Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Fishbook2

Fishbook2

Published by Kulapa Kuldilok, 2022-01-11 13:53:21

Description: Fishbook2

Search

Read the Text Version

หากพิจารณาดุลภาพผลไดสุงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร EMEY ในกรณีราคาสัตวน้ำคงที่ ระดับ MEY เปนระดับท่ี MR = LRMC อยา งไรกต็ ามหากพจิ ารณาเมอ่ื ราคาสัตวน ำ้ เปล่ยี นแปลง ระดบั ท่ี MR = MC ที่ YMON จะเปนดุลยภาพแบบผูกขาด (Monopoly) ซึ่งระดับ YMON จะมีกำไรตอหนว ย = SM โดยมีกำไรทัง้ หมด = SLAK แตเ ม่อื พจิ ารณาสว นเกนิ ผบู รโิ ภค (consumer surplus) แลว จะเห็นไดว า มีขนาดเทากับ JSL ซึ่งเมื่อรวมกับกำไรสุทธิแลว ผลประโยชนทั้งหมดของดุลยภาพระดับนี้เทากับ JLAK (SLAK + JSL) บาท LRMC LRAC J SL RB A AR K MR ปรมิ าณการจับสตั วน ำ้ Y MON Y MEY ภาพท่ี 2. 15 ดลุ ยภาพการทำประมงผกู ขาด และการทำประมงผลไดส งู สุดในเชงิ เศรษฐศาสตร ทีม่ า: ดัดแปลงจาก Lee G. Anderson (1977) เมอ่ื ไดม ีการพิจารณาดลุ ยภาพอีกระดบั ที่ LRMC = AR (จุด B) จะพบวา ไดปริมาณผลผลติ สตั วน ้ำท่ีระดบั YMEY ซง่ึ จะมีกำไรตอ หนวยเทา กับ RN โดยมีกำไรสทุ ธทิ งั้ หมด = RBK เมือ่ พจิ ารณา พน้ื ทข่ี องสว นเกนิ ผูบ ริโภคจะพบวามีขนาดเทากับ JBR ซ่ึงทำใหผ ลประโยชนร วมเทากบั JBK (RBK + JBR) ซ่ึงมากกวา ผลประโยชนรวมของดุลยภาพ YMON = LBA ดังภาพที่ 2. 15 หนา | 39

สำหรับงานวิจัยที่ผานมาในดา นเศรษฐศาสตรก ารประมง ในประเทศไทยจะพบวาไดนำมาใช ในการกำหนดจำนวนการลงแรงประมง และปรมิ าณการจับสตั วนำ้ ทเี่ หมาะสม ไดแ ก การวิเคราะหจ ดุ ที่เหมาะสมทางชวี วิทยาและทางเศรษฐศาสตรสำหรบั ประมวลนโยบายเพื่อแกปญหาการทำประมง เกินควรในพน้ื ทอี่ าวไทยในการทำประมงในปลาหนาดิน (Ahmed M. et al,2007) โดยพิจารณาราคา สัตวน้ำคงท่แี ละเปนความสัมพันธของตนทุน รายได และผลตอบแทนที่ขึน้ อยูกับการลงแรงประมง ได ใชโมเดล Schaefer และ Fox ในการประมาณคาหาจุดเหมาะสมในการทำประมงเสรี (OA) การทำ ประมงอยางยั่งยืนสูงสุด (MSY) และการทำประมงผลไดสูงสุดทางดานเศรษฐศาสตร (MEY) เปรียบเทียบกับการลงประมงประมงในปจจุบนั ซึ่งพบวา การลงแรงประมงในระดับการประมงอยาง ยง่ั ยนื สุงสุด โดยลงแรงประมงเทากับ 34.76 ลานชวั่ โมงทำประมงและ 37.69 ลา นช่ัวโมงทำประมงจะ ทำใหไดก ำไรเทา กบั 4,212 บาทตอลำและ 3,491 บาทตอลำของทัง้ สองโมเดลตามลำดับ และ การทำ ประมงระดับผลไดสูงสุดทางเศรษฐศาสตร จะตองลงแรงประมงนอยลงมาที่ 28.42 และ25.86 ลาน ชั่วโมงทำประมงจะทำใหไดกำไรเทา กับ 4,433 และ 3,943 บาทตอลำ ของทั้งสองโมเดลตามลำดับ นอกจากน้นั ยังไดเ สนอใหมีการจำกัดการทำปะมง รวมกับการจดั การประมงชมุ ชน การจา ยใบอนุญาต การเกบ็ ภาษีเพ่อื ลดการลงแรงประมง การทำประมงของเครือ่ งอวนลอมจบั (อวนดำและอวนลอมซั้ง) ในอาวไทยตอนในของพื้นที่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และชลบุรี กำหนดวาสำหรับดุลภาพระดับการลงแรง ประมง ณ จดุ ผลทางเศรษฐกิจสงู สุด ควรจะมีการลงแรงประมงเทากบั 13,890 วนั ตอ ป และปริมาณ การจับสัตวน้ำไมเกิน 37,922 ตันตอป คิดเปนประโยชนส ูงสุดมีมูลคาเทากับ 905.35 ลานบาทตอป ซ่ึงควรลดจำนวนเรืออวนลอ บจับในบรเิ วณอา วไทยตอนในลงจาก 151 ลำ เหลอื เพียง 129 ลำ (กลุ ภา สุพงษพันธุ, 2543) และ เบญจวรรณ คงขน และคณะ (2557) ไดศึกษาระดับการทำประมงปูมาใน อาวไทยท่ีเหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร โดยเสนอใหม กี ารลงแรงประมงเทา กบั 19,477 ลำ จะทำใหม ี ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตรสูงสุดเทากับ 26,113 ตัน ทั้งนี้ทั้งสองงานวิจัยไดใชแบบจำลองชีว เศรษฐศาสตรโดยใชเ สนอุปทานวกกลบั (Backward bending supply curve) ในกรณรี าคาสัตวน้ำที่ เปล่ียนแปลงไปในการวิเคราะห ในงานวิจัยตางประเทศมีการวิเคราะหจุดเหมาะสมทางเศรษฐศาสตรในการทำประมงหลาย งาน เชน C. M. Dichmont et al. (2010) กลาววา การทำประมงระดับผลไดสูงสุดทางเศรษฐศาสตร นัน้ เปนพื้นฐานสำคญั ในการกำหนดนโยบายหลักของการจัดการประมงในประเทศออสเตรเลยี การที่ หนา | 40

จะประมาณการการทำประมงระดับผลไดสูงสุดทางเศรษฐศาสตร น้ันคอนขางมีความซับซอน ไมใช เพียงแตจะประมาณการจากทฤษฎีเทานั้น ตองคำนึงถึงความเปนจริงในการทำประมงดวย ทั้งนี้ได กำหนดสมมติฐานในการประมาณการไวห ลายดาน ไดแก ไมมขี อจำกดั ใดๆ กำหนดการลงแรงประมง ต่ำสุด กำหนดใหไมขาดทุน กำหนดใหไมข าดทุนและกำหนดการลงแรงประมงท่ีมากท่ีสุด ไมข าดทุน และกำหนดความหลากหลายของเรือ ไมข าดทนุ และตนทนุ กับราคาคงที่ ไมข าดทุนและมีทางเลือกใน การกำหนดตน ทุน แตละดานมีขอจำกดั ทแ่ี ตกตางกัน ผลของการประมาณกแ็ ตกตางกันไป ราคาและ ตนทุนจะเปนตัวแปรสำคัญในการประมาณการการทำประมงผลไดสูงสุดทางเศรษฐศาสตร การ กำหนดขอบเขตของการจัดการนั้นจะตองมีผูที่มีสวนไดสวนเสีย เชน นักวิทยาศาสตร นัก เศรษฐศาสตร ชาวประมง และผูประกอบการ มาชวยกำหนดรว มกนั Bertignac M et al. (2001) ไดประมาณการลงแรงประมงที่เหมาะสมของอวนลอมจับ อวน เบ็ดตวัด และอวนเบ็ดราวในการจับปลาทูนาในนานน้ำมหาสมุทรแปซิฟก ท้ังนี้ไดพิจารณาถึงคาเชา ทรัพยากรทีเ่ กิดขึ้น ผลการศึกษาพบวา หากตองการใหเกดิ คาเชาทรัพยากรเพ่ิมขึ้นจะตองมีการลด ขนาดของกองเรือในทุกเครื่องมือ ยกเวนกองเรือทูนาเบ็ดราว โดยเสนอใหม ีการเปลี่ยนแปลงระดับ การเก็บคาธรรมเนียมท่ีขึน้ อยูกับรายไดในการจับสัตวน้ำ นอกจากน้ัน Bassirou D. at al. (2018) ได ศกึ ษาการวิเคราะหจุดท่ีเหมาะสมทางเศรษฐศาสตรในการทำประมงกุงโดยพจิ ารณาการเปล่ียนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพบวาการทำประมงผลไดสงู สดุ ทางเศรษฐศาสตร สามารถนำมาใชรวมกบั ผล ในดานของระบบนิเวศและดานเศรษฐศาสตร โดยกำหนดใหมีผลกระทบดานสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงไป เชน ความไมแนนอนของอุณหภูมิ จะสงผลตอการลงแรงประมงควรจะตอง เปลี่ยนแปลงอยางไร โดยพิจารณาถึงผลของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและสงผลตอการ เคลอื่ นยายของฝงู สัตวน้ำ สรุปทายบททรัพยากรสัตวน้ำเปนแหลงความมั่นคงของอาหารที่มีความจำกัด ดังน้ันการทำ ประมงจากแหลงน้ำธรรมชาติไมวาจะเปนทางทะเลหรือในพ้ืนที่น้ำจืดจะเปนสวนสำคัญในการไดมา ของผลผลิตในอุตสาหกรรมสัตวนำ้ ซึ่งปจจุบันพบวามแี นวโนมทรัพยากรสตั วน้ำที่ลดลงเร่ือย ๆ มีการ ทำประมงมากเกินควรและเกินจุดดุลยภาพท่ีเหมาะสมในเชิงชีววิทยาและเชิงเศรษฐศาสตร ดังนั้น การศกึ ษาถึงการเติบโตของฝูงสตั วนำ้ เปนทฤษฎที สี่ ำคญั ในการกำหนดระดับการทำประมงท่ีเหมาะสม การทำประมงอยา งยง่ั ยืนสูงสุด และการทำประมงเพ่ือใหไดผลไดเชงิ เศรษฐศาสตร จะเปนวิธีการที่จะ หนา | 41

นำไปเปนแนวทางในการกำหนดนโยบายการทำประมงในเชิงปฏิบัติเพื่อใหทำประมงโดยรักษา ทรัพยากรอยา งย่งั ยืน เพยี งพอตอ การบรโิ ภคและคุม คาในเชิงเศรษฐศาสตรต อไป หนา | 42

บทที่ 3 ทางเลือกผลผลติ สตั วน้ำจากการเพาะเลีย้ งสตั วนำ้ ในบทนี้จะเปนการอธิบายถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ การวิเคราะหเชิง เศรษฐกิจของฟารมสัตวนำ้ ซ่ึงประกอบดวยการนำทฤษฎีการผลิตมาใชกับการวิเคราะหประสิทธิภาพ การผลิต ขอมูลตนทุนและรายได โดยมีปจจัยในหลายดานมาเกี่ยวของ ไดแก การจัดการฟารม เทคโนโลยี สิ่งแวดลอม ทั้งในระบบฟารม เพาะพันธุ และการเพาะเลีย้ งสัตวน้ำ เพื่อใหผูท่ีสนใจทำฟารม สัตวนำ้ ไดทราบขอมูลเบื้องตนในดานปจจัยการผลิตที่เกี่ยวขอ ง และขอมูลในการลงทุนในฟารมสตั วน ำ้ โดยมีรายละเอียดดงั ตอ ไปนี้ 3.1 ความสำคญั ของการเพาะเลี้ยงสตั วน้ำ จากการทีท่ รัพยากรสัตวน้ำตามธรรมชาตไิ ดมีจำนวนลดลงอยา งตอเนือ่ งซง่ึ มีสาเหตุมาจากการ ทำประมงมากเกินควร ปริมาณสัตวน้ำเพื่อการบริโภคที่มาจากธรรมชาติจึงไมเพียงพอตอการบริโภค การเพาะเล้ียงสัตวนำ้ จึงเปนเสมือนทางเลือกของการเพิ่มใหกับการบริโภคอาหารทะเล ที่มาลดชองวาง ระหวางความตอ งการทีเ่ พิ่มสูงขึ้นท่ีมากไปกวา อุปทานสัตวน้ำท่ีมอี ยู ไมวา จะเปนการเพ่ิมปริมาณสัตวน้ำ ใหเ พยี งพอตอการบรโิ ภค การเพาะเล้ยี งสัตวน ้ำยงั ถือวาเปน การเพ่ิมสารอาหาร การเพม่ิ รายได การเพ่ิม โอกาสของการทำงาน และเพิ่มความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคดวย (Dirk and Charles,1986) การเพาะเลี้ยงสัตวน้ำในปจจุบัน มีทั้งเพาะเลี้ยงสัตวน้ำชายฝง เพาะเลี้ยงสัตวน้ำในน้ำกรอย และ เพาะเลี้ยงสัตวน ้ำจืด แนวโนม ของการจับแบบธรรมชาตลิ ดลงเรื่อย ๆ ในขณะท่ีการเพาะเลี้ยงมีแนวโนม เพิ่มขึน้ ในชวงแรก แตใ นชว งป 2556-2563 เปนตนมามีแนวโนมนอ ยลง ดงั ที่ไดก ลา วไวใ นบทที่ 1 (ภาพ ที่1.5) ซึ่งเกิดจากการเกิดโรค และการนำเขาจากประเทศเพื่อนบาน จึงทำใหปริมาณการเลี้ยงของ เกษตรกรลดลง Yung C.Shang. (1985) กลาววา เศรษฐศาสตรการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำไดถูกพิจารณา ใน 2 ระดับคือระดับจุลภาค และระดบั มหภาค ระดบั เศรษฐศาสตรจุลภาคในการเพาะเล้ียงจะพิจารณา ในดา นการจดั การฟารม มาตรการการจัดการฟารม และองคป ระกอบตางๆ ทท่ี ำใหเกดิ ประสิทธิภาพใน การเลี้ยง แตสำหรับดานเศรษฐศาสตรมหภาค จะเปนการวัดผลประโยชนและตนทุนทางสังคมกับ โครงการเพาะเลี้ยงสตั วน้ำ ดังนั้นการวิเคราะหเศรษฐกิจสัตวนำ้ นัน้ ควรจะพิจารณาทั้งในสวนของการ

ตัดสินใจทำฟารมเพาะเลี้ยงของเกษตรกร และการพัฒนานโยบายการเพาะเลี้ยงสัตวนำ้ ดว ย ระบบการ เพาะเลี้ยงนอกจากจะมีประสิทธิภาพเพียงพอตอการผลิตใหไดผลผลิตตอการใชปจจัยการผลิตอยาง คุมคา ท่ีสุดแลว การจดั การระบบฟารม สัตวน ้ำยงั คงตองคำนึงถึง เทคโนโลยใี นการผลติ สงั คม เศรษฐกิจ และส่งิ แวดลอมดวย 3.2 การวเิ คราะหเศรษฐกจิ การเพาะเลี้ยงสตั วน ำ้ การวิเคราะหเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ สามารถนำทฤษฎีเศรษฐศาสตรการผลิตมา ประยกุ ตกบั การเพาะเลย้ี งสตั วนำ้ ซ่งึ ในดานของวเิ คราะหจ ะตอ งเกบ็ ขอมลู การเลีย้ งสตั วนำ้ การใชป จจยั การผลิตตา งๆ ขอมูลตน ทนุ ของปจ จัยการผลติ แตละชนิด ระยะเวลาของการเล้ยี ง ราคาสัตวนำ้ นอกจาก จะตองรูทฤษฎีเศรษฐศาสตรการผลิตแลว จะตองรูรายละเอียดการจัดการฟารมตั้งแตเริ่มตนเลี้ยง จนกระทั่งขายผลผลิต รวมทั้งการนำเทคโนโลยีการเลี้ยงมาใชเพื่อลดตนทุนการผลิต การใสใ จกับการ จดั การของเสียที่จะสง ผลกระทบตอส่ิงแวดลอม และทำอยา งไรจะใหฟารมเพาะเล้ยี งนั้นสามารถดำเนิน กิจการไปไดอยางยัง่ ยืน ท้ังนี้จะวิเคราะหทั้งในสวนของการเพาะพันธุและการเพาะเลี้ยง กอนที่จะเขา สู การนำทฤษฎีเศรษฐศาสตรการผลิตมาประยุกตในเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ ผูเขียนขออธิบายใน สวนของรายละเอียดในการจัดการฟารมสัตวน้ำในเบ้ืองตน เพื่อใหเขาใจถึงรูปแบบการเลี้ยง การใช ปจจยั การผลิตของการเลี้ยง ซึ่งจะนำไปสูการเก็บขอมูลมาเพื่อนำมาวิเคราะหเชิงเศรษฐกิจตอไป ดัง ภาพท่ี 3. 1 ภาพที่ 3. 1 กระบวนการวิเคราะหเ ศรษฐกิจการเพาะเล้ียงสตั วน ้ำ การวิเคราะหเศรษฐกจิ ของฟารมสตั วน้ำ เปน การนำรายละเอยี ดปริมาณการใชของปจจัยตางๆ ราคาของปจจัย ปริมาณผลผลิต ราคาของผลผลิต เพื่อนำมาคำนวณหาวา ฟารมสามารถทำกำไรได หรือไม หากกำไรที่ไดมีนอยเกินไป หรือขาดทุน การวิเคราะหจะบอกใหรูไดวาฟารมนั้นๆ ควรมีการลด หนา | 44

ตนทุน หรอื ทำใหราคาผลผลติ สงู ขึน้ ไดอ ยางไร การทำฟารม สัตวนำ้ สามารถทำไดใ นหลายกิจกรรม ไดแ ก ฟารมเพาะฟก ฟารมอนุบาลลูกพันธุขนาดเล็ก และขนาดที่โตขึ้น ฟารมเลี้ยงสัตวน้ำขนาดตลาด ฟารม เลีย้ งสัตวน้ำขนาดใหญ (สำหรับการนิยมแบบตดั ชิ้นขาย) ในการอธิบายครั้งนีจ้ ะขออธิบายในสวนของ ฟารม เพาะฟก ฟารมอนบุ าล และฟารม เลยี้ งสัตวนำ้ ขนาดตลาด 3.2.1 การวิเคราะหเ ศรษฐกิจฟารม การเพาะพนั ธสุ ตั วนำ้ การจัดการฟารมการเพาะพนั ธุสัตวน้ำ (Fish Hatchery Management) การเพาะฟกลูกพันธุ สัตวน้ำถือเปนปจจัยสำคัญของการทำฟารมเลี้ยงสัตวน้ำ ซึ่งมีวัตถุประสงคในเพิ่มปริมาณสัตวน้ำใน ธรรมชาติ (Stock enhancement) เปนรูปแบบการรักษาพันธุสตั วน้ำท่ีมีปริมาณลดลงหรือลูกพันธุม ี จำนวนนอยลง ไมส ามารถเพมิ่ ปริมาณสตั วน้ำที่ลดลงใหเพมิ่ ขึน้ ไดตามธรรมชาติ การเพาะพันธุจะทำการ เลี้ยงใหเติบโตแข็งแรงพอและปลอยลงในแหลงน้ำธรรมชาติใหเติบโตและเพิ่มปริมาณสัตวน้ำ นอกจากนั้นการเพาะฟกลูกพันธุยังเปนธุรกิจตนน้ำที่สงตอใหกับธุรกจิ เพาะเล้ียงสตั วน้ำไดเชน กัน การ เพาะฟกและอนุบาลสัตวนำ้ ใหไ ดคุณภาพลูกพันธุท่ีดี ถือเปนปจจัยสำคญั สำหรบั การทำฟารมเพาะเลี้ยง สตั วนำ้ ในประเทศไทย การทำฟารม เพาะฟก และอนบุ าลลูกพนั ธุนน้ั มที ั้งในสวนของภาคเกษตรกร และ ภาคเอกชน สำหรับภาคเกษตรกร จะไดรับการถายทอดความรูทางวชิ าการจากกรมประมง หนวยงาน ภาครฐั ในการเขาอบรมวิธีการเพาะพันธุดวยฮอรโมน สำหรับภาคเอกชนจะมีการลงทุนที่สูงกวาและมี ผูเชยี่ วชาญจากตางประเทศและในประเทศมาถา ยทอดความรูซ่ึงคณุ ภาพของลูกพนั ธุและราคาจะสูงกวา ปจจุบนั สัตวน้ำที่สามารถเพาะลูกพันธุไดแลว มีทั้ง สัตวน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกรอย สำหรับพนั ธุสตั ว นำ้ เค็มที่เพาะพนั ธุไดแลว ไดแก กงุ ขาว กงุ กลุ าดำ ปลากะพงขาว ปลากะรงั หอยแมลงภู หอยนางรม ที่ แพรหลาย สำหรับพันธสุ ัตวน้ำจืด ไดแก กุงกามกราม ปลานิลปลาชอน ปลาดุก ปลาหมอเทศ ปลาไน ปลาตะเพยี น ปลายสี่ ก ปลานวลจันทรน้ำจดื ปลาจนี ปลากดเหลือง ปลาสลดิ เปนตน การจัดการที่สำคัญในการทำฟารมเพาะฟกและอนุบาลลูกพันธุสัตวน้ำ เชน หากเปนการ เพาะพันธุลูกกุงจะตองมีรักษาสุขอนามัยคอนขางสูง เพราะเปราะบางกวาสัตวน้ำชนิดอื่นๆ ผูประกอบการจะตองหาความเหมาะสมในการเลอื กสถานท่ีในการเพาะฟก โรงเพาะฟกและอนุบาลกุง ทะเลตั้งอยใู นพ้ืนทีท่ อ่ี ยูห างไกลจากแหลง กำเนดิ มลภาวะ การจัดการสุขอนามัยและความสะอาดของโรง เพาะฟกและอนุบาลกุงทะเล การควบคุมคุณภาพน้ำในระหวางการอนบุ าล การปรับสภาพน้ำใหเขากบั ความเค็มของสภาพบอเล้ียงกอนจำหนาย การตรวจคุณภาพลูกกุงกอนจำหนาย การจัดการน้ำท้ิง ขยะ หนา | 45

และสุขอนามัยของโรงเพาะฟกและอนุบาล การหาพอแมพันธุกุงทะเล ตองทราบแหลงพอแมพันธุท่ี ชัดเจน การจับและการลำเลียง การตรวจสุขภาพและฆาเชื้อพอแมพันธุกุงทะเล การทำความสะอาด และฆา เชอื้ อุปกรณในบอ พอ แมพ ันธุ วธิ กี ารควบคุมและรักษาคุณภาพนำ้ ท่ใี ชเ ล้ียงพอแมพันธกุ งุ ทะเล ปจจัยการผลิตทีส่ ำคัญจะประกอบดวยปจจัยคงที่และปจจัยผนั แปร ปจจัยคงที่ ไดแ ก พอแม พันธ โรงเรือน ระบบหมุนเวียนของน้ำ บอดินของพอ แมพ ันธุ บอซีเมนตของการอนุบาลลูกพันธุ บอดิน สำหรับบอเลี้ยงลกู ปลาใหม ขี นาดใหญ เพือ่ เพิ่มอตั รารอด อุปกรณดกั จับ ปจ จยั ผนั แปร ไดแก อาหารพอ แมพันธุ อาหารลูกพันธุสัตวน้ำ คาแรงงาน คาน้ำ คาซอมแซมบอและคาบำรุงรักษา คาไฟฟา และ อปุ กรณส ำหรับการขาย โดยท่ัวไปจะมลี ักษณะหรือรูปแบบคลายกนั ไมว า จะเปน บอเพาะฟกสัตวน้ำเค็ม หรือ สัตวน้ำจดื ตวั อยาง กรณศี กึ ษาบอ เพาะฟกปลากะพงขาว (กุลภา กุลดิลก, 2558 และ 2561) การเพาะลูก พันธุปลากะพงขาว ไดแบงออกเปน ธุรกิจการเพาะฟก และธุรกิจการอนุบาล ซึ่งเปนธุรกิจปจจัยการ ผลติ ดา นลูกพันธทุ จี่ ะนำไปใชใ นธรุ กจิ เพาะเล้ียงปลากะพงขาว ดงั ภาพท่ี 3. 2 ซ่งึ ในสวนของบอเพาะฟก ปลากะพงขาวจะมีบอ ดินเปน บอของพอแมพ ันธุ สำหรับบอ อนุบาลจะใชบ อซีเมนตเปนหลกั ธรุ กิจเพาะ ฟกมพี ้ืนที่ฟารม เฉล่ียเทา กบั 1.04 ไร เงินลงทุนในการทำฟารม เพาะฟกโดยประมาณเทากับ 1.59 ลาน บาท ตั้งอยูบริเวณ ตำบลสองคลอง พอแมพันธุของเจาของฟารมจะเลือกพันธุที่มีความแข็งแรงและ สมบรู ณ โดยดจู ากลักษณะของพอแมพ ันธุ อายุ และตองมาจากน้ำเค็ม หรือบางครั้งอาจจะดูจากสีของ ไขวาสมบูรณหรือไม แหลงการจัดหาพอแมพันธุมาจากหลายพื้นที่ ไดแกอำเภอบางปะกง จังหวัด ฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และอำเภอแมกลอง จังหวัดสมุทรสงคราม หรือซื้อปลามาจากกระชังใน พืน้ ที่ โดยส่ังพอแมพ ันธุน้ำหนกั 5-6 กิโลกรัม และบางครั้งซือ้ จากฟารมเพาะฟกดว ยกัน ฟารมเพาะฟก จะอนุบาลลูกปลาจนกระทั่งขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งจะมีราคา 0.15-0.30 บาท ขึ้นอยูกับ ฤดูกาลของการออกไขดวย และจะขายตอใหก ิจการบออนุบาลตอไป ภาพท่ี 3. 2 ธุรกิจการเพาะฟก และอนบุ าลปลากะพงขาว บอเพาะฟกของผูเพาะพันธุ บอดินสำหรบั พอแมพนั ธุมีขนาดเทา กับ 90 ลูกบาศกเมตร มีอายุ การใชงาน 25 ป คา ซอ มแซมอปุ กรณ ขนาดบอซเี มนตส ำหรับลูกพนั ธุมีขนาดเทา กบั 197 ลกู บาศกเ มตร โดย 1 รอบใชเ วลาประมาณ 2.8 เดือน ตน ทุนคงที่ในสวนของพอแมพันธุจะเปนสัดสวนมากที่สดุ รอย หนา | 46

ละ 31 รองลงมาคือคาเส่ือมโรงเรือน รอยละ 15 ในสวนของตนทุนผนั แปร ตนทุนคาอาหารสำหรับพอ แมพันธุที่เล้ียงดวยปลาเหยื่อหรืออาหารเม็ด และอาหารลูกพันธุคิดเปนสัดสวนมากท่ีสุดที่รอยละ 14 รองลงมาเปนคาแรงงาน รอยละ 16 และคาน้ำ รอยละ 7 ของตนทุนรวมทั้งหมด สวนอื่นๆ จะเปน คาใชจายเกี่ยวกับคาไฟ คาออกซิเจน คาถุงสำหรับขาย คาขนสง และคาแรงงาน ลูกพันธุที่ผลิตได โดยประมาณเทา กับ 13,824 ตวั /ลบม./รอบ ราคาเฉลย่ี ตวั ละ 0.33 บาท รายรับเฉลย่ี ทงั้ หมด 5,646.50 บาท คดิ เปน รายรบั เหนือตนทนุ เทา กบั 987.41 บาท/ลบม./รอบ (กุลภา กุลดิลก, 2558) ภาพที่ 3. 3 บอ ซีเมนตสำหรับเพาะฟก และอนุบาลลกู ปลากะพงขาว อ.สองคลอง จ.ฉะเชงิ เทรา ที่มา: จากการสำรวจ (2558 และ 2562) หนา | 47

ภาพที่ 3. 4 สดั สว นตนทนุ คงท่ี ตนทนุ ผนั แปร และรายรับเหนอื ตนทนุ ของฟารม เพาะฟกและ อนบุ าลปลากะพงขาว ทม่ี า: กลุ ภา กลุ ดิลก (2558) สำหรับการอนุบาลปลากะพงขาวจะเปนกิจการที่ซื้อลูกพันธุขนาดเล็กจากบอเพาะฟกและ นำมาอนุบาลเพื่อขายตอโดยลูกพนั ธุมีขนาดประมาณ 1-3 เซนติเมตร พื้นท่ีทัง้ หมดสำหรบั เลี้ยงลูกพนั ธุ รอขาย มีพื้นที่ 1-100 ตารางวาและมีพื้นที่ 101-200 ตารางวา มีจำนวนบอสวนใหญอ ยูในชวง 1-20 บอ การเล้ียงโดยใชบ อซีเมนตน ้ัน ขนาดบอ ซีเมนตโ ดยเฉลี่ยเทากับ 6.42 ลกู บาศกเมตร โดยมีการลงทนุ บอซเี มนตราคา 13,629 บาทตอ บอ อายุการใชงานโดยเฉล่ีย 2.5 ป โดย 1 รอบการเลยี้ งเทากับ 0.975 เดือน หรือประมาณ 30 วัน (29.25 วัน) ตนทุนคงที่มีคาเสื่อมโรงเรือนมากที่สุด และมีคาเสื่อมบอ อนุบาล คาเสื่อมอุปกรณอื่นๆ และตนทุนผันแปร มีคาลูกพันธุเปนสัดสวนเทากับรอยละ 54 และ คาอาหารสำหรับลูกพันธุเทากับรอยละ 22 นอกนั้นจะเปนคาซอมแซมอุปกรณ สาธารณูปโภค คา ภาชนะบรรจุ คาขนสง คาใชจ า ยในการบริหาร ตน ทุนการตายของลกู พนั ธุ คา ดอกเบ้ยี คา นายหนา และ คา แรง ตนทุนรวมท้งั หมดเทากบั 6,803.18 บาท/ลบม./รอบ จำนวนลกู ปลาที่ขายไดข นาดเซนตเิ มตร มี จำนวน 11,016 ตัว/ลบม./รอบ ราคาเฉลี่ยเทากับ 0.51 บาท/ตัว และขนาดนิ้วจำนวน 2,788 ตัว/ ลบม./รอบ ราคาเฉลี่ยเทากบั 2.07 บาทตอตัว มีรายรับรวมเฉลี่ยเทากับ 11,322.03 บาท/ลบม/รอบ รายรับเหนอื ตน ทุนเทา กบั 4,518.85 บาท/ลบม./รอบ กิจการอนุบาลลูกพันธุของปลากะพงขาวจะมีระดับเลี้ยงตอเนื่องไปยังบอดินจากขนาด 3 เซนติเมตรเลี้ยงจนโตมากขึ้นจนถึงขนาดนิ้ว 3-5 นิว้ ขนาดบอ ดินจะมีขนาด ประมาณ 11.01 ลูกบาศก หนา | 48

เมตร มีอายุการใชงาน 13 ป แตละรอบการเลี้ยงใชเวลา 0.975 เดือน หรือประมาณ 30 วัน โดยมี ตนทุนคงท่ี ไดแก คาเสื่อมบอดิน คาเสื่อมโรงเรือน คาเสื่อมอุปกรณตางๆ รวมทัง้ หมดคิดเปนสัดสวน รอยละ 28 และตนทุนผันแปร มีสัดสวนของคาอาหารรอ ยละ 34 มากทีส่ ุด รองลงมาเปน คาลูกพันธุที่ ซือ้ มาอนบุ าลรอ ยละ 21 และคาสาธารณปู โภค รอ ยละ 17 นอกนน้ั จะประกอบดว ยคา ภาชนะบรรจุ คา ขนสง คาใชจา ยในการบริหาร การสูญเสียลูกพันธุ คาดอกเบี้ย และคานายหนา ตนทุนรวมทั้งหมด เทากับ 6,640.19 บาท/ลบม./รอบ จำนวนลูกปลาขนาดเซนติเมตรเทากับ 12,056 ตัว/ลบม./รอบ ราคา 0.28 บาท/ตัว จำนวนลูกปลาขนาดนิว้ มีจำนวน 2,457 ตัว/ลบม./รอบ ราคาเทากับ 2.37 บาท/ ตัว รวมรายรับทัง้ หมด 9,252.26 บาท/ลบม./รอบ คิดเปนรายรับเหนือตนทุนเทากับ 2,612.07 บาท/ ลบม./รอบ ดังภาพ 3.4 3.2.2 การวเิ คราะหเศรษฐกจิ ฟารม เพาะเล้ยี งสัตวน ำ้ การจัดการฟารมสัตวน้ำใหมีประสิทธิภาพ ตองประกอบไปดวยองคประกอบในหลายๆ ดาน เชน รูปแบบของการเลี้ยง การเลือกพืน้ ที่ในการเลี้ยง การเลือกพนั ธุสัตวน้ำที่เปนที่ตองการของตลาด การปลอยพันธส ตั วน ำ้ การใหอาหารและอาหารเสรมิ รวมท้งั การหาตลาดในการขาย รูปแบบของการเพาะเลี้ยง โดยปกติการเพาะเลี้ยงสามารถเล้ียงในแบบเลี้ยงในกระชังในทะเล หรือแมน ้ำ การเพาะเล้ียงแบบเชอื กแขวนซึ่งจะนยิ มในการเพาะเลยี้ งหอย การเพาะเลี้ยงในบอ ดินซึง่ จะ ไดท ง้ั การเลยี้ งน้ำเค็ม น้ำกรอ ย หรือน้ำจืด และการเล้ียงในบอซีเมนต หลักของการเพิ่มปริมาณผลผลิตสัตวน้ำ ผูเลี้ยงจะตองใหความสำคัญกับการวางแผนในการ เลี้ยง วาจะตัดสินใจเลี้ยงสัตวน้ำแบบเชิงเดี่ยวหรือ แบบผสมผสาน การจัดการระบบน้ำที่มีการสราง ออกซเิ จนทีเ่ พียงพอตอ การเล้ียง อณุ หภมู ิที่เหมาะสม การจดั การโรคและปรสติ ปรมิ าณการปลอยลูกพันธุที่มีอัตรารอดสงู และเหมาะสมการคำนวณปริมาณการปลอยลูกพันธุ ในบอเลีย้ ง โดยปกตจิ ะประมาณจากสตู รทั่วไปดงั น้ี ������ ������ ������ ������ = (������ − ������ ) ������ S= อัตราการปลอ ยลกู พนั ธุสัตวนำ้ L= ขนาดของบอปลา (ไร) หนา | 49

Y= ผลผลิตทีค่ าดหวังตอ ไร (จากการเล้ียงทีผ่ า นมา) W1=นำ้ หนักเฉล่ยี ของลกู พนั ธขุ ณะปลอย (กโิ ลกรัม) W2=นำ้ หนักเฉลีย่ ของลกู พันธขุ ณะจับ (กโิ ลกรัม) H = อัตราการจับ (รอ ยละ) ลูกพันธุโดยปกตแิ ลวจะมหี ลายขนาด ตง้ั แต ขนาดเซนติเมตร หรอื ขนาดน้วิ ซ่งึ จะมชี อ่ื เรยี ก แตกตางกัน เชน ใบมะขามซงึ่ จะมีขนาดเล็กมาก (0.5 เซนตเิ มตร) ปลาเซ็นตจะมขี นาดโตขน้ึ มาเปน ขนาดเซนตเิ มตร (1-3 เซนติเมตร) และปลานว้ิ ขนาดจะเปน 3-5 นวิ้ หากลูกพนั ธุมขี นาดทโี่ ตข้ึน ราคา และอัตราการรอดจะสงู ตามไปดว ย อาหารของสัตวน้ำแบงออกเปนอาหารหลักและอาหารเสริม อาหารหลักของสัตวน้ำถือเปน สดั สว นทมี่ ีตนทุนในการเล้ยี งมากที่สุด (มากกวา รอยละ 50) โดยปกตสิ ามารถเปน อาหารสดซ่ึงไดมาจาก ปลาเปดหรอื ปลาเลยที่เปนสัตวน ้ำท่ีจับมาแลวมีขนาดเลก็ ไมสามารถขายในราคาปลาขนาดตลาดได ใน อดตี ราคาอาหารสดไมสงู มาก แตปจ จุบันมีราคาสูงข้ึนและหาไดยากข้ึนเนือ่ งจากปริมาณการจบั สัตวนำ้ จากธรรมชาตินั้นลดลง ผูประกอบการอาหารสัตวน้ำ ไดผลิตอาหารสัตวน้ำเปนในลักษณะอาหารเม็ด โดยมีการฝกสัตวน้ำใหกินอาหารเม็ด และการใหอาหารเม็ดจะเปนสัดสวนที่สามารถกำหนดปริมาณ สารอาหารชัดเจนมีมาตรฐานกวาอาหารสด อยางไรก็ตามตนทุนของอาหารเม็ดคอนขางจะสูงทำให เกษตรกรตองพจิ ารณา โดยปกติจะพจิ ารณาจาก คาอัตราแลกเนื้อ (conversion ratio) ที่เปนสดั สวน การใหอาหารตอ ปริมาณน้ำหนกั ของสตั วน ้ำท่ีเลีย้ งได เชน หากคาอัตราแลกเน้ือเทากับ 2:1 นนั้ หมายถึง การใหอาหาร 2 กิโลกรัม จะไดเน้ือสตั วน ้ำ 1 กโิ ลกรมั ซึ่งจะนำไปคำนวณตนทนุ คาอาหารสัตวน ำ้ โดยมี สูตรการคำนวณดังน้ี ตนทนุ คา อาหารสัตวน้ำตอ หนวย = อตั ราแลกเนือ้ x ราคาอาหารสตั วน ้ำตอ หนว ย จากสตู รการคำนวณจะเหน็ ไดวา หากอตั ราแลกเน้ือมีคานอย นั้นหมายถงึ การใหอาหารสัตวน้ำ ไมม าก จะไดป รมิ าณสตั วน้ำทีม่ ากกวา ซงึ่ ตองพิจารณาราคาตอ หนวยดวย โดยปกติหากอัตราแลกนอ ยมี คานอ ย ราคาของอาหารสัตวน้ำจะสูง เกษตรกรตอ งมกี ารเปรยี บเทียบวาสุดทายแลว ตนทุนคาอาหาร ในแบบใดท่ีตำ่ กวา หนา | 50

การจางแรงงานในการเพาะเล้ียงสตั วน้ำ สวนใหญจ ะใชแรงงานจำนวนมากในชวงการจบั การ ใหอาหาร และการบำรงุ รักษาบอหรอื การดูแลบอ ตามลำดับ นอกจากปจจัยตา งๆ ทีก่ ลาวมาแลว จะมี ปจ จัยดานการเลือกทำเลท่ีตั้งของฟารมทีข่ ้นึ อยกู ับพนื้ ท่ที ี่ใกลกบั แหลงนำ้ คาเชา ราคาท่ีดิน รวมถึงการ จดั การน้ำในฟารม หลังการใชท ต่ี อ งคำนึงถึงการใชป ระโยชนข องพืน้ ท่รี อบขา งดว ย การทำฟารมสัตวน ำ้ เกษตรกรตองวางแผนการผลิตใหใหผ ลผลิตออกในชวงที่แตกตางจากฟารม อน่ื ๆ เพอื่ ใหไดรบั ราคาขายท่ี แตกตา ง หรือใหผลผลติ สัตวน ำ้ โตในขนาดตลาดชว งที่สัตวน ้ำในตลาดมีไมมาก ตัวอยาง กรณีศึกษาการเพาะเลี้ยงปลากะพงขนาดตลาดซึ่งจะจับปลากะพงขาวขายในขนาด 0.8-1 กิโลกรัมตอตัว การวิเคราะหตนทุนและผลตอบแทนของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว ประกอบดว ย ตนทุนคงที่การเพาะเล้ียงในบอดิน ซ่ึงตน ทุนคงทีท่ ี่นำมาวิเคราะหป ระกอบดวย คาเชา พ้ืนท่ีในการเพาะเลีย้ ง คาเส่อื มราคาบอดนิ ขนาดบอ ดนิ เฉลีย่ กวาง 50.37 เมตร ยาว 89.33 เมตร ลึก 1.62 เมตร คาเสื่อมราคาอุปกรณ เปนคาเสื่อมราคาของเครื่องมือและอุปกรณตาง ๆ ที่ใชในการ เพาะเลี้ยงปลากะพงขาว ไดแก อวน ถังลอย/ทุนลอย เครื่องโมป ลา เครื่องออกซิเจน เครื่องสูบนำ้ และ อ่นื คา เสยี โอกาสทรพั ยสนิ และอุปกรณ เปนคาเสยี โอกาสที่คิดใหกับเงินลงทุนในปจจัยคงท่ีตาง ๆ โดย คิดในอัตรารอ ยละ 1.25 ตอป ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำในป 2558 และคิดในระยะเวลาที่ใชใ น การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว 1 รุนเทา (8 เดือน) นั้น ตนทุนคงที่รวมทั้งหมดจะมีสัดสวนประมาณ รอย ละ 19.85 ตน ทุนผันแปรการเลี้ยงปลากะพงขาวในบอดิน ตนทุนผันแปรที่นำมาวิเคราะหประกอบดวย คา พันธุปลา ผูเ ลีย้ งในบอดินซอ้ื ลกู พันธุปลา 3 รปู แบบ ไดแ ก ปลาตมุ (ความยาว 1-2 น้ิว ราคา 0.25-4 บาท/ตวั ) ปลาใบมะขาม (ความยาว 2.5-3 นิ้ว ราคาเฉลย่ี 5-6 บาท/ตัว) และปลานิว้ (ขนาด 3.5-4 น้วิ ราคา 5-8 บาท/ตวั ) ปลอ ยประมาณ 6,710.05 ตัวตอ ไรต อ รอบ คา อาหารปลา เปนคาใชจ ายในการซอื้ อาหารปลาตั้งแตเ ริ่มตน เลี้ยงจนกระทงั่ จับขาย อาหารปลากะพงมี 2 รปู แบบ คือ อาหารสด (ปลาเหย่ือ) และอาหารเม็ดสำเร็จรูป ราคาอาหารสด มีราคาประมาณ 8 – 15 บาทตอกิโลกรัม ราคาอาหารเม็ด สำเรจ็ รูปมีราคาประมาณ 40 – 50 บาทตอกโิ ลกรัม ตน ทุนคาอาหารถือไดวาเปนตนทุนที่สูงท่ีสุดโดยท้ัง อาหารสดและอาหารสำเร็จรูปรวมเฉลี่ยเทากับ รอยละ 28.74 อยางไรก็ตามการสำรวจขอมูลที่นำมา วิเคราะหเ ปน ป 2558 ซง่ึ ในปจ จุบนั เกษตรกรสวนใหญจ ะใชอาหารเม็ดสำเร็จรูปเพิ่มข้ึน เน่ืองจากอาหาร สดนั้นมีราคาสูงขึ้นและเรือประมงมีความจำกัดในการออกเรือเพิ่มขึ้นจากมาตรการ IUU จึงทำให ปรมิ าณปลาเปด ปลาเลยมีจำนวนนอยลง คาแรงงาน เปนผลตอบแทนท่ีผูเพาะเลี้ยงจา ยใหแกแรงงานที่จางมาเพื่อใชในการสับปลาเพื่อ เปน อาหารสด การใหอาหารปลา การดูแลรักษาท่ัวไป การคัดขนาดปลาและการเฝายาม และรวมถึงคา หนา | 51

เสียโอกาสจากการใชแรงงานครอบครัว โดยคิดในอัตราที่เทากับอัตราคาจางแรงงานเฉลี่ยในพื้นที่ท่ี ทำการศึกษา คาแรงงานคิดเปน รอยละ 0.79 คาซอ มแซมบอดิน เปนคาใชจายที่ใชในการซอ มแซมบอ ดินของผูเพาะเลี้ยงมีตนทุนคาซอ มแซมโดยเฉลี่ย รอยละ 3.32 คาซอมแซมเครื่องมือและอปุ กรณตาง ๆเปนคาใชจายที่ใชในการซอมแซมเครื่องมือและอุปกรณตาง ๆ ของผูเพาะเล้ียงในบอดิน เชน รถบรรทุกออกซิเจน รถกะปอ เครื่องตีน้ำ เครื่องปน ตะกรา ตะแกรง เครื่องโม เครื่องหั่นปลา สวิง เครื่องสูบนำ้ มอเตอรป น น้ำ อวน เปน ตน มตี น ทุนคา ซอ มแซมโดยเฉลี่ยตอ รอบ รอยละ 2.01 คา ไฟฟา เปนคาใชจ ายในการใชไฟฟา ใหกับเครื่องมือและอุปกรณตาง ๆ เชน เคร่ืองบดอาหาร เครื่องปนไฟ เคร่ืองตีน้ำ หลอดไฟ เปนตน จากการสำรวจพบวา ผูเพาะเล้ียงในบอดนิ มีตนทุนคาไฟฟา โดยเฉลี่ยเทากับ รอยละ 5.59 คาน้ำมันเชื้อเพลิง เปนการใชจายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงใหกับ เครื่องยนตเรือ เครื่องออกซิเจน เปนตน มีสัดสวนรอยละ 6.82 และคาเสียโอกาสเงินทุนระยะส้ัน โดยประมาณทอ่ี ตั รารอยละ 1 ตอ ปท ัง้ น้ีคดิ จากดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร การวเิ คราะหผลตอบแทน พบวา ผลผลิตทั้งหมดตอไรเทากับ 2,090.73 กิโลกรมั ตอไร ราคา เฉล่ยี หนา ฟารม เทา กบั 149.49 บาทตอกิโลกรมั มรี ายไดทั้งหมดเฉลีย่ เทากบั 312,542.96 บาทตอ ไรตอ รอบ ดังนั้นจึงมกี ำไรสุทธิเทา กับ 71,951.94 บาทตอไรต อ รอบ หรือตนทุนทั้งหมดเทากับ 114.59 บาท ตอกก. รายไดเ ทา กับ 149.49 บาทตอกก. กำไรสทุ ธเิ ทา กบั 34.90 บาทตอกก. (ตารางที่ 3.1) ตารางที่ 3.1 ตน ทนุ การเพาะเลย้ี งปลากะพงขาว 1 รุน ของผูเพาะเล้ียงปลากะพงขาวในบอ ดิน อำเภอ บางปะกง จังหวดั ฉะเชิงเทรา ปการผลติ 2558 ประเภทคาใชจ า ย ตน ทุนเฉล่ยี (บาท/ไร/ รอบ) เปน เงินสด ไมเปนเงินสด รวม รอยละ ตนทุนผันแปร คาพันธป ลา 29,242.01 - 29,242.01 12.21 คาอาหาร 68,858.39 68,858.39 28.74 คาแรงงาน 397.43 1,503.51 1,900.94 0.79 คา ซอมแซมบอ 7,944.20 - 7,944.20 3.32 คาซอมแซมอุปกรณ 4,821.39 - 4,821.39 2.01 คาไฟฟา 13,383.50 - 13,383.50 5.59 คา น้ำมันเชอื้ เพลงิ 16,344.92 - 16,344.92 6.82 หนา | 52

ประเภทคาใชจา ย ตน ทุนเฉลี่ย (บาท/ไร/ รอบ) เปน เงนิ สด ไมเ ปนเงนิ สด รวม รอยละ 0.43 คาเสยี โอกาสเงนิ ลงทุน 1,041.47 - 1,041.47 80.15 รวมตนทุนผนั แปร 142,033.32 1,503.51 192,013.51 0.85 2.60 ตนทุนคงที่ 16.25 คาเชา พื้นท่ี 2,037.22 - 2,037.22 0.15 6,228.61 6,228.61 คาเสอ่ื มราคาบอ ดิน 38,920.39 38,920.39 19.85 คาเสอื่ มราคาอปุ กรณ - 2,090.73 239,566.57 คาเสยี โอกาสทรัพยส นิ และ - 366.84 366.84 144,070.54 อปุ กรณ 47,019.35 รวมตนทนุ คงที่ 2,037.22 45,515.84 47,553.06 312,542.96 47,019.35 239,566.57 72,976.39 รวมตน ทุนทัง้ หมด 144,070.54 114.59 ผลผลติ ท้งั หมด (กก./ไร) 68.91 ตนทนุ ท้งั หมด (บาท/ไร) 22.49 34.90 ตน ทุนท้งั หมดท่เี ปน เงนิ สด (บาท/ไร) ตนทุนท้งั หมดทไ่ี มเ ปน เงินสด (บาท/ไร) รายไดท ง้ั หมด กำไรสุทธิ (บาท/ไร) ตนทนุ ทง้ั หมด (บาท/กก.) ตนทุนทั้งหมดท่ีเปน เงนิ สด (บาท/กก.) ตนทุนทัง้ หมดที่ไมเปน เงนิ สด (บาท/กก.) กำไรสุทธิ (บาท/กก.) ท่มี า: กุลภา กลุ ดลิ ก (2558) หนา | 53

3.2.3 การวิเคราะหประสิทธภิ าพการผลิตของฟารมเพาะเล้ียงสตั วนำ้ การวิเคราะหเ ศรษฐกจิ สัตวน้ำที่กลาวกอนหนาน้ี เปนการวเิ คราะหตน ทนุ และผลตอบแทนของ การทำฟารมสัตวน้ำ เพื่อที่จะไดทราบถึงปจจัยแตละชนิด ปริมาณการใช และราคาตนทุน ในการ คำนวณคาใชจายตางๆ ทีเ่ กดิ ข้นึ จากการเพาะเล้ียงสัตวน ้ำ ในฐานะเจา ของฟารมมคี วามจำเปนท่ีจะตอง จดบันทึกและคำนวณรายละเอียด เพื่อใหทราบวามีคาใชจายอะไรเกิดขึ้นบาง และในรอบการเลี้ยง หน่ึงๆ คดิ เปนคา ใชจา ยท้ังหมดเทา ไหร และผลผลิตจากการเลีย้ งมีปรมิ าณเทา ไหร ราคาหนาฟารมเปน เทาไหร เพ่ือคำนวณวามีรายไดสุทธิหลงั จากหักคาใชจายท้ังหมดหรือไม หรือวาขาดทุน หากมรี ายได สุทธนิ อยเกินไป ตองพิจารณาวาคาใชจา ยใดที่เปนสัดสวนมาก สามารถปรับลดลงไดหรือไม หรอื หาก ขาดทุนตองพิจารณาวาเปนเพราะเหตุใด มีตนทุนบางอยางที่สามารถประหยัดไดหรือไม หรือตอง ปรับเปลี่ยนใหผลผลิตสตั วน้ำออกขายใหไมตรงกับฟารม อ่นื เพ่อื ไมใ หราคาท่ไี ดรบั ตกตำ่ เกินไป เปนตน ทฤษฎเี ศรษฐศาสตรการผลิต สำหรับการวเิ คราะหประสิทธิภาพการผลิตของฟารมสัตวน้ำจะเปนการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร การผลติ มาประยุกตก ับการเพาะเลย้ี งสตั วน ำ้ โดยเร่ิมจากการวิเคราะหปจ จัยการผลติ ทม่ี ผี ลตอ การผลิต การวเิ คราะหป ระสิทธภิ าพทางเทคนคิ และการวเิ คราะหประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ การวิเคราะหปจจัยการผลิตที่มีผลตอการผลติ เปนลำดบั แรกของการวิเคราะหประสทิ ธิภาพ การผลิต ทง้ั น้เี พ่ือใหท ราบถึงปจ จัยผันแปรที่มคี วามสำคญั ตอการผลิตกอนท่ีจะวัดประสทิ ธิภาพของ ปจ จัยการผลติ นั้นๆ การวิเคราะหปจจัยการผลิตทีม่ ผี ลตอการผลติ สามารถทําไดโดยการคาดคะเนสมการการผลติ หรือ ฟงกชั่นการผลติ (Production Function) โดยฟงกชั่นการผลิตเปนการแสดงถึงอัตราทีป่ จจัยการ ผลิตตา งๆ ถูกเปล่ียนไปเปนผลผลิต เพื่อใหทราบถึงความสัมพันธทางดานกายภาพระหวางปจจัยการ ผลติ กับผลผลิตท่เี กดิ ขึน้ ในขบวนการผลิต (ศรัณย วรรธนจั ฉรยิ า, 2535) ซ่งึ ส่ิงท่ีตอ งพจิ ารณา คอื 1) ตัว แปรหรือปจจัยการผลิตอะไรบางที่สามารถอธิบายความผันแปรของผลผลิต และ 2) ความสัมพันธ ระหวางปจ จยั การผลิตกบั ผลผลติ เปนแบบใด รปู แบบของฟง กช ่ันการผลิตมีอยหู ลายรปู แบบ เชน Linear Function ( f(x) = a + bx ) , Quadratic Function ( f(x) = ax2 + bx + c ), Cubic Function ( f(x) = ax3+ bx2 + cx + d ), Translog function ( ln f(x) = lnA + b1lnX1 ), และ Cobb-Douglas Function (f (x) = AX1b1X2b2. หนา | 54

ฟง กชั่นทน่ี ิยมมากทสี่ ดุ ในการอธบิ ายความสัมพันธข องการผลติ คอื Cobb Douglas เพราะเปน ฟงกชัน่ ที่สามารถอธบิ ายใหเ ขาใจงาย David L.Debertin (2012) ไดอธิบายรูปแบบฟงกชน่ั ของ Cobb Douglas แบบ Early Generalizations ดังสมการที่ 3.1 Y = Ax1b1x2b2x3b3x4b4…xnbn..................3. 1 โดยกำหนดให Y = ผลผลติ A = คา คงที่ X1, X2,…..,Xn = ปจ จัยการผลิตผันแปรชนดิ ตา ง ๆ b1,b2,…….,bn = คาสมั ประสิทธิก์ ารผลติ ของปจจัย X1, X2,…..,Xn ตามลำดับ การวิเคราะหป ระสทิ ธิภาพการผลติ ทางเทคนิค การวิเคราะหประสิทธภิ าพการผลิตทางเทคนิค (Technical Efficiency) เปนการวเิ คราะหวา ผลผลิตที่ไดจากการใชปจจัยผันแปรตางๆ มีการใชปจจัยการผลิตอยางมีประสิทธิภาพหรือไม ซ่ึง พิจารณาไดจากผลติ ภาพเพ่ิมหรือ Marginal Physical Product (MPP) หมายถงึ การเปล่ยี นแปลงของ ผลผลิต อันเนื่องมาจากการใชป จจยั ผนั แปรชนดิ หน่ึงเพ่ิมขึ้น 1 หนว ย หรอื หมายถึงการใชปจจัยผันแปร ที่เพ่มิ ขน้ึ แตละหนว ย จะทำใหผลผลิตเพ่ิมข้นึ มากนอยเพยี งใด หากผลผลติ สามารถเพม่ิ ขน้ึ ไดมากกวา 1 จะแสดงใหเห็นถึงประสิทธิภาพการใชป จจัยการผลิตไดดีระดับหนึ่ง หรือหากผลผลิตเพิ่มลดลง อาจ แสดงใหเ ห็นวาการใชปจ จัยการผลิตนัน้ ยังมีประสิทธิภาพไมเพียงพอ ทั้งนี้กําหนดใหปจจยั ผันแปรชนิด อื่นๆ คงที่ ในการคาํ นวณผลติ ภาพเพ่ิมข้ึนของปจ จัยการผลิตแสดงไดโดย (ศรณั ย วรรธนัจฉริยา, 2539) อา งถึงสมการท่ี 3.1 Y = AX1b1 X2b2 ………Xnbn เมอื่ คำนวณการใชปจ จัยการผลติ ผนั แปรเพ่มิ แตล ะชนิด เพ่ือใหไ ดผ ลผลติ เพ่ิม/ลด ดงั แสดงใน สมการ 3.2-3.4 หนา | 55

กำหนดให = Ab1X1b1-1X2b2 ……Xnbn = MPPx1................3. 2 = Ab2X1b1-1X2b2-1 ……Xnbn = MPPx2................3. 3 MPPx1 = AbnX1b1X2b2 ……Xnbn-1 = MPPxn................3. 4 MPPx2 = ผลิตผลเพิม่ จากการใชปจจัยการผลิตชนดิ ท่ี 1 MPPxn = ผลิตผลเพ่ิมจากการใชป จ จัยการผลติ ชนิดที่ 2 = ผลิตผลเพิม่ จากการใชป จจยั การผลติ ชนดิ ที่ n การวิเคราะหประสิทธภิ าพทางเศรษฐกจิ การวิเคราะหประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เปนการวเิ คราะหถึงระดับการใชปจ จัยการผลิตที่ให ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งสามารถพิจารณาไดทั้งระดับการใชปจจัยที่เหมาะสม และระดับผลผลิตที่จะให กำไรสูงสุดหรือผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งในทางเศรษฐศาสตรมองในแงของกำไรหรือผลตอบแทนสูงสุด ไมใชระดับการผลติ ท่ใี ชผ ลผลิตสงู สดุ เสมอไป ในกรณีที่ตลาดผลผลิตและตลาดปจจัยการผลิตเปนตลาด แขงขันโดยสมบูรณแลว ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใชปจจยั การผลิตที่เหมาะสมและไดก ำไร สูงสุด ตอเมื่อมูลคาของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการใชปจจัยการผลิตชนิดนั้น (Value of Marginal Product: VMP) มีคา เทากับ ราคาของการใชป จ จัยการผลติ ชนิดนน้ั ๆ ดังสมการท่ี 3.5-3.7 L = Py f(Xi) – Pxi  X1 – PX2  Xi .................3.5 โดยที่ i = 1,2,3,…,11 ; Py - PXi = 0 ...............3.6 PyMPPXi = PXi MPPXi = .................3.7 หนา | 56

MPPxi ผลผลิตเพิ่มจากการใชป จจัยการผลิตชนดิ ท่ี i Pxi คอื ราคาปจจัยการผลติ ชน้ิ ท่ี i Py คือ ราคาผลผลิต L คือ กำไร การวเิ คราะหป ระสทิ ธิภาพทางการผลิตทางเศรษฐกิจ (Economic Efficiency) ในการหาระดับ การใชป จจยั การผลติ ท่มี ปี ระสิทธภิ าพทางเศรษฐกจิ รวมกบั หลกั อรรถประโยชนที่เทา กนั ถา หากมีปจ จัย ผันแปรอยูจํานวนมากแลวและสามารถใชปจจัยนั้นไปไดเรื่อย ๆ ตราบเทาท่ีมูลคาของผลผลิตที่เพิ่ม (Value of Marginal Product: VMP) ยังมคี า มากกวา มูลคาของปจจยั ผนั แปรทน่ี าํ มาใชเ พม่ิ ในการผลิต (Marginal Factor Cost: MFC) หรือ VMP ≥ MFC ระดับการใชปจ จยั ทจ่ี ะทาํ ใหไดก ําไรสูงสุดก็คือการ ใชปจจัยการผลติ จนกระทงั่ VMP = MFC (ศรณั ย วรรธนจั ฉรยิ า, 2539) ในการคาํ นวณจะใชหลักดงั น้ี ผผู ลิตจะไดร บั กาํ ไรสูงสดุ ณ จุดการผลติ ที่ VMPxi = MFC ..................3.8 ในตลาดแขงขันสมบูรณ MFC = Pxi ..................3.9 ดังน้นั VMPxi = Pxi .................3.10 หรือ = 1 .................3.11 ถาปจจัยการผลติ หลายชนดิ ผูผลติ จะไดร ับกาํ ไรสงู สดุ (Maximize Profit) ท่ี = =…= =1 .................3.12 แต VMPx1 = MPPx1 * Py MPPx1 * Py = Px1 MPPx1 = ...............3. 13 MPPx1 dY = dX1 จะได = ab1x1b1-1x2b2…xnbn ..................3. 14 ในทำนองเดียวกัน หนา | 57

= abnxnbn-1x1b1x2b2…xn-1bn-1 ...............3. 15 กาํ หนดให มูลคา ผลผลติ เพิม่ ของปจจัยการผลิตท่ี i (i = 1, 2, 3, …., n) ตน ทุนเพม่ิ จากการใชป จจัยการผลิต VMPxi = ราคาของปจจยั การผลิตชนิดท่ี i (i = 1, 2, 3, …., n) MFC = ราคาผลผลติ Pxi = ผลผลติ เพมิ่ ของการใชป จ จยั การผลิต x ท่ี i (i = 1, 2, 3, …., n) Py = MPPxi = จะใชสมการที่ 13.13 และสมการที่ 13.14 ในการคํานวณหาขนาดการใชปจจัยการผลิตแตละชนิด เพือ่ ใหไ ดกาํ ไรสูงสดุ กรณีศึกษา จากการวเิ คราะหประสิทธิภาพการผลิตของการเลี้ยงปลานิลในบอดินในจังหวัด เชียงราย (ศุภลักษณ มะลิทอง และคณะ, 2559) ไดกำหนดปจจยั ที่สงผลกระทบตอการเพาะเลีย้ งปลา นิลในบอดินดงั น้ี Y = ผลผลติ ปลานลิ (กโิ ลกรัมตอ บอ ตอ รนุ ) X1 = อตั ราความหนาแนน ในการปลอ ยพันธุปลานลิ (ตัวตอ บอตอรนุ ) X2 = ปรมิ าณอาหาร (กิโลกรัมตอบอ ตอรุน ) X3 = จำนวนแรงงาน (ชว่ั โมงทำงานตอบอ ตอรุน ) X4 = ขนาดของบอเลีย้ ง (ไร) ผลการวิเคราะหแ บบจำลองการผลติ ปลานลิ การศกึ ษาปจจัยทีม่ ีผลกระทบตอการผลติ รวมถึงรูปแบบและความสมั พันธระหวางปจจัยการ ผลิตตาง ๆ กับผลผลิตโดยใชสมการการผลิตแบบคอบบ-ดักลาส (Cobb-Douglas production function) ซงึ่ ปจจยั การผลิตทจ่ี ะนำมาพิจารณาในการศกึ ษาคร้ังนี้ประกอบดว ย อัตราความหนาแนนใน การปลอยพันธุปลานิล ปริมาณอาหาร จำนวนแรงงาน และขนาดของบอเลี้ยง จาก ตารางที่ 3. 2 การ ตรวจสอบปญหาความสัมพันธระหวางตัวแปร (Multicollinearity) โดยการพิจารณาคา Tolerance หากใกล 1 แสดงถึงตัวแปรทพี่ จิ ารณามีความสัมพนั ธน อย แตห ากเขาใกล 0 แสดงถึงตวั แปรท่ีพิจารณา หนา | 58

มีความสัมพันธมาก สำหรับคา VIF (Variance Inflation Factor) คา VIF เปนตัววัดที่แสดงใหเห็นวา ถาตัวแปรทำนายนั้นมีความสัมพันธกันจะทำใหความแปรปรวนของคาสัมประสิทธิ์ของตัวแบบการ ถดถอยจะมีคาเพิ่มขึ้น และเมื่อความแปรปรวนของเพิ่มขึ้นแปลวาความนาเชื่อถือของตัวแบบคง ลดลง ถา คา VIF นอยจะแสดงถงึ ความสัมพนั ธข องตัวแปรทพี่ จิ ารณามีความสัมพันธน อย ทง้ั นีจ้ ะเหน็ ได วา ตวั แปรทุกตัวทพ่ี จิ ารณามคี วามสัมพนั ธก นั นอ ยจากทง้ั สองเกณฑการพจิ ารณา ตารางท่ี 3. 2 คา สมั ประสิทธิ์สหสัมพันธ (Correlation coefficient) ของผูเ พาะเลีย้ งปลานิลในบอดิน ตัวแปร อัตราความแปรปรวนเฟอ ความคลาดเครยี ดยนิ ยอม (Tolerance) (VIF) 0.42 จำนวนลกู พนั ธปุ ลานลิ (X1) 2.39 0.48 0.75 ปริมาณอาหาร (X2) 2.06 0.92 จำนวนแรงงาน (X3) 1.34 ขนาดของบอเลี้ยง (X4) 1.09 ท่ีมา: ศุภลกั ษณ มะลิทอง (2559) ผลการวเิ คราะหส มการการผลิตของผเู พาะเลยี้ งปลานิลในบอดิน ในการวิเคราะหแบบจำลองการผลิตของผูเพาะเลี้ยงปลานิล พบวา เมือ่ ปรับแบบจำลองใหอยู ในรูป Linear Natural Logarithm การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของคา สัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระ ทุกตัว พบวา จำนวนลูกพันธุ (X1) ปริมาณอาหาร (X2) จำนวนแรงงาน (X3) มีผลตอการผลิตปลานิล อยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญรอยละ 95 ทั้งนีค้ าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระทุกตัวเปน บวก ซึ่งหมายความวาหากมกี ารเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ จะทำใหผลผลิตปลานิดเปล่ียนแปลงไป ทศิ ทางเดียวกนั อยางไรก็ในแบบจำลอง คอบบ-ดักลาส ในรปู แบบ Linear Natural Logarithm นัน้ บอกเพียง วาปจจัยการผลิตชนิดใดบางมีผลอยา งมีนัยสำคัญตอผลผลิตปลานิล และปจจัยการผลิตแตละชนิดมี ความสมั พันธใ นทิศทางใดกับผลผลิตปลานลิ ดงั น้นั จงึ ตองวิเคราะหว า เปลย่ี นแปลงปจ จัยการผลิตแตละ ชนดิ ทำใหเกดิ การเปลี่ยนแปลงตอ ผลผลิตอยางไร โดยการพิจารณาจากคาความยดื หยุน ซึ่งพบวา คา ยืดหยุนตอปริมาณอาหารปลาที่ใชมีคามากที่สุด หากเพิ่มปริมาณอาหารปลารอยละ 1 จะทำใหเลี้ยง ปลานิลไดเพิ่มรอยละ 0.567 รองลงมาคือ จำนวนลูกปลานลิ ที่ปลอย หากเพิ่มจำนวนลูกพนั ธุรอยละ 1 จะทำใหเ ลยี้ งปลานิลเพ่ิมรอยละ 0.5389 หากเพ่ิมจำนวนแรงงานรอ ยละ 1 จะทำใหผ ลผลิตปลานิลเพิ่ม หนา | 59

รอยละ 0.4008 สำหรับขนาดของบอ ที่ไมมีนัยสำคัญทางสถิติ หากขนาดของบอเลี้ยงเพิ่มขึ้นรอยละ 1 จะทำใหเ ลี้ยงปลานลิ เพ่ิมรอยละ 0.1036 ท้งั น้แี ตละปจ จยั ทีพ่ ิจารณา จะกำหนดใหปจจยั อ่ืนๆ คงที่ เมือ่ คำนวณคา ความยืดหยุนของปจจัยการผลิตทั้งหมดที่มีนยั สำคัญทางสถิติมารวมกันมีคาเทากับ 1.5024 ซึ่งแสดงใหเหน็ วาอยูในระยะผลตอบแทนตอขนาดการผลิตเพ่ิมขึ้น (Increasing returns to scale) ซ่ึง หมายถึงการผลิตสามารถเพิ่มปจจัยการผลิตไดอีก หากมีการเพิ่มปจจัยการผลิตที่มีนัยสำคัญ ไดแก จำนวนลูกพันธุ ปริมาณอาหาร และจำนวนแรงงาน รอยละ 1 จะทำใหผลผลิตปลานิลยังคงเพิ่มข้ึน มากกวารอยละ 1 ตารางที่ 3. 3 แบบจำลองการผลิตของผูเ พาะเลี้ยงปลานลิ ในบอดนิ ในรปู Linear Natural Logarithm ปจ จยั การผลติ คาสัมประสิทธิ์ ความคลาด t-value ระดับความมี นยั สำคัญ คา คงที่ (คา ความยืดหยุน) เคล่อื นมาตรฐาน -4.44 จำนวนลูกพันธุปลานลิ (X1) 3.55 0.000*** ปรมิ าณอาหาร (X2) -4.1111 0.92560 4.43 0.000*** จำนวนแรงงาน (X3) 3.88 0.000*** ขนาดของบอเลย้ี ง (X4) 0.5389 0.1519 1.22 0.000*** 0.223 0.5627 0.1270 0.4008 0.1032 0.1036 0.0849 ผลการวเิ คราะหประสิทธิภาพการใชป จจัยการผลิต สามารถวัดได 2 ดา น คอื ประสิทธภิ าพการ ใชปจจัยการผลติ ทางดานเทคนิค และดานเศรษฐกจิ จากแบบจำลองคอบดกั ลาส lnY = -4.1111 + 0.5389lnX1 + 0.5627lnX2 + 0.4008lnX3 + 0.1036 lnX4 โดยแทนคามธั ยฐานของตวั แปรอิสระแตละชนิดเพ่อื หา Y ln Y = -4.1111 + 0.5389ln(3789.054) + 0.5627ln(8571.99) + 0.4008ln(148.83)+ 0.1036 ln(2.625) In Y = 7.8593 ดังน้นั Y = 2589.7224 คำนวณคาผลผลติ เพิม่ แตล ะการใชปจ จัยการผลิตดังน้ี MPPx1 = ( . )( . ) = 0.3683 . หนา | 60

MPPx2 =( . )( . ) = 0.1700 . MPPx3 =( . )( . ) = 6.9737 . MPPx4 = ( . )( . ) = 102.2077 . ผลการวิเคราะหประสิทธิภาพทางเทคนิค พบวา หากเพิ่มจำนวนลูกพันธุ 1 ตัวตอบอ จะได ผลผลติ ปลานิลเพม่ิ 0.3683 กโิ ลกรมั ตอบอ การเพิ่มปริมาณอาหาร 1 กิโลกรมั ตอบอ จะไดผลผลิตปลา นิลเพ่ิมเทากับ 0.1700 กโิ ลกรมั ตอ บอ และหากเพ่ิมจำนวนแรงงาน 1 ชวั่ โมงทำงาน จะทำใหไดผลผลิต เพิ่มเทา กับ 6.9737 กิโลกรมั ตอ บอ ตามลำดับ ผลการวิเคราะหป ระสทิ ธิภาพทางเศรษฐกิจ พบวา เม่อื คำนวณคา มลู คา ผลผลติ เพิ่มโดยการคูณ ดว ยราคาปลานิลตอ กโิ ลกรมั เพ่อื พจิ ารณาการใชป จจัยการผลิตดานเศรษฐกจิ ไดด ังน้ี VMPx1 = 0.3683x54.22 = 19.9706 VMPx2 = 0.1700x54.22 = 9.2174 VMPx3 = 6.9737x54.22= 378.1123 VMPx4 = 102.2077x54.22 = 2.3074 จากขอ มูลทีไ่ ดคำนวณ อธิบายไดวา เมื่อมีการเพิ่มจำนวนลูกพันธุปลานิล 1 ตัว มูลคาผลผลิต เพ่ิมของปลานลิ มคี าเทา กบั 19.9706 บาท ควรเพ่มิ ระดับท่เี หมาะสมในการปลอ ยลูกพันธุเทากับ 3,789 ตวั ตอบอ สำหรับปรมิ าณอาหารปลาเพมิ่ ข้ึน 1 กิโลกรัม จะทำใหผลผลติ ปลานลิ เพ่ิมขึ้นเปนมลู คาเทากับ 9.2174 บาทตอกิโลกรัม ควรลดปรมิ าณอาหารลง โดยระดบั ทเี่ หมาะสมเทากับ 8,571.981 กโิ ลกรัมตอ บอ สำหรับแรงงาน หากเพิ่มการจางแรงงาน 1 ชั่วโมงทำงาน จะทำใหผลผลิตปลานิลเพิ่มขึ้นคิดเปน มูลคา 378.1123 บาทตอกโิ ลกรัม หากเทยี บกบั แรงงานเฉลี่ยเทากบั 37.5 บาทตอช่ัวโมงทำงาน แสดง หนา | 61

วาแรงงานที่ใชนอยกวาจุดเหมาะสม ดังนั้น ผูเลี้ยงสามารถเพิ่มแรงานได โดยระดับที่เหมาะสมคือ 148.84 ชว่ั โมงตอบอ โดยสรปุ แลวการวเิ คราะหเ ศรษฐกิจการผลติ จะชวยในการพิจารณาไดว า ตนทนุ จากการใชปจจัย การผลิต สัดสวนของการตนทุนที่มีสัดสวนสูงควรไดรับการจัดการที่ดีมากขึ้นใหมีการใชอยางมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ซง่ึ จะสอดคลองกับการวเิ คราะหป ระสทิ ธิภาพทางเทคนิค ท่สี ามารถบอกไดวาหาก มีการเพิม่ หรือลดปจจัยการผลิตจะสงตอผลผลิตอยางไร และประสิทธิภาพการใชปจจัยการผลิตทาง เศรษฐกิจที่สามารถอธบิ ายไดวา ระดับที่เหมาะสมของการใชปจจัยการผลิตควรเปนเทาไหรเมื่อมีการ พจิ ารณาถึงมลู คาผลผลิตทเ่ี พิ่มข้นึ 3.3 ระบบการจัดการฟารมสัตวน้ำสมัยใหมแ ละเทคโนโลยีในการเพาะเล้ยี งสัตวน ำ้ ปจจุบนั โลกอินเตอรเน็ต สามารถชวยสนบั สนนุ การเพาะเล้ียงสตั วน ำ้ ใหมีประสทิ ธิภาพมากขึ้น การจดั การฟารมสตั วน้ำสมัยใหม จะเปนการนำความคดิ กา วหนาและเทคโนโลยมี าชวยใหมีการปรับปรุง แกไขทันสถานการณได เชน เทคโนโลยีตรวจสอบสภาพบอเพาะเลี้ยงในทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ (Aquaculture on Internet of Things: Aqua IoT) ซึ่งเปนระบบที่ชวยในการเฝาระวัง สภาวะท่ี อาจจะเกิดขึ้นไดในบอเลี้ยง ไดมีการนำระบบนี้มาใชในประเทศไทยแลวกับบอเลี้ยงกุง (PPTV, 2563) ซึ่งประกอบดวยเทคโนโลยียอย ไดแก ระบบตรวจวัดและติดตามสภาพทางกายภาพ (Grow Fit System) ระบบตรวจวดั และติดตามสภาพทางกายภาพ (MuEye System) ระบบตรวจวัดและติดตาม สภาพทางเคมี (ChemEye System) ระบบตรวจวัดและติดตามสภาพทางชีวภาพ (Minimal Lab System) ะบบตรวจวัดและติดตามสภาพทางกายภาพ (Grow Fit System) จะเปนระบบตรวจวัด ติดตาม แจงเตือน คา ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) คาอุณหภูมิของน้ำ และคาความเปนกรดเปนดาง (PH) และวัดความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณน้ำฝน และปริมาณแสง โดยขอมูลทั้งหมดหลงั วิเคราะห ดว ยเคร่ืองแลว จะสงผานไปยังแอปพลิเคช่นั และคอยเตือนเมื่อมเี หตุการณผิดปกติ จงึ สะดวกตอผูใชงาน ในการตดิ ตามคา ตางๆ ท่กี ลาวมา ซงึ่ เปนปจจยั สำคัญในการเพาะเลย้ี งสตั วน ำ้ ระบบตรวจวัดและตดิ ตามสภาพทางกายภาพ (MuEye System) เปนกลองตรวจจุลชวี ะขนาด เล็กในนำ้ เพื่อดูวามีความผดิ ปกติในสตั วน้ำวยั ออน ซ่งึ แสดงผลผา นหนา จอคอมพิวเตอร ระบบตรวจวดั และตดิ ตามสภาพทางเคมี (ChemEye System) เปน ระบบสำหรบั ตรวจสอบระดับแอมโมเสีย คลอรีย ไนเตรท ไนไตรท จะมคี วามแมนยำในการตรวจคุณภาพของสารเคมใี นนำ้ แทนการอานคาสีดว ยตาเปลา หนา | 62

ระบบตรวจวดั และติดตามสภาพทางชีวภาพ (Minimal Lab System) เปน ระบบตรวจรูปแบบของ จลุ ินทรียในการเพาะเลีย้ ง ตดิ ตามการเจริญเติบโตของจุลชพี แบบตอ เน่ืองในบอเลยี้ ง การตรวจหาเชือ้ จะนำน้ำในบอไปใสหลอดทดลองในเคร่อื งตรวจหาเชอ้ื และกดใหเ ครอ่ื งทำงาน การตรวจควรทำ 2 ครั้ง เพือ่ ยืนยันขอ มูล ซงึ่ ระบบนี้มีความสะดวกใชเ วลาประมาณ 1 ชัว่ โมง โดยท่ีไมต อ งนำตวั อยา งนำ้ ไปตรวจ ท่แี ลปของกรมประมงท่ตี องใชเ วลานานถึง 24 ชั่วโมง ภาพท่ี 3.5 ระบบติดตามการเจริญเตบิ โตของแบคทเี รีย ท่ีมา: PPTVHD 2563 และ Nstda 2561 ภาพที่ 3. 6 แอปพลเิ คช่ัน “นิล4.0” เพื่อการเพาะเลีย้ งปลานิลโดยเฉพาะ ทมี่ า: วราห เทพาหดุ ี (2563) หนา | 63

นอกจากนน้ั ยงั มีการสรา งแอปพลเิ คช่นั “นลิ 4.0” เพอ่ื การเพาะเล้ยี งปลานลิ โดยเฉพาะ (วราห เทพาหุดี, 2563) โดยแอปพลเิ คชัน่ นี้ สามารถคำนวณอาหารท่ีจะให ประสทิ ธิภาพการเลย้ี ง ตนทนุ ผลตอบแทน ดชั นีคุณภาพนำ้ โรคและการปองกนั รักษา การตรวจวัดความยาว นำ้ หนัก จำนวนตัว และน้ำหนักเฉลย่ี จากการถายรปู ปลาเปรยี บเทียบกบั วัตถทุ ล่ี อยน้ำไดเ พื่อใหทราบความยาวทแ่ี นน อน ทั้งนจี้ ะใชสมารท โฟนในการควบคุมดูแลฟารม ได โดยมกี ารพฒั นาฐานขอมูลขนาดใหญร วบรวมขอมลู เก่ียวกับปลานลิ ชั่ว ประเทศ “บิก๊ นิล” เพ่ือเพม่ิ ประสทิ ธิภาพการเล้ียงปลานิล เทคโนโลยีการทำฟารมอาหารลกู พนั ธุ การนำเทคโนโลยีในการพฒั นาผลิตภัณฑใ หม ในการทำ สาหรา ยแบบเขมขนสำหรับเปนอาหารลูกกุง โดยสรางระบบในการเพาะเลย้ี งสาหรายท่มี ีมาตรฐาน และ การสรางเทคโนโลยีระบบเพาะเล้ียงลูกกุงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเปนของภาคเอกชนบริษัท อัลจบี า การทำ สาหรายแบบเขมขนเปนการเลี้ยงสาหรายขึ้นมา ซึง่ จะเปนประโยชนเ พิ่มขึ้นและสะดวกมากขึ้นสำหรับ การใชสาหรา ยขนาดเล็กเปนอาหารใหแกลูกกุง ซ่ึงประเทศไทยมักประสบปญ หาเรื่องสาหรายที่นำมา เลี้ยงลูกกุงไมไดตามมาตรฐานที่ตองการเพราะไดรับผลกระทบจากภายนอกทั้งสภาพอากาศและ สภาพแวดลอม ดังภาพที่ 3. 7 นอกจากนั้นยังมีระบบเพาะเลี้ยงลูกกุงแบบอัตโนมัติ (Automated Hatchery) จะเปนเทคโนโลยีทีจ่ ะเขามาชวยยกระดับคุณภาพในการเลี้ยงลูกกุง ที่ใชเทคโนโลยีในการ ดูแลการเลี้ยง จากเดิมจะใชคนทำหนาที่ดูแลเพาะเลี้ยงลูกกุง โดยเทคโนโลยีทำใหส ามารถวิเคราะหท้งั ขนาดของลูกกุง จำนวนลูกกุง รวมถึงวิเคราะหการใหอาหารแกลกู กุงวาควรใหระดับเทาใด และมีความ เหมาะสมหรือไม สง ผลใหไดก ุงท่มี มี าตรฐานออกมาสูตลาด ภาพท่ี 3. 8 หนา | 64

ภาพท่ี 3. 7 การจดั ทำระบบการเลย้ี งสาหรา ยแบบเขม ขนเพือ่ เปนอาหารใหลกู กงุ ที่มา: โพสทเู ดย (2561) ภาพที่ 3. 8 ระบบเพาะเล้ยี งลูกกงุ แบบอตั โนมตั ิ (Automated Hatchery) ท่ีมา: โพสทเู ดย (2561) 3.4 ผลกระทบดา นสิ่งแวดลอมจากการเพาะเล้ยี งและการจัดการดานส่ิงแวดลอม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำในดานสิ่งแวดลอมและมีการจัดการดาน สิ่งแวดลอมนั้น พบวา ในประเทศไทย ไดมีผูวิจัย (Sampantamit T. et-al., 2020) ศึกษาการเพิ่มข้ึน ของการเลี้ยงกงุ ในพ้นื ท่ชี ายฝงน้นั สง ผลตอ การสลายตวั และลดพน้ื ท่ีปาในบรเิ วณชายฝงซง่ึ รวมถึงปาชาย เลน ปาชายเลนนั้นเปนพื้นที่ทีม่ ีความสำคัญตออาหารของมนุษย เปนแหลงที่อยูอาศัยของสัตวน้ำวัย หนา | 65

ออ น การรักษาชายฝง ทะเล การควบคมุ น้ำทวม การทรุดของดิน และการรักษานำ้ ซง่ึ การเพาะเล้ยี งเปน สาเหตหุ ลักที่ทำใหพ ื้นที่ปาชายเลนลดลงอยางมาก ในชวงป 2543 - 2547 ภายหลังมีการหามเล้ียงกุง ภายในพื้นที่ปาชายเลน จึงทำใหพื้นที่ปาชายเลยสูญเสียนอยลง ในป 2552-2557 ปญหาดาน สิ่งแวดลอมอีกดา นคอื การเพาะเลี้ยงกุงสง ผลตอการสรา งมลพิษทางน้ำเนือ่ งจากการปลอยน้ำท่ีใชเลี้ยง สัตวน้ำโดยปราศจากการบำบดั ซ่งึ นำ้ เหลา น้มี าจาการการยอยสลายของอาหารสัตวน้ำท่ีเหลือ และของ เสียจากสตั วน ำ้ ซึ่งการจดั การฟารมสัตวน ำ้ เพ่ือลดสิง่ แวดลอ มหรอื ระบบนิเวศทเ่ี ปนพิษ ไดมีการรเิ ริ่มให มีการจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงอยางยัง่ ยืน โดยการมีการปฏบิ ัติสำหรับการเพาะเล้ยี งที่ เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เชน การผสมผสานการเลี้ยงสัตวน้ำใหพึ่งพาอาหาร การผสมสารการเลี้ยงสัตว น้ำรวมกับการปลูกขา ว การผสมผสานกับการทำปศุสัตวอื่นๆ หรือการเกษตรอื่นๆ การนำเทคโนโลยี ดานการจัดการจุลชีวมาให จะชวยใหเกิดความสมดุลระหวางสภาพแวดลอม ประโยชนดานเศรษฐกิจ และการยอมรบั ของสงั คม การจัดการระบบการเลี้ยงและการจัดการสิ่งแวดลอมจากการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำรูปแบบที่ ทันสมยั และทำไดจรงิ มีหลายประเทศ เชน ในการเพาะเลี้ยงของชาวตะวันตก (Folke C. and Kautsky N., 1992)พบวา การเพาะเลี้ยงแบบสัตวน้ำชนดิ เดยี ว เชน การทำฟารม แซลมอน การทำฟารมกุงนั้นจะ ทำใหระบบนิเวศเกิดความเครียด นอกจากนั้นยังเปนฟารมยังมีลักษณะการใชทรัพยากรอยางไมมี ประสิทธภิ าพ รวมทง้ั เกิดผลผลติ สัตวนำ้ พลอยไดจ ำนวนมาก เปน สตั วน้ำท่เี ลย้ี งเพื่อการผลิตจำนวนมาก และการสง ออก การจัดการที่สามารถรักษาระบบนิเวศไดนั้นนักวิจัยไดเ สนอแนวทางในการเลี้ยงแบบ บูรณาการซึ่งเปนของระบบประเทศจีน โดยการเพาะเลี้ยงทีเ่ ปนระบบรวมกันระหวางการเล้ียงสาหราย เลี้ยงหอย และปลาแซลมอนซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ลดของเสีย ลดการใชทรัพยากร หลีกเล่ียงสารเคมีและยาตางๆ ซึ่งจะกระทบกับสภาพแวดลอมนอยลง ประเทศสิงคโปร กรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร (World Aquaculture Society, 2020) พบวา นวัตกรรมของการทำฟารมเพาะเลี้ยงสัตวน ้ำในสิงคโปร นั้น ไดนำเทคโนโลยีและนวตกรรมใหม มาใช สำหรับการทำฟารมเพาะเลี้ยงสัตวน้ำชายฝง มีการจัดทำระบบน้ำที่มีออกซิเจนต่ำใหดีขึ้น ฟารม ถูกออกแบบใหมีอุปกรณในการตรวจสอบระบบคุณภาพน้ำอยางทันเวลา (Real time) ที่จะสงขอมูล เตือนไปยังเกษตรกรไดเพือ่ ระดับคุณภาพน้ำต่ำ มีการนำระบบโซลาเซลลมาใชกับแบตตารี่แทนการใช ไฟฟา สำหรบั อปุ กรณต รวจสอบระดบั ออกซเิ จนในอากาศ ดัง หนา | 66

ภาพที่ 3.9 จากผลกระทบของสภาพภูมิอากาศทีเ่ ปลี่ยนแปลงไป ทำใหผลผลิตสัตวน้ำที่เลี้ยง ลดลง เนื่องจากมคี วามเสี่ยงตอเช้ือโรคเพิ่มขึ้นและเกิดภาวะสาหรา ยบูม และอาจจะทำใหเกิดการขาด แคลนลกู พันธุสัตวน้ำที่จบั ไดตามธรรมชาติ และอาหารสดจากการจับปลาเหยื่อ ดังนั้นจึงมีรปู แบบการ เลี้ยงแบบระบบปดลอยได เพื่อที่จะปองกันมิใหสัตวน้ำไดรับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศท่ี เปลย่ี นแปลงไป สามารถรักษาสุขภาพของสตั วน ้ำและจัดการโรค รวมทง้ั เพ่มิ ผลผลติ ได ดังภาพที่ ภาพท่ี 3.10 ในระบบที่มสี ่ิงอำนวยความสะดวกของการทำฟารมแนวดิ่งแบบหลายชั้น ภาพท่ี 3.9 ระบบการเตอื นเมื่อระดบั ออกซิเจนต่ำลง โดยใชพลังงานโซลาเซลล ที่มา: World Aquaculture Society (2020) ภาพที่ 3.10 ส่งิ อำนวยความสะดวกของการทำฟารม แนวด่งิ แบบหลายชัน้ ท่ีมา: World Aquaculture Society (2020) หนา | 67

สรุปทายบท ความสำคัญของผลผลติ สตั วน้ำที่เกิดจากการเพาะเล้ยี งน้ัน เพื่อมาทดแทนการจับ สตั วน้ำจากธรรมชาติซ่งึ หากมีการจดั การที่ดีเพียงพอ มมี าตรฐาน และมปี ระสทิ ธิภาพในการเล้ยี ง จะทำ ใหผลผลติ สัตวน้ำไดผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ การวิเคราะหเศรษฐกิจของการเพาะเลี้ยงสตั วน้ำจะพานำ ผูอานใหสามารถทราบรูปแบบของการเพาะเลี้ยง ไดแก การเพาะฟกและอนุบาลสัตวน้ำซึง่ เปนหนวย ปจจัยการผลิต และการเพาะเลยี้ งสัตวน้ำท่เี ปน หนวยการผลิต โดยประกอบดวยการศกึ ษาปจ จยั ตา งๆ ที่ มีผลตอการเพาะเล้ยี งสัตวน้ำ มีผลตอตนทุนการเลี้ยง ซึง่ จะสงผลตอกำไรทจ่ี ะไดจากการทำธุรกิจฟารม สตั วน้ำ รวมท้งั การวเิ คราะหป ระสิทธิภาพของผลผลิตสตั วน ้ำจากปจจัยการผลิต เพอ่ื ใหทราบถงึ การเพิ่ม หรอื ลดปจ จัยสำคัญท่ีสง ผลตอ ปรมิ าณสตั วน้ำ การนำใชเ ทคโนโลยีใหมๆ และการจัดการฟารมท่ีคำนึงถึง สิ่งแวดลอม เพื่อประโยชนตอการเพาะเลี้ยงสัตวน ้ำทีจ่ ะสง ผลผลิตไปสูอุตสาหกรรมสินคาสัตวน้ำอยาง เพียงพอไดใ นระยะยาว หนา | 68

บทที่ 4 แรงงานในอุตสาหกรรมสตั วน ำ้ ในบทนี้เปนการอธิบายรายละเอียดของความสำคัญของแรงงานในอุตสาหกรรมประมง แรงงานถือเปนกำลังสำคัญในการท่ีจะขับเคลื่อนการดำเนินงานของอุตสาหกรรมตางๆ อุตสาหกรรม ประมงเปนอุตสาหกรรมที่มีการใชแรงงานจำนวนมากตลอดหว งโซอุปทาน โดยเฉพาะการทำประมง และการแปรรูป นอกจากนั้นแลวในชวงเวลา 10 ปที่ผานมา ประเทศไทยประสบปญหาในเรื่องการ จัดการแรงงานในอตุ สาหกรรมประมงทส่ี งผลกระทบตอเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมสี าเหตุจากการ จางงานในระดับตนน้ำและระดับกลางน้ำ จนถึงปจจุบันประเทศไทยไดดำเนินการแกปญหาอยาง เรงดวนโดยใชมาตรการตางๆ ซึ่งสงผลในทางบวกและทางลบหลายประการ รายละเอียดของบทนี้จะ เริ่มตนจากความสำคัญของแรงงานในแตละหวงโซอุปทานของอุตสาหกรรมประมง รูปแบบการจาง แรงงานในอุตสาหกรรมประมง ปญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง นโยบายการแกไขปญหา แรงงาน ผลกระทบของการใชน โยบายในการจดั การแกไ ขแรงงาน 4.1 ความสำคญั ของแรงงานในโซอปุ ทานอาหารทะเล ภายใตโ ซอุปทานของอาหารทะเล คำจำกดั ความของอาหารทะเลจะรวมทั้งอาหารทะเล ที่มาจากการทำประมงและเพาะเล้ียงซ่งึ เปนสายโซท ่ีมีความเชอื่ มโยงถึงกนั อยางใกลช ิด ประกอบดวย หนวยจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตวน้ำและผลิตลกู พันธุสัตวน้ำ หนวยจัดหาสัตวน ้ำทีร่ วมทั้งการทำประมง และการเพาะเล้ียง หนว ยกระจายสตั วน ำ้ ทำหนา ทใี่ นการรวบรวม หนวยขายสตั วนำ้ มชี วี ิตและสด (คา สงและคา ปลีก) หนว ยแปรรูปสตั วน้ำ หนว ยขายอาหารทะเลแปรรปู (คา สงและคาปลีก) หนวยสงออก ดังภาพที่ 4. 1 จะเห็นไดวา หลายหนวยมีความจำเปน ทจ่ี ะตองใชแ รงงานในการทำงานเปน จำนวนมาก ไมวาจะเปนแรงงานจากคนไทยเอง หรือแรงงานจากประเทศเพื่อนบาน การจางแรงงานในแตละ หนวยประกอบดว ยรายละเอียดดังนี้ ก. หนวยจัดหาวัตถุดิบ วัตถุดิบในหนวยตนน้ำที่สำคญั คือ พันธุ และอาหารสัตวน้ำ ใน สวนของฟารมเพาะฟกและอนุบาลสัตวน้ำ การจางแรงงานจะมีจำนวนไมมากนักสำหรับฟารมราย ยอ ยของเกษตรกร เกษตรกรบางรายไมม กี ารจางแรงงานและใชแรงงานในครัวเรอื น บางรายมีการจาง แรงงานมเี พียง 2-3 รายตอ ฟารม สำหรับฟารม เพาะฟก และอนบุ าลสตั วน้ำของบริษัทเอกชน การจาง แรงงานจะมเี พิ่มข้นึ อาจมีการจา งแรงงานตัง้ แต 20-30 คน

ภาพที่ 4. 1 การจา งแรงงานในระบบโซอปุ ทานของอตุ สาหกรรมประมง ในสวนของอาหารสตั วนำ้ แบงออกเปน 2 ประเภท ประเภทแรก อาหารสด หรอื เรียกวา ปลาเหย่ือ (By catch) จะไดจากปลาตวั เลก็ ท่ีถูกจบั ติดมาจากการทำประมง ซ่ึงไมใชส ัตวนำ้ เปาหมาย หรอื ไมใ ชส ตั วน้ำทีม่ ีขนาดตรงตามความตองการของตลาด จงึ นำมาขายและเปนอาหารใหกับสัตวน้ำท่ี เลี้ยง ดังนั้นการไดมาของปลาเหยื่อ ปลาเปด และปลาเลย นั้นจะมาจากการทำประมงซึ่งตองมีการ จางแรงงานทท่ี ำงานกบั เรือประมงซึ่งสว นใหญจะเปนแรงงานจากประเทศเพื่อนบาน ไดแก พมา และ กมั พชู า เรอื แตล ะลำจะมจี ำนวนแรงงานแตกตา งกนั ขนึ้ กับขนาดของเรือประมงและเคร่อื งมอื ประมง สำหรับอาหารสัตวน้ำที่มีการผลิตเปนเม็ดสำเร็จรูป วัตถุดิบของการผลิตอาหารสัตวน้ำ สำเร็จรูปนั้นจะใชปลาปนเปน วัตถุดิบสำคัญ ซึ่งปลาปนจะไดมาจากปลาเหยือ่ หรือปลาเปด รวมท้ัง สวนของสัตวน้ำที่เหลือจากการแปรรปู ของโรงงานแปรรูปสัตวน้ำตา งๆ เชน หัวปลา กางปลา และไส ปลา โรงงานปลาปนแตละโรงงานจะมีการจางแรงงานจำนวนมากเพื่อที่จะทำหนาที่ในการแกะ ลาง ตัด สวนประกอบของปลา กอนที่จะบดเปนปลาปน ซึง่ อาหารทั้งสองรูปแบบนั้นใชวัตถุดบิ สำคัญเปน ปลาเปดที่ถูกจับจากธรรมชาติ และไมสามารถขายไดในราคาตลาดเหมือนสัตวน้ำขนาดเศรษฐกิจ ทว่ั ไป ดงั นน้ั จะเห็นไดว าตั้งแตก ารทำประมงเพื่อใหไ ดปลาเปด จะตอ งมีการใชแ รงงานในการทำประมง และในสว นของโรงงานผลติ ปลาปนจะมกี ารจา งแรงงานผลติ เชน กนั ข. หนวยจัดหาสัตวน้ำ ซึ่งเปนสวนสำคัญของโซอุปทานสัตวน้ำที่มากที่สุด เน่ืองจากหาก ไมมีปริมาณสัตวน ้ำ โซหรอื สายปานอาหารทะเลจะไมสามารถเกดิ ขึ้นได ผลผลิตสัตวน้ำหลักมาจาก การทำประมงโดยจับจากธรรมชาติ และจากการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ ซึ่งแรงงานท่ีใชจำนวนมากมาจาก การทำประมงมากกวาการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ กุลภา (2543) ไดสำรวจแรงงานในการทำประมง หนา | 72

เรอื ประมงพาณิชยทีม่ ขี นาด 11-18 เมตร และหากเปนเรือประมงนอกนานน้ำจะมีขนาดใหญมากกวา 100 เมตร พบวา แรงงานเฉล่ยี ตอ ลำอยูป ระมาณ 20-48 คน ขนึ้ อยูก บั ขนาดของเรอื ประมง ปจจบุ ันมี จำนวนเรือประมงที่ไดร ับอนุญาตทำการประมงพาณิชยเทากับ 10,530 ลำ (สถิติการประมง 2562) หากประมาณแรงงานประมาณ 350,000 คน แรงงานสวนใหญเปนแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อน บาน เชน พมา กัมพูชา เปนตน ทั้งนี้เนือ่ งจากแรงงานไทยมีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่ดีกวา และไมตองใชความอดทนสูงเหมือนแรงงานประมง จึงทำใหภาคการประมงไมสามารถหาแรงงานคน ไทยมาทำประมงได ในสวนของฟารมเพาะเลี้ยงสัตวน้ำจะมีการใชแรงงานนอยกวาการทำประมงโดยใช เรือประมงพาณิชย โดยปกติจะมแี รงงานแตละฟารมไมมาก ซึ่งจะทำงานเกี่ยวกับการใหอาหารและ การเฝาดูแลเปนสวนใหญ แตละฟารมไมเกิน 1-2 คน จำนวนฟารมเพาะเลี้ยงสัตวน้ำในประเทศมี 609,055 ฟารม (กรมประมง, 2563) ทั้งนีจ้ ะมแี รงงานในสว นของการเพาะเลี้ยงกุง มากที่สุด ตั้งแต ฟารมเพาะฟก เพาะพันธุ ฟารมเลี้ยง ประมาณ 161,000 คน (The Asia Foundation and International Labour Organization, 2015) ค. ผูร วบรวม แพปลา พอ คา สง และพอคาปลีก ทมี่ ีอยูทั่วประเทศไทย มีแรงงานจางเพ่ือไว ประกอบกิจการ ผูรวบรวมจะมีแรงงานไวสำหรับการจับสัตวน้ำในบอเพาะเลี้ยงในแตละรายจะมี แรงงานประมาณ 5-8 คน ขึ้นอยูกับปริมาณการซื้อที่จะรวบรวมจากบอเพาะเลี้ยง หรือหากเปนการ ขึ้นปลาที่ทาเรือขึ้นแพปลา จะมีผูรวบรวมมารอซื้อที่แพปลาและขนสงไปยงั โรงงานตางๆ ตอไป แพ ปลามีการจางแรงงานสำหรับขนสงสัตวน้ำไปยังตลาดตางๆ รวมทั้งพอคาสงและคาปลีกในตลาดสด ตางๆ มีการจา งแรงงานเชนกนั ซง่ึ สว นทีเ่ ปนของแพกุง จะมจี ำนวนมากที่สุด ประมาณ 50,000 คน ง. การแปรรูปสัตวน้ำ การแปรรูปสัตวน้ำจะมีทั้งหมด 2 ระดับ คือ ระดับแปรรูปขั้นตน (ลง ) ซึ่งไมมีเครื่องจักร และระดับแปรรูปเปนผลิตภัณฑอาหาร เชน อาหารทะเลแชเยน็ แชแ ข็ง หรอื ผลติ ภณั ฑพรอมปรงุ พรอ มทาน สำหรับระดับแปรรูปขั้นตน โรงงานจะมีขนาดเล็ก บางแหงไดมาตรฐาน บางแหงไมได มาตรฐาน ไมมเี ลขที่โรงงานหรือที่อยูทีช่ ัดเจน เปนอุตสาหกรรมที่สายพานการผลิตเพื่อสงตอใหกับ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ แรงงานจะทำงานในดานของการลาง หั่น แกะ แยก เอากางออก ซึ่งหาก เปรียบเทียบระหวางปลาและกุง การแปรรูปขั้นตนของกุงจะมีจำนวนแรงงานมากกวา (The Asia Foundation and International Labour Organization, 2015) โดยมโี รงงานแปรรูปขั้นตนของกุง ในอดตี มีประมาณ 1,000 โรงงาน (หนา ท่ีหลกั คอื การชำแหละ แกะ ลอกเปลือกกุง) ในขณะที่โรงงาน แปรรูปขน้ั ตนของปลาจะมจี ำนวนนอ ยกวา หนา | 73

สำหรับการแปรรูปเปนผลิตภัณฑอาหารทะเล โรงงานสวนใหญที่ผลิตจะเปนบริษัทเดียวกับผู สงออกผลิตภัณฑดวยนั้น การจา งงานจะมีระบบการจัดการที่มีมาตรฐานมากกวา และมีการรับรอง ของหนวยงานตางๆ สวนใหญจะเปนโรงงานแปรรปู ขนาดใหญ มีจำนวนการจางแรงงานจำนวนมาก เชน กลุมบริษัทแปรรูปทูนากระปอง ไดแก บริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซนโพรดักซ จำกัด มหาชน มี แรงงานประมาณ 3,000 คน บรษิ ัทเอส ซี ซี โฟรเซน ซีฟูด จำกัด มีแรงงาน 4,000 คน บริษัทพัทยา อนิ ดัสตรี ซีฟดู จำกดั มีแรงงานประมาณ 2,000 คน (Kulapa Supongpan Kuldilok, 2009) 4.2 ลักษณะการจา ยคาแรงในภาคอุตสาหกรรมสตั วน ำ้ ระบบการจา ยคา แรงในแตล ะหนวยจะมลี กั ษณะแตกตา งกันไปในแตล ะโซอ ุปทาน 1.ระบบการจายคาแรงของลูกเรอื ประมง ระบบการจายคาแรงของลูกเรือประมงตั้งแตอดีต จะมที ั้งหมด 3 รูปแบบ แบบแรกเปน การจายคาแรงเปนเงินเดือนอยา งเดียว แบบที่สองการจา ยคา แรงโดยใหเปนสวนแบงจากรายไดหลัง หักคาใชจายเปนรอยละ และแบบสุดทายเปนการจายทั้งเงินเดือนและเงินสวนแบงรายไดหลักหัก คา ใชจา ย ทัง้ นข้ี น้ึ อยูกับตำแหนงลูกเรอื ตามลำดับความเช่ียวชาญ โดยเร่ิมต้งั แต ไตกง (กัปตนั ) ผูชวย ไตกง นายทาย ผูชวยนายทาย ชางเครื่อง หัวหนาอวน คนดำน้ำ ลูกเรือ และพอครัว แตละลำเรือ อาจจะมีจำนวนแตกตางกันขึ้นกับขนาดของเรือและความจำเปน การจายเงินจะจายหลังจากที่กลับ จากการทำประมง อาจเปนแตละเที่ยวทำการประมง แตละเดือน ขึ้นอยูกับขนาดของเรือ และ เครือ่ งมอื ทำการประมง อยา งไรกต็ ามประเทศไทยไดมีการปฏิรปู การทำประมงหลังจากทีป่ ระเทศไทย ไดรบั การประเมินโดยสหภาพยุโรปวา ประเทศไทยมกี ารจัดการไมเพียงพอตอการปองกัน ขจดั และ ยบั ยั้งการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไรการควบคุม หรือไมสอดคลองกับกฎระเบียบ IUU โดยประเทศไทยไดใบเหลืองจากกลุมสหภาพยุโรป (นภาพร แสนพิศ, 2562) และถูกลดระดับ ความพยายามตอบสนองตอการคา มนษุ ยลงไปอยูในกลุมที่ 3 หรอื Tier3 จากประเทศสหรัฐอเมริกา (ศูนยขอมูลและขาวสืบสวนเพื่อสทิ ธิพลเมือง, 2559) กฎกระทรวงคุมครองแรงงานในงานประมงทาง ทะเลไดกำหนดไวใหมีการจายคาแรงเปน รายเดอื น โดยกำหนดคาแรงข้ันต่ำ และจะตองมีสวัสดกิ าร ตางๆ เชน รวมทั้งกำหนดเวลาพกั ผอน สวัสดิการหอ งพัก อาหารและน้ำดื่ม และการรักษาพยาบาล วิธีการจายคาจาง กอนประกาศกระทรวงแรงงาน จายดวยเงินสด หลังประกาศ จา ยดวยเงินสดและ โอนเขาบัญชธี นาคาร หนา | 74

ตารางท่ี 4.1 ระบบการจายคาตอบแทนของแรงงานในการทำประมง ตำแหนงในเรือ รปู แบบเดมิ รปู แบบใหมตามกฎกระทรวง คมุ ครองแรงงานในงานประมง ทางทะเล เงนิ เดอื น สวนแบง จาก เงนิ เดอื นและ เงินเดือนขั้นต่ำท่ีพอยังชพี อยางเดยี ว รายไดหลัง เงนิ สว นแบง (เฉล่ีย 9,000-15,000 บาทตอ หกั คา ใชจ าย รายไดหลงั เดอื น) รวมทงั้ กำหนดเวลา อยางเดยี ว หักคาใชจ าย พกั ผอ น สวสั ดกิ ารหองพกั (%) (%) อาหารและน้ำด่มื และการ รักษาพยาบาล ไตกง (กปั ตนั )  10-20 10  ผูชวยไตก ง  5-10 2  นายทา ย  1.5-2.0 0.4-2.0  ผูชว ยนายทา ย  1.5 1  ชางเครือง  0.7-1.5 1  หวั หนา อวน  1.5 0.4  คนอวน  1.3-1.5 0.2  คนดำน้ำ  1.3-1.5 0.2  ลกู เรือ  1.3-1.5 0.2  พอครัว  1.3-1.5 1  ท่ีมา: กลุ ภา สุพงษพันธุ (2543) ธนิต โตอดเิ ทพย (2556) กรรณภทั ร ชติ วงศ (2559) เกรียงศกั ดิ์ ธีระ โกวิทขจร (2562) 2.ระบบการจายคา แรงของโรงงานแปรรูปอาหารทะเล การทำงานของลูกจา งในโรงงานแปรรปู อาหารทะเลดงั ท่กี ลาวไปขา งตน จะมรี ูปแบบของ โรงงาน 2 ลักษณะ คือ โรงงานแปรรูปเบอ้ื งตน และ โรงงานแปรรปู ผลติ ภัณฑเ พื่อสง ออกและขายใน ประเทศ ภาพท่ี 4. 2 แสดงใหเห็นถงึ ความแตกตางของลกั ษณะงานของโรงงานแปรรปู เบื้องตน และ โรงงานแปรรปู ผลติ ภัณฑอาหารทะเลในการขายในประเทศและการสงออก หนา | 75

ภาพที่ 4. 2 ลักษณะการทำงานของโรงงานแปรรูปขัน้ ตน (ลง) และโรงงานแปรรปู ผลิตภัณฑอ าหาร ทะเลและการสงออก โรงงานแปรรูปเบื้องตน (ลง) เปนโรงงานขนาดเล็กและทำการแปรรูปเบื้องตน เชน โรงงานแกะกุงขนาดเลก็ ซึง่ เปนการแปรรปู เบ้ืองตน เพ่ือสงตอใหก ับโรงงานขนาดใหญเพ่อื ทำการแปร รูปผลติ ภณั ฑ แชแขง็ และสง ออก การจายคา แรงงานของลกู จา งในโรงงานแปรรปู เบือ้ งตน ที่ใชแ รงงาน เปนหลกั เชน การชำแหละ แกะ ลอกเปลอื กกุง ไมม ีเครื่องจักร หรือเครื่องอำนวยความสะดวก และ การเรง ทำงานเพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิต การจา ยเงินจะเปนจายคาจางแบบเหมา รายชิ้น ชั่งกิโล (พฒั นพันธ บูรพันธ, 2556) อยา งไรกต็ ามในปจ จบุ ันพบวาโรงงานแปรรปู ในลักษณะนถี้ ูกปดไปจำนวน มาก จากการไมไดมาตรฐานและการขาดการจัดการแรงงานทีด่ ีตามกฎกระทรวงแรงงาน และมีการ กลาวอางวามีการใชแรงงานผิดกฎหมายและการใชแรงงานเด็ก (ประชาชาติธุรกิจออนไลน, 2559) และกจิ กรรมการแปรรูปข้นั ตน ไดถกู ถา ยโอนไปยงั โรงงานแปรรปู ผลติ ภัณฑเพ่ือควบคมุ และดำเนินการ ตอไป สำหรับโรงงานขนาดเล็กหากเปดดำเนินการอยูจะตองปรับระบบการจัดการทุกอยางใหไดตาม มาตรฐาน รวมทั้งมาตรฐานในดานการจางแรงงานทถ่ี ูกตอ ง โรงงานแปรรูปเปนผลิตภัณฑเ พ่อื จำหนา ย เชน ผลติ ภัณฑในกระปอ ง แพค็ กลอ ง การจาย คา แรงของลกู จา งในโรงงานแปรรูปอาหารทะเล จะมีการจายคา แรงเปน รายวัน มีเบีย้ ขยัน มคี า ทำงาน ลวงเวลา การจายเงินจะจายทุก 15 วัน คาแรงจะถูกกำหนดจากคาแรงขั้นต่ำของแตละพื้นที่หรือ จังหวัด หากโรงงานเปนโรงงานขนาดใหญจะจายเพิ่มจากคาแรงขั้นต่ำประมาณ 10-15 บาทตอวัน คาแรงแตละคนอาจจะไมเทากันขึ้นอยูกับอายุงาน ตำแหนงงาน (คาแรงขั้นต่ำ 152-191 บาทตอวัน กระทรวงแรงงาน (2549)) จากการสัมภาษณแ รงงานของโรงงานแปรรูปปลาทนู า แชแข็งและกระปอง ในจังหวัดสงขลา ภูเก็ต และสมุทรสาคร คาแรงเฉลีย่ ที่ไดแตละวนั อยูระหวาง 212.9-248.9 บาทตอ วัน หรือเฉลี่ยตอเดือน 6,387-7,683 บาทตอเดือน (Kulapa Supongpan Kuldilok, 2009) ซึ่งขณะ หนา | 76

ชวงเวลานั้น ลูกจางสวนใหญจะเปนคนไทย หากเปรียบเทียบระหวางคาแรงขั้นต่ำ และคาแรงที่ ลูกจางในโรงงานไดรบั จะเหน็ วา สูงกวา อยางไรก็ตามการทำงานในโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑส ัตวน้ำมี ระบบการทำงานท่ีตองทนกับสภาพแวดลอมภายในโรงงานเชนกัน ไมวา จะเปนความเยน็ ท่ีคอนขางต่ำ ประมาณ -18 องศาเซลเซียส หรือความรอนที่คอ นขางสูง ประมาณ 60-66 องศาเซลเซียส ความชื้น สงู ในระยะเวลานานประมาณ 8 ช่ัวโมงตอวัน นน้ั สงผลกระทบตอสขุ ภาพและความเครยี ดของลูกจาง (Kulapa Supongpan Kuldilok, 2009) 3. ระบบการจางแรงงานของผูรวบรวม แพปลา พอคาสงและพอคาปลีก สำหรับแรงงานที่ทำงานกบั ผรู วบรวม แพปลา พอคาสงและพอคา ปลีก การทำงานจะมี ลักษณะแบก ขน ลาก การทำงานกบั ผูรวบรวม จะเรมิ่ ตนท่ีบอเพาะเล้ียง แรงงานจะทำการวางอวน และจับปลาในบอซง่ึ จะใชจำนวนแรงงานประมาณ 7-10 คนตอรอบการจบั สว นใหญจ ะใชแ รงงานใน พืน้ ทแี่ ละแรงงานประจำบางสวนของผรู วบรวม และอีกสว นเปน แรงงานทีจ่ ะตองใชขนสัตวนำ้ ลงท่ี ตลาดสด โรงงาน รานอาหาร ซ่ึงจะใชจ ำนวนแรงงานไมมากประมาณ 1-2 คน (กุลภา กลุ ดิลก, 2557,2561) การจายคาแรงจะจา ยเปน รายวนั ประมาณวันละ 300-400 บาท สวนแพปลาเปนธุรกิจที่ทำการประมูลผลผลิตสัตวน้ำจากการทำประมงเพ่ือสงตอใหกับ โรงงานแปรรูป กิจกรรมของธรุ กจิ จะการเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการขึ้นปลา เชน อุปกรณใน การใส น้ำแข็ง น้ำ การจางแรงงานเพื่อทำหนาที่คัดปลา แยกประเภทปลา แบกขน ลากปลา เปนตน ชั่วโมงการทำงานประมาณ 8-13 ชั่วโมง คาแรง 170-320 บาทตอคนตอวัน หรือเดือนละ 5,000- 9,600 บาท การจายเงินจะจายทุก 10 วัน สวัสดิการในการทำงาน อาจมีการแจกปลา ขาว น้ำ ระหวางหลงั จากทำงานแตล ะวัน (ปฐมพร เคนมาตร และวชิราภณั ฑ วรรณโชติ, 2562) พอ คา สง และพอคา ปลีก สำหรบั ระดับตลาดคาสง สตั วน้ำท่ีสำคัญหลกั ๆ จะมตี ลาดสัตวนำ้ จืด และตลาดสตั วนำ้ ทะเล ในภาคกลาง ไดแก ตลาดอา งทอง ตลาดไท ตลาดสีม่ มุ เมือง ตลาดบางเลน เปนกลุมตลาดสัตวน้ำจืด ตลาดทะเลไทย (ตลาดมหาชัย) สะพานปลากรุงเทพสำหรับตลาดคาปลีก ของแตละตลาด จะมีรา นที่ขายอาหารทะเลและสตั วน ้ำจืด ซงึ่ การจา งแรงงานจะจางประมาณ 1-2 คน เพื่อคอยคัดเลือก ยกสัตวน้ำ และขายสัตวน้ำ ตลาดคาสงในแตละรานคาสงจะมีการจางแรงงาน ประมาณ 5-7 คนเพ่ือทำการคัดปลา แยกเกรด และขายปลา การจายคา แรงในตลาดทั้งสองกลุมจะ จายเปนรายวัน ทำงานในชวงเชาจนถึงชวงบาย โดยคาแรงวันละ 250-450 บาทตอคน (กุลภา กุล ดลิ ก และคณะ 2563) หนา | 77

4.3 ปญหาของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสตั วนำ้ 1.ระดบั การทำประมงในเรอื ประมง ในอดีตการทำประมงเปนเพียงการทำประมงพนื้ บานท่ีมีเพียงครัวเรือนเปน ชาวประมงเอง ทำประมงเพื่อยังชีพหรือเพิ่มรายไดจากรายไดหลัก เพื่อขยายการทำประมงเพิ่มมากขึ้น มีการจาง แรงงาน แรงงานทั้งหมดจะเปนคนไทยท่ีมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปนหลกั ในป 2503 ไดมี การเริ่มนำเทคโนโลยีของเครื่องมือประมงจากตางประเทศไดเขามาในประเทศไทย จนทำใหการทำ ประมงมีวิวัฒนาการท่ีขยายอุตสาหกรรมเพิม่ ข้ึนในเชิงพาณิชย ดวยความตองการดานอาหารทะเลท่ี เพิ่มข้นึ การทำประมงทีม่ ีท้ังประมงในนานน้ำและนอกนา นน้ำ ซ่งึ อาจจะมีระยะเวลาในการทำประมง ยาวนานออกไป ความเสี่ยงจากการทำงานก็เพิ่มสูงขึ้น ความเสี่ยงจากธรรมชาติก็เพิ่มสูงข้ึน เชนเดียวกัน ในชวงป 2536 การเกิดภัยธรรมชาตริ นุ แรง พายุเกย สงผลกระทบใหเรือประมงสญู หาย 200 ลำและ ชาวประมงไทยเสียชวี ิต 400 ราย เปนสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำใหแรงงานไทยลดนอยลงจากการ ทำประมงนอกจากนั้นแลวเมื่อแรงงานไทยมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ทั้งในดานของการศึกษา และความ เปนอยู กอรปกับในชวงป 2532-2536 เศรษฐกิจในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตเพิ่มข้ึน อตุ สาหกรรมทีต่ อ งการแรงงานมีจำนวนมากข้ึน ทำใหแรงงานคนไทยมที างเลือกในการทำงานจึงผนั ไป ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อาชีพการทำประมงจะเปรียบเสมือนอาชีพที่ตองทำงานหนัก มคี วาม เสี่ยง คาแรงไมเหมาะสมกับการทำงานที่หนัก ดังนั้นจำนวนแรงงานประมงที่เปนคนไทยจึงนอยลง เรื่อยๆ การทดแทนแรงงานจากประเทศอื่นๆ จึงเขามาทดแทน เชน แรงงานจากประเทศพมา และ กัมพูชา ขึน้ อยูกับพนื้ ท่ีการทำประมงวาจะใกลกับพืน้ ท่ีประเทศเพือ่ นบานใด แรงงานตางดาวท่เี ขามา ในประเทศไทยน้นั เนอื่ งจากเศรษฐกิจการเมืองของประเทศตนเองนน้ั ยังไมพัฒนามากนัน้ ดงั น้ันการมี หนทางมาทำงานในประเทศไทยจึงถือเปนทางเลอื กในการหารายไดที่สงู กวารายไดใ นประเทศตนเอง (ภาพท่ี 4. 3) ดว ยในกฎหมายของประเทศไทยไดกำหนดอาชีพการหามแรงงานตางดา วในการประกอบ อาชพี ตามพ.ร.ก.กำหนดงานในอาชีพและวชิ าชพี ทห่ี ามคนตา งดาวทำ พ.ศ.2522 ซงึ่ การทำประมงถือ เปน อาชีพหน่งึ ท่ไี มอนญุ าตใหคนตางดาวทำ ดงั น้นั การทำงานของแรงงานตางดาวจึงถกู นำเขามาอยาง ไมถ กู ตอ ง โดยนายหนา นอกระบบ ทำใหไมม ีความจำเปนทจ่ี ะตองดูแลแรงงานตามกฎหมายทัง้ ในเรื่อง คาแรง คาลวงเวลา และสวัสดิการตางๆ และถูกกดขี่ในการทำงานเพื่อสรางประโยชนมากที่สุดของ ผปู ระกอบการเรือประมง ซึ่งไมม หี นว ยงานเขามาตรวจสอบได เนอ่ื งจากไมสามารถตรวจสอบทะเบียน การทำงานได (จารุพล เรืองสุวรรณ, 2561) ซึ่งไดปฏิบัติจนเคยชินและพฤติกรรมนายจางยังคงไม หนา | 78

เปลี่ยนแปลง ถึงแมวาจะมีการเปลี่ยนแปลงและอนุญาต คนตางดาวทำงานกรรมกรประมงแลวในป พ.ศ.2536 การปฏิบัตกิ บั แรงงานขา มชาตแิ บบเดิม ๆ อยางตอ เนื่องโดยเฉพาะในชวงป 2540-2551 ทมี่ กี ารขาดแรงงานขา มอยา งหนกั การนำเขา แรงงานตางดา วจงึ มีจำนวนมากเพือ่ ทำงานในเรือประมง Timeline การใชแรงงานในการทำประมง พรก.กำหนดงานในชพี และวชิ า เศรษฐกจิ แรงงานตา ง พ.ศ.2551 พ.ศ.2560 พ.ศ.2561- ชพิ ที่หา มคนตางดาวทำ พ.ศ. เติบโตตอ งการ ดา วผิดกม. ขาดแรงงาน พรก.การบรหิ าร ปจ จุบนั เขา มาทำงาน ภาคอตุ สาหกรรม จัดการของคนตา ง ไทยไดป รับเปน 2522 แรงงาน ดาว พ.ศ.2560 Tier2 พ.ศ.2540 ประมงตอ เนือ่ ง พรก.ปองกันและ พ.ศ.2536 ขาดแรงงานขา ม ปราบปราม การคามนุษย การทำ พ.ศ.2503 พ.ศ.2532 พ.ศ.2557 พ.ศ.2558 พ.ศ. พ.ศ. ประมง นำเทคโนโลยี -ไทยถูกจัด IUU Fishing 2559 2562 พืน้ บา น อวนลากแผน พายุเกย (ใบเหลืองจาก ไทยได ไทยได -แรงงานไทย ตะเฆเ ขา มา -เรอื ประมง อนั ดับ ปรับ ปลด จาก N/E EU) Tier2 -เศรษฐกจิ ยัง ลม 200 ลำ ไมเติบโต ชาวประมง เสียชวี ติ 400 ราย -แรงงานไทย เลกิ ทำประมง ภาพที่ 4. 3 ชวงเวลาของการเปลีย่ นแปลงการจางแรงงานในภาคการประมง ทม่ี า: เรอื งสุวรรณา (2561) และ มูลนธิ กิ ระจกเงา (2554) ปญหาการจางแรงงานแบบไมถกู ตองเกิดมากขึน้ เรื่อย ๆ รูปแบบของการไดมาซ่ึงแรงงาน ประมงในแบบท่ีไมถูกตองตามกฎหมายนั้น เกิดข้ึนหลายวิธี เชน การถกู ลอลวงไปทำงาน การตีสนิท กบั เหยือ่ การลกั พาตัว การทำงานใชหนี้ และการลักลอบนำแรงงานเขา เมือง ซ่ึงจะเห็นวามที ั้งแรงงาน ไทยและตางดาวที่ถูกหลอกมาทำงานในเรอื ประมงโดยไมไดเต็มใจ หลังจากนำตัวมาแลว จะถูกกักขัง ไวก ันเปนกลุม ในหองเชา รอเวลาทำงานในเรอื ประมง เม่อื ลงเรือประมงแลว จะใชเวลาในเรือประมง ระยะเวลานาน หลังจากเสร็จจากการทำประมง บางครั้งไมไดขึ้นฝง มีการขายลูกเรือตอไปให เรอื ประมงลำอืน่ ๆ ตอ เนอื่ งกันไป (มูลนิธิกระจกเงา, 2554) การทำงานของลกู เรอื นน้ั พบวา นายจา งบางราย มกี ารปฏิบตั ิตอแรงงานในเรือที่ไม สมควร มีการบังคับใหลูกเรือทำงานทุกวัน ไมมีวันหยุด พักผอนไมเ ปน เวลา การกินอาหารเพียง 2 ม้ือ หนาที่หลักของลูกเรือ ประกอบดว ย การกูอวน คัดแยกปลา ซอ มอวน ลงน้ำไปผกู อวนไวกบั ทุน การ หนา | 79

ทำงานโดยไมไดร บั คา จางเน่ืองจากนายจา งไดจายเงนิ ใหกับนายหนา นอกระบบไปจึงตอ งทำงานใชหน้ี สวนนัน้ ซึง่ อาจจะเปนเวลา 6-12 เดอื น หากไมท ำงานตามคำสง่ั จะถูกทบุ ตี (มูลนธิ ิกระจกเงา, 2554) ปญ หาเหลา น้ีเกดิ มากขึน้ และทวีความรนุ แรง มีส่อื ในประเทศและตา งประเทศไดรายงาน การทารณุ แรงงานรวมท้ังการใชแรงงานเด็ก จนในป 2557 ทำใหป ระเทศไทยไดรับการประเมินถูกจัด อันดับอยูใน Tier 3 ซึง่ หมายถึงประเทศที่ดำเนินการยังไมสอดคลอ งกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย ของสหรัฐอเมริกา และไมม คี วามพยายามแกไขปญหาการคามนุษย (รายงานความรุนแรงของการคา มนุษย) โดยถูกลดระดับจาก Tier2 Watch List ตั้งแตป  พ.ศ.2553-2556 นอกจากนั้น ประเทศไทย ยังพบปญหาการไดรับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ในป 2558 โดยมีการ พิจารณาวา ประเทศไทยเปน ประเทศที่ทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไรก ารควบคมุ (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) ซึ่งสวนหนึ่งจะเกี่ยวของกับการ ลงทะเบียนการจางแรงงานอยางถกู กฎหมาย จา ยคา ตอบแทนอยางเปนธรรม และมสี วัสดกิ ารพืน้ ฐาน ใหก ับแรงงานประมง 2.ระดับการแปรรูปสตั วนำ้ ในระดับการแปรรูปสัตวน้ำ ปญหาแรงงานที่พบวาจะเกิดขึ้นในการแปรรูปขั้นตน ซึ่งพบ ปญ หาหนักในชว งทเี่ ศรษฐกจิ เจริญเตบิ โตมาก และตองการแรงงานมาทำงานในอุตสาหกรรม รวมถึง แรงงานในไทยไมเพียงพอตอตลาดแรงงาน ในชวงป 2540 เปนตน มา การเขา มาทำงานของแรงงาน ตางดาวทผ่ี ิดกฎหมายเกดิ จากนายหนาทม่ี ีกระบวนการชักนำและอำนวยความสะดวกในการยายถ่ิน มี หลายทอด จาก นายหนาตน ทาง (ญาติ พี่นอง เพื่อนสนิท) สงมาถงึ นายหนาชายแดน นายหนานำพา และนายหนา ปลายทาง เพอ่ื สง ใหกบั โรงงานแปรรูปขนาดตางๆ ลง แพ และเรือ โรงงานแปรรูปขั้นตน เปนโรงงานทีต่ อ งใชแรงงานเพื่อทำงานในช่วั โมงมากๆ สวนใหญจะเปน โรงงานแกะกงุ ท่ีเรยี กวาลง การ แกะ ลอกเปลือกกุงจำเปนตองใชแรงงานเพราะเครื่องจักรไมสามารถทำได นอกจากจะทำงานนาน หลายชวั่ โมงแลวยงั ตอ งทำงานแขงกับเวลาเพ่ือรกั ษาความสดของกุง สถานทท่ี ำงานมสี ภาพแวดลอมที่ แออัด อับชื้น สกปรก และบางแหงใหแรงงานทำงานโดยไมใหแรงงานออกจากบริเวณโรงงาน ถูก ควบคุม หากปฏิเสธการทำงานหรือหลบหนีจะถูกทำราย (บุระพันธ, 2556) การจายคาจางจะมีความ แตกตา งจากคนไทย โดยปกตคิ นไทยไดร บั คาจางวันละ 300 บาท สำหรับแรงงานตางดาวไดรับวันละ 100 บาท ไมม กี ารเรยี กชือ่ ในการทำงานแตเ รยี กเปนเบอรแ ทน (คมชดั ลกึ , 2558) นอกจากการใชแรงงานตางดาวท่ีเอารดั เอาเปรยี บแรงงานแลว ในปพ.ศ.2558 ยงั พบวามี การจางแรงงานเด็กมาทำงาน โดยมีอายุตั้งแต 5-17 ป ท้ังนี้ ชวงอายุ 15-17 ปจะมีสัดสวนมากท่ีสดุ (77.8%) รองลงมาเปนชวงอายุ 13-14 ปเทากับ 14.9% และอายุ 5-12 ป (7.3%) การทำงานพบวามี สวนที่ตองทำงานในสภาวะที่อันตราย เชน ทำงานใกลความรอน พื้นท่ีสกปรก ตองใชเครื่องมือที่ หนา | 80

อันตราย ทำงานอยางตอเนื่องเกิน 8 ชั่วโมงตอวัน ทำงานในชวงเลา 22.00 น.-6.00 น. เปนตน (Organization, 2015) แรงงานเด็กสวนใหญจะไมไ ดรับคาตอบแทนเนื่องจากมีลักษณะคลายกับมา ชว ยพอและแมทำงาน รองลงมาจะเปน การจางรายวัน และการจา งขึน้ อยกู ับปริมาณของงาน และไมม ี สญั ญาจา งงานท่ีแนน อน ภาพที่ 4. 4 แรงงานตางดา วท่ีทำงานในโรงงานแปรรูปขน้ั ตน (ลง แกะกุง) ที่มา: คมชดั ลกึ (2558) 4.4 ผลกระทบของประเทศไทยหลังไดรบั การประเมนิ อยูใน Tier 3 และไดรับใบเหลือง ผลกระทบของการที่ประเทศไทยไดรับการประเมนิ อยูใน Tier3 และไดรบั ใบเหลือง นั้น พบวา ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในปพ.ศ.2557 ผลจากการที่ประเทศไทยถูกลดระดับจาก Tier2 watching list ลงมาเปน Tier3 สงผลกระทบตอการคาระหวางประเทศระหวางไทยกับประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยการควำ่ บาตรไทยใน 90 วัน ซึง่ สงผลกระทบตอ อุตสาหกรรมกุง ทูนา และอาหาร ทะเลแชแข็ง รวมทั้งผลกระทบตอชือ่ เสียงทีท่ ำใหค ูแขงทางการคาครองตลาดสงออกเพิ่มมากขึน้ ซ่ึง ถือไดวาอาจเปนขอหนึ่งทีจ่ ะใชเ ปนนขอกีดกันทางการคาในการนำเขาสินคาที่มีความเชื่อมโยงจาก การคาแรงงานมนุษย ประเทศไทยถูกลด GSP tariff ซึ่งอาจสงผลกระทบตอการจายภาษีเพิม่ ขึ้นใน การสงออกสินคาไปประเทศสหรัฐอเมริกา และการตอตานการซื้อสนิ คา ที่มีความเชื่อมโยงกับการคา แรงงานมนุษยของผูบริโภคในตางประเทศ ซึ่งทำใหการนำเขาสินคาลดลง ภาพลักษณของประเทศ หนา | 81

ไทยถูกลดความนาเช่ือถอื ลง (Chirawut, 2019) เชน กรณีของประนามการซ้อื ผลติ ภณั ฑกงุ ทผ่ี ลิตจาก ประเทศไทยในซุปเปอรมารเก็ตของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรของลูกคา (Washingtonpost, 2015) ดังภาพท่ี 4. 5 ภาพท่ี 4. 5 การลงขา วเก่ียวกับความตระหนักของผูบรโิ ภคอาหารทะเลในตา งประเทศ ทมี่ า : Washington post (2015) ผลกระทบทางการเมือง นอกจากผลกระทบดานการคาแลว ยังทำใหประเทศไทยมี ภาพพจนที่แยลง อาจสงผลกระทบตอการไดรับความชวยเหลือตางๆ จากสถาบันระหวางประเทศ (สรายทุ ธ ยหะกร, 2558). ผลกระทบทางทรพั ยากร จากการที่ภาครัฐตองดำเนินการบริหารจดั การดา นแรงงานตา ง ดา ว ทำใหตอ งจัดสรรงบประมาณเพ่ิมขึน้ เพือ่ ใชใ นดา นการปราบปรามการคามนุษย การจางชาวตาง ดาวทำหนาที่ลามเพ่อื สามารถตรวจสอบและสมั ภาษณแรงงานได จัดฝกอบรมเกย่ี วกับกฎหมายการคา มนษุ ย อบรมเก่ียวกับการดำเนินคดีและวินจิ ฉัยคดีท่เี ก่ียวกับการคา มนุษยเพ่ือใหปฏิบัติงานไดมากขึ้น (มลู นิธิเครอื ขา ยสง เสรมิ คุณภาพชวี ิตแรงงาน, ม.ป.ป.) หนา | 82

4.5 ผลกระทบของนโยบายการแกไขปญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสัตวนำ้ ตามท่ีภาครัฐไดมีการแกไขปญหาอยางเรงดวน ปฏิรูป มาตรการในการบริหารจัดการ สำหรับในดานแรงงาน มีพรก.ที่เกี่ยวของ ไดแก พรก.การประมง พ.ศ.2558 พรก.การประมง พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) พรก.การบริหารจัดการของคนตา งดาว พ.ศ.2560 พรก.การบริหารจัดการของคน ตา งดาว พ.ศ.2560 (เพ่ิมเติม) และพรก.การบริหารจัดการของคนตางดาว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 และ พรก.ปองกันและปราบปรามการคามนุษย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ซึ่งในชวงแรกนั้น เกิดผลกระทบ อยางหนักกับผูประกอบการเรือประมงพาณชิ ยและพื้นบาน เนื่องจากตองมีการปรับตวั อยางมากใน กฎระเบยี บตา งๆ เกย่ี วกบั การจางแรงงานตางดา วจนถึงปจจุบัน จากการแกไขของภาครัฐอยางจริงจัง ในป 2559 ประเทศไทยไดรับการปรับสถานะจากระดบั Tier3 เปน Tier2 (Watch List) และไดปรับ อยูใ นระดับ Tier2 อกี คร้ังในป 2561 จนกระทัง่ ถึงปจจุบันป 2563 ยงั สามารถรกั ษาระดับ Tier2 เปน ระยะเวลา3 ป (ผูจัดการ, 2559) และ ฐานเศรษฐกิจ , 2559)) ความพยายามอยางตอเนื่องในการ แกไขปญหาดานแรงงานของภาครัฐเริ่มเห็นผลเปนรูปธรรม เมื่อกระทรวงตางประเทศสหรัฐฯ ปรับเพิ่มสถานะของประเทศไทยจากระดับ Tier 3 เปน Tier 2 (Watch list) ในรายงาน สถานการณการคามนุษย (TIP Report 2016) ในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และประเทศไทยไดรับ ใบเขียวจากสหภาพยุโรปในป 2562 (สยามรัฐ, 2562) แมว าปจจบุ นั ประเทศไทยไดรบั การระดับ สถานะทีด่ ีขน้ึ จาก Tier 3 เปน Tier 2 แตจาก ผลของการบริหารจัดการแรงงานตางดา วของรัฐบาล การปฏิบัตเิ ปนไปอยา งเรงรีบ ขาดการประสาน และหารือกับผูเกี่ยวของในอุตสาหกรรมการประมง ไมวาจะเปนกลุมชาวประมงพื้นบาน กลุม ชาวประมงพาณิชย กลุมผูป ระกอบการสินคา ประมง สมาคมดานการประมงและผลติ ภัณฑประมง นัน้ สงผลกระทบในหลายดาน การบริหารจัดการแรงงานตา งดาวทั้งระบบยังดำเนินการไดไมดีเทาที่ควร เน่อื งจากขาดการบรู ณาการของหนวยงานภาครฐั ท่ีเกี่ยวของ ไมส ามารถกำหนดผูรับผดิ ชอบไดช ัดเชน นโยบายทีม่ ีไมสามารถตอบสนองตอสถานการณแรงงานตางดาวที่เปนจริง ขาดความตอเนื่อง ขาด ความชัดเจน จึงสงผลใหไมประสบความสำเรจ็ รวมถงึ กระบวนการปฏิบตั ิตามนโยบายมีความซับซอน ใชเวลานาน องคกรภาครฐั ขาดความรู ความเขาใจ และอัตรากำลังที่เพียงพอ (กรมพัฒนาสังคมและ สวสั ดิการ, 2561) ผปู ระกอบการเรอื ประมง ผปู ระกอบการเรือประมงไดร ับผลกระทบจาก พรก.การประมง พ.ศ.2558 พรก.การประมง พ.ศ.2558 (ฉบบั ที่ 2) พรก.การบรหิ ารจัดการของคนตางดา ว พ.ศ.2560 พรก.การบริหารจดั การของคนตา งดา ว พ.ศ.2560 (เพ่ิมเติม) และพรก.การบรหิ ารจัดการของคนตาง หนา | 83

ดาว (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ.2561 ในชว งแรกทม่ี กี ารประกาศใชอยางรวดเร็ว ซึง่ ทำใหผ ปู ระกอบการประมง ไมส ามารถปรบั ตวั ไดทัน ปญหาที่พบ ไดแก -ปญหาตนทุนของผูประกอบการเรือประมง ซึ่งพบวา ตนทุนของผูประกอบการประมง เพมิ่ ขึน้ รอ ยละ 80 เนื่องจากระบบการเปลยี่ นแปลงการจายคาจางแรงงานเปนรายเดือนโดยผานบัญชี ธนาคาร ซึ่งการออกทำประมงไมสามารถออกประมงไดทุกเดือน ชวงที่หยุดก็ตองจายคาแรงงาน นอกจากนั้นผูประกอบการตองจายคาใชจายจำนวนมากจากการทำบัตรใหแรงงาน และเซ็นตสัญญา จางแลว หากแรงงานไมปฏิบัติตามสัญญาจางและหนีจากการทำงาน ผูประกอบการเรือตองเสีย คาใชจายไปโดยเปลาประโยชน (BBCNews, 2019) บางกรณีลูกจางรับคาจางลวงหนาแลวไมยอม ออกเรือหรือหนี ทำใหผูป ระกอบการเรือประมงตองเสียเวลาในการหาลกู จางใหม ซึ่งลูกจางเกาจะไป เปลี่ยนนายจางและกระทำเหมือนเดิม (สราวุธ, 2562) สอดคลองกับงานวิจัยที่พบวา (จิราภัษ และ คณะ, 2562) ตนทุนคาจางแรงงานในการทำประมงยังมีสัดสวนที่เพิ่มขึ้นจากในอดีตคอนขางสูง รอย ละ 19.39-35.90 สำหรับกลุมเครื่องมืออวนลาก และรอยละ 1.98-2.25 สำหรับอวนลอมจับ ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดระบบการจางแรงงานตามกฎหมายที่เขมงวดมากขึ้น ทั้งในเรื่องการจดทะเบียน แรงงาน ที่มีขั้นตอนซับซอ นไมสะดวกในการดำเนินการ การจายคาแรงงานที่เปลี่ยนแปลงจากการ จายเงินสดหลังออกเรือ ตองมาจายผานบัญชีหรือใหลูกจางถอนจากบัตรเอทีเอ็มและการรับภาระ คา จา งแรงงานในชว งหยดุ ทำประมงทำใหมีคา ใชจ า ยที่เพ่มิ สูงข้ึนจากในอดีต ผปู ระกอบการเรือประมง ตองมกี ารเปลยี่ นแปลงรูปแบบการจายคาแรงงานของลูกเรือ ซึง่ เดมิ อาจจะจายเปนรายเดือนและจาย เพิ่มจากสัดสวนของรายได แตตองปรับมาเปนรายเดือนท่ีคงที่ขั้นต่ำ ความไมแนนอนของการทำ ประมงเกิดขึ้นบอยครั้ง บางครั้งไมสามารถทำประมงได หรือทำประมงไดนอย แตจะตองเสีย คาแรงงานเปนเงินเดอื นคงที่ ซ่งึ จะกระทบตอรายไดทีไ่ ดรับเปนอยางมาก ทั้งน้ีชวงแรกของการบังคับ ใชไดถูกจำกดั จำนวนวันทำประมงใหลดลงดว ย ทำใหเกิดเรือประมงบางลำอยูในภาวะขาดทนุ -ปญหาการขาดแคลนแรงงานเพ่ิมขึ้นในชวงแรก เนือ่ งจากการนำเขาแรงงานแบบ MOU น้ัน มีคาใชจายสูง ตองใชเอกสารจำนวนมาก ขั้นตอนในการดำเนินงานใชเวลานาน แรงงานที่ไดมาไม สามารถทราบไดวาจะทำงานไดหรือไม และจะอยูจนครบสัญญาหรือไม ทำใหมีความเสี่ยงในการ เสยี เวลาและคา ใชจาย ทำใหผูประกอบการเรือประมงขาดแรงงานจากอุปสรรคการนำเขา แรงงานตาง ดาว จำนวนแรงงานจึงไมเพียงพอตอการทำงานในภาคการประมง สงผลกระทบใหเรือประมงไม สามารถออกเรือไดแ ละหยุดทำการประมงเปนเวลานาน (สราวธุ , 2562) -ปญหาการประสานงานกับภาครัฐที่ขาดการบรู ณาการและความตอเนื่อง พบวา เจาหนาท่ี ภาครัฐไมเขาใจสถานการณของการทำประมง ทำใหข อกฎหมายไมสามารถปฏิบัติไดจริง ฐานขอมูล ของภาครัฐขาดความสมบูรณ และขาดการบูรณาการระหวา งหนว ยงาน (สราวุธ, 2562) หนา | 84

- ปญหาผูประกอบการเรือมีวิถีชีวิตและความเคยชินกับระบบเดิมมายาวนาน ทำใหเมื่อมี กฎหมายใหมจึงเกดิ ความยากหรือเกดิ การปฏเิ สธในการปรบั ตัว ซึ่งตองใชเวลา ไมส ามารถปฏิบัติไดใน เวลาอันสน้ั และบางรายตองการเลิกกจิ การเรือประมง (ไทยพบี เี อส, 2563) ผูประกอบการแปรรปู ปญหาท่ีในชวงแรกของการลดระดบั สถานะเปน Tier3 เนื่องจากมีการ ใชแรงงานผิดกฎหมายและการใชแรงงานเด็ก ไดพบวาผูประกอบการแปรรูปข้ันตน (ลง) ที่มีแรงงาน ตางดา วทไ่ี มถ ูกตอ งตามกฎหมาย ถูกปดหลายโรงงาน เน่อื งจากไดมีการประกาศจากสมาคมอาหารแช เยือกแขง็ ไทย ยกเลิกการวาจางผูประกอบการแปรรูปลงแกะกุงภายนอกโรงงาน สงผลกระทบใหล ง ปดกิจการ และแรงงานตางๆ ถูกเลิกจางและตองหางานใหมเปนจำนวน 5,000-6,000 คน (มติชน, 2559) อยางไรก็ตามถือเปนผลดีในระยะตอมา โรงงานแปรรูปขั้นตนหรือลงที่จะดำเนินการตอไป จะตองมีการดำเนินการมาตรฐานอุตสาหกรรมและตรวจสอบไดซึ่งจะสามารถขจัดปญหาการจาง แรงงานผดิ กฎหมายตอ ไปได สรุปทายบท แรงงานถือเปนกลไกสำคญั ในอุตสาหกรรมประมง ไมวาจะเปนในระดับการทำ ประมง การเพาะเลี้ยง ของตนนำ้ ระดับกลางน้ำ สำหรบั ทำงานใหกับผูรวบรวม แพปลา ตลาดคาสง และระดับปลายน้ำ ผูแปรรูปขั้นตน ผูแปรรูปผลิตภัณฑอาหารทะเลขนาดใหญและผูสงออก รวมทง้ั ตลาดคา ปลกี ซึ่งจะพบวาแรงงานในสวนนของการทำประมง แพปลา และการแปรรรูปขัน้ ตน นั้นเปน แรงงานที่ตองทำงานหนกั คาแรงนอย ความเสี่ยงสูง จึงทำใหเปนกลุมงานที่ขาดแรงงานของไทยใน การทำงาน ดังนั้น การจางแรงงานตางดาวจึงมีความตองการเพิ่มขึน้ และเกิดการนำเขามาอยางไม ถูกตอ งตามกฎหมายและมีการจางแรงงานเด็ก จงึ ทำใหประเทศไทยไดรับผลกระทบจากการลดระดับ ความเชื่อมั่นในการคาแรงงานมนุษย ในระดับ Tier3 จากประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการได ใบเหลืองจากสหภาพยุโรป และตองเรงแกไขปญ หาแรงงานคามนษุ ยที่ผดิ กฎหมาย เพื่อไมใหกระทบ ตอภาพลักษณของประเทศและการสงออกสินคาอาหารทะเล อยางไรก็ตามการแกไขปญหาของ ภาครัฐในการออกกฎหมายควบคมุ และปฏิบัติการอยางเรงดวน ไมครอบคลุม และยากตอการปฏิบตั ิ ของผูมีสวนไดสวนเสียกับอุตสาหกรรมประมง ไมวาจะเปนผูประกอบการเรือประมงที่กระทบอยาง หนัก และผูประกอบการแปรรูปลง ในชว งแรก เพราะตองมีการเปลี่ยนพฤตกรรมการดำเนินกิจการ การจัดการแรงงานตางดาว ซึ่งใชเวลาในการปรับตัวในหลายป ปจจุบันสถานการณเริ่มดีขึ้น และ ระดบั ความเชอ่ื มนั่ ของประเทศอยูในระดับดขี ้ึน ซง่ึ คาดหวังวาพฤตกิ รรมการจดั การของผูป ระกอบการ เรือ และผูมีสวนไดสวนเสียตางๆ สามารถปฏิบัติตอไปในระยะยาว มิใชเพียงปฏิบัติเพื่อเปนไปตาม คำสงั่ ใหผา นเกณฑแ ละกลบั ไปปฏบิ ตั เิ หมอื นเดิม หนา | 85

บทท่ี 5 การจดั การโซอุปทานสตั วนำ้ ของไทย ในบทน้ีเปนการเรียนรรู ปู แบบของการจัดการโซอปุ ทานสตั วนำ้ ของไทย การจดั การโซอ ุปทาน เปนวิธีการศกึ ษาและวิเคราะหอุตสาหกรรมเปนระบบ โดยพิจารณาทุกสวนทีเ่ กีย่ วขอ งตั้งแตตนน้ำถึง ปลายน้ำ กระบวนการจัดการแตละหวงโซจะเปนกิจกรรมที่บงบอกการจัดการอยางมีประสทิ ธิภาพ เพียงพอที่จะสงถึงปลายน้ำและสงถึงมือผบู ริโภคหรือผูใชบ รกิ ารอยางปลอดภยั และมีคุณคา ดังนั้นใน แตละหวงโซจะอธิบายถึงกิจกรรมหลักที่ไดดำเนนิ การ มาตรฐานท่ีควรจะมี การเพิ่มมูลคาสินคา และ การพฒั นาใหแ ตละหวงโซม ีการบริหารจดั การอยางมปี ระสิทธภิ าพ 5.1 แนวคดิ ดา นการจัดการโซอ ปุ ทาน โดยปกติการศึกษาดานโซอุปทาน (ภาพที่ 5. 1) จะประกอบดวยการศึกษาและวิเคราะห ผูเกี่ยวของในโซอุปทาน ไดแก ผูผลติ ปจจัยการผลิต ผูผลิตสินคา ผูรวบรวม กลุมคาสง และกลุมคา ปลกี โดยมีกิจกรรมหลักประกอบดว ย (1) เริ่มตัง้ แตการจัดหาปจจยั การผลติ การผลิต จนถึงการขาย (2) การรวบรวม (3) การคาสง (4) การคาปลีก และ (5) โลจิสติกส ซึ่งเปนกิจกรรมการขนสง สินคา จากตลาดไปสตู ลาดผูบ ริโภคปลายทาง โดยทโ่ี ซอปุ ทานสนิ คาเกษตร จะเก่ยี วขอ งกบั การไหลเวียนของ 3 กจิ กรรม ไดแก การไหลเวยี นของสินคา ทางกายภาพ (Physical product flows) ประกอบดว ยการ เคลื่อนยายสินคาจากผูจัดการวัตถุดิบ ไปจนถึงผูผลิต และผูบริโภค การไหลเวียนทางการเงิน (Financial flows) ไดแก เครดิตเทอม การใหสินเชื่อเปนตน และการไหลเวียนขอมูล (Information flows) (M4P, 2008) 1) การวิเคราะหโซอุปทาน จะเปนการวิเคราะหเพือ่ ศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นในแตละระดับ จากตลาดตนน้ำไปถึงตลาดปลายน้ำ วิเคราะหความสัมพันธของโซอุปทานในระดับตาง ๆ รวมท้ัง บทบาทหนาทีข่ องแตล ะกิจกรรมในโซอุปทาน ซึ่งจะเปนการวิเคราะหเชิงบรรยาย และดึงถงึ จุดเดน และขอ จำกดั ของแตละหวงโซเ พือ่ ปรับปรงุ และพฒั นาใหดีย่งิ ขึ้น 2) การวิเคราะหความเชื่อมโยงในแตละระดับของโซอุปทาน หลังจากวิเคราะหโซอุปทานใน ภาพรวมแลว จะวิเคราะหความเชื่อมโยงของการกระจาย ขาวสาร ผลิตภัณฑ บริการ การเงิน และ ความรูในแตละระดับของโซอุปทาน และวัดตนทุนสวนเพิ่ม กำไร และสวนเหลื่อมตลาด ตลอดโซ

คุณคา ซึ่งทำใหทราบถึงมูลคาที่เพิ่มขึ้นหรือกำไรสวนเพิ่มแตละหวงโซ เปนสวนที่อธิบายถึงการ ดำเนินงานของกิจการในแตละระดับวาระดับใดสามารถทำกำไรไดม ากกวาเพราะอะไร และหากหวง โซใ ดไมสามารถทำกำไรไดเ พียงพอตอการเตบิ โตของกจิ การในภาพรวม จะสามารถรสู ถานะของหวงโซ นน้ั และพยายามหาแนวทางในการพัฒนาเพ่อื ผลกำไรตอ ไป (ดังตารางที่ 5. 1) ภาพที่ 5. 1 กรอบการศกึ ษาโซอุปทาน ทมี่ า: M4P (2008) จากรปู แบบการศึกษาโซอปุ ทาน สามารถนำมาประยกุ ตกบั การวเิ คราะหในอุตสาหกรรม สนิ คาสัตวน ำ้ ไดเ ชนกนั จากตัวอยา งกรณีศึกษาของอุตสาหกรรมสตั วนำ้ ประเภทหลัก ไดแก ปลาทนู า ปลากะพง และปลาชอ น ดงั มีรายละเอียดตอไปนี้ หนา |88

ตารางท่ี 5. 1 วธิ ีการคำนวณตน ทุนสว นเพิม่ กำไร และสวนเหลอื่ มการตลาด (หนว ย: กิโลกรัม) ตน ทุนสวน % สว นเหล่อื ม เพมิ่ การตลาด ตนทุน ตน ทุน ราคา กำไร %กำไร (Margin) 1 % ท้ังหมด (Added สว น ขาย Margin Cost) เพิ่ม ผผู ลิต A A A/F G G-A (G-A)/ G G/J (J-F) ผูร วบรวม G+B B B/F H H-G- (H-G-B)/ H-G (H-G)/J B (J-F) ผูคาสง H+C C C/F I I-H-C (I-H-C)/ I-H (I-H)/J (J-F) ผูคาปลกี I+D D D/F J J-I-D (J-I-D)/ J-I (J-I)/J (J-F) รวม F=A+B+C+D 100 J-F 100 J 100 ที่มา: M4P (2008) 5.2 การวิเคราะหปญหาในโซอุปทานสัตวนำ้ ของไทย :กรณีศกึ ษา ปลาทนู า ประเทศไทยไดรับมูลคาทางเศรษฐกิจจากการสงออกปลาทูนา ซึ่งสามารถสงออกทูนา กระปองไดเปนอันดับหนึ่งของโลก ในปพ.ศ.2560 คิดเปนปริมาณการสงออกเทากับ 559,611 ตัน หรือมูลคา 1,977,866,939 ดอลลาหสหรัฐอเมริกา (61,313 ลานบาท) (UNComtradeDatabase, กำไร เปนสวนตางระหวางราคาขายและตนทุนทั้งหมด สวนเหลื่อมตลาด (Margin) เปนสวนตาง ระหวางราคาขายและราคารบั ซ้อื ในแตล ะขน้ั ผลรวมของตนทุนทงั้ หมดของตน ทุนสวนเพิ่ม หนา |89

2018) และทูนาแชเย็นแชแ ข็งท่ีประเทศไทยสงออกดว ย อยา งไรกต็ ามจากท่ีทราบกันวา ประเทศไทย มีฐานการผลิตและมีความเชี่ยวชาญทางดานการแปรรูปผลติ ภัณฑสัตวน้ำ แตกรณีของปลาทูนานนั้ ประเทศไทยไมสามารถทำการประมงทูนาไดเพยี งพอตอความตองการผลิตสนิ คาแปรรปู เน่ืองจากการ ทำประมงทูนานนั้ เปน การทำประมงนำ้ ลึก ซงึ่ แตกตา งจากการทำประมงของไทยที่เชี่ยวชาญประมงผิว น้ำ และหนาดินมากกวา จึงทำใหประเทศไทยตองนำเขาวัตถุดิบปลาทูนาจะตางประเทศที่มีการทำ ประมงเชยี่ วชาญกวา ไดแก ประเทศไตห วัน ไมโครนีเซีย เกาหลีใต ญี่ปุน จนี นัวรู วานัวตู คิริบาส มลั ดฟี และอินโดนีเซยี คดิ เปนปรมิ าณนำเขา ปละ 7 แสนตัน (สมาคมอุตสาหกรรมทูนา ไทย, 2563) วัตถุดิบปลาทูนา ที่ประเทศไทยนำเขาหลกั สามารถแบงออกเปน 2 กลุม คือ กลุมเรือประมง ทูนาเบ็ดราว และกลุมเรือประมงทูนาอวนลอมจับ ซึ่งทั้งสองกลุมนี้จะมีรูปแบบการจับปลาทูนาที่ แตกตางกัน และการนำไปใชแปรรูปที่ตางกัน กลุมเรือประมงทูนาเบ็ดราวนั้น ปลาทูนา เปาหมาย ไดแก ปลาทนู า ครบี เหลอื ง (Yellow Fin) ปลาทนู า ครบี ยาว (Albacore) และปลาทูนา ตาโต (Bigeye) ซงึ่ ลกั ษณะของปลาทูนาทจ่ี ับไดโ ดยเคร่ืองมอื เบ็ดราวจะเปน ปลาทูนาขนาดใหญแ ละเมื่อจับไดแลวจะมี การแชแขง็ ในเรอื เนอื้ ของปลาทนู า ท่ีจบั โดยเบด็ ราวจะไดปลาทีค่ ณุ ภาพดีกวาดว ยกระบวนการจับและ เก็บรักษา เมื่อถึงทาเรือในจงั หวดั ภเู ก็ต และจะผานกระบวนการแปรรูปแชเย็นหรือแชแ ข็งในโรงงาน แปรรูปและพรอ มสงออกไปประเทศคูคา โดยเครื่องบนิ เพ่ือความรวดเร็วและรักษาความสด ประเทศ นำเขา ท่ีสำคัญ คือ ประเทศญ่ีปนุ ซึ่งจะเปน ประเทศหลักทีน่ ำเขาปลาทนู าแชเ ย็นและแชแข็งเพื่อนำไป ทำอาหารญี่ปุนซาซมิ ิ สัดสวนการแปรรูปปลาทูนาแชเย็นและแชแ ข็งจะมีประมาณรอยละ 3 อีกกลุม เรือหลักคือเรอื ประมงทูนาอวนลอมจับ สวนกลุมเรือประมงทูนาอวนลอมจับ จะมีปลาทูนาเปาหมาย ไดแก ปลาทูนาทองแถบ (Skipjack) และ ปลาทูนาครบี เหลือง เปนสวนใหญ ซึง่ วิธกี ารทำประมงจะ แตกตางจากเบ็ดราว ขนาดของปลาทูนา จะมีขนาดเล็กกวา รวมถึงเคร่ืองมอื ทำประมงจะทำใหค ุณภาพ ของปลาทูนาจะดีนอ ยกวา เนอ่ื งจากจะนำไปผลิตเปนปลากระปองไมตองคุณภาพเทากับการนำไปทำ ซาซิมิ หลังจากทำประมงทูนาแลว จะนำเขาหองเย็นในเรือประมง นำสงที่ทาเรือในบริเวณจังหวัด สงขลา และสมุทสาคร กอนนำสงใหกับโรงงานแปรรปู เพอ่ื ผลติ ปลาทูนากระปองตอไป ท้ังนี้โรงงานผู แปรรปู จะตง้ั อยูในจังหวัดสมทุ รสาคร จงั หวัดสงขลาเปนสว นใหญ โดยผลิตทัง้ หมดรอยละ 97 ดังภาพ ที่ 5. 2 หนา |90

ภาพท่ี 5. 2 โซอปุ ทานอตุ สาหกรรมผลติ ภณั ฑป ลาทูนา ของประเทศไทย ท่ีมา: Kuldilok K. (2009) ปลายน้ำของอุตสาหกรรมผลิตภณั ฑปลาทูนา ของไทย โดยหลกั แลวผลิตภณั ฑจะสงออกเปน หลักประมาณรอยละ 99 สวนที่เหลือบริโภคในประเทศ ปลาทูนาแชเย็นและแชแข็งจะสงออกไป ประเทศญี่ปุน คิดเปนรอยละ 9 ของปริมาณผลิตภัณฑปลาทูนาทั้งหมด และปลาทูนากระปองจะ สงออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา (รอยละ 29) มากที่สุด รองลงมาคือ กลุมสหภาพยุโรป (รอ ยละ 14) Kuldilok K. (2009) ปญ หาและอปุ สรรค สำหรับปญหาหลักของอุตสาหกรรมปลาทูนาของประเทศไทย ยังคงเปนเรื่องของการนำเขา วตั ถดุ บิ และนำมาแปรรปู สง ออกคือ ขอ จำกัดทางการคา ในอดีตจะเปนเร่อื งของการกำหนดมาตรฐาน สินคาและกฎแหลง กำเนิดสินคา ซึ่งจะตองมีวัตถุดิบในประเทศและผลติ สินคาแปรรูปเพ่ือสงออกในป 2548 (Kuldilok K. et al, 2013) ขอกำหนดมาตรฐานของสหภาพยุโรปในปพ.ศ.2544 เปนขอกำหนด เรื่องสารปนเปอน และการกำหนดระดับของสารปนเปอนขั้นต่ำ ในป 2553 เปนเรื่องเกี่ยวกับการ ตรวจสอบยอนกลับสินคาอาหารทะเลท่ีจะตองมีใบรับรองวาไมใชการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาด การรายงาน และไรก ารควบคุม (IUU Fishing) สำหรับประเทศสหรฐั อเมริกา เปนขอกำหนดดานสาร ปนเปอนเชนกัน รวมทั้งการกำหนดมาตรฐาน HACCP และ ในปพ.ศ.2556 มีการเพิ่มเรื่องการทำ ประมงที่ตองมีฉลากความปลอดภัยตอปลาโลมา (Dolphin safe label) และการบริหารจัดการ หนา |91


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook