Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สิ่งที่คนสรรพากรต้องรู้ 500 ข้อ

สิ่งที่คนสรรพากรต้องรู้ 500 ข้อ

Published by audamnat.rd, 2020-06-24 03:38:22

Description: สิ่งที่คนสรรพากรต้องรู้ 500 ข้อ

Keywords: tax

Search

Read the Text Version

นนท์ เศรษฐวิวฒั น์ น.บ.(นิติศาสตร์) บธ.บ.(การบัญชี) รป.บ.(การบริหารรฐั กจิ ) บธ.บ.(การจดั การทั่วไป)

1 สิ่งทีค่ นทำงานสรรพากรต้องรู้ 1. รชั กาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมสรรพากรในซึ่งแต่เดิมข้ึนอยู่กับกระทรวงนครบาลและกรมสรรพากร นอกซึ่งเดิมขนึ้ อยู่กับกระทรวงมหาดไทย เข้าเปน็ กรมเดียวกนั เรียกว่ากรมสรรพากร สังกัดกระทรวงพระคลัง มหาสมบตั ิ ตงั้ แตว่ นั ที่ 2 กนั ยายน พ.ศ. 2458 ดงั นั้น วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2458 จงึ ถือเปน็ วันเกิด กรมสรรพากร 2. อธิบดีกรมสรรพากรคนแรกช่ือ มหาอำมาตยโ์ ท พระยาอนิ ทรมนตรศี รีจนั ทรกุมาร (เอฟ.เอช.ไยล์) (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2472) 3. อธิบดีกรมสรรพากรคนปัจจุบัน(คนที่ 25)ชือ่ ดร.เอกนิติ นติ ิฑันฑ์ประภาศ(พ.ศ.2561 - ปัจจบุ นั ) 4. รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงการคลงั คนปจั จุบันช่อื นายอุตตม สาวนายน(พ.ศ.2562 - ปัจจุบัน) 5. เครอื่ งหมายประจำกรมสรรพากร คอื ตราพระอเุ ทนทราธิราชดีดพิณ 6. กรมสรรพากรแบ่งโครงสร้างการบริหารเป็นสำนกั งานสรรพากรพืน้ ที่ในปัจจุบัน(2562)มี 119 พืน้ ที่ 7. กรมสรรพากรแบ่งโครงสร้างการบริหารเป็นสำนกั งานสรรพากรพืน้ ที่สาขาในปัจจบุ นั (2562)มี 850 สาขา 8. กรมสรรพากรมีภารกิจเกีย่ วกบั การจดั เก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากรเพือ่ ให้ได้ ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเปน็ ธรรม เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจ ในการเสียภาษี โดยใหม้ ีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. จดั เก็บภาษีอากรตามประมวลรษั ฎากรและกฎหมายอืน่ ทีเ่ กี่ยวข้อง 2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง 3. ปฏิบตั ิการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เปน็ หน้าที่ของกรม หรอื ตามที่กระทรวงหรือคณะรฐั มนตรี มอบหมาย 9. ผลการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากรในปจั จุบันเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังน้ี 1. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม 2. ภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล 3. ภาษีเงนิ ได้บุคคลธรรมดา 4. ภาษีเงนิ ได้ปิโตรเลียม 5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 6. อากรแสตมป์ 7. รายได้อืน่ ๆ นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

2 10. ในปีงบประมาณ 2563 กรมสรรพากรต้ังประมาณการจดั เก็บภาษีอากรไว้ที่ 2,116,500 ล้านบาท(ปี 2562 จัดเกบ็ ได้ 2.09 ล้านล้านบาท) 11. วสิ ัยทศั นข์ องกรมสรรพากร “จัดเก็บภาษีทนั สมัย ใสใ่ จบริการ ยึดมน่ั ธรรมาภิบาล เพื่อพฒั นาการ เศรษฐกิจและสังคมไทย” 12. กรมสรรพากรมียทุ ธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 1 : รักษาเสถียรภาพทางรายได้ภาษีอย่างยัง่ ยนื มีเป้าประสงค์ คือ การเสริมสร้างการปฏิบัติ ทางภาษีให้ถกู ต้องทั้งในด้านการบริหารจดั เก็บภาษี การเสริมสรา้ งความสมัครใจ และการปฏิบัติทางภาษีของ ผปู้ ระกอบการให้ถูกต้อง ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบการบริหารและการบริการเพื่อเสริมสร้างการแขง่ ขันทางเศรษฐกิจและ สงั คม มีเป้าประสงค์ คอื การเสริมสร้างศกั ยภาพการแข่งขันของประเทศ การลดต้นทนุ ในการปฏิบตั ิทางภาษี และต้นทนุ ในการจัดเกบ็ ภาษี และการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภยั และเสถียรภาพของระบบ ICT ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างธรรมาภบิ าลและสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร มีเป้าประสงคค์ ือ การ เสริมสรา้ งสภาพแวดล้อมการทำงาน การมธี รรมาภบิ าลในองคก์ ร มคี ่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรทีเ่ ข้มแขง็ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในงานที่รบั ผดิ ชอบ และมีความสุข 13. วัตถปุ ระสงค์หลักของกรมสรรพากร คอื 1. จดั เกบ็ ภาษีในระดบั ทีเ่ หมาะสมและทั่วถึง ดว้ ยคา่ ใช้จ่ายที่ตำ่ ของกรมสรรพากรและของผเู้ สียภาษี 2. มุง่ พัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยใหแ้ ข่งขันกับต่างประเทศได้ 3. สรา้ งความเข้าใจของผู้เสียภาษีในการทีเ่ หน็ ว่าผอู้ ื่นเสียภาษีถกู ต้องครบถ้วน 4. ปฏิบัติหน้าที่ดว้ ยความซื่อสตั ย์ มีประสิทธิภาพและเทีย่ งธรรม 14. คา่ นยิ ม ( I AM RD) ของกรมสรรพากรมีดงั นี้ I = Integrity จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณ A = Accountability ความรับผดิ ชอบ M = Mastery ความเปน็ มืออาชีพ R = Respect & Responsiveness การให้เกียรติและสนองตอ่ ลกู ค้า D = Development การพัฒนาและคิดค้นส่งิ ใหม่ 15. ROADMAP DIGITAL RD 2020 ของกรมสรรพากรเริ่มตง้ั แต่ 2559 - 2563 16. กรมสรรพากรต้ังเป้าหมายเปน็ หน่วยงานบริการอัจฉริยะ(Intelligent Service Unit)/RD Platform) ในปี 2563 นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

3 17. Tax compliance คือ กรอบแผนดำเนินงานกรมสรรพากร 5 ปี(พ.ศ. 2559 – 2563) ดา้ นการเสริมสร้างการ ปฏิบัติทางภาษีให้ถกู ต้อง 18. ตวั ชีว้ ดั แผนดำเนนิ งานกรมสรรพากรด้านการลดต้นทุนในการปฏิบตั ิทางภาษี และตน้ ทนุ ในการจัดเกบ็ ภาษี (Reduce Compliance and Collection Cost) คอื 1. สัดสว่ นการยื่นแบบทางอเิ ล็กทรอนิกสท์ กุ ประเภทภาษี เป็นรอ้ ยละ 100 2. สัดสว่ นการให้บริการขออนุมัต/ิ อนุญาตทางอเิ ล็กทรอนิกส์ เป็นร้อยละ 100 3. ต้นทุนการจัดเกบ็ ภาษี ไม่เกิน 0.50 บาทตอ่ การจดั เกบ็ ภาษี 100 บาท 4. จดั เกบ็ ข้อมลู พ้ืนฐานในรปู แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นร้อยละ 100 19. ภาษีอากร คือ สง่ิ ที่รัฐบาลบงั คับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็นประโยชนส์ ่วนรวม โดยไมไ่ ด้มีสง่ิ ตอบแทน โดยตรงแก่ผเู้ สียภาษีอากร 20. วัตถปุ ระสงคข์ องการจัดเก็บภาษี คือ 1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อใหเ้ กิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพือ่ ให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนบั สนนุ ให้เกิดการขยายตวั และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพือ่ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 21. ประเภทภาษีอากร แบง่ เปน็ ภาษีอากรทางตรงและภาษีทางอ้อม 22. ลกั ษณะของภาษีอากรทีด่ ี ตามแนวคิดของ Adam Smith (บิดาแหง่ การภาษีอากร) สรุปได้ดงั น้ี 1. ต้องให้เกิดความเปน็ ธรรมแก่ผเู้ สียภาษี 2. ต้องกำหนดหลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการจัดเก็บให้รัดกุมและแน่นอน 3. ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีมากทีส่ ุด 4. ต้องถือหลักจดั เกบ็ ในอตั ราต่ำแต่เกบ็ ได้มากและทัว่ ถึง 23. การผลกั ภาระภาษี (TAX SHIFTING) หมายถึง การทีผ่ มู้ ีหนา้ ที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดถ่ายเทหรือ แบง่ ภาระภาษีบางส่วนหรอื ทั้งหมดไปให้กบั บคุ คลอืน่ เช่น การผลกั ภาระภาษีมูลคา่ เพิ่มไปให้ผู้บริโภค เป็นต้น 24. อตั ราภาษี(TAX RATE) หมายถึงอัตราที่เรยี กเกบ็ จากฐานภาษีต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. อตั ราแบบคงที่ อตั ราภาษีอากรไม่เปลีย่ นแปลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษีอากรจะเปลีย่ นแปลงไป เช่น อัตราภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคล ร้อยละ 20 และ อตั ราภาษีมูลคา่ เพิ่ม ร้อยละ 7 เปน็ ต้น นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

4 2. อตั ราภาษีแบบก้าวหน้า อตั ราภาษีประเภทนีจ้ ะสูงข้ึนเมือ่ ฐานภาษีมมี ูลค่ามากขึ้น เชน่ การจัดเกบ็ ภาษี เงินได้บคุ คลธรรมดา ซึง่ มีอัตราภาษีตง้ั แตร่ อ้ ยละ 5 ถึง รอ้ ยละ 35 3. อตั ราภาษีแบบถดถอย อตั ราภาษีอากรลดลงเมือ่ ฐานภาษีอากรเพิ่มขึ้น เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่ เปน็ ต้น 25. ผู้มหี น้าที่เสียภาษีเงนิ ได้บคุ คลธรรมดา 1. บคุ คลธรรมดา 2. ห้างหนุ้ สว่ นสามัญหรอื คณะบคุ คลทีม่ ใิ ชน่ ิติบคุ คล วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายวา่ ด้วยการสง่ เสริม วิสาหกิจชุมชน เฉพาะทีเ่ ปน็ ห้างหนุ้ สว่ นสามัญ หรอื คณะบคุ คลที่มใิ ช่นิติบคุ คล 3. ผถู้ ึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 4. กองมรดกทีย่ ังไมไ่ ด้แบง่ 26. หลกั การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยประกอบด้วย 2 หลัก คอื หลักถิน่ ที่อยแู่ ละหลกั แหล่ง เงินได้ 1. หลกั ถิน่ ทีอ่ ยู่ กำหนดใหผ้ อู้ ยู่ในประเทศไทยหรือทีถ่ ือว่าอยใู่ นประเทศไทยต้องเสียภาษีในไทย 2. หลกั แหล่งเงนิ ได้ 2.1 กำหนดให้ผมู้ ีเงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงนิ ได้ในประเทศไทย ตอ้ งเสียภาษีในประเทศไทย ไม่วา่ เงินได้นน้ั จะจ่ายในหรอื นอกประเทศ 2.2 สำหรับเงินได้ที่ได้รบั จากแหล่งเงนิ ได้นอกประเทศจะเสียภาษีเงนิ ได้ในประเทศไทยเม่อื นำเงินได้พึง ประเมินนนั้ เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีที่ได้รบั เงนิ ได้เท่าน้ัน 27. “เงินได้พึงประเมนิ ” ได้แก่ 1. เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3. ประโยชน์ซึง่ อาจคิดคำนวณได้เปน็ เงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จา่ ยเงนิ หรอื ผอู้ ืน่ ออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด 28. นายจ้างให้ลกู จ้างพักอาศยั ในบ้านพกั ฟรี ลกู จ้างต้องคำนวณประโยชน์ที่ได้อยู่บ้านพักโดยไมต่ อ้ งเสียคา่ เชา่ เปน็ เงินได้ของตนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจา้ งหรือเงินเดอื น 29. ผู้มเี งินได้นอกประเทศไทยจะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยก็ต่อเมือ่ เขา้ องคป์ ระกอบท้ัง 2 ข้อ คอื 1. เป็นผอู้ ยู่ในประเทศไทย และ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

5 2. นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีที่ได้รบั คำวา่ “เปน็ ผอู้ ยู่ในประเทศไทย” มาตรา 41 วรรคสุดท้ายได้บัญญตั ิไว้ว่า“ผใู้ ดอยู่ในประเทศไทยชวั่ ระยะเวลาหน่งึ หรอื หลายระยะรวมเวลาท้ังหมดถึงหน่งึ ร้อยแปดสิบวนั ในปีภาษีปีใดให้ถือวา่ ผู้น้ันเปน็ ผู้อยู่ใน ประเทศไทย” 30. ค่าแห่งกู๊ดวิลล(์ Goodwill) หมายถึง คา่ ความนยิ ม เกิดจากการที่บริษัทซือ้ ขายด้วยความยตุ ิธรรม ผลติ สินค้า หรอื บริการมีคณุ ภาพดีจนเปน็ ที่เชือ่ ถอื และวางใจของลูกค้า ในธรุ กิจถือว่าค่าความนิยมเปน็ สินทรัพย์ กรณีที่มกี ารขายกิจการอาจมีการคิดค่าความนยิ มด้วย 31. ค่าสิทธิ (Royalty) หมายถึง คา่ ตอบแทนการอนญุ าตให้ใชท้ รพั ย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) อาจได้จาก สิทธิบัตร(Patent) เครือ่ งหมายการค้า(Trademark) หรอื เครื่องหมายบริการ(Trade Service) แฟรน ไชส์(Franchise) ค่าวิทยาการ (Know - how) สูตรลับหรอื กรรมวิธีลบั ในการผลิตสินค้าหรอื สิ่งประดษิ ฐ์ 32. ค่าแห่งลขิ สิทธิ์ (Copy - right) เปน็ สิทธิทางกฎหมายซึ่งให้สิทธิแตผ่ ู้เดียว (exclusive right) แกผ่ ู้สร้างสรรค์ งานต้นฉบับในการใช้และการขาย เช่น ลขิ สิทธิเ์ พลง ลิขสิทธิ์บทประพันธ์ 33. ค่าแห่งก๊ดู วิลล์ คา่ ลิขสิทธิ์หรอื คา่ สทิ ธิอย่างอ่นื ใหห้ ักค่าใช้จา่ ยได้ตามจำเป็นและสมควรหรอื หักเหมาใน อัตราร้อยละ 50 แตไ่ ม่เกิน 100,000 บาท 34. เงินได้ตามมาตรา 40(3 นอกจากค่าแห่งกดู๊ วิลล์ ค่าลิขสิทธิห์ รอื ค่าสิทธิอยา่ งอ่ืน เช่น เงนิ รายปีอนั ได้มา จากพินัยกรรม นิตกิ รรมอย่างอ่นื หรอื คำพิพากษาของศาล เชน่ ค่าเลี้ยงดรู ายปีเน่อื งจากหย่า หักค่าใช้จา่ ย ไม่ได้ 35. เงินได้ตามมาตรา 40(4) เปน็ เงนิ ได้ทีเ่ กิดจากการนำเงินไปลงทนุ ในตราสารทนุ หรอื ตราสารหน้ี เช่น หุ้น พันธบตั ร หุ้นกู้ ตว๋ั สัญญาใช้เงนิ ซึ่งหากได้ถกู หกั ภาษี ณ ทีจ่ ่ายไว้รอ้ ยละ 15 หรอื ร้อยละ 10 แล้ว สามารถ เลือกไมน่ ำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อ่นื ก็ได้ แต่หากเลือกนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อ่นื จะต้องนำเงิน ได้ทุกรายการของแตล่ ะประเภทมารวมคำนวณทั้งหมด(จะนำมาเฉพาะบางรายการไม่ได้) 36. ดอกเบีย้ เงนิ ฝากของบุตรผู้เยาวต์ ้องนำไปยืน่ เสียภาษีในนามของบุตรแตก่ ารลงชื่อขอคืนในคำร้องขอคนื ภาษี ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ลงชือ่ ขอคืน(กรณีบิดาและมารดาสมรสกนั ตามกฎหมายได้แก่บิดา กรณี หยา่ ร้างได้แกผ่ ู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้าใช้อำนาจปกครองร่วมกันได้แกบ่ ิดา) 37. เงนิ ปนั ผลเงนิ ส่วนแบง่ ของกำไร หรอื ประโยชนอ์ ืน่ ใดทีไ่ ด้จาก บริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิตบิ คุ คลทีต่ งั้ ข้ึนตาม กฎหมายต่างประเทศไม่ได้รับการเครดิตภาษี(หลกั ของการให้เครดิตภาษีคอื ให้สำหรับเงินได้ทีเ่ สียภาษีตาม ประมวลรัษฎากรแล้วเทา่ น้ัน) นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

6 38. เครดิตภาษีเงนิ ปนั ผล ใช้สิทธิได้เฉพาะเงินปันผลที่ได้จากบริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ข้นึ ตาม กฎหมายไทย และต้องนำไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษี เฉพาะผมู้ ีเงินได้ทีม่ ภี มู ลิ ำเนาอยใู่ น ประเทศไทย หรอื เปน็ ผู้อยู่ในประเทศไทย (อยชู่ วั่ ระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะเวลารวมกนั ถึง 180 วนั ในปี ภาษี) 39. สูตรคำนวณเครดิตภาษีเงนิ ปันผล = อัตราภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลของผู้จา่ ยเงินปันผล (100 – อัตราภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคล) 40. หากบตุ รชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบญุ ธรรม ที่ยงั ไมบ่ รรลุนติ ิภาวะ ได้รบั เงินปันผลหรอื เงินสว่ นแบง่ ของ กำไร ใหถ้ ือว่าเงนิ ได้ของบุตรเปน็ เงินได้ของบิดา หรอื ผใู้ ช้อำนาจปกครอง(กรณีหย่าจากกนั ) 41. เงินปนั ผลที่ได้รับจากกิจการซึ่งได้รบั การสง่ เสริมการลงทุน(BOI) ได้รับยกเว้นภาษี จึงใชส้ ิทธิเครดิตภาษี ไม่ได้ และไม่ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษี 42. การผิดสญั ญาเชา่ ซอื้ ทรพั ย์สินหรอื ซือ้ ขายเงนิ ผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพยส์ ินที่ซื้อขายนั้นโดยไมต่ ้องคนื เงินหรอื ประโยชนท์ ีไ่ ด้รบั ไว้แลว้ หกั คา่ ใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 20 43. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) คอื เงนิ ได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ การประกอบโรคศลิ ปะ วชิ า กฎหมาย วศิ วกรรม การบญั ชสี ถาปตั ยกรรม และประณีตศิลปกรรม หรอื ที่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนด เพิม่ เติม(ปัจจบุ นั ยังไม่ได้กำหนดเพิ่มจงึ ยังคงมีเพียง 6 สาขา) 44. การประกอบโรคศลิ ปะหมายถึงการกระทำตอ่ เน้ือตัวมนุษย์ การกระทำทีไ่ มใ่ ช่กระทำต่อเนือ้ ตัวมนุษย์ เช่น สตั วแพทย์ จงึ ไม่อยใู่ นความหมายของการประกอบโรคศลิ ปะ หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร หรอื หักค่าใชจ้ ่ายเป็นการเหมาได้รอ้ ยละ 60 45. วิชากฎหมาย ได้แก่ การวา่ ความของทนายความ การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การให้บริการงานด้าน กฎหมาย เชน่ เขียนสญั ญา เขียนพินยั กรรม หกั ค่าใช้จ่ายตามความจำเปน็ และสมควรหรอื หกั ค่าใช้จ่ายเปน็ การ เหมาได้รอ้ ยละ 30 46. การบญั ชี ได้แก่ เงินได้จากการรบั วางรปู บัญชี การทำบัญชีตน้ ทุน รับจ้างทำบญั ชี ให้คำปรึกษาทาง บัญชี รบั ตรวจสอบบญั ชี ผสู้ อบบัญชภี าษีอากร หกั ค่าใชจ้ ่ายตามความจำเปน็ และสมควร หรอื หักค่าใชจ้ ่าย เปน็ การเหมาได้ร้อยละ 30 (การรับจดทะเบียนบริษทั จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม รับยืน่ แบบและเสียภาษี วิเคราะหโ์ ครงการเพื่อลงทนุ หรอื เป็นตัวแทนช้ีแจงกรณีลูกค้าถกู ตรวจสอบภาษีอากร ไม่ใช่วิชาชีพการบัญชี) 47. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (เฉพาะทีเ่ ลือกนำมารวมคำนวณภาษีกบั เงินได้อื่น ๆ) กรณีเป็นมรดก หรอื ได้รับโดยเสนห่ า ให้หกั ค่าใชจ้ ่ายเหมาร้อยละ 50 ได้วิธีเดียว นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

7 48. เงนิ ได้จากการขายอสงั หาริมทรพั ย์ (เฉพาะทีเ่ ลือกนำมารวมคำนวณภาษีกบั เงินได้อืน่ ๆ) กรณีได้มาโดย มิได้ม่งุ ค้าหรอื หากำไร หกั ค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คอื 1. หกั ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ตอ้ งมีหลกั ฐานแสดงคา่ ใช้จา่ ยอย่างชัดเจน 2. หักค่าใช้จ่ายเหมาตามจำนวนปีทีถ่ ือครอง โดยจำนวนปีที่ถือครองนบั ต้ังแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรอื สิทธิ ครอบครองถึงปีทีโ่ อนกรรมสิทธิ์หรอื สิทธิครอบครอง ถ้าเกิน 10 ปี นบั เพียง 10 ปี เศษของปีนับเปน็ 1 ปี ถือ ตามปีปฏิทิน 49. กรณีขายหนว่ ยลงทุน RMF หรอื LTF คืนกองทนุ โดยไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รบั ยกเว้นภาษี และต้องยื่น แบบปรบั ปรงุ รายการปีที่ได้ใชส้ ิทธิหักลดหย่อนเปน็ รายปี หากยื่นแบบ ภายใน 31 มีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 50. เกณฑก์ ารยื่นแบบแสดงรายการ 1. เงนิ ได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) กรณีโสด มรี ายรับในปีภาษีเกิน 120,000 บาท กรณีสมรส มีรายรับในปีภาษีเกิน 220,000 บาท 2. เงนิ ได้ตามมาตราอืน่ ๆ (ไม่ว่าจะมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรอื ไม่ก็ตาม) กรณีโสด มรี ายรับในปีภาษีเกิน 60,000 บาท กรณีสมรส มีรายรบั ในปีภาษีเกิน 120,000 บาท 3. กองมรดกทีย่ ังไมไ่ ด้แบง่ มีรายรบั ในปีภาษีเกิน 60,000 บาท 4. คณะบคุ คลหรอื ห้างหนุ้ ส่วนสามญั มีรายรับในปีภาษีเกิน 60,000 บาท(รวมถึงวิสาหกิจชมุ ชนด้วย) 51. เงนิ ได้ตามข้อ 50 ข้อ 2,3 และ 4 ถ้าเกิน 120,000 บาท นอกจากจะคำนวณภาษีตามวิธีปกติแล้ว ต้อง คำนวณตามวิธีที่ 2 คือให้คำนวณภาษีในอัตรา 0.005 ของรายได้เปรียบเทียบกันด้วย ถ้าการคำนวณวิธีใดได้ ภาษีมากกว่าให้ใชว้ ิธีนั้น ยกเว้นภาษีที่คำนวณตามวิธีที่ 2 มจี ำนวนไม่ถึง 5,000 บาท กไ็ มต่ อ้ งนำมา เปรียบเทียบ 52. การหกั ลดหย่อนหา้ งหุ้นสว่ นสามญั คณะบคุ คลทีม่ ใิ ชน่ ิติบคุ คล 1. หากหุ้นส่วนอยใู่ นประเทศไทย เพียงคนเดียว หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท 2. หากหุ้นสว่ นอยใู่ นประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขนึ้ ไป หักลดหยอ่ นได้ 120,000 บาท 53. การหักลดหยอ่ นบุตร หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท 1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย(ไมจ่ ำกัดจำนวน) นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

8 2. บุตรบุญธรรม(เมื่อรวมกบั 1. แล้วตอ้ งไม่เกิน 3 คน ถ้ามีบตุ รตาม 1. ถึง 3 คนแลว้ จะนำบตุ รตาม 2. มา หกั ไมไ่ ด้) การนบั จำนวนบตุ รให้นบั บตุ รทีไ่ มอ่ ยู่ในเกณฑห์ ักค่าลดหย่อนที่ยังมีชีวติ อยดู่ ้วย 3. บุตรของผู้มีเงินได้ตั้งแตค่ นทีส่ องเปน็ ต้นไป ทีเ่ กิดในหรอื หลงั วันที่ 1 มกราคม 2561 หกั ได้เพิม่ อกี คนละ 30,000 บาท(รวมเปน็ หักได้คนละ 60,000 บาท) เพื่อสนับสนุนให้มบี ตุ รเพิ่มข้ึน เพราะสังคมไทยในปัจจุบัน เริ่มเข้าสสู่ ังคมผู้สูงอาย(ุ นำรูปแบบมาจากประเทศสิงคโปร์) 54. หลักเกณฑข์ องบุตรที่หักลดหย่อนได้ 1. เปน็ ผู้เยาว์ (อายุไมถ่ ึง 20 ปี) หรอื บตุ รที่ศาลส่ังให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมอื นไร้ความสามารถ 2. หากพ้นจากความเป็นผู้เยาวแ์ ต่ยงั ศกึ ษาอยู่ในระดับอุดมศกึ ษาให้หักลดหยอ่ นได้จนอายุถึง 25 ปี 3. ถ้าเป็นบุตรบญุ ธรรมต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร 4. มีเงนิ ได้ไมถ่ ึง 30,000 บาท ในปีภาษี 55. หากบิดามารดาไมไ่ ด้จดทะเบียนสมรส บตุ รถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดา ส่วนบิดาจะถือเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายได้ บิดาต้องจดทะเบียนรบั รองบตุ รหรือร้องขอให้ศาลมีคำส่งั ว่าเป็นบุตร 56. หลักเกณฑ์การหักลดหยอ่ นบิดามารดาและบิดามารดาของคูส่ มรส (หกั ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท) ต้องมอี ายุ 60 ปีขนึ้ ไป และมีเงินได้ในปีภาษีทีข่ อหักลดหย่อนไมเ่ กิน 30,000 บาท (เงินได้รวมดอกเบีย้ ธนาคาร และเงนิ บำนาญ สว่ นอายตุ ้องครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีทีใ่ ชส้ ิทธิ) ตอ้ งมเี ลขประจำตวั ประชาชน และแนบหนงั สือรบั รองการหักลดหยอ่ นฯ (ล.ย.03) 57. บตุ รบญุ ธรรม ไม่สามารถใช้สทิ ธิหกั ลดหยอ่ นบิดามารดา(บญุ ธรรม) ได้ เพราะเจตนาการรับบุตรบญุ ธรรม คือการรับบตุ รบุญธรรมมาเลีย้ งดู ไม่ใช่ให้บตุ รบญุ ธรรมมาเลี้ยงดูผรู้ บั 58. การหักลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรอื คนทพุ พลภาพ(หักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท) 1. บิดามารดา สามี/ภริยาบุตรชอบด้วยกฎหมายหรอื บุตรบุญธรรมของผมู้ ีเงินได้(ไม่จำกัดจำนวน) 2. บิดามารดา หรอื บตุ รชอบด้วยกฎหมายของสามี/ภริยา(ลูกติดสามีหรือลูกติดภรรยา/ไม่จำกัดจำนวน) 3. บุคคลอืน่ ที่ผมู้ ีเงินได้เปน็ ผู้ดแู ล(หกั ได้เพียง 1 คน) 59. หลักเกณฑ์การหักคา่ ลดหยอ่ นคา่ อุปการะเลี้ยงดคู นพิการหรอื คนทพุ พลภาพ 1. หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และคู่สมรสมีเงนิ ได้ ให้หักลดหยอ่ นคนละกึง่ หน่ึง คือ 30,000 บาท 2. จะต้องมีเงินได้ในปีภาษีที่ใชส้ ิทธิไมเ่ กิน 30,000 บาท (ไมร่ วมเงนิ ได้ทีไ่ ด้รบั ยกเว้นภาษี) 3. ถ้าเปน็ คนพิการ ต้องมบี ัตร/สมดุ ประจำตวั คนพิการ ซึ่งระบุชื่อผมู้ ีเงินได้ หรอื คสู่ มรส เปน็ ผดู้ ูแลฯ และ แนบหลักฐานหนังสือรับรองการหกั ค่าลดหยอ่ นค่าอุปการะเลี้ยงดคู นพิการหรอื คนทพุ พลภาพ (ลย.04) นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

9 4. ถ้าเป็นคนทุพพลภาพ จะต้องมีหนงั สือรับรองแพทย์ที่ระบุความเปน็ ทพุ พลภาพมาแล้วไมน่ ้อยกว่า 180 วันและแนบหลกั ฐานหนังสือรบั รอง (ลย.04 และ ลย.04-1 หนังสอื รบั รองการเป็นผเู้ ลี้ยงดผู ู้ทพุ พลภาพ) 60. การหกั ลดหยอ่ นเบีย้ ประกนั สขุ ภาพบิดามารดาของผมู้ ีเงินได้หรอื บิดามารดาของคสู่ มรส 1. บิดามารดาของผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะประกันคนเดียวหรอื ท้ังสองคน ตามที่จ่ายจริงแตไ่ ม่เกิน 15,000 บาท 2. บิดามารดาของคสู่ มรส กรณีคสู่ มรสไม่มีเงินได้ หักได้ตามเกณฑ์เดียวกับข้อ 1. 61. เง่อื นไขการหกั ลดหย่อนเบีย้ ประกนั สขุ ภาพบิดามารดาของผมู้ ีเงินได้หรอื บิดามารดาของคสู่ มรส 1. บิดามารดาตอ้ งมเี งินได้ในปีภาษีที่ใชส้ ิทธิไมเ่ กิน 30,000 บาท/คน/ปี 2. ผู้มีเงินได้ตอ้ งเป็นผู้จ่ายคา่ เบีย้ ประกัน ถ้ารว่ มกนั จา่ ยหลายคนให้เฉลีย่ ไปตามส่วน 3. ผมู้ ีเงินได้และค่สู มรสต้องเป็นบตุ รชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา(บตุ รบุญธรรมใชส้ ิทธิน้ไี มไ่ ด้) 62. การหกั ลดหย่อนเบีย้ ประกันชีวติ 1. เบี้ยประกันชีวติ เบีย้ ประกันชีวติ ของผู้มีเงินได้ ตามที่จ่ายจรงิ แต่ไมเ่ กิน 100,000 บาท 2. เบี้ยประกนั ชีวติ ของคู่สมรส ทีไ่ มม่ ีเงนิ ได้ ตามที่จ่ายจริงแต่ไมเ่ กิน 10,000 บาท 63. หลักเกณฑก์ ารหกั ลดหยอ่ นเบีย้ ประกันชีวิต 1. กรมธรรมฯ์ ตอ้ งมกี ำหนดตงั้ แต่ 10 ปีขนึ้ ไปและผู้รบั ประกนั ภยั ต้องประกอบกิจการในไทย 2. กรมธรรมท์ ีท่ ำต้ังแต่ 1 มกราคม 2552 คา่ เบี้ยประกนั ในส่วนของความคุ้มครองอ่นื เพิม่ เติมใช้สทิ ธิไม่ได้ 3. กรณีมีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ 3.1 หากคืนทุกปี จะต้องไมเ่ กินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวติ รายปี 3.2 หากคืนตามช่วงระยะเวลาทีก่ ำหนด เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี จะต้องไมเ่ กินร้อยละ 20 ของเบยี้ ประกันชีวติ สะสมของแต่ละชว่ งระยะเวลาที่มีการจ่ายคืน 64. เบี้ยประกนั ชีวติ หมู่ เบี้ยประกันชีวติ บตุ รผเู้ ยาว์ นำมาลดหยอ่ นไมไ่ ด้ 65. ใบเสร็จรบั เงนิ ชัว่ คราว ใบเตือน นำมาใช้เปน็ หลักฐานการหักลดหย่อนเบีย้ ประกนั ชีวติ ไมไ่ ด้ 66. หลกั เกณฑ์การหกั ลดหยอ่ นเบีย้ ประกันชีวติ แบบบำนาญ 1. ตามทีจ่ ่ายจริง แตไ่ มเ่ กินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินทีต่ อ้ งเสียภาษีและไมเ่ กิน 200,000 บาท 2. มีการกำหนดช่วงอายขุ องการจ่ายผลประโยชน์เม่อื ผู้มีเงินได้มีอายตุ ้ังแต่ 55 ปีขนึ้ ไปถึงอายุ 85 ปี หรอื กว่านั้น และต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์ เมือ่ รวมกบั กองทุนสำรองเลยี้ ง ชีพ /กบข./กองทุนฯ ครู และ RMF แล้ว ตอ้ งไม่เกิน 500,000 บาท 67. การประกนั ชีวิตแบบบำนาญ ถือเปน็ ประกนั ชีวติ ประเภทหนึง่ จึงนำไปใช้สทิ ธิลดหย่อนในสว่ นของประกนั ชวี ิตได้เตม็ จำนวนกอ่ น สว่ นทีเ่ หลอื จงึ นำมากรอกในสว่ นของประกนั ชีวติ แบบบำนาญ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

10 68. การหกั ลดหย่อนค่าซอื้ หน่วยลงทนุ ในกองทนุ รวมเพื่อการเลยี้ งชพี (RMF) หกั ได้ตามที่จ่ายจริงไมเ่ กิน 15% ของเงนิ ได้ที่ตอ้ งเสียภาษีก่อนหักค่าใช้จ่ายแตไ่ ม่เกิน 500,000 บาท 69. หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนค่าซอื้ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) 1. ตอ้ งซือ้ อยา่ งน้อยปีละ 1 คร้ัง จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ทีไ่ ด้รับในแต่ละปี หรอื ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ตอ่ ปี โดยไมร่ ะงับการซื้อเกินกวา่ 1 ปีตดิ ต่อกัน 2. เม่อื รวมกับกองทุนสำรองเลีย้ งชีพ/กบข./กองทนุ ครูเอกชน และเบี้ยประกนั ชีวติ แบบบำนาญแล้วต้องไม่ เกิน 500,000 บาท 3. ต้องถือไว้ไม่น้อยกวา่ 5 ปี นับแต่วันซือ้ คร้ังแรก(นบั แบบชนวนั ) และไถถ่ อนเมอ่ื อายุไม่ต่ำกวา่ 55 ปี ยกเว้นไถ่ถอนเพราะเหตทุ พุ พลภาพ หรอื ตาย(ถ้าซือ้ หลายกองทนุ การนับวนั เริ่มให้นบั จากวันที่ซือ้ กองแรกเป็น หลัก) 4. ต้องไมไ่ ด้รับเงินปนั ผลหรอื เงินอน่ื ใดจากกองทนุ ในระหว่างลงทุน 5. ต้องไม่กู้ยืมเงนิ หรอื เบิกเงินจากกองทนุ ทีซ่ ือ้ ไว้ 70. เงอ่ื นไขการหักลดหย่อนค่าซือ้ หน่วยลงทนุ ในกองทนุ รวมหนุ้ ระยะยาว (LTF) 1. ตอ้ งถือไว้ตอ่ เนื่องไม่น้อยกว่า 7 ปี(นบั ตามปีปฏิทิน) ยกเว้นไถถ่ อนเพราะทุพพลภาพ หรอื ตาย 2. ตอ้ งเปน็ บุคคลธรรมดา ซึง่ ไมร่ วมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบคุ คลหรอื กองมรดก 3. หกั ได้ตามทีจ่ ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงนิ ได้พึงประเมินที่ตอ้ งเสียภาษี แต่ไมเ่ กิน 500,000 บาท 71. การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงนิ กู้ยืม เพื่อซือ้ เช่าซือ้ หรือสร้างอาคารทีอ่ ยู่อาศัย กรณีสามีภริยา 1. หากร่วมกนั กู้ยืม โดยสามหี รอื ภรยิ ามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มเี งินได้ใช้สทิ ธิได้เต็มจำนวน (ตามทีจ่ า่ ยจรงิ ไม่เกิน 100,000 บาท) 2. หากร่วมกนั กู้ยืมโดยสามหี รอื ภรยิ ามีเงินได้ท้ังสองฝ่าย ให้ผู้มีเงินได้ใชส้ ิทธิได้คนละกึ่งหนึ่ง (ตามที่จ่าย จรงิ ไมเ่ กินคนละ 50,000 บาท) 3. หากต่างฝา่ ยต่างกู้ยืมและมีเงนิ ได้ทั้งสองฝา่ ย ใหต้ า่ งฝ่ายต่างใช้สทิ ธิได้เตม็ จำนวน (ตามทีจ่ ่ายจริง ไม่ เกิน 100,000 บาท) 4. หากฝา่ ยที่ไมม่ เี งนิ ได้เป็นผู้กู้ฝ่ายเดียว นำมาหักลดหย่อนไม่ได้ กรณีกู้รว่ มกันหลายคน ต้องเฉลี่ยตามส่วนของผู้กู้รว่ มทุกคนโดยรวมกันทุกคนแล้วไมเ่ กิน 100,000 บาท 72. เง่อื นไขการหกั ลดหย่อนดอกเบีย้ เงนิ กู้ยืม เพือ่ ซือ้ เชา่ ซือ้ หรือสร้างอาคารทีอ่ ยู่อาศัย คอื ตอ้ งใช้อาคาร/ หอ้ งชดุ เป็นทีอ่ ย่อู าศัย และใช้สทิ ธิได้มากกวา่ 1 แห่ง(แต่เมื่อรวมทุกแห่งแล้วหกั ลดหยอ่ นได้ไม่เกิน 100,000 บาท) นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

11 73. เงินสมทบกองทุนประกันสังคมหักลดหยอ่ นได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอตั ราตามทีส่ ำนักงานประกันสังคม กำหนด(ปจั จบุ นั ไม่เกิน 9,000 บาท) 74. หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่ได้มกี ารจ่ายเงนิ เพือ่ ประกันตนเข้ากองทนุ และความเป็นสามีภริยา มอี ยู่ตลอดปี ภาษี ผมู้ ีเงินได้สามารถนำประกนั สงั คมของคู่สมรส มาหกั ลดหย่อนได้ด้วย 75. ผู้มีเงินได้ซึ่งมอี ายุครบ 65 ปีบริบูรณแ์ ละเปน็ ผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษี : ได้รบั ยกเว้นเงนิ ได้ 190,000 บาท(จะนำไปหกั ออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้) 76. หลักเกณฑท์ ี่สำคัญของการบริจาคสำหรบั บุคคลธรรมดาทีจ่ ะนำมาหกั ลดหย่อนได้น้ันตอ้ งต้องบริจาคเปน็ เงินเทา่ นน้ั และต้องบริจาคใหใ้ ห้แกห่ นว่ ยงานต่าง ๆ ดงั นี้ 1. วดั วาอารามโบสถ์ หรอื มัสยิด 2. สภากาชาดไทย สถานพยาบาลของทางราชการ 3. สถานศกึ ษาของทางราชและเอกชน 4. องค์การสาธารณกศุ ล ซึ่งตอ้ งมีรายชือ่ ตามประกาศกระทรวงการคลัง(มลู นิธิ/สมาคม)หากผู้รบั บริจาค เปน็ องค์กรทีไ่ มม่ ชี ื่อตามประกาศฯ นำมาหกั ลดหยอ่ นไม่ได้ 5. กองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ 77. การหักลดหยอ่ นสำหรับผทู้ ี่ซือ้ บ้านหลังแรกในราคาไมเ่ กิน 3,000,000 บาท ตามมาตรการกระตุ้นการค้า อสงั หาริมทรพั ย์ นำไปหักจากเงนิ ได้หลงั หักคา่ ใช้จ่ายได้รอ้ ยละ 20 ของราคาซือ้ โดยต้องใชส้ ิทธิตอ่ เน่อื งกนั 5 ปี เป็นจำนวนเทา่ ๆ กนั ในแตล่ ะปี 78. เง่อื นไขการหกั ลดหยอ่ นสำหรบั ผทู้ ีซ่ ือ้ บ้านหลังแรก คือ 1. ตอ้ งซือ้ ระหว่างวนั ที่ 13ตุลาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2559 (ดจู ากการจดทะเบียนโอนกรรมสทิ ธิ์) 2. ตอ้ งมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพยไ์ มน่ อ้ ยกว่า 5 ปี (ห้ามขายภาย ใน 5 ปี) ยกเว้นถึงแก่ ความตาย หรอื เกิดเหตุสดุ วิสัย เชน่ ไฟไหม้ พังทลายจากวาตภยั หรอื แผ่นดินไหว 3. กรณีที่ได้ใช้สทิ ธิแล้ว ตอ่ มาปฏิบตั ิผดิ เงือ่ นไข หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษี และต้องไปชำระภาษีเพิ่มเตมิ ย้อนหลังพรอ้ มเงนิ เพิม่ ในปีที่ได้ใชส้ ิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว 79. หลักฐานที่ต้องใช้สำหรับการหกั ลดหย่อนบ้านหลงั แรก คือ 1. หนงั สอื รับรองจากผู้ขายวา่ มกี ารจ่ายค่าซือ้ อสังหาริมทรัพย์ 2. หนังสอื รบั รองตนเองวา่ เป็นทีอ่ ยู่อาศัยแห่งแรก 3. สำเนาสญั ญาซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์ 4. สำเนาสญั ญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้เงินจากสถาบนั การเงนิ ) นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

12 80. การเสียภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลของบริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิตบิ ุคคลทีต่ งั้ ข้ึนตามกฎหมายไทยนอกจาก กฎหมายจะกำหนดไว้เปน็ อย่างอ่นื ต้องคำนวณเสียจากกำไรสทุ ธิเสมอ 81. บริษทั หรอื ห้างหุ้นส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ข้นึ ตามกฎหมายต่างประเทศ จะมีหน้าทีเ่ สียภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลใน ประเทศไทย กต็ อ่ เม่ือเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก. เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย ข. กระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ค. กระทำกิจการอืน่ ๆรวมท้ังในประเทศไทยและกิจการทีก่ ระทำนั้นเปน็ กิจการขนส่งระหว่างประเทศ ง. มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงนิ ได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรอื (6) ที่จา่ ย จากหรือในประเทศไทย(มาตรา 70) จ. มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลกู จา้ งหรอื ผู้ทำการแทนหรอื ผมู้ าทำการตดิ ต่อใน การประกอบกิจการในประเทศไทย ซึง่ เปน็ เหตใุ ห้ได้รับเงนิ ได้หรอื ผลกำไรในประเทศไทย(มาตรา 76 ทวิ) 82. กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการรว่ มกันเปน็ ทางค้าหรอื หากำไรระหว่างบุคคล ดังตอ่ ไปนี้ ก. บริษัทกบั บริษัท ข. บริษทั กบั หา้ งหุ้นส่วนนิติบคุ คล ค. หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ คุ คลกับหา้ งหนุ้ สว่ นนิตบิ คุ คล ง. บริษัทและหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลกบั บุคคลธรรมดา จ. บริษทั และหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลกับคณะบคุ คลที่มใิ ช่นิติบุคคล ฉ. บริษัทและหรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ ุคคลกบั หา้ งหนุ้ สว่ นสามัญ ช. บริษัทและหรอื ห้างหนุ้ สว่ นนิติบุคคลกับนิตบิ คุ คลอืน่ (ข้อสงั เกต คอื ตอ้ งมนี ิตบิ ุคคลเปน็ ตัวหลัก) กิจการร่วมค้าต้องขอเลขประจำตวั ผเู้ สียภาษีแยกต่างหากจากผู้ทีเ่ ข้ามารว่ มกนั ต้องจัดทำงบการเงินและ เสียภาษีจากกำไรสุทธิในนามของกิจการร่วมค้า(มีสถานะเปน็ นิติบุคคลแตไ่ ม่ต้องไปจดทะเบียนกบั กรมพัฒนา ธุรกิจการค้าอีก) 83. นติ ิบคุ คลทีไ่ ม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ได้แก่ 1. หนว่ ยงานที่ตั้งข้ึนตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การของรัฐบาลหรอื สหกรณ์ 2. ได้รบั การยกเว้นตามบทบญั ญตั ิของกฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ (1) ตามข้อผูกพันทีป่ ระเทศไทยมีอยตู่ ามสญั ญาว่าดว้ ยความรว่ มมอื ทางเศรษฐกิจหรอื ทางเทคนิค ระหว่างรฐั บาลไทยกับรฐั บาลต่างประเทศ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

13 (2) ตามกฎหมายว่าด้วยการสง่ เสริมการลงทนุ (3) ได้รับการยกเว้นภาษีเงนิ ได้นติ ิบคุ คลตามพระราชบัญญัติภาษีเงนิ ได้ปิโตรเลียม (4) มีอนสุ ญั ญาว่าด้วยการเว้นการเกบ็ ภาษีซ้อนกับประเทศไทย 84. ฐานภาษีของภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลตามประมวลรัษฎากรมีดังน้ี 1. กำไรสทุ ธิ 2. ยอดรายได้กอ่ นหกั รายจ่าย 3. เงนิ ได้ทีจ่ ่ายจากหรือในประเทศไทย 4. การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย 85. บริษทั หา้ งหา้ งหุ้นสว่ นนิติบคุ คลที่ตง้ั ข้ึนตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่วา่ จะอยูใ่ นหรอื นอกประเทศไทยจะต้อง นำกำไรสทุ ธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนกั งานใหญ่เพือ่ เสียภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลในประเทศไทย 86. บริษทั หรอื ห้างหุ้นสว่ นนิตบิ ุคคลที่ตงั้ ข้ึนตามกฎหมายของต่างประเทศ 1. กระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย จะต้องนำกำไรสทุ ธิเฉพาะที่ได้จากการกระทำกิจการใน ประเทศไทยมาเสียภาษีเงนิ ได้นติ ิบคุ คลในประเทศไทย 2. มลี กู จ้างหรอื ผทู้ ำการแทน หรอื ผทู้ ำการตดิ ตอ่ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเปน็ เหตใุ ห้ ได้รับเงินได้หรอื ผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบคุ คลผู้เป็นลูกจา้ ง หรอื ผทู้ ำการแทน หรอื ผทู้ ำการติดต่อนนั้ เป็นตัวแทนของบริษทั ให้มหี น้าที่และความรบั ผดิ ชอบในการยืน่ รายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะทีเ่ กีย่ วกบั เงิน ได้หรอื ผลกำไรดังกล่าว 87. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรฐั บาลต่างประเทศ องค์การของรฐั บาลตา่ งประเทศ หรอื นิตบิ คุ คลอืน่ ทีต่ ั้งข้ึนตามกฎหมายของต่างประเทศตอ้ งเสียภาษีเงินได้นิตบิ คุ คลจากกำไรสุทธิ 88. รอบระยะเวลาบัญชีของนติ ิบุคคลไทย 1. ตอ้ งเทา่ กับ 12 เดือน โดยจะเร่มิ ต้นและสิน้ สุดลงเม่อื ใดก็ได้ 2. กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกวา่ 12 เดือน ได้มเี ฉพาะกรณีดงั ตอ่ ไปนี้ คอื ก. บริษทั หรอื หา้ งหุ้นสว่ นนิติบุคคลเริม่ ตง้ั ใหม่ จะถือวันเริ่มตงั้ ถึงวนั หน่งึ วนั ใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชี แรกก็ได้ แตร่ อบระยะเวลาบญั ชตี อ่ ไปต้องเท่ากบั 12 เดือน ข. บริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบุคคลอาจยืน่ คำร้องขอเปลี่ยนวันสดุ ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชกี ็ได้ ตามทีอ่ ธิบดีกรมสรรพากรจะเหน็ สมควรและส่งั อนญุ าตซึง่ รอบระยะเวลาบญั ชีแรกที่ได้รับอนญุ าตให้เปลีย่ นจะ น้อยกวา่ 12 เดือน นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

14 ค. บริษทั หรอื หา้ งหุ้นสว่ นนิติบคุ คลทีเ่ ลิกกนั ให้ถือเอาวนั ทีเ่ จา้ พนกั งานจดทะเบียนเลิกเป็น วนั สุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชี ง. บริษทั หรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลควบเข้ากนั ให้ถือว่าบริษทั หรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลน้ันเลิกกัน รอบ ระยะเวลาบญั ชที ีค่ วบเข้ากันจึงเป็นไปตาม ค. 3. กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบญั ชีมากกวา่ 12 เดือน กรณีทีบ่ ริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ ุคคลเลิก กิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไมส่ ามารถยื่นรายการและเสียภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยืน่ คำรอ้ งตอ่ อธิบดีภายใน 30 วนั นบั แตว่ นั ทีเ่ จ้าพนกั งานรบั จดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติใหข้ ยายรอบระยะเวลาบญั ชีออกไปได้ 89. การคำนวณรายได้และรายจา่ ยของนติ ิบุคคลให้ใช้เกณฑส์ ิทธิ์ ในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติตอ่ อธิบดี เพือ่ เปลีย่ นแปลงเกณฑ์สิทธิ์และวธิ ีการทางบญั ชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจา่ ยตามเกณฑ์อน่ื ก็ได้และ เมือ่ ได้รบั อนมุ ัตจิ ากอธิบดีแล้วให้ถือปฏิบตั ิตงั้ แตร่ อบระยะเวลาบัญชีทีอ่ ธิบดีกำหนดเปน็ ต้นไป 90. การหกั ค่าสึกหรอและค่าเสือ่ มราคาของอาคารจะต้องไมเ่ กินอัตราร้อยละของมูลค่าตน้ ทนุ ดังตอ่ ไปนี้ อาคารถาวร ร้อยละ 5 อาคารชั่วคราว ร้อยละ 100 91. ตน้ ทุนเพือ่ การได้มาซึง่ สิทธิในกรรมวิธี สตู ร กดู๊ วิลล์ เครื่องหมายการค้าสิทธิประกอบกิจการตาม ใบอนญุ าต สิทธิบัตรลิขสิทธิ์หรอื สิทธิอยา่ งอ่ืน กรณีจำกดั อายกุ ารใช้ หกั คา่ เสื่อมราคาได้เทา่ กับ 100 หารด้วย จำนวนปีอายกุ ารใช้ 92. ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชใี ดไมเ่ ต็มสิบสองเดือนให้เฉลีย่ หกั ตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนน้ั โดยใหเ้ ฉลีย่ เปน็ วัน เช่น บริษัทมีรอบระยะเวลาบญั ชีปกติตามปีปฏิทินได้ซื้อเคร่ืองจักรเมอ่ื วันที่ 1 ธนั วาคม 2561(นบั ถึงสิน้ รอบระยะบัญชไี ด้ 31 วนั ) จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้รอ้ ยละ (20 x 31) 365 93. ทรัพยส์ ินประเภทรถยนตโ์ ดยสารที่มที ีน่ งั่ ไมเ่ กินสิบคนหรอื รถยนต์นั่ง ใหห้ ักค่าสึกหรอและค่าเสือ่ มราคา จากมูลค่าต้นทนุ เฉพาะส่วนที่ไมเ่ กิน 1 ล้านบาท เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้หกั ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจาก มูลค่าตน้ ทุนท้ังหมด 1. ทรพั ยส์ ินซึง่ มีไว้ใช้ในกิจการให้เช่ารถยนต์ ท้ังนี้ บริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ คุ คลจะต้องไม่นำทรพั ย์สิน ดังกลา่ วไปใช้ในกิจการอ่ืน ไม่วา่ ทั้งหมดหรอื บางส่วน 2. ทรพั ย์สินที่เปน็ รถยนตต์ น้ แบบทีใ่ ชเ้ พื่อการวิจัย พัฒนา หรอื ทดสอบสมรรถนะที่ได้รับการยกเว้นภาษี สรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ทรัพยส์ ินตามวรรคหน่งึ ต้องได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เปน็ ต้นไป นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

15 94. การหกั คา่ สึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับทรพั ยส์ ินไมว่ ่าในกรณีใดจะหกั จนหมดมลู คา่ ต้นทุนของ ทรพั ยส์ ินนนั้ ไม่ได้ โดยให้คงเหลือมูลค่าของทรพั ย์สินนน้ั เป็นจำนวนอย่างนอ้ ย 1 บาท เว้นแตท่ รัพยส์ ินประเภท รถยนต์โดยสารทีม่ ที ี่นั่งไมเ่ กิน 10 คน หรือรถยนต์นั่งที่ใหห้ ักค่าสึกหรอและคา่ เสือ่ มราคาจากมลู ค่าต้นทนุ เฉพาะส่วนทีไ่ ม่เกิน 1 ล้านบาท ให้คงเหลือมลู คา่ ต้นทุนของทรัพย์สินเท่ากบั มูลคา่ ต้นทุนส่วนทีเ่ กิน 1 ล้านบาท 95. กรณีทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเชา่ ซือ้ หรอื ซือ้ ขายเงินผ่อนให้หกั ค่าสึกหรอและค่าเสือ่ มราคาของทรัพยส์ ิน ตามราคามูลค่าต้นทนุ คือ ราคาทีพ่ ึงต้องชำระทั้งหมดตามสญั ญาเช่าซือ้ หรอื สญั ญาซือ้ ขายเงนิ ผอ่ นแต่คา่ สึก หรอและคา่ เสื่อมราคาทีจ่ ะนำมาหกั ในรอบระยะเวลาบัญชจี ะต้องไม่เกินค่าเช่าซือ้ หรอื ราคาทีต่ อ้ งผ่อนชำระใน รอบระยะเวลาบญั ชนี ้ัน 96. การหกั ค่าสึกหรอและค่าเสือ่ มราคาทรพั ยส์ ินประเภทเครือ่ งบนั ทึกการเก็บเงินอาจเลือกหกั ค่าสึกหรอและ คา่ เสือ่ มราคาในอตั ราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทนุ หรอื เลือกหักคา่ สึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบือ้ งตน้ ในอัตรา ร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรบั มูลคา่ ต้นทุนส่วนทีเ่ หลือให้หักตามเง่อื นไขและอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ได้ 97. การหกั คา่ สกึ หรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพยส์ ินประเภทเครื่องจักรและอปุ กรณเ์ ครื่องจกั รทีใ่ ชส้ ำหรับ การวิจัยและพฒั นาให้หกั ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบือ้ งตน้ ในวนั ทีไ่ ด้ทรัพยส์ ินนั้นมาในอตั ราร้อยละ 40 ของ มลู คา่ ตน้ ทุน สำหรบั มลู คา่ ต้นทนุ ส่วนทีเ่ หลอื ให้หกั ตามเงอ่ื นไขและอัตราที่กำหนด 98. การหกั ค่าสึกหรอและค่าเสือ่ มราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพยส์ ินประเภทอาคารถาวรที่บริษัทที่เปน็ สำนกั งานปฏิบตั ิการภมู ภิ าคซอื้ หรอื ได้รบั โอนกรรมสิทธิ์ เพื่อมไี ว้ในการประกอบกิจการของกิจการของตนเอง ให้หกั ได้อัตราร้อยละ 25 ของมูลคา่ ต้นทนุ สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนทีเ่ หลอื ให้หักตามเง่อื นไขและอัตราที่ กำหนด 99. ในกรณีโอนทรัพยส์ ินให้บริการหรอื ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน คา่ บริการหรอื ดอกเบีย้ หรอื มี คา่ ตอบแทน ค่าบริการหรอื ดอกเบีย้ ตำ่ กวา่ ราคาตลาดโดยไมม่ เี หตอุ ันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมอี ำนาจ ประเมินคา่ ตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบีย้ นั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ใหบ้ ริการหรือใหก้ ู้ยืมเงิน 100. การตีราคาสินค้าราคาสินค้าคงเหลือในวันสดุ ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทนุ หรอื ราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานีเ้ ป็นราคาสินค้าคงเหลอื ยกมาสำหรับรอบระยะเวลา บัญชใี หม่ด้วย 101. ถ้าราคาทนุ ของสนิ ค้าเปน็ เงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเปน็ เงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนใน ท้องตลาดของวนั ที่ได้สนิ ค้านั้นมา เว้นแตเ่ งินตราตา่ งประเทศน้ันจะแลกได้ในอัตราทางราชการกใ็ หค้ ำนวณเป็น เงินตราไทยตามอตั ราทางราชการนน้ั นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

16 102. เงนิ ตรา ทรพั ย์สิน หรือหน้ีสนิ ซึ่งมีค่าหรอื ราคาเป็นเงินตราต่างประเทศทีเ่ หลืออยใู่ นวนั สดุ ท้ายของรอบ ระยะเวลาบัญชใี ห้คำนวณหรอื ราคาเปน็ เงินตราไทย ดงั นี้ ก. กรณีบริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลนอกจาก ข. ให้คำนวณค่าหรอื ราคาของเงนิ ตราหรือทรัพยส์ ิน เปน็ เงินตราไทย ตามอตั ราถวั เฉลีย่ ที่ธนาคารพาณิชยร์ ับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้ คำนวณค่าหรอื ราคาของหนีส้ ินเปน็ เงนิ ตราไทยตามอัตราถัวเฉลีย่ ที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึง่ ธนาคารแหง่ ประเทศไทยได้คำนวณไว้ ข. กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงนิ อื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้คำนวณค่าหรือราคาของเงนิ ตรา ทรัพย์สิน หรอื หนีส้ ินเป็นเงินตราไทยตามอตั ราถวั เฉลี่ยระหว่างอตั ราซือ้ และอตั ราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ ธนาคารแหง่ ประเทศไทยได้คำนวณไว้ 103. เงินตราทรพั ยส์ ิน หรือหน้ีสนิ ซึ่งมีค่าหรอื ราคาเป็นเงินตราต่างประเทศทีร่ ับมาหรอื จ่ายไปในระหว่างรอบ ระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณคา่ หรอื ราคาเป็นเงนิ ตราไทยตามราคาตลาดในวนั ที่รับมาหรอื จา่ ยไปน้ัน 104. หน้สี ญู ทีน่ ติ ิบคุ คลจะจำหน่ายจากบญั ชีลกู นีต้ ้องเป็นหน้ที ีม่ ลี ักษณะดงั ต่อไปนี้ 1. ตอ้ งเป็นหน้ีจากการประกอบกิจการหรอื เนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหน้ีที่ได้รวมเปน็ เงินได้ใน การคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหน้ที ี่ผู้เปน็ หรอื เคยเป็นกรรมการหรือหนุ้ สว่ นผจู้ ัดการเปน็ ลูกหน้ี ไม่ว่าหนี้ น้ันจะเกิดข้ึนก่อนหรอื ในขณะที่ผู้นนั้ เป็นกรรมการหรอื หุ้นส่วนผจู้ ดั การ 2. ตอ้ งเป็นหน้ีที่ยงั ไม่ขาดอายุความและมีหลกั ฐานโดยชดั แจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้ 105. การจำหน่ายหนีส้ ญู จากบัญชลี กู หน้ใี นกรณีหน้ขี องลูกหนีแ้ ตล่ ะรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท ขึน้ ไป ต้องดำเนินการดังตอ่ ไปนี้ 1. ได้ตดิ ตามทวงถามให้ชำระหน้ีตามสมควรแก่กรณีโดยมีหลักฐานการตดิ ตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและ ไม่ได้รับชำระหน้ี โดยปรากฏวา่ ก. ลูกหน้ีถึงแกค่ วามตาย เปน็ คนสาบสญู หรอื มีหลักฐานว่าหายสาบสูญไปและไมม่ ีทรัพย์สินใด ๆ จะ ชำระหน้ีได้ ข. ลูกหนีเ้ ลิกกิจการและมีหน้ีของเจา้ หน้รี ายอื่นทีม่ ีบุริมสทิ ธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกนี้อยู่ใน ลำดบั ก่อนเปน็ จำนวนมากกว่าทรพั ย์สินของลูกหนี้ 2. ได้ดำเนินการฟ้องลกู หนีใ้ นคดีแพง่ หรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหน้ีในคดีทีล่ ูกหนถี้ กู เจ้าหน้ีรายอืน่ ฟ้องในคดี แพง่ และในกรณีน้ัน ๆ ได้มีคำบงั คับหรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลกู นีไ้ ม่มีทรพั ย์สินใด ๆ จะชำระหน้ีได้ หรือ 3. ได้ดำเนินการฟ้องลกู นี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยืน่ คำขอรับชำระหนีใ้ นคดีลูกนี้ถูกเจา้ หน้ีรายอื่นฟ้องใน คดีล้มละลาย และในกรณีน้ัน ๆ ได้มกี ารประนอมหน้กี ับลูกหนีโ้ ดยมีคำสงั่ เหน็ ชอบด้วยกบั การประนอมหนี้ หรอื ลูกหน้ีถูกศาลพิพากษาให้เป็นบคุ คลล้มละลายและได้มกี ารแบ่งทรัพย์สินของลูกหนีค้ ร้ังแรกแล้ว นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

17 106. การจำหน่ายหนีส้ ูญจากบญั ชลี ูกหนีธ้ นาคารหรอื บริษทั เงินทนุ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจหลกั ทรพั ย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหน้ีของลูกหน้ีแตล่ ะรายมีจำนวนไมเ่ กิน 200,000 บาท หรอื การจำหน่ายหนีส้ ูญจากบัญชลี กู หน้ีของบริษัทหรอื หา้ งหุ้นสว่ นนิตบิ คุ ลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรอื บริษัท เงินทนุ ดังกลา่ ว ในกรณีหน้ีของลูกหนีแ้ ต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าปรากฏวา่ ได้มีหลักฐานการ ติดตามทวงถามให้ชำระหน้ีตามสมควรแกก่ รณีแล้วแต่ไม่ได้รบั ชำระหน้ี และหากจะฟ้องลกู หน้ีจะต้องเสีย ค่าใชจ้ ่ายไมค่ ุ้มกบั หนี้ที่จะได้รบั ชำระก็ใหด้ ำเนินการจำหน่ายหนีโ้ ดยไมต่ ้องฟ้องกไ็ ด้ 107. บริษัทจำกดั ที่ตงั้ ข้ึนตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปนั ผลที่ได้จากบริษัทจำกัดทีต่ ง้ั ขึน้ ตามกฎหมายไทย กองทุนรวมหรือสถาบันการเงินทีม่ กี ฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จดั ตั้งข้ึนสำหรับให้กู้ยืมเงนิ เพื่อการ ส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงนิ ส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวม คำนวณเป็นรายได้เพียงกึง่ หน่งึ ของจำนวนที่ได้รบั 108. บริษทั จำกัดทีต่ ้ังข้ึนตามกฎหมายไทยดังตอ่ ไปนี้ไม่ต้องนำเงนิ ปนั ผลทีไ่ ด้จากบริษทั จำกัด ที่ตง้ั ข้ึนตาม กฎหมายไทย กองทนุ รวม หรอื สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดต้ังขนึ้ สำหรบั ใหก้ ู้ยืม เงินเพือ่ ส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรอื อุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรทีไ่ ด้จากกิจการรว่ มค้ามา รวมคำนวณเปน็ รายได้ (ก) บริษทั จดทะเบียนในตลาดหลกั ทรพั ย์ (ข) บริษทั จำกัด นอกจาก (ก) ซึง่ ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงนิ ปนั ผลไมน่ อ้ ยกว่ารอ้ ยละ 25 ของหุ้น ทั้งหมดที่มสี ิทธิออกเสียงในบริษัทจำกดั ผู้จ่ายเงนิ ปนั ผลและบริษทั จำกดั ผู้จ่ายเงนิ ปันผล ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัท จำกดั ผรู้ บั เงนิ ปนั ผลไม่ว่าโดยตรงหรอื โดยทางออ้ ม ท้ังนีไ้ ม่รวมถึงกรณีทีบ่ ริษัทจำกดั หรอื บริษัทจดทะเบียนทีม่ เี งินได้ที่เปน็ เงินปนั ผลและเงินสว่ นแบ่งกำไรนั้น ถือหนุ้ ไว้ไมถ่ ึงสามเดือนนบั แตว่ นั ที่ได้หนุ้ หรือหนว่ ยลงทุนน้ันมาถึงวันมเี งินได้ดังกล่าว หรอื ได้โอนหนุ้ หรอื หนว่ ย ลงทนุ นั้นไปกอ่ นถึงสามเดือนนบั แตว่ นั ที่มเี งินได้ 109. มลู นิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึง่ มีรายได้ ไม่ตอ้ งนำเงินค่าลงทะเบียน หรอื ค่าบำรงุ ทีไ่ ด้รับจาก สมาชิกหรอื เงิน หรอื ทรัพย์สินทีไ่ ด้รบั จากการรับบริจาค หรอื จากการให้โดยเสน่หาแล้วแต่กรณีมารวมคำนวณ เปน็ รายได้ 110. ภาษีมูลค่าเพิม่ ภาษีขายซึ่งบริษัทหรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนิติบุคคลทีเ่ ป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้รับหรอื พึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิม่ ซึ่งได้รับคืนจากการขอคืน ไมต่ ้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ 111. เงินสำรองทีไ่ ม่ตอ้ งห้ามหกั เปน็ รายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี คอื นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

18 1. เงนิ สำรองจากเบีย้ ประกนั ภยั เพื่อสมทบทุนประกนั ชีวติ ที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ร้อยละ 65 ของจำนวนเบีย้ ประกนั ภยั ทีไ่ ด้รับในรอบระยะเวลาบญั ชีหลงั จากหกั เบีย้ ประกนั ซึง่ เอาประกนั ต่อ ออกแล้ว 2. เงนิ สำรองจากเบีย้ ประกนั เพื่อสมทบทนุ ประกันภัยอน่ื ที่กนั ไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะสว่ นที่ไม่เกินร้อย ละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกนั ภัยที่ได้รบั ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบยี้ ประกนั ภยั ซึ่งเอาประกนั ตอ่ ออก 112. รายจ่ายที่ตอ้ งห้ามนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิ คือ รายจ่ายอันมลี กั ษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดย เสนห่ าหรอื การกศุ ล เว้นแต่รายจา่ ยเพื่อการกศุ ลสาธารณะ หรอื เพื่อการสาธารณประโยชน์ตามทีอ่ ธิบดี กำหนดตามประกาศกรมสรรพากร เกี่ยวกบั ภาษีเงนิ ได้(ฉบบั ที่ 44) 113. คา่ รบั รองหรอื ค่าบริการทีจ่ ะหักเปน็ รายจ่ายได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 143 ก. ตอ้ งเป็นค่ารับรองหรอื คา่ บริการอันจำเปน็ ตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทวั่ ไป และบุคคลซึง่ ได้รับ รองหรอื รับบริการ ต้องมใิ ช่ลูกจา้ งของบริษัทหรอื ห้างหุ้นส่วนนิตบิ ุคคลเว้นแต่ลกู จา้ งดังกล่าวจะมีหนา้ ทีเ่ ข้า ร่วมในการรับรองหรอื การบริการนนั้ ด้วย ข. คา่ รบั รองหรอื คา่ บริการตอ้ ง 1. เป็นคา่ ใช้จ่ายอนั เกีย่ วเนือ่ งโดยตรงกบั การรบั รองหรอื การบริการทีจ่ ะอำนวยประโยชน์แกก่ ิจการ เช่น คา่ ที่พกั ค่าอาหาร ค่าเครื่องด่มื ค่าดมู หรสพ ค่าใช้จ่ายเกีย่ วกับการกีฬา เป็นต้น หรอื 2. เป็นค่าสิ่งของทีใ่ ห้แกบ่ คุ คลซึ่งได้รบั การรับรองหรอื รบั บริการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแตล่ ะ คราวที่มกี ารรบั รองหรือการบริการ ค. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหกั เปน็ รายจา่ ยได้เทา่ กบั จำนวนเทา่ ที่จ่าย แต่รวมกนั ต้องไม่ เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้หรือยอดขายกอ่ นหักรายจา่ ยใดในรอบระยะเวลาบัญชหี รอื ของจำนวนเงินทุนที่ ได้รบั ชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อยา่ งใดจะมากกวา่ ท้ังน้ีจะต้องมีจำนวนสูงสดุ ไม่ เกิน 10 ล้านบาท 114. รายจ่ายอนั มีลกั ษณะเปน็ การลงทนุ หรือรายจ่ายในการตอ่ เติมเปลี่ยนแปลงขยายออก หรอื ทำให้ดีข้ึนซึ่ง ทรพั ยส์ ิน ไมร่ วมถึงการซอ่ มแซมให้คงสภาพเดิม นำมาเปน็ ค่าใชจ้ ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไมไ่ ด้ 115. ค่าเช่าทรพั ย์สินประเภทรถยนตน์ ่ังและรถยนตโ์ ดยสารที่มีที่นง่ั ไมเ่ กินสิบคนนำมาหกั เปน็ รายจา่ ยได้เฉพาะ คา่ เช่าสว่ นที่ไม่เกินคันละสามหมื่นหกพันบาทต่อเดือนในกรณีที่เชา่ เป็นรายเดือนหรอื รายปี หรอื คา่ เชา่ ส่วนทีไ่ ม่ เกินคันละหน่ึงพนั สองร้อยบาทต่อวนั ในกรณีที่เช่าเปน็ รายวัน เศษของเดือนให้คิดเป็นวัน หากเช่าไม่ถึงหนง่ึ วัน ให้คำนวณค่าเช่าตามส่วนของระยะเวลาที่เช่าทั้งนี้ โดยรวมภาษีมลู ค่าเพิ่มดว้ ย นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

19 116. อตั ราภาษีจากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีทีไ่ ด้จากการประกอบกิจการวเิ ทศธนกิจ ตามประกาศ กระทรวงการคลังเรอ่ื ง การประกอบกิจการวเิ ทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กนั ยายน 2535 คือ ร้อยละ 10 117. กรณีทีบ่ ริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิตบิ คุ คลมีรอบระยะเวลาบญั ชีแรกหรอื รอบระยะเวลาบญั ชสี ดุ ท้ายน้อยกว่า 12 เดือน ไม่ต้องยนื่ แบบแสดงรายการและเสียภาษีเงนิ ได้นติ ิบุคคลครึง่ รอบระยะเวลาบญั ชี 118. การเสียภาษีเงนิ ได้นิติบคุ คลครึง่ รอบ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี(ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือน นับจากวนั สุดท้ายของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบญั ชี 119. การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสทุ ธิเมือ่ สนิ้ รอบ ระยะเวลาบัญชจี ะต้องยืน่ แบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นบั แต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 120. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงนิ ได้นติ ิบคุ คลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหกั รายจา่ ย ได้แก่ กิจการขนส่งระหว่าง ประเทศของบริษัทหรอื ห้างหนุ้ ส่วนนิตบิ ุคคลต่างประเทศและมูลนิธิหรอื สมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมรี ายได้ 121. ฐานภาษีกรณีบริษทั หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ประกอบกิจการขนส่งผ่านประเทศตา่ ง ๆ รวมทั้งไทย คือ 1. กรณีรับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากคา่ โดยสาร คา่ ธรรมเนียมและประโยชนอ์ นื่ ใดที่เรยี กเก็บใน ประเทศไทยกอ่ นหักรายจ่ายใด ๆ เนือ่ งในการรับขนคนโดยสารนน้ั ใหค้ ำนวณภาษีอัตราภาษีรอ้ ยละ 3 2. กรณีรบั ขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง คา่ ธรรมเนียม และประโยชนอ์ นื่ ใดทีเ่ รยี กเก็บไม่ว่าในหรอื นอกประเทศกอ่ นหกั รายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรบั ขนของออกจากประเทศไทยนั้นให้คำนวณภาษีอัตราร้อยละ 3 122. มลู นิธิและสมาคมต้องเสียภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลในอัตรา ดังน้ี 1. เงินได้ประเภทที่ 8 เงนิ ได้จากการธรุ กิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรอื การ อื่น ๆ เสียร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหกั รายจ่าย 2. เงนิ ได้อืน่ ๆ นอกจาก 1. เสียร้อยละ 10 ของรายได้กอ่ นหกั รายจา่ ย 123. กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรอื นิตบิ คุ คลตา่ งประเทศจะต้องยน่ื แบบแสดงรายการและชำระ ภาษีเงนิ ได้ภายใน 150 วัน นับแต่วนั สดุ ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยแบบ ภ.ง.ด.52 (ยื่นรอบระยะเวลา บัญชลี ะ 1 ครง้ั ไม่ต้องยืน่ รอบครึ่งปีแตอ่ ยา่ งใด) 124. มูลนิธิและสมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้ตอ้ งยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายใน 150 วัน นบั แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นคือ ภ.ง.ด. 55 (ยื่นรอบระยะเวลาบญั ชลี ะ 1 คร้ัง) 125. ผู้จ่ายเงนิ ได้ใหแ้ กบ่ ริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ คุ คลทีต่ ง้ั ข้ึนตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบ กิจการในประเทศไทย แตไ่ ด้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2),(3),(4),(5) หรอื (6) ทีจ่ ่ายจากหรอื ใน นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

20 ประเทศไทย มีหน้าที่หัก ณ ทีจ่ า่ ยในอตั ราร้อยละ 15 ของเงนิ ที่จ่าย(ยกเว้นเงินปนั ผลหักร้อยละ 10 แล้วนำส่ง สรรพากรพืน้ ที่สาขาด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ภายใน 7 วนั นบั แต่วนั สิน้ เดือนทีจ่ า่ ย 126. การจ่ายเงนิ ทีต่ ้องหัก ณ ที่จา่ ยนำสง่ ในกรณีนี้ อาจเปน็ การจ่ายไปให้บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ นิติบคุ คลใน ต่างประเทศ หรือจา่ ยให้แกบ่ คุ คลในประเทศไทยตามคำสง่ั ของผู้รบั กไ็ ด้ 127. กรณีทีเ่ ป็นการจ่ายเงนิ ได้ดงั กลา่ วใหก้ บั บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนิตบิ ุคคลในต่างประเทศซึ่งเปน็ สาขาของ บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนิติบคุ คลที่ตง้ั ข้ึนตามกฎหมายไทย ผจู้ ่ายเงินได้ไมม่ หี น้าทีต่ ้องหักภาษีเพราะ ผู้รบั เงนิ ได้ ไมใ่ ช่ผมู้ ีหน้าที่เสียภาษีฐานนีแ้ ตอ่ ย่างใด(รายได้ของสาขาต้องนำมารวมคำนวณกำไรสทุ ธิกบั บริษทั แมใ่ นไทย) 128. การจำหน่ายกำไรออกไปต่างประเทศต้องยืน่ แบบแสดงรายการและชำระภาษี ในอัตราร้อยละ 10 ของเงนิ ที่จำหน่ายออกไป ภายใน 7 วัน นบั แตว่ ันจำหน่ายเงนิ กำไร แบบแสดงรายการทีใ่ ช้ยืน่ ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยืน่ ทุก ครั้งทีม่ กี ารจำหน่ายเงนิ กำไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเกบ็ กำไรไว้ในประเทศไทยไม่ตอ้ งเสียภาษีฐานน)ี้ 129. บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ ส่วนนิตบิ คุ คลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบญั ชี ไมเ่ กินห้าล้าน บาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบญั ชไี ม่เกินสามสิบล้านบาท ให้เสีย ภาษี ดงั นี้ 1. กำไรสทุ ธิในสว่ นที่ไมเ่ กิน 300,000 บาทได้รบั ยกเว้นภาษีจากกำไรสทุ ธิทั้งจำนวน 2. ส่วนที่เกิน 300,000 บาทแตไ่ มเ่ กิน 3,000,000 บาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 3. สว่ นที่เกิน 3,000,000 บาทขึน้ ไป เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 130. ผมู้ ีหน้าทีเ่ สียภาษีมูลค่าเพิม่ คอื ผปู้ ระกอบการทีข่ ายสินค้าหรอื ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเปน็ ปกติธุระ มรี ายรบั จากการขายสินค้าหรอื ให้บริการเกินกวา่ 1.8 ล้านบาทต่อปี 131. ผู้ประกอบการตอ่ ไปนีไ้ ด้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียน ภาษีมลู ค่าเพิม่ ได้ 1. ผปู้ ระกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สตั ว์ ไมว่ า่ มีชีวติ หรือไมม่ ชี ีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา หรอื เคมีภณั ฑ์ที่ใช้สำหรบั พืชหรอื สัตว์ หนังสอื พิมพ์ นติ ยสาร หรอื ตำราเรียน ฯลฯ 2. ผปู้ ระกอบกิจการขายสินค้าหรอื ให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่ เกิน 1.8 ลา้ นบาทตอ่ ปี 3. การให้บริการขนสง่ ในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน 4. การส่งออกของผปู้ ระกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายวา่ ด้วยการนคิ มอตุ สาหกรรม แหง่ ประเทศไทย 5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชอื้ เพลิงทางทอ่ ในราชอาณาจกั ร นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

21 132. กำหนดเวลาจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิม่ 1. เมอ่ื เริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรอื ให้บริการเว้นแต่กรณีทีผ่ ู้ประกอบการมีแผนงานทีส่ ามารถ พิสูจนไ์ ด้วา่ ได้เตรยี มการเพื่อประกอบกิจการมีสทิ ธิยืน่ คำขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิม่ ได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริม่ ประกอบกิจการขายสินค้าหรอื ให้บริการ 2. ผู้ประกอบการที่มีรายรบั เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยืน่ คำขอจดทะเบียนภาษีมลู คา่ เพิ่มภายใน 30 วนั นบั แต่วนั ทีม่ มี ลู ค่าของฐานภาษี (รายรบั ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี 133. กรณีทีผ่ ปู้ ระกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ย่นื คำขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่ สถานประกอบการที่เปน็ สำนักงานใหญ่ต้ังอยูเ่ พียงแห่งเดียว 134. กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิม่ สญู หาย ถกู ทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผปู้ ระกอบการจดทะเบียน จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิม่ ณ สถานทีท่ ี่ได้จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิม่ ไว้ ภายใน 15 วัน นับแตว่ นั ทีท่ ราบถึงการสญู หาย ถกู ทำลายหรือชำรดุ 135. การเปลีย่ นแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิม่ ในส่วนที่เป็นสาระสำคญั ซึ่งได้แก่ การย้ายสถาน ประกอบการ การเลิกกิจการ การโอนหรอื ควบกิจการ การเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบการ การ เปลีย่ นแปลงประเภทสินค้าหรอื บริการ การเพิม่ หรอื ลดสาขา การเปลีย่ นแปลงการคำนวณภาษี รวมถึงการ เปลี่ยนแปลงรายการอืน่ ๆ หรอื การหยดุ กิจการช่ัวคราว (มีกำหนดระยะเวลาภายใน 1 ปี)ผปู้ ระกอบการจด ทะเบียนมหี นา้ ที่ตอ้ งแจ้งการเปลีย่ นแปลงน้ัน ภายใน 15 วนั นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง 136. ประเภทของใบกำกบั ภาษี 1. ใบกำกับภาษี (1) ใบกำกับภาษีแบบเตม็ รูป (2) ใบกำกบั ภาษีอยา่ งยอ่ 2. เอกสารอ่นื ทีถ่ ือเป็นใบกำกบั ภาษี (1) ใบเพิ่มหน้ี (2) ใบลดหนี้ (3) ใบเสร็จรบั เงนิ ทีส่ ่วนราชการออกใหใ้ นการขายทอดตลาด (4) ใบเสรจ็ รับเงนิ ของกรมสรรพากร กรมศุลกากรหรอื กรมสรรพสามิต เฉพาะสว่ นที่เป็น ภาษีมูลค่าเพิ่ม นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

22 137. ใบกำกับภาษีแบบเตม็ รูปจะตอ้ งมีรายการอยา่ งน้อยดังตอ่ ไปนี้ (มาตรา 86/4) 1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” 2. เลขประจำตวั ผเู้ สียภาษีอากรของผขู้ ายสินค้าหรอื ให้บริการ 3. ชื่อ ทีอ่ ยู่ ของผขู้ ายสินค้าหรอื ให้บริการ 4. ชือ่ ทีอ่ ยู่ ของผซู้ ือ้ สินค้าหรอื รับบริการ 5. เลขประจำตัวผเู้ สียภาษีอากรของผซู้ ือ้ สินค้าหรอื รับบริการ(เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน) 6. ระบ“ุ สำนกั งานใหญ่” หรอื “เลขทีส่ าขา” ของผู้ซือ้ สินค้าหรอื รับบริการ(เฉพาะตามข้อ 5) 7. หมายเลขลำดับของใบกำกบั ภาษีและหมายเลขลำดบั ของเลม่ (ถ้ามี) 8. วนั เดือน ปี ที่ออกใบกำกบั ภาษี 9. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสนิ ค้าหรอื ของบริการ 10. จำนวนภาษีมูลค่าเพิม่ ที่คำนวณจากมูลคา่ ของสนิ ค้าหรอื ของบริการ โดยให้แยกออกจากมลู ค่าของ สินค้าหรอื ของบริการให้ชัดแจ้ง 138. สำเนาใบกำกบั ภาษี/ใบส่งของทีผ่ ู้ซือ้ ได้รบั ผู้ซือ้ จะนำไปใช้เปน็ หลกั ฐานในการขอหกั ภาษีซือ้ ไม่ได้ 139. ใบกำกบั ภาษีทีม่ ลี กั ษณะเปน็ แบบเอกสารออกเป็นชุด ให้ปฏิบัติดังตอ่ ไปนี้ 1. ในเอกสารฉบบั แรกของเอกสารชุดดังกลา่ ว หรอื ในเอกสารฉบบั อื่นทีม่ ใิ ช่ฉบบั แรก แต่เปน็ ต้นฉบบั ของ เอกสารฉบบั อื่นใดก็ตาม ซึ่งมิใชฉ่ บับทีเ่ ป็นใบกำกบั ภาษี จะต้องมขี ้อความว่า “ไมใ่ ช่ใบกำกับภาษี” ไว้ใน เอกสารฉบบั นั้นดว้ ย 2. ในเอกสารทกุ ฉบับของเอกสารชดุ ดังกลา่ ว จะต้องมีขอ้ ความว่า “เอกสารออกเป็นชดุ ” ไว้ดว้ ย 3. ในเอกสารฉบบั ทีถ่ ือว่าเปน็ สำเนาของเอกสารฉบับอืน่ จะต้องมขี ้อความว่า “สำเนา” ไว้ทกุ ฉบบั ข้อความตามข้อ 1. ถึงข้อ 3. ดังกล่าวข้างต้น จะต้องตีพิมพข์ นึ้ หรอื จัดทำข้ึนดว้ ยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณี จัดทำใบกำกับภาษีข้ึนดว้ ยระบบคอมพิวเตอรท์ ้ังฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพด์ ีด หรอื กระทำให้ปรากฏขึน้ ด้วยวิธีการอน่ื ในลักษณะทำนองเดียวกันไมไ่ ด้ 140. ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตวั ผเู้ สียภาษีอากรของผู้ซือ้ สินค้าหรอื ผรู้ บั บริการซึง่ เป็น ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนไว้ในใบกำกบั ภาษีนนั้ โดยจะตีพมิ พ์ จัดทำขึน้ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วย ตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพด์ ีด หรอื ทำใหป้ รากฏขึ้นด้วยวิธีการอน่ื ใดในลกั ษณะทำนองเดียวกนั ก็ได้ ท้ังน้ี สำหรับการจัดทำใบกำกบั ภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรษั ฎากร ที่ได้จดั ทำต้ังแต่ 1 มกราคม 2558 เปน็ ต้นไป นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

23 141. การยกเลิกใบกำกบั ภาษีฉบับเดิมแลว้ ออกฉบับใหม่ กรณีผปู้ ระกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีที่มรี ายการในสว่ นที่เปน็ สาระสำคญั ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน เม่อื ได้รบั การร้องขอให้ยกเลิกใบกำกบั ภาษีฉบบั เดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบบั ใหม่ทีถ่ กู ต้องให้ ดำเนนิ การดังน้ี 1. เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราวา่ “ยกเลิก” หรอื ขีดฆ่าแล้วเก็บรวบรวมไว้กับ สำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดมิ 2. จดั ทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเปน็ เลขทีใ่ หม่ แต่จะต้องลงวนั เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตาม ใบกำกับภาษีฉบับเดิม และ 3. หมายเหตไุ ว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่วา่ “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกบั ภาษีฉบับใหม่แทนฉบบั เดิม เลขที่… เลม่ ที่….” และหมายเหตกุ ารยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จดั ทำใบกำกับ ภาษีฉบบั ใหมด่ ้วย 4. ผปู้ ระกอบการทีข่ อให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม และออกฉบับใหม่ ตอ้ งถา่ ยเอกสารใบกำกับภาษี ฉบบั เดิม (ฉบบั ทีข่ อยกเลิก) ตดิ เรื่องไว้และส่งมอบใบกำกับภาษีฉบบั ทีข่ อยกเลิกคนื ให้ผู้ออกใบกำกบั ภาษีนำไป รวมกบั สำเนาไว้เป็นหลกั ฐาน 5. ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีฉบบั ใหม่ หมายเหตุการยกเลิกใบกำกบั ภาษีไว้ใน รายงานภาษีขายประจำเดือนทีอ่ อกใบกำกบั ภาษีฉบบั ใหม่แทนด้วย 142. หากได้รบั การร้องขอจากผู้ซือ้ สินค้าหรอื ผรู้ ับบริการซึ่งทำใบกำกบั ภาษี ใบเพิ่มหน้ี หรอื ใบลดหนสี้ ูญหาย ถูกทำลายหรอื ชำรดุ ในสาระสำคัญให้ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนน้ันออกใบแทนใบกำกบั ภาษี ใบแทนใบเพิม่ หนี้ หรอื ใบแทนใบลดหนใี้ ห้กบั ผู้ซือ้ สินค้าหรอื ผรู้ บั บริการนั้น โดยดำเนินการดังน้ี 1. ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหน้ี หรอื สำเนาใบลดหนี้ และใหบ้ ันทึกรายการดังน้ลี งใน ภาพถ่ายหรอื ด้านหลังของภาพถา่ ยดงั กล่าว (1) ใบแทนออกให้คร้ังที่ (2) วนั เดือน ปี ทีอ่ อกใบแทน (3) คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน (4) ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน 2. ใหผ้ ปู้ ระกอบการจดทะเบียนซึง่ ออกใบแทนตาม 1. บนั ทึกรายการตาม (1) - (4) ไว้ด้านหลังสำเนา ใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหน้ี หรือสำเนาใบลดหนดี้ ้วย 3. ให้ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนทีอ่ อกใบกำกบั ภาษีฉบับใหม่ หมายเหตุการยกเลิกใบกำกบั ภาษีไว้ใน รายงานภาษีขายประจำเดือนทีอ่ อกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทน โดยระบชุ ื่อผซู้ ือ้ เลขที/่ เลม่ ที่ วนั ทีข่ องใบกำกบั ภาษี ใบเพิม่ หน้ีหรอื ใบลดหนีท้ ี่ได้มกี ารออกใบแทน นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

24 143. ประโยชน์ของใบกำกบั ภาษีอเิ ลก็ ทรอนิกสแ์ ละใบรับอิเลก็ ทรอนิกส์ คอื 1. มคี วามมนั่ คงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ทำให้ธุรกรรมพาณชิ ย์อิเลก็ ทรอนิกส์ (e - Commerce)มีการขยายตวั เพิ่มมากขึ้น 2. ลดต้นทนุ ค่าใช้จ่ายเกีย่ วกบั การพิมพ์ใบกำกับภาษีและใบรบั (ใบเสรจ็ รบั เงนิ ) 3. ประหยัดสถานทีจ่ ัดเก็บเอกสาร 144. ให้ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนแจ้งการจัดทำและการจัดเกบ็ เอกสารหลกั ฐานตามประมวลรัษฎากรที่มี ข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมลู อิเลก็ ทรอนิกสต์ อ่ อธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ ภ.อ.11 โดยยืน่ ผ่านสรรพากร พืน้ ที่ในท้องที่ทีส่ ำนักงานหรือสถานประกอบการต้ังอยู่ เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรอื ผปู้ ระกอบการจด ทะเบียนเป็นผู้ประกอบธรุ กิจขนาดใหญ่ ให้ยน่ื ผ่านผอู้ ำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ถ้ามีสถาน ประกอบการหลายแห่งให้ยนื่ เป็นรายสถานประกอบการไม่ว่าจะได้รบั อนุมัตใิ ห้ยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน หรอื ไมก่ ็ตาม 145. ระบบ e-Tax Invoice by Email เกิดขึ้นจากโครงการระบบภาษีและเอกสารธรุ กรรมอิเลก็ ทรอนิกส์ ภายใต้ แผนยทุ ธศาสตร์ National e-Payment ซึง่ เป็นนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้ระบบการชำระเงินและ ระบบภาษีของประเทศก้าวส่กู ารเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล 146. ผปู้ ระกอบการที่ประสงค์จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกบั ภาษีอเิ ลก็ ทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email จะต้องยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านเว็บไซตข์ องกรมสรรพากรตามแบบ ก.อ.01 147. คณุ สมบตั ิของผปู้ ระกอบการที่ประสงคจ์ ะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรกั ษาใบกำกับภาษีอเิ ล็กทรอนิกสผ์ า่ น ระบบ e-Tax Invoice by Email (1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลคา่ เพิม่ ตามมาตรา 77/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร (2) เปน็ บคุ คลธรรมดา หรอื บริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ ุคคล และมีรายได้ไมเ่ กิน 30 ลา้ นบาทตอ่ ปีภาษี หรอื ตอ่ รอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ทั้งน้ี ต้ังแตป่ ีภาษี 2558 เป็นต้นไป หรอื ต้ังแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่ เริ่มในหรอื หลังวนั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป (3) ตอ้ งไมเ่ ปน็ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รบั อนมุ ัติหรอื อยู่ระหว่างการพิจารณาอนมุ ัติ ให้จดั ทำ ส่ง มอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอเิ ล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร (4) ไม่มีพฤติการณห์ ลกี เลีย่ งการเสียภาษี ไมม่ ีประวัติการออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรอื ใบกำกับ ภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 148. ผู้ประกอบการที่ได้รบั อนุมตั ใิ ห้จดั ทำ ส่งมอบ และเกบ็ รกั ษาใบกำกับภาษีอเิ ล็กทรอนิกสผ์ ่านระบบ e-Tax Invoice by Email สามารถจะจดั ทำใบกำกบั ภาษีอเิ ล็กทรอนิกสแ์ ละส่งอเี มล์ร่างใบกำกับภาษีดังกล่าว พร้อม นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

25 สำเนา CC มายังระบบ [email protected] เพื่อระบบจะได้ทำการประทบั เวลาแล้วจงึ ส่งใบกำกับภาษี อิเลก็ ทรอนิกส์ทีป่ ระทับเวลาแล้วไปยงั อีเมลข์ องผู้ซือ้ และผขู้ าย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นเอกสารในการเสียภาษี ตอ่ ไป 149. กิจการที่จะต้องเสียภาษีธรุ กิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังตอ่ ไปนีใ้ นราชอาณาจกั ร 1. การธนาคาร 2. การประกอบธรุ กิจเงินทุน ธุรกิจหลกั ทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 3. การรับประกันชีวติ 4. การรับจำนำ 5. การประกอบกิจการโดยปกติเยีย่ งธนาคารพาณิชย์ เชน่ การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลีย่ นเงินตรา ซือ้ หรอื ขายต๋ัวเงนิ หรอื รบั ส่งเงนิ ไปตา่ งประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ 6. การขายอสังหาริมทรพั ย์เป็นทางคา้ หรอื หากำไร 7. การขายหลกั ทรพั ย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรพั ยแ์ หง่ ประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ 8. การประกอบกิจการอ่นื ตามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 150. กำหนดให้การประกอบธรุ กิจแฟก็ เตอริงเปน็ กิจการทีอ่ ยู่ในบังคบั ต้องเสียภาษีธรุ กิจเฉพาะ เนอ่ื งจากการ ประกอบธรุ กิจดงั กลา่ วมลี ักษณะคล้ายคลึงกบั การใหก้ ู้ยืมเงนิ ทีเ่ ปน็ การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร พาณชิ ย์ (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 358) พ.ศ.2542 ) 151. การประกอบกิจการต่อไปนีไ้ ด้รับยกเว้นไมต่ ้องเสียภาษีธรุ กิจเฉพาะ 1. กิจการของธนาคารแหง่ ประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแหง่ ประเทศไทย 3. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรอื แก่สหกรณอ์ อมทรพั ยอ์ ื่น 4. กิจการของกองทนุ สำรองเลีย้ งชพี ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลีย้ งชพี 5. กิจการของการเคหะแหง่ ชาติเฉพาะการขาย หรอื ให้เชา่ ซือ้ อสงั หาริมทรัพย์ 6. กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น 7. กิจการขายหลักทรพั ย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพยแ์ ห่งประเทศไทยใน ตลาดหลักทรพั ย์ ฯลฯ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

26 152. ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรบั ก่อนหกั รายจ่ายใด ๆ ทีผ่ ู้ ประกอบกิจการได้รบั หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ 1. กิจการธนาคาร,ธรุ กิจเงินทนุ ธรุ กิจหลักทรัพย์, ธรุ กิจเครดิตฟองซิเอร์และการประกอบกิจการเยีย่ ง ธนาคาร ได้แก่ ดอกเบีย้ ส่วนลด คา่ ธรรมเนียม ค่าบริการหรือกำไรก่อนหกั รายจ่าย ใด ๆ อตั ราภาษีรอ้ ยละ 3.0 2. กิจการรบั ประกันชีวติ ได้แก่ ดอกเบีย้ คา่ ธรรมเนียม ค่าบริการ อัตราภาษีรอ้ ยละ 2.5(ไมร่ วมเบีย้ ประกัน) 3. กิจการโรงรบั จำนำ ได้แก่ ดอกเบีย้ คา่ ธรรมเนียม เงนิ ทรพั ยส์ ิน ค่าตอบแทน หรอื ประโยชน์ใด ๆ อนั มี มลู คา่ ทีไ่ ด้รบั หรอื พึงได้รบั จากการขายของที่จำนำหลุดเปน็ สิทธิ อตั ราภาษีรอ้ ยละ 2.5 4. การค้าอสังหาริมทรพั ย์ ได้แก่ รายรบั ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ อัตราภาษีรอ้ ยละ 0.1 5. การขายหลกั ทรัพยใ์ นตลาดหลกั ทรพั ย์ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ อตั ราภาษีรอ้ ยละ 0.1 (ปจั จุบนั ยกเว้น) 6. การซือ้ และการขายคืนหลกั ทรัพย์ทีไ่ ด้รบั อนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพยแ์ ละตลาด หลักทรพั ย์ ได้แก่ กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการขายคืนหลกั ทรพั ย์ แต่ไมร่ วมถึง ดอกเบีย้ เงินปนั ผลหรอื ประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหลักทรพั ย์ อตั ราภาษีรอ้ ยละ 3.0 7. ธรุ กิจแฟก็ เตอริง ได้แก่ ดอกเบีย้ สว่ นลด ค่าธรรมเนียม หรอื ค่าบริการ อตั ราภาษีรอ้ ยละ 3.0 153. ผู้ประกอบกิจการทีม่ หี น้าทีเ่ สียภาษีธรุ กิจเฉพาะ มีหน้าที่จดั ทำรายงานแสดงรายรบั ก่อนหกั รายจ่ายที่ตอ้ ง เสียภาษีและรายรับที่ไมต่ ้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เกบ็ และรักษารายงานพร้อมทั้งเอกสารประกอบการลง รายงานไว้ ณ สถานประกอบการจดั ทำรายงานนั้นหรอื สถานที่อื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเปน็ เวลาไม่ น้อยกวา่ 5 ปี นบั แตว่ นั ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรอื วนั ทำรายงานแลว้ แต่กรณี 154. ผู้ประกอบกิจการทีอ่ ยู่ในบงั คบั ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึง่ ได้รับเงิน หรอื รับชำระราคาจากการขายสินค้า หรอื การให้บริการหรอื จากการกระทำกิจการรวมเงนิ หรอื ราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้ง เกิน 100 บาท ต้องออก ใบรบั ใหแ้ กผ่ จู้ ่ายเงนิ หรอื ผชู้ ำระราคาในทันทีทกุ คราวทีร่ ับเงนิ หรอื รับชำระราคาไม่วา่ จะมีการเรียกร้องให้ออก ใบรบั หรือไมก่ ็ตาม 155. การคำนวณภาษีในเดือนภาษีใดไมถ่ ึง 100 บาท เป็นอันไม่ต้องเสียภาษีธรุ กิจเฉพาะในเดือนน้ัน 156. อากรแสตมปเ์ ป็นภาษีตามประมวลรษั ฎากรประเภทหนึ่ง จัดเกบ็ จากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะ ตามทีก่ ำหนดไว้ในบัญชอี ัตราอากรแสตมป์ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

27 157. คำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชี อตั ราอากรแสตมป์ 158. ตราสารเชา่ ทีต่ อ้ งเสียอากร หมายถึง เอกสารการเช่าที่ดนิ โรงเรอื น ส่งิ ปลูกสร้างอย่างอ่นื หรอื แพ ซึ่ง ผใู้ ห้เช่าได้สง่ มอบการครอบครองทรัพยส์ ินอย่างใดอย่างหนึง่ ให้แก่ผเู้ ช่าเพื่อให้ได้ใช้หรอื ได้รบั ประโยชน์จาก ทรัพยส์ ินนน้ั ภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกนั และผู้เชา่ ได้ตกลงทีจ่ ะชำระคา่ เชา่ เปน็ การตอบแทน โดย คสู่ ญั ญาได้ลงลายมอื ชื่อท้ังสองฝ่าย 159. ตราสารจา้ งทำของที่ต้องเสียอากร หมายถึงเอกสารจ้างทำของซึง่ ผู้รับจ้างตกลงทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนสำเร็จให้แกผ่ ู้ว่าจ้าง และผวู้ ่าจา้ งตกลงจะให้สินจา้ งเปน็ การตอบแทน โดยคู่สญั ญาได้ลงลายมอื ชือ่ ทั้งสอง ฝา่ ย 160. สำหรับตราสารที่มีลักษณะเปน็ หนังสือโต้ตอบกนั เชน่ “ออกใบสั่งจา้ ง(Purchase order)” การลงนามของ คู่สัญญาอาจไมอ่ ยู่ในตราสารฉบบั เดียวกันกไ็ ด้ 161. ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ มดี งั น้ี 1. บคุ คลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เชน่ ผใู้ ห้เช่า ผโู้ อน ผู้ใหก้ ู้ ฯลฯ 2. ถ้าตราสารทำขึน้ นอกประเทศ ให้เปน็ หน้าทีข่ องผทู้ รงตราสารคนแรกในประเทศเปน็ ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นบั แตว่ นั ที่ได้รบั ตราสารน้ัน 162. ผู้มหี น้าที่เสียอากร ตามทีร่ ะบุไว้ในบญั ชอี ตั ราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้ค่กู รณีอกี ฝ่ายหนึง่ เป็นผู้เสีย อากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่ตราสารทีท่ ำข้ึนนอกประเทศ 163. วิธีการเสียอากรแสตมปส์ ำหรบั การทำตราสาร เรียกว่า “ปิดแสตมป์บริบรู ณ์” ซึง่ หมายความว่า 1. ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรอื ในทันทีที่ทำตรา สารเป็นราคาไมน่ ้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์น้ันแล้ว หรอื 2. ในกรณีแสตมป์ดุน คอื การได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมปด์ ุนเป็นราคาไมน่ ้อยกวา่ อากรทีต่ อ้ งเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรอื โดยยืน่ ตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าทีป่ ระทบั แสตมปด์ นุ และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อย กวา่ อากรทีต่ อ้ งเสียและขีดฆ่าแล้ว หรอื 3. ในกรณีชำระเปน็ ตวั เงิน คือการได้เสียอากรเป็นตวั เงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรทีต่ ้องเสีย 164. การขอเสียอากรเปน็ ตัวเงิน กเ็ พื่อความสะดวกในการเสียอากรที่มีค่าอากรแสตมปเ์ ป็นจำนวนมาก ไม่ สะดวกในการใชด้ วงแสตมปอ์ ากรปิดบนตราสารหรอื ในกรณีไมส่ ะดวกในการชำระคา่ อากรโดยใช้แสตมป์ดนุ การขอเสียอากรเปน็ ตวั เงนิ ให้ใชแ้ บบขอและอนุมตั ใิ ห้เสียอากรแสตมปเ์ ป็นตวั เงิน(แบบ อส.4, อส.4 ก,อส.4 ข) ยื่นต่อพนักงานเจา้ หนา้ ทีอ่ ากรแสตมป์ โดยแนบตราสารทีข่ อเสียอากรไปด้วย นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

28 165. ตราสารที่กำหนดให้ชำระอากรเป็นตวั เงินกรณี เช่าทีด่ นิ โรงเรอื น ส่งิ ปลกู สร้างอยา่ งอื่น หรือแพ ตาม ลักษณะแหง่ ตราสาร 1. แห่งบญั ชีอตั ราอากรแสตมป์ มีดังต่อไปนี้ (ก) มคี ่าเช่าต้ังแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป (ข) รฐั บาล องคก์ ารของรฐั บาล เทศบาล สขุ าภบิ าล หรือองคก์ ารบริหารราชการส่วนท้องถิน่ เปน็ ผู้เช่า(ไม่ ว่าจะเป็นเงินคา่ เช่าจำนวนเทา่ ใด)หรอื (ค) ตอ้ งจดทะเบียนต่อพนกั งานเจ้าหน้าทีผ่ ู้รับจดทะเบียนสิทธิและนติ ิกรรมตามประมวลกฎหมายทีด่ นิ 166. ตราสารทีก่ ำหนดให้ชำระอากรเปน็ ตัวเงินกรณีจ้างทำของ ตามลกั ษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอตั รา อากรแสตมป์ มีดงั ตอ่ ไปนี้ (ก) มสี ินจา้ งตง้ั แต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือ (ข) รัฐบาล องคก์ ารของรฐั บาล เทศบาล สขุ าภบิ าล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิน่ เปน็ ผู้ว่าจ้าง และมีสนิ จา้ งตงั้ แต่ 200,000 บาทขึ้นไป(ซึ่งจะต่างจากคา่ เช่าทีไ่ มไ่ ด้กำหนดจำนวนเงิน) 167. คู่ฉบับหรอื คู่ฉีกแห่งตราสาร ตามลักษณะแหง่ ตราสาร 23. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เฉพาะที่ตน้ ฉบบั แหง่ ตราสารนน้ั ต้องชำระอากรแสตมปเ์ ปน็ ตัวเงินแทนการปิดแสตมปอ์ ากร ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินดว้ ย 168. ตราสารที่ระบุยกเว้นในบัญชอี ัตราอากรแสตมป์ เชน่ ตราสารกู้ยืมเงนิ ให้ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับ การกู้ยืมซึ่งสมาชกิ กู้ยืมจากสหกรณ์ ตราสารใบรับ ใหย้ กเว้นสำหรบั จำนวนเงินที่ผรู้ ับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรอื ภาษีธรุ กิจเฉพาะ ฯลฯ (ยกเว้นตามประมวลรัษฎากร) 169. ยกเว้นอากรแสตมปต์ ามมาตรา 121 ถ้าฝา่ ยที่ตอ้ งเสียอากรเป็น รฐั บาล เจา้ พนกั งานผกู้ ระทำงานของ รัฐบาลโดยหน้าที่ บคุ คลผกู้ ระทำการในนามของรัฐบาล องคบ์ ริหารราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย วัดวา อาราม องค์การศาสนาใด ๆ ในราชอาณาจกั ร ซึ่งเปน็ นิตบิ ุคคล แตข่ อ้ ยกเว้นไมต่ ้องเสียอากรนี้ มใิ ห้ใช้แกอ่ งคก์ ารของรฐั บาลทีใ่ ช้ทนุ หรอื ทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบการ พาณชิ ยห์ รอื การพาณิชยซ์ ึ่งองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิน่ เปน็ ผู้จดั ทำ 170. ยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นอากรใหแ้ ก่ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผปู้ ระกอบการขนสง่ เฉพาะการรบั เงนิ ที่เปน็ คา่ รบั ขนส่งคน โดยสาร บรรษัทเงินทนุ อตุ สาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ 171. ตามประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบบั ที่ 155) ลงวนั ที่ 4 มิถุนายน 2515 ลดค่า อากรแสตมป์สำหรบั ตราสาร กรมธรรม์ประกนั ชีวติ โดยถ้าค่าอากรมีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลอื 20 บาท 172. การเสียอากรคู่ฉบับสำหรบั ต้นฉบบั ที่มีต้องเสียอากรตั้งแต่ 5 บาทขนึ้ ไป ให้เสีย 5 บาท ต่ำกวา่ 5 บาท ใหเ้ สีย 1 บาท นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

29 173. ถ้าตราสารทีม่ ิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้น เปน็ ตราสารที่กระทำขึน้ ในประเทศไทย เมื่อผู้ขอเสียอากรได้ยื่น ตราสารนน้ั ตอ่ พนกั งานเจ้าหน้าทีเ่ พือ่ เสียอากรภายใน 15 วนั นับแต่วันทีต่ ้องปิดแสตมป์บริบรู ณ์ กใ็ หอ้ นุมตั ใิ ห้ เสียเพียงอากรตามอัตราในบญั ชที ้ายหมวดอากรแสตมป์ 174. กรณีปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าทีเ่ ป็นอย่างอน่ื ก็ใหอ้ นมุ ตั ใิ ห้เสียอากรและให้เรียกเก็บเงินเพิม่ อากร ดงั ต่อไปนี้ 1. เป็นเวลาไมพ่ ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วนั ต้องปิดแสตมปบ์ ริบูรณใ์ ห้เรียกเก็บเงินเพิม่ อากรเปน็ 2 เทา่ จำนวน อากรหรอื เปน็ เงิน 4 บาท แลว้ แต่อยา่ งใดจะมากกว่า 2. เปน็ เวลาพ้นกำหนด 90 วนั นบั แตว่ นั ต้องปิดแสตมป์บริบรู ณ์แลว้ ใหเ้ รียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่า จำนวน อากรหรอื เปน็ เงิน 10 บาทแล้วแต่อยา่ งใดจะมากกว่า 175. ผใู้ ดมีหน้าทีเ่ สียอากร หรอื ขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรอื ปฏิเสธไม่เสียอากรหรือไม่ขีดฆา่ แสตมป์ ต้องระวาง โทษปรับไมเ่ กินหา้ ร้อยบาท 176. ตราสารใดไม่ปิดแสตมปบ์ ริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบบั คฉู่ บับ คู่ฉีก หรอื สำเนาตราสารนนั้ เปน็ พยานหลกั ฐานใน คดีแพ่งไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายยงั หา้ มเจ้าพนกั งานรฐั บาลลงนามรบั รู้ ยอมให้ทำหรอื บันทึกสิง่ ใด ๆ ในตรา สาร ดังกลา่ วด้วย จนกวา่ จะได้มกี ารเสียอากรใหค้ รบถ้วนเสียก่อน 177. ผใู้ ดเสียคา่ อากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไมน่ ้อยกว่า 2 บาท ทำคำร้องเป็นหนงั สือยนื่ ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เพื่อขอคนื เงิน ภายใน 6 เดือน นับแตว่ นั เสียอากรหรอื ค่าเพิม่ อากร หรือเสียอากรไว้โดยไม่มีหน้าที่ ต้องเสีย ให้ขอคืนได้ภายในอายคุ วาม 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 178. ผไู้ ด้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี หากไม่เหน็ ด้วยสามารถยืน่ คำอทุ ธรณ์เป็นหนังสือได้ตามแบบ ภ.ส.6 ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณภ์ ายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนงั สอื แจ้งการประเมินภาษีจากเจา้ พนักงาน ประเมิน 179. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตท้องที่กรงุ เทพมหานคร ประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรอื ผแู้ ทน ผแู้ ทนสำนกั งานอยั การสูงสดุ และผแู้ ทนกรมการปกครอง คณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณ์ในต่างจังหวัด ประกอบด้วยผู้วา่ ราชการจังหวดั หรอื ผแู้ ทน สรรพากร ภาคหรือผแู้ ทน และอัยการจงั หวัดหรอื ผู้แทน 180. คณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณ์จะพิจารณาและวินจิ ฉัยข้อโต้แย้งตามคำอทุ ธรณ์เม่อื แล้วเสรจ็ จะส่งผล เปน็ คำวนิ ิจฉยั อุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก่ผู้ย่ืนอุทธรณ์ ดงั นี้ 1. ใหป้ ลดภาษี เน่อื งจากพิจารณาเหน็ วา่ การประเมินไม่ถกู ต้อง ในกรณีน้ีผอู้ ุทธรณ์ไมต่ อ้ งเสียภาษีตาม การประเมนิ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

30 2. ให้ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินบางส่วนถกู ต้อง และบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรบั ปรุง จำนวนภาษีให้คงเหลอื เทา่ ที่ผอู้ ทุ ธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน 3. ใหย้ กอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเหน็ ว่าการประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผอู้ ุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการ ประเมิน 4. ให้เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณแ์ ลว้ ปรากฏว่าการ ประเมินถกู ต้อง แต่เจ้าพนกั งานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรบั ปรุงการ คำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ใหผ้ อู้ ทุ ธรณเ์ สียภาษีเพิม่ ข้ึนได้ 181. ผู้อทุ ธรณ์ทีไ่ มเ่ หน็ ด้วยกับคำวนิ ิจฉยั อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณม์ ีสิทธิอุทธรณ์ตอ่ ศาล โดยใหย้ ืน่ คำฟ้องตอ่ ศาลภาษีอากร ภายใน 30 วนั นับแต่วนั ได้รับแจง้ คำวินจิ ฉัยอทุ ธรณ์จากคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ กรณีมูลหน้ีภาษีอากรตั้งค้างอยู่ต่างจังหวัด ให้ย่ืนคำฟอ้ งตอ่ ศาลจงั หวดั น้ันก็ได้ 182. ผถู้ กู ประเมินภาษีตอ้ งชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย เนื่องจาก การอทุ ธรณ์ไมเ่ ป็นเหตใุ ห้ได้รับการทุเลาการเสียภาษีตามประเมินแตอ่ ย่างใด เว้นแตจ่ ะได้รับอนมุ ัติจากอธิบดี กรมสรรพากร 183. พระราชบัญญตั ิ ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ไม่ใช้บงั คบั แก่ 1. มรดกที่เจ้ามรดกตายกอ่ นวนั ที่พระราชบัญญตั ิน้ใี ช้บังคบั (บังคับใช้วนั ที่ 1 กุมภาพนั ธ์ 2559) 2. มรดกทีค่ ่สู มรสของเจ้ามรดกได้รบั จากเจ้ามรดก 184. ใหบ้ ุคคลผู้ได้รับมรดกดงั ตอ่ ไปนี้เป็นผู้มหี น้าที่เสียภาษีตามบทบญั ญัติแห่งพระราชบญั ญัติน้ี 1. บคุ คลผมู้ ีสัญชาติไทย 2. บคุ คลธรรมดาผมู้ ิได้มีสญั ชาติไทย แต่มถี ิน่ ทีอ่ ยใู่ นราชอาณาจักรตามกฎหมายวา่ ด้วยคนเข้าเมือง 3. บุคคลผู้มิได้มสี ัญชาติไทย แตไ่ ด้รบั มรดกอันเปน็ ทรพั ยส์ ินทีอ่ ยู่ในประเทศไทย 185. ผู้ได้รบั มรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไมว่ ่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรอื หลายคราวถ้ามรดกที่ได้รบั มา จากเจา้ มรดกแตล่ ะรายรวมกันมีมลู คา่ เกินหนึง่ ร้อยล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนทีเ่ กินหน่งึ รอ้ ยล้านบาท มลู คา่ มรดก หมายถึงมูลคา่ ของทรัพย์สินทั้งสนิ้ ที่ได้รับเปน็ มรดกหักด้วยภาระหน้สี นิ อนั ตกทอดมาจาก การรับมรดกนั้น 186. การคำนวณมูลค่าของทรพั ยส์ ิน 1. กรณีเปน็ อสังหาริมทรัพย์ ให้ถือเอาตามราคาประเมินทุนทรพั ยข์ องอสังหาริมทรัพย์เพือ่ เรียกเกบ็ คา่ ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิตกิ รรมตามประมวลกฎหมายที่ดนิ หกั ด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

31 2. กรณีเป็นหลักทรพั ย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลกั ทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของหลักทรพั ยน์ ั้น ในเวลาส้ินสุดเวลาทำการของตลาดหลกั ทรพั ยใ์ นวันทีไ่ ด้รบั มรดก 3. กรณีอน่ื ให้เปน็ ไปตามหลักเกณฑ์ทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง 187. ใหม้ ีการพิจารณาทบทวนมูลค่ามรดกทกุ ห้าปี 188. มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพยส์ ินดังต่อไปนี้ 1. อสงั หาริมทรัพย์ 2. หลกั ทรพั ย์ตามกฎหมายวา่ ด้วยหลักทรพั ยแ์ ละตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรอื เงินอ่ืนใดที่มลี กั ษณะอยา่ งเดียวกนั ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรยี กถอนคืนหรอื สิทธิเรยี กร้องจาก สถาบนั การเงนิ หรือบคุ คลที่ได้รับเงินนน้ั ไว้ 4. ยานพาหนะทีม่ ีหลกั ฐานทางทะเบียน 5. ทรพั ยส์ ินทางการเงินทีก่ ำหนดเพิ่มข้ึนโดยพระราชกฤษฎีกา ทรัพย์สินทีไ่ ม่ได้กำหนดไว้ตามข้างต้น เช่น เครื่องเพชร ทองคำ เงินสด พระเครื่อง ฯลฯ ไม่อยใู่ นบังคับ พ.ร.บ.ภาษีการรบั มรดก 189. ใหผ้ มู้ ีหน้าที่เสียภาษีคำนวณและเสียภาษีในอัตราร้อยละสิบของมลู ค่ามรดกในสว่ นทีต่ อ้ งเสีย แตถ่ ้าผู้ ได้รับมรดกเปน็ บุพการี หรือผสู้ ืบสนั ดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละห้า 190. พรบ.ภาษีมรดกไม่ใช้บังคบั แก่ 1. บคุ คลผู้ได้รบั มรดกทีเ่ จ้ามรดกแสดงเจตนาหรอื เหน็ ได้วา่ มีความประสงคใ์ หใ้ ช้มรดกนั้นเพอ่ื ประโยชน์ ในกิจการศาสนา กิจการศกึ ษา หรอื กิจการสาธารณประโยชน์ 2. หนว่ ยงานของรฐั และนิติบุคคลที่มวี ตั ถุประสงคเ์ พื่อกิจการศาสนา กิจการศกึ ษา หรือกิจการ สาธารณประโยชน์ 3. บคุ คลหรือองค์การระหวา่ งประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตอ่ องคก์ ารสหประชาชาติหรอื ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรอื ตามสัญญาหรอื ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบตั ิตอ่ กนั กบั นานาประเทศ 191. ใหผ้ มู้ ีหนา้ ที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายในหน่ึงรอ้ ยหา้ สิบวนั นบั แตว่ นั ที่ได้รับ มรดก 192. ผู้ได้รบั ทรัพยส์ ินจากการให้ตอ้ งเสียภาษีตามอัตราภาษีดังต่อไปนี้ 1. กรณีสงั หาริมทรพั ย์ อัตราร้อยละ 5 ของมลู ค่าทรัพย์สินที่ได้รับส่วนที่เกิน 20 ลา้ นบาท(กรณี เป็น บพุ การี ผู้สืบสันดานหรอื คู่สมรส) หรอื 10 ล้านบาท(กรณีเป็นบุคคลอืน่ ) 2. กรณีอสังหาริมทรพั ย์ อัตราร้อยละ 5 ของมลู ค่าของอสงั หาริมทรัพย์สว่ นทีเ่ กินกวา่ 20 ลา้ นบาท นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

32 193. การยื่นแบบแสดงรายการภาษี 1. กรณีสังหาริมทรัพย์ ผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงนิ ได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง สามารถเลือกเสียภาษีในอตั รา รอ้ ยละ 5 ของมลู คา่ ทรัพยส์ ินสว่ นที่เกิน 20 ล้านบาท หรอื 10 ล้านบาท หรอื จะนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อน่ื กไ็ ด้ 2. กรณีอสังหาริมทรพั ย์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมหี น้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงนิ ได้บคุ คลธรรมดา ซึ่ง สามารถเลือกเสียภาษีเงนิ ได้ในอตั ราร้อยละ 5 ของมูลคา่ ทรัพย์สินสว่ นที่เกินกวา่ 20 ลา้ นบาท หรอื จะนำไป รวมคำนวณกับเงินได้อ่ืนก็ได้เช่นเดียวกัน 194. คณุ สมบัติของนกั ทอ่ งเทีย่ วที่มสี ิทธิขอคนื ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. ไมเ่ ป็นผู้มสี ญั ชาติไทย 2. ไม่เป็นผู้มภี ูมิลำเนาในประเทศไทย 3. ไม่เปน็ นกั บินหรอื ลูกเรือของสายการบินทีเ่ ดินทางออกนอกราชอาณาจกั ร 4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยาน 195. สนิ ค้าที่นักท่องเทีย่ วมีสิทธิขอคืนภาษีมลู ค่าเพิ่ม 1. เปน็ สินค้าทีน่ กั ท่องเทีย่ วซือ้ จากผู้ประกอบการและถกู เรียกเกบ็ ภาษีมลู ค่าเพิ่มไว้แล้ว 2. เป็นสินค้าทีน่ กั ทอ่ งเทีย่ วสามารถนำไปพร้อมกับการเดินทางได้ 3. เปน็ สินค้าที่นำออกนอกราชอาณาจักรภายใน 60 วันนบั แต่วนั ที่ซือ้ สินค้า 4. ไมเ่ ป็นสินค้าต้องห้ามนำออกนอกราชอาณาจักร อาวธุ ปืน วัตถรุ ะเบิด หรือสินคา้ ทีม่ ลี กั ษณะทำนอง เดียวกนั อญั มณีที่ยังไม่ได้ประกอบขึน้ เปน็ ตวั เรือนหรือของรปู พรรณ 196. นกั ทอ่ งเทีย่ วทีจ่ ะมีสทิ ธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิม่ ต้องซือ้ สินค้าจากสถานประกอบการแห่งเดียวกนั คร้ังหน่ึง หรอื หลายครั้งในแตล่ ะวันมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 2,000 บาท และจะต้องซื้อสินค้ามีมูลค่ารวมกันแล้วไม่ น้อยกว่า 5,000 บาท 197. นกั ทอ่ งเที่ยวที่ประสงค์จะขอคืนภาษีมลู ค่าเพิ่ม เม่อื ซือ้ สินค้าตามเกณฑ์ทีก่ ำหนดแลว้ ใหแ้ สดงความจำนง ตอ่ ผู้ประกอบการพร้อมกบั แสดงหนังสอื เดินทางเพื่อให้ผปู้ ระกอบการจัดทำคำร้องขอคืนเงนิ ภาษีมลู คา่ เพิ่ม สำหรบั นักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ตามแบบที่อธิบดีกำหนดจำนวน 1 ชุด 2 ฉบับ 198. การขอคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ ให้แสดงความประสงค์ว่าจะขอคืนเปน็ เงนิ สดหรอื ดราฟตห์ รือโอนเข้าบัญชีบตั ร เครดิตสากลตามทีก่ รมสรรพากรกำหนดซึ่งระบุอยู่ในคำร้อง เว้นแตก่ รณีมีภาษีขอคืนเกิน 30,000 บาท ให้ขอ คืนเปน็ ดราฟต์ หรอื ขอคืนเข้าบญั ชบี ัตรเครดิตฯ เทา่ น้ัน นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

33 199. ในวนั ทีเ่ ดินทางออกนอกราชอาณาจักร นกั ท่องเทีย่ วต้องแสดงสนิ ค้า คำร้องและใบกำกบั ภาษีต่อเจา้ พนกั งานศุลกากร ณ ท่าอากาศยาน เพือ่ รบั การตรวจสินค้าตามคำร้องและประทับตราแสดงการตรวจพรอ้ ม ทั้งลงลายมือชือ่ เจ้าหน้าที่ วันเดือนปีที่ตรวจในคำร้อง 200. คำร้องที่ผา่ นการประทบั ตราแล้ว ใหน้ ักทอ่ งเที่ยวยืน่ ขอคืนเป็นเงนิ สดต่อเจ้าหนา้ ที่ ณ หนว่ ยตรวจสินค้า และจ่ายคืน กรณีประสงค์ขอคืนเป็นดราฟต์หรอื ขอคืนเข้าบัญชบี ตั รเครดิตให้นำไปใส่ลงในตู้รับคำรอ้ ง ณ ท่า อากาศยาน หรอื สง่ ทางไปรษณียห์ รอื ส่งให้เจ้าหน้าที่ ณ หน่วยตรวจสินค้าและจ่ายคืนกไ็ ด้ 201. สนิ ค้าประเภทอญั มณีทีป่ ระกอบขนึ้ เป็นตัวเรือน ทองรปู พรรณ นาฬิกา แว่นตา หรอื ปากกา ทีม่ มี ูลค่า ของสนิ ค้าแต่ละชิน้ ตั้งแต่ 10,000 บาท นักท่องเทีย่ วจะต้องนำไปแสดงตอ่ เจ้าหน้าทีห่ น่วยตรวจสินค้าและจ่าย คืน เพือ่ รับการตรวจสินค้าตามคำร้องและประทับตราแสดงการตรวจพรอ้ มท้ังลงลายมอื ชื่อเจา้ หนา้ ทีแ่ ละวนั เดือนปีที่ตรวจในคำรอ้ งอกี ครั้งหน่งึ ด้วย 202. คณุ สมบัติของผปู้ ระกอบการที่ประสงค์จะขออนมุ ัติเปน็ ผปู้ ระกอบการคืนภาษีมลู คา่ เพิม่ ใหน้ ักท่องเที่ยว 1. เป็นบริษทั หรอื ห้างหนุ้ สว่ นนิตบิ คุ คล ผู้ประกอบการทีอ่ ยู่ในเขตกรุงเทพมหานครต้องมจี ำนวนเงินทุน จดทะเบียนทีช่ ำระแล้ว มมี ูลคา่ ไมต่ ำ่ กว่า 2,000,000 บาท นอกเขตกรุงเทพมหานคร ไม่ตำ่ กว่า 500,000 บาท 2. มีความมนั่ คงต่อเนื่องในการประกอบกิจการและมีประวัติการเสียภาษีอากรที่ดี 203. ท่าอากาศยานระหว่างประเทศทีส่ ามารถยืน่ แบบขอคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ ได้ (จำนวน 10 แห่ง) 1. ท่าอากาศยานสวุ รรณภมู ิ 2. ท่าอากาศยานดอนเมือง 3. ทา่ อากาศยานภเู กต็ 4. ท่าอากาศยานเชยี งใหม่ 5. ทา่ อากาศยานหาดใหญ่ 6. ทา่ อากาศยานอู่ตะเภา 7. ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ 8. ทา่ อากาศยานนานาชาติสมยุ 9. ทา่ อากาศยานสรุ าษฏร์ธานี 10. ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง 204. ผู้ประกอบการส่งออกทีย่ ื่นคำขอให้จัดระดบั เป็นผู้ประกอบการสง่ ออกทีด่ (ี สด.1) 1. เปน็ บริษัทจำกดั หรอื บริษทั มหาชนจำกัด ที่เป็นผปู้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลคา่ เพิม่ นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

34 2. มีทนุ จดทะเบียนทีช่ ำระแล้วตง้ั แต่ 10 ลา้ นบาทขึ้นไป ยกเว้นผปู้ ระกอบการทีเ่ ปน็ ผู้สง่ ของออกระดับ บตั รทองของกรมศลุ กากร 3. มีการส่งสินค้าไปขายยงั ตา่ งประเทศในอัตราสว่ นต่อยอดขายรวม สำหรับระยะเวลา 12 เดือนก่อนยืน่ คำขอ ตั้งแตร่ ้อยละ 70 ขึน้ ไป หรอื ร้อยละ 50 ข้ึนไป กรณีเป็นผู้ส่งของออกระดบั บัตรทองของกรมศลุ กากร 4. มีความม่ันคงต่อเนื่องและน่าเชื่อถอื ในการประกอบการ และมีกรรมสิทธิ์ในอสงั หาริมทรพั ย์ เชน่ ที่ดิน อาคารโรงงาน เป็นต้น 5. มีทรพั ยส์ ินสทุ ธิมากกว่าหน้ีสนิ สุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชปี ีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ 6. มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพเปน็ จรงิ ของกิจการและไมม่ ีพฤติการณ์ หลีกเลี่ยงภาษี 7. เปน็ สมาชิกของสมาคม หรอื องค์กรภาคเอกชน(ในทางการค้า) เช่น สภาอตุ สาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปน็ ต้น 205. ผู้ประกอบการส่งออกทีย่ ื่นคำขอให้จดั ระดบั เป็นผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน(สท.1) 1. เป็นบริษทั หรอื ห้างหุ้นส่วนนิตบิ ุคคลหรือบุคคลธรรมดาทีจ่ ดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม 2. มีการส่งสนิ ค้าไปขายยงั ตา่ งประเทศในอตั ราส่วนตอ่ ยอดขายรวม สำหรับระยะเวลา 12 เดือนกอ่ นยืน่ คำขอ ต้ังแต่ร้อยละ 50 ข้ึนไป 3. มคี วามมัน่ คงต่อเนอ่ื งและนา่ เชือ่ ถือในการประกอบการ และมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ทีใ่ ชใ้ นการ ประกอบกิจการ เชน่ ที่ดิน อาคารโรงงาน เป็นต้น 4. มีทรัพยส์ ินสทุ ธิมากกวา่ หน้ีสนิ สุทธิ สำหรบั รอบระยะเวลาบัญชปี ีสดุ ท้ายก่อนยื่นคำขอ 5. มีประวัติการเสียภาษีที่ดี มีการเสียภาษีสอดคล้องกบั สภาพเป็นจรงิ ของกิจการและไมม่ ีพฤติการณ์ หลีกเลี่ยงภาษี 6. เปน็ สมาชิกของสมาคม หรอื องค์กรภาคเอกชน (ในทางการค้า) เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย สภาหอการค้าแหง่ ประเทศไทย หอการคา้ ไทย หอการค้าจังหวัด เป็นต้น 206. ผปู้ ระกอบการสง่ ออกทีจ่ ะได้รับการจดั ระดับเป็นผปู้ ระกอบการส่งออกที่ดหี รอื ผสู้ ่งออกขึ้นทะเบียน จะต้องปฏิบัติตามเง่อื นไขดังต่อไปนี้ 1. ขอคืนภาษีมลู ค่าเพิม่ โดยการนำเข้าบัญชเี งินฝากธนาคารตามวิธีปฏิบตั ิในการขอให้นำเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าบัญชีเงนิ ฝากธนาคาร 2. กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ต้องได้รบั อนุมัติใหย้ ืน่ แบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิม่ รวมกัน นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

35 3. ผสู้ อบบัญชรี ับอนญุ าตหรอื ผสู้ อบบญั ชีภาษีอากรทีร่ ับรองงบการเงนิ สำหรบั รอบระยะเวลาบัญชที ีย่ ื่น คำขอตอ้ งได้รับการแต่งตงั้ จากมติที่ประชุมผู้ถือหนุ้ และต้องเป็นไปตามหลกั เกณฑ์ เง่อื นไขตามมาตรา 3 สตั ต แห่งประมวลรัษฎากร 207. ผปู้ ระกอบการส่งออกทีด่ หี รอื ผสู้ ง่ ออกขึ้นทะเบียนจะได้รับคืนภาษีมูลคา่ เพิ่มโดยเร็ว ดังน้ี 1. ยืน่ แบบ ภ.พ.30 ผ่านเครอื ขา่ ยอินเทอร์เน็ต - ผปู้ ระกอบการส่งออกทีด่ จี ะได้รับคืนเงนิ ภายใน 15 วัน - ผสู้ ่งออกขึน้ ทะเบียนจะได้รับคืนเงิน ภายใน 30 วัน นับแตว่ นั ที่ยืน่ แบบฯ 2. ยื่นแบบ ภ.พ.30 ณ สำนกั งานสรรพากรพืน้ ทีส่ าขา - ผปู้ ระกอบการส่งออกทีด่ จี ะได้รบั คืนเงนิ ภายใน 45 วนั - ผสู้ ่งออกขึน้ ทะเบียนจะได้รบั คืนเงิน ภายใน 60 วนั นับแต่วนั ที่ยืน่ แบบฯ สิทธิดงั กลา่ วมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ได้รบั อนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการสง่ ออกที่ดหี รอื ผู้ สง่ ออกขึ้นทะเบียน 208. สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรอื Regional Operating Headquarters (ROH) คือบริษทั ที่ตงั้ ข้นึ ตาม กฎหมายไทยเพื่อประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหาร หรอื ด้านเทคนิค หรอื การให้บริการสนบั สนุนแก่ วิสาหกิจในเครือหรอื สาขาของสำนกั งานฯ ไม่ว่าจะต้ังอยใู่ นประเทศไทยหรือในตา่ งประเทศ 209. หลกั เกณฑแ์ ละเงอ่ื นไขการจดั ต้ังสำนักงานปฏิบัติการภมู ิภาค 1. จัดต้ังตามกฎหมายไทย มีทนุ จดทะเบียนชำระแล้วในวนั สุดท้ายของแต่ละรอบระยะเวลาบญั ชีตงั้ แต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 2. ใหบ้ ริการแก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศหรือสาขาในตา่ งประเทศ 3. มรี ายจา่ ยดังต่อไปนี้ 3.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทีจ่ ่ายใหแ้ ก่ผรู้ ับในประเทศไทยไมน่ อ้ ยกวา่ 15 ล้านบาทต่อปี 3.2 มีรายจ่ายเพือ่ การลงทนุ ทีจ่ ่ายใหแ้ กผ่ รู้ บั ในประเทศไทย โดยเปน็ การชำระเงินในปีนั้น ๆ ไมน่ ้อยกวา่ 30 ล้านบาทตอ่ ปี 4. วิสาหกิจในเครือในประเทศไทยและในต่างประเทศ หรอื สาขาต่างประเทศของสำนักงานปฏิบตั ิการ ภูมภิ าคต้องมีผู้บริหารและพนักงานดำเนินการจรงิ และมีการประกอบกิจการจรงิ 5. พนกั งานทีป่ ฏิบัติงานในส่วนของกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคทีต่ ้ังอยใู่ นประเทศไทยต้องเปน็ พนักงานที่มีทกั ษะและความรขู้ ้ันต่ำตามหลกั เกณฑ์ และเงอ่ื นไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดเปน็ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนพนกั งานท้ังหมดทีป่ ฏิบตั ิงานในส่วนของกิจการสำนกั งานปฏิบัติการ ภูมภิ าค ตง้ั แต่รอบระยะเวลาบัญชที ี่ 3 นบั แต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ใชส้ ิทธิประโยชนท์ างภาษี นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

36 6. ตอ้ งมกี ารจ่ายคา่ ตอบแทนใหก้ ับพนกั งานทีป่ ฏิบตั ิงานในสว่ นของกิจการสำนักงานปฏิบตั ิการภูมิภาค จำนวนอย่างนอ้ ย 5 คนและเป็นจำนวนไมน่ ้อยกว่า 2.5 ล้านบาทตอ่ คนตอ่ ปีต้ังแต่รอบระยะเวลาบญั ชีที่ 3 นบั แต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ใชส้ ิทธิประโยชน์ทางภาษี 7. แจง้ การเปน็ สำนักงานปฏิบตั ิการภูมิภาคตามหลกั เกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขทีอ่ ธิบดีกรมสรรพากร ประกาศกำหนด โดยให้แจ้งภายในเวลา 5 ปีนบั ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ 8. กรณีสำนกั งานปฏิบตั ิการภมู ิภาคมีคณุ สมบัติครบตามทีก่ ำหนดไว้ในข้อ (1) - (7) ทุกรอบระยะเวลา บญั ชี และในรอบระยะเวลาบญั ชที ี่ 10 มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทีเ่ กี่ยวข้องกบั กิจการสำนกั งานปฏิบัติการ ภมู ภิ าคทีจ่ า่ ยให้แกผ่ รู้ ับในประเทศไทยตามขอ้ (3.1)สะสมรวมกันแล้วเกินกว่า 150 ล้านบาท มีสทิ ธิยืน่ คำร้อง ขอขยายเวลาการได้รับสิทธิประโยชนท์ างภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากรออกไปอีกได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลา บัญชี 210. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนสำนักงานปฏิบตั ิการภมู ภิ าค (ROH) (พระราชกฤษฎีกา 508) ที่น่าสนใจ 1. กรณีท่วั ไป - ยกเว้นภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลสำหรับกำไรสทุ ธิที่เกิดจากการให้บริการ ROH ในต่างประเทศ - ลดอัตราภาษีเงนิ ได้นิตบิ คุ คลเหลอื ร้อยละ 10 จากการให้บริการ ROH 2. กรณีบริษัทมีรายได้จากการให้บริการ ROH และค่าสิทธิจาก R&D ของกิจการ ROH ที่ทำในประเทศไทย ทีจ่ า่ ยจากหรอื ในต่างประเทศ รวมกันมากกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท - ลดอัตราภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลเหลอื ร้อยละ 10 สำหรับคา่ สิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ของกิจการ ROH ที่กระทำขึ้นในประเทศไทย - ลดอัตราภาษีเงนิ ได้ในการหกั ภาษี ณ ที่จ่ายและคงจัดเก็บในอตั รารอ้ ยละ 15 ของเงนิ ได้ สำหรบั เงินได้ พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้รับจากการปฏิบตั ิงานในกิจการ ROH 211. ให้ยกเว้นภาษีเงนิ ได้สำหรบั กำไรสทุ ธิของบริษทั หรือห้างหนุ้ ส่วนนิติบคุ คลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยบริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิติบคุ คลต้องมีคณุ สมบตั ิและเป็นไปตามหลกั เกณฑ์และเงื่อนไขดงั ต่อไปนี้(พรฎ. 627) 1. จดทะเบียนจดั ตั้งข้ึนต้ังแตว่ นั ที่ 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 2. มีสถานประกอบกิจการต้ังอย่ใู นเขตพฒั นาพิเศษเฉพาะกิจเท่าน้ัน 3. มีทุนทีช่ ำระแล้วในวันสดุ ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไมเ่ กิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้า และการใหบ้ ริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

37 4. มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในเขตพฒั นาพเิ ศษเฉพาะกิจของกิจการที่ประกอบ อตุ สาหกรรมเป้าหมาย หรือรายได้เกี่ยวเน่ืองกับการประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรอื รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชขี องบริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วนนิติบคุ คลน้ัน (ยกเว้นภาษีเงนิ ได้สำหรับกำไรสทุ ธิเป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีนับแตว่ ันถดั จากวนั ที่ได้รับอนุมัติจาก อธิบดี) 212. เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจตามข้อ 211. หมายถึง ว่า ท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวดั ปัตตานี และจงั หวดั ยะลา 213. “กิจการทีป่ ระกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย” หมายความว่า กิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้ เทคโนโลยีหลักเปน็ ฐานในกระบวนการผลติ และการให้บริการตามหลักเกณฑ์ทีส่ ำนักงานพฒั นาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแหง่ ชาติกำหนด และได้รับการรับรองจากสำนกั งานพัฒนาวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีแห่งชาติ 1. อตุ สาหกรรมอาหารและการเกษตร 2. อตุ สาหกรรมเพือ่ ประหยัดพลงั งาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด 3. อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ 4. อตุ สาหกรรมการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ 5. อุตสาหกรรมการทอ่ งเที่ยว อตุ สาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6. อุตสาหกรรมวสั ดกุ ้าวหน้า 7. อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครือ่ งนงุ่ หม่ และเครือ่ งประดบั 8. อตุ สาหกรรมยานยนต์และชิน้ ส่วน 9. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ 10. อตุ สาหกรรมฐานการวิจยั พัฒนาและนวัตกรรม หรอื อุตสาหกรรมใหม่ 214. ใหย้ กเว้นภาษีเงนิ ได้เป็นจำนวนร้อยละหนง่ึ ร้อยของเงนิ ได้เทา่ ที่ได้จา่ ยเป็นค่าซื้อและค่าติดตงั้ ระบบ กล้องโทรทศั นว์ งจรปิด ณ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพเิ ศษเฉพาะกิจ ดงั ต่อไปนี้(พรฎ.625) 1. สำหรบั บคุ คลธรรมดา ซึ่งมเี งินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) ทีไ่ ด้จ่ายค่าซอื้ และค่า ติดตง้ั ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดังกล่าวต้ังแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 2. สำหรับบริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ ุคคล ที่ได้จ่ายค่าซือ้ และค่าติดต้ังระบบกล้องโทรทัศนว์ งจรปิด ดังกลา่ ว สำหรับรอบระยะเวลาบญั ชีที่เริม่ ในหรือหลงั วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แตไ่ ม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

38 215. พรฎ.624 ยกเว้นภาษีให้กิจการทีอ่ ยูใ่ นเขตพฒั นาพิเศษเฉพาะกิจดงั น้ี 1. ผู้มีเงินได้ที่ได้รบั เงนิ ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) และ(8) สำหรับเงินได้ที่เกิดขึน้ ต้ังแตป่ ีพ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563 ซึ่งมสี ถานประกอบกิจการต้ังอยใู่ นเขตพฒั นาพเิ ศษเฉพาะ จะเลือกเสียภาษีเงนิ ได้ในอตั ราร้อย ละ 0.1 ของเงนิ ได้พึงประเมินโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามมาตรา 48 (1) และ (2) ก็ได้ 2. ใหล้ ดอตั ราภาษีเงนิ ได้นติ ิบคุ คลและคงจดั เกบ็ ในอัตราร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ ให้แก่บริษัทหรอื หา้ ง หนุ้ ส่วนนิตบิ ุคคลซึง่ มีสถานประกอบกิจการตงั้ อย่ใู นเขตพฒั นาพเิ ศษเฉพาะกิจ ต้ังแตร่ อบระยะเวลาบัญชี 2561 ทีเ่ ร่มิ ในหรอื หลงั วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงรอบระยะเวลาบญั ชี 2563 3. ขายอสงั หาริมทรพั ยท์ ีต่ งั้ อย่ใู นเขตพฒั นาพเิ ศษเฉพาะกิจ สำหรับเงินได้ที่เกิดขึน้ ต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 0.1 และไมต่ ้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (1) (2) และ (4) ก็ได้ 4. ลดอตั ราภาษีธรุ กิจเฉพาะตามมาตรา 91/6 (3)และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ0.1สำหรับรายรับจาก การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางคา้ หรอื หากำไร เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตง้ั อยู่ในเขตพฒั นาพิเศษ เฉพาะกิจทีไ่ ด้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธนั วาคม พ.ศ. 2563 216. พรฎ.587 ใหจ้ ัดเกบ็ ภาษีเงนิ ได้ในการหกั ภาษี ณ ทีจ่ า่ ยในอตั ราร้อยละ 15 ของ เงินได้ทีค่ นต่างด้าวได้รบั เนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษทั การค้าระหว่างประเทศ 217. กฎกระทรวงฉบับที่ 144 การหัก ณ ทีจ่ ่าย 1. คา่ ซือ้ พืชผลทางการเกษตร (ก) การจา่ ยค่าซือ้ ข้าวร้อยละ 0.5 (ข) การจ่ายค่าซอื้ พืชผลทางการเกษตรอ่นื ๆ นอกจาก (ก) รอ้ ยละ 0.75 2. การจ่ายรางวลั ในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรอื การอน่ื ใดอันมีลักษณะเดียวกนั ร้อยละ 5.0 3. การจ่ายค่าแสดงให้แก่ (ก) นกั แสดงสาธารณะซึ่งมภี มู ลิ ำเนาอยูใ่ นต่างประเทศ ร้อยละ 10 (ข) นักแสดงสาธารณะนอกจาก (ก) รอ้ ยละ 5.0 218. การจ่ายเงนิ ได้พึงประเมินให้แก่บริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิตบิ คุ คลทีต่ งั้ ข้ึนตามกฎหมายของต่างประเทศที่ กระทำกิจการในประเทศไทย ร้อยละ 5.0 219. การจ่ายเงนิ ได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ ส่วนนิติ บุคคล ร้อยละ 10.0 นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

39 220. การจ่ายคา่ ซอื้ สตั ว์น้ำ ท้ังที่มชี ีวติ และไมม่ ีชีวติ และส่วนต่าง ๆ ของสตั วน์ ้ำไมว่ ่าจะสดหรอื แช่เยน็ แชเ่ ยน็ จนแข็ง หรอื กระทำด้วยประการใด ๆ เพือ่ รกั ษาไว้มใิ ห้เปือ่ ยเน่าในระหว่างการขนส่ง ร้อยละ 1.0 221. การยกเว้นรัษฎากรตากกฎกระทรวงฉบบั ที่ 126 (พ.ศ. 2509) ทีน่ ่าสนใจ (1) เงนิ ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนทีต่ ้ังข้ึนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรยี นเอกชน แตไ่ ม่รวมถึงเงินได้จาก กิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาทีต่ ง้ั ขนึ้ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน (10) รางวัลที่ทางราชการจ่ายใหเ้ พือ่ ประโยชนใ์ นการป้องกนั มิให้มีการกระทำผิดเกีย่ วกับภาษีอากร (34) เงินได้ทีค่ ำนวณได้จากมูลค่าของเครือ่ งแบบซึง่ ลกู จา้ งได้รบั จากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุด ต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไมเ่ กินหนึ่งตัวตอ่ ปี (37) เงินปนั ผลหรอื เงนิ สว่ นแบ่งของกำไรจากบริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วน นติ ิบคุ คลทีไ่ ด้จากกิจการโรงเรียน เอกชนที่ตั้งขึน้ ตามกฎหมายว่าดว้ ยโรงเรยี นเอกชน หรอื กิจการสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนที่ต้ังขึน้ ตามกฎหมาย วา่ ดว้ ยสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชน แต่ไม่รวมถึงกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตง้ั ข้ึนตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรยี นเอกชน (51) คา่ ชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยทีพ่ นกั งานได้รบั ตาม กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไมร่ วมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรอื พนักงานได้รบั เพราะเหตุ เกษียณอายุหรือส้ินสดุ สญั ญาจ้าง ท้ังน้เี ฉพาะค่าชดเชยสว่ นทีไ่ มเ่ กินค่าจา้ งหรอื เงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน สามร้อยวนั สดุ ท้ายแตไ่ มเ่ กินสามแสนบาท (55) เงนิ ได้เท่าที่จ่ายเปน็ ค่าซือ้ หนว่ ยลงทุนในกองทนุ รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลกั ทรัพย์ และตลาดหลกั ทรัพย์ ในอัตราไมเ่ กินร้อยละสิบห้าของเงนิ ได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ ไมเ่ กินห้าแสนบาท สำหรบั ปีภาษีนน้ั โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหนว่ ยลงทนุ ดังกลา่ วมาแล้วไม่น้อยกว่าหา้ ปีนบั ต้ังแตว่ นั ซือ้ หนว่ ยลงทุน คร้ังแรกและไถถ่ อนหนว่ ยลงทุนนั้นเมอ่ื ผู้มีเงินได้มอี ายไุ ม่ต่ำกวา่ หา้ สิบห้าปีบริบูรณ์ ท้ังน้ี สำหรบั เงินได้พึง ประเมินที่ได้รบั ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2551 เปน็ ต้นไป (65) เงนิ หรอื ผลประโยชน์ใด ๆ ทีไ่ ด้รับเนอ่ื งจากการขายหนว่ ยลงทนุ คืนให้แก่กองทนุ รวมเพือ่ การเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพยแ์ ละตลาดหลกั ทรพั ย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกลา่ วมาแล้วไม่ น้อยกว่าหา้ ปีนับต้ังแต่วนั ซื้อหนว่ ยลงทนุ คร้ังแรก (66) เงนิ ได้เทา่ ทีจ่ ่ายเปน็ ค่าซือ้ หน่วยลงทนุ ในกองทนุ รวมหนุ้ ระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรพั ย์ และตลาดหลักทรพั ย์ ในอตั ราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงนิ ได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไมเ่ กินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนนั้ โดยเงนิ ได้ดังกลา่ วต้องเป็นเงนิ ได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเปน็ บคุ คลธรรมดาแต่ไมร่ วมถึงห้างหุ้นส่วน สามัญหรือคณะบุคคลทีม่ ใิ ช่นิตบิ คุ คลและกองมรดกทีย่ ังไม่ได้แบ่ง และผู้มีเงินได้ต้องถือหนว่ ยลงทุนในกองทนุ รวมหนุ้ ระยะยาวไมน่ อ้ ยกวา่ เจ็ดปีปฏิทิน แต่ไมร่ วมถึงกรณีทุพพลภาพหรอื ตายท้ังนี้ สำหรบั เงนิ ได้พึงประเมินที่ ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวนั ที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2562 นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

40 222. ดอกเบีย้ ทไี่ ด้รับยกเว้นภาษี 1. ยกเว้นตามประมวลรษั ฎากร (มาตรา 42) (8) ดอกเบีย้ ดงั ต่อไปนี้ (ก) ดอกเบีย้ สลากออมสิน หรือดอกเบีย้ เงนิ ฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผอ่ื เรียก (ข) ดอกเบีย้ เงนิ ฝากประเภทออมทรพั ย์ท่ไี ด้รบั จากสหกรณ์ (ค) ดอกเบีย้ เงนิ ฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ตอ้ งจ่ายคืนเมอ่ื ทวงถามประเภทออมทรพั ย์ เฉพาะกรณีทีผ่ ู้มีเงินได้ได้รับดอกเบีย้ ดงั กลา่ วในจำนวนรวมกนั ท้ังสิน้ ไม่เกิน 10,000 บาทตลอดปีภาษีนน้ั (19) ดอกเบีย้ ที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ (ดอกเบีย้ เงนิ คืนภาษี) 2. ยกเว้นตามข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (22) ดอกเบีย้ เงนิ ฝากประเภทออมทรัพยข์ องธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (38) ดอกเบีย้ เงนิ ฝากธนาคารในราชอาณาจกั รที่ตอ้ งจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรพั ย์ รวมกัน ท้ังสิน้ ไมเ่ กิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนน้ั (46) ดอกเบีย้ พนั ธบตั รออมสนิ รนุ่ พนั ธบตั รเงนิ ฝากช่วยชาติ (69) ดอกเบีย้ เงนิ ฝากธนาคารในราชอาณาจกั รเฉพาะดอกเบยี้ เงนิ ฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝาก ตั้งแต่หนึ่งปีข้ึนไป แตเ่ ม่อื รวมกับดอกเบีย้ เงนิ ฝากประจำทุกประเภทรวมกนั แล้วต้องมจี ำนวนทั้งสิน้ ไมเ่ กิน 30,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น และผมู้ ีเงินได้ได้รบั ดอกเบีย้ เงนิ ฝากดังกล่าวเมือ่ มอี ายไุ ม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปี บริบรู ณ์ 223. ผู้มเี งินได้ทีไ่ ด้รับดอกเบีย้ เงนิ ฝาก ใหถ้ ือตามหลักเกณฑ์ดังนี้ - ประกาศฯ เกี่ยวกับภาษีเงนิ ได้ (ฉบบั ที่ 55) (3) ในกรณีบิดาและหรอื มารดาและบุตรผเู้ ยาว์เป็นผู้ฝากเงนิ รว่ มกันให้ถือวา่ เงนิ ได้ดังกลา่ วเปน็ เงินได้ของ บิดาหรอื ของมารดาผใู้ ช้อำนาจปกครองแล้วแต่กรณี หรอื เป็นเงินได้ของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจ ปกครองร่วมกนั (ให้หมายความรวมถึงบุตรบญุ ธรรมทีเ่ ปน็ ผู้เยาวด์ ้วยโดยอนโุ ลม) (4) กรณีบิดาและหรอื มารดาเป็นผู้ฝากเงนิ เพื่อบตุ รผู้เยาว์ ใหถ้ ือว่าเงินได้ดังกลา่ วเป็นเงินได้ของบตุ ร ผเู้ ยาว์ (ให้หมายความรวมถึงบุตรบญุ ธรรมทีเ่ ปน็ ผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม) (5) กรณีหา้ งหนุ้ ส่วนสามญั หรอื คณะบุคคลที่มใิ ช่นิตบิ คุ คลเป็นผู้ฝากเงนิ ให้ถือว่าเงนิ ได้ดังกล่าวเปน็ เงิน ได้ของหา้ งหุ้นสว่ นสามัญ หรอื คณะบุคคลที่มใิ ช่นิติบคุ คลน้ัน นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

41 224. มอบอำนาจให้รองอธิบดี ทีก่ ำกบั ดูแลและปฏิบัติราชการของสำนกั มาตรฐานการจัดเกบ็ ภาษี เปน็ ผู้มี อำนาจออกหมายเรียก เอกสาร หรอื หลกั ฐานเกี่ยวกบั ข้อมูลบญั ชีเงนิ ฝากธนาคารของผู้ค้างภาษีอากรแทน อธิบดีกรมสรรพากร 225. บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ ส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอืน่ ทำสัญญาใช้บริการโทรศัพทก์ ับผใู้ ห้บริการโทรศัพท์ และได้จ่ายคา่ ธรรมเนียมการขอเลขหมายโทรศพั ท์ ค่าลงทะเบียนการใชบ้ ริการโทรศัพท์ ค่าบริการเลขหมาย โทรศพั ท์(เบอร์สวย) ค่าประกันเลขหมายโทรศพั ท์ (ค่าใช้จา่ ยทีจ่ ่ายเปน็ คร้ังแรกในการขอใชบ้ ริการ) ผู้จ่ายเงนิ มี หนา้ ที่ตอ้ งหักภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จ่าย ในอตั ราร้อยละ 5.0 (กรณีผใู้ ห้บริการโทรศพั ท์เรียกเก็บค่าประกนั เลขหมายโทรศพั ท์ เป็นจำนวนไมเ่ กิน 6 เทา่ ของคา่ บริการ เลขหมายโทรศพั ท์รายเดือน ผใู้ ห้บริการไม่ต้องนำค่าประกันเลขหมายโทรศพั ท์ ไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อ เสียภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคล และผจู้ ่ายคา่ ประกนั เลขหมายโทรศพั ทไ์ มม่ หี น้าทีต่ อ้ งหกั ภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จ่าย)(ป. 125/2546) 226. บริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิติบุคคลหรอื นิติบุคคลอื่นทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์กับผใู้ ห้บริการโทรศพั ท์ และได้จ่ายคา่ บริการโทรศัพทห์ รอื ค่าบริการที่มีลักษณะทำนองเดียวกันให้แกผ่ ใู้ ห้บริการโทรศพั ท์ ผู้จา่ ยเงินมี หนา้ ทีต่ อ้ งหักภาษีเงนิ ได้ ณ ทีจ่ า่ ย ในอัตราร้อยละ 3.0(เป็นค่าใชจ้ ่ายในการใชบ้ ริการ หรอื ค่าบริการรายเดือน) 227. ค่าธรรมเนียมการขอเลขหมายโทรศพั ท์ ค่าลงทะเบียนการใชบ้ ริการโทรศพั ท์ ค่าบริการเลขหมาย โทรศพั ท์ คา่ บริการโทรศัพท์ ค่าประกันเลขหมายโทรศัพท์ หรอื คา่ บริการที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เข้า ลกั ษณะเปน็ ค่าตอบแทนจากการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรษั ฎากร ผใู้ ห้บริการโทรศพั ท์จึง ต้องนำค่าบริการที่ดังกล่าวไปรวมคำนวณมลู ค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร(เสีย ภาษีมูลค่าเพิม่ ) 228. กรณีตวั แทนออกของ(ชิปปิง้ ) ตอ้ งแสดงเอกสารหลกั ฐานที่พิสูจนไ์ ด้วา่ มีการจ่ายค่าใช้จา่ ยในนามของ เจ้าของสินค้า (ถ้าพิสูจน์ได้ไมม่ หี กั ณ ทีจ่ า่ ยและภาษีมลู ค่าเพิม่ ) ถ้าพสิ ูจนไ์ มไ่ ด้ตวั แทนออกของ(ชิปปงิ้ ) มี หนา้ ที่ตอ้ งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการท้ังหมดที่ได้รับหรอื พึงได้รับและผู้จ่ายเงินมหี น้าทีต่ อ้ งหักภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จา่ ยจากค่าบริการท้ังหมดทีจ่ ่าย (ป.124/2546) 229. กรณีบริษทั หรอื หา้ งหุ้นส่วนนิตบิ คุ คลหรือนิตบิ คุ คลอื่นได้ขายสินค้าให้แกผ่ ซู้ ือ้ ซึง่ ได้ซือ้ สินค้าไปโดยมี วตั ถปุ ระสงคท์ ีจ่ ะนำไปขายต่อ เม่อื ผู้ขายสินค้าดังกล่าวจา่ ยรางวัล ส่วนลด หรอื ประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการ สง่ เสริมการขาย ผจู้ ่ายเงนิ มีหนา้ ที่ตอ้ งหักภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 (ป.118/2545) นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

42 230. กรณีกำหนดเวลาในการยืน่ แบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงนิ ภาษีส่งหรือแบบ นำส่งภาษี(กำหนดโดยกฎหมาย) วันสดุ ท้ายตรงกบั วนั หยดุ ทำการของทางราชการ ให้นบั วนั ที่เรม่ิ ทำการใหม่ต่อ จากวันที่หยุดทำการนนั้ เปน็ วนั สดุ ท้ายของระยะเวลา โดยไมต่ ้องเสียเบีย้ ปรบั และเงินเพิ่ม (ป.117/2545) กรณีขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ โดยอธิบดีกรมสรรพากร และวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา ทีข่ ยายออกไปดงั กลา่ วตรงกับวนั หยดุ ทำการของทางราชการ ใหน้ ับวนั ที่เริ่มทำการใหม่ตอ่ จากวนั ทีห่ ยดุ ทำการ นั้นเปน็ วันสุดท้ายของระยะเวลา โดยไมต่ อ้ งเสียเบยี้ ปรับ แต่ตอ้ งเสียเงินเพิม่ ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดอื นหรอื เศษของเดือนของเงนิ ภาษีที่ตอ้ งชำระหรอื นำส่ง โดยให้เริ่มนบั เมือ่ พน้ กำหนดเวลาการยืน่ แบบแสดงรายการ กรณีขยายกำหนดเวลาการยืน่ แบบแสดงรายการ โดยรัฐมนตรีไมต่ ้องเสียเบีย้ ปรับและเงนิ เพิม่ แต่อยา่ งใด 231. ผู้ประกอบการซึง่ ได้ให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มกี ารใชบ้ ริการนั้นในราชอาณาจักร ถือวา่ การให้บริการน้ันเปน็ การให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการดงั กล่าวมีหน้าที่ตอ้ งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ป. 104/2544) 232. ผู้ประกอบการในต่างประเทศได้โอนกรรมสทิ ธิ์สินค้าที่ไมม่ รี ปู รา่ ง (เชน่ การโอนกรรมสิทธิส์ ทิ ธิใน สิทธิบตั ร การโอนกรรมสิทธิ์ในกดู๊ วิลล์ การโอนกรรมสิทธิใ์ นเครือ่ งหมายการค้า การโอนกรรมสทิ ธิใ์ นลิขสทิ ธิ์ การโอนกรรมสทิ ธิใ์ นสัมปทาน การโอนกรรมสทิ ธิใ์ นค่าสิทธิ) ให้กับผปู้ ระกอบการหรือบุคคลใดใน ราชอาณาจกั รไม่ถือเป็นการให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มกี ารใช้บริการนนั้ ในราชอาณาจักร แตถ่ ือ เป็นการขายสินค้าที่ไมม่ รี ูปรา่ ง 233. กรณีผู้ประกอบการในต่างประเทศได้ให้ผู้ประกอบการหรือบคุ คลใดในราชอาณาจกั รได้ใชส้ ิทธิใน สิทธิบัตร ได้ใชก้ ู๊ดวิลล์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ได้ใชล้ ิขสิทธิ์ ได้ใชส้ ัมปทาน ได้ใชค้ ่าสิทธิ หรอื ได้ใชส้ ินค้าทีม่ ี ลักษณะทำนองเดียวกัน โดยผู้ประกอบการในต่างประเทศยังคงเปน็ เจา้ ของกรรมสิทธิส์ ิทธิในสิทธิบัตร กดู๊ วิลล์ เครือ่ งหมายการค้า ลขิ สิทธิ์ สมั ปทาน ค่าสิทธิ หรอื สินค้าทีม่ ลี ักษณะทำนองเดียวกนั ไม่ถือเป็นการขายสินค้า ที่ไมม่ รี ปู รา่ ง แต่ถือเปน็ การให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มีการใชบ้ ริการนั้นในราชอาณาจกั ร 234. กรณีผปู้ ระกอบการในตา่ งประเทศรบั จ้างเขียนซอฟต์แวรใ์ ห้กับผปู้ ระกอบการหรอื บุคคลใดซึง่ เป็นผู้ วา่ จ้างในราชอาณาจักร โดยผู้วา่ จ้างในราชอาณาจักรยงั คงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิซ์ อฟตแ์ วร์ดังกล่าว ไมถ่ ือเปน็ การขายสินค้าที่ไมม่ ีรูปร่าง แต่ถือเป็นการใหบ้ ริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มกี ารใชบ้ ริการนนั้ ในราชอาณาจกั ร 235. บริษทั จ. จำกัด ประกอบกิจการเกีย่ วกับสนามกอลฟ์ ได้ทำสญั ญาว่าจา้ งบริษัทในต่างประเทศให้ ดำเนนิ การออกแบบสนามกอลฟ์ โดยบริษทั ในต่างประเทศยังคงเป็นเจา้ ของกรรมสิทธิ์ในงานเขียนแบบและ แผนผงั อืน่ ๆ เงินค่าจ้างออกแบบดงั กล่าวเข้าลกั ษณะเป็นค่าตอบแทนเพื่อคา่ สิทธิ กรณีดังกล่าว ถือเปน็ การ ให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มกี ารใชบ้ ริการนั้นในราชอาณาจักร นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

43 236. บริษทั ก. จำกดั ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในตา่ งประเทศ ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการบริหาร ซึ่ง การให้บริการท้ังหมดได้กระทำในตา่ งประเทศและได้จัดสง่ ขอ้ มลู ดังกล่าวผ่านทางโทรศพั ท์ โทรสาร E – MAIL ให้กบั บริษัท ก. จำกดั กรณีดังกลา่ ว ถือเปน็ การใหบ้ ริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและได้มกี ารใชบ้ ริการนน้ั ใน ราชอาณาจกั ร 237. บริษัท ง. จำกดั ได้ทำสญั ญาวา่ จ้างบริษทั ในต่างประเทศให้ซอ่ มแซมเครื่องจักรที่ใชใ้ นการผลิตสินค้าโดย สง่ เครือ่ งจักรไปซอ่ มแซมในตา่ งประเทศ เมือ่ บริษัทในต่างประเทศดำเนินการเรียบร้อยแล้วได้สง่ กลับมาให้ บริษัท ง. จำกัดใช้ในประเทศไทย กรณีดังกล่าว ถือเปน็ การให้บริการทีก่ ระทำในตา่ งประเทศและได้มกี ารใช้ บริการนน้ั ในราชอาณาจกั ร 238. บริษัท ซ. จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทในตา่ งประเทศผลิต BROCHURE เป็นรูปภาพของโรงแรมและ เยบ็ เปน็ หนงั สือเลม่ เล็ก ๆ โดยบางสว่ นแจกใหล้ ูกค้าในประเทศไทยและบางส่วนแจกใหล้ ูกค้าในตา่ งประเทศ ถือเปน็ การให้บริการที่กระทำในตา่ งประเทศ และได้มีการใชบ้ ริการน้ันในราชอาณาจักร 239. บริษัท จ. จำกัด วา่ จา้ งบริษทั ในตา่ งประเทศจัดทำโฆษณาลงในนิตยสารสวัสดีทีม่ ผี โู้ ดยสารอ่านบน เครื่องบินซึง่ มีท้ังสายการบินในประเทศและตา่ งประเทศ ถือเปน็ การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มี การใชบ้ ริการนั้นในราชอาณาจกั ร บริษทั จ. จำกัด ไม่มีหน้าที่ตอ้ งยื่นแบบนำส่งภาษีมลู คา่ เพิม่ 240. บริษัท ฉ. จำกดั ว่าจา้ งบริษทั ในต่างประเทศลงพิมพ์โฆษณาในนิตยสาร (Magazine) ในตา่ งประเทศ ซึง่ มี การขายนิตยสารดังกล่าวในประเทศไทยด้วย ถือเป็นการให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศและมิได้มกี ารใช้ บริการนนั้ ในราชอาณาจักร บริษทั ฉ. จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิม่ 241. บริษทั ฌ. จำกัด ได้ทำสัญญาใช้บริการนำเสนอข้อมูลสินคา้ หรอื บริการผ่านอินเตอรเ์ นต็ หรอื บริการเช่า พืน้ ที่บนเวบ็ ไซท์ (Web Site) หรอื บริการเช่าพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของบริษัทในต่างประเทศ ถือเปน็ การ ให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศ และได้มกี ารใช้บริการนั้นในราชอาณาจกั ร 242. บริษัท ญ. จำกัด ได้ทำสญั ญาใช้บริการอินเตอร์เน็ต หรอื บริการเช่อื มตอ่ เครือขา่ ยอินเตอรเ์ น็ต (Internet Service Provider) จากบริษทั ในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการทีก่ ระทำในต่างประเทศ และได้มกี ารใช้ บริการนน้ั ในราชอาณาจกั ร 243. บริษทั ฎ. จำกัด ได้ทำสญั ญาใช้บริการรบั ฝากเซิร์ฟเวอร์ (Data Management หรอื Co-Location) จาก บริษทั ในตา่ งประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มกี ารใชบ้ ริการนนั้ ในราชอาณาจกั ร 244. ผู้ประกอบการจดทะเบียนมสี ิทธินำภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ได้นำสง่ ไปถือเป็นภาษีซื้อได้ โดยมีสิทธินำไปถือเปน็ ภาษีซือ้ ในเดือนภาษีที่มกี ารยืน่ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) และได้รบั ใบเสรจ็ รับเงนิ ของกรมสรรพากร นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

44 245. บริษัท ก. จำกดั ประกอบกิจการขายสินค้า ทำสัญญาว่าจ้างบริษทั ในตา่ งประเทศให้เปน็ นายหน้าติดต่อ หาลูกค้าในต่างประเทศ ถือเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและมิได้มกี ารใช้บริการน้ันใน ราชอาณาจกั ร บริษัท ก. จำกดั ไมม่ หี น้าทีต่ อ้ งยื่นแบบนำสง่ ภาษีมูลค่าเพิม่ 246. บริษทั ง. จำกัด ประกอบกิจการโรงแรม ได้ทำสญั ญาว่าจ้างบริษัทในตา่ งประเทศให้ดำเนินการสง่ เสริม การขายการตลาด โฆษณา และรบั จองห้องพัก ถือเปน็ การให้บริการทีก่ ระทำในตา่ งประเทศและมิได้มกี ารใช้ บริการนน้ั ในราชอาณาจกั ร บริษัท ง. จำกัด ไม่มีหนา้ ที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 247. ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ไมเ่ ข้าลักษณะเป็นการให้บริการเช่าอสงั หาริมทรัพย์ แต่ถือ เปน็ การให้บริการ (ป.90/2542) 1. การให้บริการเกบ็ รกั ษาสินค้าในคลังสินค้า 2. การให้บริการเช่าโครงเหล็กหรอื การให้บริการเช่าสงั หาริมทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกนั 3. การให้บริการโฆษณาบนโครงเหล็กหรือบนสังหาริมทรพั ย์อื่นทีม่ ีลักษณะทำนองเดียวกนั 4. การให้บริการโฆษณาบนป้ายที่ตง้ั อยบู่ ริเวณทีพ่ ักโดยสารรถประจำทาง หรอื ต้ังอยู่ ณ บริเวณสถานที่ ที่มลี ักษณะทำนองเดียวกัน 5. การให้บริการโฆษณาที่ปรากฏบนรถโดยสารประจำทางหรอื บนรถโดยสารอน่ื ที่มีลกั ษณะทำนอง เดียวกัน 248. บริษทั A. ตงั้ อยูใ่ นประเทศเวียดนามได้สั่งซือ้ สินค้าจาก บริษัท ก. ซึ่งเปน็ ผู้ประกอบการจดทะเบียนใน ประเทศไทย เนื่องจากบริษทั ก. ไม่มีสินค้าบริษทั ก. จึงส่งั ซือ้ สินค้าจากบริษทั B. ซึง่ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตสนิ ค้า ในประเทศญีป่ ุน่ โดยส่งั ให้บริษทั B. ส่งมอบสินค้าดงั กล่าวใหแ้ ก่บริษัท A. โดยตรง บริษัท ก. ไม่ได้กระทำพิธี การศลุ กากรนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าไปให้บริษทั A. การขายสินค้าดังกล่าวถือเปน็ การกระทำนอก ราชอาณาจักร ไม่อย่ใู นบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังน้ัน บริษทั ก. จึงไม่ต้องนำมูลคา่ ของการขายสินค้า ให้แก่บริษทั A. มารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิม่ 249. เงินจ่ายล่วงหน้า (ADVANCE PAYMENT) 1. ผู้รับจา้ งจะต้องนำเงนิ จา่ ยลว่ งหน้ามารวมคำนวณเปน็ รายได้เพื่อเสียภาษีเงนิ ได้นิตบิ คุ คล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร (เกณฑ์สิทธิ) 2. บริษัทหรอื ห้างหุ้นสว่ นนิติบคุ คลผู้ว่าจา้ ง เมื่อจา่ ยเงินล่วงหน้า มีหน้าที่ตอ้ งหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใน อัตราร้อยละ 3.0 ของเงนิ ล่วงหนา้ ตามคำสง่ั กรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เมือ่ มีการจ่ายค่างวดงานแต่ละงวดให้แก่ผู้รับจา้ ง ผู้วา่ จา้ งมหี น้าที่หกั ภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จ่าย ในอตั ราร้อย ละ 3.0 ของเงนิ ค่างวดงานหลงั หกั เงนิ จา่ ยลว่ งหน้าในแต่ละงวดออกแล้ว นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

45 3. ผรู้ ับจ้างตอ้ งนำเงินจ่ายลว่ งหนา้ มารวมคำนวณเปน็ มลู คา่ ของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวล รษั ฎากร 250. เงนิ ประกนั ผลงาน (RETENTION) 1. เงินประกนั ผลงานทีผ่ ู้รบั จ้างจ่ายใหแ้ ก่ผวู้ า่ จา้ งตามที่ตกลงในสญั ญา เม่ือผวู้ ่าจ้างจา่ ยคืนเงินประกัน ผลงาน ผวู้ ่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงนิ ได้ ณ ที่จา่ ย 2. ความรับผดิ ในการเสียภาษีมูลค่าเพิม่ จากการให้บริการเกิดข้ึนในขณะที่ได้รบั เงนิ คา่ จ้างแต่ละงวด ผรู้ บั จ้างตอ้ งนำเงินประกนั ผลงานทีถ่ ูกผู้ว่าจา้ งหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐาน ภาษี เมื่อมีการจ่ายเงนิ ประกันผลงานคืนให้แก่ผรู้ บั จ้าง ผู้รบั จ้างไมต่ ้องนำเงนิ ประกนั ผลงานดงั กล่าวมาเสีย ภาษีมูลค่าเพิม่ อีก (ฐานภาษีมลู ค่าเพิ่ม = เงนิ ที่ได้รบั จากคา่ งวดงานก่อนหักเงนิ ประกันผลงาน – เงินที่ได้รบั มาลว่ งหน้า) 251. ผู้มเี งินได้หกั ค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรอื คนทพุ พลภาพได้คนละ 60,000 บาท ดงั น้ี 1. เปน็ บิดามารดาของผมู้ ีเงินได้ 2. เป็นบิดามารดาของสามีหรอื ภรยิ าของผมู้ ีเงินได้ 3. เป็นสามีหรอื ภรยิ าของผู้มีเงินได้ 4. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบตุ รบญุ ธรรมของผู้มีเงินได้ 5. เปน็ บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภรยิ าของผู้มีเงินได้ 6. เปน็ บคุ คลอืน่ ทีไ่ มไ่ ด้มคี วามสมั พนั ธก์ บั ผมู้ ีเงนิ ได้ตาม 1 – 5 แตผ่ ู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ผมู้ ีเงินได้ นำมาลดหย่อนได้ 1 คน 252. หลกั เกณฑ์และองคป์ ระกอบการหักลดหยอ่ นค่าอปุ การะเลี้ยงดูคนพิการ 1. คนพิการตอ้ งมีบัตรประจำตวั คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการสง่ เสริมและพัฒนาคณุ ภาพชีวติ คน พิการ 2. เป็นบุคคลทีม่ คี วามสัมพันธก์ บั ผมู้ ีเงินได้ตาม ข้อ 251 3. ผู้มีเงินได้เป็นผู้อปุ การะเลีย้ งดแู ละมีชื่อเป็นผดู้ แู ลคนพิการในบัตรประจำตวั คนพิการ 4. คนพิการมเี งินได้พึงประเมินไมเ่ กิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มเี งินได้ใช้สิทธิหกั ลดหย่อน (ไมร่ วมเงิน ได้ทีไ่ ด้รบั ยกเว้นตามมาตรา 42) 5. คนพิการตอ้ งมีเลขประจำตวั ประชาชน 13 หลกั 6. กรณีคนพิการมีผอู้ ุปการะเลี้ยงดหู ลายคน ใครเป็นผมู้ ีสทิ ธิหกั ลดหย่อนน้ัน ให้ดูว่าผู้มเี งนิ ได้คนใดมีชื่อ เป็นผู้ดแู ลในบตั รประจำตัวคนพิการ ผมู้ ีเงินได้คนน้ันเป็นผมู้ ีสทิ ธิหักลดหยอ่ น นนท์ เศรษฐวิวฒั น์

46 253. หลกั เกณฑแ์ ละองค์ประกอบการหักลดหย่อนคา่ อปุ การะเลี้ยงดูคนทพุ พลภาพ 1. ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ได้ตรวจ และแสดงความเห็นวา่ บคุ คลนั้น มีภาวะจำกดั หรอื ขาดความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบคุ คลทวั่ ไปอันเนื่องมาจาก สาเหตุทางปัญหาสุขภาพ หรอื ความ เจ็บปว่ ยที่เป็นตอ่ เนื่อง มาไมน่ อ้ ยกว่า 180 วนั หรอื ทุพพลภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วนั 2. บคุ คลทุพพลภาพตอ้ งมีเงนิ ได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มเี งินได้ใช้สทิ ธิหักลดหยอ่ น (ไมร่ วมเงินได้ทีไ่ ด้รบั ยกเว้นตามมาตรา 42) 3. บุคคลทุพพลภาพต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 4. ผมู้ ีเงินได้ตอ้ งมหี นงั สอื รับรองการเปน็ ผู้อปุ การะเลี้ยงดูคนทพุ พลภาพ 254. กรณีผู้มเี งนิ ได้ซึ่งเปน็ ผมู้ ีสทิ ธิหกั ลดหยอ่ น ค่าอปุ การะเลี้ยงดบู ุตรซึ่งเป็นคนพิการหรอื คนทพุ พลภาพ เป็น สามีหรือภรยิ า และความเปน็ สามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีโดยภรยิ ามีเงินได้และแยกยื่นแบบต่างหากจากสามี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหยอ่ นได้คนละ 30,000 บาท ต่อบุตรที่พิการหรอื ทพุ พลภาพนนั้ โดยสามีภริยา ต้องแนบหลักฐานดังน้ี - ภาพถ่ายแบบ แบบ ล.ย.04 ของผมู้ ีเงินได้ ซึง่ สามีหรอื ภรยิ าของผู้มเี งนิ ได้ ได้ลงลายมือชื่อรับรอง - ภาพถ่ายบตั รประจำตวั คนพิการ / ใบรบั รองแพทยแ์ ละหนังสือการอปุ การะเลี้ยงดคู นพิการ (ล.ย.04) 255. ยกเว้นภาษีเงนิ ได้บุคคลธรรมดาสำหรับผพู้ ิการหรือผมู้ ีอายตุ ั้งแต่ 65 ปีข้นึ ไป ที่อยู่ในประเทศไทย เฉพาะ เงินได้ทีไ่ ด้รับส่วนทีไ่ ม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนนั้ ซึ่งผู้มเี งินได้สามารถเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงนิ ได้ไมเ่ กิน 190,000 บาท ในปีภาษีนนั้ ออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับ 256. กรณีผู้มเี งินได้หลายคนร่วมกันทำประกนั สุขภาพสำหรบั บิดามารดา ให้ผมู้ ีเงินได้ทุกคนได้รับยกเว้นภาษี เงินได้โดยเฉลี่ยเบีย้ ประกนั ภยั ทีผ่ ู้มเี งินได้ร่วมกนั จา่ ยจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามสว่ นจำนวนผมู้ ีเงินได้ 257. กรณีผู้มีเงินได้มไิ ด้เป็นผอู้ ยู่ในประเทศไทยใหไ้ ด้รบั ยกเว้นภาษีเงนิ ได้เฉพาะการทำประกนั สุขภาพสำหรับ บิดามารดาทีอ่ ยู่ในประเทศไทย 258. กรณีผมู้ ีเงนิ ได้หลายคนต่างคนต่างทำประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดา ให้ผู้มีเงินได้แต่ละคนได้รบั ยกเว้นภาษีเงนิ ได้ตามเบีย้ ประกนั ภยั ทีจ่ ่ายจริงแตไ่ ม่เกิน 15,000 บาท 259. การยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ขยายเวลาการให้บริการตง้ั แต่ 1 กมุ ภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 ผใู้ ช้บริการได้รับสิทธิพิเศษใหข้ ยายเวลาย่นื แบบฯ และชำระภาษี ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วัน สดุ ท้ายของกำหนดเวลายืน่ แบบฯ ทุกประเภท 260. บริการยื่นแบบฯ ภาษีเงนิ ได้บคุ คลธรรมดา เปิดบริการ 24 ช.ม. ของทุกวนั ไม่เว้นวันหยดุ ราชการ สำหรับ บริการยื่นแบบฯ ประเภทอื่น ๆ เปิดบริการระหว่าง 6.00 - 22.00 น. ของทกุ วัน ไม่เว้นวนั หยดุ ราชการ และ นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

47 หากวนั สดุ ท้ายของกำหนดเวลายืน่ แบบฯ ตรงกับวนั หยุดราชการจะมีสทิ ธิยื่นแบบฯ ในวันทำการถดั ไปได้อกี 1 วนั 261. ชอ่ งทางการชำระภาษีการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ 1. แบบออนไลน์ มี 1 ช่องทาง คือ e-Payment หลงั จากได้ยื่นแบบฯ ผา่ นเว็บไซตข์ องกรมสรรพากร และ มีภาษีตอ้ งชำระ หน้าจอจะแสดงวธิ ีการชำระภาษีให้เลือก เมื่อเลือก e-Payment ระบบจะแสดงธนาคาร ให้ เลือกธนาคารทีไ่ ด้ทำข้อตกลงไว้แล้ว 2. แบบออฟไลน์ มีหลายชอ่ งทาง ได้แก่ ATM, ATM Internet, Internet Banking, Tele / Phone Banking, Mobile Banking, เคาเตอร์ธนาคาร, จดุ ชำระเงินเคาเตอร์เซอร์วิส (7-Eleven) และ เคาเตอรไ์ ปรษณีย์ (Pay @ Post) 262. ปจั จบุ ันกรมสรรพากรเปิดให้บริการยน่ื แบบฯ ผ่านอินเทอร์เนต็ สำหรับ 15 ประเภท (ยกเลิกแบบ บช.1) 263. ผู้ทีย่ ืน่ แบบแสดงรายการภาษีผา่ นระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ประสงค์จะเลือกชำระภาษีอากร ณ สำนักงานสรรพากรพืน้ ทีส่ าขา ให้พมิ พ์ชุดชำระเงิน (Pay In Slip) จากระบบการยื่นแบบแสดงรายการผ่าน ระบบเครือข่ายอินเทอรเ์ น็ต และชำระภาษีอากรท้ังจำนวนตามชุดชำระเงนิ (Pay In Slip) ณ สำนักงาน สรรพากรพืน้ ทีส่ าขาแหง่ ใดแห่งหนึง่ โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงวิธีการเดียว ดงั ต่อไปนี้ 1. ชำระด้วยเงนิ สด 2. ชำระด้วยบตั รภาษี 3. ชำระด้วยบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารทีไ่ ด้ทำความตกลงกับกรมสรรพากร 4. ชำระด้วยบตั รเดบิตทีอ่ อกโดยธนาคารทีไ่ ด้ทำความตกลงกบั กรมสรรพากร 5. ชำระด้วยบัตร Tax Smart Card ที่ออกโดยธนาคารทีไ่ ด้ทำความตกลงกับกรมสรรพากร 264. การยืน่ แบบและชำระภาษีผ่านอินเทอรเ์ น็ต โดยเลือกวิธีการชำระเงินทาง ATM ระบบจะแจง้ 1. เลขประจำตัวประชาชน / เลขประจำตวั ผเู้ สียภาษี (13 / 10 หลกั ) 2. รหสั ควบคมุ (15 หลัก) 3. จำนวนภาษีทีต่ อ้ งชำระ ให้นำรหสั ทั้ง 3 ที่ระบบออกใหไ้ ปชำระเงนิ ณ ตู้ATM โดยจะต้องเปน็ เครือ่ ง ATM ของธนาคารผู้ออกบตั ร เช่น ใช้บตั รของธนาคารกรุงไทย จะต้องไปชำระเงิน ณ ตู้ATM ของเครื่องธนาคารกรุงไทยเท่าน้ัน ท้ังนี้ ใชบ้ ตั รของผู้ใดกไ็ ด้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นบัตรของผเู้ สียภาษีที่ประสงค์จะชำระภาษีเท่าน้ัน นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

48 265. การยืน่ แบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้มกี ารชำระเงินเต็มตามจำนวนเงินภาษี และโอนเงนิ เข้าบญั ชเี งินฝากธนาคารของกรมสรรพากรเรียบร้อยแลว้ ดงั น้ัน หากยื่นรายการตามแบบฯ เสรจ็ เรียบร้อยแลว้ แต่ยังไมไ่ ด้ชำระภาษีภายในเวลาทีก่ ฎหมายกำหนด กรมสรรพากรจะถือว่าไมไ่ ด้ยื่นแบบฯ 266. สามารถขอขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี หรอื การนำส่งภาษีผ่านอินเทอรเ์ น็ต หากมีเหตดุ ังน้ี 1. ยื่นแบบฯ และสั่งโอนเงนิ เพื่อชำระภาษีผ่านอินเทอรเ์ นต็ แตร่ ะบบการโอนเงินของหนว่ ยรบั ชำระภาษี ขดั ข้อง โดยผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้โอนเงินชำระภาษีแล้ว 2. ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา และสามารถส่ังโอนเงินเพือ่ ชำระภาษีผ่านอินเทอร์เนต็ ในวันถัดจากวัน ครบกำหนดเวลาแล้วแตธ่ นาคารไม่ปิดระบบการโอนเงินทำให้ผู้เสียภาษีเข้าใจว่าได้ยืน่ แบบฯ และชำระภาษีผ่าน อินเทอรเ์ นต็ แลว้ 3. ระบบการรบั แบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรขดั ข้องในระหว่างที่ผเู้ สียภาษียืน่ แบบแสดง รายการ 4. ระบบเครือขา่ ยของกรมสรรพากรขดั ข้องในระหวา่ งที่ผู้เสียภาษียืน่ แบบแสดงรายการและสั่งโอนเงิน 5. มีเหตุอน่ื ที่มีลกั ษณะทำนองเดียวกบั ข้อ 1 ถึง 4 โดยมิใช่ความผดิ ของผู้เสียภาษี 267. การยืน่ คำร้องขอขยายเวลาการย่นื แบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี หรือการนำส่งภาษีผ่าน อินเทอร์เนต็ ต้องยืน่ พร้อมแบบแสดงรายการภาษี ณ สำนกั งานสรรพากรพืน้ ที่สาขา ทีส่ ถานประกอบการ ต้ังอย่ภู ายใน 7 วันทำการ นับแตว่ ันสุดท้ายของกำหนดเวลาการย่นื แบบแสดงรายการภาษี 268. กำหนดเวลาในการขอคืนเงนิ ภาษีทีจ่ า่ ยไว้เกิน 1. กรณีถกู หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม ม.3 เตรส ภายใน 3 ปีนับแตว่ ันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายืน่ รายการ ภาษีหรอื บุคคลใดทีไ่ ม่มหี น้าที่ตอ้ งยื่นรายการ ตอ้ งยื่นคำรอ้ งฯภายใน 3 ปีนบั แต่วันที่ 31 มีนาคมของปีถัดจากปี ทีถ่ ูกหักภาษีไว้ (ม.63) 2. กรณีอน่ื ภายใน 3 ปี นับแตว่ นั ทีส่ ุดท้ายแห่งกำหนดเวลายืน่ รายการภาษี (ม.27 ตร)ี 269. กำหนดเวลาในการขอคืนเงนิ ภาษีมลู ค่าเพิม่ 1. การขายสินค้าหรอื ใหบ้ ริการ ในกรณีมีภาษีต้องคืน แตม่ ไิ ด้ขอคืนตาม ม.84 มีสทิ ธิขอคืน ภายใน 3 ปี นบั แต่วนั พ้นกำหนดเวลายื่นแบบ ตาม ม.84/1 2. การขายสินค้าหรอื ให้บริการในกรณีอน่ื มสี ิทธิขอคืน ภายใน 3 ปี นับแตว่ ันทีไ่ ด้ชำระภาษี ตาม ม.84/1 3. ผู้นำเข้าสินค้าที่มใิ ช่เพื่อธุรกิจหรอื เป็นผู้นำเข้าซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิม่ ที่มีขอ้ โต้แย้งตามกฎหมาย หรอื เป็นคดีในศาลใหย้ ื่นคำร้องภายใน 6 เดือนนบั แต่วันที่ได้รบั แจง้ คำวินจิ ฉยั หรอื นับแตว่ ันที่มคี ำพิพากษาของศาล ซึง่ คดีถึงที่สุดตาม ม.84/2 นนท์ เศรษฐวิวัฒน์

49 270. ประเภทของคำร้องขอคืนภาษีธรุ กิจเฉพาะและอากรแสตมป์ต้องใช้แบบ ค. 10 ทุกกรณี 271. อากรแสตมปต์ ้องขอคืนภายใน 6 เดือน นบั แตว่ ันเสียอากรหรอื ค่าเพิม่ อากร ยกเว้นกรณีเสียอากรโดยไม่ มีหน้าทีต่ อ้ งเสีย ขอคนื อากรภายใน 10 ปี 272. กรณีพจิ ารณาคืนเงนิ ภาษีไม่เสร็จภายใน 3 เดือน ตอ้ งจ่ายดอกเบยี้ ในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษ ของเดือนของเงนิ ภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไมค่ ิดทบต้น ดอกเบยี้ ทีใ่ ห้มิให้เกินกวา่ จำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน 273. กรณีผู้ขอคืนเงนิ ภาษีไม่มบี ัญชเี งินฝากธนาคารใด ๆ สามารถนำเชค็ ไปขอรบั เงนิ สดได้ดังน้ี 1. กรณีผขู้ อคืนที่มีภูมิลำเนาตามแบบฯ ในเขตกรงุ เทพมหานคร ขอรับได้ทีก่ องคลงั กรมสรรรพากร 2. กรณีผู้ขอคืนทีม่ ีภมู ิลำเนาตามแบบฯ นอกเขตกรุงเทพมหานคร ขอรับได้ทีส่ ำนักงานสรรรพากรพืน้ ที่ อนั เปน็ ภูมิลำเนา 274. เช็คคืนเงนิ ภาษีทีไ่ ด้รบั จากกรมสรรพากรมีอายุ 6 เดือน นับจากวนั ที่ระบใุ นเช็ค หากเกินกำหนดเวลาให้ผู้ ขอคืนนำเช็คฉบบั ดงั กล่าวไปขอรับเงนิ สด 275. อำนาจในการออกหมายเรียก 1. สำนกั งานสรรพากรพืน้ ที่ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการหรอื ผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษี อากรซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพืน้ ทีร่ ับผดิ ชอบของตน 2. สำนกั ตรวจสอบภาษีกลาง มีอำนาจออกหมายเรียกท่ัวราชอาณาจักร 3. สำนกั งานสรรพากรภาค มีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีภมู ิลำเนาอยใู่ นท้องที่รบั ผิดชอบ ทั้งน้ี เฉพาะราย ที่อธิบดีได้สง่ั การเป็นกรณีพิเศษ 4. คณะทำงานหรือหนว่ ยงานใดทีอ่ ธิบดีแตง่ ต้ัง มีอำนาจออกหมายเรียกท่วั ราชอาณาจักร 276. การออกหมายเรียกพระบรมวงศานุวงศ์ต้ังแต่พระองคเ์ จ้าขนึ้ ไป สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการตงั้ แต่ระดบั 9 ขนึ้ ไป ตอ้ งขออนุมตั ติ ่ออธิบดี 277. เม่อื ได้รับอนุมัตใิ ห้ออกหมายเรียกแล้วใหร้ ีบดำเนินการออกหมายเรียกภายใน 15 วัน นับแตว่ ันทีไ่ ด้รับ อนมุ ตั ิ 278. หมายเรียกทีอ่ อกต้องให้เวลาลว่ งหน้าแก่ผเู้ สียภาษีไมน่ ้อยกว่า 7 วัน นบั แต่วันที่สง่ หมายเรียก และการส่ง หมายเรียกใหส้ ่งตามมาตรา 8 แห่งประมวลรษั ฎากร 279. กรณีผู้เสียภาษีเปน็ บริษทั หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนิติบุคคลที่แจง้ เลิกกิจการและอย่รู ะหวา่ งการชำระบญั ชี ให้ ออกหมายเรียกไปยังผู้ชำระบัญชี ณ ภูมลิ ำเนา หรอื สำนกั งานของผู้ชำระบัญชีตามที่แจง้ ไว้กบั กระทรวง พาณชิ ย์และใหท้ ำหนงั สือถึงนายทะเบียนหนุ้ สว่ นบริษทั ขอให้ระงับการจดทะเบียนเสรจ็ การชำระบัญชไี ว้กอ่ น นนท์ เศรษฐวิวฒั น์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook