Buddha's Teaching Methods พุทธวิธีการสอน โ ด ย ทิ พ ย์ ขั น แ ก้ ว
-1- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั Mahachulalongkornrajavidyalaya University หลกั สตู รพุทธศาสตรบัณฑติ เอกสารประกอบการสอนรายวิชา รหสั วิชา ๒๐๐ ๒๒๕ หมวดวชิ าพระพุทธศาสนาประยุกต์ พุทธวิธีการสอน Buddha's Teaching Methods ทพิ ย์ ขันแกว้ วทิ ยาลยั สงฆบ์ รุ รี มั ย์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย 2559
-2- พุทธวิธีการสอน (Buddha's Teaching Methods) ผแู้ ตง่ คณาจารย์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย บรรณาธิการ รศ. จิรภทั ร แกว้ ก่,ู ผศ. ณรงค์ โวหารเสาวภาคย์ จัดรปู เล่ม นายสมบูรณ์ เพ่งพิศ พิสูจน์อักษร ดร.ศศวิ รรณ กำลงั สนิ เสรมิ นายสุชญา ศริ ธิ ัญภร ออกแบบปก นายพจิ ิตร พรมลี พิมพค์ รัง้ ท่ี ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จำนวนพมิ พ์ ๒,๐๐๐ เลม่ ลิขสิทธ์ิ ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั ห้ามการลอกเลียนไม่วา่ สว่ นใดๆ ของหนงั สือเลม่ นี้ นอกจากจะได้รบั การอนุญาตเป็นลายลักษณ์อกั ษรเทา่ นัน้ ขอ้ มูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย พทุ ธวิธกี ารสอน = Buddha's Teaching Methods.พระนครศรอี ยุธยา : มหาวทิ ยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๕๔. ๑๕๗ หน้า ๑.พระพุทธศาสนากับการศึกษา.๒พทุ ธศาสนา – การศกึ ษาและการสอน. ๑.ชอื่ เรอ่ื ง. 294.31171 ISBN: 978-974-364-967-7 จดั พมิ พ์โดย : มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั เลขท่ี ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา ๑๓๑๗๐ โทร ๐๓๕ ๒๔๘ ๐๑๓ โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๘ ๐๑๓ จัดพมิ พโ์ ดย : มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั เลขที่ ๑๑-๑๗ ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวงั เขตพระนคร กรงุ เทพ ๑๐๒๐๐ โทร ๐-๒๖๒๓ – ๖๓๒๔, โทรสาร ๐-๒๖๒๓ – ๖๓๒๓
-3- คำปรารภ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีโครงการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรเพ่ือการเรียนรู้ พระพทุ ธศาสนาของมหาวทิ ยาลัย ซ่ึงมีวตั ถุประสงคเ์ พื่อพัฒนาเนอ้ื หารายวิชาในหมวดวชิ าพระพุทธศาสนา ประยุกต์ ให้เป็นที่ยอมรับและใช้ร่วมกันได้ พัฒนารูปแบบของหนังสือ และตำราให้มีเอกลักษณ์ร่วมกัน สวยงาม คงทน น่าสนใจต่อการศึกษาค้นคว้า มีเน้ือหาสาระไปพัฒนาส่ือการศึกษาและเผยแพร่ในรูปแบบ ต่างๆ ท้ังสื่อสิ่งพิมพ์ ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ระบบคลังข้อสอบ พัฒนาบุคลากรและผลงานด้านวิชาการของ มหาวิทยาลยั ใหแ้ พรห่ ลาย และเป็นเวทเี สนอผลงานทางวชิ าการของคณาจารยข์ องมหาวทิ ยาลยั โครงการนเี้ กิดข้ึนมาได้จากความรว่ มมอื ร่วมใจกนั ของคณาจารย์มหาวิทยาลยั จากทุกส่วนงาน ทั้ง ส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาสงฆ์ ร่วมกันพัฒนาเอกสารการสอนหรือตำราในหมวดวิชาพระพุทธศาสนา ประยกุ ต์ ด้วยวิริยะอุตสาหะแรงกล้า พฒั นางานทางวิชาการให้มีเน้ือหาสาระถกู ต้อง เพียบพรอ้ มด้วยอรรถ และพยญั ชนะ เป็นท่ียอมรบั ของสังคม หนังสือพทุ ธวธิ กี ารสอนเล่มน้ี มีเน้ือหาสาระ ๘ บท มุ่งหมายให้ศกึ ษาความหมายและความเปน็ มา เก่ยี วกบั หลักการวธิ ีการ กระบวนการในการสอนของพระพุทธเจา้ ในแบบทแ่ี ตกต่างกัน ตามความเหมาะสม ของผ้รู ับฟงั หรอื ผทู้ ่ีพอจะบรรลเุ ขา้ ถึงความเป็นจริงของชวี ติ โดยเนน้ หลักการสอนตามหลกั ไตรสิกขา อริยสจั อนปุ ุพพิกถา นวงั คสัตถศุ าสน์ และโยนิโสมนสกิ าร รวมทง้ั การพัฒนาจติ และเจริญปัญญา ขออนุโมทนาขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดการและพัฒนาหลักสูตร คณาจารย์ และเจ้าหน้าท่ีของมหาวทิ ยาลัยทุกรูปทุกคน ท่ไี ด้เสียสละเวลาพัฒนาเนื้อหารายวิชาเล่มนใี้ ห้เกิดขึ้น อันจะ เป็นประโยชน์สมบัติของมหาวิทยาลัยสืบไป หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือเล่มน้ีคงอำนวยประโยชน์เชิง วิชาการด้านพทุ ธศาสตรแ์ ละครศุ าสตร์แกค่ ณาจารย์ นิสติ นกั ศกึ ษา และประชาชนผสู้ นใจทว่ั ไป (พระธรรมโกศาจารย์) อธกิ ารบดีมหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย
-4- คำนำ หนังสือเลม่ น้ี ได้พัฒนาขึ้นตามโครงการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร เร่ืองการจัดทำต้นฉบับรายวิชา พระพุทธศาสนาประยุกต์ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ ของกองวชิ าการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑)เพื่อพัฒนาเน้ือหารายวิชาวิชาแกนพุทธศาสนา ประยุกต์หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตให้เป็นที่ยอมรับและใช้ร่วมกันได้ในคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบ (๒) เพ่ือพัฒนารูปแบบของเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา ให้มีเอกลักษณ์ร่วมกัน ท้ังมีความคงทน สวยงาม น่าสนใจต่อการศึกษาค้นคว้า (๓) เพ่ือนำ เน้ือหาสาระไปพัฒนาสื่อการศึกษาและเผยแพร่ในรูปแบบสื่อส่ิงพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (๔) เพ่ือเสริมสร้างทักษะของคณาจารย์ในการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างมีคุณภาพรองรับการประกันคุณ การศึกษาของมหาวิทยาลัย (๕) เพ่ือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ ยอมรบั ทวั่ ไปทงั้ ในประเทศและระดับสากล พุทธวิธีการสอน เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษา ความหมายและความเป็นมาเก่ียวกับ หลักการ วิธีการ กระบวนการสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการ พัฒนาจติ และเจรญิ ปญั ญา คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือพุทธวิธีการสอนเล่มน้ี จะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการด้าน พทุ ธศาสตร์และครุศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจท่ัวไป จึงขอขอบคุณทุกท่าน ท่ีได้มีส่วนร่วมทำหนังสือเล่มน้ีให้มีความสำเร็จ สมบูรณ์ เป็นรูปเล่ม อนึ่ง หากมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด ประการใดเกดิ ขนึ้ ในสว่ นต่างๆ ของหนังสอื พุทธวธิ กี ารสอนเล่มน้ี ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ คณะกรรมการพัฒนาเนื้อหารายวชิ าพทุ ธวิธีการสอน กรกฎาคม ๒๕๕๔
คำนำ เอกสารประกอบการสอน พุทธวิธีการสอน (Buddha's Teaching Methods) ในหลักสูตรพุทธศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา คณะครุศาสตร์ ผู้สอนได้รวบรวมขึ้น เพื่อให้นิสิต นักศึกษาและผู้ท่ีสนใจ ได้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาท่ีเรียน โดยได้ นำแนวสังเขปรายวิชา ศึกษาหลักการและวิธีสอนของพระพุทธเจ้า การวิเคราะห์ธรรมชาติผู้เรียน ตามแนวพุทธ คุณลักษณะของผู้สอน วัตถุประสงค์ในการสอน การออกแบบการสอนตามหลัก ไตรสิกขา อริยสัจ อนุปุพพิกถา นวังคสัตถุศาสน์ โยนิโสมนสิการและการพัฒนาจิตและเจริญ ปญั ญา กราบขอบพระคุณพระครปู รยิ ัตภิ ทั รคณุ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บรุ รี มั ย์ ทใ่ี ห้โอกาส ในการจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรายวชิ านี้ เพ่ือเป็นประโยชนแ์ กน่ สิ ิต นักศึกษาและผู้ทีส่ นใจ ไดศ้ ึกษาค้นคว้าใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียน มไิ ด้มุ่งหวงั ผลกำไรทางการค้าแต่อย่างไร เอกสารประกอบการเรียนการสอนเล่มนี้ ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ท่ีเผยแพรท่ างอินเตอร์เน็ตโดยไม่ไดข้ ออนญุ าตจากเจ้าของบทความ ต้องขออภยั ไว้ ณ ทนี่ ี้ และมุ่ง ในการอ้างอิงเชิงอรรถมากว่าบรรณนุกรม จึงไม่ได้จัดทำไว้ และมิได้มุ่งหมายผลประโยชน์ทาง การคา้ แต่อย่างใด หวังเป็นอย่างยิ่ง เอกสารประกอบการเรียนการสอนเล่มน้ีจะอำนวยประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา ผู้ที่สนใจ และคณาจารย์ ท่ีสนใจในการศึกษา หากท่านผู้อ่านพบข้อบกพร่องหรือมีคำ ช้ีแนะ เพื่อการปรับปรุงให้สมบูรณ์มากย่ิงขึ้น ผู้จัดทำยินดีรับฟังความคิดเห็น และจะนำไป ปรบั ปรุงแกพ้ ฒั นาให้เอกสารทส่ี มบูรณ์และมีคุณคา่ ทางการศึกษาตอ่ ไป ทิพย์ ขนั แกว้ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
สารบญั หนา้ คำนำ แผนการสอนรายวชิ า ๑ บทที่ ๑ หลักการและวิธีการสอนของพระพุทธเจา้ ๒ ๑.๑ ความนำ ๓ ๑.๒ ปรชั ญาพ้ืนฐานการสอนของพระพทุ ธเจ้า ๔ ๑.๓ จุดม่งุ หมายการสอนของพระพทุ ธเจ้า ๕ ๑.๔ หลกั การสอนของพระพุทธเจ้า ๘ ๑.๕ วธิ ีการสอนของพระพุทธเจ้า ๑๑ ๑.๖ ส่ือการสอนของพระพุทธเจา้ ๑๒ ๑.๗ การวดั และประเมนิ ผลการสอนของพระพุทธเจ้า ๑๓ ๑.๘ สรปุ ท้ายบท ๑๔ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๑๕ บทที่ ๒ การวเิ คราะห์ธรรมชาตผิ ู้เรียนตามแนวพทุ ธ ๑๖ ๒.๑ ความนำ ๑๖ ๒.๒ ธรรมชาติผู้เรยี น ๑๗ ๒.๓ คณุ ลกั ษณะของผเู้ รียน ๒๒ ๒.๔ บทบาทหนา้ ทผ่ี เู้ รยี น ๒๓ ๒.๕ เปรยี บเทียบธรรมชาติผูเ้ รียนตามแนวพุทธ กบั หลักจิตวิทยาการเรยี นรู้ ๒๖ สรปุ ท้ายบท ๒๗ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๒๘ บทที่ ๓ คณุ ลกั ษณะของผู้สอน ๒๙ ๓.๑ ความนำ ๒๙ ๓.๒ ความหมายและประเภทผู้สอน ๓๑ ๓.๓ คณุ สมบัตขิ องผู้สอนตามแนวพุทธ ๓๕ ๓.๔ บทบาทหน้าที่ของผ้สู อนตามแนวพทุ ธ ๓๘ ๓.๕ คุณลักษณะของผู้สอนท่ีพึงประสงค์ ๔๐ สรปุ ท้ายบท ๔๑ เอกสารอ้างอิงประจำบท ๔๒ บทที่ ๔ จุดประสงคก์ ารสอน ๔๓ ๔.๑ ความนำ ๔๓ ๔.๒ ความรู้เบ้อื งตน้ เก่ยี วกับวัตถุประสงค์การสอน ๔๔ ๔.๓ วตั ถปุ ระสงค์การสอนตามแนวพุทธ ๔๗ ๔.๔ การประยกุ ตว์ ตั ถปุ ระสงคก์ ารสอนตามแนวพทุ ธ ๔๙ สรปุ ทา้ ยบท ๕๐ เอกสารอ้างอิงประจำบท
สารบญั หน้า บทท่ี ๕ การออกแบบการสอนตามหลกั ไตรสกิ ขา อรยิ สัจ และอนุปุพพกิ ถา ๕๑ ๕.๑ ความนำ ๕๒ ๕.๒ การสอนตามหลักไตรสกิ ขา ๕๒ ๕.๓ การสอนตามหลกั อรยิ สจั ๕๗ ๕.๔ การสอนตามหลักอนปุ ุพพกิ ถา ๖๐ สรปุ ท้ายบท ๖๙ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๖๖ บทที่ ๖ การออกแบบการสอนตามหลักนวงั คสตั ถุศาสน์ ๖๗ ๖.๑ ความนำ ๖๘ ๖.๒ ความรูเ้ บ้อื งต้นเกย่ี วกับนวงั คสตั ถสุ าสน์ ๖๘ ๖.๓ การออกแบบการสอนตามหลกั นวงั คส์ ัตถุศาสน์ ๖๙ ๖.๔ ตัวอย่างการออกแบบการสอนตามหลกั นวังคสตั ถุศาสน์ ๗๒ สรปุ ท้ายบท ๗๖ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๗๗ บทท่ี ๗ การออกแบบการสอนตามหลักโยนิโสมนสกิ าร ๗๘ ๗.๑ ความนำ ๗๙ ๗.๒ ความรู้เบือ้ งต้นเกี่ยวกับโยนโิ สมนสิการ ๗๙ ๗.๓ การออกแบบการสอนโดยวิธีคณุ ค่าแท-้ คุณคา่ เทยี ม ๘๔ ๗.๔ ตวั อยา่ งการออกแบบการสอนแบบโยนิโสมนสกิ าร ๘๕ สรปุ ทา้ ยบท ๘๗ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๘๘ บทที่ ๘ การพัฒนาจิตและเจริญปัญญา ๘๙ ๘.๑ ความนำ ๙๐ ๘.๒ ความรู้เบ้ืองตน้ เก่ยี วกับการพัฒนาจิตและเจรญิ ปัญญา ๙๐ ๘.๓ หลักการพฒั นาจิตและเจริญปญั ญาแบบสตปิ ัฏฐาน ๔ ๙๓ ๘.๔ ตัวอยา่ งการสอนตามหลักการพฒั นาจติ และเจรญิ ปัญญา ๙๕ สรปุ ทา้ ยบท ๑๐๒ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ๑๐๓ บรรณานุกรม ๑๐๔
บทท่ี ๑ หลักการและวธิ ีการสอนของพระพทุ ธเจ้า วัตถปุ ระสงค์การเรียนประจำบท เม่อื ไดศ้ กึ ษาเนอื้ หาในบทนแ้ี ล้ว ผศู้ กึ ษาสามารถ ๑. อธิบายปรชั ญาพนื้ ฐานการสอนของพระพุทธเจ้าได้ ๒. อธบิ ายจุดม่งุ หมายการสอนของพระพุทธเจา้ ได้ ๓. อธิบายหลกั การสอนของพระพทุ ธเจา้ ได้ ๔. อธบิ ายวธิ ีการสอนของพระพทุ ธเจา้ ได้ ๕. ระบสุ ่ือการสอนของพระพุทธเจา้ ได้ ๖. อธบิ ายการวดั และประเมนิ ผลการสอนของพระพุทธเจา้ ได้ ขอบขา่ ยเนอื้ หา • ปรชั ญาพน้ื ฐานการสอนของพระพทุ ธเจ้า • จดุ มงุ่ หมายของการสอนของพระพุทธเจา้ • หลักการสอนของพระพทุ ธเจา้ • วธิ กี ารสอนของพระพทุ ธเจ้า • ส่อื การสอนของพระพทุ ธเจา้ • การวัดและประเมนิ ผลการสอนของพระพุทธเจา้
๒ ๑.๑ ความนำ ในพทุ ธประวัติเล่าวา่ เม่ือพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระพุทธเจา้ ได้เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวช แล้วเพอื่ คุณอันยง่ิ ใหญ่(มหาภเิ นษกรม) ทรงบำเพ็ญเพียรทกุ รกริ ิยาอยู่ ๖ พรรษา จึงได้ตรัสรูเ้ ป็นพระพทุ ธเจา้ ประกาศ พระสทั ธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ พรรษา จงึ ได้เสดจ็ ดับขนั ธปรินพิ พาน รวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา พระพุทธองคไ์ ด้ทรงบำเพ็ญพทุ ธจริยา เป็นการบำเพ็ญประโยชนข์ องพระพทุ ธเจา้ ๓ ประการคือ โลกัตถจรยิ า พระพุทธจริยาเพ่ือประโยชนแ์ กโ่ ลก ญาตัตถจริยา พระพุทธจรยิ าเพื่อประโยชนแ์ ก่พระ ญาติตามฐานะ และพุทธัตถจริยา พระพทุ ธจรยิ าทที่ รงบำเพญ็ ประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจา้ ๑ ชาวโลกได้สรรเสริญ พรรณนาพระกิตติคุณพระองคห์ ลายข้อ มตี วั อยา่ งประมวลไว้ในคัมภรี ธ์ าตุวภิ ังคสูตร มชั ฌมิ นิกาย อุปรปิ ณั ณาสก์ เรอื่ งพระปกุ กสุ าติ ว่า: “อิติปิ โส ภควา อรหํ สมมฺ าสมพฺ ทุ โฺ ธ วิชฺชาจรณสมปฺ นฺโน สคุ โต โลกวทิ ู อนตุ ฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนสุ ฺสานํ พุทฺโธ ภควาต”ิ ๒ แปล: แม้เพราะเหตดุ งั นี้ๆ พระผู้มพี ระภาคพระองค์นัน้ เป็นผไู้ กลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รแู้ จง้ โลก เปน็ สารถผี ู้ฝึกบรุ ษุ ที่ควรฝึก อยา่ งหาคนอนื่ ยงิ่ กว่ามไิ ด้ เปน็ ครูของเทวดาและมนุษย์ท้ังหลาย เปน็ ผู้ต่นื แลว้ เปน็ ผู้แจกธรรม ดงั น้ี. พระคณุ ๙ ประการ เรยี กวา่ นวหรคณุ ข้อว่า อรหํ สมฺมาสมฺพทุ โฺ ธ วิชฺชาจรณสมปฺ นฺโน สคุ โต โลกวทิ ู จัดเปน็ อตั ตสมบัติ (การประพฤตเิ พ่ือประโยชน์ตน) สว่ นขอ้ อนุตฺตโร ปรุ สิ ทมมฺ สารถิ สตฺถา เทวมนสุ สฺ านํ พุทโฺ ธ ภควา จดั เป็น ปรหิตสมบัติ (การประพฤติเพ่ือประโยชนผ์ อู้ ่ืน) ขอ้ ทีแ่ สดงวา่ พระองคเ์ ป็นบรมครหู าผเู้ ปรยี บมิได้ ไมม่ ผี ู้เสมอ คือขอ้ “อนุตตฺ โร ปุริสทมฺมสารถิ” (เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษท่ีควรฝึกอย่างหาคนอ่ืนยิ่งกว่ามิได้) และข้อ “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ” (เป็นครูของเทวดาและมนุษยท์ ง้ั หลาย) ส่วนหลักวธิ ีสอนและจดุ มงุ่ ในการสอน พระองค์ไดป้ ระกาศในเบื้องตน้ เผยแผ่พระพุทธศาสนา วา่ : จรถ ภกิ ขฺ เว จารกิ ํ พหุชนหติ าย พหุชนสขุ าย โลกานุกมปฺ าย อตฺถาย หิตาย สขุ าย เทวมนสุ สฺ านํ, มา เอเกน อคมิตฺถ, เทเสถ ภกิ ฺขเว ธมมฺ ํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปรโิ ยสานกลยฺ าณํ สาตถฺ ํ สพยฺ ญชฺ นํ เกวลปริปุณณฺ ํ ปริสทุ ธฺ ํ พรฺ หฺมจริยํ ปกาเสถ๓. แปล:ภกิ ษุท้งั หลาย พวกเธอ จงเทยี่ วจารึกไป เพือ่ ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน เพอื่ ความเอน็ ดูแก่ โลก; เพ่ือประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพ่ือความสุขแกเ่ ทวดาและมนษุ ย์ทั้งหลาย อยา่ ไปทางเดยี วกัน สองรูป. ภกิ ษุทัง้ หลาย พวกเธอจงแสดงธรรม ใหง้ ดงามในเบ้ืองตน้ ให้งดงามในทา่ มกลาง ให้งดงามใน ทส่ี ุดลงรอบ จงประกาศพรหมจรรย์ ให้เปน็ ไปพร้อมทั้งอรรถท้งั พยัญชนะ ใหบ้ รสิ ทุ ธ์บิ รบิ ูรณส์ ้ินเชงิ . ๑ อง.อ.(บาล)ี ๑/๑๐๔; ธ.อ. (บาลี) ๗/๙๓. ๒ ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๖๗๖/๔๔๘. ๓ วินย. (บาล)ี ๔/๓๒/๒๗.
๓ ๑.๒ ปรชั ญาพืน้ ฐานการสอนของพระพทุ ธเจา้ พระพุทธศาสนามีลักษณะสำคัญอย่างหน่ึงที่ต่างจากศาสนาทั่วไป โดยถือปัญญาเป็นสำคัญ ไม่บังคับศรัทธา ให้เสรีภาทางความคิด ไม่เรียกร้องและไม่บังคับความเชื่อ ไม่กำหนดข้อปฏิบัติท่ีบังคับแก่ศาสนิกชน แต่ให้พิจารณา เลือกตัดสินใจด้วยตนเอง เรียกว่าเป็นศาสนาแห่งปัญญา การศึกษาหรือสิกขาจึงเป็นเนื้อตัวของชีวิตในทาง พระพทุ ธศาสนา การศึกษา(สิกขา)แบ่งออกไปเป็น ๓ ด้าน โดยสอดคล้องกับองค์ประกอบและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ท่มี ี ๓ ด้าน คือ พฤตกิ รรม จิตใจและปัญญา มสี าระสำคัญคอื ๔ ๑.ศีล คือ การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม หมายถงึ การพฒั นาพฤตกิ รรม ทางกาย และวาจา ยา่ งถกู ตอ้ งมผี ลดี ๒. สมาธิ คือ การฝึกฝนพัฒนาด้านจิตใจ มีความสำคัญอย่างย่ิง เพราะจิตใจเป็นฐานของพฤตกิ รรม เนื่องจา พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นจากความต้ังใจหรือเจตนา และเป็นไปตามเจตจำนงหรือแรงจูงใจท่ีอยู่เบ้ืองหลัง ถ้าจิตใจ ไดร้ ับการพัฒนาดีงามแลว้ กจ็ ะควบคุมดูแลและนำพฤติกรรมไปในที่ดงี ามด้วย ๓.ปญั ญา คือ การพัฒนาปญั ญา ช่วยให้ดำเนินชวี ติ อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพประสบความสำเรจ็ ช่วยดำเนินเข้า สูว่ ิถีชีวิตทถ่ี กู ตอ้ งดีงาม และช่วยให้บรรลจุ ดุ มายสูงสุดของชีวติ ทดี่ งี าม การศึกษา ๓ ดา้ นที่เรียกว่า ไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิและปัญญานี้ เป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา เป็น ระบบและเป็นกระบวนการท้ังหมดของการพัฒนาคน พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมและข้อธรรมแยกย่อยออกไป มากมาย หลกั ธรรมแตล่ ะหมวดแตล่ ะชุดเหลา่ น้นั ก็คือข้อปฏบิ ัติเพื่อพัฒนาชีวติ พัฒนาสงั คมในสว่ นปลีกย่อยตา่ งๆ แต่ ละหมวดแต่ละชุด มักจะมีสาระบางส่วนของไตรสิกขาครบท้ัง ๓ อย่าง ประสานหรือบูรณาการกันอยู่ในลักษณะใด ลักษณะหนึง่ ตามความเหมาะกบั กรณนี ้ันๆ จากปรชั ญาพ้ืนฐานดงั กล่าวนี้ สาระสำคัญของการสอนจะต้องมี “ภารกิจ ทัศนคติ ผสู้ อน และผู้เรียน”ที่ ถกู ต้อง คือ๕ ๑. ภารกิจสำคัญของการศึกษา ได้แก่ การช่วยใหบ้ คุ คลเกิดทัศนคติทถ่ี ูกต้อง และสามารถจัดการกับส่ิง เหล่านัน้ ๒. ทัศนคตทิ ีถ่ ูกต้องและความสามารถจดั การดังกล่าวน้นั จะเกดิ ขึ้นได้ด้วยการพัฒนาปญั ญาและเกิดขึ้นในตัว บุคคลนัน้ เองเท่านัน้ ๓. ภารกิจของผสู้ อนและให้การศกึ ษาทั้งหลาย จงึ เป็นเพยี งแตผ่ ชู้ ี้นำทางหรืออำนวยโอกาส ๔. ผูเ้ รยี นเป็นผู้มบี ทบาทสำคญั ในฐานะเป็นผ้สู ร้างปญั ญาใหเ้ กดิ แกต่ น จงึ ตอ้ งเปน็ ผมู้ สี ่วน ร่วมและเป็นผู้ได้ลงมือกระทำให้มากท่ีสุด และ ผู้เรียนต้องเป็นอิสระในการใช้ความคิดและในการท่ีจะซักถาม โตต้ อบสืบเสาะ คน้ หาความจรงิ ตา่ งๆ ใหไ้ ดร้ ับความรู้ความเขา้ ใจขึน้ ในตน ๔ พระธรรมปิ ฎก (ประยทุ ธ์ ปยตุ ฺโต),พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. (กรุงเทพฯ:โรงพมิ พส์ ่วนทอ้ งถ่ิน, ๒๕๔๐), หนา้ ๙-๑๙. ๕ พระธรรมปิ ฎก (ป. อ. ปยตุ ฺโต), พุทธวธิ ใี นการสอน, พมิ พค์ ร้ังที่ ๕, (กรุงเทพฯ : มลู นิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๑), หนา้ ๖-๘.
๔ ส่วนเทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้าเก่ียวกับการสอนเพื่อนำไปสู่วิธีแก้ปัญหา มีสาระสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. ปัญญา เป็นสงิ่ สรา้ งสรรคข์ ้ึนภายในตัวผ้เู รียนเอง ๒.ผู้สอนทำหน้าท่ีเป็นกัลยาณมิตร ชว่ ยชีน้ ำทางการเรียน ๓. วิธีสอน อุบายและกลวธิ ีต่างๆ เป็นส่ือหรือเปน็ เคร่อื งผอ่ นแรงการเรียนการสอน ๔. อสิ รภาพในทางความคิด เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสรา้ งปัญญา บุคคลผู้เป็นผลิตผลของระบบการศึกษาท่ีมีปรชั ญานี้เปน็ พ้ืนฐาน จะมีคณุ ลักษณะ ๓ ด้านคอื อัตตัตถะ คือ บรรลุอรรถประโยชนข์ องตน มีความเจริญงอกงามดว้ ยสติปัญญาและคณุ ธรรม, อัตตนาถะ คือ พงึ่ ตนได้ ปกครอง ตนเองได้ ไม่เป็นตัวก่อปัญหาหรือภาระแกส่ งั คม และ ปรตั ถะ คือมีพฤติกรมท่เี ก้อื กูลต่อผอู้ ่นื เก้ือกูลต่อการอยู่ รว่ มกัน ทำประโยชน์ต่อสังคมได้และเปน็ ผนู้ ำทดี่ ี ๑.๓ จดุ มงุ่ หมายการสอนของพระพุทธเจ้า คำสั่ง (โอวาท) และคำสอน (อนสุ าสนี) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเ่ รียกว่า พระธรรมวนิ ยั เหลา่ นั้น, คำสัง่ สอน ทีใ่ หต้ ัง้ อยู่ในความดี และใหช้ ำระใจให้บริสุทธจิ์ ากกเิ ลส จดั เปน็ “พระธรรม” คำส่ังสอนที่หา้ มไม่ให้ทำ ความชั่ว ทางกาย วาจา จดั เปน็ “พระวนิ ัย” และเมื่อพระธรรมวนิ ัยยังเปน็ ไปอยู่ตราบใด พระพุทธศาสนาชือ่ วา่ ดำรงอย่ไู ด้ ตราบนั้น วัตถปุ ระสงค์และเปา้ หมายในการสอน พระองค์ได้ตรสั กับภิกษุทง้ั หลายเมื่อแรกในสง่ ไปประกาศพระศาสนา ว่า จรถ ภิกขฺ เว จารกิ ํ พหุชนหติ าย พหชุ นสุขาย โลกานกุ มฺปาย อตฺถาย หติ าย สุขาย เทวมนุสสฺ านํ มา เอเกน เทฺว อคมิตฺถ.........ฯ๖ แปล : ดกู รภกิ ษุท้งั หลายพวกเธอจงเท่ยี วจารกิ เพอื่ ประโยชนแ์ ละความสุขแกช่ นหมู่มาก เพื่อ อนุเคราะหโ์ ลก เพ่อื ประโยชนเ์ กือ้ กลู และความสุขแกท่ วยเทพและมนษุ ย์ พวกเธออยา่ ไดไ้ ปรวมทาง เดยี วกนั สองรูป....ฯ จากพระพุทธดำรัสตอ่ พระ ๖๐ ก่อนสง่ ไปประกาศพระศาสนาดงั กล่าวนี้ พระองค์ได้ระบุจดุ มงุ่ หมายหรือ คาดหวงั ส่งิ ท่ีพึ่งเกดิ ขึน้ คือ ๑. อัตถะ เพื่อประโยชน์คอื พระธรรมจะนำคุณคา่ ทีเ่ ป็นจดุ มายของชวี ิตมาสู่ผปู้ ฏบิ ตั ิ ๓ ลักษณะคือ (๑) ทิฏฐธัมมิกตั ถะ ประโยชนช์ ั้นตน้ เชน่ ความมสี ขุ ภาพดี มีทรัพย์สนิ เงินทอง มี ครอบครัวท่ีมน่ั คงผาสุขและเปน็ ท่ียอมรบั ในสังคม (๒) สัมปรายกิ ตั ถะ ประโยชน์เบอ้ื งหนา้ เช่นความสขุ ทางจิตใจ ความอ่ิมใจ ม่ันใจในชีวิต (๓) ปรมัตถะ ประโยชนอ์ ย่างสงู สุด ซึ่งเป็นเปา้ หมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ มรรค ผล นพิ พาน ซง่ึ คนสามารถสัมผสั ได้ท้ังในโลกน้ีและในโลกต่อไป ๖ ว.ิ ม.(บาลี).๔/๓๒/๔๙.
๕ ๒. หิตายะ เพื่อเก้ือกูล คือพระธรรมจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้คุณค่า คุณธรรมที่ดีงามด้านอ่ืนๆเกิดข้ึน ตาม และช่วยสกัดและบรรเทาสิ่งที่ไม่ดีงามให้เกิดขึ้น กล่าวคือสร้างสภาพท่ีเหมาะสมความตีงามของชีวิตด้านอ่ืนๆท่ี สูงขึ้น ๓. สุขายะ เพื่อสุข ธรรมท่ีเป็นประโยชน์อันมีลักษณะเกื้อกูลน้ัน จะต้องออกผลมาในรูปของความสุขช้ัน ต่าง ๆ เป็นสำคญั พระธรรมท่ีทรงสัง่ สอนจึงอำนวยความสขุ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบตั ิตามสมควรแก่องค์ธรรมน้นั ๆ ในพระพุทธศาสนา มแี บง่ คนออกเป็น ๒ ประเภท คอื เสขบคุ คล ผ้ทู ี่ยังต้องศกึ ษากล่าวคอื น้อมใจไปดว้ ย ศรัทธา ประคองความเพยี ร ต้งั สติ กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมท่คี วรละ เจริญธรรมท่คี วรเจรญิ ทำให้ แจง้ ซ่งึ ธรรมทค่ี วรทำให้แจ้ง และอเสขบุคคล คอื ผทู้ ่ีจบการศึกษาแล้ว๗ ดังน้นั ความสขุ จึงแยกย่อยเป็นตามลักษณะ และคณุ คา่ แตกตา่ งกันไป เชน่ สขุ ของคฤหัสถ์ และสุขเกิดแตบ่ รรพชา๘ สุขของพระอริยเจา้ และสุขของปถุ ุชน๙ กามสขุ และเนกขมั มสุข๑๐ สุขเจอื กิเลสและสขุ ไมเ่ จอื กิเลส๑๑สขุ มีอาสวะและสุขไม่มีอาสวะ๑๒ สุของิ อามสิ และสุขไม่องิ อามสิ ๑๓ พระพุทธศาสนาถือวา่ ปุถชุ นมีอุปาทานทำให้เกิดความเหน็ ว่าเป็นตัวของตน(สักกายทฏิ ฐิ) มันเป็นธรรมชาติ ของมนษุ ย์ท่สี ามรถกำจัดได้ เพียงแต่ทำให้เกิดความเห็นทถี่ กู ต้องมนุษย์ก็จะเปลี่ยนทัศนคตไิ ด้ และสามารถที่จะทำ ประโยชนท์ ้ัง ๓ อยา่ งได้ พระพุทธศาสนายอมรบั ความสุขแบบชาวบา้ น (คฤหัสถ)์ ซ่ึงตอ้ งอาศัยวัตถุ (สามิสสุข) แต่ใน ระดบั สูงกว่าเช่นนักบวชต้องเวน้ เพ่ือสขุ ท่ีไม่อาศัยวตั ถุและประณตี กวา่ ๑.๔ หลักการสอนของพระพุทธเจา้ การสอน๑๔ คือ กรรมวิธีสำหรบั เร้าให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดถึงสูงสุด การสอนท่ี จะมีผลดีนั้นข้ึนอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สติปัญญาและความเอาใจใส่ของนักเรียน ความรู้ความสามารถและ ความเอาใจใส่ของครู ตลอดถึงวิธกี ารสอนที่ดี พระพุทธเจา้ ทรงเป็นครูชัน้ ยอดพระองค์หนงึ่ ทรงสามารถสอนให้คนเกิด ความรู้ถึงขั้นวิชชุญาณและสัมโพธิญาณได้ด้วยการพูดธรรมดา และสามารถให้ผู้ฟังรู้ถึงข้ันอริยะสัจจะเกิดการ เปล่ียนแปลงถึงขั้นจากปุถุชนเป็นอริยบุคคลได้ การศึกษาถึงหลักการและวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าจึงเท่ากับเป็น การศึกษาถึงวิธีสอนตามหลักพุทธศาสตร์ และสามารถนำหลกั การบางอย่างมาประยกุ ตใ์ ช้ได้ หลักการสอนของพระพุทธเจ้าน้ัน พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) และเสฐียรพงษ์ วรรณปก ได้สรุปแบ่ง หลกั การสอนออกเป็น ๓ หมวด ดังน้ี ๗ ข.ุ จู.(บาล)ี ๓๐/๙๒/๑๖. ๘ องฺ. ทุก.(บาลี).๒๐/๓๐๙๑๐๑. ๙ องฺ. ทกุ .(บาลี).๒๐/๓๑๔/๑๐๑. ๑๐ องฺ. ทกุ .(บาลี).๒๐/๓๑๐/๑๐๑. ๑๑ องฺ. ทกุ .(บาล)ี .๒๐/๓๑๑/๑๐๑. ๑๒ องฺ. ทกุ .(บาลี).๒๐/๓๑๒/๑๐๑. ๑๓ องฺ. ทุก.(บาล)ี .๒๐/๓๑๓/๑๐๑. ๑๔ แสง จนั ทร์งาม, วิธีสอนของพระพุทธเจ้า, (กรุงเทพฯ : สานกั พิมพบ์ รรณาคาร, ๒๕๒๖), หนา้ ๒๒–๒๔.
๖ ๑.๔.๑ เก่ยี วกับเนอ้ื หาหรือเรอ่ื งที่สอน เรื่องที่จะทำการสอนมีความสำคัญอย่างย่ิง คนที่จะสอนคนอ่ืนต้องรู้ว่าจะเอาเรื่องอะไรมาสอน ต้องรู้เน้ือหา หรือเรอ่ื งทีจ่ ะสอนให้เขา้ ใจอย่างกระจ่างแจ้งก่อน และต้องคดิ ก่อนวา่ จะเอาอะไรไปสอน ในขอ้ นี้ ผ้สู อนควรได้คำนงึ ถงึ หลักการสอนของพระพุทธเจ้าท่เี กี่ยวกับเนื้อหาหรือเร่ืองท่ีสอน ซง่ึ สามารถนำมา ประยกุ ต์ใชเ้ ป็นแนวทางในการสอนได้ ดงั นี้ ๑. สอนจากส่ิงที่รู้ที่เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจแล้วไปหาส่ิงท่ีเห็นเข้าใจได้ยาก เนื้อหาต้องเป็น เนื้อหาท่ีคนฟังเข้าใจง่ายหรอื เข้าใจดีอยู่แลว้ ค่อยโยงไปหาเน้ือหาที่เข้าใจยากหรือยงั ไม่เข้าใจตามลำดับ เช่น การสอน ตามหลักอริยสจั ๔ คอื ทกุ ข์ เหตใุ หท้ ุกข์เกิด ความดับทกุ ข์ หนทางปฏบิ ตั ใิ หถ้ ึงความดบั ทกุ ข์ ๒. สอนเนือ้ หาที่ลมุ่ ลกึ ลงไปตามลำดับ หรือสอนเนื้อเร่ืองท่ีคอ่ ยลุ่มลึกยากลงไปตามลำดับชนั้ ตอ่ เน่อื งกนั เปน็ สายลงไป เชน่ การสอนตามหลักอนุบุพพีกถา ซ่ึงมีเนือ้ หาเจาะลกึ ลงตามลำดับ กล่าวคอื ทานกถาพดู เร่อื งทาน สลี กถาพดู เร่ืองศลี สัคคกถาพดู เร่ืองสวรรค์ กามาทนี วกถา พูดเรือ่ งโทษของกาม และเนกขมั มกถา พดู เรื่อง การออกจากกาม ๓. ถ้าสง่ิ ทีส่ อนเป็นสิง่ ทีแ่ สดงได้ กส็ อนด้วยของจรงิ ให้ผู้เรยี นได้ดู ไดเ้ หน็ ได้ฟงั หรอื ได้ทดลองปฏบิ ตั ิ จรงิ อยา่ งท่ีเรียกวา่ สอนดว้ ยประสบการณต์ รง ๔. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง ตรงประเดน็ คุมอยู่ในเรอื่ ง มจี ดุ ไม่วกวน ไม่ ไขว้เขว ไม่ออกนอก เรอื่ งโดยไม่มีอะไรเกย่ี วข้องในเนื้อหา หรือทเี่ รยี กว่าสอนตรงเนื้อหานัน่ เอง ๕. สอนมเี หตุผล ผู้ฟงั สามารถตรองตามและเหน็ จรงิ ได้ ๖. สอนเท่าทีจ่ ำเปน็ พอดสี ำหรบั ให้เกดิ ความเข้าใจ ใหก้ ารเรยี นร้ไู ดผ้ ล ไม่ ใชส่ อน เทา่ ทต่ี นรู้ หรอื สอนแสดงภูมวิ า่ ผสู้ อนมีความรู้มาก ๗. สอนสง่ิ ที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรยี นรู้และเขา้ ใจเป็นประโยชนแ์ กต่ วั เขาเอง ๑.๔.๒ เกี่ยวกบั ตัวผูเ้ รียน หลักการสอนของพระพุทธเจ้าที่เกีย่ วกบั ตัวผเู้ รยี นท่ผี ู้สอนควรยดึ เปน็ แนวทางในการสอน มดี งั น้ี ๑. พิจารณาบคุ คลผู้รบั การสอน พระพุทธเจ้าก่อนทีจ่ ะทรงสอนใคร พระองค์จะทรงพิจารณาดบู ุคคล ผู้รับการสอนก่อนว่า บุคคลนั้น ๆ เป็นคนประเภทใด มีพ้ืนความรู้ความเข้าใจหรือความพร้อมมากน้อยเพียงใด และ ควรจะสอนอะไร แค่ไหน หมายถงึ การรู้ การคำนงึ ถงึ และการสอนใหเ้ หมาะตามความแตกต่างของบคุ คลน่ันเอง ๒. ปรับวธิ สี อนผ่อนใหเ้ หมาะกับบคุ คล แม้สอนเร่ืองเดียวกันแต่ต่างบุคคลอาจใชว้ ิธีการต่างกัน ๓. คำนึงถงึ ความพร้อมของบุคคล เรียกว่า ปรปิ ากะ หมายถึง พิจารณาผู้เรียนแตล่ ะบุคคลเป็นรายๆ ไปดว้ ยวา่ ในแตล่ ะคราว หรือเมอ่ื ถึงเวลาน้ัน ๆ เขาควรจะได้เรียนอะไรและเรียนได้แคไ่ หน เพียงไร หรือวา่ ส่งิ ท่ตี ้องการ ใหเ้ ขารนู้ นั้ ควรใหเ้ ขาเรยี นไดห้ รือยงั ๔. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมอื ทำด้วยตนเอง ซึง่ จะชว่ ยใหผ้ เู้ รียนเกิดความรู้ ความเข้าใจชัดเจน แม่นยำและไดผ้ ลจรงิ ๕. ผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน การสอนของพระพุทธเจ้านั้นดำเนินไปในรูปของการสอนท่ีให้ รสู้ กึ วา่ ผูเ้ รียนกับผู้สอนมีบทบาทรว่ มกนั ในการแสวงหาความจรงิ ใหม้ ีการแสดงความคดิ เห็น โต้ตอบเสรี เชน่ ชกั จงู ให้ ผูเ้ รยี นแสดงความคิดเหน็ ของตนออกมา มกี ารแสดงความคิดเห็นมุ่งหาความรู้
๗ ๖. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษ ตามสมควรแก่กาลเทศะและเหตุการณ์ ให้ความ ชว่ ยเหลือเอาใจใส่คนทด่ี อ้ ยท่ีมีปญั หา ๑.๔.๓ เกีย่ วกบั ตัวการสอน หลักการสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่ียวกับตัวการสอน ท่ีผู้สอนสามารถนำมาเป็นแนวทางในการสอนได้นั้น มี ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. การเริ่มตน้ ที่ดี ในการสอนนน้ั การเรมิ่ ต้นเป็นจุดสำคัญมากอยา่ งหนึง่ การเรมิ่ ต้นที่ดีมสี ่วนช่วยให้ การสอนสำเรจ็ ผลดีเปน็ อยา่ งมาก อย่างน้อยกเ็ ปน็ เคร่ืองดึงความสนใจและนำเข้าส่เู น้อื หาของบทเรียนได้ ๒. สรา้ งบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปรง่ เพลดิ เพลิน ไม่ให้ตงึ เครียด ไม่ใหเ้ กิดความอดึ อดั ใจ และให้เกยี รติแก่ผู้เรยี น ๓. สอนม่งุ เนอ้ื หา มงุ่ ให้เกิดความรู้ความเขา้ ใจในสิง่ ท่สี อนเป็นสำคญั ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยก ตน ไมม่ ่งุ เสียดสีใครๆ ๔. สอนโดยเคารพ คือ ต้ังใจสอน ทำจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นส่ิงมีค่า มองเห็นความสำคัญของ ผูเ้ รียนและงานสั่งสอน ไมใ่ ช่สักว่าทำหรือเหน็ ผเู้ รียนโง่เขลา ๕. ใชภ้ าษาสภุ าพ นมุ่ นวล เหมาะสม ไม่หยาบคาย ชวนใหส้ บายใจ สละสลวยเข้าใจง่าย นอกจากน้ี หลักการสอนของพระพุทธเจา้ ออกเปน็ ๓ ประการ๑๕ ดังน้ี ๑. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิวัติ เป็นการ “เปล่ียน” หลักคำสอนด้ังเดิมของศาสนาพื้นเมืองอย่างกลับหน้ามือ เป็นหลงั มอื เช่น ศาสนาพราหมณ์สอนให้ฆา่ สัตว์บชู ายญั แต่พระพุทธเจ้ากลับให้มีความเมตตากรุณาต่อสตั วแ์ ทน หรือ การสอนให้ทรมานตนในการปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรมช้ันสูง พระพุทธเจ้าทรงทดลองมาแล้วเห็นวา่ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ทรง สอนให้ใชว้ ธิ ีอืน่ ท่ีเรียกว่า ทางสายกลาง เปน็ การอบรมกายวาจาใจในทางประพฤตปิ ฏิบัตทิ ่ชี อบแทน เปน็ ต้น ๒. ทรงสั่งสอนโดยการปฏิรูป เป็นการสอนโดยวิธีดัด “แปลง” ของเก่าท่ียังไม่ดีให้ดีขึ้นหรือของเก่ามี ความหมายอย่างหนึ่ง แต่นำมาแปลความหมายเสียใหม่เพ่ือให้ตรงกับหลักเหตุผลยิ่งข้ึน เช่น ศาสนาพราหมณ์สอนให้ ลงอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธ์ิแล้วจะบริสุทธิ์จากบาปได้ แต่พุทธศาสนาให้ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นการอาบที่ตัวไม่เปียก แต่ ทำให้บริสุทธ์ิสะอาดได้ดีกว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือคำสอนเร่ืองพราหมณ์ว่า ได้แก่ผู้ประเสริฐโดยชาติกำเนิด คือ เกิดจาก มารดาบิดาอยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายใหม่ว่า คนเราไม่เป็นพราหมณ์ หรือผู้ประเสริฐเพราะ ชาตสิ กลุ แต่เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำหรอื ความประพฤติ เปน็ ตน้ ๓. ทรงสง่ั สอนโดย “ตัง้ หลักข้ึนใหม”่ ที่ยงั ไมม่ ีสอนในท่ีอื่น แตท่ รงสอนไปตามหลักสจั ธรรมทที่ รงคน้ พบ ดงั จะเหน็ ในเร่อื งหลักธรรม เรื่องความพน้ ทุกขท์ ่เี รยี กวา่ อริยสัจ ๔ ประการ เปน็ หลักธรรมท่ีตัง้ ข้ึนใหม่อนั แสดงไว้ชัดท้งั เหตุและผล คือ การจะพ้นทุกขก์ ็ต้องร้วู า่ อะไรเปน็ ตัวความทกุ ข์ อะไรเปน็ เหตุของความดับทกุ ข์ และการดับความ ทกุ ข์คอื ดบั อะไร ทำอย่างไร หรอื ปฏิบัตอิ ย่างไร จงึ จะดับทุกข์ได้ เป็นตน้ หลักการสอนของพระพุทธเจา้ ดงั กลา่ วมานี้ แสดงให้เห็นถงึ พระปรีชาสามารถในการสอนของพระองค์ได้อย่าง ชัดเจน สามารถสรุปการสอนของพระพุทธเจา้ ไว้ว่า “พระพทุ ธเจา้ ทรงมีวิธีสอนอันชาญฉลาด เมื่อพระองค์แสดงพระ ธรรมเทศนาจบลง ผู้ฟงั จะสรรเสริญเสมอ ว่า แจ่มแจ้งจริง พระองค์ผู้เจริญ แจ่มแจ้งจริง พระธรรมเทศนาของ พระองคเ์ สมอื นหงายของทีค่ วำ่ บอก หนทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดให้คนมีจักษุได้เห็นรูป…” จึง ๑๕ สุชีพ ปุญญานุภาพ, คณุ ลักษณะพเิ ศษแห่งพระพทุ ธศาสนา, (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พม์ หามกุฏราช วิทยาลยั , ๒๕๓๓), หนา้ ๑๓–๑๕.
๘ เป็นความจำเปน็ อยา่ งย่งิ ท่ีบุคคล ผู้ทำหน้าท่ีในการสอนจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสอนของ พระพทุ ธเจ้าพรอ้ มกบั ยดึ ถือเป็นหลักปฏบิ ัติตอ่ ไป๑๖ ๑.๕ วิธกี ารสอนของพระพุทธเจา้ ๑.๕.๑ วิธีการสอนแบบตา่ งๆ ของพระพุทธเจ้า วิธีการสอนของพระพุทธเจ้ามีหลากหลายรปู แบบ มขี ้ออา้ งอิงในพระไตรปฎิ กหลายแหง่ ที่พระพทุ ธเจ้าได้ตรสั แกภ่ กิ ษุทงั้ หลายวา่ : พหุ โข ภิกฺขเว มยา ธมมฺ า เทสติ า : สุตตฺ ํ เคยฺยํ เวยยฺ ากรณํ คาถา อุทานํ อติ ิวุตฺตกํ ชาตกํ อพฺภตู ธมฺมํ วทลฺลนฺติ.๑๗ แปล: ภกิ ษุทัง้ หลาย เราไดแ้ สดงธรรมไวจ้ ำนวนมาก คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อทุ าน อิติวตุ ตกะ อพั ภตู ธรรม เวทลั ละ. พุทธวิธกี ารสอนเหล่านเ้ี รยี กว่า นวงั คสตั ถศุ าสตร์ สรปุ สนั้ ๆ ได้ ๓ ลกั ษณะคือ ๑. สอบแบบร้อยกรอง (ปัชชะ) คือคาถา อุทานและชาดก ๒. สอบแบบรอ้ ยแกว้ (คัชชะ) แยกย่อยไปเป็น ๕ ลักษณะ๑๘คือ (๑) แบบสตุ ตะ วธิ ีสอนแบบแสดงอธิบายรายละเอยี ดเรื่องราว (จณุ ณิยบท) ตวั อยา่ งคือพระวินัยปิฎก(รปู แบบสกิ ขาบทในวิภงั ค์) และพระสตู รที่ไมม่ คี าถา (๒) แบบเวยยากรณะ วิธีสอนแบบแยกยอ่ ยๆเนือ้ หาใหเ้ หน็ ส่วนประกอบต่างๆ จนกว่าจะแยกไม่ได(้ วภิ ชั วาท) ตวั อย่างคือรูปแบบอภิธรรมปฎิ ก (๓) แบบอิตวิ ตุ ตกะ วธิ ีสอบแบบอ้างอิงหลกั ฐาน ข้อมลู และตวั อย่างประกอบ (๔) แบบอัพภตู ธรรม วิธสี อบแบบสรปุ แสวงหาคำตอบท่เี ปน็ ประเดน็ สำคญั ของรื่อง (๕) แบบเวทัลละ วิธีสอบแบบตัง้ โจทย์ ต้ังคำ แล้วแสวงหาคำตอบ(ปจุ ฉา-วสิ ชั นา) มีตัวอย่างในมหาทลั ลสูตร จูลเวทลั ลสูตร สกั กปญั หสตู ร ในคมั ภรี ์ช้ันอรรถเชน่ มลิ ินทปัญหา ๓. สอบแบบรอ้ ยแก้วผสมร้อยกรอง (วิมสิ สะ) ตวั อย่างคือพระสูตรทม่ี คี าถา หรอื อรรถกถา ธรรมบท นอกจากน้ีได้มีผู้ศึกษาและรวบรวมวิธีการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ซ่ึงเป็นการอธิบายหลัก นวงั คสตั ถุศาสนอ์ กี รปู แบบหนงึ่ ดังน้ี๑๙ ๑๖ วศิน อนิ ทสระ, พุทธวิธใี นการสอน,พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๔, (กรุงเทพฯ:โรงพมิ พเ์ มด็ ทราย, ๒๕๔๕).หนา้ ๑๕. ๑๗ องฺ.จตุตฺก.บาลี ๒๑/๖/๗-๘. ๑๘ ดรู ายละเอียดในบทที่ ๖ เร่ือง นวงั คสตั ถุศาสตร์. ๑๙ สุมน อมรววิ ฒั น,์ การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนโิ สมนสิกา, พิมพค์ ร้งั ท่ี ๒, (กรุงเทพฯ:โอ.เอส. พร้ินติ้ง เฮา้ ส์, ๒๕๓๐).หนา้ ๕-๖.
๙ ๑.วธิ ีแบบอปุ มา โดยการอธบิ ายโดยนำธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมมาอธบิ ายเปรยี บ เทยี บ เช่น ท่ีพระองค์ ทรงหยบิ ยกธรรมชาติแวดลอ้ มมาทรงสอนได้อย่างสละสลวย ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนกิ ายจตกุ กนบิ าต ตติยปัณณาสก์ ความว่า พระพทุ ธเจา้ ทรงสอนใหเ้ ข้าใจลักษณะบุคคล โดยการเปรียบเทียบดว้ ยเมฆ เป็นต้น ดังน้ี บคุ คลเปรยี บเหมือนเมฆ ๔ ประเภท คอื ก. บุคคลเปรยี บเหมอื นเมฆท่ีคำราม แต่ไม่ใหฝ้ นตก ไดแ้ ก่ บุคคลบางคนในโลกนีช้ อบพูด แต่ไม่ทำ ข. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆทใ่ี หฝ้ นตก แตไ่ มค่ ำราม ได้แกบ่ คุ คลบางคนในโลกน้ชี อบทำ แต่ไมพ่ ูด ค. บคุ คลเปรยี บเหมอื นเมฆที่ไม่คำรามและไม่ใหฝ้ นตก ได้แก่ บคุ คลบางคนในโลกน้ีไม่พูดและไม่ทำ ง. บุคคลเปรยี บเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก ได้แก่ บคุ คลบางคนในโลกนี้ชอบพดู และชอบทำ ๒. วธิ สี อนแบบตอบปญั หา ผทู้ ี่ถามปัญหานอกจากมคี วามสงสัยในขอ้ ธรรมแลว้ โดยมากเป็นผู้นับถอื ศาสนา หรือลัทธิอนื่ ถามเพ่ือต้องการรู้คำสอนทางฝ่ายพุทธศาสนาหรือเทียบเคียงกับคำสอนในลทั ธิของตนการตอบปัญหาน้ัน พระพทุ ธเจา้ ทรงมีวิธีการตอบปญั หา ๔ วธิ ดี ้วยกนั กล่าวคือ (๑) ปัญหาท่ีพงึ ตอบทันที เป็นปัญหาง่ายๆ ท่ีผถู้ ามถามดว้ ยความบริสุทธใ์ิ จอยากรจู้ ริง ฟงั แลว้ ก็ได้ ประโยชน์ พระพุทธองค์จึงทรงตอบทันที (๒)ปัญหาท่ีควรตอบอย่างมีเงื่อนไข มักเป็นปัญหาคลุมเครือมีสองแง่สองมุม ถ้าตอบอย่าง ตรงไปตรงมาอาจจะผดิ ได้ จึงตอ้ งตอบอยา่ งมีเงือ่ นไข (๓) ปัญหาท่พี งึ ยอ้ นถามกอ่ นแลว้ จึงตอบ เป็นปัญหาท่ีผู้ถามมักจะเข้าใจผดิ เกีย่ วกับเรือ่ งน้ันๆ อย่แู ล้ว เปน็ เบอ้ื งตน้ พระพุทธเจ้าจึงทรงยอ้ นถามในเร่ืองอปุ มางา่ ยๆ เสียก่อน เพอ่ื ผู้ฟังเขา้ ใจปัญหาทส่ี ลบั ซบั ซ้อนได้ (๔) ปัญหาท่ีไม่พึงตอบเลย เป็นปัญหาทางอภิปรัชญา หรือปรมัตถสัจจะอันลึกซ้ึงซ่ึงไม่เก่ียวกับการ แก้ทุกข์ ผถู้ ามมุ่งจะชวนทะเลาะถกเถียงอวดภูมิปัญญาของตนมากกว่าท่ีจะแสวงหาความรู้ความเข้าใจ พระองคจ์ ึงไม่ ทรงตอบ ๓. วิธสี อนแบบวางกฎข้อบังคับ เม่ือพระภกิ ษุกระทำความผดิ เปน็ ครง้ั แรก พระองค์กจ็ ะทรงเรยี กประชุม สงฆ์เพื่อสอบถาม ทรงตำหนชิ แ้ี จงผลเสยี หาย และทรงบญั ญตั ิสิกขาบท ๔. วิธสี อนแบบเอกังสลกั ษณะ คอื ทรงแสดงยนื ยันไปข้างเดียว เช่น ความดีมีผลเป็นสขุ ความช่ัวมีผลเป็นทกุ ข์ หรือกุศลเปน็ สงิ่ ควรบำเพญ็ อกศุ ลเป็นสงิ่ ควรละ ๕. วิธสี อนแบบวิธีวิภชั ชลักษณะ คอื ทรงแยกประเดน็ ให้ชัดเจน ๖. วิธีสอนแบบปฏปิ จุ ฉาลกั ษณะ คอื ทรงถามย้อนเสยี กอ่ นแล้วจงึ ตรัสสอน ๗. วธิ ีสอนแบบฐปนลักษณะ คอื พักปญั หาไว้ ไมท่ รงพยากรณ์ คือไมท่ รงตอบ ๘. วิธสี อนแบบอปุ มาลกั ษณะ คอื สอนแบบเปรยี บเทยี บ ๙. วิธสี อนแบบปาฎหิ าริย์ คือสอนเพื่อใหเ้ กิดผลสำเรจ็ อยา่ งน่าอศั จรรย์ ซึ่งทำใหบ้ คุ คลที่ไดร้ บั คำสอนมีการ เปลี่ยนแปลงไปในทางท่ดี ีขึน้ มีทั้งหมด ๓ อย่าง ไดแ้ ก่ (๑) อิทธิปาฏิหาริย์ การสอนด้วยการใช้ความสามารถพิเศษ พระองค์ทรงใช้กับบุคคลบางประเภท และทรงใชเ้ มอื่ จำเปน็ ตอ้ งปราบบคุ คลท่ีสอนยากให้ส้ินพยศ วธิ สี อนน้ีพระพทุ ธเจา้ ทรงใช้เฉพาะในกรณที ี่มีความจำเป็น จรงิ ๆ เชน่ ทรงปราบชฎลิ ๓ พน่ี ้อง ทรงโปรดโจรองคลุ ิมาล เปน็ ต้น (๒) อาเทสนาปาฏิหาริย์ การสอนด้วยวิธีดักใจ หมายถึง การรู้สภาพจิตใจของผู้เรียนหรือผู้ฟังแล้ว สอนเขาตามสภาพจิตใจน้ัน วธิ นี ี้ทรงใชก้ บั บุคคลประเภทอคุ ฆฏติ ัญญู (ผรู้ เู้ ข้าใจได้โดยฉบั พลัน) และประเภทวปิ จติ ญั ญู (ผรู้ ู้ได้เม่ือฟังอธบิ ายความ) มี ๒ วิธีด้วยกัน คอื การสอนด้วยคำพูดสั้นๆ แต่ประทับใจหรือกินใจ และการสอนด้วยการ ไม่พดู แตใ่ ห้ลงมือกระทำอยา่ งใดอยา่ งหน่งึ จนเกิดความรู้ดว้ ยตนเอง
๑๐ (๓) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ การสอนด้วยวิธีบรรยายและสนทนา พระองค์ทรงใช้วิธีนี้กับบุคคลประเภท ไนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้ด้วยวิธีการฝึกฝนอบรมต่อไป) วิธีสอนน้ีพระพุทธเจ้าทรงโปรดมากกว่าวิธีการสอนแบบ อนื่ ๆ โดยจัดวิธีสอน กล่าวคือ ทรงพจิ ารณาจนรจู้ ักจริต ภูมิปัญญาและภูมิหลงั ของผ้ฟู ัง แล้วก็ทรงปรับปรุงเนื้อหาของ เรื่องที่จะสอนและวิธีสอนให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ทรงระมัดระวังการใช้ภาษาให้ผู้ฟังเข้าใจงา่ ย ทรงจัดลำดับขั้นตอนของ การสอน คือ ข้ันเสนอหลักการ ขั้นซักไซ้ไล่เลียงให้เห็นประจักษ์ และขั้นสรุปใจความสำคัญ ทรงทำนามธรรมให้เป็น รปู ธรรมด้วยวิธีการ เช่น ทรงใช้การอุปมาอุปไมย ทรงใช้นิทานประกอบ ทรงใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือ พระองค์ ใช้ของจริงหรือเหตุการณท์ ีม่ ีจรงิ ในปจั จุบันเปน็ ตัวอย่าง และ ทรงใช้อุปกรณข์ องจริงประกอบการสอน ๑.๕.๒ ลลี าการสอนของพระพุทธเจ้า เม่ือมองในภาพรวมแล้ว การสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละครั้ง จะทรงมีลีลาการสอนท่ีเรียกว่าศิลปะวิธีหรือ วาทศลิ ป์ อันหมายถึงการสอนท่ที ำให้ผู้ฟงั ไดร้ บั รส มี ๔ คณุ ลกั ษณะ ดงั น้ี ลลี าท่ี ๑ สนั ทสั สนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจม่ แจง้ เหมอื นจูงมือไปดเู ห็นกับตาหรอื เหน็ จริงด้วยใจเหมือนตา เห็น พระพทุ ธเจ้าเมื่อจะทรงสอนอะไร พระองค์กจ็ ะทรงชแี้ จง จำแนก แยกแยะอธิบาย และแสดงเหตผุ ลให้ชัดเจนจน ผู้ฟังเขา้ ใจแจม่ แจง้ เห็นจรงิ เหน็ จงั คลา้ ยกับว่าเหน็ ดว้ ยตา ลีลาท่ี ๒ สมาทปนา ชักจงู ใจใหเ้ ห็นจริง ชวนใหค้ ลอ้ ยตามจนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ เมือ่ ทรงเหน็ วา่ สงิ่ ใดควรปฏบิ ัติ กจ็ ะทรงแนะนำหรอื อธบิ ายให้ผู้ฟงั ซาบซึ้งในคุณค่า ให้มองเห็นความสำคัญทีจ่ ะต้องฝึกฝนหรอื นำไป ปฏบิ ัติ ลีลาท่ี ๓ สมตุ เตชนา เรา้ ใจให้แกล้วกล้า บงั เกดิ กำลังใจ ปลุกใหม้ ีอุตสาหะ เข้มแข็งมั่นใจว่าจะทำใหส้ ำเร็จได้ ไม่หว่นั ระย่อตอ่ ความเหน่ือยยาก สอนเร้าใจผู้ฟังให้มีความกลา้ หาญในการปฏบิ ตั ิตาม เมื่อทรงช้แี จงให้ผู้ฟงั เข้าใจได้ ชัดเจนจนอยากจะนำไปปฏิบัติแล้ว พระองค์กจ็ ะทรงปลกุ เร้าใจใหเ้ ขากระตือรือรน้ เกดิ ความอตุ สาหะมกี ำลังใจม่ันใจท่ี จะปฏบิ ตั ิให้เกดิ ผลใหจ้ งได้ ลลี าที่ ๔ สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชนื่ ร่าเรงิ เบกิ บาน ฟังไม่เบ่ือ และเปีย่ มดว้ ยความหวัง เพราะมองเห็น คุณประโยชนท์ ่ีตนจะพึงไดร้ บั จากการปฏิบตั นิ น้ั พระพทุ ธเจา้ นอกจากจะทรงยึดหลักการสอนใหผ้ ู้ฟงั เขา้ ใจในเหตุผล ซาบซ้งึ ในคุณคา่ และปลุกเร้าใหอ้ าจหาญแกลว้ กลา้ แลว้ พระองค์ยงั ทรงสอนใหเ้ ขาเกดิ ความความแช่มชื่นเบิกบานไม่ เหน่ือยหน่ายหรอื ท้อแท้ ใหม้ ีหวังในผลของ การที่ไดป้ ฏิบัติตาม ๑.๕.๓ กลวิธแี ละอุบายประกอบการสอน กลวธิ แี ละอุบายประกอบการสอนของพระพุทธเจ้า มีดงั ต่อไปน้ี๒๐ ๑. มีการยกอุทาหรณ์และเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายและการเล่านิทาน ประกอบการสอน น้นั ช่วยให้เขา้ ใจความได้ง่ายและชัดเจน ช่วยให้จำไดแ้ มน่ ยำ เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทำ ให้การเรียนการสอนมีอรรถรสย่ิงข้นึ ๒. มีการเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คำอุปมาช่วยให้เร่ืองที่ลึกซ้ึงและเข้าใจยาก ปรากฏความหมาย ๒๐ วชิ าการ,กรม, กระทรวงศึกษาธิการ, การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา, (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พค์ ุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕), หนา้ ๑๗๐–๑๗๓.
๑๑ เด่นชัดออกมาและเข้าใจง่ายขึ้น มักใช้ในการอธิบายส่ิงที่เป็นนามธรรมเปรียบเทียบให้เห็นชัดด้วยส่ิงท่ีเป็นรูปธรรม หรอื แม้เปรียบเรื่องที่เปน็ รูปธรรมด้วยขอ้ อปุ มาแบบรปู ธรรม ก็ชว่ ยให้ความหนักแนน่ เข้า ๓. มีการใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาลย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนต่างๆ ท่ีจัดทำขึ้นไว้เพ่ือการ สอนโดยเฉพาะเหมือนสมัยปัจจบุ ัน เพราะยังไม่มีการจัดการศกึ ษาเป็นระบบข้ึนมาอย่างกว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์ บา้ งก็คงตอ้ งอาศัยวตั ถุส่งิ ของที่มอี ยใู่ นธรรมชาตหิ รือเคร่ืองใช้ตา่ งๆ ทผ่ี คู้ นใช้กันอยู่ ๔. มีการทำเป็นตัวอยา่ ง วิธีสอนทดี่ ีท่สี ุดอย่างหนึง่ โดยเฉพาะในทางจรยิ ธรรม คือการทำเป็น ตัวอย่างซง่ึ เป็นการสอนแบบไมต่ อ้ งกลา่ วสอนเปน็ ทำนองการสาธิตให้ดูแต่ท่ีพระพุทธเจา้ ทรงกระทำนั้น เป็นไปในรูปท่ี พระองค์ทรงเปน็ ผนู้ ำท่ดี ี การสอนโดยทำเป็นตวั อยา่ งกค็ ือพระจริยาวัตรอันดีงามท่เี ป็นอยโู่ ดยปกตินั่นเอง ๕. มีการเล่นภาษา เล่นคำและใช้คำในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและเล่นคำ เป็นเร่ืองของ ความสามารถในการใช้ภาษาผสมปฏิภาณ ข้อนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่ทรงมี ความรอบรไู้ ปทุกดา้ น ๖. มีอุบายเลือกคนและการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาและในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เร่ิมแต่ระยะแรกที่ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงดำเนนิ พทุ ธกิจดว้ ยพระพุทโธบายอยา่ งทเ่ี รียกวา่ การวางแผนทีไ่ ดผ้ ลยิ่ง ๗. มีการรจู้ กั จังหวะและโอกาส ผูส้ อนจะต้องรู้จกั ใช้จังหวะและโอกาสให้เปน็ ประโยชน์ เม่ือยังไม่ถึง จังหวะ ไม่เป็นโอกาส เช่น ผเู้ รียนยงั ไม่พร้อม ยังไมเ่ กิดปริปากะแหง่ ญาณหรืออินทรยี ก์ ็ต้องมีความอดทนหรือไม่ดึงดัน ทำ แต่ตอ้ งตื่นตวั อยู่เสมอ เมอ่ื ถึงจังหวะหรอื เปน็ โอกาสก็ต้องมีความฉับไวที่จะจบั มาใช้ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ ไม่ปล่อยให้ ผ่านเลยไปเสียเปลา่ ๘. มคี วามยืดหย่นุ ในการใช้วธิ กี าร ถ้าผสู้ อนๆอยา่ งไม่มีอัตตา ตดั ตณั หามานะทิฏฐิ ก็จะมุ่งไปยงั ผลสำเรจ็ ในการเรยี นร้เู ป็นสำคญั สดุ แต่จะใชก้ ลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีท่ีสุดกจ็ ะทำในทางน้ัน ไม่กลัววา่ จะเสยี เกยี รติ ไมก่ ลัวจะถกู รู้สึกวา่ แพ้ บางคราวเม่อื สมควรยอมก็ตอ้ งยอมให้ผูเ้ รียนร้สู กึ ว่าตวั เขาเก่ง บางคราวสมควรข่มกข็ ่ม บาง คราวสมควรโอนอ่อนผ่อนตามก็ยอมตาม สมควรขัดก็ขดั สมควรคลอ้ ยก็คลอ้ ย สมควรปลอบก็ปลอบ ๙.มีการลงโทษและใหร้ างวัล แม้พระพุทธเจา้ จะทรงใชก้ ารชมยกย่องบา้ ง ก็เปน็ ไปในรูปการยอมรบั คุณความดีของผูน้ นั้ กลา่ วชมโดยธรรม ให้เขาม่นั ใจในการกระทำความดีของตน แต่ไม่ใหเ้ กิดเปน็ การเปรียบเทยี บข่ม คนอื่นลง บางทีทรงชมเพอื่ ให้ถือเป็นตัวอยา่ ง หรือเพอ่ื แก้ความเขา้ ใจ ผดิ ใหต้ ้ังทัศนคติที่ถูก ๑๐.มกี ลวธิ ีแกป้ ัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหนา้ ทมี่ ักเกิดข้นึ ต่างครั้งต่างคราว ย่อมมลี ักษณะ แตกต่างกันไปไม่มีทีส่ ุด การแกป้ ญั หาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ คอื ความสามารถในการประยุกตห์ ลักวิธกี ารและ กลวธิ ีตา่ งๆ มาใชใ้ ห้เหมาะสม เปน็ เร่ืองเฉพาะครง้ั เฉพาะคราวไป ๑.๖ สือ่ การสอนของพระพทุ ธเจา้ พระพุทธเจ้าทรงนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการประกาศธรรม การส่ือความหมาย และการใช้สื่อ ทรงยึดหลัก จติ วทิ ยาว่า ด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้วทรงใช้สื่อการสอน เพ่ือให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ ๔ อย่าง คือ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้รับคำติชมทันที มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จ และได้ใคร่ครวญ เรียนรู้ไปทลี ะนอ้ ยตามลำดับข้ัน ให้สามารถตรวจสอบความรู้นั้นได้ดว้ ย ตนเอง ส่วนการใชส้ ื่ออุปกรณ์ประกอบการสอนของพระพุทะเจา้ น้ัน เน่ืองจากพระองค์ทรงเป็นพระบรมครู ท่รี ลู้ กึ ซ้ึง เกย่ี วกบั ผเู้ รยี นมากทส่ี ุด ในการถ่ายทอดพระธรรมเทศนานั้น นอกจากจะทรงคำนึงถึงหลกั การทางพฤติกรรมศาสตร์
๑๒ แล้ว ยงั ทรงใชส้ ่อื การศึกษาหรอื อุปกรณ์ประกอบการสอนอีกด้วยสื่อการศึกษาท่พี ระพุทธเจา้ ทรงใชใ้ นการโปรดเวไนย สัตว์โดยสรุปมี ๓ รปู แบบ คอื ๒๑ ๑.การใชเ้ หตกุ ารณท์ ี่เกดิ ขึ้นเป็นอปุ กรณ์ เป็นวิธีการนำเร่ืองทีเ่ กดิ ขน้ึ จรงิ ๆ มาสอน ซึง่ ทำให้ได้ผล แน่นอน เพราะเม่ือนำเรื่องจริงท่ีเกิดขึ้นกับคนอ่นื มาเล่าเปน็ เชิงนิทานเปรยี บเทียบ ก็จะช่วยทำให้ผู้ฟงั เข้าใจได้ดขี ึ้น ๒.การใช้ภาพนิมิตเหมือนภาพยนต์ เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ฟังคำสอนได้มองเห็นภาพจริงประกอบคำสอน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการฉายภาพให้เป็นคล่ืนผ่านเข้าไปในกระแสจิตของผู้ฟังเรียกว่า กาเนรมิตภาพที่ปรากฏ น้นั จะเป็นภาพ ๓ มิติ ซึ่งอาจจะมงุ่ ให้ผ้รู ับเห็นได้คนเดียวหรอื ใหท้ ุกคนสามารถเห็และสัมผสั ได้ ๓.การใช้วิธีทดลองด้วยตนเอง หมายถึง วธิ กี ารสอนท่ใี ห้หลกั ความรู้ดา้ นทฤษฎกี ่อนแลว้ ใหผ้ ู้รับคำ สอนไปศึกษาค้นควา้ และทดลองด้วยตนเอง ๑.๗ การวัดและประเมนิ ผลการสอนของพระพุทธเจ้า การประเมินผลในแนวทางการศึกษาแบบพุทธศาสตร์นั้น ได้เน้นเป็นพิเศษในการประเมินผลตนเอง การท่ี พุทธศาสนาเน้นการประเมินผลตนเองกเ็ พราะจุดประสงค์ของพุทธศาสนาอยู่ท่ีนิพพานหรือการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร มนุษย์ที่เกิดมาน้ันมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ยึดถือหรือยึดมั่นในตนเอง ทั้งในส่วนท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรม การวัดและ ประเมินผลการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์น้ัน จึงมุ่งเอาความเป็นคนดีเป็นจุดหมายปลายทาง ความเป็นคนดีนั้นมี หลายระดับชั้น คือดีอย่างปุถุชน ดีอย่างอริยชน องค์ประกอบที่จะให้เป็นคนดีก็คือ ความรู้ดีและความประพฤติดีเป็น ขั้นๆ ไป ยิ่งเวน้ ชัว่ ทำดี และทำจติ ใหบ้ ริสุทธิ์ไดม้ ากเท่าใดก็ยงิ่ เป็นคนดมี ากเทา่ นนั้ การวัดและประเมินผลตามแนวพุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นการวดั และประเมินผลตามสภาพจริง กล่าวคือ เป็น การประเมินตนเองตามคุณลักษณะทแ่ี ทจ้ รงิ ของผฟู้ ังที่พระพุทธเจา้ ทรงสอนหรือแสดงธรรมให้ฟงั ลักษณะการประเมินตามสภาพจริง เน้นการประยุกต์ใช้หรือการลงมือทำ มุ่งไปท่ีการประเมินโดยตรง ใช้ ปัญหาจากเหตุการณ์จริง สนับสนุนให้มีการใช้ความคิดอย่างกว้างขวาง เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่ หลากหลายและประเมินต่อเน่ือง ผสมผสานไปกับการเรียนการสอนเกิดปฏิสัมพันธ์ทางบวก เน้นให้ผู้เรียนสะท้อน ขอ้ มลู ท่ีเกย่ี วกบั ตนเอง หากจะกล่าวถึงแผนการสอนและวธิ กี ารวัดและประเมนิ ผลการสอนของพระพทุ ธเจ้านั้น พระองค์จะทรงทำ ตามลำดบั ก่อนหลัง ดงั น้ี๒๒ ๑.วเิ คราะหผ์ ู้ฟังพระพุทธองค์จะทรงศึกษาและเลือกบุคคลอยา่ งละเอียดดงั ปรากฏอยู่ในพทุ ธกิจท่ีทรงใช้ ประจำคือในเวลาใกล้สวา่ งจะทรงตรวจดูสัตวโ์ ลกผู้สมควรไดร้ ับพระกรุณา ๒.กำหนดรปู้ ริบทของผฟู้ งั เช่น เพศ วัย ฐานะ ความเปน็ อยู่ สภาพแวดลอ้ มชุมชน จารีตประเพณี อุปนิสยั ระดับสตปิ ญั ญา เป็นต้น ๓.กำหนดเนือ้ หาสาระทีจ่ ะทรงใช้สอน มขี ้ันตอนการเลือกธรรมที่จะนำมาสอนนบั ว่าเปน็ ข้ันตอนทสี่ ำคญั อยา่ ง ย่งิ เพราะว่าผ้ฟู งั ย่อมมคี วามพร้อมมคี ุณสมบัติปรบิ ททางสังคมทตี่ ่างกนั มีอนิ ทรยี ์ท่แี กก่ ลา้ ตา่ งกัน การกำหนดเนอื้ หา สาระทม่ี ีความยากงา่ ยให้ตรงกบั ความต้องการของผูร้ ับฟัง ย่อมมีผลต่อการรบั รธู้ รรมะของผ้ฟู ังทั้งสนิ้ ๒๑ ดวงเดือน จนั ทร์เจริญ, ศึกษาศาสตร์ตามแนวพทุ ธศาสตร์, (กรุงเทพฯ : สานกั พมิ พม์ หาวิทยาลยั รามคาแหง, ๒๕๔๑), หนา้ ๕๒–๕๓. ๒๒ ธีรวสั บาเพญ็ บญุ บารม.ี หลกั การเผยแผพ่ ทุ ธธรรม ศกึ ษาจากคมั ภีร์พระไตรปิ ฎก อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคมั ภรี ์ทางพระพทุ ธศาสนา. (กรุงเทพฯ: มลู นิธิ เบญจมนิกาย, ๒๕๕๐), หนา้ ๑๔-๑๖.
๑๓ ๔.รปู แบบการนำเสนอพระพุทธเจ้าทรงมีรปู แบบในการสอนมากมายเชน่ การสนทนาการบรรยายและการ ตอบปัญหา เป็นตน้ ๕.วธิ กี ารนำเสนอพระพุทธเจา้ ทรงใชว้ ิธีการนำเสนอท่ีหลากหลายเชน่ บางครัง้ ทรงใชว้ ธิ ียกอุปมาข้ึน เปรยี บเทยี บบางคร้ังใช้วิธีตอบปญั หาบางคร้ังใช้วิธเี ล่านิทานมาประกอบเป็นต้น ๖.ลดสว่ นที่เกนิ เพม่ิ ส่วนทพ่ี ร่อง การแสดงธรรมของพระพทุ ธเจา้ ทรงมุ่งประโยชนเ์ กื้อกลู และประโยชน์ตอ่ ชาวโลก โดยอาศยั พระกรุณาธคิ ุณเปน็ ที่ตั้ง ๗.การประเมินผล พระพุทธองค์ทรงใชว้ ธิ ีการประเมนิ ผลในการแสดงธรรมะทุกครั้ง เม่ือจบการแสดงพระ ธรรมเทศนาแล้วจะเกดิ คำวา่ ธัมมาภิสมโย คือการไดบ้ รรลุธรรมตามเหตุปัจจยั สว่ นชนทอ่ี ยู่ในทีป่ ระชุมนั้น กส็ ามารถ บรรลคุ ณุ ธรรมมากน้อยตา่ งกันไปตามความแกก่ ลา้ ของอินทรยี ์ ๘.การตดิ ตามผล พระพุทธองคจ์ ะทรงติดตามผลความคบื หนา้ ในเรอ่ื งที่ทรงสอนไป ดงั เช่น ทรงมอบให้พระ สารบี ุตรเถระเป็นพระอปุ ชั ฌาย์อุปสมบทแก่ราธะผบู้ วช ในภายแก่ หลงั จากบวชแลว้ ไดไ้ ม่นานพระสารีบุตรนำเขา้ เฝา้ พระพุทธองค์ จงึ ได้ตรสั ถามถงึ ความเปน็ มาของพระราธะซึง่ พระสารบี ุตรก็ทูลว่าพระราธะเธอเป็นผวู้ า่ งา่ ยสอนง่าย เหลือเกิน ๑.๘ สรุปทา้ ยบท การจะนำหลกั การและวิธกี ารสอนของพระพุทธเจ้าไปประยุกตใ์ ช้ในการจดั การเรยี นการสอนนั้นบุคคลผ้ทู ำ หนา้ ทใ่ี นการสอน ควรจะหนักด้วยว่า การสอนจะประสบผลสำเรจ็ หรือไมเ่ พยี งใด ส่ิงทีส่ ำคัญทีส่ ดุ กค็ ือ การหมนั่ ตรวจสอบฝกึ ฝนตนเองใหไ้ ดร้ ับความร้คู วามเข้าใจ มีเทคนิค กลวธิ แี ละอบุ ายประกอบการสอนอยา่ งหลากหลาย ควร ประยุกตใ์ ช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสอนเร่ืองหนึง่ ๆ ดว้ ยวา่ ปัจจบุ นั การจัดการศกึ ษามีจดุ ม่งุ หมายเพ่ือมงุ่ พฒั นาคนไทยใหเ้ ป็นมนุษยท์ ่ีสมบูรณ์ เปน็ คนดี มีปญั ญา มคี วามสุข และมีความเปน็ ไทย มีศกั ยภาพในการศกึ ษาต่อ และประกอบอาชพี ผู้สอนพึงระลกึ อยู่เสมอว่า ไมม่ ีศลิ ปะวธิ ีและกลวิธกี ารสอนใดดที สี่ ุด ขนึ้ อยูก่ บั ความเหมาะสม ความพร้อม โอกาสและความพอดีต่อสถานการณ์ในการสอนเรอื่ งหนง่ึ ๆ เป็นสำคัญ และลักษณะการสอนท่ีดี จะต้อง เปน็ การสอนที่มีการเตรียมการสอนล่วงหน้าเป็นอยา่ งดี เป็นการสอนท่ีทำใหผ้ เู้ รียนเกิดการพฒั นา ท้ังด้านความรู้ ความคดิ เจตคติและทักษะ เปน็ การสอนที่ผสู้ อนจดั กิจกรรมการเรยี นการสอนได้สอดคล้องกับจุดประสงคข์ องการ สอน เปน็ การสอนทส่ี อดคล้องกบั เจตนารมณ์ของหลักสูตรและเป็นการสอนทคี่ ำนงึ ถงึ ประโยชนท์ ีผ่ ู้เรียนจะนำไปใชใ้ น ชวี ิตประจำวนั และตลอดไป
๑๔ เอกสารอ้างอิงประจำบท ดวงเดอื น จันทร์เพญ็ . ศกึ ษาศาสตรต์ ามแนวพทุ ธศาสตร์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพม์ หาวทิ ยาลยั ราม คำแหง, ๒๕๔๑. ธรี วสั บำเพ็ญบญุ บารม.ี หลักการเผยแผพ่ ุทธธรรม ศกึ ษาจากคัมภรี ์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎกี า ตลอดจนคมั ภีร์ ทางพระพุทธศาสนา. กรงุ เทพฯ: มูลนธิ ิเบญจมนกิ าย, ๒๕๕๐ พระธรรมปฎิ ก (ป. อ. ปยตุ ฺโต).พระพทุ ธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ:โรงพมิ พส์ ่วนท้องถิน่ . ๒๕๔๐ _____________. พุทธวิธใี นการสอน. พมิ พ์คร้ังท่ี ๕. กรงุ เทพฯ: มลู นธิ พิ ุทธธรรม, ๒๕๔๑. พระเมธธี รรมาภรณ์ (ประยูร ธมมฺ จติ ฺโต). ครทู ด่ี ีตอ้ งมธี รรมะ. กรงุ เทพฯ: บรษิ ทั สหธรรมกิ จำกดั ,๒๕๓๙. พมิ พพ์ รรณ เทพสเุ มธานนท์ และคณะ.ศกึ ษาศาสตรต์ ามแนวพทุ ธศาสตร์.กรงุ เทพฯ:คณะศึกษา ศาสตร์, มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง. ม.ป.ป. พุทธทาสภิกขุ. วิธีสอนจริยธรรมของพระพุทธเจ้าและปจั ฉิมกถาจรยิ ศกึ ษา. กรงุ เทพฯ: สำนักพมิ พ์ นพิ พาน, ๒๕๓๐. วศนิ อนิ ทสระ. พุทธวิธใี นการสอน. พมิ พค์ รัง้ ที่ ๔. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์เมด็ ทราย, ๒๕๔๕. วิชาการ,กรม, กระทรวงศึกษาธกิ าร. การจัดสาระการเรียนรูพ้ ระพุทธศาสนา. กรงุ เทพฯ:โรงพมิ พ์คุรสุ ภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕. สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน). วิธีการของพระพุทธเจ้า. กรงุ เทพฯ:โรงพิมพ์ชวนพิมพ,์ ๒๕๓๒. สุชีพ ปุญญานภุ าพ. คุณลกั ษณะพเิ ศษแหง่ พระพทุ ธศาสนา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลยั , ๒๕๓๓. สชุ โี ว ภิกขุ. พระพทุ ธศาสนาในแงป่ รัชญาและวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๔๙๔. สุมน อมรวิวฒั น์.การสอนโดยสรา้ งศรัทธาและโยนิโสมนสิการ.พิมพค์ รงั้ ที่ ๒.กรงุ เทพฯ:โอ.เอส. พร้ินติง้ เฮ้าส์, ๒๕๓๐. เสฐยี รพงษ์ วรรณปก. พทุ ธวิธสี อนจากพระไตรปิฏก. พิมพ์ครง้ั ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ: บรษิ ทั อมรนิ ทร์ บุ๊ค เซ็น เตอร์ จำกัด, ๒๕๔๒. แสง จนั ทร์งาม. วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: สำนกั พมิ พ์บรรณาคาร, ๒๕๒๖.
บทที่ ๒ การวิเคราะห์ธรรมชาติผูเ้ รียนตามแนวพุทธ วตั ถุประสงค์การเรียนประจำบท เม่ือไดศ้ ึกษาเน้ือหาในบทนแี้ ล้ว ผู้ศึกษาสามารถ ๑.อธิบายธรรมชาติผู้เรียนได้ ๒.จำแนกคุณลักษณะของผเู้ รียนได้ ๓. ระบบุ ทบาทหน้าท่ีของผูเ้ รียนได้ ๔.เปรียบเทยี บธรรมชาติผู้เรยี นตามแนวพทุ ธกับหลักจติ วิทยาการเรียนร้ไู ด้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา • ธรรมชาตผิ ู้เรียน • คุณลกั ษณะผเู้ รยี น • บทบาทหนา้ ที่ของผเู้ รียน • เปรยี บเทียบธรรมชาตผิ เู้ รยี นตามแนวพทุ ธกบั หลกั จิตวิทยาการเรียนรู้
๑๖ ๒.๑ ความนำ มนษุ ย์เปน็ ศนู ย์กลางแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาและพระพทุ ธศาสนา มรี ะบบการ ศึกษา เปน็ เคร่ืองมือ ทส่ี ำคญั สำหรับนำบุคคลใหเ้ ขา้ ถึงจดุ มุ่งหมายของการศึกษา หลกั การต่างๆ ของพทุ ธธรรม จงึ อยู่ในวสิ ัยทจี่ ะรู้ตาม ปฏบิ ัตติ าม และบรรลุตามได้ ๒.๒ ธรรมชาตผิ เู้ รยี น มนษุ ย์เปน็ ความจริงระดบั สมมติสตั ว์หรอื สง่ิ มีชวี ิตท้ังหลายน้ัน พระพุทธศาสนามองในรปู องคป์ ระกอบ พระพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาแหง่ การศึกษาเป็นระบบฝกึ ฝนอบรมคนระบบการศึกษาธรรมกค็ ือการศกึ ษา พระพทุ ธศาสนาเรยี กระบบการศึกษาน้ีว่าสิกขากค็ ือคำว่าการศึกษานนั่ เอง ๒.๒.๑ องคป์ ระกอบของผู้เรียน พุทธธรรมได้พูดถึงความจรงิ ของสงิ่ ทั้งหลาย หรือทเ่ี รียกกันว่า สัจจะ ๒ ระดับคือ สมมติสจั จะและปรมัตถ สัจจะ๑ ๑. สมมุตสิ จั จะ ความจรงิ ทม่ี นุษยส์ มมติขนึ้ ตามความคดิ ของแต่ละบุคคล หรือตามค่านิยมของแต่ละ สังคม ไดร้ บั รูร้ ่วมกนั กำหนดบญั ญตั ิขึ้น เพอ่ื ประโยชนก์ ารสอื่ สารทางภาษา เชน่ มนุษย์ สัตว์ หรอื ส่งิ มีชวี ติ ท้งั หลาย เรยี กวา่ เปน็ โลกทางปรากฏการณ์ หรือโลกทางกายภาพ (Physical World) ๒. ปรมตั ถสัจจะ ความเปน็ จริง ๔ ประการ คือจติ เจตสิก รูป และนพิ พาน สรรพส่ิงทงั้ หลายทง้ั ทม่ี ี ชวี ติ และไม่มชี ีวิตประกอบขน้ึ จากองค์ประกอบพ้นื ฐาน ๓ สว่ น คือ จติ เจตสกิ และรปู แตน่ ิพพานไมไ่ ดเ้ ป็น องค์ประกอบของส่ิงใด ชีวติ มนุษย์เป็นองคร์ วมท่ีทำใหห้ นว่ ยย่อยทงั้ หลายเขา้ รว่ มเป็นองคป์ ระกอบข้ึนเรยี กวา่ บูรณาการ (Integrate)๒ กล่าว คอื (๑) มหี นว่ ยยอ่ ยหรอื ขัน้ ระดับแง่ด้านทีจ่ ะเอามาประมวลเข้าด้วยกัน(ส่วนกาย+ใจ/คน+สังคม) (๒) หนว่ ยยอ่ ยน้นั มีความสัมพันธเ์ ช่อื มโยงองิ อาศัยซึ่งกันและกัน (๓) เม่ือรวมเข้าดว้ ยกนั แล้ว ถา้ จะเกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีความประสานกลมกลน่ื เกดิ ภาวะ ไดท้ ่ี องคร์ วมน้ันมีชีวติ ดำรงอยูแ่ ละดำเนนิ ไปได้ดว้ ยดีทำหนา้ ที่ประสานซ่ึงกนั และกนั กลมกลื่นเข้าเปน็ องค์รวม เดียวกันอนั ทำให้เกดิ ความสมดลุ ทีอ่ งค์รวมขน้ึ สามารถดำรงอยแู่ ละดำเนินการไปได้ในภาวะทคี่ รบถ้วนสมบรู ณ์ การ กำหนดเป็นดา้ นแดนสำหรบั การพฒั นามนุษยจ์ ึงเป็นเพียงการสื่อให้รเู้ ข้าใจไดง้ ่ายเท่านนั้ ๒.๒.๒ ธรรมชาติการเรยี นรู้ การกระทำของมนษุ ยท์ ุกอย่างท้ังทีป่ รากฏและไม่ปรากฏออกมาภายนอกพระพุทธ ศาสนาเรยี กวา่ กรรม ซ่ึงมี ความหมายกวา้ งครอบคลุมไปถงึ พฤติกรรม ไม่ไดเฉพาะพฤตกิ รรมท่แี สดงออกทางกายและวาจา ตามทฤษฎที าง ๑ องฺ อ.(บาลี) ๑/๑๐๐; ปญฺจ.อ.(บาล)ี ๑๕๓,๑๘๓,๒๔๑. ๒ พระธรรมปิ ฎก(ป.อ.ปยตุ ฺโต), เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย, (กรุงเทพฯ:สานกั พมิ พธ์ รรมสภา, ๒๕๓๖),หนา้ ๓๐.
๑๗ จติ วิทยาเทา่ นั้น ยังรวมถงึ พฤติกรรมที่แสดงออกทางจิต คือการคิดนกึ การคิดปรุงแต่งในใจดว้ ย โดยแบง่ พฤติกรรม เป็น ๓ ด้าน๓ ดงั นี้ (๑) พฤติการณ์ทางกาย ได้แก่ การเคล่ือนไหวร่างกาย และการใช้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ เรยี กว่า กายกรรม (๒) พฤติกรรมทางวาจาได้แก่การพดู การสอ่ื สารและการเขียนหนังสอื เรียกว่า วจกี รรม (๓) พฤติกรรมทางใจ ได้แก่ ความคิด ความเชือ่ ความเห็น ความนับถือ เรยี กวา่ มโนกรรม แตส่ ง่ิ ทเี่ ป็นสาระสำคัญพระพุทธศาสนาถือว่า มโนกรรม มคี วามสำคญั มาก และมีส่ิงที่หน่งึ ที่เป็นแกนกลาง ร่วมกนั ของพฤตกิ รรมทง้ั สามประการนี้คือ เจตจำนง และเจตจำนงนเ้ี ปน็ ปัจจยั ในระบบธรรมชาติท่ีมนุษย์เปน็ เจา้ ของ เรอื่ ง หรอื เปน็ ผู้รบั ผดิ ชอบ๔ พฤติกรรมทุกสง่ิ ทุกอยา่ งทีเ่ กิดขึน้ และเป็นไปในโลกมนุษย์ หรอื พฤติกรรมในสังคม เกิดจากหรือเปน็ ไปตาม เจตจำนงของมนุษย์ทั้งสิน้ ดงั พระบาลี วา่ : เจตนาหํ ภกิ ขฺ เว กมมฺ ํ วทามิ.๕ ฯ แปล : ภิกษุท้ังหลาย เรากล่าวเจตนา ว่าเป็นกรรม. มนุษย์แตล่ ะคนเปน็ ผ้กู ำหนดเจตนา หรือพฤติกรรมของตนเองขนึ้ แลว้ พฤติกรรมของตนเองก็มากำหนด ชวี ติ ตลอดจนสังคมของมนษุ ย์เอง ทำให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงในชีวติ และสงั คม พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน จะเคล่ือนไหวหรือมุง่ หนา้ ไปในทิศทางใด ตัวเจตจำนงเปน็ ผู้ กำหนดทศิ ทางและเปา้ หมาย หรือเปน็ สิ่งหรอื พลังที่เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมไปตาม และเจตจำนงหรอื แรงจงู ใจจะดำเนนิ ไปอยา่ งไรต้องอาศัยคุณสมบตั ิทจ่ี ะมาประกอบเจตนาหรอื เจตจำนง ๒.๓ คณุ ลักษณะผู้เรยี น ธรรมชาติด้านสญั ชาตญาณ มโนธรรม และคุณสมบัตปิ ระจำเจตจำนง แมจ้ ะปรากฏในธรรมชาติของมนุษย์ ทกุ คนและทุกยคุ สมัย แต่ปรมิ าณหรือความหนาแนน่ ของธรรมชาตนิ ัน้ ๆ ในแต่ละบุคคลมีจำนวนไมเ่ ทา่ กนั จงึ เกิดเป็น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ๒.๓.๑ คณุ ลักษณะผเู้ รยี นในแง่ภาษา ในภาษาบาลีมคี ำใช้หมายถึง “ผู้เรยี น” อยหู่ ลายคำดว้ ยกนั และแต่ละคำมคี วามหมายและขอบเขต แตกตา่ งกนั ดังนี้ (๑) สสิ สะ (ศกิ ษฺ ) ผศู้ กึ ษา, (๒) สทิ ธวิ ิหาริก ผอู้ ยรู่ ว่ ม (๓) อนั เตวาสิก ผูอ้ ยภู่ ายใน, และ (๔) เสขะ ผทู้ ่ยี ังตอ้ งศึกษา ๓ ม.ม.(บาลี) ๑๓/๖๔. ๔ พระเทพเวที (ประยทุ ธ์ ปยตุ ฺโต),เพอ่ื อนาคตของการศึกษาไทย, (กรุงเทพฯ : สานกั พิมพธ์ รรมสภา, ๒๕๓๖) หนา้ ๕. ๕ องฺ. ฉกฺก. (บาล)ี ๒๒/๓๓๔.
๑๘ คำวา่ สสิ สะ (ศิกษฺ ) มีคำคู่ขนานคือ อาจรยิ ะ (อาจารย์) ซง่ึ มคี วามหมายและความเก่ียวข้องกนั ในฐานะ ฝ่ายหน่งึ เป็นทง้ั พระอุปชั ฌาย์ (ผูใ้ ห้บวช) บอกพระธรรมวินัย ฝา่ ยหนึ่งเปน็ ศิษย์ผู้ตดิ ตามอุปฏั ฐาก รว่ มสขุ ทุกข์ รว่ มอยู่ กนิ สนสถานทต่ี า่ งๆ และรับคำสงั่ สอนทกุ เร่ือง ดังกรณีพระสารบี ุตรเถระ และบณั ฑิตสามเณร๖ เป็นต้น สทิ ธวิ หิ ารกิ และอันเตวาสิก แปลว่า ผอู้ ยรู่ ว่ มกนั และผ้อู ยใู่ นสำนกั เดียวกัน, และอาจมคี วามหมายวา่ ถือ อปุ ชั ฌายค์ นเดยี วกัน อยอู่ าศัยในสถานท่ีเดียวกัน หรอื ศึกษาเลา่ เรยี นจากอาจารย์คนเดียวกัน ส่วนคำว่า เสขะ แปลว่า ผู้ที่ยงั ตอ้ งศึกษา ในเสขสูตรได้นิยามคำว่าเสขะว่า : “ดูกรภิกษุ ท่ีเรยี กชอื่ ว่าเสขะ ดว้ ยเหตวุ า่ ยังต้องศึกษา ศึกษาอะไร ศกึ ษาอธิศลี สกิ ขาศึกษาอธจิ ติ สกิ ขาและศกึ ษาอธิปัญญาสิกขา๗ อีกคำหน่ึงทีม่ ีความหมายตรงกันขา้ มคอื อเสขะ แปลว่า ผูไ้ ม่ตอ้ งศกึ ษาอีก หรือจบการศึกษา คือบรรลุธรรม วิเศษช้นั สงู สุดแล้ว จากทกี่ ล่าวมาจะเห็นไดช้ ัดเจนว่า เม่อื ยึดเน้ือหา จะใช้คำวา่ เสขะ ซ่ึงมคี วามหมายรวมความถึงศิษย์ สทั ธวิ ิหาริก และอนั เตวาสิก ผยู้ งั บรรลธุ รรมตอ้ งศกึ ษาอยู่ แต่เมื่อยึดรูปแบบ คำวา่ ศษิ ย์ จะมีความหมายกวา้ ง รวมทั้งสทั ธิวิหาริกหรืออนั เตวาสิก แตบ่ ุคคลผเู้ ปน็ สัทธวิ ิหารกิ หรืออนั เตวาสกิ อาจจะจำเป็นต้องเปน็ ศิษยด์ ้วย ๒.๓.๒ คุณลักษณะผูเ้ รยี นในแง่ความแตกตา่ ง พระพุทธศาสนาได้อธบิ ายเร่อื งนไี้ วเ้ ปน็ จำนวนมาก และมีลกั ษณะต่างอย่างกันไป จะยกตวั อย่าง มาเฉพาะที่เห็นว่าเกยี่ วข้อง ดังน้ี ๑. แบง่ ตามพ้นื อุปนิสยั บคุ คล บคุ คลผมู้ พี ื้นเพของจิต อุปนิสยั พ้นื นิสัย หรอื พฤตกิ รรม ซึง่ หนกั ไปทางใดทางหน่งึ ทางหนึ่งเป็น ปกตปิ ระจำ เรียกว่า จรติ หรือจรยิ า หมายถึง ความพฤติกรรมปกติ๘ คอื (๑) ราคจรติ บุคคลผมู้ พี ฤติกรรมหนักไปทางรักสวยรกั งาม (๒) โทสจริต บุคคลผมู้ พี ฤติกรรมหนกั ไปทางใจรอ้ นหงดุ หงดิ (๓) โมหจรติ บคุ คลผมู้ พี ฤติกรรมหนักไปทางเขลา เงื่องงง งมงาย (๔) สทั ธาจรติ บคุ คลผมู้ ีพฤติกรรมหนกั ไปทางมจี ิตซาบซึ้ง ชน่ื บาน นอ้ มใจเล่ือมใสโดยง่าย (๕) พทุ ธจิ รติ บคุ คลผู้มีพฤติกรรมหนกั ไปทางใชค้ วามคิดพิจารณา (๖) วิตกจริต บคุ คลผ้มู พี ฤตกิ รรมหนกั ไปทางนกึ คิดจับจด ฟุ้งซา่ น นำ้ เล้ยี งหัวใจของบุคคลตามจริตทัง้ ๖ น้ี ประสาร ทองภกั ดี๙ ได้เสนอวิธีสงั เกตอากัปกริ ยิ าของคนแต่ละจรติ ไว้ ดงั นี้ ๑. คนราคจรติ มีน้ำเลย้ี งหัวใจสีแดง ๒. คนโทสจริต มนี ำ้ เล้ยี งหวั ใจสีดำ ๓. คนโมหจริต มีน้ำเลย้ี งหัวใจแดงจางๆ เหมือนนำ้ ลา้ งเนื้อ ๔. คนวิตักกจริต มีน้ำเล้ียงหวั ใจสีข่นุ มวั เหมือนน้ำซาวขา้ ว ๖ ธ.อ.(บาลี) ๔/๑/๒๐. ๗ องฺ. ติกฺก.(บาล)ี ๒๐/๕๒๕/๓๕๗. ๘ ข.ุ ม. (บาลี) ๒๙/๗๒๗/๔๓๕ ; ๘๘๙/๕๕๕. ๙ ประสาร ทองภกั ดี, พุทธวธิ ีสอน,( กรุงเทพฯ : โรงพมิ พอ์ กั ษรสาสน์), ๒๕๒๓, หน้า ๖๖–๗๐.
๑๙ ๕. คนสัทธาจริต มีนำ้ เลี้ยงหวั ใจใสผอ่ งเหมือนดอกกรรณกิ าร์ ๖. คนพุทธจิ รติ มนี ้ำเลี้ยงหัวใจบริสุทธ์สิ ะอาดเหมือนดงั ดวงแกว้ มณโี ชติ คน ๖ ประเภทนี้ อนุสร จันทพนั ธ์ และ บุญชัย โกศลธนากลุ ๑๐ ได้จำแนกลกั ษณะ จุดอ่อน จุดแข็งและวธิ ี สอนไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. คนราคจรติ มลี กั ษณะมีบคุ ลกิ ดี นำ้ เสยี งนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอม ไม่ชอบคิด แตช่ า่ งจินตนาการเพอ้ ฝนั (๑) จดุ แข็ง มีความประณีตออ่ นไหว ละเอยี ดออ่ น ช่างสงั เกต เก็บข้อมลู เกง่ มบี คุ ลิกหน้าตาเป็นท่ี ชอบและชน่ื ชอบของทุกคนทเี่ หน็ เขา้ ได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์และงานท่ีต้องใช้ บุคลกิ ภาพ (๒) จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญไ่ ด้ยาก ไมม่ ีเป้าหมายในชวี ิต ไม่มีความเปน็ ผู้นำ ขีเ้ กรงใจคน ขาดหลักการ ม่งุ แต่บำรุงบำเรอผสั สะทงั้ ๕ ของตวั เอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สมั ผัส ชอบพดู คำหวานหแู ต่อาจไมจ่ ริง อารมณ์รนุ แรง อจิ ฉารษิ ยา ชอบปรุงแตง่ (๓) วิธแี ก้ไข พจิ ารณาโทษของจติ ทข่ี าดสมาธิ ฝึกพลงั จิตให้มสี มาธิเข้มแขง็ หาเป้าหมายท่แี น่ชดั ในชีวติ พจิ ารณาส่งิ ปฏิกลู ต่างๆ ของรา่ งกายมนุษยเ์ พอื่ ลดการติดใน รปู รส กลิน่ เสยี งสมั ผสั ๒. คนโทสจริต มีลกั ษณะ จติ ขุน่ เคอื ง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเปน็ อยา่ งท่ีตัวเองคดิ พดู ตรงไปตรงมา ชอบชถ้ี ูกชีผ้ ิด เจ้าระเบยี บ เครง่ กฎเกณฑ์ แต่งตัวประณตี สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว (๑) จุดแข็ง อุทิศตวั ทุ่มเทใหก้ ับการงาน มรี ะเบียบวนิ ัยสูง ตรงเวลา วิเคราะห์ เก่ง มองอะไร ตรงไปตรงมา มคี วามจรงิ ใจต่อผู้อ่นื สามารถพึ่งพาได้ พูดคำไหนคำน้นั ไมค่ ่อยโลภ (๒) จดุ ออ่ น จติ ข่นุ มัว ร้อนร่มุ ไม่มีความเมตตา ไมเ่ ป็นท่ีน่าคบค้าสมาคม ของคนอน่ื และไม่มี บารมี ไมม่ ีความคิดสรา้ งสรรค์ สร้างวจกี รรมเปน็ ประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย (๓) วธิ แี กไ้ ข สงั เกตดอู ารมณต์ ัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มากๆ คิดกอ่ นพดู นานๆและพูดที ละคำ ฟงั ทลี ะเสยี ง อยา่ ไปจริงจงั กับโลกมากนกั เปดิ ใจกว้าง รบั ความคดิ ใหม่ๆ พจิ ารณาโทษของความโกรธต่อความ เสื่อมโทรมของร่างกาย ๓. คนโมหจรติ มลี ักษณะ ง่วงๆ ซึมๆ เบอื่ ๆ เซ็งๆ ดวงตาดูเศรา้ ๆ ซง้ึ ๆ พูดจาเบาๆ นุ่มนวล อ่อนโยน ย้ิมงา่ ย อารมณไ์ ม่ค่อยเสยี ไม่คอ่ ยโกรธใคร ไมช่ อบเขา้ สงั คม ไม่ชอบทำตวั เป็นจดุ เด่น เดินแบบขาดจดุ หมาย ไร้ความ ม่งุ มน่ั (๑) จดุ แข็ง ไม่ฟุ้งซา่ น เขา้ ใจอะไรไดง้ ่ายและชัดเจน มีความรู้สกึ มักตัดสนิ ใจ อะไรได้ถกู ต้อง ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรอื เครียดมากนกั เป็นคนดี เป็นเพื่อนทีน่ ่าคบ ไม่ทำรา้ ยคน (๒) จดุ อ่อน ไมม่ คี วามมั่นใจ มองตวั เองต่ำกวา่ ความจรงิ โทษตัวเองเสมอ หมกม่นุ แต่ เรอื่ งตัวเอง ไมส่ นใจคนอนื่ ไม่จดั ระบบความคดิ ทำใหเ้ สมอื นไม่มีความรู้ ไม่มคี วามเป็นผู้นำ ไมช่ อบเปน็ จุดเด่น สมาธิ อ่อนและสั้น เบ่ือง่าย อารมณ์ออ่ นไหวงา่ ย ใจน้อย (๓) วิธแี กไ้ ข ตงั้ เป้าหมายให้ชีวิตชัดเจน ฝกึ สมาธิสรา้ งพลงั จติ ให้เข้มแข็ง ใหจ้ ติ ออกจากอารมณ์ โดยจบั การเคลอ่ื นไหวของรา่ งกายหรือเลน่ กีฬาแสวงหาความรู้ และต้องจดั ระบบความรู้ ความคดิ สรา้ งความแปลก ใหม่ใหก้ บั ชีวติ อย่าทำอะไรซ้ำซาก ๑๐อนุสร จนั ทพนั ธ์ และ บญุ ชยั โกศลธนากุล, จริต ๖ : ศาสตร์ในการอ่านในคน, พมิ พค์ ร้งั ที่ ๓, (กรุงเทพฯ : บริษทั อมรินทร์พร้ินตง้ิ แอนดพ์ บั ลิชชิ่ง จากดั (มหาชน), ๒๕๔๖), หนา้ ๑๐–๑๕.
๒๐ ๔. คนวิตกั กจริต มีลกั ษณะ พดู เป็นน้ำไหลไฟดับ ความคดิ พวยพ่งุ ฟุง้ ซ่านอยู่ในโลก ความคดิ ไม่ใช่ โลกความจรงิ มองโลกในแงร่ ้ายวา่ คนอน่ื จะเอาเปรียบกลัน่ แกล้งเรา หน้าจะบงึ้ ไม่ค่อยย้ิม เจ้าก้ีเจ้าการ อัตตาสงู คดิ วา่ ตวั เองเก่ง อยากรู้อยากเหน็ ไปทุกเรื่อง ผดั วนั ประกนั พรุ่ง (๑) จุดแขง็ เปน็ นกั คดิ ระดับเย่ยี มยอด มองอะไรทะลปุ รุโปร่งหลายชั้น เปน็ นักพดู ท่ีเกง่ จงู ใจ คน เปน็ ผู้นำในหลายวงการ ละเอยี ดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความ ผิดเล็กความผดิ น้อยท่ีคนอนื่ ไมเ่ ห็น (๒) จดุ อ่อน มองจดุ เล็ก ลมื ภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคดิ ตลอดเวลา จดุ ยืนกลับไปกลบั มา ไม่ รกั ษาสัญญา มแี ต่ความคิด ไมม่ คี วามร้สู กึ ไม่มวี ิจารณญาณ ลังเล มักทะเลาะวิวาท ทำรา้ ยจิตใจ เอารดั เอาเปรยี บผู้อื่น มคี วามทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แตห่ าทางแกไ้ ขไมไ่ ด้ (๓) วิธแี ก้ไข เลอื กความคิด อย่าใหค้ วามคดิ ลากไป ฝกึ สมาธแิ บบอานาปานสติ เพ่ือสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต คลายจากความฟุง้ ซ่าน สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝกึ มองภาพรวม คดิ ใหค้ รบวงจร หดั มอง โลกในแง่ดี พฒั นาสมองดา้ นขวา ๕. คนสทั ธาจริต มลี ักษณะ ยึดม่นั อยา่ งแรงกล้าในบคุ คล หลักการหรอื ความเชอ่ื ย้ำคดิ ย้ำพดู ในสิ่งที่ ตนเองเช่ือถอื และศรัทธา คิดวา่ ตวั เองเปน็ คนดี นา่ ศรทั ธา ประเสรฐิ กวา่ คนอน่ื เปน็ คนจริงจัง พูดมีหลกั การ (๑) จดุ แข็ง มีพลังจติ สงู และเข้มแขง็ พร้อมจะเสียสละเพื่อผู้อ่นื ต้องการเปลย่ี น แปลงตัวเองและ สงั คมไปสู่สภาพท่ีดีกวา่ มีพลังขบั เคลื่อนมหาศาล มลี ักษณะความเป็นผ้นู ำ (๒) จุดอ่อน หเู บา ความเชอ่ื อยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้งา่ ย ย่ิงศรัทธามาก ปญั ญาย่ิงลดนอ้ ยลง จติ ใจคับแคบ ไมย่ อมรบั ความคดิ ทแี่ ตกตา่ ง ไมป่ ระนีประนอมมองโลกเป็นขาวและดำ เพ่อื ให้บรรลุเปา้ หมายทต่ี นคิด วา่ ถกู ต้อง สามารถทำได้ทกุ อย่างแมแ้ ต่ใช้ความรุนแรง (๓) วธิ ีแกไ้ ข นกึ ถึงกาลามสตู ร ใช้หลกั เหตผุ ลพิจารณา เหนอื ความเช่อื ใชป้ ัญญานำทาง และ ใช้ศรัทธาเป็นพลงั ขับเคล่ือน เปดิ ใจกว้างรบั ความคิดใหมๆ่ ลดความยึดมน่ั ถือมน่ั ในตวั บคุ คลหรืออดุ มการณ์ ลดความ ยึดมั่นในตวั กขู องกู ๖. คนพุทธิจริต มลี กั ษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรือ่ งต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงไมป่ รงุ แตง่ พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง ใฝ่เรยี นรู้ ช่างสังเกต มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หนา้ ตาผ่องใส ตาเปน็ ประกาย ไม่ทุกข์ (๑) จดุ แขง็ สามารถเห็นเหตเุ ห็นผลได้ชดั เจน และรวู้ ธิ ีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถกู ต้อง อัตตา ตำ่ เปดิ ใจรบั ข้อเทจ็ จริง จิตอยู่ในปัจจบุ นั ไมจ่ มปลกั ในอดตี และไมก่ ังวลในสง่ิ ทจ่ี ะเกิดในอนาคต พัฒนาปรังปรุง ตัวเองอยู่เสมอ เปน็ กัลยาณมิตร (๒) จดุ ออ่ น มีความเฉ่ือย ไมต่ ้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบร่ืนมาตลอด หากต้องเผชิญพลงั ด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอดไมม่ ีความเปน็ ผนู้ ำ จติ ไม่มพี ลงั พอทจ่ี ะดงึ ดูดคนให้คล้อยตาม (๓) วธิ แี กไ้ ขถามตัวเองว่าพอใจแลว้ หรอื กบั สภาพความเปน็ อยู่ในปัจจุบัน เพม่ิ พลงั สติสมาธพิ ัฒนา จิตใหม้ พี ลังขบั เคล่ือนที่แรงขึ้น เพม่ิ ความเมตตา พยายามทำประโยชนใ์ ห้ กบั สงั คมมากข้ึน ๒. แบ่งตามพนื้ ฐานทางปญั ญา บคุ คล ๔จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลกคือ อุคฆฏติ ญั ญู วปิ จติ ญั ญู เนยยะ และปทปรมะ๑๑ พระธรรม ปิฎก (ป. อ. ปยุตโฺ ต)๑๒ ไดข้ ยายความว่า ๑๑ อง.จตกุ ก.(บาลี) ๒๑/๑๓๓/๒๐๘. ๑๒ พระธรรมปิ ฎก (ป. อ. ปยตุ ฺโต), พุทธวธิ ีในการสอน, (กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, ๒๕๓๘),หนา้ ๓๖-๓๗.
๒๑ (๑)บุคคลผ้รู ูเ้ ข้าใจได้ฉับพลนั แต่พอยกหัวขอ้ ข้ึนแสดงเท่าน้ันบุคคลประเภทนี้เรยี กวา่ อุคฆฏติ ัญญู เทยี บกับบัวพ้นนำ้ แต่พอรับสมั ผสั รศั มีตะวันก็จะบาน ณ วนั นั้น (๒)บุคคลผู้สามารถรู้เขา้ ใจได้ต่อเม่ือทา่ นอธิบายความพิสดารออกไปบุคคล ประเภทน้ี เรยี กวา่ วิปจิตญั ญู เทยี บกบั บัวปร่มิ น้ำ จักบานตอ่ วันรงุ่ ข้ึน (๓)บคุ คลผู้พอจะหาทางค่อยช้แี จงแนะนำใชว้ ิธกี ารยักเยื้องใหเ้ ข้าใจไดต้ ่อๆไป บุคคลประเภทน้ี เรียกว่า ไนยยะ เทียบกบั บวั งามใต้พืน้ น้ำ จกั บานในวันต่อๆ ไป (๔) บุคคลผ้อู บั จนปญั ญา มีดวงตามืดมดิ ยงั ไม่อาจให้บรรลุคณุ วิเศษได้ในชาตินี้ บุคคลประเภทน้ี เรยี กวา่ ปทปรมะ เทียบกับบัวจมใต้นำ้ นา่ จกั เปน็ ภักษาแห่งปลาและเตา่ ๓. แบ่งตามระดับสติปญั ญา บุคคล ๔ จำพวกน้ี มีปรากฏอยู่ในโลก๑๓ คือ : (๑) บุคคลผู้ฉลาดผูก ไม่ฉลาดแก้ (๒) ฉลาดแก้ ไม่ฉลาดผูก (๓) ฉลาดทัง้ ผกู ฉลาดท้งั แก้ (๔) ไมฉ่ ลาดท้งั ผกู ไม่ฉลาดท้ังแก้ ๔. แบง่ ตามระดับการเรยี นรู้ บคุ คล ๔ จำพวกนี้ มปี รากฏอยใู่ นโลก๑๔ คือ (๑) บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไมเ่ ข้าถึงด้วยสตุ ะ คือรนู้ ้อยและไม่รจู้ รงิ (อปฺปสสฺ โุ ต สเุ ตน อนปุ ปนโฺ น) (๒) บคุ คลผูม้ สี ตุ ะ น้อย เข้าถึงดว้ ยสตุ ะ คอื รนู้ ้อยแต่รจู้ รงิ (อปปฺ สสฺ ุโต สเุ ตน อปุ ปนโฺ น) (๓) บคุ คลผู้มีสตุ ะมากไมเ่ ข้าถงึ ดว้ ยสุตะ คือร้มู ากแต่ไม่รจู้ ริง (พหุสฺสโุ ต สเุ ตน อนุปปนโฺ น) (๔) บุคคลผู้มีสุตะมาก เข้าถึงด้วยสตุ ะ คือรู้มากและรู้จริง (พหุสสฺ โุ ต สเุ ตน อุปปนโฺ น)บคุ คลบางคน ๕. แบง่ ตามระดับพฤติกรรม บุคคล ๔ จำพวกน้ี มปี รากฏอย่ใู นโลก ๑๕อธบิ ายได้ดังนี้ : (๑) ตโม ตมปรายโน ผมู้ ดื มาแล้ว มีมดื ต่อไป (๒) ตโม โชตปิ รายโน ผู้มดื มาแล้ว มสี วา่ ง (๓) โชติ ตมปรายโน ผสู้ วา่ งมาแลว้ มมี ดื ตอ่ ไป (๔) โชติ โชติปรายโน ผู้สวา่ งมาแล้ว มีสวา่ งต่อไป ๑๓ องฺ.จตกุ ก. (บาลี) ๒๑/๑๓๒/๒๐๘. ๑๔ องฺ.จตุก.(บาลี) ๒๑/๖/๘. ๑๕ องฺ.จตกุ ก.(บาล)ี ๒๑/๘๕/๑๒๗.
๒๒ ๖. แบง่ ตามสภาพแวดล้อม บุคคล ๔ ประเภท๑๖ ท่ดี ำเนินชีวิตเป็นไปตามสภาพแวดลอ้ มต่าง ๆ อธิบายไดด้ งั น้ี (๑) อนโุ สตคามีบุคคล ผู้ไปตามกระแส (๒) ปฏิโสตคามีบุคคล ผไู้ ปทวนกระแส (๓) ฐิตตโฺ ตบคุ คล ผมู้ ีตนตง้ั อย่แู ลว้ (๔) พรฺ าหฺมโณบุคคล ผู้เปน็ พราหมณ์ ขา้ มถึงฝ่งั ตง้ั อยบู่ นบก การจำแนกบุคคลดังกล่าวนี้ ตามหลักของพุทธศาสนามองว่าผู้เรียนมอี งคป์ ระกอบภายนอกหรือพ้ืนฐาน เหมอื นกนั คือขันธ์ ๕ (คอื รูป เวทนา สัญญา สงั ขาร และวิญญาณ) และมีองค์ประกอบภายในแตกตา่ งกนั คือกุศล- อกศุ ลมลู การจำแนกผ้เู รียนเพ่ือประโยชน์ในการสอน ตอ้ งทราบว่า ผ้เู รยี นนัน้ เรียนร้สู งิ่ ต่างๆ ได้อย่างไรและโดยวิธี ใดบา้ ง เพ่ือทจ่ี ะได้ดำเนินการสอนตามแนวทางของการเรียนรเู้ หล่านั้น ซ่งึ จะมีผลช่วยให้ผู้เรยี นไดเ้ ข้าใจ เกดิ ความรู้ได้ ง่ายขึ้น ทำใหผ้ เู้ รยี นเกดิ ทักษะและศักยภาพที่พงึ ประสงค์อีกดว้ ย ๒.๔ บทบาทหนา้ ที่ผู้เรียน มนุษย์มคี วามแตกตา่ งกนั ทัง้ ทางกาย และทางจติ และธรรมชาติทแี่ ท้จรงิ ของมนษุ ย์คอื ความทุกข์ ความหลดุ พน้ จากความทุกข์ จงึ เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาในทรรศนะของพระพทุ ธ ศาสนา ซง่ึ ตง้ั อยบู่ นพน้ื ฐานของความ แตกต่างกนั ของธรรมชาตมิ นุษย์ ๒.๔.๑ บทบาทหนา้ ท่ีต่อการเรียน ผู้เรียนจะตอ้ งมีความเคารพในการศกึ ษา หรือสิกขาคารวตา หมายความวา่ เคารพตอ่ ศลี สมาธิ ปญั ญา เรียกวา่ ไตรสิกขา ซึ่งเปน็ กระบวนเรียนรู้ในทางพระพทุ ธศาสนา หรือข้อที่จะตอ้ งศึกษา ข้อปฏบิ ัติที่ เป็นหลกั สำหรบั ศึกษา คือ ฝึกหดั อบรม กายวาจา จิตใจ และปัญญา ใหย้ ง่ิ ขึ้นไปจนบรรลจุ ุดหมายสูงสุด คอื พระ นพิ พาน มี ๓ ประการ คือ ๑. อธิสลี สกิ ขา หมายถงึ การศึกษาเร่ืองศีล เพือ่ ปรับพฤตกิ รรมให้มีกายและวาจาดงี าม รักษา กายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ๒. อธิจิตตสกิ ขา หมายถึง การศกึ ษาอบรมพัฒนาจติ ให้มีความสงบ จิตต้งั มน่ั จติ แน่วแน่ สามารถข่มและบงั คับจติ ไมใ่ ห้ฟุ้งซ่านได้ ๓. อธปิ ัญญาสกิ ขา หมายถึง การพฒั นาสตปิ ญั ญาให้เจริญ สามารถเหน็ สภาวธรรมตามความ เปน็ จริงได้อย่างถูกตอ้ ง สรปุ ความว่า ความเคารพในการศึกษา คือ การรจู้ กั ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรทู้ ัง้ ทาง โลกและทางธรรม แลว้ แสดงออกซึ่งความเคารพ โดยการตง้ั ใจศกึ ษาเล่าเรยี นอย่างเต็มกำลังความ สามารถ จะศึกษาเร่ืองใดก็ตาม ก็จงศกึ ษาให้ถึงแกน่ แท้ของเนื้อความ รวมทงั้ การรจู้ ักบำรงุ และใหก้ ารสนับสนนุ การศกึ ษา ทง้ั ทางโลกและทางธรรม ๑๖องฺ.จตกุ .(บาล)ี ๒๑/๕/๖.
๒๓ ๒.๔.๒ บทบาทหน้าทต่ี ่ออาจารย์ ทศิ เบอ้ื งขวา คือ ทิศใต้ (ทักษิณทศิ ) ไดแ้ ก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นผูท้ ่ีควรแกก่ ารบชู าคุณ (ทกั ขิไณยบคุ คล) โบราณถือว่าการแสดงความเคารพ ซ่งึ อะไรที่อยู่ขวาก็แสดงวา่ เราต้องทำความเคารพ ดังนน้ั ทิศเบือ้ งขวาจึงเป็นทศิ ของครูอาจารย์ เม่อื เราเปน็ ศิษยเ์ รากย็ อ่ มปฏบิ ตั ติ ่อครูอาจารย์ หรอื เมื่อเราเปน็ อาจารยเ์ รากต็ ้องปฏิบตั ติ อ่ ศิษย์ การ ปฏบิ ตั ติ ่อกัน ชือ่ ว่าเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลอื กนั ควรปฏบิ ัติดงั นี้ ๑. ศษิ ย์พงึ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นทศิ เบอ้ื งขวาโดยหน้าที่ ๕ ประการ คอื (๑) ลุกขน้ึ ยนื รับ (๒) เขา้ ไปคอยรับใช้ (๓) เช่อื ฟงั (๔) ดูแลปรนนบิ ัติ (๕) เรียนศลิ ปวิทยาโดยเคารพ ๒. ครอู าจารยย์ อ่ มอนเุ คราะหศ์ ษิ ย์โดยหนา้ ที่ ๕ ประการ คอื (๑) แนะนำให้เป็นคนดี (๒) ใหเ้ รยี นดี (๓) บอกความรู้ในศลิ ปวิทยาทกุ อย่างด้วยดี (๔) ยกยอ่ งให้ปรากฏในมติ รสหาย (๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย๑๗ นอกจากนี้แล้ว ผเู้ รียนจะตอ้ งประพฤตติ ามหลักคารวธรรม ได้แก่ ความเคารพในการศึกษา เคารพต่อ สถาบัน ไมท่ ำตวั เปน็ ที่เสื่อมเสยี ชือ่ เสยี งสถาบนั เคารพกฎกตกิ าของสถาบัน และการให้ความสำคัญต่อครูอาจารย์ รู้จกั เคารพครอู าจารย์ รวมท้งั รจู้ กั เคารพสทิ ธหิ นา้ ที่ของตนเองและคนอ่ืนด้วย ได้แก่ การมีความเคารพซึ่งกันและ กัน ทุกคนตอ้ งรจู้ กั ใหเ้ กยี รติซึ่งกนั และกันดว้ ยกาย วาจา และความคิด รจู้ ักเคารพในความคิดของตนเอง และ มีความเคารพในความคดิ ของคนอน่ื ด้วย๑๘ ๒.๕ เปรียบเทียบธรรมชาติผู้เรยี นตามแนวพทุ ธ กบั หลักจติ วิทยาการเรยี นรู้ ธรรมชาตขิ องมนุษย์ตามแนวคดิ ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นองค์ของประกอบต่างๆ ทมี่ าประชมุ กันเข้า แบง่ อยา่ งกวา้ งๆ ว่า นามและรูป หรือนามธรรม กบั รปู ธรรม แบง่ ตามแนวพระสตู รเรียกว่า เบญจขนั ธ์ คือ รูป เวทนา สญั ญา สังขาร วญิ ญาณ และตามแนวอภธิ รรม คือ รูป จิต เจตสิก และ รปู ๒.๕.๑ ธรรมชาตผิ ู้เรยี นตามแนวพทุ ธ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า พฤตกิ รรมเปน็ การกระทำทีเ่ กดิ ขน้ึ จากแรงจงู ใจ หรอื เจตนา เปน็ การ แสดงใหเ้ ห็นวา่ จติ เปน็ ใหญ่ เปน็ ผรู้ เิ ร่ิม ผู้กำหนดพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ และสว่ นแหง่ พฤติกรรมเหล่านี้จะ ๑๗ ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๒๖๘/๑๖๕., ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๒๖๘/๒๑๓. ๑๘ พระมหาหมวด สุกฺกธมฺโม (โฉมศรี) ,การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคดิ เรื่องความเคารพ ในพระพทุ ธ ศาสนา, วิทยานิพนธ์ปริญญาพทุ ธศาสตร มหาบณั ฑิต, (บณั ฑิตวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๖), หนา้ ๑๔๐-๑๔๑.
๒๔ เปน็ ส่วนท่พี ึงประสงค์หรอื ฝ่ายดี หรอื เป็นสว่ นทีไ่ ม่พึงประสงค์ มเี งอื่ นไขอยู่ทีว่ ่าองค์ประกอบของจติ คือ “เจตสิก” นน้ั เปน็ ฝา่ ยดีหรอื ชวั่ ท่ผี ลกั ดันเจตนาหรอื แรงจงู ใจอีกต่อหนึ่ง เจตสิกแบ่งเป็น ๒ ชนดิ ใหญ่ๆ๑๙ คือ (๑) เจตสิกทเ่ี ป็นฝา่ ยดีงาม ธรรมชาติของจิตทเี่ ป็นดา้ นบวก ด้านดี ที่เปน็ สำนึกรับผิดชอบ ยกระดบั ชวี ิตใหส้ ูงสง่ มคี ณุ คา่ เรียกว่า กุศลเจตสกิ หรือมโนธรรม (Conscience) (๒) เจตสกิ ท่ีเป็นฝา่ ยชว่ั ธรรมชาตขิ องจติ ทีเ่ ปน็ ดา้ นลบ ด้านชว่ั ท่ผี ลักดนั ชวี ติ ไปในทางมืดบอด และตกต่ำ เรยี กว่า อกสุ ลเจตสิก หรอื สญั ชาตญาณ (Instinet) นอกจากน้ยี งั มีเจตสิกอีกพวกทีเ่ ปน็ ฝา่ ยสนบั สนนุ ทงั้ ฝา่ ยดีและฝ่ายชัว่ แตไ่ ม่ตายตวั เรยี กวา่ อัญสมานา เจตสิก คุณสมบัติหรอื องคป์ ระกอบของเจตจำนง (แรงจูงใจ) มีสองฝา่ ยคือฝา่ ยดแี ละฝ่ายชั่ว เขา้ มาเปน็ ตัวประกอบ หรือตวั บงการแลว้ มนุษยจ์ ะมีพฤติกรรมตา่ งๆ โน้มเอียงไปตามอำนาจของมัน กลา่ วสรปุ กค็ อื ธรรมชาติทแ่ี ท้จรงิ ของมนษุ ย์ มีธรรมชาติหลักใหญ่ ๓ ประการคือ มีธรรมชาติเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) มีธรรมชาตขิ ัดแย้งในตวั เอง(ทุกขงั ) และมธี รรมชาตสิ ัมพทั ธ์ (อนตั ตา) นอกจากน้มี นุษย์ยังมธี รรมชาติท้ังกาย และจิตทีแ่ บ่งแยกกนั อยู่ในตัวเอง ๒.๕.๒ ธรรมชาตผิ ูเ้ รียนตามแนวจิตวทิ ยา นักจติ วิทยามองมนุษยว์ ่าเปน็ อินทรยี ์ (Organism) อนิ ทรยี ์ท้ังหลายย่อมสามารถแสดงออกทาง กล้ามเนอ้ื ความคดิ และความรสู้ กึ เพ่ือตอบสนองสิ่งเร้าได้ เรียกว่า พฤตกิ รรม (Behavior)๒๐ และศาสตร์ที่ ศึกษาเกีย่ วกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจติ ของมนุษยแ์ ละสตั ว์ ดว้ ยระเบยี บวิธีการทางวทิ ยาศาสตร์ ทเ่ี รียกว่า จติ วทิ ยา (Psychology)๒๑ ในการศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาตขิ องพฤตกิ รรมมนุษยเ์ พียงอย่างเดียววทิ ยาศาสตรจ์ ะใช้ศาสตร์ ๒ แขนงใหญๆ่ คือวทิ ยาศาสตรธรรมธาติ (Natural Sciences) เชน่ ชีววิทยา (Biology) สรรี วิทยา (Physiology) และ แขนงพฤตกิ รรมศาสตร์(Behavioral Sciences)ไดแ้ กจ่ ิตวิทยา(Psychology) มานษุ ยวทิ ยา (Anthropology) สงั คม วิทยา (Sociology) ฯลฯ โดยหลกั ทวั่ ไปถือว่า จิตวิทยาจดั เปน็ ตัวเช่ือมระหว่างวิทยาศาสตรธรรมธาติ และพฤติกรรมศาสตร์ และมี ความสัมพันธ์กับศาสตร์แขนง ท่ีเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์๒๒ เมื่อยอมรับกันในศาสตร์ทั้งปวงว่ามนุษย์มี องคป์ ระกอบ ๒ ประการ คอื กาย กบั จติ ยอ่ มสามารถแสดงพฤติกรรมได้ ๒ ทางเช่นเดียวกนั พฤติกรรมตามแนวคดิ ทางจติ วทิ ยา อธิบายได้ ๒ ประเภทดงั น้ี ๑. พฤตกิ รรมทางกายหรอื พฤตกิ รรมรปู ธรรม พฤติกรรมที่สามารถสงั เกตเห็นได้ เช่น การเลน่ การนอน หรอื การเคล่อื นไหวอิรยิ าบถ และกิริยาท่าทางตา่ งๆ จดั เป็น พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) ๒.ส่วนพฤติกรรมทางจิตหรือพฤติกรรมนามธรรม พฤตกิ รรมทไ่ี ม่สามารถสงั เกต วัดโดยตรงไม่ได้ เช่น ความคดิ ความจำ อารมณ์ ความเชอ่ื ความฝัน จดั เปน็ พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) สำนักจิตวิทยาทัง้ หลายได้แบง่ พฤติกรรมตามลักษณะของการเกดิ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ๑. พฤติกรรมติดตวั มาแตก่ ำเนิด หรอื สัญชาตญาณ (Innate Behavior) พฤติกรรม หรือการ กระทำทีม่ นุษย์และสตั วส์ ามารถปฏิบัตเิ องตามธรรมชาติ ไมว่ ่าจะเกดิ ทีไ่ หน เชน่ รอ้ งไห้ คลาน ยืน เดินของทารก ๑๙ ที.ปา.(บาลี) ๑๑/๓๐๕/๒๕๙.๓๔๗/๓๖๒ ; องฺ.ตกิ . (บาลี) ๒๐/๒๗๕–๒๗๗. ๒๐ Morgan.C.T. Introduction to Psychology.(New York : McGraw-Hill Book 1971) p. 4. ๒๑ Matlin. M.W. Psychology.(U.S.A: Halt, Rinchart and Winston,Inc, 19992) p.2. ๒๒ ศิริโสภาคย์ บรู พาเดชะ, จิตวทิ ยาทวั่ ไป, (กรุงเพฯ: จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๒๘) หนา้ ๔-๙.
๒๕ ๒. พฤติกรรมเรยี นรู้ (Learned Behavior) พฤติกรรม หรอื การกระทำท่เี กดิ ขนึ้ ภายหลังจากทไ่ี ดร้ บั การฝกึ หดั หรือฝึกฝนแล้ว เช่น ว่ายนำ้ ขับรถ พมิ พด์ ีด พฤติกรรมทุกพฤติกรรมทมี่ นุษย์แสดงออกมา นักจิตวทิ ยาอธิบายว่า มเี หตุผลซึง่ เปน็ สิ่งเรา้ (Stimulus) ให้ เกิดการกระทำน้ันๆ ซ่อนอยู่เบ้อื งหลงั บางสำนักเรยี กวา่ ความตอ้ งการ (Needs) แรงขับ (Drive) ความปรารถนา (Desire) หรือแรงจูงใจ (Motive) มชี ือ่ แตกต่างกนั ไป๒๓ สง่ิ ท่เี ป็นแรงผลัก หรือพลงั ท่ีเป็นตัวกระตุน้ ให้มนษุ ย์แสดงพฤติกรรมไปตามทิศทาง และเป้าหมายทก่ี ำหนด ไว้ เรียกวา่ แรงจงู ใจ (Motive) นักจิตวทิ ยาได้จำแนกออกเปน็ ๒ ประเภทคือ ๑. แรงจงู ใจปฐมภูมิ (Primary Motives) แรงจงู ใจทางสรรี ะ (Spysicological Motives) หรือ แรงจงู ใจทางกาย (Physical Motives) เป็นสิง่ เร้าที่เกดิ จากความต้องการทางร่างกาย เช่น ความหิว ความกระหาย การนอนหลบั และความต้องการทางเพศ เปน็ ตน้ ๒. แรงจงู ใจทางทุติยภูมิ (Secondary Motives) ความต้องการทางจติ (Psychological Motives) หรือความต้องการทางสงั คม (Social Motives) เป็นสงิ่ เรา้ ทีเ่ กดิ จากความต้องการของจิตใจ มี ๖ ประเภท คอื (๑) ความตอ้ งการวัตถสุ ่ิงของ (๒) ความต้องการเด่นเหนือผู้อ่ืน (๓) ความต้องการมีอำนาจ (๔) ความต้องการทำร้ายตวั เองและผอู้ น่ื (๕) ความต้องการความรัก ความผกู พัน (๖) ความต้องการเก่ียวกบั สังคม ตอ่ มาไดข้ ยายความแรงจูงใจออกเปน็ ๒๐ ชนดิ เช่น แรงจูงใจใฝ่สมั ฤทธ์ิ (Achievement) แรงจูงใจ ก้าวรา้ ว (Aggression) แรงจูงใจใฝอ่ ิสระ (Autonomy) แรงจูงจูงป้องกนั ตน (Dependence) เปน็ ตน้ มกี ระบวน ทำงาน ๔ ขน้ั ตอนคอื (๑) บุคคลเกิดความการ หรอื มีแรงขับ แรงจงู ใจมากระตุ้น (Need) (๒) ภาวะทถี่ ูกกระตุ้น (Aroused State) (๓) แสดงพฤติกรรมออกมา (Behavior) (๔) บรรลุเปา้ หมาย หรือไดร้ ับการตอบสนอง (Attainment of goal) เม่ือมนุษย์เกิดความพอใจในสง่ิ ทต่ี ้องการแลว้ ความต้องการจะลดลง แลว้ จะเริม่ ตน้ วฏั จกั รเหล่านอ้ี ีกต่อไป ตลอดช่ัวอายุ พฤติกรรมทกุ พฤติกรรมจะต้องไดร้ บั การจูงใจเสมอ และเม่ือแสดงพฤตกิ รรมอย่างในอย่างหน่งึ ออก มาแลว้ สามารถบรรลุหมายเกิดความพอใจแต่ถา้ ไมบ่ รรลุกจ็ ะเกดิ ความคับข้องใจ กลา่ วโดยสรปุ กค็ อื วิทยาศาสตรส์ นในศึกษาองคป์ ระกอบตา่ ง ๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกายหรือ สรีรวทิ ยา (Physiology) ระบบตา่ ง ๆ เช่น ระบบประสาท (Nervous System) ระบบหายใจ (Respiratory System) รวมทัง้ ส้นิ ๑๑ ระบบ๒๔ แตไ่ ม่พดู ถึงองคป์ ระกอบและกระบวนการทำงานทางจิตใจ ส่วนนักจิตวทิ ยาแมจ้ ะไดช้ ่ือว่า นักจิตวทิ ยา (Psychologist) ก็ศึกษาวิเคราะหเ์ ฉพาะพฤตกิ รรมของมนษุ ย์ เทา่ นั้น (Behavioral Sciences) แม้จะแยกสาขาอีกมากมาย ๑๓ สาขา เชน่ จิตวิทยาทดลอง จติ วทิ ยาพฒั นาการ ๒๓ Sdorow.L. Psychology. (U. S .A. Wm.C. Brown Publisher, 1990) p. 324. ๒๔ นที คคั นานตดิลก, วิทยาสาสตร์พ้นื ฐาน, (กรุงเทพฯ: โรงพมิ พม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์,๒๕๓๗) หนา้ ๗๐๐–๗๐๑.
๒๖ จติ วิทยาวิศวกรรม จติ วิทยาการศกึ ษา๒๕อันเปน็ ปรากฏการณ์ภาพสะทอ้ นหรือเงาขององค์ ประกอบและกระบวนการ ทำงานทางจิตใจ สรุปท้ายบท มนุษยย์ ังมีธรรมชาติท้ังกายและจิตทแี่ บ่งแยกกันอยู่ โดยอธรรมชาติแต่ละดา้ นจะเปล่ยี น แปลง ขดั แย้งและ สัมพัทธใ์ นตัวเอง มธี รรมชาติที่เป็นดา้ นลบ ด้านชั่ว ทผี่ ลักดันชวี ติ ไปในทางมืดบอดและตกตำ่ และมีดา้ นบวก ดา้ นดี ทีเ่ ป็นสำนกึ รับผิดชอบ ยกระดับชีวิตใหส้ งู ส่ง มีคณุ คา่ ธรรมชาติของมนษุ ยส์ องด้านทำใหต้ อ้ งมีการศึกษา มนษุ ยม์ ีอายตนะเป็นทางรับรู้ประสบการณ์ หรอื เปน็ ทางรับรูข้ อ้ มลู และรบั รู้ความรู้สึกมนษุ ย์มศี ักยภาพสงู มี ธรรมชาติที่เอื้อตอ่ การพฒั นา เปน็ สตั ว์ทฝี่ ึกได้ หรอื ต้องฝึก มนุษยถ์ า้ ไมฝ่ กึ กจ็ ะไม่ประเสริฐ แต่ถ้าฝกึ ดแี ล้วจะมีขีด ความสามารถสงู สุด ๒๕ Atkinson.et al, (Introduction to Psychology. New York : Harcourt Brace Jovanovich, 1990) P. 23.
๒๗ เอกสารอ้างอิงประจำบท มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั . พระไตรปฎิ กภาษาบาลี ฉบับมหาจฬุ าเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๓๕. ________. พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. นที คัคนานตดลิ ก. วิทยาสาสตร์พ้ืนฐาน. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพม์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๓๗. ประสาร ทองภักด.ี พุทธวธิ ีสอน. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์อักษรสาสน์. ๒๕๑๓. พระเทพเวที (ประยทุ ธ์ ปยุตฺโต).เพ่ืออนาคตของการศกึ ษาไทย. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา,๒๕๓๖. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยตุ โฺ ต). พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม. พิมพ์คร้งั ที่ ๑๐. กรงุ เทพมหานคร: บรษิ ทั สือ่ ตะวนั จำกดั , ๒๕๔๕. พระมหาหมวด สุกฺกธมโฺ ม (โฉมศร)ี .การศึกษาเชงิ วิเคราะห์แนวความคดิ เร่ืองความเคารพ ในพระพทุ ธศาสนา. วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บณั ฑติ วทิ ยาลัย : มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. อนุสร จันทพันธ์ และ บุญชยั โกศลธนากุล. จรติ ๖ : ศาสตร์ในการอา่ นในคน. พิมพ์ครัง้ ที่ ๓. กรงุ เทพฯ : บริษทั อมรนิ ทร์พรน้ิ ต้ิงแอนด์พับลชิ ชิง่ จำกดั (มหาชน), ๒๕๔๖. ศิรโิ สภาคย์ บรู พาเดชะ. จติ วิทยาท่ัวไป. กรงุ เพฯ: จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, ๒๕๒๘. Atkinson. R. C. Atkinson R. L.. Hilgard, E.R.,Introduction to Psychology. (New York : Harcourt Brace Jovanovich),1990. Huffman .K. et. al. Psychology in Action. (John Wiley & Sous.Inc). 1991. Morgan.C.T. Introduction to Psychology. (New York : McGraw-Hill Book) 1971. Matlin. M.W. Psychology.(U.S.A: Halt, Rinchart and Winston,Inc,) 1992. Sdorow.L. Psychology. (U. S .A. Wm.C. Brown Publisher), 1990.
บทที่ ๓ คณุ ลกั ษณะของผสู้ อน วตั ถุประสงค์การเรยี นประจำบท เมือ่ ไดศ้ ึกษาเน้ือหาในบทนแี้ ล้ว ผูศ้ ึกษาสามารถ ๑.อธิบายความหมายและประเภทผู้สอนได้ ๒.อธิบายคณุ สมบัติของผู้สอนตามแนวพุทธได้ ๓.อธบิ ายบทบาทหนา้ ที่ของผสู้ อนตามแนวพุทธได้ ๔.อธบิ ายคณุ ลักษณะผู้สอนที่พึงประสงค์ได้ ขอบข่ายเนื้อหา • ความหมายและประเภทผู้สอน • คุณสมบตั ิของผสู้ อนตามแนวพุทธ • บทบาทหนา้ ที่ของผู้สอนตามแนวพทุ ธ • คณุ ลกั ษณะผสู้ อนท่ีพึงประสงค์
๒๙ ๓.๑ ความนำ ภารกิจสำคัญของการศึกษา ได้แก่ การชว่ ยให้บุคคลเกิดทัศนคติที่ถูกตอ้ ง รจู้ กั มองสง่ิ ทั้งหลาย ตามท่ีมันเป็น และสามารถจดั การกบั สง่ิ เหล่านัน้ ตามทีค่ วรจะเป็น ใหเ้ กดิ ประโยชน์ทง้ั แก่ตนและแก่ สงั คม ไม่ให้มองเห็นและจัดการสิง่ ทงั้ หลายตามอำนาจกเิ ลสตณั หา ทัศนคติท่ีถูกต้อง และความสามารถจัดการดังกล่าวน้นั เกิดขึน้ ไดด้ ้วยการพฒั นาปัญญา และ ปญั ญาเปน็ ความรู้ความเขา้ ใจทเ่ี กิดขน้ึ ในตวั บุคคลน้ันเองเท่านัน้ ผู้อน่ื จะนำมายัดเยียดให้หรอื บงั คับให้ เรารบั เข้าไว้ไมไ่ ด้ ในเม่อื ปัญญาต้องเกิดจากความรู้ความเขา้ ใจท่ีพัฒนาขึ้นในตัวบคุ คลเอง ภารกจิ ของผสู้ อนจึง เป็นเพยี งผชู้ นี้ ำทางหรืออำนวยโอกาส ช่วยใหผ้ ู้เรียนดำเนินเข้าสปู่ ญั ญา สิ่งทด่ี ีที่สุดทีผ่ ้สู อนทีด่ ีจะทำได้ ก็คอื ตั้งใจชว่ ยเหลือ พยายามสรรหาอุบาย กลวิธี และอปุ กรณต์ ่างๆ ที่จะมาช่วยผเู้ รียนใหเ้ ขา้ ถงึ ปัญญาอยา่ งได้ผลดที ี่สุด เรยี กวา่ ทำหนา้ ที่เป็นกัลยาณมติ ร๑ ๓.๒ ความหมายและประเภทผู้สอน คำว่า “ผู้สอน” เทยี บเคยี งไดก้ บั ศัพทว์ ่า สตั ถุ (สตั ถา) และ ศาสตฤ (ศาสดา) ในภาษาบาลี และสนั สกฤต แตใ่ นภาษาไทยมกั จะเทียบกบั คำว่า ครุ ุ (สันสกฤต), ครุ (บาลี) หรอื ครู ในแงข่ องนิรุกติศาสตร์ขอบเขตผู้สอน อาจพิจารณาได้จากภาษาท่ใี ช้ส่ือสารกันอยู่ในชวี ติ ประจำวันไดแ้ กค่ ำว่า ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ธรรมกถึก กลั ยาณมิตร และทูต ดังต่อไปนี้ ๑. ผ้สู อนธรรม ผู้สอน คือ ครผู ูท้ ำหน้าท่ี บทบาทในการสั่งสอนอบรมตามลักษณะของ “สาร” อนั เปน็ เรื่อง ราวหรอื เนื้อหาในการสื่อสาร มีพระบาลี ทพ่ี ระผ้มู ีพระภาคทรงแต่งต้ังทา่ นพระ อานนท์เปน็ ครสู อนธรรม ให้แกพ่ ระเจ้าปเสนทโิ กศล ดังขอ้ ความว่า “อถ โข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนเฺ ตสิ เตนหานนฺท รญโฺ ญ อติ ฺถาคารํ ธมมฺ ํ วาเจหีติ.๒ แปล: ลำดับนัน้ พระผู้มีพระภาคตรัสเรยี กท่านพระอานนท์มารบั สง่ั ว่า “ดูกรอานนท์ ถา้ เช่นน้ันเธอจงสอนธรรมแก่ฝา่ ยในของพระเจ้าแผ่นดิน” ๒. ผ้สู อนการแสดงละเลน่ มขี อ้ ที่กล่าวถึงบุคคลผู้สอนฟ้อนรำ ผ้สู อนกระโดดไมส้ ูง ผู้สอน การเล่นจำอวด ผสู้ อนการเล่นกลอง เป็นตน้ ดงั ข้อความว่า ๑ พระธรรมปิ ฎก (ป.อ.ปยตุ ฺโต), พิมพค์ ร้งั ท่ี ๖ , พุทธวิธีในการสอน, (กรุงเทพฯ: มลู นิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๖), หนา้ ๑๐. ๒ วิ.มหา.(บาลี).๒/๗๓๒/๘๙๒.
๓๐ “โดยสมัยน้ัน พระผมู้ ีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวนั อารามของอนาถ บณิ ฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครงั้ นนั้ ภกิ ษุณถี ุลลนนั ทาให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่พวกครูฟอ้ นรำ บา้ ง แก่พวกฟ้อนรำบ้างแก่พวกโดดไมส้ งู บา้ งแก่พวกจำอวดบ้างแก่พวกเลน่ กลองบา้ งด้วยมอื ของตน …” ๓. เจ้าลทั ธิ เจ้าลทั ธิ คอื ผู้ทีต่ ั้งตัวเปน็ ผรู้ ู้แลว้ เท่ียวสงั่ สอนคนอน่ื ตามความเชือ่ ค่านยิ มและ ประสบการณ์ของตนๆ ในสมัยโบราณจา้ ลทั ธทิ ง้ั ๖ เรยี กว่า ครู มพี ระบาลวี ่า “ ทา่ นผู้เจริญท้งั หลาย เปน็ ลาภของชนชาวอังคะและมคธเขาหนอ ชาวอังคะ และ ชาวมคธไดด้ ีแล้วหนอ ท่สี มณพราหมณ์ผเู้ ป็นเจา้ หม่เู จา้ คณะ เปน็ คณาจารย์ มชี อ่ื เสยี ง มยี ศ เป็น เจ้าลทั ธิ ชนเป็นอันมากสมมตกิ นั วา่ ดี เข้าไปจำพรรษายังกรงุ ราชคฤห์แล้ว. คอื ครปู รู ณกสั สป ผเู้ ปน็ เจา้ หมเู่ จา้ คณะ เปน็ คณาจารย์ มีชือ่ เสียง มียศ เปน็ เจ้าลัทธชิ น เป็นอนั มากสมมติกนั วา่ ดี ครมู กั ขลิโคสาล... ครูอชิตเกสกัมพล... ครูปกุทธกัจจายนะ... ครูสญชัยเว ลัฏฐบตุ ร ... ครนู ิครนถน์ าฏบตุ ร ... แม้พระสมณโคดมผู้เปน็ เจา้ หม่เู จ้าคณะ เปน็ คณาจารย์ มีชือ่ เสยี ง มียศ เปน็ เจา้ ลทั ธิ ชน เปน็ อนั มากสมมติกันวา่ ดี พระองคก์ ็เสดจ็ เข้าจำพรรษายงั กรงุ ราชคฤห.์ ”๓ ๔. พระอปุ ัชฌาย์ อปุ ัชฌาย์ คือผ้เู พง่ โทษนอ้ ยใหญ่ และเป็นผ้ปู กครองคอยดแู ลผิดและชอบ ทำหนา้ ที ฝกึ สอนอบรมใหก้ ารศกึ ษาต่อไป ดงั พระวนิ ยั ว่า “ถ้าประสงคจ์ ะเรยี นบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลขี ้นึ ถา้ ประสงคจ์ ะสอบถามอรรถกถา พงึ สอบถาม.”๔ ๕. อาจารย์ ผูส้ ง่ั สอนวิชาความรู้ ผู้ฝึกหดั อบรมมารยาท แบง่ ย่อยออกเป็น ๔ ประเภท คอื ปัพพชาจารย์ (อาจารย์ในบรรพชา) , อปุ สมั ปทาจารย์ (อาจารยใ์ นอุปสมบท) , นิสสยาจารย์ (อาจารยผ์ ูใ้ หน้ สิ ัย) , และอทุ เทสาจารย์ (อาจารย์ผ้สู อนธรรม) , ๖. กลั ยาณมติ ร ทา่ นท่คี บหรือเข้าหาแล้วจะเปน็ เหตใุ หเ้ กิดความดงี ามและความเจรญิ เพื่อนที่ดีมติ รผ้มู ีคณุ อนั บณั ฑิตพึงนบั กลา่ วคือมีคุณลักษณะของความเป็นครู ๗. ธรรมกถกึ ผแู้ สดงธรรม คือผู้บอกหลกั การ วธิ กี าร และผลดีผลเสยี ของการประพฤติ ปฏิบตั ิเชน่ นั้น บุคคลเช่นนี้ตอ้ งมคี ณุ ลักษณะที่ดีดว้ ย จึงจะเรียกว่าเปน็ นักเทศก์ ๘.ทตู ผ้ทู ีท่ ำหน้าท่ี หรอื เป็นตวั แทนไปประกาศหลักคำสอนทางศาสนา ต้องประกอบด้วย คุณ ลกั ษณะของทตู หรอื ของนกั เผยแผ่ ไดแ้ กผ่ ู้สอนนัน้ เอง ๓ ม.ม.(บาล)ี .๑๓/๓๑๖/๓๘๔ ๔ วิ.ม.(บาลี).๔/๘๑/๑๐๖.
๓๑ โดยสรุปผูส้ อนคอื ครู และคุณลักษณะของครู ไดป้ รากฏหลกั ฐานในพระบาลีพระไตรปฎิ ก แต่ทรงแสดงไว้ในคำทเี่ ป็นไวพจน์ คือ กัลยาณมิตร อุปัชฌาย์ อาจารย์ ทตู แมว้ ่าคำตอบเหล่าน้จี ะ มีเกณฑแ์ ละคำอธบิ ายทแี่ ตกต่างกนั อีกทางหนึ่งถือได้วา่ ข้อมลู เหลา่ นเี้ ป็นหลักเกณฑ์มาตรฐาน หรอื ตวั บ่งช้ีภมู ธิ รรมภมู ปิ ญั ญาของสงั คมในแต่ละยคุ สมัยด้วย ๓.๓ คุณสมบัตขิ องผ้สู อนตามแนวพทุ ธ พระพทุ ธศาสนาผูกพันอยู่กับชวี ติ ของคนไทยมาเปน็ เวลาชา้ นาน จนคนสว่ นมากลมื ไปวา่ พระพุทธเจา้ เปน็ คนอินเดยี ประสูติและปรนิ ิพพานในประเทศอินเดีย คำสอนของพระพทุ ธศาสนาเอง ก็อบุ ัติข้ึนภายใต้ข้อกำหนดของศาสนาพราหมณ์ และสภาพแวดลอ้ มทางสังคมและวฒั นธรรมอินเดีย ๓.๓.๑ คณุ สมบตั ขิ องผูส้ อนตามบทพุทธคุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รบั การยกย่องวา่ เปน็ “บรมครู”ปรากฏบทสวดพระพุทธคุณ ดงั ต่อไปน้ี อตฺถาวโุ ส สมโณ โคตโม สกฺยปุตฺโต สกยฺ กุลา ปพพฺ ชิโต, ตํ โข ปน ภวนตฺ ํ โคตมํ เอวกํ ลฺยาโณ กติ ตฺ สิ ทฺโท อพภฺ คุ ฺคโต อิตปิ ิ โส ภควา อรหํ สมมฺ าสมพฺ ุทโฺ ธ วชิ ฺชาจรณสมปฺ นฺโน สุคโต โลกวทิ ู อนุตตฺ โร ปุริสทมมฺ สารถิ สตถฺ า เทวมนสุ ฺสานํ พุทโฺ ธ ภควาต,ิ ตมหํ ภควนฺตํ อุททฺ ิสฺส ปพพฺ ชิโต, โส เม ภควา สตฺถา ตสฺสาหํ ภควโต ธมฺมํ โรเจมตี .ิ ๑๐ แปล : ทา่ นปกุ กสุ าติตอบว่า ดกู รทา่ นผูม้ อี ายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบตุ ร เสด็จออกจาก ศากยราชสกลุ ทรงผนวชแล้ว กพ็ ระโคดมผูม้ ีพระภาคพระองคน์ นั้ แล มีกิตตศิ ัพท์ฟุง้ ไป งาม อย่างนีว้ ่า: แมเ้ พราะเหตุดังน้ีๆ พระผูม้ ีพระภาคพระองคน์ นั้ เป็นผ้ไู กลจากกิเลส ร้เู องโดย ชอบ ถงึ พรอ้ มด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เปน็ สารถผี ูฝ้ ึกบุรุษทคี่ วรฝกึ อยา่ งหาคนอนื่ ย่งิ กวา่ มไิ ดเ้ ป็นครูของเทวดาและมนษุ ย์ทัง้ หลาย เป็นผู้ต่นื แลว้ เปน็ ผแู้ จก ธรรม ดังน้ี ขา้ พเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองคน์ ั้น และพระผูม้ พี ระภาคพระองค์น้นั เปน็ ศาสดาของข้าพเจา้ ขา้ พเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. ๑๐ ม.อุ.(ไทย).๑๔/๖๗๖/๔๔๘.
๓๒ ๓.๓.๒ คุณสมบตั ิของผูส้ อนตามหลกั พุทธธรรม คณุ สมบตั ิของผสู้ อนตามหลกั พทุ ธพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต)๑๑ไดอ้ ธิบายว่ามสี าระสำคัญ ๒ ประการคอื บุคลิกภาพ และคณุ ธรรม ดงั นี้ ๓.๓.๒.๑ บคุ ลิกภาพ เปน็ คุณสมบัตภิ ายนอก ได้แก่ ความสงา่ งาม วาจาสภุ าพ มารยาทน่าเลอ่ื มใสความเป็นผ้มู ีสมบตั ิผดู้ ี มีธรรม ๔ ประการคือ รูปปั ปมาณิก โฆสปั ปมาณกิ ธัมมปั ปมาณิก และสวุ ิชชาจรณสัมปนั นะ อธบิ ายได้ดังน้ี ๑. ความสงา่ งามของรูป เรียกว่า รูปปั ปมาณิก รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ คือ ถึงพร้อมด้วยความงดงามด้วยรูปร่างหน้าตา กริ ิยามารยาท ผิวพรรณสะอาดผ่องใส มีระเบยี บวินยั ทางรา่ งกายท่ดี ีอารมณ์เบกิ บานแจม่ ใสใครไดพ้ บเหน็ ก็จะเป็นมงคลทัง้ แก่ตนเองและผู้อืน่ ๒. ความงามของเสียงหรืองามเสยี ง เรียกวา่ “โฆสัปปมาณิก” มคี วามงดงามใน การพดู ในคำพูด การบอกกล่าวด้วยนำ้ เสียงที่ดีประเสริฐดุจ“เสยี งของพรหม”๘ ลักษณะ คือ (๑)ไพเราะ(วิธสฏั โฐ ), (๒) ชดั เจน(วิญญยโย), (๓) นมุ่ นวล( มญั ชุ), (๔)ชวนฟงั (สวนโี ย ), (๕) กลมกล่อม(พนิ ทุ), (๖)ไม่แตกพรา่ (อวสี าร)ี , (๗) ลึกซงึ้ (คัมภโี ร) , (๘).กอ้ งกงั วาน(นนี นาที) , ผู้สอนตอ้ งบริหารวาจา ให้มีความงามทัง้ ๘ อย่าง ตอ้ งรู้จักแตง่ เสียง ใหส้ วยงามเหมาะกับ ความเป็นครูไม่ประกอบ “วจีทุจรติ ” น่ันเอง ๓. ความสง่างามในความรู้และสติปญั ญา เรยี กว่า “ธัมมัปปมาณิก” บุคลิกภาพ ทางสตปิ ญั ญาเป็นเร่ืองของเชาวป์ ญั ญาทีไ่ ด้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรษุ โดยกระบวนการทาง พนั ธกุ รรม ครูจึงต้องพฒั นาตัวเองให้มีความสามารถ เฉลียวฉลาดเปน็ นักปราชญ์ เป่ยี มดว้ ย สติปญั ญา มบี ุคลิกภาพทางสติปัญญาท่ีดี ประกอบด้วย “สปั ปุริสธรรม ๗” คือธรรมของคนดี ธรรม ของสตั บุรุษ ธรรมที่ทำให้เปน็ สัตบรุ ุษ คณุ สมบัตขิ องคนดี คือ ธมั มัญญตู า (รเู้ หตุ) อัตถัญญูตา (รผู้ ล), อัตตญั ญูตา (ร้ตู น), มัตตัญญูตา(รู้ประมาณ), กาลัญญูตา(รู้กาล), ปคุ คลญั ญูตา(รู้คน) และ ปรสิ ัญญูตา (รู้ชมุ ชน) ๔. ความประพฤตดิ ี หรือ ตามหลักธรรมของการเป็นครูดี ของวฒั นธรรมไทยถือวา่ ครูทด่ี ีจะต้องมี “หลักธรรม ๓ สุ สวุ ชิ าโน คอื เปน็ ผู้มีความรูด้ ี สสุ าสโน คือ เป็นผ้สู อนดี รูจ้ ัก ชแ้ี จง ชักจูง ปลกุ ใจ ใหเ้ กดิ ความเพลดิ เพลินในการเรียนและสุปฏิปนั โน คอื เปน็ ผ้มู ีความประพฤติ ปฏบิ ัติตนดี เปน็ แบบอย่างท่ีดแี ก่ศิษย์และบุคคลอื่น อนั ได้แกก่ ารเปน็ ผู้มีความประพฤติปฏบิ ัติดี เป็น ๑๑พระธรรมปิ ฎฏ (ป.อ.ปยตุ ฺโต), พมิ พค์ ร้ังท่ี ๖, พุทธวธิ ีในการสอน, (กรุงเทพฯ: มลู นิธิพทุ ธธรรม, ๒๕๔๖), หนา้ ๑๐-๑๔.
๓๓ แบบอยา่ งทีดแี ก่ศษิ ย์และบุคคลทว่ั ไป เพราะการประพฤตติ นเปน็ แบบอย่างท่ีดีแก่ศิษย์ก็เปน็ การสอน อีกวธิ ีหนึ่ง ซง่ึ จะเกดิ สัมฤทธิผลแก่ผูเ้ รยี นและดีกวา่ การสอนด้วยการแนะนำ ซึง่ ตรงกับหลัก กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังกลา่ วแล้ว ซง่ึ เปน็ การสอนดว้ ยการปฏบิ ัติให้เป็นแบบอยา่ งทดี่ ี สามารถทจ่ี ะนำไปปฏบิ ตั เิ ป็นแบบอย่างไดเ้ ปน็ รูปธรรมทีช่ ัดเจน ๓.๓.๒.๒ คณุ ธรรม คณุ สมบตั ิภายในมี ๓ ประการ คือ ปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ และกรณุ าคุณ ๑. ปญั ญาคุณ เกยี่ วข้องกับการสอน มี ๒ ประการ คือ ทศพลญาณ ๑๐ และปฏสิ ัมภิทา ๔ ได้แก่ ๑.๑ ทศพลญาณ ๑.ฐานาฐานญาณ รูก้ ฎธรรมชาติที่เกย่ี วกับขอบเขตวา่ อะไรเป็นไปได้ อะไร เปน็ ไปไมไ่ ด้ แคไ่ หน เพียงไร ครตู อ้ งเขา้ ใจท้ังเน้ือหาและข้อจำกดั ของกฎเกณฑ์และหลกั การท่ีจะ นำมาใช้ในการสอนอย่างชดั เจน และต้องรู้ขอ้ จำกัดของนักเรยี นดา้ นความสามารถในการพฒั นาซ่งึ แตกตา่ งกันไป ๒.กรรมวิปากญาณ สามารถแยกแยะผลท่ีเกิดจากการกระทำท่ีสลบั ซบั ซอ้ น รายละเอยี ดของความสมั พนั ธ์ภายในกระบวนการ ครตู ้องรจู้ ักวิเคราะห์พฤตกิ รรมของนัก เรยี น ได้ ๓.สัพพัตถคามินีปฎปทาญาณ รูข้ ้อปฏบิ ัติที่จะนำไปส่จู ุดม่งุ หมาย ว่าต้อง ทำอะไรบา้ ง รายละเอยี ดของการปฏบิ ัติเป็นอย่างไร ครูต้องหากลยทุ ธในการดำเนนิ การสอนเพื่อให้ บรรลุวตั ถุประสงคท์ ีต่ ้องการ ๔.นานาธาตญุ าณ ต้องรูว้ า่ องคป์ ระกอบท่ีก่อให้เกิดเป็นมนุษยน์ ้ันมีความ แตกต่างกันเป็นธรรมดา และอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ในความหมายคอื ต้องรู้และ เข้าใจหลักทางสรรี ะวิทยาและจิตวิทยาในการเรยี นรู้ของนักเรียนแต่ละคนซึง่ แตกตา่ งกนั ไป ทศั นคติที่ ถกู ต้องและการยอมรับความแตกต่างจะชว่ ยเพ่ิมพนู ประสิทธิภาพในการสอนใหไ้ ดผ้ ลดยี ิ่งขึ้น ๕.นานาธิมตตกิ ญาณ รวู้ ่านักเรียนแตล่ ะคนมคี วามชอบ ความสนใจ และ ความถนดั ที่ไมเ่ หมอื นกนั เปน็ ธรรมชาติ ๖.อนิ ทรยี ปโรปรยิ ัตตญาณ รู้จุดแขง็ และจดุ อ่อนแหง่ อนิ ทรีย์ของสตั วโ์ ลก รู้ วา่ สัตวน์ ัน้ มีแนวความคิด ความรู้ ความเข้าใจแค่ไหน เพียงได มกี ิเลสมาก กเิ ลสนอ้ ย สอนง่าย หรอื สอนยาก และมีความพรอ้ มท่ีจะเรียนร้หู รอื ไม่ โดยความหมายคือต้องรวู้ ่านักเรียนแต่ละคนมีความ แตกตา่ งกนั ในดา้ นระดับสติปัญญา ความสามารถ พัฒนาการด้านต่างๆ และความพรอ้ มทีจ่ ะเขา้ สู่ กระบวนการเรียนรู้ ๗.ฌานาทสิ งั กิเลสาทิญาณ สามารถวเิ คราะห์ได้ว่าอะไรคอื อปุ สรรคท่จี ะ ขัดขวางการเรยี นรู้ และปจั จัยอะไรท่ีจะช่วยสง่ เสรมิ การเรยี นรขู้ องนักเรยี นใหก้ ้าวหนา้ ยิ่งๆข้ึน และ ร้จู ักใชเ้ ทคนคิ ตา่ งๆเข้าแกไ้ ขหรือชว่ ยส่งเสริมการฝึกอบรมให้ดำเนนิ ก้าวหนา้ ไปด้วยดี ๘.ปุพเพนวิ าสานุสสติญาณ หรือการระลกึ ชาติ ในท่นี ี้ คือ ครตู ้องรู้ประวตั ิ พ้ืนเพเดิมและประสบการณใ์ นอดีตของผูเ้ รียน
๓๔ ๙.จุตปู ปาตญาณ รวู้ ่าการเกิดของสตั ว์ทง้ั หลายย่อมเป็นไปตามกรรม ข้อนี้ หมายความถึงครูต้องหมัน่ สงั เกตพฤตกิ รรมของผู้เรยี นในขณะที่ใชช้ ีวติ จริงภายในกลุ่มเพื่อนและสังคม ตอ้ งรู้เทา่ ทนั และเข้าใจพฤติกรรมตา่ งๆที่นักเรยี นแสดงออกในขณะน้ันๆว่าเปน็ เด็กท่ีมปี ญั หาหรือไม่ อยา่ งไร ครูต้องหาเหตุแห่งปัญหานัน้ และพร้อมทีจ่ ะเข้าช่วยเหลอื แก้ไขให้ทันทว่ งที ๑๐.อาสวกั ขยญาณ หยง่ั รถู้ งึ ความส้นิ ไปแหง่ อาสวะทง้ั หลาย หมาย ถงึ ตอ้ ง รูใ้ ห้ชดั และเขา้ ใจแจ่มแจง้ และแน่ใจวา่ ผลสมั ฤทธ์ทิ ีเ่ ปน็ จุดหมายนัน้ คอื อะไร เป็นอยา่ งไร และเป็นสง่ิ ท่ี สามารถทำใหเ้ กดิ ข้นึ ไดจ้ รงิ ๑.๒ ปฏสิ ัมภทิ า๕ คือปญั ญาแตกฉานในดา้ นตา่ งๆ ๑. อรรถปฏสิ มั ภิทา เขา้ ใจและแตกฉานในความหมายหรือถ้อยคำ สามารถ อธิบายได้ เช่ือมโยงได้ และรูถ้ ึงผลตา่ งๆที่จะเกดิ ข้ึน เรยี กวา่ แตกฉานในอรรถ ๒. ธรรมปฏสิ มั ภิทา เขา้ ใจในถ้อยคำ สามารถจบั ใจความมาตั้งเป็นกระทู้ หรอื หวั ขอ้ ได้ เม่อื มองเหน็ ผลตา่ งๆทีเ่ กิดขึน้ กส็ ามารถสืบสาวกลบั ไปทีเ่ หตุได้ เรียกว่าแตกฉานในธรรม ๓. นิรุตตปิ ฏิสมั ภทิ า ความรู้แตกฉานในภาษา รูจ้ กั การใชถ้ อ้ ยคำชแ้ี จงให้ คนอน่ื เข้าใจและเห็นตามได้ เรยี กวา่ แตกฉานในนิรกุ ติ ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความมีไหวพริบ สามารถเข้าใจคิดเหตุผลได้ เหมาะสมทันการ มีความรู้ความเข้าใจชัดเจนว่าความรู้ย่อมมีแหล่งท่ีมาและมีประโยชน์อย่างไร สามารถเชื่อมโยงความรู้ท้ังหลายเข้าด้วยกัน สร้างความคิดและเหตุผลใหม่ข้ึนมาได้ เรียกว่า แตกฉาน ในปฏิภาณ ๒.วิสุทธิคุณ คือความบริสุทธิ์ เปน็ ส่งิ สำคัญย่ิงที่จะทำให้ผู้เรียนเกดิ ความเล่ือมใสและนบั ถือ ความบรสิ ทุ ธิน์ ้ีมองไดจ้ ากลกั ษณะดังน้ี (๑) เปน็ ผู้หลุดพน้ จากอาสวะกิเลสท้ังปวง ไมก่ ระทำความช่ัวท้งั กาย วาจา และใจ ไมม่ ีเหตุใดที่จะยกข้ึนตำหนิได้ (๒) ทำไดอ้ ยา่ งท่ีสอน สอนเขาอยา่ งไร ก็ตอ้ งปฏบิ ตั ิอย่างนัน้ ด้วย ทำใหป้ ระชาชน เกิดความเชื่อม่นั ในคุณค่าของคำสอน (๓) มีความบริสุทธิ์ใจในการสอน สอนโดยมุ่งหวังประโยชน์ของผู้เรียนอย่างเดียว ไม่มีการ เคลือบแฝงด้วยความหวังผลประโยชนส์ ว่ นตน หรอื อามิสตอบแทนใดๆ ๓. กรุณาคุณ สัง่ สอน ช่วยเหลอื โดยไมเ่ หน็ แก่เหน็ดเหน่อื ย ท้ังทเี่ ปน็ กลุ่มและรายบุคคล ไม่คดิ เบียดเบียนตนเอง ไมเ่ บียดเบยี นผอู้ ่นื ไม่เบียดเบยี นทั้งสองฝ่าย คดิ แต่ส่งิ ทเ่ี ป็นประโยชน์แกต่ น ส่งิ ทเ่ี ป็นประโยชนแ์ ก่ผู้อืน่ สิ่งทีเ่ ป็นประโยชนแ์ กท่ ั้งสองฝ่าย และสง่ิ ท่เี ปน็ ประโยชน์แก่ชาวโลกท้งั ปวง ๕องฺ. จตกุ ฺก.(ไทย).๒๑/๑๗๒/๒๑๖.
๓๕ ๓.๔ บทบาทหนา้ ที่ของผูส้ อนตามแนวพุทธ การสอนชว่ ยใหบ้ คุ คลเกิดทัศนคตทิ ถี่ ูกต้อง ร้จู กั มองสิ่งทั้งหลายตามท่ีมันเป็น และสามารถ จัดการกับสิง่ เหลา่ นน้ั ตามทค่ี วรจะเปน็ ใหเ้ กิดประโยชน์ทง้ั แก่ตนและแกส่ งั คม ไมใ่ หม้ องเหน็ และ จัดการส่ิงทั้งหลายตามอำนาจกิเลสตัณหา ดังน้นั บทบาทหนา้ ท่ขี องผสู้ อนตามแนวพทุ ธจึงเลอื กได้ตาม หมวดธรรมต่างๆ ตัวอยา่ งดังน้ี ๓.๔.๑ บทบาททั่วไปหรือในแงก่ ารหลักการสอน พระโอวาทปาตโิ มกข์ ๖ คอื หลกั คำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ท่ีทรง แสดงในวนั ขึ้น ๑๕ คำ่ เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) แก่ภกิ ษสุ าวก ๑,๒๕๐ รูปทม่ี า ณ ที่นี้ โดยทมี่ ิได้นัด หมาย ณ เวฬวุ นาราม หลงั จากที่พระพุทธองคต์ รัสร้มู าได้ ๙ เดือน (๑) อนูปวาโท คือ การไม่กล่าวร้าย โจมตี ดูถูกความเชือ่ ผอู้ ื่น พูดแต่ส่งิ ท่เี ปน็ ประโยชนแ์ กผ่ ู้ฟัง แม้เขาจะมที ที ่าว่าจะไม่เล่ือมใสศรทั ธาในคำสอนของตนกต็ าม แตผ่ ู้สอนจะต้องไม่ กล่าวร้าย ไมร่ ุกราน ไม่ให้รา้ ย รวมท้ังการไมก่ ล่าวร้ายหลักการหรอื คำสอนและบุคคลอ่ืนด้วย การสอน หรอื การเผยแผ่พระพทุ ธศาสนา ในสมัยพทุ ธกาลได้รับการใส่รา้ ยจากลัทธิตา่ ง ๆ มากมาย แต่ พระพุทธเจ้าทรงหา้ มพระสาวกว่าไมใ่ ห้ไปใส่รา้ ยศาสนาอ่นื ใหแ้ สดงธรรมไปตามความเป็นจรงิ ซงึ่ พระสงฆ์ผ้เู ป็นศาสนทายาทได้ถอื ปฏบิ ตั ิมาจนถงึ ปจั จุบัน (๒) อนูปฆาโต คอื ไม่เบียดเบยี น ด้วยการใช้กำลงข่มขู่ดว้ ยวิธีการต่างๆ และชี้นำ แนวทางทด่ี ีงามสำหรบั การดำเนนิ ชีวิต ตามหลกั ธรรมการสอนในพระพุทธศาสนา (๓) ปาติโมกเฺ ข จ สวํ โร ความสำรวมในปาฏิโมกข์ คือมรี ะเบยี บวนิ ยั ประพฤติ ปฏบิ ัตคิ วามมีระเบยี บวนิ ยั เปน็ หัวใจสำคญั ของผู้สอน อันได้แก่การรักษาวนิ ยั รกั ษากริ ิยามรรยาท ความประพฤติของตนเอง ไม่ละเมิดกฎระเบียบและกติกาของสังคม โดยเฉพาะอย่างยง่ิ วินัยภายในอนั จะสง่ ผลต่อวนิ ัยภายนอก รวมความวา่ ผ้สู อนต้องมจี รรยาบรรณในวิชาชีพและการสอน เพราะหากมี วินัยในตนเองหรือมีจติ สำนึกในภาวะและหนา้ ทแี่ ล้ว ย่อมอยู่เหนือกฎระเบยี บใด ๆ วินยั ภายนอกจึง เป็นเพียงรูปแบบท่ีกำหนดเพ่ือควบคุมพฤติกรรมภายนอก หรือควบคมุ คนท่ีไม่มีระเบียบวนิ ยั ภายใน ดงั นัน้ ผ้สู อนจงึ ต้องสำรวมระวังพฤตกิ รรมตนเองด้วยการควบคมุ พฤติกรรมภายใน (๔) มตฺตญญฺ ุตา จ ภตตฺ สฺมึ ความเป็นผ้รู ้จู กั ประมาณในอาหาร คอื ไม่อาศัยฐานะความ เปน็ ครูแสวงหาประโยชน์ในทางมชิ อบ การรจู้ กั ประมาณหมายถึงการสำรวมระวงั และการรู้จกั ความ พอดี (กนิ ง่าย กนิ เปน็ ) หรือ การรู้จักประมาณในการบริโภค คือ การมีความพอดแี ละการมีความ สำรวมระวงั ในการบริโภคอาหาร ความพอประมาณในการบริโภคอาหารทำให้มี “ทุกขน์ ้อย แกช่ ้า อายยุ ืน” ดงั พระพุทธพจน์ทีว่ ่า มนุษยท์ ่มี สี ติทุกเมอื่ รจู้ กั ประมาณในโภชนะทไ่ี ด้แล้ว เวทนาของผนู้ ้ันมี ๖ ท.ี ม.(บาลี), ๑๐/๕๔/๕๗.
๓๖ นอ้ ย จะค่อย ๆ หล่อเลีย้ งชวี ิตไป แกช่ า้ ผ้สู อนจะต้องมีความระมัดระวังในการบรโิ ภคอาหาร มสี ุภาษิต ไทยว่า “หนงั ท้องตึงหนังตากห็ ยอ่ น” สะท้อนให้เห็นวา่ การกนิ มากจนเกินพอดสี ง่ ผลตอ่ สุขภาพกาย อย่างน้อยท่ีสุดใหเ้ กิดอาการง่วงนอน และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน (๕) ปนฺตญจฺ สยนาสนํ ที่น่งั นอนอนั สงัด คือไม่คลกุ คลดี ้วยหมคู่ ณะ ดำรงตนอยู่ใน ฐานะท่ีเหมาะสมการไม่ฟมุ่ เฟือยฟงุ้ เฟ้อในด้านที่อยู่อาศยั งดเวน้ การคลุกคลที ี่ก่อนให้เกิดความบันเทงิ เรงิ ใจ วชิ าชพี ครหู รือผสู้ อนเป็นวิชาชพี ที่ตอ้ งรู้จกั ประมาณตน สงั คมให้ความเคารพยกย่องนบั ถือใน ฐานะผูส้ อน (๖) อธิจติ ฺเต จ อาโยโค ความเพียรในอธจิ ติ คือเอาใจใสต่ ่อการศกึ ษา การเรยี นการ สอนและฝกึ สมาธทิ ถี่ ูกต้องต้อง (สมั มาสมาธิ) มคี วามเพียรพยายามชอบ สตชิ อบ และสมาธชิ อบ ผสู้ อน จะต้องมีความเอ้ือเฟื้อต่อการปฏิบัตทิ างจิต เพ่ือฝึกหดั พัฒนาจิตของตนให้เป็นสมาธทิ ่ีชอบ เพอื่ เปน็ แบบอย่างของการประพฤติปฏบิ ัติตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาทป่ี ระกอบด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏเิ วธ ๓.๔.๒ บทบาทในฐานะกัลยาณมติ ร มติ รดหี รือมิตรแท้ คือท่านท่คี บหรือเขา้ หาแลว้ จะเปน็ เหตใุ ห้เกิดความดงี ามและ ความเจริญ ในทน่ี ้มี ุ่งเอามิตรประเภทครหู รอื พเ่ี ล้ยี งเปน็ สำคญั เปน็ บุคคลทม่ี ีกลั ยาณมติ รธรรม ๗ ประการ๗คือ (๑) ปโิ ย น่ารกั ในฐานเปน็ ท่ีสบายใจและสนิทสนม ชวนใหอ้ ยากเขา้ ไปปรึกษา ไต่ ถาม (๒) ครุ นา่ เคารพ ในฐานประพฤติสมควรแกฐ่ านะ ให้เกดิ ความร้สู ึกอบอุ่นใจ เป็นที่ พ่งึ ใจ และปลอดภัย (๓) ภาวนโี ย นา่ เจรญิ ใจ หรอื นา่ ยกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรแู้ ละภมู ิปญั ญา แท้จริง ทงั้ เปน็ ผ้ฝู ึกอบรมและปรับปรงุ ตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลกึ และเอ่ยอา้ งด้วยซาบซงึ้ ภมู ิใจ (๔) วตตฺ า จ ร้จู ักพดู ให้ไดผ้ ล รู้จักชี้แจงใหเ้ ข้าใจ รูว้ า่ เม่ือไรควรพดู อะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำวา่ กลา่ วตักเตอื น เปน็ ทป่ี รกึ ษาที่ดี (๕) วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมท่จี ะรบั ฟังคำปรกึ ษาซักถามคำ เสนอแนะวิพากษ์วจิ ารณ์ อดทน ฟงั ไดไ้ ม่เบื่อ ไม่ฉนุ เฉียว (๖) คมภฺ ีรญจฺ กถํ กตตฺ า แถลงเร่ืองล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเร่อื งยงุ่ ยากซบั ซ้อน ใหเ้ ข้าใจ และใหเ้ รียนรเู้ รอื่ งราวทลี่ กึ ซ้ึงยิ่งข้ึนไป ๗ องฺ.สตฺตก.(บาลี) ๒๔/๓๔/๓๓.
๓๗ (๗)โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชกั นำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรือ่ งเหลวไหล หรอื ชกั จูงไปในทางเสอ่ื มเสีย ๓.๔.๓ บทบาทในฐานะอาจารย์ อาจารย์ผูเ้ ปน็ ทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงดว้ ยสถาน ๕ อันประกอบด้วย การแนะนำ ดี การให้เรียนบอกศิลปวิทยา ยกย่องและป้องกนั ศิษยจ์ ากส่งิ ทไี่ มพ่ ึงประสงคท์ ง้ั ปวงและ ยอ่ ม อนเุ คราะห์ศษิ ย์ดว้ ยสถาน ๕ คอื ๘ (๑) สุวินตี ํ วเิ นนตฺ ิ แนะนำด.ี (๒) สคุ หติ ํ คาหาเปนตฺ ิ ให้เรยี นดี. (๓) สพพฺ สิปฺเปสุ ตํ สมกฺขายโิ น ภวนฺติ บอกศิษยด์ ว้ ยดใี นศิลปวิทยาทงั้ หมด. (๔) มติ ฺตามจเฺ จสุ ปฏเิ วเทนตฺ ิ ยกยอ่ งใหป้ รากฏในเพ่อื นฝงู . (๕) ทสิ าสุ ปรติ ตฺ าณํ กโรนตฺ ิ ทำความป้องกันในทศิ ทั้งหลาย. ๓.๔.๔ บทบาทในฐานะธรรมกถกึ ๙ (๑) อนุปุพฺพิกถํ กเถสฺสามิ เราจักกล่าวช้ีแจงไปตามลำดับ (๒) ปริยายทสฺสาวี กถํ กเถสสฺ ามิ เราจักกลา่ วช้แี จงยกเหตผุ ลมาแสดงใหเ้ ขา้ ใจ (๓) อนทุ ยตํ ปฏจิ จฺ กถํ กเถสสฺ ามิ เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา (๔) อามิสนฺตโร กถํ กเถสฺสามิ เราจักไม่แสดงดว้ ยเห็นแก่อามิส (๕) อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนปุ หจจฺ กถํ กเถสสฺ ามิ. เราจกั แสดงไปโดยไมก่ ระทบ ตนและผู้อื่น ๓.๔.๕ บทบาทในฐานะทูต ในฐานะทตู จะต้องประดว้ ยองค์ ๘ ประการคอื ๑๐ (๑) โสตา เปน็ ผู้รบั ฟงั ๑ (๒) สาเวตา ใหผ้ ู้อืน่ รับฟัง ๘ ที.ปา.(บาลี).๑๑/๒๐๐/๒๑๖. ๙ องฺ.ปญฺจก.(บาลี).๒๒/๑๕๙/๒๕๘. ๑๐ องฺ.สตฺตก-นวก.(บาล)ี .๒๓/๑๐๖/๗๓.
๓๘ (๓) อุคฺคเหตา เรยี นดี (๔) ธาเรตา ทรงจำไว้ดี (๕) วิญญาตา รูเ้ อง (๖) วญิ ญาเปตา ให้ผอู้ น่ื รู้ (๗) กสุ โล จ สหิตาสหิตสสฺ โน จ เปน็ ผูฉ้ ลาดตอ่ ส่ิงท่ีมปี ระโยชน์ และไม่มีประโยชน์ (๘) กลหการโก ไม่ก่อการทะเลาะ ๓.๕ คณุ ลักษณะของผู้สอนท่ีพึงประสงค์ จากท่กี ล่าวมาเปน็ ท่ีน่าสงั เกตวา่ คำวา่ ผ้สู อน มไิ ด้จำกัดอยู่อยู่เพียงแคค่ ำวา่ ครู ผู้ทำหน้าท่ี สอนในสถานศึกษาเท่านั้นแต่กนิ ความไปถงึ บุคคลต่างๆ ที่ทำหนา้ ทบ่ี อกชแี้ จงแสดงข้อมูล ขอ้ เทจ็ จรงิ ประเภทต่างๆ ในกาละ เทศะ และทว่ งทำนองทตี่ ่างกัน บุคคลผ้ทู ที่ ำหนา้ ที่ในการอบรมสั่งสอนประชาชน หรือเผยแผล่ ทั ธขิ องตน ได้แก่ พราหมณ์ แปลวา่ ผู้ประเสริฐท้ังในแง่การดำเนินชีวิต ภมู ิธรรม และภูมิปญั ญา ตัวอย่างคุณลกั ษณะของบุคคลผู้เปน็ พราหมณ์ ในโสณทัณฑสตู ร ๕ ประการ คือ๑๓ (๑) เปน็ อุภโตสชุ าต ท้ังฝา่ ยมารดาและบดิ า มีครรภเ์ ป็นท่ีถือปฏสิ นธิ หมดจด ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไมม่ ีใครจะคดั ค้านตเิ ตยี นได้ด้วยอ้างถึงชาติ (๒) เป็นผเู้ ลา่ เรียน ทรงจำมนตร์ จู้ บไตรเพท พร้อมทั้งคัมภรี ์นิฆณั ฑ์ ุ(อภิธานศัพท)์ คัมภรี เ์ กฎุภะ (อลงั การ) พร้อมท้ังประเภทอักษรมีคมั ภีร์อิติหาส(ประวัตศิ าสตร์)เป็นท่ี ๕ เป็นผูเ้ ข้าใจ ตวั บทเปน็ ผเู้ ข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีรโ์ ลกายตะ และมหาปุริสลกั ษณะ (๓) เป็นผู้มีรูปงาม นา่ ดูน่าเลือ่ มใสกอปรดว้ ยผิวพรรณผดุ ผอ่ งยง่ิ นกั มีพรรณคล้าย พรหม มรี ปู รา่ งคลา้ ยพรหม น่าดูนา่ ชมไมน่ ้อย (๔) เป็นผ้มู ศี ีล มศี ีลยัง่ ยนื ประกอบด้วยศีลย่งั ยนื (๕) เป็นบัณฑิต มปี ัญญาเป็นท่ี ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหกผ้รู บั บูชาด้วยกัน ไดม้ กี ารศึกษาในรูปแบบของการศกึ ษาวิจยั ในแง่ของครูดี ทพี่ ึงประสงค์ ในสังคมไทยใน ปจั จบุ นั ของทา่ นพุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๔) สมหวงั พิธิยานวุ ัฒน์ (๒๕๔๒) สุมน อมรววิ ัฒน์ (๒๕๓๖) อำไพ สจุ รติ (๒๕๓๖) กล้วยไม้ ณ อยุธยา (๒๕๓๗) และสริ ิพร บุญญานนั ท์ (๒๕๓๗) พบขอ้ สรุปถึง ลกั ษณะครทู ่ดี ีดงั กล่าวมี ๓ ด้านดงั นี้ ๑๓ ที.สี (บาลี).๙/๑๘๖/๒๐.
๓๙ ๑. ดา้ นคุณลกั ษณะ ๑.มคี วามรักและศรัทธาในวชิ าชีพครู และพรอ้ มทีจ่ ะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ ประพฤตติ นเปน็ แบบอย่างแก่นกั เรียน ทง้ั ดา้ นศีลธรรม วฒั นธรรม กจิ นิสยั สุขนสิ ัย และอุปนสิ ัย ตลอดจนมคี วามเปน็ ประชาธิปไตย ใฝร่ แู้ ละพฒั นาตนเองอยู่เสมอ ๒.มคี วามเมตตาแก่ศิษย์ และเหน็ คุณค่าของศิษย์ มสี ุขภาพสมบูรณ์ มคี วามคิดรเิ ร่ิม สร้างสรรคท์ างวชิ าการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวเิ คราะห์ เพ่ือแกไ้ ขปัญหาต่าง ๆ ได้ ๓.มบี ทบาทในการพฒั นาชุมชน และสามารถเปน็ ผ้นู ำชุมชนได้ สามารถใช้เทคโนโลยีที่ ทนั สมัย ภาษา และการวิจัย เพือ่ เป็นเครื่องมือในการพฒั นาตนเอง ๔.สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คอื (๑)เปน็ ครทู เ่ี น้นความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเปน็ หลกั แนะนำผเู้ รยี น สามารถพัฒนาเรยี นรู้ได้อยา่ งเตม็ ศักยภาพและสรา้ งสรรค์ และใหข้ ้อมลู สะท้อนกลับผเู้ รยี นไดอ้ ย่าง ต่อเนื่อง (๒)รู้วิทยาการดา้ นคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยสี ารสนเทศมากข้ึนเพราะการ ศกึ ษา ยุคใหมเ่ ปน็ การศึกษาผ่านสอื่ อิเล็กทรอนิกส์มากข้นึ (๓)เป็นครทู ี่ต้องไปหานกั เรยี นมากขึ้นเขา้ เยีย่ มชุมชนไดม้ ากข้ึน ๒. ดา้ นความรู้ ๑.มคี วามร้ใู นวิชาทีส่ อนอยา่ งแท้จริง สามารถเชอ่ื มโยงทฤษฎใี นศาสตร์ความรู้มาสู่การ ปฏิบตั ไิ ด้ ทั้งการปฏบิ ตั ิในระดับสากลและระดบั ท้องถ่นิ ๒.มีความรดู้ ้านการวจิ ยั วิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาษาเพ่ือเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ ๓.มีความรู้ดา้ นเทคนิคการสอน จติ วิทยา การวดั ผลประเมนิ ผล และสามารถประยุกต์ใช้ ในการจดั กิจกรรมการเรยี นการสอน ๔.รู้ขอ้ มูลขา่ วสารรอบตัว และเร่อื งราวในท้องถิน่ เพ่ือแลกเปลย่ี นความรแู้ ละฝึกให้ ผ้เู รยี นคดิ วเิ คราะห์วจิ ารณ์ได้ ๓. ดา้ นการถา่ ยทอด ๑.สามารถประยุกต์ใชเ้ ทคนคิ การสอนต่าง ๆ เพ่ือจดั บรรยากาศการเรยี นรู้ท่นี ่าสนใจ และผเู้ รียนเกดิ ความเขา้ ใจในเนื้อหาวิชาทเี่ รียน ตลอดจนสามารถเช่อื มโยงความรู้น้ันสูก่ ารนำไป ประยุกต์ ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ได้ หรอื ใช้ในการเรยี นร้ตู ่อไป ๒.สามารถอบรมบม่ นสิ ัยให้ผู้เรยี นมศี ีลธรรม วฒั นธรรม กิจนิสัย สขุ นสิ ัย และ อปุ นสิ ยั รวมท้ังรกั ในความเปน็ ระบบประชาธิปไตย เพ่ือเปน็ บรรทดั ฐานในการใช้ชีวิตร่วมกบั ผูอ้ นื่ ใน สงั คมอย่างปกติสุข
๔๐ ๓.สามารถพฒั นาใหผ้ ู้เรียนใฝร่ ู้ และกา้ วทนั เทคโนโลยี ตลอดจนสามารถใชภ้ าษา ส่ือสารกนั ได้ เพอ่ื ใหผ้ ู้เรียนได้พฒั นาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใชเ้ ครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหา ความรู้และการเรยี นร้ดู ้วยตนเอง ๔.สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมองกวา้ งคดิ ไกลและมีวจิ ารณญาณท่ีจะวิเคราะหแ์ ละเลือกใช้ ข่าวสารข้อมูลใหเ้ กดิ ประโยชน์ต่อตนเองได้ ๕.พฒั นาให้ผ้เู รยี นรูเ้ ร่อื งราวต่างๆของชุมชน สามารถนำความรไู้ ปประยกุ ต์ใช้เพื่อพัฒนา ชมุ ชน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้ ลักษณะของครูดีพอทจ่ี ะสรุปเป็นลักษณะสำคัญ ๆ ๓ ด้าน คือ ภูมิรู้ ภูมธิ รรม และภูมิฐาน ดงั น้ี ๑.ภูมิรู้ ได้แก่ ความรู้ความสามารถด้านวิชาการ มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด เชื่อม่ัน ในตนเอง มคี วามคิดสรา้ งสรรคร์ ู้จักแสวงหาความรู้ใหมๆ่ เป็นตน้ ภูมิรู้ ทสี่ ำคัญอกี ประการหน่ึงของครู ได้แก่การสอนดีและการปกครองดีสามารถอธิบายได้รวบรัดชัดเจนทำเรื่องยากให้ง่ายได้ ควบคุมช้ัน เรียนให้อย่ใู นระเบียบวินัย ๒.ภูมิธรรม ได้แก่ มีความประพฤติดี กระทำแต่ส่ิงที่สุจริต มีจรรยาบรรณ มีความ ซอื่ สตั ยส์ จุ รติ เมตตา ยตุ ิธรรมและมานะอดทน ๓.ภมู ฐิ าน ไดแ้ ก่ บคุ ลิกภาพดี แตง่ กายสะอาดเรยี บรอ้ ย พดู จาไพเราะ น้ำเสยี ง ชัดเจน มีลักษณะของการเป็นผู้นำนอกจากน้ีครูยังต้องเป็นผู้ท่ีมีมนุษย์สัมพันธ์ดีมีอัธยาศัยไมตรีกับ บุคคลทุกเพศทกุ วัยทกุ ชนชน้ั ด้วย สรปุ ท้ายบท ในสงั คมไทยครูดีมปี ัญญามคี ุณธรรมควรเปน็ อยา่ งไร? หรือครดู คี ืออย่างไร? มีคุณสมบัติขอ้ เหมอื นหรือข้อต่างระหวา่ งครูดแี ละครูไมด่ ีอย่างไรบา้ ง คำตอบต่อปัญหาเหล่านี้ จะแตกตา่ งกนั ไปตามยุคสมยั สงั คม และวฒั นธรรม และคำตอบทกุ คำตอบจะสะท้อนทัศนคติ ค่านยิ ม คณุ ธรรม อารมณ์ แรงจูงใจ ฯลฯ ของสงั คมนั้นๆ และคงเป็นการ ยากที่จะระบุหรือเลอื กว่าชดุ ของคำตอบใดเป็นชดุ ท่ดี ีทส่ี ดุ แต่สว่ นทีเ่ ป็นความดี ความงาม และความจรงิ เป็นเนื้อหาและสาระสำคัญของวถิ ีมนุษย์ เป็น เร่อื งเดียวกนั ของสังคมในอดีตปัจจบุ นั และอนาคต สว่ นทแี่ ตกต่างกนั จะเปน็ รายละเอยี ดของแตล่ ะเร่ือง เท่าน้นั .
๔๑ เอกสารอ้างอิงประจำบท มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬุ าลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย,๒๕๔๒. _________ มหาจุฬาเตปิฎก ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐. พระราชวรมนุ ี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : ดา่ น สุทธาการพมิ พ์, ๒๕๒๘. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธวิธีการสอน. พมิ พค์ รั้งท่ี ๕ กรงุ เทพฯ: มูลนธิ พิ ุทธธรรม. ๒๕๒๙. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ทางสายอสิ รภาพของการศกึ ษาไทย. กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พ์ ธรรมสภา, ๒๕๓๔. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๓๖. ._________. พิมพ์ครัง้ ที่ ๖. พุทธวิธีในการสอน. กรงุ เทพฯ: มูลนิธพิ ุทธธรรม.๒๕๔๖. ._________ . พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สว่ นท้องถน่ิ กรมการปกครอง, ๒๕๔๐. พระโมคคลั ลานะ. อภิธานัปปทปี กา. กรงุ เทพฯ : มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๐๘. ยนต์ ชุ่มจิต.รศ, ความเป็นครู. กรงุ เทพฯ: โอ.เอส.พรนิ้ ตง้ิ .เฮ้าส์, ๒๕๕๓.
บทท่ี ๔ วัตถปุ ระสงค์ในการสอน วตั ถุประสงค์การเรียนประจำบท เมอื่ ไดศ้ ึกษาเนื้อหาในบทนีแ้ ล้ว ผศู้ ึกษาสามารถ ๑.อธบิ ายความรู้เบ้อื งตน้ เก่ียวกับวตั ถุประสงคก์ ารสอนได้ ๒.จำแนกวตั ถุประสงคก์ ารสอนตามแนวพุทธได้ ๓.อธิบายการประยุกตว์ ัตถปุ ระสงคก์ ารสอนตามแนวพุทธได้ ขอบขา่ ยเน้ือหา • ความรู้เบ้อื งต้นเกย่ี วกับวัตถุประสงคก์ ารสอน • วัตถุประสงค์การสอนตามแนวพทุ ธ • การประยุกต์วัตถุประสงค์การสอนตามแนวพทุ ธ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115