Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 52นักการเมืองถิ่นลำพูน

52นักการเมืองถิ่นลำพูน

Description: เล่มที่52นักการเมืองถิ่นลำพูน

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 8) กับ เจ้าหญิงหล้า ณ ลำพูน (ธิดา เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 9 กับ แมเ่ จา้ รถแกว้ หรอื ม.ร.ว.หญงิ รถแกว้ อศิ รเสนา ธดิ า ม.จ.ศกั รบตุ ร ซึ่งเป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช กับ หม่อมเจ้าหญิงทับ พระธิดาของเจ้าฟ้าชายศิลา โอรสในพระเจ้า กรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช) เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร มีธิดา 2 คน ได้แก่ เจ้าจักร- วงศ์วลี (ตุงคนาคร) ธนัญชยานนท์ และเจ้ารัชนีลาวันย์ (ตุงคนาคร) ศิริโกมล เจ้าจักรวงศ์วลี สมรสกับ เจ้าณรงค์ ธนัญชยานนท์ บตุ รของเจา้ นอ้ ยจนั ตะบญุ ธนญั ชยานนท์ (บตุ รเจา้ อตุ รการโกศล กับเจ้าแก้วมาลูน เจ้าอุตรการโกศลเป็นบุตรของเจ้าราชวงษ์ (เจ้าหนานบุญเป็ง) ต้นตระกูลธนัญชยานนท์กับเจ้าก๋องคำ ณ ลำพนู (ธดิ าเจา้ หนานเมอื งอนิ ทร์ ซง่ึ เปน็ บตุ รของเจา้ ราชภาคไิ นย) เจ้าจักรวงศ์วลี มีบุตร –ธิดา 3 คน ได้แก่ 1. นางพรพิลาศ แสนอาจหาญ ผู้อำนวยการกองบัญชี การไฟฟ้าภูมิภาคเขต 3 ภาคกลาง สมรสกับ นายปรีชา แสนอาจหาญ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุทธชาติ โปธิบาล หัวหน้า ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน สมรสกับ ว่าที่ร้อยตรีวีรชัย โปธิบาล มีธิดา 1 คน คือ นางสาวสายลำภุญชย์ โปธิบาล 36

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 3. นายณัฏฐ์ ธนัญชยานนท์ (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ นางวนั ณี ชมุ ทอง มบี ตุ ร 1 คน คอื นายณฏั ฐวงศ์ ธนญั ชยานนท ์ เจ้ารัชนีลาวันย์ สมรสกับนายดำรง ศิริโกมล มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ 1. นายศุภพงษ์ ศิริโกมล (ถึงแก่กรรม) 2. พ.ต.อ.สรณะ ศิริโกมล ผกก.สภ.แม่ลาว จ.เชียงราย สมรสกับนางอัจฉรา ศิริโกมล มีบุตร 1 คน คือ นายคมศร ศิริโกมล 3. นางสาวรถแก้ว ศิริโกมล บริษัทลาฟาร์จเพรสเตีย จำกัด ชลบุรี มีบุตร 1 คน คือนายพันธรถ ศิริโกมล การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 15 พฤศจิกายน 2476 - 9 ธันวาคม 2480 ครั้งที่ 2 7 พฤศจิกายน 2480 - 11 กันยายน 2481 ครั้งที่ 3 6 มกราคม 2489 - 9 พฤศจิกายน 2490 ครั้งที่ 4 26 กุมภาพันธ์ 2500 - 16 กันยายน 2500 ครั้งที่ 5 15 ธันวาคม 2500 - 20 ตุลาคม 2501 พรรคประชาธิปัตย์ ครั้งที่ 6 10 กุมภาพันธ์ 2512 - 17 พฤศจิกายน 2514 พรรคประชาธิปัตย์ เจา้ หนานบญุ มี ตงุ คนาคร เปน็ ผทู้ ม่ี บี คุ ลกิ ดี ดนู า่ เกรงขาม ด้วยน้ำเสียงการพูดที่มีอำนาจ ทั้งเรื่องความดัง ความเด็ดขาด 37

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ความชัดเจนในถ้อยคำวาจา ก่อนเป็นนักการเมืองท่านมีชีวิต ที่เรียบง่าย สมถะ ปลูกมะนาวและ เลี้ยงไก่ เมื่อเข้าสู่ตำแหน่ง ทางการเมืองเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร ก็เป็นผู้แทนราษฎร อาชีพโดยแท้ และได้อุทิศตนเพื่อประชาชนชาวลำพูนมาตลอด ชีวิต เพราะท่านไม่เคยประกอบอาชีพอื่น นับตั้งแต่ท่านได้รับ เลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดลำพูน ท่านก็ไม่เคย ทำงานอย่างอื่นอีกเลย นอกจากการเป็นตัวแทนของประชาชน ชาวลำพนู ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น กิตติศัพท์ของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่ใจของประชาชน ชาวลำพูน คือเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยคดโกง สมถะ ขยัน ประหยัด เรียบง่าย ไม่ถือตัว อีกทั้งท่านยังไม่มีความโลภ ในทรัพย์ เมื่อเจ้าพ่อของท่านถึงแก่พิราลัย ท่านก็ได้สละสิทธิ ในทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนของท่านให้แก่หลานซึ่งเป็นบุตรของพี่สาว ต่างมารดา นอกจากนี้ยังสละทรัพย์สินส่วนตัวของท่าน จนหมดสิ้นเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อนของราษฎร ท่านจึง ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน และ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองลำพูน อย่างต่อเนื่องหลายสมัย ผลงานสำคัญ การสร้างถนนในเขตเทศบาล พัฒนาการคมนาคมและ ผังเมืองในจังหวัดลำพูน การร้องขอให้รัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน คือโรงเรียนจักรคำคณาทร จนในที่สุด มีการสร้างโรงเรียนจักร คำคณาทรขึ้น โดยการบริจาคที่ดินของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ และกลายเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมาจน 38

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ปัจจุบันนี้ การบริจาคที่ดินจำนวนมากทำให้ที่ดินในการครอบครอง ของเจ้าหนานบุญมี ค่อยๆ หายไปจนหมด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ซอยพญาอินทร์ที่ตั้งธนาคารออมสินสาขาลำพูน ซึ่งหาก เจ้าหนานบุญมีนำไปขายจะได้เงินหลายร้อยล้าน กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ เครือข่ายครอบครัวของเจ้าหนานบุญมี ซึ่งมีเชื้อสาย มาจากราชวงศ์มังราย ทำให้ได้รับความเชื่อถือ และความ ศรัทธาจากประชาชน เครือข่ายทางสังคม และชุมชน เนื่องจากเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร มีโครงการ และผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา ประชาชน ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เคยคดโกง สมถะ เรียบง่าย และยอมเสียสละทรัพย์เพื่อส่วนรวม ทำให้ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อเนื่องหลายสมัย 2. เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เป็นราชบุตรของพลตรีอำมาตย์ โทเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 และ เจ้าหญิงแขกแก้ว ซึ่งเป็นธิดาองค์เล็กของเจ้าบุรีรัตน์ แห่งนคร ลำพูนกับเจ้าสุนา เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สูติเมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เวลา 12.00 น. ณ คุ้มหลวงเก่า อำเภอเมือง จังหวัด ลำพนู 39

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การศึกษา ในวัยเยาว์ เจ้าบิดาได้จ้างครูชาวอเมริกัน มาสอนภาษา อังกฤษให้ในคุ้มหลวง ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนจักรคำ คณาทร ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2466 เมื่อเจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน อายุ 12 ปี เจ้าบิดาและเจ้ามารดาได้ส่งท่านไปศึกษายังกรุงเทพมหานคร โดยเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวชิราวุธ ซึ่งในขณะนั้นเป็นโรงเรียน ของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และต่อมา ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย ตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2479 ขณะที่ท่าน มีอายุ 25 ปี ท่านจึงสอบได้เป็นธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และได้กลับมาเป็น ทนายความอยู่ที่จังหวัดลำพูนในช่วงเวลาหนึ่ง ครอบครัว เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สมรสกับ นางสาวเทวี วัฒนะทัสสี มีทายาท 2 ท่านคือ 1. เจ้าวรเทวี (ณ ลำพนู ) ชลวณิช สมรสกับคุณวีระวัฒน์ ชลวณิช มีบุตรและธิดา 3 คนคือ นายณพล ชลวณิช นางสาว วิราวดี ชลวณิช และนาย ศุภวัฒก์ ชลวณิช 2. เจ้าวีระทัศน์ ณ ลำพูน (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548) 40

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 12 พฤศจิกายน 2481 – 15 ตุลาคม 2488 ครั้งที่ 2 26 กุมภาพันธ์ 2500 – 16 กันยายน 2500 พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เป็นผู้ซึ่งมีความสนใจในเรื่องของ บ้านเมืองอย่างที่สุดท่านหนึ่ง นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เจ้าวรทัศน์ ได้แสดงความมุ่งมั่น และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรับ ใช้ประชาชนชาวลำพูน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก เจ้าบิดาของท่านในการที่จะส่งเสริมให้ราชบุตรเป็นปาก เป็นเสียงแทนคนลำพนู ในปี พ.ศ. 2481 เมอ่ื มกี ารเลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนชาวลำพูน ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ขณะอายุเพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในรัฐสภา ขณะนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2481-2482 ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรช่วงแรกนั้น เจ้าวรทัศน์ ได้ให้ความสนใจ การกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไก่” พันธุ์ ต่างๆ ท่านได้ซื้อไข่ไก่ “บัปออปิ่งตัน” สีทอง ฟองละ 10 บาท จำนวน 10 ฟองไปฟัก และต่อมาซื้อไก่พันธุ์ “บลูออปิงตัน” ชุดละ 500 บาท ไปเลี้ยง และยังได้สั่งลูกไก่พันธุ์ต่างๆ จาก 41

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ประเทศอังกฤษ และไก่พันธุ์นาโกย่าจากประเทศญี่ปุ่นไปเลี้ยงที่ คุ้มของท่าน ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กินเวลา ยาวนานถึง 6 ปี และเมื่อสงครามยุติลง รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 จนกระทั่งในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2488 จึงประกาศตั้ง ฯพณฯ นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลชุดที่ 13 ซึ่งคณะรัฐบาลชุดนี้ได้ลาออกในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2488 คณะรัฐบาลชุดที่ 14 โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เสนอ รายนามคณะรัฐมนตรีต่อสภาแห่งชาติ และได้รับความไว้วางใจ จากสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นเอกฉันท์ ในวันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488 ดังต่อไปนี้ 1. พล.ต.อ. หลวงอดุลย์เดชจรัส (เสรีไทย) เป็นรอง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข 2. พล.ท. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ส.ส.2) เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม 3. ฯพณฯ นายดิเรก ชัยนาม (ส.ส.2 เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. ฯพณฯ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (ส.ส.2 เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 5. ฯพณฯ พระยาอรรถการีนิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการ 42

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 6. ฯพณฯ ม.ล.อุดมสนิทวงศ์ (ส.ส.2) เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ 7. ฯพณฯ นายสพรั่ง เทพหัสดินทร์ (ส.ส.2) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 8. ฯพณฯ นายทวี บุณยเกตุ (ส.ส.2 เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 9. ฯพณฯ พระยานลราชสุวัจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม 10. ฯพณฯ พระตีรณสารวิศวกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ 11. ฯพณฯ นายประจวบ บุนนาค (ส.ส.2) เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 12. นายทวี ตะวีกุล (เสรีไทย) เป็นรัฐมนตรี 13. เจ้าวรทศั น ์ ณ ลำพนู (ส.ส. นครลำพนู ) เปน็ รัฐมนตรี (ภายหลังได้ฟอร์มตัวเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการ กระทรวงมหาดไทย) 14. นายสงวน ตุลารักษ์ (เสรีไทย) เป็นรัฐมนตรี 15. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ (เสสรีไทย) เป็นรัฐมนตรี 16. นายเตียง ศิริขันธ์ (ส.ส.สกลนคร เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรี 17. นายทอง กันทาธรรม (ส.ส. แพร่ เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรี 43

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 18. นายพึ่ง ศรีจันทร์ (ส.ส. อุตรดิตถ์ เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรี 19. นายจำลอง ดาวเรือง (ส.ส. มหาสารคาม เสรีไทย) เป็นรัฐมนตรี 20. นายจรูญ สืบแสง (ส.ส.2 เสรีไทย) เป็นรัฐมนตรี 21. พระสุทธิอรรถนฤมล เป็นรัฐมนตรี 22. นายชิต เวชประสิทธิ์ (ส.ส.ภูเก็ต เสรีไทย) เป็น รัฐมนตรี ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เจา้ วรทศั น ์ ณ ลำพนู ไดด้ ำรงตำแหนง่ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดลำพูน ในสมัยที่สอง ซึ่งในครั้งนี้มีระยะเวลาเพียงสั้นๆ ไม่ถึง 8 เดือน อย่างไรก็ตาม ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญ ดังต่อ ไปนี้คือ 1. คัดค้านการทำป่าไม้เขื่อนยันฮี ซึ่งรัฐบาลอนุญาต ให้พ่อค้าคนหนึ่งทำไม้บริเวณ น้ำท่วมเขื่อนยันฮี ในราคาเพียง 70 ล้านบาท ซึ่งความเป็นจริงไม้รายนี้ ราคาถึง 1,000 ล้านบาท เศษ ตามแถลงการณ์ของอธิบดีกรมป่าไม้ 2. ได้ช่วยราษฎรที่ถูกปรับในการซื้อวัวควาย โดยไม่ปิด อากรแสตมป์ และไม่มีทะเบียนลุกคอกได้ลดค่าปรับลงครึ่งหนึ่ง เป็นจำนวนถึงพันรายเศษ 3. ได้ช่วยดำเนินการให้ราคากระเทียมซึ่งตกต่ำในขณะ เลือกตั้งผู้แทนครั้งก่อน ให้มีราคาดีขึ้นกว่าเดิม และป้องกันมิให้ กระเทียมต่างประเทศเข้ามาตีตลาดกระเทียมไทย 44

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 4. ได้ติดต่อรัฐบาลจนโรงเรียนเมธีวุฒิกรได้รับรอง วิทยฐานะเท่าเทียมโรงเรียนรัฐบาล 5. สร้างถนนจากอำเภอลี้ ผ่านตำบลนาทรายถึงก้อ ถนนจากอำเภอลี้ถึงบ้านปวง ถนนจากแม่ปอกถึงตะเคียนปม และถนนจากแม่เลยถึงทุ่งหัวช้าง โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัทป่าไม้ประจำจังหวัดลำพูน จำกัด เป็นจำนวนเงิน 51,000 บาท เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ได้รับการยกย่องจากกลุ่มสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรว่า เป็นคนดีที่น่าสรรเสริญ มีความรู้รอบตัว เขาช่ำชองงานทุกชนิด มีความเฉลียวฉลาด มีวาทะศิลปะและ อารมณ์ขัน อัธยาศัยดี เป็นคนสมัยใหม่ มีความคิดริเริ่ม และมี ความเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียง เป็นคนรักเกียรติและซื่อตรงต่อตัว เองและประชาชน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ได้เริ่มป่วย ต่อมาสุขภาพของท่านก็เริ่มทรุดลง จนถึงแก่ อสัญกรรมด้วยโรคความดันโลหิตสูง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ขณะมีอายุได้ 54 ปี และได้มีโทรเลขจากบุคคลชั้นนำในประเทศไทย และผู้ทีม ี ชื่อเสียงอีกจำนวนมาก ร่วมแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เช่น ฯพณฯ นายควง อภัยวงศ์ อดีต นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี พณฯ นายวรการบัญชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี 45

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของเจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน มาจากการเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวลำพูน ในฐานะ ทายาทของพลตรีอำมาตย์โทเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครอง นครลำพูนองค์สุดท้าย (องค์ที่ 10) และเจ้าหญิงแขกแก้ว ณ ลำพูน ซึ่งท่านทั้งสองมีบทบาทในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนา จังหวัด การปกครอง การสื่อสาร การสาธารณสุข การศึกษา การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การทหาร การสาธารณกุศลอื่นๆ ที่ประจักษ์แก่ชาวลำพูน การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าบิดา มารดา และเครือข่ายครอบครัวส่งผลให้ประสบความสำเร็จ ในการเลือกตั้ง ผลงานและชื่อเสียงของเจ้าวรทัศน์ซึ่งเป็นที่ยอมรับของ ประชาชน มีความซื่อตรงและความเที่ยงธรรม การทุ่มเท ทำงานเพื่อประชาชนในการเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มโครงการ ต่างๆ ให้แก่จังหวัดลำพูน ในการดำรงตำแหน่งครั้งแรก ส่งผล ต่อชัยชนะในการเลือกตั้งในสมัยที่ 2 3. นายสม ชุตินันท์ นายสม ชุตินันท์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ที่จังหวัดลำพูน เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายสุข และนางเพ็ญ นันทขว้าง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ดังนี้ 1. นางบัวเขียว วังกาสิทธิ์ 2. นายจันทร์แก้ว นันทขว้าง 46

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 3. นายศรีมูล นันทขว้าง 4. นายสม ชุตินันท์ การศึกษา ระดับต้น โรงเรียนปรินสรอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2468 โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม พ.ศ. 2471 ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม การทำงาน พ.ศ. 2474 ข้าราชการชั้นตรี ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยจังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2477 ข้าราชการชั้นโท ตำแหน่งอัยการจังหวัดแพร่ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นายสม ชุตินันท์ ได้ปฏิบัติการกับทหารสัมพันธมิตรในขบวนการเสรีไทย จนสงครามสงบลง 47

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ครอบครัว นายสม ชุตินันท์ ได้เปลี่ยนนามสกุลจาก นันทขว้าง เป็นชุตินันท์ สมรสกับนางสาวสุมาลัย เลาหะปาเลศ ธิดา หลวงรัฐการประสิทธิ์ และนางรัฐการประสิทธิ์ (สร้อย) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2476 มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ 1. นายแพทย์เทิดศักดิ์ ชุตินันท์ สมรสกับนางกรรณิการ์ ชุตินันท์ (ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา) มีบุตรชาย 1 คน หญิง 1 คน 2. เรืออากาศเอกฉัตรชัย ชุตินันท์ 3. นางสาวยาใจ ชุตินันท์ สมรสกับนายปรีชา เพ็ชรรัตน์ 4. นายอลงกฎ ชุตินันท์ สมรสกับนางเทวะทินนา ชุตินันท์ มีบุตร 4 คน - นางพิไรเรข วงศ์แสงอนันต์ (วศ.บ. เคมี - จุฬา MBA ทุน ก.พ. - U of Bridgeport) แต่งงานกับนายวันชัย วงศ์แสงอนันต์ มีธิดา 2 คน น.ส.พิมพ์พิไล และ ด.ญ.วงตะวัน - น.พ. อลงกรณ์ ชุตินันท์ (จุฬา/ศิริราช - แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางการผ่าตัดสมอง) แต่งงานกับนางจุไรรัตน์ ไม่มีบุตร - ดร.อลงกฤต ชุตินันท์ (ทุนเล่าเรียนหลวง – วิทยานิพนธ์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทำงานที่สหรัฐ ฯ) แต่งงานกับ ท.ญ. สุพัตริยา มีบุตร 2 คน ด.ช.กฤษดิ์ และ ด.ช. กานต์ 48

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน - ดร. อลงการ ชุตินันท์ (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น – วิทยานิพนธ์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเลเซอร์) การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ระหว่าง 5 สิงหาคม 2489 - 9 พฤศจิกายน 2490 นายสม ชุตินันท์ ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน โดยการ “เลือกตั้งเพิ่ม” ซึ่งการเลือกตั้งเพิ่มนี้ มีสาเหตุ มาจาก การเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนของจำนวนประชากรผู้มี สิทธิเลือกตั้งกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ จากจำนวนประชากร 200,000 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน เป็นจำนวนประชากร 150,000 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร 1 คน ดังนั้น จากเดิมที่จังหวัดลำพูนมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเพียงท่านเดียวคือ นายบุญมี ตุงคนาคร ได้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งก็คือ นายสม ชุตินันท์ พ.ศ. 2488 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน พ.ศ. 2490 ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตร ภายหลงั จากสน้ิ สดุ สมาชกิ ภาพสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร นายสม ชุตินันท์ จึงเป็นข้าราชการบำนาญชั้นเอก และ ได้ดำเนินอาชีพทนายความ นายสม ชุตินันท์ เป็นทนายความ อาวุโสที่มีชื่อเสียง และได้มีส่วนสนับสนุน ให้ความร่วมมือ ในการก่อตั้งสมาคมทนายความ และเป็นสมาชิกรุ่นแรกของ 49

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน สมาคมทนายความ นอกจากนี้ ยังได้ให้ความช่วยเหลือกิจกรรม ของสมาคมทนายความอีกด้วย กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ เครือข่ายครอบครัว ตระกูลนันทขว้าง ชื่อเสียง และตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานเป็นอัยการ การปฏิบัติงานในขบวนการเสรีไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้นายสม ชุตินันท์ ได้รับเลือกตั้ง 4. นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ มีชื่อเดิมว่า “อัมพร” เป็นบุตร คนที่ 2 ของนายเมืองใจ และนางตาเขียว อินทะพันธ์ เกิดเมื่อ วนั ท่ี 13 เมษายน พ.ศ. 2452 ณ บา้ นฟา้ ฮา่ ม อ.เมอื ง จ.เชยี งใหม่ และย้ายมาอยู่ที่ตำบลบ้านแป้น จ.ลำพนู การศึกษาและการทำงาน นายชัยวัธน์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จาก โรงเรียนปรินสรอยแยลวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับ แต่งตั้งให้เป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ และระหว่างที่เป็นครู ก็ได้สมัครสอบหลักสูตร “ราชบุรุษ” เมื่อสอบได้แล้วจึงได้รับ บรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยในตำแหน่งปลัด อำเภอ และได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดอำเภอปากบ่อง ซึ่งก็คือ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพนู ในปัจจุบัน นายชัยวัธน์ยังได้ศึกษาวิชากฎหมาย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และการเมือง ตามหลักสูตรเดิม 4 ภาควิชา 50

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน จนสำเร็จเป็นธรรมศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ.2486 ซึ่งเป็นเหตุ ให้เริ่มต้นอาชีพอิสระเป็นทนายความ ครอบครัว ในปี พ.ศ. 2480 เมื่อนายชัยวัธน์ อายุ 28 ปี ขณะที่เป็น ปลัดอำเภอ ได้สมรสกับนางสาวฟองคำ แสนไชย อายุ 17 ปี ได้ประกอบพิธีสมรส โดยการผูกข้อมือและจดทะเบียนสมรส ตามกฎหมาย นางฟองคำภรรยาของท่านนั้น เป็นผู้ที่มีฝีมือใน การเย็บปักถักร้อย ก็ได้เริ่มเปิดธุรกิจร้าน ฟ.ภูษาคาร นายชัยวัธน์ มีบุตร 1 คน ชื่อนายชัยพร อินทะพันธ์ ได้ไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่มัธยมศึกษา ตอนปลาย ประกอบอาชีพตลอดจนพำนักอยู่ประเทศ สหรัฐอเมริกาและได้สมรสกับแพทย์หญิง LILLETTE A.INTAPHAN มีบุตรชาย 3 คน คือ MR. JARED M. INTAPHAN MR. ANDREW M. INTAPHAN และ MR. TAYLOR M. INTAPHAN นอกจากนี้ นายชัยวัธน์ ได้รับเอานายสุวิทย์ แสนไชย ซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องของนางฟองคำ มาเป็นบุตรบุญธรรม นับตั้งแต่สมรส นายสุวิทย์ แสนไชย สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ประกอบอาชีพทนายความและได้สมรสกับนางสาว จันทร์สุดา จันทรไพร มีบุตร 2 คนคือ นางสาวกานดา แสนไชย และนายปริญญา แสนไชย 51

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน บทบาททางสังคมและศาสนา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดท่าต้นงิ้ว อำเภอปากบ่อง จังหวัดลำพนู สอบได้ธรรมศึกษาเอก (เทียบเท่านักธรรมเอก) เป็นสมาชิกสภาจังหวัด และได้รับเลือกเป็นประธานสภา จังหวัด หลายสมัย เป็นสมาชิกสภาเทศบาล และได้รับเลือกเป็นนายก เทศมนตรีเมืองลำพนู หลายสมัย เป็นนายกพุทธสมาคม จังหวัดลำพนู เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสโมสรโรตารี่ลำพูน และดำรงตำแหน่ง นายกก่อตั้งสโมสรโรตารี่ลำพนู เป็นไวยาวัจกรวัดพระธาตุหริภุญไชย นอกจากนี้ นายชัยวัธน์ยังเป็นกรรมการ และเป็นผู้มี ส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมอีกหลายกิจกรรม รวมทั้งการได้ ไปศกึ ษาดงู านตา่ งประเทศ อาจกลา่ วไดว้ า่ เปน็ ผทู้ ม่ี ปี ระสบการณ์ ทั้งด้านการศึกษา การเมืองและสังคม การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 29 มกราคม 2491 - 29 พฤศจิกายน 2494 ครั้งที่ 2 26 กุมภาพันธ์ 2495 - 25 กุมภาพันธ์ 2500 ครั้งที่ 3 20 สิงหาคม 2500 -16 กันยายน 2500 52

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การประกอบอาชีพทนายความของนายชัยวัธน์ เป็นเหตุ ให้ท่านได้เกิดความใกล้ชิดกับประชาชน จนทำให้หันเหชีวิต เข้าสู่การเมืองในที่สุด โดยการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และได้รับเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร จังหวัดลำพูน ครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 สมาชิกภาพสิ้นสุด ลงโดยการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2492 และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาอีก 2 สมัย การปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการดำรง ตำแหนง่ ครงั้ ที่ 1 26 กุมภาพันธ์ 2491 กรรมาธิการวิสามัญ ชุดที่ 3 25 มีนาคม 2491 กรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่าง พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2491 11 สิงหาคม 2492 กรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2492 11 สิงหาคม 2492 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 53

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 25 สิงหาคม 2492 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2492 19 มกราคม 2493 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2493 23 กุมภาพันธ์ 2493 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 20 กรกฎาคม 2493 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุม ค่าเช่า พ.ศ. 2493 3 สิงหาคม 2493 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการ เดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2493 10 สิงหาคม 2493 กรรมาธิการวิสามัญร่างข้อบังคับการประชุมและ การปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2493 12 สิงหาคม 2493 กรรมาธิการสามัญประจำ ชุดที่ 1 12 สิงหาคม 2493 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 54

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 30 พฤศจิกายน 2493 กรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2493 16 พฤศจิกายน 2493 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2494 4 มกราคม 2494 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2493 26 มกราคม 2494 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุม ป้าย พ.ศ. 2493 26 เมษายน 2494 กรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ ยกฐานะศาลแขวงแม่สะเรียง ศาลแขวงแม่สอด ศาลแขวงตะกั่วป่า และศาลแขวงหลังสวนเป็น ศาลจังหวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2494 27 เมษายน 2494 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2494 11 ตุลาคม 2494 กรรมาธิการต่างประเทศ 55

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการดำรง ตำแหน่งคร้งั ท่ี 2 28 สิงหาคม 2495 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2495 4 กันยายน 2495 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2495 และ ร่างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2495 6 พฤศจิกายน 2495 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2496 13 พฤศจิกายน 2495 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 2 พฤศจิกายน 2495 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษี เครื่องดื่ม พ.ศ. 2495 10 มกราคม 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. 2496 9 กรกฎาคม 2496 กรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการ สาธารณปู การ 56

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 30 กรกฎาคม 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการ ประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 3 กันยายน 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ โอนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมอนามัย ตามพระราชบัญญัติบางฉบับให้เป็นอำนาจและหน้าที ่ ของปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2496 18 กันยายน 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เพิ่มอำนาจตำรวจในการป้องกันและปราบปราม การกระทำผิดทางน้ำ พ.ศ. 2496 12 พฤศจิกายน 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2497 24 ธันวาคม 2496 กรรมาธกิ ารวสิ ามญั พจิ ารณารา่ งพระราชบญั ญตั กิ ารขนสง่ พ.ศ. 24.. 29 ธันวาคม 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 24.. 29 ธันวาคม 2496 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 24.. 57

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 23 มกราคม 2497 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 24.. 23 มกราคม 2497 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสำรวจ การกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 23 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ โรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 24.. 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารราร่างพระราชบัญญัติองค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบล ดำเนินสะดวก อ.บ้านแพร้ว จ.สมุทรสาคร พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเวนคืน อ ส ั ง ห า ร ิ ม ท ร ั พ ย ์ ใ น ท ้ อ ง ท ี ่ ต ำ บ ล ก ร ะ ท ุ ่ ม แ บ น อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลตลาดกรวด และตำบล บางแก้ว อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง พ.ศ. 2497 58

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลแม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ โอนกรรมสิทธิที่วัดและที่ธรณีสงฆ์วัดโปรดสัตว์ และ วัดขอม ต.องครักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้แก่ กรมชลประทาน พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ โอนกรรมสิทธิที่ธรณีสงฆ์วัดย่านอ่างทอง ต.บ้านใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ โอนกรรมสิทธิ์ที่วัดแฝก ต.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ อ.ชัยนาท อ.เมืองชัยนาท พ.ศ. 2497 29 มกราคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2497 59

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 1 กรกฎาคม 2497 ก ร ร ม า ธ ิ ก า ร ศ ึ ก ษ า ก า ร ส า ธ า ร ณ ส ุ ข แ ล ะ ก า ร สาธารณูปการ 5 สิงหาคม 2497 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อ... 26 สิงหาคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ วิทยาลัยการศึกษา พ.ศ. 2497 26 สิงหาคม 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2497 11 กันยายน 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัต ิ สาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2497 11 กันยายน 2497 กรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุม การใช้อุจาระเป็นปุ๋ย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2497 11 มกราคม 2498 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ระเบียบราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 24.. 60

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การเสนอญัตติหรือกระทถู้ าม 3 มิถุนายน 2491 กระทู้ถามเรื่อง เงินบำรุงชาวนาที่สหประชาชาติเพิ่มให้ จากราคาข้าว 3 มิถุนายน 2491 กระทู้ถามเรื่อง การจับจองที่ดิน 29 กรกฎาคม 2491 เสนอร่างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลป์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2491 2 ธันวาคม 2491 กระทู้ถามเรื่อง การปลดปลัดกระทรวงมหาดไทย 13 มกราคม 2492 กระทู้ถามเรื่อง นโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับจีน 11 สิงหาคม 2492 เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที ่ จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491 19 กันยายน 2496 กระทู้ถามเรื่อง การสร้างทางหลวงแผ่นดินตามโครงการ นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ เสียชีวิตในวันที่ 29 เมษายน 2542 ขณะมีอายุ 90 ปี 61

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ เครือข่ายทางสังคม ซึ่งนายชัยวัธน์ ได้ประกอบอาชีพ ทนายความ ทำให้มีชื่อเสียง จนเป็นที่รู้จักของประชาชน ชาวลำพูนเป็นอย่างดี เครือข่ายศาสนา เนื่องจากนายชัยวัธน์ เป็นผู้ที่ให้ความ สนใจกิจกรรมทางศาสนาเป็นอย่างมาก การดำรงตำแหน่ง นายกพุทธสมาคม จ. ลำพูน ไวยาวัจกรวัดพระธาตุหริภุญไชย และการทำนุบำรุงศาสนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความใกล้ชิด กับประชาชน ประชาชนให้ความศรัทธานับถือ และได้รับ ความไว้วางใจจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 5. นายบุญศรี ปรีดำ นายบุญศรี ปรีดำ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 เป็นบุตรของ นายปลวก ปรีดำ ชาวบ้านอำเภอป่าซางน้อย กับนางแก้ว ซึ่ง บ้านอยู่เวียงหนองล่อง มีพี่ชาย 1 คน คือนายปัน ปรีดำ นายบุญศรี ปรีดำ แต่งงานกับนางไฝ มีทายาท 4 คน ได้แก่ 1. นายสุนทร ปรีดำ เสียชีวิตแล้ว 2. นายบรรเลง ปรีดำ เสียชีวิตแล้ว 3. นางศรีทอง ปรีดำ 4. นางบุญทวี สุริยานนท์ สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. วินัย สุริยานนท์ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 62

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน 15 ธันวาคม 2500 – 20 ตุลาคม 2501 ไม่สังกัดพรรค นายบุญศรี ปรีดำ เป็นผู้ที่ทำการค้าขาย และมีธุรกิจ หลายอย่าง เช่นการซื้ออาคารพาณิชย์อยู่ถนนประชาชื่น กรุงเทพมหานคร เพื่อทำการค้าขาย เช่น ร่มจากสันกำแพง ส่วนไร่นาและสวน ที่ จ.ลำพูน ก็จะมีตา ยาย และลูกจ้างเป็น ผู้ดูแล มีการรับเหมาทำเหมือง ฝาย อีกทั้งยังค้าหอม ส่งพืชไร่ ทุกชนิด มีรถคอกหมู 2 คัน ไปเช้าเย็นกลับ การรับเหมาสร้างเขื่อน ทำให้นายบุญศรีเป็นที่รู้จักของ คนมากมาย การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในขณะนั้น เหตุจูงใจในการเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรคือ นายบุญศรีเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นระยะเวลา 7 ปี และเป็นกำนันอีก 10 ปี ลูกน้องเยอะ จึงส่งเสริมให้ลงสมัคร รับเลือกตั้ง โดยนายบุญศรี ปรีดำ มีฉายาที่ชาวบ้านเรียกว่า “ผู้แทนควายดิน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนที่ชอบทำไร่ ทำสวน ทำนา เหมืองและฝาย นายบุญศรี ปรีดำ เสียชีวิตที่กรุงเทพในปี พ.ศ. 2532 ขณะที่มีอายุ 70 ปี กลุ่มแกน และเครือข่ายความสำเร็จ การเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนายบุญศรี ปรีดำ เริ่มต้นจากการเป็นผู้นำท้องถิ่น คือกำนัน ซึ่งทำให้เป็นที่รู้จัก ของชาวบ้านเป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจค้าขาย และ 63

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน รับเหมาก่อสร้างเหมือง ฝาย ถนน ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุน จากลูกน้องและชาวบ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นหัวคะแนน จนทำให้ ประสบความสำเร็จในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 6. นายสันต์ิ เทพมณี นายสันติ์ เทพมณี เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของนายสุข และนางคำณวน เทพมณี สมรสกับ นางมาลี เทพมณี การศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพนู โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพ ปริญญาตรี กฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ปริญญาโท การปกครองการวางแผนการบรหิ าร รฐั ศาสตรมหาบณั ฑติ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์และการเมือง ประกาศนยี บตั รการบญั ชี และประกาศนยี บตั รนกั ปกครอง ชั้นสงู รุ่นที่ 1 วิทยาลัยการปกครอง 64

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การทำงาน พ.ศ. 2501-2503 เทศมนตรีเทศบาลเมืองลำพนู พ.ศ. 2501-2512 สมาชิกสภาจังหวัดลำพูน ติดต่อกัน 3 สมัย การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 10 กุมภาพันธ์ 2512 – 17 พฤศจิกายน 2514 พรรคสหประชาไทย ครั้งที่ 2 26 มกราคม 2518 – 12 มกราคม 2519 พรรคเกษตรสังคม ครั้งที่ 3 4 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519 พรรคประชาธิปัตย์ นายสันติ์ เทพมณี เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน การเมืองในระดับท้องถิ่นต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เปน็ ตน้ มา กอ่ นเปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จ.ลำพนู ตดิ ตอ่ กนั 3 สมัย นายสันติ์ ได้เริ่มงานทางการเมือง ในตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ในปี พ.ศ.2512 สังกัดพรรค สหประชาไทย พรรคเกษตรสังคม และพรรคประชาธิปัตย ์ ตามลำดับ พ.ศ. 2514 กรรมาธกิ ารพจิ ารณางบประมาณแผน่ ดนิ สภาผแู้ ทนราษฎร 65

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2514-2518 กรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองคนที่หนึ่ง การดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จ.ลำพูน 22 มีนาคม 2543 – 22 มีนาคม 2549 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งผู้สมัครทำได้เพียงการแนะนำตัว ห้ามการหาเสียง ในการ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2543 จังหวัดลำพูนมีสมาชิก วุฒิสภา 1 คน โดยนายสันต์ เทพมณี ได้รับเลือกตั้ง ด้วย คะแนนเสียง 95,266 คะแนน และได้ดำรงตำแหน่งสมาชิก วุฒิสภาเป็นระยะเวลา 6 ปี การดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมธิการ 1. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546) 2. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติ และความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ 66

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2546 (ที่ประชุม วุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546) 3. คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรง ตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546) 4. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้ง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) 5. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วุฒิสภา (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2546) 6. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติธนาคารออมสิน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2546) 7. คณะกรรมาธิการพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็น สมควรเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ (พ.ศ. 2545) (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2546) 8. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติตั้งเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2545) 67

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 9. คณะกรรมาธิการร่วมกันของ ส.ว. และ ส.ส. เพื่อ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (พ.ศ. 2545) 10. คณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) 11. คณะกรรมาธิการร่วมกันของ ส.ว. และ ส.ส. เพื่อ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (พ.ศ. 2544) 12. คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2545) 13. คณะกรรมาธิการร่วมกันของ ส.ว. และ ส.ส. เพื่อ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. .... (มิถุนายน พ.ศ. 2544) 14. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอ รายชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำ วุฒิสภา (มิถุนายน พ.ศ. 2544) 15. คณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเขตปลอดอากร) (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) 68

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 16. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545) 17. คณะกรรมาธิการสามัยเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขา รัฐศาสตร์ แทนตำแหน่งที่ว่าง (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543) 18. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช- บัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังรวม หรือยุบเลิกทุน หมุนเวียน พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2543) 19. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด (ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติตั้งเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547) 20. คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ ประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่ประชุม วุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2547) 21. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที ่ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอ ชื่อให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการป้องกันและ 69

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (สมัยสามัญทั่วไป) (26 เมษายน พ.ศ. 2547) 22. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที ่ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอ ชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ครั้งที่ 2 (สมัย สามัญนิติบัญญัติ) (10 สิงหาคม พ.ศ. 2547) 23. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที ่ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอ ชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ สาขา รัฐศาสตร์ แทนตำแหน่งที่ว่าง ครั้งที่ 13 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) (20 กันยายน พ.ศ. 2547) 24. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อพิจารณาเสนอ รายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) (27 กันยายน พ.ศ. 2547) 25. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที ่ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอ ชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มเติม ครั้งที่ 31 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) 26. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ค่าลดหย่อนเงินบริจาคพรรคการเมือง) 70

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 27. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... วุฒิสภา 28. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาเสนอ รายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 18 (สมัยสามัญทั่วไป) (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) 29. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที ่ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอ ชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญทั่วไป) (28 มีนาคม พ.ศ. 2548) 30. ประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาเสนอ รายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 18 (สมัยสามัญทั่วไป) (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) 31. ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วุฒิสภา (การประชุมร่วมกัน ส.ส. และ ส.ว.) (12 ตุลาคม พ.ศ. 2548) 32. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลบัตรเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (18 ตุลาคม พ.ศ. 2548) 71

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน การดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ 1. รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง คณะกรรมา- ธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา (2544) 2. รองประธานคระกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง คณะกรรมา- ธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา (พ.ศ. 2546) 3. รองประธานคณะกรรมาธกิ าร คนทห่ี นง่ึ คณะกรรมา- ธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา (พ.ศ. 2544) 4. รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง คณะกรรมา- ธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา (พ.ศ. 2546) 5. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและ ความประพฤติของผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ที่ประชุม วุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544 6. รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและ ความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ (พ.ศ. 2544 ) 7. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ คณะกรรมา- ธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติ ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวัน 72

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) 8. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบ ประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 (ที่ประชุม วุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544) 9. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2545) 10. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สาม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... วุฒิสภา (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2545) 11. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการ ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2527 พิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุมิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) 12. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวล จริยธรรมของสมาชิกวฒุ สิ ภาและกรรมาธกิ าร พ.ศ. .... (ท่ีประชุม วุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544) 73

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 13. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2544) 14. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สาม คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. .... (พ.ศ. 2544) 15. รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ การคลังฯ วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติมอบหมายให้ คณะกรรมาธิการการคลัง ฯ พิจารณา) 16. รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมา- ธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติ ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน2544) 17. รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและ ความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) 74

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 18. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ คณะ กรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและ ความประพฤติของบุคคลผู้ ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. (1 กันยายน พ.ศ. 2548) 19. รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ แปรรปู รัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา (13 กันยายน พ.ศ. 2548) 20. รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ การคลัง การธนาคารและสภาบันการเงิน วุฒิสภา (13 กันยายน พ.ศ. 2548) 21. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ คนที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2549 (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548) 22. รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ คณะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคาร อาคารสงเคราะห์ พ.ศ. .... (4 ตุลาคม พ.ศ. 2548) 23. รองประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การประชุมร่วมกัน ส.ส. และ ส.ว.) (12 ตุลาคม พ.ศ. 2548) 24. รองประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (17 ตุลาคม 2548) 75

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการ 1. คณะอนุกรรมการด้านสถาบันการเงิน ในคณะ กรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา (พ.ศ. 2544) 2. คณะอนุกรรมการด้านการธนาคาร สถาบันการเงิน และตลาดทุน ในคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและ สถาบันการเงิน (พ.ศ. 2546) 3. คณะอนุกรรมาธิการด้านการธนาคารและสถาบัน การเงิน ในคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบัน การเงิน วุฒิสภา (พ.ศ. 2547) 4. คณะอนุกรรมาธิการด้านการคลัง ในคณะกรรมา- ธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา (13 กันยายน พ.ศ. 2548) 5. คณะอนุกรรมาธิการด้านคมนาคมและระบบขนส่ง มวลชน ในคณะกรรมาธิการแปรรปู รัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา (13 กันยายน พ.ศ.2548) กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ เครือข่ายครอบครัว ตระกูลเทพมณี ถือเป็นตระกูล คหบดีเก่าของ จ.ลำพูน ทั้งนายสันต์ และนางมาลี เทพมณี มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีทั้งคู่มีธุรกิจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตลาดสดสุขใจ ต.ในเมือง เทศบาลเมืองลำพูน และร้านค้า บ้านเช่า 76

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน เครือข่ายการเมืองท้องถิ่น ประกอบกับการมีบทบาท ทางการเมืองต่อเนื่องมายาวนาน ตั้งแต่สมัยนายสุข เทพมณี ผู้บิดา ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ซึ่งขณะนั้น นายสันติ์ มีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น และนายสันติ์ เทพมณี ก็มีรากฐาน มาจากการเมืองท้องถิ่นเป็นเวลานานนับ 10 ปี ก่อนลงสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร เครือข่ายทางสังคม และสาธารณประโยชน์ใน จ.ลำพูน ของนายสันติ์ เทพมณี ได้แก่ กรรมการเหล่ากาชาด จ.ลำพูน ติดต่อกัน 32 ปี การดำรงตำแหน่งประธานชมรมสามล้อลำพูน กรรมการลกู เสอื ชาวบา้ น รนุ่ หรภิ ญุ ชยั ลำพนู นายกสมาคมกฬี า จ.ลำพูน และการเป็นผู้บริจาคทรัพย์ในการสร้างตึกเทพมณี ในโรงพยาบาลลำพนู เครือข่ายศาสนา นายสันติ์ เทพมณี มีบทบาทในการ ทำงานด้านพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วย กล่าวคือ เป็นนายก ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย สาขาลำพูน ไวยาวัจกรวัด พระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน การสร้างวิหาร พระสังกัจจายน์ ในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และ กรรมการศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดลำพูน และ ในปี พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพุทธศาสนา จังหวัดลำพนู เครือข่ายทางการศึกษา ซึ่งนายสันต์ได้มีบทบาท ในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ประธานชมรมยุวชนทหาร วชิราวุธ วิทยาลัย นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนจักรคำ- 77

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน คณาทร จังหวัดลำพูน 4 สมัยติดต่อกัน ประธานกรรมการ โรงเรียนอนุบาลลำพูน รองประธานยุวชนทหารเชียงใหม่ – ลำพนู ประธานชมรมธรรมศาสตร์ลำพูน และรองประธานมลู นิธิ การประถมศึกษาจังหวัดลำพูนประธานกรรมการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 7. นายสมาน ชมพูเทพ นายสมาน ชมภูเทพ เป็นบุตรของนายทา และนางคำมูล เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2486 เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด นายทาเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ต.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน อาชีพ ทำนา มฐี านะตามอตั ภาพในชนบท นายสมานเปน็ ลกู คนสดุ ทอ้ ง พ่อ แม่ และพี่ๆ จึงเรียกว่า “ไอ่หล้า” ซึ่งในภาษาเหนือแปลว่า “ลกู คนสุดท้อง” ในจำนวนทั้งสิ้น 9 คน ได้แก่ 1. นางสุธรรม หลวงมูล 2. นางจำปี เลิศสุพรรณ์ 3. นายแก้ว ชมภเู ทพ 4. นายสอน ชมภูเทพ 5. นางอุตสา ไชยรังษี 6. นายสมบูรณ์ ชมพเู ทพ 7. นางจันทรา สิทธิตัน 8. นางจันตา ไชยรังษี 9. นายสมาน ชมพูเทพ 78

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน การศึกษา ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปริญญาโท รฐั ประศาสนศาสตร ์ มหาวทิ ยาลยั นานาชาตสิ แตมฟอรด์ ปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารศาสตร์ (การบริหารองค์การภาครัฐและ เอกชน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 26 มกราคม 2518 - 12 มกราคม 2519 พรรคกิจสังคม ครั้งที่ 2 4 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519 พรรคธรรมสังคม ครั้งที่ 3 22 เมษายน 2522 - 19 มีนาคม 2526 ไม่สังกัดพรรค ครั้งที่ 4 18 เมษายน 2526 - 2 พฤษภาคม 2529 พรรคกิจสังคม ครั้งที่ 5 24 กรกฎาคม 2531 - 4 มิถุนายน 2533 พรรครวมไทย/เอกภาพ ครั้งที่ 6 22 มีนาคม 2535 - 30 มิถุนายน 2535 พรรคความหวังใหม่ 79

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ครั้งที่ 7 13 กันยายน 2535 – 19 พฤษภาคม 2538 พรรคชาติพัฒนา นายสมานมีฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจน เมื่อ อายุ 5 ขวบ พ่อแม่ ได้ส่งไปเป็นเด็กวัดป่าป๋วย เพื่อฝึกอบรมให้ เป็นคนนอบน้อม มีสัมมาคารวะ และหวังให้ดำเนินชีวิตตาม รอยพระนักบวชท้องถิ่นบ้านโฮ่ง – ป่าซาง ในสมัยนั้น ชีวิตของ เขาจึงผ่านความยากลำบากมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ เป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ ขายเรียงเบอร์ประจำตลาดหนองดอก เส้นทางการเมืองของนายสมาน ชมภูเทพ เริ่มต้นเมื่อ เขามีอายุ 26 ปี โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ของ จ.ลำพูน ซึ่งขณะนั้น จ.ลำพูน มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน นายสมานทราบดีว่า ตนเองเป็นคนที่ปราศจากชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน เขาจึงเริ่มต้นโดยการไปอุปสมบท เปน็ พระภกิ ษสุ งฆ์ เปน็ เวลาหนง่ึ พรรษา ณ วดั ปา่ ปว๋ ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน โดยมีเป้าหมายคือ 1) การทดแทนบุญคุณให้แก ่ บิดามารดา และ 2) เพื่อเรียกตัวเองว่า “หนานหล้า” เหมือน “เจ้าหนานบุญมี ตุงคาคร” ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จ. ลำพูน ที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความซื่อสัตย์ มือสะอาด ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของตนเอง จนทำให้ได้รับการนิยม นับถือจาก ชาวจังหวัดลำพูนตลอดมา การที่นายสมานเรียกตัวเองว่า “หนานหล้า” จึงเป็นการประชาสัมพันธ์ตัวเขาเองให้เป็นที่ติดห ู ติดปาก และเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวลำพูน 80

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน นอกจากนี้นายสมานยังทำใบปลิว มีเนื้อหาว่า ในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะถึงคราวต่อไป ได้ปรากฏ ว่ามีบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรอยู่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลเดียวที่จะสามารถขึ้นเทียบ รัศมีแข่งกับนายสันติ์ เทพมณี ได้ และถึงกับมีการพนันโดยมี เดิมพันว่า นายสันติ์ เทพมณี จะชนะหนานหล้า อัตราต่อรอง หนึ่งต่อพัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และเป็นการกระตุ้นให้ ประชาชนเกดิ ความรสู้ กึ สงสยั และเกดิ ความอยากรู้ อยากเหน็ วา่ หนานหล้าคือใคร ถึงกล้าขนาดที่จะลงแข่งกับนายสันติ์ เทพมณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีชื่อเสียงมาก ตลอดจนเคยได้รับ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้พิมพ์ แผ่นปลิวอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง นายสันติ์ เทพมณี กับหนานหล้า รายละเอียดดังนี้คือ นายสันติ์ เทพมณี เป็นคนลำพูน เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เป็นนายธนาคาร เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย มั่งคั่ง ภรรยาเป็นแม่ค้า นักธุรกิจ หนานหล้า เป็นคนลำพูน เป็นบุคคลที่ยังไม่มีใครรู้จัก เป็นบัณฑิตจากวิทยาลัยหอการค้าไทย และกฎหมายระหว่าง ประเทศจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นลูกชาวนาที่ยากจน อยทู่ อ่ี ำเภอบา้ นโฮง่ ภรรยาเปน็ อาจารยส์ อนนกั ศกึ ษาปรญิ ญาโท อยู่ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) แผ่นประกาศนี้ยังกล่าวว่า หนานหล้าสู้นายสันติ์ เทพมณี ไม่ได้ ผู้ใดต้องการพนันโดยมีเดิมพันและอัตราต่อรอง 81

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน หนึ่งต่อพัน แต่ในแผ่นประกาศดังกล่าว ไม่ได้กล่าวถึงสถานที่ ที่จะไปลงเงินพนัน เพียงแต่กล่าวว่า ขณะนี้มีเงินพนันแล้ว จำนวน 3 ล้านบาท และได้นำไปติดไว้ตามบ่อนไก่ ร้านอาหาร ต่างๆ ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนมีการประกาศสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกระทำดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อนายสันติ ์ เทพมณี เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีการแอบอ้างชื่อของนายสันติ์ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง นายสันติ์ เทพมณี จึงได้ ดำเนินการพิมพ์ใบปลิว แผ่นประกาศติดประกาศไปทั่วจังหวัด ลำพูน มีจำนวนถึง 40,000 แผ่น เนื้อหาในแผ่นประกาศมีว่า การที่มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อ “หนานหล้า” ได้ทำการแอบอ้างว่าได้มี การพนันระหว่าง นายสันติ์ เทพมณีกับหนานหล้านั้น ไม่เป็น ความจริงแต่ประการใด และนายสันติ์ เทพมณี ไม่ทราบว่า หนานหล้าคือใครและไม่เคยรู้จักหนานหล้ามาก่อน การพิมพ์ใบปลิวแผ่นประกาศของนายสันติ์ เทพมณี ได้เป็นส่วนกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจว่า ใครคือ หนานหล้า และได้ช่วยส่งเสริมให้หนานหล้าเป็นคนมีชื่อเสียง โดยไม่รู้ตัวเพราะ นายสมาน ชมภูเทพ ลงทุนพิมพ์ใบปลิวเพียง 3,000 แผ่นเท่านั้น แต่นายสันติ์ เทพมณี กลับพิมพ์แผ่นใบปลิว ประกาศเป็นจำนวนถึง 40,000 แผ่น นอกจากนี้ ในการหาเสียงแต่ละครั้งนั้น เขามักคิดค้น คำขวัญที่สะดุดตา เป็นที่จดจำง่ายๆ ขึ้นมา เพื่อใช้ให้ประชาชน เกิดความคุ้นเคย โดยมักเป็นคำเชิญชวนที่ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด เช่น เบอร์ดี เบอร์เด็ดเบอร์เจ็ด หนานหล้า “ช่วยขีด ช่วยฆ่า 82

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน กาให้หนานหล้า เบอร์เจ็ด” หรือ “ถ้ารักหนานหล้า จึงเลือก เบอร์เจ็ด ถ้าเกลียดหนานหล้า อย่าได้ไว้หน้า จงกาเบอร์เจ็ด” รวมทั้งการเปลี่ยนชื่อเป็น “นายสมานฉันท์ ชมพูเทพ” จาก สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการการเรียกร้องให้คนไทยรักกัน ไม่แบ่งแยก นายสมาน ชมพูเทพ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 ขณะที่มีอายุ 71 ปี กลุ่มแกน และเครือข่ายในความสำเร็จ การสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่เป็นที่น่าเชื่อถือและจดจำ ได้ง่าย เช่น การไปบวชหนึ่งพรรษาเพื่อเรียกตนเองว่า “หนาน” เหมือนเจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร นายสมานจึงสร้างชื่อ “หนานหล้า” ให้ติดปาก และเหมาะสมกับ จ. ลำพูน ซึ่งเป็น เมืองพุทธศาสนา การศึกษา การวิเคราะห์พื้นที่และประชากรว่าประชากร ในพื้นที่เป็นใคร โดยการศึกษาเชิงลึกจะพบว่า ชาวบ้านเป็น คนพื้นเมืองที่ลำพูน มีเผ่าไหนบ้าง มียอง ชาวเขา พื้นเมือง เมื่อมีข้อมูลแล้วก็ต้องสร้างสิ่งจูงใจ เช่น การเข้าไปเขตพื้นเมือง นายสมานก็จะพูดภาษาพื้นเมือง หรือพื้นที่ อ.ป่าซางเป็น คนยอง นายสมานก็จะพูดภาษายอง จากที่เขาไม่มีคนยองเป็น ผู้แทน เขาจะดีใจ ตื่นเต้น คำยองพูดว่า “หมู่เฮาคนยองก้นหม่น เหมือนกันนี่” ก้นหม่น แปลว่า นั่งกับพื้น ลุกขึ้นมีขี้ฝุ่นติด คือ เป็นคนไม่ถือตัว ถ้าเป็นกะเหรี่ยงต้องเข้าไปกินข้าวกินปลา กับเขา เขาดีใจ เขาจะเล่าเลยว่า “วันนั้นนะ...พี่หนานหล้า 83

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน มากินข้าวกับอ้าย” เป็นการพูดกันปากต่อปาก และกลมกลืน กับประชาชนโดยทำให้มีคะแนนเสียงดี นอกจากวิธีการหาเสียงที่ใช้คือการปราศรัย พูดคุยอย่าง เป็นกันเองโดยใช้ภาษาพื้นเมืองแล้ว ประเด็นที่ปราศรัยต้องเป็น ในเรื่องที่อยู่ในชีวิตการทำงานของประชาชน จะทำให้ได้รับ คะแนนเสียงมาก เช่นพูดเรื่องหอม กระเทียม การปลูกข้าว เขาจะเข้าใจ.. ปลูกข้าว การยกไถ กดไถ เรื่องกระเทียมบ้าง... ถ้าเจอไรแดงจะทำอย่างไร ขายตอนไหน เก็บรักษาอย่างไร ถ้าพูดเรื่องการเมืองมากไป ชาวบ้านเขาก็ไม่สนใจ แต่ถ้าพูด ภาษาหยิบเอาความรู้สึกเขามา พูดเรื่องที่อยู่ในชีวิตการทำงาน ของเขา อันนี้สำคัญ ในสมัยนั้นหาเสียงอย่างนี้ จะทำให้ได้ คะแนนท่วมท้น การมีเครือข่ายและการมีหัวคะแนนในการเลือกตั้งแต่ ละครั้ง เพื่อช่วยระดมคะแนนเสียง ได้แก่ 1 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2. กลุ่ม แม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. 3. พระ และครู 8. นายมนตรี ด่านไพบูลย์ นายมนตรี ด่านไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ที่ ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน เป็นบุตรของนายศักดิ์ และนาง ทองพูน ด่านไพบูลย์ ภรรยาชื่อนางฐิติรัตน์ ด่านไพบูลย์ มีบุตร 3 คน 84

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2517 เกษตรศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2543 เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2540 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ (มนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยลซู อน ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2553 ปรญิ ญาดษุ ฎบี ณั ฑติ กติ ตมศกั ด์ิ (วศิ วกรรมศาสตร์ การจดั การ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ลำพูน ครั้งที่ 1 22 เมษายน 2522 – 19 มีนาคม 2526 พรรคสยามประชาธิปไตย ครั้งที่ 2 18 เมษายน 2526 – 2 พฤษภาคม 2529 พรรคชาติไทย ครั้งที่ 3 27 กรกฎาคม 2529 – 29 เมษายน 2531 พรรคกิจสังคม ครั้งที่ 4 24 กรกฎาคม 2531- 23 กุมภาพันธ์ 2534 พรรคกิจสังคม 85