นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตรใช้วิธีการหาเสียงโดยการ ออกไปพบปะกับชาวบ้านโดยเน้นที่นโยบายและอุดมการณ์ คล้ายๆ กับนักการเมืองคนอื่นๆ แต่จะไม่มีนักการเมืองท้องถิ่น เช่น กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านที่เป็นหัวคะแนนให้ จะมีก็เพียงแต่ กลุ่มเพื่อนสนิท และชาวบ้านที่ชื่นชอบในอุดมการณ์ของเขา คอยสนับสนุนเท่าที่จะช่วยได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยค่าน้ำมัน ค่าบุหรี่ เป็นต้น เหตุ–ปัจจัยท่ีทำให้ได้รับการเลือกต้ัง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 กล่าวว่า “ก่อนที่เขาจะได้เป็น ส.ส. ใน พ.ศ. 2522 คือ ก่อนหน้านั้นก็เคยสมัครมาก่อน หลายครั้งแต่สอบตก ปัจจัยที่ทำให้เขาชนะคู่แข่ง...เรื่องมันเกิด จากว่าชาวบ้านนิยมความจริงใจของเขาไง เพราะตอนเช้าเราก็ ออกกันแล้ว ไปปราศรัยกัน ขบวนรถก็เยอะ ไปกันหลายคัน เพราะชาวบ้านช่วยกันไว้เยอะ ในปีที่ได้ก็ได้เพราะคะแนน สงสารนแ่ี หละ ผมยงั จำไดเ้ ลย หนองโสนนพ่ี อรถจะออกกก็ วกั มอื เขาเอาสตางค์ใส่ซองมาให้ เขาบอกเอาไว้เป็นค่าน้ำมัน...” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ได้เคยลงสมัครเป็น ส.ส. มาหลายครั้งและก่อนที่จะชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2522 คะแนนเสียงที่ได้ก็เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงเหมือนกัน จนเพื่อนใน กลุ่มของเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ต้องพดู ออกมาว่าเป็นเรื่อง ที่ “ฟลุ๊ก” เอาเสียมากๆ เพราะต้องยอมรับไว้เลยว่าทางตัว เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เป็นรองคู่ต่อสู้อยู่มาก ทั้งด้าน ต้นทุนทางการเมือง สถานะทางการเงิน รวมไปถึงกลุ่มฐานเสียง 86
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น และกลุ่มสนับสนุนที่มีไม่มากเท่าคนอื่นเขา แต่สิ่งที่กลุ่มอื่นไม่มี เหมือนทางกลุ่มของเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ก็เห็นจะมีแต่ คะแนนสงสารจากชาวบ้าน เนื่องจากเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ได้แสดงให้ชาวบ้านได้เห็นถึงความจริงใจ ความมี อุดมการณ์ และในตอนหาเสียงก็ยังไปทุกที่ ทุกตารางนิ้วของ จังหวัดตราด ไม่ว่าทางจะลำบากแค่ไหนก็ต้องไปให้ถึง หรือ ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่นเลย การกระทำเหล่านี้ได้เพิ่มความนิยม ในตัวของเขามากขึ้น จนชาวบ้านเทคะแนนให้ บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวว่า “…เขาเป็นคนธรรมะ ธรรโมนะ” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 กล่าวถึงนิสัยของเรืออากาศตรี ฉลาด ซึ่งเป็นเพื่อนว่า “...ฉลาดนั้นเป็นคนตรง ชนิดที่ว่าตงฉิน เลยก็ว่าได้ แกเป็นคนที่ถืออุดมการณ์ ถือแล้วแข็งเลย...หากว่า พรรคนั้นไม่เอาอุดมการณ์ของแกไปใช้บ้างแกไม่ยอม แล้ว แนวคิดของแกก็ดี คือว่า ให้ท้องถิ่นมี อบต. นี่เป็นแนวคิดของ เขาเลยมันเป็นสิทธิของประชาชน...อีกอย่างไฟฟ้าที่สว่างจ้าก็ คือเขานั่นแหละที่เป็นคนผลักดันแต่ไม่มีใครรู้ไง...ทำเหมือนกับ คนปิดทองหลังพระนั่นแหละ เขาไม่ได้มาคุยโม้โอ้อวด ว่าไอ้นั้น ฉันทำ ไอ้นี้ฉันทำ แกเฉยๆ...เป็นคนเถรตรงมากๆ เป็นคนที่มี อุดมการณ์มากชนิดที่ว่า ‘ฉันต้องทำสิ่งนี้เพื่อประชาชน ต้อง ทำให้ได้ หากไม่ได้ ฉันไม่ยอม’ อย่างเช่นตัวนี้ไม่ผ่าน ทั้งๆ ที่ เป็นสิทธิแก่ปวงชน เขาก็จะประท้วงทันทีเลย...เวลาเข้าหาคน เขาก็เข้าดีๆ และสุภาพ เรียบง่าย เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ก็เลี้ยง 87
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ควายด้วยกันนี้แหละ เรียนก็เรียนด้วยกัน ชกกันก็เคย เขาเรียน ที่โรงเรียนวัดบางปิดล่างและเรียนเก่งนะ ไม่งั้นก็คงไม่ไปจบ ฟิลิปปินส์มา พอจบมา วันนั้นเขามาหาผมแล้วก็บอกว่าจะเล่น การเมือง” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เป็นคนที่มีนิสัยสุภาพ พูดจาเรียบร้อย เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังที่ ตนพอจะช่วยได้ ในบางครั้งก็ใช้เงินเดือนประจำตำแหน่ง นำมา ช่วยเหลือ เนื่องจากในสมัยเด็กๆ ทางครอบครัวของเขานั้น ยากจน เขาจึงมีความเข้าใจถึงความลำบากของผู้อื่นได้เป็น อย่างดี เนื่องจากตัวเขาเองก็เคยลำบากมาก่อนเช่นกัน และ นิสัยสำคัญของเขาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเป็นคนตรง ยึดมั่น ในอุดมการณ์ ซึ่งแม้แต่ในช่วงหาเสียงนั้น หากชาวบ้านไปขอ อะไรเขาระหว่างหาเสียง เขาก็จะไม่ให้และยังกำชับเรื่องนี้กับ คนในทีมด้วยว่า หากมีใครก็ตามมาขออะไรให้บอกว่าไม่มีลูก เดียว เพราะเขาไม่ต้องการให้ผู้อื่นกังขาว่า เขาใช้วิธีซื้อเสียงเพื่อ เข้าสภาฯ พ.อ. สาคร กิจวิริยะ พ.อ. สาคร กิจวิริยะ อดีต ส.ส. จังหวัดตราด 1 สมัย ได้รับเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 นอกจากนี้ยังเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ด้วย พ.อ. สาคร กิจวิริยะ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2478 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยแรกเริ่มเดิมทีได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของ 88
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน สารวัตรทหาร เนื่องจากเป็นคนที่ตัวใหญ่ แข็งแรง กำยำล่ำสัน (ศูนย์ข้อมลู นักการเมือง, 2556) เมื่อครั้งได้เป็น ส.ส. จังหวัดตราด ผลงานที่สร้างในช่วงที่ ดำรงตำแหน่งไม่ปรากฏให้เห็นโดยเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ซึ่งจะ มีก็เพียงแต่กลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับทราบ โดยมากจะ เป็นผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือโดยตรง ครั้งหนึ่งกำนันของหมู่บ้าน แห่งหนึ่งได้ร้องขอเงินช่วยเหลือในการเดินสายไฟให้อาคารเรียน ในหมู่บ้าน โดยกำนันเป็นคนไปขอกับ พ.อ. สาคร ด้วยตนเอง ซึ่งตัวเขาก็ได้รับความช่วยเหลือในแทบจะทันที แต่การกระทำ ดังกล่าวไม่เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไปมากนัก (ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 11, สัมภาษณ์, 8 พฤษภาคม 2556) ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน กลุ่มคนที่ทาง พ.อ. สาคร มุ่งเน้นให้เป็นกลุ่มฐานเสียง มักจะเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้นำชุมชนเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ ยังมีฐานเสียงบางส่วนที่เป็นหัวคะแนนเก่าที่เคยทำงานให ้ นายประชุม รัตนเพียร ซึ่งในสมัยนั้นนายประชุมเปลี่ยนไปลง สมัคร ส.ส. จังหวัดนนทบุรี (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่11, สัมภาษณ์, 8 พฤษภาคม 2556) กลยุทธ์ในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวว่า “...แกก็เข้าถึงประชาชน เหมือนกันนะ มาที่บ้านก็มานั่งกินกันกลางทุ่งนี่เอง ไอ้เราเป็น ผู้ใหญ่บ้านนะ เขาก็ต้องเข้าถึงผู้ใหญ่นิ แล้วก็มีชาวบ้านมา แกก็มาพูดคุยกันไปแล้วเขาก็ปราศรัยเป็นส่วนใหญ่...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) 89
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 13 กล่าวว่า “ไม่มีเครือข่าย เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนันเลย แบบลงมาหาเสียงเองเลย...โดยมากก็จะ เป็นคนแถวนี้แหละ เขาก็หาเสียงตามหมู่บ้าน เดินเคาะประตู แบบนี้แหละนะ” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 5 กล่าวว่า “ใช่ เพราะเขาเป็นทหาร ด้วย นิสัยเขาก็เป็นแบบนั้นเอง แต่เวลาหาเสียงเขาก็ไม่ได้ นักเลงอะไรมากมาย อีกอย่างแกก็ใช้หัวคะแนนหาเสียงให้แก อยู่แล้วเวลามาหาเสียงแกรู้จักใครแกก็แวะหา คุยนานหน่อย ไม่ค่อยรู้จักก็แวะไปทำความรู้จัก คุยนิดหน่อย บอกเชิง ประมาณว่าให้ช่วยเลือกตัวเองสมัยนี้หน่อย” (สัมภาษณ์ 19 เม.ย. 2556) พ.อ. สาคร ให้กลุ่มของหัวคะแนนและฐานเสียงทำงาน ร่วมกัน ช่วยกันหาเสียงในพื้นที่ที่ตนยังไม่ได้ลงไปบวกกับการ ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ด้วยกลยุทธ์เน้นไปที่การผูกมิตร ทำความ รู้จักกับกลุ่มผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอยู่ แล้ว ทำให้การจูงใจชาวบ้านให้ลงคะแนนแก่ตัวเขาเอง ไม่ใช่ เรื่องยาก และที่ขาดไม่ได้ก็คือ กลุ่มหัวคะแนนเก่าของ นายประชุม กลุ่มคนเหล่านี้มีอำนาจฐานเสียงที่มั่นคงอยู่แล้ว จากการที่นายประชุมได้เป็นอดีต ส.ส. ถึง 2 สมัยติดต่อกัน ปัจจัยทั้งหมดที่สรุปออกมาจึงเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยที่ พ.อ. สาคร จะสอบผ่านในสมัยนั้น เหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกตั้ง ด้วยการสนับสนุนจากหัวคะแนนเก่าของนายประชุม อย่างเต็มที่ อีกทั้งในปีที่ได้ลงสมัครนั้น ทางนายประชุมก็ได้ 90
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ไปลงสมัคร ส.ส. ที่จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้ตัดปัญหาเรื่องคู่แข่ง ที่น่ากลัวออกไปได้ บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 13 กล่าวว่า “...พันเอกสาครเขาก็ โผงผางเหมือนกันนะ เพราะเขาเคยเป็นทหารมาก่อนนะ… พูดจริงทำจริง ใจถึงพึ่งได้อย่างนี้...” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “…เขาเป็นคนนิสัย นักเลงๆ แต่ช่วยใคร ช่วยจริงนะ” (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2556) พ.อ. สาครเป็นคนที่มีนิสัยนักเลง จึงเป็นที่ยำเกรงของ ชาวบ้าน ซึ่งในบางครั้งก็มากเกินไปจนทำให้บางคน คนรู้สึก ประหม่า อีกทั้งยังเป็นคนพูดจาเสียงดัง ซึ่งชาวบ้านบางคนบอก ว่าเป็นคนพูดจาไม่เพราะ พูดจาโผงผาง แต่ถึงกระนั้นหากขอ ความช่วยเหลืออะไรไปก็ตาม หากรับปากไปแล้วก็จะทำให้ ถือว่าเป็นคนที่ตั้งใจจะช่วยใครแล้ว ก็จะต้องช่วยให้ได้ นายธนิต ไตรวุฒิ เป็นอดีต ส.ส. จังหวัดตราด 3 สมัย ได้แก่ ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2, สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2555; ศนู ย์ข้อมูลทางการเมือง, 2556) 91
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ประวัติ ประวัติของนายธนิต ไตรวุฒิ ได้มาจากผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 2 ซึ่งเป็นคนสนิทของนายธนิต ไตรวุฒิ เล่าว่า เดิม นายธนิต ไตรวุฒิ เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ย้ายมาทำธุรกิจ โรงเลื่อย โรงน้ำแข็ง ป. ไพบูลย์ ที่จังหวัดตราดเป็นเวลานาน พอสมควรจนสามารถตั้งตัวได้ ประกอบกับนายธนิตเป็นคนที่มี น้ำใจไมตรีที่ดีงามต่อประชาชน ชอบช่วยเหลือคน และเป็น คนเสียสละมากคนหนึ่ง จึงเป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดตราด ด้วยความที่เป็นคนดีของนายธนิต จึงทำให้พรรคพวกชวนเล่น การเมืองท้องถิ่น และได้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองตราดถึง 3 สมัย หลังจากนั้นทั้งสมัครพรรคพวกและบรรดาเครือข่าย ต่างๆ ก็เรียกร้องให้นายธนิตลงชิงที่นั่ง ส.ส. จังหวัดตราด และก็ สามารถครองตำแหน่ง ส.ส. จังหวัดตราดถึง 3 สมัยด้วยกัน ในช่วง พ.ศ. 2531–2535 เส้นทางหรือแรงบันดาลใจสู่การเมือง ด้วยความที่เป็นคนดีมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ และเสียสละ จึงทำให้พรรคพวก เพื่อนฝูงชักชวน นายธนิต ให้ลงสมัครรับ เลือกตั้งเพื่อชิงตำแหน่ง ส.ส. จังหวัดตราด และก็ได้เป็น ส.ส. จังหวัดตราดถึง 3 สมัย ซึ่งกล่าวกันว่าหากใครมีปัญหาอะไร สามารถเข้าพบนายธนิตได้ และนายธนิตก็สามารถช่วยเหลือ ทุกคนได้ ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวถึงเครือข่ายหรือฐานเสียง สนับสนุนนายธนิตว่า “…อันนี้เขามีเครือข่ายเนาะ พวก 92
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มที่นายธนิตได้เคยให้ ความช่วยเหลือเอาไว้ คือฐานเสียงที่สำคัญของนายธนิต กลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวว่า “…สมัยนั้นเขาหาเสียง กันแบบโบราณอย่างเนี้ย มาถึงก็บอกว่าช่วยผมหน่อยนะ ผมจะสมัคร ส.ส. ไม่เห็นจะต้องมีอะไร…มีแต่ใบปลิวขาวๆ แผน่ เลก็ ๆ ไมม่ ปี า้ ยตดิ ตามถนน ตดิ ตามปากซอย ตามวดั ตามวา” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวต่อว่านายธนิตทำประโยชน์ ให้กับบ้านเมืองโดยการ “...ช่วยเหลือประชาชน” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า “อืม...รู้สึก...ท่านจบพาณิชย์นะ ไม่ได้จบปริญญาตรี จำไม่ได้ว่า ท่านจบจากที่ไหน วิธีการหาเสียงของท่านก็คือเดินเคาะประตู มีแจกโปสเตอร์เหมือนกับนักการเมืองคนอื่นๆ มีทีมงานและ ตัวท่านเองเดิน โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ นี่ เดินเกือบทุกบ้าน เดินหาชาวบ้าน คือท่านก็ได้ใจชาวบ้านเพราะว่าท่านเป็นคน อัธยาศัยดี…ก็เข้าหาชาวบ้านและมีหัวคะแนนมาช่วย สมัยก่อน จะใช้หัวคะแนนนะ มีระบบรถกระจายเสียง เพราะว่าสมัยก่อน สามารถโฆษณาได้…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ต่อข้อคำถามเกี่ยวกับงบประมาณในการหาเสียง ผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของงบประมาณ 93
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ในการหาเสียง โดยส่วนใหญ่จะมาจากตัวท่านเอง พรรคการเมืองช่วยนิดหน่อย แต่จริงๆ แล้วไม่พอหรอก แค่ เฉพาะค่ารถวิ่งป้ายอย่างเดียวใช้เงินพอสมควรแล้ว รถวิ่งป้าย ใช้รถวิ่งทุกสายน่ะ ทุกอำเภอ ปล่อยรถทีนึงประมาณยี่สิบ สามสิบคันต่อวัน เวลาหาเสียงหนึ่งเดือนก่อนเลือกตั้ง เฉพาะค่า รถอย่างเดียวค่าน้ำมันยังไม่รวมก็ต้องจ่ายมากมายแล้ว” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) กลวิธีหลักๆ ที่นายธนิตใช้ในการ หาเสียงมีดังนี้ การใช้หัวคะแนน ทีมงาน และพรรคพวก ซึ่งกลุ่มคน เหล่านี้ประกอบด้วย นักการเมืองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ช่วยกันระดมกำลัง ช่วยนายธนิตให้เป็นตัวแทนของประชาชนชาวจังหวัดตราด ดว้ ย นายธนิตเป็นคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำใจ ไม่ใช่แค่นักการเมือง ท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ชาวบ้านยังคงอาสาช่วยนายธนิตหาเสียง เพราะนายธนิต ได้ช่วยเหลือประชาชนทั้งแรงกาย แรงใจ และ ทุนทรัพย์ จึงเป็นเหตุให้นายธนิต แทบจะหมดตัวหลายครั้งกับ การช่วยเหลือประชาชนแบบสุดโต่งด้วยงบประมาณส่วนตัว การใช้รถกระจายเสียง นายธนิตได้ใช้รถกระจายเสียงไป ตามชุมชนต่างๆ ในช่วงใกล้วันเลือกตั้ง เพราะการใช้รถกระจาย เสียงใช้งบประมาณค่อนข้างมาก การเดินพบปะหาเสียงตามบ้าน การเดินพบปะชาวบ้าน ของนายธนิต เป็นสิ่งที่เขาทำเป็นประจำอยู่แล้ว ถึงแม้ไม่ใช่ช่วง การหาเสียงเลือกตั้งก็ตาม จึงทำให้นายธนิตทำงานเบาลงใน ช่วงการเลือกตั้งจริง 94
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น การแจกใบปลิว และติดโปสเตอร์แนะนำตัว ก็เป็นอีก วิธีหนึ่งที่นายธนิตได้ทำเป็นประจำในช่วงหาเสียง ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ที่ดีอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยให้ชาวบ้านสามารถ นึกถึงผู้สมัครในวันเลือกตั้งจริง และยังช่วยให้ผู้ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งได้ดูเพื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นๆ เหตุ-ปัจจัยท่ีทำให้ได้รับการเลือกต้ัง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า “นายธนิตช่วยเหลือชุมชนมากนะ ใครขอแกก็ให้ทั้งนั้นแหละ อยา่ งฉนั นแ่ี กชว่ ยสรา้ งสะพานวดั มา แกเปน็ คนทไ่ี มม่ คี รอบครวั นะ แกเป็นคนมีตังค์น่ะ ใครๆ ก็รักแก เป็น ส.ส. ที่ว่ามีคนรักมาก แล้วแกก็คลุกคลีไม่เลือกชนชั้นวรรณะอย่างนั้นน่ะ ไปไหนก็ไป นอนกลางดินกินกลางทราย” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ยังกล่าวถึงเหตุ ปัจจัยที่สนับสนุนให้นายธนิตได้เป็น ส.ส. ว่า “…เขาเป็นนายก เทศมนตรีมาก่อน จำไม่ได้ว่าสามหรือสี่สมัยนี่แหละ เหตุปัจจัย หรือ ท่านเป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบช่วยเหลือประชาชน และก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงเยอะ ท่านเป็นนายกเทศมนตรีก็ม ี เครือข่าย…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ด้วยความที่เป็นคนมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ และให้ความ ช่วยเหลือชุมชนเสมอมา ทำให้นายธนิตเป็นคนที่มีคนเคารพ นับถือ และได้รับการยอมรับ หากพูดถึงนายธนิต ไตรวุฒิ ทุกคนก็จะนึกถึงความใจบุญ ชอบช่วยเหลือ มีน้ำใจ พูดจาดี ไม่ถือตัว เป็นคนที่มีความจำดี สามารถจดจำบุคคลได้เป็น อย่างดี 95
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด นายธนิตได้งบประมาณจากพรรคส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ แล้วใช้จากทุนส่วนตัว สมัยก่อนพรรคการเมืองไม่ได้สนับสนุน มากเหมือนทุกวันนี้ และวิธีการหาเสียงของนายธนิตก็ไม่ใช่เกิด ขึ้นแค่ช่วงการหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่นายธนิตได้หาเสียง โดยการช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลา และใช้งบประมาณ ส่วนตัวจนทำให้ลำบากหลายต่อหลายครั้งก็ว่าได้ แต่เขาก็ไม่ เคยปฏิเสธการขอความช่วยเหลือของประชาชน แม้กระทั่งต้อง ขายกิจการบางอย่างเพื่อนำงบประมาณมาให้ความช่วยเหลือ ก็ตาม ผลงานและบทบาททางการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 กล่าวว่า “…บทบาทสำคัญ... ท่านเคยพูดในสภาสองครั้งเรื่องการค้าที่ชายแดนในยุค นายกชาติชาย แกพูดเรื่องการค้าที่ชายแดนซึ่งนายกชาติชาย เปิดชายแดนกัมพูชานี่แหละ นายกชาติชายเปิดแล้วแกเป็นคน พูดในสภาเรื่องการติดต่อการค้าที่บริเวณชายแดนไทย กัมพูชา ได้สำเร็จ ว่างั้นนะ...สมัยนั้น สมัยชาติชายเป็นนายกน่ะ... ครั้งแรกที่เปิดความสัมพันธ์ระหว่างไทย–กัมพูชา ท่านเป็น หัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในการเปิดประเด็นนี้...” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 5 กล่าวว่า “...สะพานเฉลิม- พระเกียรติ แกก็เป็นคนขอให้ งบหลายล้าน ผมขอแกไปทีเดียว แกจัดให้เลย แล้วนายธนิตน่าจะดูเป็นคนดีในระดับนึงสิครับ จากที่เห็นมา เขาได้เป็น ส.ส. ถึง 3 สมัยติดต่อกัน เพราะแกทำ เอาไว้เยอะ ไปที่ไหนก็ช่วยพัฒนา” (สัมภาษณ์ 19 เม.ย. 2556) 96
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น เป็นผู้นำเสนอเรื่องการค้าขายที่บริเวณชายแดนไทย กัมพูชา ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในสมัยที่ 4 นายธนิตแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังไม่ดี ต้องเข้ารับการ ผ่าตัด ทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนไม่คล่องตัว สุดท้าย เขาจึงต้องล้มเลิกความคิดที่จะเป็น ส.ส. บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวถึงนายธนิตว่า “เราเป็น เพื่อนซี้กันด้วย....นั่งหลับก็เอาอะไรไปแหย่ปากกัน เราเล่นกัน เหมือนเพื่อนฝูงน่ะ เขาเป็นคนดีนะ คนรักเขาเพราะอะไร เพราะ เขาเป็นคนดี ทำให้คนรักกัน ไม่ต้องหาเสียงมาก ธนิต ไตรวุฒินี่ ขออะไรก็ให้ คนดีใครก็ต้อง...รู้อยู่ใครดี ทุกคนก็เข้าใจ คนเขารัก แกใจดี อะไรอย่างนี้ แกไม่มีครอบครัวด้วยแกก็เลยใจดี แล้ว เป็นคนมีตังค์ด้วย ฉันนะขออะไรก็ให้หมด ฉันชอบขอของ ส่วนรวม ขอไม้ทำสะพานวัด อยู่ในนี้อย่างนี้เขาก็ไม่คิดเงิน... ไม่ถือตัว” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 ซึ่งเป็นคนสนิทของนายธนิตกล่าว ว่า “เอ่อ ชาวบ้านเห็นแล้วก็รัก แกเป็นคนพูดจาดีแล้วก็ไม่ถือ เนื้อถือตัว…ด้วยความที่เป็นคนอัธยาศัยดี...แกเป็นคนที่จำคน แม่น เบอร์โทรศัพท์น่ะแกจำได้เป็นร้อยเบอร์ แล้วจำหน้าคนได้ และรู้จักชื่อหมดทุกคน คนเขาถึงชอบไง เวลาไปหาเสียงเนี่ย ส่วนมากเขาจะเดินเข้าครัว เข้าถึงชาวบ้านเลย” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) 97
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “หากพูดถึงคนที่มีบารมี ในสมัยนั้น ธนิต ไตรวุฒิแกถือได้ว่าเป็นนักบริจาคตัวยงคนหนึ่ง เลย รถตู้มูลนิธิตราดก็เหมือนแกก็เป็นคนบริจาค ชอบสร้าง ศาลารอรถ โลงศพ ใครไมม่ กี ไ็ ปขอได้ แกเลน่ การเมอื งจนหมดตวั เพราะแกเป็นคนกล้า กล้าให้ กลา้ ลงทุน สรา้ งเยอะ” (สมั ภาษณ์ 16 ม.ี ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 กล่าวต่อว่า “...ก็ที่ท่านบอกว่า ต้องเป็นคนซื่อสัตย์นั่นแหละ...การดูแลชาวบ้านก็ท่านเป็นคน ดูแลคน ท่านจะเป็นผู้ให้บริการ ให้ซะมากกว่า เช่นก่อนที่ท่าน จะเป็น ส.ส. ท่านก็มีรถรับขนส่งศพอะไรตลอด ขอความช่วย เหลืออะไรได้หมดเลย คือท่านเป็นนักการเมืองที่ใช้ทุนตัวเอง มาก พอเวลาท่านเสียชีวิตมา ท่านติดหนี้…ก็คือที่เป็นหนี้เป็น สินอยู่ก็เกิดจากการเลือกตั้ง การหาเสียงทั้งนั้นเลย การเลือกตั้ง ใช้เงิน…เพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีการควบคุม...” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) นายธนิตเป็นคนอัธยาศัยดี พูดจาไพเราะ ไม่ถือตัว และ เข้าถึงประชาชน เป็นคนชอบบริจาค ใจกล้า ใจนักเลง กล้าได้ กล้าเสีย จนหลายครั้งทำให้ตัวเองเกือบหมดตัว ต้องขายกิจการ บางอย่างเพื่อนำเงินมาช่วยเหลือประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยส่วนมากไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามมักจะใช้ทุนส่วนตัวที่มาจาก ทรัพย์สินของตัวเอง 98
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน บรรลุ สุทธิวารี เป็นอดีต ส.ส. จังหวัดตราด ชนะการเลือกตั้งในการ เลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 และ ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 โดยสังกัด พรรคเสรีธรรม ประวัติ นายบรรลุ สุทธิวารี เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายเล็กและนางลัดดา สุทธิวารี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ ที่ University of Manila ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดตราด ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538–27 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2523–2538 เป็นรองนายกเทศมนตรี ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1, 22 ธ.ค. 2555) เส้นทางหรือแรงบันดาลใจสู่การเมือง ต่อข้อคำถามในประเด็นแรงจูงใจสู่การเมืองนั้น ผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 1 สรุปเกี่ยวกับแรงบันดาลใจสู่การเมืองว่า “…กลับมาอยู่บ้านเกิดก็นำความรู้และประสบการณ์ คิดว่าจะ มาทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง บ้านเกิด...ใช่ไหม...ผมเป็น สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) อยู่สิบปี เป็นประธานสภาจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นความที่ผมสนิทกับส่วนราชการเยอะนี่ ใช่ไหม 99
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด หัวหน้าส่วนก็เลยบอก...บ้านเมืองแย่นะ จังหวัดตราดแย่ถ้าคุณ ไม่ทำอะไรซักอย่าง คุณมีความสามารถใช่ไหม...ก็ตรงนี้แหละ ผมถึงกระโดดลงไปเพราะคิดว่าเราเข้าไป เราจะทำอะไรให้ ประเทศและบ้านเกิด เราก็เลยเข้าไปในวงจรนี้...” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) นายบรรลุพื้นเพเป็นคนจังหวัดตราด แต่ได้เดินทางไป ศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นไปศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ ที่ University of Manila ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2521 หลังจากจบการศึกษาแล้วจึงกลับมา รับราชการที่กรมสรรพากร เนื่องจากนายบรรลุรู้จักและคุ้นเคย กับคนในหน่วยงานราชการหลายคน วันหนึ่งผู้ใหญ่ที่มองเห็น ความสามารถในตัวเขาจึงได้ชักชวนให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากจังหวัดตราดไม่ได้ถูกพัฒนาในทางที่ควรจะเป็น ทางผู้ใหญ่คนนี้จึงอยากได้ใครสักคนที่เต็มใจที่จะเข้าไปบริหาร เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และดูแลประชาชน ด้วยคำชักชวนที่ว่า “...บ้านเรากำลังแย่นะ หากเราไม่ทำอะไรสักอย่าง…คุณมีความ สามารถใช่ไหม” รวมถึง การแนะนำจากบุคคลที่ใกล้ชิด สนิทสนม ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในชุมชน และด้วยความที่ นายบรรลุมีความต้องการที่จะพัฒนาบ้านเกิดของตนเองอยู่แล้ว โดยนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลานานเพื่อ พัฒนาบ้านเมือง จึงทำให้นายบรรลุตัดสินใจลงสมัครรับ เลือกตั้งเพื่อเป็น ส.ส. จังหวัดตราด 100
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ส่วนประเด็นเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองใน พื้นที่ ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 กล่าวว่า “การเป็น สจ. เนี่ย มันก็มี เพื่อน…ใช่ไหม…ก็ไอ้ความผูกพัน สิบปีที่เราเป็นเนี่ย พออำเภอ อื่นมาขอความช่วยเหลือเรา เราก็ช่วย เพราะเราอยู่ในเมือง บางทีชาวบ้านเขาต้องการแหล่งน้ำ ไอ้ผมก็สนิทกับ รพช...รพช. เขาก็มีทั้งบ่อบาดาล มีทั้ง...สระน้ำ ชลประทานเขามีแหล่งน้ำ เพราะฉะนั้นไอ้ความผูกพันตรงนี้บางคนมาขอ ผมก็ไปขอเขาให้ แล้วเขาถามผมว่าให้ใคร ผมบอกเขาว่าให้อำเภอนี้ แล้วผม ก็เอา สจ. มาแนะนำให้รู้จัก มันก็เลยกลายเป็นว่า ทุกคนเป็น พวก สจ. ด้วยกัน เขาก็มองว่า...นี่มันคล่องนะ ใช้ได้นะ มีปัญหาอะไรเข้าเมืองมาหาก็พึ่งพาอาศัยได้ใช่ไหม...เขาก็เลย มาสร้างความผูกพันกับผม และบอกว่าถ้าผมลง ส.ส. เมื่อไหร่ เขาจะช่วยผม แล้วเขาก็ช่วยผมตามนั้น ซึ่งผมเอง ผมจะไปรู้จัก ทุกอำเภอได้ไงเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วกว่าเขาจะมาเป็น สจ. อำเภอนั้นได้เนี่ย เขาก็ต้องผ่านด่านมาเยอะแล้ว ถูกไหม เขาก็ คุ้นเคยกับชาวบ้านมาก่อน...แล้วตรงนี้ ความผูกพันตรงนี้ เขาถึงช่วยผม ผมก็เลยมีโอกาสที่จะก้าวมาตรงนี้...ใช่ไหม ครับ...อยู่ๆ ใครจะมาลงเลยเนี่ยมันเป็นไปไม่ได้หรอก ยิ่งเราไม่รู้ จักใครเลย” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 กล่าวต่อว่า “คนสนับสนุนก็คือ ...แบบว่าท่านเป็นคนกว้างขวางแล้วก็ ด้วยความสัมพันธ์อัน แนบแน่นใกล้ชิดนี่แหละ พอเรารู้จัก สจ. เดี๋ยว สจ. ก็พาเราไป รู้จักกำนัน กำนันตำบลนั้น กำนันก็ส่งต่อ มันเป็นความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงกัน...” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) 101
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด จากการเป็น สจ. เขต 1 อำเภอเมืองตราด มาหลายปี จึงทำให้นายบรรลุ มีเพื่อนฝูงมากมาย จากเครือข่ายในชุมชน จากหน่วยงานต่างๆ และจากการแนะนำของเพื่อนในชุมชน ที่สนิทสนมกัน โดยการแนะนำต่อๆ กันว่านายบรรลุเป็น คนมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน และมีความสามารถ น่าจะลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็น ส.ส. เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาชุมชนได้มากขึ้น จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. โดยได้รับการสนับสนุนจาก เครือข่าย ดังนั้นฐานเสียงของนายบรรลุ คือกลุ่มนักการเมือง ท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี สจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เคยให้ ความช่วยเหลือตั้งแต่เมื่อตอนที่เป็น สจ. กลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 อธิบายต่อว่า “...ที่นี่ท้องถิ่นผม ผมทำความดี ผมใช้เดินหาเสียงอย่างเดียว เทศบาลไม่มีติด คัตเอาท์ด้วย…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ต่อข้อคำถามที่ว่าท่านมีกลวิธีใดในการหาเสียง ผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 1 กล่าวว่า “ …ทั้งปราศรัย ทั้งอะไรต่างๆ คือวิธี การต่างๆ เนี่ย เราก็ต้องรู้ว่า จุดนัดที่เราไปปราศรัยเนี่ยนะ อำเภอนี้ ตำบลนี้เนี่ย...อย่างสมัยนั้นผมศึกษาอำเภอบ่อไร่ อำเภอบอ่ ไรน่ ย่ี ากจนมากนะ ผมเขา้ ไปปราศรยั ผมกต็ อ้ งบอกวา่ สิ่งที่ผมเข้ามาพบในอำเภอบ่อไร่เนี่ย มันจะมีความหมายว่า บ้านพี่น้อง พ่อแม่ เนี่ยเหมือนแพแตก เพราะอะไรรู้ไหม พ่อไป ทางแม่ไปทาง เพราะพ่อกับแม่ต้องทำงานที่ระยอง บ่อไร่ไม่มี งานทำจึงทิ้งลูกไว้ที่อำเภอบ่อไร่ มันเป็นเรื่องที่ว่าหดหู่สำหรับ พวกเรา เราต้องพัฒนาอำเภอบ่อไร่ ให้พ่อแม่พี่น้องเขาจะได้ กลับมาอยู่รวมเป็นครอบครัวเดียวกัน และจุดใดที่ขาดแหล่งน้ำ 102
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น เรารู้อยู่ว่าเราจะสามารถทำเรื่องแหล่งน้ำได้ เราก็หาเรื่องแหล่ง น้ำ แหล่งน้ำนี่มีประโยชน์มากกับไฟฟ้า เพราะว่ากว่าที่ชาวบ้าน จะได้ไฟฟ้าใช้เนี่ย บางแห่งยากนะ แล้วยังเรื่องแหล่งน้ำที่จะมา ทำการเกษตร...นอกจากปราศรัยแล้วยังมีคัตเอาท์ โปสเตอร์ อะไรไป อันนั้นมันเป็นองค์ประกอบ แต่ว่าหัวคะแนนเขาก็เดิน หาเสียง…เราต้องรู้นิดหนึ่งว่า เอ่อ...งานบุญ งานบอล งานศพ... แต่เดี๋ยวนี้พอเวลามันมาเข้ากฎเหล็กของ กกต.คือมันทำไม่ได้ สมยั กอ่ นมนั ไมม่ กี ฎเหลก็ กกต…การหาเสยี งกโ็ ดยวธิ กี ารปราศรยั ติดโปสเตอร์ ใช้หัวคะแนน แล้วก็มีเดินออกตามหมู่บ้าน… เดินฮะเดิน ต้องเดิน อันไหนที่เดินได้เดินไปเลยฮะ เพราะว่า ชาวบ้านเขาต้องการให้เรามารู้ว่าตรงนี้ถนนไม่ดี เขาจะบอกผม เลือกตั้งเสร็จเนี่ย รองเท้าสึกฝ่าเท้าช้ำไปหมด ไม่มีอะไรยากเกิน หาเสียงนะจะพูดแบบนี้ ติดต่องานยังรู้ว่าเราทำได้ไม่ได้… ไปหาเสียงกลับมาใครถามว่าได้กี่คะแนนไม่มีใครตอบได้ เหนื่อยที่สุดล่ะ” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) นายบรรลุหาเสียงโดยเน้นการปราศรัยเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการต่างๆ ของชุมชน ซึ่งเขาและทีมงานได้หา ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของท้องถิ่น สิ่งที่ชาวบ้านต้องการ ทุกประเด็นก่อนการปราศรัยทุกครั้ง เช่น การปราศรัยที่อำเภอ บ่อไร่ นายบรรลุหาข้อมูลและทราบมาว่าสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ คือ “งาน” ชาวบ่อไร่ต้องระเหเร่ร่อนไปทำงานต่างถิ่นเพราะ ชุมชนขาดแหล่งน้ำ ไฟฟ้า เมื่อได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แล้ว นายบรรลุก็ได้ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ดังที่ได้ให้คำมั่น สัญญาไว้ในช่วงหาเสียง กลวิธีหลักๆ ที่นายบรรลุใช้ในการ หาเสียงมีดังนี้ 103
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด การเดินหาเสียง นายบรรลุได้เดินหาเสียงด้วยตัวเองใน หมู่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากลำบากและเหนื่อยที่สุด แต่นายบรรลุ ก็ได้ทำอย่างเต็มที่โดยไม่ย่อท้อ จนอาจกล่าวได้ว่าช่วงหาเสียง “เดินจนรองเท้าสึกไปหลายคู่” การติดโปสเตอร์ นายบรรลุได้ใช้โปสเตอร์แนะนำตัวเป็น หนึ่งในกลยุทธ์ในการหาเสียงในที่ชุมชน การใช้หัวคะแนน นายบรรลุใช้หัวคะแนนช่วยในการ หาเสียงคล้ายๆ กับนักการเมืองคนอื่นๆ หัวคะแนนประกอบ ไปด้วย นายกเทศมนตรี สจ. และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เหตุ–ปัจจัยท่ีทำให้ได้รับการเลือกตั้ง นายบรรลุเป็นคนกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีพรรคพวก ช่วยเหลือสนับสนุน เมื่อสมัยที่เป็น สจ. จังหวัดตราด นายบรรลุ ได้เข้าพบรัฐมนตรีท่านหนึ่ง เพื่อของบประมาณมาพัฒนาแหล่ง น้ำ และด้านอื่นๆ ในท้องถิ่นของตนเอง และก็ประสบความ สำเร็จโดยได้งบประมาณจำนวนหนึ่งมาพัฒนาท้องถิ่น ดังที่ กล่าวว่า “อยากพัฒนาท้องถิ่นของตนอง” ผลงานและบทบาททางการเมือง ต่อคำถามที่เกี่ยวกับบทบาทหลังจากเป็น ส.ส. ผู้ให้ สมั ภาษณค์ นท่ี 1 กลา่ ววา่ “…ชว่ งนน้ั เปน็ กรรมาธกิ ารการทอ่ งเทย่ี ว กับกรรมาธิการกิจการสภา เราต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ส.ส. คือฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้นการที่เราจะได้งาน ได้อะไรนี่ เราต้องไปขอความกรุณา เพราะฉะนั้นพูดง่ายๆ ว่าคนที่เป็น ส.ส. ต้องใจกล้าหน้าด้าน บางทีก็ต้องเข้าไปคุยกับเขา เข้าไปขอ งบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพราะฉะนั้นคนที่เป็น ส.ส. เนี่ย 104
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน หนึ่งคือต้องพยายามรู้จักคนให้เยอะ และโยงเข้าไปเรื่อยๆ เพื่อ จะหางาน ของานเขา...ของานมาลงตราด นี่ไม่ใช่งานส่วนตัวนะ ก็สมัยผมเป็น ส.ส. เขาบอกผมจัดงบนะ...ผมก็ตั้งให้แล้ว หมู่บ้านละห้าหมื่นบาทนะ คือหมู่บ้านไหนมีสิบหมู่ผมให้ห้า แสน แต่ให้เขียนโครงการมาให้ผม แล้วผมก็เอาโครงการนี้ไปส่ง กับสำนักงบประมาณ ผมไม่ได้จับเงินนะเพียงแต่ว่าเขาให้เรา จัดสรรเงินยี่สิบล้าน ทางตำบลเขาบอก โอ้โฮ! น่าซื้อรถน้ำนะ น่าอย่างโน้น น่าอย่างนี้ ผมบอกมาประชุมตกลงกัน...ทุก หมู่บ้านก็จะเอาห้าหมื่น...กลุ่มชาวสวนมาขอซื้อปุ๋ย แล้วก็เอา เงินตรงนี้แหละหมุนเวียน ที่ผมให้ไว้หมู่ละห้าหมื่นน่ะ แล้วก็ แหล่งน้ำต่างๆ ในโครงการสมัยที่ผมเป็น ส.ส. ที่ผมเขียนไว้มา ได้สำเร็จตอนหลัง...” ขณะดำรงตำแหน่ง ส.ส. ได้เป็นกรรมาธิการการท่อง เที่ยวและเคยได้รับงบประมาณเพื่อสร้างแหล่งน้ำในจังหวัด ตราด และจัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท โดยนำเข้าที่ประชุม กับผู้นำชุมชนของจังหวัดและได้นำงบประมาณมาใช้ในหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 50,000 บาท เพื่อพัฒนาชุมชน รวมถึงการจัดหา แหล่งน้ำ การจัดงบขุดบ่อบาดาล สร้างระบบชลประทานและ แหล่งไฟฟ้าให้แก่ประชาชนเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง นายบรรลุ สุทธิวารี เป็นคนที่รักบ้านเกิด อยากเห็น บ้านเกิด ได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียมกับจังหวัดอื่นๆ ในภูมิภาค นน่ั จงึ เปน็ เหตผุ ลในการเขา้ สถู่ นนสายการเมอื ง เพราะเขาตอ้ งการ ที่จะมีบทบาท มีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเกิด เมื่อมองเห็น 105
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ปัญหาของประชาชนก็จะพยายามแก้ไขจนสุดความสามารถ โดยจะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง หากสิ่งที่ต้องแก้ไขนั้นเป็นปัญหา ที่ยืดเยื้อมานาน และจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่าง เร่งด่วน เหมือนครั้งหนึ่งที่นายบรรลุได้เป็นกรรมาธิการท่องเที่ยว และกรรมาธิการกิจการสภา นายบรรลุได้เข้าไปของบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาแหล่งน้ำ นายบรรลุกล่าวว่า การที่จะเป็น ตัวแทนประชาชน หรือ ส.ส. ที่ดีนั้น “จะต้องมีความใจกล้า หน้าด้านอยู่พอสมควร และจำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้คนให้มากๆ เพื่อให้สะดวกแก่การทำงานเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่ง ใบบุญใคร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญส่ง ไข่เกษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ไข่เกษ เป็น ส.ส. จังหวัด ตราด 1 สมัย ได้แก่ การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ประวัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ไข่เกษ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นบุตร ของนายเสรี กับนางมะลิ ไข่เกษ ประวัติด้านการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ไข่เกษ สำเร็จการศึกษา ระดบั ปรญิ ญาตรจี าก 2 สถาบนั คอื ปรญิ ญาวทิ ยาศาสตรบณั ฑติ (สุขาภิบาล) เกียรตินิยมอันดับ 2 รางวัลเหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต และ 106
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมสุขาภิบาล) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญา โทสาธารณสุขศาสตร์ ด้านการจัดการคุณภาพน้ำ จาก มหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกวิศวกรรม เคมี เกียรตินิยมดีมาก จาก Universit Savoie ประเทศฝรั่งเศส ประสบการณ์ทางการเมือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญส่ง ไข่เกษ เป็นอดีตสมาชิก วุฒิสภา จังหวัดตราด เป็นอดีต ส.ส.จังหวัดตราด สังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ และเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญส่ง ไข่เกษ เคยเป็นอาจารย์ ประจำ และหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถงึ พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหนง่ ทางวชิ าการเปน็ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ต่อมาลาออกจากราชการ เข้าทำงานที่บริษัทที่ปรึกษาด้าน วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ใน พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญส่ง ไข่เกษ ได้ลงสมัครรับ เลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการ ทั่วไป พ.ศ. 2544 ในพื้นที่จังหวัดตราด สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2549 ได้ลงสมัคร และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด แต่ยังไม่ได้ ปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากเกิดการรัฐประหารในเดือนกันยายนของ ปีเดียวกัน 107
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ต่อมาใน พ.ศ. 2553 เขาได้รับการสรรหาและเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 ใน พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก วุฒิสภาจังหวัดตราดอีกครั้งหนึ่ง แต่ปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 22 วัน ก็เกิดรัฐประหารในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน ภายหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 เขาได้เข้าทำงาน เป็นอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยี สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา และเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมทำการศึกษา EIA และ HIA ในโครงการสำคัญ หลายโครงการ เช่น โครงการทางด่วนพิเศษรามอินทรา- วงแหวนรอบนอก โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยอง โครงการประตูระบายน้ำปากพนัง โครงการเขื่อนผาจุก โครงการเขื่อนแม่วง โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสะตอ (วิกิพีเดีย, 2558; อาร์วายทีไนน์, 2559) นายธีระ สลักเพชร นายธีระ สลักเพชร เป็น ส.ส. จังหวัดตราด 6 สมัย ได้แก่ การเลือกตั้งทั่วไป ดังนี้ ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 108
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น ประวัติ นายธีระ สลักเพชร เป็นคนเกาะช้าง จังหวัดตราด โดย กำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของ นายเพียรพาสน์ และนางยุพิน สลักเพชร นายธีระ สลักเพชร สมรสกับ แพทย์หญิงกรพินธุ์ สุดโต เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 เคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) พ.ศ. 2542 และมหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ใน พ.ศ. 2551 ประวัติด้านการศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 7 ที่จังหวัดตราด ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดบั ปรญิ ญาตรี สาขาสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหิดล ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3, สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2555; ศนู ย์ข้อมูลนักการเมือง, 2556) เส้นทางหรือแรงบันดาลใจสู่การเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 กล่าวถึงมูลเหตุจูงใจที่เข้าสู่ การเมืองว่า “หลังจากจบ ป. 7 ที่ตราดก็เข้ากรุงเทพฯ เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2515 หรือ 2516…ช่วงนั้นมีสัมปทานป่าไม้ที่ เกาะช้าง เราเกิดที่เกาะช้างเราก็รักป่านะ วันดีคืนดีช้างออกมา เต็มเกาะเลย เขาก็มาตัดไม้ที่เกาะช้าง…ให้สัมปทานแล้วตัดได้ 109
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด นึกออกไหม แล้วก็…เราก็คิดว่าการเมืองในสมัยนั้น…ตัดไม้มา ทิ้งเกลื่อนตามชายหาดรอบเกาะ แล้วก็ไม่ใช้ประโยชน์อะไร มาทิ้งเกลื่อนไปหมด แล้วตัดก็ไม่ดู ไม้โพรงก็มี นึกออกไหม… แล้วตอนอยู่กรุงเทพฯ ก็ไปเจอเหตุการณ์ คือผมโชคดีมากที่มี บ้านพักอยู่กับคุณอาที่ถนนราชดำเนินกลางตรงกองสลาก ที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จำได้ไหม… แล้วก็เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาที่ธรรมศาสตร์ ผมก็ไปเห็น แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้คิดนะ มันเป็นสิ่งที่ระลึกอยู่ในใจว่า มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเป็น จุดหนึ่ง คือตอนเรียนที่บดินทร์เนี่ยผมอยู่ห้องคิง ก็เหตุการณ์ ชว่ งปี 16 หรอื 19 ตอนนน้ั นะ่ นะเพอ่ื นจะหายไปเรอ่ื ยๆ เพอ่ื นรนุ่ พ่ี ที่เขาอยู่ในป่าเขาก็มาชวนไป พี่ผมก็บอกว่าคิดให้ดีนะ เพราะ รุ่นพี่บางคนไปก็เป็นมาลาเรียตาย เขาบอกว่าถ้าชอบการเมือง นะเราก็ต้องตั้งใจเรียน เอนทรานซ์ให้ได้ ไปเรียนคณะที่เล่น การเมืองได้… ผมก็มาทำงานอยู่ชลบุรี อยู่กรมอนามัย” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 กล่าวเสริมในประเด็นเดียวกันว่า “ปี 35 ผมก็เลยได้ออกมา ผมไม่ได้รู้จักพรรคประชาธิปัตย์นะ แต่ว่าเรารักพรรคนี้ ชอบตรงที่…ตอนนั้นอยู่ใกล้สนามหลวงชอบ ไปฟังเขาปราศรัย คุณเฉลิม คุณสมัคร เมื่อก่อนเนี่ยชอบมาก อยู่ประชาธิปัตย์กันทั้งนั้นแหละ ตอนเย็นๆ ปี 35 ก็เกิดพฤษภา ทมิฬ ผมก็ไป พรรคประชาธิปัตย์ผมยังไม่รู้จักเลยว่าอยู่ตรงไหน รู้เพียงคร่าวๆ ว่านั่งรถเมล์สาย 14 แล้วนั่งรถตุ๊กตุ๊กไปจะเห็น พรรคประชาธิปัตย์ ปี 35 ตอนนั้นเป็นนักวิชาการอยู่ เป็น มือวิจัยของกรมฯ ผมกำลังจะปรับซี 7 กำลังจะได้ซี 7 อยู่แล้ว จำได้ว่าตอนที่เข้าไปหา ผอ.ไปลาออก ผอ. ยังสงสัย คือผม 110
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ไม่เคยแสดงออกว่าชอบการเมือง นอกจากคนที่สนิทเท่านั้นที่รู้ ท่านก็เซ็นให้ ท่านขอร้องให้ลองคิดดูอีกที....ผมก็บอกว่าคิดมา ดีแล้วครับ ท่านก็บอกว่าน้องจะไปก็ไป ถ้าสอบตกก็กลับมาละ กันจะเก็บตำแหน่งไว้ให้ ท่านว่าอย่างนั้น แล้วสมัยนั้นเราก็สอบ ตก ในการเล่นการเมืองเราก็ตั้งใจจะไม่ซื้อเสียงด้วย แต่ก็โชคดี ตรงที่สอบตกแต่ว่าคุณชวนได้เป็นนายก จึงมีโอกาสได้เป็นที่ ปรึกษาของรัฐมนตรีโควตาของพรรคประชาธิปัตย์ ตอนนั้น ผมจบปริญญาโทแล้ว จบมาจาก ม. เกษตร” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่จังหวัด ตราด นายธีระได้ไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียน บดินทรเดชา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ได้พบกับเหตุการณ์บางช่วงบางตอน ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นได้ฝังลึกอยู่ในความทรงจำ จึงทำให้นายธีระ เกิดความชื่นชอบและสนใจในการเมือง แต่เมื่อกล่าวถึงวุฒิการ ศึกษาแล้วนายธีระกลับไม่ได้เลือกเรียนทางด้านการเมืองเลย โดยจบระดบั ปรญิ ญาตรี สาขาสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหิดล เมื่อจบการศึกษาก็ได้สอบเข้ารับราชการในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข โดยปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการ ทำงานด้านการวิจัย ที่กรมอนามัย จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งเกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ เส้นทางการเมือง นายธีระได้ลาออกจากราชการและสมัครเป็น สมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดตราด แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในสมัยนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล นายชวน หลีกภัย 111
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เป็นนายกรัฐมนตรี นายธีระจึงได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันก็ลงพื้นที่จังหวัด ตราดตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2538 และได้สร้างการเมือง ภาคประชาชนหรือประชาธิปัตย์ชุมชน (เรียกย่อๆ ว่า ปชป. ชุมชน) โดยสอนให้ชาวบ้านทำแผนชุมชน ซึ่งได้ทำเครือข่าย ด้านชุมชนในจังหวัดตราดทั้งสิ้น 38 ตำบล ในช่วงเวลา 3 ปี กส็ ามารถสรา้ งการเมอื งภาคประชาชนได้ โดยจำลองสาขาพรรค ลงไปในตำบลได้ทั้งสิ้น 20 ตำบล ต่อมาใน พ.ศ. 2538 มีการยุบ สภา ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ปรากฏว่านายธีระไม่ได้รับ การเลือกตั้ง แต่ใน 20 ตำบลที่สร้างการเมืองภาคประชาชนไว้ นายธีระชนะทั้งหมด เหลือเพียง 18 ตำบลเท่านั้นที่ไม่ได้รับการ เลือกตั้ง ดังนั้นในช่วงที่เป็นฝ่ายค้านนายธีระจึงลงพื้นที่จังหวัด ตราดเพื่อสร้างการเมืองภาคประชาชน กับอีก 18 ตำบลที่เหลือ พอ พ.ศ. 2539 มีการเลือกตั้งใหม่ นายธีระก็ชนะการเลือกตั้ง และเป็นเช่นนั้นตลอดจนกระทั่งสมัยปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 6 สมัย ประสบการณ์ทางการเมือง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ 15 กรกฎาคม 2551–ปัจจุบัน กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ 1 มกราคม 2550–ปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 20 ธันวาคม 255–6 มิถุนายน 2553 รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร 112
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร. วิชัย ตันศิริ) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ (ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสุทัศน์ เงินหมื่น) ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีเงา กระทรวงวัฒนธรรม (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3, 22 ธันวาคม 2555; ศูนย์ข้อมูล นักการเมือง, 2556; Thailand Politic Based, 2009) ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ต่อข้อคำถามในประเด็นฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 ได้อธิบายกระบวนการอย่างละเอียดจาก ประสบการณ์ว่า “…พอผมสอบตกปี 2435 ก่อนถึงปี 2538 ผมพยายามสร้างการเมืองภาคประชาชน ผมคิดสร้างระบบ ประชาธิปัตย์หมู่บ้าน ประชาธิปัตย์ตำบล มีประธานตำบล มปี ระธานหมบู่ า้ น เปน็ การสรา้ งการเมอื งภาคประชาชนใหเ้ ขม้ แขง็ ให้ชาวบ้านเขาทำกันเอง ทำให้เขารู้จักการคิดและทำแผนชุมชน กันเอง แล้วก็ปี 38 มีการเลือกตั้ง ปี 35 ก็แพ้คุณธนิต ไตรวุฒิ... แตต่ อนนน้ั เขายงั ไมไ่ ดเ้ ปน็ ส.ส. นะ ตอนทผ่ี มขอเปน็ ลกู บญุ ธรรม เขานะ ท่านเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตราด…ปี 2538 แพ้พี่บรรลุ สุทธิวารี แต่ว่าปี 2538 จังหวัดตราดมี 38 ตำบล ผมได้ทำโมเดล การเมืองภาคประชาชน เราทำเสร็จแค่ 20 ตำบล ตอนนั้นเกิด 113
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด สปก. 4–01 …คุณจำลองถอนออกจากพรรคร่วม ยุบสภา ปี 2538 เราลงเลอื กตง้ั เหมอื นเดมิ … แตผ่ มดใี จมากตรง 20 ตำบล ที่เราทำโมเดลที่ว่านี่ผมชนะหมดเลย ผมแพ้ใน18 ตำบลที่ยังไม่ ได้ทำ…ผมจึงทำอีก 18 ตำบลที่เหลือ การเมืองช่วงนั้นมันสั้น ปี 39 เลือกตั้งใหม่ผมชนะหมดเลยทั้ง 38 ตำบล มันต้องทำ การเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็งให้ได้น่ะ...เห็นไหมการเมือง ภาคประชาชนมันมีอิทธิพลมาก...แล้วหลังจากนั้นผมก็ไม่เคย สอบตกเลย” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 อธิบายต่อในประเด็นเดียวกันว่า “…ฐานเสียงก็คือชาวบ้านที่ทำโมเดลไว้...คือหมู่บ้านหนึ่งนี ่ ผมให้มีกรรมการประชาธิปัตย์ได้ 5 คน แต่ละคุ้มบ้านนะ ก็กระจายกันอยู่ ในบรรดา 5 คนนี้เขาก็จะหาสมาชิกเพิ่ม แล้วก็ ประธานหมู่บ้านจะมี 1 คน สมมุติว่ามีสิบหมู่บ้านก็เอาประธาน หมู่บ้านสิบคนมาเลือกเอาประธานตำบลอีกคนหนึ่ง…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) กลุ่มชาวบ้านที่สนับสนุนนายธีระ และกลุ่ม ปชป. ชุมชน โดยกลุ่ม ปชป. ชุมชน จะเป็นเสมือนฐานเสียงของนายธีระที่มี อยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกหย่อมหญ้าในจังหวัดตราด นอกจากนี้ นายธีระก็ยังมีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นบางกลุ่มให้การสนับสนุน อยู่บ้าง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิก อบต. สมาชิก อบจ. นายกเทศมนตรี และกลุ่มข้าราชการในจังหวัดอีกด้วย กลวิธีท่ีใช้ในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 อธิบายเกี่ยวกับประชาธิปัตย์ ชุมชนว่า “…เมื่อปี 2535 กับ 2538 ที่แพ้น่ะ ผมเดินไปบ้าน สจ. 114
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน คนนี้ เข้าไปคุยครึ่งชั่วโมง เขาจะคล้อยตามอยู่แล้วนะเออ... นักการเมืองดี มีอุดมการณ์ ทำงานเพื่อประชาชน...พอเราเดิน สวนออกมาเนี่ย คู่แข่งเราเดินผ่านเข้าไปนะ เสร็จ คู่แข่งเขา เข้าไปพูดว่าเดี๋ยวเขามีสิ่งนี้สิ่งนั้นมาให้เพื่อที่จะไปจูงใจชาวบ้าน นึกออกไหม…ผมก็คิดว่าไม่ได้ ต้องให้ชาวบ้านเขารู้เท่าทันเกม การเมือง…ถ้าชาวบ้านคุยกันเองมันจะเนียนกว่า ความเป็น เพื่อน ความเป็นญาติพี่น้อง เพราะฉะนั้นองค์กรเหล่านี้มันต้อง มีตามหมู่บ้าน... การเมืองที่ขัดแย้งกันขนาดนี้มีทางเดียวที่จะ ทำได้ คือเราต้องทำตรงนี้ คือการเมืองภาคประชาชน…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 ได้กล่าวถึงงบประมาณที่ใช้ในการ ทำประชาธิปัตย์ชุมชนว่า “…เรามีงบ ส.ส. ให้เขาทำแผนชุมชน ที่เขาร่วมกันทำนะ นึกออกไหม เขาต้องการไฟฟ้า ต้องการถนน ตอ้ งการนำ้ เขาทำงานกบั เรา เขามสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาทอ้ งถน่ิ ของเขาเอง…ถ้าเขาหาสมาชิกได้มาก วันหนึ่งประธานหมู่บ้าน อยากเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบจ. คนคนนั้นก็เป็น หัวคะแนนให้เขา เพราะฉะนั้นเขาก็หาสมาชิกเพิ่มกันเอง…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 16 กล่าวสนับสนุนในประเด็น บทบาทของประชาธิปัตย์ตำบลว่า “เรามีงบประมาณให้เขา เข้าไปตั้งคณะกรรมการภายในตำบล...สมมติว่า พี่เป็นประธาน ในตำบลไม้รูด พี่ก็ไปดูว่าถนนตรงไหนชำรุด อะไรที่เป็นของ ประโยชน์ส่วนรวมควรได้รับการซ่อมบำรุงตรงไหนบ้าง...งบที่ให้ เขาใช้ในประชาธิปัตย์ตำบลคืองบแปรญัตติประจำปีนั่นแหละ 115
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ส.ส. เป็นคนเอามาแล้วก็เอาไปแจกจ่ายงบ ได้มาทุกปีๆ ได้มาก มั่งน้อยมั่ง ไม่เท่ากัน…” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) ต่อข้อคำถามเกี่ยวกับการใช้รถโฆษณาประชาสัมพันธ์ หาเสียง ป้าย โปสเตอร์ หรือแม้แต่การเดินเคาะประตูบ้าน ผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 3 พูดว่า “…ไม่ได้ใช้มาก รถวิ่งป้าย เราไม่มีเงิน มาก แต่ว่าเราเน้นเรื่องการปราศรัย โดยเน้นให้ชาวบ้านตามทัน การเมือง ทำนโยบายไม่ได้โจมตีใคร เอานโยบายพรรคมาพูด เลย… เดินเคาะประตูบ้านเฉพาะในเขตเมือง” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 7 และผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 9 เห็น พ้องกันว่า ในช่วงหาเสียงนายธีระจะมา และถ้ามีงานศพ ก็จะมี พวงหรดี มาให้ ชาวบา้ นรกั เขาอยแู่ ลว้ ครบั โดยเฉพาะคนอายเุ ยอะ คนแก่ๆ จะรักเขามาก เพราะว่าเขาพูดจาดี มีน้ำใจ เรียบร้อย สุภาพ (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) “…พูดง่ายๆ ว่า...มันฝังอยู่ในใจคนอื่นด้วย แกเดิน ปราศรัยธรรมดาน่ะ...เขาเป็นคนดี...แบบว่าชาวบ้านรัก ว่างั้นเถอะ… ทำดีหมายถึงว่า ไม่ว่าจะเป็น มีงานมีการอะไรน่ะ ท่านก็มาแบบนี้แหละนะ ท่านก็มาแบบติดดินไม่ได้ใหญ่โตอะไร นะคุยกันแบบธรรมดา ส่วนผู้ใหญ่บ้านเขาก็มีหน้าที่จัดสถานที่ เตรียมความพร้อมให้ เขาก็มาปราศรัยมาพูดคุย บางทีมีการมี งานอะไรเขาก็มา ประเพณีสงกรานต์อะไรอย่างเนี้ยก็เชิญท่าน ท่านก็มาพบปะกับคนเฒ่าคนแก่รดน้ำดำหัวอะไรอย่างเนี้ยคือ การเข้าถึงประชาชนโดยตัวท่านเองเลย…บางทีตัวท่านไม่มาก็ ให้ตัวแทนมา...เลขาประทีป เลขาพรรค” ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 9 116
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อธิบาย (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวว่า “อืม คนรักเยอะ แกไม่ ทุ่มทุนหาเสียงอะไรอย่างงี้เยอะ แต่แกเน้นที่การปราศรัยในที่ ต่างๆ แกเป็นคนดี แต่ไหนแต่ไรมา แกไม่เคยใช้เงินซื้อเสียงน่ะ” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) นายธีระหาเสียงโดยเน้นการปราศรัยเป็นหลัก โดยการ ปราศรัยจะไม่ใช้วิธีการโจมตีคู่แข่ง กลวิธีที่นายธีระใช้ในการ หาเสียง คือการชี้แจงนโยบายพรรคต่อประชาชน การพบปะกับ สมาชิกเครือข่ายการเมืองภาคประชาชน และยังมีการติด โปสเตอร์ การเดินหาเสียงด้วยตัวเองตามบ้าน มีการใช้รถ ประชาสัมพันธ์ร่วมด้วย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลงพื้นเพื่อให้ ความช่วยเหลือ ดูแลความเป็นอยู่ในเรื่องปากท้องของ ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ไม่เฉพาะช่วงที่มีการเลือกตั้งเท่านั้น ที่สำคัญ ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 กล่าวว่า “ประชาชนใน จังหวัดตราด เป็นคนเก่ง ฉลาด ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณงาม ความดีมากกว่าเรื่องเงิน” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ดังนั้นเรื่องของการซื้อเสียงจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สำหรับ อนาคต ทางการเมืองของจังหวัดตราด นายธีระกำลังมองหา ทายาททางการเมืองที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนตน โดยมองกลุ่มของข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการ เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่มีความรู้ กลยุทธ์ของนายธีระอีกประการหนึ่ง คือ ปชป. ชุมชน หรือประชาธิปัตย์ชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่นายธีระได้คิดขึ้นมาเอง โดย 117
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด เป็นการสร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง สอนให้ชาวบ้านรู้จักทำ แผนชุมชน ให้สามารถคิดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งผลงานที่ออกไปจาก ส่วนนี้ก็จะเป็นที่ประจักษ์ เหมือนประหนึ่งเป็นผลงานที่ช่วยชู คะแนนเสียงให้กับตัวพรรคฯ ของเขาด้วย ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ออก มาเป็นที่น่าพอใจ ในปัจจุบันคู่แข่งบางคนก็เริ่มนำกลยุทธ์ คล้ายๆ กันมาใช้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ปชป. ชุมชนนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้นายธีระชนะ คะแนนเสียงในทุกยุคทุกสมัยเลยก็ว่าได้ การสร้าง ปชป. ชุมชน นั้นเรียบง่ายมาก โดยวิธีการหลักก็คือ นายธีระจะลงไปในพื้นที่ ก่อน และไปทำการชี้แจงกลุ่มคนที่สนับสนุนพรรคฯ ของ นายธีระและตัวนายธีระเองให้เข้าใจในรปู แบบของ ปชป. ชุมชน เข้าใจในวิธีการดำเนินงาน ก่อนจะให้พวกเขาทำการเลือก ประธาน รองประธาน เลขาและกรรมการกันเอง โดยคนที่ได้รับ เลือกนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้นำชุมชน อย่างเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเสมอไป เป็นเพียงคนที่ชาวบ้านคิดว่ามีปากมีเสียง มากพอในชุมชน มีความสามารถ และพึ่งพาได้ จึงเป็นสาเหตุ ให้ฐานเสียงส่วนใหญ่ของนายธีระเป็นกลุ่มของชาวบ้าน ซึ่งหาก มองย้อนไปในอดีต การหาเสียงนั้นจะพึ่งกลุ่มผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำ ชุมชน และผู้มีอิทธิพล ประมาณว่าใครสามารถขอความช่วย เหลือทางด้านฐานเสียงจากคนกลุ่มนี้ได้มากกว่า ก็มีสิทธิชนะ การเลือกตั้งไปกว่าครึ่งแล้ว แต่สำหรับนายธีระกลับมองว่า ฐานเสียงที่เข้มแข็งต้องมาจากส่วนล่างสุดของการปกครองก็คือ “ประชาชน” นั่นเอง หากจะแสดงให้เห็นภาพก็เปรียบได้ดั่ง ต้นไม้ ซึ่งลำต้นเป็นเส้นทางลำเลียง และใบก็มีหน้าที่สร้าง อาหารเพิ่มโดยมีกระบวนการสัมพันธ์กับราก จะเห็นได้ว่า 118
ข้อมูลนักการเมืองถิ่น รากไม้ก็มีความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ แต่รากไม้มันอยู่ใต้ดิน ซึ่งเรามองไม่เห็น และบางคนอาจไม่รับรู้ในการมีอยู่ของมันเสีย ด้วยซ้ำ หากรากเน่าหรือไม่แข็งแรง สุดท้ายก็ต้องโค่นล้มลงมา ในไม่ช้า การที่มุ่งเน้นไปที่ประชาชนก็เฉกเช่นเดียวกับการบำรุง รักษารากของต้นไม้เอาไว้ เมื่อประชาชนรักและสนับสนุนตัวเขา จากความคิดของเขาเอง ไม่ต้องให้คนอื่นมาคิดมาบอกให้เลือก คนนั้นสิดี คนนี้สิเจ๋ง ก็แสดงว่าการที่พวกเขาเลือกใครไป เขา ต้องการให้คนๆ นั้นมาเป็นผู้ที่มีปากเสียงแทนเขาจริงๆ และเมื่อ เขาคิดเช่นนั้น ความคิดนั้นก็จะอยู่ติดตัวเขาตลอดไป ตราบใดที่ ตัวผู้นำยังประพฤติตัวไม่ให้แย่ลงไปกว่าเดิม อย่างว่า ประชาชน ในปัจจุบันกับการเมืองได้พัฒนาไปมากจากอดีต ในยุคสมัยนี้ ผู้คนฉลาดขึ้น เข้าใจเรื่องการเมืองมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ เขาจะบอกว่าคนไหนดีคนไหนไม่ดี เขาตัดสินใจเลือกเองได้ ทำให้ปัจจุบันผู้ที่จะมาเป็นผู้นำประชาชนได้นั้นต้องตั้งอยู่บน พื้นฐานของความดีเป็นหลัก กลับมากล่าวถึง ปชป. ชุมชน อีกครั้ง ปชป. ชุมชนไม่ได้ ทำงานแยกกันแบบว่าหมู่บ้านใครหมู่บ้านมัน หรือแยกกันเป็น เอกเทศแต่อย่างไร แต่ในความจริงก็คือยังมีกลุ่มใหญ่ที่คอย ประสานงานให้กับกลุ่มเล็ก โดยส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาอีก ได้แก่ ปชป. ตำบล ปชป. อำเภอ และสาขาพรรค ตัวอย่าง เช่น ใน 1 ตำบล มี 8 หมู่บ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีประธานประจำ หมู่บ้าน 1 คน ก็จะมีการจัดการประชุมเลือกประธานประจำ ตำบลขึ้นมาอีก 1 คน โดยเลือกมาจากประธานหมู่บ้านทั้ง 8 คน ที่ชาวบ้านคิดว่าเหมาะสมที่จะมารับตำแหน่งที่สุด 119
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด เหตุ–ปัจจัยท่ีทำให้ได้รับการเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 อธิบายถึงสาเหตุที่ได้รับการ เลือกตั้งว่า “…ผมถือว่ายิ่งใหญ่มากนะเรื่องของการเมืองภาค ประชาชน มันต้องเข้มแข็ง พอเข้มแข็งแล้วเราจะตามการเมือง ทัน มันก็เป็นเรื่องเดิมเหมือนกับที่เราพูดกับคนทั้งจังหวัด ว่า คุณต้องรู้เท่าทันทุกเรื่อง คุณมีอาชีพอะไรคุณก็ต้องรู้ใช่ไหม การเมืองก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เขาต้องรู้เท่าทัน แล้วนี่การเมืองมัน เกี่ยวข้องกับทุกชีวิตก็ต้องรู้ ผมมาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2535 ผมขึ้น เวทีปราศรัย เรื่องมันตลกมากเลย พูดจนเจ็บคอลงมาข้างล่าง ผมยังจำได้เลย ลงมา ลุงคนหนึ่งมากระตุกแขน ลุงฟังมาตั้ง นานตกลงเบอร์นี้จะให้เท่าไหร่ เราบอกเราไม่ให้ ‘เหล้าขวด ได้ไหม’ เราบอกไม่ได้ คุยกับแกได้พักนึงและประโยคสุดท้ายแก ก็บอกว่า ลุงจะเลือกธีระเดี๋ยวจะไปบอกลูกหลานให้เลือกธีระ แล้วแกก็ไม่ได้เหล้าจากเรานะ เหล้าแกก็ไม่ได้ แต่ว่าคุยแล้วแกก็ เข้าใจว่า ผมนี่นะลาออกจากราชการ ถ้าผมอยู่ตอนนั้นนะ ไปอีกไกล มาเสียสละตรงนี้ เราทำเพื่อบ้านเพื่อเมือง...” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 เล่าต่อว่า “เราต้องทำงานหนักนะ สนามบินนี่ก็เราต้องทำ ต้องทำหมดแหละ มาทำหมดเลย มาครั้งแรกนี่ก็ดีนะ มาทำมันยังเวอร์จิ้นมากเลยบริสุทธิ์มาก แต่ละอาชีพก็ไม่มีการรวมกลุ่ม ก็มาตั้งสมาคมชาวสวนผลไม้ สมาคมประมง สมาคมการท่องเที่ยว ต้องมาทำหมดเลยนะ… เรามาทำสิ่งเหล่านี้หมดเลย สนามบิน ท่าเทียบเรือ แม้กระทั่ง ทางรถไฟความเร็วสูง การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งเนี่ย 120
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน สุดยอดที่สุด จะรวมกลุ่มเรื่องของอาชีพ รวมกลุ่มเรื่องของ การเมือง…” (สัมภาษณ์ 22 ธ.ค. 2555) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 16 กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมว่า คนตราดส่วนมากจะเอาประชาธิปัตย์ตำบล อีกอย่างตัวแก ดีด้วย…” ต่อข้อคำถามเกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกคนที่จะมาเข้า ประชาธิปัตย์ตำบล ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 16 ตอบว่า “ก็ชาวบ้าน รากหญ้า ให้เขาเลือกกันเองนี่แหละ…แล้วทุกวันนี้ฝั่งตรงข้าม เริ่มมีการเลียนแบบกลยุทธ์ในเรื่องประชาธิปัตย์ตำบลของเรา บ้าง เขาก็เริ่มทำตามเราแล้ว อย่างตอนนี้…เขาก็เริ่มทำ เริ่มต้น ที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วก็กลุ่มนายก อบต. แต่ของเราก็เน้นที่ ชาวบ้าน ส.ส. ธีระได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมโดยการ ให้ชาวบ้านไปหานายก อบต. ไปหาผู้ใหญ่บ้าน ว่ามีเรื่องอะไร ให้ช่วยเหลือ ให้จัดการแจ้งได้ หากอันไหนแกพอลงไปช่วยได้ แกก็ลงไปช่วยเอง อีกอย่างในแต่ละตำบลก็มีประชาธิปัตย์ ตำบลอยู่แล้วอย่างในตอนนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็จะแต่งตั้ง ให้แกเป็นคนทำประชาธิปัตย์ตำบลในภาคตะวันออก แต่แก บอกว่าแกจะทำในตราดก่อน… ประชาธิปัตย์ตำบลนี่ไม่มี เงินเดือนให้นะ อยู่กันด้วยใจจริงๆ หากชาวบ้านต้องการ งบประมาณไปพัฒนาอะไรก็ตาม ทางตัวท่านธีระ ก็ให้ตัวเลขา ผู้ช่วยลงไปดู เพื่อประเมินแล้วให้นักการเมืองในท้องถิ่นช่วย ถ้าแกได้ไปทำงานด้วย แกไม่เลือกว่าเป็นใคร ถือว่าไปทำงาน เพื่อชาวบ้าน…ประเด็นเด็ดที่ว่าทำไมเขาถึงมาเป็น ส.ส. ได้ ก็ตัว ประชาธิปัตย์ตำบลนี่แหละ เอาชนะใจชาวบ้านได้” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) 121
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ ฐานเสียงจาก สมาชิกเครือข่ายการเมืองภาคประชาชน ซึ่งเป็นผลมาจากการ ทุ่มเทในการสร้างการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ให้ชาวบ้าน คุยกันเอง สร้างเครือข่ายในระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับ อำเภอ และในระดับจังหวัดซึ่งเป็นสาขาพรรค สร้างชุมชน เข้มแข็ง ให้ความรู้ด้านการเมืองแก่ชุมชน รู้จักวิธีการเลือกตั้ง รู้เท่าทันการเมือง ปลูกฝังความคิดที่ว่าผู้ที่เข้าสภาฯ โดยไม่ ซื้อเสียงเมื่อถึงเวลาทำงานให้ประชาชนเขาจะไม่โกงกิน เพราะ เขาไม่จำเป็นที่จะต้องถอนทุนที่ใช้ไปในตอนหาเสียง โดยครั้ง แรกที่นายธีระลงสมัครใน พ.ศ 2535 นั้น นายธีระสอบตก เพราะในครั้งนั้นการทำ ปชป. ชุมชนเพิ่งคืบหน้าไปแค่ 20 ตำบล แต่ใน 20 ตำบลนั้นนายธีระชนะหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2539 เมื่อ เลือกตั้งใหม่ นายธีระชนะ ครั้งนั้นการทำ ปชป. ชุมชนได้เสร็จ สิ้นครบ 38 ตำบล โดยนายธีระชนะทั้งหมด 38 ตำบลเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถฝังรากฐานลงใน พื้นที่จังหวัดตราดได้อย่างหนาแน่น ทำให้พรรคฝ่ายตรงข้าม ยากที่จะเข้าไปทำคะแนนเสียง นอกจากนี้นายธีระยังขยันลงพื้นที่พบปะประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายธีระ จะลงพืน้ ท่โี ดยตลอด มกี ารส่ือสารกับประชาชนผา่ นเวทีปราศรัย ทั้งเวทีย่อยในระดับหมู่บ้าน ระดับจังหวัด เพื่ออธิบายถึงผลงาน ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างอยู่อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อได้รับ เลือกตั้งแล้วก็มุ่งมั่นพัฒนาท้องถิ่น สร้างระบบเศรษฐกิจภายใน จังหวัด เช่น การสร้างสนามบินตราด โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 122
ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน 18 เมษายน พ.ศ. 2546 ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าโสม อ.เขาสมิง เปิด บริการวันละ 4 เที่ยวบิน สร้างท่าเทียบเรือ ก่อตั้งสมาคม ชาวสวนผลไม้ สมาคมประมง สมาคมการทอ่ งเทย่ี ว ซง่ึ สง่ิ เหลา่ น้ี เป็นผลงานที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวถึงบุคลิกลักษณะนิสัยของ นายธีระว่า “...ธีระ ก็รักนะ อาอย่างนั้นอาอย่างนี้ ใครมาก็ช่วย เอ้าโอเค เพื่อความเป็นธรรมเนาะ คนที่เราไม่ปักใจจริงๆ เนี่ย เราก็เป็นกลางนะ ธีระก็ คนรักกันนะ มีเสน่ห์ เป็นคนดีนะ ไม่มี พิษไม่มีภัย คุณธีระก็ทุ่มเทในการเดินหาเสียงนะ โอ้ย! เดินกัน ไปตามป่าตามโคก แต่เขาเป็นคนดี” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 16 กล่าวถึงนายธีระว่า “ผมบอกได้ เลยว่า แกเป็นคนดีมาก เหมือนพ่อพระเลยก็ว่าได้ แล้วตอนนี้ หนว่ ยราชการ ตำรวจ หรอื กไ็ มว่ า่ ใครกต็ าม พอเขา้ มาในพน้ื ทป่ี ปุ๊ ก็ไม่รู้หรอกว่าแกเป็นยังไง บางทีพอมีไอ้นั่นปุ๊ปก็ใส่ซองให้ เพราะว่าหากเป็นที่อื่นพอเสร็จงานก็ต้องใส่ซองให้ แต่แกไม่เอา บอกว่า ให้เอาเงินส่วนที่จะให้ผมเนี่ยกลับไปทำตรงอื่นให้มันดี คนที่ไม่รู้ก็ใส่ซองมาให้แกหมด...” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) จากคำตอบที่ได้ ผู้วิจัยถามเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ที่นายธีระปฏิเสธ อาจเป็นเพราะว่า เดิมทีทางครอบครัว นายธีระมีฐานะอยู่แล้วด้วยหรือเปล่า ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 16 ตอบว่า “...แกก็ไม่ได้ร่ำรวยนะ ฐานะกลางๆ นี่แหละ ขนาดไป ทำงานแกยังห่อข้าวไปกินเองเลย แกเป็นคนง่ายๆ…” 123
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด นายธีระไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่มั่งมี คาบช้อนเงิน ช้อนทองมาเกิด เป็นเพียงครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง พอมี พอกิน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาเป็นคนง่ายๆ ไม่ถือเนื้อถือตัวและ สมถะ บางครั้งก็สร้างความประหลาดใจให้กับบุคคลที่รู้จักและ ผู้พบเห็นอยู่บ่อยๆ เช่น การห่ออาหารไปกินเองในที่ทำงาน หรือ เมื่อต้องเดินทางไปทำงานไกลๆ ก็ยังนำอาหารไปรับประทาน เอง ด้วยเหตุผลที่บอกว่า สะอาด ประหยัด แล้วก็ไม่ยุ่งยาก อะไรมากมาย ดีกว่าไปซื้อกินให้เสียเงินเป็นไหนๆ และนายธีระ ก็ยังชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก บางคนที่สนิทชิดเชื้อ กับเขาก็บอกว่า “แกก็คือพ่อพระดีๆ นี่เอง” และยังเป็นคนที่มี ความเชื่อมั่นว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินในการหาเสียง ก็สามารถชนะใจประชาชนได้ ซึ่งทุกวันนี้ผลที่ออกมาก็เห็นๆ กันอยู่ว่าความคิดของเขาถูก และนายธีระก็ยังเป็นนักการเมือง ที่เข้าถึงได้ง่ายเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ทั้งยังรับฟังปัญหาของ ประชาชนในทุกๆ เรื่อง เพื่อนำมาปรับแก้ไขส่วนที่ยังไม่ดีให้ดีขึ้น ต่อไป 124
บ4ทท ่ี สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการสังเกตในระหว่างสัมภาษณ์ นักการเมืองถิ่น และบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองถิ่นจังหวัดตราด สามารถสรุปผล การศึกษา อภิปราย และให้ข้อเสนอแนะตามรายละเอียดดังต่อ ไปนี้ 1. สรุปผลการศึกษา 1.1 นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือ นักการเมืองถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา ในจังหวัดตราดมี ส.ส. รวมทั้งสิ้น 10 คน ซึ่งส่วน ใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตราด มีเพียงนายธนิต ไตรวุฒิ เท่านั้นที่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้ย้ายมาอยู่ จังหวัดตราดโดยประกอบอาชีพธุรกิจโรงเลื่อยและโรงน้ำแข็ง จนเจริญก้าวหน้าเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดตราด ซึ่งหลังจาก
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด นั้นได้หันไปลงเล่นการเมืองท้องถิ่น และได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกเทศมนตรีเมืองตราดถึง 3 สมัยด้วยกัน ก่อนที่จะหันไปลง เล่นการเมืองระดับประเทศ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดตราดถึง 3 สมัยติดต่อกัน ถึงแม้ว่านายธนิต ไตรวุฒิจะ ไม่ใช่ชาวตราดโดยกำเนิด แต่ได้รับความไว้วางใจจากชาว จังหวัดตราดให้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญ ทั้ง ส.ส. และนายก- เทศมนตรี นั่นเป็นเพราะผลจากความมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ และความเสียสละ ดังคำกล่าวที่ว่าเมื่อเอ่ยถึงนายธนิต ไตรวุฒิ ชาวตราดหรือคนตราดจะนึกถึงวลี “ความใจบุญ ชอบช่วยเหลือ มนี ำ้ ใจดี ไมถ่ อื ตวั และสามารถจำชอ่ื บคุ คลตา่ งๆ ไดเ้ ปน็ อยา่ งด”ี ส่วนนายธีระ สลักเพชร เป็น ส.ส. จังหวัดตราดติดต่อกัน ถึง 6 สมัย แต่ก่อนที่จะชนะการเลือกตั้งถึง 6 สมัยนั้น นายธีระเคยสอบตกถึง 2 สมัยติดต่อกัน แต่ก็ไม่เคยย่อท้อใน การลงพื้นที่เพื่อสร้างฐานเสียงจาก “การเมืองภาคประชาชน หรือประชาธิปัตย์ชุมชน” เป็นเวลา 3 ปีเศษๆ และในที่สุดก็ได้ รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดตราด ครั้งแรกใน พ.ศ. 2539 เบื้องหลังความสำเร็จของนายธีระคือการเป็นคนที่มีความจริงใจ ทำงานอย่างจริงจังและมุ่งมั่นโดยใช้ความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นที่ตั้ง การเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ทำให้ประชาชนรู้ เท่าทันการเมือง ซึ่งนายธีระเชื่อว่าประชาชนจังหวัดตราด “ฉลาดให้ความสำคัญกับการทำความดี” ส.ส. จังหวัดตราดส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูงจาก กรุงเทพมหานครหรือจากต่างประเทศ แล้วหวนกลับมาพัฒนา บ้านเกิดของตน เช่น เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร นายบรรลุ 126
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สุทธิวารี นายธีระ สลักเพชร เป็นต้น หลังจากนั้นก็จะมุ่งพัฒนา สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น สถาน ศึกษา สาธารณปู โภค และการพัฒนาด้านอาชีพของประชาชน ส.ส. จังหวัดตราดบางคนเริ่มมาจากการเป็นนักการเมือง ท้องถิ่น และเมื่อมีฐานเสียงที่ชัดเจน และมากพอจึงลงสมัคร เลือกตั้ง ส.ส. เช่น นายธนิต ไตรวุฒิ นายบรรลุ สุทธิวารี ก็ได้รับ การสนับสนุนคะแนนเสียงจากนักการเมืองท้องถิ่น อาทิเช่น นายกเทศมนตรี สจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 1.2 เส้นทางสู่การเมือง นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราดมีแรงบันดาลใจหลาย ประการที่จุดประกายให้ตัดสินใจลงเล่นการเมือง บางคนต้อง ตัดสินใจลาออกจากงานราชการที่กำลังเจริญรุ่งเรือง เช่น เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร พ.อ. สาคร กิจวิริยะ ที่ลาออกจาก ราชการทหาร นายธีระ สลักเพชร ที่ได้ลาออกจากราชการใน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่งนักวิชาการด้านการวิจัย กรมอนามัย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แรงบันดาลใจทีท่ ำให้เข้าส่เู ส้นทางการเมืองประกอบดว้ ย การชักชวนของบรรดาสมัครพรรคพวก เช่น นายประชุม รัตนเพียร นายธนิต ไตรวุฒิ นายบรรลุ สุทธิวารี ได้ถูกเพื่อน สนิทที่ทำงานอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีชักชวนให้ลงเล่น การเมือง ส่วนนายธนิต ไตรวุฒิ ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น อยู่แล้ว ด้วยความที่เป็นคนดี มีน้ำใจ เสียสละ และชอบ ช่วยเหลือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นและประชาชนชาวจังหวัดตราด 127
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด จึงชักชวนให้ลงเล่นการเมืองระดับประเทศ ส่วนนายบรรลุ สุทธิวารี ซึ่งพื้นเพเป็นคนจังหวัดตราดอยู่แล้ว ประกอบกับเคย รับราชการที่กรมสรรพากรจังหวัด จึงมีความสนิทสนมกับ ข้าราชการหลายคน และอยากเห็นจังหวัดตราดพัฒนาทัดเทียม กับจังหวัดอื่นๆ จึงตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ แรงบันดาลใจอีกประการหนึ่ง ได้แก่ อุดมการณ์และ ประสบการณ์ในอดีต เช่น เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร และ นายธีระ สลักเพชร เป็นคนที่มีความสนใจการเมืองมาตั้งแต่ วัยเด็ก ประกอบกับการมีอุดมการณ์ที่แรงกล้า ที่อยากเห็น ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือที่เรียกว่าประชา- ธิปไตยเต็มใบ ที่ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงและมีส่วนร่วมทาง การเมอื งทแ่ี ทจ้ รงิ จงึ ทำใหเ้ รอื อากาศตรี ฉลาด วรฉตั ร ไดต้ ดั สนิ ใจ ลาออกจากการเป็นทหาร และลงเล่นการเมืองระดับประเทศ เพื่อค้นหาอุดมการณ์ที่แท้จริงของตน ส่วนนายธีระ สลักเพชร หลังจากรับราชการจวนจะได้ระดับซี 7 แล้ว ก็หวนคิดถึง เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเขาได้ประสบ เหตุการณ์ด้วยตัวเองในบางช่วงบางตอนขณะที่เรียนมัธยมที ่ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จึงจุดประกายให้เขา ตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดตราด ถึงแม้ว่าจะผิดหวังในสมัยแรกๆ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ เขาหมดกำลังใจที่จะสู้ต่อจนชนะใจประชาชนชาวจังหวัดตราด และกลายเป็น ส.ส. จังหวัดตราดที่ครองใจประชาชนมาโดย ตลอด 128
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 1.3 บทบาททางการเมืองของนักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ถึงแม้ว่าจังหวัดตราดจะมี ส.ส. เพียงคนเดียว แต่ก็มี บทบาททางการเมืองที่สำคัญไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ ซึ่ง ส.ส. จังหวัด ตราดเคยดำรงตำแหน่งทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง อาทิ หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม นายประชุม รัตนเพียร เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคมถึง 3 สมัย ส่วนนายธีระ สลักเพชร เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เลขานุการรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นอกจากตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลแล้ว ผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งให้เป็น ส.ส. จังหวัดตราด ล้วนได้สร้างคุณประโยชน์ นานัปการให้ชาวจังหวัดตราด เช่น นายธนิต ไตรวุฒิ ได้เสนอ ร่างการค้าขายระหว่างชายแดนไทยกัมพูชาในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายบรรลุ สุทธิวารีได้ขอ งบประมาณจากรัฐบาลกลางเพื่อสร้างแหล่งน้ำสำหรับ การเกษตร ส่วนนายธีระ สลักเพชร ได้สร้างสนามบินประจำ จังหวัดตราด สร้างท่าเทียบเรือ ก่อตั้งสมาคมชาวสวนผลไม้ สมาคมประมง และสมาคมการท่องเที่ยว เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เป็น ส.ส. จังหวัดตราด ที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยใช้กลยุทธ์ 129
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด “การอดข้าวและน้ำ” ซึ่งการเคลื่อนไหวของเขาในหลายๆ ครั้งมี ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร จึงเป็น ส.ส. จังหวัดตราดที่มีความโดดเด่นทางการเมืองอีกคนหนึ่ง นอกจากบทบาททางการเมืองแล้ว บรรดาอดีต ส.ส. จังหวัดตราด ยังให้การสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น นายทะ นิรันต์พานิช ได้ก่อตั้งโรงเรียนกิตติวิทยา เพื่อต้องการส่งเสริม การศึกษาที่ดีแก่บุตรหลานของคนเมืองตราด และทายาทของ นายทะ นิรันต์พานิชได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนมาจนถึง ปัจจุบัน ส่วนนายประชุม รัตนเพียร ได้จัดตั้งโรงเรียน พาณิชยการหลายแห่ง เช่น โรงเรียนดุสิตพณิชยการ โรงเรียน พณิชยการสีลม โรงเรียนรัตนพณิชยการ โรงเรียนนันทนวรวิทย์ โรงเรียนดุสิตพณิชยการ นนทบุรี และวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ซึ่งปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 1.4 ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ในด้านฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุนของนักการเมืองถิ่น จังหวัดตราด มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มของหัวคะแนน มีบทบาทมาก ในการเลือกตั้งในยุคก่อน ซึ่งกลุ่มหัวคะแนนได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงประชาชนที่มีสิทธิ เลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี อาจกล่าวได้ว่าหัวคะแนน เป็นบุคคลสำคัญที่จะกำหนดผลการเลือกตั้ง ดังนั้นหัวคะแนน ที่มีผู้มีสิทธ์เลือกตั้งอยู่ในความดูแลจำนวนมาก จึงเป็นที่ ต้องการของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ ประชาชน ซึ่งในยุคปัจจุบันนับว่ามีบทบาทมาก โดยจะเห็นได้ 130
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากการสร้างการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็งของนายธีระ สลักเพชร จนทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ถึง 6 สมัยติดต่อกัน ซึ่งเป็นวิธีการให้ชาวบ้านพูดคุยกันเอง ที่ สามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกในเครือข่ายได้ และที่สำคัญนายธีระ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของพี่น้องประชาชนชาวตราด 1.5 กลวิธีในการหาเสียง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด มีกลวิธีการหาเสียงที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่ได้พัฒนา รูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม การเลือกตั้งในอดีตมีการใช้เงินในการหาเสียงได้มากกว่าสมัย ปัจจุบัน และผู้สมัครจะใช้งบประมาณของตัวเองเป็นหลัก พรรคการเมอื งจะสนบั สนนุ ในบางสว่ นเทา่ นน้ั จงึ ทำใหน้ กั การเมอื ง บางคนใช้จ่ายมากเกินไปจนแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว บางราย แทบจะไม่มีเงินเหลือไว้รักษาตัวเองเมื่อยามเจ็บป่วย แต่ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีบทบาทมาก ในการตรวจสอบ จึงทำให้นักการเมืองใช้เงินหาเสียงเลือกตั้ง น้อยลง วิธีการหาเสียงที่ปรากฏในจังหวัดตราดคือ การลงพื้นที่ เพื่อพบปะประชาชนในลักษณะการเคาะประตูบ้าน หรือเยี่ยม บ้านในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส่วนการใช้รถกระจายเสียง ประชาสัมพันธ์ในช่วงการเลือกตั้งต้องใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง จึงทำให้นักการเมืองใช้น้อยลง หรือจะใช้ก็ต่อเมื่อใกล้ถึง วันเลือกตั้งจริงๆ อีกทั้งมีข้อจำกัดในด้านการใช้งบประมาณ 131
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ในการหาเสียง จึงทำให้นักการเมืองค่อนข้างระมัดระวังเรื่อง ค่าใช้จ่ายในหาเสียง การปราศรัย เป็นการหาเสียงในที่สาธารณะหรือใน ชุมชนโดยมีการพัฒนารูปแบบ วิธีการตามความสามารถ และ ความชำนาญของนักการเมือง นักการเมืองบางคนระดมบุคคล สำคัญของพรรคมาช่วยกันปราศรัยบนเวทีเพื่อแถลงนโยบายต่อ ประชาชน การจัดตั้งหัวคะแนนและแกนนำเครือข่ายเป็นการ มอบหมายให้บุคคลที่ไว้ใจได้ช่วยเหลือในการหาเสียง และ รักษาฐานเสียงในพื้นที่ต่างๆ ไว้โดยอาศัยนักการเมืองท้องถิ่น ในชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าชาวบ้านบางส่วนจะเชื่อถือผู้นำ ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันความ เชื่อถือเริ่มลดลงบ้างตามลำดับเพราะประชาชนมีหูตากว้าง ขวางขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่ายกว่าสมัยก่อน การใช้โปสเตอร์แนะนำตัวนักการเมืองยังเป็นที่นิยม ในจังหวัดตราด ถึงแม้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ต่างๆ ได้ ทั้งนี้ผู้สมัครจะใช้หัวคะแนนหรือทีมงานช่วยกัน ตระเวนติดตั้งป้ายโฆษณาหาเสียงของนักการเมืองในช่วงการ เลือกตั้งในที่ชุมชน สถานที่ราชการ ตามสี่แยกไฟแดง โดยใช้ สโลแกนที่แสดงถึงตัวตนของผู้สมัครตามนโยบายพรรค การเมืองที่ตนสังกัด สว่ นกลวธิ กี ารหาเสยี งทค่ี อ่ นขา้ งแตกตา่ งจากนกั การเมอื ง คนอื่นๆ คือ หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) ซึ่ง หลวงอรรถพรพิศาลจะใช้วิธีการเดินเข้าไปฝากเนื้อฝากตัวกับ 132
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ชาวบ้านในทุกท้องที่ในจังหวัดตราด ในขณะเดียวกันก็ซื้อใจ ประชาชนโดยการจ้างหนังกลางแปลงมาฉายให้ดู แถมมี ลอดช่องใส่โอ่งให้ประชาชนได้กินในขณะดูหนัง และข้อได้ เปรียบอีกประการหนึ่งคือ หลวงอรรถพรพิศาลมีศักดินาเป็นถึง หลวง จึงทำให้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนชาว จังหวัดตราด และเป็น ส.ส. จังหวัดตราดถึง 5 สมัยติดต่อกัน 1.6 เหตุ–ปัจจัยท่ีทำให้ได้รับเลือกตั้ง สำหรับประเด็นเหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกตั้งนั้น มีอยู่หลายประเด็น ได้แก่ ระดับการ ศึกษา การเข้าถึงประชาชน อุดมการณ์และการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และความมีน้ำใจ เสียสละ ชอบช่วยเหลือ 1.6.1 ระดับการศึกษา ในสมัยก่อนผู้คนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ยาก มากเมื่อเทียบกับสมัยนี้ เพราะฉะนั้นถ้าผู้สมัครที่มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่ประชาชนให้ความเชื่อมั่นในการเป็นตัวแทนตน ตัวอย่างเช่น นายเฉลา เตาลานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2480 มีการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และยังเป็นทนายความ อีกด้วย จึงสามารถเอาชนะการเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดตราดถึง 2 สมัยติดต่อกัน และคนอื่นๆ ที่มีการศึกษาสูงและได้รับการ เลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดตราด ได้แก่ เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร นายบรรลุ สุทธิวารี และนายธีระ สลักเพชร 1.6.2 การเข้าถึงประชาชน ซึ่ง ส.ส. จังหวัดตราดเกือบทุกคนที่ได้รับการ 133
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เลือกตั้งเพราะการเข้าถึงประชาชน แต่ที่ใช้วิธีการเข้าถึง ประชาชนที่แตกต่างไปกว่าคนอื่นๆ ได้แก่ หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) และนายธีระ สลักเพชร โดยหลวงอรรถพร- พิศาลเข้าถึงประชาชนโดยการเข้าหาประชาชนทุกตารางนิ้ว ไม่ว่าพื้นที่หาเสียงจะกันดารแค่ไหน หลวงอรรถพรพิศาลก็จะหา หนทางเข้าถึงประชาชนทุกวิถีทาง เช่น โดยรถยนต์ เดินเท้า และทางเรือ และขอฝากเนื้อฝากตัวกับประชาชนโดยกล่าวว่า “ช่วยเลือกผมหน่อยนะ” และการเข้าถึงประชาชนของหลวง อรรถพรพิศาลไม่เพียงแค่ขอคะแนน แต่ยังมีของฝากอีกด้วย สิ่งนั้นคือ หนังกลางแปลงและลอดช่องใส่โอ่งนำมาให้บริการ ประชาชน ส่วนนายธีระ สลักเพชรได้เข้าถึงประชาชนโดย การใช้กลยุทธ์ “การเมืองภาคประชาชน” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ประชาธิปัตย์ชุมชน” เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจประชาธิปไตย ที่แท้จริง และรู้เท่าทันการเมือง โดยให้สิทธิประชาชนได้เลือก ตัวแทนเครือข่ายการเมืองภาคประชาชน หรือประชาธิปัตย์ ชุมชนของแต่ละชุมชนขึ้นมาเอง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่ สนับสนุนนายธีระในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ นายธีระสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึงและสามารถ ชนะการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมากกว่าคูแข่งเกือบครึ่งหนึ่งใน การเลือกตั้งครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 1.6.3 อุดมการณ์และการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครสามารถชนะการ เลือกตั้งได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและจังหวะ ตัวอย่างเช่น 134
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร นายประชุม รัตนเพียร และ นายบรรลุ สุทธิวารี ซึ่งเป็นช่วงที่จังหวัดตราดกำลังต้องการ นักการเมืองหน้าใหม่ที่เข้ามาพัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวัด ด้วยความที่เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เป็นคนที่มีอุดมการณ์ ในด้านประชาธิปไตยสูง และพร้อมที่จะให้ประชาชนได้รับสิทธิ เสรีภาพที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเขาจึงได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. จังหวัดตราด ส่วนนายประชุม รัตนเพียร มีประสบการณ์ ในการทำงานบริษัทเอกชนมาก่อนจึงทำให้มีวิสัยทัศน์ในการ พัฒนาเปลี่ยนแปลง ประชาชนชาวจังหวัดตราดจึงเลือกให้เป็น ส.ส. ส่วนนายบรรลุ สุทธิวารี ด้วยความที่มีอุดมการณ์ในการ เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ประกอบกับการเป็นคนที่กล้าพูดกล้าทำ อยู่แล้ว จึงทำให้ประชาชนไว้ใจและเลือกเข้ามาเป็นตัวแทน ของตน 1.6.4 ความมีน้ำใจ เสียสละ และชอบช่วยเหลือ ซึ่งต้องยอมรับว่า นักการเมืองทุกคนมีประเด็นนี้ แต่ที่ชัดเจนที่สุด คือ นายธนิต ไตรวุฒิ กล่าวได้ว่านายธนิต มีน้ำใจและช่วยเหลือคนทุกระดับหรือที่เรียกว่า “บริการ ทุกระดับประทับใจ” แม้กระทั่งต้องขายกิจการบางอย่างของ ตนเอง ซึ่งประชาชนก็ไว้วางใจจนได้เป็น ส.ส. จังหวัดตราดถึง 3 สมัยติดต่อกัน และเหตุที่ไม่ได้รับเลือกในสมัยต่อมาไม่ใช่ว่า นายธนิตแพ้การเลือกตั้งแต่ประการใด เพียงแค่ท่านมีปัญหา สุขภาพจึงตัดสินใจไม่ลงแข่งขัน 135
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211