Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Thailand-4.0_2 ้ที่ควรรํุ้

Thailand-4.0_2 ้ที่ควรรํุ้

Published by nguan2521, 2019-11-25 23:07:22

Description: Thailand-4.0_2

Search

Read the Text Version

พมิ พเ์ ขยี ว Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสคู่ วามมั่งคง่ั มั่นคง และยัง่ ยืน พฤศจิกายน 2559 ส.ค.ส. 2560 โดย กองบริหารงานวิจัยและประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสคู่ วามมั่งค่ัง มั่นคง และย่งั ยืน Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่ือนประเทศไทยสคู่ วามมัง่ ค่งั มน่ั คง และยั่งยืน ตอนท่ี 1 : โมเดลขบั เคลื่อนประเทศไทยสคู่ วามมั่งคงั่ มั่นคง และยัง่ ยืน................................................................. 3 - 12  กลไกขับเคลื่อนประเทศชุดใหม่ ภายใต้ Thailand 4.0........................................................................... 13 - 14  เปา้ หมาย Thailand 4.0......................................................................................................................... 15 - 16 ตอนท่ี 2 : ห้าวาระในการขับเคล่ือน Thailand 4.0............................................................................................... 17 - 18 วาระท่ี 1 : การเตรยี ม คนไทย 4.0 เพื่อกา้ วสูโ่ ลกท่หี น่ึง................................................................................. 19 - 29 วาระท่ี 2 : พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแหง่ อนาคต.............................................................. 30 - 47 วาระท่ี 3 : การบม่ เพาะผ้ปู ระกอบการและพฒั นาเครือขา่ ยวิสาหกจิ ที่ขบั เคลื่อนดว้ ยนวตั กรรม.................... 48 - 64 วาระท่ี 4 : การเสริมความเขม้ แข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจงั หวดั และ 77 จงั หวดั ............................................................................................................................ 65 - 78 วาระที่ 5 : บูรณาการอาเซยี น เช่ือมประเทศไทยส่ปู ระชาคมโลก.................................................................... 79 - 88 ตอนท่ี 3 : การปฏริ ูประบบวิจยั เพือ่ กา้ วสู่ Thailand 4.0...................................................................................... 89 - 97 ตอนท่ี 4 : การปรบั เปล่ียนกลไกภาครัฐเพอื่ รองรับ Thailand 4.0........................................................................ 98 - 117 ตอนท่ี 5 : ระบบการบรหิ ารจัดการการขบั เคลื่อน Thailand 4.0.........................................................................118 - 151 -2-

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่ือนประเทศไทยสคู่ วามมั่งคงั่ มั่นคง และยั่งยนื ตอนที่ 1 : โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสู่ความม่ังคง่ั ม่ันคง และยัง่ ยืน ในประวตั ิศาสตร์ประเทศไทยมีการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงคร้ังเดียวในสมัยล้นเกล้า รัชกาลท่ี 5 ราชอาณาจักรสยามหรือประเทศไทยในสมัยรัชกาลท่ี 4 สืบเนื่องถึงรัชกาลท่ี 5 เป็นช่วงเวลาท่ี ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตท่ามกลางกระแสภัยคุกคามจากภายนอก อันได้แก่ การล่าอาณานิคมของประเทศ ตะวันตก ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์ไทยท้ังสองรัชกาลจึงต้องทรงดาเนินการปฏิรูปปรับเปล่ียนประเทศให้เกิด ความทันสมัยและทัดเทียมนานาอารยประเทศ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศไทยต้องถูกยึดครองเป็นดินแดนอาณา นิคม การดาเนินนโยบายดงั กลา่ วได้เร่ิมต้นขึ้นในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 และได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านการปฏิรูประบบการปกครองและระบบราชการของไทยครั้งสาคัญ โดยเปลี่ยนจาก เดิมที่เคยปกครองในรูปแบบอาณาจักรโบราณและนครรัฐ ซ่ึงปราศจากศูนย์อานาจที่ชัดเจนและขาดความเป็น เอกภาพ อันไม่ส่งเสริมต่อความม่ันคงของชาติให้เป็นการปกครองรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะเป็น “รัฐชาติ” โดย การรวมศูนย์อานาจเข้าสู่ส่วนกลางหรือเมืองหลวง เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดาเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ เกิดความชัดเจน ส่งเสริมให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและความมั่นคงของ ประเทศได้เปน็ อย่างดี ณ ขณะน้ีประเทศไทยอยู่ในระยะ “เปลี่ยนผ่าน” วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองหลายต่อหลาย คร้ัง ควบคู่กับการเปล่ียนแปลงเชิงโครงสร้างของโลกในศตวรรษท่ี 21 หากประเทศไทยไม่มีการกาหนด วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตลอดจนไม่ดาเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศผ่านการปฏิรูปและ การปรับเปล่ียนอย่างจริงจัง ประเทศไทยอาจจะประสบกับสภาวะเสื่อมถอยจากประเทศในโลกที่สองใน ปัจจุบันเป็นประเทศในโลกที่สามในอนาคตก็เป็นได้ แต่หากดาเนินการปฏิรูปสาเร็จจะทาให้ประเทศไทย สามารถก้าวไปสู่ “ประเทศในโลกทห่ี น่ึง” อันเป็นดั่งพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีพระราชทานไว้ว่า “เราจาต้อง ก้าวไปข้างหน้าเสมอ เราต้องไม่ถอยหลังเป็นอันขาด แม้ว่าหยุดอยู่กับท่ีก็ไม่ได้ เพราะการหยุดก็เสมอด้วย การถอยหลัง” เมอ่ื โลกไม่ใช่ใบเดิม โลกมีพลวัตอย่ตู ลอดเวลา พอจะจาแนกไดเ้ ปน็ 4 ยุคด้วยกัน ยคุ ที่ 1 เกิดการปฎิวัติในภาคเกษตร หรอื ทเี่ รยี กกนั วา่ Green Evolution ยคุ ท่ี 2 เกิดการปรบั เปลยี่ นสู่สังคมอตุ สาหกรรม ผ่าน Industrial Revolution ครัง้ ท่ี 1 และ 2 ยุคที่ 3 เกิด Digital Revolution เป็นระลอกๆ ยุคที่ 4 คือ The Fourth Industrial Revolution หรือยุคปัจจุบัน เกิดการรวมตัวและแตกตัวของ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน 3 Domains หลัก ดงั นี้  Bio Domain เช่น Bioprint, Genetic Transformation -3-

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอ่ื นประเทศไทยสูค่ วามมง่ั คง่ั มัน่ คง และยั่งยืน  Physical Domain เช่น Autonomous Vehicle (รถที่ขับเองได้) วัสดุศาสตร์ นาโน เทคโนโลยี และ 3D/4D Printing  Digital Domain เช่น Internet of Thing (IoT), Digital Manufacturing จากนีไ้ ป นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆจะเกิดจากการรวมตวั และแตกตัวของ 3 Domains นี้ โลกในระยะเปลย่ี นผ่าน การเคลื่อนจากโลกในศตวรรษท่ี 20 มาสู่โลกในศตวรรษท่ี 21 เป็นการเปล่ียนแปลงเชิงโครงสร้าง ก่อใหเ้ กิดชดุ ของโอกาส ภยั คกุ คาม เงื่อนไขและขอ้ จากัดชุดใหม่ จึงจาเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องมีการพัฒนาชุดของ ขดี ความสามารถชุดใหมท่ ่ีแตกต่างไปจากเดิมอย่างส้นิ เชงิ ใน The Fourth Industrial Revolution นั้น Artificial Intelligence (AI) จะมาแทน Knowledge Worker ถ้าเราตามมันทัน เราจะทางานร่วมกับมันได้ แต่ถ้าเราไม่ทันมัน AI จะทางานแทนเรา เรากาลังอยู่ใน “The Age of Disruption” ดังนั้น ท่ีมีผู้กล่าวว่า \"When Pattern are Broken, New Worlds Emerge\" ดูเหมอื นกาลงั จะเกดิ ขึ้น ตอนนี้ โลกเหมือนอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน (Metamorphosis) เปรียบเปรย เหมือนกับเปน็ ตวั หนอน อยู่ดีๆก็กลายเป็นดักแด้ ผู้คนอาจจะรู้สึกอึดอัด รู้สึกหวาดกลัวกับการเปล่ียนผ่านไปสู่ โลกใหม่ (เพราะไมค่ ุน้ เคยมาก่อน) แต่จะรู้สึกดีขึ้น ความเป็นปกติสุขเกิดข้ึนอีกครั้งหน่ึง ตอนที่เปลี่ยนผ่านจาก ดกั แด้กลายเป็นผีเสื้อ มี 5 กระแสทีส่ ่งผลตอ่ การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวติ ของผคู้ น คอื  Globalization ทีเ่ ปน็ แรงขับเคล่อื นให้เกิดการเคลื่อนไหลของทุน สินค้าและบริการ ผู้คน อย่างเสรี จนกลายเป็นโลกท่ีเช่ือมต่อกันอย่างสนิท (Connected World) เกิดการขยับ ปรับเปลย่ี นจาก One Country, One Destiny เปน็ One World, One Destiny  Digitization การติดต่อสื่อสารมีการเปล่ียนรูปแบบจากการส่ือสารกับ Someone, Somewhere และ Sometime เป็น Anyone, Anywhere และ Anytime เรากาลัง ดารงชีวิตอยู่ใน 2 อารยธรรมไปพร้อมๆกัน คืออารยธรรมในโลกจริง และอารยธรรมในโลก เสมือน ในโลกของดิจิตอล ก่อให้เกิด Network Externalities ดังนั้น รูปแบบการเติบโตจะ ไม่เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์เดิมว่าด้วย Diminishing Return to Scale อีกต่อไป แต่ รูปแบบการเตบิ โตจะเปลีย่ นไปเปน็ แบบ Exponential Return to Scale มากขึ้น  Urbanization สัดส่วนของผคู้ นในเมอื งจะมมี ากขน้ึ โดยในปี 1995 โลกมีคนในเมืองเพียง ร้อยละ 30 และเพิม่ ขนึ้ เป็นร้อยละ 54 ในปี 2014 และคาดว่าจะเพ่ิมข้ึนเป็นร้อยละ 66 ใน ปี 2050 ดังน้ัน วิถีชีวิต พฤติกรรม และปฏิสัมพันธ์ของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปจากสังคม ชนบทเป็นสังคมเมือง จะเกิดประเด็นท้าทายชุดใหม่ครอบคลุมท้ังในมิติพลังงาน การ คมนาคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งหากเตรียมการไว้ไดไ้ ม่ดีพอ เมืองเหล่าน้ีจะกลายเป็น Mega-Slums แต่หากเตรียมการได้ ดีพอ เมอื งเหล่านจี้ ะถูกปรับเปลย่ี นไปเป็น Smart Cities -4-

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสคู่ วามมงั่ ค่งั มั่นคง และย่งั ยืน  Individualization ผู้คนในศตวรรษท่ี 21 จะมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น มีความคิดความ อ่านเป็นของตัวเองมากข้ึน ต้องการแสดงออกมากข้ึน ความเป็นปัจเจกจะเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คอื Collective Individuals และ Contra-Individuals รูปแบบแรกเป็นรูปแบบ ที่สร้างสรรค์ ที่ผู้คนอยากอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม เกิดเป็นสังคมท่ีเข้มแข็ง แต่ใน รูปแบบท่ีสอง เป็นรูปแบบท่ีผู้คนต่างคนต่างอยู่ มองแต่ประโยชน์ส่วนตน เกิดสังคมที่ เปราะบาง โอกาสท่จี ะเกดิ ความขัดแยง้ จะมีอยสู่ งู  Commonization ในโลกทย่ี ่ิงเช่ือมต่อกันมากข้ึนเท่าไหร่ ผู้คนก็ย่ิงต้องพึ่งพิงอิงอาศัยกัน มากยง่ิ ข้ึนเท่าน้ัน ความเสี่ยงและภัยคุกคามมิได้ส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหน่ึงเป็น การเฉพาะ หากแตส่ ง่ ผลกระทบต่อโลกโดยรวม เป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องเผชิญที่เรียกกัน ว่า “Global Commons” อาทิ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ โรคระบาด การก่อการร้าย ภาวะโลกร้อน เป็นต้น น่ันหมายความว่า จากน้ีไป เวลาสุขประชาคมโลกจะสุขด้วยกัน และ เวลาทกุ ขป์ ระชาคมโลกก็จะทุกขด์ ว้ ยกนั ด้วย ท้ัง 5 กระแสดังกล่าวข้างตน้ ก่อใหเ้ กิดการเปลยี่ นแปลงใน 4 มติ ิ 1) การเปล่ยี นแปลงในวฒั นธรรมของการดารงอยู่ 2) การเปล่ยี นแปลงในวัฒนธรรมของการดาเนนิ ธุรกจิ 3) การเปลย่ี นแปลงในวัฒนธรรมของการทางาน 4) การเปลย่ี นแปลงในวฒั นธรรมของการเรยี นรู้ วัฒนธรรมของการดารงอย่ชู ุดใหม่ การดารงชีวิตให้อย่รู อดในศตวรรษที่ 21 จะเกิดจาก Power of Shared Knowledge ไม่ใช่ Power of Knowledge ดังเช่นในศตวรรษที่ผ่านมา โดยในยุคศตวรรษที่ 21 การได้มาซึ่งความรู้ (Producing Knowledge) นั้นไม่เพียงพอ สิ่งที่สาคัญควบคู่กันไปก็คือ การสร้าง ความหมายและนัยในองค์ความรูน้ ้ัน (Producing Meaning) ในโลกศตวรรษท่ี 20 เรามองเห็น “ข้อเสียในส่ิงที่ดี” (Negative Side of the Good) โลกใน ศตวรรษท่ี 21 เราต้องค้นหา “ข้อดีในส่ิงท่ีไม่ดี” (Positive Side of the Bad) ตัวอย่างเช่น การปรับตัวให้ เข้ากับ Climate Change นามาสู่การปรับเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่า และการพัฒนา Green Growth Industries เปน็ ต้น วัฒนธรรมของการดาเนินธุรกิจชุดใหม่ ในอดีตการทาธุรกิจ ยึดหลักการ Economies of Scale กล่าวคอื ยิ่งผลติ มากเท่าไหร่ ต้นทุนถูกลงเท่าน้ัน ซ้ือมากเท่าไหร่ได้ราคาถูกมากเท่านั้น ณ วันนี้ โลกได้ เปล่ียนไปแล้ว โลกของดิจิตอลเอื้อบริษัทเล็กๆอย่าง SMEs และ Startups มีโอกาสมากขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ดังตอ่ ไปนี้  Open Innovation Economy เกิดกระแสของนวัตกรรมแบบเปิด ผา่ นหลักคิดว่าดว้ ย NEA: N : Nobody owns ไม่มใี ครเปน็ เจ้าของที่แท้จรงิ E : Everybody can use it ทุกคนสามารถเข้าถงึ และนาไปใช้ได้ -5-

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลือ่ นประเทศไทยสคู่ วามม่ังคั่ง มั่นคง และยั่งยนื A : Anybody can improve it ใครๆก็สามารถเข้าไปแกไ้ ขปรบั ปรงุ ใหด้ ีข้ึนได้  เกิดธุรกิจภายใตแ้ นวคิด Sharing Economy อาทิ UBER, Airbnb, Co-Working Space เปน็ ตน้  เกดิ ธุรกิจภายใต้ Do It Yourselves Economy (DIY) จากน้ไี ป Maker และ Buyer เริ่มแยก ออกจากกนั ไม่ไดเ้ ด็ดขาดเหมือนในอดีต จงึ เกดิ คาวา่ Prosumer กล่าวคือ ผูบ้ ริโภคสามารถเปน็ ทง้ั Producer และ Consumer ดว้ ยในเวลาเดียวกนั ดังนั้น การทาธุรกิจในศตวรรษที่ 21 เร่ิมจากการคิดค้นนวัตกรรมเพ่ือสร้างมูลค่า ผ่านนวัตกรรมใน ผลติ ภัณฑ์ นวัตกรรมในกระบวนการผลติ และ นวตั กรรมเชงิ ธุรกจิ เป็นสาคญั กระบวนทัศน์ในการทาธุรกิจ มี การปรับเปลี่ยนจาก “Make & Sell” Paradigm ในยุค Industrial Revolution เป็น “Sense & Respond” Paradigm ในยุค Digital Revolution และเปลี่ยนจาก “Sense & Respond” Paradigm ในยุค Digital Revolution เป็น “Care & Share” Paradigm ในยุค The Forth Industrial Revolution ดังเช่นในปจั จุบนั วัฒนธรรมของการทางานชุดใหม่ การใช้ชีวิตสมัยก่อน มนุษย์เรามี 4 กิจกรรมหลักคือ ทางาน พกั ผอ่ น จับจ่ายซ้อื ของ และ ท่องเที่ยว เราจะใช้เวลาแต่ละช่วงเป็นเรื่องๆ ไป แต่ปัจจุบันน้ี ดิจิตอลเทคโนโลยี ทาให้เราสามารถทากิจกรรมหลายๆอย่างไดใ้ นเวลาเดียวกัน (Multiplexing) การเช่ือมโยงต่อกนั เปน็ เครอื ขา่ ยจะมีมากข้ึน ดังนั้น จะทางานกันบนแพลทฟอร์มในระบบเปิดมากขึ้น ในลักษณะงานท่ีต้องมีการประสานและร่วมมือกันมากขึ้น และมีลักษณะของการแชร์หรือแลกเปล่ียนแบ่งปัน กันมากขึ้น งานในลักษณะ Routine Job จะค่อยๆลดน้อยถอยลง และจะค่อยๆถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และ Automation ในทิศทางของกระแส Industry 4.0 งานในลักษณะ Non-Routine Job จะทวีความสาคัญ มากขน้ึ วัฒนธรรมของการเรียนรู้ชุดใหม่ โลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงใน 3 กระแสหลักคือ 1) เกิด Demonopolization of Knowledge ไม่มีการผูกขาดความรู้ 2) เกิด Democratization of Information ไม่มีการผูกขาดข้อมูล และ 3) เกิด Disruption of Technology & Innovation เทคโนโลยแี ละนวตั กรรมเกิดข้ึนใหมๆ่ จากการรวมตัวและแตกตัวของเทคโนโลยีและนวตั กรรมเดมิ ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสดังกล่าว วัฒนธรรมการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ต้องประกอบไป ดว้ ย 3 องคป์ ระกอบสาคัญคอื Learn, Unlearn และ Relearn “Unlearn” คอื การไม่ยึดติดกบั สิ่งทีเ่ รียนร้มู า ต้องปรับตวั ใหท้ ันตลอดเวลา ส่วน “Relearn” น้ันคือ ส่งิ ที่เรารมู้ ามนั เปลยี่ นไปในบริบทใหม่ๆ ดงั นน้ั ต้องเรยี นรู้สถานการณ์หรือเหตุการณ์จากมุมมองใหม่ที่แตกต่าง ไปจากเดิม สาหรับ \"Learn\" นน้ั โจทยท์ สี่ าคญในศตวรรษที่ 21 คอื จะเรยี นร้อู ยา่ งไรใหม้ ีความสามารถในการ รงั สรรคน์ วัตกรรม หลายประเทศโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ประเทศที่พัฒนาแลว้ เร่ิมมกี ารปรบั เปลย่ี นโมเดลเศรษฐกิจให้สอดรับ กบั พลวัตของโลกในศตวรรษที่ 21 ยกตวั อยา่ งเชน่ -6-

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสู่ความม่งั คัง่ มั่นคง และยง่ั ยืน  A Nation of Maker ของสหรัฐอเมริกา  Design in Innovation ของสหราชอาณาจักร  Made in China 2025 ของสาธารณรัฐประชาชนจนี  Make in India ของอินเดยี  Smart Nation ของสิงคโปร์  Creative Economy ของเกาหลีใต้ ถงึ เวลาของการปรับเปลีย่ นโมเดลประเทศไทย ใหส้ อดรบั กับภูมิทัศนใ์ หมข่ องโลกในศตวรรษท่ี 21 สามกับดกั ท่ปี ระเทศไทยกาลังเผชญิ อยู่ในปจั จบุ นั ในอดตี จะพบว่าประเทศไทยมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจาก Thailand 1.0 ท่ีเน้นเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม มาสู่ Thailand 2.0 ท่ีเน้นอุตสาหกรรมเบา และพัฒนาสู่ Thailand 3.0 ที่ เนน้ อตุ สาหกรรมทีม่ ีความซับซอ้ นมากขน้ึ จวบจนปจั จุบัน Thailand 3.0 เกดิ ข้นึ ในช่วงเวลาทกี่ ระแสโลกาภิวัตน์เปิดกว้าง มีการหล่ังไหลของทุนและเทคโนโลยี จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ ทาให้อุตสาหกรรมไทยมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างการผลิต จากการผลติ เพือ่ ทดแทนการนาเขา้ มาเปน็ การส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก ค่านิยมชุดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุนิยม ปัจเจกนิยม สุขนิยม และสากลนิยม ได้เข้ามาแทนที่ค่านิยมด้ังเดิมท่ีเน้นการเอื้อเฟื้อ แบง่ ปนั ความเปน็ อยูอ่ ย่างพอเพยี ง การมีครอบครวั ทอ่ี บอนุ่ และทอ้ งถิ่นนยิ ม อย่างน่าใจหาย ในช่วงตน้ ของการขับเคล่ือน Thailand 3.0 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ที่ร้อย ละ 7-8 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการคาดหวังว่า ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เฉก เชน่ เดียวกับประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะดาเนินไปได้ด้วยดี แต่ใน ความเป็นจรงิ Thailand 3.0 เปน็ โมเดลการพฒั นาที่ค่อนข้าง “เปราะบาง” เปน็ การเร่งการเจริญเติบโต เพ่ือ ไล่กวดให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงใช้วิธีการแบบ “มักง่าย” ด้วยการพัฒนาบน “การปักชา” จึงมีการ เจริญเติบโตแบบรากแขนง เทคโนโลยีและทุนของต่างชาติที่นาเข้ามาไม่มีกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี อยา่ งจรงิ จงั ขาดการสะสมทุน โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การพฒั นาทุนมนุษย์ ประเทศไทยจึงถูกมองเป็น “ประเทศที่ ดูเหมอื นทันสมัย แต่ไม่พัฒนา” การท่ีไม่มีฐานรากที่แข็งแรงของตนเอง ไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ พ่ึงพิงกับโอกาสของการค้าและการ ลงทุนจากภายนอก แต่ละเลยการสรา้ งความเข้มแข็งจากภายใน ในท่ีสุดประเทศไทยจึงต้องเผชิญกับวิกฤตต้ม ยากุ้ง ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งหลังจากการเกิดวิกฤตแล้ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ตกลง มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3-4 มาเกือบ 20 ปีจวบจนปัจจุบัน นี่คือภาวะของการติดอยู่ใน “กับดักประเทศรายได้ ปานกลาง” (Middle Income Trap) -7-

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสู่ความม่งั คง่ั มั่นคง และยง่ั ยนื การติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ขนาดปานกลาง สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกาลังติดอยู่ใน “Competitive Nutcracker” กล่าวคือ เราไม่สามารถท่ีจะขยับข้ึนไปแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันท่ี ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ อาทิ อิตาลี ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ ใน ขณะเดียวกัน เราก็ไม่สามารถขยับลงมาแข่งกับประเทศคู่แข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตสินค้าต้นทุนต่า ด้วย แรงงานจานวนมหาศาลและราคาถูก อย่างจีนหรือเวียดนามได้ เราติดอยู่ตรงกลาง ท่ีเรียกว่า “Stuck in the Middle” ในโลกของการแข่งขัน เพื่อสร้างความมั่งค่ังให้กับประเทศน้ัน จาเป็นจะต้องยกเครื่องกลไกขับเคลื่อน เศรษฐกิจเสยี ใหม่ เน้นการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ แทนการ เน้นทรัพยากรพื้นฐาน ท่ีนับวันจะหมดลงเรื่อยๆ เป็นการเติมเต็ม”ความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ” ท่ีมีอยู่ ดว้ ย “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” เพื่อ “สร้างมูลค่า” แทนท่ีจะเป็นแค่ “เพ่ิมมูลค่า” ผลลัพธ์ที่ได้จากการ ขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจชุดใหม่ จึงเป็นไปในลักษณะ “ทาน้อยได้มาก” ไม่ใช่ในลักษณะ “ทามากได้น้อย” แบบเดิมอกี ตอ่ ไป นอกเหนือจากการติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ภายใต้ Thailand 3.0 ประเทศไทยต้อง เผชิญกับ “กับดักความเหล่ือมลา” (Inequality Trap) กล่าวคือ ช่องว่างของรายได้และโอกาสของคนจน และคนรวยถ่างออกมากข้ึน ในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีความเหล่ือมล้าทางรายได้สูงเป็นอันดับ 2 ของ ทวีปเอเชีย หากพิจารณาสัดส่วนรายได้ของประชากรและการถือครองทรัพย์สิน ระหว่างปีพ.ศ. 2531-2550 สัดส่วนรายได้ของประชากรร้อยละ 20 ที่รวยที่สุด มีรายได้รวมกันประมาณร้อยละ 55 ของรายได้รวมทั้ง ประเทศ ในขณะท่ีกลุ่มที่จนท่ีสุดร้อยละ 20 มีรายได้รวมเพียงร้อยละ 4 ของรายได้รวมทั้งประเทศเท่านั้น โดยสัดส่วนรายได้ดังกล่าวไม่มีการเปล่ียนแปลงอย่างมีนัยสาคัญในระยะเวลากวา่ 20 ปีที่ผ่านมา และ ข้อมูล การถือครองทรัพย์สินครัวเรือน แสดงว่า ในปีพ.ศ. 2549 กลุ่มประชากรที่รวยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ มี ทรัพย์สินประมาณ 70 เท่าของกลุ่มท่ีจนที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศ นอกเหนือจากกบั ดักประเทศรายได้ปานกลางและกับดักความเหลื่อมล้า อีกหนึ่งกับดักท่ีประเทศไทย เผชิญคือ “กับดักความไม่สมดุล” (Imbalance Trap) โดยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเน้น ความม่งั ค่งั ทางเศรษฐกิจ แต่ละเลยการรักษ์ส่ิงแวดล้อม การสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการยกระดับศักยภาพ และภูมิปัญญามนุษย์ จนส่งผลกระทบเชิงลบในมิตติ ่างๆ มากมาย ท้ัง 3 กับดักใน Thailand 3.0 จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทาให้ประเทศไทยไม่สามารถสร้างความม่ังค่ัง มี ความมั่งคงในแนวทางที่ย่ังยืนได้มากกว่าน้ี น่ีคือเหตุผลสาคัญของการปรับเปล่ียนโมเดลทางเศรษฐกิจ จาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 โมเดล Thailand 4.0 Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจท่ีจะนาพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปาน กลาง กับดกั ความเหลอื่ มล้า และกบั ดกั ความไมส่ มดุล พรอ้ มๆกบั เปล่ียนผ่านประเทศไทยไปสู่ ประเทศในโลก ที่หน่ึง ท่ีมีความม่ันคง มั่งคั่ง และย่ังยืน ในบริบทของโลกยุค The Fourth Industrial Revolution อย่าง -8-

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอื่ นประเทศไทยสูค่ วามมงั่ คั่ง มน่ั คง และยัง่ ยนื เปน็ รปู ธรรม ตามแนวทางท่แี ผนยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปไี ด้วางไว้ ดว้ ยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ ไปกับการเช่ือมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยขับเคล่ือนผ่านกลไก “ประชารัฐ” ส่งิ ทค่ี นไทยคาดวา่ จะไดร้ บั จาก Thailand 4.0 (ดงั รปู ที่ 1.1) คือ 1. อยู่ใน “สังคมไทย 4.0” ที่เป็นสังคมที่มีความหวัง (Hope) เป็นสังคมที่เป่ียมสุข (Happiness) และเป็นสังคมที่มีความสมานฉันท์ (Harmony) เป็นสังคมที่มีความพอเพียง โดยมีคนชนช้ันกลาง เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เกิดความเท่าเทียมในสังคม ความเหล่ือมล้าอยู่ในระดับต่า มี สงิ่ แวดลอ้ มและสขุ ภาพท่ดี ี 2. เป็น คนไทย 4.0 ท่ีได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพดี และได้รับสวัสดิการทางสังคมท่ี เหมาะสมตลอดทุกช่วงชีวิต เป็นคนทันโลก ทันเทคโนโลยี สามารถอยู่บนเวทีโลกได้อย่าง ภาคภูมใิ จ และสามารถมสี ว่ นรว่ มกับนานาชาติเพอ่ื ทาให้โลกดีขน้ึ น่าอยูข่ ้นึ 3. เป็น เกษตรกร 4.0 ท่ีหลุดพ้นจากกับดักความยากจน โดยผันตัวเองจากเกษตรกรผู้ผลิตมาเป็น ผู้ประกอบการทางการเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmers) มีการบริหารจัดการที่ดี มีต้นทุนการ ผลติ ตา่ สามารถเพิม่ มลู คา่ สินค้าทางการเกษตรจากการแปรรูป 4. เป็น SME 4.0 ทส่ี ามารถสร้างหรือใชน้ วัตกรรม เทคโนโลยี ความคดิ สร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่า ในสินค้าและบริการ มีความสามารถทางการค้าขาย สามารถเข้าถึงตลาดในประเทศ ตลาด อาเซยี น และตลาดโลก ทาให้มีรายไดส้ ูงขน้ึ มีชีวิตความเปน็ อยู่ดขี นึ้ และมอี นาคตทสี่ ดใส 5. เกิด จงั หวัด 4.0 ท่ีมีการกระจายความเจริญท่ัวประเทศ เศรษฐกิจขยายตัว สามารถทางานในถิ่น ฐานบ้านเกิดได้ โดยไม่จาเปน็ ต้องเข้ามาทางานในกรงุ เทพฯหรือเมืองใหญ่ เนือ่ งจากมีลู่ทาง โอกาส และงานท่ีดีกระจายอยใู่ นทุกจังหวดั ทวั่ ประเทศ รูปท่ี 1.1: Thailand 4.0 -9-

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอื่ นประเทศไทยสคู่ วามมงั่ ค่งั มั่นคง และยั่งยนื การสร้างความเขม้ แขง็ จากภายใน และการเชือ่ มโยงกบั ประชาคมโลก Thailand 4.0 เป็นโมเดลท่ีไดน้ อ้ มนาหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเปน็ แนวคิดหลักในการพัฒนา ประเทศ ดังท่ีพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั พระราชทานพระราชดารสั หลักปรชั ญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ครั้ง แรกในงานพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เม่ือวันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ไว้ ความตอนหนึ่งวา่ “การพัฒนาประเทศจาเป็นต้องทาตามลาดับข้ัน ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ท่ีประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เม่ือได้ พนื้ ฐานมนั่ คงพร้อมพอควรและปฏิบตั ิไดแ้ ล้ว จงึ คอ่ ยสร้างคอ่ ยเสริมความเจรญิ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้น ที่สูงขึ้นโดยลาดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกฐานะทางเศรษฐกิจข้ึนได้รวดเร็วแต่ ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้อง ดว้ ย จะเกดิ ความไม่สมดลุ ในเร่ืองตา่ งๆ ได้ ซ่งึ อาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวในท่สี ดุ ” Thailand 4.0 น้อมนาพระราชดารัสข้างต้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และถอดรหัสออกมา เป็น 2 ยุทธศาสตรส์ าคญั คือ 1. การสรา้ งความเขม้ แขง็ จากภายใน (Strength from Within) 2. การเชื่อมโยงกับประชาคมโลก (Connect to the World) หากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในคือ Competitiveness การเช่ือมโยงกับโลกภายนอกก็คือ Connectivity ซ่ึงท้ัง Competitiveness และ Connectivity เป็น 2 ปัจจัยท่ีจะต้องดาเนินควบคู่กันในการ สรา้ งความมั่งคัง่ มัน่ คง และย่งั ยืนให้กบั ประเทศ การสรา้ งความเขม้ แขง็ จากภายใน Thailand 4.0 เนน้ การปรบั เปลี่ยนใน 4 ทิศทางคือ 1) จากการพึง่ พาเศรษฐกิจโลก สู่ การสรา้ งความเข้มแข็งของเศรษฐกจิ ภายในประเทศ 2) จากการเน้นการผลิตสนิ คา้ โภคภัณฑ์ สู่ การผลติ สนิ ค้าเชิงนวตั กรรม 3) จากการเนน้ เงนิ ทุนและทนุ ทางกายภาพ สู่ การเนน้ ทุนมนษุ ยแ์ ละเทคโนโลยี 4) จากการกระจกุ ของความม่งั คงั่ และโอกาส สู่ การกระจายของความม่ังคงั่ และโอกาส การปรับเปล่ียนใน 4 ทิศทางดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้ จาเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องเน้น “การพัฒนาที่ สมดลุ ”ใน 4 มิติ อันประกอบด้วย 1. ความม่ังคงั่ ทางเศรษฐกจิ (Economic Wealth) 2. ความอยู่ดมี สี ขุ ของผคู้ นในสงั คม (Social Well-beings) 3. การรกั ษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) - 10 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลือ่ นประเทศไทยส่คู วามมงั่ ค่งั ม่นั คง และยง่ั ยนื 4. การยกระดับศกั ยภาพและคุณคา่ ของมนุษย์ (Human Wisdom) การพฒั นาทสี่ มดลุ ใน 4 มิติของ Thailand 4.0 ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้ี สอดรับกับ เป้าหมายการพัฒนาอย่างย่ังยืน (17 Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ได้อย่างแนบ แนน่ และลงตัว (ดงั รูปที่ 1.2) รปู ท่ี 1.2: การพัฒนาทีส่ มดลุ SEP for SDGs การเช่ือมโยงกับประชาคมโลก เม่ือโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศเกิดความ เข้มแข็งก็จะเกิดการพัฒนาขีดความสามารถและมีภูมิคุ้มกันท่ีเพียงพอเมื่อเผชิญกับโอกาสและภัยคุกคามจาก โลกภายนอก ในการเช่ือมโยงกับโลกภายในมี 3 ระดับ คือ การเช่ือมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศ (จากชุมชนสู่จังหวัด และกลุ่มจังหวัด) การเช่อื มโยงกับเศรษฐกิจภูมภิ าค (อาเซยี น) และการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก (ดูรูปท่ี 1.3) รูปท่ี 1.3: การเชื่อมโยงกับประชาคมโลก - 11 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอื่ นประเทศไทยสู่ความมงั่ ค่งั ม่นั คง และยั่งยืน เพื่อให้อยู่กับประชาคมโลกอย่างเป็นปกติสุข ในการขับเคล่ือน Thailand 4.0 รัฐบาลจึงได้น้อม นาเอาปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลก โดยเนน้ 1. การอนุรกั ษ์โลก (Saved the Planet) 2. การสรา้ งสันติภาพทมี่ ่นั คง (Secured Peace) 3. การเตบิ โตทยี่ ั่งยนื (Sustainable Growth) 4. การสรา้ งความเจริญรุ่งเรืองรว่ มกนั (Shared Prosperity) อาจกล่าวได้ว่า แก่นยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการ เชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลกน้ัน ต้ังอยู่บนฐานความคิดจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท่ีสอดรับกับ Sustainable Development Goals ของ UN (ดงั รูปที่ 1.4) รูปที่ 1.4: การสอดรบั กนั ระหว่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ SDGs ใน Thailand 4.0 - 12 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสคู่ วามมงั่ คงั่ ม่นั คง และยงั่ ยนื กลไกขับเคล่ือนประเทศชุดใหม่ภายใต้ Thailand 4.0 Thailand 4.0 มีเป้าหมายเพื่อหลุดพ้น 3 กับดัก โดยปรับเปล่ียนกลไกการขับเคลื่อนการเติบโตชุด ใหม่ (New Growth Engines) เพ่ือเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หน่ึง” ภายในปี 2575 ดังน้ี (ดังรูปท่ี 1.5) 1. หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ด้วยการสร้างความม่ังค่ังผ่าน กลไกขับเคลื่อน เศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ (Competitive Growth Engines) เพื่อก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง โดยเปล่ียนจาก “ทามากได้น้อย” เป็น “ทาน้อยได้ มาก” ซ่งึ ประกอบไปดว้ ย ● การยกระดบั ขีดความสามารถดา้ นการวจิ ัยและพฒั นา ● การสร้างคลสั เตอรท์ างด้านเทคโนโลยแี ละนวตั กรรม ● การบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี การออกแบบและความคิดสรา้ งสรรค์ ● การพัฒนาวิสาหกจิ ท่ขี ับเคล่อื นดว้ ยนวัตกรรม ● การพัฒนาทักษะและงานใหมเ่ พ่อื รองรับการเปลยี่ นแปลงในอนาคต ● การสรา้ งสภาพแวดลอ้ มที่เอื้ออานวยต่อการทาธุรกจิ ● การบริหารจัดการสมัยใหม่ ที่พร้อมดาเนินการ ท้ังใน Physical และ Digital Platforms ● กจิ การรว่ มทุนรฐั และเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ ● ฯลฯ 2. หลุดพ้นจากกับดกั ความเหล่อื มลา้ ดว้ ยการสรา้ งความมนั่ คงผา่ น กลไกการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งค่ังอย่างเท่าเทียม (Inclusive Growth Engine) โดยเน้นการปรับเปล่ียนจาก ความมัง่ ค่งั ท่ีกระจุกเป็นความมัง่ ค่ังที่กระจาย ด้วยหลกั คดิ ทีว่ า่ “เราจะเดินหน้าไปด้วยกัน โดยไม่ ทิง้ ใครไวข้ า้ งหลัง” ประกอบไปดว้ ย ● การยกระดับ Digital Skill Literacy, ICT Literacy, Information Literacy และ Media Literacy ของคนไทย ● การสรา้ งคลัสเตอรเ์ ศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวดั และจงั หวัด ● การสร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากในชมุ ชน ● การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสงั คม ● การสง่ เสรมิ และสนับสนุนใหว้ สิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถ แขง่ ขันไดใ้ นเวทีโลก ● การยกระดับขดี ความสามารถ การเสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของ ประชาชนให้ทันกบั พลวตั จากภายนอก - 13 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมงั่ ค่ัง มัน่ คง และยัง่ ยนื ● การสรา้ งเครอื ขา่ ยความรว่ มมือในรปู แบบประชารัฐ ● การจ่ายภาษีให้แก่ผ้ทู ่มี ีรายได้ต่ากวา่ เกณฑ์ที่กาหนดแบบมีเงื่อนไข ● ฯลฯ 3. หลุดพ้นจากกับดักความไม่สมดุล ด้วยการสร้างความย่ังยืนผ่าน กลไกการพัฒนาท่ีเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Green Growth Engine) ปรับเปล่ียนจากการพัฒนาท่ีไม่สมดุลสู่ “การพัฒนาท่ี สมดลุ ” ประกอบไปดว้ ย ● การมุ่งเนน้ ธุรกจิ การผลติ และการใช้เทคโนโลยที ่เี ปน็ มิตรต่อสงิ่ แวดลอ้ ม ● การมงุ่ เน้นการใช้พลงั งานทดแทน ● การปรบั แนวคิดจากเดมิ ทค่ี านงึ ถึงความได้เปรียบเร่ืองตน้ ทุน (Cost Advantage) เปน็ หลกั มาสูก่ ารคานงึ ถึงประโยชนท์ ไ่ี ด้จากการลดความสูญเสียท่ีเกดิ ข้นึ ท้งั ระบบ (Lost Advantage) ● การส่งเสรมิ ให้ภาคเอกชนเป็นองคก์ รท่ี “คิดดีทาด”ี (Doing Good, Doing Well) ● ฯลฯ รูปท่ี 1.5: กลไกขับเคล่ือนการเติบโตชุดใหม่ ใน Thailand 4.0 - 14 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสคู่ วามมงั่ ค่ัง ม่นั คง และยง่ั ยนื เป้าหมาย Thailand 4.0 Thailand 4.0 กาหนดเป้าหมายครอบคลุมใน 4 มติ ิ ดังนี้ ความม่งั ค่งั ทางเศรษฐกิจ เป็น “ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า” (Value - Based Economy) ท่ีขับเคลื่อนด้วย นวตั กรรม เทคโนโลยี และความคดิ สรา้ งสรรค์ ● พ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดยมีรายได้ต่อหัวประชากรที่เพ่ิมข้ึนจาก 5,410 ดอลลา่ รส์ หรัฐในปี พ.ศ. 2557 เปน็ 15,000 ดอลล่าร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2575 ● อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากระดับร้อยละ 3-4 เป็นร้อยละ 5-6 ตามศักยภาพที่ควรจะ เป็นของประเทศภายใน 5 ปี ● การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) จากร้อยละ 1.3 ในปี พ.ศ. 2556 เป็น มากกว่ารอ้ ยละ 5 ตอ่ ปอี ย่างต่อเนอ่ื งภายใน 10 ปี ● ผลักดนั ให้ประเทศไทยเปน็ Trading & Service Nation ในระดับภูมภิ าค ภายใน 10 ปี ● ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางตลาดทุนของ ASEAN ภายใน 10 ปี ● มี 5 บรรษทั ข้ามชาตริ ะดบั โลกสญั ชาตไิ ทย ภายใน 10 ปี ● มคี วามง่ายในการประกอบธรุ กจิ อยใู่ น 10 ลาดบั แรกของโลก ภายใน 10 ปี ● เพิ่มระดับการวิจัยและพัฒนา จากร้อยละ 0.25 GDP ในปี พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 4.0 (เทียบเทา่ ประเทศเกาหลีใต้) ● สร้างโครงสร้างพ้ืนฐานทางปัญญาให้แข็งแกร่งภายใน 5 ปี เพ่ือปรับเปลี่ยนสัดส่วนการพัฒนา เทคโนโลยขี องตนเองตอ่ การพง่ึ พาเทคโนโลยีจากภายนอก จาก 10:90 ในปัจจุบัน เป็น 30:70 ภายใน 10 ปี และปรบั ขน้ึ เปน็ 60:40 ภายใน 20 ปี ความอยู่ดีมสี ขุ ทางสงั คม เป็น “สังคมที่ไม่ทอดทิงใครไว้ข้างหลัง” (Inclusive Society) ด้วยการเติมเต็มศักยภาพของผู้คน ในสงั คม เพื่อสร้างหลักประกันความม่ันคงทางเศรษฐกิจสังคม และฟื้นความสมานฉันท์และความเป็นปึกแผ่น ของคนในสงั คม ให้กลบั คืนมาอีกครัง้ หนึง่ ● ระดบั ความเหล่อื มลา้ ในสงั คม (วัดผลจาก Gini Coefficient) จาก 0.465 ในปี พ.ศ. 2556 เป็น 0.2-0.4 ตามมาตรฐาน OECD ภายในปี พ.ศ. 2575 ● ปรบั เปลยี่ นสรู่ ะบบสวสั ดิการสงั คมอย่างสมบูรณ์ ภายใน 20 ปี ● เปล่ียนเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer จานวน 20,000 ครัวเรือน ภายใน 5 ปี และ 100,000 ครวั เรือน ภายใน 10 ปี ● ยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็น Smart SME จานวน 100,000 สถานประกอบการ ภายใน 5 ปี และเพิม่ เป็น 500,000 ราย ภายใน 10 ปี - 15 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอ่ื นประเทศไทยสคู่ วามมง่ั คงั่ ม่ันคง และยั่งยนื ● พัฒนาวิสาหกิจชุมชนและต่อยอดดว้ ยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และสามารถเข้าสู่ตลาดได้ตาม แนวทางประชารฐั จานวน 20,000 ราย ภายใน 5 ปี และเพมิ่ เปน็ 100,000 ราย ภายใน 10 ปี การยกระดับคณุ คา่ มนุษย์ ด้วยการพัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ท่ีสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกทหี่ น่งึ ” ● PISA score จากลาดบั ที่ 47 จาก 76 ประเทศ เป็น 1 ใน 20 ประเทศแรก ภายใน 20 ปี ● ดัชนกี ารพัฒนามนุษย์ (HDI) จาก 0.722 (ในปี พ.ศ. 2556) หรอื อันดบั ท่ี 89 เป็น 0.80 (กลุ่ม Very High Human Development) หรอื 50 อนั ดับแรก ภายใน 10 ปี ● ยกระดบั คณุ ภาพฝมี ือแรงงานใหส้ อดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการและทิศทางการพัฒนาของประเทศ จานวน 500,000 คน ภายใน 5 ปี ● มหาวิทยาลยั ไทยตดิ 100 อันดบั แรกของโลก จานวน 5 สถาบัน ภายใน 20 ปี ● นักวทิ ยาศาสตรไ์ ทยไดร้ ับรางวัล Noble Prize อย่างน้อย 1 ทา่ นภายใน 20 ปี การรักษ์สิ่งแวดลอ้ ม มี “ระบบเศรษฐกิจทส่ี ามารถปรับสภาพตามภูมิอากาศ” ควบคไู่ ปกบั การเป็น “สังคมคาร์บอนต่า” อย่างเตม็ รปู แบบ  มี 10 เมืองทน่ี า่ อยู่ของโลก ภายใน 5 ปี  มี 5 เมืองอัจฉรยิ ะ เตม็ รปู แบบ ภายใน 10 ปี - 16 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยส่คู วามม่งั คง่ั ม่นั คง และยง่ั ยืน ตอนที่ 2 : หา้ วาระในการขับเคลอื่ น Thailand 4.0 สืบเนื่องจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวารสารชัยพัฒนาประจาเดือน สงิ หาคม 2542 “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความม่ันคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือน เสาเข็มที่ถกู ตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง ส่ิงก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ท่ีเสาเข็ม แต่คนส่วนมาก มองไม่เหน็ เสาเขม็ และลมื เสาเข็มซะดว้ ยซ้าไป” รฐั บาลจงึ ไดก้ าหนดทศิ ทางการพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 ภายใต้หลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึง ประกอบไปด้วย 5 วาระ ดังนี้ (ดงั รปู ท่ี 2.1) วาระท่ี 1 : การเตรยี มคนไทย 4.0 ให้พรอ้ มก้าวสู่โลกทีห่ นึ่ง วาระที่ 2 : การพฒั นาคลสั เตอร์เทคโนโลยีและอตุ สาหกรรมแหง่ อนาคต วาระที่ 3 : การบม่ เพาะผปู้ ระกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจท่ีขบั เคลื่อนดว้ ยนวตั กรรม วาระที่ 4 : การเสริมความเขม้ แขง็ ของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่าน 18 กล่มุ จงั หวัด และ 77 จงั หวัด วาระที่ 5 : การบรู ณการอาเซียน เช่อื มประเทศไทยสู่ประชาคมโลก ท้ัง 5 วาระ สามารถรอ้ ยเรยี งเขา้ ด้วยกัน และเปรยี บไดด้ ังนี้ 1. การตระเตรียมเมล็ดพนั ธ์ุชุดใหม่ ดว้ ยการเตรียมคนไทย 4.0 ใหพ้ ร้อมในการกา้ วส่โู ลกทห่ี นึง่ 2. การเปลี่ยนจากการปักชาสู่การมีรากแก้วท่ีแข็งแรง ด้วยการพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต 3. การมีลาต้นท่ีแข็งแกร่งสามารถงอกงามแผ่ก่ิงก้านสาขา ด้วยการบ่มเพาะผู้ประกอบการและ พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคล่ือนด้วยนวัตกรรม และการเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศผ่าน 18 กลุ่มจงั หวัด และ 77 จังหวัด 4. การเปน็ ส่วนหนง่ึ ของระบบนเิ วศนโ์ ลก ด้วยการบรู ณการอาเซียน เช่ือมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก - 17 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสคู่ วามมัง่ คงั่ มนั่ คง และยง่ั ยนื รูปท่ี 2.1: หา้ วาระในการขบั เคลอ่ื นโมเดล Thailand 4.0 - 18 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอื่ นประเทศไทยสคู่ วามม่งั ค่งั มน่ั คง และยง่ั ยนื วาระท่ี 1 : การเตรียมคนไทย 4.0 เพ่ือก้าวส่โู ลกทีห่ นงึ่ เปรียบเสมือนการตระเตรียมเมล็ดพันธ์ุใหม่ ด้วยการบ่มเพาะคนไทยให้เป็น “มนุษย์ท่ีสมบูรณ์ใน ศตวรรษที่ 21” ควบค่ไู ปกบั การพฒั นา “คนไทย 4.0 สูโ่ ลกทห่ี นึ่ง” คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณใ์ นศตวรรษที่ 21 คือ คนไทยทีม่ ปี ัญญาท่ีเฉียบแหลม (Head) มีทักษะที่ เหน็ ผล (Hand) มีสุขภาพท่ีแข็งแรง (Health) และมีจิตใจท่ีงดงาม (Heart) การเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์เป็นเงื่อนไขที่จาเป็นในการเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง ซ่ึงจะครอบคลุม การปรับเปล่ียนใน 4 มิติดังตอ่ ไปน้ี 1. เปลี่ยนจากคนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะท่ีจากัด เป็น คนไทยท่ีมีความรู้ และทักษะ สงู มคี วามสามารถในการรงั สรรค์นวตั กรรม 2. เปลี่ยนจากคนไทยที่มองเน้นประโยชน์ส่วนตน เป็น คนไทยที่มีจิตสาธารณะ และมีความ รับผิดชอบต่อสว่ นรวม 3. เปลี่ยนจากคนไทยแบบ Thai-Thai เป็น คนไทยแบบ Global Thai มีความภาคภูมิใจในความ เป็นไทยและสามารถยืนอย่างมีศกั ดศ์ิ รีในเวทีสากล 4. เปลี่ยนจากคนไทยที่เป็น Analog Thai เป็น คนไทยที่เป็น Digital Thai สามารถดารงชีวิต เรยี นรู้ทางาน และประกอบธุรกิจ ไดอ้ ยา่ งเปน็ ปกติสขุ ในโลกยุคดิจิตอล โดยเรม่ิ จากการเสรมิ สร้างให้เกิดการเจรญิ เติบโตในตวั คน (Growth for People) ผ่านการสร้างสังคม แหง่ โอกาส เพอ่ื เติมเต็มศักยภาพ เม่ือคนเหล่าน้ีไดร้ ับการเติมเต็มศักยภาพอย่างเต็มท่ี จะกลายเป็นตัวหลักใน การขบั เคลื่อนการเจรญิ เตบิ โต (People for Growth) และนาพาประเทศสู่ความม่ังค่ัง มั่นคง และยั่งยืนอย่าง แท้จริง (ดรู ูปที่ 2.2) รูปที่ 2.2: Growth for People/ People for Growth - 19 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลือ่ นประเทศไทยสู่ความม่ังค่งั มน่ั คง และยั่งยืน การปรบั เปล่ียนกระบวนการเรียนรู้ แนวคิด Growth for People/ People for Growth นามาสูป่ ระเดน็ ท้าทายดงั ต่อไปนี้  จะพัฒนาอย่างไรให้คนไทยเป็นคนท่ีมีแรงบันดาลใจ มีความมุ่งม่ัน เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมี พลังและมคี วามหมาย (Purposeful People)  จะพัฒนาอย่างไรให้คนไทยเป็นคนท่ีมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการรังสรรค์ นวัตกรรม (Innovative People)  จะพฒั นาอยา่ งไรใหค้ นไทยเป็นคนทีม่ ีจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นท่ีต้ัง (Mindful People)  จะพัฒนาอย่างไรให้คนไทยเป็นคนที่มุ่งการทางานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Action-Based People) จากประเด็นทา้ ทายดังกลา่ วข้างตน้ นามาสู่ “การปรับเปล่ยี นกระบวนการเรียนรู้” ของคนไทยทั้งระบบ 1. การปรับเปลย่ี นเรยี นรู้เพ่อื เสริมสร้างแรงบนั ดาลใจ มีความมุง่ ม่นั เพือ่ ให้มีชวี ติ อยอู่ ย่างมีพลังและมี ความหมาย (Purposeful Learning) o ปรับเปลี่ยนจากการเรียนแบบเฉ่ือยชา (Passive Learning) เป็น การเรียนด้วย ความกระตือรอื ร้น (Active Learning) o ปรับเปล่ียนจากการเรียนตามภาคบังคับ (Duty-Driven) เป็น การเรียนที่เกิดจาก ความอยากรู้ อยากทา และอยากเป็น (Passion-Driven) o ปรับเปลี่ยนจากการเรียนตามมาตรฐาน (Standardized) เป็น การเรียนเพ่ือตอบ โจทยเ์ ฉพาะบุคคล (Personalized) 2. การปรับเปลย่ี นเรยี นรู้เพือ่ บม่ เพาะความคดิ สรา้ งสรรค์ และความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรม ใหม่ๆ (Generative Learning) o ปรับเปล่ียนจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ในโรงเรียน และในระบบ เป็น การเรียนรู้ นอกห้องเรียน นอกโรงเรยี น และนอกระบบ - 20 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสคู่ วามม่งั คงั่ มัน่ คง และยั่งยืน o ปรับเปลีย่ นจากการเรียนจากขอ้ เท็จจรงิ (Fact-Based) เป็น การเรยี นทเ่ี ริ่มจากการ ใชค้ วามคิด (Idea-Based) o ปรบั เปล่ียนจากการคดิ ในกรอบ (In the Box) เป็น การคิดนอกกรอบ (Out of the Box) o ปรับเปลี่ยนจากการเรียนแบบถ่ายทอด (Transmitting) เป็น การเรียนแบบชี้แนะ (Mentoring) 3. การปรับเปล่ียนเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ต้ัง ( Mindful Learning) o ปรับเปลย่ี นจากการเน้นผลประโยชน์ร่วม (Common Interest) เป็น การเน้นสร้าง คุณคา่ รว่ ม (Sharing Value) o ปรบั เปลย่ี นจากการมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ในรายบุคคล (Individual Creating) เป็น การมุ่งเน้นการระดมความคิดสรา้ งสรรค์แบบกลมุ่ (Common Creating) o ปรบั เปล่ียนจากการให้รางวลั จากการแขง่ ขัน (Competing Incentive) เป็น การให้ รางวัลจากการทางานร่วมกนั (Sharing Incentive) 4. การปรับเปลย่ี นเรยี นรู้เพ่ือมุ่งการทางานให้เกดิ ผลสมั ฤทธิ์ (Result-Based Learning) o ปรับเปลีย่ นจากการเรยี นโดยเนน้ ทฤษฎี เปน็ การเรยี นท่เี นน้ การวิเคราะห์และแก้ไข ปัญหา o ปรับเปลี่ยนจากการเรียนแบบฟังบรรยาย เป็น การทาโครงงานและแก้ปัญหาโจทย์ ในรปู แบบต่างๆ o ปรับเปลี่ยนจากการวัดความสาเร็จจากระบบการนับหน่วยกิต เป็น การวัด ความสาเรจ็ จากการบรรลผุ ลสมั ฤทธิ์ o ปรบั เปลี่ยนจากการเรยี นเพ่อื วุฒกิ ารศกึ ษา เปน็ การเรียนเพ่ือการประกอบอาชีพ การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ในศตวรรรษท่ี 21 และการตระเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่ หนึ่ง ผ่าน 4 กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จะเป็นหัวใจสาคัญในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่ “สังคมไทย 4.0” น่ันคือ สังคมที่มีความหวัง (Hope) สังคมที่เปี่ยมสุข (Happiness) และ สังคมที่มีความสมานฉันท์ (Harmony) ในทส่ี ดุ - 21 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลือ่ นประเทศไทยสู่ความม่ังคง่ั มน่ั คง และยง่ั ยนื การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรรษที่ 21 และการตระเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่ หน่ึง ผ่าน 4 กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน เป้าหมายและระบบการบริหารจัดการ การเรยี นรู้ กระบวนทัศน์และทักษะครู หลักสูตรการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนระบบ นิเวศนข์ องการเรยี นรู้ การพฒั นาสู่ “แรงงาน 4.0” ที่มคี วามรู้และทกั ษะสงู พร้อม ๆ กบั เรอ่ื งการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน การปรบั เปลย่ี นและการพฒั นาทกั ษะและอาชีพ เป็นประเด็นท่ี สาคญั เพอ่ื รองรบั พลวตั ของโลกในศตวรรษที่ 21 ทกั ษะท่ีมคี วามสาคัญมากขน้ึ ในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปดว้ ย • Cognitive Abilities • Systems Skills • Complex Problem Solving • Content Skills • Process Skills ในขณะทีท่ กั ษะทจ่ี ะมคี วามสาคญั น้อยลงในศตวรรษที่ 21 จะประกอบดว้ ย • Social Skills • Resource Management Skills • Technical Skills • Physical Abilities พร้อม ๆ กันน้ัน ภายใต้กระแส Industry 4.0 งานต่าง ๆ ที่เป็น Repetitive / Routine Jobs จะ คอ่ ย ๆ ถกู แทนท่ีด้วยหุ่นยนต์และ Automation (ดูรูปท่ี 2.3) - 22 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสู่ความมั่งคัง่ ม่นั คง และยงั่ ยืน รูปที่ 2.3 : การเปลย่ี นแปลงในเนือ้ งาน หน่ึงในยุทธศาสตร์ภายใต้ Thailand 4.0 คือ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และปรับเปล่ียน แรงงานให้สอดคล้องกับ Industry 4.0 ดังนั้น จาเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องดาเนินการ Reskilling, Upskilling และ Multiskilling ในแรงงานปัจจุบัน โดยเน้นการพัฒนาทักษะเพ่ือรองรับงานท่ีเป็น Non – Routine / Task Special / Project – Based Jobs มากข้ึน รัฐบาลจะวางระบบเพื่อบูรณการการศึกษา การฝึกอบรม การพัฒนาอาชีพให้คนไทยปรับตัวกับการ เปล่ียนแปลงและกาหนดเสน้ ทางชีวติ ส่อู นาคต โดยกาหนดเป้าหมายไว้ 4 ประการ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1) ช่วยบุคคลใหร้ ู้ถงึ ทางเลอื กในการศึกษา ฝึกอบรม และพฒั นาอาชีพ 2) พัฒนาระบบการศึกษา ฝึกอบรม และพัฒนาทักษะให้ตอบสนองความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรม 3) ส่งเสรมิ การพัฒนาเส้นทางวชิ าชพี บนฐานทักษะและความเชย่ี วชาญ 4) สรา้ งวฒั นธรรมการเรยี นรูต้ ลอดชีวติ โดยการสรา้ งโปรแกรมพัฒนาทักษะอาชีพ ใน 3 ระดบั ดว้ ยกนั ประกอบด้วย  โปรแกรม In School อาทิ Education & Career Guidance, Enhanced Internship, Individual Learning Portfolio และ Young Talent Program - 23 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่ือนประเทศไทยสคู่ วามมัง่ คง่ั มนั่ คง และยัง่ ยืน  โปรแกรม Starting Work อาทิ Education & Career Guidance, Earn & Learn Program, Skill Development Credit และ Individual Learning Portfolio  โปรแกรม Growing Your Career อาทิ Education & Career Guidance, Skills- Based Modular Course, Mid-Career Enhanced Subsidy, Sectoral Manpower Plan, Leadership Development Program, Skill Development Credit และ Individual Learning Portfolio กรอบยทุ ธศาสตร์ Brain Power Development เพ่ือให้ Thailand 4.0 บรรุลุผลสัมฤทธ์ิ จาเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องมีกรอบยุทธศาสตร์ “National Brain Power Development” เพ่ือพัฒนาและยกระดับแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงท่ีชัดเจน โดยเน้น การบริหารจัดการ Stock & Flow ของแรงงานท่ีมีความรู้และทักษะสูง ผ่านกลไกของ Talent Development และ Talent Mobility ทาให้ตลาดแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง เป็นตลาดแรงงานท่ีมี ประสิทธิภาพ เนน้ การพฒั นาทักษะอาชพี อย่างตอ่ เน่ือง พร้อม ๆ กับการมีระบบสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ ที่เหมาะสม เปา้ หมายเพื่อยกระดับผลติ ภาพของแรงงานทม่ี คี วามรู้และทักษะสูง ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสาคัญ ของการยกระดับผลิตภาพของประเทศ ซึง่ จะสง่ ผลต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในทส่ี ุด การเตรียม คนไทย 4.0 จึงเป็นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ทักษะ (Skill-Set) และ พฤติกรรม (Behavior Set) ของคนไทยทัง้ ระบบ เพอื่ ให้ คนไทย 4.0 เป็นตัวขับเคล่ือนหลักในการเปล่ียนผ่าน สู่ Thailand 4.0 ทมี่ คี วามมงั่ คัง่ มน่ั คง และยั่งยนื อย่างแทจ้ รงิ รากฐานการพัฒนา Thailand 4.0 เร่มิ ตน้ ที่ “คนไทยทุกคน” ปจั จยั สาคญั ทีส่ ดุ การขับเคลื่อนประเทศไทย ตาม Thailand 4.0 ก็คือ “คนไทย” เนื่องจากการ พัฒนาทุนมนุษย์ที่ดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จะเป็นรากฐานในการเสริมสร้างคุณภาพและความ เข้มแข็งให้กับสังคมไทย รวมท้ังสร้างรากฐานความม่ันคงของประเทศในทุกด้าน และเมื่อคนไทยมีคุณภาพก็ จะสามารถลดความเหลอ่ื มล้าทางสังคมได้ การพัฒนาสังคมจึงต้องมุ่งพัฒนาโดยเน้นเรื่องคุณภาพและความ ย่งั ยนื บนพ้นื ฐานแนวคดิ ของการ \"รจู้ กั เติม ร้จู กั พอ และรจู้ กั ปนั \" - 24 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอื่ นประเทศไทยสคู่ วามมัง่ คัง่ มน่ั คง และย่ังยืน คนไทยทุกคนเป็นคนท่ีสาคัญของประเทศ คนไทยบางกลุ่มอาจมีศักยภาพหรือความพร้อมอยู่แล้ว แต่คนไทยบางกลมุ่ อาจอย่รู ะหวา่ งการค้นหาศกั ยภาพ ลองผิดลองถกู และขาดเพียงโอกาสเท่านั้น ประเทศไทย จะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้หากละทิ้งคนไทยกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงไว้ ดังน้ันการพัฒนาคนไทยทุกคนจึงเป็นส่ิงท่ีมี ความสาคัญยง่ิ เป้าหมายการพัฒนา Thailand 4.0 คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทุกกลุ่มให้ดี ขึน้ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ กลุม่ คนที่ยังต้องการเติมเต็มศักยภาพ หรือผู้ด้อยโอกาส หรือที่กาลังประสบกับปัญหา ความยากจนอย่างมาก จะต้องทาให้คนในกลุ่มเหล่านี้สามารถมี “โอกาสทางสังคม (Social Mobility)” โดยเน้นปอ้ งกนั ความเส่ยี งจากการตกอยใู่ นวงจรแห่งความลม้ เหลวหรือกบั ดักความยากจน ในลักษณะการให้ แตม้ ต่อและสรา้ งโอกาส พร้อมกบั การเสริมสรา้ งศักยภาพไปทต่ี ัวคน ครอบครวั และชุมชน คนไทยจะเติบโตและพัฒนาอย่างไร การสร้างคนไทยให้เป็นคนไทย 4.0 คือ การปลดล็อคข้อจากัดที่มีอยู่ในตัวคน ซ่ึงคนไทยแต่ละกลุ่ม อาจมีขอ้ จากัดทต่ี ้องการปลดลอ็ คต่างกันออกไป คนไทย 4.0 มีศกั ยภาพและความพร้อมในระดับสงู แล้ว คนไทย 3.0 มรี ายไดป้ านกลาง มแี นวโนม้ ทีจ่ ะมีศักยภาพ คนไทย 2.0 ตดิ อยู่ในวงจรแห่งความยากจน คนไทย 1.0 เปน็ ผดู้ ้อยโอกาส  คนไทย 4.0 หรือคนไทยที่มีศักยภาพและความพร้อมในระดับสูงแล้ว ต้องเน้นให้มีความ แขง็ แกร่งในการสรา้ งความเจรญิ เติบโต เพ่ือเป็นกลุ่มแนวหน้าในการสร้างความเจริญเติบโต ให้กับประเทศและ “รู้จักปัน” หันมาร่วมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนไทยคนอื่นๆ ให้เข้มแข็ง เติบโตไปด้วยกัน คนไทยกลุ่มน้ีมีความพร้อมพ้ืนฐานที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว หากแต่ต้องปลด ล็อคเร่ือง การใช้ประโยชน์จากเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมหรืองานวิจัยพัฒนา และสร้างความพร้อมในการแสวงหาโอกาสจากภายนอกประเทศเพื่อเป็นกลุ่มผู้นาช่วย ขับเคล่อื นประเทศใหห้ ลดุ พน้ กบั ดักประเทศรายไดป้ านกลาง  คนไทย 1.0 คนไทย 2.0 หรือคนไทยท่ียังติดอยู่ในวงจรแห่งความยากจน ยังอาจขาด โอกาส หรือ คนไทย 3.0 อาจอยู่ในระดับรายได้ปานกลางแต่ยังขาดความม่ันคง กลุ่มน้ี เปน็ กลุ่มคนที่สาคญั ของประเทศ จดุ เน้นอยทู่ ี่การสร้างความเจริญเติบโตภายในตัวคน การ ค้นพบอาชีพที่เหมาะสมมีรายได้เพียงพอ ด้วยการ “รู้จักเติม” การเติมความรู้และสร้าง โอกาสเป็นส่ิงที่สาคัญท่ีสุดสาหรับคนกลุ่มน้ี ซ่ึงหมายความว่า เติมความรู้ทักษะท่ีจาเป็นท่ี ขาดไปเหมาะสมกับอาชพี มที กั ษะในการเปลยี่ นแปลงปรับตวั ได้รับโอกาสที่ดีเพื่อที่จะทาให้ - 25 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลือ่ นประเทศไทยสู่ความมง่ั คง่ั มั่นคง และยั่งยนื เริ่มเข้าสู่วงจรแห่งการพัฒนา ซึ่งเรื่องการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเทคโนโลยีดิจิทัล จะเป็นเครื่องมือท่ีช่วยให้คนไทยส่วนใหญ่กลุ่มนี้ได้รับ “การเติมความรู้และสร้างโอกาสแบบ ไรพ้ รมแดนหรือขีดจากดั ” เกดิ การพัฒนาความสามารถ ตามศักยภาพของตนเอง สอดคล้อง กับวิถีชีวิต บริบทในพื้นท่ี ประยุกต์ให้เกิดการเจริญเติบโตภายในชุมชน ภายในประเทศไทย ได้ ควบคูไ่ ปกับการเริ่มเตรียมพรอ้ มในการรบั การเปลี่ยนแปลงพลวัตโลกหรือแสวงหาโอกาส ท่เี ปิดกวา้ งระดับโลกต่อไป วาระการพัฒนาคนไทย การพัฒนาคนไทยกล่มุ ตา่ งๆ เพอื่ ใหห้ ลุดพ้นจากความยากจน มีความม่ันคงทางเศรษฐกิจ อยู่ในสังคม คุณภาพน้ัน ต้องเน้นพื้นฐานแนวคิดของการ \"รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน\" ไม่ว่าจะเป็นคนไทย 1.0 คน ไทย 2.0 คนไทย 3.0 หรือคนไทย 4.0 ตอ้ งรู้จกั - เติมในสง่ิ ทีจ่ าเปน็ - เตมิ ในสิ่งท่ีต้องการ - เติมให้เตม็ อยา่ งมั่นคง มง่ั คั่ง และย่ังยนื คนไทย 1.0 ถึง 3.0 หรือคนไทยที่ยังติดอยู่ในวงจรแห่งความยากจน หรือยังอาจขาดโอกาส ยังขาด ความมง่ั คง มงั่ คงั่ จะตอ้ งไดร้ บั การเติมเตม็ พัฒนาในเร่ืองสาคญั ๆ ดงั นี้  การเตมิ ความรู้สรา้ งภูมคิ ุม้ กันให้กับคนไทยและสงั คมไทยมีความเข้มแข็ง  การสร้างและส่งเสริมโอกาสทางสงั คม  การสรา้ งและพฒั นากลไกในระดบั พ้นื ท่ี การเติมความรู้สร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยประกอบด้วยการเติมความรู้ พัฒนาทักษะ และสร้างภมู ิคุ้มกันให้คนไทย และกลุม่ เสีย่ ง สร้างภูมคิ มุ้ กนั ทางสงั คมให้มีความเขม้ แข็ง 1. เติมความรู้ พฒั นาทกั ษะ  ปรับเปลยี่ นกระบวนการเรียนรู้ ของคนไทย บ่มเพาะความคิดสรา้ งสรรค์ และความสามารถ ในการรงั สรรค์นวัตกรรมใหมๆ่ ต่อยอดภมู ปิ ัญญาท้องถิน่  ปรับเปล่ียนกระบวนการเรียนรู้ คนไทยจะต้องเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ สร้างพ้ืนฐานการ เรียนรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการจะต้องได้รับการส่งเสริมการ ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ด้วยตนเองโดยเสริมกระบวนการเรียนรู้พัฒนาท่ีเชื่อมโยงกับ วถิ ีชีวิต บรบิ ทพ้นื ถิน่ - 26 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสูค่ วามม่ังคัง่ ม่ันคง และย่งั ยืน  สรา้ งช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาคนไทยในช่องทางต่างๆ ให้ขยายวงกว้าง เช่น การเรียนรู้ ผ่านเว็บไซต์ Talent Action Plan การสร้างเครือข่ายมืออาชีพ (Professional Network) พฒั นา Smart People และประยกุ ต์เข้ากับอาชพี ตา่ งๆ เชน่ Smart Farmer  พฒั นาสมรรถนะ ทักษะของคนไทย 1.0 ถึง 4.0 เช่น โครงการการเปล่ียนแปลงศักยภาพด้าน ผนู้ าและการจดั การ ทักษะในเชิงพาณิชยแ์ ละพฤติกรรมทางด้านดจิ ิทัล  พัฒนาความกา้ วหนา้ อาชพี เพ่อื ประชาชน เพ่ืออนาคต (For People, For the Future)  จัดโครงสร้างพืน้ ฐานทางบริการที่ทาใหค้ นไทยทุกคนเข้าถึงได้ เพ่ือลดความแตกต่าง  โครงการแปลงงานวิจยั มาปรบั ใช้ ตอ่ ยอดกิจกรรม 2. สร้างภมู ิคุม้ กนั ใหค้ นไทย และกลุ่มเสยี่ ง สร้างภูมิคุ้มกนั ทางสังคมใหม้ ีความเขม้ แขง็  คนไทยกลุ่มเส่ียงควรได้รับการป้องกันและคุ้มครองจากปัญหาทางสังคมที่สุ่มเสี่ยงที่จะทาให้ ชีวิตตกอยู่ในวงจรแห่งความล้มเหลว ยากจนหรือเส่ียงท่ีจะจนซ้าซากเพราะปัญหาซ้าซ้อน เช่น ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปกป้องคุ้มครองและสร้างโอกาสให้กลุ่มคน เร่ร่อน ขอทาน และกลุม่ เส่ยี งตา่ งๆ  สร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยไม่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่างๆ เช่น รณรงค์สร้างความตระหนัก รู้เท่า ทันความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น ยาเสพติด อบายมุข การกระทาผิดกฎหมาย และสร้าง ภูมิคุ้มกันโดยเน้นพื้นฐานความเข็มแข็งของครอบครัว ทาให้สามารถผ่านพ้นความเสี่ยง วิกฤต หรอื นาพาตนเองเข้าสู่วงจรที่ดเี ขา้ ถงึ โอกาสทร่ี ฐั ได้จดั ไว้  โครงการเสริมขีดความสามารถ พัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มท่ีมีศักยภาพได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ด้วย ตนเอง มีโอกาสทดลอง เริ่มประกอบอาชีพใหม่ที่มีโอกาสรายได้ดีกว่า มีการป้องกันความ เส่ยี ง  โครงการบรรเทาปัญหาสังคมและทาให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตท่ีดี มีการเปล่ียนแปลงความ เปน็ อย่ทู ี่ดขี ึ้น เชน่ นโยบายเงินบานาญ ให้คาแนะนาแก่ประชาชน บุคคลที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ใหช้ ว่ ยเหลอื ประชาชนคนไทยเพอื่ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  ออกมาตรการท่ีชว่ ยเพ่มิ มาตรฐานการครองชพี ให้กับประชาชน เพื่อแก้ไข ลดผลกระทบ ลด ความเสยี่ งในการก้ยู ืมเปน็ หนส้ี นิ โดยเฉพาะหน้ีนอกระบบ  มีมาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสให้สามารถเล่ือนระดับจากที่พออยู่รอดในสังคม เช่น มี นโยบายทางภาษีส่งเสริมเอกชนจ้างงานผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้ ไดม้ ีการประกอบอาชีพทดี่ ี  มีนโยบายท่ีนาไปสู่การเสรมิ สร้างสวสั ดกิ ารพ้ืนฐาน ควบคู่ไปกับผลักดันให้คนไทยเรียนรู้ที่จะ วางแผนการใช้ชีวิตด้านต่างๆ อย่างมั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน เช่น วางแผนด้านรายได้ การออม การมหี ลกั ประกันทางสุขภาพ เปน็ ต้น โดยรฐั มีมาตรการสร้างแรงจูงใจและมาตรการจูงใจ - 27 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่ือนประเทศไทยสู่ความมัง่ คั่ง ม่ันคง และยั่งยนื การสร้างและส่งเสริมโอกาสทางสังคม เสริมสร้างขีดความสามารถของคนในการ ชว่ ยเหลอื ตนเองในการดารงชีวติ การมีอาชพี รายได้ และสนบั สนนุ ส่งเสริมสังคมใหเ้ ปดิ โอกาสแห่งชีวติ  ลดความไม่เท่าเทียมกัน มีโครงการให้เงินอุดหนุนด้านสวัสดิการต่างๆ เช่น การศึกษา สขุ ภาพ ที่อยู่อาศัย  รัฐสนับสนุนการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การสนับสนุนด้านความรู้ ด้าน การเงนิ  โครงการเสรมิ ความรู้และพฒั นาทักษะองค์รวม และประเดน็ พฒั นาเฉพาะกลมุ่ เปา้ หมาย  โครงการให้เงินโอนหรือความช่วยเหลืออย่างมีเง่ือนไข (Conditional Cash Transfer) โดย รัฐมมี าตรการชว่ ยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส ด้วยการกาหนดเกณฑ์เง่ือนไข และ \"การสร้าง แต้มตอ่ \" สร้างโอกาสให้กบั คนไทยในสังคมที่ด้อยโอกาส หรือผู้มีรายได้น้อย ยากจนมากจน ไม่มีรายได้พอยังชีพ เพ่ือช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาสในเรื่องความจาเป็นพ้ืนฐาน ตัวอย่างเช่น รัฐออกมาตรการทางการเงินเพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพพร้อมมี หน่วยงานหรือทีมงานเป็นพ่ีเลี้ยงให้ความรู้และช่วยเหลือทางปฏิบัติในพ้ืนท่ี ท้ังนี้ รัฐมี มาตรการให้ความชว่ ยเหลือด้านรายได้หรืออาชีพ ควบคู่กับการกาหนดเง่ือนไข (Condition Design) ให้คนไทยมีการพฒั นาอย่างยงั่ ยนื แทนการชว่ ยแบบให้เปล่าระยะสั้นท่ีไม่ยั่งยืน โดย กาหนดเงื่อนไขท่ีเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระยะยาวของคน อาทิ ต้องมีการออมเพื่อวัย เกษียณ มเี ง่ือนไขกาหนดใหบ้ ตุ รหลานเข้ารับการศกึ ษา เข้าฝึกอบรมหรือการฝึกอาชีพใน ภาคเอกชนทรี่ ่วมโครงการ เป็นต้น  โครงการภาษีคนจนคนขยัน หรือภาษีเงินได้ติดลบ (Negative Income Tax) เพ่ือช่วย สนับสนุนคนจนหรือผู้มีรายได้น้อย ไม่ต้องมีภาระภาษี และคนท่ีขยันก็มีการได้รับเงิน อุดหนุนจากรัฐบาล  โครงการเงินรายไดเ้ พม่ิ เพอื่ การยังชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส  โครงการส่งเสรมิ โอกาสใหผ้ สู้ ูงอายมุ โี อกาสในการประกอบอาชีพท่ีหลากหลาย มีแหล่งรายได้ ตอ่ เนอื่ ง รองรับสังคมผู้สงู อายุ  พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางกายภาพและการเข้าถึงบริการภาครัฐเพื่อลดการท่ีผู้ด้อยโอกาส ถูกตัดขาดออกจากสังคม และเข้าถึงบริการ โครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ช่วยเสริมสร้างโอกาส ในการประกอบอาชีพ มีรายได้ การสร้างและพฒั นากลไกในระดบั พนื ท่ี เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกขับเคลื่อนที่คนไทยส่วน ใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและท่ัวถึง (Inclusive Growth Engine) โดยพัฒนากลไกในระดับพ้ืนที่ให้ เขม้ แข็ง เชื่อมโยงกับส่วนกลาง ตวั อยา่ งเชน่  พัฒนากลไกการสร้างความเจรญิ ให้กระจายไปในระดับพื้นท่ีต่างๆ เชื่อมโยงไปถึงชุมชน เพ่ือ เป็นแพลตฟอร์มให้คนไทยท่ีอยู่ท่ัวประเทศได้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพ้ืนฐานท่ีรัฐจัดให้ ขจัดปัญหาเร่ืองความห่างไกลในการเข้าถึง เช่น โครงการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในระดับชุมชน - 28 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอื่ นประเทศไทยสู่ความมง่ั คงั่ มนั่ คง และยงั่ ยืน โครงการเรียนรู้ผ่านทางไกลหรือออนไลน์ท่ีเชื่อมโยงกับความต้องการคนกลุ่มต่างๆ เช่น เกษตรกร พอ่ คา้ ผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ เป็นตน้  สร้างกลไกเพ่ือให้เกิดความมั่นคงทางสังคมในระดับพื้นท่ี สร้างกลไกการเฝ้าระวังในชุมชน พฒั นากลไกอาสาสมัครและปฏิบตั กิ ารเพ่ือความเข้มแข็งของชมุ ชน  สง่ เสรมิ การสร้างนวตั กรรมและจดั สวัสดิการสอดคล้องกบั บรบิ ทพื้นที่  เสริมศักยภาพครอบครัวและชุมชน ในเร่ืองการพัฒนาอาชีพ รายได้และความเข็มแข็งมั่นคง ในมติ ิสังคม  พัฒนา “โมเดลต้นแบบ” เสริมสร้างอาชีพและครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง และขยายผล “โมเดลต้นแบบ”  พฒั นาระบบติดตาม แก้ไขปญั หา และเสริมสรา้ งความเข้มแขง็ กลไกในพ้นื ท่ี  พัฒนาชุมชนแลกเปลย่ี นเรียนรู้ระหวา่ งเครือข่าย เชน่ เรื่องฐานข้อมลู  สรา้ งเสรมิ พลงั ใหก้ ับจังหวัดจดั การตนเอง  ส่งเสริมการพัฒนาและการขับเคลื่อนเพ่ือสังคม (Social Movement) ของ Change Agent ต่างๆ อาทิ สร้างเสริมระบบ CSR วิสาหกิจเพื่อสังคม การใช้กลไกประชารัฐ โดยรัฐมี มาตรการภาษีหรือมาตรการจูงใจเพ่ือให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพความพร้อม ช่วยเหลอื คนไทยและสังคมไทย อย่างแบ่งปันหรือสร้างโอกาสใหค้ นทด่ี ้อยโอกาส - 29 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอื่ นประเทศไทยสู่ความม่งั ค่งั ม่ันคง และยัง่ ยนื วาระที่ 2 : พฒั นาคลัสเตอร์เทคโนโลยแี ละอตุ สาหกรรมแห่งอนาคต ประเทศไทยมี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของการมีความหลากหลายทางชีวภาพ และความ หลากหลายทางวฒั นธรรม เมื่อเทียบกับหลายประเทศ อย่างไรก็ดี ภายใต้การแข่งขันของระบบเศรษฐกิจโลก ดงั เช่นในปจั จุบัน โอกาสทจ่ี ะใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ จะมีอยู่จากัด ความจาเป็นอย่าง ยิ่ง ที่จะต้องปรับเปลี่ยนความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ดังกล่าวให้เป็น “ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน” ด้วย การเตมิ เต็มผา่ นองคค์ วามรู้ เทคโนโลยี และความคดิ สร้างสรรค์ สบิ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต รัฐบาลได้เล็งเห็นความสาคัญในประเด็นนี้ จึงได้กาหนดให้มีการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ดงั ตอ่ ไปน้ี การต่อยอด 5 อตุ สาหกรรมเดมิ (The First S-Curves) เปน็ อุตสาหกรรมซง่ึ มีฐานที่แขง็ แรงอยู่แล้วในระดบั หนง่ึ แต่จาเปน็ ต้องตอ่ ยอดให้มีการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี และรังสรรคน์ วตั กรรม เพือ่ สร้างมลู คา่ เพม่ิ และสามารถแข่งขนั ได้ในเวทีโลก ประกอบไปดว้ ย  อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)  อตุ สาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)  อตุ สาหกรรมการท่องเทย่ี วกลุ่มรายได้ดแี ละการท่องเทีย่ วเชงิ สขุ ภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)  การเกษตรและเทคโนโลยีชวี ภาพ (Agriculture & Biotechnology)  อตุ สาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future) การสรา้ ง 5 อุตสาหกรรมใหม่ (The New S-Curves) เพอื่ พฒั นาขดี ความสามารถ ให้มีศักยภาพรองรับการแขง่ ขันในอนาคต ประกอบไปดว้ ย  อตุ สาหกรรมห่นุ ยนตเ์ พื่อการอุตสาหกรรม (Robotics)  อตุ สาหกรรมการบินและโลจิสตกิ ส์ (Aviation & Logistics)  อตุ สาหกรรมเชื้อเพลงิ ชวี ภาพและเคมชี ีวภาพ (Biofuels & Biochemicals)  อตุ สาหกรรมดิจิทัล (Digital) - 30 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลือ่ นประเทศไทยสคู่ วามมั่งคั่ง มัน่ คง และย่ังยนื  อตุ สาหกรรมการแพทยค์ รบวงจร (Medical Hub) โดยในขณะนี้ รัฐบาลได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และร่าง พระราชบัญญัติการเพิ่มขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศสาหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย กฎหมาย 2 ฉบับดังกลา่ วเป็นการเพ่ิมเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนสาหรับใช้ในการดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่าสูง เพ่ือเพ่ิมขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งร่าง กฎหมายท้งั 2 ฉบับนี้ กาลงั อยู่ระหวา่ งการพจิ ารณาของสภานิตบิ ัญญตั แิ หง่ ชาติ ● การแกไ้ ขเพมิ่ เตมิ พระราชบัญญตั สิ ่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีการเพ่ิมเคร่ืองมือใหม่ๆ ท่ีจะ ทาให้การส่งเสริมการลงทุนมีประสิทธภิ าพสงู ขึ้น ไดแ้ ก่ o การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 13 ปี สาหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมข้ันสูง หรือกิจการวิจัยและพัฒนา (เพิ่มจากเดิมท่ียกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด ไม่เกนิ 8 ปี) o กรณีกิจการท่ีไม่ควรให้ยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ยังมีความสาคัญอยู่ อาจได้รับการ ลดหย่อนภาษเี งนิ ไดไ้ ม่เกนิ 50% เป็นเวลาไมเ่ กิน 10 ปี o กรณีไม่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้ อาจอนุญาตให้นาเงินลงทุนไม่เกิน 70% ของเงินท่ีลงทุนแล้ว มาหักออกจากกาไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้ หรือที่เรียกว่า Investment Tax Allowance (ITA) o ยกเว้นอากรขาเข้าสาหรับของที่นาเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการ ทดสอบทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง ● ร่างพระราชบัญญัติการเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสาหรับอุตสาหกรรม เป้าหมาย เป็น พ.ร.บ.ท่ีให้สิทธิประโยชน์ด้วยวิธีเจรจาต่อรองระหว่างรัฐกับบริษัท เพื่อแข่งขันกับประเทศ ต่างๆ ในการดึงดูดโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ประเทศต้องการ โดยมีคณะอนุกรรมการสรรหา และเจรจา (รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เปน็ ผเู้ จรจา และมคี ณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศสาหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ซึ่ง สิทธปิ ระโยชน์ตาม พ.ร.บ. นีป้ ระกอบด้วย - 31 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลือ่ นประเทศไทยสคู่ วามมัง่ คัง่ มั่นคง และย่งั ยืน o เงินสนับสนุนจากกองทุนขนาด 10,000 ล้านบาท (ในช่วงเร่ิมต้น) เพ่ือสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพ่ือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือการ พัฒนาบคุ ลากรเฉพาะด้าน o การยกเว้นภาษีเงินไดน้ ิตบิ ุคคลไม่เกนิ 15 ปี o สิทธิประโยชน์อื่นๆ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นอากรขาเข้า เคร่อื งจกั รและวัตถดุ ิบ และสทิ ธปิ ระโยชนท์ ่ีไมใ่ ช่ภาษี ทั้งน้ี คณะกรรมการนโยบายฯ อาจกาหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมแต่ละรายได้รับสิทธิประโยชน์ แตกต่างกันได้ โดยจะพจิ ารณาจากความจาเปน็ ความคุม้ คา่ และประโยชนท์ ีป่ ระเทศไดร้ บั จาก 10 อตุ สาหกรรมแหง่ อนาคต สู่ 5 กล่มุ เทคโนโลยแี ละอุตสาหกรรมเปา้ หมาย เปา้ หมายหลกั ของ Thailand 4.0 คอื การปรบั เปลย่ี นเชิงโครงสรา้ ง จากการ “ปักชา” สู่การมี “ราก แก้ว” ของตนเอง ดังน้ัน ภายใต้ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต รัฐบาลมีนโยบายสาคัญในการปรับเปล่ียนจาก “ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่” สู่ “ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนา เทคโนโลยขี องตนเองในระดบั ทเ่ี หมาะสม” จึงได้กาหนด 5 กลุ่มเทคโนโลยี/อุตสาหกรรมเป้าหมายท่ีต้องการ พัฒนาขึน้ ในประเทศ ดงั นี้ 1. กลมุ่ เกษตรและอาหาร ใชเ้ ทคโนโลยชี ีวภาพ (Food & Agriculture - Biotech) 2. กล่มุ สุขภาพ ใช้เทคโนโลยีชีวการแพทย์ (Health & Wellness – Biomedical) 3. กลุ่มเคร่ืองมอื อจั ฉรยิ ะและหุ่นยนต์ ใช้เทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ (Smart Devices & Robotics – Mechatronics) 4. กล่มุ ดจิ ิทลั และอนิ เทอร์เนต็ ออฟติง ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital & IOT - Embedded Technology) 5. กล่มุ สร้างสรรค์และวัฒนธรรม ใช้ Service Design ในการสร้างมูลค่า (Creative & Culture - High Value Services) เปา้ หมายเพือ่ ปรบั เปลย่ี นจากการผลติ สินค้าโภคภัณฑ์ เป็นการรังสรรค์นวัตกรรม โดยเน้นการพัฒนา ใน 3 นวัตกรรมสาคัญคือ นวัตกรรมในตัวผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในกระบวนการผลิต และ นวัตกรรมเชิงธุรกิจ แต่ละกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้มีการกาหนด 1) วิสัยทัศน์ 2) เป้าหมายการสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจ 3) กลไกขับเคลื่อน และ 4) Roadmap การพัฒนา ดงั ต่อไปน้ี - 32 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอื่ นประเทศไทยสคู่ วามม่ังค่ัง มั่นคง และยงั่ ยืน กลมุ่ ที่ 1 เกษตรและอาหาร ใชเ้ ทคโนโลยีชวี ภาพ (Food & Agriculture- Biotech) วสิ ัยทัศน์ ผลกั ดันให้ประเทศไทยเป็นศนู ย์กลางของผลิตผลการเกษตรและอาหารระดับพรีเมยี ม เป็นผู้ สง่ ออกเทคโนโลยดี า้ นการเกษตร เมลด็ พันธ์ุ วคั ซนี สรา้ งฐานเศรษฐกจิ ที่มัน่ คงจากความหลากหลายทาง ชีวภาพและเทคโนโลยชี วี ภาพที่เป็นมิตรกับส่งิ แวดล้อม เปา้ หมายการสรา้ งมูลค่าทางเศรษฐกจิ ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี มูลคา่ ตลาด (ลา้ นบาท) 50,000 200,000 500,000 1,000,000 กลไกขับเคล่อื น คลสั เตอรเ์ ทคโนโลยี จดุ ตงั ตน้ ทีจ่ ะตอ้ งริเริม่ ปัจจัยทจ่ี ะต้องเติมใหเ้ ต็ม กฎหมาย กฎระเบียบ (Cluster of Technology) (Killer Applications) (Missing Links) ทต่ี ้องผ่อนปรน  Precision Agriculture  ต้นน้า  โครงสร้างพนื้ ฐานทางด้าน (Constrain Relaxation)  Digital Agriculture เกษตรและอาหาร Technology & Management - Smart Farm และ Food  ช่องทางที่ SME  Data Mining & Innovation ในพชื เศรษฐกจิ  นกั วิจัยทีส่ ามารถปรับ จะเข้าถึงเทคโนโลยีเกษตรและ Computational Intelligence หลกั เช่น อ้อย ขา้ ว ยาง ปาล์ม เทคโนโลยีไปใชง้ านจริง อาหาร  Biophysics Sensors นา้ มนั ภายใตส้ ถานการณโ์ ลก  Genomics รอ้ น  เทคโนโลยีการผลติ  กฎ ระเบียบสาหรับการใช้  เทคโนโลยเี มลด็ พนั ธุ์ - Exotic Crops และ เครอื่ งจักรและการบารงุ รกั ษา เอนไซม์ ในอาหาร  เทคโนโลยกี ารผลติ วคั ซนี Traceability ของอุตสาหกรรมเกษตรและ  ชุดตรวจสอบโรคพชื และ - การผลิตวัตถุดบิ เกษตรสาหรับ อาหาร  Lenient Regulations of สัตว์ สารพิษ Niche Market Health Claim  การบรู ณาการ Genotype- อาทิ Functional Food  กฎหมายและกฏระเบยี บ Phenotype-Microclimate- Ingredients ใหเ้ พยี งพอตอ่ การ เกย่ี วกับ GM  GMOs Nutrition ผลิตในระดบั อุตสาหกรรม  Organic Farming และ - ส่ิงบง่ ช้ีทางภูมิศาสตรข์ อง  การส่อื สารระหวา่ ง  นยิ ามของผลติ ภณั ฑอ์ อกา เทคโนโลยที ี่เกย่ี วขอ้ ง วัตถุดบิ เกษตรของไทย Approval Body กับผผู้ ลิต นคิ  เทคโนโลยหี ลังการ เกยี่ วกับการยื่นขอ Kosher เกบ็ เกย่ี ว  กลางน้า และ Halal  การอานวยความสะดวกใน  Plasma Technology ขน้ั ตอนการย่ืนจดสทิ ธิบตั ร - โรงงานผลติ Thai Food  ความร่วมมือและการลงทนุ Ingredient, Thai Food ใน Scale-Up Facilities  การกระชบั กระบวนการขึ้น Recipe ทะเบียนปัจจัยการผลติ ดา้ น - นวัตกรรมการผลติ ทสี่ ามารถ  Big Data และ Database การเกษตร (สารพิษ สารเสริม เพ่มิ ปรมิ าณ คุณภาพ และ/หรือ Sharing อาหารเสริม ปุ๋ยชีวภาพ) ยืดอายกุ ารเกบ็ รักษาของผลผลติ - เทคโนโลยหี ลังการเก็บเกย่ี ว  Translational  การปรบั ปรุงกฎหมายของ Researches กระทรวงเกษตรฯ ใหท้ ันสมัย  การลดความซับซ้อนใน ระบบการตรวจสอบโดย หนว่ ยงานภาครฐั  กฎ ระเบยี บของ มหาวิทยาลยั และแหลง่ ทุนวิจัย - 33 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่อื นประเทศไทยสูค่ วามม่ังคง่ั มั่นคง และยั่งยนื  Feed Technology เพ่ือยืดอายุการเกบ็ รกั ษาผัก  หอ้ งแลป๊ ทไ่ี ด้การรบั รอง เก่ยี วกบั เร่ืองทรัพย์สินทาง ผลไมส้ ดผัก เชน่ Bioplastic มาตราฐาน ปญั ญา และการจัดการ  Traceability Technology Bags ผลประโยชน์ - เทคโนโลยีการกาจัด  ความรูเ้ กย่ี วกบั กฏหมาย  Food Processing ของเสีย และกฏระเบียบระหว่าง Technology (อาทิ - By-Product Utilization ประเทศ วา่ ดว้ ยการเกษตร Microwave, High Pressure อาหาร และ Biotech Processing,  ปลายนา้ Ohmic)  การสรา้ งมลู คา่ เพม่ิ ท่ตี อบ  Functional Foods - การวิเคราะห์และวิจัย โจทยค์ วามต้องการของตลาด การตลาดระดับประเทศ  เทคโนโลยกี ารหมกั และภมู ิภาค - การบริหารห่วงโซอ่ ปุ ทานและ  Probiotics & Prebiotics ระบบลอจสิ ตกิ ส์ของการสง่ ออก สนิ คา้ เกษตร  Microbiota / Gut Health  Bioconversion  เทคโนโลยบี รรจุภณฑ์ (อาทิ Pmart Packaging , Materials)  Biopolymer/ Bio-based & Synthetic Materials  ระบบลอจิสติกส์การเกษตร และอาหาร Roadmap การพฒั นา รปู ที่ 2.4 : Roadmap การพฒั นานวตั กรรมกลมุ่ เกษตรและอาหาร - 34 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอื่ นประเทศไทยส่คู วามมงั่ คง่ั มนั่ คง และยงั่ ยนื กลุ่มที่ 2 สุขภาพ ใช้เทคโนโลยชี ีวการแพทย์ (Health & Wellness – Biomedical) วิสัยทัศน์ ผลกั ดันใหป้ ระเทศไทยเปน็ Medical Hub ของอาเซียนภายในปี 2025 เปา้ หมายการสร้างมูลคา่ ทางเศรษฐกิจ ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี มูลคา่ ตลาด (ลา้ นบาท) 30,000 100,000 200,000 500,000 กลไกขับเคลือ่ น คลสั เตอรเ์ ทคโนโลยี จดุ ตงั ตน้ ที่จะตอ้ งรเิ รม่ิ ปจั จัยทีจ่ ะตอ้ งเติมให้เตม็ กฎหมาย กฎระเบยี บ (Cluster of Technology) (Killer Applications) (Missing Links) ทีต่ ้องผ่อนปรน  Clinical Research  Clinical Medicine,  ประสทิ ธภิ าพหนว่ ยงานใน (Constrain Relaxation) Management Service Clinical Research Center & การกากบั ดูแลและรับรองเชน่  Bio-engineering และ Treatment และ Service องคก์ ารเภสชั กรรม  เพิม่ ประสทิ ธิภาพ ลด Bioprocess Engineering Innovation กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์ อย. ระยะเวลาการขอการรบั รองหรือ  หนุ่ ยนต์ทางการแพทยแ์ ละ - Business กรมทรัพย์สนิ ทางปญั ญา รบั บริการจากหนว่ ยงานในการ Biomedical Engineering - Professional Contracted กากับดแู ลและรับรอง เช่น  Diagnosis และ Medical Research Organization (CRO)  คณะกรรมการจริยธรรมการ กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์ อย. Devices วจิ ัยในมนุษยก์ ลาง (Central องคก์ ารเภสชั กรมทรพั ยส์ ินทาง  Precision Medicine และ  Drug, Biopharm, IRB) - ขาดความชัดเจนของ ปญั ญา, GLP PK lab Big Data Neutraceuticals, Drug นโยบายในการรับรองจรยิ ธรรมที่  Wellness Service และ Delivery, Toxicity Study, เป็นแนวทางเดยี วกัน  เพิม่ การจดั ซอื้ จัดจา้ งภาครฐั Treatment Innovation Bioequivalence และ จากผลงานวจิ ยั ในประเทศ  Regenerative Medicine Pharmacokinetics  การเพิม่ จานวน Clinical  สมุนไพรและการแพทยแ์ ผน - ยาชีววัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ Research Centers  ISO Certified Testing ไทย Monoclonal Antibodies (ควรใช้สถาบนั ต่างประเทศมา  Transborder Healthcare - Neutraceuticals สาหรบั  การเพ่มิ จานวนบุคลากร Certify)  Nano Delivery Systems สุขภาพและความงาม  Chemical Synthesis / - ยาสาหรบั รักษาโรคใหม่ๆอาทิ  การสนับสนนุ  4. ลดภาระงานสอนและ Extraction/ Modification Dengue, Zika, Malaria Translational Research บริการของอาจารย์ใน  Nutraceuticals เครอื่ งสาองค์ - อาหารสาหรับเดก็ อ่อน ผู้สูงวยั มหาวิทยาลยั วจิ ยั และสปา และ Non-Communicable  การเพ่มิ จานวน Diseases (NCDs) Knowledgeable Policy Maker  หุ่นยนต์ทางการแพทย์ - Global Rehab Aging  การเพม่ิ จานวน Robotics Knowledgeable Regulatory - การฝกึ อบรมทางการแพทย์ Body  การวินจิ ฉยั และเคือ่ งมอื ทาง  การเพม่ิ จานวน การแพทย์ CMO/CRO/Animal Testing - Sleep – Monitor + Imaging  การบรหิ ารจดั การทรพั ย์สิน ทางปญั ญา  ความเช่ียวชาญใน Glycotechnology - 35 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอ่ื นประเทศไทยส่คู วามมง่ั คง่ั มนั่ คง และยัง่ ยืน - Biosensor (Tropical DS.)  กฎระเบยี บท่ีเหมาะสม - Minimally Invasive Surgical Devices  มาตรการดงึ ดูดการลงทนุ - Aging-Life Style สาหรบั VC, Angel Fund Management Comprehensive  นโยบาย NHSC ท่ชี ัดเจน - เครืองมอื ทท่ี าจากวสั ดุยาง ธรรมชาติ  เครอ่ื งมืออุปกรณ์สาหรับ - Low Tech - High Impact การตรวจรบั รอง/Calibration Devices - IoT Monitoring  การสร้างความเชอ่ื ม่ันใหก้ บั Device+Software ผบู้ ริโภค - Medical Devices สาหรบั เครอื่ งสาอาง  การสรา้ งสภาพแวดลอ้ มท่ี เหมาะสมสาหรบั ผเู้ ชี่ยวชาญ  Lab Services & One Health/Animal Health  กฎระเบยี บการจดั ซอ้ื จัดจ้าง - Precision Medicine ภาครัฐ - Cancer: Targeted Therapy, Susceptibility  ข้อมลู ทางการตลาด - Pharmacogenomics - Prenatal Diagnosis Using  การบรหิ ารจดั การ Maternal Blood การตลาด และการผลักดนั - การวินิจฉยั Rare Diseases นวัตกรรมเชงิ พาณชิ ย์ - Carrier Testing Roadmap การพฒั นา รปู ท่ี 2.5 : Roadmap การพัฒนานวัตกรรมกล่มุ สขุ ภาพ - 36 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสู่ความมง่ั คั่ง มัน่ คง และยงั่ ยนื กลุ่มที่ 3 เครอ่ื งมืออัจฉริยะและหุ่นยนต์ ใชเ้ ทคโนโลยเี มคาทรอนิกส์ (Smart Devices & Robotics – Mechatronics) วสิ ัยทศั น์ ผลกั ดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นาของอาเซยี นด้านระบบอตั โนมัติ หุ่นยนตอ์ ุตสาหกรรม และ หนุ่ ยนตบ์ รกิ าร เปา้ หมายการสรา้ งมูลคา่ ทางเศรษฐกิจ ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี มลู คา่ ตลาด (ลา้ นบาท) 10,000 50,000 100,000 300,000 กลไกขับเคลอ่ื น คลัสเตอรเ์ ทคโนโลยี จุดตังตน้ ทีจ่ ะตอ้ งรเิ รมิ่ ปัจจยั ท่จี ะต้องเติมใหเ้ ตม็ กฎหมาย กฎระเบยี บ (Cluster of Technology) (Killer Applications) (Missing Links) ทต่ี ้องผอ่ นปรน  Industrial Automation ● หุ่นยนต์เพ่อื การเพม่ิ ผลผลิต  การสง่ เสรมิ ให้เกดิ ความ (Constrain Relaxation)  Healthcare & Medical - Vision System Equipped ต้องการใช้หุ่นยนต์ และ Service Robotics Robotics, ASRS, AGVs ภายในประเทศ 1. การให้สทิ ธิประโยชนแ์ ก่ผู้ซอ้ื  Navigation & Mapping - Service Robots, ระบบหุ่นยนตท์ ป่ี ระกอบและสร้าง Mobility (Autonomous Automatic Guided Vehicle  ระบบภาษีชิน้ ส่วนท่เี ออ้ื ต่อ ภายในประเทศ Vehicle) (AGV), Industrial การเกิดผบู้ ูรณาการระบบ 2. ระบบภาษชี ิ้นส่วนเพอ่ื นามา  Human-Robot Manipulators & Tools, (System Integrators) ประกอบเปน็ หุน่ ยนต์และระบบ Interaction & AI Actuators, Industrial Robot Arm ภายในประเทศ อัตโนมตั ทิ ต่ี ้องจงู ใจใหเ้ กิดการ Motors & Drives Software สรา้ งเทคโนโลยีน้ีในประเทศไทย Platform Communication & ● หนุ่ ยนตก์ ารสารวจและ  บุคลากรทม่ี ีความสามารถ 3. ตอ้ งมกี ลไกที่ทาใหเ้ กิดการ Remote Control การบารุงรักษา ทางด้านหุ่นยนตม์ ีจานวนจากัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้าง  Mechanism Design - Submarine Cables ห่นุ ยนตจ์ ากตา่ งประเทศ  Advanced Programming (Telecom Operators)  Internet of Things - UAV/Drones สาหรบั การ  Precision Agriculture สารวจทางการเกษตรและปา่ ไม้ - Security Surveillance ● ห่นุ ยนต์สาหรบั ดแู ลผู้สงู อายุ และ Society Services Safety - ยานพาหนะไร้คนขับ - Exoskeleton Robot/Suit ● หนุ่ ยนตเ์ พอื่ การเกษตร - Precision Farming - เครื่องกรีดยางอตั โนมัติ / เครอื่ งปอกเปลอื กผลไมอ้ ตั โนมัติ - Agritronics ● หุ่นยนต์เพือ่ การศึกษา และบรกิ าร - 37 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคล่ือนประเทศไทยส่คู วามม่งั ค่งั ม่นั คง และย่งั ยนื - Telerobotics เพอื่ การศกึ ษา - Edutainment Robotics - Security, Survey และ Rehabilitation Robotics - Agriculture Automation Roadmap การพฒั นา รปู ที่ 2.6 : Roadmap การพัฒนานวตั กรรมกลมุ่ เคร่อื งมืออัจฉริยะและหุ่นยนต์ กลมุ่ ท่ี 4 ดิจทิ ลั และอินเทอรเ์ นต็ ออฟตงิ ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝงั ตัว (Digital & IoT - Embedded Technology) วิสัยทัศน์ ใช้เทคโนโลยี Internet of Things เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นาด้านการเกษตร สขุ ภาพ และการท่องเทยี่ ว ในทวีปเอเชยี อย่างยง่ั ยืน - 38 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคัง่ มั่นคง และยั่งยนื เปา้ หมายการสร้างมลู ค่าทางเศรษฐกิจ ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี มลู ค่าตลาด (ลา้ นบาท) 50,000 300,000 600,000 1,000,000 กลไกขับเคล่อื น คลสั เตอร์เทคโนโลยี จดุ ตงั ตน้ ท่จี ะตอ้ งรเิ ริ่ม ปัจจัยท่จี ะต้องเติมใหเ้ ต็ม กฎหมาย กฎระเบยี บ (Cluster of Technology) (Killer Applications) (Missing Links) ทต่ี อ้ งผอ่ นปรน เทคโนโลยีหลักที่มี  เมอื งอจั ฉริยะ  มหาวิทยาลยั (Constrain Relaxation) 1. Internet of Things  Smart Farm 2. Cybersecurity  อตุ สาหกรรมเพ่ือสุขภาพ 1. ไม่มีเส้นทางความกา้ วหน้าใน  แก้ไขกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้อง 3. Data Analytics อาชพี สาหรับบุคลากรใน เทคโนโลยีทเ่ี กีย่ วขอ้ ง ตาแหน่งนักวิจัย กับมหาวทิ ยาลยั 1. SaaS 2. บคุ ลากรท่มี ีศกั ยภาพ 2. PaaS สอดคล้องกบั ความตอ้ งการของ 1. อนญุ าตใหบ้ ุคลากรใน ภาคอตุ สาหกรรม มหาวทิ ยาลยั สามารถออกไปทา กลไกความรว่ มมือระหว่าง Start - Up ไดโ้ ดยยงั สามารถคง ภาครฐั เอกชน และ สถานภาพการเป็นบุคลากรของ มหาวิทยาลยั ในการดาเนนิ มหาวทิ ยาลัย งานวิจัย 2. ผลกั ดันในเกิดการใช้พื้นท่ี ของบรษิ ทั เอกชนและ  ด้านการวิจยั และพัฒนา ภาคอตุ สาหกรรมทีเ่ ปน็ กล่มุ เทคโนโลยตี ้นน้า และกลุ่ม 1. Research Consortium Design House ภายใน เฉพาะดา้ น เพือ่ รองรับการ มหาวทิ ยาลัย ลงทุนจาก ภาครฐั และเอกชน 2. Spin - Off & Start Up  แก้ไขกระบวนการที่ (SBIR) ภาครัฐและเอกชน สง่ เสริมและสนบั สนุนเงนิ ทนุ เก่ียวข้องกบั หน่วยงานตา่ งๆ สาหรับงานวจิ ยั ทม่ี ี ของภาครฐั โอกาสที่จะนาผลผลติ ไปสร้าง ธุรกิจใหม่ 1. กระบวนการจดั ซอ้ื จดั จ้างที่ 3. งานวจิ ัยรว่ มกับหน่วยงานชัน้ ใหไ้ ด้มาซงึ่ ทรัพยากรสาหรับ นาในต่างประเทศ เพื่อถ่ายทอด งานวจิ ยั (บคุ ลากร บริการ วสั ดุ องค์ความรู้ รวมถึงการพฒั นา ครภุ ัณฑ์ ฯลฯ) ใหม้ คี วามสะดวก ต่อยอดงานวิจัย รวดเร็ว คล่องตัว 4. การสนบั สนุนเคร่ืองมือและ 2. กระบวนการนาเข้าวสั ดุ โครงสร้างพื้นฐานท่จี าเป็นต่อ อปุ กรณท์ ่ีเกี่ยวกับงานวิจยั ใหเ้ กดิ การดาเนินงานวจิ ยั ความสะดวกรวดเรว็ 5. แรงจงู ใจเพ่ือดงึ ดดู บคุ ลากรที่ มีศักยภาพ เช่น งานวิจยั ท่ี นา่ สนใจความก้าวหนา้ ทางอาชีพ ท่ตี ้องใชท้ กั ษะเฉพาะทางชั้นสงู - 39 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่ือนประเทศไทยส่คู วามมั่งคั่ง มนั่ คง และย่งั ยนื Roadmap การพัฒนา รูปที่ 2.7 : Roadmap การพัฒนานวตั กรรมกลุ่มดิจิทลั และอนิ เทอร์เนต็ ออฟติง ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตวั กลุ่มที่ 5 สร้างสรรคแ์ ละวฒั นธรรม ใชค้ วามรดู้ า้ นการบรกิ ารเพ่ิมมลู ค่า (Creative & Culture - High Value Services) วิสัยทัศน์ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Hub) ของอาเซียน ภายใน 10 ปี เป้าหมายการสร้างมลู คา่ ทางเศรษฐกิจ ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี มูลคา่ ตลาด (ล้านบาท) 500,000 2,000,000 5,000,000 10,000,000 Roadmap และกลไกการขับเคลอ่ื น ภารกิจของกลมุ่ คลสั เตอร์อุตสาหกรรมสรา้ งสรรค์ วัฒนธรรม และธุรกิจบริการท่ีมีมูลค่าสูง คือการขับ เคล่ือนที่ใช้พื้นฐานของสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในการ สร้างมลู คา่ เพมิ่ ในเชงิ พาณิชยใ์ หม้ ากข้ึน - 40 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่ือนประเทศไทยสคู่ วามม่งั คั่ง มั่นคง และยั่งยนื Roadmap และกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และวัฒนธรรมจะเริ่มจากการแปลงเอกลักษณ์ ของความเป็นไทย หรือ ดีเอ็นเอของประเทศไทย (Thai DNA) อันประกอบไปด้วย 1) Fun 2) Flexible 3) Flavoring 4) Fulfilling และ 5) Friendly ออกมาเปน็ มลู คา่ เชิงเศรษฐกิจอยา่ งเป็นรูปธรรม กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และวัฒนธรรม จะประกอบด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้าน ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) การกาหนดมาตรฐานและมาตรการสนับสนุน การ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางนวัตกรรม (Innovation Capability) ของ ผู้ประกอบการ การสร้างเครอื ขา่ ยผู้ประกอบการทางนวัตกรรม แผนการพฒั นาระยะเร่งดว่ น 3-6 เดือน  จัดตังคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ จัดต้ัง “คณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์” ขึ้น เพื่อกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรคแ์ ละวฒั นธรรม  การจัดตังหน่วยงานรับผิดชอบหลักในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเป็น หน่วยงานที่ทาหน้าที่จัดทาแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาศักยภาพบุคลากรสร้างสรรค์ การพัฒนา องค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ พร้อมทั้งทาหน้าท่ีเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เก่ียวข้องทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน แผนการพัฒนาระยะสัน 6 เดอื น – 1 ปี  การพัฒนาทรัพยากรมนษุ ยด์ ้านความคิดสรา้ งสรรค์ ประกอบดว้ ย - สร้างจิตสานึกและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ และ ทรัพย์สินทางปญั ญา - พัฒนาองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ที่ส่งเสริมให้ เกดิ กระบวนการเรียนรแู้ นวใหม่ โดยเป็นศนู ย์บม่ เพาะผปู้ ระกอบการ และบคุ ลากรสร้างสรรค์ ท่มี ีหลกั สตู รฝึกอบรมเชงิ ปฏิบัตกิ าร ระบบพี่เลยี้ ง และการใหค้ าปรึกษา ในสาขาต่างๆ - ร่วมกับภาคการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่สอดคล้องกับ แนวโนม้ ความต้องการของตลาดแรงงานและภาคธรุ กิจ  การสร้างระบบนเิ วศน์ (Ecosystem) ทเี่ หมาะสม ประกอบดว้ ย - 41 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอ่ื นประเทศไทยสคู่ วามมงั่ ค่งั มน่ั คง และย่งั ยืน - พัฒนาย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ให้เกิดข้ึนอย่างเป็นรูปธรรม ท้ังในส่วนกลาง และภมู ิภาค พรอ้ มทัง้ จดั กิจกรรมตา่ งๆ กบั ชมุ ชนและธรุ กิจในพนื้ ท่ี - สร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มการจัดแสดงผลงานรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดแสดงผลงานจริง และในรปู แบบเสมือนจริง - พัฒนาและปรับปรุงหน่วยบ่มเพาะ เพ่ือส่งเสริมธุรกิจ Creative-Based Startups การ เช่ือมโยงงานวิจัยสู่ธุรกิจ รวมถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนาและเช่ือมโยงเครือข่ายทั้งใน และตา่ งประเทศ แผนการพัฒนาระยะกลาง 2-5 ปี ● จัดทาแผนยทุ ธศาสตร์พฒั นาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา ● พัฒนามาตรฐานวิชาชีพสร้างสรรค์ สารวจและจัดเก็บสถิติของอาชีพ/แรงงาน/ธุรกิจ (Skill Mapping) ให้ครบทุกสาขาอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงพัฒนาระบบการติดตามความ เคล่อื นไหวของอุตสาหกรรมสร้างสรรคใ์ นรูปแบบของดชั นีชีว้ ดั (Creativity Index) ● จัดทาหลักสูตรเพ่ือปลูกฝังการเรียนรู้และความเข้าใจ เรื่อง การออกแบบและความคิด สร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตง้ั แต่ระดบั ปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา เช่นเดียวกับการ ปลกู ฝงั ด้านศลิ ปะ เพอ่ื สร้างความเข้าใจตอ่ คุณค่าของสร้างสรรค์ การออกแบบ เทคโนโลยีดิจิทัล ท่ี เปน็ ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาและยกระดับคณุ ภาพชวี ิต ● วางระบบโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ท้ังกายภาพและดิจิทัล โดยพัฒนาระบบองค์ความรู้ กลางแห่งชาติ รวมถึงการพัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ ให้เกิดเป็นแหล่งบ่ม เพาะความรู้ท่ีเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง พร้อมท้ังเป็นแหล่งการเรียนรู้สาคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชมุ ชน และพัฒนาธุรกิจ ไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ ● จัดทาบัญชีสินทรัพย์ทางปัญญาของประเทศไทย (IP Mapping) โดยการจัดทาฐานข้อมูล “ทรัพยากรความเป็นไทย” ท่ัวประเทศ โดยแบ่งเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม (อาหารไทย ประเพณี ฯลฯ) สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ (งานออกแบบ สถาปัตยกรรม ฯลฯ) และความ หลากหลายทางชีวภาพ (พืชพันธ์ุทางเกษตร แหล่งกาเนิดสินค้า ฯลฯ) และข้ึนทะเบียน/จด ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา ในระดบั สากล ● พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) โดยขยายผลโครงการย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ต้นแบบ ไปปรับใชใ้ หเ้ กิดการพฒั นาใหค้ รอบคลุมพ้ืนทีส่ ่วนต่างๆในสว่ นภูมิภาคให้ครบท้ัง ๔ ภูมิภาค - 42 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลื่อนประเทศไทยสคู่ วามมัง่ ค่ัง มนั่ คง และยง่ั ยืน ● ผลักดนั ให้ประเทศไทยเป็นศนู ย์กลาง แหล่งผลติ และรวบรวมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และ วฒั นธรรมของเอเชีย กรอบยทุ ธศาสตร์ National Brainpower Development ความต้องการกาลังคนในระยะเวลา 20 ปี ใน 5 กลุ่มเทคโนโลยแี ละอุตสาหกรรมเป้าหมายมกี าร ประมาณการไว้ดังตารางดงั ต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 เกษตรและอาหาร ใช้เทคโนโลยีชวี ภาพ (Food & Agriculture - Biotech) สาขา 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี วศิ วกรการเกษตร วิศวกร/นักวทิ ยาศาสตร์อาหาร 1,000 5,000 10,000 20,000 นักเกษตรศาสตร์สมัยใหม่ นักเศรษฐศาสตรก์ ารเกษตร/ 2,000 10,000 20,000 50,000 การตลาด นกั วิชาการเกษตร/นักวิชาชพี 10,000 30,000 50,000 100,000 เกษตร 1,000 5,000 10,000 20,000 5,000 10,000 20,000 50,000 กลมุ่ ที่ 2 สุขภาพ ใช้เทคโนโลยีชีวการแพทย์ (Health & Wellness – Biomedical) สาขา 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี วิศวกรชวี การแพทย์ 1,000 5,000 10,000 20,000 วศิ วกรหุ่นยนต์การแพทย์ 500 2,000 5,000 10,000 เภสัชกรผลิตยาและวคั ซีน 500 2,000 5,000 10,000 นกั ออกแบบอปุ กรณ์การแพทย์ 500 2,000 5,000 10,000 ช่างซ่อมหุ่นยนต์การแพทย์ 1,000 5,000 10,000 20,000 - 43 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลือ่ นประเทศไทยสู่ความมงั่ ค่งั ม่นั คง และยง่ั ยนื กลุ่มที่ 3 เคร่ืองมืออัจฉริยะและหุ่นยนต์ ใช้เทคโนโลยเี มคาทรอนิกส์ (Smart Devices & Robotics – Mechatronics) สาขา 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี วศิ วกรแมคาทรอนิกส์ วิศวกรระบบราง 10,000 50,000 100,000 200,000 วศิ วกรอากาศยาน ช่างรถไฟฟา้ /ระบบราง 500 5,000 10,000 30,000 ชา่ งซอ่ มอากาศยาน ช่างซอ่ มหุ่นยนต์ 500 2,000 5,000 10,000 5,000 20,000 50,000 100,000 1,000 3,000 7,000 15,000 1,000 5,000 10,000 20,000 กล่มุ ที่ 4 ดิจิทัลและอนิ เทอร์เน็ตออฟติง ใชเ้ ทคโนโลยสี มองกลฝังตัว (Digital & IOT - Embedded Technology) สาขา 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี วศิ วกรคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 50,000 150,000 300,000 500,000 วศิ วกรเชงิ ระบบ ช่างซ่อมระบบคอมพวิ เตอร์ 10,000 30,000 70,000 100,000 10,000 30,000 50,000 100,000 10,000 50,000 100,000 200,000 กลมุ่ ที่ 5 สร้างสรรคแ์ ละวฒั นธรรม ใช้ความรดู้ ้านการบริการเพม่ิ มูลค่า (Creative & Culture - High Value Services) สาขา 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี Cultural Designer Fashion Designer 10,000 30,000 50,000 100,000 Graphic Designer Industrial Designer 10,000 30,000 50,000 100,000 Universal Designer Travel Technology 30,000 700,000 100,000 200,000 20,000 40,000 80,000 100,000 10,000 30,000 50,000 100,000 10,000 50,000 80,000 120,000 - 44 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลื่อนประเทศไทยสู่ความมง่ั คง่ั มั่นคง และยงั่ ยืน การวจิ ยั เชงิ บรู ณาการเพื่อตอบโจทย์วาระประเทศ Thailand 4.0 เป็นเรื่องของการปฏิรูปการวิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือเป็นตัว ขับเคลื่อนหลักของการเปล่ียนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจท่ีขับเคล่ือนด้วยนวัตกรรม นอกเหนือจากการระบุกลุ่ม เทคโนโลยีและอตุ สาหกรรมเปา้ หมายแล้ว Thailand 4.0 ไดก้ าหนดทิศทางการวจิ ยั ของประเทศ ดังตอ่ ไปนี้ 1. การวิจัยจากนี้ไปจะต้องเป็นการวิจัยเพื่อสร้างฐานรากและต่อยอดให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิง พาณิชย์ได้ เป็น Demand-Oriented มากขึ้น กล่าวคือ จะต้องตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและ โอกาสในระดับโลกและระดบั ประเทศ และโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชน 2. การวจิ ัยจากน้ีไปจะต้องอยู่ใน Global Platform โดยการสร้างเครอื ข่ายเช่อื มต่อกบั พนั ธมติ รการ วจิ ัยในระดบั โลก 3. การวิจัยจากนี้ไปจะต้องมีความเฉพาะเจาะจง และมุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในศาสตร์หรือ ประเดน็ การวิจัยนั้นๆ จากทิศทางการวิจัยข้างต้น “5 เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” จึงถูกแปลงออกมาเป็น “การวิจยั เชิงบรู ณาการ” เพอ่ื ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและโอกาสในระดับโลกและระดับประเทศ และโอกาส ทางธุรกิจของภาคเอกชน ซ่ึงมีอยู่หลากหลายประเด็น อาทิ เกษตรและอาหาร พลังงาน สังคมสูงวัย เมือง อัจฉริยะ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การบริหารจัดการน้า การปรับเปล่ียนสู่สังคมคาร์บอนต่า และการพัฒนาสู่ อตุ สาหกรรมสเี ขียว เปน็ ต้น (ดูรูปท่ี 2.8) โดยในชั้นต้น จะขอเริ่มจาก 5 ประเดน็ แรกก่อน อันประกอบด้วย 1. การวจิ ัยเชงิ บรู ณาการวา่ ด้วยเกษตรและอาหาร 2. การวิจยั เชิงบรู ณาการวา่ ด้วยพลงั งาน 3. การวจิ ัยเชิงบูรณาการวา่ ดว้ ยสงั คมสูงอายุ 4. การวจิ ยั เชิงบูรณาการว่าดว้ ยเมอื งอัจฉรยิ ะ 5. การวิจยั เชิงบรู ณาการว่าด้วยเศรษฐกจิ สร้างสรรค์ - 45 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสคู่ วามมงั่ คง่ั มั่นคง และยง่ั ยนื รปู ท่ี 2.8 : การวจิ ยั เชงิ บรู ณการเพอื่ ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายของประเทศ ในแตล่ ะประเด็นการวิจยั เชงิ บูรณาการ จะมีศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกย่ี วขอ้ งมากมาย ตัวอยา่ งเชน่ ในประเด็นการวจิ ัยเรือ่ งเกษตรและอาหาร นอกจากจะมี เทคโนโลยชี วี ภาพในการพัฒนาพันธุ์พชื หรืออาหาร แลว้ ยงั ต้องการเทคโนโลยีห่นุ ยนต์และดจิ ิทลั สาหรับ Smart Farming และ Precision Agriculture เป็นตน้ (ดรู ูปที่ 2.9) รปู ท่ี 2.9 : แนวคดิ การกาหนดวาระการวิจยั เชงิ บรู ณาการตามกลุ่มเทคโนโลยีโดยใช้แนวทางสหวิทยาการ - 46 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลอ่ื นประเทศไทยสคู่ วามม่งั ค่ัง ม่นั คง และย่ังยืน เพือ่ ให้การสร้าง 5 กลมุ่ อตุ สาหกรรมและเทคโนโลยเี ปา้ หมาย และการวจิ ัยเชงิ บรู ณการเกิดผลสัมฤทธ์ิ ในทางปฏิบตั ิ จาเปน็ อยา่ งยิ่งตอ้ งมีการพฒั นา “โครงสร้างพนื ฐานทางการเงนิ ” สนับสนุน อนั ประกอบด้วย • การจัดตง้ั กองทุนเพ่ือการยกระดับขดี ความสามารถของเทคโนโลยี/อุตสาหกรรมเป้าหมาย • การใชร้ ะบบ Program-Based Multiyear Budgeting จัดสรรเงินทุนรายเทคโนโลยีและอตุ สาหกรรม เป้าหมาย และรายวาระการวิจยั เชงิ บูรณาการ • การต้งั กองทนุ เพื่อให้เงนิ สนบั สนนุ เงนิ ใหก้ ยู้ มื และชดเชยดอกเบ้ีย (Performance Based Conditional Grants & Subsidies • การพัฒนา Multilayered Capital Markets เพ่ือสนับสนุนการรงั สรรคน์ วัตกรรม และ Startups • การสง่ เสริม Capability-Based Investment โดย BOI รายละเอียดของการขับเคลื่อนแตล่ ะวาระประเทศ จะอย่ใู นตอนที่ 3 วา่ ดว้ ยการปฏริ ูปการวิจัย เพ่อื ก้าวสู่ Thailand 4.0 - 47 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคล่อื นประเทศไทยสู่ความมงั่ คง่ั มนั่ คง และยง่ั ยนื วาระที่ 3: บ่มเพาะผู้ประกอบการและพฒั นาเครือข่ายวสิ าหกิจ ท่ีขบั เคลือ่ นด้วยนวตั กรรม การปรับเปล่ียนจากประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงน้ัน หมายถึงการปรับเปลี่ยนจาก โครงสร้างเศรษฐกิจเพ่ิมมูลค่า เป็น โครงสร้างเศรษฐกิจสร้างมูลค่า นั่นหมายถึงการปรับเปล่ียนจากระบบ เศรษฐกิจที่ขับเคล่ือนด้วยประสิทธิภาพ มาสู่ ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคล่ือนด้วยนวัตกรรม ท้ังหมดน้ีจะเป็นไป ไม่ได้เลย หากไม่มกี ารบ่มเพาะผปู้ ระกอบการและพฒั นาเครือข่ายวิสาหกิจ หลักคิดของการสรา้ งความเขม้ แข็งจากภายใน คือการเปลี่ยนการเจริญเติบโตแบบรากแขนง เป็นการ เจริญเตบิ โตแบบรากแก้ว เพอื่ ให้สามารถพง่ึ พาตนเอง ยนื อยบู่ นขาของตนเอง รวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง ท้ัง 5 คลัสเตอร์เทคโนโลยแี ละอตุ สาหกรรมแห่งอนาคตจะเป็นรากแก้วท่ีค้าลาต้นของผู้ประกอบการและเครือข่าย วิสาหกิจทีข่ ับเคลื่อนดว้ ยนวัตกรรม อนั ประกอบด้วย 1. การเปลย่ี นเกษตรกรแบบดัง้ เดมิ เป็นเกษตรกรทท่ี นั สมัย (Smart Farmers) 2. การเปล่ยี นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แบบด้ังเดิม เป็น วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดยอ่ มท่ที ันสมยั (Smart SMEs) 3. การเปลย่ี นธุรกิจบริการแบบดัง้ เดิม เป็นธรุ กิจท่ใี ห้บริการท่ีมีมลู ค่าสงู (High Value Services) 4. การส่งเสริมการพฒั นาธรุ กิจเกดิ ใหม่ (Startups) การปรับโครงสรา้ งเกษตรทงั ระบบ รัฐบาลมีความมงุ่ มั่นท่จี ะยกระดับเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคง โดยดาเนิน 3 ยุทธศาสตร์ไปพร้อมๆกันคือ ยุทธศาสตร์ระยะสั้น 1 ปี ยุทธศาสตร์ระยะปานกลาง 1-3 ปี และ ยุทธศาสตร์ ระยะยาว 3-5 ปี ยุทธศาสตรร์ ะยะสัน 1 ปี โดยกาหนดมาตรการในการดแู ลกอ่ นการเก็บเกย่ี ว มาตรการหลงั เกบ็ เกยี่ ว และมาตรการสนบั สนนุ - 48 -

Thailand 4.0 โมเดลขบั เคลอ่ื นประเทศไทยส่คู วามมง่ั คั่ง มั่นคง และย่ังยืน มาตรการก่อนเก็บเก่ยี ว ในระยะสน้ั มุ่งเน้นการเพ่ิมผลผลติ ต่อไร่ ลดตน้ ทุนการเพาะปลูกดว้ ยการ แก้ไขปัญหาด้านปัจจยั และต้นทุนการผลติ อาทิ ราคาปยุ๋ เมลด็ พันธุ์ ยาฆ่าแมลง ค่าเชา่ นา รวมทัง้ สนับสนุน เงินกเู้ พ่ือการเพาะปลกู สาหรบั มาตรการปฏิรูปปรบั เปลีย่ นการเพาะปลูก (ในระยะ 1 ปี) ม่งุ เน้นการฝึกอบรมและสนบั สนุน สินเชอ่ื เพ่ือสรา้ งเกษตรกรตน้ แบบ การรวมนาแปลงใหญ่ การสนับสนุนการใช้เครอื่ งจักรกลและเคร่ืองมือ ทางการเกษตร การจัดการและปรับเปล่ยี นการเพาะปลูกเพื่อใหเ้ หมาะสมแกส่ ภาพดนิ ภูมปิ ระเทศและ ภูมอิ ากาศ ซง่ึ ได้มีการนาพชื ทางเลือกและการเล้ยี งสัตว์ มาเป็นแนวทางการสนับสนนุ การปรับเปลีย่ น มาตรการหลังเกบ็ เกี่ยว มงุ่ เนน้ ยกระดบั กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ในการพฒั นาขีดความสามารถ ในการบริหารจัดการการเกบ็ เกี่ยวและการแปรรูป เพ่ือสร้างมลู คา่ เพม่ิ การดูแลเสถยี รภาพราคาสนิ ค้าเกษตร รวมทัง้ เสรมิ สภาพคล่องแกก่ ลไกการรวบรวมเพอื่ เพิม่ ประสิทธภิ าพการดดู ซับผลผลิต การขยายตลาดกลาง สินคา้ เกษตร และการเช่ือมโยงสนิ ค้าเกษตรสูต่ ลาดผู้บริโภคโดยประชารฐั มาตรการสนบั สนุน มุ่งเน้นการลดภาระต้นทนุ ดอกเบ้ียแก่เกษตรกร โดยพักชาระหนแ้ี ละลด ดอกเบย้ี เงนิ กู้ ยทุ ธศาสตรร์ ะยะปานกลาง 1-3 ปี ประกอบดว้ ย  การปฎริ ปู สหกรณ์  การจัดต้งั กองทุน ประกอบด้วยกองทุนเพ่ือยกระดับขีดความสามารถภาคเกษตร และกองทนุ เพื่อสร้างผู้ประกอบการการเกษตรในพืน้ ที่  การรักษาเสถียรภาพราคาพืชผลเกษตร อาทิ ระบบประกันราคาพืชผลเกษตร ยกเครื่อง ตลาดซอ้ื ขายล่วงหน้าสนิ คา้ เกษตร และ พฒั นาตลาดออนไลนส์ นิ ค้าเกษตร  การพัฒนาองค์ความร้แู ละการบริการจัดการ ประกอบดว้ ยการจดั ตง้ั Smart Farmer Academy ฝีกอบรมดา้ นเทคโนโลยี การบริหารจัดการ ตลอดจนเรือ่ งความปลอดภยั และ สิง่ แวดลอ้ ม  การยกระดับมาตรฐานผลติ ภาพ และนวัตกรรมในภาคเกษตร อาทิ สร้างนวัตกรรมเกษตร และอาหารเพ่ิมคุณภาพผลผลิต ความปลอดภยั การเป็นมิตรกบั สง่ิ แวดลอ้ ม พฒั นาระบบ ตรวจสอบยอ้ นกลบั - 49 -

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลือ่ นประเทศไทยสคู่ วามมงั่ คั่ง ม่ันคง และยัง่ ยืน  การส่งเสรมิ ผู้ประกอบการและธรุ กิจทางด้านเกษตร อาทิ การส่งเสรมิ Startup ภาคเกษตร การพัฒนาคลสั เตอร์ภาคบริการดา้ นเกษตร การพัฒนาการท่องเท่ียวภาคเกษตร ยุทธศาสตรร์ ะยะยาว 3-5 ปี ประกอบดว้ ย  การปฏิรปู ทีด่ ินเพื่อการเกษตร  การพัฒนาเกษตรดิจิตอล อาทิ Big Data ทางการเกษตร Cloud Services สาหรบั ภาค เกษตร Precision Technologies และ IoT ภาคเกษตร  การปฏิรปู ตลอดสายจากหว่ งโซก่ ารผลติ ถงึ หว่ งโซผ่ บู้ ริโภค  การบรหิ ารจดั การนา้ อย่างเป็นระบบดว้ ยเทคโนโลยี การพัฒนาเกษตรกรทที่ นั สมัย (Smart Farmers) การยกระดับภาคการเกษตรไทยเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 จาเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนโดย เกษตรกรท่ที นั สมยั เกษตรกรท่ีทันสมัย หมายถึง เกษตรกรท่ีใช้การตลาดนาการผลิต มีจิตวิญญาณของการเป็น ผปู้ ระกอบการ รู้จักใช้การบริหารจัดการและเทคโนโลยี ทั้งในการผลิต การแปรรูป และบริการ แปลงออกมา เป็นโมเดลธรุ กิจทางการเกษตรสมยั ใหม่ มคี วามเปน็ ผ้นู า รเู้ ทา่ ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและให้ความสาคัญ กบั ความย่ังยนื ระบบนิเวศน์เพือ่ การพฒั นา Smart Farmers มอี ยู่ 5 องค์ประกอบสาคัญ คือ การศึกษาและการฝึกอบรม พัฒนาองค์ความรู้ท้ังในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนท้ังใน ส่วนของกรอบความคดิ ทักษะ และพฤตกิ รรม การเข้าถึงแหลง่ เงนิ ทนุ ประกอบไปด้วย  กองทุนระหว่างการศึกษา - 50 -


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook