Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore NatureOfLife

NatureOfLife

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-03-07 07:37:44

Description: NatureOfLife

Search

Read the Text Version

อ.วศนิ อนิ ทสระ

ส่งิ สวยงามในธรรมชาติ ขอมอบแด่ ด้วยรัก....จาก

ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต อ. วศิน อินทสระ หนังสือดลี �ำดับท่ี ๒๒๓ พิมพค์ ร้งั ท่ี ๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๖ จ�ำนวน ๔,๐๐๐ เลม่ ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากน�ำ้ อ.เมอื ง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศพั ท์ ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓, ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔ โทรสาร ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ www.kanlayanatam.com ออกแบบและศลิ ปกรรม ชฎาบุญ บญุ สิรวิ รรณ เพลตและจัดพิมพ์ท ่ี Canna Graphic โทรศพั ท์ ๐๘-๖๓๑๔-๓๖๕๑ สัพพทานัง ธัมมทานงั ชนิ าติ การใหธ้ รรมะเปน็ ทาน ย่อมชนะการให้ท้งั ปวง www.kanlayanatam.com

คำ� อนโุ มทนา ชมรมกลั ยาณธรรมโดยทนั ตแพทยห์ ญงิ อจั ฉรา กล่ินสุวรรณ์ผู้เป็นประธานชมรมขออนุญาตพิมพ์ หนังสือเรื่อง  ธรรมชาติกับชีวิต  และ  แสงห่ิงห้อย ในราตร ี ข้าพเจ้าอนุญาตด้วยความยินดยี ง่ิ เร่ือง ธรรมชาติกับชีวิต  นั้นข้าพเจ้าเขียนไว้ เมื่อปี  ๒๕๑๓  รวมพิมพ์อยู่ในหนังสือเรื่อง  บท เรียนชีวิต  โดยส�ำนักพิมพ์บรรณาคาร  ต่อมาเม่ือ ปี  ๒๕๒๗  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการได้ ขอพิมพ์  เพ่ือเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาส�ำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจ�ำนวน  ๘,๐๐๐  เล่ม เปลี่ยนช่ือเสียใหม่ว่า  ร�ำพึงวันฝนตก  ข้าพเจ้าเขียน

เรอ่ื งนเี้ มอื่ พกั อยทู่ อ่ี าคารสงเคราะหก์ องทพั บก ถนน ประชาธิปไตย  ตรงข้ามกับวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ  ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่เฉลียงของอาคารขณะที่ ฝนกำ� ลงั ตก มองไปขา้ งหนา้  เหน็ ถนน ตน้ สน และ ยอดเจดีย์ของวัด  เมื่อฝนหายแล้วลงมาเดินเล่น และกลับขึ้นไปเขียนหนังสือเรือ่ งนี้ สำ� หรบั เรอื่ ง แสงหงิ่ หอ้ ยในราตร ี นนั้  ขา้ พเจา้ ได้ช้ีแจงไว้แล้วในค�ำบอกเล่า  อันเป็นเบ้ืองต้นของ เนอื้ หา จงึ ไมจ่ ำ� ตอ้ งกลา่ วอกี  ทา่ นผอู้ า่ นพลกิ ไปอา่ น ตรงนั้นก็จะทราบได้เอง  เรื่องนี้ได้เคยรวมพิมพ์ อยู่ในหนังสือเรื่อง  เพื่อชีวิตที่ดี  เล่ม  ๒  เม่ือ  พ.ศ. ๒๕๒๖  โดยคณะธรรมการย์  (คณะศิษย์กลุ่มหน่ึง)

ขา้ พเจา้ ขออนโุ มทนาอยา่ งยง่ิ ตอ่ ชมรมกลั ยาณ- ธรรม  ที่มีความด�ำริอันดีงามพิมพ์หนังสือน้ีเผยแผ่ ให้แพร่หลาย เป็นประโยชน์ทางคตธิ รรมและทศั นะ ชีวิต  ข้าพเจ้าขออวยพรให้ชมรมฯ  และท่านผู้อ่าน ประสบความสุขความส�ำเร็จในชีวิต  ตามสมควรแก่ เหตุทป่ี ระกอบตลอดกาลทุกเมอ่ื ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง ๑๙  เมษายน  ๒๕๕๖

ค�ำน�ำของชมรมกลั ยาณธรรม ในสมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตตเถระ ยังด�ำรงขันธ์อยู่น้ัน  แต่แรกพระผู้ใหญ่ทางฝ่าย ปกครองจากส่วนกลางไม่ค่อยมีใจยอมรับหมู่พระ ธุดงค์กรรมฐานเท่าใดนัก  มองดูอย่างเหยียดหยาม ดูแคลนเพราะพระธุดงค์ไม่ได้ศึกษาปริยัติ  ไม่ได้ ร�่ำเรียนต�ำรามากไปกว่าการมุ่งเน้นการปฏบิ ัตภิ าวนา พิสูจน์สัจจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ- เจา้  ตอ่ มาเมอ่ื พระฝา่ ยปกครองจากสว่ นกลางไดร้ จู้ กั องค์ท่าน  ได้สัมผัสภูมิจิตภูมิธรรมของท่านพระ อาจารย์ม่ันเป็นท่ีประจักษ์อย่างอศั จรรย์ใจ จนยอม ศิโรราบในอานุภาพแห่งธรรมแล้ว  พระผู้ใหญ่ฝ่าย

ปกครองจึงกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า ในเมอ่ื ทา่ นมไิ ดร้ ำ�่ เรยี นหนงั สอื หรอื ตำ� ราปรยิ ตั มิ ากมาย นัก  แล้วท่านรู้เร่ืองธรรมะแตกฉานได้อย่างไร  ท่าน พระอาจารย์ม่ันตอบว่า  “ธรรมะย่อมมีอยู่ทุกหย่อม หญ้า” ธรรมชาติสอนธรรมแก่เราเสมอ  สิ่งต่างๆ ที่ อยรู่ อบตวั เราแสดงธรรมอยตู่ ลอดเวลา หากเรารจู้ กั สงั เกตแลว้ พจิ ารณาสง่ิ ตา่ งๆ ตามความเปน็ จรงิ  เรา ก็จะได้เรียนรู้ธรรมะจากธรรมชาติ  ชีวิตเราก็เป็น ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  ธรรมชาติกับชีวิต  แท้จริง แล้วจึงเป็นหน่ึงเดียวกัน  หากเราเปิดใจรับฟังเสียง ธรรมจากธรรมชาติบ้าง  ก็จะมีชีวิตอย่างมีความสุข สงบและปลอ่ ยวางความยดึ ตดิ ถอื มน่ั ตา่ งๆ ไดไ้ มย่ าก นัก ท่านอาจารย์วศิน อินทสระสอนให้เรารู้จัก ฟังเสียงธรรมจากธรรมชาติ  กล่ันกรองเป็นภาษา ธรรมทง่ี ดงามจากใจแหง่ ทา่ นผมู้ วี จิ ารณญาณในธรรม

กลายเปน็ หนงั สอื เลม่ งาม เปน็ ของขวญั จากธรรมชาติ แด่ทุกดวงใจ ขอกราบขอบพระคณุ ทา่ นอาจารยว์ ศนิ  อนิ ทสระ ท่ีเมตตาอนุญาตให้ชมรมกัลยาณธรรมจัดพิมพ์ หนังสือน้ีแจกเป็นธรรมทานแก่สาธุชน  ขอขอบคุณ ผู้จัดท�ำทุกท่านท่ีมีส่วนร่วมในบุญกุศลทางปัญญาน้ี ขอน้อมถวายอานิสงส์แห่งปัญญาทานเป็นพุทธบูชา และน้อมบูชาพระคุณท่านอาจารย์วศิน  อินทสระ ขอแสงธรรมะจากธรรมชาติจงสาดส่องรัศมีแห่ง ความสงบเย็น  เจริญปัญญา  แด่สาธุชนทุกท่าน ตลอดไป กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญอย่างยงิ่ ทพญ.อจั ฉรา กลนิ่ สุวรรณ์ ประธานชมรมกลั ยาณธรรม

ส า ร บั ญ หน้า ๑๑ ๐๑...ร�ำพึงวันฝนตก ๑๒ ๐๒...ฝน ๑๔ ๐๓...ถนน ๑๘ ๐๔...สนลู่ลม ๒๐ ๐๕...เจดีย์สูง ๒๒ ๐๖...น�้ำย่อมไหลลงที่ลุ่ม ๒๔ ๐๗...ศีลในหมู่โจร ๒๖ ๐๘...ซากสุนัข ๒๘ ๐๙...ก้านดอกไม้ ๓๐ ๑๐...หินลับมีด ๓๔ ๑๑...คนเลื่อยไม้ ๓๘ ๑๒...สอนธรรมอันลุ่มลึก ๔๒ ๑๓...น�้ำเซาะดิน ๔๖ ๑๔...ยอดมะขามอ่อน ๔๙ ๑๕...แสงห่ิงห้อยในราตรี (คู่มือชีวิตอันทุรพล)



รำ� พงึ วันฝนตก ฝนพรำ� ตง้ั แตเ่ มอ่ื วานเยน็  จนกระทง่ั เชา้ วนั นก้ี ็ ยงั ไมห่ ยดุ  ใครจะบน่ อยา่ งไรฝนนนั้ กห็ าฟงั ไม่ มนั คง ตกเรื่อยไป  หน้าน้ีฤดูฝน  มันท�ำหน้าที่ของมันแล้ว โดยชอบ หากฤดฝู นฝนไม่ตกซิน่าประหลาด มนั อยู่ ห่างดนิ แต่มที ที ่ารักดิน รักนำ�้ รักพฤกษาลดาวัลย์ เสียเหลอื เกิน อาจเป็นเพราะมันขึน้ ไปจากน�้ำกระมัง ทำ� นองเดยี วกันนี้ มนษุ ย์ย่อมมีหน้าทอี่ ย่างใด อย่างหน่ึง จึงควรท�ำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด ตามกำ� ลงั สามารถ มนษุ ยท์ ท่ี ำ� หนา้ ที่ ใครเลา่ จะตำ� หนิ หากถกู ต�ำหนิก็พงึ เฉยเสียเหมอื นฝน

ฝน อนง่ึ ฝนนน้ั ไปจากนำ้� ทะเล หว้ ย หนอง คลอง บึง  มันไม่เคยลืม  เม่ือถึงกาลอันควร  มันจะกลับ มาหามาเยย่ี มถ่ินเดมิ ของมัน ฉันใด มนษุ ยท์ ดี่ กี ฉ็ นั นนั้  ยอ่ มไมล่ มื ถน่ิ กำ� เนดิ ของตน แม้จะจากไปอยู่ห่างด้วยความจ�ำเป็นบางอย่างหรือ เพื่อศึกษา  ประกอบอาชีพ  เพ่ือกล่ันกรองให้สะอาด บริสุทธ์ิ  เม่ือถึงเวลาย่อมหาโอกาสท�ำประโยชน์แก่ ถน่ิ  ให้ความชุ่มเย็นแก่ญาติ

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 13 นำ้� ทะเลเคม็ เมอื่ แสงแดดแผดเผาใหค้ วามรอ้ น กลายเป็นไอรวมตัวกันเป็นเมฆ แต่คราวตกลงมา จืดสนิทควรด่ืม รับขึ้นไปเป็นน้�ำเค็ม ส่งคืนลงมา เป็นน้ำ� จดื ผมู้ ปี ญั ญา นำ� ธรรมชาตนิ มี้ าเปรยี บ แลว้ ยอ่ ม ปลงใจวา่  แมจ้ ะไดร้ บั สงิ่ ไมด่ จี ากคนอนื่ กจ็ ะตอบแทน ใหด้ ว้ ยความดเี สมอ ตน้ ไมย้ งั ใหร้ ม่ เงาแกผ่ ถู้ อื ขวาน เพ่ือโค่น  แก่นจันทน์มิได้เว้นกล่ินหอม  ไม่ว่าตกไป อยู่ในมอื ของโจรหรือพระผู้ทรงศีล ทำ� นองเดยี วกบั บณั ฑติ ไมว่ า่ ตกไปอยแู่ หลง่ ใด ยอ่ มไมเ่ วน้ การประพฤตธิ รรม อวยความสขุ แกผ่ อู้ น่ื

ถนน เพราะฝนตกพรำ�  ประกอบดว้ ยเปน็ เชา้ วนั อาทติ ย์ ขา้ พเจา้ ยนื กอดอกมองผา่ นหนา้ ตา่ งกระจกออกไปยงั ถนน รถยนตแ์ ละสามลอ้ เครอื่ งวงิ่ ขวกั ไขว ่ มนษุ ยเ์ รา ชา่ งมธี รุ กจิ มากเสยี จรงิ  หาเวลาหยดุ ผอ่ นพกั ไดน้ อ้ ย ถนนสายนนั้ ยาวเหยยี ด จากใตไ้ ปเหนอื  แมจ้ ะ มยี วดยานทงั้ เลก็ และใหญบ่ ดขยไี้ ปมาอยชู่ วั่ วนั  แตม่ นั มิได้แสดงอาการหว่ันไหวส่ันสะเทือนแต่ประการใด คงนอนสงบนง่ิ  ดทู ่าทางมนั บึกบนึ แข็งแกร่งเสยี จริง

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 15 ขา้ พเจา้ หวนระลกึ ถงึ สมยั เมอ่ื ถนนสายนเี้ รม่ิ สรา้ ง คนงานเริ่มถมดิน  น�ำรถมาบด  เอาหินและทรายมา เกลี่ยเอาปูน  หิน  และทราย  ผสมน้�ำเทคอนกรีต กวา่ มนั จะแขง็ แรงอยา่ งทขี่ า้ พเจา้ เหน็ อยเู่ วลาน้ี มนั ได้ ผ่านกรรมวิธีมากหลาย  อาศัยน�้ำเป็นเครื่องยึดเกาะ ปูนและทราย

16 ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต ในตัวมนุษย์และหมู่มนุษย์ก็เช่นกัน  หาก ต้องการเป็นคนดี  มีความหนักแน่นม่ันคง  ก็ควร เริ่มต้นด้วยการแก้ไขข้อบกพร่อง  ปูพ้ืนอัธยาศัย ให้เรียบ แล้วเสริมด้วยคณุ ธรรมทคี่ วรเสริม

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 17 โดยเฉพาะมนุษย์ที่อยู่กันเป็นหมู่ ต้องการให้ คณะมนั่ คงจงึ ตอ้ งมสี งิ่ ยดึ เหนย่ี ว มคี วามกลมเกลยี ว กัน  หากแตกแยกหมู่ก็จะพังเหมือนถนน  กาลและ การณใ์ ด รสู้ กึ วา่ มรี อยรา้ ว จงรบี ประสานเสยี โดยพลนั บัณฑิตแตกกนั ยาก ประสานง่าย ความเห็นแก่ตัวและขาดน้�ำใจนั้น เป็นบ่อเกิด แห่งความแตกร้าว  ส่วนความเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมร่วมกัน  และความมีน�้ำใจเป็นบ่อเกิดแห่ง ความกลมเกลยี ว

สนลู่ลม ข้าพเจ้าเพิกสายตาจากถนน มองสูงขึ้นไป และทอดยาวไปเบ้อื งหน้าต้นสน ๔ ต้น สง่าสงบนิ่ง เพราะไม่มีลม เม่ือพายุจัด ข้าพเจ้าเคยมองเห็น ก่ิงสนไกวแกว่ง ส่งเสียง หวีดหวิว เราเรียกกันว่า “สนลู่ลม” ข้าพเจ้าระลกึ ถึงเพลงของรวงทอง “ดสู นฉงนใจเหตุไฉนไยไม่โค่น” ค�ำตอบก็คอื “เมอื่ ลมพดั โอนอ่อนโยนตามสายลม”

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 19 มนุษย์ควรประพฤติตนเช่นสนน้ัน มีการ ยดื หยนุ่ ไดเ้ มอ่ื จำ� เปน็ ลมแรงนกั กล็ ลู่ มเสยี แตไ่ มถ่ งึ กับนอนราบ ถ้าเป็นพนั ธุ์ไม้เลก็ ต้นสงู จากดินเพยี ง ๑ คืบ ๒ คบื กล็ ้มราบลงกบั ดนิ ได้ เม่อื ลมหายค่อย ฟื้นล�ำต้นขน้ึ ใหม่ เปน็ ผใู้ หญแ่ ลว้ อยา่ แสดงอาการกลวั จนลนลาน ให้ใครเห็น ท�ำให้เสยี บุคลกิ และขาดความไว้วางใจ แม้จะมีภัยมาก็มีก�ำลังใจสู้ แต่ท�ำด้วยความฉลาด ควรผ่อนปรน ยดื หยุ่นได้เพยี งใดกท็ ำ� “แข็งนัก มักโค่น อ่อนนัก มักถูกเหยียบ”

เจดีย์สูง ถัดจากหมู่สนไปเพียงเล็กน้อย เจดีย์สูงสง่า เสียดยอดข้ึนโดดเด่ียว  เจดีย์นั้นมักมีคุณลักษณะ อยู่ ๓ ประการคอื สงู ใหญ่ ขลงั เป็นท่เี คารพบชู า ของปวงพทุ ธศาสนกิ เราจะสร้างชีวิตให้เป็นเช่นเจดีย์มิได้หรือ คือ ใหส้ งู ดว้ ยอสิ รยิ ยศความเปน็ ใหญใ่ นจติ ใจตน สามารถ บังคับใจเอาชนะใจตนได้  ให้ใหญ่ด้วยบริวารยศ ความมีบริวารดีเพราะความมีน�้ำใจของเรา  ให้ขลัง ด้วยเกียรติยศ  ความเป็นผู้มีเกียรติคุณ  ฟุ้งไปว่า เป็นคนด ี มีประโยชน์ ควรเคารพสกั การะ

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 21

นำ้ �ย่อมไหลลงที่ลุ่ม ฝนยังไม่หาย น้�ำเจิ่งนองทั้งสองข้างถนนท่ี เทลาดลงจากใจกลางอนั มลี กั ษณะนนู นำ�้ ยอ่ มไหลลง สู่ทีล่ ุ่มเสมอ ท�ำนองเดียวกัน ทรัพย์ย่อมหล่ังไหลไปสู่ผู้มี ความเพียร ประกอบการงานเหมาะสมแก่กาลสมยั เกียรติย่อมหล่งั ล้นไปสู่ผู้ประกอบกรรมดี ทักษิณา ทานยอ่ มมผี ลไพบลู ยเ์ มอื่ มอบใหแ้ กผ่ มู้ ศี ลี ดมี ธี รรม งาม ความสขุ ใจยอ่ มอยทู่ บ่ี คุ คลผปู้ ระพฤตธิ รรมมใี จ สะอาด

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 23 แต่ดูเถิด น�้ำริมถนนน้ันดูไม่เป็นท่ีปรารถนา ของผู้สญั จรเสยี เลย เขาต้องถอดรองเท้าหว้ิ ปากบน่ ขมบุ ขมบิ สหี นา้ และสายตาแสดงความไมพ่ อใจตอ่ น้�ำ น้ัน ทำ� ไมหรือ เพราะมันไปขังเจงิ่ นองอยู่ในท่ีอันไม่ ควรอยู่ คนทัง้ หลายไม่ต้องการมนั มองดูแล้วท�ำให้เกิดทรรศนะชีวิต ธรรมชาติ และชีวิตช่างละม้ายคล้ายคลึงกันเสียจริง ค่าของ มนุษย์ย่อมถีบตัวขึ้นสูง เมื่ออยู่ในท่ีอันเหมาะแก่ ความต้องการของสังคม ใครเล่าจะชอบใส่เส้อื หนาว ในหน้าร้อน เพชรที่ส่องแสงแวววาว หากอยู่ใน คอกสุกร รงั แต่จะถูกเหยียบยำ�่ มณีเจียระไนอยู่ใน มือลงิ มันฤาจะรู้คณุ ค่า มีแต่จะปาให้แตกร้าว

ศีลในหมู่โจร พระธรรมในเร่ืองปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในท่ี อันเหมาะสม มีความส�ำคัญล�้ำเลิศ กาละและเทศะ รวมท้งั โอกาสเป็นปัจจยั แห่งความสำ� เร็จในชีวติ ใคร จะกล้าเถียงเรอ่ื งน้ี สิ่งเดียวกัน มีคุณลักษณะอย่างเดียวกัน แต่ เมอื่ อยตู่ า่ งทค่ี ณุ คา่ ยอ่ มตา่ งกนั  สมณะผทู้ รงศลี  ยอ่ ม ได้รับการเคารพบูชา  เมื่ออยู่ท่ามกลางพุทธศาสนิก ผเู้ ปน็ บณั ฑติ  แตเ่ มอื่ อยใู่ นหมโู่ จร จะไดร้ บั การขม่ ขี่ รังเกียจ  เพราะพวกโจรเห็นความมีศีลเป็นสิ่งอันพึง หัวเราะเยาะ  พวกเขาหากินโดยการเย้ยศีล

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 25 ไม่น่าเสยี ดายหรอื  หากสาวงาม สมบูรณ์ด้วย นารีลักษณะ  อันพึงเป็นมารดาของบุตรผู้จะเป็น ทิสัมบดีได้  แต่เธอไปตกอยู่ในความคุ้มครองของ ขนั ท ี ความงามและความดขี องเธอนนั้ จะมปี ระโยชน์ อนั ใด สิ่งมีค่า จะต้องอยู่ในที่ที่คนรู้จักคุณค่า

ซากสุนัข น�้ำลดลงแล้ว ซากสุนัขตัวหนึ่งนอนพองอืด อยู่ริมถนน  มันคงถูกรถทับตายเพราะกระโหลก ของมันแหลก  แมลงวันตอมห่ึง  คนเดินผ่านไปมา ต่างก็เอาผ้าปิดจมูก  หรือสะบัดหน้าเดินเลี่ยงไป อาการนน้ั บอกว่ารังเกยี จเตม็ ประดา กลน่ิ เหมน็ จากซากสนุ ขั กระจายไปทวั่ ทศิ  ดเู ถดิ ของเน่าแม้จะตั้งอยู่ท่ีเดียว  แต่กล่ินเหม็นย่อมคลุ้ง ไปโดยรอบฉันใด  คนช่ัวก็ฉันนั้น  แม้จะอยู่ท่ีเดียว แตช่ อื่ เสยี  ยอ่ มคลงุ้ ไปทวั่ ทกุ ทศิ  และคลงุ้ ไปไกลกวา่ ซากสุนัขเสียอีก  คนชั่วย่อมก่อความเดือดร้อนแก่

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 27 คนโดยรอบ  เมื่อเป็นเช่นนี้  เขาจะอ้างได้อย่างไรว่า “เขาชว่ั กส็ ว่ นตวั เขา คนอนื่ ไมเ่ กยี่ ว” ผลแหง่ ความชวั่ ทเี่ ขาทำ� นนั้  ยอ่ มกระทบกระเทอื นถงึ ผู้อ่นื เสมอ อนง่ึ แผลในกาย แมจ้ ะเพยี งแหง่ เดยี ว แตอ่ าจ กอ่ ความรา้ วระบมแกร่ า่ งกายทงั้ หมดจนถงึ เปน็ ไขส้ งู ได้  คนชั่วเพียงคนเดียว  อาจน�ำความเสื่อมเสียมา ให้แก่หมู่หรือชาตไิ ด้ จงดเู ถดิ  นำ้� ในสระทใ่ี ส มบี วั งามชดู อกสงา่  แต่ มีซากแมวตายลอยอยู่  ใครเล่าเห็นแล้วจักไม่เอียน ใครจะพอใจตักนำ�้ นั้นไปบริโภค กลีบกุหลาบและมะลิ ลอยอยู่ในน้�ำ ท�ำให้น�้ำ หอมไปด้วยได้  คนดีย่อมประดับหมู่ให้งาม  เป็น เกียรตแิ กค่ ณะในการรับคนเช่นน้ัน

ก้านดอกไม้ ลมโชยเฉอ่ื ย บรรยากาศแจม่ ใส ดอก ใบ และ กิ่งของต้นไม้ไหวน้อยๆ  มันอยู่ริมถนน  ยืนท้าแดด กรำ� ฝน เสมอื นจะทา้ ทายความรอ้ นและหนาว พรอ้ ม กบั พยกั หนา้ เรยี กมนษุ ยท์ ง้ั หลายใหม้ าพงึ่ รม่ เงาดอก และใบของมัน  น้ันเป็นเคร่ืองประดับมันให้ดูสวย และสดชน่ื ตา หากปราศจากกง่ิ เสยี แลว้  ดอกและใบ จะไหวเล่นลมอยู่ได้ละหรือ ระลึกถึง วาทะของท่านมหากวีกาลิทาสแห่ง อนิ เดยี  ทา่ นกลา่ ววา่  “ความหวงั เปรยี บเหมอื นกา้ น ท่ีเชื่อมดอกไม้ไว้กับต้น  ถ้าก้านหักไป  ดอกไม้ต้อง

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 29 หลดุ ออกจากตน้ ทนั ท ี ฉนั ใด ความหวงั เชอ่ื มบคุ คล ไวก้ บั ชวี ติ  หากความหวงั นนั้ หมดสนิ้ ไป บคุ คลยอ่ ม สิ้นอาลัยในชีวิต ฉันนั้น” คนปว่ ยยอ่ มหวงั อยเู่ สมอวา่  วนั หนงึ่ จะหาย คนจนหวังเหมือนกันว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะรวย คนมีทุกข์หวังความสุข  ฯลฯ  ความหวังนอกจาก จะเชอื่ มบคุ คลไวก้ บั ชวี ติ  เหมอื นกา้ นเชอ่ื มดอกไม้ ไว้กับต้นไม้แล้ว ยังมีส่วนส่งเสริมกำ� ลังใจบุคคล ให้เข้มแข็ง  อดทน  รักความก้าวหน้า  ปราศจาก ความเหนื่อยหน่ายอนั เป็นมหาภยั ของชีวิต

หนิ ลับมีด อากาศแจ่มใสมากขึ้น ข้าพเจ้าจึงลงจากบ้าน ไปเดนิ เล่น นกึ ว่าสัก ๓๐ นาทจี ะกลับมา เดนิ ไปได้ หน่อยหนึ่ง เห็นชายชรากำ� ลงั เลือกหนิ ลับมดี เรายืน ดูอยู่ห่างๆ เห็นเขาเลือกก้อนน้ันก้อนน้ี มีดเขาก็มี หลายเล่มและหลายขนาด คงจะหลายคณุ ภาพด้วย เมอื่ เลอื กได้เป็นทพ่ี อใจแล้ว เขากล็ งมอื ลับจน รู้สึกว่าคมเป็นที่พอใจ เม่ือเปลี่ยนมีดเล่มใหม่เขาก็ เปลี่ยนหินด้วย เราจึงเดินเข้าไปถามว่าทำ� ไมจึงต้อง เปลย่ี นหินทุกครงั้ ทเ่ี ปลี่ยนมดี

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 31 “หินอย่างเดียวลับมีดทุกอย่างไม่ได้ดอกคุณ” ชายชราผู้น้ันตอบ  เงยหน้ามองเรานิดหนึ่ง  แล้ว ก้มลงลับมีดต่อไปพลางพูดต่อว่า  “หินหยาบนั้นใช้ ลับมีดอย่างนี้”  พร้อมชูมีดให้ดู  “ส่วนหินละเอียด ใช้ลบั มีดท่ีคมละเอยี ด เช่นมดี โกน ถ้าเอามีดหยาบ ไปลับกับหินละเอียด  หินก็เสีย  ถ้าเอามีดละเอียด ไปลบั กบั หนิ หยาบ มีดก็เสีย เราขอบใจชายชราผู้นั้นแล้วจากไป ใจก็ระลึก ถงึ เรอ่ื งหนิ ลบั มดี  แลว้ ทำ� ใหค้ ดิ ไปถงึ เรอ่ื งคน...ผฝู้ กึ กบั ผรู้ บั ฝกึ กน็ า่ จะเปน็ ทำ� นองเดยี วกบั หนิ และมดี นน้ั คนบางคนมอี ธั ยาศยั หยาบ เมอ่ื ฝกึ กต็ อ้ งใชว้ ธิ รี นุ แรง บางคนท่ีมีอัธยาศัยละเอียด  เมื่อจะฝึกผู้ฝึกก็ต้อง ใช้วิธีละมุนละม่อม  หากฝึกอย่างรุนแรงก็จะเสีย เหมอื นเอามดี คมละเอียดไปลบั กับหนิ หยาบ แทนที่ มีดจะคมมันจะกลับเสีย  ส่วนคนอัธยาศัยหยาบนั้น

32 ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต หากฝึกอย่างละมุนละม่อมก็เหมือนเอามีดคมหยาบ ไปลบั หนิ ละเอยี ด หนิ จะเสยี  หนิ กบั มดี ตอ้ งมคี วาม สมส่วนกัน  ฉันใด  การฝึกคนก็ฉันนั้น  ผู้ฝึก  ผู้รับ การฝึก และวธิ ีฝึกก็ต้องเหมาะกนั จึงจะได้ผล พระบรมศาสดา ผไู้ ดพ้ ระนามวา่  “เปน็ ยอดแหง่ ผฝู้ กึ คน” กย็ งั ตอ้ งใชว้ ธิ รี นุ แรงบา้ ง วธิ ลี ะมนุ ละมอ่ ม บา้ งแลว้ แตก่ รณ ี เปรยี บอกี อยา่ งหนงึ่ เหมอื นเหลก็ ท่ี แข็งมากต้องใช้ไฟแรง  เหล็กท่ีอ่อนตัวลง  ใช้ไฟแรง นักก็จะเหลว  จึงควรใช้ไฟแต่พอดี  หากเหล็กอ่อน มากก็ใช้ไฟให้อ่อนลง



คนเลื่อยไม้ เดนิ ผา่ นตรงทชี่ ายชรานง่ั ลบั มดี ไปไดไ้ มน่ านนกั เหน็ ตน้ ไมต้ น้ หนง่ึ ลม้ อย่ ู คงจะเปน็ เพราะฝนตกหนกั และพายแุ รงเมอ่ื คนื น ี้ ชายรา่ งกายกำ� ยำ� สองคนกำ� ลงั ตัดก่ิงที่รุงรังนั้นออก  แล้วใช้ขวานถากเปลือกและ ส่วนท่เี ป็นปุ่มๆ ออก เราชอบยนื ดูคนทำ� งานจึงยืนดู ต่อไป เมอื่ เขาถากเกลย้ี งเกลาพอควรแลว้  จงึ นำ� เลอ่ื ย มาเลื่อยเป็นท่อนๆ  ๓  ท่อน  แล้วเลื่อยผ่ากลางเป็น สองซีก เรายืนดูอยู่นานพอควรจึงถามขน้ึ ว่า

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 35 “จะเอาไม้น้ไี ปท�ำอะไร” “เอาไปซ่อมพื้นบ้าน”  เขาตอบ  เงยหน้ามอง ดเู ราหนอ่ ยหนงึ่  แลว้ คงเลอื่ ยตอ่ ไป “ก่อนจะท�ำพน้ื บ้านได้ต้องท�ำอย่างไรบ้างครับ” เราถาม “กอ็ ย่างทค่ี ณุ เหน็ นี่แหละครบั ” เขาตอบ “หากไม้ทั้งต้นต้องหักก้านรานก่ิงเสียก่อนแล้ว เอาขวานถากเอาเปลือกออก  ถากให้เรียบแล้วเลื่อย ออกเป็นแผ่นๆ  ไสกบให้เรียบร้อยแล้วน�ำไปตาก ให้แห้ง  ไสกบอีกครั้งหนึ่งแล้วน�ำไปปูพื้น  หากจะ ให้มนั  ก็ลงเชลแลก็ เสียก่อน”

36 ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต เราขอบใจช่างไม้ที่ช่วยอธิบาย แล้วเดินต่อไป ใจกร็ ะลกึ ถงึ คนเราซงึ่ มลี กั ษณะคลา้ ยคลงึ กบั ไม ้ คอื คนที่มีอัธยาศัยหยาบเกะกะระราน  พ้ืนเพทางจิตใจ ยังหยาบอยู่ก็ต้องขัดเกลากันไปก่อน  ต้องผ่าน กรรมวิธีมากมายจนกว่าจะมีอัธยาศัยเรียบ  ควรแก่ การสอนธรรมเบื้องสูงได้  หากเอาเชลแล็กมาลงไม้ ทั้งต้นย่อมไร้ผลฉันใด  บุคคลท่ีควรรับธรรมอัน ละเอียดประณีต  ก็ต้องปรับพ้ืนอัธยาศัยให้พอรับ ธรรมน้นั ได้เสียก่อนฉนั น้ัน



สอนธรรมอันลุ่มลึก พระพุทธองค์เมื่อจะทรงแสดงธรรมระดับสูง ก็ต้องทรงตรวจดูอัธยาศัยของผู้รับธรรมนั้นก่อนว่า พน้ื ใจของเขากบั ธรรมระดบั นน้ั พอจะไปกนั ไดห้ รอื ไม่ จงึ ปรากฏในคมั ภรี เ์ สมอวา่  กอ่ นจะทรงแสดงอรยิ สจั มกั ทรงตอ้ งปรบั ระดบั จติ ใจของผฟู้ งั ดว้ ยอนปุ พุ พกิ ถา เสียก่อนแล้วทรงแสดงอรยิ สัจในภายหลงั แมภ้ กิ ษปุ ญั จวคั คยี ซ์ ง่ึ เปน็ นกั พรตอยกู่ อ่ นแลว้ มอี ธั ยาศยั ประณตี พอควรอยแู่ ลว้  กย็ งั ตอ้ งทรงเทศนา โปรดด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดอยู่หลายวัน จึงทรงแสดงธรรมช้ันสูงคือ  อนัตตลักขณสูตรว่า ด้วยเร่ืองอนัตตา

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 39 บางคราวทรงรอคอยให้อินทรีย์ของคนบางคน แกก่ ลา้ เสยี กอ่ น แลว้ จงึ ทรงแสดงธรรมใหเ้ หมาะสม แกอ่ นิ ทรยี น์ นั้  เชน่  ทรงรอคอยอนิ ทรยี ข์ องพระวกั กลิ ผู้หลงใหลในพระรูปกายของพระองค์  อินทรีย์เป็น สิ่งส�ำคัญมากในการเข้าใจอะไรสักอย่างหนึ่ง  โดย เฉพาะอยา่ งยง่ิ ความเขา้ ใจในธรรมทย่ี าก ธรรมทสี่ ขุ มุ ลุ่มลึก ผู้มีอนิ ทรยี อ์ อ่ นยอ่ มไมอ่ าจเขา้ ใจได ้ จะอธบิ าย สกั เพยี งใดก็ตาม ผู้สอนธรรมต้องไม่ใจร้อน รอได้ คอยได้  สักวันหน่ึงเม่ืออินทรีย์เขาแก่กล้าขึ้น  เขา ยอ่ มเขา้ ใจไดเ้ อง เมอ่ื รวู้ า่ เขาไมเ่ ขา้ ใจกไ็ มค่ วรอธบิ าย ธรรมนั้นซ�้ำซากเกินไป  เพราะถึงอย่างไรก็ท�ำให้เขา เขา้ ใจไมไ่ ด ้ เพราะอนิ ทรยี เ์ ขายงั ไมแ่ กก่ ลา้ พอ หนา้ ที่ ของเราคือการประคับประคองเขาให้ศึกษาธรรม อันเป็นบริวารของธรรมอันลุ่มลึกน้ัน  ในที่สุดเขา กจ็ ะเข้าใจได้

40 ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต อุปมาเหมือนสตรีมีครรภ์ เมื่อครรภ์แก่เต็มท่ี แลว้  การคลอดบตุ รยอ่ มจะตอ้ งมอี ยา่ งแนน่ อน หาก ครรภ์ยังไม่แก่คือเพียงเดือนเดียว  สองเดือน  จะ พยายามอ้อนวอนหรือท�ำโดยวิธีใดวิธีหน่ึงก็ไม่อาจ คลอดบุตรโดยถูกต้องสมบูรณ์ได้  เร่ืองข้าวและ การมผี ลของต้นไม้ก็ท�ำนองเดียวกนั นคี่ อื ตวั อยา่ งทแ่ี สดงใหเ้ หน็ วา่  อนิ ทรยี ข์ องคน มคี วามสำ� คญั เพยี งใด บคุ คลยอ่ มสามารถรบั รสู้ งิ่ ใด สิ่งหน่ึงตามก�ำลังสติปัญญาของตน  เหมือนเด็กรับ อาหารได้ตามขนาดปากและวัยของตน สรุปว่า พ้ืนทค่ี วรลงเชลแล็กต้องเป็นพ้ืนเรยี บ ฉันใด  จิตใจท่ีควรแก่ธรรมช้ันสูงต้องเป็นจิตใจท่ี ประณตี พอควรแล้ว ฉันน้ัน

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 41

นำ้ �เซาะดนิ เดินต่อไปอีกไม่ไกลนัก  เราเห็นน้�ำก�ำลังไหล เซาะดนิ ยนื ดอู ยคู่ รหู่ นงึ่ นกึ ไดว้ า่ ดนิ ตรงนเี้ ปน็ กอ้ นดนิ แข็งอยู่เม่ือ  ๒-๓  วันก่อน  เมื่อคืนน้ีฝนตกหนัก น้�ำฝนบ้าง  น�้ำที่ไหลมาจากท่ีสูงบ้าง  เซาะดินน้ัน ผสมกบั ดินนั้น จนดนิ เหลวไปหมด เป็นดินโคลน ดินเป็นของแข็ง  น�้ำเป็นของอ่อน  ส่ิงแข็งมัก พา่ ยแพแ้ กส่ ง่ิ ออ่ นเสมอ อยา่ วา่ เพยี งแคด่ นิ เลย หนิ ทแี่ ขง็ จนใครๆ เมอื่ พดู ถงึ ความแขง็ ของสง่ิ ใดสง่ิ หนง่ึ มักพูดว่า  “แข็งเหมือนหิน”  นั้น  น้�ำก็ยังสามารถท�ำ ให้กลมเกล้ยี งได้

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 43 ความอ่อนโยน ความสุภาพ ความอ่อนน้อม ย่อมชนะใจคนได้เสมอ  เด็กท่ีผู้ใหญ่รักก็เพราะ ความออ่ นโยนออ่ นหวานของเขา มารดาบดิ าจงึ ยอม เหน็ดเหน่ือย  ยอมเสียสละ  และท�ำให้ทุกอย่างเพื่อ ความสุขของลูก  ลูกเอาชนะใจของมารดาบิดาได้ก็ เพราะความรู้จักเคารพ  อ่อนน้อมอ่อนโยนและอ่อน หวาน  สตรีท่ีเอาชนะใจชายได้  ก็ด้วยคุณสมบัติคือ ความสุภาพอ่อนน้อมเหมือนกนั  สง่ิ ใดทอี่ อกไปจาก ตัวเรา  มักต้องกลับคืนมาหาเราเสมอ  เราอ่อนน้อม ต่อผู้อื่น  เขาก็ย่อมอ่อนน้อมต่อเรา  เราแข็งกระด้าง ต่อผู้อนื่  เขากย็ ่อมแข็งกระด้างต่อเรา

44 ธ ร ร ม ช า ติ กั บ ชี วิ ต ไม่เพียงแต่ผู้น้อยจะต้องอ่อนโยนต่อผู้ใหญ่ เพยี งฝา่ ยเดยี วเทา่ นนั้  ผใู้ หญก่ ต็ อ้ งออ่ นโยนตอ่ ผนู้ อ้ ย เหมอื นกนั  ผู้น้อยจึงจะรักใคร่มคี วามสนทิ ใจ หินแขง็   แพ้นำ�้ เหลก็ แขง็   แพ้ไฟ ไฟร้อน  แพ้นำ�้ เย็น (ต้องจ�ำนวนเท่าๆ กนั  ไม่ใช่น�ำ้ น้อยกว่ามาก)

ความสุภาพอ่อนน้อมเป็นมงคลแก่บุคคล ผู้ประพฤติ  เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้คนอื่นรักใคร่เคารพ นับถือ  ส่วนความแข็งกระด้างนั้นเป็นเสนียด

ยอดมะขามอ่อน เราหมนุ ตวั กลบั เพราะเหน็ สายแลว้ เกรงไปทำ� งาน ไม่ทัน  เดินผ่านต้นมะขามใหญ่  เด็กหลายคนก�ำลัง ปีนป่ายอยู่บนกิ่ง  แหงนหน้าข้ึนไปดู  พวกเขาก�ำลัง เกบ็ ยอดมะขาม ยอดมะขามนน้ั เคยี้ วกนิ เลน่ กอ็ รอ่ ย เอาไปแกงกับปลาหรอื กุ้งกไ็ ด้ อร่อยด ี มีหลายยอด หลน่ ลงมา เราเกบ็ ถอื มายอดหนง่ึ  เมอื่ ถงึ โตะ๊ ทำ� งาน ได้วางยอดมะขามไว้บนหนังสือเล่มหนึ่ง  ต้ังปัญหา ขึ้นในใจว่าไฉนยอดมะขามจึงอ่อน  ไม่เพียงแต่ยอด มะขามเท่านั้น  ยอดไม้ทุกชนิดอ่อนท้ังนั้นท�ำให้ หวนคดิ ถงึ คน รู้สกึ ว่าจะอยู่ในทำ� นองเดียวกนั

อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 47 คนชั้นยอดๆ  มักเป็นผู้อ่อนโยน  อ่อนน้อม สภุ าพ จงึ สามารถเอาชนะใจคนอน่ื ได ้ จงึ ไดร้ บั การ สนับสนุนใหเ้ ปน็ ใหญเ่ หนอื คน ไมเ่ ปน็ ทห่ี นกั ใจแก่ ผอู้ ยเู่ บอื้ งลา่ ง มองในแง่จิตวิทยา  ท่านว่าคนเหล่าน้ีไม่มีปม ดอ้ ย ไม่มีความกดดัน จึงไม่ต้องระบายความเขื่อง หรือความใหญ่กับใคร  ส่วนคนที่ไม่ใหญ่จริง  เมื่อ ได้รับความกดดัน  จึงมักมาระบายความย่ิงใหญ่กับ คนทต่ี ำ� แหน่งฐานะด้อยกว่า ธรรมชาตแิ ละชวี ติ มคี วามละมา้ ยคลา้ ยคลงึ กนั อยอู่ ยา่ งน ี้ มองธรรมชาตใิ หด้ กี จ็ ะเหน็ ภายในของคน และเห็นสัจธรรมไปด้วย



แสงหิ่งหอ้ ยในราตรี คู่ มื อ ชี วิ ต อั น ทุ ร พ ล


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook