Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore top hits สุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

top hits สุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-24 02:46:45

Description: top hits สุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

Search

Read the Text Version

สุขภาพจิตและจติ เวชเดก็ และวัยรุ่น “เทคนคิ ใหล้ กู อยากไปโรงเรยี น” ไมห่ นลี กู เพราะไมเ่ ช่นน้นั เขาจะรู้สึกเหมอื นถกู ทอดทิง้ กอดและหอมแก้ม เม่ือพ่อแม่ต้องไปจริงๆ ก็ขอให้กอดและหอมแก้ม พรอ้ มบอกกบั ลกู ว่าจะกลับมารับ พูดให้ลูกสบายใจ เชน่ “รักลกู นะ สญั ญาจะมารับตอนบา่ ย” หากพบว่า บางคร้งั ลูกรอ้ งไห้ กอดแขนขาเราแบบไมอ่ ยากใหเ้ ราไปไหน ตอ้ งกลบั มาดวู า่ เปน็ เพราะปญั หาทบี่ า้ น หรอื เพราะปญั หาทโี่ รงเรยี น ซง่ึ ตอ้ ง ปรกึ ษาหารือกบั ครู ถา้ ลกู ร้องตดิ ต่อยาวนานกว่า 2 อาทิตย์ ตอ้ งหาสาเหตุ โดยดว่ น ทงั้ ครู และทบี่ า้ น ถา้ พยายามแล้วแตไ่ มไ่ ดผ้ ล ใหพ้ าไปพบแพทย์ แตล่ ะชว่ งวยั ปญั หาการไมอ่ ยากไปโรงเรยี นจะมคี วามแตกตา่ งกนั เดก็ เลก็ จะเป็นเร่ืองของการพลัดพราก ส่วนกลุ่มเด็กโต ที่กำ�ลังศึกษาในช้ัน ประถมศกึ ษา มธั ยมศกึ ษา ไมไ่ ดเ้ กดิ จากการตอ้ งหา่ งไกลจากพอ่ แมผ่ ปู้ กครอง แต่อาจเกิดจากความบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการ อ่าน การเขยี น การคำ�นวณ สมาธสิ ั้น เปน็ ต้น ซง่ึ ทำ�ใหท้ อ้ แท้หมดกำ�ลังใจ จะเรยี นหนังสอื ตอ่ อยา่ งไรกต็ าม หากคน้ พบวา่ ปญั หาการเรยี นของลกู คอื สงิ่ ใดและสามารถ ให้การช่วยเหลือแก้ไขแต่เน่ินๆ ส่ิงเหล่านั้นก็จะดีข้ึน ทำ�ให้เด็กสามารถ ปรับตวั ดขี น้ึ มคี วามสุขกบั การไปโรงเรียน “Top Hits ความร้สู ุขภาพจติ ” 1 ฉบบั นกั ส่ือสาร

พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรมีความเข้าใจ โดยเฉพาะพัฒนาการตามวัย ซึ่งธรรมชาติของเด็กแต่ละช่วงวัยมีอารมณ์และความต้องการท่ีแตกต่างกัน อย่างเด็กเล็กๆ จะซึมซับบทบาทของพ่อแม่ เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น แต่ผปู้ กครองมกั มีความกงั วลถึงการร้องไหง้ อแง ไม่อยากไปโรงเรียน ซ่ึงส่ิง เหล่านี้เป็นเร่ืองปกติ ที่เด็กวัยน้ีมีความกังวลกับการท่ีต้องห่างจากพ่อแม่ แต่เมื่อถึงระยะเวลาหน่ึงก็จะเรียนรู้ปรับตัวปรับใจ ส่วนการเรียนรู้ของ กล่มุ วยั รนุ่ จดุ หลกั เป็นการค้นหาเอกลกั ษณ์ อัตลกั ษณข์ องตนเองวา่ อยาก จะเปน็ อะไร ชอบอะไร ซง่ึ เกราะทจี่ ะชว่ ยปอ้ งกนั สรา้ งภมู คิ มุ้ กนั ใหก้ บั พวกเขา คือ ต้องช่วยให้เขาค้นพบความสามารถ ความชอบของตนเองเพ่ือให้ เขาเกิดแรงจูงใจอยากจะทำ�ส่ิงนั้นให้ดี โดยพ่อแม่อาจเป็นพี่เลี้ยงอยู่ข้างๆ เปน็ ผชู้ ว่ ยดแู ล แนะน�ำ การเรยี น ใหค้ น้ เจอความชอบของตนเอง เปน็ การตอ่ ย อดเตรยี มตวั สรู่ ะดบั มหาวทิ ยาลยั อีกทั้งยงั เปน็ การช่วยลดความเครียดจาก การสอบ ระบายความรู้สึกท่ีกดดัน ไม่ทำ�ให้รู้สึกว่าอยู่คนเดียว ซ่ึงเม่ือใด ทเี่ ขามีความทุกข์กจ็ ะรูส้ กึ ว่าไมไ่ ดท้ กุ ข์อยคู่ นเดียว ทั้งนี้สามารถขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ได้ที่ สายด่วน สุขภาพจติ 1323 โทรฟรี ตลอด 24 ชวั่ โมง  2 “Top Hits ความรู้สุขภาพจติ ” ฉบับนักสือ่ สาร

“5 ขั้นตอนดแู ลลูกเมอื่ มปี ญั หาการเรียน” หากพอ่ แมแ่ ละครู พบวา่ เดก็ มปี ญั หาการเรยี น อยา่ เพงิ่ ตอ่ วา่ หรอื กดดนั ให้ปฏิบตั ิตาม 5 ขน้ั ตอน ดงั น้ี ถนอมนา้ํ ใจ คอื อยา่ ท�ำ สงิ่ ทลี่ ดทอนก�ำ ลงั ใจเดก็ เพราะเดก็ ยอ่ มเสยี ก�ำ ลงั ใจไปแล้วจากการท่ที ำ�ไม่ได้ คลายทกุ ข์ คือ เปิดโอกาสให้เดก็ ไดเ้ ลา่ ความทุกข์หรือความไม่สบายใจ ซง่ึ อาจเป็นเร่ืองอ่ืนทไี่ ม่เก่ียวกบั การเรยี นกไ็ ด้ เช่น เรอ่ื งส่วนตัว เร่อื งเพื่อนที่ โรงเรยี น ปลกุ เรา้ โดยการกระตนุ้ ใหเ้ ดก็ มองขอ้ ดขี องตวั เองในเรอ่ื งอนื่ ๆ ทไ่ี มเ่ กยี่ ว กับการเรียน เพอ่ื สร้างความเชอ่ื มั่นให้กับเด็ก เขา้ ประเดน็ คือ เมอื่ เดก็ เรมิ่ เชอ่ื มน่ั แลว้ จงึ ค่อยเข้าเร่อื งทักษะที่เด็กยัง ทำ�ไมไ่ ด้ เน้นอุบาย โดยการใช้กิจกรรมที่เป็นกลอุบายให้เด็กได้เพลิดเพลิน มากกว่าสอนเด็กตรงๆ เพ่อื เปน็ แรงเสริมให้เดก็ ทำ�ไดด้ ีขึ้นเป็นล�ำ ดบั ท้ังน้ี ทุกครั้งท่ีเลือกวิธีสอน ขอให้นึกถึงความเป็นเด็ก และความรู้สึก อยา่ ทำ�ให้เดก็ ร้สู ึกท้อ ด้อย แตใ่ หร้ ูส้ ึกทางบวก เชน่ พอไหว ท�ำ ไดเ้ หมือนกัน ยากแต่ไม่เหนอื ความพยายาม เปน็ ต้น  “Top Hits ความรูส้ ุขภาพจติ ” 3 ฉบบั นักส่ือสาร

“ความเครียดในเด็ก” สิ่งท่ีท้าทายพ่อแม่ ครูหรือผู้ดูแลเด็กในยุคปัจจุบัน คือ การหาวิธีสอน ลกู ใหจ้ ดั การกบั ความเครยี ดของตนเองไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ เพราะสภาพ สงั คมทกุ วนั น้ี กระตนุ้ ความเครยี ดในการด�ำ เนนิ ชวี ติ ของเดก็ ไดง้ า่ ย ไมว่ า่ จะ เป็นเรือ่ งการแข่งขนั หลายๆ ด้าน ทง้ั เรอ่ื งการเรียน การวง่ิ ตามสง่ิ ใหม่ๆ ตาม กระแสโฆษณา การบริโภคข้อมูลข่าวสารอย่างท่วมท้น การจัดกิจกรรมท่ี แน่นอนจนหาเวลาเล่นไม่ได้ รวมทั้งเร่ืองความสัมพันธ์ท่ีห่างเหินระหว่าง คนในครอบครัว เมื่อพ่อแม่ต้องทำ�มาหากินจนมีเวลาให้ลูกน้อยนิด ทำ�ให้ เด็กๆ ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวและความรู้สึกเหงาอยู่ลึกๆ และเม่ือมี ความเครียด เด็กๆ มักจะมีปฏิกิริยาตอบสนองแบบไม่เหมาะสมเนื่องจาก วฒุ ิภาวะยังไมพ่ ัฒนาเต็มที่ สาเหต/ุ ปัจจัยท่ที ำ�ใหเ้ ดก็ เครยี ด • ขาดความอบอุ่น เพราะโดยธรรมชาติแลว้ เดก็ ๆ ตอ้ งการ ความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ การที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูกนั้นจะ ท�ำ ใหล้ กู รสู้ กึ วา้ เหว่ ขาดความรกั ความอบอนุ่ เวลามปี ญั หากไ็ มร่ จู้ ะไปปรกึ ษา กับใคร • การเปลยี่ นแปลง ไมว่ ่าจะเปน็ การย้ายบ้าน ย้ายโรงเรยี น การเปลีย่ นแปลงต่างๆ เหลา่ น้ลี ว้ นมีผลกระทบต่อความรู้สกึ นกึ คดิ ของเดก็ เปน็ อยา่ งมาก ยกตวั อยา่ งเชน่ การเปลยี่ นโรงเรยี นใหมท่ �ำ ใหเ้ ดก็ ตอ้ งพบเจอกบั 4 “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจติ ” ฉบับนกั สื่อสาร

สงิ่ แวดลอ้ มแปลกใหมไ่ ปจากเดมิ ทเี่ ขาพบเจอ ไมว่ า่ จะเปน็ สถานทใ่ี หม่ ครใู หม่ เพอ่ื นใหม่ ซงึ่ ท�ำ ใหเ้ ดก็ ตอ้ งเรยี นรกู้ ารปรบั ตวั ซง่ึ การเปลย่ี นแปลงตา่ งๆ เหลา่ น้ี ทำ�ให้เด็กบางคนมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวจนทำ�ให้เกิดความเครียด หนกั มากจนถงึ ขน้ั ป่วยไม่สบายไปกม็ ี • พ่อแม่ไม่รักกัน นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ท่ีทำ�ให้เด็กๆ เกิดความเครียด ยิ่งถ้าพ่อแม่มีการทะเลาะด่าว่าหรือทำ�ร้ายร่างกายกัน ให้เด็กๆ เห็นอยู่เป็นประจำ� ยิ่งจะเป็นการทำ�ร้ายจิตใจเด็กและสะสม ความเครยี ดใหก้ บั เดก็ เปน็ อยา่ งมาก นอกจากน้ี กรณที พี่ อ่ แมห่ ยา่ รา้ งกนั แลว้ ใหเ้ ดก็ เลอื กวา่ จะอยกู่ บั พอ่ หรอื แมน่ น้ั กเ็ ปน็ ปญั หาทที่ �ำ รา้ ย สรา้ งบาดแผลให้ กับจิตใจของเด็กเป็นทีส่ ุด ซงึ่ แนน่ อนวา่ นอกจากจะทำ�ใหเ้ ดก็ รสู้ กึ เป็นทกุ ข์ สบั สนแล้วยงั จะน�ำ เดก็ ไปสปู่ ญั หาความเครยี ดอกี ด้วย • สอ่ื ทเี่ พม่ิ ความเครยี ด ไมว่ า่ จะเปน็ หนงั สอื ละครโทรทศั น์ ภาพยนตร์ ทมี่ เี นอื้ หาน�ำ เสนอความนา่ กลวั และความรนุ แรงตา่ งๆ เชน่ เนอื้ หาทเ่ี กย่ี วกบั การท�ำ ร้ายร่างกายและจติ ใจ เน้ือหาเกีย่ วกับฆาตกรโรคจิต เน้อื หาเกยี่ วกบั ผีที่หลอกหลอนทำ�ร้ายคน ส่ิงที่นำ�เสนอเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อจิตใจของ เดก็ ซง่ึ ท�ำ ใหเ้ ขาเกดิ ความกลวั ความหดหู่ ความสะเทอื นใจ ซง่ึ ท�ำ ใหเ้ ดก็ เกดิ ความเครยี ดอยา่ งแนน่ อน • มีความรับผิดชอบท่ีมากเกินไป การฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบน้ัน เป็นสิ่งที่ดี แต่คุณพ่อคุณแม่ควรคำ�นึงถึงวัยของเด็กด้วย ว่า ระดับของ การรับผิดชอบนั้นควรสอดคล้องกับวัยของเด็ก โดยเฉพาะ ในปัจจุบันน้ี ท่ีคณุ พอ่ คุณแม่มักนยิ มใหเ้ ดก็ ๆ มกี ิจกรรมท�ำ หลายอย่างและติดต่อกัน เชน่ เด็กๆที่เหนื่อยจากการเรียนหนังสือมาทั้งวันแล้วยังต้องกลับมาทำ�การบ้าน อกี นอกจากน้ี เดก็ บางคนยงั ตอ้ งเรยี นพเิ ศษหลงั เลกิ เรยี นหรอื แมแ้ ตว่ นั หยดุ เสาร์-อาทิตย์แทนท่ีจะได้เล่นพักผ่อนตามวัยของเขาก็ยังต้องไปเรียนพิเศษ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ซึ่งกิจกรรมมากๆ เหล่าน้ี ที่คุณพ่อคุณแม่ให้กับลูกเป็น การสร้างความเครยี ดใหก้ บั เดก็ ไดโ้ ดยไมร่ ้ตู วั “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจิต” 5 ฉบบั นกั สื่อสาร

ดงั นั้น สงิ่ แรกทีพ่ ่อแม่ ครูและผู้ดแู ลเดก็ ควรพฒั นา คือ ความไวในการ มองเห็นสัญญาณเตือน ถึงความเครียดของเด็กแต่ละวัย และรู้วิธีท่ีจะช่วย เดก็ ใหจ้ ัดการกบั ความเครยี ดของตนเองได้ ซึง่ มอี ยหู่ ลายวิธเี ชน่ • ฟังลูกให้มาก แค่คุกเข่าให้ใบหน้าอยู่ระดับเดียวกับเด็ก มองตา สัมผัสตัวเขา มีทีท่าสงบ รับฟังส่ิงท่ีเขาพูด ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย ขึ้นแล้ว อย่าเพ่ิงยัดเยียดคำ�แนะนำ�ในขณะท่ีเด็กกำ�ลังมีอารมณ์หรือยังคงมี ความเครยี ดเก็บกดอยู่ในใจ • ถามลูกให้เป็น ใช้คำ�ถามท่ีช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิดทบทวน เช่น “หนูคิดวา่ หนจู ะท�ำ อย่างไรตอ่ ไป” “หนจู ะแกไ้ ขเรือ่ งนี้อยา่ งไรล่ะลูก” หรอื คำ�ถามแบบ “ถา้ ...แล้วหนูจะท�ำ อย่างไร” • ชว่ ยใหล้ ูกอยใู่ นความสงบ เทคนคิ ทเี่ หมาะกบั ธรรมชาตขิ องเดก็ ท่จี ะ ชว่ ยใหเ้ ดก็ มจี ติ ใจสงบ อาจพาเดก็ ไปนง่ั ทห่ี นา้ ตา่ งใหเ้ ขาเงยี่ หฟู งั เสยี งนกรอ้ ง เสยี งลมพดั (ถามวา่ เขาไดย้ นิ เสยี งอะไรบา้ ง มนั สง่ เสยี งอยา่ งไร) เดก็ เลก็ ๆ จะ มจี นิ ตนาการ อาจใหเ้ ขาจนิ ตนาการถงึ เสยี งฝนตก เสยี งคลน่ื กระทบฝง่ั ทเี่ ขา เคยได้ยิน • ฝึกให้เด็กหายใจได้ถูกวิธี พ่อแม่สามารถฝึกร่วมไปกับลูกๆ โดยฝึก หายใจลกึ ๆ จะชว่ ยใหร้ สู้ กึ ผอ่ นคลาย เพราะคนทมี่ คี วามเครยี ดมกั หายใจตน้ื ๆ ซึ่งทำ�ให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดออกมา และมีผลเสยี ตอ่ การทำ�งานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย • อย่าเมินเฉยต่อการออกกำ�ลังกายคลายเครียด แม้แต่ตัวเราเอง การออกกำ�ลังกายโดยเฉพาะการออกกำ�ลังกายกลางแจ้งจะช่วยเผาผลาญ ฮอรโ์ มนทห่ี ลงั่ ออกมาเพราะความโกรธ ความเครยี ด ใหส้ ลายไป ดงั นน้ั ควร ใหเ้ ดก็ ๆ ไดว้ งิ่ เลน่ หรอื ใหเ้ ขาจงู สนุ ขั ไปเดนิ เลน่ การเคลอ่ื นไหวอยา่ งมคี วามสขุ จะหยดุ ความเครียดได้ 6 “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจิต” ฉบบั นกั สื่อสาร

ขอ้ แนะนำ�/แนวทางปอ้ งกัน 1. ใหค้ วามรกั ความอบอุน่ กบั ลูก โดยให้ลูกมคี วามรูส้ กึ ว่า ทุกครง้ั ที่เขา มีปัญหาหรือมีความเครียดกับปัญหาใดๆ ก็ตาม เขามีพ่อแม่เป็นที่พ่ึงและ กำ�ลังใจทีเ่ ขาจะสามารถพูดคยุ และปรึกษา ทุกเรอื่ งกับพ่อแมไ่ ด้ตลอดเวลา 2. จัดกิจกรรมท่ีเหมาะสมกับวัยของลูก เช่น ในวัยเด็กเลก็ ควรใช้เวลา เล่นกบั ลกู เล่านทิ านใหล้ กู ฟัง กอดลูกบอ่ ยๆ สว่ นในลกู วัยรนุ่ สามารถชวน ลูกไปเล่นกีฬา พาลูกไปท่องเท่ียวยังสถานท่ีต่างๆ อีกทั้งควรใช้เวลากับลูก ให้มาก โดยรับฟังและไม่ปิดก้ันการแสดงความคิดเห็นของลูก ครอบครัว ที่มีกิจกรรมทำ�ร่วมกันบ่อยๆ จะเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและเด็กจะมี สขุ ภาพจิตดี ไมม่ ีปญั หาความเครยี ดอยา่ งแน่นอน 3. เข้าใจลูก พ่อแม่ควรหมั่นให้กำ�ลังใจ ชมเชยเมื่อลูกทำ�ส่ิงดีและ หลีกเลี่ยงการลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกกระทำ�ความผิด เพ่ือลดปัญหา ความเครยี ดซึง่ อาจเกดิ ขนึ้ กบั เดก็ ได้ 4. เลอื กสอื่ ทเ่ี หมาะสมใหก้ บั ลกู ควรเลอื กหนงั สอื และรายการโทรทศั น์ ที่เหมาะสมให้กับลูก โดยหลีกเล่ียงรายการที่มีเน้ือหาที่ก้าวร้าว น่ากลัว นา่ สยดสยอง เพ่อื ที่เดก็ ๆ จะไมเ่ กดิ ความเครียดจากสอื่ ต่างๆ เหลา่ นี้ 5. เอาใจใส่ลูก หากลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว มีอาการป่วยบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพาลูกไปปรึกษา จติ แพทย์หรือผเู้ ชย่ี วชาญ เพอื่ แก้ปญั หาความเครียดเหล่านัน้  “Top Hits ความรสู้ ขุ ภาพจติ ” 7 ฉบบั นกั สอ่ื สาร

“ดาวนซ์ ินโดรม” ประเทศไทย พบการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมได้ 1 ใน 800 -1000 ประชากร กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรม เป็นภาวะท่ีเกิดจากการ ทมี่ ยี นี หรอื สารพนั ธกุ รรม บนโครโมโซมคทู่ ี่ 21 เกนิ เปน็ สามแทง่ ซง่ึ เปน็ ทมี่ า ของวันท่ี 21 เดือน 3 วันดาวนซ์ ินโดรมโลก ปญั หาจากโครโมโซมสง่ ผลต่อ พัฒนาการของเด็ก ต้ังแต่เป็นทารกในครรภ์มารดา เด็กกลุ่มอาการดาวน์ มกั จะมรี ปู ร่างหน้าตาที่คล้ายกนั เปน็ ลักษณะเฉพาะตัว ความเช่อื เดิมๆ ในอดตี ทีต่ ดิ อยกู่ ับปัญหาสขุ ภาพและพฒั นาการท่ีล่าชา้ ของเด็กกลุ่มนี้มักสร้างตราบาปหรือข้อจำ�กัดต่อโอกาสในสังคมและสร้าง ปัญหาในการปรับตัวต่อพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างมาก แต่วิทยาศาสตร์ การแพทย์ท่ีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเข้าใจในมุมมองทาง จิตใจและสังคม ณ ปัจจุบันทำ�ให้มีการเปล่ียนแปลงที่มีความหมายต่อการ สร้างโอกาสการพัฒนา ทำ�ให้ผู้มีอาการดาวน์สามารถใช้ชีวิตในครอบครัว และสังคมอย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่มีเกียรติและมีคุณค่าในสังคมได้ เด็กๆ สามารถไปโรงเรียนและเรียนรู้ได้ ทำ�งานได้ พึ่งพิงตนเองได้ และ บางคนคน้ พบความสามารถทโี่ ดดเดน่ ได้ เช่น การรอ้ งเพลง การเล่นดนตรี การเป็นวาทยากร การเตน้ รำ� การเดินแบบ เป็นดารา การเล่นกีฬาบอชช่ี การทำ�งานศิลปะ เปน็ ต้น 8 “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจติ ” ฉบบั นักสอ่ื สาร

การเลย้ี งเดก็ กลมุ่ อาการดาวน์ มหี ลกั การ 3 ขอ้ คอื การใชห้ ลกั 3 H ไดแ้ ก่ การดูแลสขุ ภาพ (Health) การมีความหวงั (Hope) และการดแู ลดว้ ย หวั ใจของเรา (Heart) ตลอดจนการสง่ เสรมิ พอ่ แมแ่ ละสมาชกิ ในครอบครวั และความรว่ มมอื จากทกุ ภาคสว่ น ทงั้ โรงเรยี น สถานประกอบการ เครอื ขา่ ย ในชมุ ชน ชว่ ยกนั พฒั นาเดก็ ใหม้ คี ณุ ภาพทงั้ ดา้ นรา่ งกายและจติ ใจตงั้ แตแ่ รก เริม่ ส่กู ารเติบโตอยา่ งมีคณุ ภาพ Health : เดก็ ๆ กลมุ่ นม้ี โี อกาสเกดิ โรคของอวยั วะตา่ งๆ นบั ตงั้ แตป่ ญั หา สายตา ปญั หาการได้ยิน ซึ่งรบกวนการเรียนร้แู ละจ�ำ เป็นตอ้ งตรวจประเมนิ ตง้ั แตว่ ยั ทารกและตดิ ตามตอ่ เนอื่ งทกุ ปี ปญั หาโรคหวั ใจโดยก�ำ เนดิ พบไดถ้ งึ 40 เปอรเ์ ซน็ ต์ จงึ ตอ้ งตรวจอยา่ งละเอยี ดตง้ั แตเ่ ปน็ ทารก สว่ นปญั หาไทรอยด์ ซ่งึ พบรว่ มได้อกี ประมาณมากกว่าหน่งึ ในสี่ จึงต้องมกี ารตรวจทกุ ๆ ปี นอกจากนี้ ดา้ นรา่ งกายและวถิ ชี วี ติ เดก็ กลมุ่ นจี้ ะเกดิ โรคอว้ นและปญั หา แทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดนั โลหิตสูง ฯลฯ ได้งา่ ย จ�ำ เป็นต้องตรวจ สขุ ภาพและมกี ารส่งเสริมสุขภาพสมํ่าเสมอ เพอ่ื ความแข็งแรงและพัฒนาได้ เตม็ ที่ “Top Hits ความรสู้ ขุ ภาพจิต” 9 ฉบบั นกั สอื่ สาร

Hope : เด็กกลุ่มน้ีเมื่อมีสุขภาพท่ีดีและมีการส่งเสริมโอกาสการเรียน รตู้ อ่ เนอ่ื งตงั้ แต่อายนุ ้อยๆ จะสามารถพัฒนาตนเองไดอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง แมจ้ ะ ด้วยอตั ราทแ่ี ตกตา่ งจากเดก็ ท่วั ไปบา้ ง ดังนน้ั การไม่ปดิ ก้นั การเรยี นรู้ แต่มี การใหโ้ อกาส ใหก้ ารแนะนำ� ให้การสนับสนนุ และให้เวลาแก่เด็ก จะชว่ ยให้ เดก็ กลุ่มน้ี “ท�ำ ได้” ทัง้ ในเรอ่ื งการเรียนรู้ ไปโรงเรยี น ดูแลตนเอง ช่วยเหลือ ครอบครัว ประกอบอาชพี และมีชวี ติ ท่เี ปน็ อสิ ระและเปน็ ส่วนหนงึ่ ทอ่ี ยู่รว่ ม ในสังคมไดอ้ ยา่ งภาคภมู ิ Heart : การดูแลเด็กท่ีแตกต่างอาจเป็นความเหนื่อยยากของพ่อแม่ และครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ที่สามารถ ใหค้ วามรกั ใหค้ วามใกลช้ ดิ เขา้ ใจและยอมรบั เดก็ ดว้ ยหวั ใจ จะสามารถผา่ นพน้ ชว่ งเวลายากๆ ไปได้ โดยปจั จบุ นั นี้ เดก็ ๆและครอบครวั มโี อกาสในการไดร้ บั สิทธิทางการแพทย์ การศึกษา การประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตในสังคม หลายประการ เปน็ อีกส่วนทจ่ี ะเออ้ื ให้พ่อแมส่ ามารถดแู ลลกู ด้วยหัวใจได้  10 “Top Hits ความรสู้ ขุ ภาพจิต” ฉบับนกั สอ่ื สาร



“โรคเอาแต่ใจตวั เอง” เดก็ ทเี่ อาแตใ่ จตวั เอง หรอื Spoiled childrenคอื เดก็ ทไี่ มม่ รี ะเบยี บวนิ ยั ทำ�อะไรตามใจชอบ เช่ือว่าหลายบ้านคงต้องปวดเศียรเวียนเกล้าเม่ือต้อง พาเจ้าตัวเล็กออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะศูนย์การค้าที่พอเดินผ่านของเล่น หรือของถูกใจเป็นอันต้องร้องกร๊ีด ชักดิ้น ชักงอ ลงกับพ้ืนเพราะพ่อแม่ ไม่ยอมซอ้ื ให้ ถือเป็นภาพสะทอ้ นของการเล้ยี งลกู ของครอบครัวไทย ที่เกิด จากการตามใจจนเกินเหตุ ส่งผลให้เดก็ ตดิ นิสยั เอาแต่ใจ ขี้วีน ก้าวร้าว และ ไมม่ เี หตผุ ล อาการเด็กท่ีเป็นโรคเอาแต่ใจ จะมีอาการด้ือด้านต่อต้านอย่างรุนแรง ทำ�อะไรก็หงุดหงิด โมโหง่าย ต่อต้านทุกอย่าง พ่อแม่พูดอะไรก็ไม่ฟัง บางครง้ั กอ็ าละวาด หมายปองเจตนารา้ ย รงั แกผอู้ นื่ ท�ำ ลายขา้ วของในบา้ น หากเดก็ คนไหนทม่ี อี าการดงั กลา่ วอยา่ งนอ้ ย 4 ขอ้ ในระยะเวลานาน 6 เดอื น ถือว่าเป็นโรคเอาแต่ใจตนเอง ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์เด็ก และ ไดร้ ับการปรับพฤติกรรม 12 “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจิต” ฉบับนกั ส่อื สาร

สาเหตุ เกดิ ไดจ้ ากหลายสาเหตุ ทง้ั ดา้ นชวี ภาพ บางคนเลยี้ งงา่ ย บางคน เลีย้ งยาก ซ่ึงเกดิ จากสมองสว่ นหน้าท่คี วบคุม ยบั ยัง้ อารมณ์ และพฤตกิ รรม ทำ�งานผิดปกติจึงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และปัจจัยด้านการเลี้ยงดู โดยเฉพาะพ่อแม่ยุคใหม่ ท่ียังขาดทักษะ และแนวคิดท่ีถูกต้องในการเล้ียง ลูก กลัวว่า ถา้ ขดั ใจจะทำ�ให้ลกู เครยี ด หงดุ หงิด กา้ วร้าว ตลอดจนการใช้ ความรุนแรง ทำ�ให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจ พ่อแม่ส่วนใหญ่มีเวลาให้ กบั ลกู ลดลง ความผกู พนั ทางอารมณร์ ะหวา่ งเดก็ กบั พอ่ แมจ่ งึ ลดลงดว้ ย เดก็ มีความต้องการความใกล้ชิดโดยเฉพาะเด็ก 2-3 ขวบ พ่อแม่บางคนคิดว่า ลุกยงั รบั รู้และจดจำ�ได้ไม่ดจี ึงมองขา้ มช่วงเวลานไ้ี ป ปลอ่ ยให้เดก็ ดโู ทรทัศน์ ตามลำ�พัง ให้เล่นกับพ่ีเล้ียง ตรงน้ีเป็นการใช้เวลาอยู่ด้วยกันแค่ตัวแต่ใจ ไม่ได้อยู่ด้วยกันหรือบางครั้งชดเชยด้วยสิ่งของทำ�ให้เด็กคิดว่าความรักคือ สง่ิ ของทไ่ี ดม้ า พอวนั หลงั อยากไดค้ วามรกั ความสนใจกจ็ ะเรยี กรอ้ งเอาสง่ิ ของ และส่งผลให้ความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็กตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การเปน็ โรคเอาแตใ่ จตวั เอง และการทที่ ง้ิ ใหเ้ ดก็ ดโู ทรทศั นต์ ามล�ำ พงั เดก็ กจ็ ะ ไดต้ วั อยา่ งความกา้ วรา้ ว สง่ เสยี งกรด๊ี กรา๊ ด หรอื ตบตกี นั เทา่ กบั ท�ำ ใหล้ กู โต จากการเลยี นแบบในโทรทศั น์เพราะเด็กไม่มวี ุฒภิ าวะเพียงพอทจ่ี ะคำ�นึงถงึ อะไรควร อะไรไมค่ วร ปัจจัยอีกอย่างท่ีทำ�ให้เด็กเป็นโรคเอาแต่ใจ มาจากคนเลี้ยงดูหรือ ผปู้ กครองใจออ่ น ยอมตามใจเดก็ ไมก่ �ำ หนดขอบเขตและยอมใหเ้ ดก็ รอ้ ง แสดง อารมณ์รา้ ย ถ้าผู้ปกครองยอมให้เด็กอยเู่ หนอื ทำ�อะไรกต็ ามใจ จะน�ำ ไปสู่ การสร้างนิสัยทำ�อะไรตามใจตนเองเม่ือถูกขัดใจก็จะร้องแล้วยอมให้หมด “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” 13 ฉบับนกั สอ่ื สาร

เด็กท่ีเอาแต่ใจตนเอง หากไม่ได้รับการแก้ไขจะมีปัญหาเม่ือเข้าสู่วัยเรียน เพอื่ นจะไมช่ อบเพราะเดก็ ทเี่ อาแตใ่ จตนเองจะเอาแตส่ ง่ั และเหน็ แกต่ วั ผใู้ หญ่ ก็ไมช่ อบ เดก็ ท่ีเอาแตใ่ จตนเองจะกระด้างและจะเอาโนน่ เอานี่ ทำ�ให้พอ่ แม่ หนกั ใจ คนอ่นื รอบขา้ งแสดงอาการไม่ยอมรบั เขา้ กับเพ่อื นและผใู้ หญ่ไม่ได้ ท�ำ ใหเ้ ดก็ ไรค้ วามสขุ ขาดแรงจงู ใจและกระตอื รอื รน้ ทจี่ ะเรยี นทโี่ รงเรยี น เมอื่ เดก็ โตขนึ้ จะมพี ฤตกิ รรมเสย่ี งตอ่ การเสพยา ชวี ติ เมอื่ เขาโตขนึ้ จะอยใู่ นสงั คม อย่างไมม่ คี วามสุข แนวทางการช่วยเหลือ คือ เม่ือเด็กมีปัญหา ขอให้ผู้เกี่ยวข้องสงบสติ อารมณ์ ใจเยน็ ๆ แต่ตอ้ ง “ใจแขง็ ” อย่ายอมออ่ นข้อใหเ้ ดก็ เป็นอันขาด เด็ก จะได้เรียนรู้ว่าการท่ีแกโวยวาย ลงมือลงเท้า แผลงฤทธิ์ เอาแต่ใจแบบนี้ ไมไ่ ด้ผลอีกตอ่ ไป  14 “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจติ ” ฉบับนักส่อื สาร

“โรคสมาธิสนั้ ” โรคสมาธสิ ั้น เปน็ ความผิดปกตขิ องสมองสว่ นท่ีทำ�หนา้ ทคี่ วบคมุ ตวั เอง ท�ำ งานบกพรอ่ ง ปจั จบุ นั พบวา่ พนั ธกุ รรมเปน็ สว่ นหนงึ่ และกป็ จั จยั แวดลอ้ ม ในขณะตั้งครรภ์ พวกโลหะหนัก ตะกั่ว หรือคุณแม่ที่สูบบุหร่ี ในระหว่าง ตงั้ ครรภก์ จ็ ะท�ำ ใหม้ คี วามเสยี่ งของโรคสมาธสิ นั้ สงู ขนึ้ ไมไ่ ดเ้ กดิ จากการเลยี้ ง ดทู ผี่ ดิ แตก่ ารเล้ยี งดูทผ่ี ดิ จะท�ำ ใหผ้ ู้ทปี่ ่วยแยล่ ง โรคนี้ เป็นโรคที่เกิดข้ึนต้ังแต่วัยเด็ก เดิมเราเช่ือว่าเป็นโรคของเด็ก แต่ปัจจุบันเราพบว่า โรคน้ีไม่ได้หายไปเม่ือพ้นวัยเด็ก โตข้ึนก็ตามไปด้วย ส่วนหนงึ่ ประมาณ 1 ใน 3 ทจ่ี ะหาย ส่วน 2 ใน 3 ไม่หาย และจะเปน็ จนกระทั่งถึงวัยผ้ใู หญ่ สว่ น 2 ใน 3 จำ�เปน็ ต้องรกั ษาหรือเปลา่ น้นั จะต้อง พิจารณาเป็นรายๆ ไป โรคสมาธสิ นั้ ควรไดร้ บั การรกั ษา เนอ่ื งจากกระทบกบั การมสี มาธจิ ดจอ่ ตอ่ เนอ่ื ง และในวยั เดก็ หนา้ ทขี่ องเดก็ คอื ตอ้ งเรยี นหนงั สอื วยั เดก็ จะพฒั นา ไดด้ เี มอื่ เขาประสบความสำ�เรจ็ ในเรือ่ งของการเรยี น การเข้ากบั เพอ่ื น ได้รบั การยอมรับจากเพ่ือน ได้รับการยอมรับจากครู เพราะฉะน้ัน ถ้าปล่อยไว้ กจ็ ะทำ�ใหเ้ ดก็ เร่มิ มีปญั หาอารมณ์จิตใจตามมา วธิ สี งั เกต คอื ซนเกนิ ไป ใจลอย รอคอยไมไ่ ด้ ถา้ เขา้ เกณฑท์ งั้ 3 อาการ จงึ จะส่งให้ประเมนิ เพิม่ เติมโดยละเอยี ดขึ้น ถ้าเรารกั ษาต้งั แตต่ ้นๆ ยังไมไ่ ด้มีปญั หาการเรยี น ไมไ่ ดม้ ปี ญั หาอารมณ์ เกิดข้ึนควบคู่มาแล้ว การรักษาท่ีได้ผลดี ต้องเป็นแบบผสมผสาน คือ จะตอ้ งใชค้ วามรว่ มมอื จากคณุ พอ่ คณุ แมแ่ ละคณุ ครทู โ่ี รงเรยี น ทจ่ี ะเขา้ ใจและ ปรับพฤติกรรมเขา เพ่อื สง่ เสรมิ ให้เขามสี มาธจิ ดจอ่ กับการเรยี นได้ “Top Hits ความรสู้ ขุ ภาพจิต” 15 ฉบับนักส่ือสาร

การรกั ษาท่ีส�ำ คญั อีกทางหนึง่ คือ การใชย้ ารกั ษาสมาธสิ ้ัน ฟังดูแลว้ น่ากลวั วา่ เปน็ ยากดสมองหรอื ไม่ จรงิ ๆ แลว้ ยาตวั นไี้ มไ่ ดก้ ดสมอง แตจ่ ะไปเพมิ่ สาร เคมตี รงสมองทอ่ี ยหู่ ลงั หนา้ ผากทม่ี หี นา้ ทคี่ วบคมุ ใหค้ นท�ำ งานอยา่ งใดอยา่ ง หนงึ่ ใหจ้ นจบชน้ิ งานใหท้ �ำ งานดขี นึ้ เหมอื นมนั ขเ้ี กยี จ แลว้ เราเอาเทรนเนอร์ ไปเทรนใหเ้ ขา สง่ ยาตวั นเ้ี ขา้ ไป กจ็ ะไปบอกสมองวา่ การท�ำ งานทถี่ กู เธอตอ้ ง ท�ำ แบบนน้ี ะ สมองกจ็ ะทำ�งาน ปรับตวั จริงๆ เด็กซนที่ฉลาด คือ เด็กทีอ่ ยากรอู้ ยากเหน็ เสรจ็ แลว้ เขากจ็ ะเกบ็ เอาไว้ แล้วเม่ือเขาไปเจอส่ิงใหม่ๆเขาก็จะเอาไปต่อยอดได้ ซนเป็นเรื่องๆไป จะไม่ซนจนตัวเองเจ็บตัว รู้ว่าตัวเองทำ�แบบน้ีจะเกิดผลกระทบอะไร แต่ เดก็ สมาธสิ ้นั จะอยากดูไปเรอ่ื ยๆ จนไม่จบสกั อยา่ ง และไม่เกิดการเรียนรู้ และจะไมร่ ถู้ งึ ผลกระทบท่ีจะเกดิ ตามมาจากการซน การมาพบแพทย์และทานยาจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคร่วมอ่ืนๆ ได้ ถ้าเรารักษาและทานยาอย่างสมํ่าเสมอ ปรับพฤติกรรมลูกอย่างสมํ่าเสมอ ทง้ั ทบ่ี า้ น ทโ่ี รงเรยี น โอกาสทเ่ี ขาเขา้ สวู่ ยั รนุ่ หรอื วยั ผใู้ หญม่ โี อกาสจะหยดุ ยา ไดส้ งู กว่า เด็กสมาธิสั้น ต้องการความเข้าใจ เขาไม่ได้แกล้ง เด็กทุกคนอยากดี อยากต้ังใจเรยี น อยากเรียนหนงั สอื เกง่ แตม่ ันท�ำ ได้ไมน่ าน เน่ืองจากความ พรอ้ มของสมองที่จะทำ�งานไมม่ ี เพราะฉะน้นั อยากให้เขา้ ใจเขา อยา่ กลัวท่ี จะพามาพบจิตแพทย์เดก็  16 “Top Hits ความร้สู ขุ ภาพจิต” ฉบบั นักสือ่ สาร



“โรคออทิสซึม” ออทสิ ตกิ เปน็ ค�ำ ใชเ้ รยี กเดก็ ทม่ี อี าการของโรคน้ี พบ เดก็ ออทสิ ตกิ 4-5 คน ในจำ�นวนเดก็ 10,000 คน ออทิสซึม คือลักษณะอาการท่ีมีความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กที่ แสดงพฤตกิ รรมใหเ้ หน็ วา่ เดก็ ไมส่ ามารถพฒั นาดา้ นสงั คม การสอ่ื ความหมาย และขาดจินตนาการ อาการจะปรากฏในช่วงต้นของพัฒนาการ แต่อาจยัง ไมแ่ สดงอาการเตม็ ทจี่ นกวา่ จะพบกบั สถานการณท์ างสงั คมทย่ี ากเกนิ ความ สามารถของเดก็ “สรปุ เข้าใจง่าย ๆ คือ เดก็ ออทสิ ตกิ โรคออทสิ ซมึ ” ในทางการแพทย์โรคออทสิ ซมึ หรอื อกี ชอื่ ออทสิ ตกิ เสปคตรมั ดสิ ออรเ์ ดอร์ (Autistic spectrum disorder) เป็นโรคในกลุ่มพัฒนาการทางสมอง ผดิ ปกติ (neurodevelopmental disorder) สนั นษิ ฐานวา่ มสี าเหตจุ ากปจั จยั ทางด้านพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมท่ีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของสมอง ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์จนถึงวัยทารกและวัยเตาะแตะ คาดว่าประมาณ ร้อยละ 90 มาจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมมากกว่าสภาพแวดล้อมท่ีอาจ เก่ียวข้อง ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส กระบวนการระบบภูมิคุ้มกัน สารที่เป็น พิษต่อระบบประสาท ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการต้ังครรภ์และการคลอด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ไม่ได้ เกิดจากการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสมหรือขาดการกระตุ้นพัฒนาการ จึงยัง ไม่สามารถจะสรุปสาเหตุของออทิซึมไดแ้ น่ชัด 18 “Top Hits ความรูส้ ุขภาพจิต” ฉบับนกั สอ่ื สาร

เดก็ ออทสิ ตกิ จะมอี าการทแ่ี สดงใหเ้ หน็ วา่ มคี วามผดิ ปกตทิ างพฤตกิ รรม หรอื มคี วามลา่ ชา้ ในดา้ นพฒั นาการทางสงั คม การสอ่ื ความหมาย การพดู การ ใชภ้ าษา จนิ ตนาการ มพี ฤตกิ รรมซา้ํ ๆ บางอยา่ งทงั้ การกระท�ำ และความคดิ อาการจะปรากฏให้เห็นได้ต้ังแต่ช่วงต้นของพัฒนาการ พบได้ในเด็ก ทวั่ โลก โดยไมจ่ �ำ กดั พน้ื ฐานทางสงั คม เชน่ การศกึ ษา ฐานะทางสงั คม จ�ำ นวน เด็กชายมากกว่าเด็กหญงิ 4 เทา่ การวินิจฉัยว่า เด็กเป็นออทิสซึมหรือไม่ ต้องอาศัยการซักประวัติอย่าง ละเอียดเก่ียวกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการทุก ๆ ด้านของเด็กตั้งแต่ แรกเกิด การกิน การนอน การขบั ถา่ ย รวมท้ังการแสดงออกทางพฤตกิ รรม ทผ่ี ดิ แปลกไปจากเดก็ ปกตใิ นชว่ งอายเุ ดยี วกนั ผปู้ ระเมนิ ควรใชเ้ วลาการตรวจ พฒั นาการใหน้ าน เพอื่ จะไดว้ นิ จิ ฉยั ใหถ้ กู ตอ้ งเพอ่ื การรกั ษาไดถ้ กู ทาง ในการ สังเกตพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของเด็กท้ังภายนอกและภายในห้องตรวจ เช่น พัฒนาการทางสังคม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ปฏิกิริยาต่อ บคุ คลอนื่ ตอ่ ของเลน่ หรอื สง่ิ แวดลอ้ ม การตอบสนองตอ่ สงิ่ เรา้ ทเ่ี กยี่ วกบั การ มองเห็น การได้ยิน การสัมผัสหรือความเจ็บปวด ความสามารถในการพูด การใช้ภาษา การส่ือความหมาย การเคลื่อนไหว รวมท้ังพฤติกรรมซํ้าซาก และอารมณท์ ไ่ี มส่ มเหตุผล การรกั ษาและการชว่ ยเหลอื เดก็ ออทสิ ตกิ ประกอบดว้ ย แพทย์ พยาบาล นักฝึกพูด ครูการศึกษาพิเศษ ซ่ึงทำ�ร่วมกันเป็นทีม และเมื่อเด็กเติบโตข้ึน เขา้ เรยี นจงึ ขอความรว่ มมอื จากครอู าจารย์ เพอ่ื ชว่ ยฟน้ื ฟสู มรรถภาพการเรยี นรู้ ตอ่ ไป การใหค้ วามชว่ ยเหลอื ตอ่ เนอื่ งจะท�ำ ใหผ้ ลการรกั ษาและการชว่ ยเหลอื ประสบความสำ�เร็จแต่ไม่สามารถกำ�หนดได้ว่า จะต้องให้ระยะเวลาเท่าใด จงึ จะท�ำ ใหเ้ ดก็ ออทสิ ติกดีขนึ้ พัฒนาดขี ึน้ แตไ่ ม่หายเป็นปกติ เช่น เด็กปกติ อืน่ ๆ แต่ช่วยใหเ้ ดก็ มีโอกาสพฒั นาดขี น้ึ ทัง้ ทางร่างกาย จติ ใจและสงั คม “Top Hits ความรูส้ ุขภาพจติ ” 19 ฉบับนักสือ่ สาร

“เร่ิมต้นเร็ว พัฒนาการจะดีเร็ว” ไม่มีใครอยากให้ลูกเกิดมาผิดปกติ ขอใหพ้ อ่ แมอ่ ดทนในชว่ งตน้ เนอื่ งจากเดก็ กลมุ่ นมี้ คี วามผดิ ปกตทิ างอารมณ์ รว่ มด้วย ท�ำ ให้พ่อแม่ทอ้ ใจ หดหู่ ตอ้ งทอ่ งไว้เสมอ “อดทน อดทน เพื่อลกู ” แล้วทกุ อย่างจะค่อย ๆ ดขี ึ้น  20 “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจิต” ฉบับนกั ส่ือสาร



การส่งเสริม IQ และ EQ เดก็ ไทย ความฉลาดทางสติปญั ญา (Intelligent Quotient : IQ) และ ความ ฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) มีความส�ำ คญั อย่างย่ิงใน ทุกกิจกรรมในทุกวนั ของชีวิต IQ สามารถสรา้ งเสรมิ ไดต้ ามวยั สว่ น EQ จะอาศยั กระบวนการการเรยี นรู้ ขัดเกลาทางสงั คมเข้าไปเสรมิ ต้นทุนทางสมองทม่ี ีอยู่แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ต้องเร่ิมเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ โดยส่งเสริม ในเรอื่ งโภชนาการทจ่ี ะสง่ ผลตอ่ พฒั นาการทางสมองของลกู เชน่ สารไอโอดนี มผี ลต่อการพัฒนาการของสมอง อาหารอนื่ ๆ กเ็ ช่นเดียวกัน รวมถึงสภาพ แวดลอ้ มในครรภ์ ความไมเ่ ครยี ดและความรสู้ กึ ผอ่ นคลายในระยะหลงั คลอด ก็มคี วามสำ�คัญเช่นกัน แนวทางเสริมสรา้ ง IQ ส�ำ หรบั เดก็ คือ การกนิ กอด เล่น และ เลา่ กิน คอื การดูแลโภชนาการทด่ี ีอย่างต่อเน่ืองเพราะสมองเดก็ ตอ้ งการ อาหารท่ีจะเข้าไปเสริมสร้าง เช่น ไอโอดีน และธาตุเหล็ก ซ่ึงสำ�คัญกับ พัฒนาการทางสมองของเด็กมาก กอด คอื การสัมผสั ของพ่อแม่ ความอบอุ่นที่เกิดขน้ึ มีผลทำ�ใหเ้ ด็กหล่งั “Growth Hormone” ซ่ึงจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง และ สร้างความรู้สึกมั่งคงทางจิตใจอันเป็นรากฐานให้เกิดความภาคภูมิใจ ในตนเองและเติบโตเปน็ ผใู้ หญท่ ีม่ ีความมั่นคงทางอารมณต์ อ่ ไป เล่น โดยเดก็ จะเรียนร้ผู ่านความสนกุ สนาน ดงั น้นั กิจกรรมการเล่นท่มี ี การเคลอื่ นไหว การขบคดิ การเลน่ กบั เพอ่ื นท�ำ ใหเ้ กดิ การเรยี นรทู้ จ่ี ะปรบั ตวั 22 “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” ฉบบั นกั ส่ือสาร

และอยู่ร่วมกับผู้อ่ืน การเล่นในเชิงศิลปะ ดนตรี จินตนาการล้วนดีกับ ความคิดสร้างสรรคข์ องเดก็ ทั้งสิ้น เลา่ คือ การอ่านหนังสอื การพูดคยุ การทเ่ี ดก็ ตงั้ ค�ำ ถามแลว้ พ่อแมต่ อบ หรือเด็กได้โอกาสหาคำ�ตอบด้วยตนเอง การที่เด็กรู้จักเล่าเรื่อง สรุปเร่ือง จากการอา่ นหนงั สือด้วยกนั จะช่วยพัฒนาระบบวธิ คี ดิ ของเดก็ เมื่อเขาเขา้ สู่ ระบบการศกึ ษาตอ่ ไป อกี ทง้ั เปน็ ชว่ งเวลาทท่ี �ำ ใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ ใกลช้ ดิ สง่ ผลให้ เกดิ การปลกู ฝงั คณุ ธรรมจรยิ ธรรมแกเ่ ด็กไดเ้ ป็นอยา่ งดี แนวทางพฒั นา EQ สำ�หรับเดก็ 1. ผู้ปกครองทำ�ตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ระมัดระวังการแสดงอารมณ์ ของตนเอง ฝกึ ใหร้ จู้ กั ภาวะอารมณท์ เี่ กดิ ขน้ึ กบั ตนเองในแตล่ ะชว่ งเวลาและ สถานการณ์ การตง้ั ใจรบั ฟงั การแสดงความเหน็ อกเหน็ ใจ และเออ้ื อาทรแก่ ผอู้ นื่ ล้วนจ�ำ เปน็ แกเ่ ด็กทั้งส้ิน 2. ใช้โอกาสหรือสถานการณ์ต่าง ๆ สร้างความใกล้ชิดสนิทสนม ให้ ขอ้ มลู มมุ มองตา่ ง ๆ เพอื่ ประกอบการตดั สนิ ใจ ในการแกไ้ ขสถานการณน์ น้ั ๆ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม เชน่ ขณะทชี่ มรายการทวี กี บั เดก็ ๆ ทมี่ กี ารใชค้ วามรนุ แรง หรือเหตุการณ์น่ากลัว พ่อแม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้ลูกด้วย การอธบิ ายเหตผุ ลและสรา้ งความเขา้ ใจทถ่ี กู ตอ้ ง เปน็ การเพมิ่ ประสบการณ์ ทางอ้อมให้แก่ลกู ได้อีกดว้ ย 3. รับฟังความรู้สึกและอารมณ์ของเด็กด้วยความต้ังใจ ไม่ด่วนสรุป หรือตัดสนิ ช้ีนำ�จนเกนิ เหตุ ระลึกไวว้ ่า อารมณค์ วามรสู้ ึกเปน็ สิทธิของเดก็ ท่ีแสดงออกได้ ไม่ใชก่ ารตัดสินถกู ผิด หากเด็กอย่ใู นวัยท่ีเหมาะสมของการ แสดงออกอย่างมีวฒุ ภิ าวะ “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจติ ” 23 ฉบับนกั สอ่ื สาร

วิธกี ารเลีย้ งดทู คี่ วรหลกี เลีย่ ง • เล้ียงแบบสบายเกินไป จะทำ�ให้เด็กขาดความอดทน ไม่มีความ พยายาม แก้ปญั หาไมไ่ ด้ • เล้ียงโดยไม่ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง จะทำ�ให้เด็กกลายเป็นคน แก้ปัญหาไม่เป็น ขาดความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับ สงั คมหรือสถานการณร์ อบข้างทเี่ ปลีย่ นแปลง • เลี้ยงแบบไม่เติบโตสมวัย ทำ�ให้เด็กไม่มีวุฒิภาวะ ขาดความ กระตือรอื รน้ • เลยี้ งโดยเนน้ การเรยี นมากเกนิ ไป เดก็ จะขาดการพฒั นาทกั ษะอนื่ ๆ เชน่ ดนตรี กฬี า • เลย้ี งโดยใชค้ วามรนุ แรง เดก็ ทถ่ี กู กระท�ำ รนุ แรง ไมว่ า่ ทางวาจาหรอื ทางกาย จะเกดิ ความรูส้ ึกโกรธ อยากแก้แค้น บางคนถงึ ขัน้ คิดหนี ออกจากบา้ น นอกจากนี้ โดยธรรมชาตเิ ดก็ จะเลยี นแบบพฤตกิ รรม คนรอบข้างจากการสังเกต เด็กท่ีอยู่ในครอบครัวท่ีใช้ความรุนแรง เหน็ พฤติกรรมรนุ แรงของผ้ใู หญ่ หรอื เคยถูกกระทำ�รนุ แรงทางกาย จะเลยี นแบบและมพี ฤตกิ รรมใชค้ วามรนุ แรง สง่ ผลใหเ้ ดก็ วยั เรยี นที่ เคยถูกกระทำ�รุนแรงทางกาย มีค่าเฉล่ียของพัฒนาการด้านความ ฉลาดทางอารมณ์ตํ่ากว่าเดก็ ทไี่ ม่เคยถูกกระท�ำ รุนแรง • เลย้ี งลกู ดว้ ยโทรทศั น์ ภาพความรนุ แรงหรอื พฤตกิ รรมทไี่ มเ่ หมาะสม ทเ่ี ดก็ เหน็ ผา่ นทางโทรทศั นว์ นั ละหลายๆ ครงั้ จะสง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรม และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก แทนท่ีจะปล่อยให้โทรทัศน์ ทำ�ลายความฉลาดของเด็ก พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงควรใช้โทรทัศน์เป็น เคร่ืองมือเสริมสร้างอีคิวให้สูงข้ึนด้วยการน่ังดูโทรทัศน์พร้อมเด็ก เพอ่ื จะไดแ้ นะน�ำ ในสง่ิ ทถ่ี กู ทคี่ วร และเปดิ โลกทางความคดิ ดว้ ยการ เลอื กดูรายการทมี่ สี าระมากกว่าบันเทิง 24 “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจิต” ฉบบั นกั สอื่ สาร

9 เทคนิคช่วยให้ลูกเรยี นเก่ง ไดแ้ ก่ 1. ยอมรบั และเขา้ ใจ ในสง่ิ ทเ่ี ดก็ เปน็ ทงั้ ขอ้ ดแี ละขอ้ ดอ้ ย การใหค้ วาม เข้าใจเป็นความรกั อยา่ งหนงึ่ ท่ีพ่อแมค่ วรใหล้ กู อยา่ งสมา่ํ เสมอ 2. รว่ มมอื กนั วางแผนเพอื่ ลกู แบง่ หนา้ ทชี่ ว่ ยเหลอื กนั ในการดแู ลลกู ดา้ น ต่างๆ เช่น การตรวจการบา้ น การพบปะคุณครู การพาลูกไปออกก�ำ ลงั กาย 3. พอ่ แมแ่ ละครตู อ้ งเปน็ ทมี เดยี วกนั หมนั่ พบปะ พดู คยุ กนั อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง เพือ่ ตดิ ตามการเรียนและปญั หาของลูก 4. ใหล้ กู คน้ หาสงิ่ ใหมๆ่ คน้ หาสง่ิ ทชี่ อบ ชว่ ยใหก้ ลา้ คดิ กลา้ ท�ำ เรมิ่ จาก กจิ กรรมนอกเหนอื จากการเรียน แล้วใหไ้ ด้ทดลองท�ำ 5. คอยใหก้ �ำ ลงั ใจ ก�ำ ลงั ใจจากพอ่ แม่ เปน็ สงิ่ ชว่ ยกระตนุ้ ใหล้ กู พยายาม ในสิง่ ท่ีท�ำ อยู่ แต่ไม่ควรปลอ่ ยให้อยู่กับสิง่ ที่ท�ำ ไมไ่ ดน้ านเกินไป 6. ลดการเปรยี บเทียบ ถา้ ตอ้ งการให้ลกู เปน็ อย่างไร ให้บอกลกู ตรงๆ 7. ฝกึ ใหช้ ว่ ยเหลือตนเองในกิจวตั รประจ�ำ วัน เชน่ การแปรงฟัน ล้าง หนา้ อาบนํ้า แต่งตวั จดั เตรียมของไปโรงเรียน การใชเ้ งนิ 8. มอบหมายงานบา้ น โดยมอบหมายความรบั ผดิ ชอบการท�ำ งานบา้ น งา่ ยๆ ตามวัย เพอ่ื ให้เกิดความเคยชนิ และเรียนรกู้ ารช่วยเหลอื คนอ่ืนๆ 9. ฝกึ ระเบยี บวนิ ยั เพอื่ ใหร้ วู้ า่ อะไรถกู อะไรผดิ อะไรท�ำ ไดแ้ ละอะไรท�ำ ไม่ได้ ซงึ่ ผู้ใหญ่ทกุ คนในบ้านควรพูดไปในทางเดียวกัน และเหตผุ ลทอ่ี ธบิ าย ใหเ้ ดก็ เขา้ ใจนน้ั กค็ วรสัน้ และกระชับ เพื่อให้เกดิ ความเข้าใจดว้ ยตวั เอง “Top Hits ความรู้สุขภาพจติ ” 25 ฉบับนกั สื่อสาร



“การสอื่ สาร เปดิ ใจลูก” วิธีการท่ีใช้เป็น “กุญแจ” ที่จะช่วยทำ�ให้ลูก “เปิดใจ” และยอมเล่า ความรู้สึกนึกคิดที่เขาเก็บไว้ภายในกับผู้ใหญ่ได้ พ่อแม่อาจต้องลองเรียนรู้ ท่ีจะใช้คำ�พูดบางคำ�หรือบางประโยคให้เหมาะที่จะใช้ส่ือสารกับเขา ซ่ึงจะ ช่วยให้เขาแบ่งปันความรู้สึกให้เรารับรู้ได้ เพ่ือเกิดความไว้เน้ือเชื่อใจต่อกัน “กุญแจดอกสำ�คญั ” ของการสือ่ สารในครอบครวั ได้แก่ • กุญแจดอกทห่ี น่งึ : เรยี นรทู้ ่จี ะเป็นผฟู้ ังทด่ี ี ใช้เวลาในการฟังโดยไม่ขัดจังหวะหรือขัดคอลูก รอฟังให้เขาพูดจบ เสียก่อนก่อนจึงค่อยตอบสนอง • กญุ แจดอกทสี่ อง : แสดงออกให้ลูกรู้ว่ากำ�ลงั ฟงั เขา มองหน้า สบตากับลูกเวลาท่ีลูกพูด นั่งให้อยู่ระดับเดียวกับเขา โดยอาจนั่งขา้ งๆ • กญุ แจดอกที่สาม : หาจังหวะดๆี เวลาคุย เลอื กเวลาทีจ่ ะคุยกับลกู ในขณะท่ีเขาผ่อนคลายและให้เวลากับเราได้เต็มท่ี และเป็นเวลาที่เราเอง กส็ ามารถคยุ กับเขาได้ โดยไม่มอี ะไรคอยมาดงึ ความสนใจ • กุญแจดอกทส่ี ี่ : ใส่ใจกบั สีหนา้ ทา่ ทางที่ลกู แสดงออก เรียนรวู้ ่าลกู กำ�ลงั รสู้ ึกอยา่ งไรจากภาษากาย ท่าทางท่เี ขาแสดงออก สังเกตว่าลกู ยิ้มหรือหนา้ นิ่ว ดูผอ่ นคลายหรือตึงเครียด • กญุ แจดอกที่ห้า : เข้าใจให้กระจา่ งชัด พยายามท�ำ ความเข้าใจคำ�พูดของลกู อาจทวนถามซาํ้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ หรอื เพื่อช่วยยืนยนั วา่ เข้าใจค�ำ พูดของเขาได้ถูกต้องแล้ว “Top Hits ความร้สู ุขภาพจติ ” 27 ฉบบั นกั สือ่ สาร

• กญุ แจดอกทห่ี ก : เลย่ี งการเทศนา อยา่ ดว่ นแสดงความเหน็ หรอื ถาม ค�ำ ถามทเี่ ปน็ การตดั สนิ พฤตกิ รรมของลกู แตช่ ว่ ยใหเ้ ขาไดค้ ดิ หาค�ำ ตอบหรอื ทางออกด้วยตวั เองจะเหมาะกวา่ คำ�พูดชว่ ยเปิดใจ แทนท่ีจะพูดหรือถามลอยๆ ว่า “เป็นไงล่ะวันน้ี”พ่อแม่อาจถามพุ่ง ประเด็นไปให้ชดั เจนในเรอ่ื งสำ�คญั ท่เี กดิ กบั ลกู เช่น “ลกู รูส้ ึกอย่างไรบา้ งกบั การสอบเลขวันน้”ี (หรอื เหตกุ ารณ์ส�ำ คญั ใดๆ ทเ่ี กิดกับเขาวันนี้) แทนที่จะถามว่า “มีอะไรหรือเปล่า” อาจถามให้เจาะจงมากข้ึน และ สื่อให้เขารู้ได้ว่าเราสนใจเขาอย่างแท้จริง เช่น “วันนี้ลูกดูร่าเริงเป็นพิเศษ (หรือโกรธ หงุดหงดิ ฯลฯ) เหมอื นมีอะไรบางอยา่ ง” แทนทจี่ ะบอกวา่ “ถา้ แม่(หรอื พอ่ )เปน็ ลกู นะ...” ควรหาค�ำ พดู ทด่ี เู ปน็ การ เลคเชอรน์ อ้ ยกวา่ นี้ เชน่ “แม่ (หรอื พอ่ ) เขา้ ใจดวี า่ ลกู ล�ำ บากใจที่ ...” แลว้ รอจน ลกู ถามถึงขอ้ เสนอแนะหรอื ความคิดเห็นของเรา แทนท่ีจะบอกว่า “แม่คิดว่าลูกควรจะ ...” ก็ลองปล่อยให้เขาได้แสดง ความคดิ เหน็ ของตนเอง เชน่ “ลกู คดิ อยา่ งไรกบั เรอื่ ง ...” เดก็ หลายคนพอใจ ท่ีจะไดแ้ สดงความคดิ เหน็ และรบั รูว้ ่าผใู้ หญ่รับฟงั ความคดิ เหน็ ของเขา แทนท่จี ะบอกว่า “เม่ือพอ่ (หรอื แม่) อายเุ ท่าแกนะ ...” อาจให้ลูกหนั มองสถานการณท์ เ่ี กย่ี วขอ้ งอยตู่ อนนี้ เชน่ “แลว้ ลกู คดิ วา่ ลกู จะจดั การเรอ่ื งน้ี อยา่ งไรตอ่ ไปบา้ ง” หรอื ค�ำ ถามอนื่ ๆ ทเี่ หมาะสม ซง่ึ ชว่ ยใหไ้ ดห้ ดั คดิ วเิ คราะห์ ประเดน็ ท่เี ป็นปัญหาเพอื่ หาทางออก เป็นต้น 28 “Top Hits ความร้สู ขุ ภาพจติ ” ฉบบั นักสื่อสาร

“บทบาทของพ่อกับการ สร้างภมู ิคมุ้ กันความรุนแรงในวยั รุ่น” ทุกวันน้ีเรามักเห็นสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวและสังคมเพ่ิม มากข้ึน ซึ่งครอบครัวถือเป็นจุดเร่ิมต้นที่สำ�คัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ โดย เฉพาะผู้เป็น “พ่อ”เพราะความอ่อนโยนของพ่อสามารถสร้างความผูกพัน ในครอบครัวท่จี ะเปน็ ภูมิคมุ้ กนั ปัญหาความรุนแรงได้ ขอแนะนำ�ใหล้ องนกึ ถงึ คำ�วา่ “พอ่ ” หรอื “FATHER”เพอื่ นำ�ไปปฏบิ ตั ิ ดงั น้ี F : FIRM คือ ความหนักแน่นมั่นคงท้ังด้านอารมณ์และความคิด ที่มี ความสมาํ่ เสมอ เช่น มคี วามชัดเจนใหก้ ับลูกในการด�ำ เนนิ ชวี ิต ให้เขามีเวลา ในการตน่ื กนิ เลน่ นอน เปน็ กจิ วตั รแตม่ คี วามยดื หยนุ่ ไมต่ งึ เครยี ดจนเกนิ ไป ตลอดจนให้ลูกมโี อกาสได้เรียนรทู้ �ำ อะไรด้วยตนเอง ไมโ่ กรธแคน้ หรือโมโห เม่อื ลกู ทำ�สง่ิ ผิดพลาดหรอื ไม่ถูกใจ ใหใ้ ช้เหตุผลคุยกนั A : Appreciative คือ ชื่นชมยนิ ดกี บั ลกู เมอ่ื ลกู ท�ำ ในสง่ิ ท่ดี ีงาม การ แสดงความยินดีด้วยท่าทีที่แสดงออกด้วยรอยย้ิม หัวเราะ ปรบมือ และ โอบกอดนน้ั ล้วนสง่ ผลดตี อ่ บุคลกิ ภาพ ความเชอ่ื ม่นั ในตวั เองของลกู และ ท�ำ ใหเ้ ขารถู้ งึ คณุ คา่ ในตนเอง อกี ทงั้ ยงั สรา้ งความทรงจ�ำ ทแี่ สนดที มี่ ตี อ่ “พอ่ ” ได้ตลอดไป T : Tender คอื การแสดงความรกั อยา่ งนมุ่ นวล สมั ผสั โอบกอด พดู จา ตอ่ กนั ดว้ ยความสภุ าพ สรา้ งความรกั ความผกู พนั บรรยากาศดๆี ใหเ้ กดิ ขนึ้ ในครอบครวั “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจิต” 29 ฉบับนักสือ่ สาร

H : Honest คือ ความซือ่ สัตย์ จรงิ ใจเปน็ แบบอยา่ งของผู้น�ำ ครอบครวั ที่มคี วามซอื่ สตั ย์ จรงิ ใจใหล้ ูกเหน็ เช่น ซอ่ื สัตย์และจริงใจ รักแม่ของลูก อยู่ เคยี งขา้ งและคอยดแู ลกนั มปี ญั หากค็ ยุ กนั ชว่ ยกนั แกไ้ ข ใหเ้ กยี รตแิ ละยกยอ่ ง กันและกัน ไม่ใหบ้ คุ คลทส่ี ามเข้ามาเกี่ยวข้องในชวี ิตคู่ E : Encouraging คือ การให้กำ�ลังใจ ส่งเสริมให้ลูกได้ทำ�กิจกรรม ที่เขาอยากทำ�ด้วยความเต็มใจ ส่งเสริมให้ลูกมีจินตนาการและความคิด สรา้ งสรรค์ ปลอบประโลมและใหก้ �ำ ลังใจเมอื่ ลูกผดิ หวงั หรือร้สู กึ ทอ้ แท้ R : Responsible คือ ความรับผิดชอบ ทั้งในหน้าที่การงาน และ ชีวิตครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้านการประพฤติปฏิบัติตน ท่ีถูกต้อง เป็นที่ปรึกษาและให้คำ�แนะนำ�ในทุกๆ เรื่อง ประหยัดอดออม วางแผนการใช้จ่ายในครอบครัว ชักจูงให้ปฏิบัติในส่ิงท่ีดีงาม ทำ�ความดี มหี ลกั ศาสนายึดเหน่ียวจิตใจ เป็นต้น  30 “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร

“วัยสาวและยาลดความอ้วน” ขา่ วการเสยี ชวี ติ จากการกนิ ยาลดความอว้ นเกนิ ขนาดของเดก็ สาววยั รนุ่ เป็นข่าวท่ีพบเห็นบ่อยในสังคมบ้านเรา ปกติวัยรุ่นจะมีความกังวลเร่ืองรูป ร่างหน้าตาของตนอยู่แล้ว หลายคนไม่มั่นใจรูปร่างหน้าตา ยิ่งความอ้วน แล้ว เป็นเรื่องท่ีวัยรุ่นกลัวและวิตกกังวลสูงมาก เม่ือประเมินว่ารูปร่างของ ตนนน้ั ตกมาตรฐานเมื่อเทยี บกับตัวแบบ (ซึ่งมกั จะเปน็ ดารา นางแบบที่ตวั ผอมมากกว่าปกติ) จึงตัดสินใจลดความอ้วนด้วยวิธีท่ีเห็นผลเร็ว การกินยา ลดความอว้ นเป็นวธิ ีหนงึ่ ทว่ี ัยรุน่ นยิ มใชก้ นั มาก การหามารับประทานก็งา่ ย มาก มโี ฆษณาจ�ำ หนา่ ยหลากหลายรปู แบบ เชน่ ยาลดความอว้ นโดยตรง เปน็ อาหารเสริมลดความอว้ น กาแฟลดความอ้วน สมุนไพรลดความอว้ น ซ้อื ได้ ง่ายมขี ายท่ัวไปทงั้ ตามรา้ นค้า ห้างสรรพสนิ ค้า ตลาดนัด หรือการสง่ั ซอื้ ทาง อินเตอร์เนต็ ความอว้ น (หรอื รสู้ กึ วา่ ตนเองอว้ น) มผี ลตอ่ จติ ใจหลายประการ เชน่ ท�ำ ให้ เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อภาพลักษณ์ตนเอง และความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองด้วย ความละอายที่มีรูปร่างอ้วน ความไร้คุณค่าในตนเอง หมดความภาคภูมิใจ ในตน ความวิตกกังวล ในระยะยาวมคี วามซึมเศรา้ ในจิตใจ ปัจจยั ที่สง่ ผล 1. ความกดดนั จากกลมุ่ เพอ่ื น/โรงเรยี น เพอื่ นคอื กลมุ่ คนทท่ี รงอทิ ธพิ ล ตอ่ วยั รนุ่ การยอมรบั จากกลมุ่ เพอื่ น การเปน็ ทน่ี ยิ มชมชน่ื ของกลมุ่ เพอ่ื นของ สงั คมวยั รนุ่ โดยการมรี ปู ลกั ษณแ์ หง่ ความเซก็ ซี่ คา่ นยิ มการชน่ื ชมความเซก็ ซี่ เป็นการสื่อสารทางค่านิยมสู่กลุ่มวัยรุ่น/ผู้หญิงวัยรุ่น/ผู้หญิงจึงให้คุณค่ากับ “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจติ ” 31 ฉบบั นักสอื่ สาร

รปู รา่ ง ผอมบาง เซ็กซ่ี เช่นเดียวกับนางแบบ และกระแสเทรนวัยรุน่ เกาหลี “ผอม ขาว หนา้ กลม ผมมา้ ตาโต” ถา้ ใครมลี กั ษณะดงั กลา่ วเปน็ ทอ่ี จิ ฉาและ เปน็ ท่ียอมรับในกลุ่มเพ่อื น 2. อทิ ธพิ ลจากวฒั นธรรมดา้ นการสอ่ื สาร สอ่ื เปน็ สว่ นผลกั ดนั ทสี่ �ำ คญั ในการสร้างภาพผู้หญิงในอุดมคติ ด้วยนำ�เสนอภาพของผู้หญิงในอุดมคติที่ ตอ้ งการอย่างซาํ้ ๆ และต่อเนอ่ื ง ทง้ั ในขา่ ว ทีวี ละคร ภาพยนตร์ มผี ลตอ่ ทัศนคติ และพฤตกิ รรมการลดความอว้ นของวัยรุ่นและผ้หู ญิง ผู้หญงิ เป็นวตั ถุทางเพศ โดยผ่านการโฆษณาสนิ ค้าหลากหลายชนิดท้ัง เครื่องอุปโภค บริโภค ท่ีมีจุดขายที่ความผอม เซ็กซ่ี การแต่งกายเย้ายวน เป็นตน้ คุณคา่ ของผ้หู ญิง อยู่ที่รปู ร่าง พบว่า สือ่ มีผลตอ่ การผลักดนั ใหเ้ ดก็ สาว เหน็ วา่ คณุ คา่ ของผหู้ ญงิ อยทู่ ร่ี ปู รา่ งผอม เปน็ คนทส่ี วยงาม มกี ารศกึ ษาพบวา่ ความถใ่ี นการชมรายการโทรทศั นป์ ระเภท reality show มคี วามสมั พนั ธต์ อ่ ความคิดเห็น ทัศนคติในการใหค้ วามส�ำ คญั ตอ่ รปู ลกั ษณส์ ูง 3.ดา้ นเศรษฐกจิ /สงั คม อาชพี พรติ ต้ี ดารา นกั รอ้ ง นางแบบ เปน็ อาชพี หนงึ่ ทวี่ ยั รนุ่ ไทยสว่ นใหญส่ นใจ เนอ่ื งจากเปน็ อาชพี ทสี่ ามารถท�ำ ไดง้ า่ ย เพยี ง แค่มีรูปร่างหน้าตาท่ีดี และมีค่าตอบแทนสูง หลายคนคิดว่าจะเป็นหนทาง ช่วยฐานะทางบ้าน ไดค้ ่าเลา่ เรยี น หรือเป็นการปทู างไปสู่อาชพี อน่ื ข้อแนะนำ� บทบาทของพ่อแม่ การเลี้ยงดูมีส่วนสำ�คัญ การสร้างให้ลูกมีความ ภาคภมู ใิ จในตวั เองในดา้ นตา่ งๆ เดก็ ทมี่ คี วามเตม็ อมิ่ และภาคภมู ใิ จในตนเอง จะมองเรือ่ งความงามภายนอกเป็นเร่อื งรอง 32 “Top Hits ความร้สู ุขภาพจติ ” ฉบบั นกั ส่อื สาร

วธิ ีสรา้ งความภาคภมู ิใจใหเ้ ด็ก เชน่ • รบั ฟังลกู จงู ใจใหล้ ูกได้เปดิ เผยความรูส้ ึกของเขา • สนบั สนนุ และใหก้ �ำ ลงั ใจ ใหล้ กู ไดร้ บั ความส�ำ เรจ็ โดยการตง้ั เปา้ หมายใหญ่ แล้วแบ่งเป็นเป้าหมายเล็กๆ หลายเป้าหมาย เมื่อสำ�เร็จเป้าหมายแรก อาจใหร้ างวัลด้วยการให้สิ่งของหรอื กิจกรรมอ่นื ๆทลี่ กู ชอบ • ให้เขาได้ตัดสินใจด้วยตนเอง เช่น การเลือกเสื้อผ้า การแต่งตัว การดแู ลห้อง • พอ่ แมค่ อยสนบั สนนุ /สง่ เสรมิ ใหล้ กู มสี งั คมและกจิ กรรมรว่ มกบั ผอู้ น่ื เชน่ การเปน็ สมาชกิ ทีมฟตุ บอล สโมสรชมรมเยาวชน • ใหล้ กู รู้สกึ ดกี ับรูปรา่ งของตน บอกเขาว่า ไมค่ วรเปรยี บเทยี บรปู รา่ ง กบั ใคร เขาเป็นหน่งึ เดยี วทไี่ มม่ ีใครเหมือนและไมเ่ หมือนใคร • กล่าวช่ืนชมลูก เมื่อเขาทำ�พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควรบอกให้ ลูกรู้ว่าพอ่ แมร่ ู้สกึ ภูมิใจในตวั เขาอย่างไร • ให้เขาเขียนคุณสมบัติที่ดีของตน เพ่ือให้ลูกรู้จุดแข็งของเขาและ ช่วยใหเ้ พ่ิมความร้สู ึกบวก และภมู ใิ จในตนเอง • ไม่ตำ�หนิเร่ืองรูปร่างหน้าตา การตำ�หนิเรื่องรูปร่างหน้าตาของลูก ทำ�ให้ลูกไมม่ ่นั ใจในตนเอง มองตนในด้านลบ • พอ่ แมเ่ ปน็ ตวั อยา่ งในการดแู ลรกั ษารปู รา่ ง โดยเนน้ เรอื่ งสขุ ภาพและ ความแข็งแรง • ให้ข้อมูลในการดูแลรูปร่างที่ถูกต้องกับลูก ดูแลจัดหาอาหารท่ี เหมาะสมกบั สขุ ภาพและน้ําหนักตามเกณฑ์ “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” 33 ฉบับนักสือ่ สาร

บทบาทของโรงเรยี น คร/ู อาจารย/์ หน่วยงานท่เี กี่ยวขอ้ ง • สง่ เสรมิ กจิ กรรม/ประสบการณท์ เี่ สรมิ ความภาคภมู ใิ จ ใหก้ บั นกั เรยี น • การให้ขอ้ มลู ดา้ นการดแู ลสขุ ภาพรา่ งกายท่ถี ูกต้อง • เนน้ การใหข้ อ้ มลู เรอ่ื งสขุ ภาพ การลดนา้ํ หนกั ทถ่ี กู ตอ้ ง/การออกก�ำ ลงั กาย ทเ่ี หมาะสมกบั วยั • การใหค้ วามร้เู รื่องผลเสยี ของการกนิ ยาลดความอ้วน • การใหบ้ ริการปรึกษา แนะนำ�ด้านโภชนาการทีเ่ หมาะสม • การควบคุมการเข้าถึงยาลดความอ้วน การโฆษณาที่เกินจริง การควบคมุ การจ�ำ หน่ายยาลดความอ้วน เปน็ ต้น บทบาทสื่อมวลชน สอ่ื ตา่ งๆ มอี ทิ ธพิ ลตอ่ ทศั นคตขิ องคนในสงั คม โดยเฉพาะ วยั รนุ่ จงึ ควรมี การน�ำ เสนอขอ้ มลู ขา่ วสารทเ่ี ปน็ ความจรงิ ในการดแู ลสขุ ภาพรา่ งกาย สง่ เสรมิ สนับสนุนให้วัยรุ่นมีประสบการณ์ที่สร้างความภาคภูมิใจโดยไม่จำ�เป็นต้อง หลอ่ สวย ใหว้ ยั รนุ่ มตี วั แบบทปี่ ระสบความส�ำ เรจ็ ในดา้ นตา่ งๆ เปน็ แนวทาง และทางเลอื กใหก้ ับพวกเขา  34 “Top Hits ความร้สู ุขภาพจติ ” ฉบับนักสอ่ื สาร

“การรับนอ้ ง” ช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ปัญหาที่ตามมาในทุกปี สำ�หรับวงการศึกษา ไทยท่ีมีมาอย่างยาวนาน รูปแบบการรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ ท้ังการสร้าง ความอับอาย หรือบางกิจกรรมปะปนแต่เร่ืองทางเพศ หรือใช้ความรุนแรง ทั้งร่างกายและวาจา ทง้ั หมดนเ้ี ป็นการลดคุณค่าของความเป็นมนษุ ย์ และ ละเมิดสทิ ธมิ นษุ ยชน ปัจจุบันยังมีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ท่ีคงไว้ซ่ึงข้อดีของระบบการ รบั นอ้ ง เชน่ มแี นวคดิ วา่ เปน็ การรบั เพอ่ื นใหมม่ ากกวา่ การรบั นอ้ ง ใชร้ ปู แบบ กิจกรรมเชิงบวกและสร้างสรรค์ ให้พ่ีรหัสคอยดูแลน้องรหัสเรื่องการเรียน เป็นต้น ซ่งึ ควรช่นื ชมและนำ�เปน็ แบบอยา่ ง ทงั้ น้ี ในสถานศึกษาอาจมีการ “รบั น้อง” ต้ังแต่ชัน้ มัธยมศกึ ษา โดยจดั กจิ กรรมและบรรยากาศทสี่ รา้ งสรรค์ ปลกู ฝงั วฒั นธรรมในการชว่ ยเหลอื กนั โดยเฉพาะรนุ่ พท่ี ค่ี วรชว่ ยเหลอื รนุ่ นอ้ ง หรอื คนทอี่ ยโู่ รงเรยี นนน้ั มากอ่ นควรให้ คำ�แนะนำ� ดูแลคนที่เพ่ิงเข้าเรียนใหม่ เป็นต้น สถานศึกษาต้องสนับสนุน ใหเ้ กิดกจิ กรรมอย่างสร้างสรรค์น้ีข้ึน ผลกระทบ ของการรับน้องท่ีรนุ แรง ต่อร่างกาย เช่น การบาดเจ็บ กระดูกหัก การเจ็บป่วย อัมพาต หรือ เสียชีวิต ต่อจิตใจ เช่น มีความวิตกกังวล คับข้องใจ โกรธ ได้รับความอับอาย แยกตวั เอง คดิ ฆ่าตัวตาย “Top Hits ความรู้สุขภาพจติ ” 35 ฉบบั นักสอ่ื สาร

กิจกรรมรบั นอ้ งทีเ่ ป็นอนั ตราย กิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย ที่ทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย โดยปราศจากผู้เชี่ยวชาญทำ�ให้นักศึกษาใหม่ตกอยู่ในอันตราย บาดเจ็บ อาจจะถงึ แก่ชวี ติ ได้ เช่น การให้ไต่หลงั คา ไตแ่ นวชั้นของตกึ ไตห่ นิ ผา หรอื ไตส่ ะพาน (ร่วมกับการดื่มสรุ าและยาเสพตดิ ) การใหด้ ม่ื สรุ าหรอื ยาเสพตดิ บงั คบั ใหน้ กั ศกึ ษาใหมด่ ม่ื สรุ าหรอื ยาเสพตดิ การให้บริโภคอาหารหรือเคร่ืองด่ืม เป็นจำ�นวนมาก เป็นอันตรายต่อ สขุ ภาพ อาจไมท่ ราบว่ามีภาวะแพ้ ตลอดจนการดมื่ น้ําอยา่ งรวดเรว็ จำ�นวน มากจะเกดิ ภาวะนํ้าเป็นพิษและตายได้ การให้สัมผัสอากาศร้อน/เย็น การบังคับให้สัมผัสอากาศและทำ�ให้ รา่ งกายออ่ นแอ ทงั้ สภาพอากาศทห่ี นาวจดั รอ้ นจดั มผี ลตอ่ สขุ ภาพรา่ งกาย ซงึ่ จะท�ำ ให้เจ็บปว่ ยได้ การล่วงละเมิดและการทำ�ให้ขายหน้า การตะโกนใส่หน้า หรือขอให้ สวมใส่เสื้อผ้าที่ตรงข้ามกับเพศของตน การทำ�ให้นักศึกษาใหม่อับอาย มี ผลต่อสภาวะอารมณ์ นกั ศกึ ษาใหมอ่ าจจะมีความร้สู ึกวติ กกังวล คับข้องใจ กลัว โกรธหรือซึมเศร้าจากการถูกกลั่นแกล้ง ทำ�ให้ขาดสมาธิและทำ�ให้ผล การเรียนตกตํ่า การลักพาตัวหรือการจับแยกเดี่ยว การกล่ันแกล้งด้วยการจับตัวไป ผกู มดั ดว้ ยเทป (ตดิ ขนและผม ทำ�ให้เกดิ แผลได)้ หรอื น�ำ นักศกึ ษาใหม่ไปไว้ ในท่ีเปล่ยี ว ๆ ไม่คุ้นเคย ท�ำ ใหเ้ กดิ ความกลัวและความเครียดได้ 36 “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” ฉบับนักส่อื สาร

ขอ้ แนะนำ�/แนวทางป้องกัน บทบาทสถาบัน • กำ�หนด/นิยามการกลัน่ แกล้งนกั ศึกษาใหม ่ ประกาศหา้ มกจิ กรรมทเี่ ขา้ ขา่ ยการกลน่ั แกลง้ /ชแ้ี จง/อบรมท�ำ ความ เขา้ ใจกบั รนุ่ พท่ี จี่ ะจดั กจิ กรรมรบั นอ้ ง ใหเ้ ขา้ ใจการรบั นอ้ งทเี่ ขา้ ขา่ ยการกลน่ั แกล้ง ผลกระทบท่จี ะเกิดตอ่ สุขภาพกายและสขุ ภาพจิตของน้องใหม่ ดแู ล/ ตรวจสอบความเหมาะสมของกิจกรรม ห้ามไม่ให้มีกิจกรรมท่ีเข้าข่ายการ กล่ันแกล้ง งดการใช้เคร่ืองดื่มมึนเมา/ยาเสพติด/สร้างบรรยากาศ ท่ีสร้างสรรค์ในการรับน้อง/ปลูกฝังวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน/จัดต้ัง ศูนย์รับเร่ืองร้องเรียนการถูกกลั่นแกล้ง/ทบทวนถึงค่านิยมและปรัชญา ขององค์กร ในการผลิตหรือสร้างคนท่ีต้องเห็นถึงคุณค่าในตนเอง เคารพ ตนเอง เหน็ คณุ คา่ ของผอู้ นื่ เคารพศกั ดศิ์ รขี องผอู้ น่ื ส�ำ หรบั ระบบการรบั นอ้ ง ที่ตอ้ งสะทอ้ นถึงปรชั ญาของสถานศึกษา ระบบการรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ย่อมเป็นพ้ืนฐานต่อการใช้อำ�นาจ โดยไมม่ เี หตผุ ล ใหค้ นยอมจ�ำ นนต่อสง่ิ ท่ผี ิด สร้างระบบพวกพ้อง ก่อใหเ้ กิด การสรา้ งปัญหาอืน่ ๆ ตามมาไดอ้ กี บทบาทรุ่นพี่ • ทำ�ความเข้าใจกิจกรรมท่ีเข้าข่ายการกล่ันแกล้ง และกิจกรรม ท่ีสร้างความเป็นน้ําหน่ึงใจเดียวกัน เป็นกิจกรรมที่ไม่กดดัน บังคับขู่เข็ญ กรรโชก หรือหลอกลวง และต้องไม่มสี ุรา ยาเสพติด ตวั อย่างกิจกรรม กิจกรรมรักษาประเพณี เชน่ บายศรสี ่ขู วญั การท�ำ บุญ เปน็ ต้น กิจกรรมสร้างความสนุกสนาน ความสามัคคีในรุ่นพี่ รุ่นน้อง เช่น การแข่งกีฬา การเล่นเกมระหว่างรุ่นน้องต่างคณะด้วยกัน หรือระหว่าง รนุ่ พ่ี รนุ่ น้อง เปน็ ตน้ “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” 37 ฉบับนกั ส่อื สาร

กิจกรรมแนะนำ�การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย การอยู่ร่วมกันกับเพ่ือน ในมหาวิทยาลัย/การเรียน/การใช้เงิน/ทำ�กิจกรรมทางสังคม/กิจกรรมกีฬา ท่ีนา่ สนใจ/แหล่งขอคำ�ปรกึ ษาเมอื่ มปี ัญหา กจิ กรรมทเี่ ปน็ ประโยชนต์ อ่ การใชช้ วี ติ ของรนุ่ นอ้ ง เชน่ การไปฝกึ สมาธิ ร่วมกนั กิจกรรมท่สี ง่ เสรมิ ให้รนุ่ นอ้ งบำ�เพญ็ ประโยชน์ตอ่ ผู้อ่ืน / ตอ่ สถาบนั / ต่อชมุ ชนท่ตี ้ังของสถาบัน ทง้ั น้ี ควรค�ำ นงึ ถงึ รนุ่ นอ้ งแตล่ ะคน ทม่ี พี นื้ ฐานแตกตา่ งกนั สขุ ภาพรา่ งกาย สุขภาพจิต ของแต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน ควรให้ความใกล้ชิด คอยดูแล ชว่ ยเหลอื เปน็ ทป่ี รกึ ษาในการใชช้ วี ติ ในสถานทใี่ หมข่ องนอ้ งและการปรบั ตวั ของนอ้ ง ตลอดจนเปน็ ตวั อยา่ งทดี่ ใี นดา้ นชวี ติ สว่ นตวั ชวี ติ การเรยี น การสงั คม และการพักผ่อนหย่อนใจ บทบาทของนอ้ งใหม่ - ศกึ ษาเรยี นรกู้ ารใชช้ วี ติ ในรว้ั มหาวทิ ยาลยั ทกุ ดา้ น (การเรยี น/การอยู่ ร่วมกับผู้อื่น/สังคม/การใช้เงิน/การดูแลสุขภาพ/การดูแลความสะอาดเอง/ การดแู ลความสะอาดห้อง เส้อื ผ้า เครือ่ งใชต้ า่ งๆ) - เปดิ ใจทจี่ ะเรียนรู้สิง่ ใหม่ ๆ ทีจ่ ะเข้ามาในชีวติ อยา่ ปิดกน้ั ตัวเองทีจ่ ะ คบเพื่อนใหม่ๆ ในรวั้ มหาวิทยาลัย - ศกึ ษากจิ กรรมทเี่ ขา้ ขา่ ยการกลนั่ แกลง้ มสี ทิ ธทิ จี่ ะปฏเิ สธ ถา้ พจิ ารณา แล้วเหน็ วา่ กจิ กรรมท่รี ่นุ พ่ีจดั นน้ั จะเปน็ อนั ตรายต่อร่างกายและจติ ใจ - กลา้ เปดิ เผย/กลา้ เลา่ ใหพ้ อ่ แม่ ผปู้ กครองหรอื ครอู าจารยร์ บั ฟงั กรณี ถูกกลนั่ แกลง้ 38 “Top Hits ความรสู้ ุขภาพจิต” ฉบบั นกั ส่ือสาร

บทบาทพ่อแม/่ ผ้ปู กครอง - เตรยี มความพรอ้ มใหก้ บั ลกู พดู คยุ ถงึ ความเปลยี่ นแปลงทจี่ ะเกดิ ขนึ้ กับตนเองในการใช้ชีวิตในร้ัวมหาวิทยาลัย แนะนำ�การใช้ชีวิตมหาวิทยาลัย การระมัดระวังการใช้ชีวติ การคบคน การใช้จ่าย เปน็ ต้น - สร้างความไว้วางใจให้กับลูก รับฟังปัญหาของลูกแม้จะเป็นเร่ือง เล็กน้อย เช่น เป็นสิว ขาใหญ่ อ้วนไป ผอมไป ตวั ดำ� แอบชอบเพ่อื น เปน็ ตน้ ไมต่ �ำ หนิ รบั ฟงั และเอาใจใส่ เพราะนนั่ คอื เรอ่ื งทยี่ ง่ิ ใหญข่ องลกู ใกลช้ ดิ พดู คยุ ปลอบโยน เป็นทปี่ รึกษา - สนับสนุน/ส่งเสริมให้ลูกภาคภูมิใจในตนเอง เช่น ให้เขาค้นหา สว่ นดใี นตนเอง และรสู้ กึ ดกี บั ตนเอง เคารพตอ่ ความคดิ ความรสู้ กึ ของตนเอง ใหว้ างแผนการเรียนดว้ ยตนเอง ท�ำ สงิ่ ใดส�ำ เรจ็ ใหค้ �ำ ชมเชย - สังเกตความผิดปกติของลูก เช่น มีความผิดปกติทางร่างกาย (มีรอยฟกซํ้า ดำ�เขียว ถูกต่อย ถูกตี ไม่สบาย) และจิตใจ (เหม่อลอย กลวั วติ กกงั วล ซมึ เศรา้ ) มผี ลการเรยี นตกตา่ํ ตอ้ งพดู คยุ ซกั ถามใหไ้ ดส้ าเหตุ เพ่ือแก้ไขตอ่ ไป - กจิ กรรมทุกกจิ กรรมจะตอ้ ง ปราศจากความรุนแรง/เคร่ืองด่ืมมึนเมา ยาเสพตดิ เป็นตน้  “Top Hits ความรูส้ ุขภาพจิต” 39 ฉบับนักส่ือสาร

“การเลยี นแบบละครและภาพยนตร์” ละครและภาพยนตร์เป็นสื่อท่ีนำ�จินตนาการและประสบการณ์มาผูก เปน็ เรื่องราว มีจดุ มุ่งหมายเพ่อื สร้างความบันเทงิ ให้ขอ้ คิด คติธรรมในการ ด�ำ เนนิ ชวี ติ นอกเหนอื จากสว่ นทดี่ งี ามแลว้ ละครและภาพยนตรย์ งั ท�ำ หนา้ ท่ี สะทอ้ นดา้ นลบของสังคมด้วย เช่น ความรนุ แรง เร่อื งเพศ ความอิจฉารษิ ยา การแสดงความรสู้ กึ เหล่านเ้ี ร้าใจใหจ้ ดจำ� เลียนแบบ บางคนน�ำ มาใช้ในชีวติ จรงิ ดงั ปรากฏขา่ วผา่ นสอื่ เชน่ เดก็ ผกู คอตายเลยี นแบบละครใหน้ อ้ งดู แมด่ า่ ลกู ดว้ ยถ้อยคำ�รนุ แรงและลูกดา่ สวนกลับไปเพราะเคยเห็นในละคร เปน็ ตน้ ถึงแม้จะไม่มีการรวบรวมสถิติการเลียนแบบละครและภาพยนตร์ให้เห็น ชดั เจน แตเ่ มอื่ เปน็ ขา่ วการเลยี นแบบในทางลบ กจ็ ะถกู ขยายวงกวา้ ง บางอยา่ ง กลายเป็นพฤตกิ รรมของคนในสงั คม เช่น การแตง่ ตวั การเลียนแบบกริ ิยา ท่าทาง ค�ำ พดู วิธีการแกป้ ัญหาเร่ืองต่างๆ เปน็ ตน้ การเลียนแบบเป็นวิธีการเรียนรู้ท่ีง่ายที่สุด ซ่ึงคนเราจะเลียนแบบใคร หรือเรือ่ งอะไรน้ันมาจากหลายสาเหตุดว้ ยกนั • การเห็นแบบอย่างว่าทำ�แล้ว ได้ผลลัพธ์ออกมาดีหรือได้ตามที่ ใจปรารถนา เช่น มีความสำ�เร็จ มีคนนิยมชมชอบ คนอื่นยอมแพ้ คนอ่ืน เกรงกลัว ได้รบั การยอมรบั ใช้แกป้ ญั หาได้ เป็นฮโี ร่ ไดร้ วู้ ิธีการบางอยา่ งท่ี ไม่เคยเหน็ ไมเ่ คยรมู้ าก่อน • การเลียนแบบบางอย่างไม่ได้มาจากผลลัพธ์ท่ีเกิดขึ้น แต่อาจเป็น เพราะตัวละครหรือเหตุการณ์นั้นคล้ายชีวิตของตัวเอง หรืออยากจะลอง เลียนแบบหรือทำ�แบบน้ันบา้ ง บางคนอาจคดิ ว่าตวั เองเป็นพระเอกนางเอก ในละครหรอื ภาพยนตร์เร่ืองน้ันและแสดงท่าทางเลียนแบบ 40 “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” ฉบับนกั ส่ือสาร

• การเลียนแบบบางอย่างเกิดจากการเห็นแบบอย่างจนเคยชิน เช่น โกรธแล้วต้องใช้ความรุนแรง โกหกเพื่อปิดบัง รักแล้วต้องใช้ความรุนแรง เปน็ ต้น การเลียนแบบขึน้ อย่กู ับความสามารถทจี่ ะเข้าใจและท�ำ ตาม ในเด็กเล็ก เด็กอาจเลียนแบบอย่างผิวเผิน โดยไม่ได้คิดถึงผลที่ตามมา หากตัวแบบมีความรุนแรง สะเทอื นขวญั เดก็ จะฝงั ใจจ�ำ และอาจน�ำ มาใชใ้ น ชวี ิตจริง เชน่ เด็กเห็นตัวอย่างของการใช้ปืนยิงผอู้ ่ืน การมีเพศสัมพันธ์ การ ใช้ยาเสพติด พ่อแม่หรือผู้ใหญ่จึงไม่ควรปล่อยให้เด็กดูละครหรือภาพยนตร์ท่ีแสดง ความรุนแรงลำ�พงั หรอื ดบู ่อยๆ แตค่ วรคอยสอนคอยอธิบายให้เข้าใจวา่ เป็น เรื่องทไี่ ม่ดี ท้งั นี้ การเลียนแบบยงั ไม่มีความสนใจส่งิ ตา่ งๆ เป็นเร่อื งเป็นราว เดก็ มกั จะสนใจการเคลอ่ื นไหวของสัตว์ หรอื คนเป็นช่วงส้นั ๆ เด็กวัยน้ีชอบดูการ์ตูนและส่ิงที่เคล่ือนไหวได้เร็วซึ่งการเคลื่อนไหวนี้มัก ปรากฏรว่ มกบั ความรนุ แรง ดังน้ัน เด็กวัยน้จี ึงมโี อกาสท่จี ะไดด้ ูการต์ ูนทใี่ ช้ ความรุนแรง นอกจากละครหรือภาพยนตร์เด็กวัยน้ีชอบเลียนแบบพ่อแม่และ คนใกล้ชิดด้วย เช่น เอารองเท้าส้นสูงของแม่มาใส่ น่ังเก้าอ้ีแล้วทำ�ท่าอ่าน หนังสือพิมพ์เหมือนพ่อ เป็นต้น พ่อแม่จึงควรทำ�ตัวให้เป็นแบบอย่างท่ีดี สำ�หรบั ลกู เด็กอายุ 3–5 ปี เปน็ วัยของนกั ส�ำ รวจ อยากร้อู ยากเห็น จะช่างซักชา่ ง ถาม มากเร่ืองราวในโทรทัศน์มากขึ้น เด็กมีสมาธิดีขึ้น เริ่มมีความเข้าใจ เรอ่ื งราวทตี่ ่อเน่ืองไดด้ ี และเชื่อมโยงถงึ ผลลัพธ์ของการกระทำ� “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” 41 ฉบับนกั สือ่ สาร

วธิ กี ารทพ่ี อ่ แมจ่ ะใชใ้ นการปอ้ งกนั การเลยี นแบบพฤตกิ รรมทไ่ี มเ่ หมาะสม นอกจากจะใช้การจำ�กัดเวลาดูรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์แล้ว พ่อแม่ อาจจะแสดงความคดิ เหน็ เมอื่ มภี าพทไี่ มเ่ หมาะสม ควรระวงั อนั ตราย ไมค่ วร เลยี นแบบ หรอื อธบิ ายวา่ การกระท�ำ เชน่ นกี้ อ่ ใหเ้ กดิ ผลเสยี อยา่ งไร เพอื่ ใหเ้ ดก็ มที ศั นคตทิ ถ่ี กู ตอ้ งเหมาะสมตอ่ เรอ่ื งราวรายการทดี่ ู ละคร หรอื ภาพยนตรน์ น้ั วยั รนุ่ เป็นวยั อยากรู้ อยากลอง ชอบความตื่นเต้น อารมณอ์ อ่ นไหวง่าย อยู่ในวัยแสวงหาตัวตนและอุดมการณ์ วัยรุ่นอาจเลียนแบบเร่ืองท่ีซับซ้อน ทางความคดิ มากขน้ึ เชน่ ทศั นคตติ อ่ การมชี อื่ เสยี ง มเี งนิ มอี �ำ นาจ การเสยี สละ หรือพฤติกรรมความก้าวร้าว พฤติกรรมทางเพศ เพราะเป็นเรื่อง ทต่ี น่ื เตน้ สนกุ สนาน วยั รนุ่ สว่ นหนง่ึ ชอบเลยี นแบบเรอื่ งทเ่ี ปน็ แฟชนั่ คา่ นยิ ม ซงึ่ สว่ นใหญ่เป็นเพยี งความนิยมชว่ั คราว การป้องกันการเลียนแบบในวัยรุ่น พ่อแม่อาจต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง จากเดก็ เพราะวยั รนุ่ โตและมคี วามคดิ เหน็ เปน็ ของตวั เอง พอ่ แมค่ วรมคี วาม สมั พนั ธท์ ดี่ กี บั วยั รนุ่ ถามความคดิ เหน็ ของวยั รนุ่ ทม่ี ตี อ่ เรอ่ื งนน้ั ๆ และชใี้ หเ้ หน็ ถงึ หลักฐานท่ีแสดงผลลพั ธ์ของการเลยี นแบบพฤติกรรมทไ่ี มเ่ หมาะสม การ เลยี นแบบอาจไมใ่ ชว่ ธิ เี ดยี วทที่ �ำ ใหเ้ ดก็ เยาวชนและคนในสงั คมมพี ฤตกิ รรม ไม่เหมาะสม ยังมีวิธีการอื่นๆ ท่ีมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบและเรียนรู้ เชน่ ครอบครวั ท่ีพอ่ แมใ่ ชค้ วามรนุ แรงกับลูก ลูกอาจเลยี นแบบพฤตกิ รรมน้ี จากพ่อแม่ได้ เรื่องการเล่มเกมคอมพิวเตอร์ เด็กและวัยรุ่นใช้เวลาอยู่กับ การเล่นเกมคอมพวิ เตอร์ซงึ่ เป็น interactive media วันละหลายชว่ั โมง ก็ อาจเลยี นแบบพฤตกิ รรมจากเกมได้ด้วย ละครและภาพยนตร์ไม่ได้มีแต่ด้านลบเพียงด้านเดียว หากสังคมหันมา ชื่นชมในส่วนท่ีดี และนำ�มาใช้เป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะกับเด็กและวัยรุ่น ก็จะเปน็ ประโยชน์ต่อคนในสงั คมมากข้ึน  42 “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจติ ” ฉบับนกั ส่ือสาร

“การกล่ันแกลง้ กนั ” การกล่ันแกล้งหรือรังแกกัน ในโรงเรียน (Bullying) เป็นพฤติกรรม รนุ แรงอยา่ งหนง่ึ ผลกระทบของการขม่ เหงรงั แกกนั ในโรงเรยี น จะท�ำ ใหเ้ ดก็ ท่ีถูกรงั แก มอี ารมณซ์ ึมเศรา้ หรือวติ กกังวล เพ่มิ ความรู้สกึ โดดเด่ยี ว การกนิ การนอนผิดปกติ ไม่มีความสุขในการทำ�กิจกรรมท่ีชื่นชอบได้ ซึ่งปัญหาน้ี อาจยังคงอยู่จนถึงวยั ผใู้ หญ่ นอกจากน้ี อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดทอ้ ง ปวดศีรษะ รวมถงึ มผี ลการเรียนลดลง หรือตอ้ งออกจากโรงเรียน ตลอดจน มีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้รังแกคนอื่นในอนาคต ขณะที่ เด็กที่ ชอบรังแกผู้อ่ืนจะมีความเส่ียงใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเมื่อเป็นวัยรุ่น รวมทง้ั ชอบท�ำ รา้ ยรา่ งกาย ท�ำ ลายทรพั ยส์ นิ และอาจตอ้ งออกจากโรงเรยี น เสี่ยงทำ�ผิดกฎหมาย ตลอดจนมีความเสี่ยงท่ีจะทำ�ร้ายคู่สมรสและบุตร เมอื่ เตบิ โตเปน็ ผู้ใหญ่ได้ ประเภทของการข่มเหงรังแก 1. การขม่ เหงรงั แกทางกาย พบเหน็ ไดบ้ อ่ ยในทกุ โรงเรยี น เชน่ การผลกั ต่อย หยกิ ดงึ ผม ใชอ้ ุปกรณแ์ ทนอาวุธในการขม่ ขู่ 2. การขม่ เหงรงั แกทางอารมณ์ เชน่ การลอ้ เลยี น หรอื ท�ำ ใหร้ สู้ กึ อบั อาย การกีดกนั ออกจากกลมุ่ การเพิกเฉย ท�ำ เหมอื นไมม่ ีตวั ตน 3. การข่มเหงรังแกทางคำ�พูด เช่น การใช้คำ�หยาบคายหรือดูถูก เหยยี ดหยาม 4. การข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ต เช่น ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กล่าวหาหรือใสค่ วามให้ไดร้ ับความอบั อาย “Top Hits ความรูส้ ุขภาพจิต” 43 ฉบบั นักส่อื สาร

ขอ้ แนะน�ำ /แนวทางการรับมือ • เดก็ ควรตงั้ สติ เมือ่ ถูกรงั แก หรืออยูใ่ นสภาวะที่ไม่คาดคิด • พอ่ แมค่ วรแนะน�ำ ลกู ในการดแู ลตนเองและวธิ เี อาตวั รอด โดยไมต่ อ้ ง ใชค้ วามรุนแรง เช่น บอกครู ไม่อยคู่ นเดียว ไมต่ อบสนองอีกฝา่ ย เพราะจะ ท�ำ ให้แกล้งหนักขนึ้ ตลอดจนสอนลูกใช้โซเชยี ลมีเดียให้เป็นเวลา • โรงเรียนต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พูดคุยใกล้ชิด หา้ มปราม และปกปอ้ งเดก็  44 “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนกั สอ่ื สาร



“ความรุนแรงในเดก็ และวยั รนุ่ ” ธรรมชาตขิ องเดก็ และวัยร่นุ คอื อยากลองสิ่งแปลกใหมแ่ ละทำ�ในสิง่ ท่ี ทา้ ทาย รสู้ กึ ว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมอื นใคร และไมม่ ีใครเหมือน ไม่ค�ำ นงึ ถงึ ผลทจ่ี ะเกดิ ตามมา ความสุขของเดก็ และวยั รนุ่ จะเกิดขึ้น เม่ือ 1. ได้รับการยอมรบั จากคนรอบขา้ ง พ่อแม่ ญาติ ครู เพอ่ื นฝงู ซึ่งเห็น ได้จากการท�ำ ตามเพื่อนเพอื่ ให้เกิดการยอมรบั เปน็ พวกเดยี วกัน 2. การมคี ณุ คา่ รสู้ กึ วา่ ตนมคี ณุ คา่ เหน็ คณุ คา่ ของตนเอง ในขณะทค่ี น อืน่ ก็เหน็ ว่า ตนมคี ณุ ค่า รวู้ ่าตนมีความสำ�คัญตอ่ สงั คม ซึ่งเมอื่ ใดทเี่ ด็กหรือ วัยรุ่นมองไม่เห็นคุณค่าของตัวเองและถูกดูแคลนว่าเป็นพวกไร้ค่า พวกเขา ก็จะแสดงออกเพ่ือเรียกร้องความสนใจทั้งจากสังคมท่ัวไปและจากภายใน กลมุ่ เพอ่ื นในทางทไ่ี มเ่ หมาะสม การยกพวกตกี นั จงึ เปน็ วธิ กี ารหนง่ึ ทคี่ ดิ และ ท�ำ ได้ง่าย ทำ�ให้รสู้ กึ เดน่ ดัง เพอื่ นเห็นคณุ คา่ และไดร้ ับการยอมรับ 3. การได้รับความสำ�เร็จ อาทิ ความสำ�เร็จในการเรียน ความสำ�เร็จ ในการกีฬา ดนตรี เปน็ ตน้ 46 “Top Hits ความรู้สขุ ภาพจิต” ฉบบั นักสอื่ สาร

สาเหตุหรือปัจจัยกระตุน้ ใหก้ อ่ ความรุนแรง ปจั จยั ภายใน ไดแ้ ก่ การเปลยี่ นแปลงทางรา่ งกาย ฮอรโ์ มน พนื้ ฐานอารมณ์ เชน่ อารมณร์ อ้ น อารมณเ์ ยน็ หรอื หวน่ั ไหว วติ กงา่ ย ซงึ่ ตดิ ตวั เดก็ มาตง้ั แตเ่ กดิ ท่ีสำ�คัญ ขาดการเห็นคุณค่าในตัวเอง ซ่ึงเมื่อใดท่ีเด็กหรือวัยรุ่นมองไม่เห็น คณุ คา่ ของตวั เองและถกู ดแู คลนวา่ ดอ้ ยความสามารถ พวกเขากจ็ ะแสดงออก เพื่อเรียกร้องความสนใจ ทั้งจากสังคมทั่วไปและจากภายในกลุ่มเพ่ือน ปจั จยั แวดลอ้ มภายนอก ได้แก่ สภาพครอบครวั ระบบการศกึ ษา และ สังคมท่ีสร้างความกดดันให้กับเด็กหรือวัยรุ่น เช่น การบังคับหรือลงโทษ กวดขันอย่างเข้มงวด ปิดกั้นไม่ให้อิสระ การถูกตำ�หนิหรือต่อว่าจากสังคม การปล่อยปละละเลย ทอดท้ิง หรือในทางตรงข้าม การประคบประหงม จนเกินเหตุ การเลี้ยงดูในวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยและวัยเรียน จากการเตบิ โตมาในลกั ษณะทข่ี าดความรกั ความอบอนุ่ ในครอบครวั ถกู ท�ำ รา้ ย ทำ�ให้เด็กสะสมความรุนแรงและแสดงออกกับส่ิงของ สัตว์เล้ียง และเพื่อน โดยไม่รู้สึกผิด และพอกพูนเป็นวิถีชีวิต ตลอดจนสภาพสังคมที่เต็มไปด้วย ความรนุ แรงรอบดา้ นทเ่ี ดก็ เหน็ จนชนิ ชา เชน่ การเหน็ สอ่ื ความรนุ แรงบอ่ ยๆ ทั้งส่ือกระแสหลัก และสื่อโซเชียล หรือเกมออนไลน์และออฟไลน์ ที่มีแต่ ความก้าวรา้ ว เต็มไปด้วยเรอ่ื งของการฆา่ การทำ�ลายล้างกนั ยอ่ มทำ�ใหเ้ ด็ก กลุ่มเสย่ี งทเี่ ปราะบางด้านจิตใจอยแู่ ลว้ เกดิ ความกระด้าง ชาชิน แสดงออก ความเกบ็ กดทางอารมณท์ ผ่ี ดิ ๆ เตบิ โตขน้ึ ดว้ ยการใชค้ วามรนุ แรง เพราะเหน็ วา่ เป็นแบบอย่าง ท�ำ ใหข้ าดความยบั ย้งั ช่งั ใจ การควบคุมอารมณต์ ่าํ ทำ�ให้ เด็กมพี ฤติกรรมกา้ วร้าวรนุ แรง ใช้กำ�ลังในการแก้ปัญหาในทสี่ ดุ “Top Hits ความร้สู ุขภาพจติ ” 47 ฉบับนักสื่อสาร

แนวทางสงั เกตพฤตกิ รรมเด็กและวัยร่นุ วา่ เสีย่ ง ท่จี ะก่อความรนุ แรง • สังเกตจากพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือเปล่ียนไปจากเดิมมาก เช่น มคี วามก้าวรา้ วรนุ แรง แยกตวั ไมพ่ ูดไม่จา มีทา่ ทางโกรธเคอื ง ตดิ ยาเสพตดิ หรือคบเพื่อนทีต่ ิดยา • ชอบก่อกวน โหดรา้ ยทารุณสัตว์ ชกตอ่ ย ท�ำ รา้ ยรา่ งกายตนเองและ ผอู้ นื่ ท�ำ ลายขา้ วของ ขคู่ กุ คาม ไมเ่ คารพกฎระเบยี บตา่ งๆ รวมถงึ เดก็ ทเ่ี กบ็ ตวั เกบ็ กด ไมเ่ คยได้ระบายความรสู้ กึ ออกมาอยา่ งเหมาะสม แนวทางแก้ไขปัญหา อย่าโยนความผิดให้เด็กเพียงอย่างเดียว แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คอื กลมุ่ ทเ่ี ปน็ ปญั หามาก เปน็ หวั โจก ปลกุ ระดม กบั กลมุ่ เดก็ ปกติ หรอื กลมุ่ เดก็ ที่มแี นวโน้มจะก่อความก้าวร้าวรนุ แรง เด็กกลุ่มท่ีเป็นปัญหา อาจต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายมาช่วยแก้ ซง่ึ จะเปน็ หนทางหนงึ่ ในการฝกึ ความอดทนและเปน็ ระเบยี บวนิ ยั ใหเ้ ดก็ เกดิ การยอมรับว่าเขาทำ�ผิดก็ตอ้ งไดร้ บั ผลจากการกระทำ�ความผิดนน้ั ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายจะมีเร่ืองการฟื้นฟูจิตใจให้ดีข้ึน ท้ังการปรับ พฤติกรรมและอารมณ์ เพ่ือให้ผู้กระทำ�ผิดออกมาเป็นคนดีของสังคมได้ ซง่ึ ครอบครวั ชมุ ชนสงั คมกต็ อ้ งใหก้ ารยอมรบั ไมต่ ตี ราตอกยา้ํ ดถู กู เหยยี ดหยาม ถึงความผิดของพวกเขา เพื่อให้พวกเขามีโอกาสท่ีจะปรับตัว สามารถกลับ มาเป็นคนดีของสงั คมได้ 48 “Top Hits ความร้สู ขุ ภาพจติ ” ฉบับนักสือ่ สาร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook