Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Myanmar

Description: ระบบบริหารราชการของเมียนมาร์

Search

Read the Text Version

ระบบบริหารราชการของ เมยี นมาร์สาธารณรฐั แห่งสหภาพ

ระบบบรหิ ารราชการของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จดั ท�ำ โดย : สำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 47/111 ถนนตวิ านนท์ ตำ�บลตลาดขวญั อ�ำ เภอเมือง นนทบุรี 11000 โทรศพั ท์ 0 2547 1000,  โทรสาร 0 2547 1108 หวั หนา้ โครงการ : รศ.ดร.จริ ประภา อัครบวร ท่ีปรึกษาโครงการ : นายสรุ พงษ ์ ชัยนาม ผ้เู ช่ยี วชาญดา้ นระบบราชการใน ASEAN บรรณาธกิ าร : ดร.ประยูร อัครบวร นกั วจิ ยั : นางสาวกิง่ ดาว อนิ กอง นางสาวมนฑกานต์ วรนติ ิกุล ผู้ประสานงานและตรวจทานคำ�ผิด : นางสาวเยาวนุช สุมน เลขมาตรฐานประจ�ำ หนงั สอื : 978-616-548-152-6 จำ�นวนพมิ พ์ : 5,400 เล่ม จ�ำ นวนหน้า : 200 หนา้ พมิ พ์ที่ : กรกนกการพมิ พ์ 2

ค�ำ นำ� สำ�นักงาน ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ภาครัฐ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบตามแผนงานการจัดต้ังประชาคม สงั คมและวฒั นธรรมอาเซยี นในการเพม่ิ ขดี ความสามารถของทรพั ยากรบคุ คล ในระบบราชการ จากการด�ำ เนนิ การทผี่ า่ นมาแมว้ า่ ส�ำ นกั งาน ก.พ. ไดด้ �ำ เนนิ การจดั อบรม หลกั สตู รความรเู้ กยี่ วกบั อาเซยี นใหแ้ กข่ า้ ราชการหลายครงั้ แตก่ ย็ งั ไมค่ รอบคลมุ บุคลากรภาครัฐซ่ึงมีจำ�นวนมากกว่า 2 ล้านคน สำ�นักงาน ก.พ. จึงเห็นควร พัฒนาชุดส่ือการเรียนรู้ “อาเซียน กูรู” เพ่ือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกย่ี วกบั ระบบราชการ ซง่ึ มคี วามหลากหลายของประเทศสมาชกิ อาเซยี นทง้ั 10 ประเทศ ใหแ้ กบ่ คุ ลากรภาครฐั ซงึ่ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การปฏบิ ตั งิ านของ บุคลากรภาครฐั ทง้ั นท้ี างส�ำ นกั งาน ก.พ. จงึ ท�ำ ความรว่ มมอื กบั สถาบนั บณั ฑติ พฒั นบรหิ าร- ศาสตร์ (นดิ า้ ) จดั ท�ำ หนงั สอื เรอ่ื ง “ระบบบรหิ ารราชการของประเทศอาเซยี น” เพื่อเสริมทักษะความรู้เก่ียวกับการบริหารราชการให้แก่บุคลากรภาครัฐทุก ระดบั หวงั วา่ ทา่ นผู้อ่านคงได้รบั ความรู้และเพลิดเพลินไปกบั หนงั สอื ชดุ น้ี ส�ำ นกั งาน ก.พ. ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 3

ข้อคิดจากบรรณาธิการ หนังสือเรื่อง “ระบบบริหารราชการของประเทศอาเซียน” เป็นหนังสือ ท่ีจัดทำ�ข้ึนเพ่ือเสริมทักษะความรู้แก่ข้าราชการไทย เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ ระบบการบรหิ ารงานภาครฐั ของประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น อนั จะเปน็ ประโยชน์ ในการติดต่อประสานงานกบั ขา้ ราชการของประเทศเหล่าน้ใี นอนาคต โดยรปู แบบของหนังสอื ได้ปูความรใู้ หผ้ ู้อ่านต้งั แตป่ ระวตั ิ ขอ้ มลู เกี่ยวกบั ประเทศ วิสยั ทศั น์ รวมถึงความเป็นมาของระบบราชการ นโยบายการเข้าสู่ ประชาคมอาเซยี น และทนี่ า่ จะเปน็ ประโยชนใ์ นการเรยี นรรู้ ะบบราชการของ ประเทศเหล่านี้ คือ เน้ือหาในส่วนของยุทธศาสตร์และภารกิจของแต่ละ กระทรวง ระบบการพัฒนาข้าราชการ ท้ายเล่มผู้เขียนได้รวบรวมกฎหมาย สำ�คัญท่ีควรรู้ และลักษณะเด่นของระบบราชการที่น่าเรียนรู้ไว้ได้อย่าง นา่ สนใจ หนังสือระบบบริหารราชการของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 น้ี  อาจมี เนอื้ หาแตกตา่ งกนั ไปบา้ ง เนอ่ื งจากผวู้ จิ ยั ไมส่ ามารถเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ของบางประเทศ ไดด้ ว้ ยขอ้ จ�ำ กดั ดา้ นภาษาและบางประเทศยงั ไมม่ กี ารจดั ท�ำ ยทุ ธศาสตรข์ อง รายกระทรวง ทางคณะผจู้ ดั ท�ำ หนงั สอื หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื เลม่ นี้ จะมี สว่ นในการติดอาวธุ องค์ความรูภ้ าครัฐใหก้ บั ข้าราชการไทยไม่มากก็นอ้ ย สุดท้ายต้องขอขอบคุณเจ้าของรูปภาพและเว็บไซต์ที่ช่วยกันเผยแพร่ อาเซียนให้เป็นหน่งึ เดียวร่วมกนั ดร.ประยรู อัครบวร บรรณาธิการ 4

สารบญั บทท ่ี หน้า 1. ประวตั แิ ละข้อมูลประเทศและรัฐบาลโดยย่อ 7 1.1 ประวตั ิและข้อมูลประเทศโดยย่อ 8 1.1.1 ข้อมูลทัว่ ไป 8 1.1.2 ลกั ษณะทางภมู ศิ าสตร์ 11 1.1.3 ประวัตศิ าสตร ์ 14 1.1.4 ลักษณะประชากร 22 1.1.5 ขอ้ มลู เศรษฐกจิ 24 1.1.6 ขอ้ มลู การเมืองการปกครอง 32 1.1.7 ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม 1.1.8 โครงสร้างพ้นื ฐานและระบบสาธารณปู โภค 43 1.1.9 ระบบสาธารณสขุ 51 1.1.10 ระบบการศกึ ษา 1.1.11 ระบบกฎหมาย 61 1.1.12 ความสมั พันธ์ระหว่างไทยกับ 65 สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมาร์ 68   1.2 ประวตั แิ ละข้อมลู รฐั บาลโดยยอ่ 2. วิสยั ทศั น์ เป้าหมาย และยทุ ธศาสตร์ 70 2.1 วิสยั ทัศน ์ 72 2.2 เปา้ หมาย 75 2.3 ยุทธศาสตร ์ 76 76 77 3. ประวัติความเปน็ มาของระบบราชการ 83 3.1 ความเปน็ มาของระบบราชการ 84 ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมาร์ 5

4. ภาพรวมของระบบราชการ 87 4.1 รัฐบาล นโยบายรัฐบาล และนโยบายการเข้าสู่ 88 ประชาคมอาเซยี น 97 4.2 จำ�นวน และรายชอ่ื กระทรวงพร้อมท่ีตดิ ต่อ 106 4.3 จ�ำ นวนข้าราชการทว่ั ประเทศพร้อมคุณลักษณะหลัก 106 106 หรอื คุณลักษณะหลกั ในการเขา้ สปู่ ระชาคมอาเซยี น 107 4.3.1 จำ�นวนข้าราชการทั่วประเทศ 4.3.2 คณุ ลกั ษณะหลกั ของขา้ ราชการเมยี นมาร์ 4.3.3 คณุ ลักษณะหลักของขา้ ราชการ ในการเข้าสปู่ ระชาคมอาเซยี น 5. ยทุ ธศาสตร์ และภารกจิ ของแต่ละกระทรวงและ หน่วยงานหลกั ทรี่ ับผิดชอบงานทเี่ กีย่ วกับ ASEAN 109 5.1 ยทุ ธศาสตร์และภารกจิ ของแต่ละกระทรวง 113 5.2 หนว่ ยงานหลักท่รี ับผดิ ชอบงานท่เี กี่ยวกับ ASEAN 125   6. ระบบการพัฒนาข้าราชการ 129 6.1 ภาพรวมของการพฒั นาข้าราชการ 130 6.2 กลยุทธก์ ารพัฒนาขา้ ราชการ 131 6.3 หน่วยงานที่รับผดิ ชอบด้านการพัฒนาข้าราชการ 132 7. กฎหมายส�ำ คญั ทคี่ วรร ู้ 139 7.1 กฎระเบียบขา้ ราชการ 140 7.2 กฎหมายคณะกรรมการข้าราชการพลเรอื น 143 7.3 กฎหมายแรงงาน 153 7.4 กฎหมายเขา้ เมือง 161 7.5 กฎหมายอื่นๆ ท่ีควรรู้ 163 8. ลักษณะเดน่ ของระบบราชการที่น่าเรยี นรู้ 181 บรรณานกุ รม 195 6

1 ประวตั แิ ละข้อมลู ประเทศ และรัฐบาลโดยยอ่ ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 7

1.1 ประวัตแิ ละข้อมูลประเทศโดยย่อ ประเทศเมยี นมารเ์ ปน็ ประเทศทผ่ี กู พนั ทางประวตั ศิ าสตรก์ บั ชาตไิ ทย มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ท้ังมีการเช่ือมสัมพันธ์ทางการทูตหรือการมี สงคราม แต่ความเปน็ เพ่ือนบา้ นที่มดี ินแดนติดตอ่ กนั มีการแลกเปลี่ยน ซอื้ ขายของคนสองแผน่ ดนิ จงึ เปน็ ประเทศสมาชกิ ในอาเชย่ี นอกี ประเทศ หนึง่ ทม่ี ีเรื่องราวทต่ี อ้ งศึกษาและท�ำความเขา้ ใจดงั น้ี 1.1.1 ขอ้ มลู ทัว่ ไป ช่ือประเทศอย่างทางการ สาธารณรัฐสหภาพเมยี นมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar)[14] เมืองหลวง นครเนปิดอว์ (Nya Pyi Daw) แปลว่า นครหลวงใหม่ ประเทศเมียนมาร์หรือ เมียนมารม์ เี ขตแดนติดต่อกับประเทศ ไทยทางทิศตะวันตก แต่เดิมเมอื ง หลวงของเมยี นมาร์ คอื กรุงย่างกุ้ง แตเ่ ม่อื ปี พ.ศ. 2549 เมียนมารไ์ ดย้ า้ ย เมอื งหลวง และหน่วยราชการต่างๆ มาอย่ทู เ่ี มอื งเนปิดอว์ ซงึ่ อย่หู า่ งจาก ย่างกงุ้ ประมาณ 350 กโิ ลเมตร เพ่ือ ความสะดวกในการบรหิ ารงาน[14] 8

พื้นท ่ี 676,578 ตารางกิโลเมตร (2555) เขตแดน ดา้ นทศิ เหนอื และตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ตดิ กบั ทเิ บตและยนู นานของจีนยาวถึง 2,185 กโิ ลเมตร ด้านทศิ ตะวันออก เฉียงใตต้ ิดกับลาวและไทย ด้านทศิ ตะวันตกเฉยี งเหนือตดิ กับบงั กลาเทศ และอนิ เดีย ดา้ นทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศใต้มแี นวชายฝง่ั ต่อเนื่องตาม อ่าวเบงกอลและทะเล อนั ดามัน ประชากร ประมาณ 59,100,000 คน (2556) วนั ชาติ 4 มกราคม ภาษาราชการ ภาษาเมยี นมาร์ ระบอบการปกครอง มีระบบรฐั สภาทสี่ มาชกิ มาจากการ เลอื กต้งั รอ้ ยละ 75 สว่ นท่ีเหลือแต่งตง้ั โดยทหาร มปี ระธานาธิบดเี ปน็ ท้งั ประมขุ ประเทศและหัวหน้ารัฐบาล ธงชาต ิ มลี ักษณะเป็นธงสามสีรปู ส่เี หลยี่ ม ผนื ผา้ ภายในแบง่ ตามแนวนอนความ กว้างเทา่ กนั พน้ื สีเหลอื ง สเี ขียว และ สีแดงเรียงตามล�ำดบั จากบนลงล่าง กลางธงมรี ปู ดาวหา้ แฉกสขี าวขนาดใหญ่ ธงน้ไี ดเ้ รม่ิ ชกั ขนึ้ ครั้งแรก เมื่อวนั ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ความหมายของ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 9

สัญลกั ษณ์ในธงชาติ ประกอบดว้ ย สีเขยี ว หมายถงึ สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณข์ องเมียนมาร์ สีเหลอื ง หมายถงึ ความสามคั คี สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเขม้ แขง็ เด็ดขาด ดาวสขี าว หมายถงึ สหภาพ อันมัน่ คงเปน็ เอกภาพ ตราแผ่นดิน ลกั ษณะของดวงตรา ประกอบด้วย รปู สงิ ห์แบบศลิ ปะเมียนมาร์ จ�ำนวน 2 ตน อยใู่ นทา่ นงั่ รกั ษาการณ์ หนั หลังให ้ กนั และกนั บรเิ วณกลางตรามภี าพแผนที่ ประเทศเมียนมาร์รองรบั ดว้ ยชอ่ ใบ มะกอกคลู่ อ้ มรอบดว้ ยลวดลายบปุ ผชาติ ตามแบบศลิ ปะเมยี นมาร์ ทบ่ี นสดุ ของ ดวงตราเป็นรูปดาวหา้ แฉกหนึ่งดวง รปู เหลา่ นร้ี องรบั ดว้ ยมว้ นแพรแถบจารกึ นามเต็มของประเทศดว้ ยใจความ “สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร”์ ดอกไมป้ ระจ�ำชาต ิ ดอกประดู่ (Paduak) มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลน่ิ หอม ในฤดฝู นแรก ชว่ งเดอื นเมษายนทม่ี าพรอ้ มกบั งาน เฉลิมฉลองปีใหม่ ดอกประดู่ เปน็ สัญลักษณข์ องความแข็งแรง ทนทาน และเป็นดอกไมท้ ่ีใช้พธิ ีทางศาสนา 10

เขา้ เปน็ สมาชิกอาเซยี น 23 กรกฎาคม 2540 หนว่ ยเงนิ ตรา จ๊ดั (Kyat: MMK) อัตราแลกเปลีย่ น ≈25 จั๊ด/1 บาท หรือ ≈1,300 จ๊ดั / 1 ดอลลารส์ หรฐั ผลติ ภณั ฑ์มวลรวม 49,079 ลา้ นเหรียญสหรฐั ภายในประเทศ (GDP) 1,700 เหรยี ญสหรัฐ รายได้ประชาชาติตอ่ หัว (GDP per capita) 1.1.2 ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ ประเทศเมยี นมารเ์ ปน็ ประเทศทม่ี พี น้ื ทใ่ี หญเ่ ปน็ อนั ดบั สองของเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ โดยพรมแดนท้งั หมดมรี ปู พรรณสัณฐานคลา้ ยวา่ วที่มี หางยาวล้อมรอบเกอื กมา้ ขนาดใหญ่ คอื แนวเทอื กเขามหมึ าและภเู ขาท่ี อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของ เมียนมาร์ และมีหลายยอดที่สงู เกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดน หิมาลัยทางเหนือของเมียนมาร์ที่ติดกับทิเบตเป็นยอดเขาท่ีสูงท่ีสุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า “ฮากากาโบราซี” โดยมีความสูง 19,314 ฟุต ต�่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นท่ีราบกว้างใหญ่ภายใน ประเทศเมยี นมาร์ นอกจากนยี้ งั มที ร่ี าบลมุ่ บรเิ วณสามเหลย่ี มปากแมน่ ำ�้ เอยาวดีท่ีอุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ ราวกบั ไม่มที ่ีสิ้นสุด ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 11

ภูมิประเทศเป็นป่าประมาณร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกนั้น เป็นภูเขา และที่ราบส�ำหรบั ท�ำการเพาะปลกู ประมาณรอ้ ยละ 10 ของ พื้นท่ีทั้งหมด พ้ืนที่ภูเขาอยู่ทางทิศเหนือมีเทือกเขาปัตไก (Pat Gai) เป็นพรมแดนระหว่างเมียนมาร์กับอินเดีย บังกลาเทศ และจีน (ทิเบต) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นท่ีราบสูงชาน และทิศตะวันตกมีเทือกเขา อระกันโยมา (Arakanyoma) ก้ันเป็นแนวยาวระหว่งชายฝั่งทะเลด้าน อ่าวเบงกอล ในเขตรัฐยะไข่ ตอนกลางของประเทศเป็นท่ีราบลุ่มแม่น้�ำ อิรวดี พื้นท่ีทางตอนใต้และตะวันตกเป็นฝั่งทะเลยาวไปตามแนว อ่าวเบงกอล เริ่มตั้งแต่วิคตอเรียพอยท์ ไปจนถึงพรมแดนที่ติดต่อกับ บงั กลาเทศ พน้ื ทท่ี างใตส้ ดุ ของประเทศเปน็ แผน่ ดนิ แคบระหวา่ งทะเลกบั ทิวเขาตะนาวศรีก้นั ระหว่างไทยกบั เมียนมาร์ ลักษณะภมู อิ ากาศ สภาพภมู อิ ากาศสว่ นใหญบ่ รเิ วณทเ่ี ปน็ เทอื กเขาสงู ทางตอนกลางและ ตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนใน ฤดูหนาวอากาศจะเย็นมากตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้�ำ จะแปรปรวนในชว่ งเปลยี่ นฤดู เนอื่ งจากไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากพายดุ เี ปรสชน่ั เสมอ ท�ำใหบ้ รเิ วณนม้ี ฝี นตกชกุ หนาแนน่ มากกวา่ ตอนกลางหรอื ตอนบน ของประเทศท่ีเป็นเขตเงาฝน ซึ่งดูตามภูมิศาสตร์จะเห็นลักษณะ ภูมิอากาศดังน[ี้ 1] l ทิศตะวนั ตกดา้ นหนา้ ภเู ขาอาระกนั โยมาฝนตกชกุ มาก l ภาคกลางตอนบนแห้งแลง้ มากเพราะมภี เู ขากนั้ ก�ำบังลม l ภาคกลางตอนลา่ งเปน็ ดนิ ดอนสามเหลย่ี มปากแมน่ �ำ้ ขนาดใหญ่ 12

l ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื อากาศค่อนข้างเยน็ และแหง้ แลง้ เมียนมาร์เป็นประเทศในแถบเมืองร้อน มีอากาศเป็นแบบมรสุม เมืองร้อน บริเวณริมทะเลจะได้รับผลกระทบจากมรสุมเมืองร้อนทุกปี และไดร้ บั อทุ กภยั จากธรรมชาตอิ ยบู่ อ่ ยครงั้ อยา่ งเชน่ พายนุ ากสิ ทที่ �ำให้ เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินชาวเมียนมาร์เป็นจ�ำนวนมาก หมบู่ า้ นรมิ ทะเลจ�ำนวนมากถกู พดั หายไปทง้ั หมดจนไมเ่ หลอื ซาก นบั เปน็ ความเสยี หายทางเศรษฐกจิ อย่างมหาศาล ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 13

1.1.3 ประวตั ศิ าสตร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanmar) หรือพมา่ ท่ชี าวไทยรจู้ ัก หรือเบอร์ม่า (Burma) ท่ีเรียกขาน เป็นช่อื ภาษาองั กฤษ เปน็ อาณาจกั รเก่าแก่ ซ่งึ ม.จ. สภุ ัทรดศิ ดศิ กุล[11] ไดเ้ สนอประวตั ศิ าสตรเ์ มยี นมารส์ มัยโบราณโดยยอ่ วา่ มชี นชาตพิ ยู หรอื ปยู ได้ต้ังหลักแหล่งอยู่ในประเทศเมียนมาร์ก่อนการอพยพลงมาของ ชนชาติทิเบต-เมียนมาร์ โดยอาศัยอยู่แถบเมืองแปรทางภาคกลางของ ประเทศเมยี นมาร์ เรยี กชอ่ื วา่ อาณาจกั รศรเี กษตร และมหี ลกั ฐานวา่ อาจ ตั้งมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยมีชนชาติเมียนมาร์อยู่ทางเหนือ และชนชาติมอญอยู่ทางใต้ ต่อมาได้ย้ายอาณาจักรศรีเกษตรไปอยู่ เมืองฮาลิน (Ha-Lin) จนระหวา่ ง พ.ศ. 1250-1300 ได้มกี ารอพยพคน ออกจากเมืองฮาลินจึงเสื่อมอ�ำนาจลง ส�ำหรับอาณาจักรมอญที่อยู่ทาง ทิศใต้ของเมียนมาร์ได้ย้ายราชธานีไปทางทิศตะวันตกสู่เมืองพะโค (Pegu) หรือหงสาวดี ซึง่ สรา้ งขน้ึ ใน พ.ศ. 1368 สว่ นเมอื งพุกามของ ชนชาติเมียนมาร์ ซึ่งต้ังอยู่ทางทิศเหนือของเมืองแปรได้ตั้งขึ้นในพุทธ ศตวรรษท่ี 7 พ.ศ. 1392 เมืองพุกามได้เริ่มเข้ามาอยู่ในประวัติศาสตร์ พร้อมกับพระเจ้าปยินพยะได้ทรงสร้างก�ำแพงล้อมรอบเมืองพุกาม กษตั รยิ ท์ ส่ี �ำคญั ของเมอื งพกุ าม ไดแ้ ก่ พระเจา้ อโนรถา พระเจา้ กยนั ซติ ถา พระเจ้าอลองคสิถุ พระเจ้านรปติสิถุ พระเจ้าถิโลมินโล และพระเจ้า นรถหิ ปเต ตอ่ มาเมอื งพกุ ามไดล้ ม่ สลายไป ประเทศเมยี นมารไ์ ดแ้ บง่ ออก เป็น 3 ภาค คือ ภาคใต้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟ้าร่ัว ภาคเหนอื อย่ภู ายใตอ้ �ำนาจของ 3 พีน่ อ้ งไทย คอื อถินขยะ ยซะถนิ กยัน 14

และถิหถุ และภาคตะวันออกได้สร้างเมืองตองอูขึ้นต้ังแต่ พ.ศ. 1823 ต่อมาเมื่ออาณาจักรเมียนมาร์ต้ังข้ึนใหม่มีกษัตริย์ที่ส�ำคัญ คือ พระเจ้า ตะเบง็ ชเวตี้ พระเจา้ บเุ รงนอง พระเจา้ นนั ทบเุ รง พระเจา้ มหาธรรมราชา พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา พระเจ้าอลองพระ พระเจ้าสินพยูชิน พระเจา้ ปะดงุ พระเจา้ พะคยดี อ พระเจา้ พกุ าม พระเจา้ มนิ ดง และกษตั รยิ ์ องค์สุดท้าย คือ พระเจ้าธีบอ ท่ที รงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2421 และ พยายามต่อสู้กับอังกฤษแต่ต้องพ่ายแพ้ ประเทศเมียนมาร์จึงต้องเสีย เอกราชในปี พ.ศ. 2428 โดยพระเจ้าธบี อไดถ้ กู น�ำไปคุมตัวอยู่ในอินเดยี จากการตกเปน็ เมอื งขนึ้ กวา่ 5 ทศวรรษ ไดม้ กี ารตอ่ สเู้ พอ่ื เอกราชของ เมยี นมารม์ าเปน็ ระยะ อยา่ งการตอ่ ตา้ นคดั คา้ นการปกครองขององั กฤษ คร้งั แรก โดยกล่มุ ปญั ญาชนเมยี นมาร์และพระสงคใ์ นปี พ.ศ. 2443 และ ในปี พ.ศ. 2478 องค์การนกั ศึกษามหาวทิ ยาลยั ย่างกงุ้ เปน็ กองหนา้ ของ การแผ่ขยายกิจกรรม และมีพลังในการเคล่ือนไหวเพ่ือเอกราชของชาติ ออง ซานได้เปน็ ผนู้ �ำนกั ศกึ ษามหาวทิ ยาลยั ย่างกงุ้ น�ำการประท้วงหลาย ครัง้ นายพลออง ซาน ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมาร์ 15

เมื่อเกิดสงครามที่รุนแรงกะทันหันระหว่างฝ่ายพันธมิตรและ ฝ่ายอักษะ ออง ซานเห็นโอกาสทจ่ี ะท�ำให้ประเทศมีอิสรภาพ ออง ซาน และเพือ่ นอีก 29 คน ทรี่ ู้จกั ในนาม 30 สหาย ไดเ้ ดนิ ทางไปฝึกอบรมท่ี ประเทศญ่ีป่นุ โดย ในปี พ.ศ. 2484 ไดก้ ลับเมียนมารแ์ ละเข้ารว่ มต่อสู้ กบั องั กฤษ โดยญป่ี นุ่ ใหส้ ญั ญาวา่ จะชว่ ยเมยี นมารใ์ หไ้ ดร้ บั การปลดปลอ่ ย จากอังกฤษ แต่เม่ือญี่ปุ่นยึดครองเมียนมาร์ได้แล้วกลับไม่มีทีท่าจะให้ เมยี นมารป์ ระกาศเอกราช ออง ซานจงึ กลบั ไปเจรจากบั องั กฤษทจ่ี ะชว่ ย รบกบั ญปี่ นุ่ ในปี พ.ศ. 2485 ออง ซานไดก้ อ่ ตงั้ องคก์ ารสนั นบิ าตเสรภี าพ แห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League: AFPFL) เพื่อต่อต้านญ่ีปุ่นอย่างลับๆ องค์การน้ีภายหลังได้ กลายเป็นพรรคการเมืองช่ือพรรค AFPFL ทีม่ า: http://www.bloggang.com 16

เม่อื ญ่ปี นุ่ แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แลว้ ออง ซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันท่ีจะให้เมียนมาร์มีอิสรภาพ ปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และเปิดให้มีการเลือกตั้งภายใต้ ประเทศเมียนมาร์ทยี่ ังไม่ไดร้ ับเอกราชอย่างเป็นทางการจากองั กฤษ ใน ปี พ.ศ. 2490 พรรค AFPFL ชนะการเลือกตัง้ โดยนายพลอองซานได้ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก และได้ท�ำความตกลงกับชนกลุ่มน้อยใน ประเทศว่าจะให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระจากการรวมตัวกันเป็น ประเทศเมียนมาร์ได้ ภายหลังจากท่ีได้รวมตัวกัน 10 ปี แต่ทว่าอยู่ใน ต�ำแหน่งไดเ้ พียงหนึง่ เดอื นนายพลออง ซานและคณะรฐั มนตรอี ีก 6 คน ก็ได้ถูกลอบสังหารในวันท่ี 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะเดนิ ออกจาก ทปี่ ระชมุ สภา โดยผบู้ งการสงั หารหมคู่ รง้ั น้ี คอื นายอู ซอ อดตี สมาชกิ ใน กลุ่ม 30 สหาย ตะขิ้นนุหรืออู นุได้ข้ึนเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และมี การประกาศใชร้ ัฐธรรมนญู เม่อื วนั ท่ี 17 ตลุ าคม พ.ศ. 2490 โดยองั กฤษ ได้มอบเอกราชให้แก่เมียนมาร์แต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ และใน วนั ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 องั กฤษจึงได้มอบเอกราชใหแ้ กเ่ มียนมาร์ อย่างสมบูรณ์ ภายหลังจากเมียนมาร์ได้รับเอกราชแลว้ การเมอื งภายใน ประเทศกม็ คี วามสบั สนอยตู่ ลอดเวลา นายกรฐั มนตรี คอื นายอู นถุ กู บบี ใหล้ าออกเมอื่ พ.ศ. 2501 ผู้น�ำเมียนมารค์ นต่อมา คือ นายพลเน วนิ ซึ่ง ไดท้ �ำการปราบจลาจลและพวกนยิ มซา้ ยจดั อยา่ งเดด็ ขาด และไดจ้ ดั ใหม้ ี การเลือกต้ังท่ัวประเทศใน พ.ศ. 2503 ท�ำให้นายอู นุได้กลับมาเป็น ผู้จดั ต้ังรัฐบาลใหม่ เพราะไดร้ บั เสยี งขา้ งมากในสภา และนายพลเน วนิ ท�ำรัฐประหารอีกครั้งในปี พ.ศ. 2505 โดยน�ำประเทศปกครองแบบ เผด็จการสงั คมนิยม ด�ำเนินนโยบายปดิ ประเทศ ไม่มคี วามสัมพนั ธ์หรือ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมาร์ 17

ติดต่อกับโลกภายนอก และมกี ารสืบทอดระบบเผด็จการทหารตอ่ ๆ มา ตอ่ มาในปี พ.ศ. 2531 รฐั บาลเมยี นมารไ์ ดเ้ ปดิ โอกาสใหม้ กี ารเลอื กตง้ั เป็นครง้ั แรกนบั ต้ังแต่ พ.ศ. 2505 ซ่ึงเปน็ ชว่ งเวลาท่ีนางออง ซาน ซจู ผี ู้ เป็นบุตรสาวของนายพลออง ซานเขา้ มามบี ทบาททางการเมือง และ ได้ ประกาศเปน็ ผนู้ �ำในการเรยี กรอ้ งอ�ำนาจของประชาชนจากรฐั บาลทหาร และตอ้ งการใหม้ กี ารปกครองประเทศในระบอบประชาธปิ ไตย นางออง ซาน ซจู ี ได้จดั ต้ังพรรคสันนบิ าตประชาธปิ ไตยขน้ึ เพ่อื ด�ำเนินการตาม เจตนาทไ่ี ด้ตง้ั ปณิธานไว้ จงึ เป็นจุดเริม่ ต้นของความขดั แยง้ และการต่อสู้ ในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่น่าสนใจของประเทศเมียนมาร์ เม่ือ นางอองซาน ซูจีได้รบั คะแนนเสียงอยา่ งท่วมท้นในการเลือกต้ังคร้ังแรก ของประเทศเมียนมาร์ แต่รัฐบาลทหารกลับไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และสง่ั กกั บรเิ วณนางออง ซาน ซจู ใี หอ้ ยแู่ ตใ่ นบา้ นของนาง และหา้ มผใู้ ด เข้าเยี่ยมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ทั้งยังมีการสั่งคุมขังนักโทษ ทางการเมอื งหลายพนั คน และมีการปราบปรามชนกลมุ่ น้อย ท�ำให้เกิด 18

การประณามจากทั่วโลกในเร่ืองของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็น เหตใุ หอ้ งคก์ ารสหประชาชาติ สหรฐั อเมรกิ า และประชาคมยโุ รปประกาศ ควำ่� บาตรทางเศรษฐกจิ ตอ่ ประเทศเมยี นมาร์ ประเทศเมียนมาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันท่ี 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) พรอ้ มๆ กบั สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตย ประชาชนลาว ทา่ มกลางเสยี งวพิ ากษว์ จิ ารณจ์ ากรฐั บาลของประเทศใน ซีกโลกตะวันตก ซ่ึงในขณะนั้นประเทศเมียนมาร์ยังคงมีปัญหาทางการ เมือง และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูง โดยรัฐบาลทหารเมียนมาร์ ภายใต้การน�ำของนายพลซอ หม่องในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบ แหง่ รฐั ” หรือ “สลอรค์ ” (The State Law and Order Restoration Council: SLORC) เม่ือถึงเวลาที่เมียนมาร์เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนจึงท�ำให้หลาย ประเทศมหาอ�ำนาจฝา่ ยตะวนั ตก อาทิ สหรฐั อเมรกิ า องั กฤษ ออสเตรเลยี และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป คัดค้านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ เมยี นมาร์ โดยแสดงความเหน็ วา่ “อาเซยี นยงั ไมค่ วรรบั เมยี นมารเ์ ขา้ เปน็ สมาชิก จนกว่าสภาพทางการเมืองและการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน เมยี นมารจ์ ะดขี น้ึ ” แตเ่ มยี นมารเ์ ปน็ ประเทศทม่ี คี วามส�ำคญั ประเทศหนงึ่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคโลก ไรพ้ รมแดน ไมว่ า่ จะเปน็ ความส�ำคญั ทางดา้ นภมู ศิ าสตรท์ มี่ พี รมแดนเปน็ ประตูเช่ือมโยงจนี และอนิ เดยี เมยี นมารจ์ งึ เปน็ ทางผ่านของวตั ถดุ ิบและ สินค้าระหวา่ งภูมภิ าคได้เป็นอยา่ งดี นอกจากนย้ี ังมที รัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะด้านพลังงานอันเป็นปัจจัยส�ำคัญของยุคอุตสาหกรรม และ เปน็ ตลาดสนิ คา้ ประเภทอปุ โภคบรโิ ภค ซง่ึ เปน็ สนิ คา้ สง่ ออกของประเทศ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 19

ในภูมิภาค อีกทั้งเมียนมาร์ยังมีแรงงานข้ันต่�ำราคาถูก ส่ิงเหล่าน้ีท�ำให้ เมียนมาร์มีบทบาทส�ำคัญอันเป็นที่ต้องการของกลุ่มประเทศอาเซียนใน การชักชวนใหเ้ ข้าร่วมเปน็ สมาชกิ นายอู นุ อดตี นายกรฐั มนตรี และ นายพลเน วิน ผ้นู �ำระบบเบ็ดเสรจ็ นายพลเตง็ เซง นายกรัฐมนตรีเมยี นมาร์ 20

ในปี พ.ศ. 2553 รัฐบาลเมียนมาร์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งในระบอบ ประชาธิปไตยอีกครั้งในรอบ 20 ปี รัฐบาลที่ได้รับการเลือกต้ังคร้ังนี้ได้ พยายามที่จะปรับปรุงการเมืองการปกครองในประเทศให้มีความเป็น ประชาธปิ ไตยมากขนึ้ และไดป้ ลอ่ ยตวั นางออง ซาน ซจู ใี หเ้ ปน็ อสิ ระจาก การกักบริเวณภายในบ้านตลอดเวลารวมเกือบ 20 ปี และเม่ือเดือน สิงหาคมปี พ.ศ. 2554 นี้ นางออง ซาน ซจู ีได้รับอนุญาตให้เดินทางไป ทั่วประเทศเป็นครั้งแรก เพ่ือพบกับผู้สนับสนุนทางการเมืองของเธอ นอกจากนี้เธอยังได้พบกับผู้แทนทางการทูตจากองค์การสหประชาชาติ และได้พบกับผนู้ �ำประเทศเมยี นมารอ์ กี ดว้ ย นบั เปน็ การเปล่ียนแปลงใน ทางที่ดีข้ึนจากท่าทีของรัฐบาลต่อนางออง ซาน ซูจี จึงท�ำให้ท่ัวโลก จบั ตามองและผอ่ นคลายทา่ ทตี ามล�ำดับ ในปี พ.ศ. 2555 เมยี นมารไ์ ดเ้ ปดิ ประเทศใหน้ กั ทอ่ งเทย่ี วเขา้ มาเทยี่ ว ชมเมอื งหลวงแหง่ ใหม่ คอื “กรงุ เนปดิ อว”์ ซงึ่ ยา้ ยมาจากกรงุ ยา่ งกงุ้ ตงั้ แต่ พ.ศ. 2548 มเี นอ้ื ทปี่ ระมาณ 7,024 ตารางกโิ ลเมตร มปี ระชากรประมาณ 9 แสนคน ส�ำหรบั การยา้ ยเมอื งหลวงมายงั กรุงเนปิดอวน์ ี้ มผี ้วู เิ คราะห์ ว่าเป็นเพราะต้องการต้ังเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพ่ือยุทธศาสตร์ ทางการทหาร ซงึ่ ยา่ งกงุ้ อยใู่ กลท้ ะเลมากเกนิ ไปและไมส่ ามารถแยกพนื้ ท่ี ทหารออกจากประชาชนเม่ือมีการชมุ นุมประทว้ งรัฐบาล อีกทัง้ ตอ้ งการ ท�ำตามความเช่ือจากธรรมเนียมด้ังเดิม เมื่อมีการเปล่ียนราชวงศ์ก็ต้อง ยา้ ยเมืองหลวง และเพื่อเป็นการร�ำลึกถงึ บรู พกษตั รยิ ท์ ี่สรา้ งวีรกรรมอัน ยงิ่ ใหญใ่ นอดตี รฐั บาลเมยี นมารจ์ งึ ไดส้ รา้ งอนสุ าวรยี ์ 3 กษตั รยิ เ์ มยี นมาร์ ไดแ้ ก่ พระเจา้ อโนรธาแหง่ เมอื งพกุ าม พระเจา้ บเุ รงนองแหง่ เมอื งหงสาวดี และพระเจา้ อลองพญาแหง่ ชเวโบ ทรี่ วบรวมเมยี นมารเ์ ปน็ ปกึ แผน่ กลาง ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 21

เมืองเนปิดอว์ นอกจากน้ี ยังจ�ำลองเจดีย์ชเวดากองไว้ในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า “มหาเจดยี อ์ ปุ ปาตะสนั ต”ิ ทีม่ า: https://sites.google.com 1.1.4 ลักษณะประชากร จากหนังสือของ UNDP ในรายงานการพัฒนามนษุ ยป์ ี พ.ศ. 2556 กลา่ ววา่ ประเทศเมียนมารม์ ปี ระชากร 59.1 ล้านคน ซงึ่ มปี ระชากรถงึ 135 เผา่ พนั ธ์ุ และมหี ลายเชอื้ ชาตพิ นั ธ์ุ ประกอบดว้ ยชาตพิ นั ธห์ุ ลกั ๆ ดงั น้ี คอื เมยี นมาร์รอ้ ยละ 68 ฉานร้อยละ 9 กะเหร่ยี งร้อยละ 7 ยะไข่รอ้ ยละ 4 จีนรอ้ ยละ 3 อนิ เดยี รอ้ ยละ 2 มอญรอ้ ยละ 2 และอืน่ ๆ รอ้ ยละ 5[28] 22

ทีม่ า: http://daweidevelopment.com ด้านศาสนา ประเทศเมียนมาร์เปิดเสรีภาพทางศาสนา ประชากรมี โอกาสเลือกศาสนาตามความศรัทธา โดยแยกประชากรตามการนับถือ ทางศาสนาดังนี้ พทุ ธรอ้ ยละ 89 ครสิ ต์รอ้ ยละ 4 (แบ๊บติสตร์ อ้ ยละ 3 โรมันคาทอลิกร้อยละ 1) อสิ ลามรอ้ ยละ 4 ผทู้ ี่นับถอื ลทั ธถิ ือผรี ้อยละ 1 และอืน่ ๆ ร้อยละ 2 ชาวเมยี นมารน์ บั ถอื ศาสนาพทุ ธเปน็ ศาสนาประจ�ำชาติ โดยประชากร กวา่ รอ้ ยละ 89 นบั ถอื ศาสนาพทุ ธ ชาวเมยี นมารเ์ ปน็ ผทู้ เ่ี ครง่ ครดั ในเรอื่ ง ศาสนาพทุ ธมาก และมคี วามเชอื่ ในเรอ่ื งการท�ำบญุ อยา่ งมาก โดยจะแบง่ เงนิ รายไดเ้ กอื บครงึ่ หนง่ึ ไวท้ �ำบญุ จะเหน็ ไดจ้ ากทเี่ มยี นมารม์ วี ดั และเจดยี ์ เป็นจ�ำนวนมาก มีผู้คนเดินทางไปท�ำบุญท่ีวัดและไปไหว้เจดีย์ต่างๆ ทกุ วนั โดยไมค่ �ำนงึ วา่ ตอ้ งเปน็ วนั พระหรอื วนั ส�ำคญั ทางศาสนาเทา่ นน้ั จงึ จะไปวัด เมียนมาร์บัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจ�ำชาติใน พ.ศ. 2517 ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมาร์ 23

ทม่ี า: http://aec.ditp.go.th ส่วนด้านภาษา นอกจากมีภาษาเมียนมาร์เป็นภาษาทางการแล้ว เมยี นมารย์ งั มภี าษาหลกั ทใ่ี ชพ้ ดู กนั ในประเทศอกี ถงึ 18 ภาษา มากนอ้ ย ตามชนชาติต่างๆ ซ่ึงมีดังนี้ ภาษาเมียนมาร์ (ภาษาทางการ) ภาษา ไทใหญ่ (ฉาน) ภาษากะเหร่ยี ง ภาษาอารากนั (ยะไข)่ ภาษามอญ ภาษา ปะหล่อง ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก และภาษาว้า ภาษาจิงผ่อ (กะฉนิ่ ) และภาษาอาขา่ ภาษาไทลอ้ื ภาษาไทขนึ ภาษาไทค�ำตี่ ภาษามง้ และภาษาเยา้ (เม่ียน) ภาษามอเกน และภาษามาเลย์ 1.1.5 ข้อมูลเศรษฐกิจ เมยี นมารถ์ กู ธนาคารโลกจดั ประเภทใหอ้ ยใู่ นกลมุ่ ประเทศดอ้ ยพฒั นา มากทีส่ ดุ (Least Developed Country) แต่เมียนมาร์กเ็ ปน็ ประเทศท่ี มที รพั ยากรธรรมชาตทิ ่อี ุดมสมบูรณ์ เช่น น้าํ มนั และกา๊ ซธรรมชาติ อกี ทง้ั ยงั มภี ูมิประเทศท่อี ดุ มสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และทรพั ยากรทางทะเล 24

รวมทั้งเป็นแหล่งส�ำคญั ทีม่ ีหยก ไข่มกุ และอัญมณตี า่ งๆ อกี มาก นอกจากนก้ี ารเปน็ ประเทศขนาดใหญท่ ม่ี ปี ระชากรจ�ำนวนมาก และ มีต้นทุนค่าแรงงานท่ีต่ํามากเม่ือเทียบกับประเทศไทย มาเลเซีย หรือ สงิ คโปร์ เมียนมาร์จึงเป็นประเทศทเี่ หมาะแก่การลงทุน เมยี นมารไ์ ดเ้ รม่ิ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ ฉบบั แรก พ.ศ. 2535-2538 โดย อัตราการเติบโตของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมประชาชาติ (GDP) อย่ทู ่รี อ้ ยละ 7.5 และจากแผนพฒั นาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 พ.ศ.2539-2543 อัตราการ เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) โดยเฉล่ียอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ส�ำหรบั ในชว่ งแผนพฒั นาฉบบั ท่ี 3 พ.ศ. 2544-2548 อตั ราการเตบิ โต ของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมประชาชาติ (GDP) อยทู่ รี่ อ้ ยละ 10.5 แผนพฒั นา ฉบบั ที่ 4 พ.ศ. 2549-2553 อตั ราการเจรญิ เตบิ โตของผลติ ภณั ฑม์ วลรวม ประชาชาติอยู่ท่ีร้อยละ 8 รัฐบาลเมียนมาร์ได้ด�ำเนินนโยบายระบบ เศรษฐกิจเสรี โดยให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต การจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศให้มีการค้าเพิ่มมากย่ิงขึ้น ซ่ึงดูได้จากสถิติการ ทีม่ า : http://aseanwatch.org ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 25

คา้ ขายกบั ตา่ งประเทศของเมยี นมาร์ พบวา่ มมี ลู คา่ การคา้ เพมิ่ สงู ขนึ้ อยา่ ง ตอ่ เนอ่ื งทกุ ปี โดยในปงี บประมาณ พ.ศ. 2547-2548 มมี ลู คา่ การคา้ รวม ถึง 28,035.8 ล้านจั๊ด ในขณะที่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2554 มีมูลคา่ สูงขึน้ ถงึ 3 เทา่ ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2547-2548 คอื มีมลู คา่ สงู ถึง 84,615.2 ล้านจ๊ัด โดยเฉพาะการค้ากับไทยในช่วง 3 ปีท่ีผ่านมา โดย ค�ำนวณจากสถติ ปิ ี พ.ศ. 2551-2553 โดยมมี ลู คา่ เฉลย่ี ปลี ะ 149,270.45 ลา้ นจั๊ด และไทยขาดดุลการค้าเมยี นมาร์เฉล่ยี ปลี ะ 45,081.92 ลา้ นจ๊ัด ทั้งนี้การลงทุนท่ีได้รับความสนใจมากที่สุดอยู่ในประเภทพลังงาน นาํ้ มนั และกา๊ ซธรรมชาตเิ ปน็ สว่ นใหญ่ ซง่ึ ทง้ั สองประเภทนเี้ ปน็ การลงทนุ จากต่างชาติท่ีมีมูลค่าสูงท่ีสุด ประเทศเมียนมาร์พยายามอย่างย่ิงท่ีจะ ดงึ ดดู การลงทนุ จากตา่ งชาติ เพอื่ ทจ่ี ะเขา้ มาท�ำใหเ้ กดิ การพฒั นาประเทศ โดยได้เร่ิมมีการแก้ไขเปล่ียนแปลงกฎหมายที่ใช้กันมาเกือบร้อยปี และ 26

มีการออกกฎหมายด้านเศรษฐกิจฉบับใหม่ๆ ให้มีความทันสมัยและ เออ้ื อ�ำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาตมิ ากย่งิ ขน้ึ สินค้าสง่ ออก สนิ คา้ สง่ ออกหลกั ของประเทศเมยี นมาร์ ไดแ้ ก่ สนิ คา้ ขน้ั ปฐมภมู ิ และ วัตถุดิบจากธรรมชาติ อาทิ กา๊ ซธรรมชาติ ไมส้ ัก เสื้อผ้า ถวั่ ไม้เนือ้ แขง็ และแรธ่ าตุ เปน็ ต้น สินคา้ น�ำเขา้ สนิ ค้าน�ำเขา้ สว่ นใหญจ่ ะเป็นสินคา้ ทุตยิ ภูมิ อาทิ เครือ่ งจกั ร อุปกรณ์ ขนส่งที่ไม่ใช้ไฟฟ้า น�้ำมันปิโตรเลียม เคร่ืองจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และ ยารักษาโรค เป็นต้น การนำ� เข้าเคร่ืองมือด้านกอ่ สร้าง ท่มี า: innnews.co.th ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมาร์ 27

เมืองส�ำคญั และสินค้าท่สี �ำคัญ[14] เมือง ขอ้ มูลจ�ำเพาะสินคา้ และบริการท่ีส�ำคญั 1. นครเนปดิ อว ์ นครหลวงแหง่ ใหมก่ อ่ ตง้ั เมอื่ ปี พ.ศ. 2552 เปน็ ทอี่ ยขู่ องหนว่ ยราชการส�ำคญั ทง้ั หมด อยู่ระหว่างเปลี่ยนถ่ายสถานที่ส�ำคญั มาจากเมืองยา่ งกงุ้ 2. กรงุ ย่างก้งุ อดตี เมืองหลวงมคี วามส�ำคัญในการ เป็นเมอื งศนู ย์กลางการค้าและกระจาย สินคา้ ไปสู่ภาคต่างๆ ของประเทศ นอกจากนยี้ า่ งก้งุ ยงั เปน็ ศนู ย์กลาง การคา้ อัญมณีและการส่งออกไม้สัก อีกด้วย ย่างก้งุ มเี ขตนิคมอุตสาหกรรม ท่ีมคี วามพรอ้ มด้านสาธารณปู โภค มากกว่าเมืองอืน่ ในประเทศ อุตสาหกรรมทนี่ ่าลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมส่งิ ทอ อุตสาหกรรมการ ผลิตสนิ คา้ เพื่อการอปุ โภคบริโภค อุตสาหกรรมการประมง ธุรกิจการ ท่องเทย่ี ว ธุรกจิ การบรกิ าร เชน่ รา้ น อาหาร อูซ่ อ่ มรถ และสถาบันฝึกอบรม วิชาชพี อุตสาหกรรมเฟอรน์ เิ จอร์ 28

เมอื ง ขอ้ มูลจ�ำเพาะสินคา้ และบรกิ ารท่ีส�ำคัญ อุตสาหกรรมไมแ้ ปรรูป การผลติ ของ ช�ำร่วย และส่ิงประดษิ ฐ์ทที่ �ำจากไม้ เป็นต้น 3. เมอื งหงสาวด ี เปน็ แหล่งทอ่ งเทย่ี วทางประวตั ศิ าสตร์ และวัฒนธรรม อตุ สาหกรรมท่ีนา่ ลงทุน ได้แก่ โรงแรม ธุรกจิ ทอ่ งเทยี่ ว รา้ นอาหาร อซู่ ่อมรถ และร้านท�ำผม 4. เมืองท่าตอน เปน็ เมืองชายฝ่งั ทะเลทางตอนใต้ของ สหภาพเมียนมาร์ท่ีมีประวัติศาสตร์ และวฒั นธรรมเกา่ แก่ อตุ สาหกรรมที่ น่าลงทุน ไดแ้ ก่ ประมง และการ แปรรูปสนิ ค้าทางทะเล 5. เมืองเมาะ เปน็ เมอื งตากอากาศชายทะเล ละแหม่ง อุตสาหกรรมทน่ี า่ ลงทุน ได้แก่ อตุ สาหกรรมเฟอรน์ ิเจอรไ์ มย้ างพารา อุตสาหกรรมสงิ่ ทอ และธรุ กจิ ท่องเทย่ี ว 6. เมอื งเมียวด ี ปัจจุบันเปน็ เมอื งการค้าชายแดนติด กับอ�ำเภอแมส่ อด จงั หวัดตาก เปน็ เมอื งส�ำคญั ในการกระจายสินค้าจาก ประเทศไทยไปยังเมืองตา่ งๆ ของ สหภาพเมียนมาร์ อุตสาหกรรมทนี่ ่า ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 29

เมอื ง ขอ้ มลู จ�ำเพาะสินค้าและบริการทีส่ �ำคัญ ลงทนุ ไดแ้ ก่ อุตสาหกรรมการเกษตร และอัญมณี 7. เกาะสอง เป็นแหลง่ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษแ์ ละสง่ เสรมิ สุขภาพ เหมาะแก่การท�ำประมง แต ่ ปัจจบุ ันมีปัญหาการยกเลกิ สมั ปทานใน สหภาพเมยี นมาร์ ซงึ่ หากมีการเจรจาหา ขอ้ ยตุ กิ ็จะเป็นโอกาสต่อไปในอนาคต อตุ สาหกรรมทนี่ า่ ลงทุน ไดแ้ ก่ ธุรกจิ ท่อง เท่ียว ประมง และอตุ สาหกรรมต่อเนอื่ ง 8. เมืองพุกาม เปน็ เมืองประวัตศิ าสตรท์ ี่ส�ำคญั ของ เมยี นมาร์ เรยี กอกี ชื่อหน่งึ ว่า “ดินแดน แห่งเจดียห์ มืน่ องค์” ซึ่งปจั จุบนั องค์การ ยเู นสโกไดข้ ้ึนทะเบยี นใหเ้ ป็นเมอื งมรดก โลก “World Heritage Sites” สามารถ เทยี่ วไดต้ ลอดทงั้ ปี และจะงดงามมากทส่ี ดุ ในชว่ งฤดูฝน อุตสาหกรรมทน่ี า่ ลงทนุ ไดแ้ ก่ ธรุ กจิ ทอ่ งเทย่ี ว เชน่ โรงแรม รสี อรท์ และสนามกอลฟ์ 9. เมอื งพีนอหู วิ่น ต้ังอยู่ในเขตปริมณฑลของมัณฑะเลย์ม ี พ้ืนท่ีที่เหมาะสมแก่การท�ำการเกษตร 30

เมือง ขอ้ มลู จ�ำเพาะสนิ คา้ และบรกิ ารท่ีส�ำคญั โดยเฉพาะพชื ท่ปี ลกู บนพืน้ ทที่ ี่สูงกว่า ระดบั นำ�้ ทะเลประมาณ 4,000 เมตร เชน่ กาแฟ เนอื่ งจากสภาพอากาศท่ดี ี คลา้ ย ยุโรป จึงเหมาะแกก่ ารปลกู พืชผัก ผลไม้ โดยเฉพาะพชื ตระกลู สม้ อตุ สาหกรรม ท่ีน่าลงทนุ ไดแ้ ก่ อุตสาหกรรมเกษตร และอตุ สาหกรรมเกษตรแปรรปู ทเี่ กยี่ วกบั พชื ผลทางการเกษตร ธุรกิจทอ่ งเที่ยว และร้านอาหาร 10.เมอื งตานต่วย อยู่รมิ ฝง่ั อา่ วเบงกอลและมีหาดงาปาลี (Ngapali) ซ่งึ เปน็ แหล่งท่องเท่ยี วที่มี ชอื่ เสยี งของสหภาพเมียนมาร์ อุตสาหกรรมท่นี ่าลงทนุ ไดแ้ ก่ ธุรกจิ การ ท่องเท่ยี ว เชน่ โรงแรม และรีสอรท์ 11.เมอื งมณั ฑะเลย ์ เมอื งใหญ่อนั ดับสองที่เปน็ ศนู ยก์ ลาง เศรษฐกจิ ของเขตสหภาพเมียนมาร ์ ตอนบน (รฐั ชนิ รฐั กะฉนิ่ และรฐั ฉาน) และ เป็นเสน้ ทางการค้าระหวา่ งอินเดยี กบั จนี เปน็ เมอื งท่ชี าวเมยี นมาร์ มีตลาดเซโจซึ่ง เปน็ ศนู ยก์ ลางการคา้ ทางตอนใตข้ องเมอื ง ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 31

เเมมออืื งง ขขอ้อ้ มมูลูลจจ��ำำเเพพาาะะสสินินคค้า้าแแลละะบบรริิกกาารรทท่ี่สีส��ำำคคญััญ เปน็ ยา่ นงานศลิ ปหัตถกรรม ทงั้ งานภาพ งานแกะสลัก การสร้างสถูปเจดีย์ การท�ำ แผน่ ทองค�ำเปลว งานหล่อทม่ี ฝี มี อื การ ผลิตตามแบบวิธโี บราณด้วยทอง เงนิ หนิ ออ่ น สว่ิ เสน้ ด้าย และหูกทอผา้ อตุ สาหกรรมทีน่ ่าลงทุน ไดแ้ ก่ ธุรกิจท่อง เท่ยี ว และหตั ถกรรม 1.1.6 ข้อมูลการเมอื งการปกครอง จากรฐั ธรรมนญู การปกครองของสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมารป์ ี พ.ศ. 2551 (Constitution of the Republic of the Union of Myan- mar 2008) ได้ให้ความส�ำคัญเรื่องความม่ันคงและสถานะทางอ�ำนาจ ของผู้น�ำทางทหารท่ีได้ผ่อนคลายอ�ำนาจทางการเมืองให้ประชาชนโดย การเลือกตั้ง แต่ก็ยังคงแฝงความคิดต่างๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญ ดูได้ตั้งแต่ เรอ่ื งโครงสรา้ งรฐั (State Structure) ทอ่ี ยใู่ นหมวดทสี่ องของรฐั ธรรมนญู ว่าดว้ ยการปกครองของเมยี นมาร์ โดยสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมาร์ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของ ประเทศและหวั หนา้ รฐั บาล มีรฐั สภาประกอบดว้ ย สภาสงู หรอื Upper House ซ่ึงเป็นผู้แทนจากสภาชาติพันธ์ สภาประชาชน หรือ Lower House และสภาท้องถนิ่ ตง้ั แตว่ นั ที่ 30 มนี าคม พ.ศ. 2554 32

ท่มี า: ttps://www.google.co.th เมยี นมารม์ กี รงุ เนปดิ อวเ์ ปน็ เมอื งหลวง แบง่ เขตการปกครองออกเปน็ 7 รฐั (State) ส�ำหรบั รฐั ที่ประชากรสว่ นใหญ่เป็นชนกลุม่ นอ้ ย ประกอบ ด้วย 1) รัฐชิน (Chin) เมืองเอก คือ ฮะคา ต้ังอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง- เหนอื ของเมยี นมาร์ มพี รมแดนดา้ นทศิ เหนอื และตะวนั ตกตดิ กบั ประเทศ อินเดีย รัฐชินยังมีพรมแดนติดกับรัฐยะไข่ เขตสกาย เขตมะกวย มี ประชากรราว 465,361 คน มพี น้ื ทปี่ า่ ไมอ้ ยปู่ ระมาณ 1 ลา้ นไร่ (400,000 เอเคอร์) ส่วนใหญ่เป็นป่าสน ประชากรในรัฐนี้ท�ำการเกษตรเป็นหลัก ผลผลิตท่ีส�ำคัญ คอื ข้าวโพด ถ่วั ทกุ ชนดิ มนั ฝรงั่ ดอกทานตะวนั ฝ้าย อ้อย ยาสบู กาแฟ สม้ และแอปเป้ิล ประเพณที มี่ ชี ือ่ เสียงมากทีส่ ุดของ รัฐชิน คือ งานประจ�ำชาตขิ องชาวนากะ (นาคา) ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 33

2) รฐั คะฉ่ิน (Kachin) เมอื งเอก คือ มิตจีนา ต้ังอยู่ทางทศิ เหนอื สุด ของประเทศเมยี นมาร์ มีพรมแดนตดิ ตอ่ กบั ประเทศจนี รัฐฉาน และเขต สกาย มปี ระชากรราว 1.2 ล้านคน สภาพอากาศทางใตข้ องรฐั จะอบอุ่น กว่าทางเหนือ เน่ืองจากสภาพภูมิประเทศทางเหนือของรัฐเป็นภูเขาสูง ท่ีมีหิมะปกคลุม ท�ำให้อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี นอกจากน้ีรัฐคะฉิ่น ยังเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการทอผ้าโสร่ง ทั้งในด้านคุณภาพของเน้ือผ้า และลวดลาย นอกจากนย้ี งั มงี านประเพณที มี่ ชี อ่ื เสยี ง คอื งานคะฉน่ิ มะโน หรือ งานจีนโป้ ซ่ึงจัดข้ึนราวปลายเดือนธันวาคมของทุกปี ทุกคนจะ พรอ้ มใจกนั แตง่ กายสวยงาม จดุ ไฟ พรอ้ มทงั้ เตน้ ระบ�ำกนั อยา่ งสนกุ สนาน 3) รัฐกะเหร่ียง (Kayin) เมืองเอก คือ ปะอาน มีพรมแดนติดกับ รัฐฉาน กะยา เมืองตองอู สะเทิม เมาะละแหม่ง และอ�ำเภอแม่สอด ประเทศไทย แม่น้ำ� ที่ส�ำคัญในรฐั นี้ คอื แม่น้ำ� สาละวนิ มปี ระชากรทั้งสน้ิ 1.5 ลา้ นคน มปี ระเพณีการเต้นระบ�ำหมทู่ ม่ี ีช่ือเสยี ง ซงึ่ จะเต้นกันในวนั ขึ้นปีใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญในรัฐน้ี คือ ภูเขาชะเวกาบิน ทรัพยากรธรรมชาตทิ ่สี �ำคัญคือ เหลก็ ตะก่วั ทองแดง ดบี ุก และถา่ นหิน 4) รฐั คะยา (Kayah) (กะเหรีย่ งแดง) เมืองเอก คือ หลอยกอ่ ต้งั อยู่ ทางทศิ ตะวนั ออกของประเทศ มพี รมแดนดา้ นตะวนั ออกตดิ กบั ไทย และ ทางใต้ติดกับรัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 240,000 คน มีเหมืองแร่ วุลเฟรม ดีบุก และดินสีแดงเป็นทรัพยากรธรรมชาติท่ีส�ำคัญ ท้ังน้ี ยังเป็นรัฐที่ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนประเทศมาต้ังแต่สมัยอังกฤษจนถึง ปัจจุบัน โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าท่ีส�ำคัญในรัฐน้ี คือ บริเวณน้�ำตกโลปิตะ 34

(ใกล้กับน�้ำตกทีลอซูของไทย) นอกจากนี้ มีการกล่าวถึง รัฐคะยาใน วรรณกรรมพืน้ บา้ นของเชยี งใหมเ่ ร่อื ง นางมโนหร์ ากบั พระสุธน วา่ เปน็ ถ่ินท่ีอยู่ของนางมโนห์รา และยังกล่าวถึงน�้ำตกเจ็ดช้ันในรัฐคะยา ซึง่ เชื่อกนั วา่ เป็นท่เี ล่นนำ้� ของนางมโนหร์ ากอ่ นถูกพระสุธน จบั ตวั ไป 5) รัฐมอญ (Mon) เมืองเอก คือ มะละแหม่ง มีพรมแดนด้าน ตะวนั ออกตดิ กบั รฐั กะเหรยี่ งและประเทศไทย หงสาวดดี า้ นเหนอื ตดิ เขต ปกครองหงสาวดี ดา้ นใตต้ ดิ เขตปกครองตะนาวศรี สว่ นดา้ นตะวนั ตกตดิ กับทะเลอันดามัน และอ่าวเมาะตะมะ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐนี้ คือ ชาวมอญ ซ่ึงเป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในเมียนมาร์ ชาวมอญ ทง้ั หมดนับถือศาสนาพุทธ พทุ ธสถานท่ีส�ำคัญและมชี อื่ เสยี งในรฐั นีก้ ็คอื พระธาตุอินทรแ์ ขวน หรือพระเจดีย์ไจเ้ ทย่ี ว ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 35

6) รัฐยะไข่ (Rakhine) เมอื งเอก คือ ซติ ตเว เป็นรฐั เก่าแกท่ ี่สุดรัฐ หนงึ่ ในเมยี นมาร์ มอี ายกุ วา่ 3,000 ปี ตงั้ อยทู่ างทศิ ตะวนั ตกของประเทศ ติดกับรัฐฉิ่น เขตมะกวย เขตหงสาวดี และเขตอิระวดี นอกจากน้ียังมี พรมแดนติดอ่าวเบงกอลและบังคลาเทศอีกด้วย รัฐยะไข่เป็นเขตมรสุม เนอ่ื งจากเปน็ รฐั ทมี่ ฝี นตกชกุ มปี ระชากรราว 2.6 ลา้ นคน สว่ นใหญน่ ยิ ม อาศยั บรเิ วณหบุ เขาและทะเล ประชากรสว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนาพทุ ธและ อิสลาม รัฐยะไข่มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองท่ีส�ำคัญ คือ พระมหามุนี พระพุทธรูปองค์แรกของพุทธศาสนา ซ่ึงตามต�ำนานกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นแบบให้ช่างหล่อก่อนจะอัญเชิญองค์ พระพทุ ธรปู ทหี่ ลอ่ เสรจ็ แลว้ ไปประดษิ ฐาน ณ วดั มหามนุ ี เมอื งมณั ฑะเลย์ ปัจจุบันคือพระมหามุนี พระพุทธรูปทองค�ำเนื้อน่ิมท่ีเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนพระมหามุนีองค์ต้นแบบนั้นยังคงประดิษฐานอยู่ท่ียะไข่ตราบถึง ปัจจบุ นั 7) รัฐฉาน หรอื รฐั ไทใหญ่ (Shan) เมอื งเอก คอื ตองยี ต้ังอยู่ทาง ทศิ ตะวนั ออกของประเทศ มีพรมแดนตดิ กบั ประเทศจีน ลาว และไทย รวมถึงรฐั กะฉนิ่ และรฐั กะยา เขตสกาย เขตมณั ฑะเลย์ มีประชากรราว 4.7 ล้านคน รัฐฉานเป็นรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มาก ที่สุด มีชนเผ่าอยู่รวมกันมากมายกว่า 80 ชาติพันธุ์ ท�ำให้มีภาษาถ่ิน มากมายตามไปดว้ ย ทะเลสาบกลางหบุ เขามรี ะดบั ความสงู กวา่ หา้ พนั ฟตุ เหนอื ระดบั นำ้� ทะเล การด�ำรงชวี ติ ของชาวบา้ นในทะเลสาบอาศยั นำ�้ เปน็ หลกั ไมว่ า่ จะเปน็ บา้ นหรอื สวนมะเขอื เทศ ทท่ี �ำกนิ ตา่ งกล็ อยอยเู่ หนอื นำ�้ ทั้งส้นิ นอกจากน้กี ารพายเรือในทะเลสาบกพ็ ายด้วยขาไม่ใชม้ ือพายเช่น 36

ที่อื่นๆ นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหน่ึงของชาวอินตา ชนพ้ืนเมืองเผ่าหน่ึง ของทะเลสาบอินเลแห่งนี้ วัดที่ส�ำคัญในทะเลสาบอินเล ได้แก่ วดั พองดอว์อู ซ่ึงประดิษฐานพระบัวเขม็ หา้ องค์ ซงึ่ มปี ระวัติและต�ำนาน ของความศักดิ์สิทธ์ิมากว่าเก้าร้อยปีต้ังแต่สมัยพุกาม วัดงาแพชอง วดั ทเ่ี จา้ ฟา้ ไทยใหญส่ รา้ งถวาย ภายในเปน็ ทรี่ วบรวมบลั ลงั กพ์ ระพทุ ธรปู ท�ำด้วยไม้สักแกะสลัก ฝีมือละเอียดงดงามมาก นอกจากนี้มีโรงงาน ทอผ้าไหมอินเล ซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ 7 เขต (Division) ส�ำหรับเขตท่ีประชากรส่วนใหญ่เป็นเช้ือสายเมียนมาร์ ประกอบด้วย (1) เขตอิระวดี (Ayeyarwady) เมืองเอก คือ พะสิม ต้ังอยทู่ างตอน ใต้ของทรี่ าบภาคกลาง มีพรมแดนทางเหนอื ตดิ กบั เขตปกครองหงสาวดี และ ย่างกุ้ง มีภูมอิ ากาศแบบมรสุม เขตปกครองอริ ะวดีมปี ระชากรราว 6.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาร์ กะเหร่ียง และยะไข่ ป่าไม้ ส่วนใหญใ่ นเขตน้อี ย่ใู นเขตภูเขาสงู ผลผลติ อื่นนอกจากข้าว คอื ข้าวโพด ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมาร์ 37

งา ถวั่ ลสิ ง และถว่ั ตา่ งๆ งานประเพณที างศาสนาทส่ี �ำคญั คอื งานประจ�ำ ปีของพระเจดยี ์มอตนิ ซุนบรเิ วณแหลมเนเกรในมหาสมุทรอินเดยี (2) เขตพะโค (Bago) หรอื เมอื งหงสาวดี เมืองเอก คอื พะโค มี ประชากรประมาณ 5 ลา้ นคน ในอดตี เคยเปน็ เมืองหลวงของเมียนมาร์ ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะทางตอนใต้ของประเทศเมียนมาร์ ต่อมา พระเจ้าตะเบ็งชะเวต้ียึดครองได้และสถาปนาเป็นศูนย์กลางอํานาจของ ราชวงศต์ องอู หงสาวดเี จรญิ รงุ่ เรอื งสดุ ขดี ในรชั สมยั ของพระเจา้ บเุ รงนอง เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างพระราชวังของพระองค์ชื่อ กัมโพชธานี ซึ่ง นบั เปน็ พระราชวงั ใหญโ่ ต สรา้ งโดยเกณฑข์ า้ ทาสจากเมอื งขน้ึ ตา่ งๆ โดย หนึ่งในน้ันมีเมืองเชียงใหม่และอยุธยารวมอยู่ด้วย จนถึงสมัยพระเจ้า นันทบุเรงท่ีเสด็จหนีพระนเรศวรไปเมืองตองอูและเผาทําลายหงสาวดี หลังจากนั้นไม่นานเมืองอังวะก็กลายเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมยี นมารโ์ ดยสมบรู ณ์ ปจั จบุ นั หงสาวดเี ปน็ เมอื งทที่ ํารายไดใ้ หแ้ กป่ ระเทศ เมยี นมารด์ ว้ ยความทเี่ ปน็ เมอื งทอ่ งเทย่ี ว มคี วามสําคญั ทางประวตั ศิ าสตร์ และศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถานทส่ี ําคัญ ไดแ้ ก่ พระเจดยี ์ชเวมอดอว์ (พระธาตุมุเตา) พระราชวังบุเรงนอง พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว พระเจดยี ์ไจป๊ ุ่น เปน็ ต้น (3) เขตมาเกว (Magway) เมืองเอก คอื มาเกว ตั้งอยตู่ อนกลาง ของประเทศ มีลกั ษณะภมู ิประเทศแบบทะเลทราย มีอากาศร้อน อยู่ตดิ กับเขตปกครองมัณฑะเลย์ หงสาวดี รฐั ยะไข่ และฉิน่ มีประชากรราว 4 ลา้ นคน สว่ นใหญ่ คอื เมียนมาร์ ฉิน่ ยะไข่ คะฉิน่ และฉาน อตุ สาหกรรม 38

ทส่ี �ำคัญในเขตนี้ คือ โรงงานปนู ซเี มนต์ ยาสูบ เหล็ก สถานทีท่ ่องเท่ยี วที่ ส�ำคญั คอื โบราณสถานวษิ ณุ ซง่ึ มกี ารขดุ พบเครอื่ งประดบั ท�ำดว้ ยทองค�ำ ลูกปัดสมยั ศรเี กษตร ท่มี า: http://www.qetour.com (4) เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) เมอื งเอก คือ มณั ฑะเลย์ พ้นื ท่ี ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขามัณฑะเลย์เป็นจุดศูนย์กลางของเมือง เขตนี้มพี รมแดนตดิ กบั เขตปกครองสกาย หงสาวดี มะกวย และรัฐฉาน รัฐกะเหร่ียง มีประชากรราว 6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเมียนมาร์และ ไทยใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจ�ำพวก ชา กาแฟ ดอกไม้เมืองหนาว พลับ องุ่น เกาลัด นอกจากน้ียังมีป่าไม้ เชน่ ไม้สกั ไม้มะค่า ไมป้ ระดู่ นอกจากนยี้ ังมีเหมืองทับทมิ ไพลิน หยก และยังเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเมืองมัณฑะเลย์เคยเป็น อดีตเมืองหลวงและศูนย์กลางการค้าที่ส�ำคัญ สถานท่ีท่ีควรไปชม คือ ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมาร์ 39

พระราชวังมัณฑะเลย์ พระราชวังไม้สักสร้างขึ้นใหม่ตามผังเดิมแทนที่ พระราชวังเก่าท่ีถูกไฟไหม้เสียหาย วัดชะเวจองดอว์ วัดไม้สัก ซ่ึงช่าง บรรจงแกะสลักไว้อย่างงดงาม ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ พระสังฆราชเมยี นมาร์ วัดกุโสดอว์ วดั ซง่ึ มีพระไตรปฎิ กสลักบนหินอ่อน 729 หลัก ได้รับสมญานามว่าเป็นสมุดหินเล่มใหญ่ หากมามัณฑะเลย์ แล้วตอ้ งไปชมพิธีล้างพระพกั ตร์พระมหามนุ ี พระพทุ ธรูปทองค�ำเน้ือนิ่ม คู่บ้านคู่เมืองมัณฑะเลย์ พิธีน้ีเป็นพิธีศักด์ิสิทธ์ิซ่ึงปฏิบัติสืบทอดกันมา ช้านานนับพันปี โดยเจ้าอาวาสผู้ท�ำหน้าที่ล้างพระพักตร์จะได้รับ การคัดเลือกมาจากเจ้าอาวาสท่ัวประเทศให้เป็นผู้กระท�ำพิธีนี้ โดยพิธี จะเร่มิ ในเวลา 05.00 น.ของทกุ วัน (5) เขตสะกาย (Sagaing) เมอื งเอก คือ สะกาย ต้ังอย่ทู างทศิ ตะวันตกเฉียงเหนือ มีพรมแดนติดกับรัฐกะฉ่ิน ฉาน เขตปกครอง มณั ฑะเลย์ มะกวย และประเทศอินเดยี มีพลเมอื งราว 1 ล้านคน รฐั นี้ ท�ำการเกษตรเป็นหลักมีเข่ือนกาโบและคลองชลประทานคอยส่งน้�ำ ผลผลิตทีส่ �ำคญั ของเขตน้ี คอื ไมส้ กั ไม้ทานาคา น�ำ้ ผึง้ หวาย และไมไ้ ผ่ นอกจากนี้ ศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่ส�ำคัญก็อยู่ท่ีเขตปกครอง สะกายน้ีด้วย ประเพณีท่ีส�ำคัญของเขตสะกายคือ พิธีการถวายข้าว ณ พระเจดีย์ปาดาเมีย เปน็ พธิ ีประจ�ำปที สี่ �ำคญั (6) เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) เมืองเอก คอื ทวาย มีพรมแดน ดา้ นทิศใต้และตะวนั ออกตดิ กบั ทะเลอันดามนั มปี ระชากรราว 1.2 ลา้ น คน เนอ่ื งดว้ ยภมู ปิ ระเทศของรฐั นเี้ ปน็ ชายฝง่ั ทะเล ประชากรจงึ ท�ำอาชพี 40

ประมงเปน็ สว่ นใหญ่ มกี ารเพาะพนั ธห์ุ อยนางรม รวมไปถงึ การผลติ ไขม่ กุ ทีม่ คี ณุ ภาพ มรี งั นก ดบี กุ และทรายเพื่อการผลติ แก้ว พระเจดีย์ชะเวดากอง (7) เขตยา่ งกงุ้ (Yangon) เมอื งเอก คอื ยา่ งก้งุ อยบู่ ริเวณทร่ี าบ ภาคกลางค่อนไปทางใต้ มีพรมแดนติดกับอ่าวเมาะตะมะ เขตปกครอง หงสาวดี และเขตปกครองอริ ะวดี ภมู อิ าศรอ้ นชนื้ มปี ระชากรราว 5 ลา้ น คน เมืองหลวงของเขตปกครองนี้ คอื เมอื งย่างกงุ้ ซงึ่ เคยเปน็ เมอื งหลวง ของประเทศเมียนมาร์ด้วย ย่างกุ้งเป็นที่อยู่ของท่ีท�ำการรัฐบาล มหาวิทยาลัย โรงงาน อุตสาหกรรมศูนย์กลางธุรกิจการค้า ศูนย์กลาง คมนาคม และท่ีส�ำคัญท่ีสุด พระเจดีย์ชะเวดากอง พระเจดีย์ทองค�ำ สัญลกั ษณป์ ระเทศเมียนมาร์ก็อยทู่ ่เี ขตปกครองยา่ งกุ้ง ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 41

ทมี่ า: http://www.2by4travel.com ในโครงสร้างรัฐหรือเขตการปกครองต่างก็มีโครงสร้างการปกครอง ท้องถ่ินเป็นฐานรากรองรับการบริหารจัดการเหมือนๆ กันท้ัง 14 เขต การปกครอง ซึง่ แบง่ ยอ่ ยออกเป็น 3 ระดบั ดงั น้ี 1. อ�ำเภอ (ขะหย่าย) ปจั จุบันมี 64 ขะหย่าย 2. ต�ำบล (มโยะแหน)่ ปจั จบุ นั มี 324 มโยะแหน่ 3. หมู่บา้ น (ย-หว่า หรือ เจ-ย-หวา่ ) ปจั จุบนั มี 13,747 ย-หวา่ เขตชุมชนเมืองทมี่ เี ทศบาลหรอื สุขาภบิ าล (ยะแกวะ ซงึ่ อาจแปลว่า ยา่ น หรือเขต) ในปจั จบุ ันมี 2,470 ยะแกวะ 42

1.1.7 ลกั ษณะทางสังคมและวัฒนธรรม วัฒนธรรมของเมยี นมาร์ แมไ้ ดร้ บั อทิ ธิพลทั้งจากจีน อินเดีย แตก่ ็มี วัฒนธรรมท่ีเป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง อย่างวัฒนธรรมมอญที่อยู่คู่ เมียนมาร์มาช้านาน ศิลปะของเมียนมาร์ยังได้รับอิทธิพลจากวรรณคดี และพระพทุ ธศาสนานกิ ายเถรวาทมาตง้ั แตค่ รงั้ โบราณ ชาวเมยี นมารเ์ ปน็ ชนชาติที่ยึดม่ันในขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ส่ังสมมา แต่อดีต การยึดม่ันในคุณค่าของอดีตเช่นนี้ท�ำให้ชาวเมียนมาร์ยังคง ด�ำเนินชวี ติ ตามแบบทีเ่ คยยึดถอื แตโ่ บราณ โดยเฉพาะในเร่ืองจริยธรรม การนบั ถอื ศาสนา และการปฏบิ ตั ติ ามประเพณที ไี่ ดร้ บั การสบื ทอดตอ่ กนั มา การด�ำเนินชีวิต สังคมของชาวเมียนมาร์เป็นสังคมท่ีให้ความส�ำคัญ กับระบบอาวุโสและระบบอุปถัมภ์เป็นอย่างยิ่ง สถานภาพของชายจะ สงู กวา่ หญงิ แตข่ ณะเดยี วกนั เมอื่ หญงิ แตง่ งานแลว้ กส็ ามารถขอหยา่ จาก สามีได้ เมื่อหย่าแล้วก็กลับมาอยู่ที่บ้านพ่อแม่เหมือนเดิม ในช่วงวัย แตง่ งานมกั จะแตง่ งานตงั้ แตอ่ ายยุ งั นอ้ ย พธิ แี ตง่ งานเรยี บงา่ ยไมต่ อ้ งมพี ธิ ี ทางศาสนาหรือทางโลก มีแต่การจดทะเบียนสมรสเพ่ือประโยชน์ใน การแบง่ สนิ สมรส หญงิ ชาวเมยี นมารจ์ ะไดร้ บั สทิ ธติ ามกฎหมายทดั เทยี ม ชาย แม้ว่าสถานภาพอ่ืนๆ ทางสังคมจะด้อยกว่าก็ตาม แต่กฎหมาย ของเมียนมาร์ก็คุ้มครองสิทธิของสตรีอย่างมาก ตลอดช่วงชีวิตของ ชาวเมียนมาร์ได้ยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ สืบทอดมาจากอดีต แม้ในช่วงการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ชาวอังกฤษพยายามจะเปล่ียนแปลงวิถีชีวิตให้ชาวเมียนมาร์มีโลกทัศน์ ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมาร์ 43

แบบสมัยใหม่ แต่ชาวเมียนมาร์ก็ยังคงพึงพอใจที่จะด�ำเนินชีวิตอยู่ใน ค่านิยมแบบเดิม เช่น การแต่งกายซ่ึงสะท้อนให้เห็นความภาคภูมิใจใน ความเปน็ เมยี นมารข์ องตนอยา่ งเหน็ ไดช้ ดั ชาวเมยี นมารท์ ง้ั หญงิ และชาย นยิ มนุ่งโสร่ง เรยี กว่า “ลองยี” (Longeje) ส่วนการแต่งกายแบบโบราณ เรยี กวา่ “ลนุ ตยาอชกิ ” แตใ่ นปจั จบุ นั มกี ารรบั วฒั นธรรมจากตา่ งประเทศ มาหลากหลายรปู แบบ เชน่ การแตง่ กาย ดนตรี ฯลฯ นอกจากน้ีประเพณีพ้ืนเมืองเมียนมาร์นับได้ว่าเป็นสังคมท่ีแทบหยุด กาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงด้วยการปิดประเทศมานานกว่า 3 ทศวรรษ สังคมเมียนมาร์อยู่ได้ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและ ภูมิปัญญาท้องถ่ิน เน้นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกินและพ่ึงพาตนเอง สง่ิ จ�ำเปน็ จึงมีเพยี งแค่ปัจจยั ส่ี คือ อาหาร ทอ่ี ยอู่ าศัย เครื่องนุง่ หม่ และ ยารักษาโรค ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมียนมาร์จึงมีความเรียบง่าย เมียนมาร์มีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า “แซะนะล่ะ หย่าต่ีบะแว” หรือประเพณีสิบสองเดือน ท่ียังคงสืบทอดงานประเพณี สิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปล่ียนแปลงไปจากเดิมบ้าง และเพื่อความ เขา้ ใจ ต้องทราบว่า เดือน 1 ของเมยี นมารเ์ ทา่ กบั เดือน 5 ของไทย และ เดือน 12 ไทยเท่ากับเดือน 8 เมียนมาร์ ประเพณีสิบสองเดือนของ เมียนมารเ์ ปน็ ดงั น้ี [4a] • เดอื นหนงึ่ เรยี กวา่ เดอื นดะกู (ม.ี ค. - เม.ย.) เปน็ เดอื นเรมิ่ ศกั ราช ใหม่ และเป็นเดือนต้นฤดูร้อน มีงานฉลองสงกรานต์เป็นงานฉลองวัน ส่งท้ายปีเก่าและย่างสู่ปีใหม่ ชาวเมียนมาร์ถือว่างานสงกรานต์เป็น ประเพณียงิ่ ใหญ่ในรอบปี เรียกว่า ธิงจัน (Thingyan) มกี ารเล่นสาดน�้ำ ตลอด 5 วนั ชาวเมียนมารถ์ ือว่าช่วงเวลาน้เี ปน็ วนั มงคล จึงนิยมเขา้ วัด 44

รักษาศีล ช่วยกวาดลานวัดและลานเจดีย์ สรงน�้ำพระพุทธและเจดีย์ รดนำ้� ด�ำหวั พ่อ แม่ ปู่ ยา่ ตา ยาย ตลอดจนครบู าอาจารย์ และสระผม ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ด้วยน้�ำส้มป่อย งดการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต บ้างสร้างกุศลด้วย การปล่อยววั ควาย และปลา เม่อื สนิ้ วนั สงกรานต์ ชาวเมยี นมารจ์ ะนยิ ม จัดงานบวชเณรให้บุตรและจัดงานเจาะหูให้ธิดา จะพบเห็นขบวนแห่ ลกู แกว้ และลกู หญงิ ไปตามทอ้ งถนนและรอบลานองคเ์ จดยี ์ ตามวดั ตา่ งๆ จงึ มสี ามเณรบวชใหมอ่ ยกู่ ันเต็มแทบทุกวนั ธิงจนั ประเพณสี งกรานต์ในเมียนมาร์ ทม่ี า: e-shann.com • เดอื นสอง เรยี กวา่ เดอื นกะโสง่ (เม.ย. - พ.ค.) เมยี นมารม์ สี �ำนวน วา่ “ดะกนู ำ้� ลง กะโสง่ นำ้� แลง้ ” เดอื นกะโสง่ จงึ เปน็ เดอื นทแี่ หง้ แลง้ ภาวะ อากาศในเดอื นนอ้ี อกจะรอ้ นอบอา้ วกวา่ เดอื นอน่ื ๆ ชาวพทุ ธเมยี นมารจ์ งึ จัดงานรดน้�ำต้นโพธิ์กันในวันเพ็ญของเดือนกะโส่ง และถืออีกว่าวันน้ี ตรงกับวันท่ีพระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมียนมาร์ ได้ก�ำหนดเรียกวันดังกล่าวว่า “วันพุทธะ” ในวันน้ีชาวพุทธเมียนมาร์ จะนิยมปฏิบัติบูชาตามวัดและเจดีย์ ด้วยการรักษาศีลและเจริญภาวนา ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร์ 45

เดือนกะโส่งนับเป็นเดือนท่ีฝนเร่ิมตั้งเค้า ชาวนาจะเริ่มลงนาเพื่อเตรียม พ้ืนทเ่ี พาะปลูก • เดือนสาม เรยี กวา่ เดอื นนะโหย่ง (พ.ค.- มิ.ย.) เดือนนี้เปน็ เดอื น เรมิ่ การเพาะปลกู ฝนฟา้ เรมิ่ สอ่ เคา้ และโปรยปราย อากาศเรมิ่ คลายรอ้ น ตน้ ไมใ้ บหญา้ เรม่ิ แตกยอด โรงเรยี นตา่ งเรมิ่ เทอมใหมห่ ลงั จากปดิ ภาคฤดู ร้อน เดือนนะโหย่งจึงนับเป็นเดือนเร่ิมชีวิตใหม่หลังจากผ่านร้อนผ่าน หนาวมาหลายเดือน ในสมัยราชวงศ์เคยจัดพิธีแรกนาขวัญในเดือนน้ี เมยี นมาร์เรยี กพธิ นี ้ีว่า “งานมงคลไถนา” • เดอื นส่ี เรยี กวา่ เดอื นหวา่ โส่ (ม.ิ ย.- ก.ค.) ถอื เปน็ เดอื นส�ำคญั ทาง พทุ ธศาสนา ด้วยเป็นเดอื นเขา้ พรรษา เมียนมารก์ �ำหนดให้วันเพญ็ เดอื น หว่าโส่เป็นวันธรรมจักรเพื่อน้อมร�ำลึกวันปฐมเทศนาของพระสัมมา- สมั พทุ ธเจ้า และถัดจากวันธรรมจกั ร คือ วันแรม 1 คำ่� ของเดอื นหว่าโส่ จะเป็นวันท่ีพระสงฆ์เริ่มจ�ำพรรษาในเดือนน้ีสาวๆ เมียนมาร์ในหมู่บ้าน มักจะจับกลุ่มออกหาดอกเข้าพรรษา ซ่ึงข้ึนอยู่ตามชายป่าใกล้หมู่บ้าน เพ่อื น�ำมาบชู าพุทธเจดีย์ นอกจากนี้ยังมกี ารถวายจีวรและเทยี นท่วี ัด มี กิจกรรมส�ำคัญคืองานบวชพระ ด้วยถือว่าวันเพ็ญเดือนหว่าโส่น้ัน เป็น วันท่ีพระพุทธเจ้าทรงบวชให้กับเบญจวัคคี ฤดูฝนจะเร่ิมในเดือนหว่าโส่ และในเดือนหว่าโส่น้ียังเป็นเดือนลงนาปลูกข้าว เล่ากันว่าชาวนาจะ ลงแขกปักด�ำขา้ วในนาพร้อมกบั ขับเพลงกนั กอ้ งทอ้ งทุ่งนา • เดือนห้า เรียกว่า เดือนหว่าข่อง (ก.ค.-ส.ค.) เป็นเดือนกลาง- พรรษา และเป็นเดือนที่มีงานบุญสลากภัต เมียนมาร์เรียกว่า “สะเยดั่งบแว” แต่เดิมใชก้ ารจบั ตว้ิ ภายหลงั หนั มาใช้กระดาษมว้ นเป็น สลาก ปัจจบุ ันการจัดงานบญุ สลากภตั กล่าวถงึ กันนอ้ ยลง แต่กลับมีงาน 46

ทีเ่ ดน่ ดังระดบั ประเทศขน้ึ มาแทน คอื งานบชู าผนี ัตทห่ี มบู่ ้านต่องปะโยง ณ ชานเมืองมณั ฑะเลย์ เดอื นนเ้ี ป็นเดือนท่ีฝนมกั ตกหนักกวา่ เดือนอื่น • เดอื นหก เรยี กว่า เดือนต่อดะลงี (ส.ค.- ก.ย.) เปน็ เดอื นน�ำ้ หลาก นำ�้ ตามแมน่ ำ�้ ล�ำคลองจะข้นึ เอ่อเตม็ ตลิง่ หลายท้องถิน่ จะจดั งานแขง่ เรอื กนั อยา่ งสนกุ สนาน และในเดอื นนเี้ ชน่ กนั จะพบเหน็ แพซงุ ลอ่ งตามล�ำนำ�้ เป็นทิวแถว โดยเฉพาะในแม่น้�ำอิระวดี แพซุงจะล่องจากเหนือสู่ ปลายทาง ณ ท่าน�้ำเมืองย่างกุ้ง และเดือนนี้อีกเช่นกันท่ีชาวประมง จะเรม่ิ ลงอวนจบั ปลา ด้วยเปน็ เดือนทีม่ ปี ลาชุกชุมเปน็ พิเศษ • เดือนเจ็ด เรียกว่า เดือนดะดีงจุ๊ต (ก.ย.-ต.ค.) ในวันเพ็ญ ของเดอื นนจ้ี ะมกี ารท�ำปวารณาในหมขู่ องพระสงฆ์ วนั นเ้ี ปน็ วนั อภธิ รรม ด้วยเป็นวนั ท่พี ระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรคช์ ัน้ ดาวดึงส์ หลังจากท่ี ทรงเทศนาพระอภิธรรมตลอด 3 เดือนในพรรษาที่ผ่านมา ชาวพุทธ จะจัดงานจุดประทีปเพ่ือสักการะบูชาพระพุทธเจ้า ต่อจากวันอภิธรรม จะเป็นวันออกจากพรรษา ซ่ึงตรงกับวันแรม 1 ค�่ำ ของเดือนดะดีงจุ๊ต คืนวนั งานออกพรรษา ทมี่ า: group.wunjun.com ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมาร์ 47

ในเดือนดะดีงจุ๊ตนี้ ยังมีการจัดประเพณีไหว้ขมาต่อบิดามารดาและ ครบู าอาจารย์ รวมทงั้ ชาวเมยี นมารย์ งั เรม่ิ จดั งานมงคลสมรสกนั ในเดอื นนี้ • เดอื นแปด เรยี กวา่ เดอื นดะสอ่ งโมง (ต.ค.- พ.ย.) เปน็ เดอื นเปลยี่ น ฤดูจากหนา้ ฝนยา่ งเข้าหน้าหนาว ชาวนาจะเร่มิ เกบ็ เก่ยี วข้าวกันในเดือน ดะสอ่ งโมงนถ้ี อื เปน็ เดอื นงานทอดกฐนิ งานกฐนิ นจี้ ะมกี ารแหค่ รวั ทานที่ เมียนมาร์ เรียกว่า “ปเดต่าบี่ง” หรือ ตน้ กัลปพฤกษ์ และในวนั สดุ ท้าย ของฤดูกฐิน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญของเดือนดะส่องโมง ชาวพุทธเมียนมาร์ จะมีการจัดงานจุลกฐิน ท่ีเรียกว่า “มโตตี่ง” แปลตามศัพท์ว่า “จีวร ไมบ่ ูด” กฐนิ นตี้ ้องท�ำให้แลว้ เสร็จภายในวนั เดียว เริ่มแตป่ ่ันฝา้ ยใหเ้ ป็น ด้าย จากด้ายทอให้เป็นผืนผ้า แล้วย้อมตัดเย็บเป็นจีวร ในเดือนนี้ ยงั มพี ธิ ีตามประทีปและทอดผา้ บงั สุกลุ • เดือนเกา้ เรยี กว่า เดอื นนะดอ่ (พ.ย.-ธ.ค.) เป็นเดอื นทเ่ี กบ็ เกีย่ ว ขา้ วเสรจ็ แลว้ ชาวนาจะนวดขา้ วและสงฟางสมุ เปน็ กอง เดมิ เคยเปน็ เพยี ง เดือนส�ำหรับบูชานัตหลวงหรือผีหลวงท่ีเขาโปปาแห่งเมืองพุกาม แต่ ปัจจุบันเมียนมาร์ก�ำหนดให้มีงานเทิดเกียรติกวีและนักปราชญ์ของ เมียนมารแ์ ทน โดยจดั ในวันขน้ึ 1 ค่ำ� งานน้ีเร่ิมจดั เปน็ ครัง้ แรกในเดอื น พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ทุกๆ ปีจะจัดให้มีการอ่าน บทประพันธ์ และการเสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมตามสถานศึกษาและ ยา่ นชมุ ชนตา่ งๆ เดอื นนยี้ ังเป็นเดอื นส�ำหรบั การคล้องช้างอกี ด้วย • เดือนสบิ เรยี กว่า เดอื นปยาโต่ (ธ.ค.-ม.ค.) เดอื นนเ้ี ปน็ เดือนที่ หนาวจัด ชาวไร่ท่ีก�ำลังเก็บเก่ียวงาจะต้องคอยเฝ้าระวังฝนหลงฤดู ซ่ึง ท�ำใหง้ าเสยี หาย ชาวนาจะเรยี กฝนทต่ี กชว่ งนวี้ า่ ฝนพงั กองงา ความหนาว เยน็ จะล่วงมาจนถึงเดือนดะโบ๊ะดแว ซง่ึ เปน็ เดือนถดั มา 48

• เดือนสบิ เอด็ เรียกวา่ เดอื นดะโบะ๊ ดแว (ม.ค.-ก.พ.) ในเดอื นนี้ ชาวเมยี นมาร์ร�ำลึกถงึ พระพทุ ธเจา้ ท่ยี ่อมตอ้ งทรงผจญต่อภยั หนาว และ เชอื่ วา่ การผงิ ไฟจะช่วยให้ธาตุ 4 คนื สสู่ มดลุ ชาวเมียนมารจ์ งึ จดั งานบญุ บชู าไฟแดพ่ ระพุทธและพระเจดีย์ ซงึ่ เป็นองคแ์ ทนพระพทุ ธเจ้า เรียกว่า งานหลวั ไฟพระเจา้ หรอื งานบญุ ไฟ ปจั จุบันยังคงมงี านบญุ เช่นนเ้ี ฉพาะ ในบางทอ้ งท่ขี องเมียนมารต์ อนบน ในเดือนนี้ยังมีงานกวนข้าวทิพย์ ซ่งึ จดั ในชว่ งข้างขน้ึ ของเดือน งานสงกรานต์ทีทเมยี นมาร์ ทมี่ า: www2.manager.co.th • เดอื นสบิ สอง เรยี กวา่ เดอื นดะบอง (ก.พ.- ม.ี ค.) ในเดอื นนอี้ ากาศ จะเริ่มคลายหนาว และเริ่มเปล่ียนไปสู่ฤดูร้อนในช่วงหลังของเดือน ประเพณสี �ำคญั คอื งานกอ่ เจดยี ท์ ราย โดยจะกอ่ ทรายเปน็ รปู จ�ำลองเขา พระสเุ มรุท�ำยอดซอ้ นเป็น 5 ชน้ั เดอื นดะบองเป็นเดอื นส�ำหรับงานบชู า เจดยี ์ชเวดากอง ถือเปน็ เดือนสดุ ทา้ ยของปตี ามศักราชเมียนมาร์ ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมาร์ 49