ธรรม สุขกลางปา่ กลางใจพระไพศาล วสิ าโล
ธรรม สขุกลางปา่ กลางใจ พระไพศาล วสิ าโล
ค�ำปรารภ ธรรมนน้ั มอี ยทู่ กุ หนแหง่ มไิ ดจ้ ำ� กดั อยแู่ ตใ่ นวดั คมั ภรี ์ หรอื คำ� เทศนา เทา่ นน้ั แตม่ สี ถานทบ่ี างแหง่ ทเ่ี ออ้ื ใหเ้ ราเหน็ ธรรมไดง้ า่ ยขน้ึ เชน่ ปา่ เขา ล�ำเนาไพร ท้ังนี้เพราะความสงบสงัดช่วยน้อมใจเราให้สงบ สามารถ เห็นกายและใจตามความเป็นจริงได้ชัดขึ้น ขณะเดียวกันวัฏจักรของ ธรรมชาติรอบตัว ก็แสดงสัจธรรมให้เราเห็นอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่ ท�ำใจให้ว่าง อยู่กับปัจจุบัน ธรรมก็ปรากฏให้เห็น ผ่านต้นไม้ สายนำ้� ขนุ เขา และสิงสาราสัตว์ เมอ่ื พาตวั มาอยทู่ า่ มกลางปา่ เขา เรายอ่ มมอิ าจพงึ่ พาความสขุ และ ความสะดวกสบายซึ่งมีอยู่อย่างครบครันจากชีวิตในเมืองได้อีกต่อไป น่ันคือโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้และเข้าถึงความสุขจากชีวิตที่เรียบง่าย รวมทง้ั ความสขุ จากใจของเรา ความสขุ นน้ั มอี ยแู่ ลว้ กลางใจเรา แตค่ น ส่วนใหญ่ไม่ตระหนัก เพราะมัวเพลิดเพลินกับความสุขจากวัตถุสิ่งเสพ ภายนอก วิถีชีวิตท่ีดึงจิตออกนอกตัวตลอดเวลา จนรู้สึกแปลกแยกกับ ตัวเอง ยิ่งท�ำให้ผู้คนตัดขาดจากความสุขด้านใน อันเป็นความสุข ที่ประณีตลึกซ้ึง ผลก็คือผู้คนพากันพึ่งพิงวัตถุส่ิงเสพจนขาดอิสรภาพ ต่อเม่ือตระหนักและสัมผัสได้ถึงความสุขกลางใจ เราจึงจะมีอิสรภาพ อยา่ งแท้จริง 2 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
การหาเวลาปลกี ตวั มาอยกู่ ลางปา่ เพอื่ เปดิ ใจสมั ผสั ธรรมและความ สขุ ภายใน เปน็ การใหร้ างวลั แกต่ นเองอกี อยา่ งหนงึ่ ทเ่ี รามพิ งึ มองขา้ ม ทั้งน้ีเพ่ือเปิดทางให้เราเรียนรู้ท่ีจะมีความสุขในทุกที่ เห็นธรรมในทุก สถาน ถงึ ตอนนน้ั ไมว่ า่ อะไรจะเกดิ ขน้ึ แกเ่ รา ใจกเ็ ปน็ ปกตอิ ยไู่ ด ้ เพราะ เห็นถึงความเป็นธรรมดาของมัน ถึงแม้จะเป็นความเจ็บป่วย ความ พลดั พรากสูญเสยี หรอื ความตายกต็ าม หนงั สอื เลม่ นมี้ ที มี่ าจากคำ� บรรยายของขา้ พเจา้ ในชว่ งทช่ี าวชมรม กัลยาณธรรม ซ่ึงน�ำโดยคุณหมออัจฉรา กล่ินสุวรรณ์ มาปฏิบัติธรรม อย่างเข้มข้นในหุบเขากลางป่าภูหลง อันเป็นที่ตั้งของวัดป่ามหาวัน ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๐ เดือนมกราคม ๒๕๕๗ เป็นช่วงเวลาท่ีหลายคน ได้กลับมาอยู่กับตัวเอง และเผชิญหน้ากับอารมณ์ต่างๆ หลายอย่าง รวมท้ังความกลัว โดยเฉพาะในยามค่�ำคืนท่ีต้องนอนอยู่แต่ผู้เดียวใน เต็นท์ แต่เมื่อจิตเริ่มสงบเพราะมีสติเป็นเคร่ืองรักษาใจ ก็สัมผัสได้ถึง ความสุขจากความตื่นรู้ ซึ่งหากรักษาไว้อย่างต่อเน่ืองก็สามารถปลุก ปญั ญาเพ่ือส่องสวา่ งนำ� ทางชวี ติ สู่อสิ รภาพจากความทุกข์ได้ ขออนโุ มทนาคณุ หมออจั ฉรา และชาวชมรมกลั ยาณธรรม ทเ่ี หน็ วา่ คำ� บรรยายดงั กลา่ วมปี ระโยชน ์ ควรจดั พมิ พเ์ พอื่ เผยแพรเ่ ปน็ ธรรมทาน แก่ผู้สนใจ และขอขอบคุณคุณสุดารัตน์ แก้วแท้ ท่ีเขียนภาพประกอบ อย่างงดงาม ถ่ายทอดบรรยากาศระหว่างการปฏิบัติธรรมในป่า ซึ่ง ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ไม่ยาก และขออนุโมทนาบริษัทอมรินทร์พริ้น ติ้งแอนด์พบั ลิชชิง่ จำ� กดั (มหาชน) ทอ่ี นุเคราะหจ์ ดั พิมพ์เพอ่ื แจกเป็น ธรรมทานในคร้ังนี้ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ 3 พระไพศาล วิสาโล
คำ� นำ� ของ ชมรมกลั ยาณธรรม ชีวิต..ต่างต้องต่อสู้ด้ินรนเพ่ือความเจริญก้าวหน้าและความราบรื่น ปลอดภยั ทง้ั หนา้ ทก่ี ารงาน สขุ ภาพ สมั พนั ธภาพ และการพฒั นาดา้ นจติ ใจ เป็นต้น เราล้วนมีส่วนส�ำคัญ มีคุณค่า ในสังคมน้อยใหญ่ท่ีเรามีส่วนร่วม ถงึ แมว้ า่ แตล่ ะคนอาจมเี ปา้ หมายและมมุ มองตา่ งกนั ไป แตส่ งิ่ หนงึ่ ทแี่ นน่ อน คอื ทกุ ชวี ติ ปรารถนาความสขุ ความเจรญิ และความราบรน่ื เรยี บรอ้ ยในทกุ ดา้ น ทช่ี วี ติ ตอ้ งสมั พนั ธ ์ แตก่ ารเกยี่ วขอ้ งกบั สง่ิ ตา่ งๆ ลว้ นไมอ่ าจเปน็ ไปตามใจเรา หวงั ในทกุ ๆ ดา้ นลว้ นแลว้ แตเ่ หตปุ จั จยั หลากหลาย ชวี ติ จงึ ตอ้ งประสบความ ผิดหวัง พลัดพรากสูญเสีย ตามราคาของความยึดม่ันถือมั่นที่เราผูกไว้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการเก่ียวข้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คน อาจเป็นเหตุส�ำคัญท ่ี ท�ำใหบ้ างคราวชีวติ จะรูส้ กึ เหนอ่ื ยลา้ ออ่ นพลังไปบา้ ง ทกุ คนจงึ ควรตอ้ งมโี อกาสได ้ “ชารต์ แบตชวี ติ ” เปน็ ระยะๆ เพอื่ เตมิ เตม็ ประสทิ ธภิ าพรอบดา้ น และยงั เปน็ โอกาสดใี หเ้ ราถอยออกมามองดภู าพรวม ของชีวิต ทบทวนบทบาทหน้าที่ และให้รางวัลรูปนามนี้ได้มีโอกาสเข้าถึง ความงาม ความจรงิ ตามธรรมชาต ิ เพอ่ื ประจกั ษแ์ จง้ ในสจั จธรรม ทา่ มกลาง ธรรมชาตอิ นั บรสิ ทุ ธบิ์ า้ ง อนั จะนำ� มาซงึ่ ความสขุ ทไ่ี มม่ โี ทษ ทง้ั นแ้ี ตล่ ะทา่ น คงมี “เซฟเฮ้าส์” ที่อบอุ่น ปลอดภัยส�ำหรับพักใจเพ่ือชาร์ตแบตชีวิตและ ดีท๊อกซ์อารมณ์แตกต่างกันไป ท่ีแห่งนั้นย่อมเป็นที่รักในยามที่ระลึกถึงและ อบอนุ่ ปลอดภยั ในความทรงจำ� สำ� หรบั เราเสมอ สำ� หรบั ขา้ พเจา้ แลว้ “ภหู ลง” คือบ้านหลังนั้น ยามที่เราอ่อนล้า และต้องการพักหรือถึงเวลาถอยออกมา 4 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
จากวงั วนชวี ติ เดมิ ๆ มาฝากกายใจใกลช้ ดิ ธรรมชาต ิ เพอื่ ใหบ้ อกสอนสจั ธรรม เตือนใจให้ก�ำลังใจเราบ้าง เราเลือกท่ีจะมารอนแรมพักพิงอยู่ในราวป่า ทา่ มกลางแมกไมส้ ายธารและรตั ตกิ าลทวี่ เิ วกสงบสงดั ของพงไพร ดว้ ยความ เมตตาของพระอาจารยไพศาล วิสาโล ปิยาจารย์ที่เคารพศรัทธายิ่ง ท่าน ใหเ้ วลาและโอกาสแกค่ ณะศษิ ยช์ าวชมรมกลั ยาณธรรมเสมอมา รวมทงั้ ทา่ น ยงั ถอื โอกาสพกั เกบ็ ตวั ภาวนากบั พวกเราตลอด ๔-๕ วนั เตม็ ไมท่ อดทง้ิ เราไว้ ล�ำพัง เวลาแค่ ๕ วันที่กุฏิ ๑๑ หุบเขาป่าภูหลง พวกเราได้ใช้เวลาอย่างมี คณุ คา่ ยงิ่ ปลกี ตวั ออกมาจากสงั คมเมอื งทค่ี นุ้ เคย ตดั ขาดจากเทคโนโลยแี ละ การสื่อสาร เป็นอยู่เรียบง่ายแต่สัปปายะ มาเผชิญความจริงแห่งสัจจธรรม ของชวี ติ เผชญิ หนา้ กบั อารมณห์ ลากหลายของตนเอง ทกุ คำ�่ เชา้ พระอาจารย ์ จะแสดงธรรมชี้ทางปัญญา ด้วยเนื้อหาท่ีเกื้อกูลการปฏิบัติและมีตัวอย่าง หลากหลายท่ีทันสมัย ทุกเวลาที่น่ัน พวกเราก็ได้อยู่กับตัวเองเต็มท่ี โดยม ี ธรรมชาติรอบตวั เป็นครทู ีเ่ มตตาและจรงิ ใจอยา่ งยิ่ง เราและคณะไดอ้ าศยั “ภหู ลง” เปน็ บา้ นทางธรรมมาหลายปตี ดิ ตอ่ กนั เพ่ือเติมพลังชีวิตและใกล้ชิดครูสอนธรรมท่ียิ่งใหญ่คือธรรมชาติของราวป่า ถงึ แมเ้ วลาอนั มคี า่ ยง่ิ ไดผ้ า่ นมานาน ความรสู้ กึ ทง่ี ดงาม เปน็ อสิ ระและความ ทรงจ�ำต่างๆ ยังประทับอยู่ไม่รู้ลืม จริงอยู่ สมองคนเราอาจจะจ�ำอะไรได้ ไมน่ าน ต่อเมอ่ื ทกุ เรอ่ื งราวสมั ผสั ถึงใจแลว้ ยอ่ มประทับความร้สู ึกตา่ งๆ ไว้ เน่ินนานเหมือนมีชีวิตขึ้นมาทุกครั้งยามระลึกถึง เหนืออื่นใดคือธรรมอัน ประเสริฐจากความเมตตาของครูที่พวกเราไม่เคยปล่อยให้ลอยหายไปใน สายลม ทกุ ครง้ั ทกี่ ลบั มา จงึ ไดร้ วบรวมพระธรรมเทศนาอนั ทรงคณุ ประโยชน ์ นำ� มาจดั พมิ พเ์ ปน็ หนงั สอื ซง่ึ หนงึ่ ในนน้ั คอื ธรรมกลางปา่ สขุ กลางใจ เลม่ น ้ี ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยถอดความ เรียบเรียง จัดรูปเล่ม และน้องรัก สดุ ารตั น ์ แกว้ แท ้ ทเ่ี ขยี นภาพประกอบใหอ้ ยา่ งงดงาม สามารถสอื่ ความสอ่ื 5 พระไพศาล วิสาโล
บรรยากาศให้บทธรรมราวกับมีชีวิตจริง กราบนมัสการขอบพระคุณพระ อาจารย์ท่ีเมตตาอนุญาต และยังสละเวลาตรวจทานต้นฉบับให้ และกราบ ขอบพระคณุ พส่ี าวผเู้ ปย่ี มเมตตา-คณุ เมตตา อทุ กะพนั ธ ์ุ แหง่ บรษิ ทั อมรนิ ทร์ พร้ินติ้งแอนด์พับลิชช่ิง จ�ำกัด (มหาชน) ที่อนุเคราะห์ในการจัดพิมพ์เป็น ธรรมทานด้วยจิตแหง่ เมตตา “ชีวิตแสนสั้น แต่ธรรมนั้นยืนยาว” การเรียนรู้ชีวิตนั้น เราเรียนกัน ไม่จบง่ายเลย แต่องค์ประกอบส�ำคัญคือธรรม ทุกคน ทุกสิ่ง ล้วนถูกเลือก เข้ามาเพ่ือเปล่ียนแปลงและสอนบทเรียนอะไรสักอย่างให้เราเสมอ ไม่ว่าจะ เปน็ เรอ่ื งเลก็ ๆ นอ้ ยๆ หรอื ยงิ่ ใหญเ่ พยี งไร บางคนอาจท�ำใหโ้ ลกนสี้ วา่ งไสว บางคนอาจท�ำให้โลกของเราพังทลาย แต่สุดท้ายแล้ว...เราจะต้องขอบคุณ ทุกคนท่ีสอนให้เราเรียนรู้ ขอบคุณทุกส่ิงท่ีท�ำให้โลกของเราเปลี่ยนไป และ ท�ำให้เราเปล่ียนแปลง ขอเชิญชวนทุกท่านหาโอกาสปลีกออกมาจากชีวิต เพ่ือมารู้จักชีวิตให้ชัดๆ โดยการใกล้ชิดธรรมชาติ เป็นการชาร์ตแบต เสริม พลังชีวิตให้มีชีวา เพ่ือท�ำชีวิตให้ย่ิงมีค่าท้ังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ในเวลาอนั แสนสน้ั ของลมหายใจ ในนามชมรมกลั ยาณขอนอบนอ้ มอานสิ งส ์ แห่งธรรมน้ีน้อมถวายเป็นอาจริยบูชา เน่ืองใน ๕๘ ปีแห่งชาตกาลของ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล (วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘) พระมหาเถระ ผู้อุทิศตนเพื่อประกาศพระศาสนธรรมสู่สังคมเพ่ือยังประโยชน์แก่พหูชน อย่างอาจหาญมั่นคงเสมอมา ในนามคณะศิษย์ด้วยความเคารพบูชาเหนือ เศยี รเกลา้ กราบขอบพระคณุ และอนโุ มทนาบุญอย่างย่ิง ทพญ.อัจฉรา กล่ินสวุ รรณ์ ประธานชมรมกลั ยาณธรรม ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ 6 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
สารบัญ ๙ ส่ิงทนี่ า่ กลวั ท่ีสุด ๒๙ มตี นเปน็ เกาะ มีตนเปน็ ท่พี ง่ึ ๔๕ ร้เู ฉยๆ ๖๓ รทู้ กุ ข์ พน้ ทุกข์ ๘๓ อยกู่ ็เป็นสุข ตายก็ไปดี ๑๐๗ ปฏบิ ตั แิ บบไม่ทำ� ๑๒๗ เหนือโลก พ้นสมมตุ ิ ๑๔๗ พ้นทุกข์ เม่อื เห็นธรรม
สิ่งท่ี น่ากลวั ทีส่ ดุ ก่อนอื่นขอกล่าวต้อนรับหมอจุ๋มกับคณะที่ได้มาปฏิบัติธรรมที ่ วดั ปา่ มหาวนั บรเิ วณตรงนเ้ี ราเรยี กวา่ กฏุ ิ ๑๑ เปน็ บรเิ วณทเี่ ราจะ ได้ปลกี วิเวกเพือ่ การภาวนา แตก่ อ่ นทนี่ บ่ี รรยากาศไมค่ อ่ ยเออื้ ตอ่ การภาวนาเทา่ ไร เพราะ เปน็ บรเิ วณทม่ี ไี ฟไหมซ้ ำ้� ซาก ตน้ ไมถ้ กู ทำ� ลายไปมากทเี ดยี ว ศาลา หลังนี้สร้างข้ึนเพื่อใช้ในการฟื้นฟูป่าเม่ือ ๒๐ ปีท่ีแล้ว คือต้ังแต่ป ี ๒๕๓๘ เราสรา้ งศาลาหลงั นข้ี น้ึ เพอื่ อำ� นวยความสะดวกในการปลกู ปา่ 9 พระไพศาล วิสาโล
มเี พอื่ นๆ จากอสั สมั ชญั มาชว่ ยกนั ปลกู ปา่ ตงั้ แตป่ ี ๒๕๓๗ แตก่ อ่ นเรา เรยี กตรงนวี้ า่ ปา่ อสั สมั ชญั เพราะมแี ปลงปลกู ปา่ ของชาวอสั สมั ชญั อย ู่ ทางวดั กบั ชาวบา้ นไดช้ ว่ ยกนั ปอ้ งกนั ไฟปา่ ปแี ลว้ ปเี ลา่ จนกระทง่ั สามารถยันเอาไว้ได้ เป็นผลท�ำให้ต้นไม้โตจนสูงท่วมหัว และเริ่ม จะฟื้นคืนสภาพป่า กลายเป็นสถานที่ท่ีเอ้ือต่อการปฏิบัติธรรม มีคณะของชมรมกัลยาณธรรมโดยการน�ำของคุณหมอจุ๋มเป็น คณะแรกท่ีมาใช้ท่ีน่ีในการภาวนาเมื่อ ๓-๔ ปีท่ีแล้ว หลังจากน้ัน ก็มีคณะอื่นเข้ามาใช้เพื่อการภาวนาติดต่อกันเร่ือยมา ไม่ว่าจะ เป็นเครือข่ายพุทธิกาหรือคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจังหวัดเลย รวมท้งั มีกลุ่มเล็กกลุ่มนอ้ ยเขา้ มาใชใ้ นชว่ งเวลาสนั้ ๆ ด้วย จะว่าไปแล้วท่ีนี่ยังไม่เรียกว่าสัปปายะ เพราะยังขาดอะไรอีก หลายอยา่ ง แตใ่ นแงข่ องความสงบ ความรม่ รนื่ จากธรรมชาต ิ ทน่ี ่ี มีมากพอสมควร สถานที่แบบนี้พวกเราบางคนอาจจะไม่คุ้นกับ การมาค้างแรม โดยเฉพาะอยู่ในเต็นท์ อีกทั้งยังเป็นการค้างแรม ตามล�ำพัง คนท่ีไม่คุ้นกับการอยู่ป่าอาจจะกลัว อาจจะวิตกกังวล ว่าจะมีสัตว์ที่เป็นอันตรายหรือเปล่า หรือคิดไปไกลถึงขั้นว่าจะม ี อมนุษย์มารบกวนรังควาน ขอบอกว่าท่ีนี่ไม่มีอันตราย สัตว์ท่ีจะ เปน็ อนั ตรายกต็ วั เลก็ มาก เชน่ พวกเหบ็ แตก่ ม็ นี อ้ ย สตั วใ์ หญห่ รอื สตั วเ์ ลอ้ื ยคลานท่จี ะเปน็ อนั ตรายกม็ อี ยูบ่ ้าง แตถ่ ้าเราระมัดระวงั ก็ 10 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
จะปลอดภยั อยา่ งเชน่ เวลาเราเดนิ ตอนกลางคนื กเ็ ปิดไฟฉาย เม่ือ เราอยใู่ นเตน็ ทก์ ป็ ดิ ใหม้ ดิ ชดิ อยา่ ไปวติ กกงั วลวา่ จะมอี นั ตรายใดๆ ไมว่ า่ จากสตั ว์รา้ ยหรอื จากคน เวลาคา้ งแรมแบบนส้ี ง่ิ ทน่ี า่ กลวั ทส่ี ดุ ไมใ่ ชอ่ ะไรเลย แตค่ อื ใจ ของเรา ใจของเรานแ่ี หละทนี่ า่ กลวั ทส่ี ดุ เพราะมนั สามารถจะปรงุ แตง่ อะไรตา่ งๆ ไดร้ อ้ ยแปดพนั เกา้ สงิ่ ทเ่ี ปน็ ธรรมชาตธิ รรมดา ใจ เรากอ็ าจจะปรงุ แตง่ ใหเ้ ปน็ ความนา่ กลวั อยา่ งคณะทม่ี ากางเตน็ ท์ คา้ งคนื ทนี่ เี่ มอื่ วาน มคี นหนง่ึ บอกวา่ นอนไมค่ อ่ ยหลบั เพราะไดย้ นิ เสียงร้องเรียกหาแม่ตลอดเวลา แม่ แม่ แม่ น่ีมันเป็นความปรุง แต่งของใจ คอื สตั ว์มนั ร้อง แต่เขาปรงุ ไปว่าเป็นเสยี งร้องหาแม่ ตอนที่อาตมามาอยู่วัดป่าสุคะโตใหม่ๆ เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน วันแรกท่ีมาถึงมีพระเตือนว่าเวลาได้ยินเสียงร้องกลางคำ่� กลางคืน เหมือนกับเสียงผู้หญิงร้องโอ๊ยๆ อย่าไปตกใจ มันคือเสียงอีเห็น ท่ีจริงอาจจะไม่ใช่เสียงร้องโอดโอยด้วยซำ้� แต่ใจหรือหูของเรามัน ปรุงแต่งให้เป็นเสียงร้องของคน ใจของเราสามารถปรุงแต่งเสียง ธรรมชาติ เสียงลม เสียงใบไม้กรอบแกรบให้กลายเป็นเสียงท่ี น่ากลัวได้ บางทีแค่เสียงหนูเดินเหยียบใบไม้แห้ง ก็อาจได้ยินเป็น เสียงฝีเท้าคนเดินอยู่รอบกุฏิก็ได้ ยิ่งถ้าเรากลัวก็ยิ่งคิดปรุงแต่ง 11 พระไพศาล วิสาโล
ไปใหญว่ า่ เปน็ เสยี งคนหรอื เปน็ เสยี งผกี นั แน ่ แตถ่ า้ เรามาพบความ จรงิ กค็ งจะอดขำ� ไมไ่ ดว้ า่ ออ้ เปน็ หนนู เ่ี อง แตเ่ ปน็ เพราะใจของเรา ขาดสติหรือนึกปรุงไปในทางร้ายอยู่ก่อน จึงปรุงแต่งไปว่าก�ำลังมี สงิ่ นา่ กลวั เกิดขนึ้ กับเรา ฉะนั้นเม่ือใดก็ตามที่เข้ามาค้างแรมอยู่ในป่าอย่างที่เราจะ เริ่มต้นกันในคืนน้ี ก็ขอให้เราตระหนักว่าในป่าไม่มีอะไรน่ากลัว เวลาเกิดอะไรขึ้นมา ก็อย่าเพิ่งส่งจิตออกนอก ให้กลับมาดูใจของ เรา ว่าใจของเราก�ำลังปรุงแต่งไปหรือเปล่า ท่ีจริงบางคนอาจจะ ไมไ่ ดป้ รงุ แตง่ ไปมากมายอะไร แตจ่ ๆู่ มนั มคี วามกลวั เกดิ ขนึ้ เพราะ เราไม่คุ้นกับความมืด หรือไม่คุ้นกับการอยู่คนเดียว การมีความ กลัวเกิดขึ้นก็เป็นแบบทดสอบให้เราได้กลับมาดูใจว่าเรารู้เท่าทัน อารมณแ์ ละความกลวั ทเ่ี กดิ ขนึ้ กบั ใจหรอื เปลา่ คนเราสว่ นใหญท่ กุ ข ์ เพราะความคิด เม่ือใดก็ตามท่ีเรามีความทุกข์ โดยเฉพาะความ ทกุ ขใ์ จเมอื่ อยใู่ นสถานทแี่ หง่ น ้ี กข็ อใหร้ วู้ า่ มนั เปน็ เพราะความคดิ ของเรา ความคดิ ทป่ี รงุ แตง่ ความคดิ ทเี่ ตลดิ เปดิ เปงิ ไป เมอื่ เรา รู้ทันความคิด มันก็หยดุ ปรุงแตง่ แลว้ กลบั มาเปน็ ปกติ สงิ่ ทอ่ี ยากจะแนะนำ� กค็ อื เมอื่ กลบั ไปทเ่ี ตน็ ทห์ รอื จดุ พกั แรม ใหพ้ ยายามทำ� ความคนุ้ เคยกบั สถานทน่ี น้ั เสมอื นว่าเปน็ บา้ นเรา 12 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ถา้ หากวา่ เราทำ� ความคนุ้ เคยกบั สถานทแี่ ลว้ ความอนุ่ ใจความมนั่ ใจ ในความปลอดภัยก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้าเราไม่ท�ำความคุ้นเคยกับ สถานท ่ี ใจกจ็ ะปรงุ แตง่ จนเกดิ ความหวาดระแวงไดง้ า่ ยๆ พยายาม มองให้เห็นว่าสถานท่ีที่เราไปกางเต็นท์ค้างแรมมีข้อดีอย่างไรบ้าง 13 พระไพศาล วิสาโล
อย่ามองเห็นแต่ข้อเสีย บางคนอาจจะรู้สึกว่าจุดกางเต็นท์ของฉัน ไม่ดเี ลย สู้จุดกางเตน็ ท์ของคนอน่ื ไม่ได ้ คิดแบบนจี้ ะท�ำใหเ้ ราร้สู ึก ไม่พอใจกับจดุ กางเตน็ ท์ของเรา ตรงนี้เองทจ่ี ะทำ� ให้เราขาดความ มน่ั ใจ หรอื ขาดความรสู้ กึ อบอนุ่ ในสถานท ี่ เมอ่ื ใดกต็ ามทเี่ รามคี วาม ม่ันใจ มีความอุ่นใจในสถานท่ีแล้ว การปรุงแต่งไปต่างๆ นานาก ็ จะลดลง อย่างไรกต็ ามอาจจะมคี วามกลัวเกิดขึ้นได้ส�ำหรบั คนท่ีไม่คุ้น กใ็ หถ้ อื หลกั วา่ เมอ่ื มคี วามกลวั สงิ่ ทเี่ ราควรทำ� ไมใ่ ชก่ ารกดขม่ หรอื หนีออกจากสถานท่ีนั้น หลายคนพอกลัวก็จะหนี ทำ� ให้ความกลัว นั้นตามหลอกหลอนเรา บางคนไม่หนีแต่กลับไปกดข่มแทนซึ่งก็ เปน็ สงิ่ ทไ่ี มค่ วรทำ� เชน่ กนั สงิ่ ทค่ี วรทำ� กค็ อื เมอื่ เรากลวั ตรงไหนกใ็ ห้ เราอยตู่ รงนนั้ อนั นพ้ี ระพทุ ธเจา้ สอนเอาไวจ้ ากประสบการณช์ ว่ งท่ี พระองคย์ งั เปน็ พระโพธสิ ตั วบ์ ำ� เพญ็ ธรรมเพอื่ การตรสั ร ู้ พระองค ์ ก็เคยกลัว กลัวจนขนลุกในยามค�่ำคืนเมื่ออยู่ล�ำพังคนเดียวในป่า เวลาสตั วป์ า่ ยอ่ งเขา้ มา หรอื กง่ิ ไมแ้ หง้ ตกลงเพราะนกยงู หรอื ถกู ลม พดั พระองคก์ ร็ สู้ กึ กลวั แตพ่ ระองคไ์ ดพ้ บวา่ เมอื่ กลวั ในอริ ยิ าบถใด กใ็ หอ้ ยใู่ นอริ ยิ าบถนน้ั หรอื กลวั ตรงไหนกใ็ หอ้ ยตู่ รงนน้ั แลว้ ความ กลัวก็จะค่อยบรรเทาลง มันบรรเทาลงเพราะอะไร เพราะเมื่อเรา ค้นุ เคยกบั มนั รจู้ ักมนั ด ี เรากจ็ ะพบวา่ มันไม่มอี ะไรทีน่ า่ กลัว 14 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ความกลัวเกิดขึ้นเพราะความหลง ความไม่รู้ แต่พอเรามี ความรู้มีความเข้าใจหรือมีความคุ้นเคยก็หายกลัว มารี กูรี่ เป็น นกั วทิ ยาศาสตรท์ ม่ี ชี อื่ เสยี งมาก พดู ไวน้ า่ สนใจวา่ “โลกนไี้ มม่ อี ะไร ทน่ี า่ กลวั มแี ตส่ งิ่ ทตี่ อ้ งท�ำความเขา้ ใจ” คอื พอมคี วามเขา้ ใจหรอื มี ความรใู้ นสิง่ น้นั ความกลวั ก็จะหายไป ฉะนน้ั การทเ่ี ราไดพ้ บดว้ ยตวั เองวา่ สถานทที่ เี่ ราอยนู่ นั้ แทจ้ รงิ แล้วปลอดภยั ไม่มอี ะไรนา่ กลวั กท็ �ำให้เราหายกลัวไปเอง หรอื เรา พบว่าไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดมันไม่มีอะไรท่ีน่ากลัว ความกลัวก็จะ หายไปเอง ไม่ต้องกดข่ม ไม่ต้องหนี อีกวิธีหน่ึงท่ีช่วยได้มากคือ มสี ตเิ หน็ ความกลวั เมอื่ มคี วามกลวั เกดิ ขน้ึ กด็ มู นั อยา่ ปลอ่ ยให ้ มันครอบง�ำใจ รับรู้ถึงความกลัวที่เกิดขึ้น หรืออาจจะกลับมา ดูกายว่า เวลากลัว กายเป็นอย่างไร ลมหายใจเป็นอย่างไร เกร็ง ไหม หัวใจเต้นเร็วไหม ดูกายแล้วก็กลับมาดูใจ จะช่วยได้เยอะ ทเี ดยี ว การทใ่ี หพ้ วกเรามาคา้ งแรมในทแ่ี บบน ี้ กเ็ พอื่ ใหเ้ ราไดม้ าฝกึ ดใู จของเรา ฝกึ รบั มอื กบั อารมณต์ า่ งๆ เรยี นรทู้ จี่ ะเผชญิ หนา้ แทนท่ี จะเป็นฝา่ ยหนมี ันตะพึดตะพือ ทจี่ รงิ ความกลวั เปน็ เพยี งอปุ สรรคเลก็ นอ้ ยเทา่ นน้ั ในระหวา่ ง การปฏบิ ตั ธิ รรมน ้ี เราจะพบวา่ มปี ญั หาอน่ื ตามมาอกี มากมาย นนั่ 15 พระไพศาล วิสาโล
คอื อารมณต์ า่ งๆ ทร่ี บกวนจติ ใจ เชน่ ความเบอ่ื ความงว่ ง พวกนี้ เป็นสิ่งทตี่ ้องเกดิ ข้ึน โดยเฉพาะเมอ่ื เรามาอยู่ในสถานทแ่ี บบน้ ี มนั ไม่มีอะไรที่จะเร้าจิตใจ ไม่มีสิ่งใหม่ๆ ให้สัมผัส ไม่มีแสงสี ไม่มีส่ิง ล่อเร้าเย้ายวน เจอแต่ส่ิงซ�้ำๆ เดิมๆ ความเบ่ือก็ย่อมเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา หรอื ไมก่ ง็ ว่ งไปเลย ทงั้ หมดนลี้ ว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ การบา้ นเพอ่ื ใหเ้ ราเรียนรทู้ ี่จะอยกู่ บั มนั หรอื จดั การกับมันอยา่ งถูกต้อง เราจะ ไดเ้ รยี นรอู้ ะไรหลายๆ อยา่ งเกยี่ วกบั ตวั เองจากการทไี่ ดม้ าหลกี เรน้ 16 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ในสถานทแี่ บบน ี้ อนั นเ้ี ปน็ ความตง้ั ใจของอาตมาทอี่ ยากใหพ้ วกเรา ซง่ึ เปน็ ผทู้ ส่ี นใจเรอ่ื งสมาธภิ าวนาอยแู่ ลว้ แทนทจี่ ะไปภาวนาในกฏุ ิ อย่างท่เี คยทำ� ก็ลองมาอย่ใู นสถานที่แบบนี้ดูบา้ ง ส�ำหรับคนท่ีคุ้นเคยกับท่ีแห่งนี้แล้ว ก็เชื่อว่ายังมีอะไรใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้เพ่ือช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากข้ึน มีทักษะในการ จดั การกบั อารมณต์ า่ งๆ ไดด้ ขี น้ึ สำ� หรบั คนใหมก่ ไ็ ดเ้ รยี นรอู้ ารมณ ์ พ้ืนฐาน โดยเฉพาะท่ีพูดไว้แล้วคือความกลัว หรือความรู้สึกไม่ ม่ันคงปลอดภัย ขอให้ตระหนักว่าถึงที่สุดแล้วมันเป็นปัญหาท่ีใจ ของเราเอง ถ้าเราไม่รู้ทันใจของเรา เราก็จะตกอยู่ในอ�ำนาจของ อารมณ์ตา่ งๆ โดยเฉพาะความกลัวและการปรงุ แตง่ ต่างๆ ใหก้ ลบั มาตง้ั สตใิ หด้ ี กลบั มาดใู จของเรา อยา่ สง่ จติ ออกนอก หรอื หากวา่ มนั ยงั ปรงุ แตง่ ไมจ่ บไมส่ นิ้ กอ็ าจเปน็ ตวั ชว่ ยใหจ้ ติ กลบั มาแนบแนน่ อย่กู บั ลมหายใจก็ได้ หลวงพ่อชา สุภัทโทเคยเล่าไว้ว่า สมัยที่เป็นพระหนุ่มท่าน เคยไปธุดงค์ในป่าคนเดียว คราวหน่ึงได้ปักกลดอยู่ในป่าที่ลึกมาก ตกกลางคืนขณะน่ังภาวนาก็ได้กล่ินสาปเสือ มันอยู่ใกล้มาก ท่าน ไมเ่ คยเหน็ เสอื หรอื ไดก้ ลน่ิ สาปเสอื มากอ่ น แตพ่ อไดก้ ลน่ิ สญั ชาต- ญาณก็บอกเลยว่าน่ีคือเสือ ความกลัวเกิดข้ึนทันที รู้สึกกระสับ 17 พระไพศาล วิสาโล
กระส่าย แต่พอตั้งสติได้ก็กลับมาตามลมหายใจ ปรากฏว่าจิตมัน ใหค้ วามรว่ มมอื เปน็ อยา่ งด ี จติ แนบแนน่ อยกู่ บั ลมหายใจ ไมห่ นไี ป ไหนเลย เพราะมนั รวู้ า่ ถา้ จติ สง่ ออกนอกเมอื่ ไร กจ็ ะนกึ ถงึ เสอื แลว้ ความกลัวก็จะเล่นงาน ความกลัวบีบบังคับให้จิตไม่ส่งออกนอก ปรากฏว่าตอนนั้นสมาธิของท่านดีมาก เพราะจิตแนบแน่นอยู่กับ ลมหายใจ มาเปดิ ตาอกี ทกี ป็ รากฏวา่ ใกลร้ งุ่ แลว้ ทา่ นนง่ั สมาธเิ ปน็ เวลานานหลายช่ัวโมง สมาธิท่านดีมาก จิตให้ความร่วมมือเป็น อย่างดี เพราะมันไม่กล้าส่งออกนอก ท่ีไม่กล้าส่งออกนอกเพราะ กลัวเสอื น่ันเอง อันน้ีเป็นวิธีหน่ึงในการรับมือกับความกลัว หรือเป็นการใช ้ ความกลัวให้เกิดประโยชน์ คือใช้เป็นตัวกระตุ้นหรือผลักดันให้จิต มีสมาธิ เพราะฉะน้ันถ้าเราเป็นนักภาวนา เราต้องฉลาดในการ ใชป้ ระโยชนจ์ ากทกุ อารมณท์ เี่ กดิ ขน้ึ ใชส้ ต ิ สมาธ ิ รวมทงั้ ปญั ญา ในการรับมือกับอารมณ์ท่ีรบกวนจิต ขอฝากเอาไว้ให้พวกเรา เอาไปพิจารณาหรือไปทดลองปฏิบัติ ในระหว่างที่เรามาอยู่ที่นี่ เรามีเวลาอยู่ท่ีน่ีไม่นาน ก็ขอให้เราใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ส่วน เรือ่ งอ่นื ๆ เรากค็ ่อยๆ เรยี นรกู้ นั ไป 18 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
อยากจะเชญิ ชวนใหฝ้ กึ ปฏบิ ตั เิ จรญิ สตติ ามแนวหลวงพอ่ เทยี น หลวงพ่อเทียนท่านใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ โดยอาศัยการเคลื่อน ไหวของกายเป็นหลัก ขณะท่ีท�ำก็ลืมตาด้วย เพราะท่านไม ่ ต้องการให้นักปฏิบัติติดสงบ หลายคนหลับตาแล้วก็จะติดสงบ ได้ง่าย พอติดสงบการยกจิตสู่วิปัสสนาก็จะเน่ินช้า ท่านอยากให้ ผู้ปฏิบัติข้ามความสงบไป เพ่ือเกิดความรู้สึกตัว และเอาความ รู้สึกตัวไปใช้ในการเจริญวิปัสสนา การเจริญสติที่หลวงพ่อเทียน แนะนำ� กค็ อื การใหม้ คี วามรตู้ วั ดว้ ยอริ ยิ าบถ ๒ แบบ คอื การยกมอื สร้างจงั หวะ และการเดินจงกรม อริ ยิ าบถแรกคอื การยกมอื สรา้ งจงั หวะ ใหน้ งั่ ในทา่ ขดั สมาธ ิ หรอื พบั เพยี บ หรอื จะนงั่ เกา้ อกี้ ไ็ ด ้ เปดิ ตา ทอดสายตาไปขา้ งหนา้ พอประมาณ สักหนึ่งเมตร มือวางคว่�ำไว้บนเข่า เร่ิมต้นด้วยการ พลิกสันมือต้ังขึ้นบนเข่าขวา และยกขึ้น เอามือมาวางไว้ท่ีท้อง พลกิ มอื ซา้ ยตงั้ ขน้ึ บนเขา่ ยกขนึ้ มาประกบกบั มอื ขวา เลอ่ื นมอื ขวา มาทหี่ นา้ อก ผายออก วางลงบนเขา่ แลว้ ควำ่� มอื ลง เลอื่ นมอื ซา้ ย มาที่หนา้ อก ผายออก วางลงบนเขา่ แล้วคว่�ำมือลง ระหวา่ งทที่ ำ� เราไมต่ อ้ งพากยใ์ นใจวา่ ยกมอื วางมอื เราเพยี ง แค่รู้สึกตัว รู้สึกเวลามือเคล่ือนไหว รู้สึกเบาๆ ไม่ถึงกับเพ่ง แค่รู้ 19 พระไพศาล วิสาโล
รเู้ บาๆ ถา้ เราเพง่ มนั กไ็ มใ่ ชค่ วามรสู้ กึ ตวั มนั จะเปน็ การรเู้ ฉพาะจดุ ถ้าเรารู้สึกตัว เวลาเรายกมือก็จะรู้ว่ามือยก อันน้ีเรียกว่ารู้กาย แต่เราจะรู้กายได้ไม่ต่อเนื่อง เพราะสักพักใจก็จะเผลอคิด พอคิด ใจมันก็ลอย พอใจลอยก็ไม่รู้ว่าก�ำลังยกมือ มือยกอยู่แต่ใจไม่รู้ว่า ยก อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้กาย ลืมสติ หรือว่าจิตไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน จิตไปอยู่กับความคิด เร่ืองที่เราคิดฟุ้งซ่านจนท�ำให้ไม่รู้กาย หรือ ไม่รู้ตัว มักหนีไม่พ้นเร่ืองในอดีตและอนาคต เม่ือใดก็ตามที่เรา ฟงุ้ ซา่ น เราไมไ่ ดอ้ ยกู่ บั ปจั จบุ นั แลว้ วธิ กี ารของหลวงพอ่ เทยี นกค็ อื เมอื่ ใจเผลอคดิ ไปกใ็ หร้ ทู้ นั ความคดิ นนั้ รแู้ ลว้ ไมต่ อ้ งทำ� อะไรกบั ความคดิ ใหก้ ลบั มารสู้ กึ วา่ มอื เคลอ่ื นไหว ตอนทคี่ ดิ ใจมนั ไมร่ สู้ กึ แลว้ นะวา่ มอื กำ� ลงั เคลอื่ นไหว มนั ไมร่ สู้ กึ ตวั แตพ่ อเรามสี ตกิ ลบั มา อยู่กับปัจจุบันก็จะรับรู้ว่าก�ำลังยกมือ หลวงพ่อเทียนใช้ค�ำว่า ให ้ รสู้ กึ ๆ เวลายกมอื การเจรญิ สตมิ หี ลกั งา่ ยๆ วา่ ตวั อยไู่ หนใจอยนู่ นั่ ตวั อยตู่ รงน้ี ใจกอ็ ยตู่ รงน ้ี ไมใ่ ชใ่ จไปทบี่ า้ น ใจไปนกึ ถงึ ลกู ใจไปนกึ ถงึ งาน อนั นน้ั เรยี กวา่ ใจไมอ่ ยกู่ บั เนอ้ื กบั ตวั การเจรญิ สตมิ หี ลกั ขอ้ แรกคอื ตวั อยไู่ หน ใจอยนู่ นั่ ขอ้ ทสี่ องกค็ อื รกู้ ายเคลอื่ นไหว เหน็ ใจคดิ นกึ อนั นเี้ พมิ่ ขน้ึ มาหน่อย รกู้ ายเคลื่อนไหวก็คือ เม่ือยกมอื กร็ ูส้ กึ วา่ มอื ก�ำลงั ยกขน้ึ เมอื่ เดนิ กร็ สู้ กึ วา่ กำ� ลงั เดนิ อย ู่ พอใจมนั เผลอคดิ นกึ กเ็ หน็ ความคดิ นกึ 20 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
เห็นแล้วมันก็จะวาง แล้วใจก็จะกลับมารู้กายท่ีก�ำลังเคล่ือนไหว เวลาเรายกมือก็รู้สึกว่ามือก�ำลังยก รู้สึกเบาๆ อย่าไปเพ่ง เพราะ ถา้ เราเพง่ มนั กไ็ มใ่ ชค่ วามรตู้ วั ทวั่ พรอ้ มหรอื ความรสู้ กึ ตวั มนั กลาย เป็นการจดจ่อเฉพาะจุด ใครท่ีท�ำแล้วพบว่าความรู้สึกมันชัดเป็น เส้นต่อเน่ือง อันนี้แสดงว่าเพ่งแล้ว หลวงพ่อค�ำเขียนท่านเปรียบ เทยี บวา่ ถา้ ความรสู้ กึ มนั เปน็ เสน้ ตอ่ เนอื่ งเหมอื นกบั เหลก็ เสน้ นไ่ี มใ่ ช่ ความรู้สึกตัวแล้ว ความรู้สึกตัวจะเป็นขณะๆ เหมือนห่วงท่ีเรียง รอ้ ยกนั เปน็ โซ่ เหลก็ เสน้ กบั โซน่ น้ั ตา่ งกนั มาก ท�ำไมถงึ ไมค่ วรเพง่ เพราะถ้าเพ่งแล้วมันจะไม่เป็นความรู้สึกตัวท่ัวพร้อม ท�ำไปนานๆ กจ็ ะเครยี ด ท�ำไปนานๆ กจ็ ะปวดหวั จะแนน่ หนา้ อก เพราะวา่ มนั เปน็ การบงั คบั จติ จติ กจ็ ะตอ่ ส ู้ ดนิ้ รน ยงิ่ ไปบงั คบั จติ เรากย็ ง่ิ เหนอ่ื ย อิริยาบถที่สองคือการเดินจงกรม ขณะท่ีเดินให้เก็บแขนไว ้ กับตัว จะอยู่ข้างหน้าหรือว่าไขว้หลังก็ได้ เดินประมาณ ๓ เมตร ทอดตาไปขา้ งหนา้ ประมาณ ๑ เมตร เมอื่ เดนิ สดุ ทางแลว้ กก็ ลบั ตวั ทีแรกให้กลับตัวไปทางด้านขวาก่อน เม่ือเดินไปสุดทางก็กลับตัว ด้านซ้าย หรือจะกลับตัวทางซ้ายก่อนแล้วค่อยกลับทางขวาก็ได ้ แต่อยา่ เดินกลบั ตวั ทางเดียวกันตลอด เพราะจะท�ำให้มนึ หัวได้งา่ ย ระหว่างท่ีเดินก็รู้สึกตัวกับการเดิน ใจไม่ไปจดจ่อหรือเพ่งอยู่ที่เท้า บางคนไม่อยากให้จิตฟุ้งซ่านก็จะไปเพ่งที่เท้า น่ีคือปัญหาของนัก 21 พระไพศาล วิสาโล
ปฏบิ ตั ิ พอเรมิ่ ปฏบิ ตั กิ เ็ รม่ิ บงั คบั จติ พอบงั คบั จติ กม็ ปี ญั หาขน้ึ มาเลย เพราะจิตมันต่อต้าน ในการปฏิบัติเราจะไม่บังคับจิตให้หยุดคิด หรอื หา้ มคดิ มนั จะคดิ กไ็ ด ้ แตถ่ า้ คดิ กร็ วู้ า่ คดิ ถา้ ไมค่ ดิ กร็ วู้ า่ ไมค่ ดิ สงบก็รู้ว่าสงบ ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ หลวงพ่อค�ำเขียน สุวัณโณ ทา่ นใชค้ ำ� วา่ “คดิ ดกี ช็ า่ ง คดิ ไมด่ กี ช็ า่ ง” แคร่ เู้ ฉยๆ อยา่ ไปบงั คบั ความคิด ทง้ั สองอริ ยิ าบถนถ้ี อื เปน็ อริ ยิ าบถหลกั สว่ นอริ ยิ าบถรอง เชน่ เวลาเรานั่งพัก ก็ให้คลึงน้ิวหรือกระดิกนิ้วไปด้วย อย่าอยู่น่ิงๆ พยายามสรา้ งอริ ยิ าบถเพอ่ื เปน็ การฝกึ สตใิ หท้ ำ� งาน จะเรยี กวา่ เพอื่ ให้มีที่ส�ำหรับจิตมาเกาะก็ได้ เพราะถ้าจิตไม่มีท่ีเกาะ ไม่มีท่ีพิงมัน กจ็ ะฟุ้งไปน่นั ไปน่ี วธิ นี ีเ้ อาไปใชก้ บั อริ ยิ าบถอยา่ งอนื่ กไ็ ด ้ เช่น กนิ ข้าว อาบน้�ำ ถูฟัน ล้างหน้า มีสติอยู่กับการท�ำกิจเหล่าน้ัน เวลา ถฟู นั หากใจลอย รตู้ วั เมอ่ื ไรกใ็ หก้ ลบั มาอยกู่ บั การถฟู นั ลา้ งหนา้ ก ็ รสู้ กึ ตวั รสู้ กึ เวลามอื สมั ผสั กบั ใบหนา้ แตไ่ มต่ อ้ งถงึ กบั เพง่ เวลาเรา เดินกลับไปท่ีเต็นท์ เราก็รู้สึกตัวไปด้วย ท�ำอะไรก็ให้มีสติ ให้รู้สึก ตัว หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภท่านสอนว่าแม้กระทั่งกะพริบตาหรือ กลืนน�้ำลายก็ให้รู้ รู้โดยที่ไม่ได้ไปเพ่งมัน หรือดักดูมัน มันเกิดข้ึน แลว้ คอ่ ยไปร ู้ นอกจากทว่ี า่ มาแลว้ จะรลู้ มหายใจกไ็ ด ้ เวลานงั่ เลน่ วา่ งๆ กร็ ลู้ มหายใจเขา้ ออก มนั จะทำ� ใหเ้ กดิ ความตอ่ เนอื่ งของสต ิ 22 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ผูป้ ฏิบตั ิ ระหว่างการเดินจงกรม ถ้าไม่ได้รู้ท่ีเท้า แต่รู้ท่ีอาการ เคลอื่ นไหว รสู้ ว่ นอืน่ ของรา่ งกายก็ได้ใช่ไหม พระไพศาล ใช ่ ทจี่ รงิ ใหร้ ทู้ งั้ ตวั ความรสู้ กึ ตวั ทวั่ พรอ้ มคอื รทู้ ง้ั ตวั แต่ส่วนท่ีเด่นกว่าส่วนอ่ืนคือส่วนที่เคล่ือนไหว เช่นเท้าท่ีก�ำลังเดิน หรอื มอื ทกี่ ำ� ลงั ยก คนสว่ นใหญต่ อนทไี่ มป่ ฏบิ ตั ใิ จกล็ อย แตพ่ อเรม่ิ มาปฏิบัติ ก็จะเหวี่ยงมาอีกด้าน คือบังคับจิต แต่การปฏิบัติของ หลวงพอ่ เทยี น ไมใ่ ชเ่ ปน็ การปลอ่ ยใจและกไ็ มใ่ ชก่ ารบงั คบั จติ ไมใ่ ช ่ ทงั้ การเผลอและการเพง่ แตเ่ ปน็ การวางจติ ไวก้ ลางๆ คอื รทู้ กุ อาการ ของกายและใจ ไมบ่ งั คบั จติ แตร่ วู้ า่ จติ กำ� ลงั ทำ� อะไร หรอื ใชค้ ำ� วา่ ร้กู ายเคลอื่ นไหว เหน็ ใจคดิ นึก ผ้ปู ฏบิ ัติ รกู้ ารเคลอื่ นไหวเทา้ อยา่ งเดียวหรอื ทัง้ ขา พระไพศาล ทั้งตัวเลย แต่ตรงขาหรือเท้าจะชัดกว่า เพราะเท้า สัมผัสพ้ืน ขาก็เคลื่อนไหว ผู้ที่ปฏิบัติใหม่อาจจะสงสัยว่าจะวางใจ อยา่ งไรด ี เปรยี บไปกเ็ หมอื นกบั เวลาเราหดั ขจ่ี กั รยานใหมๆ่ เราทำ� อย่างไรก็ล้ม เพราะเราไม่รู้ว่าจะทรงตัวอย่างไรให้พอดี แต่ข ่ี ไปนานๆ กจ็ ะรวู้ า่ ทรงตวั อยา่ งไรจงึ จะสมดลุ ไมล่ ม้ ซา้ ยลม้ ขวา ใน ท�ำนองเดียวกัน ผู้ท่ีเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียน ใหม่ๆ ก็ไม่รู้ว่า จะทรงใจอย่างไรให้พอดีๆ คือถ้าไม่ฟุ้งซ่านก็เพ่งเลย มันจะเหวี่ยง ไปทางใดทางหนึ่ง แต่พอท�ำไปนานๆ ก็จะเร่ิมรู้ว่าทรงใจอย่างไร 23 พระไพศาล วิสาโล
จึงจะพอดี คือรู้สึกตัว ไม่เผลอและไม่เพ่ง ไม่ปล่อยใจลอยแต่ขณะ เดยี วกันก็ไมบ่ ังคบั จิต ทำ� ไปเร่อื ยๆ ก็จะสามารถวางใจไดถ้ ูก ผู้ปฏิบตั ิ แล้วจะช่วยให้เกิดความสงบได้อย่างไร ต่างกับคนที่นั่ง สมาธิแล้วสงบอยา่ งไร พระไพศาล ความสงบมีสองอย่าง อย่างแรกสงบเพราะรู้ การ เจริญสติตามแนวของหลวงพ่อเทียนคือการรู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจคิดนึก พอรู้ว่าเผลอคิดก็จะออกจากความคิด จิตกลับมาอยู่ที่ กาย กลับมาอยู่ท่ีการสร้างจังหวะ หรือกลับมาอยู่ท่ีการเดิน ถ้ามี สติรู้ทันความคิดบ่อยๆ ความคิดฟุ้งซ่านจะน้อยลง จิตก็จะมี ความสงบเพราะว่าไม่มีความฟุ้งซ่านรบกวน แบบนี้เรียกว่าเป็น ความสงบเพราะรู้ ความสงบอกี แบบคอื สงบเพราะไมร่ ู้ สงบเพราะตดั การรบั ร้ ู สิ่งภายนอก เช่นปิดตา จะได้ไม่เห็นภาพต่างๆ หรือว่าอยู่ในห้อง ท่ีเงียบ อยู่ในห้องแอร์ เพ่ือไม่ให้มีเสียงรบกวน พยายามไม่ให้ม ี การรบั รใู้ ดๆ เพราะถา้ มกี ารรบั ร ู้ ไมว่ า่ ทางตา ห ู จมกู จะท�ำใหใ้ จ กระเพอื่ ม อนั นส้ี งบเพราะไมร่ ู้ หรอื สงบเพราะตดั การรบั ร ู้ ถา้ เรา ตามลมหายใจและจติ เราแนบแนน่ อยกู่ บั ลมหายใจ มนั กเ็ ปน็ ความ พยายามที่จะไม่ไปรับรู้อะไร แต่การเจริญสติตามแนวทางของ 24 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
หลวงพอ่ เทยี น ตากเ็ ปดิ หกู ไ็ ดย้ นิ ความสงบทเ่ี กดิ ขนึ้ จะไมถ่ งึ ขน้ั ฌาน ไมเ่ หมอื นกบั การนง่ั หลบั ตาตามลมหายใจ ซงึ่ สามารถสงบ ไปถึงข้ันฌานได้ ต้ังแต่ฌาน ๑ ถึงฌาน ๘ ก็ได้ แต่หลวงพ่อ เทยี นตอ้ งการใหข้ า้ มความสงบแบบนไ้ี ป โดยเนน้ ใหม้ สี ตทิ รี่ วดเรว็ ฉบั ไว เพื่อใชท้ �ำวปิ ัสสนาอนั จะกอ่ ใหเ้ กดิ ปญั ญา ผปู้ ฏบิ ตั ิ อยา่ งน้กี ็เปน็ วปิ สั สนาญาณ พระไพศาล ปัญญาท่ีเกิดข้ึนจากวิปัสสนาเรียกว่าวิปัสสนาญาณ การเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียนจะน�ำไปสู่ภาวะท่ีรู้แจ้งด้วยปัญญา ล้วนๆ โดยไม่ได้สร้างพลังจิตตามแนวสมถะ การปฏิบัติสายวดั ปา่ มกั จะมงุ่ สรา้ งพลงั จติ แบบสมถะและสรา้ งพลงั ปญั ญาควบคกู่ นั หาก หลุดพ้นก็เรียกว่าอุภโตภาควิมุตติ หมายถึงผู้หลุดพ้นท้ังสองสว่ น คือมีทั้งพลังจิตและปัญญาควบคู่กัน นอกจากมีปัญญาเห็นแจ้งใน ไตรลกั ษณแ์ ลว้ ยงั ไดส้ มาบตั ิ ๘ อกี ทง้ั มอี ภญิ ญา มคี วามสามารถ พิเศษทางจิต แต่การปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียนจะเน้นปัญญา วิมุตติอย่างเดียว ส่วนเรื่องคุณวิเศษทางจิตนั้นไม่เอา เพราะ ไมช่ ว่ ยในการหลดุ พ้นจากทุกข์ ผู้ปฏิบัติ แนวหลวงพ่อเทียนกับแนวท่ีหลวงพ่อปราโมทย์สอน ม ี ส่วนคล้ายกันไหม 25 พระไพศาล วิสาโล
พระไพศาล คล้ายกัน คือถึงที่สุดก็กลับมาดูเร่ืองจิต หลวงพ่อ เทยี นสดุ ทา้ ยทา่ นกม็ าดจู ติ เพอื่ เหน็ ความจรงิ ของรปู นาม แตห่ ลวงพอ่ เทียนได้คิดรูปแบบสำ� หรับการสร้างสติเพื่อรู้กายรู้ใจ เร่ิมต้นจาก การรกู้ ายกอ่ น ปฏบิ ตั แิ บบมรี ปู แบบ อาจารยป์ ราโมทยท์ า่ นไมไ่ ด ้ เนน้ เรอ่ื งการรกู้ าย ใหม้ าดจู ติ เลย แตก่ ใ็ หร้ กู้ ายเปน็ พน้ื ฐานเอาไว้ ดว้ ย เวลาจติ ไมไ่ ดค้ ดิ อะไรกใ็ หด้ กู ายไปเหมอื นของหลวงพอ่ เทยี น ผูป้ ฏบิ ตั ิ การรตู้ วั มแี นวหนงึ่ ใหก้ �ำหนดวา่ รหู้ นอ คดิ หนอ แตใ่ น แนวของหลวงพ่อเทยี นไมม่ กี ารก�ำหนด พระไพศาล ไม่มีบรกิ รรมใดๆ ท้ังส้นิ ผู้ปฏบิ ัติ ผมเจอกบั ตวั เองเมอ่ื คนื คอื สภาวะทว่ี า่ มนั ร ู้ มนั รกู้ ค็ อื วา่ คิดครั้งหน่ึง สอง สาม ส่ี รู้ไปเรื่อยๆ แต่ก็เหมือนกับมันไหลไป จนบางทีรู้สึกไม่แน่ใจว่ามันรู้หรือมันหลงกันแน่ มันคิดขึ้นมา มัน รแู้ ลว้ กด็ บั รแู้ ลว้ กด็ บั แต ่ ณ เวลานน้ั คอื เขา้ ใจวา่ ถา้ ร ู้ สตคิ วรจะ ต้ังม่ันพอสมควร แต่สภาวะท่ีเกิดขึ้นมันคิดและมันรู้ว่าคิดแล้วมัน ก็ดับ มันคิดแล้วมันก็ดับ และมันก็คิดข้ึนตลอดไม่แน่ใจว่ารู้ตัว หรือเปล่า พระไพศาล จรงิ ๆ ถา้ เปน็ สต ิ ความรตู้ วั ความระลกึ ได ้ เมอ่ื รแู้ ลว้ กจ็ ะวางไปเอง เวน้ แตว่ า่ เรอื่ งทค่ี ดิ หรอื อารมณท์ เ่ี กดิ ขนึ้ รนุ แรงมาก 26 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ถา้ สตเิ รายงั อ่อน มันกเ็ หมอื นกบั รถทพี่ งุ่ แรง แล้วเราแตะเบรค คร้ังแรก รถก็ยังไม่หยุด ต้องแตะเบรคหลายๆ ครั้งกว่ามันจะ หยดุ ทคี่ ณุ เลา่ มานนั้ เกดิ ขนึ้ ไดเ้ พราะความคดิ มนั แรงและสตยิ งั ออ่ น รแู้ ลว้ กย็ ังคดิ ตอ่ ตอ้ งรู้ถ่ๆี หลายๆ ครง้ั มนั ถึงจะหยดุ ผู้ปฏิบตั ิ ต้องเหยียบเบรคหลายคร้งั พระไพศาล ใช่ เหมือนกับกองไฟท่ีก�ำลังลุกโพลง เราสาดน้�ำ นอ้ ยๆ เขา้ ไป มนั กร็ าลงเพยี งชว่ั คร ู่ ไมน่ านกล็ กุ อกี เมอื่ เราสาดนำ้� เขา้ ไปอกี ไฟกซ็ าลง แตม่ นั กจ็ ะลกุ ขนึ้ มาใหม ่ เพราะน้�ำนอ้ ย เราก็ ตอ้ งสาดนำ�้ อกี ตอ้ งสาดตดิ ตอ่ หลายครงั้ กวา่ ไฟจะดบั นนั่ คอื สภาวะ ของความคิดหรอื อารมณท์ ีแ่ รง และสติเรายงั ออ่ นอยู่ ผู้ปฏบิ ตั ิ แต่ไม่ใช่สภาวะที่หลงอะไรใชไ่ หมครับ พระไพศาล ไมใ่ ช ่ แตจ่ ะเรยี กวา่ หลงกไ็ ด ้ เพราะการทจ่ี ติ ฟงุ้ ซา่ น แบบนั้น ก็คือความหลง รู้แล้วก็หลงใหม่ คือเม่ือไหร่ก็ตามที่ฟุ้ง ซ่าน น่ันก็คือหลงแล้ว พอเรามีสติความหลงก็หาย ความฟุ้งซ่าน หรือการปรุงแต่งก็หยุด แล้วก็หลงใหม่ เพราะว่าสติมันเป็นขณะๆ อย่างท่ีพดู ไวเ้ มอ่ื สกั ครู่ 27 พระไพศาล วิสาโล
มีตนเปน็ เกาะ มตี น เป็นทพี่ ง่ึ อากาศหนาวแบบนี้ เราควรจะวางใจให้ถูก ถ้าเราวางใจไม่ถูก ไม่เพียงแค่หนาวกาย แต่ยังจะหนาวใจด้วย ไม่เพียงแค่ทุกข์กาย แตย่ งั จะทกุ ขใ์ จดว้ ย ความทกุ ขใ์ จเกดิ จากการทจ่ี ติ มนั งอแง ตโี พย ตีพาย โวยวาย หรือต่อต้านผลักไสไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เรา สงั เกตใจของเราหรอื เปลา่ วา่ ใจเปน็ อยา่ งไร เมอ่ื ตอ้ งเจอกบั อากาศ หนาวเฉยี บแบบน ้ี มนั จะมคี วามรสู้ กึ ปฏเิ สธผลกั ไส เปน็ อาการของ 29 พระไพศาล วิสาโล
โทสะ ทา่ ทขี องใจแบบนเ้ี องทซี่ ำ�้ เตมิ เพมิ่ ความทกุ ขใ์ หก้ บั เรา คอื ไม่ใช่แค่ทุกข์กายอย่างเดียว แต่ทุกข์ใจด้วย ให้เรารู้เท่าทันอาการ ของใจทีไ่ ม่ปกติ ที่จริงเราสามารถใช้ประโยชน์จากความหนาวท่ีเกิดขึ้นได ้ หากใช้ไม่เป็น มันก็เล่นงานเรา แต่ถ้าเราใช้เป็นก็ทำ� ให้จิตใจของ เราพัฒนาขึ้น อย่างน้อยๆ ก็ท�ำให้มีความอดทน ท�ำให้มีความ เข้มแข็งในจิตใจ ความอดทนนี้ ถ้าเราอดทนแบบกัดฟัน มันก็ยัง ทุกข์อยู่ แต่ถ้าเราวางใจให้เป็น ลองใช้ความหนาวเป็นเครื่องฝึก สติของเรา ท่ีจริงสติก็เริ่มต้นจากการที่เราเห็นใจท่ีงอแง โอดโอย เห็นใจที่ต่อต้านผลักไส เพียงแค่เราเห็นมันก็เป็นการฝึกสติแล้ว ก็ คือมาดูจิต ก่อนจะดูจิตก็ดูกาย กายรู้สึกอย่างไรกับความหนาว บางทีตัวเกร็ง มือเกร็ง เท้าเกร็ง เกร็งไปท้ังตัว ตัวห่อ เกร็งโดย ไมร่ ู้ตวั เกร็งไปนานๆ จนเม่ือยล้า ดูกายแลว้ ก็มาดใู จ ใจของเราก่อนท่ีจะบ่นตีโพยตีพาย สังเกตเห็นไหมว่ามัน จดจ่ออยู่ท่ีไหน บางทีมันจดจ่ออยู่ตรงที่หนาว ส่วนท่ีไม่มีผ้า ปกคลุม ถ้าเราลองเลื่อนจิตของเรามาอยู่ส่วนท่ีอบอุ่น ท่ีมีผ้าห่ม ผ้าคลุมไว้ ความรู้สึกก็เปล่ียนแปลงไป พอใจไปอยู่ท่ีน้ิว ที่มือ ท่ี หนา้ กห็ นาวเกดิ ทกุ ขเวทนา และเมอ่ื ตดิ อยกู่ บั ทกุ ขเวทนานน้ั กป็ รงุ 30 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
แตง่ เปน็ อารมณ ์ เปน็ ความไมช่ อบ เปน็ อาการโทสะเลก็ ๆ ลองวาง ใจมาอยู่ที่ท่ีอบอุ่นก็จะรู้สึกว่าทุกขเวทนารบกวนน้อยลง ลองฝึกด ู ใจของเรามนั กแ็ ปลก ทท่ี สี่ บายมนั มกั จะไมส่ นใจ มนั จะไปสนใจ ส่วนท่ีไม่สบาย ท้ังท่ีมันอาจจะเป็นแค่ส่วนน้อย ส่วนท่ีอบอุ่นกับ สว่ นทสี่ บายมมี ากกวา่ มนั เปน็ สว่ นใหญข่ องรา่ งกาย แตว่ า่ ใจกลบั ไปสนใจแตส่ ่วนเลก็ สว่ นน้อยท่เี ป็นทุกข์ อนั นเี้ ปน็ นสิ ยั ของใจเรากว็ า่ ได ้ คอื ชอบเพง่ เลง็ ในแงล่ บ ไป จดจ่อสิ่งที่เป็นทุกข์มากกว่าส่ิงท่ีเป็นสุข เวลาย้อนระลึกถึงเหตุ การณ์ในอดีต ผู้คนมักจะจ�ำความทุกข์ได้มากกว่าความสุข ใคร ท่ีท�ำให้เราเจ็บช�้ำน้�ำใจ เราจะจ�ำเขาได้ดีกว่าคนที่ท�ำความสุขให ้ แก่เรา คนที่โกงเงินเราไปเราจะจ�ำเขาได้แม่น แต่คนที่เอื้อเฟื้อ เก้ือกูลให้เงินช่วยเหลือเรา เราอาจจะจ�ำได้ไม่แม่น น่ีเป็นอาการ ของจติ ทช่ี อบเพง่ เลง็ ในแงล่ บ รวมไปถงึ วา่ เวลาสญู เสยี อะไร ใจกจ็ ะ จดจอ้ งจดจอ่ อยกู่ บั สงิ่ ทเี่ สยี ไป มากกวา่ จะใสใ่ จกบั สงิ่ ทม่ี อี ย ู่ สง่ิ ทม่ี ี มากมายเทา่ ไรมนั ไมร่ บั ร ู้ ไปรบั รอู้ ยแู่ ตส่ ง่ิ ทเ่ี สยี ไป สง่ิ ทห่ี ายไป สง่ิ ทถ่ี กู โกง อนั นเี้ ปน็ นสิ ยั ของจติ ทถี่ กู สะสมมา เรากต็ อ้ งรทู้ นั อาการ ของจติ อยา่ งนแี้ ละสรา้ งนสิ ยั ใหม ่ หรอื สรา้ งทางเดนิ ใหมใ่ หแ้ กจ่ ติ จากจติ ทชี่ อบเพง่ เลง็ ในแงล่ บ ในสง่ิ ทเ่ี ปน็ ทกุ ข ์ ในแงร่ า้ ย กฝ็ กึ ให้ จติ นเ้ี ดนิ ไปในทางทเ่ี ปน็ บวก 31 พระไพศาล วิสาโล
จากจิตท่ีชอบผลักไสต่อต้านส่ิงที่เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลง อะไรไมไ่ ด ้ เรากส็ รา้ งนสิ ยั ใหมใ่ หก้ บั จติ คอื เปน็ จติ ทยี่ อมรบั สง่ิ ที ่ เกดิ ขน้ึ แล้ว สามารถท่ีจะอยู่กับมันได้ ในเมื่อมันเกิดข้ึนแล้ว เรา ก็ต้องเรยี นรูท้ จี่ ะอยู่กบั มันอยา่ งเปน็ ปกติ หรอื อยอู่ ย่างผาสุกให้ได้ หรือเปลี่ยนจากนิสัยจิตท่ีชอบผลักไส ชอบโกรธ มีโทสะ มาเป็น จิตที่มีเมตตา มีกรุณา จากจิตท่ีชอบมองอะไรในแง่ลบ ก็เปลี่ยน มามองในแง่บวก ท่เี คยจดจ้องส่งิ ทีห่ ายไป สิง่ ทเ่ี สียไป กม็ าจดจ่อ กับสิ่งที่มีอยู่ อันนี้ต้องอาศัยสติท่ีรู้ทันพ้ืนเพหรือทางเดินของจิต เราสามารถสร้างทางเดินของจิตใหม่ได้ คือการสร้างนิสัยใหม ่ ใหก้ บั จติ เมอื่ เราฝกึ จติ ใหว้ างใจไปในทางบวก ในทางทเ่ี ปน็ กศุ ล ซ้�ำแล้วซ�้ำเล่า ก็เหมือนการขุดร่องน้�ำ ท�ำร่องน�้ำใหม่ให้ลึกขึ้น เรื่อยๆ สดุ ท้ายน้�ำกเ็ ปล่ยี นเสน้ ทางจากทางเก่ามาสู่ทางใหม่ เราสามารถฝึกจติ ไดด้ ว้ ยการอย่ทู า่ มกลางความหนาวแบบน ้ี ไดฝ้ กึ สต ิ ไดด้ กู ายดใู จ อนั นเ้ี ปน็ สว่ นหนง่ึ ของประสบการณท์ เ่ี ราจะ ไดพ้ บจากการมาคา้ งแรมในปา่ การมาอยใู่ นสภาพแบบนม้ี นั ท�ำให ้ เราไม่อาจพึ่งพาวัตถุส่ิงของนอกตัวต่างๆ ได้มาก ไม่เหมือนเวลา เราอยู่บ้าน เรามีวัตถุส่ิงของมากมายเป็นเคร่ืองคุ้มภัยให้เรารู้สึก ปลอดภัย อุ่นใจว่าไม่มีอันตรายมารบกวน ท�ำให้ความกลัว หรือ ความรสู้ กึ ทเ่ี ปน็ อกศุ ลตา่ งๆ ไมเ่ กดิ ขน้ึ กบั จติ ใจ แตพ่ อเรามาอยใู่ น 32 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
สถานทแี่ บบน ี้ จะเจอปญั หาตา่ ง ๆ มากมาย เรม่ิ ตง้ั แตค่ วามหนาว ถ้าอยู่บ้านก็อุ่นกว่านี้ แต่ท่ีน่ีมีเพียงแค่เสื้อผ้า หรือเต็นท์บางๆ ที่ ปกป้องเราจากความหนาว แล้วก็ยังมีส่ิงอื่นอีกมากมายท่ีจะทำ� ให ้ เรารูส้ ึกไม่มั่นคงปลอดภัย คอื ท�ำให้เราเกดิ ความทกุ ข์ ท่ีผ่านมาเราอาศัยวัตถุเป็นเครื่องอ�ำนวยความสะดวก หรือ อำ� นวยความสขุ ใหแ้ กเ่ รา เปน็ สง่ิ ทจี่ ะชว่ ยทำ� ใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ มน่ั คง ปลอดภยั การอยใู่ นสถานการณแ์ บบนนั้ ท�ำใหเ้ ราไมค่ อ่ ยไดเ้ รยี นร้ ู ในการพง่ึ พาจติ ใจของตนเองเทา่ ไร เราพงึ่ พาวตั ถสุ งิ่ ของ เรมิ่ ตง้ั แต ่ บ้าน ก�ำแพง และสิ่งต่างๆ อีกมากมาย แต่มาอยู่ตรงนี้เราต้อง เรยี นรทู้ ่ีจะพึ่งพาตนเองไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต้องอาศัยใจอย่าง เดยี ว ไมม่ ีอย่างอน่ื ที่ดไี ปกว่านีอ้ ีกแลว้ 33 พระไพศาล วิสาโล
เราอยู่กลางป่า อาจเจอสิงสาราสัตว์ต่างๆ ได้มากกว่าเวลา อยบู่ า้ น ทำ� ใหเ้ กดิ ความกลวั เราจะใชใ้ จรบั มอื กบั ความกลวั อยา่ งไร ตอนอยทู่ บี่ า้ นความกลวั อาจจะไมเ่ ลน่ งานจติ ใจของเราเลยเพราะม ี วตั ถ ุ มกี ำ� แพง มบี า้ น แถมยงั มผี คู้ นอยใู่ กลต้ วั เวลานอนบางคนก็ อาจจะไม่เคยนอนคนเดียว หรือไม่เคยนอนแบบห่างไกลผู้คนมาก เทา่ น ี้ ทนี่ เี่ ราไมส่ ามารถจะพงึ่ พาผคู้ นหรอื สง่ิ ตา่ งๆ ไดเ้ ตม็ ท ่ี สถาน การณ์อย่างนี้เองท่ีเราจะได้หันมาพึ่งตนเองหรือพึ่งพาจิตใจของ ตน เม่ือตัวเราเข้ามาอยู่ใกล้กับธรรมชาติ สิงสาราสัตว์ก็สามารถ จะเข้ามาสัมผัสตัวเราได้ง่ายขึ้น เม่ือเกิดความกลัว เราจะรับมือ กับความกลัวอย่างไร จะหนีก็หนีไม่ได้ก็ต้องใช้ใจรับมือจัดการกับ ความกลัว เอาสติเข้ามาดูใจ มาดูความกลัวที่เกิดข้ึน หรือเรียนรู้ ท่ีจะอยู่กับความกลัวจนกระทั่งเห็นว่าจริงๆ แล้วไม่มีอะไรน่ากลัว อยกู่ บั ความกลวั จนกระทง่ั ความกลวั ไมส่ ามารถเลน่ งานจติ ใจเราได ้ คอื เห็นมันแต่ไมเ่ ป็นมนั การเหน็ กบั การเปน็ นน้ั แตกตา่ งกนั การเหน็ ความหนาว กบั การเป็นผู้หนาว ก็ต่างกัน เวลามีความทุกข์ ลองใช้สติเห็นความ ทุกข์ แต่ไม่เป็นผูท้ กุ ข์เสยี เอง หรอื เวลามคี วามกลวั เรากเ็ ห็นความ กลัว แต่ไม่เป็นผู้กลัว เห็นมันเกิดข้ึน ตั้งอยู่ และดับไป เราใช้สติ ในการฝึกใจให้เห็นไม่เข้าไปเป็น สถานการณ์แบบนี้ สภาพแบบนี ้ 34 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ไมเ่ พยี งแตจ่ ะทำ� ใหเ้ รารจู้ กั พงึ่ ตนเองเพอื่ รบั มอื กบั ความกลวั เทา่ นนั้ แตย่ ังทำ� ใหเ้ รารู้จักพึง่ ใจในการเขา้ ถงึ ความสุขได้ด้วย ตอนท่ีเราอยู่บ้านอยู่ในกรุง เราอาศัยวัตถุสิ่งของต่างๆ เป็น เครอ่ื งอ�ำนวยความสขุ ใหแ้ กเ่ รา จนบางทกี ต็ กเปน็ ทาสของมนั จะ มีความสุขก็ต่อเมื่อมีวัตถุส่ิงของมาปรนเปรอ ถ้าขาดส่ิงเหล่าน้ัน ก็ไม่มีความสุข เรากลายเป็นผู้พ่ึงพาส่ิงภายนอกเพ่ือจะมีความสุข แต่มาอยู่อย่างน้ีเราไม่สามารถอาศัยวัตถุสิ่งของต่างๆ ได้ เพราะ มนั มนี อ้ ย ความสขุ จะไดม้ าจากไหน กม็ าจากจติ ใจของเรา ใจท ่ี มสี ต ิ ใจทม่ี สี มาธ ิ ใจทเ่ี ปน็ หนงึ่ เดยี วกบั ธรรมชาต ิ กส็ ามารถให้ ความสขุ กบั เราได้ 35 พระไพศาล วิสาโล
มนุษย์เราต้องการความสุขเป็นเครื่องหล่อเล้ียง เหมือนกับ ตน้ ไมท้ ต่ี อ้ งการนำ�้ แตเ่ ราจะเอาความสขุ จากไหนมาหลอ่ เลยี้ งจติ ใจ เพื่อพากเพียรท�ำส่ิงยากให้ส�ำเร็จ หรือก้าวข้ามอุปสรรคได้ คน ส่วนใหญ่อาศัยวัตถุเป็นเครื่องอ�ำนวยความสุข จนกลายเป็นคนที ่ ติดวัตถุ ถ้าไม่มีวัตถุก็ไม่รู้ว่าจะมีความสุขได้อย่างไร แต่ท่ีจริงแล้ว ความสุขอยู่ท่ีใจเรา ต้นธารแห่งความสุขอยู่ที่ใจ แต่เราไม่รู้จัก เพราะเราไม่ค่อยได้สนใจศึกษาหรือเข้าถึงจิตใจของเราจนพบ ความสุข แต่มาอยู่ในสถานท่ีแบบน้ีซ่ึงแทบไม่มีอะไรเลย เราต้อง ฝึกใจเพ่ือเข้าถึงความสุขอีกชนิดหน่ึง ไม่อย่างน้ันจิตใจก็จะเห่ียว แห้ง การมาอยู่ในส่ิงแวดล้อมแบบน้ี ช่วยให้เรารู้จักพ่ึงพาจิตใจ ของเรา ทำ� ใหเ้ ราไดเ้ หน็ ศกั ยภาพของจติ ใจของเรา วา่ มนั สามารถ จะให้ท้ังความมั่นคง ความอบอุ่นและความสุขแก่เราได้ ไม่มีอะไร อ่ืนท่ีจะเป็นที่พึ่งได้ดีเท่าน้ี อย่างท่ีพระพุทธเจ้าเคยตรัสกับ พระอานนท์วา่ “จงมตี นเปน็ เกาะ มตี นเป็นทีพ่ ่งึ ” มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นท่ีพ่ึง หมายถึงการมีธรรมเป็นเกาะ มธี รรมเปน็ ทพ่ี ง่ึ ไดแ้ ก ่ สต ิ สมาธ ิ ปญั ญา และอนื่ ๆ อกี มาก อนั น ้ี จะท�ำให้เราอยู่ได้อย่างเป็นปกติท่ามกลางโลกท่ีผันผวนไม่แน่นอน ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ตรสั ประโยคนกี้ บั พระอานนท ์ กเ็ พราะพระอานนทม์ ี ความเศร้าเสียใจเมือ่ รวู้ ่าพระสารบี ุตรไดด้ ับขันธ์และปรินิพพานไป 36 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
แล้ว เสียใจเพราะท่านใกล้ชิดกับพระสารีบุตร และพระสารีบุตร ก็เป็นคนสำ� คัญ พระพทุ ธเจ้าถามพระอานนท์ว่า “สารบี ุตรไปแล้ว เอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณ- ทัสสนขันธ์ ไปด้วยหรือ” พระอานนท์ก็ตอบว่า “หามิได้ ท่าน พระสารบี ตุ รไม่ได้พาขันธเ์ หลา่ นัน้ ไปดว้ ย” หลงั จากนน้ั พระองคก์ ช็ ใ้ี หพ้ ระอานนทเ์ หน็ วา่ ความพลดั พราก จากของรกั ของชอบใจทงั้ หลายเปน็ สง่ิ ทต่ี อ้ งเกดิ ขนึ้ ไมม่ ใี ครหนพี น้ การตง้ั จติ ปรารถนาวา่ ขอใหส้ ง่ิ นนั้ ๆ อยา่ ไดม้ อี นั เปน็ ไปเลยนน้ั ยอ่ ม มอิ าจส�ำเรจ็ ได้ แลว้ พระองคก์ ต็ รัสวา่ “จงมีตนเปน็ เกาะ มตี นเป็น ที่พ่ึง อย่ามีสิ่งอ่ืนเป็นท่ีพึ่ง” จากนั้นก็ขยายความว่า ให้ “มีธรรม เปน็ เกาะ มธี รรมปน็ ทพ่ี ง่ึ ” ทงั้ นดี้ ว้ ยการพจิ ารณาตามหลกั สตปิ ฏั - ฐาน ๔ นั่นคือให้สติเป็นเคร่ืองรักษาใจ จนสามารถมีตนเป็น ทพี่ งึ่ ได้ ถ้าเรายังอยู่ท่ามกลางความสะดวกสบาย อยู่ท่ามกลางวัตถ ุ สิ่งของ อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายที่สามารถให้ความสุขสบายกับ เราได้ เราก็จะไม่ตระหนักถึงความสำ� คัญของการพ่ึงตนเอง หรือ เรยี นรทู้ จี่ ะพงึ่ ตนเอง เราไมไ่ ดต้ ระหนกั วา่ จรงิ ๆ แลว้ การพง่ึ ตนเอง การมตี นเปน็ เกาะ มตี นเปน็ ทพ่ี งึ่ หรอื การมธี รรมเปน็ เกาะ มธี รรม 37 พระไพศาล วิสาโล
เปน็ ทพี่ ง่ึ สำ� คญั ทสี่ ดุ หลายคนอยกู่ บั วตั ถ ุ อยกู่ บั ทรพั ยส์ มบตั ิ และ อยกู่ บั ผคู้ นจนไมส่ ามารถหลกี หนจี ากสงิ่ นน้ั ได ้ เวลาทตี่ อ้ งอยคู่ นเดยี ว ก็อยู่ไม่ได้ รู้สึกว่าการอยู่คนเดียวเป็นเร่ืองเลวร้ายเหลือเกิน ทั้งท่ี มิตรที่ดีทส่ี ุดก็คอื ตัวเราเอง คนทกุ วนั นแี้ มป้ ากบอกวา่ รกั ตวั เองๆ แตไ่ มไ่ ดร้ กั ตวั เองอยา่ ง แทจ้ รงิ เพราะเวลาอยกู่ บั ตวั เองกท็ นไมไ่ ด ้ ทนอยกู่ บั ตวั เองไมไ่ ด ้ จะ ต้องดิ้นรนออกไปเจอผู้คน ออกไปเสพ ออกไปแสวงหาความสุข จากวัตถุ หาความมั่นใจ ความปลอดภัยจากทรัพย์สมบัติต่างๆ การกลับมาอยู่กับตัวเองถือเป็นเร่ืองเลวร้ายมาก พออยู่กับตัวเอง ก็รู้สึกทุกข์ทรมาน อย่างนี้ก็น่าเสียดายเพราะเขาขาดโอกาสที่จะ ได้เรียนรู้การเป็นมิตรกับตัวเอง หรือค้นพบว่าตนเองเป็นมิตรท่ ี ประเสริฐที่สุด แต่มาอยู่ที่น่ีเราจะได้เรียนรู้การเป็นมิตรกับตัวเอง เรยี นรทู้ จี่ ะรกั ตวั เองอยา่ งแทจ้ รงิ สามารถทจ่ี ะมคี วามสขุ ไดเ้ มอ่ื อย ู่ คนเดียว ใหม่ๆ กอ็ าจจะรสู้ ึกวา่ มันเป็นเร่ืองลำ� บาก ถงึ กับทรมาน ทเี ดยี วทจี่ ะตอ้ งมาอยกู่ บั ตวั เอง จติ ใจกร็ ำ�่ รอ้ งทจ่ี ะออกไปหาผหู้ าคน ออกไปพดู คยุ สนทนา ออกไปหาความสขุ ความอบอนุ่ ความมน่ั คง ปลอดภัยจากวัตถุ ท้ังท่ีส่ิงเหล่าน้ันมันเป็นของช่ัวคราว เป็นสิ่งที ่ หาความแน่นอนอะไรไมไ่ ดเ้ ลย 38 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
แมก้ ระทง่ั คนทเ่ี ราคดิ วา่ จะเปน็ ทพี่ งึ่ ใหก้ บั เราได ้ กไ็ มส่ ามารถ จะเป็นได้อย่างแท้จริง อย่างเช่นพระสารีบุตรซึ่งเป็นอัครเสนาบด ี แหง่ กองทพั ธรรม พระอานนทม์ ศี รทั ธาในทา่ นมาก สดุ ทา้ ยกพ็ บวา่ พง่ึ พาไมไ่ ด ้ เพราะพระสารบี ตุ รทา่ นปรนิ พิ พานไปเสยี แลว้ พอเจอ แบบนเ้ี ขา้ กเ็ สยี ใจ แตเ่ มอ่ื ใดกต็ ามทเ่ี ราเรยี นรทู้ จ่ี ะมตี นเปน็ ทพ่ี ง่ึ แม ้ ครบู าอาจารยจ์ ะละโลกนไี้ ป หรอื ผนั แปรไป ใจเรากไ็ มท่ กุ ข ์ ครบู า อาจารย์จะสกึ หาลาเพศไปจติ ใจเราก็ไมห่ วัน่ ไหว ไม่มอี าการอยา่ ง ท่ีเราเห็นเม่ือปีที่แล้ว ผู้คนเสียใจเม่ือครูบาอาจารย์ของตนสึกหา ลาเพศไป พอเสยี ใจผดิ หวงั แลว้ กเ็ ลยโกรธ กลา่ วโทษครบู าอาจารย ์ อนั นเี้ ปน็ เพราะมวั พง่ึ พาคนอน่ื มวั พงึ่ พาสง่ิ ภายนอกมากเกนิ ไป จน กระทงั่ มองไมเ่ หน็ ความจรงิ หรอื ธรรมดาของสรรพสง่ิ วา่ ไมม่ อี ะไร ที่ยั่งยืน เป็นที่พึ่งพาของเราได้อย่างแท้จริงหรือตลอดไป มีแต่ จิตใจ หรือมีแต่ธรรมะ มีแต่ตวั เราท่จี ะเปน็ ทพี่ งึ่ ได้ มาอยู่ท่ีน่ี มาอยู่อย่างน้ี เราจะไม่ค่อยได้มีโอกาสรับรู้เรื่อง โลกภายนอก สญั ญาณโทรศัพท์ก็ไม่ม ี เปน็ โอกาสทจ่ี ะไดม้ าอยกู่ บั ตวั เองอยา่ งแทจ้ รงิ ภารกจิ การงานตา่ งๆ กไ็ มม่ ี บางคนมกี ารงาน ท่ีรัดตัว บางคนมีภาระเลี้ยงดูลูก เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่พอมาถึงตรงน ้ี ภาระต่างๆ ก็ท�ำไม่ได้แล้ว ดังน้ันขอให้เราวางภาระต่างๆ ลง ไม ่ ต้องห่วงกังวล ตอนน้ีกิจอย่างเดียวท่ีต้องท�ำคือการอยู่กับตัวเอง 39 พระไพศาล วิสาโล
การเจรญิ ภาวนา แมก้ ระทงั่ อาหารเรากไ็ มต่ อ้ งหงุ หา ไมต่ อ้ งทำ� เอง เปน็ การสละพนั ธะตา่ งๆ เหตกุ ารณบ์ า้ นเมอื งหรอื เหตกุ ารณโ์ ลกจะ เปน็ อยา่ งไร ตอนนเี้ รากไ็ มจ่ �ำเปน็ ตอ้ งรบั ร ู้ หรอื ไมส่ ามารถรบั รไู้ ด้ บางคนตอนอยู่กรุงเทพฯ ก็มีความรู้สึกเป็นห่วงบ้านเมือง ร้สู กึ ว่าตอ้ งท�ำอะไรต่ออะไรมากมาย บางทถี งึ กบั รสู้ ึกว่าบา้ นเมอื ง ขาดเราไม่ได้ แต่ท่ีจริงแล้วถึงแม้ไม่มีเราอยู่สักคนโลกก็ยังหมุน ต่อไป ครอบครัวที่เรารักก็ยังสามารถจะอยู่ได้ ผู้คนที่เรารักเรา ห่วงใยก็ยังสามารถอยู่ได้ เพราะฉะน้ันอย่าไปห่วง แต่บ่อยคร้ัง การไม่มีภาระการงานต่างๆ กลายเป็นการสร้างความทุกข์ให้แก่ ผู้คน ไม่ใช่เพราะเขาเป็นห่วงผู้คน หรือเป็นห่วงงานการ แต่เป็น เพราะเขาใชง้ านการเปน็ เครอื่ งหนตี วั เอง ไมว่ า่ งานนนั้ จะยง่ิ ใหญ ่ แคไ่ หน บางครง้ั กท็ ำ� เพอ่ื หนตี วั เอง ครนั้ ตอ้ งกลบั มาอยกู่ บั ตวั เอง กจ็ ะทรุ นทรุ าย มหี ลายคนทเ่ี ปน็ พอ่ คา้ แมค่ า้ ทำ� งานทง้ั ชวี ติ แตพ่ อ เวลาชราถงึ เวลาพกั กพ็ กั ไมไ่ ด ้ อยากจะท�ำงาน มานกึ ดอู าจจะไมใ่ ช ่ เพราะความรักงานหรือเพราะความห่วงครอบครัว แต่เป็นเพราะ ไม่สามารถจะอยู่กับตัวเองได้ ย่ิงถ้าเกิดเจ็บป่วยข้ึนมาเพราะความ ชรากจ็ ะกระสบั กระสา่ ย ถา้ ไมไ่ ดอ้ อกไปทำ� งานจะรสู้ กึ ทรมานมาก อันนนี้ า่ สงสารมากทีเดยี ว 40 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
คนทเ่ี สพตดิ งานหรอื อาศยั งานเปน็ การหนตี วั เอง พอตอ้ งอย่ ู กับตัวเองจริงๆ ก็อยู่ไม่ได้ เกิดอาการกระสับกระส่ายทุรนทุราย อนั นเ้ี พราะเขาไมไ่ ดฝ้ กึ เรยี นรทู้ จี่ ะอยกู่ บั ตวั เอง จนกระทง่ั ไมส่ ามารถ เป็นอิสระจากงานการต่างๆ ได้ ไม่สามารถเป็นอิสระจากพันธะ ตา่ งๆ ได ้ พวกเรากค็ งจะมอี าการแบบนเี้ หมอื นกนั เพราะเปน็ ความ คุ้นเคยหรือเป็นนิสัยไปแล้ว แต่ถ้าเราไม่เรียนรู้ท่ีจะอยู่กับตัวเอง ต่อไปเราก็จะเป็นคนที่ขาดผู้คน ขาดงานการไม่ได้เลย ถ้าไม่ได ้ ทำ� งาน ไมไ่ ดเ้ จอผคู้ นเมอ่ื ไร กแ็ ทบจะลงแดง เพราะฉะนนั้ เมอ่ื เรา มาถึงตรงนี้แล้ว ก็ให้เราวางพันธะต่างๆ วางเร่ืองราว เหตุการณ์ บา้ นเมอื ง ภารกจิ ตา่ งๆ ลงไป ใหถ้ อื วา่ โลกนสี้ ามารถจะอยไู่ ดโ้ ดย ไมม่ เี รา แตส่ ว่ นใหญแ่ ลว้ คนเรามองไมเ่ หน็ ความจรงิ อนั นเ้ี พราะ มคี วามสำ� คญั มนั่ หมายในตวั เองมาก เหน็ ความสำ� คญั ของตวั เอง มากเกนิ ไป ไม่ว่าเราจะเคยมีภารกิจการงานส�ำคัญถึงขั้นเป็นเรื่องความ เป็นความตายตอนน้ีก็เป็นโอกาสดีที่จะวางมันลง ไม่มีงานอะไร สำ� คญั เทา่ กบั การภาวนาทเี่ รากำ� ลงั ทำ� อยขู่ ณะน ้ี ไมม่ อี ะไรทสี่ ำ� คญั เท่ากับการที่เราอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับกายและใจอย่างแท้จริง เพราะสง่ิ ทเี่ ราก�ำลงั ทำ� นเ้ี ปน็ การเจรญิ รอยตามพระพทุ ธองค ์ เวลา ที่เรานั่งภาวนาอยู่อย่างนี้ เราก�ำลังอยู่ในอิริยาบถเดียวกันกับท่ ี 41 พระไพศาล วิสาโล
พระพทุ ธองคไ์ ดท้ รงบ�ำเพญ็ กอ่ นทจ่ี ะตรสั ร ู้ อยใู่ นอริ ยิ าบถเดยี วกนั กับพระอรหันตสาวกมากมาย ท่ีได้บ�ำเพ็ญก่อนท่ีจะได้รู้แจ้ง และ สงิ่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ตามมานน้ั มคี ณุ คา่ มหาศาล สามารถปลดเปลอื้ งจติ ใจ ของผู้คนให้เป็นอิสระได้ ถ้าเราได้พบได้สัมผัสกับสภาวะเช่นน้ัน แม้ประพิมพ์ประพายก็จะทำ� ให้เรามีพลังมากมายในการช่วยเหลือ เก้ือกูลผอู้ ืน่ ใหไ้ ด้พ้นจากความทุกข์ ให้เข้าถึงความสุขทแ่ี ทจ้ รงิ การภาวนาจงึ เปน็ งานทสี่ �ำคญั ทเ่ี ราตอ้ งใสใ่ จ อยา่ คดิ วา่ สง่ิ ท่ ี เราทำ� มนั ดอ้ ยไปกวา่ ภารกจิ อนื่ ทเี่ ราไดท้ งิ้ มา ไมว่ า่ อะไรจะสำ� คญั แคไ่ หน ตอนนก้ี ไ็ มส่ ำ� คญั เทา่ กบั การภาวนา หรอื การไดอ้ ยกู่ บั ตวั เองเพอื่ คน้ พบวา่ ตนเปน็ ทพ่ี งึ่ ของตวั เองอยา่ งแทจ้ รงิ ทำ� ใหเ้ รามี ธรรมะเป็นเกาะ มธี รรมะเป็นท่พี ึง่ อย่างแทจ้ รงิ 42 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
เราฝกึ จติ ใหว้ างใจไปในทางบวก ในทางทเ่ี ปน็ กศุ ล ซำ�้ แลว้ ซำ้� เลา่ กเ็ หมอื นการขดุ รอ่ งนำ�้ ทำ� รอ่ งนำ้� ใหม่ให้ลึกขึ้นเร่ือยๆ สุดท้ายน้�ำก็เปล่ียนเส้นทาง จากทางเก่ามาสทู่ างใหม่
รู้เฉยๆ ครง้ั หนง่ึ เทวดาไดส้ นทนากบั พระพทุ ธองค ์ เทวดาถามวา่ พระพทุ ธ องค์บรรลุธรรมข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีใด พระพุทธองค์ตอบว่า “เรา เองเมื่อไม่พัก ไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้” เพราะถ้าพักก็จะจม ถ้า เพยี รกจ็ ะลอย เพราะไมพ่ กั และไมเ่ พยี รจงึ ขา้ มโอฆะ คอื พน้ ทกุ ขไ์ ด ้ อันนี้ฟังดูก็เข้าใจยากหรืออาจจะเกิดความสงสัยด้วยซ�้ำ เพราะ พระพุทธเจ้าส่งเสริมความเพียรมาก พระองค์เคยตรัสว่าบุคคล ล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร อย่างไรก็ตามท่ีพระองค์ตอบเทวดา 45 พระไพศาล วิสาโล
อยา่ งนน้ั เปน็ อปุ มาอปุ ไมย มคี ำ� อธบิ ายในคมั ภรี อ์ รรถกถาวา่ “พกั ” หมายถงึ กามสขุ ลั ลกิ านโุ ยค คอื การหมกมนุ่ ในกามสขุ สว่ น “เพยี ร” หมายถึงอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตน พักและเพียร ถือ เปน็ สดุ โตง่ ทั้งสองทาง อยา่ งทที่ ราบกนั ดแี ลว้ วา่ กามสขุ ลั ลกิ านโุ ยคกด็ ี อตั ตกลิ มถา- นโุ ยคกด็ ี ลว้ นแตเ่ ปน็ ทางสดุ โตง่ ในเรอ่ื งนคี้ รบู าอาจารยบ์ างทา่ น ขยายความวา่ พกั หมายถงึ การปลอ่ ยใจลอยไปตามกเิ ลส สว่ นเพยี ร กห็ มายถงึ การพยายามกดขม่ กเิ ลสเอาไว ้ เปน็ สดุ โตง่ ทง้ั สองทาง ทางสุดโต่งนั้นมีความหมายหลายแง่ อย่างท่ีเราคุ้นเคยกันก็คือ กามสขุ ลั ลกิ านโุ ยค กบั อตั ตกลิ มถานโุ ยค แตย่ งั มคี วามหมายทม่ี าก ไปกวา่ นน้ั อกี เชน่ ความเชอ่ื แบบสสั สตทฏิ ฐ ิ คอื เหน็ วา่ มตี วั ตนทเี่ ทยี่ ง อนั นกี้ ส็ ดุ โตง่ สว่ นความเชอ่ื ตรงขา้ ม คอื อจุ เฉททฏิ ฐ ิ คอื ความคดิ วา่ มีตัวตนที่ขาดสูญ อันน้ันก็เป็นสุดโต่งอีกทางหน่ึง ในแง่ของการ ปล่อยวางจิตใจ ทางสุดโต่งก็หมายถึงเม่ือมีผัสสะท่ีน่ายินดีมา กระทบ ใจกพ็ ลอยยนิ ดจี นเคลม้ิ หลงใหลไปกบั ผสั สะ เรยี กวา่ กาม- สุขัลลิกานุโยค หรือเวลามีอะไรมากระทบท�ำให้เกิดทุกขเวทนา ก็ จอ่ มจมอยใู่ นทกุ ขเวทนานน้ั อยา่ งนเี้ รยี กวา่ อตั ตกลิ มถานโุ ยค เมอ่ื มคี วามหมายแบบน ี้ ทางสดุ โตง่ กเ็ รมิ่ ใกลต้ วั เรามากขน้ึ หรอื ไมเ่ รา ก็เคยพล้งั พลาดเขา้ ไปในทางสดุ โตง่ ท้ังสองนนั้ มาแลว้ 46 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
ถา้ เรามองวา่ อตั ตกลิ มถานโุ ยค หมายถงึ การทรมานตนแบบ ฤๅษีชีไพร อันนั้นเป็นเรื่องไกลตัว พวกเราคงไม่มีใครท�ำอย่างนั้น แต่ถ้าเรามองว่าอัตตกิลมถานุโยค หมายถึงการปล่อยใจจมอยู่ใน ความทุกข์ ไม่ยอมถอนออกมา เวลามีความผิดหวัง เศร้าเสียใจ หรอื ความโกรธกป็ ลอ่ ยใหใ้ จจมอยใู่ นอารมณน์ น้ั อนั นกี้ ไ็ มต่ า่ งจาก การทรมานตน หรือการหมกมุ่นอยู่ในทุกข์ กินอาหารอร่อย ฟัง เพลงไพเราะใจกเ็ คลมิ้ หรอื พอนกึ ถงึ ความสนกุ สนานตอนไปเทยี่ ว กบั เพอ่ื นหรอื ครอบครวั ใจกเ็ คลม้ิ คลอ้ ย ลอยฟอ่ ง อยา่ งนก้ี เ็ รยี กวา่ กามสุขัลลิกานุโยคได้ มันเป็นทางสุดโต่งสองทาง ซึ่งคนท่ัวไปท�ำ อยู่บ่อยๆ มีสุขก็เพลินอยู่ในสุข พอมีทุกข์ก็จมอยู่ในทุกข์ และเวลา จมอยใู่ นทกุ ขก์ ไ็ มอ่ ยากออก บางคนเวลาโกรธถงึ ขนั้ พยาบาท เพอ่ื น มาแนะน�ำให้เขาให้อภัย ให้แผ่เมตตา กลับโกรธเพื่อนที่แนะน�ำ เพราะอยากจะรักษาความโกรธเอาไว้ ทนุถนอมความโกรธเอาไว้ ใครมาแนะนำ� ใหค้ ลายความโกรธ กลบั ไมช่ อบ ไมพ่ อใจทเ่ี ขาแนะนำ� อยา่ งนนั้ นน่ั แสดงวา่ หวงแหนความโกรธ ทง้ั ทค่ี วามโกรธมนั ท�ำให ้ ทุกข ์ จนกนิ ไม่ได้นอนไมห่ ลบั แต่ก็ยงั อยากจะโกรธต่อไป ความเศร้าเสียใจก็เหมือนกัน เวลาเศร้าเสียใจเพราะคนรัก ตายจากไปก็อยากจะจมอยู่ในความเศร้านั้น มีเพื่อนหวังดีชวนไป เที่ยว ไปเปิดหูเปิดตา ไปเปล่ียนบรรยากาศเพราะไม่อยากให้จม 47 พระไพศาล วิสาโล
อยใู่ นความทกุ ขก์ ไ็ มย่ อมไป อยากจะนงั่ จมจอ่ มอยใู่ นความเศรา้ นนั้ อนั นเี้ ปน็ ความพงึ พอใจทจี่ ะอยกู่ บั ความเศรา้ เราสงั เกตไหมวา่ คนที่ เศร้า คนท่ีอกหัก เขาชอบฟังเพลงแบบไหน เขาฟังเพลงเศร้าๆ ใช่หรือไม่ ย่ิงอยากจะจมด่ิงลงไปในความเศร้า ทั้งที่ก็น่าจะรู้ว่า ความเศรา้ ทำ� ใหเ้ กดิ ความทกุ ข ์ แตก่ ย็ งั ยนิ ดที จี่ ะจมอยใู่ นความเศรา้ ไมต่ า่ งจากฤๅษชี ไี พร หรอื พวกโยคที รี่ วู้ า่ ตะปมู นั เจบ็ แตก่ ย็ งั อยาก จะนอนบนตะปูใหม้ ันทม่ิ แทงหรืออดอาหารจนรา่ งกายผ่ายผอม ฉะน้ันการจมอยู่ในความทุกข์ จมอยู่ในอารมณ์เศร้าหมอง ก็ถือว่าเป็นทางสุดโต่งอย่างหนึ่ง ครั้นเรามาปฏิบัติธรรม ใจก็จะ เหว่ียงไปสุดโต่งอีกทางหนึ่ง แต่ก่อนตอนท่ียังไม่ปฏิบัติก็ปล่อยใจ ลอยไปตามความอยาก แต่พอมาปฏบิ ตั กิ ็พยายามบังคับใจ กดขม่ ความคิดและความอยากเอาไว้ อันนี้ก็เป็นทางสุดโต่งอย่างหน่ึง เราต้องระวงั การเจริญสติคือการวางใจอยู่บนทางสายกลาง โดยเลี่ยง ทางสุดโต่งท้ังสองทาง ปล่อยใจลอยก็ไม่ใช่ บังคับควบคุม ความคดิ หรอื กดขม่ อารมณก์ ไ็ มใ่ ช ่ ตามกเิ ลสกไ็ มใ่ ช ่ ตา้ นกเิ ลส กไ็ มถ่ กู เพราะยง่ิ ตา้ นกย็ ง่ิ หลงเขา้ ไปในกเิ ลสนน้ั ไดง้ า่ ย ยง่ิ พยายาม กดข่มความโกรธความกลัว มันก็ยิ่งได้ช่องเล่นงานเรา พอเผลอ 48 ธรรมกลางป่า สุ ข ก ลา ง ใ จ
มนั กค็ รอบงำ� ใจ ท�ำให้โกรธมากขน้ึ ทำ� ให้กลวั มากขนึ้ เพราะการ ผลกั ไสหรอื การตอ่ ตา้ นกเ็ ปน็ การยดึ ตดิ อยา่ งหนง่ึ สังเกตไหมเวลาเราโกรธอะไร เกลียดอะไร ใจก็จะนึกถึง สง่ิ นนั้ อยบู่ อ่ ยๆ เวลามอื เราถกู ของเหมน็ เชน่ ปลารา้ นำ้� ปลา เรา ไม่ชอบเพราะมันเหม็น เราอยากจะก�ำจัดออกไป เราล้างมือ เชด็ มอื เสรจ็ แลว้ กอ็ ดไมไ่ ดท้ จ่ี ะเอามาดมใชไ่ หม ถา้ มกี ลนิ่ กล็ า้ งใหม่ ลา้ งเสรจ็ กเ็ อามาดมอกี รวู้ า่ มนั เหมน็ แตก่ ย็ งั ดมแลว้ ดมอกี เพราะวา่ ไมช่ อบมนั ยงิ่ ไมช่ อบกย็ งิ่ ยดึ ตดิ มนั เหวยี่ งไปอกี ทาง เพราะฉะนน้ั ความไม่ชอบ ความผลักไส ความปฏิเสธจึงเป็นความยึดติด อีกแบบหนงึ่ การเจรญิ สตเิ ปน็ การรกั ษาใจหรอื วางใจอยใู่ นทางสายกลาง ไมพ่ ลดั หลงเขา้ ไปในทางสดุ โตง่ ทงั้ สองทาง ทางสายกลางคอื ทาง ท่ีมุ่งตรงเข้าสู่ความถูกต้อง ไม่ไขว่คว้าและไม่ผลักไส หลวงพ่อ ค�ำเขียนพูดบ่อยๆ ว่า เวลาเจริญสติ “คิดดีก็ช่าง คิดไม่ดีก็ช่าง” หมายถึงว่า คิดดีก็ไม่ไปเคล้ิมคล้อยกับมัน คิดไม่ดีก็ไม่ไปผลักไส มัน หลวงพ่อเทียน ใช้ค�ำว่ารู้เฉยๆ รู้ซื่อๆ ก็คือดูมันเฉยๆ แค่รู ้ ก็พอแล้ว คิดดีก็ไม่ต้องพยายามรักษามันให้อยู่นานๆ คิดไม่ดีก็ ไม่ต้องไปผลักไส ค�ำว่าไม่พักไม่เพียรก็มีความหมายแบบเดียวกัน 49 พระไพศาล วิสาโล
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170