสท่ีเกิดขน้ึ 3) แนวคิดการวิเคราะห์ TOWS Matrix เป็นแมทริกซ์ท่ีแสดงถึงโอกาสและ อุปสรรคจากภายนอกองค์กรที่สัมพันธ์กับจุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์กรโดยมีทางเลือกของ กลยทุ ธ์ 4 ทางเลอื ก ซึ่งเกดิ จากการจบั คู่ระหวา่ งปจั จยั ภายนอกและปจั จัยภายใน ดงั นี้ ตารางที่ 2.1 TOWS Matrix : Threats - Opportunities - Weaknessess - Strengths ) TOWS Matrix SW O S – O Strategies W – O Strategies ใชจ้ ุดแข็งเพอ่ื สรา้ งข้อได้เปรียบ แก้ไขจดุ อ่อนเพ่อื สรา้ งข้อไดเ้ ปรยี บจากโอกาส จากโอกาส T S – T Strategies W – T Strategies ใช้จุดแขง็ แกไ้ ขและอปุ สรรค ตัดทอน / เลิกกิจการ ท่ีมา : อา้ งองิ จากการจดั การกลยุทธ์ (Strategic Management) ของ Michael A.Hitt, R.Duane Ireland and Robert E.Hoskisson กลยุทธ์ SO หรือเรยี กวา่ กลยุทธ์จดุ แข็งกับโอกาส ได้แก่ กลยุทธ์ท่ีองคก์ รจะใช้จุดแข็ง ภายในองค์กรอาศัยประโยชน์จากโอกาส ณ ภายนอกที่เปิดโอกาสให้ ซึ่งทุกองค์กรต่างมีความ ตอ้ งการจะสร้างความเข้มแข็งภายในเพื่อสามารถอาศัยประโยชนจ์ ากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ณ ภายนอก ซ่ึงมีหลายองค์กรใชก้ ลยุทธ์ WO ST SO เพื่อจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ท่ีสามารถใชก้ ล ยุทธ์ SO ได้อีกหมายความว่า เมื่อองค์กรมีความอ่อนแอภายในก็จะพยายามปรับปรุงให้องค์กร ภายในเข้มแขง็ ข้นึ และเมื่อองค์กรประสบกบั อปุ สรรค ณ ภายนอกก็จะพยายามหลกี เลีย่ ง และมุ่ง เขา้ หาโอกาสต่อองค์กรให้มากที่สุดเทา่ ทจ่ี ะเปน็ ไปได้

13 กลยุทธ์ ST หรือเรียกว่า กลยุทธ์จุดแข็งกับอุปสรรค ได้แก่ กลยุทธ์ที่จะใช้ความ เขม้ แข็งภายในองค์กรหลีกเล่ยี งหรอื ลดอุปสรรค ณ ภายนอกทงั้ จากคู่แข่งขนั หรือปจั จยั อน่ื ๆ กลยุทธ์ WO หรือเรียกว่า กลยุทธ์จุดอ่อนกับโอกาส ได้แก่ กลยุทธ์ที่องค์กรจะ ปรับปรุงแก้ไขความอ่อนแอภายในองค์กรโดยอาศยั ประโยชน์จากโอกาส ณ ภายนอกท่ีเปิดโอกาส ให้ ถึงแม้ว่าส่ิงแวดล้อมภายนอกดีมากแต่หากองค์กรมีปัญหาภายในเองก็อาจทาให้ไม่ได้รับ ประโยชน์จากโอกาส ณ ภายนอกที่มีอยู่ เพราะจุดอ่อนอาจทาให้องค์กรไม่สามารถอยู่ได้ จึงควร หาวิธีในการเปลี่ยนจดุ อ่อนให้เป็นจุดแขง็ เพราะยังมีโอกาสหรือช่องทางในการดาเนินงานในองค์กร ตอ่ ไปได้ กลยุทธ์ WT หรือเรียกว่า กลยุทธ์จุดอ่อนกับอุปสรรค ได้แก่ กลยุทธ์ท่ีปกป้ององค์กร อย่างทสี่ ุดคอื พยายามลดความอ่อนแอภายในและหลีกเลยี่ งสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เป็นอุปสรรค ให้ไดม้ ากท่ีสุด หากองค์กรเผชญิ กับอุปสรรคภายนอกและภายในก็ยงั อ่อนแอ องค์กรก็จะตกอยู่ใน สถานการณท์ ีไ่ มด่ อี าจตอ้ งเลิกกจิ การ

14 บทที่ 3 สภำพท่ัวไป 3.1 เขตพัฒนำเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย 3.1.1 ความหมายและวัตถุประสงค์ในการจัดต้ังเขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คือ บริเวณพ้ืนที่ท่ีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ (กนพ.) กาหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซ่ึงรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานสิทธิ ประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนการบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป – กลับ การให้บริการจุดเดียว เบ็ดเสร็จและการอ่ืนที่จาเป็นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพ่ือสร้างฐานการผลิตเช่ือมโยงกับ อาเซยี นและพฒั นาพนื้ ท่ีชายแดน 3.1.2 แนวทางการดาเนนิ งานเขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษ 1) ส่งเสริมการลงทุนและอานวยความสะดวกการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ 2) พัฒนาและยกระดับกจิ กรรมเศรษฐกิจทสี่ อดคล้องกบั ศกั ยภาพของพน้ื ท่ี 3) จัดให้มีโครงสร้างพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจและสังคม (การขนส่งผ่านแดน ไฟฟ้า ประปา ระบบน้า สาธารณสขุ แรงงานและสิง่ แวดลอ้ ม 4) ใหป้ ระชาชนและภาคกี ารพัฒนามีสว่ นร่วมไดร้ บั ประโยชน์ 5) เสรมิ สรา้ งความสามารถของวิสาหกิจชมุ ชนและภาคเอกชนในพน้ื ที่ 6) บรหิ ารจดั การทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม 3.1.3 พนื้ ทีเ่ ขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษในประเทศไทย มจี านวน 10 เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษ พ้ืนท่ีรวม 6,220.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,886,481.58 ไร่ แบ่งเป็น ระยะท่ี 1 ตามประกาศ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ครั้งท่ี 1/2558 ลงวันท่ี 19 มกราคม 2558 จานวน 5 เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษ ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวัดตาก เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พเิ ศษจังหวัดตราดและเขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวดั สงขลา ระยะท่ี 2 ตามประกาศ กนพ. คร้ัง ที่ 2/2558 ลงวันท่ี 24 เมษายน 2558 อีกจานวน 5 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษจังหวัดนครพนม เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรีและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนราธิวาส โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 พ้ืนท่ีเป็นพื้นท่ีชายแดนติดต่อกับประเทศ สมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก และ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เขตพัฒนา

15 เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดจังหวัดเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคายและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม ประเทศกัมพูชาท่ี เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ประเทศ มาเลเซยี ทีเ่ ขตพฒั นาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวัดสงขลาและเขตพัฒนาเศรษฐกจิ พเิ ศษจงั หวัดนราธิวาส ตารางท่ี 3.1 พ้นื ที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษ ขนาดพืน้ ท่ี รวม 10 พนื้ ที่ ตารางกิโลเมตร ไร่ เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจังหวดั ตาก เขตพฒั นาเศรษฐกิจพิเศษจงั หวัดมกุ ดาหาร 6,220.05 3,887,507.21 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวดั สระแก้ว เขตพฒั นาเศรษฐกิจพิเศษจงั หวัดตราด 1,419.00 886,875.00 เขตพฒั นาเศรษฐกจิ พเิ ศษจังหวัดสงขลา เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจงั หวดั หนองคาย 578.50 361,542.50 เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวัดนราธิวาส เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจังหวัดเชียงราย 332.00 207,500.00 เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวดั นครพนม เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวดั กาญจนบรุ ี 50.20 31,375.00 552.30 345,187.50 473.67 296,042.00 235.17 146,981.25 1,523.63 952,266.46 794.79 496,743.75 260.79 162,993.75 ท่มี า : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ , 2559 3.2 เขตพฒั นำเศรษฐกิจพเิ ศษจังหวดั ตรำด 3.2.1 พ้ืนที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด มีพ้ืนท่ี 50.20 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,375.00 ไร่ ครอบคลมุ พื้นที่ท้ังหมดของอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรงุ เทพมหานคร 389 กิโลเมตรและห่างจากจังหวดั ตราด 74 กิโลเมตร ประกอบดว้ ยตาบล 3 แห่ง ได้แก่ ตาบลหาด เลก็ ตาบลคลองใหญ่และตาบลไม้รูด เทศบาล 2 แหง่ ได้แก่ เทศบาลหาดเลก็ และเทศบาลคลอง ใหญ่ องค์การบรหิ ารสว่ นตาบล 2 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตาบลคลองใหญ่และองคก์ าร บริหารส่วนตาบลไม้รูด มีจานวนประชากร 13,427 คน (ปี 2557) ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบ อาชพี ประมงทะเล

16 ภาพที่ 3.1 เขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษจงั หวัดตราด ภาพท่ี 3.2 จงั หวัดตราด 3.2.2 กิจการเปา้ หมาย กิจการเป้าหมายท่ีรัฐส่งเสริมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ประกอบด้วย 14 กลมุ่ อตุ สาหกรรม ได้แก่ เกษตร ประมงและกิจการที่เกย่ี วข้องโลจสิ ติกส์นคิ มหรือเขตอุตสาหกรรม กิจการเพ่ือสนับสนุนการท่องเที่ยว การอบพืชและไซโล ผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้/เศษวัสดุทาง การเกษตร ผลิตอาหารสัตว์ วัสดุก่อสร้างและคอนกรีตอัดแรง โครงสร้างเหล็กงานก่อสร้างและ อุตสาหกรรม ส่ิงพิมพ์ เคร่ืองประทินผิว ผลิตภัณฑ์พลาสติกสาหรับสินค้าอุปโภค การผลิตสิ่งของ จากเยอ่ื หรือกระดาษ พัฒนาอาคารโรงงานและ/หรอื คลังสนิ ค้า 3.2.3 ความกา้ วหน้าการดาเนินงาน เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษจงั หวดั ตราดมคี วามกา้ วหน้าในการดาเนินงานดา้ นตา่ งๆ ดงั น้ี 1) การแตง่ ต้ังคณะกรรมการ จังหวัดตราดได้แต่งต้ังคณะกรรมการนโยบายและขับเคล่ือนเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ จังหวัดตราด เม่ือวันที่ 2 ธันวาคม 2557 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้า สานักงานจังหวัดตราดเป็นเลขานุการ และในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ได้แต่งต้ังอนุกรรมการ สนับสนุนการดาเนินงานขับเคล่ือนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด จานวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการการค้าครบวงจร โดยมีรองผู้ว่าราชการ จังหวัดตราด (ท่ีได้รับมอบหมาย) เป็นประธาน พ าณิ ชย์จังหวัดตราดเป็นเลขานุการ คณะอนุกรรมการด้านการท่องเท่ียวและบริการครบวงจร มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด(ที่ได้รับ มอบหมาย)เป็นประธาน ผู้อานวยการท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย (ททท) สานักงานตราดเป็น เลขานุการ คณะอนุกรรมการด้านศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข การศึกษาและ

17 ความม่ันคง มีรองผ้วู ่าราชการจังหวัดตราด (ท่ีได้รับมอบหมาย) เป็นประธาน แรงงานจังหวัดตราด เป็นเลขานกุ าร 2) การพัฒนาโครงสรา้ งพ้นื ฐานและระบบสาธารณูปโภค 2.1) การปรบั ปรุงด่านศุลกากรบรเิ วณด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก กรมศลุ กากรดาเนนิ โครงการพัฒนาเพอ่ื ปรับปรงุ บริเวณดา่ นพรมแดนบา้ น หาดเล็ก งบประมาณ 50 ล้านบาท (งบประมาณปี พ.ศ. 2558) โดยดาเนินการออกแบบก่อสร้าง อาคารให้มีพ้ืนท่ีปฏบิ ัติงานและสานักงานของหน่วยงาน C.I.Q แต่ไม่สามารถดาเนินการได้เนื่องจาก ปัญหาความทับซ้อนของเขตแดนระหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดน ภายใต้สานักงานสภาความม่ันคงแห่งชาติได้เชิญตัวแทนกรมศุลกากรและผู้เก่ียวข้องเข้าร่วมประชุม ทป่ี ระชุมไดม้ ีมติเห็นควรชะลอการก่อสร้างไว้ก่อนโดยให้กรมศุลกากรปรับแผนการใช้งบประมาณทีได้รับ การจัดสรรไว้แล้วไปดาเนินการในส่วนอ่ืน ๆ และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศนาเรื่องนี้เข้าสู่ท่ี ประชมุ คณะกรรมาธกิ ารเขตแดนรว่ มไทย – กมั พูชาต่อไป โดยจังหวดั ตราดได้มอบหมายสานักงาน โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตราดออกแบบและประมาณการราคาเพื่อจัดทาโครงการปรับปรุงด่าน พรมแดนถาวรบ้านหาดเล็กให้เป็นมาตรฐานสากลและขอรบั การสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ เพิ่มขีดสมรรถนะในการกากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรฐั มนตรี (นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2559 งบประมาณ 10 ล้านบาท ซ่ึงต่อมาไม่ สามารถดาเนนิ การไดเ้ ชน่ เดยี วกัน 2.2) การกอ่ สร้างอาคารตรวจสนิ ค้าและคลงั สนิ คา้ ด่านศลุ กากรคลองใหญ่ ดาเนินการก่อสร้างอาคารตรวจสินค้าและคลังสินค้าด่านศุลกากรคลอง ใหญ่ ซ่ึงตั้งอยู่ในตาบลไม้รูด อาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดตั้งเคร่ืองตรวจสินค้าด้วยระบบ X-RAY แบบเคล่ือน ณ ลานตรวจสินค้าขาเข้า - ขาออก โดยเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันท่ี 22 พฤศจกิ ายน 2558 2.3) การพัฒนาระบบการขนส่งทางบก กรมทางหลวงดาเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สาย ตราด - หาด เล็ก ตอน 2 ส่วนที่ 1 กม. 407 + 640 – กม. 430 - 890 ระยะทางยาวประมาณ 23.250 กม. งบประมาณก่อสร้าง 686,437,000 บาท (งบประมาณปี 2558 – 2560) ผลการดาเนินงาน 21.70 % ตอน 2 ส่วนที่ 2 กม. 477 + 840 กม.488 + 130 ระยะทางยาวประมาณ 10.290 กม. งบประมาณกอ่ สร้าง 695,634,000 บาท (งบประมาณปี 2558 – 2560) ผลการดาเนนิ งาน 24.79 % กอ่ สร้างทางหลวงหมายเลข 3 สาย ตราด - หาดเล็ก ตอน 3 โดยได้รบั การ สนับสนุนงบประมาณปี 2559 - 2561 กม.430 + 890 – กม. 454 + 390 รวมระยะทาง 23.500 กม. งบประมาณ 953 ล้านบาท ผลการดาเนนิ งาน 0.17 % และตอน 4 เสนอขอรับการสนบั สนุน งบประมาณ ปี 2560 - 2562 กม.454 + 390 – กม.477 + 840 รวมระยะทาง 23.45 กม. งบประมาณ 990 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณารบั ราคา

18 2.4) การพฒั นาระบบการขนส่งทางนา้ กรมเจ้าท่าดาเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ขนาดกลาง 500 ตนั กรอส ในพื้นทต่ี าบลคลองใหญ่ อาเภอคลองใหญ่ จงั หวดั ตราด งบประมาณ 1,295.10 ล้านบาท (งบประมาณปี พ.ศ. 2554 - 2559) ผลการดาเนินงาน ณ วันท่ี 30 มิถุนายน 2559 อยู่ระหว่าง การเก็บรายละเอียดและข้อบกพร่องของเน้ืองานบางส่วน รวมทั้งได้มีการพัฒนาถนนบริเวณทาง เข้าท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ อาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ผลการดาเนินงานอยู่ระหว่างออก พระราชกฤษฎีกากาหนดเขตท่ดี นิ ในบริเวณที่ท่ีจะเวนคืน 2.5) การพฒั นาระบบสาธารณปู โภค - การปรบั ปรงุ /ขยายประปา การประปาส่วนภมู ิภาคสาขาคลองใหญ่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจาปี พ.ศ.2557 จานวน 151.2 ล้านบาท ดาเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วน ภมู ภิ าค สาขาคลองใหญ่ แผนงานประกอบด้วย การกอ่ สรา้ งสถานีผลิตน้าคลองสะพานหิน (แห่งใหม่) โดยก่อสร้างระบบผลิตน้าขนาด 4,800 ลบ.ม./วนั พร้อมก่อสร้างถังน้าใส ก่อสร้างสถานเี พ่ิมแรงดัน คลองสะพานหิน (แห่งใหม่) พร้อมก่อสร้างถังน้าใส ก่อสร้างสถานีจ่ายน้าเขาไม้รูด (อนาคต) พร้อม ก่อสรา้ งถงั น้าใส ก่อสร้างวางท่อส่ง - จ่ายนา้ ซึ่งเม่ือก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถรองรบั ความต้องการใช้ น้าถงึ ปี พ.ศ. 2569 ความก้าวหนา้ ของการดาเนินการก่อสรา้ งประมาณ 58.65 % - การปรบั ปรุง/ขยายไฟฟา้ การไฟฟา้ ส่วนภูมิภาคจงั หวดั ตราดไดด้ าเนินการตดิ ต้งั หม้อแปลง 115/22 KV ขนาด 50 MVA ท่ีสถานีจ่ายไฟคลองใหญ่ งบประมาณ 83.05 ล้านบาท ก่อสร้าง ระบบจาหน่าย 22 KV. รองรับจ่ายไฟในพ้ืนที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยปรับปรุงระบบ จาหนา่ ยใตไ้ ลน์ ช่วงสถานีไฟฟ้าคลองใหญ่ – บ้านไมร้ ูด ( วงจร 2 ) ( ฝ่ังซ้าย ) งบประมาณ 13.00 ล้านบาท เสริมระบบจาหน่ายใต้ไลน์ฯ ช่วงสถานีไฟฟ้าคลองใหญ่ – บ้านไม้รูด (วงจร 7) (ฝั่งซ้าย) งบประมาณ 8.24 ล้านบาท เสริมระบบจาหน่ายช่วง อ.คลองใหญ่ – บ้านคลองสน ( วงจร 10 ) ( ฝั่งขวา ) งบประมาณ 6.50 ล้านบาท เสริมระบบจาหน่ายช่วง บ้านคลองสน – บ้านหาดเล็ก ( วงจร 10 ) ( ฝ่ังขวา ) งบประมาณ 13.00 ล้านบาท ติดต้ัง Load Break Switch 22Kv จานวน 5 ชุด งบประมาณ 2.90 ล้านบาท ติดต้ังหม้อแปลงจาหน่ายไฟฟ้ารวม 1,200 KVA และก่อสร้าง ระบบจาหน่ายแรงต่า งบประมาณ 11.38 ล้านบาท ติดตั้งหม้อแปลงจาหน่าย ขนาด 160 KVA จานวน 4 เคร่ือง ติดตั้งหม้อแปลงจาหน่าย ขนาด 50 KVA จานวน 11 เครื่อง ก่อสร้างเสริม ระบบจาหนา่ ยแรงตา่ 380/220V ระยะทางวงจร รวม 30 วงจร - กม. 2.6) การบรหิ ารจัดการทด่ี ินในเขตพัฒนาเศรษฐกจิ พิเศษ ก ร ม โ ย ธ า ธิ ก า ร แ ล ะ ผั ง เมื อ ง ไ ด้ ด า เนิ น ก า ร อ อ ก แ บ บ ว า ง ผั ง เมื อ ง ร ว ม (Comprehensive Plan) ซ่ึงเป็นผังที่บังคับใช้ตามกฎหมาย คือ “ผังเมืองรวมคลองใหญ่ ” ครอบคลมุ พ้นื ที่อาเภอคลองใหญ่ท้ังอาเภอ ประกอบด้วยเทศบาลตาบลหาดเล็ก เทศบาลตาบลคลอง ใหญ่ องค์การบริหารส่วนตาบลคลองใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตาบลไม้รูด ผลการดาเนินงาน อยใู่ นข้นั ตอนที่ 5 ประชมุ คณะอนุกรรมการผังเมอื งเพ่ือพิจารณาด้านผังเมอื ง เมื่อวันท่ี 17 มิถุนายน

19 2559 และอยู่ในข้ันตอนการเตรียมประชุมคณะกรรมการผังเมือง ดาเนินการจัดทาร่างประกาศ กระทรวงมหาดไทย เร่ือง กาหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท ในท้องที่ตาบลไม้รูด ตาบลคลองใหญ่ และตาบลหาดเล็ก อาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ประชมุ รับฟงั ความคดิ เห็นตอ่ ร่างประกาศฯ จานวน 3 ครั้ง ครัง้ ท่ี 1/2558 วนั ศุกรท์ ่ี 4 กันยายน 2558 คร้ังที่ 1/2559 วันพุธท่ี 17 กุมภาพันธ์ 2559 และคร้ังที่ 2/2559 วันอังคารท่ี 22 มนี าคม 2559 คณะกรรมการพจิ ารณารา่ งกฎหมายฯ ดาเนนิ การประชุมในวนั ท่ี 7 ธนั วาคม 2559 กรมธนารักษ์ได้ดาเนินการออกโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 895 - 0 - 44 ไร่ ประกาศสรรหาผู้ลงทุน เมื่อวันท่ี 4 เมษายน 2559 โดยขายเอกสารการลงทุนและแผนผังพื้นที่ พัฒนา ต้ังแต่วันที่ 11 เมษายน 2559 - 19 พฤษภาคม 2559 มีนักลงทุนซ้ือเอกสารการลงทุน จานวน 12 ราย ได้แก่ บริษัทพร็อพเพอร์ต้ี เพอร์เฟค จากัด (มหาชน) บริษัทซีพีแลนด์ จากัด (มหาชน) บริษทั ไทยบอนเนต เทรดดิ้งโซน จากดั บริษทั ริเวอร์เอ็นจิเนียร่ิง จากัด หา้ งหุ้นสว่ นจากัด ตราดโยธาการ บริษัทไอเดีย วิท ไอ ดู จากัด บริษัทพันปี กรุ๊ป (ไทย ลาวกัมพูชา) จากัด บริษัทยู นิค เอ็นจิเนียร่ิง จากัด (มหาชน) บริษัทไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จากัด บริษัททีซีแลนด์ ดี เวลลอปเมนท์ จากดั บริษัทแอด็ วานซ์เอนเนอรด์ ีเวลลอปเมนท์ จากัด บริษทั เอเชีย กรีน อินดลั เตรี ยล ปาร์ค จากดั กาหนดวัน เวลา รับฟังคาช้แี จงและดพู นื้ ทล่ี งทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษ วันท่ี 31 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดตราด ผู้ลงทุนจัดทาข้อเสนอโครงการ ลงทุน โดยมีระยะเวลาประมาณ 60 วัน (ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม – 20 กรกฎาคม 2559) กาหนดวัน เวลา ย่ืนซองเสนอการลงทุน ในวันท่ี 21 กรกฎาคม 2559 ณ กรมธนารักษ์ ต้ังแต่เวลา 09.00-15.00 น. ซึ่งคณะทางานสรรหา คัดเลือก และเจรจาผู้ลงทุนในพื้นท่ีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะต้อง พิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประมูล เพื่อให้ กนพ. พิจารณาให้ความเห็นชอบภายในกาหนด 30 วัน นบั แต่วนั ทป่ี ิดรับใบเสนอการลงทุน คณะทางานสรรหาฯ ได้มีการประชุมคร้ังท่ี 1/2559 เมื่อวันท่ี 10 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมมีมติให้แต่งต้ังคณะทางานย่อย จานวน 2 ชุด คือ คณะทางานชุดการให้ คะแนนแผนการใช้ที่ดินและแนวคิดในการจัดทาผังแม่บท ซ่ึงมีผู้แทนจังหวัดตราดร่วมเป็น คณะทางานด้วย คณะทางานชุดการให้คะแนนการจัดทารูปแบบจาลองเชิงธุรกิจ/กรอบระยะเวลา ดาเนินการ/ความเป็นไปได้ในเชิงการเงิน โดยเมื่อวันท่ี 21 กรกฎาคม 2559 มีผู้ยื่นซองเสนอ โครงการลงทนุ ในพนื้ ทีเ่ ขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษตราด จานวน 1 ราย คือ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์ เฟค จากัด (มหาชน) และบริษทั ฯ ไดน้ าเสนอข้อมูลและรายละเอยี ดของโครงการ โดยมีการแบ่งโซน ผังแม่บทพื้นท่ีพัฒนาออกเป็น 4 โซนได้แก่ 1) โซนพ้ืนที่สีเขียว (Eco Tourism & Green Space) ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนพื้นท่ี 98 ไร่ มูลค่าการลงทุน 50 ล้านบาท อนุเสาวรีย์รัชกาลท่ี 5 และ พิพธิ ภัณฑ์ พ้ืนที่ 50 ไร่ มลู ค่าการลงทนุ 100 ลา้ นบาท สวนสาธารณะ พน้ื ท่ี 40 ไร่ มลู ค่าการลงทุน 60 ล้านบาท พื้นท่ีสีเขียวและแหล่งน้า พื้นท่ี 81 ไร่ มูลค่า การลงทุน 150 ล้านบาท ศูนย์บริการ ชุมชน พื้นที่ 12 ไร่ มูลค่าการลงทุน 160 ล้านบาท รวมพื้นท่ี 281 ไร่ มูลค่าการลงทุน 520 ล้าน บาท 2) โซนพาณิชยกรรม (Commercial Center) ได้แก่ โรงพยาบาล พืน้ ท่ี 25 ไร่ มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท ศูนย์แสดงสินค้าท้องถิ่นและนานาชาติ พื้นท่ี 50 ไร่ มูลค่าการลงทุน 400 ล้านบาท

20 ตลาดนัดชุมชนและตลาดชายแดน พื้นที่ 100 ไร่ มูลค่าการลงทุน 130 ล้านบาท ศูนย์สินค้า OTOP และลานกิจกรรม พื้นที่ 13 ไร่ มูลค่าการลงทุน 70 ล้านบาท ตลาดผัก/ผลไม้ และลาน กิจกรรม พ้ืนท่ี 50 ไรม่ ูลค่าการลงทุน 80 ล้านบาท รวมพ้ืนที่ 238 ไร่ มูลค่าการลงทุน 980 ล้าน บาท 3) โซนพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation&Accommodation) ได้แก่ โรงแรมใกล้ชิดธรรมชาติ 1 พ้ืนท่ี 30 ไร่ มูลค่าการลงทุน 200 ล้านบาท โรงแรมใกล้ชิดธรรมชาติ 2 พื้นที่ 30 ไร่ มูลค่าการ ลงทุน 200 ล้านบาท สวนสนุก พ้ืนที่ 53 ไร่ มูลค่าการลงทุน 300 ล้านบาท รวมพื้นที่ 113 ไร่ มูลค่าการลงทุน 700 ล้านบาท 4) โซนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industry Zone) เป็นเขต อุตสาหกรรมการเกษตร เน้นอุตสาหกรรมสีเขียว พื้นท่ี 252 ไร่ มูลค่าการลงทุน 196 ล้านบาท บรษิ ัทฯ ได้ยนื่ ซองเสนอผลประโยชน์ตอบแทนการเช่า (ค่าธรรมเนียมฯ) 169,175,740 บาท สูงกว่า ขั้นต่าท่ีกรมธนารักษ์กาหนดไว้ที่ 142,217,600 บาท โดยสูงกว่าข้ันต่า 25,958,190 บาท คณะทางานสรรหาฯได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนที่คณะทางานย่อยฯ เสนอแล้ว เม่ือ วันที่ 21 ตุลาคม 2559 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแหง่ ชาติ เป็นประธาน ได้มีการ จดั ประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ลงทุนในท่ีราชพัสดุเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ซึ่งท่ีประชุมมี มติเห็นชอบให้บรษิ ัทพร็อพเพอร์ต้ีเพอร์เฟค จากัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธพิ ัฒนาพ้ืนทเ่ี ขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษตราด วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 กรมธนารักษ์ได้จดั ให้มีพิธีลงนามสัญญาเช่าท่ีดิน ราชพัสดุเพ่ือพัฒนาพื้นที่เขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษตราด 2.7) ศนู ยบ์ ริการแบบเบ็ดเสรจ็ (One Stop Service) สานักงานจัดหางานจังหวัดตราด ได้ดาเนินการเช่าอาคารสาหรับจัดตั้ง ศูนย์บริการด้านแรงงานต่างด้าว จานวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านแรงงานต่างด้าว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ณ อาคารพาณิชย์เลขที่ 5/37 - 5/38 หมู่ 5 ตาบลหาดเล็ก อาเภอคลองใหญ่ จงั หวัดตราด และศูนย์บริหารแรงงานตา่ งด้าวในเขต พื้นที่ชายแดน ณ อาคารเลขท่ี 259/3 หมู่ 3 ตาบลบ่อพลอย อาเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เร่ิมเปิด ให้บริการแก่ประชาชน ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 โดยเปิด ดาเนินการทกุ วนั พฤหสั บดี ในเวลา 08.30 - 16.30 น. 3.3 กำรผลิตผลไมใ้ นเขตพฒั นำเศรษฐกจิ พิเศษจังหวัดตรำด เขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษอาเภอคลองใหญ่ จงั หวัดตราด มีพืน้ ทท่ี ั้งหมด 31,375 ไร่ เป็น พ้ืนที่ทาการเกษตร 6,196 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ามัน มีพ้ืนท่ีปลูกผลไม้เพียง 907 ไร่ โดยแหล่งผลิตผลไม้ของจังหวัดตราดอยู่ในพื้นท่ีอาเภอเขาสมิง อาเภอเมืองตราดและ อาเภอบอ่ ไร่ ผลไม้สาคัญ ได้แก่ ทเุ รยี น มงั คุด เงาะและลองกอง ในปี 2558 จงั หวัดตราดมีพ้ืนท่ี ยืนต้นไม้ผลท้ัง 4 ชนิด 132,097 ไร่ ประกอบด้วยพ้ืนท่ียืนต้นเงาะ 51,429 ไร่ พื้นท่ียืนต้น ทุเรยี น 28,925 ไร่ พื้นท่ียืนตน้ มังคุด 38,268 ไร่ พื้นท่ียืนต้นลองกอง 13,475 ไร่ มีพืน้ ท่ีให้ผล รวม 116,840 ไร่ ปริมาณผลผลิตรวม 131,761 ตัน ประกอบด้วยพ้ืนที่ให้ผลเงาะ 47,513 ไร่ ปริมาณผลผลิต 76,853 ตัน พื้นที่ให้ผลทุเรียน 23,155 ไร่ ปริมาณผลผลิต 31,921 ตัน พ้ืนที่

21 ให้ผลมังคุด 33,782 ไร่ ปริมาณผลผลิต 18,395 ตัน พ้ืนที่ให้ผลลองกอง 12,390 ไร่ ปริมาณ ผลผลติ 4,592 ตัน (ตารางที่ 3.2 – 3.6 ) ตารางที่ 3.2 เนอื้ ทยี่ ืนตน้ เน้อื ทใ่ี ห้ผล ผลผลิต ไมผ้ ลจงั หวดั ตราด ปี 2558 ชนิดไม้ผล เนือ้ ทยี่ นื ต้น (ไร)่ เนือ้ ทใ่ี หผ้ ล (ไร่) ปริมาณผลผลติ (ตนั ) เงาะ 51,429 47,513 76,853 ทเุ รียน 28,925 23,155 31,921 มังคดุ 38,268 33,782 18,395 ลองกอง 13,475 12,390 4,592 รวม 4 ชนดิ 132,097 116,840 131,761 ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 ,2559 ตารางท่ี 3.3 เนอ้ื ทย่ี นื ตน้ เนื้อท่ใี ห้ผล ผลผลติ เงาะ จงั หวัดตราด ปี 2558 จงั หวดั /อาเภอ เน้ือท่ยี ืนต้น (ไร)่ เน้อื ทใ่ี ห้ผล (ไร)่ ผลผลติ (ตัน) จังหวดั ตราด 51,429 47,513 76.853 อาเภอเมืองตราด อาเภอเขาสมงิ 7,757 7,485 11,437 อาเภอบอ่ ไร่ อาเภอแหลมงอบ 34,632 32,077 53,889 อาเภอคลองใหญ่ อาเภอเกาะกดู 8,052 6,840 9,993 อาเภอเกาะชา้ ง 982 927 1,312 126 126 145 21 21 28 39 37 49 ท่ีมา : สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 ,2559

22 ตารางที่ 3.4 เนือ้ ท่ยี นื ต้น เนื้อท่ีให้ผล ผลผลิต ทุเรียน ปี 2558 จังหวัด/อาเภอ เน้อื ท่ียืนต้น (ไร่) เนอื้ ทใ่ี หผ้ ล (ไร่) ผลผลติ (ตนั ) จงั หวัดตราด 28,925 23,155 31,921 อาเภอเมอื งตราด อาเภอเขาสมงิ 6,484 4,860 6,269 อาเภอบอ่ ไร่ อาเภอแหลมงอบ 16,767 13,948 20,225 อาเภอคลองใหญ่ อาเภอเกาะกูด 3,120 2,017 2,658 อาเภอเกาะชา้ ง 1,290 1,180 1,520 548 468 483 21 17 19 695 665 747 ทมี่ า : สานักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ,2559 ตารางที่ 3.5 เนือ้ ที่ยืนต้น เนอื้ ท่ีใหผ้ ล ผลผลติ มงั คุด ปี 2558 จังหวัด/อาเภอ เนื้อทีย่ ืนต้น (ไร่) เนือ้ ท่ีใหผ้ ล (ไร)่ ผลผลิต (ตนั ) จังหวดั ตราด 38,268 33,782 18,395 อาเภอเมืองตราด อาเภอเขาสมิง 6,475 6,000 3,288 อาเภอบ่อไร่ อาเภอแหลมงอบ 24,224 21,912 11,394 อาเภอคลองใหญ่ อาเภอเกาะกดู 5,940 4,446 2,908 อาเภอเกาะช้าง 1,236 1,038 590 145 140 84 66 4 242 240 127 ที่มา : สานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6 ,2559

23 ตารางท่ี 3.6 เนื้อที่ยนื ต้น เนอื้ ที่ใหผ้ ล ผลผลิต ลองกอง ปี 2558 จังหวดั /อาเภอ เน้ือทย่ี นื ตน้ (ไร่) เน้อื ที่ใหผ้ ล (ไร)่ ผลผลิต (ตัน) จงั หวัดตราด 13,475 12,390 4,592 อาเภอเมืองตราด 1,181 อาเภอเขาสมิง 3,124 2,998 อาเภอบอ่ ไร่ 2,493 อาเภอแหลมงอบ 7,202 6,702 504 อาเภอคลองใหญ่ อาเภอเกาะกดู 1,782 1,508 319 อาเภอเกาะชา้ ง 31 1,076 893 2 88 86 62 66 197 197 ท่มี า : สานักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6 , 2559 3.4 ประเทศกมั พูชำ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราดมีพื้นท่ีติดกับประเทศกัมพูชาที่อาเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง โดยเช่ือมต่อกับประเทศไทยตามเส้นทาง Southern Coastal Subcorridor หรือ เส้นทาง R 10 จากกรุงเทพ – เกาะกง (ประเทศกัมพูชา) - Nam Can (ประเทศเวียดนาม) ระยะทางประมาณ 970 กม. เช่ือมโยงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของไทยและทางใต้ของกัมพูชาซึ่งมี ศกั ยภาพดา้ นการค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวชายฝั่งโดยเฉพาะอย่างย่ิงในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับ การประมงทรัพยากรพลังงานและอุตสาหกรรมเบาตลอดจนเช่ือมโยงไปจนถึงพื้นที่บริเวณ สามเหลี่ยมปากแม่น้าโขงในเวียดนามซึ่งมีอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมเบาโดย เร่ิมต้นจากกรุงเทพ – ตราดในฝ่ังประเทศไทย ต่อด้วยเกาะกง – กาปอดประเทศกัมพูชา ไปถึงฮา เตยี น – CaMua - Nam Can ประเทศเวยี ดนาม

24 ภาพท่ี 3.3 เส้นทาง Southern Coastal Subcorridor ประเทศกัมพูชามีพ้ืนที่ 181,035 ตารางกิโลเมตรหรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของ ประเทศไทย มีอาณาเขตตดิ ตอ่ กับจงั หวัดสระแก้ว จนั ทบุรีและตราดทางทศิ ตะวันตก ติดกับอา่ ว ไทยทางทิศใต้ ติดกับจังหวดั อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรรี ัมย์และประเทศลาวทางทิศเหนือ และติดกับประเทศเวียดนามทางทิศตะวันออก ประเทศกัมพูชามีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย ทางบกจากสันปันน้าทิวเขาพนมดงรักถึงหลักเขตแดนท่ี 1 (จังหวัดอบุ ลราชธานี) ต่อเน่ืองลงมาทาง ใต้จรดสนั ปันน้าทิวเขาบรรทดั ถึงหลักเขตแดนท่ี 73 (จังหวัดตราด) รวมประมาณ 805 กิโลเมตร มี ชายแดนติดกับประเทศลาว 540 กิโลเมตรและมีชายแดนตดิ กับประเทศเวียดนาม 1,270 กิโลเมตร มชี ายฝง่ั ทะเลยาว 443 กิโลเมตร

25 ภาพท่ี 3.4 ประเทศกมั พชู า 3.4.1 ลกั ษณะภูมิประเทศและภมู ิอากาศ ประเทศกัมพูชามีแม่น้าและทะเลสาบสาคัญ ได้แก่ แม่น้าโขงไหลจาก สปป.ลาวเข้าสู่ ภาคเหนือของกัมพูชาแลว้ ไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กม. แม่น้า ทะเลสาบเชื่อมระหว่างแม่น้าโขงกับทะเลสาบ ความยาวประมาณ 130 กม. แม่น้าบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้าทะเลสาบท่ีหน้าพระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญ ความยาว 80 กม. ทะเลสาบ (Tonle Sap) เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ มีเนื้อท่ีทั้งหมด 3,000 ตร.กม. อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ ประมาณ 100 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กาปงธม กาปงชะนัง โพธิสัตพระตะบอง และ เสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด สภาพภูมิอากาศ ร้อนช้ืน มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภมู ิโดยเฉล่ีย 20 - 36 องศาเซลเซยี ส

26 3.4.2 การปกครอง ประเทศกัมพูชามีระบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ แบ่งเขตการปกครองเป็น 1 ราชธานี คือกรุง พนมเปญ และจงั หวดั อกี 23 จงั หวัด ไดแ้ ก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนงั กัม ปงธม กมั ปง สะปือ กมั ปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวหิ าร พระตะบอง โพธิสตั บันเตียเมียนเจย ไป รเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรยี ง เสยี มราฐ อดุ มมีชัย ไพลนิ แกบและกรงุ พระสหี นวุ ลิ ล์ เมืองสาคัญ คือ กาปงจาม เป็นเมืองท่าการค้า มีประชากร ประมาณ 1.51 ล้านคน เสียม ราฐเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมเน่ืองจากเป็นท่ีต้ังของนครวัดนครธมซ่ึงเป็นสิ่ง มหัศจรรย์ของโลก มีประชากรประมาณ 0.66 ล้านคน พระตะบอง เป็นเมืองกระจายสินค้ามี ประชากรประมาณ 0.72 ล้านคน เกาะกง เป็นท่ีตงั้ ของท่าเรือจามเย่ียมซงึ่ เป็นเมอื งท่าสาคัญของ ประเทศมีประชากรประมาณ 74,400 คน กรุงพระสหี นุวิลล์ (กาปงโสม) เปน็ เมืองท่าการคา้ และการ ท่องเที่ยว มปี ระชากรประมาณ 0.90 ลา้ นคน 3.4.3 โครงสร้างพนื้ ฐาน 1) ทางรถไฟ เส้นทางรถไฟเปน็ รางเดย่ี วมีความยาวทั้งสิ้น 650 กม. แบง่ ออกเปน็ 2 สาย สาคัญ ได้แก่ สายท่ี 1 ปอยเปต – บันเตียเมียนเจย - พระตะบอง-โพธิสัต-พนมเปญ ระยะทาง 386 กม. ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกน้ามันเชื้อเพลิงสาหรบั การผลิตกระแสไฟฟ้า ปนู ซิเมนต์ ข้าว สายท่ี 2 พนมเปญ-ตาแก้ว-กัมปอต-สีหนุวลิ ล์ ระยะทาง 264 กม. ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกไม้และหิน นอกจากน้ี รฐั บาลกัมพูชาอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่ือมต่อเส้นทางรถไฟช่วงบันเตียเมียนเจย-เปต ระยะทาง 48 กม. กับทางรถไฟของไทยท่ี อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อรองรับโครงการเช่ือมต่อเส้นทางรถไฟ สายสงิ คโปร์-คนุ หมิง (Singapore – Kunming Railways Links) 2) ทางรถยนต์ ถนนสายหลักของกัมพูชามี 7 สาย ระยะทางรวม 30,268 กม. แบ่งเป็น เสน้ ทางหลวง ระยะทาง 4,695 กม. ถนนสายจังหวดั ระยะทาง 6,615 กม. และถนนสาย ชนบท ระยะทาง 18,958 กม 3) ทางน้า กัมพูชามที ่าเรือนานาชาติ 3 แหง่ คือ 3.1) ท่าเรือนานาชาติสีหนุวิลล์ ต้ังอยู่ติดอ่าวไทยในสีหนุวิลล์ ห่างจาก กรุงพนมเปญ 26 กม. เส้นทางเดินเรือสาคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญ่ีปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สงิ คโปร์ เกาหลีใต้ ไทยและเวียดนาม 3.2) ท่าเรือนานาชาติพนมเปญ อยู่ลึกเข้ามาประมาณ 330 กม. จากปาก แม่น้าโขงท่ีชายฝั่งทะเลจีนใต้ของเวียดนามและจากการท่ีเป็นทาเรือที่อยู่ในลาน้า ทาให้ ความสามารถในการรองรบั เรือในฤดูแลง้ กบั ฤดนู า้ หลากจะต่างกนั มาก 3.3) ทาเรือออกญามอง เป็นท่าเรือของเอกชน ต้ังอยู่ติดอ่าวไทยในเขต จังหวัดเกาะกง เหนือข้ึนมาจากท่าเรือสีหนุวิลล์ประมาณ 40 กม. หรือประมาณ 180 กม. จากกรุง พนมเปญการขนส่งทางน้าภายในประเทศ – ส่วนใหญ่ใช้แมน่ ้าโขง แม่น้าทะเลสาบและแมน่ ้าบาสัก

27 มีความยาวรวม 1,750 กม. ในฤดูฝน และลดลงเหลือ 580 กม. ในฤดูแล้ง มีท่าเรือในประเทศ 7 แห่ง การขนส่งสินค้าทางน้าภายในประเทศยังมีข้อจากัดเนื่องจากระดับน้าในฤดูฝนและฤดูแล้งมี ความแตกต่างประมาณ 10 เมตร 4) ทางอากาศ รัฐบาลกัมพูชาสนับสนุนนโยบายการเปิดน่านฟ้าเสรี ในปัจจุบันจึงมีสายการบิน นานาชาติเดินทางเข้า - ออกทาอากาศยานกัมพูชามากข้ึน โดยเป็นทาอากาศยานเชิงพาณิชย์ท่ีได้ มาตรฐานสากล จานวน 2 แห่ง คือ ทาอากาศยานนานาชาติพนมเปญหรือทาอากาศยานโปเชนตง และท่าอากาศยานนานาชาติเสยี มเรียบ นอกจากนี้ยงั มีทาอากาศยานขนาดเล็กสาหรบั สายการบิน ภายในประเทศ 3 แห่ง ได้แก่1) ทาอากาศยานกาปงชนัง ใช้ในการขนส่งสินค้า 2) ท่าอากาศยานกัม ปงโสม (สหี นวุ ิลล์) และ 3) ทาอากาศยานเกาะกง 3.4.4 สภาพเศรษฐกิจและสังคม ในปี 2558 ประเทศกัมพูชามีประชากร 15.7 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ย รอ้ ยละ 1.58 ต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานอายุ 15 - 64 ปี คดิ เป็นร้อยละ 64.60 อายุ 0 -14 ปี ร้อยละ 31.40 และผสู้ ูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.00 แรงงานส่วนใหญอ่ ยู่ในภาคเกษตรกรรม คิด เป็นรอ้ ยละ 48.70 ภาคบริการ ร้อยละ 31.50 และภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 19.90 มูลคา่ ผลิตภณั ฑ์ มวลรวม(GDP) 17.71 พนั ลา้ นเหรียญสหรฐั ฯ โดยได้จากภาคบรกิ ารมากทส่ี ุด คดิ เป็นร้อยละ 43.60 รองลงมาเป็นภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 28.60 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 27.90 ในภาคเกษตรได้ จากข้าว ผัก ข้าวโพด ยางพารา ประมง ป่าไม้ ภาคอุตสาหกรรมได้จากสิ่งทอ เสื้อผ้าสาเร็จรูป อาหารแปรรูป เครื่องดืม่ บุหรี่ โลหะ ผลผลิตจากปา่ ไม้ ภาคบริการได้จากการทอ่ งเทย่ี วและโรงแรม มรี ายได้เฉล่ียต่อหัว 1,140 เหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าสาคญั สหรฐั ฯ เวียดนาม ไทย จีน สงิ คโปร์ ฮ่องกง เยอรมัน มูลค่าการส่งออกทั่วไป 7.87 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สิงค้าส่งออกท่ีสาคัญ เครื่องนุ่งห่ม ไม้ซุง ยางพารา ข้าว ปลา ใบยาสูบ รองเท้า ตลาดส่งออกสาคัญ สหรัฐฯ (ร้อยละ 23.1 ) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 8.8) เยอรมัน (ร้อยละ 8.2) ญ่ีปุ่น (ร้อยละ 7.4) แคนาดา (ร้อย ละ 6.7) จีน (ร้อยละ 5.1) เวียดนาม (ร้อยละ 5.3) ไทย (ร้อยละ 4.9) เนเธอแลนด์ (ร้อยละ 4.1) มูลค่าการนาเข้า (2558) 10.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านาเข้าสาคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยาสูบ ทองคา วัสดุก่อสร้าง เคร่ืองจักร ยานพาหนะ เภสัชภัณฑ์ แหล่งนาเข้าสาคัญ ไทย (ร้อยละ 28.5) จีน (ร้อยละ 22.0) เวียดนาม (ร้อยละ 16.3) ฮ่องกง (ร้อยละ 6.0) สิงคโปร์ (ร้อยละ 5.6) นักท่องเที่ยวต่างชาติ 4.78 ล้านคน (ปี 2558) ได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ 20.7) จีน(ร้อยละ 14.5) ลาว (ร้อยละ 8.5) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 8.3) ไทย (ร้อยละ 7.3) สหรัฐ (ร้อยละ 4.6) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 4) อังกฤษ (ร้อยละ 3.2) มาเลเซียและฝรั่งเศส (ร้อยละ 3.1) สกุลเงินที่ใช้คือ เรียล (Riel หรือ CR) อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 4,115 เรียลหรือประมาณ 117.64 เรียล = 1 บาท (ณ เดือนสิงหาคม 2559) GPP 54.21 ล้านล้านบาท(2015) ร้อยละ 43.6 ภาคบริการ ร้อยละ 28.6 เกษตรกรรม รอ้ ยละ 27.9 อตุ สาหกรรม

28 เมืองหลวงคือราชธานีพนมเปญมีประชากรประมาณ 2 ล้านคน เนื้อที่ 1,963.2 ตาราง กิโลเมตรเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมและเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปท่ัวประเทศมี โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญต้ังอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ 8 กิโลเมตรนอกจากน้ียังเป็นศูนย์กลางของการเมืองวัฒนธรรมและศูนย์ราชการของประเทศ เมือง สาคัญ ได้แก่ จังหวัดเสยี มเรียบ เป็นที่ตง้ั ของนครวัดนครธม สิ่งมหัศจรรยข์ องโลกทนี่ ักท่องเทีย่ วจาก ท่ัวโลกไปเยือนทาให้มีธุรกิจบริการท่ีสาคัญคือ ที่พัก โรงแรม ร้านอาหารเพื่อให้บริการแก่ นักท่องเท่ียว จังหวัดพระตะบองเป็นแหล่งผลิตข้าว ส้มและพืชไร่ ได้แก่ มันสาปะหลัง ข้าวโพด เล้ียงสัตว์ ถ่ัวเหลืองและงา จังหวัดเกาะกงเป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ามัน อ้อย โรงงานน้าตาลทราย สนิ ค้าสัตว์น้า การท่องเท่ียวทางทะเล จังหวัดกาปงจามเป็นแหล่งผลิตยางพารา เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วงหิมพานต์และพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ มันสาปะหลัง ถั่วเหลือง ถ่ัวเขยี วและงา เมือง ท่าได้แก่จังหวัดพระสีหนุ (เดิมชื่อจังหวัดกาปงโสมหรือกรุงพระสีหนุวิลล์) เป็นศูนย์กลางด้าน คมนาคมขนส่งในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นที่ต้ังของท่าเรอื น้าลึกสาหรับเรือเดินสมุทรขนาด ใหญ่ใช้ในการนาเข้าและส่งออกสินค้า มีชายหาดท่ีสวยงามเหมาะแก่การท่องเท่ียว เป็นแหล่งท่ี สารวจพบว่ามีน้ามันและก๊าซธรรมชาติและมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งจึงทาให้รัฐบาลให้ ความสาคัญกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพ้ืนฐานต่างๆอย่างต่อเน่ืองรวมถึงการยกระดับ สนามบินในจังหวัดให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ของประเทศเพื่อรองรับปริมาณการค้าการ ลงทุนและการท่องเทยี่ ว

29 บทท่ี 4 ผลกำรวิจัย 4.1 สถำนกำรณ์สินค้ำเกษตรท่ีสำคัญระหว่ำงไทย – กัมพูชำ ผ่ำนด่ำนกำรค้ำชำยแดนอำเภอ คลองใหญ่ จงั หวดั ตรำด 4.1.1 การคา้ ผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศเพ่ือนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยเป็นแนวยาวท้ัง ทางบกและทางทะเล เป็นระยะทาง 725 กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศไทย 7 จังหวัด ได้แก่ จงั หวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สรุ ินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรีและตราด ในปี 2558 มีมูลค่า การค้าระหวา่ งประเทศไทยและประเทศกมั พูชา 129,952.11 ลา้ นบาท การค้าผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ซ่ึงตั้งอยู่ท่ีบ้านหาดเล็ก ตาบลหาดเล็ก อาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชาที่บ้านจามเยี่ยม อาเภอมณฑล สีมา จังหวัดเกาะกง มีมูลค่าเพ่ิมข้ึนอย่างต่อเนื่องจาก 20,207.74 ล้านบาท ในปี 2554 เป็น 31,914.69 ล้านบาท ในปี 2558 คดิ เปน็ อัตราการขยายตัวเฉลยี่ ร้อยละ 11.08 ต่อปี ส่วนใหญ่เป็น การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปประเทศกัมพูชา ในปี 2558 มีมูลค่า 29,000.25 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.87 ของมูลค่าการค้าท้ังหมด สินค้าส่งออกที่สาคัญ คือ เครื่องดื่ม น้าอัดลมน้าหวานต่างๆ นม - อาหารเสริม น้าตาลทราย เบียร์ผงชูรส – ผงปรุงรส รถยนต์น่ัง ใหม่ ชุดสายไฟฟ้า น้ามันหล่อล่ืน ผงซกั ฟอก – น้ายาซกั ผา้ ท่อแป๊บน้าและอุปกรณ์ก่อสร้างทาด้วย P.V.C สาหรับการนาเขา้ มีมูลคา่ 2,914.44 ลา้ นบาท หรอื สัดส่วนรอ้ ยละ 9.13 ของมูลค่าการค้า ท้งั หมด สินค้านาเข้าที่สาคัญ คอื ชุดสายไฟรถยนตส์ าเร็จรูป ยางในลูกฟุตบอล เศษสายไฟ ไม้แปร รูป ปลาหมึกตากแห้ง ปลาทะเลสด กระเพาะปลาตากแห้ง กะปิ เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ามัน ผล มะพร้าวแก่ปอกเปลือก โดยประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศกัมพูชามาโดยตลอด ในปี 2558 ประเทศไทยได้เปรียบดลุ การค้าประเทศกมั พชู า 26,085.87 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 5.44 ตอ่ ปี (ตารางท่ี 4.1 – 4.3 )

30 ตารางที่ 4.1 มลู คา่ การค้าผา่ นด่านการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2554 – 2558 หน่วย : ล้านบาท ปีงบประมาณ มูลค่านาเขา้ มูลค่าสง่ ออก มลู ค่าการคา้ รวม ดลุ การค้า 2554 79.49 20,128.25 20,207.74 20,048.76 2555 281.79 24,275.91 24,557.70 23,994.12 2556 1,231.29 25,489.09 26,770.38 24,257.80 2557 2,048.11 26,118.74 28,166.85 24,070.63 2558 2,914.25 29,000.25 31,914.50 26,085.87 อตั ราการขยายตวั 150.60 8.37 11.08 5.44 (ร้อยละ) ทม่ี า : ดา่ นศลุ กากรคลองใหญ่ , 2559 ตารางท่ี 4.2 ชนดิ สินคา้ ส่งออกท่ีสาคญั ผ่านดา่ นการค้าชายแดนคลองใหญ่ปี 2558 หน่วย : ล้านบาท ลาดับ ชนิดสนิ ค้าส่งออก มลู คา่ 1 เคร่ืองดื่ม น้าอัดลม นา้ หวานต่างๆ 2,626,997,247.13 2 นมและอาหารเสรมิ 1,543,054,801.47 3 นา้ ตาลทราย 1,075,039,374.18 4 ชุดสายไฟฟ้า 988,913,716.15 5 เบยี ร์ 770,140,054.29 6 รถยนตน์ ่งั ใหม่ 610,548,876.64 7 น้ามันหลอ่ ลื่น 605,826,177.87 8 ผงชรู ส ผงปรุงอาหาร 553,116,846.33 9 ผงซักฟอก – นา้ ยาซักผา้ 514,417,306.39 10 ทอ่ แปบ๊ นา้ และอุปกรณก์ อ่ สรา้ งทาดว้ ย P.V.C. 509,517,410.76 11 อนื่ ๆ 19,202,675,368.60 รวม 29,000,247,179.81 ทม่ี า : ดา่ นศุลกากรคลองใหญ่ , 2559

31 ตารางท่ี 4.3 ชนดิ สินคา้ นาเข้าทส่ี าคัญผ่านด่านการคา้ ชายแดนคลองใหญ่ ปี 2558 หน่วย : ล้านบาท ลาดบั ชนดิ สนิ คา้ นาเข้า มลู คา่ (บาท) 1 ชดุ สายไฟรถยนตส์ าเร็จรปู 2,704,038,784.84 2 ยางในลูกฟุตบอล 30,348,204.69 3 ปลาหมึกตากแหง้ 30,012,000.00 4 ปลาทะเลสด 28,910,720.00 5 เนื้อในเมล็ดปาลม์ น้ามนั 26,640,557.84 6 ไมแ้ ปรรปู 20,256,189.20 7 กระเพาะปลาตากแห้ง 17,894,000.00 8 เศษสายไฟ 5,092,627.88 9 กะปิ 4,289,000.00 10 ผลมะพรา้ วแกป่ อกเปลอื ก 3,671,937.36 11 อน่ื ๆ 43,282,350.15 รวม 2,914,436,371.96 ทีม่ า : ดา่ นศลุ กากรคลองใหญ่ , 2559 4.1.2 ช่องทางการค้าผา่ นด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ประเทศไทยและประเทศกัมพูชามีการค้าผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ใน 3 ชอ่ งทางหลัก คือ 1) ทา่ เรือ การค้าในช่องทางนี้เป็นการค้าโดยขนส่งทางน้าผ่านท่าเทียบเรือของเอกชน 5 แห่ง ในอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ได้แก่ ท่าเทียบเรือชลาลัย ท่าเทียบเรือกัลปังหา ท่าเทียบเรือ ป.เกษม ท่าเทียบเรือส.กฤตวรรณและท่าเทียบเรือทรัพย์ชโลธร ในปี 2558 มีมูลค่า การคา้ ที่ขนส่งทางเรอื 20,651.23 ลา้ นบาท คดิ เปน็ ร้อยละ 64.70 ของมูลคา่ การค้าทั้งหมด 2) จุดผา่ นแดนถาวรบา้ นหาดเล็ก การค้าในช่องทางนี้เป็นการค้าโดยขนส่งทางบกผ่านจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อาเภอคลองใหญ่ จังหวดั ตราด ซ่ึงเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 22.00 น. สัดส่วนการนาเข้า สง่ ออกสนิ ค้าในชอ่ งทางน้ีมแี นวโน้มเพ่มิ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จากร้อยละ 7.88 ในปี 2554 เปน็ รอ้ ยละ 35.17 หรอื มลู ค่าการค้า 11,223.70 ลา้ นบาท ในปี 2558 เน่ืองจากระบบการขนสง่ ทางบกมีการ พฒั นาเพ่มิ มากข้ึน 3) จดุ ผ่อนปรนการค้า มี 2 จุด คอื จุดผ่อนปรนการคา้ บ้านมะม่วงอาเภอบอ่ ไร่ (เนิน 400) จังหวัดตราด ซึ่งตรงข้ามกับบ้านคลองรถถัง อาเภอสารูด จังหวัดพระตะบอง ปัจจุบัน สามารถผา่ นจุดผ่านแดนได้ทุกวนั ตั้งแตเ่ วลา 06.00 - 18.00 น. และจุดผ่อนปรนการค้าช่ัวคราว

32 บา้ นทา่ เส้น ตาบลแหลมกลดั อาเภอเมอื งตราด จังหวดั ตราด ซึ่งตรงข้ามกบั บ้านทมอดา อาเภอ เวียงเวล จังหวัดโพธิสัตย์ เปิดให้ผ่านแดนเฉพาะวันเสาร์ เวลา10.00 -16.00 น. โดยสามารถ ลงทะเบียนเข้า – ออกได้ท่ีฐานกองร้อยทหารพรานนาวิกโยธิน (ทพ.นย.) ที่ 535 (บ้านท่าเส้น) การค้าในจุดน้ีเป็นการเข้ามาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของชาวกัมพูชาท่ีตลาดนัดภายในบริเวณวัดท่า เสน้ การคา้ ทัง้ 2 จดุ ยงั มมี ูลคา่ การค้าไมม่ ากนกั ในปี 2558 มมี ลู ค่าการคา้ เพียง 39.76 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.13 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด (ตารางท่ี 4.4) ตารางที่ 4.4 ช่องทางการขนส่งสินคา้ ระหวา่ งไทยและกมั พูชา ปี 2554 – 2558 หนว่ ย : ล้านบาท ปี ท่าเรอื จุดผ่านแดนถาวรบ้าน จดุ ผ่อนปรน รวม งบประมาณ หาดเล็ก บ้านมะม่วง/ บ้านท่าเส้น มูลคา่ รอ้ ยละ มลู ค่าการค้า รอ้ ยละ มลู คา่ รอ้ ยละ มูลค่า 2554 18,615.69 92.12 1,590.33 7.88 1.75 0.00 20,207.77 2555 21,864.87 89.04 2,690.85 10.96 1.99 0.00 24,557.71 2556 22,595.16 84.56 4,120.79 15.42 4.43 0.02 26,720.38 2557 19,781.28 70.28 8,383.04 29.76 2.52 0.01 28,166.84 2558 20,651.23 64.70 11,223.70 35.17 39.76 0.13 31,914.69 อตั ราการ 1.08 65.61 91.22 11.08 ขยายตัว (ร้อยละ) ทม่ี า : ดา่ นศุลกากรคลองใหญ่ ภาพท่ี 4.1 – 4.2 การค้าทางบกผา่ นจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก

33 ภาพที่ 4.3 – 4.4 การค้าทางน้าผา่ นทา่ เทียบเรือเอกชน ภาพที่ 4.5 การค้าผา่ นจุดผ่อนปรนการค้าบ้านมะมว่ ง ภาพท่ี 4.6 การค้าผ่านจดุ ผอ่ นปรน การค้าชว่ั คราวบา้ นท่าเสน้

34 4.1.3 การคา้ สนิ ค้าเกษตร ในปี 2558 การคา้ สนิ คา้ เกษตรผ่านดา่ นการค้าชายแดนอาเภอคลองใหญ่ มีมูลค่า 967.75 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.03 ของมูลค่าการค้าผ่านด่านทั้งหมด เกือบทั้งหมด เป็นการค้าสนิ คา้ ด้านประมง มมี ูลค่า 827.92 ลา้ นบาท หรือรอ้ ยละ 85.55 ของมลู ค่าการค้าสินค้า เกษตรผ่านด่านฯ สินค้าด้านปศสุ ัตวม์ ูลค่า 82.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.55 และสนิ ค้าด้านพืช มูลคา่ 57.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.90 (ตารางท่ี 4.5) ตารางท่ี 4.5 มูลคา่ การค้าสนิ ค้าเกษตรผา่ นด่านการคา้ ชายแดนอาเภอคลองใหญ่ ปี 2558 รายการ มลู คา่ การค้า (บาท) สัดส่วน ร้อยละ การค้าสนิ ค้าเกษตรด้านประมง 827,916,140 การคา้ สนิ คา้ เกษตรดา้ นปศุสัตว์ 82,722,500 85.55 การคา้ สนิ ค้าเกษตรดา้ นพืช 57,113,014 8.55 967,751,654 5.90 รวมการคา้ สนิ ค้าเกษตร 100.00 ที่มา : ด่านตรวจสัตว์นา้ จงั หวดั ตราด ดา่ นกักกนั สัตว์ตราด ดา่ นตรวจพชื คลองใหญ่ , 2559 1) การคา้ สินคา้ เกษตรดา้ นประมง จากขอ้ มลู ของด่านตรวจสัตวน์ ้าจังหวัดตราด พบว่า ในปี 2558 การคา้ ด้านประมง มีมูลค่า 827.916 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.55 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรผ่านด่านฯ เน่ืองจากประเทศกัมพูชามีชายหาดติดทะเลเป็นแนวยาวรวมทั้งมแี ม่น้าขนาดใหญ่ไหลผ่านประเทศ หลายสายรวมทั้งมีแหล่งน้าจืดขนาดใหญ่คือโตนเลสาบ ทาให้มีผลผลิตด้านประมงเป็นปริมาณมาก โดยประเทศไทยนาเข้าสินค้าด้านประมงจากประเทศกัมพูชามูลค่า 604.924 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 73.07 ของมูลค่าการค้าสัตว์นา้ ชนิดสนิ ค้านาเข้าทีส่ าคญั คือ หอยลายมีชวี ิต ปู แสมแช่เย็น หอยครางแช่เย็น เน้ือปูม้าแช่เย็น หอยแมลงภู่มีชีวิต ฯลฯ การส่งออกสินค้าด้าน ประมง มีมูลค่า 222.991 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรอ้ ยละ 26.93 ของมูลค่าการค้าสัตว์น้า สนิ ค้า สง่ ออกท่ีสาคัญ คือ กุ้งขาวแช่เย็นหอยแครงมีชีวิต ปลาหมึกหอมแช่เย็น ปูทะเลมีชีวติ ฯลฯ มูลค่า การนาเข้าสินคา้ ด้านประมงมากกว่ามูลคา่ การสง่ ออกสินค้าดา้ นประมง 381.932 ล้านบาท (ตาราง ที่ 4.6 – 4.7) หลังเปิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษฯ การนาเข้าและส่งออกสินค้าด้านประมงยังไม่ แตกต่างจากกอ่ นเปิดเขตพฒั นาเศรษฐกิจพเิ ศษฯ เนอ่ื งจากยังเป็นระยะแรกเป็นชว่ งของการเปลีย่ น ผ่านโดยการนาเข้ามีท้ังนามาเพื่อจาหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง 3 – 4 ทอด ก่อนถึงมือผู้บริโภค เชน่ หอย ปลาหมกึ ฯลฯ และนามาเขา้ โรงงานแปรรูป เช่น ปลากระตัก หมกึ แห้ง ฯลฯ การนาเข้า

35 ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมให้กับด่านศุลกากรในบางชนิด เช่น เนื้อปู กุ้ง ฯลฯ สาหรับการ สง่ ออกมีทงั้ นาไปจาหน่ายใหก้ ับพ่อค้าคนกลาง รา้ นอาหารและผู้บรโิ ภคและการส่งออกพันธสุ์ ัตวเ์ พื่อ นาไปเลี้ยงเชิงการค้า เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา ฯลฯ จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ท่ีเกี่ยวข้อง พบว่า มีปัญหาอุปสรรคในด้านการเก็บค่าธรรมเนียมค่าผ่านแดนทาให้ต้นทุนสูง กฎหมายและ นโยบายภาครัฐไม่ชัดเจนแน่นอน คา่ ใช้จา่ ยนอกระบบสูง การคมนาคมไม่สะดวก ระเบียบพิธีการ ศลุ กากรยุง่ ยากซับซอ้ น และการขาดเจ้าหนา้ ที่ของบางหนว่ ยงาน เชน่ องคก์ ารอาหารและยาท่ที า หนา้ ทอ่ี อกกฎระเบียบแต่ไมม่ ีเจ้าหน้าท่ีประจาที่ด่าน ตารางที่ 4.6 ชนิดสินคา้ เกษตรดา้ นประมงทน่ี าเขา้ จากประเทศกัมพูชาปี 2558 ลาดบั ชนิดสนิ คา้ ด้านประมง ปริมาณ (ก.ก.) มลู ค่า(บาท) 1 หอยลายมชี ีวติ 6,228,200 185,665,000 112,391,000 2 ปแู สมแช่เย็น 2,511,440 46,488,000 43,209,000 3 หอยครางแช่เย็น 697,600 28,522,200 188,649,040 4 เนอ้ื ปูมา้ แชเ่ ยน็ 172,440 604,924,240 5 หอยแมลงภมู่ ีชีวติ 2,194,100 6 อื่นๆ รวม ที่มา : ด่านตรวจสัตว์น้าจงั หวดั ตราด , 2559 ตารางท่ี 4.7 ชนิดสินคา้ เกษตรด้านประมงทีส่ ง่ ออกไปประเทศกมั พชู า ปงี บประมาณ 2558 ลาดับ ชนดิ สนิ คา้ ด้านประมง ปริมาณ (ก.ก) มูลค่า (บาท) 1 กุง้ ขาวแช่เย็น 899,000 2 หอยแครงมีชีวิต 88,760,000 3 ปลาหมึกหอมแช่เยน็ 1,773,400 60,196,000 4 ปูทะเลมีชวี ิต 177,750 19,189,000 5 ปลาเก๋ามีชวี ติ 62,400 15,600,000 6 อน่ื ๆ 34,660 8,804,900 30,442,000 ท่มี า : ด่านตรวจสัตว์น้าจังหวดั ตราด รวมมูลคา่ 222,991,900

36 2) การค้าสินค้าเกษตรดา้ นปศสุ ัตว์ จากข้อมูลของด่านกักกันสัตว์ตราด พบว่า การค้าสินค้าด้านปศุสัตว์มีเพียง เล็กน้อยและเป็นการส่งออกเพียงอย่างเดียวไม่มีการนาเข้า โดยในปี 2558 มีการส่งออก มูลค่า 82.723 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.55 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรผ่านด่านฯ สินค้าที่ ส่งออก ได้แก่ ซากไก่ สุกรและโคเนื้อเนือ่ งจากกฎระเบยี บของประเทศไทยมคี วามเขม้ งวดโดยซาก ไก่เป็นสินค้าท่ีมีปริมาณและมูลค่าส่งออกมากที่สุด ปริมาณ 1,637,600 ก.ก. มูลค่า 81.880 ล้าน บาท สาหรบั การสง่ ออกสุกรและโคเนอ้ื มีเพียงเล็กนอ้ ย (ตารางที่ 4.8 ) หลังเปิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษฯ การนาเข้าและส่งออกสินค้าด้านปศุสัตว์ไม่มี การเปลี่ยนแปลง แต่ในด้านของประเทศกมั พูชาเร่ิมมีการขอใบรับรองสขุ ภาพสัตว์จาก OIE (World Organisation for Animal Welfare) เพ่อื ใชใ้ นการสง่ ออกสนิ คา้ ด้านปศุสัตว์เพ่ิมมากขน้ึ ตารางท่ี 4.8 การสง่ ออกสินค้าด้านปศุสัตวป์ ีงบประมาณ 2558 ลาดบั ชนดิ สินค้าด้านปศสุ ัตว์ ปรมิ าณ มูลค่า 1 ซากไก่ 2 สกุ ร 1,637,600 ก.ก. 81,880,000 บาท 3 โคเนอ้ื 65 ตวั 615,000 บาท 27 ตัว 227,500 บาท ท่มี า : ดา่ นกักกนั สัตว์ตราด , 2559 รวมมลู คา่ 82,722,500 บาท 3) การคา้ สนิ คา้ เกษตรดา้ นพืช จากข้อมูลของด่านตรวจพชื คลองใหญ่ พบว่า การค้าดา้ นพชื เป็นการนาเขา้ เน้ือในเมล็ดปาล์มน้ามนั และผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก ในปี 2558 มีมลู คา่ การนาเข้า 57.11 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 5.90 ของการคา้ สินค้าเกษตรผา่ นด่านฯ ส่วนการส่งออกสินค้าด้านพืชไม่มีการ แจง้ การส่งออก (ตารางที่ 4.9 ) ตารางที่ 4.9 มูลค่าการสง่ ออกสนิ ค้าด้านพืช ปี 2558 ลาดบั ชนิดสนิ ค้าด้านพชื ปรมิ าณ (ก.ก.) มูลคา่ (บาท) 1 ปาล์มนา้ มนั 1,901,930 26,640,557.84 2 ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลอื ก 2,995,000 30,472,456.90 รวม 57,113,014.00 ทีม่ า : ดา่ นตรวจพืชคลองใหญ่ , 2559

37 สาหรับการค้าผลไม้ระหว่างไทย – กัมพูชา ผ่านด่านการค้าชายแดนอาเภอคลอง ใหญ่ จังหวดั ตราดไม่มีการแจ้งนาเข้าส่งออกเนื่องจากติดขอ้ กาหนดของพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติมซ่ึงมีความเข้มงวดทาให้ไม่มีการบันทึกการนาเข้าส่งออก แต่จากการลง พ้ืนท่ีพบว่ามีการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศกัมพูชาที่ไม่ผ่านระบบศุลกากรโดยเป็นการดาเนินการ เพอื่ ช่วยระบายผลไมแ้ ละรักษาความสัมพนั ธ์ระหวา่ งกนั แบ่งการคา้ ได้เปน็ 3 ลกั ษณะดังนี้ 3.1) พอ่ ค้าส่งออกติดตอ่ ซ้ือผลไมจ้ ากผู้รวบรวมในประเทศไทย พอ่ ค้าส่งออกซึ่งมีทั้งท่ีเป็นคนไทยและคนกัมพูชาเข้ามาติดตอ่ ซื้อผลไม้กับ ผรู้ วบรวมในประเทศไทยโดยเขา้ มาตดิ ตอ่ ด้วยตนเองหรือโทรศพั ท์ติดตอ่ กนั กรณที ่ีมกี ารซื้อขายกันจน เป็นที่เชื่อถอื การส่งมอบผลไมม้ ีท้ังการที่ผรู้ วบรวมขนสง่ ผลไม้มาส่งทบี่ ริเวณหน้าจุดผ่านแดนถาวร บา้ นหาดเล็กและพ่อค้าส่งออกส่งรถไปรับผลไม้ที่หน้าแผงของผู้รวบรวมซึ่งมีท้ังแผงผลไม้ท่ัวไปและ จดุ รวบรวมของสหกรณ์การเกษตรในจังหวดั ตราดและในจงั หวดั อ่ืนที่เป็นแหลง่ ผลไม้ การซื้อขายใน ลักษณะน้ีบางคร้ังมีปัญหาในด้านการส่งมอบสินค้ากับพ่อค้าส่งออกชาวกัมพูชากรณีที่ตลาด ปลายทางไม่คล่องตัวทาให้ผู้รวบรวมผลไม้ในจังหวัดตราดบางรายไม่มีความมั่นใจในการทาการค้า ผลไม้กับผู้ส่งออกชาวกัมพชู า เอกสารที่ใช้ในการซ้ือขายผลไมใ้ ช้บิลเงินสด การจา่ ยเงินค่าผลไมจ้ า่ ย เปน็ เงินสดเปน็ สกุลเงินบาทหลังผสู้ ่งออกไดร้ ับผลไม้ บางรายโอนเงินผ่านธนาคารของประเทศไทย โดยให้เงนิ มัดจาลว่ งหน้าบางส่วน บางรายพอ่ คา้ จากประเทศกมั พูชาโอนเงินให้ก่อนล่วงหนา้ เพ่ือให้ผู้ รวบรวมในประเทศไทยใช้ในการรวบรวมผลไมส้ ง่ ให้ ภาพที่ 4.7 การรับซื้อผลไม้บริเวณ ภาพท่ี 4.8 การขนสง่ ผลไม้ผ่านด่านชายแดน จดุ ผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ไปยงั ประเทศกมั พูชา

38 3.2) พ่อค้าส่งออกต้ังแผงรบั ซ้อื ผลไม้บรเิ วณจดุ ผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก พ่อค้าส่งออกต้ังแผงรับซื้อผลไม้บริเวณใกล้กับจุดผ่านแดนถาวรบ้าน หาดเลก็ โดยพ่อคา้ บางรายเช่าอาคารพาณิชย์เปน็ สถานท่ีรบั ซอื้ บางรายสร้างแผงรับซ้ือโดยใช้วัสดุ ท่ีรื้อถอนได้ง่าย ชนิดผลไม้ที่รับซ้ือเพ่ือส่งออกนอกจากทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกองซึ่งเป็น ผลไม้หลักในจังหวัดตราดและจังหวัดอื่นในภาคตะวันออกแล้ว ยังมีผลไม้ชนิดอ่ืน เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน สับปะรด ฯลฯ โดยขนส่งมาจากจังหวัดตราดและจังหวัดอ่ืน เช่น ตลาดไท กรุงเทพมหานคร เชยี งราย ฯลฯ ผลไม้ส่วนใหญ่นาไปขายที่ตลาดในกรุงพนมเปญ ประเทศกมั พูชา โดยพอ่ คา้ ส่งออกบางรายมแี ผงผลไม้ประจาอยูท่ ่ีตลาดในกรงุ พนมเปญ การขนส่งผลไม้ บางรายใช้รถปิคอัพของตนเองซึ่งบรรทุกผลไม้ได้ประมาณ 3 ตนั ตอ่ เทยี่ วขนออกทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ระยะทางประมาณ 5 – 6 กิโลเมตร โดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในฝั่งของประเทศไทย แต่เสียให้กับฝ่ังของประเทศ กัมพูชา โดยเสียค่าธรรมเนียมเป็นค่ารถ 200 บาท/คัน ค่าอากรคนผ่านด่าน 200 บาท/คน หลังจากน้ันถ่ายรถเป็นรถตู้ของประเทศกัมพูชา ระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร ค่าขนส่ง 3,000 – 4,000 บาทต่อตัน ค่าขนสง่ เป็นค่าใชจ้ า่ ยที่รวมค่าด่านต่างๆในฝ่ังของประเทศกัมพูชาซง่ึ มี เป็นจานวนมากโดยพนักงานขับรถเป็นผู้จ่าย เส้นทางขนส่งเป็นถนนลาดยางแล้วตลอดทั้งสาย พ่อค้าบางรายใช้บรกิ ารรถคิวซ่ึงเป็นรถปิคอัพรับจ้างขนส่ง ค่าขนส่ง 680 บาท/คัน บรรทุกผลไม้ได้ ประมาณ 3.8 ตัน ระยะทางขนส่งข้ามแดน 1 ก.ม.หลังจากนั้นผู้ชื้อฝั่งกัมพูชาถ่ายผลไม้ขึ้นรถตู้และ ขนสง่ ไปตลาดปลายทาง 3.3) พ่อค้ารายย่อยและประชาชนชาวกัมพูชาข้ามมาซ้ือผลไม้บริเวณด่าน ชายแดน พอ่ ค้ารายย่อยและประชาชนชาวกัมพูชาขา้ มมาซื้อผลไม้บริเวณด่านชายแดน ที่ชาวสวนและพ่อค้ารายย่อยชาวไทยนามาจาหน่ายบริเวณริมถนนหน้าจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาด เล็กในช่วงเช้าเร่ิมต้ังแต่เปิดด่านเวลา 6.00 น. จนถึงเวลาประมาณ 10.00 น. การขนส่งผลไม้ข้าม แดนใช้รถเข็นของชาวกัมพูชาเข็นข้ามแดน ค่าขนส่งคันละ 1,000 บาท/เท่ียว บรรทุกผลไม้ได้ ประมาณ 1,000 ก.ก.

39 ภาพท่ี 4.9 – 4.11 การค้าผลไมบ้ ริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก 4.2 กำรบริหำรจัดกำรด้ำนกำรนำเข้ำและส่งออกสนิ คำ้ เกษตรท่ีสำคัญของสหกรณ์กำรเกษตรใน พื้นทเี่ ขตพฒั นำเศรษฐกจิ พเิ ศษอำเภอคลองใหญ่ จงั หวัดตรำด พ้ืนท่ีของเขตพฒั นาเศรษฐกิจพิเศษอาเภอคลองใหญ่มีลักษณะแคบเป็นแนวยาวโดยฝั่งซ้าย ติดกับเทือกเขาบรรทัดและประเทศกัมพูชา ส่วนฝั่งขวาติดทะเล มีพ้ืนที่เกษตรเพียง 6,196 ไร่ ครัวเรือนเกษตรกร 559 ครัวเรือน องค์กรเกษตรกรมีเฉพาะกลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผลกลุ่ม แม่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้วิจัยจึงได้ปรับการศึกษามาเป็นการศึกษาสหกรณ์การเกษตรท่ี สาคญั ในจังหวัดตราดท่ีดาเนินการเกี่ยวกับผลไม้ 4 สหกรณ์ไดแ้ ก่ สหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จงั หวัดตราด จากัด สหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ จากัด สหกรณ์การเกษตรเพ่ือการแปรรปู และส่งออก จงั หวดั ตราด จากดั และสหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จากดั ผลการศึกษาสรุปได้ดงั นี้

40 4.2.1 สหกรณ์สง่ เสริมธรุ กิจภาคเกษตร จังหวดั ตราด จากัด สหกรณ์จัดต้งั มาแลว้ เปน็ ระยะเวลา 5 ปี ดาเนนิ การรวบรวมผลไม้มาตั้งแต่เรม่ิ จัดตัง้ ชนิดผลไม้ท่ีรวบรวม ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกองและสละ โดยมีการรวบรวมทุกวัน ในชว่ งฤดูผลไม้ ช่วงระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ในปี 2558 มีการรวบรวมตง้ั แต่เดือนเมษายนถึง เดือนกรกฎาคม 2558 ปริมาณผลไม้ 1,800 ตัน โดยส่งให้กับพ่อค้าในประเทศและพ่อค้าท่ีส่งออก ไปประเทศเวียดนามและกัมพูชา รูปแบบการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าส่งออกติดต่อในรูปแบบธุรกิจ ท่ัวไป การชาระเงินชาระเปน็ เงนิ บาทโดยโอนผา่ นสถาบันการเงินในประเทศ ในปี 2558 สหกรณ์ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในจังหวัดตราดให้มีการส่งออกไปยัง ประเทศกัมพูชาจานวน 1 เที่ยว ปริมาณผลไม้ 3 ตัน สถานท่ีนาไปจาหน่ายคือตลาดเน๊ียเมี๊ยะ ซ่ึงเป็นตลาดสดที่อาเภอเกาะกง ประเทศกัมพูชา ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร ขนส่งโดยใช้ รถปคิ อพั ภาพท่ี 4.12 – 4.13 การรวบรวมผลไม้ของสหกรณส์ ง่ เสรมิ ธุรกจิ ภาคเกษตร จังหวัดตราด จากดั