นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครั้งที่ 5 22 มีนาคม 2535 – 30 มิถุนายน 2535 พรรคความหวังใหม่ ครั้งที่ 6 13 กันยายน 2535 – 19 พฤษภาคม 2538 พรรคความหวังใหม่ ครั้งที่ 7 2 กรกฎาคม 2538 – 28 กันยายน 2539 พรรคความหวังใหม่ ครั้งที่ 8 17 พฤศจิกายน 2539 – 28 มิถุนายน 2543 พรรคความหวังใหม่ (ลาออก) นายมนตรี ด่านไพบูลย์ นับเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดลำพูน ที่มีจำนวนครั้งใน ดำรงตำแหน่งมากที่สุด กล่าวคือดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึง 8 ครั้ง โดย เริ่มต้นจากการ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย สมัยแรกในปี พ.ศ. 2522 และมี นายสุพร อัตถาวงศ์ เป็นผู้ช่วย ต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรค ชาติไทย พรรคกิจสังคม และ พรรคความหวังใหม่ ตามลำดับ นายมนตรี ด่านไพบูลย์ เคยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ (สมัย พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 86
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540) พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) นอกจากนี้ นายมนตรียังได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ กับวงการเกษตร ซึ่งมอบรางวัลโดย นายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2540 พร้อมกับ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ภายหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ที่นายมนตรี ด่านไพบูลย์ แพ้นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครจาก พรรคไทยรักไทย หลานสาวของ รศ. ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน จึงได้หันหลังให้กับการเมืองระดับชาติ และมาลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปี พ.ศ. 2547 โดยการสนับสนุนของพรรคไทยรักไทย แต่ก็แพ้นายสมาน ชมภเู ทพ อดีต ส.ส. หลายสมัยจากพรรคประชาธิปัตย์ และใน ปี พ.ศ. 2549 เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จ.ลำพูน ซึ่งมีสมาชิกวุฒิสภาได้เพียงคนเดียว นายมนตรี ด่านไพบูลย์ อดีต ส.ส.ลำพูน 8 สมัย และอดีตรัฐมนตรีหลาย กระทรวง ก็ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่พ่ายแพ้นายสันติ์ เทพมณี 87
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 นายมนตรี ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จ. ลำพูน และได้รับ เลือกตั้ง กลุ่มแกน และเครือข่ายความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนายมนตรี มาจาก เครือข่ายธุรกิจ ด้วยการมีร้านขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ ่ หลายร้าน เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปในจังหวัดลำพูน ตลอดจนเมื่อมีตำแหน่งทางการเมืองแล้วมีผลงานสำคัญ และ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ จึงได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหลายสมัย 9. นายจริญญา พึ่งแสง นายจริญญา พึ่งแสง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2467 เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 2542 ขณะมีอายุ 75 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านนี้ ไม่ใช่ชาวลำพูนโดยกำเนิด นายจริญญา พึ่งแสง สมรสกับนางชวลี พึ่งแสง มีบุตรสาว 2 คน ประวัติการทำงาน นายจริญญา พึ่งแสง เป็นข้าราชการสังกัดกรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2515 ดำรงตำแหน่งปลัดจังหวัดราชบุรี 88
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527 ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน และเกษียณอายุราชการ ดำรงตำแหน่ง รองประธาน คนที่ 1 มูลนิธิสงเคราะห์ ผู้สูงอายุภาคเหนือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ได้มีการประชุม เกี่ยวกับการก่อตั้ง โดยมีนายจริญญา พึ่งแสง เป็นประธาน การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 27 กรกฎาคม 2529 – 29 เมษายน 2531 พรรคประชาธิปัตย์ นายจริญญา พึ่งแสง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2547 และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ.2529 โดยมีผลงาน สำคัญที่ครองใจชาวบ้าน ได้แก่ 1. การสร้างอนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี 2. การมีส่วนผลักดันในการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ลำพนู 3. การริเริ่มสร้างสนามกีฬา 4. การให้แนวคิดในการสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย บริเวณแยกดอยติ 5. การสร้างหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ที่ตำบล เหล่ายาว อ.บ้านโฮ่ง 89
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 6. การจดั สรรหมบู่ า้ น ทด่ี นิ แปลงใหญ ่ ซง่ึ ไมค่ อ่ ยไดท้ ำกนั หมู่บ้านชื่อ บ้านใหม่จริญญา วัดชื่อวัดจริญญาวนาราม กลุ่มแกนและเครือข่ายความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนายจริญญา ซึ่งเป็น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับและจดจำของ ประชาชน การเป็นแบบอย่างในความซื่อสัตย์สุจริต เป็น สิ่งสำคัญที่ทำให้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะในขณะที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น นายจริญญาไม่ได้มี ความคิดลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ อย่างใด แต่ชาวบ้านเรียกร้อง และจะเห็นได้ว่า เมื่อเกษียณอายุ ราชการในปี พ.ศ. 2527 หลังจากเกษียณอายุราชการไปแล้วถึง 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2529 นายจริญญาจึงลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งระเวลาผ่านไปหลายปีแล้ว ยังได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เป็น แสดงให้เห็นถึงคุณงามความดี ผลงานและการริเริ่มโครงการ ต่างๆ ใน จ.ลำพูนที่ประชาชนยังจำได้ เครือข่ายศาสนา เนื่องจากนายจริญญา เป็นอดีต ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนที่มีผลงานโดดเด่นที่ครองใจประชาชน คือ การสร้างอนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี สิ่งศักด์สิทธิคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดลำพูน ซึ่งมีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้น แต่ไม่ สำเร็จ มาสำเร็จลงในสมัยที่นายจริญญาเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัด และภายหลังจากที่เกษียณอายุราชการได้ จึงได้รับ ความไว้วางใจ จากประชาชนจังหวัดลำพนู 90
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 10. นายประเทือง ปานลักษณ์ นายประเทือง ปานลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ณ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรนายสุดจิตต์ และนางถวิล ปานลักษณ์ มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา จำนวน 7 คน ดังต่อไปนี้ 1. นายประเทือง ปานลักษณ์ 2. นายสมพงษ์ ปานลักษณ์ (ถึงแก่กรรม) 3. นายสมศักดิ์ ปานลักษณ์ (ถึงแก่กรรม) 4. นางจิตนา ปานลักษณ์ 5. นางรัตนา ปานลักษณ์ 6. นางสาวจันทรา ปานลักษณ์ 7. นางกานดา พญาชม การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสงู (เกษตร) วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ (รุ่น 19) ประกาศนียบัตรตามโครงการพัฒนาผู้จัดการระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (Mini Master of Management NIDA) หลักสตู รเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 91
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ครอบครัว ในปี พ.ศ. 2513 นายประเทอื ง ไดส้ มรสกบั นางสาวชวนพศิ กัณทาสวัสดิ์ มีบุตร 2 คนคือ 1. นางสาวประพิศ ปานลักษณ์ สำเร็จการศึกษา ด้านการบัญชี จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ฯ และ ไปศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย ทำงานด้านการโรงแรม และ พำนักอยู่ ณ มลรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย 2. นางสาวประภาพร ปานลักษณ์ สำเร็จการศึกษาด้าน การบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ รุ่น 38 ทำงานที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จ.ลำพูน สมรสกับ นายคมสัน พะวันนา มีบุตรสาว 1 คน ชื่อเด็กหญิง ธนัญชนก พะวันนา ประกอบธุรกิจน้ำดื่มชวนพิศ ซึ่งอยู่ในสังกัดสมาคม ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สสวท.) สาขาเชียงใหม่ – ลำพูน กิจการน้ำดื่มนี้สืบทอดจาก ครอบครัวของภรรยา ซึ่งเป็นธุรกิจที่นายประเทืองได้สร้างไว้ให้ ในขณะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 27 กรกฎาคม 2529 – 29 เมษายน 2531 พรรคกิจสังคม ครั้งที่ 2 13 กันยายน 2535 – 19 พฤษภาคม 2538 พรรคความหวังใหม่ ครั้งที่ 3 2 กรกฎาคม 2538 – 28 กันยายน 2539 พรรคชาติไทย 92
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2513 – 2521 นายประเทือง เป็นพนักงาน สินเชื่อเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลำปาง ปี พ.ศ. 2521 – 2526 เป็นผู้ควบคุมงานสินเชื่อระยะยาว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาลำพนู นายประเทือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 3 สมัย และมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้คือ การประสานหน่วยงานกรมพัฒนาที่ดิน ก่อสร้างระบบ ส่งน้ำขนาดเล็กในไร่นา การส่งเสริมเรื่องสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ การนำเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดลำพูน เพื่อก่อสร้าง 1. โกดังเก็บสินค้าคลังที่ 1 โครงการตลาดกลางผลิตผล เกษตรและอาคารสำนักงาน พร้อมทั้งอาคารโชว์วัสดุอุปกรณ์ การเกษตร ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. ลำพูน จำกัด (สกต.ลำพนู จำกัด) ปี พ.ศ. 2538 2. สร้างแท็งค์น้ำขนาด 10,000 ลิตร ของสหกรณ์ การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.ลำพูน จำกัด (สกต.ลำพูน จำกัด) ปี พ.ศ. 2538 3. โกดังเก็บสินค้าคลังที่ 2 และเครื่องชั่งขนาด 40 ตัน โครงการตลาดกลางผลิตผลเกษตร งบประมาณปี 2539 การจัดงบประมาณสนับสนุนกลุ่มเกษตรทำนา ต.บ้านธิ การจัดงบประมาณสนับสนุนกลุ่มโคนม ต.ห้วยยาบ 93
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การประสานงานกรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการ ขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อการเกษตรและการบริโภค นายประเทือง ปานลักษณ์ เสียชีวิตในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 กลุ่มแกนและเครือข่ายในความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งของนายประเทือง มาจากการเป็นที่ รู้จักของประชาชนที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ ในโครงการระดมหาเงินฝากของธนาคาร โดย นายประเทืองเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมฌาปณกิจสังเคราะห์กลุ่ม ลูกค้า ธกส. ทุกอำเภอใน จ.ลำพูน ซึ่งทำให้เกิดเครือข่ายใน ชุมชนในการออมเงิน การได้เงินสงเคราะห์เมื่อสมาชิกเสียชีวิต ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน และส่งผลต่อชัยชนะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11. นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรค สามัคคีธรรม และนางอุไร วงศ์วรรณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน 4 คนคือ 1. นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ 2. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ 3. นายอัศวิน วงศ์วรรณ 4. นางอัสณีพร ลิมตระการ 94
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2541 มัธยมศึกษาตอนปลาย วิทยาลัยบางแสน จ.ชลบุรี ปริญญาตรี วิทยาลัยไวด์เนอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท วศิ วกรรมอตุ สาหการ มหาวทิ ยาลยั นอรท์ แคโรไลนาสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา ครอบครัว นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ สมรสกับนางสมรศรี วงศ์วรรณ ซง่ึ เปน็ ธดิ าของพลเอกปาโมชช์ และคณุ หญงิ ทรพั ยส์ ดิ ี ถาวรฉนั ท์ มีบุตรชายคือ นายปราชญ์ วงศ์วรรณ การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 19 สิงหาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 พรรครวมไทย/เอกภาพ ครั้งที่ 2 22 มีนาคม 2535 – 30 มิถุนายน 2535 พรรคสามัคคีธรรม 95
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครั้งที่ 3 17 พฤศจิกายน 2539 - พรรคชาติพัฒนา ครั้งที่ 4 26 มกราคม – 2 ธันวาคม 2551 พลังประชาชน นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นกรรมการบริหาร บ.เทพวงศ์ จำกัด และได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ลำพูน 4 สมัย และยังเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงต่างๆ หลายกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รองเลขาธิการ พรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 134,951 คะแนน ซง่ึ เปน็ คะแนนสงู สดุ ในการเลอื กตง้ั ครง้ั นน้ั แตแ่ ลว้ ศาลรฐั ธรรมนญู มีมติ 9 ต่อ 0 สั่งยุบพรรคพลังประชาชน และมีคำสั่งเพิกถอน 96
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน สิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ถกู เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี กลุ่มแกนและเครือข่ายในความสำเร็จ เครือข่ายครอบครัว และธุรกิจของครอบครัว เพราะ นายอนสุ รณ์ เปน็ บตุ รชายของนายณรงค์ วงศว์ รรณ นกั การเมอื ง ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ตระกูล “วงศ์วรรณ” เคยประกอบธุรกิจโรงเลื่อย และ มีธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจใบยาสูบ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ มีฐานธุรกิจรับซื้อใบยาสูบ และธุรกิจส่งออกด้าน การเกษตรกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน ทำให้ เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่ง ทางการเมืองของนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ 12. นายสังวาล วงศ์วรรณ การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 24 กรกฎาคม 2531 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 รวมไทย/เอกภาพ นายสังวาล วงศ์วรรณ เป็นน้องชายของนายณรงค์ วงศ์วรรณ 97
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 13. นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ หรือนามสกุลเดิม การวัฒนาศิริกุล เป็นบุตรของนายกานเดย และนางกิมเหรียญ เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2486 ณ ถนนลอยเคราะห์ จ.เชียงใหม่ การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จ.เชียงใหม่ มัธยมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่ามงฟอร์ตวิทยาลัย จ. เชียงใหม่ 2 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2529 -2532 อาชีวศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ กรุงเทพฯ ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครอบครัว นายธัญ สมรสกับนางเรณ ู มีบุตรชาย 1 คน และ บุตรสาว 1 คน 98
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ประสบการณ์การทำงานและอาชีพ สำนักงานวิจัยแห่งเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพฯ บริษัท สายการบินแอร์อเมริกา ผู้บริหารและผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขา เชียงใหม่ แพร่ และลำพูน เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งเป็นการทำงาน ก่อนตัดสินใจเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ธุรกิจโรงแรม กังสดาลรีสอร์ท อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของประกอบธุรกิจการเกษตรนั้น เขาเป็น ผู้ส่งออกพืชผลทางการเกษตรไปยังต่างประเทศในนามของ บริษัทไทยกาญจน์คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด บริษัทไทย คุณหมิงคอร์ปอเรชั่น จำกัด และภาคภูมิคันทรี่ฟาร์ม จังหวัด ลำพูน การเป็นรองประธานกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดลำพูน กรรมการ พัฒนาจังหวัดลำพนู (กพจ.) กรรมการประสานงานธุรกิจเอกชน 9 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ กรรมการมูลนิธิชมรมธนาคารภาคเหนือ ประธานชมรม ธนาคารจังหวัดลำพนู นายกสโมสรไลออนส์เชียงใหม่ (โฮสท์) 99
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ประธานดำเนินการก่อตั้งชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนจีน เชียงใหม่ 8 สถาบัน ซึ่งได้รณรงค์หาสมาชิกในปี พ.ศ. 2527 และได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายในที่สุดก็ก่อตั้งได้สำเร็จ การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 2 กรกฎาคม 2538 – 28 กันยายน 2539 พรรคความหวังใหม่ ครั้งที่ 2 17 พฤศจิกายน 2539 -28 มิถุนายน 2543 พรรคความหวังใหม่ นายธัญ มีความสนใจการเมืองตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ชอบฟังการปราศรัยตั้งแต่สมัยนางควงอภัยวงศ์ สนใจเรื่อง สงครามโลก การปฏิวัติ ประวัตินักการเมือง บุคคลสำคัญ อะไรต่างๆ ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม เขามีความเชี่ยวชาญในด้าน เศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร การค้าระหว่างประเทศ การศึกษา การเมืองการปกครอง ตลอดจนการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง นายธัญเป็นผู้จัดการธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ลำพูน และพยายามเข้าสู่วงการต่างๆ หลาย วงการ ที่ธนาคารฯ มีลูกค้าประเภทสินเชื่อเกษตร และผมเป็น นักกิจกรรมอยู่แล้ว ผมเป็นประธานหลายองค์กร ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 นายธัญได้รับการชักชวนให้สมัคร รับเลือกตั้งในพรรคความหวังใหม่ ซึ่งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งในสมัยแรก 100
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ผลงาน การทำตลาดลำไยอบแห้งโดยใช้เครื่องอบลำไย ทำให้ ลำไยไม่เสียหาย ล้นตลาด และการขายลำไยในตลาดประเทศ จีน เนื่องจากนายธัญสามารถสื่อสารภาษาจีนได้ ลำไยอบแห้ง จึงกลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จังหวัดลำพนู การคมนาคน โดยการทำถนน 10 กว่าสาย ซึ่งในอดีต ก่อนรอบนอกเป็นถนนลกู รัง การเจาะน้ำบาดาล การทำฝายน้ำล้น นโยบายของ พรรคก็พยายามที่จะทำให้การเกษตรเป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม หมายความวา่ พชื ไร่ การเกษตรตอ้ งปอ้ นเขา้ โรงงานอตุ สาหกรรม เพื่อแปรรูป กระเทียมลำพูนมันจะมีปัญหาเรื่องตลาด จึงดูแลเรื่อง พวกนี้เป็นพิเศษ เช่นหางบประมาณมาแทรกแซงการตลาดบ้าง หางบประมาณมาช่วยเหลือเวลาเกษตรกรได้รับผลกระทบจาก เรื่องราคา เรื่องตลาด การส่งเสริมวัฒนธรรมและการส่งเสริมประเพณีของ จ.ลำพูน กลุ่มแกน และเครือข่ายความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนายธัญ มาจาก เครือข่ายลูกค้าของธนาคารกรุงเทพจำกัด ลำพูน ซึ่งประกอบ ด้วย ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น และ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มาจากการมีเครือข่ายของ 101
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ลูกค้าธนาคารกรุงเทพ ในนิคมอุตสาหกรรม จ. ลำพูน ทำให้ เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ เครือข่ายสังคม นายธัญได้มีบทบาทในการให้ความ ช่วยเหลือสังคมและองค์กรสาธารณการกุศลอีกหลากหลาย 14) นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่บ้านฮ่องกอก หมู่ 4 ต.อุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นบุตรสาวคนโตของนางอำพิน พุทธปวน และนายศรีทร ใจใหญ่ ซึ่งเป็นคนอำเภอบ้านธิ นามสกุลเดิมของนางสาว อาภาภรณ์คือ ใจใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนใช้นามสกุลแม่ เพราะ พ่อแม่หย่าร้างกัน แม่ของนางสาวอาภาภรณ์ เป็นลูกคนแรก และมีพี่น้อง ร่วมพ่อแม่เดียวกัน 6 คน น้องคนที่ 2 คือ รศ. ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าสู่เส้นทางการเมืองของนางสาว อาภาภรณ์ ในเวลาต่อมา นางสาวอาภาภรณ์ มีน้องชาย 1 คน และน้องสาว 1 คน ในปี พ.ศ. 2532 น้องชายของนางสาวอาภาภรณ์ได้เสีย ชีวิตด้วยอุบัติเหตุ ทำให้ครอบครัวของนางสาวอาภาภรณ์ ย้ายจากบ้านฮ่องกอก ไปอยู่ที่บ้านป่าสัก หมู่ 6 ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพนู ในปี พ.ศ. 2533 102
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนวัดฮ่องกอก จ.ลำพูน มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ประสบการการณ์การทำงาน PRODUCTION CONTROL บริษัทมินีแบไทย (จำกัดมหาชน) บางปะอิน ตัวแทนขายประกัน บริษัท AIA จำกัด PRODUCTION CONTROL บริษัทฮานาไมโครอิเลคทรอนิคส์ นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัทไอที เซ็นเตอร์ เฟรนไชส์ ของสหวิริยา 103
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 6 มกราคม 2544 – 5 มกราคม 2548 พรรคไทยรักไทย ครั้งที่ 2 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 6 กุมภาพันธ์ 2549 พรรคไทยรักไทย นางสาวอาภาภรณ์ เริ่มเข้าสู่การเมืองด้วยวัย 27 ย่าง 28 ปี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 โดยได้รับการชักชวนจาก ดร.ชรินรัตน์ น้าสาว ซึ่งเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และกำลัง จะย้ายมาอยู่พรรคไทยรักไทย ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน สังกัดพรรคไทยรักไทย เขต 1 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของ จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือความ คาดหมายของคนทั่วไป เนื่องจากนางสาวอาภาภรณ์ไม่มี ประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อนเลย โดยต้องเริ่มต้นจากการ ตั้งสำนักงาน การฝึกปราศรัย การพบปะประชาชนในเขต เลือกตั้ง จนในที่สุดได้รับเลือกตั้งในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ครั้งแรก และยังได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 เป็นสมัยที่สอง ติดต่อกันอีกด้วย ส่วนการเลือกตั้งใน วันที่ 23 ธันวาคม 2550 นางสาว อาภาภรณ์ ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน มีการเปลี่ยนระบบ เขตเลือกตั้ง ซึ่งนางสาวอาภาภรณ์ไม่ได้รับเลือกตั้งในการ เลือกตั้งครั้งนี้ นางสาวอาภาภรณ์ ได้มีบทบาทในการทำงานด้าน ต่างๆ ได้แก่ 104
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน กรรมาธิการกิจการเด็ก สตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ การประสานงบประมาณสง่ เสรมิ อาชพี ใหแ้ กก่ ลมุ่ แมบ่ า้ น การจัดสัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกิจกรรม บันเทิงของกลุ่มแม่บ้านในเขตเลือกตั้ง การประสานโครงการ หาเงินงบประมาณมาช่วย เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน คสล. สร้าง ระบบประปา กลุ่มแกนและเครือข่ายในความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนางสาวอาภาภรณ์ เริ่มจากการชักชวนของน้าสาวคือ รศ. ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.เชียงใหม่ และกระแสของ พรรคไทยรักไทย ที่ได้รับความนิยมในภาคเหนือเป็นอย่างดี การใช้ป้ายไวนิลในการหาเสียง โดยพรรคไทยรักไทย เป็นผู้ริเริ่มเรื่องป้ายไวนิล ในการใช้เป็นอุปกรณ์ ช่วยหาเสียงให้ แก่ผู้สมัคร มีการถ่ายรูปผู้สมัคร คู่กับหัวหน้าพรรค เพื่อนำไป สร้างกระแสพรรคในพื้นที่ นางสาวอาภาภรณ์เป็นหนึ่งใน ผู้สมัคร รุ่นแรกๆ ที่ได้ป้ายไวนิลมาปักในพื้นที่ ถึงจะมีจำนวน ป้ายไม่มากนัก แต่เนื่องจากไม่มีใครทำมาก่อน จึงดูโดดเด่น และ ทำให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา เมื่อเห็นป้ายรูปและชื่อ จึงมีคนพูดถึงติดปากเร็ว การทำป้าย และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับใบปลิว หลังฟิวเจอร์บอร์ดมาทำป้าย สกรีน เขียนเบอร์ และการใช้ คำขวัญ เช่น เลือกอ้ายแม้ว+น้องอ้อม เบอร์ 7 หรืออยากได้ นายกคนเมือง ก๋า เบอร์ 7 ทั้ง 2 ใบ 105
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน วิธีการหาเสียงคือการไปพบปะประชาชนตามงานต่างๆ ซึ่งส่วนมากเป็นงานศพ ทำให้ได้พบปะเครือข่ายกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี การพยายามให้เป็นที่รู้จักของประชาชนมากที่สุด โดยการใช้นามบัตร การแจกเอกสารแนะนำตัว ควบคู่ไปกับการ หาเสียงแบบเดินเข้าถึงชาวบ้านจริงๆ เป็นระยะเวลา 2-3 เดอื น โดยพยายาม ไปทุกหมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวน 134 หมู่บ้าน ในเขต เลือกตั้ง การปราศรัยโดยการนำเสนอนโยบายพรรค เพราะใน ช่วงเวลานั้นมีแต่พรรคไทยรักไทยที่มีนโยบายชัดเจน และทำให้ ได้รับความสนใจจากประชาชน 15. นายสงวน พงษ์มณี นายสงวน พงษ์มณี เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายประเสริฐ พงษ์มณี และนางคำผง ปัญญารักษา ภูมิลำเนาเดิม เป็นคนบ้านหนองแบน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีพี่ชาย 1 คนคือ ร.ต. อินทร พงษ์มณี การศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมธีวุฒิกร จังหวัดลำพนู พ.ศ. 2524 ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 106
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครอบครัว นายสงวน สมรสกับนางมะลิวัลย์ พงษ์มณี บุตรสาว นายบรู ณ์ – นางปมิ ปา เหลย่ี มโสภณ มอี าชพี แมบ่ า้ น มบี ตุ รชาย 1 คน คือนายสุดเขต พงษ์มณี การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 6 มกราคม 2544- 6 มกราคม 2548 พรรคไทยรักไทย ครั้งที่ 2 6 กุมภาพันธ์ 2548 – 6 กุมภาพันธ์ 2549 พรรคไทยรักไทย ครั้งที่ 3 23 ธันวาคม 2550 – 10 พฤษภาคม 2554 พรรคพลังประชาชน ครั้งที่ 4 3 กรกฎาคม 2554 –9 ธันวาคม 2556 พรรคเพื่อไทย นายสงวน พงษ์มณี ได้รับราชการครูอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะสอบเป็นทหารผ่านศึก และไปเป็นทหารรับจ้างใน เวียดนาม ต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่การข่าวของรัฐ หลังจากนั้น ได้เข้าร่วมการชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 โดยเป็นเลขาฯ องค์กร ปปป. (ครูประชาบาลเพื่อ ประชาชน) ร่วมกับสมาพันธ์การเคลื่อนไหวของชาวไร่ชาวนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 – 2518 พร้อมกับเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 107
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้ร่วมต่อสู้ ทางการเมืองและใน เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2519 ได้ลาออกจาก ราชการครูและหลบหนีเข้าป่าบริเวณชายแดนติดกับประเทศ ลาว และไปเรียนหนังสือที่ เขตงาน 7 ใช้ชื่อ สหายสุดเขต และ ใช้เวลาอยู่ในป่าประมาณ 4 ปีเศษ ภายหลังจากออกจากป่าได้ ถูกทางการจับในปี พ.ศ. 2524 และถูกส่งไปกักกันทางการเมือง โดยกองทัพที่จังหวัดพิษณุโลก นายสงวนได้ดำเนินธุรกิจอยู่ระยะหนึ่ง โดยรับจ้างบริหาร (ผู้จัดการ) โครงการก่อสร้างสนามกอล์ฟ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลงาน 1. ได้คิดริเริ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดลำพูน เช่น ถนนวงแหวนรอบสุดท้ายของเชียงใหม่ สาย 106 – 108 (จากบ้านทา – ตลาดต้นพะยอม) 2. ปีพ.ศ. 2539 ร่วมกับสภาพัฒน์ กำกับ TOR โครงการ ลำพนู – เชียงใหม่ เมืองแฝด 3. ผลักดันให้มีการสร้างถนน เหมืองง่า – ป่าสัก เพื่อ เลี่ยงการใช้ถนนเข้าเมืองลำพูน แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและ การกระทบกระเทือนของถนนอันส่งผลต่อโบราณสถานและ โบราณวัตถุที่สำคัญ ของจังหวัดลำพูน 4. ร่วมแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซม เหมืองฝาย อำเภอ แม่ทา เพื่อช่วยเหลือปัญหาน้ำของชาวบ้าน 5. ดูแลแม่น้ำและสองฝั่งแม่น้ำกวง – แม่น้ำปิง อันเป็น แม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดลำพนู 108
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 6. ผลักดันให้เกิดงบประมาณป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2540 ไดเ้ ปน็ ส.ส.ร. (สมาชกิ สภารา่ งรฐั ธรรมนญู จังหวัดลำพูน) และได้มีโอกาสได้รู้จักกับ พตท. ทักษิณ ชิณวัตร (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น) และ ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2542 ต่อมา พ.ศ. 2544 นายสงวนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูนเป็นครั้งแรก ในนาม พรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้ง ชนะนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ จากพรรคชาติพัฒนา นับจากนั้นมา ก็ได้รับเลือกตั้ง อย่างต่อเนื่องมาอีก 3 สมัย โดยไม่เคยสอบตก และเป็น ส.ส.ชายที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2554 เป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้แก้ รัฐธรรมนูญ และจัดตั้ง ส.ส.ร. ชุดใหม่ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ จากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 กลุ่มแกนและเครือข่ายในความสำเร็จ พรรคการเมืองที่สังกัด คือพรรคไทยรักไทยในการลง สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ซง่ึ พรรคไทยรกั ไทยไดร้ บั ความนยิ มอยา่ งสงู ในภาคเหนอื เครือข่ายสังคม และชุมชน ซึ่งนายสงวน ได้ทำงาน ในชุมชนจังหวัดลำพูน จนเป็นที่รู้จักของประชาชน ให้ความ 109
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ช่วยเหลือชาวบ้านเรื่องน้ำในอำเภอแม่ทา การดูแลแม่น้ำกวง – แม่น้ำปิงในจังหวัดลำพูน รวมทั้งการป้องกันน้ำท่วมในเขตนิคม อุตสาหกรรม 16. นายทรงชัย วงศ์สวัสด์ิ นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เป็นบุตรของนายทงซี และ นางพลอย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีน้องชาย 2 คน คือ นายจินดา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย และ นายจรัญ วงศ์สวัสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลห้างฉัตร จังหวัด ลำปาง นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ สมรสกับนางมลวิภา วงศ์สวัสดิ์ (ข้าราชการบำนาญ โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ จังหวัดลำพูน) มีบุตรชาย 1 คน ชื่อนายธนภูมิ วงศ์สวัสดิ์ และมีบุตรสาว ฝาแฝด ชื่อนางสาวมัณฑิตา และนางสาวมณฑิตา วงศ์สวัสดิ์ ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2520 นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2538 รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 110
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2522 – 2528 ทนายความ ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ ลำพูน อดีตที่ปรึกษากฎหมายสหกรณ์การเกษตรบ้านโฮ่ง จ.ลำพนู พ.ศ. 2533 – 2538 สมาชิกสภาจังหวัดลำพนู (ส.จ.) เขตอำเภอลี้ พ.ศ. 2538 – 2542 สมาชิกสภาจังหวัดลำพนู (ส.จ.) เขตอำเภอทุ่งหัวช้าง พ.ศ. 2543 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพนู (ส. อบจ.) เขตอำเภอทุ่งหัวช้าง การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 6 มกราคม 2544 – 5 มกราคม 2548 พรรคประชาธิปัตย์ นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาจังหวัดลำพูน (สจ.) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายทรงชัย เป็น 1 ใน 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตภาคเหนือ สามารถเอาชนะกระแสพรรคไทยรักไทยได้ แต่ต่อมาในการ 111
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน เลือกตั้ง พ.ศ. 2548 กลับไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้นายสถาพร มณีรัตน์ จากพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัด ลำพูน ได้รับคะแนนสูงที่สุด คือ 63,595 คะแนน แต่เกิดการ รัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุด และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนเป็นสมัยแรก โดยได้รับ การสนับสนุนจากนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จ. ลำพูน และกรรมการบริหารพรรค พลังประชาชน ต่อมานายทรงชัยได้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรค เพื่อไทย ผลงาน ที่ผ่านมา นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ได้มีการผลักดัน นโยบายที่ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่างๆ คือ ดา้ นสุขภาพ - ตั้งศูนย์ฟอกไต โรงพยาบาลป่าซาง, ลี้, ลำพูน (เพิ่มเติม) - ลอกต้อ – สลายนิ่ว ฟรี 112
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน - เพิ่มรถพยาบาลกู้ชีพฉุกเฉิน - อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออก กำลังกาย ลดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชน - อบรมเพิ่มความรู้ด้านสุขภาพให้ อสม. ทุกอำเภอ เพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชน - ตรวจสุขภาพให้ประชาชน ฟรี - ส่งเสริมสนับสนุนกีฬาทุกประเภท สร้างลานสุขภาพ ให้กับอำเภอต่างๆ ดา้ นการศกึ ษา - ตั้งวิทยาลัยอาชีพที่ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ - สนับสนุนการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ต (School Online) ทุกโรงเรียน รวมทั้งโรงเรียนเอกชน เมธีวุฒิกร โรงเรียนธรรมสาธิต ฯลฯ ตั้งแต่ชั้นประถม 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 - ติวสอบ O-Net ระดับ ม.6 ทุกโรงเรียน - โรงเรียนกาแฟดอยป่าแป๋ – สอนนักเรียนปลูกและ ผลิตกาแฟ - ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาต่าง ประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เพื่อ เตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 113
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน - ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับโรงเรียน นาทรายวิทยาคม ผลสัมฤทธิ์ทำให้โรงเรียนผลิต นักเรียนสามารถสอบเรียนต่อใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2555 คือ นางสาว ภัสรา ณะคำปุ๊ด ซึ่งเป็นนักศึกษาแพทย ์ คนแรกของโรงเรียนนาทรายวิทยาคม - ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมแก้ไขปัญหายาเสพติดใน โรงเรียน (To be Number one) ส่งผลให้โรงเรียน ธีรกานต์บ้านโฮ่ง ได้รับรางวัลระดับทอง - สนับสนุนนักเรียนศึกษาหาความรู้ นอกสถานที่ - ส่งเสริมกีฬานักเรียน เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ว่ายน้ำ แบตมินตัน เป็นต้น ดา้ นอาชีพ - ส่งเสริมเรื่องที่ดินทำกินของประชาชน เอกสารสิทธิ์ ในที่ดินทำกิน - ส่งเสริมสนับสนุนขยายตลาดลำไยและผลิตภัณฑ ์ โอท็อปทั้งในและต่างประเทศ - ส่งเสริมผ้าไหมยกดอกลำพนู สู่เวทีตลาดโลก - โครงการทำนาหนึ่งไร่ได้เงินหนึ่งแสน - จัดงาน อบจ. ลำพูนเกษตรแฟร์ - จัดงานมหกรรมเฟอร์นิเจอร์บ้านม้า ลำพนู - จัดงานไม้แกะสลักและของดีอำเภอแม่ทา 114
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน - จัดงานไผ่หวานที่บ้านปวง อำเภอแม่ทา - ตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชน (บ้านทาทุ่งหลวง) - อบรมให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง - ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต่างๆ - สนับสนุนด้านการเงินและความรู้แก่กลุ่มอาชีพต่างๆ - จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เช่น สร้างฝาย ขุดลอกคลอง ลำน้ำ เหมือง ฝาย อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ บาดาล เพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร - สร้างถนนเข้าสู่ไร่ – สวน ถนนเพื่อการเกษตร - ก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมถนน และสะพาน ดา้ นสงั คม ศาสนา ศลิ ปวัฒนธรรม ประเพณ ี - สนับสนุนให้พระภิกษุ – สามเณรไปจาริกแสวงบุญ ศึกษาพุทธประวัติ ณ สังเวชนียสถานที่ประเทศ อินเดีย – เนปาล - สนับสนุนโครงการธรรมสัญจร (อปต.) - ฟื้นฟูประเพณีจุลกฐินและประเพณีสลากย้อม - สนับสนุนการสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย และวัดอื่นๆ - สนับสนุนงานศิลปวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ เช่น จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินคนท้องถิ่นลำพนู – และคน ลำพนู ที่ได้รับเกียรติยศเป็นศิลปินแห่งชาติ 115
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน - สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน - สนับสนุนกิจกรรมผู้สงู อายุและคนพิการ - สนับสนุนกิจกรรม อสม. - สนับสนุนกิจกรรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน - สนับสนุนกิจกรรม อปพร., ชรบ., ตำรวจบ้าน, ลูกเสือชาวบ้าน - สนับสนุนกิจกรรมแม่บ้าน พ่อบ้าน เยาวชน - จัดโครงการครอบครัวอบอุ่นเพื่อให้คนในครอบครัว เกิดความรักความเข้าใจกัน - อบรมฟื้นฟู – แก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติด คืนคนดี สู่สังคม - โครงการ ชื่อบ้านนามเมือง เพื่อสืบค้นประวัติชุมชน ให้เยาวชนและชุมชนในหมู่บ้านรักบ้านเกิดพร้อมทั้ง ได้จัดทำสารานุกรม เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชาวลำพูน - อนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและ เยาวชน (ชมรมต้นกล้า) ปลูกหญ้าแฝก ปลกู ต้นไม้ กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ ก า ร เ ข ้ า สู ่ ต ำ แ ห น ่ ง ท า ง ก า ร เ ม ื อ ง ข อ ง น า ย ท ร ง ช ั ย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งมีอาชีพทนายความมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึง ปัจจุบัน ทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป 116
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน เครือข่ายประชาชนในท้องถิ่น เนื่องจากนายทรงชัยดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดลำพูนตั้งแต่ พ.ศ. 2533-2543 ซึ่งเป็นระยะเวลานับ 10 ปี ทำให้เกิดเครือข่ายในท้องถิ่น มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ตลอดจนด้านสังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี 17. นายสถาพร มณีรัตน์ นายสถาพร มณีรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายรัตน์ และนางบัวนำ มณีรัตน์ ซึ่งมีอาชีพ เกษตรกร มีน้อง 5 คนคือ 1. นางพิมพ์พรรณ อภิวงศ์งาม 2. นางเอมอร ขันติกุล 3. นางรัตนา มณีรัตน์ 4. ว่าที่ร้อยตรีหญิงเยาวลักษณ์ มณีรัตน์ 5. นางรังสรรค์ มณีรัตน์ การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสันทราย ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ. ลำพูน มัธยมศึกษา โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน 117
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน จ.ลำพนู ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสงู วิทยาลัยเทคนิคลำปาง จ.ลำปาง ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครอบครัว นายสถาพร แต่งงานกับนางลาวรรณ มณีรัตน์ นางลาวรรณเป็นบุตรสาวของนายสิงห์คำ และนางจันทร์ตา สายอุ่นเซ็น มีบุตร 1 คน คือนายภาคภมู ิ มณีรัตน์ การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 6 มกราคม 2544- 6 มกราคม 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ครั้งที่ 2 6 กุมภาพันธ์ 2548 – 6 กุมภาพันธ์ 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 พรรคไทยรักไทย ครั้งที่ 3 23 ธันวาคม 2550 –10 พฤษภาคม 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เขตเดียว) พรรคพลังประชาชน 118
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ครั้งที่ 4 3 กรกฎาคม 2554 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 พรรคเพื่อไทย นายสถาพร มณีรัตน์ เติบโตจากครอบครัวชาวนา ได้มี โอกาสในการเรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เขาเริ่มต้นการทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในโรงงานผลิต ไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ประสบการณ์ที่สำคัญคือ การดำรง ตำแหน่งประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ซึ่งองค์กรที่เข้มแข็งแห่งหนึ่ง ทั้งนี้นายสถาพร เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับว่าเข้มแข็ง เด็ดขาด ขณะเดียวกัน ก็ประสานผลประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายได้ แม้แต่ฝ่ายที่อยู่ตรงกัน ข้ามก็ให้การยอมรับ ในปี พ.ศ. 2544 นายสถาพรเริ่มทำงานกับพรรค ไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 75 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ได้รับการ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ด้านแรงงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้รับเลื่อนให้เป็นสมาชิก สภาผุ้แทนราษฎรแทนนายกันตธีร์ ศุภมงคล ในปี พ.ศ. 2548 นายสถาพร ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในระบบแบ่งเขต จ.ลำพูน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เขต 3 จ.ลำพูน หลังจากนั้นเขาก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ จังหวัด ลำพูนถือเป็นเขตเลือกตั้งเดียว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 119
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 3 คน ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่า นายสถาพรได้รับเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียง 126,841 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50.24 ของ จำนวนบัตรดี และในปี พ.ศ. 2554 นายสถาพร ลงสมัครใน พรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จ.ลำพูน อีกสมัยหนึ่ง ซึ่งในการรายงานตัวต่อสำนัก เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ นายสถาพรได้หาบลำไย และกระเทียมมาด้วย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือปัญหา ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ตำแหนง่ สำคัญ - โฆษกกระทรวงพลังงาน - กรรมาธิการการสวัสดิการสังคม - กรรมาธิการพลังงาน การผลักดันการแก้ไขปัญหาลำไย และการนำปัญหา ความเดือดร้อนเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตรของ จ.ลำพูน เสนอให้สภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โครงการก่อสร้างแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำที่เหมืองบ้านปู อ.ลี้ จ.ลำพนู เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ จ.ลำพูน นายสถาพร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สามารถ นำปัญหาในภาพรวมของประเทศ และพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.ลำพูน มานำเสนอและหาแนวทางการ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรปู ธรรม และมักนำปัญหาความเดือดร้อน ของชาวบ้านไปหารือประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อนการประชุม 120
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ตามวาระ กล้าพูดและกล้าแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อ บอกว่าขณะนั้นชาวบ้านเดือดร้อนในเรื่องใด ทั้งนี้โดยมีลีลา การทำหน้าที่ในสภา เช่น การนำลำไย กระเทียม หอมใหญ่ มาประกอบการอภิปราย ประกอบกับเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ อย่างโดดเด่น ไม่ซ้ำแบบใคร และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ นายสถาพร มณีรัตน์ เสียชีวิตในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ด้วยโรคไต ณ โรงพยาบาลมหาราช จ. เชียงใหม่ กลุ่มแกน และเครือข่ายความสำเร็จ ชื่อเสียงและประสบการณ์ของนายสถาพร มณีรัตน์ ซึ่งเป็นอดีตประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย กระแสพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้รับความนิยมในภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา นายสถาพร เป็นนักการเมือง รุ่นใหม่ไฟแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคอย่างมากในการ ปรึกษาหารือและร่วมวางแผนในการดำเนินกิจกรรมทางการ เมือง จ. ลำพูน และเมื่อนายสถาพร ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแล้ว มีผลงาน และความโดดเด่นในการอภิปราย ในสภา ผู้แทนราษฎรให้ได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นฐานเสียงในบ้านเกิด คือ อ.บ้านธิ จ.ลำพนู 121
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 18. นายขยัน วิพรหมชัย นายขยัน วิพรหมชัย เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2503 เป็นบุตรคนแรกของนายผัด และนางวรรณา วิพรหมชัย มีน้อง 2 คน คือ 1. นายบรรจง วิพรหมชัย 2. นางสาวประภาพรรณ วิพรหมชัย การศึกษา ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสันมะนะ จ.ลำพูน ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมธีวุฒิกร จ.ลำพูน มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพนู ปริญญาตรี สาขาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 122
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครอบครัว นายขยัน วิพรหมชัย สมรสกับนางจารุวรรณ วิพรหมชัย มอี าชพี คา้ ขาย และมบี ตุ รชายคนเดยี วชอ่ื นายสกุ ฤษฏ์ิ วพิ รหมชยั การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 11 มกราคม 2552 – 10 พฤษภาคม 2554 นายขยันเติบโตในครอบครัวเกษตรกร แต่นายขยัน มีความสนใจการเมือง และมีความฝันอยากเป็นกำนัน เพราะ ในสมัยก่อน กำนันจะดูแลทุกเรื่อง สามารถช่วยเหลือชาวบ้าน ได้มาก นายขยันเริ่มเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ในตำแหน่งคณะกรรมการสุขาภิบาลอุโมงค์ จนถึงปี พ.ศ. 2535 ได้ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน จากนั้นปี พ.ศ. 2538 ได้กลับมาสมัครเป็นประธาน สุขาภิบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้า มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ทีมงานไม่ได้รับการเลือกตั้ง และ ได้ลาออกจากตำแหน่งอีกครั้ง เพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ในปี พ.ศ. 2539 แต่ไม่ ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 นายขยันได้รวมกลุ่ม การเมืองท้องถิ่นในนาม “อุโมงค์ก้าวหน้า” ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเทศบาลอุโมงค์ และประชาชนได้ให้ความ ไว้วางใจ ได้รับเลือกตั้งยกทีมทั้ง 12 คน (2 เขต) และได้รับความ ไว้วางใจจากสภาท้องถิ่นให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบล อุโมงค์ บริหารงานเทศบาลอุโมงค์ จนได้รับรางวัลการบริหาร 123
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน บ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมเงินรางวัลจำนวน 7 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2546 จากกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนตำบลอุโมงค์ให้ เป็นนายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์เป็นสมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง ท่วมท้น บุคคลที่นายขยันยึดเป็นแบบอย่างในการทำงานคือ นายชวน หลีกภัย ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กได้ ฟังเสียงนายชวน นายบัญญัติ นายวีระ ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุ นายขยัน วิพรหมชัย ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทางสังคมใน หลายบทบาท ได้แก่ - อดีตกรรมการสุขาภิบาลตำบลอุโมงค์ - อดีตนายกเทศมนตรีตำบลอุโมง 2 สมัย - ประธานกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการตำบลอุโมงค์ - ประธานสหกรณ์ไวน์อุโมงค์ลำพูนจำกัด - นายกสโมสรไลออนส์ลำพูน - เลขาธิการหอการค้าจังหวัดลำพนู - ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร.ร.อุโมงค์ วิทยาคม - ประธานกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการตำบลอุโมงค์ นอกจากนี้ นายขยัน วิพรหมชัย ยังเป็นประธานอาสา สมัครคุมประพฤฒิ กระทรวงยุติธรรม จังหวัดลำพนู อีกด้วย 124
ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน นายขยันได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลดีเด่นของ จังหวัดลำพนู ในชื่อรางวัลคนดีศรีแผ่นดินจังหวัดลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูนในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2538 2539 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งซ่อม แทนตำแหนง่ นายอนสุ รณ์ วงศว์ รรณ ซง่ึ ถกู ตดั สทิ ธท์ิ างการเมอื ง ในวันที่ 11 มกราคม 2551 นายขยัน วิพรหมชัย จึงได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรก ด้วยคะแนน เสียง 102,785 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 48.18 กลุ่มแกน และเครือข่ายความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นายขยันชนะเลือกตั้ง และดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งซ่อมคือ คนลำพูนให้การสนับสนุนผู้สมัครที่เป็นฝ่ายรัฐบาล ซึ่งหัวหน้า พรรคดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านจึงต้องการสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายรัฐบาล และมีนโยบายดูแลผู้สูงอายุ โครงการเรียนฟรี ช่วยเหลือ เกษตรกร ก็เป็นปัจจัยต่อชัยชนะ ในการเลือกตั้ง นายขยัน เป็นนักการเมืองถิ่นรุ่นใหม่ของจังหวัดลำพูน ที่มีพื้นฐานการเชื่อมโยงเครือข่ายมาจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยสมัยที่เป็นนายกเทศมนตรี ตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย ประกอบกับ นายขยันได้มีประสบการณ์ในการทำงานการเมืองท้องถิ่น มายาวนาน มีประสบการณ์ในพื้นที่ การลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 สมัย ใช้เวลา 17 ปี จึงมี 125
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ความคุ้นเคย สนิทสนมกับชาวบ้าน การหาเสียงด้วยวิธีการเข้า ถึงชาวบ้าน และชุมชนได้ เครือข่ายครอบครัว โดยน้องชายนายขยันคือนายบรรจง วิพรหมชัย เป็นผู้ช่วยในการทำงานทางการเมือง 19. นายรังสรรค์ มณีรัตน์ นายรังสรรค์ มณีรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เป็นบุตรของนายรัตน์ และนางบัวนำ มณีรัตน์ เป็นน้อง ของนายสถาพร มณีรัตน์ การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านสันทราย ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพนู มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพนู ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2555 การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จ. ลำพนู พรรคเพื่อไทย นายรังสรรค์ มณีรัตน์ เคยดำรงตำแหน่งรองนายก- เทศมนตรีตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และลงสมัคร 126
ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน รับเลือกตั้งสังกัดพรรคเพื่อไทย แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจาก นายสถาพร มณีรัตน์ พี่ชายเสียชีวิต คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงมีมติให้มีการ เลือกตั้งซ่อมในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต 2 คือ อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้ และอำเภอเวียงหนองล่องในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งนายรังสรรค์ชนะด้วยคะแนน 72,778 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 57.06 ชนะนายบรรจง วิพรหมชัย น้องชายของนายขยัน วพิ รหมชยั อดตี สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จากพรรคประชาธปิ ตั ย ์ กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ ฐานเสียงของนายสถาพร นายรังสรรค์เป็นน้องชายและ เป็นผู้ช่วยทำงานการเมืองของนายสถาพร มณีรัตน์ อดีต ส.ส.เจ้าของพื้นที่ ซึ่งเสียชีวิตลง เครือข่ายท้องถิ่น เพราะนายรังสรรค์ มีตำแหน่งทาง การเมืองเป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 127
บ5ทท ี่ วิเคราะห์ผลการศึกษา ปัจจัยที่ช่วยให้นักการเมืองถิ่นในจังหวัดลำพูนประสบ ผลสำเร็จในการชนะการเลือกตั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบันคือ การมีเครือข่ายกับบุคคล หน่วยงานและองค์กรทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชนภายในจังหวัดลำพนู นักการเมืองถิ่นในจังหวัดลำพูนจะพยายามสร้าง เครือข่ายและรักษาเครือข่ายการเมืองไว้ช่วยในการดำเนิน กิจกรรมทางการเมือง เครือข่ายเหล่านี้แสดงออกถึงความ สัมพันธ์อันดีระหว่างนักการเมืองถิ่นกับเครือข่ายของเขาที่จะ สามารถช่วยเหลือในยามการหาเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้ง
วิเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งช่วยสนับสนุนการหาเสียงของ นักการเมืองถิ่นลำพูนได้เป็นอย่างดี 5.1 การใช้ประโยชน์ของการสร้างความสัมพันธ์ท่ีดี ในเครือข่ายของนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 1. เพอ่ื ชว่ ยเหลอื ในกจิ กรรมการหาเสียงของนักการเมอื ง ถิ่นในการเลือกตั้ง 2. เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของตนเอง ทางการเมืองด้านการทำงานโครงการต่างๆ 3. เพื่อทางการสนับสนุนทุนทรัพย์ในการดำเนิน กิจกรรมทางการเมือง 4. เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนการทำงานทางด้าน การเมืองของนักการเมืองถิ่น 5. เพื่อการเป็นที่ยอมรับและนับถือการมีเกียรติในสังคม ของนักการเมืองถิ่นในหมู่ประชาชนในท้องถิ่น 5.2 เทคนิคของการสร้างเครือข่ายของนักการเมือง ถิ่นลำพูนก่อนท่ีจะเข้าสู่เส้นทางการเมือง 1. การทำงานเป็นผู้ช่วยหรือผู้ใต้บังคับบัญชานัก การเมืองถิ่น 2. บวชเรียนในสังกัดพระเถระที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ เคารพของประชาชนในจังหวัดลำพูน 3. อาสาเข้าร่วมในภารกิจหรือกิจกรรมของนักการเมือง ถิ่นรุ่นก่อน 129
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 4. ร่วมทำธุรกิจกับเครือข่ายของนักการเมืองถิ่น 5. ทำงานภาครัฐหรือเอกชนและมีการสร้างสายสัมพันธ์ กับนักการเมืองขณะนั้นเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ ในระดับต่อไป 6. ทำงานการเมืองท้องถิ่นเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน การเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่น 5.3 เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดลำพูนท่ีสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง 1. เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา สืบเนื่องจากเมืองลำพูนในประวัติศาสตร์มีรากฐานที่ดี และมั่นคงมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ เนื่องจากนับแต่การสร้างเมือง ในสมัยพระนางจามเทวีที่เป็นผู้ที่ฝักไผ่ทางการศาสนาและได้ นิมนต์พระเถระเจ้าจากเมืองละโว้มาร่วมในการสร้างบ้านเมือง โดยในสมัยการสร้างเมืองลำพูนนั้นพระนางได้วางแผนกำลัง ทรัพย์ กำลังคนในด้านต่างๆโดยจัดเตรียมผู้คนโดยเฉพาะเพื่อ การสร้างเมืองให้เจริญได้เชิญพระเถระ 500 รูป ผู้ทรงความรู้ และช่างฝีมือต่างๆ จำพวกละ 500 คน ให้ร่วมเดินทางมากับ พระนางเพื่อไปสร้างบ้านแปงเมืองแห่งใหม่ที่นครหริพูนไชย โดยเดินทางด้วยการล่องเรือมาตามแม่น้ำปิง กินระยะเวลานาน 7 เดือน พร้อมกันนี้พระนางยังได้อัญเชิญพระพุทธรูปเก่าแก่ และสำคัญมาพร้อมพระนางด้วย 2 องค์ คือ พระแก้วขาว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์เดียวกับที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัด 130
วิเคราะห์ เชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ และพระรอดหลวง ซึ่งปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน จนการเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้สืบเนื่องลงในจิตใจ ของผู้คนจังหวัดลำพูนที่จะมีจิตใจชอบทำบุญสุนทานสร้างวัด สร้างวา ดังนั้นนักการเมืองถิ่นลำพูนส่วนมากมักจะมีสาย สัมพันธ์ที่ดีกับพระเถระเจ้าที่เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนใน จังหวัดท้องถิ่นและจะยิ่งได้รับความน่าเชื่อถือถ้านักการเมืองถิ่น ผู้ได้ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ในแต่ละวัดจะมีเจ้าอาวาสที่ได้รับ ความเคารพเชื่อถือของคนในหมู่บ้านและมักจะทำการชี้แนะ แบบไม่ตั้งใจในการแนะนำนักการเมืองในการเลือกตั้งแก ่ ชาวบ้านอยู่เสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นักการเมืองเหล่านี้ จึงมักจะเป็นผู้บริจาคให้กับการสร้างวัดวาอารามอยู่เสมอ นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์เป็นผู้ที่ให้ความสนใจกิจกรรม ทางศาสนามากเคยผ่านการบวชเรียนที่วัดท่าต้นงิ้ว สอบได ้ นักธรรมเอกและเป็นอุปนายพุทธสมาคมจังหวัดลำพูนและเป็น ไวยาวัจกรวัดพระธาตุหริภุญไชย 2. เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจในท้องถ่ิน ธุรกิจท้องถิ่นทางการรับเหมาก่อสร้าง ด้วยการดำเนิน กิจกรรมทางด้านการเมืองในท้องถิ่นลำพูนของนักการเมืองถิ่น ต้องมีการใช้จ่ายทุนทรัพย์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ช่วยเหลือชาวบ้าน บริจาคเพื่อสาธารณะต่างๆ เป็นจำนวนเงิน ที่มาก ดังนั้นนักการเมืองถิ่นลำพูนส่วนมากจึงมักจะมีธุรกิจใน การสร้างรายได้แก่ตนเองและครอบครัวโดยการรับเหมา ก่อสร้างซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจของครอบครัวหรือญาติพี่น้อง 131
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ธุรกิจท้องถิ่นในการรับซื้อขายลำไยหรือสินค้าเกษตร อื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและมีอากาศที่เหมาะสมของ จังหวัดลำพูนและในพื้นที่ใกล้เคียงเช่นจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือ เป็นพื้นที่ที่สำคัญมากของประเทศไทยที่สามารถปลูกลำไยได้ดี มาแต่ดั้งเดิมและโดยมีพื้นที่ในการปลูกลำไยรวมกันถึงร้อยละ 71 หรือประมาณ 328,329 ไร่ ผลผลิตลำไยในปี พ.ศ. 2539 ถึง 2540 ซึ่งเป็นปีที่ออกดอกออกผลดี มีปริมาณทั้งสิ้น 135,922 ตัน คิดเป็นมูลค่า 5,030 ล้านบาท ซึ่งเป็นพืชการเกษตรที่นับว่าเป็น พืชที่สร้างรายได้และเป็นพืชเศรษฐกิจให้แก่ผู้คนในท้องถิ่น เป็นจำนวนมาก โดยส่วนมากพ่อค้านักธุรกิจในพื้นที่จังหวัด ลำพูนจะส่งลำไยเพื่อส่งออกไปขายยังตลาดใหญ่ในประเทศ ฮ่องกง หรือประเทศสิงคโปร์ ส่วนลำไยแห้งทั้งเปลือกนั้นจะ ส่งออกไปยังตลาดที่ประเทศจีน นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ มีความเชี่ยวชาญด้าน เศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารซึ่งนายธัญได้นำเอาจุดเด่นของ ตนเองนี้ไปสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชนมากมายหลายที่ เช่น ชมรมธนาคารภาคเหนือ บริษัทสายการบินแอร์อเมริกา ธุรกิจ โรงแรมจังหวัดเชียงใหม่ ธุรกิจการเกษตรส่งพืชผลทางการ เกษตรไปต่างประเทศ รวมทั้งชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนจีนและ โรงเรียนเอกชนมีชื่อของจังหวัดเชียงใหม่อย่างโรงเรียนมงฟอร์ต วิทยาลัย 3. เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านองค์กรปกครองส่วน ท้องถ่ิน เครือข่ายความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นลำพูน ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายโดยผ่านจาก 132
วิเคราะห์ กระบวนการที่กระทำการผ่านทางกลุ่มเครือข่ายที่ได้ดำเนิน กิจกรรมทั้งด้านการเมืองท้องถิ่น การเมืองระดับประเทศร่วมกัน หรือทางด้านธุรกิจภายในท้องถิ่นจังหวัดลำพูนและมีความ สัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างนักการเมืองถิ่นกับบุคคลขององค์กร ปกครองส่วนท้องสมาชิกด้วยกันก่อนแล้วจึงมีการชักชวน สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินการช่วยเหลือ และสนับสนุนทางด้านกิจกรรมการเมืองหรือการพัฒนาท้องถิ่น บนวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนและเกื้อหนุนซึ่งกัน 4. เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านชมรมและสมาคมต่างๆ กระบวนการสร้างเครือข่ายผ่านทางชมรมหรือสมาคม ของนักการเมืองถิ่นลำพูนได้กระทำผ่านการรวมกลุ่มกันในรูป ขององค์กร ชมรม สมาคมต่างๆ เช่น หอการค้าจังหวัด กลุ่ม ชมรม กลุ่มสมาคมวิชาชีพ และอื่นๆ โดยเฉพาะในเขตเมือง ลำพูน ซึ่งมีความเจริญทางเศรษฐกิจสูง กลุ่มเหล่านี้จะมี บทบาทสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของ นักการเมืองถิ่นในการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจหรือ ทัศนคติที่ดีของนักการเมืองถิ่นแก่สายตาของชาวบ้าน หรือช่วย หาเสียงหรือเป็นฐานคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง นักการเมืองถิ่นลำพูนหลายรายที่ได้มีการเชื่อมโยง สายสัมพันธ์อันดีกับเครือข่ายชมรมและสมาคมต่างๆ อยู่เสมอ ตลอดช่วงการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของตนเอง สโมสรไลออนส์ซึ่งเป็นสโมสรที่ก่อตั้งด้วยเจตนารมณ ์ ในการรวมกลุ่มของภาคประชาชนเพื่อร่วมมือกันในด้านการ ช่วยเหลือสังคมก็เป็นอีกหนึ่งชมรมที่นักการเมืองถิ่นลำพูน 133
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ได้เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นเครือข่ายมาตลอดเช่น นายธัญ กาญจน์- วัฒนานนท์ 5.4 ปัจจัยท่ีส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่าย ของนักการเมืองถิ่นลำพูน 1. ระดับการศึกษา นักการเมืองถิ่นลำพูนที่ยังไม่มีระดับการศึกษาสูง ในระดับปริญญาโทหรือเอก การศึกษาที่ยังไม่สูงนี้ก็จะเป็น ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้เกิดการยอมรับนับถือและ ได้คะแนนเสียงของประชาชนที่น้อย เนื่องจากค่านิยมในสังคม ไทยจะให้การยกย่องและเคารพนับถือให้เกียรติกับผู้คนที่มี การศึกษาสูงถือว่าการศึกษาได้ยกระดับบุคคลให้ได้มีความรู้ ความฉลาดในการดำรงชีวิตและสามารถเป็นที่พึ่งแก่บุคคลได้ ดังคำพูดของคนเฒ่าคนแก่ตามสังคมไทยจะอวยพรให้ลูกหลาน ว่า “การศึกษาสร้างคนสร้างชาติ” ดังนั้นนักการเมืองถิ่นลำพูน เป็นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ที่จะพยายามเรียนต่อในระดับ ปริญญาที่สูงขึ้น ณรงค์ สินสวัสดิ์ ได้กล่าวไว้ว่า “นักการเมืองควรเป็นผู้มี สติปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ในเรื่องราวต่างๆ กว่าคนสามัญ ทั่วไป ผู้นำควรมีการศึกษาที่สูงหรือควรขยันในการแสวงหา ความรู้จากการอ่าน” ซึ่งนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน นายขยัน วิพรหมชัยเป็นผู้หนึ่งที่ชอบแสวงหาความรู้และได้นำ ความรู้มาปรับใช้ในการบริหารงานอยู่เสมอ เมื่อสมัยที่นายขยัน ยังเป็นนายกเทศมนตรีอยู่นั้นเคยได้รับรางวัลในการนำพา 134
วิเคราะห์ องค์กรคือเทศบาลอุโมงค์ให้มีชื่อเสียงได้รับรางวัลธรรมาภิบาล และรางวัลอื่นอีก 2 รางวัล จึงทำให้ชื่อเสียงของนายขยันทาง ด้านการเป็นนักบริหารที่ได้ใช้ความรู้มาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้รับ การยอมรับจากชาวบ้านอย่างมากมาย นายสมาน ชมพูเทพ เป็นนักการเมืองถิ่นที่ดิ้นรน ใฝ่หา ความรู้ จนในที่สุดสามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาบริหารศาสตร์ (การบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2. ฐานะและความมั่นคงในทรัพย์สิน ด้วยลักษณะนิสัยของคนไทยในท้องถิ่นชนทบที่มีแต่ โบราณมักจะชอบการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ผู้ที่แข็งแรง กว่าหรือมีกำลังในด้านทรัพย์สินเงินทองหรือร่างกายที่แข็งแรง กว่ามักจะต้องให้ความช่วยเหลือดูแลคนที่ด้อยกว่า จึงทำให้ ค่านิยมของผู้คนในท้องถิ่นลำพูนมักจะคาดหวังความช่วยเหลือ ในด้านต่างๆ จากนักการเมืองถิ่นลำพูน ถ้านักการเมืองถิ่น ลำพูนท่านใดช่วยเหลือสังคมชุมชนท้องถิ่นไม่ว่าในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาหรืองาน สาธารณะต่างๆ ด้วยการสนับสนุนทางด้านเงินทองจึงมักได้ คะแนนเสียงที่สูง ดังนั้นนักการเมืองถิ่นลำพูนส่วนมาก จึงมัก จะมีธุรกิจ สถานประกอบการเพื่อเป็นแหล่งในการสนับสนุน ด้านการเงินสำหรับตนเองในการใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ทางการเมือง นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นนักการเมืองถิ่นที่มีพื้นฐาน ฐานะที่ร่ำรวยเป็นคหบดีผู้มั่งคั่งของภาคเหนือโดยพื้นฐานของ 135
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177