Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง - อ.ปีดิเทพ

รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง - อ.ปีดิเทพ

Published by E-books, 2021-03-02 06:54:05

Description: รายงานวิจัย-มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง-ปีดิเทพ

Search

Read the Text Version

รายงานฉบบั สมบูรณ์ เรอ่ื ง มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง Legal Measures for Controlling Light Pollution ผู้วจิ ัย อาจารย์ ดร.ปดี ิเทพ อยู่ยนื ยง คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ไดร้ ับทุนอดุ หนุนการวิจัยจากสานักงานประสานงานโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกจิ จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ กุมภาพันธ์ 2562

รายงานฉบบั สมบูรณ์ เรอ่ื ง มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง Legal Measures for Controlling Light Pollution ผู้วจิ ัย อาจารย์ ดร.ปดี ิเทพ อยู่ยนื ยง คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ไดร้ ับทุนอดุ หนุนการวิจัยจากสานักงานประสานงานโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกจิ จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ กุมภาพันธ์ 2562

ก บทคดั ยอ่ แสงประดิษฐ์เป็นสิ่งจำเป็นต่อกำรดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน กำรใช้งำนแสงประดิษฐ์ในเวลำ กลำงคนื ได้กลำยมำเป็นส่ิงสำคัญต่อกำรคมนำคม กำรรักษำควำมปลอดภัยและควำมม่ันคงสำธำรณะทั้งใน ประเทศพัฒนำแล้วและประเทศกำลังพัฒนำ แสงประดิษฐ์สิ่งส่องสว่ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืนได้ ถกู นำเอำมำใช้ให้แสงสวำ่ งบริเวณภำยนอกอำคำร เพ่ือควำมปลอดภยั และควำมมนั่ คง เพื่อเพ่ิมเวลำในกำร ใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืน และเพ่ือให้ควำมสว่ำงกับส่ิงปลูกสร้ำงทำงธุรกิจ และพำณิชย์กรรมยำมค่ำคืน อย่ำงไรก็ดี กำรใช้งำนแสงสว่ำงภำยนอกอำคำรในลักษณะที่ส่องไปยังพื้นท่ีที่ ไม่ต้องกำรใช้งำนแสงสว่ำงหรือแสงสว่ำงส่องรุกล้ำเข้ำไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องกำรให้มีแสงสว่ำงย่อมอำจ กอ่ ให้เกดิ มลภำวะทำงแสงตำมมำ กำรใช้งำนแสงสว่ำงที่เพิ่มมำกขึ้นก็สำมำรถเป็นเหตุแห่งปัญหำด้ำนส่ิงแวดล้อม ที่อำจนำไปสู่กำร สร้ำงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลำกลำงคืน โดยกำรแสงสว่ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืนอำจไป ทำลำยวงจรควำมสว่ำงตำมธรรมชำติในเวลำกลำงวันและควำมมืดตำมธรรมชำติในยำมค่ำคืน กำรใช้งำน แสงสว่ำงภำยนอกอำคำรที่ไม่เหมำะสมและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเวลำกลำงคืนย่อมเป็นปัจจัยที่มี อิทธิผลต่อควำมมืดตำมธรรมชำติในเวลำกลำงคืนและก่อให้เกิดควำมสว่ำงไสวบนท้องฟ้ำในยำมค่ำคืน อีก ทั้งทำลำยสมดุลแบบแผนควำมมืดควำมสว่ำงตำมธรรมชำติและสร้ำงผลกระทบต่อระบบนิเวศในเวลำ กลำงคืนอีกด้วย อนึ่ง มลภำวะทำงแสงไม่เพียงส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมในเวลำกลำงคืนเท่ำน้ัน หำกแต่ ยังอำจสร้ำงผลกระทบต่อกำรปฏิบัติงำนของนักดำรำศำสตร์ เพรำะควำมสว่ำงไสวบนท้องฟ้ำในยำมค่ำคืน จำกบริเวณพื้นที่ที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐำนอยู่นั้นย่อมส่งผลให้เกิดควำมสว่ำงไสวเหนือบริเวณพื้นท่ีดังกล่ำว ควำม สว่ำงไสวบนทอ้ งฟำ้ ในยำมค่ำคืนไดไ้ ปบดบังทัศนียภำพกำรมองเห็นวัตถุบนท้องฟำ้ ด้วยเหตุนี้ ในหลำยประเทศจึงได้มีกำรจัดทำนโยบำยด้ำนมลภำวะทำงแสงที่มุ่งลดผลกระทบจำก กำรใช้งำนแสงสว่ำงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่ำนกำรสร้ำงมำตรฐำนทำงเทคนิคเชิงบังคับและเชิงสมัคร ใจเพือ่ กอ่ ใหเ้ กิดกำรลดมลภำวะทำงแสง โดยเคร่ืองมือทำงกฎหมำยท่สี ำคญั จำกประเทศเหล่ำนี้ประกอบไป ด้วยหลักเกณฑ์ทำงกฎหมำยเพ่ือจำกัดกำรปล่อยแสงสว่ำงท่ีมำกจนเกนิ ไปหรือกำรปล่อยแสงสว่ำงท่ีส่องรุก

ข ลำ้ เข้ำไปยังพื้นท่ีทไ่ี ม่ต้องกำรใช้งำนแสงสว่ำง แหล่งกำเนิดมลภำวะทำงแสงเช่นว่ำนอ้ี ำจก่อให้เกดิ แสงเรอื ง ขึ้นไปบนท้องฟ้ำ แสงบำดตำและแสงที่ส่องรุกล้ำ อันถือเป็นปัญหำหลักที่อำจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สง่ิ แวดล้อมในเวลำกลำงคืนได้ นอกจำกนั้นอีกหลำยประเทศยังได้ตะหนักถงึ เหตรุ ำคำญจำกแสงประดษิ ฐท์ ่ี อำจส่งผลกระทบต่อสิทธิในกำรใช้ประโยชน์ทรัพย์สินและสิทธิที่อยู่อำศัยในสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภำพ อนำมัย แต่สิทธิในกำรติดตั้งใช้งำนแสงสว่ำงผิดสถำนที่ผิดเวลำจนก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกล้ำอำจเป็นเหตุให้ เกิดผลกระทบต่อสิทธิต่อสิทธิที่อยู่อำศัยในสิ่งแวดล้อมที่สะอำดและเอื้อต่อสุขภำพอนำมัย ในขณะที่ กฎหมำยต่ำงประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์บำงอย่ำงกำหนดให้มีกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง อันเกิดจำก กิจกรรมกำรใช้งำนแสงสว่ำงภำยนอกอำคำร รวมไปถึงข้อยกเว้นของหลักเกณฑ์ดังกล่ำว หำกแต่ประเทศ ไทยยังไม่ได้กำหนดหลกั เกณฑท์ ำงกฎหมำยเพ่ือบังคบั ใช้ร่วมกนั ทวั่ ทัง้ ประเทศ งำนวิจัยฉบับนี้มุ่งเปรียบเทียบและวิเครำะห์มำตรกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงจำกประเทศต่ำงๆ พร้อมกับวิเครำะห์หลักกำรพื้นฐำนของมำตรกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง กำรจัดกำรเหตุรำคำญจำกแสง ประดิษฐ์ และหลักเกณฑ์ที่ได้รับกำรพัฒนำขึ้นมำใหม่เพื่อควบคุมมลภำวะทำงแสง งำนวิจัยชิ้นนี้ระบุ หนทำงพฒั นำกฎหมำยควบคมุ มลภำวะทำงแสงของประเทศไทยในอนำคต งำนวิจัยฉบับนส้ี รุปว่ำประเทศไทยควรกำหนดมำตรกำรทำงกฎหมำยทจ่ี ำเป็นเพอื่ สนบั สนุนให้เกิด กำรควบคุมมลภำวะทำงแสง รวมทั้งควรมีกำรพัฒนำนโยบำยกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง กำรระบุ แนวทำงบูรณำกำรเพื่อลดผลกระทบจำกมลภำวะทำงแสง กำรประยุกต์หลักกำรสำคัญของกำรควบคุม มลภำวะทำงแสงมำใช้ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับมำตรฐำนกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงในระดับ นำนำชำติ กำรเสนอนโยบำยกระตุ้นจูงใจให้เกิดกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงแบบทันสมัย และกำรนำเอำ กฎหมำยมลภำวะทำงแสงเปรียบเทียบมำเป็นแนวทำงบังคับใช้กฎหมำยควบคุมมลภำวะทำงแสงใน ประเทศไทย

ค Abstract Artificial light is necessary in the modern society. Artificial lighting at night is a significant mode of visibility at night in order to support transportation, public safety and public security in both developed and developing countries. Artificial light in the outdoor environment has many uses including illumination of outdoor areas; for safe and security lighting; to increase the hours of usage for outdoor facilities at night, to enhance the appearance of business and commercial premises at night. However, any form of artificial light shining outside the area it needs to illuminate and intruding upon areas not intended to be lit is considered light pollution. The increasing use of outdoor lighting at night can cause problems. It disrupts the nocturnal environment, which, for billions of years has evolved to rely on the natural rhythm of 24-hour day-brightness/night-darkness cycle. Non-environmentally friendly and inappropriate lighting at night overpowers the natural darkness and atmospheric brightness at night, disrupting the natural day-night pattern and shifting the delicate balance of the nocturnal ecosystems. Light pollution not only impacts on the nocturnal environment, but also disrupts the work of astronomers because the increase in the brightening of the night sky over inhabited areas caused by district brightness above the urban settlements is enough to make it difficult to see dim objects in the sky in urban areas. In many different countries, therefore, the main focus of light pollution policy is on non-environmentally friendly light abatement through the use of both mandatory and voluntary technical standards for controlling key elements of light pollution. The key legal tools from different jurisdictions consist of a set of regulatory requirements establishing excessive or obtrusive light emission limits for main sources of light pollution: sky glow, glare, and trespassing light. In addition, in many jurisdictions, legal aspects of artificial light

ง nuisance have for a long time been considered as a subsidiary component of a neighbour’s right to enjoy his/her property and a right to the healthy environment, a right to use obtrusive artificial light in the wrong place at the wrong time often being dependant on the existence of the neighbour’s right to live in clean and healthy environment. While many pieces of foreign regulatory requirements are concerned with the control of ambient environmental light pollution caused by a broad range of outdoor lighting activities which includes means of outdoor lighting for transportation, safety and security reasons, Thailand has not officially sought to establish a common basis for addressing light pollution problems across country. This research identifies compares and analyses approaches to light pollution control in different jurisdictions, and examines their approaches to access to key elements of light pollution control, artificial light nuisance and other new developments in light pollution control. It also identifies a number of themes about the ways Thailand’s government establishes new legal frameworks for controlling light pollution. This study concludes that Thailand should take necessary legal measures to promote light pollution control, including developing a policy on light pollution control, identifying an integrated approach to mitigate light pollution effects, applying key principles of light pollution control to meet international dark-sky standards, introducing modern incentive-based policies for regulatory light pollution control, and adopting a comparative law approach as a guideline to enforce the light pollution law in Thailand.

จ สารบัญ บทคัดยอ่ ภาษาไทย หนา้ บทคดั ย่อภาษาอังกฤษ สารบัญ ก สารบญั ภาพ ค สารบัญตาราง จ บทท่ี 1 บทนาํ ซ ฎ 1.1 หลกั การและเหตผุ ล 1 1.2 วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย 1 1.3 สมมุตฐิ านของการวจิ ยั 5 1.4 ขอบเขตของการวจิ ัย 6 1.5 วธิ ดี ําเนินการศึกษา 7 1.6 ประโยชน์ทคี่ าดวา่ จะได้รับ 7 บทท่ี 2 แนวความคดิ พนื้ ฐานวา่ ดว้ ยมาตรการทางกฎหมายเกีย่ วกบั การควบคมุ 7 มลภาวะทางแสง 9 2.1 แนวคดิ พนื้ ฐานเกี่ยวกบั มลภาวะทางแสง 2.1.1 นิยามความหมายของมลภาวะทางแสง 9 2.1.2 ประเภทของมลภาวะทางแสง 13 21 2.1.2.1 แสงเรืองขน้ึ ไปบนท้องฟา้ 22 2.1.2.2 แสงบาดตา 23 2.1.2.3 แสงทสี่ ่องรกุ ล้ํา 24 2.1.2.4 การรวมกลุ่มของแสง 25

ฉ 2.1.3 ผลกระทบของมลภาวะทางแสง 28 2.1.3.1 ผลกระทบดาราศาสตร์ 28 2.1.3.2 ผลกระทบต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน 30 2.1.3.3 ผลกระทบตอ่ การใชพ้ ลังงาน ภาวะโลกร้อนและการ 33 เปลี่ยนแปลงภมู อิ ากาศ 2.1.3.4 ผลกระทบตอ่ ความปลอดภัย 34 39 2.2 แนวคิดพนื้ ฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสง 41 2.2.1 แนวความคิดเกยี่ วกับการกาํ หนดมาตรฐานแหล่งกําเนดิ แสง 46 2.2.2 แนวความคิดเกย่ี วกับการกาํ หนดมาตรฐานการใชง้ านแสงสว่างภายนอก อาคาร 49 2.2.3 แนวความคดิ เกยี่ วกบั การกําหนดพน้ื ทใี่ ชง้ านแสงสวา่ งใหส้ อดคลอ้ งกบั การใช้ประโยชน์ที่ดนิ 53 2.2.4 แนวความคิดเกี่ยวกบั การระงบั เหตุราํ คาญอนั เกดิ จากใชง้ านแสงสวา่ ง 55 บทท่ี 3 มาตรการทางกฎหมายควบคมุ มลภาวะทางแสงในตา่ งประเทศ 56 3.1 ประเทศองั กฤษ 59 3.2 สาธารณรัฐฝรั่งเศส 61 3.3 สาธารณรัฐอติ าลี 65 3.4 สาธารณรฐั สโลวเี นยี 68 3.5 เครอื รฐั ออสเตรเลยี 71 3.6 ราชอาณาจักรสเปน 75 3.7 ประเทศญปี่ ่นุ 77 3.8 การวิเคราะหแ์ ละเปรยี บเทยี บมาตรการทางกฎหมายควบคมุ มลภาวะทาง แสงในต่างประเทศ 81 บทท่ี 4 วิเคราะห์ปญั หาเกย่ี วกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงใน ประเทศไทย 81 4.1 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 82 4.1.1 พระราชบัญญตั สิ ่งเสรมิ และรกั ษาคุณภาพสิ่งแวดลอ้ มแห่งชาติ พ.ศ. 2535 85 4.1.2 พระราชบญั ญัตกิ ารสาธารณสขุ พ.ศ. 2535 89 4.1.3 ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์

ช 91 94 4.1.4 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 96 4.1.5 พระราชบญั ญัตริ ถยนต์ พ.ศ. 2522 96 บทที่ 5 บทสรปุ และขอ้ เสนอแนะ 102 5.1 บทสรปุ 5.2 ข้อเสนอแนะ 106 บรรณานกุ รม

ซ สารบัญภาพ ภาพท่ี หน้า ภาพท่ี 1 ภาพที่ 2 ภาพแสดงการเกดิ สภาวะแสงเรืองข้ึนไปบนทอ้ งฟา้ (sky glow) ที่ 22 ภาพท่ี 3 ทาํ ลายบรรยากาศความมืดมดิ ตามธรรมชาติ (natural darkness) ท่ี 24 จําเปน็ ต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน (nocturnal ecosystem) 25 ภาพที่ 4 ภาพแสดงการเกิดแสงสวา่ งจา้ จากแหลง่ กําเนดิ แสง (เช่น ไฟถนน ไฟ ภาพท่ี 5 หน้ารถยนต์ และไฟจากปา้ ยโฆษณา) ทสี่ ่องเข้ามายังนยั น์ตาของมนุษย์ 26 ภาพท่ี 6 โดยตรง แสงสว่างจา้ เช่นว่านี้สามารถทําใหม้ นุษยส์ ญู เสียการมองเห็น 27 จนเปน็ ปัจจยั สาํ คัญตอ่ การเกดิ อบุ ัติเหตุหรอื อนั ตรายบนท้องถนน 29 ภาพแสดงการสอ่ งรกุ ล้ําของแสง (light trespass) เข้าไปยงั บริเวณ อาคาร เคหะสถานหรอื พื้นท่ีสว่ นบุคคลของเพอ่ื นบ้าน การส่องของแสง ในลกั ษณะเชน่ วา่ นเ้ี กิดจากการตดิ ตัง้ ใช้งานแสงสวา่ งที่ไมเ่ หมาะสม จนอาจไปสรา้ งความเดือดร้อนรําคาญให้กับเพื่อนบา้ นหรือชมุ ชน โดยรอบ ภาพแสดงการรวมกลุ่มแสง (light clutter) ในบรเิ วณพนื้ ทช่ี ุมชนเมือง หรือยา่ นพาณิชกรรมที่มปี รมิ าณการตดิ ต้งั ใช้งานแสงสวา่ งอยา่ ง หนาแนน่ แผนภาพแสดงการเกดิ ของมลภาวะทางแสงประเภทแสงเรอื งขน้ึ ไปบน ทอ้ งฟา้ (sky glow) แสงบาดตา (glare) และแสงท่ีสอ่ งรกุ ลํา้ (trespassing light) ทอ่ี าจสง่ ผลกระทบตอ่ สิง่ แวดล้อมในเวลากลางคืน สุขภาพอนามยั และความปลอดภยั ภาพแสดงพ้นื ทีป่ ราศจากสภาวะแสงเรอื งข้ึนไฟบนท้องฟ้าทําใหพ้ ้นื ที่ ดังกล่าวสามารถการมองเห็นวตั ถบุ นท้องฟ้าด้วยตาเปลา่ ในเวลา

ฌ ภาพที่ 7 กลางคืน (ซา้ ย) ภาพพน้ื ทีเ่ กิดสภาวะแสงเรืองข้ึนไฟบนท้องฟา้ จนบดบัง 30 ทัศนวสิ ยั การมองเหน็ วตั ถุบนทอ้ งฟ้าดว้ ยตาเปลา่ ในเวลากลางคนื (ขวา) ภาพท่ี 8 ภาพแสดงการตดิ ต้งั ใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคาร ผา่ นการออกแบบ 33 ภาพที่ 9 ตดิ ตัง้ แสงสวา่ งให้บงั คับทศิ ทางการส่องพุ่งต่ําลงไมเ่ กินไปกวา่ แนว 35 ภาพท่ี 10 จาํ กัดแสง (cut-off fixtures) ยอ่ มเป็นเทคนคิ ด้านวศิ วกรรมส่องสวา่ งท่ี 36 ภาพที่ 11 สามารถลดการเกิดสภาวะแสงเรอื งข้ึนไฟบนทอ้ งฟา้ ได้ เม่อื ปราศจาก 43 ภาพท่ี 12 สภาวะแสงเรอื งข้นึ ไปบนทอ้ งฟา้ แล้ว นักดาราศาสตรห์ รอื บคุ คลท่ัวไปก็ 51 ภาพท่ี 13 สามารถมองเห็นวัตถบุ นทอ้ งฟา้ ดว้ ยตาเปล่าในเวลากลางคืนได้ 52 แผนภาพแสดงผลกระทบดา้ นมลภาวะทางแสงต่อสตั ว์ สิ่งมชี วี ิตและ ระบบนเิ วศในเวลากลางคืน ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสวา่ งจ้า) ทสี่ อ่ งเข้ามายังนัยนต์ าจนทําให้ ผคู้ นไมส่ ามารถมองเห็นวตั ถุที่ปรากฎอยูต่ รงหน้าในเวลากลางคืน (ซา้ ย) ภาพแสดงการใช้มอื บงั แสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ปดิ กั้นการส่องของ แสงบาดตา (แสงสว่างจา้ ) เขา้ มายังนยั นต์ า ทาํ ใหผ้ ูค้ นสามารถมองเหน็ วัตถทุ ่ปี รากฏอยตู่ รงหนา้ (ขวา) ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจา้ ) ทสี่ อ่ งเขา้ มายังนยั น์ตาจนของผ้ขู ับ ข่รี ถยนตห์ รือผสู้ ัญจรบนทอ้ งถนน ทําใหผ้ ู้ขบั ข่ีรถยนต์หรือผู้สญั จรบน ท้องถนนไมอ่ าจมองเห็นวัตถทุ ี่ปรากฏอยูต่ รงหนา้ บนเสน้ ทางสัญจรได้ อยา่ งชดั เจนในเวลากลางคนื ซงึ่ เปน็ ปัจจัยท่ีก่อให้เกดิ อุบัตเิ หตุบนทอ้ ง ถนนได้ ภาพแสดงขอ้ มลู รณรงคใ์ หน้ านาชาติหันมาปฏิบตั ิการควบคุมมลภาวะ ทางแสง โดยสมาคมอนรุ ักษค์ วามมดื บนทอ้ งฟา้ นานาชาติ (International Dark-Sky Association หรอื IDA) ผา่ นการกาํ หนด มาตรฐานแหลง่ กาํ เนดิ แสงกบั การกําหนดมาตรฐานการใชง้ านแสงสว่าง ภายนอกอาคาร ภาพแสดงคณุ ภาพความมืดตามธรรมชาตบิ นท้องฟ้าและสภาวะแสง เรืองขึน้ ไปบนทอ้ งตามวัตถปุ ระสงคข์ องการใช้ทดี่ นิ ในย่านชมุ ชนเมอื ง ชานเมือง ชนบทและพืน้ ทอ่ี นุรักษ์สิง่ แวดลอ้ ม ภาพจากสถานสี าํ รวจโลกองค์การนาซา (NASA's Earth Observatory) แสดงปริมาณการใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารทีห่ นาแนน่ ในบริเวณ ใจกลางเมืองแซนแอนโทนโี อ มลรฐั เทกซสั ประเทศสหรัฐอเมริกา

ญ ภาพท่ี 14 ในขณะทใ่ี นบรเิ วณชานเมืองดังกลา่ วมกี ารใชง้ านแสงสว่างภายนอก 54 ภาพที่ 15 อาคารท่ไี มห่ นาแนน่ 61 เหตรุ ําคาญอนั เกิดจากใชง้ านแสงสวา่ ง (แสงประดษิ ฐ์) อาจนาํ ไปสกู่ าร ภาพที่ 16 เกิดความขดั แยง้ ระหวา่ งเพือ่ นบ้านทีม่ ีอาณาบรเิ วณรวั้ ติดกนั 73 ภาพบรรยายหลกั เกณฑ์ภายใตก้ ฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝรงั่ เศส เพื่อลดมลภาวะ ทางแสงและกอ่ ให้เกิดการประหยัดพลงั งานอาคาร ภาพบรรยายสาระสําคญั ภายใตก้ ฤษฏีกา Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética ของแคว้นอนั ดาลเู ซยี ประเทศ สเปน

ฎ สารบัญตาราง ตารางท่ี ตารางจําแนกเขตพ้นื ที่สําหรบั ควบคุมการใช้งานแสงสวา่ งภายนอก หน้า ตารางท่ี 1 อาคาร (environmental zonesfor exterior lighting control) ของ 52 สถาบันผู้ประกอบวชิ าชีพแสงสว่างแห่งสหราชอาณาจกั รหรือ ILP ได้ จําแนกเปน็ 4 เขต ไดแ้ ก่ (1) เขต E1 หรือเขตพืน้ ที่ปลอดการใช้งาน แสงสวา่ งภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) (2) เขต E2 หรือเขต พนื้ ทีท่ ่ีมีการใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างตาํ่ (Low district brightness) (3) เขต E3 หรอื เขตพ้นื ท่ที ีม่ ีการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารระดบั ปานกลาง (Medium district brightness) และ (4) เขต E4 หรือเขตพนื้ ท่ที ีม่ ีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสงู (High district brightness

บทท่ี 1 บทนาํ 1.1 หลักการและเหตุผล การขยายตัวของเมือง (urban expansion)1 ย่อมทําให้ต้องมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย สิ่งอํานวย ความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆ มารองรับการดําเนินกิจกรรมในชีวิตประจําวันของมนุษย์ และรองรบั ความสะดวกสบายในการดาํ รงชีวิตของมนษุ ย์ ซ่งึ มนษุ ยเ์ องก็ย่อมทีจ่ ะตอ้ งใช้ประโยชน์จากทอ่ี ยู่ อาศัย สิ่งอํานวยความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเหล่านี้ทั้งในเวลากลางวัน (day) ใน ขณะเดียวกันมนุษย์ก็พยายามใช้ประโยชน์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่ออํานวยความสะดวกและ ประกอบกิจกรรมในเวลากลางคืน (night) อีกด้วย เมื่อมีการพัฒนาท่ีอยู่อาศัย สิ่งอํานวยความสะดวกและ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆ ก็ย่อมจะต้องมีการติดตั้งหรือใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor lights) สําหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น (visibility) ของมนุษย์ทําให้สามารถมองเห็นวัตถุได้ใน บริเวณภายในและรอบนอกที่อยู่อาศัย2 สิ่งอํานวยความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ในทํานอง เดียวกันมนุษย์ก็สามารถยืดเวลาการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารออกไปได้ เช่น การดําเนินการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมในเวลากลางคืน การค้าขายของร้านค้าปลีกริมถนนในยามคํ่าคืนและการเดินรถ โดยสารสาธารณะในเวลากลางคนื เป็นตน้ นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ในที่ดิน (land use)3 สําหรับประกอบกิจกรรมของมนุษย์หรือกิจกรรม อนุรักษ์การปฏิสัมพันธ์ตามธรรมชาติระหว่างพืช สัตว์และสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมไปถึง                                                             1 Gaston, K. J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912-927. 2 Goldman, A. (2012). 'Light Pollution in Central and Southern Arizona: A Runaway Problem with an Achievable Solution', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 3, pp. 1029-1033. 3 Luginbuhl, C., Lockwood, G. W. Davis, D. R., Pick, K. & Selders, J. (2016). 'From The Ground Up I: Light Pollution Sources in Flagstaff, Arizona', Astronomical Society of The Pacific, 121, pp. 185-203.

2 กิจกรรมบางอย่างที่ต้องการการความคุมความสว่างภายนอกอาคารในบริเวณพื้นที่ 4 ก็ย่อมที่จะต้องมีการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในที่ดินในรูปแบบที่ แตกต่างกันออกไป โดยจํานวนความหนาแน่นของแสงสว่างภายนอกอาคารภายนอกอาคารย่อมสัมพันธ์ กับการเพิ่มปริมาณจํานวนอาคาร สิ่งปลูกสร้างและเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ การใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับดําเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์มักมีจํานวนอาคาร สิ่งปลูกสร้างและเส้นทางคมนาคมอย่างหนาแน่น ก็มักจะมีปริมาณที่ดินที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารอย่างหนาแน่นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม การใช้ประโยชน์ในท่ีดินสําหรับประกอบเกษตรกรรม ในชนบท ก็มักจะมีปริมาณที่ดินที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารไม่หนาแน่นหรือมีการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารไม่มากนกั การออกแบบและติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor light fixtures and design) 5 จึงถือ เป็นการสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองหรือพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องการแสง สว่างในการประกอบกิจกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์6 เช่น การติดตั้งไฟถนน (street light) และไฟรักษาความปลอดภัย (security light) 7 โดยภาครัฐหรือท้องถิ่น ย่อมมีส่วนช่วยให้การดําเนิน กิจกรรมบริหารสาธารณะด้านคมนาคมขนส่งและกิจกรรมด้านรักษาความปลอดภัย ดําเนินไปอย่างอย่าง ต่อเนื่องในเวลากลางคืน เพราะการออกแบบหรือติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคาร ย่อมส่งผลให้ประชาชน ทัว่ ไปมีแสงสวา่ งอย่างพอเพียงท่ีต่อการมองเห็นเพ่ือทํากิจกรรมต่างๆ และดแู ลรกั ษาความปลอดภัยในยาม คา่ํ คนื 8 อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light fixtures) และการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (non-environmentally friendly light design) 9 ย่อมเป็นที่มาของปัญหาและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อระบบนิเวศใน                                                             4 Yu, S. (2016). 'Arizona’s Night Lighting Regulations Facilitating Astronomical Observation', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 6, pp. 1077-1080. 5 Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3. 6 Dark Sky Society. (2009). Guidelines for Good Exterior Lighting Plans. Long Island, NY: Dark Sky Society. pp. 1-6. 7 Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p 3. 8 Lyytimäki, J. (2015). Towards eco-efficient and enjoyable lighting. https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/5520Light%20pollution_rev.pdf accessed 1 July 2016. 9 Scottish Executive. (2007). Guidance Note Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 8-9.

3 เวลากลางคืน (nocturnal ecosystem) และสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน (night environment) จนอาจ อาจทําให้สภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติเสียสมดุลความสว่างตามธรรมชาติในเวลากลางวันและความมืด มิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน ตัวอย่างเช่น การใช้งานแสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองย่อมก่อให้เกิด ผลกระทบต่อวัฏจักรการดํารงชีพในเวลากลางคืน (night-time ciecadian cycle) ของสัตว์และสิ่งมีชีวิต ที่ต้องการความมืดมิดตามธรรมชาติสําหรับประกอบกิจกรรมกับดํารงชีวิตในยามคํ่าคืน ไม่ว่าจะเป็นการ อพยพ (migration) การออกหากิน (foraging) การผสมพันธุ์ (reproduction) การวางไข่ (nesting) และ การฟักไข่ (hatching)10 เป็นต้น นอกจากนี้ การติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมและการออกแบบแสงสว่างภายนอก อาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็อาจนําไปสู่ใช้พลังงานอย่างสูญเปล่าได้ (waste of energy) 11 เพราะหากใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ที่ไม่คํานึงถึงการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การเปิดไฟในเวลาที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่างแล้ว การใช้งานหลอดไฟในบริเวณที่มีความสว่างมากเกิน ความจําเป็น และการขาดการบํารุงรักษาอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารอย่างสมํ่าเสมอ ปราศจาก การทําความสะอาดเป็นประจํา ก็ย่อมทําให้เกิดระบบแสงสว่างที่ทําให้เกิดการสูญเสียพลังงาน การพัฒนา ระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายนอกอาคารโดยอาศัยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการประหยัดพลังงาน ย่อมสามารถ ทําให้การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมีประสิทธิภาพ (energy efficiency) 12 และสอดคล้องต่อการ ประหยดั พลังงาน (energy saving) 13 มากยิ่งข้ึน เช่น การนาํ อุปกรณต์ รวจจับการเคล่อื นไหวเพ่ือเปิดและ ปิดไฟอัตโนมัติ (motion sensing outdoor lighting) สําหรับพื้นที่ภายนอกอาคารที่ไม่มีการใช้สอยพื้นที่ ดังกล่าวตลอดเวลาหรือพนื้ ทภ่ี ายนอกอาคารท่ไี ม่มผี ูค้ นอยู่ในบริเวณพนื้ ท่ีดังกลา่ ว14 เปน็ ต้น ดังนั้น การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมและ การออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้งานแสงสว่างภายนอก                                                             10 Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', 2 (4), Frontires in Ecology and the Environment, pp. 191-198. 11 Shaflik, c. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Retrieved July 1, 2016, from http://www.shaflik.com/documents/LIGHT%20POLLUTION%20TECHNICAL%20PAPER.pdf 12 Kyba, C.C.M., Hanel, A. & Holker, F. (2014). 'Redefining efficiency for outdoor lighting', Energy & Environmental Science, http://userpage.fu- berlin.de/~kyba/publications/2014_Kyba_Redefining_Efficiency.pdf accessed 1 July 2016. 13 Alberta Dark Sky Association. (2007). Light Pollution – Energy Production and Air Pollution – 1/2. Retrieved July 1, 2016, from http://www.rasc.ca/sites/default/files/LightPollution- EffectsonEnergyConsumption.pdf 14 Batinsey, J. (2006). Outdoor Lighting Ordinance Guide. Eatontown, NJ: Eatontown Environmental Commission, pp. 1-17.

4 อาคารโดยก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน ก็ย่อมที่จะทําให้แสงสว่างกลายมาเป็นมลภาวะประเภทหนึ่งที่ ถูกเรยี กวา่ มลภาวะทางแสง (light pollution) ไดเ้ ฉกเชน่ เดียวกันกับมลภาวะประเภทอื่นๆ มลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงประดิษฐ์ (artificial light) ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกําเนิดแสง เช่น หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้15 และอาจหมายความรวมถึงเหตุ ราํ คาญ (nuisance) อ่ืน ๆ ท่เี กิดหรอื ถูกปลอ่ ยออกจากแหลง่ กาํ เนดิ แสงอกี ด้วย16 มลภาวะทางแสงสามารถก่อให้ปัญหาและผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศได้ เฉกเช่นเดียวกันกับมลภาวะประเภทอื่นๆ แต่ทว่าปัจจุบันรัฐบาลไทยและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการสิ่งแวดล้อมและผังเมือง ก็ไม่ได้กําหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทาง แสงเป็นการเฉพาะ เพราะแม้ว่าแสงสว่างที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสง สามารถก่อให้เกิดหรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อมหรือภาวะท่ีเป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้ แสงสว่างที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสงที่มีทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมกับแหล่งกําเนิด แสงที่มีความสว่างท่ีไมเ่ ปน็ มิตรต่อส่ิงแวดล้อม จึงอาจถือเปน็ มลพิษตาม มาตรา ๔ พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสง่ิ แวดลอ้ มแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ อีกนัยหนงึ่ การใชง้ านแสงสว่างท่มี ีทิศทางการสอ่ ง ของแสงที่ไม่เหมาะสมหรือมคี วามสว่างท่ีไม่เปน็ มิตรต่อส่ิงแวดล้อม ก็อาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญ ตามมาตรา ๒๕ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กล่าวคือ การใช้งานแสงสว่างใดๆ จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงนั้น ก็ ยอ่ มเปน็ เหตุรําคาญอันสรา้ งความเดอื ดร้อนใหก้ บั ประชาชนประการหนึง่ แม้ว่าแสงสว่างจากการใช้งานแสงสว่างที่มีทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมกับการออกแบบ แสงสว่างท่ีไม่เป็นมติ รต่อสิ่งแวดล้อมจะสง่ ผลให้เกิดผลกระทบในดา้ นลบต่อสง่ิ แวดล้อมในเวลากลางคืนกับ เหตุเดือดร้อนรําคาญต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่ที่มีการปล่อยแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง เป็นการเฉพาะในปัจจุบัน กล่าวคือ บทบัญญัติของกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองของประเทศไทยยัง ไม่ได้กําหนดนิยามความหมายของมลภาวะทางแสง (light pollution definition) หลักเกณฑ์การควบคุม การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (regulatory requirements governing exterior light pollutants) และวิธีการควบคุมเหตุเดือดร้อนรําคาญที่เกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (nuisance of                                                             15 Royal Astronomical Society of Canada. (2012). Environmental Impact of Light Pollution and its Abatement. Etobicoke, ON: Royal Astronomical Society of Canada, pp.1-36. 16 Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide.. Retrieved July 1, 2016, from file:///C:/Users/Veriton/Downloads/light-pollution-as-a-statutory- nuisance-a-how-to-guide.pdf

5 outdoor lighting) จึงจําเป็นที่จะต้องมีการวางแนวทางพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองในส่วนที่ เกี่ยวข้อง รวมไปถึงนํามาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงที่เหมาะสมและได้สัดส่วน มาควบคุมให้ ประชาชนใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคารใหเ้ หมาะสมและเป็นมติ รต่อสงิ่ แวดลอ้ ม อีกประการหน่งึ รฐั บาล และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพึงตอบสนองต่อปัญหามลภาวะทางแสงโดยอาศัยมาตรการควบคุม มลภาวะทางแสงภายใต้หลักกฎหมายที่จําเป็นต่อการควบคุมมลภาวะ เช่น หลักการระวังภัยล่วงหน้า (Precautionary Principle) หลักการป้องกันล่วงหน้า (Prevention Principle) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็น ผู้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP) และหลักความร่วมมือ (Cooperative Principle) รวมไปถึงรัฐ พึงสร้างเครื่องมือหรือกลไกอื่นๆ (เช่น เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น ผู้ผลิต ผู้จัดจําหน่าย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคสินค้าประเภทหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารและหรือเพื่อจูงใจให้ลดการ ปล่อยมลภาวะทางแสงและหันมาใช้แหลง่ กาํ เนิดแสงที่เปน็ มติ รตอ่ สงิ่ แวดลอ้ มในอนาคต 1.2 วัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพือ่ ศึกษาและทบทวนแนวความคิดพนื้ ฐานวา่ ดว้ ยมาตรการทางกฎหมายเกีย่ วกบั การควบคุม มลภาวะทางแสง 1.2.2 เพื่อศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงใน ต่างประเทศและประเทศไทย 1.2.3 เพอื่ วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกบั มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 1.2.4 เพือ่ จัดทําบทสรปุ และวเิ คราะหผ์ ลการศึกษามาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง 1.2.5 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง สําหรับการบริหารจัดการการใช้ งานแสงสวา่ งภายนอกอาคาร ท่ีไม่ก่อใหเ้ กดิ มลภาวะทางแสงอย่างเปน็ ระบบและยง่ั ยนื 1.2.6 เพื่อนําองค์ความรู้ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง มาขับเคลื่อนการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารท่เี ป็นมิตรกับส่งิ แวดล้อม อันนําไปสู่การยกระดับความปลอดภัยคุณภาพชีวติ และสุขภาพที่ ดขี องประชาชน 1.2.7 เพื่อลดความสูญเสียสมดุลความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ และสามารถคุ้มครอง ส่ิงแวดล้อมและระบบนเิ วศในยามค่าํ คนื ไว้อย่างย่งั ยืน 1.2.8 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจเก่ียวกับปัญหามลภาวะทางแสง ตระหนักรู้เก่ียวกับการใช้ งานแสงสว่างที่เปน็ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจติ สํานึกรับผิดชอบตอ่ สงั คมและส่ิงแวดล้อม 1.2.9 เพื่อสร้างความร่วมมือกับนักวิชาการดา้ นสงิ่ แวดล้อม

6 1.2.10 เพื่อดําเนินกิจกรรมการจัดประชุมให้หน่วยงานหลักเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อนําไปสู่ การร่างกฎหมายตอ่ ไป 1.3 สมมุตฐิ านของการวจิ ยั แสงสว่างที่ถูกปล่อยจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคาร สามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสภาวะแวดล้อมท่ีมืดมิด ตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน แสงสว่างอันมีทิศทางการส่องของแสงหรือแสงสว่างที่มีความสว่างอันก่อเป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ รวมถึงเหตุรําคาญอื่นๆ อันเกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคาร แสงสว่างโดยประการเช่นว่านี้เองย่อมถือเป็นมลภาวะทางแสง ซึ่งมลภาวะเช่นว่านี้เกิด ขึ้นมาจากการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือการออกแบบไฟ ส่องสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชวี ิต ร่างกาย อนามัย ทรพั ย์สินและระบบนิเวศในเวลากลางคนื ก็ยังสามารถจะสร้างความเสียหายต่อดลุ ย ภาพของธรรมชาติในเวลากลางคืนหรอื สามารถทําลายสมดุลวัฏจักรความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ ได้ เพราะฉะน้ัน เมือ่ แสงสว่างจากแหล่งกาํ เนิดแสงภายนอกอาคารที่มนุษยไ์ ดป้ ระดิษฐ์ข้ึนยังมคี วามจําเป็น ต่อการดํารงชีพของมนุษย์และมนุษย์ก็ยังจําต้องใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อประกอบกิจกรรม ต่างๆ ในยามคํ่าคืน ในทางตรงกันข้าม หากแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารได้รับการ ออกแบบหรือติดตั้งติดตั้งในลักษณะที่ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงรุกลํ้าไปยังบริเวณพื้นที่ที่ไม่ ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือก่อให้เกิดความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีความจําเป็นท่ี จะต้องกําหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงขึ้นมาเพื่อสร้างหลักเกณฑ์และวิธีการ ป้องกันมลภาวะทางแสงจากการติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือออกแบบ แสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อมในยามคํ่าคืน ควบคู่ไปกับสร้างกลไก สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร การติดตั้งแหล่งกําเนิดแสง สว่างภายนอกอาคารและการออกแบบไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่นําไปสู่การลดผลกระทบ ต่อสภาวะแวดล้อมในยามคํ่าคืนและระบบนิเวศในเวลากลางคืน บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่วางกรอบของกฎหมาย สิ่งแวดล้อมพื้นฐานสําหรับควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมเอาไว้เป็นการทั่วไปและวางหลักเกณฑ์อย่างกว้างๆ ของกฎหมายสาธารณสุขเพื่อกําหนดลกั ษณะของเหตรุ ําคาญ อํานาจในการควบคุมดูแลเหตรุ ําคาญของเจ้า พนักงานท้องถิ่น ขั้นตอนการดําเนินการต่อเหตุรําคาญและกําหนดโทษความผิดของผู้ก่อเหตุรําคาญ แต่ บทบญั ญัตดิ ังกล่าวท่ีบังคบั ใชอ้ ยใู่ นปจั จุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทัง้ ยงั มิใชม่ าตรการทางกฎหมายท่ี ระบุหลักเกณฑ์และกลไกเฉพาะเพื่อควบคุมมลภาวะทางแสงไว้เป็นพิเศษ เมื่อมลภาวะทางแสงอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศในยามคํ่าคืน จึงเห็นว่าประเทศไทยควรกําหนด

7 มาตรการทางกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศในเวลากลางคืนจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปจะต้องระวังภัยล่วงหน้า อันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีแสงสว่างภายนอกอาคารที่อาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสมควรที่จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหามลภาวะทาง แสงในปัจจุบันกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการกําหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุม มลภาวะทางแสงเอาไว้เป็นการเฉพาะและนําหลักสากลกําหนดหลักเกณฑ์ควบคุมการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารและสร้างเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบทง้ั ในด้านดาราศาสตร์ ส่งิ แวดลอ้ ม สขุ ภาพและพลงั งาน 1.4 ขอบเขตของการวจิ ัย การวิจัยฉบับนี้ ได้ทําการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง โดยขอบเขตของ การศึกษาวิจัยนี้ ได้เริ่มจากแนวความคิดพน้ื ฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเก่ยี วกับการควบคุมมลภาวะ ทางแสง แล้วศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ เพื่อนํามาศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศ ไทยว่ามีข้อดี ข้อเสีย จุดแข็ง และจุดด้อยแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนําไปสู่การแสวงหาแนวทางในการ พัฒนาปฏิรปู กฎหมายไทยในอนาคต 1.5 วิธีดาํ เนนิ การศกึ ษา งานวิจัยฉบับนี้ทําการศึกษาและวิเคราะห์ในเชิงเอกสาร ผ่านการค้นคว้าหลักการ แนวคิดและ ทฤษฏีเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมรวบรวมสาระสําคัญจากบทบัญญัติทางกฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสง ทั้งจากในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเน้นศึกษาวิเคราะห์ สาระสําคัญเกี่ยวกับมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงภายนอกอาคาร จากหนังสือ ตํารา บทความ วทิ ยานพิ นธ์ รวมไปถึงเอกสารทางกฎหมายอ่นื ๆ ทเี่ กี่ยวข้องเพ่อื นํามาศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทยี บ 1.6 ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รับ 1.6.1 ทําให้ทราบถึงแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสง 1.6.2 ทําให้ทราบถึงมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศและประเทศ ไทย 1.6.3 ทาํ ให้ทราบถึงปญั หาเก่ยี วกบั มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 1.6.4 ทําให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงสําหรับประเทศไทยใน อนาคต

8 1.6.5 ทําให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง สําหรับการบริการ จัดการการใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคาร ทีไ่ มก่ อ่ ใหเ้ กดิ มลภาวะทางแสงอย่างเป็นระบบและยัง่ ยนื 1.6.6 ทําให้สามารถนําองค์ความรู้ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง มาขับเคลื่อนการใช้งาน แสงสวา่ งภายนอกอาคารที่เป็นมิตรกบั สิง่ แวดล้อม อนั นําไปสกู่ ารยกระดับความปลอดภัยคุณภาพชีวิตและ สขุ ภาพทีด่ ีของประชาชน 1.6.7 ทําให้สามารถลดความสูญเสียสมดุลความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ และสามารถ คุ้มครองสิง่ แวดล้อมและระบบนเิ วศในยามคํา่ คืนไว้อย่างยงั่ ยนื 1.6.8 ทําให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางแสง ตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ งานแสงสวา่ งทเ่ี ปน็ มิตรตอ่ ส่งิ แวดล้อม มจี ิตสาํ นึกรบั ผดิ ชอบต่อสังคมและสงิ่ แวดล้อม

บทที่ 2 แนวความคดิ พน้ื ฐานวา่ ดว้ ยมาตรการทางกฎหมายเกย่ี วกับ การควบคุมมลภาวะทางแสง 2.1 แนวคดิ พน้ื ฐานเก่ยี วกบั มลภาวะทางแสง แสงประดิษฐ์ (artificial light) ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้การ ดํารงชีพและขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรมของผู้คนในยามคํ่าคืน แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ภายนอกอาคารถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้การดําเนินวีถีชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมหลากประเภทของ ผู้คนดํารงชีพในยามคํ่าคืน เพราะแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารย่อมช่วยเพิ่ม ความสามารถมนุษย์สามารถมองเหน็ วตั ถตุ า่ งๆ ในเวลากลางคืนได้ (ability to see objects)1 แสงสวา่ งท่ี ปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เคล่ือนที่ได้ ในรูปแบบของ คลื่นที่มีช่วงความยาวของคลื่นระหว่าง 380-760 นาโนเมตร (nanomater หรือ nm)2 ซึ่งช่วงความยาว ของคลื่นเช่นว่านี้เป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ อีกทั้งแสงสว่างเองก็มี คุณสมบัติเฉพาะของตนเฉกเช่นเดียวกับคลื่นตามขวางทั่วๆไป เช่น การเดินทางเป็นเส้นตรง (rectilinear propagation) การเลี้ยวเบน (diffraction) การหักเห (refraction) การสะท้อน (reflection) การแทรก สอด (interference) และการโพราไลเซชั่น (polarization) เปน็ ต้น มนุษย์ยังได้สร้างกระบวนการของการนําความรู้ทางวิศวกรรมส่องสว่าง (illuminating engineering) และผลของการวิเคราะห์จากศาสตร์ดังกล่าว ตลอดจนพัฒนาประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาสถาปัตยกรรม แสงสว่าง (lighting architecture) สาขาวิชาดาราศาสตร์ (astronomy) และสาขาวิชานิเวศวิทยา (ecology) มาจัดทําเป็นเกณฑ์สําหรับสร้างมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor                                                             1 Lichfield District Council. (2018). Environmental Health Technical Planning Guidance: External Artificial Lighting. Lichfield District Council: Lichfield District Council, pp. 1-12. 2 Luoa, Y. R. (1999). 'Why is the human visual system sensitive only to light of wavelengths from approximately 760 to 380 nm? An answer from thermochemistry and chemical kinetics', Biophysical Chemistry, 83, pp. 179-184.

10 lighting standards) ที่จะนําไปสู่ใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของมนุษย์3 จนก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตหรือการทํากิจกรรมภายนอกอาคาร ความคุ้มค่าในการใช้งานพลังงานแสงสว่าง ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์ว่าด้วยแสงสว่าง (light experts) และการใช้งานแสงสว่าง (lighting experts) ได้ร่วมกันสร้างกรรมวิธีในการสร้างมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมา (standardisation on lights and lighting) เพ่ือใช้พิจารณาความเหมาะสมบางประการของแหล่งกําเนิด แสงกับการใช้งานแสงสว่างโดยเฉพาะ ภายใต้เกณฑ์บางอย่างที่สร้างความเข้าใจให้ผู้ปฏิบัติงานด้านแสง สว่างทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพ่ือเป็นการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากแสงสว่างสูงสุดตาม สภาพของกิจกรรมและตามลักษณะของสถานที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร4 กล่าวอีกนัย หนึ่ง กรรมวิธีดังกล่าวได้สร้างมาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่าง (standards of lights and lighting) ในรูปแบบระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกําหนดไว้เป็นพื้นฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร (units) เช่น หน่วยแคนเดลาสําหรับวดั ความเข้มของการส่องสว่าง (Candela หรือ cd) และหน่วย ลักซ์ที่ใช้วัดความสว่างต่อพื้นที่ (Lux หรือ lx)5 และในรูปแบบของวิธีการใช้งานแสงสว่างที่สอดคล้องกับ กิจกรรมที่กระทํา ลักษณะการทํางานและชนิดของพื้นที่ มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างไม่ว่า จะเป็นมาตรฐานภายใต้กฎที่ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (soft law) หรือกฎที่มีผลผูกพันให้ผู้คนปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด (hard law) หรือขั้นตอนในการติดตัง้ ออกแบบและใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ประเภทต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งยังบรรลุเป้าหมายการใช้งานแสงสว่างให้สอดรับ กับรสนิยมของผู้ใช้งานหรือกิจกรรมภายนอกอาคารที่กําหนดเอาไว้ เช่น เกณฑ์แสงสว่างสําหรับอาชีวอนา มยั และความปลอดภัยในการทํางาน เกณฑ์แสงสว่างสําหรับการคมนาคมขนส่งทางบกและเกณฑ์แสงสว่าง สําหรับมุง่ ผลประหยัดและเหมาะสมทางดา้ นเศรษฐศาสตร์ เปน็ ต้น มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างยังได้ถูกนําเอามาเป็นเครื่องมือวัดระดับ (level) การใช้ งานแสงสว่างที่มากจนเกินไปกว่าความต้องการการใช้งานแสงสว่างในแต่ละพื้นที่หรือมากจนทําให้เกิด อันตรายต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ หากมีแหล่งกําเนิดแสงสว่าง ได้สร้างแสงสว่างในระดับที่อยู่ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือในระดับที่ทําให้คุณภาพของ                                                             3 U.S. Department of Veterans Affairs Office of Construction & Facilities Management. (2015). Lighting Design Manual. Washington DC: U.S. Department of Veterans Affairs, pp. 1.2-1.3. 4 E-street. (2018). Intelligent Road and Street lighting in Europe. Retrieved March 31, 2018, from https://ec.europa.eu/energy/intelligent/projects/sites/iee-projects/files/projects/documents/e- street_e_street_publishable_report_en.pdf 5 National Optical Astronomy Observatory. (2018). Recommended Light Levels (Illuminance) for Outdoor and Indoor Venues. Retrieved March 31, 2018, from https://www.noao.edu/education/QLTkit/ACTIVITY_Documents/Safety/LightLevels_outdoor+indoor.pd f

11 สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงนั้นก็อาจจะกลายมาเป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อมได้ กล่าวคือ หากมีการใช้งาน (use) ออกแบบ (design) และติดตั้ง (install) แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคาร จนเกินไปกว่าระดับมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานภายใต้กฎที่ไม่มีผลผูกพันตาม กฎหมายก็ดีหรือกฎที่มีผลผูกพันให้ผู้คนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็ตาม โดยประการที่ก่อให้เกิดหรืออาจ ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light direction) หรือความสว่างที่ไม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (non-environmentally friendly light) จนสร้างผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้6 รวมถึงไปถึงเหตุรําคาญ เนื่องจากการใช้งานแสงสว่าง (artificial light nuisance) ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสง สวา่ งภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเปน็ หลอดไฟฟา้ หรอื โคมไฟภายนอกอาคารดว้ ย7 นอกจากแสงประดิษฐ์กับความสว่างจากแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมาจะมีส่วนช่วยสร้าง ประโยชน์ให้กับมนุษยชาติแล้ว ความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน (natural darkness at night) ก็ ยังถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับธรรมชาติและอารยะธรรมของมวลมนุษยชาติมาช้านาน8 มนุษย์เองก็ต้องอาศัย บรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติในการนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน อีกทั้งมนุษย์ยังสามารถ มองเห็นดวงดาวในยามคํ่าคืนได้ด้วยตาเปล่า (naked eye observation) และสังเกตปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ (observing with the telescopes) อีก ประการหนึ่งในบรรยากาศสภาวะแวดล้อมของท้องฟ้าที่มืดมิดตามธรรมชาติ (dark-sky environment) ในยามคํ่าคืนก็อาจมีแสงธรรมชาติจากดวงดาว (starlight) เช่น แสงสว่างจากดาวฤกษ์ส่องระยิบระยับบน ท้องฟ้าและแสงสว่างจากดวงจันทร์ ซึ่งมนุษย์อาศัยแสงธรรมชาติจากดวงดาวมาเอื้อประโยชน์ต่อการ สัญจรทางบกและต่อการเดินเรือมาเป็นเวลาช้านาน เช่น นักเดินเรือทะเลจะอาศัยตําแหน่งของดาว เคราะห์ ดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์บนท้องฟ้ามาใช้ดูเพื่อบอกเวลา ทิศทางของเรือและตําแหน่ง ของเรือ อีกประการหน่ึง มนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตก็ย่อมต้องอาศัยสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในยามคํ่า คืน (night environment) ที่ประกอบด้วยความมืดมิดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าและความสว่างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน ทําให้สามารถประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนได้9 เช่น การนอนหลับ                                                             6 Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4. 7 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-5. 8 State of Utah's Rural Planning Group (2018). Guidance & Best Practices on Dark Sky Planning: An Introduction for Local Leaders. Salt Lake City, UT : State of Utah's Rural Planning Group, pp. 4-7. 9 Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', Frontires in Ecology and the Environment, 2 (4), pp. 191-198.

12 (sleep pattern) การเกี้ยวพาราสี (courtship) การสืบพันธุ์ (reproduction) การผสมพันธุ์ (breeding) การอพยพ (migration) การหาอาหาร (foraging) และการหลีกหนผี ูล้ ่า (predator avoidance) เป็นต้น มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างยังได้ถูกนําเอามาเป็นเครื่องมือวัดระดับมาตรฐาน คุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน (natural darkness) กับสภาวะความสว่างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน (natural night-time brightness) ความมืดมิดตามธรรมชาติย่อมเอื้อประโยชน์ หรือเป็นคุณต่อการประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ สัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืนและ สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยความมืดมิดตามธรรมชาติในดํารงชีพ ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าพื้นที่ใดปราศจาก ความสว่างจากแสงประดิษฐ์หรือพื้นที่ใดที่ยังคงความมืดมืดตามธรรมชาติไว้ พ้ืนท่ีดังกล่าวก็จะต้องมีระดับ การใช้งานแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในปริมาณที่ตํ่ามากหรือแทบจะปลอดจาก การใชง้ านแสงสวา่ งในพ้นื ทด่ี งั กลา่ วเลย10 จากที่กล่าวมาในข้างต้น แสงประดิษฐ์จากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารที่มนุษย์ที่ได้สร้าง ขึ้นมาถือเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ใน ขณะเดียวกัน ความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนก็ถือเป็นปัจจัยที่สําคัญที่จะทําให้มนุษย์ สัตว์และ สิ่งมีชีวิตสามารถทํากิจกรรมตามธรรมชาติหรือดํารงชีพในระบบนิเวศได้ในเวลากลางคืน หากมีการใช้งาน แสงสว่างในระดับที่เหมาะสม (appropriate light levels) อันประกอบด้วยทิศทางการส่องของแสงกับ ระดับความสว่างในระดับที่ปกติ ทําให้เกิดการมองเห็นในเวลากลางคืนอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ระดับแสงสว่างที่เหมาะสมเช่นว่านี้เองย่อมเหมาะสม แต่ถ้าหากมีการใช้งาน แสงสว่างในระดับที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light levels) อันประกอบด้วยทิศทางการส่องของแสง ที่อาจส่องไปรุกลํ้าพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือส่องไปรุกลํ้ายังพื้นที่ที่ต้องการความมืดตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน รวมไปถึงแสงสว่างอันมีทิศทางการส่องของแสงและแสงสว่างที่มีระดับความสว่าง สูงสว่างระดับที่เหมาะสมเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งมีชีวิตและ ทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับการ ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ด้วยเหตุนี้เอง แสงสว่าง จากการใช้งานแสงสว่างในระดับที่ไม่เหมาะสมก็ย่อมจะกลายมาเป็นมลภาวะ (pollution) ที่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เฉกเช่นเดียวกับมลภาวะประเภทอื่นๆ เช่น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทาง เสียง และมลภาวะทางนํ้า ทั้งนี้ แสงสว่างที่ถูกปล่อยจากแหล่งกําเนิดแสง ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ รวมไปถึง เหตุรําคาญอ่ืนท่ีเกดิ จากแหลง่ กําเนดิ แสงด้วย                                                             10 Campaign to Protect Rural England. (2016). Night Blight: Mapping England’s light pollution and dark skies. London: Campaign to Protect Rural England, pp. 4-5.

13 เมื่อมีการใช้งานแสงสว่างโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมหรือ เกิดความสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการขยายตัวพื้นที่ที่มีการใช้งานแสง ประดิษฐ์ในยามคํ่าคืนกับการใช้งานพลังงานแสงสว่างอย่างไร้ขีดจํากัด ก็ย่อมอาจทําให้เกิดปัจจัยที่นําไปสู่ ผลกระทบในด้านลบต่อมนุษยชาติได้ มนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตมีการพึ่งพาสภาวะความมืดมิดตาม ธรรมชาติเพื่อการทํากิจกรรมตามธรรมชาติในระบบนิเวศ แต่ในทางกลับกัน มนุษย์เองก็ต้องพึ่งพาแสง ประดิษฐ์กับบรโิ ภคพลังงานแสงสว่างเพ่ือการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืน การใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ปราศจากการวางแผนย่อมทําลายสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนไป ทุกขณะ ซึ่งหากจะทําความเข้าใจขอบเขตกับบริบทของปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานแสง ประดษิ ฐภ์ ายนอกอาคารไดด้ ีย่ิงขน้ึ ก็ยอ่ มต้องศกึ ษากาํ หนดนยิ ามความหมาย (definition) ทเ่ี กีย่ วข้อง 2.1.1 นยิ ามความหมายของมลภาวะทางแสง การใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งในสังคมและได้แพร่ ขยายออกไปตามรูปแบบของการตั้งถิ่นฐาน (settlements) กับตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use) ในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป11 ในการใช้แสงสว่างในครัวเรือนไปจนถึงการใช้งานแสงสว่างใน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในยามคํ่าคืน ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนได้ แม้ว่าการใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารจะเป็นสิทธิประการหนึ่ง เพราะการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารถือเป็นสิทธิที่จะใช้แสงประดิษฐ์ในยามคํ่าคืน (right to enjoy the artificial light at night) อัน เป็นอํานาจอันชอบธรรมที่บุคคลหนึ่งจะสามารถที่จะติดตั้งแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์กับสามารถใช้งาน แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ โดยอํานาจดังกล่าวกฎหมายรับรองคุ้มครองให้บุคคลผู้ที่ใช้งาน ออกแบบหรือ ติดต้ังแสงประดิษฐ์ รวมไปถึงบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ย่อมมีอํานาจหยุด ระงับ และยับยั้งการใช้งานแสงสว่าง จากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในบริเวณอาคารหรือเคหะสถานของตน แต่หากกระทําการอันเป็นสิ่งท่ี กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจหรือไม่มีกฎหมายรับรองคุ้มครองให้ใช้งานไฟแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะ ที่อาจก่อความรําคาญหรือสร้างอันตรายต่อผู้อื่นหรือในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อ สิ่งแวดล้อม ก็อาจถือเป็นการแทรกแซงสิทธิของบุคคลอื่นหรืออาจถือเป็นการกระทําอันล่วงละเมิดสิทธิท่ี พึ่งจะอยู่ในสภาวะแวดลอ้ มดขี องบคุ คลอ่ืน (right to a health environment)12 การบัญญัติขอบเขต ความหมายและหลักเกณฑ์สําคัญเกี่ยวกับการปล่อยแสงสว่างออกมาจาก แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นกับการใช้งานแสงสว่างจนก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบ                                                             11 Cooke, K. (2005). Light Pollution, A Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residents of Strathfield. Retrieved March 31, 2018, from http://www.cooke.id.au/Vision_2020_Submission_small.pdf 12 Bratspies, B. (2015). 'Do We Need a Human Right to a Healthy Environment?’, Santa Clara Journal of International Law,1 (13), pp. 31-69.

14 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมจะทําให้เราทราบว่าอะไรคือนิยาม ความหมาย (definitions) ของคําว่ามลภาวะทางแสง เมื่อทราบว่าอะไรคือความหมายของมลภาวะทาง แสงแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ผู้ออกแบบหรือติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ผู้ค้าส่งผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร ผู้ค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารและประชาชนทั่วไปที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็จะทราบว่า อะไรคือมลภาวะทางแสงและเข้าใจถึงหลักเกณฑ์สําคัญของคําว่ามลภาวะทางแสง กล่าวคือ หากผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตระหนักรู้และเข้าใจถึงความหมายที่แน่นอนของ แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มีความสว่างเกินค่ามาตรฐาน จนไปก่อให้เกิดความรําคาญ สร้างความรบกวน สร้างการเปลี่ยนแปลงสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน ก็ย่อมจะทําให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และท้องถิ่นสามารถหาแนวทางการประเมินความเสี่ยงและกําหนดมาตรการลดผลกระทบของมลภาวะ ทางแสงท่ีเกดิ จากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกล่าวถึงสาเหตุ ปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง จากการ ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือการติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็อาจเกิดความคลุมเครือในการตีความหรือระบุว่าอะไรคือมลภาวะทางแสงได้ นั้นก็ เพราะเอกสารทางวิชาการด้านมลภาวะทางแสงหรือเอกสารของสถาบันทางการเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง อาจไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าอะไรคือนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงที่จะนําเอามาใช้กําหนดขอบเขต สําหรับคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งอาจไม่ได้กําหนดกรอบการ แก้ไขปัญหาการใช้งานแสงสว่างที่ก่อให้เกิดความถดถอยเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมในเวลาคํ่าคืน เช่น เอกสารภาษาอังกฤษบางฉบับระบุว่า “light pollution” กับ “obtrusive light” เป็นคําไวพจน์หรือคําท่ี มีความหมายเหมือนกัน (synonym)13 แต่หากพิเคราะห์ถึงความหมายภายใต้ฐานแนวว่าด้วยการควบคุม มลภาวะทางแสง กอ็ าจพบได้วา่ มีนิยามความหมายท่ีแตกตา่ งกนั (อธบิ ายเพมิ่ เติมในหวั ขอ้ 2.1.2) เปน็ ตน้ ในส่วนน้ีจะกล่าวถึงนิยามความหมายของมลภาวะทางแสง โดยจะนําเสนอท่ีมา ขอบเขตและบริบท ของความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง อันมีที่มาจากองค์กร สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้ เคยพรรณนาหรือบรรยายความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงเอาไว้แล้ว การศึกษาวิเคราะห์นิยาม ความหมายของมลภาวะทางแสงมีส่วนช่วยให้ทราบว่าการให้ความหมายคําเฉพาะที่ใช้ในการศึกษาหรือ กําหนดขอบเขตของการเรียนรู้ปัญหามลภาวะทางแสง มีที่มา ขอบเขตและบริบทอย่างไรบ้าง อันเป็นที่มา ท่ีทําให้หน่วยงานแต่ละหน่วยงานหรือเอกสารแต่ละฉบับได้ให้นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง ทอ่ี าจคลา้ ยคลงึ กันหรอื แตกต่างกันออกไป การให้ความหมายของคาํ วา่ มลภาวะทางแสงเชน่ วา่ นี้เอง ก็ย่อม                                                             13 Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4.

15 ประกอบด้วยการให้ความหมายของมลภาวะทางแสงในลักษณะทั่วไปหรือการให้ความหมายของมลภาวะ ทางแสงตามเอกสารอันเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเป็น การเฉพาะ ซ่ึงจะขอกล่าวโดยสงั เขปดังตอ่ ไปนี้ สมาคมอนุรักษ์ความมืดบนท้องฟ้านานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA)14 ได้ระบุนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงเอาไว้ว่า มลภาวะทางแสง หมายถึง การใช้งานแสง ประดิษฐ์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือเกินสมควรแก่เหตุ (inappropriate or excessive use of artificial light) โดยประการทีน่ ่าจะกอ่ ใหเ้ กิดหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสขุ ภาพมนุษย์ สัตวป์ ่าและสภาพ ภูมิอากาศ มลภาวะเช่นว่านี้เป็นผลข้างเคียงมาจากความเจริญรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรม (side effect of industrial civilization) อันมีแหล่งกําเนิดมาจากการใช้งานแสงสว่างภายในและภายนอกอาคาร การใช้ ไฟโฆษณา อาคารสิ่งปลูกสร้างทางพาณิชย์ สํานักงานและโรงงานที่มีการใช้งานแสงสว่าง ไฟถนน และ การใช้งานแสงสวา่ งเพอ่ื การกีฬา สมาคมวิศวกรรมสว่างแห่งอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America หรือ IES) และสมาคมต่อต้านมลภาวะทางแสงนานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA)15 ได้กําหนดนิยามของมลภาวะทางแสงเอาไว้ มลภาวะทางแสง หมายถึง ผลกระทบในด้านลบต่างๆ อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ รวมไปถึงแสงสว่างจ้า (glare) การรุก ลํ้าของแสง (light trespass) แสงเรืองไปบนท้องฟา้ (sky glow) การสิ้นเปลืองพลังงานจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ (energy waste) รวมไปถงึ การใช้งานแสงสว่างท่ีส่งผลเสยี ตอ่ การรกั ษาความปลอดภยั และความ ปลอดภยั รวมไปถึงสภาวะแวดลอ้ มในเวลากลางคนื (nocturnal environment) กรมชุมชนและท้องถ่ิน สหราชอาณาจักร (Department for Communities and Local Government)16 ได้กําหนดนิยามความหมายทั่วไปของมลภาวะทางแสง หมายถึง ผลกระทบจากการใช้ งานแสงสว่างมากจนเกินไป อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างที่ได้รับการออกแบบมาอย่างไม่เหมาะสม (poorly designed lighting schemes) และมีระดับที่มากเกินต่อความจําเป็นในการใช้งาน (excessive levels of light)                                                             14 International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/ 15 Illuminating Engineering Society of North America & International Dark-Sky Association. (2011). Model Light Ordinance. New York, NY: Illuminating Engineering Society of North America, p. 13. 16 Department for Communities and Local Government. (2006). Lighting in the Countryside: Towards Good Practice - Main document. London: Department for Communities and Local Government, p. 17.

16 กลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อมสหราชอาณาจักร (Environmental Protection UK)17 ได้ให้นิยาม ความหมายของคาํ ว่ามลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงประดิษฐท์ ี่สอ่ งไปยงั หรอื สอ่ งรกุ ล้าํ ไปยังพื้นทที่ ่ีไม่ต้องการ ให้มกี ารใชง้ านแสงสวา่ ง (areas not intended to be lit) โครงการรณรงค์พิทักษ์ชนบทอังกฤษ (Campaign to Protect Rural England)18 ได้กําหนด นิยามความหมายทั่วไปของมลภาวะทางแสง หมายถึง แสงประดิษฐ์ที่ส่องไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการให้มี แสงสว่างหรือไมป่ รารถนาใหม้ แี สงสวา่ ง สถาบันวิศวกรรมแสงสว่างของสหราชอาณาจักร (Institution of Lighting Engineers)19 ได้ กําหนดคําจํากัดความของนิยามความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงสว่างที่ส่องรุกลํ้าเข้ามายัง หน้าต่างห้องนอนหรือแสงสว่างที่ส่องจนไปขัดขวางการมองทิวทัศน์บนท้องฟ้าในยามคํ่าคืน โดยแสงสว่าง ที่กลายมาเป็นมลภาวะเช่นว่านี้พึงจะต้องได้รับการลดปริมาณ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ไปรบกวน การใชง้ านแสงสว่างท่จี าํ เปน็ ตอ่ การปฏิบตั งิ าน คณะกรรมาธิการมลภาวะสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร (Royal Commission on Environmental Pollution)20 ได้กําหนดนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงเอาไว้ว่า มลภาวะทาง แสง หมายถึง แสงสว่างที่ถูกใช้งานผิดสถานที่ (light in the wrong place) หรือแสงสว่างที่ถูกใช้ผิดเวลา ( light at the wrong time) ซึ่งอาจจําแนกได้ออกเป็นหลายประเภท (forms) และอาจเกิดจาก แหล่งกาํ เนิดแสงเพยี งแหลง่ เดยี วหรอื เกดิ จากหลายๆ แหล่งกําเนิดแสงพร้อมๆ กัน ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง (Department of Physics of The University of Hong Kong)21 ได้ให้นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง กล่าวคือ มลภาวะทางแสง หมายถึง รูปแบบหนึ่งของความเสื่อมทางส่ิงแวดล้อม (a form of environmental degradation) ที่เกิดข้ึนมาจาก แสงสว่างที่มนุษย์ภายนอกอาคารที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น แหล่งกําเนิดแสงดังกล่าวส่องไปยังท้องฟ้า โดยตรงหรือแสงดังกล่าวได้ตกกระทบวัตถุอื่นใดก่อนสะท้อนไปยังท้องฟ้า สิ่งบ่งชี้ของระดับมลภาวะทาง แสงอาจขนึ้ อยู่กบั ระดบั มลภาวะทางแสงทอี่ ยู่บนท้องฟ้า                                                             17 Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p. 4. 18 Campaign to Protect Rural England. (2014). Shedding Light; A survey of local authority approaches to lighting in England. London: Campaign to Protect Rural England, p. 4. 19 Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4. 20 Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4. 21 Department of Physics of The University of Hong Kong. (2018). What is light pollution?. Retrieved April 1, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php

17 จากที่กล่าวมาในข้างต้น นิยามของคําว่ามลภาวะทางแสงอาจประมวลลักษณะสําคัญร่วมกันของ ความหมายคาํ วา่ มลภาวะทางแสงหลายประการด้วยกนั ประการแรก นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักอธิบายถึงบริบทที่เป็นส่วนหนึ่งของ แหล่งกําเนิดแสง (sources of light) ที่ปล่อยแสงสว่างที่ไมเ่ ป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม (ไม่ว่าจากแหล่งกําเนิด แสงเดียวหรือแหล่งกําเนิดแสงจํานวนมาก) หรือการใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร (lighting) ใน ลักษณะที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม นิยามความใน ลักษณะนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าแสงสว่างเท่าที่จําเป็นกับมลภาวะทางแสงมีความแตกต่างกันเช่นไรในเบื้องต้น เพราะการปล่อยแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานแสงสว่างที่ เหมาะสมล้วนแล้วแต่ไม่ถือเป็นมลภาวะ ในทางกลับกันการปล่อยแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงที่ไม่เป็น มติ รต่อสงิ่ แวดล้อมและการใชง้ านแสงสวา่ งท่ไี มเ่ หมาะสมจงึ ถือได้ว่าเปน็ มลภาวะ ประการที่สอง นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักอธิบายบริบทเกี่ยวกับเวลา (time) และพื้นที่ (areas) ที่ต้องการให้ปลอดจากมลภาวะทางแสง โดยอธิบายในบริบทที่เป็นส่วนหนึ่งของ พฤติกรรมการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ เพราะหากพิจารณาในบริบทของพื้นที่ ก็ย่อมจะ ทําให้ทราบว่าการใช้งานแสงประดิษฐ์จนก่อให้เกิดทิศทางของแสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ไม่ต้องการใช้ งานแสงสว่าง (artificial light that is allowed to illuminate, or intrude upon, areas not intended to be lit) หรือก่อให้เกิดปริมาณความสว่างที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละพื้นที่ (purposes of areas) ย่อมเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดหรือนําไปสู่การเกิดแสงไม่พึงประสงค์ แล้วหาก พิจารณาในบริบทของเวลา ก็ย่อมทําให้ทราบว่าการใช้งานแสงสว่างผิดเวลา (shining at the wrong time) กย็ ่อมอาจทาํ ใหเ้ กดิ แสงทไ่ี ม่พงึ ประสงค์ได้เชน่ เดยี วกนั ประการที่สาม ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักมีบริบทที่รวมความไปถึงสาเหตุ (causes) ของการเกดิ มลภาวะทางแสง อันเนอ่ื งมาจากการใชง้ านแสงประดิษฐ์ซึ่งก่อให้เกดิ หรืออาจก่อให้เกิดสภาวะ ที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือระบบการทํางานของร่างกายมนุษย์ตามปกติเปลี่ยนแปลงโดยการใช้งาน แสงประดิษฐ์ซึ่งทําให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงหรือความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เสื่อมถอยลงไป เพราะไม่ว่าจะเป็นเหตุอันเนื่องมาจากทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมและความสว่างที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมก็ย่อมเป็นเหตุที่นําไปสู่ผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในเวลา กลางคืนได้ อีกทั้งบางนิยามความหมายยังกําหนดในส่วนของบริบทของนิยามความหมายคําว่ามลภาวะ ทางแสงให้กวา้ งยิง่ ข้ึน โดยได้ผนวกเอาขอบเขตของเหตุราํ คาญ (nuisance) เอาไว้ในนยิ ามความหมายของ คําว่ามลภาวะทางแสงด้วย กล่าวคือ การให้ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงนั้นอาจกินความไปถึง บริบทของการใช้งานแสงประดิษฐ์จากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่มีทิศทางการส่องหรือความสว่างใน ประการที่เกิดการรบกวนความเป็นอยู่อย่างปกติสุขของผู้อาศัยอยู่โดยรอบแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์หรือ เกิดอันตรายตอ่ สุขภาพของผูป้ ฏบิ ัตงิ านรอบแหลง่ กําเนิดแสงประดิษฐน์ ้นั

18 ประการที่สี่ การกําหนดนิยามของคําว่ามลภาวะทางแสงมักกล่าวถึงหรือมีบริบทรวมไปถึง ผลกระทบ (effects) และผู้ที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ด้วย การให้นิยามความหมายที่กล่าวถึงผลกระทบของ มลภาวะทางแสงเอาไว้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงสภาวะที่สาธารณชนหรือปัจเจกชนจะต้องเผชิญวิกฤติจากการ ใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบระดับต่างๆ เช่น ปัจเจกชน (individuals) ที่ได้รับความเดือดร้อนรําคาญจากการใช้งานแสงสว่างของเพื่อนบ้าน ชุมชน (communities) ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างจากลานจอดรถศูนย์การค้าและสาธารณะชน (public) ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างทส่ี ร้างสภาวะท่ีสง่ิ แวดลอ้ มเปลีย่ นแปลง ทาํ ใหค้ ณุ ภาพ ของความมืดมิดในยามคํ่าคืนถูกทําลายลงหรือระบบนิเวศในเวลากลางคืนเสื่อมโทรมลง การกําหนด ผลกระทบและผู้ที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ในนิยามความหมายย่อมแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของสถาบัน ทางการหรือสถาบันการศึกษา รวมไปถึงนักวิชาการที่ตระหนักและตื่นตัวกับโทษภัยอันเนื่องมาจาก ผลกระทบจากการใช้งานแสงสวา่ งทไี่ ม่เป็นมติ รตอ่ สิ่งแวดล้อม ประการต่อมา นิยามคําว่ามลภาวะทางแสงมักมีบริบทที่ตรงกันประการหนึ่ง นั้นคือหากมีการใช้ งานแสงสว่างเกินไปกว่าระดับใดระดับหนึ่ง (level) ก็จะทําให้แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์นั้น กลายมาเป็นมลภาวะที่ส่งผลกระทบสุขภาพมนุษย์ สัตว์และระบบนิเวศในเวลากลางคืน กล่าวคือ นิยาม ความหมายของมลภาวะทางแสงอาจถูกเป็นเครื่องมือชี้นําว่าการใช้งานแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงใน ระดับใดระดับหนึ่งจึงจะถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจกรรมของมนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตและอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศในเวลากลางคืน อย่างไรก็ดี อาจจะต้องมีกรอบมาตรฐานอื่นๆมาพิจารณาว่าการใช้งานแสงสว่างในระดับใดระดับหน่ึงจึงจะ ถอื เป็นเกณฑท์ ี่นา่ พอใจในการประกอบกิจกรรม ท้ังยังไม่ก่อใหเ้ กดิ อันตรายตอ่ ส่ิงแวดล้อม ซ่งึ จะมกี รอบใน การพิจารณากําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างที่ไม่ก่อมลภาวะทางแสงอยู่หลายด้านด้วยกัน เช่น ระยะเวลาการใช้งานแสงสว่าง ความสว่าง ทิศทางการส่องของแสง และพฤติกรรมการใช้งานแสงสว่าง เน่ืองจากระดบั มาตรฐานของการการใชง้ านแสงสว่างท่ีเป็นมลภาวะอาจจะออกมาในรปู ของปรมิ าณการใช้ พลังงานแสงสว่างที่สิ้นเปลือง ผลที่ตามมาย่อมทําให้เพิ่มต้นทุนพลังงานไฟแสงสว่าง ในขณะที่มาตรฐาน บางประเภทอาจอยู่ในรูปของคุณภาพแสงสว่างที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่หรืออาจอยู่ใน รูปของปริมาณแสงโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์กับไม่ส่งผล กระทบตอ่ ต่อระบบนิเวศในเวลากลางคนื ประการสุดท้าย การกําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง ย่อมทําให้ผู้ปฏิบัติงาน ดา้ นแสงสว่าง (light practitioners) ทราบความหมาย ขอบเขต หรือคําจํากัดความของคําว่ามลภาวะทาง แสง จะได้ปฏบิ ัตกิ ารป้องกันและลดผลกระทบจากแหล่งกําเนิดแสงกับการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งการกําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงย่อมทําให้ประชาชนทั่วไปได้ เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับบริบทของมลภาวะทางแสง ถ้อยคําที่สื่อความหมายภายใต้นิยามของคําว่ามลภาวะ

19 ทางแสง ที่ไม่เป็นข้อความที่คลุมเครือหรือไม่กํากวม สื่อความความชัดเจนให้สาธารณชนได้เข้าใจตรงกัน จนเห็นพอ้ งต้องกนั วา่ มลภาวะทางแสงเป็นปญั หาทอี่ าจกระทบได้ทง้ั ปัจเจกบุคคลและสาธารณชน จากที่กล่าวมาในข้างต้น การสร้างนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงของสถาบันทางการหลาย แห่งอย่างเป็นลากลักษณ์อักษร มักนําเสนอบริบทของมลภาวะทางแสงที่ล้วนกล่าวถึงเหตุและพลที่เกิดขึ้น จากมลภาวะทางแสง ซึ่งเมื่อนําเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะทราบถึงบริบทของ มลภาวะทางแสง เพื่อก่อให้เกิดการตระหนักรู้ จนนําไปสู่การเฝ้าระวัง ป้องกันและร่วมมือร่วมใจไม่ให้ มลภาวะทางแสงก่อผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ การสร้างนิยามใน ลักษณะที่เป็นทางการจากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรของเอกสารที่เป็นทางการย่อมนําไปสู่การสร้าง ความรทู้ ีช่ ัดแจ้งเก่ยี วกับมลภาวะทางแสง (explicit knowledge of light pollution) อย่างไรก็ตาม การอธิบายนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงที่แตกต่างกันออกไป รวมไป ถึงนิยามความหมายอันมาจากแหล่งที่มาแตกต่างกัน ทําให้เกิดสภาวะการกระจัดกระจายของนิยาม ความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง ย่อมเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งทําให้ปัจเจกบุคคลหรือสาธารณชนอาจ รับทราบข้อมูลหรือรับรู้บริบทของคําว่ามลภาวะทางแสงในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จนอาจนําไปสู่ อุปสรรคต่อการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันหรือบูรณาการความร่วมมือในจัดการมลภาวะทางแสง อีกทั้ง ปัจเจกชนและสาธารณชนอาจไม่ได้รับทราบพื้นฐานความรู้สําหรับตัดสินใจเลือกใช้งานแสงสว่างใน ลกั ษณะที่เปน็ มติ รต่อสิ่งแวดลอ้ มกบั ไมส่ ามารถมขี ้อมลู อยา่ งพอเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการใชง้ านแสงสว่างโดย ประการที่นา่ จะก่อให้เกดิ ความเดือดร้อนราํ คาญตอ่ เพ่ือนบ้านทีอ่ าศัยอยโู่ ดยรอบแหล่งกําเนดิ แสง อนึ่ง มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจ หากสาระสําคัญเกี่ยวกับบริบทของนิยามศัพท์มลภาวะทาง แสงกับสาระสําคัญว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใต้ความรุดหน้าของพัฒนาการเทคโนโลยีแสง สว่าง อีกทั้งความไม่แน่นอนของของสถานการณ์การใช้งานแสงสว่างในอนาคต ที่อาจสร้างผลกระทบต่อ มนุษย์และความเสียหายต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน ภาครัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นในฐานะท่ี เป็นสถาบันทางการพึงต้องบัญญัติหรือกําหนดบทบัญญัติ กฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยควบคุม มลภาวะทางแสง ไปพร้อมกับระบุนิยามความหมายในทางกฎหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง (legal definition) หรือไม่ นอกจากนี้ยังอาจตั้งคําถามเพิ่มเติมได้ว่าการสร้างนิยามศัพท์อย่างเป็นทางการของคํา ว่ามลภาวะทางแสง (official definition) จะต้องเป็นนิยามความหมายท่ีสอดรับกับการสร้างกระบวนการ ระบุผลกระทบของการใช้งานแสงสว่างที่กลายมาเป็นมลภาวะของรัฐ การวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของ ปัญหาการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานของรัฐ การประเมินโอกาสที่จะเกิด มลภาวะทางแสง (likelihood) อันจะนําไปสู่การรับรู้ผลกระทบของมลภาวะทางแสงที่ท้องถิ่นกําลังเผชิญ อยู่หรือไม่ แล้วนิยามศัพท์ทางการเช่นว่านี้ควรจะเอามาระบุในบทบัญญัติกฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับ ว่าด้วยควบคุมมลภาวะทางแสงหรือไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้วปัจเจกชนและสาธารณชนก็พึ่งจะมีสิทธิที่จะได้

20 รับทราบว่าตนเอง ชุมชนที่ตนอยู่ หรือเมืองที่ตนอาศัยจะต้องเผชิญผลกระทบจากมลภาวะทางแสงใน ระดับใด เชน่ สงู มาก สูง ปานกลาง ตํ่าหรือปราศจาก เปน็ ตน้ อีกประการหนงึ่ เม่ือสภาพเศรษฐกจิ สังคม วฒั นธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแสงสวา่ งได้ เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการเจริญเติบโตของพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน อย่างไม่หยุดยั้ง รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น ก็อาจต้องมีการสร้างนิยามศัพท์ของคําว่ามลภาวะทาง แสง ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ผลกระทบของมลภาวะทางแสงในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับ จะต้องกําหนดขอบเขตของการจัดการกับการใช้งานแสงสว่างให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อผลกระทบในด้านลบ ต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการแสวงหานโยบายและมาตรการทางกฎหมาย ที่สร้าง หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการควบคุมความเสี่ยงและผลกระทบจากมลภาวะทางแสง เพื่อนําไปสู่การ แก้ปัญหาร่วมกันของภาครัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต หากแต่การสร้างนิยามศัพท์ ของมลภาวะทางแสงภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยควบคุมมลภาวะทางแสง ย่อมจะทําให้ รัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถ่ิน (รวมไปถึงสถาบันทางการอ่ืนๆ) ได้ตระหนักรู้ว่าอะไรคือมลภาวะทางแสง แล้วต่อสู้กับปัญหามลภาวะทางแสงผ่านมุมมองเดียวกันภายใต้การสร้างนิยามศัพท์คําว่ามลภาวะทางแสง อย่างเป็นทางการ เช่น การบัญญัตินิยามศัพท์ของมลภาวะทางแสงภายใต้กฎหมาย ก็ย่อมทําให้เจ้าหน้าท่ี กระทํากิจกรรมทางกายภาพหรือปฏิบัติการใดๆ เกี่ยวกับการใช้งาน ออกแบบหรือติดตั้งไฟส่องสว่าง ภายนอกอาคาร โดยประการท่ไี ม่กอ่ ให้เกิดปญั หามลภาวะทางแสง เปน็ ต้น อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนและพัฒนาการที่รุดหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีแสงสว่าง ประกอบกับอาจเกิดความไม่แน่นอนของผลกระทบต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารได้ในอนาคต การตีกรอบของนิยามความหมายอย่างตายตัวและแน่นอน ก็อาจเป็นหนทาง ที่ปิดกั้นไม่ให้มีการขยายความบริบทของมลภาวะทางแสงที่หลากหลายหรืออาจทําให้เกิดการยึดติดกับ บริบทเดิมๆ ของคําว่ามลภาวะทางแสง ในการที่รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นต้องดําเนินการใดๆ ที่ลด ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีแสงสว่างและผลกระทบในด้านลบจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร หาก รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นก็อาจจะต้องการบัญญัติศัพท์คําว่ามลภาวะทางแสงให้สอดรับกับการการ ป้องกันภัยจากการใช้งานแสงสว่างเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้ปัจเจกชนและสาธารณชนจะได้รับ ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างให้น้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย ทั้งนี้ รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือ ท้องถิ่นก็อาจต้องกําหนดนิยามที่ครอบคลุมรองรับเหตุการณ์อันเกิดจากความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยี แสงสว่างภายนอกอาคารหรืออาจต้องกําหนดนิยามที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ตีความในเชิงสนับสนุนการป้องกันภัยล่วงหน้าไม่ให้เกิด ผลรา้ ยขนึ้ จากการใชเ้ ทคโนโลยแี สงสว่างภายนอกอาคาร ในสว่ นของผเู้ ขียนมคี วามเห็นว่าความหมายหรอื นิยามศัพท์ของคําวา่ มลภาวะทางแสงทเ่ี ปน็ ทางการ นั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเป้าประสงค์และกลไกของการควบคุมมลภาวะทางแสงของรัฐ

21 หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่น ซึ่งสถาบันเหล่านี้อาจใช้อํานาจออกกฎหมายหรืออนุบัญญัติวางหลักการ ยอมรับว่าแหล่งกําเนิดแสงกับการใช้งานแสงสว่างในประการที่ปล่อยแสงประดิษฐ์มากระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ พร้อมกับกําหนดนิยามความหมายเอาไว้โดยเฉพาะจะทําให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน แสงสว่างภายใต้กฎหมายหรืออนุบัญญัติตระหนักถึงคําจํากัดความที่แน่นอนสําหรับปกป้องคุ้มครอง ผลประโยชน์ของมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน เพราะหากการให้คํานิยามศัพท์คําว่า มลภาวะทางแสงในปัจจุบันยังมิได้สะท้อนจุดร่วมกันในการที่จะลดมลภาวะทางแสงให้ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็จะทําให้ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานด้าน แสงสว่างไม่ทราบว่าลักษณะพฤติกรรมพื้นฐานของการใช้งานแสงสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมแตกต่างจากลักษณะพฤติกรรมพื้นฐานของการใช้งานแสงสว่างในลักษณะที่ไม่สร้างผลกระทบ ตอ่ สง่ิ แวดล้อมอย่างไรบา้ ง 2.1.2 ประเภทของมลภาวะทางแสง ปัญหาแสงอันมีทิศทางการส่องที่ไม่เหมาะสมหรือแสงที่มีความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะก่อให้เกิดความรําคาญแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนได้ ใน ปัจจุบันมลภาวะทางแสง ได้มีการขยายตัวตามการพัฒนาสาธารณูปโภคและการกระจายของอาคารสิ่ง ปลูกสร้าง สาเหตุประการสําคัญเกิดจากการขยายตัวของเมือง (urban expansion)22 การใช้งานไฟส่อง สว่างภายนอกอาคารที่แออัดหนาแน่นมีที่มาจากการใช้งานแสงสว่างตามเส้นทางคมนาคมขนส่ง การใช้ แสงสว่างภายนอกอาคารอย่างหนาแน่น ตลอดจนการใช้งานสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องการแสงสว่าง ภายนอกอาคารมาทําให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในเวลากลางคืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพอนามัยของประชาชน ระบบนิเวศโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงหรือผู้ที่สัญจรไปมาในยามคําคืน ก็ยัง นําไปสผู่ ลเสยี หายเศรษฐกิจ สงั คมและส่ิงแวดลอ้ ม ขณะที่มีการเติบโตของการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร มลภาวะทางแสงก็มีแนวโน้มที่จะ เกิดขึ้นและสร้างปัญหาให้กับสาธารณะชน อาจเริ่มมาจากการใช้งานแสงสว่างของปัจเจกไปจนถึงการใช้ งานแสงสว่างสาธารณะ23 เมื่อจะต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางแสงแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะต้องหัน มาเรียนรู้ว่าอะไรคือมลภาวะทางแสง อีกทั้งพึงจะต้องเรียนรู้ว่ามลภาวะทางแสงมีกี่ประเภท เพื่อทําให้ สามารถป้องกันและจดั การกับมลภาวะทางแสงไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ มลภาวะทางแสงอาจจําแนกไดห้ ลายประเภทดว้ ยกนั ไดแ้ ก่                                                             22 Chalkias, C., Petrakis, M. & Lianou, M. (2006). 'Modelling of light pollution in suburban areas using remotely sensed imagery and GIS', Journal of Environmental Management, 79, pp. 57–63. 23 Pun, C. S. J. & So, C. W. (2011). Night-sky brightness monitoring in Hong Kong - a city-wide light pollution assessment. Hong Kong: The University of Hong Kong Department of Physics, pp. 1-33.

22 2.1.2.1 แสงเรืองขน้ึ ไปบนทอ้ งฟา้ แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (Sky Glow) ได้แก่ แสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องพวยพุ่งตรงขึ้นไปบน ท้องฟ้า (direct upward light) หรือแสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องสะท้อนวัตถุผิวมันแล้วส่องพวยพุ่งขึ้น ไปบนท้องฟ้า (upward reflected light)24 จนก่อให้เกิดสภาวะที่ท้องฟ้าถูกปกคลุมไปด้วยแสงสว่างหรือ สภาวะที่เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าเช่นว่านี้ย่อมเป็นเหตุให้บริเวณท้องฟ้า เหนือชุมชนเมืองถูกปกคลุมไปด้วยความสว่างไสว สภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าดังกล่าวมักเกิดใน บริเวณท้องฟ้าเหนือพื้นที่ชุมชนเมือง (urban areas) และพื้นที่ชานเมือง (suburban areas) สาเหตุ เกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างอย่างหนาแน่นในบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่าง หนาแนน่ (densely populated areas) และในบรเิ วณยา่ นการคา้ (densely commercialised areas)25 ทําให้ต้องมีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารในชุมชนเมือง อีกทั้ง การพัฒนาโครงข่ายถนนภายในเมืองและเชื่อมระหว่างเมืองก็อาจเป็นเหตุให้เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า ได้ เพราะการพัฒนาโครงข่ายถนนน้ันย่อมต้องมีการติดตั้งใช้งานไฟถนนคู่ขนานกับเส้นทางถนน ไฟถนนก็ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าหากไฟถนนได้รับการติดตั้งเป็นจํานวนมาก จนอาจทํา ใหแ้ สงจากไฟถนนสอ่ งเล็ดลอดขึ้นไปบนทอ้ งฟา้ ทําใหเ้ กิดสภาวะแสงเรืองขนึ้ ไปบนทอ้ งฟ้าในยามคาํ่ คนื ภาพที่ 1: ภาพแสดงการเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (sky glow) ที่ทําลายบรรยากาศความมืดมิดตาม ธรรมชาติ (natural darkness) ทีจ่ ําเป็นต่อระบบนเิ วศในเวลากลางคนื (nocturnal ecosystem)26                                                             24 Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is sky glow?. Retrieved April 3, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php 25 Lechner, S. C. M. & Arns, M. C. E. (2017). Light Pollution. Groningen: Hanze University of Applied Sciences, pp. 1-5. 26 lightED. (2018). Sky Glow: Closing the Gap Between Differing Views, Part I. Retrieved April 3, 2018, from http://lightedmag.com/sky-glow-closing-the-gap-between-differing-views-part-i/

23 2.1.2.2 แสงบาดตา แสงบาดตา (Glare) ได้แก่ แสงสว่างจ้าจากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น ไฟถนน ไฟหน้ารถยนต์ และไฟ จากปา้ ยโฆษณา) ท่สี ่องเข้ามายังนยั น์ตาของมนุษย์โดยตรงหรือแสงสะท้อนแล้วส่องเข้ามายังนัยนต์ า ทําให้ สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว (temporary vision loss) หรือเกิดภาวะตาบอดชั่วคราว (temporary blindness)27 รวมไปถึงอาจทําให้ลดทอนสภาพแวดล้อมต่อการมองเห็นในเวลากลางคืน (degradation of the nighttime visual environment)28 (จนรบกวนการมองเห็นในสภาพแวดล้อมท่ีมืดในยามคํ่าคืน) กล่าวอีกนัยหนึ่ง แสงบาดตาอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของผลกระทบต่อการมองเห็นดังที่ได้ กล่าวมา นั้นคือ (ก) แสงบาดตาที่ก่อให้เกิดความไม่สบายตา (discomfort glare) หรือแสงบาดตาที่เป็น สาเหตุของความไม่สบายตาในระหว่างที่มองวัตถุ และ (ข) แสงบาดตาที่ทําให้มองเห็นวัตถุไม่ได้ (disable glare) หรือแสงบาดตาท่ีเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็นวัตถุใดๆ29 แสงบาดตาสามารถก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อผู้ที่สัญจรบนท้องถนน (roadway glare) (เช่น ผู้สัญจรบนทางเท้า ผู้สัญจรบนท้องถนน และผู้ขับขี่ ยานพาหนะบนท้องถนนอื่นๆ) รวมไปถึงผู้ที่สัญจรบนทางนํ้าและทางอากาศ (เช่น แสงบาดตาจาก ประภาคาร (lighthouses ‘glare) ที่ส่องมาบาดตาผู้ควบคุมเรือและแสงบาดตาจากพื้นที่ลานจอดอากาศ ยาน (glare on all apron service areas) ที่ส่องมาบาดตานักบิน เจ้าหน้าที่ประจําเครื่องบินและ เจ้าหน้าทค่ี วบคมุ จราจรทางอากาศ เปน็ ตน้ )                                                             27 Lystrup, D. E. (2017). 'The Dark Side of The Light: Rachel Carson, Light Pollution, And A Case For Federal Regulation', Jurimetrics Journal , 57, pp. 505–528. 28 Lamoureux, B., Li, M., Smith, J. & Watson, G. (2018). Identifying the economic, environmental, and social impacts of overnight, indoor lighting on Dalhousie University’s Studley campus. Halifax: Dalhousie University, pp. 14-16. 29 Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is glare?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/glare.asp

24 ภาพท่ี 2: ภาพแสดงการเกดิ แสงสวา่ งจ้าจากแหลง่ กําเนดิ แสง (เชน่ ไฟถนน ไฟหน้ารถยนต์ และไฟจากปา้ ย โฆษณา) ท่สี อ่ งเข้ามายงั นัยน์ตาของมนุษยโ์ ดยตรง แสงสวา่ งจา้ เชน่ วา่ นสี้ ามารถทําใหม้ นษุ ยส์ ูญเสียการมองเห็น จนเป็นปจั จยั สาํ คญั ตอ่ การเกิดอุบัติเหตุหรอื อันตรายบนท้องถนน30 2.1.2.3 แสงทสี่ อ่ งรกุ ล้ํา แสงที่ส่องรุกลํ้า (intrusive light) ได้แก่ แสงสว่างที่มีทิศทางการส่องรุกลํ้าเข้าไปยังอาคาร เคหะ สถาน สิ่งปลูกสร้างหรือบริเวณพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลอื่น31 แสงสว่างที่มีทิศทางการส่องรุกลํ้าก่อให้เกิด ความเดอื ดรอ้ นของเพ่ือนบ้านหรือประชาชนทีอ่ าศัยอยใู่ นบรเิ วณใกล้เคียงแหล่งกาํ เนิดแสง ไมเ่ พียงแตอ่ าจ เป็นเหตุให้เสื่อมหรือก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเพื่อนบ้านหรือประชาชนที่อยู่ บริเวณโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงดังกล่าว หากแต่การส่องรุกลํ้าของแสงยังเป็นการกระทําอันล่วงละเมิดต่อ สิทธิที่จะอาศัยอยู่ในอาคารหรือเคหสถานของตนอย่างปกติสุข (right to peaceful enjoyment of property) กับสิทธิที่จะมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (rights to health and wellbeing) เพราะแม้ว่าทุก คนมีสิทธิที่จะติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ แต่ในขณะเดียวกันการใช้สิทธินั้นก็จะต้องไม่สร้าง แสงท่สี อ่ งรกุ ลํา้ ไปสรา้ งความเดือดรอ้ นราํ คาญแกบ่ คุ คลอ่ืนหรือกอ่ ใหเ้ กิดความเสียหายแก่บุคคลอนื่                                                             30 Lowenthal, J. (2019). Light Pollution. Retrieved April 3, 2018, from http://www.science.smith.edu/~jlowenth/lightpollution/lightpollution.html 31 Alberta Dark Sky Association. (2017). Light Pollution – The Problem of Light Trespass. Alberta: Alberta Dark Sky Association, pp. 1-2.

25 ภาพที่ 3: ภาพแสดงการส่องรุกลา้ํ ของแสง (light trespass) เขา้ ไปยงั บรเิ วณอาคาร เคหะสถานหรือพ้นื ทส่ี ว่ น บคุ คลของเพอ่ื นบา้ น การส่องของแสงในลักษณะเชน่ ว่าน้เี กดิ จากการตดิ ตั้งใชง้ านแสงสวา่ งทไี่ ม่เหมาะสม จนอาจไปสรา้ งความเดอื ดร้อนราํ คาญให้กับเพ่ือนบ้านหรือชุมชนโดยรอบ32 2.1.2.4 การรวมกลุม่ ของแสง การรวมกลุ่มแสง (light clutter) ได้แก่ สภาวะที่เกิดการรวมกลุ่มของแสงสว่าง (abundance of light groups) ประกอบกับการรวมกลุ่มของแสงสว่างนั้นมีเป็นจํานวนมาก (excessive groupings of lights) เนื่องมาจากการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในปริมาณหนาแน่นบริเวณใจ กลางเมือง โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีการติดตั้งใช้งานไฟถนนภายนอกอาคารเป็นจํานวน มากหรือการรวมกลุ่มของแสงจากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ในชุมชนเมือง33 สภาวะการวมกลุ่มของแสงสว่าง มักเกิดจากการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมจนอาจสร้างผลกระทบในด้านความ ปลอดภัยในการสญั จรบนทอ้ งถนนกับอาจทาํ ลายทศั นวิสัยในการมองเหน็ สาํ หรบั การบิน34                                                             32 Astrophotography Telescope. (2017). How to reduce light pollution with 4 easy tricks ?. Retrieved April 3, 2018, from http://astrophotography-telescope.com/how-to-reduce-light-pollution-with-4-easy-tricks/ 33 Maine State Planning Office & Hancock County Planning Commission. (2010). Lighting Manual: Promoting Quality Outdoor Lighting in Your Community. Augusta, ME: Maine State Planning Office, p. 3. 34 Rajkhowa, R. (2012). 'Light Pollution and Impact of Light Pollution', International Journal of Science and Research, 3 (10), pp. 861-867.

26 ภาพท่ี 4: ภาพแสดงการรวมกลมุ่ แสง (light clutter) ในบรเิ วณพ้นื ทชี่ ุมชนเมืองหรือย่านพาณิชกรรมที่มี ปรมิ าณการติดตง้ั ใชง้ านแสงสวา่ งอยา่ งหนาแน่น35 จากที่กล่าวมาในข้างต้น อาจเหน็ ได้วา่ มลภาวะทางแสงในแต่ละประเภทถือเป็นต้นเหตุ (causes of light pollution) ให้เกิดสภาวะท่ีสมดุลระยะเวลาความมอื ในเวลากลางคืนและความสว่างในเวลากลางวัน ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป จนอาจทําให้คุณภาพสภาวะแวดล้อมของความมืดตามธรรมชาติในเวลา กลางคืนลดลง เพราะมีความสว่างจากแสงประดิษฐ์ (เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอก อาคาร) เข้ามาแทนที่ความมืดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน อีกทั้งมลภาวะทางแสงประเภทต่างๆ ยังอาจทํา ให้ระบบนิเวศในเวลากลางคืนที่ต้องพึ่งพิงความมืดมิดตามธรรมชาติเสื่อมโทรมลงหรือเสียสมดุลได้ รวมไป ถึงการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมยังอาจก่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ โดยรอบบริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารลดลง เหล่านี้เองล้วนแล้วแต่เป็น ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตราย ต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชน ซึ่ง การรับรู้ถึงผลกระทบเช่นว่านี้ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมกิจกรรมการ ใชง้ านแสงสวา่ งภายนอกอาคารให้เกดิ ผลกระทบต่อส่งิ แวดล้อมและชมุ ชนนอ้ ยทส่ี ุดเท่าท่ีจะเป็นไปได้ อนึ่ง นักดาราศาสตร์และผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมส่องสว่างจากหลายสถาบันทางการ ต่างก็ได้ พยายามสร้างมาตรฐานวัดคุณภาพความมืดมิดบนฟากฟ้าที่เหมาะสม (dark-sky quality standards) เป็นการกําหนดมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าที่ง่ายต่อความเข้าใจของนัก สิ่งแวดล้อม นักดาราศาสตร์และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบถึงมลภาวะทางแสงจาก การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด แล้วระดับดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อ                                                             35 Dark Skies Awareness. (2009). Light pollution—what is it and why is it important to know?. Retrieved April 3, 2018, from http://www.darkskiesawareness.org/faq-what-is-lp.php

27 สุขภาพอนามัยหรือไม่ รวมไปถึงอาจเกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายนอก อาคารได้หรือไม่ ซึ่งนักดาราศาสตร์และผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างก็ได้นําเอาหน่วยวัดด้านวิศวกรรมส่อง สว่างมาประยุกต์ใช้เป็นหน่วยวัดมลภาวะทางแสง (light pollution metric) ที่ใช้กันแพร่หลายในทั่วโลก ตัวอย่างเช่น (ก) การวดั อัตราแสงพุ่งข้ึนไปบนจากการตดิ ตั้ง (Upward Light Ratio of the Installation) ตามฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous flux) ถูกนําเอามาใช้กับการวัดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (ข) การวัดค่าความส่องสว่างแนวดิ่งวัด (Vertical Illuminance) โดยใช้หน่วยลักซ์ (Lux) ถูกนําเอามาใช้กับ การวัดแสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องรุกลํ้าเข้ามายังภายในอาคาร (ค) การวัดความเข้มของแสง (Light Intensity) ในหน่วยแคนเดลา (แรงเทียน) (candela หรือ cd) ระหว่างช่วงเวลาก่อน (Pre-curfew) และ หลังจาก (Post-curfew)การจํากัดระยะเวลาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน และ (ง) การวัดความส่องสว่าง (luminance) ต่อตารางเมตรในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร (candela per square metre หรือ cd/m2) มาใช้กับการวัดความสว่างบริเวณรอบอาคาร (building luminance) เป็น ต้น ภาพที่ 5: แผนภาพแสดงการเกดิ ของมลภาวะทางแสงประเภทแสงเรืองขนึ้ ไปบนท้องฟ้า (sky glow) แสงบาดตา (glare) และแสงท่ีสอ่ งรกุ ลํ้า (trespassing light) ท่อี าจส่งผลกระทบตอ่ สิ่งแวดลอ้ มในเวลากลางคืน สขุ ภาพอนามัยและ ความปลอดภยั 36                                                              36 Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is light pollution?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/lightpollution.asp

28 2.1.3 ผลกระทบของมลภาวะทางแสง แสงสว่างที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ เช่น หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร สามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อดุลยภาพของธรรมชาติในเวลากลางคืน อันได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยความมืดในยามคํ่าคืนเพื่อประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติกับระบบนิเวศในเวลา กลางคืน หรือภาวะที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนได้ รวมไปถึงสภาวะที่มีความสว่างจากแสงประดิษฐ์มากเกินกว่าปกติหรือแสงสว่างที่มีทิศ ทางการส่องมารบกวนความเป็นอยู่อย่างปกติสุข จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญจนไปรบกวนการ พักผ่อนของมนษุ ยห์ รือเกิดอันตรายตอ่ สุขภาพมนษุ ย์ ผลกระทบของมลภาวะทางแสง (effects of light pollution) ได้แก่ ผลเสยี หายอนั เกิดขึ้นจากการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือผลเสียหายอันเกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นผลในด้านลบที่เกิดข้ึนท้ังในปัจจุบันและอนาคต การจําแนก แยกแยะผลกระทบจากมลภาวะทางแสงให้เห็นอย่างชัดเจน ย่อมสะท้อนต้นเหตุปัญหาของมลภาวะทาง แสง ตลอดจนอาจนําไปสู่การแสวงหามาตรการสําหรับลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงได้อย่าง เหมาะสม 2.1.3.1 ผลกระทบดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์ (astronomy) ถือเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบน ท้องฟ้า ความเป็นไปของวัตถุบนท้องฟ้า ปรากฏการณท์ างธรรมชาติบนท้องฟ้า ระบบสุริยะจกั รวาล ความ แปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งการศึกษาดาราศาสตร์อาจถูกนําเอามาใช้ในการพยากรณ์ความเป็นไปของ มนุษยชาติ การดูดาวหรือสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนสามารถกระทําได้ ด้วยตาเปล่า (naked eye) และกล้องโทรทรรศน์ (telescope)37 รวมไปถึงกล้องโทรทรรศน์ในฐาน สงั เกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (astronomical observatory bases)38 ในบริเวณพื้นท่ีที่มีความมืดมดิ ตาม ธรรมชาติในยามค่ําคืน ความมืดตามธรรมชาติจึงเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งท่ีสร้างทัศนวิสัยที่เหมาะกับ การดูดาวด้วยตาเปล่าหรือสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วยกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตาม สภาวะ แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าอาจลดทอนประสิทธิภาพในการดูดาวด้วยตาเปล่าหรือสังเกตปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน นั้นก็เป็นเพราะแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร อาจสอ่ งพวยพุ่งข้ึนไปบนทอ้ งฟ้า อนั กอ่ ใหเ้ กิดสภาวะแสงเรอื งข้ึนไปบนท้องฟา้ ทําใหท้ ําให้ดวงดาวหรอื วัตถุ                                                             37 Bortle, J. E. (2006). Gauging Light Pollution: The Bortle Dark-Sky Scale. Retrieved April 1, 2018, from https://www.skyandtelescope.com/astronomy-resources/light-pollution-and-astronomy-the- bortle-dark-sky-scale/ 38 International Astronomical UnionOffice for Astronomy Outreach & National Astronomical Observatory of Japan. (2018). Light Pollution. Paris: International Astronomical Union, p. 2.

29 บนท้องฟ้าจางหายไปพร้อมกับแสงสว่างที่เรืองอยู่บนท้องฟ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งมีปริมาณการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่หนาแน่นมาก ก็ย่อมจะมีแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าอันบดบังทัศนวิสัยการมองเห็น วัตถุบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน39 นอกจากนี้ แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคารบาง ประเภท ก่อให้เกิดแสงที่มีคุณสมบัติบางประการ อันกระทบต่อกลไกการทํางานและคุณภาพของอุปกรณ์ ดาราศาสตร์ เช่น หลอดแสงจันทร์หรือ หลอดไฟไอปรอท (mercury vapor lamps) ให้สเปกตรัมของ คลื่นของแสงสว่างที่อาจไปรบกวน (interfere) การทํางานของอุปกรณ์ดาราศาสตร์อันเนื่องมาจากรังสี อลั ตราไวโอเลต (ultraviolet) และรงั สอี ินฟราเรด (infrared) เปน็ ตน้ อนึ่ง สภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้ายังอาจกระทบต่อพื้นที่ที่ถูกสงวนเอาไว้สําหรับทํากิจกรรม ดาราศาสตร์เป็นการเฉพาะ (dark-sky parks) เพราะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถทําลายบรรยากาศ สภาวะแวดล้อมความมืดมิดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน (natural dark-sky environment) ท่เี ปน็ มิตรตอ่ การประกอบกจิ กรรมดดู าวหรือกิจกรรมศกึ ษาปรากฏการณท์ างธรรมชาติบนท้องฟ้า ภาพท่ี 6: ภาพแสดงพ้ืนที่ปราศจากสภาวะแสงเรอื งขึ้นไฟบนท้องฟา้ ทําใหพ้ ้ืนท่ีดังกลา่ วสามารถการมองเห็นวัตถุ บนทอ้ งฟา้ ดว้ ยตาเปลา่ ในเวลากลางคนื (ซ้าย) ภาพพื้นทีเ่ กิดสภาวะแสงเรอื งขึ้นไฟบนท้องฟ้าจนบดบงั ทัศนวสิ ัยการ มองเห็นวัตถบุ นทอ้ งฟา้ ด้วยตาเปลา่ ในเวลากลางคนื (ขวา)40                                                             39 Luginbuhl, C., Walker, C. & Wainscoat, R. (2009). 'Lighting and astronomy', Physics Today, 62, pp. 32-37. 40 The Planetary Society. (2008). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from http://www.planetary.org/multimedia/space-images/earth/light-pollution_ida_20030800.html

30 ภาพท่ี 7: ภาพแสดงการตดิ ต้งั ใชง้ านแสงสว่างภายนอกอาคาร ผา่ นการออกแบบตดิ ตง้ั แสงสวา่ งให้บงั คับทศิ ทางการส่อง พงุ่ ต่ําลงไม่เกินไปกวา่ แนวจํากัดแสง (cut-off fixtures) ย่อมเป็นเทคนคิ ด้านวิศวกรรมส่องสวา่ งท่ีสามารถ ลดการเกิดสภาวะแสงเรอื งข้ึนไฟบนทอ้ งฟา้ ได้ เมื่อปราศจากสภาวะแสงเรืองข้ึนไปบนท้องฟ้าแล้ว นกั ดาราศาสตร์หรือ บุคคลทั่วไปก็สามารถมองเห็นวตั ถบุ นทอ้ งฟ้าดว้ ยตาเปล่าในเวลากลางคนื ได4้ 1 2.1.3.2 ผลกระทบตอ่ ระบบนิเวศในเวลากลางคนื ระบบนิเวศในเวลากลางคืน (nocturnal ecosystems) ได้แก่ หน่วยพื้นที่อันประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพในยามคํ่าคืน (nocturnal life) พื้นที่มืดในเวลากลางคืน (dark areas) และการทํา หน้าที่รวมกันภายใต้สังคมของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนเดียวกัน ซึ่งต้องอาศัยความมืดมิด ตามธรรมชาติในเวลากลางคืน (natural darkness) และชว่ งเวลากลางคืน (nighttime) เป็นปจั จยั ที่ทาํ ให้ การสร้างความสัมพันธ์และการทําหน้าที่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขนาดเล็กก็ดีหรือ กลุ่มขนาดใหญ่ก็ตาม42 อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาระบบนิเวศในเวลากลางคืนเท่ากับเป็นสาขาวิชาหนึ่งท่ี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพหรือประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและ สิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน อน่ึง มขี ้อสงั เกตบางประการว่าสง่ิ มชี วี ิตและองค์ประกอบในระบบนเิ วศเชน่ ว่า นี้ จะต้องพึงพาอาศัยภูมิทัศน์ที่มืดมิด (dark landscapes) ในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการ ดําเนินกจิ กรรมตามธรรมชาตขิ องส่ิงมีชีวติ ในเวลากลางคนื และเป็นปัจจยั ที่ทาํ ให้สภาวะตามธรรมชาตขิ อง ระบบนิเวศในช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืนแตกต่างกันออกไป กิจกรรมระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต อาจต้องการแสงสว่างตามธรรมชาติเป็นส่วนช่วยให้สามารถดําเนินกิจกรรมได้ในเวลากลางวัน แต่ทว่า                                                             41 Astrophotography Telescope. (2017). How to reduce light pollution with 4 easy tricks ?. Retrieved April 3, 2018, from http://astrophotography-telescope.com/how-to-reduce-light-pollution-with-4-easy-tricks/ 42 Gaston, K. J., Bennie, J. Davies, T. W. & Hopkins, J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912–927.

31 สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจต้องการความมืดตามธรรมชาติเป็นส่วนช่วยให้ดําเนินกิจกรรมในช่วงเวลา กลางคืน43 ทั้งยังมีข้อสังเกตอีกบางประการว่าสมดุลความสว่างและความมืดตามธรรมชาติ (natural light-dark balance) ยอ่ มสร้างสภาวะของการมีความสัมพนั ธ์ของสง่ิ มชี ีวิตท่ีดาํ รงชีพในเวลากลางคืนหรือ สิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพในเวลากลางคืนกับสภาวะแวดล้อมอื่นที่ไม่มีชีวิต ในบริเวณพื้นที่ที่ยังคงแบบแผนของ ความสวา่ งและความมืดตามธรรมชาติ (natural day-night pattern) อนั จะทําให้เกดิ การรกั ษาสมดลุ ของ ระบบนเิ วศ ทําใหร้ ะบบนเิ วศน้นั ธาํ รงอยู่ตอ่ ไปได้ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเมืองอย่างไม่เป็น ระบบหรือการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ปราศจากการวางแผนอย่างเหมาะสม ย่อมสามารถ ก่อให้เกิดการขยายตัวของการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารจนไปทําลายบรรยากาศความมืดมิด ตามธรรมชาติที่มีอยู่และทําลายสมดุลความสว่างและความมืดตามธรรมชาติ ซึ่งความสว่างจาก แหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารอาจทําให้บริเวณระบบนิเวศที่อยู่โดยรอบได้รับความสว่างจาก แหล่งกําเนิดแสงไปด้วย ในขณะเดียวกันแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารก็อาจส่องรุกลํ้าเข้า ไปยังระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง แสงสว่างภายนอกอาคาร ที่มนุษย์ได้เอามาติดตั้งใช้งานนั้นถือ เป็นสภาพแวดล้อมทางภายภาพที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อจํานวนและชนิดของสิ่งมีชีวิต เพราะแม้ว่า ส่ิงมีชีวิตบางอย่างจะอาศัยแสงสว่างตามธรรมชาตใิ นการประกอบพฤตกิ รรมบางอย่างในการดํารงชีพ44 ไม่ ว่าจะเป็นการสื่อสาร (communication) การนอนหลับ (sleeping) การผสมพันธุ์ (breeding) การจับคู่ ผสมพนั ธ์ุ (mating) การสรา้ งรงั (nesting) การอพยพ (migration) และการหาอาหาร (foraging) เปน็ ตน้ ตัวอย่างเช่น การใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารบริเวณพื้นที่ริมชายหาด (beachfront lighting) ที่เกิดขึ้นเพราะการพัฒนาอาคารสิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล (coastal development)45 เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัยและแสงสว่างจากอาคารสิ่งปลูกสร้าง สามารถทําให้เกิดแสงที่ส่องรุก ลํ้าไปยังบริเวณริมชายหาดในเวลากลางคืน จนไปทําลายบรรยากาศความมืดตามธรรมชาติในเวลา กลางคืนที่จําเป็นต่อพฤติกรรมการสร้างรัง (nesting habits) และพฤติกรรมการวางไข่ (hatching habits) ของแม่เต่าทะเล เพราะแม่เต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาด หรือแม้กระทั้งลูกเต่าทะเลฟัก ออกมาจากไข่ จะต้องอาศยั แสงสวา่ งตามธรรมชาตใิ นยามคํ่าคนื สําหรับนาํ ทางไปเคลื่อนที่ลงไปสู่ทอ้ งทะเล (sea-finding behavior) โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกเต่าทะเลฟักออกมาจากไข่มักมีพฤติกรรมที่เป็นมาแต่                                                             43 Davies, T. W. , Duffy, J. P., Bennie, J. & Gaston, K. J. (2014). 'The nature, extent, and ecological implications of marine light pollution', Frontiers in Ecology and the Environment, 12 (6), pp. 347– 355. 44 International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Can Harm Wildlife. Tucson, AZ: International Dark-Sky Association, pp. 1-2. 45 Kamrowski, R. L., Limpus, C., Moloney, J. & Hamann, M. (2012). 'Coastal light pollution and marine turtles: assessing the magnitude of the problem', Endangered Species Research, 19 (1), pp. 85–98.

32 กําเนิดที่จะเคลื่อนที่ไปสู่ทิศทางที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนที่สว่างที่สุด (inborn tendency to move in the natural brightest direction) แต่ทว่าแสงประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ ติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่ริมชายหาดได้ทําให้ลูกเต่าทะเลฟักออกมาจากไข่เกิดอาการหลงทิศทาง (disorientation from artificial lighting) เพราะแทนที่ลูกเต่าทะเลฟักออกมาจากไข่จะใช้แสงสว่างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืนที่สว่างที่สุดเพื่อชี้ทิศหรือนําทางไปสู่ท้องทะเลในเวลากลางคืน หากแต่ลูกเต่าทะเล ฟักออกมาจากไข่อาจใช้แสงประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่ริมชายหาด เพื่อชี้ทิศหรือนําทางการเคลื่อนที่ จึงอาจทําให้ลูกเต่าเคลื่อนที่หลงทิศทางมาสู่บริเวณพื้นที่ที่มีอาคารสิ่ง ปลูกสร้างหรือท้องถนนบริเวณชายฝั่งทะเล จนอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้ลูกเต่าทะเลไม่อาจลงสู่ทะเลได้ ผลท่ี ตามมาน้นั ก็คอื ลกู เตา่ ทะเลอาจเกิดภาวะอ่อนเพลีย (exhaustion) เกิดภาวะขาดน้ํา (dehydration) หรือ อาจถกู สตั ว์อืน่ กินเปน็ อาหาร (predation) นอกจากนี้ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น (human- built structures) หรือแสงสว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น (human-built windows) ก็ถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดการตายของนกอพยพในเวลากลางคืน (deaths of nocturnal migratory birds)46 เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนกบางสายพันธุ์มักอาศัยแสง ธรรมชาติ เช่น แสงสว่างจากดวงจันทร์ แสงสว่างจากดวงดาว เพ่ือชี้ทิศทางการเดินทางอพยพจากสถานที่ แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตาม แสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อนกอพยพในเวลากลางคืนสองประการด้วยกัน ได้แก่ ประการแรก แสงสว่างใน บริเวณชุมชนเมืองอาจทําให้นกอพยพในเวลากลางคืนเกิดอาการหลงทิศ ซึ่งแทนที่นกอพยพในเวลา กลางคืนจะบินอพยพโดยอาศัยแสงธรรมชาติ แต่นกอพยพในเวลากลางคืน แต่นกอพยพอาจอาศัยแสง สว่างที่ติดตั้งใช้งานในบริเวณอาคารสิ่งปลูกสร้างในชุมชนเมืองเป็นเครื่องชี้ทิศหรือนําทางการอพยพ ผลที่ ตามมานั้นก็คือนกอพยพในเวลากลางคืนจะบินไปวนเวียนตามแสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองจนเสมือน ว่านกเหล่านี้ได้ติดกับดัก (trapping) ไม่สามารถบินอพยพย้ายถิ่นตามธรรมชาติได้ ประการที่สอง แสง สว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในบริเวณชุมชนเมืองอาจทําให้ นกอพยพในเวลากลางคืนอาจบินไปตามแสงสว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารจน อาจไปชนหน้าตา่ ง (coalition) โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ หน้าต่างของอาคารสงู (tall buildings) เป็นต้น                                                             46 University of Delaware. (2018). How light pollution lures birds into urban areas during fall migration. Retrieved April 5, 2018, from https://phys.org/news/2018-01-pollution-lures-birds-urban- areas.html

33 ภาพท่ี 8: แผนภาพแสดงผลกระทบดา้ นมลภาวะทางแสงต่อสตั ว์ สิง่ มีชีวิตและระบบนิเวศในเวลากลางคืน47 2.1.3.3 ผลกระทบต่อการใชพ้ ลงั งาน ภาวะโลกร้อนและการเปล่ียนแปลงภมู อิ ากาศ การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น ไฟส่องสว่างรอบอาคารบ้านเรือน ไฟถนน และไฟรักษา ความปลอดภัย ล้วนแล้วแต่มีความจําเป็นและมีความสัมพันธ์ต่อการดําเนินกิจกรรมภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน แต่การใช้บริโภคพลังงานแสงสว่าง (light energy consumption) เพื่อให้แสงสว่าง ภายนอกอาคารในปริมาณมหาศาลและไร้ขีดจํากัด ก็ย่อมเป็นเหตุที่ทําให้เกิดการบริโภคกระแสไฟฟ้า (electricity consumption) ในปริมาณที่มาก หากมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้ามาสร้างกระแสไฟฟ้าท่ี ก่อให้เกิดพลังงานแสงสว่างก็อาจทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลก ที่ส่งผลให้ อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น (average increase in the Earth's temperature)48 ซึ่งเป็น สาเหตุประการสําคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warming) เพราะเมื่อมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารสําหรับดําเนินกิจกรรมภายนอกอาคารในยามคํ่าคืนอย่างไร้ขีดจํากัด ก็จะสามารถทําให้ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)49 ในชั้นบรรยากาศเพ่ิมสูงขึ้น อันนําไปสู่การทําลายสมดุล ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)50 อุณหภูมขิ องธรรมชาติ วัฎจักรน้ํา อากาศ และฤดูกาลต่างๆ ก็ ดาํ เนินต่อไปอย่างไร้สมดุลหรือปราศจากสมดุลต่อการดํารงชวี ิตของมนษุ ย์ สัตว์และส่ิงมีชวี ิต หากแต่ความ                                                             47 Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', Frontires in Ecology and the Environment, 2 (4), pp. 191-198. 48 Plymouth Marine Laboratory. (2017). Light pollution impacts sealife as much as climate change. Retrieved April 5, 2018, from https://www.pml.ac.uk/News_and_media/News/Light_pollution_impacts_sealife_as_much_as_climate 49 Hölker, F., et al. (2010). ‘The Dark Side of Light A Transdisciplinary Research Agenda for Light Pollution Policy’, Ecology and Society, 15, pp. 1-11. 50 Davis, S. (2008). Light Pollution. Retrieved April 5, 2018, https://yosemite.epa.gov/sab/sabproduct.nsf/CD5C8191E82D937D8525741F006252FD/$File/Attachmen t+to+Comments+from+Stephen+Davis+EPEC+4-9-08.pdf

34 ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงสว่างอย่างไร้ขีดจํากัด รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ไม่คํานึงถึงการประหยัดพลังงานและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความ สะดวกสบายในการดํารงชวี ิตในยามค่ําคนื ของมนุษย์ย่อมทาํ ใหก้ า๊ ซเรอื นกระจกเกดิ สะสมในชนั้ บรรยากาศ ในปริมาณที่มากจนเกินไป จนไปทําลายสมดุลภาวะเรือนกระจกที่ดีและสร้างสภาวะการไร้สมดุลของเรือน กระจก อีกท้ังยงั กอ่ ให้เกิดความเสยี หายตอ่ มนษุ ย์ สตั ว์และสิ่งแวดลอ้ ม เปน็ ตน้ 2.1.3.4 ผลกระทบตอ่ ความปลอดภัย แหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคารบางอย่างอาจก่อแสงบาดตาได้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งกําเนิดแสง ที่ก่อแสงบาดตาที่สร้างความไม่สบายตาในระหว่างที่มองวัตถุหรือแหล่งกําเนิดแสงที่ก่อแสงบาดตาที่เป็น สาเหตุของการมองไม่เห็นวัตถุใดๆ ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบในด้านความปลอดภัยต่อการจราจร (transportation safety) อีกทั้งการออกแบบไฟรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสมหรือการติดตั้งใช้งาน แสงสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังอาจสร้างแสงจ้าจนเกินไป (overly bright light)51 ไม่ เพียงไปบดบังการมองเห็นด้วยตาเปล่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าของเคหะสถานเพื่อการสังเกต พฤติกรรมผู้กระทําความผิดหรือผู้ที่พยายามบุกรุกเข้ามายังเคหะสถาน แต่แสงจ้าเช่นว่านี้ยังอาจไปลด ประสิทธิภาพการทํางานของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยภายนอกอาคารบางอย่าง เช่น โทรทัศน์วงจรปิด (closed circuit television หรือ CCTV)52 เปน็ ต้น ประการแรก การติดตัง้ ใช้งานแสงสวา่ งภายนอกอาคารสําหรับรกั ษาความปลอดภัยบริเวณภายนอก อาคารหรือรอบนอกอาคาร เชน่ ไฟรกั ษาความปลอดภัย สามารถช่วยให้เจา้ หน้าท่ีบ้านเมอื งหรือเจา้ หน้าท่ี รักษาความปลอดภัยสามารถตรวจตราความเรียบร้อยหรือสอดส่องอาชญากรรมในเวลากลางคืน รวมไป ถึงช่วยทําให้เจ้าของอาคารหรือเคหะสถานสามารถระแวดระวังเหตุร้ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจ เกิดขึ้นในบริเวณโดยรอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในยามคํ่าคืน แต่ทว่าการติดตั้งใช้งานไฟรักษาความ ปลอดภัยในลักษณะที่สร้างแสงจ้าจนเกินไป ก็อาจทําให้เกิดส่วนตัดกันระหว่างความสว่างจากไฟรักษา ความปลอดภัยกับความมืดมิดในพื้นที่โดยรอบ (sharp contrast between light and darkness)53 ซึ่ง อาจทําให้เกิดมุมอับแสง (มุมมืด) จนไม่สามารถมองเห็นการกระทําความผิดของอาชญากรหรือสังเกตผู้ท่ี บกุ รกุ เขา้ มายังอาคารหรือเคหะสถานได้ชัดเจน กล่าวอีกนยั หนึง่ แหลง่ กําเนดิ แสงที่สรา้ งแสงจา้ จนเกนิ ไป ก็ อาจไปบดบังทัศนวิสัยของการสังเกตพฤติกรรมของอาชญากรหรือผู้ที่บุกรุกเข้ามาในอาคารหรือเคหะ                                                             51 Florida Atlantic University Department of Physics. (2018). Light Pollution Endangers Our Security and Our Safety. Retrieved April 5, 2018, http://cescos.fau.edu/observatory/lightpol-security.html 52 Axis Communications. (2012). Night lessons - Lighting for network cameras A summary report from Axis and Raytec regional test nights Winter 2011–2012 - England, Scotland, Denmark. Lund: Axis Communications, pp. 1-12. 53 International Dark-Sky Association. (2015). Lighting, Crime and Safety. Retrieved April 5, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/lighting-crime-and-safety/

35 สถาน รวมไปถึงอาจทําให้ไม่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ที่อยู่โดยรอบอาคารอย่าง ชัดเจน แหล่งกําเนิดที่สร้างแสงจ้าจนเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้คนใน เวลากลางคนื ในทางตรงกันขา้ มหากปราศจากการตดิ ต้ังใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมแลว้ ก็ อาจทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและประชาชนทั่วไปไม่สามารถสอดส่อง อาชญากรรมหรือสงั เกตความปลอดภยั ภายนอกอาคารด้วยตาเปล่าไดใ้ นเวลากลางคนื ภาพท่ี 9: ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสวา่ งจา้ ) ทีส่ ่องเขา้ มายงั นยั น์ตาจนทาํ ให้ผ้คู นไมส่ ามารถมองเห็นวัตถทุ ี่ ปรากฎอยู่ตรงหนา้ ในเวลากลางคนื (ซ้าย) ภาพแสดงการใชม้ อื บงั แสงบาดตา (แสงสวา่ งจา้ ) ปิดก้ันการสอ่ งของ แสงบาดตา (แสงสวา่ งจ้า) เขา้ มายังนัยนต์ า ทาํ ให้ผ้คู นสามารถมองเห็นวัตถุทีป่ รากฏอยูต่ รงหน้า (ขวา)54 ประการที่สอง แสงสว่างจ้าที่ส่องมาจากยวดยานพาหนะ55 เช่น ไฟหน้ารถยนต์ (headlights) หรือ แสงสว่างจ้าที่เกิดจากการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างในบริเวณสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟถนน (street lights)ไฟสัญญาณ (signal light) สามารถสอ่ งเข้ามายงั นยั น์ตาของผูข้ ับข่ีรถยนต์ (drivers) หรือผู้ สัญจรบนทางเท้า (pedestrians) ได้ ซึ่งอาจส่องเข้ามายังนัยน์ตาโดยตรงหรือสะท้อนแล้วส่องเข้ามายัง นัยน์ตา จนให้สูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือเกิดภาวะตาบอดชั่วคราว ผลที่ตามมานั้นคือการสูญเสีย                                                              54 Florida Atlantic University Department of Physics. (2018). Light Pollution Endangers Our Security and Our Safety. Retrieved April 5, 2018, http://cescos.fau.edu/observatory/lightpol-security.html 55 Shaflik, C. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Vancouver: University of British Columbia Department of Civil Engineering, pp. 10-11.

36 ความปลอดภัยและเกิดอุบัติเหตุในการสัญจรของผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้สัญจรบนทางเท้าและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและความสะอาดบนท้องถนน เช่น ตํารวจจราจร พนักงานรักษาความ สะอาด อีกทั้งการจัดสภาพแวดล้อมในการสัญจรที่ไม่เหมาะสม เช่น การติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างบนท้อง ถนนที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและ ทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์และสัญจรบนท้องถนน และเกิดค่าใช้จ่ายเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ เนือ่ งมาจากแสงสว่างจา้ ภาพที่ 10: ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ทสี่ ่องเขา้ มายังนัยนต์ าจนของผู้ขับข่ีรถยนต์หรือผู้สัญจรบน ทอ้ งถนน ทาํ ใหผ้ ู้ขบั ข่ีรถยนต์หรือผู้สัญจรบนทอ้ งถนนไม่อาจมองเห็นวัตถทุ ปี่ รากฏอยตู่ รงหน้าบนเส้นทางสัญจร ไดอ้ ย่างชัดเจนในเวลากลางคนื ซง่ึ เปน็ ปจั จัยทก่ี อ่ ให้เกิดอบุ ัติเหตุบนทอ้ งถนนได5้ 6 ประการที่สาม การติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่างบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่ง (transport infrastructure lighting) เพื่อสนับสนุนให้การคมนาคมทางบก ทางนํ้าและ ทางอากาศ สามารถดําเนินได้ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ติดตั้งใช้ งานบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่องสว่างจากเส้นทางสัญจร ต่างก็ช่วยให้ เกิดการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างสะดวกและปลอดภัยในยามคํ่าคืน อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ติดตั้งใช้งานบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่อง สว่างจากเส้นทางสัญจร เช่น สนามบิน (airports) ท่าเรือ (harbors) สถานีรถไฟ (rail stations) และ สถานีรถประจําทาง (bus stations) อาจก่อให้เกิดแสงสว่างที่ส่องไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับผู้ท่ี                                                             56 Sheffield Hallam University. (2014). What is Light Pollution?. Retrieved April 5, 2018, https://gdblogs.shu.ac.uk/b2001260/2014/03/15/what-is-light-pollution/

37 อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่โดยรอบหรืออาจก่อให้เกิดแสงที่ทําลายความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งการพัฒนา โครงข่ายสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งย่อมท่จี ะสร้างความสะดวกสบายในการเคล่ือนย้ายถิ่นฐาน การ ประกอบธุรกิจและการดําเนินอุตสาหกรรม แต่การติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมหรือออกแบบไฟ ส่องสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ในบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือบริเวณ แนวเส้นทางสัญจร) ก็อาจเป็นการทําลายความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนที่มนุษย์จําเป็นต้อง พึ่งพิงอาศัยเพื่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี รวมไปถึงกรณีที่มีการใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่าง (ใน บริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือบริเวณแนวเส้นทางสัญจร) อาจก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่องสว่างจากเส้นทาง สัญจร57 ยิ่งไปกว่านั้นการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่างบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น อาจก่อให้เกิดการรบกวน (disturbance) ที่ส่งผลกระทบไปถึงการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมยานพาหนะหรือผู้สัญจรบนเส้นทาง คมนาคม ความสว่างของแสงกับทิศทางการส่องของแสงจากแหล่งกําเนิดแสงที่ติดตั้งใช้งานบริเวณ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือเส้นทางคมนาคมที่มีระดับความสว่างสูงไปกว่าระดับความสว่าง พื้นฐานที่จําเป็นต่อการคมนาคมขนส่งหรือมีทิศทางการส่องของแสงที่รบกวนการมองเห็นตามปกติของผู้ ควบคุมยานพาหนะ ก็ย่อมกลายมาเป็นมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง โดยระดับ การรบกวนของมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมเช่นว่านี้ ได้แก่ ค่าความแตกต่างระหว่าง ระดับแสงสว่างที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งและผู้สัญจรในวิธีการต่างๆ กับระดับความสว่างที่สร้างการรบกวนต่อการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลทั่วไปที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือเส้นทางสัญจร ดว้ ยวธิ กี ารต่างๆ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าการติดตั้งใช้งานแสงสว่างบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน (airport lighting) จะนํา ความปลอดภัยทางการบินและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการการบิน แต่แหล่งกําเนิดแสง สว่างบริเวณโดยรอบหรือในบริเวณพื้นที่สนามบินอาจให้แสงสว่างในลักษณะที่อาจไปกระทบต่อความ ปลอดภัยทางการบินได้ เพราะหากมีการติดตั้งไฟใช้งานแหล่งกําเนิดแสงบางประเภทในลักษณะที่ไม่ เหมาะสม (เช่น เสาไฟสูงเคลื่อนที่ (mobile lighting tower) หรือไฟบอกตําแหน่งของสนามบินในเวลา กลางคืน (aerodrome beacon) เป็นต้น58) ก็อาจก่อให้เกิดแสงบาดตาที่ลดทอนประสิทธิภาพการ มองเห็นของนักบินในเวลากลางคืนระหว่างระหว่างการเตรียมตัวร่อนลงจอดของอากาศยาน ซึ่งนําไปสู่                                                             57 Scottish Executive. (2007). Guidance Note: Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 2-7. 58 Luxsolar. (2017). Aeronautical beacons - identification beacon. Retrieved April 5, 2018, from https://www.luxsolar.com/en/products/aeronautical-beacons/icao/aeronautical-beacons- identification-beacon