นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครอบครัวนักธุรกิจมากมายหลายอย่างเช่น ทำไม้ โรงงานยาสูบ และอื่นๆ 3. ศาสนา นักการเมืองถิ่นลำพูนที่ได้รับการขัดเกลาจากการ บวชเรียนในพุทธศาสนา หรือภาษาล้านนาเรียกว่า “หน้อยหรือหนาน” ก็มักจะได้รับความน่าเชื่อถือในการเป็น นักการเมืองถิน่ ลำพนู จังหวดั ลำพนู ยกตัวอยา่ งเชน่ นกั การเมือง ถิ่นอย่างเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร ซึ่งนับแต่อดีตกาลปฐม กษัตริย์เจ้าผู้สร้างเมืองลำพูนพระนางจามเทวี ทรงได้ใส่ใจและ ให้ความสำคัญในเรื่องศาสนาเป็นอย่างสูง นับแต่ได้สถาปนา เมืองและก่อให้เกิดความรุ่งเรืองแก่เมืองของพระนางมากขึ้น โดยตำนานนั้นกล่าวว่าอาณาประชาราษฎร์เป็นสุขสมบูรณ์ด้วย ทรัพย์สมบัติโดยถ้วนหน้า บ้านเรือนหลังใหญ่โตนั้นมีจำนวนถึง 4000 บ้าน บ้านน้อยอีกเป็นอันมาก มีไร่นาเรือกสวนบริบูรณ์ และประชาชนต่างมีใจศรัทธาในศาสนาสร้างวัดถึง 2000 แห่ง สำหรับถวายพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฎกจากเมืองละโว้ 500 รูป ที่ช่วยเผยแผ่พระศาสนา วัดทั้ง 2000แห่งนั้นต่อมาก็มีภิกษุจำ พรรษาเต็มพระอารามทุกแห่ง ยิ่งไปกว่านั้น พระนางยังโปรดฯ ให้เฟ้นหาบัณฑิตทช่ี ำนาญการสวดพระธรรมอกี 500 คนสำหรบั ช่วยสวดพระธรรม ในวัดทั้ง 2000 แห่งนั้นด้วย ดังนั้นจึงทำให้ รากเหง้าทางด้านศาสนาพุทธได้ฝังรากลึกลงในจิตใจของผู้คน จังหวัดลำพูนเป็นอย่างมาก นักการเมืองถิ่นลำพูนเป็นจำนวน มากที่ผ่านการบวชในพระศาสนาและมักจะได้รับคะแนนเสียง จากประชาชนคนลำพูน 136
วิเคราะห์ 4. ชาติตระกูล จังหวัดลำพูนเป็นเมืองเก่าที่มีรูปแบบการปกครองด้วย เจ้าเมืองมาก่อน ดังนั้นนักการเมืองถิ่นที่มีเชื้อสายสืบมาจาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนมาก่อนมักจะได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจ และเป็นที่รู้จัก ให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ ว่าสามารถ บริหารกิจการทางการเมืองได้เป็นอย่างดี เจา้ หนานบญุ มี ตงุ คนาคร ซง่ึ เปน็ บตุ รของเจา้ ราชภาตกิ วงศ์ (เจา้ นอ้ ยดวงทพิ ย์ ตงุ คนาคร หลานเจา้ ฟา้ สาม แหง่ นครเชยี งตงุ ) เป็นนักการเมืองถิ่นลำพูนที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจในการ เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาเป็นคนแรกซึ่งมีชาติตระกูลที่สูงส่งเป็น ผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีจิตมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อส่วนรวม สูงมาก ประกอบกับความพร้อมทั้งด้านฐานะที่มั่นคง ครอบครัว และวงศาคณาญาติที่กว้างขวางประกอบจึงทำให้ผลงาน กิจกรรมของเจ้าหนานบุญมีที่ทำเพื่อเมืองลำพูนมีอยู่มากมาย โรงเรียนประจำจังหวัดทั้งชายและหญิง สาธารณูปโภคของ จังหวัดลำพนู ถนนหนทาง สะพาน เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ราชบุตรของพลตรีอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 และ เจ้าหญิงแขกแก้ว ซึ่งเป็นธิดาองค์เล็กของเจ้าบุรีรัตน์ แห่งนคร ลำพูนกับเจ้าสุนา เป็นนักการเมืองที่มีอายุน้อยที่สุดในรัฐสภา ขณะนั้น และได้รับการยอมรับว่าทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน ชาวจังหวัดลำพูน ทั้งทางด้านการศึกษา ศาสนา การคมนาคม และการสาธารณสุข ทำให้นครลำพูนก้าวหน้าไปอย่างมาก 137
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ทั้งนี้โดยมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงประโยชน์ให้เสื่อมเสียแก่ ท่านและวงศ์ตระกูลเลย 5. เพศ นักการเมืองถิ่นลำพูนส่วนมากเป็นผู้ชายเนื่องจาก ค่านิยมของคนไทยแต่อดีตที่มักจะให้ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า เป็นผู้นำในด้านต่างๆ นักการเมืองถิ่นลำพูนจึงมีเพศหญิงเพียง คนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ลักษณะการทำงานในสภาพ ภูมิประเทศที่ยังไม่ได้รับการพัฒนามาแต่สมัยโบราณ เช่น ภูมิประเทศยังเป็นภูเขา บ้านเมืองยังขาดถนนที่ดี ความ ปลอดภัยในด้านชีวิต จึงไม่เอื้อให้เพศหญิงทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูนคนเดียวที่เป็นผู้หญิง 6. บุคลิกภาพ ปัจจัยทางด้านบุคลิกภาพที่ดีเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ช่วย สนับสนุนทำให้นักการเมืองถิ่นลำพูนได้รับความร่วมมือในการ ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจากประชาชนอย่างดี ดังนั้น นักการเมืองส่วนมากมักมีลักษณะที่มีบุคลิกภาพดี หน้าตาดี พูดจาดี สุภาพเรียบร้อย จึงมักจะได้รับการยอมรับทางการเมือง จากประชาชนในท้องถิ่นและชนะในการเลือกตั้งในการเมืองถิ่น ลำพูนมากกว่านักการเมืองถิ่นที่บุคลิกดีน้อยกว่า นายมนตรี ดา่ นไพบลู ย์ เปน็ นกั การเมอื งถน่ิ ทม่ี บี คุ ลกิ ภาพ ที่ดีและยังได้รับความไว้วางใจในการให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ถึง 2 กระทรวงคือ ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เป็นนักการเมืองถิ่นที่เป็นสมาชิกสภา 138
วิเคราะห์ ผู้แทนราษฎรนานที่สุดถึง 8 สมัย ส่วนนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ นายสันติ์ เทพมณี ก็เป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูนที่มีบุคลิก ดีน่าเชื่อถือและเป็นที่ยกย่องของชาวบ้าน 7. ครอบครัวและญาติพี่น้อง นักการเมืองถิ่นลำพูนมักจะมีเส้นสายเครือข่ายการ เชื่อมโยงกับผู้คนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วย สนับสนุนทำให้รู้จักผู้คนและช่วยในการทำงานหรือดำเนิน กิจกรรมทางการเมืองได้ดีอยู่เสมอคือการได้รับความช่วยเหลือ สนับสนุนจากครอบครัวและเครือญาติของตนเองในการทำงาน ต่างๆ ดังนั้นนักการเมืองถิ่นลำพูนจึงมักมีลักษณะของ ครอบครัวที่มั่นคงฐานะดีและมีญาติพี่น้องมากและถ้า องค์ประกอบทางด้านพื้นฐานของครอบครัวญาติพี่น้องได้รับ การยอมรับจากผู้คนในท้องถิ่นอยู่แล้วก็จะยิ่งทำให้การดำเนิน กิจกรรมทางการเมืองของนักการเมืองถิ่นเหล่านี้ได้รับความ สำเร็จอย่างดี 139
บ6ทท ี่ สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 6.1 สรุปผลการศึกษา 1. นักการเมืองท่ีเคยได้รับเลือกตั้งใน จ.ลำพูน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน มีจำนวน 19 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือ เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงเพียงคนเดียว คือนางสาว อาภาภรณ์ พุทธปวน ส่วนนายมนตรี ด่านไพบูลย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนที่ได้ รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งมากที่สุดคือ 8 สมัย รองลงมาคือ นายสมาน ชมพูเทพ ดำรงตำแหน่ง 7 สมัย
บทสรุปและข้อเสนอแนะ ทั้งนี้มีตระกูลที่เป็นเครือญาติ ดำรงตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร 2 ตระกูล คือ ตระกูลวงศ์วรรณ คือ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ และนายสังวาลย์ วงศ์วรรณ มีความ สัมพันธ์เป็น อา-หลาน และตระกูลมณีรัตน์ คือ นายสถาพร มณีรัตน์ และนายรังสรรค์ มณีรัตน์ เป็นพี่-น้องกัน อาชพี ของนกั การเมืองกอ่ นเขา้ ส่ตู ำแหน่งคอื ทนายความ รองลงมาคือนักการเมืองท้องถิ่น และนายธนาคาร ตามลำดับ ภูมิลำเนาของนักการเมือง จ.ลำพูน เกือบทั้งหมดเป็น ชาวลำพูนโดยกำเนิด ทั้งนี้ ผู้ที่มิได้เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด ต้องมีผลงานโดดเด่น จึงเป็นที่ยอมรับ และส่งผลต่อชัยชนะใน การเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน จำนวน 3 คน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก วุฒิสภา จ.ลำพูน ได้แก่ นายสันต์ เทพมณี นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ และนายมนตรี ด่านไพบลู ย์ ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีว่าด้วยชนชั้นนำ ของ Gaetano Mosca กลา่ วคอื ชนชน้ั นำจะเปน็ กลมุ่ ผทู้ รงอำนาจ และผูกขาดการใช้อำนาจ แม้ว่าชนชั้นนำจะมีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนภายในสังคม แต่ก็สามารถที่จะ จัดองค์กรได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ในกรณีของ จังหวัดลำพูนมีความเด่นชัด กล่าวคือผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มี ชื่อเสียงดีและเป็นที่รู้จักของประชาชน จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 141
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน และสมาชกิ วฒุ สิ ภา โดยผสู้ มคั รรบั เลอื กตง้ั มกี ารสมคั รหมนุ เวยี น สลับไปมาเพื่อแสวงหาตำแหน่งทางการเมือง 2. เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดลำพูน นกั การเมอื งในจงั หวดั ลำพนู มเี ครอื ขา่ ยและความสมั พนั ธ์ ในรปู แบบต่างๆ ได้แก่ เครือขา่ ยศาสนา เนื่องจากจังหวัดลำพูนมีความโดดเด่นในเรื่อง กิจกรรม ทางศาสนาและประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน จึงเป็นช่องทางที่นักการเมืองสามารถพบปะประชาชน ได้ง่าย และเป็นรูปธรรม โดยการบริจาคทรัพย์ และการเข้าร่วม กิจกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของระบบอุปถัมภ ์ ในสังคมไทย ที่ผู้รับอุปถัมภ์มักต้องการการช่วยเหลือ จึงเกิด เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายคือ ผู้อุปถัมภ์ซึงมักมี ผู้รับอุปถัมภ์มากกกว่าหนึ่งราย และผู้อุปถัมภ์ได้อาศัยผู้ได้รับ อุปถัมภ์อย่างเป็นกลุ่มก้อนในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สอดคล้องกับงานวิจัยของสุเชาว์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ที่ศึกษานักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ว่าผู้สมัครมีการเข้าร่วมในกิจกรรมงานบุญและประเพณีที่ชุมชน จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เครอื ขา่ ยการเมืองท้องถิน่ เป็นเครือข่ายที่มีความสำคัญในการเป็นฐานคะแนนของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติ ด้วยการมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ชื่อเสียง ตลอดจนความคุ้นเคยกับประชาชน ผู้สมัครหลายราย 142
บทสรุปและข้อเสนอแนะ ในจังหวัดลำพูน เคยดำรงตำแหน่งในระดับท้องถิ่นก่อนการ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิก วุฒิสภาจังหวัดลำพูนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจาก ประชาชน ล้วนเคยทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่นมาแล้ว ทั้งสิ้น เครือขา่ ยสงั คม ประเพณี ตา่ งๆ นักการเมืองถิ่นลำพูนส่วนมากจะให้ความสำคัญกับ การช่วยเหลือด้านสังคมแก่ประชาชนในท้องถิ่นในประเพณี ที่เกี่ยวกับความตายโดยการให้ความช่วยเหลือการจัดงาน ประเพณีงานศพหรืองานฌาปนกิจศพของชาวบ้านโดยการ สนับสนุนรถที่ใช้ในพิธีงานศพไปยังสุสาน วางพวงหรีดเพื่อ เคารพศพ เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในงานศพ ช่วยเหลือทางด้าน อาหารและเครื่องดื่มเช่น บริการน้ำดื่มบรรจุขวดฟรี น้ำแข็ง อนามัย น้ำกล่อง ขนมหวานหรือวัสดุในงานศพ ประเพณีของท้องถิ่น เช่น งานปอยหลวง สงกรานต์ ลอยกระทง การก่อกองทราย งานสรงน้ำรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ สรงน้ำพระธาตุ ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย มหกรรม กลองหลวงล้านนา ไหว้สาพระพุทธบาทตากผ้าประเพณีปอย หลวง นักการเมืองถิ่นลำพูนจะพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในทุก กิจกรรมของงานโดยความสำคัญของประเพณีปอยหลวง ที่มีต่อชาวบ้าน คือเป็นงานฉลองถาวรวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างที่ นักการเมืองถิ่นมีส่วนช่วยเหลือ ผลักดัน เป็นเจ้าภาพหรือ ประธานในการก่อสร้างและร่วมด้วยผู้ใจบุญหรือประชาชน ช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อถวายวัดและเพื่อประโยชน์ แก่สาธารณะชน 143
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน เช่น วิหาร ศาลา โรงเรียน หอประชุม เป็นต้น จะนิยมทำการ ฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว 3. บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มท่ี ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่ นักการเมืองในจังหวัดลำพูน ครอบครัวหรือวงศาคณาญาติของ นักการเมืองถิ่นลำพูนมีส่วนสำคัญที่จะสร้างความช่วยเหลือ และสนับสนุนทำให้นักการเมืองถิ่นลำพูน ประสบผลสำเร็จใน การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นอย่างมาก ครอบครัวหรือ วงศาคณาญาติจะทำการร่วมคิดและวางแผนในการทำงาน การเมืองและร่วมแก้ปัญหาปรึกษาหารือเพื่อระดมความคิดเห็น ในทุกด้านทั้งในประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สังคม ศาสนา เพื่อร่วมในการทำงานเป็นทีมและ ทำการช่วยเหลือทางด้านทุนทรัพย์ค่าใช้จ่ายในการร่วมงาน สังคมในท้องถิ่น สนับสนุนการบริจาคในทุกงานประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมที่จัดในระดับจังหวัดและชุมชนท้องถิ่นหมู่บ้าน ร่วมมือในการช่วยเหลือการหาเสียงเลือกตั้งในขณะการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดลำพูน ซึ่งลักษณะของ ครอบครัวนักการเมืองถิ่นลำพูนและวงศาคณาญาตินั้นมีพื้นเพ ที่มาของครอบครัวจากบรรพบุรุษที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละพื้นเพ ความเป็นมาของครอบครัวหรือวงศาคณาญาตินั้นจะมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่นักการเมืองถิ่นลำพูนได้นำเอาเข้ามาใช้ให้เป็น ประโยชน์แก่ตนเองในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่าง มาก โดยปัจจัยในด้านนี้สามารถแยกประเภทของลักษณะ ครอบครัวหรือวงศาคณาญาติออกมาเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน 144
บทสรุปและข้อเสนอแนะ มากยิ่งขึ้นได้ดังนั้น 1. ครอบครัวเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครลำพูน 2. ครอบครัวนักการเมือง 3. ครอบครัวธุรกิจ ค้าขาย สถานประกอบการ 4. ครอบครัวข้าราชการ/ครอบครัวข้าราชการการเมือง ท้องถิ่น 4. บทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการ เมืองในจังหวัดลำพูน พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชน จังหวัด ลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน นับแต่การเลือกตั้งครั้งแรกปี 2476 จนถึงปัจจุบันโดยเรียงตาม ลำดับจากมากไปน้อยตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ รับการเลือกตั้ง มีดังนี้คือ 1. พรรคเพื่อไทย/พลังประชาชน/ไทยรักไทย 2. พรรคความหวังใหม่ 3. พรรคประชาธิปัตย์ 4. พรรคกิจสังคม 5. พรรครวมไทย/เอกภาพ 6. พรรคชาติไทยและพรรคชาติพัฒนา พรรคการเมืองได้มีบทบาทในการให้อุดมการณ์ กำหนด นโยบายแก่ผู้สมัคร ให้การสนับสนุนในการปราศรัยใหญ่ และ ปราศรัยย่อยในพื้นที่ 145
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน อย่างไรก็ตาม นักการเมืองในจังหวัดลำพูนมีลักษณะ ของความไม่แน่นอนในอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรค การเมือง ซึ่งสังเกตเห็นได้ว่ามีนักการเมืองหลายท่าน ที่มีสถิติ ในการย้ายการสังกัดพรรคการเมืองหรือเปลี่ยนแปลงการสังกัด พรรคทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ในแต่ละยุคสมัยของการเมือง จังหวัดลำพูนจะมีความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองของพรรคการเมืองตลอดเวลา และกระแสความนิยม ของประชาชนคนไทยทั้งประเทศมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง การย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองจังหวัดลำพูน 5. วิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัด ลำพูน การหาเสยี งของนกั การเมอื งในจงั หวดั ลำพนู ประกอบดว้ ย - การใช้เสียงตามสาย ประชาสัมพันธ์ - การปราศรัย พบปะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง - การใช้เครือญาติและจัดตั้งหัวคะแนน - การร่วมงานประเพณีทางศาสนา - การแจกสิ่งของไปยังวัด กลุ่มแม่บ้าน อสม. - การใช้ป้ายไวนิล การแจกใบปลิว แผ่นพับ บัตร แนะนำตัว 6.2 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยศึกษาวิจัยคร้ังต่อไป - ควรศึกษาวิจัยเครือข่ายของประชาชนกลุ่มสังคม รากหญ้ากับนักการเมืองถิ่นลำพูนโดยการอธิบายปรากฏการณ์ 146
บทสรุปและข้อเสนอแนะ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้คนรุ่นใหม่ด้านเกษตรกรที่เป็นปัจจัย ใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง - ควรศึกษาปัจจัยทางด้านสภาพภูมิประเทศหรือ ลักษณะทางด้านกายภาพของพื้นที่จังหวัดลำพูนที่เป็นปัจจัย สนับสนุนทำให้มีประชาชนผู้เข้ามาใช้สิทธิออกเสียงเป็นสถิติ สูงสุดของประเทศในการเลือกนักการเมืองถิ่นลำพูนเข้าไปทำ หน้าที่แทนตัวเองในรัฐสภา 2. ข้อเสนอแนะสําหรับการพัฒนาการเมืองถ่ินลำพูน ควรมีการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของการปกครอง ดว้ ยระบอบประชาธปิ ไตยในประเดน็ ทเ่ี ปน็ ประโยชนห์ รอื บทบาท หน้าที่ของนักการเมืองถิ่นลำพูนและบทบาทและหน้าที่ของ ประชาชน ในพื้นที่โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่วัยเรียนประถม มัธยม อุดมศึกษา หรือวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว ว่าบทบาท และหน้าที่ของ นักการเมืองถิ่นลำพูนและบทบาทและหน้าที่ของประชาชน ต่อระบอบการปกครองประชาธิปไตยคืออะไร และสิ่งไหนที่ควร จะต้องปรับเปลี่ยนทางด้านค่านิยม ความเชื่อของผู้คน เช่น ควรปรับเปลี่ยนค่านิยมของการที่จะต้องรอความช่วยเหลือทาง ด้านเศรษฐกิจ เงิน วัตถุสิ่งของจากนักการเมืองถิ่น เปลี่ยนมา เป็นความช่วยเหลือทางด้านนโยบาย กฎหมายเนื่องจากทำให้ นิสัยของชาวบ้านไม่ขยันทำมาหาอาชีพแต่จะคอยพึ่งผู้อื่นหรือ นักการเมืองถิ่นอยู่ตลอดเวลา 147
บรรณานุกรม กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ. (2531). การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กำธร ธิฉลาด. (2543). ประวัติศาสตร์ลำพูน. ลำพูน : สภาวัฒนธรรม อำเภอเมืองลำพูน. คณะกรรมการเตรียมการจัดงานวันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ครบรอบ 60 ปี. (2535). 60 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : อักษร สัมพันธ์. คณะกรรมการจัดงานสโมสรสันนิบาตสมาชิกรัฐสภา. (2542). 67 ปี สมาชิกรัฐสภาไทย. กรุงเทพ ฯ : กองการพิมพ์ สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. (2535, 14 พฤษภาคม). “นามสกุลเชื้อเจ้าใน ลำพูน” เชยี งใหมน่ ิวส์, หน้า 5. ชาญณวุฒิ ไชยรักษา. (2549). นักการเมืองถ่ินจังหวัดพิษณุโลก. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
บรรณานุกรม “ชำแหละ 26 ตระกูลยึดสภา” (2548,14 กุมภาพันธ์). ประชาชาติธุรกิจ หน้า 8. ชงคชาญ สุวรรณมณี และอริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). รายชื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475-2548. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ณรงค ์ บญุ สวยขวญั . (2549). นกั การเมอื งถนิ่ จงั หวดั นครศรธี รรมราช. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2527). จิตวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา. นายสันต์ เทพมณี สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูน รายงาน 2543-ปัจจุบัน. (ม.ป.ป.) : (ม.ป.พ.) ทรงศกั ด ์ิ ฉลาดพงษพ์ นั ธ.์ (2535). พฤตกิ รรมทางการเมอื งของนายสมาน ชมพูเทพ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เทศบาลตำบลอุโมงค์ งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการและแผนงาน. (2549). กว่าจะถึงปีทองเทศบาลตำบลอุโมงค์กับ 4 รางวัล แห่งความภาคภูมใิ จ. ลำพนู : (ม.ป.พ.) ที่ระลึกในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อชัยวัธน์ อินทะพันธ์ ณ สุสานบ้านหลวย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน 8 พฤษภาคม 2542. (2542). ลำพนู : กอธนาพริ้นท์. นิรันดร์ กุลฑานันท์. (2549). นักการเมืองถ่ินจังหวัดบุรีรัมย์. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า บูฆอรี ยีหมะ. (2549). นักการเมืองถ่ินจังหวัดปัตตานี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์. (2553). นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. พรชัย เทพปัญญา. (2552). นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. 149
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน พรชัย เทพปัญญา. (2548). โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ. นนทบุรี : สถาบัน พระปกเกล้า. พิชญ์ สมพอง. (2551). นักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ไพโรจน์ จันทรนิมิ และโกศล อนุสิม. (2546). วิถีคนกล้า จากรากหญ้า สูร้ ากไทร. กรุงเทพฯ : แว่นแก้ว. ไพโรจน์ จันทรนิมิ และครรชิต ธำรงรัตนฤทธิ์. (2530, 10 กันยายน). “เชียงใหม่กึ่งศตวรรษ กงกำกง เกวียน” กรุงเทพฯ. ผู้จัดการ. หน้า 3. ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. (2552). นักการเมืองถิ่นจังหวัดตาก. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2549). โครงการสำรวจเพ่ือประมวลข้อมูล นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั สงขลา. นนทบรุ ี : สถาบนั พระปกเกลา้ . ภิญโญ ตันพิทยคุปต์. (2553). นักการเมืองถ่ินจังหวัดตรัง. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2530) . เอกสารการสอนชุดวิชา ปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน หน่วยท่ี 1-6. (พิมพ์คร้ังท่ี 2). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ระพี สาคริก. (2510). การปลูกกล้วยไม้ตัดดอกในประเทศไทย. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสม ชุตินันท์ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม 14 ธันวาคม 2510. พระนคร : โรงพิมพ์ ชวนพิมพ์. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์. (2553). นักการเมืองถิ่นจังหวัด สุราษฎรธ์ านี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. (2550). เรียง ร้อย สืบ สายสกุล เจ้าหญิง แขกแก้ว ณ ลำพูน. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 150
บรรณานุกรม วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. (2553). เจ้าหลวงลำพูน. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. (2550). ท่ีระลึกในการบูรณะกู่บรรจุอัฐิ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ชายา และเจ้านายสายสกุล ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ ณ สุสานหลวง ลำพูน วันที่ 15 เมษายน 2549. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). วิชัย ตันศิริ. (2539). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา. สมุดประวัติประจำตัวสมาชิก นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ประเภทที่ 1 จังหวัดลำพูน. (2495). พระนคร : อำพล พิทยา. สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2557). พฤติกรรมการลง คะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุเชาวน์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2549). นักการเมืองถ่ิน จังหวดั อุบลราชธาน.ี นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. สุริยา ทาสุรินทร์. (2550, ธันวาคม 8). “เจาะสนามเลือกตั้ง จับตาเลขล็อก 4-5-9 ลำพูน ปชป. ส่อแทรก พปช. ซิวที่นั่ง ส.ส.” กรุงเทพ ธรุ กจิ . “เสี่ยเอน” ทายาท “ณรงค์ วงศ์วรรณ” อาสาสานตำนาน ส.ส. ผูกขาด เมืองแพร่ของผู้พ่อ (2547, 21 มิถุนายน). ผู้จัดการราย สัปดาห์. หลานเจ้าหญิงยอดเรือน ณ ลำพูน. (2486). จ ค นะ ลำพูน ตัวตายดกี ว่า ชื่อตาย. งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน 24 ธันวาคม 2486. (ม.ป.ท.) อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2539). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 151
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายประเทือง ปานลักษณ์ วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547. (2547) (ม.ป.ป.) : (ม.ป.พ.) อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ส.ส.สถาพร มณีรัตน์ ป.ม. ป.ช. ม.ว.ม. ม.ป.ช. ณ ฌาปนสถานบ้านสันต้นค่า อำเภอบ้านธิ จังหวัด ลำพูน วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. (2555). (ม.ป.ป.) : (ม.ป.พ.) สัมภาษณ ์ กานดา แสนไชย. หลานสาวนายชัยวัธน์ อินทะพันธ์. สัมภาษณ์, 24 มีนาคม 2554. ขยัน วิพรหมชัย. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพนู . สัมภาษณ์, 7 พฤศจิกายน 2553. จันทร์สุดา แสนไชย. สะใภ้นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์. สัมภาษณ์, 24 มีนาคม 2554. ชวิน คำบุญเรือง. นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุโมงค์. สัมภาษณ์, 4 เมษายน 2554. ธัญ การวัฒนาศิริกุล. อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน. สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2553. ประสิทธิ์ แสนไชย. บุตรนายชัยวัธน์ อินทะพันธ์. สัมภาษณ์, 27 มีนาคม 2554. พัฒนินทร์ ศุขโรจน์. อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สัมภาษณ์, 31 มีนาคม 2554. พุทธชาติ โปธิบาล. หลานสาวเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร. สัมภาษณ์, 21 มีนาคม 2554. รมณ ปานลักษณ์. ภรรยานายประเทือง ปานลักษณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน. สัมภาษณ์, 25 มีนาคม 2554. เรณ ู ทาธวัช. สัมภาษณ์, 3 พฤศจิกายน2553. 152
บรรณานุกรม วรเทวี (ณ ลำพนู ) ชลวณิช. ธิดาเจ้าวรทัศน์ ณ ลำพนู . สัมภาษณ์, 3 พฤศจิกายน 2553. ศรีทอง ปรีดำ. บุตรสาวนายบุญศรี ปรีดำ อดีตสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรจังหวัดลำพนู . สัมภาษณ์, 3 เมษายน 2554. สม กัญสิงห์. เพื่อนบ้านเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร. สัมภาษณ์, 3 พฤศจิกายน2553. สุรชัย จงรักษ์. ปลัดจังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์, 28 เมษายน 2554. สมาน ชมพูเทพ. อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน. สัมภาษณ์, 6 พฤศจิกายน 2553. อาภาภรณ์ พุทธปวน. อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพนู . สัมภาษณ์, 28 มีนาคม 2554. อินสนธิ์ พุทธปวน. คุณตานางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพนู . สัมภาษณ์, 28 มีนาคม 2554. อุบลพรรณ วรรณสัย. สัมภาษณ์, 29 มีนาคม 2554. อุบลวรรณ จันทรสุรินทร์. สัมภาษณ์, 20 มีนาคม 2554. 153
ภาคผนวก รูปภาพนักการเมืองถ่ิน จ.ลำพูน เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพนู
ภาคผนวก นายสม ชุตินันท์ นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ นายบุญศรี ปรีดำ นายสันต์ เทพมณี 155
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน นายสมาน ชมภูเทพ นายมนตรี ด่านไพบูลย์ นายจริญญา พึ่งแสง นายประเทือง ปานลักษณ์ 156
ภาคผนวก นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายสังวาลย์ วงศ์วรรณ นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน 157
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน นายสงวน พงษ์มณี นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ นายสถาพร มณีรัตน์ นายขยัน วิพรหมชัย 158
ภาคผนวก นายรังสรรค์ มณีรัตน์ 159
นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ประวัตินักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ์ ท่ที ำงาน ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วฒุ กิ ารศึกษา พ.ศ. 2540 รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและการปกครอง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2536 รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประวตั กิ ารทำงาน มิถุนายน 2542 อาจารย์ 1 ระดับ 4 สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เมษายน 2545 อาจารย์ 1 ระดับ 5 สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เมษายน 2548 อาจารย์ 1 ระดับ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 160
นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน มิถุนายน 2549 อาจารย์ ระดับ 7 หลักสตู รรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กันยายน 2549 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผลงานวิจยั 1. นักวิจัย ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทาง การเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 2549 : จังหวัดเชียงใหม่ (เสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า) 2. นักวิจัย การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและ พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 (เสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า) 3. นักการเมืองถิ่น จ.เชียงใหม่ ชุดสำรวจเพื่อประมวล ข้อมูลนักการเมืองถิ่น เล่มที่ 14 สถาบันพระปกเกล้า (งานวิจัยร่วมกับ ดร.วีระ เลิศสมพร) 161
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177