Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อักษรส่อสาร

อักษรส่อสาร

Description: อักษรส่อสาร

Search

Read the Text Version

อกั ษร



พิมพแ์ จกเปน็ ธรรมบรรณาการด้วยศรัทธาของญาตโิ ยม หากท่านไมไ่ ดใ้ ชป้ ระโยชน์จากหนังสือนแี้ ล้ว โปรดมอบให้กบั ผู้อนื่ ท่จี ะได้ใช้ จะเป็นบุญเปน็ กศุ ลอย่างย่งิ

อักษรสอ่ สาร ชยสาโร ภกิ ขุ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๙๓๐-๐๓-๙ สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ตัดตอน หรอื นำ�ไปพิมพจ์ �ำ หน่าย หากท่านใดประสงคจ์ ะพิมพ์แจกเปน็ ธรรมทาน โปรดติดต่อ มูลนธิ ปิ ัญญาประทีป หรอื โรงเรยี นทอสี ๑​ ๐๒๓/๔๗ ซอยปรดี ีพนมยงค์ ๔๑ สขุ มุ วิท ๗๑ เขตวฒั นา กทม. ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔ www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org จดั ​ทำ�​โดย​ มูลนิธปิ ญั ญาประทปี พิมพค​์ รงั้ ​ท​ี่ ​๑​​ ธันวาคม ๒๕๕๗ จ�ำ นวน ๕,๐๐๐ เลม่ ภาพปก นริ นาม ผู้เรียบเรยี ง ศรีวรา อิสสระ ศิลปกรรม ปรญิ ญา ปฐวนิ ทรานนท์ ภาพประกอบ พีรพฒั น์ ตติยบญุ สงู และ นักเรียน โรงเรียนทอสี พิมพ์ที่ บรษิ ทั โรงพมิ พ์อกั ษรสัมพันธ์ (1987) จ�ำ กัด โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๘-๗๕๐๐ ด�ำ เนินการพิมพ์ บริษทั ควิ พริ้นท์ แมเนจเมน้ ท์ จ�ำ กดั โทรศพั ท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒

คำ� นำ� ในช่วงเขา้ พรรษาของปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ทวี่ ดั ป่านานาชาติ พระอาจารย์เคยแสดงธรรมชดุ หนงึ่ โดยเอาอักษรภาษาไทย เป็นหลกั คือในวันพระแรก กัณฑ์แรก ใหข้ ้อคดิ การอุปมา อุปมยั เละเล่าเรือ่ งเล่า เก่ียวกับไก่ วนั พระตอ่ มาก็เรื่องของ ไข่ ไดห้ ลายอักษรแตย่ งั ไม่ครบทกุ ตัวอักษร ในปลายปี ๒๕๕๗ คณะศิษยไ์ ดข้ ออนุญาตรวบรวม ธรรมะจากตวั อกั ษรเทา่ ทม่ี อี ยู่ เพอ่ื พมิ พแ์ จกเปน็ ธรรมทาน ซง่ึ พระอาจารยเ์ มตตาอนญุ าตและตง้ั ชอื่ หนงั สอื วา่ อกั ษร สอ่ สาร พระอาจารย์อนโุ มทนาในกศุ ลเจตนาของผจู้ ดั พมิ พ์ และขอ ใหพ้ ลงั บุญนี้ จงดลบนั ดาลใหญ้ าติโยมทกุ คน เจรญิ งอกงาม ในส่ิงดีงามทั้งหลาย ต้ังแต่ระดับ ก. ไก่ ตลอดถึง ฮ. นกฮูก

และขอใหผ้ อู้ า่ นทงั้ หลาย ไดค้ วามรจู้ ากหนงั สอื นเ้ี พอ่ื ประยกุ ต์ ในการใช้ภาษาของตนเพ่ือเข้าถึงส่ิงเลิศประเสริฐท่ีอยู่เหนือ ภาษา ในนามของคณะศิษย์ จึงใคร่ขอกราบนมัสการ ขอบพระคุณ พระอาจารย์เป็นอย่างสูง คณะศษิ ยานุศษิ ย์ ธันวาคม ๒๕๕๗

“ก.เอย ก.ไก่”



ธรรมะจากตัวอักษรไทย พรรษานี้อาตมาตั้งใจจะเทศน์เรื่องธรรมะจากตัว อักษรไทย  จะพยายามให้ได้ทุกตัวอักษรเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนี้ ก.ไก่ มีเร่ืองเกีย่ วกบั ไกม่ ากมายทีเดียวในพระสตู ร และในคำ�สอนของครูบาอาจารย์  โดยเฉพาะในสายวัดป่า ท่านมักจะใช้สิ่งแวดล้อม  ท้ังท่ีมีชีวิตและไม่มีชีวิตมาเป็น คติธรรม  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเร่ืองธรรมชาติของ ตวั เอง  โดยอาศยั ธรรมชาตนิ อกตวั เปน็ ตวั อยา่ ง  หลวงพอ่ ชา ทา่ นเมตตาไก่ป่า ไก่ป่าจงึ มีบทบาทสำ�คญั ทา่ นมกั จะชมให้ พระเณรฟังว่า  ไก่ป่าต่างจากไก่บ้านตรงที่มีความสำ�รวม ชยสาโร ภิกขุ 1

ระมัดระวงั ตัวมาก ไมใ่ ชว่ า่ พอมใี ครเอาเหยอื่ มาล่อแลว้ จะวง่ิ เข้าไปกนิ ซ่ึงก็จะตอ้ งตายแน่ๆ หลวงพอ่ จึงใหเ้ ราเอาไกป่ ่า เปน็ ตวั อยา่ ง ทา่ นตอ้ งการใหพ้ ระระวงั ตวั ไมป่ ระมาท ใหม้ ี ความรอบรู้ ให้เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ� คิดก่อนพูด ไม่หุนหัน พลนั แลน่ หรือ อยากท�ำ อะไรก็ท�ำ ไปเลย อยากพดู อะไรก็ พดู ไปเลย ผู้ท่ีหลงใหลในเหยือ่ ต่างๆทางโลก กต็ ายไดเ้ ช่น เดยี วกับไกท่ ี่วงิ่ เข้าหาเหยื่อ แม้กายอาจจะไม่ตาย แตก่ ็ตาย จากคุณธรรม  ตายจากความดี  เราจึงได้ธรรมะจากไก่ป่า เรอ่ื งความระมดั ระวัง มีพระสูตรหนึ่งที่มีเร่ืองเกี่ยวกับไก่  พระพุทธองค์ ตรัสถึงหลักการปฏิบัติว่าทำ�อย่างไรจึงจะเจริญ  ต้องอาศัย อะไรบ้างเพ่ือใหก้ ารปฏิบัติกา้ วหนา้ ทา่ นตรสั วา่ การปฏิบัติ ไม่ได้ข้ึนอยู่กับการอ้อนวอนส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ  หรือการต้ังความ ปรารถนาไว้อย่างแรงกล้า  เช่น  ขอให้เราได้พ้นจากความ ทุกข์  ขอให้เราได้พ้นจากความยึดม่ันถือมั่นต่างๆ  ท่าน ว่าการขออย่างน้ีคงไม่ได้ผล  ท่ีจริงการต้ังความปรารถนาก็ 2 อักษรสอ่ สาร

อาจมผี ลอยู่บ้าง แตเ่ ป็นเร่ืองทางจติ วิทยามากกวา่ คือการ ตั้งปณิธานหรือขอน่ันขอน่ี อาจช่วยให้จติ ใจมุ่งม่นั ในทางน้นั มากข้ึน เหมอื นเป็นการรวบรวมก�ำ ลงั ใจหรอื ท�ำ ให้เปา้ หมาย ของตัวเองชัดขึ้น  ทำ�ให้เราได้ระลึกอยู่ในเป้าหมายของ ตัวเองมากข้ึน สมมติว่าเราตั้งปณิธาน  ขอให้เราเป็นคนท่ีไม่โมโห ผู้อื่นเลย  ขอให้เราหลุดพ้นจากการโมโห  ขอให้เราเป็นคน ใจเยน็ จากน้ไี ปทุกคร้ังท่เี ราเร่ิมร้สู ึกโมโห เราอาจจะระลกึ ถงึ ปณิธานของเรา ซ่ึงอาจจะช่วยให้เราระงับอารมณ์ไดบ้ ้าง เป้าหมายทชี่ ดั เจนวา่ จะไมโ่ มโห หรอื จะเปน็ คนใจเยน็ น้นั จะ เป็นที่ระลึกของสติได้  แต่ไม่ใช่ว่าส่ิงศักด์ิสิทธิ์  หรือเทวดา ท่ไี หนจะทำ�ใหเ้ ราไมโ่ มโหคนอืน่ เพราะมันเหลือวสิ ัยของสิ่ง นอกตวั เรา พระพทุ ธองคท์ รงสอนวา่ มันอยู่ทีเ่ รา อยทู่ ่ีการปฏิบตั ิ ที่ถกู หลกั ถ้าเราปฏิบตั ไิ มถ่ ูกหลกั ถา้ เรายงั หลงใหลอย่กู ับ รูป เสยี ง กลิ่น รส โผฏฐพั พะ ยงั ปล่อยจิตให้วิ่งตามอารมณ์ ชยสาโร ภิกขุ 3

อยู่ตลอดเวลา เปน็ ผู้ทีห่ ลงอารมณอ์ ยตู่ ลอดเวลา ถึงเราจะ ปรารถนาแรงกล้าอย่างไร มันกไ็ ม่ได้ผล แต่ถา้ เราปฏบิ ตั ดิ ี ปฏบิ ตั ิชอบ ปฏิบัตถิ ูกหลักทงั้ ในด้านศลี สมาธิ ปัญญา เป็น ผมู้ ีศรทั ธา เปน็ ผู้มีศีล เปน็ ผ้มู วี ิรยิ ะความพากเพียรพยายาม ทถ่ี กู ตอ้ ง แมจ้ ะไมต่ ้งั ความปรารถนา การปฏิบตั กิ ย็ ่อมเกดิ ผลอยู่ดี พระพุทธองค์ทรงอปุ มาวา่ เหมอื นแม่ไก่กบั ไข่ ถา้ แม่ ไก่ไม่กกไขด่ ้วยดี ไมฟ่ กั ไข่ด้วยดี จะปรารถนาอย่างไรลกู ไก่ก็ ไมเ่ กิดแต่ถ้าแมไ่ กน่ อนกกไขอ่ ย่างต่อเน่อื งดว้ ยดีฟกั ไขด่ ้วยดี แม่ไก่ไม่จำ�เป็นต้องตั้งความปรารถนาหรืออ้อนวอนขอให้ ลูกไก่เกดิ โดยสวสั ดี แตม่ นั จะเปน็ เอง เพราะแมไ่ ก่ทำ�ถกู ตอ้ ง ตามหลกั   ฉะนนั้ ลกู ไก่จะเกดิ หรอื ไมเ่ กดิ จะปลอดภยั หรอื ไม่ปลอดภัย  ข้ึนอยู่กับการทำ�หน้าท่ีอย่างถูกต้องของแม่ไก่ ไม่ได้อยูท่ ีก่ ารต้ังความปรารถนา ถ้าเราอยากจะพ้นทุกข์หรืออยากจะทำ�จิตใจของเรา ให้สงบ  เราต้องปฏิบัติให้ถูกหลัก  เราต้องเป็นผู้มีศีลธรรม เป็นฐาน  ต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ  ต้องมีสติความ 4 อักษรส่อสาร

ระลึกได้  ต้องมีสัมปชัญญะความรู้ตัว  ต้องมีความเพียร พยายามที่จะละเลิกนิสัยท่ีไม่ดี  ป้องกันจิตใจไม่ให้ส่ิงไม่ดี ไม่งามเกิดข้ึน  พยายามทำ�สิ่งท่ีดีท่ีงามท่ียังไม่เกิดให้เกิดข้ึน และเพยี รรกั ษาสิง่ ดีๆ ทีเ่ กดิ ข้ึนแล้วให้ดีย่ิงๆ ขน้ึ ไป มันไม่ได้ อยแู่ คท่ ก่ี ารตงั้ ความปรารถนา  นเ่ี ปน็ พระสตู รทท่ี า่ นเอาแมไ่ ก่ มาอุปมา ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาอบรมพระฝร่ังท่ีชอบน่ังสมาธิ นานๆ ทา่ นเตอื นสติให้ระวัง อย่าหลงวา่ นง่ั ยงิ่ นานย่งิ ดี มนั ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป  ท่านเปรียบเหมือนกับไก่  ที่แม้จะน่ัง นานสกั เท่าใด ปัญญาก็ไมเ่ กิดสกั ที เราจะเอาแต่ระยะเวลา ที่นั่งเป็นประมาณไม่ได้  ท่านบอกว่ามันไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถ มนั อยู่ท่ีว่าในระหว่างที่น่งั นัน้ จติ ใจเราอยู่ทไี่ หน หากจิตใจ ไม่อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน  หรือจิตใจมัวแต่ไปคิดเร่ืองนั้น เร่อื งน้ ี แม้จะน่งั นานเท่าใด  ก็ไม่เกิดประโยชน์  เราจะเอา อิริยาบถเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติของเราไม่ได้ ท่านสอนว่า คุณภาพดีกว่าปริมาณ เมื่อจะปฏิบัติ ก็จงปฏิบัติอย่างมี ชยสาโร ภกิ ขุ 5

คณุ ภาพ ถงึ แมว้ า่ เมอ่ื อยบู่ า้ น เราจะมเี วลาปฏบิ ตั ไิ ดไ้ มน่ านนกั ก็ทำ�เวลานั้นให้มีคุณภาพ มีคุณภาพด้วยการตั้งอกตั้งใจ ไม่ใช่สักแต่ว่านั่งพอเป็นพิธีหรือไม่ตั้งใจ ปล่อยจิตให้ไป หมกมุ่นอยู่กับเร่ืองอดีตบ้าง  หรือปล่อยให้จิตเพ้อฝันเรื่อง อนาคตทยี่ งั มาไมถ่ งึ บ้าง นานๆ เขา้ เรากจ็ ะรู้สึกท้อแท้ใจ น่งั สมาธิไม่เห็นได้เรอ่ื งเลย ปญั หามันไมไ่ ด้อยู่ทีส่ มาธิ ไม่ไดอ้ ยู่ ทค่ี �ำ สง่ั สอน และไมไ่ ดอ้ ย่ทู ีว่ ิธกี าร เพราะสง่ิ เหล่าน้ันล้วนดี อยูแ่ ล้ว เพราะผ้ทู ี่ใช้คำ�สงั่ สอนและวิธีการของพระพุทธองค์ เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมจิตจนเกิดผลมีมากมายนับ ไมถ่ ว้ น หากการปฏิบัติของเรามักจะไม่ได้ผล  เพราะขาด ความต่อเนื่องหรือความสม่ำ�เสมอในการปฏิบัติ  ซ่ึงข้ึนอยู่ กบั ความตั้งใจของเรา คนบางคนขยนั กป็ ฏบิ ัติ ขีเ้ กียจขค้ี ร้าน ก็ไมป่ ฏบิ ัติ จติ ใจสบายกน็ ัง่ สมาธิบ้าง จิตใจวุ่นวายกลัดกลุ้ม ซึมเศร้ากไ็ มน่ งั่ เหตผุ ลท่ไี มน่ ง่ั เพราะคดิ วา่ ถา้ นง่ั ก็คงไมส่ งบ น่ีเป็นความคิดผิด  เพราะถ้าเราไม่ฝึกน่ัง  ย่อมไม่มีวันท่ีเรา 6 อักษรส่อสาร

จะสามารถชนะจิตใจของตนเอง  ไม่มีวันท่ีเราจะได้พ้นจาก ความวุ่นวาย  แต่ถ้าเราอดทน  จะสงบหรือไม่สงบช่างมัน เราจะต้องนง่ั ใหไ้ ด้ ถา้ เราน่ังอยกู่ บั อารมณ์ทวี่ า้ วุ่นขุ่นมวั ก็ พยายามปลอ่ ยๆๆๆๆ เหมือนกบั ตุ๊กตาลม้ ลกุ ลม้ แลว้ ก็ลุก ล้มแลว้ ก็ลุก ลม้ แล้วก็ลุก ไมย่ อมเบ่อื ในที่สุดแลว้ เราจะได้ พบวนั ท่ีจิตใจพ้นจากอารมณน์ ั้นได้ ซงึ่ จะเป็นประสบการณ์ ทส่ี �ำ คญั และมอี านสิ งสม์ ากในชวี ติ เพราะหลงั จากนน้ั เราจะ ไม่เชื่ออารมณ์เหมือนแต่ก่อน เราจะมีสัญญาจำ�ได้หมาย รู้ว่า  ครั้งหนึ่งเราเคยทุกข์มาก  นั่งสมาธิแล้วไม่คิดว่าจะ ได้ผลดีอะไร  แต่ก็นั่งเพียงเพราะ ครูบาอาจารยท์ า่ นสอน อย่างนั้น ก็พยายามนั่งอยู่อย่างนั้น แต่ไม่น่าเชื่อที่จิตใจ มนั พลกิ พลกิ จากความวุ่นวายทสี่ ุดเปน็ สงบนง่ิ ไมร่ ้วู า่ เปน็ ไปไดอ้ ยา่ งไร เม่อื เรามีประสบการณอ์ ย่างนแี้ ล้ว จะท�ำ ใหเ้ รา มีก�ำ ลงั ใจ เวลาจิตใจว่นุ วาย เราจะไม่พ่ึงสิง่ อนื่ เราจะไมห่ นี จากอารมณ์ของตัวเอง  แต่จะกล้าเผชิญหน้ากับอารมณ์น้ัน การไม่กล้าเผชญิ หนา้ กบั อารมณ์ของตนเอง เป็นการส่งเสรมิ ชยสาโร ภกิ ขุ 7

ความออ่ นแอของจิตใจ เม่อื เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ก็ จะหาวิธีกลบเกลือ่ นอารมณ์ด้วยกาม คือดทู วี บี า้ ง ไปพูดคุย กบั ใครบ้าง หรอื กนิ อะไรสักอยา่ ง สงิ่ เหล่านลี้ ว้ นแตเ่ ปน็ กาม หรือเปน็ เคร่ืองกลบอารมณ์ พระพุทธองค์ตรัสว่า  หากทุกข์มากๆ  ก็ให้เข้าห้อง พระหรือหาท่ีสงบ  นั่งขัดสมาธิ  ดูลมหายใจเข้าลมหายใจ ออก ยอมอยูก่ ับอารมณ์ ไมก่ ลวั อารมณ์ ไมต่ อ้ งหลบอารมณ์ แต่ให้อยู่กับอารมณ์จนอารมณ์นั้นดับไป  อารมณ์ก็เป็นแค่ สังขารเท่าน้ันเอง  อารมณ์ส่วนมากเป็นเสือกระดาษ  ไม่ใช่ ของจรงิ ของจังอะไร แต่เราไปสำ�คญั มน่ั หมาย ปลอ่ ยใหม้ ัน เปน็ เร่อื งใหญ่ เปน็ เรือ่ งนา่ กลัว เพราะเราขข้ี ลาดจนไม่ยอม จะอยกู่ บั มนั ถ้าเราไม่สงบแล้วไม่ยอมฝึกสมาธิเพราะคิดว่านั่งแล้ว จะไม่สงบ  ก็เหมือนกับคนท่ีกำ�ลังไม่สบาย  เพ่ือนชวนให้ ไปหาหมอ  ก็บอกว่าไม่ไปหรอก  จะไปทำ�ไม  มันป่วยมาก เกนิ กว่าทจี่ ะไปหาหมอ ก็ถา้ ไมน่ งั่ สมาธิแล้ว มนั จะสงบได้ 8 อกั ษรส่อสาร

อยา่ งไร ท่านจงึ ใหเ้ ราน่งั แต่ใหน้ ัง่ ดว้ ยความเพียรพยายาม ไมใ่ ช่สกั แตว่ า่ เอาอริ ิยาบถนั่งอย่างเดียว ถ้าเป็นเชน่ นั้น ท่าน บอกวา่ เหมือนไก่ ทนี่ ่งั เฉยๆ แล้วไม่เกดิ ปัญญาอนั ใด อุปมาที่เก่ียวกับไก่อีกเรื่องของหลวงพ่อชา  ท่านว่า คนเรามักไม่ค่อยพอใจกับส่ิงท่ีมีอยู่  เหมือนมีไก่แต่อยากให้ ไกเ่ ปน็ เป็ด หรอื ถา้ มีเปด็ ก็อยากใหเ้ ป็ดเป็นไก่ ทา่ นว่าความ อยากแบบนี้จะทำ�ให้เป็นทุกข์เปล่าๆ  เพราะเป็นไปไม่ได้ท่ี เปด็ จะเปลยี่ นเป็นไกห่ รือไกจ่ ะเปลีย่ นเป็นเปด็ ท่านสอนให้เรายอมรับความจรงิ ยอมรบั ส่งิ ทีม่ ีอยวู่ ่า มนั เป็นอยา่ งนแ้ี หละ เปน็ ตามเหตุตามปจั จยั ของมนั หากวา่ เราไม่พอใจหรือตอ้ งการให้ดกี วา่ นี้ เรากต็ อ้ งสร้างเหตุสร้าง ปัจจัยให้ค่อยๆ  มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว อยากให้เป็นอีกอย่างหน่งึ เราก็จะเปน็ ทกุ ขม์ าก เหมอื นว่า เราอยู่ในท่เี ย็นแต่อยากใหม้ นั รอ้ น หรอื อยู่ในทรี่ ้อนแต่อยาก ให้มันเย็น มันกเ็ ปน็ ไปไมไ่ ด้ นอกจากเราจะเปดิ แอรห์ รือเปดิ พัดลม  ซึ่งทุกวันน้ีคนเรามีโอกาสมากกว่าคนในสมัยก่อน ชยสาโร ภิกขุ 9

แต่ถ้าเราอยู่ในธรรมชาติที่ไม่มีไฟฟ้าและเครื่องอำ�นวยความ สะดวกสบาย เชน่ อย่เู มอื งรอ้ น แล้วมัวแต่นั่งคดิ ว่า ทำ�ไมมัน จึงรอ้ นนัก อยากจะใหม้ ันเย็นกวา่ นี้สักหนอ่ ยก็จะดี โอ... ไม่ ไหวๆ อย่างนก้ี ็เป็นทุกขเ์ พราะอยากใหร้ ้อนเป็นเยน็ หรือว่า อยู่ในท่หี นาวเย็น โอ...หนาวเหลอื เกิน หนาวจริงๆ อยากให้ ร้อนกว่าน้ีสักหน่อย  อย่างนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า  เป็นการ สรา้ งความทุกขแ์ กต่ นเองโดยใช่เหตุ เราต้องรู้เท่าทัน  ร้อนมันเป็นอย่างนี้แหละ  ที่ร้อน เพราะมนั เปน็ หน้ารอ้ น หนา้ ร้อนตอ้ งเปน็ อยา่ งน้ี หน้าหนาว ตอ้ งเปน็ อยา่ งน ้ี เรากร็ เู้ ทา่ ทนั   ถา้ รสู้ กึ ไมส่ บายจากความรอ้ น เราก็หาโอกาสที่จะหลบจากความร้อนไปหาความเย็นบ้าง ถ้าสามารถทำ�ได้  หรือหากว่าเย็นมาก  การหาโอกาสหลบ จากความเย็นบ้างก็ไม่ใช่เร่ืองผิด  แต่ในขณะที่เรายังหลบ ไมไ่ ด้ และจ�ำ ตอ้ งอยูก่ ับความร้อนหรอื ต้องอยู่กบั ความเยน็ ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์กับความ ร้อนความเย็น  ต้องทำ�ใจยอมรับความจริง  ไม่ขัดแย้งกับ ความจริง  ความสงบอยู่ท่ีการยอมรับ  แต่ไม่ได้หมายความ 10 อกั ษรสอ่ สาร

ว่า  ถ้ายอมรับแล้วจะต้องปล่อยปละละเลย  หากหมายถึง การยอมรับว่า  ในขณะนี้มันก็เป็นอย่างน้ี  ถ้าเราต้องการ ให้มคี วามเปลย่ี นแปลง หรอื ตอ้ งการใหต้ ่างไปจากน้ี เราก็ ต้องค่อยๆ  สร้างเหตุสร้างปัจจัย  หากไม่ทำ�เช่นน้นั   ความ เปล่ยี นแปลงก็จะเกิดข้นึ ไม่ได้  ซ่งึ หลวงพ่อบอกว่า  เหมือน กับคนโง่ที่ต้องการให้ไก่กลายเป็นเป็ดหรือให้เป็ดกลาย เป็นไก่ นอกจากนี้ยังมีสำ�นวนไทยอีกมากที่เกี่ยวกับคำ�ว่า ไก่ เช่น ไก่ไดพ้ ลอย ซ่งึ หมายถงึ การได้สิ่งท่ดี ีมคี ณุ คา่ แตไ่ ม่รู้ คุณค่าของส่ิงน้ัน  ซึ่งทุกวันนี้เป็นกันมาก  คนในยุคปัจจุบัน แม้อยู่กับสิ่งท่ีมีแก่นสารสาระ  แต่ก็ไม่เห็นแก่นสารสาระ ของมัน ไมเ่ ห็นว่าสำ�คัญ แต่กลบั เหน็ ส่ิงท่ไี ม่มีแก่นสารหรือ ส่ิงเหลวใหลว่าเป็นส่ิงท่ีสำ�คัญ  มีคนจำ�นวนไม่น้อยที่เห็นว่า ศาสนาไม่มีความสำ�คัญอะไรต่อชีวิตประจำ�วัน  สู้การก้ม หน้าก้มตาทำ�งานเพ่ือให้ได้ลาภได้ยศได้สรรเสริญได้สุขไม่ได้ เขาเห็นโลกธรรมหรือการละเล่นต่างๆ ว่ามีความสำ�คัญ มากกว่า  ทุกวันน้ีการละเล่นหลายอย่างกลายเป็นแก่นสาร ชยสาโร ภิกขุ 11

ชีวิตของคนจ�ำ นวนมากเหลอื เกนิ พาให้จิตใจตกตำ่� เพราะ ไมย่ นิ ดีไม่พอใจกับส่งิ ท่ีจะชว่ ยพฒั นาจิตใจ แตก่ ลับไปยนิ ดี ไปพอใจกบั สง่ิ กระตนุ้ ประสาททง้ั หลาย  โดยเขา้ ใจวา่ ความสขุ อยู่ที่การกระตุ้นประสาท อยู่ที่ความตื่นเต้น ทั้งๆ ที่ผู้ที่ แสวงหาความตืน่ เต้นอยู่ตลอดเวลานั้น ย่อมต้องประสบกับ ความเบื่อหน่ายเป็นธรรมดา  เพราะความเบ่ือหน่ายและ ความเซง็ เปน็ เงาตามตัวของความตน่ื เต้น พุทธศาสนามีพระศรีรัตนตรัยเป็นรัตนะ  เป็นเพชร พลอย หากทุกวันนีค้ นท�ำ ตวั เองเหมือนไมเ่ ปน็ มนุษย์ แทนที่ จะเป็นมนษุ ยท์ ่ีเห็นคุณคา่ ของศรีรัตนตรัย กลับท�ำ ตนเป็นไก่ ไกไ่ ดพ้ ลอย ถา้ ไกไ่ ด้พลอยหรอื ไดศ้ รรี ัตนตรัย ก็ไมส่ นใจและ ไมเ่ ห็นคุณค่า ซง่ึ เป็นเรอ่ื งทีน่ า่ เสียดายว่า คนเรามีโอกาสได้ เกิดเป็นมนุษย์ด้วยความยากลำ�บากยิ่ง  แล้วยังเกิดในเมือง ไทยหรือในประเทศทพ่ี ระพุทธศาสนายังรงุ่ เรืองอยู่ แต่กลบั ประมาท กลับไมส่ นใจ กลับไมร่ ้เู ร่อื ง สังคมเราจึงมปี ญั หา มากมาย 12 อักษรสอ่ สาร

พวกเราที่เป็นพุทธศาสนิกชน เปน็ คนเขา้ วดั เราตอ้ ง เปน็ ตัวอย่างที่ดี ไม่จำ�เป็นต้องไปเทศน์ให้ใครฟังหรอก เพยี งแค่เรายิ้มแย้มแจ่มใสด้วยธรรม มีความสุข มีความ ใจเย็น มีความรอบคอบ  ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา  มีความ อดทน  มีความเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ต่อเพ่ือนมนุษย์  ผู้ที่ได้เห็น ก็เกิดความประทับใจ  จะช่วยให้เขาหันมาเห็นความสำ�คัญ ของศาสนามากขน้ึ เพราะเหน็ ผลดีที่ พระพุทธศาสนาซึง่ เป็นเร่ืองของการศกึ ษาปฏบิ ัตมิ ตี ่อคนเข้าวัด แต่คำ�ท่มี กั จะ ไดย้ นิ บอ่ ยๆกค็ อื ไมน่ า่ เชอ่ื วา่ คนนน้ั คนนเ้ี ขา้ วดั ตง้ั หลายปแี ลว้ ท�ำ ไมเขายงั เหมอื นเดมิ ท�ำ ไมเขาเปน็ อยา่ งนน้ั อยา่ งนไ้ี ด้ ยงั คง ขโ้ี กรธขโ้ี มโหอยมู่ าก เขา้ วดั ฟงั ครบู าอาจารยเ์ ทศนท์ กุ วนั พระ ก็ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงดีขึ้น เลยทำ�ให้คนอื่นไม่อยากเข้าวัด ท�ำ ให้คนจ�ำ นวนมากยงั เปน็ ไก่ไดพ้ ลอยอยู่ ฉะนั้นเราต้องฝึกต้องหัด  ถ้าไม่ฝึกไม่หัดมันก็เป็นแค่ ไกอ่ อ่ น คอื ไมม่ ปี ระสบการณใ์ นการปฏบิ ตั ิ เรอ่ื งการปฏบิ ตั นิ ้ี ไม่มีใครจะทำ�ให้เราได้ ต้องเตือนตัวเองบ่อยๆ ว่า เราจะ ชยสาโร ภิกขุ 13

กา้ วหนา้ หรอื ถอยหลงั อยทู่ ต่ี วั เราเอง ไมไ่ ดอ้ ยทู่ ใ่ี ครอน่ื เราได้ ฟงั ค�ำ ส่งั สอนแลว้ ต้องเอาไปทดลอง ต้องเอาไปปฏบิ ัติ ข.ไข่  เรอ่ื งของ ข.ไข่ จะมีนอ้ ยกว่า ก.ไก่ ทพี่ อนกึ ได้ ก็มีพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบพระหรือ นักปฏิบัติกับผู้เล้ียงโคหรือวัว  ท่านว่าลักษณะของผู้เลี้ยงวัว ทดี่ ี คือเป็นผู้เขี่ยไข่ขาง ไข่ขางในภาษาอีสานหมายถึงไข่ แมลงวนั ผู้เล้ียงวัวท่คี อยสงั เกตวัวที่อยใู่ นความดูแล ดวู ่ามี ไข่ขางทีต่ รงไหน ก็รบี เขี่ยทง้ิ ใหว้ วั ถอื เป็นคนเลี้ยงโคเลีย้ งวัว ท่ดี ี ท่านว่าพระและนักปฏบิ ตั ทิ ี่ดีก็เชน่ เดียวกนั ต้องรจู้ ัก เขยี่ ไข่ขาง การเขีย่ ไขข่ างของพระและนักปฏบิ ัติน้ันหมายถงึ การเข่ยี ความคดิ ทไี่ ม่ดี ๓ ประเภท ซง่ึ รวมกนั เรยี กว่า มิจฉา สังกัปปะ  อันเป็นความดำ�ริหรือความคิดในทางที่เป็นพิษ เปน็ ภัย และเป็นอนั ตรายต่อจิตใจหรือต่อชีวติ ของเรา คอื 14 อกั ษรสอ่ สาร

๑.  ความด�ำ รหิ รอื ความคดิ ในกาม  ในเรอ่ื งทางเนอ้ื หนัง หรอื ในทางทเี่ ป็นอกศุ ลทัว่ ๆ ไป ๒.  ความดำ�รหิ รอื ความคดิ ในทางมงุ่ รา้ ยด้วยโทสะ ๓.  ความดำ�ริหรือความคิดในการเบียดเบียนคนอื่น หรอื สัตว์อืน่ สำ�หรับข้อแรก  ความดำ�ริในเร่ืองกาม  ท่านว่าเม่ือมี ความคดิ หรือการปรุงแต่งในเร่อื งน้ีเกิดขึ้น เราต้องรีบจัดการ ขจัดมนั เสยี ทนั ที อยา่ ปลอ่ ยไว้ เพราะสิ่งเหลา่ นีเ้ ป็นอนั ตราย มนั จะท�ำ ลายบญุ กศุ ลทอ่ี ยใู่ นจติ ใจของเราอยา่ งรวดเรว็ ความ คดิ ปรงุ แตง่ ในเรอ่ื งสง่ิ สวยสง่ิ งาม  ในเรอ่ื งความสขุ ส�ำ ราญทาง เนอ้ื หนงั เรอ่ื งความสนกุ สนานตา่ งๆ นานา ถา้ จติ ใจชอบคดิ ในจดุ ทส่ี นกุ หรอื จดุ ทส่ี วยงามของสง่ิ ตา่ งๆ จติ ใจกจ็ ะพอใจอยู่ ตรงจดุ นน้ั   จนไมม่ กี �ำ ลงั ใจทจ่ี ะหลดุ พน้ จากความยดึ ตดิ ในสง่ิ เหลา่ นน้ั ได ้ ความสนใจหรอื ฉนั ทะความตอ้ งการทจ่ี ะพน้ จาก ความยึดม่นั ถือม่นั ต่างๆ  ก็จะน้อยลง  ความต้งั ใจจะปฏิบัติ ธรรมกจ็ ะลดนอ้ ยลง  จะเกดิ ความขดั แยง้ ขึ้นในใจเรา ชยสาโร ภิกขุ 15

ข้อทีส่ อง ความคดิ ในทางพยาบาทปองรา้ ย ท่านวา่ เป็นอันตรายมาก  เป็นการทำ�ร้ายตัวเอง  เม่ือความคิดใน ลักษณะนี้เกิดขึ้น  เราต้องพยายามดับทันที  ถ้าไม่สามารถ ดงึ จติ ออกจากอารมณน์ ้ดี ้วยพลังสติและพลังสมาธิ กต็ ้องใช้ ปญั ญา พิจารณาใหเ้ ห็นโทษของความโกรธ โทษของความ คดิ พยาบาท จนเกดิ ความละอาย เกิดความเกรงกลัว เกิด ความระมัดระวัง  พิจารณาให้เห็นว่า  การปล่อยจิตใจของ เราให้หมกมุ่นอยู่กับความโกรธความไม่พอใจความดุร้ายน้ัน  เป็นสิ่งที่น่าละอาย  ทุกครั้งที่เราปล่อยให้จิตใจคิดปรุง แต่งในจุดที่เราไม่พอใจคนอ่ืน  น่ันเป็นการดึงจิตลงไปสู่ที่ ตำ่�ที่สกปรก เป็นการปลอ่ ยใหจ้ ิตเราเองแปดเปอื้ น เมอ่ื เกิด ความโกรธความไม่พอใจ กพ็ จิ ารณาให้เหน็ วา่ มนั กเ็ ปน็ แค่ อารมณ์ มันไมใ่ ชเ่ รา ไม่ใช่ของเรา เปน็ การใชป้ ัญญาช่วยให้ เลกิ คิดในทางพยาบาท ข้อท่ีสาม  ความคิดในทางเบียดเบียนคนอ่ืนหรือสัตว์ อ่ืน  ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ใช่ด้วยความพยาบาทอย่างเดียว อาจเกิดความคิดที่จะเบียดเบียนเพ่ือความสนุกบ้าง  หรือ 16 อกั ษรส่อสาร

ด้วยความรู้สึกเฉยๆ  ต่อความทุกข์ของคนอ่ืนหรือสัตว์อื่น เช่น พวกท่ีชอบตกปลา เขาตกปลา เบยี ดเบียนปลา ท�ำ ให้ ปลาเปน็ ทุกข์และทำ�ให้ปลาตาย ทงั้ ๆ ทเี่ ขาไมไ่ ดโ้ กรธปลา เขาไม่ได้ทำ�ด้วยความดำ�ริในทางพยาบาท  แต่มีความดำ�ริ ในทางเบียดเบียน ฉะน้นั ความดำ�ริในทางเบยี ดเบียนจึงตรง กันข้ามกับความกรุณาซึ่งเป็นความคิดที่จะให้สรรพสัตว์ทั้ง หลายพน้ จากความทุกข์ ส่วนความพยาบาทนน้ั ตรงขา้ มกับ เมตตาธรรมหรอื ความหวังดตี ่อสรรพสตั ว์ทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ คือ ๑. ความคิดที่ออกจากกาม หรือความคิดท่ีปราศจาก กาม  เป็นความคิดในทางสร้างสรรค์  เป็นความคิดใน ทางเกื้อกูลเพ่ือนมนุษย์  และเป็นความคิดในทางแสวงหา สัจธรรมความจรงิ ๒. ความคดิ ในการไม่พยาบาท คอื คิดเมตตา มีความ หวังดีต่อสรรพสัตว์ท้ังหลายอย่างสม่ำ�เสมอ  ไม่มีการเลือก ทรี่ ักมักทช่ี งั ชยสาโร ภกิ ขุ 17

๓. ความคิดในการไม่เบียดเบียน คือความด�ำ รใิ นทาง กรุณา  ความคิดท่ีจะให้สรรพสัตว์ท้ังหลายพ้นจากความ ทุกขโ์ ดยส้นิ เชิง ทุกครั้งที่ความคิดปรุงแต่งในทางไม่ดีเกิดข้ึน  ท่าน เปรียบเทยี บเหมอื นกบั ไข่ขางบนตวั ววั ทา่ นว่าเราตอ้ งท�ำ ตน เหมือนคนเล้ียงวัวท่ีดี  ต้องหมั่นเข่ียไข่ขางหรือความคิดปรุง แต่งในทางทีไ่ ม่ดที ง้ิ ค.ควายอาตมามกั จะสงสยั วา่ ท�ำ ไมโดยทัว่ ๆไปแลว้ คนไทยเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีมากพอสมควร  จนถือ เป็นเอกลักษณ์ของเราได้  โดยเฉพาะคนอีสาน  เป็นผู้รู้จัก บุญคุณของผู้มีพระคุณมาก  อาตมาว่าควายมีบุญคุณมาก ต่อมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย  ก่อนท่ีจะมีเครื่องทุ่นแรงในระยะ หลังๆ  น้ี  หลายร้อยหลายพันปีก่อน  เราทำ�นาได้เพราะ มีควาย  ควายช่วยมนุษย์ทำ�นา  ช่วยให้เรามีข้าวกิน  แต่ดู 18 อักษรส่อสาร

เหมือนว่าทุกวันนี้คนไม่ค่อยจะคำ�นึงถึงบุญคุณท่ีควายมีต่อ มนษุ ยส์ กั เทา่ ใด เหน็ ไดจ้ ากการฆา่ ควายทว่ั ประเทศไทยทกุ วนั ไมร่ ูว้ า่ จ�ำ นวนสักเท่าไหร่ ปีหนึ่งไมร่ ู้กหี่ มนื่ กแ่ี สนตัว ท่ตี ำ�บล บุง่ หวายของเราน้กี ็ยงั มีตลาดขายควาย อาตมาไม่ค่อยเห็นด้วยกับวลีที่ว่า  “สีซอให้ควายฟัง” เหมอื นใชค้ วายเปน็ สญั ลกั ษณข์ องความโง ่ “สซี อใหค้ วายฟงั ” หมายถงึ “สอนคนโงไ่ มเ่ กดิ ประโยชน”์ อะไรท�ำ นองน้ี เรารไู้ ด้ อย่างไรว่าควายเปน็ สัตวท์ ่โี ง่ ใครจะไปร้ไู ด้ ถา้ เราดูว่าหน้า มันโง่ กไ็ มใ่ ชเ่ รอ่ื งแนเ่ สมอไป คนบางคนดูหน้าแล้วว่าไมน่ า่ จะฉลาด แตก่ ลบั ฉลาดมาก อยา่ งน้ีก็มใี ชไ่ หม บางคนดูหนา้ แล้วนา่ จะเป็นคนฉลาด แตก่ ลบั ไม่ฉลาดเลยกม็ ี แล้วทำ�ไม เราดูควายแล้วคิดว่ามันโง่  คิดว่ามันไม่ฉลาด  จริงๆแล้ว มันอาจจะฉลาดก็ได้  การตัดสินจากอาการภายนอกอย่าง เดยี ว ย่อมไมแ่ น่นอนเสมอไป อาตมาว่าควายทำ�งานให้มนุษย์มานานแล้ว  เราควร จะให้เกียรติมันบ้าง  เม่ือมันแก่จนทำ�งานไม่ไหวแล้ว  เราก็ ชยสาโร ภกิ ขุ 19

น่าจะปลอ่ ยให้มันได้พกั ผ่อนในบัน้ ปลายของชีวิต ทำ�ไมต้อง ไปฆา่ มนั ดว้ ย ท�ำ ไมตอ้ งไปกนิ มนั อาตมาวา่ นไ่ี มเ่ หมาะสมเลย มนุษยเ์ ราทำ�บาปเพราะความอยากมากเหลอื เกิน ใหค้ วาม ส�ำ คัญกับเรื่องการกนิ มาก อยากกินเนื้อสัตว์ อยากกนิ ลาบ อยากกินอะไรต่อมิอะไร ยอมฆ่าสัตว์เพียงเพราะอยากกิน ของอร่อย ที่จริงในยุคน้ีเรามีสิทธิ์และมีโอกาสที่จะเล่ียงบาป ข้อปาณาติบาตได้มากกว่าคนสมยั โบราณ เพราะทุกวนั นม้ี ี อาหารให้เราเลอื กมากมายหลายอยา่ งกวา่ สมัยก่อน ฉะน้นั จึงไม่ใช่เร่ืองจำ�เป็นเลยที่เราต้องไปฆ่าสัตว์มาเป็นอาหาร อาตมาดูสถิติของคนท่ีแข็งแรงที่สุดในโลก  แชมป์โลกคน หน่ึงในการวิดพื้น  สามารถวิดพ้ืนโดยไม่หยุดหน่ึงหม่ืนเจ็ด พันครง้ั ทงั้ ๆ ท่เี ขาเป็นคนทานเจ ไมเ่ คยทานเนอ้ื สตั ว์เลย นี่เป็นตัวอย่างว่า  ไม่ต้องทานเน้ือสัตว์ก็แข็งแรงได้  แต่เรา ถกู หลอกกนั มาวา่ ถ้าไม่ทานเนอ้ื สัตวแ์ ล้วจะไม่แขง็ แรง นน่ั เปน็ การหลอกโฆษณาชวนเช่ือมากกว่า 20 อกั ษรสอ่ สาร

ท่านอาจารย์สุเมโธเป็นผู้หนึ่งที่ชอบควาย  ท่านเคย เลา่ อยา่ งติดตลกว่า ตอนท่ีบวชใหม่ๆ เชา้ วนั หนึ่งทา่ นเดนิ กลับจากบิณฑบาต  จิตใจตอนน้ันยังรู้สึกไม่สงบ  คิดมาก ฟุ้งซ่านมาก ท่านเห็นควายยืนเฉยอยู่ รู้สึกว่ามันสงบ เหลือเกิน  ท่านก็คิดว่าอยากจะสงบเหมือนควายบ้าง  หลัง จากนน้ั บางครง้ั ทที่ ่านนั่งสมาธิ ท่านก็ภาวนาโดยเอาควาย และความสงบของมันเป็นนิมติ นึกถงึ ควาย เห็นหนา้ ควาย เห็นตวั ควาย จนความรสู้ กึ สงบเกิดขึ้น ท่านก็ก�ำ หนดความ รู้สึกน้ันไว้  น่ีเป็นลักษณะของผู้มีปัญญา  คือ  ไม่ว่าท่าน เดินไปไหนหรืออยู่ทไ่ี หน ทา่ นจะสามารถหยบิ ยกส่ิงนอกตวั มาเป็นคติธรรมสอนจิตใจตนเอง  ไม่ใช่ว่าน้อมเข้ามาย้อม จิตใจให้โลภให้โกรธให้หลง  หากสามารถน้อมเข้ามาเพื่อ ประโยชน์ในการปฏบิ ัติ ท่านใช้ปัญญาแก้ปัญหาของตัวท่านเองได้เก่งมาก จิตใจของคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไมใ่ ช่ว่าเราจะท�ำ ตามแต่ตำ�ราเสมอไป  เราต้องฉลาดในการหาวิธีแก้ปัญหา ชยสาโร ภิกขุ 21

ของเราให้ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า วิธีการของเราถูก หรือผิด ก็ให้ดูจากผลที่เกิดขึ้น  ถ้าจิตใจกำ�ลังวุ่นวายใน เรื่องใดเรอื่ งหน่งึ เราก็ลองหาวธิ ีปฏิบตั ดิ ู หากปรากฏว่า ปัญหาน้ันหมดไป  ก็ไม่ต้องไปสงสัยว่า  วิธีนี้ถูกไหมหนอ  ไม่เคยเห็นใครสอนเร่ืองนี้เลย  ไม่เคยเจอในพระไตรปิฎก หรือต�ำ ราไหนๆ มันจะถูกไหมหนอ เราไมต่ ้องสงสัยอย่างน้ี เราดทู ่ีจติ ใจของเราเองที่เคยมีอุปสรรค เมือ่ ใช้วิธนี ้ีแล้วผ่าน อุปสรรคได้ ย่อมแสดงว่า “ใชไ้ ด”้ มีเร่ืองตลกเก่ียวกับควายอีกเร่ืองหน่ึง  ชาวตะวันตก ท่ีมาอยู่วัดป่านานาชาติใหม่ๆ  มักจะขอตามพระออก บณิ ฑบาต เม่อื เห็นควายเป็นคร้งั แรกในชวี ิต หลายคนจะตื่น เต้นมาก จะถา่ ยรูปควายกันคนละหลายๆ รปู ส่วนพวกเรา ที่เห็นควายอยู่ทุกวันตั้งแต่เกิด ก็รู้สึกประหลาดใจ แหม... จะตืน่ เต้นอะไรกันนกั หนา ไม่เห็นจะมอี ะไร เราจึงได้เห็นความสำ�คัญของความเคยชิน  สองคน เจอส่งิ เดียวกนั คนหนง่ึ เห็นทกุ วันๆ ก็รูส้ กึ เฉยๆ ส่วนอีกคน 22 อักษรส่อสาร

กลับต่ืนเตน้ เพราะไมเ่ คยเหน็ กเ็ หมือนกับพวกเราทีม่ โี อกาส ไปเมืองนอก  จะเห็นบางส่ิงบางอย่างว่าดีเหลือเกินหรือ แปลกเหลือเกิน  แต่คนท่ีอยู่เป็นประจำ�  เขาก็ไม่รู้สึกอะไร ปฏิกิริยาทั้งสองอย่างน้ีไม่ใช่ทางสายกลาง  ยังไม่ใช่ความ พอดี ท้ังคนท่ตี น่ื เตน้ กับของแปลกใหม่ และคนทเี่ ห็นทกุ วนั จนชนิ ลว้ นยังไม่เห็นตามความเปน็ จริงเหมือนกัน ฉะนัน้ เม่ือเจอของใหม่  ท่านจึงสอนว่าอย่าต่ืนเต้นจนเกินไป  ให้ พิจารณาว่ามันก็เป็นแค่สังขาร  ที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อยู่สถานทน่ี ้ี ประเทศน้ี เหตุปัจจัยเปน็ อยา่ งนี้ ผลมนั จึงออก มาเป็นอย่างน้ี เหตปุ ัจจยั ในแตล่ ะประเทศต่างกนั ผลก็ยอ่ ม ตา่ งกันตามเหตตุ ามปัจจัยนนั้ ๆ ขอยำ้�ในเร่ืองนี้ว่า  ผู้มีปัญญาจะต้องพิจารณาให้เห็น ส่ิงทั้งหลายว่าเป็นผลของเหตุปัจจัย  เป็นไปตามเหตุตาม ปจั จัย ถ้าเขา้ ใจในจดุ นีแ้ ลว้ ความยึดติดและความทกุ ข์ จะ บรรเทาลดน้อยลงทันทีหรืออาจจะหายไปทันที  มันเป็น อย่างนี้เพราะมีเหตุมีปัจจัยเป็นอย่างน้ี  ส่วนคนที่อยู่กับสิ่ง ชยสาโร ภิกขุ 23

ใดนานๆ  ก็ต้องมีสติอยู่ในปัจจุบัน  แม้จะอยู่กับส่ิงใดนาน ก็จะไม่ประมาทต่อส่ิงน้ัน  จะยังซาบซ้ึงในส่ิงที่ดีและจะยัง ระมดั ระวังในส่วนที่ไมด่ ี ทา่ นจงึ ใหเ้ รามสี ต ิ ใหเ้ ปน็ ผตู้ ง้ั อกตง้ั ใจฝกึ ฝนจติ ใจของ เราใหอ้ ยกู่ บั ความจรงิ ในปจั จบุ นั   ไมเ่ สยี ดายและหว่ งอาลยั ถึง เรอื่ งเกา่ ทผี่ ่านไปแลว้   ไมเ่ พอ้ ฝันถงึ สง่ิ ทีย่ งั ไมเ่ กดิ ถา้ เราอยู่ กับปจั จบุ ัน  ชีวติ ของเราจะเรยี บงา่ ยข้ึนมาทันที ความรูส้ ึก ย่งุ เหยงิ เกดิ จากความคิดปรงุ แต่งในเร่ืองตา่ งๆ เรือ่ งคนอ่นื   เรอ่ื งคนนน้ั เรอ่ื งคนน ้ี เรอ่ื งทเ่ี ปน็ อดตี นานมาแลว้   ซง่ึ เหมอื น กับอาหารเก่าทีบ่ ูดเน่า  แทนทีจ่ ะเอาไปทง้ิ กลับเก็บเอามา อุ่นใหม่ ถึงอนุ่ แล้วก็ยังทานไมไ่ ด้อยู่ดเี พราะมนั บูด  เราจะ เก็บอาหารบดู ๆ ไวท้ �ำ ไม  เราจะเกบ็ อารมณบ์ ดู ๆ ไวท้ �ำ ไม บางคนผูกโกรธเก่งมาก เรื่องที่เกิดขึ้น ๕ ปี ๑๐ ปี หรอื ๒๐ ปีท่ีแลว้ ยงั จ�ำ ได้ทกุ ประการ จ�ำ ได้หมดวา่ เราพดู อย่างนั้น เขาพูดอย่างนี้ เขาทำ�อย่างนั้น จำ�ได้แม่นเลย แตส่ ่งิ ทีว่ ่าจ�ำ ไดแ้ มน่ นน้ั จะเป็นความจรงิ หรือเปลา่ เปน็ อีก 24 อักษรสอ่ สาร

เรื่องหน่ึง เพราะความจำ�ของเรามนั หลอกเราได้เหมือนกัน เราอาจจะร้จู ักกับใครสองคนทีผ่ ิดใจกนั มานานแลว้ ต่างคน ตา่ งยังจำ�เรื่องที่ทะเลาะขัดแย้งกันได้แม่นยำ�มาก ต่างคน ตา่ งจ�ำ ได้อย่างไม่มวี นั ลมื แตเ่ ม่อื เลา่ ให้เราฟงั ปรากฏวา่ ความจำ�ไม่ตรงกัน  นั่นเป็นเพราะคนเราพร้อมท่ีจะเข้าข้าง ตัวเองอยเู่ สมอ ฉะนนั้ ในขณะทเ่ี รารบั รู้สิง่ ใด มนั มกี ิเลสอยู่ ด้วยในขณะน้ัน ท้ังๆที่ความจ�ำ ของเราดีมาก เรามน่ั ใจว่าเรา จ�ำ ได้ ความจำ�ของเราอาจจะดีจริง แตส่ งิ่ ท่จี ำ�ไวอ้ าจจะไม่ ถูกกไ็ ด้ เมื่อมีอารมณ์  เราจะจับแต่ประเด็นที่มันตรงกับใจ ของเรา  เช่น  เวลาเราน่ังฟังเทศน์  อาจจะมีประเด็นท่ีเรา ร้สู กึ ว่ามันถึงใจจริงๆ หรือเกดิ ความสงสัยวา่ ทที่ า่ นอาจารย์ เทศนช์ ่างตรงกบั เราจริงๆ ท่านวา่ เราหรอื เปล่านะ อีกสอง วนั ต่อมา มคี นถามว่า วนั กอ่ นท่านอาจารย์เทศน์เรอื่ งอะไร เรากจ็ ะจ�ำ ไดเ้ ฉพาะประเดน็ ทม่ี นั ถกู ใจเราหรอื มผี ลตอ่ อารมณ์ และจิตใจของเรา เราจะรู้สึกว่าในการแสดงธรรมวันนั้น  ชยสาโร ภิกขุ 25

เรื่องน้ันคือเร่ืองสำ�คัญท่ีสุดหรือมีนำ้�หนักท่ีสุด  เราจึงจำ�ได้ แมน่ แตส่ ำ�หรับคนอ่ืนๆ ทีเ่ ขาไมร่ ้สู ึกต่อจดุ นน้ั แม้จะฟัง เทศน์กัณฑ์เดียวกัน สิ่งที่เขาจำ�อาจจะไปคนละทางหรือ เปน็ คนละอยา่ งกไ็ ด้ เพราะแตล่ ะคนมักเลอื กจำ�ส่งิ ท่ตี รงกับ สิ่งท่ีเขาสนใจหรือพร้อมท่ีจะรับ  เรื่องคนทะเลาะกันก็เช่น เดียวกัน เขาพูดอยา่ งนน้ั เขาพูดอย่างนี้ สิ่งทเี่ ราจ�ำ ไดอ้ าจ จะเปน็ แคเ่ รอ่ื งปลกี ยอ่ ย แตเ่ รากลบั ถอื เปน็ ประเดน็ ใหญ่ จ�ำ ได้ แม่นจรงิ ๆ นเี่ ป็นการท�ำ ร้ายตวั เองอยา่ งมาก คนเรามักไม่เมตตาไม่หวงั ดีต่อตวั เองเท่าท่คี วร ชอบ คิดชอบพูดชอบทำ�ส่ิงต่างๆ  ราวกับไม่เป็นมิตรกับตัวเอง แต่ต้ังใจจะเป็นศัตรูกับตัวเองเสียมากกว่า  สำ�หรับผู้มีสติ มีสัมปชัญญะมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ในปัจจุบัน  เม่ือเรื่อง ในอดีตปรากฏข้ึนในใจ กย็ อ่ มรู้เทา่ ทนั วา่ น่คี อื อดีตอารมณ์ เป็นอารมณ์  ซ่ึงมีสิ่งท่ีเกิดขึ้นในอดีตเป็นเนื้อหา  แต่ตัว อารมณ์น้ันเป็นของปัจจุบันที่เกิดข้ึนเดี๋ยวน้ี  เร่ืองอนาคตก็ เช่นเดียวกัน  ทั้งๆ  ท่ีเร่ืองท่ีคิดและเนื้อหาของมันเป็นเร่ือง 26 อกั ษรส่อสาร

ที่อยู่ในอนาคต แตอ่ ารมณต์ วั ความคดิ นอี่ ยูใ่ นปัจจุบนั ท่าน จึงให้เรารู้เท่าทันว่า  นี่คือสักแต่ว่าความคิด  นี่คือสักแต่ว่า ความจำ� มันก็แค่นน้ั เอง จติ ใจจะไดไ้ มย่ ุ่งเหยงิ มาก ไม่ต้อง พัวพันกับอารมณต์ า่ งๆ มาก ให้มันอยใู่ นปจั จบุ ัน เมอื่ จติ ใจ เราเรียบงา่ ยอยู่ในปจั จบุ ัน ไมค่ ดิ ปรุงแต่ง มนั ก็จะสดชนื่ ขึน้ มาทันที เหมือนกบั เราไดว้ างภาระอะไรๆ ต่างๆ ลง จะรูส้ กึ เบาสบาย  ในกรณีที่จำ�เป็นต้องเอาเร่ืองจากอดีตมาคิดเพื่อ ประโยชน์ในปจั จบุ ัน เราก็คิดได้ หรือในกรณที ตี่ ้องวางแผน เรากว็ างแผนได้ แต่ท�ำ อย่ใู นปัจจบุ ัน ฆ.ระฆัง ผทู้ ม่ี าอยใู่ นวดั จะมรี ะฆงั เปน็ นาฬกิ า  และ ระฆังน้ันก็เป็นเคร่ืองเปิดเผยความรู้สึกของชาววัดได้ด้วย หมายความว่า  ทุกครั้งท่ีได้ยินเสียงระฆัง  ก็มักจะมีความ รู้สึกเกิดขึ้น  จึงเป็นโอกาสดีท่ีเราจะได้สำ�รวจความรู้สึกของ ตวั เองได้ เช่น ได้ยินเสียงระฆงั ตอนตีสามแล้วรู้สกึ อยา่ งไร บางคนฟังแล้วอาจจะเกิดความรู้สึกรำ�คาญหรือไม่อยากฟัง ชยสาโร ภิกขุ 27

หรือไมเ่ ชือ่ วา่ จะถึงตีสามแล้ว รสู้ ึกยงั นอนไมอ่ ิ่ม บางคนรสู้ ึก ตวั แล้วลกุ ขนึ้ ทนั ที บางคนกย็ งั ไมอ่ ยากลกุ อยากจะนอนตอ่ แต่ความรู้สึกต่อเสียงระฆังมักจะเปล่ียนแปลงไม่คงท่ี  บาง วันได้ยนิ เสยี งระฆงั ตอนเช้า ก็ลุกขน้ึ ทันที บางวันกไ็ ม่อยาก จะลุก  ฉะนั้นเสียงระฆังจึงทำ�ให้ได้รู้จักตัวเอง  ช่วยผู้ท่ีมา ใหมใ่ ห้มีระเบียบ ใหต้ ื่นแตเ่ ชา้ นอกจากน้ี ความรูส้ ึกต่อเสียง ระฆงั เดียวกันในเวลาอน่ื มักจะไมเ่ หมอื นกนั เชน่ เสียงระฆัง ฉันตอนเช้าหรือเสยี งระฆงั ฉันนำ้�ปานะตอนบ่าย ความรู้สึก มักจะเป็นไปในทางท่ดี ี ดงั นัน้ การใชร้ ะฆงั จงึ เป็นวิธกี ารหน่งึ ของครูบาอาจารย์ ตั้งแต่สมัยโบราณ  ครูบาอาจารย์จะใช้ความเป็นอยู่ ปกติธรรมดาในวัด  และข้อวัตรปฏิบัติให้นักบวชหรือนัก ปฏิบัติได้รู้ตัวเอง  ให้มีความเป็นอยู่เพ่ือความสงบ  แต่ใน ขณะเดียวกันก็มีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้มุ่งตรงที่ความสงบ แต่ม่งุ ทก่ี ารกวนกิเลสท่ีก�ำ ลงั ตกตะกอน บางทพี ระหรอื ผ้มู า ใหมย่ งั ไมเ่ ขา้ ใจ ก็มักจะเกิดความรังเกียจหรอื ความไม่พอใจ ในข้อวัตรปฏบิ ัติบางอย่าง มกั บ่นว่าทำ�ใหไ้ ม่สงบเหรือท�ำ ให้ 28 อกั ษรสอ่ สาร

รู้สกึ เครยี ด เป็นส่งิ ท่ีน่าจะเปลย่ี นแปลงแก้ไข เพราะปฏบิ ตั ิ ตามแล้วไม่สงบเลย  แท้ท่ีจริงแล้วข้อวัตรปฏิบัติบางอย่าง ไม่ใช่เพื่อให้สงบ  แต่ต้องการให้ไม่สงบ  ต้องการให้เราเห็น จิตใจ ต้องการให้เราเหน็ กเิ ลส เช่น การฉนั มื้อเดยี ว เปน็ ต้น ถ้าได้ฉันสองมื้อก็จะสบายและสงบกว่าน้ี  การฉันมื้อเดียว ก่อกวนกิเลสของชาววัดมาก  เราจะเห็นความอยาก  เห็น ความกงั วล เห็นความกลัว เราจะเห็นกเิ ลสหลายๆ อย่าง เพราะเราร้วู ่าวันน้เี ราจะฉนั มื้อเดียว ฉนั เสรจ็ แลว้ ตั้งอกี ๒๔ ชว่ั โมงจงึ จะได้ฉันอาหารอกี คร้ัง หลวงพ่อจันเคยเล่าว่า  ตอนบวชใหม่ๆ  ท่านก็เป็น ห่วงเรื่องการฉัน  ตักข้าวเหนียวใส่บาตรแล้วเกิดกลัวว่าจะ ไมพ่ อ กลวั วา่ ตอนเยน็ จะหวิ กเ็ ลยตกั ขา้ วเพม่ิ ใหก้ อ้ นใหญข่ น้ึ แตเ่ มื่อได้ฉนั ข้าวเหนียวยังไม่หมดก็อ่ิมเสียก่อน ข้าวที่เหลือ อยู่ก็พอดีกับข้าวที่ได้เพิ่มเข้าไป จริงๆ แล้วเท่าที่ตักไว้แต่ เดมิ กพ็ อดอี ยแู่ ลว้ แตเ่ กดิ กลวั วา่ จะไมพ่ อ จงึ เพม่ิ เขา้ ไป แล้วก็ ไมไ่ ดฉ้ ันส่วนท่ีเพิม่ นัน้ มกั จะเปน็ เช่นนี้บ่อยๆ ชยสาโร ภกิ ขุ 29

ฉะนั้น การฉันมอื้ เดยี วซึ่งเปน็ กฎของวัด จึงไมไ่ ดม้ งุ่ ที่จะทำ�ให้พระหรอื ผถู้ อื ศลี ๘ สงบ แตต่ ้องการจะกอ่ กวน กิเลสให้นักปฏิบัติได้เผชิญหน้ากับกิเลสของตัวเอง  ถ้าจะ เอาแต่ความสบายหรือความสงบเป็นหลักเสมอไปก็ไม่ถูก เหมือนกัน  เพราะความสงบบางอย่างเกิดข้ึนได้จากการ หลับหูหลับตาไมย่ อมรับหรือไม่รับรู้ตัวกิเลส ถ้าความหมายของชีวิตหรือความสุขของเราข้ึนอยู่ กบั ส่งิ ท่ีตวั เราเองบังคับไมไ่ ด้ เราก็จะอยใู่ นภาวะทล่ี อ่ แหลม ต่อความทุกข์อย่ตู ลอดเวลา  พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เรา ด�ำ เนนิ ชวี ติ ดว้ ยสตปิ ญั ญา  อยา่ ไปด�ำ เนนิ ชวี ติ ตามความอยาก หรอื ดว้ ยความหวังลมๆ แลง้ ๆ ให้เราฉลาดในการด�ำ เนิน ชีวิต  แม้ว่าพุทธศาสนามีคำ�สอนเกี่ยวกับชาติก่อนบ้าง ชาตหิ น้าบ้าง แต่คำ�สอนกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นตเ์ ปน็ เร่อื งชาติน้ี เป็นเรื่องคุณภาพชวี ิตของมนุษย์ ทำ�อยา่ งไรชวี ิตของเราจะ มีคุณภาพ  ทำ�อย่างไรจึงจะมีชีวิตท่ีเราภูมิใจได้  ทำ�อย่างไร เราจึงจะมชี วี ิตทีเ่ รามั่นใจวา่ มคี วามหมาย 30 อักษรส่อสาร

เมื่อเราเร่ิมจะสนใจว่าทำ�อย่างไรชีวิตของเราจึงจะมี คณุ ภาพ คณุ ภาพชวี ติ ที่ดงี ามเปน็ อย่างไร เราจะเร่มิ สนใจ พุทธศาสนา  เพราะมีหลักคำ�สอนที่จะช่วยมนุษย์ในการ พัฒนาตนเองให้พ้นจากความทุกข์  ความเดือดร้อนต่างๆ และให้ได้สัมผัสความสุขที่แท้จริง  ถ้าเราไม่อยากเป็นทุกข์ และอยากมีความสุขมากกว่าท่ีเรามีอยู่ทุกวันน้ี  เราควรจะ สนใจเรอ่ื งพทุ ธศาสนา ไม่ใชส่ นใจแค่ขน้ั เปลอื ก แต่ตอ้ งเข้า ถึงแก่นของพระศาสนา เราจึงจะซาบซึง้ เพราะไดเ้ ห็นคณุ ค่า ของศาสนาจริงๆ เหมอื นกับการเป็นเจ้าของรถยนต์ดีๆ เช่น รถเบนซ์  รถบีเอ็ม  แค่ชมรูปลักษณ์ภายนอกของมันขณะท่ี จอดไวเ้ ฉยๆ เรากอ็ าจจะมีความสุขระดับหนึง่ แต่การที่ซื้อ รถยนต์ดีๆ แล้วไม่ขับขี่ ได้แตม่ องเฉยๆ ความประทับใจใน คุณค่าและประโยชน์ของมันจะเทียบกันไม่ได้เลยกับความ รู้สึกเมื่อได้น่ังในรถแล้วขับออกไป  เราจึงจะได้รับรู้ความ ยอดเยี่ยมจรงิ ๆ ของรถยนต์คนั นี้ ชยสาโร ภิกขุ 31

ฉะนน้ั ทกุ วนั นเ้ี ราเปน็ ทกุ ขเ์ พราะเราคดิ มาก คดิ ไมห่ ยดุ   เป็นทุกข์เพราะเรางมงาย  งมงายเรื่องอะไร  เราเชื่องมงาย ในความคิดของตัวเอง เชื่องมงายในความรู้สึกของตัวเอง เชื่องมงายในอารมณ์ของตัวเอง สมมติว่าเกิดความรู้สึก ขี้เกียจขคี้ รา้ น กเ็ ชอ่ื ว่านั่นคอื เรา ของๆ เรา แล้วกท็ ำ�ตาม ความรู้สึกนั้น  นี่ก็เรียกว่างมงาย  หรือใครทำ�อะไรที่เรา ไม่ชอบ เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา ก็เชื่ออารมณ์เชื่อความ โกรธว่าเปน็ ของจรงิ ของจัง แลว้ ก็ท�ำ ตามพูดตามอารมณน์ ัน้ สรา้ งบาปสร้างกรรมให้ตัวเองต้องเดอื ดรอ้ นใจ จิตใจของคนเราน้ีมันอ่อนแอไม่มีกำ�ลัง  ยกตัวอย่าง หนังสือลังนี้  สำ�หรับคนท่ีไม่เคยออกกำ�ลังกาย  ไม่ค่อยมี กำ�ลงั กจ็ ะยกไม่คอ่ ยไหว ถามวา่ หนกั ไหม กจ็ ะว่ามันหนัก แต่สำ�หรับคนที่ออกกำ�ลังกายวิดพื้นทุกวัน  การที่จะยกลัง น้ันย่อมไม่เป็นปัญหา  ถามว่าหนักไหม  ก็จะว่าไม่หนัก ฉะน้ันความหนักมันไม่ได้อยู่ท่ีลังหนังสืออย่างเดียว  แต่มัน อยทู่ ี่กำ�ลงั ของคนยกมากกว่า เวลาเราเป็นทกุ ข์ วิตกกังวล 32 อกั ษรส่อสาร

เศรา้ โศกเสียใจ จะให้ปลอ่ ยวาง มนั กป็ ล่อยวางไมไ่ ด้ เพราะ เรอ่ื งมันใหญ่ รับไมไ่ หว แต่มันไม่ไดอ้ ยทู่ ีอ่ ารมณอ์ ย่างเดยี ว มันอยู่ที่จิตใจของเราที่ขาดการฝึกอบรม หากจิตใจได้รับ การฝึกอบรมดีแล้ว เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะไม่บานปลาย เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำ�ให้ทุกข์ทรมานจิตใจเหมือนแต่ก่อน  เมื่อเป็นทุกข์ เราก็จัดการแก้ไขเองได้โดยไม่ต้องไปพึ่งใคร หรืออะไรนอกตัวเรา เพราะเรามีความเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อเจอปัญหา เราก็จะมีกำ�ลังพอที่จะแก้ปัญหาและปล่อย วางความทุกข์ได้ ชีวิตของเราในโลกน้ีต้องเจอทั้งสมหวังและผิดหวัง อย่าได้คิดเลยว่า  ถ้าเราทำ�ดีแล้ว  เราจะต้องสมหวังสม ปรารถนาในทุกส่ิงทุกอยา่ ง เพราะมนั เปน็ ไปไม่ได้ คนทจ่ี ะ กา้ วหนา้ ในอาชพี การงาน คอื คนทีไ่ ม่ทุกขม์ ากกบั อุปสรรค ที่เกิดขึ้น ไม่ทุกขม์ ากกบั ความผดิ หวงั ตา่ งๆ ทเี่ กิดขน้ึ เพราะ ถึงจะฉลาดเพียงใด  แต่ถ้าปล่อยจิตให้กลัดกลุ้มซึมเศร้ากับ อุปสรรคท่ีเกิดข้ึน  ก็จะไม่ก้าวหน้าในอาชีพการงาน  คนที่ ชยสาโร ภกิ ขุ 33

เหน็ แกต่ ัวและเจ้าอารมณ์ ไมว่ ่าจะทำ�งานทีไ่ หน แม้จะฉลาด มคี วามคิดสร้างสรรค์และเข้าใจงานทัง้ หมด แตเ่ ข้ากับเพ่ือน ร่วมงานไม่ได้ เจา้ นายกย็ ่อมจะไมอ่ ยากไดเ้ หมือนกนั เพราะ ทุกวันนี้ สิง่ ท่บี ริษทั หรอื เจา้ นายต้องการมากท่สี ุด คือ ผู้ท่ี สามารถทำ�งานเปน็ ทีมได้ คนทเี่ อาแตใ่ จตวั เอง คิดว่าตัวเอง ถูกหมด คนอนื่ ผดิ หมด กไ็ ม่มีใครอยากรับ ไม่มใี ครอยากได้ เพราะไอคิวหรอื ความฉลาดเป็นแค่สว่ นหน่งึ ของชีวติ เรา เรา ต้องมีอีควิ ด้วย ซึ่งเปน็ ความฉลาดท่ไี ม่ไดว้ ัดทผ่ี ลการสอบใน สถาบันการศกึ ษา อีควิ คอื ความฉลาดทางอารมณ์ทีท่ ำ�ให้เราเปน็ ผ้มู ี วุฒิภาวะซ่ึงสำ�คัญมาก  รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง  รู้จัก การเอาใจเขาใส่ใจเรา รู้จักตนเอง รูจ้ ักผู้อื่น วางตัวเองได้ เหมาะสม รู้จกั ปรบั พฤตกิ รรมการกระท�ำ ตา่ งๆ ในท่ีตา่ งๆ ใหเ้ หมาะสม โดยไม่เสยี หลกั การของตวั เอง ถ้าเรามีหลักการ มอี ุดมการณ์มีอดุ มคติของตนเอง แลว้ สามารถยนื หยัดอยู่ใน หลกั การและอดุ มการณน์ ัน้ ได้ เราจะสามารถเคารพนบั ถือ 34 อักษรส่อสาร

ตวั เองได้ ถ้าเราเป็นผทู้ ี่อยใู่ นกรอบของศลี ธรรม แม้กเิ ลสจะ เกิดข้ึนบา้ ง แตเ่ ราบงั คับใจตัวเองจนหา้ มมนั ได้ เราก็เคารพ นบั ถอื ตวั เองไดเ้ ชน่ กนั เรอ่ื งของศลี เปน็ เรอ่ื งของความสมคั รใจ ไม่ใช่เรื่องบังคับ ไม่มีใครจะบังคับให้เรารักษาศีลได้ เรา เห็นความดีงามที่เกิดข้ึนจากการมีศีลธรรม  เราถามตัวเอง วา่ เราอยากจะอยู่ในชุมชนแบบไหน ต้องการใหค้ นในชมุ ชน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน  ไว้วางใจซ่ึงกันและกัน ใชไ่ หม บรรยากาศดๆี เชน่ นไี้ มไ่ ดเ้ กิดขน้ึ เอง หากเกดิ จาก การชว่ ยกันสร้างบรรยากาศให้เปน็ เชน่ นน้ั และเคร่ืองมือใน การสร้างบรรยากาศท่ีดีก็คอื ศีลธรรมนน่ั เอง ศีลธรรมจึงมีอานิสงส์ทั้งภายในและภายนอก  ด้าน ภายนอก  ศีลธรรมเป็นเคร่ืองรับประกันเก้ือหนุนชุมชนให้ มีความไว้วางใจซ่ึงกันและกัน  มีความเห็นอกเห็นใจกัน  มี ความสมานสามคั คกี ัน ถ้าหากคนในชุมชนไมม่ ีศลี ธรรม ใคร อยากท�ำ อะไรกท็ ำ�ไป ใครอยากพูดอะไรกพ็ ูด มนั จะสามคั คี กนั ได้หรือ ทุกคนจึงต้องเสียสละบางสิ่งบางอย่าง ไม่ใช่ ชยสาโร ภกิ ขุ 35

ว่าตัวเองอยากได้อะไรแล้วจะต้องได้  ต้องเป็นอย่างน้ ี เป็น อยา่ งอืน่ ไมไ่ ดเ้ ปน็ อันขาด ถา้ ทกุ คนคดิ อยา่ งน้ี กย็ ่อมจะมี แต่ความขัดแย้งแก่งแย่งกันอยู่ตลอดเวลา  ส่วนด้านภายใน ผู้ท่ีมีศีลธรรม  กิเลสในใจจะไม่กำ�เริบเสิบสาน  จะเป็นผู้มี หิริโอตตัปปะ  มีความละอายต่อบาป  มีความเกรงกลัวต่อ บาป ไมเ่ ปน็ อนั ตรายท้งั ตอ่ ตนเองและผูอ้ นื่ เรามีมาตรฐาน ทช่ี ดั เจนทจ่ี ะเปน็ ผทู้ ด่ี งี าม กายกด็ งี าม วาจากด็ งี าม จติ ใจก็ ดีงาม  แต่เราจะดีได้ก็ด้วยการกระทำ�และการปฏิบัติของเรา  ไม่มีใครจะล้างกิเลสให้เราได้  นอกจากตัวเราเอง  ส่งิ สำ�คัญ อีกประการ  คือ  เราต้องไม่เกรงใจเพ่อื นมากจนเกินไป  ให้ ฉลาดในการเลอื กเพอ่ื นทด่ี  ี บางครง้ั ตวั เราเองอยากท�ำ ความดี แตค่ บเพ่ือนไมด่ ีทชี่ ักชวนไปทำ�ความชว่ั แล้วเราเกรงใจเขา หากไมท่ �ำ กก็ ลวั เพอ่ื นจะรงั เกยี จ จงึ ตอ้ งเสยี หลกั การของตนเอง เพราะเกรงใจเพ่ือนจนเกินไป  เราจึงต้องมีขอบเขตและมี หลกั การของตวั เอง ประเทศชาติของเราต้องการคนมีคุณภาพ  เรื่อง ปริมาณนัน้ ไมม่ ปี ญั หา เพราะมีประชากรมากกว่า ๖๐ ลา้ น 36 อักษรสอ่ สาร

คนและเพิ่มข้ึนทุกวัน  แต่คนท่ีมีคุณภาพจะเพิ่มขึ้นทุกวัน หรือเปล่าไม่ทราบ  คนที่มีคุณภาพเป็นผู้ท่ีใช้ชีวิตให้เป็น ประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคม  ต้องเป็นผู้ท่ีฝึกอบรม ตนเองได้  ห้ามใจตัวเองได้  มีปัญญารู้เท่าทันชีวิตในโลก ตามความเป็นจริง  ไม่ได้เอาความอยากหรือความคิดเป็น ประมาณ  เห็นว่าความคิดก็สักแต่ว่าความคิด  เมื่อเราคิด ช่ัวก็ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนชั่ว  เม่ือเราคิดดีก็ไม่ได้ หมายความว่าเราเป็นคนดี  ความคิดก็เป็นแค่ความคิดซึ่ง เป็นสังขาร บางคนเผลอไปคิดชว่ั ลามกอนาจาร ก็ก่นวา่ ตวั เองว่าเป็นคนบาปหนา  บางคนคิดดี  ก็ภาคภูมิใจว่าตัวเอง เกง่ ตวั เองดี ท้งั ๆ ท่ีมันกเ็ ปน็ แค่ความคิดที่ไมม่ ีแกน่ แท้อะไร ประเด็นอยูท่ ่วี า่ ถ้าเราสง่ เสรมิ ความคดิ ท่ีดี ความคิดที่ดนี น้ั ก็จะเพ่ิมขึ้นๆ  แต่ถ้าเราส่งเสริมความคิดช่ัวที่ชอบปรุงแต่ง ในเรื่องไม่ดี  จิตใจก็จะไปหมกมุ่นอยู่กับความไม่ดีจนกลาย เปน็ นสิ ัย แล้วสะท้อนออกมาทางกาย ทางวาจา จนกลาย เป็นคนเกเร เป็นคนสรา้ งความทุกข์ความเดอื ดร้อนแก่เพอ่ื น มนุษย์ พุทธศาสนาสอนว่า เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นทุกข์ ชยสาโร ภิกขุ 37

ไม่ได้เกิดมาเพื่อสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น ในทางตรงกัน ข้าม เราเกิดมาเพื่อจะไม่เป็นทุกข์  และไม่สร้างความทุกข์ ให้คนอน่ื ขอยกตัวอย่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธสักเรอ่ื ง สมมติ วา่ เราไดข้ นมท่อี รอ่ ยมาก การจะทานขนมน่ใี ชเ้ วลานานสกั เทา่ ไหร่ สมมตวิ ่า ๕ วนิ าที ขนมท่ีอร่อยทส่ี ุขในโลกกอ้ นนี้ ใหค้ วามสุขทางปากแก่เรา ๕ วนิ าที ตามหลักเศรษฐศาสตร์ แนวพุทธถือว่าได้ก�ำ ไร คือไดส้ ุขเวทนา ๕ วนิ าที สมมตวิ ่า เราแบ่งขนมกอ้ นนี้ออกเป็นสองชนิ้ เราทานชน้ิ หนง่ึ ถือวา่ ได้ ก�ำ ไร ๒ วินาทคี รงึ่ อกี ชิ้นหน่ึงเราแบง่ ให้เพือ่ นทาน เห็นเขา ทานอรอ่ ย เห็นเขาย้ิม เราก็ภูมิใจตวั เองว่าเราไดส้ ละขนม อรอ่ ยใหเ้ ขาครึง่ หนง่ึ เราก็มีความสุข อาจจะสกั ๑ วนิ าที เป็นอันว่าเราไดก้ �ำ ไรคือสุขเวทนาเปน็ เวลา ๓ วินาทีครง่ึ ต่อ จากนนั้ เมอ่ื ใดท่คี ิดถงึ วนั ทเี่ ราสละสิง่ ท่ีเราชอบเพ่อื คนอนื่ กจ็ ะเกดิ ความสุขทันที ทำ�ให้ไดก้ ำ�ไรครงั้ ละ ๑ วนิ าที หรือ ๒ วินาที ถา้ นับรวมกนั เป็นปี อาจจะได้ก�ำ ไรสขุ เวทนาเป็น 38 อกั ษรสอ่ สาร

ชั่วโมง ทานขนมคนเดยี วได้กำ�ไร ๕-๖ วินาที แตถ่ ้าแบ่งคร่ึง ให้คนอื่นกลายเป็นมีความสุขได้ตลอดชีวิต  นึกถึงเมื่อใด ก็มีความสุขเมื่อนั้น หลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธบอกว่า เราควรเลอื กทจ่ี ะได้กำ�ไรตลอดชวี ติ มีของดกี แ็ บง่ ให้คนอ่ืน อยา่ ไปเอากำ�ไรสน้ั ๆ แค่ ๕ วินาที ๖ วินาที พวกเราเคย เรียนเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไหม น่าสนใจมาก ตวั อาตมาเอง บางทนี กึ ถงึ เรอ่ื งทเี่ คยเกดิ ขนึ้ เมอื่ ๒๐ ปี ๓๐ ปี หรือ ๔๐ ปีมาแล้ว ที่เคยสละของๆ ตัวเองให้คน อนื่ ท�ำให้เขามคี วามสขุ บางคร้ังทจี่ ติ ใจมัวหมอง ได้คดิ ถึง ความดที ต่ี วั เองเคยท�ำไว้ กส็ บายใจขึน้ ทันที มคี วามหวงั มี ความพอใจกับความดีที่ตัวเองเคยท�ำ  ถือเป็นก�ำไรที่ไม่มี ใครแยง่ ชงิ ไปได้ ทรัพย์สมบัติทม่ี ีอยมู่ นั กไ็ ม่แน่นอน เงินใน ธนาคารที่เขาว่าเป็นสิ่งที่เป็นจริงเป็นจังนั้น  เป็นของจริง ของจงั จรงิ หรือ สมมตวิ ่ามีเงินในธนาคารห้าแสนบาท ถงึ คราวเศรษฐกจิ ตกตำ่� มันจะเปน็ อย่างไร คา่ ของเงนิ ห้าแสน บาทจะลดลงเหลือเท่าใด  คนท่ีเคยร่�ำเคยรวยกลายเป็นคน ชยสาโร ภกิ ขุ 39

ติดหนี้ติดสินมากมาย  ถ้าเงินเป็นของจริงของจัง  ท�ำไม มนั จงึ เปล่ียนไปได้ ท�ำไมคา่ ของมนั จงึ ขึน้ ๆ ลงๆ ได้ พวก เรารู้ไหมว่าค่าของเงินข้ึนอยู่กับอะไร  ค่าของเงินขึ้นอยู่กับ ศรทั ธา นีก่ ็เป็นเศรษฐศาสตรแ์ นวพทุ ธเหมือนกนั ถา้ คนเช่อื มั่นในเงินตราของเราแล้ว  ราคาหรือค่าเงินของเราก็จะขึ้น ถ้าคนไม่มั่นใจหรอื ไมเ่ ชอื่ คา่ ของมันก็จะตก คา่ ของเงนิ จงึ อยทู่ ่ศี รัทธาของคน เปล่ยี นแปลงไปตามอารมณข์ องคน นกั ปราชญ์จงึ บอกวา่ เศรษฐศาสตรเ์ ป็นศาสตรไ์ มไ่ ด้ เพราะเปน็ เรื่องทขี่ ้นึ อย่กู บั ความรสู้ กึ ของคน แลว้ เราวัดความรู้สึกของ คนไม่ได้ คร้งั ทีเ่ ศรษฐกิจไทยเกดิ ปญั หาวกิ ฤติ ปญั หาในชว่ ง วันสองวันแรกหนกั กว่าท่คี วรจะเป็น น่นั เปน็ เพราะอะไร ก็ เพราะเจ้าหน้าท่ธี นาคารต่างๆ หรือที่ตลาดหลกั ทรัพยต์ กใจ กลัวจนคุมอารมณ์ไม่อยู่  ใครโทรเข้ามาสอบถามก็สามารถ สัมผัสอารมณ์ของผู้ท่ีอยู่ในวงการธนาคารได้  ก็เลยตกใจ กลัวกนั ไปใหญ่ ศรทั ธาจงึ ตกฮวบ ค่าของเงินกเ็ ลยตกฮวบ ตามไปด้วย นีเ่ ปน็ เร่อื งของความเชอื่ เปน็ เรอ่ื งของความคดิ 40 อกั ษรสอ่ สาร

กลับมาพดู ถึงเรือ่ งของพวกเรา เมอ่ื เราเกดิ มาแลว้ ก็ เรียกได้ว่ามีปญั หาแลว้ เพราะอะไร กเ็ พราะเกิดแล้วตอ้ งแก่ ต้องเจบ็ ต้องตาย ทุกคนพงึ จำ�ไวว้ ่า เกดิ ก็เกดิ คนเดยี ว แก่ กแ็ ก่คนเดียว เจ็บก็เจบ็ คนเดียว ตายก็ตายคนเดียว เราจึง ต้องเป็นที่พึ่งของตนเอง สมมตวิ ่าเราเจอคนที่เรารกั เปน็ ผู้ หญงิ ในอดุ มคติเลย ดีทุกส่งิ ทกุ อยา่ ง ทงั้ สวยงามและฉลาด แต่ถึงจะดีหรอื จะรักกันเพียงใด เมอ่ื เราเจบ็ ปว่ ย เขาจะชว่ ย รับความเจ็บปวดของเราได้บ้างไหม  เราก็ต้องเจ็บอยู่คน เดียว แก่ก็แกค่ นเดียว เวลาเราจะตาย ใครจะขอว่าอยา่ เพิ่ง ไปเลย อยตู่ ่ออีกสักหน่อย อย่าเพิง่ ทิ้งหนไู ปเลย จะทำ�ได้ ไหม เมอื่ ถงึ เวลาไปมนั ก็ต้องไป เราไม่ไปจากเขา เขากจ็ ะไป จากเรา มนั เป็นได้แคส่ องทาง เราพลดั พรากจากเขาหรือเขา พลดั พรากจากเรา ไม่เปน็ อยา่ งอนื่ มนั เปน็ ไปไม่ไดท้ ีจ่ ะอยู่ ไปตลอดกาลนาน ทา่ นจงึ สอนวา่ อย่าไปงมงายกับอารมณ์ ความรู้สึกของตวั เอง มันกแ็ คช่ วั่ แวบ มนั กแ็ ค่นัน้ แหละ ลอง นึกดวู ่า ส่ิงที่เราเคยชอบมากๆ เม่อื ๓ ปหี รือ ๕ ปีท่ีแล้ว ทุก วันนี้กลับรู้สึกเฉยๆ  มีหลายอย่างใช่หรือไม่  ตอนเป็นเด็ก ชยสาโร ภิกขุ 41

เดก็ ผ้หู ญิงชอบเลน่ ตกุ๊ ตา เด็กผู้ชายชอบเล่นปืนหรอื ของเล่น ต่างๆ ใครจะเอาไปไม่ได้ รอ้ งห่มรอ้ งไห้ โตขึน้ มากไ็ ม่สนใจ เสยี แลว้ อารมณ์ก็เปน็ เช่นนี้ เวลามีตณั หามีความอยาก ก็ รู้สึกมันเป็นของจริงของจังทั้งนั้น  แต่พอความอยากมัน เบาบางไป บางทกี ห็ วั เราะตัวเอง ไมน่ ่าเชอื่ เลยวา่ เราเคย ชอบสง่ิ น้นั หรือเคยชอบคนนั้น มนั เป็นเรอ่ื งอารมณ์ ทา่ นจงึ ใหเ้ รารเู้ ท่าทนั อารมณ์ ท่านสอนให้รู้จักรักษาจิตใจให้ปกติ  ถ้าเราเป็นคน ชอบเพง่ โทษผูอ้ ื่น รู้ความผิดพลาดของผอู้ น่ื ทุกอยา่ ง รกู้ ิเลส คนนั้น รู้กเิ ลสคนน้ี รู้ทกุ อยา่ งแลว้ จิตใจเราสบายไหม มัน ไม่สบาย มนั เศร้าหมอง ท่านจึงให้เรามองผอู้ น่ื ในแงด่ บี ้าง ให้พยายามคดิ ถึงสงิ่ ท่นี า่ รกั ๓ ข้อของคนทเ่ี ราไมช่ อบ เพ่อื จะไดแ้ ก้อารมณ์และไมต่ อ้ งเชื่ออารมณ์ของเรา เม่ือเราเกิด ความรู้สึกมัวเมาหลงใหลในทางกามในส่ิงสวยงาม  เราก็ ต้องพยายามฝกึ ตวั เองให้มองในทางตรงกันขา้ ม ผ้ชู ายเหน็ ผู้ หญิงสวย กไ็ ม่ใช่วา่ จะสวยทุกสว่ น ผ้หู ญงิ เห็นผู้ชายหลอ่ ก็ 42 อกั ษรสอ่ สาร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook