Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย สค32034

ชุดวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย สค32034

Published by กศน.ตำบลรุ่งระวี, 2021-09-11 14:23:55

Description: ชุดวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย สค32034

Search

Read the Text Version

ชดุ วิชา ประวตั ิศาสตรชาติไทย รหสั รายวชิ า สค32034 รายวชิ าเลอื กบงั คบั ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย ตามหลักสตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 สาํ นักงานสง เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั สาํ นักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ กระทรวงศึกษาธกิ าร

คํานาํ ชุดวิชา ประวัติศาสตรชาติไทย รายวิชา สค32034 รายวิชาเลือกบังคับ ระดับ มธั ยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชุดวชิ านี้ประกอบดวยเนื้อหาความรวู าดว ยเร่อื งความสําคญั เกยี่ วกบั ความภมู ิใจในความเปน ไทย การประยกุ ตใ ชว ธิ กี ารทางประวตั ิศาสตร พระราชกรณยี กิจของพระมหากษตั รยิ ไ ทยสมยั รัตนโกสินทร มรดกไทยสมัยรัตนโกสินทร และการเปล่ียนแปลงของชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร และชุดวิชาน้ี มวี ัตถปุ ระสงค เพอ่ื ใหผ ูเรียน กศน. มีความรู ความเขา ใจ และตระหนกั ถึงความเปน มาของชาติไทย ใน ดิ น แ ด น ที่ เป น ปร ะ เทศ ไทยที่ดํา ร งอ ยู อย า ง ต อเน่ือ งม า เ ป นเ วล า ยา วน า น ต ร า บจ น ป จจุ บั น ซ่ึงพระมหากษัตริยไทยและบรรพบุรุษในสมัยตาง ๆ ท่ีชวยลงหลักปกฐาน ปกปกรักษาถ่ินที่อยู และสรางสรรคอารยธรรมอันดสี ืบทอดแกช นรนุ หลัง สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณ ผูเชี่ยวชาญเน้ือหา ท่ีใหการสนับสนุนองคความรูประกอบการนําเสนอเน้ือหา รวมทั้งผูเก่ียวของ ในการจัดทําชุดวิชา หวังเปนอยางย่ิงวาชุดวิชาน้ีจะเกิดประโยชนตอผูเรียน กศน. และนําไปสู การปฏิบตั ิอยางเห็นคณุ คาตอไป สาํ นักงาน กศน. พฤษภาคม 2561

คําแนะนาํ การใชช ดุ วชิ า ประวตั ศิ าสตรชาติไทย ชุดวิชา ประวัติศาสตรชาติไทย รหสั รายวิชา สค32034 ใชสําหรับผูเรียนหลักสูตร การศกึ ษานอกระบบระดบั การศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบงออกเปน 2 สวนคือ สว นท่ี 1 โครงสรางของชดุ วิชา แบบทดสอบกอนเรียน โครงสรางของหนวยการเรยี นรู เนอ้ื หาสาระ กจิ กรรมเรยี งลาํ ดับตามหนวยการเรียนรู และแบบทดสอบหลังเรยี น สวนที่ 2 เฉลยแบบทดสอบ และกิจกรรมประกอบดว ย เฉลยแบบทดสอบกอ นเรยี น และหลังเรียน เฉลยกิจกรรมเรียงลําดบั ตามหนว ยการเรียนรู วิธกี ารใชชุดวชิ า ใหผ ูเรยี นดาํ เนินการตามขั้นตอน ดงั นี้ 1. ศกึ ษารายละเอียดโครงสรางชุดวิชาโดยละเอยี ด เพอื่ ใหทราบวา ผูเ รียนตองเรยี นรู เนอ้ื หาในเร่ืองใดบา งในรายวิชาน้ี 2. วางแผนเพอื่ กาํ หนดระยะเวลาและจดั เวลาท่ผี เู รยี นมคี วามพรอ มท่ีจะศึกษาชุดวิชา เพื่อใหส ามารถศึกษารายละเอียดของเนื้อหาไดครบทุกหนวยการเรียนรู พรอมทํากจิ กรรม ตามท่ี กําหนดใหทันกอนสอบปลายภาคเรยี น 3. ทําแบบทดสอบกอ นเรียนของชุดวชิ าตามทก่ี าํ หนด เพ่ือทราบพน้ื ฐานความรูเดิม ของผเู รยี น โดยใหท ําในสมุดบันทกึ การเรยี นรแู ละตรวจสอบคาํ ตอบจากเฉลยแบบทดสอบทายเลม 4. ศกึ ษาเนอื้ หาในชดุ วิชาในแตละหนว ยการเรยี นรูอยางละเอียดใหเขาใจ ทั้งในชดุ วชิ า และสื่อประกอบ (ถาม)ี และทํากจิ กรรมท่ีกําหนดไวใหค รบถว น 5. เมอื่ ทาํ กจิ กรรมเสร็จแตละกจิ กรรมแลวผูเ รยี นสามารถตรวจสอบคําตอบไดจาก แนวตอบ/เฉลยทา ยเลม หากผเู รยี นยงั ทํากิจกรรมไมถูกตองใหผูเรียนกลับไปทบทวนเนื้อหาสาระ ในเรอ่ื งน้ันซํ้าจนกวา จะเขาใจ 6. เมอื่ ศึกษาเน้ือหาสาระครบทกุ หนว ยการเรียนรูแลว ใหผูเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจกระดาษคาํ ตอบจากเฉลยทา ยเลมวาผูเรียนสามารถทาํ แบบทดสอบไดถ กู ตอ งทกุ ขอ หรอื ไม หากขอ ใดยังไมถูกตองใหผ ูเรียนกลับไปทบทวนเนื้อหาสาระในเรื่องนั้นใหเขาใจอีกคร้ังหนึ่ง ผูเรียนควร ทาํ แบบทดสอบหลังเรียนใหไ ดค ะแนนมากกวา แบบทดสอบกอนเรยี น และควรไดค ะแนนไมน อ ยกวา รอ ยละ 60 ของแบบทดสอบทง้ั หมด เพอื่ ใหม ั่นใจวาจะสามารถสอบปลายภาคเรียนผา น

7. หากผูเ รยี นไดทาํ การศกึ ษาเน้อื หา และทาํ กจิ กรรมแลวยังไมเขา ใจ ผเู รยี นสามารถ สอบถามและขอคําแนะนําไดจากครหู รอื แหลง คน ควา เพ่มิ เตมิ อนื่ ๆ หมายเหตุ : การทาํ แบบทดสอบกอ นเรียน/หลงั เรยี น และทํากิจกรรมทายเรื่องใหทําและบันทึกลงใน สมุดบันทกึ กิจกรรมการเรียนรูประกอบชดุ วชิ า การศึกษาคน ควา เพ่มิ เตมิ ผูเรียนอาจศึกษาหาความรูเพ่มิ เตมิ ไดจากแหลงเรียนรอู น่ื ๆ ที่เผยแพรค วามรู ในเรอื่ ง ทเ่ี กย่ี วขอ งและศกึ ษาจากผูรู เปนตน การวัดผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน ผูเรียนตองวัดผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้ 1. ระหวางภาคเรยี น วดั ผลจากการทาํ กิจกรรมหรืองานที่ไดรับมอบหมายระหวางเรียน รายบคุ คล 2. ปลายภาคเรียน วัดผลจากการทาํ ขอสอบวัดผลสมั ฤทธิป์ ลายภาคเรียน

โครงสรางชุดวชิ า ประวตั ิศาสตรช าตไิ ทย สาระการพฒั นาสงั คม มาตรฐานการเรียนรรู ะดบั มคี วามรู ความเขาใจ ตระหนกั เก่ียวกับภมู ิศาสตร ประวัติศาสตร เศรษฐศาสตร การเมือง การปกครองในโลก และนาํ มาปรบั ใชใ นการดําเนินชีวิต เพือ่ ความม่นั คงของชาติ ตวั ชว้ี ดั 1. อธิบายความหมาย ความสาํ คัญของสถาบนั หลักของชาติ 2. อธบิ ายความเปนมาของชนชาตไิ ทย 3. บอกพระปรชี าสามารถของพระมหากษัตริยไทยกบั การรวมชาติ 4. อธิบายความสําคญั ของสถาบนั ศาสนา 5. อธบิ ายความสําคญั ของสถาบนั พระมหากษตั รยิ  6. อธิบายและยกตวั อยา งทีแ่ สดงถึงความภาคภมู ิใจในความเปนไทย 7. บอกบุญคุณของพระมหากษตั รยิ ไทยตัง้ แตสมัยสโุ ขทยั อยธุ ยา ธนบุรี และรตั นโกสินทร 8. อธบิ ายความหมาย ความสาํ คัญ และประโยชนของวธิ กี ารทางประวตั ศิ าสตร 9. อธิบายวิธกี ารทางประวตั ศิ าสตร 10. ประยุกตใ ชว ธิ ีการทางประวตั ิศาสตรในการศกึ ษาเรอื่ งราวทางประวัตศิ าสตรท สี่ นใจ 11. อธบิ ายพระราชกรณียกจิ ของพระมหากษตั ริยไ ทยสมัยรตั นโกสนิ ทร 12. อธบิ ายคณุ ประโยชนข องบคุ คลสาํ คญั ท่มี ตี อการพฒั นาชาตไิ ทย 13. วิเคราะหคณุ ประโยชนข องบคุ คลสาํ คัญท่ีมีผลตอ การพฒั นาชาติไทย 14. เขยี นบรรยายคณุ คา ทไ่ี ดรบั จากการศกึ ษาประวตั ศิ าสตรช าตไิ ทย 15. อธิบายความหมายและความสาํ คญั ของมรดกไทย 16. ยกตวั อยา งมรดกไทยสมัยรตั นโกสินทรไดอยา งนอ ย 3 เร่ือง 17. วเิ คราะหม รดกไทยสมยั รตั นโกสินทรท่มี ีผลตอการพฒั นาชาติไทย 18. อธิบายความหมาย ความสําคัญของการอนุรกั ษม รดกไทย 19. ยกตัวอยา งการมสี ว นรวมในการอนรุ ักษมรดกไทย 20. วิเคราะหเ หตุการณส าํ คัญทางประวตั ิศาสตรท ีม่ ีผลตอการพฒั นาชาตไิ ทย 21. อภิปรายและนาํ เสนอเหตุการณส ําคัญทางประวัตศิ าสตรที่มผี ลตอ การพฒั นาชาติไทย

สาระสาํ คัญ การเรยี นรูประวตั ศิ าสตรช าติไทยกอใหเกดิ ความภาคภูมิใจในความเปนชาติไทย ไดเรียนรู ความหมาย ความเปนมา และความสําคญั ของสถาบันหลักของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ความเปนมาของชาติไทย เสรีภาพในการนับถือศาสนาของไทย และบุญคุณของพระมหากษัตริยไทย ตั้งแตสมัยสุโขทยั อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร ชุดวิชาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรียนรู เกยี่ วกับพระมหากษัตริย บรรพบุรุษ วีรกรรมของบรรพบุรุษไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร เรียนรู มรดกทางวัฒนธรรมสมัยกรุงรัตนโกสนิ ทร ตลอดจนแนวทางการสบื สานมรดกไทย ดานสถาปตยกรรม ประตมิ ากรรม จติ รกรรม วรรณกรรม ดนตรี นาฏศิลป ประเพณีความเช่ือ การแตงกาย และศึกษา เหตุการณทางประวัติศาสตร การสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร สนธิสัญญาตาง ๆ ตลอดจน พระราชกรณียกจิ ของพระมหากษตั รยิ ไทยในรัชกาลตาง ๆ ตั้งแต รัชกาลท่ี 1 ถงึ รชั กาลที่ 10 เพ่ือนาํ องคค วามรมู าปรบั ใชในการดาํ เนนิ ชีวติ เพ่ือความมนั่ คงของชาติ ขอบขายเนื้อหา หนวยการเรยี นรูที่ 1 ความภูมิใจในความเปน ชาตไิ ทย หนว ยการเรยี นรูที่ 2 การประยกุ ตใชว ธิ ีการทางประวตั ศิ าสตร หนวยการเรียนรูที่ 3 บญุ คุณของแผน ดนิ หนว ยการเรยี นรทู ่ี 4 มรดกไทยสมยั รัตนโกสินทร หนว ยการเรียนรทู ี่ 5 การเปลี่ยนแปลงของชาติไทยสมัยรตั นโกสินทร ส่ือประกอบการเรียนรู 1. ชุดวิชา 2. สมุดบนั ทกึ กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดวชิ า 3. ส่ือเสริมการเรียนรอู น่ื ๆ จาํ นวนหนวยกติ จํานวน 3 หนว ยกติ กิจกรรมการเรยี นรู 1. ทาํ แบบทดสอบกอ นเรียน ตรวจสอบคาํ ตอบจากเฉลยทา ยเลม 2. ศกึ ษาเน้อื หาสาระในหนวยการเรียนรูทกุ หนว ย 3. ทาํ กจิ กรรมตามที่กาํ หนด และตรวจสอบคําตอบจากเฉลยทายเลม 4. ทําแบบทดสอบหลงั เรียน และตรวจสอบคําตอบจากเฉลยทา ยเลม

การประเมนิ ผล 1. ทาํ แบบทดสอบกอนเรียน/หลงั เรยี น 2. ทาํ กิจกรรมในแตล ะหนว ยการเรยี นรู 3. เขารับการทดสอบปลายภาคเรียน

สารบัญ หนา คาํ นาํ 1 คาํ แนะนาํ การใชช ุดวชิ า 3 โครงสรา งชุดวิชา 22 สารบญั หนว ยการเรยี นรทู ่ี 1 ความภูมใิ จในความเปน ไทย 27 36 เรือ่ งท่ี 1 สถาบนั หลักของชาติ 38 เร่อื งท่ี 2 บทสรปุ สถาบนั พระมหากษตั รยิ เ ปนศนู ยร วมใจของคนในชาติ 39 เร่อื งท่ี 3 บุญคุณของพระมหากษตั รยิ ไ ทยตงั้ แตสมัยสโุ ขทัย อยธุ ยา ธนบุรี 48 50 และรตั นโกสนิ ทร 73 81 หนวยการเรยี นรทู ่ี 2 การประยกุ ตใ ชว ิธกี ารทางประวตั ิศาสตร 83 เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสําคญั และประโยชนของวิธกี ารทางประวตั ิศาสตร 85 เรอ่ื งท่ี 2 วิธกี ารทางประวัตศิ าสตร 119 121 หนว ยการเรยี นรทู ่ี 3 พระราชกรณียกจิ ของพระมหากษตั ริยไทยสมยั รตั นโกสินทร 122 เรอื่ งที่ 1 พระราชกรณียกจิ ของพระมหากษตั รยิ ไ ทยสมัยรัตนโกสนิ ทร เรอ่ื งที่ 2 คุณประโยชนของบคุ คลสาํ คัญ หนว ยการเรยี นรูท ี่ 4 มรดกไทยสมัยรตั นโกสนิ ทร เรอ่ื งที่ 1 ความหมาย และความสาํ คญั ของมรดกไทย เรอ่ื งที่ 2 มรดกไทยสมัยรตั นโกสนิ ทร เรือ่ งที่ 3 มรดกไทยทมี่ ีผลตอ การพฒั นาชาตไิ ทย เรื่องท่ี 4 การอนรุ ักษมรดกไทย เร่ืองท่ี 5 การมีสว นรว มในการอนรุ กั ษม รดกไทย

สารบัญ (ตอ) หนา 123 หนว ยการเรียนรูที่ 5 การเปลย่ี นแปลงของชาตไิ ทยสมัยรัตนโกสนิ ทร 124 เรอื่ งที่ 1 เหตุการณส าํ คญั ทางประวตั ศิ าสตรท ่มี ผี ลตอ การพัฒนาชาตไิ ทย เรอ่ื งท่ี 2 ตวั อยา งการวเิ คราะห และอภปิ รายเหตกุ ารณสาํ คญั ทางประวัติศาสตร 148 ท่ีมีผลตอการพฒั นาชาตไิ ทย 149 156 บรรณานกุ รม คณะผจู ดั ทํา

1 หนวยการเรียนรูที่ 1 ความภูมใิ จในความเปน ไทย สาระสาํ คญั “ความภูมิใจในความเปนไทย” วลีนี้เปนส่ิงที่รัฐบาล องคกรปกครอง พยายามให เกดิ ขึน้ กับประชาชนภายในประเทศมาตลอดในหลายยุคหลายสมยั เพราะความภูมิใจในความเปน คนไทยในความเปนชาติไทยน้ัน จะเปนการสรางแรงผลักดันท่ีสําคัญตอการดําเนินชีวิตของผูคน และการพัฒนาชาตใิ หมคี วามเจริญรุง เรือง มัน่ คง และเขมแขง็ ประเทศไทยมีประวัติความเปนมาที่ยาวนาน ผานการเปนที่ต้ังของมนุษยและ การรวมตัวของชุมชนมาตัง้ แตย ุคกอ นประวัติศาสตร กอ กําเนดิ เปนความเช่อื วิถชี ีวิต ประเพณี และ วัฒนธรรมที่สืบตอมาอยางยาวนาน มหี ลายเหตุการณ หลายอปุ สรรคท่ผี ูคนและเหลาบรรพบุรุษได รว มกัน “สรางบา นแปงเมือง” จนกระท่ังมชี นชาตไิ ทยและประเทศไทยอันนาภาคภูมิใจปรากฏอยู ในทุกวันน้ี และการที่จะเขาใจถึงความเปนชาติไทยนั้น จะเกิดขึ้นไมไดถาผูเรียนไมไดเร่ิมตนจาก การศกึ ษาประวัติความเปน มาของความเปนชาตไิ ทยเสียกอ น ตัวชี้วัด 1. อธบิ ายความหมาย และความสาํ คัญของสถาบนั หลกั ของชาติ 2. อธบิ ายความเปนมาของชนชาตไิ ทย 3. บอกพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริยไ ทยกบั การรวมชาติ 4. อธิบายความสาํ คัญของสถาบนั ศาสนา 5. อธิบายความสาํ คญั ของสถาบนั พระมหากษตั รยิ  6. อธบิ ายและยกตวั อยา งที่แสดงถงึ ความภาคภมู ิใจในความเปน ไทย 7. บอกบุญคุณของพระมหากษัตริยไทยตั้งแตสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร ขอบขา ยเนอื้ หา เรื่องที่ 1 สถาบนั หลกั ของชาติ 1. ชาติ 1.1 ความหมาย ความสาํ คญั ของชาติ 1.2 ความเปนมาของชนชาตไิ ทย

2 1.3 การรวมไทยเปน ปก แผน 1.4 พระมหากษตั ริยกบั การรวมชาติ 2. ศาสนา 2.1 ศาสนาพุทธ 2.2 ศาสนาคริสต 2.3 ศาสนาอสิ ลาม 2.4 ศาสนาซิกข 2.5 ศาสนาฮินดู 3. พระมหากษัตรยิ  3.1 องคอปุ ถมั ภของศาสนา 3.2 การปกครอง 3.3 การเสยี สละ 3.4 พระปรีชาสามารถ เร่ืองที่ 2 บทสรุปสถาบันพระมหากษตั รยิ เ ปนศูนยร วมใจของคนในชาติ เรื่องท่ี 3 บุญคุณของพระมหากษัตริยไทยตั้งแตสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร 3.1 สมัยสุโขทยั 3.2 สมัยอยุธยา 3.3 สมยั ธนบุรี 3.4 สมยั รัตนโกสนิ ทร ส่อื การเรยี นรู 1. ชดุ วิชาประวัติศาสตรชาติไทย รหัสรายวิชา สค32034 2. สมดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นรูประกอบชุดวิชา เวลาทใี่ ชใ นการศึกษา 15 ช่วั โมง

3 เร่อื งท่ี 1 สถาบันหลักของชาติ สถาบันหลักของชาติ ประกอบดวย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ซึ่งเปน สถาบันที่อยูกับสังคมไทยมาชานาน โดยเฉพาะอยางยิ่งสถาบันพระมหากษัตริยซึ่งเปนเสาหลัก ในการสรางชาตใิ หเ ปนปกแผน เปนศนู ยรวมจติ ใจของปวงชน เปน บอเกดิ ของความรกั ความสามคั คี นําพาประเทศชาติใหผานพนภัยนานาประการ ไมวาจะเปนภัยรุกรานของประเทศอ่ืน ภัยจาก การลาอาณานคิ มและการแผขยายลัทธกิ ารปกครอง อกี ทงั้ สถาบันพระมหากษัตรยิ มบี ทบาทสําคัญ ในการพัฒนาความเปนอยูของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอยางยิ่งในทองถ่ินท่ีหางไกล สงผลใหมีการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ และเปนรากฐานใหประเทศชาติ มีความมัน่ คงสบื มาจนถึงปจจุบัน ชนชาติไทยในอดีต จึงถือวาสถาบันพระมหากษัตริย เปนสถาบันสูงสุดของชาติ ทม่ี ีบทบาทสําคญั ในการเปน ผูน าํ รวมประเทศชาตใิ หเ ปนปกแผน และพระมหากษัตรยิ ทุกพระองค ปกครอง ดูแลและบริหารประเทศชาติโดยใชห ลักธรรม ที่เปนคําสอนของศาสนา ดว ยความเขมแขง็ ของสถาบันพระมหากษตั ริย ทม่ี ีความศรทั ธาเลอื่ มใสในสถาบันศาสนา ที่เปน เสมอื นเครอื่ งยดึ เหนย่ี ว ทางจติ ใจใหค นในชาตปิ ระพฤตปิ ฏบิ ัติในทางที่ดีงาม เพราะทุกศาสนาลวนแตสอนใหคนประพฤติ และคอยประคับประคองจิตใจใหดีงาม มีความศรัทธาในการบําเพ็ญตนตามรอยพระศาสดาของ แตล ะศาสนา และเมื่อพระมหากษัตริยเปนผูที่ประพฤติตนอยูในธรรม และปกครองแผนดินโดย ธรรมแลว ไพรฟาประชาราษฎรต างอยดู วยความรมเยน็ เปนสขุ จงึ ทําใหสถาบนั ชาติ ท่ีเปนสัญลักษณ เปรยี บเสมอื นอาณาเขตผืนแผนดินท่ีเราอยูอาศัย มีความม่ันคง พัฒนาและยืนหยัดไดอยางเทาเทียม อารยประเทศ ดงั นน้ั สถาบนั ชาติ สถาบันศาสนา และสถาบนั พระมหากษัตริย จึงเปนสถาบันหลักของ ชาติไทย ท่ีไมสามารถแยกจากกันได สามารถยึดเหน่ียวจิตใจของปวงชนชาวไทยและคนในชาติ มาจวบจนทกุ วันนี้ “ชนชาติไทย” เปน ชนชาตทิ ม่ี รี ากเหงาทางประวัตศิ าสตรและความเปน มาท่ียาวนาน ไมแพช าติใดในโลก เรามีแผนดินไทยท่ีอุดมสมบูรณ ในนํ้ามีปลา ในนามีขาว มีพืชพันธุธัญญาหาร ที่อุดมสมบูรณ มีภูมิอากาศ และภูมิประเทศท่ีเปนชัยภูมิ อากาศไมรอนมาก ไมหนาวมาก มีความหลากหลายของแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ มีท่ีราบลุมแมน้ําที่อุดมสมบูรณ เหมาะแกการเพาะปลูก มีภูเขา มีทะเลท่ีมีความสมดุลและสมบูรณเพียบพรอมเปนท่ีหมายปอง ของนานาประเทศ นอกจากนี้ ชนชาติไทยยังมีขนมธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม หลากหลาย งดงาม เปนเอกลักษณของชาติที่โดดเดน ซึ่งสิ่งเหลาน้ีลูกหลานไทยทุกคนควรมี ความภาคภูมิใจที่ไดเกิดมาเปน คนไทย ในแผนดนิ ไทย แตกอ นท่ีจะสามารถรวมชนชาติไทยใหเปน ปกแผน ทําใหลูกหลานไทยไดม ีแผนดินอาศัยอยูอยางรมเย็นเปนสุขหลายชั่วอายุคนมาจวบจน

4 ทุกวันนี้ บรรพบุรุษของชนชาติไทยในอดีต ทานไดสละชีพเพื่อชาติ ใชเลือดทาแผนดิน ตอสูเพื่อ ปกปองดินแดนไทย กอบกูเอกราชดวยหวังไววา ลูกหลานไทยตองมีแผนดินอยู ไมตองไปเปนทาส ของชนชาตอิ ื่น ซง่ึ การรวมตวั มาเปนชนชาติไทยที่มีท้ังคนไทยและแผนดินไทยของบรรพบุรุษไทย ในอดีต กไ็ มใชเ รือ่ งที่สามารถทําไดโดยงาย ตอ งอาศัยความรัก ความสามัคคี ความกลาหาญ ความเสียสละ อดทน และส่งิ ท่ีสาํ คัญ คือ ตอ งมศี นู ยร วมใจท่ีเปนเสมอื นพลังในการตอ สแู ละผูนาํ ทมี่ คี วามชาญฉลาด ดานการปกครองและการรบ คอื สถาบันพระมหากษตั ริยที่อยูค คู นไทยมาชานาน และหากลูกหลานไทย และคนไทยทกุ คนไดศึกษาพงศาวดารและประวตั ิศาสตรชาติไทย ก็จะเห็นวา ดวยเดชะพระบารมี และพระปรชี าสามารถของบูรพมหากษตั ริยของไทยในอดตี ทเ่ี ปนผนู าํ สามารถรวบรวมชนชาติไทย ใหเ ปนปกแผน แมวา เราจะเคยเสยี เอกราชและดินแดนมามากหมายหลายคร้ัง บรู พมหากษตั รยิ ไ ทย ก็สามารถกอบกูเอกราชและรวบรวมชนชาวไทยใหเปนปกแผนไดเสมอมา และเหนือส่ิงอื่นใด พระมหากษัตรยิ ไ ทยทุกพระองค เปนพระมหากษัตริยทีป่ กครองประเทศชาติดวยพระบารมีและ ทศพิธราชธรรม ใชธรรมะและคําสัง่ สอนของพระพทุ ธองคม าเปนแนวในการปกครอง ทาํ ใหคนในชาติ อยูร ว มกนั อยา งรม เยน็ เปนสุข สมกับคําทวี่ า “ประเทศไทย เปนประเทศแผน ดินธรรมแผนดนิ ทอง” แผน ดินธรรม หมายถึง แผน ดนิ ท่มี ีผปู ฏิบัตธิ รรม และการปฏบิ ัตธิ รรมนัน้ หมายถึง การปฏบิ ัตหิ นาท่ีอยางถูกตอ ง แผนดินทอง หมายถึง แผนดินท่ีประชาชนไดรับประโยชน และความสุขอยางทั่วถึง ตามควรแกอ ตั ภาพ 1.1 ชาติ การจะรบั รูค วามเขาใจในความเปน ชาตหิ รอื ความรูสึกท่ีหวงแหนความเปนชาตไิ ดน นั้ ผูเรียนมคี วามจาํ เปน ทีจ่ ะตอ งเขา ใจบริบทของความเปนชาติเสยี กอ น ดังน้ี 1.1.1 ความหมาย ความสาํ คัญของชาติ ชาติ หมายถึง กลุมคนที่มีภาษา วัฒนธรรม และเช้ือชาติ ประวัติศาสตร เดยี วกัน หรอื ใกลเคยี งกัน มีแผนดิน อาณาเขตการปกครอง ท่ีเปนระบบ เปนสัดสวน มีผูนําหรือ รัฐบาลทใ่ี ชอ าํ นาจ หรือมอี ํานาจอธปิ ไตยทนี่ ํามาใชในการปกครองประชาชน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กลาววา ชาติ หมายถึง ประเทศ ประชาชนทเ่ี ปน พลเมอื งของประเทศ กลมุ ชนท่มี คี วามรูสึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติ ความเปนมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอยางเดียวกันหรืออยูในปกครองรัฐบาล เดยี วกนั

5 “ความจงรกั ภักดตี อ ชาตนิ น้ั คอื ความสาํ นกึ ตระหนกั ในคุณของแผน ดนิ อันเปน ท่ีเกดิ ทอี่ าศัย ซง่ึ ทาํ ใหบ คุ คลเกดิ ความภูมใิ จในชาตกิ ําเนดิ และมุง มนั่ ทจ่ี ะธาํ รงรกั ษาประเทศชาติไว ใหเปนอสิ ระมน่ั คงตลอดไป” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว (รัชกาลท่ี 9) ในพิธีถวาย สัตยปฏิญาณและสวนสนามของทหารรักษาพระองค ณ ลานพระราชวังดสุ ิต 3 ธนั วาคม พ.ศ. 2529 เม่อื พิจารณาคําทีม่ คี วามหมายใกลเคียงกันนัน้ ก็จะพบวา คําวา “ชาต”ิ น้ัน ใกลเคยี งกบั คาํ วา “ประเทศ” หรือคําวา “รัฐ” อยูไมน อ ย คอื หมายถึง ชุมนุมแหงมนุษยซ่ึงตง้ั อยูในดินแดนท่มี ีอาณาเขต แนน อน มอี าํ นาจอธปิ ไตยทจี่ ะใชไ ดอ ยา งอสิ ระ และมีการปกครองอยางเปน ระเบียบเพ่ือประโยชน ของบรรดามนุษยท ่อี ยรู วมกัน 1.1.2 ความเปนมาของชนชาตไิ ทย เปน สิง่ ทต่ี องทําความเขาใจกอ นทเี่ ก่ียวขอ งกับความเปน มาของชนชาติไทยนั้น ยังไมมีการสรุปเปนประเด็นที่สามารถยืนยันไดชัดเจน เพราะการพิจารณาความเปนมาของ ชนชาตไิ ทยนั้น ตอ งพจิ ารณาจากหลกั ฐานหรอื งานวิจยั การคนควาทางวิชาการที่หลากหลายจาก นักวิชาการไทยและตางประเทศ อีกท้ังยังตองพิจารณามิติทางเอกสาร โบราณคดี เช้ือชาติหรือ ชาตพิ นั ธุ ภาษา และวฒั นธรรม ดงั น้ี 1) สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ขอมูลท่ีปรากฏ ในพระนิพนธเร่ือง “แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม และลักษณะการปกครองสยามแตโบราณ” เปนการนําขอ มลู ของนักวิชาการตะวนั ตกมาประกอบ สรุปวา ถิ่นดัง้ เดมิ ของชนชาตไิ ทยอยูทางตอนใต ของจนี แถบมณฑลยูนนาน กวา งโจว กวางสี จนกระทง่ั จีนแผอทิ ธพิ ลทางการปกครองลงมา จนทําให ผูค นในบริเวณน้ันตองอพยพลงมาถงึ บรเิ วณลุมแมนาํ้ เจาพระยาตอนบน 2) หลวงวิจิตรวาทการ ขอมูลท่ีเสนอผานผลงานเรื่อง “งานคนควาเร่ือง ชนชาติไทย” ไดอธิบายวาถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยูบริเวณตอนกลางของจีนแถบมณฑลเสฉวน ต้ังถน่ิ ฐานกระจดั กระจายตั้งแตแ นวแมน ้าํ พรหมบุตรไปจนถึงทะเลจีนใตแ ถบอา วตังเก๋ีย 3) ขอ มูลของจติ ร ภูมิศกั ดิ์ ผานผลงานเร่ือง “ความเปนมาของคําสยามไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชือ่ ชนชาติ” ไดศึกษาผา นการวิเคราะหภาษา และตาํ นาน ทองถ่ินของภาคเหนอื ไดสรปุ วา ถิ่นกําเนิดของคนไทยน้ันครอบคลุมบริเวณกวางใหญทางตอนใต ของจีน เวียดนาม ลาว เขมร ภาคเหนือของไทย พมา ไปจนถึงรฐั อสั สมั ของอินเดีย เนอ่ื งจากมีพื้นฐาน ทางนริ กุ ตศิ าสตรท ่ีคลายคลงึ กัน

6 4) ขอ มูลของศาสตราจารย ดร.ประเสริฐ ณ นคร นักวิชาการคนสําคัญของ ประเทศไทย ทานไดศึกษาวิเคราะหจากหลักฐานของชาวตะวันตกทั้งทางดานภาษาศาสตร ประวัติศาสตร โบราณคดี และมานษุ ยวทิ ยา รวมไปถงึ การลงพืน้ ที่ดว ยตนเอง ไดสรุปไววา ถ่ินเดิม ของคนไทยนาจะอยบู รเิ วณมณฑลกวางสี ทางใตข องจีน เนอื่ งจากในเขตดังกลาวเปนพ้ืนที่กลุมชน ทม่ี ีความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและประเพณี ขอ มูลประวัติความเปน มาสวนใหญจะอธบิ ายใกลเคยี งกนั ในลกั ษณะของการอพยพ ลงใตจากจีน แลว แผข ยายลงหลกั ปก ฐานอยใู นบรเิ วณกวางทางภาคเหนอื ของไทยเกิดเปน เมืองและ เมืองขนาดใหญท ีข่ ยายตัวเปนอาณาจกั รตามมา กลาวอีกนัยหน่ึง ตั้งแตท่ีสมัยไทยอพยพลงมาน้ัน ดินแดนแหลมทองเปนที่อยูของชนชาติมอญ ละวาของขอม พวกมอญอยูทางตะวันตกของ ลุมแมน ํ้าเจา พระยาไปจรดมหาสมทุ รอินเดีย พวกละวามีอาณาเขตอยูในบริเวณภาคกลาง มีเมือง นครปฐมเปนเมอื งสําคัญพอถึงพุทธศตวรรษท่ี 14 ขอมซ่งึ อยูทางตะวันออกมีอํานาจมากข้ึนเขายึด เอาดินแดนพวกละวาไปไวในอาํ นาจ แลว แบงการปกครองเปน 2 สว น คือ สวนภาคเหนือ และสว น ภาคใต ตอมาในพุทธศตวรรษท่ี 16 สมดุลอํานาจในการแยงชิงพ้ืนท่ีไดเปลี่ยนแปลงไป มอญกับ ขอมสูรบกันจนเส่ือมอํานาจลง และในชวงเวลาน้ันสุโขทัยไดปรากฏขึ้นมาอยางชัดเจนในหนา ประวัตศิ าสตรไ ทย จากรองรอยหลักฐานทางเอกสารทางประวัติศาสตรตาง ๆ มีการยืนยันและเช่ือวา ประวัติศาสตรข องชนชาตไิ ทยในแหลมทอง (Golden Khersonese) เร่มิ ตนเม่ือประมาณ พ.ศ. 800 (พทุ ธศตวรรษที่ 8 - 12) เปนตนมา โดยมีดินแดนของอาณาจักรและแควนตาง ๆ เชน อาณาจักร ฟูนัน ตง้ั อยูบริเวณทางทศิ ตะวันตกและชายทะเลของอาวไทย และมีอาณาจักรหริภุญชัยทางเหนือ อาณาจกั รศรวี ชิ ยั ทางใต และมอี าณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12) บริเวณลุมแมนํ้าเจาพระยา ตอนลาง เปนตน และไดร วมตวั เปน ปกแผน มีพระมหากษตั รยิ ไ ดส ถาปนาอาณาจกั รสุโขทัยเปนราชธานี แหงแรกของชนชาติไทย ราวป พ.ศ. 1762 โดยพอ ขุนศรีนาวนาํ ถม พระราชบิดาของพอขุนผาเมือง เปนผูปกครองอาณาจักรจากหลกั ฐานและขอ มูลขา งตน นี้ รวมถงึ สมมตฐิ านของแหลงอารยธรรมตา ง ๆ ของโลก ซง่ึ สว นใหญแหลง กาํ เนดิ ของชนชาติกลุมในอดตี จะอยูบริเวณลมุ แมน ้าํ อาทิ แหลง อารยธรรม เมโสโปเตเมยี ตง้ั อยบู รเิ วณที่ราบลุมระหวา งแมน าํ้ ไทกรสิ (Tigris) ทางตะวนั ออก และแมน าํ้ ยเู ฟรตสิ (Euphrates) ทางตะวันตกหรอื อารยธรรมอนิ เดียโบราณหรอื อารยธรรมลุม แมน้าํ สินธุ ต้ังอยูบรเิ วณ ลุมแมนํ้า เปนตน ดังนั้น จึงมีความเปนไปไดที่ชนกลุมตาง ๆ ที่เคยอาศัยในลุมแมน้ําเจาพระยา หรือบริเวณรอบอาวไทย มีการรวมตัวกันเปนปกแผน มีการพัฒนาเปนชุมชน สังคม และเมือง จนกลายมาเปนอาณาจักรตาง ๆ ของชนชาติไทยตามพงศาวดาร

7 1.1.3 การรวมไทยเปน ปก แผน ภายหลงั การลมสลายของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจา กรุงธนบุรีไดพยายามกอบกูเอกราชและศักด์ิศรีของอาณาจักรกลับคืนมา หลังจากการสถาปนา อาณาจักรธนบุรีข้ึน ตองเผชิญกับสงครามภายนอกจากกองทัพพมา และสงครามภายใน คือ การปราบชมุ นมุ ทีแ่ ยงชงิ ความเปนใหญแตกกันเปนกกเปน เหลา ชวงเวลาผานไปจนถึง พ.ศ. 2325 อาณาจักรรัตนโกสินทรเปนแผนดินไทยท่ีพอจะเรียกไดวา “เปนปกแผน” ข้ึนมาบาง ถึงแมวาใน เวลาตอ มาจะเกิดสงครามเกาทพั ทเ่ี ปน ศึกใหญในสมยั รัตนโกสนิ ทร แตก็ถือวาเปนชวงแหงสันติสุข มาไดย าวนาน ความเปนปก แผน ของความม่นั คงของสยามเดน ชดั มากขน้ึ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปน นายกรฐั มนตรี มีการเปลี่ยนช่ือประเทศจากสยาม เปน “ไทย” กลาวอีกนัยหน่ึง “การสรา งชาต”ิ ไดเกิดข้นึ อยางสมบูรณใ นยุคสมัยนี้ คือ มีครบท้ังอาณาเขต ดินแดน ประชากร อํานาจ อธิปไตย รัฐบาล ไปจนถึงสัญลักษณของชาติท่ีแสดงถึงเอกลักษณวัฒนธรรมไทย เชน ภาษาไทย และ ธงชาตไิ ทย เปนสง่ิ สําคัญทผี่ คู นในยคุ ปจจุบันจะตอ งอนรุ กั ษห วงแหนใหส ามารถดาํ รงสบื ไปในอนาคต แหลงกาํ เนิดของชนชาติไทย จะอพยพมาจากท่ีใด จะมีการพิสูจนหรือไดรับ การยอมรับหรือไม คงไมใ ชประเด็นสําคัญท่ีจะตองพิสูจนหาความจริง คงปลอยใหเปนเรื่องของ นักประวัติศาสตรหรือนักวิชาการ แตค วามสําคัญอยูท่ีลูกหลานคนไทยทุกคนที่อาศัยอยูบนพื้น แผนดินไทย ตอ งไดเ รียนรูและตองยอมรบั วา การรวมชนชาติไทยใหเปนปกแผน และอยูสุขสบาย จนถึงปจจุบันน้ี คนไทยและลูกหลานไทยทุกคนตองตระหนักถึงบุญคุณของบรรพบุรุษไทยและ พระปรีชาสามารถของบูรพมหากษัตริยไทยในอดีตท่ีสามารถรวบรวมชนชาวไทย ปกปองรักษา เอกราชและรวบรวมชาตไิ ทยใหเปนปกแผน จึงเปนพระราชกรณียกิจที่สําคัญของพระมหากษัตริยไทย ในอดีต ซ่ึงหากจะยอนรอยไปศึกษาพงศาวดารฉบับตาง ๆ รวมถึงประวัติศาสตรชาติไทย ต้ังแต ยุคกอ นการสถาปนากรงุ สุโขทัย ใหเ ปนราชธานแี หง แรกของชนชาวไทยแลว การสถาปนาราชธานี ทกุ ยุคทกุ สมัยไมว า จะเปน การสถาปนากรุงศรอี ยธุ ยา กรงุ ธนบุรี กรุงรตั นโกสินทร รวมไปถงึ การกอบกู เอกราชหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 คร้ัง ลวนเปนวีรกรรมและบทบาทอันสําคัญของ พระมหากษตั ริยไทยทัง้ สนิ้ 1.1.4 พระมหากษัตรยิ ไทยกบั การรวมชาติ การรวมชาติไทยใหเปนปกแผน เปนบทบาทที่สําคัญของพระมหากษัตริยไทย ในอดตี หากรัฐใดแควน ใด ไมมีผนู าํ หรือพระมหากษตั ริยท่ีเขม แข็ง มีพระปรีชาสามารถท้งั ดา นการรบ การปกครองรวมถึงดา นการคา เศรษฐกิจการคลัง รัฐน้ันหรือแควนนั้น ยอมมีการเสื่อมอํานาจลง และถูกยดึ ครองไปเปนเมอื งขึน้ หรอื ประเทศราชภายใตก ารปกครองของชนชาติอนื่ การถกู ยึดครอง หรือไปเปนเมืองข้ึนภายใตการปกครองของอาณาจักรอื่นในอดีต สามารถทําไดหลายกรณี อาทิ

8 การยอมสโิ รราบโดยดี โดยการเจริญไมตรแี ละสงบรรณาการถวาย โดยไมม ีศึกสงครามและการเสีย เลือดเน้ือ สถาบันพระมหากษตั รยิ  ไดม ีบทบาทสาํ คญั ในการรวมชาตใิ หเ ปนปกแผน รวมถึงการปกปอ ง ประเทศชาติและมาตุภมู สิ บื ไวใ หล กู หลานไทยไดม ีแผนดินอยู ซึ่งหากชนชาติไทยในอดีต ไมมีผูนําหรือ กษตั รยิ ท ่ีมีพระปรชี าสามารถ ในวันน้ีอาจไมมีชาติไทยหลงเหลืออยูในแผนท่ีโลก หรือชนชาติไทย อาจตอ งตกไปอยูภายใตการปกครองของชาตใิ ดชาตหิ น่ึง บทบาทของพระมหากษตั รยิ ไทยในการรวมชาติ บทบาทของพระมหากษัตริยไทยในการรวมชาติ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 หรอื ในสมัยรัตนโกสนิ ทรต อนตน นน้ั ความเปนปกแผนม่ันคงของอาณาจักรเกิดขึ้นจากการปรับปรุง การปกครอง ประมวลกฎหมายการบรู ณปฏิสังขรณวัดวาอาราม ทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา เกิดเปน ยุคทองของการฟนฟูวรรณคดี นาฏศิลป ดนตรีไทย การคาและความสัมพันธระหวางประเทศ มคี วามเจริญรงุ เรอื งโดยเฉพาะกบั จีน เกดิ เปน “เงินถงุ แดง” ท่ีนาํ มาใชในชว งวกิ ฤตของประเทศ ภายหลังความพายแพของอาณาจักรพมา และราชวงศชิงของจีนในการทําศึกกับ องั กฤษ พระมหากษตั ริยไ ทยในชว งเวลานั้นไดตระหนักถงึ ภยั ของ “ลทั ธลิ า อาณานคิ ม” เปน อยา งดี และทรงตระหนกั วาสยามนตี้ อ งมีการปรับตวั และพฒั นาตนเองใหร อดพน จากภยั รา ยจากการคกุ คาม ของชาติตะวันตกที่เดนชัดเร่ิมตนเมื่ออังกฤษเขามาขอทําสนธิสัญญาเบาวริงกับสยาม ในสมัย รชั กาลที่ 4 ตอมาเกดิ วกิ ฤต ร.ศ. 112 ในสมยั รัชกาลที่ 5 พระเจา นโปเลยี นท่ี 3 แหง ฝรัง่ เศสนาํ เรอื ปน เขา มาถงึ แมน้ําเจาพระยาใกลพ ระบรมมหาราชวัง บบี บงั คบั ใหส ยามยกดินแดนฝงซายของแมน าํ้ โขง ใหอยูใ ตอ าณตั ิของฝร่งั เศส พรอ มท้งั เรียกรอ งคา เสียหายดว ยจํานวนเงนิ กวา 2 ลา นฟรังก เปนอีกครง้ั ท่อี ิสรภาพของสยามอยใู นจุดท่ีอาจตกเปน เมืองข้ึนหรืออาณานิคมของมหาอาํ นาจตะวันตก ในชวงเวลาดังกลาวแมวาจะมีภัยรอบดาน อริราชศัตรูเกาอยางพมา หรือญวน พา ยแพแกชาติตะวนั ตกไปแลว ถึงกระน้ันสยามกลับมีความเปน “ปกแผน” อยางท่ีไมเคยมีมากอน ผา นการเปน “สมบูรณาญาสิทธริ าชย” ของพระมหากษัตรยิ โ ดยเฉพาะในสมัยรชั กาลที่ 5 ท่ีอาํ นาจ ของกษัตรยิ ช วยดลบนั ดาลใหเกิดความผาสุกของราษฎร เกิดเปน การ “เลกิ ระบบไพรทาส” ในสมัยรชั กาลท่ี 6 ความเปนชาติไดเดนชัดขึ้น ชื่อของประเทศสยามไดร บั การยอมรบั วาทัดเทียมกับหลายชาติตะวันตก เม่ือทรงสงทหารอาสาชาวสยามเขารวมสงครามโลก ครั้งที่ 1 ในภาคพื้นยุโรป สถาบันหลักของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ  ก็เกิดขึ้นในสมัยน้ี สญั ลกั ษณข องชาติ เชน ธงไตรรงคก็เกิดข้ึนเพือ่ เปนตวั แทนของชาติสยามในโอกาสตา ง ๆ

9 การเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่เปลี่ยนระบอบการปกครองของสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชยมาเปนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข เปนเหตุการณส าํ คัญของประวัตศิ าสตรไทย รชั กาลที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนญู ฉบบั แรกของ สยามตามคาํ รอ งขอของคณะราษฎร หลังสมัยรัชกาลท่ี 7 จนถึงปจ จบุ นั บทบาทของพระมหากษัตริยไทยถึงแมวาจะถูก เปลยี่ นแปลงไปตามท่ีกาํ หนดไวในรฐั ธรรมนูญ ก็ยังทรงมีบทบาทในการเปน ศูนยก ลางการยึดเหนย่ี ว จิตใจใหกบั ปวงชนชาวไทย ผานพระราชกรณยี กจิ ในการยกระดบั คุณภาพชีวติ ของราษฎร “การรวมชาต”ิ ในบริบทปจจุบันจึงไมใชความมั่งคงของดินแดนอีกตอไป แตเปน “ศูนยรวมจิตใจของปวงชน” ทพ่ี ระมหากษัตรยิ ไ ทยทรงเปน เสมอมาตงั้ แตอ ดตี จนถงึ ปจจบุ ัน 1.2 ศาสนา ศาสนา เปนลัทธิความเช่ือของมนุษย เกีย่ วกบั การกําเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทําตามความเชื่อนั้น ๆ จะเห็นไดวาแตละประเทศน้ันจะยึดคําส่ังสอนของ ศาสนาเปนหลักในการปกครองประเทศ และมกี ารกําหนดศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ นอกจาก ศาสนาจะมอี ทิ ธิพลตอ การปกครองของประเทศแลวยังมีอิทธิพลตอวัฒนธรรมของแตละประเทศ เชน ประเทศไทยมกี ารหลอ พระพุทธรูปเปนงานศิลปะ วัฒนธรรมการไหว การเผาศพ วัฒนธรรม เหลา นไี้ ดร บั อิทธพิ ลมาจากศาสนาเหมอื นกัน ดังน้ัน ศาสนาจึงเปน สถาบันทสี่ ําคญั ตอประเทศมาก 1.2.1 ศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธ ไดเผยแผเขามาในดินแดนประเทศไทยเปนคร้ังแรก โดยพระเถระ ชาวอินเดีย เม่ือประมาณ พ.ศ. 236 โดยการอุปถัมภของพระเจาอโศกมหาราช แหงอินเดีย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยูในดินแดนที่เรียกวา สวุ รรณภูมิ มีอาณาเขตกวา งขวาง มีหลาย ประเทศรวมกนั ในดินแดนสวนนี้ มีจํานวน 7 ประเทศ ไดแก ประเทศไทย พมา ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย ซ่ึงพระพุทธศาสนาท่ีเขามาในคร้ังนั้น เปนนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบดั้งเดิม มพี ทุ ธศาสนกิ ชนเล่อื มใสศรทั ธาไดบวชเปน พระภิกษุเปนจํานวนมาก และไดสรางวัด สถูปเจดียไว สกั การะบชู า ตอ มาภายหลัง กษตั ริยใ นสมัยศรีวชิ ยั ทรงนบั ถอื พระพทุ ธศาสนาแบบมหายาน จึงทําให ศาสนาพุทธนิกายมหายานเผยแผเขามาสูดินแดนประเทศไทยทางตอนใต ซ่ึงไดมีการรับ พระพุทธศาสนาทั้งแบบเถระวาท แบบมหายาน และศาสนาพราหมณที่เขามาใหม จึงทําให ประเทศไทยมีผูนับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ มีพระสงฆทั้ง 2 ฝาย ไดแก นิกายเถรวาท และ มหายาน

10 จากพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร พระพุทธศาสนา เปนศาสนาท่ี สังคมไทยสวนใหญนบั ถือมาตงั้ แตใ นอดตี และสบื ทอดกันมาเปน ชา นาน ดงั น้ัน พระพุทธศาสนาจึง มีบทบาทสําคัญของวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณี จนประเทศไทยไดชื่อวาเปน ศนู ยกลางของพระพุทธศาสนาของโลกโดยมี “พทุ ธมณฑล” เปนศูนยกลางแหงพุทธศาสนาโลก ตามมตขิ องการประชุมองคก ารสหประชาชาติ เมอื่ วนั ท่ี 20 พ.ค. 2548 ในสมัยรัตนโกสินทร พระมหากษัตริยทุกพระองคทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ตอสถาบนั ศาสนา มาเปนลําดบั อาทิ เม่อื วันที่ 14 สงิ หาคม พ.ศ. 2489 รัชกาลท่ี 9 เสด็จข้ึนครองราชย พระองคไดทรง แสดงพระองคเ ปน พทุ ธมามกะตอหนา สงั ฆมณฑล ณ พระอุโบสถวดั พระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเปน ประธาน เมื่อวันท่ี 22 ตุลาคม พ.ศ. 2494 รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี ดวยการเสดจ็ ทรงออกผนวช ณ พระอโุ บสถวดั พระศรีรตั นศาสดาราม พระองคทรงรบั การบรรพชา เปน พระภิกษใุ นพทุ ธศาสนา ไดร ับสมณนามจากพระอุปชฌายจ ารวา “ภมู พิ โลภกิ ขุ” จากนั้นเสด็จ ประทับ ณ พระตาํ หนักปน หยา วดั บวรนิเวศ โดยพระองคทรงปฏบิ ัตพิ ระธรรมวินัย ตามแบบอยาง พระภิกษุโดยเครงครัด รัชกาลที่ 9 ทรงอุปสมบทนาคหลวงมาตลอด โดยเร่ิมปแรกเม่ือวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ไดเสด็จฯ พระราชดําเนินไปในพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศล ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม มหี มอ มเจาสุนทรากร วรวรรณ หมอมเจาอาชวดิศดศิ กลุ หมอมราชวงศ ยันตเทพ เทวกลุ และ นายเสมอ จติ รพันธ เปน นาคหลวง นอกจากนน้ั รชั กาลท่ี 9 ยงั เสด็จฯ พระราชดําเนินไปในงานพิธที างศาสนา ทป่ี ระชาชน และทางราชการจัดข้ึนในที่ตาง ๆ มิไดขาด อีกท้ังยังทรงสรางพระพุทธรูปขึ้น ในโอกาสสําคัญเปน จาํ นวนมาก หลังจากท่รี ชั กาลท่ี 10 ไดทรงขึ้นครองราชยเปนพระมหากษัตริยลําดับท่ี 10 แหง ราชวงศจักรี พระองคทรงเสด็จพระราชดําเนินไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอยาง สมํา่ เสมอ เชน เสดจ็ พระราชดาํ เนินเปล่ยี นเครอ่ื งทรงพระพุทธมหามณรี ตั นปฏมิ ากร ณ วัดพระศรี รัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดําเนินไปทรงบําเพ็ญพระราชกุศลในวันสําคัญทาง พระพุทธศาสนา เชน วนั วิสาขบูชา วันอาสาฬหบชู า วันเขาพรรษา และการถวายผาพระกฐินหลวง ตามวดั ตาง ๆ เปน ตน

11 1.2.2 ศาสนาคริสต ศาสนาคริสตเ ปน ศาสนาที่พฒั นาหรือปฏิรปู มาจากศาสนายดู าห ซึ่งมีประวัตศิ าสตร มาตั้งแตประมาณ 2,000 ป กอนคริสตกาล ชนเผาหน่ึงเปนบรรพบุรุษของชาวยิว ต้ังถิ่นฐานอยู ณ ดินแดนเมโสโปเตเมีย มีหัวหนาเผาช่ือ “อับราฮัม” (อับราฮัม เปนศาสดาของศาสนายูดาห) ไดอางตนวา ไดรับโองการจากพระเจาใหอพยพชนเผาไปอยูในดินแดนท่ีเรียกวา แผนดินคานาอัน (บริเวณประเทศอสิ ราเอลในปจ จบุ นั ) โดยอับราฮัมกลาววา พระเจากําหนดและสัญญาใหชนเผาน้ี เปน ชนชาติท่ยี ง่ิ ใหญตอ ไป การท่ีพระเจาสญั ญาจงึ กอ ใหเกิดพนั ธสญั ญาระหวา งพระเจา กบั ชนชาวยวิ ดงั น้นั ในเวลาตอ มาจึงเรยี กคัมภีรของศาสนายดู าหแ ละศาสนาครสิ ตวา “พันธสัญญา” ศาสนาคริสตเ ขามาในประเทศไทยยคุ เดียวกับการลา อาณานคิ มของลทั ธจิ กั รวรรดนิ ยิ ม โดยเฉพาะอยางย่ิงชาวโปรตุเกส ชาวสเปน และชาวดัตช ที่กําลังบุกเบิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซ่งึ นอกจากกลมุ ที่มีจุดประสงค คอื ลา เมืองขนึ้ และเผยแพรศ าสนาพรอมกัน เชน จักรวรรดอิ าณานคิ ม ฝรั่งเศส มาไดเมืองขึ้นในอินโดจีน เชน ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยลักษณะเดียวกับ โปรตเุ กสและสเปน ในขณะทีป่ ระเทศไทยรอดพน จากการเปน เมอื งขนึ้ สว นหนึง่ อาจเพราะการเปด เสรี ในการเผยแพรศาสนา ทาํ ใหลดความรนุ แรงทางการเมืองลง ศาสนาครสิ ตท่เี ผยแพรใ นไทยเปน ครง้ั แรก เปนนิกายโรมันคาทอลิก ปรากฏหลกั ฐานวาในป พ.ศ. 2110 (ค.ศ. 1567) มีมชิ ชันนารี คณะดอมินิกัน 2 คน เขาสอนศาสนาใหชาวโปรตเุ กส รวมถงึ ชาวพ้ืนเมืองท่เี ปน ภรรยา ศาสนาคริสตไดรับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภเชนเดียวกับศาสนาอื่น โดย รชั กาลท่ี 9 ทรงอดุ หนนุ กิจการของศาสนาครสิ ตต ามวาระโอกาสตาง ๆ อยเู สมอ สามารถสรางโรงเรยี น โรงพยาบาล โบสถและประกอบศาสนกิจไดท่ัวทกุ ภาคของประเทศ ไดเสด็จพระราชดําเนินไปใน งานพธิ ีสําคัญ ๆ ของศาสนาครสิ ตเ ปน ประจํา ที่สาํ คัญที่สุด คือ เสด็จพระราชดําเนินเยือนนครรัฐ วาติกัน เม่ือครัง้ เสดจ็ พระราชดาํ เนนิ เยอื นทวปี ยุโรปเม่อื 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2503 เพอ่ื กระชับพระราชไมตรี ระหวางประเทศไทยกับครสิ ตจกั ร ณ กรุงวาติกัน เม่ือพระสันตะปาปา จอหน ปอล ท่ี 2 ประมุขแหงครสิ ตจกั รโรมันคาธอลกิ เสด็จเยอื น ประเทศไทยอยา งเปน ทางการในฐานะพระราชอาคันตกุ ะ เม่ือวนั ท่ี 10 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ครง้ั นน้ั นับวาเปนกรณีพเิ ศษอยางย่ิง เพราะไมเ คยปรากฏมากอนวา ประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลกิ จะเสดจ็ มาเยอื นประเทศไทยเชน น้ี ไดเสด็จออกทรงรบั ณ พระทน่ี ั่งจกั รีมหาปราสาทอยางสมพระเกยี รติ สําหรบั รัชกาลท่ี 10 พระองคเ สด็จพระราชดาํ เนนิ แทนพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร- มหาภมู ิพลอดุลยเดช ไปเปนองคป ระธานในพธิ ีเปด อาคารครสิ ตจกั ร ใจสมาน เม่ือวันท่ี 30 เมษายน พ.ศ. 2522 เสด็จพระราชดาํ เนนิ แทนพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช ไปรบั เสดจ็ พระสนั ตะปาปา จอหน ปอล ท่ี 2 ในโอกาสเสดจ็ เยือนประเทศไทยอยา งเปนทางการ ณ ทาอากาศยาน กองบญั ชาการกองทัพอากาศ

12 1.2.3 ศาสนาอสิ ลาม ศาสนาอิสลาม เขามาเผยแพรในประเทศไทยต้ังแตยุคสมัยสุโขทัย และชวง กรุงศรีอยุธยาเร่ือยมา โดยกลุมพอคาชาวมุสลิมในคาบสมุทรเปอรเซียที่เขามาคาขายในแหลม มลายู (อินโดนีเซียและมาเลเซีย) ไดนําศาสนาอิสลามเขามา ภายหลังคนพ้ืนเมืองจึงไดเปล่ียนมา นบั ถอื ศาสนาอสิ ลาม และบางคนเปน ถึงขนุ นางในราชสาํ นกั ในชว งตนกรุงรัตนโกสินทรม ีชาวมสุ ลมิ อพยพมาจากมลายแู ละเปล่ียนสญั ชาตเิ ปน ไทย นอกจากน้ียังมีชาวมุสลิมอินเดียที่เขามาตั้งรกราก รวมถงึ ชาวมสุ ลมิ ยนู นานท่ีหนีภัยการเบียดเบียนศาสนาหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสตในประเทศจีน ศาสนาอิสลามในประเทศไทย จึงเติบโตอยางรวดเร็ว โดยสถิติระบุวาประชากรมุสลิมมีจํานวน ประมาณ 2.2 ลา นคน ถึง 7.4 ลา นคน กอนป พ.ศ. 2505 กงศลุ แหง ประเทศซาอดุ ิอาระเบีย ไดเขาเฝารัชกาลที่ 9 เพ่ือถวาย คมั ภรี อลั กุรอาน ฉบับทม่ี ีความหมายเปน ภาษาองั กฤษ โดยรชั กาลที่ 9 ทรงมพี ระราชดาํ ริวา ควรจะมี คัมภีรอัลกุรอานฉบับความหมายภาษาไทย ใหปรากฏเปนศรีสงาแกประเทศชาติ เม่ือนายตวน สุวรรณศาสน จุฬาราชมนตรีในสมัยนั้น เปนผูนําผูแทนองคการสมาคม และกรรมการอิสลาม เขาเฝาถวายพระพรในนามของชาวไทยมุสลิมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปน้ัน รัชกาลที่ 9 ทรงมี พระกระแสรับส่ังใหจุฬาราชมนตรี แปลความหมายของพระมหาคัมภีรอัลกุรอานจากคัมภีร ฉบับภาษาอาหรับโดยตรง ส่ิงน้ีเปนพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีตอศาสนาอิสลาม และทรงเปน องคอัครศาสนปู ถัมภกอยางแทจรงิ ในชวงเวลาที่จุฬาราชมนตรีแปลพระมหาคัมภีรถวาย ทุกครั้งที่เขาเฝา รัชกาลที่ 9 จะทรงแสดงความหวงใยตรัสถามถงึ ความคบื หนา อปุ สรรค ปญ หาทเ่ี กดิ ขนึ้ และทรงมพี ระราชประสงค ท่ีจะใหพิมพเผยแพร ในป พ.ศ. 2511 อันเปนปครบ 14 ศตวรรษแหงอัลกุรอาน ประเทศมุสลิม ทุกประเทศตางก็จัดงานเฉลมิ ฉลองกันอยางสมเกยี รติ ประเทศไทยแมจะไมใชป ระเทศมสุ ลมิ แตไ ดม ี การจัดงานเฉลิมฉลอง 14 ศตวรรษแหง อลั กุรอานข้ึน ณ สนามกีฬากติ ติขจร เมื่อวันท่ี 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 เปนวันเดียวกันกบั การจัดงานเมาลิดกลาง ในปนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พรอมดวยสมเดจ็ พระนางเจาสิริกิต์ิ พระบรมราชนิ ีนาถเสด็จเปนองคประธานในพิธี และ ในวันน้ันเปนวันเร่ิมแรกท่ีพระมหาคัมภีรอัลกุรอาน ฉบับความหมายภาษาไทย ไดพิมพถวาย ตามพระราชดํารแิ ละไดพระราชทานแกมสั ยิดตาง ๆ ทว่ั ประเทศ โดนเนน ยา้ํ ดงั นี้

13 1. การแปลพระคมั ภีรอัลกรอุ านเปน ภาษาไทย ขอใหแ ปลอยา งถกู ตอ ง 2. ขอใหใชสํานวนเปน ภาษาไทยท่สี ามญั ชนทวั่ ไปอานเขา ใจได นอกจากนี้ในงานไดมกี ารพระราชทานรางวัลโลเกียรติคุณ และเงินรางวัลแกผูนํา ศาสนาอสิ ลามประจํามสั ยดิ ตา ง ๆ และทรงมีพระราชดําริใหมกี ารสนับสนุนการจัดสรางมัสยิดกลาง ประจําจังหวัดข้ึน โดยใหรฐั บาลจัดสรรงบประมาณแผนดินสําหรับจัดสราง ขณะน้ีไดสรางเสร็จ เรยี บรอยแลวใน 4 จังหวดั ภาคใต ซ่ึงรัชกาลท่ี 9 ทรงเสด็จพระราชดําเนินไปเปนองคประธานในพิธี ดวยพระองคเ อง รชั กาลท่ี 10 หรอื “สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช เจา ฟา มหาวชริ าลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ในขณะนน้ั ไดทรงเคยปฏิบัตพิ ระราชกรณยี กจิ ทง้ั เสดจ็ พระราชดําเนนิ ในฐานะผูแทนพระองค และในฐานะ ของพระองคเ อง ไดแก ทรงเปน ผูแทนพระองคเปดงานเมาลิดกลางแหงประเทศไทย เสดจ็ พระราชดาํ เนิน เยือนมัสยดิ กลางจังหวัดปตตานี เพ่อื พระราชทานถวยรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร อัลกุรอาน และโดยเสด็จรัชกาลที่ 9 ไปจังหวัดนราธิวาส และพระราชทานพระคัมภีรอัลกุรอาน และคําแปลเปน ภาษาไทยแกค ณะกรรมการอสิ ลาม 1.2.4 ศาสนาซิกข ชาวซิกขสวนมากยึดอาชีพคาขายอิสระ บางก็แยกยายถ่ินฐานทาํ มาหากินไปอยู ตา งประเทศบาง และเดนิ ทางไปมาระหวางประเทศ ในบรรดาชาวซิกขดังกลาว มีพอคาชาวซิกข ผูหน่ึงช่ือ นายกิรปาราม มาคาน ไดเดินทางไปประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อหาซื้อสินคาแลวนําไป จําหนายยังบานเกิด สินคาที่ซื้อคร้ังหนึ่ง มีมาพันธุดีรวมอยูดวยหน่ึงตัว เมื่อขายสินคาหมดแลว ไดเดนิ ทางมาแวะที่ประเทศสยาม โดยนาํ มา ตัวดังกลา วมาดว ย และมาอาศัยอยูในพระบรมโพธสิ มภาร ของพระมหากษัตริยสยาม ไดรับความอบอุนใจเปนอยางยิ่ง ดังนั้น เมื่อเขามีโอกาสเขาเฝา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 5) เขาจึงไดกราบบังคมทูลนอมเกลาฯ ถวายมาตัวโปรดของเขาแดพระองค ดวยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว จึงเห็นในความจงรักภักดีของเขา พระองคจึงไดพระราชทานชาง ใหเขาหน่ึงเชือก ตลอดจนขาวของเคร่ืองใชที่จําเปน ในระหวา งเดนิ ทางกลับอินเดีย เมื่อเขาเดินทางกลับมาถึงอินเดียแลวเห็นวา ของที่เขาไดรับพระราชทานมานั้น สงู คาอยา งยงิ่ ควรท่ีจะเกบ็ รักษาใหสมพระเกียรตยิ ศแหงพระเจา กรงุ สยาม จึงไดนําชางเชือกนั้นไปถวาย พระราชาแหงแควนแคชเมียร พรอมท้ังเลาเร่ืองที่ตนไดเดินทางไปประเทศสยาม ไดรับความสุข ความสบายจากพน่ี องประชาชนชาวสยาม ซ่ึงมีพระเจา แผน ดนิ ปกครองดวยทศพิธราชธรรมเปนที่ ยกยอ งสรรเสริญของประชาชน ถวายการขนานนามของพระองคว า พระปยมหาราช

14 พระราชาแหงแควนแคชเมียรไดฟงเรื่องราวแลวมีความพอพระทัยอยางย่ิง ทรงรับชางเชือกดังกลาวเอาไวแลวขึ้นระวางเปนราชพาหนะ พรอมกับมอบแกวแหวนเงินทอง ใหนายกิรปารามมาดาม เปนรางวัล จากน้ันไดเดินทางกลับบานเกิด ณ แควนปญจาป แตครั้งน้ี เขาไดรวบรวมเงินทอง พรอมทั้งชักชวนเพื่อน ใหไปต้ังถิ่นฐานอาศัยอยูใตรมพระบรมโพธิสมภาร พระเจา กรุงสยามตลอดไป รชั กาลท่ี 9 เสด็จพระราชดําเนินทรงเปนองคประธานในงานฉลองครบรอบ 500 ป แหงศาสนาซิกข ตามคําอัญเชิญของสมาคมศรีคุรุสิงหสภา โดยในป พ.ศ. 2550 มีศาสนิกชน ชาวซกิ ขอยใู นประเทศไทยประมาณสามหม่นื คน ทกุ คนตา งมงุ ประกอบสัมมาอาชพี ภายใตพระบรม โพธิสมภารแหง พระมหากษัตรยิ ไทย ดวยความม่งั คัง่ สุขสงบท้ังกายและใจ โดยท่ัวหนา 1.2.5 ศาสนาพราหมณ - ฮินดู ศาสนาพราหมณ - ฮนิ ดู ถอื เปน อกี ศาสนาหน่งึ ทม่ี คี วามเกาแก และอยคู ปู ระเทศไทย มาเปนระยะเวลายาวนาน เขา ไปมสี วนในพธิ สี ําคัญ ๆ โดยเฉพาะพระราชพธิ ตี า ง ๆ เชน พระราชพิธี บรมราชาภิเษก ท่ีเปนพระราชพิธีสถาปนาพระมหากษัตริยข้ึนเปนสมมติเทพปกครองแผนดิน เปนใหญในทิศทั้งแปด และเปนการประกาศใหประชาชนทราบโดยทั่วกัน ตามคติพราหมณจะ ประกอบพิธีอญั เชิญพระเปนเจา เพ่อื ทาํ การสถาปนาใหพ ระมหากษัตริยเปน สมมติเทพ ดํารงธรรม สบิ ประการ ปกครองประเทศดวยความรมเยน็ เปน สุข ดว ยเหตุนพี้ ระมหากษตั ริยท กุ พระองคจ ึงทรง มีพระมหากรุณาธิคณุ ในการสงเสรมิ และอุปถมั ภกจิ การของศาสนาพราหมณ - ฮินดูในประเทศไทย ดว ยดีเสมอมา ในสมัยรัชกาลท่ี 9 ทรงใหการสนับสนุนกิจการตาง ๆ ของศาสนิกชนในศาสนา พราหมณ - ฮินดู ท่ีเขามาอยูใตเบื้องพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทยอีกดวย ดังเห็นไดจาก การเสด็จพระราชดําเนินไปทรงรวมกิจกรรมท่ีจัดขึ้นโดยศาสนิกชนชาวอินเดียที่นบั ถือศาสนา พราหมณ - ฮนิ ดู รวมทงั้ การเสด็จพระราชดําเนินไปทรงวางศิลาฤกษและเปด ศาสนสถานในศาสนา พราหมณ - ฮนิ ดู ทสี่ าํ คญั เชน เมอ่ื วนั ท่ี 11 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2512 พระองคแ ละสมเด็จพระนางเจาสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดําเนนิ จากพระท่นี ั่งอัมพรสถาน พระราชวงั ดสุ ิต ไปทรงเปนประธาน ในการเปด อาคาร “เทพมณเฑียร” ณ สมาคมฮนิ ดสู มาชถนนศิรพิ งษ แขวงเสาชงิ ชา กรุงเทพมหานคร รชั กาลที่ 10 หรือ “สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา ฟา มหาวชิราลงกรณ สยามมกฎุ ราชกุมาร” ในขณะนั้น ไดเคยเสดจ็ ฯ แทนรชั กาลท่ี 9 ไปทรงเจิมเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระคเณศร พระนารายณ พระพรหม และพระราชทานเงินใหแ กห ัวหนา คณะพราหมณ ผูเ ปน ประธานในการประกอบพระราชพธิ ี ตรยี มั ปวาย - ตรีปวาย ณ พระท่นี ั่งอมั พรสถาน พระราชวงั ดสุ ิต

15 1.3 พระมหากษตั รยิ  ประเทศไทยมีพระมหากษตั ริยป กครองประเทศสืบเน่ืองมากวา 700 ป ตั้งแตสมัย สโุ ขทยั อยธุ ยา ธนบรุ ี และรตั นโกสนิ ทร การปกครองโดยระบบกษัตริยเปนวัฒนธรรมที่ไทยรับมา จากอนิ เดยี พรอมกับการรับวัฒนธรรมความเชือ่ ทางศาสนา โดยไดผ สมผสานแนวคิดหลัก 3 ประการ เขาดวยกัน คอื แนวคดิ ในศาสนาพราหมณ - ฮินดู ท่ีเช่ือวากษัตริยทรงเปนสมมุติเทพ แนวคิดใน พุทธศาสนาทว่ี า พระมหากษตั รยิ ทรงมสี ถานะเปรียบประดุจพระพุทธเจา ทรงเปน จักรพรรดิราช หรือธรรมราชา ท่ีกอปรดวยราชธรรมหลายประการ อาทิ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ แนวคดิ ทง้ั สองประการดงั กลาวนี้ อยบู นพืน้ ฐานของแนวคิดประการที่สาม คือ การปกครอง แบบพอ ปกครองลกู ดังปรากฏมาตงั้ แตส มัยสโุ ขทัย ดว ยเหตุนจี้ ึงทําใหการปกครองโดยระบบกษตั รยิ  ของไทย มคี วามเปนเอกลกั ษณเฉพาะตวั แตกตา งจากประเทศอ่ืน (มลู นิธสิ มเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ าร,ี 2554 : พระราชนิพนธค ํานาํ ) ตามอนุสัญญามอนเตวิเดโอวาดวยสิทธิและหนาท่ีของรัฐ (The Montevideo Convention on the Rights and Duties of State) ค.ศ. 1393 มาตรา 1 ไดกลา วถงึ องคป ระกอบของรัฐ เพอื่ วัตถปุ ระสงคในกฎหมายระหวา งประเทศวา รฐั ประกอบดวย ประชากรทอี่ ยูร วมกันอยางถาวร ดินแดนที่กําหนดไดอยางแนชัด ความสามารถที่สถาปนาความสัมพันธกับตางรัฐได (อํานาจ อธิปไตย) และมรี ฐั บาล ซง่ึ ในการปกครองประเทศไมว าจะเปน ระบอบใดกต็ าม เพ่ือใหการปกครอง เปนไปดวยความสงบเรยี บรอ ย จะตองมผี ูนาํ เปนผูบริหารปกครองประเทศ โดยที่ผูนําหรือประมุข สูงสดุ ในการปกครองประเทศของนานาอารยประเทศน้นั จะมคี วามแตกตา งกนั ไป ทง้ั นอี้ าจขนึ้ อยกู บั ระบบการปกครองประเพณนี ิยมและธรรมเนียมปฏิบัติทส่ี บื ทอดกนั มาหรือบางประเทศเกดิ การเปลยี่ นแปลง จากรูปแบบการปกครองของประเทศน้ัน ๆ เชน มีพระมหากษัตริยเปนประมุขสูงสุด หรือมี ประธานาธิบดีเปนผูปกครองประเทศหรือรัฐ สาํ หรับประเทศไทยเราน้ันมีพระมหากษัตริยเปน ประมขุ สงู สุดในการปกครองประเทศมาตัง้ แตอดีตกาล ความหมายของคาํ วา พระมหากษตั รยิ  พระมหากษัตริย คอื ประมุขหรือผปู กครองสงู สดุ ของประเทศ จะเหน็ ไดว า ประเทศไทย ต้งั แตอ ดีตจนถงึ ปจจบุ นั มพี ระมหากษัตริยเปนประมุขปกครองประเทศ อันเกิดจากแนวความคิด ท่วี า แตเดิมมนษุ ยย งั มนี อยดํารงชีพแบบเรยี บงา ยอยูกับธรรมชาติ และเม่อื มนุษยขยายพนั ธุม ากข้ึน ธรรมชาติตา ง ๆ เร่มิ หมดไป เกิดการแกง แยงกันทํามาหากิน เกดิ ปญหาสังคมขน้ึ จงึ ตอ งหาทางแกไ ข คนในสงั คมจึงคดิ วาตอ งพจิ ารณาคัดเลือกใหบุคคลทเ่ี หมาะสมและมคี วามเฉลยี วฉลาด ไดร บั การแตง ตงั้ ใหเ ปนผูพิจารณาตดั สิน เมอื่ เกิดกรณปี ญหาตาง ๆ ซึ่งตองปฏิบัติหนาท่ีดวยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ทําใหคนในสงั คมพอใจ และยินดี ประชาชนท้ังหลายจึงเปลง อทุ านวา “ระชะ” หรือ “รชั ชะ” หรือ ราชา แปลวา ผูเปนท่ีพอใจประชาชนยินดี ตอมาเลยเรียกวา พระราชา ดวยเหตุท่ีวาการกระทํา

16 หนา ทีด่ ังกลาวไมมีเวลาไปประกอบอาชีพ ประชาชนท้ังหลายพากันบริจาคยกที่ดินให จึงเปนผูมี ท่ีดินมากข้นึ ตามลําดบั คนท้ังหลายจึงเรยี กวา เขตตะ แปลวา ผูมีท่ีดินมาก และเขียนในรูปภาษา สนั สกฤษวา เกษตตะ หรือ เกษตร ในท่สี ดุ เขยี นเปนพระมหากษัตรยิ  แปลวา ผูที่มีทีด่ ินมาก ดังนั้น คําวา พระมหากษัตริย ความหมายโดยรวม ก็คือ ผูท่ียึดครอง หวงแหนและขยายผืนแผนดินไว ใหแกประชาชนหรอื อาณาประชาราษฎร ท่ีพระองคทรงเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตกอบกูเอกราช บานเมืองไวใหชนรุนหลัง อยางเชนประเทศไทยของเรานี้ ถาไมมีพระมหากษัตริยทรงยึดถือ ครอบครองผืนแผนดินไทยไว คนไทยทุกคนจะมีผืนแผนดินไทยอยูทุกวันนี้ไดอยางไร อน่ึง พระมหากษัตริยในนานาอารยประเทศท่ีเปนประมขุ ของรฐั ทไ่ี ดรับตําแหนง โดยการสบื สนั ตตวิ งศน น้ั อาจจาํ แนกประเภทโดยอาศยั พระราชอํานาจ และพระราชสถานะเปน 3 ประการ คือ 1. พระมหากษตั ริยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย (Absolute Monarchy) พระมหากษัตรยิ ท รงเปน ประมขุ ของรฐั มพี ระราชอาํ นาจและพระบรมเดชานภุ าพเดด็ ขาด และลน พน แตพ ระองคเ ดียว และในอดตี ประเทศไทยเคยใชอยูกอ นการเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 2. พระมหากษัตริยในระบอบปรมิตาญาสิทธริ าชย (Limited Monarchy) คือ พระมหากษัตริยทรงมพี ระราชอํานาจทกุ ประการ เวนแตจะถกู จาํ กดั โดยบทบญั ญตั ขิ องรัฐธรรมนญู เชน ประเทศซาอดุ อิ าระเบีย เปน ตน 3. พระมหากษตั รยิ ภายใตรฐั ธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) คือ ในระบอบนี้ มพี ระมหากษัตรยิ เ ปน ประมุข แตในการใชพระราชอาํ นาจดา นการปกครองน้ัน ถูกโอนมาเปนของ รัฐบาล พลเรือน และทหาร พระมหากษัตริยจึงทรงใชพระราชอํานาจผานฝายนติ ิบัญญัติ ฝาย บริหาร และฝายตลุ าการ พระองคม ไิ ดใ ชพระราชอํานาจ แตม ีองคก รหรือหนวยงานรับผิดชอบตาง ๆ กันไป เชน ประเทศไทย อังกฤษ และญี่ปุนในปจจบุ ัน เปน ตน พระมหากษตั รยิ ข องไทย หากนบั ยอ นอดตี ประวัติศาสตรไ ทยต้งั แตสมัยโบราณ คําวา ”กษัตริย” หรือนักรบ ผูย ่งิ ใหญ ศกึ ษาไดจากในสมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพอปกครองลูก จะมีความใกลชิดกับ ประชาชนมาก เชน ในสมัยราชวงศพระรวง กษัตริยจะมีพระนามข้ึนตนวา “พอขุน” เรียกวา พอขุนศรีอินทราทิตย พอขุนรามคําแหง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไดรับคติพราหมณมาจากขอม เรียกวา เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึง พระมหากษัตริยทรงเปนเทพมาอวตารเพ่ือปกครอง มวลมนุษย ทําใหชนชั้นกษัตริยมีสิทธิอํานาจมากท่ีสุดในอาณาจักร และหางเหินจากชนช้ัน ประชาชนมาก ในสมยั ราชวงศอ ูทอง จึงมีพระนามขนึ้ ตน วา “สมเด็จ” เรียกวา สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 (พระเจา อูท อง) สมเด็จพระราเมศวร หรอื ในสมยั รัตนโกสนิ ทร แหงมหาจักรีบรมราชวงศ เริ่มดวย รชั กาลที่ 1 ถงึ รชั กาลปจจุบนั คือรชั กาลที่ 10 ซึ่งเปนการยกยองเทดิ ทลู สถาบนั องคพระมหากษัตรยิ 

17 จงึ มพี ระนามขึน้ ตนวา พระบาทสมเด็จ เชน พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลท่ี 5) พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช (รัชกาลที่ 9) ดังนนั้ คาํ วา “พระมหากษตั ริยของไทย” อาจมคี าํ เรียกที่แตกตา งกนั ตามประเพณีนยิ ม หรอื ธรรมเนียมทเี่ คยปฏบิ ัติสบื ตอ กนั มา เชน เรียกวา พระราชา เจามหาชีวิต เจาฟา เจาแผนดิน พอ เมอื ง พระเจา แผน ดิน พระเจา อยูหัว หรือในหลวง ฯลฯ และพระมหากษตั รยิ เ ปน ไดดว ยการสืบ สันตติวงศ หรือโดยการยึดอํานาจจากพระมหากษัตริยพระองคเดิมแลวปราบดาภิเษกตนเองขึ้น เปน พระมหากษตั ริย ท้ังน้ี ในการสืบสันตติวงศตอกันมาโดยเช้ือพระวงศ เรียกวา พระราชวงศ เม่ือ สิ้นสุดการสบื ทอดโดยเชอื้ พระวงศ ดวยเหตุอ่ืนใดก็ตาม พระมหากษัตริยพระองคใหม จะเปนตน พระราชวงศใ หมหรอื เปนผูสถาปนาพระราชวงศ พระมหากษตั รยิ ไทยกบั รฐั ธรรมนูญ ในอดีตพระมหากษัตริยทรงเปน เจาของชวี ิตและเจา แผนดนิ กลา วคือ ทรงพระบรม เดชานุภาพเปน ลน พน โดยหลกั แลว จะโปรดเกลาฯ ใหผูใ ดสน้ิ ชีวติ ก็ยอมกระทําได และทรงเปน เจา ชวี ติ ของท่ีดินตลอดท่ัวราชอาณาจักร แตเมื่อภายหลังมีการเปล่ียนแปลงการปกครองเม่ือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ระบบการปกครองจากระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธิราชยเปนระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ทําใหพระราชสถานะของพระมหากษัตริยไดเปลี่ยนแปลง ไปดวยคือ ทรงเปล่ียนฐานะเปนพระมหากษัตริยในระบอบประชาธิปไตยท่ีมีรัฐธรรมนูญเปน กฎหมายแมบ ทในการใชพระราชอาํ นาจทงั้ ปวง พระราชสถานะและพระราชอาํ นาจของพระมหากษตั ริย รปู แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไดกําหนดไวในรัฐธรรมนูญไทย ทกุ ฉบับอนั เปนกฎหมายแมบ ทสูงสดุ ในการปกครองประเทศ จะตอ งกลาวถึงสถาบันพระมหากษัตริย ไวในรัฐธรรมนูญ เพราะรปู แบบประมขุ ของประเทศไทย คอื พระมหากษตั ริยท่สี ืบเนื่องกนั มาอยาง ยาวนาน ตามประเพณกี ารปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข และตามรัฐธรรมนูญพระมหากษัตรยิ จ ะมีพระราชสถานะและตําแหนง หนาทต่ี าง ๆ มี 2 ประการ คือ 1) พระราชสถานะและพระราชอาํ นาจของพระมหากษัตรยิ ท บ่ี ญั ญตั ไิ วใ นรฐั ธรรมนญู เปนการกลา วถึงพระมหากษตั รยิ ต ามบทบญั ญัติของรัฐธรรมนูญแตละฉบับ เชน พระมหากษัตริย เปน องคพระประมุข หรอื พระมหากษัตรยิ เ ปนอัครศาสนูปถัมภก รวมท้งั ทรงดาํ รงตาํ แหนง จอมทพั ไทย ดังปรากฎในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาประชาธิปก พระปกเกลาเจาอยหู ัว) หมวด 2 กษัตริย มาตรา 3 กลาววา “กษัตริยเ ปนประมขุ สูงสดุ ของประเทศ พระราชบัญญตั กิ ็ดี คําวนิ ิจฉยั ของศาลกด็ ี การอน่ื ๆ ซงึ่ จะมีบางกฎหมายระบไุ วโ ดยเฉพาะก็ดี จะตองกระทาํ ในนามของกษัตริย” และรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2540 (สมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช สยามนิ ทราธิราช

18 บรมนาถบพติ ร) หมวดที่ 2 พระมหากษัตรยิ  มาตรา 8 กลาววา “องคพ ระมหากษตั ริยท รงดาํ รงอยู ในฐานะอันเปน ที่เคารพสักการะ ผูใดจะละเมิดมิได ผูใดจะกลาวหาหรือฟองรองพระมหากษัตริย ในทางใด ๆ มไิ ด” ซึ่งบทบัญญัติเร่ืองน้ีไดรับอิทธิพลมาจากรัฐธรรมนูญของญ่ีปุน ที่สอดคลองกับ ความคดิ ความเชื่อของคนไทย ท้ังนี้ดวยมีความประสงคที่จะสําแดงพระราชสถานะอันสูงสุดของ พระมหากษัตริยใหประจักษ คติการปกครองประชาธิปไตยพระมหากษัตริยทรงอยูเหนือความ รบั ผิดชอบทางการเมือง จนเปนเหตใุ หเกิดหลกั กฎหมายรฐั ธรรมนูญที่วา “พระมหากษัตริยไมทรง กระทาํ ผิด” (The King can do no wrong) ซึง่ หมายถงึ ผูใดจะฟอ งรอ งหรือกลาวหาพระมหากษัตริย ในทางใด ๆ ไมไ ด ไมวาจะเปนในทางคดีแพงหรอื คดอี าญากต็ าม 2) พระราชสถานะและพระราชอํานาจของพระมหากษตั ริยตามประเพณีการปกครอง ตามหลกั ท่ัวไป พระมหากษตั รยิ ม ีพระราชอํานาจนอกเหนอื จากทก่ี ลาวขา งตน คือ แตเดิมพระมหากษัตริย มอี าํ นาจสิทธขิ าดในทกุ ๆ เรือ่ ง และทกุ ๆ กรณีแตผูเดียว ตอมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญเปนลายลักษณ อักษรจํากัดพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย ถากรณีใดไมมีบทบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญหรือ ก ฎ ห ม า ย กํ า ห น ด ข อ บ เ ข ต ห รื อ เ ง่ื อ น ไ ข ข อ ง ก า ร ใ ช พ ร ะ ร า ช อํ า น า จ ข อ ง พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย ไ ว พระมหากษัตริยก จ็ ะยังคงมพี ระราชอาํ นาจเชนนนั้ อยูโ ดยผลของธรรมเนียมปฏิบัติ (Convention) ซ่ึงมีคาบังคับเปนรัฐธรรมนูญเชนเดียวกัน เชน พระราชอํานาจในภาวะวิกฤต กลาวคือ เมื่อเกิด วิกฤตรายแรงทางการเมอื งถึงการเผชญิ หนา ระหวา งฝายตา ง ๆ ไมวาจะเปนเหตุการณ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 17 - 20 พฤษภาคม 2535 กด็ ี จะเห็นวา พระมหากษตั รยิ ทรงเขามาระงบั เหตรุ อนใหส งบ เย็นลงไดอยางอัศจรรย เปนตน หรือกรณีพระราชอํานาจในการยับย้ังรางกฎหมาย กรณีของ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยหลักแลว รางกฎหมายไมวาจะราง รัฐธรรมนูญแกไขเพิ่มเติม รางพระราชบัญญัติหรือรางพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เมื่อ ไดรับความเห็นชอบจากรัฐสภาแลว นายกรัฐมนตรีตองนําทูลเกลาทลู กระหมอม ภายใน 20 วัน เพ่ือพระมหากษตั รยิ ทรงลงพระปรมาภไิ ธย และเมอื่ ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาแลวบงั คบั ใชเปน กฎหมายได และในกรณีท่ีพระมหากษัตริยไมทรงเห็นชอบดวยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรอื เมอ่ื พน 90 วนั แลวมไิ ดพระราชทานคนื มา รัฐสภาจะตองปรึกษารางรฐั ธรรมนญู แกไขเพิ่มเติม ถารฐั สภามมี ติยืนยนั ตามเดมิ ดว ยคะแนนเสยี งไมนอ ยกวา 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาท่ี มีอยูของทงั้ สองสภาแลว นายกรัฐมนตรีตองนํารา งกฎหมายนั้นข้ึนทูลเกลาถวายอีกคร้ังหน่ึง เม่ือ พระมหากษตั รยิ มไิ ดท รงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคนื มาภายใน 30 วนั นายกรฐั มนตรีตองนาํ รัฐธรรมนูญแกไขเพ่ิมเติม หรือพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน้ัน ประกาศในราชกิจจานเุ บกษาใชบงั คับเปน กฎหมายได เสมอื นหนงึ่ วาพระมหากษตั ริยไ ดทรงลงพระ ปรมาภไิ ธยแลว (มาตรา 94) เปน ตน

19 สถาบันพระมหากษัตริยก อ ใหเ กดิ คณุ ประโยชนอยา งมากมายมหาศาลตอประเทศชาติ มาต้ังแตโบราณจวบจนปจจุบันน้ี ทั้งในฐานะที่กอใหเกิดการสรางชาติ การกูเอกราชของชาติ การรักษาและพัฒนาชาติ มสี าระสําคัญท่ีควรแกการนํามาศกึ ษา คอื 1) พระมหากษัตริยทรงเปนศูนยรวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริยทรง ทําใหเกิดความสํานึกเปนอันหน่ึงอันเดียวกัน แมวาสถาบันการเมืองการปกครองจะแยกสถาบัน นิติบญั ญตั ิ บรหิ าร ตุลาการ แตต องใหอํานาจของตนภายใตพระปรมาภิไธย ทําใหทุกสถาบันมีจุด รวมกัน อาํ นาจทีไ่ ดม าจากแหลงเดยี วกัน คอื พระมหากษตั ริย นอกจากน้ีพระมหากษัตริยยังทําให เกิดความสํานึกเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหวางหมูชนภายในชาติ โดยที่ตางเคารพสักการะและ จงรักภักดีตอพระมหากษัตริยรวมกัน แมจะมีความแตกตางกันในดานเชื้อชาติ เผา พันธุ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคกี ลมเกลยี วกันในปวงชนทงั้ หลาย ทาํ ใหเ กดิ ความเปนปกแผนและเปนพลังท่ี สาํ คญั ย่ิงของชาติ กลา วไดวา พระมหากษัตริยเปนศูนยรวมของชาติเปนศูนยรวมจิตใจ กอใหเกิด ความสมานสามัคคี และเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เกิดเอกภาพทั้งในทางการเมือง การปกครองในหมูประชาชนอยางดีย่ิง พระมหากษัตริยทรงรักใครหวงใยประชาชนอยางย่ิง ทรงโปรดประชาชนและทรงใหเ ขาเฝาฯ อยา งใกลชิด ทําใหเกดิ ความจงรกั ภกั ดแี นน แฟน มากข้ึนไม เส่ือมคลายพระองคเ สด็จพระราชดาํ เนินไปทกุ แหง ไมวา จะเปนถิ่นทุรกันดารหรือมอี นั ตรายเพียงไร เพ่ือทรงทราบถึงทกุ ขสุขของประชาชน และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะหอยางกวางขวาง โดยไมจํากัด ฐานะ เพศ วัย ประชาชนก็มีความผูกพันกับพระมหากษัตริยอยางลึกซึ้งกวางขวาง แนน แฟนมั่นคง จนยากท่ีจะมอี าํ นาจใดมาทําใหสัน่ คลอนได 2) พระมหากษตั รยิ ท รงเปน สญั ลกั ษณแ หง ความตอ เนือ่ งของชาติ สถาบนั พระมหากษตั รยิ เปน สถาบนั ประมขุ ของชาตสิ บื ตอกันมาโดยไมขาดสายขาดตอนตลอดเวลา ไมวา รัฐบาลจะเปล่ยี นแปลงไปก่ีชุดก่ีสมัยก็ตาม แตสถาบันพระมหากษัตริยยังคงอยูเปนความตอเนื่อง ของประเทศชาติ ชวยใหก ารปกครองไมมีชองวางแตมีความตอเนอ่ื งตลอดเวลา เพราะสาเหตุท่ีมี พระมหากษัตริยเ ปน ประมุขอยมู ิไดเปล่ียนแปลงไปตามรัฐบาลดวย 3) พระมหากษตั ริยไทยทรงเปนพุทธมามกะและอคั รศาสนปู ถมั ภก ทําใหเกิด ความสัมพันธแนน แฟนระหวา งคนในชาติแมจะมีศาสนาตางกนั เพราะพระมหากษตั รยิ ทรงอปุ ถมั ภ ทกุ ศาสนาแมวาพระองคจะทรงเปน พทุ ธมามกะ จงึ กอใหเกดิ พลังความสามัคคใี นชาติ ไมบ าดหมาง กันดว ยการมีศาสนาตา งกัน 4) พระมหากษตั ริยท รงเปน พลงั ในการสรา งขวญั และกาํ ลังใจของประชาชน พระมหากษัตริยท รงเปนทีม่ าแหงเกยี รติยศทงั้ ปวง กอใหเ กดิ ความภาคภมู ิ ปต ยิ ินดี และเกิดกําลังใจ ในหมปู ระชาชนท่ัวไปท่จี ะรักษาคุณงามความดี มานะพยายามกระทําความดี โดยเฉพาะอยางยิ่ง เมื่อพระองคทรงไวซ่ึงความดีงามตลอดเวลา ทําใหประชาชนผูปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีกําลังใจที่จะ

20 ทํางานเสยี สละตอไป จึงเสมือนแรงดลใจผลักดันใหผูมีเจตนาดี ประกอบคุณงามความดีมุงม่ันใน การปฏบิ ตั ิอยางเขมแข็ง ทงั้ ในสว นประชาชน สว นราชการหรือรัฐบาล 5) พระมหากษตั รยิ ทรงมสี วนสําคญั ในการรกั ษาผลประโยชนของประชาชนและ ทําใหก ารบริหารงานประเทศเปนไปดวยดี พระมหากษตั ริยท รงขึ้นครองราชยดวยความเห็นชอบ ยอมรบั ของประชาชน โดยมรี ฐั สภาทาํ หนาที่แทนพระองคจ ึงไดร ับการเทดิ ทูนยกยองเสมือนผูแทน อนั อยูใ นฐานะเปนท่ีเคารพสกั การะของประชาชนดวย การทพี่ ระมหากษัตริยทรงมีพระราชอาํ นาจ ท่ีจะยบั ยัง้ พระราชบัญญัติ หรือพระราชทานคําแนะนําตักเตือน คําปรึกษา และการสนับสนุนใน กจิ การตา ง ๆ ทัง้ ของรัฐบาล รัฐสภา และศาล ตามรัฐธรรมนูญจัดไดวาพระองคทรงมีสวนรวมอัน สําคญั ในการรักษาผลประโยชนข องประชาชนและกอใหเกดิ ผลดใี นการบริหารการปกครองประเทศ อยา งนอยก็ชวยใหฝา ยปฏิบตั หิ นาท่ที งั้ หลายเกิดความสํานกึ เกิดความระมดั ระวัง รอบคอบมิใหเกิด ความเสียหายตอสวนรวมมากพอสมควร พระมหากษัตริยทรงเปนประมุขและทรงเปนกลางทาง การเมืองการกําหนดหลกั การสืบสนั ตตวิ งศไ วอ ยางชดั เจนโดยกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนญู เปน เครื่องประกันวาจะทรงเปนกลางทางการเมืองไดอยางแทจริง และทําใหสามารถยับย้ัง ทวงติง ใหก ารปกครองประเทศเปนไปโดยสจุ รติ ยตุ ธิ รรมเพอ่ื ประชาชนโดยสว นรวม ซ่งึ ตา งจากประมุขของ ประเทศทม่ี าจากการเลอื กตั้งทจ่ี ะตองยึดนโยบายของกลุมหรือพรรคการเมอื งเปนหลกั 6) พระมหากษตั ริยท รงแกไขวกิ ฤตการณ สถาบันพระมหากษัตรยิ เ ปนกลไกสาํ คญั ในการยับยั้งแกไขวิกฤตการณทีร่ า ยแรงในประเทศได ไมทําใหเกิดความแตกแยกภายในชาติอยาง รุนแรงจนถึงตองตอสูกันเปนสงครามกลางเมือง หรือแบงแยกกันเปนประเทศเล็กประเทศนอย ขจัดปด เปา มิใหเ หตุการณลกุ ลามและทาํ ใหประเทศเขา สูภ าวะปกตไิ ด เพราะพระมหากษตั รยิ เปนท่ี ยอมรับของทุกฝายไมวาจะเปนดานประชาชน รัฐบาล หนวยราชการ กองทัพ นิสิต - นักศึกษา ปญญาชนท้ังหลาย หรือกลุมตาง ๆ แมกระท่ังชนกลุมนอยในประเทศ อันไดแก ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมสุ ลมิ เปนตน 7) พระมหากษตั รยิ ทรงสง เสรมิ ความมนั่ คงของประเทศ โดยการยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนและกองทพั พระมหากษัตรยิ ท รงดํารงตาํ แหนง จอมทัพไทยจึงทรงใสพระทัยในการ พฒั นากองทัพทัง้ ทางวัตถุและจติ ใจ ทรงเยยี่ มเยยี นปลอบขวัญทหาร พระราชทานของใชท่ีจําเปน ทรงชว ยเหลืออนเุ คราะห ผเู สียสละเพ่อื ชาติ ทาํ ใหเกิดขวญั และกําลังใจแกท หาร ขาราชการอยา งดี ยงิ่ พรอมที่จะรกั ษาความมัน่ คงและเอกราชของชาตอิ ยา งแนนแฟน 8) พระมหากษตั รยิ ท รงมีสวนเสริมสรา งสมั พันธไมตรรี ะหวางประเทศ พระมหากษัตริย ในอดตี ไดทรงดําเนนิ วิเทโศบายไดอยา งดจี นสามารถรกั ษาเอกราชไวไ ด โดยเฉพาะสมัยการลา เมืองข้ึน ในรชั กาลท่ี 4 และรัชกาลที่ 5 แหง กรงุ รัตนโกสนิ ทร สาํ หรับพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาล ปจจุบันก็ทรงดําเนินการใหเกิดความเขาใจอันดี ความสัมพันธอนั ดีระหวางประเทศตาง ๆ กับ

21 ประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดาํ เนินเปน ทูตสันถวไมตรีกับประเทศตาง ๆ ไมนอยกวา 31 ประเทศ ทําใหน โยบายตางประเทศดาํ เนนิ ไปอยางสะดวกและราบร่ืน นอกจากน้ันยังทรงเปนผูแทนประเทศไทย ตอนรบั ประมุขประเทศ ผูนาํ ประเทศ เอกอัครราชทตู และทูตสันถวไมตรีจากตา งประเทศอีกดวย 9) พระมหากษตั ริยทรงเปน ผนู าํ ในการพฒั นาและปฏิรปู เพือ่ ประโยชนของ ประเทศชาติ การพฒั นาและการปฏริ ูปทสี่ ําคัญ ๆ ของชาตสิ ว นใหญพระมหากษัตริยทรงเปนผูนํา พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลาเจาอยูหัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจดั ตงั้ กระทรวงตา ง ๆ ทรงสงเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปจจุบันพระมหากษัตริยทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาตาง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเปนการแกปญหาหลักทาง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นวา โครงการตามพระราชดําริสวนใหญมงุ แกปญหาหลกั ทางเกษตรกรรมเพ่อื ชาวนา ชาวไร และประชาชนผยู ากไรและดอยโอกาสอันเปนชนสวนใหญของ ประเทศ เชน โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาทด่ี ิน พัฒนาชาวเขา เปนตน 10) พระมหากษตั ริยทรงมสี ว นเกอื้ หนนุ ระบอบประชาธิปไตย บทบาทของ พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย มี ส ว น ช ว ยเ ป น อ ย า ง ม า ก ที่ ทํ า ให ปร ะ ช า ช น บั ง เ กิ ด ค ว า ม เ ชื่ อมั่ น ใ น ร ะ บ อ บ ประชาธิปไตย เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเช่ือม่ันในสถาบันพระมหากษัตริย จึ งมี ผ ล ส งให ปร ะ ช า ช น เกิ ด ค วา ม ศ รั ทธา ใ น ร ะ บอบปร ะ ช า ธิ ปไต ยอั น มี พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย เ ป น ประมขุ ดวย เน่ืองจากเห็นวาเปนระบอบท่ีเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริยอันเปนท่ีเคารพสักการะ ของประชาชนนั่นเอง กิจกรรมทา ยเร่อื งท่ี 1 สถาบนั หลกั ของชาติ (ใหผ เู รยี นไปทาํ กจิ กรรมทา ยเรอ่ื งที่ 1 ทส่ี มดุ บันทกึ กจิ กรรมการเรยี นรปู ระกอบชดุ วิชา)

22 เร่อื งท่ี 2 บทสรุปสถาบนั พระมหากษตั ริยเปน ศูนยร วมใจของคนในชาติ สถาบนั พระมหากษตั ริยม ีความสําคญั และผูกพนั กับสงั คมไทย และคนไทยมาตลอด ประวัติศาสตรข องประเทศ ในฐานะทีเ่ ปน ปจ จัยแหง ความม่ันคงทที่ รงนาํ พาประเทศชาติใหอยูรอด ปลอดภยั ตลอดมา เปน ศนู ยรวมความรกั ความสามคั คขี องคนในชาติมาจนถึงปจจุบัน โดยประเทศไทย มีสถาบันพระมหากษัตริยเปนสัญลักษณของการดํารงอยูของชาติไทยมาตอเน่ือง สังคมไทย ใหความสาํ คญั กบั สถาบันพระมหากษัตริย ต้ังแตสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร เปนสถาบัน ทางสงั คม ท่เี ขมแขง็ ยนื ยง ทาํ ใหป ระเทศไทยสามารถรักษาความเปน ไทยภายใตพ ระบรมโพธสิ มภาร มาจนถงึ ปจจุบนั สถาบันพระมหากษตั ริยเ ปนเสาหลักท่ีสําคญั ของสงั คมไทย ในทกุ ๆ ดาน เปน สมบัติ ล้ํ า ค า ท่ี ช า ว ไ ท ย ทุ ก ค น จ ะ ต อ ง ร ว ม กั น ป ก ป อ ง ใ ห ส ถ า บั น พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย ค ง อ ยู ต ล อ ด ไ ป พระมหากษตั ริยไทยทรงครองราชยปอ งเมือง ทาํ นบุ าํ รงุ บานเมอื ง ทํานุบาํ รุงสุข ศาสนา และสังคม มาจนถึงทุกวันนี้ แมวาประเทศไทยจะมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แตสถาบัน พระมหากษัตริยกลับเปนที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเชนเดิม ไมมีเปล่ียนแปลงจนถึง ปจจุบนั จนถงึ สมเดจ็ พระเจา อยหู วั มหาวชิราลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกูร รัชกาลท่ี 10 ก็ยังคงมี ความเปนหวงราษฎรในทุกเรื่อง โดยเฉพาะดานการศึกษา ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ในดาน การศึกษาโดยเนนใหการศึกษา ตองมุงสรางพ้ืนฐานใหแกผูเรียน การสรางทัศนคติท่ีถูกตอง (อุปนิสยั ) ท่มี ัน่ คงเขมแขง็ การสอนใหม ีอาชีพ มงี านทาํ รวมถงึ การทาํ ใหเยาวชนมคี วามสนใจ และ เขาใจในเรื่องของสถาบันพระมหากษัตรยิ แ ละประวตั ศิ าสตรชาตไิ ทยไดอ ยางถูกตอง สถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทยเปนศูนยรวมใจชาวไทยท่ีสืบทอดมา ยาวนานหลายศตวรรษ เปนวัฒนธรรมการปกครองที่มีความสําคัญ บงบอกถึงแนวคิด ความเชื่อ และความหมายของสัญลักษณตาง ๆ ท่ีหลอมรวมจิตใจชาวไทยใหเปนอันหน่ึงอันเดียวกันและ สรางสรรคใ หเกิดความผาสกุ ของสงั คมโดยรวมได วฒั นธรรมการปกครองระบบกษตั รยิ ข องประเทศ ไทยจงึ มีความผกู พันอยางแนบแนน ตอ สังคมไทยมาแตอดตี จนปจ จุบัน แนวคดิ ที่วา พระมหากษัตรยิ  ทรงเปนผูปกครองที่มีคุณลักษณะพิเศษนั้นสืบเน่ืองมาจากวัฒนธรรมความเช่ือทางศาสนา ซึ่ง พัฒนาและผสมผสานมาจากแนวคดิ หลกั ตาง ๆ 3 ประการ คอื ประการแรก เปน แนวคดิ พราหมณ ฮินดซู ่งึ ถอื วาผทู ่ดี าํ รงตําแหนง กษัตริยคือองคอ วตารของพระผเู ปนเจาในศาสนาพราหมณฮินดูซึ่งมี หนา ที่หลกั ในการธาํ รงไวซ ่ึงความผาสกุ ของโลกมนุษย เปน แนวคิดเบื้องตน เมือ่ ชาวไทยรับคติความ เช่อื พราหมณฮนิ ดูเขามา ประการทีส่ อง เปนแนวคดิ ของพระพทุ ธศาสนา ซึ่งนอกจากความเช่ือเร่ือง บุญกรรมที่สงใหเปนผูมีบารมีแลว ยังมีความเช่ือวาองคพระมหากษัตริยทรงมีสถานะเปน พระพทุ ธเจาและเปน เทพ แนวคดิ เรอ่ื งเทพทางพระพทุ ธศาสนานแี้ ตกตางจากศาสนาพราหมณฮ นิ ดู ในคัมภีรจักรวาฬทปี นีซ่ึง เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2063 อธิบายวา “พระราชา พระเทวี พระกุมาร ชื่อ วาสมมตเิ ทพ, เทพท่ีอยู ณ ภาคพ้นื ดนิ และท่ีสงู กวานน้ั ชอื่ วาอปุ บัติเทพ, พระพุทธเจา พระปจเจก

23 พทุ ธเจาและพระขีณาสพช่ือวา “พระวิสทุ ธิเทพ” พระมหากษัตริยในสังคมไทยทรงมีลักษณะของ เทพ 3 ประเภทนี้ คือ สมมติเทพ อปุ บัติเทพ และวิสุทธิเทพอยูในองคเดียว ทั้งนี้ไดรวมเอาเทพ ชั้นสูงในศาสนาพราหมณฮินดูเขาไวดวย ดังท่ีสะทอนใหเห็นจากแนวคิดเร่ืองสมมติเทพหรือ สมมติเทวดา และในบริบทแวดลอมอื่น ๆ นอกจากน้ัน พระมหากษัตรยิ ไ ทยยังทรงเปนมหาสมมตริ าช ขัตติยะ และราชา ดังปรากฏคําอธิบายในหนังสือไตรภูมิพระรวงของพระเจาลิไทซ่ึงแตงข้ึนใน สมยั สโุ ขทัยวา “อันเรียกช่ือมหา สมมติราชนั้นไซร เพราะวา คนทั้งหลายยอมต้ังทานเปนใหญแล อันเรียกชื่อขัตติยะนั้นไซร เพราะวาคนทั้งหลายใหแบงปนไรนาเขานํ้าแกคนท้ังหลายแล อันเรียกช่ือวาราชาน้ัน เพราะทานน้ันถูกเน้ือ พึงใจคนท้ังหลายแล” สวนในโลกทีปสารแตงโดย พระสงั ฆราชเมธังกร ซ่ึงเปนครขู องพระเจาลิไทยกลาววา “นามราชา เพราะปกครองบุคคลอื่น ๆ โดยธรรม โดยเทยี่ งธรรม” ประการท่ีสาม แนวคิดความสัมพันธระหวา งบิดา - บตุ ร อนั เปน แนวคดิ พืน้ เมืองดัง้ เดิมที่เนน ความสมั พันธใกลชดิ ระหวา งผปู กครองกบั ผใู ตป กครอง ซึง่ ตา งไปจากสังคมทม่ี ี วรรณะ นบั ไดว าเปนความเขมแข็งของวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริยของไทยทส่ี ามารถ ดํารงสืบตอมาไดจนปจจุบัน แนวคิดท้ัง 3 ประการนี้แสดงคติความเชื่อเร่ืองสถานะขององค พระมหากษัตริยที่ผสมผสานกนั พระมหากษัตรยิ ไทยนบั แตอดีตมิไดทรงดํารงพระองคเปนเฉพาะ องคอวตารแหงพระผเู ปนเจา ของศาสนาพราหมณฮนิ ดูหรอื เปนผูบําเพ็ญบุญบารมีเฉพาะพระองค แตยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เชนเดียวกับบิดาผูดูแลบุตรดวย พระราชภาระหลักของ พระมหากษัตริยอันเปนพ้ืนฐานตามคติพราหมณฮินดูมี 4 ประการ คือ 1) พระราชทานความ ยตุ ธิ รรมอนั เปนระเบียบสากลของผูปกครองหรือผูนําท่ีจะตองสรางหรือออกกฎหมายเพื่อใหเกิด ความยุติธรรม 2) ทรงรักษาความยุติธรรมน้ัน ๆ อยางเครงครัด 3) ทรงรักษาพระศาสนาและ ประชาชน 4) ทรงสรางความผาสุกแกประชาชน นอกจากนัน้ พระมหากษัตริยยังทรงดํารงหลัก ราชธรรมในพระพุทธศาสนา ไดแก ทศพิธราชธรรม 10 ประการ สังคหวัตถุ 4 ประการ และ จักรวรรดิวตั ร 12 ประการ เมื่อประสานกับลักษณะวัฒนธรรมการปกครองแบบบิดา - บุตรแลว จงึ เปน เหตใุ หพระมหากษัตรยิ ใ นประเทศไทยมพี ระราชสถานะอนั สงู สงควรแกการยกยองสรรเสรญิ ยงิ่ ในสมัยกรุงสุโขทัย ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับประชาชนมีความใกลชิดกันมาก พระมหากษัตริยทรงดูแลทุกขสขุ ของประชาชนดงั บิดาดแู ลบตุ ร ดังปรากฏบนั ทึกในศลิ าจารึกหลัก ท่ี 1 ของพอขุนรามคําแหงมหาราช ที่สําคัญมากก็คือวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริยนั้น เปนการปกครองโดยมีมนษุ ยธรรม จารึกสโุ ขทยั หลักท่ี 38 วัดพระมหาธาตุ - วัดสระศรีพุทธศักราช 1940 วา พระมหากษตั ริยแ หงกรุงสโุ ขทยั “จักใครข ัดพระราชสีมานดี้ งั มนษุ ยธรรม (อยา ง) พระยา รามราช” คือ กษัตริยในกรุงสุโขทัยไดปกครองประชาชนอยางมีมนุษยธรรมเชนเดียวกับพอ ขุน รามคาํ แหง กษตั รยิ แ หงกรงุ สโุ ขทัยเอาพระราชหฤทัยใสไพรฟาขาแผนดินของพระองคดังปรากฏ หลักมนุษยธรรมในไตรภูมิ พระรวงวา “รูจักผิดแลชอบ แลรูจักท่ีอันเปนบาปแลบุญ แลรูจัก

24 ประโยชนใ นช่ัวนช้ี ัว่ หนา แลรจู ักกลวั แกบ าปแลละอายแกบ าป รูจักวายากวา งาย แลรรู กั พีร่ ักนอ ง แลรเู อ็นดกู รุณาตอผูเขญ็ ใจ แลรูยาํ เกรง พอ แม ผูเถา ผแู ก สมณพราหมณาจารยอ ันอยูในสิกขาบท ของพระพุทธเจาทุกเมอื่ และรูจักคุณแกว 3 ประการ” อนั แสดงใหเ ห็นความผูกพนั ระหวางกษัตรยิ  ในฐานะของบิดา - บตุ ร ในการสอนใหท ําความดี ใหรจู ักบาปบญุ และหลักธรรมตาง ๆ ในสมัยอยุธยา พระราชสถานะของพระมหากษตั ริยเปลี่ยนแปลงไปบาง เม่ือมีคติความคิดเก่ียวกับสมมติเทวราช มาผสมผสาน พระมหากษัตริยทรงเปนเสมือนเทพเจา ดังปรากฏพระนามของ พระมหากษัตริย สมัยอยุธยา เชน สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระรามราชา สมเด็จพระอินทรราชา สมเด็จ พระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณม หาราช เปนตน ซึ่งลวนแตเปนท้ังพระนามของเทพเจาของ พราหมณฮินดูและเทพเจาในความเชื่อพ้ืนถ่ินท้ังสิ้น นอกจากนั้นพระราชกรณียกิจทั้งปวงของ พระเจา แผนดินดงั ทป่ี รากฏในพระราชพิธี 12 เดอื น หรือทต่ี ราไวในกฎมณเฑียรบาลกด็ ีลว นเปนไป เพ่อื ประโยชนสขุ ของประชาชน อาจกลาวไดว า วฒั นธรรมการปกครองในระบบกษัตริยของอยุธยานั้น ยังคงสบื ทอดมาจากแบบฉบับของกรุงสโุ ขทัยทเี่ นนความสัมพันธร ะหวางบิดา - บตุ ร แมบ ันทึกของ ชาวตา งชาติ เชน ลาลูแบรหรอื แชรแวสก็ยังระบุวา การลงโทษขนุ นางในราชสาํ นักน้ัน “เสมอดวย บิดากระทําแกบุตร และมิไดทรงลงอาญาอยางตระลาการท่ีใจเห้ียมหรือเจาขุนมูลนายท่ีเอาแต โทสจรติ ไดกระทําแกทาส” ตอมาในสมยั กรงุ ธนบุรีและกรงุ รัตนโกสนิ ทรว ัฒนธรรมการปกครองใน ระบบเดิมยังสืบทอด และธํารงไวไดเปนอยางดีในการสรางความเปนปกแผนของบานเมืองและ การสรา งขวัญกําลังใจใหเ กิดขึ้นในหมูประชาชน ดังแนวพระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟาจฬุ าโลกมหาราชวา “ตัง้ ใจจะอปุ ถมั ภก ยอยกวรพทุ ธศาสนา ปอ งกนั ขอบขณั ฑเสมา รักษา ประชาชนแลมนตรี” หรือคติ “พระมหาสมมุติราช” ซ่ึงรวมความเปนพระราชามหากษัตริยก็ได ปรากฏชัดเจนในประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก มหาราชใน พ.ศ. 2328 วา “พรรณพฤกษาชลธี แลส่ิงของในแผนดินทั่วเขตพระนคร ซ่ึงหาผูหวง แหนมไิ ดน้นั ตามแตส มณชพี ราหมณาจารยราษฎร ปรารถนาเถดิ ” แนวคิดดงั กลาวยังไดสืบตอมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว สวนท่ีไดปรับเปล่ียนเปนสากลก็คือ พระมหากษัตริยทรงสงั เกตเห็นความเปลย่ี นแปลงของสังคมโลก ทรงเรียนรู ศิลปวิทยาตางๆ และ ทรงเขา ถงึ ประชาชนมากข้นึ อนึ่ง ตงั้ แตในรชั กาลที่ 4 เร่มิ มแี นวคดิ ในการเปลี่ยนแปลงและยอมรับ ฐานะแหง “มหาชนนิกรสโมสรสมมติ”มากขึ้น และพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรง เหน็ วาความสัมพันธร ะหวา งประชาชนกบั พระมหากษตั ริยเ ปนส่งิ จําเปน ดังเชน ความตอนหนึ่งใน ประกาศเร่ืองดาวหางประกาตรศี กวา “พระเจา แผน ดินคนทั้งปวงยกยองไวเ ปน ท่พี งึ่ ใครมที ุกขรอ น ถอยความประการใดก็ยอมมารองใหชวย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแลว ก็มารองหาบิดามารดา เพราะฉะน้ันพระเจาแผนดนิ ช่อื วาคนทั้งปวงยกยองใหเปนบิดามารดาของตัว แลวก็มีความกรุณา แกค นทง้ั ปวง ดังหนึง่ บดิ ามารดากรุณาแกบุตรจริง ๆ โดยสุจรติ ”

25 นอกจากนัน้ การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระผนวช ไดเสด็จ ธุดงคตามหวั เมอื งตา ง ๆ กย็ ิง่ เปน การสรางความผูกพนั ระหวา งพระมหากษตั รยิ ก บั ประชาชนอกี ดว ย เพราะไดท รงรจู กั วิถีชีวติ ของราษฎรอยา งแทจริง ในรัชกาลตอมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา เจา อยหู ัว กท็ รงไดร บั การยอมรบั จากขุนนางทง้ั ปวงอยา ง “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” ท่ีท้ังพระสงฆ พระราชวงศ และขนุ นางเห็นพองกันใหพระองคเสด็จขึน้ ครองราชย ตลอดเวลาทผี่ า นมานับแตสมยั สุโขทัยแมจะมีการเปลี่ยนแผนดินหรือมีการเปลี่ยนราชวงศแตแนวคิดระบบการปกครองแบบ กษตั รยิ ท ีเ่ คยมมี านนั้ หาไดเปลย่ี นไปดวยไม ในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษตั ริยท รงใชพ ระราช อาํ นาจผานกระบวนการ 3 องคกร คือ อํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เสมือนผูแบงเบา พระราชภาระของพระองค แตพระมหากษัตริยก็ยังทรงมีพระมหากรุณา พระราชทานพระบรม ราโชวาทส่งั สอน ชี้นําแนวทางการดําเนินชีวิตที่ถูกท่ีควร มีศีลธรรมกํากับ ทั้งทรงปฏิบตั ิพระองค เปนแบบอยาง ดว ยพระมหากรุณาธิคณุ นค้ี นไทยจงึ ยงั คงมคี วามผูกพันกบั องคพ ระมหากษตั ริยมาก เชน เดมิ คนไทยมีคําเอยพระนามพระมหากษัตริยอยูหลายคําที่บงบอกความรูสึก ยกยองเทิดทูน และผกู พันตอ พระองคเชน คาํ วาพระเจา แผน ดิน พระเจาอยหู วั เจาชีวติ ท้ัง 3 คํานี้มีนัยสําคัญดังน้ี พระเจาแผนดิน ตามรูปศัพท หมายถึง ผูปกครองท่ีเปนเจาของแผนดิน คือ ผูนําท่ีมีสิทธ์ิขาดใน กิจการของแผนดิน และสามารถพระราชทานท่ีดินใหแกผูใดผูหนึ่งไดแตในสังคมไทย พระเจา แผน ดินทรงเปน เจาของแผน ดินผูท รงบํารุงรกั ษาแผนดินใหมีความอุดมสมบูรณ เพ่ือใหประชาชน สามารถใชท ด่ี ินในพระราชอาณาเขตของพระองคใหเกิดประโยชน เชน ทําการเพาะปลูกใหไดผล ตลอดจนเอาพระราชหฤทัยใสในการบํารงุ แผนดินใหม คี วามอุดมสมบูรณอยูเปนนิจ ดังท่ีปรากฏเปน โครงการพระราชดําริตาง ๆ ในปจจุบันน้ี และเปนที่ประจักษในสากลวาพระเจาแผนดินไทยทรง งานหนักท่ีสุดในโลก และทรงรักประชาชนของพระองคอยางแทจริง พระเจาอยูหัวเปนคําเรียก พระเจา แผนดินทแี่ สดงความเคารพเทดิ ทนู อยา งสูงสุดและเปนยอดของมงคลท้ังปวง พระเจา อยหู ัว หรือพระพุทธเจา อยูหัว หมายถึง การยอมรับพระราชสถานะของพระเจาแผนดินวาทรงเปนองค พระพุทธเจา ดังนั้น จึงทรงเปนที่รวมของความเปนมงคล ส่ิงของตาง ๆ ที่พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ พิธีกรรมตาง ๆ ที่จัดข้ึนโดยพระบรมราชโองการ และการไดเขา เฝาทูลละอองธุลีพระบาท หรือไดเห็นพระเจาอยูหัว จึงลวนแตเปนมงคลท้ังส้ิน เจาชีวิต เปนคํา เรียกพระเจาแผน ดินทแี่ สดงพระราชอาํ นาจเหนือชวี ติ คนท้ังปวงทอ่ี ยูใ นพระราชอาณาเขต คําคําน้ี อาจหมายถึงพระเจา แผน ดินท่ีทรงสทิ ธใ์ิ นการปกปอ งคมุ ครองชีวติ ประชาชนใหพนภัย วิบัติท้ังปวง หรือลงทณั ฑผ ูกระทําผดิ ตอพระราชกาํ หนดกฎหมาย ตลอดจนทรงชบุ ชีวติ ขาแผนดนิ ใหม คี วามสขุ ลวงความทุกข ท้ังนี้สุดแตพระเมตตาพระกรุณาธิคุณอันเปนลนพนของพระองค แตในสังคมไทย ปจ จบุ นั นัน้ คําวา เจาชีวิต หมายถึงพระเจาแผนดินผูพระราชทานกําเนิดแนวคิดโครงการตาง ๆ แกประชาชน โดยมิไดทรงใชพระราชอํานาจลวงไปเกินขอบเขตแหงราชนีติธรรม แตทรงดํารง

26 ธรรมะ เปนองคป ระกอบในการตดั สินวนิ จิ ฉัยเรื่องทั้งหลายท้งั ปวงดวย นอกจากนั้นยังปรากฏในคํา ที่ประชาชนเรียกแทนตนเองวาขาพระพุทธเจา ซ่ึงมีความหมายลึกซึ้งวาพระมหากษัตริย หรือ พระเจาแผนดิน หรือพระเจาอยูหัว หรือเจาชีวิตน้ัน เปนเสมือนหนึ่งพระพุทธเจาผูทรงพระคุณ อันประเสริฐ ประชาชนทุกคนตางไดพ่ึงพระบารมีอยูเปนนิจเหมือนอยูใตพระบรมโพธิสมภาร กลาวไดวาวัฒนธรรมการปกครองของสังคมไทยแมจะมีความเปล่ียนแปลงผานยุคสมัยตาง ๆ ก็ยังคงรักษาแนวคิดเดิมคือความสัมพันธอันใกลชิดเปนหน่ึงเดียวกันระหวางพระมหากษัตรยิ กับ ประชาชน และศาสนาไวไ ดเปน อยางดี เพราะไมวาเวลาจะผานไปนานเทาใด “พระราชาก็ยังเปนกําลัง ของคนทกุ ขย าก” ซ่ึงไดท รงสงเคราะหโ ดยทั่วทกุ ชนช้ันวรรณะใหเกดิ ความผาสุกอยูเปนนิจ ตรงตาม หลักมนุษยธรรมในไตรภูมิพระรวงดังไดกลาวมาแลวขางตนอยางไมเส่ือมคลาย และทรงเปน ศูนยร วมความจงรักภักดีของคนไทยตลอดไป (มลู นธิ สิ มเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราช กมุ าร,ี 2554 : พระราชนพิ นธคาํ นํา) กจิ กรรมทา ยเรอ่ื งท่ี 2 บทสรปุ สถาบันพระมหากษตั รยิ เ ปน ศูนยร วมใจของคนในชาติ (ใหผ เู รยี นไปทาํ กิจกรรมทา ยเรอื่ งที่ 2 ทส่ี มดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรปู ระกอบชดุ วชิ า)

27 เร่ืองท่ี 3 บญุ คณุ ของพระมหากษตั ริยไ ทยต้งั แตสมยั สุโขทัย อยุธยา ธนบรุ ี และรตั นโกสนิ ทร 3.1 สมยั สุโขทัย อาณาจักรสโุ ขทยั เปนสมยั ทเ่ี จริญรงุ เรอื งสูงสดุ ในรชั สมัยของพอขนุ รามคาํ แหงมหาราช อํานาจของอาณาจักรสุโขทัยในชวงรัชสมัยของพระองคมั่นคงมาก ไดทรงแผอาณาเขตออกไป โดยรอบ วัฒนธรรมไทยไดเจริญข้ึนทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญท้ังดาน ประวัตศิ าสตร การสงคราม ภมู ศิ าสตร กฎหมาย ประเพณี การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดษิ ฐอ กั ษรไทย และอน่ื ๆ สมัยพอขุนรามคาํ แหงมหาราช ดา นการเมอื งการปกครอง พระองคทรงใชรูปแบบการปกครองแบบพอปกครองลูก คือ พระองคทรงดูแล เอาใจใสในทกุ ขส ขุ ของราษฎรเหมือนพระองคเ ปนพอ สวนราษฎรหรือไพรฟา คือ ลูก เมื่อราษฎร มีเร่ืองเดือดรอนก็ทรงใหสั่นกระดิ่งท่ีหนาประตูวัง แลวพระองคก็จะเสด็จออกมารับฟงเรื่องราว และทรงตัดสินปญหาดว ยพระองคเอง นอกจากน้ี พระองคทรงทําสงครามขยายอาณาเขตออกไป อยา งกวา งขวางมากกวา พระมหากษัตริยพ ระองคใดในสมยั สุโขทัย ดา นเศรษฐกิจ พระองคทรงโปรดใหสรางทํานบกกั เก็บน้ําที่เรียกวา ทํานบพระรวง หรือ สรีดภงส เพื่อใชกักเก็บน้ําไวใชในฤดูแลง และพระองคทรงใหเสรีภาพแกประชาชนในการคาขายไดอยาง มอี ิสระเสรี ไมมีการเกบ็ ภาษผี านดานจากราษฎร ทีเ่ รียกวา จังกอบ ทําใหการคาขายขยายออกไป อยา งกวางขวาง และทรงโปรดใหส รา งเตาเผาเคร่ืองสังคโลกเปน จํานวนมาก เพ่ือผลติ สนิ คา ออกไปขาย ยงั ดนิ แดนใกลเคียง ดา นศิลปวฒั นธรรม พระองคท รงประดษิ ฐตัวอกั ษรไทยท่ีเรยี กวา ลายสือไทย และไดมีการพัฒนามาเปน ลําดับจนถึงอักษรไทยในปจจุบัน ทําใหคนไทยมีอักษรไทยใชมาจนถึงปจจุบัน โดยโปรดใหจารึก เร่ืองราวเหตุการณต าง ๆ ในสมัยสโุ ขทัยลงบนศิลา เม่อื พ.ศ. 1826 เรยี กวา ศลิ าจารกึ หลกั ที่ 1 สมยั พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ในสมัยพระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พระยาลิไท) ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัย เปน อนั หนงึ่ อันเดียวกัน และขยายพระราชอาํ นาจออกไประหวา งแควจําปาสักกับแมนํ้าปงจนจรด แมน ้าํ นา นทางทศิ เหนอื มาไวใ นราชอาณาจักรสุโขทัย

28 ดา นศาสนา ทรงมบี ทบาทสาํ คญั ในการทาํ นบุ ํารุงและเผยแผพระพุทธศาสนา คือ ไดสงพระสงฆ ออกไปเผยแผ พระพุทธศาสนายงั ทตี่ าง ๆ เชน เมืองเชยี งใหม พษิ ณโุ ลก อยธุ ยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกลา ฯ ใหซอ มพระเจดียเมืองนครชุม (กําแพงเพชร) ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ท่ีเขาสุมนกุฏ ซึ่งอยูนอกเมืองสุโขทัย โปรดใหสรางวัดปามะมวง (สุโขทัย) ทรงโปรดใหหลอ พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดเทากับองคพระพุทธเจา ถวายพระนามวา พระศรีศากยมุนี ประดษิ ฐานท่พี ระวหิ ารวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ สโุ ขทยั ดา นภาษาและวรรณคดี ทรงมีความเช่ียวชาญในดานภาษาและวรรณคดีเปนพิเศษ ดังมีหลักฐานปรากฏ ในหนังสือไตรภมู ิพระรว ง วา พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงนิพนธข้ึนเมื่อคร้ังยังดํารง พระยศพระมหาอุปราช ครองเมอื งศรสี ชั นาลยั หนังสอื ไตรภมู ิพระรว งเปนวรรณคดีท่ีเก่ียวของกับ พระพุทธศาสนา 3.2 สมัยอยธุ ยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจาอูทอง) ทรงเปนปฐมกษัตริยของกรุงศรีอยุธยา ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ณ ชัยภมู ทิ เี่ อื้ออาํ นวยทัง้ ในดานความปลอดภัยจากขาศึกและความอยูดีกินดี ของชาวอยธุ ยา พ้นื ท่ีเหมาะแกการทําเกษตรกรรม บุญคุณของพระมหากษตั ริยส มัยอยุธยาทมี่ ตี อประเทศในสมัยอยุธยา ดงั นี้ 1. ทรงปฏริ ูปการปกครอง โดยทรงรวมอาํ นาจการปกครองเขา สศู นู ยกลาง คอื ราชธานี และแยกฝายทหารกับฝายพลเรือนออกจากกัน การแตงตั้งตําแหนงขาราชการใหมีบรรดาศักดิ์ ตามลําดบั จากต่ําสุดไปสงู สุด คือ ทนาย พนั หม่นื ขุน หลวง พระ พระยา และเจาพระยา มกี ําหนด ศกั ดนิ าเพื่อเปนคา ตอบแทนการรบั ราชการ ทรงตัง้ กฎมณเฑียรบาลข้ึนเปนกฎหมายสําหรบั การปกครอง 2. ทรงประกาศใชกฎหมายลักษณะสําคัญ คือ กฎหมายศักดินา เปนการกําหนด สทิ ธิหนาทม่ี ูลนายและไพร 3. โปรดเกลาฯ ใหประชมุ นกั ปราชญร าชบณั ฑติ แตง หนงั สอื มหาชาตคิ ําหลวง นบั วา เปน วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรอื่ งแรกของกรุงศรีอยธุ ยา และเปน วรรณคดีที่ใชเ ปนแนวทาง ในการศกึ ษาภาษาและวรรณคดขี องไทย พรอมท้ังสรา งวดั จฬุ ามณี 4. ทรงรวมอาณาจกั รสโุ ขทยั เปนสวนหนงึ่ ของอยธุ ยาโดยสมบรู ณ

29 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตลอดรชั สมยั ของพระองคทรงกอบกูกรุงศรีอยุธยาจากพมา และไดทําสงครามกับ อริราชศตั รูทงั้ พมาและเขมร จนราชอาณาจกั รไทยเปน ปก แผนม่ันคง ขยายดนิ แดนไดอยา งกวา งขวาง บญุ คุณของพระองคท ีม่ ีตอประเทศชาติในดา นตาง ๆ ดังนี้ ดา นการเมืองการปกครอง พระองคโปรดใหป รบั ปรงุ การปกครองหัวเมอื งใหญเ ปนการรวมอาํ นาจเขาสูศูนยกลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร ยกเลิกใหเจานายไปปกครองเมืองเหลานี้ แลวใหขุนนางไป ปกครองแทน จัดหัวเมืองตามความสําคัญและขนาดเปน เอก โท ตรี จตั วา ดานการคาขาย ทรงสง ทูตไปประเทศจนี เพ่อื รับรองฐานะกษตั รยิ ของพระองคและติดตอคาขายกับ ประเทศจีน ขยายการคา ไปประเทศสเปน สมเดจ็ พระนารายณม หาราช พระองคทรงเปนพระมหากษัตริยท ท่ี รงพระปรีชาสามารถมาก ทําใหกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมยั ของพระองค มีความเจรญิ รุงเรืองกาวหนาในทุกดาน ทั้งในดา นเศรษฐกิจ การตางประเทศ การศกึ ษา ศลิ ปวฒั นธรรม และวรรณคดที ่สี าํ คญั หลายเรอ่ื งเกดิ ขึน้ ในรชั สมยั ของพระองค จนไดชื่อวา เปนยคุ ทองของวรรณคดใี นสมยั กรงุ ศรีอยุธยา ในรัชสมัยของพระองค ไดมีชาวตะวันตกเดนิ ทางเขามาติดตอ คาขาย เผยแผศาสนา ตลอดจนเขา รับราชการ ทําใหช าวตะวนั ตกยอมรับนับถอื กรุงศรอี ยุธยาเปน อยางมาก ในดา นการคา ขาย ไดม ีการติดตอคา ขายกับตา งประเทศมากย่ิงกวาในรัชสมัยอ่ืน ๆ ทั้งฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทรงโปรดเกลาฯ ใหตอเรือกําปนหลวง เพ่ือทําการคาขาย กับตา งประเทศ จึงทาํ ใหอยุธยาเปนศนู ยกลางการคากับตางประเทศ มีเศรษฐกิจรุงเรือง มีรายได จากการจดั เก็บภาษอี ากรเปนจํานวนมาก 3.3 สมยั ธนบุรี สมเดจ็ พระเจาตากสินมหาราช พระองคมพี ระราชกรณยี กจิ ทส่ี าํ คญั คอื การรวบรวม กําลังไวตอสูกับพมา สรางความเปนปกแผนของพระราชอาณาจักรบุญคุณของพระองคที่มีตอ ประเทศชาติในดานตา ง ๆ ดา นเศรษฐกจิ เมื่อเศรษฐกิจของบานเมืองอยูในภาวะตกต่ํา ทรงแกไขปญหาเฉพาะหนาไดเปน อยา งดี โดยสละพระราชทรัพยซ อ้ื ขา วสารจากพอคา ตางเมือง

30 ดา นวรรณกรรม ทรงสนพระทัยดานวรรณกรรม ทรงนิพนธบทละครเร่ืองรามเกียรติ์ ทํานุบํารุง พระพทุ ธศาสนาใหร งุ เรอื งดังแตกอ น นอกจากนี้พระองคยงั ทรงเปนนักรบและนักปกครองชั้นดีเย่ียม มีคุณลักษณะผูนํา อยูเต็มตวั ท้ังในยามคบั ขันและยามปกติ 3.4 สมยั รตั นโกสนิ ทร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลท่ี 1) โปรดใหย า ยราชธานี จากกรุงธนบุรีไปยังท่ีแหงใหมซึ่งอยูคนละฝงของแมน้ําเจาพระยา เม่ือ พ.ศ. 2325 ตอมาได พระราชทานนามวา กรงุ รัตนโกสนิ ทร หรือกรุงเทพฯ ในปจ จุบนั การสรางพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช พระองคโปรดใหส รา งวัดข้นึ ในพระบรมมหาราชวัง คอื วัดพระศรีรตั นศาสดาราม หรือวัดพระแกว แลว อัญเชิญพระแกว มรกตมาประดษิ ฐาน ในสมัยรัชกาลท่ี 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเปลี่ยนนโยบาย ตา งประเทศ มาเปนการคากับชาวตะวันตก เพื่อความอยูรอดของชาติ เน่ืองจากทรงตระหนักถึง ภยั จากลัทธจิ กั รวรรดนิ ยิ ม ซงึ่ กําลังคุกคามประเทศตา ง ๆ อยใู นขณะนัน้ จดุ เรมิ่ ของการเปล่ียนแปลงนโยบายตา งประเทศ คอื การทาํ สนธิสญั ญาเบาวริง กับ อังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจา วกิ ตอเรยี ไดแตง ตัง้ ให เซอร จอหน เบาวริง เปนราชทูตเขามา เจรจา สาระสําคญั ของสนธสิ ญั ญาเบาวริง มีดงั นี้ 1. องั กฤษขอต้ังสถานกงสลุ ในประเทศไทย 2. คนองั กฤษมสี ทิ ธิเชาท่ดี ินในประเทศไทยได 3. คนอังกฤษสามารถสรา งโบสถ และสามารถเผยแพรศ าสนาคริสตได 4. เก็บภาษขี าเขาไดไ มเ กนิ รอยละ 3 5. พอคา อังกฤษและพอ คา ไทยมีสทิ ธคิ า ขายกันไดโดยเสรี 6. สินคาตอ งหา ม ไดแ ก ขา ว ปลา เกลอื 7. ถาไทยทําสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ท่ีมีผลประโยชนเหนือประเทศอังกฤษ จะตองทําใหองั กฤษดว ย 8. สนธิสัญญาน้ีจะแกไขเปลี่ยนแปลงได จนกวาจะใชแลว 10 ป และในการแกไข ตอ งยินยอมดว ยกันทัง้ สองฝา ยและตองบอกลว งหนา 1 ป

31 ผลจากการทําสนธสิ ญั ญาเบาวรงิ ในสมัยรชั กาลท่ี 4 ทําใหส ภาพสังคมไทยเปลีย่ นแปลง ในดา นตา ง ๆ มีดังน้ี 1. ดานการปกครอง รัชกาลที่ 4 ทรงแกไขเปล่ียนแปลงประเพณี คือ เปดโอกาสใหราษฎรเขาเฝาได โดยสะดวกใหร าษฎรเขา เฝา ถวายฎีการองทกุ ขไดใ นขณะทท่ี รงเสดจ็ พระราชดําเนิน รัชกาลท่ี 5 ทรงเปลี่ยนแปลงสถานะของไพรใหเปนพลเมืองปลดปลอยทาส ซง่ึ นาํ ไปสูการเลิกทาส และปฏิรปู การศกึ ษาโดยการจัดต้ังโรงเรียนข้ึนในวัดสําหรบั ราษฎร รัชกาลท่ี 6 ทรงประกาศใชพระราชบัญญตั ิ โปรดใหใชพทุ ธศักราช (พ.ศ.) เปนศักราช ทางราชการ แทนรัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ใหสอดคลองกับ สากลนิยม โปรดใหกําหนดคํานําหนาชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และ นาง เปล่ียนแปลง ธงประจําชาติ จากธงรปู ชางเผอื ก มาเปน ธงไตรรงคตรากฎมณเฑียรบาลวาดวยการสืบสันตติวงศ ตามแบบประเทศยโุ รป 2. การปฏริ ูปกฎหมายและการศาล รชั กาลที่ 4 ทรงตรากฎหมายขน้ึ หลายฉบบั เพ่อื ใหทันสมยั และเหมาะสมกับสภาพ บานเมอื ง เชน กฎหมายเกี่ยวกับมรดก สนิ สมรส ฯลฯ รชั กาลท่ี 5 การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสําคัญ โดยมีกรมหลวงราชบุรี ดเิ รกฤทธ์ิ (พระบิดาแหงกฎหมาย) เปนกําลงั สาํ คญั ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล มีดงั นี้ 1. โรงเรียนสอนวชิ ากฎหมาย 2. ตรากฎหมายฉบบั ใหมแ ละทนั สมัยที่สดุ คอื กฎหมายลักษณะอาญา 3. จัดตัง้ กระทรวงยุตธิ รรมขึ้น รัชกาลท่ี 6 โปรดใหป ฏริ ปู กรมรางกฎหมายเพ่มิ เติม เปนตน 3. ดา นเศรษฐกจิ ภายหลังการทําสนธิสัญญาเบาวริงแลว การคาของไทยเจริญกาวหนาขึ้นมาก ทําใหมีการปรบั ปรงุ ดา นเศรษฐกจิ ดงั นี้ รัชกาลท่ี 4 ทรงเปลี่ยนการใชเ งนิ พดดว งมาเปนเงนิ เหรียญ และขดุ คลอง ตดั ถนน เพิ่มขึ้นหลายสาย รัชกาลท่ี 5 โปรดเกลาฯ ใหเ ปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใชระบบทศนิยมกําหนดให 1 บาท มี 100 สตางค สรา งเหรียญสตางคทาํ ดวยทองขาว และเหรยี ญทองแดง และไดโปรดเกลา ฯ ไดพิมพธ นบตั รขนึ้ ใช โดยตราพระราชบัญญัติธนบตั ร ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) และตงั้ กรมธนบัตรข้นึ สงั กัดกระทรวงพระคลงั มหาสมบัติ นอกจากนี้ยงั ประกาศใชพ ระราชบัญญัติมาตราทองคํา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) โดยใชท องคําเปน มาตรฐานเงนิ ตราแทนเงนิ และไดประกาศยกเลิกการใชเงินพดดวง

32 เหรียญ เฟอง เบ้ยี ทองแดงตาง ๆ เบย้ี สตางคท องขาว โดยใหใ ชเ หรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค อยางใหมแ ทน และขดุ คลอง ตัดถนนเพ่มิ ข้นึ หลายสาย รชั กาลท่ี 6 โปรดตง้ั คลงั ออมสินข้ึน (ปจจุบัน คือ ธนาคารออมสิน) 4. ดา นการศกึ ษา รชั กาลท่ี 4 ตัง้ โรงเรยี นชายขึ้นท่ีตาํ บลสาํ เหร และโรงเรียนกลุ สตรีวงั หลัง รัชกาลที่ 5 ไดมีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียน พระตําหนักสวนกุหลาบและโรงเรยี นวัดมหรรณพาราม (แหงแรก) ไดโ ปรดใหจดั ต้ังกระทรวงธรรมการขึ้น เพอ่ื รบั ผิดชอบในดา นการศกึ ษา และยงั ไดพ ระราชทานทนุ เลา เรียนหลวงอีกดว ย รัชกาลที่ 6 มีดังน้ี 1. ตราพระราชบัญญัตปิ ระถมศึกษาขึ้นใชใ นป พ.ศ. 2464 2. ใหเรียกเกบ็ เงิน “ศกึ ษาพลี” จากราษฎรเพื่อบํารงุ การศึกษาทอ งถิ่น 3. ตง้ั มหาวทิ ยาลยั ขึน้ เปน แหงแรก คอื จุฬาลงกรณม หาวทิ ยาลัย 5. ดานศาสนา รชั กาลท่ี 4 ทรงประกาศใชพ ระราชบญั ญัติ ลกั ษณะการปกครองสงฆเปนฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เปน ผปู กครองสูงสุด มมี หาเถรสมาคมใหคําปรกึ ษา และโปรดใหสรางวัด ขึ้นหลายแหง เชน วัดโสมนัสวหิ าร วัดราชประดิษฐ วดั ปทมุ วนาราม รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชกรณยี กิจท่สี ําคญั คอื โปรดใหจัดต้งั สถานศึกษาสําหรบั พระสงฆข้ึน 2 แหง ซึ่งตอมาเปนมหาวิทยาลัยของสงฆ หรือมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มกี ารศกึ ษาถงึ ระดับปรญิ ญาเอก คือ 1. มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั อยูท ี่วัดมหาธาตุฯ เปน สถานศกึ ษาของพระสงฆ ฝายมหานกิ าย (ปจ จบุ ัน คือ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั การใหบริการดานการศึกษา เชนเดยี วมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย) 2. มหามงกฎุ ราชวิทยาลยั อยูท ่วี ดั บวรนเิ วศวิหาร เปนสถานศึกษาของพระสงฆ ฝา ยธรรมยุตินิกาย (ปจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย การใหบริการดานการศึกษา เชน เดียวกบั มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย) 6. ดานขนบธรรมเนยี มประเพณี รัชกาลท่ี 4 ทรงประกาศใหขาราชการสวมเสื้อเวลาเขาเฝา ทรงใหเสรีภาพ ประชาชน ในการนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ โปรดใหสตรไี ดยกฐานะใหส งู ขนึ้ รัชกาลท่ี 5 โปรดเกลาฯ ใหขาราชการสวมเส้ือราชปะแตน และสวมหมวก อยางยโุ รป ใหข าราชการทหารแตงเคร่ืองแบบตามแบบตะวันตก โปรดใหผ ูชายในราชสํานัก ไวผม

33 ทรงมหาดไทย เปลย่ี นมาไวผ มตัดยาวทัง้ ศรี ษะแบบฝรง่ั โปรดใหผหู ญิงเลกิ ไวผมปก ใหไวผ มตัดยาว ท่ีเรียกวา “ทรงดอกกระทมุ ” 7. ดา นศิลปกรรม รัชกาลท่ี 4 เร่ิมมีการกอสรา งแบบตะวนั ตก เชน พระราชวงั สราญรมย พระนครคีรี ทีเ่ พชรบรุ ี ดา นจติ รกรรม ไดแก ภาพเขียนฝาผนังในพระอโุ บสถ และวหิ ารวัดบวรนเิ วศวิหาร จติ รกรเอก ในสมัยน้ี ไดแ ก ขรัวอนิ โขง ซ่ึงเริม่ เขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวนั ตก เปน บุคคลแรก รัชกาลท่ี 5 สถาปตยกรรมไดร บั อทิ ธิพลแบบตะวนั ตกมากขึน้ ประติมากรรม ไดแ ก พระพุทธชินราชจําลอง พระบรมรูปหลอพระมหากษัตริย 4 รัชกาล พระราชนิพนธท่ีสําคัญของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา เจา อยหู วั ไดแก พระราชพธิ ีสิบสองเดือน พระราชนพิ นธไ กลบาน รัชกาลที่ 6 มีการกอ สรางตามแบบไทย ไดแก หอประชมุ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย การกอ สรางแบบตะวนั ตก เชน พระราชวงั สนามจนั ทร ดานจิตรกรรม ไดแก ภาพเขียนท่ีฝาผนังวิหารทิศ ท่ีจังหวัดนครปฐม การกอสราง พระพทุ ธรปู เชน พระแกว มรกตนอ ย ดานดนตรี และการแสดงละคร มีความรุงเรืองมาก มีการแสดงละครเพ่ิมข้ึน หลายประเภท เชน ละครรอ ง ละครพดู ดา นวรรณคดี ไดม พี ระราชนพิ นธหลายเรือ่ ง เชน เวนิสวาณิช ฯลฯ ไดม กี ารกอ ตง้ั วรรณคดสี โมสรขน้ึ ดวย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสําคัญท่ีสุดของไทย คือ การเปล่ียนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยมาเปนระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริยทรงเปนพระประมุขในป พ.ศ. 2475 ซ่ึงตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 7 ซึ่งถือวาเปนบุญคุณอันใหญหลวงที่พระมหากษัตริยไดทําเพื่อ ประชาชนของพระองค ในรชั สมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระองคมพี ระราชกรณยี กิจดานการพัฒนาทสี่ ําคญั คือ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอม เปนส่ิงท่ีทรงสนพระราชหฤทัยอยางย่ิง ทรงตระหนักวาปญหาเกษตรกรมาจาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่เสื่อมโทรม ถูกทําลายจํานวนมาก ทรงคิดคน ดัดแปลง ปรับปรุง และแกไขดวยการพัฒนาท่ีดําเนินการไดงาย ไมยุงยากซับซอน สอดคลองกับสภาพ ความเปนจริงของความเปนอยู และระบบนิเวศในแตละภูมิภาค พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ มาตลอดรชั สมยั เปนทยี่ อมรบั ทรงสรา งรูปแบบที่เปนตวั อยา งของการพฒั นาแบบย่ังยืน ผสมผสาน ความตอ งการของราษฎรใหเ ขากบั การประกอบอาชีพ โดยทรงนําพระราชดําริมาปฏิบัติจริง และ

34 สามารถพฒั นาใหเ ปน ทฤษฎีใหม ซึ่งเปนระบบการจดั การท่ดี นิ และแหลง นํา้ เพ่ือการเกษตรที่ยั่งยืน ทําใหเกษตรกรสามารถดาํ เนนิ ชีวติ ไดอยา งมีความสขุ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลท่ี 9) ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจเพ่ือการพัฒนาประเทศ โดยทรงเนน คนเปนศูนยกลางตลอดมา พระองคเปน ตน แบบการบริหารจัดการท่ีดีในทุกพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริยภายใตรัฐธรรมนูญ ทรงเก้ือหนุนการบรหิ ารราชการทกุ รฐั บาล แนวพระราชดําริจํานวนมากท่ีพระราชทานใหรัฐบาล นาํ ไปปฏิบัตลิ ว นมีจุดมุงหมายใหป ระชาชนชาวไทยมคี วามสขุ ไดรับบริการจากรฐั อยา งท่วั ถึง เขา ถงึ ทรัพยากรของชาตอิ ยางเทา เทยี มกนั แนวพระราชดํารดิ า นการเกษตรท่ีสาํ คัญ คอื “ทฤษฎใี หม” เปนการใชประโยชน จากพ้นื ท่ที ี่มีอยูจํากัดใหเกิดประโยชนสงู สดุ พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา พระบาทสมเด็จ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทรงช้ีแนะแนวทางการดาํ เนนิ ชีวติ ใหแกร าษฎร เปน ผลใหเ กดิ การพฒั นาสงั คมและทรัพยากรบุคคล อยางม่ันคง ย่ังยืน และสงบสุข ซึ่งโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริในรัชสมัยของพระองค มีท้ังสิน้ มากกวา 4,000 โครงการ อยูในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพ่ือ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (สาํ นกั งาน กปร.) นอกจากน้ีพระองคยังทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตรสาขาตาง ๆ ซึ่งสงผลตอ การพัฒนาท้งั สนิ้ ท้งั ในดานการประดษิ ฐ ไดแ ก การประดิษฐ “กังหันชัยพัฒนา” ซ่ึงเปนเครื่องกล เตมิ อากาศแบบทุน ลอย ดานวรรณศิลป พระองคทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ บทความ แปลหนังสือ เชน นายอนิ ทรผูปด ทองหลงั พระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนกฉบับ การตูน เปนตน งานทางดานดนตรี พระองคทรงพระปรีชาสามารถเปนอยางมากและรอบรูในเรื่อง การดนตรีเปนอยา งดี พระองคท รงดนตรีไดหลายชนดิ เชน แซ็กโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเปต กีตาร และเปยโน พระองคยงั ไดป ระพันธเพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงดวยกัน เชน เพลง พระราชนิพนธแสงเทยี น เปนเพลงแรก นอกจากน้ียังมเี พลงสายฝน ยามเย็น ใกลรงุ ลมหนาว ยิ้มสู สายลม ค่ําแลว ไกลกงั วล ความฝนอนั สงู สุด เราสู และเพลงพรปใ หม เปน ตน ในรชั สมัยสมเดจ็ พระเจา อยูห วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู (รชั กาลท่ี 10) พระราชกรณียกิจของพระองคท่สี าํ คญั เชน พระองคทรงใสพระราชหฤทัยในการสงเสริมการศึกษา ของเยาวชนไทย โดยทรงรบั โรงเรยี นหลายแหง ไวใ นพระราชปู ถมั ภ เนอื่ งจากทรงตระหนกั วา การศกึ ษา จะสามารถพฒั นาเยาวชน ซ่ึงเปนกําลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ทรงมีพระราชดําริ

35 ดานการสงเสริมการศึกษา ไดแก “โครงการทุนการศึกษาสมเดจ็ พระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกรู ” เพอื่ สนบั สนนุ และสง เสรมิ การศึกษาแกเดก็ และเยาวชน นอกจากนี้ พระองคยังทรงหวงใยและทรงคํานึงถึงความอยูดีมีสุขของประชาชน เปน สําคญั และพระองคมีพระราชปณิธานแนว แน ท่จี ะทําใหป ระเทศชาตมิ น่ั คงและประชาชนมชี วี ติ ความเปนอยทู ดี่ ขี น้ึ ดวยมพี ระราชประสงคทจี่ ะสบื สาน รักษา และตอยอดโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริและแนวพระราชดําริตาง ๆ ในการบําบัดทุกขและบํารุงสุขใหประชาชนและพัฒนา ประเทศใหเจริญกาวหนาทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหหนวยราชการในพระองค รวมกับ หนวยราชการตาง ๆ และประชาชนทุกหมูเหลาท่ีมีจิตอาสา บําเพ็ญสาธารณประโยชนในพ้ืนที่ตาง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดรอน และแกไขปญหาใหแกประชาชน ไมวาจะเปนปญหานํ้าทวมในเขต ชุมชน ปญหาการจราจร และอ่ืน ๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงหวงใยปญหานํ้าทวมและปญหาการจราจรในเขตพื้นท่ี กรุงเทพมหานครและจังหวัดตาง ๆ ซึ่งพระองคทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหจัดโครงการจิตอาสา “เราทาํ ความดี ดว ยหวั ใจ” ระหวา งวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สงิ หาคม พ.ศ. 2560 ในพนื้ ทก่ี รงุ เทพมหานคร เพื่อเปน แบบอยางในการพัฒนาสภาพแวดลอม และความเปน อยูในชุมชนใหมีสภาพท่ดี ีขน้ึ ดังนั้น โครงการจิตอาสา “เราทําความดี ดวยหัวใจ” โครงการในพระราชดําริ สมเด็จพระเจาอยูหัว ไดปลุกจิตสํานึกในการทําความดี ปลูกฝงใหคนทุกเพศทุกวัย ไดตื่นตัว ในการบาํ เพ็ญตนใหเปน ประโยชนแ กส งั คม ชุมชน และประเทศชาติ กจิ กรรมทา ยเร่อื งที่ 3 บุญคณุ ของพระมหากษตั ริยไทยต้ังแตสมัยสโุ ขทัย อยุธยา ธนบุรี และรตั นโกสนิ ทร (ใหผ เู รียนไปทาํ กจิ กรรมทายเรื่องที่ 3 ท่สี มดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรปู ระกอบชุดวชิ า)

36 หนวยการเรียนรูที่ 2 การประยุกตใ ชว ิธกี ารทางประวตั ศิ าสตร สาระสาํ คญั การศึกษาเร่ืองราวทางประวัติศาสตรไมวาจะในยุคสมัยใดลวนเริ่มตนจากความ สงสัยใครรูอันเปนคุณลักษณะท่ีติดตัวมนุษยมาต้ังแตกําเนิด โดยการศึกษาประวัติศาสตร เปรยี บเสมือนการศึกษาคน ควา ความจรงิ ทางวทิ ยาศาสตรที่ตองมขี ้นั ตอนทีไ่ ดร บั การยอมรบั วธิ กี าร ทางประวตั ศิ าสตร จงึ เปน เคร่ืองมอื ทนี่ าํ มาชว ยในการศึกษาคนควาเพือ่ หาขอเท็จจริงทางประวัติศาสตร ใหอ อกมาสมบูรณ กอใหเกิดองคความรูใหมทางประวัติศาสตรที่จะชวยเติมเต็มความสงสัยใครรู ของมนษุ ยตอไปอกี ในอนาคต ตัวชวี้ ัด 1. อธบิ ายความหมาย ความสาํ คญั และประโยชนของวิธกี ารทางประวัตศิ าสตร 2. อธบิ ายวธิ กี ารทางประวัตศิ าสตร 3. ประยุกตใ ชวิธีการทางประวัตศิ าสตรในการศึกษาเร่อื งราวทางประวัตศิ าสตร ทส่ี นใจ ขอบขายเนอ้ื หา เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสาํ คัญ และประโยชนของวิธกี ารทางประวัติศาสตร เรือ่ งที่ 2 วิธีการทางประวัติศาสตร 2.1 การกาํ หนดหวั เรอ่ื งที่จะศึกษา/การตง้ั ประเดน็ ท่ีจะศกึ ษา 2.2 การรวบรวมหลกั ฐาน/สืบคน และรวบรวมขอมูล 2.3 การประเมนิ คา ของหลักฐาน/การวิเคราะหแ ละตคี วามขอ มลู ทาง ประวัติศาสตร 2.4 การวิเคราะห สังเคราะห และจัดหมวดหมขู อ มูล 2.5 การเรยี บเรียงและนาํ เสนอขอมูล เรื่องท่ี 3 ตัวอยางการนําวิธกี ารทางประวัติศาสตรมาใชศ ึกษาประวตั ิศาสตรไทย

37 สื่อการเรียนรู 1. ชดุ วชิ าประวัติศาสตรช าตไิ ทย รหัสรายวิชา สค32034 2. สมดุ บันทึกกจิ กรรมการเรยี นรูประกอบชุดวิชา เวลาที่ใชในการศกึ ษา 36 ชว่ั โมง

38 เรื่องท่ี 1 ความหมาย ความสาํ คญั และประโยชนข องวธิ กี ารทางประวตั ิศาสตร ประวตั ิศาสตรเ ปน การศึกษาเรอ่ื งราวของมนุษยในอดีต โดยอาศัยหลักฐานท่ียังคง หลงเหลืออยูในปจ จุบัน โดยใชวิธีการทางประวัติศาสตรในการศึกษาประเด็นท่ีสนใจ อยางเปน ระบบ ตง้ั แตการกาํ หนดหวั ขอเร่ืองท่ีจะศึกษา การรวบรวมหลกั ฐาน และการเรยี บเรยี ง พรอมนําเสนอ ซ่ึงจะทําใหส ามารถสรา งองคความรูใหมไ ด อยา งมเี หตุผล และมีความนาเช่ือถือ ซี่งการเรียนรูวิธีการ ทางประวัตศิ าสตรจะชวยใหผูเรยี น รจู กั สืบคน หาขอ เท็จจรงิ ทางประวตั ิศาสตรไดอ ยางถกู ตอง 1. ความหมายของวิธีการทางประวัตศิ าสตร วิธีการทางประวตั ิศาสตร หมายถงึ วธิ กี าร หรือข้ันตอนตาง ๆ ท่ีใชในการศึกษา คนควา วิจัยเก่ียวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร โดยเฉพาะอาศัยจากหลักฐานท่ีเปนลายลักษณ อักษรเปน สาํ คัญ ประกอบกบั หลักฐานอ่ืน ๆ เชน ภาพถา ย แถบบันทึกเสยี ง วดี ิทัศน หลักฐานทาง โบราณคดี เปน ตน เพอื่ ใหส ามารถฟน อดตี หรือจําลองอดตี ขึ้นมาใหม ไดอยางถูกตอ ง ตรงประเด็น และลาํ ดบั เรือ่ งราวไดอยา งใกลเคียงกับความเปนจริงที่สุด 2. ความสาํ คญั ของวธิ ีการทางประวตั ศิ าสตร วิธีการทางประวตั ศิ าสตรมีความสําคัญ คือ ทําใหเรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ ที่เกดิ ข้ึนในประวตั ิศาสตรมคี วามนาเชอ่ื ถอื มีความถกู ตอ งเปน จรงิ หรอื ใกลเ คียงกับความเปนจริง มากทสี่ ุด เพราะไดม กี ารศกึ ษาอยางเปน ระบบ อยางมีขั้นตอน มีความระมัดระวังรอบคอบ โดยผูไดรับ การฝกฝนในระเบยี บวธิ ีการทางประวัติศาสตรมาดแี ลว สาํ หรบั การศึกษาประวัติศาสตรนน้ั มีปญหาท่ีสําคัญประการหน่ึง คือ อดีตท่ีมี การร้ือฟน หรือ จาํ ลองขน้ึ มาใหมนนั้ มีความถูกตอง สมบรู ณ และเชอ่ื ถือไดเ พียงใด รวมทง้ั หลักฐาน ที่เปนลายลักษณอักษรและไมเปนลายลักษณอักษรที่นํามาใชเปนขอมูลนั้น มีความสมบูรณ มากนอยแคไหน เพราะเหตุการณทางประวัตศิ าสตรม อี ยูม ากมาย เกินกวา ท่ีจะศกึ ษาหรอื จดจาํ ไดห มด แตหลักฐานที่ใชเปนขอมูล อาจมีเพียงบางสวน ดังน้ัน วิธีการทางประวัติศาสตรจึงมีความสําคัญ เพ่ือใชเปนแนวทางสาํ หรับผูศึกษาประวัติศาสตร หรือผูฝกฝนทางประวัติศาสตรจะไดนําไปใชดวย ความรอบคอบ ระมดั ระวัง ไมลําเอยี ง และเพอื่ ใหเกดิ ความนา เชือ่ ถอื 3. ประโยชนของวิธีการทางประวตั ิศาสตร วธิ กี ารทางประวัติศาสตร มีประโยชนทั้งตอการศึกษาประวัติศาสตรที่ทําใหได เรื่องราวทางประวัตศิ าสตรท ี่นา เชือ่ ถือ ประโยชนอ ีกดานหนงึ่ คอื ผูทีไ่ ดร บั การฝก ฝน การใชว ธิ ีการ ทางประวัติศาสตรจ ะทาํ ใหเ ปน คนละเอยี ด รอบคอบ มกี ารตรวจสอบเรอื่ งราวทศ่ี กึ ษา รวมท้ังนาํ มา ปรับใชในชวี ิตประจําวันได โดยจะทําใหเปนผรู จู กั ทาํ การประเมินเหตกุ ารณตา ง ๆ วา มคี วามนา เชอ่ื ถอื เพยี งใด หรอื กอ นที่จะเช่ือถือขอ มูลของใคร กน็ าํ วธิ ที างประวัตศิ าสตรไปตรวจสอบกอน กจิ กรรมทา ยเรือ่ งท่ี 1 ความหมาย ความสาํ คญั และประโยชนของวิธีการทางประวัตศิ าสตร (ใหผ ูเรียนไปทํากจิ กรรมทา ยเร่อื งที่ 1 ท่ีสมดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรียนรูประกอบชดุ วชิ า)

39 เรอ่ื งที่ 2 วิธกี ารทางประวตั ิศาสตร การศึกษาประวัติศาสตร มีความเกี่ยวของสัมพันธกับหลักฐานทางประวัติศาสตร กาลเวลา และนกั ประวัติศาสตร ดงั น้นั จาํ เปน ตองมีวิธีการในการรวบรวมคนควาหาขอมูล เพื่อนํามา วิเคราะหหาเหตผุ ล และขอสรุป ซ่งึ จะเปน ขอเท็จจริงทางประวัติศาสตรท ่ใี กลเ คียงกบั ความเปน จริง มากท่สี ุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร วธิ กี ารทางประวัตศิ าสตรมีอยู 5 ขน้ั ตอน คือ 1. การกาํ หนดหัวเรอ่ื งท่จี ะศึกษา/การต้งั ประเดน็ ท่จี ะศกึ ษา การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตรเร่ิมจากความสงสัย อยากรู ไมแนใจ กับคําอธิบายเรอื่ งราวทีม่ มี าแตเ ดมิ ดังน้นั ผูศึกษาจึงเรม่ิ จากการกําหนดเรื่องหรือประเด็นที่ตองการ ศึกษาซง่ึ ในตอนแรก อาจกําหนดประเดน็ ที่ตองการศึกษาไวกวาง ๆ กอ น แลว จงึ คอ ยจํากัดประเด็น ลงใหแ คบ เพือ่ ใหเ กิดความชดั เจนในภายหลัง เพราะบางเรื่องขอบเขตของการศึกษาอาจกวางมาก ทั้งเหตกุ ารณ บุคคล และเวลา การกาํ หนดหวั เรื่องอาจเก่ยี วกับเหตุการณ ความเจริญ ความเสือ่ มของอาณาจกั ร ตวั บคุ คลในชวงเวลาใดเวลาหน่งึ อาจยาวหรอื ส้ันตามความเหมาะสม ซึง่ ผูศ กึ ษาเหน็ วาเปนชว งเวลา ที่สําคัญ และยังมีหลักฐานขอมูลที่ผูตองการศึกษาหลงเหลืออยู หัวขอเร่ืองอาจปรับใหมีความ เหมาะสมหรือเปลี่ยนแปลงได ถา หากหลักฐานทใ่ี ชใ นการศึกษามนี อ ยหรือไมน า เชอ่ื ถือ 2. การรวบรวมหลกั ฐาน/สบื คนและรวบรวมขอมูล การรวบรวมหลักฐาน คือ การรวบรวมรายละเอียดและส่ิงตาง ๆ ท่ีเกี่ยวของกับ หัวขอทจ่ี ะศึกษา ซ่งึ มีทง้ั หลักฐานที่เปนลายลกั ษณอ กั ษร และหลักฐานที่ไมเปน ลายลักษณอ ักษร 1) หลักฐานที่เปนลายลักษณอักษร ไดแก หลักฐานที่เปนตัวหนังสือโดยมนุษย ไดท ้งิ รองรอยขีดเขยี นเปนตวั หนงั สอื ประเภทตาง ๆ ในรปู ของการจารกึ ในศิลาจารึกและการจารึก บนแผนโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตรท่ีเปนลายลักษณอักษรประเภทอ่ืน เชน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตาํ นาน เอกสารพน้ื บาน และกฎหมาย 2) หลักฐานท่ีเปนวัตถุ ไดแก วัตถุท่ีมนุษยแตละยุคแตละสมัยไดสรางข้ึน และ ตกทอดมาจนถงึ ปจจุบนั เชน โบราณสถาน ประกอบดวย วัด เจดีย มณฑป และโบราณวัตถุ เชน พระพทุ ธรปู ถวยชามสงั คโลก ประเภทของหลกั ฐานทางประวตั ิศาสตรไ ทย แบงตามลําดับความสําคัญของ หลกั ฐานทางประวัติศาสตรเ ปน 2 ประเภท คอื 1) หลักฐานช้ันตนหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary Sources) เปนหลักฐาน ท่ีมาจากเหตุการณที่เกิดข้ึนในสมัยน้ันจริง ๆ โดยมีการบันทึกของผูท่ีเก่ียวกับเหตุการณโดยตรง หรือผูที่รูเหตุการณน้ันดวยตนเอง ดังนั้น หลักฐานชวงตน จึงเปนหลักฐานที่มีความสําคัญและ

40 นาเช่อื ถือมากทส่ี ดุ เพราะบันทึกของบคุ คลท่ีเก่ยี วขอ งกับเหตุการณหรอื ผูอยูในเหตุการณบันทึกไว เชน จดหมายเหตุ คําสัมภาษณเอกสารทางราชการ ท้งั ท่ีเปนเอกสารลับและเอกสารท่ีเปดเผย บนั ทกึ ความทรงจํากฎหมายหนังสือพิมพ ประกาศ สุนทรพจน รายงานขาว ภาพยนตร สไลด วีดิทัศน แถบบนั ทกึ เสียง ภาพถา ย เหตุการณทเ่ี กดิ ขึน้ โบราณสถาน แหลง โบราณคดี โบราณวัตถุ เปน ตน 2) หลักฐานชั้นรองหรอื หลักฐานทตุ ิยภูมิ (Secondary Sources) เปนหลักฐาน ที่เขยี นขึ้นโดยบุคคลที่ไมไดม สี ว นเกี่ยวขอ งกับเหตุการณน้ันโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลัง จากเกิดเหตุการณนั้น ๆ สวนใหญอยูในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือตาง ๆ เชน พงศาวดาร ตาํ นาน บันทกึ คําบอกเลา ผลงานทางการศกึ ษาคน ควาของนักวิชาการ เปนตน สาํ หรบั หลักฐานช้นั รองนน้ั มีขอ ดี คือ มีความสะดวกและงา ยในการศกึ ษาทาํ ความเขา ใจ เนอ่ื งจากเปน ขอ มลู ที่ไดผานการศึกษาคนควาตรวจสอบขอมูล วิเคราะหเหตุการณ และอธิบายไวอ ยางเปนระบบ โดยนักประวตั ศิ าสตรม าแลว หลักฐานช้ันตนและหลักฐานชั้นรองจัดวามีคุณคาแตกตางกัน คือ หลักฐาน ช้ันตนมีความสําคัญมาก เพราะเปนหลกั ฐานรวมสมัยที่บันทึกโดยผูรูเห็น หรือผูท่ีเก่ียวของกับ เหตุการณโดยตรง สวนหลักฐานชั้นรองเปนหลักฐานที่ทําข้ึนภายหลัง โดยใชขอมูลจากหลักฐาน ชั้นตน แตหลักฐานชั้นรองจะชวยอธิบาย เรื่องราวใหเขาใจหลักฐานชั้นตนไดงายขึ้น ละเอียดขึ้น อันเปนแนวทางไปสูหลักฐานขอมูลอ่ืน ๆ ซึ่งปรากฏในบรรณานุกรมของหลักฐานชั้นรอง ทั้งหลักฐานชั้นตน และชั้นรองสามารถคนควาไดจากหองสมุดของทางราชการ และของเอกชน ตลอดจนฐานขอมลู ในเครอื ขา ยอินเทอรเนต็ (website) แหลง รวบรวมหลกั ฐานทางประวัตศิ าสตร แหลง รวบรวมหลักฐานประวตั ิศาสตรไ ทยทส่ี าํ คญั คอื สํานกั หอจดหมายเหตุแหงชาติ ท้ังในกรุงเทพมหานครและตางจังหวัด ซึ่งรวบรวมเอกสาร ตัวเขียนท่ีเปนสมุดฝร่ัง ภาพถายเกา สว นสํานักหอสมุดแหงชาตเิ ปนทเี่ ก็บเอกสารตวั เขียนทเ่ี ปนสมุดไทย พิพิธภัณฑสถานแหงชาติท้ังในพระนครและตางจังหวัดเปนสถานท่ีที่มีศิลาจารึก โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเก็บไวจํานวนมาก นอกจากนี้หอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยตาง ๆ บางแหงกม็ ีหลกั ฐานทางประวัติศาสตรเก็บไวเ ชน กนั หลักฐานทางประวัติศาสตรไทยสวนหน่ึงมีการพิมพเผยแพร โดยหลายหนวยงาน ซ่งึ ทาํ ใหเ กิดความสะดวกแกการศกึ ษาคนควา รวมท้ังมกี ารปริวรรตหรือถอดเปน ภาษาปจ จบุ นั ดวย หนวยงานสําคัญที่เปนแหลงพิมพเผยแพรหลักฐานประวัติศาสตรไทย คือ กรมศิลปากร คณะกรรมการชําระประวัติศาสตรไทย สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สาํ นักพิมพมหาวิทยาลัยตาง ๆ ตลอดจนสํานักพิมพเอกชน ทั้งหลาย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook