Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

Published by supasit.kon, 2022-08-05 03:28:48

Description: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

Search

Read the Text Version

182 ระบบเครอื ข่ายและอินเทอรเ์ นต็ เวิลด์ไวดเ์ ว็บ (World Wide Web หรอื WWW.) ในช่วงแรก ๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปรโตคอล Telnet และจะใช้ FTP (File Transfer Protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาในปี ค.ศ.1991 Tim Berners-Lee นักเขียนโปรแกรมท่ีทางานในสถาบัน CERN ซ่ึงเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Laboratory) ท่ีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพ่ือให้อินเทอร์เน็ตใช้ งานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทอร์เน็ตท่ีเรียกว่า เว็บเพจ (Web Pages) ท่ีสามารถเช่ือมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ การเช่ือมโยงเอกสารน้ีเรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่งท่ีอยู่ในคอมพิวเตอร์เคร่ือง เดียวกนั หรือต่างเคร่อื งกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็วกลุ่มของเอกสารท่ีเป็นไฮเปอร์ลิงก์นี้รู้จัก กันโดยทั่วไปว่า World Wide Web (WWW) หรือ W3 หรือ Web และตาแหน่งของอินเทอร์เน็ตท่ี ประกอบไปด้วยเอกสารทีเ่ ปน็ ไฮเปอรล์ ิงก์ เรยี กว่า เวบ็ ไซต์ (Websites) เว็บเพจ (Web Pages) คือ เอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หรือ ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ซ่ึงไฮเปอร์มีเดียเป็นส่ือประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเช่ือมโยงข้อมูล อาจอยู่ในรูปของ ข้อความ รปู กราฟกิ รูปเคลื่อนไหว หรือเสยี ง รูปท่ี 6.7 ตัวอย่างเว็บเพจ ทมี่ า http://goodwebway.com/wp-content/uploads/2013/06/ ecommerce-13.jpg, 2557 การสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hyper Text Markup Language หรือ HTML ซึ่งจะ ประกอบดว้ ยชดุ ของคาสัง่ ท่เี รยี กว่า แทก็ (Tags) หรือมาร์กอัป (Markups) ลักษณะของภาษา HTML แสดงดงั รปู ท่ี 6.7

ระบบเครอื ข่ายและอนิ เทอรเ์ นต็ 183 รปู ท่ี 6.8 ตัวอยา่ งภาษา HTML ทมี่ า http://megane-koko.blogspot.com/, 2557 โปรแกรมเวบ็ เบราเซอร์ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ บางครั้งก็เรียกสั้นๆว่า “เบราเซอร์” ซึ่งก็คือโปรแกรมที่ใช้แสดง ข้อมูลของเวบ็ เพจโปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่ส่ังโดยใช้ข้อความ (Text Commands) และแสดงผลในรูปแบบของข้อความ (Text) เท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1993 Marc Andreessen นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ได้สร้างโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ใน รูปแบบของกราฟิก เรียกว่า Mosaic ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของ ข้อความและภาพกราฟิกได้การติดต่อกับผู้ใช้อยู่ในลักษณะของ GUI (Graphical User Interface) ทาให้การใช้งานและแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสะดวก และดึงดูดใจผู้ใช้ ซึ่งต่อมา Andreessen ได้ เป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตโปรแกรมเบราเซอร์ Netscape Navigator (Shelly, et al., 1997) โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Internet Explorer (IE) และโปรแกรม Netscape Navigator

184 ระบบเครอื ขา่ ยและอินเทอร์เนต็ รูปท่ี 6.9 ตวั อยา่ งโปรแกรมเวบ็ เบราเซอร์ ท่มี า http://www.21.worawut-k.ws/index.php/browser/, 2557 สาหรับคอมพวิ เตอรพ์ ดี เี อและโทรศพั ท์มือถอื จะมีเบราเซอร์ท่อี อกแบบมาเป็นพิเศษสาหรับ ใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครเบราเซอร์ (Microbrowser) บางคร้ังก็เรียกว่า “มินิเบรา เซอร์” (Minibrowser) รปู ท่ี 6.10 ตวั อยา่ งโปรแกรมเว็บเบราเซอร์สาหรับพดี ีเอ ทม่ี า https://upload.wikimedia.org/wikipedia, 2557

ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ 185 ข้อมูลท่ีแสดงบนโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ จะมีลักษณะคล้ายหน้าเอกสาร เรียกว่าเว็บเพจ (Web Page) โดยหนา้ เอกสารหนา้ แรกของเว็บเพจที่ปรากฏเม่ือผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ใด ๆ จะเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) การเข้าไปยังเว็บเพจของเว็บไซต์ใด ๆ ผู้ใช้จะต้องระบุท่ีอยู่ (Web Address) โดยใช้ Uniform Resource Location หรือ URL เพื่อช้ีไปยังตาแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต บริษัทและองค์การต่าง ๆ นิยมกาหนดชื่อ URL ให้เด่นและจดจาง่าย เพ่ือประโยชน์ในการ ประชาสมั พนั ธ์ช่อื เวบ็ ไซตท์ างสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อโทรทศั น์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น URL โดยทว่ั ไปมรี ปู แบบและส่วนประกอบดังนี้ Protocol://domain name/path/ ตัวอย่างเชน่ 1. http://wwwsiam.edu โปรโตคอล คือ http ซ่ึงย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol, ชื่อโดเมน คือ www.siam.edu 2. http://tpt.nectec.or.th/Project/Nsc/Nsc.htm โปรโตคอล คือ http, ชื่อโดเมน คือ tpt.nectec.or.th ช่ือโฟลเดอร์ คือ projects/Nsc และชื่อแฟม้ คือ nsc.htm 3. ftp://bc.siamu.ac.th โปรโตคอล คือ ftp ซ่ึงย่อมาจาก File Transfer Protocol ชอ่ื โดเมน คือ bc.siamu.ac.th ก า ร พิ ม พ์ ท่ี อ ยู่ เ ว็ บ ไ ซ ด์ ผู้ ใ ช้ ส า ม า ร ถ ล ะ http:// ไ ด้ เ ช่ น เ ว็ บ ไ ซ ด์ http://www.google.co.th พมิ พ์เพยี ง www.google.co.th เท่านั้น บรกิ ารบนอินเทอรเ์ น็ต รปู ที่ 6.11 บริการบนอินเทอรเ์ น็ต ทีม่ า http://2.bp.blogspot.com/, 2557

186 ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอร์เนต็ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออานวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้ เหมาะสมกับลกั ษณะงาน ซ่งึ ในท่นี ีจ้ ะยกตวั อย่างบรกิ ารบนอินเทอร์เนต็ ทส่ี าคัญดงั น้ี 1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกัน โดยท่วั ไปวา่ “อเี มล์” (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจาวันของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซ่ึงการส่งและรับ จดหมายหรือข้อความถึงกันได้ท่ัวโลกน้ีจาเป็นจะต้องมีท่ีอยู่อีเมล์ (E-mail Address หรือ E-mail Account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ท่ีอยู่ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนประกอบสาคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User Name) และช่ือโดเมน (Domain Name) ซ่ึงเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายช่ือ ของผู้ใช้อีเมล์ โดยช่ือผู้ใช้และชื่อโดเมนจะค่ันด้วยเครื่องหมาย @ (อ่านว่า แอ็ท) ตัวอย่างเช่น [email protected] จะมีผใู้ ชอ้ ีเมล์ ชอื่ sriprai และมีช่อื โดเมนคอื hotmail.com ในการรบั -สง่ จดหมาย โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตน้ัน ได้มีการพัฒนาโปรแกรมท่ีใช้สาหรับ อเี มล์หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็น ต้น นอกจากน้ีผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพ่ือขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรี จากเว็บไซต์ท่ีให้บริการ ท่ีอยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นท่ีรู้จัก และ นิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.yahoo.com, www.thaimail.com, www.maildozy.com และ www.chaiyo.com เปน็ ต้น รปู ท่ี 6.12 ตวั อยา่ งอีเมล์ ทม่ี า http://www.online-station.net/event/gameonline/4958, 2557 2. การสนทนาออนไลน์ (Online Chat) การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหน่ึงบน อินเทอร์เน็ตทช่ี ่วยให้ผ้ใู ชส้ ามารถคุยโต้ตอบกับผ้ใู ช้คนอืน่ ๆ ได้ในเวลาเดียวกนั (Real-Time) การ สนทนาหรือ Chat (Internet Relay Chat : IRC) ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเน่ือง ปัจจุบันการ สนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลสามารถใช้รูปกราฟิก รูปการ์ตูนหรือรูปเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตวั ผสู้ นทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผ้ใู ชย้ ังสามารถแลกเปล่ียนขอ้ มูลและไฟลไ์ ด้อีกด้วย

ระบบเครอื ขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ 187 รปู ท่ี 6.13 การสนทนาออนไลนผ์ ่านโปรแกรม Microsoft MSN Messenger ทมี่ า http://51010915048.blogspot.com/, 2557 การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเคร่ืองที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC Server) ที่ มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ท่ีเรียกว่า แชนเนล (Channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้ สาหรับการสนทนา (ซ่ึงสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เม่ือผู้ใช้ติดต่อกับเคร่ืองเซิร์ฟเวอร์ได้ แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเร่ิมสนทนาได้ตามความต้องการตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ท่ีนิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น ICQ (I Seek You) และ Microsoft MSN Messenger เปน็ ตน้ การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้ส่ือประสม (Multimedia) เช่น ไมโครโฟน ลาโพง กลอ้ งวิดีโอ และอื่น ๆ เพ่ืออานวยความสะดวกและเพ่ิมประสิทธิภาพของการ สนทนาให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรมได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพ่ือการสนทนาออนไลน์ท่ีมีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อมๆ กับมองเห็นภาพของคู่ สนทนาไดด้ ว้ ย

188 ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ รูปท่ี 6.14 การสนทนาออนไลน์ด้วย Microsoft NetMeeting ทม่ี า http://itc.ua/img/ko/2003/26/netmeeting.jpg, 2557 นอกจากบรกิ ารสนทนาทไ่ี ดก้ ลา่ วมาแลว้ ปจั จบุ ันบริการโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตโฟน (Internet Phone Service) ถือเป็นบริการทางเลือกท่ีได้รับความนิยมเพ่ิมขึ้น ในการติดต่อส่ือสารทั้งในองค์การและส่วนบุคคล การใช้อินเทอร์เน็ตสื่อสารไปยังโทรศัพท์มาตรฐาน ท่ัวไปท้ังโทรศัพท์พ้ืนฐานและโทรศัพท์เคล่ือนที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายค่าโทรศัพท์ทางไกลและ ตา่ งประเทศ เทคโนโลยีวอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice Over IP:Volp) นับเป็นบริการส่ือสารออนไลน์ท่ีมา พร้อมกบั อนิ เทอรเ์ น็ตความเร็วสูง ดังน้ันท้ังภาพและเสียงจึงไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป โปรแกรม VolP ซึง่ เป็นเคร่ืองมอื ท่ใี ชใ้ นการเชอ่ื มต่อการส่ือสารจึงมีบทบาทกับการใช้งานบริการนี้ ตัวอย่างโปรแกรมที่ ใช้สาหรับอินเทอร์เน็ตโฟนไดแ้ ก่ MSN Messenger, Google Talk และ Skype เป็นต้น ส่วนบริษัทท่ี ใหบ้ ริการดา้ น VolP ไดแ้ ก่ Dialpad, Net2Phone, WebPhone และ Callserve เป็นตน้ 3. เทลเน็ต (Telnet) เทลเน็ตเปน็ บรกิ ารทใ่ี ห้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเคร่ืองคอมพิวเตอร์ ท่ีต้ังอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจาลองเคร่ืองคอมพิวเตอร์ที่กาลังใช้งานอยู่ให้เป็นจอภาพของเคร่ือง คอมพวิ เตอร์ระยะไกลเครือ่ งน้ัน การทางานในลักษณะน้ี จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายกรณีท่ี ต้องเดินทางไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความ ตัวอักษร (Text Mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล จาเป็นต้องมี รายช่ือผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานท่ีอนุญาตให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่าน เพื่อ เป็นการใหบ้ รกิ ารข้อมลู แกล่ กู ค้าทว่ั ๆ ไป

ระบบเครอื ข่ายและอนิ เทอร์เนต็ 189 รปู ท่ี 6.15 ตวั อย่างการใช้ Telnet ท่ีมา http://cptd.chandra.ac.th/%5Cselfstud%5Cinternet% 5Chtm_telnet.htm, 2557 4. การขนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) การขนถ่ายไฟล์ หรือท่ีเรียกสั้น ๆ ว่า เอฟทีพี (FTP) เปน็ บริการทใี่ ช้สาหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอรท์ ี่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิรฟ์ เวอร์ (FTP Server หรอื FTP Site) ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารท่ัวไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (Freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้ โปรแกรมฟรี การขนถ่ายไฟลจ์ าก FTP Server ไปยังเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการจะเรียกว่าการ ดาวน์โหลด (Download) ในทางตรงกันข้าม การขนถ่ายไฟล์จากเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการ ไปยังเครอ่ื งเซิร์ฟเวอรจ์ ะเรยี กวา่ การอัปโหลด (Upload)

190 ระบบเครือข่ายและอนิ เทอร์เนต็ รปู ที่ 6.16 การดาวนโ์ หลดและอัพโหลด ที่มา http://www.justusers.net/articles/download/idm/idm.htm, 2557 ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชี รายช่ืออยู่ในเคร่ืองคอมพิวเตอร์เท่าน้ัน แต่ก็มีเคร่ืองคอมพิวเตอร์ท่ีให้บริการขนถ่ายไฟล์จานวนมาก อนุญาตใหผ้ ูใ้ ชท้ วั่ ไปได้เข้าไปใชบ้ ริการ ถึงแมว้ า่ ในบางคร้ังจะไมอ่ นุญาตให้ขนถา่ ยไฟล์ทง้ั หมดกต็ าม รปู ที่ 6.17 การขนถา่ ยไฟล์ (FTP) ที่มา http://www.copycddvd.com/uploadfile, 2557

ระบบเครอื ข่ายและอินเทอร์เนต็ 191 ในท่นี จ้ี ะขอยกตัวอยา่ งบรกิ ารบนอนิ เทอรเ์ นต็ ที่กาลงั เขา้ มามีบทบาทกับผ้ใู ช้อินเทอร์เน็ตใน ปัจจุบัน ซง่ึ นยิ มเรยี กบรกิ ารบนอินเทอร์เน็ตนีว้ ่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนกิ ส์ (E-Commerce)” 5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในโลกยุคดิจิทัล การซื้อสินค้าและบริการ ไมจ่ ากดั อย่เู ฉพาะรูปแบบเดิม ๆ ท่ีผู้ซื้อจะต้องเดินทางไปยังผู้จาหน่ายสินค้าและให้บริการเท่าน้ัน แต่ ดว้ ยความกา้ วหนา้ ของเทคโนโลยีการส่ือสารและอินเทอร์เน็ตท่ีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจาวันและ การดาเนินธุรกิจ ในอดีตนั้นผู้ซ้ือเดินทางไปท่ีร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า หากนารถไปเองก็ต้องหาที่ จอดรถ ซื้อสินค้าเฉพาะในเวลาที่ร้านค้าเปิดให้บริการ ใช้เวลาในการสารวจสินค้าและ ราคา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันหยุด จะต้องเบียดเสียดกับลูกค้าจานวนมาก เข้าแถวรอรับบริการ แต่ใน ปัจจุบันการซื้อสินค้าและบริการมีทางเลือกอ่ืน น่ันคือ การซ้ือสินค้าและบริการออนไลน์ซึ่งอานวย ความสะดวกให้กับผู้ซื้อสินค้าได้จากที่บ้านหรือท่ีทางานตลอด 24 ช่ัวโมง สามารถคัดเลือกและ เปรียบเทียบราคาสินค้าได้จากทุกมุมโลก เพียงแต่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ/หรือบัตรเครดิตก็ สามารถซื้อสินค้าท่ีต้องการได้ ทาให้หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนประตูที่เปิดสู่ร้านค้าทั่วโลก ทั้งน้ี เน่ืองมาจากการทาการค้าผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันท่ัวไปว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- Commerce: EC) รปู ที่ 6.18 เทคโนโลยอี นิ เทอร์เน็ต ทม่ี า fatmee329.blogspot.com, 2557 5.1 ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) บางคร้ังเรียกกันว่า “การค้าอิเล็กทรอนิกส์” มีผู้ที่ให้คาจากัด ความที่แตกตา่ งกนั ออกไป เชน่

192 ระบบเครือข่ายและอนิ เทอร์เนต็ กรมสง่ เสรมิ การส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบวุ ่า พาณิชยอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์ หมายถงึ การ ดาเนนิ ธุรกิจทกุ รูปแบบท่เี กีย่ วข้องกบั การซ้ือขายสนิ ค้าและบรกิ ารผา่ นคอมพวิ เตอรแ์ ละระบบสื่อสาร โทรคมนาคมหรือสอื่ อิเล็กทรอนิกส์ (http://www.depthai.go.th.theco_basic.shtml) ศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center : ECRC) ให้ นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า เป็นการทา “การค้า” ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยคาว่าส่ือ อิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไป จนถงึ เทคโนโลยีท่มี คี วามซบั ซอ้ น (http://www.ecommerce.or.th/e-quide/index.html) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) (1998) ให้คาจากัด ความว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ขบวนการท่ีใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทาธุรกิจท่ีจะ บรรลเุ ปา้ หมายขององคก์ ร พาณิชย์อเิ ลก็ ทรอนิกส์ใชเ้ ทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบ ทางการเงินท้ังหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอหรือการแลกเปล่ียน ข้อมลู อเิ ล็กทรอนกิ ส์ ไปรษณยี อ์ ิเลก็ ทรอนกิ ส์ โทรสาร แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์การ (http://wwwecommerce.or.th/faqs/faq1- 1.html) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) (1998) ใหค้ าจากัดความว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนกิ ส์ หมายถงึ การผลติ การกระจาย การตลาด การขาย หรอื การขนสง่ ผลิตภณั ฑ์ และบรกิ ารโดยใช้ส่อื อเิ ล็กทรอนกิ ส์ (http://www.thai.netfanofkyoko/ecommercehtm) สุรางคณา แก้วจานง นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ว่า เป็นการดาเนินการทางพาณิชย์โดย อาศัยสื่อ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 1) การติดต่อทาง คอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือระบบเครือข่าย เช่นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีดีไอ (EDI) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (E-mail) การสนทนาโต้ตอบ ระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล และ 2) การติดต่อผ่านทางเคร่ืองมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อ่ืน ๆ เ ช่ น โ ท ร เ ล ข โ ท ร ส า ร (http://wwwnectecorth/courseware/pdf-documents/it-law/e- commerce-law pdf) กุปต้า (Gupta , 2000:217) ให้ความหมายว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ กระบวนการ ของการซือ้ ขาย แลกเปล่ยี น สนิ คา้ บรกิ าร และสารสนเทศ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางอินเทอร์เน็ต จากความหมายท่ีกลา่ วมาข้างต้น สรุปได้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทาธุรกรรมทุก รปู แบบ (การซือ้ ขายสนิ ค้า บรกิ าร การชาระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลย่ี นสารสนเทศ) ผ่านส่ือ อิเลก็ ทรอนิกส์ เชน่ โทรศพั ท์ โทรสาร โทรทศั น์ และเครือขา่ ยอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันยังมีรูปแบบการทาธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหน่ึงที่ได้รับความนิยม มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การทาธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคล่ือนที่และพีดีเอ (PDA) หรือที่เรียกว่า Mobile E-commerce เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ และ หักเงินจากบัญชีอัตโนมัติ การสั่งซื้อ สนิ คา้ และบริการ การดาวนโ์ หลดเกม เปน็ ตน้ นอกจากคาว่า E-Commerce แล้วยังมีคาว่า E-Business หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ท่ี คนจานวนมากเข้าใจว่า E-commerce และ E-Business มีความหมายเดียวกันและใช้แทนกันได้ แต่

ระบบเครอื ขา่ ยและอนิ เทอร์เนต็ 193 ในความเป็นจริงแล้วความหมายของท้ังสองคาจะไม่เหมือนกันเลยทีเดียว คาว่า E-Business จะมี ความหมายท่ีกว้างกว่า โดยหมายถึง การดาเนินธุรกรรมทุกข้ันตอนผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ท้ังในส่วน หน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซ้ือขาย สนิ คา้ หรือบรกิ ารผา่ นส่ืออิเล็กทรอนิกส์เท่าน้ัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหน่ึง ของ E-Business นัน่ เอง 5.2 ความสาคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องมากจากอัตราการเติบโตของการใช้ อินเทอร์เน็ตและการเพิ่มข้ึนของเว็บไซด์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่องทาให้การประกอบธุรกิจบน อินเทอร์เน็ตเป็นช่วงทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พร มแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจากัดในเรื่องของเวลาและสถานท่ี การแข่งขันการค้าเสรีและ ระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว” ท้ังการนาเสนอสินคาและการ ใหบ้ ริการ การใช้ตน้ ทุนที่ต่า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ส่งผลให้การทาการค้าผ่านส่ือ อิเล็กทรอนิกส์มีความสาคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีก ทางเลือกหน่งึ ของการประกอบธุรกจิ ในปัจจุบนั และได้รับความนิยมเพิม่ ข้นึ เป็นลาดบั 5.3 ประเภทของธุรกิจ การดาเนินธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจจาก ผู้บริโภคเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้การขยายตลาดของสินค้าและบริการเพิ่มข้ึนตามไปด้วย การ จาแนกประเภทของธุรกิจ สามารถพิจารณาจากประเภทของสินค้าหรือบริการ ประเภทของ อุตสาหกรรม (อาหาร สุขรูป) หรืออาจจาแนกตามประเภทของลูกค้าว่าเป็นลูกค้ารายย่อยหรือเป็น องค์การธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถจาแนกประเภทของธุรกิจได้จากรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจ อิเลก็ ทรอนิกส์ ซงึ่ สามารถจาแนกได้เป็น 3 ประเภทดงั น้ี 5.3.1 ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า (Brick and Mortar Business) เป็นธุรกิจ แบบด้ังเดิมที่มีสถานท่ีจาหน่าย เช่น ร้านค้า แต่จะไม่มีการทาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซ่ึงธุรกิจส่วนใหญ่ จะเป็นในลักษณะน้ี แต่ด้วยความก้าวหน้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจบริคและมอร์ต้าจึงมี แนวโนม้ ท่ีจะเปล่ียนรปู แบบเปน็ ธุรกจิ แบบคลกิ และมอรต์ ้า 5.3.2 ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า (Click and Mortar Business) เป็นธุรกิจท่ีมี มอร์ต้าแบบบริคและมอร์ต้า รวมทั้งร้านค้าออนไลน์ท่ีช่วยสนับสนุนการดาเนินธุรกิจปกติบางธุรกิจ แบบคลกิ และมอร์ตา้ มเี พียงเวบ็ ไซต์ที่นาเสนอสินค้า และระบุสถานท่ีจัดจาหน่าย และมีธุรกิจ จานวน มากท่ีมีเว็บไซต์เพ่ือการซ้ือขายสินค้าออนไลน์ ตัวอย่างธุรกิจประเภทน้ี เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย ภัตตาคารเอสแอนด์พี เป็นต้น

194 ระบบเครอื ขา่ ยและอินเทอรเ์ นต็ รูปที่ 6.19 ตวั อยา่ งธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า ทีม่ า www.se-ed.com 2557 5.3.3 ธุรกิจแบบคลิกและคลิก (Click and Click Business) เป็นธุรกิจไม่มี สถานท่ีหรือร้านค้าเพ่ือการจาหน่ายสินค้า ผู้ซื้อไม่สามารถท่ีจะเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าได้ เน่ืองจาก ร้านคา้ มีเฉพาะบนเว็บเท่านั้น ถึงแม้ว่าธุรกิจคลิกและคลิกจะมีสถานท่ีทาการและคลังสินค้าก็ตาม แต่ การติดต่อทางธุรกิจกับลูกค้าจะดาเนินการผ่านเว็บไซต์เท่าน้ัน ตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ เช่น amazon.com และ misslily.com เปน็ ต้น รูปที่ 6.20 ตวั อย่างธุรกิจแบบคลิกและคลกิ ทมี่ า www.flowerclick.net, 2557 หากจะพิจารณาจากหมวดหมู่ของสินค้าและการให้บริการหลัก ๆ สามารถแบ่งประเภท ของธรุ กิจได้ ดงั น้ี (http://www.ecommerce.or.th/faqs/faq1-1html)

ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอร์เนต็ 195 1. ธุรกิจการสื่อสาร เป็นธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ อนิ เทอร์เนต็ ตวั อยา่ งเช่น การโทรศพั ทผ์ ่านทางอนิ เทอรเ์ น็ต และการประชุมทางไกล 2. ธุรกิจการโฆษณา เป็นการใช้เว็บเพจบนอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการ ประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ ทาให้ข้อมูลส่งถึงลูกค้าท่ีเป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมกี ารแลกเปลีย่ นแบนเนอร์ (Banner) ระหว่างธรุ กจิ ดว้ ยกนั 3. ธุรกิจการซื้อและจัดส่งสินค้า เป็นการจาหน่ายสินค้าในลักษณะข้อมูลทั้งที่เป็น ดจิ ทิ ลั และไมอ่ ยู่ในรูปของดิจิทลั การจัดสง่ สนิ คา้ ที่เปน็ ดจิ ิทลั สามารถจัดส่งผ่านส่ืออินเทอร์เน็ตโดยให้ ผู้ซอ้ื ดาวน์โหลด ชว่ ยให้การจดั ส่งสนิ ค้ามีความสะดวกและรวดเร็ว และประหยดั ค่าใชจ้ ่าย 4. ธุรกิจการศึกษาทางไกล เป็นธุรกรรมท่ีได้รับความนิยมเพิ่มมากข้ึน ผู้เรียน สามารถศกึ ษาได้จากทุกท่ี และทุกเวลาที่ต้องการ สามารถทบทวนบทเรียนโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยัง สถานศึกษา 5. ธุรกจิ ฐานข้อมูลออนไลน์ เปน็ ธุรกิจทีใ่ ห้บรกิ ารดา้ นข้อมูล และ สารสนเทศผ่าน สอ่ื อนิ เทอร์เน็ต เช่น ข่าวสาร บทความ งานวิจยั วิทยานิพนธ์ รวมถึงข้อมูลการสมคั รงาน 6. ธุรกิจการประมูลสินค้า เป็นธุรกิจท่ีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อกาหนดและแข่งขันราคา สนิ คา้ ด้วยตนเอง เชน่ ebay และ mWeb เปน็ ตน้ 7. ธุรกิจศูนย์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการซ้ือขายสินค้าและให้บริการผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการวบรวมสินค้าต่าง ๆ จากผู้ที่ต้องการขายสินค้าให้ผู้ซ้ือได้เลือกสินค้าที่ หลากหลาย มีลกั ษณะคลา้ ยกับศูนย์แสดงสนิ ค้า 8. ธุรกิจด้านการเงนิ เเป็นการใหบ้ ริการเกี่ยวกับการติดต่อและทาธุรกรรมเกี่ยวกับ การเงิน เช่น บัตรเครดติ บัตรสมารท์ การด์ การสอบถามข้อมลู ทางการเงิน เปน็ ต้น 9. ธุรกิจให้บริการด้านการท่องเที่ยว เป็นการให้ข้อมูลและทาธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การจองตั๋ว เครื่องบิน โรงแรม และรถยนต์ 10. ธุรกิจซ้ือขายหุ้นผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นธุรกิจท่ีให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับ หลักทรพั ย์ 5.4 ผลการสารวจจานวนผู้ประกอบการท่ีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากการ สารวจข้อมูลเดือนมิถุนายน 2548 ของนิตยสาร E-Commerce พบว่าจานวนผู้ประกอบการที่จด ทะเบียนพาณิชย์อเิ ลก็ ทรอนิกส์ จาแนกตามลักษณะประเภทโดเมนเนม มีดังนี้

196 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เนต็ ตารางท่ี 1.6 จานวนผู้ประกอบการจดทะเบยี นพาณิชยอ์ เิ ล็กทรอนกิ ส์ โดเมนเนม จานวนเว็บไซต์ รอ้ ยละ .co.th 194 9.58 .com 1,481 73.10 .net 125 6.17 .biz 12 0.59 อน่ื ๆ 173 8.54 รวม 1,973 100.00 นอกจากน้ียังได้มีการรวบรวมข้อมูลอันดับเว็บไซต์ยอดนิยมจาก Truehits.net (นิตยสาร E-Commerce เดือนกรกฎาคม 2548) พบว่า พฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เดิม ๆ โดย 5 อนั ดับเวบ็ ไซต์ยอดนยิ ม ประกอบด้วย Sanook.com, kapook.com, manager.co.th, mthai.com และ pantip.comcafe จากการสารวจของนิตยสาร E-Commerce (กรกฎาคม) เก่ียวกับสินค้าและบริการท่ีผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต นิยมซื้อ บนเว็บไซต์พบว่า สินค้า/บริการที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรก คือ หนังสือ (ร้อยละ 41.9), ซอฟต์แวร์ (ร้อยละ 16.9) การสั่งจองบริการต่าง ๆ (ร้อยละ 16.8), ภาพยนตร์ (ร้อย ละ 15.8) และอุปกรณค์ อมพวิ เตอร์ (ร้อยละ 14.8) 5.5 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจาแนกรูปแบบของพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจาแนกตามลักษณะของกิจกรรมที่ดาเนินงานระหว่างองค์การและบุคคลได้ หลายประเภท ในท่นี ีจ้ ะจาแนกเป็น 5 ประเภทหลกั ๆ ดังนี้ 5.5.1 ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B-to-B หรือ B2B เป็นการทาธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีมุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าท่ีเป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เชน่ ผผู้ ลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ผู้ผลิต-ผู้นาเข้า และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง การทาธุรกิจลักษณะนี้เป็นการ ทาธุรกรรม (การส่งออกหรือนาเข้าสินค้า) จานวนมาก มีมูลค่าของการซ้ือ-ขายสินค้าและบริการสูง รูปแบบการชาระเงินส่วนใหญ่จะผ่านธนาคาร ตัวอย่างการดาเนินงานในประเทศไทย ได้แก่ http://www.foodmarketexchange.com ซึ่งทาหน้าท่ีเป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e- Marketplace) ของอุตสาหกรรมอาหาร เปน็ ตน้

ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เนต็ 197 รูปท่ี 6.21 ตวั อยา่ งธุรกิจแบบ B2C ทมี่ า www.FoodMarketExchange.com, 2557 5.5.2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B-to-C หรือ B2C เปน็ การทาธรุ กรรมผา่ นส่อื อเิ ลก็ ทรอนิกส์ระหวา่ งผู้ขายท่เี ป็นองคก์ ารธุรกิจกับผู้ซ้ือหรือลูกค้าแต่ละคน อาจเปน็ การค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซ้ือขายสินค้าจานวน ไม่สงู รูปแบบการชาระเงินสว่ นใหญจ่ ะผา่ นระบบบัตรเครดิต การค้าในลักษณะนี้อาจมีการพัฒนาเป็น แบบ B2B ได้ในอนาคต สินค้าที่จาหน่ายอาจเป็นสินค้าท่ีจับต้องได้ เช่น หนังสือ ดอกไม้ เคร่ืองประดับ และของเล่น เป็นต้น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ เป็นต้น การบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การจองตั๋วเครื่องบิน การซ้ือขายหุ้น และธนาคาร อ อ น ไ ล น์ เ ป็ น ต้ น ตั ว อ ย่ า ง ธุ ร กิ จ แ บ บ B2C ไ ด้ แ ก่ http://www.thaigem.com, http://www.pizza.co.th และ http://www.chulabook.com

198 ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ รปู ที่ 6.22 ธรุ กิจกบั ลูกค้า ที่มา http://themecraft.net/, 2557 5.5.3 ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government) หรือ B to G หรือ B2G เป็นการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ (E- Auction) และการจัดซื้อ-จดั จ้าง (E-Procurement) ตัวอยา่ งเช่น http://www.moc.go.th และการ จดทะเบียนการค้าและการนาสินค้าเขา้ ออกโดยใช้อีดีไอ (Electronic Data Interchange : EDI) ผ่าน กรมศุลกากร เช่น http://wwwcustoms.to.th รูปที่ 6.23 การจดทะเบยี นการค้า ท่มี า http://www.custom.go.th, 2557

ระบบเครือขา่ ยและอินเทอร์เนต็ 199 5.5.4 ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to C หรือ C2C เป็นการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซ่ึงการแลกเปล่ียนและซื้อ-ขาย สินค้าอาจทาผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้า ซ่ึงผู้ค้าแต่ละคนจะนามาฝากขายไว้กับเว็บไซต์ท่ี ให้บริการตัวอย่างการดาเนินธุรกิจประเภทนี้ เช่น http://www.ebay.com และ http://wwwpramool.com รปู ท่ี 6.24 การประมูลสนิ ค้า ท่มี า http://www.pramool.com, 2557 5.5.5 ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G to C หรือ G2C กิจกรรมท่ีเกิดข้ึนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทน้ีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เน้น การให้บริการกับประชาชนโดยผ่านสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ซง่ึ เปน็ นโยบายหนึ่งของรฐั บาล ตัวอย่างของการ ดาเนินธุรกรรมที่ภาครัฐให้กับประชาชนผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การคานวณและชาระภาษี ออนไลน์ของกรมสรรพากร ( http://www.rd.go.th) และงานบริการด้านทะเบียนจอง กระทรวงมหาดไทย (http://mahadthai.com) เปน็ ตน้ รูปที่ 6.25 การคานวณและชาระภาษีออนไลน์ ที่มา http://www.rd.go.th, 2557

200 ระบบเครือข่ายและอินเทอรเ์ นต็ นอกจากรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีรูปแบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์แบบอื่น ๆ อีก เช่น ธุรกิจกับพนักงานหรือลูกจ้าง (Business to Employee) หรือ B to E หรอื B2E เปน็ พาณิชยอ์ ิเล็กทรอนิกสใ์ นองค์การที่มกี ารประยกุ ตใ์ ชเ้ ทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการ ดาเนินกจิ กรรมทางธุรกิจซง่ึ เป็นกิจกรรมทีไ่ มไ่ ด้หวงั รายไดท้ างการคา้ เป็นหลัก แต่ต้องการเพิ่มผลกาไร ด้วยการลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานแบบไร้กระดาษ และการ ฝกึ อบรมออนไลน์ เป็นต้น 5.6 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างหลักของระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนกิ ส์ทที่ าใหเ้ กิดการค้าขายบนเว็บไซตม์ ี ดังน้ี 5.6.1 หน้าร้าน (Storefront) เป็นส่วนประกอบที่สาคัญของระบบการค้า แบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้สาหรับแสดงข้อมูลสินค้าทั้งหมดของร้านค้า รวมถึงระบบค้นหาข้อมูล สินค้า นโยบายการค้าและข้อมูลเก่ียวกับบริษัท ซึ่งส่วนหน้าร้านน้ีจะต้องมีการออกแบบที่ดีให้ เหมาะสมกับกลุม่ เป้าหมาย รปู ที่ 6.26 ตวั อยา่ งหน้าร้าน ที่มา www.citysoft.co.th, 2557 5.6.2 ระบบตะกร้ารับคาส่ังซ้ือ (Shopping Cart System) เป็นระบบที่ ต่อเน่ืองจากหน้าร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซ้ือสินค้า โดยคลิกที่ข้อความ “ส่ังซื้อ” หรือสัญลักษณ์รูป ตะกร้า หรือรถเข็น ก็จะปรากฏรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการในหน้าตะกร้า พร้อมกับคานวณ ค่าใช้จ่ายท้ังหมด ซ่ึงลูกค้าสามารถปรับเปล่ียนรายการสินค้าหรือปริมาณที่ส่ังได้ หากลูกค้าตัดสินใจ เลือกสนิ ค้าท่ตี ้องการแลว้ กจ็ ะเข้าส่ขู ัน้ ตอนการชาระเงนิ ตอ่ ไป

ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ 201 รปู ท่ี 6.27 ตวั อย่างระบบตะกรา้ รับคาสั่งซื้อ ทม่ี า http://ladysinorita.blogspot.com/2012/08/assignment10-web-application.html, 2557 5.6.3 ระบบการชาระเงิน (Payment System) การค้าแบบ อิเล็กทรอนิกส์มีวิธีการชาระเงินหลายรูปแบบ เช่น การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การชาระด้วยบัตร เครดิต การส่งผ่านธนาณัติ เป็นต้น ซึ่งผู้ขายจะต้องมีทางเลือกให้กับลูกค้าหลายทางเลือก เพื่อความ สะดวกของลูกคา้ ทง้ั นี้หากลูกคา้ ไม่พอใจกับวิธีชาระเงินของร้านค้าก็อาจจะไม่ส่ังซ้ือสินค้าและบริการ โดยวิธีการชาระเงินในแต่ละวิธีน้ันมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งต้องพิจารณาถึงกลุ่มลูกค้า ด้วย เช่น การชาระเงินในแต่ละวิธีน้ันมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งต้องพิจารณาถึงกลุ่ม ลูกค้าด้วย เช่น การชาระเงินโดยบัตรเครดิตนิยมในกลุ่มผู้ซ้ือชาวต่างประเทศ ได้แก่ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น ดังน้ันหากร้านค้ามีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นชาวต่างประเทศก็ควรมีวิธีการชาระเงิน ด้วยบัตรเครดิตเป็นทางเลือกด้วย ซึ่งการชาระเงินด้วยบัตรเครดิต ร้านค้าต้องติดต่อกับธนาคาร เพ่ือ ขอเป็นร้านค้าบัตรเครดิต หากมีลูกค้าที่ซ้ือสินค้าชาระเงินด้วยบัตรเครดิตจะมีการส่งข้อมูลหมายเลข บัตรเครดิตไปตรวจสอบท่ีเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของธนาคารแห่งนั้น โดยการส่งข้อมูลบัตรเครดิตจะมี ระบบรักษาความปลอดภัยท่ีเข้ารหสั ข้อมูลบัตรเครดติ ทไี่ ม่สามารถใหผ้ อู้ ื่นมาขโมยไปใช้ได้ วิธีท่ีนิยมใน ปจั จบุ ันจะใชร้ ะบบรักษาความปลอดภัยท่ชี อ่ื ว่า Secure Socket Layer : SSL

202 ระบบเครือขา่ ยและอินเทอรเ์ นต็ รปู ท่ี 6.28 ตัวอย่างระบบการชาระเงนิ ท่มี า https://www.paysbuy.com/help-detail-56.aspx, 2557 5.6.4 ระบบสมัครสมาชิก (Member System) เป็นการบันทึกข้อมูล ลกู ค้าทต่ี อ้ งการสมัครเป็นสมาชิกเพอื่ รับขา่ วสาร รวมถงึ ลูกคา้ ท่สี ง่ั ซอื้ สินค้า เพื่อประโยชน์ในการจัดส่ง ข้อมูลและสินค้าได้อย่างถูกต้อง นอกจากน้ีร้านค้ายังสามารถนาข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในระบบ บริหารลูกคา้ สมั พันธ์ (Customer Relationship Management : CRM) ไดอ้ ีกดว้ ย 5.6.5 ระบบขนสง่ (Transportation System) เปน็ ระบบการจัดส่งสินค้า ให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีทางเลือกหลายทางให้กับลูกค้าเช่นเดียวกับวิธีชาระเงิน ซึ่งจะข้ึนอยู่กับความ ต้องการของลกู ค้าวา่ ตอ้ งการได้รับสินค้าในระยะเวลาเท่าใด ทั้งน้ีค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละวิธีจะไม่ เท่ากัน และปัจจุบันร้านค้าไม่จาเป็นต้องส่งสินค้าเอง อาจให้บริษัทขนส่งสินค้า เช่น EMS, DHL, FedEx และ UPS จดั การให้ ซ่งึ ร้านค้าต้องมกี ารเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บริษัทขนส่ง เพ่ือความสะดวกใน การคานวณคา่ ใช้จา่ ยในการขนส่งด้วย 5.6.6 ระบบติดตามคาส่ังซ้ือ (Order Tracking system) เป็นระบบ ติดตามคาส่ังซื้อของสนิ ค้า โดยเม่ือเสร็จสิ้นการสั่งซ้ือแต่ละครั้ง ลูกค้าจะได้หมายเลขคาสั่งซื้อ (Order Number) หากลูกค้าต้องการทราบว่าสินค้าท่ีสั่งอยู่ในขั้นตอนไหน ก็สามารถใช้หมายเลขดังกล่าวไป ตรวจสอบสถานะของสินค้าได้ และจะมีการรายงานผลการดาเนินการให้กับลูกค้าทราบ เช่น อยู่ ระหว่างการผลิต การจัดส่ง ณ สถานท่ีใดและสถานการณ์รับสินค้าแล้ว เป็นต้น โดยระบบน้ีจะทาให้ ลูกค้าเกดิ ความเช่ือถอื และมน่ั ใจว่าจะได้รับสินค้าอย่างแนน่ อน 5.7 กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการทางพาณิชย์ อเิ ล็กทรอนิกส์มขี น้ั ตอนที่สาคัญ 5 ขนั้ ตอน ดังนี้ 5.7.1 การค้นหาข้อมูล ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูล สินคา้ ทต่ี อ้ งการ แลว้ นาข้อมูลสินค้าแต่ละร้านค้ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยเครื่องมือท่ีลูกค้าใช้ ในการค้นหาเว็บไซต์ที่นิยม คือเคร่ืองมือค้นหา หรือที่เรียกว่า Search Engines เช่น http://www.google.com, http://www.yahoo.com เปน็ ต้น ดังนั้นประเด็นท่ีสาคัญสาหรับร้านค้าคือ การประชาสมั พนั ธ์เวบ็ ไซต์ให้เข้าถงึ กลุม่ เป้าหมาย ซ่ึงอาจโฆษณาโดยใช้แบนเนอร์การแลกเปล่ียนลิงค์

ระบบเครือข่ายและอนิ เทอรเ์ นต็ 203 และการลงทะเบยี นกับ Search Engines ส่วนเว็บไซต์ของร้านค้าก็เช่นเดียวกันต้องมีการออกแบบให้ ตรงกับความตอ้ งการของลกู ค้า 5.7.2 การส่ังซ้ือสินค้า เม่ือลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนารายการ สินค้าที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจะมีการคานวณค่าใช้จ่ายท้ังหมด โดยลูกค้าสามารถ ปรบั เปลีย่ นรายการสินคา้ และปริมาณท่สี งั่ ได้ 5.7.3 การชาระเงิน เมื่อลูกค้าตัดสินใจซ้ือสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะ เปน็ การกาหนดวิธกี ารชาระเงนิ ขนึ้ อยู่กับความสะดวกของลกู ค้าวา่ จะเลอื กวิธีไหน 5.7.4 การส่งมอบสนิ คา้ เมอื่ ลกู คา้ กาหนดวิธีการชาระเงินเรียบร้อยแล้ว จะ เข้าสู่การเลือกวิธีขนส่งสินค้า ซ่ึงการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้กับลูกค้าโดยตรง การใช้บริการบริษัท ขนส่งสินค้า หรือการส่งผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง การให้หมายเลขเพื่อไปรับ สนิ ค้าหรอื บรกิ ารปลายทาง เป็นตน้ 5.7.5 การให้บริการหลังการขาย หลังจากเสร็จส้ินการสั่งซื้อแต่ละคร้ัง ร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่าย อินเทอรเ์ น็ต เช่น อเี มล์ และเวบ็ บอร์ด รปู ท่ี 6.29 กระบวนการทางพาณิชย์อเิ ล็กทรอนกิ ส์ ทีม่ า http://lms.mju.ac.th/courses/165/locker/ch_01_001_introl.html, 2557 การประยกุ ตใ์ ชอ้ นิ เทอรเ์ น็ตในปจั จุบัน ในยุคปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการดาเนินการต่างๆ ภายในองค์กรอย่าง มากมายซง่ึ การใชบ้ ริการอนิ เทอรเ์ นต็ ในการดาเนนิ งานขององค์กรมีดว้ ยกนั หลากหลายด้าน ท้ังในด้าน การติดต่อสื่อสารระหวา่ งกนั และการสบื คน้ ขา่ วสารขอ้ มลู บนอนิ เทอรเ์ น็ตโดยไม่มีข้อจากัดด้านสถานท่ี และเวลาซึ่งทุกคนสามารถติดต่อส่ือสารแลกเปล่ียนข่าวสารข้อมูล กันได้ทั่วโลกด้วยเหตุน้ีเครือข่าย อนิ เทอร์เน็ตจงึ ไดร้ ับความนิยมมากขึ้นซึ่งการประยกุ ต์ใชอ้ ินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนัน้ มีด้วยกันหลายด้าน ดงั น้ี 1. ด้านการตดิ ต่อส่อื สาร เป็นการติดตอ่ สอื่ สารบนอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ ติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกโดยในปัจจุบันการเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตจะช่วยให้ทุกคนได้รับประโยชน์ในด้านการติดต่อส่ือสารอย่างมากมาย ท้ังในด้านการติดต่อส่ือสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)ที่มีความเร็วในการรับ – ส่งข่าวสาร

204 ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอร์เนต็ ข้อมูลถึงกันได้มากกว่าการรับ – ส่งทางไปรษณีย์ปกติ และการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ เรียกว่า แชท (Chat) ท่ีช่วยให้ทุกคนสามารถคุยโต้ตอบกับทุกคนได้จากทุกมุมโลกนอกจากการ สนทนาระหวา่ งกนั แลว้ ทุกคนยงั สามารถแลกเปล่ียนขอ้ มลู ขา่ วสาร และไฟล์ตา่ ง ๆ ไดอ้ ีกด้วย 2. ด้านการทาธุรกิจออนไลน์ ในปัจจุบันมีร้านค้า และบริษัทต่าง ๆมากมายท่ีกาลัง สนใจทาธุรกิจขายของออนไลน์หรือการทาการตลาดออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการทาธุรกิจการ ซ้ือ – ขายสินค้าออนไลน์ท่ีลงทุนไม่สูงมากหนักเหมือนกับการทาการตลาดแบบเดิมท่ีต้องเสีย คา่ ใชจ้ ่ายในการโฆษณาประชาสัมพนั ธค์ ่อนขา้ งสูงซง่ึ บริษัทผขู้ ายสนิ ค้าสามารถทาการซื้อ – ขายสินค้า กับผู้ซ้ือได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วผู้ซ้ือยังสามารถชาระเงิน และค่าจัดส่งสินค้าได้ หลายช่องทางทั้งทางการโอนเงินผ่านทางธนาคารออนไลน์ Pay Pal Visa หรือผ่านทางตู้ ATM แล้ว ชาระผ่านเคานเ์ ตอรเ์ ซอร์วิสหรือเก็บเงินปลายทางก็สามารถทาได้ 3. ด้านการศึกษา และวินัย ในยุคสังคมสารสนเทศสถาบันการศึกษาต่าง ๆทั้งใน ประเทศไทยและตา่ งประเทศไดเ้ ชอื่ มโยงเครอื ขา่ ยคอมพิวเตอรเ์ ข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิด การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มากมายโดยมีการสร้างความร่วมมือ ทางด้านการศึกษา และการวิจัยต่าง ๆระหว่างสถาบันการศึกษาข้ึนเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนทางไกลและมีการจัดทาฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพ่ือจัดเก็บข้อมูลข่าวสารทางวิชาการและ เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ท้ังเป็นบทความวิชาการและงานวิจัยต่าง ๆในหลากหลายสาขาผู้สนใจ สามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสารท่ีอยู่ในฐานข้อมูลห้องสมุดเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ นอกจากน้ีมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยน ความคิดเหน็ ทางดา้ นวิชาการต่างๆ จึงก่อประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและการวิจัยต่าง ๆ ซ่ึงในยุค สังคมสารสนเทศอินเทอร์เน็ตถือเป็นแหล่งสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซ่ึงผู้ใช้งานทุกคนสามารถ เขา้ ถงึ ขอ้ มูลข่าวสารได้จากทุกมมุ โลก 4. ด้านข้อมลู ข่าวสาร ในสังคมยุใหม่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ซ่ึงทุกคนจาเป็นต้องรู้จัก แสวงหาขอ้ มูลขา่ วสารอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเองให้รู้ทนั กบั การเปลี่ยนแปลงและก้าวทันเหตุการณ์ก้าว ทันโลกซึ่งความรู้และสารสนเทศถือเป็นพลังงานคิดในการอยู่รอดในสังคมยุคปัจจุบันซ่ึงสังคมในยุคนี้ จะมีการจัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศบนอินเทอรเ์ นต็ อย่างมากมายจึงทาให้ข้อมูลข่าวสารท่ีส่งถึงกัน ไดอ้ ย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งสังคมในยุคนี้ได้นาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงช่วยอานวย ความสะดวกตา่ ง ๆ ใหแ้ ก่ทุกคนทัว่ โลกทต่ี อ้ งการติดตามขอ้ มลู ขา่ วสาร และเร่ืองราวเหตกุ ารณต์ ่าง ๆ รอบโลกผ่านทางเว็บไซตบ์ นเครือข่ายอินเทอร์เนต็ 5. ด้านกาหารงานและสมัครงานปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งใน การสมัครงานผ่านอนิ เทอรเ์ นต็ ซึง่ สังคมในยุคนี้มีผู้หางานสนใจที่จะหันมาใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ ในการสบื ค้น และสมัครงานกนั อยา่ งแพรห่ ลายและเป็นที่นิยมมากข้ึนเร่ือย ๆ เนื่องจากการสมัครงาน ทางอินเทอร์เน็ตมีความสะดวก รวดเร็ว และหลายหลายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการหางานจาก รูปแบบการสมัครงานแบบปกติซ่ึงผู้สมัครงานต้องเข้าไปสมัครงานด้วยตนเองยังบริษัทท่ีผู้สมัคร อยากจะทางานดว้ ยด้วยเหตนุ จ้ี งึ ทาให้เสียเวลาในการเดินทางทั้งวันเพื่อสมัครงานเพียงบริษัทเดียวแต่ ในปัจจุบันการสมัครงานได้เปล่ียนแปลงไปสู่การสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตโดยผู้สมัครงานสามารถ

ระบบเครอื ข่ายและอนิ เทอรเ์ นต็ 205 สบื ค้นงานไดจ้ ากแหลง่ สารสนเทศขนาดใหญ่ผ่านทางเว็บไซต์สมัครงานหากผู้สมัครงานต้องการสมัคร งานเว็บไซต์ใดก็เพียงแต่ส่งใบสมัครงานหรือฝากเรซูเม่กับเว็บไซด์จัดหางานนั้น ๆ ได้ทันทีซ่ึงจะมี วธิ กี ารและขนั้ ตอนการสมัครงานง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยากเน่ืองจากผู้สมัครงานจะใช้เวลาในการสมัคร งานทางอินเทอร์เน็ตในเวลาที่ไม่กี่นาทีไม่ถึงช่ัวโมงก็เสร็จและเพียงชั่วพริบตาใบสมัครงานก็ถึง ผูป้ ระกอบการ หรือ บรษิ ทั จดั หางานผ่านเครอื ขา่ ยอนิ เทอร์เน็ตทันที 6. ด้านความบันเทิง ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีความสาคัญต่อชีวิตประจาวันของคนเอ ราหลากหลายดา้ นทงั้ ทางด้านความบนั เทิง (Entertain) ซง่ึ ถือว่าเป็นบริการด้านหน่ึงในอินเทอร์เน็ตที่ ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ออนไลน์ ดูรายการทีวีออนไลน์ฟังรายการวิทยุออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งทุกคนสามารถ เลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ช่ัวโมง ไม่จากัดเวลา และสถานที่โดยทุกคนสามารถ เขา้ ถึงขอ้ มูลข่าวสารจากแหลง่ สารสนเทศตา่ ง ๆ ท่อี ยู่ท่ัวทุกมุมโลกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ บนเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ ได้ การคน้ หาขอ้ มูลโดยใชเ้ ว็บเบราเซอร์ อินเทอร์เนต็ เป็นเครือขา่ ยใยแมงมุมทีม่ ีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทัว่ โลก การค้นหาข้อมลู จากแหล่งตา่ งๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเวบ็ ไซด์กส็ ามารถค้นหาแหล่งข้อมลู โดยใช้ บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ท่ีไดก้ ลา่ วมาแล้ว ปัจจบุ ันการค้นหาข้อมูลทตี่ อ้ งการเปน็ เร่ืองท่กี ระทาได้ สะดวกและรวดเรว็ การพฒั นาเวบ็ ไซตท์ ี่ช่วยสบื คน้ แหลง่ ข้อมลู ท่ีเรียกวา่ (Search Engine) ช่วยให้ การคน้ หาท้ังในรปู ของข้อความและกราฟิกกระทาได้โดยง่าย เวบ็ ไซตท์ ่ีชว่ ยสาหรับการสืบคน้ ข้อมูลท่ี เปน็ ท่ีรจู้ กั กนั อย่างแพรห่ ลาย ได้แก่ google.co.th,altavista.com,lycos.com,excite.com,hotbot.com,webcrawler.co m, ask.com, infoseek.com, yahoo.com , northernlight.com เป็นตน้ นอกจากน้ยี ังมเี ทคนิค และขัน้ ตอนในการหาข้อมูลทางอินเทอรเ์ น็ต ดงั ต่อไปนี้ 1. วางแผนการหาขอ้ มลู ทีต่ ้องการ ซงึ่ ต้องรูใ้ หแ้ นช่ ัดวา่ ต้องการอะไร 2. ใช้เครอื่ งมือคน้ หาเว็บไซดแ์ บบสารบบ (Directory) สาหรับการคน้ หาหวั ข้อ เชน่ yahoo.com looksmat.com และใชเ้ ครื่องมือค้นหาทั่วไป ถา้ ไม่ทราบหวั ขอ้ เรื่อง หรือในกรณีท่สี ่งิ ทตี่ ้องการค้นหาเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงมาก 3. ถา้ เคร่อื งมอื ค้นหาแบบเดยี วให้ผลไมส่ มบูรณ์ใหใ้ ชเ้ ครอ่ื งมอื คน้ หาอน่ื ๆ ด้วย เนือ่ งจากวา่ เคร่ืองมอื ค้นหาแตล่ ะแบบจะครอบคลุมเว็บไซตแ์ ตกต่างกนั 4. ระบุคานามเพื่อการคน้ หาใหเ้ ฉพาะเจาะจงมากทส่ี ุด เคร่ืองมือค้นหาเว็บไซตส์ ว่ น ใหญ่จะไมอ่ ่านคากรยิ า คาคุณศพั ท์ และคาสันธาน 5. ให้แก้ไขคาหลัก (Keywords) ด้วยเครือ่ งหมาย + (รวม) และ – (ไมร่ วม) ซงึ่ เคร่อื งหมาย + จะหาข้อมูลท่ีมกี ล่มุ คาตรงกับท่ผี ู้ใชร้ ะบุไว้ ส่วน – จะหาข้อมลู ท่ีมีคาที่ผูใ้ ชร้ ะบุคา เดยี วโดยไม่รวมคาอ่ืน ๆ 6. การคน้ หาวลี โดยการใส่เครื่องหมาย “---“ จะใหผ้ ลการค้นหาท่ดี ีกว่าการคน้ หา ดว้ ยการใสค่ าหลกั หลาย ๆ คาทไ่ี ม่เกยี่ วข้องกนั และควรให้เคร่ืองหมาย “---“ ควบคกู่ ับ + หรือ –

206 ระบบเครอื ข่ายและอินเทอรเ์ นต็ 7. ใช้เคร่อื งหมาย * ชว่ ยในการค้นหา เช่น retriev* แทนการค้นหาคา retrieve, retriever, retrieval 8. พมิ พ์คาคน้ หาเปน็ ภาษาอังกฤษพิมพ์เลก็ 9. ใหใ้ ส่หัวเรื่องหลกั ไว้ในส่วนตน้ ของการคน้ หา เน่ืองจากเครอ่ื งมือคน้ หาจะค้นหา จากคาแรกก่อน 10. ใหป้ อ้ นคาคน้ หาข้อมลู ส่วนทส่ี นใจให้ได้คาตอบเพยี งไม่กข่ี อ้ จากนน้ั ให้ใชค้ าถาม เดยี วกันคน้ หาจากเคร่ืองมือค้นหาอ่ืน ๆ รปู ท่ี 6.30 ตัวอยา่ งเวบ็ ไซตท์ ่ีชว่ ยค้นหาข้อมลู ทม่ี า naiisuwatchaii.blogspot.com, 2557 เวบ็ เพจศูนย์รวม (Portal Web Page) เว็บเพจศูนย์รวม เป็นเว็บไซด์ที่รวมการให้บริการต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต เช่น เครื่องมือ ค้นหา (Search Engines), ฟรีอีเมล์ (Free E-mail) ห้องสนทนา (Chat Rooms), ข่าวสาร (News), เนือ้ ทเี่ ว็บไซต์ส่วนตัว (Free Personal Web) และการเช่อื มโยงไปยงั เว็บไซตอ์ น่ื ๆ เป็นต้น เว็บศนู ยร์ วมท่ีเป็นท่ีรู้จักกันทั่วไป เช่น yahoo.com , msn.com และ google.com ส่วน เว็บศูนย์รวมของไทย เช่น ocatcha.co.th, web.co.th, sanook.com, pantip.com, mthai.com, kapok.com, hunsa.com,shine.com เป็นต้น

ระบบเครอื ขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ 207 รปู ท่ี 6.31 ตวั อยา่ งเวบ็ ศูนยร์ วม (Portal Web) ท่ีมา slideplayer.in.th, 2557

208 ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอรเ์ นต็ บทสรุป ในบทนไ้ี ด้กล่าวถึงเทคโนโลยอี ินเทอร์เนต็ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประวัติความเป็นมา ของอนิ เทอร์เนต็ การเชอื่ มตอ่ อินเทอร์เน็ต เวลิ ด์ไวด์เว็บ และธุรกิจเชิงพาณิชย์ ได้กลายเป็นนวัตกรรม ทางเทคโนโลยีท่ีช่วยย่อโลกของเราให้เล็กลง ช่วยให้มนุษย์เราสามารถส่ือสารและใช้ประโยชน์จาก เครอื ขา่ ยใยแมงมมุ แห่งน้ีไดอ้ ย่างมากมายมหาศาล รวมถึงเครือข่ายอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตที่นา โครงสร้างพ้ืนฐานของอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ทาให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างองค์กรได้ ภายใต้ระบบความปลอดภัยท่ีน่าเชื่อถือ นอกจากนี้บทบาทสาคัญของอินเทอร์เน็ตและเว็บยังได้ กอ่ ใหเ้ กิดธุรกรรมบนเวบ็ ในรปู แบบต่าง ๆ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็มีอยู่หลายวิธีให้เลือกใช้งาน ตามความเหมาะสม อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ท่ีใหญ่ท่ีสุดในโลก ซ่ึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวรแ์ ละซอฟต์แวร์ ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โดยปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดต่อขอรับบริการจดหมาย อเิ ล็กทรอนิกส์ไปยงั มหาวทิ ยาลยั เมลเบิร์นโดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียตามโครงการ IDP ซ่งึ การเชื่อมโยงในขณะน้นั จะใชส้ ายโทรศัพท์ ซึ่งสง่ ขอ้ มลู ได้ชา้ และไมเ่ ป็นการถาวร ต่อมาในปี พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพ่ือเชื่อมโยงเข้ากับ เครือข่ายยูยูเน็ต (UUNET) ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จากัด (UUNET Technologies Co., Ltd.) ซ่ึงตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกัน สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั เรียกเครือขา่ ยนว้ี า่ เครอื ข่ายไทเน็ต (THAINET) ในปีเดียวกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( National Electronics and Computer Technology Center หรือ NECTEC) ได้จัดต้ังเครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network หรือ ThaiSARN) ซ่ึงต่อมาได้ต่อกับ เครือขา่ ยของยูยเู นต็ และในปัจจุบันไทยสารเชื่อมโยงกบั สถาบันตา่ ง ๆ การเชื่อมต่อเพ่อื ใชร้ ะบบอินเทอรเ์ นต็ โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษา ท้ังของรัฐและเอกชนจะให้บริการแก่ผู้ใช้โดยเฉพาะบุคลากรของหน่วยงานนั้นๆ นอกจากหน่วยงาน ดงั กล่าวแล้วผู้ใชย้ ังสามารถเช่ือมต่อระบบอินเทอร์เน็ตโดยใช้บริการขององค์การที่เรียกว่าผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP) ตัวอย่างช่ือโดเมนของกระทรวงศึกษาธิการ คือ moe.go.th ซึ่ง moe เป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ (เคร่ืองแม่ข่าย) ส่วน go เป็นช่ือโดเมนย่อยระบุ ประเภทองคก์ ารเป็นองคก์ ารของรัฐและ th เปน็ ช่อื โดเมนระดับบนสุดหมายถึงประเทศไทย ในปจั จุบันยงั มรี ูปแบบการทาธุรกจิ ผ่านสอื่ อิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่งท่ีได้รับความนิยม มากข้ึนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การทาธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคล่ือนท่ีและพีดีเอ (PDA) หรือ ที่เรียกว่า

ระบบเครือขา่ ยและอนิ เทอร์เนต็ 209 Mobile E-commerce เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ และหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติ การส่ังซ้ือสินค้า และบริการ การดาวน์โหลดเกม เป็นต้น นอกจากคาว่า E-Commerce แล้วยังมีคาว่า E-Business หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ คนจานวนมากเข้าใจว่า E-commerce และ E-Business มีความหมายเดียวกันและใช้แทนกันได้ แต่ ในความเป็นจริงแล้วความหมายของท้ังสองคาจะไม่เหมือนกันเลยทีเดียว คาว่า E-Business จะมี ความหมายท่ีกว้างกว่า โดยหมายถึง การดาเนินธุรกรรมทุกข้ันตอนผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ท้ังในส่วน หน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซ้ือขาย สนิ ค้าหรอื บริการผา่ นส่ืออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่ง ของ E-Business นัน่ เอง

210 ระบบเครือข่ายและอินเทอรเ์ นต็ แบบฝกึ หดั ทา้ ยบทที่ 6 ตอนที่ 1 จงใช้เครื่องหมาย  วงตรงคาตอบท่ีถกู ตอ้ งทส่ี ดุ เพยี งขอ้ เดยี ว 1. ความหมายของอนิ เทอรเ์ น็ตขอ้ ใดถกู ตอ้ ง ก. เปน็ เครอื ขา่ ยขนาดกลาง ข. เปน็ เครอื ข่ายขนาดเล็ก ค. เปน็ เครือข่ายท่ปี ระกอบไปดว้ ยฮาร์ดแวร์เท่านัน้ ง. เป็นอุปกรณ์ต่างๆและกลุ่มของเครื่องคอมพวิ เตอร์ที่ประกอบดว้ ยฮาร์ดแวรแ์ ละ ซอฟตแ์ วร์ จ. อุปกรณต์ ่าง ๆ ที่ ประกอบดว้ ย ซอฟตแ์ วร์ 2. การเชือ่ มโยงเพื่อย้ายเอกสารไปยงั แหล่งท่ีตง้ั ผา่ นลิงค์ท่ีคลกิ ลงไป เรียกวา่ อะไร ก. HTML ข. Web Browser ค. Hyperlink ง. XHTML จ. Router 3. โปรแกรมท่องเวบ็ ตวั แรก ท่นี าเสนอข้อมูลแบบกราฟกิ ได้ คอื โปรแกรมใด ก. Internet Explorer ข. Firefox ค. Mosaic ง. Chrome จ. Safari 4. http://www.udru.ac.th ยอ่ มาจากอะไร ก. นิตบิ คุ คล ข. สถาบันการศึกษา ค. หนว่ ยงานทหาร ง. บคุ คลทวั่ ไป จ. หนว่ ยงานราชการ 5. เวบ็ ไซต์ YouTube เกย่ี วขอ้ งกับส่ิงใด ก. Instant Messaging ข. Streaming Media ค. Cookies ง. Bot จ. Messenger

ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เนต็ 211 ตอนที่ 2 จงตอบคาถามต่อไปน้ี 1. อินเทอรเ์ นต็ คืออะไร ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… 2. อินเทอรเ์ น็ตมีบทบาทสาคัญต่อการดาเนนิ ชีวติ ของผคู้ นในยุคนี้มากน้อยเพยี งใด ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… 3. ผูเ้ รียนมีการใช้อินเทอรเ์ น็ตเพ่ือดาเนินธุรกรรมอะไรบา้ ง จงยกตัวอย่าง ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… 4. จงบอกความแตกตา่ งระหวา่ งเครือข่ายอนิ เทอรเ์ น็ต อนิ ทราเน็ต และ เอ็กซ์ทราเนต็ ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… 5. แนวคิดของเครือขา่ ยใยแมงมุม หรือ World Wide Web เกดิ ขึ้นจากอะไร ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ตอนท่ี 3 กิจกรรมฝึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข่าว 1. จงเลือกเวบ็ ไซต์ที่ประทบั ใจ 1 เว็บไซต์ Print Screen หน้าเว็บ ทาการวิจารณ์เวบ็ ไซต์ พร้อมทง้ั บอกข้อดี 5 ขอ้ และ ขอ้ เสยี 5 ข้อ และสง่ เขา้ e-mail ผสู้ อน 2. เข้าใช้งานแอปพลิเคช่ัน หรือ Social ท่ีได้รบั ความนยิ ม Top5 ตามนยิ ามทกี่ ลา่ วไวว้ า่ “Post Comment Like & Share อยา่ งมีสติ และ ระมัดระวัง” พรอ้ มทง้ั สรุปส่งเขา้ e-mail ผู้สอน

212 ระบบเครอื ข่ายและอนิ เทอร์เนต็ เอกสารอา้ งองิ กิดานันท์ มะลิทอง. (2539). อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์และมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั . กติ ติ ภกั ดวี ัฒนะกลุ . (2551). การส่อื สารขอ้ มลู และเครอื ค่ายคอมพิวเตอร์. กรงุ เทพฯ: บรษิ ัท เคทพี ี คอมพ์ แอนด์ คอนซันท์. คณาจารยม์ หาวทิ ยาลัยราชภฏั สวนดุสิต. (2546). เทคโนโลยสี ารสนเทศเพอ่ื การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดสุ ติ . เดชานุชติ กตญั ญูทวีทรัพย์. (2548). การสื่อสารขอ้ มูลและเครอื ขา่ ยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: มณฑลการพมิ พ์. เตชา อัศวสิทธิถาวร. (2547). เทคโนโลยีสารสนเทศเบ้ืองตน้ . กรุงเทพฯ: วังอกั ษร. พจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [Online]. Available: http://www.it24hrs.com [1 มถิ นุ ายน 2557]. พรชยั จันทรศุภแสง. (2546). ผา่ โลก INTERNET ฉบับสมบรู ณ์. กรุงเทพฯ: เอ อาร์ อินฟอรเ์ มช่นั แอนด์ พับลเิ คช่นั . ภุชชงค์ เกวยี กกุทณั ฑ์. (2545). INTERNET ฉบับนักศึกษา. กรุงเทพฯ: เอส.พ.ี ซ.ี พริ้นตง้ิ . วิกิพีเดียสารนุกรมเสรี [Online]. Available: http://www.upload.wikimedia.org/wikipidia. commons5/5a/transistor.agr.jpg [1 มิถนุ ายน 2557]. สรุ เดช พรประภา. (2541). เรยี นลัดอินเตอรเ์ นต็ ใน 24 ช่วั โมง. กรงุ เทพฯ: ไซมอน แอดน์ ชสู เตอร์ อนิ โดไชนา่ . โอกาส เอยี่ มสิริวงศ.์ (2548). เครอื คา่ ยคอมพิวเตอร์และการสือ่ สาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคช่ัน. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ,์ (2557). วทิ ยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซเี อ็ดยเู คชนั่ .

บรรณานกุ รม กรมสามัญศกึ ษา. (2536). การศกึ ษาสภาพการจดั ซื้อจัดหาและการใช้คอมพวิ เตอรใ์ นโรงเรยี น มธั ยมศกึ ษา สังกดั กรมสามัญศึกษา ปกี ารศึกษา 2535. กรุงเทพฯ: กองแผนงานกรม สามญั ศึกษา. กติ ติ ภักดวี ัฒนะกุล, (2547). คัมภรี ์ระบบสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร, เคทีพี คอมพ์ แอน คอนซลั ท.์ กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2551). การสอื่ สารขอ้ มูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรงุ เทพมหานคร. บรษิ ทั เคทพี ีคอมพ์แอนด์คอนซลั ท์. กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2553). เอกสารประกอบการบรรยายการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยรงั สติ . กนกวรรธน์ เชี่ยงเจน็ , Data Management. สานักวชิ าเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สาร. มหาวทิ ยาลยั นเรศวร พะเยา. [Online]. Available: https://elearning.northcm.ac.th /it/object.asp [5 มิถุนายน 2557]. กดิ านันท์ มะลิทอง. (2539). อนิ เทอร์เนต็ คอมพิวเตอร์และมัลติมเี ดยี . กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. กรชิ สมกันธา, (2555). ความรู้พื้นฐานทางดา้ นวิทยาการคอมพิวเตอร.์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อดุ รธานี. คณะกรรมการกลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น. (2546). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องตน้ . โรงพมิ พ์มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมมาธิราช. คณาจารยม์ หาวิทยาลัยราชภัฏสวนดสุ ิต. (2548). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรยี นรู้. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลยั ราชภฏั สวนดุสติ . ครรชิต มาลัยวงศ.์ (2540). ทศั นะไอท.ี กรงุ เทพมหานคร, บรษิ ทั ซเี อ็ดยเู คช่นั (มหาชน). ดวงแก้ว สวามิภักดิ.์ (2535). ระบบฐานขอ้ มลู . บรษิ ทั ซเี อด็ ยเู คช่นั จากดั (มหาชน). เดชานุชิต กตญั ญูทวที รัพย์. (2548). การสอื่ สารข้อมลู และระบบเครอื ขา่ ยคอมพิวเตอร์. กรงุ เทพมหานคร. มลฑลการพิมพ์. เตชา อัศวสิทธถิ าวร. (2547). เทคโนโลยสี ารสนเทศเบอื้ งต้น. กรงุ เทพมหานคร, วงั อกั ษร. ทพิ วรรณ หล่อสุวรรณรตั น์, (2545). ระบบสารสนเทศเพอื่ การจดั การ. กรุงเทพมหานคร, เอส แอนด์ จี กราฟฟิค. ทัศนัย เปียระบุตร. (2546). โทรคมนาคม การส่ือสารข้อมูล และเครอื ข่ายคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 5. นนทบรุ .ี มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. ภาควชิ าวิทยาการคอมพวิ เตอร์ มหาวทิ ยาลยั บรพู า. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อื สาร. มหาวทิ ยาลัยบรูพา. บัณฑติ ศึกษา สาขาวิชาศลิ ปะศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั สโุ ขธรรมาธริ าช. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีเพ่ือการจัดการสารสนเทศหนว่ ยท่ี 1-15. นนทบรุ ,ี มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช.

214 พจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [Online]. Available: http://www.it24hrs.com [1 มถิ นุ ายน 2557]. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [Online]. Available: http://www.royin.co.th/th/home [15 มถิ ุนายน 2557]. พรชัย จันทรศภุ แสง. (2546). ผ่าโลก INTERNET ฉบบั สมบูรณ.์ กรงุ เทพมหานคร. เอ อาร์ อินฟอร์เมช่นั แอนด์ พับลิเคช่ัน. พระราชบญั ญัติ, (2550). การกระทาผิดเกย่ี วกบั คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. พิเชษฐ์ บญั ญตั .ิ การจดั การความรูใ้ นองคก์ ร. เชียงใหม่: วารสารหอ้ งสมุดมหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม.่ ภุชชงค์ เกวียกกุทณั ฑ์. (2545). INTERNET ฉบบั นักศกึ ษา. กรุงเทพมหานคร. เอส.พ.ี ซี.พร้นิ ติง้ . มหาวทิ ยาลัยนเรศวร พะเยา. [Online]. Available: http://courseware.nu.ac.th/docu /mk380/f4.1.htm [5 มิถุนายน 2557]. มหาวิทยาลยั สโุ ขธรรมาธริ าช. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชา-เทคโนโลยเี พือ่ การจดั การ ส า ร ส น เ ท ศ หนว่ ยที่ 1-15. นนทบรุ ี: มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. ยาใจ โรจนว์ งศช์ ยั . (2550). คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยสี ารสนเทศสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สานักพิมพแ์ มคกรอฮิลล์. วาสนา สุขกระสารติ, (2541). โลกของคอมพิวเตอรแ์ ละสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร, จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วกิ พิ เี ดียสารนุกรมเสรี [Online]. Available: http://www.upload.wikimedia.org/wikipidia. commons5/5a/transistor.agr.jpg [1 มิถุนายน 2557]. วิจารณ์ พาณชิ . (2551). การจัดการความรฉู้ บบั นกั ปฏิบัติ. (พมิ พค์ รัง้ ที่ 4). กรงุ เทพมหานคร. สานกั พิมพส์ ขุ ภาพใจ. บรษิ ัท ตถาตา พบั ลเิ คชัน่ จากดั . วศิน เพิ่มทรัพย์และวิโรจน์ ชยั มลู , (2548). ความรูเ้ บื้องต้นเกีย่ วกบั คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร. ศรีไพร ศกั ดร์ิ ่งุ พงศากุล. (2548) เทคโนโลยคี อมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร, บรษิ ทั ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน). ศรไี พร ศักด์ิรุ่งพงศาสกุล และ เจษฎาพร ยทุ ธนวิบลู ยช์ ยั . (2549). ระบบสารสนเทศและการจัดการ เทคโนโลยีการจัดการความร.ู้ (พมิ พ์ครงั้ ที่ 10). กรุงเทพมหานคร. บรษิ ทั ซเี อ็ดยเู คช่ัน จากัด (มหาชน). สานิตย์ กายาผาด. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพอ่ื ชวี ติ . กรงุ เทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชนั่ (มหาชน). สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา- คอมพิวเตอรเ์ บอ้ื งตน้ หน่วยท่ี 1-7. นนทบุรี. โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. สุชาดา กีระนันท์น์. (2541).เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ : ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . สขุ ุม เฉลยทรัพย์และคณะ. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะมนษุ ย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสวนดสุ ติ .

215 สพุ รรษา ยวงทอง (2557). ความรู้เบื้องตน้ เก่ยี วกบั คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร, บริษัท โปรวชิ นั่ จากัด. ไสว มาลา (2542). คู่มือการศกึ ษาจรยิ ธรรม. กรมการศาสนา. สรุ เดช พรประภา. (2541). เรยี นลัดอินเตอรเ์ น็ตใน 24 ชวั่ โมง. กรุงเทพมหานคร. ไซมอน แอดน์ ชสู เตอร์ อนิ โดไชนา่ . สานกั งานสถาบนั ราชภัฏ. (2546). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวชิ าเทคโนโลยสี ารสนเทศเพ่ือ การเรียนร้.ู โอภาส เอี่ยมสิรวิ งศ์, (2557). วิทยาการคอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยสี ารสนเทศ. กรงุ เทพมหานคร, ซีเอด็ ยูเคชั่น จากัด (มหาชน). โอภาส เอย่ี มสริ วิ งศ์. (2548). เครอื คา่ ยคอมพิวเตอรแ์ ละการส่อื สาร. กรุงเทพมหานคร. ซีเอด็ ยเู คช่ัน. Brian, K. W., Stacey C. S. (2013). Using Information technology (11th ed.) Pearson New International Edition. New York. Mcnurlin, S. B., (2014). Information Systems Management (8th ed.) Pearson New International Edition. USA. [Online]. Available: http://techemit.blogspot.com [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: https://ckingkaew85.wordpress.com [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://update.in.th/1474/early-science-labs-18 [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.2tsu.ac.th/cst/course/computer_it/lesson1/lesson1- 1.html [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: https://suphansapm1884.wordpress.com [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.chakkham.ac.th/technology/computer /web02.htm [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.atom.rmutphysics.com [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://ib1.s3.amazonaws.com/attachments%2FIBM_1401.jpg [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.shc.ac.th/ [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.digibarn.com/stories/ibm-pc-25/erik-klein-photos/ [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_ content&view=article&id=85&Itemid=101 [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://images.thaiza.com/14/14_20130403104257.jpg [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://jijunjang.files.wordpress.com/2013/03/26.jpg [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://ckingkaew85.wordpress.com/ [1 มิถนุ ายน 2557].

216 [Online]. Available: http://shopap.lenovo.com/th/th/desktops/lenovo/q-series/q180/ [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.mnetworksystem.com/image/pictures- /14018621581754828804.jpg [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://www.asus.com [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://www.toshiba.com [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://news.siamphone.com/news-20872.html [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.quickpcextreme.com/blog/?p=16748 [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.techxcite.com/topic/3872.html [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.srisangworn.go.th/albums/album15/pda.jpg [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://elec-thai.blogspot.com/2012/12/pic.html [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://www.flickr.com/photos/82566876@N03/8412687808/ [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.4csc.ku.ac.th/~b5340201350/unit%203.html [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://chulakorn2516.blogspot.com/ [1 มถิ นุ ายน 2557] [Online]. Available: http://www.jomgan.com [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.oknation.net/blog/lookikung1/2009/02/17/entry-3 [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.it24hrs.com [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.motortrivia.com [1 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.filezaap.com [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://krusorndee.net/m/group?id=6280781%3AGroup% 3A1785465&maxDate=2014-08-02T02%3A46%3A32.245Z [1 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://sunida288.wordpress.com [1 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.dailygizmo.tv/ [1 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.bua-yai.ac.th/buayai/buayai_web/html_web/unit_1/ information_data_st.htm [5 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://noofonculbblog.wordpress.com/ [5 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://program38.blogspot.com [5 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.slideshare.net/DrKrisada/3-38514273 [5 มิถุนายน 2557].

217 [Online]. Available: http://www.tice.ac.th/division/website_c/about/page1.htm [5 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://slideplayer.in.th/slide/2778264/ [5 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://slideplayer.in.th/slide/2778264/ [5 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thaiall.com/uml/indexo.html [5 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.softcon.co.th/ [5 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://chonlhong.blogspot.com/2013/03/blog-post_9463.html [5 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/dbsystem/field.html [5 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.prosoftmyaccount.com/ArticleInfo.aspx ?ArticleTypeID=584&ArticleID=5975 [5 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thanachartfund.com/Edu_Pfs/ip54.htm [5 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.srayaisomwittaya.ac.th/webinformation/ [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thaiall.com [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://kruyaocom.blogspot.com/p/blog-page_45.html [15 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://kruyaocom.blogspot.com/p/blog-page_45.html [15 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://teerapat-gm11.blogspot.com [15 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/ Management%20Information%20Systems/mis5.htm [15 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://uc.exteen.com/zigmagirl/images/pic6/dss.jpg [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://slideplayer.in.th/slide/2210161/ [15 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available:http://www.crm-c.com [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://knotzacr.blogspot.com/2014/06/blog-post_4.html [15 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.gisth.com [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://knotzacr.blogspot.com [15 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://panneetaemin.wordpress.com [15 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://rujnattapat.wordpress.com [15 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://nuclearcrazykingdom.wordpress.com [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.ibm.com [15 มิถนุ ายน 2557].

218 [Online]. Available: http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340205428/chap13.html [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://kruyaocom.blogspot.com/p/blog-page_45.html [15 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://kruyaocom.blogspot.com/p/blog-page_45.html15 [15 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.scriptdd.com/webtip/google_apps.html [30 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://wiphadaa.blogspot.com/2014/02/ethics-2546-4-papa- information-privacy.html [30 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://share.psu.ac.th/system/assets/media/files/000/022/077/ original_kavrescuredsk25.jpg [30 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.ku.ac.th/magazine_online/law.html [30 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: https://ubonrat.wordpress.com/ [30 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://7meditation.blogspot.com/2014/02/firewall.html [30 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://news.thaiware.com/1119.html [30 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.il.mahidol.ac.th/ [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.e-media/computer/network/net_datacom2.htm [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.tanakorntongmee.blogspot.com [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://kruartit.com/bottee3-2.html [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://monkeyknesz.blogspot.com/lovetoknow.com [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.innovation-technology/satellite-phone-costs [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://cellphones. /2011/06/1g-2g-3g-4g.html [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.pbj.ac.th/IT11/C8.htm, [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://g03.s.alicdn.com/kf/HT1kK9XFHJgXXagOFbX5/202786500/ HT1kK9XFHJgXXagOFbX5.jpg [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.amazon.com/Sling-Media-SlingCatcher-SC100- 100Universal/dp/B000VXD2S8 [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.conferencecal.com/page/2/ [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.lifesize.com/en/solutions/industry/education [20 มิถุนายน 2557].

219 [Online]. Available: http://anniesack.blogspot.com/2013/09/blog-post.html [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://comnetwork2013.blogspot.com/2013/11/topology.html [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://supachai52.wordpress.com/network-topology [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: https://cherlyndeluna.wordpress.com/2011/04/28/ring-topology/ [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://supachai52.wordpress.com/network-topology [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.datacom2u.com/ClientServerNetworks.php [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.technointrend.com/2014/08/type-network-computer/ [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://loveblue085.blogspot.com/2014/05/lan-man-wan.html [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.cctvbangkok.com/image/Articles/136/ 03-wireless-access-point.jpg [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://th.wikipedia.org/wiki/ [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://networkdesignbyball.weebly.com/uploads/1/0/9/8/ 10987779/337630.gif? [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.il.mahidol.ac.th [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.technowimut.siam2web.com [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://lnfinitestratos2.blogspot.com [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.instrumentic.info [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thailandindustry.com [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.pinnacle.in.th [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.vcharkarn.com [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://pantip.com/topic/30635096 [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/ [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.470MHz_Cellular_Mobile_Telephone_ System/index.php [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?id=76376 [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://km.intrachai.ac.th/km/external_links.php?links=492 [20 มิถนุ ายน 2557].

220 [Online]. Available: http://simone.tarad.com/product.detail_856567_th_4219207 [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://aom-pattrawan.blogspot.com [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.wireless-adapter-review.toptenreviews.com [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://blog.chinavasion.com/index.php/22633/what-is-wi-fi-direct- and- how-does-it-work/ [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.slideplayer.in.th [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://kruartit.com/bottee3-3.html [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.sitecom.com [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.sysnetcenter.com/ [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://prices.kitguru.net/productinfo/49411/sitecom-wl-606- wireless-network-adsl-2+-modem-router-54g/photos [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thaiblogonline.com/04671.blog?PostID=26067 [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://thn21499-g-02.blogspot.com/ [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: https://www.gravitechthai.com/guru2.php?p=279 [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: www.thaigoodview.com [20 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thongsuta57.wordpress.com [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://mc403-06.blogspot.com/2014/04/6-medium-bandwidth- bits-1- bitsper.html [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: www.thailandindustry.com [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://maew-123.blogspot.com/2011/01/blog-post_13.html [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://maimaitarini.blogspot.com/ [20 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/ Principle_of_Satellite_Communications /index.php [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://tamonpanz.blogspot [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.taladwireless.com [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.ecti-thailand.org/assets/user_files/fck/ wimax/image4.jpeg [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://tanapatkajornyotin.files.wordpress.com/2013/01/ networkbus.jpg [20 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.huaikrot.ac.th/web/network/lession3/net4.htm [20 มถิ นุ ายน 2557].

221 [Online]. Available: http://www.nury2011.wordpress.com [20 มถิ ุนายน 2557] [Online]. Available: https://www.chakkham.ac.th [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://th.wikipedia.org/wiki/ [20 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://aj2515.blogspot.com/ [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://pofaymangguanting.blogspot.com/ [25 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.krujongrak.com/internet/page10.html [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.thaigoodview.com/library/contest1/tech04/38/ connect.html [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://goodwebway.com/wp-content/uploads/2013/06/ ecommerce-13.jpg [25 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://megane-koko.blogspot.com/ [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.21.worawut-k.ws/index.php/browser/ [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: https://upload.wikimedia.org/wikipedia [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://2.bp.blogspot.com/ [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.online-station.net/event/gameonline/4958 [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://51010915048.blogspot.com/ [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://itc.ua/img/ko/2003/26/netmeeting.jpg [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://cptd.chandra.ac.th/%5Cselfstud%5Cinternet% 5Chtm_telnet.htm [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.justusers.net/articles/download/idm/idm.htm [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.copycddvd.com/uploadfile [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.naiisuwatchaii.blogspot.com [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.slideplayer.in.th [25 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: fatmee329.blogspot.com [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: www.se-ed.com [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: www.flowerclick.net [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: www.FoodMarketExchange.com [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://themecraft.net/ [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.custom.go.th [25 มถิ ุนายน 2557]. [Online]. Available: http://www.pramool.com [25 มถิ นุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://www.rd.go.th [25 มิถุนายน 2557]. [Online]. Available: www.citysoft.co.th [25 มิถุนายน 2557].

222 [Online]. Available: http://ladysinorita.blogspot.com/2012/08/assignment10-web- application.html [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: https://www.paysbuy.com/help-detail-56.aspx [25 มิถนุ ายน 2557]. [Online]. Available: http://lms.mju.ac.th/courses/165/locker/ch_01_001_introl.html [25 มถิ ุนายน 2557].

ภาคผนวก

224 ภาคผนวก ก. เฉลยแบบฝกึ หดั ท้ายบท ตอนที่ 1

225 บทท่ี 1 (เฉลย) ตอนที่ 1 1. ง 2. จ 3. จ 4. ข 5. ค จ 3. ค 4. ก 5. ค บทท่ี 2 (เฉลย) ง 3. ค 4. ข 5. ก ตอนที่ 1 ค 3. ค 4. ก 5. ก ก 3. ค 4. ข 5. ข 1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ข บทท่ี 3 (เฉลย) ตอนท่ี 1 1. ง 2. บทท่ี 4 (เฉลย) ตอนที่ 1 1. จ 2. บทท่ี 5 (เฉลย) ตอนที่ 1 1. จ 2. บทที่ 6 (เฉลย) ตอนที่ 1 1. ค 2.

226 ภาคผนวก ข. ค่มู ือปฏิบตั กิ ารคอมพวิ เตอร์

227 ระบบปฏิบตั ิการ Windows 7

228 ความรเู้ บือ้ งตน้ เกีย่ วกับระบบปฏิบตั กิ าร 1. ซอฟตแ์ วรร์ ะบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมหรือคาสั่งท่ีทาหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของ ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ แบง่ เป็น 2 ประเภท คอื 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) เป็นชุดคาส่ังท่ีทาหน้าท่ีเป็น สื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System หรือ DOS), Windows 98, Windows 2000, Windows XP, Linux และ UNIX เป็นต้น 1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จาเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ท่ีใช้ ในการแปลภาษาระดับสูง เพ่ือแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่าน้ีสร้างขึ้นเพ่ือให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคาสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึง สามารถปรบั ปรงุ แก้ไขซอฟต์แวรใ์ นภายหลงั ได้ ภาษาระดับสูงท่ีพัฒนาข้ึนมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสาหรับแปลภาษา ภาษา ระดับสูงซงึ่ เป็นทร่ี จู้ ักและนิยมกันมากในปัจจบุ นั เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก และภาษาซี เปน็ ตน้ ดังนั้นในการส่ังให้คอมพิวเตอร์ทางาน จึงจาเป็นต้องมีตัวกลางท่ีทาหน้าที่เสมือนเป็นนัก แปลภาษาโปรแกรมที่นามาใช้เรียกว่าโปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ซ่ึงจะทาหน้าท่ี แปลภาษาระดับสงู ที่เป็นโปรแกรมตันฉบับ ให้อยู่ในรูปของโปรแกรมเรียกใช้งานท่ีเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าใจและสามารถทางานได้ 2. บคุ ลากร (People ware) บุคลากร คือ บุคคลท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องในการทางานด้านคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของ People ware ได้แก่ นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer), นักวิเคราะห์ระบบ (System Annalist), วิศวกรระบบ (System Engineer), ผใู้ ช้งาน (User) การใช้งานระบบปฏบิ ตั ิงาน Windows 7 1. โฟลเดอร์ (Folder) โฟลเดอรเ์ ปรยี บเสมอื นแฟม้ เอกสารทใี่ ชแ้ บ่งไฟล์ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกใน การค้นหาไฟล์ ภายในโฟลเดอร์สามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อยเพื่อแบ่งกลุ่มไฟล์ย่อยๆ ลงไปอีกได้การตั้ง ช่ือไฟล์หรือโฟลเดอร์สามารถมีอักขระได้มากท่ีสุด 255 อักขระรวมถึงช่องว่างด้วย แต่ไม่สามารถมี อกั ขระตอ่ ไปน้คี อื \\ / : * ? \" < > | 2. โปรแกรมจัดการไฟล์และโฟล์เดอร์ (Windows Explorer) Windows Explorer คือ โปรแกรมท่ี Microsoft Windows XP จัดหามาให้เพ่ือใช้ สาหรับการจัดการในเร่ืองของดิสก์ ไฟล์ และโฟลเดอร์ เราสามารถเรียกใช้โปรแกรม Windows Explorer โดยการคลิกที่ปุ่ม Start >> All Program >> Accessories >> Windows Explorer หรอื นาเมาส์ไปชท้ี ปี่ ่มุ Start คลิกเมาส์ขวาจะปรากฏเมนูยอ่ ยขึน้ มา แลว้ คลิกคาสง่ั “Explore”

229 ส่วนประกอบของ Windows Explorer 1. Menu Bar คือ ส่วนในการเลอื กคาสัง่ ของโปรแกรม 2. Toolbar คือ ส่วนไอคอนที่เป็นรปู ภาพ ทาให้การเรยี กงานใช้สะดวกขน้ึ 3. ส่วนแสดงโครงสรา้ ง คอื สว่ นท่ีแสดงโครงสรา้ งของโฟลเดอร์ท่จี ัดไวใ้ นระบบ 4. สว่ นแสดงรายชื่อไฟล์ คือ สว่ นที่แสดงรายช่อื ไฟล์และโฟลเดอร์ยอ่ ย (ถ้ามี) ของ โฟลเดอรท์ ่ีเลือกไวใ้ นส่วนแสดงโครงสรา้ งขณะนั้น แสดงการใช้งาน Windows Explorer การสรา้ งโฟลเดอร์ เมอ่ื ต้องการสร้างโฟลเดอร์ภายในดสิ ก์ สามารถทาได้ตามข้ันตอนตอ่ ไปน้ี 1. คลิกทตี่ ัวอักษรแทน Drive ที่ตอ้ งการสร้างดสิ ก์ (ในกรณีท่ีต้องการสร้างโฟลเดอร์ ยอ่ ยในโฟลเดอรอ์ น่ื ๆ ใหค้ ลกิ ทีช่ อื่ โฟลเดอร์ท่ตี ้องการสรา้ งโฟลเดอรย์ ่อยภายใน) 2. คลกิ ท่เี มนู File และเลื่อนเมาสม์ าบริเวณคาสั่ง New จะปรากฏเมนูยอ่ ยขึน้ ทาง ด้านขวาใหค้ ลิกที่ คาส่งั Folder ดังภาพ

230 แสดงการสรา้ งโฟลเดอร์ (1) จะปรากฏโฟลเดอร์ชอื่ New Folder ทีห่ น้าต่าง View ให้พิมพ์ชือ่ โฟลเดอรท์ ต่ี ้องการ และ กดป่มุ Enter ดังภาพ บริเวณทีพ่ ิมพช์ ื่อโฟล์เดอร์ แสดงการสร้างโฟลเดอร์ (2) การเปลี่ยนช่ือโฟลเดอร์ หลงั จากท่ีได้ต้งั ชื่อโฟลเดอร์เรียบร้อยแลว้ เราสามารถเปลีย่ นชอ่ื ของโฟลเดอร์ในภายหลงั ไดต้ ามขน้ั ตอนตอ่ ไปนี้ 1. คลกิ ที่ชอ่ื ของโฟลเดอร์ท่ตี ้องการเปลีย่ น 1 ครง้ั สังเกตวา่ จะปรากฏแถบสีน้าเงินขึน้ 2. คลกิ ทชี่ ื่อของโฟลเดอรซ์ ้าอีก 1 ครง้ั พมิ พ์ชอื่ ท่ีต้องการเปลี่ยน กดปุ่ม Enter แสดงการเปล่ียนชอ่ื โฟลเดอร์

231 การคดั ลอกและการยา้ ยแฟ้มหรอื โฟลเดอร์ ใน Windows Explorer 1. คลิกท่แี ฟม้ หรือ โฟลเดอร์ท่ีต้องการคดั ลอกบนเมนู Edit 2. ใหค้ ลิกทแ่ี ถบ Organize แลว้ คลกิ Copy สาหรบั การคัดลอก หรอื คลิก Cut สาหรับ การยา้ ย 3. เปดิ โฟลเดอร์หรือดิสกท์ ี่ต้องการวางแฟ้มหรือโฟลเดอรท์ ค่ี ัดลอกไว้ บนเมนู Edit ให้ คลิก Paste แสดงการคัดลอกและการยา้ ยแฟม้ หรือโฟลเดอร์ การสง่ แฟม้ หรอื โฟลเดอร์ไปทด่ี สิ ก์ ถ้าต้องการคัดลอกแฟ้ม หรอื โฟลเดอร์ไปทีแ่ ผน่ ดิสก์ (Floppy Disk) ใหใ้ ส่ดสิ กใ์ นดิสก์ ไดรฟ์ท่ี My Computer หรือ Windows Explorer 1. ใหค้ ลกิ แฟ้มหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการคัดลอกบนเมนู File ให้ชี้ไปท่ี Send To แล้วคลิก ไดรฟ์ทตี่ ้องการคัดลอกแฟ้ม หรือ โฟลเดอร์ไปเกบ็ ไว้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook