Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กรณียเมตตสูตร

กรณียเมตตสูตร

Published by Sarapee District Public Library, 2020-09-15 01:21:08

Description: กรณียเมตตสูตร
โดย ธีรปัญโญ

Keywords: ธีรปัญโญ,กรณียเมตตสูตร,ธรรมะ

Search

Read the Text Version

กเมรตณตยี สูตร ธรี ปญั โญ

เกมรตณตียสตู ร ก ร ณี ย เ ม ต ต า สู ต ร พั ฒ น า ค ว า ม ร ั ก ธรี ปัญโญ

“ดกู ร ภิกษทุ ้งั หลาย   ตราบเทา่ ทภ่ี กิ ษุยังยินดีในเสนาสนะป่า ภกิ ษพุ งึ หวังได้แตค่ วามเจริญอยา่ งเดยี ว ไมม่ ีความเสื่อมเลย”



กเมรตณตยี สูตร ธรี ปัญโญ ชมรมกลั ยาณธรรม หนังสอื ดลี �ำดับที ่ ๓๖๐ สัพพทานงั  ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเปน็ ทาน ย่อมชนะการให้ท้งั ปวง พมิ พค์ รั้งที่ ๑ : กรกฎาคม ๒๕๖๐ จ�ำนวนพมิ พ์ ๕,๐๐๐ เล่ม พมิ พค์ รง้ั ที ่ ๒ : มีนาคม ๒๕๖๒ จำ� นวนพมิ พ ์ ๓,๐๐๐ เลม่ จัดพิมพโ์ ดย ชมรมกลั ยาณธรรม ๑๐๐ ถนนประโคนชยั  ต�ำบลปากน�้ำ อำ� เภอเมือง จังหวดั สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔ เครดติ ภาพ พระชาคิโน, พระอภชิ าโน ออกแบบ คนข้างหลงั   พิสจู นอ์ ักษร ทีมงานกัลยาณธรรม เพลต / พมิ พ ์ แคนนา กราฟฟิก โทร. ๐๘-๖๓๑๔-๓๖๕๑ www.kanlayanatam.com Facebook : kanlayanatam

กั ล ย า ณ มิ ต ร ค�ำปรารภ ถ้ามีคนถามว่าส�ำหรับอาตมาแล้ว มี “รักแรกพบ” 5 ไหม? อาตมากค็ งตอ้ งตอบวา่  “ม”ี  อาตมาพบกบั รกั ครงั้ แรก น้ีที่ประเทศอเมริกา ตอนน้ันยังเป็นแพทย์ประจ�ำบ้านหนุ่ม ฝึกงานอยู่ที่โรงพยาบาลเด็กรัฐมิชิแกน งานหนัก ไม่ค่อย ได้มีโอกาสพบปะกับผู้คนเท่าไรนอกจากคนไข้ โยมป้าได้ นิมนต์พระอาจารย์อมโร (ปัจจุบันคือเจ้าอาวาสวัดอมราวดี ที่ประเทศอังกฤษ) มาที่บ้านท่าน แล้วให้เราเป็นคนขับรถ พาพระอาจารย์ไปชมพิพิธภัณฑ์และสถานที่น่าสนใจต่างๆ ในเมือง  ตกกลางคืนก็มีการฟังธรรมะและปฏิบัติสมถ- กรรมฐานกัน จ�ำได้ว่าพระอาจารย์ได้น�ำบทสวดมนต์บท หนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ มาให้สวดร่วมกัน ท่านบอกว่าเป็น เนื้อหาเก่ียวกับความรัก (Loving kindness) ท�ำนอง ที่สวดไพเราะมาก เนื้อหาก็เร่ิมปูพื้นขึ้นไปจากศัพท์ง่ายๆ This is what should be done.... (นี้เป็นสิ่งที่พึง กระท�ำ....) แต่มีความหมายลุ่มลึก และมีข้ันตอนการปฏิบัติ เรียงไปจนจบท่ีการแผ่เมตตาและปล่อยวางทิฏฐิ เพ่ือไม่ต้อง

ก ร ณี ย เ ม ต ต า กลับมาเกิดเป็นทุกข์อีก นับเป็นบทสวดท่ีส้ันๆ กระชับ แต่ ครอบคลมุ การปฏบิ ตั ไิ ดท้ งั้ หมด เหมาะแกก่ ารเตรยี มตวั กอ่ น นั่งสมาธิเป็นอย่างย่ิง  อาตมาจึงตกหลุมรักบทสวดมนต์ บทน้ีแทบจะในทันที หลังจากน้ันก็ได้น�ำมาสวดเองที่ห้อง พักอยู่บ่อยๆ ตั้งใจไว้ว่าเม่ือมีโอกาสจะค้นท่ีมาและศึกษา ให้ละเอียดขนึ้   หลังจากน้ันก็มีโอกาสได้พบพระอาจารย์ชยสาโร (เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติในตอนน้ัน) เกิดศรัทธาและความ 6 เชื่อม่ันในค�ำสอนของพระศาสดาและวิถีปฏิบัติของพระป่า เม่ือเรียนจบจากอเมริกากลับมาเมืองไทย จึงได้มาขอบวช ศกึ ษาตอ่ ทว่ี ดั ปา่ นานาชาต ิ และทนี่ เี่ องกไ็ ดท้ ราบวา่ พระสตู รนี้ มีช่ือว่า กรณียเมตตสูตร เป็นบทท่ีใช้สวดกันเป็นประจ�ำ หลังท�ำวัตรเย็นที่นั่น ได้พบกับโยมชาวต่างชาติต่างภาษา หลายคนทเี่ คยนบั ถอื ศาสนาอสิ ลาม ครสิ ต ์ หรอื แมแ้ ตท่ ไ่ี มม่ ี ศาสนา ทไ่ี ดห้ นั มาสนใจศกึ ษาและปฏบิ ตั ธิ รรม เพราะซาบซงึ้ ใ น ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง บ ท ส ว ด ก ร ณี ย เ ม ต ต า บ ท สั้ น ๆ   บ ท น้ี บางคนถึงกับบอกว่าควรน�ำบทน้ีมาสวดกันก่อนการประชุม หรอื การตดั สนิ ใจใดๆ ทจ่ี ะมผี ลกระทบกบั ชนหมมู่ ากทกุ ครงั้ เพ่ือเตรียมจิตให้กับเมตตาอันเป็นศาสนาสากลไม่จ�ำกัด เชอ้ื ชาต ิ ภาษา และศาสนาใดๆ สว่ นในประเทศไทยเรานยิ ม

กั ล ย า ณ มิ ต ร สวดบทน้ีเป็นพระปริตรในงานมงคล แต่น้อยคนนักท่ีจะ 7 เข้าใจความหมายอันลึกซ้ึงของบทสวดบทน้ี  พวกเราเคย ได้ยินกันแต่ “รักต้องห้าม” หรือ “รักต้องโทษ” เพราะเป็น รักที่เจือด้วยกาม มีทุกข์มีโทษเป็นผล แต่ “รักต้องธรรม”  (คอื ถกู ตอ้ งตรงตามธรรม) หรอื  “รกั ตอ้ งทำ� ” น ี้ (เมตตา-รกั กรณีย-ต้องท�ำ) ก็ควรปลูกฝังไม่น้อยไปกว่ากันเลย เพราะ พลังแห่งความรักที่ยิ่งใหญ่นี้เท่านั้นท่ีจะสามารถหล่อเลี้ยง อุปถมั ภ์โลกไว้ได้ ภายหลังเมื่อได้มีโอกาสเข้ามาเรียนบาลีท่ีวัดจากแดง สามารถอ่านอรรถกถาเป็น จึงได้น�ำเอาพระสูตรน้ีมาอ่านให้ ละเอียดอีกคร้ัง ในเย็นวันพระวันหนึ่งหลังจากท�ำวัตรเย็น เสร็จแล้ว จึงได้ยกพระสูตรนี้ขึ้นมาแสดงและขยายความให้ ญาตโิ ยมทมี่ าถอื อโุ บสถศลี ทว่ี ดั ฟงั กอ่ นนง่ั สมาธ ิ พอดมี เี พอ่ื น พระทา่ นอดั เสยี งไว ้ คณุ หมออจั ฉรา กลน่ิ สวุ รรณ ์ ไดฟ้ งั แลว้ ชอบ ก็ขอน�ำไปถอดเทปท�ำเป็นหนังสือ อาตมาเห็นว่าคง เป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย จึงได้ตรวจแก้โดยคงความ เป็นภาษาพูดส่วนใหญ่ไว้ และอนุญาตให้พิมพ์เผยแผ่ได้ ขออนโุ มทนาคณุ หมออจั ฉราทมี่ คี วามตงั้ ใจและอตุ สาหะ เปน็ หัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดเตรียมต้นฉบับจนสำ� เร็จเรียบร้อย และขอขอบคณุ  “ภกิ ษรุ ปู หนงึ่ ” ผเู้ ตรยี มขอ้ มลู ทา้ ยเลม่ สรปุ

ก ร ณี ย เ ม ต ต า วัตร ๑๕ เหล่านี้ให้เป็นองค์ธรรมตามหลักพระอภิธรรม ส�ำหรบั ผู้ทชี่ อบอา้ งอิงทางวชิ าการ สว่ นกศุ ลอนั ใดทจี่ ะไดจ้ ากธรรมทานน ี้ อาตมาขออทุ ศิ ใหก้ บั โยมคณุ ป้าศลุ พี ร สรุ โกมล ผแู้ นะน�ำให้อาตมารจู้ ักกบั รักคร้ังแรกน้ี แม้ว่าท่านได้จากไปอย่างสงบแล้ว แต่ความ เปน็ กลั ยาณมติ รของโยมปา้  ทแ่ี นะน�ำใหอ้ าตมาไดร้ จู้ กั ธรรมะ และรจู้ กั กบั พระสปุ ฏปิ นั โนนน้ั ยงั คงอยตู่ ลอดไป วถิ ชี วี ติ ของ อาตมาก็คงคล้ายเน้ือหาในพระสูตรนี้ คือ เร่ิมท่ีรักแรกพบ 8 กลับมาจบที่ออกจากกาม เมตตาวหิ ารี โย ภิกข ุ ปะสนั โน พทุ ธะสาสะเน  อะธคิ จั เฉ ปะทัง สันตัง  สังขารูปะสะมัง สขุ ัง ฯ คาถาธรรมบท ขทุ ทกนกิ าย ภกิ ษใุ ดมปี กตอิ ยดู่ ว้ ยเมตตา เลอื่ มใสแลว้ ในพระพทุ ธศาสนา  ภิกษุนน้ั พงึ บรรลุสนั ตบท อนั เปน็ ทร่ี ะงับสงั ขาร เป็นสขุ เมตตา จิตเตนะ พระมหากรี ติ ธรี ปัญโญ ๙ มถิ ุนายน ๒๕๖๐

The  Buddha’s  Word  on  Loving-Kindness [Now let us chant the Buddha’s words on loving-kindness.] [This is what should be done] 9 By one who is skilled in goodness And who knows the path of peace: Let them be able and upright, Straightforward and gentle in speech, Humble and not conceited, Contented and easily satisfied, Unburdened with duties and frugal in their ways. Peaceful and calm, and wise and skilful, Not proud and demanding in nature. Let them not do the slightest thing That the wise would later reprove,

ก ร ณี ย เ ม ต ต า Wishing: In gladness and in safety, May all beings be at ease. Whatever living beings there may be, Whether they are weak or strong, omitting none, The great or the mighty,  medium, short, or small, The seen and the unseen, Those living near and far away, Those born and to be born, May all beings be at ease. 10 Let none deceive another  Or despise any being in any state. Let none through anger or ill-will Wish harm upon another. Even as a mother protects with her life Her child, her only child, So with a boundless heart Should one cherish all living beings, Radiating kindness over the entire world: Spreading upwards to the skies And downwards to the depths, Outwards and unbounded,

กั ล ย า ณ มิ ต ร Freed from hatred and ill-will. Whether standing or walking, seated, Or lying down - free from drowsiness - One should sustain this recollection. This is said to be the sublime abiding. By not holding to fixed views, The pure-hearted one, having clarity of vision, Being freed from all sense-desires, Is not born again into this world. 11

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร คําน�ำ ชมรมกัลยาณธรรม มิตรไมตรีเป็นสิ่งเกื้อกูลชีวิตท่ีส�ำคัญมาก ความรู้สึก ปลอดภัย ไว้วางใจในการอยรู่ ่วมกบั ผ้อู นื่  ตัง้ แต่สงั คมเลก็ ๆ คือครอบครัว เพื่อนฝูง ผู้ร่วมงาน และผู้อยู่ร่วมในสังคม 12 ประเทศชาต ิ รวมถงึ เพอื่ นรว่ มโลก แตเ่ รากอ็ าจเคยพลงั้ เผลอ สต ิ ลว่ งเกนิ กนั โดยไมเ่ จตนา และอาจจะมใี ครกไ็ ดท้ ไี่ มช่ อบ ไม่พอใจ ไม่ถูกอัธยาศัยของเรา อาจจะโดยเปิดเผย หรือ แอบซ่อนความไม่ชอบใจไว้ในรอยย้ิม รวมถึงมิตรภาพของ เพ่ือนร่วมวัฏสงสาร  ท่ีอยู่ในภพภูมิหรือมิติอื่นท่ีเรามอง ไมเ่ หน็  เชน่  เทวดา หรอื  อมนษุ ยต์ า่ งๆ ซงึ่ เรากค็ งไมต่ อ้ งการ ศตั รูทไ่ี ม่เห็นตวั  และไมร่ วู้ า่ เขาซุ่มซ่อนอย่ทู ่ีใดบา้ ง รจู้ กั  “กรณยี เมตตสตู ร” ครง้ั แรก ดว้ ยอานภุ าพของ อานิสงส์ที่ “เป็นท่ีรักของเทวดาและอมนุษย์ท้ังหลาย เพราะ เช่ือว่าอัปปมัญญาเมตตาที่เป็นพลังจากพระสูตรน้ี จะช่วย

กั ล ย า ณ มิ ต ร ให้ชีวิตปลอดภัยและราบรื่น และพระสูตรนี้ก็มีความไพเราะ 13 ของท่วงท�ำนองภาษา จึงเลือกมาสาธยายเช้าค่�ำ แต่แรกยัง ไม่เข้าใจความหมายท่ีลึกซึ้ง และคุณค่าธรรมที่เป็นข้ันตอน แนวทางปฏบิ ตั  ิ ตอ่ มาไดฟ้ งั ทา่ นอาจารยว์ ศนิ  อนิ ทสระ หนง่ึ ในปูชนียบุคคลที่เคารพศรัทธา ท่านอธิบายความหมายของ พระสูตรน้ี ในรายการสนทนาธรรมทางวิทยุท่ีได้มีผู้บันทึก เสยี งไว ้ ในหัวข้อ “คณุ สมบัตขิ องผมู้ ุ่งสนั ตบท” กย็ ่ิงศรัทธา ในคณุ คา่ ของพระสตู ร ทม่ี ขี อ้ ธรรมอนั ควรนอ้ มนำ� มาประพฤติ ปฏิบัติ เพ่ือการบรรลุสู่ความสงบ สันติสุขและหลุดพ้นจาก ทุกข์  ไปตามล�ำดับ  จึงได้ขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือชื่อ “คณุ สมบตั ขิ องผมู้ งุ่ สนั ตบท” เพอื่ ประโยชนก์ วา้ งขวางออกไป พระอาจารยม์ หากรี ต ิ ธรี ปญั โญ อกี หนง่ึ ครบู าอาจารย์ ท่ีเคารพศรัทธายิ่ง ท่านได้เทศน์สาธยาย แปลคุณค่าและ ความหมายของพระสตู รน ้ี หลงั ทำ� วตั รเยน็  ในคำ่� คนื วนั หนง่ึ ที่ วัดจากแดง เม่อื พระสตู รในดวงใจ ได้ถกู น�ำมาอธบิ ายขยาย ความและแยกแยะข้อธรรม โดยพระอาจารย์ผู้เป็นแบบ อย่างในดวงใจ จึงไม่อาจน่ิงเฉย ได้ขออนุญาตท่านน�ำมา ถอดความและเรียบเรียง  ท่านช่วยตรวจทาน  เพ่ิมเติม

ก ร ณี ย เ ม ต ต า เน้ือหา จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ท้ังมีภาพวาดลายเส้นจาก พระอาจารย์ประกอบค�ำอธิบาย ส่ิงที่น่าปล้ืมใจไม่คาดฝัน มาก่อนคือท่าน  “ภิกษุรูปหนึ่ง”  ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระอาจารย์ได้เมตตาเพ่ิมเติมรายละเอียดที่ลึกซ้ึงในภาค ของอภิธรรมองค์ธรรมต่างๆ และวัตร ๑๕ ให้เห็นแง่มุม ท่ีแจ่มชัดย่ิงขึ้น หนังสือน้ีจึงประเมินคุณค่ามิได้ในการรวม แนวการศึกษากรณียเมตตสูตรไว้อย่างลึกซ้ึงและกว้างขวาง อันจะเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้สนใจ  อีกท้ังในระหว่าง 14 เตรียมงานต้นฉบับน้ี ก็มีโอกาสได้ฟังการขยายความ แจกแจงองค์ธรรมในพระสูตรน้ีโดยละเอียด  ได้แง่มุม ความคิดที่คมคายด้วยภาษาไทยท่ีงดงามสละสลวยจากท่าน พระอาจารยช์ ยสาโร อกี หนงึ่ ไอดอลของครบู าอาจารยท์ เี่ คารพ ศรัทธาย่ิง  จึงท�ำให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางแจ่มแจ้ง จากบุญท่ีได้มีโอกาสศึกษาพระสูตรที่แสนรักน้ี จากครูบา อาจารย์ท่ีเป็นที่เคารพศรัทธาย่ิง พร้อมกันถึง ๓ ท่าน เป็น เรื่องของธรรมะจัดสรร ด้วยบุคคลท่ีเคารพต่างพูดถึงส่ิงที่ เ ร า รั ก ด ้ ว ย กั น   จึ ง ข อ น ้ อ ม น� ำ ข ้ อ ป ฏิ บั ติ   วั ต ร   ๑ ๕   แ ล ะ คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบทที่ครูบาอาจารย์ทุกท่านเน้นย้�ำ ไว้ชัดเจนตามล�ำดับในกรณียเมตตสูตรน้ี มาไว้ในตน เพ่ือ

กั ล ย า ณ มิ ต ร ทางเจริญแหง่ มรรค ผล นพิ พาน ใหจ้ งได้ ได้ทราบจากค�ำปรารภของพระอาจารย์มหากีรติว่า 15 พระสูตรน้ีเป็น “รักแรกพบ” ของท่าน และยังเป็น “รบ แรกพัก” ของท่านด้วยก็ย่ิงปล้ืมใจ แต่การพอใจเท่านี้ก็หา พอเพียงไม่ หากไม่น้อมน�ำธรรมมาเป็นคุณสมบัติพัฒนา ตนใหพ้ น้ การวนเวยี น ตามรอยปฏปิ ทาครบู าอาจารยท์ ด่ี �ำเนนิ เปน็ แบบอยา่ ง ขอนอ้ มบชู าพระคณุ พระรตั นตรยั อนั เปน็ ทพี่ งึ่ ท่ีประเสริฐสุด และขออธิษฐานให้ทุกท่านได้ส�ำเหนียกใน ธรรม เปดิ ใจนอ้ มนำ� มาปฏบิ ตั  ิ ใหค้ ณุ สมบตั แิ หง่ ผมู้ งุ่ สนั ตบท มีในตน เพ่ือความล่วงพ้นแห่งทุกข์ท่ัวกัน และหากท่านใด ได้มีโอกาสศึกษาองค์ธรรมและความหมายในกรณียเมตต- สูตร ก็คงจะตกหลุมรักพระสูตรน ้ี ไมต่ ่างกันเลย ดว้ ยความปรารถนาดอี ยา่ งยิง่ ทพญ. อัจฉรา กล่นิ สวุ รรณ์ ประธานชมรมกัลยาณธรรม 

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร 16

ธรี ปญั โญ 17 “เม่ือคนท่ีซ่อื ตรง พบวา่ เขาผดิ เขามีทางเลอื กสองทาง  ถา้ เขาไมก่ ล้าทจี่ ะแกไ้ ข เขาก็จะไมใ่ ชค่ นตรงอีกต่อไป” คณุ สมบัติพ้นื ฐานสองข้อแรกของผู้ปฏบิ ตั ิ จึงเป็น ความกล้าและความซ่อื ตรง



ธีรปัญโญ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สฺมมาสมฺ พุทธสสฺ 19 ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรชู้ อบไดด้ ว้ ยพระองค์เอง พระองค์น้นั  ดว้ ยเศียรเกลา้ วันน้ีจะขอน�ำพระสูตรท่ีส�ำคัญ  โดยเฉพาะส�ำหรับ พระป่า มาแสดงให้ฟังกัน เป็นที่รู้กันในกลุ่มวัดป่าว่าเม่ือ เดินทางธุดงค์ไปในท่ีไหน ก่อนจะปักกลดเพื่อค้างแรมใน พงไพรก็จะสวดบทกรณียเมตตสูตรนี้กันก่อน เพื่อป้องกัน ภตู ผปี ศี าจมาหลอกหลอน เรอื่ งนม้ี ที ม่ี าในธรรมบทวา่  ในสมยั พทุ ธกาล มพี ระปา่ กลมุ่ หนง่ึ เรยี นกรรมฐานจากสำ� นกั พระผมู้ ี พระภาคเจ้าแล้ว ออกไปแสวงหาท่ีวิเวกเพื่อจะปฏิบัติ พบท่ี สัปปายะในป่าแห่งหนึ่ง ที่พอหาที่บิณฑบาตไม่ไกลมากได้ เทวดาเจา้ ถนิ่  พอมภี กิ ษมุ าพกั ทป่ี า่  กต็ อ้ งลงมาทำ� ความเคารพ

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร แรกๆ ก็ยินดี ต่อมาภายหลังรู้สึกรำ� คาญที่ต้องลงจากต้นไม้ มาแสดงความเคารพทุกวัน พอพระภิกษุตกลงใจจ�ำพรรษา ท่ีน่ัน เลยแสดงอัตภาพเป็นภาพศพน่าเกลียดน่ากลัว ให้ ได้ยินเป็นเสียงโหยหวนบ้าง เป็นกล่ินเน่าต่างๆ บ้าง เพ่ือจะ ไลภ่ กิ ษอุ อกไป สดุ ทา้ ยพระภกิ ษจุ งึ ตอ้ งกลบั ไปเฝา้ พระพทุ ธ- เจ้า แล้วเล่าเรื่องต่างๆ ให้พระพุทธองค์ฟัง พระศาสดา จึงบอกว่าพวกเธอจะไปอยู่ในป่าแบบน้ันจะต้องน�ำเอาอาวุธ ไปด้วย แล้วจึงตรัสสอนให้เรียน “กรณียเมตตสูตร” นี้ 20 แล้วให้สวดและแผ่เมตตาก่อนจะเข้าไปพักท่ีป่าน้ัน ใจความ ของพระสตู รมีดังน ้ี : กะระณยี ะมตั ถะกสุ ะเลนะ  กะระณียัง คือส่ิงท่ีควรกระท�ำ อัตถะ คือประโยชน์ กุสะเลนะ คือฉลาด หมายถึงผู้ท่ีฉลาดในประโยชน์พึงท�ำ ทำ� อะไร ? ตอ้ งไปดูประโยชน์ที่จะตามมา คอื ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ  ค�ำว่า ยันตัง คอื นน้ั ใด สนั ตงั  คอื ภาวะสนั ตหิ รอื ความสงบ ปะทงั  คอื สง่ิ ท่ี พงึ บรรลกุ ค็ อื พระนพิ พานนแ่ี หละ คำ� วา่  สนั ตงั  ปะทงั  แปลวา่ สันติบทหรือว่าทางท่ีเราจะพึงถึง คือพระนิพพาน คือท่าน

ธีรปัญโญ ที่บรรลุพระนิพพานน้ีเขาท�ำอะไร  ผู้ท่ีฉลาดในประโยชน์ 21 ควรจะท�ำกจิ อันนั้น  ในที่น้ี กิจมี ๒ แบบ คือ ๑) กรณียะ กิจท่ีควรท�ำ ขยายความไวว้ ่า คือสิกขา ๓ น้นั เอง และ ๒) เมตตา ไตรสกิ ขามอี ะไรบา้ ง ไดแ้ ก ่ ศลี  สมาธ ิ ปญั ญา เรยี กวา่ กะระณยี ะ คอื  สง่ิ ทพ่ี งึ กระทำ�  คอื  เรากเ็ รม่ิ จากการรกั ษาศลี กอ่ น พวกเรามานกี้ ไ็ ดร้ กั ษาศลี  ๘ ใชไ่ หม มกี ารสำ� รวม กาย วาจา ให้เข้มข้นขึ้น ศีล เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ศีลน้ี จริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่ศีล ๘ เท่าน้ันนะ ไม่พอ จะต้องมี จตปุ ารสิ ุทธิศลี  ดว้ ย รู้จกั ไหม  จตุปาริสุทธิศีลนี้ มี ๔ กลุ่มด้วยกัน ศีล ๘ จัดอยู่ ในกลมุ่ แรกเทา่ นน้ั  คอื เปน็  ปาตโิ มกขสงั วรศลี  เปน็ ศลี หลกั ถ้าเป็นญาติโยมท่ัวๆ ไป ก็หมายถึงศีล ๕ หรือว่าโยมที่ มาถือศีลอยู่ วันน้ีก็ขึ้นมาเป็นศีล ๘ ต้ังใจเข้มข้นข้ึน ถ้า เป็นเณรก็ศีล ๑๐ พระภิกษุก็คือศีล ๒๒๗ เหล่านี้เรียกว่า ศีลป า ติ โ ม ก ข ์   ศี ล ป า ติ โ ม ก ข ์ น้ี เ ร า จ ะ ส� ำ เ ร็ จ ไ ด ้   จ ะ รั ก ษ า ได้ก็ด้วยศรัทธาเป็นเรื่องของศรัทธา  เราเชื่อไหมว่าพระ พุทธเจ้าท่านวางกฎเกณฑ์ วางข้อปฏิบัติต่างๆ นี้ ท่านได้

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร บรรลุธรรมเอง ท่านได้เห็นข้ันตอนต่างๆ โดยละเอียดแล้ว ท่านก็มาวางแบบแผนไว้ให้เราท�ำตาม เพราะฉะน้ันถ้าเรา มศี รทั ธาจรงิ ๆ เรากเ็ อาศลี ไปปฏบิ ตั  ิ โดยเอาไปลองทำ� ด ู ศลี  ๘ ท่ีเราเอาไปท�ำก็เป็นเร่ืองของการส�ำรวม  กาย  วาจา  ใจ จ ะ ไ ด ้ มี เ ว ล า   จ ะ ไ ด ้ เ อ า เ ว ล า ม า ใ ช ้   แ ท น ท่ี จ ะ เ อ า เ ว ล า ไ ป แสวงหากามวัตถุก็เอาเวลามาปฏิบัติมาฝึกหัด  เม่ือเป็น เรื่องของการฝึกหัดศีลน้ีเราอาจจะมีท�ำผิดท�ำพลาดบ้างก็ได้ แต่ถ้าเราผิด เราก็ต้ังใจส�ำรวมระวังใหม่ คือแสดงให้กับ 22 เพ่ือนพรหมจรรย์ด้วยกัน แต่พระเรานี้ก็จะมีการปลงอาบัติ กัน  คือบางทีเราอาจจะผิดจะพลาดไป  เราก็ตั้งใจระลึก เ ร่ิ ม ต ้ น ใ ห ม ่   เ ร า ก็ แ ส ด ง อ า บั ติ กับเพื่อน  นี้ก็เหมือนกัน ถ้าโยมผิดข้อไหนก็หาเพ่ือน หมายถึงเพ่ือนท่ีเขาไม่ผิดนะ ไม่ใช่ผิดเหมือนๆ กันนะ ผิดเหมือนกันไม่ได้ ก็หาคนท่ีเขา ไมผ่ ดิ เหมอื นกนั  แลว้ เรากแ็ สดงความผดิ  ประกาศความผดิ กับเขา เขาก็อาจจะช่วยแนะน�ำว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะรักษา ศีลให้บรสิ ุทธไิ์ ด ้ เรากบ็ ริสทุ ธ์ิไดด้ ้วยการแสดง

ธรี ปญั โญ ข้อ ๒ คือ อินทรียสังวรศีล รู้จักสังวรอินทรีย์ อันนี้ 23 สำ� คญั มาก สงั วรอนิ ทรยี  ์ คอื  ตา ห ู จมกู  ลนิ้  กาย ทำ� อยา่ งไร ท่ีเราจะป้องกันอกุศลท่ียังไม่เกิด ไม่ให้มันเกิดข้ึน พระพุทธ องค์ท่านเปรียบไว้ว่าภิกษุมีอินทรีย์เหล่าน้ีก็เหมือนมีแผล ต้องคอยปกปดิ ใหด้ ี ภกิ ษุปกปดิ แผล เปน็ อยา่ งไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพ่ือส�ำรวมในจักขุนทรีย์ซ่ึงเม่ือไม่ส�ำรวม แลว้ กจ็ ะเปน็ เหตใุ หถ้ กู บาปอกศุ ลธรรมคอื อภชิ ฌาและโทมนสั ครอบงำ� ได ้ จงึ รกั ษาจกั ขนุ ทรยี  ์ ถงึ ความส�ำรวมในจกั ขนุ ทรยี ์ ฟงั เสยี งทางห ู ... ดมกลน่ิ ทางจมกู  ... ลม้ิ รสทางลน้ิ  ... ถกู ตอ้ ง โผฏฐพั พะทางกาย ... รแู้ จง้ ธรรมารมณท์ างใจแลว้  ไมร่ วบถอื ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพ่ือส�ำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ส�ำรวม แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส ครอบง�ำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความส�ำรวมในมนินทรีย์ ภกิ ษุปกปิดแผลเป็นอย่างน้ีแล

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร นอกจากอินทรีย์ในร่างกายของเราที่ต้องส�ำรวมแล้ว ในยุคนี้เราต้องรวมถึงการใช้เครื่องขยายอินทรีย์ด้วยคือ พวกส่ือสารต่างๆ โทรศัพท์ต่างๆ ด้วย สมัยก่อนอาจจะง่าย บอกให้ดูจิตก็ดูจิต แต่เดี๋ยวนี้เราคอยแต่จะไปดูจอ พอเรา มาวดั  เรากม็ โี อกาสทจ่ี ะวางมนั เอาไวก้ อ่ น กอ่ นทเ่ี ราจะปฏบิ ตั ิ จะได้ไม่ต้องวุ่นวายมาก ทางตา ทางหู สิ่งไหนท่ีไม่ควรเห็น ก็ไม่ต้องดู สิ่งไหนไม่ควรฟัง ก็ไม่ต้องฟัง ดูแล้ว ฟังแล้ว มีกิเลสมากข้ึน เราก็ต้องมีความสำ� รวมระวัง ไม่ดู ไม่ฟังจะ 24 ดกี วา่  อนั นจี้ ะสำ� เรจ็ ไดก้ ด็ ว้ ยสต ิ เราตอ้ งตงั้ สต ิ อยา่ ใหอ้ กศุ ล มันเข้ามาได้ จ�ำไว้ว่า “ผู้ใดเฝ้าดูจิต ผู้น้ันจะไม่ติดบ่วงมาร แต่ผใู้ ดเฝา้ ดูจอ ผนู้ ้ันขอเป็นบ่าวมาร” ขอ้  ๓ คอื  อาชวี ปารสิ ทุ ธศิ ลี  อาชวี ะ เรากต็ อ้ งบรสิ ทุ ธ์ิ ดว้ ย วนั ๆ เราใชเ้ วลาไปกบั อาชพี ตา่ งๆ มากมาย เราใชเ้ วลา ส ่ ว น ใ ห ญ ่ ใ น ก า ร ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ   ห า ก อ า ชี พ ข อ ง เ ร า เ ป ็ น อาชีพที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติ เป็นอาชีพที่สนับสนุนการผิด ศี ล   มั น ก็ ย า ก ที่ จ ะ ป ฏิ บั ติ ไ ด ้ ดี   เ ร า ก็ ต ้ อ ง ดู อ า ชี พ ข อ ง เ ร า เป็นหลักด้วย พระภิกษุเองก็ต้องพิจารณาที่มาของปัจจัยส่ี ว่าไม่ได้มาด้วยมิจฉาอาชีพ ไม่มีอเนสนา คือการแสวงหาท่ี ไม่สมควร การโกหกหลอกลวง การหาโดยวิธีการต่างๆ ที่

ธีรปัญโญ ใหไ้ ดล้ าภสกั การะ อยา่ งนก้ี ถ็ อื วา่ ผดิ ทาง อยา่ งญาตโิ ยมกต็ อ้ ง 25 มีสัมมาอาชีพของโยมใช่ไหม ละเว้นมิจฉาชีพต่างๆ เช่น เกี่ยวกับค้ามนุษย์ ค้าสัตว์เป็นอาหาร ค้ายาพิษ พวกต่างๆ เหล่าน้ี ท�ำให้คนผิดศีล ส่งเสริมโลภ โกรธ หลงในสังคม เราก็ต้องละเว้น อันนี้จะส�ำเร็จได้ด้วยความเพียร เราก็ต้อง มคี วามเพียรในการแสวงหา ใหเ้ ป็นสัมมาอาชพี ส่วนข้อสุดท้ายเรียกว่า ปัจจยสันนิสิตศีล คือการ พิจารณาปัจจัยก่อนท่ีจะเสพ เรามีปัจจัยในการด�ำรงชีวิต อะไรบ้าง ก็มีเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าต่างๆ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เรียกว่าปัจจัย ๔ สิ่งเหล่าน้ีเราต้องอาศัยใน การท่ีจะมีชีวิตอยู่ แต่เราก็ต้องรู้ว่าประมาณเท่าไหร่ถึงจะ พอดี อันนี้เป็นการศึกษา การเรียนรู้ แล้วส่ิงน้ีจะส�ำเร็จได้ ก็ต้องมีปัญญา ญาติโยมมีโอกาสก็มาดูซิ เราควรทานอาหาร เท่าไหร่ถึงจะพอ ไม่ให้มากไป ไม่ให้น้อยไป นอนเท่าไหร่ ถึงจะพอ บริหารร่างกายอย่างไร จึงจะพอเหมาะพอควร น้ีเรียกว่าเป็นส่วนของศีล พอเรามีศีลท่ีสมบูรณ์แล้ว เราก็ กา้ วในขั้นตอ่ ไปได้

ต ั ว ทั ก ท อ

ธรี ปญั โญ ถ้าเรามาดู รัตนฆระ เรือนแก้วท่ีครอบพระพุทธ- 27 ชินราชไว้ จะเห็นสัตว์สองข้าง เคยสังเกตดูไหมว่าหมายถึง อะไร มีส่วนประกอบของสัตว์อะไรบ้าง เห็นงวงไหม มีเท้า แบบนก มีแผงคอด้วยเห็นไหม มีเคราด้วย ส่วนประกอบ ของอะไร เคยสังเกตบ้างไหมว่าเป็นตัวประกอบของอะไร เขาเรียกว่าเป็นการให้ส่ือธรรมะ  เราจะสร้าง  รัตนฆระ เรือนแก้วนี้ได้ เราต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะแสดงออกมา ด้วยสตั ว ์ ๔ ประเภท  ประเภทแรกคือ สิงโต เห็นขนคอ แผงคอไหม ท่าน เปรยี บ สงิ โต เหมอื น ปาตโิ มกขสงั วรศลี  เราตอ้ งมหี ลกั ใหญ่ เปน็ แมบ่ ทกอ่ น เอาสงิ โตเปน็ หลกั  คอื  เปน็ ราชาของทกุ อยา่ ง ปาติโมกข์ คือเป็นประมุข เป็นประธาน ถ้าผิดศีลปาติโมกข์ ก็จบกัน ไมต่ อ้ งไปตอ่ แลว้  ทา่ นก็แสดงดว้ ยสิงโต ข้อ ๒ คือ ช้าง รู้ได้ด้วยมีงวงชูขึ้นข้างๆ ช้างนี้เป็น สัตว์ตัวใหญ่ก็จริงนะ แต่ว่าเวลาเดิน มันเดินเงียบนะ มี การฝึก มีการอบรม มีการส�ำรวม ตามันก็เล็กๆ ส่ือถึงการ มี สั ง ว ร   จ ะ ท� ำ อ ะ ไ ร ก็ ท� ำ ใ ห ้ มี สั ง ว ร ทั้ ง ท ว า ร ต ่ า ง ๆ   ซ่ึ ง จ ะ สำ� เรจ็ ไดก้ ด็ ว้ ยสต ิ อยา่ งทพ่ี ระพทุ ธเจา้ เคยตรสั ไวใ้ นพระสตู ร หนึ่งว่าธรรมท้ังหมดรวมกันอยู่ในอัปปมาทธรรมเหมือน

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหมดไม่ว่าตัวไหนก็รวมอยู่ในรอยเท้า ช้างได้ “อัปปมาทธรรม” คือสตินั่นแหละ สติเป็นตัวหลัก ของเรา เป็นท่ีรวมของกุศลธรรมท้ังหลาย ถ้าขาดสติ กุศล ธรรมก็ไม่มีโอกาสได้เอาออกมาใช้ คนที่จะมีอินทรียสังวร ได้ก็ต้องมีสติระวังอย่างดดี ้วย ส่วนเครา  จะเห็นว่ามีเคราอยู่ท่ีคางของสัตว์ด้วย อันนี้คือเคราของแพะภูเขา  ซึ่งเป็นสัตว์ท่ีมีสีขาวบริสุทธ์ิ หมายถึงให้เรามี อาชีวบริสุทธ์ิ อย่าให้มีเศร้าหมอง เรา 28 พิจารณาดูอาชีพของเราแล้ว มีอะไรที่เศร้าหมองไหม ถ้าเรา มเี ศรา้ หมอง จติ ใจกม็  ี วปิ ฏสิ าร มคี วามกงั วล ทำ� จติ ใหส้ งบ ได้ยาก  เราก็ต้องพิจารณาอยู่บ่อยๆ  เหมือนอย่างแพะ ท่มี ีสขี าว มีความเพยี ร ข้นึ สู่ทีส่ งู  รกั ษาอาชีพให้บริสทุ ธ์ิ ส่วนเท้าของสัตว์ตัวนี้เหมือนกับเท้าของนกใช่ไหม ไมใ่ ชน่ กธรรมดาดว้ ย แตเ่ ป็นนกอินทรี พญานก อนิ ทรีเปน็ สัตว์ที่มีดวงตาที่ดีมาก แม้บินสูงๆ ก็สามารถมองเห็นเหย่ือ ตวั เลก็ ๆ ไดแ้ ตไ่ กล เหมอื นกบั เราทม่ี  ี ปจั จยสนั นสิ ติ ศลี  ใช้ ตาของปัญญินทรีย์มองดูแล้วก็พิจารณาปัจจัยก่อนที่จะเสพ ก่อนท่ีจะบริโภค ถ้ามีโทษก็ไม่เสพ ถ้ามีคุณก็รู้ประมาณ ในการบริโภค ไม่บริโภคอย่างเป็นทาส อย่างเป็นหน้ี หรือ

ธรี ปัญโญ อยา่ งเปน็ ขโมย แตใ่ หบ้ รโิ ภคแบบเปน็ เจา้ ของ หรอื อยา่ งนอ้ ย ก็เป็นแบบทายาท ทา่ นจงึ เอาสตั วเ์ หลา่ นม้ี ารวมลกั ษณะกนั ไวท้ ตี่ วั  ทกั ทอ  (อา่ นวา่  ทกั  กะ ทอ) คอื ทา่ นมงุ่ จะสอ่ื วา่ ศลี นนั้ เปรยี บเสมอื น ผา้ ทน่ี งุ่  ทตี่ อ้ งถกั  และ ทอขน้ึ  ถา้ ศลี ขาด ศลี ทะล ุ กเ็ หมอื น ผ้าท่ีนุ่งขาด  ผ้าทะลุ  ก็จะเป็นที่น่าละอาย  เหมือนพวก คนเปลือยไม่มีผ้านุ่ง และเป็นการเตือนเราว่าเราจะต้องสร้าง ทพ่ี ง่ึ ของเราขน้ึ มาเอง เราตอ้ งมศี ลี เปน็ พน้ื ฐานกอ่ น แลว้ ตอ่ ไป จงึ จะสามารถเจรญิ ขนึ้ เปน็ สมาธ ิ เปน็ ปญั ญา ตอ่ ๆ ขนึ้ ไปจนถงึ 29 ยอดได ้ อนั น้ีก็เป็นสว่ นของกรณียะ คือส่วนท่คี วรประพฤติ สว่ นอตั ถะ คอื ประโยชน ์ ประโยชนม์ อี ะไรบา้ ง ประโยชน์ ก็มีประโยชน์ปัจจุบันคือ  ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์  และ ประโยชน์ในภพหน้า เขาเรียกว่า สัมปรายิกัตถประโยชน ์ และยงั ม ี ปรมตั ถประโยชน ์ ดว้ ย คนทฉ่ี ลาดนะ่  เขาจะตอ้ ง ไม่ห่วงแต่เรื่องประโยชน์ในปัจจุบันเท่าน้ันนะ ประโยชน์ ปัจจุบันนี้ก็คือการได้มีปัจจัย  ๔  ท่ีมีความสะดวกสบาย มีกามวัตถุเสพพร่ังพร้อม  อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งซ่ึงใครท�ำ ใครได้แน่นอน เป็นเรื่องของวิบากแห่งกุศลกรรมที่เราทำ� ไว้

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร แต่อดีตส่งผล แต่ว่าเราก็ต้องสร้างประโยชน์ในอนาคตด้วย คือสร้างกุศลกรรมใหม่ด้วย  ถ้าเราจะต้องไปเกิดในภพ ต่อไป เรามีที่พ่ึงหรอื ยงั  เราไดท้ �ำบญุ ไวบ้ า้ งไหม และสดุ ทา้ ย ปรมัตถประโยชน์  ประโยชน์ในการที่จะเข้าถึงความสุข อันไม่มีทุกข์เจือปน  พ้นทุกข์  อันน้ีก็เป็นสิ่งที่เราจะต้อง แสวงหา คนที่ฉลาดจะต้องแสวงหาสิ่งเหล่าน้ีโดยการเจริญ ไตรสิกขา ทีน้ีมาดูกันต่อไป  สักโก อชุ ู จะ สุหุช ู จะ 30 สกั โก แปลวา่  อาจหาญ กลา้ หาญ หรอื ความสามารถ ท่ีจะท�ำได้ เป็นช่ือของพระอินทร์ด้วยนะ พระอินทร์ก็ช่ือ สกั กะ สกั โกเปน็ ชอื่ ของวงศข์ องพระพทุ ธเจา้ ดว้ ย พระพทุ ธ- เจ้าก็ช่ือสักกะ ศากยวงศ์น้ีเป็นผู้ท่ีอาจหาญ คนท่ีจะปฏิบัติ ได้นี้ต้องเป็นคนกล้าหาญ ส�ำคัญมากข้อน้ี มีคนเคยถาม หลวงปู่ชาว่า ท�ำไมหลวงปู่ชาท่านปฏิบัติได้ผล ท่านก็บอกว่า “ผมก็เหมือนกับพวกท่านน่ันแหละ ไม่แตกต่างอะไร แต่ที่ ต่างกันก็เพราะผมมีความกล้า กล้าที่จะท�ำ” สักโกนี้เป็น เร่ืองส�ำคัญ เราต้องมีความกล้า มีความอาจหาญท่ีจะปฏิบัติ เทา่ นน้ั ยงั ไมพ่ อ ตอ้ งมสี ง่ิ ทเี่ รยี กวา่  อชุ  ู คอื ความซอ่ื ตรงดว้ ย

ธีรปัญโญ จริงๆ คุณสมบัติพื้นฐานของคนที่จะปฏิบัติให้ได้ผล 31 มีแค่ ๒ ข้อท่ีส�ำคัญมากๆ คือ ต้องกล้าที่จะท�ำ และต้อง เป็นคนตรง มีค�ำโบราณกล่าวเอาไว้ว่า “เมื่อคนที่ซื่อตรง พบว่าเขาผิด เขามีทางเลือกสองทาง ถ้าเขาไม่กล้าที่จะแก้ไข เขาก็จะไม่ใช่คนตรงอีกต่อไป”  เพราะฉะนั้นคุณสมบัติ พ้ืนฐานสองข้อแรกของผู้ปฏิบัติจึงเป็น ความกล้าและความ ซ่ือตรง  ถ้าไม่มีสองข้อน้ีก็คงปฏิบัติไปไม่ได้ไกลเท่าใด คนตรง น่ีก็คือไม่มีมารยาสาไถย รู้จักไหม มารยาสาไถย เป็นยังไง ได้ยินบ่อยๆ แต่เราไม่ค่อยรู้ มารยา คือ คนท่ี ปกปดิ โทษของตวั เองไว ้ เขาเรยี กวา่ ผมู้ มี ารยา คอื เราทำ� อะไร ผดิ ไว ้ ทำ� อะไรไมด่ ไี มง่ าม แตเ่ รากป็ กปดิ ไว ้ ซอ่ นไว ้ ไมย่ อม ให้คนอ่ืนรู้ เรียกว่า มีมารยา ส่วน สาไถย คือ เราอวดส่ิง ที่เราไม่มี คือเราไม่มีคุณ แต่เราพยายามจะอวดว่าเรามี อยา่ งนเี้ รยี กวา่  สาไถย สองอยา่ งนเ้ี ปน็ อกศุ ล ทา่ นบอกไวใ้ น ต�ำราว่าส่วนมากผู้ชายจะมีสาไถยเยอะ คือชอบอวดคุณที่ ไม่ค่อยมี อวดเบ่งทับกันบ้าง ส่วนผู้หญิงจะมีมารยาเยอะ ปิดบังโทษท่ีตัวเองมี อันนี้ไม่รู้จริงหรือเปล่า ลองไปสังเกต ดูแลว้ กนั  แต่ว่าคนทจ่ี ะปฏบิ ตั ธิ รรมจะตอ้ งไมม่ ีทัง้  ๒ อยา่ ง

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร ต้องเป็นคนตรง ตรงนี้ถ้าจะแยกก็คือ อุชู คือตรง ท้ังกายและวาจา เป็นคนท่ีกายตรง วาจาตรง ท�ำก็ว่าท�ำ ไม่ท�ำก็ว่าไม่ท�ำ แล้วยังมี สุหุชู คือ ตรงอย่างดีด้วย ในที่น้ี ทา่ นหมายเอาใจ ใจตอ้ งตรงดว้ ย เปน็ คนทซี่ อื่ ตรง ใจไมค่ ด ถา้ ตรงแตก่ าย ตรงแตว่ าจา แตใ่ จไมต่ รงกไ็ ปไมร่ อด ปฏบิ ตั ิ ไม่ก้าวหน้า อันน้ีเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำ� คัญของการปฏิบัติ บางคนมารักษาศีลแล้ว รักษาจริงไหม ถ้าเรายังโกหกตัวเอง ยังหลอกตัวเอง อย่างนี้ไม่ใช่คนตรง จะปฏิบัติเห็นผลยาก 32 อย ู่ เพราะฉะนนั้  ตรงนจี้ ะตอ้ งคกู่ นั  หรอื อกี นยั หนง่ึ  อชุ  ู คอื เป็นคนตรงในเวลาท่ีสิ่งแวดล้อมเอื้อหนุนให้ตรงได้ง่าย เช่น อยู่ในสังคมท่ีเขานิยมยกย่องคนตรง อยู่ในหมู่อริยเจ้า แต่ สุหุชู คือ แม้สิ่งแวดล้อมจะไม่เอื้อให้เป็นคนตรง เช่น อยู่ ในท่ามกลางคนที่ทุจริต หรืออยู่ในหมู่อลัชชี แต่ก็ยังคง ยนื หยดั ในความตรงของตนเองได ้ ซงึ่ จะยากกวา่  อชุ  ู ขน้ึ ไป อีกขั้นหนึ่ง เพราะต้องตรงได้ในขณะท่ีทวนกระแสสังคมท่ี เราอยู่ (จริงๆ ท่านไม่สนับสนุนให้มาอยู่ในกลุ่มคนทุจริต ห รื อ ใ น ก ลุ ่ ม ข อ ง อ ลั ช ชี   แ ต ่ ค ว ร จ ะ รี บ ป ลี ก ตั ว อ อ ก ไ ป ใ ห ้ เร็วท่ีสุด ท่านว่ารู้กลางวันให้ไปกลางวัน รู้กลางคืนให้ไป

ธรี ปญั โญ กลางคนื ) ต่อไป  สุวะโจ  แปลว่า คนว่าง่าย สุ แปลว่า ง่าย วะจะ แปลว่า กล่าว คนท่ีเวลามีคนอื่นไปกล่าวไปว่าก็รับฟัง พูดง่ายๆ คือ ไม่โกรธ ส่วนใหญ่เวลาเพ่ือนมาเตือน เรา มักจะหงุดหงิด “เธอเป็นใคร ท�ำไมถึงมาเตือนเรา” อย่างนี้ แสดงว่าจิตใจเราไม่พร้อมท่ีจะปฏิบัติ เรามาอยู่ในหมู่คณะ บางทีเราอาจจะมองไม่เห็นส่ิงบางอย่างท่ีเราท�ำ เราก็ต้อง ฟังเพ่ือนๆ ด้วย ถ้าเขาหวังดีมาเตือนเรา ทางท่ีดีเราก็รับไว้ กอ่ น ครบั ๆ คะ่ ๆ เรากไ็ มไ่ ดย้ นิ ไดฟ้ งั ค�ำตกั เตอื นมานานแลว้ 33 เราจึงท�ำอย่างนี้ ถ้าเรามีโอกาสที่จะได้ฟัง เราจะได้ปรับปรุง ตัว เขาบอกว่า กระจกที่ดีท่ีสุดส�ำหรับมองตัวเราคือแก้วตา  ของเพอื่ นเรา เพอ่ื นทรี่ กั เราและใหเ้ สยี งสะทอ้ นมาน ี้ จะเปน็ ส่ิงที่ดีที่สุดในการที่เราจะปรับปรุงตัว บางทีเราดูตัวเราเอง มักมองไม่เห็น ทุกคนมีจุดบอดท่ีมองไม่เห็น หรือไม่อยาก ที่จะมอง  ความว่าง่ายจึงเป็นคุณธรรมที่ส� ำคัญ  ในการ ปรบั ปรงุ ตัวเพือ่ ก้าวหน้าในการปฏบิ ัติ มี   มุทุ   คือมีความอ่อนโยน  อันน้ีเป็นคุณสมบัติ ส� ำคั ญ น ะ   ค ว า ม อ ่ อ น โ ย น ใ น ก า ร ท่ี จ ะ อ ่ อ น น ้ อ ม ถ ่ อ ม ต น

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร อ่อนโยนไม่ได้แปลว่าอ่อนแอ แต่จิตของเขาอ่อนโยนพอ ท่ีจะรับสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาได้ และมี  อะนะติมานี  คือ ไม่เย่อหยิ่ง มาจาก นะ คือไม่ อะติมานะ แปลว่ามีความ เย่อหยิ่ง ถือเราถือเขา เราดีกว่าเขา ชาติกำ� เนิดเราดีกว่า เรา รวยกว่า เราสวยกว่า เราเก่งกว่า อะไรก็ว่าไป เราก็หาเรื่อง ไดว้ า่ อนั ไหนเราดกี วา่ คนอนื่  ถา้ เรามสี องอยา่ งนเี้ ราปฏบิ ตั ยิ าก เราก็ต้องดูตัวเราเองด้วยว่ามีความเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน หรอื เยอ่ หยง่ิ ไหม 34 สว่ นตอ่ ไป  สนั ตสุ สโก  แปลวา่  สนั โดษ มาจากคำ� วา่ สัง กับ ตสุ สะ ตุสสะ แปลว่า ยินดี สันตุสสะ แปลว่า สันโดษ คือ เป็นผู้ยินดีในของท่ีเป็นของตัวเอง ของท่ีมีอยู่แล้ว และโดย สม่�ำเสมอ สัง ตัวนี้มาจาก สะกัง สันตัง และ สะมัง ค�ำว่า สะกัง แปลว่า ตัวเอง คือยินดีในของที่เป็นของตัวเอง เรา ท�ำมาหากินมาได้เท่าไหร่ วัตถุจะดีหรือจะเลวปานใด เราก็ พอใจในสง่ิ ทเี่ ราม ี ไมไ่ ดไ้ ปเทย่ี วยนิ ดใี นของคนอน่ื  ไมต่ อ้ งไป เปรยี บเทยี บ เวลาขณะไดก้ ด็  ี เวลาขณะบรโิ ภคกด็  ี ไมแ่ สดง อาการผิดแปลก  ยังชีวิตให้เป็นไปในปัจจัยท่ีได้มาของ

ธรี ปญั โญ ตนเอง แล้วก็ สันตัง คือส่ิงของที่เรามีอยู่ พอในสิ่งที่มีอยู่ 35 แลว้  ไมป่ รารถนาขวนขวายทจี่ ะไดส้ งิ่ ทด่ี กี วา่  ดกี วา่ ยงิ่ ๆ ขน้ึ ไป อกี  บางทเี ราจะมใี หเ้ ยอะๆ กไ็ ด ้ แตว่ า่ เราพอแคน่  ี้ เรากส็ ละ ให้คนอื่นได้ เอาเฉพาะเท่าที่เราจำ� เป็น สุดท้ายก็เป็น สะมัง คอื  โดยความสมำ่� เสมอ คอื ไมใ่ หจ้ ติ ขนึ้ ๆ ลงๆ ไปกบั ปจั จยั สี่ เครื่องใช้สอยท่ีน่าเอา หรือท่ีน่าเกลียด อันน้ีเป็นสันโดษ สามขน้ั ทเี่ ราตอ้ งฝกึ  ในการทจ่ี ะทำ� ใหเ้ ปน็ คนอยงู่ า่ ย เลยี้ งงา่ ย แล้วยินดีพอใจดว้ ย แลว้ กต็ อ่ ดว้ ย  สภุ ะโร  ถา้ เราสนั โดษแลว้  เรากเ็ ลย้ี ง ง่ายนั่นแหละ มาอยู่ท่ีวัดนี่ บางทีกินอาหารอาจจะไม่ถูกปาก เราต้องอดทนบ้าง  มันอาจจะไม่สะดวกสบายเหมือนเรา อยบู่ า้ น แตเ่ รากต็ อ้ งตง้ั ใจฝกึ ฝนอบรม ฉะนนั้  สนั ตสุ สโก กบั สภุ ะโร มนั กม็ าดว้ ยกนั  เรามคี วามสนั โดษ กม็ คี วามเลย้ี งงา่ ย ไม่เรอ่ื งมาก เม่ือไม่เรอ่ื งมาก ก็ไมท่ ุกขม์ าก อปั ปะกจิ โจ  อปั ปะ แปลวา่  นอ้ ย กจิ จะ แปลวา่  กจิ  คอื  กจิ ในทาง ท่ีเกี่ยวกับทางโลกอย่าให้มันมาก บางคนยุ่งมากมาอยู่นี่ มี ธุรกิจติดต่อโทรศัพท์อะไรมากมาย มันก็ปฏิบัติยาก เราก็

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร ต้องฝึกคิดให้น้อยลง  เราจะได้มีเวลามาดูจิตใจของเรา กิจทางโลกให้น้อย แตม่ ุง่ มาเจริญกจิ ทางธรรม สลั ละหกุ ะวตุ ต ิ ละหกุ ะ แปลวา่  เบา วตุ ต ิ แปลวา่  การประพฤต ิ ละห-ุ   กะวุตติ การประพฤติที่เบา คือ ไม่มีภาระการงานมากมาย งานท่ีท�ำท่ีวัดก็ไม่ได้หนักหนาอะไร  งานท�ำความสะอาด ปัด กวาด เช็ด ถู ได้เช็ด ได้ล้างข้างนอก ก็ได้เช็ด ได้ 36 ล้างข้างในไปด้วยกัน เรามีโอกาสดีแล้วมาประพฤติปฏิบัติ วันพระ อาทิตย์หน่ึงมีคร้ังหนึ่ง เราก็มาเข้าวัด มาถือศีล ทำ� ใจใหเ้ บา ทำ� ใจใหส้ ะอาด ฟงั เทศนฟ์ งั ธรรม มโี อกาสเจรญิ ภาวนา ถ้าเป็นพระ การมีสมณบริขารที่น้อยย่อมดูแลง่าย มคี ำ� กลา่ ววา่  “พระตอ้ งกนิ อยา่ งหม ู อยอู่ ยา่ งไก ่ ไปอยา่ งนก” คอื กนิ งา่ ยเหมอื นหม ู ใหอ้ ะไรกก็ นิ  อยอู่ ยา่ งไกค่ อื ไมป่ ระมาท ต่ืนเร็ว ต่ืนตัว มีสติ ไปอย่างนก คือมีปีกก็บินไปไหนๆ ได้ รวดเรว็  เหมอื นพระมแี คอ่ ฐั บรขิ ารจะเดนิ ทางไปไหนกส็ ะดวก ไม่ต้องมีภาระกังวลในขา้ วของมาก ต่อไป  สันตินท๎ริโย  มีอินทรีย์สงบระงับ อันนี้คือมี การเร่มิ ฝึกสมาธิแล้วนะ มีอนิ ทรยี อ์ ันสงบ ไม่ฟ้งุ ซ่าน

ธรี ปญั โญ นปิ ะโก  คอื มปี ญั ญารกั ษาตน รวู้ า่ จะรกั ษาศลี อยา่ งไร 37 ใหต้ ลอดรอดฝง่ั  จะคบใคร สง่ิ ใดสบาย เออ้ื ตอ่ การรกั ษาศลี ส่ิงไหนควรเล่ียง พอมีศีลดีแล้ว กว่าเราจะสงบได้ก็ไม่ง่าย อกี นะ สงบแลว้ กต็ อ้ งรจู้ กั รกั ษาใหไ้ ดด้ ว้ ย จะอยยู่ งั ไง จะคดิ ยังไง จะพูดยังไง จะรักษาอินทรีย์ให้สงบได้อย่างไร อันนี้ เราต้องฝึก ต้องค่อยๆ เรียนรู้ไป บางคนสงบแล้ว แม้สงบ ได้เล็กน้อยก็รักษาไม่เป็น ปล่อยทวารให้อกุศลเข้ามาแทรก จนความสงบหายไปหมด ต้องมาเริ่มต้นใหม่ ทุกที ทุกทีไป อยา่ งน ี้ กส็ รา้ งกระแส flow ใหม้ นั เกดิ ความตอ่ เนอ่ื งไปไมไ่ ด้ ก็กา้ วหน้าได้ยาก อปั ปะคัพโภ  อปั ปะ กค็ อื  ไม ่ คพั โภ แปลวา่  คะนอง ไมค่ ะนองมอื คะนองเท้า คะนองกาย คะนองวาจา เราส�ำรวมได้ไหม เรา มาอยทู่ นี่  ี่ เราพดู  ใชค้ ำ� พดู เปน็ ยงั ไง ไปกระทบใครไหม วางมอื วางเท้ามีสติสัมปชัญญะไหม รู้ประโยชน์ของการเคลื่อนไหว ไมใ่ ชเ่ คลอ่ื นไปโดยขาดสต ิ โดยความคะนอง และตอ้ งสำ� รวม ใจด้วย ไมใ่ หค้ ึกคะนองไปคดิ ในเรอ่ื งท่ีไม่ควรคิด กุเลสุ อะนะนุคิทโธ  อันนี้ส�ำหรับพระภิกษุ คือเรา ไม่ยึดติดในตระกูล  ไปพัวพันกับญาติโยมคฤหัสถ์มาก

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร เพ่ือหวังลาภปัจจัย บางทีพระเราไปอวดกันว่าใครมีตระกูล อุปัฏฐากที่มีลาภสักการะมากกว่า ถ้าเรายังหมกมุ่นในเร่ือง ของลาภสักการะมาก เราก็ปฏิบัติต่อไม่ได้ ไปหยุดที่ลาภ สกั การะ ทา่ นจงึ บอกวา่  ไมใ่ หย้ ดึ ตดิ พวกน ี้ พระพทุ ธเจา้ ทา่ น ตรัสว่าเปรียบเหมือนหนอนในกองอุจจาระท่ีมาคุยอวดกันว่า ตัวไหนคลานอยู่บนกองคูถที่ใหญ่กว่า น้ีจึงไม่ใช่เร่ืองที่เรา จะมาภูมิใจกันในเร่ืองลาภสักการะน้ี อีกอย่างหนึ่งคือไม่ให้ ไปติดข้อง พลอยดีใจพลอยเศร้าโศกเสียใจไปกับคฤหัสถ์ 38 เขา ที่นี้ญาติโยมที่ออกมาถือศีลแปดก็ถือเป็นช่วงท่ีไม่ต้อง ไปกงั วลกบั เรอื่ งราวทบ่ี า้ นสกั ระยะหนง่ึ  จะไดป้ ฏบิ ตั ไิ ดเ้ ตม็ ท่ี ตอ่ ไป  นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กญิ จ ิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง ขทุ ทงั  แปลวา่  เลก็ นอ้ ย สะมาจะเร คอื  สมาจารตา่ งๆ ขอ้ ปฏบิ ตั ติ า่ งๆ ท ี่ วญิ ญชู น หรอื ผรู้ ตู้ เิ ตยี น คอื ผรู้ ใู้ ครค่ รวญ แล้วเห็นว่ามันมีส่วนของความประพฤติเสียหาย เราก็ไม่ท�ำ สิ่งน้ัน  อันนี้ส�ำคัญนะ  เราต้องเอาวิญญูชนเป็นหลัก  คือ เอาคนท่ีรู้ แล้วรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องได้มีเวลาพิจารณา ไตร่ตรองแล้วด้วย ถ้าเขาพิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติกรรมของ เราแบบน้ีเสียหาย เราก็ต้องฟังไว้ก่อน แล้วน�ำมาปรับปรุง

ธีรปัญโญ เรียกว่าเอาคนท่ีรู้เป็นประมาณ ส่วนคนพาลเอาเป็นประมาณ 39 ไม่ได้ บางทีก็ติไปท่ัว ถ้าเป็นคนพาล เราไม่ต้องฟังก็ได้ แต่ถ้าเป็นวิญญูชนที่เขาพิจารณาแล้วใคร่ครวญแล้ว เขา ตักเตือนอะไร เราต้องน�ำไปพิจารณา โดยเฉพาะพระพุทธ- เจ้า นอกจากน้ีสาวกของพระองค์ก็ถือว่าเป็นวิญญูชน เรา ควรที่จะศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เรียนว่าความประพฤติ อนั ไหนเสียหาย เรากค็ ่อยๆ ลดละไปเร่ือยๆ  เทา่ ทผี่ า่ นมาจนจบน ้ี เขาเรยี กวา่ เปน็ สว่ นของ กรณยี ะ คือส่งิ ทพ่ี งึ ควรทำ�   ในท่อนตอ่ ไป จะเปน็ สว่ นของการแผเ่ มตตาแล้ว  ท่านกเ็ รม่ิ จากค�ำวา่   สุขิโน สุขิโน แปลว่า ผู้มีความสุข ในที่นี้ท่านหมายเอาว่า สขุ กาย เขมิโน  ก็มีความเกษม เกษมก็คือปลอดจากความ ทุกข์ ภยั ต่างๆ สัพเพ สตั ตา  สตั ว์ทั้งหลายท้งั หมด

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร ภะวนั ต ุ สขุ ติ ตั ตา  แปลวา่  มตี นเปน็ สขุ  สขุ ติ ะ แปล ว่าเป็นสุข บวกกับ อัตตะ อัตตะ ในท่ีน้ีหมายเอาเฉพาะใจ (เพราะว่า สุขิโน หมายถึง มีความสุขทางกายแลว้ ) ตอ่ จาก นี้ก็ขอให้มีความสุขทางใจด้วย สุขิตัตตา นี้ก็คือสรรพสัตว์ ท้ังหมดเลยนะ ไม่แบ่งแยก ไม่จ�ำกัด ทีน้ีต่อไปท่านจะแยก ใหด้ แู ลว้ วา่ มอี ะไรบ้าง เย เกจิ ปาณะภูตตั ถิ 40 เย เกจิ ก็คือสัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็คือท้ังหมด นนั้ แหละ ปาณะภตู ตั ถ ิ ทนี ที้ า่ นแยกเปน็  ปาณะ คอื สตั วท์ มี่ ี ลมปราณ คอื พวกเรานแี้ หละ ทอี่ ยใู่ นปญั จโวการภมู  ิ (มขี นั ธ์ ครบทง้ั  ๕) พวกมนษุ ย ์ เทวดา สตั วใ์ นอบายภมู พิ วกน ้ี สว่ น ภูตะ คอื สิง่ ทเ่ี ป็นพวกขนั ธ์เดียวบา้ ง ๔ ขันธ์บา้ ง พวกอรูป- พรหม พวกอสัญญสัตตาพรหม พูดง่ายๆ ก็คือรวมสัตว์ ทัง้ หมดในภพภมู ิท้งั  ๓๑ ภูมิ ตะสา วา  ตะสา แปลวา่  สะดงุ้  ในทน่ี กี้ ห็ มายถงึ  พวกทย่ี งั มกี เิ ลส ตณั หาอย ู่ เขาเรียกวา่  ตะสา พวกทีย่ ังสะดงุ้ อยู่

ธรี ปญั โญ ถาวะรา  แปลว่า ถาวร ก็คือ พวกท่ีมั่นคง คือพระ 41 อรหนั ตท์ ท่ี า่ นไมม่ คี วามสะดงุ้ และถอื วา่ เปน็ พวกทถี่ าวรมนั่ คง อะนะวะเสสา  คือ ท้ังหมดเลย คือเราแผ่เมตตาให้ เขามีความสุข ต่อไปเรากล็ งมาแยกตามขนาด ฑฆี า วา เย มะหันตา วา ฑฆี า แปลว่า ยาว มะหันตา แปลวา่  ใหญ่ มชั ฌมิ า  แปลวา่  กลาง  รัสสะกา  แปลว่า สนั้ อะณุกะ  แปลว่า ผอมก็ได้ แปลวา่  เล็กกไ็ ด้ ถลู า  แปลว่า อว้ น คอื พดู งา่ ยๆ วา่ มที กุ ขนาดเลย ไมว่ า่ จะเปน็  ขนาดยาว ขนาดส้ัน ขนาดกลาง ขนาดอ้วนผอมยังไง เราก็แผ่เมตตา ไปหมด ท�ำไมท่านต้องแยกอย่างน้ี บางทีการที่เราได้แยก เรากจ็ ะไดเ้ ฉพาะเจาะจงลงไปกอ่ น คอ่ ยๆ เพม่ิ ก�ำลงั  เหมอื น กอ่ ไฟใชเ้ ชอ้ื ฟนื ชนิ้ เลก็ ๆ กอ่ น แลว้ คอ่ ยๆ เตมิ เชอ้ื ทใ่ี หญข่ นึ้ ๆ

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร กระจายความเมตตา กลุม่ นก้ี อ่ น กลุ่มผอม กลุ่มอ้วน แล้ว เราก็ค่อยๆ รวบรวมมาให้ไดท้ ัง้ หมดทีหลัง ต่อไปก็ ทฏิ ฐา วา  คอื  สตั ว์ทเี่ ราเห็นแลว้ เย จะ อะทฏิ ฐา  คอื  สตั วเ์ หลา่ ใดทเี่ รายงั มองไมเ่ หน็   สัตว์ที่เราเห็นก็มีเยอะ  ที่เราไม่เห็นก็มีเยอะ  สัตว์ ในมหาสมทุ รตวั เลก็ ตวั นอ้ ย บางทกี ต็ อ้ งใชเ้ ครอ่ื งมอื ตรวจจบั ถงึ จะเห็น หรอื บางทกี ต็ อ้ งใช้จิตทเี่ ปน็ อภิญญาจติ  จงึ จะเหน็ 42 ก็มี เราก็แผ่เมตตาไปทั้งหมด เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ทูเร  แปลวา่  ไกล อะวทิ ูเร  แปลว่า ใกล้ คือ สตั ว์ท้งั หลายที่อยูท่ ั้งไกล และใกล้ ใกล้ในที่น้ี หมายถึง อัตภาพของเรา สัตว์ที่อยู่ใน ตวั เรากม็ เี ยอะนะ ไมร่ มู้ พี ยาธ ิ มอี ะไรอยกู่ นั บา้ ง บางคนเปน็ สวนสัตว์เลย อันนี้เราก็แผ่เมตตาไปด้วย เขาก็ใช้ร่างกาย ของเราเหมอื นกนั  (แตเ่ ขาคงคดิ วา่ เปน็ ของเขานะ) สว่ น ทเู ร  ก็คือไกลออกไป อันนี้ก็แล้วแต่ ในส่วนท่ีไกลอยู่ในอารามนี้ ในหมู่บ้านนี้ ในประเทศน้ี ในโลกน้ี ในจักรวาลนี้ ก็ขยาย

ธรี ปัญโญ ออกไปเร่ือยๆ ใกล้และไกล 43 ภูตา วา  ภูตา คือเป็นส่ิงท่ีมันเกิดแล้ว ภูตะ แปลว่าเกิดขึ้น มาแล้ว เป็นข้นึ มาแลว้ แลว้ ก ็  สมั ภะเวส ี วา  นจ้ี ะคกู่ นั  ผทู้ เ่ี กดิ แลว้  กบั ผทู้ ่ี แสวงหาทเี่ กิด  สมั ภะเวส ี แปลวา่  ผแู้ สวงหาทเี่ กดิ  สมั ภะเวส ี ในทน่ี ้ี ไม่ได้หมายความว่าเป็นพวกผีท่ีตายแล้วลอยไปหาท่ีเกิดนะ สัมภะเวสีในที่น้ีก็คือ พวกท่ียังต้องเกิดอยู่อีก ก็คือพวกเรา ทุกคนท่ียังต้องเกิดอีก เขาเรียกว่า สัมภะเวสี เรียกว่ายัง แสวงหาทเ่ี กดิ กนั อย ู่ มแี ต ่ ภตู ะ คอื พระอรหนั ตเ์ ทา่ นน้ั ถงึ จะ เรียกว่า ภูตะ ได้ เพราะท่านได้เกิดมาแล้วแต่ท่านจะไม่เกิด อีก ท่านรอที่จะปรินิพพานแค่น้ันเอง ส่วนพวกเราที่เหลือ ทั้งหมดก็เป็น สัมภะเวสี ยังเวียน ว่าย ตาย เกิด กันอยู่ ทงั้ น้ัน สพั เพ สตั ตา ภะวนั ต ุ สขุ ติ ตั ตา  ความหมายเหมอื น เดิม คอื ขอให้มคี วามสขุ

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ ปะโร คือ คนอ่ืน ปะรัง คือ ซึ่งคนอื่น นิกุพเพถะ แปลกนั วา่  ไมค่ วรขม่ เหง แตถ่ า้ ไปดใู น อรรถกถา ค�ำนท้ี า่ น ให้แปลว่าไม่หลอกหลวง คือไม่ควรหลอกลวงตน ไม่ควร หลอกลวงคนอ่ืน ไม่ควรหลอกลวงกนั และกัน นาติมัญเญถะ    ไม่ควรดูหม่ินซึ่งกันและกันในที่ ทกุ สถาน 44 ไม่ใช่เราเมตตาให้เขาเป็นสุขอย่างเดียว เราต้องต้ังจิต ไวด้ ว้ ยวา่ เราจะไมห่ ลอกลวงเขา เราจะไมด่ หู มน่ิ เขา และกข็ อ ใหส้ ตั วต์ า่ งๆ อยกู่ นั อยา่ งมคี วามสขุ  อยา่ ขม่ เหง เบยี ดเบยี น ดหู ม่ิน หลอกลวงซง่ึ กันและกนั พ๎ยาโรสะนา ปะฎฆิ ะสญั ญา  คอื ไม่โกรธ ไมแ่ คน้ นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ทกุ ขัง มจิ เฉยยะ ไมป่ รารถนาความทุกข์ นาญญะมญั ญะ คือ ซ่ึงกันและกัน  คราวนพี้ ระพุทธเจา้ ทา่ นทรงยกอปุ มาขึ้นมาวา่

ธีรปัญโญ มาตา ยะถา นยิ งั  ปตุ ตงั  อายสุ า เอกะปตุ ตะมะนรุ กั เข  คือ  มารดาทะนุถนอมบุตรคนเดียวของตนที่เกิดจากอก ดว้ ยอาย ุ คอื ดว้ ยชวี ติ นน่ั แหละ เราพงึ มองสรรพสตั วท์ ง้ั หลาย แบบเดียวกัน ถนอมสัตว์ทั้งหลาย แผ่ไปโดยไม่มีประมาณ เหมอื นอยา่ งเปน็ ลกู ของเราเอง ลกู ทเี่ รารกั  กพ็ จิ ารณาอยา่ งน้ี เลยนะ พจิ ารณาเหมือนกับวา่ เป็นลกู ของเราเลย เมตตญั จะ สพั พะโลกสั ม๎ งิ   คอื  แผไ่ ปในโลกทง้ั หมด มานะสมั ภาวะเย อะปะรมิ าณงั 45 ไม่มีประมาณด้วย อะปะริมาณัง แล้วก็ สัมภาวะเย  เจรญิ เมตตา มานะสงั  คอื ดว้ ยใจ  ภาวะเย กค็ อื การภาวนา อทุ ธงั   คอื เบ้ืองบน อะโธ  คือเบ้ืองลา่ ง ตริ ยิ ญั จะ  คอื เบอ้ื งขวาง กห็ มายถงึ วา่ เราแผไ่ ปทง้ั หมด หรืออีกนัยหนึ่ง อุทธัง ในอรรถกถาท่านแก้ว่าเป็น อรูปพรหม อะโธ คือ กามภพ  ติริยัญจะ คือ รูปภพ พูดง่ายๆ คือแผ่ไปท้ัง  ๓  ภพเลย  หรือเราจะแผ่เป็นทิศก็ได้  ทิศ

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร เบอื้ งบน เบ้อื งล่าง เบ้ืองกลาง แผ่เมตตาไปในทศิ ต่างๆ อะสัมพาธัง  คือ ไม่มีขอบเขต อันน้ีเป็นลักษณะ ส�ำคัญของเมตตาในพระพุทธศาสนาของเรา คือพระพุทธ- ศาสนาเราไมม่ ขี อบเขตเลย ทงั้ มนษุ ย ์ ทงั้ สตั ว ์ ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ ง ทมี่ ชี วี ติ ที่เป็นสัตว์นี่เราแผ่ไปให้หมด ไม่ใช่ให้เฉพาะพวกเรา แตไ่ มใ่ หพ้ วกคนอน่ื  แตใ่ หท้ ง้ั หมด ทเ่ี รยี กวา่ เปน็ อปั ปมญั ญา คอื ว่าแผไ่ ปไม่มีขอบเขต ไม่มปี ระมาณ 46 อะเวรัง  ไม่มเี วร อะสะปตั ตัง  ไมม่ ีศัตรู อะเวรัง น้ีหมายถึงว่าเราไม่ไปจองเวร ไม่มีโทสะกับ ใคร ส่วน อะสะปัตตัง ก็คือไม่มีใครเขามาโกรธมาแค้นมา มีเวรกับเรา ทีนี้เราแผ่เมตตาอย่างน้ีแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ ต่างๆ  ติฏฐงั จะรงั   ติฏฐัง คอื  ยืน จะรัง คือ เดนิ นิสนิ โน วา  หรอื ว่า นง่ั สะยาโน วา  หรือว่า นอน  ไมว่ า่ จะ ยืน เดิน นงั่  นอน

ธีรปญั โญ ยาวะตัสสะ วคิ ะตะมทิ โธ 47 มิทโธ ก็คือความง่วงเหงาหาวนอน  วิคะตะ คือไป ปราศแล้ว ยาวะตัสสะ ตราบใดท่ีเราไม่ง่วงเหงาหาวนอน กใ็ ห้เราเจรญิ เมตตาอยา่ งนี้ (ยาว แปลวา่ ตราบใด) เอตงั  สะติง อะธิฏเฐยยะ  เจรญิ สติดว้ ยเมตตาน้ีไว้ เวลาเรามีสติ เราไม่ได้ละทุกข์ แต่ละวิปลาสท่ีเป็น เหตุให้ไปเท่ยี วจบั ทกุ ข์มาเป็นสุข มาเปน็ เรา ทุกข์มันก็เป็นของมันอยู่อย่างน้ันแหละ  เพียงแต่ มันไม่ใช่เราอีกต่อไป เม่ือนั้นเมตตาก็จะเกิดข้ึนภายในใจ อย่างไม่มีประมาณ แผ่ไปในเพื่อนสรรพสัตว์ท้ังหลายผู้เคย เวียนวา่ ยตายเกดิ อยใู่ นวัฏสงสารนรี้ ่วมกนั มายาวนาน พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ  ผู้รู้ท่านกล่าวไว้ว่า นแ่ี หละ เขาเรยี กวา่ พรหมวิหาร

ก ร ณี ย เ ม ต ต สู ต ร (อานิสงส์) ท่านกล่าวถึงการเจริญเมตตาในอิริยาบถต่างๆ คือ เจริญเมตตามันไม่เหมือนอย่างอ่ืน อย่าง อานาปานสติ เรา ต้องน่ังใช่ไหม จะต้องน่ังคู้บัลลังก์เจริญสติเฉพาะหน้าถึงจะ ท�ำอานาปานสติได้ แต่เมตตาไม่จ�ำเป็น ไม่ว่าเราจะอยู่ใน อิริยาบถใด ยืน เดิน น่ัง นอน เราก็สามารถจะแผ่เมตตา ได้ตลอด เขาจึงเรียก สัพพัตถกกรรมฐาน เป็นกรรมฐาน ที่เหมาะมาก เราเจริญเมตตา จิตใจเราก็จะเยือกเย็น มอง 48 ทุกๆ ส่ิงเป็นเพ่ือนเรา ถ้าเราปฏิบัติไปเร่ือยๆ จริงๆ แม้แต่ จะขับไล่ความง่วงไปด้วยก็สามารถท�ำได้ ถ้าเราท�ำจนเป็น วสี คล่องแคล่วแล้ว ความง่วง ความหดหู่ต่างๆ ก็จะไม่มี ด้วย มีสติตอ่ เน่ือง สามารถจะเจริญใหเ้ ปน็ พรหมวหิ ารได้ วิหารนมี้ กี ่ีอยา่ ง ม ี ๔ อย่าง ทพิ ยวหิ าร อยดู่ ว้ ยฌาน ๔ ไมว่ า่ จะเปน็ ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ เขาเรยี กวา่  ทพิ ยวหิ าร พรหมวหิ าร อยู่ ดว้ ย อปั ปมญั ญา ๔ คอื  ดว้ ยเมตตา กรณุ า มทุ ติ า อเุ บกขา สว่ น อรยิ วหิ าร กค็ อื อยดู่ ว้ ย ผลจติ  ๔ โสดาปตั ตผิ ล สกทา- คามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล อันนี้เขาเรียกว่าผลวิหาร

ธีรปัญโญ ธรรม เป็นอภิสิทธิข์ องพระอรยิ เจ้าทไ่ี ด้ผลแล้ว ตามข้ันน้ันๆ 49 ท่านจึงสามารถเลือกท่ีจะเสวยความสุขอันไม่เป็นสาธารณะน้ี ได้ ส่วนอันสุดท้ายคือ อิริยาบถวิหาร คืออริยาบถ ๔ ยืน เดิน น่ัง นอน เราก็สามารถเจริญวิหารต่างๆ ได้ เพื่อกำ� จัด ความเม่ือยลา้  ให้อตั ภาพกายนี้อยูไ่ ด้อยา่ งผาสุก ตอนน้ีกม็ าถงึ ประโยคสุดทา้ ย ทิฏฐิญจะ อะนุปะคมั มะ  คอื ไมย่ ึดติดทฏิ ฐ ิ ท่านกล่าวอย่างนี้เพราะว่าอะไร ? เพราะว่าคนที่เจริญ เมตตาบางทยี งั ใกลก้ บั การมคี วามยดึ  มคี วามเหน็  นบั วา่ เปน็ อัตตทิฏฐิ เหมือนกัน ก็ยังมีตัวตนใช่ไหม เรารักคนน้ี เรา อยากให้เขามีความสุข ถ้าไม่ระวังให้ดีเราก็จะตกไปในส่ิงที่ เรยี กวา่  อตั ตทฏิ ฐไิ ด ้ คอื มที ฏิ ฐเิ หน็ วา่ มตี วั มตี น เพราะฉะนน้ั เราต้องเจรญิ ในเรือ่ งของการมองให้เห็นถึงเหต ุ ถึงปัจจัย ว่า สงิ่ ตา่ งๆ มนั มเี หต ุ มปี จั จยั มารวมกนั  มนั ไมใ่ ชต่ วั ตน ไมใ่ ช่ อตั ตะ ไมใ่ ชอ่ ตั ตา อะไรนะ มนั เปน็ โวหารเฉยๆ จรงิ ๆ แลว้ มันมีเพียงเหตุ มีเพียงปัจจัย มาประชุมพร้อมกัน แล้วก็มี สภาวธรรมเกิดขึ้นได้เท่าน้ัน เราก็ต้องมีการเจริญสัมมาทิฏฐิ ไปด้วยพร้อมๆ กัน 


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook