Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเขียน

การเขียน

Published by Sirirat Wonginyoo, 2020-06-30 23:04:53

Description: การเขียน

Search

Read the Text Version

๔๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เขาก้าวลง ยังไม่ถึงที่พัก แต่ผมก้าวลงตามเขาไป หนุ่มนักร้องลงจากรถได้ ก็ทาท่าจะเร่งเดิน ผมนึกไม่ออกว่าผมควรจะทาอย่างไร จะทักถามหรือคุยกับเขา ว่าอยา่ งไร “เดยี๋ วกอ่ น ขอโทษเถดิ ถามจรงิ ๆ บ้าหรือเปลา่ ” ผมถามไปอย่างลุกลีล้ กุ ลน “เปลา่ ...” หนมุ่ นกั รอ้ งสา่ ยหนา้ “...แต่อยากบ้าเหมือนกนั ” เขาตอบผม แลว้ เดนิ หายไปในกลมุ่ คนท่ีเบียดเสียดกนั รอรถเมล์แถวนั้น (ที่มา วาณิช จรุงกิจอนนั ต.์ ซอยเดยี วกัน, ๒๕๔๙ หน้า ๓๕-๕๑)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๔๗ บทสรุป การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นการเขียนท่ีผู้เขียนถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ความคิด จินตนาการ อารมณ์ ตลอดจนประสบการณ์ ผ่านงานเขียนท่ีมีความแปลกใหม่ ทั้งทางด้านรูปแบบและเนื้อหา ดังนั้น การเขียนในลักษณะดังกล่าวจึงมีความพิเศษ ทั้งในแง่ของศาสตร์และศิลป์ ซึ่งผู้เขียนจะต้องศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางด้านการใช้ เทคนิคกลวิธีการเขียน การใช้ท่วงทานองการเขียน รวมทั้งการใช้ศิลปะทางด้านภาษา สานวนโวหารเพื่อสร้างผลงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เขียนเอง อาทิ การสร้างอาชีพให้แก่ผู้เขียน การช่วยพัฒนาสมองและความคิดของผู้เขียน อีกท้ัง ก า ร เขี ย น เชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ นั้ น ยั ง เอ้ื อ ป ร ะ โ ย ช น์ น า นั ป ก า ร แ ก่ ผู้ อ่ า น แ ล ะ สั ง ค ม ด้วยการทาหน้าท่ีเป็นเคร่ืองขัดเกลาจิตใจผู้อ่าน จรรโลงสังคม ตลอดจนการถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรมดา้ นตา่ งๆ ให้แกส่ งั คมอกี ดว้ ย

๔๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๔๙ บทที่ ๓ ประเภทของการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน เป็นการเขียนท่ีมีความพิเศษในแง่ของการเขียน ท่ีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้เขียน มีส้านวนการประพันธ์ท่ีไม่ซ้าใคร ตลอดจน เป็นการน้าเสนอความคิดที่แปลกใหม่และมีคุณค่าต่อผู้อ่านและสังคม โดยผู้เขียนมีกลวิธี การเขียนท่ีดึงดูดผู้อ่าน ใช้ภาษาได้อย่างสละสลวย รวมถึงการมีรูปแบบการเขียน ทีน่ ่าสนใจ โดยการจ้าแนกประเภทของการเขยี นเชิงสรา้ งสรรค์น้ัน นักวิชาการได้จ้าแนก ประเภทของการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ันไว้ โดยใช้เกณฑ์อย่างหลายหลาย ท้ังน้ี ได้ประมวลมาไว้ ดังน้ี ประภาศรี สีหอ้าไพ (๒๕๓๑ : ๔๖) ได้แบ่งการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ ๒ ประเภท คอื ๑. ประเภทร้อยแก้ว คือ การเรียงค้าสื่อความหมายโดยไม่ต้องยึดฉันทลักษณ์ โดยความหมายท่ัวไปหมายถึง การเขียนสารคดีและบันเทิงคดี เช่น นิทาน บทละครพูด เร่ืองสั้น น วนิ ยาย เป็ น ต้ น ส่ วน ความ ห ม าย ใน เชิ งวรรณ ศิ ล ป์ คื อ ศิ ลป ะ ในการแต่งหนังสือ ซึ่งหมายถึง การเลือกสรรถ้อยค้า ส้านวนโวหาร มาเรียงร้อย ให้เกิดภาพพจน์ท้าให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการเด่นชัด โดยการใช้ส้านวนภาษา และการด้าเนินเรื่องสร้างความเพลิดเพลินจรรโลงใจ ถ้อยค้ามีความงามสละสลวย ดังน้ัน ร้อยแก้วเชิงวรรณศิลป์จึงเป็นศิลปะที่สะท้อนความสะเทือนอารมณ์โดยใช้ภาษา ที่ไพเราะสละสลวยในลีลาการแต่ง และส้านวนโวหารมีความงามในรูป (Form) งามในเรือ่ ง (Material) และงามในท่วงท้านองเขยี น (Style) ๒. ประเภทร้อยกรอง คือ ค้าประพันธ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลติ ใชเ้ รียกวรรณกรรมประเภทท่มี ีลักษณะบังคับในการแต่ง หรอื กวีนพิ นธ์ ท่ีกวีใช้จินตนาการสร้างสรรค์ขึ้นมาตามลักษณะค้าประพันธ์ท่ีบัญญัติไว้ในค้าประพันธ์ แต่ละชนิด ผลงานของจินตกวีจะมีความเพลิดเพลิน ผู้อ่านได้รับอรรถรส ตลอดจน ไดร้ ับรู้ความคิดของผู้ประพนั ธ์

๕๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ นอกจากน้ี ถวัลย์ มาศจรัส (๒๕๕๐ : ๑๐-๑๑) ได้จ้าแนกเกณฑ์การเขียน เชิงสร้างสรรค์ตามหลักสูตรการศึกษาขึ้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ไว้ ๓ ประเภท หลักๆ ไดแ้ ก่ ๑. ประเภทความเรียง ได้แก่ ความเรียง บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บนั ทึก ๒. ประเภทบันเทิงคดี ได้แก่ นิทาน หนังสือเด็ก เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน นวนยิ าย ๓. ประเภทสารคดี ได้แก่ สารคดีบุคคล สารคดีโอกาสพิเศษ สารคดี ประวัติศาสตร์ สารคดีท่องเที่ยว สารคดีแนะน้าวิธีท้า สารคดีเด็ก สารคดีสตรี สารคดี เก่ยี วกบั สัตว์ สารคดีความจา้ สารคดจี ดหมายเหตุ จากข้างต้นน้ี ผู้เขียนสามารถแบ่งประเภทของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ตามลักษณะเน้ือหาของงานเขียน ได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การเขียน เชงิ สรา้ งสรรค์บันเทิงคดี (Fiction) และการเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์สารคดี (Non-Fiction) การเขียนเชิงสร้างสรรค์บนั เทงิ คดี (Fiction) บันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง เรื่องที่เขียนขึ้นหรือแต่งข้ึนจากการสมมุติ หรืออาศัยประสบการณ์จริงผสมผสานกับจินตนาการที่สร้างขึ้นมา เพื่อสร้าง ความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้แก่ผู้อ่าน ซ่ึงผู้เขียนอาจจะสอดแทรกข้อคิดต่างๆ ในเร่ือง ไว้ด้วย งานเขียนประเภทบันเทิงคดี ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร นิทาน หรือหัสคดอี ่นื ๆ ๑. องค์ประกอบของการเขยี นประเภทบันเทิงคดี การเขียนประเภทบันเทิงคดีมีองค์ประกอบหลัก ซึ่งผู้เขียนจะต้องอาศัย องค์ประกอบเหล่าน้ีในการสร้างานที่ดึงดูดใจของผู้อ่าน ดังที่ กุหลาบ มัลลิกะมาส (๒๕๑๗ : ๗) และ ถวัลย์ มาศจรัส (๒๕๕๐ : ๑๕๗-๑๖๗) ได้กล่าวไว้ สามารถสรุปได้ ดงั นี้ ๑.๑ โครงเร่ือง (Plot) หมายถึง การก้าหนดเหตุการณ์เรื่องใดเร่ืองหน่ึง ไว้เป็นเอกภาพ ก่อให้เกิดผลอย่างหน่ึงตามมา ซ่ึงในโครงเรื่องจะมีการเปิดเร่ือง การด้าเนินเรื่อง และการปิดเร่ือง โดยโครงเรื่องท่ีดีในการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน ควรมกี ารวางแผนใหโ้ ครงเรอื่ งน่าสนใจด้วยการก้าหนดกลวธิ ีในการวางโครงเรอ่ื ง ดังน้ี

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕๑ ๑.๑.๑ บทเปิดเร่ือง (Exposition) ควรชี้น้าอย่างรวดเร็วเพ่ือให้ผู้อ่าน ท ราบ ข้อมูล เก่ียวกับ ตัวละคร ฉาก ห รือเห ตุการณ์ ที่ ก้าลังจะด้าเนิ น ว่ามี ความเปน็ มาเปน็ ไปอย่างไรเพ่ือใหผ้ ู้อ่านอยากรู้อยากเห็น ๑.๑.๒ การผูกปม (Complication) และการขมวดปม (Rising Action) เป็นบทสืบเนื่องจากบทเปิดเร่ือง จะท้าให้ผู้อ่านเห็นปมปัญหาและระทึกใจ ซ่งึ ผู้เขยี นจะตอ้ งขมวดปมเพ่อื ดงึ ดูดความสนใจผอู้ า่ น ๑.๑.๓ จุดวิกฤติของเร่ือง (Crisis/Peripety) เป็นจุดสูงสุดของ เหตุการณ์ในการเขียนเรื่องบันเทิงคดีทุกประเภท ซึ่งเป็นจุดที่ต่อยอดไปจากการผูกปม และการขมวดปมใหต้ ัวละครตอ้ งตัดสินใจอยา่ งใดอยา่ งหน่งึ ๑.๑.๔ การแก้ไขหรือภาวการณ์คลี่คลายของเร่ือง (Falling Action) เป็นการแก้ปมหรือแก้ไขประเดน็ ความความขดั แย้งของเร่ือง ๑.๑.๕ การคล่ีคลายเรื่อง (Resolution) คือ การที่ปมปัญหาต่างๆ ในเรื่องได้คล่ีคลายลงไป หรือการจบเร่ืองนั้นเอง ซึ่งในการจบเร่ืองมีลักษณะที่แตกต่าง กันออกไป ท้ังนี้ ข้ึนอยู่กับความต้องการและกลวิธีของผู้เขียน ได้แก่ การจบแบบ ให้ผู้อ่านคิดหรือหาเอง การจบแบบหักมุมหรือพลิกความคาดหมาย การจบแบบ โศกนาฏกรรม และการจบแบบสขุ นาฏกรรม ๑.๒ แนวคิด/แก่นเร่ือง (Theme) คือ สารัตถะส้าคัญของเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง ที่เขียนขึ้น หรือเป็นความคิดหรือสาระส้าคัญที่ผู้เขียนต้องการน้าเสนอไปยังผู้อ่าน โดยผู้อ่านจะเข้าใจได้จากการสรุปข้อความในเรื่องซ่ึงเป็นประโยคใจความส้าคัญ หรือสรุปจากเหตุการณ์การกระท้าของตัวละคร หรือค้าพูดของตัวละคร เป็นต้นว่า เม่ือเราอ่านนิทานเร่ืองกระต่ายกับเต่าจบลง เราก็สามารถสรุปแก่นเรื่องได้ว่า ความพยายามอยา่ งสม้่าเสมอจะทา้ ให้ประสบความสา้ เร็จในทา้ ยท่สี ดุ ๑.๓ ตัวละคร (Characters) คือ ผู้มีบทบาท แสดงการกระท้าต่างๆ มีมิติ ท้ังความคิด ความรู้สึก และจะปรากฏในเรื่อง โดยตัวละครสามารถเป็นได้ท้ังคน สัตว์ ส่ิงของ ท้ังที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ท้ังน้ี หากเป็นเร่ืองบันเทิงคดีที่มีขนาดส้ัน เช่น เร่ืองสั้น นิทาน ตัวละครจะมีจ้านวนน้อยเพื่อความกระชับของเรื่อง ต่างจากเร่ือง ทีม่ ขี นาดยาว เชน่ นวนยิ ายกจ็ ะมีตัวละครหลากหลายเพือ่ ความเหมาะสมของเนื้อเรื่อง

๕๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๑.๔ ฉาก (Setting) คือ สถานท่ีหรือส่ิงแวดล้อมท่ีปรากฏในเร่ือง เช่น ฉากถนน ทะเล ท้องไร่ท้องนา ป่าเขา วัดวาอาราม หมู่บ้าน เป็นต้น ท้ังนี้ การบรรยาย ฉากน้ันจะละเอียดลออหรือชัดเจนเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอด ของผูป้ ระพนั ธ์ ๑.๕ ทรรศนะ (Point of View) หรือเรียกว่า มุมมอง คือ กลวิธีการเล่า เรอ่ื งโดยผา่ นผู้เล่าเรอื่ ง ซึ่งผู้อ่านสามารถรบั ร้แู ละสังเกตจากการใช้สรรพนามของผ้เู ขียน ในการเล่าเร่ือง เช่น การใช้สรรพนามบุรุษท่ี ๑ หรือบุรุษท่ี ๓ ให้เป็นผู้คล่ีคลาย ขยายเร่อื งออกไปให้ผู้อา่ นทราบมุมมองผ่านผูเ้ ล่าเรอ่ื งน้นั ๑.๖ การเปิดเร่ือง (Opening) คือ การเร่ิมต้นในฉากแรกของเร่ืองท่ีเขียน เพื่อเรา้ ความสนใจของผูอ้ า่ นให้ติดตามเรื่อง ๑.๗ การดาเนินเร่ือง (Action) คือ การก้าหนดให้ตัวละครแสดงบทบาท ไปตามที่ผ้เู ขียนก้าหนดไว้ในโครงเรอ่ื ง เพ่ือบ่งบอกเรื่องราวแก่ผ้อู า่ น ๑.๘ การปิดเร่ือง (Ending) คือ การจบเร่ืองซึ่งจะคลี่คลายปมปัญหา ทั้งหมด ๑.๙ ท่วงทานองการเขียน (Style) คือ ลีลาการประพันธ์ของผู้เขียน ซ่ึงเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด เจตคติของผู้เขียน โดยท่วงท้านองการเขียน จะมีความแตกต่างกันออกไปตามผู้เขียนแต่ละคน เช่น เรียบง่าย เคร่งขรึม แข็งกร้าว อ่อนหวาน เสียดสี ลึกซ้ึง ซ่ึงท่วงท้านองน้ีถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้เขียน ที่ไมส่ ามารถลอกเลียนกันได้ ๑.๑๐ เทคนิค (Techniques) คือ กลวิธีในการแต่งเร่ือง ซ่ึงเป็นสิ่งท่ีขึ้น อยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้เขียน เป็นต้นว่า ผู้เขียนจะใช้วิธี ในการรวบรัดหรือขยายความตอนใดของเร่ือง การเปิด-ปิดเร่ืองอย่างไรให้น่าสนใจ หรอื ประทับใจ ตลอดจนการสรา้ งตัวละครใหม้ มี ติ ิสมจรงิ เปน็ ตน้

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕๓ ตัวอย่าง การเขียนบันเทิงคดีประเภทวรรณกรรมเยาวชนสร้างสรรค์ เรื่อง เจ้าชายน้อย ของ แซงเตก-ซูเปรี แปลโดย อ้าพรรณ โอตระกูล งานเขียนนี้สอดคล้องกับรูปแบบ การเขียนเชิงสร้างสรรค์บันเทิงคดี เน่ืองจากมีจุดเด่นในด้านทรรศนะหรือมุมมอง (Point of View) ในการเล่าเร่ือง ผ่านตัวละครหลักซึ่งเด็กเป็นผู้เล่าเรื่อง จึงสามารถ สะท้อนจินตนาการท่ีแปลกใหม่ของเด็กได้อย่างสวยงาม ตลอดจนการใช้ท่วงท้านอง การเขียน (Style) โดยใช้ภาษาที่เรียบง่าย ทั้งยังมีเนื้อหาที่แฝงด้วยคติปรัชญา เช่น การมองความจริงในชวี ิต ความรักและมิตรภาพ การเอื้อเฟือ้ เผอ่ื แผ่ ตลอดจนแง่มุมตา่ งๆ ในชวี ิตมนุษย์ เป็นต้น

๕๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ (ที่มา แซงเตก-ซเู ปรี, อองตวน เดอ. เจา้ ชายน้อย, ๒๕๔๖ หนา้ ๑๔-๑๕) ตัวอย่าง การเขียนเชิงสร้างสรรค์บันเทิงคดีประเภทนวนิยาย เรื่อง ปลายเทียน ของ แก้วเก้า ซ่ึงได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณคดีเร่ืองขุนช้างขุนแผน โดยเร่ืองนี้ มีความโดดเด่นด้านตัวละคร (Characters) คือ การสร้างตัวละครท่ีจินตนาการมาจาก วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน คือ เจ้าสร้อยสุมาลีและเพชรกล้า ให้ออกมาด้าเนินชีวิต ร่วมกับตัวละครในยุคปัจจุบัน คือ เกาลัดและเรวิทย์ ผ่านท่วงท้านองการเขียน (Style) ดว้ ยภาษาทลี่ ะเมียดละไมในบทสนทนาของตวั ละครทม่ี ลี กั ษณะเปน็ บทกลอน ตรงหนา้ ถ้าใกล้กบั ล้าธารที่เชื่อมต่อกับล้าห้วยนั้นเอง มีต้นไทรใหญ่แผร่ ากระย้า ราวสายม่าน ใต้ต้นไทรมีแท่นหินเรียบกว้างพอกับเตียงนอน ลุงจ้าได้ว่าแดดทอผ่าน รากไทรลงต้องร่างผู้หญิงคนหน่ึงเหมือนฉาบด้วยรังสีละอองทอง หล่อนนอนหนุนหมอน สามเหลีย่ มหลบั อยตู่ รงนน้ั ลุงค่อยๆ ย่องเข้าไปจนถึงตัว แล้วยนื มอง ตื่นเต้นแปลกใจมากว่าผู้หญิงคนไหน มานอนอยู่ในป่านี้ เป็นผู้หญิงสวย...แต่สวยผิดแผกแตกต่าง ไม่เหมือนผู้หญิงคนไหนเลยท่ีลุง เคยเห็น พอเห็นก็รู้ทันทีว่าเป็นผู้หญิงคนไหนท่ีกวีบรรยายชมโฉมไว้ ไม่ผิดเพ้ียนจากบท ในขุนช้างขุนแผน ตั้งแต่ศีรษะจดเท้า แม้จนถึงเสื้อผ้าเครื่องประดับก็ตรงกับในหนังสือ ทกุ กระเบียดนิว้ สนิทนิง่ เหนือหมอนดงั ทอ่ นแกว้ พระพักตรแ์ ผ้วมไิ ด้มีรอยฝีไฝ งามขนงกง่ ค้อมละม่อมละไม แต่เนตรหลบั ยงั วไิ ลประหลาดนาง

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕๕ นาสิกตละทรงพระแสงขอ โอษฐล์ ออเร่ยี มรมิ เหมือนจม้ิ ฝาง สองปรางอย่างผวิ ผลมะปราง ดูทรงศอคอคางอยา่ งกลงึ กลม งามระหงทรงศรไี ม่พีผอม เพริศพรอ้ มแต่บาทจนถงึ ผม กระหมวดมุ่นเกศากน็ ่าชม ปักปิ่นทองถมราชาวดี กุณฑลสองข้างพร่างแสงเพชร สงั วาลประดับสลับเม็ดพลอยต่างสี ก้าไลกรทองร่อนรูปนาคี ธา้ มรงคเ์ รอื นมณีสีพรา่ งพราย ผ้านงุ่ ถุงยกกระหนกกรอง หม่ แพรร้ิวทองจา้ รสั ฉาย ลุงไม่รู้ว่ายืนตะลึงอยู่นานเท่าไหร่ รู้แต่ว่าถอนสายตาไปจากสาวงามคนนี้ ไม่ได้เลย ไม่ว่าผิวพรรณ รูปร่าง หน้าตา เสื้อผ้า ดูจับตา งามรับกันไปหมด ทุกส่วน เหมอื นภาพเขียน ไม่เหมือนผู้หญิงธรรมดา จนกระทั่งหลอ่ นกค็ งรู้ตวั ว่ามคี นมาจ้องมองอยู่ก็ขยับตวั แล้วลืมตาขึ้น นัยน์ตาด้าขลับเป็นมันวาวราวกับนิล...สวยเหมือนนัยน์ตาเนื้อทรายอย่างที่กวี เปรียบเทยี บไว้ หล่อนตกใจท่ีเห็นลุง ก็ลุกข้ึนนั่ง ยกมือกุมอกไว้ หน้าตาต่ืนตระหนกไปหมด เหลียวมองรอบตัวเหมือนจะรอ้ งเรียกใหใ้ ครช่วย แตไ่ มม่ ใี ครอยตู่ รงน้ันสักคน ลงุ สงสาร ก็เลยพดู เบาๆ ไม่ให้ตกใจ “อยา่ กลวั ผมไมท่ ้ารา้ ยคณุ หรอก แคผ่ ่านมาเท่านัน้ ” หล่อนกวาดตามองลุงทั่วตัว แล้วท้าหน้าโล่งใจ เหมือนกับค่อยดูออกว่าลุง ไม่ใช่ใครบางคนที่หล่อนกลัวอยู่ แต่แล้วเมื่อมองอีกครั้ง หล่อนก็ท้าหน้างุนงงสนเท่ห์ มองเสอื้ ผา้ ของลงุ เหมือนไมเ่ คยเห็นมาก่อน กิรยิ ามารยาทหล่อนเรียบร้อยละมุนละไมมาก แม้แต่การเคล่ือนไหว ก็ดูนมิ่ นวล ราวกบั ท้านองดนตรี หลอ่ นคอ่ ยๆ ขยบั ตวั พบั ขา นงั่ ประสานมือ แลว้ ถามลุง

๕๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ “ทา่ นเจา้ ขาอย่าว่าข้าขอรู้ เป็นผู้ใดหลงมาถึงนี่ ประหลาดท่ัวกายาทงั้ พาที อย่บู รุ ีแดนใดไม่เคยพาน” ลุงยืนตะลึงเหมือนสายฟ้าฟาด เสียงหล่อน...ถ้อยค้าหล่อน...เจ้ือยแจ้วกระจ่าง ยิ่งกวา่ เสียงดนตรี เกิดมาไม่เคยไดย้ นิ ใครถามเรยี งกนั คล้องจองเปน็ บทเปน็ กลอนขนาดน้ี ไม่รวู้ า่ หลอ่ นพูดออกมาไดย้ ังไง “คณุ พูดเปน็ กลอน...” ลงุ หลดุ ปากออกมาอย่างมึนงง “เกดิ มาไม่เคยไดย้ ิน” หล่อนมองหน้าลุง ฉงนฉงายปนสงสัย เหมือนกับว่าใครๆ เขาก็พูดกัน อย่างหลอ่ น ลุงเสยี อกี เป็นมนษุ ยป์ ระหลาดทไ่ี ม่พูดอย่างหล่อน ยงั ไม่ทันจะถามอะไรต่อไป ลงุ ก็สะดุ้ง เมื่อได้ยนิ เสียงผหู้ ญิงหวีดรอ้ งละล่้าละลัก ประสานกันมาจากทางด้านหลงั หล่อนกห็ ันขวับไปมอง ผู้หญิงสาวสองคนหน้าตาหมดจด ผิวขาวเหลือง แต่งตัวคล้ายๆ กับหล่อน แต่ไม่มีเครื่องประดับ ผ้าผ่อนค่อนข้างธรรมดาไม่หรูหราเท่าคนแรก ว่ิงถลาออกมา จากพุ่มไม้ ทา่ ทางบอกความตื่นตกใจทั้งคู่ (ทม่ี า แกว้ เกา้ . ปลายเทียน, ๒๕๕๘ หนา้ ๔๖-๔๘) การเขยี นเชงิ สร้างสรรค์สารคดี (Non-Fiction) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๑๒๒๑) นิยาม ค้าว่า สารคดี ไว้ว่า น. เร่ืองท่ีเรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ เช่น สารคดที ่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ การเขียนประเภทสารคดี คือ การเขียนที่ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายจะเสนอสาระ ความรู้ ความคิดแก่ผู้อ่านเป็นหลัก แต่ก็มีการเขียนสารคดีท่ีให้ความบันเทิง ซ่ึงอาจ กล่าวได้ว่าเป็นความบันเทิงด้านภูมิปัญญาปนอยู่ด้วย โดยลักษณะส้าคัญของการเขียน ประเภทดังกล่าว ได้แก่ การมีจุดมุ่งหมายให้ความรู้แก่ผู้อ่านโดยต้องให้ทั้งความคิด และความจริงท่ีเชื่อถือได้ และมีเหตุผล ตลอดจนให้คุณค่าทางปัญญาแก่ผู้อ่านอีกด้วย ทั้งนี้ สามารถจ้าแนกการเขียนประเภทสารคดีได้ออกเป็นหลายประเภทย่อย ดงั ที่ กุหลาบ มัลลิกะมาส (๒๕๑๗ : ๑๗๖-๑๗๘) ได้จา้ แนกไว้ ดังนี้

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕๗ ๑. บทความในหนังสือพิมพ์ เช่น บทบรรณาธิการ หรือบทความที่ให้ความรู้ ความคิด ๒. สารคดีวชิ าการ ซ่ึงเปน็ ต้าราตามสาขาวิชาตา่ งๆ ๓. หนังสอื ท่องเทีย่ ว ๔. ชวี ประวตั ิ ซงึ่ มีท้ังชวี ประวตั ิและอตั ชีวประวตั ขิ องบุคคลส้าคญั ๕. ความทรงจา้ จดหมายเหตุ บนั ทกึ ๖. อนุทนิ (บันทกึ ประจ้าวนั ) ๗. จดหมาย ๘. คติธรรม เชน่ หนังสอื คา้ สอนตา่ งๆ ๙. บทวจิ ารณ์ ซ่ึงต้องแสดงเหตุผลและหลักเกณฑท์ างวชิ าการลงไปด้วย ๑๐. บทสัมภาษณ์ คือข้อความท่ีเขียนจากการสัมภาษณ์บุคคล และมีเน้ือเรื่อง สาระเป็นประโยชน์ ๑๑. บทอภิปรายหรือการปาฐกถา ซึ่งให้ความรู้ความคิดเรื่องใดเร่ืองหนึ่ง แก่ผู้อ่าน ๑๒. หนังสืออ้างอิง เช่น สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม หรืออภิธาน ตา่ งๆ ๑. องคป์ ระกอบของการเขยี นประเภทสารคดี พิมาน แจ่มจรัส (๒๕๕๐ : ๔๑๐) ได้แบ่งลักษณะของสารคดีตามความหมาย ทางวิชาการ ไว้ ๔ ลักษณะ ดังน้ี ๑.๑ “ไม่” เก่ียวกับเง่อื นไขเวลา จะเสนอเม่ือไหรก่ ็ได้ โดยไมจ่ ้าเป็นต้องเป็น เรื่องสดใหมแ่ ละน้าเสนอใหท้ นั เหตกุ ารณ์ ๑.๒ “ไม่”เกี่ยวกับข่าว กล่าวคือ ไม่ได้เกิดจากผลกระทบของกระแส แตเ่ กิดจากการวางแผนตามความต้องการของผ้เู ขยี น ๑.๓ “ไม่” เขียนข้ึนจากจนิ ตนาการ แต่เปน็ การค้นควา้ เรยี บเรียงข้อเท็จจริง แล้วนา้ มาวิเคราะห์วจิ ารณ์น้าเสนอตอ่ ผู้อา่ นท่ีสนใจ ๑.๔ “ไม”่ เสนอรายละเอยี ดทเี่ ย่ินเย้อและมากเกินไป

๕๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒. ขั้นตอนการเขยี นสารคดี ๒.๑ การเลือกเรื่อง เป็นสิ่งส้าคัญล้าดับแรกส้าหรับการเริ่มต้นเขียน โดยผู้เขียนควรเลือกเรื่องท่ีอยู่ในความสนใจของตนเองและมีความรู้ในเร่ืองที่จะเขียน ท้ังนี้ เนื้อหาของเรื่องท่ีจะเขียนควรเป็นเร่ืองที่น่าสนใจต่อผู้อ่านและต่อสังคม เนื้อหา ควรทนั สมัยและมคี วามยาวไม่มากจนเกนิ ไป ๒.๒ การต้ังช่ือเรื่อง ผู้เขียนควรจะต้ังชื่อเรื่องให้สั้น กระชับ ชัดเจน ตรงตามเนื้อหาของเร่ือง โดยควรใช้ช่ือท่ีดึงดูดความสนใจและส่ือความหมายได้อย่าง รวดเรว็ ทั้งน้ี พิมาน แจ่มจรัส (๒๕๕๐ : ๔๑๓) ได้เสนอรูปแบบการต้ังชื่อสารคดีไว้ ดงั นี้ ๒.๒.๑ ชื่อเรื่องแบบช้ีน้าเน้ือหา เป็นการน้าเอาเน้ือหามาสรุป เป็นความคิดรวบยอด แล้วต้ังเป็นชื่อเร่ือง โดยบอกตรงๆ ว่าจะเขียนเร่ืองอะไร เช่น ผา้ หม่ีขิด..ภมู ิปัญญาพื้นถิน่ อีสาน เป็นตน้ ๒.๒.๒ แบบส้าบัดส้านวน คือ การน้าถ้อยค้าส้านวนแปลกๆ มาใช้ ในการตั้งชื่อเร่ืองให้สะดุดตาผู้อ่าน เช่น โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร์ โดย สนิท เจริญรัฐ เปน็ ตน้ ๒.๒.๓ แบบคนคุ้นเคย คือ ตั้งช่ือเร่ืองให้เกิดความสนิทสนมระหว่าง ผู้เขยี นกับผู้อ่าน เชน่ การใช้ชวี ติ ในมหาวิทยาลัย เปน็ ตน้ ๒.๒.๔ แบบค้าถาม คือ ตั้งช่ือโดยการใช้ค้าถามกับผู้อ่าน เช่น ท้าไม ถึงตอ้ งมีประกันสขุ ภาพ? เป็นต้น ๒.๒.๕ แบบฉงน คือ ต้ังช่ือที่ผู้อ่านเห็นแล้วเกิดความสงสัย เช่น ตายแลว้ ฟืน้ เปน็ ตน้ ๒.๓ การรวบรวมข้อมูล คือ เก็บรวบรวมข้อมูลท่ีน้ามาจากข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลเบ้ืองต้นของผู้เขียน เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต มารวม กบั ข้อมลู ทตุ ิยภูมิ ซึ่งเป็นขอ้ มูลช้ันที่สองที่เกดิ จากการน้าแหลง่ ข้อมูลอื่นๆ มาอา้ งอิง เช่น หนังสือ ต้ารา บทความ หนงั สอื พิมพ์ วารสาร เป็นต้น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕๙ ๒.๔ การเขียนเรื่อง คือ การน้าข้อมูลจากข้ันรวบรวมข้อมูลมาเรียบเรียง และเขียนออกมาเป็นงานเขียนสารคดี โดย บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (๒๕๕๔ : ๑๐๘-๒๒๔) ได้อธบิ ายถงึ การเขียนเรอื่ งสารคดี สามารถสรุปได้ดังนี้ ๒.๔.๑ ส่วนน้าเรื่อง เป็นส่วนท่ีผู้เขียนต้องเปิดเร่ืองได้อย่างน่าสนใจ และจะต้องดึงดูดให้ผู้อ่านติดตามเร่ืองราวสารคดีไปจนจบ โดยกลวิธีการเปิดเรื่องน้ัน มีหลายวิธี อาทิ การเปิดเรื่องด้วยการบอกเจตนา ความคิด แนวคิด หรือปรัชญา จากข้อมูลที่จะน้ามาเขียน เพื่อให้ผู้อ่านทราบสิ่งท่ีผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอด หรือการเปิดเร่ืองด้วยการใช้บทสนทนา ซึ่งสามารถสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เขียน กบั ผ้อู า่ นได้ตั้งแตแ่ รก เพราะเหมอื นกับการสนทนากับผู้อ่านอยู่ในขณะนนั้ ด้วย เป็นตน้ ๒.๔.๒ ส่วนที่เป็นความเช่ือม คือ ส่วนท่ีท้าหน้าท่ีเช่ือมโยงระหว่าง ความน้ากับเน้ือเรื่อง โดยความเชื่อมอาจเป็นข้อความสั้นๆ พยางค์เดียว วลี ประโยค หรือย่อหน้าก็ได้ ท่ีสามารถแสดงให้รู้ว่าผู้เขียนก้าลังจะส่งทอดความน้าให้โยงไปยัง เน้ือเร่อื งท่ีเขียนต่อไป ๒.๔.๓ ส่วนเนื้อเรื่อง จะต้องเขียนเนื้อเร่ืองให้กลมกลืนกับความน้า ของเรือ่ งทเี่ กริ่นไว้ โดยเนอื้ เร่ืองนัน้ มแี นวทางในการเขียน ดังน้ี ๒.๔.๓.๑ ขอบข่ายของเนื้อหา ขอบเขตของเน้ือหาควรจัด เป็นเรื่อง หรือหัวข้อที่เรียงล้าดับกันอย่างมีเหตุผล ถูกต้อง อ่านแล้วเข้าใจแนวทาง ด้าเนนิ ของเนอื้ หาในเรอ่ื งไดด้ ี ๒.๔.๓.๒ ความสมบูรณ์ของเนื้อหา คือ เน้นความสมบูรณ์ ทุกสัดส่วนของเรื่อง ถ้าเราจะเปรียบถึงเร่ืองราวที่จะเขียนสารคดี ก็อาจกล่าวได้ว่า สารคดีเร่ืองน้ันเป็นร่างกายของมนุษย์ การเปิดเรื่องหรือการเปิดส่วนหัว คือ ส่วนหัว ของร่างกาย ส่วนย่อหน้าเช่อื ม คือ ส่วนคอ ตอ่ จากนั้นเนือ้ เร่ือง คือ ส่วนร่างกาย ส้าหรับ บทสรปุ คือ ส่วนของร่างกาย รวมกันครบทุกสว่ นจึงเป็นภาพทีส่ มบูรณ์ การเขียนเน้ือหา ให้สมบูรณ์จะต้องเป็นเนื้อหาที่ได้จากการค้นคว้า สะสม เตรียม และจัดท้าข้อมูล ใหค้ รบถ้วน กวา้ งขวาง และครอบคลุมทกุ ประเดน็ ตามทกี่ ล่าวไว้ ๒.๔.๓.๓ การจัดประเด็นให้ชัดเจน คือ มีแง่มุมที่น่าสนใจ และล้าดับเร่ืองให้ต่อเนื่องอย่างกลมกลืน ควรเน้นประเด็นหลักเป็นประเด็นส้าคัญ เช่น จะเขียนสารคดีท่องเที่ยวท่ีต้องการเน้นแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ก็ควรมุ่งสู่ความส้าคัญ ทางประวัติศาสตร์เป็นจุดหลัก แล้วให้แง่มุมอื่นๆ เป็นประเด็นย่อยประกอบเรื่อง

๖๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ไม่ควรเน้นความส้าคัญในทุกเร่ืองจนท้าให้ประเด็นหลกั แตกพร่าไป ควรน้ามาเพยี งเสริม ให้การเดินเร่อื งเป็นไปอยา่ งมีชีวติ ชวี า น่าอา่ นมากขน้ึ ๒.๔.๓.๔ การพรรณนารายละเอียด โดยการให้รายละเอียด ของเรื่องชัดเจนที่สุด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ และภาพพจน์ตามเนื้อเร่ือง ท้ังน้ี ผู้เขียนจะต้องอาศัยทักษะและคุณสมบัติพื้นฐานประกอบกันหลายอย่าง คือ ความสามารถในการเขียน ความช่างสังเกต และสามารถน้ามาเขียนร้อยกันได้อย่าง สอดคล้องตอ่ เนอื่ งกนั ๒.๔.๓.๕ การอ้างค้าพูด วิธีน้ีเป็นการสร้างความมีหลักฐาน น่าเช่ือถือในข้อเขียนอย่างหน่ึง การสร้างความหลากหลายในเนื้อหาที่น่าสนใจ คือ การอ้างองิ แทรกสาระ เน้นค้าพูดท่ีนา่ สนใจของบคุ คลทเี่ กี่ยวขอ้ ง เพื่อเปน็ ส่วนประกอบ ในการสะท้อนภาพปลีกย่อยให้ชัดเจนข้ึน การอ้างค้าพูดของผู้อื่นมานั้นอาจจะท้า เป็นระยะๆ หรือเสนอตามลักษณะการสัมภาษณ์ก็ได้ การเขียนสารคดีมักนิยมเขียน เล่าเรอ่ื งเชิงพรรณนา และแทรกดว้ ยถอ้ ยค้าอ้างอิงให้สอดคล้องกบั บรรยากาศของเร่ือง ๒.๔.๓.๖ การเสริมเกร็ดที่น่าสนใจ การสอดแทรกเกร็ดความรู้ เล็กๆ น้อยๆ เช่น นิทานพ้ืนบ้าน ความเชื่อต่างๆ มุขตลก หรือกิริยาอาการของบุคคล ในเหตุการณ์ต่างๆ ฯลฯ เกร็ดความรู้ดังกล่าวแม้ไม่มีสาระส้าคัญเกี่ยวข้องโดยตรง กบั ประเด็นหลักของเร่อื ง แต่มีส่วนเสริมท้าให้สารคดีน้ันน่าอ่านยิง่ ขน้ึ ๒.๔.๓.๗ การเสนอตัวอย่างและหลักฐานประกอบค้าอธิบาย เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย แผนที่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ ฯลฯ มาประกอบเนื้อหาด้วย ก็ยิ่ง จะชว่ ยท้าใหเ้ น้ือเรื่องน่าสนใจ และสามารถเก็บไว้เป็นหลกั ฐานอ้างอิงทางวชิ าการไดด้ ี ๒.๔.๓.๘ การเสนอหลักฐานในการอ้างอิงข้อความถ้อยค้า จากผู้อ่ืน หลักฐานเหล่านี้จะเป็นเครื่องส่งเสริมความเข้าใจ และแสดงถึงการค้นคว้า หาหลักฐานความรู้ต่างๆ มาประกอบในงานเขียน เช่น อัญประภาษ เชิงอรรถ อภิธานศัพท์ บรรณานกุ รม และรายช่อื หนงั สือท่ีควรอา่ นเพ่มิ เติม ๒.๔.๓.๙ การสร้างเอกภาพ คือ การกล่าวถึงสาระส้าคัญ ของเนื้อหาได้ตรงตามจุดมุ่งหมายท่ีวางไว้ ไม่เขียนออกนอกเรื่องหรือเขียนวกวนสับสน งานเขียนท่ีมีเอกภาพจะช่วยให้ผู้อ่านท้าความเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ท้ังนี้ เอกภาพ ในงานเขียนเรื่องหน่ึงๆ นั้นควรจะมีเอกภาพทั้งในระดับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่ และในระดับสารคดีท้ังเรือ่ ง

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๖๑ ๒.๔.๓.๑๐ การสร้างสัมพันธภาพ หมายถึง ลักษณะเนื้อหา สาระและความคิดทตี่ ้องการน้าเสนอในงานเขยี นไดน้ า้ มาจดั ล้าดับต่อเน่ือง โยงเขา้ หากัน จากเร่ืองหนึ่งสู่อีกเรื่องหน่ึง เป็นการช่วยเสริมความเข้าใจของผู้อ่านได้ดียิ่งขึ้น ท้ังน้ี สัมพันธภาพของงานเขียนจะมีต้ังแต่หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย และรายละเอียด การเช่ือมโยงประโยคภายในข้อความ งานเขียนท่ีขาดสัมพันธภาพมักจะเป็นผล มาจากการที่ผู้ต้องการเขียนจัดล้าดับหัวข้อเรื่องสับสน อธิบายความวกวน ขาดความกระชับในถอ้ ยค้าทีใ่ ช้ ๒.๔.๓.๑๑ การใช้ภาษา เป็นประเด็นส้าคัญอีกประเด็นหน่ึง เพราะเกี่ยวข้องกับความชัดเจนของงานเขียน ผู้อ่านเข้าใจเน้ือหาสาระและความคิด ในงานเขียนได้ดีก็ต่อเมื่องานเขียนน้ันเขียนข้ึนอย่างชัดเจน ความชัดเจนในถ้อยค้า เกิดจากการใช้ภาษาท่ีเหมาะสม ถกู ต้อง ใช้ค้าตรงความหมาย ตรงตามต้องการให้ผอู้ ่าน เข้าใจ เรียบเรียงใจความดี อธิบายความไม่สับสน วกวน ตลอดจนการใช้ค้าศัพท์บัญญัติ ศัพท์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะที่จ้าเป็นโดยไม่ลืมอธิบายให้ผู้อ่านทราบความด้วย พร้อมทั้ง ใช้สา้ นวนโวหารสอดแทรกข้อความที่เขียน ท้าให้งานเขียนน่าสนใจย่งิ ข้นึ ๒.๕ ส่วนสรุป ซ่ึงถือเป็นส่วนสุดท้ายของเร่ืองท่ีมีความส้าคัญในการสร้าง ความประทับใจให้แก่ผู้อา่ น ท้ังน้ี ผู้เขียนสามารถใช้วิธีในการสรุปน้นั ไดอ้ ย่างหลากหลาย อาทิ การสรุปหรือการลงท้ายด้วยการย้าใจความส้าคัญหรือประเด็นส้าคัญของเร่ือง ให้แก่ผู้อ่าน การลงท้ายด้วยการต้ังค้าถามไว้ให้ผู้อ่านได้คิด การลงท้ายด้วยค้าคม สุภาษิต หรอื บทกวี เป็นต้น

๖๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง การเขียนสารคดี รูปแบบบทความวิเคราะห์วิจารณ์ นวนิยาย เร่ือง ทุ่งมหาราช ตอน ชุมชนกับชาติ อ้านาจกับความรัก ในหนังสืออ่านใหม่เมืองกับชนบท ในวรรณกรรมไทย ของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ซึ่งน้าเสนอภาพสะท้อนการเปลี่ยน ทางสังคมและเปิดโลกทัศน์เรื่องมิติทางการปกครอง อ้านาจทางสังคมและชนชั้น ด้วยแงม่ ุมท่นี ่าสนใจ บทวิเคราะห์ ทุ่งมหาราช ท่ีถือได้ว่าท้ังแหลมคมและคมคาย เป็นบทวิเคราะห์ ประเด็นเรื่องความรักในวรรณกรรมไทยของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ท่ีชี้ว่าความรักในฐานะ อารมณ์ ความรู้สึก มิใช่ส่ิงสากลเหมือนกันหมดในทุกยุคทุกสมัย ทุกชนชั้น และทุกผู้ทุกนาม โดยเสนอว่าความรักของร่ืนท่ีมีต่อสุดใจน้ันต้ังอยู่บนพ้ืนฐานความคิด ของกรรมาชนท่ีผูกโยงเรอ่ื งความรักเข้ากับมติ ิทางการผลิตและการท้ามาหากิน ตราบจน เม่ือรื่นเริ่มกลายมาเป็นกระฎุมพีแล้วเท่านั้น เขาจึงรับเอาทัศนะท่ีมองความรัก เป็นเร่ืองของปัจเจกบุคคล ตัดขาดจากเง่ือนไขทางการผลิตและสังคม ตามคติ ของกระฎุมพี ดังจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ของรื่นกับละเมียด นิธิได้สรุปไว้ว่า “ความรกั แบบกระฎุมพีที่สุดใจไม่มีวันจะเข้าถึงน้ัน ร่ืนมอบให้คุณละเมียด และความรัก ของกรรมาชนที่คุณละเมียดไม่มีวันเข้าถึง ...รื่นก็มีอย่างไม่เสื่อมคลายไปจากสุดใจ ซงึ่ เปน็ คขู่ าของการผลิตของเขา” หากนิธิใช้กรอบเร่ืองชนช้ันมาท้าความเข้าใจความรักของร่ืน ค้า ผกา นักวิจารณ์ฝีปากกล้า เลือกจะใช้กรอบคิดของสตรีนิยมมาวิเคราะห์ตัวละครหญิง ในนวนิยายเล่มนี้ โดยมุ่งพิจารณาประเด็นเร่ืองภาพเสนอของผู้หญิงในวรรณกรรม กับอุดมการณ์ชาตินิยม ค้า ผกา ตั้งข้อสังเกตอันชวนคิดอย่างยิ่งว่า นวนิยายเล่มนี้ “เขียนขึ้นมาในช่วงที่โปรเจ็คต์การสร้าง ‘โมเดล’ ของกุลสตรีไทยยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ลงตัวจนหาบุคลิกร่วมกันได้ กลายเป็นแบบฉบับ (Stereotype) อย่างที่เราเจอ ในนวนิยายพาฝันยุคหลังๆ ลงมา เพราะฉะนั้น ผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงอย่างภัคคินี ใน ‘แผ่นดินของเรา’ หรือ สุดใจ, จ้าปา และละเมียด ต่างก็ลงในสนามในฐานะ ผู้เข้าชิงต้าแหน่งนางเอกเท่าเทียมกันหมดทุกคน ไม่มีใครเป็นตัวร้าย ตัวอิจฉา ไม่มีใคร ตัดสินหรือว่าจ้าปาดอกทอง ช่ัวช้าสามานย์” ค้า ผกา ช้ีว่าตัวละครอย่างละเมียด ท่ีฉลาดเฉลียว เท่าทันวาทกรรม “ความรัก” ของผู้ชาย และเคารพตัวเองเหนืออ่ืนใด

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๖๓ ได้สูญหายไปจากนวนิยายพาฝันในยุคต่อๆ มา เมื่ออุดมการณ์ชาตินิยมได้เข้ามา ครอบครองและตีตรวนภาพเสนอหญิงไทยในฐานะ “กุลสตรี” ของชาติ ในที่น้ี ผมขอเลือกที่จะอ่านนวนิยายเร่ืองน้ีโดยประสานมุมมองเร่ืองชนช้ัน เท่ากับมุมมองสตรีนิยมเพื่อพิจารณาประเด็นว่าด้วยชุมชนกับชาติ และอ้านาจ กับความรัก ท่ีสอดประสานกัน เกื้อหนุน อิงแอบ และโต้สะท้อนกันไปมา เราสามารถ จะเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้ได้ด้วยการวิเคราะห์พล็อตสองพล็อตในเรื่อง น่ันคือ พล็อตการสร้างบ้านแปงเมืองของคลองสวนหมากและพล็อตของการก่อร่างสร้างตัว ของรื่น พล็อตท้ังสองนี้เกี่ยวกระหวัดร้อยรัดกันไปตลอดเร่ือง ท้ังน้ี มิใช่เพียงเพราะว่า มีร่นื เป็นแกนกลางของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึนในพล็อตทั้งสอง แต่เพราะว่าเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของตัวละครในพล็อตท้ังสองน้ีด้าเนินไปภายใต้ตรรกะของอ้านาจ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้นและเพศสถานะ กล่าวอีกนัยหน่ึง ทุ่งมหาราช คือ สนามรบ สนามรัก และสนามวาทกรรมของความสัมพันธ์เชิงอ้านาจ ระหวา่ งชนชนั้ และเพศสถานะ (ที่มา ชูศักด์ิ ภทั รกลุ วณชิ ย.์ “ชมุ ชนกับชาติ อ้านาจกับความรักในทุ่งมหาราช” ใน อ่านใหม่เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย, ๒๕๕๘ หน้า ๔๕-๔๖) น อ ก จ า ก ก า ร จ้ า แ น ก ป ร ะ เภ ท ข อ งก า ร เขี ย น เชิ งส ร้ า งส ร ร ค์ โด ย ใช้ เก ณ ฑ์ ด้านลักษณะเนือ้ หาของงานเขียนตามข้างต้นแลว้ ยังสามารถจ้าแนกการเขียนสรา้ งสรรค์ ตามรูปแบบ เนอื้ หา แนวคิด และกลวิธีท่ปี รากฏได้เปน็ ๔ ประเภท ดังนี้ ๑. การเขียนสรา้ งสรรคใ์ นรปู แบบ ๒. การเขยี นสรา้ งสรรคใ์ นเนือ้ หา ๓. การเขียนสร้างสรรคใ์ นแนวคิด ๔. การเขยี นสร้างสรรคใ์ นกลวิธี

๖๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ การเขียนสรา้ งสรรคใ์ นรูปแบบ การเขียนสร้างสรรค์ในรูปแบบ หมายถึง การเขียนท่ีใช้รูปแบบการเขียน แปลกใหม่ ไม่เคยมีมาก่อน หรือหากเคยมีมาแล้วแต่น้ามาดัดแปลงให้เกิดรูปแบบ ในการเขียนขึ้นใหม่ได้ เช่น ในวรรณกรรมไทยมีการเขียนท้ังร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งถูกก้าหนดรูปแบบและเนื้อหาไว้ต่างกัน และแยกงานเขียนออกเป็นหลายประเภท เช่น ร้อยแก้วมีตั้งแต่บันเทิงคดีประเภท นิทาน นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ ส่วนร้อยกรองน้ันมี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ค้าประพันธ์แต่ละชนิดนั้นก้าหนด การวางรูปลักษณะไว้แตกต่างกัน มีแบบแผนบังคับไม่เหมือนกัน โคลงเป็นค้าประพันธ์ ที่บังคับเอกโท ร่ายนั้นเขียนอิสระ เพียงแต่ให้มีสัมผัสคล้องจองกัน เมื่อผู้ประพันธ์เขียน โคลงในตอนเร่ิมแรกที่ยังไม่มีค้าประพันธ์ชนิดนี้มา ก็เรียกว่าเป็นการเขียนสร้างสรรค์ ในรูปแบบของโคลง ส่วนกลอนสุภาพเป็นค้าประพันธ์ที่มีแบบแผนบังคับให้มีบทหนึ่ง มีสองบาท บาทหน่ึงมีสองวรรค วรรคหน่ึงมีก้าหนดแปดค้า แต่ละวรรคมีช่ือเรียกวรรค ไว้ว่า วรรคแรกเรียกวรรค “สดับ” วรรคสองเรียกวรรค “รับ” วรรคสามเรียกวรรค “รอง” วรรคสุดท้ายของบทเรียกวรรค “ส่ง” รูปแบบของกลอนสุภาพนั้นต้องข้ึนต้น ด้วยวรรคสดับเสมอ และบทหน่ึงต้องมีครบสี่วรรค ต่อมา มีผู้ดัดแปลงรูปแบบ ของค้ากลอนออกเป็น กลอนดอกสร้อย กลอนบทละคร กลอนสักวา กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว ฯลฯ โดยก้าหนดแบบแผนหรอื รูปแบบข้ึนใหม่ เช่น หลวงปรีชาชาญกวี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้สร้างสรรค์กลวิธีการแต่งกลอนท่ีซับซ้อนกว่า กลอนแปด เรียกว่า กลอนกลบท ด้วยการเพ่ิมข้อบังคับในการแต่ งให้ยากขึ้น เพ่ือแสดงฝีมือการประพันธ์ของผู้แต่ง ส่วนเนื้อเรื่องน้ันน้ามาจากปัญญาสชาดก มีช่อื เร่อื งว่า กลบทศิรวิ บิ ุลกติ ิ ตัวอยา่ ง กลบทเตน้ ต่อยหอย ขา้ ชอ่ื เซ่งเขียนชื่อซ้อง จองนามหมาย ลา้ ไวช้ ่อื ลอื วา่ ชาย ไว้ศักดิ์ศรี พระบัณฑรู พูนบันเทิง พระทยั ทวี ตง้ั ยศแสงแต่งยศศรี หลวงปรีชา ฯลฯ (ทมี่ า กุหลาบ มัลลกิ ะมาส. วรรณคดไี ทย, ๒๕๑๗ หนา้ ๑๑๑)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๖๕ นอกจากนี้ นิทานค้ากลอนเร่ือง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ ซึ่งเป็นกวี ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น นับเป็นการสร้างสรรค์ด้านรูปแบบของกลอน ด้วยการเพิ่มสัมผัสในเข้าไปในกลอนแปดเพื่อสร้างความไพเราะให้กับบทกลอน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดใช้กลวิธีนี้ จนสุนทรภู่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอก ในการแต่งกลอนแปด และกลอนของสุนทรภู่ยังเป็นแบบแผนให้ผู้อ่ืนแต่งตาม จนถงึ ปจั จุบนั ตัวอย่าง งานประพันธ์กลอนแปด เร่ือง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ ในตอนที่กวี ได้พรรณนาถึงม้านิลมังกรที่มีความแปลกทั้งหน้าตา รูปร่างลักษณะ และพละก้าลังอัน มหาศาล ด้วยถ้อยค้าท่ีสละสลวย ใช้สัมผัสไพเราะคล้องจอง ท้าให้ผู้อ่านเกิดภาพ และจนิ ตนาการ ม้าตัวน้ดี จี า้ นเจียวหลานเอ๋ย เป็นกะเทยเขี้ยวเพชรไม่เขด็ ขาม จบั ไวข้ ม่ี ีสงา่ กลา้ สงคราม จะได้ตามบติ ุเรศในเขตคนั แลว้ บอกมนตก์ ลเล่ห์กระเทห่ ์ให้ จะจับได้ด้วยพระเวทวิเศษขยนั สดุ สาครนอนบน่ มนตส์ า้ คัญ ได้แม่นมั๋นเหมือนหนึ่งจติ ไมผ่ ดิ เพยี้ น จึงลงหวายสายเอกเสกประทับ ไวส้ ้าหรับผูกรงั้ เช่นบงั เหยี น แลว้ นอนบ่นมนตเ์ ก่าทเี่ ล่าเรียน จนสิ้นเทยี นเคล้มิ หลับระงบั ไป พอเชา้ ตร่รู ู้สึกให้นกึ แคน้ ฉวยเชอื กแล่นลงมหาชลาไหล ขนึ้ ขป่ี ลาพาว่ายคล้ายคล้ายไป ถงึ คล่ืนใหญ่มองเขมน้ เหน็ สินธพ กระโดดโครมโถมถึงเขา้ ท้ึงหนวด มังกรหวดหางกระวดั ท้งั กัดขบ พอหลดุ มือรอื้ กลบั เขา้ รบั รบ โจนประจบจบั หนวดกระหมวดรง้ั เอาวงหวายสายสิญจน์สวมศรี ษะ ดว้ ยเดชะพระเวทวิเศษขลัง ม้ามังกรออ่ นดิ้นสิน้ ก้าลงั ข้นึ นั่งหลังแล้วกุมารก็อ่านมนต์ ไดเ้ จด็ คาบปราบมา้ สวาหะ แล้วเปา่ ลงตรงศีรษะสน้ิ หกหน อาชาช่นื ฟื้นกายไม่วายชนม์ ใหร้ กั คนท่ีขนึ้ ข่ีดงั ชวี า ขยบั ซา้ ยยา้ ยตามด้วยความรกั หรือจะชักย้ายทางไปขา้ งขวา คอยตามไปไม่ขัดหัทยา กุมารารูท้ ีกด็ ีใจ ขขี่ ยับขบั ข้ึนบนเกาะแกว้ ย่งิ คลอ่ งแคลว่ ควบกระโดดโขดไศล เทีย่ วเลยี บรอบขอบเกาะเหมอื นเหาะไป ประเดยี๋ วใจถงึ ศาลาพระอาจารย์

๖๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เหน็ ครอู ิงพงิ หมอนน่ังถอนนวด แกล้งควบอวดอยั กาตรงหน้าฉาน ทรามคะนองลองเชงิ เรงิ สา้ ราญ พระอาจารยน์ ง่ั หวั ร่อพ่อนี่นา อยา่ ควบนกั ชักวงมาตรงน้ี จะดศู ีรษะมันขันนักหนา กมุ ารลงทรงจงู อาชามา ถึงตรงหนา้ นอบนบอภิวนั ท์ พระนักสิทธพ์ ศิ ดเู ป็นครูพ่ ัก หัวร่อคักรปู รา่ งมันชา่ งขนั เมอ่ื ตวั เดยี วเจยี วกลายเป็นหลายพนั ธุ์ กา้ ลังมันมากนกั เหมอื นยกั ษ์มาร กนิ คนผู้ปปู ลาหญา้ ใบไม้ มันท้าได้หลายเล่หอ์ า้ ยเดรฉาน เขี้ยวเปน็ เพชรเกรด็ เปน็ นลิ ลิน้ เปน็ ปาน ถงึ เอาขวานฟันฟาดไม่ขาดรอน เจา้ ไดม้ า้ พาหนะตัวน้ไี ว้ จะพน้ ภยั ภญิ โญสโมสร ให้ชื่อว่ามา้ นิลมังกร จงถาวรพูนสวัสดิ์แกน่ ัดดา (ทม่ี า พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่). พระอภัยมณ,ี ๒๕๕๔ หน้า ๒๙๓-๒๙๕) นอกจากนี้ การเขียนสร้างสรรค์ในด้านรูปแบบร้อยแก้วนั้นมีหลากหลาย ลักษณะ เช่น การเขียนบทความซ่ึงมีลักษณะคล้ายกับเรียงความหรือความเรียง ซ่ึงประกอบด้วยเนื้อหาท่ีแบ่งออกเป็นสามตอน คือ ตอนอารัมภบทหรือค้าน้า ต อ น เนื้ อ เร่ือ ง แล ะต อ น ส รุป ซึ่ งเน้ื อ ค วาม แ ต่ ล ะต อ น จ ะต้ อ งมี ค วาม เป็ น อันหนึ่งอันเดียวกันและมีการโยงความให้ต่อเนื่องกันตลอดเร่ือง แต่ปัจจุบัน ลักษณะ ของบทความน้ันเต็มไปด้วยย่อหน้า หรือการเขียนเร่ืองสั้นซึ่งแต่เดิมนิยมเขียนเน้ือความ บรรยายสลับบทสนทนา โดยในช่วงของการบรรยายน้ันมักจะวางรูปแบบเป็นย่อหน้า ยาวๆ แตใ่ นปัจจุบัน รูปแบบของเรื่องส้ันนั้นเปลี่ยนไป กล่าวคือ แบ่งเน้ือหาของเร่ืองส้ัน ของตนออกเป็นตอนๆ ตอนหน่ึงมีเพียงไม่ก่ีบรรทัด เรื่องหน่ึงมีความยาวถึง ๑๐ ตอน แต่ความยาวทั้งสิบตอนนั้นมีเพียงไม่เกิน ๑๐ หน้า โดยยังคงองค์ประกอบของเรื่องส้ัน ตามเดมิ คือ มีโครงเรื่อง มีฉาก มบี ทสนทนา มีตัวละคร มีแกน่ เร่อื ง

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๖๗ ตัวอย่าง เร่ืองสั้นเชิงสร้างสรรค์จากงานเขียนรวมเรื่องส้ัน รางวัล THAILAND INDEPENDENT AWARDS 2007 ของ สปุตนิก กับ ไลก้า เรื่อง พระจันทร์ ท่ีมีการแบ่ง เน้ือหาของเร่ืองส้ันออกเป็นตอนย่อยจ้านวน ๑๒ ตอน โดยแต่ละตอนมีเนื้อหาไม่เกิน ๑๐ หน้า และยังคงองค์ประกอบของเรื่องส้ันไว้ตามเดิม ดังเช่น ตอน พระจันทร์เดือน พฤษภาคม มีการด้าเนนิ เรือ่ งเพยี ง ๒ หนา้ โดยใช้การบรรยายตลอดท้ังเร่ือง พระจันทรเ์ ดือนพฤษภาคม : Milk Moon โดย ไลกา้ ๑. เกี่ยวกับคุณ, ทั้งท่ีแต่ก่อนเคยรู้สึกจนกระท่ังภายในสัมผัสได้ถึงความข้นคล่ัก แทบอดรนทนไม่ได้ หากมาบัดน้ีฉันรู้สึก แต่เพียงบอบบางเจือจาง จนไม่รู้ว่าจะจัดการ กับสถานการณ์ตรงหน้าเชน่ ไร จบั มือของคุณ ฉันรูส้ ึกได้ถึงความเย็นชืด กล่ินตัวของคุณไม่อ่อนโยนเหมือนเคย ฉันไม่ชอบใจรอยยบั ทช่ี ายคอปกเสื้อเช้ิตของคุณ บางครั้งเราก็อาจจะรู้จักใครสักคนนานจนเกินไป นานจนเราท้ังคู่ต่างไม่รับรู้ อีกแล้วว่าส่ิงใดท้าให้อีกคนเสียใจ หรือสิ่งใดท้าให้ดีใจ เม่ือความเคยชินเข้าบุกท้าร้าย ฉนั ไดแ้ ตน่ ั่งนงิ่ และงงงัน ฉันยงั เปน็ คนเดิมทีเ่ คยมคี วามรู้สึกอย่หู รือไม่ ๒. บ า ง ที เร่ื อ ง ข อ ง เร า อ า จ จ ะ เร่ิ ม ต้ น ด้ ว ย ก า ร ที่ เร า ต่ า ง ต้ อ ง ก า ร กั น แ ล ะ กั น น้อยเหลือเกิน ไร้ข้อตกลง ข้อผูกมัด รวมท้ังการแบ่งปันความรู้สึกนึกคิด ไม่มีส่ิงที่อยู่ ตรงกลางระหว่างเราพอให้จับและยึด จนกระท่ังวันหน่ึงเราคงเลือกที่จะจากกันไป เมื่อไหร่ก็ได้ วันนั้นอาจจะเป็นวันที่เรารู้สึกว่าข้าวในจานร้อนมากเกินไปหน่อย หรือนมในชาร้อนรสชาติแปร่งประหลาดเหมือนเจียนบูด และผ้าเช็ดปากที่พับ อย่างเรียบร้อยบนโต๊ะอาหารมีรอยเป้ือนซอสตรงขอบ ทุกอย่างกลายเป็นสาเหตุ ของการโบกมอื ลา น้าตาของคุณก็เกิดไหลจากความไม่คุ้นเคยของสรรพส่ิงรอบตัว รวมทั้ง ของตวั ฉันเอง

๖๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เรากลายเป็นคนร่วมโต๊ะ หากแปลกหนา้ ชัว่ ข้ามคนื คนไม่คนุ้ หน้าที่ไมก่ ล้าสบตา ในรถไฟท่ีมุ่งไปบนรางท่ีทอดยาวออกไปเรื่อยๆ อย่างปราศจากจุดหมาย ในค่้าคืนที่ไร้ แมแ้ ตแ่ สงดาวหรอื แสงจนั ทร์ คนท่ีลืมไปแล้วว่าเราต่างเสียใจไดง้ ่ายดาย ๓. What are you looking for? I have some red fruit in my hands. It’s messed up and you don’t want to take it anymore. So I wash my hands But its smell still remains. (ทม่ี า สปุตนกิ กับ ไลกา้ . พระจันทร์, ๒๕๕๐ หน้า ๘๒-๘๓) การเขียนสรา้ งสรรค์ในเน้ือหา หมายถึงการเขียนท่ีเสนอเน้ือหาท่ีแปลกใหม่ อาจจะท้าในรูปแบบเดิม แต่เน้ือหาเป็นแนวใหม่ หรือใหม่ท้ังรูปแบบและเน้ือหาพร้อมกันไป เช่น ในสมัย รัตนโกสินทร์นิยมเขียนเร่ืองเกี่ยวกับจักรๆ วงศ์ๆ ให้ความส้าคัญกับชนชั้นสูง หรือนิทานชาดกแบบเดิม แต่สุนทรภู่ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะของพระเอกในวรรณคดี ไทยท่ีมีความเป็นนักรบ หรือนักปกครอง มาเป็นศิลปิน ซ่ึงมีลักษณะสมจริง แ ล ะ เน้ น ค ว าม ส้ าคั ญ ข อ งม นุ ษ ย์ (Humanistic) ห รือ ใน เรื่อ งร ะ เด่ น ลั น ได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ที่มีการสร้างสรรค์ด้านเน้ือหาในด้านการล้อเลียนสังคม และสะท้อนสภาพสังคมของคนจนที่ต้องหาเชา้ กนิ ค่้าเพื่อเลยี้ งชพี

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๖๙ ตัวอย่าง งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ในเน้ือหา เร่ือง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) มีความแปลกเด่นจากวรรณคดีเรื่องอ่ืนๆ ในด้านเนื้อหา เน่ืองจากวรรณคดี ในสมัยก่อนนั้นมักจะมีเน้ือหาและกล่าวถึงตัวละครเอกท่ีเป็นชนช้ันสูง แต่วรรณคดี เรื่องน้ีกล่าวถึงตัวละคร และการด้าเนินชีวิตของตัวละครท่ีเป็นชนชั้นล่างอย่างลันได ซ่ึงเป็นแขกพราหมณ์ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ โดยเล้ียงชีพ ด้วยการขอทาน มาจะกลา่ วบทไป ถงึ ระเดน่ ลนั ไดอนาถา เสวยราชยอ์ งค์เดียวเทยี่ วร้าภา ตามตลาดเสาชิงชา้ หน้าโบสถพ์ ราหมณ์ อยู่ปราสาทเสาคอดยอดดว้ น กา้ แพงแก้วแลว้ ลว้ นดว้ ยเรยี วหนาม มีทหารหอนเห่าเฝ้าโมงยาม คอยปราบปรามประจามิตรท่ีคดิ รา้ ย เท่ียวสีซอขอขา้ วสารทุกบ้านชอ่ ง เปน็ เสบยี งเลยี้ งท้องของถวาย ไม่มีใครชงิ ชงั ทง้ั หญงิ ชาย ต่างฝากกายฝากตวั กลัวบารมี พอโพลเ้ พล้เวลาจะสายณั ห์ ยุงชมุ สุมควนั แลว้ เขา้ ท่ี บรรทมเหนือเสื่อลา้ แพนแทน่ มณี ภูมซี บเซาเมากญั ชา (ทมี่ า พระมหามนตรี (ทรัพย์). ระเด่นลันได, ๒๕๔๔ หนา้ ๗-๘) การเขียนสร้างสรรค์ในแนวคดิ การเขียนสร้างสรรค์ในแนวคิดหรือสร้างสรรค์ในความคิด หมายถึง การเขียน ท่ีให้ข้อคิดหรือแนวคิดที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ ทั้งสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยม ปรัชญา และความเชื่อต่างๆ อาทิ การนา้ เสนอประวัตศิ าสตร์ทางความคิดหรอื ปรัชญาของมนุษย์ ผ่านงานนวนยิ ายเร่ือง โลกของโซฟี หรือเรือ่ ง เวลา ของชาติ กอบจิตติ

๗๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ การเขียนสร้างสรรคใ์ นกลวิธี การเขียนสร้างสรรค์ในกลวิธี หมายถึง การสรรหาวิธีการแปลกใหม่มาใช้ ในงานเขียนเพื่อสร้างความ ดึงดูดใจและความประทับใจให้ผู้อ่าน ตลอดจน เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้อ่านด้วย กลวิธีในการเขียนสร้างสรรค์นั้น นับว่าเป็น “ฝีมือ” หรือ “กลวิธี” ของผู้เขียน ทั้งในด้านกลวิธีการเขียน กลวิธี การน้าเสนอ กลวิธีใช้ถ้อยค้า การใช้ส้านวนโวหารและการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ ที่ท้าให้งานเขียนของตนแตกต่างจากนักเขียนคนอื่น ทั้งน้ี งานเขียนสร้างสรรค์ ในกลวิธนี ัน้ จะตอ้ งเป็นกลวธิ ที ี่เป็นประโยชน์หรอื มคี ุณค่าตอ่ ผ้อู ่านเสมอ ตัวอย่าง เร่ืองสั้นเชิงสร้างสรรค์จากงานรวมเร่ืองสั้นเร่ือง ส่ิงมีชีวิตท่ีเรียกว่าคน ของ วินทร์ เลียววาริณ ซ่ึงได้รับรางวัลซีไรต์ประจ้าปี ๒๕๔๒ นั้น มีความโดดเด่นด้านกลวิธี การน้าเสนอที่แปลกไม่เหมือนใคร ดังตอนท่ียกมาน้ันผู้เขียนได้ใช้การน้าค้านาม และค้าสรรพนามมาเรียงต่อกัน โดยให้ผู้อ่านเป็นผู้เชื่อมโยงเน้ือหาของเรื่องท้ังหมด จากค้าเหลา่ น้นั เอง วันเสาร์ : ความเงียบเหงา? กลางคืน / แสงดาว / แม่น้า / ประกายน้า / โรงแรม / ความหรูหรา / ลานริมนา้ / งานเล้ียง / แสงไฟ / เงาสะท้อน / ความโอ่อา่ / สายลม / ผู้คน / ชุดราตรี / รอยย้ิม / เสียงหัวเราะ / ความสนุกสนาน / อาหาร / บุฟเฟ่ต์ / ไวน์ / เหล้า / ความสขุ / ชาวกรงุ มุมห้อง / หล่อน / ชุดราตรี / สีด้า / ความโดดเด่น / หล่อน / ความเตะตา / คนรอบกาย / การรุมล้อม / การเอาใจ / ข้างกายหลอ่ น / เขา / สุภาพบรุ ุษ / วัยชรา / หล่อนกับเขา / เสียงหัวเราะ / คนสองคน / เสียงดนตรี / การจูงมือ / ฟลอร์เต้นร้า / ออ้ มแขน / การเตน้ รา้ / ดนตรวี อลทซ์ / บลู ดานูบ / โยฮัน สเตราส์ / ความเคลือ่ นไหว / จังหวะ / ความสวยงาม / พวกเขา / ความค่กู ัน / สัมผัส / เขา / ค้าถาม / ใคร / สามี / ? / ความไม่น่าเปน็ ไปได้ ผม / สายตา / การจ้องมองหล่อน / การสังเกต / ความสนใจ / ความไม่แน่ใจ / ความอิจฉา / ผม / หล่อน / การประสานตา / ในที่สุด / การตัดสินใจ / การเข้าหา / ผม / การโค้ง / การแนะน้าตัว / รอยย้ิม / การขออนุญาต / การเต้นร้า / หล่อน / การอนุญาต / ผม / คา้ กล่าว / การขอบคณุ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗๑ หล่อน / การลุกขึ้นยืน / เรา / การเดิน / ฟลอร์เต้นร้า / เราสองคน / การเต้นร้า / รอยยิ้ม / การประสานตา / ความนัย / กล่ินกาย / น้าหอม / อารมณ์ / สัมผัส / มือของผม / เอวของหล่อน / สะโพก / ชุดราตรี / ผ้าซาติน / ความอ่อนนุ่ม / ความกลมกลึง / ค้าถามของผม / ชายคนน้ัน / ใคร / ค้าตอบของหล่อน / สามี / ผม / การหวั เราะ / ความไม่อยากเชอื่ / หล่อนกับเขา / วยั ท่ตี า่ งกัน เรา / การเต้นร้า / สายตา / การประสานตา / การเคล่ือนไหว / จังหวะ / การก้าวขา / มือ / สัมผัส / ความอ่อนโยน / สายลม / ดนตรี / การส้ินสุด / เวลา / ความรวดเร็ว / การเต้นร้า / การจบสนิ้ / ผม / การถอนใจ เราสองคน / การสบตา / ความหมาย / ความนัย / หล่อน / รอยย้ิม / การลาจาก / การถอนใจ / ผม / การย่ืนให้ / นามบัตร / หล่อน / การรับ / ผม / การถาม / หมายเลขโทรศัพท์ / หล่อน / การชะงัก / รอยยิ้ม / การปฏิเสธ / ผม / รอยยมิ้ / การยืนยนั / หลอ่ น / การยอมให้ หล่อน / การเดินกลับ / โต๊ะของหล่อน / พวกเขา / สามีภรรยา / การคลอเคลีย / ผม / ความรู้สกึ ส่วนลึก / ความอิจฉา / ? / ความฟุ้งซ่าน / งานเล้ียง / การส้ินสุด / การจากกัน / ผม / การมอง / พวกเขา / ชายแก่ / หญิงสาว / ผม / การยืน / การอยู่คนเดียว / ริมแม่น้า / แสงไฟ / เงาสะท้อน / ความเหงา / หล่อน / เขา / ผม / การถอนใจ / ความคิดฟุ้งซ่าน / ความรู้สกึ ผิด / การยักไหล่ / การกลับบา้ น / ท่ีจอดรถโรงแรม / รถยนต์ / การติดเครื่อง / เกียร์อัตโนมัติ / คันเร่ง / ความดึก / ความสงัด / ถนน / ความว่างเปล่า / แสงไฟ / ป้ายนีออน / ป้ายโฆษณา / ป้ายอาคาร / สถานเริงรมย์ / ผู้คน / วัยรุ่น / การเท่ียวเตร่ / ทางม้าลาย / ไฟแดง / การถอนใจ / คนั เรง่ การไปถึง / จุดหมายปลายทาง / คอนโดมิเนียม / ท่ีอยู่ของผม / โถงลิฟต์ / ลิฟต์ / ช้ันสิบสาม / ประตูห้อง / สวิตช์ไฟ / การเปิดไฟ / ความสว่าง / ห้องนั่งเล่น / การอยู่คนเดียว / ตปู้ ลา / โซฟา / การนั่ง / การครนุ่ คิด / ครวั / ตู้เย็น / น้าแขง็ / แก้ว / เหล้า / การนั่ง / การดื่ม / การดู / ตู้ปลา / ฝูงปลา / การแหวกว่าย / ความเงยี บเหงา / การถอนใจ

๗๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ หอ้ งนา้ / การถอดเสื้อ / กระจกเงา / ภาพสะทอ้ น / ชายคนหนึ่ง / วยั / ๒๗ / ผม / ยัปป้ี / การมีหน้าตาดี / ความโสด / ความหนุ่ม / ความเป็นอิสระ / ความสนุก / การอาบน้า / น้าอุ่น / ความสดช่ืน / ความเงียบเหงา / ห้องน่ังเล่น / หน้าต่าง / เส้นขอบฟ้า / แสงไฟ / กรุงเทพฯ / นาฬิกา / ตีสอง / ความเปล่าเปลี่ยว / รีโมทคอนโทรล / เครื่องเล่นดนตรี / คอมแพ็กดิสก์ / ดนตรี / ความแผ่วเบา / เสยี งดนตรี / วอลทซ์ / โยฮนั สเตราส์ / ชวี าส รกี ัล ห้องนอน / เตียงนอน / การนอนหงาย / การลืมตา / ความฟุ้งซ่าน / ความปรารถนา / หล่อน / เขา / ผม / ความคิด / ชื่อของหล่อน / บ้านของหล่อน / เสยี งดนตรี / การนอนหลับ / การกระสับกระส่าย / ความฝัน / หล่อน / ผม / หล่อน / ผม / หล่อน / ผม / หลอ่ น (ทมี่ า วนิ ทร์ เลียววาริณ. สง่ิ มีชีวติ ทเี่ รียกว่าคน, ๒๕๔๕ หนา้ ๒๑-๒๒)

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗๓ บทสรุป การเขียนเชิงสร้างสรรคน์ ั้นสามารถแบง่ ออกไดเ้ ป็น ๒ ประเภท ได้แก่ งานเขียน ประเภทบันเทิงคดี (Fiction) และงานเขียนประเภทสารคดี (Non-Fiction) ซึ่งไม่ว่าจะ สร้างสรรค์งานเขียนประเภทใดก็ตาม จะต้องค้านึงถึงความสอดคล้องลงตัวกัน ทั้งรูปแบบ เน้ือหา แนวคิด ตลอดจนกลวิธีในการเขียน อย่างไรก็ตาม งานเขียน เชิงสร้างสรรค์น้ันควรจะมีเนื้อหาที่ให้สารประโยชน์ สร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจ สร้างความคิดแปลกใหม่หรือจินตนาการ ตลอดจนจรรโลงใจให้แก่ผู้อ่านและสังคม ควบคกู่ ันไป จึงจะนบั เป็นงานเขียนเชิงสร้างสรรคท์ มี่ คี ณุ ค่าอยา่ งแทจ้ รงิ

๗๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗๕ บทที่ ๔ ศลิ ปะและกลวิธกี ารเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทท่ี ๒ ว่า การเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้นเป็นเร่ืองของ ศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ เป็นการเขียนท่ีมีกลวิธีเฉพาะตามผู้ประพันธ์ มีความงาม มีคุณค่าทางอารมณ์และสติปัญญาแก่ผู้อ่าน ดังน้ัน ในบทนี้จะกล่าวถึงศิลปะและกลวิธี การเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ซ่งึ มคี วามสาคัญตอ่ นักเขียนในแง่ของการนาไปฝึกฝนและพัฒนา งานเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ทมี่ ีคุณภาพได้ ดงั เช่น เปล้ือง ณ นคร (๒๕๔๐ : บทนา) กล่าวไว้ วา่ การเปน็ นักเขียนนน้ั เป็นมาแต่กาเนิด มีพรสวรรค์ หรือมีหัวทางขีดเขียน ที่กล่าวดังน้ี ก็เป็นการถูกต้อง แต่คนท่ีมีหัวในการเขียน ถ้าไม่ได้รับการแนะนาที่ถูกต้อง ก็จะเขียน ให้ดีได้ยาก คนที่ไม่มีหัวในการเขียน อาจจะสร้าง “หัว” ขึ้นได้ หากได้ศึกษา ในเชิงการเขียนและมีความเพียรเพียงพอ ดังนั้น ในเร่ืองศิลปะและกลวิธีการเขียน เชิงสร้างสรรค์ ซึ่ งเป็ น ส่ วน ส าคั ญ ต่ อก ารผ ลิต งาน เขียน เชิ งส ร้างสรรค์ นั้ น สามารถแบ่งกลวิธีการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ออกเป็น ๔ ดา้ น ดังน้ี ๑. การใช้คา ๒. การใช้ประโยค ๓. การเขียนย่อหน้า ๔. การใช้สานวนหรอื ท่วงทานองการประพันธ์ การใชค้ า ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น การใช้คานับเป็นเรื่องแรกท่ีผู้เขียนควรพิจารณา กอ่ นการเขียน เพราะการใชค้ าน้ันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความหมายให้แกง่ านเขียน หากผู้เขียนไม่ระวังในการใช้คา เช่น การเขียนโดยไม่พิจารณาความหมายของคา ขาดการเลือกสรรถ้อยคาอย่างสละสลวย ก็จะทาให้งานเขียนขาดความละเมียดละไม หรือผู้อ่านอาจจะเข้าใจความหมายหรือความต้องการของผู้เขียนได้ยากยิ่งข้ึน ดังนั้น ในส่วนน้ีจะนาเสนอกลวิธีการใช้คาในลักษณะต่างๆ เพื่อนาไปใช้ในการเขียน เชิงสรา้ งสรรค์ไดถ้ กู ต้องและเหมาะสม ดังนี้

๗๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๑. ใช้คาใหถ้ ูกความหมาย ในภาษาไทยนั้นมีการจาแนกคาโดยใช้ความหมายเป็นเกณฑ์ได้ ๒ ชนิดด้วยกัน คือ คาท่ีมีความหมายโดยตรงหรือความหมายโดยอรรถ (Denotative Meaning) หมายถึง ความหมายประจาคาท่ีปรากฏในพจนานุกรม ซึ่งเป็นความหมายตามตัวอักษร และคาที่มีความหมายแฝงหรือความหมายโดยนัย (Connotative Meaning) หมายถึง ความหมายย่อยท่ีแฝงเร้นอยู่ในความหมายหลักหรือความหมายตรง โดยผู้ใช้ภาษา จะต้องอาศัยประสบการณ์ทางภาษา บริบท เลือกใช้เพ่ือสื่อความหมายให้ถูกต้อง เพ่ือส่ืออารมณ์ ความคิด ความรู้สึกได้อย่างมีชั้นเชิง ดังเช่น เปลื้อง ณ นคร (๒๕๔๐ : ๑๑-๒๐) อธิบายความหมายของคาต่างๆ ซึ่งมีความหมายโดยตรงและโดยนัย ไว้ เช่น คาว่า เสือ ความหมายโดยตรงหมายถึง สัตว์ ๔ เท้า รูปคล้ายแมวแต่ตัวใหญ่กว่า กินสัตว์เป็นอาหาร มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง เสือดาว ฯลฯ แต่เมื่อนาไปใช้ ร่วมกับบริบทอ่ืนๆ ก็จะมีความหมายโดยนัยได้ เช่น ทหารเสือ เสือผู้หญิง มือช้ันเสือ อ้ายเสือ ซง่ึ คาว่า “เสือ” ดังท่ีกล่าวมานี้ล้วนมีความหมายโดยนัยทั้งส้นิ ดังน้ัน การใช้คา ตามความหมายแฝงหรือความหมายโดยนยั น้ันจึงเป็นส่ิงสาคญั ของนักเขยี นทจ่ี ะนาไปใช้ ส่ือความหมาย เพราะจะช่วยให้เกดิ อารมณแ์ ละอรรถรสในงานของตนได้ ตัวอยา่ ง การใช้คาท่ีมีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ๑) ไขด่ าว ความหมายโดยตรง คือ ไขท่ อดทีไ่ ม่ตกตีผสมกันระหว่างไข่ขาวกับไข่แดง เช่น ฉันชอบกนิ ข้าวกะเพราหมูสับไข่ดาว ความหมายแฝง คือ แบน แฟบ หรือไม่ใหญ่ เชน่ หลอ่ นพวกน้ีอกไขด่ าวท้ังนนั้ ๒) กา ความหมายโดยตรง คือ นกชนิดหน่ึงตัวสีดา ร้องกาๆ บางทีก็เรียกว่า อกี า เชน่ สนุ ัขกาลังวง่ิ ไลก่ ดั กาตัวนั้น ความหมายแฝง คือ ความต่างในทางที่แย่หรือเลวกว่าผู้อื่น สกุลต่า ความตา่ ต้อย เช่น หล่อนเป็นกาในฝูงหงส์

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗๗ ๓) ควาย ความหมายโดยตรง คือ สัตว์เล้ียงลูกด้วยนม มีสี่ขา เค้ียวเอ้ือง กินหญ้า เป็นอาหาร ชาวนาเลยี้ งไวไ้ ถนา เชน่ ฝูงควายกาลงั เล็มหญ้าอยูข่ า้ งทาง ความหมายแฝง คือ โง่ เซอ่ ตัวใหญแ่ ต่ไม่ฉลาด เช่น สอนอะไรก็ไม่จา ควายจรงิ ๆ! นอกจากความหมายโดยตรงและโดยนัยในการเขียนแล้ว ยังมีความหมายอ่ืนๆ ที่สามารถใช้ในการส่ือความหมาย ได้แก่ ความหมายตามบริบทและความหมาย ตามประวัติ โดยความหมายตามบริบทน้ันจะข้ึนอยู่และเปลี่ยนไปตามข้อความ หรอื บรบิ ทท่แี วดลอ้ มคานน้ั เช่น คาว่า “ขึ้น” เม่ือใชใ้ นบรบิ ทต่างกนั ความหมายของคา ก็จะเปลี่ยนไป เชน่ รถยนตก์ าลังขน้ึ ภเู ขา (เคลื่อนไปข้างบน) ผกั ในแปลงขึ้นแล้ว (แตกยอด, งอก) ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก (ผดุ , โผล)่ เน้อื หมใู นตลาดขึ้นราคา (เพิ่ม) ส่วนความหมายตามประวัติเป็นความหมายที่เกี่ยวเน่ืองกับประสบการณ์ หรือความเคยชินของผู้ใช้ภาษา เช่น คาว่า “หมู” เมื่อนาไปพูดกับเด็กๆ ก็มักจะนึกถึง นิทานเรื่องลูกหมูสามตัว กระปุกออมสิน หมูน้อยน่ารัก ถ้านาไปพูดกับพระสงฆ์ หรือนักกินเจ ก็มักจะนึกถึงบาปกรรมท่ีเกิดจากการกินเน้ือหมู ถ้านาไปพูดกับพ่อค้า แม่ค้า ก็มักจะนกึ ถงึ ความรา่ รวยจากการค้าขายหมู ราคาหมู เป็นตน้ อย่างไรก็ตาม ความหมายของคาน้ันสามารถเปล่ียนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งส่งผลให้ความหมายของคาหรือข้อความอาจจะเพ่ิมข้ึนหรือลดลง แคบหรือกว้าง ท้ังน้ีในการเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น ผู้เขียนควรพิจารณาความหมายอย่างถ่ีถ้วน เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมตามกาลเทศะและสถานการณ์การสื่อความหมายในคร้ังนั้นๆ (นิตยา กาญจนะวรรณ, ๒๕๔๒ : ๑๙๔) เชน่

๗๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ความหมายในพจนานกุ รม จีบ ก. พับกลับไปกลับมาหรือทาให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า จบี ปาก เรียกผา้ ท่จี ีบในลักษณะเช่นนน้ั วา่ ผ้าจีบ น. ชื่อขนมอยา่ งหนึ่งทาด้วยแปง้ มีไส้ มีรอยเป็นจีบๆ ความหมายใหม่ จบี ก. พูดจาหวา่ นลอ้ มชกั ชวน เก้ยี วพาราสี เชน่ เธออย่ามาเสียเวลาจีบฉนั เลย ฉันมเี จา้ ของแลว้ จากท่ีกล่าวมาน้ัน หากผู้เขียนใช้คาได้ถูกความหมายตามลักษณะต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ ก็จะสามารถถ่ายทอดความหมายและสร้างความแปลก ใหม่ให้งานเขียนในแง่มุมท่ีตรงตามความต้องการหรือจุดมุ่งหมาย งานเขียน เชงิ สรา้ งสรรค์ก็จะมคี วามสมบรู ณย์ ง่ิ ขน้ึ ๒. สะสมคา ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน การสะสมคาเป็นเร่ืองจาเป็นสาหรับนักเขียน ในการเลือกหยิบคามาใช้ในการเขียนเพ่ื อให้เกิดความหมายที่สมบูร ณ์ และสวยงาม ให้แก่งานเขียน การสะสมคาจนผู้เขียนมีคลังคาเป็นของตัวเองนั้น จะเอื้อประโยชน์ ได้อย่างมากมาย ซ่ึงการสะสมคาท่ีจะนามาใช้ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์สามารถ ประมวลได้ ดังนี้ ๒.๑ คาสามานยนาม คือ คาที่ใชเ้ รียกคน สัตว์ ส่ิงของ วตั ถตุ ่างๆ ธรรมชาติ ท่ัวไป ซ่ึงหากนักเขียนจะต้องใช้คาต่างๆ เพ่ือบรรยายหรือพรรณนา ก็จะต้องเลือก คาเหล่านั้นมาใช้อย่างถูกต้องและสละสลวย เช่น หากต้องการบรรยายสถานท่ีต่างๆ อาทิ วัง วัด บ้าน อาคาร ก็ต้องใช้คาเรียกองค์ประกอบ ฉาก ของสถานท่ีนั้นให้ถูกต้อง หรือหากต้องบรรยายหรือพรรณนาถึงเครื่องแต่งกายของตัวละคร ก็ต้องรู้คาท่ีเก่ียวกับ องค์ประกอบของเคร่ืองแต่งกาย เพราะจะสามารถส่ือความหมายได้อย่างชัดเจน และถูกตอ้ งไปยงั ผู้อา่ น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗๙ ตัวอย่าง การบรรยายการแต่งกายของชาววังในเร่ือง สี่แผ่นดิน ซ่ึงผู้เขียนบรรยายสีของ ผ้านุ่งตามวันหรือตามโอกาสต่างๆ ที่สวมใส่โดยเลือกใช้คาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสละสลวย “น่ีสาหรับวันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อนห่มน้าเงินอ่อน หรือจะห่มบานเย็นก็ได้ แต่ถ้าวันจันทร์จะนุ่งสีนี้ น้าเงินนกพิราบต้องห่มจาปาแดง” แล้วแม่ก็หยิบผ้าห่มสีออก จาปาแก่ๆ ออกวางทับบนผ้าลายสีน้าเงินเหลือบที่วางไว้... “วันอังคาร” แม่อธิบายต่อ “วันอังคารนุ่งสีปูนหรือม่วงเม็ดมะปรางแล้วห่มโศก หรือถ้านุ่งโศกหรือเขียวอ่อน ต้องห่มม่วงอ่อน วันพุธนุ่งสีถ่ัวก็ได้สีเหล็กก็ได้แล้วห่มจาปา วันพฤหัสนุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก หรือนุ่งแสดห่มเขียวอ่อน วันศุกร์นุ่งน้าเงินแก่ห่มเหลือง วันเสาร์ นุ่งเม็ดมะปรางห่มโศก หรือนุ่งผ้าลายพื้นม่วงก็ห่มโศกเหมือนกัน นี่ผืนน้ีแหละ ผ้าลายพื้นม่วงยากหาจะตายไป กุลีหน่ึงมีผืนเดียว เวลาไว้ทุกข์ก็นุ่งผ้าลายพ้ืนม่วง น่เี หมือนกนั แต่ต้องห่มสนี วล วันอาทติ ย์จะแต่งเหมือนวนั พฤหัสก็ได้ คือนุ่งเขียวห่มแดง หรือไม่ยังง้ันก็นุ่งผ้าลายพ้ืนสีลิ้นจ่ีหรือสีเลือดหมูแล้ว ห่มโศก จาไว้นะพลอย อย่าไปแต่งตวั เรอ่ ร่าเป็นคนบ้านนอก เดี๋ยวเขาจะหาว่าแม่เปน็ ชาววงั แล้วไมส่ อน” (ที่มา ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ปราโมช. สแ่ี ผน่ ดนิ , ม.ป.ป. หน้า ๗๙-๘๐) ๒.๒ คากริยา คือ คาที่แสดงกิริยาอาการต่างๆ เช่น กระโจน ชาเลือง ผลิ ยิม้ ประพนั ธ์ เป็นตน้ ๒.๓ คาวิเศษณ์ คือ คาที่ใช้ประกอบหรือขยายคาอ่ืน เช่น ขยายนาม ขยายกริยา หรือขยายวิเศษณ์ด้วยกัน เพ่ือให้เกิดคาที่ชัดเจนข้ึน เช่น โต๊ะกลม ลูกอมสมนุ ไพร ใหญโ่ ตมโหฬาร หลบั ลึก เป็นตน้ ๒.๔ คาที่มีข้อความคล้ายคลึงกัน คือ การเลือกใช้คาที่มีความหมาย ใกล้เคียงกนั แต่เขียนต่างกนั มาใช้ ทาให้งานเขยี นเกดิ ความหลากหลายหรือเกดิ จินตภาพ เช่น เคารพ นับถือ ยาเกรง เกลอ มิตรสหาย เพ่ือน ใหญ่ โต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ระเบยี บ ข้อบงั คบั กฎ เปน็ ต้น ๒.๕ คาพังเพย คือ คาท่ีมีความหมายเป็นกลางๆ หรืออ้างขึ้นเพ่ือ เปรียบเปรยโดยไม่ได้มีความหมายเจาะจงเป็นสุภาษิตสอนใจ เช่น กินปูนร้อนท้อง ตกั น้ารดหัวตอ มะกอกสามตะกร้าปาไมถ่ ูก ฯลฯ

๘๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒.๖ คาขวัญ คือ คาที่เขียนสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเตือนใจ เรียกร้องความสนใจ โนม้ น้าวใจ หรือเพื่อเปน็ สริ ิมงคล เชน่ ขาดน้าจะขาดใจ เมอ่ื มีใชอ้ ยา่ ฟุม่ เฟอื ย ออกกาลังกายเปน็ นจิ ชีวิตเป็นสขุ พลังงานคือชวี ติ ชว่ ยกันคดิ อนรุ ักษ์ ๒.๗ ค า ค ม คื อ ถ้ อ ย ค า ที่ แ ส ด ง ค ว า ม ห ลั ก แ ห ล ม ช ว น ให้ คิ ด มีความเปรียบเทียบ ลึกซง้ึ ข้อความสน้ั กระชบั คมคาย เช่น จินตนาการสาคญั กว่าความรู้ นนิ ทากาเลเหมอื นเทน้า ไมช่ อกชา้ เหมือนเอามดี มากรดี หิน กลว้ ยไม้ออกดอกช้าฉนั ใด การศกึ ษาเปน็ ไปเชน่ นน้ั ๒.๘ คาย่อ ในภาษาเขียนไม่ควรใช้คาย่อ เพราะอาจทาให้เข้าใจความหมาย ไม่ตรงกนั แมว้ า่ บางคาจะใช้จนรูจ้ กั กนั ทวั่ ไป ควรเขยี นใหไ้ ดแ้ บบแผนตรงกัน เชน่ ม. ใช้คาเต็มวา่ มหาวิทยาลัย น.พ. ใชค้ าเตม็ วา่ นายแพทย์ อย. ใช้คาเตม็ วา่ คณะกรรมการอาหารและยา ๓. ใชก้ ารหลากคา การหลากคานับเป็นความชาญฉลาดทางภาษาไทยซึ่งนักเขียนเชิงสร้างสรรค์ จะหาคาที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาใช้เพื่อลดความซ้าซากจาเจในการใช้คา ดังที่ เปล้ือง ณ นคร (๒๕๔๐ : ๑๑-๒๐) ได้อธิบายไว้ว่า นักเขียนบางคนอาจมีความคิดว่า ภายในประโยคชิดๆ กัน จะมีคาซ้ากันไม่ได้ ซ่ึงตามปกติ คาท่ีจะต้องสับเปล่ียนนั้นคือ คานาม เช่น ถ้าเราจะเขียนเร่ืองประวัติของสุนทรภู่ ก็มีความจาเป็นจะต้องใช้คา ของสุนทรภู่บ่อยๆ ซ่ึงทาให้จาเจ จึงต้องหาคาสรรพนามมาใช้แทน แต่คาสรรพนามน้ี ถ้าใช้ติดๆ กันก็จาเจ หรืออาจทาให้เกิดความหมายกากวม ฉะนั้น จึงต้องใช้ วิธีการหลากคามาชว่ ยทาใหง้ านเขยี นเกดิ ความสละสลวยยง่ิ ขนึ้ มีหลกั ดังน้ี ๓.๑ สรา้ งข้ึนเพื่อเลี่ยงการใช้คาซ้ากัน ๓.๒ ควรหลากคาเฉพาะคานาม ซึ่งใช้คาสรรพนามสับเปล่ียนเท่าน้ัน

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๘๑ ตวั อยา่ ง ฉันยังจาภาพของวิยะดาได้ ผู้หญิงคนนี้ขโมยหัวใจของฉันไปตั้งแต่ เราพบกนั ครง้ั แรก จากข้อความข้างต้น ผู้เขียนใช้คาสามานยนาม คาว่า ผู้หญิงคนน้ี แทนคาวิสามานยนาม คาว่า วยิ ะดา ๓.๓ ฝึกใช้คาไวพจน์เพ่ือให้เกิดการหลากคา ข้อความเด่นชัด เกิดภาพพจน์ ท่ีงดงาม เกิดจินตนาการ เกิดความไพเราะ และเกิดความซาบซึ้ง ซ่ึง ดวงใจ ไทยอุบุญ (๒๕๕๐ : ๕๒) ได้แบ่งคาไวพจน์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ คาท่ีมีรูปต่างกัน แต่มี ความหมายใกล้เคียงกัน เช่น โกรธกับเคือง กระโดดกับโจน บ้านกับเรือน เป็นต้น และคาท่ีออกเสียงเหมือนกันหรือคาที่เขียนเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน เช่น สัน สรร สรรค์ สรรพ์ ,พัน พันธ์ุ พรรณ เป็นต้น ตัวอย่าง บทประพันธ์ท่ีใช้การหลากคาด้วยคาไวพจน์ เพื่อทาให้งานเขียนสวยงาม สละสลวยและมีความโดดเด่น ดงั น้ี มืดส้ินแสงเทียนประทีปสอ่ ง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างสง่ บปุ ผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบง่ ระบดั บาน พระพายพัดประทิ่นกลิน่ หวาน เรณนู วลหวนหอมมารวยรนิ ประสานสอดกอดหลับระงบั ไป เฉ่ือยฉวิ ปลิวรสสมุ ามาลย์ (ที่มา กรมศิลปากร. ขุนช้างขุนแผน, ๒๕๑๔ หนา้ ๕๐๕) ใช้คาไวพจน์คาว่า บปุ ผชาติ บษุ บง สมุ ามาลย์ แทนคาวา่ ดอกไม้ ใชค้ าไวพจน์คาว่า ขจร แทนคาว่า ฟ้งุ กระจาย ใชค้ าไวพจน์คาวา่ พระพาย แทนคาวา่ ลม

๘๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๔. ไมใ่ ชค้ าฟมุ่ เฟือย การไม่ใช้คาฟุ่มเฟือย หรือ การประหยัดคา คือ ลดการใช้คาท่ีไม่จาเป็น การใช้คามากข้ึนแต่ความหมายคงเดิมบางคร้ังอาจช่วยเน้นย้าหรือเพิ่มน้าหนัก ของข้อความที่ต้องการส่ือ ทาให้ประโยคสละสลวย ไม่ห้วนส้ัน แต่การใช้คามาก หรือการหลากคาแต่ได้ใจความซ้าๆ กัน หากใช้บ่อยเกินไปจะทาให้งานเขียนนั้นน่าเบื่อ ดังนั้น เม่ือต้องการจะสร้างสรรค์งานเขียน ควรหลีกเลี่ยงการใช้คาที่ไม่จาเป็น ซงึ่ ไดแ้ กค่ าท่ีไมม่ ีความหมาย หรอื ไมใ่ ห้ความชัดเจนอะไรเป็นพิเศษ ตวั อยา่ ง เขาเป็นลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่ ควรเขียนเป็น เขาเป็นเด็กกาพร้า หรือ เขาเป็น ลกู กาพร้า ทุกคนตายหมด ไม่มีใครรอดชีวิตเลยสักคน ควรเขียนเป็น ทุกคนตายหมด เพราะไม่มีใครรอดชวี ติ เลยสักคน ซา้ ซ้อนกับคาวา่ ตายหมด นั่นเอง สาหรับสังคมไทยน้ัน นับวันจะเส่ือมลงในทางที่ไม่สมควร นับเป็นเร่ือง ที่อนุชนคนรุ่นหลังควรตระหนักและหาหนทางแก้ไข ควรตัด คาว่า สาหรับ เพราะเป็น การใช้สานวนต่างประเทศท่ีฟุ่มเฟือย ควรตัดคาว่า เสื่อมลงในทางท่ีไม่ควร และควรตัด คาว่า อนุชนคนรุ่นหลัง เพราะเป็นการใช้คาซ้าซ้อนและฟุ่มเฟือย โดยเขียนเป็น สงั คมไทยนับวันจะเสือ่ ม แทน นอกจากนี้ สุจรติ เพียรชอบ (๒๕๓๙ : ๗-๑๐) ได้เสนอวธิ กี ารใช้คาในการเขยี น ซง่ึ ถอื เปน็ ภูมิปญั ญาไทยในการใช้ภาษาไว้อย่างหลากหลาย สามารถสรปุ ได้ดังนี้ ๑. การสร้างคา ภาษาไทยเป็นคาโดด เม่ือรู้สึกว่าคาไม่พอใช้ รวมท้ังพบเห็น ภาษาอื่นมีคามากพยางค์ ก็คิดสร้างคาขึ้นเป็นคาประสม คาซ้อน คาซ้า คาประสม เช่น แม่น้า น้าตา น้าใจ หางเสือ ชาวนา ชาวสวน ช่างทอง ช่างเงิน นักเรียน นักร้อง นักเขียน เป็นต้น ส่วนคาซ้อน เช่น รักใคร่ ร้องไห้ บ้านเรือน ดูแล โกรธเคือง คาซ้า เพ่ือช่วยให้ความหมายของคาเข้มข้นขึ้น หรือมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ดาๆ แดงๆ เขียวๆ ขาวๆ เป็นต้น ในบางคร้ัง เมื่อเพิ่มจานวนพยางค์หรือซ้าคา แล้วยังไม่ ไพเราะเท่าที่ควร ก็จะมีวิธีพลิกแพลงให้มีเสียงไพเราะขึ้น เช่น คาอัพภาส เมื่อนามา ซ้ากันเป็น ย้ิมยิ้ม แย้มแย้ม พรายพราย ครืนครืน คร้ืนคร้ืน ก็กร่อนให้เป็น ยะยิ้ม ยะแย้ม พะพราย คะครืน คะคร้นื เปน็ ต้น

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๘๓ ตัวอย่าง การใช้คาอัพภาส ในเร่ือง มหาเวสสันดรชาดก โดยคาท่ีทาตัวหนา คาว่า “ยะยาบ” มาจาก คาว่า ยาบๆ หมายถึง อาการที่โบกหรือกระพือข้ึนลงช้าๆ และคาว่า “คะคว้าง” มาจาก คาว่า คว้างๆ หมายถึง อาการที่ลอยหรือหมุนอย่างรวดเร็ว ซ่ึ งก า ร ใช้ ค า อั พ ภ า พ ใน บ ท ป ร ะ พั น ธ์ น้ี เป็ น วิ ธี ก าร ส ร้ า งค า ใน ก า ร เขี ย น เพื่ อ ให้ เกิ ด ความไพเราะของเสียงและทาใหผ้ ู้อ่านเหน็ ภาพของกระบวนทัพได้อย่างชัดเจนยง่ิ ขน้ึ “ฝ่ายพวกพหลบทจรเดินเท้าเป็นทิวแถว ใส่หมวกสุวรรณแพร้วพรรณราย สวมเกราะกรายหลายขบวน ถือธงชายปลายทวนปลิวยะยาบ พลด้ังดาบโล่เขน เป็นขนัดแน่น แสนเสโลแลโตมร พลเกาทัณฑ์กาซาบศรแลปืนไฟ พลธนูห่างไก่แลปืนยา พลทหารอาสาดาบสองมือ ถือกวัดแกว่งอยู่คะคว้าง พลหอกสล้างแลสลอน พลง้าว งามงอนง่ารา พลกฤชด้าสลักลายกรายขบวน พลทายทวนถือเป็นคู่เคียง พลกระบี่ กั้นหยั่งเรียงเป็นสง่างามตามพิชัยศาสตร์ คอยพิฆาตฆ่าปัจจามิตร ล้วนละเลิงฤทธิ์ เร่ียวแรง แสดงเดชดูพิลึกมหิมา ร้องเฮฮาโห่ด้วยห้าวหาญ เห็นสยดสยอง ลาพองพล เพียงพื้นพสุธาไหวหวาด” (ทมี่ า “มหาเวสสันดรชาดก” ใน วรรคทองในวรรณคดไี ทย, ๒๕๕๔ หน้า ๕๑๙) ๒. การใช้สัมผัสคล้องจอง การใช้สัมผัสนับเป็นอีกวิธีหน่ึงที่สร้างความไพเราะ และลื่นไหลให้แก่งานเขียน ในภาษาไทยได้มีการใช้คาคล้องจองมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล นับต้ังแต่คาล้อ เช่น หัวโล้นโกนใหม่ๆ ควักข้ีไก่มาใส่หัวโล้น หรือในสานวนไทย เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง โดยการใช้สัมผัสคล้องจองนั้น คือ ลักษณะ บังคับที่ใช้คาท่ีมีเสียงคล้องจองกัน แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ สัมผัสนอกและสัมผัสใน สัมผัสนอก คือ คาที่ใช้สระคล้องจองกันและสะกดมาตราเดียวกัน สัมผัสนอกเป็นสัมผัส บังคับที่ต้องมีในบทประพันธ์ ซึ่งมีสัมผัสที่ส่งและรับระหว่างวรรค ระหว่างบาท ระหว่างบท โดยเป็นการสัมผัสสระเท่านั้น ส่วนสัมผัสใน คือ คาท่ีมีสระหรือเสียง พยัญชนะคล้องจองในวรรคเดียวกัน แบ่งย่อยเป็น สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ หรอื สัมผสั อักษร สมั ผสั ในทาใหง้ านประพนั ธ์มีความไพเราะย่ิงข้ึน

๘๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง บทเห่ชมนกในกาพย์เห่เรือ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร สร้างสรรค์ โดยการใชส้ ัมผัสคล้องจองทั้งสัมผัสนอกและสัมผสั ใน ทาให้เกิดไพเราะของบทประพันธ์ ในตอนทรี่ าพงึ ราพนั ถงึ นางผเู้ ปน็ ทีร่ ัก เรอ่ื ยเรอ่ื ยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่า สนธยาจะใกลค้ า่ คานึงหน้าเจา้ ตราตรู นกบินเฉยี งไปทง้ั หมู่ เรอ่ื ยเร่ือยมาเรยี งเรยี ง เหมือนพ่อี ยู่ผูเ้ ดียวดาย ตัวเดียวมาพลัดคู่ หมายเหตุ : เสน้ โยงสนี ้าเงิน สัมผสั บังคบั กาพยย์ านี ๑๑ เส้นโยงสีดา สัมผัสอกั ษรเพ่ือความไพเราะ เส้นโยงสแี ดง สัมผสั สระเพ่อื ความไพเราะ (ทีม่ า “กาพย์เห่เรือ” ใน เจา้ ฟา้ ธรรมธเิ บศร พระประวัตแิ ละพระนพิ นธบ์ ทร้อยกรอง, ๒๕๕๔ หนา้ ๒๓) ๓. การเปล่ียนแปลงคา ในภาษาไทยมีการยืมคามาจากภาษาอ่ืนมากมาย บางครั้งเกิดการออกเสียงไม่สะดวก ก็เปลี่ยนแปลงคาให้ออกเสียงง่ายข้ึน เช่น ในภาษาสันสกฤต ภาษาเดิมออกเสียงเรียงพยางค์ ภาษาไทยก็หาวิธีเปลี่ยนแปลง ให้เขียนง่าย ออกเสียงง่ายข้ึน เช่น สรฺพ สรฺค สุวรฺณ สุวรฺค ก็เปล่ียน รฺ (ร เรผะ) เปน็ ร หัน แลว้ ใส่การันตเ์ สยี ให้ออกเสียงง่าย เช่น สรรพ์ สรรค์ สุวรรณ สวรรค์ เปน็ ตน้ คาบางคาในภาษาบาลีและสันสกฤตเขียนยาวไม่สะดวก ก็เปล่ียนแปลง เช่น บาลี ทุจจฺ ริต สันสกฤต ทุรฺจริต ทรศฺ จริต หรือเลอื กเอาคาบาลีซึง่ ง่ายกวา่ มาเปล่ียนแปลง ให้สั้นเข้าเป็น ทุจริต อีกทั้งบางคาในภาษาบาลีและสันสกฤตยากและยาวเกินไป ก็ประสมประสานเปล่ียนแปลงคาให้เหมาะกับการออกเสียงของคนไทย เช่น คาบาลี อุยฺยาน สนั สกฤต อทุ ธฺ ยาน ก็เลอื กคาสนั สกฤตและตดั ใหส้ ้นั ลงเป็น อุทยาน เปน็ ตน้ ๔. การพลิกแพลงคา การพลิกแพลงคาเป็นกลวิธีการใช้คาเพ่ือทาให้เกิด ความรืน่ รมย์ ผ่อนคลายความตึงเครยี ด เช่น วิลเบอร์ ชแรมม์ เป็น แชล่ม โรงพยาบาล เป็น โรงกะบาน

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๘๕ มหาวทิ ยาลัย เปน็ หมาลยั กรรมกร เป็น กาของไอก้ ร คาพงั เพยสภุ าษิตกอ็ าจจะเปลี่ยนไปเพื่อความตลกคะนอง เช่น ล้มหมอนนอนเสือ่ เป็น ลม้ หมอนนอนเตยี ง รกั ดีหามจ่ัวรักชว่ั หามเสา เป็น รักทง้ั ดที ้งั ชว่ั หามทั้งจั่วท้ังเสา ราไมด่ โี ทษป่ีโทษกลอง เป็น ราไม่ดีหมไู มอ่ ้วน ๕. การเรียงคา การเรียงคาที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกันเป็นกลวิธีในการเล่นคา วิธหี นง่ึ ทสี่ ามารถสรา้ งลักษณะพิเศษความแปลกตาและความไพเราะให้งานเขียนได้ ตัวอย่าง การพรรณนาพรรณไม้ในวรรณคดีในเร่ือง ลิลิตพระลอ ที่มีความโดดเด่น และมีความงามในเชิงวรรณศิลป์ด้านกลวิธีการเล่นคาว่า “ลิง” ซ่ึงเป็นช่ือของพรรณไม้ ชนดิ หนง่ึ กบั คาว่า “ลงิ ” ซงึ่ เปน็ ชอ่ื ของสัตว์ ลางลิงลงิ ลอดไม้ ลางลิง แลลูกลงิ ลงชงิ ลูกไม้ ลงิ ลมไลล่ มตงิ ลงิ โลด หนนี า แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเล้ียวลางลิง (ที่มา “ลิลติ พระลอ” ใน วรรคทองในวรรณคดีไทย, ๒๕๕๔ หนา้ ๖๐๗) ตัวอย่าง การเรยี งคาใหส้ ะดดุ ตาในรูปคาขวัญ คาพงั เพย สภุ าษติ น้าร้อนปลาเป็น น้าเยน็ ปลาตาย เรือล่มเมอื่ จอด ตาบอดเม่อื แก่ รมู้ ากยากนาน รนู้ อ้ ยพลอยราคาญ ๖. การผวนคา คาผวนเป็นอีกกลวิธีหนึ่งท่ีสร้างความแปลกใหม่ให้งานเขียน และสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่าน โดยคาผวน คือ กลุ่มคาหรือคาที่มี ตั้งแต่ ๒ พยางค์ข้ึนไป กลับหรือสลับเสียงสระหรือตัวสะกดกัน กลุ่มคาหรือคา จะมีกี่พยางค์ก็ตาม แต่พยางค์ท่ีจะผวนกันในคาผวนคาหน่ึงๆ นั้นมักจะมีแค่ ๒ พยางค์ ส่วนใหญ่พยางค์ท่ีจะผวนกันมักจะเป็นพยางค์หน้าสุดกับหลังสุด พยางค์กลางๆ มักจะ คงเสียงไว้ตามเดิม นอกจากนี้ คาผวนน้ันมุ่งเอาเสียงเป็นสาคัญมากกว่าที่จะเน้น การสะกดการนั ต์ท่ีถกู ต้อง ถ้าผวนแลว้ ได้เสียงท่ตี ้องการ หรือสะกิดให้นกึ ถึงสิง่ ที่ตอ้ งการ

๘๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ซึ่งคาผวนนี้ความเดิมจะมีความหมายอย่างหน่ึง เม่ือผวนแล้วอาจจะไม่มีความหมาย อะไรเลย สาหรับการใช้คาผวนในงานเขียนน้ันมีประโยชน์หลายประการ อาทิ การแสดง ถึงปฏิภาณทางภาษาของผู้เขียน สร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่าน เกิดการพัฒนา (สร้าง) คาใหม่ท่ีเกิดจากคาผวน และช่วยฝึกให้ผู้อ่านขบคิดตามข้อความของตน เป็นการดึงดูด ความสนใจให้แก่ผู้อ่านไดอ้ กี ดว้ ย การผวนคาทวั่ ๆ ไปมีลกั ษณะ ดงั น้ี ๖.๑ คาเดิมเป็นคาคาเดียว แล้วเตมิ คาหรือสรอ้ ยคาซ่ึงไม่มีความหมายเขา้ ไป ทาให้เกิดความหมายข้ึน ถือเป็นเร่ืองขบขัน เช่น เรอทัก-รักเธอ ใสจุก-สุขใจ สวีดดั -สวสั ดี แอรก์ -่ี อแี ก่ เป็นต้น ๖.๒ การนาเอาประโยคมาผวน ทาให้เกิดความขบขัน แปลกใหม่ ในงานเขยี น ตวั อย่าง ไตหาหวั จาม ผวนมาจาก ตามหาหัวใจ เบอวา่ รักแถบ ผวนมาจาก แบบวา่ รกั เธอ แขนเป็นฟอ ผวนมาจาก ขอเปน็ แฟน กลวิธกี ารใช้คามคี วามสาคัญต่อการเขียนเชงิ สรา้ งสรรคเ์ ป็นอย่างมาก เนื่องจาก คาเป็นเรื่องท่ีควรคานึงถึงในการสื่อความหมายเป็นลาดับแรกในการเร่ิมเขียน สาหรับ นักเขียนสร้างสรรค์ ในการเขียนงานท้ังสารคดีและบันเทิงคดี ควรเลือกใช้คา ที่สื่อความหมายชัดเจน ฝึกการสรรคา การพลิกแพลงคาในลักษณะต่างๆ ดังท่ีกล่าวมา เพือ่ สร้างสรรค์งานเขยี นท่ีโดดเดน่ สวยงาม และมคี ณุ คา่ ตอ่ ไป การใช้ประโยค ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน ประโยคถือเป็นส่วนสาคัญประการหนึ่ง ในการเขียน เพราะจะทาให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและเร่อื งราวต่างๆ ท่ีผู้เขียนต้องการ ถา่ ยทอด ดงั นน้ั การศกึ ษาการใช้ประโยคในการเขียน การลาดับประโยค การใช้ประโยค แสดงเจตนา การใช้ภาษาและระดับภาษา จะเป็นแนวทางให้เกิดการเขียน ที่มีประสทิ ธิภาพและสรา้ งงานเขยี นท่มี ีพลงั ในการสอื่ ความได้เปน็ อย่างดี

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๘๗ ๑. การใชป้ ระโยคในการเขยี น ๑.๑ ความถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ควรตัดคา ไม่ควรใช้คาเกิน ความจาเป็นหรือใช้คาฟุ่มเฟือย ไม่ความเรียงลาดับคาผิด ควรเรียงตามหลักภาษา คือ เรียงจากประธาน กริยา กรรม ถ้ามีคาขยายก็จะอยู่หลังคาที่ถูกขยาย ไม่ควรใช้ ประโยคไม่สิ้นกระแสความ (ประโยคไม่สมบูรณ์) คือ ประโยคที่ขาดส่วนได้ส่วนหน่ึง ในโครงสร้างไป เช่น ภาคประธานหรือภาคแสดง เช่น ตึกที่จังหวัดนครราชสีมา ควรเขียนให้ส้ินกระแสความโดยการเติมหน่วยกริยาลงไป เป็น ตึกท่ีจังหวัดนครราชสีมา ถลม่ เมือ่ วานน้ี เป็นต้น ท้ังน้ี เพอ่ื ใหผ้ ู้อ่านเข้าใจความหมายได้อยา่ งชดั เจน อยา่ งไรก็ตาม โดยท่ัวไป ประโยคที่ใช้ในภาษาเขียนระดับทางการมักมีรูปเป็นประโยคประธาน หากผู้เขียนต้องการเน้นส่วนประกอบอื่นของประโยค เช่น กริยา หรือกรรม ก็สามารถ เลือกใช้ประโยคกริยาหรือประโยคกรรมในการสื่อความได้ ซ่ึงการใช้ประโยคเหล่านี้ แตกต่างกันตามจุดมุ่งหมายในการส่ือสาร หากผู้เขียนต้องการเน้นส่วนใดเป็นพิเศษ ให้นาส่วนน้ันมาไว้ในตาแหน่งต้นประโยค ดังน้ี (วัลยา ช้างขวัญยืน, ๒๕๓๓ อ้างถึงใน จุไรรัตน์ ลักษณะศริ ิ, ๒๕๕๘ : ๕๕) ประโยคประธาน คอื ประโยคทผี่ ้ใู ชก้ ระทาขนึ้ ตน้ ประโยค เช่น แมต่ ีลูก เขาเลน่ เทนนิสทุกวนั วนั นี้พ่อลา้ งรถยนต์คนั ใหม่ ประโยคกรรม คือ ประโยคท่ผี ถู้ ูกกระทาขึ้นต้นประโยคเมื่อตอ้ งการเน้น เชน่ ลกู ถูกแมต่ ี ประโยคนีต้ ้องการเนน้ “ลูก” ซึ่งเป็นกรรมของประโยค นักศึกษาถูกอาจารย์ตกั เตือนเรอ่ื งการแตง่ กายเขา้ ชนั้ เรียน ประโยคน้ตี อ้ งการเน้น “นกั ศึกษา” ซ่งึ เป็นกรรมของประโยค ประโยคการติ คอื ประโยคประธานหรอื ประโยคคาท่ีมผี ูร้ บั ใช้อย่ดู ้วย เชน่ ครสู ง่ั ใหน้ กั เรยี นทาการบา้ น ประโยคนม้ี ีผรู้ ับใช้ คือ “นกั เรยี น” นกั ศกึ ษาถูกอาจารย์ส่งั ให้พักการเรียนเปน็ เวลา ๑ เทอม ประโยคนมี้ ีผูร้ ับใช้ คือ “นกั ศึกษา”

๘๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ประโยคกริยา คือ ประโยคท่ีใช้คากริยาข้ึนต้นประโยคเมื่อต้องการเน้นกริยา ใหเ้ ด่น คากรยิ าท่มี กั ใช้ข้นึ ต้นในประโยคกริยา ไดแ้ ก่ เกดิ มี ปรากฏ เชน่ เกดิ พายุฤดูรอ้ นเมื่อสัปดาห์ท่ีผา่ นมา ประโยคนี้ต้องการเน้นกริยา “เกิด” จึงย้ายกริยา “เกิด” มาไว้ ต้นประโยค หากเน้นประธาน “พายุฤดูร้อน” ก็จะเขียนเป็นประโยคประธาน ไดว้ ่า พายุฤดรู อ้ นเกดิ เมื่อสัปดาห์ที่ผา่ นมา ๑.๒ ประโยคกะทัดรัด ควรเขียนให้กระชับ โดยไม่ใช้คาฟุ่มเฟือย จนทาให้ ผู้อ่านสับสน หรืออ่านไปแล้วได้สาระน้อย ดังสานวนท่ีว่า “น้าท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง ในการฝกึ เขยี นประโยคกะทัดรัดนัน้ ควรมีลักษณะ คือ ไมใ่ ช้คาซา้ ๆ กนั ในประโยค เชน่ ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนที่ผ่านมานั้น ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเดินทาง ไปเที่ยวจังหวัดอุดรธานี ในการเดินทางคร้ังน้ีข้าพเจ้าเดินทางไปกับคุณพ่อ คุณแม่ พีส่ าวและนอ้ งชาย ซึง่ นับเป็นการเดนิ ทางทข่ี า้ พเจ้าประทับใจมากท่ีสุด” จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นคาที่ขีดเส้นใต้ว่าผู้เขียนใช้คาซ้าซ้อน และฟุ่มเฟือยโดยไม่ได้ก่อให้เกิดความหมายใหม่หรือแตกต่างไปจากเดิม เช่น การใช้คาว่า ข้าพเจ้า ซ้ากันหลายคร้ัง หรือใช้คาฟุ่มเฟือย คือ คุณพ่อ คุณแม่ พี่ชาย และน้องสาว ควรเปลยี่ นเปน็ คาวา่ ครอบครวั แทน ในส่วนการสร้างประโยคให้กะทัดรัดในการเขียนนั้น จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, (๒๕๕๘ : ๕๘-๕๙) ได้เสนอหลกั เกณฑ์ในการสรา้ งไว้ ดังน้ี ๑. การรวบความให้กระชับ หากประโยคมีประธานมากกว่าหน่ึง แต่ใช้ คากรยิ ารว่ มกนั ควรหาคาทส่ี ามารถรวบความในหน่วยประธานเขา้ ด้วยกนั เชน่ การออกกาลังกายสม่าเสมอ การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทาน ผกั ผลไม้ ล้วนสง่ ผลดีต่อสขุ ภาพ ๒. การใช้คาท่ีมีความหมายรวม หรือคาจ่ากลุ่ม (Superordinate) ซ่ึงได้แก่ คาที่มีความหมายรวม ครอบคลุมกลุ่มคาที่มีความหมายย่อยแทนคาลูกกลุ่ม (Subordinate) ซึ่งได้แก่ คาท่ีมีความหมายย่อย แสดงความเป็นสมาชิกของคา ท่ีมีความหมายรวมในกรณีท่ีไม่จาเป็นต้องแจกแจงรายละเอียด จะช่วยให้ประโยค กระชบั กะทัดรดั และสละสลวยข้นึ เชน่

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๘๙ รายการน้ีโฆษณาสินค้าประเภทหม้อหุงข้าว กระทะ ตะหลิว ทัพพี ชอ้ น สอ้ ม มีด จาน ชาม และถว้ ย (คาลูกกลมุ่ ) ควรเปลีย่ นเป็น รายการนโ้ี ฆษณาสนิ คา้ ประเภทเคร่อื งครวั (คาจ่ากลมุ่ ) ๓. การหลกี เลยี่ งการใช้นามวลแี ทนคากรยิ า เชน่ นกั กีฬาทาการฝกึ ซ้อมอยา่ งหนัก ควรเปลย่ี นเปน็ นกั กีฬาฝึกซ้อมอยา่ งหนัก เข า มี ค ว า ม ดี ใ จ อ ย่ า ง ย่ิ ง ท่ี ส า ม า ร ถ ส อ บ เข้ า ศึ ก ษ า ต่ อ ใ น ร ะ ดั บ อดุ มศกึ ษาได้ ควรเปลี่ยนเปน็ เขาดใี จอยา่ งยง่ิ ท่ีสามารถสอบเขา้ ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ขณะทต่ี ารวจไปพบนั้น เขากาลังตกอยูใ่ นสภาพมนึ เมา ควรเปลยี่ นเป็น ขณะทตี่ ารวจไปพบนนั้ เขากาลังเมา ๑.๓ ประโยคชัดเจน หากผู้เขียนเขียนได้ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ ในการสื่อความหมายแล้ว ก็จะทาให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจงานเขียนได้ง่ายและรวดเร็ว ขึน้ โดยการเขียนประโยคให้ชดั เจนน้ผี ู้เขียนควรหลีกเลยี่ งการใช้ประโยคในลักษณะดังนี้ ได้แก่ การใช้ประโยคไม่กระจ่าง ไม่ควรใช้คาศัพท์ยากหรือโบราณมาก ไม่ควรใช้ศัพท์ แสลง ไม่ควรใช้ศัพท์ต่างประเทศหรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ นอกจากน้ี ควรหลีกเลี่ยง การใช้ประโยคกากวม หรือประโยคท่ีมีความหมายได้หลายอย่าง เพราะจะทาให้ผู้อ่าน เกดิ การสับสน และอาจจะตีความหมายผดิ ไป ตัวอย่าง ๑) ฉันไมท่ านข้าวเยน็ เป็นประโยคกากวม คาว่า ข้าวเย็น อาจมีความหมาย ๒ ความหมาย คือ ข้าวท่ีเย็นชืด (ไม่รอ้ น) หรือขา้ วมือ้ เย็น ควรแก้ไขโดยระบุลงไปให้ชัดเจนว่า ฉันไม่ทานข้าวที่เย็นแล้ว หรอื ฉันไม่ทานข้าวมื้อเย็น เป็นต้น ๒) หลอ่ นเปน็ คนใช้ฉนั เป็นประโยคกากวม คาวา่ คนใช้ อาจมคี วามหมาย ๒ ความหมาย คอื คนที่ใช้ผู้อ่ืนให้ทาส่ิง ตา่ งๆ ใหต้ ามความตอ้ งการของตน หรอื คนรบั ใช้ ควรแก้ไขโดยระบุลงไปให้ชัดเจนว่า หล่อนเป็นคนใช้ให้ฉันไปทา หรือหล่อนเป็นคนรับใช้ของฉนั

๙๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒. การลาดบั ประโยค การลาดับประโยค เป็นการเขียนเพ่ือให้ผู้อ่านได้รู้เรื่องต่อเน่ืองกันโดยตลอด และเข้าใจเน้ือเร่ืองอย่างดีตามจุดประสงค์ของผู้เขียน โดยจะต้องพิจารณาว่า ควรเอาประโยคใดนาก่อน ประโยคใดขยายประโยคใด และเรียงลาดับใหม้ ีความสัมพันธ์ กันตลอดจนจบเร่ือง ฉลวย สุรสิทธ์ิ (๒๕๒๒ : ๑๕๕-๑๕๖) ได้สรุปแนวคิดในการลาดับ ประโยคไว้ ดังนี้ ๒.๑ ต้องต้ังโครงเร่ืองท่ีจะเขียน และแบ่งเป็นหัวข้อย่อย เพ่ือเป็น การจัดระเบยี บความคดิ มิให้สบั สน และปอ้ งกันมิใหม้ ีการเขยี นเนือ้ เร่อื งซ้ากัน ๒.๒ ในการเขียนเรื่อง ให้แบ่งเน้ือเรื่องออกเป็นตอนๆ เม่ือจบตอนหนึ่ง จะต้องข้นึ บรรทดั ใหม่เสมอ ๒.๓ การเร่ิมเขียนประโยคแรกหรือในการเขียนข้ึนบรรทัดใหม่ ควรเขียน ประโยคใหถ้ ูกตอ้ งตามหลักไวยากรณ์ คือ มีภาคประธาน ภาคแสดง และควรใช้ประโยค สั้นๆ มีความชดั เจน ไมม่ คี วามหมายที่คลางแคลง ๒.๔ เขียนประโยคแรกเหมือนจะเป็นช่ือเร่ือง คือ เป็นการเขียนนาเร่ือง ด้วยถอ้ ยคาที่ชัดเจนท่ีสดุ เพื่อใหร้ ้วู ่าเรือ่ งท่ีเขยี นนัน้ เกี่ยวกับอะไร ๒.๕ การลาดับประโยค ตั้งแต่ประโยคแรกจนกระท่ังถึงประโยคสุดท้าย รวมทั้งการย่อหน้าแต่ละครั้ง ข้อความและเน้ือเร่ืองจะต้องเก่ียวเน่ืองกันเหมือนลูกโซ่ คือ เชื่อมโยงกันระหว่างประโยคต่อประโยค และระหวา่ งตอนกบั ตอน ๒.๖ การเรียงลาดบั ประโยค ควรจะทาไปตามธรรมชาติ คือ เหน็ ว่าอะไรควร จะกล่าวก่อน อะไรควรจะกล่าวทีหลัง ไม่ควรเรียงประโยคกลับไปกลับมาจน จบั ใจความไม่ได้ ตัวอยา่ ง “งานเฉลิมฉลองศักราชใหม่ เตรียมการกันให้มโหฬาร ครึกครื้น ไม่ยิ่งหย่อนกว่าปีท่ีแล้วมา ท้องสนามหลวงจะมีการจัดงานอยา่ งพิเศษสุด โดยจะจัดการ อานวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ไปเท่ียว และจะชักชวนประชาชนร่วมฉลองกัน อย่างครึกครืน้ อีกด้วย”

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙๑ สามารถพจิ ารณาข้อความตวั อย่างได้ ดังน้ี ๑) การเรียงลาดับประโยคไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ขาดการลาดับ เหตุการณ์ที่จะทาให้ผู้อ่านเข้าใจและ รับทราบข้อมูลได้ทันที ควรจะลาดับโดยใช้หลัก ๕W๑H (ใคร ทาอะไร ทไ่ี หน เมื่อไหร่ ทาไม ผลเป็นอยา่ งไร) ๒) ใช้ถอ้ ยคาฟุม่ เฟอื ยเกินความจาเปน็ ๓) เขา้ ใจยากเพราะเร่ิมประโยคแรกไม่เปน็ ไปตามหลังการวางประโยค ซง่ึ ควรนาภาคประธานขึ้นต้นประโยค กอ่ ให้เกดิ การเขา้ ใจความหมายได้ยากวกวน ๓. การใช้ประโยคแสดงเจตนา ในการสื่อสารด้วยการเขียนแต่ละครั้งนั้น ผู้เขียนย่อมมีความมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป ดังน้ัน ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผู้เขียนควรศึกษา แ ล ะ ท า ค ว า ม เข้ า ใจ ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ใช้ ป ร ะ โ ย ค ต า ม เจ ต น า ข อ ง ผู้ ส่ ง ส า ร ห รื อ ผู้ เขี ย น โดย นววรรณ พันธุเมธา (๒๕๔๙ : ๒๙๘-๓๐๗) แบ่งประโยคออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประโยคแจง้ ใหท้ ราบ ประโยคถามใหต้ อบ และประโยคบอกใหท้ า ๓.๑ ประโยคแจ้งใหท้ ราบ ประโยคแจ้งให้ทราบมีหลายชนิด อาทิ ประโยคบอกเล่า ประโยคอธิบาย ประโยคเตือน ประโยคช้ีแนะ ซึ่งประโยคบอกเล่าแบ่งตามความหมายได้เป็นประโยค บอกเล่า มีเนื้อความรับรองและประโยคบอกเล่ามีเนื้อความปฏิเสธ ประโยคบอกเล่า ท่ัวๆ ไป มีเนื้อความรับรอง คือ รับรองข้อความที่กาลังกล่าวอยู่ แต่ประโยคบอกเล่า บางประโยคมีเน้ือความปฏเิ สธ คอื ปฏิเสธข้อความท่ีกาลังกล่าวอยู่ ตัวอย่าง ๑. ดุจดาวชอบไปโรงเรียน ๒. ดุจดาวไมช่ อบไปโรงเรียน ประโยคแรกเป็นประโยคบอกเล่าที่มีเน้ือความรับรองว่าดุจดาว ชอบไปโรงเรียน แต่ประโยคท่ี ๒ เป็นประโยคบอกเล่าที่มีเน้ือความปฏิเสธข้อความ ดังกล่าว ซึ่งประโยคท่ีมีเนื้อความปฏิเสธจะใช้คาปฏิเสธ เช่น ไม่ มิ ไม่ใช่ ไม่ได้ บ่ ไม่ยัก ไม่สู้ ไมค่ อ่ ย หามไิ ด้ เป็นต้น

๙๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๓.๒ ประโยคถามใหต้ อบ ประโยคถามให้ตอบมีหลายชนิด อาทิ ประโยคถามเนื้อความ ประโยคถาม ให้ตอบรับหรือปฏิเสธ ประโยคถามให้เลือก โดยประโยคถามเน้ือความใช้ถามเร่ืองราว บางอย่าง จะมีคาหรือกลุ่มคาไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใคร อะไร ไหน เท่าไร กี่ เม่ือไร อย่างไร ทาไม เหตุไฉน อยู่ในตาแหน่งคาหรือกลุ่มคาท่ีถามถึง หรืออยู่ในตาแหน่งต้น หรือท้ายประโยค นอกจากนี้ ประโยคถามให้ตอบรับหรือปฏิเสธ จะมีคาบอกการถาม หรือ ไหม อยู่ท้ายประโยค ในบางกรณี อาจมีคาอ่ืนๆ ปรากฏร่วมกับคา หรือ ไหม กลายเป็นกลุ่มคาบอกการถาม หรือเปล่า หรือยัง ใช่ไหม ไม่ใช่หรือ ฯลฯ คาตอบรับ หรือตอบปฏเิ สธน้นั จะสัมพันธ์กบั คาหรือกลุม่ คาถามท้ายประโยค ตัวอย่าง ถาม เธอรักใคร ตอบ ฉนั รักเธอ ถาม ทาไมสอบตก ตอบ ฉันไมอ่ า่ นหนงั สอื ถาม คณุ ทานา้ หกหรือเปลา่ ตอบ ใช่ ถาม ทา่ นจะไปกับผมไหม ตอบ ไปครับ ๓.๓ ประโยคบอกใหท้ า ประโยคบอกให้ทามีหลายชนิด อาทิ ประโยคขอร้อง ประโยคส่ัง ประโยค ชกั ชวน ประโยคอนุญาต ๓.๓.๑ ประโยคขอร้อง ใช้ขอร้องให้ผู้อ่ืนให้ปฏิบัติตามความต้องการ ของตน มีประธานของประโยคเป็นคาบอกบุรุษที่ ๒ และมีคาลงท้าย ซิ นะ อยู่ท้าย ประโยคเชน่ เดียวกับประโยคสง่ั แต่ประโยคขอร้องมักมีคาขยายกริยาเพ่ิมเข้าในประโยค เพ่ือไม่ให้ประโยคฟังห้วนเกินไป เช่น ช่วยเก็บผ้าให้หน่อยนะ โปรดเก็บหนังสือ ใหเ้ ปน็ ระเบียบ กรณุ างดใช้โทรศัพท์มอื ถือขณะรบั ชมภาพยนตร์ เป็นต้น ๓.๓.๒ ประโยคสั่ง ใช้บังคับหรือส่ังให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการ ของตน ประธานของประโยคจะเป็นคาบอกบุรุษท่ี ๒ และในประโยคที่มีลักษณะ เป็นทางการ อาจมีคาว่า จง อยู่หน้าคากริยา เช่น จงรักษาความสะอาด อย่านาอาหาร และเครือ่ งดมื่ มารบั ประทานในหอ้ งเรยี น ตอ้ งทาครมี กนั แดดทุกครงั้ ก่อนวา่ ยน้า

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙๓ ๓.๓.๓ ประโยคชักชวน ใช้ชักชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการ ของตน มีประธานของประโยคเป็นคาบอกบุรษุ ท่ี ๑ พหูพจน์ หมายถึง ท้ังผู้พูดและผู้ฟัง หรือเป็นคาบอกบุรุษที่ ๒ คาบอกมาลาในประโยคชักชวนมักจะเป็นคาว่า นะ เถอะ เถอะนะ ถ้าประโยคชักชวนมีความหมายปฏิเสธหรือที่เรียกว่าประโยคห้าม มักจะใช้ คาบอกมาลา นะ เช่น ออกกาลงั กายกันเถอะ ไปดูหนังกันดกี วา่ เปน็ ตน้ ๔. การใช้ภาษาและระดับภาษา การใช้ภาษาและระดับภาษานับเป็นเรื่องที่นักเขียนควรคานึงถึงประการหน่ึง เนื่องด้วยการใช้ภาษานั้นจะข้ึนอยู่กับโอกาส กาลเทศะ สถานการณ์ ระดับบุคคล ซึ่งคอยเป็นตัวกาหนด หากไม่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนจนนาไปเขียนผิด ก็จะเกิดผลเสีย ในการสื่อสาร หรืออาจนาไปสู่การสร้างความรู้สึกในด้านลบและความเข้าใจผิด ใหแ้ ก่ผู้อ่านได้ ๔.๑ ภาษาแบบทางการ เป็นภาษาที่จะมีโอกาสและสถานการณ์ ท่ีเป็นทางการ พิธีการ หรือพระราชพิธี เป็นตัวกาหนด โดยคาที่ใช้ในภาษาทางการ จะมีการเรียบเรียงขัดเกลา มีความหมายชัดเจน ถ้อยคาที่ใช้จะเป็นคาสุภาพถึงระดับ คาราชาศัพท์ ท้ังน้ี ขึ้นอยู่กับโอกาส สถานการณ์และฐานะของบุคคล ตลอดจนลักษณะ ของเนื้อหาและวิธีการในการนาเสนอเป็นตัวกาหนด ดังนั้น ภาษาระดับน้ีสามารถ แบ่งย่อยออกได้เปน็ ๒ ระดับ ไดแ้ ก่ ๔.๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ เป็นภาษาระดับสูงที่ใช้ในงานท่ีเป็น งานพระราชพิธี วรรณคดีชั้นสูง หรืองานพิธีการ การใช้ภาษาสมบูรณ์และถูกต้อง ตามหลักไวยากรณ์ เช่น คากราบบังคมทูลรายงาน คากล่าวถวายพระพรชัยมงคล คากลา่ วถวายราชสดดุ ี คากลา่ วเปดิ การประชมุ รัฐสภา คากลา่ วสดดุ ี เปน็ ต้น

๙๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง การใช้ภาษาระดับพิธีการในคากล่าวถวายราชสดุดี คากลา่ วถวายราชสดดุ ีเฉลิมพระเกยี รติ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว และกล่าวนาถวายพระพรชัยมงคล ในพิธีถวายเคร่อื งราชสักการะ และจดุ เทียนชัยถวายพระพร เนื่องในโอกาสวนั คลา้ ยวันเฉลมิ พระชนมพรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓ โดย นายนพปฎล คุณวบิ ูลย์ เอกอัครราชทตู ณ สิงคโปร์ ณ สถานเอกอคั รราชทตู ณ สิงคโปร์ วนั อาทติ ย์ท่ี ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓ --------------------------- ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลพี ระบาทปกเกลา้ ปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายนพปฎล คุณวิบูลย์ เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ พร้อมด้วย ข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ และครอบครัว ตลอดจนพสกนิกรชาวไทย ท่ีพานักอยู่ในสิงคโปร์ มีความปลาบปลื้มปีติ โสมนัสเป็นอย่างย่ิงท่ีได้มาร่วมชุมนุม อย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ที่แห่งนี้ เพ่ือแสดงความจงรักภักดี ด้วยการน้อมเกล้า น้อมกระหม่อมถวายเคร่ืองราชสักการะ และจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล เนื่ อ ง ใน ม ห า ม ง ค ล ส มั ย วั น เฉ ลิ ม พ ร ะ ช น ม พ ร ร ษ า ใ น ใ ต้ ฝ่ า ล ะ อ อ ง ธุ ลี พ ร ะ บ า ท ทีไ่ ดเ้ วยี นมาบรรจบอีกคารบหนง่ึ ข้าพระพุทธเจ้า และปวงชนชาวไทยทุกคน ต่างประจักษ์แจ้งและสานึก ใน พ ระม ห ากรุณ าธิคุ ณ ล้น เก ล้ าล้น ก ระห ม่ อม ท่ี ท รงมี น้ าพ ระราช ห ฤทั ย เปี่ยมด้วยพระเมตตาทรงอาทรห่วงใยในอาณาประชาราษฎร์ แม้จะมีถ่ินพานัก อยู่ในท่ีทุรกันดารเพียงใด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะ เสด็จพระราชดาเนินไปทรงเยี่ยมเยียน และทรงบาบัดทุกข์บารุงสุขถ้วนหน้า โดยมิได้ ทรงย่อทอ้ ระอาต่อความยากลาบากใดๆ และเมื่อวันท่ี ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงมีพระเมตตาเสด็จพระราชดาเนินจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังท่าเทียบเรือ สมาคมศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราช ประทับเรือพระท่ีนั่งอังสนาท่ีกองทัพเรือ

ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙๕ จัดถวาย เสด็จพระราชดาเนินทางชลมารคจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังคลองลัดโพธิ์ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพ่ือทรงเปิดประตูระบายน้าคลองลัดโพธิ์ อันเน่ืองมาจากพระราชดาริ กับทรงเปิดสะพานภูมิพล ๑ และสะพานภูมิพล ๒ โดยในปี ๒๕๓๘ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชดาริให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องขุดลอก และปรับปรุงคลองลัดโพธ์ิให้มีความลึกและกว้างข้ึน พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบ เพื่อใช้เป็นทางลัดในการระบายน้าจากแม่น้าเจ้าพระยาให้ลงสู่ทะเลได้รวดเร็วข้ึน ส่ งผ ล ให้ ส าม า ร ถ บ ร ร เท า ปั ญ ห า น้ า ท่ ว ม ขั ง พ้ื น ที่ ก รุ ง เท พ ม ห า น ค ร แ ล ะ ป ริ ม ณ ฑ ล ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังมีพระราชดาริให้จัดสร้างสะพานภูมิพล ๑ และสะพาน ภู มิ พ ล ๒ เพื่ อ รอ งรับ ก ารข น ถ่ าย แ ล ะ ล าเลี ย งสิ น ค้ าจ าก ท่ าเรือ ก รุงเท พ ไปยังพื้นท่ีอุตสาหกรรมใน จ.สมุทรปราการ และพื้นท่ีอ่ืนๆ เพ่ือไม่ให้เกิดปัญหา ดา้ นการจราจร ซึง่ โครงการอันเน่ืองจากพระราชดาริเหล่านี้ล้วนแลว้ แต่เพ่อื ยังประโยชน์ พสกนกิ รทงั้ สิ้น ณ มหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ น้ี ขา้ พระพุทธเจา้ ขอพระราชทานพระราชานญุ าต นาพสกนิกรทุกหมู่เหล่า กราบบังคมทูล ถวายพระพรชยั มงคล ดังตอ่ ไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม / ถวายพระพรชัย มงคล / ด้วยความจงรักภักดี / ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย / และอานุภาพ ส่งิ ศักดิ์สิทธิ์ในสากล / โปรดอภิบาลบันดาลดล / ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / จงทรงพระเจริญ / ด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ / พระเกียรติคุณแผ่ไพศาล / มีพระราชประสงค์จานงหมายสิ่งใด / จงสัมฤทธ์ิ / ทรงสถิตเป็นพระมิ่งขวัญ ร่มเกลา้ / ของเหลา่ พสกนกิ รตราบจริ ัฐิติกาล เทอญ” ดว้ ยเกลา้ ด้วยกระหมอ่ ม ขอเดชะ (ท่ีมา กระทรวงการตา่ งประเทศ, คากลา่ วถวายราชสดุดเี ฉลมิ พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั และกล่าวนาถวายพระพรชัยมงคล ในพิธถี วายเคร่ืองราชสกั การะและจุดเทียนชยั ถวายพระพรเนื่องในโอกาส วันคล้ายวนั เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๓ (ออนไลน์), ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙. แหล่งท่ีมา (http://www.mfa.go.th/main/th/home)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook