Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 47นักการเมืองถิ่นตราด

47นักการเมืองถิ่นตราด

Description: 47นักการเมืองถิ่นตราด

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด อีกสภาวะหนึ่ง ดังนั้นภาวะผู้นำแบบนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีบารมีสูง มาก เพราะจะต้องสร้างความศรัทธาและความไว้วางใจที่สูง องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการปฏิรูป มีดังนี้ (สมยศ นาวีการ, 2540: น. 225–226) 1. การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) คือความสามารถ ของผู้นำในการสร้างวิสัยทัศน์หรือมองอนาคตขององค์กรอย่าง ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และพยายามกระตุ้นให้ แต่ละคนในองค์กรมีวิสัยทัศน์ 2. การสร้างค่านิยม (Valuing creating) คือผู้นำจะ ต้องสามารถกำหนดค่านิยมพื้นฐานของการปฏิรูปองค์กรขึ้นมา และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร 3. การถ่ายทอดและการบันดาลใจ (Articulating and inspiring) คือความสามารถของผู้นำในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้ เป็นรปู ธรรม และต้องกระตุ้นให้ผู้ตามเข้าร่วมทีมด้วย 4. การกระจายอำนาจและการติดต่อสื่อสาร (Empowering and communication) หัวใจของความเป็นผู้นำเชิง ปฏิรูป คือ ความสามารถของผู้นำที่ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้น ให้ผู้ตามเห็นคุณค่าแห่งตน และมีโอกาสได้ใช้ความสามารถใน การแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กร องค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือ ผู้นำเชิงปฏิรูปมี 4 ประการ คือ (ธวัช บุณยมณี, 2550; Bass, 1990; Gomez – Mejia & Balkin, 2002) 36

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 1. ลักษณะพิเศษ (Charisma) คือ - สร้างวิสัยทัศน์หรือมองภาพในอนาคตขององค์การ ที่ดีกว่าปัจจุบันและกำหนดพันธกิจ - ใช้กลวิธีใหม่ๆ ในการทำงาน - ทำให้ผู้ตามเกิดความเชื่อมั่น - กล้าเสี่ยงเพื่อประโยชน์ขององค์กร - ใช้อำนาจส่วนตัวต่างๆ เช่น อำนาจความเชี่ยวชาญ - มีคุณสมบัติดึงดูดผู้ตาม 2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) โดย - การใช้คำพูดเพื่อให้ผู้ตามมั่นใจและกระตือรือร้น เช่น พดู เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความภาคภมู ใิ จ และสรา้ งขวญั กำลงั ใจ - การปฏิบัติ เช่น การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถ พิเศษได้ทำงานที่ท้าทาย - การคาดหวังหรือมองผู้ตามในด้านดีหรือเชิงบวก จะส่งผลให้ผู้ตามมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน - การสรา้ งความมน่ั ใจและสรา้ งความเชอ่ื ในอดุ มการณ์ โดยผู้นำจะต้องพยายาม ทำให้ผู้ตามเกิดความ เชื่อมั่นในอุดมการณ์ขององค์การให้ได้ 3. การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual stimulation) ผู้นำต้องส่งเสริมให้ผู้ตามใช้ปัญญา เหตุผล ความสุขุมรอบคอบ ในการแก้ปัญหา โดยหาแนวทางในการแก้ปัญหาวิธีใหม่อย่างมี ระบบ 37

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 4. การมุ่งความสัมพันธ์เป็นบุคคล (Individualized consideration) เป็นการเอาใจใส่ผู้ตาม โดยคำนึงถึงความ แตกต่างของแต่ละบุคคล โดยการคอยเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ สร้างความสัมพันธ์และพัฒนาผู้ตามให้มีความรู้ ความสามารถ เกิดความรับผิดชอบ เกิดความรักและผูกพัน และเต็มใจที่จะ อุทิศตนทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ความเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับด้าน อื่นๆ เรียกได้ว่าจะต้องมีการฝึกฝนภาวะผู้นำ (ประพันธ์ ผาสุก ยืด, 2541, น. 85) และผู้ที่จะนำการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจำเป็น ต้องมีภาวะผู้นำที่ดี คือ จะต้องให้โอกาสและกำลังใจแก ่ ทุกๆ คน และกล้าที่จะเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญ ตัวผู้นำเองก็จะต้องทำให้ดเู ป็นตัวอย่างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (Credibility) (ประพันธ์ ผาสุกยืด, 2541, น. 101) ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของทิชี่ (2542, น. 34–35) ที่กล่าวว่า องค์กรจะสำเร็จ ลุล่วงได้นั้น ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการจัดการกับการ เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้การบริหารมีความสลับ ซับซ้อนมาก ดังนั้นผู้นำที่สามารถปรับทิศทางได้จึงเป็นที่ ต้องการขององค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะเห็นได้ว่าภาวะผู้นำเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ และผู้ตามที่สามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของ องค์การหรือหน่วยงาน ซึ่งคนที่มีภาวะผู้นำจะต้องสามารถ โน้มน้าวให้เพื่อนร่วมงานปฏิบัติตามได้ ในขณะเดียวกันคนที่มี ภาวะผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งใดๆ แต่สามารถโน้มน้าวให้ ผู้ตามศรัทธาและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจและเต็มใจ 38

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีภาวะผู้นำทั้ง 4 ทฤษฎีมีความสำคัญต่อการศึกษานี้ ได้แก่ (1) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ซึ่งพิจารณาจาก ลักษณะทางกาย สติปัญญา และบุคลิกภาพ (2) ทฤษฎีภาวะ ผู้นำเชิงพฤติกรรม โดยเน้นทั้งคนและงาน (3) ทฤษฎีภาวะผู้นำ ตามสถานการณ์ โดยมุ่งไปที่พฤติกรรมของผู้นำและ สถานการณ์ และ (4) ทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำที่พยายามหาหนทางในการพัฒนาและปรับปรุงองค์การ โดยใช้วิธีการแบบใหม่ 2.4 หลักธรรมาภิบาล (Good governance) ในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สามารถทำไดง้ า่ ยขน้ึ ฉะนน้ั หลกั ความเสมอภาค ความเทา่ เทยี ม กัน จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกครองบนพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ทุกคนในสังคมเกิดมาบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ในยุคปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มให้ความสนใจใน หลักการที่เรียกว่า Good governance หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหลักการดังกล่าวได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยธนาคารโลก ได้ให้ความช่วยเหลือและทำการศึกษาการบริหารประเทศของ ประเทศแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ซง่ึ ประสบความลม้ เหลวในการบรหิ ารประเทศ ผลจากการศกึ ษา พบวา่ สง่ิ ทเ่ี หน็ ไดเ้ ดน่ ชดั มาก คอื ระบบภายในขาดการบรหิ ารทด่ี ี ผู้นำขาดความรับผิดชอบ ประชาชนขาดความเสมอภาค รัฐบาลขาดความโปร่งใส และประชาชนขาดการมีส่วนร่วมใน การบริหารประเทศ 39

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ในปี พ.ศ. 2540 ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศได้ยื่นมือช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ประสบกับวิกฤต เศรษฐกิจตกต่ำ แต่มีข้อแม้ว่าหากยอมรับความช่วยเหลือไป แล้ว ประเทศดังกล่าวจะต้องนำหลักการที่ธนาคารโลกได้คิดค้น ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการบริหารประเทศ นั่นก็คือหลักธรรมา- ภิบาล ซึ่งหลังจากนั้นประเทศเหล่านั้นก็สามารถแก้ไขปัญหา ที่เคยประสบในประเทศได้ ประเทศไทยเองก็ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 เช่นเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการ ก่อให้เกิดปัญหาคนตกงานเป็นจำนวนมาก สุดท้ายประเทศไทย จึงต้องจำใจ กู้เงินจากกองทุนเงินระหว่างประเทศเพื่อนำมา แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องยอม เซ็นสัญญารับหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารประเทศ โดย ได้นำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น 6 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. หลักนิติธรรม (Rule of law) ได้แก่ การตราหรือการ บังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรมกับทุกชนชั้นในสังคม โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน และสังคมต้องพร้อมใจปฏิบัติตาม กฎเหล่านั้น เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน 2. หลักคุณธรรม (Ethics) ได้แก่ การยึดมั่นในความ ถูกต้องโดยไม่ลำเอียง มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต 3. หลักความโปร่งใส (Transparency) ได้แก่ การปฏิบัติ หน้าที่โดยสุจริต ตรงไปตรงมาสามารถตรวจสอบและมองเห็น ได้ 40

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 4. หลักการมีส่วนร่วม (Public participation) ได้แก่ การ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการรับรู้ แสดงความคิดเห็น ในการตัดสินปัญหาที่สำคัญของประเทศ เช่น การทำประชา- พิจารณ์ และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับผิดชอบ ในผลงานของรัฐบาล 5. หลักความรับผิดชอบ (Responsiveness) หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ที่ตนเป็น รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกการกระทำ และต้อง ตระหนักอยู่เสมอว่าต้องทำงานให้กับประชาชนด้วยความ เต็มใจ โดยให้ระลึกเสมอว่าประชาชนจ้างเข้ามาทำงานด้วย เงินภาษีของเขา 6. หลักความคุ้มค่า (Value of money) คือการบริหาร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดหลัก ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนและประเทศชาติ (สำนักงาน ก.พ. สถาบันพัฒนา ข้าราชการพลเรือน, 2545; อรพินท์ สพโชคชัย, 2540) ในเรื่องความหมายของหลักธรรมาภิบาลนั้น องค์กร หลายแห่งในโลกได้นิยามไว้หลาย ความหมาย ตัวอย่างเช่น ธนาคารโลก (World Bank, 1992, น. 1) ได้ให้ความหมาย หลักธรรมาภิบาล ว่าเป็น “…วิธีการหรือแนวทางที่ดีที่สุดในการ ใช้อำนาจบริหารประเทศ โดยจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างชาญฉลาดเพื่อการพัฒนา (the manner in which power is exercised in the management of country is economic and social resources for development)” 41

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme: UNDP, 1997) ได้ให้ความ หมายของหลักธรรมาภิบาลว่าเป็นการใช้อำนาจที่มีอยู่ในทุกๆ ด้าน ทั้งทางกฎหมาย เศรษฐกิจ และอำนาจในการควบคุม มาใช้ในการดำเนินงาน โดยเอกชนก็ยังคงมีสิทธิพื้นฐานอยู่ เหมือนเดิม จะเห็นได้ว่า การบริหารประเทศโดยใช้หลักการบริหาร จัดการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐาน ทำให้ประเทศเกิด ความเชื่อมั่นสูงในสายตาของนานาอารยประเทศ ดังจะเห็นได้ ว่าก่อนที่ธนาคารโลกจะอนุมัติเงินกู้ให้แก่ประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทย ประเทศเหล่านั้นจะต้องตกลงเซ็นสัญญาว่าจะนำ หลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อความเป็น ธรรมแก่ประชาชนทั้งประเทศ 2.5 ปัจจัยที่ทำให้ชนะการเลือกต้ัง นอกเหนือจากปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น การเมือง และพรรคการเมือง การเลือกตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำและภาวะ ผู้นำ หลักธรรมาภิบาลแล้ว ค่านิยม อุดมการณ์ ลักษณะนิสัย ของคนไทย การโฆษณา และกระบวนการตัดสินใจลงคะแนน เสียงเลือกตั้ง ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ค่านิยม เป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของ แต่ละคน กล่าวคือ การมีค่านิยมที่แตกต่างกันของแต่ละคน ส่งผลให้การแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้น 42

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ค่านิยมจึงมีผลต่อทัศนคติ การรับรู้ ความต้องการ และการ ชักจูงของแต่ละคน (Rokeach, 1973) ความเชื่อและแนวคิดของ แต่ละคนในการยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่บุคคลหรือสังคมนิยม ชมชอบและเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรแก่การประพฤติปฏิบัติ จึงถือปฏิบัติในชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย ของตนเองหรือองค์การ (ยงยุทธ เกษสาคร, 2541) ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541) ได้ให้ความหมายของค่านิยมว่า เป็นการเห็นคุณค่าหรือนิยมชมชอบในตัวบุคคล สิ่งของ หรือ แม้กระทั่งความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งในด้านบวกและ ด้านลบ ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมของสังคม เช่น ค่านิยมของบุคคล ไดแ้ ก่ ความพงึ พอใจ ความซอ่ื สตั ย์ และความอสิ ระ สว่ นคา่ นยิ ม ของสังคม ได้แก่ ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง หรือความเป็นประชาธิปไตย ในขณะที่ สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545) และ Gibson (2000) ได้ให้ ความหมายของค่านิยมว่าเป็น ความเชื่อหรือแนวทางของ บุคคลที่ต้องนำมาใช้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือต้องเลือก ค่านิยมสามารถเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้จากบิดามารดา ครู เพื่อน สังคมตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยให้ แต่ละคนมีค่านิยมที่แตกต่างกัน (ศิริวรรณ และคณะ, 2541; Carrell, Jennings, & Heavrin, 1997) และค่านิยมยังสามารถเกิด ขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในวัยผู้ใหญ่ได้ จากเหตุการณ์ หรือ ประสบการณ์ต่างๆ เช่น เกิดธุรกิจล้มเหลว เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และการมีครอบครัวและมีบุตร ซึ่งเป็นการเรียนรู้ภายใต้เงื่อนไข และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน (Carrell, Jennings, & Heavrin, 43

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 1997) สามารถทำให้บุคคลเปลี่ยนค่านิยมได้ ตัวอย่างเช่น บางคนที่ไม่ชอบพฤติกรรมของบิดามารดาของตัวเองที่ แสดงออกต่อตน อาจเปลี่ยนความคิดเมื่อยามตนมีบุตร จะเห็นได้ว่า ค่านิยมเป็นความเชื่อทั้งในแง่บวกและ แง่ลบ เป็นสิ่งที่บุคคลใช้ในการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ ต่างๆ และค่านิยมยังสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ตามวัย ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมด้วย อุดมการณ์ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ลงสมัครรับ เลือกตั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ อันเนื่องมาจากบุคคลผู้นั้น ต้องการที่จะได้หรือจะเป็น ซึ่งเกิดจากอุดมการณ์ที่สั่งสมมา เป็นเวลานาน ดังที่ ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2548, น. 379) กล่าวว่า อุดมการณ์ คือ คตินิยม รูปแบบความเป็นไปได้ หรือวิธีการคิด ของกลุ่มคนที่มีความคงทนยาวนานมากกว่าคตินิยม และ Collier,s Dictionary (2006) ได้ให้ความหมายอุดมการณ์ว่า เป็นการผสมผสานกันของความเชื่อ (Beliefs) เจตคติ (Attitudes) และความคิดหลัก (Concepts) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดแนว ความคิดของแต่ละคน โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิก ของสังคมเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน เช่น คนที่สังกัด พรรคการเมืองเดียวกันจะยึดอุดมการณ์แนวคิดที่เหมือนหรือ คล้ายกัน เช่น ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2519, น. 235) ได้ให้ความ หมายของอุดมการณ์ว่า จะต้องเป็นเรื่องของความเชื่อที่มี เหตุผลหรือสอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งความเชื่อที่จัดเป็น อุดมการณ์จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นความเชื่อที่กลุ่มชนยอมรับ 44

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 2. ความเชื่อจะต้องมีความสำคัญต่อกลุ่มชน เช่น หลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิต การประพฤติปฏิบัติในสังคม 3. ความเชื่อนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คนสนใจ และสามารถ ใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตัวที่เป็นมาตรฐาน ในสังคม 4. ความเชื่อจะต้องสามารถดึงดูดคนในกลุ่มไว้ด้วยกัน หรือใช้สำหรับอ้างอิงในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2523, น. 26) ยังอธิบายต่อว่า อุดมการณ์เป็นความเชื่อที่สามารถอธิบายความเป็นมาในอดีต สภาพปัจจุบัน และชี้นำแนวทางที่ดีในอนาคตได้ จากความหมายของอุดมการณ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ดังนี้ อุดมการณ์เป็นความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมา จากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง สามารถจูงใจให้กลุ่มคนยึดถือร่วมกัน และสามารถนำมาเป็นมาตรฐาน แนวทาง หรือหลักเกณฑ์ใน การปฏิบัติในสังคม อุดมการณ์สามารถเสื่อมหรือเปลี่ยนแปลง ได้ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความเป็นจริง การที่บุคคลมีหน้าที่ รับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสถาบันหรือองค์กร ต่างๆ ที่ทำผิดจรรยาบรรณหรือจริยธรรมอยู่บ่อยๆ อาจทำให้คน ขาดความศรัทธาเลื่อมใสก็เป็นได้ ลักษณะนิสัยของคนไทย ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกนักการเมือง เพื่อเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นปากเป็นเสียงแทนตน ดังที่ เพ็ญแข วัจนสุนทร (2523) ได้กล่าวถึงลักษณะนิสัยของคนไทย 45

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ไว้ว่า คนไทยโดยส่วนใหญ่นิยมความสุภาพอ่อนโยน ไม่ชอบ ความก้าวร้าวมุทะลุ ไม่ตัดรอนหักหาญน้ำใจ มีความเมตตา กรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน และคนไทยยังมีความ กตัญญูกตเวที คือ ผู้ใดมีบุญคุณต่อตนจะต้องตอบแทน หาก ตอบแทนไม่ได้ ก็ต้องมีน้ำใจไมตรีตอบ ซึ่งคล้ายๆ กับแนวคิด ของจันทิมา เอียมานนท์ (2529, น. 309) ที่ได้กล่าวว่า “ค่านิยม ของคนไทยยกย่องนักการเมืองที่มีมารยาทดี มีสัมมาคารวะ และมีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน” คำกล่าวเหล่านี้มีพื้นฐานความคิดคล้ายๆ กับแนว ความคิดของ มณีรัตน์ ปิ่นวิเศษ (2550) จาก1 ใน 4 ประเด็น ของการเป็น “พลเมืองดีตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย” นั่น คือประเด็น “จารีตประเพณี” ซึ่งมณีรัตน์ได้กล่าวไว้ว่า จารีต ประเพณีวัฒนธรรมและค่านิยมเป็นสิ่งดีๆ ที่ได้ปฏิบัติสืบทอด กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เช่น บุตรจะต้องกตัญญูต่อ บุพการี ผู้น้อยต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ การมี น้ำใจไมตรีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันในสังคม ส่วนในประเด็น “การ ปลูกฝังความเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย” มณีรัตน์กล่าวถึง ประเด็น “การส่งเสริมปฏิบัติจนเป็นพลเมืองดีในระดับชุมชน และท้องถิ่น” ว่าเป็นการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การให้ความช่วยเหลือ เสียสละ สร้างความรักสมัครสมาน สามัคคีในสังคม เพื่อประโยชน์ของชุมชน จะเห็นได้ว่าคนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ กันในสังคม อ่อนน้อมถ่อมตน มีมารยาท ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อ ผู้อื่นมีความยากเย็นเข็ญใจ ตอบแทนบุญคุณต่อผู้ที่มีบุญคุณ ไม่ทำร้ายน้ำใจผู้อื่น ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม 46

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง การโฆษณา เป็นกิจกรรมในการนำเสนอสินค้าและ บรกิ ารผ่านสื่อประเภทต่างๆ และผโู้ ฆษณาจะต้องมีงบประมาณ ค่าใช้จ่าย (ม.ล. วิฏราธร จิรประวัติ, 2552, น. 1–14; สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์, 2548, น. 4) ในขณะที่ เสรี วงษ์มณฑา (2540, น. 5) ให้ความหมายของการโฆษณา ว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจให้คนซื้อสินค้าและบริการ โดยให้คำมั่นสัญญาที่จะ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในส่วนของการโฆษณาทางการเมือง เสถียร เชยประทับ (2551, น. 123–124) กล่าวว่าการโฆษณามีความสำคัญต่อ การเมือง 2 ประการ คือ (1) การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ผู้นำพรรคและนโยบายของพรรคการเมือง และ (2) ทำหน้าที่ใน การจูงใจประชาชน ในขณะที่ Trent and Friedenberg (1995) แบ่งการโฆษณาทางการเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. การโฆษณาเพื่อการนำเสนอหรือให้ข้อมูลด้านบวก ของผู้สมัคร ได้แก่ การกล่าวถึงจุดแข็งเพื่อสรรเสริญคุณงาม ความดีของผู้สมัคร 2. การโฆษณาเพื่อนำเสนอข้อมูลด้านลบของฝ่ายตรง ข้ามให้ประชาชนทราบ หรือมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม 3. การโฆษณาเพื่อตอบโต้การโจมตี หรือข้ออ้างอิงต่างๆ ซึ่งจะกระทำโดยทันท่วงที การโฆษณาทางการเมืองเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเมือง รวมถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และยังช่วย กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การโฆษณาเป็น 47

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด เครื่องมือที่ดีในการสร้างเครือข่ายทางการเมือง ดังนั้น การโฆษณาทางการเมืองอาจส่งผลให้ประชาชนมีจิตสำนึก ทางการเมืองมากขึ้นอีกด้วย (รสชงพร โกมลเสวิน, 2552, น. 3– 13) การโฆษณาทางการเมืองโดยพรรคการเมืองเพื่อโน้มน้าวให้ ประชาชนเลือกผู้สมัครในสังกัดพรรคตน เพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ผู้แทนราษฎรมากที่สุด (พนม คลี่ฉายา, 2553, น. 246) ในขณะ เดียวกัน พนม คลี่ฉายา (2553, น. 247–249) ได้แนะนำวิธีการ โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งหลายวิธี ได้แก่ การเดินพบปะ ประชาชน การปราศรัย การใช้หัวคะแนน การเผยแพร่ข่าวผ่าน สื่อต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ และวิทยุ สรียา ทับทัน (2548, น. 72) ได้กล่าวว่า ป้ายโฆษณา หาเสียงเลือกตั้งควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1. ข้อความในป้ายโฆษณา ด้วยเหตุที่ป้ายโฆษณา มีพื้นที่จำกัด ดังนั้นควรนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง และแนะนำตัวผู้สมัคร และควรเลือกสรรข้อความที่เข้าใจง่าย ประทับใจ และสามารถจดจำได้ทันที 2. สีและตัวอักษรในป้ายหาเสียง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ทางการเมืองของทั้งผู้สมัครและพรรคการเมือง ดังนั้นควรเลือก สีและตัวอักษรที่เหมาะสม และง่ายต่อการอ่านด้วย 3. รูปภาพและฉากประกอบ ในขณะที่ยุคสมัยเปลี่ยน ควรปรับให้ตรงกับสมัยนิยมเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของทั้งผู้สมัคร และพรรคการเมือง 48

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ศิวะพร ปัญจมาลา (2538, น. 36 – 71) ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ส. ผลการศึกษาสรุป ได้ว่า กระบวนการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1. ระยะข่าวสาร เป็นระยะที่ประชาชนจะเริ่มสนใจ ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัคร ตัวผู้สมัคร นโยบายพรรคและข้อมูลต่างๆ และประชาชน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และ เวทีปราศรัยหาเสียงต่างๆ ข้อมูลที่ได้รวบรวมในระยะนี้จะถูกนำ ไปใช้ในการประมวลผลในระยะที่ 2 2. ระยะหลักเกณฑ์ ระยะนี้ประชาชนจะนำข้อมูลที่ได้ใน ระยะที่ 1 มาพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครที่ตนจะลงคะแนนให้ ในเขตการเลือกตั้งนั้นๆ ส่วนผู้สมัครเองในช่วงนี้จะเป็นช่วงการ รณรงค์หาเสียงเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้กับตัวเอง 3. ระยะประเมิน เอาหลักเกณฑ์ในระยะที่ 2 มาประเมิน หรือกำหนดน้ำหนักคะแนน โดยจัดเรียงลำดับความสำคัญของ ผู้สมัคร โดยเริ่มต้นด้วยคนที่มีโอกาสได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็น คนแรกก่อน แล้วเรียงไปหาคนสุดท้าย ผู้ประเมินอาจจะยังไม่ ต้องตัดสินใจลงคะแนนให้ใครในขั้นตอนนี้ 4. ระยะตัดสินใจ เป็นช่วงการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ผู้ลงคะแนนอาจจะเลือกเพียง ส.ส. คนโปรดเพียงคนเดียวหรือ อาจจะเลือกคนอื่นด้วยก็ได้ เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ครบตาม กำหนด ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นบ้าง ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยบางอย่าง เช่น ข้าวของเงินทองที่ได้รับจากหัวคะแนน 49

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด จะเห็นได้ว่า กระบวนการตัดสินใจลงคะแนนเสียง เลือกตั้งเป็นการแสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจ ถูกหรือผิดก็ได้ เหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการศึกษาของแต่ละคน การพิจารณาเลือกสื่อและช่องทางในการโฆษณาเพื่อเข้าถึง ประชาชนให้มากที่สุด ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทั้งนักการเมือง และพรรคการเมืองควรให้ความสนใจ เพราะอาจเป็นหนึ่งใน หลายๆ ประเด็นที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ลงคะแนนเปลี่ยนใจมาเลือก ตนก็เป็นได้ 3. งานวิจัยที่เก่ียวข้อง พรชัย เทพปัญญา (2552) ได้ศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดชลบุรี หรือ ส.ส. ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง หรือสามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึงนักการเมืองคน ต่างๆ ได้ เช่นครอบครัว วงศาคณาญาติ และหัวคะแนน ในประเด็นเครือข่ายความสัมพันธ์ของนักการเมืองกับกลุ่ม ผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนทางการเมือง บทบาท ของพรรคการเมือง และกลวิธีที่ใช้ในการหาเสียงของ ส.ส. จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้ 1. ส.ส. จังหวัดชลบุรีจะเป็นคนที่อยู่ในชนชั้นนำของ จังหวัด มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์ใน การทำงานหรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่นมาก่อน ซึ่งเป็นการสืบทอด อำนาจในกลุ่มเครือญาติและเพื่อนสนิท 50

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 2. การเมืองในจังหวัดชลบุรีจะมีการแข่งขันกันอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเรารักชลบุรี ซึ่งมีตระกูลคุณปลื้มเป็นแกนนำ โดยมีฐานคะแนนอยู่ที่กลุ่มการเมืองท้องถิ่น เช่น องค์การ บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มพรรค ประชาธิปัตย์ ที่มีฐานคะแนนอยู่ที่กลุ่มประชาชนทั่วไป และ อาศัยกระแสพรรคเป็นสำคัญ 3. การสังกัดพรรคการเมืองใหญ่ และกระแสดี เพราะ ประชาชนในชลบุรีมีความนิยมเลือกพรรคการเมืองที่มีแนวโน้ม จะได้จัดตั้งรัฐบาล หรือหัวหน้าพรรคได้เป็นนายกรัฐมนตรี 4. ส.ส. จังหวัดชลบุรีใช้วิธีการหาเสียงโดยลงพื้นที่เพื่อ พบปะ ปราศรัยกับประชาชน ปราศรัยบนเวที การใช้สื่อต่างๆ เช่น ป้ายหาเสียง แผ่นพับแนะนำตัว ใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งใน พื้นที่ สื่อ และการใช้หัวคะแนน ศรุดา สมพอง (2550) ได้สำรวจเพื่อประมวลนักการเมือง ถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา และพบว่าคล้ายกับจังหวัดชลบุรี ยกเว้น ข้อ 3 1. ส.ส. จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นคนที่อยู่ในชนชั้นนำของ จังหวัด มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ ในการทำงานหรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่นมาก่อน 2. การเมืองเป็นลักษณะของการสืบทอดอำนาจ โดยเฉพาะในกลุ่มเครือญาติ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม อิทธิพลทางการเมือง 51

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 3. ส.ส. จังหวัดฉะเชิงเทราไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ พรรคการเมืองที่ตนสังกัดเท่าใดนัก เพราะประชาชนในจังหวัด ฉะเชิงเทราจะยึดที่ตัวบุคคลเป็นหลัก 4. ส.ส. จังหวัดฉะเชิงเทราใช้วิธีการหาเสียงโดยลงพื้นที่ เพื่อพบปะ ปราศรัยกับประชาชน ปราศรัยบนเวที การใช้สื่อ ต่างๆ ใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งในพื้นที่ และการใช้หัวคะแนน ผู้ซึ่งมีบารมีในพื้นที่ เช่น สมาชิก อบจ. สมาชิก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นต้น นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2555) ได้ศึกษานักการเมือง ถิ่นจังหวัดสระแก้ว พบว่านักการเมืองถิ่นจังหวัดสระแก้ว ทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของ “ตระกูลเทียนทอง” มาเป็นเวลา นานกว่า 30 ปี และยังมีแนวโน้มว่าจะคงอยู่ต่อเนื่องไปอีกนาน จนกว่ากลุ่มเทียนทองจะเลิกเล่นการเมือง หรือมีกลุ่มการเมือง อื่นที่จะสามารถเข้ามาแข่งขัน และการที่จะเข้ามาแข่งขันได้ จะต้องสามารถเข้ามาประสานเชื่อมโยงผลประโยชน์ระหว่าง หน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หอการค้า องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ภาคเอกชนต่างๆ ภาคประชาชน องค์กรเอกชน ตลอดจนต้อง สามารถประสานประโยชน์กับเวทีการเมืองในระดับประเทศ และสมาชิกวุฒิสภาในระดับจังหวัด พรชัย เทพปัญญา และ พงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) ได้ศึกษา เพื่อประมวลนักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ และ พรชัย เทพปัญญา (2549) ได้ศึกษาเพื่อประมวลนักการเมืองถิ่นจังหวัด 52

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ปทุมธานี โดยพบความคล้ายกันของการเมืองถิ่นทั้ง 2 จังหวัด คือ 1. นักการเมืองถิ่นส่วนใหญ่มีการศึกษาดี ฐานะดี และ มีชื่อเสียงในจังหวัด 2. นักการเมืองถิ่นส่วนใหญ่จะใช้บารมีของตนเองในการ หาเสียงมากกว่าพรรคการเมือง 3. ในการเลือกตั้ง กลุ่มผลประโยชน์มีความสัมพันธ์ กับ ส.ส. ค่อนข้างน้อย และระบบราชการคือ ตัวแปรที่สำคัญ วงธรรม สรณะ (2553) ทำการศึกษาเรื่อง พฤติกรรม ประชาธิปไตยของประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมประชาธิปไตยและปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค ต่อการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 2,842 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถ่ี รอ้ ยละ และคา่ เฉลย่ี ผลการศกึ ษาพฤตกิ รรมประชาธปิ ไตย ของประชาชนในท้องถิ่น เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ในแต่ละ ด้านประชาชนมีพฤติกรรมประชาธิปไตยสูงและต่ำ โดยจำแนก ดังนี้ 1. ด้านการรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ประชาชนไปลง คะแนนเสียงเลือกตั้งร้อยละ 46.6 2. ด้านการยึดถือประโยชน์ของส่วนรวม ในด้านการ ให้โอกาสเพื่อนบ้านร่วมแสดงความสามารถในที่สาธารณะ ร้อยละ 68 53

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 3. ด้านการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น การพูดสุภาพ กับทุกคนโดยไม่แบ่งชนชั้น ร้อยละ 78.6 4. ส่วนข้ออื่นๆ เช่น ยอมรับมติและกติกาที่ส่วนรวม ร่วมกันกำหนด ยอมรับและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของชุมชน หรือท้องถิ่น ยอมรับและปฏิบัติตามเสียงข้างมาก เข้าแถวตาม ลำดับก่อนหลัง เมื่อมาใช้บริการ มีการปฏิบัติในเกณฑ์สูง มากกว่า ร้อยละ 82 5. ด้านการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พบว่าประชาชน ในท้องถิ่นรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อายุน้อยกว่า ร้อยละ 84.2 6. ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า มีส่วนร่วมใน การฟังปราศรัย เมื่อมีเวทีหรือมีการจัดให้มีการปราศรัยหาเสียง ของนักการเมือง ร้อยละ 78 7. สำหรับด้านที่มีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับต่ำ และควรได้รับการส่งเสริม เพราะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ประชาธิปไตย 8. ด้านการรู้จักบทบาทหน้าที่ พบว่า ประชาชนเข้าใจว่า ขยะ สิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแล มิใช่หน้าที่ของประชาชน ร้อยละ 30.7 9. ดา้ นการยดึ ถอื ประโยชนข์ องสว่ นรวม พบวา่ ประชาชน ร้อยละ 60.6 จะเก็บสาธารณสมบัติที่มาใช้เป็นสมบัติส่วนตน 10. ด้านการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นพบว่า หาก ประชาชนทราบว่าผู้เสนอความคิดเห็น มีการศึกษาต่ำกว่าตน ก็จะไม่ให้ความสำคัญของข้อเสนอนั้น ถึงร้อยละ 61.3 54

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง จากผลการวิจัยที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าประชาชนใน จังหวัดจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดชลบุรีมีความคิดที่แตกต่าง กันในการลงคะแนนเลือก ส.ส. กล่าวคือ จังหวัดชลบุรีจะมองที่ พรรคการเมืองว่าพรรคใดมีแนวโน้มที่จะได้เป็นรัฐบาล หรือ หัวหน้าพรรคจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนประชาชนในจังหวัด ฉะเชิงเทรากลับมองที่ตัว ส.ส. เป็นหลัก ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ ประชาชนของทั้งสองจังหวัดใช้ในการพิจารณาในการลงคะแนน เลือกตั้งมีความคล้ายคลึงกัน ปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ที่ช่วยให้ นักการเมืองชนะการเลือกตั้ง ได้แก่ นักการเมืองที่มีฐานะดี มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์ในการทำงานหรือเคยเป็น ผู้นำท้องถิ่นมาก่อน และได้รับการสืบทอดอำนาจจากกลุ่ม เครือญาติหรือเพื่อนสนิท จะเห็นได้ว่าบางจังหวัดประชาชนให้ ความสนใจในตัวบุคคลมากกว่าพรรคการเมือง และบางจังหวัด จะมีนักการเมืองบางตระกูลที่ผูกขาดการเลือกตั้งอยู่แล้วไม่ว่า จะสังกัดพรรคการเมืองใด ส่วนเรื่องพฤติกรรมประชาธิปไตยของประชาชนใน ท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ประเด็นที่ได้คะแนนสูงสุดคือการรับ ฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่อายุน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน ประชาชนเริ่มให้ความสนใจในความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ประเด็นที่ได้คะแนนรองลงมาคือการเข้าแถวเมื่อมารับบริการ ต่างๆ ประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่าความมีวินัยเริ่มจะเกิดขึ้นจริง ในสังคมไทยแล้ว ประเด็นการรู้จักบทบาทหน้าที่ เช่น การดูแล ความสะอาดในที่สาธารณะเป็นประเด็นที่ได้คะแนนน้อยที่สุด เพราะประชาชนโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่าไม่ใช่หน้าที่ที่ตนต้องรับ ผดิ ชอบ ในดา้ นการลงคะแนนเสยี งเลอื กตง้ั มเี พยี งไมถ่ งึ รอ้ ยละ 50 55

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด พุทธชาติ เชื้อไทย (2547) ได้ศึกษา “พฤติกรรมการ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษา กรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตําบลบางปู จังหวัด สมุทรปราการ” เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2546 จุดประสงค์ของ การวิจัยคือ 1) ศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ท้องถิ่นในรูปแบบของเทศบาล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเทศบาลตําบลบางปู จํานวน 194 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นเพศชายมากกว่า เพศหญิง โดยมีอายุระหว่าง 21- 30 ปีมากที่สุด จบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมี รายได้ต่อเดือน 5,001 - 15,000 บาทต่อเดือน และประกอบ อาชีพรับจ้าง สาเหตุของการไปใช้สิทธิเลือกตั้งเนื่องจาก ต้องการได้คนที่ตนพอใจไปเป็นตัวแทน ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ ข่าวสารทางป้ายโฆษณาและแผ่นปลิว ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงมี 3 ด้าน โดยด้านคุณสมบัติของหัวหน้าพรรคการเมืองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านคุณสมบัติของพรรคการเมือง และคุณสมบัติของ ผู้สมัครตามลําดับ สําหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยกลุ่มการเมืองหรือตัวบุคคล ซึ่งได้แก่ คุณสมบัติของผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลง คะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลตําบลบางปู จังหวัด สมุทรปราการ 56

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ปาจรีย์ อ่อนสอาด (2548) ทำการศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์ การสื่อสารโน้มน้าวใจผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง: กรณีศึกษา การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2547” งานวิจัยนี้เป็นแบบ ผสม (Mixed method) ผลการศึกษาพบว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรู้จัก ผู้สมัครผ่านทางป้ายโฆษณา โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตาม ลำดับ ผู้สมัครใช้กลยุทธ์การหาเสียงที่อิงการตลาดเพื่อดึงดูด ความสนใจของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง เช่น การกำหนดกลุ่ม เป้าหมาย การกำหนดภาพลักษณ์ ด้วยการใช้รูปแบบ โทนสี สโลแกน และลีลาการใช้ภาษาในรปู แบบต่างๆ เป็นต้น จากการทบทวนเอกสาร งานวิจัย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวมาข้างต้น พบว่า ถึงแม้ว่าจังหวัดตราดจะเป็นจังหวัด เลก็ ๆ มปี ระชากรนอ้ ย และมี ส.ส. ไดเ้ พยี ง 1 คน แตน่ กั การเมอื ง มีศักยภาพสูงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น เคยเป็นรัฐมนตรีช่วย รัฐมนตรีหลายกระทรวงและหลายสมัย และนักการเมืองจังหวัด ตราดยังดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแห่ง อีกทั้ง ในแง่ของการพัฒนาจังหวัดก็มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้เห็นอีก มากมาย แนวคิดเรื่องการเมืองและพรรคการเมืองเป็นเรื่อง ที่สำคัญทั้งต่อนักการเมืองและประชาชน เพราะถ้านักการเมือง เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ความหมายที่นักวิชาการทั้งไทย และต่างประเทศจะช่วยให้นักการเมืองทราบว่า การเมืองคือ การแสวงหาอำนาจ และจัดสรรสิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่ประชาชน โดยยึดหลักความเป็นธรรม ส่วนประชาชนก็สามารถพิจารณา มาตรฐานการเปน็ นกั การเมอื งทด่ี ี ทส่ี ามารถชว่ ยในการตดั สนิ ใจ เพื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่วนเรื่องพรรคการเมืองก็สามารถ 57

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด บอกได้ว่านักการเมืองคนไหนมีอุดมการณ์หรือแนวคิด เพราะ พรรคการเมืองแต่ละพรรคโดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือกผู้สมัครหรือ นักการเมืองที่มีอุดมการณ์เหมือนหรือคล้ายกัน พรรคการเมือง จะไม่เลือกบุคคลที่มีแนวคิดที่ต่างกันแบบสุดโต่งมาร่วมงาน ซง่ึ การเลอื กตง้ั มี 3 ประเภท ไดแ้ ก่ การเลอื กตง้ั ทว่ั ไป การเลอื กตง้ั ซ่อม และการเลือกตั้งซ้ำ และการเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเลือกทั้งบุคคลและ พรรคการเมืองที่ตนเองเห็นว่าสามารถทำหน้าที่แทนตนในสภา ผู้แทนราษฎรได้ ส.ส. คือบุคคลที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย กำหนด และประชาชนคิดว่าบุคคลผู้นั้นสามารถเป็นตัวแทน หรือศูนย์กลางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชนของตน ส่วนผู้นำคือคนที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสั่งการ หรือ โน้มน้าวให้ผู้ตามปฏิบัติตามคำสั่งด้วยความเต็มใจเพื่อบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้ ภาวะผู้นำเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและ ผู้ตามที่สามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ หรือหน่วยงาน หลักธรรมาภิบาลก็เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่นักการเมืองหากนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง และจริงใจ และประชาชนทุกคนในสังคมก็จะได้ประโยชน์อย่าง เท่าเทียมกันหากหลักธรรมาภิบาลกลายเป็นหนึ่งในมาตรฐาน ของเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และประชาชน สามารถใช้หลักธรรมาภิบาลประกอบการตัดสินใจก่อนหย่อน บัตรเลือกตั้งลงหีบ ส่วนประเด็นค่านิยม อุดมการณ์ ลักษณะ นิสัยของคนไทย และการโฆษณาทางการเมือง ก็อาจเป็น เครื่องมือที่สำคัญในการพิจารณาว่าจะเลือกใครให้ไปทำหน้าที่ ในการเป็นปากเป็นเสียงแทนตน ทั้งนี้เพราะบางครั้งคุณสมบัติ 58

ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ของผู้สมัคร เช่น การศึกษา อาชีพ และภูมิหลังของแต่ละคน มีความคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันจนทำให้ประชาชนรู้สึก ลำบากใจว่าจะเลือกใครดี ดังนั้นประเด็นเหล่านี้จึงเป็น เครื่องมือช่วยตัดสินใจที่ดีอีกเครื่องมือหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ 59

บ3ทท ่ี ข้อมูลนักการเมืองถิ่น : จังหวัดตราด จากการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และการสังเกต ในระหว่างสัมภาษณ์ ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ต้ังแต่ พ.ศ. 2476–ปัจจุบัน นักการเมืองถิ่น หมายถึง นักการเมืองที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในจังหวัดตราด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ และการสังเกต ระหว่างสัมภาษณ์ ส.ส. คนแรกของจังหวัดตราด คือ นายทะ นิรันต์พานิช ได้รับการเลือกตั้งเมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ทำหน้าที่จน ครบวาระ โดยสิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และ ส.ส.

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น คนปัจจุบัน คือนายธีระ สลักเพชร ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ จังหวัด ตราดมีประชากร 220,921 คน ทำให้จังหวัดตราดมี ส.ส. แบบ แบ่งเขตเลือกตั้งได้ 1 คน จังหวัดตราดมีผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็น ส.ส. ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ ตารางท่ี 2 การเลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จงั หวดั ตราด ครั้งท่ี วัน/เดือน/ป ี ชื่อ - สกุล พรรค - 1 15 พ.ย. 2476 นายทะ นิรันต์พานิช - - 2 7 พ.ย. 2480 นายเฉลา เตาลานนท์ - 3 12 พ.ย. 2481 นายเฉลา เตาลานนท์ - 4 6 ม.ค. 2489 หลวงอรรถพรพิศาล - (อัมพร สูตะบุตร) - 5 29 ม.ค. 2491 หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สตู ะบุตร) - 6 26 ก.พ. 2495 หลวงอรรถพรพิศาล สหประชาไทย (อัมพร สูตะบุตร) ธรรมสังคม ธรรมสังคม 7 26 ก.พ. 2500 หลวงอรรถพรพิศาล ประชาธิปัตย์ (อัมพร สตู ะบุตร) ประชากรไทย ประชาธิปัตย์ 8 15 ธ.ค. 2500 หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สตู ะบุตร) 9 10 ก.พ. 2512 นายประชุม รัตนเพียร 10 26 ม.ค. 2518 นายประชุม รัตนเพียร 11 4 เม.ย. 2519 นายประชุม รัตนเพียร 12 22 เม.ย. 2522 เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร 13 18 เม.ย. 2526 นายประชุม รัตนเพียร 14 27 ก.ค. 2529 พ.อ. สาคร กิจวิริยะ 61

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด คร้ังท ี่ วนั /เดอื น/ปี ชือ่ - สกลุ พรรค ประชาชน 15 24 ก.ค. 2531 นายธนิต ไตรวุฒิ ชาติไทย ชาติพัฒนา 16 22 มี.ค. 2535 นายธนิต ไตรวุฒิ เสรีธรรม ประชาธิปัตย์ 17 17 ก.ย. 2535 นายธนิต ไตรวุฒิ ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ 18 2 ก.ค. 2538 นายบรรลุ สุทธิวารี ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ 19 17 พ.ย. 2539 นายธีระ สลักเพชร ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ 20 6 ม.ค. 2544 ผศ. ดร. บุญส่ง ไข่เกษ (เขต 1) 20 6 ม.ค. 2544 นายธีระ สลักเพชร (เขต 2) 21 6 ก.พ. 2548 นายธีระ สลักเพชร 22 2 เม.ย. 2549 นายธีระ สลักเพชร 23 3 ธ.ค. 2550 นายธีระ สลักเพชร 24 3 ก.ค. 2554 นายธีระ สลักเพชร 2 . นักการเมืองถ่ิน เส้นทางสู่การเมือง ประสบการณ์ทางการเมือง บทบาททางการเมือง ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน กลวิธีในการหาเสียง เหตุ-ปัจจัยที่ทำให้ได้รับเลือกตั้ง และบุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง การนำเสนอประวัติความเป็นมาของ ส.ส. จังหวัดตราด เสน้ ทางหรอื แรงบนั ดาลใจสกู่ ารเมอื ง ประสบการณท์ างการเมอื ง บทบาททางการเมือง ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน กลวิธีในการ หาเสียง เหตุ-ปัจจัยที่ทำให้ได้รับเลือกตั้ง และบุคลิกลักษณะ 62

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น นิสัยของนักการเมือง สำหรับวิธีการศึกษานั้นผู้วิจัยใช้ข้อมูล ทุติยภูมิ (เอกสารจากอินเทอร์เน็ต) การสัมภาษณ์ ส.ส. ทั้งใน อดีตและปัจจุบัน รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีความรู้ในเรื่อง การเมืองของจังหวัดตราด สำหรับกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ได้ เสียชีวิตไปแล้ว บางคนไม่สามารถติดต่อในการสัมภาษณ์ได้ และบางคนไม่ยินดีให้ข้อมูล ดังนั้นในบางส่วนผู้วิจัยจึงใช้ข้อมูล ทุติยภูมิที่สืบค้นได้จากเอกสารทั่วไปแทนการสัมภาษณ์ ซึ่งใน การนำเสนอข้อมูลจะเรียงตามลำดับการเป็น ส.ส. ดังแสดงใน ตารางที่ 2 นายทะ นิรันต์พานิช นายทะ นิรันต์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2444 ณ บ้านตรอกริมคลอง ต. บางพระ อ. เมือง จ. ตราด ได้รับ เลือกตั้งเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดตราดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 และเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเชิญ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่ได้รับพระราชทานมาประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดตราด เมื่อ 10 ธันวาคม 2475 ขณะดำรง ตำแหน่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ ได้แก่ 1. การแก้ไขกฎหมาย ให้ผ่อนผันยกเว้นค่าภาคหลวง ในการทำเรือน การประมง และกสิกรรม 2. ด้านการศึกษา 2.1 เสนอขอเปิดโรงเรียนประถมศึกษาทุกตำบลใน จังหวัดตราด 63

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 2.2 เสนอขอรัฐบาลเพิ่มเงินเดือนครูประชาบาล 3. ด้านการคมนาคม เสนองบประมาณซ่อมแซม ปรับปรุง ถนนสายตราด–แหลมงอบ สายท่าเรือจ้างและสาย ตราด–วังกระแจะ 4. ขณะดำรงตำแหน่งได้รับเกียรติจากรัฐบาล แต่งตั้ง เป็นคณะกรรมการพิจารณาร่าง กฎหมายหลายครั้ง นายทะได้ก่อตั้งโรงเรียนกิตติวิทยาขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2484 โดยมีเจตนารมณ์ในการก่อตั้ง เพื่อ ต้องการจัดการศึกษาที่ดีให้แก่บุตรหลานของคนเมืองตราด ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และเพื่อแบ่งเบา ภาระของรัฐบาลในการจัดการศึกษา (โรงเรียนกิตติวิทยา, 2556) ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ต่อข้อคำถามที่ว่านายทะ นิรันต์พานิชได้สร้างอะไรไว้ บ้างในขณะที่เป็น ส.ส. จังหวัดตราด ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 เล่าเท่าที่จำได้จากการฟังต่อมาจากคนรุ่นก่อนว่า “โอ้ย จำได้ สมัยย่ายังไม่เกิด สมัยก๋งกั๋งยังไม่เกิด...เขาสร้างถนนตาม หมู่บ้านอย่างนี้ วัดวาอารามนั่นแหละก็ว่าไป สมัยนี้กับสมัย โบราณจะเอาอะไรนะ สมัยโบราณยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงก็ยังไม่มี ถนนก็ดินแดงแต่ก่อนก็ไม่มีอะไร…” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลบางคนที่มีความรู้เกี่ยวกับนายทะ นิรันต์พานิช ไม่ยินดีที่จะให้ข้อมูล และนายทะเป็น ส.ส. คนแรก ในสมัย พ.ศ. 2476 จึงหาข้อมูลได้เฉพาะในเว็บไซต์แนะนำ 64

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน โรงเรียนของโรงเรียนกิตติวิทยาเท่าที่ปรากฏ จึงไม่สามารถตอบ ในประเด็นพื้นฐานต่างๆ เช่น อาชีพก่อนลงเล่นการเมือง ผลงานในขณะเป็น ส.ส. สาเหตุที่ได้รับเลือกตั้ง และข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญ นายเฉลา เตาลานนท์ นายเฉลา เตาลานนท์ เป็นอดีต ส.ส. จังหวัดตราด 2 สมัย คือ ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 และในการเลือกตั้งครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ผลงานและบทบาททางการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 10 อายุ 93 ปี เคยอาศัยอยู่กับ นาย เฉลา เตาลานนท์ ในสมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ซึ่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียน ต. หนองโสน กล่าวว่า “ตอนนั้นสินค้าราคาตกต่ำ ข้าวของขาดแคลน แกก็ไปช่วยเอาผ้า เอาอะไรนี่มาแจก มาขาย ให้พี่น้อง ชาวจังหวัดตราดนี่แหละครับ...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวเสริมว่า “...เขาก็พัฒนา ถนนหนทาง บ้านเมืองก็ว่ากันไป เขาก็พัฒนาท้องถิ่น เขาก็ ช่วยเหลือราษฎรยากจนอย่างเรานี่แหละ...” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) 65

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 10 กล่าวในประเด็นฐานเสียงของ นายเฉลา เตาลานนท์ ว่า “…เขาจบเนฯ จบกฎหมายนะ ได้มา ที่นี่ มาสมัครก็ไม่มีใครมาสู้เพราะว่าสมัยก่อนมีคนจบปริญญา น้อยไม่มีคู่แข่ง...ญาติ คือลุงเนี่ยเขาอพยพจากจังหวัดตราด ไปอยู่นครปฐมก่อนมาเป็น...มานี่ก็มาเป็นนายกเทศมนตรี ที่โนนสะอาดน่ะ...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุนของนายเฉลาส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มญาติพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่หาเสียงรวมถึงเพื่อนฝูง ข้าราชการที่รู้จักกัน กลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวถึงกลวิธีในการหาเสียงของ นายเฉลาว่า “...หาอย่างนี้แหละธรรมดา แกช่วยเหลือ ประชาชน...ไม่มีการซื้อเสียง ไม่มีฐานเสียง มีแต่ชาวบ้าน...” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 10 กล่าวสนับสนุนความคิดของผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 12 ว่า “เวลาหาเสียงนะ ส่วนมากจะเดิน บ้านไหนมีงานมีการแกก็ไปช่วยเขา...มาคุ้นเคยกับชาวจังหวัด ตราด เราก็ว่าเขามีเครือญาติอยู่จังหวัดตราดนี่ พื้นเพตระกูล ก็อยู่เนี่ยตำบลหนองโสนนี่...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) นายเฉลาไม่ได้มีกลวิธีอะไรเป็นพิเศษในการหาเสียง เนื่องจากก่อนลงสมัคร ส.ส. มีตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรี จังหวัดตราดมาก่อน จึงเป็นที่รู้จักของชาวบ้านอยู่แล้ว ใช้เพียง 66

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน วิธีการเดินสายพบปะชาวบ้าน และบอกให้ชาวบ้านทราบว่าตน ได้ลงสมัคร ส.ส. โดยแจกนามบัตรไว้ให้พร้อมกับกล่าวขอ คะแนนด้วยประโยคที่ว่า “ช่วยผมหน่อยนะ ผมจะสมัคร ส.ส.” ส่วนในเรื่องโปสเตอร์ ป้ายประกาศ หรือ รถประชาสัมพันธ์ ยังไม่ปรากฏให้เห็นในช่วงเวลานั้น จะมีก็เพียงการโปรยใบปลิว แนะนำตัวตามท้องที่ต่างๆ เหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกต้ัง ผลจากการสัมภาษณ์และศึกษาจากเอกสารพบว่า เนื่องจากในสมัยที่นายเฉลาลงแข่งขันนั้นเขามีคู่แข่งน้อยมาก และเมื่อเทียบระดับการศึกษากับคู่แข่งคนอื่นๆ แล้ว นายเฉลา มีความได้เปรียบคู่แข่งอยู่มาก เพราะเขาจบการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต และยังเป็นทนายความ อีกด้วย รวมถึงความขยันลงพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านรับรู้ถึงความ ตั้งใจที่จะอาสารับใช้พี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง จึงไม่ใช่เรื่อง ยากที่นายเฉลาจะสามารถกอบโกยคะแนนเสียงได้ถึง 2 สมัย บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง นายเฉลาเป็นคนที่ใจดี มีเมตตา ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน เมื่อยามตกทุกข์ได้ยาก อย่างเมื่อครั้งที่สินค้าขาดแคลน จน ชาวบ้านไม่สามารถหาซื้อได้ เขาได้นำสินค้าดังกล่าวมา แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน แต่ในทางกลับกันนายเฉลาก็เป็นคนที่ เสียงดังฟังชัดและเด็ดขาด จนดเู หมือนจะเป็นคนดุ 67

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) เป็นอดีต ส.ส. ของจังหวัดตราด 5 สมัย คือ - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2491 - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ผลงานและบทบาททางการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวถึงบทบาททางการเมือง ของหลวงอรรถพรพิศาล ว่า “ผลงานของเขาคือเอาเงินมาเข้า หมู่บ้าน เอาเงินมาช่วยคนจน ช่วยเหลือประชาชนนะ…กลุ่ม หาเสียงก็ไม่มีหรอก มีก็มากันสี่คนห้าคน มาขอความกรุณา ให้เลือกตนโดยมีวลีว่า “ผมนายอรรถพรพิศาลนะ อยากเป็น ผู้แทนดูแลท่านเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของท่าน...เขาบอกแค่นี้ เอง…” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) 68

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น หลวงอรรถพรพิศาล เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยที่จอมพล แปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 11 มกราคม พ.ศ. 2494 หลังจากนั้น หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สตู ะบุตร) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยมีนายเสมอ กัณฑาธัญ เป็น รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากมีคณะบริหาร ประเทศชว่ั คราว ประกาศใชร้ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รสยาม ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 กลับมาใช้เมื่อวันที่ 29 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2494 (กระทรวงยตุ ธิ รรม, 2556; คณะรฐั มนตร,ี ม.ป.ป.; อาร์วายทีไนน์, 2539) ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน เมื่อถามถึงประเด็นฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้ สัมภาษณ์คนที่ 12 ตอบว่า “ไม่มี หัวคะแนนน่ะ เขาไม่มีหรอก สมัยนั้นเขาหาเสียงกัน อย่างหลวงอรรถฯ ก็มีหนังให้ดูนะ…” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 14 กล่าวว่า “ไม่มีฐานเสียง” เช่นกัน (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 เสริมว่า “…หลวงอรรถเขาตีแตก หมดเลย หลวงอรรถเขาพวกมาก เขาคนรวย เขาพวกคุณพระ เขาก็มีหนังมาฉายให้คนเฒ่าคนแก่ดูเฉยๆ หาเสียงเขาไม่ได้มา ด้วยเงินด้วยทอง…” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) 69

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ในสมัยก่อนไม่ค่อยเน้นการใช้ฐานเสียงหรือกลุ่มสนับ- สนุนเหมือนในสมัยปัจจุบัน วิธีการหาเสียงของหลวงอรรถพร- พิศาล ก็คือการเดินเข้าไปฝากเนื้อฝากตัวกับชาวบ้าน อาจจะมี คนรู้จักติดตามไปด้วยประมาณ 3–4 คน ส่วนในบางท้องที ่ ที่ถนนเข้าไม่ถึงหมู่บ้าน หลวงอรรถพรพิศาลและคณะก็จะนั่งรถ ไปลงที่หน้าหมู่บ้าน แล้วอาศัยวิธีเดินเท้าต่อเข้าหมู่บ้าน ส่วนใน พื้นที่ทุรกันดารที่ถนนยังเข้าไม่ถึง หลวงอรรถพรพิศาลก็จะ เดินทางด้วยวิธีอื่นแทน เช่น ใช้เรือเครื่องหรือเรือพายแล้วแต่ โอกาสจะอำนวยเพื่อเข้าหาประชาชนที่อยู่ห่างไกล กลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวถึงวิธีการหาเสียงของ หลวงอรรถพรพิศาลว่า “…เดินก็มี รถก็มี แต่เขาก็ไม่ต้องเสียเงิน เสียทอง เขาหาแบบธรรมชาติ หาเสียงโดยปกติ อืม...โดยที่ไม่ ต้องเสียเงินนะ เขาพายเรือข้ามคลอง พายเรือข้ามฝั่งแล้ว เดนิ เทา้ ตอ่ กอ่ นหนา้ นน้ั หลวงอรรถเขามากม็ หี นงั ใหค้ นแกด่ กู นั นะ คล้ายๆ ว่าหาหนังมาฉายให้ดู แล้วมาหาเสียงนะ...รถก็ไม่สวย เหมือนสมัยนี้ รถแบบโบราณไม่รู้ว่าชื่ออะไร…อีติ๊ด อีต๊อดตุ๊กตุ๊ก ก็… เออตุ๊กตุ๊กอะไรของเขานั่นนะ ไม่รู้กับเขาหรอก แต่ หลวงอรรถเขามีรถเก๋ง รถเก๋งเก่าๆ ซีดๆ ก็ไม่รู้ยี่ห้อเขาหรอก” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวถึงวิธีการหาเสียงของ หลวงอรรถพรพิศาลเพิ่มเติมในประเด็นที่ถนนแคบจนรถยนต์ ไม่สามารถเข้าไปได้ว่า “...เขานั่งรถมาแล้วก็เดินเท้าเข้าหมู่บ้าน เพราะว่าถนนหนทาง ตอนแรกมันเป็นถนนแคบๆ... 70

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น ถ้ามอเตอร์ไซค์ขี่ตามคันนาไม่ได้ ก็เดินไปตามคันนา เขาไม่มี ถนนกันหรอก...” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผใู้ หส้ มั ภาษณค์ นท่ี 14 กลา่ ววา่ “…แกเอาลอดชอ่ งใสโ่ อง่ โอง่ ใหญ่ ใครจะกนิ กไ็ ปตกั กนิ แกเอาหนงั ไปฉาย หนงั กลางแปลง …หลายปี กี่ปีนี่อย่าถามเลยไม่รู้หรอก เพราะว่าเรายังเล็กอยู่ ในตอนนั้นก็ไม่กี่ขวบ...เขาเอาหนังมาฉาย และลุงก็ไปกิน ลอดช่องแก ใครจะกินก็ไปตักกิน...ลุงยังเล็กอยู่…ที่รู้ก็เนี่ย แกเอาหนังไปฉายตามบ้าน แกทำลอดช่องให้กิน มีคนเขาบอก ว่า…เฮ้ย! กินของหลวงอรรถ ใส่บัตร...โว้ย...เปรียบเสมือนเป็น กลยุทธ์ในการหาเสียงนะ...ฐานสงฐานเสียงไม่ต้องมี...สมัยนั้น ไม่มีหรอก เขาจะหาเสียงกันแบบนี้” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) หลวงอรรถพรพิศาลมีวิธีการหาเสียงที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน บางครั้งเขาก็จะเอาหนังกลางแปลง ไปฉายให้ชาวบ้านดู ซึ่งก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านอย่างมาก สำหรับผู้ที่ไปดูหนังก็ยังมีลอดช่องให้กินฟรีตลอดงาน โดย หลวงอรรถพรพิศาลได้นำลอดช่องใส่โอ่งใหญ่ไว้ ในระหว่างที ่ ดูหนัง หากใครหิวก็ให้ไปตักกินได้ ซึ่งชาวบ้านบางคนก็พูด ติดตลกกันว่า “เฮ้ย! ใครกินของหลวงอรรถ ใส่บัตร...” เหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกต้ัง การแข่งขันด้านการเมืองในอดีต ต่างจากสมัยนี้อย่าง เห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเรื่องของความเข้มข้นในการแข่งขัน ในสมัยของหลวงอรรถพรพิศาลไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องคู่แข่ง มากนัก เพราะปัญหาการใช้เงินซื้อเสียงยังไม่ค่อยปรากฏให้เห็น เนื่องจากการหาเสียงในยุคก่อน ผู้สมัครต้องออกค่าใช้จ่ายเอง 71

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เกือบทั้งหมด ดังนั้นผู้สมัครจะต้องมีฐานะทางการเงินดีพอ สมควร ย้อนกลับไปมองในประเด็นที่หลวงอรรถพรพิศาลนำหนัง กลางแปลงไปฉายให้ชาวบ้านดูฟรีและเลี้ยงลอดช่อง ซึ่งเป็น กลยุทธ์ในการซื้อใจชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านรัก สุดท้ายแล้วเขาก็ จะเทใจให้ ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้ว ชาวบ้านจะให้ความนิยม ในตัวหลวงอรรถพรพิศาลมากกว่า เพราะคู่แข่งคนอื่นๆ ก็แค่ได้ แค่มาเดินขอคะแนนเสียง บอกกล่าวว่าตัวเองเป็นใครมาจาก ไหน แล้วก็ลงท้ายเหมือนๆ กันว่า “ช่วยเลือกผมหน่อยนะ” แต่ หลวงอรรถพรพิศาลไม่เพียงแต่มาขอคะแนน แต่กลับมาพร้อม กับของฝาก นั่นคือ หนังกลางแปลงกับโอ่งที่เต็มไปด้วยลอดช่อง นั่นเอง บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 บอกถึงลักษณะนิสัยของหลวง อรรถพรพิศาลว่า “โอ้ย...เขาเป็นเป็นคนดีของบ้านเมือง ของ ชาวบ้าน ชาวบ้านรักใคร่ เขาเป็นคนนิสัยใจคอดี อัธยาศัยดี...” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) หลวงอรรถพรพิศาล เป็นที่นับหน้าถือตาของชาวบ้าน เพราะมีศักดินาเป็นถึงหลวง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่คนถือเนื้อ ถือตัว แถมยังเป็นคนที่ใจดี มีน้ำใจ อัธยาศัยดี จึงเป็นที่รักใคร่ ของชาวบ้าน ดังมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยก่อน เมืองตราดมีบ้าน อยู่ไม่กี่หลังที่มีโทรทัศน์ดู ซึ่งบ้านของหลวงอรรถพรพิศาล ก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อย่ำค่ำมีละครโทรทัศน์หลังข่าวฉาย ชาวบ้านในละแวกบ้านเขาไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็จะไปนั่งดู 72

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน โทรทัศน์ที่บ้านเขาได้พร้อมทั้งอาหารว่างที่หาได้ตามท้องถิ่นไว้ คอยบริการ นายประชุม รัตนเพียร นายประชุม รัตนเพียร เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 บิดาชื่อ นายอิ่ม รัตนเพียร เป็นกำนันตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด มารดาชื่อ นางแวว รัตนเพียร จบชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 7 จากโรงเรียนประชาบาลวัดเขาญวน (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดคีรีวิหาร) และเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 แห่ง คือ โรงเรียนศิริศาสน์ จากนั้นย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียน วัดราชาธิวาส โรงเรียนวัดบวรนิเวศ และจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา จบพาณิชยการ ที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร (พ.พ.) และสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเข้าสู่การเมือง นายประชุม รัตนเพียร ทำงานบริษัท ดีทแฮล์ม ตำแหน่งเสมียนเป็นเวลา 3 ปี และเปลี่ยนอาชีพเป็น เซลขายยาเป็นเวลา 10 ปี หลังจากนั้นก็ตั้งร้านขายยาชื่อ จำเริญ ย่านสะพานดำ (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11, สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556; ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง, 2556; ศิริโรจน์ ศิริแพทย์, 2549) เส้นทางหรือแรงบันดาลใจสู่การเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11 กล่าวถึงเส้นทางสู่การเมืองของ นายประชมุ ไวว้ า่ “กอ่ นเปน็ นกั การเมอื ง เขาเปน็ เซลแมนขายยา... มาก่อน เขาเรียนจบพาณิชย์ พาณิชยการพระนคร รุ่นนั้น 93 มั้งไม่แน่ใจ...” 73

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด นายประชุมได้รับการชักชวนจากเพื่อนที่ทำงานอยู่ใน สำนักนายกรัฐมนตรีให้เล่นการเมือง ซึ่งในขณะนั้นเขากำลัง มองหาคนเพื่อไปลงสมัคร ส.ส. ให้กับ จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อีกทั้งมีการจัดตั้ง พรรคสหประชาไทยดว้ ย นายประชมุ เรม่ิ เขา้ สแู่ วดวงทางการเมอื ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 โดยชนะการเลือกตั้งตั้งแต่ครั้งแรกที่ลง สมัคร ผลงานและบทบาททางการเมือง นายประชุม รัตนเพียร เป็นอดีต ส.ส. ของจังหวัดตราด 4 สมัย ได้แก่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 โดยนายประชุม รัตนเพียร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรี ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 74

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เมอ่ื วนั ท่ี 8 มกราคม พ.ศ. 2519 หลังจากพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข รฐั มนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงคมนาคม เมอ่ื วนั ท่ี 5 ตลุ าคม พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 (ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11, สัมภาษณ์ 8 พฤษภาคม 2556; ศิริโรจน์ ศิริแพทย์, 2549; ศูนย์ข้อมูล นักการเมือง, 2556; สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ, 2556; สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข, 2556) ผลงานทเ่ี ป็นรปู ธรรม 1. ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพาณิชยการใน พ.ศ. 2505 2. ก่อตั้งโรงเรียนพณิชยการสีลมใน พ.ศ. 2508 3. ก่อตั้งโรงเรียนรัตนพณิชยการใน พ.ศ. 2523 4. ก่อตั้งโรงเรียนนันทวรวิทย์ใน พ.ศ. 2532 5. ก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการนนทบุรีใน พ.ศ. 2537 6. ก่อตั้งวิทยาลัยรัตนบัณฑิตใน พ.ศ. 2540 และได้ สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 75

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 7. ทายาททั้ง 4 คนเติบโตในเส้นทางการเมืองและแวดวง การศึกษา ทำให้หลายคนใคร่รู้ว่านายประชุมมีเคล็ดลับอย่างไร ในการเลี้ยงดูลูกจนมีดีกรีเป็น “ดอกเตอร์” นำหน้าทุกคน (มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 2556; ศิริโรจน์ ศิริแพทย์, 2549) ในด้านผลงานที่เป็นรูปธรรม ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11 กล่าวว่า “ครั้งแรกเขาเป็นรัฐมนตรีว่า การกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2519 เพราะว่าเขาเป็นเซลแมนขายยานะก็ทางนั้นเขาเห็น ว่าคุ้นเคยกับเรื่องยา...และนโยบายตอนแรกของเขาก็คือ สร้าง โรงพยาบาลทุกอำเภอครั้งแรกนะครับ ไม่ใช่แค่เฉพาะจังหวัด ตราดนะนโยบายตรงนี้ เพราะเขาเห็นว่าเออ...คลองใหญ่กับ ตราดมันไกลกันใช่ไหมฮะ และคลองใหญ่แต่ก่อนเป็นอำเภอ ที่ไม่มีโรงพยาบาล คนจะมาโรงพยาบาลตราดนี่มันก็ไกล…แล้ว ยิ่งทางภาคอีสานนะ ระยะทางเป็นร้อยโลนะฮะ...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า “…พอแกได้แล้วก็ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แล้วก็มาสร้างโรงเรียนให้อำเภอคลองใหญ่ อาคารใหญ่เนี่ย ทุกหลังของแกทั้งนั้น สร้างโรงเรียนให้นักเรียน...เราก็ช่วยแก หาเสียงทุกครั้งแหละ คือคนน่ะว่านับถือกันแล้วก็นับถือกัน ตลอดละ สมัยนั้นเนาะโบราณ” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “ผลงานของนายประชุม ได้แก้ การสร้างศาลาข้างทาง การสร้างอาคารให้โรงพยาบาล ตราด การสร้างสวนสาธารณะ...” (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2556) 76

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น ฐ านเสียงและกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11 กล่าวถึงฐานเสียงและกลุ่ม สนับสนุนของนายประชุมว่า “ส่วนมากจะเป็นพรรคพวก เช่น นายก...รู้จักไหม เขาเป็นนายกเทศมนตรีเพราะเขาคุ้นเคยกันมา ก่อน ที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการสนับสนุน...ฐานเสียงก็คือญาติ และคนรู้จัก” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) กลุ่มที่คอยสนับสนุนนายประชุม และเป็นฐานเสียงใน ช่วงแรกๆ ส่วนมากจะเป็นพรรคพวก บางคนจะเป็นผู้ที่มีบารมี และเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของคนส่วนใหญ่ในจังหวัดตราด และ กลุ่มของชาวบ้านใน ละแวกบ้านเกิดซึ่งเป็นญาติพี่น้องและ เป็นที่รู้จักกัน หลังจากได้เป็น ส.ส. 1 สมัยก็มีฐานเสียงและ กลุ่มสนับสนุนเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่เพิ่มมาดังกล่าวจะเป็นกลุ่ม ของชาวบ้านที่ชื่นชอบในผลงานของนายประชุม เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีบารมีคนอื่นๆ ที่ได้ทำความรู้จักกับ นายประชุมหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง ก ลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน กล่าวถึง กลวิธีในการหาเสียงของนายประชุมว่า “ก็หาเสียงแบบธรรมดา นี่เอง หาเสียงเมื่อก่อนก็ไม่เข้มข้นเหมือนสมัยนี้นะ ก็เดินมาฝาก เนื้อฝากตัวในชุมชน อย่างฉันนี่คุมทั้งสองตำบล ก็ดูแลให้เขา เราก็ไปบอกพรรคพวกว่า ช่วยหน่อย ช่วยกันหน่อย... เออ... อย่างนั้นนะ แล้วแกก็ได้ อย่างตำบลไม้รูดทั้งตำบลนี่ ฉันก็ดูแล อยู่...” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) 77

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “...อย่างประชุม เขาจะมาแนวนิ่มๆ” (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 5 ซึ่งเป็นกำนัน กล่าวถึงประเด็น หัวคะแนนของนายประชุมว่า “...คนในกลุ่มหัวคะแนนของเขาก็ มักจะเป็นคนที่สนิทกัน แล้วก็ทำงานให้เขาได้ มีปากมีเสียง ในชุมชนนั้นๆ สามารถพูดให้คนเชื่อได้ ผู้นำชุมชนก็มี แต่ผมก็ ไม่ได้เป็นให้เขาหรอกนะ...เขามาลงพื้นที่ด้วยตัวเองในบางครั้ง แต่ในเขตบ้านเรา ผมไม่ค่อยจะเห็นตัวจริงเสียเท่าไหร่ ส่วนมาก จะให้หัวคะแนนตัวเองเดินหาเสียงให้มากกว่า...ส่วนมากจะเป็น คนในพื้นที่นั้นๆ แล้วเขาก็สั่งการลงไปให้ช่วยกันหาเสียงให้เขา อีกที เท่าที่ผมจำได้ เขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. ตราดถึง 3 สมัย ด้วยกัน...” (สัมภาษณ์ 19 เม.ย. 2556) นายประชุมใช้วิธีในการหาเสียงโดยการลงพื้นที่ เพื่อ ทำความรู้จักและแนะนำตัวแก่ชาวบ้าน ส่วนมากตัวเขาจะลง หาเสียงเองในพื้นที่ใหญ่ๆ อย่างเช่นเขตตัวเมือง ส่วนในพื้นที่ ที่ตนไม่ได้ลงบ่อยๆ หรืออาจจะไม่ลงไปนั้น จะเป็นพื้นที่ที่อยู่ ห่างไกลออกไป โดยจะมอบหมายงานให้กับหัวคะแนนที่ตนไว้ วางใจในพื้นที่นั้นๆ ปฏิบัติหน้าที่แทน โดยหัวคะแนนก็ทำหน้าที่ ในการประสานกับชาวบ้านให้ได้รับทราบว่า ปีนี้นายประชุม ลงสมัคร ส.ส. และขอให้ช่วยกันเลือก รวมถึงการให้คำมั่น สัญญากับชาวบ้านและผู้นำชุมชนในบางพื้นที่ว่า หากตนชนะ จะกลับไปทำอะไรให้กับชุมชนนั้นๆ บ้าง 78

ข้อมูลนักการเมืองถิ่น เหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกต้ัง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า “...เออก็ช่วยเหลือ ก็เราก็มองว่าเขาเป็นคนดีมีการศึกษานะ” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “ความดีของเขา รวมถึง นโยบายด้วย แต่ทุกวันนี้แกก็เลิกไปแล้ว หากแกอยู่...แกจัดเป็น คนดีคนหนึ่งเลยทีเดียว...” (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2556) ด้วยเหตุผลที่ประชาชนชาวจังหวัดตราดอยากเห็น การเมืองตราดมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง จึงเห็นว่าเป็นช่วง เวลาที่จะต้องเลือกนักการเมืองหน้าใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ แทน จึงทำให้ พ.ศ. 2512 นายประชุมชนะการเลือกตั้ง ซึ่งใน ระหว่างดำรงตำแหน่งก็ได้สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์และสร้าง ความพึงพอใจให้แก่ประชาชนดังที่ได้คาดหวังไว้ เช่น การสร้าง อาคารเรียน การสร้างโรงพยาบาลในที่ห่างไกลตัวเมือง เพื่อ ทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดียิ่งขึ้น บุคลิกลักษณะนิสัย ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวจากประสบการณ์ตรงว่า “…แกไม่ตัวถือหรอก บ้านฉันนี่รัฐมนตรีขึ้นได้นี่ก็เป็นมงคล แล้ว...แกไม่ถือตัว แกเข้าถึงประชาชน ก็แกก็คนจังหวัดตราด เนี่ยก็แบบลกู ทุ่งน่ะ” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 11 กล่าวว่า “ก็เป็นเซลแมนนี่ครับ ต้องพบปะผู้คนมากหน้าหลายตานะ ต้องมีจิตวิทยา แล้วก็ต้อง เป็นคนที่ใจเย็นใช่ไหมฮะ…เพราะเซลแมนไปถึงก็เข้าขายยา 79

นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด เดินหนีไม่ได้เซลน่ะต้องใจเย็นต้องเข้าไปตื๊อเขา” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 กล่าวว่า “…ท่าน ส.ส. ประชุม เขาเป็นคนเรียบๆ ธรรมดาๆ คนชอบเขาก็เยอะ เพราะเขาไม่ นักเลง ชอบจัดทัศนศึกษาพาผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ได้ไป ทัศนศึกษา” (สัมภาษณ์ 16 มี.ค. 2556) นายประชุมเป็นคนที่สุภาพนอบน้อมกับชาวบ้านทุกคน อีกทั้งก็ยังเป็นคนที่พูดจาไพเราะนิ่มนวล รื่นหู และดูมีความ น่าเชื่อถือ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน และยังชอบจัดทัศนศึกษา ให้แก่บรรดาผู้ใหญ่บ้านในหลายๆ พื้นที่ ให้ไปศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1– 4 ที่โรงเรียนวัด บางปิดล่าง ก่อนจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างไม้ประจำจังหวัด โดยปัจจุบันสถาบันดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัย เทคนิคตราด และจบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัย อดัมสัน ประเทศฟิลิปปินส์ โดยเป็นนักเรียนทุนของกองทัพ อากาศ (ประวัติกรรมการผู้มีอำนาจ, 2556; ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15, สัมภาษณ์, 28 พ.ค. 2556; ศูนย์ข้อมลู นักการเมือง, 2556;) 80

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน เส้นทางหรือแรงบันดาลใจสู่การเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 ซึ่งเป็นเพื่อนของเรือตรีฉลาด กล่าวว่า “ในเรื่องประวัติส่วนตัวของฉลาดเขาเกิดที่แหลมงอบ นี่แหละ เรียนที่โรงเรียนวัดบางปิดล่าง จบ ป.4 ก็ไปเรียนต่อที่ โรงเรียนช่างไม้ของจังหวัดตราด แล้วก็ไปต่อในกรุงเทพฯ ที่ไหน ผมก็จำไม่ได้ แต่หลังจากนั้นเขาก็ไปต่อที่ฟิลิปปินส์ หลังจากนั้น ก็มาเป็นทหารอากาศ เขาเป็นทหารอากาศได้พักหนึ่ง เขาก็มา เริ่มสนใจการเมืองเลยลาออกจากทหารมาเล่นการเมือง นั่นเป็น เพราะว่าเขาชอบเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เด็กแล้ว อย่างในเรื่อง ประชาชนธิปไตยนี่ ฝังหัวเขาเลย ในตอนที่เขายังเด็ก ประเทศ ยังไม่เป็นประชาธิปไตย เขาก็เลยมีความคิดอยากให้เรื่องนี ้ เป็นจริงขึ้นมา...ได้ยิน ได้รู้ ได้เห็นมาว่า เขาเป็นคนเสนอเรื่อง อบต. ขึ้นมาว่า ‘ต่อไปต้องมีผู้นำท้องถิ่น ที่ไม่ใช่กำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้านอย่างเดียว ต้องมี องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพิ่มด้วย’ นี่แหละแนวคิดของเขา ยังจำได้อยู่” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) จะเห็นว่าเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร มีความสนใจ ในเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเป็นคนที่มีความ ต้องการให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องการเห็น ประชาชนมีสิทธิ มีเสียงในการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องต่างๆ สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เป็นสิ่งที่จุดประกายให้เขาต้องก้าวเข้าสู่ถนน การเมือง โดยหลังจากเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการทหาร อากาศในยศเรืออากาศตรีได้ไม่นาน เขาก็ได้ลาออกเพื่อออกมา ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยหลังจากได้รับเลือก 81

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เป็น ส.ส. จังหวัดตราด แล้วก็ได้ผลักดันรัฐบาลให้มีการเริ่ม คิดถึง อบต.ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้ง และการอดอาหาร ประท้วงเพื่อต่อต้านหรือเพื่อต้องการให้มติในที่ประชุมเป็นไป ตามอุดมการณ์ของตน ซึ่งในการอดอาหารประท้วงนั้น ส่งผล ตอ่ เรอื อากาศตรี ฉลาด วรฉตั ร ทง้ั ในแงด่ แี ละแงล่ บบางประการ ประสบการณ์ทางการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัด ตราด พ.ศ. 2522–2526 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529–2530 กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529–2529 กรรมาธกิ ารปกครอง สภาผแู้ ทนราษฎร พ.ศ. 2529–2529 ทป่ี รึกษารัฐมนตรีอตุ สาหกรรม (ฯพณฯ ไกรสร ตันติพงศ์) พ.ศ. 2523–2524 รองหัวหน้าพรรคมวลชน พ.ศ. 2531 เสนอพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียง และวิทยุ โทรทัศน์ พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 โดยเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ร่วมกับนายปรีดา กนกนาก ให้รัฐบาลเปิดอนุญาตธุรกิจเคเบิลทีวีโดยเสรี เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาโทรทัศน์ทางสายพัฒนา สร้างสรรค์ด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2521 (ประวัติ กรรมการผู้มีอำนาจ, 2556; ศูนย์ข้อมลู นักการเมือง, 2556) 82

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน สว่ นในประเดน็ ฐานเสยี งและกลมุ่ สนับสนนุ เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 กล่าวว่า “หัวคะแนนของ เขาก็เป็นเพื่อนเขาซะเยอะ ไม่ค่อยจะมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต. หวั คะแนนสว่ นมากกจ็ ะเปน็ คนรนุ่ ราวคราวเดยี วกนั รจู้ กั กนั คุ้นเคยกับเขาก็ช่วยหาเสียงให้ ช่วยชี้แจงแนะนำให้ และ ไม่ว่าเขาจะไปที่ไหนมีแต่ชาวบ้านจะออกเงินให้ ค่าน้ำมัน ค่าบุหรี่ ซึ่งในสมัยนั้นบุหรี่เป็นของที่ขาดไม่ได้ต้องพกบุหรี่กัน เป็นหีบๆ พอถึงเวลารถจะออกก็มาแล้ว ใส่ซองเอาบุหรี่มาให้ เงินจากพรรคก็น้อย ทำอะไรก็ต้องควักเงินส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ ดีตรงที่ชาวบ้านเขาช่วยไว้เยอะ” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) เรอื อากาศตรี ฉลาด วรฉตั ร ไมใ่ ชค่ นทม่ี ฐี านทางการเมอื ง ที่ดีมาตั้งแต่แรก ที่มีนักการเมืองท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คอยสนับสนุน และเงินทุนที่ใช้ในการหาเสียงก็มีไม่มากนักเมื่อ เทียบกับคู่แข่งคนอื่นๆ ในยุคนั้น เมื่อเทียบกับกลุ่มฐานเสียงของเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตรแล้ว กลุ่มของเขาจะเป็นกลุ่มเพื่อนเก่าตั้งแต่สมัยเด็ก ไปจนถึงสมัยที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนช่างไม้ประจำจังหวัด กลุ่มคน เหล่านี้จะคอยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนตัวเขาตามความ สามารถที่พอช่วยเหลือได้ ตั้งแต่การให้ยืมรถยนต์ที่ใช้ในการวิ่ง ประชาสัมพันธ์ เครื่องเสียง หรือการช่วยหาเสียงในละแวกที่ตน อาศัยอยู่ ชาวบ้านบางกลุ่มที่ชื่นชมในตัวเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ก็หาทางช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในเรื่อง 83

นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ของค่าน้ำมัน ค่าบุหรี่ เนื่องจากในสมัยนั้น ความช่วยเหลือ เรื่องเงินจากทางพรรคนั้นมีน้อยมาก ทำให้ต้องควักเนื้อตัวเอง เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังดีที่ชาวบ้านที่ชื่นชอบและสงสาร ได้ช่วยเหลือมาโดยตลอด กลวิธีในการหาเสียง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 6 กล่าวว่า “…เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตรเนี่ย ก็ไม่ต้องหาเสียงอะไรมากมาย แกก็เป็นคนดีนะ แต่แกไม่มีเงินทอง แกไม่ร่ำไม่รวยอะไรอย่างนั้นน่ะ” (สัมภาษณ์ 8 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 12 กล่าวว่า “…ก็ออกพบกับ ชาวบ้าน มีใบปลิว…ไม่มีการซื้อเสียงน่ะ…” (สัมภาษณ์ 11 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 กล่าวว่า “ผมนี่แหละไปกับ เขา...ก็ดวลมาหมดแหละ...ตอนนั้นปะทะกันน่าดู ในตอนนั้นเขา มาหาผมเพราะที่นี่มีเครื่องเสียง เอาไปติดรถประชาสัมพันธ์ และก่อนที่เขาจะปราศรัยเนี่ย เราก็ต้องวิ่งรถไปแล้วก็ไป ประกาศ บอกเวลาให้ชาวบ้านรู้ว่า ฉลาดจะมาปราศรัย ชี้แจง หลักการ และเหตุผลให้พี่น้องได้ฟัง คือผมเป็นโฆษกให้เขา ด้วยไง” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 อธิบายถึงวิธีการหาเสียงว่า “...หากชาวบ้านขออะไรในระหว่างการหาเสียง แกสั่งคนในกลุ่ม ที่ไปช่วยหาเสียงไว้เลยว่า ให้บอกว่าไม่มีลูกเดียว เพราะมันจะ แลดูเหมือนการซื้อเสียง เพราะเขาเป็นคนตรงไง...” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) 84

ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 เล่าประสบการณ์ในการหาเสียง ครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2522 ว่า “ก่อนเลือกตั้งก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ ชวนให้ตกใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะช่วงขึ้นรถปราศรัยไปในที่ ไกลๆ จากตัวเมือง ก็มีรถตามประกบอยู่ห่างๆ ซึ่งไม่ใช่รถของ ทีมงาน และคนในรถยังพกปืนอีกด้วย ซึ่งทางตำรวจก็ไม่เคย แจ้งให้คนทางกลุ่มทราบมาก่อนว่าจะมีการส่งตำรวจนอกเครื่อง แบบมาอารักขา ซึ่งทางกลุ่มตนได้ตีความไปว่าน่าจะเป็น การขู่จากทางฝั่งคู่แข่ง หรืออาจจะเป็นชุดตำรวจลับเฉพาะ เนื่องจากในช่วงนั้นทางกลุ่มมีกระแสตอบรับจากชาวบ้านที่ดี” (สัมภาษณ์ 28 พ.ค. 2556) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 15 ได้สรุปวิธีการในการหาเสียง ของเรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ว่าใช้รถประชาสัมพันธ์ ติดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และลงพื้นที่เพื่อปราศรัยไปตาม พื้นที่ต่างๆ โดยในการปราศรัยนั้นจะให้โฆษกของกลุ่ม ซึ่งเป็น เพื่อนสนิทของเขา ไปลงพื้นที่ในช่วงเช้า เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ ชาวบ้านในพื้นที่ให้ได้ทราบข่าวว่า เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร จะมากล่าวปราศรัย ณ บริเวณไหน เวลาใด โดยหัวข้อในการ ปราศรัยนั้น จะเน้นไปในเรื่องของนโยบายและอุดมการณ์ของ ตัวเขาเองให้ชาวบ้านได้รับทราบ บางครั้งก็ถูกกลุ่มของคู่แข่ง ตามไปขัดขาระหว่างการหาเสียงบ้าง เมื่อตนประกาศนโยบาย ขึ้นมา กลุ่มคู่แข่งที่ตามมาติดๆ ก็จะประกาศนโยบายของเขา ขึ้นมาขัด ในบางครั้งกลุ่มของคู่แข่งก็มาแสดงมิตรไมตรีด้วย เอาเสื้อของฝั่งเขามาแจกบ้าง ซึ่งทางกลุ่มก็ไม่ได้รังเกียจอะไร ก็รับมาตามมารยาท เช่นกัน 85