ความรศู้ าสนาเบอ้ื งตน้ กรมการศาสนา
ความรศู้ าสนาเบอ้ื งต้น ผจู้ ัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พมิ พ์คร้ังท ่ี ๔ ปีทพ่ี ิมพ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ จ�ำ นวนพมิ พ์ ๕,๐๐๐ เลม่ ISBN 978-616-543-125-5 ท่ปี รกึ ษา ๑. นายกติ ติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา ๒. นางศรีนวล ลภั กิตโร รองอธบิ ดกี รมการศาสนา ๓. นายพลู ศกั ด์ิ สขุ ทรพั ยท์ วผี ล ผูอ้ �ำ นวยการกองศาสนูปถัมภ์ ๔. นายส�ำ รวย นกั การเรียน ผ้อู ำ�นวยการส�ำ นักพฒั นาคณุ ธรรมจรยิ ธรรม ๕. นางสุรยี ์ เกาศล เลขานกุ ารกรมการศาสนา เรียบเรยี ง : คณะท�ำ งานจัดท�ำ หนงั สอื ความรู้ศาสนาเบ้อื งตน้ คณะผูจ้ ัดทำ� ๑. นายวิเชยี ร อนนั ตศริ ริ ตั น ์ นักวชิ าการศาสนาชำ�นาญการพเิ ศษ ๒. นายปิยวฒั น์ วงศเ์ จรญิ นักวิชาการศาสนาชำ�นาญการพเิ ศษ ๓. นายไกรศรี ทองเสมยี น นักวชิ าการศาสนาชำ�นาญการ ๔. นางสาวพิจิตรา นทรี ตั น ์ เจ้าพนักงานการศาสนาชำ�นาญงาน ๕. นางสาวสริ กิ าญ ฉยุ ฉาย เจา้ หนา้ ทป่ี ฏบิ ตั งิ านดา้ นศาสนา ๖. นางสาวประภสั สร อินทรแ์ ป้นพะเนา เจา้ หน้าท่ีปฏิบตั ิงานด้านศาสนา พมิ พท์ ่ี ห้างหุ้นสว่ นจำ�กัด โรงพิมพ์อกั ษรไทย (น.ส.พ. ฟา้ เมอื งไทย) เลขท่ี ๘๕, ๘๗, ๘๙, ๙๑ ซอยจรญั สนทิ วงศ์ ๔๐ ถนนจรัญสนทิ วงศ์ แขวงบางยขี่ ัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๒๔-๔๕๕๗, ๐-๒๔๒๔-๐๖๙๔ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๘๕๘
ค�ำ น�ำ กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม ไดจ้ ดั พมิ พห์ นงั สอื ความรศู้ าสนา เบื้องต้นมาแล้ว ๓ ครั้ง ได้รับความสนใจจากหน่วยงานราชการ องค์การทาง ศาสนา และประชาชนท่ัวไปเป็นอย่างมาก เน่ืองจากหนังสือเล่มน้ีได้รวบรวม เนอ้ื หาทส่ี ง่ เสรมิ ความรศู้ าสนาทเ่ี ปน็ พน้ื ฐานเบอ้ื งตน้ สามารถเขา้ ใจไดง้ า่ ย จงึ ท�ำ ให้ จำ�นวนหนงั สอื ที่จัดพมิ พไ์ ม่เพียงพอตอ่ ความต้องการ การจัดพิมพ์หนังสือครั้งน้ีเป็นครั้งที่ ๔ เพื่อสนองภารกิจของ กรมการศาสนา ในการส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักศาสนาอย่างแพร่หลายย่ิงข้ึน และเป็นพ้ืนฐานในการสร้างความ สมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนทุกศาสนา โดยใช้พลังศรัทธาทางศาสนา สร้างสรรค์สังคมไทย ให้ศาสนิกชนทุกศาสนามีความสัมพันธ์ท่ีดีและสามารถ ดำ�เนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างศาสนาท้ังในระดับชุมชนและระดับประเทศชาต ิ รวมท้ังการรักษาไว้ซ่ึงระเบียบแบบแผนแห่งสังคมอันดีงาม และการมีชีวิต อยู่รว่ มกันอยา่ งสงบสุขร่มเยน็ ในสงั คมไทย หวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเล่มนี้จะอำ�นวยประโยชน์แก่ผู้นำ�ศาสนา คณะครูอาจารย์และผู้สนใจศึกษา ได้ใช้เป็นคู่มือเผยแพร่หลักคำ�สอนทางศาสนา แก่ศาสนิกชนได้ศึกษาเรียนรู้และนำ�ไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติอย่างมั่นคงและถาวรสบื ต่อไป (นายกติ ติพันธ์ พานสุวรรณ) อธบิ ดีกรมการศาสนา
คำ�นำ� (ในการพมิ พค์ ร้งั ที่ ๑) กรมการศาสนา มีภารกิจหลักในการทำ�นุบำ�รุง ส่งเสริม ให้การ อุปถัมภ์ คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอ่ืน ท่ีทางราชการ รับรอง คือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ พร้อมส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสร้างความสมานฉันท์ ระหว่างศาสนิกชนทุกศาสนา รวมทั้งให้คนไทยนำ�หลักธรรมทางศาสนา มาพฒั นาชวี ติ ให้เปน็ คนดีมคี ุณภาพ ซึง่ มหี ลายโครงการและหลายรปู แบบ โครงการเฉพาะกิจพ้ืนที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการ ท่ีกรมการศาสนาได้จัดทำ�ขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วนั ท่ี ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ในการเสรมิ สร้างสันตสิ ขุ ความสงบเรยี บรอ้ ย ความสมานฉันท์อย่างยั่งยืน ให้กับพ้ืนที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ๕ โครงการ คือ โครงการศาสนิกสัมพนั ธ์ โครงการนกั จัดรายการเยาวชน สืบสานศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม โครงการตอบปัญหาศาสนาเยาวชน โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ และโครงการอบรมและพัฒนาบุคลากร ทางศาสนา จึงได้จัดทำ�หนังสือ “ความรู้ศาสนาเบ้ืองต้น” เพ่ือเป็นคู่มือ ในการจัดกิจกรรมตามโครงการดังกล่าว และอำ�นวยความสะดวกในการเรียนรู้ เก่ียวกับศาสนาเบ้ืองต้นของ ๕ ศาสนา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และสันติสุขทยี่ งั่ ยืน กรมการศาสนาหวังว่าหนังสือเล่มน้ีจะอำ�นวยประโยชน์ให้แก่ ผูจ้ ดั โครงการและผทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ งไดก้ ว้างขวางมากขึน้ (นายสด แดงเอียด) อธิบดกี รมการศาสนา
คำ�นำ� สารบัญ ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง บทท่ี ๑ ศาสนาพทุ ธ หนา้ ๑. ประวัตศิ าสนาพทุ ธ ๒. ประวัตศิ าสดา (๑) ๓. คัมภรี ์ หลกั ความเชอ่ื หลกั ธรรมค�ำ สอน ๑ และหลักปฏิบตั ิของศาสนา ๑ ๔. ผสู้ บื ทอดศาสนา ๔ ๕. ศาสนสถานและศาสนวัตถุ ๕ ๖. ศาสนพิธ ี ๑๘ ๗. วันสำ�คญั ทางศาสนา ๑๙ บทที่ ๒ ศาสนาอิสลาม ๒๐ ๑. ประวตั ิศาสนาอสิ ลาม ๓๔ ๒. ประวัตศิ าสดา ๓๗ ๓. คัมภีร์ หลกั ความเช่อื หลกั ธรรมค�ำ สอน ๓๘ และหลักปฏบิ ัติของศาสนา ๔๐ ๔. ผสู้ บื ทอดศาสนา ๔๔ ๕. ศาสนสถานและศาสนวตั ถ ุ ๖๕ ๖. ศาสนพิธี ๖๕ ๗. วนั ส�ำ คัญทางศาสนา ๖๙ บทที่ ๓ ศาสนาครสิ ต์ ๗๒ ๑. ประวตั ศิ าสนาคริสต ์ ๒. ประวตั ศิ าสดา ๗๕ ๓. คัมภีร์ หลักความเชื่อ หลกั ธรรมคำ�สอน ๗๗ และหลักปฏบิ ัติของศาสนา ๗๙ ๔. ศาสนสถานและศาสนวตั ถุ ๘๓ ๙๔
สารบัญ (ต่อ) หนา้ ๙๕ ๕. ศาสนพธิ ี ๙๘ ๖. วันสำ�คัญทางศาสนา ๑๐๓ บทที่ ๔ ศาสนาพราหมณ์-ฮนิ ดู ๑๐๕ ๑. ประวัติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒. คัมภรี ์ หลักความเช่ือ หลักธรรมค�ำ สอน ๑๐๖ และหลกั ปฏบิ ตั ิของศาสนา ๑๒๐ ๓. ผู้สืบทอดศาสนา ๑๒๔ ๔. ศาสนสถานและศาสนวัตถ ุ ๑๒๗ ๕. ศาสนพธิ ี ๑๒๘ ๖. วันส�ำ คญั ทางศาสนา ๑๓๓ บทที่ ๕ ศาสนาซกิ ข์ ๑๓๕ ๑. ประวตั ศิ าสนาซกิ ข ์ ๑๓๖ ๒. ประวัติศาสดา ๓. คัมภีร์ หลักความเช่ือ หลักธรรมคำ�สอน ๑๕๑ และหลักปฏิบตั ิของศาสนา ๑๕๒ ๔. ผ้สู ืบทอดศาสนา ๑๕๓ ๕. ศาสนสถานและศาสนวตั ถุ ๑๕๖ ๖. ศาสนพิธ ี ๑๖๗ ๗. วนั สำ�คัญทางศาสนา ๑๗๓ บทสรปุ ๑๗๗ ภาคผนวก ๑๗๘ คำ�ถาม-ค�ำ ตอบเกีย่ วกบั ศาสนาตา่ งๆ ๑๘๒ ค�ำ สงั่ กรมการศาสนา ๑๙๙ บรรณานุกรม
(1) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำ�รงอยู่และ ปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ต้ังแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึง ระดับรัฐ ท้ังในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำ�เนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอ เพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำ�เป็นท่ีจะ ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิด จากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ท้ังน้ีจะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมดั ระวงั อยา่ งย่ิง ในการนำ�วิชาการตา่ ง ๆ มาใช้ ในการวางแผนและการดำ�เนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริม สร้างพนื้ ฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจา้ หน้าทขี่ องรัฐ นกั ทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำ�นึกในคุณธรรม ความซ่ือสัตย์สุจริต และให้มี ความรอบรู้ทีเ่ หมาะสม ด�ำ เนนิ ชวี ติ ด้วยความอดทน ความเพยี ร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม ส่ิงแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกไดเ้ ป็นอยา่ งดี ประมวลและกล่นั กรองจากพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำ รสั เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงพระบาท สมเด็จพระมหาชนากาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานในวโรกาส ต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำ�รัสอื่น ๆ โดยสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำ�ไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ของทุกฝ่ายและประชาชนโดยท่วั ไป เมอ่ื วันท่ี ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
(2) องคป์ ระกอบของ “ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นความเส่ียงของ เศรษฐกิจสังคมไทย ที่พงึ่ พงิ ปัจจัยภายนอกสงู ภายใตก้ ระแสโลกาภวิ ตั น์และการ เปล่ยี นแปลงตา่ งๆ อยา่ งรวดเรว็ จึงทรงเตอื นให้พสกนิกรตระหนักถงึ ความสำ�คัญ ของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงนำ�สู่การพัฒนา ท่ีย่ังยืนและทรง เนน้ ยำ�้ ว่า การพฒั นาตอ้ งเรมิ่ จากการ “พ่ึงตนเอง” สร้างพ้ืนฐานใหพ้ อมี พอกิน พอใช้ ด้วยวิธีการประหยัดและถูกต้องการหลักวิชาการให้ได้ก่อน โดยต้องรู้จัก ประมาณตนและด�ำ เนนิ การด้วยความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และ “ทำ�ตาม ลำ�ดับข้ันตอน” สู่การ “ร่วมมือช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน” เมื่อพัฒนาตนเอง และชุมชนให้เข้มแข็งแล้ว จะได้ “พัฒนาเครือข่ายเชื่อมสู่สังคมภายนอก อยา่ งเข้มแขง้ มน่ั คง และยง่ั ยนื ” ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ให้เป็นแนวทางการด�ำ เนินชีวิตและวิถีปฏิบัติน�ำ สู่ความสมดุลอันส่งผล ใหม้ ีความสุขอยา่ งย่งั ยนื โดยมีองค์ประกอบส�ำ คัญ ดงั น้ี - ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำ�เป็นและ เหมาะสมกบั ฐานะของตนเอง สังคม สิง่ แวดลอ้ ม รวมทง้ั วัฒนธรรมในแตล่ ะท้อง ถ่ิน ไม่มากเกนิ ไป ไมน่ ้อยเกนิ ไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผอู้ นื่ - ความมีเหตผุ ล หมายถึง การตดั สินใจดำ�เนินการอยา่ งมีเหตุผล ตามหลกั วิชาการ หลกั กฎหมาย หลกั คุณธรรมและวฒั นธรรมทดี่ งี าม โดยค�ำ นงึ ถึงปัจจัยท่ีเก่ียวข้องอย่างถ้วนถี่ “รู้จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาส อุปสรรค” และคาด การณผ์ ลทจี่ ะเกดิ ขึ้นอยา่ งรอบคอบ “รเู้ ขา รเู้ รา รู้จกั เลอื กนำ�ส่ิงท่ีดแี ละเหมาะสม มาประยุกตใ์ ช้” - การมีภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับ ผลกระทบและการเปลีย่ นแปลงดา้ นเศรษฐกจิ สงั คม ส่ิงแวดลอ้ ม และวัฒนธรรม
(3) จากทั้งในและต่างประเทศ เพ่ือให้สามารถบริหารความเส่ียง ปรับตัวและรับมือ ไดอ้ ย่างทนั ทว่ งที การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอเพียงนั้น จะต้องเสริมสร้างให้คนใน ชาตมิ ีพน้ื ฐานจติ ใจในการปฏบิ ตั ติ น ดงั นี้ - มีคุณธรรม ทั้งนี้ บุคคล ครอบครัว องค์กร และชุมชนท่ีจะนำ� ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปใช้ ต้องนำ�ระบบคุณธรรมและความซ่ือสัตย์สจุ รติ มาประพฤติปฏิบัติก่อน โดยเร่ิมจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว การศึกษา อบรมในโรงเรียน การส่ังสอนศีลธรรมจากศาสนา ตลอดจน การฝึกจิต ข่มใจ ของตนเอง - ใช้หลักวิชา-ความรู้ โดยนำ�หลักวิชาและความรู้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมมาใช้ ท้ังในขั้นการวางแผนและปฏิบัติ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และระมดั ระวังอยา่ งยงิ่ - ดำ�เนินชีวิตด้วยความเพียร ความอดทน มีสติปัญญา และ ความรอบคอบ การนอ้ มนำ�.... “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” สู่การปฏิบตั ิ ทุกคนสามารถน้อมนำ�หลักปรัชญาฯ มาเป็นหลักปฏิบัติในการ ดำ�เนินชีวิตได้ โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือการเกิดจิตสำ�นึก มีความศรัทธา เช่ือมั่น เห็นคุณค่า และนำ�ไปปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วจึงขยาย ไปส่คู รอบครัว ชุมชน องค์กร สังคม และประเทศชาติตอ่ ไป ความพอเพียงระดบั บุคคลและครอบครัว แนวทางปฏิบัติ โดยเร่ิมจากตัวเองก่อน ด้วยการฝึกจิตข่มใจตนเอง และอบรมเล้ียงดูคนในครอบครัวให้มีคุณธรรม กินอยู่ตามอัตภาพ พ่ึงพาตนเอง
(4) อย่างเต็มความสามารถ ไม่ทำ�อะไรเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด ดำ�เนินชีวิต โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา และมีการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคต และเป็นท่ีพ่ึงให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น การหาปัจจัยสี่มาเล้ียงตนเองและครอบครัวจากการประกอบสัมมาชีพ การจัดทำ� บัญชรี ายรับรายจา่ ย ประหยดั แต่ไมใ่ ช่ตระหน่ี ลด ละ เลิกอบายมุข รจู้ ักคุณค่า รู้จักใช้ รู้จักออมเงิน และสิ่งของเคร่ืองใช้ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีการ แบ่งปันภายในครอบครัว ชุมชน และสังคมรอบข้าง รวมถึงการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม รวมทัง้ บรหิ ารความเส่ียงด้วยการสรา้ งภมู ิคุ้มกนั ด้านวัตถุ สงั คม ส่งิ แวดลอ้ ม และ วัฒนธรรม ตัวอยา่ งความพอเพยี ง เช่น ถ้ามีกระเป๋าถอื อยู่ ๔ ใบ แต่อยากซอื้ ใบท่ี ๕ ต้องคำ�นึงถึงหลักสำ�คัญในองค์ประกอบของปรัชญาฯ คือ พอประมาณ มีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน หากซื้อแล้วต้องพิจารณาว่ามีเงินพอใช้ถึงส้ินเดือนหรือ ไม่ หากไม่พอแสดงวา่ ภูมิคมุ้ กนั บกพรอ่ ง จึงไม่ควรซ้อื กระเปา๋ แตห่ ากมีเงนิ เดอื น มากพอ ไม่เดือดร้อน และจ�ำ เปน็ ต้องใช้ กส็ ามารถซื้อได้แต่ราคาตอ้ งเหมาะสม ความพอเพยี งในสถานศึกษา แนวทางปฏิบัติ เริ่มจาก ครูและผู้บริหารสถานศึกษา เล็งเห็น ความสำ�คัญและน้อมนำ�ปรัชญาฯ มาปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง เป็นแม่พิมพ์/ พ่อพิมพ์ท่ีดีทั้งในด้านการดำ�เนินชีวิตโดยยึดหลักคุณธรรม อาทิ ขยัน อดทน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนันและอบายมุข ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฯลฯ และพัฒนาระบบการเรียน การสอนตามหลักปรัชญาฯ อาทิ ตั้งใจสอน หมั่นหาความรู้เพ่ิมเติม เปิดโอกาส ให้เด็กแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน กระตุ้น ให้เด็กรักการเรียน คิดเป็น ทำ�เป็น และปลูกฝังคุณธรรมเพ่ือเป็นการสร้างคนดี คนเกง่ ให้แก่สงั คม
(5) ตัวอย่างความพอเพียง เช่น ครู ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้เด็กเห็น และนำ�ไปเป็นแบบอย่างในการดำ�เนินชีวิต ด้านการบริหารและการเรียนการ สอนของโรงเรียน ควรปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละแห่ง โรงเรียน ในเมืองก็ปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในเมือง โรงเรียนในชนบทก็ปรับให้เข้ากับ วิถีชีวิตในชนบท สอนให้นักเรียน นักศึกษา รู้ รัก สามัคคี เรียนรู้เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้จักการทำ�งาน การปลูกผัก สวนครัว การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถ่ินมาแปรรูปเป็นสินค้า/ งานหัตถกรรม มีการฝากเงินในธนาคารออมทรัพย์ของโรงเรียน จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข ชว่ ยเหลือผ้ดู ้อยโอกาส สำ�หรับ นักเรียน นักศึกษา ต้องมีวินัย เป็นเด็กดี มีความกตัญญู ต้ังใจเรียน และใช้เงินอย่างประหยัด รู้จักอดออม โดยใช้หลักรายได้ลบเงินออม เท่ากบั รายจ่าย ขยันหม่นั เพยี ร เรยี นรู้ พัฒนา โดยใช้สติ ปญั ญา อยา่ งรอบคอบ เปน็ ต้น ความพอเพียงในชมุ ชน แนวทางปฏิบตั ิ คนในชุมชนมีการรวมกลมุ่ กันท�ำ ประโยชนเ์ พือ่ สว่ น รวม ชว่ ยเหลอื เกอื้ กลู กนั ภายในชมุ ชนบนหลกั ของความรู้ รัก สามัคคี สร้างเป็น เครือข่ายเช่ือมโยงกันในชุมชนและนอกชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่ม ออมทรัพย์ หรือองค์กรการเงินชุมชน สวัสดิการชุมชน การช่วยดูแลรักษาความสงบ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งการใช้ภูมิปัญญาท้องถ่ินและ ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาสร้างประโยชนส์ ขุ ได้อยา่ งเหมาะสม ตัวอย่างความพอเพียง คนในชุมชนร่วมกันศึกษาข้อมูลในชุมชน เพ่ือให้รู้จักตัวเอง ชุมชน ทรัพยากรในชุมชน โลกภายนอก และรู้สาเหตุปัญหา ที่มาของผลกระทบต่าง ๆ แล้วร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาและวางแผนป้องกันปัญหา
(6) ท่ีคาดว่าจะเกิดขนึ้ ในอนาคต รวมถึงพัฒนาสิง่ ดี ๆ ท่มี ีอยู่ เช่น ภูมิปญั ญาท้องถนิ่ และทรัพยากรธรรมชาติ แล้วนำ�มาต่อยอดเพ่ีอสร้างความเปล่ียนแปลงในชุมชน ในทางท่ีดีขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องเสริมสร้างพ้ืนฐานจิตใจของคนในชุมชนให้มี ความ “รู้ รัก สามัคคี” มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำ�เนินชีวิตด้วยความอดทน รอบคอบ มคี วามเพยี ร มีสติปัญญา และทสี่ ำ�คัญคือ มคี วามสุขบนความพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่โลภ ไมต่ ิดการพนัน ไม่เปน็ หนี้ ไมล่ มุ่ หลงอบายมขุ ความพอเพยี งในภาคธุรกิจเอกชน แนวทางปฏิบัติ เร่ิมจากความมุ่งมั่นในการดำ�เนินธุรกิจท่ีหวังผล ประโยชน์หรือกำ�ไรในระยะยาวมากกว่าในระยะส้ัน แสวงหาผลตอบแทนบน พื้นฐานของการแบ่งปัน มุ่งให้ทุกฝ่าย ที่เก่ียวข้องได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม และเป็นธรรม ทั้งลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ด้านการขยายธุรกิจต้อง ทำ�อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค้ากำ�ไรเกินควร ไม่ลงทุนเกินขนาด ไม่กู้จนเกินตัว รวมทง้ั ตอ้ งมีความรูแ้ ละเขา้ ใจธรุ กจิ ของตนเอง รจู้ กั ลูกคา้ ศกึ ษาคแู่ ขง่ และเรยี นรู้ การตลาดอย่างถ่องแท้ ผลิตในสิ่งที่ถนัด และทำ�ตามกำ�ลัง สร้างเอกลักษณ์ท่ี แตกต่างและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีการเตรียมความพร้อม ต่อการเปล่ยี นแปลงทอ่ี าจเกดิ ข้ึน มีความซอ่ื สตั ย์ รบั ผดิ ชอบต่อสงั คมและป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ท่ีสำ�คัญต้องสร้างเสริมความรู้และจัดสวัสดิการให้แก่ พนกั งานอย่างเหมาะสม ตัวอย่างความพอเพียง เช่น นักธุรกิจที่กำ�ลังริเร่ิมโครงการใหม่ นอกจากต้องมีความรอบรู้ที่เหมาะสมที่จะศึกษาดูต้นทุนของตัวเอง พร้อมกับ ศึกษาตลาดและคู่แข่งขันแล้วต้องสร้างฐานของธุรกิจให้ม่ันคงด้วย ในช่วงแรก ๆ ต้องเร่ิมแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่โลภมาก ต้องอดทน มีความเพียร มีสติปัญญา เป็นต้น และเมื่อประสบความสำ�เร็จในระดับหนึ่งแล้วจึงค่อย ๆ ขยายกิจการ ต่อไป แต่ต้องมีความรอบคอบ ระมัดระวังในการลงทุน ไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป โดยใช้เงินท่ีเก็บออมไว้มาขยายกิจการหรือกู้เงินมาก็ได้ แต่ต้องประเมินแล้วว่า สามารถใช้คนื ได้
(7) ความพอเพยี งในองค์กรภาครฐั แนวทางปฏิบัติ ยึดม่ันในจรรยาบรรณข้าราชการที่ดี โดยระดับ องค์กรหรือผู้บริหาร บริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส มีคุณธรรม ประหยัด คุ้มค่า มีการบริหารความเสี่ยง ไม่ทำ�โครงการที่เกินตัว ปรับขนาด องค์กรให้เหมาะสม และจัดกำ�ลังคนาตามสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ ถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาทีมงาน และสร้างผู้สืบทอดที่ดี เกง่ ยึดประโยชนส์ ขุ ของส่วนรวมเปน็ ท่ตี ั้ง ตัวอย่างความพอเพียงในระดับองค์กรหรือผู้บริหาร สร้าง วัฒนธรรมองค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแนวทางปฏิบัติ เน้นการสร้างปัญญาให้คนในองค์กร บริหารจัดการการใช้งบประมาณอย่าง โปร่งใส ประหยัด มีประสทิ ธิภาพ ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เงนิ และคน ระดับเจ้าหน้าท่ี ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำ�เนินชีวิต ไม่ฟุ่มเฟอื ย ไมเ่ สพอบายมขุ ใชส้ มรรถนะ ความรู้ ความสามารถ ในการปฏิบัติ งานอย่างเต็มท่ี เอาใจใส่ให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว สัมฤทธิ์ผล เสมอภาค ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่รับสินบน ใช้ทรัพยากรของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า เชน่ การใชก้ ระดาษรไี ซเคลิ และการประหยดั พลังงาน เป็นตน้ “ความพอเพียง” ในการด�ำ เนนิ ชีวิตดา้ นตา่ ง ๆ การน้อมนำ�ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับต่าง ๆ น้ัน ต้องมีพื้นฐานคือ การพึ่งตนเองได้ โดยพิจารณาถึงความพอเพียงในการ ด�ำ เนนิ ชีวติ ทกุ ย่างกา้ ว ไดแ้ ก่ - ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและ วางแผนอย่างมีเหตุผลและคุณธรรม รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เสริมสร้าง ภูมิคุม้ กนั ด้วยการบรหิ ารความเส่ยี งทเ่ี หมาะสม สัมฤทธผิ์ ลและทันกาล
(8) - ดา้ นจติ ใจ เข้มแขง็ กตญั ญู มีความเพียร มีจิตส�ำ นึกที่ถกู ต้อง มี คุณธรรมอันมน่ั คง สจุ รติ จรงิ ใจ คดิ ดี ทำ�ดี แจม่ ใส เออื้ อาทร แบง่ ปัน เห็นแก่ ประโยชนส์ ว่ นรวมเป็นส�ำ คัญ - ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ประสาน สัมพันธ์ รู้ รัก สามัคคี เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน รักษา เอกลกั ษณ์ ภาษา ภมู ปิ ัญญาและวฒั นธรรมไทย - ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการ อย่างฉลาด ประหยัดและรอบคอบ ฟื้นฟูทรัพยากรเพ่ือให้เกิดความยั่งยืนและ คงอยู่ชั่วลูกหลาน - ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีท่ีเหมาะสม สอดคล้องกับ ความต้องการและสภาพแวดล้อมตามภูมิสังคม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญา ชาวบ้าน
บทที่ ๑ ศาสนาพทุ ธ
ประวัตขิ องศาสนาต่าง ๆ ก่อนจะทราบประวัติของศาสนาต่างๆ ควรจะทราบคำ�ว่า “ศาสนา” แปลว่าอะไร ศาสนาเป็นศัพท์ในภาษาสันสกฤต บาลีใช้ว่า สาสนา แปลวา่ ค�ำ สงั่ สอน ยอ่ มมใี นทกุ ศาสนา ในฝ่ายตะวนั ตกคำ�ว่า ศาสนา ตามความหมายกว้างๆ คือ ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำ�นาจอยู่เหนือ ส่ิงธรรมชาติ จะเรียกว่าพระเจ้าหรือพระผู้เป็นเจ้าก็แล้วแต่ ซ่ึงพระองค์ ทรงปกครองและควบคุมโลก พร้อมทั้งมวลมนุษยชาติด้วยทิพย์อำ�นาจ มนุษย์มีหน้าท่ีเป็นพันธกรณี จะต้องมีความเช่ือ ความศรัทธา เคารพบูชา พระองค์และคำ�สั่งสอนของพระองค์ด้วยความเกรงกลัวและด้วยความ จงรักภักดี รับใช้พระองค์ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักคำ�สั่งสอนอย่าง เคร่งครัด นอกจากท่ีกล่าวมานี้ค�ำ ว่าศาสนาอาจจะยังมีในความหมายอ่ืนๆ อีก แตจ่ ะไม่น�ำ มากลา่ วในทีน่ ี้ จะกล่าวเฉพาะในความหมายวา่ ค�ำ สง่ั สอนเท่าน้ัน ส่วนประวัติของศาสนา หากจะนับรวมเอาศาสนาท้ังหมดที่มีอยู่ ในโลกน้ี ซ่ึงบางศาสนาก็สูญหายไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะชี้ลงไปได้ว่าศาสนา เกิดข้ึนในโลกน้ีตั้งแต่เมื่อไร ท่านศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ราชบัณฑิต ได้พูดไว้ในหนังสือศาสนาเปรียบเทียบภาค ๑ ว่า “มนุษย์ไม่ว่า ในชาติใดภาษาใดจะเป็นมนุษย์ชาวป่าชาวเขาหรือชาวบ้านชาวเมืองก็เป็นคน มีศาสนาแทบทั้งน้ัน และศาสนาท่ีคนเหล่านั้นนับถือย่อมจะมีกำ�หนดไว้ ให้แลว้ ตั้งแต่เกิดมา พอ่ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เคยนบั ถือศาสนาอะไรลกู ที่เกดิ มาในครอบครัวก็นับถือศาสนาไปตามน้ัน เหตุน้ีจึงมีคำ�กล่าวว่า “คนเกิด ในศาสนา” ที่จะเกิดนอกศาสนาเห็นจะหาได้ยากเต็มที...” ถ้าจะพิจารณา ตามข้อความนี้แล้วจะพบว่าศาสนามีมาพร้อมๆ กับมนุษย์ท่ีเกิดมาในโลก 2
ใบนี้ แต่คำ�สั่งสอนเหล่าน้ันจะเป็นศาสนาหรือจะเป็นเพียงลัทธิความเช่ือ เท่านัน้ ขึน้ อยู่กับองคป์ ระกอบเหล่านี้ ๑. เปน็ คำ�สง่ั สอนทีป่ ระกอบด้วยความเชอ่ื ถือ ๒. เป็นคำ�สั่งสอนที่ว่าด้วยศีลธรรมจรรยา พร้อมท้ังผลของ การปฏบิ ตั ติ าม ๓. เปน็ คำ�สงั่ สอนท่มี ผี ู้ตง้ั หรอื มีศาสดา ๔. เปน็ ค�ำ ส่ังสอนท่ีมศี าสนทายาทสบื ทอดกันมา ๕. เป็นคำ�สั่งสอนท่ีกวดขันในเรื่องจงรักภักดี นับถือศาสนาน้ีแล้ว จะหันไปนบั ถอื ศาสนาอื่นไมไ่ ด้ ๖. เป็นคำ�สั่งสอนท่ีมีศาสนกิ มากพอสมควร สมเด็จพระญาณวโรดม กล่าวไว้ในหนังสือศาสนาต่างๆ ว่า คำ�ส่ังสอนที่เรียกว่าศาสนาจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๖ ประการน้ี ถ้ามีไม่ครบจะเรียกว่าลัทธิบ้าง โอวาทบ้าง แต่คำ�ส่ังสอนท่ีนำ�มากล่าว ในหนังสือความรู้ศาสนาเบื้องต้นเล่มนี้ มีองค์ประกอบครบท้ัง ๖ ประการ เป็นคำ�ส่ังสอนของศาสนาอย่างแน่นอน ส่วนศาสนาไหนเกิดขึ้นเมื่อไร ขอให้ไปศึกษาในรายละเอียดของแต่ละศาสนา เริ่มต้นจากศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ไปตามล�ำ ดับ 3
๑. ประวัติศาสนาพทุ ธ พระพุทธศาสนาเกิดข้ึนท่ีประเทศอินเดีย สมัยนั้นเรียกว่า ชมพทู วีป กอ่ นคริสต์ศักราช ๕๔๓ ปี หรือก่อนฮิจญเราะฮศ์ ักราช ๑,๑๖๗ ปี ปัจจุบันมีอายุมากกว่า ๒,๕๐๐ ปี มีคนไทยนับถือพระพุทธศาสนา พรอ้ มๆ กบั มีประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทย ๒. ประวัติศาสดา พระพุทธศาสนา มีพระศาสดาทรงพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระราชกุมารแห่งเมืองกบิลพัสด์ุ พระบิดาทรงพระนามว่า สุทโธทนะ พระมารดาทรงพระนามว่า พระนางสิริมหามายา เม่ือเจริญวัยได้รับ การศึกษาศิลปวิทยาเป็นอย่างดี คร้ันพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ได้ อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา เม่ือพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงมีพระโอรสพระองค์หน่ึง พระนามว่า ราหุล และในปีเดียวกันน้ีเอง ก็ทรงพิจารณาเห็นว่ามนุษย์ สัตว์ทั้งหลายต่างก็ตกอยู่ในเงื่อนไขของความ เกดิ แก่ เจ็บ ตาย โดยไม่มีใครจะเอาชนะได้ ทกุ คนยอมจำ�นน แต่พระองค์ กลับเห็นว่าจะต้องมีทางออก มีหนทางแก้ไขได้จึงตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรม คือ หนทางแห่งการหลุดพ้น จากความทุกข์ อันเกิดมาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความทุกข์ อน่ื ๆ อีกมากมาย หลังจากพระองค์เสด็จออกผนวชแล้วได้ ๖ ปี ผ่านการศึกษา ค้นคว้าปฏิบัติอย่างหนักก็ได้ค้นพบหนทางแห่งการหลุดพ้นที่เรียกว่า ตรัสรู้ และทรงได้พระนามใหม่ว่า “พุทธะ” แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และ การตรัสรู้นี้เป็นการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่มีครูอาจารย์หรือเจ้าลัทธิ 4
คนใดมาสอน จึงทรงมีพระนามว่า “สัมมาสัมพุทธะ” แปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบ ด้วยพระองค์เอง ดังน้ันคำ�ว่าศาสนาพุทธจึงแปลว่า ศาสนาหรือคำ�สั่งสอน ของพระพทุ ธเจา้ หรอื ของผู้รู้ ผู้ตน่ื ผเู้ บิกบาน เม่ือพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้ส่ังสอน ธรรมะคือหนทางแห่งการพ้นทุกข์ให้แก่เทวดาและมนุษย์ท้ังหลายให้รู้ตาม ผู้รู้ธรรมะคนแรกชื่อ โกณฑัญญะ พร้อมกับขอบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรก ในพระพุทธศาสนา จากน้ันก็มีผู้รู้ตามอีกเป็นจำ�นวนมาก จวบจนพระองค์ มีพระชนมพรรษาได้ ๘๐ ปี ทำ�การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ ๔๕ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ทรงตั้ง พุทธบริษัท ๔ คอื ภกิ ษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ใหด้ แู ลพระพุทธศาสนา สบื แทนพระองค์ ๓. คัมภีร์ หลักความเช่ือ หลักธรรมค�ำ สอน และหลกั ปฏบิ ตั ิของศาสนา คมั ภรี ์ทางพระพทุ ธศาสนา เรยี กว่า พระไตรปิฎก มี ๓ หมวด คอื 5
๑. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา - พระภกิ ษุ (นักบวชชาย) ถือศลี ๒๒๗ ขอ้ - พระภิกษุณี (นักบวชหญิง) ถือศีล ๓๑๑ ข้อ (ปัจจุบันน้ี ไม่มพี ระภกิ ษณุ แี ลว้ ) - สามเณร สามเณรี (นักบวชเยาวชนชาย-หญิง) ถือศีล ๑๐ ขอ้ (ปัจจบุ ันนไ้ี มม่ สี ามเณรีแล้ว) - แม่ชี ถือศีล ๘ ขอ้ - อุบาสก (ผชู้ าย) และอุบาสกิ า (ผู้หญิง) ถอื ศีล ๕ หรอื ศีล ๘ หรือศลี อุโบสถแลว้ แต่กำ�ลงั ศรัทธา ๒. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคำ�สอนที่มีเร่ืองราวเกี่ยวกับ บคุ คล สถานท่ี เหตกุ ารณ์ประกอบหรอื เรียกวา่ ชาดก ๓. พระอภิธัมมปิฎก ว่าด้วยสภาวะธรรมล้วนๆ เก่ียวกับจิต เจตสิก รูป และนิพพาน เปน็ ธรรมลกึ ซ้ึงในทางพระพทุ ธศาสนา ความเช่ือ ๑. เช่ือกรรม พระพุทธศาสนาเน้นให้เช่ือเรื่อง “กรรม” คือการกระทำ� กรรมเป็นคำ�กลางๆ ทำ�ดีเรียกว่า กุศลกรรม ทำ�ไม่ดีเรียกว่า อกุศลกรรม แบ่งเป็น ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ การกระทำ�ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ที่เป็นอกุศล เช่น ไปฆ่าคนอ่ืนหรือสัตว์อ่ืนให้ตายหรือทรมาน การลักทรัพย์ คือถือเอาสิ่งของ ท่ีไม่มีใครอนุญาตให้โดยพลการ ประพฤติผิดในกาม เช่น ประพฤติผิด ในคู่ครองผูอ้ ืน่ 6
การกระทำ�ทางวาจาหรอื ค�ำ พูด เรียกว่า วจกี รรม ที่เปน็ อกุศล เช่น พูดเท็จหรือพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ การกระทำ�ทางใจหรือคิดอยู่ในใจ เรียกว่า มโนกรรม ท่ีเป็น อกุศล เช่น คิดอยากจะได้ของคนอื่น คิดพยาบาท และคิดผิดไปจาก หลกั พระธรรมคำ�สงั่ สอน ในทางตรงกันข้ามถ้าทำ�ดี พูดดี คิดดี ก็จะเป็นกายกรรม วจกี รรม และมโนกรรม ฝา่ ยกุศล เรียกวา่ กุศลกรรม กุศลกรรมใหผ้ ลเปน็ สุข สว่ นอกศุ ลกรรมให้ผลเปน็ ทุกข์ ๒. เชอ่ื ผลแห่งกรรม พระพุทธศาสนาสอนว่า การกระทำ�ทุกอย่างไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ย่อมมีผลติดตามมา ทำ�ดีได้ผลดี ทำ�ชั่วได้ผลชั่ว คนจะได้ดีหรือได้ชั่วเป็นเพราะตัวเป็นผู้กระทำ� คนจะมีเกียรติสูงต่ำ� ก็เป็นเพราะเราทำ�ตัว กรรมดใี หผ้ ลดี กรรมชั่วให้ผลช่ัว กรรมใหญ่ให้ผลใหญ่ กรรมเล็กน้อยให้ผลเล็กน้อย การให้ผลแห่งกรรม จะมีความเท่ียงธรรมท่ีสุด ไม่เลือกที่รักมักท่ีชัง ไม่เกรงกลัวอำ�นาจต่อใครๆ ให้กับคนตำ่�ต้อยอย่างไร กจ็ ะใหก้ บั คนทม่ี ีอำ�นาจวาสนาเชน่ นั้น ถา้ คนท้ังสองกระท�ำ กรรมไวเ้ หมือนกนั ๓. เชือ่ วา่ ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง พระพุทธศาสนาสอนว่า ผลแห่งกรรมเป็นสมบัติเฉพาะตัว ใครทำ�คนน้ันได้ จะแบ่งปันเผ่ือแผ่กันไม่ได้ ผลแห่งกรรมไม่ใช่มรดกจะยก ให้กันได้ บุคคลไม่มีสถานท่ีปลอดภัยสำ�หรับผลแห่งกรรม จะเหาะไปในอากาศ จะมุดไปในถ้ำ� หรือจะดำ�น้ำ�หนีลงไปใต้มหาสมุทรก็ไม่สามารถจะซ่อนตัว หรือหนีไปจากผลแห่งกรรมได้ เพราะผลแห่งกรรมจะอยู่ติดตัวผู้กระทำ� 7
ไปทุกหนทุกแห่ง เหมือนเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น ผลแห่งกรรมไม่หมด อายุความ ทำ�ไว้นานเท่าไรผู้กระทำ�จะจำ�ได้หรือไม่ก็ตาม ผลแห่งกรรม ก็จะยังคงดำ�รงอยู่ ข้ามภพข้ามชาติจนกว่าจะให้ผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นอโหสิกรรมแลว้ จึงจะยุติ ๔. เชอื่ วา่ พระพทุ ธเจา้ ตรัสรู้จรงิ ชาวพุทธที่แท้จริงจะต้องมีศรัทธามั่นคงในพระธรรมคำ�สั่งสอน ของพระพุทธเจ้า เพราะพระธรรมคำ�ส่ังสอนของพระองค์ ล้วนเป็นเร่ืองจริง ไม่ได้แต่งข้ึนมา หรือได้รับคำ�บอกเล่าจากใคร แต่พระองค์ทรงเป็น พระสัพพัญญู ตรัสรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระปัญญาอันบริสุทธ์ิของพระองค์เอง ตรสั ไว้อย่างไร ย่อมเปน็ จริงอยา่ งน้ันแนน่ อน กฎแหง่ กรรม กฎแห่งกรรม เป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นสิ่ง ทีม่ อี ย่จู ริง ไมใ่ ช่พระพุทธเจ้าสร้างขน้ึ แตเ่ ปน็ กฎท่มี อี ยู่แล้ว ชีวิตของเราทุกคน ถูกควบคุมไว้ด้วยกฎแห่งกรรม ไม่มีใคร มาควบคุมชีวิตของเรา ชีวิตจะเสื่อม จะเจริญ จะสุข จะทุกข์ จะก้าวหน้า จะถอยหลัง จะอายุส้ัน จะอายุยนื ขึ้นอยู่กบั กรรม คือการกระท�ำ ของเราทงั้ สิ้น ไม่ใช่ข้ึนอยู่กับอำ�นาจดวงดาว หรืออำ�นาจส่ิงภายนอกอ่ืนๆ ใดที่จะมา ดลบันดาลชวี ิตของเราให้เปน็ อยา่ งโน้นอยา่ งน้ี นอกจากกฎแหง่ กรรม กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา ตรงกับกฎของนิวตัน คือ กฎกิริยา (Action) และปฏิกิริยา (Reaction) ซึ่งเป็นกฎทางด้านวัตถุ กรรมท่ีเราทำ�ก็เหมือนกัน ถ้าทำ�กรรมดี ผลตอบสนองก็เป็นกรรมดี ถ้าทำ� กรรมไม่ดี ผลตอบสนองก็เป็นเร่ืองไม่ดี นี้เป็นกฎทางด้านจิตใจ ถ้าถามว่า “ทำ�ไมคนเราจึงเกิดมาแตกต่างกัน” คำ�ตอบนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน 8
จูฬกัมมวิภังคสูตรว่า “กัมมัง สัตเต วิภัชชะติ ยะทิทัง หีนัปปะณีตะตายะ” กรรมยอ่ มจำ�แนกสตั วโ์ ลกให้แตกต่างกนั คอื เลวทรามและประณีต ในข้อน้ีมีเรื่องปรากฏอยู่ในปัญหาที่สุภมานพทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า “ท�ำ ไมคนเราเกดิ มาจึงไม่เหมอื นกนั ” ปญั หาน้นั มี ๑๔ ขอ้ จดั เปน็ ๗ คู่ ดงั น้ี คู่ท่ี ๑ ถามวา่ ท�ำ ไมบางคนอายุสั้น บางคนอายยุ ืน เฉลยว่า คนทช่ี อบฆา่ สตั ว์ตัดชีวิต ไม่มศี ลี ๕ จะมอี ายสุ น้ั สว่ นคนที่มศี ีล ๕ มเี มตตากรุณาต่อสัตว์จะมีอายยุ ืน ค่ทู ี่ ๒ ถามว่า ทำ�ไมบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บมาก บางคนมีโรคภัย ไขเ้ จบ็ น้อย เฉลยว่า คนท่ีชอบเบียดเบียนสัตว์ ทรมานสัตว์ กักขัง สัตว์อ่ืนให้เดือดร้อน ให้ทรมาน ให้เจ็บป่วย จะมีโรคภัยไข้เจ็บมาก ส่วนคน ท่ีมีเมตตา ไม่เบียดเบียนสัตว์ เอ็นดูสัตว์และมนุษย์ จะมีสุขภาพดีไม่มี โรคภัยไขเ้ จ็บ คู่ที่ ๓ ถามว่า ทำ�ไมบางคนเกิดมารูปไม่สวย ข้ีเหร่ พิกลพิการ บางคนเกิดมารปู สวย รูปหลอ่ ทรวดทรงดี เฉลยว่า คนที่ข้ีโกรธ อารมณ์บูดตอนเช้า เน่าตอนเพล เหม็นตอนค่ำ� เกิดมาหน้าตาไม่สวยงาม เป็นคนขี้เหร่ พิกลพิการ ไม่สมประกอบ ส่วนคนท่ีมีน้ำ�ใจดี มีเมตตากรุณา ไม่ขี้โกรธ ไม่อาฆาต พยาบาท เกิดมาจะมหี นา้ ตาสวยงาม รูปหลอ่ รปู สวย คู่ที่ ๔ ถามว่า ทำ�ไมคนบางคนเกิดมามีวาสนาน้อย ไม่มียศ ตำ�แหน่งกับเขา เป็นคนตำ่�ต้อย แต่คนบางคนเกิดมามีวาสนาดี มียศ มตี �ำ แหน่ง มีบริวารมาก 9
เฉลยว่า คนท่ีชอบริษยาคนอื่น เมื่อใครได้ดีทนอยู่ไม่ได้ หาทางทำ�ลาย เพราะฉะน้ันเมื่อเกิดมาจึงเป็นคนศักดิ์ตำ่� ไม่มียศ ไม่มี ตำ�แหน่ง ไม่มีบริวาร ส่วนคนท่ีไม่ริษยามีมุทิตาจิตต่อคนอ่ืนท่ีประสบ ความส�ำ เรจ็ จะมียศมีตำ�แหนง่ สูง เป็นหัวหน้าคน มีบรวิ ารรักใครน่ บั ถอื คู่ที่ ๕ ถามว่า ทำ�ไมบางคนเกิดมายากจน บางคนเกิดมา ในสกุลร�ำ่ รวย เฉลยว่า คนที่ตระหนี่ ข้ีเหนียว เห็นแต่ได้ ไม่บริจาคทาน ไม่เอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ่ใคร เกิดมาจะยากจน ส่วนคนที่ยินดี เต็มใจในการ บริจาคทาน ไม่เห็นแก่ตัวจัด ไม่หวงไว้กินไว้ใช้คนเดียว จะเกิดมาในสกุล ทม่ี ัง่ คั่งร�ำ่ รวย คู่ท่ี ๖ ถามว่า ท�ำ ไมบางคนเกิดในสกุลต�ำ่ บางคนเกดิ ในสกุลสงู เฉลยว่า คนท่ีไม่อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ เป็นคน แข็งกระด้างต่อคนท่ีควรเคารพบูชาที่ควรยกย่อง จะเกิดในสกุลต่ำ� ส่วนคน ที่มีปกติอ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนโยน อ่อนหวาน ต่อผู้ใหญ่ ต่อสมณชีพราหมณ์ ต่อผปู้ ระพฤติดี จะเกดิ ในสกลุ สูง คทู่ ่ี ๗ ถามว่า ทำ�ไมบางคนเกิดมาโง่ สมองทึบ ปัญญาอ่อน แตบ่ างคนเกิดมามปี ญั ญาเฉลยี วฉลาด มีไอควิ สงู เฉลยว่า คนที่ไม่ต้ังใจฟัง ไม่ตั้งใจคิด ไม่ต้ังใจถาม ไม่ต้ังใจจำ� ไม่นำ�ไปปฏิบัติ ไม่เข้าไปไต่ถามจากท่านผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ผู้มีคุณธรรม ผู้นั้นจะเกิดมาเป็นคนโง่ ปัญญาทึบ ส่วนคนท่ีตั้งใจฟัง คิด ถาม เขยี น สนใจใฝ่เรียนรู้ จะเกดิ มาเป็นคนฉลาด มไี อควิ สงู สมองดี 10
พระธรรมค�ำ ส่งั สอน ๑. หัวใจของพระพทุ ธศาสนา พระธรรมคำ�สงั่ สอนในพระพทุ ธศาสนาแมจ้ ะมเี ปน็ จำ�นวนมาก แต่เพื่อจะให้ง่ายต่อความเข้าใจและความจำ� ท่านจึงสรุปได้ ๓ หลักการ หรือเรียกว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คอื ๑.๑ ห้ามไม่ให้กระทำ�ความชั่วทุกชนิดท้ังทางกาย วาจา และใจ ๑.๒ ให้กระท�ำ ความดที ุกอย่างทง้ั ทางกาย วาจา และใจ ๑.๓ ชำ�ระจิตให้บริสุทธิ์ เพราะจิตบริสุทธ์ิจะทำ�ให้กายและ วาจาบริสุทธ์ดิ ว้ ย คนบางคนไม่กระทำ�ความชั่ว แต่ก็ไม่กระทำ�ความดีจะชื่อว่า เป็นคนดีที่สมบูรณ์ไม่ได้ เช่นไม่ฆ่าสัตว์ แต่ไม่ช่วยเหลือสัตว์ท่ีได้รับทุกข์ ทรมานทัง้ ๆ ทีต่ นเองมขี ีดความสามารถจะช่วยเหลือได้ เรยี กวา่ เป็นคนขาด เมตตา ไรน้ �ำ้ ใจ สว่ นคนบางคนไม่กระท�ำ ความชั่วทัง้ ยังกระทำ�ความดี ก็น่าจะ เรียกได้ว่าเป็นคนดีท่ีสมบูรณ์ได้ แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นคนดีที่สมบูรณ์ถ้าจิตใจ ของเขายังไม่บริสุทธ์ิ เช่นคนให้ทานปรารถนาชื่อเสียง ปรารถนาให้เขา ยกย่อง หรือปรารถนาหาผลประโยชน์ที่สูงกว่าน้ัน เช่นผู้แทนนำ�ของไปให้ ประชาชนโดยหวังคะแนนเสียง ไม่ได้ให้ด้วยความปรารถนาจะให้เขาพ้นทุกข์ ส่วนคนบางคนกระทำ�ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ไม่กระทำ�ความชั่วทุกอย่าง หม่ันกระทำ�ความดีทุกชนิดท่ีพระพุทธศาสนาสอนไว้ และกระทำ�การชำ�ระ จิตใจให้บริสุทธ์ิด้วยการเจริญสมาธิเป็นประจำ�สมำ่�เสมอ จนจิตมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ที่เรียกว่า พรหมวิหารธรรม หรือจิตหลุดพ้น ไปจากความโลภ ความโกรธ และความหลง จงึ จะเรียกวา่ เป็นคนดที สี่ มบูรณ์ ในความมงุ่ หมายของพระพทุ ธศาสนา 11
๒. คุณธรรม ความดีงามที่เกิดจากการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามหลักพระธรรมคำ�ส่ังสอนในพระพุทธศาสนา ทำ�ให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ มคี วามเห็นท่ถี ูกต้อง มคี วามละอายใจและความเกรงกลัวต่อผลช่ัวทีจ่ ะตามมา จะปรากฏท่ีจิตใจ นอกจากนี้คนท่ีมีคุณธรรมจะมีความขยัน ความอดทน ความซ่ือสัตย์สุจริต เสยี สละ ความกตญั ญู ความเมตตา เปน็ ต้น ๓. จริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติเพ่ืออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข เช่น ความไมเ่ บียดเบยี นกัน การชว่ ยเหลือเผือ่ แผต่ ่อกนั คุณธรรมและจรยิ ธรรม มีความแตกตา่ งกนั ดงั นี้ - คุณธรรมหรือมโนธรรม เป็นความดีทางใจ เป็นพ้ืนฐาน รองรบั จริยธรรม เรียกว่า มโนสุจริต - จริยธรรม เป็นการแสดงออกทางกาย วาจา เรียกว่า กายสุจรติ และวจีสุจริต หลักจริยธรรมในพทุ ธศาสนา มี ๓ ขนั้ ๑. จริยธรรมข้ันมูลฐาน คือ เบญจศลี (ศีล ๕) เบญจธรรม (ธรรม ๕) เบญจศีล ๕ เบญจธรรม ๕ - ไม่ฆ่าสัตว์ - มเี มตตากรณุ า - ไมล่ กั ทรัพย์ - ซอ่ื สัตย์สจุ ริต - ไม่ประพฤติผิดในกาม - ยนิ ดพี อใจในค่คู รองของตน - ไมพ่ ูดปด - พดู ค�ำ จริง อ่อนหวาน ประสานประโยชน์ - ไม่ดื่มของมนึ เมา - มสี ตสิ ัมปชญั ญะ ร้คู ิด รทู้ ำ� รจู้ �ำ รู้พดู 12
๒. จรยิ ธรรมขั้นกลาง หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ - ทางกาย ๓ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิด ในกาม - ทางวาจา ๔ พูดคำ�จริง พูดไพเราะอ่อนหวาน พูดประสานสามัคคี พูดมปี ระโยชน์ - ทางใจ ๓ ไมโ่ ลภอยากไดข้ องผู้อืน่ ไมโ่ กรธ ไมอ่ าฆาต พยาบาท ไมเ่ หน็ ผดิ จากท�ำ นองคลองธรรม คือ เห็นถูกวา่ ทำ�ดไี ด้ดี ท�ำ ช่ัวไดช้ ่ัว เช่ือกรรม ๓. จริยธรรมข้ันสูง หรือมัชฌิมาปฏิปทา คือ ปฏิบัติ ทางสายกลาง เรยี กวา่ อริยมรรค ทางเดนิ อยา่ งประเสริฐ มี ๘ ประการ คอื (๑) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ปัญญา (๒) สมั มาสังกัปปะ คอื ความดำ�รชิ อบ (๓) สมั มาวาจา คอื เจรจาชอบ (๔) สมั มากัมมันตะ คอื การงานชอบ ศีล (๕) สัมมาอาชวี ะ คือ เลี้ยงชีวติ ชอบ (๖) สมั มาวายามะ คอื ความเพียรพยายามชอบ (๗) สัมมาสติ คอื ตง้ั สติชอบ สมาธ ิ (๘) สัมมาสมาธิ คอื ตงั้ ใจชอบ หลักปฏิบัติขัน้ พนื้ ฐาน คุณธรรมจรยิ ธรรมทตี่ ้องประพฤติ ๑. ธรรมมีอุปการะมาก ช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามมีแต่ความเจริญ ก้าวหน้า ได้แก่ - สติ ความระลึกได้ คดิ ก่อนท�ำ กอ่ นพดู 13
- สัมปชัญญะ ความรตู้ วั คอื รจู้ �ำ รูท้ ำ� รู้คดิ รู้ว่าเป็นความจริง ความดี และมีประโยชน์ ๒. ธรรมค้มุ ครองโลก (โลกบาล) หรอื เทวธรรม ผใู้ ดมีเทวธรรม ผู้นัน้ ชอ่ื ว่ามธี รรมของเทวดาหรือเป็นเทวดา ได้แก่ - หิริ ความละอายใจ รงั เกยี จต่อความช่ัวทุกอยา่ ง - โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาปกรรมที่จะตามมา ๓. ธรรมท่ีจะท�ำ ใหค้ นงามตลอดกาล - ขันติ ความอดทน อดกล้นั ต่อความหนาว รอ้ น หิวกระหาย ทกุ ขเวทนาเวลาเจบ็ ป่วย อดทนต่อความเจบ็ ใจและอำ�นาจความคิดต่ำ� - โสรัจจะ ความสงบเสง่ียม ความมีมารยาทงาม ความ เรยี บรอ้ ย ๔. คนท่ีหาไดย้ าก ๒ จ�ำ พวก - บุพพการี ผู้ทำ�อุปการะก่อน โดยไม่หวังผลตอบแทน จากผูถ้ ูกอุปการะ เชน่ บิดามารดา ครูอาจารย์ - กตญั ญกู ตเวที ผ้รู ู้อุปการะ รูบ้ ญุ คุณ และตอบแทนคุณ ๕. อกุศลมลู คอื รากเหงา้ ของความช่วั (กเิ ลส) มี ๓ อยา่ ง - โลภะ อยากได้ ทผ่ี ดิ ท�ำ นองคลองธรรม - โทสะ ความโหดรา้ ย ใจร้อน ความอาฆาตพยาบาท - โมหะ ความโง่เขลา หลงใหลตามกระแสกิเลส ขาดการ พจิ ารณาวา่ ผิดถูก ชวั่ ดี มปี ระโยชน์หรอื ไมม่ ปี ระโยชน์ ๖. กุศลมลู คือ รากเหง้าของความดี ความเจรญิ มี ๓ อยา่ ง - อโลภะ ไม่อยากได้ของผู้อ่ืน หรือไม่อยากได้ในส่ิงที่ผิด ท�ำ นองคลองธรรม เชน่ ไมค่ ดโกง ไมห่ ลอกลวง ฯลฯ - อโทสะ ไม่ประทุษรา้ ยตนและผอู้ น่ื - อโมหะ ไม่หลงงมงาย ไร้สาระ ไม่เช่ือง่าย 14
๗. สัปปุริสบัญญัติ คือ ข้อปฏิบัติที่คนดีทำ�เป็นแบบอย่างไว้ มี ๓ อยา่ ง - ทาน ทำ�การสละส่ิงของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่ืน มีความโอบอ้อมอารี เอ้ือเฟอื้ เผอื่ แผ่ตอ่ กัน - ปัพพัชชา เว้นจากการเบียดเบียนท้ังทรัพย์สินและชีวิต ของกันและกัน - มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำ�รุงเลี้ยงดูมารดาบิดาของตน ให้เป็นสขุ ไม่ทอดทิ้งเมอ่ื ยามชราหรือเจ็บปว่ ย ยากจน ๘. อปัณณกปฏิปทา คือ การปฏิบัติไม่ผิด ปฏิบัติแล้วมีแต่ ความเจรญิ อย่างเดยี ว มี ๓ อย่าง - อินทรยี สังวร สำ�รวมระวังตา หู จมูก ลนิ้ กาย ใจ ของตน มิให้ยนิ ดี ยนิ รา้ ย (ดีใจ เสียใจ) เมอื่ ได้เห็น ไดย้ ิน ดมกลนิ่ ล้มิ รส ถูกต้อง สมั ผัส หรือแมแ้ ต่คดิ ดว้ ยใจ เพราะท้งั ยนิ ดีและยนิ ร้ายจะนำ�ความทุกขม์ าให้ - โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ รู้จักพอดีในการ บรโิ ภค ใชส้ อย ใชอ้ ย่างประหยัด คุม้ คา่ - ชาคริยานุโยค เปน็ คนต่นื ตวั ไม่เกียจคร้าน ไม่เหน็ แก่กิน แก่นอน หรอื ตามใจตนเองมากนกั ๙. บุญกิริยาวัตถุ คือ แนวทางการทำ�บุญหรือทำ�ความดี มี ๓ อย่าง - ทานมัย บุญเกิดจากการบริจาคทาน เอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ ไมเ่ ห็นแกไ่ ด้ฝา่ ยเดยี ว (ไม่เหน็ แก่ตวั ) - ศีลมัย บุญเกิดจากการสมาทานศีล ควบคุมกาย วาจา ให้มีมารยาทงามตามหลกั ศาสนา - ภาวนามัย บุญเกิดจากการพัฒนากาย วาจา ใจ ให้มี ความรู้ ความสามารถ และมคี ณุ ธรรมสูงขึน้ จนบรรลคุ ณุ ธรรมช้ันสูง 15
๑๐. สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันท้ังคน สัตว์ มี ๓ อยา่ ง - อนิจจตา ความเป็นของไม่เท่ียง ไม่จีรังย่ังยืน (เกิดข้ึน ต้ังอยู่ แตกสลายไป) - ทุกขตา ความเปน็ ทกุ ข์ ไม่ต้ังอย่ใู นสถานะเดิมตลอดไปได้ (ไมเ่ หมือนเดิม) - อนัตตตา ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่า บังคับไม่ได้ ไมอ่ ยู่ในอ�ำ นาจของผู้ใด ๑๑. จกั ร คือ ล้อแหง่ ธรรม นำ�ไปสู่ความเจรญิ มี ๔ อย่าง - ปฏิรูปเทสวาสะ เลือกอยู่ในประเทศ หรือสถานท่ี ทีอ่ ดุ มสมบรู ณท์ งั้ อาหาร อากาศ คนดี วิชาการ มีศาสนสถานสำ�หรบั ท�ำ บญุ - สปั ปุรสิ ูปัสสยะ เลอื กคบคนดีเปน็ มิตร - อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ คือ ต้ังตนดี เรียนให้จบ ค้นพบขุมทรัพย์ รับความสุข ปลุกเสน่ห์ หรือทำ�ประโยชน์ตน ประโยชน์ส่วนรวม และประโยชนส์ งู สุด - ปุพเพกตปญุ ญตา มคี วามดเี ป็นทนุ ชวี ติ ๑๒. อธิษฐานธรรม คือ คุณธรรมที่ควรต้ังไว้ในใจตลอดไป มี ๔ อย่าง - ปญั ญา ขอให้ขา้ พเจ้ามีความรอบรใู้ นส่ิงท่ีควรรู้ - สัจจะ ขอให้ข้าพเจ้ามีความจริงใจ พูดอย่างใดทำ�อย่างน้ัน หรือท�ำ อยา่ งใดพดู อย่างนัน้ (ท�ำ พูด คดิ ต่างกนั ) - จาคะ ขา้ พเจ้าจะสละส่งิ ทเี่ ปน็ กิเลส อกุศล - อุปสมะ ข้าพเจ้าจะสงบจิตใจ ให้มีความเยือกเย็น มั่นคง สูง้ านทุกอยา่ ง ปอ้ งกนั มใิ หน้ วิ รณ์ ๕ ครอบง�ำ 16
๑๓. อทิ ธิบาท คือ แนวทางแห่งความสำ�เรจ็ มี ๔ อย่าง - ฉนั ทะ ความพอใจ เต็มใจ ในเร่ืองทท่ี ำ� คือ รกั ทีจ่ ะท�ำ - วริ ยิ ะ ความพากเพยี รพยายาม ทำ�สง่ิ น้ันให้ส�ำ เรจ็ - จติ ตะ ใฝ่หา ใฝร่ ู้ ใฝเ่ รยี น (เกาะตดิ ไมป่ ล่อย ส้ไู มถ่ อย) - วิมังสา หมั่นตริตรอง หาวิธี หาช่องทาง หาเหตุผล แก้ปัญหา จนบรรลุเป้าหมาย (ปญั ญา) ๑๔. อารักขกัมมัฏฐาน คือ กรรมฐานท่ีจะต้องรักษาไว้ให้อยู่ใน จิตใจเป็นนิตย์ มี ๔ อยา่ ง - พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และน้อมมาไว้ ในใจเรา คือ ความมีพระเมตตากรุณา ความบริสุทธ์ิและพระปัญญาของ พระองค์ - เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดให้สัตว์และมนุษย์อยู่เย็นเป็นสุข ท่วั กัน ปรารถนาดีต่อกนั - อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นของไม่งาม ไม่จีรงั ยั่งยนื ไม่หลงใหลในรปู รส กลิน่ เสยี ง สมั ผัส - มรณัสสติ นึกถึงความตาย ซ่ึงเป็นจุดสุดท้ายของชีวิต ทุกคน (หนีความตายไม่พ้น ทุกคนต้องตาย) หรือทำ�บุญเป็นนิตย์ คิดถึง ความตาย นกึ ถึงพระไตร มัน่ ในพุทธคณุ ๑๕. พรหมวิหาร คือ คุณธรรมของผู้นำ� ผู้ใหญ่ หรือผู้ประเสริฐ มี ๔ อย่าง - เมตตา ความรัก ปรารถนาให้ทุกคนเป็นสุข - กรุณา การช่วยเหลือใหผ้ ูอ้ ื่นพน้ ทุกข์ หรอื ชว่ ยบรรเทาทุกข์ เมอื่ ผ้อู น่ื ไดร้ ับทกุ ข์ - มุทิตา ความพลอยยินดี แสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี หรือประสบความสำ�เรจ็ ได้รับความสขุ (ไมร่ ษิ ยา) 17
- อุเบกขา ความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรม ไม่ลำ�เอียง วางตนเปน็ กลางในทางทีถ่ ูกต้อง (ปญั ญา) ๑๖. สาราณยิ ธรรม คอื คุณธรรมที่สรา้ งความสามคั คี สร้างความ ปรองดอง ให้ระลกึ ถึงกันดว้ ยไมตรจี ิต มี ๖ อย่าง - เมตตากายกรรม ท�ำ ด้วยความรกั ความหวงั ดี - เมตตาวจีกรรม พูดดว้ ยความรกั ความหวังดี - เมตตามโนกรรม คดิ ดว้ ยความรกั ความหวงั ดี - สาธารณโภคี แบ่งกนั กนิ แบ่งกนั ใช้ ไม่เหน็ แกต่ วั - สีลสามัญญตา เคารพกฎในศีลธรรม กติกาท่ีเป็นธรรม รวมกันอยภู่ ายใต้กฎหมายอยา่ งเสมอกัน (เสมอภาค) - ทฏิ ฐสิ ามญั ญตา เคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกนั แต่ไม่ แตกแยก มีความคดิ เห็นอยา่ งมีเหตผุ ล (สทิ ธิเสรภี าพ) ๔. ผสู้ ืบทอดศาสนา ก่อนท่ีพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานไม่นานนักพระอานนท์ มหาเถระผ้เู ป็นพระพุทธอปุ ฏั ฐาก คอื ผถู้ วายการดแู ลพระพุทธเจา้ ได้ทลู ถาม พระพุทธองค์ว่า เม่ือพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จะมอบภาระ การดูแลพระพุทธศาสนาไว้ให้กับใคร ใครจะเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การดูแลพระพุทธศาสนาให้เป็นภาระของพุทธบริษัท ๔ คอื พระภกิ ษุ พระภิกษุณี อุบาสก และอบุ าสกิ า พระภิกษุ คือ นกั บวชชาย พระภิกษุณี คือ นักบวชหญิง อุบาสก ผู้นับถือพระพุทธศาสนาชาย ท่ีไม่ใช่พระภิกษุ อุบาสิกา ผู้นับถือพระพุทธศาสนาหญิงที่ไม่ใช่พระภิกษุณี บุคคลเหล่านี้ จะเป็นผู้รับภาระหน้าท่ีในการดูแลรักษาพระพุทธศาสนา เป็นพทุ ธศาสนทายาท คอื ผ้สู ืบทอดอายุพระพุทธศาสนาตอ่ ไป 18
ส่วนคำ�ถามที่ว่าใครจะมาเป็นพระศาสดาแทนพระองค์นั้น ผู้ที่จะ มาเป็นพระบรมศาสดาแทนพระองค์ไม่มี เน่ืองจากความเป็นพุทธะหรือ พระศาสดาน้ัน พระองค์ได้มาด้วยพระบุญญาบารมีของพระองค์เอง จะมอบ ให้คนใดคนหน่ึงไม่ได้ แต่ได้ตรัสไว้ว่า พระธรรมวินัยหรือพระธรรมคำ�สั่งสอน ที่พระองค์ตรัสรู้มามีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ และได้ตรัสบอก กับพุทธบริษัทครบถ้วนทุกประการแล้ว พระธรรมคำ�ส่ังสอนท้ังหมดน้ัน จะเป็นพระบรมศาสดาแทนพระองค์ ขอให้พุทธบริษัทหมั่นเพียรศึกษา ประพฤตปิ ฏิบัติตามอย่าได้ประมาท ๕. ศาสนสถานและศาสนวตั ถุ ในพระพุทธศาสนานอกจากจะมศี าสนบคุ คล คอื พระบรมศาสดา สมั มาสัมพุทธเจา้ และพุทธบริษทั ๔ อันได้แก่ พระภิกษุ พระภกิ ษุณี อุบาสก และอุบาสิกา และศาสนธรรม คือ หลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมศี าสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนพธิ ี เปน็ องค์ประกอบทส่ี ำ�คญั อีกด้วย ศาสนสถาน-ศาสนวัตถุ ได้แก่ ท่ีดินวัด และสิ่งท่ีปลูกสร้าง ในท่ีดินวัด เช่น โบสถ์หรือพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอระฆัง หอไตร หอสวด กุฏิ อันเป็นเสนาสนะสำ�หรับเป็นท่ีอยู่อาศัยของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องใช้ของพระสงฆ์ เช่น จีวร บาตร ตาลปัตร คัมภีร์ หนังสือธรรมะ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะใครพบเห็น ที่ไหนจะทราบได้ทันทีว่าเป็นศาสนวัตถุ-ศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร หลังคาจะมีลักษณะทรงไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบรรณ บานประตู หนา้ ตา่ ง จะมีลวดลายวจิ ิตรพสิ ดาร 19
พระอุโบสถวัดเบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม ราชวรวิหาร นอกจากโบสถ์ วิหารแล้วยังมีสิ่งสำ�คัญท่ีเป็นสัญลักษณ์ของ พระพุทธศาสนา คือ พระสถูป เจดีย์ เช่น องค์เจดีย์พระธาตุไชยาท่ีจังหวัด สุราษฎร์ธานี องค์เจดีย์พระบรมธาตุท่ีจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์พระปฐมเจดีย์ ท่ีจังหวัดนครปฐม องค์เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพท่ีจังหวัดเชียงใหม่ องค์เจดีย์ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม และยังมีองค์พระเจดีย์ท่ีอื่นๆ อีกมาก ล้วนแล้วแต่จัดอยู่ในประเภทศาสนวัตถุ-ศาสนสถาน มีไว้สำ�หรับเป็นที่ กราบไหว้สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนท่ัวไป เช่นเดียวกับพระพุทธรูปตามวัด และสถานที่ต่างๆ จดั อยใู่ นสง่ิ ศักดส์ิ ิทธิท์ ใ่ี ครจะมาลบหลหู่ รือลว่ งเกินไมไ่ ด้ ๖. ศาสนพิธี ศาสนพิธี คือ แบบอย่างหรือแบบแผนต่างๆ ท่ีพึงปฏิบัติในทาง ศาสนา เร่ืองศาสนพิธีน้ีถ้าจะว่าไปแล้วน่าจะมีด้วยกันทุกศาสนา เป็นเรื่องท่ี เกิดขึ้นหลังศาสนา กล่าวคือ เมื่อมีศาสนาเกิดข้ึนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ ตามมา พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน เม่ือมีพระพุทธศาสนาแล้วจึงมีศาสนพิธี 20
สำ�หรบั ปฏิบัติเพ่ือใหท้ �ำ การปฏบิ ตั ติ ามหลกั ธรรมคำ�สอนได้อยา่ งถูกต้อง เชน่ พระพุทธศาสนาสอนวิธีการทำ�บุญไว้อย่างกว้างๆ ๓ ประการ คือ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา แต่ละอย่างมีข้ันตอนในการปฏิบัติ ผู้ประสงค์จะศึกษาหาความรู้ สามารถ จะหาความรไู้ ด้จากแหลง่ ความรูต้ า่ งๆ เชน่ เวบ็ ไซต์ หนงั สือ ในทน่ี ้จี ะนำ�เสนอ ตัวอย่าง เช่น การให้ทาน ถ้าเป็นการให้กับฆราวาสด้วยกันก็ไม่มีพิธีการ อะไรมาก สามารถจะหยิบย่ืนให้กันตามความเหมาะสม แต่ต้องมีความ เคารพในทาน คือ ให้ดว้ ยความมนี �้ำ ใจ ไม่ใช่โยนให้หรอื ขว้างให้ แต่ถา้ จะให้ กับพระสงฆ์ เชน่ ใสบ่ าตรพระสงฆ์ตอนเช้า อาหารที่ใสบ่ าตรจะต้องไดม้ าดว้ ย ความบริสทุ ธิ์ อาหารนนั้ ไมข่ ดั กบั พระวินัยสงฆ์ พระสงฆ์ฉันได้ ขณะใส่บาตร ไม่ควรสวมหมวก สวมรองเท้า เน่ืองจากพระสงฆ์เดินบิณฑบาตไม่ได้สวม รองเท้า ไม่สวมหมวก แตถ่ า้ เป็นการถวายสงั ฆทานจะมีวธิ ีการดงั น้ี ก. ไปนิมนต์พระสงฆ์ตามจ�ำ นวนทีต่ ้องการ โดยท่วั ไปควรจะนิมนต์ ๔ รูปขึ้นไป เวน้ ไว้แตห่ าไม่ได้ ข. เตรียมอาหารให้พรอ้ ม เมือ่ พระสงฆ์มาถงึ บรเิ วณพธิ ี ค. กลา่ วคำ�ถวายตามแบบที่ก�ำ หนด ง. ประเคนของหรอื อาหารใหพ้ ระสงฆด์ ้วยความเคารพ จ. พระสงฆร์ บั ของหรืออาหารจากผู้ถวาย ฉ. พระสงฆ์กลา่ วค�ำ อนุโมทนา-ให้พร ช. ผถู้ วายกรวดน�้ำ -อทุ ศิ ส่วนกศุ ล-รับพร ศาสนพิธีมมี ากเพอ่ื แยกเป็นหมวดได้ ๔ หมวด คือ ๑. หมวดกศุ ลพิธี ว่าด้วยพธิ บี ำ�เพ็ญกุศล ๒. หมวดบญุ พิธี ว่าดว้ ยพิธีทำ�บุญ 21
๓. หมวดทานพิธี วา่ ด้วยพิธถี วายทาน ๔. หมวดปกิณกะ วา่ ด้วยพธิ เี บด็ เตล็ด ในการไหว้พระสวดมนต์ ๑. การไหว้พระสวดมนต์ - การไหว้พระเป็นกจิ เบือ้ งตน้ ทำ�ก่อนสวดมนต์ การไหวพ้ ระ กับการบูชาพระโดยใจความอย่างเดียวกัน แต่โดยวัตถุต่างกัน คือ ไหว้พระ ไม่ต้องมีเครื่องบูชา ส่วนการบูชาพระต้องมีเคร่ืองบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ทัง้ สองอย่างท�ำ เพ่อื ระลึกถึงคุณพระรัตนตรยั ดว้ ยการเปล่งวาจาวา่ อะระหงั สมั มาสมั พุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภวิ าเทมิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธมั โม, ธมั มัง นะมัสสามิ สุปะฏปิ นั โน ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ, สงั ฆัง นะมามิ การสวดมนต์ คือ การกล่าวคำ�ศักด์ิสิทธิ์ มีอำ�นาจเหนือชีวิต จิตใจ เพ่ือสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และมนต์ของ พระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่า “พระพุทธมนต์” เชื่อกันว่า เป็นเคร่ืองป้องกัน ภัยอันตราย และประสิทธ์ิประสาทความเจริญให้ จัดเป็น กุศลวิธี มาแต่ ครง้ั พทุ ธกาล การสวดมนต์ เป็นกรณียะกิจ คือ กิจท่ีควรกระทำ�ของ พุทธศาสนิกชนมาแล้ว ท้ังสวดด้วยตนเองและฟังพระสวด บทท่ีใช้สวดน้ัน มี ๒ ต�ำ นาน คือ (๑) เจด็ ตำ�นาน หรอื จุลราชปรติ ร มี ๗ บท (๒) สิบสองต�ำ นาน หรอื มหาราชปริตร มี ๑๒ บท ๒. วันสำ�คัญในรอบปี หรือพิธี ๑๒ เดือน มีวันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วนั ตรษุ สงกรานต์ วนั วิสาขบชู า วันเขา้ พรรษา วันอาสาฬหบูชา วันออกพรรษา และวนั ตักบาตรเทโวโรหณะ 22
๓. พิธีทำ�บุญ คนไทยมีคติประจำ�ใจอยู่ว่า “ทำ�บุญย่อมได้บุญ ให้ผลเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้า ทำ�บาปย่อมได้บาป ให้ผลเป็นทุกข์ ไม่เจริญกา้ วหนา้ ” จึงมพี ิธีทำ�บญุ ๓ อยา่ ง คือ - การให้ทาน มตี กั บาตร ถวายสังฆทาน ทอดกฐนิ ทอดผ้าป่า ถวายเสนาสนะ ทำ�บญุ วันเกดิ ท�ำ บุญบา้ น ให้โอกาส ให้อภัย ให้ความรู้ ฯลฯ - การสมาทานศลี ศีล ๕ ศลี ๘ และศีลอโุ บสถ - เจรญิ ภาวนา มกี ารไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดนิ จงกรม สนทนาธรรม ฟังธรรม พัฒนาตนให้มีความรู้ ความสามารถ และมีความดี เพมิ่ ข้นึ ๔. พิธีอาราธนา อาราธนาก็คือการขอร้องอ้อนวอนให้พระบอกศีล แสดงธรรม สวดมนต์ - อาราธนาศลี มะยงั ภนั นเต ฯลฯ สีลานิ ยาจามะ - อาราธนาธรรม พรหั มา จ โลกาธิปตี สหัมปะตี ฯลฯ - อาราธนาพระปริตร วิปัตติปะฏิพาหายะ ฯลฯ ปริตรตัง พฺรถู ะ มังคะลัง พระรตั นตรยั พระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบที่สำ�คัญ ๓ ประการ เรียกว่า “พระรตั นตรัย” (แปลวา่ แกว้ อันประเสริฐ ๓ ประการ) คือ ๑. พระพุทธเจา้ พระองค์ทรงเป็นพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ ๒. พระธรรม คอื หลกั พระธรรมคำ�ส่งั สอนของพระพุทธเจ้า ๓. พระสงฆ์ คือ ผู้ท่ีศึกษาพระธรรมคำ�ส่ังสอนของพระพุทธเจ้า ให้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วนำ�มาประพฤติปฏิบัติ พร้อมกับส่ังสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งเห็นจริง แลว้ น�ำ ไปประพฤตปิ ฏิบตั ิตาม 23
ผู้นับถือพระพุทธศาสนา จะต้องยอมรับนับถือพระรัตนตรัย ๓ ประการนี้ว่า เป็นที่พ่ึงเป็นสรณะอันประเสริฐสุดของตนตลอดชีวิต นอกจากพระรัตนตรัยแล้วจะไม่ยอมรับนับถือบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น มาเป็น ที่พึ่งอย่างเด็ดขาด การนับถือพระรัตนตรัยจะกระทำ�โดยการประกาศตน หรือปฏิญาณตนต่อหน้าพระสงฆ์ จึงจะเรียกว่าเป็นพุทธมามกะ หรือ พุทธศาสนิกชน อันมีความหมายว่า ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นท่ีพึ่ง พร้อมจะ ดำ�เนินชีวิตตามหลักพระธรรมคำ�ส่ังสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ตลอดไป นมัสการพระรตั นตรยั นมัสการ คือ กริ ยิ าทท่ี ำ�การนอบน้อมดว้ ยกาย วาจา ใจ ท�ำ ดว้ ย ความเคารพนับถืออย่างจริงใจ พระรัตนตรัย คือส่ิงอันประเสริฐ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ดงั ท่ีได้กลา่ วแล้ว ๑. อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธงั ภะคะวนั ตงั อภิวาเทมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้ด้วย พระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผ้มู ีพระภาคเจ้า ๒. สวากขาโต ภะคะวะตา ธมั โม, ธัมมัง นะมัสสามิ พระธรรมอันพระผู้มพี ระภาคเจา้ ตรสั ไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้านมัสการ พระธรรม ๓. สปุ ะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ, สงั ฆงั นะมามิ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้า ขอนอบนอ้ มพระสงฆ์ 24
การบชู าพระรตั นตรัย ดอกไม้ ธูป เทียน ที่เรานำ�ไปถวายพระ เป็นเคร่ืองหมายแทน พระพทุ ธ พระธรรม และพระสงฆ์ ดังนี้ ๑. ธูปสามดอก เป็นเคร่ืองหมายแทนพระพุทธคุณ ๓ ประการ คอื พระกรุณาคณุ พระบริสทุ ธคิ ณุ และพระปญั ญาคณุ ๒. เทียน เป็นเคร่ืองหมายแทนพระธรรม เป็นแสงส่องสว่าง ขจัดความมดื (ความโง)่ ใหส้ ิ้นไป ๓. ดอกไม้ เป็นเครื่องหมายแทนพระอริยสงฆ์ สาวกของ พระพุทธเจ้า ดอกไม้มีต่างสี ต่างชนิด เช่นเดียวกับสาวกของพระพุทธองค์ ท่ีมาจากที่ต่างๆ กัน ต่างช้ัน ต่างวรรณะ แตม่ ารวมอยดู่ ้วยกนั อย่างเรียบรอ้ ย น่าเคารพเลื่อมใสด้วยพระวนิ ัยเดยี วกนั สรุป ๑. พระพุทธเจ้า คอื สัญลักษณ์แห่งความชนะ (กำ�จดั กเิ ลส) ๒. พระธรรม คอื สัญลกั ษณ์แหง่ แสงสวา่ ง (ก�ำ จดั อวิชชา) ๓. พระสงฆ์ คอื สัญลกั ษณแ์ ห่งความสามคั คี การไหวพ้ ระสวดมนต์ การประณมมือไหว้และกราบพระพร้อมกับการกล่าวคำ�บูชา บางคนออกเสียง บางคนกล่าวในใจ คำ�ท่ีกล่าวไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพ่ือน้อมพระคุณท้ังหมดมาไว้ในใจ นำ�ไปปฏิบัติ (โอปนยิโก) ควบคุม พฤตกิ รรม พัฒนาจติ ใจ และสติปัญญาของตน 25
การสวดมนต์ เป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน เป็นการบูชา พระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชา (ดอกไม้ ธูป เทียน) และปฏิบัติบูชาคือ การปฏบิ ัติ เพราะการสวดมนตเ์ ปน็ การปฏิบตั ติ นใหม้ ศี ีล สมาธิ และปญั ญา เพราะว่า ๑. ผู้สวดที่ตั้งใจสำ�รวมระวัง สงบกาย วาจา ถือว่ามีศลี ๒. ผู้สวดมีจิตจดจ่อแน่วแน่ในบทสวดมนต์ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านไป ในที่อ่นื นับเป็นสมาธิ ๓. ผู้สวด มีสติรู้พร้อมอยู่ทุกขณะที่สวด และใคร่ครวญ คิดตาม คำ�สวด เพ่ือพิจารณาให้เห็นธรรมท่ีอยู่ในบทสวดมนต์นั้นๆ นับเป็นการ สร้างปัญญา บัวสเี่ หลา่ ดอกบัวเกิดในโคลนตม เมื่อพ้นน้ำ�ขึ้นมาจะบานสดใสไร้ราคี ของโคลนตมท่ีเป็นแหล่งกำ�เนิด ดอกบัวเปรียบได้กับจิตที่บริสุทธิ์หมดจด จากกิเลสซง่ึ หมกั ดองอย่ใู นใจ (โลภ โกรธ หลง) 26
ดอกบวั ๔ เหลา่ เปรียบกบั บุคคลในโลก มี ๔ พวก คอื ๑. อุคฆะฏิตัญญู คือ บุคคลท่ีตรัสรู้ธรรมได้เร็ว พอฟังหัวข้อธรรม ก็เขา้ ใจทันที เปรียบดว้ ยดอกบัวท่ีพ้นนำ้�พรอ้ มจะบานในวันนั้น ๒. วปิ จั จติ ัญญู คอื บคุ คลท่ีตรัสร้ธู รรม เม่ือทา่ นจำ�แนกแจกแจง โดยพสิ ดาร เปรียบด้วยดอกบัวท่เี สมอน้�ำ ซ่ึงจะบานในวนั ต่อไป ๓. เนยยะ คือ บุคคลที่จะตรัสรู้ธรรมได้ ต้องอาศัยการใส่ใจ โดยแยบคาย ทั้งการชี้แจง อธิบาย การซักถาม การคบหากับกัลยาณมิตร เปรียบด้วยดอกบวั ทีอ่ ยูก่ ลางนำ้� ซง่ึ จะบานในวันตอ่ ๆ ไป ๔. ปะทะปะระมะ คือ บุคคลปัญญาทึบ แม้จะฟังมากรับการสอน การฝึกมาก ก็ยังไม่สามารถตรัสรู้ธรรมในชาตินั้นได้ เปรียบด้วยดอกบัว ท่ีอยูใ่ นโคลนตม จ�ำ ตอ้ งเปน็ อาหารของปลาและเตา่ ต่อไป คนดีตอ้ งมีการพฒั นา ๔ ด้าน ๑. การพัฒนาด้านกาย คือ มีสุขภาพแข็งแรง รู้จักกิน รู้จัก ใช้วัตถุให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เพียงเอร็ดอร่อย โก้เก๋ ฟุ้งเฟ้อ อวดฐานะ รวมไปถงึ การใช้เทคโนโลยตี า่ งๆ ใหเ้ กดิ ประโยชน์คุ้มคา่ รวมเรยี กวา่ กินเป็น ดูเป็น ฟงั เป็น คิดเป็น ไม่ตกเปน็ ทาส หมกมนุ่ มัวเมา 27
๒. การพัฒนาด้านศีล คือ ความสัมพันธ์กับเพ่ือนมนุษย์ ความสมั พนั ธ์ในครอบครวั การปฏิบัตหิ นา้ ท่ี การพดู จา ความมีมนุษยสมั พันธท์ ดี่ ี และการรู้จกั ช่วยเหลอื เกื้อกลู กนั ๓. การพัฒนาด้านจิตใจ มีคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ตอ่ คนและสตั ว์ มนี ำ้�ใจตอ่ ผู้อืน่ มคี วามกตญั ญูกตเวที ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบ พร้อมทั้งมีสุขภาพจิตดี มีความสดช่ืน เบกิ บาน ผ่องใส ไม่เครยี ด ไมห่ ม่นหมอง ไม่ขนุ่ มวั ๔. การพัฒนาด้านปัญญา สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตาม ความเป็นจริง โดยไม่ยึดติดกับความชอบ ชัง ยินดี ยินร้ายเท่าน้ัน แต่รู้จัก มองส่ิงต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน มีเหตุมีผล สืบค้นหาความจริง รู้จักแก้ปัญหา รจู้ ักวเิ คราะห์วจิ ัย ครอบครัวดีมีความสุข คุณภาพชีวิตของครอบครัวท่ีมีความสุข ควรมี ๔ ด้าน ๑. ด้านสุขภาพร่างกาย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน แข็งแรง งามสงา่ อายยุ ืน ๒. ด้านอาชีพ มีอาชีพสุจริต มีวัตถุ ทรัพย์สิน เงินทอง ไมเ่ ดือดร้อน มกี นิ มีใช้ อย่างนอ้ ยพ่ึงตัวเองได้ ไมม่ หี นี้สินล้นพน้ ตัว ๓. ด้านสังคม มีสถานะในสังคม เป็นท่ียอมรับนับถือ มียศ มตี �ำ แหน่ง มีบริวาร มีผคู้ นยกยอ่ งไว้เนอื้ เชอื่ ใจ ๔. ด้านครอบครัว มีครอบครัวอบอุ่นผาสุก มีความสัมพันธ์ เหนียวแน่น มั่นคง พ่อแม่พี่น้องรักกันดี หันหน้าเข้าหากัน หม่ันแก้ไข ให้อภัย ดูแลเอาใจใส่ นำ�วงศ์ตระกูลให้เป็นที่ยอมรับนับถือ พ่อแม่ เป็นแบบอยา่ งทดี่ ขี องลูกๆ 28
ครอบครัวจะสขุ สบาย ไมล่ ืมสปั ปายะ ๗ สัปปายะ (สบาย) หมายถึง สภาพท่ีเอ้ือ เก้ือหนุน เหมาะสม ช่วยให้การเป็นอยู่ ทำ�กิจกรรมหรือดำ�เนินกิจการต่างๆ อย่างได้ผลดี เป็นคณุ ภาพชวี ิตข้นั ตน้ มี ๗ อย่าง คือ ๑. อตุ ุสัปปายะ คือ สภาพแวดลอ้ ม ดิน น�้ำ อากาศ ธรรมชาติ รืน่ รมย์ บรรยากาศท่ัวไปดี ท่เี ก้อื กูลตอ่ ชวี ิต ๒. อาหารสัปปายะ คือ มอี าหารเพยี งพอ ไมข่ าดแคลน อาหาร มคี ณุ ภาพ ถูกกบั รา่ งกาย เกือ้ กลู ต่อสขุ ภาพ ๓. เสนาสนะสัปปายะ คือ ที่อยู่อาศัย ที่นั่ง ที่นอน ม่ันคง ปลอดภัย อยอู่ าศยั ใชท้ ำ�ประโยชนต์ ามประสงค์ได้ดี ๔. บุคคลสัปปายะ คือ มีบุคคลที่ถูกกัน เข้าใจกัน ไม่มีคน ที่เป็นภัยอันตราย หรือก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย หรือถ้าจะให้ดี ก็มีคนท่ี มีคุณธรรม มีปัญญา มีไมตรี มีความรู้ที่จะเก้ือหนุนให้เกิดการพัฒนาชีวิต พฒั นาจติ ใจ และพฒั นาปญั ญาให้ดียง่ิ ขึน้ ๕. อิริยาบถสัปปายะ คือ การบริหารอิริยาบถ การเคล่ือนไหว ของร่างกาย ด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างสมดุลและเพียงพอ บริหาร ร่างกายได้คล่องไมต่ ดิ ขัด ๖. โคจรสัปปายะ คือ มีแหล่งอาหาร แหล่งปัจจัยส่ี ซ่ึงเป็น สิ่งจำ�เป็นในการใช้สอย เป็นอยู่ หาไม่ยาก เช่น มีหมู่บ้าน ร้านตลาด โรงพยาบาล หรอื ชุมชน ท่ีไมใ่ กล้ไม่ไกลเกินไป ๗. ธัมมสัปปายะ คือ มีโอกาสได้ยินได้ฟังถ้อยคำ�เน้ือความ และเร่ืองราวที่ก่อให้เกิดปัญญา ความรู้ ความเข้าใจในหลักความจริง ความดีงาม ความเป็นธรรม มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารท่ีสร้างสรรค์ เกอื้ หนนุ การพฒั นาคุณภาพคน 29
วินัยชาวพุทธ ชาวพุทธจะต้องดำ�เนินชีวิตท่ีดีงาม และร่วม สร้างสรรค์สังคมให้เจริญมั่นคง ตามหลกั วินัยของคฤหสั ถด์ งั นี้ ๑. ละเว้นชว่ั ๑๔ ประการ ก. เว้นกรรมกิเลส คือ บาปกรรมที่ทำ�ให้ชีวิตเศร้าหมอง ๔ ประการ - ไมท่ ำ�รา้ ยรา่ งกาย ทำ�ลายชีวิตคนและสัตว์ - ไมล่ ักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ - ไมป่ ระพฤตผิ ิดทางเพศ - ไมพ่ ูดเท็จโกหกหลอกลวง ข. เว้นอคติ คือ ความลำ�เอียง ความไม่เป็นธรรม ๔ ประการ - ไม่ล�ำ เอียงเพราะชอบ - ไม่ลำ�เอยี งเพราะชงั - ไมล่ ำ�เอียงเพราะขลาด - ไมล่ ำ�เอียงเพราะเขลา ค. เวน้ อบายมุข คือ ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชวี ติ ๖ ประการ - ไมเ่ สพติดสรุ ายาเมา ยาบ้า - ไม่เอาแตเ่ ท่ยี วเตรโ่ ดยไม่ท�ำ การงาน - ไม่จ้องหาแตร่ ายการบนั เทิง - ไมเ่ หลิงการพนัน - ไม่พัวพนั มัว่ สมุ มิตรชั่ว - ไม่มวั จมอยใู่ นความเกียจคร้าน ๒. เตรียมทุนชีวติ ๒ ด้าน ก. เลือกสรรคนที่จะคบหา คือ เลือกคนท่ีจะนำ�ชีวิตไปในทาง เจรญิ สรา้ งสรรค์ หลกี เวน้ มติ รเทียม ๔ ประเภท 30
- คนปอกลอก คือ คนเห็นแตไ่ ด้ - คนดีแตพ่ ูด - คนหัวประจบ - คนชวนใหท้ �ำ ในทางฉิบหาย เช่น ดื่มน�ำ้ เมา คบหามิตรแท้หรือมิตรจรงิ ใจ ๔ ประเภท - มติ รมีอปุ การะ - มติ รร่วมสขุ รว่ มทกุ ข์ - มิตรแนะนำ�ประโยชน์ - มติ รมใี จรัก ข. จดั สรรทรัพย์ที่หามาได้ด้วยสัมมาชีพ - ขยนั หม่ันท�ำ งานเก็บออมทรพั ย์ - เมื่อมีทรัพย์ พึงใช้จ่ายทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ คือ ใช้หน้เี ก่า ใหเ้ ขากู้ เก็บใสต่ ู้ เผาไฟ น�ำ ไปฝัง (สำ�นวนเปรยี บเทียบ) ๓. รกั ษาความสมั พนั ธ์ท้งั ๖ ทศิ ทศิ ที่ ๑ ทิศเบ้อื งหน้า คอื บิดามารดา ผมู้ ีพระคณุ พึงเคารพ ด้วยการช่วยเหลือ เล้ยี งดู กตญั ญกู ตเวที ทิศที่ ๒ ทิศเบ้ืองขวา คือ ครูอาจารย์ ศิษย์พึงแสดงความเคารพ ดว้ ยการเช่อื ฟงั ตง้ั ใจเรียน ทศิ ท่ี ๓ ทิศเบ้ืองหลัง คือ สามี ภรรยา บตุ ร ธิดา พงึ ยกยอ่ ง ใหเ้ กียรติกัน ไมน่ อกใจ ใหก้ ารศกึ ษา เปน็ ต้น ทศิ ที่ ๔ ทศิ เบอื้ งซา้ ย หมายถงึ มิตรสหาย พึงเผ่อื แผแ่ บ่งปนั มนี �้ำ ใจ ชว่ ยเหลอื เกอื้ กูลกัน ทิศท่ี ๕ ทศิ เบอ้ื งลา่ ง หมายถงึ คนรบั ใช้ คนงาน ผูด้ อ้ ยโอกาส ควรจัดสวสั ดกิ าร ให้คา่ จา้ งรางวลั สมควรแกง่ านและความเปน็ อยู่ 31
ทศิ ท่ี ๖ ทิศเบื้องบน หมายถึง พระภิกษุ สามเณร จึงควร แสดงความเคารพนับถอื ตอ้ นรับด้วยความเตม็ ใจ อปุ ถมั ภด์ ว้ ยปจั จยั ๔ ๔. เกื้อกูลกันประสานสังคม คือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร่วมสร้างสรรค์สังคมใหส้ งบสุข มนั่ คง สามคั คี มีเอกภาพ ดว้ ยสังคหวัตถุ ๔ คอื - ทาน เผอ่ื แผ่แบ่งปัน - ปิยวาจา พูดจาไพเราะอ่อนหวาน - อัตถจรยิ า ชว่ ยท�ำ ประโยชน์แก่กัน - สมานัตตตา วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมสร้างสรรค์ และแกป้ ัญหา รว่ มสขุ รว่ มทกุ ขส์ รปุ โอบออ้ มอารี วจีไพเราะ สงเคราะหม์ วลชน วางตนเหมาะสม น�ำ ชีวติ ให้ถงึ จุดหมาย ๔ ข้ัน ขน้ั ท่ี ๑ ทิฏฐธัมมิกัตถะ (อ่านว่า ทิด-ถะ-ทำ�-มิ-กัด-ถะ) ประโยชน์ปัจจุบันทันตาเห็น คือ มีสุขภาพดี มีเงินมีงาน มีสถานภาพ ทางสังคมดี และมคี รอบครัวผาสุก (อบอุ่น) ข้นั ท่ี ๒ สัมปรายิกัตถะ (อ่านว่า สัม-ปะ-รา-ยิ-กัด-ถะ) ประโยชน์เบื้องหน้าเลยตาเห็น คือ มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็งด้วยศรัทธา มีความภูมิใจท่ีได้ประพฤติแต่เร่ืองดีงาม (สีลสัมปทา) มีความอิ่มใจในชีวิต ท่ีได้ทำ�ประโยชน์มาตลอด (จาคสัปทา) และมีความแกล้วกล้าม่ันใจ นำ�ชีวิต และภารกิจไปได้ดว้ ยปญั ญา ขั้นท่ี ๓ ปรมัตถะ (อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ) จุดหมายสูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ไม่หว่ันไหวในโลกธรรมที่มากระทบ มีใจ เกษมศานต์ มั่นคง มีจิตโล่งโปร่งเบา เป็นอิสระ ชีวิตหมดจดสดใส เปน็ อยดู่ ว้ ยปัญญา 32
ชาวพุทธช้ันนำ� อุบาสกและอุบาสิกา ที่นับว่าเป็นชาวพุทธ ชั้นนำ�น้ัน จะต้องมีความเข้มแข็ง ตั้งม่ันอยู่ในหลักการ ทำ�ตนเป็นตัวอย่าง แก่ชาวพุทธทั่วไป นอกจากรักษาวินัยชาวพุทธแล้ว ต้องมีอุบาสกธรรม ๕ ประการ คือ ๑. มีศรัทธา คือ ความเช่ือท่ีประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย เชอ่ื การกระทำ� ผลจากการกระท�ำ ๒. มศี ลี คือ งดเวน้ การเบยี ดเบียนตนเองและผ้อู ่นื ๓. ไม่ถอื มงคลตนื่ ข่าว ไมต่ น่ื ข่าวเลา่ ลอื โชคลางของขลัง ไม่หวังผล จากการขออำ�นาจดลบนั ดาล ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญ ขุนคลังผู้วิเศษ สิ่งศักด์ิสิทธ์ินอกหลัก พระพทุ ธศาสนา ๕. ขวนขวายในการทะนบุ �ำ รุงพระพุทธศาสนา สนบั สนุนกจิ กรรม การกุศล ตามหลักคำ�สอนของพทุ ธศาสนา ๖. ไมโ่ หดรา้ ย ไม่มอื ไว ไมใ่ จง่าย ไมพ่ ูดปด ไมห่ มดสต ิ คนสมบูรณ์แบบ หรือมนุษย์โดยสมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็น สมาชิกท่ีดีมีคุณค่าอย่างแท้จริง ซ่ึงเรียกได้ว่าเป็นคนเต็มคน ควรมีคุณสมบัติ ๗ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑. ธมั มัญญตุ า รู้หลกั และรจู้ ักเหตุ ๒. อตั ถัญญตุ า รคู้ วามมุง่ หมายและร้จู ักผล ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตนว่ามีความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม ตลอดจน การแกไ้ ขปรับปรุงตนใหเ้ จริญงอกงามยง่ิ ข้นึ ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอดีในกิจที่ทำ� คำ�ที่พูด ตลอดการใชจ้ ่ายบริโภค 33
๕. กาลัญญุตา รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม เช่นรู้ว่าเวลาไหน ควรทำ�อะไร ทำ�ให้ตรงเวลา เปน็ เวลา ทนั เวลา ให้ถกู เวลาและเต็มเวลา ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน คือ รู้ว่าชุมชนนี้เม่ือเข้าไปหา ควรทำ� กิริยาอย่างน้ี พดู อยา่ งนี้ มวี ัฒนธรรมประเพณอี ยา่ งนี้ มคี วามต้องการอยา่ งนี้ ควรบำ�เพ็ญประโยชนใ์ ห้อยา่ งน้ีๆ เปน็ ตน้ ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล คือ เข้าใจความแตกต่างของบุคคล โดยอัธยาศยั ความสามารถ และคุณธรรม เป็นตน้ และรูว้ ่าควรจะคบหรือไม่ จะยกยอ่ ง จะตำ�หนิ หรอื จะแนะนำ�ส่ังสอนอยา่ งไร จงึ จะได้ผลดดี งั น้ี เป็นต้น ๗. วนั ส�ำ คญั ทางศาสนา ๑. วันมาฆบชู า หรือวันจาตุรงคสนั นิบาต ตรงกับวนั ข้ึน ๑๕ คำ�่ เดือน ๓ เป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย โดยทรงเนน้ หลกั การและปฏิบตั ิการของพุทธศาสนา คอื (๑) สพั พะปาปสั สะ อะกะระณัง การไม่ท�ำ ชว่ั ทกุ อย่างทางกาย วาจา ใจ (๒) กสุ ะลสั สปู ะสมั ปะทา การสร้างกุศลทุกชนิด (๓) สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การทำ�จิตของตนให้บริสุทธิ์ (สะอาด สว่าง สงบ) ๒. วันวสิ าขบชู า ตรงกบั วนั ขึ้น ๑๕ คำ�่ เดอื น ๖ เปน็ วันคล้าย วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ถ้าปีใดมีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน) ก็จะเล่อื นไปในวนั ขนึ้ ๑๕ คำ�่ เดอื น ๗ ชาวพุทธนยิ มเรยี กวา่ วนั พระพุทธเจา้ (วนั ชนะ) 34
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221