Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

Published by sdoae doae, 2022-02-05 18:09:01

Description: รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

Search

Read the Text Version

151 เวทีที่ 4 (รูปแบบห้องเรียน) จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการบรรยาย อภิปราย และสรุปผลงาน เวทีที่ 4 วันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด ในพื้นที่ภาคใต้ และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา (รูปแบบออนไลน์) จัดกระบวนการเรียนรู้โดยรูปแบบการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพและการพูด ในที่สาธารณะ และการชี้แจงการเขียนเอกสารเพื่อส่งประกวดในงานส่งเสริมการเกษตร พร้อมทั้ง กิจกรรมการนำเสนอผลการพัฒนางานและพัฒนาตนเองที่เกิดจากการนำความรู้ที่ได้รับจากการ อบรมไปปฏิบัติงานในพื้นที่จริง ผ่านตัวแทนนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ปี 2564 จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ 1 การพัฒนาศักยภาพกลุ่มส่งเสริมอาชีพกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรง ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เรื่องที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านไร่ออก อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เรื่องที่ 3 การจัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์และแนวทางขับเคลื่อนการบริหารจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2564 เรื่องที่ 4 การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดผู้ปลูกกาแฟ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่องที่ 5 การพัฒนางานประชาสัมพันธ์องค์กรผ่านสื่อเว็บไซต์ของสำนักงานเกษตร จังหวัดสงขลา เรื่องที่ 6 เทคนิคสู่ความสำเร็จของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยจังหวัดชุมพร

152 2. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อประชาสัมพันธ์ ไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ (ออนไลน์) สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มพัฒนาบุคลากร พัฒนาและ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ในด้านการประชาสัมพันธ์การผลิต การจัดการคุณภาพ และการตลาดไม้ผล อัตลักษณ์ของภาคใต้ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับเขต จังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการ บุคคลเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 184 คน โดยได้ดำเนินการ จัดสัมมนาทั้งหมด 3 ครั้ง ดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อประชาสัมพันธ์ไม้ผล อัตลักษณ์ภาคใต้ (ออนไลน์) จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งหลักสูตรวิชาได้ออกแบบตามความจำเป็นและ ความต้องการของผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์โดยตรง ดำเนินการจัดในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกรกฎาคม 2564 ผ่าน โปรแกรมออนไลน์ Zoom ผลการดำเนินการ ผลลัพธ์ ครั้งที่ 1 เรื่อง การเขียนบทความข่าว 1. ผู้เข้าร่วมสามารถเขียนข่าวบทความและ การตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรม In Shot การประชาสัมพันธ์กิจกรรมในหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง โดยใช้โทรศัพท์มือถือ ดำเนินการจัดวันที่ 4 มีนาคม 2564 มีผู้สนใจร่วมสัมมนา 145 คน 2. ผู้เข้าร่วมสามารถตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรม In Shot จากโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้ ครั้งที่ 2 เรื่องเทคนิคการจัดรายการวิทยุ ในงาน Field Day, GAP และเทคนิคการส่งเสริม เพื่อการประชาสัมพันธ์ การทำ Info Graphic การเกษตรในเรื่องต่าง ๆ ความยาว ของคลิปวิดีโอ ดำเนินการจัด วันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2564 เฉลี่ยประมาณ 3 นาที มีผู้สนใจร่วมหลักสูตร 165 คน 3. ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัด ครั้งที่ 3 เรื่อง การเขียนสคริปต์เพื่อการ รายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ และนำไปใช้ ในการประชาสัมพันธ์ในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ประชาสัมพันธ์ การตัดต่อคลิปอย่างง่ายด้วย Facebook VideoPad Editor ดำเนินการจัดวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม 2564 มีผู้สนใจร่วมหลักสูตร 168 คน 4. ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทักษะในการทำ Info Graphic เพื่อนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ

153 ขตัอวงอผูย้่เาขง้าชสิ้ันมงมานนา

154 3. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการ เป็นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการในภาคใต้ ให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ในการขับเคลื่อนการเกษตรในพื้นที่ และให้ศูนย์ปฏิบัติการสามารถสนับสนุนและเชื่อมโยง การปฏิบัติงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการในภาคใต้ ผลการดำเนินการ ผลลัพธ์ ดำเนินการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนา ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การทำแผ่นรังเทียมผึ้งโพรง และการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ศักยภาพเจ้าหน้าที่ศุนย์ปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ ที่รับผิดชอบได้ แบบถ่ายทอดสด ถ่ายทอดความรู้โดยการบรรยายและ การสาธิต ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการในภาคใต้ ที่มีความสนใจ สมัครใจจะพัฒนาตนเอง จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตรการทำแผ่นรังเทียมผึ้งโพรง ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 มีเจ้าหน้าที่ ศูนย์ปฏิบัติการเข้าร่วม 15 คน 2. หลักสูตรการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการ เข้าร่วม 14 คน

155 ภาพกิจกรรม

156 4. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และ ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริม การเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและ สร้างเครือข่ายในการทำงานในทุกพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายคือข้าราชการ และลูกจ้างประจำใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 300 คน การดำเนินการ จัดการถ่ายทอดความรู้โดยการบรรยาย และเสวนากลุ่ม โดยแยกเป็น 2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ 1 ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรที่จะเกษียณอายุราชการ ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 56 คน ให้ความรู้ในเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ เพื่อการวางแผนชีวิตภายหลังเกษียณ อายุราชการ และ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากอดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ผลการดำเนินการ ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรที่จะเกษียณอายุราชการ สามารถวางแผนชีวิต หลังเกษียณ และมีแนวทางในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการอย่างมีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด และอำเภอ จำนวน 244 คน ให้ความรู้ ในเรื่องการปรับตัวภาคเกษตรในยุค Covid Disruption ผลการดำเนินการ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรได้ปรับแนวคิดการทำงานสำหรับนักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรยุคใหม่ เพื่อให้รู้เท่าทันท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันของภาคเกษตร ทั่วโลก

157 ภาพกิจกรรม

158 โครงการเสริมสร้างสมรรถนะ เกษตรอำเภอในภาคใต้ ปี 2564 เกษตรอำเภอเป็นหัวหน้างานระดับอำเภอที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรตลอดจนกลุ่มสถาบันต่างๆ ความสำเร็จการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอจึงส่งผลต่อความสำเร็จของงานส่งเสริมการเกษตรได้ อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรอำเภอในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ มีอายุงานที่น้อยลง เนื่องจากความห่างของช่วงอายุข้าราชการในองค์กร จากเหตุผลดังกล่าวและความสำคัญของ เกษตรอำเภอ จึงมีโครงการเสริมสร้างสมรรถนะเกษตรอำเภอในภาคใต้ เพื่อพัฒนาความรู้ตามบทบาท และสมรรถนะให้เกษตรอำเภอที่สนใจจะพัฒนาตนเอง นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน ด้านส่งเสริมการเกษตร และสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคใต้ มีผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการรวม 5 หลักสูตรจำนวน 297 คน

159 ผลการดำเนินการ ดำเนินการจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถนะเกษตรอำเภอในภาคใต้ ปี 2564 จำนวน 5 หลักสูตร ตามความต้องการและความจำเป็นของเกษตรอำเภอ ในภาคใต้ โดยเปิดให้เกษตรอำเภอเข้าร่วม แต่ละหลักสูตร ตามความสนใจและสมัครใจ ดำเนินการจัดในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนกรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Cloud Meetings มีผู้เข้าร่วม รวม 297 คน รายละเอียดดังนี้ 1. หลักสูตร งานสารบรรณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสินทรัพย์ การบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบกระทรวงการคลัง ดำเนินการจัดวันที่ 27 เมษายน 2564 มีผู้สนใจร่วมหลักสูตร 69 คน เป็นเกษตรอำเภอที่สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา 54 และผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ 15 คน 2. หลักสูตร การจัดทำกลยุทธ์ และแผนการเกษตรระดับอำเภอ การคิดเชิงระบบ ดำเนินการจัด วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 มีผู้สนใจ 65 คน เป็นเกษตรอำเภอที่สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา 56 คน และผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ 9 คน 3. หลักสูตร การสร้างภาพลักษณ์องค์กร และเทคนิคการทำงานร่วมกับชุมชน ดำเนินการจัด วันที่ 17 มิถุนายน 2564 มีเกษตรอำเภอที่สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 49 คน 4. หลักสูตร การบริหารจัดการองค์กร การเป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในงานส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการจัด วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 มีเกษตรอำเภอที่สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 57 คน 5. หลักสูตร การพูดในที่สาธารณะ และการนำเสนอผลงาน ดำเนินการจัด วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 มีเกษตรอำเภอที่สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 57 คน ผลลัพธ์ 1. เกษตรอำเภอได้รับความรู้ในเรื่อง งานสารบรรณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสินทรัพย์ การบริหาร พัสดุภาครัฐ ระเบียบกระทรวงการคลัง การคิดเชิงระบบ การจัดทำกลยุทธ์ แผนการเกษตรระดับอำเภอ การสร้างภาพลักษณ์องค์กร และเทคนิคการทำงานร่วมกับชุมชน การบริหารจัดการองค์กร การเป็นที่ปรึกษา และพี่เลี้ยงในงานส่งเสริมการเกษตร รวมถึงการพูดในที่สาธารณะ และการนำเสนอผลงานไปใช้ในงาน ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เกษตรอำเภอในภาคใต้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกัน 3. เกิดเครือข่ายการทำงานของเกษตรอำเภอในภาคใต้

160 ภาพกิจกรรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook