Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือ-คำอธิบายกฎหมายละเมิด - อ.ปีดิเทพ

หนังสือ-คำอธิบายกฎหมายละเมิด - อ.ปีดิเทพ

Published by E-books, 2021-03-15 06:28:10

Description: หนังสือ-คำอธิบายกฎหมายละเมิด-ปีดิเทพ

Search

Read the Text Version

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด โดย ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ปดี ิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ปีดเิ ทพ อยู่ยืนยง คาํ อธิบายกฎหมายลกั ษณะละเมิด จาํ นวน 150 หน้า ISBN ปที ีพ่ มิ พ์ สงิ หาคม 2563 จดั พิมพโ์ ดย ศนู ยว์ จิ ัยและพฒั นากฎหมาย คณะนติ ศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแกว้ ตาํ บลสเุ ทพ อําเภอเมอื ง จงั หวัดเชียงใหม่ 50200 จํานวนพมิ พ์ 100 เล่ม พิมพท์ ี่ ออกแบบปก นางสาววลั ยน์ ภสั ร์ เจนร่วมจติ (ภาพประกอบหน้าปกจาก Freepik)

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 3 คํานํา คําอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดเล่มนี้ได้อธิบายเนื้อหากฎหมายละเมิดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลกั ษณะ 5 ต้ังแตม่ าตรา 420 ถึงมาตรา 448 อนั ประกอบด้วย (ก) หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด ได้อธิบายถึงองค์ประกอบของมาตรา 420 ถึงมาตรา 437 ภายใต้โครงสร้างทางกฎหมายของความรับผิดเพื่อละเมิดทั้ง 3 โครงสร้าง ได้แก่ ความรับผิดเพื่อละเมิด อันเกิดจากการกระทําของตนเอง ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น และ ความรับ ผดิ เพ่ือความเสียหายอันเกิดจากทรพั ย์ (ข) หมวด 2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ได้อธิบายถึงเงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความ เสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคล อันเนื่องมาจากการกระทําละเมิด รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืน ใหแ้ กผ่ ู้เสียหายหรอื ใช้ราคาทรัพยส์ นิ เนื่องมาจากผู้เสียหายต้องเสยี ทรัพย์สนิ นัน้ ไปเพราะละเมิด (ค) หมวด 3 นิรโทษกรรม ได้อธิบายถึงการกระทําละเมิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคล อื่น แต่กฎหมายก็นิรโทษกรรมให้ กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้กระทําละเมิดในเหตุดังกล่าวไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคําอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดเล่มนี้คงมีประโยชน์ต่อนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนกระบวนวิชา 177215 ส.กม.215 กฎหมายว่าด้วย ละเมิด จัดการงานนอกสั่งลาภมิควรได้ (Torts, Management of Affairs Without Mandate and Undue Enrichment) และผู้สนใจแสวงหาพื้นฐานความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายละเมิด หากมีข้อแนะนํา หรือข้อผิดพลาดประการใด ผเู้ ขยี นขอน้อมรบั ไว้และขออภยั มา ณ ทนี่ ้ีดว้ ย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปดี ิเทพ อยยู่ นื ยง สิงหาคม 2563

4 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง สารบญั คํานาํ หนา้ 3 สารบัญ 4 บทนาํ หลกั พ้ืนฐานของละเมิด 5 บทที่ 1 ความรบั ผิดเพอื่ ละเมดิ อันเกดิ จากการกระทาํ ของตนเอง 12 บทท่ี 2 การพพิ ากษาสว่ นคดลี ะเมดิ ในทางแพ่ง 63 ไมต่ อ้ งนาํ องค์ประกอบกฎหมายอาญามาวนิ ิจฉัย บทที่ 3 ความรับผดิ เพ่อื ละเมิดอันเกิดจากการกระทาํ ของบคุ คลอื่น 66 บทท่ี 4 บุคคลหลายคนรว่ มกนั กระทาํ ละเมิด 83 บทที่ 5 ความรับผิดเพอ่ื ละเมดิ อนั เกิดจากทรพั ย์ 88 บทท่ี 6 คา่ สนิ ไหมทดแทน 106 บทท่ี 7 นริ โทษกรรม 129 บทที่ 8 อายคุ วาม 137 บรรณานกุ รม 145 ประวตั ิผู้เขียน 149

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 5 บทนาํ หลกั พนื้ ฐานของละเมดิ ก่อนจะทําการศึกษาหลักเกณฑ์อันเป็นหัวใจของละเมิดกับองค์ประกอบของมาตราต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องขออธิบาย ให้ทราบว่าละเมิดถือเป็น “นิติเหตุ” หรืออาจกล่าวได้ว่า “ละเมิด” เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลในทาง กฎหมาย สาเหตุคือการกระทําละเมิดจนไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องเสียหายจากการ กระทําละเมิด ผลที่เกิดขึ้นคือผู้กระทําละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ผลที่ เกิดขึ้นว่าผู้กระทําละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาความ เสียหายของผูเ้ สยี หายหรือผูต้ ้องเสียหายจากการกระทาํ ละเมดิ ใหก้ ลับคืนสฐู่ านะเดิม แท้จริงแล้วนิติเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาใช้ “ละเมิด” อย่างเดียวไม่ แต่ ประกอบด้วย “จัดการงานนอกสั่ง” และ “ลาภมิควรได้” แต่ในคําอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดเล่มนี้จะ ขออธบิ ายเฉพาะนิตเิ หตุ “ละเมดิ ” ประการเดยี วไปก่อน ละเมดิ เป็นนติ ิเหตุอย่างหน่งึ “ละเมิด” เป็นสาเหตุทางกฎหมายหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายอย่างหนึ่ง หรือ อาจเรียกได้ว่าละเมิดเป็น “นิติเหตุ” สําคัญอย่างหนึ่ง ละเมิดที่ถือเป็นนิติเหตุนี้ผู้กระทําละเมิดต่อบุคคลอื่น หรือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น อาจไม่ได้เคยพบปะกับบุคคลอื่นที่ถูกกระทําละเมิดหรือไม่ได้รู้จักมัก คุ้นกับผู้ได้รับความเสียหายมาก่อน ผู้กระทําละเมิดต่อบุคคลอื่นหรือผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นอาจ ไม่ได้สมัครใจจะให้เกิดเหตุละเมิดขึ้นมาหรือไม่ได้กระทําโดยมาดมั่นมุ่งหมายจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้เสียหายหรือผู้ต้องเสียหาย แต่ถ้ากฎหมายบัญญัติเอาไว้ว่าให้ผู้กระทํารับผิดเพื่อละเมิด ไม่ว่าความรับผิด เพื่อละเมิดดังกล่าวนั้นจะเป็นความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของผู้กระทําละเมิดเอง ความรับ ผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น และความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ เช่น ว่านี้ผู้กระทําละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับ

6 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง รถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าลํ้าเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของนาย ข. ที่แล่นสวน ทางมาในช่องเดินรถของนาย ข. จนนาย ข. บาดเจ็บสาหัส การที่นาย ข. บาดเจ็บสาหัสเป็นผลโดยตรงจาก การกระทําโดยประมาทของนาย ก. ซึ่งนาย ก. และนาย ข. ไม่ได้ทําสัญญาโดยสมัครใจว่าจะขับรถชนกัน หรือไม่ได้ตกลงกันด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ว่าจะทําการขับรถชนกัน หากแต่การกระทํา ของนาย ก. เป็นสาเหตุทางกฎหมายหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย (นิติเหตุ) นั้นก็คือนับแต่เม่ือ เกิดการกระทําละเมิดโดยประมาทของนาย ก. ขึ้นมาแล้ว ถือได้ว่านับตั้งแตน่ าย ข.บาดเจ็บสาหัส จากการท่ี รถยนต์ของนาย ก. ลํ้าเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของนาย ข. เกิดขึ้น หนี้อันเกิดจากการกระทําละเมิด หรือหนี้อันเกิดจากนิติเหตุก็เกิดขึ้นมานับตั้งแต่นั้นด้วย นาย ก. ผู้กระทําละเมิดย่อมกลายเป็นลูกหน้ีมีหนี้ท่ี จะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการกระทําละเมิดของตนเองต่อนาย ข. ผู้ถูกกระทําละเมิดหรือผู้เสียหายจากการกระทําละเมิด ในขณะเดียวกันนาย ข. ผู้ถูกกระทําละเมิดย่อม กลายเปน็ เจา้ หนี้ในมลู หน้ีละเมิด (คาํ พิพากษาศาลฎกี าทที่ 5055/2559) ละเมิดต่างกบั นิตกิ รรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “นิติกรรม” หมายความว่า การใด ๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ข้นึ ระหว่างบุคคล เพอ่ื จะก่อ เปล่ยี นแปลง โอน สงวน หรือระงบั ซ่งึ สทิ ธิ ไม่ว่าจะเป็น \"นิติกรรม\" ก็ดีหรือ \"ละเมิด” ก็ตาม ถือได้ว่าเป็น \"บ่อเกิดแห่งหนี้\" ทั้งสิ้น เพราะ ทั้งนิติกรรมก็อาจเป็นข้อผูกพันโดยสมัครใจโดยมุ่งให้เกิดผลในทางกฎหมายที่ผู้เข้ามาผูกพันในนิติกรรมสอง ฝ่ายหรือนิติกรรมหลายฝ่ายต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อกัน ในทางตรงกันข้ามนิติเหตุละเมิดไม่ได้เกิดขึ้นจาก ความสมัครใจของทั้งผู้กระทําละเมิดและผู้ถูกกระทําละเมิด แต่เมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้นมาแล้ว ผู้กระทําละเมิดต้องเยียวยาความเสียหายให้ผู้ถูกกระทําละเมิดกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนจะเป็นการเยียวยา ด้วยการการคืนทรัพย์ การใช้ราคาทรัพย์และการชดใช้ค่าเสียหายก็ไปว่ากันในเรื่องของค่าสินไหมทดแทน เพื่อละเมิด คําอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดเล่มนี้จะขอสรุปความแตกต่างระหว่างละเมิดกับนิติกรรม ดงั ตอ่ ไปนี้ ประการแรก หลักเกณฑ์ของนิติกรรมต้องมีการแสดงเจตนาหรือแสดงความประสงค์ที่อยู่ใน จิตใจของออกมา ในทางตรงกันข้ามนิติเหตุละเมิดเกิดขึ้นมาโดยไม่ต้องมีการแสดงเจตนาหรือแสดงความ

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 7 ประสงค์ที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทําละเมิดออกมาล่วงหน้า หากแต่เมื่อมีมูลหนี้ละเมิดเกิดขึ้นมาแลว้ ก็ถือว่า ลกู หนีผ้ ิดนัดตงั้ แตเ่ วลาท่มี กี ารกระทําละเมิดเกดิ ข้นึ แลว้ ประการทีส่ อง หลกั เกณฑ์ของนติ กิ รรมต้องมกี ารกระทาํ โดยใจสมัคร (สมัครใจ) อยบู่ นพน้ื ฐาน ของการแสดงเจตนาโดยอิสระ โดยปราศจากการสําคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล ถูกข่มขู่หรือถูกหลอกให้สําคัญผิด แต่ในทางละเมิดอยู่บนพื้นฐานของการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทําละเมิดหรือกระทําละเมิดโดยงดเว้น ในทางกลับกันหากการกระทําดังกล่าวตัวผู้กระทําไม่ได้กระทําโดยจงใจหรือไม่ได้กระทําโดยประมาท เลินเล่อ เช่นว่านี้ย่อมไม่ถือเป็นการกระทําละเมิด ตัวอย่างเช่น จําเลยที่ 1 เป็นธนาคารพาณิชย์ พนักงาน ของจําเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องระมัดระวังและต้องใช้ความรู้ความชํานาญเป็นพิเศษตรวจสอบเช็คที่โจทก์ส่ัง จ่าย หากมีการแก้ไขชื่อผู้รับเงินซึ่งเป็นข้อความสําคัญในเช็คโดยเห็นประจักษ์ ก็ชอบที่จะปฏิเสธการใช้เงิน เพราะเหตุที่เป็นตั๋วเงินปลอมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 โดยแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าของเช็คทราบทันที ไม่เช่นนั้นแล้วหากมีการจ่ายเงินตามเช็คไปย่อมเป็นการประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงของพนักงานของจําเลยที่ 1 การที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทแล้ว อ. แก้ไขปลอมแปลงเช็คนั้นภายหลัง ไม่อาจถือเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ การใช้เงินไปตามเช็คของจําเลยที่ 1 จะได้รับความคุ้มครอง เพียงใด ต้องเป็นไปตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1009 บัญญัติไว้ (คําพิพากษาศาล ฎีกาที่ 4759/2557) ประการที่สาม หลักเกณฑ์ของนิติกรรมต้องมีการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ กล่าวอีกนัยหนึ่ง “การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” ก็คือ “การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ” ในทางตรงกันข้ามนิติเหตุละเมิดเกิดขึ้นมาโดย ผู้กระทําละเมิดไม่ได้มุ่งโดยตรงให้เกิดการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างผู้กระทําละเมิดกับผู้ต้องเสียหายจาก การกระทาํ ละเมิด ประการสุดท้าย หลักเกณฑ์ของนิติกรรมต้องทําลงโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งกฎหมาย เกี่ยวกับความสามารถของบุคคลด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถมีสิทธิต่าง ๆ และความสามารถในการใช้ สิทธิต่าง ๆ กฎหมายกําหนเกณฑ์เฉพาะและเงื่อนไขเกี่ยวกับการคุ้มครองความสามารถในการทํานิติกรรม ของบุคคลบางจําพวกเอาไว้ 3 จําพวก ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ในทางตรงกันข้ามหากบุคคล 3 จําพวกไปกระทําละเมิดต่อผู้อื่นหรือบุคคลภายนอกแล้ว ผู้เยาว์ คนไร้ ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถก็ยังต้องรับผิดในความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทํา ของตนเอง แล้วกฎหมายยังกําหนดเอาไว้อีกว่าให้บุคคลที่มีอํานาจปกครองหรือบุคคลที่มีหน้าที่ดูแลต้องรับ

8 ปดี เิ ทพ อยู่ยนื ยง ผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทาํ ของบคุ คล 3 จาํ พวก เชน่ บดิ ามารดา ผอู้ นบุ าล ครบู าอาจารย์ นายจา้ ง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 และ มาตรา 430) ก็ต้องรับผิดร่วมกับบุคคล 3 จําพวกอย่างลูกหนี้ร่วม เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ ได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้นหรือได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ตัวอย่างเช่น มารดาต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่ หน้าที่ดูแล มารดาเห็นบุตรถือปืน จึงว่ากล่าวตักเตือนบุตรไม่เชื่อฟังกลับเอาปืนไปซ่อนเสีย พอลับหลัง มารดาก็เอาปืนมาเล่นอีกถือว่า การว่ากล่าวตักเตือนของมารดาเพียงเท่านี้หาเพียงพอกับการที่จะต้องใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของตนในฐานะเป็นมารดาไม่ มารดาจึงต้องร่วมรับผิดในการท่ี บุตรประมาทเลนิ เลอ่ เอาปืนยิงผ้อู นื่ ตาย (คําพิพากษาศาลฎกี าที่ 974/2508) ละเมดิ ต่างกบั สญั ญา “สัญญา” หมายถึง ข้อตกลงระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่ายหรือบุคคลหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่ “ละเมิด” หมายถึง สาเหตุที่มาจากการล่วงลํ้าสิทธิของ บุคคลอื่น จนไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย (ผลที่ตามมา) นั้นก็คือ การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่บุคคลอื่นที่ถูกล่วงลํ้าสิทธิกลับคืนสู่ ฐานะเดิม ซ่ึงคําอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดเล่มนี้จะขอสรุปความแตกต่างระหว่างละเมิดกับสัญญา ดงั ต่อไปนี้ ประการแรก สัญญาเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง (นิติกรรมสองฝ่ายหรือนิติกรรมหลายฝ่าย) ที่เกิด ขึ้นมาจากการตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายขึ้นไป เมื่อมีการตกลงทําสัญญากนั และสัญญาน้ัน เกิดขึ้นแล้วย่อมก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ในทางตรงกันข้าม ละเมิดเป็นนิติเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการตกลงกันระหว่างผู้กระทําละเมิดหรือผู้ถูกกระทําละเมิด ไม่ว่า ผู้กระทําละเมิดจะมีหลายคนแต่ส่งผลร้ายต่อผู้ถูกกระทําละเมิดเพียงคนเดียวหรือผู้ถูกระทําละเมิดหลายคน ไดร้ ับผลรา้ ยจากการกระทําอยา่ งหน่ึงอยา่ งใดของผู้กระทาํ ละเมิดเพียงคนเดยี ว ประการที่สอง สัญญาเกิดขึ้นจากคําเสนอของผู้เสนอและคําสนองของผู้สนองถูกต้องตรงกัน ชัดเจนแน่นอน สัญญาจึงเกิดขึ้นได้ ในทางตรงกันข้ามการกระทําละเมิดไม่ต้องมีการแสดงเจตนาระหว่าง ผู้กระทําละเมิดหรือผู้ถูกกระทําละเมิด หากนับตั้งแต่เมื่อเกิดการกระทําละเมิดเกิดขึ้น แล้วและผู้ถูกระทํา

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 9 ละเมิดได้รับความเสียหายจากการกระทําละเมิดเช่นว่านี้แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่า ผู้กระทาํ ละเมิดในฐานะลกู หนี้ผิดนัดต้งั แตเ่ วลาทก่ี ระทาํ ละเมดิ แลว้ ประการสุดท้าย สัญญาถือเป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือนิติกรรมหลายฝ่าย คู่สัญญาย่อมต้องมี ความมุ่งหมายในการทําสัญญา สัญญาจึงเกิดขึ้นมาได้ หากไม่มีวัตถุประสงค์ในการทําสัญญา ก็ย่อมไม่ถือว่า สัญญาได้เกิดขึ้น ในทางกลับกันละเมิดเป็นนิติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากความผูกพันเข้าทําละเมิดระหว่างผู้กระทํา ละเมิดหรอื ผู้ถูกกระทําละเมดิ การกระทาํ ทเี่ ปน็ การผิดสัญญาและเปน็ ละเมดิ ในคราวเดียวกนั การกระทําบางอย่างอาจเป็นการผิดสัญญาและเป็นละเมิดในคราวเดียวกัน กรณีที่มักหยิบ ยกขึ้นมาทําการศึกษามี 2 กรณี นั้นก็คือ (ก) กรณีแรก “สัญญาเช่า” การที่ผู้เช่ากระทําการอย่างหนึ่งอย่าง ใดอันเป็นการฝ่าฝืนสัญญาเช่า การกระทําเช่นว่านั้นก็อาจเป็นการกระทําละเมิดต่อผู้ให้เช่าด้วย ตัวอย่างเช่น สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกําหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อม ระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จําเลยซ่ึงเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ เช่า การที่จําเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จําเลยยังครอบครองอาคารที่เช่า ต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจําเลยได้ ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิ เรียกร้องค่าสนิ ไหมทดแทนฐานละเมดิ ได้ เพราะเปน็ คา่ เสยี หายมลู กรณีเดียวกัน สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกําหนดหรือสิ้นสุด ลงด้วยเหตุใดก็ตาม \"ผู้เช่า\" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ \"ผู้ให้เช่า\" ทันที ในกรณที ี่ \"ผู้เช่า\" ไม่สามารถส่ง มอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ \"ผู้ให้เช่า\" \"ผู้เช่า\" ยินยอมชําระค่าปรับให้แก่ \"ผู้ให้เช่า\" วันละ 2,000 บาท นับแต่ วันครบกําหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ \"ผู้ให้เช่า\" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลง กําหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่า ในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กําหนดไว้นั้นสูงเกนิ สว่ น ศาลมีอาํ นาจลดลงเป็นจํานวนพอสมควรไดต้ าม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 383 สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม \"ผู้เช่า\" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับ

10 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง เป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ \"ผู้ให้เช่า\" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้ จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกําหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียก ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจําเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยาย มาในฟ้องและนําสืบถึงจํานวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทําละเมิดแล้ว ศาลมีอํานาจกําหนดค่าเสียหาย ให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคหน่ึง (คาํ พิพากษาศาลฎกี าที่ 923/2549) (ข) กรณีที่สอง “สัญญาจ้างแรงงาน” การที่ลูกจ้างกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่า ฝืนสัญญาจ้างแรงงาน การกระทําเช่นว่านั้นก็อาจเป็นการกระทําละเมิดต่อนายจ้างด้วย โดยเฉพาะอย่างย่ิง เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่ที่ต้องทําตามสัญญาจ้างแรงงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายขึ้นต่อนายจ้างหรือลูกจ้างมี หน้าที่ที่ต้องทําตามสัญญาจ้างแรงงานเพื่อให้กิจการนายจ้างดําเนินต่อไปโดยไม่ได้รับความเสียหาย การ กระทําโดยการงดเว้นกระทําหน้าที่ที่ต้องทําตามสัญญาจ้างแรงงานของลูกจ้าง โดยเจตนาหรือประมาท จน ทําให้เกิดผลจากการกระทําโดยการงดเว้น เช่นว่านี้แล้วย่อมถือว่าลูกจ้างกระทําผิดสัญญาจ้างแรงงานและ กระทําละเมิดต่อนายจ้างในคราวเดียวกัน ตัวอย่างเช่น จําเลยที่ 1 มีหน้าที่รับเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน ลง รายการรับเงิน เลขที่ใบเสร็จและจํานวนเงินในสมุดควบคุมเงิน ต่อมาจําเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าเช่าซื้อของ โจทก์ จําเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าสํานัก จําเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นพนักงานจัดการทรัพย์สิน จําเลยที่ 5 เป็นหัวหน้า สํานักงานภายหลังจําเลยที่ 2 คําฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์จ้างจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้ทํางานและมอบหมาย ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บเงินรวมถึงทรัพย์สินของโจทก์แต่กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ จําเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ ถือว่าการปฏบิ ตั ิหนา้ ทข่ี องจําเลยท่ี 2 ถึงที่ 5 มีความบกพร่องและประมาท เลนิ เล่ออย่างร้ายแรงตามระเบยี บข้อบังคับของโจทก์อันเปน็ สภาพการจ้างตามสัญญาจ้าง จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จงึ มีหนา้ ทีต่ ้องชดใช้คา่ เสียหายแกโ่ จทก์ตามสัญญาจา้ งในฐานะผ้บู ังคบั บญั ชาของจาํ เลยท่ี 1 จงึ เปน็ การฟ้อง ขอให้จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 รับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2558) ในทางกลับกัน หากนายจ้างกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน การกระทําเช่นว่านั้นก็อาจเป็นการกระทําของนายจ้างที่ผิดทั้งสัญญาจ้างแรงงานและการกระทําดังกล่าว อาจเป็นการกระทําละเมิดต่อลูกจ้างในคราวเดียวกัน นายจ้างต้องรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลเหตุที่กระทํา ผิดสัญญาจ้างแรงงาน ตัวอย่างเช่น การที่โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่าจําเลยทั้งสามซึ่งเป็นนายจ้างไม่ปฏิบัติ

คาํ อธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 11 ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง เป็นเหตุให้ ว. ซึ่งเป็นลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทําให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายเป็นการฟ้องขอให้จําเลยทั้งสามรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลเหตุที่กระทํา ผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่กรณีที่ฟ้องขอให้จําเลยทั้งสามรับผิดในมูลละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในเรื่อง ผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกําหนดอายุความ 10 ปี ตาม ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ผู้ตายลาออกจากงานวันที่ 1 สิงหาคม 2552 อันเป็นวันสุดท้าย ที่จําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการจัดสถานที่ทํางานให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ทั้งส่ี ฟ้องคดีนี้วันที่ 22 กรกฎาคม 2554 ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงไม่ขาดอายุความ (คํา พิพากษาศาลฎกี าท่ี 8683/2559) โครงสร้างพืน้ ฐานของการศึกษากฎหมายละเมิดทางแพ่ง กฎหมายละเมิดเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้กระทําละเมิดและผู้ถูกกระทําละเมิด การใช้สิทธิของผู้ถูกกระทํา ละเมิดในการเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน และหน้าที่ของบุคคลที่จะต้องกระทําเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดผลร้ายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่บุคคลกลับงดเว้นที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายนั้น ซึ่งในประเทศ ไทยเองนั้นได้นําเอากฎหมายละเมิดมาบัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบของประมวลกฎหมายท่ี รวบรวมกฎหมายลักษณะเดียวกันมาไว้ในที่เดียวกันใน “ลักษณะ 5” (ตั้งแต่มาตรา 420 ถึงมาตรา 452) แล้วจัดหมวดหมู่ ได้แก่ (ก) “หมวด 1 ความรับผิดเพอ่ื ละเมิด” (ข) “คา่ สินไหมทดแทนเพื่อละเมดิ ” และ (ค) “หมวด 3 นิรโทษกรรม” โดยทั้ง 3 หมวดนี้เองถือเป็นสิ่งที่นักศึกษาวชิ ากฎหมายละเมิดต้องทําความเข้าใจ เน้ือหาและสาระสําคัญของแต่ละมาตรา พร้อมกับตอ้ งทาํ ความเข้าใจเก่ียวกบั หลักกฎหมายทั่วไปท่เี ก่ยี วข้อง เช่น หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด (Volenti non fit injuria) และข้อยกเว้นของหลักดังกล่าวภายใต้ พระราชบญั ญตั ิวา่ ด้วยขอ้ สญั ญาท่ีไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เป็นต้น อีกประการหนึ่ง หากพิจารณาเนื้อหาแต่ละมาตราของ “หมวด 1 ความรับผิดเพื่อละเมิด” (ตั้งแต่มาตรา 420 ถึงมาตรา 437) อาจแบ่งได้เป็น 3 โครงสร้างความรับผิดด้วยกัน 3 ความรับผิด ได้แก่ (ก) ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตนเอง (ข) ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทํา ของผูอ้ น่ื และ (ค) ความรบั ผิดเพอื่ ละเมดิ อนั เกิดทรพั ยก์ อ่ ใหเ้ กิดความเสยี หาย

12 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง บทท่ี 1 ความรับผดิ เพือ่ ละเมดิ อนั เกดิ จากการกระทาํ ของตนเอง ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตนเอง ได้แก่ ความรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิด ข้ึนมาจากการกระทําของตัวผู้กระทําละเมิดเอง เมื่อผู้กระทําละเมิดได้กระทําละเมิดด้วยตนเองต่อตัว ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดจากการกระทําดังกล่าว เช่นว่านี้ผู้กระทํา ละเมิดต้องรับผิดด้วยตนเอง ทั้งนี้การกระทําที่ถือเป็นการกระทําละเมิดและผู้กระทําละเมิดต้องรับผิดเพื่อ ละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตนเอง มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้วางหลักใน เร่ือง “หลกั ท่วั ไปของการกระทาํ ละเมิด” ดังต่อไปนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคล อื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ อยา่ งหนึง่ อย่างใดก็ดี ท่านว่าผูน้ ้นั ทําละเมิดจาํ ตอ้ งใช้คา่ สินไหมทดแทนเพ่อื การน้นั ” 1.1 หลักทั่วไปของการกระทาํ ละเมิด หากจะทําการศึกษา “หลักทั่วไปของการกระทําละเมิด” ของประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 420 จึงขอแยกองคป์ ระกอบสําหรบั ศกึ ษาเอาไว้ดงั ต่อไปนี้ 1.1.1 ผูใ้ ดกระทําตอ่ บุคคลอนื่ โดยผิดกฎหมาย 1.1.1.1 ผู้ใด “ผู้ใด” เปน็ ไดท้ ้ัง “บคุ คลธรรมดา” หรอื “นิติบคุ คล” ในกรณีของ “บุคคลธรรมดา” นั้น ผู้กระทําละเมิดอาจเป็นได้ทั้งบุคคลที่กฎหมายกําหนด เงื่อนไขคุ้มครองบุคคลบางประเภท โดยจํากัดความสามารถในการทํานิติกรรมสัญญา หรือเรียกบุคคล ประเภทน้ีว่าผู้หย่อนความสามารถในการทํานิติกรรมสัญญา ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคน เสมือนไร้ความสามารถ เหตุนี้เองผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถจึง สามารถเป็นผู้กระทําละเมิดได้ อีกทั้งยังมีตอนต้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มา กล่าวสําทับอีกว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตน ทําละเมิด” ส่วนใครจะต้องมาร่วมรับผิดกับผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องไปพิจารณาดูในตอนท้ายของประมวล

คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 13 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ที่ว่า “บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิด ร่วมกบั เขาด้วย เวน้ แต่จะพสิ ูจนไ์ ดว้ ่าตนได้ใชค้ วามระมดั ระวงั ตามสมควรแกห่ น้าทด่ี แู ลซ่งึ ทําอย่นู ้นั ” ในกรณีของ “นิติบุคคล” นั้น นิติบุคคลสามารถแสดองออกอย่างหนึ่งอย่างใดผ่านทางผู้แทน ของนิติบคุ คลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง ท่ีวางหลักเกณฑเ์ อาไวว้ า่ “ความ ประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล” นั้นหมายความว่าหากผู้แทนนิติบุคคล กระทําภายในกรอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล ในส่วนที่จะนําเอามาพิจารณาว่านิติบุคคลต้องรับผิดหรือ ผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ให้พิจารณาถ้อยคําหรือเนื้อความของประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณชิ ย์ มาตรา 76 วรรคแรกและวรรคสองทว่ี างหลกั เกณฑ์เอาไวด้ ังต่อไปน้ี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 “ถ้าการกระทําตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติ บุคคลหรือผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับ ผดิ ชดใชค้ ่าสนิ ไหมทดแทนเพอื่ ความเสยี หายน้นั แตไ่ มส่ ญู เสยี สทิ ธิท่ีจะไล่เบีย้ เอาแกผ่ ู้กอ่ ความเสยี หาย ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทําที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออํานาจ หน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทําการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทํา การดงั กลา่ ว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้คา่ สนิ ไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รบั ความเสยี หายนน้ั ” มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “การกระทําละเมิดในขณะผู้แทนของนิติบุคคลหรือ ผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคลกระทําการตามหน้าที่และการกระทําดังกล่าวอยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ ของนิติบุคคล” ได้แก่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2529 นิติบุคคลจะรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลได้กระทําให้เกิดความเสียหายหรือทําละเมิดขณะทําการตามหน้าที่และอยู่ ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 พล ตํารวจ ว. กับจําเลยที่ 2 ท่ี 3 ซึ่งเป็นตํารวจไปดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยที่บ้านซึ่งจัดงานแต่ตํารวจทั้ง 3 ดื่มสุรามึนเมามีเร่ืองทะเลาะกับพวกชาวบ้านจนเจ้าภาพต้องเชิญให้กลับออกไปเมื่อไปถึงถนนพลตํารวจ ว. ได้กระชากลูกเลื่อนปืนในลักษณะข่มขู่พวกชาวบ้านเป็นเหตุให้ปืนลั่น1นัดกระสุนปืนไปถูกโจทก์ซึ่งนั่งอยู่ใน บ้านงานได้รับบาดเจ็บพิการไปตลอดชีวิตการที่พลตํารวจ ว.กระทําดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ของพลตํารวจ ว. และไม่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของกรมตํารวจจําเลยท่ี 1 กรมตํารวจจาํ เลยที1่ ซง่ึ เป็นนติ ิบคุ คลจงึ ไม่ต้องรบั ผดิ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใหแ้ ก่โจทก์

14 ปดี ิเทพ อยู่ยนื ยง 1.1.1.2 “กระทาํ ” “การกระทํา” หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่ผู้กระทํารู้ สํานึกถึงการกระทําของตน เช่น จําเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับ ถนนสาธารณะหลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ ประกอบกับจําเลยยังรับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกว่า จําเลยได้พูดขู่ เข็ญโจทก์ว่า \"มึงอยากตายหรือ\" การกระทําดังกล่าวนับว่าเป็นการกระทําโดยจงใจทําให้โจทก์เสียหาย เป็น การทําละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดย นติ นิ ยั (คําพิพากษาศาลฎีกาท่ี 4571/2556) ในส่วนของ “การกระทําโดยการงดเว้น” หมายถึง การกระทําที่ผู้กระทํามี “หน้าท่ี” จักต้อง กระทําเพื่อป้องกันผลร้ายไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ว่าตัวผู้กระทํานั้นมีหน้าที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายได้ กระทําโดยเจตนาก็ดีหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ตัวผู้กระทําเองกลับงดเว้นการเคลื่อนไหวร่างกายอัน เป็นการกระทําตามหน้าที่ที่จะต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้าย จนไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือ ผู้ต้องเสียหาย (เทียบได้กับ “งดเว้น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย “การกระทํา ให้ หมายความรวมถงึ การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขน้ึ โดยงดเวน้ การที่จักตอ้ งกระทําเพ่อื ปอ้ งกันผลนน้ั ด้วย” “หนา้ ทจ่ี กั ต้องกระทาํ เพอ่ื ป้องกันผลร้ายไมใ่ ห้เกดิ ขึ้น” แบ่งออกเปน็ (ก) “หน้าที่ตามกฎหมาย” ได้แก่ หน้าที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ให้ผู้กระทํามีหน้าที่ตาม กฎหมาย ที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายไม่ให้เกิดขึ้น หากผู้กระทําที่มีหน้าที่ตามกฎหมายได้ไปงดเว้น การกระทําตามหน้าที่ที่จะต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด จนไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้คนอื่นแล้ว เช่นว่านี้ผู้กระทําการโดยงดเว้นต้องรับผิด ตัวอย่างเช่น ร้อยตํารวจเอก ก. ได้รับมอบหมายจาก สํานักงานตํารวจแห่งชาติให้มาอารักขานาย (เจ้าหน้าที่ตํารวจที่มีหน้าที่เฉพาะ) ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมเป็นการเฉพาะ แต่ในเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ร้อยตํารวจเอก ก. กลับละทิ้งหน้าที่เวรยามหรือทอดทิ้งหน้าที่อารักขา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้ บังเกิดความเสียหายต่อเสียหายแก่นาย ข. จากการที่คนร้ายได้ลอบเข้าไปทําร้ายนาย ข. ได้ในขณะท่ีร้อย ตํารวจเอก ก. กลบั ละท้ิงหนา้ ท่ีเวรยามหรอื ทอดทิง้ หนา้ ท่อี ารกั ขา ในทางกลับกันหากผู้กระทําที่ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด จนไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้คนอื่นแล้ว เช่นว่านี้ผู้กระทําไม่ต้องรับผิด ตัวอย่างเช่น แม้ว่าเจ้าหน้าท่ี ตํารวจทั่วไปไม่ยอมจับกุมโจรลักทรัพย์สิ่งของมีค่า (เจ้าหน้าที่ตํารวจทั่วไป) ก็ไม่ได้ทําให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ ทั่วไปกลายเป็นผู้กระทําผิดฐานลักทรัพย์ไปด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ตํารวจทั่วไปไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะที่จะต้อง กระทาํ เพอ่ื ป้องกนั ผลรา้ ยจากการลักทรัพยแ์ ต่อย่างใด

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 15 (ข) “หน้าที่อันเกิดจากสัญญา” ได้แก่ การงดเว้นไม่กระทําหน้าที่ที่บุคคลจักต้องกระทําเพ่ือ ป้องกันผลร้าย แล้วหน้าของบุคคลที่ดังกล่าวเกิดจาก “ข้อตกลงในสัญญา” หรือหน้าที่ของบุคคลที่มีหน้าท่ี ตาม “ข้อผูกพันในสัญญา” ส่วนจะเป็น \"สัญญา\" ที่กําหนดหรือระบุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมีหน้าที่ที่จะต้อง ระมัดระวังเพื่อป้องกันผลร้ายไม่ให้เกิดขึ้นนั้น ย่อมต้องเป็นสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญญาที่มักถูกหยิบยกมาทําการศึกษาและออกเป็นปัญหาทดสอบใน ระดบั ชั้นปริญญาตรแี ละระดับช้นั เนติบณั ฑิต ไดแ้ ก่ “สัญญาจ้างแรงงาน” และ “สญั ญาจา้ งทาํ ของ” มีตัวอย่างของการกระทําผิดต่อหน้าที่ที่พึงมีตามข้อผูกพันในสัญญาและหน้าที่อันเกิดจาก ความสมั พนั ธใ์ นสญั ญาดงั เช่น คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 มาตรฐานของความปลอดภัยในการจัดตั้งสระว่ายนํ้า จะต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต จําเลยเป็นเจ้าของสระว่ายนํ้าเปิด ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเก็บค่าบริการจากผู้มาใช้บริการก็ต้องยึดถือตามมาตรฐานนั้นด้วย ยิ่งก่อนหน้า นี้ก็มีผู้มาใช้บริการจมนํ้าในสระว่ายนํ้าของจําเลยมาแล้ว จําเลยยิ่งควรต้องเพิ่มมาตรการรักษาความ ปลอดภัยให้มากขึ้น แต่จําเลยมิได้ปรับปรุงแก้ไข ถือว่าละเว้นปฏิบัติในสิ่งซึ่งตามวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจ ให้บริการสระว่ายนํ้าควรต้องปฏิบัติ แม้จําเลยจะปิดประกาศไว้ที่สระว่ายนํ้าว่าผู้มาใช้บริการสระว่ายนํ้า ผู้ปกครองของผู้มาใช้บริการสระว่ายนํ้าจะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบด้วยตนเองก็ไม่ทําใหจ้ ําเลยพ้นจากความ รับผิด เมื่อจําเลยไม่ระมัดระวังทําให้ไม่มีผู้เข้าช่วยเหลือเด็กชาย ภ. ซึ่งจมนํ้าได้ทันท่วงทีและถูกต้อง ทั้งไม่มี อุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จะปฐมพยาบาล ทําให้สมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานจนสมองพิการจึงเป็นการกระทํา โดยประมาทเลนิ เลอ่ ของจําเลย หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว เด็กชาย ภ. มีอาการทางสมองพิการ แขนขาชักเกร็งไม่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องให้ยาลดอาการทางสมองและหากมีอาการเกร็งก็ต้องทํากายภาพบําบัดทุก วันเด็กชาย ภ. จะต้องอยู่ในสภาพช่วยเหลือตนเองไม่ได้เช่นนั้นตลอดไปค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไป จึงเป็นค่าใช้จ่ายอันต้องเสียไปเนื่องจากการกระทําละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตเป็นคนละส่วนกับ ค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปก่อนแล้วและไม่เป็นการกําหนดค่าเสียหายซํ้าซ้อนกัน ทั้งเมื่อเด็กชาย ภ. อยู่ในสภาพไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานโดยสิ้นเชิงท้ังในเวลา ปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทําละเมิดของจําเลย หาใช่ไกลเกินเหตุไม่ โจทก์ เรยี กร้องค่าเสียหายในการสญู เสียความสามารถในการประกอบการงานได้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2551 รถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคาร ชุดติดหน้ากระจกรถยนต์ตามระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุดจําเลยที่ 1 พนักงานรักษาความปลอดภัย

16 ปดี เิ ทพ อยยู่ ืนยง จะต้องดําเนินการแลกบัตรหรือให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ของผู้ขับรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออกอาคารชุด คืนเกิดเหตุ จําเลยที่ 4 ทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณป้อมยามของทางเข้าออกอาคารชุดเห็นแล้ว ว่ารถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุด มิได้เรียกให้หยุดรถเพื่อแลกบัตรหรือให้ผู้ขับ รถยนต์แจ้งชื่อ ที่อยู่ตามระเบียบ กลับปล่อยให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านออกไปอันเป็นเหตุให้รถยนต์สูญ หาย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องของจําเลยที่ 4 เป็นการประมาทเลินเล่อกระทําละเมิดต่อโจทก์ จําเลยที่ 3 ซ่ึงเปน็ นายจ้างต้องร่วมรบั ผดิ กับจาํ เลยที่ 4 ที่หยิบยกให้พิจารณาทั้งคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 และคําพิพากษาศาลฎีกาท่ี 5259/2551 ไม่เพียงเป็นเรื่องประเด็นการกระทําละเมิดของจําเลยผู้เป็นลูกจ้างที่กระทํางดเว้นโดยประมาท การที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายนั้น แต่ยังมีประเด็นในเรื่องความรับผิดของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้าง ทําละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 อีกด้วย เพราะหากลูกจ้างได้กระทําไปใน ทางการที่จ้างนั้น นายจ้างก็ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทําไปในทางการที่ จ้างด้วย (ในส่วนนี้จะไปอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของ “ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของ บคุ คลอนื่ ” ) (ค) “หน้าที่อันเกิดจากการกระทําครั้งก่อนของตน” ได้แก่ การให้เกิดผลร้ายอย่างหนึ่งอย่าง ใดโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้น หมายความรวมถึงหน้าที่โดยเฉพาะจะที่เกิดขึ้นมาจาก การกระทําครั้งก่อนของตนด้วย หน้าที่ที่จะป้องกันภยันตรายอันเกิดจากการกระทําก่อนของตนนั้นย่อมเกิด ขึ้นมาจากการกระทําของผู้กระทําน่าจะก่อให้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างใดหรือการกระทําของ ผู้กระทําที่สร้างโอกาสที่จะทําให้เกิดความสูญเสียอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้กระทําย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกัน ภยันตรายนั้น เช่น นาย ก. เห็นผู้สูงอายุกําลังจะข้ามถนนเลยอาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือพาข้ามถนนจนไป ถึงเกาะกลางถนน แต่พาผู้สูงอายุเดินไปถึงเกาะกลางแล้ว กลับทิ้งผู้สูงอายุไว้เกาะกลางถนนเพียงลําพัง ครั้น ผู้สูงอายุเดินข้ามถนนจากเกาะกลางเพียงคนเดียวโดยลําพังก็ได้ถูกรถบรรทุกชนจนถึงแก่ความตาย เช่นว่าน้ี ถือได้วา่ นาย ก. งดเวน้ หนา้ ทอ่ี ันเกดิ จากการกระทําครงั้ ก่อนของตน แลว้ เปน็ ต้น มีตัวอย่างคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการงดเว้นหน้าที่อันเกิดจากการกระทําครั้ง ก่อนของตนดังเชน่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555 ในเวลาเกิดเหตุจําเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคน รักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จําเลยขับล้มลงทําให้ผู้เสียหาย ที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจําเลยหลบหนีไม่ให้ ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จําเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้

คาํ อธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 17 ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จําเลยจึงมี ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคทา้ ย งดเวน้ กับละเว้นแตกต่างกัน ในบางตําราผู้เขียนตําราได้ใช้คําว่า “งดเว้น” กับ “ละเว้น” อธิบายระคนกันไปว่าทั้งสองคําน้ี เป็นคําไวพจน์หรือเป็นคําที่มีความหมายตรงกัน แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นคําศัพท์ในทางกฎหมายระหว่างคําว่า “งดเว้น” กับ “ละเว้น”มีความหมายแตกต่างกัน แม้ว่า “งดเว้น” กับ “ละเว้น” ถือเป็นการกระทําโดยไม่ เคลอ่ื นไหวรา่ งกายโดยรสู้ าํ นกึ ในทํานองคล้ายคลงึ กนั ก็ตาม การกระทําการ“งดเว้น” ไม่กระทําหน้าที่ที่บุคคลจักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายนั้น บุคคล จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายต้องมี “หน้าที่โดยเฉพาะ” ที่จะต้องกระทําเพื่อป้องกันผลร้ายดังที่ได้กล่าว มาในข้างต้น ได้แก่ หน้าที่ตามกฎหมาย หนา้ ที่ตามสัญญา และหน้าที่อันเกิดจากการกระทําครั้งก่อนของตน ในทางตรงกันข้ามการกระทําการ “ละเว้น” บุคคลจักต้องกระทําอย่างพลเมืองดีทั่วไปหรือตําแหน่งหน้าท่ี ทั่วไปต้องมี “หน้าที่โดยทั่วไป” เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตราย แห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจําเป็น ต้องระวาง โทษจาํ คุกไมเ่ กินหนงึ่ เดือน หรอื ปรับไม่เกินหน่งึ หมน่ื บาท หรือทัง้ จําทง้ั ปรบั เปน็ ต้น 1.1.1.3 “ตอ่ บุคคลอ่นื ” 1.1.1.3.1 บคุ คลอื่น “บุคคลอื่น” ได้แก่ บุคคลอื่นซึ่งไม่ให้ตนเองกล่าวอีกนัยหนึ่งการกระทําละเมิดต้องเป็นการ กระทําต่อผู้อื่นหรือบุคคลอื่น หาใช่กระทําต่อตนเองไม่ ถ้ากระทําต่อตนเอง แล้วตนเองได้รับความเสียหาย ย่อมไม่ถือเป็นละเมิด แต่ถ้ากระทําต่อบุคคลอื่น แล้วบุคคลอื่นได้รับความเสียหายย่อมถือเป็นละเมิด บุคคล อืน่ จะเปน็ “บุคคลธรรมดา” หรอื “นติ ิบุคคล” กไ็ ด้ (ก) กรณี “บคุ คลธรรมดา” ได้แก่ บคุ คลทส่ี ามารถมสี ทิ ธแิ ละหนา้ ทต่ี ามกฎหมาย เช่น ผู้เยาว์ ผู้บรรลุนิติภาวะ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลในครอบครัว ฯลฯ สําคัญว่าบุคคลธรรมดาต้องมีสภาพบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 วรรคแรก “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย” ในทางกลับกันทารกใน ครรภม์ ารดายอ่ มไม่มีสภาพเป็นบุคคลจงึ ไม่อาจถกู ทาํ ละเมิดได้

18 ปีดเิ ทพ อย่ยู นื ยง (ข) กรณี “นิติบุคคล” ได้แก่ บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นมาเพื่อดําเนินกิจการหรือกิจกรรม อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งกฎหมายให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา โดยต้องพิจารณาว่าขณะที่ มีการกระทําละเมิดนั้น ผู้กระทําละเมิดได้กระทําละเมิดในขณะที่นิติบุคคลนั้นมีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม กฎหมายแล้ว ถ้าเป็นการกระทําละเมิดในช่วงก่อนที่นิติบุคคลนั้นจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เช่น ว่านี้ย่อมไม่ถือว่าเป็นการกระทําละเมิดต่อนิติบุคคล เช่น ในขณะที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้นห้างหุ้นส่วน จํากัดสหมิตรหล่อยางยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ใน ฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ย่อมมีอํานาจฟ้องร้องจําเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมรับผิดในผล แห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ที่ 3 ได้กระทําต่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ และอํานาจฟ้อง หรือสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อผู้กระทําละเมิดต่อทรัพย์นั้นเป็นบุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพย์สิทธิที่ติดตามไป กับตัวทรัพย์ เมื่อสิทธิดังกล่าวได้เกิดมีขึ้นแล้ว แม้ต่อมาห้างหุ้นส่วนจํากัดสหมิตรหล่อยางได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้นก็ตาม อํานาจฟ้องหรือสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวก็หาโอนไปยังห้างหุ้นส่วนจํากัดสหมิตรหล่อยางด้วยไม่ โจทก์จึงมีอํานาจฟ้องคดีนี้ได้ รถยนต์ของจําเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัย ไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจําเลยผิด จึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทําบันทึกกันที่สถานีตํารวจมี ข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะ ไปเจรจาตกลงกันเองกับจําเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่าง ตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จําเลยทราบไม่ (คําพิพากษาศาล ฎกี าท่ี 2510/2516) 1.1.1.3.2 ผเู้ สยี หายเป็นพเิ ศษ “บุคคลอนื่ ” อาจเป็นไดท้ ง้ั “ผ้เู สยี หายท่ัวไป” หรอื “ผเู้ สยี หายเปน็ พเิ ศษ” ก. “ผู้เสียหายทั่วไป” ได้แก่ เอกชนรายหนึ่งรายใดที่ได้รับความเสียหายจากการกระทําของ ผู้กระทําละเมิด แล้วเอกชนรายดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างทั่วไปหรือได้รับความเสียหายอย่าง ผู้เสียหายทั่วไปพึงจะได้รับจากการกระทําดังกล่าว ตัวอย่างเช่น จําเลยสร้างสะพานลอยกีดขวาง ทางเข้าออกบ้านโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะ เป็นไปตามปกติและเหตุอันควร โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้ สิ้นไปได้ ถึงแม้จําเลยจะสร้างสะพานลอยเพื่อสาธารณประโยชน์และโจทก์จะมีสิทธินํารถยนต์เข้าออก ระหว่างถนนกับบ้านโจทก์โดยผ่านทางเท้าหรือไม่ก็ตาม การที่จําเลยสร้างสะพานลอยดังกล่าวก็เป็นการ ละเมดิ ต่อโจทก์ (คาํ พพิ ากษาศาลฎกี าที่ 931/2523)

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 19 ข. “ผู้เสียหายเป็นพิเศษ” ได้แก่ เอกชนรายหนึ่งรายใดที่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจาก การกระทําของของผู้กระทําละเมิด แล้วเอกชนรายดังกล่าวได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โดยมากมักเป็น เรื่องที่เอกชนรายหนึ่งรายใดได้รับประโยชน์จากการใช้ทางสาธารณะหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินยิ่งไป กว่าคนทั่วไป แล้วเอกชนรายอื่นกลับมากระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดจนไปกระทบสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จาก การใช้ทางสาธารณะหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามปกติ ตัวอย่างเช่น ถนนสาธารณะอยู่ในความดูแล ของสุขาภิบาล แต่ประชาชนทั่วไปก็มีสิทธิใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์มีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ติดถนน สาธารณะดังกล่าวย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้ถนนสาธารณะน้ันยิ่งกว่าบุคคลทั่วไปการที่จําเลยปลูก สร้างโรงเรือนปิดกั้นถนนสาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ตามปกติโจทก์ย่อมได้รับความ เสียหายเป็นพิเศษ จึงมีอํานาจฟ้องให้จําเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปได้ จําเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในท่ี พิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ในอันที่จะใช้ประโยชน์จากที่พิพาทดังกล่าว เมื่อจําเลยยังไม่รื้อถอน โรงเรือนออกจากที่พิพาท การกระทําละเมิดของจําเลยยังคงมีอยู่ตลอดไป คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ (คํา พพิ ากษาศาลฎกี าที่ 2559/2532) อีกประการหนึ่ง “ผู้เสียหายเป็นพิเศษ” อาจเป็นเอกชนรายหนึ่งรายใดที่เป็น “ผู้ครอบครอง” ที่สาธารณะหรือที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมาอยู่ก่อน แม้ว่าการครอบครองที่สาธารณะหรือที่สาธารณ สมบัติของแผ่นดินนั้นจะเป็นการครอบครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่หากมีเอกชนรายอื่นเข้ามาแย่ง การครอบครองนั้น การแย่งการครอบครองของเอกชนรายอื่นเช่นว่านี้ถือเป็นการกระทําละเมิดต่อเอกชน รายหนึ่งรายใดที่เป็นผู้ครอบครองที่สาธารณะหรือที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมาอยู่ก่อนแล้ว มีคํา พิพากษาศาลฎกี าท่ีนา่ สนใจได้แก่ คําพิพากษาศาลฎีกาท่ี 2967/2524 แม้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 จะบญั ญตั วิ า่ ในเขตป่าสงวนแหง่ ชาติ ห้ามมใิ หบ้ คุ คลใดยดึ ถอื หรอื ครอบครองทดี่ นิ กเ็ ปน็ เพียงบทบญั ญตั ิ ที่ใช้บังคับระหว่าง รัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดย ชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่นาพิพาทเป็น ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติและโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่นาพิพาทอยู่ก่อนแล้วจําเลยเข้าไปแย่ง การครอบครองอันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิ ของโจทก์และ เรียกค่าเสียหายได้ 1.1.1.3.3 ผู้ครอบครองเปน็ ผเู้ สียหาย “สิทธิครอบครอง” ได้แก่ สิทธิที่จะยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือมีบุคคลอื่น ยดึ ถือไวใ้ ห้

20 ปดี เิ ทพ อยยู่ นื ยง “ผู้มีสิทธิครอบครอง” ได้แก่ ผู้มีสิทธิที่จะยึดถือทรัพย์สิน ไม่ว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็น อสังหารมิ ทรัพย์ก็ดหี รอื สงั หารมิ ทรพั ย์กต็ ามโดยเจตนาจะยึดถือเพอ่ื ตนหรือมบี คุ คลอนื่ ยดึ ถือไว้ให้ หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดมากระทําการอันกระทบต่อสิทธิครอบครอง ทําให้ผู้มีสิทธิ ครอบครองไม่อาจใช้สอยทรัพย์นั้นตามปกติ เช่นว่านี้เป็นการกระทําละเมิดต่อสิทธิครอบครอง บุคคลท่ี กระทําละเมิดต่อสิทธิครอบครองจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิครอบครอง ตัวอยา่ งเชน่ (ก) การละเมิดต่อสิทธิครอบครอง “สังหาริมทรัพย์” เช่น โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ พิพาท แต่มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บํารุงรักษาตามที่กรมตํารวจมอบหมาย เมื่อจําเลยกระทําละเมิดเป็นเหตุให้ รถเสียหายใช้การไม่ได้ ในขณะที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่ ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและ หน้าที่ของโจทก์เกดิ ขึ้นแลว้ โจทกย์ อ่ มมีอํานาจฟอ้ งจาํ เลยได้ (คําพพิ ากษาศาลฎกี าที่ 2942/2526) (ข) การละเมิดต่อสิทธิครอบครอง “อสังหาริมทรัพย์” เช่น โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้อง ชุดซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 โจทก์ในฐานะเจ้าของ ทรัพย์สินย่อมมีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แม้นิติบุคคลอาคารชุดจําเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทแลการออกระเบียบ ข้อบังคับของจําเลยที่ 1 อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดตาม ข้อบังคับของจําเลยที่ 1 ข้อ 7 (1) (5) แต่ตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง จําเลยที่ 1 มีสิทธิเพียงจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอํานาจกระทําการใด ๆ เพื่อประโยชน์ ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่มีอํานาจกระทําการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการ ใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วม แม้โจทก์ค้างชําระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจําเลยที่ 1 แต่จําเลยที่ 1 ก็ ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก มิใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จําเลย ที่ 1 กําหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบ บัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่โจทก์ซึ่งค้างชําระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันทําให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอย ทรัพย์ส่วนบุคคล จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ การที่จําเลยที่ 1 ทําประตูนิรภัยปิดกั้นและไม่ยอมมอบ บัตรผ่านประตูนิรภัย จึงเป็นการรบกวนสิทธิและทําให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของ ร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล ถือว่าเป็นการจงใจทําละเมิดต่อโจทก์ (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553) 1.1.1.3.4 ผู้เสียหายจากการทําละเมิดระหว่างคสู่ ญั ญาในเอกเทศสญั ญาดว้ ยกันหรอื การ ทําละเมดิ ระหวา่ งคู่สัญญาฝ่ายหน่ึงฝา่ ยใดในเอกเทศสญั ญากับบุคคลภายนอก

คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 21 (ก) ผู้เช่าเป็นผเู้ สียหาย “สัญญาเช่าทรัพย์” ได้แก่ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้เช่า” ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้เช่า” ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลาอันมีจํากัดและเช่าตกลงจะให้ค่า เช่าเพ่ือการนน้ั หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดมากระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการรบกวนการใช้หรือได้รับ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมถือว่าได้กระทําละเมิดต่อผู้เช่าและบุคคลดังกล่าว จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เช่าที่ถูกกระทําละเมิด สามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดสิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ อยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง อีกประการหนึ่งตัวผู้เช่าต้องมี “สิทธิครอบครอง” ทรัพย์สินที่เช่าแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เช่า ต้อง “เข้าครอบครอบตามความเป็นจริง” เรียบร้อยแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นการทําสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือเป็นการทําสัญญาเช่าด้วยวาจาก็ตาม) จึงจะถือว่าผู้เช่าดังกล่าวมีสิทธิครอบครอง หากใครมา กระทําการอันรบกวนสิทธิครอบของของผู้เช่า ผู้เช่าก็สามารถเรียกให้ผู้กระทําการอันรบกวนสิทธิ ครอบครองชดใช้คา่ เสยี หายหรอื คา่ สินไหมทดแทนได้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2518 ป. และจําเลยที่ 2 ที่ 3 กับพวกรวม 8 คน เข้าหุ้นส่วนทํา การขายอาหารในภัตตาคารน.โดยเช่าภัตตาคาร น. มาจากบริษัท น.ต่อมาผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวได้ก่อต้ัง บริษัทโจทก์ขึ้นโดย ป. กับจําเลยที่2 ที่ 3เป็นผู้เริ่มก่อการในการประชุมตั้งบริษัทโจทก์ครั้งแรกที่ประชุมได้มี มติให้ถือเอาสัญญาเช่าที่ ป. และจําเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เริ่มก่อการทําไว้กับบริษัท น. เป็นสัญญาเช่าที่ผูกพัน บริษัทโจทก์และต่อมาเมื่อจําเลยที่ 1กับพวกเข้าแย่งดําเนนิ กิจการภัตตาคาร น. บริษัท น. ก็ได้แจ้งให้บริษัท โจทก์ทราบว่าการบุกรุกและยึดกิจการภัตตาคาร น. เป็นการกระทําของจําเลยที่ 1 เท่านั้นไม่เกี่ยวกับบริษัท น. ให้บริษัทโจทก์เข้าดําเนินกิจการภัตตาคารต่อไปดุจเดิม ข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าบริษัทโจทก์เข้า ครอบครองภตั ตาคาร น. โดยสวมสทิ ธกิ ารเชา่ จากหา้ งหนุ้ สว่ นผเู้ ชา่ เดมิ บรษิ ทั โจทกจ์ งึ ฟอ้ งขอใหข้ บั ไลจ่ าํ เลย ซึ่งบุกรุกเข้าแย่งการครอบครองและเรียกค่าเสียหายได้ แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือสัญญาเช่ากับบริษัท น. ต่อ กันไว้ โจทก์ก็มีอํานาจฟ้องจําเลย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาเช่าภัตตาคาร น. แต่อย่าง ใด

22 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง (ข) ผเู้ ชา่ ซ้อื เป็นผเู้ สียหาย “สัญญาเช่าซื้อ” คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขาย ทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ “ผู้เช่า” โดยเงื่อนไขที่ “ผู้เช่า”ได้ใช้เงินเป็นจํานวน เท่าน้ันเท่าน้ีคราว สัญญาเช่าซื้อเป็นส่วนผสมของ “สัญญาเช่า” และ “คํามั่นว่าจะซื้อขาย” ผู้เช่าซื้อเองอาจ ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตนได้เช่าซื้อ แต่เมื่อไรก็ตามทรัพย์สินที่เช่าซื้อตกเป็นสิทธิ (กรรมสิทธิ์) แก่ผู้เช่าซื้อก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชําระครบทุกงวด ในระหว่างที่ผู้เช่าซื้อ กําลังชําระเงินเป็นงวด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมี “สิทธิครอบครอง” สามารถได้ใช้ หรอื ไดร้ บั ประโยชน์อย่างใดอย่างหนง่ึ จากทรัพย์สิน (ค) ผูร้ บั จ้างเป็นผ้เู สียหาย “สัญญาจ้างทําของ” คือ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับจ้าง” ตกลงจะทําการงาน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อ ผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น เช่น นาย ก. ผู้ว่าจ้างไปจ้างนาย ข. ผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์ มีปัญหาตามมาว่าใน ขณะที่รถยนต์อยู่ในความครอบครองของนาย ข. ผู้รับจ้าง แล้วเจ้าของรถยนต์ผู้ว่าจ้างกลับไม่ยอมมารับ รถยนต์คืนตามกําหนดเวลาเนื่องจากค่าจ้างซ่อมรถยนต์สูง ต่อมาผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์กลับเอารถยนต์ไปขับ ขี่แล้วรถยนต์ดังกล่าวถูกชนได้รับความเสียหาย เช่นนี้ถือว่าผู้รับจ้าง “มีสิทธิครอบครอง” และเมื่อมีบุคคลที่ สามหรือบุคคลภายนอกมากระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันกระทบต่อ “สิทธิครอบครอง” ผู้รับจ้างดังกล่าว จึงสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกผู้กระทํา ละเมิดได้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2523 เจ้าของนํารถจักรยานยนต์มาจ้างร้านโจทก์ซ่อมแล้วไม่ มารับคืนเพราะค่าจ้างสูง โจทก์จึงเอามาใช้ขับขี่ แล้วถูกรถจําเลยชนได้รับความเสียหาย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ ครอบครองรถจักรยานยนต์โดยชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องรับผิดต่อเจ้าของรถหากรถนั้นต้องเสียหาย โจทก์จึงมอี ํานาจฟ้องใหจ้ ําเลยซ่งึ เปน็ ผลู้ ะเมิดชดใช้คา่ เสยี หายเก่ียวกับรถจกั รยานยนตค์ ันน้นั แกโ่ จทกไ์ ด้ (ง) ผรู้ ับฝากทรัพยเ์ ป็นผู้เสยี หาย “สัญญาฝากทรัพย์” คือ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ฝาก” ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับฝาก” และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้

คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 23 การกระทําของผู้รับฝากทรัพย์ที่ขาดความระมัดระวัง แล้วไปทําให้ผู้ฝากทรัพย์ได้รับความ เสียหาย จึงเป็นการกระทําละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อผู้ฝากไปในคราวเดียวกัน มีคําพิพากษาท่ี น่าสนใจไดแ้ ก่ คําพิพากษาศาลฎีกาท่ี 6280/2538 ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ ดังนั้นจําเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้จําเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง จําเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจ ของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจําเลยและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจาก ธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจําเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจําจําเลยย่อมมีความชํานาญในการ ตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่า วิญญูชนทั่วไปการที่จําเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท2ฉบับโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมจึงเป็นการขาดความ ระมัดระวงั เปน็ การกระทําละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ตอ่ โจทกจ์ าํ เลยจะอ้างขอตกลงตามคําขอเปิดบญั ชี กระแสรายวันที่ว่าจําเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัยและถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย หาได้ไม่ จําเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้าน้ัน เช็คพิพาท2ฉบับรวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ใน ความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนําแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้ นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกําหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็น ประมาณศาลกําหนดใหจ้ าํ เลยใช้เงินตามเชค็ พิพาทเพียงบางสว่ น เกี่ยวกับสัญญาฝากทรัพย์มีอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องพิจารณา นั้นก็คือ ผู้รับฝากทรัพย์มี “หน้าที่” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 “ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทําให้เปล่าไม่ มีบําเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจําต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติ ในกิจการของตนเอง” นั้นหมายความว่าผู้รับฝากทรัพย์มี “หน้าที่จําต้องใช้ความระมัดระวัง” สงวน ทรัพย์สินซึ่งฝากอยู่ด้วยนั้น อันเป็นหน้าที่เกิดจากนิติกรรมสัญญาผูก “นิติสัมพันธ์” ระหว่างผู้ฝากทรัพย์กับ ผู้รับฝากทรัพย์ หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินซึ่งฝากแล้ว เช่นนี้ก็จะถือว่าเป็น การกระทาํ ละเมดิ ต่อผรู้ ับฝากดว้ ย มีคาํ พิพากษาทนี่ า่ สนใจได้แก่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2542 จําเลยที่ 1 ฎีกาว่าทรัพย์สินโจทก์ทั้งสามมิได้สูญหายจริง แม้จําเลยที่ 1 จะยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่า จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

24 ปีดเิ ทพ อยูย่ ืนยง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาเช่าตู้นิรภัยเป็นการเช่าเพื่อเก็บทรัพย์สินซึ่งตู้ นิรภัยอยู่ในความควบคุมดูแลของจําเลยที่ 1 ดังนั้นแม้จําเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นการนําทรัพย์สินเข้าเก็บหรือนํา ออกจากตู้นิรภัย จําเลยที่ 1 ก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิดหากทรัพย์สินที่เก็บในตู้นิรภัยนั้นสูญหายจริง และ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ามีลายนิ้วมือแฝงที่ตู้นิรภัยซึ่งมิใช่ของโจทก์ที่ 1และที่ 2 และมิใช่ของเจ้าหน้าที่ของ จําเลยที่ 1 ด้วยเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่า มีคนร้ายเข้าไปเปิดตู้นิรภัยและนําเอา ทรัพย์สินที่เก็บไปจริง จําเลยที่ 1 อ้างว่าอาจเป็นลายนิ้วมือแฝงของคนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นั้นก็เป็นการคาดคะเน โดยปราศจาก ข้อเท็จจริงสนับสนุน การที่คนร้ายลักเอาทรัพย์สิน ในตู้นิรภัยไปถือเป็นความบกพร่องในหน้าที่ของจําเลยท่ี 1ในการดูแลป้องกันภัยแก่ทรัพย์สิน ความระมัดระวังของจําเลยที่ 1 จึงไม่พอ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิด ชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ทรัพย์บางรายการโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับฝากไว้จาก อ. โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดชอบต่อ อ. ย่อมถือเป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 และท่ี 2ซง่ึ จาํ เลยท่ี 1 มีหน้าท่รี บั ผิดชอบเชน่ กัน (จ) ผใู้ ห้ยืมเปน็ ผ้เู สยี หาย “สัญญายืมใช้คงรูป” คือสัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้ยืม” ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ยืม” ใช้สอบทรัพยส์ นิ ส่งิ ใดสิ่งหน่ึงไดเ้ ปล่า และผยู้ ืมตกลงวา่ จะคืนทรพั ย์สนิ นั้น เม่ือได้ใช้สอยเสร็จ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “ทรัพย์สินซึ่งยืม นั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏใน สัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิด ในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะ พิสจู นไ์ ด้ว่าถงึ อย่างไร ๆ ทรัพย์สนิ น้ันก็คงจะตอ้ งสญู หายหรือบุบสลายอยนู่ ่นั เอง” มีประเด็นพิจารณาว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้วางหลักเกณฑ์ กําหนดใด้ผู้ยืมมี “หน้าที่จําต้องใช้ความระมัดระวัง” สงวนทรัพย์สินซึ่งยืมอยู่ด้วยนั้นหรือไม่ และผู้ยืมมี “สิทธิครอบครอง” ทรัพย์สินซึ่งยืมหรือไม่ หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินซ่ึง ยืมหรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการรบกวนการครอบครองทรัพย์ซึ่งยืมของผู้ยืมแลว้ เช่นนี้ก็จะ ถอื วา่ เป็นการกระทาํ ละเมดิ ตอ่ ผู้ยืมดว้ ยหรือไม่ ในประเด็นนี้ยังมีข้อถกเถียงอยู่มาก ตัวผู้ยืมใช้คงรูปมีทั้ง \"หน้าที่\" ในตัว ได้แก่ หน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 642 มาตรา 643 มาตรา 644 มาตรา 640 มาตรา 646 และ มาตรา 647 เท้านั้น แล้วถ้าผู้ยืมใช้คงรูปกระทําการผิดไปจากหน้าที่แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 กก็ าํ หนดความรบั ผดิ ของผู้ยืมใชค้ งรูปเอาไว้

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 25 เช่นว่านี้เมื่อตัวผู้ยืมใช้คงรูปมี “หน้าที่” จะต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเฉกเช่นวิญญูชนจะพึง สงวนทรัพย์สินของตนเองเอาไว้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 644) ผู้ยืมใช้คงรูปจึง “น่าจะ” มีอํานาจฟอ้ งผู้กระทาํ ละเมิดได้ แต่ทว่ามีคําพิพากษาศาลฎีกาฉบับหนึ่ง ที่ให้เหตุผลว่าผู้ยืมใช้คงรูปไม่มีอํานาจฟ้องผู้กระทํา ละเมิดได้ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ (ก) ผู้ยืมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น และ (ข) ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เฉพาะผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินนั้นอย่างไม่ปกติดงั ที่บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 643 คําพิพากษาที่น่าสนใจฉบับนี้ ได้แก่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2524 ในการยืมใช้คงรูปนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะแต่กรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้ บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชนไม่ได้เป็น เจ้าของไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม และการที่รถที่โจทก์ขับได้รับความเสียหายก็ มิใช่เป็นความผิดของโจทก์ฉะนั้นโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อม รถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จําเลยรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ ไมใ่ ช่ผู้รับชว่ งสิทธโิ จทกจ์ ึงไมม่ อี าํ นาจฟ้อง 1.1.1.3.5 ผู้เสียหายเปน็ บุคคลในครอบครวั “สิทธิในครอบครัว” หมายถึง สิทธิต่าง ๆ ที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองบุคคลในครอบครัว ประโยชน์ที่สมาชิกรายหนึ่งรายใดในครอบครัวควรจะได้รับตามกฎหมาย ก็อาจไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ประโยชน์ที่บุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวพึงจะได้รับตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับสมาชิกรายหนึ่งรายใดในครอบครัวด้วย เหตุนี้เองหากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปกระทําละเมิดต่อสมาชิกใน ครอบครัว บุคคลในครอบครัวคนอื่น ๆ ก็อาจเป็นผู้ต้องเสียหายจากการกระทําละเมิดหรือเป็นผู้ถูกกระทํา ละเมิดต่อสิทธิครอบครัวได้ แมว้ า่ บุคคลในครอบครัวคนอืน่ ๆ จะไมไ่ ดถ้ ูกกระทําละเมิดโดยตรงก็ตาม 1.1.1.3.5.1 การกระทาํ ตอ่ บตุ ร (ก) การล่วงละเมิดอาํ นาจปกครองของบดิ ามารดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “บุตรซึ่งยังไม่ บรรลนุ ติ ิภาวะตอ้ งอยใู่ ตอ้ าํ นาจปกครองของบดิ ามารดา”

26 ปีดเิ ทพ อยู่ยืนยง เหตุนี้เองบิดามารดาจึงมีอํานาจปกครองบุตร หากมีบุคคลใดมากระทําละเมิดต่อบุตรผู้เยาว์ ก็ย่อมเป็นการกระทําละเมิดต่อบิดามารดาในฐานะที่เป็น “ผู้ใช้อํานาจปกครอง” บุตรด้วย มีคําพิพากษา ศาลฎีกาที่นา่ สนใจได้แก่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2525 บุคคลผู้วานหรือใช้บุตรผู้เยาว์ของผู้อื่นทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ ตน มีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลผู้เยาว์ตามสมควรผู้เยาว์อายุ 9 ปีเศษวิญญูชนย่อมเห็นได้ว่ายัง อ่อนต่อสติปัญญาและพลกําลัง การที่จําเลยใช้ผู้เยาว์ขึ้นขย่มให้ผลกระท้อนหล่นจากต้น แล้วจําเลยมิได้ใช้ ความระมัดระวังในการป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่ผู้เยาว์โดยงดเว้นมิได้ตักเตือนมิให้ผู้เยาว์ทํางานมาก เกินไปผู้เยาว์ขย่มต้นกระท้อนอยู่ครึ่งชั่วโมงเป็นเหตุให้แขนไม่มีกําลังพอที่จะยึดเหนี่ยวกิ่งไม้ไว้ได้จึงตกลงมา ตายดังน้ี เป็นการกระทําละเมดิ ต่อผเู้ ยาว์ และต่อผ้ใู ช้อาํ นาจปกครองของผ้เู ยาว์ดว้ ย (ข) การพรากผเู้ ยาวไ์ ปจากอาํ นาจปกครองของบิดามารดา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก “ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็ก อายยุ งั ไมเ่ กนิ สบิ หา้ ปไี ปเสยี จากบดิ ามารดา ผปู้ กครอง หรอื ผดู้ แู ล ตอ้ งระวางโทษจาํ คกุ ตง้ั แตส่ ามปถี งึ สบิ หา้ ปี และปรบั ตั้งแต่หกหมื่นบาทถงึ สามแสนบาท” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคแรก “ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่ เกินสิบแปดปีไปเสีย จากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษ จาํ คุกตง้ั แต่สองปีถึงสบิ ปี และปรับตั้งแต่สหี่ มน่ื บาทถึงสองแสนบาท” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก “ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่ เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากําไร หรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้น เตม็ ใจไปดว้ ย ตอ้ งระวางโทษจําคุกตั้งแตส่ องปถี งึ สิบปี และปรบั ตั้งแตส่ ห่ี มืน่ บาทถึงสองแสนบาท” การพรากผู้เยาว์ไปเสียจากอํานาจปกครองของบิดามารดาโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วยก็ดี หรือไม่เต็มใจไปด้วยก็ตาม ย่อมถือเป็นการกระทําละเมิดต่ออํานาจปกครองของบิดามารดา บิดามารดาจึง สามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลหนึ่งบุคลใดที่กระทําละเมิดต่ออํานาจปกครอง ของตนได้ มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่อธิบายถึงบริบทของ “การพรากผู้เยาว์ไปจากอํานาจปกครองของบิดา มารดา” เอาไวอ้ ย่างนา่ สนใจดังตอ่ ไปน้ี คาํ พพิ ากษาศาลฎีกาท่ี 2858/2540 องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 คือการพราก เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล คําว่า \"พราก\"หมายความว่า พาไปหรือ

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 27 แยกเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนําเด็กให้ไปกับผู้กระทําโดยมิได้หลอกลวงและเด็ก เตม็ ใจไปดว้ ย ก็เปน็ ความผิดตามมาตราน้ี จําเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไป เลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิง จะลงจากรถ จําเลยก็ชักชวนให้ไปกับจําเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวน เด็กหญิงดังกล่าวไปกับจําเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเลา่ เรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟัง และนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายนํ้าและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจําเลยได้พาเด็กหญิงไปกิน ไอศกรีม โดยจําเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จําเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดา มารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะ เลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทําของจําเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มไิ ด้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทําโดย ปราศจากเหตุอันสมควรการกระทําของจําเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็น ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลําพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิด ตามตัวบทกฎหมายดังกลา่ ว โจทก์ฟอ้ งขอให้ลงโทษจาํ เลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไมไ่ ดข้ อใหล้ งโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทําผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทาง พิจารณาฟังได้ว่าจําเลยกระทําความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิด ท่ีพจิ ารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2543 คําว่า \"พราก\" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า จากไป พาเอาไปเสียจาก แยกออกจากกันหรือเอาออกจากกัน ดังนั้น คําว่า \"พราก\" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึง หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทําให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูก รบกวนหรอื ถกู กระทบกระเทอื น การที่จําเลยจูงเด็กหญิง ส. เข้าไปในห้องโดยมิได้ใช้แรงฉุด แล้วให้นั่งรออยู่คนเดียวประมาณ 20 นาที ระหว่างนั้นเด็กหญิง ส. สามารถที่จะกลับบ้านได้และเด็กหญิง ส. เคยไปนั่งเล่นในห้องนอนจําเลย บอ่ ย ๆ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะส่อแสดงให้เห็นว่า การที่เด็กหญิง ส. เขา้ ไปในหอ้ งนอนจาํ เลยและอยใู่ น ห้องนอนจําเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลานานนั้นเป็นไปด้วยความเต็มใจของเด็กหญิง ส. เนื่องจากเด็กหญิง ส. ชอบพอจาํ เลยมากกวา่ ทจ่ี ะถกู ชกั ชวนและจงู จากจาํ เลยเพราะเดก็ หญงิ ส. สามารถที่จะไม่ไปตามทจ่ี ําเลย

28 ปดี เิ ทพ อยูย่ ืนยง จูงก็ได้เนื่องจากจําเลยมิได้ใช้กําลังและสามารถที่จะกลับบ้านตนเองได้ระหว่างที่อยู่คนเดียว เนื่องจากไม่มี อะไรมาขัดขวางการกระทําของจําเลยจึงยังไม่เข้าลักษณะพาไปหรือแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของ มารดาเด็ก อันทําให้ความปกครองดูแลของมารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน จึงไม่เป็นการ พรากเดก็ อายุไมเ่ กิน 15 ปี (ค) การพรากผเู้ ยาวท์ ีม่ ีอายเุ กนิ 18 ปี แตไ่ มเ่ กิน 20 ปไี ปจากอํานาจปกครองของบดิ ามารดา “ผ้เู ยาว”์ หมายถงึ ผทู้ ่อี ายุยังไมค่ รบ 20 ปีบริบูรณ์ กลา่ วอีกนัยหน่งึ ผู้เยาว์ก็คือผูท้ ี่ยังไมบ่ รรลุ นิติภาวะนั้นเอง ผู้เยาว์ถือเป็นบุคคลที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง กฎหมายจึงได้ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับ ความสามารถในการทํานติ ิกรรมของผเู้ ยาวเ์ อาไว้ เมื่อผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะเป็นบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ก็ดีหรือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรสก็ตาม ผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 20 ปีก็ยังถือว่าอยู่ในอํานาจปกครองของบิดามารดา เหตุนี้เองผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีก็ยังอยู่ภายใต้อํานาจปกครองของบิดามารดา เมื่อบุคคล หนึ่งบุคคลใดมาพรากผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีไปจากอํานาจปกครองของบิดามารดา บุคคล นั้นย่อมกระทําละเมิดต่ออํานาจปกครองของบิดามารดา บิดามารดาสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือ คา่ สินไหมทดแทนจากผูก้ ระทาํ ละเมดิ ได้ (ง) กระทาํ ตอ่ บตุ รท่ีเปน็ คนพกิ าร คนทพุ พลภาพและคนไรค้ วามสามารถ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง ไดว้ างหลักเอาไว้ว่า “บดิ ามารดา จําต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” นั้น หมายความวา่ บตุ รท่ีเปน็ คนพกิ าร คนทพุ พลภาพและคนไรค้ วามสามารถซ่งึ บรรลนุ ิตภิ าวะแลว้ (มอี ายุ 20 ปี บริบูรณ์หรือสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย) ก็ยังคงอยู่ภายใต้อํานาจปกครองของบิดามารดา หากมีบุคคลใด มากระทําละเมิดต่อคนพิการ คนทุพพลภาพและคนไร้ความสามารถซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ย่อมถือเป็น กระทําละเมิดต่ออํานาจปกครองของบิดามารดา บิดามารดาสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหม ทดแทนจากผู้กระทําละเมดิ ได้ 1.1.1.3.5.2 การกระทําตอ่ ภรรยาในทางเพศ การจดทะเบียนสมรสระหว่างชายหญิงจะทําให้ชายหญิงเป็นสามีภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเป็นสามีภริยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว หากสามีภริยาได้กลายมาเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกันและมี ความสัมพันธ์ตามกฎหมายเปน็ สามภี ริยา

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 29 หากชายอื่นมาล่วงเกินภริยาในทางเพศ จะเป็นเพียงแค่ล่วงเกินถึงขั้นร่วมประเวณีหรือไม่ถึง ขั้นร่วมประเวณี ก็ถือว่าเป็น “การล่วงเกินในทํานองชู้สาว” อันกระทบตอ่ ชายผเู้ ปน็ สามี ตวั สามเี องสามารถ เรียกได้เฉพาะ “ค่าทดแทน” ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 ได้วางหลักเกณฑ์ เอาไว้ว่า \"เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รบั ค่าทดแทน จากสามีหรอื ภรยิ าและจากผู้ซึ่งได้รบั การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรอื ผซู้ ึง่ เป็นเหตุแห่งการหยา่ นนั้ สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทํานองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่า ทดแทนจากหญิงอน่ื ที่แสดงตนโดยเปดิ เผยเพอ่ื แสดงวา่ ตนมีความสมั พันธ์กบั สามีในทํานองชู้สาวกไ็ ด้ ถ้าสามีหรือภรยิ ายนิ ยอมหรือรู้เห็นเป็นใจใหอ้ ีกฝ่ายหนง่ึ กระทาํ การตามมาตรา 1516 (1) หรอื ให้ผู้อื่นกระทําการตามวรรคสอง สามหี รือภริยานนั้ จะเรียกค่าทดแทนไมไ่ ด\"้ เหตุที่ตัวสามีเองสามารถเรียกได้เฉพาะ “ค่าทดแทน” ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณชิ ย์ มาตรา 1523 นน้ั กเ็ พราะเปน็ บทบัญญตั ิทบ่ี ัญญตั เิ อาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ในส่วนตัวภริยาสามารถเรียกได้ทั้ง “ค่าทดแทน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 และ “ค่าสินไหมทดแทน” ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 420 จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงขอสรุปหลักเกณฑ์การเรียก “ค่าทดแทน” ของสามีและการเรียก “ค่าทดแทน” และ “ค่าสนิ ไหมทดแทน” ของภรยิ าทถ่ี ูกลว่ งเกนิ ทางเพศดังต่อไปนี้ (ก) กรณีชายอ่นื มาล่วงเกนิ ภรยิ าในทางเพศ โดยภริยาสมคั รใจ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุ ตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการ อปุ การะเลยี้ งดหู รือยกย่อง หรือผ้ซู ่ึงเป็นเหตุแหง่ การหย่านนั้ สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทํานองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่า ทดแทนจากหญิงอนื่ ทแ่ี สดงตนโดยเปดิ เผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสมั พนั ธก์ บั สามีในทาํ นองชู้สาวก็ได้ ถา้ สามีหรอื ภรยิ ายินยอมหรือรเู้ หน็ เป็นใจใหอ้ ีกฝ่ายหน่ึงกระทาํ การตามมาตรา 1516 (1) หรือ ใหผ้ ูอ้ นื่ กระทําการตามวรรคสอง สามหี รือภรยิ าน้นั จะเรียกค่าทดแทนไมไ่ ด”้ สรุป ภริยาสมัครใจให้ชายอื่นมาล่วงเกินตน ภริยาเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 420 ไม่ได้ แตส่ ามเี รยี กค่าทดแทนจากผู้ซึ่งลว่ งเกินภริยาไปในทํานองชสู้ าวกไ็ ด้ ตามมาตรา 1523 ได้ (ข) กรณชี ายอ่นื มาลว่ งเกินภริยาในทางเพศ โดยภรยิ าไม่สมคั รใจ

30 ปดี ิเทพ อยู่ยืนยง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุ ตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการ อุปการะเล้ียงดหู รือยกยอ่ ง หรอื ผ้ซู ง่ึ เป็นเหตุแห่งการหย่าน้นั สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทํานองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่า ทดแทนจากหญิงอื่นท่ีแสดงตนโดยเปดิ เผยเพ่อื แสดงว่าตนมคี วามสัมพนั ธ์กับสามีในทาํ นองชู้สาวก็ได้ ถา้ สามีหรอื ภรยิ ายนิ ยอมหรอื รู้เห็นเปน็ ใจใหอ้ ีกฝา่ ยหน่งึ กระทําการตามมาตรา 1516 (1) หรอื ให้ผู้อืน่ กระทาํ การตามวรรคสอง สามหี รอื ภรยิ าน้ันจะเรียกค่าทดแทนไม่ได”้ สรุป ภริยาไม่ได้สมัครใจให้ชายอื่นมาล่วงเกินตน ภริยาเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 420 ได้ และสามีเรียกค่าทดแทนจากผู้ซ่งึ ลว่ งเกินภริยาไปในทํานองชสู้ าวก็ได้ ตามมาตรา 1523 ไดด้ ้วย 1.1.1.3.5.3 การกระทาํ ต่อหญิงคหู่ มั้นในทางเพศ การหม้ัน เปน็ สัญญาทฝ่ี ่ายชายและฝา่ ยหญิงตกลงกันวา่ จะทําการสมรสกนั ในภายภาคหน้า การหม้ันย่อมผูกพันฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงต่อเมื่อฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงตกลงยินยอมในการ หมั้นและยินยอมที่จะกลายมาเป็นคู่หมั้นกัน เมื่อมีความสัมพันธ์ฉันท์ชายคู่หมั้นและหญิงคู่หมั้นแล้ว ชาย คู่หมั้นและหญิงคู่หมั้นก็ต้องไม่กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นที่อับอายเสื่อมเสียแก่คู่หมั่นอีกฝ่ายหนึ่ง ในทํานองเดียวกันหากมีบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกมาล่วงเกินหญิงคู่หมั้นทางเพศ เช่นว่านี้ชายคู่หมั้น ย่อมเรียก “เงินทดแทน” ตามหลักเกณฑ์เฉพาะในกฎหมายครอบครัวได้ แต่ชายคู่หมั้นจะเรียก “ค่าสินไหม ทดแทน” โดยอาศัยกฎหมายละเมิดไม่ได้ เพราะมีหลักเกณฑ์เฉพาะที่วางเอาไว้ในกฎหมายครอบครัวให้ฝ่าย ชายเรียกรอ้ งเงนิ ทดแทนเอาไว้แลว้ (ก) กรณชี ายอื่นมาล่วงเกนิ หญิงคู่หมั้นในทางเพศ โดยหญิงคูห่ ม้ันสมัครใจ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทําให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหม้ัน เป็นเพราะการกระทําชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทําภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทํา ชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญา หมั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทน จากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ตามมาตรา 1442 หรอื มาตรา 1443 แล้วแตก่ รณี

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 31 (ข) กรณชี ายอ่นื มาลว่ งเกินหญงิ คหู่ ม้นั ในทางเพศ โดยหญงิ คหู่ มน้ั ไมส่ มคั รใจ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1446 ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทน จากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทําชําเราหรือพยายามข่มขืนกระทําชําเราคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้น นัน้ ไดโ้ ดยไม่จําตอ้ งบอกเลิกสญั ญาหมั้น ชายคู่หมั้นสามารถเรียกได้เฉพาะ “ค่าทดแทน” ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 และมาตรา 1446 นั้นก็เพราะเป็นบทบัญญัติที่บัญญัติเอาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจฟ้อง เรียกค่าเสยี หายหรอื คา่ สนิ ไหมทดแทนตามมาตรา 420 ไดอ้ ีก 1.1.1.4 “โดยผดิ กฎหมาย” “โดยผิดกฎหมาย” ได้แก่ โดยไมช่ อบด้วยกฎหมายหรือโดยปราศจากอํานาจท่ีจะกระทาํ ได้ จะทราบได้หรือไม่ว่าการกระทําอย่างหน่ึงอย่างใดเป็น “การกระทําโดยผิดกฎหมาย” ก็ต้อง ทราบว่าคําที่มีความหมายตรงข้ามนั้นก็คือ “การกระทําโดยชอบด้วยกฎหมาย” หากทราบว่าการกระทํา โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเช่นใดแล้ว สิ่งที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นการกระทําโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว กย็ อ่ มเข้าหลกั เกณฑเ์ ปน็ การกระทาํ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายน้ันเอง “การกระทําโดยชอบด้วยกฎหมาย” ได้แก่ การกระทําที่ผู้กระทํามีอํานาจตามกฎหมายหรือ อํานาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทําได้ ในส่วนจะเป็นการกระทําโดยชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่น้ัน ต้องพิจารณาว่าผู้กระทํามี “อํานาจ” ที่จะกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด “ในขณะที่” กระทําการดังกล่าว หรือไม่ แล้ว “อํานาจ” เช่นว่านี้ต้องมีอํานาจตามกฎหมายหรืออํานาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่กําหนดให้ กระทําการดังกลา่ วได้ ในส่วนของ “อํานาจกระทําโดยชอบด้วยกฎหมาย” จาํ แนกได้เปน็ 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1.1.1.4.1 “อํานาจตามกฎหมาย” “อํานาจตามกฎหมาย” ได้แก่ อํานาจอันชอบธรรมที่จะกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดโดย ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองให้สามารถกระทําการเช่นนั้นได้จากบทบัญญัติของกฎหมาย หากผู้กระทํามี อํานาจตามกฎหมายที่จะกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หากกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยอาศัย อํานาจตามกฎหมายโดยตรง ย่อมไมเ่ ปน็ ละเมดิ ต่อบคุ คลอน่ื ตวั อยา่ งของคาํ พพิ ากษาศาลฎีกาท่นี า่ สนใจ ถูกจดั แบ่งเอาไว้เป็นประเดน็ ตา่ ง ๆ อาทิ (ก) อาํ นาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์

32 ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2561 (ประชุมใหญ่) คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ เงินบํานาญ และเงินบําเหน็จดํารงชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่จําเลยไป โดยจําเลยไม่มีสิทธิจะรับเงินดังกล่าว เนื่องจากจําเลยปิดบังไม่ให้โจทก์ทราบว่าจําเลยกลับเข้ารับราชการ ซึ่งเป็นตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ ตามพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัด จ่ายให้แก่ จําเลยโดยสําคัญผิดว่าจําเลยมีสิทธิได้รับการได้รับเงินเบี้ยหวัดของจําเลยไปจากโจทก์จึงเป็นการรับโดยไม่ ชอบ ซึ่งไม่ใช่กรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดแก่จําเลยเพื่อชําระหนี้เพราะเป็นเร่ืองจําเลยขอรับสวัสดิการ จากหน่วยงานของรัฐจําเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ดังนี้ แม้เงินที่จําเลยจะได้รับไปจะ เป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยไม่ชอบก็ไม่ใช่เรื่องลาภมิควร ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จําเลยไปโดย สําคัญผิดย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจําเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณชิ ย์ มาตรา 1336 ซงึ่ ไมม่ ีกาํ หนดอายคุ วาม (ข) อาํ นาจของผู้ให้เชา่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2522 โจทก์ร่วมทําสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากจําเลยซึ่งมี เงื่อนไขข้อตกลงระบุไว้ในสัญญาเช่าความว่า หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชําระค่าเช่า ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึด ทรัพย์สินของผู้เช่าได้ และให้มีอํานาจใส่กุญแจอาคารวัตถุแห่งสัญญาเช่าได้ทันทีเมื่อโจทก์ร่วมผิดนัดไม่ ชําระค่าเช่า จําเลยบอกเลิกสัญญาเช่า และต่อมาได้นําเอาโซ่ล่าม ใส่กุญแจปิดทางเข้าออกตึกแถวพิพาทท่ี ให้เช่าดังนี้ การกระทําของจําเลยสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมกระทําผิดสัญญาเช่าดังกล่าวซึ่งให้อํานาจแก่ จําเลยที่จะกระทําการตามข้อสัญญาและโดยความยินยอมของโจทก์ร่วมได้จําเลยกระทําไปเพราะเชื่อโดย สุจริตว่า มีสิทธิที่กระทําตามสัญญาได้ การกระทําของจําเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นความผิดทางอาญาไม่เป็น ความผดิ ฐานบกุ รุก (ค) อาํ นาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เมื่อมีเหตุอันสมควรที่จําเลยจะเชื่อว่าได้มีการละเมิด สิทธิบัตรของจําเลย การที่จําเลยใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดําเนินคดีอาญาแก่โจทก์ เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จําเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วย กฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตํารวจจะดําเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตํารวจ การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิ ซึ่งมี แต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 33 (ง) อาํ นาจตามประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2529 จําเลยว่าจ้างโจทก์ให้เลี่ยมกรอบพระเครื่องให้ 4 องค์แต่ ไม่ไปรับพระเครื่องที่โจทก์เลี่ยมกรอบเสร็จแล้วคืนโจทก์จึงขายพระเครื่องไปเช่นนี้การที่จําเลยแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่โจทก์ฐานยักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ความว่าจําเลยจงใจกลั่นแกล้งกล่าวหา ย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตและการที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาควบคุมตัวและ ดําเนินการสอบสวนโจทก์จนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการการกระทําของจําเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การฟ้องเรียกทรัพย์ คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 164 (จ) อาํ นาจใชส้ ทิ ธแิ จ้งความ ร้องทุกข์ ฟ้องคดตี ่อศาล หรือขวู่ ่าจะฟ้องคดีต่อศาล คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2558 การฟ้องคดีต่อศาลตามปกติย่อมไม่เป็นการละเมิด เพราะเป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายให้กระทําได้ เว้นแต่เป็นการกระทําโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้อง โดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล การที่จําเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจําเลยในคดีก่อน เรยี กให้ชาํ ระหน้ีฐานผดิ สัญญาซือ้ ขายและจ้างทําของ โดยขอ้ เทจ็ จริงตามที่ปรากฏในคําฟ้องคดีนีไ้ ม่เพียงพอ ให้รับฟังว่า จําเลยฟ้องโจทก์โดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้องโดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิ ทางศาล จงึ ถือไมไ่ ดว้ า่ โจทก์ถกู จําเลยโต้แย้งสทิ ธติ าม ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 55 1.1.1.4.2 “อาํ นาจตามสญั ญา” “อํานาจตามสัญญา” ได้แก่ อํานาจตามสิทธิที่เกิดขึ้นและถูกระบุเอาไว้ตามข้อตกลงระหว่าง บุคคลว่าจะกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจอ้าง บุคคลสิทธิเหนือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่ง อย่างใดได้ โดยในขณะที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอ้างอํานาจตามสัญญานั้น สัญญาดังกล่าวต้องมีผลสมบูรณ์กับมี ผลบงั คบั ใชอ้ ยู่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 หนังสือยินยอมให้ทําการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็น ข้อตกลงระหว่างจําเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกลํ้า เข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจําเลยกระทําไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วน ที่รุกลํ้าอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทําละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกลํ้า อยกู่ ่อนแล้ว โจทกจ์ ึงไมม่ ีสทิ ธเิ รยี กคา่ เสียหายจากจําเลยเก่ียวกบั การรกุ ลาํ้ ดังกลา่ ว

34 ปดี ิเทพ อยยู่ ืนยง 1.1.1.4.3 “อํานาจตามคําพพิ ากษา” “อํานาจตามคําพิพากษา” ได้แก่ อํานาจที่อาศัยสิทธิตามคําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในประเด็น แห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา โดยศาลได้นําบทบัญญัติกฎหมาย มาปรบั เขา้ กับข้อเทจ็ จริงในคดีแตล่ ะคดีแลว้ วินจิ ฉัยชีข้ าด จําเลยได้กระทําการโดยอ้างอํานาจตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพื่อใช้ สิทธิของจําเลยตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ถือเป็นการกระทํา ละเมิด (ไม่ถือว่าจําเลยกระทําละเมิด) แม้ต่อมาภายหลังศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษากลับให้โจทก์เป็นฝ่าย ชนะคดกี ็ตาม มคี ําพพิ ากษาศาลฎีกาท่นี ่าสนใจดังน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2508 การที่จําเลยเข้าทํานาพิพาทในระหว่างที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ไม่เป็นการผิดกฎหมายเพราะจําเลยเป็นผู้ชนะคดี ย่อมมีสิทธิเข้าทํา นาได้โดยอาศัยสิทธิตามคําพิพากษา แม้ต่อมาภายหลังศาลฎีกาจะได้พิพากษากลับให้โจทก์ชนะก็ไม่ทําให้ การกระทําของจําเลยในตอนนั้นกลายเป็นผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 420 1.1.1.4.4 “อํานาจตามความยินยอมของผู้เสยี หาย” “อํานาจตามความยินยอมของผู้เสียหาย” ได้แก่ อํานาจที่เกิดจากความยินยอมของ ผู้ถูกกระทํา เมื่อผู้ถูกกระทําให้ความยินยอมด้วยความสมัครใจแล้ว ผู้กระทําย่อมมีอํานาจกระทําได้ ความ ยินยอมต้องเป็นการให้ความยินยอม “ก่อน” หรือ “ขณะ” ที่มีการกระทํา แล้วผู้ถูกกระทําที่ได้ให้ความ ยินยอมต้องให้ความยินยอมโดยไม่ได้สําคัญผิด ถูกหลอกลวง ถูกข่มขู่หรือถูกบังคับแต่อย่างใด ที่กล่าวมา ทั้งหมดย่อมเป็นความยินยอมที่อยู่ภายใต้ “หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด” หรือ “หลัก Volenti non fit injuria” อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นมานั้น ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วย ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ออกมาบังคับใช้ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อป้องกันคู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่งถูกคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเอารัดเอาเปรียบอันเนื่องมาจากการอาศัยหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด ในช่วงเวลา “ก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540” คู่สัญญาฝ่ายที่เอารัดเอาเปรียบมักอ้างการให้ความยินยอม ของคู่สัญญาฝ่ายที่เสียเปรียบ ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เอารัดเอาเปรียบมักกล่าวอ้างว่าคู่สัญญาฝ่ายที่เสียเปรียบได้ เป็นผู้ยินยอมให้คู่สัญญาฝ่ายที่เอารัดเอาเปรียบกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อคู่สัญญาฝ่ายที่เสียเปรียบ ด้วยตนเอง แม้ว่าการกระทํานั้นจะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ก็สามารถนํามาเป็นเหตุยกเว้นไม่ให้ถือว่าการกระทําดังกล่าวเป็นการ

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 35 กระทําละเมิด แต่ภาย “หลังจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2540” เป็นต้นมา พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 9 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “ความตก ลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสําหรับการกระทําที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนํามาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิด มไิ ด้” นอกจากนี้ “ข้อตกลงจํากัดความรับผิด” ที่จัดทําเอาไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิด ทั้งความรับผิดเพื่อละเมิดและความรับผิดเพื่อสัญญา จะทําได้หรือไม่เพียงใดนั้น (เช่น ข้อตกลง ยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิดของโรงพยาบาล ลานจอดรถห้างสรรพสินค้า และสวนสนุก ฯลฯ)ในปัจจุบันมี พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 8 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความท่ีได้ทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาใน ความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น อันเกิดจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ของผู้ตกลง ผู้ประกาศ ผู้แจ้งความ หรือของบุคคลอื่นซึ่งผู้ตกลง ผู้ประกาศหรือผู้แจ้งความต้องรับผิดด้วย จะนํามาอ้างเปน็ ขอ้ ยกเว้นหรือจํากดั ความรบั ผดิ ไม่ได้ ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดใน กรณีอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งไม่เป็น โมฆะ ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร แกก่ รณเี ท่าน้ัน” โรงพยาบาล ลานจอดรถห้างสรรพสินค้า และสวนสนุก (บางแห่งในประเทศไทย) มักกําหนด ข้อความสงวนสิทธิจํากัดความรับผิดของตนเอาไว้ในทํานองที่ว่า \"ผู้บริโภคหรือผู้เข้ามาใช้บริการที่เข้ามาใช้ บริการในสถานที่ดังกล่าว ถือว่าผู้บริโภคหรือผู้เข้ามาใช้บริการต้องยอมรับการเสี่ยงภัยด้วยตนเอง สถานท่ี ดังกล่าวไม่ขอรับผิดชอบในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและทรัพย์สิน อันเกิดจากการบริโภคหรือ การเขา้ มาใชบ้ รกิ ารในสถานทน่ี น้ั \" ขอ้ อา้ งดงั กลา่ วในปจั จบุ นั ไมอ่ าจหยบิ ยกขน้ึ มาอา้ งเพอ่ื ยกเวน้ ความรบั ผดิ เพื่อละเมิดในทางแพ่งได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 1.1.2 การกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลนิ เล่อ 1.1.2.1 การกระทําโดยจงใจ “กระทาํ โดยจงใจ” ไดแ้ ก่ การกระทาํ ท่ีผกู้ ระทาํ รูถ้ งึ ผลที่จะเกดิ ขึน้ จากการกระทาํ ของตนเอง

36 ปีดเิ ทพ อยู่ยืนยง การกระทําโดยจงใจตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ต้องเป็นการกระทํา โดย “จงใจทําให้เขาเสียหาย” ไม่ว่าจะเป็นเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวคือผู้กระทําต้องรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทําของตนเองว่าการกระทําของ ตนเองจะเกิดผลเสียหายแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคล อน่ื หรือไม่ มีคาํ พิพากษาคําพพิ ากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกบั การกระทําโดยจงใจ อาทิ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549 จําเลยยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จําเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสําหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจําเลยไม่มีสิทธิ ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจําเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับ เงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จํากัด (มหาชน) ตามคําขอ ของจําเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จํากัด (มหาชน) ได้นําบัตรภาษีไปใช้ชําระค่าภาษีอากรแทนเงิน สดและโจทกไ์ ดใ้ ชเ้ งนิ ตามมลู คา่ บตั รภาษเี ปน็ คา่ ภาษอี ากรแทนแลว้ โจทกจ์ งึ นาํ คดมี าฟอ้ งขอใหจ้ าํ เลยรบั ผดิ ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทําของจําเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทําต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทําละเมิด ซึ่งจําเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทําละเมิด จําเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ประมวล กฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 420 206 และ 224 วรรคแรก คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2550 การที่จําเลยที่ 1 สําแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขน สินค้าขาออกฉบับพิพาท โดยไม่มีการส่งออกไปต่างประเทศจริง จําเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่า ภาษีอากรในรูปบัตรภาษีและไม่มีสิทธิโอนสิทธิตามบัตรภาษีให้บุคคลอื่น การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็น การจงใจกระทําต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จําเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชําระดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทําละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 206 คือวันที่จําเลยที่ 3 รับบัตรภาษีพิพาทไปจากโจทก์ มิใช่นับแต่วันที่มีการนําบัตรภาษี ไปชําระค่าภาษีอากร จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนไม่จํากัดความรับผิดของจําเลยที่ 1 จงึ ต้องร่วมรบั ผดิ กับจาํ เลยท่ี 1 ดว้ ย คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2560 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์ได้รับแจ้งเหตุและ เดินทางไปดูป้ายโครงการก่อสร้างที่ระบุชื่อโจทก์เป็นสถาปนิกโครงการ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สํานักงานเขตบางพลัด จึงทราบว่าจําเลยที่ 2 ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างโดยใช้เอกสาร ที่มีลายมือชื่อปลอมของโจทก์โดยอ้างว่าจําเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ดําเนินการก่อสร้าง ถือว่าโจทก์รู้ตัว

คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 37 จําเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์นําคดีมาฟ้องวันที่ 10 กมุ ภาพนั ธ์ 2554 สิทธเิ รยี กร้องตามคําฟอ้ งของโจทก์จงึ ไมข่ าดอายุความ จําเลยที่ 4 รู้ว่าโจทก์ไม่ได้รับเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบแต่กลับมีเจตนานําชื่อโจทก์มาลงไว้ใน ป้ายประกาศบริเวณที่ก่อสร้างว่าโจทก์เป็นสถาปนิก การกระทําของจําเลยที่ 4 และในฐานะกรรมการบริษัท จําเลยที่ 3 เป็นการกระทําโดยไม่ชอบเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทําของจําเลยที่ 3 และ ที่ 4 จงึ เปน็ การกระทําละเมิดต่อโจทก์ “จงใจในทางแพง่ ” ต่างกบั “เจตนาในทางอาญา” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า “กระทําโดยจงใจ” ไดแ้ ก่กระทําโดยรถู้ ึงผลที่จะเกดิ ขนึ้ จากการกระทาํ ของผกู้ ระทาํ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า “กระทําโดยเจตนา” ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทําและ ในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล ของการกระทํานั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง “เจตนาในทางอาญา” แบ่งเป็น (ก) “เจตนาประสงค์ต่อผล” หมายถึง เจตนาซึ่งตัวผู้กระทํามุ่งหมายจะให้เกิดผลนั้นขึ้นมาหรือรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกระทํา (ข) “เจตนาเล็งเห็นผล” หมายถึง เจตนาซึ่งตัวผู้กระทําเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ โดยที่ตัว ผ้กู ระทําเองไม่ใยดีตอ่ ผ้ทู ี่จะเกิดข้ึน “จงใจในทางแพ่ง” ต่างกับ “เจตนาเล็งเห็นผลในทางอาญา” เพราะ “จงใจในทางแพ่ง” เป็น การกระทําที่ผู้กระทํารู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทําของตนเองหรือผู้กระทําใยดีถึงผลของการกระทํา ของตนเอง ในทางตรงกันข้าม “เจตนาเล็งเห็นผลในทางอาญา” เป็นการกระทําที่ผู้กระทําอาจไม่ใยดีถึงผล ของการกระทําของตนเองหรือไมร่ ู้ถงึ ผลที่จะเกดิ ขน้ึ จากการกระทําของตนเอง แม้ว่าการกระทําโดย “เจตนาเล็งเห็นผลในทางอาญา” อาจเป็นการกระทําที่ผู้กระทําอาจ “ไม่ใยดีถึงผลของการกระทํา” ของตนเอง ซึ่งถือว่า “ไม่ได้เป็นการกระทําโดยจงใจ” แต่การกระทําโดย “เจตนาเล็งเห็นผลในทางอาญา” อาจถือเป็นการกระทําโดย “ประมาทเลินเล่อ” หรือ “ประมาทเลินเล่อ อยา่ งรา้ ยแรง” เทา่ นนั้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2509 จําเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยไม่ เจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ถือว่าจําเลยได้ทําละเมิดต่อผู้ตายแล้ว เพราะการที่จําเลยใช้ มีดแทงผู้ตายก็เป็นการกระทําโดยจงใจทําร้ายผู้ตายโดยผิดกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว แม้จะไม่มีเจตนาฆ่าก็ได้

38 ปดี ิเทพ อย่ยู ืนยง ชื่อว่ากระทําละเมิด แต่การละเมิดนั้นถึงกับมีเจตนาจะฆ่าหรือทําให้ตายโดยไม่มีเจตนานั้นเป็นเรื่องของ เจตนาในการทาํ ผดิ ทางอาญา เจตนากระทาํ กบั จงใจกระทํา จะตีความอนุโลมอยา่ งเดียวกันมไิ ด้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2535 การที่จําเลยที่ 2 ใช้ปืนซ่ึงเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปทางกลุ่ม ผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ 10 คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนปืนจะถูกผู้ใดหรือไม่ แม้จะเป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็ อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นการกระทําที่ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น เป็นการกระทําโดย เจตนาฆา่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2543 การกระทําโดยเจตนาในทางอาญา หมายถึงการกระทํา โดยรู้สํานึกในการกระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําน้ัน ส่วนการกระทําโดยจงใจในทางแพ่ง หมายถึง กระทําโดยรู้สํานึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทําของ ตนหรืออีกนัยหนึ่งคือ กระทําโดยรู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น อันมีความหมายกว้างกว่าการ กระทําโดยเจตนาในทางอาญา 1.1.2.2 การกระทาํ โดยประมาท “ประมาทในทางอาญา” และ “ประมาทในทางแพ่ง” มีความแตกต่างกันที่สาระสําคัญนั้นก็ คือ (ก) “ประมาทในทางอาญา” ในบางเรื่องเท่านั้นที่กฎหมายอาญาวางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้บุคคลต้องรับ ผิดทางอาญา แล้วกฎหมายอาญาบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจน (ข) “ประมาทในทางแพ่ง” เป็นเรื่องของมูล ความรับผิดจากหนี้เกิดโดยนิติเหตุ (ละเมิด) กฎหมายแพ่งวางหลักเกณฑ์ทั่วไปเอาไว้ให้บุคคลที่กระทําโดย ประมาทเลินเล่อต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย ทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือค่า สนิ ไหมทดแทน อย่างไรก็ตาม “ประมาทในทางอาญา” และ “ประมาทในทางแพ่ง” ก็สามารถนําเอา หลักเกณฑใ์ นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคส่มี าเทียบเคียงกนั ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “การกระทําโดย ประมาท” ได้แก่ “การกระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลใน ภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ ใหเ้ พียงพอไม่” การกระทําที่เป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อในทางแพ่งต้องตั้งต้นมาจาก “การกระทํา ความผิดมิใช่โดยจงใจ” ก่อให้เกิดความเสียหายมาตั้งแต่ต้น เพราะถ้าตัวผู้กระทําจงใจให้เกิดผลร้ายอย่าง

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 39 หนึ่งอย่างใดหรือตัวผู้กระทํารู้ถึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทําของตนแล้วมาตงั้ แต่ตน้ แลว้ เช่นว่าน้ยี อ่ ม ไมถ่ ือเป็นการกระทําโดยประมาทเลนิ เลอ่ แตถ่ อื เปน็ การกระทาํ โดยจงใจ การกระทําที่เป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อ ผู้กระทําเองต้องกระทําในทํานองที่“กระทํา โดยปราศจากความระมัดระวัง” นั้นหมายความว่าผู้กระทําต้องดูแลให้ปราศจากผลร้ายหรือดูแลอย่าง รอบคอบไม่ให้เกิดการพลาดพลัง้ ขนึ้ มา แตผ่ ้กู ระทํากลบั กระทาํ โดยขาดความระมัดระวงั ตามสมควร “การกระทําโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร” อาจเทียบเคียงเอาหลักเกณฑ์ของประมาท เลินเลอ่ ในทางอาญามาปรับใช้ โดยมีหลักเกณฑด์ ังต่อไปน้ี ก. “บุคคล” ได้แก่ บุคคลผู้กระทําโดยประมาทเลินเล่อ โดยบุคคลประเภทหรือจําพวกต่าง ๆ ย่อมมีความระมัดระวังที่แตกต่างกันออกไป ถ้าผู้กระทํามีความชํานาญในการกระทําอย่างหน่ึงอย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชํานาญในการประกอบวิชาชีพแล้ว ผู้กระทําย่อมต้องมีความระมัดระวังในการ ประกอบวิชาชีพนั้นยิ่งไปกว่าวิญญูชนทั่วไปหรือมากไปกว่าบุคคลธรรมดา มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ ดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 จําเลยที่ 2 ทําการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มี ขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจําเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจําเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทําการผ่าตัดแก้ไขที่คลินิก จําเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึง ให้แพทย์อื่นทําการรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทําการรักษาโจทก์ต่อจากจําเลยที่ 2 จะไม่สามารถ นําสืบให้เห็นว่า จําเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการ ผ่าตัด และรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจําเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ ผ่าตัด จําเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่ นายแพทย์ ด. ต้องทําการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจําเลยที่ 2 ผ่าตัดมา มีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไขและแสดงว่าจําเลย ที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และ กรรมวิธีในการดําเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความ ประมาทเลินเล่อ ของจําเลยที่ 2 ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ติดต่อรักษากับจําเลยที่ 2 ที่ คลินิกและตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลจําเลยที่ 1โจทก์จ่ายเงินให้จําเลยที่ 2 จํานวน 70,000 บาท ให้จําเลยที่ 1 จํานวน 30,000 บาท ยังฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1เป็นนายจ้างหรือตัวการที่ต้องร่วมรับผิด ในส่วน ของค่าเสียหายนอกจากส่วนที่มีใบเสร็จแม้โจทก์จะมีอาการเครียด อยู่ก่อนได้รับการผ่าตัดจาก จําเลยที่ 2 แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิมความเครียด ของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจําเลยที่ 2 ต้องรับผิด และแม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินไปเป็นจํานวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ ต้อง รักษาจริง ศาลเห็นสมควรกําหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ สําหรับค่าเสียหายอื่นนั้นเม่ือปรากฏว่าหลังจากแพทย์

40 ปีดิเทพ อยยู่ นื ยง โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึง ไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหาย อื่นอันมิใช่ตัวเงิน เหตุละเมิดเกิดวันที่ 12 เมษายน 2537 ต้องฟ้อง ภายใน 1 ปี ครบกําหนดตรงกับ วันหยุดสงกรานต์วันที่ 12 ถึง 14 เมษายน วันที่ 15 และ 16 เมษายน 2538 เป็นวันเสาร์อาทิตย์ ราชการ หยดุ ทาํ การ โจทก์ยื่นฟอ้ ง วันเปดิ ทาํ การวนั ท่ี 17 เมษายน 2537 ได้ คดีไม่ขาดอายุความ ข. “ภาวะ” ได้แก่ สถานการณ์ที่ว่าบุคคลทั่วไปหรือวิญญูชนที่อยู่ในภาวะเดียวกับผู้กระทํา จะใช้ความระมัดระวังเพื่อลดกับการเผชิญกับโอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งบุคคลทั่วไปหรื อวิญญูชนอาจเลือกทางเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ตนเองกําลังเผชิญอยู่ มีคํา พพิ ากษาศาลฎกี าทีน่ า่ สนใจดงั ต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2522 จําเลยขับรถหลบรถของ ผ. ที่ขับสวนลํ้าเส้นทางมาใน ระยะกระชั้นชิด จึงบังคับรถไม่ได้ ไปชนรถของโจทก์ที่คนขับหลบรถออกนอกเขตถนนมา ดังนี้ ไม่ใช่จําเลย ประมาทแตเ่ กดิ จากเหตุสดุ วิสัย ค. “วิสัย” ได้แก่ ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้กระทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เช่น วิสัยของ แพทย์ทั่วไปต้องพึงตรวจสอบประวัติการรักษาของคนไข้ด้วยตนเองและตรวจดูอาการของคนไข้ตั้งแต่แรก เขา้ รบั การรกั ษาทีโ่ รงพยาบาล มีคําพพิ ากษาศาลฎกี าทน่ี ่าสนใจดงั ตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552 จําเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับ รายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จําเลยท่ี 3 จะสอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทําการรักษาก็ตาม ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้ มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทําไม่ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทําให้จําเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่ อย่างใด ถือได้ว่าจําเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จําเลยที่ 3 สั่ง การ หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน อาการ แพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทําของจําเลยที่ 3 ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการ กระทาํ ละเมิดต่อโจทก์ ง. “พฤติการณ์” ได้แก่ สิ่งที่อยู่ภายนอกตัวผู้กระทําอันถือเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบการ กระทําของผู้กระทํา เช่น กลางวัน กลางคืน ถนนกว้าง ถนนแคบ ฯลฯ มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ ดังต่อไปน้ี

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 41 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2510 จําเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียว ขณะหยุดรถ รอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกาได้มีคนร้ายเปิดประตูรถเข้าไปน่ังคู่ และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จําเลย ตกใจขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่ได้เจตนาตามพฤติการณ์เช่นนี้ จะว่าการชน เกิดเพราะความประมาทของจําเลยไม่ได้ เพราะบุคคลที่อยู่ ในภาวะตกตะลึงกลัวจะให้มีความระมัดระวัง เช่นบุคคลปกติหาได้ไม่ เมื่อจําเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทําละเมิด จําเลยจึงไม่ต้องรับผิด ในความ เสยี หายท่ีรถชนกันน้นั 1.1.3 การกระทํานัน้ ทาํ ให้บคุ คลอื่นไดร้ ับความเสยี หาย “ความเสยี หาย” ได้แก่ ความเสื่อมเสยี หรอื ความย่อยยับในทางหนง่ึ ทางใดตอ่ ชวี ติ แกร่ ่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรพั ย์สนิ หรอื สิทธิอย่างหนง่ึ อยา่ งใด การกระทําของผู้กระทําต้องทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายในทางหนึ่งทางใด หากการกระทํา ของผู้กระทําไม่ทําให้ผู้อื่นเสียหายแล้ว การกระทําดังกล่าวย่อมไม่เป็นละเมิดต่อผู้อื่น (คําพิพากษาศาลฎีกา ที่ 457/2536) 1.1.3.1 ความเสียหายแกช่ ีวิต “ความเสียหายแก่ชีวิต” ได้แก่ การถึงแก่ความตายจากการกระทําละเมิด มีคําพิพากษาศาล ฎีกาทีน่ า่ สนใจ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 15067/2557 แม้อาการป่วยของโจทก์จะเกิดขึ้นจากความผิดปกติใน ร่างกายของโจทก์เอง โดยจําเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นหรือกระทําการใด ๆ ให้โจทก์เกิดโรคมะเร็งก็ ตาม แต่การแจ้งผลการตรวจผิดพลาดทําให้อาการโรคมะเร็งไตของโจทก์ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะ อื่น ๆ อีกโดยตามใบมรณบัตรยังระบุว่าโรคมะเร็งของโจทก์ลุกลามแพร่กระจายไปยังสมองเป็นเหตุให้โจทก์ ถงึ แก่ความตายในทสี่ ดุ ฎีกาของจําเลยท่ี 1 ในประเดน็ ท่วี า่ จาํ เลยทงั้ สองมิได้ร่วมกันทาํ ละเมิดตอ่ โจทกจ์ ึงฟัง ไม่ขึน้ 1.1.3.2 ความเสียหายแกร่ ่างกาย “ความเสียหายแก่ร่างกาย” ได้แก่ การที่ร่างกายได้รับอันตรายหรือเกิดอันตรายแก่กายอย่าง หนึ่งอย่างใด รวมไปถึงความเสียหายแก่จิตใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ เกลียด โกรธ เศร้า โศก เป็นตน้

42 ปีดเิ ทพ อย่ยู นื ยง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2509 การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจเพราะ อันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทําร้าย แต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็น อารมย์ หาใช่เปน็ อันตรายตอ่ จิตใจไม่ 1.1.3.3 ความเสียหายแกอ่ นามัย “ความเสียหายแก่อนามัย” ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ ซึ่งรวมไปถึงความ เสียหายที่เกิดจากการกระทําอันกระทบต่อถูกสุขลักษณะหรือการก่อเหตุรําคาญอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่อง ความเสยี หายแก่อนามัยมีคําพิพากษาศาลฎกี าท่ีนา่ สนใจบางฉบับด้วยกัน อาทิ (ก) เคยมีตัวอย่างคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่า “ความเสียหาย ทางดา้ นจิตใจย่อมถอื เป็นความเสยี หายแกอ่ นามยั ” คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042/2560 จําเลยที่ 3 ทําหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยครรภ์โจทก์ที่ 1 ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานของการตรวจคัดกรอง การตรวจอัลตราซาวด์ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อหาความผิดปกติ ของทารกแบ่งได้เป็น 3 ระดับ การตรวจระดับ 1 เป็นการตรวจคัดกรองอย่างง่ายดูจํานวนทารก การมีชีวิต ของทารก การประมาณอายุครรภ์ ปริมาณนํ้าครํ่า ส่วนนําของทารก ตําแหน่งทารก และความพิการ บางอย่างที่สามารถเห็นได้ง่าย จําเลยที่ 3 ให้ความเห็นในการตรวจว่า ทารกมีชีวิต เพศชาย บุตรในครรภ์ 1 คน รกอยู่ด้านหลังของมดลูกปริมาณนํ้าครํ่าปกติ ลักษณะลําตัว ตับ กระเพาะอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ ลําคอ และกระดูกสันหลังปกติ ความยาวของกระดูกต้นขา 21 มิลลิเมตร ตรงกับอายุครรภ์ 16.3 สัปดาห์ การเต้นของหัวใจและการเคลื่อนไหวของทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แสดงให้เห็นว่าในการตรวจอัลตราซาวด์ สามารถเห็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกายของทารกในครรภ์ได้ หากจําเลยที่ 3 ไม่ สามารถมองเห็นความผิดปกติหรือความพิการของทารกในครรภ์ก็มีหน้าที่ต้องแจ้งผลการตรวจให้โจทก์ที่ 1 ทราบว่ายังไม่สามารถตรวจพบความพกิ ารในส่วนแขนและขาของทารกได้เพราะยังมองเห็นไม่ครบถ้วน การ ที่จําเลยที่ 3 แจ้งว่าทารกในครรภ์มีสภาพร่างกายสมบูรณ์หรือไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ทั้ง ๆที่สภาพ ร่างกายทารกมีความพิการรุนแรง ย่อมทําให้โจทก์ที่ 1 เสียโอกาสในการตัดสินใจว่าจะหาทางแก้ไขเยียวยา หรือดําเนินการเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และหากโจทก์ที่ 1 ทราบข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ย่อมมีโอกาสเตรียมใจ ยอมรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นก่อนการคลอดโจทก์ที่ 2 มากกว่าที่จะรู้ถึงความพิการของโจทก์ที่ 2 โดย กะทันหันกระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจโจทก์ที่ 1 อย่างรุนแรง การที่จําเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันตรวจ วินิจฉัยการตั้งครรภ์ของโจทก์ที่ 1 ไม่พบความพิการของโจทก์ที่ 2 และไม่ได้แจ้งโจทก์ที่ 1 ทราบข้อมูลที่ ถูกต้องและครบถ้วนด้วยภาษาที่โจทก์ที่ 1 จะเข้าใจได้ จึงเป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่ออันเป็นการ ละเมิดทําให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายทางด้านจิตใจอันเป็นความเสียหายแก่อนามัย ดังนั้น จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ที่ 1 และจําเลยที่ 2 แพทย์เจ้าของไข้ในฐานะตัวแทนของจําเลยที่ 1 ซึ่งมอบหมาย

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 43 ให้จําเลยที่ 3 ร่วมในการตรวจวินิจฉัยการตั้งครรภ์ของโจทก์ที่ 1 ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ จึงต้องร่วมกันรับ ผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ที่ 1 ด้วย แม้โจทก์ที่ 2 พิการรุนแรงเรื่องจากมีความผิดปกติในขณะท่ี โจทก์ที่ 1 ตั้งครรภ์อยู่ในความดูแลของจําเลยทั้งสาม และจําเลยที่ 3 ตรวจไม่พบ อันเป็นการกระทําละเมิด ต่อโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่า ความพิการของโจทก์ที่ 2 เกิด จากการกระทาํ ของจาํ เลยทั้งสาม นอกจากนี้ กรณีของโจทก์ที่ 2 แม้ตรวจพบความพิการก็ไม่สามารถผ่าตัดแก้ไขในระหว่าง ทารกอยู่ในครรภ์ได้ต้องรอให้คลอดออกมาก่อน โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้นําสืบว่า หากจําเลยที่ 3 พบความพิการ ของโจทก์ที่ 2 แล้วจะดําเนินการอย่างไร เพื่อให้เห็นว่า การที่จําเลยที่ 3 ตรวจไม่พบความพิการนั้น ทําให้ โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหายหรือพิการมากขึ้น แต่กลับได้ความว่า หากพบความพิการของโจทก์ที่ 2 โจทก์ ที่ 1 จะปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนํา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า ความพิการทางร่างกายของโจทก์ที่ 2 เป็นผล โดยตรงจากการกระทาํ ของจําเลยทงั้ สาม จําเลยทง้ั สามจึงไม่ต้องรับผิดในค่าสนิ ไหมทดแทนแก่โจทกท์ ่ี 2 (ข) เคยมีตัวอย่างคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่า “การที่ผู้กระทําได้ใช้ อาวุธปืนข่มขู่ผู้อื่นเช่นนี้เป็นการทําให้ผู้อื่นเสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของผู้อื่นแล้ว เพราะเป็นการทําให้ ผู้อื่นตกใจกลัวเป็นความเสยี หายเก่ยี วกับความรสู้ ึกทางดา้ นจติ ใจ” คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4571/2556 ในคดีเดิมอันเป็นมูลเหตุของคดีนี้คือคดีอาญาหมายเลข แดงที่ 1027/2552 ของศาลชั้นต้น มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้เสียหาย ศาลในคดีดังกล่าวยังได้อนุญาตให้โจทก์คดีนี้ เป็นโจทก์ร่วมด้วย จึงฟังได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เสียหาย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคดีอาญาหมายเลขแดง ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่า จําเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับถนน สาธารณะหลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ ประกอบกับจําเลยยังรับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกว่า จําเลยได้พูดขู่เข็ญ โจทก์ว่า \"มึงอยากตายหรือ\" การกระทําดังกล่าวนับว่าเป็นการกระทําโดยจงใจทําใหโ้ จทก์เสียหาย เป็นการ ทําละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิติ นยั แม้ว่าจําเลยจะมิได้ยิงอาวุธปืนดังกล่าวก็ตาม แต่การที่จําเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่โจทก์เช่นนี้เป็น การทําให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์แล้ว เพราะเป็นการทําให้โจทก์ตกใจกลัวเป็นความ เสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 446 โจทกม์ สี ิทธเิ รียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีดังกล่าวน้ีได้

44 ปดี ิเทพ อยยู่ ืนยง 1.1.3.4 ความเสยี หายตอ่ เสรภี าพ “ความเสียหายต่อเสรีภาพ” ได้แก่ ความเสียหายอันเนื่องมาจากการข่มขืนใจให้ผู้ถูกข่มขืนใจ กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด อันเป็นผลมาจากความ กลัวการข่มขืนใจนั้นๆ การข่มขืนใจต้องทําให้ผู้ถูกข่มขืนใจกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน ทั้งของตัวผู้ถูกข่มขืนใจเองหรือของตัวผู้อื่น มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4571/2556 ในคดีเดิมอันเป็นมูลเหตุของคดีนี้คือคดีอาญาหมายเลข แดงที่ 1027/2552 ของศาลชั้นต้น มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้เสียหาย ศาลในคดีดังกล่าวยังได้อนุญาตให้โจทก์คดีน้ี เป็นโจทก์ร่วมด้วย จึงฟังได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เสียหาย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคดีอาญาหมายเลขแดง ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่า จําเลยถืออาวุธปืนติดตัวออกมาบริเวณทางเดินเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับถนน สาธารณะหลังจากมีปากเสียงกับโจทก์ ประกอบกับจําเลยยังรับข้อเท็จจริงในคดีนี้อีกว่า จําเลยได้พูดขู่เข็ญ โจทก์ว่า \"มึงอยากตายหรือ\" การกระทําดังกล่าวนับว่าเป็นการกระทําโดยจงใจทําใหโ้ จทก์เสียหาย เป็นการ ทําละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิติ นยั แม้ว่าจําเลยจะมิได้ยิงอาวุธปืนดังกล่าวก็ตาม แต่การที่จําเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่โจทก์เช่นนี้เป็น การทําให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์แล้ว เพราะเป็นการทําให้โจทก์ตกใจกลัวเป็นความ เสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม ประมวลกฎหมาย แพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 446 โจทกม์ สี ิทธเิ รียกคา่ สนิ ไหมทดแทนในกรณีดังกล่าวนีไ้ ด้ 1.1.3.5 ความเสียหายแกท่ รพั ย์สนิ “ความเสียหายแก่ทรัพย์สิน” ได้แก่ ความเสียหายอันเนื่องมาจากผู้กระทําได้กระทําโดยผิด กฎหมายอาญาต่อทรัพย์สินของผู้อื่นและการกระทําดังกล่าวได้เข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาในฐาน นั้น ๆ อันประกอบด้วยความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ และ ความผดิ ฐานปลน้ ทรพั ย์ อย่างไรก็ตาม การกระทําบางอย่างไม่มีผิดฐานทําให้เสียทรัพย์เพราะมิได้มีเจตนาทําให้เสีย ทรัพย์ (ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญา) แต่ผู้กระทํายังต้องรับผิดในการละเมิดที่ทําแก่ทรัพย์ของ บุคคลอืน่ มคี ําพิพากษาศาลฎกี าทนี่ ่าสนใจดังต่อไปนี้

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 45 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2500 จําเลยเป็นไวยาวัจกรของวัด ได้บอกกล่าวให้โจทก์ร้ือ ถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกลํ้าที่เข่าวัดออกมา เพื่อทางวัดจะได้ขุดคูไปให้ทะลุคลอง ตามที่ได้ตกลง จ้างเขาไว้ โจทก์รับทราบและว่าจะจัดการ แล้วต่อมาไม่จัดการ ประวิงเวลาไว้จนสัญญาที่ทางวัดจ้างผู้ขุดจะ หมด จําเลยจึงได้เข้าจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและตัดต้นไม้ที่ลํ้านอกเขตเช่า โดยระมัดระวังพยายามให้ เกิดการเสียหายน้อยที่สุด เพื่อขุดคลองแล้วนําไปกองไว้ให้โจทก์ เช่นนี้จําเลยยังไม่มีผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ เพราะมิได้มีเจตนาทําให้เสียทรัพย์ แต่จําเลยต้องรับผิดในการละเมิดท่ีทําแก่ทรัพย์ของโจทก์ ไม่ได้รับการ ยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 451 นอกจากค่าเสียหายธรรมดาแล้วศาลยังคิด ค่าเสียหายให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 446 อกี โสดหน่ึงดว้ ย 1.1.3.6 ความเสียหายต่อสทิ ธอิ ย่างหนึ่งอย่างใด “ความเสียหายต่อสิทธิอย่างหน่ึงอย่างใด” หมายถึง ความเสียหายอันเกิดขึ้นต่อสิทธิของ บุคคลท่กี ฎหมายรับรองหรอื ค้มุ ครองเอาไว้ ในปัจจุบันถ้อยคําว่า “สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อาจถูกนํามาตีความได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึง “สิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ” ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 มีคําพพิ ากษาศาลฎกี าท่นี ่าสนใจดงั ต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2557 คํากล่าวของจําเลยที่ 1 ตามคําฟ้องที่ว่า \"พวกมันมีเหี้ย 7 ตัว\" หรือ \"มันเป็นสามานย์\" แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้งเจ็ด แต่ก็มิใช่การนําความเท็จหรือข้อความ ที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแตเ่ ปน็ การดา่ โจทกท์ ง้ั เจด็ ดว้ ยความรสู้ กึ เกลยี ดชงั วา่ โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเหมือนสัตว์ซึ่งไม่ใช่เป็นการนําข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมากล่าว จําเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 423 แต่การพูดปราศรัยด้วยถ้อยคําตามฟ้องต่อประชาชนที่มาฟังการชุมนุม ณ ที่เกิด เหตุนั้นประชาชนที่ฟังย่อมรู้สึกได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี ไม่เหมาะสมแก่ตําแหน่งประธานสภาหรือ สมาชิกสภาเทศบาล อันเข้าลักษณะเป็นการทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 420 ทําให้โจทก์ทั้งเจ็ดเสียชื่อเสียงอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่ง ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิด ต่อโจทกท์ ้ังเจ็ดและจําต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพอื่ การนนั้ 1.1.4 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพ่อื การนั้น “ค่าสินไหมทดแทน” หมายถึง จํานวนเงินที่ต้องชดใช้สําหรับเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น บุคคลหรือทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทําละเมิด รวมทั้งทรัพย์สินที่จะต้องคืนหรือราคาทรัพย์สินท่ี

46 ปีดิเทพ อยู่ยนื ยง จะต้องใช้ให้แก่ผู้เสียหายเนื่องจากทรัพย์สินของผู้เสียหายได้เสียหายไป เพื่อให้ผู้เสียหาย (ผู้ถูกกระทํา ละเมดิ ) ไดก้ ลบั คนื สฐู่ านะเดิม ค่าสินไหมทดแทนถือเป็น “ผลของการกระทําละเมิด” เพราะเมื่อผู้กระทําละเมิดในฐานะ ลูกหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่กระทําละเมิดแล้ว ผู้กระทําละเมิดในฐานะลูกหนี้ก็ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด เมื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หนี้อันเกิดแต่มูล ละเมิดกย็ ่อมระงับ “สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้กระทําละเมิดกับผู้ถูกกระทําละเมิด” ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลทําให้การเรียกร้องในหนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดของ ผู้ถูกกระทําละเมิดได้ระงับสิ้นไปและทําให้ผู้กระทําละเมิดกับผู้ถูกกระทําละเมิด ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ใน สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดระงับไปแล้ว ก็ย่อมกลายเป็นหนี้ใหม่ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ถือเป็น “การแปลงหนี้ใหม่” (การที่ผู้ถูกกระทําละเมิดและผู้กระทําละเมิด ตกลงกันก่อหนี้ขึ้นใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความขี้น โดยมีเจตนาให้หนี้ในมูลละเมิดเดิมระงับไป) มคี าํ พพิ ากษาศาลฎกี าทน่ี า่ สนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2540 การที่โจทก์และจําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในรายงาน ประจําวันเกี่ยวกับคดีว่า จําเลยที่ 1 ยอมรับผิดในความประมาทเลินเล่อและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 6,000บาท จากค่าเสียหายประมาณ 10,550 บาท หากจําเลยที่ 1 ไม่ชําระตามกําหนดให้โจทก์ฟ้องร้องทาง แพ่งได้นั้น เป็นการตกลงชําระค่าเสียหายกันเป็นจํานวนที่แน่นอนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์และจําเลยที่ 1 ตกลง ระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเกิดจากมูลละเมิดขับรถชนกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่ กัน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลทําให้การ เรียกร้องในหนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทําให้โจทก์กับจําเลยที่ 1 ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ใน สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดระงับไปแล้วความรับผิดของจําเลยที่ 1 ผู้ทําละเมิด และจําเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจําเลยทั้งสาม ปัญหานี้แม้จําเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ ฎีกามาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยการชําระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอํานาจพิพากษาให้มีผลถึง จําเลยท่ี 1 และที่ 3 ไดต้ ามประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 1.1.5 ความสมั พันธ์ระหวา่ งการกระทํากบั ผล “ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทํากับผล” ได้แก่ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างการกระทํา ละเมิดกับผลที่เกิดขึ้นมาจากการกระทําละเมิด หากพิจารณาแล้วว่ามีความสัมพันธ์กัน ผู้กระทําละเมิดก็

คาํ อธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 47 ย่อมต้องรับผิดในผลของการกระทําละเมิด ในเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทํากับผล” ตามประมวล กฎหมายแพง่ และพาณชิ ยม์ าตรา 420 ตอ้ งพจิ ารณาโดยอาศยั 3 ประเดน็ ด้วยกันอาทิ (ก) “ทฤษฎีเงื่อนไข” หรือเรียกว่า “ทฤษฎีผลโดยตรง” หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ว่า “ถ้าไม่มี การกระทํา ผลกจ็ ะไมเ่ กดิ ผลจึงเกดิ จากการกระทําน้ัน” หากไม่มีการกระทําของผู้กระทํา ผลก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากผลยังเกิดขึ้น โดยที่ปราศจากการ กระทําของผู้กระทําแล้ว แสดงว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่การกระทําของผู้กระทํา เช่นว่าน้ีผู้กระทําไม่ต้องรับผิด เพอื่ ละเมดิ มีคาํ พิพากษาฎกี าทนี่ ่าสนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546 จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้ นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จํานวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อน การเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม ต่ออีก 3 รอบ เป็นการกระทําโทษที่ วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสมตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อนักเรียนยังทําไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียงเล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบเพราะ จําเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมีอายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้ เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทําให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อน ล้มลง ในการวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว การ ตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกําลังตามคําสั่งของจําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 1 จะไม่ ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจ ก็ตาม มิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดเป็นเหตุ ให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการ กําหนดค่าสินไหมทดแทนให้น้อยลง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4904/2548 ผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามถูกกักขังและถูกทําร้าย ร่างกายในลักษณะการทรมานอยู่ในห้องพักที่เกิดเหตุเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีหนทางหลบ เล่ียงให้พ้นจากการถูกทรมานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้เห็นได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายต้องตก อยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน การที่ผู้ตาย ตัดสินใจกระโดดจากห้องพักเพื่อฆ่าตัวตายนั้นอาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหาย อื่น และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายอื่นจึงได้ตัดสินใจกระทําเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทน ทกุ ข์ทรมาน พฤติการณฟ์ งั ได้วา่ การตายของผตู้ ายมสี าเหตโุ ดยตรงมาจากการถูกทรมานโดยทารุณโหดรา้ ย

48 ปดี เิ ทพ อยูย่ นื ยง (ข) “ทฤษฎีเหตุเหมาะสม” หรือเรียกว่า “ผลธรรมดา” (ผลตามทฤษฎีเหตุเหมาะสม) หมายถึง หลักที่ใช้พิจารณาว่าเหตุที่เกิดขึ้นเหมาะสมหรือเพียงต่อที่จะเกิดผลขึ้นตามปกติหรือไม่ หาก เพียงพอกต็ อ้ งรบั ผดิ ในผลทเ่ี กิดขึ้น ในทางตรงกนั ขา้ มหากไม่เพยี งพอกไ็ ม่ต้องรับผิดในผลทีเ่ กดิ ขน้ึ การกระทํากับผลต้องดูว่าเกี่ยวพันกันอย่างสมเหตุสมผลกันหรือไม่ ส่วนมากศาลไทยมักไม่ใช้ ทฤษฎนี ้ี แต่จะใช้ทฤษฎเี งือ่ นไขหรือทฤษฎผี ลโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ (ค) กรณี “เหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้” หมายถึง เหตุแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมาเมื่อเกิดการ กระทําของผู้กระทําแล้วหรือเหตุแทรกแซงที่เกิดขึ้นมาภายหลังจากการกระทําของผู้กระทําแล้ว หากวิญญู ชนหรือบุคคลทั่วไปพึงคาดหมายได้ว่าผลอาจเกิดขึ้นภายหลังจากการกระทําของผู้กระทําแล้ว ผู้กระทําย่อม ต้องรับผิด มีตัวอย่างบ่อยที่เกิดขึ้นบนท้องถนน จากการที่รถบรรทุกสินค้าพลิกควํ่า (สินค้า เช่น ผลไม้ เสื้อผ้า สิ่งของมีค่า และวัตถุอันตราย) หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ท่ีชาวบ้านเข้ามุ่งดูเหตุการณ์หรือมีชาวบ้าน เข้ามาเก็บของที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนน เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนหรือบุคคลทั่วไป พึงคาดหมายได้เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนท้องถนนในประเทศไทย มีคําพิพากษาฎีกา ทว่ี นิ ิจฉัยเอาไว้ในเร่อื งน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973/2548 จําเลยที่ 4 ลูกจ้างของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ขับ รถบรรทุกวัตถุระเบิดของจําเลยที่ 1 ที่จําเลยที่ 1 ว่าจ้างจําเลยที่ 2 และที่ 3 ให้นําไปส่งที่คลังสินค้าของ จําเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ระหว่างการขนส่งจําเลยที่ 4 ประมาทเลินเล่อขับรถ ด้วยความเร็วเกินสมควรแล่นเข้าทางโค้งที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งหักข้อศอกโดยไม่ระมัดระวังจนเป็นเหตุให้ ไม่สามารถควบคุมรถได้ ทําให้รถเสียหลักพลิกควํ่าวัตถุระเบิดซึ่งบรรทุกมาตกกระจายอยู่บนพื้นถนน หลังจากนั้นมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิด ระเบดิ ขน้ึ ทําให้มผี เู้ สยี ชวี ิตและบาดเจ็บรวมหลายร้อยคน และทรพั ยส์ นิ ของโจทกท์ งั้ สามได้รบั ความเสยี หาย การกระทําของชาวบ้านที่ทําให้เกิดระเบิดขึ้นเช่นนี้เป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้เพราะเป็นเร่ือง ธรรมดาเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวง ก็จะมีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรวมทั้งประชาชนที่ใช้ยวดยาน สัญจรผ่านที่เกิดเหตุจะหยุดรถลงไปมุงดูเหตุการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ รวมทั้งอาจมีคนไม่ดี ซึ่งปะปนอยู่ในกลุ่มคนเหล่านั้นถือโอกาสหยิบฉวยเอาทรัพย์สินสิ่งของที่ตกหล่นไปได้ ทั้งการขนส่งวัตถุ ระเบิดครั้งนี้ก็มิได้จัดให้มีป้ายข้อความว่า \"วัตถุระเบิด\" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลัง รถบรรทุกวัตถุระเบิดคันเกิดเหตุด้วย จึงต้องถือว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นผลใกล้ชิดสัมพันธ์ต่อเนื่องมาจาก การขับรถโดยประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 4 ซึ่งกระทําการในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 และที่ 3 จําเลย ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทําละเมิดของจําเลยที่ 4 ด้วย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณชิ ย์ มาตรา 425

คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 49 1.2 การใช้สทิ ธิเกินส่วน ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 421 บญั ญัตเิ อาไว้วา่ “การใช้สทิ ธิซ่งึ มีแตจ่ ะให้ เกิดเสยี หายแกบ่ คุ คลอื่นน้ัน ทา่ นวา่ เปน็ การอนั มชิ อบด้วยกฎหมาย” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 เป็นบทขยายความมาตรา 420 ได้วาง หลักเกณฑ์เอาไว้ในเรื่อง “การใช้สิทธิเกินส่วน” กล่าวคือการใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองว่า สามารถกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดได้นั้น ต้องเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองไว้ แต่หากใช้ สิทธิที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองเอาไว้จนไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อต่อบุคคลอื่นในทางหนึ่งทางใด แลว้ กถ็ อื เป็นการอันมชิ อบด้วยกฎหมาย คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538 โจทก์เช่าดาดฟ้าตึกแถวติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของ โจทก์ส่วนจําเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่อยู่ติดกันและได้ติดตั้งป้ายโฆษณาของจําเลยปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์ในตึกแถวที่เช่าได้จําเลยก็ย่อมติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของจําเลยได้เช่นกัน โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าจําเลยติดต้ังป้ายโฆษณาภายหลังโจทก์หรือไม่เพราะการติดตั้งป้ายโฆษณาทั้งของ โจทก์และจําเลยต่างก็ติดตั้งบนดาดฟ้าของตึกแถวที่แต่ละฝ่ายเช่ามาทําประโยชน์ถือได้ว่าทั้งโจทก์และ จําเลยได้ใช้ประโยชน์จากตึกแถวที่เช่าตามแดนแห่งสิทธิของสัญญาเช่าที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ตามกฎหมายเมื่อไม่ ปรากฏว่าจําเลยติดตั้งป้ายเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การ ติดตั้งป้ายโฆษณาของจําเลยจึงเป็นการกระทําโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะปิดบังป้ายโฆษณาสินค้าของ โจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วยการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมาย แพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 421ไม่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2538 ตามสภาพของหลุมฝังศพย่อมก่อให้เกิดความหวาดกลัว ในเรื่อง ภูติผีวิญญาณ และเป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่มิใช่ญาติผู้ตายซึ่งมีบ้านเรอื นอยู่ใกล้หลุมฝังศพการที่จําเลยท่ี 1 สร้างหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยเพื่อเก็บศพของ ส. สามีจําเลยที่ 1 ในที่ดินของตนเองห่างจากบ้านของโจทก์ ทั้งสองประมาณ 10 เมตร โดยที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจําเลยที่ 1 เป็นที่อยู่อาศัย ไม่เคยมีหลุมฝังศพมา ก่อนและไม่ปรากฏว่าบริเวณใกล้เคียงมีหลุมฝังศพแต่อย่างใด ทั้งตามประเพณีแห่งท้องถิ่นก็ไม่นิยมให้มีการ ฝังศพในเขตหมู่บ้าน ดังนี้ การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็นการทําละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองตาม ประมวล กฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 1337 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2538 จําเลยชอบที่จะใช้สิทธิในที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ รวมแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเช่นกันการที่จําเลยปลูกบ้านคร่อมทางพิพาทที่โจทก์ ใช้เดินเป็นปกติจนได้รับความเดือดร้อนถือได้ว่าจําเลยใช้สิทธิของตนขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นแล้ว


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook