Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเขียน

การเขียน

Published by Sirirat Wonginyoo, 2020-06-30 23:04:53

Description: การเขียน

Search

Read the Text Version

๙๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๔.๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ เป็นภาษาท่ีถูกต้องตาม แบบแผนหลักไวยากรณ์ อาจจะไม่ประณี ตเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ยังมี ความสละสลวย สุภาพ ใช้ในโอกาสท่ีเป็นทางการ หรืองานทางวิชาการ เช่น บทความ ทางวิชาการ หนังสอื ราชการ คากลา่ วเปิดการประชุม คากลา่ วสนุ ทรพจน์ เปน็ ตน้ ตวั อย่าง การใช้ภาษาระดบั ทางการในบทความทางวิชาการ นา : ความมหศั จรรยจ์ ากจกั รวาลสตู รโมเลกลุ และจากโมเลกุลส่ชู ีวิตและสุขภาพ น้าเป็นพ้ืนฐานและการก่อกาเนิดของส่ิงมีชีวิตในโลก ก่อให้เกิดวิวัฒนาการ ของส่ิงมีชีวิตจานวนมากมายมหาศาล ที่มีสายพันธุ์หลากหลายชนิดรวมถึงมนุษยชาติ มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสายพันธ์ุที่มีวิวัฒนาการมาทีหลัง แต่มนุษย์มีศักยภาพทางร่างกาย และสติปัญญาในการจัดการธรรมชาติ ซ่ึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปล่ียนแปลง ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีมากพอสมควร จนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการจัดการ ธรรมชาติที่เกี่ยวเนื่องกับน้าท่ียังไม่บรรลุผลได้ดีพอ ได้มีการคาดการณ์ไวว้ ่าภายใน ค.ศ. ๒๐๒๕ ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหน่ึงจะประสบปัญหาด้านน้าและภายใน ค.ศ. ๒๐๓๐ พนื้ ที่ประเทศท่ีกาลังพัฒนาจะมีความต้องการน้าเพ่ิมขึ้นกวา่ ร้อยละ ๕๐ น้าจงึ มีบทบาท สาคัญในเศรษฐกิจโลกและเกษตรกรรม ปัจจุบันประชากรโลกส่วนใหญ่สามารถบริโภค น้าด่ืมสะอาด แต่ก็ยังมีประชากรประมาณ ๑ พันล้านคนท่ีขาดแคลนน้าด่ืมสะอาด และกว่า ๒.๕ พันล้านคนยังขาดสุขอนามัยที่ดีเพียงพอจากระบบน้า ในขณะท่ี ก า ร จั ด ก า ร น้ า ใน ปั จ จุ บั น พ ย า ย า ม มุ่ ง เป้ า ที่ จ ะ ให้ ป ร ะ ช า ก ร โ ล ก เ ข้ า ถึ ง น้ า ส ะ อ า ด กลุ่มนักวจิ ัยได้ตั้งคาถามต่อมาว่า นา้ สะอาดท่ีมนุษย์เราบรโิ ภคทุกวันคืออะไร เราอาจจะ ตระหนักว่า คุณค่าของน้าสะอาดอยู่ในการหย่ังรู้ของมนุษย์ แม้ว่าปัญญาความเข้าใจ เรื่องน้าของมนุษย์ยังไม่สรุปได้อย่างรู้แจ้งแทงตลอด บทความน้ีได้นาข้อมูล และองค์ความรู้ในหลายๆ ด้านจากภาพใหญ่ระดับจักรวาลย่อส่วนให้เล็กลงมาถึงระดับ เซลลแ์ ละโมเลกุล รวมถงึ งานวจิ ยั ของคณะผู้เขยี น มาเป็นขอ้ มูลตัวป้อน ซึ่งอาจกอ่ ใหเ้ กิด แรงบันดาลใจและเจตคตติ อ่ นา้ ในมติ ิใหม่แห่งความเปน็ น้าอย่างแทจ้ รงิ (ที่มา อานนท์ บุณยะรัตเวช และ มลนภิ า ศิลาอาสน์. “น้า : ความมหศั จรรย์จาก จกั รวาลสตู รโมเลกลุ และจากโมเลกลุ สู่ชวี ติ และสขุ ภาพ” ใน วารสารราชบณั ฑติ ยสภา, ๒๕๕๘ หนา้ ๙๐)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙๗ ๔.๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาท่ีใช้สื่อสารกันในชีวิตประจาวัน แบง่ ออกเปน็ ๓ ระดบั ได้แก่ ๔.๒.๑ ภาษาระดับก่ึงทางการ มักใช้ในการเขียนเผยแพร่ต่อกลุ่มคน เป็นภาษาท่ีอาจจะไม่สมบูรณ์ในรูปประโยคหรือไวยากรณ์ แต่ยังคงความสุภาพ ใช้ในบคุ คลท่ีอาจจะไม่ได้สนิทสนมกัน เช่น การเจรจาทางธุรกิจ การสัมมนา การประชุม การเรยี นในชัน้ เรียน เปน็ ตน้ ๔.๒.๒ ภาษาระดับสนทนา เป็นภาษาท่ีใช้ในการพบปะพูดคุย ใน ชี วิต ป ระจ าวัน กั บ ค น ท่ี ส นิ ท ส น ม คุ้ น เค ย ไม่ ได้ ค านึ งถึ ง ค ว าม ส ม บู รณ์ และหลักไวยากรณ์ มักจะใช้คาง่ายๆ ตามกาลเทศะในการส่ือสาร บางครั้งมีคาตัด คาแสลง เช่น การทักทาย การคุยโทรศัพท์ การซ้ือขาย การสนทนาในครอบครัว การปรกึ ษาหารือกับคนสนิทคุ้นเคย เป็นตน้ ๔.๒.๓ ภาษาระดับกันเอง หรือภาษาปาก เป็นภาษาท่ีไม่คานึงถึง ความสมบูรณ์และหลักไวยากรณ์ โดยภาษาระดับน้ีมักจะมีคาต่า คาหยาบ ปะปนอยู่ ซึง่ ผใู้ ช้ควรใช้กับผู้ทม่ี รี นุ่ ราวคราวเดยี วกันและเปน็ ผทู้ ี่สนิทสนมคุ้นเคยเท่าน้ัน นอกจากน้ี ประภาศรี สีหอาไพ (๒๕๓๑ : ๑๑-๑๕) ได้กล่าวถึงลักษณะ ของการใช้ภาษามาตรฐาน (ภาษาเขียน) และภาษาภาษาพูด (ภาษาปาก) ในการเขียน เชงิ สร้างสรรคไ์ ว้ ๒ ลกั ษณะ สรปุ ไดด้ งั นี้ ๑. ภาษามาตรฐานหรอื ภาษาเขียน มีลักษณะการใช้ ดงั นี้ ๑.๑ มีสานวนโวหารท่ีสุภาพชนใช้ในกระบวนการแต่งหนังสือ มีโครงสร้าง ความหมายของถ้อยคาถูกตามหลักภาษา และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ตามกาลเทศะและฐานะของบุคคล ๑.๒ มีรูปแบบการเขียนตามท่วงทานองของร้อยแก้วและร้อยกรอง มีศิลปะ ในการเขียน และถกู ตอ้ งตามระเบียบวิธหี รอื ลักษณะคาประพนั ธ์ ๑.๓ จัดระเบยี บความคิดถอ้ ยคา ประโยค วรรคตอน สร้างแนวคดิ ทชี่ ดั เจน ๑.๔ ใชภ้ าษาทสี่ ื่อความหมายเข้าใจงา่ ย ตัวสะกดถูกตอ้ ง อักษรชัดเจน โดยในการเขียนนั้น ผู้เขียนควรระวังการใช้คาที่ไม่ถูกระเบียบแบบแผน อาทิ คาหยาบ (Vulgarism) คาคะนองหรือคาแสลง (Slang) คาภาษาถิ่น (Provincial) ค าต่ างป ระเท ศ (Foreign Words) ภ าษ าพู ด (Colloquial) ค าผิ ด ห ลั ก ภ าษ า (Solecism) คาพ้นสมัย (Obsolete) ภาษาหนังสือพิมพ์ (Journalese) ศัพท์วิทยาการ

๙๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ (Technical Terms) เปน็ ตน้ ซ่ึงควรมคี าอธบิ ายความหมายไว้ใหผ้ ู้อา่ นเข้าใจความหมาย ไดง้ า่ ยขน้ึ ๒. ภาษาพูดหรือภาษาปาก มีลักษณะการใช้ ดงั นี้ ๒.๑ การออกเสียงเพ้ียน ๒.๒ ใช้สานวนภาษาต่างประเทศซ่ึงไม่สอดคล้องเหมาะสมกับสานวนไทย เช่น เขาจับรถไฟไปฝรงั่ เศส รายการน้ีสนบั สนุนโดย เธอพบตัวเองยืนอยู่ในบ้านรา้ ง ๒.๓ ใช้คาประติชญาวิเศษณ์ ได้แก่ คาวิเศษณ์ท่ีแสดงการรับรองในการเรียก ขานและโต้ตอบกัน เช่น ขา จ๋า ค่ะ ขอรับ จ๊ะ ส่วนมากในภาษาเขียนจะบรรยาย ในการตอบรับหรอื ปฏเิ สธแทนการกลา่ วคาวิเศษณ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้ภาษาในอีกหลายลักษณะที่ถือว่าเป็นการใช้ภาษา อย่างสร้างสรรค์ได้ ดงั ท่ี นิตยา กาญจนะวรรณ (๒๕๔๒ : ๒๓-๒๔) สรุปได้ ดังน้ี ๑. การสร้างคาใหม่หรือการใช้คาแสลงในการส่ือสารนั้น สามารถนับเป็น การสร้างสรรค์ได้ ทั้งนี้ ข้ึนอยู่กับการใช้ให้เหมาะกับบริบท กาลเทศะ และเหมาะ แก่บุคคล เช่น คาว่า จ๊าบ โจ๋ เป๊ะเวอร์ วีน เซอร์ ซึ่งหากใช้คาเหล่าน้ีส่ือความหมาย เพ่ือให้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือเพื่อสร้างอรรถรสแล้ว ก็ไม่ได้เรียกว่าภาษาวิบัติ แต่อย่างใด อีกทั้งคาเหล่านี้เป็นเพียงคาท่ีสร้างขึ้นมาใช้ได้ช่ัวครั้งช่ัวคราว เมื่อยุคสมัย เปลีย่ นไป คาเหลา่ นี้กอ็ าจจะหายไปในที่สุด ๒. การใช้ภาษาที่ถูกต้องน้ันไม่จาเป็นต้องมีครบท้ังประธาน กริยา กรรม เสมอไป ท้ังนี้ ข้ึนอยู่กับสถานการณ์ในการใช้ ซึ่งอาจจะตัดส่วนท่ีไม่จาเป็นที่ต้องเอ่ยซ้า หรือส่วนท่ีเข้าใจร่วมกันออกไปได้ ถ้ายังสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนก็นับว่าถูกต้อง เป็นต้นว่า การนาไปเขียนในบทสนทนา บทละคร เช่น “เป็นอย่างไร สบายดีไหม” อาจจะไมจ่ าเป็นต้องเขียนให้เย่ินเย้อวา่ “คณุ เป็นอย่างไร คุณสบายดไี หม” เปน็ ต้น ๓. การใช้ภาษาน้ันไม่ได้หมายความว่าต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เสมอไป เพราะความถูกต้องของภาษาเป็นเรื่องของสังคมในระยะเวลาหนึ่ง ซ่ึงอาจจะ มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ไปตามยุคสมัยหรือบริบททางสังคมได้ ดังเช่น ในสมัย

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙๙ พ่อขุนรามคาแหง จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนตัวผู้พูดว่า กู แต่ปัจจุบันจะใช้คาว่า ข้าพเจา้ ฉัน ดิฉัน ผม กระผม แทน เนือ่ งจากมองวา่ คาวา่ กู เป็นคาไม่สภุ าพ เป็นตน้ การเขียนย่อหนา้ เม่ื อ เข้ า ใ จ ก า ร ใช้ ค า แ ล ะ ก า ร ใช้ ป ร ะ โ ย ค ใ น ก า ร เขี ย น เชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ แ ล้ ว ในข้ันต่อไป คือ การนาประโยคเหล่าน้ันมารวมกันเป็นเนื้อความหรือย่อหน้า ซ่ึงนับเป็น ข้ันตอน ของการสร้างส รรค์ คาแล ะประโยคให้กล ายเป็นเร่ืองราวเนื้อหาจากผู้ เขียน ไปยงั ผู้อา่ น โดยยอ่ หน้ามีองค์ประกอบ ดังนี้ ๑. องคป์ ระกอบของย่อหน้า ย่อหน้า (อนุเฉท) คือ ข้อความตอนใดตอนหนึ่ง ซ่ึงประกอบด้วยใจความสาคัญ เพียงประเด็นเดียว และมีใจความรองหรือส่วนขยาย ซ่ึงอาจจะเป็นคาหรือประโยค เขา้ มาขยายใจความสาคัญเพอ่ื ให้เกดิ ความหมายทส่ี มบูรณ์ชดั เจนยิ่งข้ึน ย่อหน้านั้นมีความสาคัญต่อการเขียนหลายประการ เช่น ช่วยให้ผู้อ่าน หาประเด็นสาคัญหรือใจความสาคัญของเรื่องได้ง่ายขึ้น ช่วยให้งานเขียนน้ัน มีความสวยงาม คือ มีสัดส่วนที่น่าดึงดูดสายตา เพราะหากเขียนติดกันจนยาวเกินไป ก็จะทาให้งานเขียนนั้นลายตา ไม่ดึงดูดใจให้อ่าน ช่วยให้ผู้อ่านได้พักสายตา เพราะหาก อ่านจบในย่อหน้าหนึ่งๆ แล้ว ก็สามารถพักการอ่านหนังสือหรือพักสายตา และเมื่อ จะเริ่มอ่านใหม่ก็สามารถอ่านต่อในย่อหน้าต่อไปได้ เป็นต้น โดยปกติแล้ว ย่อหน้า สามารถแบ่งไดเ้ ป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑.๑ ใจความสาคัญ (Main Idea) ใจความสาคัญ คือ ส่วนท่ีแสดง สาระสาคัญหรอื ความคดิ สาคญั ของเรอ่ื งท่ผี ู้เขยี นต้องการนาเสนอไปยังผู้อ่าน ซ่ึงใจความ สาคัญน้ันจะปรากฏในย่อหน้าหน่ึงๆ เพียงหน่ึงใจความสาคัญเท่าน้ัน โดยใจความสาคัญ นั้นอาจจะปรากฏออกมาเป็นประโยคใจความสาคัญ (Topic Sentence) เพื่อให้ผู้อ่าน สังเกตเห็นได้ง่าย หรืออาจจะไม่ปรากฏก็ได้ ซึ่งหากเป็นแบบหลังนี้ ผู้อ่านจะต้อง ทาการสรุปใจความสาคัญเอง ๑.๒ ใจความรองหรือพลความ (Supporting Sentence) ใจความรอง หรือพลความ คือ ส่วนขยายใจความสาคัญหรือความคิดสาคัญของเร่ือง โดยการสร้าง ใจความรองหรือพลความน้ันมีหลายวิธี เช่น วิธีการอธิบาย การนิยามความหมาย การยกตัวอย่าง การเปรยี บเทียบ เปน็ ตน้

๑๐๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ท้ังนี้ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (๒๕๕๘ : ๑๗๕) ได้แบ่งย่อหน้าตามลักษณะเน้ือหา ออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ย่อหน้าเนื้อเร่ือง ซ่ึงเป็นย่อหน้าที่เป็นสาระสาคัญ ของเรื่อง มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ ใจความสาคัญและส่วนขยายความ ส่วนย่อหน้า อีกประเภทหนึ่ง คือ ย่อหน้าพิเศษ คือ ย่อหน้าท่ีมิได้เน้นหรือกล่าวถึงสาระสาคัญ ของเร่ืองที่เขียน แต่เป็นย่อหน้าท่ีมีจุดมุ่งหมายเฉพาะในเรื่อง ได้แก่ ย่อหน้าเปิดเร่ือง (คานา) ย่อหนา้ ปดิ เรอ่ื ง (สรุป) และย่อหนา้ เช่ือมความ ๒. ขันตอนการเขียนยอ่ หน้า การเขียนย่อหน้านั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นสาหรับการเขียนงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่างๆ โดยการเขียนย่อหน้ามีข้ันตอนการเขียนและมีเนื้อเร่ืองไม่ซับซ้อน เท่าการเขียนแบบอ่ืนๆ ผู้ที่ฝึกเขียนหรือจะเป็นนักเขียนเชิงสร้างสรรค์ควรเร่ิมฝึกฝน การเขียนย่อหน้าจนชานาญ ถ้าเขียนย่อหน้าได้ดี ก็จะเป็นพ้ืนฐานในการเขียนแบบอ่ืนๆ ไดด้ ตี ่อไป ขัน้ ตอนการเขยี นย่อหนา้ สามารถสรุปได้ ดังน้ี ๒.๑ คิดเรื่อง ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียน เมื่อจะเขียนย่อหน้า ผู้เขียนควรจะวางแผนก่อนการเขียนโดยการคิดเร่ืองที่ต้องการจะเขียน ซ่ึงควรจะเร่ิม จากเร่อื งที่ง่ายและคุน้ เคย และความคิดนัน้ ควรมีเอกภาพ กล่าวคือ เป็นความคิดท่ีแสดง สาระเดียวหรอื เรอื่ งเดยี ว จงึ จะกลายเป็นความคิดหลักให้แกย่ ่อหน้าได้ ๒.๒ เสาะหาข้อมูล เม่ือได้ความคิดหลักท่ีจะเขียนแล้ว ผู้เขียนควรเสาะหา รวบรวมข้อมูล ทั้งจากการอ่าน การฟัง หรือประสบการณ์สว่ นตน ส่ิงแวดล้อม ตลอดจน คนรอบข้าง เพื่อจะได้ขอ้ มูลทจี่ ะมาขยายความคิดหลกั นนั้ ๒.๓ สร้างประโยคใจความสาคัญ ในขั้นนี้ ผู้เขียนต้องนาความคิดหลัก มาแปรให้เป็นประโยคใจความสาคัญเพ่ือทาให้ผู้อ่านสามารถสังเกตและเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยเลือกคาสาคัญ (Key Word) ท่ีครอบคลุมแนวคิดหลักมาใส่ไว้ในประโยค ใจความสาคัญด้วย นอกจากนี้ การสร้างประโยคใจความสาคัญในย่อหน้าน้ัน ควรเป็น ประโยคท่ีแสดงความคิดสาคัญไว้เพียงความคิดเดียว เพื่อให้เกิดเอกภาพในย่อหน้า และจะตอ้ งเขียนให้เปน็ ประโยคที่สมบูรณ์ (ประโยคสน้ิ กระแสความ) โดยผเู้ ขยี นสามารถ วางตาแหน่งประโยคใจความสาคัญไว้ส่วนใดของย่อหน้าก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น การวางไว้ ตอนตน้ ย่อหนา้ ตอนกลางย่อหน้า ตอนทา้ ยยอ่ หน้า หรอื ทง้ั ตอนต้นและทา้ ยย่อหน้า

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๐๑ ๒.๔ เขียนโครงเร่ือง ในการเขียนโครงเรื่องนั้น ควรเขียนเป็นข้อความส้ันๆ โดยโครงเรื่องจะต้องประกอบไปด้วยข้อความท่ีถูกต้องเหมาะสมและเรียงลาดับกัน อยา่ งเปน็ เหตุเป็นผลกัน เพือ่ ชว่ ยสร้างสัมพนั ธภาพให้แก่ยอ่ หนา้ ๒.๕ เขียนขยายความ ในขั้นนี้ ผู้เขียนต้องฝึกการขยายความให้ประโยค มีความชดั เจนยิง่ ข้นึ จนกลายเปน็ ประโยคที่มสี ่วนขยายที่สมบูรณ์ และควรเขียนประโยค ท่ีมีความสน้ั ยาวไม่แตกตา่ งกันมาก เพ่อื เกิดความสวยงามในยอ่ หน้าน้ันๆ ๒.๖ เรียบเรียงเป็นย่อหน้า โดยการนาประโยคขยายความน้ันมาเรียงร้อย ต่อกันโดยใช้คาเชื่อมท่ีเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผลกัน ทั้งนี้ ผู้เขียนอาจมีการเพ่ิม ขอ้ ความในย่อหนา้ เพ่อื ใหเ้ กิดความสละสลวยและมีความสมบรู ณย์ งิ่ ข้ึน ๒.๗ ตรวจทานและแก้ไข ข้ันตอนน้ีนับเป็นข้ันตอนสุดท้ายท่ีเปิดโอกาส ให้ผู้เขียนทบทวนย่อหน้าของตัวเองและขัดเกลาการใช้ภาษา การเรียงประโยค การสื่อความหมาย และความคิดสาคัญของเรื่อง หากผู้เขียนหม่ันทบทวน ก็จะสามารถ แก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนย่อหน้า ทั้งน้ี หากฝึกจนชานาญก็จะพัฒนาการเขียน ย่อหนา้ ได้อยา่ งรวดเรว็ อกี ดว้ ย ๓. ลกั ษณะยอ่ หนา้ ท่ีดี ย่อหนา้ ที่ดี มลี ักษณะดงั ตอ่ ไปน้ี ๓.๑ มีเอกภาพ กล่าวคือ ในย่อหน้าหน่ึงๆ นั้นจะต้องมีความคิดสาคัญ หรือใจความสาคัญเพียงประการเดียว นอกเหนือจากน้ันคือส่วนขยายต่างๆ ที่เข้ามา ส นั บ ส นุ น ค ว า ม คิ ด ส า คั ญ ห รื อ ใจ ค ว า ม ส า คั ญ ใน ย่ อ ห น้ า ให้ มี ค ว า ม ชั ด เจ น ย่ิ งข้ึ น ผู้เขียนต้องระมัดระวังการเสนอความคิดสาคัญ โดยต้องเสนอในแง่มุมที่คงท่ี ไม่เปลยี่ นแปลง หรือเสนอความคิดสาคัญอย่างอื่นแทรกขึ้นมาในย่อหน้า เพราะจะทาให้ ขาดเอกภาพในย่อหนา้ ได้

๑๐๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง ย่อหน้าแสดงเอกภาพ โดยข้อความท่ีทาตัวหนานั้นทาหน้าท่ีแสดงประโยค ใจความสาคญั หรอื ความคิดสาคัญของเร่ืองท่มี เี พียงความคดิ เดียว ปราสาทผ้าขาว เป็นวัตถุทานอันสูงส่งที่ชาวไทยล้ือใช้เป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีกรรมการต้ังธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) นับแต่อดีตในชุมชนไทลื้อท่ีอาเภอ เชียงคา จะมีการจัดประเพณีต้ังธรรมหลวงเป็นประจาทกุ ปี โดยได้จัดทาปราสาทผ้าขาว และมนทก (มณฑป) ผ้าขาวข้ึน เพ่ือตานไว้ภายภาคหน้า หรืออุทิศให้แก่ญาติผู้ตาย ท่ีล่วงลับ ในการจัดทาปราสาทผ้าขาว ชาวไทลื้อได้ใช้ฝีมือในงานช่างหลายๆ ด้าน ในการจัดทา เช่น งานช่างไม้ งานช่างจักสาน งานช่างถัก-ทอผ้า งานช่างฉลุกระดาษ งานช่างทั้งหลายที่กล่าวมาน้ี จะปรากฏอย่างเด่นชัดในส่วนประกอบต่างๆ ของปราสาทผา้ ขาว (ทม่ี า โครงการพิพธิ ภณั ฑ์วฒั นธรรมและชาติพันธุล์ า้ นนา มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่. ไทล้ือ อตั ลกั ษณแ์ ห่งชาติพันธุ์ไท, ๒๕๕๑ หน้า ๘๐) ๓.๒ มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ ในย่อหน้าหนึ่งๆ นั้นจะต้องมีการลาดับ ความคิดและความสัมพันธ์ของข้อความต่างๆ ในย่อหน้าให้เป็นไปตามเหตุและผล ดังเช่น จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (๒๕๕๘ : ๑๘๔) ได้กล่าวถึงสัมพันธภาพไว้ ๒ ลักษณะ ไดแ้ ก่ ๓.๒.๑ สมั พนั ธภาพในย่อหนา้ แบง่ ยอ่ ยเปน็ ๒ แบบ คอื ๓.๒.๑.๑ การจัดระเบียบความคิด ซึ่งจะต้องมีการนามารวมกัน อย่างเป็นระเบียบ ถ้าจัดลาดับอย่างดี จะทาให้เรื่องในย่อหน้ามีความกระจ่างชัด โดยผูเ้ ขยี นจะต้องลาดับความคิดก่อนวา่ ข้อความใดหรอื ประโยคใดควรจะกล่าวกอ่ นหลัง การจัดค วาม คิด นี้ อาจจะจัดต าม ลาดับ เห ตุ ผล ลาดั บ เวลา ลาดั บ สถาน ท่ี ลาดับความสาคัญ ลาดับเหตุการณ์ และลาดับทิศทาง เป็นต้น การจัดลาดับเรื่องราว ใหเ้ ชื่อโยงกันน้จี ะทาให้ย่อหนา้ มสี มั พันธภาพ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๐๓ ๓.๒.๑.๒ ความต่อเน่ืองและความสอดคล้อง ซ่ึงหมายถึง ความสอดคล้องของประโยคหรือข้อความต่างๆ ภายในย่อหน้า จะเกิดจากการนา คาเชื่อมมาประสานประโยคต่างๆ ทาให้ข้อความต่อเน่ืองกลมเกลียวกันและอ่านได้ อยา่ งราบรน่ื โดยการใช้คาเชอ่ื มน้ันมีหลายลักษณะ ไดแ้ ก่ ๑) แสดงการเสริม ย้า เช่น นอกจากนั้น แล้วก็ ยง่ิ กวา่ น้ัน ๒) แสดงการเปรียบเทียบ เช่น เหมือนกับ ในทานอง เดยี วกัน ราวกบั ๓) แสดงการยอมรับ เช่น เม่ือเป็นเช่นน้ี แสดงว่า เชื่อไดว้ ่า ๔) แสดงการสรุป เช่น ด้วยเหตุดังกล่าว ในที่สุด กลา่ วโดยสรปุ อกี นัยหนง่ึ ๕) แสดงการเปรียบต่างๆ เช่น ตรงกันข้าม แม้ว่า ทัง้ ๆ ท่ี แต่ ๖) แ ส ด งก ารข ย าย ค ว าม เช่ น จ ะ เห็ น ได้ ว่ า ตัวอย่างเชน่ ๗) บอกเวลาหรือสถานท่ี เช่น หลังจากน้ัน ต่อมา ต่อไป ในขณะน้นั ทางด้านขวา ในตอนท้าย ๓.๒.๒ สัมพนั ธภาพระหว่างยอ่ หน้า ในแต่ละย่อหน้านั้นจะสัมพันธ์กันโดยเนื้อหาอยู่แล้ว แต่ผู้เขียน ควรเน้นความสัมพันธ์ของย่อหน้าให้เด่นชัดข้ึน ด้วยการใช้คาหรือวลีเช่ือม ความ เพราะคาเหล่านี้จะทาให้เกิดความเช่ือมโยง นอกจากนี้ ผู้เขียนอาจจะเช่ือม ด้วยข้อความท่ีสร้างเป็นประโยค หรือข้อความท่ีมีประธานแทรกอยู่ก็ได้ เช่น ดังที่ ไดก้ ลา่ วมาแลว้ ว่า... กอ่ นที่จะพูดอะไรตอ่ ไป... นอกจากความคิดเหน็ ที่มผี ู้เสนอมาแลว้ .... นอกจากคุณค่าทางศิลปกรรมแลว้ ... เป็นตน้

๑๐๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง ย่อหน้าแสดงสัมพันธภาพ โดยข้อความท่ีทาตัวหนาน้ันทาหน้าท่ีเชื่อมโยงส่วน ตา่ งๆ ของเนื้อเรอื่ งใหเ้ ชอ่ื มโยงเกย่ี วเน่อื งกนั นักวิชาการด้านทฤษฎีความทันสมัยหลายคน เช่น อิงเคลเลสและสมิท (Inkeles & Smith, ๑๙๗๖, pp. ๑๙-๒๔) และเลเนอร์ (Lerner, ๑๙๕๘) มีความเห็น สอดคล้องกันว่า คนทันสมัย (Modern Man) จะต้องมีทัศนคติ และพฤติกรรม บางอย่างท่ีเป็นคุณสมบัติของความทันสมัย (Modernity) ซึ่งคุณสมบัติของคนทันสมัย ตามแนวคิดของอิงเคลเลสและสมิท (Inkeles & Smith, ๑๙๗๖, pp. ๑๙-๒๔) สรุปความได้ว่า ต้องเป็นคนพร้อมที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ มีความกระตือรือร้น ที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยใหม่ มีความคิดก้าวหน้า รู้จักวางแผน ในการทางาน เช่ือในหลักเหตุและผล ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้อย่างยุติธรรม ไม่ยึดบุคคลหรือความสัมพันธ์มากกว่ากฎเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ และสามารถปรับตัว เข้ากับสภาพปัจจุบันและอนาคต ส่วนเลเนอร์ (Lerner, ๑๙๖๘) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติ ของคนทันสมัย สรุปความได้ว่า คนทันสมัยต้องสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ สามารถเข้าใจในความแตกต่างของบุคคล มีความมุ่งมั่นสนใจปัญหาของชุมชน และเชื่อมั่นในความสามารถของมนษุ ย์วา่ สามารถแก้ไขปัญหาได้ (ที่มา สุภาพร คงสิรริ ัตน์. ความทนั สมัยของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , ๒๕๕๙ หน้า ๖๓)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๐๕ ๓.๓ มีสารัตถภาพ กล่าวคือ จะต้องมีการเน้นย้าข้อความความคิดหลัก หรือใจความสาคัญ เพ่ือให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจได้ง่ายว่าในย่อหน้าดังกล่าวต้องการ ถ่ายทอดสาระสาคัญหรือความคิดสาคัญใดเป็นหลัก ซึง่ การเน้นย้าหรือสร้างสารัตถภาพ น้ัน ผู้เขียนสามารถใช้การซ้าคา วลี หรือซ้าประโยคเดิม ตลอดจนย้าเน้ือหาท่ีต้องการ แสดงความคดิ หลักมากกวา่ ส่วนขยายอื่นๆ ตวั อยา่ ง ย่อหน้าแสดงสารัตถภาพ โดยข้อความทที่ าตวั หนาที่เป็นการซ้าคาน้นั ทาหน้าที่ เนน้ ย้าใหเ้ หน็ ความคิดหลกั หรือประเด็นสาคัญของเร่ือง ปราสาทเมอื งตา่ งามลาบนท่รี าบอีสานใต้ “ปราสาทเมืองต่า” เป็นเทวสถานตามความเช่ือในศาสนาฮินดูเช่นเดียวกับ ปราสาทพนมรุ้ง ทว่าตั้งอยู่บนที่ราบ อันเป็นท่ีมาของชื่อ “เมืองต่า” สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ซ่ึงเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับการสร้างปราสาท พนมรุ้ง โดดเด่นด้วยรูปแบบศิลปะบาปวน เช่น รูปนาคหินจาหลักรอบสระน้า เป็นนาคเศียรโล้น ไมม่ เี ครอื่ งประดับศีรษะ ปราสาทเมืองต่าสร้างขึ้นโดยถ่ายทอดคติความเช่ือทางศาสนาฮินดูออกมาได้ อย่างครบถว้ น คอื มีกล่มุ ปราสาทอิฐต้ังอยกู่ ลางแผนผัง เป็นสญั ลกั ษณแ์ ทนเขาพระสเุ มรุ ล้อมด้วยลานปราสาทและสระน้าสี่มุม โดยสระน้านี้เป็นสัญลักษณ์ของเคร่ืองรักษา เทวสถาน อีกท้ังยังมีอ่างเก็บน้า (บาราย) ขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของปราสาท เป็นสัญลักษณ์แทนมหาสมุทรของจักรวาลที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ทั้งหมดนี้ทาให้ ปราสาทเมอื งต่าได้รับการยกย่องว่าเปน็ ปราสาทหินทมี่ ีผังสวยที่สดุ ในประเทศไทย (ทม่ี า ปราสาทเมืองตา่ งามล้าบนทรี่ าบอีสานใต้, ม.ป.ป. หน้า ๒๑) ๓.๔ มีความสมบูรณ์ กล่าวคือ ใจความสาคัญหรือความคิดสาคัญ และส่วนขยายความของย่อหน้าน้ันต้องมีสาระครบถ้วน โดยส่วนขยายนั้น ต้องครอบคลุมความคิดขยายใจความสาคัญหรือความคิดสาคัญในย่อหน้าได้อย่าง แจ่มแจ้ง มีความถูกต้องของหลักการใช้ภาษา ท้ังคา ประโยค ตลอดจนการใช้คาเชื่อม ตา่ งๆ เพอื่ ทาให้ย่อหนา้ นนั้ สละสลวย สาระครบถว้ น และสมบูรณท์ กุ ดา้ นน่นั เอง

๑๐๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ นอกจากนี้ ประภาศรี สีหอาไพ (๒๕๓๑ : ๑๗-๑๘) ยังกล่าวถึงลักษณะ ของยอ่ หนา้ ท่ดี ี สรุปไดด้ ังนี้ ๑. เอกภาพ (Unity) คือ มีข้อความสาคัญเพียงประการเดียว สาระหลัก เป็นจุดเดียว ส่วนจะมีขยายหรือแสดงตัวอย่างเพ่ิมเติมก็ได้ โดยการเขียนต้องไม่วกวน นอกเร่ือง ทาให้สับสน เข้าใจยาก แต่ละย่อหน้าควรรวมจุดเป็นหัวข้อหรือแนวความคิด ตามท่ีได้ตั้งไว้ในการวางโครงเร่ือง ทาให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นเร่ืองย่อข้อความ ทั้งหมดใหเ้ หลอื เพยี งประโยคเดียวได้ ๒. สัมพันธภาพ (Coherence) มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดี เรียงลาดับ ประโยคให้ขยายโครงร่าง รายละเอียดแสดงความคิดอย่างต่อกัน อ่านแล้วเขา้ ใจ ชัดเจน แต่ละประโยคมีสนั ธานเชื่อมถูกต้อง มตี วั อยา่ งที่อา้ งองิ ขยายขอ้ ความน้นั อย่างแจม่ แจ้ง ๓ . สารัตถภ าพ (Message Emphasis) มีการย้าเน้ น สาระท่ี สาคั ญ ตามแนวคิดหลักที่สร้างสรรค์ขึ้น มีความสาคัญและประโยคที่กระชับความหมาย อย่างเด่นชัด ถ้าเป็นย่อหน้าท่ีมีขนาดสั้นเพียงย่อหน้าเดียว โดยมากมักจะวางประโยค ใจความไว้ตอนต้นย่อหน้า หรอื ท้ายย่อหน้าเพ่อื สรุปความสาคญั ท้ังหมดในย่อหน้าน้ัน ๔. วิวิธภาพ (Variety) มีความแตกต่างหรือหลากหลายในการใช้ถ้อยคา การสร้างประโยค การสร้างย่อหน้าไม่ซ้ากันจนทาให้เกิดความซ้าซาก ควรมีการสร้าง ความแตกต่างทาให้ชวนอา่ นซง่ึ มอี งค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ ๔.๑ โครงสร้าง (Structure) กาหนดโครงสร้างในการเขียนให้แตกต่าง กัน เช่น การข้ึนต้นนวนิยายอาจใช้ตอนจบมาขึ้นต้น กาหนดการตายของพระเอก มาเป็นฉากแรกแล้วเล่าเรื่องย้อนไป จะทาให้แปลกกว่าโครงสร้างท่ีเป็นเชิงประวัติชีวิต ตัง้ แตว่ ยั เด็ก เป็นต้น ๔.๒ ความสั้นยาว (Length) ใช้ประโยคท่ีมีความสั้นยาวต่างกัน ทาให้มี ช่วงระยะวรรคตอนให้ผู้อ่านได้พักผอ่ นสายตา ๔.๓ ดุลภาพ (Balance) คือ ความเหมาะสมในผลงานเขียน ตั้งแต่ ใจความสาคัญ ตัวอย่างประกอบ การย้าเน้นสาระ สร้างแนวคิดจาแนกในแต่ละหัวข้อ อย่างเสมอภาค ตอนใดที่สาคัญก็มีการขยายขอ้ ความจนสมบูรณ์ ท้ังน้ี รูปแบบการเขียน ทม่ี ีดลุ ภาพจะทาใหย้ ่อหนา้ เกิดความงาม ๔ .๔ การล าดั บ ค า (Words Arrangement) มี ค วาม แต ก ต่ างใน การสร้างคาให้มีลาดับต่อเน่ืองไป ไม่ซ้าความจนน่าเบ่ือหน่าย ตัวอย่างเช่น แสงสว่างใด

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๐๗ ยิ่งกว่าปัญญาไม่มี อาจลาดับใหม่ว่า ไม่มีแสงสว่างใดยิ่งกว่าปัญญา เกิดโรคระบาด ในตาบลน้ี อาจลาดบั ใหมว่ ่า โรคระบาดเกิดในตาบลน้ี เป็นต้น จากข้างต้นสรปุ ไดว้ ่า ในการเขยี นสร้างสรรค์ควรคานงึ ถงึ วธิ ีการสร้างยอ่ หน้า ให้ถูกต้องเหมาะสมและชัดเจนสมบูรณ์ โดยการเขียนย่อหน้านั้น ควรมีท้ังเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ และมีความสมบูรณ์ เพราะหากย่อหน้าน้ันมีองค์ประกอบ ที่ครบถ้วนแล้ว ก็จะสามารถเป็นย่อหน้าท่ีมีความงามและสามารถส่ือความหมาย ไปยงั ผ้อู ่านไดอ้ ย่างครบถว้ นสมบรู ณน์ ่ันเอง การใช้สานวนหรือท่วงทานองการประพันธ์ สานวนหรือท่วงทานองการประพันธ์ (Style) อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของนักเขียนแต่ละคน ยากที่จะลอกเลียนกัน และเป็นสิ่งท่ีมีความสาคัญ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในแง่ของการผลิตงานเขียนที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง โดดเด่น และทรงคุณค่า โดยสานวนหรือท่วงทานองการประพันธ์มีหลากหลายความหมาย โดยนามาประมวลไว้ ดงั น้ี กุหลาบ มัลลิกะมาส (๒๕๑๗ : ๒๑) นิยามไว้ว่า สไตล์ หมายถึง ท่วงทานอง ที่แสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะตัวของกวีแต่ละคน ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏอยู่ซ้าๆ จนสรปุ ได้วา่ การเขยี นแบบนเี้ ปน็ ของนักเขยี นคนใด อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงใช้ประโยคยาว หนกั ในการแต่งร้อยแก้ว รอ้ ยกรอง พระเจา้ บรมวงศ์เธอสมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ ทรงใช้ประโยคอา่ นงา่ ย เข้าใจงา่ ย ไมม่ ีศพั ทส์ ูง น.ม.ส. ทรงมีอารมณ์ขัน เล่นคา เล่นสานวน (เช่น เม่ือกล่าวถึง “ทาสแฟช่ัน” ก็วา่ “พระราชบญั ญตั เิ ลิกทาสกเ็ ลิกไม่ได้”) สุนทรภู่นิยมใช้สัมผัสมาก ชอบพรรณนาความรัก ธรรมชาติและธรรมดา ของสัตว์ และยังชอบกลา่ วถึงประวัตสิ ถานท่ตี ่างๆ ลกั ษณะกลอนมีสมั ผสั มาก รงค์ วงศ์สวรรค์ มีสไตล์แปลก นักเขียนผู้น้ีเป็นเสมือนนักวิทยาศาสตร์ คือ ทดลองการใช้ภาษา คาพูดมที ั้งคนชอบและคนไม่ชอบ ตุ้ย ชุมสาย (๒๕๑๖ : ๒๕) กล่าวถึง สานวน ไว้ว่า สานวน คือ การเลือกใช้ ถ้อยคาท่ีมีประสิทธิภาพตามต้องการ เอามาผูกเป็นประโยคข้ึน ให้เกิดความหมาย

๑๐๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ แจ่มแจ้ง สะเทื อน อารมณ์ เพ่ื อให้ สารที่ ผู้ป ระพั น ธ์กาห น ดไว้ ไป ถึงผู้อ่าน อย่างเพียบพร้อมบริบูรณ์...แท้จริงแล้วสานวนของบทประพันธ์ก็คือ บุคลิกภาพ ของผู้ประพันธ์นนั่ เอง สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๔๓) นิยาม ไว้ว่า ท่วงทานองการประพันธ์ คือ ลักษณะการแต่งเฉพาะตัวในงานเขียน ซ่ึงสังเกตได้เด่นชัดจากสานวนภาษา และการใช้ถ้อยคา โดยท่วงทานองในงานเขียนน้ันมี ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะเฉพาะตัว (Personal Style) ซ่ึงเป็นเร่ืองเฉพาะของแต่ละคน อีกลักษณะหนึ่ง คือ ท่วงทานอง ส่วนรวม (Racial Style) เป็นท่วงทานองท่ีเป็นแบบแผนของเช้ือชาติของกลุ่มชน ทาให้ ทราบว่านักเขียนชอบหรือไม่ชอบอะไร และมีศีลธรรมอยู่ในระดับใด โดยท่วงทานอง จะบ่งบอกความเปน็ ตัวกวี ความรู้ ความคดิ ฝมี อื กลวิธี ตลอดจนอปุ นิสัยได้ เปลื้อง ณ นคร (๒๕๔๐ : ๖๓) ได้นิยามว่า สานวน (style) หมายถึง วิธีแสดง ความคิดของเราออกเปน็ ภาษา ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน สานวนหรือท่วงทานองการประพันธ์ จะใช้ในการประพันธ์ท้ังร้อยแก้วและร้อยกรอง เพ่ือให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดจินตนาการตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการ ท้ังนี้ สานวน หรือท่วงทานองน้ัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการเขียน การเลือกใช้ถ้อยคา ความรู้ในเร่ืองที่จะเขียน ตลอดจนคลังคาของผู้เขียน และหากเขียนจนเป็นเอกลักษณ์ และโดดเด่นแล้ว กจ็ ะกลายเปน็ สานวนเฉพาะของผู้เขยี นในท่ีสดุ ลักษณะของสานวนหรอื ท่วงทานองการประพนั ธ์ สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๔๔-๔๘) กล่าวถงึ ลกั ษณะของสานวนการประพันธ์ สรุปไดด้ ังตอ่ ไปน้ี ๑. การสรรคา (Diction) หมายถึง กลวิธีในการเลือกใช้คาและวิธีการ ให้ความหมายต่อคาศัพท์ให้เหมาะสมกับลักษณะการเขียนและเน้ือเร่ือง บางทีก็ใช้ ความตรงกับพจนานุกรม บางคราวอาจจะใช้เรียบเรียงข้อความเป็นประโยคง่ายๆ ส้ันๆ หรือนักเขียนบางท่านสอดใส่ความหมายพิเศษลงไปในถ้อยคาเป็นความหมายโดยนัย ซึ่งต้องอาศัยการตีความ ความสามารถของกวีที่จะสรรคาให้จะทาให้ภาษาสละสลวย งดงาม กินใจความลึกซึ้ง สานวนที่ดีจะต้องมีความกระชับ ชัดเจน มีอานาจดึงดูด ความรสู้ ึกและอารมณ์ มคี วามไพเราะและราบรื่น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๐๙ ตัวอย่าง วรรณคดีเร่ือง ลิลิตพระลอ ที่กวีสามารถสรรคาที่แสดงความหมาย ของความเศร้าได้อย่างเด่นชัด การซ้าคาเพ่ือตอกย้าอารมณ์ความรู้สึก ตลอดจน การพรรณนาให้ผู้อ่านเห็นภาพของน้าตาและความโศกเศร้าในตอนท้ายของเร่ือง ท่จี บลงด้วยโศกนาฏกรรม เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทกุ เรอื น อกแผ่นดินดูเหมือน จกั ขวา้ บเหน็ ตะวนั เดือน ดาวมืด มัวนา แลแห่งใดเห็นน้า ย่อมนา้ ตาคน (ท่ีมา กรมศลิ ปากร. ลิลติ พระลอ, ๒๕๑๑ หนา้ ๑๔๑) ๒. โวหาร หรือ สานวนโวหาร เป็นท่วงทานองที่บอกลักษณะเฉพาะตัว ของกวีไดด้ ี แบง่ ออกเปน็ ๒.๑ การสร้างภาพในจิต (Imaginary) คือ การท่ีนักประพันธ์ต้องการใช้ ถ้อยคากระตุ้นความรู้สึกของผู้อ่าน หากผู้ประพันธ์มีความสามารถสูง ก็จะสามารถ ใช้ภาษาสร้างความกระจ่างให้แก่ผู้อ่านได้มาก ทาให้ผู้อ่านได้สัมผัสส่ิงที่ กวี หรือนักประพันธ์กล่าวถึงด้วย โดยการใช้ภาษาสร้างภาพในจิตหรือสร้างจินตนาการน้ัน จะช่วยเพิม่ ความสมจรงิ และสร้างความเขา้ ใจให้แกผ่ ู้อ่านได้ ตัวอย่าง การใช้คาในการสร้างภาพของจรกา เพ่ือทาให้ผู้อ่านเห็นลักษณะท่ีอัปลักษณ์ ของตัวละครดงั กลา่ ว ในลกั ษณน์ น้ั วา่ จรกา รูปช่ัวต่าช้าท้งั ศกั ดศ์ิ รี ทรลักษณ์พิกลอนิ ทรยี ์ ดไู หนไม่มจี าเริญใจ เกศานาสกิ ขนงเนตร สมเพชพปิ ริตผดิ วิสยั เสยี งแหบแสบสัน่ เปน็ พน้ ไป รูปร่างชา่ งกระไรเหมอื นยักษ์มาร (ทีม่ า กรมศลิ ปากร. อิเหนา, ๒๕๑๒ หน้า ๔๑๒)

๑๑๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒.๒ ภาพพจน์ (Figure of Speech) คือ การใช้คาบรรยายเปรียบเทียบ เชิงอุปมาอุปไมยเพ่ือทาให้ส่ิงที่ลางเลือนชัดเจนข้ึนด้วยการใช้วิธีเปรียบเทียบ ซ่ึงทาได้ หลายวธิ ี คือ ๒.๒.๑ เปรียบเหมือน (Similarly) ภาษาไทยใช้ว่า อุปมา หมายถึง การเปรยี บสิ่งทเี่ หมือนกัน เปรยี บส่ิงหนึ่งว่าเหมอื นกบั สง่ิ หนง่ึ มกั ใชค้ าว่า เสมือน เหมือน ประดจุ ดงั ฯลฯ ตวั อย่าง การเปรยี บเหมอื นหรอื อปุ มาในเร่อื ง ขุนชา้ งขุนแผน นางพมิ พรมิ้ เพราดังจนั ทรา เอ็งเหมือนเต่านาอยตู่ า่ ใต้ อยากได้ดวงจันทร์สวรรคไ์ กล เห็นจะไดแ้ ลว้ หรอื นะลกู อา (ทม่ี า “เสภาขุนช้างขนุ แผน” ใน วรรคทองในวรรณคดีไทย, ๒๕๕๕ หนา้ ๗๗) ๒.๒.๒ เปรียบเป็น (Metaphor) ภาษาไทยใช้ว่า อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบส่ิงหน่ึงเป็นอีกส่ิงหน่ึงคล้ายกับเปรียบเหมือน ต่างกันตรงที่ไม่มีคาว่า เหมือน ประดุจ ดัง แต่จะเน้นลักษณะที่เป็นรูปธรรม ซ่ึงการเปรียบเทียบลักษณะน้ี เรียกว่าการเป รียบ เที ยบ โดยตรง เป็ นการเป รียบ เที ยบ โดยการใช้คาช้ีน า ให้ผู้อ่านนึกเปรียบเทียบเอง มักจะมีคาแสดงการเปรียบได้แก่คาว่า “เป็น” กับ “คือ” หรือเป็นการเช่ือมโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกส่ิงหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ใช้คาดังกล่าวใน การเปรียบกไ็ ด้ ตวั อยา่ ง การใช้ภาพพจน์อปุ ลักษณ์จากเร่ือง ขุนช้างขุนแผน ดังขอ้ ความท่ีนางแก้วกิริยา เปรียบตัวเองวา่ เปน็ เต่าและหง่ิ หอ้ ย และเปรยี บนางวนั ทองเปน็ นกยูงกบั พระจนั ทร์ เตา่ เตี้ยดอกอย่าตอ่ ใหต้ นี สงู มิใช่ยงู จะมาย้อมไมเ่ หน็ ขัน หิ่งห้อยหรือจะแข่งแสงพระจันทร์ อยา่ ปั้นนา้ ให้ลงตะลงึ เงา (ท่มี า “ขุนชา้ งขนุ แผน” ใน ฉบับหอสมดุ พระวชริ ญาณ, ๒๕๕๕ หน้า ๔๘๘) ๒.๒.๓ การเปรียบเทียบโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbol) เป็นการใช้ภาษา เพื่อสร้างภาพพจน์ คล้ายกับการเปรียบเทียบชนิดเปรียบเหมือนและเปรียบเป็น แต่มีวิธีการที่แนบเนียนและลึกซ้ึง ซึ่งต้องอาศัยการตีความ มีลักษณ ะของ การเปรียบเทียบในรูปของการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งอาจจะใช้สัญลักษณ์สากล ที่ผู้อ่านทราบ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑๑ โดยท่ัวกันว่าหมายถึงอะไร เช่น ใช้ดอกไม้แทนผู้หญิง ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพุทธ ศาสนา สีขาวเป็นสญั ลกั ษณข์ องความบริสุทธิ์ เปน็ ตน้ ท้งั นี้ ความสาคัญการเปรียบเทียบอยทู่ ี่นอกจากจะทาให้เกิดภาพพจนช์ ดั เจน ขน้ึ แล้ว ยังทาให้เกิดการเชื่อมโยงด้านความคิดจากสงิ่ หนึ่งไปส่สู ่ิงอื่น ทาให้เกิดจินตภาพ ขน้ึ ในใจ เกดิ อารมณค์ ล้อยตามน่ันเอง ๓. ลักษณะของประโยค หมายถึง โครงสร้างของประโยคในการเล่าเร่ือง อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน นักเขียนบางคนชอบใช้ประโยคส้ัน บางท่าน ชอบประโยคยาว บางท่านชอบประโยคคขู่ นาน ซ่ึงนักเขียนโดยท่ัวไปนิยมเขียนลกั ษณะ ประโยคอยู่ ๔ แบบ ตามที่ กหุ ลาบ มลั ลิกะมาส (๒๕๑๗ : ๒๓-๒๔) กลา่ วไว้ดงั นี้ ๓.๑ ประโยคส้ัน (Attic Sentence) คือ เป็นประโยคความเดียวแบบสั้น ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา เช่น สานวนใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ความว่า “พ่อกูช่ือ ศรีอินทราทิตย์ แม่กูช่ือนางเสือง..” หรือประโยคที่ปรากฏในสามก๊ก ความว่า “โจโฉ ไดฟ้ ังดังน้ันก็โกรธ..” เปน็ ตน้ ๓.๒ ประโยคยาว (Isocratic Sentence) คือ การเขียนแบบท่ีใช้ประโยค หลายความ ความรวม ยาขอบ หรือ โชติ แพร่พันธ์ นิยมใช้ประโยคยาว เช่น ความว่า “ฉันเกลียดความเงียบท่ีสุด จนกระทั่งในเวลาเขียนหนังสือ ซ่ึงคนทั้งหลายเขาชอบ หรือแสวงหาความเงียบกนั ฉันกย็ งั ชอบเขียนในเวลาที่มีเสยี งจอ้ กแจ้กสนทนา” ๓.๓ ประโยคยาวแบบใช้โวหาร (Ciceronian Sentence) คือ การเขียน โดยการใช้ประโยคหลายความและความซ้อน มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ทีละตอน เน้ือความจะค่อยๆ ทวีความสาคัญมากข้ึน และเมื่อจบจะมีเน้ือความสมบูรณ์ ผู้อ่าน อาจจะต้องอาศัยการตีความ เพราะเน้ือความอาจไม่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา เช่น สานวนยาขอบ ความว่า “ข้าพเจ้ารักตัวเองยิ่งนัก แต่ข้าพเจ้ารักตะละแม่ย่ิงกว่าตัวเอง แตท่ ั้งตัวเองและตะละแม่ ข้าพเจ้ากห็ าไดร้ กั เท่าตองอูไม.่ ..” ๓.๔ ประโยคบาโรก (Baroque Sentence) คือ การเขียนประโยค ท่ีมีลักษณะขาดดุลหรือลักษณะคู่ขนาน (Parallelism) มีลักษณะเป็นประโยคยาว หรือสั้นปนกัน ไม่มีความถูกต้องหรือคานึงถึงแบบแผนทางไวยากรณ์ ลักษณะการเขียน ประโยคดังกล่าวสามารถทาให้ผู้อ่านแปลกใจ กระทบใจ หรือบางครั้งก็เป็นการเขียน ท่ใี ช้ถ้อยคาแปลกออกไป แตก่ ็ยังสามารถเข้าใจได้ ลักษณะเด่นชัดของประโยคบาโรกน้ัน

๑๑๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ปรากฏในงานเขียนของ รงค์ วงษ์สวรรค์ เช่น “วันนี้รับประทานอาหารอย่างเอร็ด” ซง่ึ ทว่ั ไปมกั จะใชค้ าว่า “เอรด็ อร่อย” เป็นต้น ท้ังน้ี เปลื้อง ณ นคร (๒๕๔๐ : ๖๘-๗๐) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของสานวน การประพันธท์ ีด่ ี สรปุ ได้ดงั น้ี ๑. ความชดั เจน ความชัดเจน คือ การใช้ถ้อยคาภาษาท่ีทาให้ผู้อ่านเข้าใจ อย่างชัดเจน ตรงตามความต้องการของผู้เขียน และไม่ควรกากวม ทาให้ผู้อ่านตีความหมายไปได้ หลายทาง โดยการที่จะเขียนให้ชัดเจนน้ัน ผู้เขียนจะต้องพิจารณาการใช้ถ้อยคา และอ่านทบทวนข้อความเหล่านั้นเพ่ือทาความเข้าใจกับตนเอง หากไม่เข้าใจ อย่างแจ่มแจ้ง ให้ขดั เกลาแกไ้ ขข้อความน้ัน ๒. ความกระชับของถอ้ ยคา ความกระชับของถ้อยคา คือ การเลือกสรรคาที่มีความหมายใกล้กับความ ต้องการของผู้เขียนมากที่สุด เพราะคาบางคามีความหมายใกล้เคียงกันมาก เช่น คาว่า ใกล้ เคยี ง ขอบ ข้าง ชาย ชิด ริม หากจะต้องการส่ือความหมายว่า หมู่บ้านอยู่รมิ ป่า – ใกลป้ ่า – ขอบป่า – ข้างป่า – ชายป่า หรือชดิ ป่า ต้องพิจารณาความหมายให้ถถี่ ว้ นกอ่ น จะเลือกใชค้ าน้ัน ๓. อานาจ อานาจ คือ ลักษณ ะท่ีปลุกอารมณ์ ความรู้สึกอย่างใดอย่างหน่ึง เช่น เมื่อฟังดนตรี บางเพลงอาจรู้สึกเศร้า บางเพลงทาให้ตื่นเต้นคึกคะนอง ทั้งน้ี เพราะนักแต่งเพลงเลือกเอาเสียงดนตรีต่างๆ มาเรียงลาดับกัน เกิดเป็นเสียงท่ีมีอานาจ ทาให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหน่ึง โดยการใช้เสียงของคา เช่น มะงุมมะงาหรา กะหนงุ กะหนิง กระจมุ๋ กระจม๋ิ เปน็ ต้น ๔. ความไพเราะ ความไพเราะ คือ การเรียบเรียงคาและประโยคต่างๆ ให้เกิดความสละสลวย เมื่ออ่านแล้วต้องเกิดความราบลื่น ไม่ขัดหู ทั้งน้ี นักเขียนควรทดลองอ่านออกเสียงคา หรอื ข้อความนั้นกอ่ น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑๓ ศิลปะการเขยี นเชิงสร้างสรรค์ นอกจากกลวิธีการเขียนเชิงสร้างสรรค์ดังท่ีกล่าวมาแล้ว ยังมีศิลปะการเขียน ซ่ึงมีความสาคัญต่อการสร้างสรรค์งานเขียน ดังที่ สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๒๑-๓๘) ไดก้ ลา่ วถงึ ศลิ ปะในการเขียนเชงิ สรา้ งสรรค์ สามารถสรปุ ได้ ดงั นี้ ๑. ศิลปะการเริ่มเรือ่ ง การเริ่มเรื่อง คือ การเปิดเร่อื งในตอนแรก เปรียบเหมือนกับการเปิดประตูบ้าน ทักทายการเย่ียมเยือนของแขก หากการต้อนรับของเจ้าบ้านดี เป็นที่ประทับใจ แขกก็ปรารถนาจะเลยเขา้ ไปสนทนาตอ่ ในบ้าน แมว้ า่ ผูท้ ่ีตนไม่ประสงค์จะพบไม่อยู่กต็ าม แต่หากการปฏิสันถารเบื้องต้นกลายเป็นตรงกันข้าม แขกก็คงจะลังเลหรือลากลับไป เสียเลย ดังน้ัน ข้อความเริ่มต้นของการเขียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเภทใดก็ตาม จะต้องชักจูงใจผู้อ่านให้ติดตามตอนต่อๆ ไปอยู่เสมอ ซ่ึง ฉลวย สุรสิทธ์ิ (๒๕๒๒ : ๙๗) กล่าวว่า การเรียบเรียงถ้อยคาเพียง ๒-๓ ประโยคแรกเพื่อเร่ิมเรื่องให้ดีท่ีสุดนั้น ย่อมจะตอ้ งคานงึ ถึงปจั จัยสาคัญๆ ถงึ ๒ ประการ ได้แก่ ประการแรก จะตอ้ งเร่มิ เขียนดว้ ยถอ้ ยคาภาษาทอ่ี า่ นง่ายๆ รัดกุม กนิ ความมาก จงู ใจ เพอื่ จะทาให้ผอู้ า่ นนกึ อยากอ่านเร่ืองเหล่าน้นั ต่อไปจนจบ ประการท่ีสอง จะต้องเรียบเรียงประโยคซ่ึงประหนึ่งคล้ายกับอธิบายขอบข่าย ความหมาย หรือการใช้คาจากัดความ หรือจะพรรณนา หรือบรรยายความอย่างใด อย่างหน่ึงของเรอ่ื ง ตัง้ แต่เริ่มเร่ืองเลยทีเดียว ซ่ึงก็เท่ากับเป็นบันไดหรอื ถนนทป่ี ูด้วยพรม ทผ่ี ู้อา่ นจะเดนิ ผ่านถงึ เน้อื เร่อื งอย่างราบเรียบท่สี ดุ ด้วยเหตุนี้ ในการเรียบเรียงประโยคตอนเริ่มเร่ือง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สารคดี บทความ นวนิยาย อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงควรเรียบเรียงประโยคเริม่ เร่ืองให้มีความดึงดูด ชวนอ่าน เข้าใจง่าย ว่างานเขียนน้ันมีวัตถุประสงค์ใด และจะเป็นไปในแนวทางใด ซ่ึงการเร่ิมเร่ืองของนักเขียนแต่ละคนย่อมมีลักษณะเฉพาะตัว มีท่วงทานองการเขียน เป็นของตนเอง ไม่อาจเลียนแบบกันได้ โดยลักษณะการเริ่มเร่ืองท่ีน่าสนใจ มีหลาย ลักษณะ ดงั น้ี ๑.๑ เร่ิมต้นด้วยคาโปรย ซึ่งมีลักษณ ะคล้ายการนาเร่ือง แต่ไม่ใช่ ส่วนหน่ึงของเนื้อเรื่อง เช่น ยาขอบเป็นนักเขียนที่นิยมเขียนคาโปรยนาเร่ืองสั้น ส่วน ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ปราโมช น้ันมักมีการข้ึนต้นคาโปรยบ้างเหมือนกัน แต่เป็นคาโปรย ส้นั ๆ ท่ีชวนให้ติดตามอ่านเรือ่ งเป็นทสี่ ดุ เช่น เรือ่ งนา้ ตานักการเมอื ง เปน็ ตน้

๑๑๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๑.๒ เร่ิมต้นเรื่องด้วยการกล่าวเกร่ิน คือ การนาเร่ืองคล้ายๆ กับจะแนะว่า เร่ืองท่ีจะเขียนนั้นเกี่ยวกับเร่ืองอะไร การเร่ิมต้นแบบน้ีนิยมเขียนกันมากในการเขียน บทความ สารคดี และร้อยแกว้ ประเภทอน่ื ๆ ๑.๓ เร่ิมต้นเร่ืองด้วยการขออภัยเชิงถ่อมตน ไม่นิยมกันมากนัก เพราะจะทาลายศรัทธาของผู้อ่านต่องานเขียนที่ตนกาลังอ่านอยู่โดยส้ินเชิง แต่ก็มี ปรากฏอยู่บ้าง หากมีกลวิธีถ่ายทอด ส่งเนื้อความดีๆ อาจจะทาให้เรื่องน้ันน่าอ่านยิ่งข้ึน ก็ได้ ๑.๔ เริ่มต้นด้วยการแสดงทัศนะ ข้อคิดเห็นส่วนตัวต่อปัญหาต่างๆ โดยการแสดงทัศนะกว้างๆ สว่ นตัวทม่ี ีต่อเร่ืองใดเร่ืองหนึง่ ซง่ึ ตนจะเขยี น ๑.๕ การเริ่มเรื่องด้วยการใช้บทสนทนา หมายถึง การใช้บทสนทนา ของตัวละครมากล่าวนาเรื่อง นักเขียนปัจจุบันนิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในการเขียน เรอ่ื งสั้นและนวนยิ าย ๑.๖ การเริ่มเรื่องด้วยการราพึงราพัน คือ การราพันเชิงปลงว่าไม่น่าเลย หรือไมน่ ่าจะเกิดข้นึ อะไรทานองนั้น นบั เปน็ ศลิ ปะอกี อย่างหนงึ่ ในการเรม่ิ เรื่อง ๒. ศลิ ปะการเสนอความคดิ เห็นเชิงสรุป การเสนอความคิดเห็นเชิงสรุปนี้ อาจทาต้ังแต่เริ่มเร่ืองเพ่ือเป็นการชี้ชวน คนอ่านตั้งแต่ต้นให้เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะจบลงอย่างไร ด้วยทัศนะของผู้เขียนโดยเฉพาะ หรอื อาจจะทาในตอนจบเร่อื งกไ็ ด้ ๓. ศิลปะการใหข้ อ้ ความละเอยี ดบริบูรณ์ การเขียนประโยคให้มีความละเอียดสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเร่ืองท่ีเป็นนามธรรม น้ัน นับเป็นศิลปะท่ีจะจูงใจคนอ่านให้ติดตามงานเขียนน้ันไปจนจบได้ดียิ่งอย่างหน่ึง หรือในเรื่องท่ีเป็นความรู้ ก็พึงให้รายละเอียดไว้ให้มากท่ีสุด เพื่อความเข้าใจอันดี ท่ีมีต่อเร่ืองราวที่จะเขียนต่อไป ลักษณะประโยคท่ีใช้ควรเป็นประโยคสั้น กะทัดรัด แต่มีความชัดเจน เข้าใจง่าย ประโยคหรือข้อความต่อมาเป็นประโยคที่จะเขียนอธิบาย ขยายความให้ชัดเจนย่งิ ขึ้น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑๕ ๔. ศิลปะการเปรยี บเทยี บให้เห็นความแตกต่าง การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง คือ การเขียนท่ีมีความมุ่งหมายจะแสดง ให้ปรากฏว่าสิ่งท่ีกล่าวถึงสองส่ิงนั้นมีความแตกต่างกัน หรือมีความไม่เหมือนกัน ในทางใดทางหน่ึง บางครั้งอาจจะดูเหมือนว่าของน้ันปรากฏอยู่ในท่ีเดียวกัน เป็นของที่คล้ายกัน คล้ายจะเหมือนกัน แต่ก็มีความแปลกแตกต่างกันอยู่ ลักษณะ ของความแตกต่างอาจจะมีอยู่เพียงความแตกต่างในทางความรู้สึกท่ีมองเห็นได้ไม่ชัด แต่ผู้เขียนสามารถจะบรรยายความให้ผู้อ่านเห็นได้ชัดเจนว่าสองส่ิงมีความแตกต่างกัน หรือตรงขา้ มกัน หรือขัดแย้งกัน โดยการกลา่ วเปรยี บเทียบใหเ้ หน็ จรงิ ๕. ศลิ ปะการเขยี นอธบิ ายขยายความ การอธิบายขยายความ หมายถงึ การเขยี นอธิบายข้อความหรือคาที่อาจจะยังมี ข้อเคลือบแคลงสงสัยอยู่ หรือการแสดงเหตุผลมาประกอบข้อความเพื่อแสดง ความสมบูรณ์และรายละเอียดของเรอ่ื งให้แจ่มแจ้งขน้ึ ๖. ศิลปะการใช้ข้อเทจ็ จรงิ ท่ีสมั พันธ์กัน การเขียนให้เห็นข้อเท็จจริงที่มีความสัมพันธ์กัน หมายถึง การเขียนท่ีส่งทอด ความสัมพนั ธ์ระหว่างเหตุผลและความเปน็ ไปได้ในข้อความท่ียกมากล่าวอา้ ง ให้ข้อความ แต่ละตอนที่จาเป็นต้องอ้างข้อเท็จจริงมาสนับสนุนนั้น มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เช่น การอธิบายว่าของสิ่งหน่ึงสัมพันธ์กับอีกส่ิงหน่ึงอย่างไร มีเหตุผลสนับสนุนอย่างไร ข้อเท็จจริงที่สมั พันธ์กนั น้ีอาจพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานวา่ มีความสมั พันธ์กนั ๗. ศลิ ปะการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ คือ ศิลปะในการเขียนให้ผู้อ่านมองเห็นภาพในความนึกคิด ในจินตนาการ และจินตนาการที่ผู้เขียนนามาถ่ายทอดน้ัน สามารถทาให้ผู้อ่านพลอยมีจินตนาการ สร้างสรรค์ตามไปด้วย ซึ่งลักษณะของการใช้ภาษาสร้างจินตนาการน้ีมีหลายลักษณะ เช่น การเลอื กสรรถอ้ ยคาเพื่อเปรยี บเทียบ สรา้ งภาพ เป็นต้น ๘. ศิลปะในการบรรยายความ ศลิ ปะการบรรยายความอาจจะใช้กระบวนความพรรณนา หรืออธิบายให้ผู้อ่าน คล้อยตาม ด้วยการจัดสรรถ้อยคา ทาให้เป็นระเบียบ และการดาเนินข้อความ อย่างต่อเน่ือง ชวนอ่าน ซึ่งกระบวนความบรรยายท่ีดีนั้น ต้องมีการเลือกสรรถ้อยคาให้ กระชับ ตรงไปตรงมา เป็นเหตุมผี ล

๑๑๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๙. ศิลปะในการสร้างสมั พนั ธภาพแตล่ ะตอนและการสง่ ทอดเนอื ความ การสร้างสัมพันธภาพแต่ละตอนและการส่งทอดเน้ือความ เป็นศิลปะ ในการเขียนท่ีจะโยงสัมพันธ์ข้อความระหว่างเน้ือความแต่ละตอนให้มีความต่อเน่ือง ผสมกลมกลืนกันไปเป็นอย่างดี กล่าวคือ ข้อความแต่ละตอนจะต้องไม่ขาดตอนกัน แม้ว่าใน บางครั้งอาจจะเป็ นการเร่ิมต้น เนื้อความให ม่ แต่การเขียนที่ ดีนั้ น ต้องสร้างสัมพันธภาพโดยการส่งทอดเนื้อความจากย่อหน้าก่อนไปยังเนื้อความ ในยอ่ หนา้ ถดั ไป ๑๐. ศิลปะการสรุปเรือ่ งตอนจบ การสรุปเรื่องตอนจบเป็นกลวิธีการเขียนท่ีสามารถสร้างความประทั บใจให้แก่ ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี โดยการจบเร่ืองนั้นมีมากมายหลายวิธี เช่น การแสดงทรรศนะ ส่วนตัวของผู้เขียน การจบด้วยคาคม สุภาษิต สานวนโวหาร การจบด้วยข้อคิด การจบด้วยการคลี่คลายปมของเร่ือง การจบด้วยการต้ังคาถามหรือข้อสงสัย ตลอดจน การจบทเ่ี ป็นการเสนอแนะแนวทางที่ผ้อู า่ นอาจนาไปใช้ในการดาเนนิ ชวี ติ เปน็ ต้น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑๗ บทสรุป ศิลปะและกลวิธีการเขียนนั้น มีความสาคัญต่อการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เป็นอย่างมาก ท้ังนี้ ผู้เขียนจะต้องอาศัยทั้งกลวิธีการใช้คาในลักษณ ะต่างๆ การใช้ประโยค และระดับภาษาเพื่อการสื่อความหมายอย่างสมบูรณ์และถูกกาลเทศะ ตลอดจนการสร้างย่อหน้าท่ีอาศัยท้ังความสอดคล้องในด้านเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ และความสมบูรณ์ประกอบกัน เพ่ือให้เกิดเน้ือความท่ีครบถ้วนชัดเจน นอกจากน้ี สิ่งสาคัญประการหน่ึงท่ีจะทาให้งานเขียนกลายเป็นงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่แสดงตัวตนของนักเขียนก็คือ การสร้างท่วงทานองการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์น่ันเอง อย่างไรก็ตาม ความสาเร็จของการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน ยังขึ้นอยู่กับความใฝ่รู้ และการฝึกฝนจนเกิดความชานาญ จึงจะสามารถรังสรรค์งานเขียนให้เกิด ความสรา้ งสรรคไ์ ดอ้ ยา่ งแท้จรงิ

๑๑๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑๙ บทที่ ๕ การเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ในชีวติ ประจาวัน การดาเนนิ ชีวติ ประจาวันในสังคมพหสุ ือ่ สาร (Multimedia) น้ัน เป็นที่ทราบกัน ดีว่าแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ต่างๆ ล้วนแต่เก่ียวพันและมีผลกระทบ ต่อชีวิตของคนในสังคมอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ ท้ังน้ี การส่ือสารด้วยการเขียน ผ่านอินเทอร์เน็ตน้ัน นับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ ความคิด อารมณ์ ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ของผู้เขียนไปยังผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ดงั น้ัน ในส่วนน้ีจะกล่าวถงึ การเขยี นเชงิ สร้างสรรคใ์ นชีวติ ประจาวัน ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. การเขยี นวรรณกรรมออนไลน์ ๒. การเขยี นอนทุ นิ ออนไลน์ ๓. การเขียนบทความ การเขียนวรรณกรรมออนไลน์ วรรณกรรมออนไลน์นั้นนับเป็นการเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งที่มี ความใกล้ชิดกับชีวิตประจาวันของคนในสังคมปัจจุบัน โดยวรรณกรรมออนไลน์นั้น เกิดจากการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทง้ั ด้านกลวิธี รูปแบบ เนื้อหา ตลอดจนวิธีคิดผนวก กับบริบททางสังคมของผู้เขียนวรรณกรรมและผู้เสพวรรณกรรม หรือผู้อ่านน่ันเอง วรรณกรรมออนไลน์จึงเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนความคิด ความเช่ือ ค่านิยม ตลอดจนการแสดงออกของคนในสังคมได้เป็นอยา่ งดี โดยวรรณกรรมออนไลนใ์ นปัจจุบัน ท่ีได้รับความนิยมอย่างมากน้ันมีอย่างหลากหลายประเภท อาทิ นิยายออนไลน์ วรรณ กรรม เด็ก แ ละเย าวช น การ์ตูน ออ น ไลน์ เป็ น ต้ น ดั งนั้ น ท่ าม กลาง ความเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายตามที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนเชิงสร้างสรรค์ ควรเรียนรู้การเขียนวรรณกรรมออนไลน์และลักษณะวรรณกรรมออนไลน์เหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเขียนวรรณกรรมออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ ดังท่ี รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (๒๕๖๐ : ๕๘) ได้กล่าวไว้ว่า วรรณกรรมออนไลน์ซึ่งมีที่มา จากเว็บไซต์ต่างๆ นั้น ได้เปิดโอกาสให้คนนาเสนองานเขียนของตนลักษณะใดก็ได้

๑๒๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ผ่านอินเทอร์เน็ต ซ่ึงถือว่าเป็นการเปิดพ้ืนที่ทางความคิดและการสร้างสังคมออนไลน์ ของวยั รุน่ ท่ีแขง็ แกร่งและสรา้ งสรรค์ ประเภทของวรรณกรรมออนไลน์ วรรณกรรมออนไลน์ที่จะกล่าวถึงนั้น เป็นงานประเภทบันเทิงคดีท่ีแต่งขึ้น เพ่ือให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นหลัก ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวรรณกรรมออนไลน์ ทม่ี ีลักษณะเป็นนวนยิ ายและเรอื่ งสั้น นวนิยาย นวนิยาย หมายถึง เร่ืองเล่า หรือ เรื่องราวที่มีพฤติการณ์ต่อเน่ือง เป็นเรื่อง ท่ีแต่งข้ึน อาจจะมีมูลความจริงแฝงอยู่ก็ได้ โดยมีความมุ่งหมายให้ความเพลิดเพลิน แก่ผู้อ่านเป็นหลัก แต่อาจมีจุดมุ่งหมายอื่นๆก็ได้ เช่น ส่ังสอน เย้ยหยัน ประชด เสียดสี จรรโลงใจ เปน็ ตน้ ๑. ประเภทของนวนิยายออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วการจัดประเภทนวนยิ ายออนไลน์น้ัน จะจัดแบ่งประเภทหรอื แนว เร่ือง (Genre) ตามขนบของนวนิยายทั่วไป เช่น แนวรักโรแมนติก (Romance) แนวแฟนตาซี (Fantasy) วิทยาศาสตร์ (Science Fiction) แนวลึกลับ (Mystery) หรือแนวระทึกขวัญ (Thriller) เป็นต้น ดังที่ เปลื้อง ณ นคร (๒๕๔๐ : ๑๙๑-๑๙๒) ได้กล่าวถึงการจัดประเภทของนวนิยายทั่วไปตาม แฟรงก์ เอช วิเชตเตลลี และ เปอร์ซี มารก์ ไดแ้ บ่งไว้ดงั น้ี ๑.๑ นวนยิ ายเกย่ี วกับพฤติการณ์ ได้แก่ นวนยิ ายเรอ่ื งเผชญิ ภัย นวนิยายประวตั บิ คุ คล นวนยิ ายเกีย่ วกับเรื่องทหารและการกีฬา ๑.๒ นวนยิ ายทางประดิษฐ์เร่อื ง ได้แก่ นวนยิ ายนักสืบ นวนิยายเรื่องล้ลี ับมหัศจรรย์ นวนิยายเก่ยี วกบั ความคิดฝัน

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๒๑ ๑.๓ นวนิยายเกย่ี วกบั เรือ่ งชวี ติ ความเป็นไปของมนุษย์ ได้แก่ นวนิยายทม่ี จี ุดหมาย (แสดงหลกั ธรรม หรอื แนวความคิด) นวนยิ ายรอี าลสิ ติก (Realistic) ๑.๔ นวนิยายซง่ึ มุง่ จะแสดงผลอย่างใดอย่างหนง่ึ ไดแ้ ก่ นวนิยายเชิงปัญหา (นาเอาปัญหาความเป็นอยู่ของมนุษย์มาแสดง และชใี้ ห้เห็นวา่ ผลของความเปน็ อยนู่ ั้นจะประสบผลสุดท้ายอย่างไร) นวนิยายวิเคราะห์นิสัยสันดานมนุษย์ (แสดงนิสัยอย่างหน่ึงอย่างใด ของมนุษย์ และเหตุการณ์ต่างๆ อนั เกิดจากนิสัยน้นั ๆ) นอกจากนี้ เปอร์ซี มาร์ก ได้แบ่งนวนิยายโดยถือแนวเขียนเป็นหลัก เป็น ๓ ประเภท ไดแ้ ก่ ๑. นวนิยายชนดิ ผูกเรือ่ ง (Plot Novel) ๒. นวนิยายรีอาลิสตกิ (Realistic Novel) ๓. นวนยิ ายแนวจิตวิทยา (Psychological Novel) ทั้งน้ี ในปัจจุบันได้มีการแบ่งวรรณกรรมออนไลน์ในรูปแบบนวนิยาย ออนไลน์ออกเป็นประเภทตา่ งๆ โดยสรุปแล้วสามารถแบง่ ออกเป็น ๓ ประเภท ไดแ้ ก่ นยิ ายรกั แบง่ ยอ่ ยเปน็ (แนวหวานแหวว / ซึ้งกินใจ / รกั เศรา้ ) นิยายตืน่ เต้นเร้าใจ แบง่ ย่อยเปน็ (แฟนตาซี / ผจญภัย / สืบสวน / ระทึกขวัญ / สงคราม / อดีต ปัจจุบัน อนาคต / หักมุม / กาลัง ภายใน / วิทยาศาสตร์) นิยายสบายๆ แบง่ ยอ่ ยเป็น (นิทาน / กลอน / สังคม / จิตวิทยา / แฟนฟิก / ตลกขบขัน / สบายๆ / คลายเครียด / วรรณกรรม เยาวชน / ฯลฯ) โดยสรุปแล้ว นวนิยายออนไลน์จะใช้แนวเร่ืองตามขนบของนวนิยายทั่วไป แต่แยกประเภทย่อยมากกว่า และนวนิยายออนไลน์แทบท้ังหมดมีท่ีมาจากวรรณกรรม แปลจากต่างประเทศ อาทิ นิยายแนวสยองขวัญของญี่ปุ่น นิยายหวานแหววของเกาหลี นิยายแฟนตาซีจากตะวันตก

๑๒๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒. ลักษณะของนวนิยายออนไลน์ ร่ืนฤทัย สัจจพันธุ์ (๒๕๖๐ : ๗๖-๘๗) ได้กล่าวถึงลักษณะการเขียนนวนิยาย ออนไลน์ไว้ สามารถสรปุ ได้ดงั น้ี ๒.๑ นิยายออนไลน์เป็นนิยายที่เขียนเป็นตอนๆ เช่นเดียวกับนวนิยาย ทล่ี งพมิ พ์ในนติ ยสาร ทัง้ น้ี เพ่ือเรยี กร้องความสนใจจากผู้อ่าน ๒.๒ นิยายออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นงานเขียนท่ีไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ นักเขียนบางคนยังเขียนไปแก้ไขไป นักเขียนนิยมแก้ไข (Rewrite) ตอนท่ีเขียนไปแล้ว ใหมอ่ กี ครงั้ เชน่ แกค้ าผดิ ซ่งึ จะพบมากในนิยายออนไลน์ ๒.๓ การใช้ภาษาในนิยายออนไลน์เป็นภาษาของเด็กไทยยุคท่ีสื่อสารกัน ในโลกไซเบอร์ ที่ฝร่ังเรียกว่าเป็น Online Era นักเขยี นนิยายออนไลน์ซึ่งมักเป็นรุ่นเยาว์ (๘ ปี – ไมเ่ กิน ๓๐ ปี) มักเขียนหนงั สือโดยสะกดคาตามใจชอบ จะเพราะเข้าใจว่าสะกด เช่นน้ันถูกต้องแล้ว หรือสะกดไม่ถูกแต่ข้ีเกียจเปิดพจนานุกรม นอกจากน้ี ยังนิยมใช้ ภาษาต่างประเทศ เช่น ช่ือเร่ืองต้องมีชื่อภาษาอังกฤษ นามปากกาของผู้แต่ง เป็นภาษาอังกฤษบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง เกาหลีบ้าง ตัวละครเป็นชาวต่างชาติมากกว่าไทย บทสนทนาของตัวละครนิยมใช้ภาษาแช็ต (เช่น อ่ะดิ, เน่ีย, ยัย, โคตร, ๕๕๕, หุหุ, ปัย, ได้แรว้ ) และภาษาอิโมตคิ อน ซ่ึงภาษาอิโมติคอน (Emoticon) มาจากคาว่า Emotion + Icon เป็นภาษาสัญลักษณ์ ใช้ส่ือความหมายเชิงอารมณ์ อาจจะเป็นตัวอักษร และเครอื่ งหมายที่นามารวมกัน เช่น ^_^ ยมิ้ ^O^ หวั เราะอย่างมคี วามสขุ ^+^ ทาปากจอู๋ ยา่ งมีความสุข TT_TT รอ้ งไห้ >_< หลบั ตาปี๋ ขมวดควิ้ >O< มีความสขุ จนไมร่ ู้จะทาอะไรดี >///< เขนิ อาย หนา้ แดง -_- หนา้ ไร้อารมณ์ แสร้งทาเป็นไมใ่ ส่ใจ -_-^ โกรธนดิ ๆ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๒๓ ๒.๔ นิยายออนไลน์มีลักษณะเป็นพหุสื่อสาร (Multimedia) ซ่ึงวรรณกรรม ทวั่ ไปทาไมไ่ ด้ นน่ั คอื ไดอ้ า่ น เห็นภาพ และได้ยนิ เสยี ง ไปพร้อมกนั ๒.๕ นักเขียนนิยายออนไลน์มีปฏิสัมพันธ์กับนักอ่านท่ีเป็นแฟนพันธ์ุแท้ ของตนด้วยการพูดคุยด้วยตลอดเวลา โดยในนิยายออนไลน์บางเร่ืองมีการรับสมัคร ออดิชั่นผู้อ่านให้เป็นตัวละครในเรื่อง จุดประสงค์ คือ เพื่อให้ตัวละครในเร่ืองได้พูดคุย กับผอู้ ่านผ่าน MSM หรอื คุยกันในหนา้ นยิ ายออนไลน์ โดยมีกฎว่าผู้ท่เี ปน็ ตัวละครจะตอ้ ง สามารถเป็นตัวละครน้ันๆ ตลอดเวลา และมีการทดสอบตอบคาถามแบบอัตนัย เพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสม อย่างเช่นผู้แต่งเรื่อง My King รักหมดใจราชาจอมโหด ให้ดาวน์โหลดใบสมัครยาว ๔ หน้า เพื่อคัดเลือกนักอ่านสวมบทบาทเป็นตัวละครสาคัญ ในเรอื่ ง ๒.๖ ตอนท้ายของนิยายออนไลน์แต่ละตอนจะมี Comment ซ่ึงเปิดโอกาส ให้ผู้อ่านแสดงความคิดต่อนิยายที่อ่าน และเพ่ือให้ผู้เขียนได้ทราบผลตอบรับจากนิยาย ของตนได้ทันที เรื่องส้ัน เร่ืองสั้น (Short Story) หมายถึง งานเขียนในรูปบันเทิงคดีที่บรรจุคาประมาณ ๑,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คา มีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ความเพลิดเพลินแก่ผ้อู ่านเป็นหลัก โดยเสนอ ความคิดหลกั เพียงความคดิ เดียว และมีเหตกุ ารณใ์ นเร่อื งอยา่ งจากดั เปล้ือง ณ นคร (๒๕๔๐) ได้กล่าวถึงลักษณะของเร่ืองส้ันตามหลักของ เจ. แบรก์ เอเซนเวน (J. Berg Esenwein) ไว้ดังนี้ ๑. ต้องมีพฤติการณ์สาคัญอันเป็นต้นเร่ืองแต่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ ในการเปิดเร่ืองของเร่ืองส้ัน จะให้มีเหตุการณ์หลายอย่างไม่ได้ ต้องมีพฤติการณ์สาคัญ ที่จะทาให้เร่ืองดาเนินต่อไปเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต่างกับนวนิยาย เพราะในนวนิยาย น้ันมักจะมีพฤติการณ์ต่างๆ มารวมกันหลายอย่าง ซ่ึงถ้าอ่านนวนิยายแล้ว จะเห็นได้ว่า นกั เขยี นจะต้องเปิดตัวละครออกมาหลายตวั กว่าจะได้ดาเนินเร่ืองกนั อย่างจรงิ จงั ๒. ต้องมีตัวละครที่มีบทบาทสาคัญท่ีสุดในท้องเรื่องแต่เพียงตัวเดียวเท่าน้ัน ตัวละครประกอบอ่ืน ๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับตัวสาคัญ และตามปกติไม่ควร ให้มเี กิน ๕ ตวั ละคร

๑๒๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๓. ตอ้ งมีจนิ ตนาการหรอื มโนคติ ซึ่งได้แก่ความสามารถท่ีจะสร้างภาพข้ึนในใจ ทั้งของนักประพันธ์และของผู้อ่าน ก่อนที่จะประพันธ์เร่ือง นักประพันธ์จะต้อง นึกเห็นภาพของเรื่องแล้วเขียนพรรณนา ให้ผู้อ่านอ่านแล้วนึกเห็นภาพได้อย่างที่ นักประพันธ์เหน็ ๔ . ต้ อ งมี พ ล็ อ ต ห รือ ก ารผู ก เค้ าเรื่อง ซ่ึ งมั กจะป ระกอ บ ด้ วย ป ม หรือข้อความท่ีทาให้ผู้อ่านฉงนและอยากรู้ว่าจะเกิดมีอะไรต่อไป แล้วดาเนินเรื่อง พ าผู้ อ่ าน ให้ ทึ่ ง ห รือ ส ม ใจ ย่ิ งขึ้ น ทุ ก ที จ น ถึ งย อ ด ข อ งเร่ือ ง ซึ่ งเรีย ก กั น ว่า ไคลแมกซ์ (Climax) ๕ . ต้ อ ง มี ค ว า ม แ น่ น เรื่ อ งสั้ น มี เนื้ อ ที่ น้ อ ย สิ่ งท่ี จ ะ เขี ย น ล งไป ต้องมีประโยชน์ต่อเร่ือง ต้องเขียนอย่างรัดกุมเท่าท่ีจาเป็น ฉาก (Setting) การให้ บทตวั ละคร (Characterization) คาพดู หรอื กิรยิ าอาการต่างๆ ต้องกระชับ ๖ . ต้องมี การจัดรูป คือต้องวางรูป เรื่อง โดยถือตัวละครเป็ น ให ญ่ ใหพ้ ฤติการณเ์ กิดมาจากตัวละคร จะต้องลาดับพฤตกิ ารณ์ให้มชี นั้ เชงิ ชวนอ่าน ๗. เรื่องจะต้องให้ความรู้สึกโดยเฉพาะอย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวคือ เม่ือผู้อ่าน อา่ นจบแลว้ ควรจะไดร้ บั อรรถรสหรอื เกดิ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ท้ังนี้ การเขียนเรื่องสั้นให้ประสบผลสาเร็จ ผู้เขียนควรจะคานึงถึงเทคนิคต่างๆ เพ่ือเขียนเรื่องสั้นเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ บงกช สิงหกุล (๒๕๔๗ : ๕๗) ได้นาเสนอเทคนิคการเขียนเรอ่ื งส้ัน สรุปได้ดังน้ี ๑. ใช้สูตรตามขนบเร่ืองสั้น กล่าวคือ ผู้เขียนต้องใช้ฉากและตัวละครจากัด การเขียนบทสนทนาไม่เย่ินเย้อ ใช้คาน้อยแต่กินความหมายมาก และควรหลีกเลี่ยง การสร้างโครงเรือ่ งย่อยเพราะจะทาให้เรื่องยาวเกินไป ๒. การเปิด-ปิดเร่ืองควรกระชับไม่พรรณนาเกินความจาเป็น และควร เริม่ เรื่องอยา่ งตนื่ เตน้ เร้าใจและปิดเรือ่ งอยา่ งประทับใจผู้อา่ น ๓. สร้างเรื่องส้ันที่เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับผู้อ่าน เพ่ือทาให้ผู้อ่าน เข้าใจได้อย่างลึกซง้ึ ๔. มี มุ ม ม อ ง ใน ก า ร เล่ า เร่ื อ ง เพี ย ง ป ร ะ เด็ น เดี ย ว เพ่ื อ ท า ให้ เกิ ด ความมีเอกภาพในเร่อื งนน้ั ๆ ๕. รายละเอียดของเร่อื งต้องสมั พันธ์กบั โครงเร่ืองท่ผี ้เู ขียนไดว้ างไว้

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๒๕ แนวเรื่องและกลวธิ ีการเขยี นวรรณกรรมออนไลน์ ว รรณ ก รรม อ อ น ไล น์ ท้ั งน ว นิ ย าย เรื่อ งส้ั น ต ล อ ด จ น ก าร์ตู น น้ั น มีความหลากหลายของแนวเรื่อง รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (๒๕๖๐ : ๒๙-๓๒) แบ่งแนวเร่ือง ของวรรณกรรมออนไลน์ไว้เปน็ ๔ แนว ได้แก่ ๑. แนวหวานแหวว ได้แรงบันดาลใจจากนิยายเกาหลีและการ์ตูนญ่ีปุ่น เป็นส่วนใหญ่ พระเอกต้องหล่อ เจ้าชู้ หรู รวย เน้นความไฮโซ ทาอะไรดูดีไปหมด แต่ส่วนใหญ่จะเลว และโง่เรื่องความรัก มักเข้าใจนางเอกผิดตลอด ปากจัด หูเบา ส่วนนางเอกต้องใสซ่ือ ซุ่มซ่าม ยากจน หรือครอบครัวธรรมดา แต่มีข้อดีคือน่ารัก ไร้เดียงสา ส่วนมากนางเอกเป็นฝ่ายจีบพระเอก นิยายเหล่าน้ีเน้นฉากอีโรติก ฉากของนิยายรักมักเป็นสถานที่ต่างประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝร่ังเศส ซ่ึงนิยาย หลายเรื่องไม่มีบทบรรยาย หรือพรรณนาแม้แต่การบรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวละคร หรือสถานที่ เน้นแต่บทสนทนา ๒. แนวแฟนตาซี ได้รับอิทธิพลจากเร่ือง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในเรื่องโรงเรียน เวทมนต์ ถ้าเป็นเรื่องเจ้าหญิงเจ้าชายก็ได้อิทธิพลจาก หัวขโมยแห่งบารามอส ตัวละคร มกั จะดีพร้อม หรือเปน็ ยอดมนุษย์ มคี วามสามารถพิเศษกว่ามนุษยท์ ั่วไป นยิ ายแฟนตาซี ยังแตกออกไปอีกหลายแนว เช่น โรงเรียนเวทมนต์ แฟนตาซีรักข้ามภพ รักข้ามมิติ ล่าทะลุโลก หรือเรื่องอาณาจักรในตานาน มีการหลงทาง มีกุญแจนาทาง ความรัก ของปีศาจกบั มนุษย์ แนวแฟนตาซีมักเน้นการตอ่ สู้ การฆา่ กันเป็นสาคญั ๓. แนว Y คือ นิยายรักร่วมเพศ มี ๒ แบบ คือ Yaoi นิยายชายรักชาย และ Yuri นยิ ายหญิงรักหญิง ๔. แนวแหวก คือ แหวกแนว คือการนาแนวเร่ืองต่างๆ มาผสมกันเพื่อให้ เกิดงานแนวใหม่ที่แตกต่างและแหวกแนวจากท่ีมีอยู่ บางเรื่องได้รับความนิยมมาก เช่น เรอ่ื งศาสตราคกู่ ้แู ผ่นดนิ เป็นแนวแฟนตาซผี สมกาลังภายใน

๑๒๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ วรรณกรรมออนไลน์ส่วนใหญ่ ท่ีพบนั้นจะเป็นวรรณกรรมสาหรับเด็ก และเยาวชน โดย ปราณี สุรสิทธิ์ (๒๕๔๙ : ๓๗๐-๓๗๒) ได้แบ่งลักษณะวรรณกรรม เชงิ สร้างสรรค์สาหรบั เดก็ และเยาวชนไว้ ดงั น้ี ๑. เนื้อเร่ืองมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน รูปแบบของเรื่องต้องไม่เป็นไป ในทางวิชาการ ทั้งด้านสานวนโวหารและการดาเนินเร่ืองราว แม้วา่ จุดมงุ่ หมายของเร่ือง จะมุ่งป ระเด็นไป ใน เร่ืองของวิชาการก็ตาม ช อมเมอร์เซท มอห์ม กล่าวว่า นวนิยายเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง จุดมุ่งหมายท่ีแท้จริงไม่ใช่คาส่ังสอน แต่เป็นความบันเทิง อารมณ์ นวนิยายที่ดีเพียงเร่ืองเดียวมีค่าเท่ากับบทความทางวิชาการหน่ึงร้อยบทความ น่ีเป็นเพราะเรื่องท่ีดีน้ันไม่ใช่ประเทืองปัญญาเพียงอย่างเดียว ความดีจากเรื่องจะซึมซับ เข้าไปในโลกสีรุ้งของเด็ก ตราตรึงอยู่ในความทรงจา เป็นจินตนาการอันบรรเจิด เป็นความรักแสนหวาน และความเข้าใจอันสุนทร สิ่งเหล่าน้ีเป็นของขวัญท่ีผู้เขียน มอบให้แกผ่ ู้อา่ น วิธีการทจ่ี ะทาให้เรื่องสนุกตอ้ งมกี ารวางโครงเรื่องผกู ปมให้ตนื่ เตน้ เรา้ ใจ มีตัวละครดาเนินเร่อื งตามโครงเร่ืองท่ีวางไว้ ตัวละครต้องมพี ฤตกิ รรมขัดแย้ง ดิน้ รนต่อสู้ อุปสรรค จนถงึ จุดสดุ ยอดของเร่ืองให้ผอู้ า่ นรู้สึกสะเทอื นใจ ๒. เร่ืองที่เขียนต้องมีความคิดหลักอันเป็นแก่นเรื่อง ผู้เขียนต้องคิดก่อน ว่าจะเสนออะไรให้เด็ก ความคิดนั้นน่าสนใจเพียงใด ความคิดอันใดเป็นแกนกลางที่จะ สอดแทรกไว้ตลอดการดาเนินเรื่อง ความคิดน้ีอาจได้มาจากการสังเกตพฤติกรรม ของเด็ก ท้ังท่ีบ้าน และโรงเรียน หรือได้จากการอ่านหนังสือดีๆ หรือได้จาก ประสบการณแ์ ลว้ เสนอผา่ นตวั ละครหรอื การบรรยาย เพือ่ ใหเ้ ด็กจบั ความคิดน้นั ใหไ้ ด้ ๓. ย้อนระลึกถึงวัยเด็ก การเขียนเรื่องให้เด็กอ่าน นอกจากจะต้องเข้าใจ ความตอ้ งการของเด็กแล้ว ผู้เขยี นจะต้องมองยอ้ นถึงวัยเดก็ ของผู้เขียนว่าได้ทาเร่ืองอะไร ไว้บ้าง คิดอย่างไรกับเร่ืองที่ทาให้สนุกสนานหรือเศร้าใจ เสียใจ เสียดาย ฯลฯ บวกความสามารถในการเขยี นของวยั ผใู้ หญ่จะทาให้เขยี นเรื่องไดน้ ่าอ่าน ๔. การสร้างตัวละคร ตัวละคร คือ บุคคลสมมติท่ีผู้เขียนสร้างข้ึนให้แสดง บทบาทไปตามท้องเร่ือง ตัวละครที่สร้างข้ึนต้องมีความสมจริง แม้ตัวละคร ตัวนั้นจะไม่ใช่คน อาจเป็นสัตว์ ต้นไม้ หรืออ่ืนๆ แต่จะต้องคิดหรือทาอะไรได้เหมือนคน จริงๆ ตัวละครท่ีเป็นเด็กควรพูดหรือทาเหมือนเด็กท่ัวไป อย่าเอาคาพูดของผู้ใหญ่ ไปป้อนให้ตวั ละครเด็ก การบรรยายลักษณะท่าทางของตวั ละครต้องให้เห็นภาพทชี่ ัดเจน

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๒๗ โดยส่ิงสาคัญในการสร้างตัวละคร คือ ต้องให้ตัวละครมีชื่อ การตั้งช่ือให้ตัวละคร ควรคานึงถึงสิ่งตอ่ ไปน้ี ๔.๑ ฉากที่สร้างข้ึน หมายถึง สถานท่ีตามท้องเรื่อง เช่น ถ้ากาหนดให้เป็น ภมู ปิ ระเทศของภาคใต้ ตัวละครช่ือไข่น้ยุ กถ็ ือว่าสอดคลอ้ งกับฉาก ๔.๒ วัยของตัวละคร เชน่ ตวั ละครทเ่ี ป็นคณุ ยายก็ไม่ควรต้งั ชือ่ สมัยใหม่ ๔.๓ บุคลิกของตัวละคร เช่น ถ้าสร้างตัวละครให้เป็นเด็กตัวขาวอ้วนกลม อาจตั้งช่ือว่าลูกหมู อั๋น ตัน๋ เป็นตน้ ๔.๔ อยา่ ตัง้ ชอื่ ตวั ละครให้คล้ายกัน เช่น ตวั ดีชื่อ นพ ตัวร้ายช่อื ภพ เปน็ ต้น การตั้งชือ่ คล้ายกนั จะทาใหผ้ ้อู า่ นสบั สน หรือบางคร้งั ผูเ้ ขียนเองกส็ ับสนดว้ ย ๕. อย่าดูถูกภูมิปัญญาเด็ก การสร้างเร่ืองให้เด็กอ่านต้องเป็นเร่ืองที่มีสาระ แต่อย่าพยายามยัดเยียด “สาร” น้ันด้วยการบรรยาย เพราะเด็กจะรสู้ กึ เบื่อ การผูกเร่ือง เปน็ นทิ าน นยิ าย หรอื นวนยิ าย ชว่ ยไดม้ ากโดยใหต้ ัวละครมีการเจรจากัน เปน็ การเจรจา ท่ีสมจริง สมวัย และสมสภาพแวดล้อม เม่ือจะแทรก “สาระ” ก็ควรแทรกไว้ ในบทสนทนาและพฤติกรรมของตัวละคร และเมื่อเรื่องดาเนินมาถึงช่วงท้ายซ่ึงเป็น การจบเรื่อง อย่าสรุปในทานองว่า “เร่ืองนี้สอนให้รู้ว่า...” เพราะเด็กจะไม่ชอบ เป็นการดูถูกภูมิปัญญาของเด็ก ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเด็กในการที่จะค้นหา แก่นของเรอ่ื งดว้ ยตัวเอง ๖. ภาษาท่ีใช้คานึงถึงความเหมาะสม ผู้เขียนมีอิสระในการสร้างสรรค์สานวน โวหาร โดยคานึงถึงความเหมาะสมกับเร่ืองกับวัยของเด็กโดยทั่วไป ถ้าเป็น บทบรรยายก็ต้องเป็นคาที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน ถ้าเป็นบทสนทนาจะเป็นภาษาพูด ที่เป็นไปตามธรรมชาติ ใช้คาที่คุ้นเคย ง่ายและส้ัน มีความสมจริง มีเหตุผล อาจมี การเปรียบเทียบ แตอ่ ยา่ ใช้พร่าเพร่อื อย่าใช้คาซ้าๆ ความคิดซ้าๆ เพราะจะทาให้น่าเบ่ือ บทสนทนาที่ดีจะทาให้ผู้อ่านรู้จักบุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัวได้ดี ที่กล่าว มาน้ี เป็นการใชภ้ าษาในบันเทิงคดีประเภทร้อยแก้ว ส่วนงานเขียนร้อยกรองน้ันมีวิธกี าร เขยี น ๕ วิธี คอื ใชค้ าง่าย ความหมายเดน่ เลน่ เสียงหลาก ฝากขอ้ คดิ และจูงใจ ๗. ตัวเอกของเร่ืองต้องเป็นเด็ก เด็กทั้งหลายชอบอ่านเรื่องที่ตัวเอกเป็นเด็ก และอายรุ ุ่นราวคราวเดยี วกันกบั ตน หรอื แกก่ วา่ เลก็ นอ้ ย เหตุการณ์ในเร่อื งอาจเกิดขึน้ ได้ กับเด็กโดยท่ัวไปจึงจะดูสมจริง เวลาเด็กอ่าน เด็กจะจินตนาการตามไป และมักสมมติ ใหต้ วั เองเป็นตัวละครในเรื่อง ตัวละครท่ีอยากเปน็ ก็คือ ตัวเอกของเรอ่ื งนนั่ เอง

๑๒๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๘. ควรมีภาพประกอบ งานบันเทิงคดสี าหรับเด็ก ภาพประกอบเป็นเรื่องสาคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเนื้อเรื่อง กล่าวกันว่า ภาพประกอบท่ีดีสามารถช่วยให้เป้าหมายของ เรื่องดาเนินไปได้ดีกว่าตัวเรื่องเสียอีก ภาพประกอบเร่ืองไม่ใช่ภาพท่ีเขียนขึ้น จากเร่ือง แต่เป็นภาพท่ีขยายเร่ืองราวของเร่ืองให้เข้าใจง่ายและงดงามมากข้ึน ปกติแล้ว คนเขียนเรื่องกับคนเขียนภาพจะเป็นคนละคนกัน มีน้อยมากท่ีเป็นคนๆ เดียวกัน คือ เป็นท้ังจิตรกรและนักเขียน ถ้านักเขียนไม่มีความสามารถจะเขียนภาพเอง ก็ต้องส่งให้ นักเขียนภาพเป็นผู้เขียน โดยส่วนใหญ่แล้วทางบรรณาธิการจะเป็นผู้มอบหมาย ให้ช่างเขียนภาพเป็นผู้รับผิดชอบ ภาพประกอบเร่ืองประเภทบันเทิงคดีควรมีลักษณะ ดงั นี้ ๘.๑ สรปุ ประเดน็ ของเรื่องได้ชดั เจน ว่าเร่ืองในแต่ละหน้าแตล่ ะตอนต้องการ บอกเล่าอะไร ๘.๒ มีตวั ละครที่แสดงบุคลิกตรงตามที่บอกไว้ ๘.๓ พฤติกรรมของตัวละครทกุ ตัวไม่ขัดแย้งกับเน้ือเรื่อง ๘.๔ มสี สี นั สดใส สวยงาม น่าดู น่าสนใจ ๘.๕ มีรูปแบบที่เหมาะสมกับเรื่องราวท่ีเขียนขึ้น เช่น เร่ืองเป็นแนวทาง จาลองชีวิตจริง ภาพก็ควรแสดงออกมาในแบบเหมอื นจริง เรื่องเป็นกึ่งจินตนาการ ภาพ ก็ควรแสดงออกมาในแบบการต์ ูนหรอื ภาพฝัน ทั้ งน้ี การเขียนวรรณ กรรมเชิงสร้างสรรค์ให้ เพ ลิดเพ ลิน ช วนอ่าน และนา่ ติดตามน้ัน ผู้เขียนควรเรียนร้เู ทคนิคการเขียนเพื่อฝึกฝนและพัฒนางานเขียนให้ดี ย่ิงข้ึน ดังที่ เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ (๒๕๕๗ : ๒๐๒-๒๐๕) ได้สรุปเทคนิคการเขียน วรรณกรรมเชิงสรา้ งสรรค์สาหรับผูเ้ ขียน โดยอาศัยทฤษฎี “บันได ๑๒ ขั้น” ดงั นี้ บันไดขัน้ ท่ี ๑ ชอบเขียนแนวไหน อย่างแรก คุณควรถามตัวเองก่อนอื่นว่าอยากหรือชอบเขียนนิยายแนวไหน นยิ ายแต่ละแนวย่อมมีเสน่ห์และรูปแบบการเขียนท่ีแตกต่างกันออกไป ดังน้ัน จงเริ่มต้น เขียนจากแนวท่ีเราชอบอ่านเสียก่อน ท้ังนี้ ไม่ใช่การก๊อบป้ี แต่ให้ยึดตามแนว เคล็ดลับ อ ยู่ ที่ ว่ า ก า ร เขี ย น จ า ก ส่ิ ง ท่ี รู้ แ ล ะ ช อ บ จ ะ เป็ น แ ร ง ขั บ เค ลื่ อ น ให้ ส า ม า ร ถ เขี ย น ต่ อ จนจบเปน็ เล่ม

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๒๙ บนั ไดขัน้ ที่ ๒ แก่นของเรอ่ื ง วางโครงสร้างอย่างคร่าวๆ ออกมาก่อนว่าแกน่ ของเรอ่ื งทีจ่ ะนาเสนอนั้นคืออะไร อาทิ เพ่ืออุดมการณ์อันปวดร้าวจากความต้ังใจในการท่ีจะทาอะไรสักอย่าง รักสามเส้า ทซ่ี อ่ นเงื่อนและเจบ็ ปวด บันไดขน้ั ท่ี ๓ โครงเร่ือง ให้นาแก่นของเรื่องมาขยายความต่อว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น การดาเนินเรื่องราว ต่อไปจะเป็นอย่างไร จากน้ันก็สร้างตัวละคร ตั้งชื่อ สร้างฉาก สถานท่ี อาจหาข้อมูล จากการอา่ น หรือทไ่ี ดพ้ บเห็นจากประสบการณต์ รงแลว้ เกิดภาพประทับใจ บันไดขน้ั ท่ี ๔ ค้นข้อมูล ข้อนี้เป็นหัวใจหลักที่นักเขียนไม่ควรละเลย โดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาเก่ียวกับ สิง่ ทเี่ ราอยากนามาเปน็ ตวั เดนิ เรอื่ ง เช่น เรือ่ งราวลล้ี ับทางไสยศาสตร์ เรอื่ งราวทางศิลปะ วฒั นธรรม ฯลฯ บันไดข้นั ท่ี ๕ ใหเ้ วลาตกผลกึ เม่ือจัดการกับสี่หัวข้อที่กล่าวมา จงให้เวลากับตัวเอง คิด กรอง ตรอง และร่างภาพตา่ งๆ ไว้อยา่ งละเอยี ด แลว้ จึงเร่มิ ต้นในบันไดขัน้ ต่อไป บันไดขนั้ ที่ ๖ การสรุป พยายามสังเคราะห์เนื้อเร่ืองแล้วสรุปเรื่องราวเป็นเรื่องๆ ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ในเนื้อเรอ่ื งท่ีกาหนดไว้ การเขียนสรุปสามารถชว่ ยให้เวลาทีล่ งมือเขยี นจรงิ เราจะได้รูต้ ัว ว่าตอนนี้กาลังเขียนถึงตอนไหนแล้ว เร่ืองราวจะดาเนินไปอย่างไร ไม่เขียนเพ้อเจ้อ เผลอไผลออกนอกเนอื้ หา จะทาใหก้ ารตรวจคร้ังสุดท้ายงา่ ยข้ึน บันไดขั้นที่ ๗ แบ่งสนั เนื้อเรอ่ื ง แบ่งเน้ือหาที่จะเขียน ไล่ออกไปเป็นบทจนจบเร่ือง จากนั้นให้ใส่รายละเอียด เพม่ิ ลงไปในแต่ละตอนวา่ ใคร ทาอะไร ทีไ่ หน อย่างไร เมอื่ ไร และเรื่องราวเปน็ อย่างไร เรียกว่าเปน็ การแต่งแตม้ สีสัน เติมข้าวตอกดอกไม้ให้เกดิ ความสวยงาม บนั ไดขน้ั ท่ี ๘ ลงมอื เขยี น เมือ่ จดั เต็มทกุ อยา่ งเป็นที่เรยี บรอ้ ยแลว้ ลุย!!!

๑๓๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ บนั ไดขั้นที่ ๙ การดาเนินเรื่อง ลงมือเขียนและคิดตอนต่อไปถึงเรื่องท่ีจะเกิดขึ้น การฟังเพลง การดูรูป การสนั ทนาการ จะเปน็ ตวั ชว่ ยในบันไดข้ันน้ีได้เป็นอยา่ งดี สง่ เสริมให้จินตนาการรุดหน้า เกิดกาลงั ใจ บนั ไดขน้ั ท่ี ๑๐ การตั้งชอื่ เรื่อง ช่อื เร่อื งต้องสอดคล้องกบั เนอื้ หาในเรื่อง ใหด้ ึงดูดและนา่ สนใจ บันไดข้ันที่ ๑๑ การเลน่ ความรู้สกึ กบั งานเขยี น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านตัวละครของเรา หรืออีกนัยหน่ึง คือ การนาความคดิ ของเราไปใสใ่ นตัวละครเพ่ือใหก้ ารสสี ันและการนาเสนอท่นี า่ ติดตาม บันไดขน้ั ที่ ๑๒ แก้ไข เขียนจบจนพอใจ ให้ไปหาที่พักผ่อนสักสามส่ีวัน จากน้ันก็กลับมาอ่านใหม่ เติมแต่งได้ตามวันเวลาท่ีชีวิตตกผลึก และแน่นอน ลองส่งไปยังบรรณาธิการ เพอ่ื ใหท้ า่ นอ่านตอ่ ตัวอย่าง นิยายออนไลนเ์ รื่อง My Best (Boy) Friend เพ่ือนสนิท คดิ ไกล...หัวใจมรี ัก โดย เจ้าหญิงผู้เลอโฉม ของสานักพิมพ์แจ่มใส ซ่ึงเป็นสานักพิมพ์ท่ีรวบรวมวรรณกรรม ออนไลน์จากเว็บบอร์ดต่างๆ อาทิ Dek-D.com Pantip.com มารวมเล่มพิมพ์จาหน่าย และได้รับความนยิ มอยา่ งมากในกลุ่มวยั รุ่น ๑๖ เรากลับไปเป็นเหมอื นเดิม...ได้ไหม “ไหวไหมเน่ยี ” “...ไหว ออกไปไดแ้ ล้ว ฉนั จะนอน” “โห เสียงฟังดไู มไ่ ด้เลยอ่ะเจ๊ –o-;; ท้ิงไว้บ้านคนเดยี วจะตายไหมเนีย่ ” “โทระน่ีล่ะก็ ตายเตยอะไรกนั ตปี ากตวั เองเด๋ยี วนน้ี ะ!” “หนวกหู!!! ถ้าจะเข้ามาเอะอะโวยวายก็รบี ๆ ไปเรียนกันได้แล้ว!” ฉันเลิกผ้าห่ม ข้ึ น ม า แ ห ก ป า ก ใส่ ไอ้ ห มี แ ล ะ ไอ้ เสี ย เสี ย งดั งลั่ น ด้ ว ย เสี ย งที่ แ ห บ พ ร่ า แ ล ะ แ ต ก ซ่ า น เหมือนเอาแปรงทองเหลืองขูดพื้นสังกะสี จากน้ันจึงกลับไปไอโขลกๆ อยู่ใต้ผ้าห่มด้วย ความทรมานต่อ ไอ้พ่ีน้องคู่นี้ท่ีมันจริงๆ เลย T_T สรุปเป็นห่วงคนป่วยจริงหรือเปล่า เนยี่ !?

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓๑ “โอ๋ๆ นะ T_T พวกเราก็แค่เป็นห่วงเฉยๆ เอง” พค่ี ุมะยืน่ มือมาลูบหัวฉันพลาง วางมาดพ่ีชายคนโตที่นานๆ ทีจะเป็น “ให้พาไปหาหมอม้ัย ดูท่าจะไข้สูงนะ ตัวร้อน เชยี ว” “ไม่ตอ้ งหรอก แคน่ อนพกั เดย๋ี วก็หาย” “นี่เป็นมนุษย์หินนีแอนเดอร์ธาลหรอ แข็งแกร่งไปหรือเปล่า” ไอ้เสืออวดภูมิ ตัวเองแบบไม่ค่อยเมกเซ้นส์ จากน้ันจึงดีดน้ิวดังเปาะ “รู้ละ แบบนี้ต้องโทรตามพี่เขย ใช่ปะ่ แบบในการ์ตูนที่พวกผู้หญงิ ในห้องชอบอ่านกนั อ่ะ >O<” “ไม่ต้องเลย” ฉันพูดพร้อมกับถีบน้องชายตัวเองตกเตียง “รีบๆ ไปเรียนได้แล้ว น่มี นั จะสายแลว้ ไม่ใช่เรอะ” “ก็สายแหละ กะโดดอยู่แลว้ ข้เี กียจอะ่ ” “ฉันจะฟ้องแม่ =_=” “ลอ้ เล่นน่า จะโดดเพราะห่วงพ่สี าวต่างหาก >O<” “ไอส้ ตอเบอแหล =_=” “แต่พ่คี งตอ้ งไปแลว้ จริงๆ แหละ เด๋ียวมพี รเี ซนต์อ่ะ T_T ขอโทษนะ” “อือ ไปเหอะ ฉันอยไู่ ดจ้ ริงๆ” “ถ้าอยากไปหาหมอเมื่อไหร่ก็โทรมานะ” พ่ีคุมะพูดยิ้มๆ ก่อนจะลุกขึ้นยืน แลว้ ลากคอโทระใหล้ ุกตาม “ง้ันพวกเราไปล่ะ นอนพักเยอะๆ หายไวๆ ละ่ !” “ออื้ !” ฉั น ต อ บ เสี ย ง ดั งฟั ง ชั ด ก่ อ น จ ะ ถ อ น ห า ย ใจ อ อ ก ม า แ ผ่ ว เบ า เม่ื อ ท้ั ง ส อ ง ค น ออกไปแล้ว เหมือนพายุไซโคลนพัดผ่านไป และในห้องฉันก็กลายเป็นเงียบสงัด ไปในทนั ใด... เม่ือวานเพราะฉันทาเป็นเท่เดินกลับบ้านท้ังๆ ที่ฝนตก ทาให้ฉันป่วยทันทีใน วันรุ่งขึน้ เป็นกรรมท่ีตามทันไวมากราวกับส่ง EMS ดว่ นพิเศษ =_=; และตอนนฉ้ี นั กต็ ้อง นอนซมอยบู่ นเตียงไปเรียนไมไ่ ด้ บางทีก็เหมือนพระเจ้าจะรู้ใจ...ถึงให้ ‘เวลานอก’ กับฉันแบบน้ี เพราะถึงจะ ไมไ่ ด้ปว่ ยจรงิ ฉนั กก็ ะจะป่วยการเมืองเบยี้ วไม่ไปเรยี นอยู่แล้ว...

๑๓๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ฉันหยิบไอโฟนมาตอบไลน์ยัยห่านนี่ท่ีส่งมาเป็นร้อยข้อความหลังจากไปหาฉัน ท่ีห้องเรียนแล้วไม่เจอ แถมพอถามเจเจก็ไม่ได้คาตอบ จากนั้นจึงปิดเสียงไอโฟน แล้วก็โยนมันไปบนโต๊ะก่อนจะฟุบหน้าลงกับหมอนตามเดิม แล้วภาพเหตุการณ์เม่ือวาน ก็ฉายยอ้ นในหวั ราวกับเพง่ิ เกดิ ขน้ึ สดๆ รอ้ นๆ ต้งั แตเ่ มอ่ื ไหร่กันนะ...เจเจมองฉันไม่เหมอื นเดิมตัง้ แตเ่ ม่ือไหร่กันนะ... แลว้ ทาไมตัวฉนั ถงึ เปลย่ี นไปในสายตาของเขา... และคาพดู ท่ีเขาอยากจะพูด... ‘…ฉนั พดู มันออกไปไดม้ ้ัย...เร่อื งท่ีฉันอยากพูดแตไ่ ม่เคยกลา้ พดู ’ ‘มนั แค่คาคาเดยี วเท่านน้ั แหละ…แคค่ าเดียว…’ ฉันหลับตาลงเมื่อมีคาหน่ึงดังขึ้นในใจ คาส้ันๆ แค่คาเดียวเท่านั้นแหละ ฉันเอง ไมไ่ ดโ้ ง่ ทาไมจะไมร่ ู้วา่ เขาอยากจะพูดอะไร... เพราะเราอยู่ดว้ ยกันอย่างนีม้ าตัง้ นานแลว้ ... (ทมี่ า เจา้ หญิงผเู้ ลอโฉม. My Best (Boy) Friend เพื่อนสนิท คดิ ไกล...หวั ใจมีรัก, ๒๕๕๘ หน้า ๑๕๘-๑๖๐) จากตัวอย่างนิยายออนไลน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า นิยายออนไลน์เรื่องดังกล่าวนี้ เป็นไปตามลักษณะของนวนิยายออนไลน์ตามคานิยาม กล่าวคือ เป็นนิยายที่มีแนวเร่ือง รักโรแมนติก มีความหวานแหววของเร่ืองความรักในวัยหนุ่มสาว ผสานกับความเพ้อฝัน จินตนาการตามแบบฉบับของซีรีส์เกาหลี โดยผู้เขียนจะแบ่งออกเป็นตอน ๆ ลงในเว็บไซต์และเปิดโอกาสให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น (Comment) ในด้านล่าง ของนิยายเร่ืองนั้นได้ รวมท้ังเปิดโอกาสให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้เขียน ในช่องทางอ่ืนๆ ด้วย เช่น เจ้าหญิ งผู้เลอโฉม ซ่ึงเป็นผู้เขียนนวนิยายเรื่องน้ี ได้ เปิ ด ช่ อ งท างเฟ ซ บุ๊ ก แฟ น เพ จ www.facebook.com/prettyprincessjamsai ให้ผู้อ่านได้เข้าไปติดตามผลงานและแสดงความคิดเห็นได้ จุดเด่นอีกประการหนึ่ง ของนิยายออนไลน์ตัวอย่างที่ยกมานั้น คือ ผู้เขียนใช้ภาษาแช็ตซ่ึงเป็นภาษาสนทนา ในกลุ่มวัยรุ่นตลอดจนใช้ภาษาอีโมติคอน (Emoticon) หรือภาษาสัญลักษณ์ต่างๆ ดงั ขอ้ ความท่ที าตวั หนาเพอื่ สอื่ ความหมายในเชิงอารมณ์ร่วมกับผู้อา่ น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓๓ ตัวอย่าง วรรณกรรมออนไลน์เร่ือง เดอะ ไวท์โรด โดย ดร.ป๊อบ (ฐาวรา สิริพิพัฒน์) เป็นวรรณกรรมเยาวชนแนววิยาศาสตร์แฟนตาซีท่ีโด่งดังมากในเว็บไซต์ Dek-D.com ต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และไดถ้ ูกตพี ิมพ์มียอดขายมากกว่าหน่ึงหม่ืนเล่มภายในสิบสามวัน โดยผแู้ ต่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมเรอ่ื ง Lord of Ring และเรอ่ื ง X-men เดอะ ไวท์โรด ตอนที่ ๓ เหตเุ กดิ ทีถ่ นนชาราต ส่ิ ง ท่ี พ อ ล เรี ย ก ม า ต ล อ ด ว่ า มั น คื อ แ ย ก ท้ั ง แ ป ด แ ท้ ที่ จ ริ ง แ ล้ ว แ ต่ ล ะ แ ย ก มันคือเมืองต่างหาก มีเมืองอยู่แปดเมืองท่ีต้ังชื่อตามแนวร่วม ผู้ก่อต้ังไวท์ซิต้ีทั้งแปดคน อนั ได้แก่ เดกเกอร์ วอนเดอร์ริน หัวหน้าผูก้ ่อตง้ั ซึ่งตึกท่ีแทนตัวเขาก็คือ ตึกวอนเดอร์ริน ท่ีอยู่ใจกลางไวท์ซิตี้, แพททริค ฮาวเวิร์ด, ลิซ่า ไอนีว่า, วิน ทองก้า, คิม เอลิเยอร์, เจ.ซี คริสเตียน, แมกเนส โตเติล ไอยดา, มอร์การี เทอร์บาร์ต และสุดท้าย นาริกัน โยลิตา จากรายช่ือที่ได้รู้มาทั้งหมดแล้วก็ พอลพบว่าต้นเหตุของชื่อไวท์ซิตี้ อาจไม่ได้มาจากว่า มันเป็นเมืองสีขาวอย่างเดียว แต่อาจเป็นเพราะว่า เม่ือนาอักษรอังกฤษตัวหน้า ของนามสกุลแนวร่วมผู้ก่อต้ังแต่ละคนมาวางเรียงลาดับกัน จะได้ชื่อว่า White City นน่ั เอง “แล้วตอนน้พี วกเขายังอยู่กันหรอื เปลา่ ครบั ” “ถา้ เม่อื ร้อยหา้ สบิ ปีท่แี ล้วกอ็ าจจะใชน่ ะ” พอล รู้สึ กแ ปล ก ใจเล็ก น้ อยเมื่ อเขาต้ องส น ท น ากั บค อมพิ วเต อร์ท่ี พู ด จ า ได้ฉะฉานกว่ามนุษย์บางคน ตอนน้ีพวกเขาท้ังหมดน่ังอยู่ในส่ิงท่ีทาหน้าท่ี เหมือนแท็กซ่ี เพียงแต่ว่ารูปลักษณ์กับประสิทธิภาพนั้นดูจะห่างไกลกันไปหน่อย หนึ่งคือ ยานพาหนะนี้เป็นทรงกลม ดูภายนอกน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนรถฟักทองโลหะ แต่ภายในสามารถนั่งสบาย ประมาณแปดที่นั่ง ที่เหลือก็คงต้องมีเบียดกันบ้าง อย่างที่สองคือ มันเป็นระบบการจ่ายค่าโดยสารที่แปลกใหม่ เพราะคุณต้องสอดซีดี เงินเข้าไปในเคร่ืองตอบรับก่อน ถึงจะเป็นการสตาร์ทเคร่ือง พูดง่ายๆ คือ ไม่มีเงิน ก็ไม่ไป ท่ีสาคัญต้องมีเงินขั้นต่าอย่างน้อยหนึ่งร้อยกิโลไบต์ด้วยนะ มิฉะน้ันก็มีสิทธิ์ ได้เดินขาลากเหมือนกัน เมื่อใส่ซีดีเสร็จ ระบบเคร่ืองจะเปิดข้ึนพร้อมกับคาทักทาย

๑๓๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ด้วยน้าเสียงหวานใสของเจ้าโชเฟอร์คอมพิวเตอร์ ซ่ึงพอลได้มารู้ทีหลังว่า แท็กซี่ พวกนี้มีการเจริญเติบโตและแบ่งเพศชายหญิงอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งน่ันนาไปสู่คาถาม ของอเล็กซท์ ีว่ ่า “แล้วมคี นั ไหนท่ีระบเุ พศไมไ่ ดบ้ ้างไหมละ่ ?” “ก็คันท่ีเธอจะข้ึนไปน่ังน่ันแหละ ไอ้หนู” ดูจากเสียงของคุณลุงอายุสี่สิบกว่าๆ คนน้ีแล้ว พอรู้ว่าเป็นคาตอบท่ีไม่ค่อยสบอารมณ์เท่าไหร่ และนาทีต่อจากนั้น เม่ือมีการสนทนามากขึ้น มันก็ทาให้รู้ว่าแท็กซี่แต่ละคันมีช่ือ...และคันนี้มีช่ือว่า “พมั กินส์” “ช่ือนา่ กินนะครับ” อเลก็ ซพ์ ยายามพูดประจบ “สนใจรองแทะเหล็กไหมล่ะ ไอ้หนุ่ม” แต่นั่นไม่ไดช้ ่วยใหอ้ ะไรดีขึ้นตามทีค่ าด การเลอื กเส้นทางทาได้งา่ ยเหมือนกับยานประจาหอพักของพวกเขา เพยี งแต่ว่า สถานที่ท่ีให้เลอื กน้ันมีเยอะกว่าอย่างท่ีพอลคดิ ว่าไม่อาจจาได้หมดในวันน้ี เขารูแ้ ค่ว่าเมนู หน้าแรกคือชื่อเมืองท้ังแปด และเมื่อคลิกเข้าไปในแต่ละเมืองก็จะมีสถานที่แยกออกมา แต่สาหรับคนท่ีรู้เส้นทางก็สามารถออกเสียงส่ังลงไปได้ เพียงแต่คุณต้องรู้ชื่อเมือง และถนนของสถานที่น้ันๆ อย่างแม่นยา ในกรณีของวันน้ี พวกเขาจึงต้องพึ่งการจิ้ม ไปก่อน ซึ่งเจอร์รี่เป็นคนดาเนินการโดยการกดที่ช่ือเมืองเอลีเยอร์ เลือกถนนชาราต และเรียกช่อื รา้ นหมวกเส้อื ผา้ อนิ – ดไี ซน์ “ฉันมีคาแนะนาใหพ้ วกเธออย่างหนึ่งสาหรบั พวกเธอที่เพิ่งเขา้ มาใหม่” พัมกินส์ เอ่ย “ถ้าจะชอปปิง เอลีเยอร์จะเป็นท่ีที่ดีที่สุดของเธอ ถ้าจะหาแหล่งรวมแก๊งละก็ ไปทองก้าจะไม่มีทางผิดหวัง ถ้าหาสวนสนุกอยู่เธอก็เลือกได้ระหว่างทองก้ากับฮาวเวิร์ด แต่...ฉันรู้สึกท่ีฮาวเวิร์ดจะใหญ่กว่านะ เพราะมีสวนสนุก ‘โบกี้ทองก้ี’ อยู่ที่น่ันด้วย และเธอคงไม่ลมื วา่ ไวทย์ ู ต้งั อยใู่ นเมืองครสิ เตียน” “แลว้ เมอื งอนื่ ๆ ล่ะครับ” พอลถามอยา่ งสนอกสนใจ “เมืองพวกนั้นน่าจะเป็นท่ีสาหรับพวกผู้ใหญ่แล้วล่ะนะ เพราะเธอคงไม่อยาก ไปยุ่งกับกระทรวงต่างๆ ท่ีกระจายอยู่ใน เทอร์บอร์ต กับ โยลิต้า นักหรอก เอ้อ ท่ี วอนเดอร์ริน ก็เป็นศูนย์รวมพวกบิ๊กๆ อยู่เยอะนะถ้าพวกเธออยากไป แต่สักวันหน่ึง

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓๕ ถ้าอายุเธอถึงช่วงที่อยากน่ังอยู่เฉยๆ หรือคิดอยากจะคุยกับต้นไม้และนกน้อยละก็ สวนสาธารณะท่ีใหญ่ที่สุดของไวท์ซิต้ีอยู่ท่ี ไอยดา มันช่ือ ‘ไอรีนปาร์ค’ น่ะ รับรองว่า ถ้าเห็นเธอจะไม่เช่ือเลยว่าทาไม ไอยดาถึงสรรค์สร้างอะไรได้หวือหวาขนาดน้ัน อ้อ ถ้าไปไอนีวา่ เธอจะไดพ้ บกับศนู ยบ์ ัญชาการของ L.D.T...” “หา L.D.T. ก็อยู่ท่ีน่ีเหรอครับ” อเล็กซ์ถาม ท่าทางเขาสุภาพขึ้นเยอะ หลงั จากทพ่ี ลาดไปกับคาถามทีแ่ ล้ว “ใช่แล้ว เป็นศูนย์ท่ีใหญ่ทีเดียวแหละ พวกนักเรียนกองปราบช่วงฝึกงาน มาอยู่ท่นี ี่ให้เกรอ่ หลายครั้งทฉ่ี นั ต้องรับพวกมันจากบาร์ในทองก้าไปส่งทุกที ที่ฉนั เกลียด ก็คือการอ้วกในรถนี่แหละ มันคิดว่ารถท่ีทาความสะอาดตัวเองได้ จะทนกับกล่ินเน่าๆ พวกนัน้ ได้งั้นซิ ฉนั จะเช่อื พวกน่ีจรงิ ๆ” “วา้ ว ดูแมนอย่างร้ายกาจ” เจอร์รพี่ ูดน้าเสยี งเพอ้ ฝัน “อย่าไปหลงคารมพวกมันเข้าล่ะแม่สาวน้อย” น้าเสียงของเขาฟังดูเหมือน จะห้ามปราม “ถึงพวกน้ันก็ดูแข็งแกร่งสมชายนะ แต่ถ้าเธอเลือกไม่ดี อาจเป็นข่าว หน้าหนึ่งได้ง่ายนะ เจอร์ร่ี เอเวอรร์ ี่” “หา...น่ี...คุณรู้จักฉันเหรอคะ” เจอร์ร่ีเพิ่งทาสีหน้าเหมือนกับถูกผีโปล่า ลอยผ่านมา “อย่าบ อกน ะว่าเธอคิด ว่าแ ท็ กซี่ อย่ างฉั น จ ะไม่ ติด ต าม ข่าวส าร บ้ าน เมื อง” พัมกินส์ตอบเสียงขุ่นเคือง และอึดใจต่อมาพวกเขารู้สึกว่าเครื่องยนต์น้ันส่ันอย่างรุนแรง กอ่ นจะเล้ยี วแหกโคง้ อยา่ งไม่ปรานี จนหวั ของอเลก็ ซโ์ ขกกับหน้าต่างดังโปก๊ ความเร็วเกือบร้อยสี่สิบกิโลเมตรต่อช่ัวโมงนาพวกเขาออกจากเมืองคริสเตียน เข้าสู่ถนนใหญ่ที่สามารถจะเดินไปยังเมืองต่างๆ ได้อีกเจ็ดเมือง เมื่อมาถึงช่วงที่มี การจราจรค่อนข้างหนาแน่นเช่นน้ี พอลก็ประจักษ์ว่า การคมนาคมของไวท์ซิต้ีไม่ได้ จากัดแค่แท็กซ่ีเท่านั้น แต่ยังมีทางด่วนเรืองแสงที่ตัดผ่านท่ัวเมืองยังกับเส้นประสาท ระโยงระยางในก้อนสมอง มีรางรถไฟลอยฟ้าที่มีลักษณะคล้ายรถด่วนของไวท์โรด มีรถยนต์ส่วนบุคคล ซ่ึงรวมถึงพวกยานอวกาศที่ฉวัดเฉวียนไปมาอยู่บนฟากฟ้า อย่างอิสระ และคร้ังหนึ่งท่ีพัมกินส์เคลื่อนทางเข้าเมืองเอลีเยอร์ พอลก็สังเกตเห็น

๑๓๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สถานีรถไฟใต้ดินหน้าทางเข้าเมือง รวมถึงส่วนของสถานที่ ที่เต็มไปด้วยแคปซูล วางเรียงราย และมีคนโผล่ๆ หายๆ ตลอดเวลา แน่นอนมันคือ “ท่าวาร์ป” ที่มี เกลื่อนกลาดทั่วไปในไวท์ซิต้ีและถือเป็นการเดินทางท่ีเสียค่าบริการมากท่ีสุด ในเมืองนี้ เอย๊ี ด! “ถึงแล้วเด็กๆ” พัมกินส์พูดอย่างอารมณ์ดีขณะเบรกตัวโก่ง จนพวกพอล ที่น่ังอยู่แถวหลังรู้สึกเหมือนจะพุ่งออกไป ข้างนอกกระจกหน้า ค่าโดยสาร จานวนหนึ่งร้อยหกสิบห้ากิโลไบต์ปรากฏบนแผงควบคุมและซีดีเงินยื่นตัวออกมา จากเครื่องตอบรับของมัน “ขอให้ช้อปกันให้สนุกนะ” เสียงของเขาฟังดูเริงรื่นข้ึนเยอะตั้งแต่ตัวเลข บนหน้าปดั ทุ่งทะลุเกือบเลยร้อยห้าสิบกิโลเมตรตอ่ ช่ัวโมง เสียงปลดลอ็ กดังขึ้นและประตู แท็กซ่ีเปิดออกใหอ้ ากาศจากภายนอกพัดเข้ามาอย่างอ่อนโยน พวกเขาเดินลงจากแท็กซ่ี ทีละคนๆ เกือบจะในทันทีท่ีเท้าแตะพ้ืน เจอร์รี่รีบคว้ากระจกจากนาฬิกาเพ่ือส่องดู ทรงผมท่ีเหมือนจะพันเป็นกระจุกหน่อยๆ ขณะท่ีอเล็กซ์มีท่าทีลนลานตอนออกจากรถ ราวกบั กลัววา่ พัมกนิ ส์อาจจะกินเขาเข้าไปทง้ั ตัว (ท่ีมา ดร. ปอ๊ บ. เดอะ ไวท์โรด, ๒๕๔๗ หน้า ๙๗-๙๘) จากตัวอย่างวรรณกรรมออนไลน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า วรรณกรรมออนไลน์เร่ือง เดอะ ไวท์โรด นั้น มีลักษณ ะแนวเรื่องและกลวิธีการเขียนตรงตามลักษณ ะ ของวรรณกรรมออนไลน์ตามคานิยามอย่างเห็นได้ชัด ประการแรก คือ แนวเรื่องน้ัน เป็นแนวเรื่องแฟนตาซี (Fantasy) เน้นการผจญภัยและดาเนินเร่ืองราวไปในดินแดน แห่งจินตนาการ ดังเช่น ข้อความที่ทาตัวหนาที่บรรยายถึง โชเฟอร์คอมพิวเตอร์ ซงึ่ เป็นคนขับรถฟักทอง(ในโลกมนุษย์เรยี กว่า รถแท็กซ่ี) ท่ีพูดจาโต้ตอบไดเ้ หมือนมนุษย์ ตลอดจนการบรรยายถึงการคมนาคมขนส่งในเมืองดังกล่าวท่ีมีเทคโนโลยีล้ายุคสมัย อย่างที่ตัวละครไม่เคยพบเห็นมาก่อน เป็นต้นวา่ ทางด่วนเรืองแสง ยานอวกาศ ท่าวาร์ป นอกจากนี้ วรรณกรรมออนไลน์เร่ืองดังกล่าวยังมีจุดเด่นประการสาคัญอยู่ท่ีการสร้าง ตัวละครหลักของเร่ืองซ่ึงเป็นกลุ่มเด็กให้เป็นผู้ดาเนินเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างสอดคล้อง กบั แนวเร่ืองแฟนตาซผี จญภยั ท่ีตอ้ งการเนน้ ความสนุกสนานเพลิดเพลนิ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓๗ ตัวอย่าง วรรณกรรมออนไลน์เรื่อง หัวขโมยแห่งบารามอส กับ มงกุฎแห่งใจ โดย แรบบิท เป็นวรรณกรรมนิยายเชิงสร้างสรรค์แนวแฟนตาซีท่ีเร่ิมเขียนคร้ังแรก เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก หนังสือเร่ือง The book of Three ของ Lloyd Alexander และเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ J.K Rowling นอกจากน้ี ตัวละครในเร่ืองยังได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากการ์ตูนญ่ีปุ่นหลายเรื่อง โดยเร่ืองนี้ ได้รับความนิยมอย่างมากในเว็บไซต์ซันไรส์ ถนนนักเขียนเว็บไซต์พันทิป และเว็บไซต์ เด็กดจี นกระท่งั ไดร้ ับการตพี ิมพ์ในทส่ี ุด หัวขโมยแห่งบารามอส โร เซวาเรส ประตูใหญ่ของกาแพงแห่งโรงเรียนเอดินเบิร์กเปิดกว้างในเช้าวันน้ี อาทิตย์ ส่องแสงจ้าแจ่มใส เสียงนกส่งเสียงร้องแข่งกันราวกับเสียงดนตรี สนามหญ้าที่เขียวขจี หน้าโรงเรียนยังเต็มไปด้วยหยาดน้าค้าง ท้ังรถท้ังคนยังเต็มไปทั้งถนนด้านหน้า แต่ก็น้อยกว่าวันก่อนหลายเท่าตัว ธงสีม่วง มีลายมงกุฎ ดาบ คทา แหวนสีทองอยู่ตรง กลาง ซึ่งเป็นธงประจาโรงเรียนพระราชากาลังปลิวไสวเรียงรายบนกาแพงใหญ่และ ประตูท่ีเปิดกวา้ ง วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา นักศึกษาใหม่ต้องเข้าคิว รอการรายงานตวั ซ่งึ ดูเหมือนแถวจะทอดเหยียดออกไปดว้ ยเร่อื ยๆ บางคนรีบมาจองคิว แต่เช้าเพราะอยากได้หมายเลขนักศึกษาเป็นหมายเลขลาดับต้นๆ และบางกรณียังอาจ มีสิทธ์ิเลือกหอพักได้อีกด้วย ส่วนนักศึกษาเก่าสามารถเข้าโรงเรียนได้เลย โดยไมต่ อ้ งรอคิว ตอนนี้ทุกคนล้วนอยู่ในชุดนักเรียนแห่งโรงเรียนพระราชา เว้นแต่พวกรุ่นพี่ ทม่ี ีความแตกต่างกันเลก็ น้อยตรงผา้ คลมุ ยาวทีม่ ีสีแถบตา่ งกัน บ้างกเ็ ป็นสีขาว บ้างก็เป็น สีดา บ้างก็เป็นสีแดง บ้างก็เป็นสีน้าเงิน เวลาเดินเข้ามาพร้อมกัน ช่างละลานตาชวนดู ราวกับเปน็ ขบวนเสดจ็ ของพระราชา

๑๓๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ นอกจากผู้คนแล้ว ยังมีเสียงของสัตว์ต่างๆ ส่งเสียงร้องแข่งกันจนแยกไม่ออก ว่าเป็นเสียงของสัตว์ประเภทได ทางด้านซ้ายของกาแพงเป็นสถานที่ที่รับฝากสัตว์ พาหนะของนักเรียนปีหนึ่งก่อนรับการรายงานตัว มีทั้งม้าใหญ่ม้าเล็ก สีขาว สีดา แตล่ ะตัวลว้ นอว้ นพี ทระนงองอาจไมแ่ พเ้ หลา่ เจ้าของ ส่วนสัตว์พาหนะของนักศึกษาเก่า นักศึกษาได้รับอนุญาตให้เอาเข้าไปเก็บ ในคอกเองในโรงเรียน สัตว์พาหนะเหล่านี้จะแตกต่างไปซ่ึงดูแล้วน่าต่ืนตา ยิ่งกว่าขบวนละครสัตว์ท่ีไหนซะอีก เพราะมีตั้งแต่มังกรดอกไม้พันธ์ุฉลาดท่ีสุด มังกรไฟพันธ์ุโหดท่ีสุด ช้างตัวโตเกือบเท่าประตูโรงเรียน งูเผือกยักษ์ยาวกว่า สามสิบเมตร ฟินิกซ์เพลิงแสนสวย กริฟฟินส์ผู้ทรงอานาจ ไปจนถึงหนูนายักษ์ตัวโต ทนี่ ่าขยะแขยง หรอื ลิงอรุ ังอตุ งั ขนรงุ รัง แต่แล้วความเพลนิ ตาของเฟรินกส็ ะดดุ ลงด้วยเสยี งของมาดัสทดี่ งั ขน้ึ “แกไปเข้าแถวได้แล้วไป! จาไว้ว่า เลือกปราสาทขุนนาง แย่ท่ีสุดก็แผ่นดิน ประชาชน แตอ่ ย่าไปเลอื กปอ้ มอศั วนิ ถา้ แกยังไม่อยากตาย” เสยี งหวั เราะดังใกล้ๆ ทาให้เฟรินตอ้ งหันขวับไปดู เด็กหนุ่มผมสีชาอ่อน นัยน์ตาสเี ขียว นายโร เซวาเรส นายขอทานคนนั้นนัน่ เอง “รู้มั้ยฮะ ปราสาทขุนนาง ปราการปราชญ์ ป้อมอัศวิน กับแผ่นดินประชาชน มีฉายากันว่าไง ปราสาทผลาญทรพั ย์ ปราการลบั สมอง ปอ้ มผจญภยั แผ่นดินแรงงาน” เฟรินฟังฉายาแล้ว หันไปมองมาดัสที่เริ่มเหง่ือตก ปราสาทผลาญทรัพย์ ช่อื สยองนอ้ ยซะเม่อื ไหร่ “เออ... น่ีพ่อฉัน มาดัส เดอเบอร์โร” เฟรินตัดบทด้วยการแนะนา โรก้มหัว คานบั น้อยๆ แล้วส่งมอื ให้จบั อยา่ งคนมารยาทดี “สวสั ดีฮะ ผมได้ยนิ ช่อื คณุ มานาน เจอตัววันน้ีดีใจจริงๆ ผมโร เซวาเรส” มาดัสเร่ิมขยับรอยย้ิมอยา่ งยดื อกรับคาชม จากนั้นในความรู้สึกของเฟรินกค็ ือ... เริ่มเพอ้ เจ้อ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓๙ “โรใช่ไหม ยังไงกฝ็ ากเจ้าน่ีดว้ ยละกัน มนั ไม่ค่อยได้ความเท่าไหร่” “ไปต่อแถวกันดีกว่า โร ไป... พ่อก็กลับไปได้แล้ว แค่นี้ฉันเดินเข้าไปเองได้ ไปเถอะไป” (ท่มี า แรบบิท. หัวขโมยแห่งบารามอส กับ มงกุฎแห่งใจ, ๒๕๔๗ หน้า ๔๗-๕๖) จากตัวอย่างวรรณกรรมออนไลน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าวรรณกรรมออนไลน์ เรื่อง หัวขโมยแห่งบารามอส กับ มงกุฎแห่งใจ นั้น มีลักษณะตามแนวเร่ืองของวรรณกรรม ออนไลน์ตามคานิยาม กล่าวคือ มีแนวเรื่องแฟนตาซี (Fantasy) โดยเรื่องราวดาเนินอยู่ ในโลกแห่งความฝันและจินตนาการ ดังจะเห็นได้จากกล่าวกล่าวถึงสัตว์เลี้ยงของ นักศึกษาซ่ึงล้วนเป็นสัตว์ในจินตนาการ อาทิ มังกรสายพันธุ์ต่างๆ นกฟินิกส์ กริฟฟินส์ นอกจากนี้วรรณ กรรมเรื่องดังกล่าวยังมีลัก ษ ณ ะของวรรณ กรรมออนไลน์ ในด้านการนาเสนอแก่นเร่ือง (Theme) หรือแง่คิด ซ่ึงผู้เขียนสอดแทรกไว้ในเร่ือง ไดอ้ ยา่ งแยบยล เช่น การให้แงค่ ดิ ในเรื่องการเป็นผูน้ า ซ่งึ ผู้นาหรือพระราชานนั้ จะตอ้ งมี คุณสมบัติสาคัญ คือ เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ อดทน และมีสติปัญญานั่ นเอง ดงั ขอ้ ความตอนหนง่ึ ในวรรณกรรมเรอ่ื งนท้ี ่ีกล่าวไวว้ ่า “คาถามท่ีสองนะจ๊ะ สิ่งที่ต้องการได้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ของตัวเอง คอื อะไร” “ดาบ” เฟรินตอบ พอเห็นค้ิวของมิสแรมเซิลเลิกข้ึนเล็กน้อย เขากร็ ีบสาธยาย “แน่นอน ต้องเป็นดาบ ความแข็งของดาบ แสดงถึงความเข้มแข็งอดทน ข้อน้ีเป็นคุณสมบัติ ท่ีขาดไม่ได้ของพระราชา ความคมของดาบแสดงถึงความเฉียบขาดของสติปัญญา อันชาญฉลาด ผู้ถือดาบแสดงถึงอานาจ ผู้ถือดาบแสดงถึงพลัง ผู้ถือดาบแสดงถึง ความกล้าหาญ” (ที่มา แรบบิท. หัวขโมยแหง่ บารามอส กับ มงกุฎแหง่ ใจ, ๒๕๔๗ หน้า ๒๙)

๑๔๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ การเขยี นอนทุ นิ ออนไลน์ การเขียนบันทึกประจาวัน หรือท่ีเรียกกันว่า อนุทิน (Diary) เป็นการเขียนเล่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองในแต่ละวัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นเร่ืองท่ีเกี่ยวกับ ตนเองโดยตรง ครอบครัว ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนในสังคมรอบด้านตัวเอง นอกจากนี้ การเขียนบันทึกประจาวันยังเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้ อารมณ์ หรือประสบการณ์ของตนเองไปยังผู้อ่านอีกด้วย ทั้งน้ี ในการเขียนบันทึกนั้น ผู้เขียน ท่รี จู้ ักใช้ศลิ ปะในการเขียน จะทาให้เกดิ ความน่าสนใจและเกดิ ลกั ษณะเฉพาะตวั ได้ ในปัจจุบนั การเขยี นอนุทินออนไลน์ ไดอาร่ีออนไลน์ หรือ เวบ็ บล็อก อาจเรียก สั้นๆ ว่า “บล็อก” น้ัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยวิถีชีวิตประจาวัน ของคนรุ่นใหม่น้ันเกี่ยวพันกับส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ดังน้ัน ในสังคมพหุส่ือสาร การเขียน อนุทินออนไลน์จึงปรากฏให้เห็นได้อย่างแพร่หลาย ท้ังน้ี การเขียนอนุทินออนไลน์ ทางเว็บไซต์นั้นมีลักษณะเป็นการเขียนไดอาร่ี หรือบันทึกส่วนตัว โดยมีจุดมุ่งหมาย เพ่ือบันทึกเหตุการณ์ประจาวัน ตลอดจนถ่ายทอดสาร ท้ังท่ีเป็นความรู้ ความคิด ประสบการณ์จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน โดยผู้ที่เขียนเว็บบล็อกเป็นอาชีพนั้นจะถูกเรียกว่า บลอ็ กเกอร์ (Blogger) นนั่ เอง ประโยชน์ของการเขียนอนุทนิ ออนไลน์ ๑. เป็นแหล่งข้อมูลส่วนตัวในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ถ่ายทอดความคิด และประสบการณ์ไปยงั ผูอ้ ่ืน เนื่องจากการเขยี นบล็อกเปรยี บเสมือนการเปิดพ้นื ทสี่ ่วนตัว ให้ผอู้ ืน่ ไดร้ บั รกู้ ารดาเนนิ ชีวิต วิถีชีวิต (Lifestyle) วิถีคดิ ของผ้เู ขียนเอง ๒. เป็นแหล่งความรู้ ผู้เขียนสามารถนาเสนอข้อมูล สารประโยชน์ ในเร่ือง ต่างๆ อาทิ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ศลิ ปวัฒนธรรม ฯลฯ ผา่ นพนื้ ท่อี อนไลน์ของตนเอง ๓. เป็นแหล่งแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน เนื่องจาก การเขียนบล็อกหรือไดอารี่ออนไลน์ นอกจากผู้อ่านจะได้รับความรู้และสารประโยชน์ เหล่านั้นแล้ว ผู้อ่านยังสามารถแลกเปล่ียน หรือที่เรียกกันว่า “แชร์ข้อมูล” เหล่าน้ัน ผา่ นการแสดงความคิดเหน็ ในชอ่ งแสดงความคดิ เห็น (Comment) ได้

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๔๑ ๔. เป็นเคร่ืองมือในการเตือนความทรงจาของผู้เขียน โดยบันทึกน้ันจะถูกเก็บ เอาไว้ในระบบของเว็บไซต์ ซ่ึงสามารถค้นหาหรือเปิดดูได้ตามความต้องการ ของผเู้ ขยี น ๕. ช่วยให้ผู้เขียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยฝึกทักษะการใช้ภาษา ของผูเ้ ขียน ๖. ให้ ประโยคใน เชิงธุรกิจ กล่าวคือ การเขียนบล็อกสามารถใช้ใน การประชาสมั พนั ธ์สินค้าและบริการไปยงั สาธารณชนได้ หลกั ในการเขียนอนทุ ินออนไลน์ ในการเขยี นอนุทนิ ออนไลน์ หรอื บนั ทึกประจาวันออนไลนน์ ้นั ควรยึดหลักดงั น้ี ๑ . ใช้ภ าษ าของตัวเองใน การเขียน บั น ทึ ก เพื่ อง่ายต่อความ เข้าใจ ของตวั ผูเ้ ขยี นเอง ๒. ใช้ภาษาท่ีกระชับ กระชับไม่ฟุ่มเฟือย และไม่กากวม ไม่ควรใช้ภาษา เป็นแบบแผนหรือทางการ เนื่องจากการเขียนบันทึกประจาวันออนไลน์นั้น โดยมาก จะเป็นผู้อ่านท่ัวๆ ไป ซึ่งมีทุกเพศทุกวัย หรือเป็นเพ่ือนบุคคลท่ีคุ้นเคยเข้ามาอ่าน ทั้งนี้ การใช้ภาษาท่ีง่ายหรือไม่ซับซ้อนจะทาให้ผู้อ่านเข้าใจเร่ืองราว หรือความหมาย ของบันทึกทีเ่ ราเขยี นไดอ้ ย่างรวดเรว็ ๓. เขียนเฉพาะประเด็นหรือเหตุการณ์ที่มีความสาคัญ น่าสนใจ หรือเป็น ประโยชน์ เน่ืองจากเร่ืองราวในชีวิตประจาวันนั้นมีจานวนมากหลายเหตุการณ์ ผู้เขียน จึงควรหยิบ ยกเอาเรื่องท่ี มีความโดดเด่นและมีคุณ ค่าต่อผู้อ่าน เป็ นต้น ว่า การบันทกึ ข้อคิดหรือแง่มุมการใช้ชีวิต การบันทกึ เหตุการณ์ที่สามารถแทรกสาระความรู้ ในเรอื่ งตา่ งๆ อยา่ งเชน่ เรอื่ งสุขภาพ โรคภัย เหตกุ ารณ์บ้านเมอื ง ฯลฯ ๔. เขียนบันทึกตามเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนหรือพบเจอด้วยข้อเท็จจริง ไม่ควร เพิ่มเติมเสริมแต่งจนเกินจริง หรือกลายเป็นเรื่องสมมติท่ีเหมือนนิทานนิยาย ไปในที่สุด เพราะนอกจากจะทาให้การเขียนบันทึกขาดความสมจริงแล้ว ยังอาจทาให้ ผอู้ ่านไมเ่ ชื่อถือในขอ้ มูลหรือเหตุการณ์ตา่ งๆ ของผเู้ ขยี นน่นั เอง นอกจากนี้ สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๒๑๑) ยังได้กล่าวถึงลักษณะ ของการเขียนอนุทินหรือบันทึกประจาวันที่ดี ไว้ว่า อนุทินหรือบันทึกประจาวัน ควรวางรูปแบบคล้ายกับการเขียนจดหมาย กล่าวคือ ควรมีคาข้ึนต้นและลงช่ือผู้เขียน

๑๔๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ไว้ในตอนท้าย อีกท้ังผู้เขียนควรลงวันที่ท่ีบันทึก โดยเรียงตามลาดับวันและเหตุการณ์ ที่เกิดข้นึ เพือ่ ความสะดวกและงา่ ยตอ่ การคน้ หา ตัวอย่าง แก้วไดอาร่ี อนุทินออนไลน์ของ หมูแก้ว นามแฝงผู้ติดเช้ือ HIV สร้างขึ้น เพื่อแลกเปล่ียนประสบการณ์และความรู้เก่ียวกับผู้ป่วยที่ติดเช้ือ HIV รวมถึงการให้ กาลงั ใจกนั และกนั ระหวา่ งผ้เู ขียนและผอู้ า่ น ซึ่งส่วนหน่ึงเป็นผตู้ ิดเชอ้ื HIV เช่นเดยี วกัน

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๔๓ (ทม่ี า หมูแกว้ , แกว้ ไดอารี่ (ออนไลน์), ๒๕ กนั ยายน ๒๕๕๒. แหล่งทม่ี า http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=kaewdiary&group=5)

๑๔๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง เรไรรายวัน อนุทินออนไลน์ของ เด็กหญิงเรไร สุวีรานนท์ อายุ ๙ ปี ซึ่งถ่ายทอดประสบการณ์ มุมมอง และจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ผ่านภาษาท่ี เรยี บงา่ ย โดยอนทุ นิ ออนไลนเ์ รไรรายวันน้นั มผี ูต้ ิดตามมากกวา่ ๒๐๐,๐๐๐ คน (ที่มา เรไรรายวนั , (ออนไลน์), ๘ กนั ยายน ๒๕๕๙. แหล่งที่มา https://www.facebook.com/RayRaiRaiwan/)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๔๕ ตัวอย่าง อนุทินออนไลน์จากเว็บบล็อก sanook-is-me ซ่ึงเป็นบล็อกของผู้เขียนเอง โดยผู้เขียนได้เร่ิมเขียนอนุทินออนไลน์ในฐานะบล็อกเกอร์ (Blogger) และเผยแพร่ ลงในเว็บไซต์ www.exteen.com มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเว็บไซต์ดังกล่าว เป็นท่ีนิยมอย่างมากในกลุ่มของนักเขียนบล็อก ซ่ึงจะใช้พื้นที่ในการถ่ายทอด ประสบการณ์ เร่ืองราวในชีวิตประจาวัน ตลอดจนแง่คิด มุมมองต่างๆ ของตนเองได้ อยา่ งอิสระ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook