Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง - อ.ปีดิเทพ

รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง - อ.ปีดิเทพ

Published by E-books, 2021-03-02 06:54:05

Description: รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง-ปีดิเทพ

Search

Read the Text Version

38 การเกิดอุบัติเหตุระหว่างการลงจอดของอากาศยานได้ หรือหากมีการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ภายนอกอาคารในปริมาณหนาแน่นพื้นที่โดยรอบบริเวณสนามบิน ก็อาจก่อให้เกิดการรวมกลุ่มแสง (clutter of lights)59 ที่สร้างความสับสน (confuse) ให้กับนักบิน เพราะเมื่อนักบินต้องการลงจอดอาจ ต้องการบรรยากาศความมืดมิดในระดับที่เหมาะสมสําหรับช่วยให้นักบินมองเห็นไฟช่วยเดินอากาศ (aeronautical ground lights) หรือไฟทางวิ่ง (runway lights) ในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน แต่การ รวมกลุ่มของแสงจากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของสนามบินอาจทําลายทัศนวิสัยในการมองเห็นไฟช่วย เดินอากาศหรอื ไฟทางว่งิ ของนักบิน จากที่กล่าวมาในข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากมลภาวะทางแสงหลากประการ ล้วนอาจสะท้อนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนหันมาร่วมกันพัฒนาเครื่องมือทางกฎหมายที่สําคัญ สําหรับใช้บรรลุวัตถุประสงค์ในการกําหนดมาตรการทางกฎหมายภายในประเทศในอนาคต การบัญญัติ กฎหมายควบคุมมลภาวะที่คํานึงถึงผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมทําให้การควบคุมมลภาวะมี ประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผลกระทบในวงกว้างไม่ให้ส่งผลร้ายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง การพัฒนากฎหมายโดยคํานึงถึงความแปรปรวนไม่แน่นอนของความเส่ียงต่างๆ ท่ีอาจเกิดจากการติดต้ังใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนากฎระเบียบเกี่ยวกับ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมก็ย่อมจะทําให้เป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่มี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ กฎหมาย ควบคุมมลภาวะทางแสงสามารถนําไปสู่การจัดการผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกนั้น คือการสร้างโอกาส (opportunity) สําหรับส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอก อาคารอย่างยั่งยืนที่คํานึงท้ังมิติเศรษฐกิจ สังคมและส่ิงแวดล้อมควบคู่กันไป ในด้านลบน้ันคือการลดความ เสี่ยง (risk) ที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ทําให้การใช้งานแสงสว่างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและ ส่ิงแวดลอ้ มให้น้อยทสี่ ดุ เทา่ ทจี่ ะทําได้ นอกจากน้ี ผูว้ ิจัยยังเหน็ วา่ การทบทวนผลกระทบท่ีได้กล่าวมาทําให้ผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสียได้รบั ทราบถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับพยายามแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยอาศัยกฎหมายวางหลักในการ จัดระเบียบการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ควบคู่ไปกับการดําเนินกิจกรรมบางอย่างของรัฐสําหรับ ควบคุมผลกระทบดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายวางหลักในการจัดระเบียบการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารอาจประกอบด้วยบรรดาหลักเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท่ี เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดหรืองดเว้นกระทําการอย่าง                                                             59 Civil Aviation Authority of New Zealand. (2016). Advisory Circular AC139-6. Wellington: Civil Aviation Authority, pp. 88-132.

39 หนึ่งอย่างใดให้สอดรับกับเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบรรดา หลกั เกณฑท์ ้งั หลายเหล่านีย้ ่อมมีรากฐานมาจากแนวคิดพ้ืนฐานในการควบคมุ มลภาวะทางแสง 2.2 แนวคดิ พืน้ ฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสง การศึกษาปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากมลภาวะประเภทใดให้เข้าใจอย่างแท้จริงนั้น ก็มี ความจําเป็นที่จะต้องค้นหาแนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับ มลภาวะประเภทนั้นๆ เสียก่อน อันจะเป็นรากฐานสําคัญทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจถึงมาตรการทาง กฎหมายควบคุมมลภาวะประเภทต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้60 หากย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ.1970 แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงก็เช่นเดียวกันที่มีพัฒนาการและแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการ หยิบยกประเด็นปัญหาอันเกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่อาจส่งผลกระทบต่อนักดารา ศาสตร์ (astronomers)61 โดยนักดาราศาสตร์ถือเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ได้หยิบยกประเด็นปัญหาจาก ผลกระทบของมลภาวะทางแสงอันมีต่อการดําเนินกิจกรรมทางดาราศาสตร์62 เพราะหากเกิดมลภาวะทาง แสงประเภทแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้ว สภาวะดังกล่าวก็จะลดคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติบน ท้องฟ้าในยามคํ่าคืน (degradation of the night sky) อันเป็นผลมาจากแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ปก คลุมทั่วท้องฟ้าทําให้ท้องฟ้าขาดบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติที่เอื้อต่อการดูดาวด้วยตาเปล่าหรือ การสังเกตปรากฏการณท์ างธรรมชาตบิ นท้องฟา้ ดว้ ยกล้องโทรทรรศน์ในเวลากลางคนื 63 ทั้งน้ี สภาวะที่ท้องฟ้าถูกปกคลุมไปด้วยแสงสว่างหรือสภาวะที่เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในเวลา กลางคืน (ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 2.1.2.1) ที่ส่งผลกระทบต่อนักดาราศาสตร์ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจาก การเจรญิ เติบโตของเมือง (urban growth) การเจรญิ เติบโตเป็นของเมอื งไดเ้ กิดขึน้ ท่วั โลกมาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ซึ่งส่งผลให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพิ่มมากขึ้นสําหรับเอ้ือต่อการประกอบกิจกรรมทาง ในด้านบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมในเวลากลางคืน อีกส่วนหน่ึงเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแสง                                                             60 Hampshire Astronomical Group. (2017). Lighting Myths: Light Pollution only affects astronomers. Retrieved April 7, 2018, https://hantsastro.org.uk/projects/lightpollution/09myths.php 61 Taylor, S. (2017). ‘Light pollution A case study in framing an environmental problem’, Ethics, Policy & Environment, 20(3), pp. 1-28. 62 The Curious Team. (2014). How does light pollution affect astronomers? (Intermediate). Retrieved April 7, 2018, http://curious.astro.cornell.edu/about-us/116-observational- astronomy/stargazing/professional-observers/712-how-does-light-pollution-affect-astronomers- intermediate 63 Astronomical Society of South Australia. (2018). Light Pollution. Retrieved April 7, 2018, from https://www.assa.org.au/lightpollution

40 สว่างภายนอกอาคารที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ได้คํานึงถึงหลักการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor lighting design) ท่เี หมาะสมหรอื เป็นมิตรตอ่ ส่ิงแวดลอ้ ม นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีแสงสว่างที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรม ดาราศาสตร์เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบในด้านอื่นๆอีกด้วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เหตุนี้เองผู้คนใน แวดวงต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานและการพัฒนาเทคโนโลยีแสงสว่างจึงได้พยายามพัฒนา หลักเกณฑ์ร่วมกันสําหรับควบคุมมาตรฐานการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารให้เป็นไปใน แนวทางเดียวกัน ภายใต้ฐานแนวคิดร่วมกันว่าการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารจะต้องก่อให้เกิด ผลกระทบในด้านลบทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและให้มีการใช้พลังงานแสงสว่าง อยา่ งคมุ้ ค่ากับพลังงานไฟฟ้าทีส่ ญู เสียไป อนึ่ง แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงส่วนหนึ่งถูกพัฒนามาจากองค์กรวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกา เหนือ (Illuminating Engineering Society of North America หรอื IES) และสถาบันผู้ประกอบวิชาชพี แสงสว่างแห่งสหราชอาณาจักร (Institution of Lighting Professionals หรือ ILP) อีกส่วนหนึ่งแนวคิด พื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงอีกส่วนหนึ่งได้รับการพัฒนามากจากองค์กรวิชาชีพที่ได้รับ ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่าง เช่น สมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากล (International Dark- Sky Association หรือ IDA) และสมาคมดาราศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (British Astronomical Association หรือ BAA) โดยในปัจจุบันองค์กรเหล่านี้ได้มีการจัดพิมพ์เอกสารสําคัญหลายฉบับอันมี จุดประสงค์สําคัญสนับสนุนให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลภาวะทางแสงจาก การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในระดับชาติและนานาชาติ รวมไปถึงการสร้างความรับรู้ต่อ สาธารณชนเก่ียวกับความสาํ คญั ของการพัฒนาแนวคดิ วา่ ด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงที่เกดิ จากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานของรัฐและท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่น สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากลได้ ร่วมกันจัดทํากฎหมายแม่แบบว่าด้วยการใช้งานแสงสว่าง (Model Lighting Ordinance หรือ MLO) ขึ้นมา64 กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างเป็นกฎหมายต้นแบบ (Model Law) บรรจุ สาระสําคัญว่าด้วยการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ซึ่ง ประกอบด้วยสาระสาํ คัญที่มุ่งนําเสนอใหม้ ลรัฐ (State) หรอื ทอ้ งถิ่น (Municipality) กาํ หนดหลกั เกณฑ์ให้ ผู้ที่ใช้งานแสงสว่างทําพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมุ่งไปสู่การ                                                             64 Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3.

41 ลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นได้65 กฎหมายแม่แบบนี้เองได้ถูกใช้เป็นแนวทางให้มลรัฐ หรือท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกานําไปพัฒนาให้เป็นบทบัญญัติทางกฎหมายของตน กฎหมายแม่แบบถือเป็น ต้นแบบในการบูรณาการทางกฎหมายร่วมกันระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่นและมลรัฐกับมลรัฐของ สหรัฐอเมริกา66 กล่าวคือ หากท้องถิ่นหรือมลรัฐนําหลักการภายใต้กฎหมายต้นแบบดังกล่าวไปบัญญัติเป็น กฎหมายในแนวทางที่คล้ายคลึงกันหรือเป็นไปในแนวทางเดยี วกันแล้ว ก็จะสรา้ งมาตรฐานการควบคุมแสง สว่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ที่มุ่งควบคุมมลภาวะทางแสงจากการติดตั้งใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม67 แม้ว่ามลรัฐหรือท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกาจะ สามารถเลือกที่จะบัญญัติกฎหมายหรือเลือกที่จะไม่บัญญัติกฎหมายตามหลักเกณฑ์ในกฎหมายแม่แบบ ดงั กลา่ วได้ แต่กถ็ ือวา่ กฎหมายตน้ แบบดังกลา่ วเปน็ ทางเลอื กทส่ี ําคญั อยา่ งหน่ึงท่ีจะทาํ ใหม้ ลรัฐหรอื ท้องถ่ิน สามารถปรับปรุงกฎหมายและนโยบายของตนว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงให้มีมาตรฐานสากลได้ เพราะการสร้างกฎหมายต้นแบบถอื เป็นการนาํ เสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายของสมาคมวิศวกรรมสอ่ ง สว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากลให้แก่มลรัฐหรือท้องถิ่นไปบัญญัติหรือ ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างของมลรัฐหรือท้องถิ่นของตน หากมลรัฐหรือท้องถิ่นไม่ได้ จัดทําหรือปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความ มืดแหง่ ทอ้ งฟ้าสากลกไ็ มม่ อี าํ นาจหรอื หน้าทีไ่ ปควบคุมให้ มลรฐั หรอื ทอ้ งถน่ิ ออกกฎหมายแต่ประการใด งานวิจัยฉบับนี้นําเสนอแนวคิดที่ถูกนํามาใช้ควบคุมมลภาวะทางแสงอย่างแพร่หลาย โดยแนวคิด เหล่านี้ได้ถูกนําเอามาบัญญัติเป็นมาตรการสากล ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่เล็งเห็น ความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงต่างก็ยอมรับให้แนวคิดเหล่านี้ พร้อมกับนําเอาแนวคิดเหล่านี้มา กําหนดเป็นมาตรการควบคมุ มลภาวะทางแสงแนวคดิ เหลา่ นป้ี ระกอบดว้ ย 2.2.1 แนวความคดิ เกยี่ วกบั การกาํ หนดมาตรฐานแหลง่ กาํ เนิดแสง การติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ (artificial light sources) วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ในแต่ละสถานที่ท่ีเปิดทําการในยามคํ่าคืนหรือตามเป้าหมายของกจิ กรรมที่ต้องการใชง้ านแสงสว่างในเวลา กลางคืน ตัวอย่างเช่น การใช้ไฟถนน (street lighting) การใช้ไฟส่องสว่างจ้าทั่วสนามกีฬาหรือบริเวณ รอบนอกอาคาร (floodlighting of sports pitches and buildings) การใช้ไฟในสํานักงาน ร้านค้าและ                                                             65 U.S. Green Building Council. (2018). Model Lighting Ordinance User's Guide. Retrieved April 7, 2018, from https://www.usgbc.org/resources/model-lighting-ordinance-users-guide 66 International Dark-Sky Association. (2018). Model Lighting Laws & Policy. Retrieved April 7, 2018, from https://www.darksky.org/our-work/lighting/public-policy/model-lighting-laws-policy/ 67 Pennsylvania Land Trust Association. (2011). Model Lighting Ordinance with User's Guide Model Lighting Ordinance with User's Guide. Retrieved April 7, 2018, https://conservationtools.org/library_items/1415-Model-Lighting-Ordinance-with-User-s-Guide

42 สถานที่ต่างๆ (night-time lighting of offices, shops and other premises) การใช้ไฟรักษาความ ปลอดภัย (security lighting) การใช้ป้ายไฟโฆษณา (illuminated signs) การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ (advertisements lighting) การใช้ไฟประดับในโอกาสต่างๆ (decorative lighting) และการใช้ไฟลาน จอดรถ (car park lighting) ย่อมอํานวยประโยชน์ต่อการใช้สถานที่และการประกอบกิจกรรมในเวลา กลางคืนในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป การเลือกติดตั้งใช้งานงานแหล่งกําเนิดแสงในศตวรรษที่ 21 ไม่ เพียงต้องคํานึงถึงการประหยัดพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและบรรลุเป้าหมายของกิจกรรม หากแต่ ยังต้องคํานึงว่าถึงปัญหาด้านมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงประเภท ตา่ งๆ อกี ดว้ ย แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มีวางขายในท้องตลาดสากล เช่น หลอดไอปรอทความดันสูง (หรือ หลอดแสงจันทร์) (High-Pressure Mercury หรือ หลอด HPM) หลอดโซเดียมความดันตํ่า (Low- Pressure Sodium หรือหลอด LPS) หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide หรือหลอด MH) หลอดฟลูออ เรสเซนต์ (Fluorescent) และหลอดไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode หรือ LED) ถือเป็น เคร่ืองใชไ้ ฟฟ้าไดถ้ ูกนําเอามาใชส้ ําหรับทําหน้าที่เปล่ียนพลงั งานไฟฟ้าให้กลายมาเป็นพลงั งานแสงสว่าง ซึ่ง หลอดไฟแต่ละประเภทก็จะมีประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ ประโยชน์ใช้สอยกับความต้องการในการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้บริโภคในท้องตลาดสามารถเลือกติดตั้งใช้ งานแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่วางขายในท้องตลาดมาใช้งานให้สอดคล้องกับชนิดกิจกรรมภายนอก อาคารที่ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือสอดรับกับงบประมาณที่ตนมี รวมไปถึงผู้บริโภคเองสามารถเลือก ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารตามความต้องการหรือรสนิยมของแต่ละบุคคล ซึ่งแหล่งกําเนิดแสง ประดิษฐ์แต่ละประเภทที่วางขายในท้องตลาดสากลต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยตามลักษณะและขีด ความสามารถเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา แหล่งกําเนิดแสงบางประเภทก็เหมาะกับลักษณะงาน บางอย่างและไม่เหมาะกับลักษณะงานบางอย่าง เช่น หลอดไอปรอทความดันสูง (หรือหลอดแสงจันทร์) มกั ถกู นาํ เอามาตดิ ตั้งใช้งานกบั ไฟถนน ไฟรกั ษาความปลอดภยั หรอื ไฟสาธารณะ (ภายนอกอาคาร) เปน็ ต้น

43 ภาพที่ 11: ภาพแสดงข้อมูลรณรงค์ให้นานาชาตหิ ันมาปฏบิ ัติการควบคุมมลภาวะทางแสง โดยสมาคมอนุรักษ์ ความมดื บนทอ้ งฟ้านานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA) ผา่ นการกาํ หนดมาตรฐานแหล่งกาํ เนดิ แสงกับการกาํ หนดมาตรฐานการใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคาร68 แหล่งกําเนิดแสงที่วางขายในท้องตลาดในแต่ละประเภทจะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันออกไป69 แหล่งกําเนิดแสงทุกประเภทก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลภาวะทางแสงได้ แต่ทว่าแหล่งกําเนิดแสงดังกล่าว เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและทรัพย์สินของ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงหรือผู้ใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่วางขายในท้องตลาด70 รวมไปถึง แหล่งกําเนิดแสงบางอย่างก็อาจก่อให้เกิดมีอัตราการใช้พลังงานหรือไม่ก่อให้การสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายใน ระยะยาว71 ตัวอย่างเช่น ไฟถนนที่ไร้กําบังไฟในตัว (unshielded street lights) หรือไฟถนนที่มีกําบังไฟ ไร้ประสิทธิภาพ (ineffective shielded street lights)72 สามารถก่อให้เกิดการแสงกระจายกว้างเป็น บริเวณกว้าง แบบไร้ทิศทางหรือกระจายแสงพวยพุ่งเหนือแนวระนาบ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะทาง                                                             68 International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Solution Postcard. Retrieved April 7, 2018, https://www.darksky.org/our-work/grassroots-advocacy/resources/public-outreach-materials/ 69 Smith, L. (2010). The phasing out of incandescent light bulbs. London: House of Common Science and Environment Section, pp. 1-7. 70 Howarth, N. A. A. & Rosenow, J. (2014). ‘Banning the bulb: institutional evolution and the phased ban of incandescent lighting in Germany’, Energy Policy, 67, pp. 737-746. 71 Association of Lighting Designers. (2018). The Proposed 2020 EU Lighting Regulations – A Primer. Southsea: Association of Lighting Designers, pp. 1-8. 72 Kyba, C.C.M., Hänel, A. & Hölker, F. (2014) Redefining efficiency for outdoor lighting. Energy & Environmental Science, 7, 1806–1809.

44 แสงประเภทแสงบาดตา แสงส่องรุกลํ้า และสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า รวมไปถึงหลอดไร้ ประสทิ ธภิ าพพลงั งานบางประเภททอ่ี าจสร้างปญั หาเก่ยี วกบั การสนิ้ เปลอื งพลังงาน เปน็ ตน้ ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 เป็นต้นไป กฎระเบียบของสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) เกี่ยวกับการห้ามวางจําหน่ายหลอดไร้ประสิทธิภาพพลังงานบางประเภท (ban on inefficient energy bulbs) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ทําให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในท้องตลาดการค้าอุปกรณ์ ไฟฟ้าในภูมิภาคยุโรป ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกจะต้องพยายามหันมาผลิต ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาวางจําหน่ายในท้องตลาดแทนสินค้าเดิมที่สามารถก่อปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงาน กับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้งานหลอดไฟที่ไร้ประสิทธิภาพบางประเภทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนําไปสู่การเกิดภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ภาครัฐ ท้องถิ่นภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปก็ต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมายกเลิกติดตั้งใช้งาน ผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่สิ้นเปลืองพลังงาน73 ผลิตภัณฑ์ที่สหภาพยุโรปห้ามวางจําหน่ายหลอดไร้ ประสิทธิภาพ74 เช่น หลอดฮาโลเจน (Halogen lamp) หรือหลอดไฟที่อาศัยการความร้อนโดยการให้ กระแสไฟไหลผ่านไส้หลอดทังสเตนจนเกิดความร้อนที่ทําให้เกิดแสงสว่าง(หลอดฮาโลเจนบางประเภท)75 โดยการห้ามติดตั้งใช้งานหลอดไฟที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานเช่นว่านี้ ย่อมมีส่วนช่วยให้เกิดการลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสงสว่างในแต่ละหน่วย พร้อมกับ ทาํ ใหอ้ ายุวัฎจกั รชวี ติ ของผลิตภัณฑ์แสงสวา่ งท่ีวางขายในทอ้ งตลาดยาวนานข้นึ เปน็ ต้น นอกจากนี้ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในโลก ก็ยังได้กําหนดมาตรการห้าม วางขายหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา (ban on the sale) ในท้องตลาดและกําหนดมาตรการยกเลิกการใช้ งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา (phased out)76 เช่น รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศยุติการใช้งานหลอดไส้                                                             73 Publication Office of European Union. (2012). Commission Regulation (EU) No 1194/2012 of 12 December 2012 implementing Directive 2009/125/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for directional lamps, light emitting diode lamps and related equipment Text with EEA relevance. Retrieved April 7, 2018, https://eur- lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX%3A32012R1194 74 European Commission. (2009). FAQ: phasing out conventional incandescent bulbs. Retrieved April 7, 2018, http://europa.eu/rapid/press-release_MEMO-09-368_en.htm 75 Publication Office of European Union. (2009). Commission Regulation (EC) No 244/2009 of 18 March 2009 implementing Directive 2005/32/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for non-directional household lamps (Text with EEA relevance). Retrieved April 7, 2018, https://publications.europa.eu/en/publication-detail/- /publication/390e2b74-1e4f-4c95-a0b1-2468f880e7ca/language-en 76 Waide, P. (2010). Phase out of incandescent lamps: Implications for international supply and demand for regulatory compliant lamps. Paris: International Energy Agency, pp. 20-42.

45 ร้อนแบบธรรมดาที่มีกําลังไฟฟ้าตํ่ากว่า 150 วัตต์ (incandescent light bulbs under 150 watts) ตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศยุติการใช้งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาที่มีกําลังไฟฟ้าตํ่ากว่า 60 วัตต์ (incandescent light bulbs under 150 watts) ตั้งแต่ปี 2012 และรฐั บาลญี่ปุ่นไดป้ ระกาศยุติ การใช้งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาทุกประเภทให้หมดไปจากท้องตลาดภายในปี 2020 เหตุที่หลาย ประเทศกําหนดเป็นเช่นนี้ก็เพราะหลอดไฟฟ้าแบบอื่นที่ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ คอ่ ย ๆ เข้ามาแทนท่ีการใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อีกทั้งหลอดไสร้ ้อนแบบธรรมดายังกอ่ ให้เกิด การสิน้ เปลืองพลงั งานมากกวา่ หลอดไฟฟ้าจาํ พวกอื่นๆ การห้ามวางขายหรือการยกเลิกการใช้งานหลอดไฟบางประเภทในท้องตลาดภายในประเทศและ ภูมิภาคเป็นการส่งเสริมให้ท้องตลาดในประเทศและภูมิภาคหันมานําเข้า จัดจําหน่ายและวางขาย ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนดิ แสงท่ปี ระหยดั พลงั งานไฟฟา้ พรอ้ มกับสนับสนนุ ใหผ้ ทู้ ี่ใชป้ ระโยชนจ์ ากแหลง่ กําเนิด แสง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาครัฐ ท้องถิ่นและภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาติดต้ังใช้งานผลิตภัณฑ์ อย่างอื่นทดแทน หลอดไฟแบบใหม่ที่ปล่อยความร้อนน้อยลงกับลดการสิ้นเปลืองพลังงานกําลังจะถูก นํามาใช้ทดแทนหลอดไฟแบบเดิมที่ปล่อยความร้อนมากกว่ากับก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานเท่านั้น รวมไปถึงสร้างทางเลือกใหม่สําหรับผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมใน ท้องตลาดและใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากว่าหลอดไฟแบบเดิมกําลังจะหมดไปจากท้องตลาด ในหลายประเทศและภูมิภาคในอนาคตอันใกล้นี้หรือเพราะเป็นต้นเหตุของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอัน ถือเป็นบริบทหนึ่งของปัญหามลภาวะทางแสง และนํามาซึ่งภาวะปัญหาโลกร้อน หลอดไฟแบบใหม่ที่ถูก นํามาติดตั้งใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคารในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นหลอดไดโอดเปล่งแสง (light- emitting diode หรอื หลอดไฟ LED) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดบัญญัติกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการวาง จําหน่ายและการใชผ้ ลติ ภัณฑแ์ หล่งกําเนิดแสงสวา่ ง อันมีวัตถุประสงค์เพ่ือพฒั นาฉลากให้คําแนะนาํ การใช้ งานบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างหรือคู่มือแจ้งวิธีการลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสง บนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างที่วางจําหน่ายอยู่ในท้องตลาดและเพื่อรับรองความ ปลอดภัยให้กับสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม หรือยังไม่มีประเทศใดกําหนดมาตรการบังคับให้ผู้นําเข้า ผู้ จัดจําหน่าย ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกต้องหันมานําเข้า จัดจําหน่าย ค้าส่งและวางขายผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิด แสงทไ่ี ม่กอ่ ใหเ้ กิดมลภาวะทางแสงเท่านั้น กล่าวโดยสรุปแนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสงไม่มีการให้ความสําคัญ ของการให้ข้อมูลการติดตั้งใช้งานแก่ผู้ติดตั้งใช้งานผลิตภัณฑ์กําเนิดแสงสว่างหรือผู้บริโภคผลิตภัณฑ์หลอด ไฟฟ้าในท้องตลาดภายในประเทศหรือระดับภูมิภาคเอาไว้โดยตรง เพียงแต่มีการห้ามติดตั้งใช้งาน ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างบางประเภทที่ล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมมาตรการประหยัด พลังงานในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยเห็นว่าการห้ามในลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาในบริบทหนึ่งจาก

46 หลายบริบทเกี่ยวเนื่องกับมลภาวะทางแสงจากแหล่งกําเนิดแสง และแท้ที่จริงแล้วควรมีกําหนดมาตรการ ให้ครอบคลุมทุกบริบทเกี่ยวกับมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสง แต่การการไม่แจ้งรายละเอียดทางเทคนิคหรือ ข้อมูลความเสี่ยงของมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่วางขายใน ท้องตลาด ก็อาจเป็นช่องโหว่ในการสร้างความตระหนักและป้องกันปัญหามลภาวะทางแสงไม่ให้ส่งผล กระทบต่อผู้ใช้ผลติ ภณั ฑ์ในทอ้ งตลาดภายในประเทศและภมู ภิ าค 2.2.2 แนวความคดิ เกย่ี วกับการกําหนดมาตรฐานการใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคาร ในปัจจุบันมีการขยายการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีแสงสว่างสมัยใหม่สําหรับอํานวยความสะดวกใน ชีวิตประจําวัน ทําให้เกิดการขยายเวลาในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในเวลากลางคืนออกไปและยัง ส่งเสริมให้เกิดการขับเครื่องทางบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมได้ในยามคํ่าคืน ซึ่งความต้องการใน การประกอบกิจกรรมในยามคํ่าคืนกับความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยในเวลากลางคืน ทําให้มี การติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการติดตั้งใช้งานหลอด ไฟฟ้าหรอื โคมไฟในปัจจุบันทําให้เกดิ แสงสว่างในบรเิ วณพ้นื ที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ใน ปัจจุบันมีการขยายการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีแสงสว่างสมัยใหม่สําหรับอํานวยความสะดวกใน ชีวิตประจําวัน ทําให้เกิดการขยายเวลาในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในเวลากลางคืนออกไปและยัง ส่งเสริมให้เกิดการขับเครื่องทางบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมได้ในยามคํ่าคืน ซึ่งความต้องการใน การประกอบกิจกรรมในยามคํ่าคืนกับความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยในเวลากลางคืน ทําให้มี การติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการติดตั้งใช้งานหลอด ไฟฟ้าหรือโคมไฟย่อมให้เกิดแสงสว่างส่องลงมาในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (areas to be lit) เพื่อให้แสงสว่างในการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคาร แต่ในทางกลับกันการติดตั้งใช้ งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในก็อาจทําให้เกิดแสงสว่างส่องลงมานอกบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสง สว่างหรือส่องไปยังบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่าง (areas not intended to be lit) รวมไปถึง อาจก่อให้เกิดแสงสว่างที่ส่องเล็ดลอด (spill light) ไปยังบริเวณที่อยู่อาศัย อาคารหรือเคหะสถานของ เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง อันอาจทําให้เพื่อนบ้านประสบเหตุรําคาญจากแสงสว่าง นอกจากนี้ แสงสว่างท่ี ส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าโดยตรง (direct upward light) และแสงสว่างที่ส่องสะท้อนกับวัตถุจนพวย พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า (upward reflected light) เป็นตัวการสําคัญที่ทําให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบน ท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศท่ีก่อให้เกิดความสว่างเรืองบนท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศ จนทําลายความมืดมิด ตามธรรมชาติดั่งเดิมเป็นเวลา นานพอที่จะทําให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์และระบบนิเวศ สภาวะแสง เรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร ให้ความสว่างมากเกินความจําเป็น (excessive outdoor lighting) หรือปราศจากการควบคุมทิศทางการ

47 ส่องของแสง (misdirected outdoor lighting) ซึ่งเป็นต้นเหตุประการสําคัญทําให้เกิดการส่องรุกลํ้าของ แสงและสภาวะแสงเรอื งขึน้ ไฟบนท้องฟ้า77 ในทวีปอเมริกาเหนือ องค์กรวิชาชีพการปฏิบัติงานด้านแสงสว่างและองค์กรวิชาชีพด้านดารา ศาสตร์ ได้แก่ สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America หรอื สมาคม IES) กบั สมาคมอนุรักษค์ วามมืดบนทอ้ งฟา้ นานาชาติ (International Dark- Sky Association หรือสมาคม IDA) ต่างก็ได้ร่วมกันพยายามพัฒนากฎหมายต้นแบบของท้องถิ่น สหรัฐอเมริกา (Model Law) สําหรับควบคมุ มลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารท่ีไม่ เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ได้แก่ กฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่าง ท้องถิ่น (Model Lighting Ordinance หรือ MLO) กฎหมายต้นแบบฉบับนี้มีลักษณะเป็นร่างกฎหมาย หรือคู่มือในการจัดทํากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงภายนอกอาคาร ไม่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายแต่ อย่างใด หากท้องถิ่นในมลรัฐต่างๆ สามารถรับเอาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้ งานแสงสวา่ งภายนอกอาคารของกฎหมายต้นแบบฉบับนี้มาปรับใชห้ รือมาบรรจอุ ยู่ในกฎหมายท้องถ่ินของ ตน ขึ้นอยู่กับความสมคั รใจและความตระหนักถึงความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดข้ึนในแตล่ ะ ท้องถิ่น กฎหมายแม่แบบฉบับนี้ยังมุ่งให้เกิดเอกภาพในการจัดทํามาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารท้องถิ่น (unification of municipal outdoor lighting standards) ให้แต่ละท้องถิ่นในอเมริกา เหนือมีกฎระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารท้องถิ่นเป็นไปในแนวทาง เดียวกนั หรือยอมรบั นับถอื กฎเกณฑ์รว่ มกนั เพอ่ื ลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงและอนุรักษ์พลงั งาน78 เช่นเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร องค์กรวิชาชีพการปฏิบัติงานด้านแสงสว่าง ได้แก่ สถาบันผู้ ประกอบวิชาชีพด้านแสงสว่าง (Institution of Lighting Professionals หรือสถาบัน ILP) ได้กําหนดคู่มือ สําหรับลดผลกระทบจากแสงที่ส่องรุกลํ้า (Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN 01:2011) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างภายนอกอาคารและท้องถิ่นของประเทศอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือได้ใช้เป็นแนวทางในการขจัดปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจาก มลภาวะทางแสง79                                                             77 British Astronomical Association Campaign for Dark Skies. (2009). Blinded by the Light?. London: British Astronomical Association, pp. 33-35. 78 Papke, N. (2008). Outdoor Lighting Report. Salem, OR: Oregon Department of Energy, pp. 1-9. 79 Institution of Lighting Professionals. (2011). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN01:2011. Rugby: Institution of Lighting Professionals, 1-10.

48 กฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างท้องถิ่นก็ดีและคู่มือสําหรับลดผลกระทบจากแสงที่ ส่องรุกลํ้าได้กําหนดแนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็ตาม ตา่ งไดว้ างหลกั เกณฑแ์ นวคิดการสากลว่าดว้ ยมาตรฐานการใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารดงั ตอ่ ไปนี้80 ประการแรก แนวคิดเกี่ยวกับการติดตั้งและออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor light fixtures and design) ได้แก่ แนวคิดสนับสนุนให้เกิดการติดตั้งใช้งานและการออกแบบแสงสว่างที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมในยามคํ่าคืน ควบคู่ไปกับสนับสนุนให้เกิดการบังคับทิศทางของแสงสว่างให้ส่องไปยัง พื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ที่มีการติดตั้งโล่ไฟแนวตัด (full cut-off shield) สําหรับควบคุมทิศทางการส่องของแสง โล่ไฟแนวตัดที่ ติดตั้งบนหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจะคอยควบคุมให้แสงสว่างมีทิศทางส่องเล็ดลอดไปยังบริเวณพื้นที่ที่ ต้องการใช้งานแสงสว่างและป้องกันไม่ให้แสงสว่างส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งถือเป็นป้องกันสภาวะ แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า โล่ไฟแนวตัดที่ติดตั้งบนหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟยังมีส่วนช่วยบังคับทิศทางการ ส่องของแสงสว่าง ไม่ทําให้แสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังบริเวณที่อยู่อาศัย อาคารหรือเคหะสถานของเพื่อนบ้าน หรือส่องรุกล้ําเข้าไปยังบริเวณพ้ืนที่ชุมชนโดยรอบ อีกทั้งแนวคิดดังกล่าวยังสนับสนุนให้มีหลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคารในลักษณะองศาแบบแคบ (outdoor lights with narrower angles) ทําให้แสง สว่างไม่ส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและไม่สองเล็ดลอดออกนอกพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างได้อีกทาง หน่ึง ประการที่สอง แนวความคิดเกี่ยวกับการนําอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีมาช่วยควบคุมการใช้งานแสง สว่าง ได้แก่ แนวคิดสนับสนุนให้นําเอาอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ควบคุมการเปิดปิดไฟส่อง สว่างภายนอกอาคารเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานแสงสว่างจากไฟส่องสว่างภายนอกอาคารเท่านั้น (using lighting controls to automatically turn lights on and off as needed) เพราะหากปลอด ให้มีการใช้งานแสงสว่างในช่วงเวลาที่ไม่ตอ้ งการให้มกี ารใชง้ านแสงสวา่ งหรือในบริเวณพ้นื ท่ที ี่ไม่ตอ้ งการให้ มีแสงสว่าง ก็ย่อมทําให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้เหตุ ทั้งยังเป็นการเปิดใช้แสงสว่างโดยเปล่า ประโยชน์ ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่นําเอามาติดตั้งใช้งานสําหรับช่วยควบคุมการใช้งานแสงสว่าง เช่น สวิตซ์ หรี่แสงอัตโนมัติ (dimmable lights หรือ dimmers) เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (motion sensor) เซนเซอร์ตรวจจับการใช้งาน (occupancy sensor control) และตัวตั้งเวลา (timer control) เปน็ ตน้                                                             80Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association, op.eit., pp. 1-17. และโปรดดู เอกสารสรุปย่อกฎหมายแม่แบบ MLO ของสหรฐั อเมรกิ า (ฉบบั ร่าง) (จํานวน 17 หนา้ ) ได้ใน Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA – IES Model Lighting Ordinance Lite (Draft). Retrieved April 7, 2018, https://static1.squarespace.com/static/57af6be3d1758effdeaacefb/t/59036f5a46c3c4f6a774b0d2/1493 397338610/MLO_Lite_v3.pdf

49 ประการที่สาม แนวความคิดเกี่ยวกับการจํากัดระยะเวลาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน (outdoor light curfew regime) ได้แก่ การห้ามใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลา กลางคืนตามระยะเวลาที่รัฐบาลหรือท้องถิ่นได้กําหนดเอาไว้ หรือเรียกว่าเคอร์ฟิว (curfew) รัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลท้องถิ่นอาจออกกฎ ระเบียบและข้อบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร เช่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป ให้ปิดใช้งาน แสงสว่างภายตามเวลาที่กําหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการห้ามไม่ให้มีการใช้งานแสงสว่างในระยะเวลาท่ี กําหนด ซึ่งเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อป้องกันการใช้งานแสงสว่างในเวลาที่มีผู้คนสัญจรอยู่บริเวณรอบนอก อาคารน้อยหรือในเวลาที่แทบจะไม่มีผู้คนอยู่บริเวณรอบนอกอาคาร (มักเป็นเวลากลางคืนหรือยามวิกาล) โดยมากท้องถิ่นต่างๆ มักกําหนดให้ช่วงเวลาตั้งแต่ห้าทุ่มถึงหกโมงเช้า (from 11 pm to 6 am) นอกจากนี้ท้องถิ่น (หรือรัฐบาล) บางแห่งยังมีการกําหนดช่วงเวลาที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ค่อนข้างหนาแน่นหรือเรียกว่าช่วงเวลาก่อนเคอร์ฟิว (pre-curfew) และมีการกําหนดช่วงเวลาที่มีการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างน้อยหรือเรียกว่าช่วงเวลาหลังเคอร์ฟิว (post-curfew) เอาไว้ ต่างหาก การกําหนดช่วงเวลาก่อนเคอร์ฟิวและช่วงเวลาหลังเคอร์ฟิวเอาไว้เป็นเช่นนี้ ก็เพราะท้องถิ่นอาจ ต้องการจําแนกช่วงเวลาในการใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคาร เพื่อให้ทราบว่าช่วงเวลาใดมีการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารในอย่างหนาแน่นหรือไม่ มีความสว่างมากน้อยเพียงใด และเวลาใดพึงเตือนให้ ประชาชนทว่ั ไปยุตหิ รอื หยดุ การใช้งานแสงสว่าง 2.2.3 แนวความคดิ เก่ยี วกบั การกาํ หนดพนื้ ทใี่ ช้งานแสงสวา่ งใหส้ อดคล้องกบั การใช้ประโยชนท์ ีด่ ิน แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรการการใช้งานแสงสว่างให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ ที่ดิน ได้แก่ การจําแนกประเภทพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้ ประโยชน์ท่ีดิน (land use) การจําแนกพื้นที่ในลักษณะเช่นว่าน้ี รัฐบาล หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นต้อง จําแนกพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับบริบทของวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดิน สําหรับเศรษฐกจิ สังคมและส่งิ แวดลอ้ ม เพ่ือทําให้สามารถดาํ เนินการวางแผนการใชง้ านแสงสวา่ งภายนอก อาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดลอ้ มในอนาคต อีกประการหนึ่ง การขยายตัวของเมือง (urban expansion) ย่อมต้องมีการพัฒนาให้เกิดความเป็น เมือง (urbanization) มากขึ้น ประชากรย่อมโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทํากิจการงาน ประกอบอาชีพหรือ ทํากิจกรรมต่างๆ ในเมืองมากขึ้น จึงต้องมีความเจริญด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ อาคาร ที่พัก อาศัยและสิ่งปลูกสร้างสําหรับจัดทําบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรและ สอดคล้องกับการทํากิจกรรมของประชากร ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของประชากรทั้งในเวลา กลางวันและเวลากลางคนื ในทางตรงกันข้ามกม็ ีความกงั วลว่าการขยายตัวของเมืองอาจเปน็ ปัจจยั ที่ให้เกิด การขยายตัวของพ้ืนที่ที่มกี ารติดตั้งใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคารมากข้ึน จนแสงสว่างภายนอกอาคารมา

50 เข้ามารุกคืบพื้นที่มืดตามธรรมชาติยามคํ่าคืน โดยเฉพาะแสงสว่างภายนอกอาคารอาจส่องเข้ามาทําบาย บรรยากาศความมืดตามธรรมชาตใิ นบริเวณพ้ืนทอี่ นุรักษ์สิ่งแวดลอ้ ม81 ด้วยเหตุน้ีจึงมีความจําเปน็ ท่ีรฐั และ ท้องถิ่นต้องวางแผนจัดทําผังการใช้ประโยชน์แสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อสร้างหรือพัฒนาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืนให้เป็นระเบียบ ผ่านการจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามประเภทการใช้ ท่ีดิน82และสอดคล้องกบั การอนรุ กั ษส์ ่ิงแวดล้อมในทอ้ งถนิ่ 83 ตัวอย่างเช่น กฎหมายต้นแบบ MLO ของสมาคม IES และ IDA ได้จําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุม การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารออกเป็น 4 เขตด้วยกัน84 ได้แก่ (1) เขต LZ-0 หรือเขตพื้นที่ที่ปลอด การสอ่ งแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกาํ เนิดแสงประดษิ ฐ์ (No ambient lighting) เชน่ พน้ื ท่ีสงวนเอาไว้ทํา กิจกรรมทางดาราศาสตร์และพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เขต LZ-1 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่าง โดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับตํ่า (Low ambient lighting) เช่น พื้นที่ชนบท พื้นที่อยู่ อาศัยเพียงหนึ่งหรือสองครอบครัวและใจกลางเมืองชนบทขนาดเล็ก (3) เขต LZ-2 หรือเขตพื้นที่ที่มีการ ส่องแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับปานกลาง (Moderate ambient lighting) เช่น พื้นที่อยู่อาศัยของหลายครอบครัว พื้นที่การค้า พื้นที่ธุรกิจ พื้นที่โบสถ์ โรงเรียน โรงแรมและพื้นที่ใช้ ประโยชน์ผสมผสาน (4) เขต LZ-3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสง ประดิษฐ์ในระดับค่อนข้างสูง (Moderately high ambient lighting) เช่น พื้นที่ระเบียงการค้า พื้นที่ชาน เมืองที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น พื้นที่ใจกลางเมืองเล็ก พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่ขนส่งสินค้า พื้นที่สถานี รถรางและพื้นที่ศูนย์การค้าภูมิภาค และ (5) เขต LZ-4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่างโดยรอบจาก แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับสูง (Moderately high ambient lighting) เช่น พื้นที่ใจกลางเมือง พน้ื ทย่ี ่านสถานบนั เทงิ พื้นท่อี ตุ สาหกรรมหนกั และพ้ืนทีท่ ี่มีการใชง้ านแสงสวา่ งในระดับสูง เปน็ ตน้ นอกจากนี้ สถาบัน ILP ได้จําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ออกเป็น 4 เขตด้วยกัน ได้แก่ (1) เขต E1 หรือเขตพื้นที่ปลอดการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ศึกษาดาราศาสตร์ และพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เขต E2 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างตํ่า (Low district brightness) เช่น พื้นที่ชนบท หมู่บ้านขนาดเล็ก และพื้นที่ชานเมือง (3) เขต E3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่าง                                                             81 Hale, D. J., et al. (2013). ‘Mapping Lightscapes: Spatial Patterning of Artificial Lighting in an Urban Landscape’, PLoS One, 8(5), pp. 361–375. 82 Dunnett, O. (2015). ‘Contested landscapes: the moral geographies of light pollution in Britain’, Cultural Geographies, 22(4), 619-636. 83 London Borough of Richmond upon Thames. (2018). River & Light Pollution. London: London Borough of Richmond upon Thames, pp. 1-2. 84 Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association, op.eit., pp. 6-7.

51 ภายนอกอาคารระดับปานกลาง (Medium district brightness) เช่น เมืองขนาดเล็กและเขตปริมณฑล และ (4) เขต E4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสูง (High district brightness) เช่น พื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่และพื้นที่ที่มีการประกอบกิจกรรมตลอดช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น การจําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเช่น ว่านี้ ย่อมทําให้รัฐหรือท้องถิ่นสามารถทราบได้ว่าพื้นที่ใดมีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในระดับใด รัฐและท้องถิ่นจะได้จัดทําแผนที่ระบุความเสี่ยงจากมลภาวะทางแสง พร้อมจัดทํามาตรการพัฒนาการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและระมัดระวังภัยจากมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในเมือง ชานเมือง และชนบท ตลอดจนทําใหส้ ามารถระวังภัยและระบคุ วามเส่ียงจากการใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารเพ่ือ ควบคมุ มลภาวะทางแสงในเขตพื้นทเี่ ฉพาะแห่ง เพ่อื การอนุรักษร์ ะบบนิเวศยามคํา่ คนื ภาพที่ 12: ภาพแสดงคุณภาพความมืดตามธรรมชาตบิ นท้องฟ้าและสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนทอ้ งตาม วัตถปุ ระสงค์ของการใช้ที่ดนิ ในยา่ นชมุ ชนเมือง ชานเมือง ชนบทและพนื้ ทอี่ นุรักษ์ส่ิงแวดลอ้ ม85                                                             85 U.S. Department of the Interior National Park Service. (2018). Dark Skies. Retrieved April 8, 2018, https://www.nps.gov/yell/learn/nature/dark-skies.htm

52 ภาพท่ี 13: ภาพจากสถานสี ํารวจโลกองคก์ ารนาซา (NASA's Earth Observatory) แสดงปรมิ าณการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่หนาแน่นในบรเิ วณใจกลางเมอื งแซนแอนโทนโี อ มลรฐั เทกซัส ประเทศสหรฐั อเมริกา ในขณะทใ่ี น บรเิ วณชานเมืองดงั กลา่ วมีการใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคารทีไ่ ม่หนาแน่น86 ตารางที่ 1: ตารางจําแนกเขตพ้นื ท่สี ําหรับควบคมุ การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (environmental zones for exterior lighting control) ของสถาบนั ผูป้ ระกอบวิชาชีพแสงสว่างแหง่ สหราชอาณาจักรหรอื ILP ได้จําแนกเป็น 4 เขต ได้แก่ (1) เขต E1 หรือเขตพ้ืนที่ปลอดการใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) (2) เขต E2 หรือเขต พ้ืนท่ที ี่มีการใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคารค่อนข้างตา่ํ (Low district brightness) (3) เขต E3 หรือเขตพ้ืนที่ทม่ี ีการใช้ งานแสงสวา่ งภายนอกอาคารระดับปานกลาง (Medium district brightness) และ (4) เขต E4 หรือเขตพน้ื ที่ทมี่ กี ารใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสูง (High district brightness)87                                                              86 City of San Antonio. (2009). Dark Sky Policy Evaluation. Retrieved April 8, 2018, https://www.sanantonio.gov/sustainability/DarkSkyPolicyEvaluation 87 Institution of Lighting Professionals. (2011). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN01:2011. Retrieved April 8, 2018, http://www.wiltshire.gov.uk/guidance-notes-for-the-reduction-of-obtrusive-light.pdf

53 2.2.4 แนวความคดิ เกย่ี วกับการระงบั เหตรุ ําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสวา่ ง ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน (neighbour) ผู้อยู่อาศัยบริเวณ ใกล้เคียงหรือผู้ต้องประสบกับเหตุนั้นอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (artificial light) ดังต่อไปน้ี ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญอันเกิดจากแสงสว่าง (artificial light nuisance)88 การกระทําใดๆ อัน เป็นเหตุให้เกิดการส่องรุกลํ้าของแสงหรือความสว่างในลักษณะอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ย่อมเป็นบ่อเกิดของเหตุรําคาญดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารอันเกิดจากการ ใช้งานอย่างไม่สมเหตุสมผล (unreasonably) กับการใช้งานที่เกินกว่าความจําเป็น (substantially) จน ทําให้แสงส่องไปรุกลํ้า (interfere) จนรบกวนการใช้สอยอาคารหรือรบกวนการพักผ่อนในเคหสถานของ เพอื่ นบา้ น อาจนําไปสู่อันตรายตอ่ สุขภาพหรอื มีความเส่ียงทจี่ ะเกิดอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต อย่างไรก็ ตามมีแนวความคิดเกี่ยวกับการระงับเหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง นั้นก็คือ การควบคุมการส่อง รุกลํ้าของแสง (light trespass) และการป้องกันไม่ให้เกิดแสงที่ส่องออกนอกพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสง สว่าง (spill light) จนไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับเพื่อนบ้านหรือผู้ที่อยู่อาศัยชุมชนโดยรอบ แนวความคิดดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักการทางวิศวกรรมส่องสว่างและสถาปัตยกรรมแสงสว่างที่ว่าจะต้องมี การควบคุมการติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่ทําให้เกิดแสงสว่างที่ส่องไปยังบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน เท่านั้น (area to be lit) ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการออกแบบ ติดตั้งและใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่สามารถ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงได้ พร้อมกับมีการออกแบบแหล่งกําเนิดแสงสว่างที่ไม่ก่อให้เกิดแสงสว่าง จ้าส่องไปยังที่อยู่อาศัย อาคาร เคหะสถานและพื้นที่ส่วนตัวของเพื่อนบ้าน89 เช่น การติดตั้งโล่ไฟ (shielded fixtures) และการปรับมุมทิศทางการส่องของแสงกับจัดแสงให้ส่องตกกระทบไปยังพื้นที่ท่ี ต้องการใช้งานแสงสว่าง (adjusting the angle and aim of the light) เปน็ ต้น                                                             88 Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide. Retrieved April 8, 2018, file:///C:/Users/Veriton/Downloads/light-pollution-as-a-statutory- nuisance-a-how-to-guide.pdf 89 Morgan-Taylor, M.P. (2006). ‘Light Pollution and Nuisance: The Enforcement Guidance for Light as a Statutory Nuisance’, Journal of Planning & Environmental Law, August, pp. 1114-1127.

54 ภาพที่ 14: เหตุราํ คาญอนั เกิดจากใชง้ านแสงสว่าง (แสงประดษิ ฐ)์ อาจนําไปสู่การเกิดความขดั แยง้ ระหว่าง เพ่ือนบา้ นที่มอี าณาบรเิ วณรั้วติดกนั 90 ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณสถานที่ของเอกชน (private premises) หรือการติดตั้งแสงสว่างจากโคมไฟที่ติดตั้งบริเวณสถานที่สาธารณะ (public premises) ก็พึงจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและวิธีการที่ชัดเจนสําหรับเยียวยาความเสียหายจากเหตุ รําคาญจากแสงประดิษฐ์แก่เพื่อนบ้านผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียงหรือยุติเหตุรําคาญจากแสงประดิษฐ์แก่ ผู้ทีอ่ ยูอ่ าศัยในบริเวณพ้ืนท่โี ดยรอบ จนสามารถปอ้ งกนั ความเส่ือมหรือลดผลกระทบอันตรายตอ่ สุขภาพได้                                                              90 Pennsylvania Outdoor Lighting Council. (2017). Residential. Retrieved April 8, 2018, http://polcouncil.org/polc2/residential.htm

บทท่ี 3 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ ในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้นําเสนอแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสง ที่กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงสากล ก็เพื่อให้เห็น หลักการพื้นฐานและภาพรวมของผลกระทบที่สําคัญ ซึ่งแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้เองได้นําเอามาประยุกต์ใช้ กับการควบคุมมลภาวะทางแสง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และระบบนิเวศในเวลา กลางคืน รวมไปถึงป้องกันผลกระทบอื่นๆ ท่ีอาจส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมใน เวลากลางคืน จากแนวคิดการควบคุมมลภาวะทางแสงที่กําเนิดมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคาร อันมีวัตถุประสงค์จะลดผลกระทบหรือจํากัดการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม กล่าวคือปัญหามลภาวะทางแสงได้รับการยอมรับให้เป็นปัญหาระดับประเทศและระดับ นานาชาติ โดยหลายประเทศได้นําแนวคิดที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 มาบรรจุเอาไว้ในกฎหมายภายใน หรือกฎหมายท้องถิ่นของตน แต่กฎหมายภายในของแต่ละประเทศมีระดับหรือมาตรฐานในการควบคุม มลภาวะทางแสงที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในหลายประเทศก็ให้ความสําคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในบริบทหรือมิติที่แตกต่างกันออกไป ดังที่จะได้กล่าวเอาไว้ในบท ที่ 3 การศึกษาค้นคว้ากฎหมายต่างประเทศในบทที่ 3 นี้ ย่อมทําให้สามารถเปรียบเทียบมาตรการทาง กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจากหลายประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนําเอามาเปรียบเทียบกับ กฎหมายของประเทศไทย เพ่ือนาํ เอามาตรการทางกฎหมายจากตา่ งประเทศ มาเป็นแนวทางในการพฒั นา ปรบั ปรงุ และเปลย่ี นแปลงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในมปี ระสทิ ธิภาพมากขึ้น ทั้งน้ี เพื่อให้เห็นหลักเกณฑ์และสาระสําคัญของกฎหมายในการควบคุมมลภาวะทางแสง ในบทที่ 3 นี้ผู้วิจัยจึงทําการศึกษากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจากต่างประเทศ พร้อมหยิบยกกฎหมายของ ประเทศตา่ งๆ เหลา่ นม้ี าทาํ การศกึ ษา วเิ คราะห์และเปรียบเทยี บ

56 3.1 ประเทศอังกฤษ หากจะกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศอังกฤษ ในประการแรกต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษและพื้นฐานของกฎหมาย อังกฤษที่เกี่ยวกับมลภาวะทางแสงในเบื้องต้นเสียก่อน แม้ประเทศอังกฤษจะอาศัยระบบกฎหมายจารีต ประเพณี (Common Law) แต่ประเทศอังกฤษก็มีบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ1 กล่าวคือก่อนปี 2005 กฎหมายลายลักษณ์ อักษรที่สําคัญอันเกี่ยวเนื่องกับการควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอังกฤษ ได้แก่ พระราชบัญญัติ Environmental Protection Act 1990 และพระราชบัญญัติ Pollution Prevention and Control Act 1999 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการควบคุมปกป้องสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมมลภาวะที่กระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม2 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับมีหลักการที่สําคัญบนฐานแนวคิดในการให้อํานาจรัฐและท้องถิ่น ลดผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมกับควบคุมมลภาวะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสาธารณชน3 หากแต่ กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลภาวะทางแสงเอาไว้เป็นการ เฉพาะ4 ในเวลาต่อมาเมื่อปัญหาและบริบทของปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเริ่มมี ความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็อาจสร้างความรําคาญจนอาจ กลายเป็นเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใชง้ านแสงประดษิ ฐ์ (artificial light nuisance)5 หลังจากปี 2005 รัฐบาลอังกฤษได้ตราบทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอัน เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (Statutory nuisance from artificial light) เอาไว้เป็นการเฉพาะ โดยกาํ หนดบทบญั ญตั วิ า่ ด้วยเหตรุ าํ คาญอันเน่ืองมาจากการใชง้ านแสงประดิษฐเ์ อาไวเ้ ป็นลายลักษณอ์ ักษร ได้แก่ พระราชบัญญัติ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005 พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เพิ่มเติมเนื้อความในพระราชบัญญัติ Environmental Protection Act 19906 กําหนดเอาไว้ว่าเหตุ                                                             1 Watson, M. (2005). ‘The enforcement of environmental law: civil or criminal penalties?’, Environmental Law and Management. 17 (1), pp. 3-6. 2 Dunkley, J. (1997). ‘Contaminated land, statutory nuisances and dual liability', Mountbatten Journal of Legal Studies, 1 (1), pp. 79-85. 3 Malcolm, R. (2006). `Statutory Nuisance: the Sanitary Paradigm and Judicial Conservatism', Journal of Environmental Law. 1 (18), pp. 37-54. 4 Malcolm, R. (1999). ` Statutory Nuisance Law in England and Wales’, Interdisciplinary Environmental Review. 2 (1), pp. 162 - 176. 5 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-7. 6 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2011). Artificial light statutory nuisance – continued utility of the current exemptions for certain premises Section 79(5B) Environmental Protection Act 1990. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 3-5.

57 รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ถือเป็นเหตุรําคาญเหตุหนึ่งที่สามารถสร้างความเดือดร้อน รําคาญให้กับเพื่อนบ้านและอาจสร้างผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมได้ นิยามความหมายของเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายใต้บทบัญญัติที่ได้รับการแก้ไขฉบับนี้ กล่าวคือ มาตรา 79 (1)(fb) ได้วางหลักเกณฑ์นิยามของเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เอาไว้ว่าแสง ประดิษฐ์ที่ส่องมาจากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพและสร้างความรําคาญต่อ เพื่อนบ้านได้ (Artificial light emitted from premises so as to be prejudicial to health or a nuisance)7 การที่มีการเพิ่มเติมเนื้อความบทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์เอาไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าวในปี 2005 ส่งผลในทางกฎหมายหลายประการด้วยกัน8 ประการแรก ผู้เผชิญกับเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างของเพื่อนบ้านสามารถยื่นข้อ ร้องเรียนการก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (complaints about artificial light) ต่อองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการตามข้อร้องเรียนของผู้เผชิญกับเหตุ รําคาญอนั เนอื่ งมาจากการใช้งานแสงประดษิ ฐข์ องเพ่ือนบา้ น ประการที่สอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Authorities) มีอํานาจดําเนินการทางกฎหมาย แก่เอกชนรายหนึ่งรายใดหรือธุรกิจร้านค้าที่เป็นผู้ก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศอังกฤษมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและหลักฐานการก่อเหตุรําคาญจากผู้ เผชิญกับความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างของเพื่อนบ้าน หลักฐานที่แนบมากับ ข้อร้องเรียนอาจเป็นตารางบนั ทึกช่วงเวลาการเกิดของเหตุรําคาญ (log sheets) ภาพถ่าย (photographs) และภาพเคลื่อนไหว (video evidence) รวมไปถึงหลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแสดงว่าแสงสว่าง นั้นกระทบต่อสิทธิที่จะอยู่ในที่อยู่อาศัย อาคารหรือเคหะสถานของตนอย่างเป็นสุข (a right of enjoyment of their property) โดยองคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่นจะตดั สินว่าการใช้งานแสงสว่างดังกลา่ ว ถือว่าสร้างเหตุรําคาญขึ้นมาหรือไม่ (determination of a statutory nuisance) ต้องพิจารณาปัจจัย หลักๆ เช่น ระยะเวลาการใช้งานแสงสว่าง (duration) ความถี่จากการใช้งานแสงสว่าง (frequency) ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างต่อการใช้ทรัพย์สินกับสุขภาพอนามัยที่ดี (impact) สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (local environment) แรงจูงใจในการก่อเหตุรําคาญ (motive) และความไวต่อเหตุรําคาญของผู้เผชิญ กับเหตรุ ําคาญ (ผรู้ ้องเรียน) (sensitivity of complainant) เป็นต้น                                                             7 West Lindsey District Council. (2018). Statutory nuisance: Lighting. Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/my-community/environment/pollution- control/statutory-nuisance-lighting/ 8 Ares, E. & Adcock, A. (2018). Briefing Paper Nuisance complaints Number CBP 8040. London: House of Commons Library,p. 14.

58 ประการที่สาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งหนังสือแจ้งเตือน (letter) ไปยังเจ้าของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่สร้างความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวยังสร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่เพื่อนบ้านอยู่ โดย ปราศจากการแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ให้แสงสว่างส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัวหรือเคหะสถานของเพื่อน บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ (pre-arranged visit by officers) ใน บริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างในทํานองที่เกิดหรืออาจจะเกิดเหตุรําคาญต่อ เพื่อนบ้านจากการใช้งานแสงสว่าง และในบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่กําลังเผชิญกับเหตุรําคาญ ดังกลา่ วอยู่ ประการที่สี่ หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สร้างความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการ ใช้งานแสงประดิษฐ์ ไม่ไดท้ ําการแกไ้ ขหรือปรบั ปรุงไม่ใหแ้ สงสว่างส่องรกุ ล้ําเขา้ ไปยังพ้นื ท่ีส่วนตวั หรือเคหะ สถานของเพื่อนบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งหมายประกาศให้จัดการกับเหตุรําคาญอัน เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (abatement notice) หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สร้าง ความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ยังเพิกเฉย ไม่ยอมปฏิบัติตามหมายประกาศ ดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ระบุเอาไว้ ก็จะถือว่าเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้กระทําผิดตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (statutory offence) แลว้ ก็อาจต้องรบั โทษปรบั เป็นจํานวนถงึ 50,000 ปอนด์ (facing fines of up to £50,000) อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ได้กําหนดข้อยกเว้น (exemptions)9 เอาไว้ในมาตรา 79(5B) ของพระราชบัญญัติ Environmental Protection Act 1990 (ถูกเพิ่มเติมเนื้อความดังกล่าวโดยพระราชบัญญัติ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005) ซึ่งวางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่าสถานที่บางแห่งที่มีการ ติดตั้งใช้งานแสงสว่างเพื่อเหตุผลในด้านความปลอดภัยและความมั่นคง (safety and/or security reasons) ได้แก่ ท่าอากาศยาน (Airports) สถานีเดินรถประจําทางและสาธารณูปโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Bus stations and associated facilities) จุดจอด/ขนถ่าย/พักของรถบรรทุกสินค้า (Goods vehicle operating centres) ประภาคารชายฝั่งทะเล (Harbours Lighthouses) สถานีรถไฟ (Railway premises) สถานีรถราง (Tramway premises) ทัณฑสถาน (เรือนจํา) (Prisons) สถานีรถบริการ สาธารณะอ่ืนๆ (Public service vehicle operating centres) และอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของกองทัพ                                                             9 Bath & North East Somerset Council. (2015). How to prevent Artificial light Nuisance, Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/my- community/environment/pollution-control/statutory-nuisance-lighting/

59 (Premises occupied for Defence premises)10 นั้นหมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ อังกฤษไม่มีอํานาจดําเนินการทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานบริการสาธารณะที่เป็นผู้ก่อ เหตุรําคาญจากแสงประดษิ ฐใ์ นสถานทีบ่ างแหง่ ทถี่ ูกระบเุ อาไวใ้ นข้อยกเว้นของพระราชบัญญัติดงั กล่าว อนง่ึ กฎหมายอังกฤษยงั ได้กําหนดภาระการพสิ ูจน์ว่าผ้ถู กู กลา่ วหาวา่ เปน็ ผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจาํ เลย ในคดีรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ต้องพิสูจน์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือศาล ยุติธรรมเห็นว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การใช้งานแสงสว่างอย่างดีที่สุดแล้ว (statutory defence of best practicable means) กล่าวคือผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลยในคดี เหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทางการค้า ธุรกิจและ อุตสาหกรรม (artificial light emitted from industrial, trade or business premises) และผู้ถูก กล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลยในคดีรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์จาก สาธารณูปโภคหรือสิ่งปลูกสรา้ งเก่ียวกับกิจกรรมกฬี าภายนอกอาคาร (artificial light emitted by lights used for the purpose of illuminating an outdoor relevant sports facility) ต้องพิสูจน์ว่าตนเอง มีโอกาสกระทําการหยุดยั้ง (stop) หรือกระทําการอันหนึ่งอันใดเพื่อลดผลกระทบ (reduce) ตามความ เหมาะสม11 จึงไม่ต้องรับผิดในผลของเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ข้อต่อสู้ให้ตนเอง ไม่ต้องรับผิดเช่นว่านี้ ย่อมทําให้ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลยในคดีรําคาญอัน เนือ่ งมาจากการใชง้ านแสงประดษิ ฐ์พน้ จากความรับผิด 3.2 สาธารณรฐั ฝรัง่ เศส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ประเทศฝรั่งเศส) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของปัญหาและผลกระทบอัน เนื่องมาจากมลภาวะทางแสง (pollution lumineuse) ที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยและความ เป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์แล้ว การใช้งานแสงสว่างที่เปล่าประโยชน์ยังก่อให้เกิดการเพ่ิมปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์หลายล้านตันจากกิจกรรมการบริโภคพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงสว่างจาก ครัวเรือนและจากธุรกิจร้านค้า ในวันที่ 25 มกราคม 2513 ประเทศฝร่ังเศสได้บัญญัตกิ ฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie12 ขึ้นมา กฎหมายฝรั่งเศสฉบับนี้มี                                                             10 North Kesteven District Council, (2018). Light Nuisance. Retrieved May 3, 2018, from https://www.n- kesteven.gov.uk/residents/living-in-your-area/environmental-protection/pollution-and-nuisance/light- nuisance/ 11 Everett, T. (2018). Statutory Nuisance – Question and Answer List. London: Chartered Institute of Environmental Health, pp. 1-10. 12 Legifrance. (2013). Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie. Retrieved May 5, 2018, from https://www.legifrance.gouv.fr/affichTexte.do?cidTexte=JORFTEXT000027003910

60 เป้าหมายให้สาธารณชนทั่วไปลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของภาคธุรกิจ13และมีวัตถุประสงค์เฉพาะให้ ประชาชนทั่วไปควบคุมการใช้งานแสงสว่างของตนไม่ก่อเกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทางการค้า ธุรกิจและอุตสาหกรรม14 ผ่านการลดมลภาวะทางแสง จากร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช้เป็นอาคารที่มีผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงร้านค้าที่มีการ ตดิ ตง้ั ไฟแสดงสนิ ค้าบริเวณหน้ารา้ น โดยมีผลบงั คับใช้ในวนั ที่ 1 กรกฎาคม 2013 กฎหมายฝรั่งเศสยังกําหนดให้ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ปิดไฟหรืองดใช้งานแสง สว่างภายในอาคารหลังจากที่พนักงานคนสุดท้ายได้ออกไปสถานที่ดังกล่าวแล้วหนึ่งชั่วโมง การปิดไฟใน อาคารหรืองดใช้งานแสงสว่างในอาคารเมื่อไม่มีคนทํางานอยู่ภายในร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคาร พาณิชย์เช่นว่านี้ ย่อมทําให้ลดการสิ้นเปลืองพลังงานอาคารโดยใช่เหตุและเป็นการประหยัดพลังงาน อาคารด้วยอีกทางหนึ่ง อีกทั้งกฎหมายฝรั่งเศสฉบับนี้ยังกําหนดให้อาคารที่ไม่มีผู้อาศัยอยู่ เช่น ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ จําต้องปิดไฟภายนอกอาคารหรืองดใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ตั้งแต่เวลาตี 1 จนถึง 7 โมงเช้า เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงานและลดมลภาวะทางแสงในเวลาที่มีผู้คนทํา กิจกรรมบริเวณภายนอกอาคารค่อนข้างน้อยหรือแทบจะไม่มีผู้คนอยู่บริเวณรอบนอกอาคารเวลา กลางคืน15 ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดการเกิดแสงเรืองไปบนท้องฟ้าและแสงส่องรุกลํ้าไปยังอาคารหรือ เคหะสถานของบุคคลอื่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กฎหมายฝรั่งเศสฉบับดังกล่าวยังได้กําหนดข้อยกเว้นเอาไว้ ในกรณีที่ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการเปิดไฟหรือใช้งานแสงสว่างด้วย เหตุผลด้านความปลอดภัย อีกทั้งกฎหมายฝรั่งเศสฉบับดังกล่าวไม่บังคับใช้กับไฟแสงสว่างที่ติดตั้งระบบ ตรวจจับความร้อนหรือระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว ซึ่งไฟแสงสว่างนี้จะทํางานเปิดหรือปิดอัตโนมัติด้วย เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนหรือเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว อีกประการหนึ่งกฎหมายฝรั่งเศสนี้ยังได้ กําหนดข้อยกเว้นไม่บังคับใช้มาตรการที่กล่าวมาในข้างต้นกับการติดตั้งใช้งานไฟประดับเทศกาลเฉลิม ฉลองตามประเพณีฝรั่งเศส (เช่น ไฟประดับเทศกาลคริสต์มาส) และไฟประดับสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญ (เช่น หอไอเฟล) ด้วยเหตุผลด้านการเฉลิมฉลองเทศกาลและการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาจับจ่ายใช้สอยใน ทอ้ งถิน่ ประเทศฝร่ังเศส                                                             13 Myles, R. (2013). 'Lights out' in France as big switch-off becomes law. Retrieved May 5, 2018, from http://www.digitaljournal.com/article/342542 14 Ngarambe, J. & Kim, G. (2018). 'Sustainable Lighting Policies: The Contribution of Advertisement and Decorative Lighting to Local Light Pollution in Seoul, South Korea', Sustainability, 10, Retrieved May 5, 2018, from file:///C:/Users/Administrator/Downloads/sustainability-10-01007%20(2).pdf 15 Roucous, (2018). Eclairage nocturne, le Conseil d'Etat condamne l'Etat à le mettre en Veilleuse. Retrieved May 5, 2018, from https://www.humanite.fr/eclairage-nocturne-le-conseil-detat- condamne-letat-le-mettre-en-veilleuse-652895

61 ภาพที่ 15: ภาพบรรยายหลกั เกณฑ์ภายใตก้ ฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝร่งั เศส เพ่อื ลดมลภาวะทางแสงและก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอาคาร16 3.3 สาธารณรัฐอิตาลี การขยายตัวของเมืองและการขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบก การพัฒนาท่าอากาศยานและ การปรับปรุงท่าเรอื ให้ทันสมัย รวมไปถึงการ การกระจุกตัวของประชากรที่แออัดหนาแน่นในบริเวณชุมชน เมืองของสาธารณรัฐอิตาลี (ประเทศอิตาลี) ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งใช้ งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารหรือออกแบบแสงสว่างบริเวณรอบนอกอาคารเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ของการดําเนินกิจกรรมของผู้คนในเมืองต่างๆ ช่วงเวลากลางคืน ย่อมเป็นเหตุสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อ สขุ ภาพมนษุ ย์ ระบบนิเวศในเวลากลางคืนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถงึ ยังนําไปสกู่ ารสิน้ เปลอื งพลงั งานไฟฟ้า ของประเทศอติ าลโี ดยสูญเปลา่ อีกดว้ ย17                                                             16 EclairagePublic, (2013). Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels. Retrieved May 5, 2018, from http://eclairagepublic.forum-pro.fr/t141-arrete-du-25-janvier-2013-relatif-a-l-eclairage-nocturne-des- batiments-non-residentiels 17 Cinzano, P. (1998). The Propagation of Light Pollution in Diffusely Urbanised Areas. Retrieved May 7, 2018, from https://arxiv.org/pdf/astro-ph/9811293.pdf

62 ประเทศอิตาลจี งึ เปน็ อีกประเทศหนึ่งท่ีตระหนักและเล็งเห็นความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนและระบบนิเวศในเวลากลางคืน ปัญหาอันเนื่องมาจาก การใช้งานแสงสว่างบริเวณรอบนอกอาคารหรือไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในประเทศอิตาลี นอกจากจะ เปน็ สาเหตหุ น่ึงที่ก่อให้เกดิ ความเดือดรอ้ นรําคาญแล้ว ยงั กอ่ ให้เกิดผลเสียและทาํ ลายสมดุลความสว่างตาม ธรรมชาติในเวลากลางวันและความมืดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน เพราะการใช้งานแสงสว่างบริเวณรอบ นอกอาคารหรือไฟส่องสว่างภายนอกอาคารย่อมไปทําลายบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่า คนื ในอดีตที่ผ่านมาปัญหามลภาวะทางแสงในประเทศอิตาลีได้กระจายไปตามเมืองสาํ คญั ท่ีมีการใช้งานไฟ ส่องสวางภายนอกอาคารอย่างกระจุกตัวและหนาแน่น อีกทั้งปัญหามลภาวะทางแสงยังขยายตัวไปยังหัว เมืองตามแคว้นทางการปกครองทั่วไป (Administrative Regions of Italy) กับแคว้นทางการปกครอง ตนเอง (Autonomous Regions with Special Statute of Italy) ที่สําคัญ18 ตัวอย่างเช่น แคว้นลอม บาร์เดีย (Region of Lombardia) แคว้นมาร์เค (Region of Marche) แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา (Region of Emilia-Romagna) แคว้นอาบรุซโซ (Region of Abruzzo) แคว้นปุลยา (Region of Puglia) แคว้น อุมเบรีย (Region of Umbria) แคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย (Region of Friuli-Venezia Giulia) และแคว้นลีกเู รยี (Region of Liguria) เป็นตน้ ดังนั้น แคว้นทางการปกครองทั่วไปกับแคว้นทางการปกครองตนเองในประเทศอิตาลีก็ได้บัญญัติ กฎหมายระดับแคว้น (Legge Regionale) หลายฉบับ เพื่อควบคุมมลภาวะทางแสงไม่ให้สร้างเหตุรําคาญ และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน อีกทั้งยังสร้างการประหยัดไฟฟ้าให้กับครัวเรือน ภาครฐั ภาคเอกชน ทอ้ งถนิ่ เมอื งและแคว้น สําหรับในส่วนของกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอิตาลี ผู้วิจัยขอกล่าวถึงความ เป็นมาและพัฒนาการของกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอิตาลีอย่างสั้นๆ ซึ่งการรับรู้และ ตระหนักในความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมีจุดเริ่มต้นใน ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ในระหว่างช่วงปี 1990 นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและอาชีพ จาก องค์กรดาราศาสตร์ในประเทศอิตาลีได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า อันบดบังทัศนียภาพบนท้องฟ้าในยามคํ่า คืน นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและอาชีพต่างก็ไม่อาจมองเห็นวัตถุทางธรรมชาติบนท้องฟ้าและไม่อาจ สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนท้องฟ้าอย่างชัดเจน (รวมไปถึงดาราจักรทางช้างเผือก) ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ย่อมสร้างอุปสรรคต่อการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้าและไม่อาจ มองเห็นดวงดาวเพื่อสร้างสุนทรียภาพในชวี ติ                                                             18 Cinzano, P. (2002). Light pollution and the situation of the night sky in Europe, in Italy and in Veneto. Retrieved May 7, 2018, from http://www.lightpollution.it/download/cinzano_nightskyeurope.pdf

63 แต่เดิมประเทศอิตาลีมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้า (consumption of electrical energy) จากการ ใช้งานแสงสว่างในเมือง (urban lighting) ค่อนข้างมาก ประกอบกับมีความวิตกกังวลจากนักดาราศาสตร์ สมัครเล่นและนักดาราศาสตร์อาชีพเกี่ยวกับปัญหาสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในบริเวณชุมชนเมือง และชานเมือง ดังนั้น ในปี 1990 สมาคมดาราศาสตร์อิตาลี (Italian Astronomical Society หรือ SAIt) จึงได้พยายามผลักดันและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ท้องถิ่น) ของประเทศอิตาลีจัดทําเทศ บัญญัติท้องถิ่นของตนสําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ นั้นก็ คือ ต้องการระงับยับยั้งไม่ให้มีแสงส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า (upward lighting) ที่ก่อให้เกิดสภาวะแสงเรือง ข้นึ ไปบนท้องฟ้า และสมาคมดังกลา่ วไดจ้ ัดทําข้อแนะนํา สาํ หรบั การออกแบบ การก่อสร้าง การปฏิบัติการ และการบาํ รุงรักษาไฟส่องสวา่ งทถี่ ูกติดตัง้ ใชง้ าน นอกจากนี้ คณะกรรมการศึกษามลภาวะทางแสงแห่งสมาคมดาราศาสตร์อิตาลี (SALt Committee for the Study of light pollution) กย็ ังไดน้ ําเสนอร่างกฎหมายระดับชาติ (National Bill) ได้แก่ ร่างกฎหมาย Bill No. 751 ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกนําเสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาอิตาลี เพื่อ นําเสนอแนวทางหลีกเลี่ยงไม่ใช้งานแสงสว่างให้เกิดแสงส่องขึ้นไปบนท้องฟ้าโดยไม่จําเป็น (unnecessary upward illumination) กับลดการเกดิ แสงจ้า (glare) บนทอ้ งถนน19 ร่างกฎหมายระดับชาตฉิ บบั นไี้ ด้บรรจหุ ลักการสาํ คัญหลายประการดว้ ยกนั ได้แก2่ 0 (ก) แสงสว่างที่ส่องจากโคมไฟถนนนั้น แสงสว่างจะต้องได้รับการออกแบบติดตั้งให้พุ่งตํ่าลงไม่ เกนิ ไปกว่าแนวจํากดั แสง (cut-off fixtures) หรอื แสงสวา่ งท่อี อกจากโคมไฟแสงพุ่งตํ่าต้องแสดงแนวจาํ กัด แสงเหนอื กวา่ แนวระนาบอันมีคา่ ไม่เกิน 0 แคนเดลาตอ่ กิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ข) แสงสว่างจากไฟประดับ (ornamental lighting) และแสงสว่างที่เปิดใช้งาน (open lighting) ต้องแสดงแนวจํากัดแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าตํ่ากว่า 15 แคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ค) แสงสว่างบริเวณพื้นที่ขนาดใหญ่ (lighting of large areas) ต้องแสดงแนวจํากัดแสงเหนือกว่า แนวระนาบอนั มคี า่ ตํา่ กว่า 10 แคนเดลาต่อกโิ ลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ง) แสงสว่างจากอนุสาวรีย์ (monumental lighting) หรือแสงสว่างจากอาคาร (building lighting) ตอ้ งไม่ไดร้ บั การติดตั้งใชง้ านให้มที ศิ ทางแสงสอ่ งข้ึนไปบนทอ้ งฟ้าหรือชนั้ บรรยากาศโดยตรง                                                             19 Zitelli, V., di Sora, M., & Ferrini, F. (2001). 'Local and National Regulations on Light Pollution in Italy', Preserving the Astronomical Sky, Proceedings of IAU Symposium 196, held 12-16 July 1999, in Vienna, Austria. Edited by Cohen, R. J. and Sullivan, W.T., p.111-116. 20 Ibid, p.111-116.

64 (จ) ไฟป้ายสัญญาณ (Luminous signs) หรือไฟป้ายโฆษณา (Luminous banners) พึงเปิดใช้ได้ เพียงเท่าที่จําเป็นสําหรับการประกอบกิจกรรมในเวลากลางคืน (nocturnal activities) บริเวณอาคารท่ี ต้องเปิดทําการในเวลากลางคืน (เช่น โรงแรม โรงพยาบาล และสถานีตํารวจ เป็นต้น) อีกทั้งป้ายสัญญาณ อื่นๆ (other signs) นอกเหนือจากนี้ต้องปิดใช้งานในเวลา 23 นาฬิกา (11pm) ตลอดช่วงฤดูหนาวและ ต้องปดิ ใชง้ านในเวลาเทีย่ งคนื (0 pm) ตลอดช่วงฤดรู ้อน (ฉ) ห้ามไม่ให้ติดตั้งไฟหมุนได้ (rotating beams) หรือไฟค้นหาที่มีความสว่างสูงและมีลําแสงที่ส่อง ไปไดไ้ กล (searchlighting-type beams) เพื่อวัตถปุ ระสงค์ในการโฆษณา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวได้บรรจุกฎเกณฑ์และกําหนดกรอบกติกาว่าด้วยการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและนําเสนอให้ใช้กับภาครัฐและภาคเอกชน แต่เมื่อรัฐสภาอิตาลีไม่ให้ความ เห็นชอบกับร่างดังกล่าว ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป ในปัจจุบันร่างกฎหมายดังกล่าวคงมีสถานะ เพียงเป็นเอกสารความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการควบคุมมลภาวะทางแสงจากการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารและนําเสนอมาตรการที่จําเป็น เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อมใน เวลากลางคืน ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงมีคุณค่าในฐานะที่เป็นต้นแบบในการจัดทํากฎหมายสําหรับแคว้น เมืองและท้องถิ่นที่กําลังตระเตรียมจัดทําหรือกําลังพัฒนากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมกับเป็น เอกสารสําคัญสําหรับผู้สนใจใครรู้ที่จะศึกษาหลักเกณฑ์และโครงสร้างของกฎหมายควบคุมมลภาวะทาง แสงในลักษณะทเ่ี ป็นกฎหมายลายลักษณอ์ ักษร จนมาถึงในปี 1997 แคว้นเวเนโต (Region of Veneto) เป็นแคว้นแรกที่บัญญัติและบังคับใช้ กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง ได้แก่ กฎหมาย Legge Regionale n. 22/1997 จากน้ันอีกเพียงไม่กี่ปี หลายแคว้นในประเทศอิตาลีก็ได้ดําเนินรอยตามแคว้นเวเนโตในการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร21 เช่น แคว้นตอสคานา (Toscana) และ แควน้ ปีเยมอนเต (Piemonte) เปน็ ตน้ อนึ่ง แสงสว่างเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญต่อการทํากิจกรรมในเวลากลางคืนของแคว้นต่างๆ (Italian Regions) แต่เนื่องจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารโดยปราศจากการควบคุมและใช้ พลังงานแสงสว่างอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ซึ่งตั้งแต่ปี 1997 (ตั้งแต่แคว้นเวเนโตเป็นแคว้นแรกในประเทศอิตาลีที่ออกกฎหมาย) จนมาถึงปัจจุบัน แคว้นต่างๆ จึงหันมาออกบทบัญญัติของตนเองให้ตอบสนองต่อความต้องการควบคุมการใช้งานแสงสว่าง ไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งก่อให้เกิดการใช้ประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ                                                             21 Cinzano, P. (2000). Laws against light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://www.inquinamentoluminoso.it/cinzano/en/page95en.html

65 ในทางหนึ่งอีกด้วย มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงที่บังคับใช้ในหลายแคว้นในประเทศอิตาลีนั้น ผู้วิจัย ได้รวบรวมมาดงั จะไดก้ ล่าวเอาไว้พอสังเขปต่อไปน้ี22 (ก) มาตรการบังคับให้มีการติดตั้งใช้งานโล่ไฟครอบหลอดไฟฟ้า (fully shielded lights) สําหรับ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ติดตั้งใช้งานภายนอกอาคาร ทําให้เกิดการ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงไปสู่พื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างอย่างแท้จริงหรือพื้นที่ที่ต้องการใช้ ความสว่างจากแหลง่ กาํ เนดิ แสง (areas to be lit) ทง้ั ยงั เปน็ การปอ้ งกันไม่ใหเ้ กิดแสงส่องพวยพุ่งขน้ึ ไปบน ท้องฟ้าจนเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในอีกทางหนึ่ง ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดแสงเรืองขึ้นไปบน ท้องฟ้า ภายใตก้ ารดําเนนิ การตามมาตรการนี้ประสงคใ์ ห้เกิดอตั ราสว่ นแสงออกมาด้านบน (upward light output ratio หรือ ULOR) คิดเป็นร้อยละ 0 (0 %) ทั้งแสงที่ส่องออกมาจากไฟสาธารณะ (public luminaires) และไฟเอกชน (private luminaires) (ข) มาตรการควบคุมปริมาณฟลักซ์การส่องของแสง (Luminous Flux หรือ F) หรือปริมาณแสง ทั้งหมดที่แผ่กระจายลงมาจากแหล่งกําเนิดแสงในทุกทิศทาง (โดยมีหน่วยเป็นลูเมน (Lumen หรือ lm)) จากป้ายโฆษณาทั่วไปกับควบคมุ เวลาการเปดิ ปดิ แสงสวา่ งทตี่ ดิ ตง้ั ใชง้ านบริเวณปา้ ยโฆษณาขนาดใหญ่ (ค) แม้ว่าหลายแคว้นจะกําหนดมาตรการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเอาไว้ แต่ก็ กาํ หนดขอ้ ยกเวน้ ของการดําเนนิ มาตรการควบคมุ มลภาวะทางแสง (exceptions) เอาไว้ ตวั อย่างเชน่ การ กําหนดข้อยกเว้นให้การใช้งานแสงสว่างจากโบราณสถานหรืออาคารทรงคุณค่าและแสงสว่างจาก อนุสาวรีย์ที่ไม่จําต้องเข้าหลักเกณฑ์ทั่วไปว่าด้วยเรื่องการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เป็น ตน้ (ง) โคมไฟอุณหภูมิสีสูง (high colour temperature lamps) ที่มีค่าองศาเคลวิน (Kelvin หรือ K) อุณหภูมิสีสูงไดร้ บั การอนุญาตใหต้ ิดตง้ั ใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคารอณุ หภมู ิสีสงู ในบางกรณเี ทา่ นั้น 3.4 สาธารณรฐั สโลวีเนีย สาธารณรัฐสโลวีเนีย (ประเทศสโลวีเนีย) เป็นอีกประเทศหนึ่งที่บัญญัติกฎหมายควบคุมมลภาวะ ทางแสงขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ด้วยประเทศสโลวีเนียมีสภาพเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ประกอบกับมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารสอดคล้องกับสภาวะ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามไปด้วย ทําให้การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารแพร่ขยายออกไป ในวงกว้าง จนกระทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร เชน่ นักดาราศาสตรก์ ับนกั สิ่งแวดล้อม ต่างก็ได้ออกมาเคล่อื นไหว นาํ เสนอและสรา้ งความตระหนกั เก่ียวกับปัญหามลภาวะทางแสงในระดับชาติและระดบั ท้องถิ่น                                                             22 Falchi, F. (2011). The control of light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/falchi_2011.pdf

66 ในช่วงปี 1990 นาย Herman Mikuž ผู้อํานวยการสถานีศึกษาดาราศาสตร์ Črni Vrh Observatory ในฝากตะวันตกของประเทศสโลวีเนีย ได้ทําการหยิบยกประเด็นว่าด้วยปัญหามลภาวะทาง แสงที่กระทบต่อกิจการดาราศาสตร์ของประเทศสโลวีเนีย โดยการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย ถกเถียงก็เพื่อให้รัฐสโลวีเนียมุ่งไปที่การควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารแล้วก่อให้เกิดผล กระทบตอ่ การศกึ ษาดาราศาสตรห์ รือสภาวะแวดล้อมในทอ้ งถ่ิน23 แม้ต่อมาในปี 1993 รัฐสภาสโวลีเนีย (National Assembly of the Republic of Slovenia หรือ Državni zbor Republike Slovenije) ได้ผ่านกฎหมายและบังคับใช้รัฐบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1993 (Environmental Protection Act 1993 หรือ Zakon o varstvu okolja 1993 หรือ ZVO) อันมี สาระสําคัญเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างๆ แต่ไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการบางอย่างขึ้นเพื่อ ควบคุมปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเป็นการ เฉพาะ จนกระทั้งในปี 1995 นักดาราศาสตร์ได้รวมตัวกันจัดทําเอกสารข้อริเริ่มเพื่ออนุรักษ์อนุรักษ์ความ มืดบนท้องฟ้า ค.ศ. 1995 (Dark-sky Innitative 1995) ประกอบกับภาควิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์แห่ง มหาวิทยาลยั ลบู ลยิ านา (University of Ljubljana หรอื Univerza v Ljubljani) ไดจ้ ดั ทาํ เอกสารรายงาน ฉบับแรกเกี่ยวกับสภาพการณ์ของมลภาวะทางแสงในประเทศสโลวีเนีย (First report about the state of light pollution in Slovenia)24 อย่างไรก็ดี เอกสารทั้งสองฉบับที่ถูกนําเสนอปัญหาด้านมลภาวะทาง แสงในประเทศสโลวีเนียก็ไม่ใช่ร่างกฎหมายที่จะถูกนําเสนอแก่รัฐสภาสโลวีเนียหรือบทบัญญัติทาง กฎหมายซึ่งมีสภาพบังคับในประเทศสโลวีเนียแต่อย่างใด คงเป็นเพียงกรอบการนําเสนอทางวิชาการอย่าง กว้างๆ ช้ีให้เห็นถึงปญั หามลภาวะทางแสงทีอ่ าจกระทบตอ่ สาธารณชนได้เท่าน้ัน จนกระทั้งในปี 1999 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและผังเมืองแห่งสโลวีเนีย (Ministry of the Environment and Spatial Planning หรือ Ministrstvo za okolje in prostor หรือ MOP) ได้จัดทํา ร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง ค.ศ. 1999 (Draft regulations regarding reduction of light pollution 1999) ขึ้นมา25 วัตถุประสงค์ของร่างระเบียบฉบับนี้มุ่งลดการรบกวนจากแสง ประดิษฐ์ (artificial light interference) ต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตบางชนิดในระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองนกและแมลงบางสายพันธุ์ที่อาจสูญพันธุ์จากการใช้งานแสงประดิษฐ์ของมนุษย์ ซึ่งการ ควบคุมแสงสว่างนี้ควรถูกได้รับการควบคุมเป็นพิเศษในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (preserved areas of outstanding beauty) อีกทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังนําเสนอการลดการบริโภค พลังงานไฟฟ้า (electric energy consumption) และอนุรักษ์พื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ (astronomical observatories) ให้อยู่รอดปลอดภัยจากมลภาวะทางแสง ถึงกระนั้นก็ตาม ร่างกฎหมาย                                                             23 Mikuž, H. (2003). Activities Against the Light Pollution in Slovenia. Ljubljana: University of Ljubljana, pp. 1-8. 24 Ibid, p.2. 25 Ibid, p. 3.

67 ฉบับน้ไี ด้ถูกนาํ มาทบทวน (revised) อกี หลายครงั้ เพ่อื ให้ผมู้ สี ่วนได้ส่วนเสยี และประชาชนได้ทราบโทษภัย และตระหนกั ถึงความสําคัญของผลกระทบจากมลภาวะทางแสงต่อประเทศสโลวเี นยี ในมาถึงปี 2007 รัฐสภาสโลวีเนียได้ออกกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 (OG RS, No 81/2007) กฤษฎีกาฉบับนี้เป็นกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศ สโลวีเนียกําลังเผชิญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งกฤษฎีกาฉบับนี้ยังได้กําหนดให้ภาครัฐและภาคเอกชนนําการแก้ปัญหาทางเทคนิคท่ี เหมาะสมเพอื่ ให้ผู้มสี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี หรือผู้ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารพงึ ปฏบิ ัติตาม กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 บรรจุมาตรการสาํ คญั ทน่ี าํ เสนอการแกป้ ัญหาทางเทคนิคทเี่ หมาะสมเอาไวห้ ลายมาตรการดว้ ยกัน อาท2ิ 6 (ก) ไฟส่องสว่างภายนอกอาคารต้องได้รับการออกแบบติดตั้งให้พุ่งตํ่าลงโดยอาศัยเทคนิคการติดตั้ง ใช้งานโล่ไฟ (fully shielded luminaires) ไม่เกินไปกว่าแนวจํากัดแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าไม่ เกนิ 0 แคนเดลาตอ่ กโิ ลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ข) กําหนดให้มีการจํากัดการใช้พลังงานไฟฟ้ารายปี (annual electricity consumption limit) ทั้งในระดับเมืองและระดับเทศบาล การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดทําบริการสาธารณะของเทศบาลต่างๆ (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย) ต้องไม่เกิน 44,5 kWh/yr/capita (ต่อปี) และการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการจัดทําบริการสาธารณะของเมืองต่างๆ (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย) ต้องไม่เกิน 5,5 kWh/yr/capita (ตอ่ ป)ี (ค) การใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารของอาคารจําพวกโรงงาน (factories) ไฟอาคารธุรกิจ (business buildings) และสถาบนั ต่างๆ (institutions) ต้องถกู จาํ กดั ความสว่างแสงเหนอื กวา่ แนวระนาบ อันมีค่าไม่เกินไปกว่าที่กฎหมายจํากัดเอาไว้ (upper limits for illumination) คิดคํานวณโดยหน่วยวัตต์ ต่อตารางเมตร (watt per square meter หรือ W/m2) (ง) การใช้งานไฟส่องสว่างที่ติดตั้งบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (billboards) (เช่น ป้ายโฆษณาที่มี ขนาดมากกว่า20 ตารางเมตร (> 20 m2)) ต้องถูกจํากัดความสว่างแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าไม่ เกินไปกว่าที่กฎหมายจํากัดเอาไว้ (upper limits for illumination) คิดคํานวณโดยหน่วยวัตต์ต่อตาราง เมตร (watt per square meter หรือ W/m2) และต้องถูกจํากัดระยะเวลาการปิดใช้งานไฟส่องสว่างท่ี                                                             26 Vertačnik, G. (2011). Slovenian Light Pollution Legislation. Retrieved May 9, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/slovenian-light-pollution-legislation.pdf และโปรดดู เพ่ิมเติมใน Dark Skies Awareness. (2007). Slovene Light Pollution Law—adopted on 30 August 2007 An unofficial, shortened summary of the final version (prepared by Andrej Mohar on 9 September 2007). Retrieved May 9, 2018, from http://www.darkskiesawareness.org/slovene-law.php

68 ติดตั้งบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (switched off time) ระหว่างระยะเวลาเที่ยงคืนจนถึงตีห้า (12 pm - 5 am) (จ) โคมไฟฟลัดไลท์ (sports ground floodlights) ต้องได้รับการออกแบบติดตั้งโล่ไฟที่ยังคับทิศ ทางการสอ่ งของแสงใหพ้ ุ่งต่ําลงไมเ่ กินไปกวา่ แนวจาํ กัดแสง (fully-shielded) โดยแสงสว่างที่ออกจากโคม ไฟฟลัดไลท์อาจส่องเหนือกว่าแนวระนาบได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของแคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) พร้อมกับกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้สนามกีฬาใช้งานโคมไฟฟลัดไลท์และแสงสว่างภายนอกอาคาร อื่นๆ ไม่เกินสี่ทุ่ม (10 pm) และกําหนดให้ให้สนามกีฬาต้องเปิดใช้งานโคมไฟฟลัดไลท์และแสงสว่าง ภายนอกอาคารอื่นๆ ภายในหนึ่งชั่วโมงนับแต่เกมการแข่งขันหรือกิจกรรมเสร็จสิ้นหรือดําเนินการ เรยี บรอ้ ยแล้ว (ฉ) มาตรการต่างๆ ภายใต้กฎหมายฉบับน้ีมขี อ้ ยกเว้น (exceptions) ไมใ่ ช้บังคบั กบั การใช้งานแสง สว่างภายในอาคาร (interior lighting) ไฟส่องสว่างทางการทหาร (military premises) ไฟช่วยชีวิต (rescue operations) ไฟถนน (traffic lights) ไฟจัดแสดงคอนเสิร์ตและเทศการรื่นเริงต่างๆ (Concerts and festivities) และไฟประดับตกต่างอาคารในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ (decorative lighting from December 1 through January 15) 3.5 เครือรฐั ออสเตรเลีย เครือรัฐออสเตรเลีย (ประเทศออสเตรเลีย) เป็นประเทศที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร อย่างแพร่หลายเพื่อให้แสงสว่างในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในยามคํ่าคืน ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ของบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือติดชายทะเลของประเทศออสเตรเลีย ได้ดึงดูดผู้อพยพเข้ามายังประเทศ ดังกล่าวหันมาจับจองพื้นที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือบริเวณแถบชายทะเล จนสามารถพัฒนาให้ พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นเมืองชายทะเล (coastal cities) พื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร อย่างหนาแน่นและพื้นที่ที่มีจํานวนไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืนปริมาณมากในประเทศ ออสเตรเลีย มักเป็นพื้นที่หรือสถานที่อันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนบริเวณเมืองที่ติดกับชายทะเล การ พัฒนาเมืองบริเวณริมฝั่งทะเล (urban coastal development) ควบคู่ไปกับการเติบโตของจํานวน ประชากร (population growth) อันเป็นกระแสหลักที่ก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสง สว่างในยามคํ่าคืนตามการพัฒนาชุมชนเมืองและมีการใช้ประโยชน์แสงสว่างภายนอกอาคารตามลักษณะ การใช้ประโยชน์ในที่ดินตามบริเวณพื้นที่ชายฝั่งของประเทศออสเตรเลีย (trends in coastal development and land use)27                                                             27 Cooke,K. (2005). Light Pollution, a Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residents of Strathfield. Strathfield: Strathfield Council, pp. 1-16.

69 นอกจากนี้ ปัญหามลภาวะทางแสงนอกจากจะถือเป็นเหตุที่สร้างความรําคาญให้กับประชาชนหรือ ชุมชนได้แล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืนหรือทําลายสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการศึกษาดาราศาสตร์ในยามคํ่าคืน ในปัจจุบันปัญหามลภาวะทางแสงสามารถสังเกตได้อย่าง ชัดเจน และกระจายไปตามมหานครขนาดใหญ่ และเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากชายทะเล สาเหตุ ประการสําคัญ เกิดจากการพัฒนาเมือง การตั้งถิ่นฐานที่ต้องใช้ไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในบริเวณเมือง อย่างแออัดหนาแน่น ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างเพื่อให้ สาธารณูปโภคสามารถใช้ได้ในเวลากลางคืนอย่างต่อเนื่อง มลภาวะทางแสงเช่นว่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผล กระทบตอ่ ประชาชนและระบบนิเวศในบรเิ วณใกล้เคียงแหลง่ กําเนดิ แสง ยังนาํ ไปสู่ผลกระทบในดา้ นลบต่อ ระบบเศรษฐกิจอกี ด้วย การใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคลอ้ งกับแต่ละชนิดงานหรือสอดรับกับลักษณะของพื้นท่ี ใช้สอย กจ็ ําเป็นที่ตอ้ งดําเนินการใหเ้ ป็นไปตามหลกั การหรอื กฎเกณฑ์ท่พี ึงประสงค์ ไมว่ ่าจะเป็นหลกั การใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามหลักสากลหรือกฎเกณฑ์การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่พึง ประสงค์ในระดับชาติ ด้วยเหตุนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน ประเทศออสเตรเลีย (เช่น สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งออสเตรเลีย(Association of Consulting Engineers Australia) สมาคมดาราศาสตร์แห่งออสเตรเลีย (Astronomical Society of Australia) สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าออสเตรเลีย (Australian Electrical and Electronic Manufacturers Association) และสมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแหงออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ (Illuminating Engineering Society of Australia and New Zealand) เป็นต้น) จึงมา รวมตัวกันในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการ Committee LG/10 เพื่อจัดทําประมวลหลัก ปฏิบัติการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor lighting practice) ขึ้นมาเป็นแนวทางให้ ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่าง (เช่น วิศวกร สถาปนิก และประชาชนทั่วไป) ยึดถือเป็นแบบอย่างในการ ออกแบบ การติดตั้งและการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่สําคัญ และเหมาะสม รวมไปถึงได้มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านแสงสว่างแบบสากล ประมวลหลักปฏิบัติการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ได้แก่ เอกสาร Australian Standard AS 4282-1997 Control of the obtrusive effects of outdoor lighting28 เอกสารดังกล่าวบรรจุหลักการสําคัญเอาไว้หลายประการ ตวั อย่างเช่น การควบคุมทิศทางทิศทางการส่องออกนอกพ้ืนที่ใช้สอย (spill light control) จนเปน็ เหตุให้ เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสภาพแวดล้อมในเวลาการคืนและการควบคุมแสงสว่างจ้า (glare) ที่อาจส่ง ผลร้ายต่อทัศนวสิ ัยการมองเห็นเส้นทางหรอื ยวดยานพาหนะในเวลากลางคืน เป็นตน้                                                             28 Committee LG/10. (1997). Control of the obtrusive effects of outdoor lighting. Homebush: Standards Australia, p. 2.

70 นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศ ออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์) เกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในประเทศออสเตรเลียก็ ได้มารวมตัวกันในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการ Committee LG/2 เพื่อจัดทําเอกสาร AS/NZS 1158 - Road Lighting Standards (General)29 ขึ้นมาสําหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติสําหรับการ ออกแบบแสงสวา่ งบนท้องถนน โดยแนวปฏิบตั ดิ ังกลา่ วได้กาํ หนดสาระสําคญั เช่น ขอบเขตและข้อกาํ หนด มาตรฐานทั่วไป (Scope and General) เป้าหมายและลักษณะทางเทคนิคของแสงสว่าง (Objectives and light technical parameters) วิธีการออกแบบติดตั้งใช้งานและข้อกําหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Installation design methods and requirements) และเกณฑ์ที่พึงปฏิบัติว่าด้วยความสว่างและ ขอ้ มูลการตดิ ตั้งใช้งาน (Provision of luminaire and installation data) เปน็ ต้น รัฐ หรือท้องถิ่นในออสเตรเลียอาจละเลยหรือเพิกเฉย (default) ไม่ยอมปฏิบัติตามกรอบมาตรฐาน การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารและการติดตั้งใช้งานไฟถนนที่ระบุเอาไว้เอกสาร Australian Standard AS 4282-1997 Control of the obtrusive effects of outdoor lighting และเอกสาร AS/NZS 1158 - Road Lighting Standards (General) เนื่องจากไม่มีเอกสารมาตรฐานดังกล่าวไม่มี สภาพบังคับเฉกเช่นเดียวกับกฎหมาย เนื่องจากกรอบมาตรฐานดังกล่าวไม่ถือเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างต้องปฏิบัตติ าม แต่อาจกําหนดแบบแผน อันเป็นที่ยอมรับขึ้นเอาไว้เพื่อเอาไว้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารหรือไฟถนนเทา่ น้ัน อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียได้กําหนดกฎหมาย Environment Protection Act 199730 ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้สาธารณชนและปัจเจกบุคคลไม่ให้ได้รับผลกระทบจากมลภาวะ อีกทั้งยังประสงค์ จะควบคุมห้ามปรามไม่ให้ประชาชนก่อมลภาวะขึ้นมา มลภาวะทางแสงก็ถือเป็นมลภาวะชนิดหนึ่งภายใต้ กฎหมายฉบับนี้ด้วย ประชาชนทั่วไปจึงต้องมีหน้าที่ในด้านสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป (general environmental duty) ที่จะไม่สร้างอันตรายอย่าหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งแวดล้อม (environmental harm) หรือในขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปก็ต้องไม่สร้างเหตุรําคาญทางสิ่งแวดล้อม (environmental nuisance) ซึ่งอาจรวมความไปถึงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนและเหตุรําคาญจากการใช้งาน แสงประดษิ ฐ์ แมว้ ่าประเทศออสเตรเลยี ได้กําหนดกฎหมายข้นึ มาเพอื่ ประสงค์จะควบคมุ มลภาวะทางแสงในฐานะ ที่เป็นมลภาวะประเภทหนึ่งท่ีสามารถสร้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้เฉกเช่นเดียวกันมลภาวะจําพวกอื่นๆ                                                             29 Committee LG/2. (1999). Road lighting Part 3.1: Pedestrian area (Category P) lighting— Performance and installation design requirements. Homebush: Standards Australia, p. 2. 30 Clarence Valley Council. (2016). Light pollution fact sheet. Retrieved May 9, 2018, from file:///C:/ Documents%20and%20Settings/User/My%20Documents/Downloads/Light_Pollution.pdf

71 แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าการใช้งานแสงสว่างในความสว่างระดับเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นเหตุ รําคาญ (no fixed level which constitutes a statutory nuisance) ข้นึ อยู่กบั ดุลพินิจของทอ้ งถิ่นและ ศาลยุติธรรมของออสเตรเลียที่จะตีความว่าการใช้งานแสงสว่างในลักษณะใดหรือในกรณีไหนจึงจะถือเอา ว่าเป็นเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น ปริมาณของแสงที่ถูกปล่อยออกมาจาก แหล่งกําเนิด (amount of light being emitted) ระยะเวลาและอัตราการปล่อยของแสงสว่างจาก แหล่งกําเนิดแสง (duration and rate of emission) สมบัติของแสงและคุณภาพของแสงจาก แหล่งกําเนิดแสง (light’s characteristics and qualities) ความอ่อนไหวเปราะบางต่อสภาพแวดล้อม ของโจทก์ (sensitivity of the environment) ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากแสงสว่างที่ ปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสง (impact that the light has had or may have) บรรยายฟ้องของ เพื่อนบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนรําคาญหรือผู้ร้องเรียนเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงสว่าง (views of any other neighbours or complainants) และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (other relevant criteria) เป็น ตน้ 3.6 ราชอาณาจกั รสเปน ราชอาณาจักรสเปน (ประเทศสเปน) แบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้นต่างๆ อันประกอบด้วย แคว้นปกครองตนเอง (autonomous communities หรือ comunidades autónomas) จํานวน 17 แคว้น และมีเมือง (นคร) ปกครองตนเอง (autonomous cities หรือ ciudades autónomas) 2 เมือง โดยในแต่ละแคว้นจะแบ่งออกเป็นจังหวัด (provinces หรือ provincias) มจี ํานวนถงึ 50 จังหวัด ในปัจจุบันแคว้นต่างๆ ในประเทศสเปนทั้ง 17 แคว้นมีสิทธิในการปกครองตนเองและมีอํานาจใน การออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองสําหรับบังคับใช้ภายในแคว้นของตนเองได้ โดยเฉพาะหากแคว้น ใดประสบปัญหาหรือเผชิญผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นพิเศษ หรือแคว้นใดกําลังประสบต่อความ ท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในบางประเด็นเป็นพิเศษ แคว้นนั้นก็สามารถออกกฎหมายระดับแคว้นมาบริหาร จดั การกบั ความเสย่ี งหรือควบคุมผลกระทบจากปัญหาดา้ นสงิ่ แวดล้อมบางอยา่ งได้ ด้วยเหตุนี้ บางแคว้นของประเทศสเปนที่ตระหนักและเล็งเห็นว่าการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารอย่างไร้ทิศทางและไร้การควบคุมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบในด้านลบในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและการประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์ (ในบริเวณพื้นที่รัฐสงวนเอาไว้จัดกิจกรรมทางดารา ศาสตรห์ รอื จดั ตัง้ หอดูดาวเพ่ือจัดทาํ บริการสาธารณะด้านดาราศาสตร์) จึงไดจ้ ดั ทํากฎหมายหลกั ของแต่ละ แคว้นที่วางกรอบพื้นฐานว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและเพื่อ ควบคุมสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป โดยบางแคว้นได้กําหนดมาตรการส่งเสริมให้ลดการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน และ ให้จังหวัดและส่วนราชการของจังหวัดในแคว้นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

72 ของแคว้นว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง31 ตัวอย่างเช่น แคว้นอันดาลูซิอา (Andalucía) ได้ออก กฤษฎีกาของแคว้นด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงมาในเวลาต่อมา ได้แก่ กฤษฎีกา Decree 357/2010 of August 3rd, approving the Night Sky Quality Protection Regulations against light pollution (Decreto 3 5 7 / 2 0 1 0 , de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética)32 และแ คว ้นกาตาล ุ ญ ญ า (Cataluña) ได้ออกกฎหมายของแคว้นด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง ได้แก่ กฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment และกฤษฎีกา Catalonian Decree 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno)33 ซึ่งกฤษฎีกาที่จัดทําขึ้นโดยทั้งสองแคว้นนี้ ได้วางหลักเกณฑ์และกําหนดสาระสําคัญเอาไว้ในเรื่องของการห้ามติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ในบางลักษณะกับการหา้ มใช้งานแหล่งกําเนดิ แสงบางประเภทท่กี ่อให้เกดิ การสิ้นเปลืองพลงั งานโดยใชเ่ หตุ และไร้ประสิทธิภาพ (เม่ือเทียบกับแหล่งกําเนิดแสงชนดิ อ่ืนท่ีสามารถประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ มากกว่า) รวมไปถึงการวางและจัดทําผังเมืองที่มีวัตถุประสงค์สําหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและดํารงรกั ษาสภาพแวดล้อมในเวลากลางคืนและความมืดมิดตามธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ที่รัฐสงวนเอาไว้ประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์ อีกทั้งยังเป็น การกําหนดการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน จะต้องสอดคล้องกับการใช้ ประโยชนใ์ นที่ดนิ เพ่ือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกนั กาํ หนดการใชป้ ระโยชน์จากแสงสว่าง ภายนอกอาคารในเวลากลางคืนก็ต้องคํานึงถึงการอนุรักษ์ความมืดมิดตามธรรมชาติและการสร้างสมดุล ระยะเวลาความสวา่ งตามธรรมชาติในเวลากลางวันกับระยะเวลาความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนไป ในคราวเดียวกัน                                                             31 GUAIX. (2015). Light Pollution in Spain. Retrieved May 11, 2018, from https://guaix.fis.ucm.es/lightpollutioninspain 32 Junta de Andalucía. (2010). Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética. Retrieved May 11, 2018, from https://www.juntadeandalucia.es/boja/2010/159/2 33 Pérez, F. L. (2015). Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno de Cataluña. Retrieved May 11, 2018, from http://www.actualidadjuridicaambiental.com/en/legislacion- al-dia-cataluna-contaminacion-luminica/

73 กฤษฎีกาที่ออกโดยบางแคว้นในประเทศสเปนได้วางมาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคาร ก็ย่อมเป็นเครื่องสะท้อนถึงปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะและวาง แนวทางในการแก้ไขปัญหา ทั้งในระดับแคว้น (และส่งผลให้ท้องถิ่นในแคว้นต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม) เพื่อ เป็นการนําเสนอมุมมองในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางแสงในบางแคว้นของประเทศสเปน ทําให้เล็งเห็น ถึงสภาพของปัญหามลภาวะทางแสงอาจสร้างผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมใน เวลากลางคืน และเป็นการหยิบยกตัวอย่างของกฎหมายประเทศสเปน ทําให้สามารถเปรียบเทียบและ วิเคราะห์ถึงแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายกฎหมายประเทศไทย จึงจําเป็นที่จะต้องหยิบยก พระราชกฤษฎีกาจากบางแคว้นในประเทศสเปน มาเป็นตัวอย่างในการศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึง แนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย ภาพที่ 16: ภาพบรรยายสาระสําคญั ภายใตก้ ฤษฏีกา Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética ของแคว้นอันดาลเู ซยี ประเทศสเปน34 ตัวอย่างแรก กฤษฎีกาของแคว้นอันดาลูซีอาว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงหรือ Anulación Decreto 357/2010 ได้วางหลักเกณฑ์สําคัญเกี่ยวกับการการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อลด                                                             34 Junta de Andalucia. (2007). Protección del Cielo Nocturno. Retrieved May 11, 2018, from http://ciudad- civitas.blogspot.com/2010/10/evitar-la-contaminacion-luminica.html

74 ผลกระทบจากมลภาวะทางแสง (contaminación lumínica) เอาไว้หลายประการด้วยกัน อาทิ ข้อจํากัด สําหรับการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารที่ติดตั้งขึ้นมาใหม่ (restricciones aplicables a nuevas instalaciones) ไดแ้ ก่ ขอ้ ห้ามทกี่ ําหนดใหผ้ ู้ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่มีการติดตั้งใช้ งานอยู่ในปัจจุบัน และผู้ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่กําลังจะทําการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารในอนาคต ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ตามที่กฤษฎีกาของแคว้นอันดาลูซีดาว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงวางหลักเกณฑ์เอาไว้ เช่น ปริมาณแสงเปล่งออกมา (มีหน่วยเป็นฟลักซ์ส่องสว่าง) ที่ส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า (Flujo Hemisférico Superior Instalado de la Luminaria - FHSinst) ต้องตํ่ากว่าร้อยละ 1 (1 %) และป้ายโฆษณาที่มีการ ติดตั้งใช้งานแสงสว่างพึงต้องได้รับการออกแบบแสงสว่าง ให้มีทิศทางการส่องของแสงสว่างของพุ่งลง (luminarias que emitan luz de arriba hacia abajo) ทไ่ี มก่ อ่ ให้เกิดแสงเรืองขนึ้ ไปบนท้องฟา้ เป็นตน้ ตัวอย่างที่สอง แคว้นกาตาลุญญาได้ตรากฎหมายขึ้นมา ได้แก่ กฤษฎีกา Catalonian Law 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment) กฎหมายฉบับนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมในเวลากางคืนจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ผ่านการวางมาตรการ สําคัญหลายมาตรการด้วยกัน อาทิ การคงสภาวะตามธรรมชาติในเวลากลางคืนเอาไว้ (maintaining natural night-time conditions) การสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (promoting energy efficiency) การป้องกันการส่องรุกลํ้าของแสงเข้ามายังอาคาร บ้านเรือนหรือเคหะสถาน (preventing light intrusion on domestic setting) และการปอ้ งกนั ผลกระทบอนั เนื่องมาจากมลภาวะ ทางแสงต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้าในเวลากลางคืน (preventing effects of light pollution on the night observation of the sky) กฤษฎีกาฉบับนี้ได้กําหนดมาตรการสําคัญเอาไว้ 4 มาตรการด้วยกัน ได้แก่ (1) มาตรการควบคุมคุณภาพของแสงสว่าง (light quality) ได้แก่ มาตรการ ควบคุมคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่ถูกนํามาติดตั้งใช้งานอ่างมีประสิทธิภาพสูง (high efficiency) ผ่านการอนุญาตให้มกี ารติดตั้งใชง้ านแสงที่ตามองเห็นในลักษณะคล่ืนความถ่ีต่ํากว่า 440 nm (nanometer) รวมไปถึงการห้ามติดตั้งใช้งานหลอดไอปรอทความดันสูงหรือหลอดแสงจันทร์ (High Pressure Mercury Lamp) ทุกประเภทและห้ามติดตั้งใช้งานหลอดโซเดียม (Sodium Vapour Lamp) ในบางประเภท (2) มาตรการควบคุมปริมาณแสงสว่าง (light amount) ได้แก่ การกําหนดระบุความส่อง สว่าง (Luminance) (มีหน่วยเป็นแคนเดลาต่อตารางเมตรหรือ cd/m2)สําหรับการใช้งานไฟส่องสว่าง ภายนอกอาคารในบางประเภท ทีแ่ คว้นกาตาลญุ ญาประสงค์จะให้ทอ้ งถิ่นของตนควบคมุ คา่ ความสอ่ งสวา่ ง หรือสภาพการส่องสว่างของแหล่งกําเนิดแสงบางประเภทเอาไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ไฟถนน ไฟติดตั้ง บริเวณอนุสาวรีย์ ป้ายไปอิเล็กทรอนิกส์ และป้ายหน้าต่างแสดงสินค้าหน้าร้าน รวมไปถึงกําหนดค่า ปริมาณแสงสะท้อนออกมาจากพื้นผิวใดๆ (Unified Glare Rating System หรือ UGR) สําหรับ

75 แหล่งกําเนิดแสงบางประเภทที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแสงจ้า (3) มาตรการจํากัดพื้นที่ใช้งานแสงสว่าง (spatial light confinement) ได้แก่ การจํากัดพื้นที่ใช้งานแสงสว่างให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างให้ ความสว่างในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างเท่านั้น โดยกฎหมายฉบับนี้ห้ามไม่ให้มีการติดตั้งใช้ งานแสงสว่างโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดการส่องของแสงพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและห้ามไม่ให้มีการ ส่องของแสงไปยังบริเวณพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองเฉพาะเพื่อการประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์และการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และ (4) มาตรการจํากัดการใช้แสงสว่างชั่วคราว (temporary light confinement) ได้แก่ แสงสว่างที่เปิดใช้งานในเวลากลางคืน ต้องเป็นแสงสว่างที่ติดตั้งใช้งานด้วย เหตุผลเพื่อการรักษาความปลอดภัย การจัดการจราจรให้สาธารณชน และการทํากิจกรรมบางอย่างของ มนษุ ย์ ในระหว่างระยะเวลาชว่ งกลางคืน ปา้ ยไฟสอ่ งสวา่ งควรได้รับการปิดใชง้ าน เวน้ แต่ในกรณีท่ีต้องการ ใชป้ ระโยชน์ตามความจําเปน็ 3.7 ประเทศญ่ปี ุ่น ประเทศญป่ี ุ่นไม่มกี ฎหมายระดบั ชาตทิ ใี่ ชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื ในการควบคมุ และปอ้ งกันภาวะมลภาวะทาง แสง เพื่อรักษาคุณภาพความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนที่ดีให้ปลอดจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นเองจะมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารอย่างหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ก็ตาม แต่เป็นที่น่าสนใจว่าประเทศ ญี่ปุ่นได้มีการจัดทําเอกสารสําคัญหลายอย่างที่บ่งชี้ว่ามลภาวะทางแสงเป็นภัยต่อการประกอบกิจกรรม ดาราศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ เช่น คําแนะนําเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสง ค.ศ. 2006 (Light Pollution Control Guidelines 2006) คู่มือการวางผังเมอื งท้องถิ่นเพ่ือจัดสภาวะแวดล้อม แสงสว่าง ค.ศ. 2000 (Manual for Local Planning of Lighting Environment 2000) และคู่มือการ กําหนดมาตรการป้องกันมลภาวะทางแสง ค.ศ. 2001 (Guidebook on Light Pollution Preventive Measures 2001) เป็นตน้ เอกสารสําคัญเหล่านี้ได้นําเสนอแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบอันเนื่องมาจาก มลภาวะทางแสง หลายประการด้วยกนั (ก) การจัดแบ่งพื้นที่สําหรับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ ที่ดิน (control by zoning) ได้แก่ การจัดแบ่งพื้นที่สําหรับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดย จาํ แนกพ้นื ที่ตามวตั ถปุ ระสงคข์ องการใช้ประโยชน์ที่ดนิ ออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ พน้ื ทภ่ี ูมทิ ัศนอ์ นั มืดมิดในยามคํ่าคืน (intrinsically dark landscape) พื้นที่ชานเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ (rural and suburban residential area) พื้นที่ในชุมชนเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ (urban residential area) และพื้นท่ี ใจกลางเมืองที่มีความหนาแน่นของจํานวนการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในระดับสูง (urban core which allows high density of lighting fixtures in the area)

76 (ข) การควบคุมการบริโภคพลังงาน (control of energy consumption) รัฐ หน่วยงานรัฐและ ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น พึ่งสร้างความตระหนักให้ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างหันมาใช้ งานแหล่งกําเนิดแสงที่ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟประหยัดพลังงาน ได้ผ่านการ รบั รองตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของญ่ีป่นุ (Japan Industrial Standard - JIS) (ค) การควบคุมการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ (control of lighting fixtures) รัฐ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น พึงจูงใจและสร้างความตระหนักให้ประชาชนใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ที่มีปริมาณความเข้มของแสง(luminous intensity) และประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้า (energy efficient) สอดคล้องกบั สภาพแวดลอ้ มในแต่ละพน้ื ที่ (ง) การจํากัดชั่วโมงการเปิด-ปิดไฟส่องสว่าง (restriction on lighting hours) รัฐ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นควรเปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในชั่วโมงที่ประชาชนมีความต้องการใช้ งานแสงสว่างอย่างมากและปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในชั่วโมงที่ประชาชนมีความต้องการใช้งานแสง สวา่ งนอ้ ยหรือแทบจะไม่มีผคู้ นเดนิ ทางหรอื สญั จรในช่ัวโมงดังกลา่ ว (จ) การควบคุมความเข้มของแสง (control of light intensity) รัฐ หน่วยงานรัฐและท้องถิ่นของ ประเทศญี่ปุ่นพึงต้องควบคุมความเข้มของแสงให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของพื้นที่และการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนพึงรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปและท้องถิ่นติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ที่ไมก่ อ่ ให้เกิดแสงบาดตา ซ่งึ อาจเปน็ อนั ตรายตอ่ ผู้ใชร้ ถยนตห์ รือสัญจรบนท้องถนน (ฉ) การควบคุมการรุกลํ้าของแสง (regulation of light trespass) ได้แก่ รัฐ หน่วยงานรัฐและ ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจําต้องควบคุมทิศทางการส่องของแสง ที่ไม่ก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกลํ้าไปอาคาร เคหะสถานหรือพ้ืนท่สี ว่ นตัวของบุคคลอ่ืน อนั อาจนาํ ไปสู่การเกิดเหตุราํ คาญอนั เน่อื งมาจากการใช้งานแสง ประดษิ ฐ์ แม้เอกสารเหล่านี้ไม่มีผลผูกพัน (non-legally binding force) ให้ประชาชนและท้องถิ่นปฏิบัติ ตามเฉกเช่นเดียวกับบทบัญญัติทางกฎหมาย แต่ในบางท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นกลับออกอนุบัญญัติ (Subordinate local legislation) ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ได้แก่ เทศบาลเมืองไบเซอิ (Bisei-cho Town) ตําบลโอดะ (Oda District)เมืองโอกายามา (Okayama Prefecture) เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมืองไบเซอิ ถูกใช้เป็นพื้นที่ศึกษาและปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ของรัฐ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมดารา ศาสตร์สําหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยมีสถานีดาราศาสตร์ไบเซอิ (Bisei Astronomical Observatory -BAO) เปน็ ศูนย์ปฏบิ ตั กิ ารดา้ นดาราศาสตรต์ ั้งอยูใ่ นเมืองดงั กล่าวด้วย35                                                             35 Ministry of the Environment. (2006). Guidance for light pollution. Retrieved May 11, 2018, from http://www.env.go.jp/air/life/hikari_g_h18/full.pdf

77 เทศบาลเมืองไบเซอิจึงได้ตราอนุบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ เทศบัญญัติเมืองไบเซอิว่าด้วยการป้องกัน มลภาวะทางแสง ค.ศ. 1989 (Light Pollution Prevention Ordinance in the Town of Bisei 1989) ประกอบด้วยข้อห้ามหลายประการเพื่อช่วยป้องกันปัญหาและลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงต่อพื้นที่ ศกึ ษาดาราศาสตร์ดังกล่าว36 เช่น ข้อห้ามเปิด-ปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในช่วงเวลาที่ท้องถิ่นกําหนด (ตั้งแต่สี่ทุ่มจนถึงหกโมงเช้า) (external lighting curfew) ข้อห้ามใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ ก่อให้เกิดแสงสว่างพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า (ban on outdoor light emissions above the horizontal level) ข้อห้ามติดตั้งไฟบริเวณป้ายโฆษณาบริเวณส่วนบนของป้าย (ban on sign lighting to come from the top of signboard) ข้อห้ามติดตั้งโคมไฟความดันไอปรอทตํ่า (ban on low-pressure sodium lamps) และข้อห้ามใช้งานไฟเลเซอร์ส่องไปยังบริเวณชั้นบรรยากาศ (ban on all use of upward laser beam displays) เป็นตน้ กล่าวโดยสรุป ประเทศญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายระดับชาติสําหรับควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ คงมีเพียงแต่อนุบัญญัติท้องถิ่นของเมืองไบเซอิ ได้แก่ เทศบัญญัติเมืองไบเซอิว่าด้วยการป้องกันมลภาวะ ทางแสง ค.ศ. 1989 ที่กําหนดข้อห้ามที่ประกอบด้วยสาระสําคัญเพื่อการอนุรักษ์บรรยากาศความมืดมิด ตามธรรมชาติและรักษาสภาวะความมืดตามธรรมชาติที่จําเป็นต่อการศึกษาวิจัยดาราศาสตร์ในเวลา กลางคืน 3.8 การวเิ คราะห์และเปรียบเทยี บมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ จากที่กล่าวมาในข้างต้น ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาทบทวนกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจาก ต่างประเทศ พร้อมหยิบยกกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้มาทําการศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อสามารถที่จะวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างกฎหมายควบคุม มลภาวะทางแสงจากประเทศต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงมาตรการกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงที่กล่าวมา ในข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้ตอบสนองต่อปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากมลภาวะทาง แสง ผ่านการจัดทําบทบัญญัติทางกฎหมายเป็นการเฉพาะสําหรับวางมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะ ทางแสงกับควบคุมผลกระทบอันเนื่องมาจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่ เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอันนําไปสู่การเกิดมลภาวะทางแสง ซึ่งมาตรการจากประเทศที่ถูก หยิบยกเอามาเป็นตัวอย่างเหล่านี้มี ลักษณะที่คล้ายคลึงหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งการที่บัญญัติ หรือกําหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นว่านี้ ย่อมนําไปสู่การสร้างความตื่นรู้และ ตระหนักให้ประชาชนผู้ใช้งานแสงสว่างทั่วไปหรือผู้ปฏิบัติทางด้านแสงสว่าง พร้อมกับสร้างมาตรการให้ ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างจะต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ก็                                                             36 Bisei Astronomical Observatory. (2003). A brief introduction to BAO. Retrieved May 11, 2018, from http://www.bao.go.jp/eng/

78 อาจต้องได้รับโทษจากการฝ่าฝืนไปกระทําการหรืองดเว้นอย่างหนึ่งอย่างใดที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบอย่างหนงึ่ อยา่ งใดตอ่ รา่ งกาย อนามัยและทรพั ยส์ ิน มาตรการที่คล้ายคลึงกันและหลายประเทศก็ได้นํามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ไปในแนวทาง เดียวกัน มีอยู่ 3 มาตรการสําคัญอันประกอบด้วย (1) มาตรการควบคุมเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์ ได้แก่ การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดแสง ประดิษฐ์ที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย การใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารจะกลายมาเป็นเหตุรําคาญได้หรือไม่นั้นต้องเป็นการใช้งานแสงสว่างอย่างเป็น ประจําจนเกิดการส่องรุกลํ้าของแสงที่กระทบต่อการดํารงชีพ จนเกิดสภาวะที่กระทบต่อการดํารงชีพหรือ ทําให้เพื่อนบ้านหรือผู้ที่อาศัยในบริเวณพื้นที่โดยรอบอยู่อย่างไม่ปกติสุข บางประเทศได้กําหนดมาตรการ ควบคุมเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์มาแล้ว เช่น พระราชบัญญัติ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005 ของประเทศองั กฤษ กฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2 0 1 3 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝรั่งเศส และกฎหมาย Environment Protection Act 1997 ของประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น (2) มาตรการควบคุมการติดตั้ง ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ได้แก่ หลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่สร้างมาตรฐานการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสง พร้อมกับสร้างเกณฑ์การปฏิบัติให้กับ ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างและประชาชนทั่วไปในการเลือกติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่มี ประสิทธิภาพดา้ นพลงั งานและเป็นมิตรตอ่ ส่ิงแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกดิ การติดต้ังใช้งานและออกแบบแสง สวา่ งภายนอกอาคาร เพื่อสอดรับกบั การควบคมุ ผลกระทบท่ีอาจเกิดข้ึนจากมลภาวะทางแสง บางประเทศ ได้กําหนดมาตรการควบคุมการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น กฎหมาย Legge Regionale n. 22/1997 ของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 (OG RS, No 81/2007) ของประเทศสโลวีเนีย และกฤษฎีกา ของแคว้นอันดาลูซีอาว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงหรือ Anulación Decreto 357/2010 ของ ประเทศสเปน เป็นต้น (3) มาตรการกําหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลา กลางคืน ที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ การจําแนกพื้นที่ที่มี ความหนาแน่นของการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควบคู่ไปกับการจําแนกความหนาแน่นของปริมาณการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารหรือจํานวน ของไฟส่องสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน รัฐบาล (หรือท้องถิ่น) อาจ กําหนดการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผ่านการแบ่ง เขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการแบ่งเขต เช่นว่าน้ีย่อมทําให้รัฐบาล (หรือท้องถิ่น) สามารถสร้างผังการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเมือง ชาน เมือง ชนบทและพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ สําหรับบางประเทศที่มีมาตรการควบคุมการติดตั้งใช้งานแสง

79 สว่างภายนอกอาคาร ก็มักกําหนดให้มีมาตรการกําหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน ที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับวัตถุประสงค์ต่างๆควบคู่ไปด้วย เช่น กฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment แ ล ะ ก ฤ ษ ฎ ี ก า Catalonian Decree 8 2 / 2 0 0 5 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno) ของแคว้นกา ตาลุญญา ประเทศสเปน เป็นตน้ อยา่ งไรกต็ าม การกําหนดหลักเกณฑ์มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในตา่ งประเทศ ซึ่งจะกําหนดเป็นหลายมาตรการด้วยกัน บางมาตรการก็สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านอื่นๆ อาทิ มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาวิเคราะห์ในข้างต้น มาตรการ ของหลายประเทศที่เกี่ยวข้องกับการการควบคุมมลภาวะทางแสงทําให้เห็นว่า มาตรการที่ประเทศต่างๆ นํามาใช้หรือนําเอามาบังคับใช้ในปัจจุบันยังมีจุดอ่อน ช่องว่าง และอาจไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลอดจนความรับรู้และความตระหนักรู้ของปัญหาและผลกระทบท่ี เกิดจากมลภาวะทางแสง ดังนั้น จึงอาจมีการพัฒนามาตรการการควบคุมมลภาวะทางแสงประเภทใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและแนวโน้มทิศทางการขยายตัวของพื้นที่ที่มีการติดตั้ง ใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารในอนาคต ตัวอยา่ งเชน่ ควรมีการวเิ คราะห์ตน้ ทุนและผลตอบแทน (cost - benefit analysis) จากการแบ่งเขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ประโยชน์ที่ดิน สําหรับนําไปสู่การประกอบการตัดสินใจในการกําหนดความหนาแน่นแออันของปริมาณ แสงสว่างภายนอกอาคารที่จะต้องมีการติดตั้งใช้งานในแต่ละเขตพื้นที่ ผ่านการศึกษาความเชื่อมโยง ระหว่างโอกาสทจี่ ะใช้ประโยชน์ในท่ีดนิ กับการปรบั เปล่ียนวธิ ีการตดิ ตง้ั ใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารทไี่ ม่ กอ่ ใหเ้ กดิ มลภาวะทางแสง เป็นตน้ แม้มาตรการสําคัญทั้ง 3 ที่ได้ถูกหยิบยกมาในข้างต้น เป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายประเทศ ได้ร่วมกันหาแนวทางให้กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงมีความสอดคล้องกับปัญหาเนื่องจากการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารที่ตนเองได้ตระหนักรู้และสร้างให้มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทาง แสงภายในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนในการลดปัญหาและผลกระทบจาก มลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม แต่ในหลายประเทศก็ไม่ได้มีการจัดทํา กฎหมายเฉพาะหรือนํามาตรการเหล่านี้ไปปรับใช้แต่อย่างใด โดยมาตรการที่กล่าวมาในข้างต้นยังไม่เป็นท่ี ยอมรับและยังไม่ได้รับการนําไปปรับใช้ในหลายประเทศ ซึ่งบางประเทศกลับมีเพียงการจัดทําคู่มือแนว ปฏิบตั เิ กีย่ วกับเกณฑ์การใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคารในประเด็นต่างๆ เทา่ น้นั

80 กล่าวโดยสรุปแล้ว มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงย่อมมีบทบาทสําคัญต่อการ ประหยัดพลังงาน ทําให้เกิดการรักษาสมดุลระบบนิเวศ และป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน และเกิดการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ สําคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงกับการอนุรักษ์พลังงานควบคู่กันไป ข้อดีของการ สร้างมาตรการดังกล่าวเป็นเอกภาพในรูปแบบของมาตรการที่บรรจุเอาไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ ความผูกพันของกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารย่อมมีความ ชดั เจนกวา่ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอื่นๆ ภาครัฐ (หรือท้องถิ่น)สามารถออก กฎหมายภายในประเทศ (หรือกฎหมายท้องถิ่น) เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและผลกระทบบางอย่างจาก มลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ ที่สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากปัญหามลภาวะทางแสงเป็นการ เฉพาะและบริบทด้านการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละประเทศ (รวมถึงท้องถิ่น) อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยน มาตรการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ในทางตรงกันข้าม ข้อเสียของมาตรการ ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงย่อมไม่มีความยืดหยุ่น เพราะกฎหมายย่อมก่อให้เกิดผลผูกพัน ในทางกฎหมายให้ภาครัฐ (หรือท้องถิ่น) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมมลภาวะทาง แสง หากแต่ข้อแนะนํา ข้อเสนอและ แนวปฏิบัติที่ดีและคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติการเพื่อลดมลภาวะทาง แสงย่อมมีลักษณะเป็นการกําแนวปฏิบัติให้ภาครัฐ ท้องถิ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป นําไป ปฏิบัติและปรับใช้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนปฏิบัติการลดมลภาวะทางแสงให้มีความสอดคล้องกับบริบท อ่นื ๆในแต่ละประเทศและท้องถ่นิ

บทท่ี 4 วเิ คราะหป์ ัญหาเก่ียวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง ในประเทศไทย ในบทที่ 3 ผู้วิจัยได้นําเสนอการศึกษาค้นคว้ากฎหมายต่างประเทศเพื่อรวบรวมสาระสําคัญของ มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมกับวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยของมาตรการต่างๆ ซึ่งการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (กฎหมายเปรียบเทียบ) ย่อมเป็นประโยชน์ในการนําเอากฎหมายของ ประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ทราบแนวทางการนําเอามาตรการทาง กฎหมายจากต่างประเทศ มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาตรการทางกฎหมาย ของประเทศไทยในส่วนที่เก่ยี วข้องกบั การควบคุมมลภาวะทางแสงใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพมากขน้ึ ในบทที่ 4 นี้จึงกล่าวถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทยท่ี บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบว่าในปัจจุบันกฎมายประเทศไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาพปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร พร้อมวิเคราะห์ปัญหา ดังกลา่ ว ทงั้ นี้ ประเด็นท่จี ะต้องหยิบยกนําเอามาพจิ ารณาเป็นอันดับแรกในการวิเคราะหป์ ญั หาตามกฎหมาย ของประเทศไทย นั้นคือ การหยิบยกกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับมลภาวะทางแสง รวมไปถึงบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือเกณฑ์ทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันผลกระทบตอ่ ชีวติ รา่ งกาย อนามัย ทรัพย์สินและกิจกรรมของมนุษย์ อนั เน่ืองมาจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไมเ่ ป็นมิตรต่อผคู้ น ชุมชนและสงิ่ แวดลอ้ ม ในบทนี้ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายในประเทศไทย พร้อมหยิบยกกฎหมาย แมบ่ ทของประเทศไทยมาทําการศกึ ษา วิเคราะหแ์ ละเปรยี บเทยี บ 4.1 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย เมื่อเกิดสภาวะที่มีแสงประดิษฐ์ที่มีความสว่างในระดับที่สูงกว่าระดับปกติ (ระดับที่เพียงพอต่อการ มองเห็น การรักษาความปลอดภัยและการทํากิจกรรมต่างๆ) หรือเกิดสภาวะที่มีการส่องของแสงรุกลํ้าเข้า

82 มายงั พื้นท่ีท่ีไม่ต้องการใช้งานแสงสวา่ งในเวลากลางคืน ในระยะเวลานานพอที่จะรบกวนการดํารงชีวติ ของ มนุษย์หรือทําให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ ตลอดจนถึงส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ ในเวลากลางคืน จึงจําเป็นที่จะต้องมีการกําหนดมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลา กลางคืนหรือระดับการใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัยและการ ทํากิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืน สําหรับกําหนดเป้าหมายว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ควรมี มาตรฐานระดับใด เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปทําให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนการรักษาคุณภาพความ มืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนและรักษาสมดุลการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนกับการอนุรักษ์ ดุลยภาพความมดื ตามธรรมชาติ เพ่อื ประโยชน์ตอ่ มนษุ ยชาตใิ นระยะยาว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเฉพาะที่ใช้ควบคุมมลภาวะทางแสงและผลกระทบท่ี เกิดขึ้นจากมลภาวะทางแสง มาตรการด้านปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรการด้านสาธารณสุขยังมี ความล้าหลังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาจากมลภาวะทางแสงในมิติต่างๆ ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาวิเคราะห์ กฎหมายเกีย่ วกับการควบคุมมลภาวะและกฎหมายเก่ียวกับการจัดการเหตุรําคาญของประเทศไทย เพ่อื ให้ ทราบถึงปัญหาทางกฎหมายและทราบแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสงใหท้ นั สมยั และมปี ระสทิ ธิภาพ 4.1.1 พระราชบัญญตั สิ ่งเสรมิ และรกั ษาคุณภาพส่งิ แวดลอ้ มแหง่ ชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25351 ถือเป็นกฎหมายแม่บท ที่กําหนดมาตรการในการควบคุมมลภาวะ เช่น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียง และมลภาวะอื่นๆ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้จัดทํามาตรการเท่าที่จําเป็นขึ้นมาเพื่อ (1) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มี ส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ เปน็ ไปตามหลักการจดั การคุณภาพสิ่งแวดล้อม (3) เพ่ือกําหนด อํานาจหน้าท่ีของส่วนราชการ รัฐวสิ าหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการประสานงานและมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและกําหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง (4) กําหนดมาตรการ ควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบําบัดอากาศเสียระบบบําบัดนํ้าเสีย ระบบกําจัดของเสีย และ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ (5) กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ท่ี เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน และ (6) กําหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุน และความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพ ส่ิงแวดล้อม                                                             1 กรมควบคุมมลพษิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม. (2561). พระราชบัญญตั สิ ง่ เสรมิ และรักษาคณุ ภาพ ส่งิ แวดลอ้ มแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สบื ค้นวนั ที่ 11 สงิ หาคม 2561 จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_envi.html

83 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กําหนด นิยามความหมายของ (1) \"คุณภาพสิ่งแวดล้อม\" ให้หมายความ “ดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทําขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อการดํารงชีพของ ประชาชนและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ” ในส่วนของคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายฉบับน้ี อาจหมายความรวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ที่จําเป็นที่จะต้องมีดุลยภาพความสว่างตาม ธรรมชาติในเวลากลางวันกับความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน ที่เป็นประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของ ผู้คนอย่างยั่งยืนหรือทําให้ระบบนิเวศสามารถสร้างสมดุลได้ตามธรรมชาติสืบไป (2) \"มาตรฐานคุณภาพ สิ่งแวดล้อม\" ให้หมายความว่า “ค่ามาตรฐานคุณภาพนํ้า อากาศ เสียง และสภาวะอื่น ๆ ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งกําหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไปสําหรับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” โดยมาตรฐานคุณภาพ สิ่งแวดล้อมครอบคลุมถึงการกําหนดมาตรฐานคุณภาพสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน ที่พึงมี ความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนหรือระดับการใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสุขภาพ อนามยั ความปลอดภัยและการทํากจิ กรรมตา่ งๆ ในเวลากลางคืน (3) \"มลพิษ\" ใหห้ มายความวา่ “ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจาก แหล่งกําเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้ หมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรําคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูก ปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดมลพิษด้วย” การกําหนดนิยามหมายความหมายมลพิษตามพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ที่วางกรอบอย่างกว้างให้มลภาวะ (หรือมลพิษ) หมายความรวมถึงของแสงประดิษฐ์ที่ถูกปล่อยทิ้ง จากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ) ท่ีสามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ รวมไปถึงเหตุ รําคาญจากแสงประดิษฐ์ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ด้วย (4) \"ภาวะมลพิษ\" ให้ หมายความว่า “สภาวะทสี่ ่ิงแวดล้อมเปล่ียนแปลงหรือปนเปอื้ นโดยมลพิษซ่ึงทําใหค้ ุณภาพของสิ่งแวดลอ้ ม เสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางนํ้า มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน” ในการให้คํานิยามเช่นว่านี้ อาจ ตีความหมายรวมไปถึงสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปล่ียนแปลงโดยมลภาวะทางแสง โดยประการที่ทําให้คุณภาพ สภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในเวลากลางคืนเสื่อมโทรมลง เช่น มลภาวะทางแสง กฎหมายฉบับนี้จึง กล่าวถึงภาวะมลพิษที่ไม่เพียงจะเกิดขึ้นได้จากมลพิษทางนํ้า มลพิษทางอากาศ และมลพิษในดินเท่านั้น หากแต่อาจเกิดจากมลภาวะทางแสง ทาํ ให้การให้ความหมายของภาวะมลพิษสามารถครอบคลุมถึงปัญหา และผลกระทบจากมลภาวะทางแสงด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 32 ได้วาง หลักเกณฑ์เอาไว้ว่าเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่อง ต่อไปนี้ (1) มาตรฐานคุณภาพนํ้าในแม่นํ้าลําคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บนํ้าและแหล่งนํ้า

84 สาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน โดยจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ลุ่มนํ้าในแต่ ละพื้นที่ (2) มาตรฐานคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่นํ้า (3) มาตรฐานคุณภาพนํ้า บาดาล (4) มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป (5) มาตรฐานระดับเสียงและความ สั่นสะเทือนโดยท่วั ไป และ (6) มาตรฐานคณุ ภาพสิง่ แวดล้อมในเรอื่ งอืน่ ๆ ท้งั นี้ คณะกรรมการสง่ิ แวดล้อม แห่งชาติย่อมมีอํานาจตามมาตรา 32 (6) ที่สามารถประกาศกําหนดมาตรฐานการใช้ระดับการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ประโยชน์ที่ดิน หากแต่ในปัจจุบันยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่เคยออกประกาศกําหนด มาตรฐานระดับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (ambient lighting level standards) สําหรับ ควบคมุ ผลกระทบจากการใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารหรอื ควบคุมปอ้ งกนั ไม่ให้เกิดเหตุรําคาญจากการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เมื่อไม่มีมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนหรือ มาตรฐานความสว่างที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละพื้นที่ ก็ย่อมไร้ซึ่งการกําหนดเป้าหมาย คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละ พื้นที่ รวมไปถึงไร้ซึ่งการกําหนดเป้าหมายคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนของเขตอนุรักษ์หรือเขต พ้นื ที่คุ้มครองสิ่งแวดลอ้ ม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 55 ได้ให้อํานาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะจาก แหล่งกําเนิด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอํานาจประกาศในราช กิจจานุเบกษากาํ หนดมาตรฐานควบคุมมลพษิ จากแหลง่ กําเนิด สําหรับควบคมุ การระบายนํ้าทง้ิ การปล่อย ทิง้ อากาศเสีย การปลอ่ ยทง้ิ ของเสีย หรือมลพษิ อื่นใดจากแหลง่ กาํ เนดิ ออกสู่สิง่ แวดลอ้ ม เพ่อื รกั ษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมมีอํานาจกําหนดมาตรฐานควบคุม มลภาวะทางแสง (มลพิษทางแสง) จากแหล่งกําเนิด (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ และแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ประเภทอื่นๆ) สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืด มิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐาน คุณภาพ สิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมยังไม่ได้ใช้อํานาจตามมาตรา 55 แหง่ พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะทางแสง (มลพิษทาง แสง) จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติใน ยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐานแต่อย่างใด นอกจากนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 58 ยังได้ให้อํานาจผู้ว่า ราชการจังหวัดกําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิดสูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจาก

85 แหล่งกําเนิดที่กําหนดตาม มาตรา 55 ด้วยประการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอาจประกาศกําหนดมาตรฐาน สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม หากว่ามีกําหนดมาตรฐานควบคุม มลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืดมิดตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐานเอาไว้แล้ว หากไม่เคย มีการกําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษา คุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้ มาตรฐานมาก่อน ผ้วู า่ ราชการจังหวดั ยอ่ มไมม่ ีตาม มาตรา 58 แตอ่ ย่างใด เมื่อไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนจากที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ผลที่ตามมานั้นคือ ประการแรก ประเทศไทยยังปราศจากการ บังคับใช้กฎหมายท่ีมีอยู่เพ่ือนําไปสู่การใช้อํานาจออกบทบัญญตั ิว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงและไร้ บทบัญญัติอนั ประกอบดว้ ยสาระสําคัญเกี่ยวกบั การควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ คงมีเพียงการ กําหนดกรอบหรือขอบเขตนิยามความหมายคําว่ามลพิษ (มลภาวะ) เอาไว้อย่างกว้าง โดยอาจได้ว่ามลพิษ ทางแสง (มลภาวะทางแสง) ถือเป็นบริบทหนึ่งในนิยามความหมายคําว่ามลพิษ ภายใต้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ซึ่งรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใน ประเทศไทยก็ไม่ได้กําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงในบทบัญญัติทางกฎหมายเอาไว้ อยา่ งชัดเจน ประการที่สอง ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการลงโทษผู้ที่กระทําการปล่อยมลภาวะทางแสง จนอาจ ก่อให้เกิดหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินของผู้อื่น ตลอดจนก่ออันตรายต่อ ระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึงไม่มีมาตรการลงโทษผู้ที่ก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ ติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่ปล่อยแสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัว อาคารหรือเคหะสถาน ของเพื่อนบ้านเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบ ทําให้เพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนรําคาญ แม้ว่าจะมีแนวคิดสากล (แนวคิดนานาชาติ) ที่มีต่อการกระทําการปล่อยมลภาวะทางแสงที่สร้างความ เสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน โดยมองว่าควรมีบทบัญญัติของรัฐที่ถือว่าการกระทําการดังกล่าว เป็นความผิด (mala probibita) ส่งผลกระทบต่อร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินและระบบนิเวศในเวลา กลางคืน ผลจากการปล่อยมลภาวะทางแสงไปก่ออันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมนี้เอง ย่อมทําให้ เกิดความเสียหายในทางหนึ่งทางใด ผู้กระทําพึงต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย (เช่น โทษปรับ) แต่ กลับพบวา่ ยังไม่มีมาตรการลงโทษผู้ท่กี ระทาํ การปล่อยมลภาวะทางแสงเปน็ การเฉพาะแต่อย่างใด 4.1.2 พระราชบญั ญัตกิ ารสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของสังคม จําต้องมีการควบคุมกํากับดูแล กิจกรรมต่างๆ หรือการกระทําของประชาชนที่อาจส่งผลกระทบต่อเอกชนรายหนึ่งรายใดหรืออาจกระทบ ต่อสาธารณชน ก็ย่อมต้องมีการควบคุมผลกระทบให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี

86 ย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกันกับการสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด กฎหมายแม่บทด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25352 จึงได้กําหนดมาตรการกํากับดูแลและป้องกัน เกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม (environmental health) เอาไว้ โดยมาตรการภายใต้กฎหมายแม่บท ฉบับนี้ไม่เพียงสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพกายและใจดีที่ และสามารถใช้ชีวิตในสังคมโดยปราศจาก โรคภัยและปราศเหตุอื่นๆที่อาจกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดี แต่ยังมุ่งให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการดําเนินชีวิตและดํารงชีวิตประจําวัน ไม่ให้ เกิดผลกระทบตอ่ ชีวติ รา่ งกาย อนามยั และทรพั ย์สนิ ของประชาชน อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้งานใช้ประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ) โดย ประการที่จะเป็นเหตุให้เส่ือมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบแล้ว ก็อาจ ถอื ได้ว่าเป็นเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเดอื ดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบเหตุนั้น เหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมถือเป็นเหตุรําคาญตามมาตรา 25 (4) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่ภาครัฐหรือภาคเอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ได้ติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารโดยประการที่อาจก่อหรือได้ก่อให้เกิดแสงประดิษฐ์ที่ส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนบุคคล อาคารหรือเคหะสถานของผู้อื่น (เช่น การติดตั้งใช้งานไฟถนนในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทําให้เกิดแสงส่อง รุกลํ้าเข้าไปในห้องนอนของผู้ท่ีอาศัยในบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น) จนเป็นเหตุให้กระทบต่ออนามัยหรือเป็น อันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารต้องมีการเปิดใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่ก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกลํ้าเป็นประจําสมํ่าเสมอ (เหตุประจํา) จนไปกระทบต่อสุขภาพอนามัย วิธกี ารดําเนินชวี ิตประจาํ วนั และความเป็นอยู่อย่างปกติสขุ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 ได้ให้กําหนดให้เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอํานาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรําคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการ ระงับเหตุรําคาญด้วย ตลอดทัง้ การดูแล ปรับปรงุ บาํ รงุ รกั ษา บรรดาถนน ทางบก ทางนาํ้ รางระบายน้ํา คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรําคาญ โดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 ยังได้ให้อํานาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและ ควบคุมเหตุรําคาญต่าง ๆ ได้ ดังนี้แล้วเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอํานาจห้ามไม่ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดก่อ เหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ทั้งที่เป็นแหล่งกําเนิดแสงจากสถานที่สาธารณะและแหล่งกําเนิด แสงจากเส้นทางคมนาคมขนส่ง (เช่น ไฟถนน ไฟสวนสาธารณะ และไฟสถานีขนส่ง) หรือแหล่งกําเนิดแสง จากสถานที่ของเอกชน (เช่น ไฟรักษาความปลอดภัย ไฟที่จอดรถศูนย์การค้า ไฟป้ายโฆษณา และไฟ                                                             2 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสขุ . (2559). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรกั ษาคณุ ภาพสิ่งแวดล้อมแหง่ ชาติ พ.ศ. 2535. สบื ค้นวนั ที่ 11 สงิ หาคม 2561 จาก http://laws.anamai.moph.go.th/main.php?filename=1HLaws2016

87 ประดับตามเทศกาล) พร้อมกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและ ควบคมุ เหตรุ าํ คาญจากการใช้งานแสงประดษิ ฐไ์ ด้อกี ด้วย อนึ่ง ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องจําแนกประเภทสถานที่ ที่เกิดเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ขึ้น และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กําหนดเอาไว้สําหรับสถานท่ีที่เกิดเหตุราํ คาญจากการใช้งานแสงประดษิ ฐแ์ ต่ละ ประเภท ให้มีความสอดคล้องหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กําหนดเอาไว้ใน มาตรา 27 และมาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 27 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมี อํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญ จากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญดังกล่าวภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์นั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นอีก ในอนาคต ใหร้ ะบไุ ว้ในคาํ สั่งได้ (มาตรา 27 วรรคแรก) นอกจากนี้ หากปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้า พนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้น และอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อ ป้องกันมิให้เกดิ เหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดษิ ฐ์นั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซ่งึ เป็นต้นเหตุหรือเก่ียวข้องกับ การก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการ นน้ั (มาตรา 27 วรรคสอง) ในกรณีที่มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นในสถานที่เอกชน พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็น หนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานท่ีนั้นระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายในเวลาอัน สมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรําคาญจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์นั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ เกิดขึ้นในอนาคต ใหร้ ะบุไว้ในคําสง่ั ได้ (มาตรา 28 วรรคแรก) อีกทงั้ ในกรณีทไี่ ม่มกี ารปฏบิ ัติตามคําส่ังของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์นั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ เกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นจากการกระทํา การละเลย หรือการ ยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสีย ค่าใชจ้ า่ ยสําหรับการนนั้ (มาตรา 28 วรรคสอง) แต่ถา้ ปรากฏแกเ่ จ้าพนกั งานท้องถน่ิ ว่าเหตุราํ คาญจากการ