Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

IPE

Published by taweelap_s, 2019-05-21 02:38:41

Description: IPE

Search

Read the Text Version

รูปแบบการสง่ เสรมิ การเรียนรแู้ บบมีส่วนรว่ ม เพอ่ื พัฒนาศักยภาพสกู่ ารเป็นผ้ฝู กึ สอนกีฬาระดบั ชาติ Participatory Learning Promotion Model for Developing Potentials to Become National Coaches อเนชา เพยี รทอง, ศิรินภา เพียรทอง อาจารยป์ ระจาสาขาพลศึกษาและสขุ ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบนั การพลศึกษา วทิ ยาเขตชลบรุ ี 111 ม.1 ต.หนองไม้แดง อ.เมอื ง จ.ชลบุรี 20000 โทรศพั ท์ 083-0297939 Email : [email protected] บทสรปุ รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพ่ือพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ระดบั ชาติ เป็นกระบวนการพัฒนาผูเ้ รียนในสาขาวิชาพลศกึ ษาและสขุ ศึกษาท่ีลงทะเบยี นเรียนในกลุ่ม วิชาเอกพลศึกษา (วิชาทักษะและการสอนกีฬา) กรณีศึกษารายวิชาทักษะและการสอนกีฬาฟันดาบ โดยใช้การจัดการความรู้ในการดาเนินงาน ภายใต้กระบวนการการสนทนากลุ่ม (Focus group) ของ ผู้สอนในกลุ่มวิชาทักษะและการสอนกีฬาของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต ชลบุรี และการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานกับสมาคมกีฬาฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร (THAILAND FENCING FEDERATION: TFF) โดยในการจัดการเรียนการสอนใช้หลักสูตรแบบมีส่วนร่วมจากการสังเคราะห์ เอกสารจากรายละเอียดของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ฉบับ ปรับปรุง 2556 (มคอ.2) รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) และหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬา ฟันดาบสากลระดับชาติของสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ หลังจากการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมแล้ว นักศึกษาได้รับการทดสอบตามแบบทดสอบของรายวิชาทักษะและ การสอนกีฬาฟันดาบ และแบบทดสอบของสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งนักศึกษา ผ่านการทดสอบร้อยละ 100 ตามแบบทดสอบทั้ง 2 รายการ และได้รับใบรับรองคุณสมบัติ (certificate) ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบระดับชาติจากสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่ง ประเทศไทย รวมท้ังได้รับการข้ึนบัญชีรายช่ือเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติในระบบฐานข้อมูลของ การกฬี าแห่งประเทศไทย (กกท.) คาสาคัญ : รปู แบบการส่งเสรมิ การเรยี นรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้ฝกึ สอนกีฬาระดับชาติ

Summary Participatory learning promotion model for developing potentials to become national coaches is a developmental process based upon knowledge management for the physical education and health education students, registering for the major course of Physical Education (Skills and Instruction Course), Case Study: Fencing Skills and Instruction Course. Focus group was conducted by teachers of Skills and Sport Coaching Course in Faculty of Education, Institute of Physical Education Chon Buri Campus, on the participation of the Thailand Amateur Fencing Federation under the Royal Patronage of His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn. The data from documentary review on the Program Specification of Bachelor of Education in Physical Education and Health Education, Revised Edition B.E.2556 (Thai Qualifications Framework for Higher Education 2), Course Specification (Thai Qualifications Framework for Higher Education 3), and the National Fencing Coach Training Course of the Thailand Amateur Fencing Federation were analyzed and synthesized to construct the participative curriculum for student’s learning promotion for developing their potentials to become national coaches. The test of Skills and Fencing Coaching Course and the test of the Thailand Amateur Fencing Federation were given to the students as the instrument for evaluating their learning achievement. In conclusion, 100% of students who registered for and took the course of Skills and Fencing Coaching in relation to the constructed participative curriculum passed the test of this course and the test of Thailand Amateur Fencing Federation. They became the registered national fencing coaches certified by the Thailand Amateur Fencing Federation and their names were listed as national coaches in the database of the Sports Authority of Thailand (SAT). Key Words: participatory learning promotion model, national coaches.

บทนา ปัจจุบันสถานการณ์ เทคโนโลยี สังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน สถาบันอุดมศึกษาจึงมีความจาเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และรองรับสถานการณ์และความต้องการของประชาคมโลก ที่อาจเกิดข้ึนในอนาคต ซึ่งหลักสูตรท่ีดีควรสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาประเทศ ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และความต้องการกาลังคนของตลาดแรงงานและสังคมที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซ่ึงเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาประเทศ ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตท่ีดีสาหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนท่ีสมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์มีทัศนคติท่ีดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ย่ังยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” นอกจากหลักสูตรต้องให้ความสาคัญ กับความสอดคล้องกับแผนพัฒ นาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 –2564) ท่ีมีแนวคิดภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตท่ีดี มีความสุขในสังคม” ด้วยแนวความคิด คนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนา มีผลทาให้เกิดนโยบายทางด้านการศึกษา กล่าวโดยสรุป ในส่วนที่เก่ียวข้องกับ สถาบันอดุ มศกึ ษา แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ 1. ด้านบุคลากร ได้แก่ การพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศกึ ษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเกง่ มีคุณธรรม มีคุณภาพ เปน็ แบบอย่างทดี่ ีในการใชช้ ีวติ มีความรคู้ วามสามารถดา้ นการวิจัยและ พัฒนา เพ่ือนาไปสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างนวัตกรรม ซึ่งทาให้เกิดผลดีต่อ ประเทศในภาพรวม 2. ด้านหลักสูตร การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิต นกั ศกึ ษาไดม้ คี วามรคู้ วามสามารถในวิชาชพี ซงึ่ เปน็ กาลงั สาคัญในภาคเศรษฐกิจ 3. ด้านการเรียนการสอน การพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน ให้มีความรู้ ความสามารถและมีความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะที่ต้องพัฒนาของ ผเู้ รียน รู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเคร่ืองมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หลักสตู รศึกษาศาสตร บณั ฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสขุ ศึกษา ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. 2556. 2556: 5) จากนโยบายด้านการศึกษา ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้มีการปรับปรุงเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดบั ปริญญาตรี พ.ศ. 2558 สาหรับการผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสม

กับพลวัตของโลก ท่ีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยมีเจตนารมณ์ให้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ดังกล่าว รองรับการบริหารจัดการหลักสูตรท่ีมีลักษณะท่ีแตกต่างตามจุดเน้นของสาขาวิชาการและ วิชาชีพต่าง ๆ ตอบสนองการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตลาดแรงงาน ความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งบริบททาง สงั คมท่เี ปลี่ยนแปลงไป อนั เปน็ เหตใุ ห้ คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ซง่ึ จัด การศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ดาเนินการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรท่ีมีอยู่แล้ว ให้ดีย่ิงขึ้น โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถใน วิชาชีพ มคี ุณธรรมจริยธรรม มีคณุ ภาพชวี ติ ท่ดี ี และเป็นกาลังสาคัญในการพฒั นาประเทศในภาพรวม การให้ความสาคญั ในการผลิตบคุ ลากรเพ่ือให้เกิดความเป็นเลิศทางวิชาการตามหลักสตู ร ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา จะนาไปสู่การประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อ พัฒนาการกีฬา การพลศึกษาและตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งมีความสอดคล้องกับ การเปล่ียนแปลงของสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีแนวโน้มของความต้องการด้านพลศึกษา การออกกาลังกายและการฝึกกีฬามากขึ้น ซ่ึงคณะศกึ ษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ได้ดาเนินการจัดการเรียนการสอน และการศึกษาภาคปกติเหมือนกับมหาวิทยาลัยอ่ืนท่ัวไป โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาเอกพลศึกษาซึ่งเน้นไปในเร่ืองของการฝึกปฏิบัติทักษะของกีฬาชนิดต่าง ๆ โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถนาความรู้ไปใช้ในการสอนและการฝึกกีฬาในโรงเรียน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันในการพัฒนานักเรียนข้ึนไปสู่การเป็นนักกีฬาที่มีความเป็นเลิศ ทางการกีฬา และส่งเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับชาติ เช่น กีฬาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย กีฬา นักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย กฬี าเยาวชนแห่งชาติ และกฬี าแหง่ ชาติ นกั ศึกษาฝกึ ประสบการณ์ วิชาชีพครู หรือบัณฑิตของสถาบันฯ ที่สาเร็จการศึกษาใหม่ จะประสบปัญหาไม่มีบัตรประจาตัว ผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติจากสมาคมกีฬาให้การรับรอง อาจส่งผลให้การกีฬาแห่งประเทศไทย บังคับการใช้ระเบียบของสภาวิชาชีพการกีฬา ให้ผู้ฝึกสอนกีฬาคนน้ันออกจากการแก้เกมระหว่าง การแข่งขนั กีฬา ซึง่ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพของทีมที่นักศกึ ษาฝึกประสบการวิชาชีพครู หรอื บณั ฑิต สถาบันฯให้การดูแลระหว่างการแข่งขันกีฬา โดยบัตรประจาตัวผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติขั้นพ้ืนฐานน้ี ผู้ที่มีสิทธิสามารถขอรับได้จะต้องผ่านการฝึกอบรมจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยตามเง่ือนไขของ หลกั สตู รทีส่ มาคมกฬี าแหง่ ประเทศไทย ได้ย่นื ไว้กับการกีฬาแหง่ ประเทศไทย (กกท) เทา่ น้ัน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทาให้คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต ชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตพัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา เล็งเห็นถงึ ความสาคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรท่ีเกิด

จากความร่วมมือทางวิชาการของทุกภาคส่วนโดยมีเป้าหมายที่การผลิตคนให้เป็นครูท่ีมีคุณภาพ ควบคู่กับการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมกับ สมาคมกฬี าแห่งประเทศไทย ภายใต้การดาเนินงานโดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้ เพื่อจัดทา รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติ ท้ังน้ีใช้กรณีศึกษาจากชนิดกีฬาที่ได้รับนโยบายจากโครงการหนึ่งวิทยาเขตหน่ึงชนิดกีฬา ซ่ึงชนิดกีฬาของ วิทยาเขตชลบุรี คือ กีฬาฟันดาบสากล สาหรับผลลัพธ์ที่ได้ในการดาเนินการคร้ังนี้จะได้รูปแบบการจัดทา หลักสูตรการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาท่ีเรียนวิชาพลศึกษา ในชนิดกีฬาต่าง ๆ ก้าวไปสู่การเป็นครูผู้สอนท่ีมีคุณภาพ และเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติ โดยผ่าน การรับรองจากสมาคมกฬี าแห่งประเทศไทยตอ่ ไป วัตถุประสงค์ พัฒนาและสรา้ งรปู แบบการส่งเสรมิ การเรยี นรู้แบบมสี ่วนรว่ ม เพ่ือพัฒนาศกั ยภาพสกู่ ารเป็น ผ้ฝู ึกสอนกีฬาระดบั ชาติ โดยใชก้ ารจดั การความร้ใู นการดาเนนิ งาน วธิ ีดาเนินการ (KM Process) 1. การบ่งชี้ความรู้ เร่ิมจากการศึกษาจากปรัชญา วิสัยทัศน์ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556 โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์เอกสารจาก รายละเอยี ดของหลักสูตรศกึ ษาศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชาพลศกึ ษาและสุขศึกษา ฉบบั ปรับปรุง 2556 (มคอ. 2) รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) วิชาทักษะและการสอนกีฬาดาบสากล (Fencing Skills and Instruction Course) และหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบสากลระดับชาติขั้นพ้ืนฐานของ สมาคมฟนั ดาบสมคั รเล่นแหง่ ประเทศไทยฯ โดยจัดใหม้ ีการสนทนากลุม่ (Focus group) ของอาจารยท์ ีส่ อน ในกลุ่มวิชาทักษะและการสอนกีฬาของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี และจัดทา ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตรการเรียนการสอนแบบปกติ และหลักสูตรการอบรมของ สมาคมฟนั ดาบแหง่ ประเทศไทย แลว้ สรปุ ขอ้ มูลและข้อเสนอแนะเพ่ือสร้างหลกั สตู รแบบมีสว่ นรว่ มต่อไป 2. สร้างและแสวงหาความรู้ จากผลการดาเนินงานวิเคราะห์ในข้ันตอนดังกล่าวท่ีผ่านมา การสร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้น เกิดจากประสบการณ์สอนในรายวิชาทักษะและการสอนกีฬาของ ผู้สอนและประสบการณ์ท่ีเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติของสมาคมกีฬาต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยการเรียนการสอนมุ่งเน้นไปท่ีการสอนที่ครอบคลุมคาอธิบายรายวิชา แต่สาหรับ การฝึกอบรมจะต้องมีหัวข้อต่าง ๆ ที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยได้ดาเนินการจัดทาหลักสูตรและเสนอ

การกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปท่ีทักษะการฝึกกีฬา และการนาหลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ ในการฝึกชนิดกีฬาน้ัน ๆ ดังนั้นเม่ือสังเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 2 อย่างแล้ว จึงได้รูปแบบของหลักสูตร แบบมีส่วนร่วม 4 ประการ คือ (1) ระยะเวลาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง (2) เนื้อหาหลักสูตรท่ี เป็นการผสมผสานระหว่างทักษะกีฬาและการนาวิทยาศาสตร์การกีฬามาประยุกต์ (3) ความเชี่ยวชาญ ของวิทยากรในหัวข้อการฝึกต่าง ๆ (4) การทดสอบทักษะการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา จากนั้น อาจารย์ผู้สอน ได้ยกร่างหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม และประชุมร่วมกับอุปนายกสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย กาหนดผ้สู อนและผ้รู ับผดิ ชอบที่มีคุณสมบัติตรงตามคาอธิบายรายวิชาและคุณสมบัตขิ องสมาคมฯ 3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการจัดทาขั้นตอน และวิธีการ เพื่อเป็น แนวปฏิบัติ และ จัดเก็บในรูปแบบของคู่มือการดาเนินงานที่อธิบายข้ันตอนการใช้งานและวิธีการดาเนินงานของการจัดทา หลักสูตรแบบมีส่วนร่วม ซึ่งใช้กีฬาฟันดาบสากลเป็นกรณีศึกษา สาหรับชนิดกีฬาอื่น ๆ ที่จะนารูปแบบ ขน้ั ตอนการดาเนินงานไปใช้ นอกจากน้ีเพ่ือความสะดวกรวดเร็วในใช้งาน ได้ดาเนินการจัดเก็บ ในรปู แบบ ของฐานขอ้ มูลบนเวบ็ ไซต์ของสถาบนั ฯ 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การประมวลและการกล่ันกรองความรู้ที่เกิดข้ึนดาเนินการ โดยสังเคราะห์องค์ความร้อู อกมาเป็นเอกสาร เพ่ือจดั ทาหลักสูตรทีค่ รอบคลุมคุณภาพของการเรยี นวิชาชีพ ครพู ลศึกษาควบคู่กับการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา และจัดประชุมผู้สอนในกล่มุ ทกั ษะและการสอนกฬี าชนิดตา่ ง ๆ ทั้งนี้ได้มีการประสานงานจัดส่งเอกสารให้กับสมาคมกีฬาฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณา ความสอดคล้องของเนื้อหาของหลักสูตร กับจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบ และเมื่อมีการ ปรับปรุงแก้ไขตามขอ้ เสนอแนะเปน็ ท่ีเรียบร้อยแล้ว ได้จดั ส่งเอกสารหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมที่ได้จัดทาข้ึน และแผนการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสปั ดาห์ตลอดภาคเรยี น ให้กับสมาคมกีฬาฟนั ดาบสมัครเลน่ แห่ง ประเทศไทยให้การรับรองหลักสูตรและส่งต่อให้กับการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อรับทราบและบันทึกขอ้ มูล ไว้ในระบบฐานข้อมูลสาหรบั การข้ึนทะเบยี นใหผ้ ทู้ ผี่ า่ นการเรยี นตามหลกั สูตรแบบมีสว่ นรว่ มที่สร้างข้นึ ภาพประกอบที่ 1 ภาพประชุมคณะกรรมการทสี่ อนรายวชิ ากลมุ่ ทักษะและการสอนกีฬา ที่มา : อเนชา เพยี รทอง. 2561

5. การเข้าถึงความรู้ ใช้กระบวนการในการจัดประชุมอาจารย์ท่ีสอนในกลุ่มของรายวิชา ทักษะและการสอนกีฬาชนิดต่างๆ หลังจากนั้นได้นาหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมที่ผ่านการพิจารณาจาก สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งในการนาร่องคร้ังน้ีเป็นสมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย นาไป ถ่ายทอดความรู้สู่กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้องค์ความรู้ได้เข้าถึงนักศึกษาที่เป็น เป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพสกู่ ารเป็นผฝู้ กึ สอนกีฬาระดบั ชาติ ภาพประกอบที่ 2 ภาพ การถ่ายทอดความร้โู ดยกจิ กรรมการฝกึ กฬี าดาบสากล ทม่ี า : อเนชา เพยี รทอง. 2561 ภาพประกอบท่ี 3 ภาพการฝึกทกั ษะและการสอน ที่มา : อเนชา เพยี รทอง. 2561

6. การแบ่งปันแลกเปล่ียนเรียนรู้ การแลกเปล่ียนเรียนรู้ดาเนินการโดยการจัดประชุม สรุปผลการดาเนินงานเพื่อให้คณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็น สรปุ ผล สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจาก การดาเนินงาน นอกจากนี้ยังแลกเปล่ียนเรียนรใู้ นรูปแบบของการเผยแพร่ทางเว็บบล็อกเกอร์ เพ่อื ให้ หน่วยงานอ่ืน ๆ ภายนอกสถาบันฯ ได้เรียนรู้วิธีการและการดาเนินงานในการนาความรู้ไปใช้ ในการปฏบิ ตั งิ านของตนเองทเ่ี ก่ยี วข้อง ดงั ภาพ ภาพประกอบที่ 4 ภาพการแบ่งปันแลกเปล่ียนเรียนรผู้ า่ นทางเวบ็ Blogger ทม่ี า : อเนชา เพียรทอง. 2561 7. การเรียนรู้ ได้นาผลการดาเนินงานที่ผ่านการพิจารณาและตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว มาใช้ในการปฏิบัติงานการเรียนการสอน โดยจัดทาเป็นรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติ เพ่ือให้รายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหมวดของ รายวิชาทักษะและการสอนกีฬาได้ใช้เป็นแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีในการดาเนินงาน โดยมีรูปแบบ ดงั ต่อไปน้ี ภาพประกอบที่ 5 ภาพ TQF – SPORT Model ท่ีมา : อเนชา เพยี รทอง. 2561

ลักษณะของรูปแบบท่ีพัฒนาและสร้างข้ึน คือ TQF ซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาตทิ ี่ตอ้ งดาเนินการให้ไดม้ าตรฐานตามที่ สกอ.กาหนด และSPORT ซึ่งแสดงถึง การพัฒนาให้เป็นผู้ฝึกสอนกีฬาระดับชาติ จะเห็นได้ว่ารูปแบบท่ีพัฒนาและสร้างข้ึนเน้นทั้งคุณภาพ ของการเป็นครแู ละการเปน็ ผู้ฝึกสอนกีฬา โดยมลี ักษณะจาลองมาจากเป้ายิงธนทู ่ีมวี งรอบของคะแนน ไปตามลาดับจนถึงเป้ากลางท่ีมีคะแนนสูงสุด เปรียบได้กับรูปแบบท่ีพัฒนาและสร้างข้ึนจาก การจัดการความรู้ครั้งนี้ เป็นการดาเนินการตามลาดับข้ัน เพ่ือนาไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ ผู้เรียน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนในรายวิชาทักษะและการสอนกีฬาที่ผ่านเกณฑ์ และได้รับการรับรอง ขนึ้ ทะเบยี นเปน็ ผู้ฝกึ สอนกฬี าของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมอี งคป์ ระกอบดงั นี้ T = Teacher Professional Standard หมายถึง การได้มาตรฐานวิชาชีพครู ซ่ึงเป็น เป้าหมายแรกของการจัดการศึกษาสาหรับสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนานักศึกษาในหลักสูตรวชิ าชีพครู โดยเฉพาะนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ท่ีเน้นการผลิต บคุ ลากรทางด้านครทู ี่มีคณุ ภาพไดม้ าตรฐานวชิ าชีพครูที่ครุ สุ ภากาหนด Q = Quality Sports Coach) หมายถึง การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาท่ีมีคุณภาพ ซึ่งนอกจาก การผลติ ครูแล้ว ผเู้ รยี นที่เข้าร่วมหลักสูตรนี้จะถูกฝึกฝนและพัฒนาความสามารถศักยภาพของตนเอง ให้สามารถเปน็ ผ้ฝู กึ สอนกฬี าทีม่ คี ณุ ภาพได้เป็นอยา่ งดีย่ิง F = Full Potential Development หมายถึง การพัฒนาสู่ศักยภาพสูงสุด ซ่ึงเป็นการ ส่งเสริมใหผ้ ู้เรียนได้รบั การพัฒนาศกั ยภาพใหเ้ ป็นครู และผูฝ้ กึ สอนกีฬาอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสรมิ ให้ นักศึกษาทม่ี ีความสามารถที่แตกต่างกันได้รบั การพัฒนาให้มีคุณภาพทใ่ี กลเ้ คียงกนั ตามศักยภาพสงู สุด ของแตล่ ะบคุ คล หลงั จากการเรยี นการสอนตามหลกั สูตรรว่ มท่ไี ด้พัฒนาและสรา้ งข้ึนในคร้ังน้ี S = Skilled Teaching and Coaching หมายถึง การมีทักษะเชี่ยวชาญท้ังการสอนและ การฝึกกีฬา ซ่ึงผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะท่ีจาเป็นของการเป็นครผู ู้สอนวชิ าพลศึกษา ควบคู่กับ การเปน็ ผ้ฝู กึ สอนกีฬามอื อาชพี P = Participatory Learning Promotion หมายถึง การส่งเสริมการเรียนร้แู บบมีส่วนร่วม ซ่ึงผู้เรียนจะได้รับความร่วมมือจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ท่ีมี ลักษณะเฉพาะเจาะจงของชนดิ กีฬานั้นๆ ตลอดจนความรทู้ ี่ได้รบั ความร่วมมือจากผู้เชยี่ วชาญในสาขา ตา่ ง ๆ ท่เี กี่ยวข้องในหลกั สูตร เช่น การฝึกกีฬา จิตวทิ ยาการกีฬา วิทยาศาสตรก์ ารกีฬา เป็นต้น

O = Opportunity to National Level หมายถึง การสร้างโอกาสสู่ระดับชาติ นอกจาก การเรียนรู้ของหลกั สูตรท่ีมุง่ เน้นการฝึกสอนควบคู่กับการฝึกกีฬาแล้ว ผเู้ รยี นที่รายวชิ ากลมุ่ ทักษะและ การสอนกีฬาตามชนิดกีฬานั้น ๆ ของหลักสูตรร่วมในครั้งนี้ จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และการฝึก กฬี าก้าวสู่การเปน็ ผู้ฝึกสอนกฬี าระดบั ชาติในอนาคต R = Remarkable Integration between Learning and Training หมายถึง การบูรณา การท่ีชัดเจนระหว่างการเรียนรายวิชากับการฝึกกีฬาตามหลักสูตรสมาคมกีฬา ซึ่งผู้เรียนจะมี ความก้าวหน้าในองค์ความรู้เชิงลึกในรายวิชากลุ่มทักษะและการสอนกีฬาตามชนิดกีฬานั้นๆ ควบคู่ กับความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพของการเป็นผ้ฝู ึกสอนกฬี าตาม พรบ.ของสภาวชิ าชีพการกฬี า T = Thailand’s Sports Association Certification หมายถึง การได้รับการรับรองจากสมาคม กีฬาในประเทศไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดท่ีต้องการให้ผู้เรียนท่ีเรียนรายวิชากลุ่มทักษะและการสอนกฬี า ตามชนิดกฬี านั้น ๆ จากหลักสูตรร่วมท่ไี ด้จัดทาข้ึน ผ่านการรับรองคุณสมบัติจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศ ไทย และข้นึ บญั ชรี ายชื่อเป็นผฝู้ ึกสอนกีฬาระดบั ชาติกับการกีฬาแห่งประเทศไทย ผลและอภปิ รายผลการดาเนินงาน รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ระดับชาติ เป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในสาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียน ในกลุ่มวิชาเอกพลศึกษา (วิชาทักษะและการสอนกีฬา) กรณีศึกษารายวิชาทักษะและการสอนกีฬา ฟันดาบ โดยใช้การจัดการความรู้ในการดาเนินงาน ภายใต้กระบวนการการสนทนากลุ่ม (Focus group) ของกลุ่มคนที่สอนในกลุ่มวิชาทักษะและการสอนกีฬาของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี และการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานกับสมาคมกีฬาฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศ ไทย ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร (THAILAND FENCING FEDERATION: TFF) ซึ่งการจัดการความรู้ในครั้งนี้ ทาให้ได้รูปแบบ TQF – SPORT Model ซ่ึงเป็น ต้นแบบที่จะนาไปสู่การพัฒนาหลักสูตรของการสอนทักษะกีฬาต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานวิชาชีพครูและ ได้รับการรับรองคุณสมบัติจากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยนักศึกษาท่ีเรียนตามหลักสูตรแบบมี ส่วนร่วมคร้ังนี้ได้รับการทดสอบตามแบบทดสอบรายวิชาและแบบทดสอบของสมาคม โดยนักศึกษา ผ่านการทดสอบตามแบบทดสอบทั้ง 2 รายการ ร้อยละ100 นอกจากนใี้ นการประเมินความพึงพอใจ ของนักศึกษาท่ีมีต่อคุณภาพการเรียนการสอนตามหลักสูตรแบบมีส่วนร่วมที่ได้พัฒนาและสร้างข้ึน พบวา่ นกั ศึกษามีความพึงพอใจอยใู่ นระดับมาก (ค่าเฉล่ยี เท่ากบั 4.37)

ผลการดาเนินงานในครั้งน้ีสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 –2564) ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาครู อาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษา เพ่ือให้ได้ครูดี ครูเกง่ มีคุณธรรม มีคุณภาพ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนา หลักสูตรให้ทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้นิสิต นักศึกษาได้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพซึ่งเป็นกาลัง สาคัญในภาคเศรษฐกิจ และการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน ให้มีความรู้ ความสามารถและ มคี วามเข้าใจในการจดั การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะท่ีต้องพัฒนาของผูเ้ รียน อกี ทั้งมคี วาม สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ในการผลิตบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับพลวัตของโลกที่เปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ รองรับการบริหารจัดการหลักสูตรท่ีมีลักษณะท่ีแตกต่างตามจุดเน้นของสาขาวิชาการและวิชาชีพ ต่าง ๆ ตอบสนองการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แหง่ ชาติ ตลาดแรงงาน ความกา้ วหน้าของศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี สรุป รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ระดับชาติ โดยใช้การจัดการความรู้ในการดาเนินงาน ได้รูปแบบ TQF – SPORT มีองค์ประกอบที่สาคัญ 7 ประการ คือ T = Teacher Professional Standardหมายถึง การได้มาตรฐานวิชาชีพครู Q = Quality Sports Coach) หมายถึง การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีคุณ ภ าพ F = Full Potential Development หมายถึง การพัฒนาสู่ศักยภาพสูงสุด S = Skilled Teaching and Coaching หมายถึง การมีทักษะเชี่ยวชาญ ทั้งการสอนและการฝึกกีฬา P = Participatory Learning Promotion หมายถึง การส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม O = Opportunity to National Level หมายถึง การสร้างโอกาสสู่ระดับชาติ R = Remarkable Integration between Learning and Training หมายถงึ การบูรณาการท่ีชัดเจนระหวา่ งการเรยี นรายวิชากับการฝกึ กีฬาตามหลักสูตร สมาคมกีฬา และT = Thailand’s Sports Association Certification หมายถึง การได้รับการรับรองจาก สมาคมกีฬาในประเทศไทย ซ่ึงการดาเนินการในคร้ังนี้เป็นไปตามตามวัตถุประสงค์ท่ีตั้งไว้ และสถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตต่าง ๆ หรือมหาวิทยาลัยอ่ืน ๆ ที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาพลศึกษา ที่มุ่งเน้นการผลิตครูพลศึกษา สามารถนารูปแบบในคร้ังน้ีไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอน เพือ่ ประโยชนก์ ับผู้เรยี นและการพัฒนากฬี าของชาติไทยต่อไป

กิตติกรรมประกาศ การดาเนินการในครั้งนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบพระคุณคณะกรรมการดาเนินการ จัดการความรู้ของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรีทุกท่าน ขอขอบพระคุณ ท่าน พล.อ.ชาญชัย ยศสุนทร อุปนายกสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ อาจารย์อานนท์ คลื่นสุวรรณ กรรมการสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ วิทยากรทุกท่าน และอาจารย์ ปิติโชค จันทร์หนองไทร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สถาบันการพลศึกษา อาจารย์ ดร.น้าฝน กระมล ท่ีให้ความอนุเคราะห์เป็นท่ีปรึกษาโครงการการจัดการความรู้ ตลอดจนนักศึกษาทุกท่านที่ ลงทะเบียนเรียนรายวิชาทกั ษะและการสอนกีฬาฟนั ดาบ จนทาใหโ้ ครงการครงั้ นส้ี าเรจ็ ลุล่วงดว้ ยดี บรรณานกุ รม สถาบนั การพลศึกษา. 2556. หลกั สตู รศกึ ษาศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชาพลศกึ ษาและสุขศึกษา ฉบับปรับปรงุ พ.ศ. 2556. (มคอ.2). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบนั การพลศึกษา. สถาบนั การพลศึกษา วิทยาเขตชลบรุ ี. 2556. รายละเอยี ดของรายวิชาทกั ษะและการสอนกฬี า ดาบสากล. ชลบุร:ี คณะศกึ ษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. สมาคมฟนั ดาบแห่งประเทศไทย. 2561. เอกสารประกอบการบรรยายหลกั สตู รการอบรมผ้ฝู กึ สอน กีฬาฟนั ดาบระดับชาติ. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย. อเนชา เพยี รทอง. 2561. Knowledge management. 2561 สบื คน้ เมอื่ วนั ท่ี 3 มกราคม 2562 จาก https://kmipechon.blogspot.com/b/post-preview?token =APq4FmBWGkRXB0arbSmd6kb9rr6cjohKYYuAggO0- kInHH8XlhoJpRx1hKLcte5UlokP4PYQzceJ64hxzEGYz0kYI7YLRCIp1WKQI9mWBT Wm9-rnoH07HBooeEmxX12YlVT5XjJzzc3X&postId =7010591457856483580&type=POST.

เทคนคิ การเขยี นบทความวจิ ยั Research Article Writing Technique ชวนชม อาษา (Chuanchom Arsa) นวเนตร สงั ข์สมบรู ณ์ (Nawanate Sangsomboon) อาจารย์ สถาบันการพลศกึ ษา วทิ ยาเขตอา่ งทอง [email protected] อาจารย์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง [email protected] บทสรปุ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มี พันธกิจในการสร้างสรรค์และพัฒนาบุคลากรในด้านการจัดการศึกษา การเป็นแหล่งเรียนรู้ท่ี สาคัญของท้องถ่ิน และอีกประการหน่ึงที่สาคัญ คือ การวิจัย ซึ่งถือเป็นพันธกิจท่ีสาคัญต่อการ พัฒนานกั ศกึ ษา และองค์กรให้มคี ณุ ภาพ ทงั้ นี้วิทยาเขตอ่างทองได้เห็นความสาคัญของการจัดการ ความรู้ท่ีมีอยู่ในตัวบุคคลของบุคลากรที่มีคุณภาพในการทาผลงานวิจัย โดยมุ่งหวังให้นา ผลงานวิจัยไปนาเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ได้มากยิ่งข้ึน จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน วิจัย เร่ือง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพ่ือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้บุคลากรนาไปใช้การพัฒนา ศักยภาพของผลงานวิจัย ด้วยการเชิญวิทยากรให้ความรู้ด้านงานวิจัย เพ่ิมเติมและสร้าง กระบวนการกลุ่มทาให้บุคลากรได้เล่าประสบการณ์เพื่อแลกเปล่ียนความรู้ และดาเนินการจด บันทึก วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล จนได้เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ตั้งแต่การเร่ิมต้นใน การเขียนบทความวิจัย และเทคนิคการเขียนบทความวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็นรายข้อ ได้แก่ การกาหนดโครงสร้างของต้นฉบับบทความวิจัย การกาหนดโครงสร้างของแต่ละหน้า และการ เขยี นบทความวจิ ัย ซ่งึ บุคลากรได้นาเทคนิคดงั กลา่ วไปใช้ในการเขยี นบทความวิจัยได้ถูกต้อง และ นาไปตีพิมพ์ในวารสาร รวมถึงการนาเสนอในการประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ อีกทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเขียนบทความวิจัยร่วมกับคณาจารย์ผู้สอนเพื่อเป็น การพัฒนานักศกึ ษาไดอ้ ีกทางหน่งึ ด้วย Summary The Institute of Physical Education, Angthong Campus is a higher education institute which has missions on creating and developing educational management, being a significant local learning center, and researching. Researching is one of the important missions for student and organization development. The campus emphasizes on personal knowledge management among efficient staff on doing research, and intends to increase the research presenting and publishing. In order to gain the expected results, a sharing activity on the research aspect under the topic of Research Article Writing Techniques was done. The purpose of the activity was to form the best practice for personnel to develop their researching ability. An instructor was invited to give some extra knowledge

about researching and the ways to apply the group process to express the personnel’s experience. The lesson learned sharing, note taking, analyzing, and synthesizing were used. The results shown are the research article writing techniques that consist of the preparation, techniques, structure planning, making a draft, page setup, and how to write the research article. The participants can properly use those techniques to write their own research articles. They can also manage the article publishing in satisfactory ways, both in the national and international journals. Besides, in order to enhance the institute’s students, the students are promoted to participate in article writing with their teachers as well. คาสาคญั เทคนิค, การเขียน, บทความวจิ ัย บทนา ในปัจจุบันเป็นยุคสมัยสังคมแห่งฐานความรู้ และการเรียนรู้ แนวคิดการจัดการความรู้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ด้านการบริหารและจัดการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา ความต้องการในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ส่งผลให้องค์กรเกิดการแข่งขัน กันด้วยความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม “การจัดการความรู้”เป็นเครื่องมือสาคัญที่ช่วยและ ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศท้ังท่ีมีอยู่ใน ปัจเจกบุคคล องค์กร และชุมชน เพ่ือการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาหน่วยงาน รวมถึงพัฒนาสังคม ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ท่ีส่งเสริมให้คนไทยเกิดเรียนรู้ ตลอดชวี ิตอยา่ งมคี ณุ ภาพ ตามแนวการปฏิรปู การศึกษาต่อไป สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มี พันธกิจหลัก 6 พันธกิจ คือ 1) จัดการศึกษาด้านพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์ การกีฬา และสาขาอ่ืนที่เกี่ยวข้อง 2) วิจัยและพัฒนาด้านพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตรก์ ารกีฬาและสาขาอ่นื ทีเ่ ก่ียวข้อง 3) ใหบ้ ริการทางวิชาการ การจดั การกีฬา และดา้ น อน่ื ๆ แกส่ ังคม 4) พัฒนาองค์กรให้เป็นแหลง่ การเรยี นรู้ท่ีสาคัญของท้องถ่ิน 5) สง่ เสริม สนบั สนุน จัดการศึกษา สาหรับบุคคลท่ีมีความสามารถพิเศษด้านกีฬา นันทนาการ และผู้ด้อยโอกาส ทางการศึกษา และ 6) ทะนุบารุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งบทบาทสาคัญของสถาบันการศึกษา คือ การพัฒนา นักศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ การทะนุบารุง ศลิ ปวฒั นธรรม รวมเผยแพร่องคค์ วามรทู้ ีส่ ร้างสรรค์ใหก้ บั สงั คม สถาบันการพลศึกษา วทิ ยาเขตอา่ งทอง มบี ุคลากรทเ่ี ป็นนักวจิ ัยรนุ่ ใหม่ทไี่ ม่มผี ลงานวิจัย และบุคลากรที่ผลงานวิจัยแต่ไม่ได้เผยแพร่ผลงานวิจัย บุคลากรที่เผยแพร่ผลงานวิจัยมีเพียง จานวนหน่ึงและส่วนหนึ่งเป็นบุคลกรท่ีกาลังจะเกษียณอายุ ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ

การศึกษา จึงได้ดาเนินการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยมาเป็นระยะเวลาหน่ึง เพื่อ รวบรวมองค์ความรู้ด้านวิจัย แต่เป็นการดาเนินการที่ไม่เต็มรูปแบบ การดาเนินกิจกรรมการ จัดการความรู้ด้านวิจัยส่วนใหญ่ เป็นการดาเนินงานโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ระบบผู้ให้ คาปรึกษา (consult) ผู้ฝึกสอน (coaching) การจัดการความรู้จึงเป็นรูปแบบที่ถ่ายทอด ประสบการณ์การทาผลงานวิจัยจากรุ่นพ่ีสู่รุ่นน้อง เพื่อสร้างความเข้าใจต่อการทางานวิจัย หรือ การดาเนินการทาการวิจัยในลกั ษณะทีมที่จะต้องมีการปรึกษาหารือในการกาหนดหัวข้องานวิจยั กาหนดคาถามงานวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเขตการวิจัย รวมไปถึงวิธีการทาผลงานวิจยั มา เพื่อให้ได้รับคาตอบ การวิเคราะห์ข้อมูล การนาเสนอผลการวิจัย การอภิปรายข้อค้นพบจากการ วิจัย และข้อเสนอแนะต่าง ๆ สู่การถ่ายทอดความรู้จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งในกระบวนการทา ผลงานวิจัย ในการทาการวจิ ัยเมื่อมีการเผยแพร่หรือถ่ายทอดความรตู้ ่าง ๆ ผ่านการกระบวนการ กลุ่มหรือ Focus group ของกลุ่มผู้รู้ เพื่อเกิดการแลกเปล่ียนเรียนรู้ และนาผลสรุปท่ีได้ไป เผยแพร่สู่การปรับปรุงงานวิจัยให้สมบูรณ์ โดยอาศัยเคร่ืองมือใน การจัดการความรู้ เสมือนกับ การดาเนินกิจกรรมรว่ มคิด ร่วมแลกเปลย่ี นประสบการณ์ รว่ มวิเคราะห์ รว่ มใชแ้ ละนาไปสู่ร่วมกัน เผยแพร่ความรู้ คอื การจัดการความรูด้ า้ นงานวิจัย การจดั การความรู้ดา้ นการวิจยั อาจดาเนินการ ในลักษณะรปู แบบ เชน่ การถ่ายทอดแลกเปลย่ี นประสบการณร์ ะหว่างนักวจิ ยั ภายในองค์กร การ ถ่ายทอดประสบการณ์จากวทิ ยากร เปน็ ต้น สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้จัดกิจกรรมแลกเปล่ียนเรียนรู้ภายในของ องค์กร เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัยที่ได้นาเสนอถึงประสบการณ์ จากบุคลากรท่ีมีประสบการณ์ในการทาผลงานวิจัย ขอทุนสนับสนุนงานวิจัย และเขียนบทความ วิจัยเผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเน่ือง คือ รศ.ดร. รชาดา เครือทิวา ถ่ายทอดประสบการณ์จากการเล่าเร่ือง การทาผลงานวิจัยและเขียนบทความ สาหรับการตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับเขียนบทความวิจัย เช่น เลือกหัวข้อวิจัยอย่างไรดี เร่ืองการ ทบทวนเอกสาร การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย การถ่ายโยงกรอบแนวคิดในการวิจัยสู่ เครื่องมือในการทาวิจัย การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุน และการเขียนบทความเพ่ือ ตีพิมพ์เผยแพร่ ทาให้บุคลากรที่เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่มีความต้องการทาผลงานวิจัย และบุคลากร ส่วนหนึ่งสนใจท่ีจะนาผลงานวิจัยไปเผยแพร่มากขึ้น เพื่อให้สามารถนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการคิดหัวข้อวิจัย และนาผลงานวิจยั ไปตีพิมพ์เผยแพรใ่ นระดับชาติและนานาชาติ จากการเล่า ประสบการณ์ เพ่ือถ่ายทอดความรู้และจัดกิจกรรมเพ่ือการแลกเปล่ียนเรียนรู้ และเชิญ อาจารย์ ดร.ณัฐกฤตา งามมีฤทธ์ิ เป็นวิทยากรให้ความรู้เพิ่มเติมและแนะนาการสร้างกระบวนการกลุ่ม เพ่ือให้บุคลากรสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ เร่ิมต้นจากการต้ังข้อคาถาม เพ่ือนาไปสู่การสร้าง การถ่ายทอด มกี ระบวนการจดบันทึก วิเคราะห์ และสังเคราะหข์ ้อมูล สรปุ ผลจนไปสูก่ ารนาเสนอ ข้อมูลองค์ความรู้ท่ีจะถ่ายทอดให้กับบุคลกรภายในสถาบันและนอกสถาบันได้รับทราบ ซ่ึงเป็น องคค์ วามรขู้ องสถาบนั ทีส่ ามารถปฏบิ ตั ิได้ การจัดการความรู้ด้านวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพ่ือให้บุคลากรนาความรู้ท่ีเป็น tacit knowledge ถ่ายทอดออกมาสู่บุคลากรในสถาบันและผู้คนทั่วไป ได้รับรู้ เรียนรู้ และนาไปสู่การ ปฏบิ ัติ

วธิ กี ารดาเนนิ งาน การจัดการความรู้ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง มีการดาเนินงานตาม ขั้นตอนของการจัดการความรู้ ดังน้ี 1. การบง่ ช้ีความรู้ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561 ขึ้น และได้ดาเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ คร้ังที่ 1 โดยได้ พิจารณาจากพันธกิจของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ในด้านการทาผลงานวิจัย และ พัฒนาด้านพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา และสาขาอื่นท่ีเก่ียวข้อง ซ่ึงในปีที่ผ่านมามีบุคลากรจัดทาผลงานวิจัยหลายเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นาเสนอในรูปแบบการ เขียนบทความวิจัย เน่ืองจากขาดความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับการเขียนบทความวิจัย จึงทาให้ ผลงานวิจยั ท่ีเปน็ ประโยชน์นั้น ๆ ไมไ่ ด้รบั การเผยแพร่ จากประเดน็ ดังกลา่ วนี้คณะกรรมการฯ จึง ได้สรุปประเด็นในการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561 ได้แก่ เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความ วิจัย ทั้งนเี้ พื่อเปน็ การคน้ หาแนวปฏบิ ัติทด่ี ีในการเขียนบทความวจิ ัย วิทยาเขตอ่างทอง จึงได้เชิญ วิทยากรภายนอก และเชิญคณาจารย์ของวิทยาเขตอ่างทองท่ีมีความเชี่ยวชาญในการเขียน บทความวิจัย มาแลกเปล่ียนเรียนรู้ พร้อมท้ังเป็นพี่เล้ียงให้แก่บุคลากรของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทองด้วย 2. การสรา้ งและแสวงหาความรู้ จากการกาหนดประเด็นของคณะกรรมการจัดการความรู้ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง จะดาเนินการจัดการความรู้เร่ือง เทคนิคการเขียน บทความวิจัย จากนั้นจึงได้แสวงหาความรจู้ ากการเล่าประสบการณ์จาก รศ.ดร.รชาดา เครือทิวา อาจารย์ประจาคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความ วิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติมาอย่างต่อเน่ือง และเชิญวิทยากรภายนอก ไดแ้ ก่ อาจารย์ ดร. ณฐั กฤตา งามมีฤทธ์ิ ให้ความรเู้ พ่ิมเตมิ และแนะนาการสร้างกระบวนการกลุ่ม เพ่ือทาให้บุคลากรทุกคนถ่ายทอดประสบการณ์ และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการ เขียนบทความวิจัยและได้ร่วมกันสังเคราะห์วิธีการท่ีจะเขียนบทความวิจัยของสถาบันการ พลศกึ ษา วทิ ยาเขตอ่างทอง 3. การจดั การความร้ใู ห้เปน็ ระบบ สถาบนั การพลศึกษา วทิ ยาเขตอา่ งทอง ไดว้ างแผนในการจัดเก็บความรู้ และเผยแพร่ ความรใู้ นเรื่องการเขียนบทความวิจัยอยา่ งเป็นระบบ โดยจดั ทาเป็นรปู เล่มเพ่ือเผยแพร่ไปยังคณะ วทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬาและสขุ ภาพ คณะศิลปศาสตร์ และคณะศกึ ษาศาสตร์ และจดั เกบ็ ในเว็บไซต์ ของสถาบันการพลศึกษา วทิ ยาเขตอ่างทอง เพ่อื เผยแพร่สู่สาธารณชน

4. การประมวล และกล่ันกรองความรู้ จากการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง เขียนบทความวิจัย ให้แก่คณาจารย์แล้วนั้น พบว่า เนื้อหาท่ีนาไปเผยแพร่น้ันยังขาดความสมบูรณ์จึงให้คณะกรรมการฯ และคณาจารย์ร่วมกัน ตรวจสอบและนามาแกไ้ ขปรบั ปรุงเนอ้ื หาใหม้ คี วามถูกต้อง สมบูรณ์มากย่งิ ข้นึ 5. การเข้าถงึ ความรู้ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้เผยแพร่เอกสารการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561 ให้แก่คณาจารย์ทั้ง 3 คณะวิชา ในรูปแบบรูปเล่ม KM แผ่นพับ และนาไป เผยแพรล่ งในเวบ็ ไซต์ เพอ่ื ใหผ้ ้ใู ชค้ วามรสู้ ามารถเขา้ ถึงองค์ความรู้นีไ้ ดส้ ะดวกรวดเรว็ 6. การแบง่ ปันแลกเปลี่ยนความรู้ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้ดาเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัยทั้งจากภายนอก และภายในวิทยาเขต อ่างทอง โดยได้จัดเวทีในการแลกเปล่ียนเรียนรู้ และมีระบบพี่เลี้ยงในการดูแล และให้คาปรึกษา แกผ่ ู้ทีเ่ ขยี นบทความวจิ ัยอย่างต่อเนอื่ ง 7. การเรยี นรู้ จากการจัดการความรู้ดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้บุคลากรทาผลงานวิจัย และเขียน บทความวิจัยเพ่ือตีพิมพ์เผยแพร่ เพ่ือให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองตามภารกิจและพันธกิจของ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง เป็นการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้แก่บุคลากรทั้ง ภายใน และภายนอกสถาบันฯอีกด้วย ในการจัดการความรเู้ ร่ิมจากการจัดประชุมร่วมกันครั้งท่ี 1 ในวันท่ี 17 พฤษภาคม 2561 เป็นการประชมุ ของคณะกรรมการจัดการความรู้ของสถาบันการพลศึกษา วทิ ยาเขตอ่างทอง โดย ได้พจิ ารณาจากพนั ธกิจของสถาบนั การพลศกึ ษา วิทยาเขตอา่ งทอง ในดา้ นการทาผลงานวิจยั และ พัฒนาด้านพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา และสาขาอื่นที่เก่ียวข้อง ซึ่งในปีที่ผ่านมามีบุคลากรจัดทาผลงานวิจัยหลายเร่ือง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นาเสนอในรูปแบบการ เขียนบทความวิจัย เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับการเขียนบทความวิจัย จึงทาให้ ผลงานวจิ ยั ทเ่ี ปน็ ประโยชน์น้ัน ๆ ไมไ่ ดร้ บั การเผยแพร่ จากประเดน็ ดังกลา่ วนี้คณะกรรมการฯ จึง ได้สรุปประเด็นในการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561 ได้แก่ เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความ วิจัย จากนั้นฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพได้จัดกระบวนการกลุ่มในครั้งที่ 2 เมื่อวันท่ี 7 มิถนุ ายน 2561 โดยมี ผศ.ฤทธพิ งฎ์ ระฤกชาติ ผู้ชว่ ยอธกิ ารบดฝี ่ายวิจยั และประกันคณุ ภาพ เปน็ ผู้ดาเนินการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งในการดาเนินงานครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากภายนอก ได้แก่ อาจารย์ ดร. ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ มาให้ความรู้ และแนะนาการสร้างกระบวนการกลุ่ม เพ่ือทาให้บุคลากรทุกคนถ่ายทอดประสบการณ์ รวมถึงเชิญ รศ.ดร.รชาดา เครือทิวา อาจารย์ ประจาคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศกึ ษา วทิ ยาเขตอา่ งทองมาบอกเลา่ ประสบการณจ์ ากการ เป็นผู้เขียนบทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติมาอย่างต่อเน่ือง ท้ังน้ีมี บุคลากรของท้ัง 3 คณะเข้าร่วม จานวน 16 คน ซึ่งได้ใช้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อย (focus group) มี ผศ.ฤทธพิ งฎ์ ระฤกชาติ เปน็ ผดู้ าเนินการ โดยกาหนดขัน้ ตอนการดาเนนิ งาน คอื

- เชิญวิทยากรภายนอก ได้แก่ อาจารย์ ดร. ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ มาให้ความรู้ และ แนะนาการสรา้ งกระบวนการกลุ่ม เพื่อทาใหบ้ ุคลากรทุกคนถา่ ยทอดประสบการณ์ให้ความรู้ - เชิญบคุ ลากรทกุ คนแลกเปลีย่ นประสบการณใ์ นการเขยี นบทความวิจยั - เชิญผู้มีประสบการณ์ ได้แก่ รศ.ดร.รชาดา เครือทิวา อาจารย์ประจาคณะศิลป ศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง มาบอกเล่าประสบการณ์จากการเป็นผู้เขียน บทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ซ่ึง รศ.ดร.รชาดา เครอื ทวิ า ได้ถา่ ยทอดความร้เู รือ่ งของ การเขียนบทความวจิ ัยทมี่ คี ณุ ภาพ มดี งั น้ี 1. วางแผนในการเขียนว่าจะเขียนเรื่องอะไร ขอบเขตเนื้อหาของบทความวิจัยมี อะไรบ้าง โดยอาจเขียนในส่วนที่สามารถจะเขียนได้ไว้ล่วงหน้าก่อน เม่ือมีผลการวิจัยออกมาก็ สามารถเขียนส่วนทเ่ี หลอื ได้ 2. งานวจิ ัยทท่ี าควรมีประเดน็ หรือแนวคดิ ทางวชิ าการทมี่ ีความชดั เจน 3. งานวิจัยมเี นอ้ื หาทน่ี า่ สนใจ ทันสมยั และวิเคราะหเ์ ป็นไปตามแนวคิด และทฤษฎีที่ เหมาะสม รวมถึงการเนน้ องคค์ วามรู้ใหม่ ๆ 4. มที ัศนะของผเู้ ขียนบนฐานของขอ้ เทจ็ จรงิ ทางวชิ าการ 5. ควรคน้ ควา้ อา้ งองิ จากแหล่งข้อมลู ทหี่ ลากหลายและเช่ือถอื ได้ 6. เขียนด้วยสานวนภาษาทางวิชาการท่ีถูกตอ้ งเหมาะสม 7. มแี นวทางการนาเสนออย่างเข้าใจงา่ ย เชน่ หากเป็นเชิงปริมาณต้องคดิ กอ่ นในเร่ือง การทาตาราง ควรมีกี่ตาราง ต้องสอดคล้องกับวารสาร การเสนอด้วยกราฟ นาเสนอด้วยกราฟ แบบใดบ้าง ควรมีกก่ี ราฟ และต้องมแี ผนผังหรอื ไม่ 8. การตั้งช่ือเรื่องของบทความวิจัย ต้องตั้งชื่อท่ีสามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นงานใหม่ หรอื เกา่ เพราะชื่อเรอื่ งสาคัญและเปน็ ตัวบง่ บอกถึงความน่าสนใจของงาน และดงึ ดูดใหน้ าติดตาม หรือนา่ อา่ นและยังมีผลตอ่ การตอบรับการตพี ิมพ์ 9. งานวิจัยสามารถนามาเขียนบทความวิจัยเพ่ือนาเสนอได้หลายบทความวิจัย แต่ เน้ือหาจะตอ้ งไมซ่ ้ากนั และ สามารถอา้ งองิ ถงึ กนั ได้ 10. รูปแบบของการเขียนบทความวิจัยข้ึนอยู่กับแหล่งที่จะนาบทความตีพิมพ์ เผยแพร่ ซึ่งมีการกาหนดรูปแบบการตีพิมพ์ ให้ดาเนินการตามที่กาหนด เพ่ือไม่ให้เกิดความ ผดิ พลาดและอาจถูกตีกลบั จากนั้น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหวา่ งบุคลากรในการเขยี นบทความและตพี มิ พเ์ ผยแพร่ โดยเรม่ิ จาก ผศ.วัชรินทร์ ระฤกชาติ อาจารย์ประจาคณะศิลปศาสตร์ มีประสบการณ์ในการนาเสนอ ผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ IPE Conference จัดโดยสถาบัน การพลศึกษา ได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยในรายงานสืบเน่ืองการประชุม ในลักษณะของ บทคัดย่อ (Abstract) ซึ่งเป็นวิธีการเขียนบทความท่ีง่ายกว่าการเขียนบทความวิจัยลงเผยแพร่ใน วารสาร ซงึ่ ยังขาดประสบการณใ์ นการเขยี นบทความวจิ ัย

รศ.ดร.วิทเวช วงค์เพม อาจารย์ประจาคณะศึกษาศาสตร์ เป็นผู้ท่ีมีประสบการณ์นา ผลงานวิจัยท่ีไปตีพิมพ์เผยแพร่ มีความคิดเห็นว่าบุคลากรควรทางานวิจัยทั้งแบบเดี่ยวและแบบ กล่มุ เพื่อให้มผี ลงานวิจัยหลาย ๆ เรือ่ ง และระหว่างดาเนินงานวจิ ัยควรเร่ิมต้นเขียนบทความวิจัย ไปพร้อมกับการดาเนินงานวจิ ัย และผลการวจิ ัยสาเรจ็ กอ็ าจทาใหก้ ารเขยี นบทความวจิ ยั เสร็จทัน ตามเวลาท่ตี อ้ งส่งเพ่ือตีพมิ พ์ อาจารย์ ว่าท่ีร้อยตรีหญิงศิรดา บุญสิทธ์ิ อาจารย์ประจาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและ สุขภาพ มีผลงานวิจัยท่ีได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ ซ่ึงการดาเนินงานผลงานวิจัยดังกล่าว มีส่วนร่วม ดาเนินงานในฐานะผ้รู ่วมวจิ ัย จึงได้รับมอบหมายใหเ้ ขียนบทความวิจยั ส่วนหนงึ่ เท่านั้น ซ่ึงยังขาด ประสบการณ์การเขยี นบทความวจิ ยั ท่ีเตม็ รูปแบบ ผลและอภิปรายผลการดาเนนิ งาน จากการที่ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดกิจกรรมแลกเปล่ียนเรียนรู้ด้าน วิจัย เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย จานวน 2 คร้ัง สามารถสังเคราะห์ความรู้จากบุคลากร เปน็ องค์ความรไู้ ด้ ดังน้ี การเร่มิ ต้นในการเขียนบทความวจิ ยั 1. เลือกผลงานวิจัยตามความชานาญของนักวิจัย โดยการพิจารณาจากวารสาร เพราะวารสารเป็นส่งิ ทีช่ ้ีใหถ้ งึ ผอู้ ่านว่าเปน็ ใคร 2. ศกึ ษาและตดิ ตามวารสารทีต่ ้องการจะตีพิมพ์ เพอื่ ทาให้ทราบว่ามีประเด็นท่ีกาลัง เป็นท่ีสนใจ (Hot Issue) หรือวารสารได้กาหนดประเด็นในช่วงเวลานั้น เพ่ือเลือกทาผลงานวิจัย และเขียนบทความเพ่ือส่งตีพิมพ์ ซึ่งถ้าบทความวิจัยเป็นเรื่องที่ทันสมัยอาจจะมีโอกาสได้รับการ ตีพมิ พเ์ ผยแพร่สูง 3. ควรกาหนดวารสารท่จี ะส่งบทความวจิ ยั ไปตพี ิมพไ์ ว้ลว่ งหนา้ กอ่ นทาผลงานวจิ ยั 4. งานวิจัยหนึง่ เร่ืองสามารถเขียนเป็นบทความวิจยั ได้หลายบทความ ด้วยการตีพิมพ์ เผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยหน่ึงวัตถุประสงค์สามารถเขียนได้ 1 บทความ และ สามารถนาไปใช้เปน็ การอ้างอิงในบทความต่อไปที่เป็นอกี วัตถปุ ระสงค์ได้ จะทาให้มบี ทความวิจัย เพ่ือการตีพิมพ์เผยแพรไ่ ด้เพิม่ อีก 2 บทความวจิ ยั รวมเปน็ 3 บทความวจิ ยั 5. การเขียนบทความวิจัยจะเขียนง่าย โดยเขียนบทความวิจัยผ่านกระบวนการทา ผลงานวจิ ัย ทาใหไ้ ด้เน้อื หา และเขยี นไดง้ ่ายกว่าบทความประเภทอนื่ 6. การเขียนบทความวิจัยเป็นภาษาต่างประเทศ สามารถใช้หน่วยงานที่ให้บริการ รับจ้างตรวจภาษาอังกฤษก่อนลงในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ICT ท่ีมี Impact Factor สูง ควรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนง่ึ ของงบประมาณการของโครงการวิจัย และนักวิจัย ควรให้มีการตรวจแก้ไข ก่อนส่งบทความวิจัย เพ่ือท่ีจะได้เป็นส่วนหน่ึงท่ีช่วยให้ผลงานวิจัยไม่ถูก ปฏเิ สธการตีพมิ พเ์ ผยแพร่

เทคนคิ การเขยี นบทความวจิ ยั 1. กาหนดโครงสร้างของตน้ ฉบบั บทความวิจยั ประกอบดว้ ย 1.1 ช่อื เร่อื ง (Title) 1.2 ชื่อผู้เขยี น (Authors) 1.3 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปญั หา (Introduction) 1.4 แนวคิด ทฤษฎีและงานวจิ ยั ที่เกยี่ วขอ้ ง (Theoretical background) 1.5 พนื้ ที่ศึกษา ข้อมูลและระเบยี บวธิ ีการวจิ ยั (Study site, data and research methodology) 1.6 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมลู และอภปิ รายผล (Results and discussion) 1.7 สรปุ และขอ้ เสนอแนะ (Conclusion) 2. กาหนดโครงสรา้ งของแตล่ ะหนา้ 2.1 ควรมยี อ่ หน้า ประมาณ 2 - 3 ยอ่ หน้า ต่อ 1 หนา้ 2.2 ควรอา้ งองิ ประมาณยอ่ หน้าละ 2 - 3 แหง่ 2.3 เขียนดว้ ยสานวนภาษาสารคดี 2.4 สรุปและขอ้ เสนอแนะ ควรเขียนแบบร้อยแก้วซ่ึงขึ้นอยู่รปู แบบของวารสาร 3. การเขียนบทความวิจัย 1. ลาดับท่ี 1 การเขียนบทความวิจัยควรเริ่มต้นด้วยการเขียนบทสรุปและการ อภิปรายผล ผลวิจัยเชงิ ปริมาณควรเนน้ ที่ขนาดของความสัมพันธ์ที่มีความสอดคล้อง หรือคล้ายกบั หรอื เหมอื นกบั หรอื โตแ้ ยง้ จากของผลการวจิ ัยของนักวิจัยทา่ นอน่ื และผลวิจยั เชงิ คณุ ภาพ ควรเน้น ให้เห็นถึงข้อค้นพบที่โดดเด่นให้มากท่ีสุด สาหรับผลงานวิจัยท่ีมีผู้ทาผลงานวิจัยน้อย หรือเป็น งานวจิ ัยใหม่ ผูเ้ ขียนตอ้ งนาทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้องมาเขยี นเรยี บเรียงในเน้ือหา ให้สอดคล้องกัน และในการอ้างอิงควรเรียงปีที่ตีพิมพ์จากน้อยไปหามากเพ่ือให้เห็นถึง ความกา้ วหนา้ ของประเด็นตา่ ง ๆ 2. ลาดับท่ี 2 การเขียนบทคัดย่อ ใช้หลักการเขียนบทความวิจัยตามท่ีวารสารท่ี เลือกตีพิมพ์เผยแพร่ กาหนด เขียนให้ครบทุกประเด็นท่ีต้องการนาเสนอ บทคัดย่อควรเร่ิมต้น ข้อความในลักษณะการบรรยายเก่ียวกับงานวิจัยท่ีสามารถตรวจสอบ หรือค้นหาในสิ่งใด ใช้ข้อมูล แบบใด บอกถึงระยะเวลาในการดาเนินการ และอธบิ ายถึงผลการวิจัย โดยไม่เนน้ เขียนเป็นระเบียบ วธิ ีวิจัย หรือผลการวิจยั ท่ีคน้ พบเท่านนั้ ผลวิจยั เชงิ ปรมิ าณไม่ควรนาเสนอสถติ ิเชงิ พรรณนา สาหรับ ผลวิจยั เชิงคณุ ภาพตอ้ งเน้นผลการวจิ ยั ทเ่ี ดน่ และเป็นประเดน็ ที่ส่อื ถงึ ชื่อบทความ 3. ลาดับท่ี 3 การเขียนบทนา หรือความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา รวมทั้งวัตถุประสงค์ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัย เริ่มจากการเกร่ินนาถึง ทฤษฎี หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย เขียนเรียบเรียงเข้ากับ ข้อคาถามวิจัย (โจทย์วิจัย) ต้องระบุถึงความจาเป็นในการทาผลงานวิจัยอย่างชัดเจน หรือเน้นประเด็นที่มีความคลุมเครือของ ข้อค้นพบท่ีผ่านมา สาหรับข้อโต้แย้งอาจนาเสนอในรูปแบบตารางข้อมูลหรือกราฟมาประกอบเพอ่ื ช่วยให้เห็น ความสาคัญของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา หรือการเปล่ียนแปลงตามระยะเวลา

เพื่อบรรยายถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป ซึ่งการบรรยายต้องแสดงถึง การตรวจสอบ การพสิ จู น์ การค้นหา หรอื การวเิ คราะห์ อย่างชัดเจน 4. ลาดับที่ 4 การเขียนวิธีวิจัย การเขียนผลของงานวิจัยเชิงปริมาณต้องเน้น แหล่งข้อมลู ลกั ษณะข้อมลู ขนาดตัวอย่าง วิธกี ารสร้างตวั ชี้วัด พรอ้ มกับการอธบิ ายถึงระดับการวัด ของตัวแปร ฯลฯ ซึ่งจะเขียนถึงประเด็นใด ต้องศึกษาจากบทความที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารต้นฉบับ ล่าสุด ควรมีการวางผังการเขียนบทวิเคราะห์และอภิปรายผล โดยกาหนดเป็นประเด็นรายหัวข้อ ตามคาถามวิจัยทีแ่ สดงใหเ้ หน็ ประเดน็ ของหัวขอ้ นนั้ แบบตรง ๆ โดยไม่จาเป็นตอ้ งใสห่ มายเลขหวั ข้อ ควรเนน้ ข้อความเปน็ ตวั เข้มและตวั ใหญ่ และการร่างประเด็นสาคัญในการอภิปรายผล ควรเสนอใน ลักษณะการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบกับผลการค้นพบท่ีเคยเผยแพร่มาก่อน รวมถึงการวิเคราะห์ และการตีความพร้อมอภิปรายผล เชิงปริมาณต้องศึกษาตารางหรือกราฟท่ีสร้างข้ึนอย่างละเอียด เร่ิมจากกระบวนการการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะตามความรู้ท่ีศึกษาทฤษฎีและวรรณกรรมท่ี เกี่ยวข้อง ค้นหาคุณค่าของผลการวิจัย เพ่ือเขียนความเห็นของผู้วิจัยให้แสดงเห็นการค้นที่ได้แสดง ขอ้ มลู ดว้ ยตาราง กราฟ หรือรูป โดยเขยี นบรรยายเพม่ิ เตมิ ใตต้ ารางหรอื ใต้กราฟหรือใตร้ ูป และการ เขียนผลของงานวิจัยเชิงคุณภาพต้องตีความ ปรากฏการณ์และหลักฐานเปรียบเทียบทฤษฎี และ วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ปรากฏการณ์ที่ปรากฏในตาราง ในกราฟ หรือรูป มีความเหมือน หรือคล้าย หรือสอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ผ่านมาท่ีอยู่ในบทวรรณกรรมของนักวจิ ัยท่านใด เขียนบรรยายและ อ้างอิงในทุกบทความที่มีความสอดคลอ้ ง และพิจารณาถึงความแตกตา่ ง ขัดแย้ง ท่ีไม่สอดคล้องกับ นักวิจัยท่านใด เพราะเหตุใด เขียนบรรยายถึงความแตกต่างและอ้างอิงถึงนักวิจยั ท่ีผลของงานวจิ ยั แตกต่าง ใช้หลกั การเขียนเรียบเรยี งดว้ ยภาษาสารคดี 5. ลาดบั ที่ 5 การจดั เขียนบรรณานุกรม หลกั สาคัญ คือ ต้องเขียนตามหลกั เกณฑ์ ของวารสารนนั้ ๆ ต้องเขียนให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด และต้องมีรายชอื่ อ้างอิงครบถ้วนตามท่ี อา้ งไวใ้ นเน้ือหางานวจิ ยั 6. ลาดับท่ี 6 เขียนกิตติกรรมประกาศ ซ่ึงเป็นการเขียนเพื่อแสดงความขอบคุณ ผใู้ หก้ ารสนบั สนุนและให้ความอนเุ คราะหใ์ นการดาเนนิ งานวิจัยในดา้ นต่าง ๆ 7. การเขียนเพื่อบรรยายตาราง ให้จัดตารางไว้ตรงกลางหน้า เขียนบรรยายใต้ ภาพเป็นอธบิ ายปรากฏการณ์ ซึง่ ในหนึ่งหน้า ไมค่ วรมีตารางเกนิ สองตาราง และในหน่ึงหนา้ ไมค่ วร มีกราฟ หรือรูป เกินสองกราฟหรือสองรูป การจัดตาราง กราฟ รูปภาพ ต้องกลมกลืนหรือ สอดคลอ้ งกับการนาเสนอในแตล่ ะประเด็น 8. การตั้งชื่อบทความ เน้นผลการวิจัยที่เด่นท่ีสุด ในตัวบทวิเคราะห์ เพราะเป็น จุดดึงดดู ความสนใจ ของบรรณาธิการ ผู้เช่ียวชาญ (Peer Review) และผอู้ า่ นบทความ สรปุ จากการจดั กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวจิ ัย เร่อื ง เทคนคิ การเขียนบทความวจิ ยั ของ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อย (focus group) และมีวิทยากรให้ความรู้เพิ่มเติม ทาให้ได้แนวปฏิบัติท่ีดีเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย เพื่อใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองด้านผลิตงานวิจัยท่ีมีคุณภาพสู่ภายนอกตามพันธกิจสถาบันของ

บุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง ได้แก่ ผศ.วัชรินทร์ ระฤกชาติ อาจารย์ประจา คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้ทาผลงานวิจัยหลายเรื่อง และได้เขียนบทความวิจัยเพ่ือนาไปตีพิมพ์ เผยแพร่ท้ังในการประชุมวิชาการนานาชาติของสถาบันการพลศึกษา IPE Conference ประจา 2561 และวารสารสถาบันการพลศึกษา ผศ.ดร.วรวิทย์ เกิดสวัสด์ิ อาจารย์ประจาคณะศิลป ศาสตร์ ซ่ึงได้นาเทคนิคการเขียนบทความวิจัยจากการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปล่ียนเรียนรู้ ไปใช้ เป็นแนวทางในการเขียนบทความ เพ่ือนาเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานการประชุมทั้ง ระดับชาติ และนานาชาติ รวมถึงการเขียนบทความวิจัยเพ่ือตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร และอาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิรดา บุญสิทธ์ อาจารย์ประจาคณะวิทยาศาสตร์ การกีฬาและสุขภาพ ได้นาผลงานวิจัยมาเขียนบทความวิจัยเพื่อนาเสนอในการประชุมวิชาการ ระดับชาติด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันเครือข่ายการประกันคุณภาพภาค ตะวันตก ซึ่งนอกจากคณาจาารย์จะนาความรู้ไปใช้แล้ว ยังได้มีส่วนในการกระตุ้นให้บุคลากรทุก คนให้ความสาคัญในการผลิตผลงานวิจัยและเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งถือเป็น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้ังสายวชิ าการ และสายสนับสนุนให้รว่ มกันใช้ผลงานวจิ ัยนามา พฒั นาองค์กรตามสายงานของตนเอง และอีกประการหน่งึ ทส่ี าคัญ คือ การนาแนวปฏิบตั ทิ ่ีดไี ปใช้ ส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาโดย รศ.ดร.รชาดา เครือทิวา อาจารย์ประจาคณะศิลปศาสตร์ ซึ่ง เป็นผู้สอนรายวิชานวัตกรรมทางนันทนาการ ได้ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทาผลงานวิจัย และ ร่วมกันเขียนบทความวิจัยเพ่ือนาเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติของส ถาบันการพล ศึกษา IPE Conference ประจา 2561 อกี ดว้ ย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง มีความมุ่งหวังให้บุคลากรในสถาบันฯ ได้นา เทคนิคการเขียนบทความวิจัยไปเขียนบทความวิจัยเพื่อนาเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารท่ี อยู่ในฐาน TCI และมี Impact Factor ทส่ี ูงข้ึน ท้ังภายในประเทศและตา่ งประเทศได้ บรรณานกุ รม ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. 2549. องค์การแห่งความรู้จากแนวคิดการปฏบิ ัติ. กรุงเทพฯ: รัตน ไตร. ประพนธ์ ผาสุกยืด. 2550. การจัดการความรู้ (KM) ฉบับซับเคลื่อน LO. พิมพ์ครั้งท่ี 5. กรุงเทพฯ: ใยไหม. ยรุ พร ศทุ ธรตั น.์ 2552. องค์การเพอื่ การเรยี นร้.ู กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนาบุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นาน มีบคุ๊ พบั ลเิ คฃนั่ ส์. สานักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลติ แหง่ ชาต.ิ 2548. คมู่ อื การจดั ทาแผนการจดั การความรู้ โครงการพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ใน สว่ นราชการ. ม.ป.ท.

ระบบการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจงั หวดั สุพรรณบุรี INTERNAL QUALITY ASSURANCE SYSTEM IN SUPHANBURI SPORT SCHOOL นางสาวเสาวลี แจ้งใจด1ี (ผ้เู ขยี นคนท่ี 1) Miss. Saowalee Jaengjaidee ดร.พรเทพ เมอื งแมน2 (ผูเ้ ขยี นคนท่ี 2) Dr.Pornthep Muangman ครชู านาญการพิเศษ โรงเรยี นกฬี าจังหวดั สุพรรณบุรี e-mail: [email protected] ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรงุ เทพธนบรุ ี e-mail: [email protected] บทคัดย่อ การวจิ ัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการดาเนินงานการประกันคุณภาพ ภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (2) ออกแบบและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี และ (3) รบั รองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยดาเนินการ 6 ขั้นตอน คือข้นั ตอนท่ี 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับ ระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพและปัญหาในการดาเนินงานระบบประกัน คุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และบุคลากรโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จานวน 85 คน ข้ันตอนที่ 3 ศึกษาแนวทาง ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบรุ ี โดยการอภปิ รายกลุ่ม ผู้ทรงคุณวฒุ ิจานวน 10 คน ข้ันตอนท่ี 4 ยกร่างแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน กีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และบุคลากร จานวน 18 คน ขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมของแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนกีฬาจงั หวดั สพุ รรณบรุ ีโดยผูท้ รงคุณวุฒิจานวน 5 คน ข้นั ตอนท่ี 6 การรับรองแบบจาลอง ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวดั สุพรรณบุรี โดยการอภิปรายกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 7 คน ผลการวิจยั พบวา่ 1. สภาพการดาเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจงั หวัดสุพรรณบรุ ี มีการ ดาเนนิ งานมากท่ีสุดในเร่ืองการจัดทาสรุปรายงานและจดั ทารายงานประจาปี ส่วนภาพรวมปัญหาเก่ียวกับ การดาเนินการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การจัดทาแผนพัฒนา การจัดการศึกษาทสี่ อดคลอ้ งกับวสิ ยั ทศั น์ พันธกจิ และเปา้ หมาย 2. ระบบการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบดว้ ย การเตรียม ความพรอ้ มกอ่ นการประกนั คณุ ภาพด้วย SBM, RBM, TQM การดาเนนิ งานระบบการประกนั คณุ ภาพ ภายในของโรงเรยี นกีฬาจงั หวดั สุพรรณบุรี ไดแ้ ก่ การกาหนดมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรียน/การจดั ทา แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน/การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในของโรงเรียน/การ ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน/การประเมินคณุ ภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียน/การจัดทารายงานประจาปีของโรงเรียน/การพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาอยา่ งตอ่ เนื่อง

2 3. ผลการรับรองแบบจาลองระบบ ผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองว่าแบบจาลองระบบการประกัน คุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวดั สุพรรณบุรี ที่พฒั นาขึ้นมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความ เปน็ ประโยชนแ์ ละมคี วามเป็นไปได้ในการนามาปฏิบตั ใิ นระดับดมี าก ABSTRACT The research objectives were to (1) study operational conditions and problems in operation of internal quality assurance of Suphanburi Sports School. (2) design and develop the model of internal quality assurance system and (3) certify the model of internal quality assurance system of Suphanburi Sports School from 7 experts. This research uses a combination of research methods. In quantitative research term, data were collected from 85samples of personnel-responsible for internal quality assurance in Suphanburi Sports School. With a questionnaire about operating conditions and problems in the implementation of internal quality assurance of Suphanburi Sports School. The research found that :The operating condition of internal quality assurance of the Suphanburi Sports School was at the most level in the preparation of the summary report and the preparation of the annual report. In general, the problem of conducting internal quality assurance was at moderate level. The most common problem is developed a plan for the development of education in line with the vision, mission and goals. The qualitative research process to develop the model of internal quality assurance system of Suphanburi Sports School by analyzing content from the documents. And group discussions 10 persons qualified for the development of the model of internal quality assurance system of Suphanburi Sports School. The developed model to seek the approval by 7 qualified experts. The developed model of internal quality assurance system is accurate, appropriate. It is very useful and feasible to implement with very good level. (Consisting of preparation before quality assurance with SBM, RBM, TQM). The operation of quality assurance system were: Establishment of education standards /development plan for the educational management /Management quality assurance system and information /Assessment of internal quality according to educational standards of educational institutions. /Annual Report of the School /Continuing education quality development. คาสาคญั ระบบการประกันคุณภาพ SBM RBM TQM

3 บทนา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพิ่มเตมิ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ.2545 ได้ กาหนดให้ “มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา” เป็นภารกิจที่สาคัญหมวดหนึ่งที่สถานศึกษา และหน่วยงานที่เก่ียวข้องต้องดาเนินการ อีกท้ังต้องเป็นไปตามระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวง ศึกษาธิการเป็นผู้กาหนด ด้วยการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสาคัญประการหน่ึงที่สามารถ ขับเคล่ือนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดาเนินไปอย่างต่อเน่ือง ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 – 2559 (2553: 92-94) พบว่า สถานศึกษา ระดับการศึกษาข้นั พ้ืนฐานส่วนใหญ่ยังขาดความรคู้ วามเขา้ ใจ เรื่องการประกันคุณภาพภายใน และยงั ไม่ได้บูรณาการเร่อื งการประกันคณุ ภาพภายในเข้าสู่การบริหารงานภายในสถานศึกษาอย่างเปน็ ระบบ และต่อเน่ือง รวมท้ังการส่งเสริมให้ครู อาจารย์ และบุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติงานภายใต้ระบบ การประกันคณุ ภาพเพ่ือการปฏิบตั ิงานปกติ จากรายงานการติดตามประเมินผลการดาเนนิ งานประกัน คุณภาพภายในของโรงเรยี นกฬี า (รายงานการติดตามประเมินผล 2558: 26) ทผี่ า่ นมา พบวา่ ทกุ โรงเรยี น ได้ดาเนินงานประกันคุณภาพภายในตามนโยบายและกรอบการดาเนินงานของสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา ด้านการเตรียมการ ด้านการดาเนินการ และด้านการจัดทารายงาน ตามกระบวนการตามแนวคิด PDCA แต่โรงเรียนยังจัดทาไม่เป็นระบบและไม่ครบวงจร ครูและบุคลากร ทางการศึกษาไม่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัตงิ านอยา่ งจริงจัง ส่งผลให้การดาเนินงานด้านต่าง ๆ ไม่ ประสบผลสาเร็จเท่าท่ีควร ผู้วิจัยในฐานะทปี่ ฏบิ ตั ิหน้าทใ่ี นตาแหนง่ หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีและผู้ร่วมการวิจัย มีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาแบบจาลองระบบ การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ท้ังนี้ สามารถนาไปใช้เป็นต้นแบบใน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬา และรองรับการประเมินคุณภาพ การศกึ ษาทงั้ ภายในและนอกในครัง้ ต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. ศกึ ษาสภาพ และปญั หาในการดาเนนิ งานการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรยี นกีฬา จังหวัดสพุ รรณบรุ ี 2. ออกแบบและพฒั นาแบบจาลองระบบการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี 3. รับรองแบบจาลองระบบการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจงั หวดั สพุ รรณบุรี วิธกี ารดาเนนิ งาน การดาเนินงานนีเ้ ปน็ การจดั ทาวจิ ัย โดยเปน็ การวจิ ยั และพฒั นา (Research and Development) ซึ่งมขี ้ันตอนการดาเนนิ การวิจัย 6 ขน้ั ตอน ประกอบด้วย

4 ขั้นตอนท่ี 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน กีฬา เพื่อนามาสร้างแบบสอบถามท่ีใช้ในการประเมินสภาพและปัญหาในการดาเนินงานการประกัน คณุ ภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวดั สุพรรณบรุ ี โดยใช้การวเิ คราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพ่อื กาหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนาแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัด สพุ รรณบรุ ี ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพ และปัญหาในการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน กีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใชก้ ารวิจัยเชงิ ปริมาณ ได้แก่ ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และบุคลากรผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการรับผิดชอบระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบุรี รวมจานวน 85 คน โดยใช้แบบสอบถามซ่ึงแบ่งออกเป็น 4 ตอน ไดแ้ ก่ ตอนที่ 1 สถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การดาเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ตอน ท่ี 3 ปัญหาการดาเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะโดย เปน็ คาถามปลายเปดิ ข้ันตอนที่ 3 ศึกษาแนวทางในการพัฒนาร่างแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 10 คน เพื่อร่วมกัน ยนื ยันสภาพ และปัญหาในการดาเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาร่างแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนกฬี าจังหวดั สพุ รรณบุรี ขั้นตอนที่ 4 ร่างแบบจาลองระบบการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจังหวดั สุพรรณบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจยั เชงิ คุณภาพ โดยการประชุมเชงิ ปฏบิ ัติการ ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และ บุคลากรผู้รับผิดชอบระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน จานวน 18 คน เพื่อร่วมกันร่าง แบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรยี นกีฬาจังหวัดสุพรรณบรุ ี ให้สอดคล้องกับข้อมูล ท่ีได้จากการสงั เคราะห์ ขน้ั ตอนที่ 1- 3 ขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมของแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน กีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ประเมินความ เหมาะสม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสมของร่างแบบจาลองระบบการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมิน ตอนที่ 2 แบบประเมิน ร่างแบบจาลองระบบการประกนั คุณภาพภายใน ตอนที่ 3 ขอ้ เสนอแนะ ข้นั ตอนท่ี 6 การรับรองแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจงั หวัด สุพรรณบุรี วิธีการศึกษาใชก้ ารวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) ผู้ทรงคณุ วุฒิ 7 คน เพือ่ ให้การรับรอง “แบบจาลองระบบการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬา จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้แบบประเมนิ ในการวิจยั เพ่ือรับรองคณุ ภาพแบบจาลองระบบ ซึง่ ประกอบดว้ ย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ทรงคุณวฒุ ิ ตอนท่ี 2 ระดบั การรับรองคุณภาพของแบบจาลองคณุ ภาพ ทปี่ ระเมินมี 4 ดา้ น ได้แก่ มาตรฐานด้านอรรถประโยชน์ มาตรฐานด้านความเปน็ ไปได้ มาตรฐานด้าน ความเหมาะสม มาตรฐานดา้ นความถูกตอ้ ง ตอนท่ี 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

5 ผลการดาเนนิ การวิจัย ตอนท่ี 1 ผลการวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2) การพัฒนา มาตรฐานการศึกษา 3) การจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) การดาเนินงานตามแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา 5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา 6) การประเมินคุณภาพการศึกษา 7) การรายงานคณุ ภาพการศกึ ษาประจาปี และ 8) การผดงุ ระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษา ตอนที่ 2 สภาพ และปัญหาในการดาเนินงานประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรยี นกีฬาจังหวดั สุพรรณบรุ ี พบว่าสภาพการดาเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวดั สุพรรณบุรี มกี ารดาเนินงานมากที่สดุ ในเรื่องการจัดทาสรุปรายงานและจัดทารายงานประจาปี ส่วนภาพรวมปญั หา เกี่ยวกับการดาเนินการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาท่ีพบมากที่สุดคือ การจัดทา แผนพฒั นาการจัดการศกึ ษาทส่ี อดคลอ้ งกบั วสิ ัยทัศน์ พันธกิจ และเปา้ หมาย ตอนท่ี 3 แนวทางในการพัฒนาร่างแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรยี น กีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ควรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้สถานศึกษาช่วยกันพัฒนาคุณภาพไปพร้อม ๆ กัน บุคลากรทกุ คนต้องมีส่วนร่วมในการประกนั คณุ ภาพ มกี ารวางแผนเทคนคิ มกี ลยทุ ธ์ กจิ กรรมทุกอย่าง ในโรงเรยี นตอ้ งทาระบบ PDCA ในการดาเนินงานจนเกิดคุณภาพ ผู้บรหิ าร คณะครู บคุ ลากร และผู้เรยี น ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ตระหนักถึงความสาคัญของระบบการประกัน การสร้างจิตสานึกด้านการ ทางานอย่างมีระบบ การกระจายอานาจในการทางาน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมีอุดมการณ์และ เป้าหมายร่วมกนั สร้างขวัญกาลังใจในการปฏิบัตหิ นา้ ที่ ตอนที่ 4 รา่ งแบบจาลองระบบการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจังหวดั สุพรรณบุรี โดยแบบจาลองระบบการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจงั หวัดสพุ รรณบุรี ประกอบด้วย 1. การเตรยี มความพร้อมกอ่ นการประกันคุณภาพภายใน มีข้นั ตอนดงั ต่อไปนี้ ขั้น 1.1 การนาทฤษฎีการบริหารโดยใชโ้ รงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) ไปส่กู ารปฏิบัติ ขนั้ 1.2 การนาทฤษฎกี ารบริหารการมงุ่ เน้นผลสมั ฤทธิ์ (Results-Based Management: RBM) ไปสู่การปฏิบตั ิ ขน้ั 1.3 การนาทฤษฎีการบริหารแบบมุ่งคุณภาพท้งั องคก์ าร (Total Quality Management: TQM) ไปสูก่ ารปฏบิ ตั ิ ข้นั 1.4 แนวการดาเนนิ งานประกนั คณุ ภาพในสถานศึกษา โดยวงจรคุณภาพ PDCA 2. การดาเนนิ งานระบบการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวดั สพุ รรณบรุ ี 2.1 การกาหนดมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรยี นกฬี าจังหวดั สุพรรณบรุ ี 2.2 การจัดทาแผนพฒั นาการจดั การศกึ ษาของโรงเรียนกฬี าจงั หวัดสุพรรณบุรี 2.3 การจดั ระบบบรหิ ารและสารสนเทศภายในของโรงเรยี นกีฬาจงั หวดั สุพรรณบุรี 2.4 การตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษาของโรงเรียนกฬี าจงั หวดั สพุ รรณบุรี 2.5 การประเมนิ คณุ ภาพภายในตามมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรยี นกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี 2.6 การจัดทารายงานประจาปขี องโรงเรียนกฬี าจงั หวัดสพุ รรณบรุ ี 2.7 การพฒั นาคุณภาพการศึกษาอยา่ งตอ่ เนื่อง

6 ตอนท่ี 5 ผลการประเมินความเหมาะสมผู้ทรงคุณวุฒิท้ัง 5 คน มีความเห็นว่ามีความเหมาะสม อยใู่ นระดับมากที่สุดท่ีจะนาไปใช้เป็น “แบบจาลองระบบการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรยี นกีฬา จงั หวดั สุพรรณบรุ ี ตอนท่ี 6 ผลการรบั รองแบบจาลองระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นแบบจาลองระบบการประกัน คุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาที่มีประสิทธิผล มีความถูกตอ้ ง ความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสม สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ อยู่ในระดับดมี าก อภิปรายผล ผลจากการดาเนินการวจิ ัยคร้ังน้ี สามารถนามาอภปิ รายผลได้ดังน้ี จากการสอบถามข้อมลู จากบคุ ลากรในกล่มุ ตัวอย่างเกีย่ วกับสภาพการดาเนินงานของระบบ การประกันคุณภาพภายในของโรงเรยี นกีฬาจังหวัดสพุ รรณบรุ ี พบวา่ มีการปฏิบตั ิมากท่สี ุด คอื ด้าน การสรุปและจัดทารายงานประจาปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบุรี เนอ่ื งมาจากการจัดทารายงานประจาปีของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลกั เกณฑ์ และวิธีการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 6 ทรี่ ะบุใหส้ ถานศกึ ษาจดั ทารายงาน ประจาปที เี่ ปน็ รายงานประเมนิ คณุ ภาพภายใน เสนอต่อคณะกรรมการสถานศกึ ษา หน่วยงานตน้ สงั กดั และหน่วยงานที่เกย่ี วข้อง สอดคล้องกบั งานวจิ ัยของกฤษณา พลสมิ (2558) พบวา่ ให้หนว่ ยงานตน้ สงั กดั และสถานศกึ ษาจัดทารายงานประจาปี เสนอต่อหนว่ ยงานต้นสังกัด หน่วยงานท่ีเกยี่ วข้องและ เปิดเผยตอ่ สาธารณชนเพ่ือนาไปสกู่ ารพัฒนาคุณภาพ ปัญหาการดาเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬา โดยปัญหาท่ีพบมาก ที่สุด คือ ด้านจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย เนื่องมาจากโรงเรียนกฬี าได้รบั ส่อื และเอกสารวชิ าการเกี่ยวกบั การประกันคุณภาพในรูปแบบของเอกสาร อัดสาเนาอย่างไม่ท่ัวถึง ผลการศึกษาคร้ังน้ีสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุมิตตาชัยศิลป์ (2555) ที่พบว่า ปัญหาด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษาข้อที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ การสร้างความรู้ ความเขา้ ใจแกบ่ ุคลากรในการจดั ทาแผนพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา แบบจาลองระบบการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนกฬี าจงั หวดั สพุ รรณบุรี ประกอบดว้ ย 1. การเตรียมความพรอ้ มก่อนการประกนั คณุ ภาพภายใน มีขัน้ ตอนดังตอ่ ไปน้ี ข้ัน 1.1 การนาทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) ไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะของผู้นาทางวิชาการ ต้องมีการกระจายอานาจ อย่างแท้จริง ทุกฝ่ายต้องคานึงถึงผลประโยชน์ของการศึกษาและผู้เรียนเป็นสาคัญ เน้นการพัฒนาวิชาชีพ ให้แก่บุคลากรในโรงเรียน เสริมสร้างระบบคุณธรรม ซ่ึงมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของเอมอร วิรยิ ะ ขันติกุล (2555) พบว่า สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง อยู่ในระดบั มากทั้ง 3 ด้านคือ ด้านการกระจายอานาจ ด้านการบริหารแบบมีส่วน ร่วม และด้านการบริหารจดั การท่ดี ี

7 ขั้น 1.2 การนาทฤษฎีการบริหารการมุ่งเน้นผลสัมฤทธ์ิ (Results-Based Management: RBM) ไปสกู่ ารปฏบิ ัติ ฝึกทักษะการมุง่ มน่ั สู่ความสาเร็จ มุ่งมั่นตอ่ ระเบียบและวิธกี ารเป็นสมรรถนะเชิง พฤติกรรมที่สะท้อนถึงปฏบิ ัติการเชงิ รุก เป็นสมรรถนะเชงิ พฤตกิ รรมที่จะมุ่งมั่นปฏบิ ัติหนา้ ท่ีดว้ ยตนเอง เชย่ี วชาญแบบมืออาชพี สอดคล้องกับงานวิจัยของจันทร เพชรบรู ณ์ (2556) ท่ีพบว่า เพิ่มศกั ยภาพของ บุคลากรในดา้ นการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและภาระงานที่รับผิดชอบ ซึ่งกาหนดจากจดุ แข็ง ที่ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นาบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา ข้ัน 1.3 การนาทฤษฎีการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management: TQM) ไปสู่การปฏบิ ตั ิ การคัดเลือกและแตง่ ต้ังผู้รับผดิ ชอบในการพฒั นาคณุ ภาพขององค์กรโดยผู้บริหาร ระดับสูงที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในองค์กรวางแผนปฏิบัติ ผู้บริหารและทีมงานร่วมกันกาหนด วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านคุณภาพ เพ่อื ใช้เปน็ กรอบในการกาหนดแผน มีการนาแผนไปปฏบิ ัติ อยา่ งเปน็ ระบบ สอดคลอ้ งกับงานวจิ ัยของชษิ ณุพงศ์ ทองพวง (2557) พบว่า องค์ประกอบการบรหิ าร คุณภาพทั่วทั้งองค์การ ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ 1) การนาองค์การของผู้บริหาร 2) การวางแผน เชงิ กลยุทธ์ 3) การให้ความสาคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5) การจัดการเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ 6) การจัดการระบบและกระบวนการ 7) การ ประเมินผลดาเนนิ งาน และ 8) การปรับปรุงกระบวนการทางานอยา่ งต่อเน่ือง ขั้น 1.4 แนวการดาเนินงานประกันคุณภาพในสถานศึกษา โดยวงจรคุณภาพ PDCA แนวทาง พัฒนา คอื สร้างความตระหนัก และความเข้าใจใหท้ ุกฝ่ายเห็นความสาคัญของการประกันคุณภาพและ มสี ่วนร่วมในการพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา โดยการประชุมชี้แจง อบรมพัฒนาผู้มสี ่วนเกย่ี วขอ้ งกบั การ จัดการศึกษาของสถานศึกษาในการดาเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายใน สอดคล้องกับงานวิจัย ของวีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์ (2554) กล่าวว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร การศึกษาทีต่ อ้ งดาเนินการอย่างตอ่ เนอื่ งและนาวงจรคุณภาพของเดมม่ิง กระบวนการ P-D-C-A มาใช้ ในการบรหิ ารจัดการศกึ ษา ประยกุ ตใ์ ช้ในขนั้ ตอนการดาเนินงานประกนั คณุ ภาพการศึกษา 2. การดาเนนิ งานระบบการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรยี นกีฬาจงั หวัดสพุ รรณบุรี 2.1 การกาหนดมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรยี นกฬี าจงั หวัดสุพรรณบรุ ี 2.2 การจัดทาแผนพฒั นาการจัดการศกึ ษาของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี 2.3 การจดั ระบบบริหารและสารสนเทศภายในของโรงเรียนกีฬาจงั หวดั สุพรรณบรุ ี 2.4 การตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศึกษาของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบรุ ี 2.5 การประเมนิ คณุ ภาพภายในตามมาตรฐานการศกึ ษา 2.6 การจดั ทารายงานประจาปขี องโรงเรยี นกีฬาจังหวดั สพุ รรณบรุ ี 2.7 การพฒั นาคุณภาพการศึกษาอย่างตอ่ เน่อื ง สอดคลอ้ งกบั งานวิจัยของ งามจิต ศรีเสน (2556) พบว่า การนาระบบประกนั คุณภาพภายใน ท้ัง 8 ด้าน คือ ด้านการกาหนดมาตรฐานของสถานศึกษา ด้านการจัดทาแผนพฒั นาการจัดการศึกษา ท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้าน การดาเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ด้านการตดิ ตามตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการรายงานคุณภาพการศึกษาประจาปี และด้านการพัฒนา

8 คณุ ภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นรายข้อ รายด้าน และรวมทุกดา้ น พบว่ามีปัญหาอยูใ่ นระดับน้อย และท้ังนี้ยังมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ อนุศรา พูลคุ้ม (2558) ที่พบว่า สภาพการดาเนินงาน ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานของโรงเรียนต้นแบบเป็นการดาเนินงานตามกรอบ ของกฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ตามมาตรฐาน การศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน 8 องคป์ ระกอบ สรปุ ผลจากการดาเนินการวิจัยเก่ียวกับระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบรุ ีครั้งน้ี สามารถเสริมสร้างความตระหนัก และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ การศึกษาได้ครอบคลุมบุคลากรทุกกลุ่มเป้าหมาย และเน้นให้สามารถนาความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงใน โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีได้จนกลายเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้แนวปฏิบัติท่ีดีในการพัฒนา ตนเองและการปฏิบตั ิงานในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและขั้นตอน และยังสามารถนาไปใช้เปน็ ตน้ แบบ ในการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกีฬา เพอ่ื รองรบั การประเมินคุณภาพการศึกษา ทงั้ ภายในและภายนอกตอ่ ไปได้เปน็ อย่างดี ข้อเสนอแนะ จากผลการดาเนนิ การวิจยั นาไปสูข่ ้อเสนอแนะในการนาผลวจิ ยั ไปใช้เพอื่ เพม่ิ ประสทิ ธผิ ล คุณภาพมากยง่ิ ขนึ้ ดงั น้ันผ้วู จิ ยั มีข้อเสนอแนะดงั น้ี 1. พฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพทเ่ี นน้ การนาผลการประเมินมาใชเ้ ปน็ ฐานในการพฒั นา และวางระบบการประเมนิ คณุ ภาพภายในอยา่ งเป็นระบบและนา่ เชื่อถอื 2. ยึดหลักการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในท่ีเน้นกระบวนการบริหารจัดการ เชิงระบบ ประกอบดว้ ยข้นั การวางแผน ข้ันการดาเนนิ งานตามแผน ขนั้ การติดตามตรวจสอบและ ประเมิน และขัน้ การปรับปรุงและพฒั นา บรรณานกุ รม กรกมล เพิม่ ผล. 2554. “การบรหิ ารโดยใชโ้ รงเรียนเปน็ ฐานทีส่ ่งผลต่อประสทิ ธิภาพการบรหิ ารงาน วิชาการของครูในโรงเรียนเทศบาล สังกดั องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น จังหวดั ปทมุ ธานี.” วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศกึ ษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

9 งามจติ ศรีเสน. 2556. “การศึกษาปัญหาการดาเนินงานระบบประกนั คุณภาพภายในสถานศกึ ษากลุ่ม โรงเรียนแกว้ วารี อาเภอบรรพตพิสัย สงั กดั สานักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษา นครสวรรคเ์ ขต 2.” วิทยานพิ นธ์ สาขาการบริหารการศกึ ษา. นครสวรรค์: มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครสวรรค์. ชษิ ณุพงศ์ ทองพวง. 2557. องค์ประกอบการบริหารคุณภาพทวั่ ท้ังองคก์ ารของมหาวทิ ยาลัยเอกชน ในประเทศไทย. สานกั ประกนั คุณภาพการศกึ ษา. นครปฐม: มหาวิทยาลยั คริสเตยี น. รัตนา ประเสรฐิ สม. 2551. การบริหารจัดการคณุ ภาพทงั่ ท้ังองคก์ ร (TQM). กรงุ เทพฯ: เนชน่ั บคุ๊ ส์.วี ระยุทธ ชาตะกาญจน.์ 2554. เทคนิคการบรหิ ารสาหรบั นกั บรหิ ารการศกึ ษามืออาชพี . พมิ พค์ ร้งั ท่ี 4. กรงุ เทพฯ: สานกั พิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. วภิ าภรณ์ ด่านศริ ิ. 2559. “การพัฒนาบคุ ลากรดา้ นการศกึ ษาโดยกระบวนการสนุ ทรยี สาธก : กรณีศึกษาโรงเรียน ABC อาเภอเมือง จงั หวดั อุดรธาน.ี ” วทิ ยาลัยบณั ฑติ ศึกษาการจดั การ. ขอนแก่น: มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น. ศักด์ดิ า แดงเถนิ . 2555. “การบริหารงานโรงเรียนโดยใช้หลกั การบริหารแบบมงุ่ ผลสมั ฤทธข์ิ อง ผบู้ ริหารโรงเรยี นตามทศั นะของครู ในสานกั งานเขตภาษีเจริญ สงั กัดกรงุ เทพมหานคร.” วารสารวิจยั สาขาบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยราชภัฏธนบรุ .ี สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาแหง่ ชาต.ิ 2545. พระราชบญั ญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการ การศึกษาแหง่ ชาต.ิ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. 2553. แผนการศึกษาแหง่ ชาติ ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2552 – 2559. พมิ พค์ รัง้ ที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษทั พริกหวาน กราฟฟคิ จากดั . สานกั งานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษานนทบรุ ีเขต 1. 2558. รายงานผลการตรวจติดตามประเมนิ ผล การจดั การศกึ ษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศกึ ษา. นนทบรุ ี : คณะกรรมการตรวจ ติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาโรงเรยี นเอกชนประเภทสามัญศกึ ษา. สุมิตตา ชัยศิลป.์ 2555. “สภาพปัญหาการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรยี นในสังกัดสานกั งานเขต พนื้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3.” สารนิพนธ์ สาขาบรหิ ารการศกึ ษา, เชียงราย. เอมอร วริ ิยะขันตกิ ุล. 2555. “สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสงั กัดกรงุ เทพมหานคร กลุ่มกรงุ เทพกลาง.” วารสารวจิ ัยและพฒั นา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนตจ์ อห์น. อนุศรา พลู คมุ้ . 2558. “แนวทางการดาเนินงานประกนั คุณภาพภายในสถานศกึ ษาตามมาตรฐานของ โรงเรียนตน้ แบบสงั กดั สานักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานครสวรรคเ์ ขต 2.” วทิ ยานิพนธส์ าขาการบรหิ ารการศึกษา. นครสวรรค:์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.์

การพฒั นาระบบฐานขอ้ มูลดา้ นการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศกึ ษา : IPE QA Online Development in Data Base System of Internal Educational Quality Assurance, Institute of Physical Education: IPE QA Online ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ไกรเพชร 1 นางสขุ เสนอ รตั นรังสิกุล 2 นายเพ็ชร ห้อยตะขบ 3 สถาบนั การพลศกึ ษา 333 หมู่ 1 ต.หนองไมแ้ ดง อ.เมือง จ.ชลบรุ ี เบอรโ์ ทรศพั ท์ 038-054211 เบอร์โทรสาร 038-054223 บทสรุป การจัดการความรู้เร่ือง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน สถาบันการพลศึกษา : IPE QA Online จัดทาขึ้นเพ่ือแก้ปัญหาในการดาเนินงาน การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในของสถาบนั การพลศึกษา ใหม้ คี ณุ ภาพมากขึ้นและสอดคล้อง กับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสถาบนั การพลศึกษา วธิ ีดาเนินงานการจัดการความรู้ เป็นการดาเนินงานตามข้นั ตอนและกระบวนการจัดการ ความรู้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สภาพ และปัญหาท่ีเกิดขึ้นจากการดาเนินงานการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสารวจความต้องการในการจัดการองค์ความรู้ มาสู่กระบวนการพัฒนาความรู้ การถ่ายทอดความรู้ ให้กับบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย และการ แบ่งปันความรู้ให้กบั กลมุ่ เปา้ หมาย และผู้เกยี่ วขอ้ งทุกฝา่ ย ผลการดาเนินงาน พบว่า สถาบันการพลศึกษาได้พัฒนาระบบ IPE QA Online : ระบบ ฐานขอ้ มลู ดา้ นการประเมนิ คุณภาพการศึกษา ระบบ IPE QA Online เป็นระบบทีใ่ ชใ้ นการจัดทา รายงานการประเมนิ ตนเอง การประเมนิ คุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสตู ร คณะ วทิ ยาเขต และสถาบัน และสังเคราะหผ์ ลการดาเนนิ งานในภาพรวมของสถาบนั การพลศึกษาเข้าระบบ CHE QA Online ทถี่ กู ต้องและรวดเรว็ มากขึ้น ทั้งนี้จากท่ีสถาบันการพลศึกษาได้พัฒนาระบบ IPE QA Online : ระบบฐานข้อมูลด้าน การประเมินคุณภาพการศึกษาและได้ใช้ดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในผ่าน ระบบดังกล่าวต้ังแต่ปีการศึกษา 2558 2559 และ 2560 พบว่า ทาให้ผลการดาเนินงานมีความ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดเวลามากขน้ึ คาสาคัญ ระบบฐานข้อมูล ประกนั คุณภาพการศึกษา สถาบันการพลศึกษา

2 Summary The knowledge management on development in data base system of internal educational quality assurance, Institute of Physical Education: IPE QA Online, aimed to heighten the working efficiency of internal educational quality assurance and serve the organizational structure of Institute of Physical Education. The methodology of knowledge management was conducted in this study. The study began with an analysis of current state and problems with internal educational quality assurance, and a survey on knowledge management needs was done for implementing the knowledge management procedures, transferring the body of knowledge to the target groups, and sharing the knowledge with the target personnel and stakeholders. The finding reveled that IPE QA Online was constructed and developed as part of the data base system for Institute of Physical Education in order to help make self-assessment report, serve all internal educational quality assessment consisting of program, faculty and university levels, and summarize the assessment results as a whole to report via CHE QA Online. In conclusion, IPE QA Online which was operated continuously in 2015, 2016 and 2017 can facilitate in-charge personnel and stakeholders, increase working efficiency and save more time. Key word : Data Base System, Educational Quality Assurance, Institute of Physical Education บทนา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การจดั การศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแตล่ ะระดับและประเภทการศึกษา โดย มีกลไกในการควบคุม ตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพ่ือให้ เกิดการพัฒนาและสร้างความเช่ือม่ันให้แก่ผู้มีส่วนเก่ียวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษาน้ัน สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้าประสงค์ของ หน่วยงานตน้ สังกัดหรือหนว่ ยงานท่ีกากับดูแล และกาหนดใหส้ ถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบ การประกนั คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวง ศึกษาธกิ ารประกาศ (กฎกระทรวง การประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. 2561)

3 สถาบันการพลศึกษา มีพันธกิจหลักที่ต้องปฏิบัติมี 5 ประการ คือ 1) ผลิตและพัฒนา บุคลากรด้านศาสตร์การกีฬา 2) วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านศาสตร์การกีฬา 3) บริการวิชาการแก่สังคม 4) ทะนุบารุงศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพ้ืนบ้านและกีฬาไทย และ 5) ส่งเสริมและพฒั นานกั เรยี นและนกั ศึกษาใหม้ ีศกั ยภาพดา้ นกีฬาสงู สดุ ของแต่ละบุคคล สถาบันการพลศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา ไดพ้ ัฒนาระบบการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน โดยมวี ตั ถุประสงคด์ งั นี้ 1) เพื่อให้สถาบันได้มีการพัฒนามุ่งสู่วิสัยทัศน์ และยกระดับขีดความสามารถในการ แข่งขัน โดยระบบดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พรบ. และเป็นไปตามกรอบแผน อุดมศกึ ษาระยะยาว มาตรฐานการอดุ มศกึ ษา และมาตรฐานการศึกษาของชาติ 2) เพ่ือตรวจสอบและประเมินผลการดาเนินงานต้ังแต่ระดับหลักสูตร คณะ วิทยาเขต และสถาบัน 3) เพ่ือให้หลักสูตร คณะ วิทยาเขต และสถาบัน ทราบสถานภาพของตนเอง อันจะ นาไปสู่การกาหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย (targets) และเป้าประสงค์ (goals) ทต่ี ้งั ไว้ตามจดุ เนน้ ของตนเอง 4) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็งจุดท่ีควรปรับปรุง ตลอดจนข้อเสนอแนะในการ พัฒนาการดาเนินงานเพ่ือนาไปปรับปรุงผลการดาเนินงานในแต่ละระดับอย่างต่อเน่ือง เพ่ือ ยกระดบั ขีดความสามารถของสถาบนั 5) เพ่ือให้ข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทาให้ม่ันใจว่า สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลติ ทางการศกึ ษาทม่ี ีคุณภาพและได้มาตรฐานตามท่ีกาหนด 6) เพ่ือให้หน่วยงานต้นสงั กัดของสถาบันการพลศึกษาและหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง มีข้อมูล พื้นฐานทีจ่ าเปน็ สาหรับการส่งเสรมิ สนบั สนุนการจัดการศึกษาในแนวทางทเ่ี หมาะสม ทั้งน้ี สถาบันการพลศึกษา มีโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ที่แตกต่างจากสถาบัน อุดมศึกษาอ่ืน โดยมีการแบ่งการบริหารงานเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนกลาง เป็นการบริหารงาน ระดบั นโยบาย ประกอบดว้ ย สานักงานอธิการบดี คณะ 3 คณะวิชา โรงเรยี นกฬี า สานัก/ศูนย์ ซึ่ง ไม่มีการจัดการศึกษา และ2) ส่วนภูมิภาค แยกเป็นวิทยาเขต 17 แห่ง ประกอบด้วย สานักงาน รองอธิการบดี สานักงานรองคณบดี 3 คณะ และสานักงานกีฬาและโรงเรียนกีฬา 13 โรง เป็น ส่วนท่ีมีการจัดการเรียนการสอน ในวิทยาเขตเปน็ การจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และ โรงเรียนกีฬาเป็นการจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน จึงกาหนดให้ระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันการพลศึกษา ระดับอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับหลักสูตร คณะ วิทยาเขต และสถาบัน โดยสถาบันการพลศึกษา (ส่วนกลาง) มี หน้าที่พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อให้ทุกหน่วยงานมีการดาเนินงานท่ีเป็น มาตรฐานเดียวกัน มีความเข้าใจในการดาเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน มีการกากับ ติดตาม ให้ คาปรกึ ษา ช่วยเหลอื และแนะนาการดาเนินงานในทุกระดับ เพือ่ พฒั นาสถาบันการพลศึกษาให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของชาติที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการกาหนด และให้หน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยจัดส่งรายงานผลการประเมิน ตนเอง รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้กับ

4 สถาบันการพลศึกษาทุกปี เพ่ือให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการพลศึกษามีพฒั นา อย่างต่อเน่ือง จากเหตุผลดังกล่าวทาให้การดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สถาบันการพลศึกษา ประสบปัญหาในการดาเนินงานค่อนข้างมาก เพราะสถาบันการพลศึกษา ต้องมีการรวบรวมข้อมูลการดาเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สถาบันการพลศึกษาในส่วนภูมิภาคท่ีเป็นวิทยาเขตทั้ง 17 แห่ง มากรอกเข้าระบบ CHE QA Online ของสานกั งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นผลการดาเนินงานของสถาบันการพล ศึกษา ทาให้สิน้ เปลอื งเวลาในการดาเนนิ งานค่อนข้างมาก และขอ้ มูลบางสว่ นไม่ถกู ต้องสมบูรณ์ ดังน้ัน กลุ่มประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา สถาบันการพลศึกษา จึง นากระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการสกัดความรู้จากผู้เก่ียวข้องกับการประกัน คุณภาพการศกึ ษาภายในระดับอุดมศึกษาทั้งท่เี ป็นบุคคลภายในและภายนอกเพ่ือแก้ปัญหาระบบ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันการพลศึกษาให้มีคุณภาพและสามารถ ดาเนินการเช่ือมโยงกับสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสทิ ธผิ ล โดยมกี ารนาระบบเทคโนโลยีมาชว่ ยในการแก้ปัญหาดงั กล่าว จงึ ไดด้ าเนนิ การจัดการ ความรู้ เร่อื ง การพฒั นาระบบฐานข้อมลู ดา้ นการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน สถาบนั การพล ศกึ ษา : IPE QA Online ขึ้น วตั ถุประสงค์ เพ่ือใหส้ ถาบนั การพลศึกษามีระบบฐานข้อมูลดา้ นการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในท่ี มคี ณุ ภาพและสอดคล้องกบั โครงสร้างการแบ่งสว่ นราชการของสถาบันการพลศกึ ษา วธิ ีดาเนินงาน ข้ันตอนที่ 1 การกาหนดความรู้ ศึกษาสภาพปัญหา ในการดาเนินงานการประกัน คุณภาพการศึกษาภาย โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสถาบันการพลศึกษา และการ ดาเนินงานของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระบบฐานข้อมูลด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน ท่ีสานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาพัฒนาขึ้น : CHE QA Online โดยการศึกษาจากเอกสารคู่มือการดาเนินงาน รายงานการประเมินตนเอง รายงานผลการ ประเมิน และเอกสารที่เก่ียวข้องต่าง ๆ นอกจากนี้ได้ได้สอบถามจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสถาบันการพลศึกษา และส่วนภูมิภาคทั้ง 17 วิทยาเขต นอกจากน้ีได้สอบถามแนวทางการแก้ปัญหาจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพ การศึกษาภายใน ที่มาทาหน้าท่ีประเมินคุณภาพภายในให้กับสถาบันการพลศึกษา ท่ีเป็น บุคคลภายนอกและบุคคลภายในสถาบันการพลศึกษา ได้ข้อสรุปว่าถ้าต้องการแก้ปัญหาในการ ดาเนนิ งานการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั อดุ มศึกษาของสถาบันการพลศึกษา ต้องมี การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการดาเนินงาน จึงกาหนดให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการ ประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน โดยใช้ชอื่ วา่ IPE QA Online ขนึ้ และจากการสนทนาพูดคุยกับ ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว จนได้ประเด็นในการจัดการความรู้ ยังพบว่าการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับการทางานของระบบ CHE QA Online ต้องจ้างผู้ท่ีมีความรู้

5 ความเขา้ ใจและพฒั นาระบบ CHE QA Online กค็ ือทีมงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ทางสถาบนั การพลศึกษาจึงได้ประสานงานกับทีมงานดังกล่าวและจัดทา TOR เพ่ือพัฒนาระบบฐานข้อมูล ดา้ นการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ของสถาบันการพลศกึ ษา ขัน้ ตอนที่ 2 การสรา้ งและแสวงหาความรู้ หลงั จากได้มกี ารกาหนดประเด็นความรู้และ ผู้เก่ียวข้องในการถ่ายทอดความรู้แล้ว ทางทีมงานก็ดาเนินการระดมสมอง พูดคุยร่วมกับระหว่าง ทีมงานของสถาบันการพลศึกษา และทีมงานของมหาวิทยาลัยนเรศวรเพ่ือแลกเปล่ียนเรียนรู้ใน การพฒั นาระบบฯ โดยระบบประกอบดว้ ย 1. ประชุมทีมงานผู้ใช้งานระบบ ผู้พัฒนาระบบเพ่ือหาความต้องการและความเป็นไปได้ใน การพัฒนาระบบ 2. ผู้พัฒนาระบบออกแบบระบบ และนาเสนอรูปแบบและวิธีการพัฒนาระบบต่อผู้บริหาร และผู้ใช้งานระบบกอ่ นจดั ทา TOR 3. เมื่อพัฒนาระบบเสร็จ ผู้พัฒนาระบบติดต้ังโปรแกรมและให้ผู้ใช้งานระบบทดลองใช้งาน ระบบและนาข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ใช้งานไปปรับปรุงระบบก่อนนาไปให้ผู้ใช้งานใน ระดับวิทยาเขตทดลองใชจ้ ริง 4. ทดลองใช้งานระบบดังกล่าวทั้งการกรอกข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง และรายงาน ผลการประเมิน 1 วงรอบปีประเมิน แล้วรวบรวมปัญหาท่ีพบจากการทดลองใช้งานจริง เพือ่ ปรับปรงุ พัฒนาระบบอกี ครัง้ ก่อนใช้งานในปีการศกึ ษาถัดไป 5. สถาบนั ส่วนกลางประกาศใช้งานระบบเต็มรปู แบบในปีการศึกษาถัดมา

6

7 ข้ันตอนท่ี 3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เม่ือพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศึกษาตามแผนการวิเคราะห์ระบบเรียนร้อยได้มีการ จัดทารูปแบบเพ่ือให้ง่ายและสะดวกต่อการนาไปใช้ สาหรับบุคลากรของสถาบัน ซึ่งให้มี กระบวนการทางานคล้ายกับระบบ CHE QA Online และเมื่อทาการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในของสถาบันการพลศึกษาเรียนร้อยแล้วในแต่ละปีการศึกษา สามารถส่งต่อข้อมูลผล เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในทั้งระบบไปยัง ระบบ CHE QA Online โดยมีการ พัฒนาระบบฯ เพื่อนาไปสกู่ ารใชง้ าน ดงั นี้

8 ขั้นตอนท่ี 4 การประมวลและกลน่ั กรองความรู้ จากกระบวนการดาเนินงานของระบบ ฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศึกษา มีการทบทวนเพ่ือปรับ ใหร้ ะบบดังกล่าวฯ ทางานได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการทบทวนเกย่ี วกบั ประเด็นต่อไปนี้

9 ประเด็น การทางานแบบเดมิ การทางานแบบใหมผ่ ่าน ระบบ IPE QA Online 1.การจดั ทารายงานการ จัดทาเอกสารเปน็ เลม่ ระดบั สามารถกรอกรายงานการ ประเมินตนเอง (SAR) คณะ และวทิ ยาเขต ของแตล่ ะ ประเมินตนเอง (SAR) ของ วิทยาเขตท้ังหมด 17 วทิ ยาเขต แต่ละวทิ ยาเขตตามสทิ ธทิ์ ี่ กาหนดให้ผ่านระบบ 2.การสง่ รายงานการประเมนิ วทิ ยาเขตจัดส่งเอกสารเป็นเล่ม กาหนดสิทธิ์ให้กับ ตนเอง (SAR) ให้ ระดับคณะ และวทิ ยาเขต ของ คณะกรรมการประเมนิ ฯ คณะกรรมการประเมนิ แต่ละวทิ ยาเขตท้ังหมด 17 ของแตล่ ะวทิ ยาเขต คณุ ภาพการศึกษาภายในและ วทิ ยาเขตให้คณะกรรมการ สามารถเขา้ ไปประเมิน ดาเนินการประเมนิ ฯ ประเมินฯ ผา่ นระบบ 3. การส่งรายงานผลการ สถาบนั การพลศึกษาทุกวิทยา งานประกันคุณภาพ ประเมนิ คุณภาพการศึกษา เขตต้องจดั สง่ file และเอกสาร การศึกษาสว่ นกลาง ภายในสว่ นภูมภิ าค รายการประเมินตนเอง (SAR) สามารถดงึ ข้อมูลจากระบบ (วิทยาเขต) ให้กบั สว่ นกลาง และรายงานผลการประเมนิ ของแตล่ ะวทิ ยาเขตมาใช้ คณุ ภาพการศึกษาภายในให้กับ งานประกนั คุณภาพการศกึ ษา สว่ นกลาง 4. การสงั เคราะห์ผลการ งานประกนั คุณภาพการศึกษา งานประกนั คณุ ภาพ ประเมนิ ในส่วนภมู ภิ าค ส่วนกลางจดั ประชมุ หัวหน้างาน การศึกษาสว่ นกลาง (วิทยาเขต) ให้เปน็ ภาพรวม ประกันคุณภาพการศึกษาทกุ สามารถดงึ ข้อมูลผลการ ของสถาบันการพลศกึ ษา วทิ ยาเขตเพื่อนาผลการ สงั เคราะหจ์ ากระบบมา (ส่วนกลาง) ดาเนินงานของทุกวทิ ยาเขต จดั ทาเป็นผลการ มาสงั เคราะหต์ ามเกณฑท์ ่ี ดาเนินงานภาพรวมของ สถาบนั กาหนดเพือ่ จัดทาเปน็ สถาบันการพลศกึ ษาได้เลย ภาพรวมของสถาบัน 5.การสง่ รายงานผลการ งานประกนั คณุ ภาพการศึกษา สามารถกดส่งขอ้ มูล ประเมนิ ฯ เข้าระบบ CHE ส่วนกลางตอ้ งมากรอกข้อมูล รายงานผลการประเมินไป QA Online ของสว่ นภูมิภาคทัง้ หมด 17 ยงั ระบบ CHE QA Online วิทยาเขต เขา้ ระบบ CHE QA ระดบั หลกั สูตรกลาง 13 Online เล่ม ระดบั คณะส่วนกลาง 3 เล่ม และระดับสถาบัน 1 เล่ม ไดโ้ ดยไมต่ ้องกรอก ข้อมูลใหมใ่ นทุกปี การศกึ ษา

10 ข้ันตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้ ทีมงานได้ทาการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับ ผู้เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ท้ังผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร และ คณะกรรมการประเมิน โดยมีการจัดทาคู่มือการใช้ระบบ IPE QA Online การพัฒนาระบบและ กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศึกษา และการประชุมชี้แจง ปฏิทิน การดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และจัดอบรมการใช้งานระบบให้กับผู้ใช้งานระบบ ทกุ ระดับ รวมถึงแตง่ ตงั้ ผดู้ แู ลระบบเพ่ือประสานงานไปยงั ผู้ใชง้ านให้ครบในทุกระดบั การใช้งาน ข้ันตอนท่ี 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ในการดาเนินงานการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ของสถาบันการพลศึกษาทุกปี จะมีการประชุมการสังเคราะห์ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ IPE QA Online เพ่ือนาผลผ่านระบบ CHE QA Online ซ่ึง ในท่ีประชุมจะมีผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ผู้พัฒนาระบบฯ และ คณะกรรมการประเมินฯ ร่วมด้วยทุกครั้ง จะมีการแลกเปลี่ยนเพ่ิมเติมในการใช้ระบบ IPE QA Online ให้มีความสมบูรณ์เพ่ิมขึ้นทุกปีการศึกษา จากน้ันก็สรุปและชี้แจงใหผ้ ู้เก่ียวข้องทราบเพื่อ นาไปสูก่ ารปฏิบตั ิให้ถกู ต้องต่อไป ขั้นตอนที่ 7 การนาความรู้ไปใช้ จากการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในของสถาบันการพลศึกษา ผ่านระบบ IPE QA Online ที่ผ่านมาทาให้มีการดาเนินงานท่ี สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ทรพั ยากรอ่นื ๆ เชน่ กระดาษ มากขึ้น 1. ลดระยะเวลาในการติดตามข้อมูลเอกสารรายงานการประเมินตนเอง (SAR) จานวน 156 เล่ม แยกเป็น ระดับหลักสูตร 71 เล่ม ระดับคณะ 51 เล่ม ระดับวิทยาเขต 17 เล่ม ระดับ หลักสูตรกลาง 13 เล่ม ระดับคณะส่วนกลาง 3 เล่ม และระดับสถาบัน 1 เล่ม ในทุกปีการศึกษา และสามารถเข้าไปดขู อ้ มูลดังกล่าวในระบบได้ตลอดเวลา 2. ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาในวิทยาเขต 17 แห่ง และ ผบู้ รหิ ารสว่ นกลางสามารถเข้าไปกากับติดตามผลการดาเนินงานการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ได้ เลยตามระดับสิทธ์ิการเข้าถึงที่กาหนด 3. ลดระยะเวลาในการรวมรวมข้อมูลพื้นฐาน จากเดิมท่ีต้องรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ เป็นสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาส่วนกลางโดยใช้วิธีกรอกมือ ไปเป็นกรอกข้อมูลลง ในระบบและสังเคราะหผ์ ลโดยผา่ นโปรแกรมการอภมิ านผลประเมิน 4. ลดระยะเวลาในการติดตามข้อมูลรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (CAR) จากคณะกรรมการประเมินที่ได้รับการแต่งตั้งจากต้นสังกัด ได้ตามระดับสิทธิ์การเข้าถึงท่ี กาหนด เพือ่ ตดิ ตามผลการประเมนิ จานวน 156 เล่ม 5. สามารถกดส่งข้อมูลรายงานผลการประเมินไปยังระบบ CHE QA Online ระดับ หลกั สตู รกลาง 13 เล่ม ระดับคณะส่วนกลาง 3 เลม่ และระดับสถาบัน 1 เล่ม ไดโ้ ดยไม่ต้องกรอก ข้อมูลใหมใ่ นทุกปกี ารศกึ ษา

11 ผลการดาเนินงาน จากการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการ พลศึกษา : IPE QA Online ทาให้เกิดการพัฒนาในการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในดงั นี้ 1. ลดระยะเวลาในการติดตามข้อมูลเอกสารรายงานการประเมินตนเอง (SAR) จากที่ต้อง โทรศัพทต์ ดิ ตาม เอกสารรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ไปยงั หน่วยงานในวทิ ยาเขตในแต่ละปี การศึกษา เพ่ือให้ได้ข้อมูลสามารถเก็บรวบรวมไว้ท่ีสถาบันส่วนกลาง จานวน 156 เล่ม แยกเป็น ระดับหลักสตู ร 71 เล่ม ระดบั คณะ 51 เล่ม ระดบั วทิ ยาเขต 17 เล่ม ระดบั หลกั สตู รกลาง 13 เลม่ ระดบั คณะส่วนกลาง 3 เล่ม และระดบั สถาบัน 1 เลม่ ในทุกปกี ารศกึ ษา เมื่อมีการใช้ระบบระบบ ฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศึกษา : IPE QA Online สถาบัน เปลี่ยนระบบการติดตามเป็นเอกสารรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ท่ีให้ส่งเป็นเล่ม ไปเป็นให้ส่งเป็น file ข้อมูล และบันทึกในระบบแทน ลดภาระการจัดเก็บเอกสารปีละ 156 เล่ม และสามารถเข้าไปดูข้อมูลดงั กล่าวในระบบไดต้ ลอดเวลา 2. ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาในวิทยาเขต 17 แห่ง สามารถ เข้าไปกากับติดตามผลการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ได้เลยตามระดับสิทธิ์การ เขา้ ถึงทก่ี าหนด โดยไม่ต้องรอการรายงานผลเปน็ คร้ังๆ จากผ้รู ับผดิ ชอบ 3. ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาในส่วนกลาง สามารถเข้าไป กากับติดตามผลการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ในวิทยาเขต 17 แห่ง ท่ีตนเอง รับผิดชอบได้ตามระดับสทิ ธ์ิการเข้าถงึ ท่ีกาหนด 4. ลดระยะเวลาในการรวมรวมข้อมูลพื้นฐาน จากเดิมที่ต้องรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ เป็นสารสนเทศงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาส่วนกลาง ดังน้ี 4.1 ระดับหลักสูตร 71 เล่ม และสังเคราะห์ผลเป็นข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง หลกั สูตรกลาง 13 หลักสตู ร 4.2 ระดับคณะ 51 เล่ม และสังเคราะห์ผลเป็นข้อมูลรายงานการประเมินตนเอง ระดับ คณะส่วนกลาง 3 เลม่ 4.3 ระดับวิทยาเขต 17 เล่ม และสังเคราะห์และสังเคราะห์ผลเป็นข้อมูลรายงานการ ประเมนิ ตนเอง ระดับสถาบนั 1 เล่ม 5. ลดระยะเวลาในการติดตามข้อมูลรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (CAR) จากคณะกรรมการประเมินที่ได้รับการแต่งตั้งจากต้นสังกัด โดยเม่ือเลขานุการประเมิน กรอกผลการประเมินลงในระบบแล้ว ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาใน ส่วนกลาง สามารถสามารถเข้าไปกากับติดตามผลการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ในวิทยาเขต 17 แหง่ ทต่ี นเองรบั ผิดชอบได้ตามระดับสิทธิ์การเข้าถึงที่กาหนด เพ่อื ตดิ ตามผลการ ประเมิน จานวน 139 เล่ม แยกเปน็ ระดับหลกั สูตร 71 เล่ม ระดับคณะ 51 เลม่ ระดบั วิทยาเขต 17 เลม่ ในทกุ ปกี ารศกึ ษา

12 6. สามารถกดส่งข้อมูลรายงานผลการประเมินไปยังระบบ CHE QA Online ระดับ หลกั สตู รกลาง 13 เลม่ ระดบั คณะสว่ นกลาง 3 เล่ม และระดบั สถาบัน 1 เล่ม ไดโ้ ดยไมต่ ้องกรอก ข้อมูลใหม่ในทุกปีการศึกษา และสั่งพิมพ์ข้อมูลผลการประเมินจากระบบเพื่อรายงานผลการ ประเมินไปยัง กพร. ได้ ขอ้ เสนอแนะ สถาบันการพลศึกษาต้องมีการมอบหมายให้กับบุคลากรของสถาบันการพลศึกษา รับผิดชอบในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาระบบฯ ในกรณีที่หมดสัญญา TOR และมีการปรับระบบ เพมิ่ เติมตวั บง่ ช้ขี องสถาบนั การพลศกึ ษา กส็ ามารถดาเนนิ งานได้ กติ ติกรรมประกาศ การดาเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลดา้ นการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบัน การพลศึกษา: IPE QA Online สาเร็จด้วยดี ต้องขอขอบพระคุณอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ประธานกรรมการ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการพลศึกษา (ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร) รวมถึง คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในทุกคน ตลอดจนบุคลากรของสถาบันการพล ศึกษาทุกระดับท่ีให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะในการ ดาเนินการพัฒนาระบบฯ เป็นอยา่ งดี และทมี งานมหาวิทยาลยั นเรศวรท่ีพัฒนาระบบฯ ได้ตรงกับ ความตอ้ งการของสถาบนั การพลศกึ ษา และใหค้ าปรึกษาที่ดีมาโดยตลอด บรรณานกุ รม กติ ติ ภักดีวฒั นะกุล และพนิดา พานิชกุล. 2546. คมั ภรี ก์ ารวิเคราะหแ์ ละออกแบบ ระบบ. กรงุ เทพฯ: เทคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์. ฝ่ายผลิตหนังสือตาราวชิ าการคอมพิวเตอร์. 2551. การวเิ คราะห์และออกแบบระบบ. กรงุ เทพฯ : ซเี อ็ดยเู คชั่น. สานกั งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2560. คมู่ ือการประกนั คณุ ภาพการศึกษา ภายใน ระดับอดุ มศึกษา พ.ศ. 2557. กรงุ เทพฯ : ภาพพิมพ์.

การพฒั นานวตั กรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วธิ กี ารจดั การความรู้เปน็ ฐาน Knowledge Management Approach Based Development of Innovation in Sports ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี ทองคาพานิช1 ผูช้ ่วยศาสตราจารย์พวงแก้ว วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ2 ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อธิวัฒน์ ดอกไม้ขาว3 ปิตโิ ชค จนั ทรห์ นองไทร4 รัถญา สีรอด5 ผชู้ ่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคณุ ภาพการศกึ ษา1 ผู้ชว่ ยอธกิ ารบดฝี า่ ยวิชาการ2 อาจารยป์ ระจาสาขาวทิ ยาศาสตร์การออกกาลงั กายและกฬี า3 ผชู้ ่วยอธิการบดีฝ่ายวเิ ทศน์สัมพนั ธ์4 อาจารย์ประจาสาขาวิทยาศาสตรส์ ุขภาพ5 สถาบนั การพลศกึ ษา วิทยาเขตสพุ รรณบุรี 1 หมู่ 4 ตาบลรั้วใหญ่ อาเภอเมือง จงั หวดั สุพรรณบุรี บทสรปุ การพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐาน และ สร้างนวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน เป็นเคร่ืองมือในการ พัฒนาครั้งน้ี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพ่ือการพัฒนานวัตกรรม เป็นนักศึกษา และอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐาน ประกอบด้วย 5 ข้ันตอน ได้แก่ ขั้นการออกแบบนวัตกรรม ขั้นการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ขั้นตรวจสอบคุณภาพ นวตั กรรม ขน้ั การนานวัตกรรมไปทดลองใช้ และขั้นการประเมินผล จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการ ความรเู้ ป็นฐานสามารถพฒั นาการจัดการเรยี นการสอน เพื่อใหน้ ักศึกษาและอาจารย์ได้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีนักศึกษา และอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและ และสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้ผลิตนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ช่ือผลงาน Move of Life ภายใต้สโลแกน“แค่ขยับ ชีวิตก็เปลี่ยน”และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในการประกวดนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งท่ี 18 ระดับประเทศ ในงาน นวัตกรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สานักนวัตกรรมแห่งชาติ อีกทั้ง ได้นานวัตกรรม Move of Life ไปศึกษาเพ่ือทาวิจัยในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬา โดยทาวิจัยเรื่อง การฝึกด้วยนวัตกรรม Move of Life ท่ีมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยจัดโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวด้วยนวัตกรรม Move of Life

ให้กบั นกั กีฬาตะกร้อหญงิ จานวน 12 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน และใช้แบบทดสอบความ คล่องแคล่วว่องไว (Semo Test) วัดผลท้ังก่อนและหลังการฝึก ผลการศึกษา พบว่า หลังการฝึกด้วย นวัตกรรม Move of Life ด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว นักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตสพุ รรณบรุ ี มคี วามคล่องแคล่วว่องไวทดี่ ขี ้ึน อยา่ งมนี ัยสาคญั ทางสถติ ทิ ่ีระดับ .05 ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการศึกษาการพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้ เป็นฐาน สามารถนาไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางศาสตร์การกฬี าท่ีมีประสิทธิภาพ อันจะนาไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพย่ิงขึ้น คาสาคญั : นวตั กรรมทางศาสตรก์ ารกฬี า การจดั การความร้เู ปน็ ฐาน Summary Knowledge management approach based development of innovation in sports aimed to investigate the procedures of knowledge management approach based development of innovation in sports and construct the innovation in sports based on knowledge management approach. The seven procedures of knowledge management approach were used as a tool of this study. The subjects used in this study comprised students and teachers from Faculty of Health and Sports Science, Institute of Physical Education. The findings revealed that development of innovation in sports consisted of five procedures, innovation design, innovation construction and development, innovation quality examination, innovation implementation, and innovation implementation evaluation. In addition, knowledge management approach based development of innovation in sports had a good effect on students’ and teachers’ analytical thinking and problem solving skill. As a result, they constructed the innovation in sports named “Move of Life” on the concept of “Just move, see changes of life”, and received the third-place award on sports science innovation from the 18th Thailand’s Innovation Contest in 2018 National Innovation Fair by Thailand’s Science Association under the Royal Patronage, Ministry of Science and Technology. Moreover, this innovation was taken to the research on developing the twelve female Takraw athletes’ agility for eight weeks, three days a week. Somo Test, a kind of agility tests, was used as a measurement instrument. After the eighth week, better agility of female Takraw athletes was found at the significant difference level of .05 In conclusion, knowledge management approach based development of innovation in sports can lead to application in class and research for constructing innovation in sports efficiently. Keyword: innovation in sports, knowledge management approach based

บทนา การจัดการความรู้มีความเก่ียวข้องและเช่ือมโยงกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกจิ การบ้านเมืองทด่ี ี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กาหนดไว้ว่าส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ ในส่วนราชการเพ่อื ให้มีลักษณะเปน็ องค์กรแห่งการเรียนรอู้ ย่างสม่าเสมอโดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและ สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพ่ือนามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์รวมทง้ั ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์ และปรบั เปลี่ยนทศั นคตขิ องขา้ ราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน รวมถงึ พระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซ่ึงปรากฏใน มาตราที่ 8 ท่ีเนน้ กระบวนการเรยี นรเู้ พ่อื ความเจรญิ งอกงามของบคุ คลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าง องค์ความร้อู ันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคล เรียนรู้อย่างต่อเน่อื งตลอดชีวติ ในมาตรฐานการศึกษาของชาติมาตรฐานท่ี 3 คือ แนวการสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้ และสังคมแห่งความรู้ ตามแนวทางของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้ ได้มีการกาหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยให้สถาบันมีการสร้างและพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อมุ่งสู่ สถาบันแหง่ การเรยี นรู้ มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในสถาบันซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือ เอกสารมาพฒั นาใหเ้ ป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในสถาบันสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทัง้ สามารถปฏบิ ตั งิ านไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ อันจะส่งผลใหส้ ถาบันอุดมศึกษามีความสามารถในเชิง แข่งขันสูงสุด และก้าวไปสู่การเป็นสถาบันที่มีการขับเคล่ือนตามนโยบายของประเทศไทย 4.0 มีการ ยกระดับการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม ใหก้ บั สถาบนั จนเกิดความมั่นคง มั่งค่งั และย่ังยืนไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ การพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐาน เป็นการจัดการ เรยี นรทู้ บี่ รู ณาการการเรียนการสอนกบั การวิจัย เพ่ือให้อาจารย์สามารถทาวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ให้ เหมาะสมกับผู้เรยี นในแตล่ ะระดับการศกึ ษา ศกึ ษาปญั หาหรอื ส่งิ ท่ตี อ้ งการรู้คาตอบ พัฒนาสิ่งท่ีต้องการ พฒั นาหรอื แกป้ ัญหา โดยบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยให้เป็นกระบวนการ เพ่ือใหอ้ าจารย์สามารถมองเห็นปัญหา ระบุหรือรู้ปัญหา ได้รู้จักการวางแผน ค้นหาคาตอบ หรือค้นพบ แนวทางการแก้ไขปัญหา เพ่ือสร้างความเข้มแข็งทางด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม สถาบันควรให้ความสาคัญกับการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา และอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กาหนดใหพ้ ัฒนานกั ศกึ ษา และอาจารย์ โดยการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งด้านเนื้อหาและเทคนิค การสอนรวมถงึ การบูรณาการในการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพ่ือการศึกษามาใช้เป็นส่ือในการเรียน การสอน เพ่ือพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา และอาจารย์ อย่างไรก็ตาม เม่ือเปรียบเทียบในระดับ นานาชาติยัง พบว่า คุณภาพในการจัดการศึกษาของประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่าและด้อยกว่า นานาชาติ ซ่ึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาควรตระหนักถึงความจาเป็นในการศึกษาสภาพ

ปญั หาท่ีเกดิ ขนึ้ และหาแนวทางแก้ไขในประเด็นทจี่ ะสามารถยกระดับคุณภาพของนักศึกษาและอาจารย์ อยา่ งแท้จรงิ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ท่ีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีบทบาทต่อการดารงชีวิตประจาวันของมนุษย์มากขึ้น เช่น การใช้ลิฟต์แทนการขึ้นลงบันได การใช้เครื่องอานวยความสะดวกต่าง ๆ แทนการเดินหรือใช้มือ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องอานวยความสะดวกเหล่าน้ีทาให้มนุษย์มีการเคล่ือนไหวกันน้อยลง และขาดการ ออกกาลังกายจึงเป็นผลให้สมรรถภาพทางกายลดต่าลง รวมท้ังมีความเส่ียงสูงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังน้ัน การออกกาลังกายนับเป็นปจั จยั หน่ึงทม่ี คี วามสาคัญต่อการดารงชีวิตให้มีคุณภาพ เพราะการออก กาลังกายอย่างสม่าเสมอเป็นสิ่งจาเป็นต่อสุขภาพ และส่งผลดีต่อสภาวะสุขภาพตลอดชีวิต การส่งเสริม ให้เยาวชนและประชาชนได้ออกกาลังกายและเล่นกีฬา โดยมีการเคล่ือนไหวของร่างกายอย่างสม่าเสมอ และต่อเน่ืองจะส่งผลต่อการมีสมรรถภาพทางกายท่ีดีทั้งการมีร่างกายที่แข็งแรง ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจทางานได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ซ่ึงจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกดิ โรคต่าง ๆ รวมทั้ง ยังทาใหม้ ีทรวดทรงของรา่ งกายทีไ่ ด้สัดส่วน สามารถเขา้ รว่ มกิจกรรมการออกกาลังกายและกีฬาได้เป็น อย่างดี (ฉัตรชัย ยงั พลขันธ,์ 2551) ผู้เสนอบทความในฐานะ อาจารย์ผู้สอนคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ซึ่งได้มีโอกาสจัดโครงการอบรมและพัฒนาการออกแบบและสร้าง นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา พบว่า นักศึกษา และอาจารย์ส่วนใหญ่ควรได้รับการพัฒนา ความสามารถด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมทางการกีฬา จึงมีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม ทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐาน เพื่อให้มีเครื่องมือท่ีสามารถส่งเสริมและ พัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายท่ีจะส่งผลต่อการมีสมรรถภาพทางกายที่ดีของเยาวชน ประชาชน และผสู้ งู อายุตอ่ ไป วธิ ีการดาเนนิ งาน การพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นฐานในครั้งน้ี มีขนั้ ตอนการดาเนินการตามวิธีการจัดการความรู้ ดงั นี้ ขนั้ ตอนท่ี 1 การบง่ ชีค้ วามรู้ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นวิชาที่ นักศึกษาสาขาวชิ าวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและกีฬา และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสขุ ภาพ สถาบันการพลศกึ ษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี จะต้องเรียนในชั้นปีท่ี 4 ภาคการศึกษาตน้ ปกี ารศึกษา 2561 อาจารย์ผู้สอนได้ทาการสอนทฤษฎีเก่ียวกับการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา และหลักการการสร้างเคร่ืองมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา และ การฝึกสอนกฬี า ให้แกน่ ักศกึ ษาทเี่ รยี นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา จานวน 100 คน และได้มอบหมายงานให้นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 คน เพื่อทาโครงการเร่ืองการสร้างนวัตกรรม ทางการกีฬา โดยแต่ละกลุ่มจะต้องมีการศึกษาแนวคิด และเอกสารต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องในการสร้าง

เคร่อื งมอื นวัตกรรมทางการกฬี า เพอ่ื รว่ มกนั กาหนดประเดน็ ความรู้การพฒั นานวตั กรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใชว้ ธิ กี ารจดั การความรเู้ ป็นฐาน ขัน้ ตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ นกั ศกึ ษาในแต่ละกลุ่ม ดาเนินการศกึ ษาคน้ คว้าความรู้เก่ียวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมทาง ศาสตร์การกีฬา จากแหล่งขอ้ มูลต่าง ๆ โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง (Documentary Review) ผ่านการใหค้ าปรึกษาและแนะนาจากอาจารย์ผสู้ อน ข้ันตอนท่ี 3 การรวบรวมและสร้างความรู้ นักศึกษาในแต่ละกลุ่มนาเสนอโครงร่างนวัตกรรมทางการกีฬาที่กลุ่มตนเองสนใจที่จัดทา ต่ออาจารย์ผสู้ อนและเพอ่ื นรว่ มชน้ั เรียน เพือ่ ช่วยกันวิพากษ์ และวิเคราะห์ โดยคานึงถึงความมีมาตรฐาน ความปลอดภัย ความสร้างสรรค์ ความสวยงาม ความสนุก การมีส่วนร่วม การส่ือสารท่ีดี และราคาท่ี เหมาะสม เมื่อแต่ละกลุ่มได้นาเสนอและได้รับการอนุมัติการอาจารย์ละเพ่ือนร่วมช้ันแล้ว จึงให้แต่ละ กลุ่มจัดทานวัตกรรมทางการกีฬาตามที่แต่ละกลุ่มได้นาเสนอ โดยมีอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ภายใน คณะทมี่ คี วามเชี่ยวชาญทางดา้ นวิทยาศาสตร์การกีฬา คอยแนะนาและตรวจสอบคุณภาพเคร่อื งมอื ข้ันตอนท่ี 4 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ นักศึกษาในแตล่ ะกลุม่ นาเสนอนวตั กรรมทางการกฬี าทก่ี ลุ่มของตนสรา้ งขน้ึ โดยมีผเู้ ชีย่ วชาญ ทางด้านวทิ ยาศาสตร์การกีฬา ผู้เช่ยี วชาญทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการกีฬา ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพ่ือตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมทางการกีฬา หลังจากน้ันให้นักศึกษา ในแต่ละกลุ่มนานวัตกรรมทางการกีฬาที่กลุ่มของตนสร้างขึ้น ไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้ กาหนดไว้ เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเคร่อื งมอื ท่ีสรา้ งข้ึน ข้นั ตอนที่ 5 การเขา้ ถงึ ความรู้ นักศึกษาในแต่ละกลุ่มนาวิธีการสร้างเคร่ืองมือนวัตกรรมทางการกีฬาและผลที่ได้จากการ สารวจมาสรุปเปน็ เอกสารรายงานผล ขั้นตอนท่ี 6 การแบ่งปนั แลกเปลี่ยนความรู้ นักศึกษาในแต่ละกลุ่มนาวิธีการสร้างเคร่ืองมือและผลการสารวจมานาเสนอ อภิปรายข้อดี ข้อเสียของแต่ละกลุ่ม และทาการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และเสนอความคิดเห็นร่วมกันภายในชั้นเรียน เพอ่ื ค้นหาวธิ กี ารสรา้ งนวัตกรรมทางการกีฬาใหม้ คี ุณภาพ และมปี ระสทิ ธภิ าพมากยิ่งข้ึน ข้นั ตอนท่ี 7 การเรียนรเู้ พอ่ื นาความร้สู ูป่ ฏิบตั ิ นักศกึ ษาและอาจารยผ์ ู้สอนนาวิธีของทุกกลุ่มมารวมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการทดลอง การนาไปใช้ และสรุปผล เพ่ือให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้เปน็ ฐาน ผลและอภิปรายผลการดาเนินงาน ผลจากการจดั การความรู้การพัฒนานวัตกรรมทางศาสตร์การกีฬา โดยใช้วิธีการจัดการความรู้ เป็นฐาน ซ่ึงเกิดผลกระทบท่ีเป็นประโยชน์ และสร้างคุณค่าในด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย สามารถสรุปได้ดงั น้ี

ดา้ นการผลติ บณั ฑิต พบวา่ จากการนาแนวทางการจัดการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมทาง ศาสตร์การกีฬาไปบูรณาการการจัดการเรียนการสอน มีนักศึกษา และอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ การกีฬาและและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ทาให้นักศึกษาได้เกิด กระบวนการคิดวิเคราะห์ ปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพ่ือสร้างนวัตกรรมทางการกีฬาอย่างเป็น ระบบ และได้ผลิตนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทาง วทิ ยาศาสตร์การกีฬา ไม่น้อยกว่า 50 ชิ้นงาน นอกจากนั้นได้ส่งนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ชื่อผลงาน Move of Life ภายใต้สโลแกน “แค่ขยับ ชีวิตก็เปล่ียน” เข้าร่วมการประกวดรางวัล นวัตกรรมแห่งประเทศไทย คร้ังที่ 18 ในงานนวัตกรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 ซ่ึงได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในการประกวดนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ระดับประเทศ ในงานนวัตกรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถมั ภ์ กระทรวงวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี สานกั นวัตกรรมแหง่ ชาติ ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างผลงานนวัตกรรมทางการกีฬา ไม่น้อยกว่า 50 ช้ินงาน ท่ีนักศึกษา และอาจารย์ ร่วมกันผลิต ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะ วทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี าและสุขภาพ สถาบนั การพลศกึ ษา วทิ ยาเขตสพุ รรณบุรี

ภาพท่ี 2 แสดงรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในการประกวดนวัตกรรม แห่งประเทศไทย ครงั้ ที่ 18 ระดบั ประเทศ ด้านการวิจัย พบว่า นักศึกษา และอาจารย์ ได้นานวัตกรรม Move of Life ไปศึกษาเพื่อทาวิจัย ในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬา โดยทาวิจัยเร่ือง การฝึกด้วยนวัตกรรม Move of Life ที่มีผลต่อความ คล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ซ่ึงการวิจัยคร้ังนี้มี วัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต สุพรรณบุรี โดยจัดโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวด้วยนวัตกรรม Move of Life ให้กับนักกีฬา ตะกร้อหญิง จานวน 12 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน และใช้แบบทดสอบความคล่องแคล่ว ว่องไว (Semo Test) วดั ผลทั้งก่อนและหลังการฝึก ผลการศึกษา พบว่า หลังการฝึกด้วยนวัตกรรม Move of Life ดว้ ยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว นักกีฬาตะกร้อหญิง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต สุพรรณบรุ ี มคี วามคล่องแคล่ววอ่ งไวท่ดี ีขึ้น อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติทีร่ ะดับ .05 ดังตาราง และภาพที่ 3 การทดสอบ n x S.D. t p ความคลอ่ งแคล่วว่องไว (Semo Test) กอ่ นฝึกความคล่องแคล่ววอ่ งไวดว้ ย 12 12.02 .326 3.957 .017* นวัตกรรม Move of Life หลงั ฝึกคล่องแคล่ววอ่ งไวดว้ ย 12 11.68 .370 นวัตกรรม Move of Life *P<.05


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook