Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การศึกษาจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การศึกษาจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Published by Reading Room, 2021-04-26 08:01:20

Description: การศึกษาจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Search

Read the Text Version

การศกึ ษาจริยธรรมในชีวติ ประจำวันของนสิ ิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลยั นเรศวร (A STUDY OF ETHICS IN DAILY LIFE OF NURSING STUDENTS IN FACULTY OF NURSING AT NARESUAN UNIVERSITY) นางสาวนฤภรณ์ สขุ ทนุ่ ฟยุ นางสาวนนธญิ า กณุ ะแสงคำ นางสาวนภสร ธะนะใจ นางสาวนรสิ รา สงิ หเสนี นางสาวนันทณัฏฐ์ นันตา นางสาวนันทน์ ภัส เอ่ยี มใผ่ นางสาวนุสบา ต๊ะสุ นางสาวเบญจพร โพธ์แิ ก้ว โครงการวิจยั น้ีเป็นสว่ นหนง่ึ ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศกึ ษา 2562

กติ ตกิ รรมประกาศ ว ิ จ ั ย ฉ บ ั บ น ี ้ ส ำ เ ร ็ จ ส ม บ ู ร ณ ์ ไ ด ้ ด ้ ว ย ค ว า ม ก ร ุ ณ า อ ย ่ า ง ย ิ ่ ง ข อ ง ผ ู ้ ช ่ ว ย ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ดร. คัทรียา รตั นวมิ ล อาจารยท์ ปี่ รกึ ษาวจิ ยั ระดับปริญญาตรีที่กรุณาให้คำแนะนำ เอาใจใส่ ให้กำลังใจ และแก้ไขข้อบกพร่องในการทำวิจยั ระดับปริญญาตรีตลอดจนชว่ ยแนะแนวทางแก้ปัญหา และมีวิธีคดิ ที่เป็นแบบอยา่ งท่ดี ซี ่งึ ทำใหผ้ ูว้ จิ ัยซาบซึ้งมากจึง ขอกราบขอบพระคณุ ท่านเปน็ อย่างสูงไว้ ณ. โอกาสนี้ ขอกราบขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เชาวนี ล่องชูผล, ดร. จิรรัตน์ หรือตระกูล, อาจารย์กมลรจน์ วงษ์จันทร์หาญ, อาจารย์ศรีสุภา ใจโสภา และอาจารย์รุ่งเพชร หอมสุวรรณ ท่ีได้กรุณาตรวจสอบเครื่องมือวิจัย ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ใน การวจิ ยั น้ี ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ และนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ให้ความ เอื้อเฟื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอขอบพระคุณกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เร่อื งจริยธรรมในชวี ติ ประจำวันของนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลยั นเรศวร สดุ ท้ายน้ผี ้วู จิ ัยขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ท่ใี ห้กำเนดิ และใหผ้ ู้วจิ ยั ได้ศึกษาเล่าเรียนจน เติบโต และขอบคุณครอบครัวอันเป็นที่รัก เป็นกำลังใจ เป็นทุนทรัพย์ ความห่วงใย ความเข้าใจมา ตลอด คุณค่าและคุณประโยชน์อันพึงจะมีจากวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่คณาจารย์และผู้มีส่วน เกยี่ วขอ้ งทุกทา่ นท่ที ำใหว้ จิ ยั สำเร็จลุลว่ งไปได้ดว้ ยดี คณะผูว้ จิ ยั

ชือ่ เร่ือง การศึกษาจ ริยธ รรมในช ีว ิ ตปร ะจ ำว ัน ข องน ิส ิต คณ ะ พย า บาล ศ า ส ต ร์ ผวู้ จิ ยั มหาวทิ ยาลยั นเรศวร ประธานทปี่ รึกษา ประเภทสารนพิ นธ์ นางสาวนฤภรณ์ สขุ ทุ่นฟุย คำสำคญั นางสาวนนธญิ า กุณะแสงคำ นางสาวนภสร ธะนะใจ นางสาวนริสรา สิงหเสนี นางสาวนันทณัฏฐ์ นนั ตา นางสาวนนั ทน์ ภสั เอ่ยี มไผ่ นางสาวนุสบา ตะ๊ สุ นางสาวเบญจพร โพธิ์แกว้ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. คทั รยี า รตั นวมิ ล วจิ ัยระดบั ปริญญาตรี พยาบาลศาสตรบณั ฑติ , มหาวทิ ยาลัยนเรศวร, 2562 จรยิ ธรรมในชวี ิตประจำวัน นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมใน ชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรในภาพรวม และรายด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 1-4 ทก่ี ำลงั ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึ ษา 2562 จำนวน 222 คน ทีไ่ ด้มาจากวธิ ีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครอื่ งมอื ท่ีใชใ้ นการวิจยั เป็นแบบสอบถามจรยิ ธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิต คณะพยาบาลศาสตร์ ที่พัฒนามาจาก อรุณี อูปแก้วและนุชนาถ บุญมาศ (2552) และจากการศึกษา ทบทวนแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและคณะพยาบาลศ าสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ออกมาเป็นจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรทั้ง 7 ด้าน ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .80 ตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาค รอนบาค เทา่ กบั .81 ผลการวิจัยพบว่าจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ������̅= 4.27, S.D. = 0.35) และรายด้านที่มีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด

คอื เคารพความเป็นมนุษย์ อยู่ในระดบั มากทส่ี ุด ( ������̅= 4.60, S.D. = 0.43) สว่ นด้านท่ีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คอื ดา้ นการมจี ติ สาธารณะ อย่ใู นระดับมาก ( ������̅= 3.99, S.D. = 0.47)

Title A STUDY OF ETHICS IN DAILY LIFE OF NURSING STUDENTS IN Author FACULTY OF NURSING AT NARESUAN UNIVERSITY Narueporn Suktunfuy Advisor Nonthiya Kunasengkam Academic Paper Napasorn Tanajai Keywords Narisara Singhasenee Nanthanut Nanta Nannaphat Aiempai Nutsaba Tasu Benjaporn Phokeaw Assist.Prof.Dr.Cathareeya Rattanawimol Research in Bachelor of Nursing Science, Naresuan University Ethics in daily life, Nursing student Abstract The aim of descriptive research was to a study of ethics in daily life of nursing students in faculty of nursing at Naresuan University. The sample was 222 nursing students from faculty of nursing in Naresuan University, which are currently studying in year 1 to year 4 in the first semester of the academic year 2019 from stratified sampling and simple random sampling methods. The questionnaire to assess the ethics in daily life of students of the Faculty of Nursing was developed from Arunee Oupkaew and Nuchanat Boonmat (2009) and from a review of guidelines for the development of morality and ethics in accordance with the policies of the university and the Faculty of Nursing, with 7 aspects. The questionnaire passed the accuracy test of the content from

five experts using CVI with the validity index at .80 and reliability .81 by using Cronbach’s alpha coefficient. The results revealed that the ethics in daily life of nursing students in Faculty of Nursing, Naresuan University was at a high level (������̅ = 4.27, S.D. = 0.35) and when considering in each aspect, the respect of the person was at an average mean( ������̅ = 4.60, S.D. = 0.43), and the public mind was at a minimum (������̅ = 3.99, S.D. = 0.47 ).

สารบัญ หน้า บทท่ี 1 1 1. บทนำ 3 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 3 คำถามการวจิ ยั 3 จุดมงุ่ หมายของการศึกษา 4 ขอบเขตของงานวจิ ัย 4 ตวั แปรท่ีจะศึกษา 5 นยิ ามศพั ท์เฉพาะ 6 ประโยชนท์ ่คี าดวา่ จะไดร้ บั 7 10 2. เอกสารและงานวิจยั ท่ีเก่ียวข้อง 19 แนวคิดทางจรยิ ธรรมสำหรับพยาบาล 24 จริยธรรมกบั นสิ ิตพยาบาล 28 ทฤษฎกี ารพัฒนาจรยิ ธรรม 33 แนวคดิ เกย่ี วกบั จติ สาธารณะ 34 งานวจิ ยั ทีเ่ ก่ยี วข้องกับการพัฒนาจรยิ ธรรม 34 กรอบแนวคิด 36 38 3. วธิ ดี ำเนนิ การวิจัย 41 ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง 42 เครอื่ งมือที่ใช้ในการวิจัย 43 การพัฒนาเครอื่ งมือวจิ ัย 43 การตรวจสอบคณุ ภาพเครื่องมือวจิ ยั การเก็บรวมรวมข้อมลู การวเิ คราะหข์ อ้ มลู และสถิติท่ีใช้ การพทิ ักษส์ ทิ ธิ์ของผ้ตู อบแบบสอบถาม

สารบญั (ตอ่ ) บทท่ี หน้า 4. ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู 44 การเสนอผลการวิเคราะห์และแปรผล 44 สญั ลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวจิ ยั 45 5. สรปุ ผลการวิจยั อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 54 สรปุ ผลการวจิ ยั 55 อภิปรายผล 55 ขอ้ เสนอแนะในการทำวจิ ยั คร้ังตอ่ ไป 57 บรรณานกุ รม 58 ภาคผนวก 61 ภาคผนวก ก คา่ เฉล่ีย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับจรยิ ธรรมในชวี ติ ประจำวันของ นิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ รายด้านและรายข้อ 61 ภาคผนวก ข รายนามผ้ทู รงคุณวุฒิ 68 ภาคผนวก ค แบบสอบถามงานวจิ ยั 71 ภาคผนวก ง เอกสารที่ใชใ้ นการวจิ ัย 78 ประวัติผู้วจิ ัย 80

สารบญั ตาราง ตาราง หนา้ 1. แสดงจำนวนประชากร และกลมุ่ ตวั อย่างนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร 36 2. จำนวนและค่ารอ้ ยละของประชากรจำแนกตาม เพศ ช้ันปีทกี่ ำลงั ศึกษา 45 3. คา่ เฉลยี่ สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับจริยธรรมในชีวติ ประจำวันของ 46 นิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร จำแนกเปน็ รายรวมและรายดา้ น

บทท่ี 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พระราชดำรัสในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงตรัสไว้ว่า “…ถ้าจะเป็นคนดี จะมี อะไรอยา่ งเดยี วไม่ไดต้ ้องมีอยา่ งละนิด อยา่ งละหน่อย แล้วแตส่ งั คม อยา่ งไรกต็ าม มี Principle งา่ ย ๆ หลักการหน่ึง หลกั การใด เช่น ฉันจะไม่ใหล้ ูกฉนั เป็นคนโกหกขโมย หลกั การใหญ่ๆทางจริยธรรมต้องมี แน่นอน.” (กระทรวงวัฒนธรรม, 2549) แนวพระราชดำรัสข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยท่ี พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ อีกทั้งทรงให้ข้อคิดแก่คนในชาติให้ประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อพัฒนาให้ สังคมเป็นสังคมที่มีคุณภาพ นอกจากนี้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนด ปรัชญาการศึกษาไทยไว้ในหมวด 1 บททั่วไปความมุ่งหมายและหลั กการ มาตรา 6 ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความร้คู ณุ ธรรม มจี ริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกบั ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยสรุปแลว้ การปฏริ ปู การศึกษาครง้ั น้ีมุง่ หวังให้เยาวชนไทยมลี ักษณะดี เก่ง มีความสขุ ร้จู กั และเข้าใจ ตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หากคนในสังคมขาดจริยธรรม ในการดำเนนิ ชวี ิตประจำวนั ย่อมเปน็ เหตุทำใหเ้ กดิ ปญั หาต่าง ๆ ตามมา ปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขย้อนหลัง 20 ปี (2560 อ้างอิงใน อิทธิพล สูงแข็ง, หน้า 8-9) พบว่ามีสถิติการฟ้องร้องคดีฟ้องแพ่ง จำนวน 287 คดี คดีผบู้ รโิ ภค จำนวน 168 คดี คดีปกครอง 3 คดี รวมเป็น 499 คดี ซ่ึงวชิ าชีพพยาบาลถือเป็นอีกหน่ึงบุ คลลากรทางการแพทย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการ วางรากฐานการปรับเปลี่ยนให้วิชาชีพพยาบาลมีคา่ นิยมตามบรรทัดฐานท่ีดีของสงั คมไทย จำเป็นต้อง ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและการตัดสินใจที่เป็นพ้ืน ฐานความรู้ สติปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม คุณธรรมจริยธรรมจึงเป็น สิ่งจำเป็นและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิชาชีพพยาบาล จะเห็นได้ว่านิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวนมากที่กำลังเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต ยังมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา โดย ปญั หาส่วนใหญเ่ กิดจากการขาดคุณธรรมและจรยิ ธรรม ยกตวั อย่าง เชน่ จากสถิตพิ ฤตกิ รรมทก่ี ระทำ

2 ผิดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยบรมราชชนนีพุทธชินราช ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ.2557 - เดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่านักศึกษาไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข้าหอพักของวิทยาลัยฯจำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 14.41 โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มีจำนวนนักศึกษาที่ไม่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของวิทยาลัยถึง 40 คนคิดเป็นร้อยละ 25.64 ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่าชั้นปีอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการสังเกตการณ์เข้าห้องเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วันที่ 4 พฤศจกิ ายน 2557 ยงั พบว่านักศกึ ษาเข้าเรียนไมต่ รงเวลาจำนวน 21 คนคดิ เป็น ร้อยละ 13.46 และมีแนวโน้มมาสายอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการประกอบ วิชาชีพพยาบาล ในอนาคตที่ไม่เหมาะสมเพราะวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ถูกคาดหวังในเรื่อง คุณธรรมจรยิ ธรรมสงู เพราะต้องปฏบิ ตั ิหน้าท่ีตอ่ มนุษย์โดยตรง ต้องมีความเมตตา ออ่ นโยน เอื้ออาทร และรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ ดังนั้นคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อวิชาชีพพยาบาล จึงจำเป็นต้องให้นิสิต มีจิตสำนึกเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะช่วยให้สังคมในอนาคตเกิดการ พัฒนาและมีความเข้มแข็ง เสริมสร้างให้คนไทยในอนาคต ได้มีความรู้ รู้เท่าทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ของ โลก เข้าใจเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องจัดระบบการศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณธรรมและ จริยธรรมของนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ เพอ่ื พัฒนาในระยะยาว และนำไปสูก่ ารพัฒนาประเทศต่อไป สง่ิ ทีค่ วรปลูกฝงั ให้แก่นกั ศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 1) ความซ่อื สัตย์ 2) ความเมตตากรุณา 3) ความรบั ผิดชอบ 4) ความสภุ าพออ่ นโยน 5) ความมรี ะเบยี บวนิ ยั 6) ความเสยี สละ 7) ความเคารพ ในความเป็นมนุษย์ 8) ความร่วมมือและรู้รักสามัคคี 9) ความอดทน (ยุพดี สมบูรณ์สิน, 2541, หนา้ 6 - 7) นอกจากนต้ี ามประกาศกองกิจการนสิ ิต มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การสง่ เสรมิ พฤติกรรม ด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ วันที่ 24 มกราคม 2557 ได้กำหนด คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์เป็น 5 เก่ง ซึ่งประกอบด้วย เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในแต่ละอัตลักษณ์นั้น เพื่อเป็น การส่งเสริมให้นิสิตมหาวิทยาลัยมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สนับสนุนอัตลักษณ์บัณฑิตของ มหาวิทยาลัย โดยกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร “วินัย เสียสละ อดทน” และปรัชญาของหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559) ได้จัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้โดยการกระทำและประสบการณ์ เพื่อให้ได้ บัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางการพยาบาล พร้อมที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้บริการอย่างมี คุณภาพ มีความเอื้ออาทร ยึดมั่นในคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ สามารถคิดวิเคราะห์และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน นำผลการวจิ ัยมา ใช้ในการปฏิบัติงาน และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีจิตสำนึก

3 ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง, 2559) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนานิสิตคณะ พยาบาลศาสตร์ให้เป็นคนเก่ง มีความรู้ มีจริยธรรม อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ตอ่ ไป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวรเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตพยาบาล จงึ ต้องผลิตบัณฑิต ให้มีคุณภาพ นอกจากความรู้ความสามารถด้านการพยาบาลแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการ ดำรงตน และปฏิบัติงาน การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ควรเริ่มตั้งแต่ สถาบนั ที่รบั ผิดชอบในการผลิตพยาบาล โดยเชอื่ ว่าการปลกู ฝงั ในขณะที่ยังเป็นนิสิตจะสามารถขัดเกลา ให้เป็นพยาบาลที่ดีได้ในอนาคต และสามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป นิสิตคณะ พยาบาลศาสตร์ทุกคนจำเป็นต้องมีจริยธรรมที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดไว้ 3 ดา้ น ได้แก่ ความมวี นิ ัย ความเสียสละ และความอดทน ผ้วู ิจัยจึงมคี วามสนใจทจี่ ะศึกษาจริยธรรมใน ชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสามารถนำผลการวิจัยไป พฒั นาระดบั การมีจริยธรรมของนสิ ิตคณะพยาบาลศาสตร์ให้สูงขน้ึ ต่อไปในอนาคต คำถามการวจิ ยั ระดับจริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ ในระดบั ใด จุดมุ่งหมายของการศึกษา เพ่ือศึกษาจริยธรรมในชีวิตประจำวนั ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร ในภาพรวม และรายด้าน ขอบเขตของงานวิจัย ประชากรทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชนั้ ปที ่ี 1-4 ทก่ี ำลงั ศกึ ษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 499 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยูใ่ นภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 โดยสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอยา่ ง แบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) โดยนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์มีจำนวน 499 คน จากนั้นจำแนก

4 นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ออกเป็น 4 กลุ่มย่อยตามชั้นปี นำมาคำนวณกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของ ประชากรแตล่ ะช้นั ปี หลงั จากนั้นส่มุ ตวั อย่างจากกลุม่ ย่อยแต่ละกลมุ่ โดยใช้วิธีการสุม่ ตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ซ่งึ การส่มุ มาจากโปรแกรมสุ่มตวั เลข (Random Number Generator) และนำตวั เลขทไี่ ด้จากโปรแกรมมาเทยี บกบั ใบรายชื่อนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ แตล่ ะช้ันปี ตวั แปรท่ีศกึ ษา ตวั แปร ได้แก่ จรยิ ธรรมในชีวติ ประจำวนั นิยามศพั ท์เฉพาะ จรยิ ธรรมในชวี ิตประจำวันของนิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร หมายถึง พฤติกรรม ที่นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปฏิบัติต่อตนตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ซึ่งประกอบด้วย 7 ด้าน ดงั นี้ ด้านความซื่อสัตย์ หมายถึง นิสิตมีพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ไมล่ ักขโมย ไม่ยกั ยอก ไม่โกหกและพูดแต่ความจริง ยอมรับผดิ เมอื่ ตนเองกระทำไมถ่ ูกต้อง ไม่ทุจริตใน การทำข้อสอบ และไมน่ ำของคนอื่น มาเปน็ ของตน ด้านความมีระเบียบวินัย หมายถึง นิสิตมีพฤติกรรมการแต่งกายสุภาพและปฏิบัติตนได้ถูกต้องตาม ระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย เข้าเรียนตรงเวลา เข้าร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีการวาง แผนการดำเนินชวี ติ ท่เี หมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน ด้านความอดทน หมายถึง นิสิตมีพฤติกรรมสามารถทำงานของตนให้ลุล่วงสำเร็จ แม้พบอุปสรรคก็ ไม่ย่อทอ้ รูจ้ กั ระงับอารมณ์ของตน ไมใ่ ชค้ ำพดู ทำรา้ ยผู้อื่น ด้านการมีจิตสาธารณะ หมายถึง พฤติกรรมที่นิสิตให้ความช่วยเหลือในบุคคล คณะ มหาวิทยาลัย และสังคม ไดแ้ กอ่ าสาเขา้ รว่ มกจิ กรรมชว่ ยงานตา่ ง ๆของคณะและมหาวิทยาลัย แมจ้ ะไมม่ ีการเช็คช่ือ ดูแลทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เก็บขยะตกอยู่ตามถนนไปทิ้งขยะและเก็บภาชนะเมื่อรับประทาน อาหารเสรจ็ บรจิ าคส่ิงของ เงินทองแกผ่ ู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เสยี สละท่นี ง่ั บนรถโดยสารให้คนพิการ เด็ก สตรีมคี รรภ์ และคนชรา และรับเป็นหัวหน้ากลุ่มเมื่อไมม่ ีใครอาสา ด้านความรบั ผดิ ชอบ หมายถึง นสิ ติ มีพฤติกรรมรบั ผดิ ชอบหน้าทขี่ องตน เชน่ ส่งงานอาจารย์ตรงเวลา รักษาของที่ยืมมาจากผู้อื่น และชดใช้คืนหรอื ขอโทษเมื่อทำสิง่ ของเสียหาย และทำตามคำพูดที่สัญญา กบั ผู้อนื่ เสมอ

5 ด้านความเคารพในความเป็นมนุษย์ หมายถึง นิสิตมีพฤติกรรมที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับ ข้อเสนอแนะ คำวิพากษว์ ิจารณ์ และพร้อมที่จะปรบั ปรงุ เคารพสทิ ธิของตนเองและผู้อน่ื ไม่สร้างความ เดือดรอ้ นหรือความรำคาญให้แก่ผู้อืน่ และไม่ดูถกู เหยียดหยามสถาบนั อ่ืน ด้านความขยันหมั่นเพียร หมายถึง นิสิตมีพฤติกรรมกระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในงานท่ี ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนเอง ปรับปรุงงานในหน้าที่ใหด้ ียิ่งขึ้น ช่วยแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อน พยายามแก้ข้อบกพร่องของตนเกี่ยวกับการเรียน เข้าเรียนทุกวิชา ไมข่ าดเรียน อ่านหนังสือทุกคร้ังท่ีมเี วลาวา่ ง และจดั ของใช้ส่วนตวั ใหเ้ ปน็ ระเบียบอยู่เสมอ นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ หมายถึง ผู้เรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1,2,3 และ 4 ปีการศึกษา 2562 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รบั 1. ทราบถึงระดับจรยิ ธรรมในชวี ติ ประจำวนั ของนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร 2. เปน็ ข้อมูลพืน้ ฐาน เพื่อนำไปใช้ในการจดั กจิ กรรมเสริมหลักสตู ร เพอื่ พัฒนาพฤติกรรมทาง จริยธรรมของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์

บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ัยทีเ่ กีย่ วข้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะทางจริยธรรมในนิสิตพยาบาลซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาและ รวบรวมสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางใน การศกึ ษา ดังนี้ 1) แนวคดิ ทางจริยธรรมสำหรับพยาบาล 1.1 ความหมายของจรยิ ธรรม 1.2 ความสำคญั ของจรยิ ธรรม 1.3 องค์ประกอบของจริยธรรม 2) จรยิ ธรรมกบั นสิ ติ พยาบาล 2.1 คณุ ลักษณะจรยิ ธรรมในชีวิตประจำวันของสงั คมไทย 2.2 คณุ ธรรมจริยธรรมนสิ ิต 2.3 จรยิ ธรรมในชีวิตประจำวันของนิสติ พยาบาล 2.4 แนวคดิ ทางจรยิ ธรรมทางการพยาบาล 3) ทฤษฎกี ารพฒั นาจรยิ ธรรม 3.1 ทฤษฎจี ติ วิเคราะห์ 3.2 ทฤษฎีการเรยี นรู้ทางสงั คม 3.3 ทฤษฎตี ้นไม้จรยิ ธรรม 4) แนวคดิ เกี่ยวกบั จิตสาธารณะ 4.1 ความหมายของจิตสาธารณะ 4.2 ความสำคญั ของจติ สาธารณะ 5) งานวจิ ัยท่เี กยี่ วข้องกบั การพฒั นาจริยธรรม 6) กรอบแนวคดิ ในการวิจยั

7 1. แนวคิดทเ่ี ก่ียวข้องกบั จริยธรรม 1.1 ความหมายของจริยธรรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2542, หน้า 291) ได้ให้ความหมายไว้ว่า จรยิ ธรรม หมายถึง ธรรมที่เปน็ ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศลี ธรรม ภาดา คูสกุลม ( 2536 อ้างอิงใน พวงรัตน์ ชำนาญเลิศกิจ, 2558, หน้า 18) กล่าวว่า จริยธรรม มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงระเบียบของสังคมค่านิยมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคม จริยธรรมเป็นคำที่ใช้อธิบายความประพฤติของมนุษย์ ที่อยู่ร่วมกันในสังคมว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใ ด ไมค่ วรทำ โดยมีสิง่ เกยี่ วขอ้ งกันอยู่ ๓ ประการ คือ ตวั เราเอง ผู้อื่น และความสัมพนั ธ์ระหวา่ งตัวเราเอง กับกบั ผู้อน่ื พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต, 2538 อ้างอิงใน พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร, 2548, หน้า 9) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่า “ถ้าแยกพุทธธรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ สัจธรรมส่วนหนึ่งกับ จริยธรรมส่วนหนึ่ง แล้วกำหนดความหมายขึ้นใช้ในที่นี้โดยเฉพาะ โดยกำหนดให้สัจธรรมเป็นส่วน แสดงสภาวะหรือรูปลักษณะตัวจรงิ และใหจ้ ริยธรรมเปน็ ฝ่ายข้อปฏิบตั ิท้ังหมด ก็จะเห็นว่า สจั ธรรมใน พระพุทธศาสนา ย่อมหมายถึงคำสอนที่เกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลายหรือธรรมชาตินั่นเอง ส่วนจริยธรรมก็หมายถึงการเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพและความเป็นไปของสิ่ง ท้งั หลาย หรอื การรกู้ ฎธรรมชาตแิ ลว้ นำมาใชใ้ นทางทีเ่ ปน็ ประโยชน์” จริยธรรม (Mosal standard) หมายถึง หลักเกณฑ์ บรรทัดฐานทางสังคม วัฒนธรรมท่ี ก้าวหน้าและบ่งชี้ถึงความถูกต้องดีงามโดยท่ัวไปทุกด้าน เช่น การละเว้นความชั่ว การไม่ทำบาป เป็นต้น (วิจติ ร ศรสี พุ รรณ, 2552) พนัส หันนาคินทร์ (2523 อ้างอิงใน พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร, 2548, หน้า 8) กล่าววา่ จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติอันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่ อให้เกิด ความเจริญรุ่งเรืองเกษมสุขขึ้นในสังคม และสมาชิกในสังคม การที่ปฏิบัติให้เป็นไปเป็นเช่นน้ี ได้ ผปู้ ฏิบัตติ ้องรูจ้ กั ว่าส่ิงใดผิด ดังนัน้ การปฏบิ ัติตามหลักจรยิ ธรรมจึงต้องประกอบกันท้ังความรู้สึกทางใจ การปฏบิ ตั ทิ างกาย อนั สอดคล้องกับความรู้สกึ ทางจิต ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะ กำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิด จะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2542 อ้างอิงใน พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชโิ ร, 2548, หนา้ 8)

8 สุรางค์ โค้วตระกูล (2550, หน้า 369) ได้รวบรวมหมายของจริยธรรมที่ผู้เช่ียวชาญเกี่ยวกบั จริยธรรมให้ไวแ้ ลว้ สรปุ วา่ ความหมายของจริยธรรมอาจแบง่ เป็น 2 ประเภท คือ ความหมายประเภทที่ 1 จริยธรรม คือ หลักการหรอื แนวทางปฏิบตั ติ น ความหมายประเภทที่ 2 จริยธรรม คือ การกระทำหรือการแสดงออกในรูปของ พฤตกิ รรม จริยธรรมตามความหมายของนักวิชาการต่างประเทศให้ความหมายของจริยธรรมเน้นหนัก ไปที่สังคมโดยให้สังคมเป็นตัวกำหนด รวมเรียกว่าพฤติกรรมทางสังคม ดังจะเห็นความหมายจาก นกั วิชาการตา่ ง ๆ เหลา่ นี้ เช่น Jean Piaget (1932) ไดใ้ หค้ วามหมายไวว้ ่าจรยิ ธรรม คือ องค์ประกอบ ของกฎเกณฑ์ ท่ีบุคคลยอมรับว่าถูก ว่าดี ว่าควร เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม Lawrence Kohlberg (1976 อ้างอิงใน สุรางค์ โค้วตระกูล, 2550) ได้ให้อธิบายคำว่า “จริยธรรม” ว่าเปน็ ความรู้สึกชอบชวั่ ของมนุษย์ ซึ่งเปน็ กฎเกณฑ์ประเภทหน่ึงที่ใชเ้ ปน็ มาตรฐานในการปฏิบัติตัวให้ เข้ากับสังคม ซึ่งก็จะมีการพัฒนาต่อเนื่อง ในกรณีที่มีการกระทำผิดจริยธรรมขึ้น ผู้ที่จะตัดสินว่าส่ิง เหล่าน้ันผดิ หรอื ถกู กค็ ือสงั คม สรุปว่า จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติอันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อ่ืน และต่อสังคม เป็นสิ่งที่สังคมพึงปรารถนา และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในสังคม โดยมีสังคมเป็นตัวกำหนดการ ยอมรบั ในการประพฤตปิ ฏบิ ัติของสมาชกิ ในสังคม วา่ การกระทำนนั้ เป็นสิง่ ทด่ี ีงาม ควรค่าแก่การยึดถือ ปฏบิ ัติ ซ่งึ หากมีการละเมดิ จะถกู สงั คมลงโทษ 1.2 ความสำคัญของจรยิ ธรรม จริยธรรมนบั วา่ เป็นพ้นื ฐานทสี่ ำคัญกบั มนุษย์ทกุ คน หากคนในสงั คมมจี ริยธรรมจิตใจก็ย่อม สงู ส่ง จะกระทำการใดก็ไม่ก่อใหเ้ กิดความเดอื ดร้อน ไมก่ ่อใหเ้ กิดทุกขแ์ ก่ตนเองและผู้อ่ืน ถา้ คนใดขาด จริยธรรมอาจมีผลร้ายต่อตนเองและสังคม สังคมที่มีคนขาดจริยธรรมมากย่อมเป็นสังคมที่วุ่นวาย ไร้ความสุข จริยธรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมาก (วศิน อินทสระ 2539 อ้างองิ ใน รณวีร์ พาผล, 2557, หน้า 24-25) ได้สรุปความสำคญั ของจริยธรรมไวด้ ังนี้ 1.2.1 ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ ไม่พบอุปสรรค ถ้าคนใน สงั คมทุกคนมคี ุณธรรมและจริยธรรม สังคมของเรากจ็ ะสงบสุขตามไปด้วย ทกุ คนจะใช้เวลาท่ีมีท้ังหมด ช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญมั่นคง เป็นปึกแผ่น เป็นอารยประเทศไม่ต้องแบ่งเวลาไปคอย ระมัดระวังอันตรายใด ๆ ทจ่ี ะเกดิ ข้ึนจากการกระทำของคนเลว

9 1.2.2 ช่วยให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา คุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ ในตัวแต่ละคน จะเตือนสติให้รักษาเกียรติยศชือ่ เสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล ไม่ไปเบียดเบียนผ้อู ืน่ รูจ้ กั เอ้อื เฟ้อื เผือ่ แผ่ช่วยเหลือผ้ทู ี่ด้อยโอกาสกวา่ สังคมกจ็ ะสงบสขุ ประเทศชาตกิ จ็ ะม่ังคงั่ มน่ั คง 1.2.3 ช่วยสร้างความมรี ะเบียบวนิ ยั ให้แก่บุคคลในชาติ โดยจะเป็นตัวกำหนดการ ประพฤติปฏิบตั ิของบุคคลให้เปน็ ไปตามกฎเกณฑ์ท่ีคนส่วนใหญใ่ นสังคมยอมรบั วา่ ถูกต้อง กฎเกณฑ์น้ัน จะมาจากความพอใจของคนเพยี งคนเดียวไมไ่ ด้ คนเมอ่ื อยู่ในสงั คมจะต้องพ่ึงพาอาศัยซ่งึ กนั และกันเป็น ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงร่วมสังคมเดียวกัน จะอยู่คนเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ เมื่อบุคคลประพฤติตาม คุณธรรมและจริยธรรมของสังคม ชวี ิตกจ็ ะมรี ะเบยี บไม่ต้องพบกับอุปสรรค ถ้าทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน สงั คมและประเทศชาติก็จะเป็นระเบียบตามไปด้วย 1.2.4 ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากข้ึน การปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่าง แก่ผู้อื่นนบั ว่าเป็นคุณแก่สังคม เพราะนอกจากจะเป็นตัวอย่างโดยการช้ีนำทางอ้อมแล้วยังจะออกปาก แนะนำสั่งสอนโดยตรงได้อีกด้วย เช่น แนะนำให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อย่าเห็นแก่ตัว อย่าเห็นแก่ได้จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงของสังคมและ ประเทศชาติ มิฉะนนั้ ผู้ที่คอยยึดเราเปน็ ตวั อย่างอาจหมดความศรัทธา และหมดกำลังใจสร้างคุณธรรม และจรยิ ธรรม หันกลับไปทำความชั่วเช่นเดมิ ได้อกี 1.2.5 ช่วยทำให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์แต่ สิ่งดีมีคุณค่า ถ้ามนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการประกอบอาชีพที่สุจริตย่อมสร้างสรรค์ คุณประโยชน์ให้แก่คนทั่วไป รวมทั้งสังคมและประเทศชาติด้วย แต่ในทางตรงข้าม ถ้ามนุษย์ขาด คุณธรรมและจริยธรรมก็จะนำความรู้และประสบการณ์ที่มีไปเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นสร้าง ความเสียหายให้สงั คมและประเทศชาติ เพียงหวงั ใหต้ นเองมที รัพย์ มีความสุข ผอู้ ่ืนจะทกุ ขอ์ ย่างไรก็ไม่ คำนึงถงึ 1.2.6 ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เติบโตไปพร้อม ๆ กนั ปัจจุบันความเจรญิ ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีสูงมาก ถา้ มนุษย์นำความเจรญิ น้ีมาใช้ในทางท่ีผิด เช่น สร้างอาวุธมาประหัตประหารกันจนคนล้มตายลงเป็นจำนวนมากโดยหวังความเป็นใหญ่ความมี อำนาจ ความเดือดร้อนก็จะเกิดแก่คนทั่วไปแต่ถ้าผู้ผลิตเทคโนโลยีมีคุณธรรมและจริยธรรมเหตุการณ์ เหล่านี้ก็จะไม่เกิด สิ่งที่จะได้รับการสร้างหรือผลิตขึ้นมาก็จะมุ่งแต่ประโยชน์ที่จะเกิดแก่คนทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ดาวเทียม ฯลฯ เพราะมีจิตใจทีส่ งบสุขจึงสร้างสรรค์แต่สง่ิ ทีม่ ีคณุ ค่าต่อคนในสงั คมและประเทศชาติ

10 จากบทความข้างต้นจึงสรุปได้ว่า จริยธรรมจึงมีความสำคัญกับมนุษย์ทกุ คน โดยต้องเป็นการ กระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาใช้ ในทางทีเ่ ป็นประโยชน์ ไมพ่ บอุปสรรคในการดำเนินชีวิต สรา้ งความมีระเบียบวินยั มีความรับผิดชอบ รู้จักเอื้อเฟอ้ื เผื่อแผ่ และรู้จักการนำเทคโนโลยีมาใชใ้ นทางท่ีอย่างเหมาะสม 1.3 องคป์ ระกอบทางจริยธรรม ตามแนวคิดนักพฤติกรรมศาสตร์ ได้อธิบายองค์ประกอบของจริยธรรมเป็น 4 ด้าน (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2524 อ้างอิงใน อุบลรตั น์ โพธิพ์ ฒั นชัย, 2550, หนา้ 40) ดงั นี้ 1.3.1 ความรู้เชิงจริยธรรม หมายถึง การมีความรู้ว่าในสังคมของตน การกระทำ ใดดีควรกระทำ การกระทำใดไม่ดีควรงดเว้น ปริมาณความรู้เชิงจริยธรรมขึ้นอยู่กับอายุ ระดับการศกึ ษาและพัฒนาการทางสตปิ ัญญา 1.3.2 ทัศนคติเชิงจริยธรรม หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือ พฤตกิ รรมเชงิ จริยธรรมต่าง ๆ วา่ ตนชอบหรือไม่ชอบลักษณะน้ัน ๆ 1.3.3 เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะ กระทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการ กระทำตา่ ง ๆ ของบุคคล 1.3.4 พฤติกรรมเชิงจรยิ ธรรม หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยม ชมชอบ หรืองดเวน้ แสดงพฤติกรรมทีฝ่ ่าฝืนกฎเกณฑห์ รือคำนยิ มในสงั คมน้ัน ๆ จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบทางจริยธรรม ประกอบด้วย ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิง จรยิ ธรรม เหตผุ ลเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมเชิงจริยธรรม 2. จรยิ ธรรมกบั นิสิตพยาบาล 2.1 คุณลกั ษณะจริยธรรมในชวี ิตประจำวันของสงั คมไทย คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดใน ด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้าน การศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดงั น้ี (ฉตั รชยั ศรสี ม, 2553) 2.1.1 ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียด รอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตาม เปา้ หมาย

11 2.1.2 ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อ ความเป็นจริง ท้ังกาย วาจา ใจ ตอ่ ตนเองและผู้อืน่ 2.1.3 ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพสิ ูจน์ ส่ิงใดส่ิงหนึง่ ให้ประจักษ์ โดยไมผ่ ูกพนั กบั อารมณ์ และความยึดม่ันในความคิดของตนเอง 2.1.4 ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มี อุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบ แทนคุณ อาจกระทำด้วยสงิ่ ของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม 2.1.5 ความอุตสาหะ หมายถงึ ความพยายามอย่างย่ิงยวด เพ่อื ให้บรรลุผลสำเร็จ ในการงานหรือกจิ กรรมที่ทำดว้ ยขยันขนั แข็งกระตือรือรน้ อดทน ถงึ แม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรค ขดั ขวางก็ไมย่ อมแพ้และไม่ยอ่ ทอ้ 2.1.6 ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชนส์ ว่ นตัว รวมทง้ั มีความรักในหมคู่ ณะของตน 2.1.7 ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและ ศลี ธรรม 2.1.8 ความเสยี สละ หมายถึง การลดละความเหน็ แก่ตวั การแบ่งปนั แก่คนที่ควร ใหด้ ้วยทรัพย์สิน กำลงั กาย และกำลงั ปัญญาของตนเอง 2.1.9 ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและ พอเหมาะพอควร เพอ่ื ใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุง้ เฟ้อ ฟุ่มเฟอื ยจนเกินฐานะของตน 2.1.10 ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณา เรอื่ งราวต่าง ๆ จะตอ้ งอย่บู นพ้ืนฐานของความเปน็ จริง ไมม่ คี วามลำเอยี งหรือเข้ากับฝา่ ยใดฝ่ายหนงึ่ 2.1.11 ความเมตตากรณุ า หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และ มคี วามสงสารอยากจะชว่ ยให้ผู้อ่ืนพน้ จากความทกุ ข์ กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะจริยธรรมในชีวิตประจำวันของสังคมไทย จึงประกอบด้วย การปฏิบตั หิ นา้ ท่ีของตนเองอย่างละเอยี ดรอบคอบ ขยันหมน่ั เพียร มีความอดทน ถงึ แมจ้ ะพบอุปสรรค ขัดขวางก็ไม่ย่อท้อ ใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล มีความรักในหมู่คณะ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อน่ื รจู้ กั ช่วยเหลือบุคคลรอบขา้ ง สำนึกตอ่ บุญคุณของผู้มีอุปการะคุณ และใชส้ ิ่งของให้เกดิ ประโยชน์สงู สุด

12 2.2 คณุ ธรรมจรยิ ธรรมนิสติ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นหน่วยงานสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้อง ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงมีบทบาทในการพัฒนาประเทศโดย การผลิตนิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม โดยจัดการเรียนการสอน ผลิตบัณฑิตและพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากร มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง เป็นศูนย์รวมแหล่ง วิทยากรที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามท่ี มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดอัตลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอัตลักษณ์ ๕ เก่ง ซึ่งประกอบด้วย เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา และมีการสอดแทรก คณุ ธรรมจรยิ ธรรมในแต่ละอัตลักษณ์น้นั เพ่อื เป็นการส่งเสริมใหน้ สิ ิตมหาวิทยาลัยนเรศวรมีพฤติกรรม ด้านคณุ ธรรมจริยธรรมทีส่ นับสนนุ อัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลยั อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗ และมาตรา ๒o แห่งพระราชบัญญตั มิ หาวิทยาลยั นเรศวร พ.ศ.๒๕๕๖ ประกอบคำสง่ั มหาวทิ ยาลัย นเรศวร ที่ ๔๓๔/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรื่อง มอบอำนาจให้รองอธิการบดีปฏิบัติ ราชการแทนอธิการบดี จึงได้กำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร “วินัย เสียสละ อดทน” ดังต่อไปนี้ ๑) นิสิตมีวินัยสามารถปฏิบัติตนตามระเบียบข้อบังคับของ มหาวิทยาลยั ๒) นสิ ิตมีความเสียสละ มีจิตสาธารณะ และชว่ ยเหลอื สงั คม และ ๓) นิสิตมีความอดทน สามารถปรับตวั ได้ในทุกสถานการณ์ทั้งสภาวะท่ีต้องการและไม่ต้องการ ทั้งนตี้ ง้ั แตป่ ีการศึกษา ๒๕๕๖ เป็นต้นไป (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง, 2559) มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวรไวเ้ ป็นอัตลักษณ์ 5 เก่งซ่งึ ประกอบดว้ ย เกง่ งาน เก่งคน เกง่ คิด เกง่ ครองชีวติ และ เก่งพิชิตปัญหา ซึ่งสามารถอธิบายความหมายของอัตลักษณ์ 5 เก่ง (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร หลกั สูตรปรับปรงุ , 2559) ดงั น้ี - เก่งงาน หมายถงึ บณั ฑิตสามารถนำความรไู้ ปประยุกต์ใชใ้ นการประกอบวิชาชีพ ได้ อย่างสร้างสรรคเ์ ป็นผู้มจี รรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรบั ผิดชอบ ซ่ือสตั ย์ เป็นแบบอยา่ งที่ดี มีองค์ ความรู้ที่กว้างขวางและเป็นระบบ รู้หลักและทฤษฎีที่สัมพันธ์กันตระหนักในองค์ความรู้และทฤษฎีใน สาขาที่เกี่ยวขอ้ ง การนำการวจิ ัยมาใช้ในการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และปรับปรุงให้ทันตาม กาลเวลา สามารถส่ือสารได้อย่างมีประสิทธภิ าพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ นำเสนอที่เหมาะสม ใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสือ่ สารทีเ่ หมาะสม

13 - เก่งคน หมายถงึ บัณฑิตสามารถส่ือสารกับคนอน่ื และทำงานร่วมงานกับคนอ่ืน ได้ รู้จักคบเพื่อนมีสังคม และมีมิตร เข้าใจผู้อื่นและเข้าใจโลก การช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงออกถึงภาวะผู้นำ รู้จักใช้นวัตกรรมใหม่ในการแก้ปัญหา รู้จักคบเพื่อนอย่างมีวิจารณญาณ รจู้ กั การส่ือสารกบั ผู้อ่นื อยา่ งเหมาะสม และสามารถทำงานร่วมกบั ผู้อ่นื ได้ - เก่งคิด หมายถึง บัณฑิตเป็นผู้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์และคิดอย่าง สร้างสรรค์ รู้จักเหตุและรู้จักผล มีจิตสำนึกสาธารณะ รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความตระหนกั เหน็ ความสำคัญและศรทั ธาและเชอ่ื มัน่ ในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย - เก่งครองชีวิต หมายถึง บัณฑิตมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น มีวินัย รู้จักบริหาร จัดการตนเอง และมีความอดทน สามารถเลือกใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม แสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมจริยธรรม รู้จักการบริหารจัดการชีวิต รู้จักหลีกเลี่ยง จากอบายมขุ ทงั้ ปวง - เก่งพิชิตปัญหา หมายถึง บัณฑิตเป็นผู้มีทักษะในการแก้ปัญหา นำหลักธรรม และค่านิยมพื้นฐานมาใช้ในการดำรงชีวิต รู้จักการใช้ข้อมูลในการแก้ไขปัญหา มีความริเริ่มใน การวเิ คราะห์ปญั หาไดอ้ ย่างเหมาะสมสำหรบั ตนเองและผู้อืน่ ตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร หลกั สูตรปรบั ปรุง, 2559) ดงั น้ี - ผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม 1) มีความรู้ ความเข้าใจในหลักศาสนา หลักจริยธรรม และจรรยาบรรณ วชิ าชีพ ตลอดจนสิทธมิ นษุ ย์ชน สิทธิเด็ก สิทธิผ้บู รโิ ภค สิทธิผปู้ ่วย ตลอดจนสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพ พยาบาล ทมี่ ีความสำคัญต่อการปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล 2) สามารถแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความช่ัวได้ 3) เคารพในคุณค่าและความมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และตระหนัก และสำนกึ ในความเปน็ ไทย 4) มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรมใน การดำเนนิ ชีวติ บนพ้นื ฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง 5) มีระเบียบวินัยและซื่อสัตย์ กล้าหาญ เสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร และทำกิจกรรมที่มุ่งสู่ความสำเร็จของงาน และมีจิตสาธารณะ ตรงต่อเวลา เคารพกฎ ระเบียบ ขอ้ บงั คับขององคก์ รและสงั คม

14 6) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความสามารถจัดการกับปัญหา จริยธรรมในการดำรงชีพ และในการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล มีจรรยาบรรณในการศึกษา คน้ ควา้ ทางวิชาการ และแสดงออกอย่างมคี ณุ ธรรมและจรยิ ธรรม 7) เป็นแบบอยา่ งท่ีดีตอ่ ผูอ้ น่ื ทัง้ ในการดำรงตนและการปฏบิ ตั งิ าน 8) ส่งเสริมให้ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการได้รับรู้ และเข้าใจสิทธิของตนเองเพื่อ ปกปอ้ งสทิ ธขิ องตนเองท่ีจะถกู ละเมิด ดงั น้นั ตามทีม่ หาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดคุณธรรมจริยธรรมของนิสติ เป็นอตั ลกั ษณ์ 5 เก่ง ซึ่งประกอบด้วย เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา ซึ่งได้สอดแทรกคุณธรรม จรยิ ธรรมของนสิ ิตมหาวิทยาลยั นเรศวรให้ มีวินยั เสยี สละ และอดทน 2.3 จริยธรรมในชีวิตประจำวนั ของนสิ ิตพยาบาล นักศึกษาพยาบาลเป็นผู้ที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพในอนาคต ซึ่งต้องให้การดูแลผู้ใช้บริการ อย่างเต็มที่ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และจริยธรรมของวิชาชีพ การเรียนรู้ทางการพยาบาลนับว่า เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ท างการพยาบาลที่สำคัญ คือผู้สอนและผู้เรียนเพื่อให้การเรียนการสอนทางการพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจาก วิชาชีพพยาบาลต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติหลังจากการเรียนภาคทฤษฎีแล้วจึงต้องมีการ นำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้ในภาคปฏิบัติในรายวิชาทางการพยาบาล ในส่วนของนักศึกษาพยาบาล เมื่อขึ้นฝึกภาคปฏิบัติย่อมเกิดความกลัว วิตกกังวล เครียดเนื่องจากความไม่คุ้นชินกับผู้ป่วย ความประหม่า โดยเฉพาะการฝึกปฏบิ ัติในวิชาแรกๆ จากการสังเกตและการสอบถาม นักศึกษาบางคน พบว่า “กลัว ไม่รู้จะทำอะไร เกรงใจ คนไข้นอนหลับไม่กล้าปลุกกลัวผู้ป่วยรำคาญ” เพื่อให้บรรลุ ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ในการฝึกภาคปฏิบัติทางการพยาบาลในส่วนของ คุณธรรมจริยธรรม จึงควรกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมของนกั ศึกษาพยาบาล และส่งเสริมสนบั สนนุ ให้ นักศกึ ษาพยาบาลมีโอกาสพฒั นาคุณธรรมจรยิ ธรรม (วสิ ยั คะตา, วลั นกิ า ฉลากบาง, ศักดไิ์ ทย สุรกิจร และพรเทพ เสถียรนพเกา้ , 2559, หน้า 251-253) ดังตอ่ ไปน้ี 1) พฤติกรรมที่แสดงถึงการมีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและผู้อื่น หมายถึง นักศกึ ษา พยาบาลแสดงออกมาในลักษณะมคี วามตั้งใจ มคี วามพยายาม มคี วามเอาใจใส่ ในการปฏิบตั ิ หน้าที่ท้งั ส่วนตัว และสว่ นรวมใหล้ ุลว่ งไปดว้ ยดี ซงึ่ ประกอบไปด้วยพฤตกิ รรม 2 ลกั ษณะ ดังน้ี 1.1) ความรบั ผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง การรบั ร้บู ทบาทหนา้ ที่ของตนเอง อยา่ งเหมาะสมดว้ ยความตัง้ ใจ ความพยายาม ความเอาใจใส่ พร้อมทง้ั ยอมรับการกระทำของตนเองไม่ ว่าจะเป็นผลดี หรือผลเสียและพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นครูต้องมีการมอบหมายผู้ป่วยให้

15 นักศึกษาแต่ละคนได้รับผิดชอบเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ นักศึกษาสามารถประเมินค้นหาปัญหาของผู้ป่วย เพื่อให้การดูแลเอา ใจใส่ผู้ป่วย ในความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถนำข้อมูลปัญหามาวางแผนการ พยาบาลผู้ปว่ ยได้ และปรบั ปรงุ แผนการพยาบาลตามขอ้ เสนอของครู/อาจารย์พี่เลี้ยง 1.2) ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม หมายถึง การรับรู้บทบาทหน้าที่ของ ตนเองที่มีต่อส่วนรวม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่าง ถูกต้องมีส่วนช่วยสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มความสามารถ ให้ความร่วมมือกับหมู่คณะ ครูต้องมีการ มอบหมายผ้ปู ่วยใหน้ ักศึกษาแต่ละคนได้มีหน้าที่พิเศษรับผิดชอบ นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับ มอบหมาย เช่น การรับใหม่ การจำหน่าย การจัดแจกยา การฉีดยาเป็นต้น เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ และยอมรับผลการประเมินการปฏิบัติงานของทีมที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในแต่ละหอ ผู้ปว่ ย 2) พฤตกิ รรมที่แสดงถงึ ความมีระเบียบวินยั และความซื่อสตั ย์ 2.1) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง นักศึกษาพยาบาลปฏิบัติตนตาม กฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา กฎเกณฑ์ของสังคม และปฏิบัติตนอยู่ ในขอบเขตของกฎหมายบา้ นเมือง ซงึ่ ประกอบด้วยพฤตกิ รรม 3 ลักษณะ ดังน้ี - ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง ความสามารถในการควบคุม พฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามท่ีมุ่งหวงั โดยการกระทำ ตามระเบยี บ ขอ้ บังคับต่าง ๆเพือ่ ความสงบ สขุ ในชีวิตของตนเอง - ความมีวนิ ยั ในหน้าที่ หมายถงึ กฎเกณฑห์ รอื แนวปฏิบตั ทิ เี่ กีย่ วกับ หนา้ ทก่ี ารงาน เช่น การแต่งกาย การทำความเคารพ - ความมีวินัยในสังคม หมายถึง แนวปฏิบัติอันดีที่ทุกคนในสังคม ยดึ ถอื ปฏิบตั ิเหมอื นกัน เชน่ กฎหมาย ประเพณี หลักปฏิบตั ทิ างศาสนา 2.2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง นักศึกษาพยาบาลมีการแสดงออกตรงต่อ คำพูดความร้สู กึ นึกคดิ และความถกู ต้องทส่ี ังคมยอมรบั ว่าดี ซงึ่ ความซือ่ สัตยป์ ระกอบไปดว้ ยพฤติกรรม 4 ลกั ษณะ ดงั น้ี - ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง หมายถึง มีความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี มีความละอายและเกรงกลัวตอ่ ความผิด - มคี วามซื่อสัตยต์ ่อหน้าท่แี ละการงาน

16 - มีความซื่อสัตยต์ ่อบุคคล หมายถึง มีความซื่อตรงตอ่ ผู้อ่ืน ต่อมิตร ต่อหวั หนา้ งานและผมู้ ีพระคุณ - มีความซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะ สังคมและประเทศชาติ ยกตัวอย่าง เช่น พฤติกรรมที่นักศึกษาแสดงออกถึงความตรงต่อเวลาในการฝึกปฏิบัติงาน โดยขึ้นปฏิบัติงานก่อน เวลาอย่างนอ้ ย 15-30 นาที เพื่อประเมินอาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยในความรับผิดชอบปฏบิ ตั ิ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการแต่งกายถูกต้องตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด ทำตามสิ่งที่พูด กิริยามารยาทเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ไม่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นและของทางราชการมาเป็นของตน ปฏบิ ตั ิตามกฎจราจร ไม่ทำผิดกฎหมาย / กฎระเบียบของสถานศกึ ษา เปน็ ตน้ 3) พฤติกรรมที่แสดงถึงการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หมายถึง การที่นักศึกษาพยาบาล ดูแลผู้รับบริการด้วยการเอาใจใส่ ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลอย่าง ครบถ้วน รับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและเคารพต่อความคิดเห็น การตัดสินใจและหรือ/พฤติกรรม ของผู้รับบริการ โดยครูอาจจะสอนโดยสาธิตการให้ข้อมูลที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วย การให้ อิสระในการตัดสินใจในการรับการรักษาพยาบาล เช่น กรณีผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยต้องเลือกการ รักษาพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ ดูแลให้การพยาบาลดุจญาติมิตร เอาใจเขามาใส่ใจเรา และการไม่ เลอื กปฏบิ ัติ 4) พฤติกรรมที่แสดงถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง นักศึกษา พยาบาล ปฏิบตั ิการพยาบาลโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ในการดูแลผรู้ ับบริการอย่างเตม็ ที่ ตามหลัก วิชาการที่เรียนมา ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ นักศึกษาให้การดูแลผู้ป่วยตาม มาตรฐานวิชาชพี ดว้ ยความเอาใจใส่ แมว้ ่าผ้ปู ว่ ยจะปฏิเสธการตรวจวนิ ิจฉัย การรักษาและการพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้ายนักศึกษาต้องไม่ละเลยการดูแล ดูแลจนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้าน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีของผู้ป่วย และยกระดับคุณภาพมาตรฐานของวิชาชีพให้ได้รับการ ยอมรับในเร่ืองของการดูแลอย่างเอื้ออาทร 5) พฤติกรรมที่แสดงถึงการส่งเสริมสิทธิผู้ป่วย หมายถึง นักศึกษาพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล โดยมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสิทธิผู้ป่วย และคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วย ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจสิทธิในการรักษาพยาบาล รวมถึงการรักษาผลประโยชน์อันพึงได้ของผู้ป่วย ครูต้องอธิบายชี้แจงทำความเข้าใจกบั นักศึกษาในเรื่องสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบตั ิ เพื่อให้นักศึกษาได้ เข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งนี้โดยยึดผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ สิทธิผู้ป่วย 9 ข้อ (สภาการพยาบาล, 2558) ไดแ้ ก่

17 5.1) ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานในการรับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน วิชาชพี โดยไมม่ ีการเลอื กปฏิบตั ิ 5.2) ผู้ป่วยมีสิทธิในการรับทราบข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เช่น เมื่อนักศึกษาวัดสัญญาณชีพจะต้องบอกผลการตรวจวัดทุกครั้ง อาจบอกเป็นตัวเลข/ปกติหรือ ผดิ ปกติ พรอ้ มกับให้คำแนะนำแกผ่ ปู้ ่วย 5.3) ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการช่วยเหลือรีบด่วน จากผู้ประกอบวิชาชีพ โดยไม่ต้องร้องขอ เมื่อนักศึกษาตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติ เช่น ไข้สูง หายใจหอบ ความดันโลหติ สูง/ต่ำ ต้องรีบรายงานพยาบาลในหอผู้ปว่ ย/อาจารยท์ ราบทันที 5.4) ผปู้ ว่ ยมีสิทธทิ ราบชื่อสกุลของผู้ให้การรักษา นกั ศกึ ษาต้องแจ้งช่ือสกุล ตำแหนง่ กอ่ นให้การพยาบาลแก่ผู้ปว่ ยทุกคร้งั 5.5) ผู้ป่วยมีสิทธิขอความคิดเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นท่ี ไม่ใช่ผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน หากพบปัญหาที่ต้องได้รับการช่วยเหลือดูแลจากวิชาชีพอื่น นกั ศึกษาตอ้ งสามารถประเมนิ ปัญหาพร้อมขอ้ เสนอแนะได้ 5.6) ผู้ป่วยมีสิทธิปกปิดความลับข้อมูลของตนเองเว้นแต่ผู้ป่วยจะยินยอม นักศึกษาจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย โดยการใช้ชื่อสมมุติ ห้ามถ่ายภาพ เผยแพร่ข้อมูล และใน การสอบถามขอ้ มูลตอ้ งไดร้ ับอนุญาตจากผู้ปว่ ยทุกครั้ง และแจง้ เหตผุ ลเพ่ือใชใ้ นการศึกษาเท่าน้นั 5.7) ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลก่อนตัดสินใจเข้าร่วมในการวิจัยและ ถอนตัวจากการวิจัย/การทดลอง โดยนักศึกษาต้องให้ข้อมูลรายละเอียดของการวิจัย/การทดลอง และสามารถถอนตวั ไดห้ ากไมย่ นิ ยอม 5.8) ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลในเวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอน ของสถานพยาบาล การขอทราบประวัติผู้ป่วยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเท่านั้น เช่น กรณี นักศกึ ษาต้องการทราบประวัติการรกั ษาของผู้ปว่ ย 5.9) บิดามารดาหรือผู้แทนอันชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยท่ีอายุยังไม่ เกิน 18 ปบี รบิ ูรณ์ ดังนน้ั ในการเซ็นยินยอมการรกั ษาพยาบาล นกั ศึกษาจะตอ้ งมีความรใู้ นเรื่องนั้นด้วย พร้อมกบั ตอ้ งมีพยานฝ่ายผู้ป่วยเซน็ ดว้ ยทุกคร้ัง 6) พฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง นักศึกษาพยาบาลปฏบิ ัติ ตนเป็นแบบอย่างในเรื่องที่ถูกต้องให้แก่บุคคลอื่นในด้านแบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติ กรรมการ ปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล เช่น กระตือรือร้นให้ความชว่ ยเหลือผูร้ ับบริการและผู้รว่ มงานอยา่ ง เตม็ ความสามารถ มกี ิริยาท่าทาง สภุ าพ น้ำเสยี งออ่ นโยน และการวางตวั ไดเ้ หมาะสมตามกาลเทศะใน

18 เรื่องการตรงต่อเวลา การแต่งกาย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ การดูแลด้วยความ เอ้ืออาทร มพี ฤตกิ รรมบริการท่ีดปี ฏิบัติการพยาบาลและให้การดแู ลผปู้ ่วยตามมาตรฐานวชิ าชพี จริยธรรม หมายถึง หลักของความประพฤติที่พยาบาลทุกคนเข้าใจ ยอมรับ และนับถือเป็น แนวทางปฏิบัติเพื่อแสดงออกถึงมาตรฐานของความประพฤติและการปฏิบัติในแนวเดียวกัน ซึ่งหลักการของความประพฤติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้แก่นักศึกษาพยาบาล (ยุพดี สมบูรณสิน, 2541, หนา้ 6-7) ประกอบด้วย 1) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติตามความเป็นจริงอย่างมีเหตุผล เหน็ ความสำคญั ของการปฏิบตั ิตนให้มีความซ่ือสตั ยส์ จุ รติ 2) ความเมตตากรณุ า หมายถึง การมีความรัก สงสาร ปรารถนาจะใหผ้ อู้ น่ื เปน็ สุข เตม็ ใจท่ีจะปฏบิ ตั ดิ แู ล และความชว่ ยเหลอื ด้วยกาย วาจา ใจ เมอ่ื เห็นผอู้ ่ืนมีทกุ ข์ 3) ความรับผิดชอบ หมายถึง การทำงานด้วยความพรากเพียร เพื่อให้งานนั้น สำเรจ็ ลลุ ่วงและยอมรับในความผิดและชอบในผลงานของตนเอง 4) ความสุภาพอ่อนโยน หมายถึง การมีกิริยานุ่มนวล มารยาทดี วาจาไพเราะ รจู้ กั กาลเทศะ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักใหเ้ กียรตแิ ละยกยอ่ งผูอ้ น่ื มีสมั มาคารวะแกค่ นท่ัวไป 5) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเอง ปฏิบัติ ถูกต้อง และเหมาะสมตามกฎ ระเบยี บ ขอ้ บังคับ กฎหมาย จรรยามารยาทและศีลธรรมของสงั คม 6) ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่คนที่ควรให้ด้วย กำลังกาย กำลงั ใจและกำลงั สตปิ ัญญา ยอมเสียสละความสุขสบายสว่ นตวั เพ่ือประโยชนส์ ว่ นรวม 7) ความเคารพในความเป็นมนุษย์ หมายถึง การเคารพและยอมรับในเกียรติ ศักดิ์ศรี สิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ เชื้อชาติ ลัทธิ ศาสนา วรรณะ วัย เพศ ลทั ธิการเมอื งและสถานภาพของบุคคล 8) ความร่วมมอื และรูร้ ักสามัคคี หมายถงึ การแสดงออกซง่ึ การรว่ มแรงร่วมใจกัน เพอ่ื ปฏิบัตงิ านใหส้ ำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและมปี ระสิทธภิ าพ 9) ความอดทน หมายถึง ความพยายามในการกระทำสง่ิ ใดสิ่งหน่งึ อยา่ งสม่ำเสมอ และเตม็ ความสามารถในศกั ยภาพแหง่ ตน รวมถึงการใช้กำลงั สติปญั ญาเพอ่ื ใหง้ านสำเร็จลุล่วง ดังสรุปได้ว่า จรยิ ธรรมในชีวติ ประจำวนั ของนสิ ติ พยาบาล หมายถงึ หลกั ความประพฤติที่นิสิต คณะพยาบาลศาสตร์ทกุ คนเข้าใจ ยอบรบั และใชเ้ ป็นแนวทางปฏิบตั ิในรูปแบบเดียวกัน

19 2.4 แนวคดิ ทางจรยิ ธรรมทางการพยาบาล แนวคิดทางจริยธรรมทางการพยาบาล มีหลายแนวคิด แนวคิดที่สำคัญมี 4 แนวคิด (Fry, 1994 อา้ งองิ ใน กานดา, 2543,หน้า 10) ดังนี้ 1) การพิทักษ์สิทธ์ิ (advocacy) เป็นการช่วยเหลืออย่างเต็มที่เมื่อมีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในทางกฎหมายถือเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพ้ื นฐานแทนบุคคลที่ไม่ สามารถปกปอ้ งตนเองได้ 2) ความรับผิดชอบ (accountability / responsibility) เป็นแนวคิดทาง จริยธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลที่เกี่ยวพันถึงสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยตาม ขอบเขตที่กำหนดตามกฎหมาย และตามความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณ วิชาชพี 3) ความร่วมมือ (cooperation) เป็นแนวคิดทีเ่ กีย่ วกบั การกระทำทีแ่ สดงถึงการ มีส่วนร่วมระหว่างพยาบาลกับผู้ร่วมงานอื่นในทีมสุขภาพ ต้องร่วมมือกันกำหนดเป้าหมายรักษา คำมัน่ สญั ญา และเสียสละประโยชน์สว่ นตน เพอื่ คงไวซ้ ่ึงสัมพนั ธภาพทย่ี าวนานในวิชาชีพ เพ่ือคงไว้ซึ่ง คุณภาพทด่ี ใี นการดแู ลผู้ป่วย 4) ความเอื้ออาทร (caring) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการให้คุณค่าในสัมพันธภาพ ระหวา่ งพยาบาลกับผู้ป่วย พฤตกิ รรมที่แสดงออกถึงความเอ้ืออาทร จะชี้ให้เห็นถึงบทบาทพ้ืนฐานของ พยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพราะเมื่อพยาบาลมีความเอื้ออาทร จะแสดงให้เห็นถึงพันธะหน้าที่ของ พยาบาลที่จะปกป้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้ผู้ปว่ ย นอกจากน้ี ความเอื้ออาทรยงั แสดงถึงหน้าที่ ทางจริยธรรมที่พยาบาลจะต้องมี เพื่อแสดงถึงศิลปะและคุณความดีที่พยาบาลจะต้องมีใน การปฏิบัตกิ ารพยาบาล จะเห็นได้ว่า แนวคิดทางจริยธรรมทางการพยาบาลที่สำคัญ ประกอบด้วย การพิทักษ์สิทธ์ิ ให้กับผู้ป่วย มีความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้ความร่วมมือระหว่างเพื่อนร่วมงาน ในทมี สขุ ภาพ และมีความเอ้อื อาทรในการดแู ลผปู้ ว่ ย 3. ทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม 3.1 ทฤษฎีจติ วิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้ คือ ซิกมันด์ ฟอยด์ (Sigmund Freud) นักทฤษฎีกลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า จริยธรรมเป็นส่วนเดียวกับมโนธรรมหรือซุปเปอร์อีโก้ (Super ego or Conscious) (วารี นิยมไทย, 2536) ซึ่งคอยบอกให้มนุษย์เลี่ยงการประพฤติที่ไม่พึงปรารถนาและสนับสนุนให้

20 ประพฤติดี ทฤษฎีนี้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับจริยธรรมว่า จริยธรรม จริยธรรมเกิดจากกระบวนการภายใน วัฒนธรรมหรอื บรรทดั ฐานของการเลยี้ งดูโดยข้นึ อยู่กับว่าบุคคลได้รับการขดั เกลาและควบคุมประพฤติ ตามกฎเกณฑแ์ ละค่านิยมสังคมอยา่ งไร และสิ่งรอบขา้ งมีปฏิกริ ิยาต่อเขาอย่างไร ทำให้บุคคลจะซึมซับ บุคลิกภาพค่านิยมและมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์นั้นเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ เมื่อใดบุคคล ประพฤติตนไม่สอดคล้องกับค่านิยม มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ตนยึดถือ ซุปเปอร์อีโก้จะกระตุ้นให้ เกิดความละอายใจ เกิดความวิตกกังวลเกิดความขัดแย้งในใจซึ่งเป็นการลงโทษตนเอง และบุคคลน้ัน จะละเว้นไมก่ ระทำ โดยไม่ตอ้ งมีการควบคุมจากภายนอก น่นั คือเกิดมโนธรรมในตนเอง ทำใหต้ ระหนัก รู้วา่ สง่ิ ใดถกู สงิ่ ใดผิด สง่ิ ใดควรสิง่ ใดไม่ควร (อาภา โลจายะ, 2535) 3.2 ทฤษฎีการเรียนรทู้ างสังคม (Social Learning Theory) ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นพัฒนาการพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งเป็น ผลจากความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมทางสังคม และอิทธิพลของ สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยมีแรงขับขั้นพื้นฐานจากความต้องการชีวภาพ การตอบสนองต่อรางวัลและ การหลีกเลี่ยงการลงโทษจากสังคมประสบการณ์ที่มนุษย์ได้จากการแสดงพฤติกรรมที่ผ่านมา มีผลต่อ การตดั สินใจเลือกแสดงพฤติกรรมในครั้งต่อ ๆ ไป (Bandura, 1977 อ้างองิ ใน อุบลรตั น์ โพธิพ์ ัฒนชัย, 2550, หน้า 41) ผู้นำคนสำคัญในทฤษฎีนี้ จึงกล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ การเรียนร้ทู ่ีทำใหพ้ ฤติกรรมน้ัน เปน็ การเรยี นรูจ้ ากผลทสี่ นองตอบต่อการกระทำของบุคคลนั้นโดยตรง (learning by response consequences) และการเรี ยนร ู้จ า กต ัว แ บบ ( learning through modeling) เป็นการเรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นบุคคลในชีวิตจริง หรือบุคคลในวรรณกรรมหรือในรายการโทรทัศน์และได้สรุปแนวคิด เกี่ยวกบั ทฤษฎีการเรยี นรูท้ างสังคมกบั พัฒนาการจรยิ ธรรมของบุคคล ดังน้ี 1) มนุษย์เรียนรู้เงื่อนไขความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมนุษย์ ระหว่างเหตุการณ์กับเหตุการณ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลของพฤติกรรมนั้น การเรียนรู้เงื่อนไข ความสัมพันธ์ต่าง ๆเหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความสามารถคาดหวังหรือทำนายเกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้น ตามมาภายหลงั การแสดงพฤติกรรมหน่ึงพฤติกรรมใดตามความคาดหวังน้ีกลายเปน็ ความเชื่อท่ีมีผลต่อ การตดั สนิ ใจทจ่ี ะเลือกแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรม 2) วธิ กี ารเรียนรู้มนษุ ย์ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณต์ รงของตนเอง อาจจะ เรียนรู้โดยบังเอิญหรือการเรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ แต่สิ่งที่เรียนรู้นั้นมีมากมายเกินกว่ามนุษย์ จะประสบด้วยตนเองทั้งหมด มนุษย์จึงต้องเรยี นรู้ด้วยการสังเกต ดังนั้นบุคคลที่ช่างสังเกตและช่างคดิ จะมีโอกาสไดเ้ รยี นรู้และกำหนดความเข้าใจเกยี่ วกบั ส่ิงตา่ ง ๆ ทำใหส้ ามารถมองเหน็ วิธกี ารควบคุมการ

21 แสดงพฤติกรรมท่ีจะทำให้เกิดผลตามที่ตนปรารถนาไดแ้ ละมองเห็นวิธีการที่จะไม่แสดงพฤติกรรมเพอ่ื หลีกเลี่ยงผลทีต่ นไมป่ รารถนาได้ 3.3 ทฤษฎีพฒั นาทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg’s Theory) (Kohlberg อ้างอิงใน อุบลรตั น์ โพธพิ์ ัฒนชัย, 2550, หน้า 42-43) เช่อื วา่ มนษุ ย์สามารถเรียน โดยการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและสิง่ แวดล้อมได้ ซึ่งมาจากการพัฒนาทางสตปิ ัญญา ของมนุษย์แบบ ค่อยเป็นค่อยไปตามวุฒิภาวะ ดังนั้นโคลเบิร์กจึงเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ วัฒนธรรม สถานที่ และกาลเวลามี ความสัมพันธ์กับการพัฒนาจริยธรรมของมนุษย์ เพราะจริยธรรมเกิดจาก การไตร่ตรองทางสติปัญญาแล้วดังนัน้ เมอ่ื มนษุ ย์มกี ารพัฒนาดา้ นการเรียนรูม้ ากขน้ึ สติปัญญาก็ย่อมมี มากขึ้นเช่นกัน จริยธรรมก็จะถูกพัฒนาขึ้นไป ด้วย โคลเบิร์กได้จัดลำดับขั้นของการให้เหตุผล เชงิ จรยิ ธรรมไว้ 6 ขั้น ดังน้ี 1) ระดับก่อนจริยธรรม (Preconventional level) ในระดับนี้บุคคลจะทำความดี หรือความเลวขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมที่ทำกันมาหรือผู้ใหญ่เป็นผู้กำหนด ในระดับนี้แบ่งย่อย ออกเปน็ 2 ขนั้ ดงั น้ี - ขั้นที่ 1 อายุ 2-7 ปี เน้นการลงโทษและเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation) การกระทำในข้ันนีจ้ ะดีหรือเลวขึ้นอยู่กับผลของการลงโทษ เด็กจะทำตาม กฎเกณฑเ์ พอ่ื หลกี เลี่ยงการถกู ลงโทษ เด็กจะสังเกตดูวา่ ถ้าสิ่งไม่ดผี ู้ใหญ่จะไม่เหน็ ด้วย อาจโดนดดุ า่ หรอื ทำโทษ เดก็ ยอมทำตามคำสง่ั ของผู้มอี ำนาจคือ ผใู้ หญ่ - ขั้นที่ 2 อายุ 7-10 ปี การเลือกกระทำเพื่อความพอใจของตน (Naive instrumental hedonism) ขั้นนี้การกระทำใด ๆ ที่ว่าดีเป็นการกระทำตามความพอใจหรือ ความต้องการของตนเอง และบางโอกาสเป็นความต้องการของผู้อื่น เด็กในขั้นนี้ไม่มีความจงรักภักดี ความกตญั ญหู รือความยตุ ธิ รรม เด็กจะทำตามกฎแตห่ วังผลประโยชนเ์ ป็นการตอบแทน 2) ระดับตามกฎเกณฑ์จริยธรรม (Morality of conventional role conformity) ระดับนี้คนจะปฏิบัติตามสิ่งที่คาดหวังไว้ในครอบครัว กลุ่ม หรือประเทศชาติในระดับนี้แบ่งย่อย ออกเปน็ 2 ข้ัน คือ ดงั น้ี - ขั้นที่ 3 อายุ 10-13 ปีหลักจริยธรรมเด็กดีตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ (Good - boy morality of maintaining good relations approved by others) ขั้นนี้บุคคลจะกระทำหรือ

22 ปฏบิ ัตทิ กุ ทางเพือ่ ชว่ ยเหลอื และเห็นอกเหน็ ใจผอู้ ื่น เพ่อื ให้ผ้อู ่นื ยอมรับ ขนั้ นีก้ ารตดั สนิ ใจเชิงจริยธรรม เจตนามีความสำคัญมาก โดยดูได้ จากเจตนาของผกู้ ระทำ - ขั้นที่ 4 อายุ 13-16 ปีหลักจริยธรรมทำตามกฎเกณฑ์ระดับเหนือ (Authority maintaining morality) ขั้นนี้บุคคลจะทำถูกหรอื ดีเมื่อเขาทำตามหน้าที่ เชื่อฟังกฎหมาย และธรรมทางศาสนา นั่นคือเขาจะประพฤติปฏบิ ตั ิตามกฎเกณฑ์และระเบยี บของสังคมท่ีตง้ั ไว้ 3) ระดับเหนือกฎเกณฑ์หรือยึดหลักจริ ยธรรมประจำใจตนเอง ( Post Conventional, principled or autonomous level) ในระดบั นี้แบง่ ย่อยออกเป็น 2 ขัน้ คือ ดังน้ี - ขั้นที่ 5 อายุ 16 ปีขึ้นไป หลักการกระทำตามสัญญาของบุคคล (Social- contract orientation) ในขั้นนี้ พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล อยู่ในกรอบของสิทธิส่วนบคุ คลท่ี ทุกสังคมได้ตกลงยินยอมรับกัน เขาจะเคารพต่อคำมั่นสัญญาและกฎหมาย ยอมรับค่านิยมที่ว่าบุคคล เกิดมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน กระบวนการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือกฎหมายทั้งหลายทำไป เพอื่ ประโยชน์ของสงั คม - ขั้นที่ 6 ถือหลักจริยธรรม หลักแบบสากล (Universal-ethical-principle orientation) ขั้นนี้ถอื เป็นข้ันสูงสุด เปน็ การตดั สนิ เชิงจรยิ ธรรมของบุคคล โดยขน้ึ อยู่กับหลักคุณธรรม หลกั ความยุติธรรม หลกั ความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และหลักเคารพในความเป็นมนุษย์ของแต่ละ บุคคล เป็นการใชม้ โนธรรมข้นั อุดมการณใ์ นการพิจารณาตดั สินการปฏิบัติทางจรยิ ธรรมตามหลักสากล (ขนั้ ผู้ใหญ)่ จากทฤษฎีทางจริยธรรมที่กล่าวมาจะพบว่าทฤษฎีของโคลเบิร์กได้เน้นการพิจารณาเรื่อง จริยธรรมจำเป็นต้องพิจารณาที่การใช้เหตุผล และปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรมประกอบด้วยการกระตุ้นทางความเข้าใจ การกระตุ้นทางประสบการณ์ทางสังคม บรรยากาศทางจริยธรรมของกล่มุ และความขัดแย้งทางความคดิ ความเขา้ ใจเกีย่ วกับจริยธรรม 3.3 ทฤษฎตี ้นไม้จรยิ ธรรม ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2551, หน้า 19-22) ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม เป็นทฤษฎีที่เสนอจิต ลักษณะ 8 ประการ ที่อาจเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีเก่ง และมีสุขของคนไทย ทฤษฎีนี้ถูก นำเสนออยใู่ นรปู ของต้นไม้ ประกอบดว้ ย 3 ส่วน ได้แก่ สว่ นทเี่ ป็นราก สว่ นทเี่ ป็นลำต้น และส่วนที่เปน็ ดอก และผลของตน้ ไม้ ส่วนแรก คือ ราก ประกอบด้วยรากหลัก 3 ราก ซึ่งแทนจิตลักษณะพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ ไดแ้ ก่ 1) สุขภาพจติ หมายถึง ความวติ กกังวล ตนื่ เตน้ ไมส่ บายใจของบุคคลอยา่ งเหมาะสม กับเหตุการณ์ 2) ความเฉลียวฉลาด หรอื สติปัญญา หมายถึง การรกู้ ารคิดในขน้ั รปู ธรรมหลายด้านและ

23 การคิดในข้ันนามธรรม ซง่ึ มพี ้ืนฐานมาจากทฤษฎีพฒั นาการทางการรู้การคดิ ของ Piaget (1966) และ 3) ประสบการณ์ทางสังคม หมายถึง การรู้จกั เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ และ สามารถคาดหรือทำนายความรู้สึกของบุคคลอื่น จติ ลกั ษณะท้งั 3 ประการนีจ้ ะเป็นจิตลักษณะพื้นฐาน ของจิตลักษณะ 5 ตัวบนลำต้น และเป็นจิตลักษณะพืน้ ฐานของพฤตกิ รรมของบุคคลในส่วนที่เปน็ ดอก และผลด้วย ดังนั้น บุคคลจะต้องมีจิตลักษณะทั้ง 3 ประการนี้ในปริมาณสูงเหมาะสมตามวัย จึงจะทำ ใหจ้ ิตลกั ษณะอีก 5 ตวั บนลำตน้ พฒั นาไดอ้ ย่างดีและมพี ฤติกรรมทน่ี ่าปรารถนามากด้วย ส่วนที่สอง คือ ลำต้น อันเป็นผลจากจิตลักษณะพื้นฐานที่ราก 3 ประการ ประกอบด้วย จิตลักษณะ 5 ประการ ได้แก่ 1) ทัศนคติค่านิยม และคุณธรรม ทัศนคติหมายถึง การเห็นประโยชน์ โทษของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความพอใจ-ไม่พอใจต่อสิ่งนั้น และความพร้อมที่จะมี พฤติกรรมต่อสิ่งนั้น ซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติในทฤษฎีของ Ajzen และ Fishbein (1980) ส่วน คุณธรรม หมายถงึ สิ่งท่ี ส่วนรวมเหน็ วา่ ดีงาม ส่วนใหญแ่ ลว้ มักเก่ียวข้องกบั หลักทางศาสนา เช่น ความ กตญั ญู ความเสยี สละ ความซ่อื สัตย์ เป็นต้น และคา่ นิยม หมายถึง สิง่ ทคี่ นสว่ นใหญ่เหน็ ว่าสำคัญ เช่น คา่ นยิ มทจี่ ะศึกษาต่อ ในระดบั สงู ค่านยิ มในการใชส้ ินคา้ ไทย คา่ นยิ มในด้านการรักษาสุขภาพ เป็นต้น 2) เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึงเจตนาของการกระทำที่ทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวหรือพวกพ้อง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎี พัฒนาการทางเหตุผลเชิงจริยธรรมของ Kohlberg3)ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคมุ ตน หมายถงึ ความสามารถในการคาดการณ์ไกลวา่ ส่ิงที่กระทำลงไปในปจั จบุ นั จะส่งผลอย่างไร ในปริมาณเท่าใด ต่อใคร ตลอดจนความสามารถในการอดได้รอได้สามารถอดเปรี้ยวไว้กินหวานได้ 4) ความเชื่ออำนาจในตน หมายถึง ความเชื่อว่าผลท่ีตนกำลังได้รับอยู่ เกิดจากการกระทำของตนเอง มิใช่เกิดจากโชคเคราะห์ ความบังเอิญหรือการควบคุมของคนอื่น เป็นความรู้สึกในการทำนายได้ ควบคุมได้ของบุคคล ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎี Locus of Control ของ Rotter (1966) และ 5) แรงจงู ใจใฝ่สมั ฤทธ์ิ หมายถึง ความมานะพยายามฝา่ ฟนั อุปสรรคในการทำส่ิงใดสิง่ หน่งึ โดยไม่ย่อท้อ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีแรงจูงใจของ McClelland (1963) จิตลักษณะทั้ง 5 ประการนี้เป็นสาเหตุ ของพฤติกรรมที่น่าปรารถนาที่เปรียบเสมือนดอก และผลบนต้นไม้ นอกจากนี้ ดวงเดือน พันธุมนาวนิ ยังเสนอว่า ควรใช้จิตลักษณะท้ัง 5 ประการ บนลำต้น ร่วมกับจิตลักษณะพื้นฐานที่ราก 3 ประการ ในการอธบิ าย ทำนาย และพฒั นาพฤตกิ รรม ของบุคคล ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า จะต้องใช้จิตลักษณะ หลายตัวพรอ้ มกันในการศึกษาและพัฒนา พฤติกรรมทีน่ ่าปรารถนาของบุคคล การใชจ้ ิตลักษณะเพียง ตัวเดียวหรอื นอ้ ยตัว จะไม่ชว่ ยให้นักวิจยั และนกั พัฒนาเขา้ ใจการกระทำของบคุ คลได้อยา่ งน่ามั่นใจ ส่วนที่สาม คือดอกและผลเป็นส่วนของพฤติกรรมของคนดีและเก่งซึ่งแสดง พฤติกรรมการ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมของคนดี และพฤติกรรมการทำงานอย่าง

24 ขยันขนั แขง็ เพื่อสว่ นรวมอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ซึ่งเปน็ พฤติกรรมของคนเก่ง พฤตกิ รรมของคนดีและเก่ง สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ หนึ่ง พฤติกรรมของคนดี ประกอบด้วย 2 พฤติกรรมหลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรม ไม่เบยี ดเบยี นตนเอง เป็นพฤตกิ รรมของบคุ คลท่ไี มเ่ ปน็ การทำร้ายหรอื ทำลายตนเอง เชน่ พฤตกิ รรม การดูแลสุขภาพของตนเอง พฤตกิ รรมการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ไม่ด่ืมเหลา้ ไมส่ บู บุหร่ี ไม่ ติดยาเสพติด พฤติกรรมไม่เล่นการพนัน เป็นต้น และ 2) พฤติกรรมไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่ ทำร้าย ทำลาย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น พฤติกรรมสุภาพบุรุษ ไม่ก้าวร้าว พฤติกรรมการขับขี่ อย่างมีมารยาท พฤติกรรมซื่อสัตย์ เป็นต้น สอง พฤติกรรมของคนดี และเก่ง ประกอบด้วย 2 พฤติกรรมหลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรมรับผิดชอบ เช่น พฤติกรรมการเรียนการ ทำงาน พฤตกิ รรมอบรมเลย้ี งดูเด็ก พฤติกรรมการปกครองของหัวหน้า และพฤติกรรมเคารพกฎหมาย เป็นต้น และ 2) พฤติกรรมพัฒนา เช่น พฤติกรรมพัฒนาตนเอง (เช่น พฤติกรรมใฝ่รู้พฤติกรรมรักการ อ่าน เป็นต้น) พฤติกรรมพัฒนาผู้อื่น (เช่น พฤติกรรมการสนับสนุนให้ผู้อื่นปลอดภัยในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นกัลยาณมิตร พฤติกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ป้องกันโรคเอดส์เป็นต้น) และพฤติกรรม พฒั นาสังคม (เช่น พฤติกรรมอาสา เป็นตน้ ) จากการศึกษาจริยธรรมในชีวิตประจำวันพบว่าจริยธรรมจากงานวิจัยของ อรุณี อูปแก้ว และนุชนาถ บญุ มาศ (2552) ประกอบดว้ ย 10 ด้าน ซ่ึงผู้วจิ ยั คัดเลือกจริยธรรมที่มีความสอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และคุณธรรมจริยธรรมตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ คุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ผู้วิจัยสรุปได้ว่า จริยธรรมในชีวิตประจำวันของนิสิตคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบไปด้วย 7 ด้าน ดังนี้ ความซื่อสัตย์สุจริต, ความมีระเบียบวินัย, ความอดทน, การมจี ติ สาธารณะ, ความรบั ผิดชอบ, ความเคารพในความเปน็ มนุษย์ และความขยันหมั่นเพยี ร 4. แนวคิดเกีย่ วกับจิตสาธารณะ 4.1. ความหมายของจติ สาธารณะ ความหมายของคำว่าจิตสาธารณะ (Public Mind) หรือจิตสำนึกสาธารณะ (Public - Consciousness) เป็นคำบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่หลากหลายแต่มีความหมายเดียวกัน เช่น การเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวม การช่วยกันดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ การมีความรับผิดชอบ เป็นต้น จึงมีผู้ให้คำ จำกดั ความไว้หลากหลายดงั ตอ่ ไปนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (2542, หน้า 14) ได้ให้ความหมายจิตสาธารณะว่าเปน็ การรจู้ กั เอาใจใสเ่ ป็นธุระและเข้ารว่ มในเรอ่ื งของส่วนรวมท่ีเป็นประโยชน์ต่อชาติ

25 เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2543, หน้า 17) ให้ความหมายของจิตสาธารณะว่า หมายถึง ความคิดที่ไม่เห็นแก่ตัวมีความปรารถนาท่ีจะช่วยเหลือช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อื่นหรือสังคมพยายามฉวย โอกาสที่จะช่วยเหลอื อยา่ งจรงิ จงั และมองโลกในแง่ดบี นพน้ื ฐานของความเป็นจริง บุญสม หรรษาศิริพจน์ (2542, หน้า 71-73) ใช้คำว่า จิตสำนกึ ทีด่ ใี นสังคม หมายถึง สังคมใน ชุมชนของตนการปฏิบัติตนให้มีจิตสำนกึ ที่ดีต่อชุมชนของตน คือ การปฏิบัติตนและการมีส่วนร่วมที่ดี ในกิจกรรมของชุมชนการช่วยกันดูแลชุมชนของตน การให้ความร่วมมือ การเสียสละกำลังกาย กำลังทรพั ย์เพื่อการรักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อสาธารณูปโภคในชุมชนการให้ความเป็นมิตรและ มีน้ำใจตอ่ กัน สุชาดา จักรพิสุทธิ์ (2544, หน้า 22) ให้ความหมาย จิตสาธารณะ ว่าเป็นคุณธรรมหรือ ข้อเรียกร้องสำหรับส่วนรวมในสภาพการณ์ที่เกิดความไม่ปกติสุข ความร่วมมือของพลเมืองในการ กระทำเพ่ือบา้ นเมอื ง หฤทยั อาจปรุ (2544, หน้า 37) ใหค้ วามหมาย จติ สาธารณะวา่ คอื ความตระหนักของบุคคล ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกปรารถนาที่จะช่วยเหลือสังคม ต้องการเข้าไป แก้วิกฤตการณ์โดยรับรู้ถึงสทิ ธิควบคู่ไปกับหนา้ ท่ีและความรับผิดชอบ สำนึกถึงพลงั ของตนว่าสามารถ ร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยการเรียนรู้ และแก้ไขปญั หารว่ มกนั กับคนในสงั คม ชาย โพธ์สิตา และคณะ (2540, หน้า 14–15) ใช้คำว่า จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ และให้ความหมายในเชิงพฤติกรรมไว้ว่า คือ การใช้สาธารณสมบัติอย่างรบั ผิดชอบหรือการรับผิดชอบ ต่อสาธารณสมบัติ ซึ่งมีนัยสองประการ ได้แก่ 1) การรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติด้วยการหลีกเลี่ยง การใช้และการกระทำที่จะก่อให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อสาธารณสมบัตินั้น ๆ รวมไปถึงการถือเป็น หน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลสาธารณะสมบัติในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ 2) การเคารพสิทธิการใช้ สาธารณสมบัติของผู้อื่น โดยการคำนึงว่าคนอื่นก็มีสิทธิ์ในการใช้เช่นเดียวกันจะต้องไม่ยึดสาธารณะ สมบตั นิ ั้นไว้เปน็ ของส่วนตวั และไมป่ ิดก้นั โอกาสการใช้ประโยชน์สาธารณะสมบตั ขิ องผู้อ่นื วิรัตน์ คำศรีจันทร์ (2544, หน้า 6) ให้ความหมาย จิตสาธารณะว่า หมายถึงกระบวนการคิด และลักษณะของบุคคล ที่มีการปฏิบัติโดยมีกระบวนการในระดับบุคคลไปสู่สาธารณะมีความรักและ รสู้ กึ เปน็ เจ้าของสาธารณะ ต้องการท่จี ะทำประโยชน์มากกว่าที่จะรบั จากสาธารณะ ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ประทีป จินงี่ และทัศนา ทองภักดี (2547, หน้า 2-3) ให้ความหมาย ของจิตสาธารณะว่า หมายถึงการรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ ร่วมกันของกลมุ่ โดยพิจารณาจากความรูค้ วามเขา้ ใจหรือพฤตกิ รรมท่ีแสดงออกถึงลกั ษณะ ดงั นี้

26 1) การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อของ ส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม และการถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของ สว่ นรวมในวสิ ัยที่ตนสามารถทำได้ 2) การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึด ครองของส่วนรวมนัน้ เปน็ ของตนเอง ตลอดจนไมป่ ิดกั้นโอกาสของบคุ คลอนื่ ที่จะใช้ของส่วนรวมนั้น ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552, หน้า 17) ให้ความหมาย จิตสาธารณะ ว่าเป็นการกระทำด้วย จิตวิญญาณที่มีความรักความห่วงใย ความเอื้ออาทรต่อคนอื่นและสังคมโดยรวม การมีคุณธรรม จริยธรรม และการไม่กระทำที่เสื่อมเสียหรือเป็นปัญหาต่อสงั คม ประเทศชาติ การมจี ิตท่ีคิดสร้างสรรค์ เปน็ กุศล และมุง่ ทำกรรมดที ีเ่ ป็นประโยชนต์ ่อสว่ นรวม คิดในทางที่ดี ไม่ทำลายเบยี ดเบยี นบคุ คล สงั คม วัฒนธรรมประเทศชาติและส่ิงแวดลอ้ มการกระทำและคำพูดท่ีมาจากความคิดที่ดีการลดความขัดแย้ง และการใหข้ วัญและกำลังใจต่อกันเพ่ือให้สังคมโดยสว่ นรวมมีความสุข จากทีก่ ล่าวมา ดงั นนั้ จิตสาธารณะจึงหมายถงึ ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทีต่ ระหนักถึงปัญหา ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนา อยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม มีความรัก และความรู้สึกเป็นเจ้าของสาธารณะ รักษาสมบัติส่วนรวม ไม่ทำลายสมบัติของส่วนรวม พร้อมทั้งมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆของสาธารณะ รวมอีกทั้งการมองโลกในแง่ดี การร่วมทำกิจกรรมที่ กอ่ ประโยชน์ประเทศ สงั คม และชุมชนดว้ ยความเต็มใจ ไม่หวงั สงิ่ ใดตอบแทน 4.2 ความสำคญั ของจติ สาธารณะ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านจิตสาธารณะกับบคุ คลต่าง ๆใหม้ ีความรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเอง และสังคมหรือสาธารณะ จะเป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกบั บคุ คลโดยท่ัวไป โดยเฉพาะเดก็ และเยาวชน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดจากขึ้นจากภายในกายของคน “จิตสาธารณะ”เป็นความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรู้จัก การเสียสละ การร่วมแรงร่วมใจ รว่ มมอื ในการทำประโยชนเ์ พ่ือสังคมและส่วนรวม อีกทงั้ จะช่วยลดปัญหาท่ีเกิดข้ึนกบั ตนเองและสังคม การชว่ ยกนั พฒั นาคุณภาพชวี ิต อนั จะเป็นหลักการในการดำเนินชีวติ เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับสังคมอย่างได้ผลเป็นเชิงประจักษ์ได้ ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 หมวด 1 บททั่วไปที่ว่า ด้วยความมุ่งหมายและหลักการ มาตราที่ 7 ได้แสดงถึงความพยายามที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนใน “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542” ว่า ในกระบวนการ เรียนรู้ต้องมุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย

27 ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้รักษาผลประโยชน์ ส่วนร่วมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานของความเชื่อว่า ทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาข้นั พืน้ ฐานผเู้ รียนจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรม และคา่ นิยมท่ีพึงประสงค์เหน็ คุณค่าของ ตนเองมีวินัยและปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต พรอ้ มทัง้ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตท่ีดี มสี ุขนิสยั และรักการออกกำลังกาย มีความ รักชาติ มีจิตสำนึก ในการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและ ภูมิปญั ญาไทย การอนุรกั ษ์และพัฒนาส่ิงแวดล้อม มจี ิตสาธารณะทมี่ ุ่งประโยชน์และสร้างส่ิงท่ีดีงามใน สังคม และอยรู่ ่วมกนั ในสงั คมอย่างมีความสขุ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2551, หนา้ 2-3) นอกจากการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระแล้ว ในส่วนของกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนก็ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งหลักสูตรได้จำแนกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็น 3 ลักษณะคือ (1) กิจกรรมแนะแนว (2) กิจกรรมนักเรียน (3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ซึ่งเป็น หน้าที่ของโรงเรียนทุกแห่งจะต้องเน้นการสร้างเยาวชนที่มีความสมดุลนักเรียนต้อง “เป็นคนเก่ง เปน็ คนดี มคี ุณลักษณะและมสี มรรถนะตามทห่ี ลักสูตรกำหนด” (สุพกั ตร์ พบิ ลู ย์, 2544, หน้า 34) ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร (2543, หน้า 22-29) ได้ให้ความสำคัญของการมี จติ สาธารณะวา่ การที่คนมาอยู่รว่ มกันเป็นสงั คม ย่อมต้องมีความสัมพนั ธ์ในรูปแบบการพึ่งพากันคนใน สังคมซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป ถ้าคนในสังคมขาดจิตสำนึกสาธารณะ นอกจากจะมีผลต่อ กระทบต่อบุคคล ครอบครัว องค์กรแล้ว การขาดจิตสำนึกสาธารณะยังมีลกระทบต่อชุมชน ระดบั ประเทศและระดบั โลก ดังนี้ ผลกระทบต่อบคุ คล ทำใหเ้ กดิ ปัญหา คือ 1) สรา้ งความเดอื ดร้อนให้กบั ตนเอง 2) สรา้ งความเดอื ดรอ้ นใหก้ บผอู้ ่ืน ผลกระทบระดับครอบครัว ทำใหเ้ กดิ ปญั หา คอื 1) ความสามคั คใี นครอบครวั ลดน้อยลง

28 2) การแกง่ แย่ง ทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว ผลกระทบระดับองค์กร ทำใหเ้ กดิ ปัญหา คือ 1) การแบ่งพรรคแบง่ พวกในองคก์ ร 2) ความเห็นแกต่ ัว แกง่ แย่งชิงดชี งิ เด่น 3) การเบียดเบยี นสมบัตขิ ององคก์ ร 4) องคก์ รไมก่ ้าวหนา้ ประสิทธภิ าพและคณุ ภาพของงานลดลง ดงั นน้ั จิตสาธารณะจึงมีความสำคัญในการสรา้ งคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคคล ช่วยให้บุคคล มีความเสียสละ ร่วมมือทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม และใช้เปน็ หลกั ในการดำเนินชีวติ เพ่อื แก้ปัญหาให้สงั คมสงบสขุ 5. งานวจิ ัยทเี่ กีย่ วขอ้ งกับการพัฒนาจริยธรรม อรุณี อูปแก้วและนุชนาถ บุญมาศ (2552, หน้า ก) ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1–4 ปีการศึกษา 2550 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งช้ัน จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามคุณธรรมจริยธรรมพัฒนาโดยผู้วิจัย ผลการศึกษา พบว่า คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (������̅=4.29, S.D.=0.50) และรายด้านอยู่ในระดับมาก 1) ด้านความมีวินัยในตนเอง อยู่ในระดับมาก (������̅ 4.36, S.D.=0.50) 2) ด้านความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับมาก (������̅=4.24, S.D.=0.55) 3) ด้านความ เสียสละ อยใู่ นระดบั มาก (������̅=4.05, S.D.=0.57) 4) ด้านความขยัน อดทนอยูใ่ นระดับมาก (������̅=4.23, S.D.=0.53) 5) ดา้ นความเออื้ อาทร อยใู่ นระดับมาก (������̅=4.40, S.D.=0.49) 6) ดา้ นความรับผิดชอบ อยู่ในระดบั มาก (������̅=4.40, S.D.=0.4) สุชาฎา คล้ายมณี, ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และคะนึงนิตย์ พงษ์สุวรรณ์ (2552, หน้า 89) ศึกษา ระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสมี า ปกี ารศกึ ษา 2552 ชัน้ ปีท่ี 1, 2, 3 และ 4 จำนวน 167 คน ศึกษาระหว่าง เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2552 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาลตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล 9 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมโดยรวมและรายด้านอยู่ ในขั้นที่ 5 คือ การใช้เหตุผลแสดงพฤติกรรมยึดตามคำมั่นสัญญา มีคะแนนเท่ากับ 5.01 คะแนน

29 นักศึกษาในชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 มีคะแนนเท่ากับ 5.03 , 5.03 , 4.99 และ 5.04 คะแนน ตามลำดับ คะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมรายด้านพบวา่ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความเมตตากรุณา ดา้ นความมีระเบียบวนิ ัย ดา้ นความรับผิดชอบ ด้านความสภุ าพอ่อนโยน ด้านความอดทน ด้านความรู้ รกั สามัคคี และดา้ นความเสยี สละ อยูใ่ นขนั้ ที่ 5 เชน่ เดียวกัน คอื มคี ะแนนเทา่ กับ 5.46 ,5.02 ,4.65 , 4.62 , 5.30, 4.73, 4.92 และ 4.88 คะแนน ตามลำดับ ส่วนด้านการเคารพในความเป็นบุคคล ของคนอื่น อยู่ในขั้นที่ 6 คือ ขั้นหลักการแสดงพฤติกรรมยึดตามอุดมคติสากล มีคะแนน เท่ากับ 5.55 คะแนน คณุ ลักษณะดา้ นความรับผิดชอบและด้านความมีระเบยี บวนิ ยั ของนักศึกษาชนั้ ปีท่ี 1, 2, 3 และ 4 มีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ คือ 4.65, 4.54, 4.59, 4.75 และ 4.71, 4.82, 4.51, 4.71 คะแนน ตามลำดับ ส่วนด้านการเคารพในความเป็นบุคคลของผู้อื่น มีคะแนนอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับด้าน อื่น ๆ คือ v5.14, 5.69, 5.53 และ 5.77 ตามลำดับชั้นปี ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นปีที่ศึกษากับ คะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลของ นกั ศกึ ษา มีความสมั พันธก์ นั ในระดับตำ่ ประนอม รอดวินิจ, ศิริพรรณ ทองคำพงษ์, พิชญาภา คำทอง, มยุรี พางาม และรัตนา ปรากฏมาก (2549) ศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรม และแนวโน้มปัญหาจริยธรรมของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ นักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 รวม 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม ขอ้ มูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรม การศึกษาพบว่า พฤติกรรมเชงิ จรยิ ธรรมของนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อมองรายด้านนักศึกษามีพฤติกรรมเชิง จริยธรรมในระดับมาก และพบว่าด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉล่ียสูงที่สุดของชั้นปี และด้านความเสียสละ ด้านการเคารพในความเป็นมนุษย์ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความเมตตา ด้านความจริงใจ ด้าน ความอดทน ดา้ นความสภุ าพออ่ นโยน ด้านความสามัคคี และดา้ นความรบั ผิดชอบ มคี า่ เฉล่ียตำ่ สุด วิริยาภรณ์ แสนสมรส, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, นิศากร เยาวรัตน์, อมรรัตน์ สว่างเกตุและ นพวรรณ ดวงจันทร์ (2560) ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรม ราชชนนี ราชบุรี ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 484 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา พยาบาล ผลการศกึ ษาพบวา่ 1) นักศึกษาพยาบาลมีคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มาก โดยมีคา่ เฉลีย่ ดา้ นความยุตธิ รรมมากท่สี ุด รองลงมา ไดแ้ ก่ ด้านความรบั ผิดชอบ และดา้ นความมี วินัยมีคา่ เฉล่ียน้อย ทีส่ ดุ

30 2) เปรียบเทยี บค่าเฉล่ยี คณุ ธรรมจริยธรรมของนักศกึ ษาพยาบาล ตามชัน้ ปี พบว่า นักศึกษาทุก ชั้นปี มีคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยชั้นปีที่ 1 ช้ันปีที่ 2 และ ชั้นปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยด้าน ความยุติธรรมมากที่สุด ชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยด้านความรับผิดชอบมากที่สุด ซึ่งในชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 มีค่า เฉลี่ยด้านความมีวินัย ในชั้นปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยด้านความซื่อสัตย์ และสำหรับชัน้ ปที ่ี 2 มีค่าเฉลี่ยดา้ นความอดทนอดกลน้ั น้อยทสี่ ุด 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล จำแนกตาม เกรดเฉลี่ย พบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.00-2.49, 2.50-2.99, 3.00-3.49 และ 3.50 ขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยด้านความยุติธรรม มากที่สุด ซึ่งในนักศึกษาที่มีเกรดเฉล่ีย 2.00-2.49, 2.50-2.99, และ 3.00-3.49 มีค่าเฉลี่ยด้านความมีวินัยน้อยที่สุด แต่ในนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป มีค่าเฉล่ีย ด้านความซือ่ สัตยน์ อ้ ยที่สดุ 4) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ตามอาชีพของ ผู้ปกครอง พบว่า นักศึกษาที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพต่างกัน มีคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมอย่ใู น ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยด้านความยุติธรรมมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยด้านความมีวินัยน้อยที่สุด เหมือนกนั ศิริวรรณ แซ่เตียว, อมร ไกรดิษฐ์, จริยา พรหมสุวรรณและทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์ (2548) ศึกษาทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีสงขลา สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาเปรียบเทียบ ทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาล บรมราชนนี สงขลาในแต่ละปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่เป็นสถานการณ์ พฤติกรรมจรยิ ธรรมทงั้ 9 ดา้ น ให้นักศึกษาเลอื กแสดงทศั นคติ ผลการศกึ ษาพบวา่ 1) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตทุกชั้นปี มีทัศนคติเชิงจริยธรรมอยู่ ในระดับดีในด้านความยุติธรรม ความซ่ือสัตย์ ความสามัคคี ความเมตตากรุณา ความอุตสาหะ ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนความรับผิดชอบมี คะแนนในระดับปานกลาง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มีคะแนนทัศนคติเชิงจริยธรรม โดยรวมสงู กวา่ ชั้นปอี ื่น 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล หลกั สูตรพยาบาลศาสตรบณั ฑติ พบวา่ นักศึกษาพยาบาลทง้ั 4 ชั้นปมี ีทัศนคติเชงิ จรยิ ธรรมแตกต่างกัน ทกุ ด้านอยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติ (p<0.5) ยกเวน้ ทัศนคติเชิงจริยธรรมดา้ นความรับผดิ ชอบ ด้านความ ยุติธรรม ดา้ นความมีระเบยี บวินยั และด้านความเสียสละ ไม่มคี วามแตกต่างกัน

31 จิตติพร ศรีษะเกตุ (2558) ศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมในนักศึกษาพยาบาลโดย การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการให้บริการวิชาการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จำนวนทั้งสิ้น 156 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 23 คนจาก 156 คน โดยใช้เกณฑ์ใน การคดั เขา้ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเปน็ แบบสอบถามพฤติกรรมจรยิ ธรรมก่อนเรียนหลัง เรียน ข้อคำถามประกอบไปด้วยพฤติกรรมจริยธรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การแยกแยะความดี ความ ถูกต้อง 2) การเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3) ความรับผิดชอบ 4) ความมีระเบียบ วินัยและซื่อสัตย์ และ 5) การเป็นแบบอย่างที่ดี ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Likert’s scale) ผลการศึกษาวิจัย พบว่าโดยภาพรวมนักศึกษาพยาบาลมีค่าคะแนน พฤติกรรมจริยธรรมมากกวา่ ก่อนเรยี นอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ (p value < .001) และผลการสนทนา กลุม่ พบว่านักศกึ ษาพยาบาลที่ไดเ้ ข้ารว่ มกิจกรรมจากผลการวิจัยน้ีผู้วจิ ยั ไดใ้ หข้ ้อเสนอแนะว่าอาจารย์ พยาบาลควรใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการกับบริการวิชาการแก่สังคมใน รายวิชาอื่น ๆ ด้วยและนอกจากนี้ในแต่ละบทก็ควรมีการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้จากสภาพจริง การบูรณาการ และการสะท้อนคิด เพื่อนำไปพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาล ต่อไป ยุพดี สมบูรณสิน (2541) การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษากิจกรรมที่ส่งเสริม จริยธรรมนักศกึ ษาพยาบาล วทิ ยาลยั พยาบาลบรมราชชนนี เครอื ข่ายภาคกลาง โดยใช้เทคนคิ เดลฟาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญตามหลักวิชาการทางด้านจริยธรรมหรือผู้ที่มี ประสบการณ์ทางด้านงานกิจกรรมนักศึกษา จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในก ารวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีเครือข่ายภาคกลาง ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมนักศึกษาพยาบาลท่ี เน้นทางคุณลักษณะจริยธรรมที่พึงประสงค์ของวิชาชีพพยาบาลรวม 9 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความ ซื่อสตั ย์ ดา้ นความเมตตากรุณา ด้านความมีระเบยี บวินัย ด้านความสุภาพอ่อนโยน ดา้ นความเสียสละ ดา้ นความเคารพความเปน็ มนุษย์ ด้านความรว่ มมือและรูร้ ักสามัคคี และดา้ นความอดทน โดยพจิ ารณา เก่ียวกบั จดุ มงุ่ หมาย กิจกรรมท่จี ดั และการและเมนิ ผลสรปุ ไดว้ ่า จุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมส่งเสริม จริยธรรมนักศึกษาพยาบาล ซึ่งอยู่ในระดับอุดมศึกษา มิได้มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ทางจริยธรรมแต่ เพียงอย่างเดียว เพราะไม่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามไปด้วย ฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่จะ กำหนดในการจดั กิจกรรมสง่ เสริมจริยธรรม ควรมงุ่ เนน้ ให้นักศึกษาเกดิ ทัศนคติทางจริยธรรม สามารถ ใช้เหตุผลทางจริยธรรมได้ในชั้นสูง และเกิดพฤติกรรมทางจริยธรรมได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการกำหนด

32 จุดมุ่งหมาย ควรมงุ่ เนน้ ให้นกั ศึกษาพยาบาล ไดม้ คี วามสามารถท่ีจะวิเคราะห์ วิจารณพ์ ฤตกิ รรมต่าง ๆ ที่เกดิ ขน้ึ ในสงั คม และแสวงหาแนวทางคำตอบดว้ ยตนเอง ในการที่จะมจี ติ สำนกึ ที่พึงปฏบิ ัตเิ พ่ือให้เกิด ประโยชน์ในสังคม และแสวงคำตอบด้วยตนเองในการที่จะปลุกจิตสำนึกที่จะกระทำความดี เพื่อให้ เกิดประโยชนใ์ นสงั คมและตระหนักถึงบทบาทและความรับผดิ ชอบในการดำรงตนในสังคม กิจกรรมท่ี จัด ควรมีการสอดแทรกคุณธรรม จรยิ ธรรมทงั้ ในและนอกห้องเรียน แต่ควรเปน็ การสอนโดยอ้อมหรือ สอนโดยไมร่ ูต้ วั ซง่ึ ในช้นั เรียนสามารถกระทำได้ในทุกรายวชิ า ลักษณะกิจกรรมที่จดั ได้แก่การอภิปราย กลุ่ม การใช้สถานการณ์สมมติ การใช้กระบวนการกลุ่ม และที่สำคัญที่สุดวิธีการหนึ่งที่ควรจัดให้ นักศึกษาพยาบาลเป็นอย่างยิ่งคือ การสอนโดยใช้กรณีศึกษาซึ่งเป็นการเสนอกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ ผู้ใชบ้ รกิ าร โดยเสนอประเด็นปัญหา ประเด็นการอภปิ ราย แนวการสอน จดุ ประสงค์การเรียน การวัด และการประเมินผลเพราะจะเกิดโอกาสให้นักศึกษาวิเคราะห์ แยกแยะ จุดดี จุดด้อย ในพฤติกรรมที่ เกิดขึ้นรวมทั้งการวางแผนเสนอแนวทางการประพฤติที่ดีงามถูกต้องในสังคมเพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งเป็น วธิ ีการหน่ึงทนี่ อกจากทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ทีเ่ ก่ียวข้องแล้ว ผลจาก ความคิดและการสัมผัสประสบการณ์ของกรณีศึกษา ย่อมทำให้นักศึกษาพยาบาลเปลี่ยนแปลงในดา้ น ความคิด จิตใจ ทัศนคติ ทำให้เข้าตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ในด้านกิจกรรมนอกห้องเรียนถือว่าเป็น กิจกรรมที่เหมาะสมกับนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 19-25 ปี เพราะทำให้มีการรวมกลุ่มทำงาน เรียนรู้ นิสัยซง่ึ กนั และกนั มกี ารพัฒนาบุคลกิ ภาพท่ีเหมาะสม เช่น กจิ กรรมสง่ เสริมจรยิ ธรรมดา้ นความซ่ือสตั ย์ ได้แก่ การจัดสัปดาห์ความซื่อสัตย์ กิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมด้านความเมตตากรุณา เช่นร่วมบริจาค เงินและสงิ่ ของ ฯลฯ การประเมินผล เป็นกระบวนการทใี่ ช้ในการพจิ ารณาผลการจดั กจิ กรรมให้เป็นไป ตามจดุ มงุ่ หมาย ผู้ประเมนิ เปน็ ได้ท้ังนักศึกษาประเมินกันเอง อาจารยฝ์ ่ายกจิ กรรม หรืออาจารย์ผู้ร่วม รับผิดชอบเป็นผู้ประเมินแนวทางการประเมินผลควรพิจารณาจาก การสังเกต การใช้แบบสอบถาม การมีส่วนร่วมและท่าทีขณะทำกิจกรรม ความสามารถในการระบุข้อดี และจุดด้อยของการตัดสินใจ หรือการนำเสนอแนวทางปฏบิ ัติติการกระทำที่ถูกต้อง ดีงาม การเสนอประเด็นต่าง ๆ การสรุปผลท่ีได้ จากการเรียนรู้ และการสรุปผลงาน โดยจะต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้เกิด คณุ ลกั ษณะจริยธรรมท่พี ่งึ ประสงคช์ องวชิ าชพี พยาบาล 6. กรอบแนวคิดในการวิจยั จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาวิจัยโดยพัฒนากรอบ แนวความคิดตามงานวิจัยของอรุณี อุปแก้ว และนุชนาถ บุญมาศ (2552) ตามหลักสูตร

33 คณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 และประกาศกอง กิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การส่งเสริมพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนิสิต มหาวิทยาลยั นเรศวร ณ วันที่ 24 มกราคม 2557 สรปุ เปน็ แนวคดิ ในการศกึ ษาคร้งั น้ี คือ จริยธรรมในชวี ติ ประจำวันของนิสิตพยาบาล - ความซ่อื สัตย์ - ความมีระเบยี บวนิ ัย - ความอดทน - การมีจิตสาธารณะ - ความรบั ผดิ ชอบ - ความเคารพในความเป็นมนุษย์ - ความขยนั หมนั่ เพยี ภราพ

บทท่ี 3 วธิ ีดำเนินงานวิจยั การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ ศกึ ษาจริยธรรมในชวี ิตประจำวนั ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซง่ึ ดำเนนิ การวิจัย ดงั น้ี 1. ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง 1.1 ประชากร ประชากรทใ่ี ช้ในการวจิ ัยคร้งั นี้ คือ นิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร มจี ำนวนนิสติ ท้งั หมดทล่ี งทะเบียนเรยี นในปกี ารศึกษา 2562 จำนวน 499 คน 1.2 กลมุ่ ตัวอย่าง ประชากรทใ่ี ช้ในการวิจัยในครัง้ นี้ คือนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ท่ลี งทะเบียนเรยี นในปกี ารศึกษา 2562 กำหนดกลมุ่ ตัวอยา่ ง โดยประมาณขนาดกลมุ่ ตัวอยา่ ง จากตารางของ ทาโร่ ยามาเน่ ณ ระดับนยั สำคัญ .05 ขนาดของความคาดเคล่อื นคดิ เปน็ รอ้ ยละ 5 ดังน้ี n = N 1+Ne2 n = ขนาดกลมุ่ ตัวอยา่ งทงั้ หมด N = ขนาดประชากร e = ความคลาดเคล่ือนการสุ่ม n = 499 1+499(0.05)2 n = 222 คน ได้กลมุ่ ตวั อย่างจำนวน 222 คน คิดเปน็ ร้อยละ 44.48 ของประชากรท้งั หมด

35 1.2.1 สมุ่ ตวั อย่างโดยใชก้ ารสุม่ ตวั อยา่ งแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) โดยนสิ ิต คณะพยาบาลศาสตร์มจี ำนวน 499 คน จากนั้นจำแนกนิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ออกเปน็ 4 กลุ่มย่อย ตามชั้นปี นำมาคำนวณกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรแต่ละชั้นปี โดยการเทียบ บัญญตั ไิ ตรยางศ์ ดังสมการ n = 44.48×N 100 n แทนขนาดกลุ่มตัวอย่าง N แทนขนาดประชากรในแตล่ ะช้นั ปี แทนคา่ จะได้ ช้ันปีท่ี 1 n = 44.48×143 จะได้กลมุ่ ตวั อย่าง 100 = 63.60 ≈ 64 คน ช้นั ปีที่ 2 n = 44.48×126 จะได้กลุ่มตัวอย่าง 100 = 56.04 ≈ 56 คน ช้ันปีท่ี 3 n = 44.48×117 จะได้กลุ่มตัวอยา่ ง 100 = 52.04 ช้ันปีที่ 4 ≈ 52 คน จะได้กลมุ่ ตวั อย่าง n = 44.48×113 100 = 50.26 ≈ 50 คน

36 ได้กลุม่ ตวั อย่าง ดงั ตารางท่ี 1 ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากร และกลุม่ ตวั อย่างนิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร ชน้ั ปี ประชากร กลุม่ ตัวอยา่ ง ช้ันปีท่ี 1 143 64 ชน้ั ปที ี่ 2 126 56 ชนั้ ปที ี่ 3 117 52 ชั้นปีที่ 4 113 50 รวม 499 222 1.2.2 สุ่มตัวอย่างจากกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ซง่ึ การสุ่มมาจากโปรแกรมสมุ่ ตัวเลข (Random Number Generator) และนำตัวเลขท่ไี ด้จากโปรแกรมมาเทียบกบั ใบรายช่ือนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ แตล่ ะชั้นปี 1.3 เกณฑก์ ารคดั เขา้ 1. นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลยั นเรศวร 2. มคี วามสมคั รใจในการเขา้ รว่ มวิจัย 1.4 เกณฑ์การคดั ออก กลมุ่ ตวั อยา่ งขอถอนตวั จากการวจิ ัยหรือตัวอย่างไมต่ ้องการใหข้ อ้ มลู 2. เครอ่ื งมือท่ีใช้ในการวจิ ยั เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Quest ionnaire) ซึ่งเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพฒั นามาจากงานวิจยั ของ อรณุ ี อูปแกว้ และนุชนาถ บญุ มาศ (2552) แบง่ เป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนท่ี 1 แบบสอบถามเก่ียวกบั ขอ้ มูลทัว่ ไป ไดแ้ ก่ อายุ เพศ ชั้นปีทก่ี ำลังศกึ ษา ตอนท่ี 2 แบบสอบถามจริยธรรมในชวี ิตประจำวนั ของนสิ ิตคณะพยาบาลศาสตร์ ท่ี ผู้วิจัยพัฒนามาจากงานวิจัยของ อรุณี อูปแก้ว และนุชนาถ บุญมาศ (2552) และจากการศึกษา ทบทวนคุณธรรมจริยธรรมตามนโยบายของมหาวิทยาลัยสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับ

37 ทบทวนตามคุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสตู รปรับปรงุ พ.ศ. 2559 ทำการวเิ คราะห์ และสงั เคราะหไ์ ดอ้ อกมา 7 ด้าน จำนวน 43 ขอ้ ดงั นี้ 1. ความซอ่ื สตั ยส์ จุ ริต จำนวน 6 ขอ้ (ขอ้ 1-6) เปน็ ด้านบวก 4 ข้อ (ข้อ 1,2,3 และ6) เป็นด้านลบ 2 ขอ้ (ขอ้ 4-5) 2. ความมรี ะเบยี บวินัย จำนวน 7 ข้อ (ข้อ 7-13) เปน็ ดา้ นบวก 7 ข้อ (ขอ้ 7-13) 3. ความอดทน จำนวน 6 ขอ้ (14-19) เปน็ ดา้ นบวก 5 ขอ้ (ขอ้ 14-18) เปน็ ด้านลบ 1 ขอ้ (ขอ้ 19) 4. การมีจติ สาธารณะ จำนวน 10 ขอ้ (ขอ้ 20-29) เป็นด้านบวก 10 ขอ้ (20-29) 5. ความรับผิดชอบ จำนวน 4 ขอ้ (ขอ้ 30-33) เป็นดา้ นบวก 4 ขอ้ (ขอ้ 30-33) 6. ความเคารพในความเปน็ มนษุ ย์ จำนวน 5 ข้อ (ข้อ 34-38) เปน็ ดา้ นบวก 5 ขอ้ (ข้อ 34-38) 7. ความขยันหม่ันเพยี ร จำนวน 5 ข้อ (ข้อ 39-43) เป็นด้านบวก 5 ข้อ (ข้อ 39-43) ลกั ษณะข้อคำถามแต่ละข้อจะมีคำตอบใหเ้ ลือกเป็นแบบประมาณคา่ ของลิเคริ ท์ (Likert Scale) เป็น 5 ระดับ ซง่ึ ลักษณะคำตอบใหเ้ ลอื กมดี งั นี้ มากทีส่ ดุ หมายถงึ นิสิตเห็นวา่ พฤตกิ รรมนั้นท่านปฏิบัติเปน็ ประจำทกุ ครัง้ มาก หมายถงึ นสิ ติ เห็นว่า พฤติกรรมน้นั ท่านปฏิบัตเิ กือบจะทกุ ครง้ั ปานกลาง หมายถงึ นิสติ เหน็ วา่ พฤตกิ รรมนัน้ ทา่ นปฏบิ ัติและไมป่ ฏิบัติจำนวน ครั้งเท่า ๆ กัน นอ้ ย หมายถึง นิสิตเหน็ วา่ พฤตกิ รรมน้ันท่านปฏิบตั ินอ้ ยครงั้ นอ้ ยท่สี ุด หมายถงึ นสิ ิตเห็นวา่ พฤตกิ รรมน้นั ทา่ นปฏิบัตินอ้ ยครั้งมาก หรือ ไมป่ ฏบิ ัติเลย ซ่งึ มเี กณฑ์การประเมนิ ผล ดังนี้

38 ขอ้ ความดา้ นบวก มากทีส่ ดุ คา่ คะแนน 5 มาก คา่ คะแนน 4 ปานกลาง คา่ คะแนน 3 นอ้ ย ค่าคะแนน 2 น้อยท่สี ุด คา่ คะแนน 1 ข้อความดา้ นลบ มากที่สุด ค่าคะแนน 1 มาก ค่าคะแนน 2 ปานกลาง คา่ คะแนน 3 น้อย ค่าคะแนน 4 น้อยที่สดุ คา่ คะแนน 5 การแปลผลคะแนนจริยธรรมในนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรทั้งรายรวม และรายด้าน ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ในการแปลผลแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามวิธีของ บุญชม ศรีสะอาด (2543) ค่าเฉลย่ี 1.00 - 1.50 การแปลผล น้อยทส่ี ุด ค่าเฉลยี่ 1.51 - 2.50 การแปลผล นอ้ ย คา่ เฉลย่ี 2.51 - 3.50 การแปลผล ปานกลาง คา่ เฉล่ีย 3.51 - 4.50 การแปลผล มาก คา่ เฉลยี่ 4.51 - 5.00 การแปลผล มากท่ีสดุ 3. การพฒั นาเครื่องมอื วิจยั 1. ศกึ ษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา วารสาร และงานวจิ ัยทีเ่ กยี่ วข้องกบั จรยิ ธรรม 2. ผ้วู จิ ยั ได้พฒั นาแบบสอบถามการศึกษาจรยิ ธรรมในชีวิตประจำวันของนสิ ติ คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีวิธีการดงั น้ี 2.1 ศกึ ษากรอบแนวคิดจริยธรรมในนิสติ พยาบาล โดยการรวบรวมแนวคิดของ อรุณี อูปแก้ว และนุชนาถ บุญมาศ (2552) ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรและตามคุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มาเขียนเป็นคำจำกัดความ จากนั้นสร้างข้อ

39 ค ำ ถ า ม ใ ห ้ ม ี ค ว า ม คร อ บ คล ุม แ ล ะ ส อ ดค ล ้ อ ง ก ับ พ ฤ ติ ก รร ม ด้ าน ค ุณ ธ ร รม จ ริย ธ ร รม ส ำ หร ับนิสิ ต มหาวิทยาลัยนเรศวรและตามคุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวทิ ยาลัยนเรศวร หลกั สูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยแนวคิดจริยธรรมของ อรุณี อูปแก้ว และนุชนาถ บุญมาศ (2552) มีทั้งหมด 10 ด้าน ไดแ้ ก่ 1. ความซือ่ สตั ยส์ ุจริต 2. ความออ่ นนอ้ มถ่อมตน 3. ความรอบคอบ 4. ความมวี นิ ยั ในตนเอง 5. คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชวี ติ 6. การอยู่รว่ มกนั กบั ผู้อ่นื อยา่ งมคี วามสุข 7. ความมุ่งม่นั พากเพยี ร พยายาม (ความอดทน อุตสาหะ) 8. จติ ใจของความเป็นผูใ้ ห้ 9. ความรบั ผิดชอบ 10. จติ ใจทคี่ ดิ ถึงประโยชนส์ ว่ นรวม พฤติกรรมดา้ นคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนสิ ิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (2556) มที ง้ั หมด 3 ด้าน ดงั น้ี 1. นิสติ มีวนิ ยั สามารถปฏิบัติตนตามระเบยี บขอ้ บงั คบั ของมหาวิทยาลัย 2. นิสติ มีความเสยี สละ มีจติ สาธารณะ และช่วยเหลือสังคม 3. นิสติ มีความอดทนสามารถปรบั ตัวได้ในทกุ สถานการณ์ทัง้ สภาวะท่ีต้องการและไม่ ต้องการ คุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิ ทยาลัยนเรศวร หลกั สูตรปรบั ปรงุ พ.ศ. 2559 1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักศาสนา หลักจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจนสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สิทธิผู้บริโภค สิทธิผู้ป่วย ตลอดจนสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาล ท่ีมคี วามสำคัญตอ่ การปฏิบตั กิ ารพยาบาล 2. สามารถแยกแยะความถกู ต้อง ความดี และความชวั่ ได้

40 3. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และตระหนักและสำนึกในความ เป็นไทย 4. มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนิน ชีวิตบนพนื้ ฐานปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง 5. มีระเบียบวินัย และซี่อสัตย์กล้าหาญ เสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร และทำ กิจกรรมท่ีมุ่งสู่ความสำเร็จของงาน และมจี ิตสาธารณะ ตรงต่อเวลา เคารพกฎ ระเบยี บขอ้ บงั คบั ของ องค์กรและสงั คม 6. ปฏบิ ัติตามจรรยาบรรณวิชาชพี และมคี วามสามารถจัดการกับปัญหาจรยิ ธรรมใน การดำรงชีพ และในการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล มีจรรยาบรรณในการศึกษาค้นคว้าทาง วชิ าการ และแสดงออกอย่างมคี ุณธรรมและจรยิ ธรรม 7. เป็นแบบอยา่ งทีด่ ตี อ่ ผู้อนื่ ทง้ั ในการดำรงตนและการปฏบิ ัตงิ าน 8. สง่ เสริมใหผ้ ู้ป่วย/ผู้ใช้บริการได้รับรู้และเขา้ ใจสิทธิของตนเองเพอ่ื ปกป้องสิทธิของ ตนเองท่ีจะถูกละเมดิ 2.2 จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าแนวคิดของ อรุณี อูปแก้ว และ นุชนาถ บุญมาศ (2552) ที่มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม สำหรบั นิสิตมหาวทิ ยาลัยนเรศวรและตามคุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตรคณะพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีระเบียบวินัย ความอดทน การมีจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบ และความขยันหมั่นเพียร ซึ่งด้านการมีจิตสาธารณะผู้วิจัยได้มาจากการรวมด้านถึงจิตใจของความเป็นผู้ให้และจิตใจที่คำนึง ประโยชน์สว่ นรวม และในด้านความเคารพในความเปน็ มนุษย์ผูว้ จิ ัยไดเ้ พ่ิมข้ึนมาเพ่ือใหส้ อดคล้องกบั พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรและตามคุณธรรมจริยธรรมตาม หลกั สตู รคณะพยาบาลศาสตรบัณฑติ มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสตู รปรบั ปรุง พ.ศ. 2559 2.3 สำหรับจำนวนขอ้ คำถามใน 6 ด้าน ผ้วู ิจัยนำข้อคำถามของ อรณุ ี อปู แก้ว และนุชนาถ บุญมาศ (2552) มาปรับให้เหมาะสมกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยน เร ศวร แล ะตา ม คุ ณธ รร มจร ิยธ รร มต า มหล ั กสู ตร ค ณ ะพย า บ าล ศา สตร บ ั ณ ฑิต มหาวทิ ยาลัยนเรศวร หลกั สตู รปรับปรงุ พ.ศ. 2559 ไดแ้ ก่ ความซ่ือสัตยส์ จุ รติ (ขอ้ 1-6) ความมีระเบยี บวินัย (ขอ้ 7-13) ความอดทน (ข้อ 14-19) การมีจติ สาธารณะ (ข้อ 20-29)

41 ความรับผิดชอบ (ข้อ 30-33) ความขยันหมน่ั เพียร (ข้อ 39-43) และสำหรับในด้านเคารพในความ เปน็ มนุษยผ์ ้วู จิ ัยไดค้ ดิ ขอ้ คำถามเพมิ่ (ข้อ 34-38) จึงสรุปไดว้ ่าแบบสอบถามจริยธรรมในชวี ิตประจำวัน ของนสิ ติ คณะพยาบาลศาสตร์ แบง่ ได้ 7 ด้านจำนวน 43 ขอ้ ดังทก่ี ลา่ วมาข้างตน้ 2.4 นำขอ้ คำถามท่ีคิดข้นึ มาเพิ่มเตมิ เสนอให้อาจารย์ทป่ี รึกษา และปรบั ให้เหมาะสม ตามที่อาจารย์ทป่ี รึกษาแนะนำ 4. การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวจิ ยั 1. การหาความเทย่ี งตรงของเนื้อหา (Content Validity ) โดยนำแบบสอบถามทีพ่ ัฒนาข้ึน ไปให้ผทู้ รงคณุ วุฒิตรวจสอบความเท่ียงตรงของเน้อื หา ความครบถว้ นของวตั ถปุ ระสงค์ เนอื้ หา ข้อคำถาม และความถูกต้องของภาษา และนำมาคำนวณหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity Index : CVI ) โดยกำหนดให้ดัชนีมีความสอดคล้องที่มีค่ามากกว่า 0.75 ขึ้นไป (บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, 2555) ร่วมกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จะแสดงถึงข้อคำถามที่มี ความเทีย่ งตรง โดยผู้ทรงคุณวฒุ ิ 5 ท่าน ดังนี้ 1. ผศ. ดร. เชาวนี ลอ่ งชผู ล 2. ดร. จริ รตั น์ หรอื ตระกลู 3. อาจารยก์ มลรจน์ วงษจ์ นั ทรห์ าญ 4. อาจารย์ศรสี ุภา ใจโสภา 5. อาจารยร์ ุ่งเพชร หอมสวุ รรณ จากการรวบรวมข้อเสนอแนะของผทู้ รงคุณวฒุ ิ ทงั้ 5 ท่าน นำมาคำนวณหาความเทยี่ งตรง ของเน้ือหา (Content Validity Index : CVI ) ได้เท่ากับ .80 และมจี ำนวนข้อคำถามท่ีตอ้ งปรับปรงุ ดังนี้ แบบสอบถามจรยิ ธรรมในชวี ิตประจำวันของนิสติ คณะพยาบาลศาสตร์ เดมิ มจี ำนวนข้อ คำถามทพ่ี ฒั นามาจากงานวจิ ยั ของ อรุณี อปู แก้ว และนชุ นาถ บญุ มาศ (2552) จำนวน 43 ขอ้ ปรับปรงุ ความชัดเจนของภาษา 21 ข้อ สรปุ มีจำนวนขอ้ คำถามของแบบสอบถามจริยธรรมในชีวติ ประจำวันของนิสติ คณะศาสตร์ หลังจากผา่ นผู้ทรงคุณวฒุ ิจำนวน 43 ขอ้ ทั้งนผ้ี ูว้ จิ ัยไดพ้ ิจารณาการปรับปรุงเครื่องมอื วจิ ัยโดยการ ปรบั ปรงุ ความชัดเจนของภาษา หลงั จากได้รับการตรวจสอบจากผ้ทู รงคุณวุฒิ ผูว้ จิ ยั นำข้อคำถามมาปรบั ปรงุ แกไ้ ขตามข้อเสนอแนะ ของผู้ทรงคณุ วุฒแิ ละให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบอีกคร้งั