Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานสถานการณ์ทางสังคม ปี 2564 NEW

รายงานสถานการณ์ทางสังคม ปี 2564 NEW

Published by สสว.2 ชลบุรี, 2021-11-02 09:08:49

Description: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ปี 2564 NEW

Search

Read the Text Version

เอกสารวิชาการ เลม่ ท่ี 4/2564



ก คำนำ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 1-11 (สสว. 1-11) มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์ แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและการจัดทำ ยุทธศาสตรใ์ นพื้นท่กี ลุม่ จังหวัด สำนักงานสง่ เสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 (สสว. 2) จงึ จดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่ม จังหวัดภาคตะวันออกเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิ งเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพแวดล้อม คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ ทางสังคมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ แก่กลุ่มเป้าหมาย อาทิ หน่วยงานกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้หน่วยงานและภาคีเครือข่าย มีข้อมูลประกอบการดำเนินงาน และการ จัดทำแผนงานทท่ี ันต่อเหตุการณ์ทัง้ ในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งรายงานฉบบั นป้ี ระกอบด้วย 6 สว่ น ได้แก่ บทนำ ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด สถานการณ์เชิงกลุ่มเป้าหมายหรือเชิงประเด็นสำคัญในพื้นที่ กลุ่มจังหวัด การวิเคราะห์และจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด บทสรุป และข้อเสนอแนะ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2564 ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อหน่วยงานและผู้สนใจทั่วไป ในการนำข้อมูลไปประกอบการวิเคราะห์และเฝ้าระวัง สถานการณท์ างสงั คม เพ่ือปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หาทางสงั คมท่ีเกิดขนึ้ ต่อไป สำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 กนั ยายน 2564 รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวนั ออก



ข บทสรปุ ผู้บริหาร การจดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับกลุม่ จังหวดั ภาคตะวันออก มีเขตพ้ืนท่รี บั ผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ จงั หวดั ชลบรุ ี ระยอง จนั ทบรุ ี ตราด ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บุรี และสระแก้วมวี ตั ถุประสงค์ เพือ่ การศกึ ษาวิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อคาดการณแ์ นวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบท่ีจะเกิดข้ึน ในพื้นที่ กลุ่มจังหวัดท่ีมีความเชือ่ มโยงกับพืน้ ที่จังหวัด และเพื่อสนับสนุนข้อมูลในการจดั ทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม และ การบูรณาการแผนงานโครงการ กิจกรรมในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและภาค ให้กับหน่วยงานระดับท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ นักวิชาการขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไข ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น รายงานนี้ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ บทนำ ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด สถานการณ์เชิงกลุ่มเป้าหมายหรือเชิงประเด็นสำคัญในพื้นที่กลุ่มจังหวัดการวิเคราะห์และจัดลำดับความรุนแรง ของสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวัด บทสรุป และข้อเสนอแนะ โดยสรปุ ได้ดงั นี้ ข้อมูลพื้นฐาน ทางสังคมในพื้นที่ ภาคตะวันออก มีประชากรรวม จำนวน 4.84 ล้านคน ชายจำนวน 2.38 ล้านคน หญิงจำนวน 2.46 ล้านคน มีประชากรเด็ก (0-17 ปี) 1.06 ล้านคน (ร้อยละ 22.03) ประชากรวัยแรงงาน (18-59 ปี) 8.4 แสนคน (ร้อยละ 69.42) และวัยผู้สงู อายุ (60 ปีขึ้นไป) 7.6 แสนคน (ร้อยละ 15.61) จากสถิติดังกลา่ ว ภาคตะวันออกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 15) แต่ยังไม่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20) คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1.30 แสนคน จังหวัดที่คนพิการมีบัตร ประจำตวั คนพกิ ารมากทส่ี ุดคอื ฉะเชิงเทรา 33,210 คน รองลงมาคือ ชลบรุ ี 26,825 คน และสระแกว้ 19,606 คน ด้านการศกึ ษา มสี ถานศึกษาในระบบ จำนวน 2,928 แหง่ แบ่งเปน็ สงั กดั สพฐ. จำนวน 1,711 แห่ง เอกชน จำนวน 733 แห่ง อาชีวศึกษา จำนวน 68 แห่ง อุดมศึกษา 15 แห่ง ท้องถิ่น 166 แห่ง สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 12 แห่ง และสถานศึกษานอกระบบ สังกัด กศน. จำนวน 218 แห่ง และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ O-Net ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ. 2561-2563 พบว่า จงั หวัดจันทบรุ ี มคี ะแนนเฉลี่ยสงู สดุ ในปี 2561 (39.79) ปี 2562 (43.14) และปี 2563 (38.80) ส่วนค่าเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) ของเด็กนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 2563 พบว่า จังหวดั ชลบุรี มีค่าเฉล่ียเชาวนป์ ัญญา (IQ) มากทส่ี ุด คือ 104.45 ดา้ นสุขภาพ หน่วยบรกิ ารสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชนของกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก มจี ำนวน 864 แห่ง โดยจังหวัดที่มีหน่วยบริการมากที่สุด คือ ชลบุรี 157 แห่ง รองลงมาฉะเชิงเทรา 143 แห่ง และจันทบุรี 129 แห่ง ภาคตะวันออกมีประชากร 4,847,817 คน มีแพทย์ทั้งหมด 8,771 คน สัดส่วน ประชากรต่อแพทย์ 553 : 1 คน จังหวัดที่มี ประชากรเข้าถึงแพทย์ได้มากที่สุด คือ ระยอง จำนวน 3,377 คน ประชากรต่อแพทย์ 219:1 คน รองลงมา ชลบุรี จำนวน 4,214 คน ประชากรต่อแพทย์ 372:1 คน และสระแก้ว จำนวน 889 คน ประชากร ต่อแพทย์ 630:1 คน ส่วนจังหวัดที่มี แพทย์น้อยท่สี ดุ คอื จังหวัดจันทบรุ ี จำนวน 327 คน ประชากรตอ่ แพทย์ 1,395:1 คน และสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกจาก โรคต่างๆ ของ 7 จังหวัดภาคตะวันออก พบว่า สาเหตุการตายจากโรควัยชรามีจำนวนมากที่สุด คือ 1,790 คน มีมากที่สุด ในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 463 คน รองลงมา คือ โรคหัวใจล้มเหลว (ไม่ระบุรายละเอียด) 1,512 คน มีมากที่สุดในจังหวัด ชลบุรี จำนวน 818 คน โรคติดเชื้อในกระแสเลือด 936 คน มีมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 259 คน โรคหัวใจล้มเหลว 716 คน มีมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 248 คน และโรคความดันโลหิตสูง 343 คน มีมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 84 คน สะท้อนให้เหน็ ว่า จังหวดั ชลบุรี มจี ำนวนประชากรมากก็ย่งิ ทำให้มีอตั ราการตายของโรคตา่ งๆ สงู ทสี่ ดุ

ฃค ด้านแรงงาน ภาวการณ์การมีงานทำของประชากรในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก จำแนกตามกำลัง แรงงานในปัจจุบัน แรงงานที่รอฤดูกาล และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่า จังหวัดชลบุรี มีผู้มีงานทำมากที่สดุ จำนวน 1,045,175 คน รองลงมา คือ จังหวัดระยอง จำนวน 582,069 คน และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 443,677 คน ผู้ว่างงาน พบว่า จังหวัดสระแก้ว มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 9,413 คน รองลงมา คือ จังหวัด ปราจีนบุรี จำนวน 7,590คน และจังหวัดระยอง 6,180 คน ส่วนจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน คงเหลือของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ. 2559-2563 พบวา่ ในปี 2563 จงั หวัดชลบุรี มีจำนวนคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ 156,773 คน ซึ่งลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 4.24 จังหวัดระยอง มีจำนวน 76,384 คน ซึ่งลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 16.51 และจังหวัดปราจีนบุรี มีจำนวน 17,762 คน ซึ่งสูงขึ้นจาก ปี 2562 ร้อยละ 42.80 ด้านที่อยู่อาศัย จำนวนชุมชนที่มีรายได้น้อยของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พบว่า มีจำนวนชุมชน ทั้งหมด 128 ชุมชน แยกเป็นชุมชนแออัด 103 ชุมชน มีครัวเรือน 6,668 ครัวเรือน ชุมชนเมือง 17 ชุมชน มีครัวเรือน 8,983 ครัวเรือน ชุมชนชานเมือง 8 ชุมชน มีครัวเรือน 59 ครัวเรือน และมีบ้านทั้งหมด 17,905 ครวั เรือน จงั หวดั ชลบุรี มชี ุมชนมากทีส่ ุด จำนวน 43 ชมุ ชน แยกเปน็ ชุมชนแออัด 40 ชุมชน 3,053 ครัวเรือน ชมุ ชนเมอื ง 2 ชมุ ชน 99 ครวั เรอื น และ ชมุ ชนชานเมอื ง 1 ชมุ ชน 30 ครวั เรอื น และมีจำนวนครัวเรือน 3,182 ครัวเรือน รองลงมา คือ จังหวัดระยอง มีชุมชนทั้งหมด จำนวน 32 ชุมชน แยกเป็น ชุมชนแออัด 20 ชุมชน 1,257 ครวั เรอื น ชมุ ชนเมือง 6 ชุมชน 7,115 ครวั เรอื น และ ชุมชนชานเมือง 6 ชมุ ชน 2,195 ครวั เรอื น และมี จำนวนครัวเรือน 10,567 ครัวเรือน ถัดมา คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนทั้งหมด จำนวน 20 ชุมชน แยกเป็น ชุมชนแออัด 15 ชุมชน 805 ครัวเรือน ชุมชนเมือง 4 ชุมชน 383 ครัวเรือน ชุมชนชานเมือง 1 ชุมชน 29 ครวั เรอื น และมจี ำนวนครวั เรอื น 1,217 ครัวเรือน ด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์จังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม 7 จังหวัด รายจังหวัดพื้นที่ภาคตะวันออก (GPP) พบว่า ในปี 2561 ปราจีนบุรีมีการขยายตัวมากที่สุด ร้อยละ 22.6 รองลงมาคอื จันทบุรี คอื ร้อยละ 17.1 คอื และตราด ร้อยละ 16.5 ผลิตภณั ฑ์จังหวัดตอ่ หวั (GPP per capita) ปี 2563 พบว่า ระยอง มีจำนวนผลิตภณั ฑ์มวลรวมจงั หวดั ตอ่ หัว มากที่สุดจำนวน 907,370 บาท/ปี รองลงมา คือ ชลบรุ ี จำนวน 691,558 บาท/ปี ถัดมาคอื ปราจีนบุรี จำนวน 551,150 บาท/ปี รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน พ.ศ.2558 - 2562 พบว่าในปี 2562 จังหวัดชลบุรี มีรายได้ โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน จำนวน 28,706 บาท ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 3.63 จังหวัดจันทบุรี มจี ำนวน 28,114 บาท ซ่งึ ลดลงจากปี 2560 รอ้ ยละ -14.53 และจงั หวดั ปราจีนบรุ ี มีจำนวน 25,843 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน ร้อยละ 12.59 หนี้สิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกวัตถุประสงค์ของการ กู้ยืม พ.ศ.2558-2562 ในปี 2562 มีหน้สี นิ เฉลี่ยต่อครัวเรือน รวมทั้งสิน้ 840,225 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ของ การกู้ยืมคือ เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนมากที่สุด จำนวน 391,822 บาท รองลงมาเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดนิ จำนวน 222,927 บาท ถัดมา เพื่อใช้ทำการเกษตร จำนวน 161,974 บาท เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร จำนวน 161,974 บาท และสดุ ท้ายเพ่อื ใช้ในการศึกษา 4,256 บาท รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก

งค องค์กรภาคีเครือข่าย ปี 2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก องค์กรภาคีเครือข่ายที่มีมากที่สุดคือ องค์กรสวัสดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการ จัดสวัสดิการสังคม จำนวน 563 แห่ง มีมากในจังหวัดตราด รองลงมาคือศนู ยพ์ ัฒนาครอบครวั (ศพค.) จำนวน 503 แหง่ มมี ากในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถดั มาโครงการบ้านม่ันคง (พอช.) จำนวน 476 แห่ง มีมากในจังหวัดสระแก้ว องค์กรสาธารณะประโยชน์ จำนวน 394 แห่ง มีมากในจังหวัด ฉะเชิงเทรา กองทุนสวัสดิการสังคม จำนวน 314 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน 129 แห่ง มีมากในจังหวัดปราจีนบุรี สภาองค์กรคนพิการ จำนวน 116 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี และสุดท้าย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) จำนวน 103 แห่ง มีมากในจังหวัดจันทบุรี ส่วน จำนวนภาคีเครือข่ายอาสาสมัคร ปี 2564 พบวา่ เครือข่ายอาสาสมัครที่มีมากที่สุดคือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 18,104 คน ซึ่งมีมากในจังหวัดชลบุรี ร้อยละ 61.20 คน (ร้อยละ 61.20) รองลงมาคอื สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 9,956 คน มีมากในจงั หวัดชลบุรี เชน่ กัน จำนวน 2,520 คน (ร้อยละ 33.66) และขอ้ มูลคลงั ปัญญาผสู้ ูงอายุ จำนวน 1,521 คน มมี ากในจงั หวัดชลบรุ ี จำนวน 362 คน (รอ้ ยละ 5.14) สถานการณเ์ ชิงกลุม่ เป้าหมาย จากข้อมูลรายงานสถานการณ์จำนวนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก ในปี พ.ศ. 2564 มีดังน้ี เด็ก พบว่าจำนวนประชากรเด็กกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด จำนวน 1,069,264 คน มีปัญหาเด็ก อยู่ในครอบครัวยากจนมากที่สุด จำนวน 103,738 คน ปัญหาเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อม ในการเลีย้ งดู จำนวน 6,081คน เยาวชน พบว่าจำนวนเยาวชนกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด จำนวน 493,725 คน มีปัญหาเยาวชน ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 1,144 คน และเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ จำนวน 121 คน สตรี พบวา่ จำนวนสตรีกลุ่มจังหวัดตะวันออกมที ั้งหมด 1,657,350 คน พบปัญหาสตรีท่ีถูกเลิกจ้าง/ตกงาน จำนวน 37,939 คน แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลําพัง จำนวน 2,316 คน และ สตรีที่ถูก ทําร้ายร่างกาย จิตใจ จำนวน 1,424 คน ครอบครัว พบว่าจำนวนครัวเรือนกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด 1,733,857 ครัวเรือน มีปัญหา ครอบครัวแหว่งกลาง จำนวน 61,741 ครัวเรือน ครอบครัวยากจน จำนวน 26,944 ครัวเรือน ครอบครัว หย่าร้าง จำนวน 25,528 ครัวเรือน และครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทําความรุนแรงต่อกัน จำนวน 582 ครัวเรอื น ผู้สูงอายุ พบว่าจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด 762,799 คน คิดเป็นร้อยละ 15.61 ของประชากรทั้งหมด มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ 607,400 คน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ 22,318 คน ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้/ติดบ้าน/ติตเตียง 17,765 คน ผู้สูงอายุที่รับภาระดูแลบุคคลในครอบครัว 971 คน ผู้สูงอายุ ทีต่ อ้ งดำรงชีพดว้ ยการเร่ร่อน ขอทาน 244 คน และผู้สูงอายทุ ่ถี ูกกระทาํ ความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ 7 คน

ฅจ ผู้พิการ พบว่าจำนวนคนพิการกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด จำนวน 130,230 คน มีบัตรประจำตัว คนพิการ จำนวน 130,230 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 116,202 คน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 522 คน คนพิการ มคี วามตอ้ งการกายอปุ กรณ์ จำนวน 350 คน คนพิการทอี่ ยคู่ นเดยี วตามลำพัง/ไม่มีผู้ดูแล/ถกู ทอดทง้ิ จำนวน 42 คน และ มีสาเหตุความพิการมาจากโรคอื่น ๆ มากที่สุด จำนวน 39,802 คน รองลงมาไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 21,339 คน มสี าเหตมุ าจากอบุ ตั เิ หตุ จำนวน 11,144 คน มสี าเหตมุ าจากพันธกุ รรม จำนวน 9,274 คน มีสาเหตุมาจาก โรคตดิ เชือ้ จำนวน 7,295 คน และมากกว่า 1 สาเหตุน้อยทีส่ ดุ จำนวน 2,435 คน .ผู้ด้อยโอกาส พบวา่ กลุ่มผดู้ อ้ ยโอกาสกลุ่มจังหวดั ตะวันออก เปน็ ผูต้ ดิ ยาเสพตดิ จำนวน 13,737 คน ผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 10,739 คน กลุ่มชาติพันธุ์/ชนกลุ่มน้อย จำนวน 1,986 คน คนไร้ที่พึ่ง จำนวน 676 คน ผแู้ สดงความสามารถ จำนวน 258 คน และผู้ทำการขอทาน จำนวน 64 คน สถานการณ์เชงิ ประเด็นสำคญั ในพนื้ ทก่ี ลุ่มจังหวัด สถานการณ์การค้ามนุษย์ กลุ่มจังหวัดตะวันออก ปี 2563 - 2564 มีจำนวนผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ประเภทค้าประเวณี มากที่สุด จำนวน 27 ราย เป็นสัญชาติไทย จำนวน 25 ราย รองลงมา กัมพูชา จำนวน 1 ราย เมียนมาร์ จำนวน 1 ราย ตามลำดับ พบมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี 24 ราย (ปี 63) ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 ราย (ปี 63,64) ระยอง จำนวน 1 ราย (ปี 64) เนื่องจาก เป็นพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ EEC มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม และการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้มีแรงงานต่างถิ่นทั้งคนไทยและต่างชาติเข้ามาทำงานในพื้นที่ มีสถานะ ของการค้ามนุษย์ ทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ส่วนจังหวัด จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และ สระแกว้ ยังไม่พบการดำเนินคดีเกีย่ วกับการคา้ มนษุ ย์ทุกรูปแบบในช่วง 2 ปีทผี่ า่ นมา และทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระยอง ร่วมตรวจสอบกับทีมสหวิชาชีพ ดังน้ี 1) รว่ มกบั ตำรวจภธู รจังหวดั ระยอง ปกครองจังหวดั ระยอง ลงพืน้ ทร่ี า้ นค้าประกอบการท่มี ีแนวโน้มที่จะมีการใช้ สิ่งเสพติด การค้าประเวณี การขายสุราให้กบั เดก็ อายตุ ่ำกวา่ 18 ปี รวมถึงการเปิดเกินเวลาที่กำหนด จำนวน 84 คร้ัง ไม่พบกรณีการค้ามนุษย์ และ 2) ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง ลงพื้นที่ ตรวจสอบเรือประมง เพื่อตรวจสอบกรณีแรงงานผิดกฎหมาย สงสัยว่าจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ จำนวน 8 ลำ ตรวจสอบแล้วไมพ่ บกรณีการค้ามนุษย์ สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวกลุ่มจังหวัดตะวันออก ปี 2564 มจี ำนวนทัง้ สิ้น 85 ราย เปน็ ผ้ถู กู กระทำความรุนแรงในครอบครัว เพศชาย 29 ราย เพศหญงิ 56 ราย มีมากที่สุดในพ้ืนทีจ่ ังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 22 ราย ฉะเชิงเทรา จำนวน 21 ราย ฃลบุรี จำนวน 18 ราย และ พบความรุนแรงในครอบครัวน้อยที่สุด ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 4 ราย โดยประเภทความรุนแรงที่พบ สว่ นใหญค่ อื ความรนุ แรงทางรา่ งกาย จำนวน 45 ราย รองลงมา ทางจิตใจ จำนวน 30 ราย และสาเหตกุ ารเกิด ความรุนแรงส่วนใหญ่ มาจากการบัลดาลโทสะ 18 ราย รองลงมา อาการทางจิตจำนวน 17 ราย ความเครียด ทางเศรษฐกิจ จำนวน 14 ราย ปัญหายาเสพติด และการเมาสุรา จำนวน 11 รายเท่ากัน พฤติกรรมนอกใจ จำนวน 10 ราย และหย่าร้าง/แยกทาง จำนวน 4 ราย รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวนั ออก

ฉฆ การให้บริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 มีผู้โทรขอความช่วยเหลือทั้งสิ้น 14,884 กรณี เฉลี่ยวันละ 41 กรณี เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็น วยั แรงงาน/ ผู้ใหญ่ 6,190 กรณี สตรี 4,242 กรณี เด็กและเยาวชน 2,779 เรื่อง คนพกิ าร 2,079 กรณี ผสู้ ูงอายุ 1,780 กรณี โดยประเด็นที่มีผู้โทรมาขอรับความช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรื่องครอบครัวยากจน 3,367 กรณี รองลงมาคือ สอบถามนโยบายรัฐบาลต่างๆ 1,623 กรณี ผลกระทบในช่วงการแพร่ระบาดของ โรค Covid-19 มาตรการเยยี วยา 1,156 กรณี และการแจง้ ประเดน็ เรอ่ื งคนเร่ร่อน/ ขอทาน 337 กรณี นอกนั้น จะเป็นเรื่องความรุนแรง ทั้งในครอบครัวและนอกครอบครัว จำนวน 291 กรณี ส่วนจังหวัดที่มีการโทรเข้ามา สอบถามมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ จังหวัดชลบุรี 5,249 กรณี รองลงมาคือ ระยอง 2,963 กรณี และจันทบุรี 1,692 กรณี การวเิ คราะห์และจดั ลำดับความรนุ แรงของสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวดั กลุ่มเด็ก พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและ ไม่พร้อมในการเลี้ยงดู จำนวน 6,081 คน คิดเป็นร้อยละ 3.05 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183 คน) ในเขตพื้นท่ีกลุ่มจังหวัดที่รบั ผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาเด็กที่อยูใ่ นครอบครัวเลี้ยงเด่ยี ว จำนวน จำนวน 2,574 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของประชากรเด็กทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุม่ จังหวัดท่ีรับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาเดก็ ทีม่ ีพฤตกิ รรมไม่เหมาะสม จำนวน 766 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 0.07 ของประชากร เด็กทัง้ หมดในเขตพ้ืนท่ีกลมุ่ จงั หวดั ทีร่ ับผดิ ชอบ กลุ่มเยาวชน พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรม ไมเ่ หมาะสมมากที่สุด จำนวน 1,144 คน คดิ เป็นร้อยละ 0.23 ประชากรเยาวชนทงั้ หมดในเขตพ้ืนทก่ี ลมุ่ จังหวัด ที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ จำนวน 121 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 0.02 ของประชากรเยาวชนท้ังหมดในเขตพื้นท่กี ลมุ่ จงั หวดั ที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรี พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงานมากที่สุด จำนวน 37,939 คน คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของประชากรสตรีทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง จำนวน 2,316 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของประชากรสตรที ้ังหมดในเขตพนื้ ที่กลุ่มจังหวัดท่ีรับผดิ ชอบ และลำดับท่สี าม คอื ปัญหาสตรที ่ีถูกทำร้าย ร่างกาย จิตใจ 1,424 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 0.08 ของประชากรสตรีท้ังหมดในเขตพ้นื ทีก่ ลมุ่ จังหวดั ท่ีรับผิดชอบ กลุ่มครอบครวั พบว่า กลุ่มจังหวดั ตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาครอบครัวแหวง่ กลางมากท่สี ุด จำนวน 61,741 ครอบครวั คิดเป็นรอ้ ยละ 3.56 ของกลมุ่ ครอบครวั ท้ังหมดในเขตพนื้ ที่กลมุ่ จงั หวดั ทร่ี ับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาครอบครัวยากจนจำนวน 26,944 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของกลุ่มครอบครัว ทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาครอบครัวหย่าร้าง 25,528 ครอบครัว คดิ เป็นร้อยละ 1.47 ของกลุม่ ครอบครัวท้ังหมดในเขตพนื้ ที่กลมุ่ จงั หวดั ท่ีรบั ผดิ ชอบ

งช กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหา ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับเบ้ียยงั ชีพ มากที่สุด จำนวน 22,318 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ท่ีรับผดิ ชอบ รองลงมาคือ ผ้สู ูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได/้ ไม่มีคนดูแล/ไม่มีรายได้/ผู้ป่วยเร้ือรังติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 17,765 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาผู้สูงอายุที่รับภาระดูแลบุคคลในครอบครัว เช่น คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง บุตรหลาน และจิตเวชจำนวน 971 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวั ด ทีร่ ับผิดชอบ กลุ่มผู้พิการ พบว่า มีความรุนแรงของปัญหาคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ มีจำนวน 522 คน หรือ ร้อยละ 0.40 ของประชากรคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาคนพิการ มีความต้องการกายอุปกรณ์ จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของประชากร คนพิการทั้งหมดในเขตพ้นื ที่ กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สามคนพิการที่อยู่คนเดียวตามลำพัง/ไม่มีผู้ดูแล/ถูกทอดทิ้ง จำนวน 42 คน คดิ เป็นร้อยละ 0.03 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาผู้ติดยาเสพติดมากที่สุด จำนวน 13,737 คน คิดเป็นร้อยละ 50.02 ของประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 10,739 คน คิดเป็นร้อยละ 39.10 ของประชากรกลุ่ม ผดู้ ้อยโอกาสทงั้ หมดในเขตพ้ืนทก่ี ลุ่มจังหวัดท่รี ับผดิ ชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหากลมุ่ ชาติพันธ์ุ/ชนกลุ่มน้อย 1,986 คน คดิ เป็นรอ้ ย 7.23 ของประชากรกลุ่มผดู้ อ้ ยโอกาสท้ังหมดในเขตพ้นื ท่ีกลมุ่ จงั หวดั ที่รบั ผดิ ชอบ สถานการณ์โควิด-19 ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก ณ วันที่ 14 กันยายน 2564 มียอด ผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เมษายน สะสม รวม 163,635 คน เสียชีวิตสะสม 116 คน กำลังรักษา 36,430 คน โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 (ระลอก 3) เรียงลำดับจากมากสุดดังนี้ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดตราด ส่วนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี มีผู้ติดเชื้อสะสม 75,009 คน ผู้เสียชีวิต 520 คน โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ บางละมุง ซึ่งเป็นเขต ปกครองพิเศษ และเขตส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงพบอัตราการติดเชื้อมากสุดและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเป็นกลุ่มที่มาจาก กลุ่มต่างชาติเข้าประเทศ กลุ่มที่ไปเที่ยวร้านเหล้ากับเพื่อนที่ติดเชื้อในชลบุรี กลุ่มท่ี กลับจากท่องเที่ยวภูเก็ตและ กทม. กลุ่มทำงานผับ/บาร์/ร้านนวด ซึ่งสัมผัสกับต่างชาติ จะเห็นได้ว่าผู้ติดเช้ือ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ และการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก และที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19) โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ที่ทำให้ GPP ของประเทศไทยและของกลุ่มจังหวัด ลดลงอย่างมาก และโดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้น กับกลุ่มเปราะบาง ที่ส่งผลให้มีความต้องการการช่วยเหลือเพิ่มมากข้ึน และเร่งด่วน รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวนั ออก

จซ ข้อเสนอแนะ การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายให้สามารถเขา้ ถงึ บรกิ ารของรฐั เพอื่ ลดความเหล่ือมล้ำทางสังคม โดยมีความสอดคลอ้ งกับบรบิ ทพน้ื ท่ี มขี อ้ เสนอแนะ ดังนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 1. จากขอ้ มลู ปัญหาแม่วัยรุ่นที่ต้งั ครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดู จำนวน 6,081 คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183 คน) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นปัญหา ที่สำคญั ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก จึงเหน็ ควรให้มีมาตรการในการเฝา้ ระวัง และติดตามเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ในกลุ่มครวั เรือนที่มีความเปราะบาง สร้างคา่ นิยมเร่อื งเพศสมั พนั ธท์ ่ีมี สขุ ภาวะ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การสอดแทรกเร่อื งทกั ษะชวี ิตในวัยรุ่น และการรักษาการอยู่ในระบบการศกึ ษาของวัยร่นุ 2. จากข้อมูลสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มีจำนวนมากที่สุด คือ 37,939 คน หรือร้อยละ 2.29 ของจำนวนสตรีทั้งหมด จำนวน 1,657,350 คน โดยเฉพาะในจังหวัดอยู่ในพื้นที่ในเขตระเบียง เศรษฐกิจพเิ ศษภาคตะวันออก หรอื EEC ซ่งึ ได้แกจ่ ังหวดั ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซ่งึ เปน็ พ้ืนท่ีที่มีศักยภาพทาง เศรษฐกิจ และการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก และที่ได้รับผลกระทบ กับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบาง ที่ส่งผลให้มีความต้องการ การช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น และเร่งด่วน ดังนั้น ควรมีการขยายโอกาสการประกอบอาชีพ เสริมทักษะเดิม เพิ่มทักษะ อาขพี ใหม่ (Upskill & Reskill) การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ ให้กับผ้ไู ดร้ ับผลกระทบจากโรค COVID-19 ในทกุ จังหวัด 3. จากข้อมูลปัญหาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 22,318 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 และปัญหา ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้/ไม่มีรายได้/ผู้ป่วยเรื้อรังติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 17,765 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของประชากรผูส้ งู อายทุ ั้งหมดในกลุ่มจังหวัดตะวนั ออก ควรมีการรองรบั สังคมผู้สูงอายุ โดยการส่งเสริมคณุ ภาพชีวติ ผสู้ งู อายุ สง่ เสริมการจา้ งงานผ้สู งู อายุ ทั้งผมู้ ีรายไดน้ ้อยและผ้สู ูงอายุที่มีทักษะความชำนาญ จดั เตรียมระบบการดูแล ผู้สูงอายุในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว และดแู ลใหผ้ ้สู งู อายไุ ดร้ ับเบยี้ ยงั ชีพอย่างครบถ้วน 4. จากปัญหาครอบครัวยากจน จำนวน 26,944 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของกลุ่มครอบครัวทั้งหมด ควรมีการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา รายครัวเรือนและช่วยเหลือแบบองค์รวมบูรณาการการช่วยเหลือระหว่าง หน่วยงาน โดยจัดทำแผนพฒั นาครอบครัว ระยะเรง่ ดว่ น ระยะกลาง ระยะยาว เพอื่ ให้ครอบครวั สามารถพงึ่ ตนเองได้ 5. จากข้อมูลปัญหาคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ มีจำนวน 522 คน หรือ ร้อยละ 0.40 ปัญหาคนพิการ มีความต้องการกายอุปกรณ์ จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 และลำดับท่ีสามคนพิการที่อยู่คนเดียวตามลำพัง/ ไม่มีผู้ดูแล/ถูกทอดทิ้ง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของประชากรคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ทรี่ บั ผิดชอบ ควรจัดหาผ้ดู ูแลผพู้ กิ าร โดยเฉพาะคนพกิ ารทีต่ ดิ เตียง เชน่ Long Term Care หรอื Care Giver หรอื การ วางระบบการดแู ลคนพิการทม่ี ีมาตรฐาน และดูแลให้ผพู้ ิการได้รบั เบี้ยยงั ชีพคนพิการอย่างครบถว้ น 6. จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid-19 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกที่เป็นพื้นที่สีแดง ควรมีการปรับรูปแบบ วิธีการฝึกอาชีพ โดยให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงได้ และเป็นอาชีพที่สามารถดำเนินการได้ในช่วงสถานการณ์ โควิด- 19 เช่น การขายของออนไลน์ จัดส่งพัสดุและส่งอาหาร สอนทำอาหาร สอนจัดดอกไม้ออนไลน์ รับซ่อม โทรศัพท์มือถือ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ฯลฯ โดยมีการส่งเสริมให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแสวงหา ชอ่ งทางการตลาดสมัยใหม่ได้

ฉฌ ขอ้ เสนอเชงิ ปฏบิ ัติ 1. การใช้ฐานข้อมูล TP MAP ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันทั้งประเทศในการวิเคราะห์วางแผนการ ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย และการเพิ่มเติมฐานข้อมูล TP MAP เมื่อได้มีการช่วยเหลือเพื่อเป็นประโยชน์ แก่หน่วยงานท่เี กีย่ วข้อง สามารถวางแผนบูรณาการการช่วยเหลือร่วมกนั ได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ไดว้ ิเคราะห์ ปัญหาร่วมกัน และช่วยกันแก้ปัญหาให้กับครอบครัวเปราะบางได้อย่างรวดเร็ว และรอบด้าน รวมถึงกลุ่ม จังหวดั ภาคตะวันออกสามารถนำขอ้ มูลไป จัดทำโครงการภายใต้แผนพัฒนาภาค ทั้งนต้ี อ้ งมกี ารประเมินติดตาม ผลอยา่ งต่อเน่ือง เพอ่ื ให้กลมุ่ เปราะบางสามารถพึ่งตนเองได้อยา่ งยั่งยืน 2. การพัฒนาศักยภาพคนพิการในการต่อยอดอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 35 เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพ และสำหรับคนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการตามมาตรา 33 ควรได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทักษะการปรับตัว เพื่อให้สถานประกอบการรับคนพิการ เขา้ ทำงานท่มี ีศกั ยภาพเชน่ คนปกติ 3. การส่งเสริมองค์กรภาคีเครือข่าย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และสภาเด็กและเยาวชน ให้มคี วามเขม้ แข็งและเขา้ มามีสว่ นรว่ มในการพัฒนาชมุ ชน 4. การส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุแก่คนในชุมชน กลุ่ม/ชมรม ผู้สูงอายุ มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแสวงหาช่องทาง การตลาดสมัยใหมไ่ ด้ ทำใหส้ ามารถเพ่มิ มลู คา่ ของผลติ ภัณฑน์ น้ั ได้ รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวนั ออก

งช หนา้ ก สารบญั ข-ฉ เร่ือง ชง คำนำ ซฉ บทสรุปผู้บริหาร ฌซ สารบัญ ฌญ สารบัญตาราง 1 สารบัญแผนภมู ิ 1 สารบัญภาพ ส่วนที่ 1 บทนำ 2 1.1 หลักการและเหตผุ ล 2 1.2 วตั ถุประสงค์ 1.3 วิธีการดำเนินงาน 2 1.4 ประโยชน์ท่คี าดวา่ จะไดร้ ับ ส่วนท่ี 2 ข้อมูลพ้ืนฐานในพ้ืนที่กลมุ่ จงั หวดั ในเขตรับผดิ ชอบของ สสว.2 3 2.1 ทต่ี ง้ั และอาณาเขต 3 2.2 ลกั ษณะภมู ิประเทศ 2.3 ลกั ษณะภูมิอากาศ 4 2.4 ข้อมลู การปกครอง 2.5 ด้านประชากร 4 2.6 ดา้ นศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และข้อมลู ชาติพันธ์ 2.7 ดา้ นสาธารณสขุ 5 2.8 ดา้ นการศึกษา 2.9 ด้านแรงงาน 6 2.10 ดา้ นที่อยู่อาศัย 2.11 ดา้ นเศรษฐกจิ และรายได้ 7 2.12 ดา้ นภาคีเครอื ข่าย ส่วนที่ 3 สถานการณก์ ล่มุ เป้าหมายทางสงั คมระดบั กลุ่มจังหวดั 12 3.1 กลุ่มเด็ก 3.2 กลุ่มเยาวชน 14 3.3 กลมุ่ สตรี 3.4 กลุ่มครอบครวั 17 3.5 กลมุ่ ผู้สูงอายุ 3.6 กลุ่มคนพิการ 18 3.7 กลุม่ ผ้ดู ้อยโอกาส 19 24 38 38 39 40 41 42 43 45

ชจ สารบญั (ตอ่ ) เร่อื ง หน้า ส่วนที่ 4 สถานการณ์เชงิ ประเด็นทางสงั คมในระดับกลุ่มจงั หวดั 46 4.1 สถานการณก์ ารค้ามนุษย์ 46 4.2 ความรุนแรงในครอบครัว 56 4.3 การใหบ้ ริการของศูนยช์ ่วยเหลอื สังคมสายด่วน 1300 61 สว่ นท่ี 5 การวเิ คราะห์และจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวัด 74 5.1 สถานการณ์เชงิ กลมุ่ เปา้ หมายในพื้นทีก่ ลุ่มจงั หวดั 74 5.1.1 กลมุ่ เดก็ 74 5.1.2 กล่มุ เยาวชน 75 5.1.3 กลุ่มสตรี 75 5.1.4 กลมุ่ ครอบครวั 76 5.1.5 กลุ่มผู้สูงอายุ 76 5.1.6 กลมุ่ คนพิการ 77 5.1.7 กลมุ่ ผูด้ อ้ ยโอกาส 77 5.2 สถานการณ์สำคญั ในพนื้ ทก่ี ล่มุ จงั หวัด 78 5.2.1 สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 78 5.2.2 บทบาทการดําเนินงานของ สสว. 2 ในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควดิ -19 79 ส่วนท่ี 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 82 6.1 บทสรุป 82 6.2 ขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย 88 6.3 ข้อเสนอแนเชิงปฏิบัติ 89 บรรณานกุ รม 90 รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวนั ออก

ฉซ สารบญั ตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 2.1 แสดงทต่ี ั้งและอาณาเขตพืน้ ที่กล่มุ จังหวดั ในเขตรบั ผดิ ชอบของ สสว.2 3 ตารางท่ี 2.2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพนื้ ทีก่ ลุ่มจังหวดั ในเขตรับผิดชอบของ สสว.2 5 ตารางท่ี 2.3 จำนวนประชากรรายจังหวัดพน้ื ทภี่ าคตะวันออก (ชลบรุ ี ระยอง จันทบรุ ี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว) ปี พ.ศ. 2563 จำแนกตามเพศ 6 ตารางท่ี 2.4 แสดงจำนวนประชากรแยกตามชว่ งอายุ จำแนกตามเพศ และจังหวดั 7 ตารางที่ 2.5 แสดงจำนวนหน่วยบรกิ ารสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชน จำแนกตาม จงั หวัดในเขตพืน้ ทร่ี ับผดิ ชอบของ สสว.2 12 ตารางท่ี 2.6 แสดงจำนวนประชากรตอ่ แพทยร์ ายจังหวัด 13 ตารางที่ 2.7 แสดงสาเหตกุ ารตาย 5 อนั ดบั แรกจากโรคตา่ งๆ จังหวดั ในเขตพน้ื ทรี่ ับผิดชอบของ สสว.2 13 ตารางที่ 2.8 จำนวนนักเรียนนกั ศกึ ษาในระบบ จำแนกตามระดับชน้ั ปี พ.ศ. 2563 14 ตารางท่ี 2.9 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสงั กดั รายจงั หวัด ปีการศกึ ษา 2563 14 ตารางท่ี 2.10 คะแนนเฉลย่ี การทดสอบ O-Net ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ. 2561-2563. 15 ตารางท่ี 2.11 ค่าเฉล่ียเชาวน์ปญั ญา (IQ) ของเดก็ นกั เรยี นไทยชั้นประถมศึกษาปที ี่ 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 2563 16 ตารางที่ 2.12 ภาวการณม์ งี านทำของประชากรในกลุ่มจังหวดั ภาคตะวนั ออก ไตรมาส 4 (ตลุ าคม-ธันวาคม 2563) 17 ตารางที่ 2.13 จำนวนคนต่างด้าวทไี่ ดร้ บั อนญุ าตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2559-2563 ของกลมุ่ จังหวัดภาคตะวนั ออก 17 ตารางท่ี 2.14 แสดงจำนวนชมุ ชนผมู้ รี ายได้นอ้ ยของกลุม่ จงั หวัด พ.ศ 2563 18 ตารางท่ี 2.15 แสดงการขยายตวั ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 19 ตารางที่ 2.16 แสดงผลิตภณั ฑจ์ งั หวดั ต่อหัว (GPP per capita) ปี 2563 20 ตารางท่ี 2.17 แสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครวั เรอื นของกลุม่ จังหวดั พ.ศ. 2558 –2562 20 ตารางท่ี 2.18 แสดงหนสี้ นิ เฉล่ยี ตอ่ ครัวเรือน จำแนกตามวัตถปุ ระสงค์ของการกยู้ ืม พ.ศ. 2558 – 2562 21 ตารางที่ 2.20 แสดงจำนวนองค์กรภาคเี ครอื ข่าย 24 ตารางท่ี 2.21 แสดงข้อมลู ความม่ันคงของมนษุ ย์ มติ ทิ อ่ี ยู่อาศยั จำแนกรายจังหวดั ปี 2562 26 ตารางที่ 2.22 แสดงข้อมลู ความมน่ั คงของมนษุ ย์ มติ ิสุขภาพ จำแนกรายจังหวดั ปี 2562 27 ตารางที่ 2.23 แสดงข้อมูลความม่นั คงของมนษุ ย์ มิติอาหาร จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 28 ตารางที่ 2.24 แสดงข้อมูลความมัน่ คงของมนษุ ย์ มติ ิการศกึ ษา จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 29 ตารางท่ี 2.25 แสดงข้อมลู ความมั่นคงของมนษุ ย์ มติ กิ ารมงี านทำและรายได้ รายจงั หวดั ปี 2562 30 ตารางที่ 2.26 แสดงขอ้ มลู ความมัน่ คงของมนุษย์ มติ คิ รอบครวั จำแนกรายจงั หวัด ปี 2562 31 ตารางท่ี 2.27 แสดงข้อมลู ความมั่นคงของมนุษย์ มิติชมุ ชนและการสนับสนนุ ทางสงั คมรายจังหวัด ปี 2562 32 ตารางท่ี 2.28 แสดงข้อมลู ความม่ันคงของมนุษย์ มิตศิ าสนาและวัฒนธรรม รายจงั หวัดปี 2562 33 ตารางท่ี 2.29 แสดงขอ้ มลู ความม่ันคงของมนุษย์ มติ คิ วามปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ รายจงั หวดั ปี 2562 34 ตารางท่ี 2.30 แสดงขอ้ มูลความมน่ั คงของมนษุ ย์ สทิ ธิและความเป็นธรรม รายจังหวัด ปี 2562 35

ซช สารบัญตาราง (ตอ่ ) ตารางที่ หน้า ตารางที่ 2.31 แสดงข้อมูลความมน่ั คงของมนุษย์ มิติการเมอื ง จำแนกรายจงั หวดั ปี 2562 36 ตารางที่ 2.32 แสดงข้อมลู ความม่ันคงของมนุษย์ มติ ิส่งิ แวดล้อม ทรัพยากร/พลงั งาน รายจังหวดั ปี 2562 37 ตารางท่ี 3.1 แสดงสถานการณ์เด็ก จำแนกตามจังหวดั 38 ตารางท่ี 3.2 แสดงสถานการณ์เยาวชน จำแนกตามจังหวดั 39 ตารางที่ 3.3 แสดงสถานการณ์กลุ่มสตรี จำแนกตามจงั หวัด 40 ตารางที่ 3.4 แสดงสถานการณ์กลมุ่ ครอบครัวจำแนกตามจงั หวัด 41 ตารางที่ 3.5 แสดงสถานการณผ์ ้สู งู อายุ จำแนกตามจงั หวดั 42 ตารางท่ี 3.6.1 แสดงสถานการณค์ นพิการ จำแนกตามจังหวัด 43 ตารางที่ 3.6.2 แสดงจำนวนคนพกิ ารจำแนกตามสาเหตุความพิการ แยกรายจงั หวดั 44 ตารางท่ี 3.7 แสดงสถานการณก์ ลมุ่ ผู้ด้อยโอกาส จำแนกตามจังหวดั 45 ตารางที่ 4.1 ตารางจำแนกผเู้ สยี หายจากการคา้ มนษุ ย์ จงั หวดั ระยอง 48 ตารางท่ี 4.2 แสดงสถิตผ้เู สยี หายจากการค้ามนุษยจ์ งั หวัดตราด 50 ตารางที่ 4.3 แสดงสถิติคดที เี่ ร่ิมสอบสวนจำแนกตามรูปแบบการแสวงหาผลประโยชน์ 53 ตารางที่ 4.4 แสดงสถติ กิ ารฟอ้ งคดตี ่อศาลจำแนกตามรปู แบบการแสวงหาประโยชน์ 53 ตารางท่ี 4.5 แสดงสถิติการพิพากษาลงโทษของศาลถึงทีส่ ดุ ปงี บประมาณ 2561-2563 53 ตารางที่ 4.6 จำนวนผู้ขอมบี ัตรประจำตวั แสดงความสามารถจังหวดั สระแกว้ ประจำปี 2563 55 ตารางท่ี 4.7 จำนวนประเภทความรุนแรงในครอบครัวกลุม่ จงั หวดั ตะวันออก ปี 2564 58 ตารางที่ 4.8 จำนวนสาเหตุของกระทำความรนุ แรงในครอบครัวกลุ่มจังหวัดตะวันออกปี 2564 จำแนกตามสาเหตุ 58 ตารางที่ 4.9 แสดงสถิติการให้บริการตามกลุ่มเป้าหมาย จำแนกรายไตรมาส 61 ตารางท่ี 4.10 แสดงแนวโนม้ การใหบ้ ริการตามกล่มุ เป้าหมายเด็ก จำแนกตามรายไตรมาส 63 ตารางที่ 4.11 แสดงสถิติการใหบ้ รกิ ารตามกลุ่มเปา้ หมายเยาวชน จำแนกรายไตรมาส 65 ตารางท่ี 4.12 แสดงแนวโน้มสถติ กิ ารให้บรกิ ารกลุ่มเป้าหมายผใู้ หญ่ จำแนกรายไตรมาส 67 ตารางที่ 4.13 แสดงสถิติการใหบ้ ริการตามกลมุ่ เปา้ หมายผู้สงู อายุ จำแนกรายไตรมาส 69 ตารางที่ 4.14 แสดงการใหค้ วามชว่ ยเหลือผรู้ ับบรกิ าร จำแนกตามไตรมาส 71 ตารางที่ 4.15 แสดงพ้นื ท่ีให้บรกิ าร จำแนกรายไตรมาส 72 ตารางที่ 5.1 แสดงผลการจัดลำดบั ความรนุ แรงของสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวดั กลมุ่ เด็ก 73 ตารางที่ 5.2 แสดงผลการจัดลำดับความรนุ แรงของสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจงั หวดั กลมุ่ เยาวชน 74 ตารางที่ 5.3 แสดงผลการจดั ลำดบั ความรนุ แรงของสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวดั กลมุ่ สตรี 74 ตารางที่ 5.4 แสดงผลการจดั ลำดบั ความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มครอบครัว 75 ตารางที่ 5.5 แสดงผลการจัดลำดบั ความรนุ แรงของสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หววดั กลมุ่ ผ้สู ูงอายุ 75 ตารางท่ี 5.6 แสดงผลการจดั ลำดับความรนุ แรงของสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจงั หวัด กลุ่มคนพกิ าร 76 ตารางท่ี 5.7 แสดงผลการจดั ลำดับความรุนแรงของสถานการณท์ างสังคมกลุม่ จังหวัด กลมุ่ ผู้ดอ้ ยโอกาส 76 รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวันออก

ซฌ สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิท่ี หน้า แผนภูมิท่ี 1 สดั สว่ นประชากรหญงิ – ชาย 6 แผนภูมทิ ่ี 2 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสงั กดั รายจงั หวดั ปีการศึกษา 2563 15 แผนภูมทิ ี่ 3 แสดงคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ O-net ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลายปีพ.ศ. 2561 – 2563 16 แผนภูมทิ ่ี 4 กราฟแสดงจำนวนคนตา่ งด้าวที่ไดร้ ับอนุญาตทำงานคงเหลือพ.ศ. 2559 – 2563 18 แผนภมู ิท่ี 5 แสดงหนีส้ ินเฉลี่ยตอ่ ครวั เรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกยู้ ืม ปี พ.ศ. 2563 23 แผนภูมทิ ี่ 6.1 จำนวนองค์กรภาคีเครอื ข่าย ปี 2564 25 แผนภูมิท่ี 6.2 ภาคีเครือขา่ ยอาสาสมัคร ปี 2564 25 แผนภมู ิท่ี 7 แสดงจำนวนการดำเนนิ คดีการค้ามนุษย์จงั หวัดชลบุรปี ี 2564 47 แผนภมู ิที่ 8 จำนวนผถู้ ูกกระทำความรุนแรงในครอบครวั จำแนกตามเพศกลุ่มจังหวัดตะวนั ออกปี 2564 57 แผนภมู ทิ ่ี 9 จำนวนประเภทความรุนแรงในครอบครัวกล่มุ จังหวดั ตะวนั ออกปี 2564 58 แผนภมู ทิ ี่ 10 จำนวนสาเหตุของการกระทำความรุนแรงในครอบครวั กลุ่มจังหวดั ตะวันออกปี 2564 59 แผนภมู ทิ ี่ 11 แสดงแนวโน้มการใหบ้ รกิ ารตามกลมุ่ เปา้ หมาย จำแนกรายไตรมาส 62 แผนภูมิท่ี 12 แสดงแนวโน้มสถิติการใหบ้ ริการกลุ่มเปา้ หมายเด็ก จำแนกรายไตรมาส 64 แผนภมู ทิ ่ี 13 แสดงแนวโน้มสถิติการให้บริการกลมุ่ เปา้ หมายเยาวชน จำแนกรายไตรมาส 66 แผนภมู ิที่ 14 แสดงแนวโนม้ สถิตกิ ารให้บริการสำหรับกลุม่ เปา้ หมายผูใ้ หญ่ 68 แผนภมู ทิ ่ี 15 แสดงแนวโนม้ สถิตกิ ารใหบ้ ริการกลุ่มเปา้ หมายผสู้ ูงอายุ จำแนกรายไตรมาส 70 แผนภมู ทิ ่ี 16 แสดงสถานการณ์แนวโน้มการใหค้ วามชว่ ยเหลอื จำแนกรายไตรมาส 71 แผนภูมทิ ่ี 17 แสดงสถานการณ์แนวโน้มพน้ื ที่ใหบ้ รกิ าร จำแนกรายไตรมาส 72 แผนภมู ิท่ี 18 จำนวนผตู้ ดิ เช้ือ Covid-19 ของประเทศไทย 77

สารบัญภาพ ญฌ ภาพที่ หน้า ภาพท่ี 1 แผนทแี่ สดงอาณาเขตของกลุ่ม 7 จังหวัดภาคตะวันออก 3 ภาพท่ี 2 แผนท่ีจังหวัดชลบุรี 46 ภาพที่ 3 MODEL 1300 จังหวัด 60 ภาพที่ 4 สถติ ิการให้บริการศูนย์ช่วยเหลอื สงั คมสายดว่ น 1300 61 ภาพท่ี 5 จำนวนผไู้ ด้รับวัคซนี ป้องกนั โควดิ ในประเทศไทย (14 กันยายน 2564) 78 ภาพที่ 6 สถานการณผ์ ูต้ ิดเชือ้ Covod-19 ของประเทศไทย (14 กนั ยายน 2564) 78 ภาพที่ 7 สถานการณ์ผู้ตดิ เช้อื Covid-19 ของกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออกในเขตรับผิดชอบ สสว.2 79 รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออก

1 สว่ นท่ี 1 บทนำ 1.1 หลกั การและเหตผุ ล ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีสาระสำคัญ เกย่ี วขอ้ งกบั การบรู ณาการ โดยกำหนดว่า “ในกรณที ่ีภารกิจใดมีความเก่ยี วข้องกับหลายสว่ นราชการหรือเป็นภารกิจ ที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เก่ียวข้องนั้นกำหนดแนวทางปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหาร ราชการแบบบรู ณาการร่วมกนั โดยมงุ่ ใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธต์ิ ่อภารกิจของรัฐ”(มาตรา 10 วรรค 1) ในทางปฏบิ ัติแม้วา่ จะมี ความพยายามในการบริหารแบบบูรณาการในภารกิจที่มีความสำคัญหลายเรื่อง แต่ยังเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนในการ ปฏิบัตใิ นหลายๆ ภารกิจ เป็นผลใหส้ ้นิ เปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก การปฏิรูปงบประมาณประเทศจาก “ระบบงาน งบประมาณเชิงยทุ ธศาสตร”์ สู่ “ระบบงบประมาณเชิงพน้ื ท”ี่ (Arae-Based Budgeting : ABB) ซง่ึ เป็นแนวคิดของการ ทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) โดยมีการฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ มีกระบวนการทำ แผนพัฒนาจากล่างขึ้นบนตั้งแต่แผนชุมชนจนถึงแผนจังหวัด และให้หน่วยงานทั้งภูมิภาคและท้องถิ่นร่วมกัน กลั่นกรอง ทำให้งบประมาณสามารถใช้ให้ตรงกับปัญหาความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลการใช้งบประมาณแผ่นดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ บริหารจัดการตนเอง การสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาล การควบคุมพฤติกรรมนักการเมือง โดยประชาชนใน พื้นที่และการบูรณาการการทำงานของหน่วย Function และหน่วย Area ที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกันซึ่งตามแผนปฏิรูป กำหนดใหเ้ ริ่มตั้งแตป่ ีงบประมาณ 2548 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 (สสว.) เป็นส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยมอี ำนาจหนา้ ที่ คอื ข้อ 1 พัฒนางานด้านวิชาการเกย่ี วกบั การพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ให้สอดคล้อง กับพน้ื ท่แี ละเป้าหมาย ขอ้ 2 ส่งเสรมิ และสนับสนนุ งานด้านวิชาการองค์ความรู้ข้อมูลสารสนเทศให้คำปรึกษาแนะนำ แก่หน่วยงานบริการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ ในความรับผิดชอบของกระทรวง รวมท้ัง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและประชาชน ข้อ 3 ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และ สภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนา สังคมและการจดั ยุทธศาสตร์ในพ้นื ที่กลุ่มจังหวัด ขอ้ 4 สนบั สนุนการนิเทศงาน ตดิ ตามประเมินผลการดำเนินงานเชิง วิชาการตามนโยบายและภารกิจของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด มีหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นอกจากนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการทำหน้าที่เชื่อมโยงประสานนโยบายระหว่างหน่วยงาน ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคในการแปลงนโยบาย ข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้ และแผนต่างๆ ของกระทรวงฯ ให้เกิด การบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ในส่วนภูมิภาค ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และมีการ ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการโครงการ ด้านสังคมเชิงพื้นที่ในระดับพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทั้งในส่วนของแผนปฏิบัติงานและแผนคำของบประมาณ เชิงพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาสังคมและ สวัสดิการสงั คมทีส่ อดคลอ้ งกับพืน้ ทีแ่ ละยุทธศาสตรอ์ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก

2 ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมและคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทาง สังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 จังหวัดชลบุรี ทีค่ รอบคลุม 7 จังหวดั ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บุรี สระแกว้ 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ 1.2.1 เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในเขตพื้นท่ี รบั ผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสรมิ และสนับสนุนวิชาการ 2 1.2.2 เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนุนวชิ าการ 2 1.2.3 เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 2 1.3 วิธกี ารดำเนนิ งาน  ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 - 11 ได้ตกลงร่วมกันและ มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการ ดำเนนิ การเพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสงั คม โดยมีการดำเนินการเพอื่ ขับเคลอื่ นงาน ดังน้ี 1) ประชุมชี้แจงแนวทางและกำหนดรูปแบบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับ กลุ่มจังหวัด ประจำปี 2564 2) สสว.1-11 จดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมกล่มุ จังหวดั ตามเขตพ้นื ท่รี ับผดิ ชอบ 3) นำเสนอรายงานให้จังหวัด (พมจ.) นำไปขบั เคลอื่ นโครงการระดับจงั หวดั 4) ประชมุ ถอดบทเรียนการจดั ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวดั ประจำปี 2564 5) เผยแพรแ่ ละประชาสมั พนั ธ์การนำไปใช้ประโยชน์ผา่ นชอ่ งทางตา่ งๆ 1.4ประโยชน์ที่คาดวา่ จะได้รับ 1) มีข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมระดับพื้นที่ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถใช้ประโยชน์ ในการป้องกัน และแก้ไขปญั หาสังคม 2) หน่วยงานระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด สามารถนำข้อมูลในพื้นที่ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ ในการคุ้มครอง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางสังคมในระดับพื้นที่ และหน่วยงานระดับ กระทรวง สามารถนำข้อมูลในภาพรวมไปใช้ประโยชน์วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาทางสังคมที่สำคัญและ กำหนดนโยบาย แผนงานในการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหาสังคมภาพรวมตอ่ ไป

3 ส่วนที่ 2 ขอ้ มูลพ้นื ฐานในพืน้ ที่กลุ่มจังหวดั ในเขตรับผิดชอบของ สสว.2 (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชงิ เทรา ปราจีนบรุ ี สระแกว้ ) 2.1 ทต่ี งั้ และอาณาเขต ตารางท่ี 2.1 แสดงท่ีต้ังและอาณาเขตพน้ื ที่กลมุ่ จังหวัดในเขตรับผดิ ชอบของ สสว.2 จงั หวดั พน้ื ท่ี ไร่ จำนวนประชากร ความหนาแน่น ตารางกโิ ลเมตร (คน) ของประชากร (ตร.กม./คน) ชลบรุ ี 4,363 2,726,875 1,566,885 1 ตร.กม. : 359 คน ระยอง 3,552 2,220,000 741,524 1 ตร.กม. : 208 คน จนั ทบุรี 6,338 3,961,250 535,559 1 ตร.กม. : 84 คน ตราด 2,819 1,716,000 228,536 1 ตร.กม. : 81 คน ฉะเชิงเทรา 5,370 3,344,375 720,718 1 ตร.กม. : 134 คน ปราจีนบรุ ี 4,762 2,976,475 493,670 1 ตร.กม.: 103 คน สระแกว้ 7,195 4,496,962 560,925 1 ตร.กม. : 78 คน รวม 34,380 20,443,497 4,847,817 1 ตร.กม. : 141 คน ทม่ี า ..กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยวันท่ี 31 ธนั วาคม 2563 จากข้อมูลตารางที่ 1 พบว่า จังหวัดสระแก้ว มีขนาดพื้นที่มากเป็นอันดับ 1 ของพื้นที่ ภาคตะวันออก คือ มีพื้นที่ 7,195 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,496,962 ไร่ รองลงมา คือ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นท่ี 6,338 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,961,250 ไร่ และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 5,370 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,344,375 ไร่ ทัง้ นีค้ วามหนาแน่น ของประชากร พบวา่ จังหวดั ชลบุรี มคี วามหนาแน่นของประชากรมากท่ีสุด คือ 359 คน/1 ตร.กม. รองลงมา จงั หวดั ระยอง 208 คน/1 ตร.กม. และจังหวัดฉะเชงิ เทรา 134 คน/1 ตร.กม. ภาพที่ 1 แผนท่แี สดงอาณาเขตของกลุ่มจังหวดั 7 จงั หวดั ภาคตะวนั ออก รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

4 2.2 ลกั ษณะภมู ิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาลูกเตี้ยมาก ๆ มีชายฝั่งทะเลที่เรียบยาวและโค้งเว้า มีทิวเขาจันทบุรีอยู่ทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก ทอดตัวไปทางด้านทิศตะวันตก จรดกับทิวเขาบรรทัด ซึ่งเป็นทิวเขาที่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา และมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย ทไ่ี หลลงสูอ่ า่ วไทยไดแ้ ก่ แม่น้ำระยอง แมน่ ้ำจันทบรุ ี แมน่ ำ้ ประแสร์ แม่นำ้ ตราด แมน่ ำ้ บางปะกง นอกจากนี้ พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว พื้นที่ตอนบน เป็นแนวเทือกเขาสูงอยู่ในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวดั สระแก้ว ซึ่งแนวเขาสูงดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาตเิ ขาใหญ่ มี ระดับความสงู ของยอดเขาอยใู่ นช่วง 300 - 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พ้นื ทขี่ องภาคตะวันออกมีขอบเขตจรดภูมิภาคตา่ ง ๆ ดงั นี้ ทิศเหนอื ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื อาทิ นครราชสีมา บุรรี ัมย์ ทศิ ตะวนั ออก จรดประเทศกมั พชู า ทิศตะวนั ตก จรดภาคกลาง สมุทรปราการ ปทมุ ธานี และนครนายก ทิศใต้ จรดอ่าวไทย มีแนวชายฝั่งทะเลยาว 500 กิโลเมตรแยกเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรา 12 กิโลเมตร จังหวัดชลบุรี 172 กิโลเมตร จังหวัดระยอง 104 กิโลเมตร จังหวัดจันทบุรี 108 กิโลเมตร และ จังหวดั ตราด 104 กิโลเมตร จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่กว้างใหญ่ มีโรงงาน อุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้พลังงานจาก ก๊าซธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบ ภมู ิภาคน้ียงั เปน็ ท่ีตง้ั ของสนามบินอู่ตะเภา ซึง่ เปน็ สนามบนิ ของทหาร ใช้เป็นท่ีจอดเครื่องบินขณะร่วม ซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรฐั อเมริกา อีกทง้ั ยังใช้เป็นสนามบินสำหรบั เครื่องบินเช่าเหมา ของนกั ท่องเที่ยวจาก ต่างประเทศ 2.3 ลักษณะภมู ิอากาศ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เขตอากาศแบบสะวันนา (Savanna Climate) ส่วนใหญ่ ในพ้ืนท่ีจังหวดั ชลบรุ ี และจงั หวดั ระยอง ลักษณะอากาศจะมชี ่วงฤดูแลง้ สลบั ฤดูฝนอย่างชดั เจน อทิ ธิพลจากลม มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้อากาศแห้งแล้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม และฝนเริ่มตกตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม ปริมาณฝนเพม่ิ ข้นึ ตามลำดับ โดยปรมิ าณฝนรวมเกิน 60 มลิ ลเิ มตร ใน 8 เดือน และฝนตกชกุ ท่สี ดุ ในเดอื นสงิ หาคม ทั้งนี้ ลักษณะภูมิอากาศ ส่วนใหญ่มีอากาศร้อน โดยทั่วไปบางพื้นที่อากาศร้อนจัด ปริมาณฝน น้อยและต่ำกว่าค่าปกติ ทำให้มีฟ้าคะนองเป็นบางแห่ง หรือประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชก แรงบางแห่ง สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี สูงกว่าค่าปกติประมาณ 27 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดอยู่ในจังหวัดชลบุรีและจากลมทะเลพัดผ่านตลอดเวลา อากาศเย็นสบายตลอดปีไม่ร้อนจัดและไม่หนาว เย็น ความช้นื ในอากาศสงู สภาพอากาศเปน็ ไปตามฤดูกาล แบง่ ไดเ้ ป็น 3 ฤดู คอื

5 - ฤดูร้อน เรม่ิ ตง้ั แต่เดอื นมีนาคม ถงึ เดอื นพฤษภาคม อุณหภมู อิ ยูร่ ะหว่าง 23.7 - 35.4 องศาเซลเซยี ส - ฤดูฝน เริม่ ตง้ั แตเ่ ดือนมิถนุ ายน ถงึ เดอื นตลุ าคม อณุ หภูมอิ ยู่ระหวา่ ง 23.0 - 33.2 องศาเซลเซยี ส - ฤดูหนาว เรม่ิ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถงึ เดอื นกมุ ภาพนั ธ์ อณุ หภูมิอย่รู ะหว่าง 19.3 - 34.7 องศาเซลเซียส 2.4 ขอ้ มลู การปกครอง 2.4.1 การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการ ภูมิศาสตร์แห่งชาติ โดยภาคตะวันออก ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี และตราด นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคตะวันออกมีทั้งหมด 9 จังหวัด ประกอบด้วย 7 จังหวัด ขา้ งตน้ รวมกับจงั หวัดนครนายก และจังหวดั สมุทรปราการ 2.4.2 การปกครอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 63 อำเภอ 458 ตำบล 4,451 หมู่บ้าน ในส่วน การปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 แห่ง เทศบาลนคร 3 แห่ง (จังหวัดชลบุรี 2 แห่ง และจังหวัดระยอง 1 แห่ง) เทศบาลเมือง 23 แห่ง เทศบาลตำบล 176 แห่ง และองค์การบริหาร สว่ นตำบล 328 แหง่ ดังรายละเอียดตารางท่ี 2.2 ตารางท่ี 2.2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพ้นื ท่ีกลุ่มจังหวัดในเขตรับผดิ ชอบของ สสว.2 จังหวัด อำเภอ ตำบล หมูบ่ ้าน อบจ. เทศบาล เทศบาล เทศบาล (หน่วย:แห่ง) ชลบุรี นคร เมือง ตำบล อบต. 11 92 687 1 2 10 36 49 ระยอง 8 58 441 1 1 2 27 37 จันทบุรี 10 76 731 1 - 5 40 34 ตราด 7 38 261 1 - 1 13 29 ฉะเชิงเทรา 11 91 892 1 - 1 33 74 ปราจนี บรุ ี 7 65 708 1 - 2 12 55 สระแกว้ 9 58 731 1 - 3 13 49 รวม 63 458 4,451 7 3 23 176 328 ทีม่ า : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, วันที่ 31 ธันวาคม 2563 รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออก

6 2.5 ด้านประชากร ตารางท่ี 2.3 จำนวนประชากรรายจงั หวัดพื้นทีภ่ าคตะวันออก (ชลบรุ ี ระยอง จนั ทบรุ ี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบรุ ี สระแก้ว) ปี พ.ศ. 2563 จำแนกตามเพศ (หนว่ ย : คน) จงั หวัด เพศ ชาย หญงิ รวม ชลบุรี 763,983 802,902 1,566,885 ระยอง 364,200 377,324 741,524 จันทบุรี 262,027 273,532 535,559 ตราด 113,131 115,405 228,536 ฉะเชิงเทรา 353,442 367,276 720,718 ปราจีนบรุ ี 244,018 249,652 493,670 สระแกว้ 280,017 280,908 560,925 รวม 2,380,818 2,466,999 4,847,817 ทมี่ า: ระบบสถติ ิทางทะเบียนกรมการปกครองข้อมลู ณ ธนั วาคม พ.ศ. 2563 จากตารางที่ 2.3 และแผนภูมิที่ 1 จำนวนประชากรจำแนกตามเพศ รายจังหวัด พื้นที่ภาค ตะวันออก 7 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทราปราจีนบุรี สระแก้ว ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 4,847,817 คน เป็นชายจำนวน 2,380,818 คน ร้อยละ 49.10 เป็นหญิงจำนวน 2,466,999 คน ร้อยละ 50.89 แผนภูมทิ ี่ 1 สัดส่วนประชากรหญิง - ชาย 2,380,818 คน หญิง ชาย 2,466,999 คน 50.89 % 49.1 % 4,847,817 คน ชาย หญิง

7 ตารางท่ี 2.4 แสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ และจังหวัด อายุ 0-17 ปี อายุ 18-25 ปี อายุ 26-59 ปี (หนว่ ย : คน) อายุ 60 ปขี ึน้ ไป จังหวัด ชาย หญงิ รวม ชาย หญงิ รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ชลบุรี 184,202 174,854 359,056 79,526 70,006 149,532 386,754 420,987 807,741 92,123 216,726 216,726 ระยอง 88,569 84,011 172,580 38,878 39,027 77,905 192,429 197,783 390,121 44,324 56,503 100,827 จนั ทบุรี 54,843 52,232 107,075 28,926 27,917 56,843 132,212 136,989 269,201 46,084 56,795 102,879 ตราด 22,533 21,282 43,815 11,833 11,175 23,008 54,341 55,426 109,767 19,194 22,569 41,763 ฉะเชิงเทรา 77,406 73,713 151,119 39,175 36,995 76,170 181,160 184,734 365,894 55,701 71,834 127,535 ปราจีนบุรี 52,315 49,554 101,869 30,684 25,454 56,138 122,868 126,114 248,982 36,499 47,674 84,339 สระแก้ว 64,292 60,872 125,164 210,469 190,970 401,439 147,197 147,270 294,467 39,715 46,453 86,168 รวม 544,160 516,518 1,060,678 439,491 401,544 841,035 1,216,961 1,269,303 2,486,173 333,640 518,554 760,237 ทม่ี า: ระบบสถติ ิทางทะเบยี นกรมการปกครองข้อมูล ณ ธันวาคม พ.ศ. 2563 จากตารางที่ 2.4 แสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ และจังหวัด ของ 7 จังหวัดภาคตะวันออก จะเห็นได้ว่าประชากรช่วงอายุระหว่าง 26-59 ปี มีมากที่สุดในกลุ่มจังหวัดนี้ จำนวน 2,486,173 คน รองลงมาคือชว่ งอายุ 0-17 ปี จำนวน 1,060,678 คน ถดั มา ช่วงอายุระหวา่ ง 18-25 ปี จำนวน 841,035 คน และอายุ 60 ปขี น้ึ ไป จำนวน 760,237 คน ʹǤ͸ ด้านศาสนาประเพณี วฒั นธรรม และขอ้ มลู ชาติพันธ์ 2.6.1 ศาสนา กลมุ่ จงั หวดั ภาคตะวันออก มีผนู้ ับถือศาสนาพุทธร้อยละ 97 ศาสนาคริสต์ รอ้ ยละ 1.5 อิสลามร้อยละ 1 และอื่น ๆ รอ้ ยละ 0.5 2.6.2 ประเพณี งานประเพณีของคนในภาคตะวันออกคือ งานบุญเช่นเดียวกับชนในภาคอื่น ที่ไปวัด ทำบญุ ในวนั สำคัญทางศาสนา มเี ทศกาลนมสั การหลวงพ่อโสธร ทีจ่ ังหวดั ฉะเชงิ เทรา งานสมโภชตน้ ศรีมหาโพธิ 200 ปี ทจ่ี ังหวัดปราจนี บรุ ี นอกจากน้เี ป็นเทศกาลสง่ เสรมิ ผลผลิตของภูมิภาคน้ี งานเทศกาลเกย่ี วกบั ผลไม้มีชื่อ แตกต่างกันไป แตจ่ ดั ต่อเนอื่ งกันท้งั จังหวดั ตราด จันทบุรี และระยอง นอกจากนัน้ มีประเพณวี ่ิงควาย และงาน เทศกาลพัทยาที่จังหวัดชลบุรี ส่วนจังหวัดระยองจัดงานวันเกาะแก้วพิสดาร และงานสุนทรภู่รำลึก ประเพณี แยกตามจังหวัด ดังน้ี รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวนั ออก

8 จงั หวดั ชลบุรี - งานเทศกาลพัทยา จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและ เผยแพร่ชื่อเสียงของพัทยา ภายในงานมีการประกวดขบวนรถบุปผชาติ การประกวดนางงาม การแข่งขันกีฬา ทางน้ำ และมหรสพตา่ ง ๆ - งานเทศกาลวนั ไหล เปน็ งานสงกรานตข์ องภาคตะวนั ออก มีความแตกต่างจากที่อ่ืน คือ จะเริ่มเล่นกันประมาณวนั ที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน โดยเรียกกันว่า \"วันไหล\" ส่วนที่พัทยาได้กำหนด วันไหลเป็นวันที่ 19 เมษายนของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว มีการละเล่นพื้นบ้านและ ขบวนแห่ต่าง ๆ - งานบุญกลางบ้านและเครื่องจักสานพนัสนิคม จัดเป็นประจำทุกปี เป็นงาน ประเพณที ่ีสืบทอดกันมาเป็นเวลาชา้ นาน มกี ารจดั งานในราวเดือน 3 ถงึ เดือน 6 โดยผูเ้ ฒ่าหรอื ชาวบา้ นทีน่ ับถือ จะเปน็ ผู้กำหนดวันทำบญุ ของชาวบา้ น หลังพธิ ีสงฆม์ กี ารรับประทานอาหารร่วมกัน และมีการละเลน่ พนื้ บา้ น - งานประเพณีกองข้าว จัดข้ึนทุกปีระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน ที่อำเภอศรีราชา เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ยังคงรักษาไว้ มีการจัดขบวนแห่ในชุดไทยประจำบ้าน พิธีบวงสรวง การละเล่นพื้นเมือง และการสาธติ การทำอาหาร - งานประเพณีวิ่งควาย จัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นประเพณีที่เก่าแก่ ของจังหวัดชลบุรี ในวันงานจะมีการแต่งควายอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรพรรณสีต่าง ๆ และนำควายมาชุมนุม ท่หี น้าเทศบาลเมอื งชลบุรี โดยจัดให้มกี ารว่งิ ควายและการประกวดสุขภาพควาย  จังหวัดระยอง - งานวันสุนทรภู่ มีการจัดงานเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 26 มิถุนายน มีพิธีสักการะ อนสุ าวรีย์และการแสดงนิทรรศการ - งานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองระยอง มีการจัดงานในทุก ๆ ปี ในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน เพราะในช่วงนี้มีทุเรียน, เงาะ, ระกำหวาน และยังมีการประกวดผลไม้ การแข่งขัน ทางผลไม้ - งานเจดีย์กลางน้ำ มีการสมโภชพระเจดีย์ขึ้นที่วัดสมุทรคงคาราม การแข่งเรือยาว และการละเล่นต่าง ๆ จะจัดงานประมาณเดือน 12 ของทกุ ปี  จงั หวัดจันทบรุ ี - ประเพณีการนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ จัดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 2 ชว่ งเทศกาลตรุษจีนถึงเดือนมาฆบูชา (ประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม) ณ บริเวณยอดเขาคิชฌกฏู ภายในงาน มีการจัดบวงสรวงเทวดาอารักษ์ พิธีปิดทองรอยพระพุทธบาท การจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ เป็นงาน ประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มี ความอดทนไม่ยอ่ ท้อต่อความยากลำบาก

9 - ประเพณีชักพระบาท จัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ วัดตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง เปน็ ประเพณีที่สืบทอดกนั มากว่า 100 ปีแลว้ ภายในงานมกี ารรดน้ำดำหวั ผู้สูงอายุ และมีการแข่งขันการชักเย่อ เกวียน โดยมมี ้วนภาพเขยี นรอยพระพทุ ธบาทอยู่ตรงกลาง กลางคนื มีมหรสพ - งานตากสินรำลึก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ของทุกปี ที่สนามกีฬาจังหวัด เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงกอบกู้กรุงศรี อยุธยา มีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของจันทบุรี และการประกวดนางสาวจนั ทบรู - ประเพณีการทำบุญข้าวหลามหรือการทำบุญหัวสะพาน การทำบุญหัวสะพาน ของชาวหมู่บ้านหนองตาลิ่น เดิมมีจัดที่หัวสะพานจริง ๆ แต่เนื่องจากไม่สะดวกเพราะรถผ่านไปมาได้ย้ายไป จัดบริเวณศาลาพักร้อนกลางหมู่บ้าน จัดขึ้นประมาณกลางเดือนอ้าย โดยก่อนถึงวันงานคนในหมู่บ้าน แทบทุกบา้ น จะทำการเผาข้าวหลามกนั เปน็ การใหญเ่ พื่อเตรียมนำไปทำบญุ ในวันรุ่งขึน้ บางบ้านก็ทำขา้ วต้มห่อ โดยนำอาหารหวานคาวไปทำบุญทศ่ี าลากลางหมู่บ้าน กลางคืนจะมกี ารแสดงละครชาตรี  จงั หวดั ตราด - งานวันวีรกรรมทหารเรือไทย ในยุทธนาวีที่เกาะช้าง จัดขึ้นวันที่ 17 มกราคม ถึงวันที่ 21 หรือ 23 มกราคม บริเวณอำเภอแหลมงอบและเกาะช้าง จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวี ของกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 และมีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ ทหารเรือไทยที่ได้สละชีพ ปกป้องแผ่นดินไทยในครั้งนั้น ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการของกองทัพเรื อ ตลอดค่ำมีการแสดงดนตรี พิธีลอยพวงมาลา การออกร้านงานกาชาด มหรสพอื่นๆ มีการออกร้าน 1 ตำบล 1 ผลติ ภัณฑข์ องจังหวดั ตราด และการจำหน่ายสินค้าราคาถูก คณุ ภาพดี - งานวันตราดรำลึก จัดขึ้นวันที่ 23-27 มีนาคมของทุกปี ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัด เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ จนในที่สุดฝรั่งเศสยอมทำสัญญายกเมืองตราดคืนให้แก่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2449 ในงานจะมี ริ้วขบวนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมือง ตราด การประกวดสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน การจำหน่วยสินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตร การแสดงวัฒนธรรม พ้ืนบา้ น และความบันเทิงอีกหลายรปู แบบทนี่ ่าสนใจคือการแข่งขันปรุงอาหารพืน้ บ้าน งานจะคกึ คกั ไปจนคำ่         รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

10 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร - งานเทศกาลเดือน 5 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงแรม 2 ค่ำ รวม 3 วัน 3 คืน เปน็ งานฉลองสมโภชในวันที่อาราธนาหลวงพ่อโสธรขึน้ จากนำ้ มาประดิษฐานทวี่ ดั แหง่ น้ี - งานเทศกาลเดือน 12 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2433 เกิดโรคฝีดาษระบาดทั่ว ชาวบ้านจึงบนบานต่อหลวงพ่อโสธร ขอให้หายและได้จัดพิธีสมโภช จนกลายเปน็ ประเพณีสบื ต่อกนั มา ปจั จุบนั ทางจงั หวัดฉะเชงิ เทราและทางวัดโสธรฯ ได้ร่วมกนั จดั \"งานนมสั การ พระพุทธโสธร และงานกาชาดฉะเชิงเทรา\" ขึ้นเป็นประจำ มีการเฉลิมฉลองและการจัดขบวนแห่หลวงพ่อโสธร จำลองทงั้ ทางบกและทางนำ้ - งานเทศกาลตรุษจีน จัดโดยสมาคมชาวจีน พร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน และ ขา้ ราชการ เริม่ ตั้งแตว่ นั ข้ึน 1 คำ่ ถงึ ขึ้น 5 คำ่ (ตามจันทรคติของจนี ) - งานวันมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้ว จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคม ถึง เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตมะม่วงออกสู่ตลาด งานจัดที่โรงเรียนพุทธโสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ในงาน มีการออกร้านจำหน่ายมะม่วงและผลผลิตทางการเกษตร การประกวดผลิตผลทางการเกษตรและการจัด นทิ รรศการทางวิชาการ  จงั หวดั ปราจนี บรุ ี - งานเทศกาลมาฆปรู มีศรีปราจีน งานน้ีจัดขึน้ ทีว่ ดั สระมรกต ในบรเิ วณโบราณสถาน สระมรกต อำเภอศรีมโหสถ เป็นระยะเวลา 3 วัน ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี ในงานกิจกรรมหลักคือการ เข้าค่ายพุทธศาสน์และปลูกจติ สำนึกทางศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียน นักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป การประชุมพระภิกษุและพระสังฆาธิการในจังหวัดการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา กิจกรรม การเวยี นเทยี นรอบรอยพระพุทธบาทคู่ จังหวัดสระแก้ว - ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของ ตำบลเขาสามสิบ อำเภอ เขาฉกรรจ์ ทีจ่ ัดข้นึ เป็นประจำทุกปี ชว่ งขนึ้ 3 คำ่ เดอื น 3 ของทกุ ปี - งานสืบสานประเพณีแห่เจ้าพ่อพระปรง ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน เพื่อให้ ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพ ประเพณีนี้เป็นการประกอบพิธีฉลอง เสาวญิ ญาณบรรพบรุ ุษ (เหนยี ะเอน หลอ่ โบง) ในระหวา่ งนชี้ าวเผ่ามอแกนจะหยดุ การทำกิจกรรมตา่ ง ๆ

11 2.5.3 วัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกมีวิถีชีวิตประสมประสานกับคนไทยพื้นถิ่น สื่อสารกัน ด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อไปในแนวเดียวกัน ผสมกลมกลืน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันแต่อย่างใด ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวกัน สำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนไปบ้าง ผู้คนแถบภาคตะวันออกคล้าย คนภาคกลาง ค่อนไปทางปักษ์ใต้แต่สำเนียงการพูดและภาษาท้องถิ่นมีคำสร้อยท้ายคำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิน่ ในเร่อื งผิวพรรณอาจแตกต่างตรง ขาวกวา่ ส่วนบา้ นเรอื นที่อยู่อาศยั คล้ายคลึงกันมาก บ้านเรือนเก่า ๆ นิยมปลูกเป็นเรือนไทยปั้นหยา พื้นบ้านยกใต้ถุนสูง และมีเสาปูนรองรับเสาบ้าน เพื่อกันความชื้นจากพื้นดนิ อีกที ทั้งมักปลูกอยู่ในลานทรายท่ามกลางดงมะพร้าว นอกจากนี้พืชพรรณที่ปลูกทำกิน เช่น มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด รสชาติอาหารการกินของชาวภาคตะวันออก จะคล้ายชาวภาคกลาง เพียงแต่จะเน้น อาหารทะเลมากขึ้น เนือ่ งจากอยู่ใกล้ชายฝ่งั ทะเลทีอ่ ุดมสมบูรณ์ 2.5.4 ชาติพนั ธุ์ ภาคตะวันออกนอกจากจะมีกลุ่มใหญ่ท่ีเปน็ คนไทยมาแตเ่ ดมิ แลว้ ยงั เป็นถิ่นที่อยู่ของ คนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่า เอามา แลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วนชาวญวน อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้าน การค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนงั่ เกลา้ เจ้าอยู่หวั อันสบื เนื่องมาจากปัญหาการยดึ ครองอินโดจนี ของฝรั่งเศส ที่มา : สบื คน้ สือ่ ออนไลน์ https://th.wikipedia.org/wiki ณ วนั ที่ 31 ธนั วาคม 2563 รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

12 2.7 ด้านสาธารณสขุ  ตารางที่ 2.5 แสดงจำนวนหนว่ ยบริการสาธารณสุข ภาครฐั และภาคเอกชน จำแนกตามจังหวดั ในเขตพ้นื ท่ี รับผิดชอบของ สสว.2 (หนว่ ย:แห่ง) โรงพยาบาลสังกัดภาครัฐ (แหง่ ) จังหวดั โรงพยาบาล โรงพยาบาล โรงพยาบาล โรงพยาบาล สาธารณสขุ โรงพยาบาล รวม ส่งเสรมิ สงั กดั เอกชน ศนู ย์ ทัว่ ไป ชมุ ชน สขุ ภาพ อำเภอ (แหง่ ) (รพศ.) (รพท.) (รพช.) ตำบล (สสอ.) (รพ.สต.) ชลบุรี 1 1 10 124 11 10 157 ระยอง 1 2 6 95 8 5 117 จันทบุรี 1 0 11 105 10 2 129 ตราด 0 1 6 66 7 1 81 ฉะเชิงเทรา 1 0 10 118 11 3 143 ปราจีนบุรี 1 1 5 93 7 3 110 สระแกว้ 0 2 7 108 9 1 127 รวม 5 7 55 709 63 25 864 ที่มา HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ ณ วนั ท่ี 14 กันยายน 2564 จากตารางท่ี 2.5 แสดงจำนวนหน่วยบริการสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชน จำแนกตามจังหวัด ภาคตะวันออก มีหน่วยบริการสาธารณสุข จำนวน 864 แห่ง จะเห็นได้ว่าหน่วยบริการสาธารณสุขทางภาครฐั มีมากที่สุดถึง 839 แห่ง และภาคเอกชน 25 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 709 แห่ง ซึ่งมีมากที่สุดในกลุ่มภาคตะวันออก รองลงมาได้แก่ สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) จำนวน 63 แห่ง ถัดมา โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 55 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) 7 แห่ง และ โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) 5 แห่ง ตามลำดับ สำหรับจังหวัดที่มีหน่วยบริการสาธารณสุขมากที่สุดได้แก่ จังหวัดชลบุรี จำนวน 157 แห่ง รองลงมา จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา จำนวน 143 แห่ง และจงั หวัดจันทบุรี จำนวน 129 แหง่

13 ตารางท่ี 2.6 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์รายจงั หวดั ในเขตพ้ืนที่รับผดิ ชอบของ สสว.2 (หนว่ ย : คน) จงั หวดั แพทย์ ประชากร ประชากรต่อแพทย์ ชลบรุ ี 4,214 1,566,885 372:1 ระยอง 3,377 741,524 219:1 จนั ทบุรี ตราด 327 535,559 1,395:1 ฉะเชิงเทรา ปราจนี บุรี 604 228,536 378:1 สระแก้ว รวม 818 720,718 881:1 597 493,670 827:1 889 560,925 630:1 8,771 4,847,817 553:1 ทีม่ า : ฐานข้อมูลสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข https://hdcservice.moph.go.th/ ขอ้ มูล วนั ท่ี 31 ธันวาคม 2563 จากขอ้ มูลตารางท่ี 2.6 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์หลายจังหวดั แพทยท์ ้ังหมด 8,771 คน สัดส่วน ประชากรต่อแพทย์ 553 : 1 คน จังหวัดที่มีประชากรเข้าถึงแพทย์ได้มากที่สุด คือ ระยอง จำนวน 3,377 คน ประชากรต่อแพทย์ 219:1 คน รองลงมา ชลบุรี จำนวน 4,214 คน ประชากรต่อแพทย์ 372:1 คน และ สระแก้ว จำนวน 889 คน ประชากร ต่อแพทย์ 630:1 คน ส่วนจังหวัดที่มีแพทย์น้อยที่สุด คือ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 327 คน ประชากรต่อแพทย์ 1,395:1 สะท้อนให้เห็นว่า การเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่ค่อนข้างยาก ในจังหวัดจันทบรุ ี ตารางท่ี 2.7 แสดงสาเหตุการตาย 5 อนั ดบั แรกจากโรคต่างๆ จงั หวัดในเขตพน้ื ท่ีรับผดิ ชอบของ สสว.2 จังหวดั 1.โรควยั ชรา 2.โรคหัวใจลม้ เหลว 3.โรคติดเช้อื (หนว่ ย:คน) 4.โรคความดนั 5.โรคหัวใจ (ไมร่ ะบุรายละเอียด) ในกระแสเลือด โลหิตสงู ลม้ เหลว ชลบรุ ี 406 818 259 84 248 ระยอง 94 205 214 49 94 จันทบรุ ี 148 78 38 34 41 ตราด 70 39 14 29 12 ฉะเชงิ เทรา 224 63 60 49 36 ปราจีนบุรี 385 192 142 33 159 สระแก้ว 463 117 209 65 126 รวม 1,790 1,512 936 343 716 ท่ีมา : ฐานข้อมลู สารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข https://hdcservice.moph.go.th/ ข้อมูล วันท่ี 31 ธันวาคม 2563 จากข้อมลู ตารางท่ี 2.7 แสดงสาเหตุการตาย 5 อนั ดับแรกจากโรคต่างๆ ของ 7 จังหวดั ภาคตะวันออก พบว่า สาเหตุการตายจากโรควัยชรามีจำนวนมากที่สุด คือ 1,790 คน รองลงมา คือ โรคหัวใจล้มเหลว 1,512 คน และโรคตดิ เช้อื ในกระแสเลือด 936 คน ตามลำดับ รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวันออก

14   2.8 ดา้ นการศกึ ษา ตารางที่ 2.8 จาํ นวนนกั เรียนนักศกึ ษาในระบบ จําแนกตามระดับชั้น ปี พ.ศ. 2563 (หน่วย:คน) จงั หวัด อนบุ าล ประถม ม.ต้น ระดับการศกึ ษา (คน) ปวส. ป.ตรี รวม ชลบรุ ี 55,083 120,148 59,227 ม.ปลาย ปวช. 5,369 70,867 379,551 ระยอง 32,344 67,549 36,239 57,845 11,012 7,197 4,849 172,719 จนั ทบุรี 19,942 40,886 18,174 14,776 9,765 1,781 12,294 89,526 ตราด 6,218 17,889 8,046 10,270 4,161 1,074 ไมมีข้อมลู 39,096 ฉะเชิงเทรา 19,328 54,266 25,276 3,724 2,145 4,614 5,861 129,611 ปราจีนบุรี 15,893 35,201 17,725 12,507 7,759 3,069 2,413 97,170 สระแกว้ 15,291 43,125 19,953 17,815 5,054 1,835 1,341 94,892 9,242 4,105 ทีม่ า : สาํ นกั งานศึกษาธิการจังหวดั ข้อมลู ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จากตารางที่ 2.8 จาํ นวนนกั เรียนนักศกึ ษาในระบบ จาํ แนกตามระดับชั้น ปี พ.ศ. 2563 พบว่าจงั หวดั ทมี่ ีจาํ นวนนกั ศึกษาในระบบมากท่ีสุด คอื จังหวัดชลบุรี จาํ นวน 379,551 คน รองลงมา คือ จังหวดั ระยอง จาํ นวน 172,719 คน และจงั หวัดฉะเชงิ เทรา จํานวน 129,611 คน ตามลําดบั ตารางท่ี 2.9 สถานศกึ ษาในระบบ นอกระบบ จาํ แนกรายสงั กดั รายจังหวดั ปกี ารศึกษา 2563 (หน่วย:จาํ นวน:แหง่ ) จงั หวัด รายการสถานศึกษา (แห่ง) ในระบบ นอกระบบ รวม สพฐ. เอกชน อาชีวศกึ ษา อดุ มศึกษา ท้องถน่ิ สาํ นกั พทุ ธ ฯ กศน. ชลบรุ ี 308 484 25 3 13 3 105 941 ระยอง 222 35 11 2 28 4 69 371 จันทบรุ ี 213 23 6 2 10 0 10 264 ตราด 124 8 3 1 69 1 7 213 ฉะเชงิ เทรา 316 150 14 3 13 3 11 510 ปราจนี บรุ ี 251 23 4 2 15 1 7 308 สระแกว้ 277 10 5 2 18 - 9 321 รวม 1,711 733 68 15 166 12 218 2,928 ทีม่ า : สํานักงานศึกษาธิการจังหวดั ขอ้ มูล ณ วันท่ี 30 มิถนุ ายน 2564    

15 แผนภูมทิ ี่ 2 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสงั กดั รายจงั หวัด ปกี ารศกึ ษา 2563 จากตารางท่ี 2.9 และแผนภูมิที่ 2 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบจำแนกรายสังกัด รายจังหวัด ปีการศึกษา 2563 มีสถานศึกษาในระบบ จำนวน 2,704 แห่ง แบ่งเป้นสังกัด สพฐ. 1,711 แห่ง เอกชน จำนวน 733 แห่ง ท้องถิ่น จำนวน 166 อาชีวศึกษา จำนวน 68 แห่ง อุดมศึกษา จำนวน 15 แห่ง และ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 12 แห่ง และสถานศึกษานอกระบบ จำนวน 218 แห่ง สังกัด กศน. โดยสถานศึกษาเอกชนมมี ากที่สุดในจังหวัดชลบรุ ี จำนวน 484 แห่ง ตารางท่ี 2.10 คะแนนเฉล่ยี การทดสอบ O-Net ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ. 2561-2563 จงั หวดั ปีการศึกษา 2561 2562 2563 ระดบั ประเทศ 35.00 32.34 33.79 ชลบุรี 36.31 33.58 35.00 ระยอง 38.16 35.44 37.03 จนั ทบรุ ี 39.79 43.14 38.80 ตราด 35.26 33.07 34.90 ฉะเชงิ เทรา 35.45 32.80 33.94 ปราจนี บุรี 33.90 30.77 32.47 สระแกว้ 32.33 34.46 31.95 ทม่ี า : สถาบนั ทดสอบทางการศกึ ษาแหง่ ชาติ องคก์ ารมหาชน ขอ้ มูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

16 แผนภูมทิ ่ี 3 แสดงคะแนนเฉลย่ี การทดสอบ O-Net ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ.2561-2563 ร้อยละ คะแนนเฉล่ยี การทดสอบ O-Net ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย (%) 2559 2560 ปี พ.ศ.2561-2563 2561 50 40 30 20 10 0 จากตารางที่ 2.10 และแผนภมู ิที่ 3 คะแนนเฉล่ยี การทดสอบ O-Net ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย (%) ปี พ.ศ. 2561-2563 พบวา่ จังหวัดจันทบรุ ี มคี ะแนนเฉล่ียสงู สุดในปี 2561 (39.79) ปี 2562 (43.14) ปี 2563 (38.80) รองลงมา คือ จังหวัดระยอง ปี2561 (38.16) ปี 2562 (35.44) ปี 2563 (37.03) และ จังหวัดชลบุรี ป2ี 561 (36.31) ปี 2562 (32.34) ปี 2563 (35.00) ตามลำดับ ตารางที่ 2.11 คา่ เฉลย่ี เชาวนป์ ัญญา (IQ) ของเด็กนักเรยี นไทยชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 2563 จังหวดั คา่ เฉล่ียเชาวน์ปัญญา (IQ) ระดับประเทศ 98.23 104.45 ชลบรุ ี ระยอง 102.89 จนั ทบรุ ี 100.34 ตราด 103.369 ฉะเชงิ เทรา 98.59 ปราจนี บุรี 100.82 สระแก้ว 97.84 ทม่ี า : กรมสขุ ภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ ขอ้ มูล ณ วันที่ ณ วันท่ี 31 ตลุ าคม 2563 จากข้อมูลตารางท่ี 2.11 แสดงค่าเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) ของเด็กนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (คะแนน) ปี พ.ศ. 2563 พบว่า จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) มากที่สุด คือ 104.45 รองลงมา คือ จงั หวดั ตราด มคี ่าเฉลย่ี เชาวน์ปัญญา (IQ) 103.37 และจังหวดั ระยอง มีค่าเฉลี่ยเชาวน์ปญั ญา (IQ) 102.89 ตามลำดับ

17 2.9 ดา้ นแรงงาน ตารางท่ี 2.12 ภาวะการมีงานทำของประชากรในกลุ่มจังหวดั ภาคตะวันออก.ไตรมาส Ͷ (ตลุ าคม – ธันวาคม 2563) (หนว่ ย:คน) จังหวดั กำลังแรงงานในปัจจุบัน กำลังแรงงานทรี่ อ ผ้ไู ม่อยใู่ นกำลังแรงงาน ผู้มงี านทำ ผวู้ ่างงาน ฤดกู าล ทำงาน เรียนหนังสอื อน่ื ๆ บา้ น ชลบรุ ี 1,045,175 3,337 1,119 145,488 91,651 210,080 ระยอง 582,069 6,180 368 56,927 46,786 73,445 จนั ทบรุ ี 363,217 2,398 0 28,271 23,709 52,550 ตราด 173,480 522 0 21,423 15,771 31,444 ฉะเชงิ เทรา 443,677 5,823 0 105,093 46,875 90,027 ปราจีนบรุ ี 353,518 7,590 866 49,189 34,644 82,592 สระแกว้ 347,610 9,413 838 49,253 29,751 71,960 ท่มี า : สำนักงานสถติ ิแหง่ ชาติ ข้อมูล ณ วันท่ี 31 ธนั วาคม 2563 จากตารางที่ 2.12 ภาวะการมีงานทำของประชากรในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก จำแนกตามกำลัง แรงงานในปัจจุบนั กำลังแรงงานท่รี อฤดูกาล และผไู้ มอ่ ยู่ในกำลังแรงงาน พบวา่ จงั หวดั ชลบุรี มีผู้มีงานทำมาก ที่สุด จำนวน 1,045,175 คน รองลงมา คือ จังหวัดระยอง จำนวน 582,069 คน และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 443,677 คน ผู้ว่างงาน พบว่า จังหวัดสระแก้ว มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 9,413 คน รองลงมา คือ จงั หวัดปราจนี บุรี จำนวน 7,590 คน และจังหวัดระยอง 6,180 คน ตารางท่ี 2.13 จำนวนคนตา่ งด้าวทไ่ี ด้รบั อนญุ าตทำงานคงเหลอื พ.ศ.2559-2563 ของกลุ่มจงั หวัดตะวนั ออก (หน่วย: คน) จงั หวัด 2559 2560 2561 2562 2563 ชลบุรี 85,396 99,632 111,496 163,713 156,773 ระยอง 31,062 45,051 52,173 91,490 76,384 จันทบุรี 9,357 13,538 32,904 49,424 31,405 ตราด 24,196 32,310 25,975 25,389 18,159 ฉะเชิงเทรา 44,555 45,030 52,693 53,042 48,027 ปราจีนบรุ ี 18,309 16,664 9,546 10,160 17,762 สระแกว้ 27,182 18,615 18,867 16,570 3,755 รวม 240.057 270,845 303,654 409,788 352,265 ทม่ี า : สำนกั งานสถิติแหง่ ชาติ ขอ้ มูล ณ วันที่…31 ธันวาคม 63 รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวนั ออก

18 แผนภูมทิ ี่ 4 กราฟแสดงจำนวนคนต่างด้าวทไี่ ดร้ ับอนญุ าตทำงานคงเหลือ พ.ศ.ʹͷͷͻ-ʹͷ͸͵ กราฟแสดงจานวนคนต่างดา้ วท่ไี ดร้ บั อนุญาตทางานคงเหลอื พ.ศ.2559-2563 200,000 156,773 76,384 49,424 18,159 48,027 17,762 16,5730,1785,8567 150,000 25,975 25,389 52,693 53,042 10,196,5046 27,182 100,000 163,713 91,490 31,405 32,310 24,196 45,04340,555 16,66ป4ราจนี 1บ8,รุ 3ี 09 18,615 50,000 52,173 32,904 111,496 ตราด ฉะเชงิ เทรา สระแก้ว 99,632 45,051 9,357 31,062 85,396 จันทบรุ ี 0 13,538 ชลบุรี ระยอง 2559 2560 2561 2562 2563 จากตารางที่ 2.13 และแผนภูมที่ 4 จำนวนคนต่างด้าวทีไ่ ด้รับอนุญาตทำงานคงเหลือของกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก พ.ศ. 2559-2563 พบว่า ในปี 2563 จังหวัดชลบุรี มีจำนวนคนต่างดา้ วที่ได้รับอนุญาตทำงาน คงเหลือ 156,773 คน ซึ่งลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 4.24 จังหวัดระยอง มีจำนวน 76,384 คน ซึ่งลดลงจาก ปี 2562 รอ้ ยละ 16.51 และจงั หวดั ปราจีนบรุ ี มจี ำนวน 17,762 คน ซ่ึงสูงข้ึนจากปี 2562 รอ้ ยละ 42.80 2.10 ดา้ นที่อยอู่ าศัย  ตารางที่ 2.14 แสดงจำนวนชุมชนผมู้ รี ายได้น้อยของกลุ่มจังหวดั พ.ศ 2563 (หนว่ ย:แห่ง:คน) จงั หวดั จำนวน ชมุ ชนแออัด ชุมชนเมอื ง ชมุ ชนชานเมือง จำนวน จำนวน จำนวน ชมุ ชน ชุมชน ครัวเรอื น ชมุ ชน ครัวเรอื น ชุมชน ครัวเรือน บา้ น ครวั เรือน ประชากร ชลบรุ ี 43 40 3,053 2 99 1 30 2,799 3,182 12,728 ระยอง 32 20 1,257 6 7,115 6 2,195 10,567 10,567 16,030 จันทบุรี 3 3 233 0 1,175 0 0 1,408 1,408 932 ตราด 18 17 996 1 37 0 0 785 1,033 4,132 ฉะเชงิ เทรา 20 15 805 4 383 1 29 726 1,217 4,908 6 4 155 2 70 0 0 199 225 1,652 ปราจีนบุรี 6 4 169 2 104 0 0 215 273 1,092 128 103 6,668 17 8,983 8 59 16,699 17,905 128 สระแกว้ รวม ท่ีมา : กองยทุ ธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศยั ฝ่ายวิชาการพัฒนาท่ีอยอู่ าศยั การเคหะแหง่ ชาติ ขอ้ มูล ณ 31 ธนั วาคม 63

19 จากตารางท่ี 2.14 จำนวนชุมชนที่มีรายได้น้อยของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พบว่า มีจำนวนชุมชน ทั้งหมด 128 ชุมชน แยกเป็นชุมชนแออัด 103 ชุมชน มีครัวเรือน 6,668 ครัวเรือน ชุมชนเมือง 17 ชุมชน มีครัวเรือน 8,983 ครัวเรือน ชุมชนชานเมือง 8 ชุมชน มีครัวเรือน 59 ครัวเรือน และมีบ้านทั้งหมด 17,905 ครวั เรือน จงั หวดั ชลบุรี มีชมุ ชนมากทส่ี ดุ จำนวน 43 ชมุ ชน แยกเป็น ชมุ ชนแออดั 40 ชุมชน 3,053 ครัวเรือน ชุมชนเมือง 2 ชุมชน 99 ครัวเรือน และ ชุมชนชานเมือง 1 ชุมชน 30 ครัวเรือน และมีจำนวนครัวเรือน 3,182 ครัวเรือน รองลงมา คือ จังหวัดระยอง มีชุมชนทั้งหมด จำนวน 32 ชุมชน แยกเป็น ชุมชนแออัด 20 ชุมชน 1,257 ครัวเรือน ชมุ ชนเมอื ง 6 ชุมชน 7,115 ครวั เรอื น และ ชมุ ชนชานเมอื ง 6 ชมุ ชน 2,195 ครวั เรือน และมี จำนวนครัวเรือน 10,567 ครัวเรือน ถัดมา คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนทั้งหมด จำนวน 20 ชุมชน แยกเป็น ชุมชนแออัด 15 ชุมชน 805 ครัวเรือน ชุมชนเมือง 4 ชุมชน 383 ครัวเรือน และชุมชน ชานเมือง 1 ชุมชน 29 ครัวเรือน และมีจำนวนครัวเรือน 1,217 ครัวเรอื น ʹǤͳͳ ดา้ นเศรษฐกิจและรายได้ ผลติ ภณั ฑม์ วลรวม ตารางท่ี 2.15 แสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจงั หวัด จังหวดั ปี 2561 อตั ราการขยายตัว GPP (ร้อยละ) ปี 2563 2.2 ปี 2562 7.5 ชลบรุ ี 2.6 4.3 -8.2 ระยอง 16.5 -5.3 -5.9 ตราด 17.1 -10.8 5.0 จนั ทบุรี -11.5 -5.2 11.1 ฉะเชิงเทรา 22.6 11.2 9.3 ปราจนี บรุ ี 7.0 7.5 3.0 สระแกว้ 13.3 ท่มี า: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ 31 ธนั วาคม 63 จากตารางที่ 2.15 แสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม 7 จังหวัดพื้นที่ภาคตะวันออก (GPP) พบว่าในปี 2563 จังหวดั ฉะเชิงเทรามีการขยายตวั มากทส่ี ุดคือร้อยละ 11.1 รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรีร้อย ละ 9.3 และจังหวัดชลบุรีร้อยละ 7.5 ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบอัตราการขยายตัว GPP ปี 2561 ,ปี 2562 และ ปี 2563 หลายจงั หวัดสว่ นมากมีอัตราการขยายตวั ของ GPP ชะลอลง รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

20 ตารางที่ 2.16 แสดงผลิตภัณฑ์จงั หวดั ตอ่ หวั (GPP per capita) ปี 2563 จังหวดั บาทต่อปี ชลบุรี 691,558 ระยอง 907,370 ตราด 162,741 จนั ทบรุ ี 239,453 ฉะเชิงเทรา 459,005 ปราจนี บุรี 551,150 สระแก้ว 76,199 ท่มี า: ผลิตภณั ฑภ์ าคและจังหวดั แบบปรมิ าณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ จากตารางที่ 2.16 แสดงผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี 2563 จังหวัดตะวันออก พบว่า จังหวดั ระยอง มจี ำนวนผลติ ภณั ฑม์ วลรวมจงั หวดั ต่อหัว (GPP per capita) มากทสี่ ุด จำนวน 907,370 บาท/ปี รองลงมา คือ จังหวัดชลบรุ ี จำนวน 691,558 บาท/ปี ถดั มาคือ จังหวัดปราจนี บรุ ี จำนวน 551,150 บาท/ปี ตารางท่ี 2.17 แสดงรายไดโ้ ดยเฉลย่ี ต่อเดือนตอ่ ครัวเรอื นของกลมุ่ จังหวัด พ.ศ. 2558 –2562 (หน่วย:บาท) จงั หวดั 2558 2560 2562 ชลบุรี 27,256 27,665 28,706 ระยอง 30,315 27,798 24,299 จันทบุรี 36,024 32,894 28,114 ตราด 25,333 27,797 24,174 ฉะเชิงเทรา 27,555 26,062 22,875 ปราจีนบรุ ี 24,166 22,953 25,843 สระแกว้ 26,953 22,115 20,685 ทีม่ า สำนกั งานสถติ ิแหง่ ชาติ 31 ธันวาคม 63 จากตารางที่ 2.17 แสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ. 2558-2562 พบว่าในปี 2562 จังหวัดชลบุรี มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน พ.ศ.2558 - 2562 พบว่าในปี 2562 จังหวัดชลบุรี มีรายได้ โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน จำนวน 28,706 บาท ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 3.63 จังหวัดจันทบุรี มีจำนวน 28,114 บาท ซึ่งลดลงจากปี 2560 ร้อยละ -14.53 และจังหวัด ปราจีนบุรี มจี ำนวน 25,843 บาท ซ่ึงเพิม่ ขึน้ จากปี 2560 จำนวน ร้อยละ 12.59

21 ตารางที่ 2.18 แสดงหนีส้ นิ เฉล่ียตอ่ ครัวเรอื น จำแนกตามวัตถุประสงคข์ องการกูย้ ืม พ.ศ. 2558 – 2562 จงั หวดั วัตถปุ ระสงค์ของการกยู้ ืม 2558 (หนว่ ย:บาท) 2560 2562 ชลบุรี หนส้ี นิ ทัง้ สน้ิ 149,191.50 170,022.64 124,323.25 เพื่อใชจ้ ่ายในครัวเรือน 72,108.30 81,276.07 73,533.82 เพอ่ื ใช้ทำธรุ กิจที่ไม่ใช่ 4,648.80 330.76 301.27 การเกษตร เพือ่ ใชท้ ำการเกษตร 892.80 652.63 267.85 เพอ่ื ใชใ้ นการศึกษา 78.10 803.85 387.29 เพอื่ ใช้ซ้อื /เช่าซ้ือบ้านและทด่ี ิน 71,463.50 86,959.33 49,833.03 อ่ืนๆ 0 0 0.00 ระยอง หน้ีสินทง้ั สนิ้ 145,526.80 124,478.28 42,507.35 เพื่อใชจ้ ่ายในครวั เรอื น 36,753.20 42,971.14 23,211.35 เพ่อื ใช้ทำธุรกิจที่ไมใ่ ช่ 19,775.60 13,528.26 1,281.77 การเกษตร 3,548.40 2,189.30 410.94 เพ่ือใชท้ ำการเกษตร เพอ่ื ใชใ้ นการศึกษา 0 223.48 0.00 เพื่อใชซ้ ื้อ/เช่าซื้อบ้านและทดี่ ิน 85,438.40 65,566.10 17,603.30 อน่ื ๆ 11.10 0.00 0.00 จนั ทบรุ ี หนีส้ ินทั้งส้ิน 130,258.20 186,071.96 144,098.32 เพือ่ ใชจ้ า่ ยในครัวเรอื น 69,832.70 72,316.98 63,853.27 เพ่ือใช้ทำธุรกจิ ที่ไมใ่ ช่ 9,880.50 14,219.28 11,650.35 การเกษตร 29,273.10 51,224.22 57,472.96 เพ่ือใชท้ ำการเกษตร เพ่ือใช้ในการศึกษา 2,112.60 567.89 649.87 เพอ่ื ใช้ซือ้ /เชา่ ซื้อบา้ นและที่ดิน 16,929.80 45,838.70 10,471.87 อื่นๆ 2,229.60 1,904.89 0.00 รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก

22 วตั ถปุ ระสงค์ของการกยู้ ืม 2558 2560 2562 147,113.80 193,674.99 158,440.30 จงั หวดั หนส้ี ินท้ังสนิ้ 83,337.00 86,672.89 58,481.77 ตราด 5,776.80 27,591.57 3,638.15 เพ่ือใช้จา่ ยในครวั เรือน ฉะเชิงเทรา เพอ่ื ใช้ทำธุรกิจที่ไมใ่ ช่ 26,157.10 33,869.60 37,809.65 757.20 2,899.44 2,104.44 ปราจนี บรุ ี การเกษตร 31,085.70 42,641.50 56,229.57 เพ่ือใชท้ ำการเกษตร - - 176.72 เพือ่ ใช้ในการศึกษา 75,443.10 80,062.22 50,752.54 เพื่อใชซ้ อ้ื /เช่าซื้อบา้ นและ 53,027.60 44,365.22 25,452.15 3,372.00 3,194.95 2,265.27 ท่ดี นิ อืน่ ๆ 5,836.20 17,986.39 4,657.66 1,554.00 277.20 231.88 หน้ีสนิ ทั้งสิ้น 11,653.30 14,238.46 18,145.59 เพอื่ ใช้จ่ายในครัวเรอื น 0 0 0.00 เพอ่ื ใชท้ ำธรุ กจิ ท่ีไม่ใช่ 161,432.80 135,499.30 131,928.14 67,125.70 51,096.86 70,494.82 การเกษตร 17,135.80 11,374.92 11,600.16 เพ่ือใชท้ ำการเกษตร 48,175.90 26,602.01 5,941.59 เพือ่ ใชใ้ นการศึกษา 131.80 1,916.43 91.21 เพื่อใช้ซอ้ื /เช่าซ้ือบา้ นและ 28,607.60 44,509.09 43,093.30 ทด่ี นิ 255.90 - 707.06 อื่นๆ หน้สี นิ ท้งั ส้นิ เพอื่ ใช้จ่ายในครวั เรอื น เพอ่ื ใช้ทำธุรกจิ ท่ีไม่ใช่ การเกษตร เพื่อใช้ทำการเกษตร เพื่อใชใ้ นการศึกษา เพ่อื ใช้ซือ้ /เช่าซ้ือบ้านและ ที่ดนิ อื่นๆ

23 จังหวัด วตั ถปุ ระสงค์ของการก้ยู ืม 2558 2560 2562 สระแกว้ หน้สี ินท้ังสนิ้ 249,126.90 169,875.58 188,177.25 เพอ่ื ใช้จา่ ยในครวั เรอื น 144,502.20 71,272.14 76,798.50 เพ่ือใชท้ ำธุรกจิ ท่ีไม่ใช่ 26,256.40 12,159.17 27,447.87 การเกษตร 43,752.80 65,672.63 55,418.80 เพ่ือใชท้ ำการเกษตร เพ่อื ใชใ้ นการศึกษา 5,601.40 2,829.83 794.28 เพอ่ื ใช้ซอ้ื /เช่าซ้ือบา้ นและ 28,381.00 17,030.98 27,553.92 ที่ดนิ 633.10 910.82 163.89 อื่นๆ ทม่ี า สำนักงานสถติ ิแห่งชาติ หมายเหต:ุ หนี้อื่นๆ ไดแ้ ก่ หนจ้ี ากการคำ้ ประกันบุคคลอื่น หน้คี ่าปรับหรอื จา่ ยชดเชยคา่ เสียหายเปน็ ต้น จากตารางที่ 2.18 และแผนภูมิที่ 5 แสดงหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการ กู้ยืม ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ. 2558 – 2562 พบว่าในปี 2562 มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน รวม ท้ังสน้ิ 840,225 บาท โดยจังหวดั ทม่ี หี นส้ี ินเฉลี่ยตอ่ ครัวเรือนมากท่ีสุด คือ จงั หวดั สระแกว้ รองลงมา คือจังหวัด ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ตามลำดับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม คือ เพื่อใช้ จ่ายในครัวเรือนมากที่สุด จำนวน 391,822 บาท รองลงมาเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน จำนวน 222,927 บาท ถัดมาเพื่อใช้ทำการเกษตร จำนวน 161,974 บาท เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร จำนวน 161,974 บาท และสุดท้ายเพื่อใช้ในการศึกษา จำนวน 4,256 บาท ตามลำดับ และจากข้อมูลตารางที่ 2.10 พบว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม พ.ศ. 2558 – 2562 พื้นที่ภาคตะวันออก ส่วน ใหญม่ ีวตั ถุประสงค์เพื่อใชจ้ า่ ยในครัวเรอื น แผนภูมิที่ 5 แสดงหนส้ี นิ เฉล่ยี ต่อครัวเรือน จำแนกตามวตั ถุประสงค์ของการกู้ยืม ปี พ.ศ. ʹͷ͸͵ 1,047.67 วัตถุประสงค์ของการกูย้ ืม เพ่ือใชจ้ า่ ยในครวั เรอื น เพื่อใช้ทาธุรกิจทีไ่ ม่ใช่การเกษตร 222,930.58 391,825.68 เพ่อื ใชท้ าการเกษตร เพอ่ื ใช้ในการศึกษา 4,258.97 เพอ่ื ใช้ซ้อื /เชา่ ชื้อบา้ นและทด่ี นิ อน่ื ๆ 161,979.45 58,184.84 รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวนั ออก

24 2.12 ดา้ นภาคเี ครอื ขา่ ย  ตารางที่ 2.20 แสดงจำนวนองค์กรภาคเี ครือข่าย หนว่ ยนบั : แหง่ องค์กร ชลบุรี ระยอง จนั ทบรุ ี ตราด ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บรุ ี สระแกว้ องค์กรสาธารณประโยชน์ ตาม 54 53 54 71 103 34 25 พ.ร.บ. สง่ เสริมการจดั สวัสดิการ สงั คม องค์กรสวัสดกิ ารชุมชน ตาม พ.ร.บ. 90 86 93 158 41 51 44 สง่ เสรมิ การจดั สวสั ดิการสังคม กองทนุ สวสั ดกิ ารสังคม 69 63 1 1 59 59 62 สภาองคก์ รคนพิการ 51 11 1 11 7 24 11 ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 7 13 2 15 7 72 13 ศนู ยพ์ ัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริม 15 15 18 10 17 17 11 อาชพี ของผ้สู งู อายุ (ศพอส.) 108 69 65 ศูนยพ์ ฒั นาครอบครวั ในชมุ ชน 70 67 81 43 7 8 283 5,719 2,421 2,655 (ศพค.) 2,520 1,617 1,310 258 44 201 โครงการบา้ นม่นั คง (พอช.) 7 0 11 160 อาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความ 3,678 797 1,283 1,551 ม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) (คน) 2,289 1,336 833 51 สภาเดก็ และเยาวชน (คน) ข้อมูลคลังปญั ญาผูส้ งู อายุ (คน) 261 362 305 90

25 แผนภูมทิ ่ี 6.1 จำนวนองคก์ ร ภาคเี ครือข่าย ปี 2564 องค์กรภาคีเครือขา่ ยภาคตะวนั ออก (แห่ง) องค์กรสาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสรมิ การจดั สวสั ดิการสงั คม 600 563 503 476 องคก์ รสวสั ดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. สง่ เสริมการ 500 จดั สวสั ดิการสงั คม กองทนุ สวัสดกิ ารสังคม จานวน 394 314 สภาองคก์ รคนพิการ 400 ศนู ยบ์ ริการคนพิการท่ัวไป 300 200 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชวี ิต และส่งเสริมอาชีพของ 116 129 103 ผู้สงู อายุ (ศพอส.) ศูนย์พัฒนาครอบครวั ในชมุ ชน (ศพค.) 100 โครงการบ้านม่ันคง (พอช.) 0 ท่มี า สำนักงานพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ยจ์ ังหวัด ขอ้ มลู ณ วันท่ี 30 มิถนุ ายน 2564 จากตารางที่ 2.20 และแผนภูมิที่ 6.1 จำนวนองค์กรภาคีเครือข่าย ปี 2564 ของกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก พบว่า องค์กรภาคีเครือข่ายที่มีมากที่สุดคือ องค์กรสวัสดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการ จัดสวัสดิการสังคม จำนวน 563 แห่ง มีมากในจังหวัดตราด รองลงมาคือศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) จำนวน 503 แห่ง มีมากในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถัดมาโครงการบ้านมั่นคง (พอช.) จำนวน 476 แห่ง มีมากในจังหวัดตราด องค์กรสาธารณะประโยชน์ จำนวน 394 แห่ง มีมากในจังหวัดฉะเชิงเทรา กองทุนสวัสดิการสังคม จำนวน 314 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน 129 แห่ง มีมากในจังหวัดปราจีนบุรี สภาองค์กรคนพิการ จำนวน 116 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี และสุดท้าย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริม อาชพี ผูส้ งู อายุ (ศพอส.) จำนวน 103 แห่ง มมี ากในจังหวัดจันทบุรี ตามลำดับ แผนภูมิท่ี 6.2 ภาคีเครอื ขา่ ยอาสาสมัคร ปี 2564 20000 18104 จานวน 15000 9956 10000 5000 1521 0 สภาเดก็ และเยาวชน ข้อมลู คลงั ปญั ญาผู้สูงอายุ อาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทมี่ า สำนกั งานพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษยจ์ งั หวดั ข้อมลู ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออก

26 สำหรับจำนวนภาคีเครือข่ายอาสาสมัคร ปี 2564 ตามแผนภูมิที่ 6.2 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พบว่าเครอื ข่ายอาสาสมคั รทม่ี มี ากที่สดุ คือ อาสาสมคั รพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์ (อพม.) จำนวน 18,104 คน มีมากในจังหวัดชลบุรี ร้อยละ 61.20 เครือข่ายอาสาสมัครรองลงมา คือ สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 9,956 คน มมี ากในจังหวดั ชลบุรี ร้อยละ 33.66 และข้อมลู คลงั ปญั ญาผู้สูงอายุ จำนวน 1,521 คน มมี ากในจงั หวัดชลบรุ ี ร้อยละ 5.14 2.13 ด้านสงั คมตามมิติความมั่นคงของมนษุ ย์ 2.13.1 ความมน่ั คงของมนษุ ย์ มิติทอี่ ย่อู าศัย ตารางที่ 2.21 แสดงขอ้ มลู ความมั่นคงของมนุษย์ มติ ทิ ี่อยอู่ าศยั จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ตวั ชี้วดั จังหวัด ความหนาแน่นของประชากร อัตราการถอื ครอง ร้อยละของท่ีอยู่อาศัยท่มี ี ตอ่ พนื้ ท่ี 1 ตร.กม ที่อยู่อาศยั สภาพคงทนถาวร ชลบุรี ระยอง 351.92 42.02 100.00 จันทบุรี ตราด 203.64 54.47 99.49 ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บุรี 84.65 80.85 99.35 สระแกว้ 81.56 75.38 100.00 133.62 69.31 99.89 103.23 74.71 99.39 78.40 84.25 96.94 ทม่ี า : ขอ้ มลู จากสำนกั งานปลัดกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมมน่ั คงของมนษุ ย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.21 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติที่อยู่อาศัย จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ของกล่มุ 7 จงั หวัดภาคตะวนั ออก เป็นการวัดจาก 3 ตัวชีว้ ัด คอื ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นท่ี 1 ตร.กม อัตราการถือครองที่อยู่อาศัย ร้อยละของที่อยู่อาศัยที่มีสภาพคงทนถาวร และพบว่า จังหวัดที่มี ค่าความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ 1 ตร.กม มากที่สุด คือ จังหวัดชลบุรี 351.92 รองลงมา คือ จังหวัด ระยอง 203.64 และจังหวัดฉะเชิงเทรา 133.62 จังหวัดที่มีอัตราการถือครองที่อยู่อาศัยมากที่สุด คือ จังหวัด สระแก้ว 84.25 รองลงมาคือจังหวัดจันทบุรี 80.85 และจังหวัดตราด 75.38 จังหวัดที่มีร้อยละของที่อยู่อาศัย ทม่ี สี ภาพคงทนถาวรมากที่สุดคือ จงั หวดั ชลบรุ ี ร้อยละ 100.00 และจงั หวัดตราด รอ้ ยละ 100.00 รองลงมาคือ จงั หวัดฉะเชงิ เทรา ร้อยละ 99.89 และจงั หวัดระยอง ร้อยละ 99.49

27 2.13.2 ความมัน่ คงของมนษุ ย์มติ ิสุขภาพ ตารางท่ี 2.22 แสดงข้อมลู ความม่ันคงของมนษุ ย์ มติ ิสุขภาพ จำแนกรายจังหวดั ปี 2562 ตวั ชว้ี ดั จังหวดั อตั ราเตยี งต่อ อตั ราบุคลากร อัตราผปู้ ่วยทาง อตั ราการ อัตราการเข้าถึง ประชากร ทางการแพทย์ สขุ ภาพจิตตอ่ เจ็บปว่ ยดว้ ยโรค บริการของ 100,000 คน ตอ่ ประชากร ประชากร ผปู้ ว่ ยต่อ 100,000 คน 100,000 คน สำคญั ประชากร 5 โรคตอ่ 100,000 คน ประชากร 100,000 คน ชลบรุ ี 201.90 290.66 2,116.85 4,401.79 66,111.00 ระยอง 215.81 239.18 3,161.27 3,345.43 72,464.04 จนั ทบรุ ี 265.24 326.75 2,279.42 6,844.23 81,400.98 ตราด 278.36 327.51 2,305.64 5,863.50 74,460.89 ฉะเชงิ เทรา 196.78 255.17 2,994.65 4,471.55 66,433.15 ปราจนี บุรี 184.89 273.37 2,015.09 4,486.62 68,032.50 สระแกว้ 183.84 198.02 2,246.62 3,727.41 73,283.61 ทม่ี า : ขอ้ มูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมม่นั คงของมนุษย์ ปี 2562 จากตารางท่ี 2.22 แสดงข้อมูลความมนั่ คงของมนุษย์ มิติสุขภาพ จำแนกรายจงั หวดั ปี 2562 เป็นการวัดจาก 5 ตัวชี้วัด พบว่า จังหวัดที่มีอัตราเตียงต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุด คือ จังหวัดตราด 278.36 รองลงมา คือ จังหวัดจันทบุรี 265.24 และจังหวัดระยอง 215.81 จังหวัดที่มีอัตราบุคลากร ทางการแพทย์ต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุด คือ จังหวัดตราด 327.51 รองลงมา คือ จังหวัดจันทบุรี 326.75 และจังหวัดชลบุรี 290.66 จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยทางสุขภาพจิตต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุด คือ จังหวัดระยอง 3,161.27 รองลงมา คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2,994.65 และจังหวัดตราด 2,305.64 จังหวัด ที่มอี ัตราการเจ็บป่วยดว้ ยโรคสำคญั 5 โรคต่อ ประชากร 100,000 คน มากทีส่ ดุ คอื จงั หวดั จันทบรุ ี 6,844.23 รองลงมา คือ จังหวัดตราด 5,863.50 และจังหวัดปราจีนบุรี 4,486.62 จังหวัดที่มีอัตราการเข้าถึงบริการของ ผู้ป่วยต่อ ประชากร 100,000 คน มากที่สุด คือ จังหวัดจันทบุรี 81,400.98 รองลงมา คือ จังหวัดตราด 74,460.89 และจังหวัดสระแกว้ 73,283.61 รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวดั ภาคตะวนั ออก

28 2.13.3 ความมน่ั คงของมนุษย์มิติอาหาร ตารางที่ 2.23 แสดงข้อมูลความม่ันคงของมนุษย์ มิตอิ าหาร จำแนกรายจงั หวดั ปี 2562 ตวั ชว้ี ดั จงั หวดั ร้อยละของผปู้ ว่ ยอาหาร รอ้ ยละของรา้ นอาหารและ รอ้ ยละของตลาดสด เปน็ พษิ ต่อ ประชากร แผงลอยที่ได้ CFGT นา่ ซอ้ื 100,000 คน (Clean Food Good Taste) ชลบรุ ี 120.48 94.13 88.89 ระยอง 136.63 84.45 90.48 จนั ทบุรี 264.06 85.07 94.12 ตราด 387.66 22.99 100.00 ฉะเชิงเทรา 149.34 83.79 100.00 ปราจนี บุรี 314.75 83.21 80.00 สระแกว้ 126.46 86.76 93.33 ทม่ี า : ขอ้ มูลจากสำนกั งานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมมัน่ คงของมนุษย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.23 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติอาหาร จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นการวัดจาก 3 ตัวชี้วัด คือ ร้อยละของผู้ป่วยอาหารเป็นพิษต่อประชากร 100,000 คน ร้อยละของร้านอาหารและแผงลอยที่ได้ CFGT (Clean Food Good Taste) และร้อยละของ ตลาดสดน่าซื้อ พบว่า จังหวัดที่มีร้อยละของผู้ป่วยอาหารเป็นพิษต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุดคือ จังหวัดตราด ร้อยละ 387.66 รองลงมาคือ จังหวัดปราจีนบุรี ร้อยละ 314.75 และจังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 264.06 จังหวัดที่มีร้อยละของร้านอาหารและแผงลอยที่ได้ CFGT (Clean Food Good Taste) มากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 94.13 รองลงมาคือ จังหวัดสระแก้ว ร้อยละ 86.76 และจังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 85.07 จังหวัดที่มีร้อยละของตลาดสดน่าซื้อ มากที่สุดคือ จังหวัดตราดและจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยละ 100 รองลงมา คือ จังหวัดจันทบรุ ี รอ้ ยละ 94.12 และจังหวัดสระแก้ว รอ้ ยละ 93.33

29 2.13.4 ความม่ันคงของมนษุ ย์มติ ิการศึกษา ตารางที่ 2.24 แสดงข้อมลู ความม่นั คงของมนุษย์ มติ กิ ารศึกษา จำแนกรายจงั หวัด ปี 2562 ตวั ชว้ี ัด จังหวัด อตั รานักเรียนต่อห้องเรียน อัตรานกั เรยี นต่อครู อัตราการมีคอมพวิ เตอร์ต่อ 30.71 18.51 ครวั เรือน ชลบรุ ี ระยอง 17.2936 จนั ทบรุ ี ตราด 28.07 17.71 23.1168 ฉะเชิงเทรา ปราจนี บรุ ี 24.39 16.66 55.7314 สระแก้ว 22.36 16.16 21.5639 23.13 16.59 17.1077 19.54 15.92 23.7988 21.46 15.12 24.1877 ทีม่ า : ข้อมลู จากสำนักงานปลัดกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมมัน่ คงของมนุษย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.24 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติการศึกษา จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นการวัดจาก 3 ตัวชี้วัด คือ อัตรานักเรียนต่อห้องเรียน อัตรา นกั เรียนต่อครู และอตั ราการมีคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือน พบวา่ จงั หวดั ทมี่ ีอตั รานักเรียนต่อห้องเรียน มากที่สุด คอื จงั หวดั ชลบุรี ร้อยละ 30.71 รองลงมาคอื จงั หวัดระยอง รอ้ ยละ 28.07 และจงั หวัดจนั ทบรุ ี ร้อยละ 24.39 จังหวัดที่มีอัตรานักเรียนต่อครู มากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 18.51 รองลงมาคือ จังหวัดระยอง ร้อยละ 17.71 และจงั หวดั จนั ทบรุ ี รอ้ ยละ 16.66 จังหวดั ท่ีมีอัตราการมีคอมพวิ เตอรต์ ่อครวั เรือน มากท่ีสุดคือ จังหวัด จันทบุรี รอ้ ยละ 55.73 รองลงมาคือ จังหวดั สระแก้ว ร้อยละ 24.18 และจงั หวัดปราจีนบรุ ี ร้อยละ 23.79 รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจังหวดั ภาคตะวันออก

30 2.13.5 ความมน่ั คงของมนษุ ยม์ ิตกิ ารมีงานทำและรายได้ ตารางที่ 2.25 แสดงข้อมูลความมัน่ คงของมนุษย์ มิตกิ ารมงี านทำและรายได้ รายจงั หวัด ปี 2562 ตวั ชว้ี ดั จงั หวัด อตั ราการ อัตราการ รายไดเ้ ฉล่ยี ต่อ รายจา่ ยเฉลีย่ ต่อ จำนวนหนส้ี นิ เฉลี่ย มีงานทำ ว่างงาน ครัวเรือน ชลบุรี ครวั เรือน ตอ่ ครัวเรอื น ระยอง 99.36 0.63 27,665.39 จันทบุรี 25,322.87 170,022.64 ตราด ฉะเชงิ เทรา 99.23 0.75 27,797.79 19,409.81 124,478.28 ปราจนี บรุ ี สระแกว้ 99.50 0.49 32,893.60 20,922.15 186,071.96 99.45 0.53 27,796.68 20,198.98 193,674.99 99.38 0.59 26,061.85 19,070.81 80,062.22 98.47 1.50 22,952.89 20,782.66 135,499.30 97.11 2.39 22,115.02 17,543.55 169,875.58 ท่ีมา : ข้อมลู จากสำนักงานปลัดกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมมนั่ คงของมนษุ ย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.25 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติการมีงานทำและรายได้ รายจังหวัด ปี 2562 เป็นการวัดจาก 5 ตัวชี้วัด พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการทำงานมากที่สุด คือ จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 99.50 รองลงมา คือ จงั หวัดตราด ร้อยละ 99.45 และจงั หวดั ชลบรุ ี รอ้ ยละ 99.36 จงั หวดั ท่ีมอี ตั ราการว่างงาน มากที่สุด คือ จังหวัดสระแก้ว ร้อยละ 2.39 รองลงมา คือ จังหวัดปราจีนบุรี ร้อยละ 1.50 และจังหวัดระยอง ร้อยละ 0.75 จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง 27,797.79 บาท รองลงมา คือ จังหวัดตราด 27,796.68 บาท และจังหวัดชลบุรี 27,665.39 บาท จังหวัดที่มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน มากที่สุด คือ จังหวัดชลบุรี 25,322.87 บาท รองลงมา คือ จังหวัดจันทบุรี 20,922.15 บาท และจังหวัด ปราจนี บรุ ี 20,782.66 บาท จังหวัดที่มีจำนวนหนส้ี ินเฉล่ียต่อครัวเรือนมากท่สี ุด คอื จงั หวดั ตราด 193,674.99 บาท รองลงมา คือ จังหวัดจันทบุรี 186,071.96 บาท และจังหวดั ชลบุรี 170,022.64 บาท

31 2.13.6 ความมนั่ คงของมนษุ ย์มิติครอบครวั ตารางท่ี 2.26 แสดงข้อมูลความมน่ั คงของมนุษย์ มิติครอบครัว จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ตวั ชว้ี ัด จังหวัด อัตราการจดทะเบยี นหย่า รอ้ ยละความเขม้ แขง็ ความรนุ แรงในครอบครัว ต่อ 1,000 ครัวเรือน ของครอบครวั ต่อ 1,000 ครัวเรือน ชลบรุ ี ระยอง 10.86 85.97 0.04 จนั ทบรุ ี ตราด 11.17 81.32 0.01 ฉะเชงิ เทรา ปราจีนบุรี 5.08 87.39 0.00 สระแก้ว 3.83 82.87 0.06 7.15 92.60 0.01 6.65 90.98 0.09 5.06 86.39 0.08 ทมี่ า : ข้อมลู จากสำนักงานปลดั กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมมั่นคงของมนุษย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.26 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติครอบครัว จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นการวัดจาก 3 ตัวชี้วัด คือ อัตราการจดทะเบียนหย่าต่อ 1 ,000 ครวั เรอื น รอ้ ยละความเข้มแขง็ ของครอบครวั และความรุนแรงในครอบครวั ต่อ 1,000 ครวั เรือน พบวา่ จงั หวัด ที่มีอัตราการจดทะเบียนหย่าต่อ 1,000 ครัวเรือน มากที่สุดคือ จังหวัดระยอง ร้อยละ 11.17 รองลงมาคือ จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 10.86 และจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยละ 7.15 จังหวัดที่มีร้อยละความเข้มแข็งของ ครอบครัว มากที่สุดคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยละ 92.60 รองลงมาคือ จังหวัดปราจีนบุรี ร้อยละ 90.98 และจังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 87.39 จังหวัดที่มีค่าความรุนแรงในครอบครัวต่อ 1,000 ครัวเรือน มากที่สุดคือ จงั หวัดปราจนี บรุ ี ร้อยละ 0.09 รองลงมาคือ จงั หวัดสระแก้ว ร้อยละ 0.08 และจังหวัดตราด รอ้ ยละ 0.06 รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวนั ออก

32 2.13.7 ความมนั่ คงของมนษุ ยม์ ติ ชิ ุมชนและการสนบั สนนุ ทางสังคม ตารางท่ี 2.27 แสดงข้อมูลความมน่ั คงของมนษุ ย์ มติ ชิ ุมชนและการสนับสนุนทางสังคม รายจงั หวดั ปี 2562 ตัวชีว้ ดั จงั หวดั อตั ราผูท้ ำประกัน อัตราผู้ทำ อตั ราการฆา่ ตัวตาย อตั ราผถู้ ือ ชีวิตต่อประชากร ประกันสงั คมต่อ และทำรา้ ยตนเอง กรมธรรม์ประกนั กำลังแรงงานรวม ต่อ ประชากร อุบัตเิ หตุส่วน 100,000 คน บุคคลตอ่ ประชากร ชลบรุ ี 54.92 84.02 64.48 6.86 ระยอง 58.84 86.80 99.96 8.01 จันทบุรี 56.62 19.41 106.06 11.25 ตราด 48.92 23.81 86.12 7.91 ฉะเชิงเทรา 36.08 65.10 49.37 3.62 ปราจนี บรุ ี 29.11 49.89 37.83 1.58 สระแก้ว 21.15 18.37 56.20 1.04 ทมี่ า : ข้อมูลจากสำนักงานปลดั กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมมั่นคงของมนุษย์ ปี 2562 จากตารางที่ 2.27 แสดงข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์ มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม จำแนกรายจังหวัด ปี 2562 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นการวัดจาก 4 ตัวชี้วัด คือ อัตราผู้ทำประกัน ชีวิตต่อประชากร อัตราผู้ทำประกันสังคมต่อกำลังแรงงานรวม อัตราการฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองต่อ ประชากร 100,000 คน และอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อประชากร พบว่า จังหวัดที่มี อัตราผู้ทำประกันชีวิตต่อประชากร มากที่สุดคือ จังหวัดระยอง ร้อยละ 58.84 รองลงมาคือ จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 56.62 และจังหวัดชลบุรี ร้อยละ 54.92 จังหวัดที่มีอัตราผู้ทำประกั นสังคมต่อกำลังแรงงาน รวมมากที่สุดคือ จังหวัดระยอง ร้อยละ 86.80 รองลงมาคือ จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 84.02 และจังหวัด ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 65.10 จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองต่อ ประชากร 100,000 คน มากที่สุดคือ จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 106.06 รองลงมาคือ จังหวัดระยอง ร้อยละ 99.96 และจังหวัดตราด ร้อยละ 86.12 จังหวัดที่มีอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อประชากร มากที่สุด คือจังหวัด จันทบุรี รอ้ ยละ 11.25 รองลงมา คือจงั หวัดระยอง ร้อยละ 8.01 และจงั หวัดตราด ร้อยละ 7.91


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook