101 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 18. การประชุมเชิงปฏิบัติการ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการประสานงานวิสาหกิจชุมชน และความยั่งยืนของภาคเกษตร ระดับเขตประจำปี 2564 ประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดประประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2564 (zoom meeting) เมื่อวันที่ 15 - 17 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานการประกวด และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาคีต่างๆ เป็นกรรมการร่วมการประกวดผลการประกวดมีดังนี้ รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย วิสาหกิจชุมชนบ้านควนชกเครื่องแกง หมู่ที่ 3 ตำบลทรัพย์ทวี หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี หมู่ที่ 10 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รางวัลชมเชย รางวัลชมเชย รางวัลชมเชย วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลา จ.สตูล วิสาหกิจชุมชน แม่บ้านเกษตรห้วยรากไม้สามัคคี หมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำ ผึ้งโพรงแปลงใหญ่ตำบลโคกม่วง อำเภอละงู จังหวัดสตูล หมู่ที่ 9 ตำบลนาสัก หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม่วง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
102 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน และความยั่งยืนของภาคเกษตร 19. การจัดอบรมหลักสูตร “การพัฒนาทักษะนายทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2564” สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดอบรมหลักสูตร “การพัฒนาทักษะนายทะเบียนวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2564” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ผ่านระบบconference และ ระบบ Application cisco webex meeting บุคคลเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน วิสาหกิจชุมชนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และนายทะเบียนวิสาหกิจชุน (เกษตรอำเภอ) จำนวน 254 คน เพื่อให้นายทะเบียนวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ทั้งในด้านกระบวนการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน การใช้ประโยชน์ข้อมูล จากระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน แนวทางการให้คำแนะนำวิสาหกิจชุมชนในการจดทะเบียน จัดตั้งเป็นนิติบุคคล การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา การเสียภาษีของวิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการกลุ่มต้นแบบของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าศรี อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี และการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน
103 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ ๕ จังหวัดสงขลา ดำเนินการจัดสัมมนา เพิ่มศักยภาพผู้นำในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิด ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เพิ่มทักษะทั้งการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การบริการและการตลาด รวมทั้งด้าน เคหกิจเกษตรและการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยเน้น กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างเครือข่าย พร้อมปรับตัวรองรับกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ บุคคลเป้าหมาย ประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด จำนวน 14 คน ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 14 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน การดำเนินการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ดำเนินการจัดสัมมนาเพิ่มศักยภาพ ผู้นำในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 7 – 9 กรกฎาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และห้องประชุมสำนักงาน เกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้
104 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting กิจกรรมในการสัมมนา 1. การบรรยาย ทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และความมั่นคง ด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชนระดับประเทศ โดย นางสาวฉัฐสิณี หาญกิตติชัย ผู้อำนวยการ กลุ่มพัฒนาแม่บ้านเกษตรกรและเคหกิจเกษตร
105 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting 2. การบรรยาย การสร้างเครือข่ายการทำงาน เพื่อการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดย นางสาวฉัตติญา พรหมปองสุข หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตร จังหวัดระนอง 3. การนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ประจำปี 2564 โดย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และความมั่นคงด้านอาหาร ระดับจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ การเสวนา หัวข้อ การสร้างและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ให้ประสบความสำเร็จ โดย - ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเหรียง จังหวัดพัทลุง - ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานต้นคลุมบ้านวังตง จังหวัดสตูล - นางวรัญญา แพ่งแสง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตร จังหวัดชุมพร - นางสาวมารีณี สลำหมาด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เกษตรจังหวัดปัตตานี
106 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting 4. การบรรยาย แนวทางการปรับตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยุคโควิด-19 โดย ดร.ธีรัตน์ โสดารัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย 5. สาธิตและฝึกปฏิบัติออนไลน์ การจัดดอกไม้ เพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดย อาจารย์นันทิพย์ หาสิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
107 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting 6. การบรรยาย การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและการตลาดออนไลน์เบื้องต้น โดย อาจารย์ธนอิน ตุ้มหิรัญ MD บริษัท พีเค แฮปปี้ ไทม์ มาร์เก็ต จำกัด 7. การบรรยาย เทคนิคการถ่ายภาพสินค้า เพื่อการขายออนไลน์ โดย อาจารย์พัชรินทร์ ไพศาลเสถียรวงศ์ (ครูแพทช่างภาพล้านวิว)
108 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 20. สัมมนาเพิ่มศักยภาพผู้นำ และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ Zoom Meeting ผลสำเร็จของงาน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ มีประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด จำนวน 14 คน ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 14 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้าน ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด เกษตรกรระดับจังหวัด จำนวน 14 คน และผู้ดำเนินการ ได้รับความรู้และเกิดทักษะเรื่องเคหกิจเกษตรและ จัดอบรม จำนวน 8 คน เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น จำนวน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนากลุ่ม 50 คน ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่มให้ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมด้านการแปรรูป การสร้างความมั่นคง ด้านอาหารในชุมชน การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและ การตลาดออนไลน์เบื้องต้น รวมถึงแนวทางในการ ปรับตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้นำ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ต่อไปได้
109 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 21. ขยายผลและยกระดับ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจครัวเรือน และความยั่งยืนของภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหมู่บ้าน ความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัด ดำเนินกิจกรรมด้านเคหกิจเกษตร และความมั่นคง ด้านอาหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้ดำเนินกิจกรรม ขยายผลและยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหมู่บ้านความมั่นคงด้านอาหาร ในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกร มีความมั่นคงด้านอาหารและสามารถพึ่งพา ตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นแกนนำร่วมกับชุมชน ในการสร้างแหล่งอาหาร ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษ มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับสมาชิกในครัวเรือนและ มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหาร รวมทั้งมีการเก็บสำรองอาหารและเมล็ดพันธุ์เพียงพอกับ ความต้องการของครอบครัวและชุมชน ซึ่งได้คัดเลือกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งสบายใจ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ราย และได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา และสำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา ดำเนินการ ดังนี้
110 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 21. ขยายผลและยกระดับ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจครัวเรือน และความยั่งยืนของภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหมู่บ้าน ความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 1 เพื่อจัดทำแผนพัฒนาแหล่งผลิตอาหารคุณภาพในชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ ถ่ายทอด ความรู้เรื่องการสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือนและการจัดบ้านเรือน ให้ถูกสุขลักษณะ จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคง ด้านอาหารในระดับชุมชน วางแผนทำปฏิทินการผลิตพืชและ แผนการผลิตรายบุคคลและรายกลุ่ม (IFPP) พร้อมทั้งคัดเลือก ครัวเรือนต้นแบบบ้านเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพูนสุขภาพ 10 ครัวเรือน และจัดทำแบบประเมินตนเองก่อนการเข้ารับการอบรม โดยใช้แบบฟอร์มการประเมินคุณสมบัติ Smart Farmer จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 2 ถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้หลักเคหกิจเกษตร ในชีวิตประจำวันการปลูกผักและการเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี การเก็บสำรองเมล็ดพันธุ์ การบรรยาย สาธิตและฝึกปฏิบัติ การผลิตและใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคพืชและ การบรรยายสาธิตและฝึกปฏิบัติ การทำฮอร์โมนน้ำมะพร้าว และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และจัดทำแบบประเมินตนเอง หลังการเข้ารับการอบรมโดยใช้แบบฟอร์มการประเมิน คุณสมบัติ Smart Farmer จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 3 สนับสนุนปัจจัยการผลิต (เมล็ดพันธุ์ผัก และต้นพันธุ์) เพื่อพัฒนาแหล่งผลิตอาหาร คุณภาพในชุมชน พร้อมจัดตั้งกองทุน ความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อเป็นการเก็บสำรอง อาหาร/เมล็ดพันธุ์ จากแหล่งอาหารที่เกิดขึ้นและ ใช้ประโยชน์จากกองทุนได้อย่างต่อเนื่อง
111 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 21. ขยายผลและยกระดับ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจครัวเรือน และความยั่งยืนของภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหมู่บ้าน ความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน ผลสำเร็จของงาน 1. ชุมชนมีแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ และสมาชิกในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ จากแหล่งอาหารได้อย่างเหมาะสม 2. เกิดชุมชนต้นแบบการพัฒนาแหล่งผลิตอาหารคุณภาพในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และ ถ่ายทอดความรู้ด้านการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน
เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 112 องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 22. ส่งเสริมเคหกิจเกษตร และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในครัวเรือนเกษตรสูงวัย กรมส่งเสริมการเกษตรเล็งเห็นถึงความสำคัญของแรงงานสูงอายุภาคการเกษตร จึงได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา นำร่องจัดกิจกรรม ส่งเสริมเคหกิจเกษตรในครัวเรือนเกษตรสูงวัย ให้กับสมาชิกกลุ่มและองค์กรเกษตรกรที่มี อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 1 กลุ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมเกษตรสูงวัย รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรสูงวัยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต โดยกิจกรรมมีการจัดเวทีถ่ายทอดความรู้ วางแผนการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร การแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มมูลค่าสินค้า และสนับสนุนปัจจัยการผลิต สำนักงานส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลอน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ราย และได้ร่วมกับสำนักงานเกษตร จังหวัดพัทลุง และสำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว ดำเนินการ ดังนี้
เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 113 องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 22. ส่งเสริมเคหกิจเกษตร และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในครัวเรือนเกษตรสูงวัย จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 1 เพื่อสร้างการรับรู้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคม เกษตรสูงวัย และวางแผนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมเคหกิจ เกษตรในกลุ่มเกษตรสูงวัย ถ่ายทอดความรู้เรื่องเคหกิจเกษตร ให้กับสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ การจัดการสุขภาวะที่ดีในครัวเรือน การประกอบอาชีพทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรสูงวัย การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การเก็บสำรองเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าสินค้า จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 2 จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาทักษะ ตามแผนดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมเคหกิจเกษตร ในกลุ่มเกษตรสูงวัย โดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติการ การทำไตปลาแห้ง โดยใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงเผ็ด ของกลุ่ม นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จัดกระบวนการเรียนรู้ระยะที่ 3 สนับสนุนปัจจัยการผลิต (วัสดุงานบ้าน งานครัว) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลอน
เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 114 องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 22. ส่งเสริมเคหกิจเกษตร และความยั่งยืนของภาคเกษตร ในครัวเรือนเกษตรสูงวัย ผลสำเร็จของงาน เกษตรสูงวัยเข้าใจและสามารถวางแผนการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร เคหกิจเกษตร ได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
115 พัฒนาศักยภาพและเพิ่มบทบาท 23. สัมมนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน อาสาสมัครเกษตรระดับเขต กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติให้กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินการ จัดสัมมนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตรระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference และ ระบบ Zoom meeting ในวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์ผลงาน และเชื่อมโยงเครือข่ายของอาสาสมัครเกษตร ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการจัดสัมมนาเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตรระดับเขต ดังนี้
116 พัฒนาศักยภาพและเพิ่มบทบาท 23. สัมมนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน อาสาสมัครเกษตรระดับเขต 1. การมอบนโยบาย การดำเนินงานอาสาสมัครเกษตร นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการกองพัฒนา เกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบนโยบาย และแนวทางในการดำเนินงาน อาสาสมัครเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ใช้ในการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตร ในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. การบรรยายให้ความรู้ 1. นางสุพิศ เหล่าจตุรพิศ ผู้อำนวยการ กลุ่มพัฒนาเกษตรกรและอาสาสมัครเกษตร บรรยายหัวข้อ บทบาทของอาสาสมัครเกษตรกับ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตร 2. พ.อ. วัชรวิชย์ ณรงค์พันธุ์ รองผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภาค 4 ส่วนหน้า จังหวัดยะลา บรรยายหัวข้อ เครือข่ายข่าวประชาชน 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต้นแบบ ระดับจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ โดยอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต้นแบบ ระดับจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติ และประชาสัมพันธ์ผลงาน และ เชื่อมโยงเครือข่ายของอาสาสมัคร เกษตร ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์
117 พัฒนาศักยภาพและเพิ่มบทบาท 23. สัมมนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน อาสาสมัครเกษตรระดับเขต ผลสำเร็จของงาน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ อาสาสมัครเกษตร จำนวน 213 คน และเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครเกษตร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ผู้รับผิดชอบงานอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัด อาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจ จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 227 คน ผ่านการสัมมนา นโยบายและแนวทางในการดำเนินงานอาสาสมัคร เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตร เกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร ตามหัวข้อเนื้อหส ระดับเขต ของการสัมมนา สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปขับเคลื่อนการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตร ในพื้นที่ และนำไปประยุกต์ใช้หรือขยายผล การดำเนินงานในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
118
ขยายผลการดำเนินการ 119 ส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ 24. ขยายผลการดำเนินการ ส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ การส่งเสริมการเกษตรในระยะเวลาที่ผ่านมา มีการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ทั้งในลักษณะรายบุคคล (Individual Approach) การส่งเสริมรายกลุ่ม (Group Approach) ตลอดจนการส่งเสริมให้เกษตรกรบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Commodity Approach) โดยใช้ระบบส่งเสริม T&V System ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นบุคลากร รุ่นใหม่ ยังมีประสบการณ์การทำงานกับชุมชนน้อบ ส่งผลให้การดำเนินงานไม่เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน มีกระบวนการพัฒนาในระดับพื้นที่ยังไม่เป็นรูปธรรม และขาดการเชื่อมโยงกิจกรรมการพัฒนาจากต้นทาง กลางทาง และปลายทาง จึงนำการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยมี แนวคิดหลัก คือ การทํางานโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการพัฒนา และใช้ “กระบวนการมีส่วนร่วม” เพื่อให้เกษตรกรเกิด “ความรู้สึกเป็นเจ้าของ” ซึ่งจะนําไปสู่ การปรับแนวคิดของเกษตรกรในการพัฒนา ชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ในปี 2564 เป็นการพัฒนาเจ้าหน้าที่ต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ 2563 แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 “จัดการตนเอง” “เสริมสร้างเครือข่าย” “พัฒนาสู่ผู้ประกอบ ดำเนินการอำเภอละ 1 จุด ดำเนินการ ณ จังหวัดสตูล จัดทำแผนการพัฒนา เน้นกิจกรรมที่แก้ปัญหา การเกษตรกร” ตามความต้องการของพื้นที่ เชิงลึกที่สร้าง Impact ดำเนินการ ณ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นกิจกรรมที่ยั่งยืน Sustainable พัฒนาการ เกษตรทั้งพื้นที่
120 ขยายผลการดำเนินการ 24. ขยายผลการดำเนินการ ส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อค้นพบ ไม่สามารถจัดเวทีชุมชนแบบพบหน้ากันได้ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ เนื่องจากสถานการณ์ CoVID-19 ได้ training need เพื่อพัฒนาเกษตรกร ในปีต่อไป เกษตรกรที่ไม่เก่งเทคโนโลยีจะไม่สามารถ เจ้าหน้าเกิดการพัฒนาตนเอง เข้าร่วมประชุมออนไลน์ได้ ได้รับประโยชน์จากการ MOU กับไปรษณีย์ และ เคอรี่ อย่างชัดเจน ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดมีความเข้าใจใน การดำเนินการเชิงพื้นที่เป็นอย่างดี ในการดำเนินการควรคิดจากสถานการณ์ของพื้นที่ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง แล้วจึงนำไปบูรณาการใน โครงการ/งบประมาณที่มีอยู่ ควรมีการเก็บข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น
121
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 122 ให้บริการทางการเกษตร 25. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้านการเกษตร ในปัจจุบันสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาโครงการพัฒนาแบบจำลองและระบบประมวลผลเพื่อการหาพื้นที่เสี่ยง ภาวะแห้งแล้งแบบอัตโนมัติ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://droughtv2.gistda.or.th/ โดยดำเนินการวิเคราะห์หาข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งทุกวันพฤหัสบดี
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 123 ให้บริการทางการเกษตร 25. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้านการเกษตร จากข้อมูลโครงการพัฒนาแบบจำลองและระบบประมวลผลเพื่อการหาพื้นที่เสี่ยงภาวะ แห้งแล้งแบบอัตโนมัติ นำมาวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งในขอบเขตภาคใต้ โดยการซ้อนทับข้อมูล ระหว่างดัชนีเสี่ยงสภาวะแห้งแล้งกับขอบเขตการปกครองระดับจังหวัด จำนวน 14 จังหวัด เพื่อการคาดการณ์ ถึงตำแหน่งและปริมาณพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งของภาคใต้ แผนที่แสดงดัชนีเสี่ยงสภาวะแห้งแล้ง ภาคใต้
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 124 ให้บริการทางการเกษตร 25. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้านการเกษตร ทั้งนี้ สามารถนำข้อมูลพื้นที่ที่อาจจะเสี่ยงภาวะแห้งแล้ง มาซ้อนทับด้วยข้อมูลแปลง เกษตรกรรมที่ผ่านการวาดแปลง ซึ่งใช้ข้อมูลการวาดแปลงย้อนหลัง 1 ปี จากระบบวาดผังแปลงเกษตรกรรม ดิจิทัลของหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร การวิเคราะห์ดังกล่าว จะทำให้ทราบถึงตำแหน่งและปริมาณ แปลงเกษตรกรรม ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้ง และรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ชนิดพืช ประเภทรายชื่อ เกษตรกร วันเก็บเกี่ยว เป็นต้น ของแปลงเกษตรกรรมนั้น ๆ ด้วย แผนที่แสดงดัชนีเสี่ยงสภาวะแห้งแล้ง ภาคใต้
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 125 ให้บริการทางการเกษตร 25. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้านการเกษตร แปลงเกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งในแต่ละสัปดาห์ในปี 2564 จำแนกรายชนิดพืช สรุปได้ดังนี้ 125,000 114,302 100,000 75,000 50,000 25,000 16,396 1,395 5,645 ไม้ยืนต้น 0 พืชผัก ไม้ผล ข้าว 400 391 300 200 100 36 12 35 0 ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพรและเครื่องเทศ พืชไร่ ผลรวมทั้งหมด 138,212 ไร่
126 ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 25. การดูแล สนับสนุน พันธุ์พืชและ ให้บริการทางการเกษตร สารชีวภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือฟื้ นฟู พื้นที่ประสบภัย จากสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2563 ได้ดำเนินการ ดูแล สนับสนุน พันธุ์พืชและสารชีวภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย รายละเอียดดังต่อไปนี้ ร่วมมอบกล้าพันธุ์พืชอายุสั้น (ผักสวนครัว) และสารชีวภัณฑ์ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา) กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา และ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ในพื้นที่อำเภอควนเนียง และอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และประชาสัมพันธ์ผ่านช่อง NBT (เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563) ร่วมมอบกล้าพันธุ์พืชอายุสั้น (ผักสวนครัว) และสารชีวภัณฑ์ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา) กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักวิจัยและพัฒนา การเกษตรเขตที่ 7 และศูนย์กำจัดศัตรูพืชชุมชน ในพื้นที่อำเภอ บ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563) ร่วมมอบกล้าพันธุ์พืชอายุสั้น (ผักสวนครัว) และสารชีวภัณฑ์ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา) ในการปฏิบัติราชการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบของบรรเทาทุกข์ ให้แก่พี่น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี (เมื่อวันที่ 14 มกราคม 64) การจัดงานเปิดตัวโครงการฟื้ นฟูพื้นที่การเกษตรจากอุทกภัย โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยมอบกล้าพันธุ์พืชอายุสั้น (ผักสวนครัว) และ สารชีวภัณฑ์ (เชื้อราไตรโคเดอร์มา) ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) หมู่ที่ 11 ตำบลท้ายสำเภา อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (แปลงมังคุด) และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (แปลงปาล์มน้ำมัน) (เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564)
127 ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 26. การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ให้บริการทางการเกษตร ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบ งานภัยพิบัติธรรมชาติ ปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยกระจายเป็นบริเวณกว้าง กอปรกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้พัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกร ผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชขึ้นใหม่ และกระทรวงการคลังมีการประกาศใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ ทั้งระดับจังหวัดและอำเภอมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่รับผิดชอบงานด้านภัยพิบัติธรรมชาติ ในหลายจังหวัด จึงจำเป็นต้องจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงาน ระเบียบการช่วยเหลือ และการใช้งานระบบสารสนเทศข้อมูลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช สำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริม การเกษตรผู้รับผิดชอบงานภัยพิบัติธรรมชาติขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ และร่วมกันจัดทำ แนวทางการปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง การสร้างการรับรู้ และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ที่ถูกต้องตามบทบาทภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรต่อไป
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 128 ให้บริการทางการเกษตร 26. การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบ งานภัยพิบัติธรรมชาติ การดำเนินงาน จัดสัมมนาการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานภัยพิบัติธรรมชาติ เรื่อง “แนวทางการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร” วันพุธที่ 23 มิถุนายน 64 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา หัวข้อบรรยาย 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. แนวทางการให้ 2. การใช้งาน 3. หลักเกณฑ์ วิธีการ ความช่วยเหลือเกษตรกร ระบบข้อมูลเกษตรกร และเงื่อนไข ตามระเบียบ กระทรวงการคลัง ว่าด้วย ผู้ประสบภัยพิบัติ ผู้ประสบภัยพิบัติ เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ ด้านการเกษตร ด้านพืช ผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 129 ให้บริการทางการเกษตร 26. การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบ งานภัยพิบัติธรรมชาติ บุคคลเป้าหมาย ข้อค้นพบ จำนวน 170 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ภัยธรรมชาติมากขึ้น 1. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบ งานธรรมชาติ ระดับจังหวัด จำนวน 14 คน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ แต่ละจังหวัด และเกิดแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน 2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบ งานธรรมชาติ ระดับอำเภอ จำนวน 151 คน เกิดความเข้าใจในเรื่องวิธีการ และเงื่อนไข ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรอง 3. เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมพัฒนาการ ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จำนวน 5 คน พ.ศ. 2562 มากขึ้น และเกิดเครือข่ายการทำงาน ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด สามารถใช้งานโปรแกรมสารสนเทศระบบ ภัยพิบัติธรรมชาติและทราบวิธีการแก้ไขปัญหาระบบ
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีและ 130 นวัตกรรมการเกษตรร่วมกับ สถาบันการศึกษา 27. การขยายผลงานวิจัย โครงการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นการต่อยอดจากกลไกการทำงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น แปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน และองค์กรเกษตรกรอื่น ๆ โดยการวางเป้าหมายร่วมกัน รวมทั้ง การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการความรู้และการจัดการความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ และให้ได้แนวทางการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนานักวิจัย ส่งเสริมการเกษตร ขยายผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่เกษตรกรและเครือข่ายต่อไป ซึ่งในปี 2564 กำหนดให้พื้นที่มีการขยายผลงานวิจัยสู่พื้นที่โดยดำเนินการในทุกภูมิภาค และในแต่ละเขต ดำเนินการนำร่องไม่ต่ำกว่า 2 จุด ดำเนินการ เพื่อการขยายผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการจำนวน 52,800 บาท (ห้าหมื่นสองพันแปดร้อยบาท) ให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดเวทีชุมชนเพื่อขยายผลงานวิจัย และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ สนับสนุนปัจจัยในการดำเนินงานและการบริหารจัดการโครงการดังกล่าว แผนการดำเนินงาน กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กำหนดจัดเวทีชุมชนการส่งเสริมกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมสู่เกษตรกร พื้นที่ดำเนินการ 2 จุด ซึ่งเป็นจุดนำร่องระดับเขต จุดที่ 1 ดำเนินการ ณ กินดีฟาร์ม ตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักไฮโดรโพนิคส์ ประเด็นขยายผลวิจัย สูตรปุ๋ยที่ส่งเสริมสำหรับ ผักไฮโดรโปนิกส์ในโรงเรือนเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร จุดที่ 2 ดำเนินการ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (สวนลุงพันธ์) หมู่ที่ 6 ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ผึ้งโพรง ประเด็นขยายผลวิจัย ศึกษาทดสอบเทคโนโลยีการแยกน้ำผึ้งโดยใช้ถังสลัดในผึ้งโพรงไทย
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 131 ให้บริการทางการเกษตร 27. การขยายผลงานวิจัย ผลการดำเนินงาน จุดดำเนินการที่ 1 1. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับแปลงทดสอบเทคโนโลยี สูตรปุ๋ยของทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถช่วยเจ้าของแปลงลดต้นทุนการผลิต ได้มากกว่าร้อยละ 90 และสามารถแก้ปัญหาผักในหน้าร้อนได้ * หมายเหตุ สูตรปุ๋ยของเกษตรกร คือ เกษตรกรใช้สูตรปุ๋ยเดิมแบบสำเร็จและซื้อปัจจัย จากท้องตลาดของจังหวัดพังงาและพื้นที่ใกล้เคียง และสูตรปุ๋ยจากการวิจัย คือสูตรปุ๋ยของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ที่เผยแพร่สู่เกษตรกร * 2. ผลลัพธ์ที่เกิดกับตัวเกษตรกร เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และยังได้ความรู้ในการจัดการธาตุอาหารพืชไปใช้กับ การปลูกพืชชิดอื่นๆ ด้วย 3. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่มีความรู้ในการจัดการธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้น ได้มีเครือข่ายจากทางมหาวิทยาลัย ในการเป็นที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาด้านการผลิตพืช ได้รับความเชื่อมั่นจากทางเกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีภูมิใจกับงานที่ทำเพิ่มขึ้น
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 132 ให้บริการทางการเกษตร 27. การขยายผลงานวิจัย ผลการทดลองเชิงประจักษ์ (ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับแปลงทดสอบเทคโนโลยี) ประเด็นที่ต้องการ สูตรปุ๋ยจากการวิจัย สูตรปุ๋ยของเกษตรกร ต้นทุนการผลิตผัก กิโลกรัมละ 42 บาท กิโลกรัมละ 80 บาท คุณภาพผัก เจริญงอกงามดี ตกกอดี ปัญหา ใบเหลือง ใบหนา การทนต่อสภาพอากาศ น้ำหนักดี ได้มาตรฐาน ใบสวย ยอดกุด
ช่วยเหลือดูแลเกษตรกรและ 133 ให้บริการทางการเกษตร 27. การขยายผลงานวิจัย ผลการดำเนินงาน จุดดำเนินการที่ 2 1. กิจกรรมการอบรมขยายผลงานวิจัยสู่เกษตรกร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกษตรกรยอมรับให้ความสนใจเนื่องจากเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตของกลุ่ม เกษตรกรได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตน้ำผึ้งคุณภาพ การดูแลรังผึ้งและ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงผึ้ง และได้คำตอบสำหรับองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งที่ประสบปัญหา มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างการฝึกอบรม 2. การฝึกปฏิบัติทดสอบจริงในแปลง ผลการฝึกปฏิบัติ พบว่า การเลี้ยงผึ้งด้วยคอน เกษตรกร ประสบปัญหา ผึ้งไม่เข้ารังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบกับช่วงการศึกษา ทดสอบ มีอัตราการ ตกของฝนค่อนข้างชุก ผึ้งมีอัตราการเข้ารังโดยประมาณเพียง 10% ของการทดสอบทั้งหมดทำให้ได้ปริมาณ น้ำผึ้งน้อยมาก โดยทางกลุ่มได้ให้ข้อคิดเห็นและเสนอว่า คือ หากจะดำเนินการศึกษา ทดสอบ ต่อไป ควรมีจุดศึกษาทดสอบเพียง 1 จุด เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการ ทั้งการย้ายรัง การเก็บน้ำผึ้ง โดยผู้ดำเนินการ ควรมีความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงผึ้งด้วยคอน และจำนวนรังเลี้ยงมากพอ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลเพื่อ ประกอบการศึกษาทดสอบได้
134
135 เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 28. การประชุมผู้บริหารงาน ปรับวิธีการทำงาน ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดและ สู่ New Normal ศูนย์ปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางระบบการทำงาน การสร้างเครือข่ายการประสานงาน และบูรณาการผ่านเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยจัดให้มีการประชุมเกษตรจังหวัดและหัวหน้า ส่วนราชการระดับเขต เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จ เชื่อมโยงวิชาการจากแหล่งความรู้ทางวิชาการ ไปสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นเวทีในการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นเร่งด่วน ในการดำเนินงานในพื้นที่ (Hot Issue) ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ มีบุคคลเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ผู้อำนวยการกลุ่มและหัวหน้าฝ่าย ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการในกำกับ ครั้งที่ 1 วันที่ 8 มกราคม 2564 ผ่านระบบ VDO Conference และ Cisco Webex Meetings ถ่ายทอดสัญญาณ โดยสำนักงานส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 วันที่ 1 มีนาคม 2564 ครั้งที่ 3 วันจันทร์ ที่ 5 กรกฎาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและ ผ่านระบบ VDO Conference และ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา Zoom cloud Meetings แลtสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ถ่ายทอดสัญญาณ โดยสำนักงาน เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา
136
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 137 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 29. การติดตาม นิเทศ และประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ดำเนินการแต่งตั้ง คณะทำงานเพื่อติดตาม นิเทศ ประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร ร่วมกันวางแผนการออกติดตามงาน ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และออกติดตามงานเพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร รับทราบปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และร่วมแก้ไขปัญหา เมื่อออกติดตามงานแล้ว ร่วมกันสรุปผลการติดตาม เพื่อรายงานกรมส่งเสริมการเกษตรต่อไป การดำเนินงาน 1. กำหนดการติดตาม นิเทศ และประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ และศูนย์ปฏิบัติการในเขตรับผิดชอบ โดยคณะทำงานติดตาม นิเทศ ประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตรระดับเขต ดังนี้ ครั้งที่ 1 เดือน ธันวาคม 2563 (ผ่านระบบออนไลน์) ครั้งที่ 2 เดือน มีนาคม 2564 (ลงพื้นที่) 2. การติดตามโครงการ แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ 1) การติดตามทั่วไป 2) การติดตามตามภารกิจ 3) การติดตามตามระยะเวลา ผลการดำเนินงาน คณะทำงานติดตาม นิเทศ ประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการ ติดตาม นิเทศงานส่งเสริมการเกษตรตามแผนที่วางไว้โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1. การเบิกจ่ายงบประมาณ 2. งานตามนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.1 การบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด 2.2 โครงการฟื้ นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3. การขับเคลื่อนประเด็นท้าทายของจังหวัด 4. การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่พื้นที่ 5. การขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการวาดแปลงเกษตร 6. การดำเนินงานรับรองแหล่งผลิตพืชตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติการ เกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAPพืช) 7. โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน( 3 จว.ชายแดน 4 อ.สงขลา) 8. การประเมินศักยภาพ วสช. กลุ่มระดับปรับปรุง จากการดำเนินการของ คณะทำงานฯ ทำให้ได้รับทราบปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานในพื้นที่และ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหา ทำให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์
138
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 139 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 30. การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระดับเขต (Region Workshop) หน่วยงานต้องมีเวทีให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นเวทีในการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นเร่งด่วน (Hot Issue) ที่เกิดขึ้นและ เชื่อมโยงวิชาการจากแหล่งความรู้ทางวิชาการไปสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ก่อให้เกิดแนวทาง การปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้พัฒนาการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม ตามแนวทางการดำเนินงาน กรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2564 การดำเนินงาน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ดำเนินการจัดสัมมนาเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขต (Region Workshop) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมไดมอนด์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 วันที่ 17-18 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 140 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 30. การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระดับเขต (Region Workshop) การดำเนินงาน ครั้งที่ 1 บุคคลเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ 4 กลุ่มของสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ เจ้าหน้าที่เขต และศูนย์ปฏิบัติการ รวม 100 คน 1. การขับเคลื่อนการขยายผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และเจ้าหน้าที่จากกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรมาร่วมเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานวิจัยที่สามารถขยายสู่เกษตรกรได้ รวมถึงวิธีการร่วมกัน ขยายผลงานวิจัย แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม เพื่อวางแผนและออกแบบวิธีการดำเนินงาน ตามหัวข้อ การขยายผลที่จัดเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน การขับเคลื่อนการขยายผล งานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร โดยการแปลงนโยบายสู่กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในแต่ละกลุ่มฝ่ายของจังหวัด ทบทวนแนวทางของแต่ละกลุ่มงานว่าผลงานวิจัย และกลุ่มเป้าหมายที่ได้คัดเลือก มีความเหมาะสมตรงตามความต้องการ ตรงตามภารกิจของกลุ่มงานแล้วหรือไม่ และมีการบูรณาการ โครงการ งบประมาณที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ การจัดเวทีหาความต้องการ การอบรมเกษตรกร หรือ อาจจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยในการพัฒนางานประจำ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พบว่าหลาย ๆ จังหวัดยังไม่มีการหารือเพื่อวางแผน การดำเนินงานร่วมกันให้งานมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จังหวัดเลือก มีความหลากหลายโดยบางจังหวัด มีการคัดเลือกผลงายวิจัยที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นผลงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถปรับใช้ได้ในพื้นที่ 2. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันออกแบบวิธีการดำเนินงาน กระบวนงานที่สำคัญๆ 3. การออกแบบวิธีการทำงานในประเด็นงานท้าทายเชิงรุก (challenge) ปี 2564 ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 1. การขยายผลงานวิจัย นวัตกรรมสู่เกษตรกร โดยการบูรณาการกับงบประมาณปกติ จากแหล่งต่างๆ ที่ได้รับในปีงบประมาณ 2564 ดำเนินการ 14 จังหวัด 4 กลุ่มงาน รวม 56 เรื่อง และ งานท้าทายเชิงรุกทุกกลุ่ม ได้รวบรวมแผนปฏิบัติงานระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติงานในภาพรวม ระดับเขต ตลอดจนการบูรณาการร่วมกัน 2. ได้กระบวนงานที่ร่วมกันออกแบบให้จังหวัดนำไปเป็นแนวทางปรับใช้ตามความเหมาะสม
141
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 142 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 30. การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระดับเขต (Region Workshop) การดำเนินงาน ครั้งที่ 2 บุคคลเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่ม ผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการ หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป เจ้าหน้าที่เขต เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการ เกษตรอำเภอ รวมจำนวน 350 คน มอบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริม การเกษตร โดย นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา บรรยายและฝึกปฏิบัติ ผู้เข้าสัมมนาได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนางานและการบริหารจัดการเวลา เรื่องแนวคิดการพัฒนางานและการบริหารจัดการเวลา การเรียงลำดับความสำคัญของการทำงาน และสมดุล โดย ผศ.ดร.ตฤณกร เกตุกุลพันธ์ ในการใช้ชีวิต วิธีหลุดพ้นจากการภาวะการเฉื่อยชา การแก้ไขอาการท้อแท้ของชีวิต ได้วิเคราะห์เวลา บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง การปรับตัวและ กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ใช้ไปในแต่ละวัน เพื่อหาช่องโหว่ การแก้ปัญหาในการทำงานด้วยกระบวนการ การสูญเสียเวลา และรู้จักคุณค่าของเวลา และ แบบสร้างสรรค์ภายใต้สถานการณ์ การระบาด การตัดกิจกรรมซึ่งทำให้เสียประโยชน์ออกไป ของโควิด-19 โดยว่าที่ ร.ต.อิทธิพันธ์ จันทร์สุข และคณะ การวิเคราะห์ผู้อื่น เพื่อทำงานร่วมกันไปสู่การพัฒนางาน การใช้ภาษากาย ภาษาพูด และภาษาใจในการเอาชนะใจ ผู้อื่น และการใช้ธรรมะ ในการทำงาน และการพัฒนา ภาวะทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งได้รับความสนใจจาก ผู้เข้าสัมมนามาก เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและ เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานมากขึ้น ผู้เข้าสัมมนาได้เรียนรู้เรื่องการปรับตัว ให้ทันกับโลกปัจจุบัน และการปรับทัศนคติเชิงบวก และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ ทำให้เกิด แรงบันดาลใจในการไปปฏิบัติงาน
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 143 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 30. การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระดับเขต (Region Workshop) การนำเสนอเรื่องการนำนวัตกรรม การดำเนินการ โดย ผอ.กลุ่มพัฒนาระบบส่งเสริม จากศูนย์ AIC ขยายสู่พื้นที่ การเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สร้างการรับรู้นโยบายและ โดย กวพ./สสก.5 และ จังหวัดสงขลา แนวทางในการนำ AIC ขยายสู่ ศพก. จากนั้น สสก.5 สงขลา นำเสนอจุดนำร่องระดับเขตในการขยายผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงาน ปี 2564 ซึ่งดำเนินการที่ ศพก. อำเภอนาหม่อม ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไปทั้งเจ้าหน้าที่ จังหวัดสงขลา โดยนำเสนอกระบวนการในการคัดเลือก สสก.5 สงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัด และ พื้นที่ การประสานงานจังหวัด และหน่วยงานภาคี เพื่อเตรียมความพร้อม และจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ศูนย์ปฏิบัติการ ส่วนจังหวัดและอำเภอ นำเสนอบทบาทและวิธีการ ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ การจัดเวทีค้นหาความต้องการ ด้านนวัตกรรม โดยร่วมกับเจ้าของศูนย์ AIC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อนำ AIC catalog มาเป็นแนวทางว่าพื้นที่มีความต้องการตรงกันหรือไม่ และชุมชน มีเกษตรกร กลุ่ม องค์กร พร้อมรับเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปปฏิบัติจริงหรือไม่ จากนั้นจึงขยาย ไปเป็นฐานเรียนรู้ ให้กับ ศพก. และเครือข่าย ศพก. ได้จัดการเรียนรู้ในพื้นที่ และนำสู่การปฏิบัติต่อไป การปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 โดย หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สสก.5 สงขลา และบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกฎกระทรวงพัสดุและ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือ สนับสนุน (ฉบับที่ 2) ปี 2563 (ว.89) โดย สำนักงาน คลังจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าซักถามแลกเปลี่ยน ในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและ 144 ปรับวิธีการทำงาน สู่ New Normal 30. การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระดับเขต (Region Workshop) แบ่งกลุ่มย่อยการนำเสนอผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานการขยายผลวิจัย การขยายผลวิจัยสู่เกษตรกรและงานท้าทาย สู่เกษตรกร จากเวทีครั้งที่ 1 - ดร.ปริญญารัตน์ ภูศิริ ผอ.กลุ่มวิจัย ด้านส่งเสริมการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางาน ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มีดังนี้ ในการขยายผลวิจัย เป็นสิ่งดีเพราะว่า เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในการปฏิบัติงานปกติอยู่แล้ว หลายพื้นที่จากที่ได้เข้าร่วมตั้งแต่ RW ครั้งที่ 1 ค่อนข้างมีแผนการดำเนินงานและร่วมกันติดตาม อบรมให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย หลายๆ เรื่องทำได้ดีมากๆ อยากให้มีจุดที่เรียนรู้ เพื่อสร้างการยอมรับ ที่สำคัญ ในส่วนของการสร้างการรับรู้ การทำให้เกษตรกร ยอมรับเทคโนโลยีค่อนข้างสำคัญและการประสาน หน่วยงานเจ้าของผลงาน สร้างเครือข่าย ให้กรมช่วยประสานานกันได้ การขยายผลงานวิจัย ถือเป็น กลไกการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร การถ่ายทอดความรู้ตามภารกิจงานด้วย - ข้อเสนอแนะผู้เข้าสัมมนา ผู้เข้าสัมมนาส่วนใหญ่ อยากให้เริ่มจากปัญหาในพื้นที่ก่อน และใช้ผลงานวิจัยไปแก้ไขปัญหา จะทำให้เกษตรกรยอมรับได้ง่ายขึ้น และบางส่วนคิดว่าการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่สำคัญมาก อย่าคิดว่าเป็นการเพิ่มงาน เพิ่มภาระ และที่สำคัญผู้บริหารต้องเข้าใจ ผลักดันและให้ความสำคัญ การขับเคลื่อนงานด้านนี้ด้วย ภาพรวมภายใต้สถานการณ์โควิด-19 สามารถขับเคลื่อนไปได้ในระดับที่น่า พอใจ
145 สรุปผลการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2564 กรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวทางการดำเนินงานประจำปี 2564 ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร และปรับวิธีการทำงานสู่ New Normal เน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากรแต่ละระดับให้มีความพร้อม ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่โดยให้ปรับรูปแบบและวิธีการทำงานประชุม/สัมมนา และการสื่อสาร สร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และดำเนินการให้สอดคล้อง กับแนวปฏิบัติตาม New normal สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค รับผิดชอบ 14 จังหวัดภาคใต้ และ 6 ศูนย์ปฏิบัติการ มีพันธกิจด้านการสนับสนุน (Supporting) ในด้านวิชาการ ตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ T&V SYSTEM เป็นหน่วยงานที่ต้องจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรผู้นำ มีเป้าหมายในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้ครอบคลุมทุกตำแหน่ง ทั้งเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัด รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการในภาคใต้ กลุ่มพัฒนาบุคลากรดำเนินการพัฒนาบุคลากรกรมส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ ดังนี้
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 146 ระดับเขต จังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฯ โครงการพัฒนานักส่งเสริม การเกษตรมืออาชีพ ดำเนินการพัฒนา 4 โครงการ ประจำปี 2564 เกษตรอำเภอในภาคใต้ ดำเนินการพัฒนา โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 โครงการ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อประชาสัมพันธ์ ไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ (ออนไลน์) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนา ศักยภาพเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการเสริมสร้างสมรรถนะเกษตรอำเภอ ในภาคใต้ ปี 2564
147 1. โครงการพัฒนานักส่งเสริม การเกษตรมืออาชีพ ประจำปี 2564 เป็นการพัฒนานักวิชาการเกษตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ศูนย์ปฏิบัติการ ที่มีอายุราชการไม่เกิน 2 - 7 ปี จำนวน 40 คน เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดนักส่งเสริมมืออาชีพที่มีศักยภาพในการดำเนินงาน ส่งเสริมการเกษตร กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นักส่งเสริมการเกษตรตระหนักและเห็นคุณค่า ในตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักส่งเสริมการเกษตร สร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเกษตร ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ผลการดำเนินการ ผลลัพธ์ จัดกระบวนเรียนรู้แบบ Blended leaning 1. ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักส่งเสริม ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเกษตร มืออาชีพความรู้ ความสามารถ และทักษะ เน้นการมีส่วนร่วมและปฏิบัติจริง โดยให้ผู้เข้าอบรม ในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรได้อย่างมี เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้รับ ประสิทธิภาพ ความรู้ด้านวิชาการ เทคนิคและเครื่องมือในงานส่ง เสริมการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เน้นให้ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักส่งเสริม ผู้เข้ารับการพัฒนาได้ค้นคว้าแสวงหาความรู้ การเกษตรมืออาชีพ ตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเอง ได้ฝึกปฏิบัติ และนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักส่งเสริมการเกษตร ในกลุ่มผู้รับการพัฒนาด้วยกัน กำหนดให้มีเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมด 4 เวที ในช่วงเดือน 3. ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักส่งเสริม กุมภาพันธ์ ถึงเดือน สิงหาคม การเกษตรมืออาชีพมีเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการเกษตรใน 14 จังหวัดภาคใต้ 4. มีการพัฒนางานที่เกิดจากการนำความรู้ ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติงานในพื้นที่จริงของ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 งาน/โครงการ
148 เวทีที่ 1 (รูปแบบออนไลน์) ปฐมนิเทศ และเตรียมความพร้อม เวทีที่ 1 วันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ (รูปแบบออนไลน์) เป็นการปรับความคาดหวัง ปรับทัศนคติในการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้ง แนวทางการพัฒนา การจัดทำแผนการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการตลอดจน ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำความรู้จัก และสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน ตลอดจนการหาพี่เลี้ยง เพื่อเป็นที่ปรึกษา สอนงาน ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
149 เวทีที่ 2 (รูปแบบห้องเรียน) จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการบรรยาย อภิปราย และฝึกปฏิบัติ เวทีที่ 2 วันที่ 23 - 26 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (รูปแบบห้องเรียน) จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้เข้าร่วม สัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้เครื่องมือส่งเสริมการเกษตร การจัดเวทีชุมชน การวินิจฉัย โรคพืช และการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้วิธีการผสามผสาน การจัดตั้งกลุ่ม/การส่งเสริมและพัฒนากลุ่ม การเขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ งานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฝึกปฏิบัติจัดเวทีชุมชนในพื้นที่อำเภอเหนือคลอง
150 เวทีที่ 3 (รูปแบบออนไลน์) จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการบรรยาย ฝึกปฏิบัติ และรายงานความก้าวหน้า เวทีที่ 3 วันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ (รูปแบบออนไลน์) จัดกระบวนการเรียนรู้โดยรูปแบบการบรรยาย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยีออนไลน์ การตลาด และการขายสินค้าออนไลน์ การเขียนรายงานผลดำเนินงาน และระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการ การจัดซื้อจัดจ้าง และ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161