Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การพูดเพื่อสัมฤทธิผล

การพูดเพื่อสัมฤทธิผล

Published by สวพร จันทรสกุล, 2021-11-16 02:34:29

Description: การพูดเพื่อสัมฤทธิผล จัดทำโดย ผศ.สวพร จันทรสกุล หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Search

Read the Text Version

การพูดเพื่อสัมฤทธผิ ล Speaking for Achievement สวพร จันทรสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั ยะลา 2562

คำนำ ตำรา การพูดเพื่อสัมฤทธิผล เล่มน้ีเรียบเรียงข้ึนเพ่ือให้ประกอบการเรียนการสอนวิชา 2107144 การพูดเพื่อสัมฤทธิผล จำนวนหน่วยกิต 3 (2-2-5) ระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จดั ทำข้ึน เพื่อเพิ่มทักษะการพูดในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมีสัมฤทธิผลตามจุดมุ่งหมายของการพูด แต่ละประเภท เน้ือหาในตำราเล่มนี้ แบ่งเน้ือหาออกเป็น 8 บท ประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ สื่อสาร ความรู้เบ้ืองต้นเกี่ยวกับการพูด กระบวนการและการเตรียมความพร้อมในการพูด การพูด อธิบาย การพูดอภปิ ราย การพูดโน้มน้าวใจ การพูดในประชุม และการพูดนำเสนอโดยใช้สื่อ มีคำถาม ท้ายบทในแต่ละบท เพ่ือให้ผู้เรียนวัดความรู้หลังจากเรียนรู้ได้ อีกท้ังมีแบบฝึกปฏิบัติท่ีสามารถนำ ทฤษฎีไปฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นทักษะการพูดแต่ละประเภท ทำใหก้ ารเรยี นการสอนมปี ระสทิ ธผิ ลย่งิ ขึน้ ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณ ศูนย์ส่งเสริมการทำผลงานทางวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทใ่ี หก้ ารสนบั สนุน ดูแล ใส่ใจ และให้คำปรึกษาในการจัดทำตำราเล่มน้ี ตลอดจนผู้ทรงคณุ วุฒิทุกท่าน ในการให้คำปรกึ ษาและวพิ ากษต์ ำราเพื่อให้มีคุณภาพย่ิงขึน้ ผู้เขียนมีความมุ่งหวังว่า เนื้อหาของตำราเล่มนี้จะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เรียน และผู้ท่ีสนใจ ศกึ ษาท่ัวไปได้รับความรคู้ วามเข้าใจในทักษะการพูด ตลอดจนสามารถนำไปฝกึ ปฏิบัติ สามารถพัฒนา ประสิทธิภาพทางการพูดและบุคลิกภาพให้ดีขึ้น รวมท้ังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชนต์ ่อตนเองและสังคมต่อไป สวพร จนั ทรสกุล 2562

สารบญั หนา้ เรอื่ ง ก ข คำนำ ช สารบัญ ซ สารบัญตาราง สารบญั ภาพ 1 1 บทที่ 1 ความรูเ้ บ้อื งต้นเก่ียวกับการสือ่ สาร 2 ความหมายของการสื่อสาร 7 จดุ มงุ่ หมายของการสื่อสาร 9 องคป์ ระกอบของการสอ่ื สาร 13 รปู แบบของการส่ือสาร 14 การส่ือสารในยุคสงั คมออนไลน์ 15 ความหมายสื่อสังคมออนไลน์ (social media online) 17 ประเภทของส่ือสงั คมออนไลน์ 19 ทศิ ทางของการส่ือสาร 21 พฤติกรรมการเปิดรับสือ่ 26 อุปสรรคของการส่ือสาร 28 บทสรปุ 29 คำถามท้ายบทที่ 1 บรรณานกุ รม 32 32 บทที่ 2 ความรู้เบ้ืองต้นเกี่ยวกับการพดู 34 ความหมายของการพูด 36 ความสำคญั ของการพูด 37 จดุ มุ่งหมายของการพูด 42 องคป์ ระกอบของการพูด 48 หลักและทฤษฎีการพูด 54 การแบง่ ประเภทของการพดู 56 บทสรปุ 57 คำถามทา้ ยบทท่ี 2 บรรณานุกรม ข

สารบัญ (ตอ่ ) หนา้ เรื่อง 59 59 บทท่ี 3 กระบวนการเตรียมความพร้อมในการพูด 59 เตรียมความพรอ้ มด้านบุคลิกภาพ 60 ความหมายของบุคลกิ ภาพ 62 ความสำคญั ของบุคลกิ ภาพ 65 องค์ประกอบของบุคลกิ ภาพ การพฒั นาเสริมสรา้ งบุคลกิ ภาพ 65 • การใชภ้ าษาและนำ้ เสยี ง 71 • การใชส้ ายตา 76 • อริ ยิ าบถ 78 • การเดนิ 79 • การน่ัง 81 • การใชม้ ือ 84 • การแสดงออกทางใบหน้า 87 • การแตง่ กาย 89 • การใชไ้ มโครโฟน 91 • การเชื่อมน่ั ในตนเอง 94 การวิเคราะห์ผู้ฟัง 94 • สภาวะทางสังคมของผูฟ้ ัง 98 • การยึดมน่ั และทศั นคตขิ องผู้ฟัง 98 • ทศั นคติทีผ่ ูฟ้ ังมีตอ่ ผู้พูด 99 • ทัศนคติที่ผู้ฟงั มีตอ่ เร่ืองที่พูด 101 • การวเิ คราะหส์ ถานการณ์ในการพูด 102 • ตวั อยา่ งโครงรา่ งการวิเคราะห์ผฟู้ ัง 103 บทสรุป 105 คำถามท้ายบทที่ 3 106 บรรณานกุ รม ค

สารบญั (ตอ่ ) เรื่อง หนา้ บทท่ี 4 การพูดอธิบาย 109 ความหมายของการพูดอธบิ าย 109 จดุ มงุ่ หมายของการพูดอธบิ าย 110 ประเภทของการพูดอธบิ าย 110 กลวิธีการพูดอธบิ าย 111 องคป์ ระกอบของการพูดอธิบาย 112 คณุ สมบัติของนักพูดอธิบาย 113 การแสดงเหตผุ ลในการพดู อธิบาย 113 หลักการพดู อธบิ าย 115 ตวั อยา่ งการพูดอธิบาย 117 บทสรุป 119 คำถามท้ายบทที่ 4 121 แบบฝกึ ปฏิบตั กิ ารพดู อธิบาย 121 บรรณานุกรม 122 บทที่ 5 การพดู อภิปราย 123 ความหมายของการอภปิ ราย 123 จดุ มุ่งหมายของการพูดอภปิ ราย 123 องค์ประกอบของการอภปิ ราย 124 ประเภทของการอภิปราย 128 การจัดเตรียมสถานทอ่ี ภิปราย 132 ประโยชนข์ องการอภิปราย 134 บทสรปุ 135 คำถามทา้ ยบทท่ี 5 137 แบบฝึกปฏบิ ัติการพูดอภปิ ราย 137 บรรณานกุ รม 138 บทท่ี 6 การพูดโน้มนา้ วใจ 139 ความหมายของการพูดโนม้ น้าวใจ 139 จดุ มุ่งหมายของการพูดโนม้ นา้ วใจ 140 ง

สารบัญ (ตอ่ ) หนา้ เรือ่ ง 141 143 องค์ประกอบขัน้ พนื้ ฐานของการพดู โนม้ นา้ วใจ 155 การสร้างสารเพื่อการโนม้ นา้ วใจ 161 ลกั ษณะของการพดู โน้มนา้ วใจ 164 เทคนิคการโน้มนา้ วใจ 166 บทสรปุ 166 คำถามทา้ ยบทท่ี 6 167 แบบฝกึ ปฏบิ ตั ิการพดู โนม้ นา้ วใจ บรรณานุกรม 169 169 บทท่ี 7 การประชุม 170 ความหมายและความสำคัญของการประชมุ 171 จุดม่งุ หมายของการประชมุ 172 ประโยชนข์ องการประชุม 177 รูปแบบของการประชมุ 179 การประชุมอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ 187 องค์ประกอบของการประชมุ 190 การดำเนินการประชมุ 192 การใชถ้ ้อยคำในการประชมุ 196 การจัดสถานทีป่ ระชมุ 197 บทสรปุ 197 คำถามทา้ ยบทท่ี 7 198 แบบฝึกปฏิบตั กิ ารประชุม บรรณานกุ รม 199 200 บทที่ 8 การพูดนำเสนอโดยใช้สอื่ 200 ความหมายของการพูดนำเสนอ 202 จดุ มุง่ หมายของการนำเสนอ 204 องคป์ ระกอบของการนำเสนอ 205 คุณสมบัติของผู้นำเสนอท่ดี ี การเตรียมความพร้อมกอ่ นนำเสนอ จ

สารบญั (ตอ่ ) หนา้ เรอื่ ง 217 220 การนำเสนอแบบออนไลน์ 229 การทำส่ือเพ่ือการนำเสนอ 231 บทสรุป 231 คำถามทา้ ยบทที่ 8 232 แบบฝกึ ปฏบิ ัติการพดู นำเสนอโดยใช้สือ่ 233 บรรณานกุ รม บรรณานกุ รม ฉ

สารบญั ตาราง หนา้ เร่ือง 22 51 ตารางท่ี 1.1 อุปสรรคของการสอื่ สาร 100 ตารางที่ 2.1 แสดงข้อดีและข้อเสียของการพูดแบบท่องจำ 102 ตารางท่ี 3.1 ศิลปะของการฟังดว้ ยความรูส้ กึ ตัว ตารางท่ี 3.2 โครงรา่ งการวิเคราะห์ผ้ฟู งั ช

สารบญั ภาพ เรือ่ ง หนา้ ภาพท่ี 1.1 จำแนกการพจิ ารณาตามจดุ มุ่งหมายของผูร้ บั สารและผ้สู ง่ สาร 4 ภาพท่ี 1.2 แสดงกระบวนการของการสือ่ สาร 7 ภาพที่ 1.3 องค์ประกอบสำคัญของสาร 8 ภาพที่ 1.4 แบบจำลองกระบวนการสอื่ สารระหว่างบุคคล 11 ภาพท่ี 1.5 การสอื่ สารในยคุ สังคมออนไลน์ 13 ภาพที่ 1.6 แผนผงั ภาพประเภทสอ่ื สังคมออนไลน์ 17 ภาพท่ี 1.7 การสอื่ สารทางเดียว - แบนเนอรก์ ารประชาสัมพันธ์การรบั นักศึกษา 18 ภาพที่ 1.8 การสื่อสารสองทาง - การสือ่ สารในสอื่ อนไลน์เฟซบุ๊ก (facebook) 19 ภาพท่ี 2.1 การแยกทักษะทางภาษา 32 ภาพที่ 2.2 ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งผู้พดู และผู้ฟงั 42 ภาพที่ 2.3 ปัจจยั แห่งความสนใจในการพดู 43 ภาพที่ 2.4 แผนผงั ทฤษฎี 3 สบาย (The theory of three pleasant speech) 44 ภาพท่ี 2.5 องคป์ ระกอบของการส่ือสารดว้ ยการพูดของอริสโตเติล 45 ภาพที่ 3.1 แสดงการสนทนาระหว่างบุคคล 59 ภาพท่ี 3.2 แสดงลักษณะบคุ ลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน 64 ภาพท่ี 3.3 แสดงความแตกต่างระหวา่ งภาษาพูดและภาษาเขยี น 66 ภาพท่ี 3.4 การใชส้ ายตา 71 ภาพท่ี 3.5 การใช้สายตามองไปที่ด้ังจมกู 74 ภาพที่ 3.6 การฝึกสบตาตวั เองในกระจก 75 ภาพท่ี 3.7 การเรยี นรทู้ ่ีจะแสรง้ ทำเป็นจ้องตาหากผู้พดู มีปัญหาด้านรา่ งกาย 75 ภาพท่ี 3.8 ปัญหาของการวางท่าทางไม่ถูกต้อง 77 ภาพท่ี 3.9 ลักษณะการวางท่าในการเดินโดยให้กระดูกสนั หลังตั้งตรง 78 ภาพที่ 3.10 ลกั ษณะการนั่งของผู้หญงิ และผชู้ ายในกรณนี ่ังตอ่ หน้าผูใ้ หญ่ 80 ภาพท่ี 3.11 ลกั ษณะการนง่ั ไขวห่ า้ งของผู้หญิงและผ้ชู าย 80 ภาพท่ี 3.12 แสดงการใชม้ ือเพอ่ื ให้ความหมายความกวา้ ง ความยาว แคบ หรอื สั้น 81 ภาพที่ 3.13 แสดงการใช้มือเพือ่ ให้ความหมายการนับจำนวนตัวเลข 82 ภาพท่ี 3.14 แสดงการใช้มือเพื่อให้ความหมายบอกขนาดใหญ่หรอื เลก็ 82 ภาพที่ 3.15 แสดงการใชม้ ือเพ่อื ให้ความหมายบอกระยะทางทใี่ กล้หรือไกล 82 ซ

สารบญั ภาพ (ต่อ) เร่ือง หนา้ ภาพท่ี 3.16 แสดงการใช้มือเพื่อให้ความหมายบอกน้ำหนกั หรอื เบา 83 ภาพที่ 3.17 แสดงการใช้มือเพ่ือให้ความหมายหนักแนน่ หรือนมุ่ นวล 83 ภาพที่ 3.18 แสดงการใช้มือเพอ่ื ให้ความหมายบอกอาการกวกั มือหรือโบกมือลา 83 ภาพท่ี 3.19 แสดงการใชม้ ือเพือ่ ให้ความหมายบอกทศิ ทางตา่ ง ๆ 84 ภาพท่ี 3.20 แสดงการใช้มือเพอ่ื ให้ความหมายแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ 84 ภาพท่ี 3.21 ลกั ษณะการแสดงออกทางใบหน้า 85 ภาพท่ี 3.22 ลกั ษณะการยิม้ ท่ีจริงใจ 86 ภาพท่ี 3.23 ลกั ษณะการยมิ้ เสแสรง้ 86 ภาพท่ี 3.24 แสดงตำแหน่งไมโครโฟน 89 ภาพท่ี 3.25 แสดงวิธกี ารจบั ไมโครโฟน 90 ภาพที่ 3.26 สเกลทัศนคติของผู้ฟงั 99 ภาพที่ 4.1 การพูดอธิบาย 109 ภาพท่ี 4.2 แผนผังการพูดอธิบาย 115 ภาพท่ี 4.3 สัดสว่ นการเตรยี มเคา้ โครงการพดู อธบิ าย 116 ภาพที่ 5.1 แผนผังการจดั สถานทก่ี ารอภิปรายเปน็ คณะ 132 ภาพที่ 5.2 แผนผังการจัดสถานทีก่ ารอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ 133 ภาพท่ี 5.3 แผนผงั การจัดสถานที่การอภปิ รายซกั ถาม 133 ภาพท่ี 6.1 แบบจำลองกระบวนการสอ่ื สารเพ่ือการโนม้ น้าวใจ 142 ภาพที่ 6.2 บนั ได 5 ขนั้ ในการพูดโน้มน้าวใจของ อลัน มอนโร (Alan Monroe) 146 ภาพที่ 6.3 สถานการณ์ท่ีใช้ได้ผลกับเทคนิคการก้าวเทา้ เข้าประตแู ละปดิ ประตูใสห่ น้า 149 ภาพที่ 7.1 ตัวอย่างหนงั สือเชิญประชุม 183 ภาพที่ 7.2 ตวั อย่างระเบยี บวาระการประชมุ 184 ภาพท่ี 7.3 ตวั อย่างรายงานการประชุม 186 ภาพที่ 7.4 ข้นั ตอนหลกั ของการดำเนนิ การประชมุ 187 ภาพที่ 7.5 การจดั รูปแบบการประชมุ กรณีทผี่ เู้ ข้าร่วมประชุมกลุม่ เลก็ 193 ภาพที่ 7.6 การจดั รูปแบบการประชุมกรณีทผ่ี เู้ ข้ารว่ มประชมุ กล่มุ ใหญ่ 194 ภาพท่ี 7.7 การจดั รปู แบบการประชมุ สาธารณะ 195 ภาพท่ี 8.1 การพูดนำเสนอโดยใช้ส่อื 200 ภาพท่ี 8.2 องคป์ ระกอบหลักของการนำเสนอ 204 ฌ

สารบัญภาพ (ต่อ) หน้า เรอื่ ง 205 207 ภาพที่ 8.3 แสดงคุณสมบตั ิของผ้นู ำเสนอทด่ี ี 208 ภาพที่ 8.4 เกณฑก์ ารกำหนดจุดมงุ่ หมายของการนำเสนอ 209 ภาพที่ 8.5 องคป์ ระกอบ 3 สว่ นของการเขียนจุดมุ่งหมายในการนำเสนอ 214 ภาพท่ี 8.6 การร่างบทพูด 218 ภาพท่ี 8.7 กราฟแสดงระดับความสนใจในการฟัง 221 ภาพท่ี 8.8 การนำเสนอในรปู แบบออนไลน์ 222 ภาพท่ี 8.9 การทำส่ือเพื่อการนำเสนอ 222 ภาพที่ 8.10 สไลดแ์ นว Flat design 223 ภาพที่ 8.11 สไลด์แนวภาพใหญ่เต็มสไลด์ 223 ภาพท่ี 8.12 สไลดแ์ นวมีรปู ทรงและไอคอนประกอบ 224 ภาพท่ี 8.13 สไลด์ท่ีมีรปู ภาพเป็นพื้นหลังแต่มีสี 224 ภาพที่ 8.14 สไลด์มีตัวหนังสือเปน็ ลูกเลน่ 225 ภาพที่ 8.15 การแสดงข้อมลู ด้วยอินโฟกราฟิกส์ 225 ภาพที่ 8.16 ลกั ษณะของตวั อักษรที่อ่านงา่ ยและยาก 226 ภาพที่ 8.17 ตัวอยา่ งการใช้ตัวอกั ษรประกอบเนื้อหา 226 ภาพท่ี 8.18 การเลือกใช้สีตามทฤษฎีสี 227 ภาพท่ี 8.19 ตวั อย่างความแตกตา่ งของสีตวั อักษรและสพี นื้ หลงั 227 ภาพที่ 8.20 การเลือกใชส้ ตี ามทฤษฎี 60-30-10 228 ภาพที่ 8.21 ตัวอย่างภาพประกอบทมี่ ีความละเอียดสูงและต่ำ 228 ภาพที่ 8.22 ตัวอย่างภาพท่ีมีพน้ื ทว่ี า่ ง 229 ภาพท่ี 8.23 ตวั อยา่ งภาพท่ีมีลายนำ้ 229 ภาพที่ 8.24 ตัวอย่างการขยายหรอื ย่อภาพใหถ้ ูกและไม่ถูกสดั สว่ น ภาพที่ 8.25 ตัวอย่างกราฟแท่งและกราฟวงกลม ญ

การพดู เพื่อสัมฤทธผิ ล

บทที่ 1 ความรู้เบอ้ื งต้นเกีย่ วกบั การสือ่ สาร การสื่อสาร เป็นปัจจัยหน่ึงทม่ี ีความสำคัญในการดำรงชีวติ ของมนุษย์ในสังคม เพราะมนุษย์ ตอ้ งการอยูร่ ่วมกนั เป็นสังคมเพือ่ สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความเกย่ี วขอ้ งและต้องพึง่ พาอาศัยซึ่ง กันและกันอยู่ตลอดเวลา จากความสำคัญดังกล่าวจึงก่อให้เกิดระบบของการส่ือสารมากมาย เพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งนี้เพ่ือให้เกิดความเข้าใจท่ีดี ต่อกันและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่ผลการตอบสนองของการส่ือสารจะบรรลุวัตถุประสงค์ ตามเป้าหมายได้หรือไม่น้ัน ย่อมขึ้นอยู่กับผู้สื่อสารเองว่ามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสื่อสาร มากน้อยเพียงใด และมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถส่ือสารข้อมูลดังกล่าวให้เกิดความเข้าใจสามารถ บรรลุตามเป้าหมายเกิดขอ้ ผดิ พลาดในการส่ือสารน้อยทสี่ ุด ในบทน้ีได้นำเสนอความรเู้ บ้ืองต้นเก่ียวกับ ส่ือสาร โดยมีเน้ือหาประกอบด้วย ความหมายของการส่ือสาร จุดมุ่งหมายของการสื่อสาร องค์ประกอบของการส่อื สาร รูปแบบของการสื่อสาร การส่ือสารในยุคสังคมออนไลน์ (social media online) ประเภทของส่ือสงั คมออนไลน์ ทิศทางของการสอ่ื สาร พฤติกรรมการเปดิ รับสอ่ื และอุปสรรค ของการสื่อสาร ท้ังน้ีผู้สื่อสารจะต้องมีความรู้พ้ืนฐานเก่ียวกับการส่ือสารที่ดีพอ จึงจะสามารถส่ือสาร ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพและเกดิ ประสทิ ธิผลท่ีสดุ ความหมายของการสือ่ สาร การให้ความหมายของการสื่อสารเป็นเร่ืองที่ซับซ้อน เน่ืองจากการสื่อสารสามารถให้ ความหมายได้อยา่ งกวา้ งขวาง เพราะรวมถงึ กระบวนการสอ่ื สารในทกั ษะตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ดังนั้นการให้ความหมายของการส่ือสารจึงมีความหลากหลายตามกิจกรรมที่ แตกต่างกนั ออกไป คำว่า การสื่อสาร มาจากคำว่าภาษาอังกฤษว่า Communication หรือ Communication Arts เป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการตดิ ตอ่ ส่อื สารของมนุษย์ เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยมวี ัตถปุ ระสงค์เพ่อื ชกั จงู ให้ผู้รบั ข้อมลู มีปฏกิ ริ ิยาตอบสนองกลบั มา คาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการหรือตามเป้าหมายท่ีคาดหวังไว้ ในการใช้ความหมายการสื่อสาร นนั้ ได้มกี ารใหค้ วามหมายของการสอื่ สารสามารถสรุปได้ ดงั น้ี ราชบัณฑิตยสถาน (2556:118) กล่าวว่าการสื่อสาร คือ วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความหรือ หนงั สอื จากบคุ คลหนง่ึ หรือสถานทหี่ นึ่งไปยงั อกี บคุ คลหนง่ึ หรอื อีกสถานที่หนึง่ ปรมะ สตะเวทนิ (2546:30) กล่าวว่าการสอ่ื สาร คือ กระบวนการของการถา่ ยทอดสารจาก บุคคลหน่ึงซึ่งเรียกว่า ผูส้ ่งสาร (Source) ไปยงั บคุ คลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (Receiver) โดย ผา่ นสื่อ (Channel)

กิติมา สุรสนธิ (2557:4) กล่าวว่าการส่ือสาร เป็นสิ่งที่สอดแทรกทุกกิจกรรมทุกระดับทุก ประเภท และมีผลอย่างกว้างขวางในวิชาชีพทางการสื่อสาร นอกจากนี้ได้รวบรวมความหมายของ นักวชิ าการต่าง ๆ ดงั นี้ เจอร์เกน รอยซ์ และเกรกอรี เบทีสัน (Jurgen Ruesch and Gregory Batyeson) ให้ความเห็นเกีย่ วกบั สื่อสารวา่ การสือ่ สารไม่ได้หมายถงึ การถ่ายทอดสารด้วยภาษาพดู และภาษาเขียน ที่ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่าน้ัน แต่หมายรวมถึงกระบวนการท้ังหลายท่ีคนมอี ิทธิพลต่อกันด้วย คำนิยามนย้ี ึดหลักที่วา่ การกระทำและเหตุการณ์ทงั้ หลายมลี ักษณะของการสื่อสาร หากมีผูเ้ ข้าใจการ กระทำและเหตุการณ์เหล่าน้ัน หมายความว่า ความเข้าใจท่ีเกิดแก่คน ๆ หน่ึงนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ข่าวสารทค่ี น ๆ น้ันมีอยแู่ ละมีอิทธพิ ลตอ่ บคุ คลนนั้ คาร์ล ไอ ฮอฟแลนด์ (Carl l’ Hovland) กลา่ ววา่ การส่ือสาร คือ กระบวนการทีบ่ ุคคลหน่ึง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนพฤตกิ รรมของบุคคลอ่ืน (ผ้รู ับ สาร) ในด้านใดด้านหน่ึง เช่น การเปล่ียนแปลงด้านความรู้ (Knowledge Change) การเปล่ียนแปลง ทศั นคติ (Attitude Chang) และการเปลยี่ นแปลงพฤติกรรม (Performance Chang) จอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) กล่าวว่าการสื่อสาร คือ การแสดงปฏิสัมพันธ์ทาง สังคม (Social Interaction) โดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร (Message System) ซึ่งประกอบด้วย รหัสสาร (Message Code) เนื้อหาสาร (Message Content) และวิธีการจัดเรียบเรียงสาร (Message Treatment) ชาร์ลล์ อี ออสกูด (Charies E. Osgood) กล่าวถึงการส่ือสารว่า ความหมายโดยทั่วไปแล้ว การส่ือสารเกิดข้ึนเม่ือฝ่ายหน่ึงคือผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหน่ึง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ ตา่ ง ๆ ซงึ่ ถูกส่งผ่านส่ือทเ่ี ชอ่ื มระหว่างท้งั สองฝา่ ย การส่ือสารมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ อย่างในหลายมิติทุกคำนิยามล้วนกล่าวถึง กระบวนการของการสื่อสารท่ีเกิดขึ้นในลักษณะตามสถานการณ์ต่าง ๆ ท้ังสิ้น การท่ีจะอยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุขน้ันการสื่อสารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่ือสารทำความเข้าใจในกฎกติกาต่าง ๆ นอกจากนี้ คือ พ้ืนฐานความต้องการที่สำคญั นอกเหนือจากพ้ืนฐานปัจจยั สี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนงุ่ ห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย การส่ือสารจึงเป็นสะพานที่เชื่อมโยงสู่ทุกส่ิงท่ีมนุษย์ปรารถนาต้องการ ทำให้เกิดการสืบทอดพัฒนาความรู้ ประสบการณ์ เพ่ือความเจริญก้าวหน้าของสังคม จนกลายเป็น วัฒนธรรมท่ีงอกงามเด่นชัดของสังคมมนุษย์ กระบวนการส่ือสารจึงเป็นสิ่งสำคัญท่ีจะสามารถสร้าง ความสัมพนั ธ์ในลกั ษณะใดลักษณะหน่งึ ของระหว่างบุคคลหรือสังคม จดุ ม่งุ หมายของการสื่อสาร การส่ือสารของมนุษย์ในแต่ละคร้ังล้วนมีจุดมุ่งหมายท้ังส้ิน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของผู้ส่ง สารหรือผู้รับสาร ทั้งนี้ผู้รับสารอาจรับสารไม่ตรงตามความมุ่งหวังของผู้ส่งสารก็ได้ แต่ถ้าจุดมุ่งหมาย ของท้ังสองฝ่ายเข้าใจหรือสอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกัน โอกาสที่จะเกิดความเข้าใจและประสบ ผลสำเร็จในการส่ือสารก็มีมากขึ้น และในการส่ือสารแต่ละคร้ังอาจมีมากกว่าหน่ึงจุดมุ่งหมายท่ี ผูส้ ่งสารต้องการใหผ้ ู้รบั สารรบั ทราบ อยา่ งไรกต็ ามโดยสว่ นใหญ่นิยมจำแนกคลา้ ยคลงึ กัน 2

คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551:17) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการ สอื่ สารไว้ดังนี้ 1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการส่ือสารผู้ทำการส่ือสารควรมีความต้องการที่จะบอก กล่าวหรือชแ้ี จงขา่ วสาร เรอื่ งราว เหตกุ ารณ์ หรอื สิ่งอื่นใดใหผ้ รู้ ับสารได้รับทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการส่ือสารอาจมีวัตถุประสงค์ เพอ่ื ถ่ายทอดวิชาความรหู้ รือเร่ืองราวเชงิ วชิ าการ ใหผ้ รู้ ับสารไดม้ ีโอกาสพัฒนาความรู้ใหเ้ พม่ิ พูนยง่ิ ขึ้น 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการส่ือสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการส่ือสารเพ่ือสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารท่ี ตนเองสง่ ออกไป ไม่วา่ จะอยใู่ นรปู ของการพูด การเขียน หรอื การแสดงกริ ยิ าตา่ ง ๆ 4. เพื่อเสนอหรอื ชักจูงใจ (propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การส่ือสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในส่ิงใดส่ิงหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชกั จูงใจให้ผู้รับสารมี ความคิดคล้อยตามหรอื ยอมปฏบิ ัติตามการเสนอแนะของตน 5. เพื่อเรียนรู้ (learn) จุดมุ่งหมายนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหา ความรู้ของผู้รับสารโดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีน้ีมักจะเป็นสารท่ีมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชา ความรู้เป็นการหาความรู้เพ่ิมเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารท่ีผู้ทำการส่ือสาร ถ่ายทอดมาถงึ ตน นอกจากนี้ การจำแนกวัตถุประสงค์ของการส่ือสาร สามารถพิจารณาจากประเด็นของ จดุ มงุ่ หมายในการสื่อสารระหว่างผสู้ ่งสารและผู้รับสารได้ดังนี้ (กิตมิ า สรุ สนธิ, 2557: 7) 1. พิจารณาจุดมุ่งหมายโดยทั่วไปของการสื่อสาร ซึ่งอาจพิจารณาจากความตั้งใจของผู้ส่ง สารและผู้รบั สารในแต่ละครงั้ สามารถแบ่งประเภทจุดมุ่งหมายของการสื่อสารโดยทั่วไปได้ ดังภาพท่ี 1.1 3

1.1 1.1.1 เพ่อื แจ้งให้ทราบ 1.2 1.2.1 เพ่อื ทราบ (To Know or วตั ถปุ ระสงค์ (To Inform or to tell) วตั ถปุ ระสงค์ to Understand) ของผู้ส่งสาร ของผู้รบั สาร 1.1.2 เพอื่ ให้การศึกษา (To Teach or To Educate) 1.2.2 เพอ่ื เรยี นรู้ (To Learn) 1.1.3 เพอ่ื ชกั จงู 1.2.3 เพือ่ ตัดสนิ ใจ (To (To Propose or to Decide) Persuade) 1.2.4 เพื่อหาความพอใจ(To 1.1.4 เพ่อื สร้างความพอใจ Please) หรือความบันเทงิ (To Please or to Entertain) ภาพที่ 1.1 จำแนกการพจิ ารณาตามจุดมุง่ หมายของผรู้ บั สารและผสู้ ่งสาร การจำแนกพจิ ารณาตามจุดมุ่งหมายของผู้รบั สารและผูส้ ่งสารดังกล่าว จากแนวคิดวลิ เบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) และชูมัคคเกอร์ (Schumaker) (อ้างถึงในกาญจนา แก้วเทพ, 2554: 23) สามารถอธิบายได้ ดังนี้ 1. จดุ มุง่ หมายของผสู้ ง่ สาร 1.1 เพื่อแจง้ ใหท้ ราบ (To Inform or to tell) หรือการบอกให้รู้ เป็นจดุ มงุ่ หมายที่ ผู้ส่งสารต้องบอกเล่าหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนหรือข้อมูลข่าวสารท่ีได้รับรู้แล้วนำมาถ่ายทอด ให้แก่ผู้รับสารได้ทราบ เช่น การสื่อสารระหวา่ งบุคคลหรือการสื่อสารมวลชน ข่าวสารในรายการวิทยุ กระจายสยี งหรอื วทิ ยโุ ทรทศั น์ เปน็ ต้น 1.2 เพอ่ื ให้การศึกษา (To Teach or To Educate) เป็นจุดมงุ่ หมายท่ผี ู้สง่ สาร ต้องการจะช่วยให้ผู้รับสารได้มีความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองบางเรื่องหรอื บางสิ่งบางอยา่ งตามท่ีผู้ส่งสาร ต้องการ โดยทั่วไปเป็นจุดมุ่งหมายท่ีผู้ส่งสารใช้ความพยายามในแง่ของการส่ือสารมากกว่าประเภท แรก เช่น ครูติวเข้มวิชาภาษาไทยให้กับนักเรียนเพ่ือให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือรายการโทรทัศน์ บางรายการทมี่ งุ่ เน้นในการใหค้ วามรู้ สารคดตี า่ ง ๆ หรอื การสาธติ การสอน เป็นตน้ 1.3 เพอ่ื ชักจงู หรอื การโน้มนา้ ว (To Propose or to Persuade) เป็นจุดม่งุ หมายท่ี เน้นให้เกิดการเปล่ียนแปลงในเร่ืองความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ทัศนคติ โดยท่ัวไปบุคคลท่ีมี วตั ถปุ ระสงค์ในการสอ่ื สารในลกั ษณะน้ีจำเป็นต้องใช้ความพยายามในการสอื่ สารค่อนข้างสงู และความ ต้ังใจอย่างมาก ทั้งนี้การสื่อสารในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องใช้หลักจิตวิทยาการโน้มน้าวเข้ามา เกี่ยวข้องเพอ่ื ให้การสือ่ สารบรรลวุ ัตถปุ ระสงค์ 4

1.4 เพื่อสรา้ งความพอใจหรือความบนั เทงิ (To Please or to Entertain) ผสู้ ง่ สาร ต้องการให้ผู้รับสารเกิดความสนุกสนานร่ืนเริงบันเทิงใจ มีอารมณ์ท่ีดี เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ภายหลังจากการเคร่งเครียดกิจกรรมบางอย่างหรือกำลังครุ่นคิดเร่ืองในเร่ืองหน่ึงจนเกิดความหดหู่ใจ ทอ้ แทใ้ จ ซึง่ การสื่อสารในลักษณะนี้ช่วยใหเ้ กิดความสนุกสนานหรอื ผ่อนคลายได้ 2. จุดมงุ่ หมายของผรู้ บั สาร 2.1 เพ่อื ทราบ (To Knower to Understand)เป็นวตั ถปุ ระสงคข์ องผรู้ ับสารท่ี ตอ้ งการทราบเร่อื งราวหรือติดตามข้อมลู เหตุการณ์ ข่าวสารตา่ ง ๆ ที่เกิดขึน้ ในสังคมที่มผี ลกระทบต่อ ตนเองและสังคม เป็นการตอบสนองต่อความอยากรอู้ ยากเหน็ ซึ่งเป็นความต้องการทางจิตวิทยาทัว่ ไป 2.2 เพอ่ื เรียนรู้ (To Learn) เปน็ วัตถปุ ระสงคข์ องผู้รบั สารทต่ี อ้ งการรแู้ ละทำความ เข้าใจในเน้ือหาความรู้วิชาการต่าง ๆ เพ่ือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตนให้สูงมากข้ึน ซึ่งจะสง่ ผลต่อการดำรงชีวติ ในอนาคต 3) เพ่ือตัดสนิ ใจ (To Decide) การตดั สินใจของมนษุ ยจ์ ำเป็นต้องมีข้อมลู ท่ีเกย่ี วขอ้ ง ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีความละเอียด ลึกซึ้ง และมีอิทธิพลมาก พอที่จะชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีผลต่อการตัดสินใจ ดังนั้น มนุษย์จึงมีความจำเป็นต้อง แสวงหาขอ้ มูลเพอื่ ประกอบการตดั สินใจที่ถูกต้อง 4) เพอื่ หาความพอใจ (To Please) ส่ิงหนึ่งทม่ี นุษยม์ ีความตอ้ งการ คอื ความพอใจ ความสบายใจ ความสุขในชีวิต จึงมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสภาพชีวิตที่ยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีก่อให้เกิดความเครียด ดังน้ัน มนุษย์จึงหาบุคคลท่ีมีความคิดเชิงบวกหรือ เขา้ หาสง่ิ ที่ทำให้อารมณ์ไม่ขุ่นมัว เพื่อให้เกิดความสบายใจหรือสนกุ สนาน เช่น การดรู ายการโทรทศั น์ รายการบันเทิง รายการสร้างเสียงหัวเราะ หรือพูดคุยกับบุคลที่ทำให้เกิดความพึงพอใจทางอารมณ์ เป็นต้น 2. พิจารณ าถึงลักษณ ะการนำการสื่อสารไปใช้เพ่ือให้เกิดผลทันทีในขณ ะน้ัน การพิจารณาถึงลักษณะการนำการส่ือสารไปใช้ โดยพิจารณาความตอ้ งการหรือผลตอบแทนที่จะไดร้ ับ ระว่างผู้รับสารและผู้ส่งสารในสถานการณ์น้ันว่าต้องการให้เกิดผลในลักษณะใด ซ่ึงเดวิด เบอร์โล (Berio David K, 1960 : 30) ได้แบง่ วัตถปุ ระสงค์ลกั ษณะการนำการส่ือสารไปใช้ไว้ 2 ลกั ษณะ คือ 2.1 การสอื่ สารแบบต้องการใหเ้ ห็นผลทนั ทีทันใด (Consummator Purpose) คอื การสนองตอบความต้องการระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสารรวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ในขณะนั้น และส่งผลทันทีทันใด (Immediate Reward) หลังจากเสร็จสิ้นการสื่อสารซึ่งการส่ือสารในลักษณะน้ี เป็นการส่ือสารท่ีง่ายต่อการตีความและการทำความเข้าใจที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมักเป็นสารที่ กระทบความรู้สึกของผู้รับสารโดยตรง เช่น การรับรู้ข่าวอาชญากรรม ข่าวกีฬา หรือส่ิงบันเทิงเริงใจ เป็นต้น 5

2.2 การส่ือสารแบบท่นี ำไปใช้เปน็ เครื่องมือ (Instrumental Purpose) คอื การ ส่ือสารที่ผู้รับสารหรือผู้ส่งสารไม่ได้มุ่งหวังผลของการสื่อสารขณะนั้นโดยทันที แต่เป็นวัตถุประสงค์ที่ ตอ้ งการให้ผู้รับสารหรือผสู้ ่งสารนำผลการสื่อสารท่ีเกิดข้ึนไปใชใ้ นอนาคต เป็นการสร้างความพอใจแก่ ผู้ส่งสารและผู้รับสารอย่างช้า (Delayed Reward) ดงั น้ัน สารท่ีใชม้ ักเป็นข้อมูลเชิงลึกหรือเป็นข้อมูล เพื่อถกู นำมาใช้วิเคราะห์ 3. พิจารณาถึงความต้องการท่ีจะก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงหรือก่อให้เกิดการพัฒนา การเปล่ียนแปลงเพ่ือการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ดีต่อการพัฒนา เช่น การพัฒนาองค์กร หน่วยงาน สังคม การพัฒนาประเทศ เครื่องมือท่ีสำคัญคือการสื่อสาร จึงเป็น พ้ืนฐานที่สำคัญต่อการพัฒนา รวมท้ังทัศนคติทางความคิด ตลอดจนพฤติกรรมที่เอ้ืออำนวยต่อการ พัฒนา ดังน้ันเป้าหมายของการพัฒนามีจุดมุ่งหมายในการสื่อสารเพ่ือการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเด็น คอื (Rogers.1976:99 อ้างถงึ ใน กติ มิ า สรุ สนธิ, 2557: 11) 3.1 จดุ มุง่ หมายทต่ี ้องการเปลีย่ นแปลงในเรอ่ื งความรู้ (Knoeledge Change) เพื่อต้องการเปล่ียนแปลงผู้รับสารในการให้ความรู้ ความเข้าใจ และความจำ (Cognitive Domain) ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับบุคคลเพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความจำ (Knowledge or Recall) เกิดความเข้าใจ (Understanding) สามารถนำไปใช้และวิเคราะห์ (Application and Analysis) รวมทั้งสามารถประเมินค่า (Evaluation) เร่อื งราวเหตุการณต์ ่าง ๆ ได้ เชน่ การใหค้ วามร้เู กยี่ วกับการตรวจสอบคณุ ภาพระบบสัตว์เลีย้ งใหเ้ กษตรกร เปน็ ตน้ 3.2 จดุ มงุ่ หมายทต่ี ้องการใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลงในเรือ่ งทศั นคติ (Attitude Change) เป็นความพยายามหรือความต้องการเพื่อก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางด้านความคิด ความรู้สึก หรือการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพภายใน (Internal Personalities) ของบุคคล ได้แก่ ลักษณะนสิ ัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม รวมกนั เรยี กวา่ ทัศนคติ (Attitude) การเปลี่ยนแปลงในเจต พิสัยน้ีแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ความพยายามที่จะให้ผู้รับสารเกิดการยอมรับ (Receiving or Attending) เกิดการตอบสนอง (Responding) เกิดค่านิยม (Valuation) การเข้าถึงแนวคิดหรือ มโนคติ (Organization) และการนำไปปฏิบัตจิ นเป็นนิสยั (Characteristics) ในเร่อื งใดเร่ืองหน่ึง เช่น การเปล่ียนแปลงทัศนคติจากการเป็นคนเช่ือเร่ืองภูตผีปีศาจ มาเป็นความเชื่อของกฎแห่งกรรม เป็นตน้ 3.3 จุดมงุ่ หมายทต่ี อ้ งการเปลย่ี นแปลงในเรือ่ งพฤติกรรม (Performance Change) เป็นความต้องการท่ีจะเปลี่ยนแปลงด้านการกระทำ (Action) ของบุคคลท่ีผู้อ่ืนสามารถสังเกตได้ การเปล่ียนแปลงดังกล่าวอาจมีหลายขั้นตอน นับต้ังแต่การลอกเลียนแบบ (Imitation) การลงมือทำ ตามแบบ (Manipulation) การกระทำได้อย่างถูกต้อง (Precision) การกระทำอย่างต่อเน่ือง (Articulation) รวมท้ังการกระทำที่ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ (Naturalization) เช่น การชื่นชมบุคคล ตัวอย่าง การรณรงค์การใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่า จนเกิดการปฏิบัติตามกันอย่างต่อเน่ือง เปน็ ต้น 6

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการส่ือสารสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ จุดมุ่งหมายของ ผู้ส่งสารท่ีมีจุดมุ่งหมายเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งที่ต้องการให้ผู้รับสารได้ทราบตามวัตถุประสงค์ของเรื่องราว หรือเหตุการณ์ท่ีต้องการสื่อสารออกไป และจุดมุ่งหมายของผู้รับสาร โดยเกิดจากความคาดหวังหรือ ความต้องการของผู้รับสารท่ีต้องการฟังเรื่องราวในประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้ส่งสารได้ส่ือสารออกมา ฉะน้ัน จุดมุ่งหมายของการส่ือสารจะบรรลุได้หรือไม่น้ันต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ รอบด้าน เช่น สภาพแวดล้อมขณะที่สอื่ สาร ความเข้าใจของเรื่องราว ข้อมูลที่ได้รบั ของผู้รบั สาร ทัศนคติ หรือทักษะ การสอื่ สารของผ้สู ง่ สารสามารถทำให้ผรู้ บั สารเข้าใจขอ้ มูลได้ องค์ประกอบของการสือ่ สาร ผ้สู ่งสาร สาร ชอ่ งทางการสอื่ สารหรอื สือ่ ผู้รับสาร (Sender) (Message) (Channel) (Receiver) ปฏิกิริยาตอบกลบั (Feedback) ภาพที่ 1.2 แสดงกระบวนการของการสื่อสาร ทม่ี า : ชิตาภา สขุ พลำ, 2557: 5 กระบวนการส่ือสารประกอบไปด้วย 4 ส่วนสำคัญหลัก ๆ ได้แก่ ผู้สง่ สาร สาร ช่องทางการ ส่อื สาร และผู้รับสาร ซง่ึ นกั วิชาการหลายทา่ นได้อ้างอิงถงึ องค์ประกอบปลกี ย่อยมากมาย เพ่ือแสดงให้ เหน็ ภาพของกระบวนการสื่อสารอย่างชดั เจน องคป์ ระกอบของการส่ือสารไว้ (ชติ าภา สุขพลำ, 2557: 5) ดังนี้ 1. ผู้สื่อสารหรือผู้ส่งสาร (Source/Sender) คือ ผู้เริ่มต้นการติดต่อส่ือสารในแต่ละคร้ัง อาจเป็นบคุ คลเดียว เป็นกล่มุ เป็นองคก์ รหรือสถาบัน การส่ือสารจะเร่มิ ต้นขนึ้ ก็ต่อเม่ือผสู้ ่งสารมีความ ปรารถนาท่ีจะส่งข้อมูลข่าวสารของตนไปสู่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย เพ่ือก่อให้เกิดความ เขา้ ใจในตัวสารร่วมกันในทิศทางทผ่ี ูส้ ่งสารต้องการ นอกจากนี้ ผู้ส่งสารเป็นองค์ประกอบท่ีมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอ่ืน ๆ ท้ังในแง่การ เป็นผู้เลือกข้อมูลข่าวสารท่ีจะส่งหรือถ่ายทอดออกไป การเลือกวิธีการส่ือสาร ช่องทางที่จะทำให้สาร ไปถึงผู้รับสาร รวมท้ังการเลือก การพยายามกำหนดกลุ่มผู้รับสารโดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือต้องการให้ เกิดการเปล่ียนแปลงในระดับใดระดับหน่ึงหรือด้านในด้านหนึ่ง (กิติมา สุรสนธิ, 2557: 19) เช่น การเปลี่ยนแปลงความเช่ือทัศนคติของบุคคลในสังคมหนึ่ง เป็นต้น และองค์ประกอบท่ีมีความ เกยี่ วข้องของผสู้ ่งสาร คือ เจตนาของการสง่ สาร อาจมีเจตนาในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยงั ผู้รับสารทั้ง โดยเจตนาและไม่เจตนากไ็ ด้ เช่น การส่งสารโดยมีเจตนา ผู้ส่งสารจะมีการเตรียมข้อมูล และพยายาม 7

หาวิธีการใหผ้ ู้รบั สารเกิดความเข้าใจตามวัตถปุ ระสงคห์ รือเป้าหมายของผ้สู ่งสาร แต่หากผสู้ ง่ สารไมม่ ีมี เจตนาในการสอ่ื สารหรือไม่มีความต้ังใจ มักจะไม่ได้เตรยี มข้อมูลหรือขาดความพยายามในการสอ่ื สาร เพ่ือให้บรรลวุ ตั ถุประสงค์ อาจทำใหก้ ารส่อื สารประสบความลม้ เหลว ปัจจัยความสำเร็จของผู้ส่งสารและผู้รับสารท่ีมีความคล้ายคลึงกัน คือ คุณลักษณะทาง กายภาพภายนอกที่เป็นปัจจัย ได้แก่ เพศ อายุ ความเช่ือ ค่านิยม ประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งเหล่าน้ี เป็นสิ่งท่ีส่งผลโดยตรงต่อการสื่อสาร เพราะหากผู้รับสารและผู้ส่งสารมีความคล้ายคลึงกันมากเท่าใด ก็จะย่ิงประสบความสำเร็จในการสื่อสารนั้นมากข้ึน ดังเช่น กิติมา สุรสนธิ (2557:23) กล่าวว่า การรับรู้ประสบการณ์ท่ีมีความคล้ายคลึงกันสนิทสนมกัน การส่ือสารน้ันก็จะราบรื่นมีประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามหาก ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความแตกต่างกันมาก โอกาสในการสื่อสารก็ยากที่จะประสบ ความสำเร็จและอาจเกิดความล้มเหลวได้ ดังนั้น ผู้ส่งสารจำเป็นต้องสร้างความรู้สึกในการเป็นพวก พอ้ งเดียวกนั หรือใชค้ วามคล้ายคลึงกนั กบั ผู้รบั สารให้มากขน้ึ เพอ่ื ให้การสอื่ สารนัน้ ประสบความสำเรจ็ 2. ข่าวสารหรือเร่อื งราว (Message) คอื เนื้อหาสาระความคิดความรู้ ความรสู้ กึ จากฝา่ ย ผูส้ ่งสาร ซึ่งอาจจะเปน็ ภาษา สัญลกั ษณ์ หรือสญั ญาณต่าง ๆ ท่ีสามารถส่อื ความหมายเป็นท่เี ข้าใจกัน ได้ สารบางอย่างอาจถูกส่งไปโดยเจตนาและตัง้ ใจจากผู้สง่ สาร แต่สารบางอย่างก็อาจจะถูกส่งไปโดยที่ ผสู้ ่งสารไมไ่ ด้ตั้งใจหรือไม่รู้ตัวก็ได้ กิติมา สุรสนธิ (2557:23) ได้กล่าวถงึ องคป์ ระกอบสำคัญของสารไว้ 3 ส่วน ได้แก่ รหสั สาร เน้ือหาของสาร การจัดเรียบเรียงลาดบั สาร (Message Codes) (Message Content) (Message Treatment) ภาพที่ 1.3 องค์ประกอบสำคญั ของสาร 2.1 รหสั สาร (Message Codes) หมายถึง ภาษา (Language) สญั ลักษณ์ (Symbol) สัญญาณ (Signal) ท่ีมนุษย์คิดค้นเพื่อใช้แทนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม และ วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของผู้ส่งสาร ซึ่งรหัสสารอาจถูกแสดงออกมาเป็นสารในรูปแบบภาษาพูดและ ภาษาเขียน เรียกว่า วัจนสาร (Verbal Message Codes) และรหัสสารที่ไม่ใช่ภาษาพูดหรือ ภาษาเขียน เรียกว่า อวัจนสาร (Nonverbal Message Codes) เช่น กิริยาท่าทาง ภาพ สัญลักษณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการที่ผู้ส่งสารจะเลือกใช้รหัสสารแบบใดข้ึนอยู่กับสภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่น ประกอบดว้ ย เช่น ระบบสังคมและวัฒนธรรม ความเชอ่ื ของบุคคล เปน็ ต้น ล้วนเป็นส่ิงที่ผู้ส่งสารต้อง คำนงึ เพื่อให้ผ้รู ับสารไดเ้ ขา้ ใจถงึ ขอ้ มูลจากรหัสสารทีถ่ า่ ยทอดไป 8

2.2 เนอ้ื หาของสาร (Message Content) หมายถงึ เรอ่ื งราวต่าง ๆ ทีผ่ ูส้ ง่ สาร ต้องการถ่ายถอดหรือส่งไปยังผู้รับสาร ซ่ึงแบ่งได้หลายประเภทหลายลักษณะตามเนื้อหาของสารใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การส่งเนื้อหาโดยทั่วไป เนื้อหาเฉพาะเจาะจง เนื้อหาเชิงวิชาการ เน้ือหาบันเทิง หรอื อาจเป็นเน้อื หาบอกเล่า เปน็ ต้น 2.3 การจดั เรียบเรียงลำดบั สาร (Message Treatment) หมายถงึ รปู แบบวิธีการ ของผู้ส่งสารในการนำรหสั สารมาเรียบเรยี งเพ่ือใหไ้ ด้ใจความตามต้องการ ขึ้นอยูก่ ับลักษณะโครงสร้าง ของภาษาและบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่การจัดเรียบเรียงเน้ือหาของสารจะออกมาใน รูปแบบลีลาส่วนตัวตามบุคลิกลักษณะของผู้ส่งสารแต่ละบุคคล รวมทั้งการลำดับความสำคัญของ เนอื้ หาเพ่อื ใชใ้ นการถา่ ยทอด เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและบรรลุตามวตั ถุประสงค์ในการสื่อสาร 3. ช่องทาง (Channel) คือ หนทางหรือวิธีท่ีจะนำเข้าข้อมูล ข่าวสารจากผู้ส่งสารไปสู่ ผู้รับสาร จะทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารได้รับข่าวสารตรงกัน ช่องทางในการส่ือสารอาจเป็นช่องทาง โดยธรรมชาติ เช่น การพูดการเขียน การแสดงอากัปกิริยา การแสดงสัญลักษณ์ เป็นต้น หรือเป็น ชอ่ งทางทม่ี นุษยป์ ระดษิ ฐ์ คิดค้นข้ึนมาเพื่อประสทิ ธิผลทางการสื่อสารทีเ่ พมิ่ ขึ้นกไ็ ด้ เช่น เครอ่ื งมือหรือ เทคโนโลยีการสือ่ สารต่าง ๆ เป็นตน้ 4. ผูร้ ับสาร (Receiver) คอื บุคคลหรือกลุ่มบุคคลท่เี ป็นเป้าหมายของการสื่อสารหรือเป็น จดุ หมายปลายทางของสารนน้ั เอง อาจเปน็ บุคคลเดยี วหรือกลุ่มบคุ คลเป็นฝูงชนหรือแมก้ ระท่งั มวลชน ก็ได้ ท้ังน้ีข้ึนอยู่กับจุดมุ่งหมายท่ีต้องการให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นหรือฝ่ายผู้ส่งสารว่าต้องการให้ เกิดผลกระทบในวงกวา้ งเทา่ ใด 5. ปฏิกิริยาตอบสนอง (Feedback) คือ การเปลี่ยนแปลงท่าทีและพฤติกรรมของ ผรู้ ับสารอันเป็นผลโดยตรงจากการทไี่ ด้รับสารนั้นซ่ึงอาจแสดงออกมาในลกั ษณะท่ีเห็นด้วยหรือขดั แย้ง ก็ได้เช่น เข้าใจเช่ือฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือโต้แย้งดึงดันและไม่ปฏิ บัติตาม เป็นต้น (นพิ นธ์ ทิพยศ์ รนี มิ ิต. 2543:10) องค์ประกอบการส่ือสารท้ัง 5 องค์ประกอบ เป็นองค์ประกอบหลักในการส่ือสาร แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าถ้าสื่อสารโดยยึดท้ัง 5 น้ีแล้วจะทำให้การส่ือสารนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จเสมอไปเพราะ การสื่อสารจะบรรลุตามจุดมุ่งหมายท่ีแท้จริงได้น้ันต้องอาศัยส่วนประกอบอ่ืน เช่น ต้องอาศัยเง่ือนไข สภาพแวดลอ้ ม เวลา รวมทั้งสถานการณท์ ่เี กิดขึ้นในขณะสอื่ สารอีกดว้ ย รูปแบบของการสือ่ สาร การแบ่งรูปแบบของการส่ือสารของมนุษย์จากทฤษฎีของนักวิชาการต่าง ๆ สามารถแบ่งโดย ใช้ปัจจัยเป็นเกณฑ์การพิจารณาได้อย่างมากมาย เช่น จากแหล่งกำเนิด หรือพิจารณาจากความใกล้ 9

ไกลของตัวบุคคลท่ีมาส่ือสาร หรืออาจแบ่งโดยใช้จำนวนคนที่สื่อสาร นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ก็ได้ แตโ่ ดยทว่ั ไปแลว้ สามารถแบง่ ออกได้ดังนี้ (ชิตาภา สขุ พลำ, 2557: 7) 1. การส่ือสารภายในบุคคล (Intrapersonal communication) เป็นการส่ือสารท่ี เกิดข้ึนระหว่างความคิดที่แตกต่างกันของบุคคลเดียว ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 2 ความคิดขึ้นไป เรียกได้ว่าเป็น การสนทนาภายในตนเองของบุคคล ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั กิติมา สุรสนธิ (2557: 36) อธบิ ายว่าการส่ือสาร ภายในตัวบุคคลเป็นการส่ือสารของบุคคลเดียว ซ่ึงทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร โดยมีระบบ ประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) เป็นศูนย์กลางในการแบ่งรับข่าวสารภายในตัว บุคคล ระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า ทักษะที่บคุ คลใชใ้ นการสอื่ สาร (Motor Skill) ประกอบด้วยกลไกและอวัยวะในการออกเสียง (Vocal Mechanisms) เช่น อวัยวะที่ทำให้เกิด เสียงพูด เสียงหัวเราะ เสียงร้องไห้ เป็นต้น รวมท้ังระบบกล้ามเน้ือของร่างกาย เช่น มือ แขน ขา ศีรษะ เป็นต้น และในส่วนระบบส่วนกลางที่ทำหน้าที่รับสาร เรียกว่า ทักษะที่บุคคลใช้ในการรับรู้ ข่าวสาร (Sensory Skill) ซึ่งประกอบไปด้วยกลไกการรับรู้หรือตอบสนองสิ่งเร้า เช่น การได้ยิน การ ใช้ประสาทหู ตา เป็นต้น ตัวอยา่ งที่เห็นไดช้ ัดของการสื่อสารภายในตวั บคุ คล ได้แก่ บุคคลท่ีมักพูดคน เดียว โต้ตอบด้วยตนเอง รำพึงรำพันกับตัวเอง หรือการทบทวนสิ่งต่าง ๆ ท่ีได้ทำมา หรือแม้แต่การ ร้องเพลงฟังคนเดียว เปน็ ต้น 2. การส่ือสารระหว่างบุคคล (Interpersonal communication) เป็นการส่ือสารใน ลักษณะการปฏสิ ัมพันธ์ระหวา่ งบคุ คลกับคนอนื่ ทอี่ ยู่รอบตัว โดยมีจำนวนคน 2 คน เชน่ ระหว่างเพอ่ื น กับเพ่ือน คนในครอบครวั เพอ่ื นร่วมงาน หรือแมแ้ ต่กับคนแปลกหนา้ เป็นตน้ การกำหนดถงึ คณุ ลกั ษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล (กิติมา สุรสนธิ, 2557: 36) ดังนี้ 1. ผ้ทู ท่ี ำการส่ือสาร หรือมบี ทบาทเป็นทง้ั ผูส้ ่งสารและผู้รับสาร กล่าวคอื สภาวะของการ สื่อสารท่ีเกิดขึ้นเป็นลักษณะร่วมกันกระทำในการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ อารมณท์ ถ่ี ่ายทอดออกมาของบคุ คลทงั้ สองฝา่ ย เรียกวา่ ปฏิกิรยิ าตอบกลับ 2. การส่ือสารระหวา่ งบุคคลที่มีลกั ษณะความเปน็ ส่วนตวั สงู เนือ่ งจากผสู้ ง่ สารและผ้รู ับ สารมีจำนวนน้อย การพบปะพูดคุยจึงอยู่ในลักษณะที่เป็นเรื่องราวระหว่างสองคน ผลของการส่ือสาร มผี ลกระทบระหวา่ งบคุ คลสองคนเท่านั้น 3. สารท่ีสง่ หรอื ถ่ายทอดในการสอ่ื สารระหว่างบุคคล ประกอบดว้ ยข้อมลู ข่าวสารเรอ่ื งราว ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและสภาพจิตใจ มากกว่าที่จะเป็นเน้ือหาสาระท่ีเน้นหนักใน เรอื่ งราวของเหตกุ ารณ์เร่อื งทัว่ ไป ทไ่ี ม่เกยี่ วข้องกบั ผ้สู ง่ สารและผรู้ ับสาร 4. ผสู้ ่งสารและผู้รับสารในการสอื่ สารระหว่างบุคคลจะมคี วามใกล้ชิดและความคนุ้ เคยต่อ กัน ดังน้ัน ผ้รู บั สารและผู้ส่งสารสว่ นใหญจ่ ะมีความมักคุ้น รู้ถงึ อุปนสิ ยั ใจคอตลอดจนความรสู้ ึกของกัน และกันเป็นอยา่ งดี 10

กระบวนการส่ือสารระหว่างบุคคล จึงเป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติต่าง ๆ ระหว่างกนั การสื่อสารจึงไม่หยุดแต่ผู้ส่งสารไปยังผู้รับ สารเท่าน้ัน แต่เม่ือส่งสารออกไปแล้ว ผู้รับสารจะต้องตีความและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อสารท่ี ได้รับรู้ อาจในรูปแบบการตอบโต้ด้วยคำพูดหรือแสดงเพียงกิริยาท่าทาง เช่น การพยักหน้าบอกว่า เข้าใจ ยิ้มให้เพ่ือแสดงความเป็นมิตร เป็นต้น การสื่อสารระหว่างบุคคลมีลักษณะกระบวนการ ดังแบบจำลองต่อไปนี้ ภาพที่ 1.4 แบบจำลองกระบวนการส่ือสารระหวา่ งบุคคล ท่ีมา: บษุ บา สธุ ธี ร, 2540: 218 แชรมม์ (Schramm) (อ้างถึงใน บุษบา สุธีธร, 2540: 218) ได้อธิบายไว้ว่า แบบจำลอง ดังกล่าวเก่ียวกับการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยเร่ิมต้นจากระบบประสาทของแหล่งสารซ่ึงเริ่มจาก ความคิด ความต้องการของตนไปยังผู้อ่ืน จึงเข้ารหัสสารให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์ (Signal) ท่ีสามารถ รบั รคู้ วามหมายรว่ มกันได้ระหวา่ งผ้อู นื่ แล้วถา่ ยทอดผา่ นชอ่ งสารไปยังคูส่ ือ่ สารปลายทางของตน ซึ่งทำ หน้าที่ถอดรหัสสารในรูปแบบสัญลักษณ์ทำให้กลายเป็นความคิด ความเข้าใจ โดยอาศัยกระบวนการ ผ่านทางระบบประสาทการรับรู้ของตน องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การรับรู้ของทั้งสองฝ่ายเข้าใจ ตรงกันได้มากข้ึน คือ ประสบการณ์ร่วมของทั้งสองฝ่าย และย่ิงคู่สนทนามีประสบการณ์ร่วมมาก เท่าไหร่ การสื่อสารก็จะมีประสิทธิภาพมากขึน้ 3. การส่ือสารภายในกลุ่ม (Group communication) เป็นการสื่อสารที่มีบุคคลหลาย คนมาร่วมสนทนาปรึกษาหารือในเรื่องใดเร่ืองหนึ่งท่ีมีความสนใจร่วมกัน ซ่ึงมีเร่ืองราวกระบวนการ กลุ่ม ภาวะผู้นำของกลุ่ม หรือการอภิปราย ซ่ึงจะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มต่อเร่ืองนั้น ๆ 11

การส่ือสารภายในลักษณะดงั กลา่ วอาจเป็นการส่อื สารกลุม่ เล็ก กลุ่มใหญ่ หรือการสื่อสารระดบั องคก์ ร โดยปจั จยั ท่ีสง่ ผลตอ่ ความสำเรจ็ ของการสื่อสารภายกลมุ่ สามารถสรปุ ได้ดงั นี้ 3.1 สภาพสังคม เป็นการอยู่ร่วมกันของบุคคลภายในกลุม่ ว่ามคี วามใกล้ชิด สนิทสนมมากน้อยเพียงใด มีวัฒนธรรม ความเช่ือ ทัศนคติท่ีเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ เพราะถ้า ภายในกลุ่มมีความใกล้ชิดสนิทสนม มีวัฒนธรรมความเชื่อหรือทัศนคติท่ีตรงหรือต่างกันพอท่ีจะ สอื่ สารกนั อย่างเข้าใจ จะทำให้การสือ่ สารภายในกลุม่ นน้ั สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี 3.2 ลักษณะของขา่ งสารท่ีเกิดขนึ้ ภายในกลุ่ม หากมขี า่ วสารใหม่ ๆ มากขึน้ ภายใน กลมุ่ จะทำใหก้ ลมุ่ ไดพ้ บปะพดู คยุ มากขนึ้ รวมถึงโอกาสทจี่ ะได้พบปะพูดคยุ กนั มีคอ่ นขา้ งสูง 3.3 ขนาดของกล่มุ ขนาดของกล่มุ มีผลของจำนวนข่าวสารท่ีจะนำมาแลกเปลีย่ น คือ ยิ่งมีขนาดกลุ่มใหญ่มาเท่าไหร่ จำนวนข่าวสารหรือข้อมูลก็จะมากขึ้นตามลำดับ เช่น กลุ่มท่ีมี ขนาดเลก็ โอกาสของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระว่างบุคคลจะมีมากกว่า และสามารถควบคมุ สถานการณ์ ระหว่างการสื่อสารได้ง่ายกว่ากลุ่มท่ีมีขนาดใหญ่ ซึ่งการสื่อสารที่มีขนาดใหญ่ มีคนจำนวนมากมาอยู่ ร่วมกัน โอกาสการควบคุมสถานการณ์ก็จะน้อยกว่า เน่ืองจากผู้รับสารมีความแตกต่างทางบุคคล คอ่ นขา้ งสงู ปฏิกริ ยิ าการตอบกลบั อาจช้าว่าในกลมุ่ การสื่อสารท่ีมีขนาดเลก็ เป็นตน้ 3.4 บทบาทของสมาชกิ ภายในกล่มุ หากขนาดกลมุ่ ของการส่อื สารมขี นาดใหญ่ขึน้ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้บุคคลในกลุ่มรู้หน้าท่ีและ บทบาทของตนเองในกิจกรรม เพอื่ ลดความขัดแยง้ ภายในกลมุ่ 3.5 การยดึ มนั่ และการวางเป้าหมายของกลมุ่ กลุ่มจะดำเนนิ ตอ่ ไปไดเ้ มอื่ บุคคลใน กลุ่มมีความยึดมั่น เช่ือถือ มีความเชื่อ ทัศนคติท่ีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จนเกิดแรงศรัทธาเป็นแรง กระตุ้นในการส่ือสารภายในกลุ่มสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ถึงแม้เป้าหมายของแต่ละบุคคล อาจมีความแตกต่างกัน แต่เพื่อผลประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรมจะต้องยึดถือผลประโยชน์ของ กลมุ่ เปน็ ที่ตง้ั เพ่อื เปา้ หมายสงู สุด 4. การส่ือสารมวลชน (Mass communication) เป็นการส่ือสารที่อาศัยเคร่ืองมือหรือ สื่อที่จะช่วยกระจายสารจากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสารที่อาศัยอยู่ในที่ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ใหส้ ามารถรบั สารได้ในเวลาทีร่ วดเร็ว ประเภทหรือรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งออกได้โดยดูจากวิธีการสื่อสารของมนุษย์ มาเป็นเกณฑ์ ได้แก่ 1. การส่ือสารโดยใช้วัจนภาษา เป็นการส่ือสารที่ใช้ถ้อยคำเพ่ือสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ซึง่ การส่ือสารโดยใชถ้ อ้ ยคำ สามารถแสดงออกได้ 2 วิธี คอื 12

1.1 การสื่อสารด้วยการเขียน ในรูปของหนังสือ จดหมาย หรือป้ายประกาศต่าง ๆ ผู้รับสารจะได้รบั สารโดยวิธกี ารอา่ นขอ้ ความเหล่านน้ั และแสดงความเข้าใจจากการตีความของตน 1.2 การสื่อสารด้วยการพูด เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสาร เพลงถ้อยคำท่ีต้องการถ่ายทอด ออกมาให้ผู้รับสาร ซึ่งก็คือผู้ฟัง ได้ยินข้อความเกิดการตีความส่ิงท่ีได้ยิน และเกิดความเข้าใจ หรือ เกิดปฏกิ ริ ิยาตอบกลบั มาตามที่ตนเขา้ ใจ 2. การสื่อสารโดยใช้อวัจนภาษา เป็นการสื่อสารท่ีใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่ถ้อยคำ แต่เป็นการ สือ่ สารด้วยกริ ิยาอาการและท่าทางต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนพรอ้ มพร้อมกบั การใชถ้ ้อยคำของผู้พูด อาจเกิดขึ้น โดยเจตนาหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ ได้แก่ ปริภาษา เนตรภาษา และอาการภาษา การแสดงกิริยาท่าทาง การแสดงสีหน้า การเคล่ือนไหวของร่างกาย ฯลฯ จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของคนได้ เพราะ ภาษาที่คณุ แสดงออกทางกายนั้นทุกอย่างมีความหมาย การแสดงออกเหล่าน้ีถา้ ใชป้ ระกอบคำพูดและ น้ำเสียงของผู้พูดแล้วจะบอกอะไรได้หลายอย่าง ทำให้รู้ได้ว่าเขาโกรธ ก้าวร้าว กลัว หรือพอใจ ดังนั้นควรสังเกตอวัจนภาษาประกอบไปด้วย จะทำให้เข้าใจความหมายของการสื่อสารนั้นได้ดีขึ้น ดงั คำกลา่ วท่วี ่า การกระทำพูดได้ดังกวา่ และถูกต้องกว่าคำพดู (ลกั ขณาส ตะเวทนิ , 2540: 21) อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการส่ือสารอาจมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการส่ือสารที่เกิดข้ึนตาม สถานการณ์ในแต่ละครง้ั จำนวนบุคคลทก่ี ำลังส่ือสาร ความใกลช้ ิดสนิทสนมระหวา่ งผู้รบั สารและผู้ส่ง สาร ตลอดจนความเชื่อ ทัศนคติระหว่างการสอ่ื สาร และเปา้ หมายของการส่อื สาร การสื่อสารในยุคสงั คมออนไลน์ ภาพท่ี 1.5 การส่อื สารในยุคลสงั คมออนไลน์ การส่ือสารในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความต้องการท่ีไม่สิ้นสุดของมนุษย์ ทำให้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่เอ้ืออำนวยต่อความต้องการของมนุษย์ อีกทั้งยังสร้างความ สะดวกสบายให้กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ซ่ึงการพัฒนาของเทคโนโลยีน้ันเองก็นำพาไปสู่ยุคของ สารสนเทศที่มีการคิดค้นการใช้ส่ือในโลกออนไลน์ข้นึ มา ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จมอยู่ในโลก 13

ของอินเทอร์เน็ต และใช้เวลาส่วนมากไปกับโลกโซเซียล (Social) หรือส่ือสังคมออนไลน์ (Social Media Online) ทั้งในด้านของการติดต่อส่ือสารระหว่างบุคคล ตลอดจนการติดตามข้อมูลข่าวสาร การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ หรือแม้แต่การประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ก็เป็นรูปแบบหน่ึงของ การสื่อสารผา่ น Social Network เชน่ กนั ความหมายส่อื สงั คมออนไลน์ (Social Media Online) การให้ความหมายส่ือสังคมออนไลน์ (Social Media Online) นับว่าเป็นเรื่องท่ียุ่งยาก พอสมควร เน่ืองจากเป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างและมีหลายความหมายในเชิงคุณลักษณะของสื่อ ประเภทน้ี การใหค้ วามหมายสอ่ื สงั คมออนไลน์สามารถสรุปได้ดงั น้ี อภิชัจ พุทสวัสด์ิ (2560:9-10) ได้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ว่า เป็นส่ือดิจิทัลใน การปฏิบัติการทางสังคม (social tool) เพื่อให้ผู้ใช้โลกออนไลน์ผ่านเครือข่ายทางสังคม (online social network) ผ่านเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนส่ือท่ีเชื่อต่อกันอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ เป็นผู้ส่งสารและผู้ รับสารมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตเน้ือหาเองในรูป แบบข้อมูลภาพ และเสียงเพื่อใช้ในการส่ือสาร แบ่งปันความรู้ และจัดการความรู้โดยเว็ปไซต์ท่ีเป็นส่ือสังคม (online social media website) ต้องมคี ุณลักษณะที่ตอบสนองผู้ใช้ ความยืดหยุ่น มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน และกนั นาวิก นำเสียง (2554) ได้ให้คำจำกัดความของ ส่ือสังคมออนไลน์ว่า เป็น ส่ิงท่ีผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซ่ึงกันและกัน โดยใช้ส่ือต่าง ๆ เป็นตัวแทนในการ สนทนา ท้ังน้ีได้มีการจัดแบ่งประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทสื่อ ส่งิ พิมพ์ (Publish) ท่มี ี Wikipedia, Blogger เป็นต้น ประเภทสื่อแลกเปลี่ยน (Share) ที่มี YouTube Flickr SlideShare เปน็ ต้น ประเภทสอื่ สนทนา (Discuss) ท่มี ี MSN Skype Google Talk เป็นตน้ ราชบัณฑิตยสถาน (2556) ได้บัญญัติคำ ว่า Social Media ไว้ว่า ส่ือสังคม คือ สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นส่ือกลางท่ีให้บุคคลท่ัวไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปล่ียนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่าน้ีเป็นของบริษัทต่าง ๆ ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ไฮไฟฟ์ (Hi5) (อา่ นวา่ ไฮ-ไฟ้) ทวิตเตอร์ (Twitter) วิกิพีเดยี (Wikipedia) ฯลฯ เขมณัฏฐ์ ม่ิงศิริธรรม (2557) ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ว่าเป็นส่ือดิจิทัลหรือ ซอฟแวร์ท่ีทำงานบนพ้ืนฐานของระบบเว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม เป็นการนำ เรื่องราวต่าง ๆ เหตุการณ์ ประสบการณ์ รูปภาพวิดีโอ รวมถึงการพูดคุยต่าง ๆ แบ่งปันให้คนท่ีอยู่ใน สังคมเดียวกันไดร้ ับรู้ สังคมออนไลน์ (Social Media Online) เป็นส่วนหน่ึงของเทคโนโลยีท่ีเป็นเคร่ืองมือในการ ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดต่อส่ือสาร การถ่ายทอดข้อมูล การแบง่ ปันเรือ่ งราวต่าง ๆ ระหว่างบคุ คลหรือกลุ่มคนในลกั ษณะการรว่ มเครือข่ายออนไลนเ์ ดียวกัน 14

ประเภทของสอื่ สังคมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในยุคดิจิทัลท้ังข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งการติดต่อส่ือสารท่ีรวดเร็ว การติดตามข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อ เหตุการณ์ จึงทำให้โปรแกรมท่ีรองรับจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูลทางออนไลน์ เพ่ือเพิ่มความเช่ือมั่นให้กับผู้ใช้และสมาชิกสังคม ออนไลน์ในประเภทส่ือ ทั้งนี้การจำแนกแบ่งประเภทของสื่อสังคมออนไลน์สามารถแบ่งได้ ดังน้ี (แสง เดอื น ผ่องพุฒ, 2556) 1. เครือข่ายสังคม (Social networking site) เป็นเว็บไซต์ท่ีบุคคลหรือหน่วยงานสามารถ สร้างข้อมูลและเปลี่ยนแปลงข้อมูล เผยแพร่รูปภาพ ภาพเคล่ือนไหว โดยท่ีบุคคลอ่ืนสามารถ เข้ามา แสดงความเห็น หรือเผยแพร่สนทนาโต้ตอบได้ เช่น Facebook, Badoo, Google+, Linkdin และ Orkut เป็นต้น 2. ไมโครบล็อก (Micro-blog) เป็นเว็บไซต์ในการเผยแพร่ข้อมูลหรือข้อความในเรื่องที่ สนใจเฉพาะด้าน รวมท้ังสามารถใช้เคร่ืองหมาย “#” (Hashtag) เพ่ือเช่ือมต่อกับกลุ่มคนที่มีความ สนใจในเรื่องเดยี วกันได้ ไดแ้ ก่ Twitter, Blauk, Weibo, Tout และ Tumble เปน็ ตน้ 3. เว็บไซต์ท่ีให้บริการแบ่งปันสื่อออนไลน์ (Video and photo sharing website) เป็น เว็บไซต์ท่ีให้ผู้ใช้สามารถฝากหรือนำส่ือ ข้อมูล รูปภาพ วีดิโอ ขึ้นเว็บไซต์เพื่อแบ่งปันกับผู้อ่ืน เช่น Flicke,r Vimero, Youtube, Instagram และ Pinterest เป็นตน้ 4. บล็อกส่วนบุคคลและองค์กร (Personal and corporate blogs) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ บันทึกเร่ืองราวต่าง ๆ เสมือนเป็นบันทึกไดอารี่ออนไลน์ สามารถเขียนในลักษณะไม่เป็นทางการและ แก้ไขได้บ่อยครั้ง เช่น Blogger Wordpress Blogger และ Exteen เป็นต้น นอกจากน้ีเป็นระบบ จัดการเนื้อหารูปแบบหน่ึง ซ่ึงทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความหรือท่ีเรียกว่า “โพส” แล้วทำการ เผยแพร่ได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากในการท่ีจะต้องมานั่งเรียนรู้ถึงภาษา HTML หรือโปรแกรมทำเว็บไซต์ การเรียงเนื้อหาจะเรียงจากเนื้อหาที่มา ใหม่สุดมาก่อน จากน้ันจะลดหล่ังล ำดับของเวลา (Chronological Order) สำหรับการมีบล็อกขึ้นมาเพ่ือเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดงั กล่าวด้วยการเขยี นได้อย่างเสรี ไม่มีขีดจำกัดเรอ่ื งเทคนิคในอดีตอีกต่อไป (สภุ าวรรณ์ นวลนิล, 2557) 5. บล็อกที่มีสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (Blogs hosted by media outlet) เป็น เว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอข่าวสารของส่ือสิ่งพิมพ์มีความเป็นทางการน้อยกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ แต่มี รูปแบบและความเป็นทางการมากกวา่ บลอ๊ ก 6. วิกิและพ้ืนที่สาธารณะของกลุ่ม (Wikis and online collaborative space) เป็น เว็บไซต์สำหรบั พ้ืนทสี่ าธารณะออนไลน์ เพ่อื รวบรวมขอ้ มลู และเอกสาร เช่น Wikipedia เป็นตน้ 15

7. กลุ่มหรือพื้นท่ีแสดงความคิดเห็น (Forums, discussion board and group) เป็น เว็บไซต์หรือกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ท่ีมีการ แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ มีทั้งท่ีเป็นกลุ่ม ส่วนตัวและสาธารณะ ไดแ้ ก่ Google groups, Yahoo groups และ Pantip เปน็ ตน้ 8. เกมออนไลน์ท่ีมี ผู้เล่นหลายคน (Online multiplayer gaming platform) เป็น เว็บไซต์ท่ีนำเสนอในลักษณะการเล่นเกมออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเล่นท้ังคนเดียว และเลน่ ไดเ้ ป็นกลุ่ม เชน่ Second life และ World of Warcraft เป็นต้น 9. ขอ้ ความส้นั (Instant messaging) เป็นการส่งขอ้ ความจากโทรศพั ท์เคลือ่ นที่ 10. การแสดงตนว่าอยู่สถานที่ใด (Geo-spatial tagging) เป็นการแสดงตำแหน่งท่ีอยูพ่ ร้อม ความเห็นและรูปภาพในสอื่ สังคมออนไลน์ เช่น Facebook และ Foursquare เป็นต้น นอกจากน้ี โซลสิ (Solis, 2016) แบ่งประเภทของสอ่ื สังคมออนไลน์ตามประเภทการใชง้ าน สามารถจำแนกไดห้ ลายประเภทดังน้ี 1. เครอื ขา่ ยสงั คม (Social networks) เช่น facebook, google+ เปน็ ต้น 2. บลอ็ ก/ ไมโครบลอ็ ก Blog/ Microblogs เช่น WordPress, Blogger, เป็นต้น 3. กลุ่มคนทีม่ ีความรู้ (Crowd wisdom) เช่น Buzzfeed, NowPublic Reddit เปน็ ตน้ 4. ถามตอบ (Q & A) ได้แก่ AllExperts, WikiAnswers, YahooAnswers เป็นตน้ 5. ขอ้ เสนอแนะต่าง ๆ (Comments) เชน่ livefyre, intensedebate, เปน็ ตน้ 6. สังคมพาณชิ ย์ (Social commerce) เช่น caboodle shopkick, shopigniter เปน็ ตน้ 7. สงั คมตลาดออนไลน์ (Social marketplace) เชน่ Groupon, Kickstarter เปน็ ตน้ 8. กลมุ่ บริการขอ้ มลู ตามกระแสสงั คม (Social streams) เช่น twitter, pheed เปน็ ตน้ 9. กลมุ่ บรกิ ารเกยี่ วกับสถานทตี่ ง้ั (Location) เชน่ Sonar, INTRO, Dopplr เป็นต้น 10. เวบ็ ไซตท์ ี่ให้บริการเกยี่ วกบั Niche working เช่น goodreads Mobileroadie เปน็ ตน้ 11. เว็บไซต์ท่ีให้บริการเกย่ี วกบั Enterprise เชน่ Socialcast, Telligent, tibbr เป็นตน้ 12. วกิ ิ (WiKi) เชน่ Wikispaces, TWiki, Wikipedia เป็นต้น 13. อภปิ รายชมุ ชน (Discussion & Forums) เชน่ googlegroups, BigBoards เป็นตน้ 14. ธุรกจิ (Business) เชน่ Linkedin, Identified, BranchOut เป็นตน้ 15. ความคิดเห็นและการให้คะแนน (Reviews & Ratings) เช่น amazon.com, Yelp glassdor.com เป็นต้น 16. เว็บไซต์ทใ่ี หบ้ ริการเก่ียวกบั Social Curation เช่น Rebel, Pinterest เป็นต้น 17. เวบ็ ไซต์ที่ใหบ้ รกิ ารเกย่ี วกบั วดิ ีโอ (Video) เช่น TED, Socialcam, YouTube เปน็ ต้น 18. การแบ่งปนั เน้ือหาความรู้ (Content/ Documents) เชน่ Scribd Slideshare เป็นต้น 19. เว็บไซต์ท่ีให้บริการรวบรวมงานกิจกรรมต่าง ๆ (Events) เช่น Eventbrite, Plancast เป็นต้น 20. เว็บไซต์ทใ่ี หบ้ รกิ ารเกี่ยวกบั ดนตรี (Music) เช่น Soundcloud, Pandora เป็นตน้ 21. เวบ็ ไซตท์ ี่ใหบ้ ริการถา่ ยทอดสด (Live casting) เชน่ livestream, airtime เปน็ ต้น 16

22. เว็บไซต์ท่ีให้บริการเก่ียวกับการ แบ่งปันรูปภาพ (Pictures) เช่น Picasa, Instagram เปน็ ตน้ 23. เว็บไซตท์ ี่ให้บริการเกย่ี วกับการบุก๊ มาร์ก Social Bookmarks เชน่ Evernote, Runkeeper Myfitnesspal, fitbit เปน็ ตน้ ภาพที่ 1.6 แผนผงั ภาพประเภทสอ่ื สงั คมออนไลน์ (Solis, 2016) การแบ่งประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ มีความหลากหลายข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์และ ประโยชน์ของการใช้งานของสือ่ ในแต่ละแบบ การจัดประเภทกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้เห็น ถึงลักษณะของกลุ่มสมาชิกบนสื่อ ความนิยมของการใช้งาน ตลอดจนการใช้บริการของเว็บไซต์ท่ี ผใู้ ช้บรกิ ารสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากข้อมูล การแสดงความคิดเห็น การสนทนาโต้ตอบ หรือการ ทำเครือขา่ ยธุรกจิ รว่ มกันของกลุม่ สมาชิกได้อย่างรวดเรว็ และมปี ระสทิ ธิภาพ ทิศทางของการสอ่ื สาร ทิศทางของการส่ือสารในส่ือสังคมออนไลน์ อาจมีการแปรเปล่ียนไปตามสื่อหรือช่อง ทางการสื่อสารซ่งึ ทำหน้าท่ีเชือ่ มความสัมพันธร์ ะหว่างผูส้ ่งสารและผู้รับสาร การศกึ ษาทศิ ทางของการ สื่อสารสามารถจำแนกได้ตามลกั ษณะของการสื่อสารดังนี้ 17

1. การส่อื สารทางเดียว (One – Way Communication) คือ การสอ่ื สารทีส่ ารถกู ส่ง จากผู้สง่ สารในทิศทางเดียวโดยไม่มกี ารตอบกลับจากผรู้ ับสาร เชน่ การส่ือสารผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ หรือการออกคำส่ังหรือการมอบหมายงานโดยผู้รับสารไม่สามารถแสดงความคิดเห็น ผรู้ ับสารอาจไมเ่ ข้าใจสารหรือไม่เขา้ ใจตามเจตนารมณข์ องผู้ส่งสาร ฝ่ายที่ส่งสารก็จะไม่ทราบปฏกิ ิริยา ตอบสนองของผู้รบั สาร จงึ ไม่สามารถปรับเปลย่ี นการส่ือสารท่ีเหมาะสมได้ การสอื่ สารในลักษณะน้ีทำ ได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับการส่ือสารเร่ืองท่ีเข้าใจง่าย (เจษฎา นกน้อย, 2559: 46) ซึ่งสอดคล้องกับ เรวัตร สมบัติทิพย์ (2543: 23) อธิบายการส่ือสารทางเดียว คือ ผู้รับสารหรือผู้ใต้บังคับบัญชามี ลักษณะเป็นเส้นตรง ไม่มีการย้อนกลับหรือดูปฏิกิริยาของผู้รับสาร การส่ือสารแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นไปในรูปของนโยบายคำสั่ง ของผู้บริหารระดับสูงสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาท่ีอาจจะผ่านส่ือในประกาศ ต่าง ๆ หรือสื่อมวลชนเสนอข่าวสารสู่ประชาชน หรือรายงานข่าวสารขององค์กรต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ส่งสารมีบทบาทในฐานะเป็นผู้กระทำ (active) การถ่ายทอดสารและความคิดไปยังผู้รับสาร โดยมี ความต้ังใจท่ีจะกระทำการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมและความคิดบางอย่างของผู้รับสารให้เป็นไปตาม ความตอ้ งการของตน ผรู้ บั สารจงึ อยใู่ นสถานะของผ้ถู กู บงั คับใหร้ ับสาร กิติมา สุรสนธิ (2543:65) อธิบายไว้ว่า การส่ือสารทางเดียวเป็นกระบวนการส่ือสารที่ ผู้ส่งสารส่งข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการส่อื สารไปยงั ผรู้ ับสาร โดยผู้รับสารไม่สามารถแสดงปฏิกิริยา ตอบกลบั (Feedback) ถึงผู้ส่งสารได้ เชน่ สอ่ื บุคคล หรอื ส่อื ประชาสมั พันธ์ เปน็ ตน้ ภาพท่ี 1.7 การส่อื สารทางเดียว - แบนเนอรก์ ารประชาสัมพนั ธก์ ารรับนกั ศกึ ษา 2. การส่ือสารสองทาง (Two – Way Communication) คอื การส่อื สารทม่ี กี ารส่งสาร ตอบกลับไปมาระหวา่ งผู้ส่ือสาร ดงั น้ัน ผู้สื่อสารแตล่ ะฝ่ายจึงเป็นผู้สง่ สารและผู้รับสารในเวลาเดยี วกัน ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีโอกาสรับรู้ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการส่ือสารว่า บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ จึงสามารถปรับพฤติกรรมการส่ือสารของแต่ละฝ่ายให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ได้ เช่น การพบปะพูดคุย การพูดโทรศัพท์ การวิดีโอคอลเฟอเรนซ์ เป็นต้น การส่ือสาร แบบน้ีจึงมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการสื่อสารทางเดียว แต่ถ้าเรื่องราวที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน (เจษฎา นกน้อย, 2559: 46) ซ่ึงสอดคล้องกับ เรวัตร สมบัติทิพย์ (2543: 23) ได้อธิบายการสื่อสาร สองทาง คือ การสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถส่งข่าวสาร และแลกเปล่ียนความคิดเห็น ระหว่างกันและกัน การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งสารจะให้ความสนใจกับปฏิกิริยาโต้กลับของผู้รับสาร 18

(Feedback) เช่น ความรู้สึกนึกคิด การแสดงความคิดเห็นตอบกลับข่าวสาร หรือข้อมูลท่ีรับ อาจเป็นไปในรูปแบบการโต้ตอบดว้ ยการพดู หรอื การเขยี น ภาพที่ 1.8 การส่ือสารสองทาง - การสือ่ สารในสื่อออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ห าก เป รียบ เที ยบ ป ระสิ ท ธิภ าพ ทิ ศ ท างของ การสื่ อสารท างเดี ยว (One–Way Communication) และการส่ือสารสองทาง (Two – Way Communication) จะเห็นว่าการส่ือสาร ทางเดียวสามารถส่ือสารไปยังผู้รับสารได้รวดเร็วกว่าการสื่อสารสองทาง แต่ในขณะเดียวกันการ ส่ือสารสองทางจะมีความแม่นยำมากกว่า ดังท่ี ลีนวิท (Leavitt) (อ้างในกะรัต เทพสิริ, 2556: 13 ) กล่าวถึงการทดลองเปรียบเทียบระหว่างการส่ือสารแบบทางเดียวกับแบบสองทาง ปรากฏผลการ ทดลองว่าการส่ือสารทางเดียวรวดเร็วกว่าการส่ือสารสองทาง การส่ือสารสองทางมีความถูกต้อง แม่นยำกวา่ การส่ือสารทางเดียว การสื่อสารสองทางสามารถสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับข่าวสารมากกว่า การสื่อสารทางเดียว แม้ว่าการส่ือสารทางเดียวจะมีความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่าแต่ก็มีความเป็น ระเบียบมากกว่าการสือ่ สารแบบสองทางทม่ี ักมีการรบกวนและย่งุ เหยิงมากกว่า พฤตกิ รรมการเปิดรบั ส่ือ ข้อมูลข่าวสารของสื่อสังคมออนไลน์ เป็นปัจจัยหนึ่งสำหรับสมาชิกหรือกลุ่มคนในสังคม ออนไลน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือการแสดงความคิดเห็น ความต้องการข้อมูลข่าวสารท่ีเพ่ิมมาก ข้ึน เม่ือมนุษย์เกิดความรู้สึกไม่แน่ใจหรือข้องใจในสิ่งท่ีตนน้ันกำลังตัดสินใจ จึงมีความต้องการข้อมูล ความรู้ ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลช่วยในการตัดสินใจก่อนการกระทำใดกระทำหนึ่ง หากพฤตกิ รรมของ บุคคลมีการเปิดรับสื่อมากขึ้น ทำให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีความเข้าใจในบริบทต่าง ๆ ได้ดีย่ิงข้ึนของ พฤติกรรมการเปดิ รับสือ่ ของมนุษย์ 19

เมอร์วิล และ โลเวนสเตนส์ (Merrill & Lowenstein, 1921) (อา้ งในสาธนีย์ แซ่ชิ่น, 2560: 472) กล่าวถึงพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร คือ การกระทำด้วยอิริยาบถต่าง ๆ บ่อยคร้ังทั้งการฟัง การพูดพูด และการอ่าน หรือจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และการพูดคุยกับส่ือ บุคคล ผู้รับสารแต่ละคนต่างมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนตามแบบเฉพาะของตนที่แตกต่างกัน ออกไป ท้งั นเี้ กดิ จากพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1. ความเหงา เม่ือบุคคลต้องอยอู่ ย่างโดดเด่ียวไม่ได้ปฏิสัมพันธก์ ับใคร ทางเลอื กแรกท่ีนกึ ถึง คอื ส่ือออนไลน์ต่าง ๆ ทชี่ ่วยได้ บางคนพึงพอใจกับการอยู่บนโลกส่ือออนไลน์มากกว่าอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพราะส่อื ออนไลน์ไม่มสี ่วนในการสนทนาหรือแรงกดดันทางสังคมให้แก่ตนเอง 2. ความสอดรู้สอดเห็น มนุษย์มีความสอดรู้สอดเห็นในสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังน้ัน ส่ือจึงถือเอาจุดนี้เป็นหลักสำคัญในการให้ข่าวสาร โดยเร่ิมเสนอจากส่ิงใกล้ตัวไปจนถึงส่ิงที่อยู่ หา่ งตัวออกไป 3. ประโยชน์ใช้สอยของตนเอง มนุษย์จะแสวงหาและใช้ข่าวสารเพ่ือประโยชน์ของตนเอง หนุนความคิดของตนเองให้ได้มาเสรมิ บารมี การช่วยให้ตนเองสะดวกสบายหรือให้ความบันเทิงแก่ตน โดยจะใชส้ ื่อที่มีความพยายามนอ้ ยที่สุด และไดผ้ ลประโยชนต์ อบแทนท่ีดีทส่ี ดุ 4. ส่ือแต่ละอย่างมีลักษณะเฉพาะ มีส่วนทำให้ผู้รับข้อมูลแสวงหาและได้ประโยชน์ความ ต้องการหรือจูงใจซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจที่จะทำให้มนุษย์เปิดรับข่าวสารจากสื่อ ดังท่ี แม็ค คอม และแบ็คเคอร์ (McCombs and Becker, 1979: 51-52) (อ้างในอรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์,2554:33) ได้ให้ความเหน็ ว่าบคุ คลสามารถเปดิ รบั ข่าวสารเพื่อตอบสนองความต้องการ 4 ประการ คือ 4.1 เพ่อื ตอ้ งการรู้เหตุการณ์ (Surveillance) โดยการติดตามความเคล่อื นไหวและ สังเกตการณ์สิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากสื่อมวลชน เพื่อจะได้รู้ทันเหตุการณ์ ทันสมัย และรู้ว่าอะไรเป็นสิ่ง สำคัญท่ีควรรู้ 4.2 เพอื่ ต้องการช่วยตัดสินใจ (Decision) โดยเฉพาะการตัดสนิ ใจในเร่อื งทเ่ี ก่ียวกับ ชีวิตประจำวันการเปิดรับข่าวสาร ทำให้บุคลสามารถกำหนดความเห็นของตนต่อสภาวะหรือ เหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ รอบตวั 4.3 เพอ่ื การพูดคยุ สนทนา (Discussion) การเปดิ รับข่าวสารจากส่อื มวลทำใหบ้ ุคคล มีข้อมูลท่ีนำไปใช้ประโยชนใ์ นการพูดคุยกับผู้อนื่ 4.4 เพื่อความตอ้ งการการมสี ว่ นร่วม (Participation) เพื่อการรับรแู้ ละมีส่วนรว่ ม ในเหตุการณ์ความเป็นไปตา่ ง ๆ ท่เี กดิ ข้นึ ในสงั คมและรอบตัว Klapper J.T. (1960:19-25 อ้างใน ศิวัช จนั ทนาสุภาภรณ์, 2554) ไดก้ ล่าวถึงกระบวนการ การเลือกรับข่าวสารหรือเปิดรับข่าวสาร เปรียบเสมือนเคร่ืองกรองข่าวสารในการรับรู้ของมนุษย์ ซ่ึง ประกอบไปด้วยการกลั่นกรอง 4 ขนั้ ตอน ดังน้ี 20

1. การเลือกเปิดรับ (Selective Expose) เป็นขั้นแรกในการเลือกช่องทางการสื่อสาร บุคคลท่ีจะเลือกเปิดรับสื่อและข่าวสารจากแหล่งสารท่ีมีอยู่ด้วยกันหลายแหล่ง เช่น การเลือกซื้อ หนังสือพมิ พ์ฉบับใดฉบับหนึ่ง เลือกเปดิ สถานีวทิ ยกุ ระจายเสยี งสถานใี ดสถานีหนึง่ ตามความสนใจและ ความต้องการของตน อีกท้ังทักษะและความชำนาญในการรับรู้ข่าวสารของคนต่างกัน บางคนถนัดท่ี จะฟงั มากกว่าอา่ นก็ชอบฟงั วิทยุ ดโู ทรทศั น์ มากกวา่ อา่ นหนังสอื เปน็ ต้น 2. การเลือกให้ความสนใจ (Selective Attention) ผู้เปิดรับข่าวสารมีแนวโน้มท่ีจะเลือก สนใจข่าวจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง โดยเลือกตามความคิดเห็นและความสนใจของตน เพ่ือสนับสนุน ทัศนคติทมี่ ีอยู่และหลีกเล่ียงสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความรู้ ความเข้าใจหรือทัศนคติเดิมท่ีมีอยู่แล้ว ไม่ให้ เกิดภาวะทางจิตใจท่ีไม่สมดุลหรือมีความไม่สบายใจ หรือที่เรียกว่า ความไม่สอดคล้องทางด้านความ เข้าใจ 3. การเลือกรับรู้และตีความหมาย (Selective Perception and Interpretation) เมอ่ื บุคคลเปิดรบั ข้อมูลขา่ วสารแล้ว ก็ใชว่ ่าจะรบั รู้ขา่ วสารทัง้ หมดตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารเสมอไป เพราะคนมักเลือกรับรู้และตีความหมายสารแตกต่างกันไปตามความสนใจ ทัศนคติ ประสบการณ์ ความเชอื่ ความต้องการ ความคาดหวัง แรงจูงใจ สภาพทางร่างกาย หรอื สภาวะทางอารมณ์และจติ ใจ ฉะนั้นแต่ละคนอาจตีความเฉพาะข่าวสารท่ีสอดคล้องกับลักษณะส่วนบุคคลดังกล่าว นอกจากจะทำ ให้ข่าวสารบางส่วนถูกตัดท้ิงไปยังมีการบิดเบือนข่าวสาร ให้มีทิศทางเป็นที่น่าพอใจของแต่ละบุคคล ด้วย 4. การเลือกจดจำ (Selective Retention) บุคคลจะเลือกจดจำข่าวสารในส่วนท่ีตรงกับ ความสนใจ ความต้องการ ทัศนคติ ฯลฯ ของตนเอง และมักจะลืมหรือไม่นำไปถ่ายทอดต่อในส่วนท่ี ตนเองไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย หรือเร่ืองท่ีขัดแย้งค้านกับความคิดของตน ข่าวสารที่ตนเองเลือกจดจำไว้ น้ันมักมีเน้ือหาท่ีจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม หรือความเช่ือของแต่ละ คนที่มีอยู่เดิมให้มีความมั่งคงชัดเจนย่ิงข้ึนและเปลี่ยนแปลงยาก เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ในโอกาส ต่อไป ส่วนหนึง่ อาจนำไปใช้เมื่อเกิดความร้สู ึกขดั แยง้ และมีสงิ่ ที่ทำให้ไมส่ บายใจ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเปิดรับสื่อนั้น มนุษย์ต่างมีพฤติกรรมแสวงหาข้อมูล ความ ต้องการคำตอบหรือแสวงหาสิ่งทตี่ นสนใจอยากรู้ในเวลาน้ัน ๆ ท่ีแตกต่างกันออกไป เพราะการเปิดรับ ข่าวสารจะทำให้เกิดความผ่อนคลาย คลายข้อสงสัย มีความรู้ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและจะ กลายเปน็ คนท่ที ันสมยั ทนั ตอ่ เหตกุ ารณ์ อปุ สรรคของการสื่อสาร การสื่อสารในทุกระดับและในบางสถานการณ์ก็มีอุปสรรคเกิดข้ึนได้เสมอ สาเหตุดังกล่าว อาจเกิดจากความผิดพลาดขององค์ประกอบในการสื่อสารในเร่ืองใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเร่ืองพร้อม พร้อมกัน อุปสรรคเหล่านี้เป็นเรื่องท่ีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องตระหนักและหาทางแก้ไขหรือให้ลด 21

น้อยลง ท้ังน้เี พือ่ ให้การสอ่ื สารบรรลตุ ามจดุ มงุ่ หมาย และประสบความสำเร็จในทส่ี ุด อุปสรรคของการ สอ่ื สารสามารถจำแนกได้ ดงั น้ี ตารางที่ 1.1 อุปสรรคของการส่ือสาร องค์ประกอบ บทบาท อุปสรรค ผู้ส่งสารผู้ส่ง • มีเจตนาให้ผู้รับสาร รับรู้ • มีจุดมุ่งหมายในการส่ือสารไม่ชัดเจน สาร ความตอ้ งการของตน • ขาดความรู้และประสบการณ์ในเรื่องท่ีจะ • มีความรู้ความเข้าใจใน สือ่ สาร เน้อื หา ทจ่ี ะส่ือกบั ผู้อ่ืน • ตั้งความคาดหวังไว้สูงเกินไป มึงไม่พยายามทำ • ค ำ นึ ง ถึ ง ค ว า ม รู้ ความเข้าใจในความสามารถและความพร้อม ความสามารถของผู้รับ ของผู้รับสาร เช่น ไม่คำนึงว่าผู้รับสาร ต้องการ สาร อะไร มีพนื้ ฐานความรแู้ ละประสบการณห์ รือไม่ • รู้กลวิธีที่เหมาะสมในการ รวมทง้ั มที ัศนคตเิ ชน่ ไร เปน็ ต้น นำเสนอ • ใช้กลวิธีการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้วิธี สื่อสารที่ไม่น่าสนใจ • ขาดความพรอ้ มทางด้านร่างกายหรือจิตใจ • มีอคติอันเน่ืองมาจากความเชื่อ ค่านิยม และ ความลำเอียง ในตัวผู้รับสาร หรือผู้ส่งสาร เป็น ตน้ ผรู้ บั สาร • รับรู้เรื่องราวข่าวสารอยู่ • มีจุดมุ่งหมายของการรับรู้ท่ีไม่แน่นอนเช่น เสมอ เลือกรับรู้เฉพาะส่ิงท่ีตนเองได้รับประโยชน์ • มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ หรอื ไมต่ ั้งใจทจ่ี ะรับสารใหค้ รบถว้ นเป็นต้น รวดเร็วและถูกตอ้ ง • ขาดความรพู้ ืน้ ฐานเกยี่ วกับสารท่รี ับ • ไม่พร้อมที่จะรับสาร เน่ืองจากปัญหาด้าน สขุ ภาพกายและสุขภาพจติ • มีอคตติ ่อผู้สง่ สาร จากตัวสารทไี่ ดร้ บั สาร • เร้าให้ผู้รับสารเกิดการ • ขาดความสมบรู ณ์ของเนือ้ หา รับรู้ความหมายและมี • ขาดความเหมาะสมกับพนื้ ฐานของผรู้ ับ ปฏิกิริยาตอบสนองในแง่ • ขัดกับความเชอ่ื และคา่ นิยม ข อ ง ข้ อ เท็ จ จ ริ ง แ ล ะ ขอ้ คิดเหน็ • ซับซอ้ นมากเกินไป • ลำดับความสับสน และไม่เหมาะกับรูปแบบท่ี นำเสนอ • เนอื้ หาซ้ำซากไม่น่าสนใจ 22

องค์ประกอบ บทบาท อปุ สรรค สื่ อ ช่ อ ง • ตัวนำสารไปสู่ผู้รับโดย • สอ่ื ธรรมชาติ อากาศร้อนอบอ้าว แสงสว่างที่จ้า ท า ง ก า ร ผ่านประสาทสัมผัสทางใด มาก หรือริบหร่จี นมองไมเ่ ห็น เป็นต้น ตดิ ตอ่ สอ่ื สาร ทางหน่ึง • สื่อมนุษย์ผู้นำสาร โฆษก หรือบุรุษไปรษณีย์ • เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ส่ง ขาดความชำนาญ ดำเนินการล่าช้า หรือ สารกับผู้รับสารติดต่อถึง ผิดพลาด รวมท้ังนำสาร ส่งผ่านบุคคลหลาย กัน ระดับเปน็ ต้น • สื่อส่ิงพิมพ์ ตัวพิมพ์ หรือภาพ ที่เลือนลาง ไม่ได้มาตรฐาน กระดาษมีรอยยับ รอยขูดฆ่า เป็นตน้ • ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ระบบเคร่ืองขยายเสียงไม่ ทำงาน มเี สียงหวีด เป็นตน้ • สื่อภ าษ า ใช้ภ าษ าที่ ไม่เกิดมโนภ าพ ใช้ สัญลกั ษณ์หรอื เครื่องหมายที่แตกต่างกัน ภาษา ท่ีใช้ไม่ถูกต้องชัดเจน รวมทั้งการใช้ภาษาที่ผิด ระดบั ของการสื่อสาร • เสียงและท่าทาง การพูดดัง พูดค่อยรวยเร็ว หรือพูดไม่ชัด รวมทั้งการใช้ท่าทาง ซ่ึงอาจใช้ มากเกินไป ไม่สอดคล้องกับเน้ือหาที่พูด หรอื ไมใ่ ชท้ ่าทางประกอบการพดู เลย เป็นตน้ สถ าน ก ารณ์ • ชว่ ยเสรมิ หรือสนับสนุนให้ • สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อม ก า ร ส่ื อ ส า ร เ กิ ด กับสภาพการในการส่ือสารเช่น มีเสียงรบกวน ผลสัมฤทธ์ิตามเป้าหมาย อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แคบหรือกว้างเกินไป บรรยากาศตึงเครียดรีบเร่งหรือเฉ่ือยชาหรือ แม้แต่ไม่คำนึง ถึงช่วงเวลา ท่ีใช้ในการส่ือสาร เปน็ ต้น ทีม่ า : นพิ นธ์ ทพิ ย์ศรีนมิ ติ , 2543: 17-19. นอกจากน้ีปัจจัยท่ีเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารทำให้ประสิทธิภาพการสื่อสารลดลง ซ่ึง เซอร์โต Samuel C.Certo (2552:18) (อ้างใน ฐิติรัตน์ นุ่มน้อย, 2554: 28-30) ได้กล่าวไว้ 2 ประเภท ดงั นี้ 1. อุปสรรคมหาภาค (Macro barrier) ปัจจัยที่ทำให้การส่ือสารในภาพรวมถดถอย เป็นอุปสรรคท่ีเกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมของโลก หรือในระดับนานาชาติ ซ่ึงมีผลกระทบเชิง ลบต่อประสิทธิภาพการส่ือสารภายในองคก์ ร โดยมสี าเหตุมาจาก 23

1.1 ความต้องการข้อมูลข่าวสารท่ีเพิ่มข้ึน เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ทำให้คนในสังคมมีความต้องการทราบข้อมูลข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิมจนเกินขีดจำกัด ความสามารถของเครอื ข่าวข่าวสารทีร่ องรบั ความต้องการ ส่งผลในการจัดเตรยี มข้อมูลข่าวสารในการ วิเคราะห์ข้อมลู ไมม่ ีประสทิ ธภิ าพทีด่ พี อ จนทำใหเ้ นื้อหาอาจถกู บดิ เบือน 1.2 ความสลับซับซ้อนของข้อมูลข่าวสารที่มีมากข้ึน เนื่องจากปัจจุบันบทบาทของ เทคโนโลยีท่ีใช้สำหรับติดต่อสื่อสารมีหลายช่องทางและมีเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรมทาง เทคโนโลยีทำให้เกิดความสลับซับซ้อนของข่าวสารในหลายมิติ ทำให้บุคคลในองค์การจำเป็นต้อง พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่มีความสลับซับซ้อนได้ครอบคลุม ทุกมิติ 1.3 การใช้ภาษาในการติดต่อ ปัจจุบันภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารมีความหลากหลาย มากขึ้น โดยเฉพาะภาษาที่ไม่ใช่ภาษาสากลหรือภาษาอังกฤษ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการ ติดต่อส่ือสารหรือการส่ือความหมายของการสื่อสารที่บิดเบือนไปได้ ส่งผลให้บุคคลในองค์กร จำเปน็ ต้องเรยี นร้แู ละพฒั นาศกั ยภาพการใช้ภาษาองั กฤษและภาษาอ่นื ๆ ด้วย นอกจากนี้ E.H.Schein (1981:43-45) (อ้างในวิเชียร วิทยอุดม, 2547: 270) กล่าวว่า อปุ สรรคของวัฒนธรรมข้ามชาตอิ าจมีผลตอ่ คุณภาพของการสื่อสาร การท่ีผู้ส่งสารไม่ได้ส่ือสารเพ่ือให้ ผรู้ ับสารเข้าใจ การส่งสารที่มีความหมายทแ่ี ตกต่างกันกับวัฒนธรรมของผูร้ ับสาร การท่ีภาษาต่างกันก็ เปน็ อปุ สรรคสำคญั ของการสื่อสารไดเ้ ชน่ กัน 2. อุปสรรคระดบั จลุ ภาค (Micro barriers) ปจั จัยที่ทำใหก้ ระบวนการสง่ ข้อมูลข่าวสารขาด ประสิทธิภาพ ซ่ึงเก่ียวข้องโดยตรงต่อวิธีการส่งสารและรับสาร ได้แก่ แหล่งข้อมูลข่าวสาร (Source) ตวั สาร (Message) และผ้รู ับสาร (Destination) มีสาเหตมุ าจาก 2.1 ทัศนคติที่ผู้ส่งสารมีต่อผู้รับสาร กล่าวคือ ผู้ส่งสารมองว่าผู้รับสารขาดความรู้ความ เข้าใจกับสารที่ส่งไป ทำให้การสื่อสารข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือพยายามทำให้ข้อมูลเข้าใจง่ายกับ ผู้รับสาร ในขณะที่ผู้รับสารเม่ือทราบทัศนคติดังกล่าว อาจเกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันและส่งผล ทางลบจอ่ ประสิทธภิ าพในการส่อื สารได้ 2.2 การแทรกแซงกระบวนการตดิ ตอ่ สอื่ สาร คือ สง่ิ ทร่ี บกวนกระบวนการรับข้อมูล ข่าวสารหรือที่เรียกว่า เสียงรบกวน (Noise) ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคทางกายภาพ เช่น ระยะทางการ สื่อสารที่ไกลกนั มีเสยี งดังรบกวน สญั ญาณการส่อื สารทางโทรศพั ทห์ รอื อินเตอรถ์ ูกรบกวน เปน็ ตน้ 2.3 ทัศนคติของผู้รับข่าวสารท่ีมีต่อแหล่งข่าว กรณีท่ีผู้รับสารมีทัศนคติท่ีไม่ดีต่อ แหล่งข่าว อาจไม่น่าเช่ือถือเท่าท่ีควร ทำให้ผู้รับสารทำการคัดกรองและแยกแยะเอาเฉพาะข้อมูลท่ี ตนเองคิดว่าเช่ือถือได้ รวมท้ังความพยายามเสริมแต่งข้อเท็จจริงขึ้นมา จากประสบการณ์ของตนเอง และอาจทำให้การส่ือสารเน้ือหาออกไปไม่ครบถ้วน ปัจจัยเหล่าน้ีล้วนเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้การ สื่อสารไม่มปี ระสิทธิผลเท่าทีค่ วร 24

2.4 ความสามารถในการรับรู้ข่าวสารของบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล นับได้ว่าเป็นอุปสรรคท่ีสำคัญที่สุด ทั้งท่ีเกิดจากปัจจัยทางจิตวิทยาและทางสังคมวิทยาในเรื่องของ ความรู้สึก อารมณ์ ค่านิยมทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ทำให้การส่ือสารสามารถ บิดเบือนข่าวสารได้มาก ส่ิงเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ข้อความท่ีเหมือนกันอาจถูก มองไปได้ในหลายแงม่ ุม ซ่งึ ขึน้ อยกู่ บั ระดับการศกึ ษาและประสบการณข์ องผู้รบั สาร 2.5 คำที่มีหลายความหมาย อุปสรรคทางด้านภาษานับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ทางการสื่อสารอย่างมากเพราะความไม่สมบูรณ์ของระบบภาษา การตีความหมายของคำพูดสามารถ ทำได้หลายแง่มุม อาจทำให้การตีความหมายผิดพลาดและเกิดความเข้าใจที่ต่างกัน ดังนั้นจึงควร ระมัดระวังในการส่ือสารท่ีมีความคลุมเครือ และเลือกใช้คำท่ีท้ังผู้ส่งและผู้รับสารคุ้นเคยและเข้าใจ ตรงกัน นอกจากอุปสรรคในการส่ือสารท่ีกล่าวมานั้น ธนวรรธ ต้ังสินทรัพย์ศิริ (2550: 209) ยังระบุ ว่าปญั หาในการสอ่ื สารมี 4 ประการ คือ 1. อปุ สรรคในการสอ่ื สารระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ซงึ่ งานวจิ ยั ของ Deborah Tannan ชีใ้ ห้เห็นความแตกต่างระหวา่ งชายและหญิงในรูปการสนทนา โดยอธบิ ายว่าเพศชายจะใช้การพูดเพื่อ ย้ำถึงสถานภาพและสนทนาแบบตรง ๆ มากกว่าเพศหญิง ในขณะท่ีเพศหญิงจะใช้คำพดู เพื่อสรา้ งการ สอ่ื สาร โดยไม่สนใจเกี่ยวกบั สถานภาพ การสนทนามักจะพูดจาแบบอ้อมค้อม 2. การสื่อสารแบบการเมืองที่ถูกต้อง โดยควรยึดหลักการส่งข่าวสารให้เกิดความชัดเจน และถูกต้องมากทส่ี ุด นอกจากนี้ควรเลอื กคำทจี่ ะไม่ทำใหค้ นอืน่ ขดั เคืองกัน และต้องระมัดระวังการใช้ ภาษาเพ่อื ไม่ให้เกดิ ความคลมุ เครือ 3. การสื่อสารในสองวัฒนธรรม ซ่ึงมีความหมายของคำและวิธีการใช้คำที่แตกต่างกัน เพราะคำจะมีความหมายได้หลายอย่างใน วัฒนธรรม และการใช้น้ำเสียงท่ีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ เน้ือหาและบริบทของพ้ืนท่ีในแต่ละวฒั นธรรม 4. การส่ือสารโดยใช้เคร่ืองมืออิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมากในการ ทำงาน ทำให้ลดการสื่อสารแบบเผชิญหน้าลดลงไป บางครั้งทำให้สมาชิกเกิดความเครียดและกดดัน ตอ่ การเรยี นรเู้ ทคโนโลยแี ละเครื่องมืออเิ ล็กทรอนกิ ส์ การสื่อสารทุกระดับสามารถเกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้ทั้งส้ิน อาจเกิดจากทัศนคติของผู้ ส่งสารและผู้รับสารที่มีต่อเรื่องราว ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการถ่ายทอด สถานการณ์ที่คลุมเครือของ สิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดข้ึน อาจส่งผลต่อการตีความหมายของส่ือท่ีผิดเพี้ยนหรือบิดเบือนไปจากความ จริงได้ ฉะนั้นเพื่อลดความคลุมเครือหรือการตีความที่ผิดท่ีอาจจะเกิดข้ึน ผู้ส่งสารและผู้รบั สารตอ้ งใช้ วธิ ีการสงั เกตพฤตกิ รรมหรอื ปฏิกริ ิยาตอบสนองซงึ่ กนั และกันเพ่ือนำมาปรบั ปรุงวิธกี ารส่ือสารตอ่ ไป 25

บทสรปุ การสื่อสารเป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในการสร้างความหมาย ร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Message) ช่องทางการ สือ่ สาร (Channel) และผรู้ ับสาร (Receiver) ทั้งน้ีผสู้ ่งสารและผู้รับสารสามารถสังเกตพฤติกรรมหรือ ผลการตอบสนองของการถ่ายทอดข้อมูลได้จากปฏิกิริยาตอบรับ (Feedback) ของผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร และผลตอบรับที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับข้อมูลข่าวสาร (Effect) เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ การส่ือสาร ผู้รับสารอาจรับสารไม่ตรงตามความมุ่งหวังของผู้ส่งสารก็ได้ แต่ถ้าจดุ มุ่งหมายของทั้งสอง ฝา่ ยเข้าใจหรอื สอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกัน โอกาสที่จะเกิดความเข้าใจและประสบผลสำเรจ็ ใน การสอื่ สารก็มีมากข้ึน และในการสื่อสารแต่ละคร้ังอาจมีมากกว่าหน่งึ จดุ มุ่งหมายที่ผสู้ ่งสารต้องการให้ ผู้รับสารรับทราบ อย่างไรก็ตาม การส่ือสารจะบรรลุตามจุดมุ่งหมายได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของ การส่ือสารท่ีสามารถเอื้ออำนวยผลสำเร็จของการส่ือสารในขณะน้ัน ความสำเร็จของการสื่อสารอาจ สังเกตได้จากปฏิกิริยาของผู้รับสารท่ีแสดงออกเม่ือได้รับสาร นอกจากน้ีรูปแบบของการสื่อสารส่งผล ต่อความสำเร็จของการส่ือสารด้วยเช่นกัน เช่น การส่ือสารภายในบุคคล การส่ือสารระหว่างบุคคล การส่ือสารภายในกลุ่ม และการส่ือสารมวลชน ท้ังนี้รูปแบบของการส่ือสาร ขึ้นอยู่กับการส่ือสารท่ี เกิดขึ้นตามสถานการณ์ในแต่ละครั้ง จำนวนบุคคลที่กำลังส่ือสาร ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างผู้รับ สารและผู้ส่งสาร ตลอดจนความเช่ือ ทัศนคติระหว่างการส่ือสาร เป้าหมายของการส่ือสารในแต่ละ ครง้ั การติดต่อสื่อสารระหวา่ งกนั นอกจากจากการเผชญิ หน้าในการส่อื สารยงั ปรากฏการส่ือสาร อีกรูปแบบหนึ่งซ่ึงเป็นที่นิยมในการส่ือสารปัจจุบัน คือ การสื่อสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต หรือท่ี เรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Media Online) ซ่ึงเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีท่ีเป็นเครื่องมือใน การทำงานบนเครือข่ายอนิ เทอร์เน็ต โดยมีวตั ถปุ ระสงค์เพ่ือการติดต่อส่ือสาร การถ่ายทอดข้อมูล การ แบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนในลักษณะการร่วมเครือข่ายออนไลน์เดียวกัน การ สื่อสารในรูปแบบน้ีมีรูปแบบหลายประเภทแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เครือข่ายสังคม (Social networks) บล็อก, ไมโครบล็อก Blog, Microblogs กลุ่มคนที่มีความรู้ (Crowd wisdom) และสังคมพาณิชย์ (Social commerce) เปน็ ต้น การแปรเปล่ียนหรือทิศทางของการส่ือสารในสื่อสังคมออนไลน์ อาจมีการแปรเปล่ียนไป ตามสอื่ หรอื ช่องทางการส่ือสารซึ่งทำหนา้ ท่เี ชื่อมความสมั พนั ธร์ ะหว่างผู้สง่ สารและผูร้ ับสาร การศึกษา ทิศทางของการส่ือสารสามารถจำแนกได้ตามลักษณะของการสื่อสาร ได้แก่ การส่ือสารทางเดียว (One – Way Communication) เป็นการสื่อสารโดยผู้ส่งสารสามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านช่อง ทางการสื่อสารไปยังผู้รับสาร โดยผู้รับสารไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับถึงผู้ส่งสารได้ เช่น ส่ือบุคคล หรือส่ือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น และการส่ือสารสองทาง (Two – Way Communication) เป็นการส่อื สารที่ผู้ส่งสารและผรู้ ับสารสามารถสง่ ขา่ วสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกนั และกัน 26

การส่ือสารในลักษณะดังกล่าว ผู้ส่งสารจะให้ความสนใจกับปฏิกิริยาโต้กลับของผู้รับสาร เช่น ความรสู้ กึ นึกคิด การแสดงความคิดเหน็ ตอบกลับข่าวสารหรอื ขอ้ มลู ทไี่ ด้รบั เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อขอ้ มูลขา่ วสารของส่ือสงั คมออนไลน์ เป็นปัจจัยหนึ่งของ กลุ่มคนในสังคมออนไลน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือการแสดงความคิดเห็น ความต้องการข้อมูล ข่าวสารท่ีเพิ่มมากขึ้น เม่ือมนุษย์เกิดความรู้สึกไม่แน่ใจหรือข้องใจในส่ิงที่ตนนั้นกำลังตัดสินใจ จึงมี ความต้องการข้อมูล ความรู้ ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลช่วยในการตัดสินใจก่อนการกระทำใดกระทำ หนึ่ง หากพฤติกรรมของบุคคลมีการเปิดรับส่ือมากขึ้นเพียงใด ทำให้เห็นว่าบุคคลน้ันมีความเข้าใจใน บรบิ ทต่าง ๆ ได้ดยี ่ิงขน้ึ ในการส่ือสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบการเผชิญหน้า หรือแม้แต่การสื่อสารใน รูปแบบสงั คมออนไลน์ สามารถเกิดอุปสรรคในการสอื่ สารซ่งึ เกิดขึ้นได้เสมอ โดยทีส่ าเหตดุ ังกล่าว อาจ เกิดจากความผดิ พลาดขององค์ประกอบในการส่ือสารในเรอื่ งใดเร่ืองหนึ่ง หรอื หลายเร่ืองพร้อมพร้อม กนั อุปสรรคเหล่านี้เป็นเร่ืองที่ผู้ส่งสารและผู้รบั สารต้องตระหนัก และหาทางแก้ไขหรือให้อุปสรรคใน การสอื่ สารลดน้อยลง ท้งั นี้เพ่ือให้การสือ่ สารบรรลุตามจุดมงุ่ หมายและประสบความสำเร็จในท่ีสดุ ดังนนั้ การสื่อสารจะประสบความสำเร็จได้ ผู้สง่ สารจำเปน็ ตอ้ งมีความรู้ในเรือ่ งกระบวนการ สือ่ สาร สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ การแปลความหมายของผู้รับสาร สภาพแวดล้อมตามบริบทใน ขณะนั้น ตลอดจนการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับส่ือ รวมถึงการพิจารณาคุณลักษณะท่ีอาจเป็นข้อดี หรอื ความล้มเหลวของการส่ือสารน้นั ดว้ ย 27

คำถามทา้ ยบทที่ 1 1. การสอื่ สารหมายความวา่ อยา่ งไร 2. องค์ประกอบของการสือ่ สารมีอะไรบา้ ง อธบิ าย 3. วัจนภาษาและอวัจนภาษามีควาสัมพนั ธ์กนั อย่างไร 4. การสื่อสารในชวี ิตประจำวนั มีความสำคัญอย่างไร 5. ถา้ การสอ่ื สารไม่มปี ระสทิ ธิภาพจะสง่ อย่างไรต่อสังคม 6. ถา้ ตอ้ งการให้คนท่ีประพฤติไม่ดีใหก้ ลบั มาเปน็ คนดี จะมวี ิธีการสอ่ื สารอยา่ งไร 7. อธิบายกระบวนการส่ือสารระหวา่ งบคุ คล 8. ในยุคปัจจุบัน อะไรทีเ่ ปน็ อปุ สรรคต่อการส่ือสารมากท่สี ดุ อธบิ าย 9. การสื่อสารในยุคสงั คมออนไลน์ จะผลต่อการสื่อสารในสงั คมปัจบุ ันอย่างไร อธิบาย 10. ทิศทางของการส่ือสารในสอื่ สังคมออนไลน์ มลี ักษณะเปน็ ไปในทิศทางใดบ้าง อธบิ าย 28

บรรณานกุ รม ภาษาไทย กะรัต เทพศิริ. (2556). รูปแบบการสอ่ื สารภายในองค์กรของบุคลากรคณะบรหิ ารธรุ กจิ มหาวทิ ยาลัยแม่โจ้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก:http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2558/K arat_Tepsiri/fulltext.pdf. [1 เมษายน 2562]. กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สอื่ สารมวลชน: ทฤษฎแี ละแนวทางการศึกษา. พิมพค์ รัง้ ท่ี 3. กรุงเทพฯ : ศนู ย์หนังสอื จฬุ าลงกรณ์. กติ ิมา สรุ สนธิ. (2546). ความรทู้ างการสื่อสาร. พมิ พ์ครง้ั ท่ี 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์. กติ มิ า สรุ สนธิ. (2557). ความรทู้ างการสื่อสาร (Introduction to Communication). พมิ พค์ รงั้ ท5ี่ . กรงุ เทพฯ : จามจุรีโปรดักส์ จำกัด. คณาจารยจ์ ฬุ าลงกรณร์ าชวทิ ยาลัย. (2551). ภาษากบั การสอื่ สาร. กรงุ เทพฯ:มหาวทิ ยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เจษฎา นกน้อย. (2559). การสอ่ื สารภายในองคก์ าร แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนกั พิมพแ์ ห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . ฐติ ิรตั น์ นุ่มนอ้ ย (2554). การสือ่ สารเพ่ือการจดั การการเปลี่ยนแปลงในองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพ่ือรายย่อยจำกัดมหาชน. ศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ , คณะภาษาและการสอื่ สาร (การสอ่ื สารประยกุ ต์). กรงุ เทพฯ: สถาบันบณั ฑติ พฒั นบ ริหารศาสตร์. ธนวรรธ ต้งั สนิ ทรัพย์ศริ ิ.(2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพมิ พ์จำกัด. นาวกิ นำเสยี ง. (2554). เร่อื งจริงเกย่ี วกับ สื่อสังคมออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mediamonitor.in.th/.../233-2011-09-13-03-37-13.html. [1 เมษายน 2562]. นิพนธ์ ทพิ ยศ์ รนี ิมิต. (2543). หลักการพูด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สงขลา : มหาวทิ ยาลยั ทักษณิ . 29

บุษบา สธุ ีธร. (2540). พฤติกรรมการสือ่ สารระหวา่ งบคุ คล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. ปรมะ สตะเวทิน.(2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรงุ เทพฯ: ร่งุ เรอื งสาส์นการพิมพ์. ชิตาภา สุขพลำ. (2557). วาทนพิ นธ์. กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . มณฑล ใบบวั . (2536). หลกั และทฤษฎกี ารสื่อสาร. กรงุ เทพฯ : โอเดยี นสโตร์. ราชบัณฑติ ยสถาน. (2556). พจนานกุ รม ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน. เรวตั ร สมบตั ิทพิ ย์. (2543). การตดิ ตอ่ ส่ือสารในองคก์ าร : กรณีศึกษาบริษัทซีเกท เทคโนโลยีประเทศไทย จำกัด . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ลกั ขณา สตะเวทนิ .(2540). หลักการประชาสัมพนั ธ์. กรงุ เทพฯ : เฟอื่ งฟา้ การพิมพ์. วิกิพเี ดยี สารานุกรมเสรี. (2562). สื่อสังคมออนไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมือ่ 1 เมษายน 2562, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/สือ่ สงั คม. วิเชยี ร วิทยอุดม. (2547). พฤตกิ รรมองค์การ.กรุงเทพฯ: ธีระฟลิ ์มและไซเท็กซ์ จำกดั . ศวิ ัช จนั ทนาสุภาภรณ์. (2554). ทศั นคติทมี่ ีต่อการเปิดรับส่อื ออนไลน์บนเครอื ข่ายสงั คม ออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลธัญบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้น เมอื่ 1 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2OY6A9d. สาธนยี ์ แซช่ ิ่น. (2560). พฤติกรรมการเปดิ รับขา่ วสารทางสอื่ ออนไลน์ (สื่ออินเตอรเ์ น็ต) ของประชาชนในเขตกรงุ เทพมหานคร. [ออนไลน์]. สบื คน้ เม่ือ 1 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2GcoW2D. สุภาวรรณ์ นวลนลิ . (2557). ประเภทของ Social Media. [ออนไลน์]. สืบค้นเมอ่ื 1 เมษายน 2562, จาก: https://supawannuannil.wordpress.com/author/supawannuannil/page/2/ แสงเดือน ผ่องพฒุ . (2556). สื่อสงั คมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกตใ์ ช้. [ออนไลน์]. สบื ค้นเม่อื 1 เมษายน 2562,จาก : https://bit.ly/2wK8IJz. อรุณรตั น์ ศรีชูศลิ ป์. (2554). พฤติกรรมการใชเ้ ครือขา่ ยสังคมออนไลน์ ของนักศึกษา ปรญิ ญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. [ออนไลน์]. สืบคน้ เม่อื 1 เมษายน 2562, จาก: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/270380. 30

อภิชจั พุทสวัสดิ์. (2560). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชงิ กลยทุ ธ์ผ่านการสอ่ื สาร เครือข่ายสงั คมออนไลน์. กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . ภาษาองั กฤษ Berlo D.L. (1960). The Process of Communication. New York : Holt, Rinehart and Winstons. McCroskey,J.C.& Daley , J . (1987). Personality and Interpersonal Communication. Beverly Hills, Cage. Solis, B. (2016). The conversation prism. [online]. Retrieved April 1 2019, from: https://conversationprism.com. 31

บทที่ 2 ความรเู้ บ้อื งตน้ เกี่ยวกบั การพูด การพดู เป็นการสอ่ื สารรูปแบบหน่ึงของมนุษย์ที่มีความสำคัญในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพราะมนุษยต์ ้องใชภ้ าษาในการรับรู้ความคิดและความร้สู ึกของผู้อน่ื นอกเหนอื จากวิธีการฟังและการ อ่าน การใช้ภาษาในการส่งสารหรือถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกของตนเองไปยังผู้อ่ืนด้วย วิธีการเขียนและการพูด หากจะแยกทักษะการส่ือสาร ได้แก่ การพูดการฟังการอ่านและการเขียน ทกั ษะทางด้านการพูดจดั เป็นทกั ษะการสง่ สาร ดงั ภาพต่อไปน้ี ภาพที่ 2.1 การแยกทักษะทางภาษา การแยกทักษะทางภาษาสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ด้าน คือ การรับสารและการส่งสาร ซง่ึ มนษุ ย์สามารถรบั สารดว้ ยวิธกี ารฟังและการอ่าน และสามารถส่งสารได้ด้วยวิธีการพูดและการเขียน ในบทน้ีได้นำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด โดยมีเน้ือหาประกอบด้วย ความหมายของการพูด ความสำคัญของการพูด จุดมุ่งหมายของการพูด องค์ประกอบของการพูด หลักและทฤษฎีการพูด และการแบ่งประเภทของการพูด เพื่อให้ผู้พูดได้ศึกษา เข้าใจในทฤษฎี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพูดต่อไป ความหมายของการพูด การพูด เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์ใช้คำพูดแสดง อารมณ์ความรู้สกึ โดยอาศยั ภาษาและเสียงเปน็ ส่ือในการตดิ ตอ่ ระหว่างบุคคล สงั คม หรือแม้แต่องค์กร เพือ่ ในการดำเนนิ ชีวติ ประจำวัน การสือ่ สารโดยใช้คำพดู เป็นเรอื่ งท่ตี อ้ งระมัดระวงั เพราะการพดู อย่าง เป็นระบบเทา่ น้นั ท่ีจะทำให้ผ้พู ูดสามารถดำเนินชีวิตในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่มนษุ ย์

สามารถพดู ได้ดีพูดให้เปน็ หรอื พูดให้เกิดประโยชน์ได้นั้น ผู้พูดตอ้ งคำนึงถึงเน้ือหาวัตถุประสงค์และการ บรรลุผลของการพูดเป็นสำคัญ ดังน้ัน ผู้พูดจึงควรคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนท่ีจะ ตัดสินใจพูดสง่ิ ใดออกไป การใหค้ วามหมายของการพูดสามารถสรุปได้ดังนี้ ภานวุ ัฒน์ เชน (2557:28) กลา่ วว่า การพดู ไว้วา่ เป็นการใช้ถอ้ ยคำ นำ้ เสียง และกิรยิ าอาการ เพ่ือถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟัง ได้รับรูแ้ ละเกิดการตอบสนอง วีระเกียรติ รุจิรกุล (2556:2) กล่าวว่า การพูด คือ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ตลอดจนความต้องการของผู้ออกมา โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาอาการประกอบกัน เป็นส่ือ เพ่อื ให้ผูฟ้ ังรับรแู้ ละเขา้ ใจได้ตรงตามวตั ถุประสงค์ของผู้พูด ธุวพร ตันตระกูล (2555) กล่าวว่า การพูด คือ การใช้ความสามารถทางด้านภาษารวมถึง ท่าทางความรู้สึกนึกคิดที่จะถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจ โดยมีจุดมุ่งหมายท่ีสำคัญคือเพื่อแลกเปล่ียน ข่าวสารข้อมูลระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนข้ึนไป การพูดท่ีมีประสิทธิภาพน้ันผู้พูดต้องเลือกใช้ถ้อยคำ นำ้ เสียง รวมถึงอากปั กิริยาในการพูด ประกอบการพูดให้สอดคล้องได้อยา่ งเหมาะสมถกู ตอ้ งกับโอกาส และวัฒนธรรมตลอดจนประเพณนี ยิ มของสงั คม เบิร์น (Byrne.1986:36) (อ้างถึงในธีราภรณ์ กิจจารักษ์, 2553) กล่าวว่า การพูดเป็น กระบวนการสอ่ื สารสองทิศทางที่เก่ียวข้องกันระหวา่ งการรับสารของผู้ฟังและทักษะการผลิตสารของ ผู้พูด ผู้พูดจะทำหน้าท่ีส่งรหัสสารเพื่อส่ือถึงเจตนาและความต้องการ ส่วนผู้ฟังจะเป็นผู้ถอดรหัสของ สารนั้น ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้ในเรื่องระบบภาษา เช่น เสียงหนักเบาในถ้อยคำ ตลอดจนความเข้าใจ ภาษาท่าทางของผู้พูด เป็นเคร่อื งช่วยใหก้ ารตคี วามสารน้ันตรงตามเจตนาของผู้สอ่ื สาร หรืออาจกลา่ ว ได้ว่าในความเป็นจริงความสามารถในการพูดเก่ียวข้องกับการฟังโดยตรง โดยผู้พูดจะทำหน้าท่ีเป็นผู้ สง่ ข้อมูลให้กบั ผูฟ้ ัง เปน็ ลักษณะการส่ือสารสองทาง โดยมีการแลกเปลี่ยนบทบาทในการเป็นผู้พดู และ ผู้ฟงั ฟินอคคิอาโร และบรัมฟิต (Finochiaro and Brumfit 1983: 140) (อ้างใน ธีราภรณ์ กิจจา รักษ์, 2553) กลา่ วว่า การพูดเป็นปฏิกริ ิยาทีเ่ กย่ี วข้องสัมพันธ์กันระหว่างสง่ิ ท่พี ูด สถานการณ์ของการ พูด การปรับเปล่ียนอวัยวะในการพูดได้ถูกต้องและเหมาะสม การใช้คำพูด กฎเกณฑ์ด้านไวยากรณ์ ความหมายและวัฒนธรรมให้เหมาะสม รวมท้ังการไวต่อการรับรู้ การเปล่ียนคู่สนทนา ซึ่งทั้งหมดท่ี กล่าวนี้เป็นปฏิกิริยาท่ีสัมพันธ์กันทั้งทางด้านสมองและร่างกายซ่ึงต้องเกิดข้ึนอย่างทันทีและพร้อมกัน ในการพูดนั้นผู้พูดต้องส่งสารโดยใชภ้ าษาที่เหมาะสม มีการเน้นเสียง การออกเสียงสูงต่ำรวมทั้งแสดง สีหน้าทา่ ทางเปน็ เคร่ืองช่วยในการแสดงความหมายของสิ่งท่ีพดู ถึง ผู้ฟงั จะสามารถเข้าใจในสารท่ีผ้พู ูด ส่งและในบางครั้งภาษาพูดอาจขาดความสมบูรณ์หรือไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ซ่ึงตรงกันข้าม 33

กับภาษาท่ีใช้เขียนท่ีเป็นประโยคต่าง ๆ ต้องสมบูรณ์ถูกต้อง ผู้อ่านจึงจะเข้าใจได้ กล่าวได้ว่า ทักษะ การพูดเปน็ ทักษะทต่ี ่างก็มีปฏิสมั พนั ธ์ซ่ึงกนั และกัน ดงั นั้น การพูด คือ กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ ความต้องการของผู้พูด โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง เป็นส่ือในการสื่อสาร โดยแสดงกิริยาอาการประกอบ เพ่ือให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารได้เข้าใจและรับรู้ได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย และเป็นทักษะท่ีมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างการพูดและการฟัง มลี กั ษณะการส่ือสารสองทาง และการแลกเปลย่ี นบทบาทกนั เป็นผ้พู ดู และ ผ้ฟู งั ความสำคัญของการพดู การพูดเป็นกระบวนการสื่อสารของมนุษย์มีมาต้ังแต่สมัยโบราณ เพราะก่อนที่มนุษย์จะ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นลายลักษณ์อักษรได้น้ัน มนุษย์ใช้ วิธีการบอกกล่าว บอกเล่าเร่ืองราวต่าง ๆ กันมาช้านาน ถึงแม้ว่าในโลกปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการ สอ่ื สารทีก่ า้ วล้ำมากขึน้ เพียงใด แต่การพูดก็จัดว่าเปน็ วธิ ีการสอ่ื สารข้ันพน้ื ฐานท่ีสำคญั อยเู่ ช่นเดิม นอกจากน้ี การพูดเป็นเรื่องของการใช้ท้ังศาสตร์และศิลป์ในการส่ือความหมาย เป็น กระบวนการที่มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ สามารถนำหลักทฤษฎีไปฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะ การส่ือสารท่ีดีให้เป็นท่ีประทับใจแก่ผู้ฟัง ท้ังนี้เพื่อให้เกิดความเช่ือถือความศรัทธา ตลอดจน ความสำเรจ็ และความก้าวหน้าให้กบั ตนเอง ตรงกันขา้ มกับคนที่พูดไม่เป็นหรือพูดไมด่ ี นอกจากคำพูด น้นั จะเปน็ อุปสรรคต่อการดำเนินงานแลว้ ยงั อาจเปน็ การสรา้ งศตั รูให้กับผู้พดู ด้วยเช่นกนั ความสำคัญของการพูดนอกจากจะทำให้คนฟังเข้าใจและรู้เร่ืองราวในประเด็นท่ีเราต้องการ สื่อสารการพูด ยังเป็นการบ่งบอกถึงสถานะหรือศักยภาพความเป็นผู้นำได้อย่างดีอีกด้วย ถ้าพูดดีมี ความเชื่อม่ันจะสามารถสร้างแรงศรัทธาและการยอมรับนับถือจากผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดแรงบันดาลใจ สามารถโน้มน้าวชักชวนย่อมได้รับการยอมรับอย่างง่ายดาย ดังโคลงโลกนิติ (แสงธรรม บัวแสงธรรม, 2557: 23) ก้านบัวบอกลึกตืน้ ชลธาร มารยาทสอ่ สนั ดาน เชื่อชาติ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ ยอมหญ้าเหย่ี วแหง้ เรื้อ บอกร้ายแสลงดนิ จากบทกลอนข้างต้นเห็นได้ว่า การพูดเป็นการส่ือสารให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพ ของผู้พูด จากวรรคที่ 3 “โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ” บ่งบอกให้เห็นถึงความสามารถรู้ถึง ความคิดหรือความรู้สึกจากสิ่งที่ผู้พูดได้พูดออกมา เช่น คนท่ีคิดดีมีศีลธรรมก็จะพูดแต่เร่ืองท่ีดี มีศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อ่ืน ส่วนคนที่มีจิตใจนิยมความบันเทิง มักจะสนทนาแต่เรื่องความบันเทิง 34

ตอบสนองความอยากรู้ของตน จึงกล่าวได้ว่าคำพูดสื่อถึงนิสัยและพื้นฐานของผู้พูดได้เป็นอย่างดี ดังเช่น แสงธรรม บัวแสงธรรม (2557:23) ได้ยกทฤษฎีของอาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เอาไว้ว่า ถ้อยคำ คือ ความคิด ดังนั้นเราจะพูดส่ิงใดต้องระมัดระวัง เพราะเป็นการเผยความคิดของตนเองให้ ผู้อื่นรับรู้เพราะฉะน้ันก่อนจะพูดอะไรออกไปผู้พูดจะต้องกล่ันกรองความคิดก่อนว่าเรื่องใดอยากให้ ผฟู้ ังรับรู้และเร่ืองใดไมค่ วรให้ผ้ฟู ังหรอื ผ้อู ่นื รบั รู้ การพูดเป็นการส่อื สารของมนุษยท์ ี่มคี วามสำคัญต่อการดำเนินชีวติ ประจำวันในหลาย ๆ ด้าน โดยสามารถสรปุ ไดด้ งั น้ี (สุทธิวรรณ อนิ ทกนก, 2559: 99) 1. การพูดเป็นส่ิงจำเป็นและสำคัญมากในการดำรงชวี ติ ประจำวนั ได้อย่างราบรนื่ และทำให้ เกดิ ความสำเรจ็ ในชีวิตในด้านต่าง ๆ 2. การพูดช่วยในดา้ นอาชีพ ในบางอาชพี จำเป็นต้องอาศัยการพูดเป็นหลกั สำคัญ เช่น นักกฎหมาย นักบรหิ าร นักธุรกิจ และครูอาจารย์ หรือแมป้ ระกอบอาชีพอ่ืนหากมีศลิ ปะในการพูดท่ีดี ก็จะทำใหธ้ รุ กิจการงานเจริญก้าวหนา้ และประสบความสำเร็จในชวี ิต 3. การพดู ทำใหเ้ กิดความโน้มน้าวไดง้ ่าย เห็นได้จากเรอื่ งศาสนาและการเมือง ต้องอาศัย การพูดโนม้ นา้ วให้คนสว่ นมากมีอารมณค์ ลอ้ ยตาม ซึ่งเป็นทางนำไปสู่ความเขา้ ใจและควรปฏบิ ตั ติ าม 4. การพูดทำใหเ้ กิดความเขา้ ใจไดง้ ่าย นอกจากนำ้ เสยี งทที่ ำใหเ้ กดิ อารมณค์ ลอ้ ยตามแลว้ หน้าตาท่าทางของผู้พูดจะทำให้เกิดความเข้าใจดียิ่งข้ึน เช่น การบรรยายในชั้นเรียน ถ้าเรานำคำ บรรยายไปอ่าน อาจจะไม่เกิดความเข้าใจไดด้ ีเท่ากบั เราไปนงั่ ฟงั ดว้ ยตนเอง 5. การพดู ช่วยสร้างมนษุ ยสัมพันธ์ มนุษยใ์ นสังคมตอ้ งร้จู กั สรา้ งความสมั พันธ์ตอ่ กนั พึ่งพา อาศัยซ่ึงกันและกันจึงจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ฉะนั้นการสร้างมิตรภาพด้วยปากหรือคำพูดจึงมี ความสำคัญอย่างย่ิง 6. การพูดกอ่ ให้เกิดความสำเรจ็ ในด้านศาสนา การค้า และการเมือง 7. การพูดช่วยพฒั นาบุคลิกภาพ การฝกึ พูดตอ่ หนา้ ทปี่ ระชุมชนจะช่วยเสรมิ สร้างบคุ ลกิ ลักษณะของผู้พูดให้เด่นขึ้น ให้รู้จักแสดงกิริยาท่าทางที่เหมาะสมในการปรากฏตัวต่อหน้าผู้ฟังเป็น จำนวนมาก เช่น การวางท่าทาง การเดิน การยืน การน่ัง การเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจะสร้าง ความเคยชินและทำให้ผพู้ ูดมบี คุ ลกิ ภาพทีด่ ตี ดิ ตัวตลอดไป การพูดเป็นส่ิงจำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับบุคคลทุกอาชีพในสังคม ประชาชนทั่วโลกต่าง เห็นความสำคัญของการพูด โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีสำคัญของการพูด คือ เพ่ือโน้มน้าวใจผู้ฟังให้ คล้อยตามในเร่ืองที่ตนพูด การพูดจึงเปรียบเสมือนบันไดสำคัญขั้นแรกของมนุษย์ในการสื่อสารกับ สังคม และเป็นสะพานเชื่อมไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ โดยทั่วไปความสำคัญของการพูดแบ่งออกได้ เป็น 4 ประเภท (ศศิพงษ์ ศรสี วัสด์ิ, 2559: 96) ดังน้ี 35

1. การพดู เป็นการส่ือสารเพื่อสร้างความเขา้ ใจ ระหวา่ งบุคคลได้ง่ายกวา่ การสือ่ สารรูปแบบ อ่ืน ดังน้ันการพูดจึงเป็นการส่ือสารท่ีประหยัดและมีประสิทธิภาพสูง เช่น การพูดคุยตกลงกันในการ ปฏบิ ตั ิหนา้ ท่กี ารงาน การพดู เพือ่ ประนีประนอมการชดใช้หนี้สิน เปน็ ตน้ 2. การพูดเป็นเครื่องมอื ของการเขา้ ร่วมสมาคม ส่งเสรมิ ใหเ้ กิดความสำเร็จในชวี ิตและหน้าท่ี การงาน ตลอดจนเป็นเคร่ืองแสดงถึงความสามารถทางสติปัญญา อุปนิสัยใจคอของผู้พูดตลอดจน ความมีไมตรีจิตต่อผู้รับสาร เช่น การพูดแนะนำตนเองกับเพื่อนใหม่ การพูดอวยพรในงานพิธีมงคล การพดู แสดงความเสียใจในงานพธิ อี วมงคล เปน็ ต้น 3. การพูดเป็นเคร่ืองมือประสานประโยชนใ์ หแ้ ก่สังคม ในปัจจบุ ันการพูดนอกจากจะเป็นการ ประสานความสัมพันธ์ให้กับตนเองแล้ว ยังเป็นเคร่ืองมือช้ันยอดในการประสานประโยชน์แก่สังคม เช่น การพูดประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล การพูดประชาสัมพันธ์รณรงค์ต่าง ๆ ของ หนว่ ยงาน หรือการพดู ในหน่วยงานเพ่อื สร้างความสมั พันธ์อนั ดกี ับคนในองค์กร เปน็ ต้น 4. การพูดเป็นการแลกเปล่ียนทัศนคติซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ดังน้ันการพูดจึงเป็นเคร่ืองมือสร้างความเข้าใจระดับบุคคล ระดับกลุ่มบุคคล ระดับองค์กร จนถึง ระดบั ชาติ เชน่ การปรับความเขา้ ใจกันระหวา่ งคนสองคน การสมั มนาแลกเปล่ียนความคิดกนั ระหวา่ ง หน่วยงาน การประชุมเพื่อหาทางออกให้กับองค์กรของตนเอง เปน็ ตน้ ความสำคัญของการพูด เป็นทักษะการส่ือสารที่สำคัญที่มนุษยใ์ ช้ในการดำเนินชีวิตที่สามารถ ถ่ายทอดความคิดความรู้สึกได้อย่างรวดเร็ว กล่าวได้ว่าคำพูดมีอิทธิพลที่สามารถช้ีความเป็นตัวตน ของผู้พูด การกระทำ หรืออนาคตของผู้พูดได้ และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้เช่นกัน ฉะนั้นคำพูด หลังจากท่ีผู้พูดถ่ายทอดออกไปนั้นเปรียบได้เป็นนายของตนเอง เพราะฉะน้ันผู้พูดจะต้องคิดพินิจ พจิ ารณากอ่ นท่จี ะพูด อยา่ พูดทกุ อย่างท่คี ิดแตจ่ งคิดทุกครง้ั ก่อนท่ีพดู จุดมุง่ หมายของการพูด การท่ีมนุษย์ได้สื่อสารออกมาเป็นคำพูดล้วนมีจุดมุ่งหมายท่ีแตกต่างกัน ผู้พูดจำเป็นต้องรู้ จุดมุ่งหมายของการพูดในแต่ละครั้ง เพ่ือส่ือสารข้อมูลไปยังผู้รับสารได้อย่างชัดเจนและตรงตาม เป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร แต่หากผู้พูดสื่อสารไปยังผู้รับสารได้ไม่ชัดเจนหรือออกนอกประเด็น อาจทำให้ผู้รับสารเกิดความไม่เข้าใจ และพยายามตีความหมายที่ผู้พูดส่ือสารมาจนทำให้ผู้รับสารอาจ เกิดความเบ่ือหน่ายไม่ได้รับประโยชน์หรือความต้องการจากเรื่องที่ฟังเท่าท่ีควร หากเป็นเช่นน้ี ผู้พูด จะต้องวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการพูดในแต่ละคร้ังให้ชัดเจน และพูดตามจุดมุ่งหมายท่ีต้องการ โดยทั่วไปจุดมุ่งหมายของการพูด สามารถแบง่ ได้ 3 ประการ ดงั นี้ (วรี ะเกียรติ รจุ ริ กลุ , 2556: 21-23) 1. พูดเพื่อให้เกดิ ความรู้ เป็นการพูดเพื่อบอกเล่าข้อความรู้และข้อเทจ็ จริงให้ชดั เจน ถา่ ยทอด ความคิด ความเข้าใจ หรือเร่ืองราว เพ่ือสนองความต้องการของผู้พูดและผู้ฟัง ได้รับทราบเรื่องราว ตา่ ง ๆ เชน่ ความเปน็ ไปของเหตุการณ์บ้านเมือง สภาวะความเป็นอยขู่ องประเทศเพอื่ นบา้ น วิทยาการ ทางวทิ ยาศาสตร์ เปน็ ต้น 36

2. พูดเพ่ือให้ความบันเทิง เป็นการพูดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ฟังในด้านความ สนกุ สนาน ตลกขบขันเบกิ บาน เช่น การเล่าเรอ่ื งผจญภยั ในป่าดงดิบ บุคลิกภาพทน่ี ่าขบขันของบุคคล บางคน เปน็ ต้น 3. พูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดเพ่ือชักจูงผู้ฟังให้เห็นประโยชน์คล้อยตาม และปฏิบัติตาม ความคิด ความเชอื่ หรอื ความร้สู ึกของผูพ้ ูด หรอื ช้ีแจงให้เห็นโทษหากไม่ปฏิบัตติ าม เช่น การพูดชักจูง ให้เลิกสูบบหุ ร่กี ารหาเสียงของผ้เู ข้ารบั สมคั รการเลือกต้ัง เป็นตน้ นอกจากน้ี สุทธิวรรณ อินทกนก (2559:101) ได้อธิบายถึงจุดมุ่งหมายของการพูดไว้ 2 ประเด็น คอื 1. พูดเพือ่ จรรโลงใจ เป็นการพูดทชี่ ้ีให้เหน็ ถงึ คณุ คา่ และความงาม ความดี ที่ก่อให้เกดิ ความรู้สึกและยกระดับจิตใจ หรือทำให้เกิดความเบิกบานใจ เช่น การพูดในโอกาสวันสำคัญต่างๆ ได้แก่ วันไหว้ครู วันแม่แห่งชาติ วันข้ึนปีใหม่ เป็นต้น ทำให้ผู้ฟังมีความบันเทิงใจ ได้รับข้อคิดท่ีดีหรือ มองเห็นสิ่งที่ดีงามและคุณค่าของส่ิงต่าง ๆ ที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติแก่ ตนเอง 2. พูดเพื่อแสดงความคดิ เห็น เปน็ การพดู แสดงความคิดเห็นต่อเรอื่ งราวใดเร่อื งราวหน่งึ ท่ีผู้ พูดต้องการให้ผู้ฟังสนใจและมีความคิดเห็นคล้อยตามเพ่ือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้พูดต้องมี ความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองท่ีจะแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ต้องมีกลวิธีการนำเสนอท่ีดี จึงจะ สามารถสร้างความเขา้ ใจและชกั จงู ใจจากผ้ฟู งั ได้เปน็ อยา่ งดี สหไทย ไชยพันธ์ุ (2559) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการพูดในประเด็นพูดเพ่ือค้นหาคำตอบ เป็นการพูดทผี่ ู้พูดต้องการคำตอบจากผู้ฟังโดยผู้พดู มีจดุ มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังช่วยคิดหาคำตอบช่วยคิด หาวธิ กี ารแก้ปัญหา เช่น ครูต้ังคำถามการประชมุ ปรึกษาหารือเป็นตน้ ดังน้ัน จุดมุ่งหมายของการพูดจะเป็นตัวกำหนดประเด็นหรือเนื้อหาที่ผู้พูดต้องการส่ือสาร ออกไป เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจไปในทิศทางท่ีผู้พูดต้องการและไม่ได้ให้เกิดความสับสนหรือ ตีความผดิ เพีย้ นไปจากจดุ มงุ่ หมายของการสื่อสารในเรอ่ื งต่าง ๆ องค์ประกอบของการพดู เป็นส่ิงท่ีมีความสำคัญในที่จะทำให้การพูดคร้ังนั้นมีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน ในกระบวนการ สื่อสารด้วยวิธีการพูดของมนุษย์ พิจารณาจากองค์ประกอบของการพูด แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ตามแนวคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์(Harold D.Lasswell) (อ้างในนิพนธ์ทิพย์ ศรีนิมิต. 2543: 6-9) ดังนี้ 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook