Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเขียน

การเขียน

Published by Sirirat Wonginyoo, 2020-06-30 23:04:53

Description: การเขียน

Search

Read the Text Version

๑๔๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๔๗

๑๔๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ (ทมี่ า สุทธิวรรณ อินทะกนก, sanook-is-me (ออนไลน)์ , ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑. แหล่งทมี่ า http://m.exteen.com/blog/sanook-is-me/20080921/entry)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๔๙ ตวั อย่าง

๑๕๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕๑ (ทม่ี า สทุ ธิวรรณ อนิ ทะกนก, sanook-is-me (ออนไลน์), ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑. แหล่งท่ีมา http://m.exteen.com/blog/sanook-is-me/20081211/entry) จากตัวอย่างอนุทินออนไลน์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าอนุทินออนไลน์ท้ังสองตัวอย่างนั้น เป็นไปตามลักษณะของการเขียนอนุทินออนไลน์ดังคานิยาม กล่าวคือ ประการแรก ผู้เขียนได้ถ่ายทอดแง่มุมหรือเรื่องราวส่วนตัวให้สาธารณชนรับรู้ผ่านส่ือออนไลน์ หรือเว็บไซต์ โดยผู้เขียนใช้ภาษาของตัวเอง มีลักษณะเป็นภาษาที่เรียบง่าย ไม่ใช้ภาษา ทางการ เพ่ือให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในส่ิงที่ผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอดได้อย่างรวดเร็ว ประการตอ่ มา คือ ผู้เขียนได้หยิบยกเอาเฉพาะเหตุการณ์สาคัญในชีวิตประจาวันตอนนั้น มาถ่ายทอด เช่น ในตัวอย่างที่สองนั้นผู้เขียนได้เล่าถึงตอนที่เพื่อนสนิทแนะนาให้อ่าน หนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “โลกของโซฟี” ซ่ึงผู้เขียนไม่เคยสนใจหนังสือเล่มนั้นมาก่อน จนตัดสินใจอ่านและเกิดความชอบในที่สุด และประการสุดท้ายคือการแทรกมุมมอง หรือทรรศนะของผู้เขียนผ่านอนุทินออนไลน์ไปยังผู้อ่าน ดังข้อความในย่อหน้าสุดท้าย ของตัวอย่างอนุทินออนไลน์ท่ีสรุปเอาไว้ว่า “น่ันไง! บางคร้ังความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้น กับอะไรสักอย่างไม่ได้ก่อตัวขึ้นทันทีทันใด ระยะเวลาในการสัมผัสด้วยสายตา สมอง จินตนาการ รวมท้ังใจล่ะม้ัง ที่จะทาให้เธอพบว่า ส้มผลใหญ่ในโลกของโซฟีคือ สญุ ญากาศทซ่ี ุกซอ่ นพลังงานไวอ้ ย่างมหาศาล”

๑๕๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ การเขียนบทความ บทความ (Article) คือ งานเขียนประเภทหนึ่งท่ีมีลักษณะเป็นความเรียง โดยอาศัยข้อเท็จจริงและสอดแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์สร้างสรรค์ของผู้เขียน เอาไว้ด้วย ท้ังน้ี บทความจะเน้นการเสนอความคิดเห็นในเรื่องใดเร่ืองหน่ึงของผู้เขียน เป็นหลกั และมีหลกั ฐานขอ้ เท็จจรงิ เขา้ มาประกอบทรรศนะดังกลา่ ว บทความมีหลายชนิด ได้แก่ บทความบรรยายเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม การเมือง ฯลฯ บทความรายงานว่าด้วยเหตุการณ์การศึกษาค้นคว้า การปฏิบัติหน้าท่ี ฯลฯ บทความเชิงโต้แย้งอภิปรายความคิดเห็นด้วยเหตุผลโต้ตอบ เรื่องต่างๆ บทความแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ถึงส่ิงท่ีน่าสนใจ บทความสัมภาษณ์ บุคคล บทความอธิบายวิธีการทาสิ่งต่างๆ บทความในโอกาสวันสาคัญ และบทความ ทว่ั ไป วตั ถุประสงคข์ องการเขียนบทความ ๑. เพ่ือให้ความรู้ ข้อมูล โดยความรู้นั้นอาจจะเป็นความรู้เฉพาะเร่ืองใด เรอ่ื งหน่ึง หรอื ความรทู้ ั่วไป ตลอดจนขอ้ เทจ็ จรงิ ตา่ งๆ ก็ได้ ๒. เพอื่ บรรยายใหผ้ ู้อา่ นเหน็ ภาพของเหตกุ ารณ์ สถานที่ หรือสภาพต่างๆ ๓. เพ่อื โน้มนา้ ว จูงใจ ใหผ้ ู้อา่ นคล้อยตามความคดิ ของตน ๔. เพื่อให้ความเพลิดเพลิน เกิดความสนุกในการอ่าน เช่น การท่องเท่ียว ประวัติบคุ คลสาคัญ ๕. เพื่อวิจารณ์เหตุการณ์หรือเรื่องต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นในสังคม หรือประเด็น ท่มี ผี ลกระทบตอ่ สังคม ประเภทของบทความ ประภาศรี สีหอาไพ (๒๕๓๑ : ๘๖-๘๗) ได้จาแนกลักษณะของบทความ ออกเป็น ๕ ประเภท ดงั นี้ ๑. บทความแสดงความคิดเห็น ประมวลแนวความคิดที่ผู้เขียนรวบรวม จากเอกสารอ้างอิงประกอบกับความเห็นของผู้เขียนเอง หรือเป็นแนวคิดของผู้เขียน ทั้งหมดในเร่ืองตา่ งๆ เช่น ความคิดของเดก็ ในวันเด็ก สาเหตุเพลิงไหม้ในเทศกาลตรุษจีน เศรษฐกจิ ของไทยใครกาหนด ฯลฯ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕๓ ๒. บทความสัมภาษณ์ เป็นบทความท่ีแสดงความคิดของบุคคลเกี่ยวกับ เร่ืองใดเร่ืองหน่ึงโดยเฉพาะ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้เช่ียวชาญหรือเข้าใจในเรื่องนั้น เปน็ อยา่ งดี ผูเ้ ขยี นจะต้องเลอื กสมั ภาษณ์บุคคลให้เหมาะสมกบั เร่ือง ๓ . บ ท ค วามก่ึงชีวป ระวัติ ใช้วิธีสัมภ าษ ณ์ เร่ืองราวเก่ียวกับ บุ คค ล ผู้เป็นเจ้าของชีวประวัติน้ันหรือผู้ใกล้ชิด ควรเลือกบุคคลท่ีมีชื่อเสียง มีคุณลักษณะ ท่ีเป็นตัวอย่างหรือเย่ียงอย่าง มีเอกสารหรือผลงานประกอบมากพอที่จะเป็นหลักฐาน ข้อมูลได้ เช่น ชีวประวัตินักบินอวกาศคนแรกของโลก ชีวิตรักนักประพันธ์ ฯลฯ บางทอี าจเป็นข้อเขยี นของเจา้ ของชวี ประวตั ินั่นเอง ๔. บทความทางวิชาการ ให้เน้ือหาสาระเป็นความรู้เฉพาะด้าน รวมอยู่ใน วารสารวิชาการ เช่น วารสารครุศาสตร์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน วารสารการศึกษา วารสารวัฒนธรรมไทย เปน็ ต้น ๕. บทความรายงานเหตุการณ์หรือการท่องเที่ยว เล่าถ่ายทอดให้ผู้ฟัง ทราบเหตุการณ์ ความสนุกสนานประทับใจในเหตุการณ์หรือการเดินทาง เช่น ไปนมัสการพุทธสงั เวชนยี สถานประเทศอนิ เดีย ภูหลวงสวรรค์บนดิน ฯลฯ นอกจากน้ี ปราณี สรุ สิทธิ์ (๒๕๔๙ : ๑๑๑-๑๑๒) ได้สรุปประเภทของบทความ จากนกั วชิ าการหลายทา่ น อาทิ เปลื้อง ณ นคร เจือ สตะเวทนิ วริ ัช ลภริ ัตนกุล ไวด้ งั น้ี เปล้อื ง ณ นคร แบง่ บทความออกเปน็ ๒ ประเภท คอื ๑. บทความทางการเมือง ๒. บทความเชงิ ความรู้ เจอื สตะเวทิน ไดแ้ บง่ บทความออกเป็น ๑๐ ประการ ดงั นี้ ๑. บทความบรรยาย (Narrative Article) ๒. บทความรายงาน (Report Article) ๓. บทความเชิงโต้ขอ้ ขัดแยง้ (Controversial Article) ๔. บทความทม่ี คี นสนใจ (Human Interest Article) ๕. บทความสมั ภาษณ์ (Interview Article) ๖. บทความประเภทอธิบายวิธีทาอะไรอย่างหน่ึง (The How To Do It Article) ๗. บทความแสดงความคดิ ใหม่ (New Idea Article) ๘. บทความเรอื่ งบุคลิกลักษณะบคุ คล (Personality Article)

๑๕๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๙. บทความในวนั ครบรอบปี (Anniversary Article) ๑๐. บทความทว่ั ไป (General Article) วิรัช ลภิรัตนกุล แบ่งประเภทของบทความท่ีตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารเป็น ๗ ประเภท คอื ๑. บทความทางวิชาการหรือกงึ่ วิชาการ ๒. บทความประเภทท่ีเป็นเร่ืองปญั หาโต้แย้ง หรอื ถกเถียงกันในสงั คม ๓. บทความประเภทสาระเบาๆ ๔. บทความประเภทเชิงสัมภาษณ์ ๕. บทความประเภทธรรมะสอนใจ ๖. บทความประเภทเกีย่ วกบั การทอ่ งเที่ยว ๗. ประเภทอนื่ ๆ พิมาน แจ่มจรัส (๒๕๕๐ : ๓๔๘) ได้แบ่งประเภทของบทความอย่างกว้างๆ ได้ ๔ ประเภท ดงั น้ี ๑. บทความเสนอความคิดเห็น มักเป็นข้อเขียนของนักเขียน มักเป็น การตอบสนองต่อข่าว โดยนาเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ ประกอบประเด็นข่าว อาจมี การสมั ภาษณ์บคุ คลที่เกย่ี วกบั ประเด็นดังกลา่ วมานาเสนอดว้ ย ๒. บทความวิชาการ เป็นการให้ความรู้เฉพาะด้าน และมักจะเจาะลึกกว่า บทความทั่วไป ให้ข้อมูลละเอียด อาจใช้สถิตมิ าประกอบ ๓. บทความแนะนา เป็นการอธิบายและให้ความรู้อย่างละเอียดในเรื่องใด เร่ืองหนึ่ง เช่น การเดินทางท่องเท่ียว การกินอาหาร สุขภาพ เรื่องเพศ เร่ืองการเกษตร เร่อื งกฎหมาย ฯลฯ ๔. บทความวิจารณ์ เป็นการแนะนาเรื่องที่น่าสนใจประกอบความคิดเห็น ของผ้เู ขยี นในด้านตา่ งๆ เชน่ หนงั สอื ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรอื กีฬา

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕๕ ลักษณะเฉพาะของบทความ ๑. เนน้ ให้ความรู้และขอ้ มูลแกผ่ ูอ้ ่านเปน็ หลัก ๒. เนื้อหามีขนาดสั้น จบเป็นตอนๆ เนื้อความควรนาเสนอไว้ตอนต้น แล้วตามด้วยข้อความขยายเช่นเดียวกบั ขา่ ว ทัง้ น้ี ควรเขยี นย่อหน้าทม่ี ขี นาดสนั้ ๓. เน้ือหาควรเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น เช่น ข้อมูล ทางการแพทย์ ทางวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรอื ความเคล่อื นไหวทางสงั คมในปจั จุบัน ๔. เนื้อหาต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงเป็นหลัก และสอดแทรกด้วยข้อคิดเห็น ทรรศนะ หรอื การวิจารณ์ของผเู้ ขียนผสมอยู่ดว้ ย ๕ . ใช้กลวิธีการเขียน สาน วนโวห ารท่ี น่าดึงดูดให้ผู้อ่านคล้อยตาม หรอื เพลดิ เพลนิ ข้นั ตอนการเขียนบทความ ปราณี สุรสิทธ์ิ (๒๕๔๙ : ๑๓๖-๑๓๗) ได้นาเสนอขั้นตอนการเขียนบทความ อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ไว้ ๖ ข้ันตอน ไดแ้ ก่ ๑. เลือกประเดน็ เรอ่ื ง โดยผู้เขียนควรเลือกประเด็นเรอ่ื งจากลักษณะดังต่อไปน้ี ๑.๑ ควรเลอื กเร่อื งทผ่ี เู้ ขียนมคี วามรู้เรอื่ งนั้นเป็นอยา่ งดี ๑.๒ ควรเลือกเรื่องท่ผี เู้ ขียนมีประสบการณ์มาก ๑.๓ ควรเลือกเรอื่ งท่ีผู้เขียนมคี วามสนใจเปน็ พิเศษ ๑.๔ ควรเลอื กเรื่องท่เี ปน็ นามธรรม ๑.๕ ควรเลอื กเรื่องที่มีขอบขา่ ยแคบท่ีสดุ ๒. ตีความและกาหนดขอบเขตของเร่ือง หลังจากได้ประเด็นเร่ืองที่จะเขียน บทความแล้ว จากนั้นนามาตีความกาหนดขอบเขตของเรื่อง ซ่งึ ผู้เขียนใช้วิธีการเดียวกัน กับการตีความ กาหนดขอบเขตของเรือ่ งในการเขียนเรียงความตามท่ีเสนอไว้ข้างต้น ๓. ค้นหาข้อมูลเพ่ิมเติม การหาข้อมูลเพิ่มเติมในการเขียนบทความ สามารถ ดาเนนิ การตามวิธเี ดียวกันกบั การคน้ หาขอ้ มูลเพ่มิ เตมิ ในการเขยี นเรยี งความ ดังน้ี ๓.๑ อ่านและศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาจากเว็บไซต์ หรอื อนิ เทอรเ์ นต็ ๓.๒ สัมภาษณ์ผู้รู้ ๓.๓ สังเกตหรือตดิ ตามขอ้ มูลข่าวสารท่เี กดิ ขน้ึ ในสังคม

๑๕๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๔. วางโครงเร่ือง โดยวธิ ีการวางโครงเรอ่ื งนั้นใช้วิธีเดยี วกันกับการวางโครงเรอ่ื ง ในการเขียนเรียงความ โดยเขยี นหวั ข้อท่ีจะเขยี นไว้เปน็ ขอ้ ๆ ตามลาดับ ๕. ลงมือเขียน ในการลงมือเขียนบทความโดยเขียนตามโครงเรื่องที่กาหนดไว้ ในขนั้ น้ี ผู้เขยี นควรมีแนวการเขยี นและคานึงข้อควรระวังในการเขียนบทความ ดังน้ี ๕.๑ แนวการเขียนเฉพาะบทความ มี ๖ ขอ้ ดงั นี้ ๕.๑.๑ ต้องมีสาระ ได้เร่ืองได้ราว ข้อความตลอดทั้งเรื่อง ต้อง สอดคล้องกัน ๕.๑.๒ แตล่ ะย่อหนา้ มีสาระสาคัญพอท่จี ะสรปุ ออกมาได้อยา่ งแนน่ อน ๕.๑.๓ ข้อมูล เหตุการณ์ต่างๆ ต้องมีพื้นฐานมาจากความเป็นจริง เท่านน้ั ๕.๑.๔ แยกแยะระหวา่ งความคิดส่วนตัวกบั ขอ้ เทจ็ จรงิ อยา่ งเด่นชัด ๕.๑.๕ แสดงจดุ มงุ่ หมายให้ชดั แจ้ง มฉิ ะนน้ั ผอู้ า่ นจะจบั ประเดน็ มไิ ด้ ๕.๑.๖ ตัวอย่าง การเปรียบเทียบ สถิติ หรืออื่นๆ ล้วนเป็นส่ิงช่วยให้ เนื้อหาสมบูรณ์และเดน่ ชดั ๕.๒ ขอ้ ควรระวังเฉพาะในการเขยี นบทความ มี ๗ ข้อ ดังน้ี ๕.๒.๑ ระวงั การเขยี นซา้ ซาก วกวน สับสน ๕.๒.๒ ขยายความไม่ชัดเจน แสดงว่าผู้เขียนมีความรู้น้อย ความคิด คบั แคบ ๕.๒.๓ หากใชค้ าฟ่มุ เฟอื ยเกนิ ความจาเปน็ ให้ตดั ออก ๕.๒.๔ เขียนประโยคส้ันๆ กะทัดรัด เลือกใช้คาง่ายๆ ความหมาย ชัดเจน ๕.๒.๕ เลื อ ก ใช้ ค าให้ เห ม าะ กั บ ค ว า ม แ ล ะ ใช้ ค า ท่ี ช่ ว ย ให้ ความกระจา่ งชัด ๕.๒.๖ โวหารต้องเหมาะสมกับเร่ือง และต้องเป็นโวหารที่ตน ถนัดเขียน ๕.๒.๗ รู้จักความหมายของคาทุกคาก่อนท่ีจะลงมือเขียน ไม่ใช้ คาไรน้ ้าหนัก

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕๗ ๖. ตรวจทานและแก้ไข ข้ันตอนสุดท้ายของการเขียนบทความ คือ การตรวจทาน และหากพบจุดใดผิดหรือบกพร่องก็ให้ดาเนินการแก้ไขโดยทันที ซ่ึงสาระแนวทางการปฏบิ ัติการเขียนข้นั น้ี ใหใ้ ช้แนวทางเดียวกนั นใี้ นการเขียนเรยี งความ ดงั กล่าวข้างตน้ จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การเขียนบทความนั้นมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชื่อเรื่อง เนื้อเร่ือง และสรุป โดยก่อนเร่ิมการเขียนบทความนั้น ผู้เขียนควรคานึงถึง การเลือกเร่ืองและต้ังชื่อเรื่องท่ีจะนามาเขียนก่อนเป็นลาดับแรก ทั้งน้ี ควรพิจารณา เร่ืองท่ีตนเองถนัด มีความสนใจ และมีความรอบรู้ เพ่ือจะได้นาไปกาหนดขอบเขต ของประเด็นหัวข้อได้อย่างเหมาะสมและสามารถนาเสนอเน้ือหาได้อย่างครบถ้วน ลาดับถัดมา ผู้เขียนควรทาการวิเคราะห์ผู้อ่านประกอบและตั้งวัตถุประสงค์ ในการนาเสนอบทความไว้อย่างชัดเจน แล้วจึงเร่ิมวางโครงเรื่องซึ่งควรลาดับประเด็น หวั ข้อต่างๆ ไวอ้ ยา่ งสัมพนั ธก์ ันและเปน็ เหตุเปน็ ผลกนั จากน้ันจะเข้าสู่การเขียนเนื้อเร่ือง โดยผู้เขียนจะเร่ิมเรียบเรียงข้อความนา ถ่ายทอดเน้ือหาของเรื่องท่ีเขียน ซ่ึงในขั้นนี้ ผู้เขียนควรแสดงความคิดสาคัญ หรือใจความสาคัญของแต่ละประเด็นอย่างครบถ้วน และใช้ประโยคขยายความ ในแต่ละประเด็นนั้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้แจ่มชัดย่ิงข้ึน โดยคานึงถึงหลักของการเขียน ย่อหน้าท่ีต้องประกอบด้วยหลักเอกภาพ หลักสัมพันธภาพ และหลักสารัตถภาพ นอกจากนี้ ผู้เขียนควรใช้ภาษาท่ีง่าย กระชับ และไม่กากวม เพ่ือการส่ือความหมาย ที่ถูกต้องชัดเจนไปยังผู้อ่าน เม่ือเขียนเสร็จแล้วผู้เขียนควรทบทวนบทความของตนเอง เพื่อแกไ้ ขหรือขัดเกลาข้อความให้สมบรู ณ์

๑๕๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตวั อย่าง บทความเชงิ สรา้ งสรรค์ เรือ่ ง วิทยาศาสตร์ กับ แฮร์ร่ี พอตเตอร์ ชอ่ื เรื่อง วิทยาศาสตร์ กับ แฮร์ร่ี พอตเตอร์ ส่วนนาเรื่อง ขณะที่คุณกาลังอ่านบทความเรื่องน้ีอยู่ ภาพยนตร์เร่ือง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ คงได้ลงโรง (ภาพยนตร์) แล้ว และน่าจะกาลังกวาดเงนิ จากกระเปา๋ คนไทยกนั อยอู่ ย่างเพลิดเพลิน โดยไม่ต้องสงสัย ซึ่งก็เป็นปรากฏการณ์ท่ีไม่น่าจะต่างไปจาก อีก ๖๒ ประเทศทวั่ โลกทีม่ ีกาหนดฉายภาพยนตรด์ งั กลา่ ว ดงั ท่ีหลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาพยนตร์ แฮร์ร่ี พอตเตอร์น้ีสร้างมาจากหนังสือเล่มแรกในซีรีย์ของหนังสือ เบสเซลเลอร์ท่ีวางตลาดไปแล้วจานวน ๔ เล่มของ เจ. เค. โรว์ล่ิง โดยมีแฟนๆ ของหนูน้อยผู้มีรอยแผลเป็นรปู สายฟ้าฟาดที่หน้าผาก จานวนมากที่รอคอยจะอ่านเล่มห้าอยู่อย่างใจจดใจจ่อ หนังสือชุด แฮร์ร่ี พอตเตอร์น้ันขายได้ท่ัวโลกมากกว่า ๑๐๐ ล้านเล่มแล้ว โดยฉบับแปลภาษาไทยก็พิมพ์มากถึง ๑๖ คร้ังในเวลาเพียงปีกว่า เล็กน้อย เรียกว่าท้ังเด็กและผู้ใหญ่ต่างก็ซ้ือไปอ่านกันโดยไม่ต้อง บงั คับให้อ่านเปน็ หนงั สอื อ่านนอกเวลา ผมลองเข้าไปสืบค้นข้อมูลเก่ียวกับแฮร์ร่ี พอตเตอร์ ในอินเทอร์เน็ตดู ก็พบว่ามีโฮมเพจท่ีเกี่ยวกับเด็กชายคนน้ีอยู่ นั บ ห ม่ื น ๆ แห่ ง (รวม ท้ั งจาน วน ห น่ึ งที่ เป็ น ของคน ไท ย ) และทาท่าจะมเี พมิ่ ข้ึนทุกวัน เช่ือว่ากว่าที่จะหมดชุดจานวน ๗ เล่ม หนังสือแฮร์ร่ี พอตเตอร์กค็ งจะทาลายสถิตติ ่างๆ ไปอีกมากมายเปน็ แนแ่ ท้ คุณๆ ก็คงจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าแฮร์ร่ี พอตเตอร์ เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดน้อย โดยที่ในตอนแรกนี้ ก็กล่าวถึงช่วงเวลาที่แฮร์ร่ี พอตเตอร์เข้าสู่โรงเรียนคาถาพ่อมด แ ม่ ม ด แ ล ะ เว ท ม น ต ร์ ศ า ส ต ร์ ฮ อ ก ว อ ต ส์ เพ่ื อ เรี ย น เว ท ม น ต ร์ และศาสตร์อื่นๆ ท่ีจาเป็นต่อการเป็นพ่อมด เวลาเอ่ยถึง เร่ืองของพ่อมดและเวทมนตร์ ผู้คนจานวนไม่น้อยในยุคนี้

ส่วนนาเร่อื ง ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕๙ สว่ นเนื้อเรอ่ื ง อันเป็นยุคท่ีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฟ่ืองฟู ก็มักจะนึกไปเอง โดยอัตโนมัติว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ท่ีพิสูจน์ไม่ได้และงมงาย ในขณะที่อีกหลายคนก็อยากจะจัดให้แฮร์ร่ี พอตเตอร์อยู่ในหมวด ของนิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซีด้วยซ้าไป จึงเป็นเร่ืองที่น่าสนใจ ที่หากเราจะลองใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาอธิบายเรื่องราวต่างๆ ในหนงั สอื และภาพยนตรเ์ ร่อื งดังกลา่ ว ครับ...ผมกาลังจะขอเชิญชวนทุกท่านมารู้จักกับอีกแง่มุม หนึ่งของแฮร์รี่ พอตเตอร์ แง่มุมที่คนพูดถึงกันน้อยมาก นั่นก็คือ เราจ ะ ม าวิ เค ราะ ห์ เกี่ ย ว กั บ แ ฮ ร์ร่ี พ อ ต เต อ ร์ ใน แ ง่มุ ม ทาง “วทิ ยาศาสตร์” กัน วิทยาศาสตร์กบั เวทมนตร์ เร่ื อ ง ข อ ง เว ท ม น ต์ ค า ถ า นั้ น มี ป ร ะ วั ติ อ ย่ า ง ย า ว น า น และแม้ว่าวิทยาศาสตร์จะกลายเป็นแนวโน้มหลักในโลกปัจจุบัน แตเ่ ร่ืองราวของเวทมนตร์คาถาก็ยังแอบแฝงอยู่อย่างผสมกลมกลืน อันที่จริง หากจะมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ การเล่นแรแ่ ปรธาตุ (Alchemy) อันเปน็ ศาสตร์ที่เฟ่อื งฟูในยุคกลาง และเป็นความพยายามที่จะสร้างสารที่มีราคาแพงอย่างทองคา หรือสารท่ีมีประโยชน์อ่ืนด้วยวิธีการทดลองทางเคมี ก็อาจจะนับ ได้ ว่ าเป็ น จุ ด เช่ื อ ม ต่ อ ส า คั ญ ร ะ ห ว่ า งภู มิ ปั ญ ญ า โบ ร า ณ ที่ เน้ น ก า ร ท่ อ ง บ่ น เว ท ม น ต์ ค า ถ า กั บ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ส มั ย ใ ห ม่ ท่ี เน้ น การทดลองทดสอบเป็นสาคญั มาดูประเด็นต่างๆ จากเรื่องแฮร์ร่ี พอตเตอร์กันเลยดีกว่า นะครับว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ท่ีมีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถ นามาประยุกต์ใช้เทียบเคียงหรืออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องนี้ ได้อยา่ งไร

๑๖๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ส่วนเน้อื เรอ่ื ง ชานชาลาหมายเลขเก้าเศษสามส่วนสี่ เด็กนักเรียนทุกคนท่ีจะเดินทางมาที่โรงเรียนสอนพ่อมด และแม่มดฮอกวอตส์จะต้องมาจับรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อ รถด่วน ฮอกวอตส์ ที่สถานีคิงส์ครอส ซึ่งก็ไม่น่าจะประหลาดอะไร แต่ปัญหาที่เด็กๆ แต่ละคนต้องไขให้ได้ก็คือ ชานชาลาท่ีรถด่วน ขบวนดังกล่าวจะจอด ซึ่งมีหมายเลข “เก้าเศษสามส่วนส่ี” นั้น อยทู่ ี่ใดกันแน่! ในโลกแห่งความเป็นจริง มีชานชาลาลับที่เปิดแบบ ผลุบๆ โผล่ๆ ด้วยวิธีการเฉพาะแบบชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนส่ี บา้ งหรือไม?่ คาตอบคือ มีครับ แถมบางอันยังใชง้ านอยู่ด้วยซา้ ไป ข่าวลือเก่ียวกับชานชาลาลับพวกนี้มีมานานแล้ว สาเหตุ ก็คือ ระหว่างช่วงสงครามโลกคร้ังที่สอง มีการปูพรมท้ิงระเบิด ประเทศอังกฤษอย่างหนัก จนต้องมีการสร้างฐานบัญชาการลับ สาหรับเหล่าผู้นา อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล กับ ที มเส น าธิการท ห ารข องเขาก็ได้ใช้เวลาไม่ น้ อย อยู่ ที่ ห้องบัญชาการใต้ดินท่ีสถานีพิคคาดิลล่ีและสถานีใต้ถนนดาวน์ ซ่ึงอันหลังน่ีก็เลิกใช้งานไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีสถานีพิเศษ ท่ีใต้ถนนกูดจ์ซ่ึงสร้างขึ้นเป็นพิเศษสาหรับ นายพลไอเซนฮาวร์ ท่ีเข้าไปร่วมบัญชาการรบในลอนดอนตอนปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อีกดว้ ย ห นั ง สื อ ชื่ อ London’s Disused Underground Station ของ เจ. อี. คอนเนอร์ ระบุว่า ครั้งหนึ่งเคยมีชานชาลา ที่เคล่ือนที่ได้อยู่ที่สถานีบุตรเล่นวู้ดเลนท่ีขณะน้ีเลิกใช้งานไปแล้ว ชานชาลาพิเศษที่ว่าน้ีมีขนาดยาว ๑๒ เมตร และกว้าง ๒ เมตร สามารถเปิดปิดได้บ่อยถึง ๑๒๐ คร้ังในแต่ละวัน ชานชาลาท่ีว่าน้ี ทาขึ้นเป็นพิเศษเพ่ือรองรับขบวนรถไฟที่ยาวเจ็ดตู้ที่จะเข้าจอด

สว่ นเนื้อเร่ือง ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๖๑ ส่วนเน้ือเรอื่ ง ท่ีชานชาลาหมายเลข ๑ และเมื่อรถไฟออกไปแล้ว ชานชาลา ดังกล่าวก็จะหมุนเก็บหายไปได้ผ่านการบังคับด้วยอุปกรณ์ในกล่อง บังคับพิเศษ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชานชาลาท่ีว่าก็อาจจะนับได้ว่าเป็น ชานชาลาทหี่ นง่ึ เศษสามส่วนส่ีกไ็ ด้กระมงั ครบั ! เสกของให้บนิ ได้ วิชาหน่ึงที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ต้องเรียนในปีแรกท่ีฮอกวอตส์ กค็ ือ วิชาเสกของให้บินได้ แน่นอนว่าเด็กๆ ต่ืนเต้นและอยากเรียน วิช าท่ี น่ าสน ใจ นี้ กัน ม าก โด ยเฉพ าะภ ายห ลั งจากท่ี เห็ น ศาสตราจารย์ฟลิตวิกเสกให้คางคกของเนวิลล์ (เพ่ือนคนหน่ึง ของแฮร์ร่ี พอตเตอร)์ ฉวัดเฉวยี นเหมอื นจรวดไปรอบหอ้ ง ในโลกแห่งความเป็นจริง คนที่ได้มีโอกาสอยู่ท่ีห้องทดลอง ที่มหาวิทยาลัยนิจเมเจนในฮอลแลนด์เมื่อสี่ปีก่อนก็คงจะต่ืนเต้น ไม่แพ้กันสักเท่าไหร่ เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่น่ันได้ทาการทดลอง “เสกกบให้ลอยได”้ ดว้ ยสนามแมเ่ หลก็ เปน็ ครั้งแรกของโลก แ น่ น อ น ว่าวิธีก ารข อ งพ ว ก เข าซั บ ซ้ อ น ม าก ก ว่า การท่องคาถา “วงิ การ์เดียมเลวโี อซา่ ” ทพี่ วกเด็กๆ ทากนั หลักการท่ีนักฟิสิกส์ใช้ก็คือ ความจริงที่ว่าไม่เพียงแต่โลหะ เท่านั้นท่ีตอบสนองต่อสนามแม่เหล็ก สสารแทบจะทุกอย่าง ก็ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่น้า (แม้ว่าจะ ตอบสนองน้อยมากเหลือเกิน) อย่างเช่น การจะยกกบสักตัว ให้ลอยตัวได้ก็ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีขนาดแรงกว่าแม่เหล็ก ของตู้เย็นราว ๒๐๐ เท่าเป็นอย่างน้อย เพ่ือสร้างภาวะท่ีเรียกว่า ไดอะแมกเนติซึม (Diamagnetism) อันเป็นสภาวะคล้ายคลึง กบั สภาวะไร้น้าหนกั ที่เกดิ กบั นกั บนิ อวกาศน่นั เอง

๑๖๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สว่ นเน้ือเรือ่ ง ส น า ม แ ม่ เห ล็ ก ที่ เกิ ด ขึ้ น จ ะ ไป เป ลี่ ย น ร ะ ดั บ พ ลั ง ง า น ส่วนเนอ้ื เรอ่ื ง ของอิเล็กตรอนท่ีหมุนรอบนิวเคลียส เกิดเป็นแรงในระดับโมเลกุล เคล็ดลับสาคัญของวิธีการดังกล่าวอยู่ท่ีการสร้างสมดุลระหว่าง แรงจากสนามแมเ่ หล็กและแรงจากความโน้มถว่ งของโลก วิธีการดังกล่าวจะสามารถยก “มนุษย์” ให้ลอยขึ้นไป ในอากาศไดห้ รือไม่? คาตอบคือ ตามหลักการแล้วน่าจะได้ครับ แต่ว่า… แม่เหล็กที่ ใช้จะต้องมีขนาดที่ใหญ่ มากและน่าจะมีราคา หลายร้อยลา้ นบาทเปน็ อยา่ งน้อย ดังนั้น พูดถึงความก้าวหน้าในด้านนี้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ ชั้นนาของโลกก็ยังทาได้ในระดับท่ีไม่ดีไปกว่าฝีมือของนักเรียน โรงเรียนฮอกวอตสเ์ ท่าไหร่! แผนที่ตัวกวน แผนที่ตัวกวนนอกจากจะช่วยให้แฮร์ร่ี พอตเตอร์ รู้รา ย ล ะ เอี ย ด ข อ งต า แ ห น่ งแ ห่ งห น ใน โรงเรีย น ฮ อ ก ว อ ต ส์ แ ล้ ว ยังช่ วย ให้ เข าส าม ารถ ระบุ ต าแ ห น่ งข อ งใค รก็ ต าม ที่ อ ยู่ ภายในบริเวณปราสาทและรอบๆ โดยดูจากตาแหน่งของหยดหมึก เลก็ ๆ ท่ีเคล่ือนไหวไปมาและมชี ือ่ เปน็ ตัวอกั ษรเล็กๆ เขยี นกากบั ไว้ เรามรี ะบบบอกตาแหนง่ ที่เยย่ี มยอดขนาดน้ีหรือไม่? เท ค โน โ ล ยี ก า ร ติ ด ต า ม แ ล ะ ร ะ บุ ต า แ ห น่ ง ด้ ว ย ร ะ บ บ อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก หลายคนคงเริ่มพอจะ คุ้นหูกับคาว่า GPS มากข้ึนแล้ว เพราะโทรศัพท์มือถือหลายราย ก็ ก า ลั ง พ ย า ย า ม น า ร ะ บ บ ดั ง ก ล่ า ว เข้ า ม า ให้ บ ริ ก า ร ภ า ย ใ น ประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้ (นา่ จะเปน็ ภายในปหี น้า) ระบบดังกล่าวได้เร่ิมให้บริการไปแล้วในสหรัฐและกาลัง อยใู่ นระหว่างการทดสอบในองั กฤษ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๖๓ ส่วนเนื้อเรื่อง ร ะ บ บ ล่ า สุ ด ที่ ก า ลั ง ศึ ก ษ า อ ยู่ แ ล ะ จ ะ มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ สว่ นสรุป ใกล้เคียงกับแผนที่ตัวกวนมากยิ่งข้ึนไปอีกก็คือ ระบบของบริษัท อังกฤษแห่งหน่ึงท่ีมีชื่อว่า Cambridge Positioning Systems หรือ CPS เนื่องจากหน่วยวัดตาแหน่ง (Location Measuring Unit) ท่ีใช้ในระบบนี้ได้รับการออกแบบให้ติดตั้งอยู่ตามสถานีฐาน ท่ี มี อ ยู่ แ ล้ ว ซึ่ งใช้ ส าห รั บ ท าห น้ าที่ รับ ส่ งสั ญ ญ าณ ข อ ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้น ในระบบแบบ CPS จะสามารถให้ รายละเอียดของตาแหน่งได้แม่นยาและใกล้เคียงความจริงมากคือ สามารถให้รายละเอียดข้อมูลที่ต้องการสาหรับลูกค้า โดยกิน อาณาบริเวณแคบลงได้มากถึงเพียง ๕๐ เมตรรอบตัวของลูกค้าได้ ข้อดีอีกประการหน่ึงก็คือ ระบบดังกล่าวใช้ได้ในเมือง และภายในตึก ซ่ึงต่างจากระบบแบบ GPS ท่ีอาจจะมีปัญหา เร่ืองสัญญาณได้ บรษิ ทั ผู้ผลิต CPS ยังจะใหบ้ รกิ ารที่เรยี กว่า บัดดี้ไฟน์เดอร์ (Buddy Finder) หรือค้นหาคู่หู ซึ่งจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกัน ระหว่างสมาชิก สาหรับบริการประเภทน้ี ลูกค้าเพียงแค่กดปุ่ม เพียงปุ่มเดียวก็สามารถจะตรวจสอบตาแหน่งของบุคคลท่ีมีช่ือระบุ ให้ใชบ้ ริการน้ีร่วมกันได้ ซ่ึงก็แน่นอนว่าจะช่วยให้งานหลายๆ อย่าง ทาได้อยา่ งมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขน้ึ ท้ังหมดที่ยกมาก็เป็นเพียงส่วนหน่ึงของความพยายามใน การเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันเข้ากับ ค ว าม ส นุ ก ส น าน ตื่ น เต้ น แ ล ะ จิ น ต น าก ารอั น บ รรเจิ ด ที่ ได้ จ าก เรอ่ื งราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ พอ่ มดน้อยที่ผูค้ นทั่วโลกหลงใหลและ คลง่ั ไคล้ กล่าวจนถึงที่สุดแล้ว ผมก็อดไม่ได้ท่ีจะรู้สึกเห็นด้วยกับที่ อาเทอร์ ซี. คลาร์ก ราชานิยายวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยได้เคยกล่าวไว้ ในหนังสอื Profiles of the Future ของเขาว่า “เทคโนโลยีอะไรก็ ตามท่ีก้าวหน้าเพียงพอ ก็ไม่ต่างอะไรไปจากเวทมนตร์” นั่นเอง (ที่มา นาชัย ชีววิวรรธน์. วทิ ยาศาสตรก์ บั แฮรร์ ่ี พอตเตอร,์ ๒๕๔๔ หนา้ ๕๐-๕๔)

๑๖๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ จากตัวอย่างบทความเร่ือง “วิทยาศาสตร์ กับ แฮร์รี่ พอตเตอร์” ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ตรงตามลักษณะของบทความตามคานยิ าม ดงั นี้ ๑) มีลักษณ ะเป็นความเรียงที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดความรู้ ข้อเท็จจริง และเชื่อมโยงข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์ต่อส่ิงต่างๆ ท่ีปรากฏในเรื่องแฮร์ร่ี พอตเตอร์ ประกอบการแทรกความคิดเห็นของผู้เขียน เป็นต้นว่า ไม้กวาดเหาะได้ในโลกเวทมนตร์ กบั เครื่องบินไอพน่ แฮรเิ ออรใ์ นโลกวิทยาศาสตร์ หรอื แผนท่ีตัวกวนกับแผนที่ GPS ๒) มีองค์ประกอบหลักของบทความอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเร่ือง ส่วนนาเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป โดยชื่อเรื่องของบทความน้ันได้นาเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์และวรรณกรรมยอดนิยมมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ในส่วนนาเร่ืองนั้นผู้เขียนเกริ่นถึงความเป็นมา ของแฮร์ร่ี พอตเตอร์ แล้วเริ่มเช่ือมโยงเข้าสู่โลกวิทยาศาสตร์ ส่วนเน้ือเรื่องน้ัน ได้ถูกแบ่งไว้เป็นย่อหน้าหรือตอนอย่างชัดเจน ได้แก่ ตอนวิทยาศาสตร์กับเวทมนตร์ ตอนชานชาลาหมายเลขเก้าเศษสามส่วนส่ี ตอนเสกของให้บินได้ ตอนไม้กวาดเหาะได้ และตอนแผนที่ตวั กวน และสว่ นสรุปที่ท้ิงทา้ ยไว้ด้วยแง่มมุ ของผูเ้ ขียน ๓) ย่อหน้าในบทความน้ันมีเอกภาพ กล่าวคือ ในย่อหน้าแต่ละตอนน้ัน ได้เสนอสาระสาคัญของเรื่องไวอ้ ย่างชัดเจน เป็นตน้ ว่า ยอ่ หน้าตอน “เสกของให้บินได้” ได้เสนอสาระสาคญั ว่า “นกั วิทยาศาสตรค์ ้นพบวา่ สนามแมเ่ หลก็ ทาใหส้ สารลอยได้” ๔) มีการใช้ภาษาท่ีเรียบง่าย กระชับ ชัดเจน น่าติดตาม เพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจ และสนใจเนอ้ื หาของเรอื่ ง

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๖๕ บทสรุป ก ารเขี ย น เชิ งส ร้างส ร รค์ น้ั น มี ค ว าม เกี่ ย ว พั น กั บ ก ารด าเนิ น ชี วิต ป ระจ าวั น ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่เต็มไปด้วยข่าวสาร และความหลากหลายของส่ืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคือ ในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ทรรศนะ จินตนาการ ตลอดจนประสบการณ์จากผู้เขียนไปยังผู้อ่านน้ัน จาเป็นจะต้องอาศัยโซเชียลมีเดียในการทาหน้าท่ีเป็นสื่อกลาง นาสารเหล่าน้ัน ไปสู่เป้าหมายหรือกลุ่มผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว ดังน้ัน ไม่ว่าจะเขียนสร้างสรรค์ในรูปแบบ ใดก็ตาม ทั้งวรรณกรรม อนุทิน หรือบันทึกประจาวัน ตลอดจนบทความ ผู้เขียน ควรจะเรียนรู้หลักการและองค์ประกอบของงานเขียนเหล่าน้ัน เพ่ือนาไปประยุกต์ใช้ ในการเขียนในชีวิตประจาวนั ได้อย่างถูกต้อง เหมาะแก่กาลเทศะ และสร้างสรรค์

๑๖๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๖๗ บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๑๑). ลิลิตพระลอ. พิมพ์คร้ังที่ ๑๑. พระนคร : สานักพิมพ์: คลงั วทิ ยา. __________. (๒๕๑๒). อิเหนา. พมิ พ์ครัง้ ที่ ๘. พระนคร: สานักพมิ พ์บรรณาคาร. __________. (๒๕๑๔). ขุนช้างขุนแผน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. พระนคร: สานักพิมพ์ บรรณาคาร. กระทรวงการต่างประเทศ. (๒๕๕๓). คากล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พ ร ะ บ า ท ส ม เด็ จ พ ร ะ เจ้ า อ ยู่ หั ว แ ล ะ ก ล่ า ว น า ถ ว า ย พ ร ะ พ ร ชั ย ม ง ค ล ใน พิ ธี ถ ว าย เค ร่ือ งราช สั ก ก าระ แ ล ะจุ ด เที ย น ชั ย ถ ว าย พ ระพ ร เนอื่ งในโอกาสวันคลา้ ยวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓. สบื ค้น เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙. จาก http://www.mfa.go.th/main/th/home กองเทพ เคลือบพณชิ กลุ . (๒๕๔๒). การใชภ้ าษาไทย. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์. กุหลาบ มัลลิกะมาส. (๒๕๑๗). วรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. แก้วเกา้ . (๒๕๕๘). ปลายเทยี น. พมิ พค์ รั้งท่ี ๗. กรงุ เทพฯ: อักษรโสภณ. โกชัย สารกิ บุตร. (๒๕๔๒). ศิลปะการสอื่ ความหมาย. กรุงเทพฯ: บรษิ ัท คอมแพคท์ พรนิ้ ท์ จากดั . คณาจารย์รายวิชาภาษาไทยเพ่ือการสื่อสาร. (๒๕๕๖). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาภาษาไทยเพื่อการส่ือสาร สานักวิชาศึกษาท่ัวไป มหาวิทยาลัย ราชภฏั อดุ รธานี. กรุงเทพฯ: ทศั น์ทองการพมิ พ์. คกึ ฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. [ม.ป.ป.]. สแ่ี ผน่ ดนิ . กรงุ เทพฯ: สานกั พิมพ์สยามรฐั . โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธ์ุล้านนา สถาบันวิจัยสังคมหาวิทยาลัย เชียงใหม่. (๒๕๕๑). ไทลื้อ : อัตลักษณแ์ หง่ ชาตพิ นั ธุ์ไท. เชยี งใหม่: สถาบนั . จิตต์นิภา ศรีไสย์. (๒๕๔๙). ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: คณะครศุ าสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั .

๑๖๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (๒๕๕๕). ภาษาไทยเพ่ือการส่ือสาร. กรงุ เทพฯ: โอเดียนสโตร.์ เจือ สตะเวทิน. (๒๕๑๗). ตารับร้อยแก้ว. กรงุ เทพฯ: สทุ ธสิ ารการพิมพ์. จไุ รรัตน์ ลักษณะศิริ. (๒๕๕๘). ภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สาร. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. นครปฐม: โรงพมิ พ์มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. เจ้าหญิงผู้เลอโฉม. (๒๕๕๘). My Best (Boy) Friend เพื่อนสนิท คิดไกล... หัวใจมรี กั . กรงุ เทพฯ: แจม่ ใสพบั ลชิ ชงิ่ . ฉลวย สรุ สิทธ์.ิ (๒๕๒๒). ศิลปะการเขยี น. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์. ชนะ เวชกุล. (๒๕๒๔). การเขยี นสร้างสรรค์. กรงุ เทพฯ: โอเดียนสโตร.์ ชาติ กอบจิตติ. (๒๕๓๗). เวลา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เอ. ลีฟว่ิง จากดั . ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (๒๕๕๘). ชุมชนกับชาติ อานาจกับความรักในทุ่งมหาราช. ใน อ่านใหมเ่ มืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พภ์ าพพมิ พ.์ แซงเตก-ซูเปรี, อองตวน เดอ. (๒๕๔๖). เจ้าชายน้อย. (อาพรรณ โอตระกูล, ผู้แปล) แปลจาก The Little Prince. กรงุ เทพฯ: เรือนปญั ญา. ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (๒๕๒๑). การประพันธ์. พิมพ์คร้ังท่ี ๓. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. ดร. ป๊อบ (นามแฝง). (๒๕๔๗). เดอะ ไวท์โรด Evolution ภาค ๒ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอรบ์ ุ๊คส์. ดวงใจ ไทยอุบุญ. (๒๕๕๐). ทักษะการเขียนภาษไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ตุ้ย ชุมสาย. (๒๕๑๖). วรรณ กรรมพินิจเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพิช. ถวัลย์ มาศจรัส. (๒๕๕๐). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพ่ือการศึกษาและอาชีพ. พิมพ์คร้งั ท่ี ๙. กรงุ เทพฯ: บริษทั เซน็ จูรี่ จากัด.

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๖๙ ทรงกลด บางยี่ขัน. (บรรณาธิการ). (๒๕๕๙). เชียงราย ภูมิปัญญาชาวไทลื้อแบบ โบราณทีถ่ ูกเกบ็ รกั ษาโดยคนรุ่นใหม่. a day ๑๙๓ (กันยายน), ๖-๗. ธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐสุริยวงศ์, เจ้าฟ้า. (๒๕๕๔). พระประวัติและพระนิพนธ์ เจ้าฟา้ ธรรมธเิ บศร. กรงุ เทพฯ: เพชรกะรัต. นววรรณ พันธุเมธา. (๒๕๔๙). ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์คร้ังที่ ๓. กรุงเทพฯ: โครงการ เผยแพรผ่ ลงานทางวชิ าการ คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . นาชัย ชีววิวรรธน์. (๒๕๔๔). วิทยาศาสตร์กับแฮร์รี่ พอตเตอร์. UPDATE, ๑๗๒ (ธันวาคม), ๕๐-๕๔. นิตยา กาญจนะวรรณ. (๒๕๔๒). ภาษาไทยไนน์ตี้ส์. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์. นิยะดา เหล่าสุนทร. (๒๕๕๒). วัตนาการของแบบเรียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ลายคา. นิ้วกลม (นามแฝง). (๒๕๕๕). ความรักเท่าที่รู้. พิมพ์คร้ังท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: สานกั พิมพ์มติชน. บงกช สงิ หกลุ . (๒๕๔๗). คมู่ ือนกั เขียน. กรงุ เทพฯ: เนชนั่ บุ๊คส.์ บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ. (๒๕๕๔). การเขียนสร้างสรรค์. บุรีรัมย์: คณะมนุษยศาสตร์ และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั บุรรี มั ย.์ โบราณ (นามแฝง). (เมษายน ๒๕๒๔). ลานา : เช่นแสงจนั ทร.์ สตรสี าร, ๗. ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (๒๕๔๒). ลิลิตเตลงพ่าย. พิมพ์ครั้งท่ี ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รักษาดินแดง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ประภาศรี สีหอาไพ . (๒ ๕๓ ๑). การเขียน แบ บสร้างสรรค์ . กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์. ปราณี สุรสิทธิ์. (๒๕๔๙). การเขียนสร้างสรรค์เชิงวารสารศาสตร์. กรุงเทพฯ: แสงดาว. ปราสาทเมอื งต่า งามล้าบนทร่ี าบอสี านใต้. [ม.ป.ป.]. อ.ส.ท., ๒๑.

๑๗๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๔๐). ศิลปะแห่งการประพันธ์. พิมพ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพฯ: บริษทั เยลโล่การพิมพ์ (๑๙๘๘) จากดั . ___________. (๒๕๔๑). ศิลปะแห่งการประพันธ์. พิมพ์ครั้งท่ี ๓. กรุงเทพฯ: ขา้ วฟา่ ง. พระมหามนตรี (ทรัพย์). (๒๕๔๔). ระเด่นลันได. พิมพ์ครั้งที่ ๓๘. กรุงเทพฯ: บรษิ ัท อักษรเจรญิ ทศั น์ อจท. จากดั . พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่). (๒๕๕๔). หนังสือชุดพระอภัยมณี. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. กรุงเทพฯ: เพชรกะรตั . พิมาน แจม่ จรสั . (๒๕๕๐). เขยี น. กรุงเทพฯ: แสงดาว. เพ ช ร ยุ พ า บู ร ณ์ สิ ริ จ รุ งรั ฐ . (๒ ๕ ๕ ๗ ). พิ ส มั ย ใน เขี ย น . ก รุ งเท พ ฯ : ดร. เพชรสานกั พิมพ.์ ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๔). วรรคทองในวรรณคดีไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรงุ เทพฯ: ธนาเพรส. ______________. (๒๕๕๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉ ลิ ม พ ระเกี ย รติ พ ระบ าท ส ม เด็ จ พ ระเจ้ าอ ยู่ หั วเนื่ อ งใน โอ ก าส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรงุ เทพฯ: ราชบัณฑติ ยสถาน. ร่ืนฤทัย สจั จพนั ธุ.์ (๒๕๖๐). อา่ นวรรณกรรม Gen Z. กรุงเทพฯ: แสงดาว. เรไร สุวีรานนท์. (๒๕๕๙). เรไรรายวัน. สืบค้นเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๕๙. จาก https://www.facebook.com/RayRaiRaiwan/photos/a.914819385239 380.1073741829.868196279901691/1085241384863845/ ?type=3&c omment_id=1443713265683320&ref=notif&notif_t=like&notif_id=1 501756982952779 แรบบิท. (๒๕๔๗). หัวขโมยแห่งบารามอส กับ มงกุฎแห่งใจ. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. กรุงเทพฯ: สถาพรบุค๊ ส์. ว. วชิรเมธี. (๒๕๕๗). คาถาชีวิต ๒. พิมพ์คร้ังท่ี ๓. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จากดั .

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๗๑ วรวรรธน์ ศรียาภัย. (๒๕๕๗). การเขียนเพ่ือการส่ือสาร. พิมพ์คร้ังท่ี ๒. กรุงเทพฯ: บริษทั วี. พริ้นท์ (๑๙๙๑) จากัด. วาณิช จรุงกิจอนันต์. (๒๕๔๙). ซอยเดียวกัน. ฉบับพิมพ์รวมเล่ม. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์. วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร. (๒๕๕๕). เสภาเร่ืองขุนช้าง-ขุนแผน. กรุงเทพฯ: ไทยควอลติ ี้บุ๊คส.์ วิทยากร เชียงกูล. (๒๕๔๕). ฉันจึงมาหาความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๖. กรุงเทพฯ: สามัญชน. วินทร์ เลียววาริณ. (๒๕๔๕). ส่ิงมีชีวิตท่ีเรียกว่าคน. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: บรษิ ัท อมรินทร์บ๊คุ เซน็ เตอร์ จากดั . สปตุ นกิ และไลก้า. (๒๕๕๐). พระจนั ทร์. กรุงเทพฯ: เคลด็ ไทย. สมบัติ จาปาเงิน. (รวบรวม เรียบเรียง). (๒๕๔๘). รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๔๘. กรุงเทพฯ: ปริ ามดิ . สมพร มนั ตะสตู ร. (๒๕๒๕). การเขียนสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บารมีการพิมพ.์ สิริวรรณ นันทจันทูล. (๒๕๔๓). การเขียนเพื่อการสื่อสาร ๒. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. สิทธิโชค กล่อมวิญญา และคณะ. (๒๕๕๙). การเปล่ียนแปลงลักษณะการตก ของฝนบริเวณลุ่มน้าห้วยคอกม้า จังหวัดเชียงใหม่. วนศาสตร์, ๓๕ (๒) (พฤษภาคม-สงิ หาคม), ๖๗-๖๘. สุจริต เพียรชอบ. (๒๕๓๙). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวชิ าการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร. สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (๒๕๓๓). วิธีสอนภาษาไทยระดับ มธั ยมศึกษา. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

๑๗๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ สทุ ธิวรรณ อินทะกนก. (๒๕๕๑). sanook-is-me. สืบค้นเมื่อ ๒๙ ธนั วาคม ๒๕๖๐. จาก http://m.exteen.com/blog/sanook-is-me/20081211/entry _________________. (๒๕๕๑). sanook-is-me. สบื คน้ เมือ่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐. จาก http://m.exteen.com/blog/sanook-is-me/20081021/entry สุภาพร คงสิริรัตน์. (๒๕๕๙). ความทันสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยูห่ วั . ศลิ ปศาสตร์, ๑๖ (กรกฎาคม-ธนั วาคม), ๖๓. หมูแก้ว. (๒ ๕ ๕๒ ). แ ก้วไดอารี่. สืบ ค้นเม่ือ ๑ ๖ สิงหาคม ๒ ๕ ๕ ๘ . จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kaewdiary อานนท์ บุณยะรัตเวช และมลนิภา ศิลาอาสน์. (๒๕๕๘). น้า : ความมหัศจรรย์ จากจักรวาลสูตรโมเลกุลและจากโมเลกุลสู่ชีวิตและสุขภาพ. วารสาร ราชบัณฑิตยสภา, ๑ (มกราคม-มีนาคม), ๙๐. อังคาร กัลยาณพงศ์. (๒๕๓๕). ปณิธานกวี. พิมพ์ครั้งท่ี ๔. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ สยาม บริษทั เคล็ดไทย จากดั .


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook