Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

Published by sdoae doae, 2022-02-05 18:09:01

Description: รายงานประจำปี 2564 สสก.5 สงขลา

Search

Read the Text Version

51 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 9. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต พัฒนาความเข้มแข็งกระบวนการทำงาน การพัฒนาการผลิตและการตลาด ของศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน สัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาความเข้มแข็งกระบวนการทำงานการพัฒนาการผลิตและ การตลาดของศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน ระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมีเนื้อหาในการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ การบรรยายและแบ่งกลุ่มปฏิบัติการ เรื่อง ถอดบทเรียนการบริหารจัดการศูนย์คัดแยก ผลไม้ชุมชนเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน และ การดำเนินงานของศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน ชายแดนใต้และจุดรวบรวมผลผลิตกลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผล การบรรยาย เรื่อง การขับเคลื่อนศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนด้วยกลไกการตลาด การบรรยาย เรื่อง แนวทางเชื่อมโยงการตลาดผลไม้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรยาย เรื่อง การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตลองกองหลังการเก็บเกี่ยว

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 52 โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต 10. การศึกษาดูงาน การผลิตละมุดคุณภาพ การศึกษาดูงานการผลิตละมุดคุณภาพ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ณ พื้นที่เกษตรกร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาและ สำนักงานเกษตรอำเภอในจังหวัดสงขลา จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการ เกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน รวมผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานทั้งสิ้น 9 คน

53 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 11. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต การคัดเกรดผลไม้คุณภาพและ ศึกษาดูงานการผลิตไม้ผลภาคตะวันออก จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการการคัดเกรดผลไม้คุณภาพและศึกษาดูงานการผลิตไม้ผล ภาคตะวันออก ในระหว่างวันที่ 20 – 25 มิถุนายน 2564 ณ โรงแรมมณีจันท์รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมี เนื้อหาในการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมังคุด ณ บริษัท สยามโปรฟรุตส์ จำกัด จังหวัดจันทบุรี การบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพัฒนาการของผลทุเรียน การประเมินคุณภาพเบื้องต้นและการวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อ การบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การคัดเกรดทุเรียน การสุ่มตรวจคุณภาพผลและ การปฏิบัติงานในโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ศึกษาดูงานการบริหารจัดการการผลิตและเก็บเกี่ยวทุเรียนครบวงจรแปลงทุเรียน ศึกษาดูงานการบริหารจัดการการผลิตและเก็บเกี่ยวมังคุดครบวงจร ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลไม้และการบริหารจัดการด้านการตลาด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 54 โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต 12. โครงการพัฒนาและส่งเสริม การผลิตสินค้าเกษตร การผลิตมังคุดคุณภาพ และจำหน่ายผลผลิตโดยวิธีการประมูลราคา ของกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชุมพร ระนองและนครศรีธรรมราช ในปี 2562 ที่สามารถจำหน่ายมังคุด ในราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป และกลุ่มเกษตรกรมีผลตอบแทนที่ดีกว่า ในปี 2563 สำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา มีการต่อยอดกิจกรรมและขยายผลในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยการจัดกิจกรรมสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตไม้ผลคุณภาพเพื่อสร้างมาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่ม ในระดับภาค เพื่อเชื่อมโยงและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดภาคใต้ พร้อมกำหนดมาตรฐาน คุณภาพมังคุดเพื่อการประมูล การเพิ่มมูลค่ามังคุดภาคใต้ รวมทั้งการเชื่อมโยงตลาดกับผู้ประกอบการ ภายในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ดำเนินการ ขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา และนราธิวาส เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต มังคุดคุณภาพสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับภาคใต้ จัดทำทำเนียบกลุ่มผู้ปลูกมังคุดและเครือข่าย การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเกษตรกร เครือข่ายและหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน โดยดำเนินกิจกรรมการสัมมนาพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตมังคุดคุณภาพสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ในระดับภาคใต้ จำนวน 3 ครั้ง โดยนายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการ เกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานในการสัมมนา

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 55 โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต 12. โครงการพัฒนาและส่งเสริม การผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมดำเนินการ ครั้งที่ 1 ดำเนินการระหว่างวันที่ 24 - 26 มกราคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์นวิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ มูลค่าผลผลิต โดยยึดหลักการข้อมูลการผลิตชัดเจน เชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้ออย่างรวดเร็ว ด้วยช่องทางการค้าออนไลน์อย่างหมาะสม มีการทบทวนคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนมังคุดภาคใต้ การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายมังคุดภาคใต้ และการจัดทำมาตรฐานคุณภาพมังคุด เพื่อการประมูลภาคใต้ ปี 2564 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 33 คน ครั้งที่ 2 ดำเนินการระหว่างวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นการประเมินสถานการณ์ การผลิตมังคุดของแต่ละจังหวัด การบรรยายความรู้เรื่องการวินิจฉัยโรคและการใช้สารชีวภัณฑ์ ทดแทนการใช้สารเคมีในสวนมังคุด ซึ่งมาจากความต้องการของผู้เข้าสัมมนา รวมทั้งการร่วมกัน กำหนดรูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับการจำหน่ายมังคุดออนไลน์ และร่วมพิจารณาผู้ประกอบการ เข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 3 เพื่อเชื่อมโยงการตลาด และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อรองรับสถานการณ์ การผลิตที่คาดว่าจะกระจุกตัวในปี 2564 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 34 คน ครั้งที่ 3 ดำเนินการผ่านระบบ VDO Conference และระบบ Zoom Meeting เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นการประเมินสถานการณ์การผลิตมังคุด ของกลุ่ม ในปี 2564 การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการเชื่อมโยงกับตลาดระบบออนไลน์ รวมทั้ง การให้บริการรับส่งผลไม้ของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับผลผลิตมังคุดคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรแล เครือข่าย

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 56 โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต 12. โครงการพัฒนาและส่งเสริม การผลิตสินค้าเกษตร ผลสำเร็จของงาน จากการสัมมนา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา สามารถ ขับเคลื่อนการดำเนินงานได้ ดังนี้ 1.1 คณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนมังคุดภาคใต้ ปี 2564 มีมติให้คณะกรรมการ ชุดเดิมขับเคลื่อนงานปี 2564 ต่อไปก่อน 1.2 กำหนดแผนการสัมมนาและสถานที่สัมมนา ครั้งที่ 2 และ 3 พร้อมทั้งประเด็น ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีสัมมนา แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้มีการเลื่อนกำหนดการสัมมนาและปรับรูปแบบเป็นระบบ VDO Conference และระบบ Zoom Meeting ในการสัมมนาครั้งที่ 2 และ 3 1.3 กำหนดมาตรฐานการประมูลมังคุด ปี 2564 1.4 ทราบสถานการณ์การผลิตมังคุดของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้แนวทางในการบริหาร จัดการมังคุดภาคใต้ ปี 2564 1.5 ได้รับความรู้เรื่อง การวินิจฉัยโรคและการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี ในสวนมังคุด ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และถ่ายทอดให้กับสมาชิกได้ 1.6 เกิดการเชื่อมโยงกับผู้แปรรูปผลผลิต ตลาดระบบออนไลน์ และทราบข้อมูล บริการรับส่งผลไม้ของผู้ประกอบการในการรองรับผลผลิตมังคุดคุณภาพ ปี 2564

57

58 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ไม้ผลภาคใต้โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง เป็นสินค้าเกษตรสำคัญ ที่สร้างมูลค่าการซื้อขายภายในและต่างประเทศได้จำนวนมาก ปี 2564 มีพื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,083,182 ไร่ โดยสถานการณ์การผลิตไม้ผลของภาคใต้แต่ละปีจะมีความแตกต่างกันใน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและการดูแลรักษา หากสภาพภูมิอากาศเหมาะสมผลผลิตออกมากและ อาจกระจุกตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิตได้ ปี 2564 การบริหารจัดการผลไม้ของภาคใต้ มุ่งเน้นให้จังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการ แก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นกลไกหลักในการบริหาร จัดการและกำกับดูแล เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทานในช่วงที่ผลผลิตออกมาก (ช่วง peak) มีแผนบริหารจัดการผลไม้ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำข้อมูล ประมาณการผลผลิต ซึ่งได้มาจากการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างละเอียดจากแปลงพยากรณ์ ในพื้นที่ มีฐานข้อมูลความต้องการของตลาด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดใช้ประกอบการวิเคราะห์ วางแผนบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้

59 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - กิจกรรมดำเนินการ 1. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ ปี 2564 โดยนายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานในการสัมมนา จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 กำหนดแนวทางและ แผนการดำเนินงาน พร้อมเตรียมข้อมูล ไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อจัดทำแผนบริหาร จัดการผลไม้ ปี 2564 ดำเนินการระหว่าง วันที่ 24 - 26 มกราคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์นวิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 33 คน ครั้งที่ 2 จัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 3 สรุปผลบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 ผ่านระบบ VDO Conference และ ปี 2564 ผ่านระบบ VDO Conference และ ระบบ Zoom Meeting วันที่ 1 กันยายน 2564 ระบบ Zoom Meeting วันที่ 18 มิถุนายน โดยจังหวัดนำเสนอผลบริหารจัดการผลไม้ 4 ชนิด 2564 จังหวัดนำเสนอแผนบริหารจัดการผลไม้ 4 ชนิด โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่กี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนเกษตรกรร่วมให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำ ศูนย์สารสนเทศสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แผนบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 ผู้เข้าร่วม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ 8 สัมมนาและสังเกตการณ์จำนวน 70 คน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 9 จังหวัดสงขลา ผู้แทนพาณิชน์จังหวัด และสหกรณ์จังหวัด ร่วมให้ข้อเสนอแนะ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 48 คน

60 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - 2. สัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อมูลไม้ผลเอกภาพภาคใต้ ปี 2564 โดยนายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธาน ในการสัมมนา จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 โดยนายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ จัดทำฐานข้อมูลไม้ผล การเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา ร่วมกับ นายสุพิท จิตรภักดี เศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2564 ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 ดำเนินการระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 จังหวัดสงขลา เป็นประธาน จังหวัดรายงานข้อมูลสถานการณ์ ณ ห้องประชุมรัตนโกสิน การผลิตและประมาณการผลผลิตทั้ง 4 ชนิด โดยมีเจ้าหน้าที่ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากกรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 9 จังหวัดสงขลา รวมทั้งผู้แทนเกษตรกร ร่วมให้ข้อแนะนำ ในการจัดทำฐานข้อมูลไม้ผล ปี 2564 ผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 42 คน ครั้งที่ 2 ประมาณการ โดยจังหวัดนำเสนอผลการวิเคราะห์สถานการณ์ การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ การกระจายผลผลิต ปี 2564 สถานการณ์การผลิตไม้ผล เศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2564 และมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนบริหาร ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดการผลไม้ ดำเนินการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านระบบ VDO Conference ที่ 9 จังหวัดสงขลา ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำ ข้อมูลประมาณการผลผลิต ปี 2564 มีผู้เข้าร่วมสัมมนา วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 จำนวน 50 คน ครั้งที่ 3 ประมาณการ โดยจังหวัดนำเสนอผลการวิเคราะห์สถานการณ์ สถานการณ์การผลิตไม้ผล การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ และการกระจายผลผลิต เศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2564 ปี 2564 รายพืช และมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริม ครั้งที่ 2 เพื่อปรับปรุง การเกษตร ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 แผนบริหารจัดการผลไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 9 จังหวัดสงขลา ร่วมพิจารณา ผ่านระบบ Zoom Meeting ข้อมูลประมาณการผลผลิต ปี 2564 มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 จำนวน 35 คน

61 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ผลสำเร็จของงาน จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้และ สัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อมูลไม้ผลเอกภาพภาคใต้ ปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา สามารถสรุปแผนการดำเนินงานในปี 2564 ให้สอดคล้องกับ แผนการดำเนินงานระดับจังหวัดและระดับอำเภอ พร้อมทั้งเตรียมฐานข้อมูลไม้ผล เพื่อรองรับ การจัดทำข้อมูลไม้ผลเอกภาพ และจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ และสรุปผลการบริหารจัดการ ผลไม้ ปี 2564 แผนการดำเนินการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ปี 2564 กิจกรรม วันที่ สถานที่ จังหวัดส่งข้อมูล สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ให้เขต เตรียมการบริหาร 25 - 26 ม.ค. 64 ปัตตานี 18 ม.ค. 64 จัดการผลไม้ภาคใต้ 18 - 19 มี.ค. 64 สงขลา 11 มี.ค. 64 การจัดทำข้อมูลเอกภาพ 13 - 14 พ.ค. 64 10 พ.ค. 64 ไม้ผลภาคใต้ ครั้งที่ 1 17 - 18 มิ.ย. 64 ตรัง 10 มิ.ย. 64 การจัดทำข้อมูลเอกภาพ 1 - 2 ก.ค. 64 พัทลุง 24 มิ.ย. 64 ไม้ผลภาคใต้ ครั้งที่ 2 2 - 3 ก.ย. 64 สุราษฎร์ธานี 25 ส.ค. 64 การบูรณาการ ชุมพร แผนบริหารจัดการผลไม้ ภาคใต้ การจัดทำข้อมูลเอกภาพ ไม้ผลภาคใต้ ครั้งที่ 3 สรุปผลการบริหาร จัดการผลไม้ภาคใต้

62 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - สถานการณ์การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2564

63 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - แผนการบริหารจัดการทุเรียนภาคใต้ ปี 2564

64 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - แผนการบริหารจัดการเงาะภาคใต้ ปี 2564

65 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - แผนการบริหารจัดการมังคุดภาคใต้ ปี 2564

66 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - แผนการบริหารจัดการลองกองภาคใต้ ปี 2564

67 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ผลการบริหารจัดการทุเรียนภาคใต้ ปี 2564

68 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ผลการบริหารจัดการเงาะภาคใต้ ปี 2564

69 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ผลการบริหารจัดการมังคุดภาคใต้ ปี 2564

70 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 13. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร - การบริหารงานยุทธศาสตร์ไม้ผล ปี 2564 - ผลการบริหารจัดการลองกองภาคใต้ ปี 2564

71

72 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 14. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของไทย เนื่องจากสามารถ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านการประกอบอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น และในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนงานวิจัยด้านสุขภาพ และความงามต่าง ๆ อีกทั้งมะพร้าวเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ลำต้นจนถึงยอด ในปี 2562 ประเทศไทยมี ภาคใต้ พื้นที่ปลูกมะพร้าว เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผลผลิต 841,904 ไร่ 369,715 ไร่ 345,877 ไร่ พื้นที่ปลูกมะพร้าว ผลผลิต ผลผลิตเฉลี่ย 841,904 ไร่ 359,157 ตัน 1,038 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,027 กิโลกรัม/ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563) ปัจจุบันมะพร้าวได้เป็นพืชอุตสาหกรรม ป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตกะทิบรรจุกล่อง ทำให้ราคามะพร้าวผลแห้งเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงสนใจปลูกมะพร้าวมากขึ้น แต่เนื่องด้วยผลผลิตมะพร้าวลดลงจากการระบาดของแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสวนมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวที่มีอายุมาก ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ผลผลิตมะพร้าวขาดตลาด ในบางช่วง และผลผลิตไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้ราคาผลผลิตมะพร้าวในประเทศลดลง สำหรับในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว 78,537 ไร่ การปลูกมะพร้าวในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นการปลูกในลักษณะ หัวไร่ปลายนา ขาดการจัดการสวนที่ดี และเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากแหล่งอื่นนอกพื้นที่ ซึ่งบางพันธุ์ ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ทำให้ต้นมะพร้าวเหล่านี้มีความอ่อนแอ อีกทั้งเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ในการบริหารจัดการการผลิตมะพร้าว ทำให้ผลผลิตมะพร้าวที่ได้ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะ ที่เป็นหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้รับการบรรจุใหม่ จำนวนมาก ยังขาดความรู้ ความชำนาญ และมีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบเป็นจำนวนมากสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ ทักษะ ความชำนาญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ในแก่เกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพผลผลิต และมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรเหล่านั้นมีความสามารถในการแข่งขัน ลดความเสี่ยงด้านราคา สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร รวมถึง มีการติดตามผลการดำเนินงาน ทั้งปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่อไป

73 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 14. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร การดำเนินงาน กิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการมะพร้าวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผลสำเร็จของงาน 1. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการมะพร้าวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ระหว่างวันที่ 3 – 5 มีนาคม 2564 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยและ พัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบุคคลเป้าหมาย จำนวน 32 คน 2. เนื้อหาในการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ 2.1. บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวคุณภาพ” “การขยายพันธุ์มะพร้าว” โดย นางปริญดา หรูนหีม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช สุราษฎร์ธานี 2.2 ศึกษาดูงานเรื่อง “การรับซื้อผลผลิตมะพร้าว”ณ จุดรับซื้อผลผลิตมะพร้าว ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.3 ศึกษาดูงานเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว” ณ แปลงเรียนรู้ มะพร้าว ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.4 การบรรยายเรื่อง “การแปรรูป และการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าจากมะพร้าว” โดย นายศุภชาติ ศรีเทพ ณ สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

74

75 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 15. พัฒนาศูนย์เครือข่าย โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต (ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน) กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และศูนย์จัดการ ดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) เป็นศูนย์เครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยใช้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) เป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาการระบาดของศัตรูพืช และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและ เหมาะสม เพื่อลดการใช้สารเคมีในระยะยาว เนื่องจากการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรที่ผ่านมา ดำเนินการโดยการพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก การควบคุมศัตรูพืชอาศัยประสบการณ์และความเคยชิน ขาดความรู้ด้านวิชาการเป็นอย่างมาก จึงทำให้การผลิตพืชขาดทั้งปริมาณ คุณภาพ และระบบนิเวศ ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจึงเน้นการพัฒนาเกษตรกรและ ชุมชน ให้สามารถจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเองอย่างครบวงจร และใช้ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการดินและการใช้ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และให้เกษตรกรทำหน้าที่บริการชุมชนในการวิเคราะห์ดินให้คำแนะนำและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการ ด้านการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องแก่เกษตรกรในชุมชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นจุดให้บริการ ข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการอารักขาพืชและด้านดินปุ๋ยกับเกษตรกรโดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ชุมชนและหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อทำให้เกษตรกร ชุมชน มีความเข้มแข็ง ในอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุน การดำเนินงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)จึงได้พัฒนาศูนย์เครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการจัดการศัตรูพืชและ การขับเคลื่อนองค์ความรู้การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้อย่างยั่งยืน

76 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 15. พัฒนาศูนย์เครือข่าย โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต (ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน) กิจกรรมดำเนินการ 1. ขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนและการเชื่อมโยงเครือข่าย สัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย ระดับพื้นที่ (ระดับเขต) จำนวน 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มความรู้ และทักษะในการเป็นนักส่งเสริมด้านดินและปุ๋ย แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ให้สามารถให้คำแนะนำในการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาศูนย์จัดการ ดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ในระดับภูมิภาคได้ ครั้งที่ 1 ดำเนินการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย ระดับเขต ผ่านระบบ VDO Conference ระหว่างวันที่ 13 - 14 มกราคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงาน เกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร และห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นแม่ข่ายถ่ายทอดสัญญาณ การจัดสัมมนา บุคคลเป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านดินปุ๋ยระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา รวมผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 192 คน โดยมีการบรรยายให้ความรู้ประเด็นเทคโนโลยี นวัตกรรม ด้านการจัดการดินและปุ๋ย และทักษะที่เจ้าหน้าที่ดินปุ๋ยควรได้รับการพัฒนาในการเป็นนักส่งเสริมด้านดินและปุ๋ยอย่างมืออาชีพ

77

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 78 โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต 15. พัฒนาศูนย์เครือข่าย (ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน) ครั้งที่ 2 ดำเนินการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย ระดับเขต ครั้งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 7 - 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมเคพาร์ค แกรนด์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี บุคคลเป้าหมายประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านดินปุ๋ยระดับจังหวัด และระดับอำเภอในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนา การเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 120 คน โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและศึกษาดูงาน นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินและปุ๋ย และการบริหารจัดการพัฒนา ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนสู่ธุรกิจ

79

80 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร 15. พัฒนาศูนย์เครือข่าย โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต (ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน) ผลสำเร็จของงาน เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ 1. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงาน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงาน ดินปุ๋ยใน 14 จังหวัดภาคใต้ ผ่านการสัมมนา ดินปุ๋ยใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 192 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการเป็นนักส่งเสริม เชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย ระดับเขต ด้านดินและปุ๋ยตามหัวข้อเนื้อหาของการสัมมนา จำนวน 192 สามารถนำความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมการจัดการ ดินปุ๋ย และการขับเคลื่อนศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 2. มีเครือข่ายการพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ต้นแบบ ที่ได้จากการศึกษาดูงาน (ศดปช.) ในภาคใต้ จำนวน 192 คน นำไปประยุกต์ใช้หรือขยายผลงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และพัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนให้มีความเข้มแข็ง 3. มีแนวทางในการพัฒนา 4 smart สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการด้านการจัดการ (smart team, smart officer, smart farmer, ดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องแก่เกษตรกรในชุมชนได้ smart group ) เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาศูนย์จัดการ ดินปุ๋ยชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ

81 ส่งเสริมและพัฒนา 16. กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลาดสินค้าเกษตร เพิ่มทักษะเจ้าหน้าที่ในการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าวิสาหกิจชุมชน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ดำเนินการจัดสัมมนา เชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานสินค้าวิสาหกิจชุมชน วันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมอีโค่อินน์สาขาตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง บุคคลเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ งานโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับกรม จำนวน 37 คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีทักษะในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในด้านการนวัตกรรมและ การเพิ่มมูลค่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การบริหารจัดการและการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบองค์รวม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการตลาด การจัดการคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป

82 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกร ปราดเปรื่อง (Smart Farmer) เป็นนโยบายที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องดำเนินการ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการตามนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรทุกคนได้รับการพัฒนาเป็นเกษตรกรที่มีความพร้อมรับกับสถานการณ์ด้านการเกษตร ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยมีความพร้อม มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการประกอบอาชีพการเกษตร จึงได้กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) หมายถึง บุคคลที่มีความภาคภูมิใจในความเป็นเกษตรกรมีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตร แต่ละสาขา มีความสามารถในการวิเคราะห์เชื่อมโยงและการบริหารจัดการการผลิตและการตลาด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคมและ สิ่งแวดล้อมและถือเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างเครือข่าย โดยพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ในการผลิต การบริหารจัดการและการตลาด สามารถปรับตัวรองรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ได้ คือ มีความพร้อม มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่ คุณค่าการผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรดำเนินการ ให้ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้และ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิปัญญาและวิธีการปฏิบัติที่ดีมาใช้หรือ พัฒนา โดยตระหนัก ถึงคุณภาพมาตรฐานในการผลิต และปริมาณ ความต้องการของตลาดผลผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในทุกระดับ และพร้อมพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้วางแผนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Farmer โดยจัดอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพ Young Smart Farmer จัดเวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ เกษตรกรรุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) และจัดอบรมหลักสูตร Smart Farmer ผู้ประกอบการ ต้นแบบ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ Young Smart Farmer สู่การเป็นผู้ประกอบการ ด้านการเกษตร เชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต พร้อมทั้ง ขยายผลการดำเนินงาน ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับจังหวัดลงสู่พื้นที่ และพัฒนา Smart Farmer ให้เป็นผู้ประกอบการ ต้นแบบ

83 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer สรุปผลการจัดอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพ Young Smart Farmer ผ่านระบบ VDO Conference และระบบ Zoom meeting หลักการและ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น เหตุผล Young Smart Farmer โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ การสร้างเครือข่าย โดยให้เกษตรกรเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้และออกแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง” และมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็น “ผู้จัดการเรียนรู้” มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถด้านการเกษตร ทดแทนเกษตรกร ผู้สูงอายุ และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดจนเป็นเกษตรกรมืออาชีพที่เป็นผู้นำ ทางการเกษตรในท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกระดับ ดังนั้น Young Smart Farmer จำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และได้รับการสนับสนุนและพัฒนา จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรอิสระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในการนี้เพื่อพัฒนา Young Smart Farmer ใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยเน้นจัดกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงธุรกิจเกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพของ Young Smart Farmer ที่จำเป็น ต่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้กำหนดจัดอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพ Young Smart Farmer ผ่านระบบ VDO Conference และระบบ Zoom meeting ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของ Young Smart Farmer ที่จำเป็นต่อการพัฒนา สู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ โดยเน้นจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเชิงธุรกิจเกษตรและการบริหารจัดการเรื่องการตลาด

84 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer บุคคล Young Smart Farmer ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาในระดับจังหวัด เป้าหมาย มีแนวคิดในการทำการเกษตรเชิงธุรกิจเกษตร มีการวางแผนการทำธุรกิจเกษตร ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 100 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน Young Smart Farmer ระดับจังหวัด จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 114 คน ขั้นตอน/ 4.1 ศึกษาโครงการและวางแผนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ 4.2 ขออนุมัติดำเนินการ และดำเนินการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 4.3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดอบรม 4.4 ดำเนินการจัดอบรม 4.5 สรุปและรายงานผลการจัดอบรม ผลสำเร็จ เชิงปริมาณ ของงาน Young Smart Farmer เข้าร่วมอบรม จำนวน 103 คน และ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วมอบรม จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 117 คน เชิงคุณภาพ 1. Young Smart Farmer ได้รับความรู้เรื่องการเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจเกษตรครบวงจร การบริหารจัดการธุรกิจเกษตร สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและ เขียนโมเดลธุรกิจเกษตรของตนเอง ด้วย Lean Canvas และ Lean Thinking ได้ 2. Young Smart Farmer ได้รับความรู้เรื่องการสร้างแผน พัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร เข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ยุค 4.0 สามารถออกแบบหรือวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้า และช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเองได้

85 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer ความคิดเห็นและ - ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมในการนำความรู้ไปใช้ คือ ความพึงพอใจ ในการเข้ารับการอบรม ความรู้ที่ได้รับมีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมการเกษตร ของตนเองได้มากที่สุด ร้อยละ 45.2 ได้มากร้อยละ 49.3 และ ได้ปานกลางร้อยละ 5.5 และมีความมั่นใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ได้มากที่สุด ร้อยละ 38.4 ได้มากร้อยละ 53.4 และได้ปานกลาง ร้อยละ 8.2 - ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการอบรมครั้งนี้ คือ พอใจมากที่สุดร้อยละ 38.4 พอใจมากร้อยละ 50.7 และพอใจปานกลาง ร้อยละ 11

86

87 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer สรุปผลการจัดเวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต ผ่านระบบ Zoom Meeting หลักการและ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เหตุผล ให้เป็น Young Smart Farmer โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ การสร้างเครือข่าย โดยให้เกษตรกรเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้และออกแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง” และมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็น “ผู้จัดการเรียนรู้” มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถด้านการเกษตร ทดแทนเกษตรกร ผู้สูงอายุ และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด จนเป็นเกษตรกรมืออาชีพที่เป็นผู้นำทางการ เกษตรในท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกระดับ ดังนั้น Young Smart Farmer จำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ในการนี้เพื่อให้ Young Smart Farmer ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ได้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันเพิ่มองค์ความรู้ที่จำเป็น และเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเขต กลุ่มส่งเสริมและ พัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้กำหนดจัดเวที เครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต ออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของเครือข่าย Young Smart Farmer แต่ละจังหวัด รวมถึง วางแผนการดำเนินงานและเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต

88 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer บุคคล คณะกรรมการเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขตและ เป้าหมาย ระดับจังหวัด ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับจังหวัด ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกร รุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) และ Young Smart Farmer ที่มีแนวคิด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่าย ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 140 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน Young Smart Farmer ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 168 คน ขั้นตอน/ 1. ศึกษาโครงการและวางแผนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ 2. ขออนุมัติดำเนินการ และดำเนินการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดเวทีเครือข่าย 4. ดำเนินการจัดเวทีเครือข่าย 5. สรุปและรายงานผลการจัดเวทีเครือข่าย ผลสำเร็จ เชิงปริมาณ ของงาน Young Smart Farmer เข้าร่วมเวทีเครือข่าย จำนวน 140 คน และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเวทีเครือข่าย จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 168 คน เชิงคุณภาพ 1. Young Smart Farmer ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อน การดำเนินงานเครือข่าย และศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ แต่ละจังหวัด สามารถนำจุดแข็งและ ข้อดีของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้ได้ 2. Young Smart Farmer ได้รับความรู้เรื่อง “การเพิ่มมูลค่า สินค้าเกษตรและการตลาดออนไลน์เบื้องต้น” “เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าเพื่อการขายออนไลน์” และ “สถานการณ์การขับเคลื่อนการปลูกกัญชาในเมืองไทย และการปลูกกัญชาทางการแพทย์” สามารถออกแบบหรือวางแผนการเพิ่มมูลค่าสินค้าและช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมกับสินค้า ของตนเองได้ 3. Young Smart Farmer ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต

89 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer ความคิดเห็นและ - ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเวทีเครือข่ายในการนำความรู้ ความพึงพอใจ ในการเข้ารับการอบรม ไปใช้ คือ ความรู้ที่ได้รับมีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรม การเกษตรของตนเองได้มากที่สุด ร้อยละ 31.3 ได้มากร้อยละ 62.5 และ ได้ปานกลางร้อยละ 6.3 และมีความมั่นใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ได้มากที่สุด ร้อยละ 27.7 ได้มากร้อยละ 61.6 และได้ปานกลาง ร้อยละ 10.7 - ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าร่วมเวที เครือข่ายครั้งนี้ คือ พอใจมากที่สุดร้อยละ 35.7 พอใจมากร้อยละ 60.7 และพอใจปานกลาง ร้อยละ 3.6

90

91 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer สรุปผลการขยายผลการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ระดับจังหวัดลงสู่พื้นที่ โดยการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) 14 จังหวัดภาคใต้ หลักการและ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการการแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา เหตุผล เกษตรกรรุ่นใหม่ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 – 26 สิงหาคม 2560 ณ จังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยคณะ ศึกษาดูงานประกอบด้วย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร 2 คน และตัวแทน Young Smart Farmer 9 เขตๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาการเกษตร ได้ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต และการตลาด ได้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรเกษตรกรและการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำแนวความคิดในการทำการเกษตรจากเกษตรกรญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น ปรับปรุงและพัฒนาการประกอบอาชีพด้านการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งทำให้ตัวแทน Young Smart Farmer จากทั้ง 9 เขต ได้เล็งเห็นแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการสร้างความเข้มแข็ง ของเครือข่าย Young Smart Farmer จึงเสนอแนวคิด ในการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตรกรรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ที่มีการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้มแข็ง ให้เครือข่าย Young Smart Farmer เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตร เพิ่มโอกาสในการฝึกปฏิบัติงานจริงในฟาร์มเกษตรกรมืออาชีพ สนับสนุนปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการผลิตและการตลาด รวมถึงปรับปรุงและพัฒนาการประกอบอาชีพด้านการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ ปี 2561 ได้มีการปรับปรุงแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการสร้างความเข้มแข็ง ของเครือข่าย Young Smart Farmer รวมถึงมีความต้องการให้มีศูนย์กลางการประสานการทำงานกับ เครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด จึงมีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกษตรกรรุ่นใหม่ระดับจังหวัด” เป็น “ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ ศบพ.” มีการสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ จังหวัดละ 1 ศบพ. รวม 77 ศบพ. และขยายการดำเนินงาน ไปสู่สมาชิกเครือข่าย Young Smart Farmer เพื่อกระจายแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ครอบคลุม กิจกรรมการเกษตรที่หลากหลาย เกิดเป็นเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ตลอดจนมีการพัฒนา เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับแนวคิด และสร้างเสริมกระบวนการทำงานของศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่และเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด พร้อมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำด้านเกษตร 4.0

92 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer บุคคล คณะกรรมการเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขตและ เป้าหมาย ระดับจังหวัด ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับจังหวัด ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกร รุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) และ Young Smart Farmer ที่มีแนวคิด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่าย ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 140 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน Young Smart Farmer ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 168 คน ขั้นตอน/ 1. ศึกษาโครงการและวางแผนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ 2. ขออนุมัติดำเนินการ และดำเนินการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดเวทีเครือข่าย 4. ดำเนินการจัดเวทีเครือข่าย 5. สรุปและรายงานผลการจัดเวทีเครือข่าย ผลสำเร็จ เชิงปริมาณ ของงาน Young Smart Farmer เข้าร่วมเวทีเครือข่าย จำนวน 140 คน และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเวทีเครือข่าย จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 168 คน เชิงคุณภาพ 1. Young Smart Farmer ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อน การดำเนินงานเครือข่าย และศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ แต่ละจังหวัด สามารถนำจุดแข็งและ ข้อดีของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้ได้ 2. Young Smart Farmer ได้รับความรู้เรื่อง “การเพิ่มมูลค่า สินค้าเกษตรและการตลาดออนไลน์เบื้องต้น” “เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าเพื่อการขายออนไลน์” และ “สถานการณ์การขับเคลื่อนการปลูกกัญชาในเมืองไทย และการปลูกกัญชาทางการแพทย์” สามารถออกแบบหรือวางแผนการเพิ่มมูลค่าสินค้าและช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมกับสินค้า ของตนเองได้ 3. Young Smart Farmer ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต

93 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer ขั้นตอน/ 1. วางแผนและจัดทำแผนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 3. จังหวัดดำเนินการ / สสก.ให้คำแนะนำและติดตามผล 4. จังหวัดสรุปและนำเสนอข้อมูล 5. สสก. รวบรวม สรุปและรายงานผลกรมส่งเสริมการเกษตร ผลสำเร็จ เชิงปริมาณ ของงาน มีการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 118 ศูนย์ รายละเอียดดังนี้ 15 14 14 10 10 10 11 6 10 8 9 3 5 8 6 5 4 0 ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา นครสุศรรีาธษรรฎภร์ูมเธรก็าานชตี ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

94 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer เชิงคุณภาพ 1. Young Smart Farmer มีความพึงพอใจในการให้มีการจัดตั้ง ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) และให้ความร่วมมือในการร่วมกันพิจารณา คัดเลือกศูนย์เครือข่าย เกิดศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) ที่ตรงตาม คุณสมบัติและสามารถทำตามบทบาทหน้าที่ได้ 2. ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ระดับอำเภอ (ศูนย์เครือข่าย) ได้เริ่มมีการวางแผนการดำเนินงานศูนย์เพื่อพัฒนาศูนย์และขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่ายต่างๆ ในปี 2565

95

96 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer สรุปผลการจัดอบรมหลักสูตร Smart Farmer ผู้ประกอบการต้นแบบ หลักการและ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็น เหตุผล เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เป็น Young Smart Farmer เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ การสร้างเครือข่าย โดยพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการผลิต การบริหารจัดการและการตลาด สามารถปรับตัวรองรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ คือ มีความพร้อม มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ ด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่ คุณค่าการผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรดำเนินการ ให้ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้และ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิปัญญา และวิธีการปฏิบัติที่ดีมาใช้หรือ พัฒนา โดยตระหนักถึงคุณภาพมาตรฐานในการผลิต และปริมาณ ความต้องการของตลาดผลผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในทุกระดับ และพร้อมพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร ในการนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ Smart Farmer ต้นแบบ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีความพร้อมในการเริ่มต้นและต่อยอดธุรกิจสามารถพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรได้ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้กำหนดจัดอบรมหลักสูตร Smart Farmer ผู้ประกอบการต้นแบบ ระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมสงขลาพาเลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และทักษะให้กับ Smart Farmer ต้นแบบ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเริ่มต้นและต่อยอดธุรกิจพัฒนาสู่การเป็น ผู้ประกอบการด้านการเกษตรได้

97 ส่งเสริมและพัฒนา 17. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Young Smart Farmer และ (Smart Farmer) ปี 2564 Smart Farmer บุคคล Smart Farmer ต้นแบบ ที่เริ่มดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจเกษตร เป้าหมาย ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัด จำนวน 14 คน และผู้ดำเนินการจัดอบรมจำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 69 คน ขั้นตอน/ 1. ศึกษาโครงการและวางแผนการดำเนินงาน วิธีดำเนินการ 2. ขออนุมัติดำเนินการ และดำเนินการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดอบรม 4. ดำเนินการจัดอบรม 5. สรุปและรายงานผลการจัดอบรม ผลสำเร็จ เชิงปริมาณ ของงาน มี Smart Farmer ต้นแบบ จำนวน 55 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ระดับจังหวัด จำนวน 14 คน และผู้ดำเนินการจัดอบรม จำนวน 5 คน เข้าร่วมรวมทั้งสิ้นจำนวน 69 คน เชิงคุณภาพ Smart Farmer ต้นแบบ ได้รับความรู้และเกิดทักษะเรื่องการบริหาร จัดการกิจกรรมการเกษตร ในเชิงธุรกิจเกษตร โดยได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจในการเตรียม ความพร้อมการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางด้านการเกษตร และมีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ เรื่อง “Impact Business Model Canvas” (แบบจำลองธุรกิจและ ผลลัพธ์ทางสังคม) และ “Simple Financial Model” (การคำนวณโครงสร้างทางการเงินอย่างง่าย สำหรับผู้ประกอบการเกษตร) ทั้งในรูปแบบกลุ่ม และรายบุคคล ซึ่งทำให้Smart Farmer ต้นแบบ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมการเกษตรหรือธุรกิจเกษตรต่อไปได้

98

99

100 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ 18. การประชุมเชิงปฏิบัติการ องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน คณะกรรมการประสานงานวิสาหกิจชุมชน และความยั่งยืนของภาคเกษตร ระดับเขตประจำปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดประชุมคณะกรรมการ ประสานงานวิสาหกิจชุมชนระดับเขต ซึ่งเป็นกลไกคณะกรรมการประสานงานวิสาหกิจชุมชนระดับเขต ในการขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ผู้อำนวยการกลุ่ม ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ และหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัด โดยครั้งที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (zoom meeting) เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนา วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคใต้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook