พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถี่ ูกปดิ : ภพภมู ิ เหตใุ หม้ ีการเกดิ 10 -บาลี สฬา. ส.ํ ๑๘/๔๘๕/๘๐๐. วจั ฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบงั เกิดข้ึน ส�ำ หรบั สตั วผ์ ทู้ ี่ยังมีอุปาทาน (เชอื้ ) อย ู่ ไม่ใชส่ �ำ หรบั สัตวผ์ ้ทู ่ีไมม่ อี ปุ าทาน. วัจฉะ ! เปรยี บเหมอื นไฟทม่ี เี ชอ้ื ยอ่ มโพลงขน้ึ ได้ ทไ่ี มม่ เี ชอ้ื กโ็ พลงขน้ึ ไมไ่ ด ้ อปุ มานฉ้ี นั ใด อปุ ไมยกฉ็ นั นน้ั . วจั ฉะ ! เราย่อมบญั ญตั ิความบงั เกดิ ขึน้ ส�ำ หรับ สตั วผ์ ทู้ ย่ี งั มอี ปุ าทานอย ู่ ไมใ่ ชส่ �ำ หรบั สตั วผ์ ทู้ ไ่ี มม่ อี ปุ าทาน. พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัด หลุดปลิวไปไกล สมัยน้ัน พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็น เชอ้ื แก่เปลวไฟน้นั ถา้ ถอื ว่ามนั ยังมเี ช้ืออย ู่ ? วจั ฉะ ! สมยั ใด เปลวไฟ ถกู ลมพดั หลดุ ปลวิ ไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเช้ือ เพราะวา่ สมยั นั้นลมย่อมเปน็ เชื้อของเปลวไฟนน้ั . พระโคดมผเู้ จรญิ ! ถา้ สมัยใด สตั วท์ อดทง้ิ กายนี้ และ ยังไม่บังเกิดข้ึนด้วยกายอ่ืน สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่ง อะไรวา่ เปน็ เชอ้ื แก่สัตว์นนั้ ถา้ ถอื วา่ มนั ยงั มเี ช้อื อย ู่ ? 25
พทุ ธวจน - หมวดธรรม วจั ฉะ ! สมยั ใด สตั วท์ อดท้งิ กายนี้ และยงั ไม่บงั เกดิ ขน้ึ ดว้ ยกายอน่ื เรากลา่ วสตั วน์ ว้ี า่ มตี ณั หานน่ั แหละเปน็ เชอ้ื เพราะวา่ สมยั นน้ั ตณั หายอ่ มเปน็ เชอ้ื ของสตั วน์ น้ั . 26
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถี่ ูกปดิ : ภพภูมิ ลกั ษณะของการเกิด 11 -บาลี ม.ู ม. ๑๒/๑๔๖/๑๖๙. สารบี ตุ ร ! ก�ำ เนิด ๔ ประการเหล่าน้ี มีอยู่. ๔ ประการ อยา่ งไรเลา่ ? คอื (๑) อณั ฑชะกำ�เนดิ (เกิดในไข่) (๒) ชลาพุชะกำ�เนดิ (เกดิ ในครรภ)์ (๓) สังเสทชะก�ำ เนิด (เกดิ ในเถา้ ไคล) (๔) โอปปาติกะก�ำ เนิด (เกดิ ผุดขึน้ ) สารีบุตร ! กอ็ ณั ฑชะก�ำ เนิด เปน็ อยา่ งไรเลา่ ? สตั วท์ ง้ั หลายเหลา่ นน้ั ช�ำ แรกเปลอื กแหง่ ฟองเกดิ นีเ้ ราเรียกวา่ อณั ฑชะก�ำ เนิด. สารีบตุ ร ! ชลาพชุ ะก�ำ เนิด เปน็ อยา่ งไรเล่า ? สตั ว์ทงั้ หลายเหล่าน้ันใด ช�ำ แรกไส้ (มดลกู ) เกดิ นเี้ ราเรียกว่า ชลาพชุ ะก�ำ เนิด. สารบี ตุ ร ! สงั เสทชะก�ำ เนดิ เปน็ อยา่ งไรเล่า ? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำ�ครำ� ในเถ้าไคล (ของสกปรก) นเี้ ราเรยี กวา่ สังเสทชะกำ�เนิด. 27
พุทธวจน - หมวดธรรม สารบี ุตร ! โอปปาตกิ ะก�ำ เนดิ เปน็ อยา่ งไรเลา่ ? เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำ�พวก และเปรต บางจำ�พวก น้ีเราเรียกวา่ โอปปาติกะก�ำ เนิด. สารีบุตร ! เหล่าน้ีแล กำ�เนิด ๔ ประการ. 28
พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทีถ่ กู ปดิ : ภพภมู ิ กายแบบต่างๆ 12 -บาลี สตฺตก. อ.ํ ๒๓/๔๑๓/๒๒๘. ภิกษทุ งั้ หลาย ! สัตตาวาส1 ๙ มอี ยู.่ สัตตาวาส ๙ อยา่ งไรเล่า ? ภิกษทุ ัง้ หลาย ! สตั วพ์ วกหนง่ึ (สตตฺ า) มกี ายตา่ งกนั มสี ญั ญาตา่ งกนั เหมอื นมนษุ ยท์ ง้ั หลาย เทวดาบางพวก และวนิ บิ าตบางพวก นเ้ี ปน็ สตั ตาวาสที่ ๑ สตั วพ์ วกหนง่ึ มกี ายตา่ งกนั มสี ญั ญาอยา่ งเดยี วกนั เหมือนเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม ผู้เกิดในปฐมภูมิ (ปมานพิ พฺ ตตฺ า) นีเ้ ป็นสัตตาวาสท่ี ๒ สตั วพ์ วกหนง่ึ มกี ายอยา่ งเดยี วกนั มสี ญั ญาตา่ งกนั เหมอื นพวกเทพอาภสั สระ นเ้ี ปน็ สตั ตาวาสท่ี ๓ สัตว์พวกหน่ึงมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่าง เดียวกัน เหมือนพวกเทพสภุ กณิ หะ นี้เปน็ สตั ตาวาสที่ ๔ สัตว์พวกหน่ึงไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือน พวกเทพผู้เป็นอสญั ญีสัตว2์ นเี้ ป็นสตั ตาวาสท่ี ๕ 1. ทอี่ ยู่ ท่ีอาศัยของสัตว.์ 2. สตั วผ์ ไู้ มม่ สี ญั ญา ไมเ่ สวยเวทนา เขา้ ถงึ โดยผทู้ ไี่ ดส้ ญั ญาเวทยติ นโิ รธ เปน็ ตน้ . 29
พทุ ธวจน - หมวดธรรม สตั ว์พวกหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไมใ่ สใ่ จนานตั ตสญั ญา จงึ เขา้ ถงึ อากาสานญั จายตนะ1 มกี ารท�ำ ในใจวา่ “อากาศไมม่ ที ส่ี น้ิ สดุ ” ดงั น้ี นเ้ี ปน็ สตั ตาวาส ท่ี ๖ สตั วพ์ วกหนง่ึ เพราะกา้ วลว่ งเสยี ไดซ้ ง่ึ อากาสานญั - จายตนะโดยประการทง้ั ปวง จงึ เขา้ ถงึ วญิ ญาณญั จายตนะ2 มี การท�ำ ในใจวา่ “วญิ ญาณไมม่ ที ส่ี ดุ ” ดงั น้ี นเ้ี ปน็ สตั ตาวาสท่ี ๗ สตั วพ์ วกหนง่ึ เพราะกา้ วลว่ งเสยี ไดซ้ ง่ึ วญิ ญาณญั - จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเขา้ ถงึ อากญิ จัญญายตนะ3 มกี ารท�ำ ในใจวา่ “อะไรๆ กไ็ มม่ ”ี ดงั น้ี นเ้ี ปน็ สตั ตาวาสท่ี ๘ สตั วพ์ วกหนง่ึ เพราะกา้ วลว่ งเสยี ไดซ้ ง่ึ อากญิ จญั ญา- ยตนะโดยประการทง้ั ปวง จงึ เขา้ ถงึ เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ4 ดงั น้ี นเ้ี ป็นสัตตาวาสท่ี ๙. ภิกษทุ ้ังหลาย ! นี้แล สตั ตาวาส ๙. 1. ความหมายรู้ในความไมม่ ที ่สี ิน้ สุดของอากาศ. 2. ความหมายรู้ในความไมม่ ที ่ีสดุ ของวิญญาณ. 3. ความหมายรู้ในความไม่มอี ะไร. 4. ความหมายรวู้ า่ สัญญามกี ็ไม่ใช่ สญั ญาไมม่ กี ็ไมใ่ ช่. 30
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ีถกู ปิด : ภพภูมิ คติ ๕ และอปุ มา 13 -บาลี ม.ู ม. ๑๒/๑๔๗-๑๕๓/๑๗๐-๑๗๖. สารีบุตร ! คต1ิ ๕ ประการเหลา่ นี้ มีอยู่. 31 ๕ ประการ อย่างไรเล่า ? คอื (๑) นรก (๒) ก�ำ เนิดเดรัจฉาน (๓) เปรตวิสยั (๔) มนุษย์ (๕) เทวดา สารีบุตร ! เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ นรก ทางยงั สตั วใ์ หถ้ งึ นรก และปฏปิ ทาอนั จะยงั สตั วใ์ หถ้ งึ นรก อนง่ึ สตั วผ์ ปู้ ฏบิ ตั ิ ประการใด เบ้ืองหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก2 เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ ประการนน้ั ดว้ ย. สารบี ตุ ร ! เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ ก�ำ เนดิ เดรจั ฉาน ทาง ยงั สตั วใ์ หถ้ งึ ก�ำ เนดิ เดรจั ฉาน และปฏปิ ทาอนั จะยงั สตั วใ์ หถ้ งึ กำ�เนิดเดรัจฉาน อน่งึ สัตว์ผ้ปู ฏิบัติประการใด เบ้อื งหน้า แตต่ ายเพราะกายแตก ยอ่ มเขา้ ถงึ ก�ำ เนดิ เดรจั ฉาน เรายอ่ ม รชู้ ดั ซ่งึ ประการนั้นด้วย. 1. คติ = ทางไปของสตั ว์. (ท่นี �ำไปสภู่ พ) 2. อบาย ทุคติ วนิ ิบาต นรก = ทเ่ี กิดของสัตว์ตำ่� กว่ามนษุ ย.์
พทุ ธวจน - หมวดธรรม 32
เปิดธรรมทีถ่ กู ปดิ : ภพภมู ิ สารีบุตร ! เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ เปรตวสิ ยั ทางยงั สตั ว์ ให้ถึงเปรตวิสัย และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนง่ึ สตั วผ์ ปู้ ฏบิ ตั ปิ ระการใด เบอ้ื งหนา้ แตต่ ายเพราะกายแตก ยอ่ มเขา้ ถงึ เปรตวสิ ยั เราย่อมรู้ชดั ซ่ึงประการนัน้ ดว้ ย. สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทาง ยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึง มนุษย์โลก อน่ึง สตั วผ์ ปู้ ฏบิ ตั ปิ ระการใด เบอ้ื งหนา้ แตต่ าย เพราะกายแตก ย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่ง ประการน้นั ด้วย. สารบี ตุ ร ! เรายอ่ มรชู้ ดั ซงึ่ เทวดาทงั้ หลาย ทางยงั สตั ว์ ใหถ้ งึ เทวโลก และปฏปิ ทาอนั จะยงั สตั วใ์ หถ้ งึ เทวโลก อนงึ่ สตั วผ์ ปู้ ฏบิ ตั ปิ ระการใด เบอื้ งหนา้ แตต่ าย เพราะกายแตก ยอ่ มเขา้ ถงึ สคุ ตโิ ลกสวรรค์ เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ ประการนน้ั ดว้ ย. สารีบุตร ! เราย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางยังสัตว์ ใหถ้ งึ นพิ พาน และปฏปิ ทาอนั จะยงั สตั วใ์ หถ้ งึ นพิ พาน อนง่ึ สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำ�ให้แจง้ ซง่ึ เจโตวิมุตติ ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั หาอาสวะมไิ ด้ เพราะอาสวะทง้ั หลายสน้ิ ไป ดว้ ยปัญญาอันยง่ิ เองในปจั จุบัน เขา้ ถึงแลว้ แลอยู่ เราย่อม รชู้ ดั ซง่ึ ประการนน้ั ดว้ ย. 33
พทุ ธวจน - หมวดธรรม อปุ มาการเห็นคติ สารีบุตร ! เปรยี บเหมอื นหลมุ ถา่ นเพลงิ ลกึ ยง่ิ กว่าช่ัวบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ปราศจากเปลว ปราศจากควนั ล�ำดบั นนั้ บรุ ษุ ผมู้ ตี วั อนั ความรอ้ นแผดเผา เหน็ดเหน่ือย หิว ระหาย มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อยา่ งนวี้ า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ น้ี ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้ ด�ำเนนิ อยา่ งนนั้ และข้ึนสู่หนทางน้ัน จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงน้ีทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุม ถ่านเพลิงน้ัน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดย สว่ นเดียว แม้ฉันใด. สารีบุตร ! เราย่อมกำ�หนดร้ใู จบุคคลบางคนใน โลกน้ดี ้วยใจฉันนน้ั เหมอื นกันว่า บุคคลน้ปี ฏิบัติอย่างน้นั ด�ำ เนินอย่างนั้น และขนึ้ สูห่ นทางนน้ั เบ้ืองหน้าแตต่ าย เพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจกั ษอุ นั บริสุทธ์ิ ลว่ งจักษุของมนษุ ย์. 34
เปิดธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภมู ิ สารีบุตร ! เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกย่ิงกว่า ชว่ั บรุ ษุ เตม็ ไปดว้ ยคถู ล�ำดบั นน้ั บรุ ษุ ผมู้ ตี วั อนั ความรอ้ น แผดเผา เหนด็ เหนอื่ ย หวิ ระหาย มงุ่ มาสหู่ ลมุ คถู นนั้ แหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อยา่ งนว้ี า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ นี้ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้ ด�ำเนนิ อยา่ งนน้ั และข้ึนสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถน้ีทีเดียว” โดยสมัย ต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอนั แรงกลา้ เผ็ดรอ้ น แมฉ้ ันใด. สารีบุตร ! เราย่อมก�ำหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนดี้ ว้ ยใจฉนั นนั้ เหมอื นกนั วา่ บคุ คลนป้ี ฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้ ด�ำเนนิ อย่างน้นั และข้ึนสู่หนทางนนั้ เบ้ืองหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จกั เขา้ ถงึ ก�ำเนดิ เดรจั ฉาน โดยสมยั ตอ่ มา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบ้ืองหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา้ ถงึ แลว้ ซงึ่ ก�ำเนดิ เดรจั ฉาน เสวยทกุ ขเวทนาอนั แรงกลา้ เผด็ ร้อน ด้วยทิพยจกั ษอุ ันบรสิ ทุ ธิ์ ลว่ งจกั ษุของมนุษย.์ สารีบุตร ! เปรยี บเหมอื นตน้ ไมเ้ กดิ ในพน้ื ทอี่ นั ไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง ล�ำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา เหนด็ เหนอ่ื ย 35
พทุ ธวจน - หมวดธรรม หิว ระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บรุ ษุ ผมู้ จี กั ษเุ หน็ เขาแลว้ พงึ กลา่ วอยา่ งนว้ี า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ นี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ด�ำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางน้ัน จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุน้ัน พึงเห็นเขาน่ังหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนา เป็นอนั มาก แม้ฉนั ใด. สารีบุตร ! เราย่อมกำ�หนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนด้ี ว้ ยใจฉนั นน้ั เหมอื นกนั วา่ บคุ คลนป้ี ฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั ดำ�เนินอย่างน้นั และข้นึ ส่หู นทางน้นั เบ้อื งหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลน้ัน เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซ่ึงเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทพิ ยจกั ษอุ นั บริสทุ ธิ์ ล่วงจักษุของมนษุ ย.์ สารีบุตร ! เปรยี บเหมอื นตน้ ไมเ้ กดิ ในพนื้ ทอี่ นั เสมอ มใี บออ่ นและใบแกอ่ นั หนา มเี งาหนาทบึ ล�ำดบั นน้ั บรุ ษุ ผมู้ ตี วั อนั ความรอ้ นแผดเผา เหนด็ เหนอ่ื ย หวิ ระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดยี ว บรุ ษุ ผมู้ จี กั ษุ เหน็ เขาแลว้ พงึ กลา่ วอยา่ งนวี้ า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ น้ี ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั 36
เปิดธรรมท่ถี กู ปิด : ภพภูมิ ด�ำเนนิ อยา่ งนน้ั และขน้ึ สหู่ นทางน้ี จกั มาถงึ ตน้ ไมน้ ที้ เี ดยี ว” โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุน้ัน พึงเห็นเขานั่งหรือนอน ในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แมฉ้ ันใด. สารีบุตร ! เราย่อมกำ�หนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนด้ี ว้ ยใจฉนั นน้ั เหมอื นกนั วา่ บคุ คลนป้ี ฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั ดำ�เนินอยา่ งนน้ั และข้ึนสู่หนทางนั้น เบอื้ งหนา้ แต่ตาย เพราะกายแตก จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลน้ัน เบ้ืองหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บงั เกดิ แลว้ ในหมมู่ นษุ ย์ เสวยสขุ เวทนาเปน็ อนั มาก ดว้ ย ทิพยจักษุอนั บริสุทธ์ิ ล่วงจักษขุ องมนษุ ย์. สารบี ตุ ร ! เปรยี บเหมอื นปราสาท ในปราสาทนนั้ มีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาแล้ว ท้ังภายในและภายนอก หาช่องลมมิได้ มีวงกรอบอันสนิท มีบานประตู และ หนา้ ตา่ งอนั ปดิ สนทิ ดี ในเรอื นยอดนน้ั มบี ลั ลงั กอ์ นั ลาด ดว้ ยผา้ โกเชาวข์ นยาว ลาดดว้ ยเครอ่ื งลาดท�ำดว้ ยขนแกะ สขี าว ลาดดว้ ยขนเจยี มเปน็ แผน่ ทบึ มเี ครอื่ งลาดอยา่ งดี ท�ำดว้ ยหนงั ชะมด มเี พดานกน้ั ในเบอื้ งบน มหี มอนแดง วาง ณ ข้างทั้งสอง ล�ำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อน 37
พทุ ธวจน - หมวดธรรม แผดเผา เหนด็ เหนอ่ื ย หวิ ระหาย มงุ่ มาสปู่ ราสาทนน้ั แหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อยา่ งนวี้ า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ นี้ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั ด�ำเนนิ อยา่ งนน้ั และขึ้นสู่หนทางน้ัน จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว” โดยสมัย ต่อมา บรุ ษุ ผู้มีจักษุนั้น พึงเหน็ เขานงั่ หรอื นอนบนบัลลังก์ ในเรอื นยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยสว่ นเดียว แมฉ้ ันใด. สารีบุตร ! เราย่อมกำ�หนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนด้ี ้วยใจฉนั นน้ั เหมอื นกนั วา่ บุคคลน้ปี ฏิบัติอย่างน้นั ดำ�เนนิ อย่างน้นั และขน้ึ สหู่ นทางน้นั เบ้ืองหน้าแตต่ าย เพราะกายแตก จกั เขา้ ถงึ สคุ ตโิ ลกสวรรค์ โดยสมยั ตอ่ มา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา้ ถงึ แลว้ ซง่ึ สคุ ตโิ ลกสวรรค์ เสวยสขุ เวทนาโดยสว่ นเดยี ว ด้วยทพิ ยจกั ษุอันบริสทุ ธ์ิ ลว่ งจักษขุ องมนุษย.์ สารบี ตุ ร ! เปรยี บเหมอื นสระโบกขรณี มนี ำ้� อนั เยน็ ใสสะอาด มที า่ อนั ดี นา่ รน่ื รมย์ และในทไ่ี มไ่ กลสระโบกขรณนี น้ั มแี นวปา่ อนั ทบึ ล�ำดบั นน้ั บรุ ษุ ผมู้ ตี วั อนั ความรอ้ นแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ 38
เปิดธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อยา่ งนว้ี า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ นี้ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั ด�ำเนนิ อยา่ งนนั้ และข้ึนสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ทีเดียว” โดย สมยั ตอ่ มา บรุ ษุ ผมู้ จี กั ษนุ นั้ พงึ เหน็ เขาลงสสู่ ระโบกขรณนี น้ั อาบและดม่ื ระงบั ความกระวนกระวาย ความเหนด็ เหนอ่ื ย และความร้อนหมดแล้ว ข้ึนไปน่ังหรือนอนในแนวป่าน้ัน เสวยสขุ เวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉนั ใด. สารีบุตร ! เราย่อมก�ำหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน โลกนด้ี ว้ ยใจฉนั นนั้ เหมอื นกนั วา่ บคุ คลนป้ี ฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้ ด�ำเนินอย่างน้ัน และข้ึนสู่หนทางนั้น จักกระท�ำให้แจ้ง ซ่ึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะท้ังหลายส้ินไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระท�ำ ให้แจ้งซ่ึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทงั้ หลายสนิ้ ไป ดว้ ยปญั ญาอนั ยง่ิ เองในปจั จบุ นั เข้าถงึ แลว้ แลอยู่ เสวยสขุ เวทนาโดยสว่ นเดยี ว. 39
นรก
พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถี่ กู ปดิ : ภพภูมิ เหตใุ ห้ทุคตปิ รากฏ 14 -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๕-๒๘๗, ๓๐๕/๑๖๕, ๑๘๙. จุนทะ ! ความไมส่ ะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง. จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้ (๑) เปน็ ผมู้ ปี กตทิ �ำ สตั วม์ ชี วี ติ ใหต้ กลว่ ง หยาบชา้ มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มี ความเอน็ ดูในสัตว์มชี ีวติ (๒) เปน็ ผมู้ ปี กตถิ อื เอาสง่ิ ของทมี่ เี จา้ ของมไิ ดใ้ ห้ คอื วตั ถอุ ปุ กรณแ์ หง่ ทรพั ยข์ องบคุ คลอนื่ ทอ่ี ยใู่ นบา้ นหรอื ในปา่ กต็ าม เปน็ ผถู้ อื เอาสงิ่ ของทเี่ ขาไมไ่ ดใ้ หด้ ว้ ยอาการแหง่ ขโมย (๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือ ประพฤตผิ ดิ ) ในหญงิ ซง่ึ มารดารกั ษา บดิ ารกั ษา พนี่ อ้ งชาย พนี่ อ้ งหญงิ หรอื ญาตริ กั ษา อนั ธรรมรกั ษา เปน็ หญงิ มสี ามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยท่ีสุดแม้หญิงอันเขาหม้ันไว้ (ด้วย การคลอ้ งพวงมาลยั ) เปน็ ผปู้ ระพฤตผิ ดิ จารตี ในรปู แบบเหลา่ นนั้ 42
เปิดธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ จนุ ทะ ! อยา่ งน้ีแล เปน็ ความไมส่ ะอาดทางกาย ๓ อยา่ ง. จนุ ทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง เป็นอยา่ งไรเลา่ ? จนุ ทะ ! คนบางคนในกรณีน ้ี (๑) เปน็ ผมู้ ปี กตกิ ลา่ วเทจ็ ไปสสู่ ภากด็ ี ไปสบู่ รษิ ทั กด็ ี ไปสทู่ า่ มกลางหมญู่ าตกิ ด็ ี ไปสทู่ า่ มกลางศาลาประชาคม กด็ ี ไปสทู่ า่ มกลางราชสกลุ กด็ ี อนั เขาน�ำไปเปน็ พยาน ถามวา่ “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังน้ี บุรุษน้ัน เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมอื่ ไมเ่ หน็ กก็ ลา่ ววา่ เหน็ เมอ่ื เหน็ กก็ ลา่ วไมเ่ หน็ เพราะเหตุ ตนเอง เพราะเหตุผู้อ่ืนหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กลา่ วเทจ็ ท้งั ที่รอู้ ยู่ (๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายน้ีแล้ว ไปบอกฝา่ ยโนน้ เพอ่ื ท�ำลายฝา่ ยนี้ หรอื ฟงั จากฝา่ ยโนน้ แลว้ มาบอกฝา่ ยนเ้ี พอ่ื ท�ำลายฝา่ ยโนน้ เปน็ ผทู้ �ำคนทส่ี ามคั คกี นั ใหแ้ ตกกนั หรอื ท�ำคนทแ่ี ตกกนั แลว้ ใหแ้ ตกกนั ยงิ่ ขนึ้ พอใจ ยนิ ดี เพลดิ เพลนิ ในการแตกกนั เปน็ พวก เปน็ ผกู้ ลา่ ววาจา ทกี่ ระท�ำให้แตกกันเปน็ พวก 43
พทุ ธวจน - หมวดธรรม (๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย กลา้ แขง็ แสบเผด็ ตอ่ ผอู้ น่ื กระทบกระเทยี บผอู้ นื่ แวดลอ้ ม อยดู่ ว้ ยความโกรธ ไมเ่ ปน็ ไปเพอ่ื สมาธิ เขาเปน็ ผกู้ ลา่ ววาจา มีรูปลกั ษณะเชน่ น้นั (๔) เปน็ ผมู้ วี าจาเพอ้ เจอ้ คอื เปน็ ผกู้ ลา่ วไมถ่ กู กาล ไมก่ ล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย เปน็ ผกู้ ลา่ ววาจาไมม่ ที ตี่ ง้ั อาศยั ไมถ่ กู กาลเทศะ ไมม่ จี ดุ จบ ไมป่ ระกอบดว้ ยประโยชน์ จุนทะ ! อยา่ งนแ้ี ล เปน็ ความไมส่ ะอาดทางวาจา ๔ อย่าง. จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง เป็นอยา่ งไรเลา่ ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณนี ้ี (๑) เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง) เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ส่ิงใดเปน็ ของผอู้ ่นื ส่งิ นั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้ (๒) เปน็ ผมู้ จี ติ พยาบาท มคี วามด�ำ รใิ นใจเปน็ ไป ในทางประทุษรา้ ย วา่ “สตั ว์ทง้ั หลายเหลา่ น้ี จงเดือดร้อน จงแตกท�ำ ลาย จงขาดสญู จงพนิ าศ อยา่ ไดม้ อี ยเู่ ลย” ดงั นี้ เปน็ ตน้ 44
เปดิ ธรรมทีถ่ กู ปดิ : ภพภมู ิ (๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า “ทานทใ่ี หแ้ ลว้ ไมม่ ี (ผล) ยญั ทบี่ ชู าแลว้ ไมม่ ี (ผล) การบชู า ทบี่ ชู าแลว้ ไมม่ ี (ผล) ผลวบิ ากแหง่ กรรมทสี่ ตั วท์ �ำดที �ำชว่ั ไม่มี โลกน้ี ไม่มี โลกอื่น ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี โอปปาตกิ ะสตั ว์ ไมม่ ี สมณพราหมณผ์ ดู้ �ำเนนิ ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับกระท�ำให้แจ้งโลกนี้และโลกอ่ืน ดว้ ยปญั ญาโดยชอบเอง แลว้ ประกาศใหผ้ อู้ น่ื รู้ กไ็ มม่ ”ี ดงั น้ี จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ ๓ อยา่ ง. จุนทะ ! เหล่านแี้ ล เรยี กว่า อกุศลกรรมบถสิบ. จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย อกุศลกรรมบถทงั้ สิบประการเหล่านเ้ี ป็นเหตุ นรกย่อม ปรากฏ กำ�เนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อม ปรากฏ หรอื ว่าทคุ ตใิ ดๆ แม้อ่นื อีก ยอ่ มมี. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหลา่ นแ้ี ล ยอ่ มเปน็ เหมอื นบคุ คลผถู้ กู น�ำ ตวั ไปเก็บไวใ้ นนรก. 45
พทุ ธวจน - หมวดธรรม (สตู รอน่ื ๆ แทนทจ่ี ะนบั จ�ำ นวนกรรมบถมี ๑๐ ไดท้ รงขยาย ออกไปเป็น ๒๐ คือ ท�ำ เองสิบ ชกั ชวนผู้อ่ืนใหท้ �ำ อกี สบิ และทรง ขยายออกไปเป็น ๓๐ คือ ทำ�เองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำ�สิบ ยินดี เมอ่ื เขาท�ำ สบิ และทรงขยายออกไปเปน็ ๔๐ คอื ท�ำ เองสบิ ชกั ชวน ผู้อ่ืนให้ทำ�สิบ ยินดีเม่ือเขาทำ�สิบ สรรเสริญผู้กระทำ�สิบ จึงมี กรรมบถ สบิ ยสี่ บิ สามสบิ สส่ี บิ . -บาลี ทสก. อ.ํ ๒๔/๓๕๒–๓๓๒/๑๙๘–๒๐๑. ในสตู รอนื่ แสดงผลแหง่ การกระท�ำ แปลกออกไป จากค�ำ วา่ “เหมอื นถกู น�ำ ไปเกบ็ ไวใ้ นนรก” นนั้ ทรงแสดงดว้ ยค�ำ วา่ “เปน็ ผู้ขุดรากตนเอง” ก็มี “ตายแล้วไปทุคติ” ก็มี “เป็นพาล” ก็มี. -บาลี ทสก. อ.ํ ๒๔/๓๓๒-๓๓๓/๒๐๒–๒๐๓.) 46
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถี่ ูกปิด : ภพภูมิ โทษแห่งศีลวบิ ัตขิ องคนทุศีล 15 -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๐๑/๗๙. คหบดีท้ังหลาย ! โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่าน.้ี ๕ ประการ คอื คหบดีทง้ั หลาย ! (๑) คนทศุ ลี มศี ลี วบิ ตั แิ ลว้ ยอ่ มเขา้ ถงึ ความเสอ่ื ม แห่งโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นเ้ี ป็นโทษขอ้ ที่ ๑ แหง่ ศลี วบิ ัติของคนทศุ ลี (๒) เกยี รตศิ พั ทอ์ นั ชว่ั ของคนทศุ ลี มศี ลี วบิ ตั แิ ลว้ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของ คนทุศลี (๓) คนทศุ ลี มศี ลี วบิ ตั แิ ลว้ จะเขา้ ไปสบู่ รษิ ทั 1 ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณ บรษิ ทั ยอ่ มครน่ั ครา้ ม เกอ้ เขนิ นเ้ี ปน็ โทษขอ้ ท่ี ๓ แหง่ ศลี วิบตั ิของคนทศุ ลี (๔) คนทุศีล มศี ลี วบิ ตั แิ ลว้ ยอ่ มหลงกระท�ำ กาละ นีเ้ ปน็ โทษขอ้ ท่ี ๔ แหง่ ศีลวบิ ตั ขิ องคนทศุ ีล 1. กลุ่ม หมูค่ ณะ. 47
พทุ ธวจน - หมวดธรรม (๕) คนทุศีล มศี ลี วบิ ตั แิ ลว้ เบอ้ื งหนา้ แตก่ ารตาย เพราะการท�ำ ลายแหง่ กาย ย่อมเขา้ ถงึ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก นี้เป็นโทษขอ้ ท่ี ๕ แหง่ ศลี วิบัตขิ องคนทศุ ลี คหบดที งั้ หลาย ! เหลา่ นแี้ ล คอื โทษแหง่ ศลี วบิ ตั ิ ของคนทุศีล ๕ ประการ. 48
พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ถี ูกปดิ : ภพภูมิ ทุคตขิ องผู้ทุศลี 16 -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓. ภิกษุทั้งหลาย ! เราจกั แสดงธรรมปรยิ าย อนั เปน็ เหตแุ หง่ ความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมูส่ ัตว์) แก่พวกเธอ เธอทงั้ หลายจงฟงั จงใส่ใจให้ดี เราจกั กล่าว. ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไป ตามกรรม เปน็ อยา่ งไรเล่า ? ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! สตั วท์ ง้ั หลาย เปน็ ผมู้ กี รรมเปน็ ของตน เปน็ ทายาทแหง่ กรรม มกี รรมเปน็ ก�ำเนดิ มกี รรม เปน็ เผา่ พนั ธ์ุ มกี รรมเปน็ ทพี่ ง่ึ อาศยั กระท�ำกรรมใดไว้ ดกี ็ตาม ชว่ั ก็ตาม จกั เป็นผรู้ บั ผลกรรมนัน้ . ภิกษุท้ังหลาย ! คนบางคนในกรณีน้ี เป็นผู้มี ปกติ ท�ำ ปาณาตบิ าต หยาบชา้ มฝี า่ มอื เปอ้ื นดว้ ยโลหติ มแี ต่ การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต เขา กระเสอื กกระสนดว้ ย (กรรมทาง) กาย กระเสอื กกระสนดว้ ย (กรรมทาง) วาจา กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ กายกรรมของเขาคด วจกี รรมของเขาคด มโนกรรมของ เขาคด คตขิ องเขาคด อปุ บตั ิ (การเขา้ ถงึ ภพ) ของเขาคด. 49
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ภิกษุทั้งหลาย ! ส�ำหรบั ผมู้ คี ตคิ ด มอี ปุ บตั คิ ดนน้ั เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง แกเ่ ขา คอื เหลา่ สตั วน์ รก ผมู้ ที กุ ขโ์ ดยสว่ นเดยี ว หรอื วา่ สตั วเ์ ดรจั ฉานผมู้ กี �ำเนดิ กระเสอื กกระสน ไดแ้ ก่ งู แมลงปอ่ ง ตะขาบ พงั พอน แมว หนู นกเคา้ หรอื สตั วเ์ ดรจั ฉานเหลา่ อนื่ ท่ีเห็นมนษุ ยแ์ ลว้ กระเสอื กกระสน. ภิกษุท้ังหลาย ! ภตู สตั วย์ อ่ มมดี ว้ ยอาการอยา่ งน้ี คือ อุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำ�กรรมใดไว้ เขาย่อม อปุ บตั ดิ ว้ ยกรรมนน้ั ผสั สะทง้ั หลายยอ่ มถกู ตอ้ งภตู สตั วน์ น้ั ผอู้ ปุ บตั ิแลว้ . ภิกษุท้ังหลาย ! เรากล่าวว่าสัตว์ท้ังหลายเป็น ทายาทแหง่ กรรม ด้วยอาการอยา่ งนี้ ดงั น้ี. (ในกรณแี หง่ บคุ คลผกู้ ระท�ำ อทนิ นาทาน กาเมสมุ จิ ฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้กระทำ� ปาณาตบิ าตดงั กลา่ วมาแลว้ ขา้ งตน้ ทกุ ประการ และยงั ไดต้ รสั เลยไป ถงึ วจีทจุ รติ ส่ี มโนทจุ รติ สาม ดว้ ยข้อความอย่างเดียวกันอกี ดว้ ย) 50
พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ถี ูกปิด : ภพภูมิ วิบากของผูท้ ุศลี 17 -บาลี อฏฺ ก. อํ. ๒๓/๒๕๑/๑๓๐. ภิกษุท้ังหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพ ท่ัวแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพ่ือนรก เปน็ ไปเพื่อก�ำ เนดิ เดรัจฉาน เปน็ ไปเพือ่ เปรตวิสัย. วบิ ากแหง่ ปาณาตบิ าตของผเู้ ปน็ มนษุ ยท์ เ่ี บากวา่ วิบากท้งั ปวง คอื วบิ ากที่เป็นไปเพือ่ มอี ายสุ ั้น. ภิกษุท้ังหลาย ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ท่ีเสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพ่ือนรก เปน็ ไปเพ่อื ก�ำ เนิดเดรจั ฉาน เปน็ ไปเพอ่ื เปรตวสิ ยั . วิบากแห่งอทินนาทานของผเู้ ปน็ มนษุ ยท์ เ่ี บากว่า วบิ ากทง้ั ปวง คอื วบิ ากทเ่ี ปน็ ไปเพอ่ื ความเสอ่ื มแหง่ โภคะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิด ในกาม) ทเ่ี สพทว่ั แลว้ เจรญิ แลว้ ท�ำ ใหม้ ากแลว้ ยอ่ มเปน็ ไป เพอ่ื นรก เปน็ ไปเพอ่ื ก�ำ เนดิ เดรจั ฉาน เปน็ ไปเพอ่ื เปรตวสิ ยั . 51
พทุ ธวจน - หมวดธรรม วบิ ากแหง่ กาเมสมุ จิ ฉาจารของผเู้ ปน็ มนษุ ยท์ เ่ี บา กวา่ วบิ ากทงั้ ปวง คอื วบิ ากทเี่ ปน็ ไปเพอื่ กอ่ เวรดว้ ยศตั ร.ู ภิกษุท้ังหลาย ! มสุ าวาท (ค�ำ เทจ็ ) ทเ่ี สพทว่ั แลว้ เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพ่ือนรก เป็นไป เพื่อก�ำ เนิดเดรจั ฉาน เปน็ ไปเพื่อเปรตวิสยั . วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ท่ีเบากว่า วิบากท้งั ปวง คือ วิบากท่เี ป็นไปเพ่อื การถูกกล่าวต่ดู ้วย คำ�ไม่จริง. ภิกษทุ ง้ั หลาย ! ปสิ ณุ วาท (ค�ำ ยุยงให้แตกกัน) ที่ เสพทว่ั แลว้ เจรญิ แลว้ ท�ำ ใหม้ ากแลว้ ยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื นรก เป็นไปเพอ่ื ก�ำ เนิดเดรัจฉาน เปน็ ไปเพอื่ เปรตวสิ ยั . วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ท่ีเบากว่า วิบากท้งั ปวง คอื วิบากทเ่ี ปน็ ไปเพอื่ การแตกจากมิตร. ภิกษุทั้งหลาย ! ผรสุ วาท (ค�ำ หยาบ) ทเ่ี สพทว่ั แลว้ เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพ่ือนรก เป็นไป เพือ่ กำ�เนิดเดรัจฉาน เปน็ ไปเพื่อเปรตวสิ ยั . 52
เปิดธรรมทีถ่ ูกปิด : ภพภูมิ วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ท่ีเบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากท่ีเป็นไปเพ่ือการได้ฟังเสียง ทไี่ มน่ า่ พอใจ. ภิกษุท้ังหลาย ! สัมผัปปลาปะ (คำ�เพ้อเจ้อ) ท่ี เสพทว่ั แลว้ เจรญิ แลว้ ท�ำ ใหม้ ากแลว้ ยอ่ มเปน็ ไปเพอ่ื นรก เปน็ ไปเพ่ือกำ�เนดิ เดรจั ฉาน เปน็ ไปเพื่อเปรตวสิ ัย. วบิ ากแหง่ สมั ผปั ปลาปะของผเู้ ปน็ มนษุ ยท์ เ่ี บากว่า วิบากท้ังปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อวาจาที่ไม่มีใคร เชื่อถือ. ภิกษุท้ังหลาย ! การดม่ื นำ้� เมาคอื สรุ าและเมรยั ที่เสพท่ัวแล้ว เจริญแล้ว ท�ำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพอ่ื นรก เปน็ ไปเพอื่ ก�ำเนดิ เดรจั ฉาน เปน็ ไปเพอื่ เปรตวสิ ยั . วิบากแห่งการด่ืมน้ำ�เมาคือสุราและเมรัยของ ผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไป เพื่อความเป็นบ้า. 53
พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภูมิ เคราะหร์ า้ ยอนั ใหญห่ ลวงของคนพาล 18 -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๑๙-๓๒๐/๔๘๑-๔๘๓. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! เปรยี บเหมอื นบรุ ษุ ทง้ิ แอกทม่ี รี เู ดยี ว ลงไปในมหาสมุทร แอกนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทาง ทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ถกู ลมเหนอื พดั ไปทางทศิ ใต ้ ถกู ลมใตพ้ ดั ไปทางทศิ เหนอื มเี ตา่ ตาบอดอยใู่ นมหาสมทุ รนน้ั ลว่ งไปรอ้ ยปจี งึ จะผดุ ขนึ้ ครงั้ หนงึ่ . ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำ�คัญความข้อน้ัน เป็นอย่างไรเล่า ? เต่าตาบอดตัวน้ัน จะพึงเอาคอสวมเข้า ทแี่ อกซ่งึ มรี ูเดียวโน้นได้บา้ งไหมหนอ ? ขอ้ นน้ั เป็นไปไมไ่ ดเ้ ลย พระเจา้ ข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้ง บางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอน. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! เตา่ ตาบอดตวั นน้ั จะพงึ เอาคอ สวมเขา้ ทแ่ี อกซง่ึ มรี เู ดยี วโนน้ ได้ยังจะเร็วกว่า เรากลา่ ว ความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหน่ึงแล้ว จะพึงไดย้ งั ยากกว่าน้ี นน่ั เพราะเหตไุ ร ? 54
เปิดธรรมทถ่ี กู ปิด : ภพภูมิ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะในตัวคนพาลน้ีไม่มีการ ประพฤติธรรม ไม่มีความประพฤติสงบ ไม่มีการทำ�กุศล ไมม่ กี ารท�ำ บญุ มแี ตก่ ารกนิ กนั เอง การเบยี ดเบยี นผอู้ อ่ นแอ. ภิกษุท้ังหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ ความเปน็ มนษุ ยใ์ นบางครง้ั บางคราว ไมว่ า่ กาลไหนๆ โดย ลว่ งระยะกาลนาน กย็ อ่ มเกดิ ในสกลุ ต�่ำ คอื สกลุ คนจณั ฑาล หรอื สกุลพราน หรอื สกุลคนจกั สาน หรือสกลุ ช่างรถ หรอื สกลุ คนเทขยะ เหน็ ปานนน้ั ในบนั้ ปลาย อนั เปน็ สกลุ คนจน มขี า้ ว น�้ำ และอาหารนอ้ ย มชี วี ติ เปน็ ไปล�ำ บาก ซงึ่ เปน็ สกลุ ที่จะได้ของกนิ และเครอ่ื งนงุ่ หม่ โดยฝดื เคอื ง และเขาจะมี ผิวพรรณทราม น่าเกลียดชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เป็น คนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เปน็ คนกระจอกบา้ ง เป็น คนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ข้าว นำ้� ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครอื่ งลบู ไล้ ทนี่ อน ทอ่ี ยอู่ าศยั และเครอ่ื งตามประทปี เขาจะ ประพฤตกิ ายทจุ รติ วจที จุ รติ มโนทจุ รติ ครนั้ แลว้ เมอ่ื ตายไป จะเขา้ ถึงอบาย ทุคติ วินบิ าต นรก. ภิกษุทั้งหลาย ! เหมือนนักเลงการพนัน เพราะ เคราะหร์ า้ ยประการแรกเทา่ นน้ั จงึ ตอ้ งเสยี ลกู บา้ ง เสยี เมยี บา้ ง เสยี สมบตั ทิ กุ อยา่ งบา้ งยง่ิ ขน้ึ ไปอกี ตอ้ งถงึ ถกู จองจ�ำ เคราะหร์ า้ ย ของนกั เลงการพนนั ทต่ี อ้ งเสยี ไปดงั นน้ั เพยี งเลก็ นอ้ ย 55
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ที่แท้แลเคราะห์ร้ายอันใหญห่ ลวงกว่าน้ัน คือ เคราะห์ทีค่ นพาลนนั้ ประพฤตกิ ายทจุ ริต วจีทจุ ริต มโนทจุ รติ แล้ว ตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วนิ บิ าต นรก น่นั เอง. 56
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถี่ ูกปิด : ภพภมู ิ ปฏปิ ทาให้เขา้ ถงึ นรกช่อื ปหาสะ 19 -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗๗/๕๘๙. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เคยได้ยินคำ�ของ นกั เตน้ ร�ำ ผเู้ ปน็ อาจารยแ์ ละปาจารยก์ อ่ นๆ กลา่ ววา่ นกั เตน้ ร�ำ คนใด ทำ�ให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำ�จริงบ้าง คำ�เท็จบ้าง ในท่ามกลาง สถานเต้นรำ� ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผนู้ น้ั เม่อื แตกกายตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ ความเปน็ สหายแหง่ เทวดผรู้ า่ เรงิ ในขอ้ นพ้ี ระผมู้ พี ระภาค ตรัสวา่ อย่างไร ? อยา่ เลยคามณ ิ ! ขอพกั ขอ้ นเ้ี สยี เถดิ ทา่ นอยา่ ถาม ข้อนี้กะเราเลย. คามณไิ ดท้ ลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเปน็ ครง้ั ท่ี ๒ และพระผมู้ พี ระภาค ตรัสห้าม คามณไิ ดท้ ลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเปน็ ครง้ั ท่ี ๓ พระผมู้ พี ระภาค จงึ ตรสั ตอบวา่ คามณิ ! เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจาก ราคะ อนั กเิ ลสเครอื่ งผกู คอื ราคะผกู ไว้ นกั เตน้ ร�ำ รวบรวม เขา้ ไวซ้ ง่ึ ธรรมอนั เปน็ ทต่ี ง้ั แหง่ ความก�ำ หนดั ในทา่ มกลาง สถานเต้นรำ� ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้น มากยงิ่ ขึน้ 57
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อัน กเิ ลสเครอ่ื งผกู คอื โทสะผกู ไว้ นกั เตน้ ร�ำ รวบรวมเขา้ ไวซ้ ง่ึ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ� ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เม่ือก่อนสัตว์ท้ังหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อัน กิเลสเคร่ืองผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ�ย่อมรวบรวมไว้ ซงึ่ ธรรมอนั เปน็ ทตี่ ง้ั แหง่ โมหะ ในทา่ มกลางสถานเตน้ ร�ำ ในท่ามกลางสถานมหรสพแกส่ ตั วเ์ หล่านัน้ มากยิง่ ขนึ้ นกั เตน้ ร�ำ นนั้ ตนเองกม็ วั เมาประมาท ตงั้ อยใู่ น ความประมาท เมอื่ แตกกายตายไป ยอ่ มบงั เกดิ ในนรก ชอื่ ปหาสะ อนง่ึ ถา้ เขามคี วามเหน็ อยา่ งนว้ี า่ นกั เตน้ ร�ำ คนใด ทำ�ให้คนหัวเราะ ร่ืนเริงด้วยคำ�จริงบ้าง คำ�เท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ� ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาช่ือปหาสะดังน้ีไซร้ ความเห็นของเขาน้ัน เปน็ ความเหน็ ผดิ . คามณิ ! ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใด อย่างหน่ึง คือ นรกหรือกำ�เนิดเดรัจฉาน ของบุคคล ผูม้ ีความเห็นผดิ . 58
พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถกู ปดิ : ภพภมู ิ ปฏปิ ทาใหเ้ ข้าถึงนรกช่อื สรชติ 20 -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๐/๕๙๓. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ได้สดับคำ�ของ นักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้น้ันซ่ึง ก�ำ ลงั อตุ สาหะพยายามใหถ้ งึ ความตาย ผนู้ น้ั เมอ่ื ตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ ความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาค ตรสั วา่ อยา่ งไร ? อยา่ เลยคามณ ิ ! ขอพกั ขอ้ นเ้ี สยี เถดิ ทา่ นอยา่ ถาม ข้อน้กี ะเราเลย. คามณไิ ดท้ ลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเปน็ ครง้ั ท่ี ๒ และพระผมู้ พี ระภาค ตรัสห้าม คามณไิ ดท้ ลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเปน็ ครง้ั ท่ี ๓ พระผมู้ พี ระภาค จงึ ตรสั ตอบวา่ คามณิ ! นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม ในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำ�ไว้ไม่ดี ต้ังจิตไว้ ไม่ดกี อ่ นวา่ สตั วเ์ หลา่ นจ้ี งถูกฆ่า จงถกู แทง จงขาดสูญ จงพนิ าศ หรอื วา่ อยา่ ไดม้ คี นอน่ื ฆา่ ผนู้ น้ั ซง่ึ ก�ำ ลงั อตุ สาหะ พยายามใหถ้ งึ ความตาย ผนู้ น้ั เมอ่ื ตายไป ยอ่ มเกดิ ในนรก ชอ่ื สรชติ 59
พทุ ธวจน - หมวดธรรม กถ็ า้ เขามคี วามเหน็ อยา่ งนวี้ า่ นกั รบอาชพี คนใด อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอ่ืนฆ่าผู้นั้นซึ่งกำ�ลัง อุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อม เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด. คามณิ ! ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใด อยา่ งหนง่ึ คอื นรกหรอื ก�ำ เนดิ สตั วเ์ ดรจั ฉาน ของบคุ คล ผมู้ คี วามเหน็ ผิด. 60
พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ อสทั ธรรมทท่ี �ำใหเ้ กดิ ในนรกตลอดกปั 21 -บาลี ข.ุ ขุ. ๒๕/๒๙๖/๒๖๙. ภิกษุท้ังหลาย ! เทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบง�ำ ย�ำ่ ยจี ติ แลว้ เปน็ ผเู้ กดิ ในอบาย เกดิ ในนรก ตง้ั อยูต่ ลอดกปั เยียวยาไม่ได้. อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นอยา่ งไรเล่า ? (๑) เทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีความปรารถนา เลวทรามครอบงำ�ยำ�่ ยจี ิตแลว้ … (๒) เทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีมิตรชั่วครอบงำ� ย�ำ่ ยีจติ แล้ว … (๓) ก็เม่ือมรรคและผลที่ควรกระทำ�ให้ย่ิงมีอยู่ เทวทัตต์ถึงความพินาศเสียในระหว่างเพราะการบรรลุ คุณวเิ ศษมีประมาณเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลาย ! เทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการน้ีแล ครอบงำ�ย่ำ�ยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกดิ ในนรก ตง้ั อยู่ตลอดกปั เยยี วยาไม่ได.้ 61
พทุ ธวจน - หมวดธรรม 62
พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ถี ูกปิด : ภพภูมิ อปุ มาความทุกขใ์ นนรก 22 -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๑๑-๓๑๕/๔๖๘-๔๗๔. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! ลกั ษณะเครอ่ื งหมาย เครอ่ื งอา้ ง วา่ เป็นพาลของคนพาลน้ี มี ๓ อยา่ ง. ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุทง้ั หลาย ! คนพาลในโลกนี้ มักคดิ ความคิดที่ชั่ว มักพูดคำ�พูดที่ชั่ว มักทำ�การทำ�ที่ชั่ว ถา้ คนพาลจกั ไมเ่ ปน็ ผคู้ ดิ ความคดิ ทชี่ วั่ พดู ค�ำ พดู ทช่ี ว่ั และท�ำ การท�ำ ทช่ี ว่ั บณั ฑติ พวกไหนจะพงึ รจู้ กั เขาไดว้ า่ ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิด ความคิดท่ีช่ัว มักพูดคำ�พูดท่ีช่ัว และมักทำ�การทำ�ท่ีช่ัว ฉะนน้ั พวกบณั ฑติ จงึ รไู้ ดว้ า่ นเ่ี ปน็ คนพาล เปน็ สตั บรุ ษุ . ภิกษุท้ังหลาย ! คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวย ทกุ ขโทมนสั ๓ อย่างในปัจจุบนั . ภิกษทุ ้งั หลาย ! ถา้ คนพาลนง่ั ในสภากด็ ี รมิ ถนน ก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในท่ีนั้นๆ จะพูดถ้อยคำ�ที่ 63
พทุ ธวจน - หมวดธรรม พอเหมาะพอสมแกเ่ ขา ถา้ คนพาลมกั เปน็ ผทู้ �ำ ชวี ติ สตั วใ์ ห้ ตกลว่ ง มักถือเอาสิ่งของท่เี จา้ ของมิไดใ้ ห้ มกั ประพฤตผิ ิด ในกาม มกั พดู เทจ็ มปี กตติ งั้ อยใู่ นความประมาทเพราะดมื่ น�ำ้ เมาคอื สรุ าและเมรยั ในเรอ่ื งทช่ี นพดู ถอ้ ยค�ำ ทพ่ี อเหมาะ พอสมแก่เขานั้นแล คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างน้ีว่า ธรรมเหล่าน้ันมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรม เหลา่ นน้ั ด้วย. ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อที่ ๑ ดังนใี้ นปจั จุบนั . ภกิ ษทุ งั้ หลาย ! ประการอน่ื ยงั มอี กี คนพาลเหน็ พระราชาท้ังหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลง กรรมกรณ์ตา่ งชนิด คือ (๑) โบยด้วยแส้บา้ ง (๒) โบยด้วยหวายบา้ ง (๓) ตดี ว้ ยตะบองส้ันบา้ ง (๔) ตัดมือบ้าง (๕) ตัดเท้าบา้ ง (๖) ตดั ทง้ั มือทั้งเทา้ บา้ ง (๗) ตัดหบู า้ ง 64
เปิดธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ (๘) ตดั จมูกบ้าง (๙) ตดั ทั้งหูท้งั จมูกบา้ ง ( ๑๐) ลงกรรมกรณว์ ิธี หมอ้ เคย่ี วน�้ำ ส้ม บา้ ง1 ( ๑๑) ลงกรรมกรณว์ ธิ ี ขอดสังข์ บ้าง ( ๑๒) ลงกรรมกรณว์ ิธี ปากราหู บ้าง ( ๑๓) ลงกรรมกรณว์ ธิ ี มาลัยไฟ บา้ ง ( ๑๔) ลงกรรมกรณว์ ิธี คบมือ บา้ ง (๑๕) ลงกรรมกรณว์ ิธี ร้ิวสา่ ย บ้าง (๑๖) ลงกรรมกรณว์ ิธี นุง่ เปลือกไม้ บา้ ง ( ๑๗) ลงกรรมกรณว์ ิธี ยนื กวาง บา้ ง ( ๑๘) ลงกรรมกรณว์ ธิ ี เก่ยี วเหยื่อเบ็ด บา้ ง ( ๑๙) ลงกรรมกรณ์วิธี เหรียญกษาปณ์ บ้าง (๒๐) ลงกรรมกรณ์วิธี แปรงแสบ บ้าง (๒๑) ลงกรรมกรณ์วิธี กางเวียน บ้าง (๒๒) ลงกรรมกรณว์ ิธี ตงั่ ฟาง บ้าง (๒๓) ราดด้วยนำ�้ มนั เดือดๆ บา้ ง ( ๒๔) ใหส้ นุ ัขท้งึ บ้าง ( ๒๕) ใหน้ อนหงายบนหลาวทั้งเปน็ ๆ บา้ ง (๒๖) ตดั ศรี ษะด้วยดาบบา้ ง 1. วธิ ลี งกรรมกรณ์ อา่ นเพ่มิ เติมได้ทีท่ ้ายบทน้ี. 65
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ในขณะทเ่ี หน็ นน้ั คนพาลจะมคี วามรสู้ กึ อยา่ งนว้ี า่ เพราะเหตแุ หง่ กรรมชวั่ ปานใดแล พระราชาทงั้ หลายจงึ จบั โจรผปู้ ระพฤตผิ ดิ มาแลว้ สง่ั ลงกรรมกรณต์ า่ งชนดิ คอื โบยดว้ ยแสบ้ า้ ง … ตดั ศรี ษะดว้ ยดาบบา้ ง กธ็ รรมเหลา่ นน้ั มอี ยใู่ นเรา และเรากป็ รากฏในธรรมเหลา่ นน้ั ดว้ ย ถา้ แม้ พระราชาทง้ั หลายรู้จักเรา ก็จะจบั เราแลว้ ส่ังลงกรรมกรณ์ ต่างชนิด คอื โบยด้วยแสบ้ า้ ง … ตดั ศีรษะด้วยดาบบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ข้อท่ี ๒ แมด้ ังนใ้ี นปจั จุบัน. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! ประการอน่ื ยงั มอี กี กรรมอนั เปน็ บาปท่ีคนพาลทำ�ไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทจุ รติ ย่อมปกคลุม ครอบง�ำ คนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือ บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยน้ัน เปรียบเหมือน เงายอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงำ�แผ่นดินในสมัย เวลาเยน็ ฉนั ใด. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! ฉนั นน้ั เหมอื นกนั แล กรรมอนั เปน็ บาปทค่ี นพาลท�ำ ไวใ้ นกอ่ น คอื กายทจุ รติ วจที จุ รติ มโนทจุ รติ ย่อมปกคลุม ครอบงำ�คนพาลผู้อยู่บนต่ัง หรือบนเตียง หรือนอนบนพ้ืนดนิ ในสมัยนน้ั . 66
เปิดธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ ภกิ ษทุ งั้ หลาย ! ในสมยั นน้ั คนพาลจะมคี วามรสู้ กึ อย่างนี้วา่ เราไมไ่ ดท้ ำ�ความดี ไม่ได้ทำ�กศุ ล ไมไ่ ดท้ �ำ เครือ่ ง ปอ้ งกันความหวาดกลวั ไว้ ท�ำ แต่ความชั่ว ทำ�แต่ความรา้ ย ท�ำ แตค่ วามเลว ละโลกนไ้ี ปแลว้ จะไปสคู่ ตขิ องคนทไ่ี มไ่ ด้ ทำ�ความดี ไม่ได้ทำ�กุศล ไม่ได้ทำ�เคร่อื งป้องกันความ หวาดกลัวไว้ ทำ�แต่ความช่ัว ความร้าย และความเลว เปน็ ก�ำ หนด คนพาลนน้ั ยอ่ มเศรา้ โศก ระทมใจ คร�ำ่ ครวญ ทบุ อกร�ำ่ ไห้ ถงึ ความหลงใหลอย่.ู ภิกษุทั้งหลาย ! คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัส ขอ้ ที่ ๓ แมด้ งั น้ีในปจั จุบัน. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! คนพาลนน้ั นน่ั แลประพฤตทิ จุ รติ ทางกาย ทางวาจา ทางใจแลว้ เมอ่ื ตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ อบาย ทุคติ วนิ ิบาต นรก. ภิกษุท้ังหลาย ! บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นน่ันแหละว่า เป็นสถานที่ที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่นา่ รกั ใคร่ ไม่น่าพอใจโดยส่วนเดียว. ภิกษุท้ังหลาย ! เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมา ถงึ ความทกุ ขใ์ นนรก กไ็ มใ่ ชง่ ่ายนัก. 67
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! อาจเปรยี บอุปมาไดห้ รอื ไม่ ? ภิกษทุ ้งั หลาย ! อาจเปรียบได.้ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! เปรยี บเหมอื นพวกราชบรุ ษุ จบั โจร ผปู้ ระพฤตผิ ดิ มาแสดงแดพ่ ระราชาวา่ “ขอเดชะ ! ผนู้ เ้ี ปน็ โจรประพฤตผิ ดิ ตอ่ พระองค์ ขอพระองคโ์ ปรดลงอาชญาที่ ทรงพระราชประสงค์แก่มันเถดิ ” พระราชาทรงสั่งการน้นั อยา่ งนว้ี า่ “ทา่ นผเู้ จรญิ ! ไปเถดิ พวกทา่ นจงเอาหอกรอ้ ยเลม่ แทงบรุ ษุ นใี้ นเวลาเชา้ ” พวกราชบรุ ษุ จงึ เอาหอกรอ้ ยเลม่ แทงบรุ ษุ นนั้ ในเวลาเชา้ ครนั้ เวลากลางวนั พระราชาตรสั ถามอย่างน้ีว่า “พ่อมหาจำ�เริญ ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไร ?” พวกราชบุรุษกราบทูลว่า “ขอเดชะ ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิม พระเจ้าข้า !” พระราชาทรงส่ังการนั้นอย่างน้ีว่า “ท่าน ผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันใน เวลากลางวนั ” พวกราชบรุ ษุ จงึ เอาหอกรอ้ ยเลม่ แทงบรุ ษุ นน้ั ในเวลากลางวัน คร้ันเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ วา่ “พอ่ มหาจ�ำ เรญิ ! บรุ ษุ นน้ั เปน็ อยา่ งไร ?” พวกราชบรุ ษุ กราบทูลว่า “ขอเดชะ ! ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจา้ ขา้ !” พระราชาทรงส่ังการนั้นอย่างน้ีว่า “ท่านผู้เจริญ ! ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น” พวกราชบรุ ษุ จงึ เอาหอกรอ้ ยเลม่ แทงบรุ ษุ นน้ั ในเวลาเยน็ . 68
เปดิ ธรรมทีถ่ กู ปดิ : ภพภูมิ ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำ�คัญความข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงน้ันเป็นเหตุบ้าง หรือหนอ ? ขา้ แตพ่ ระองคผ์ เู้ จรญิ ! บรุ ษุ นน้ั ถกู แทงดว้ ยหอกแมเ้ ลม่ เดยี ว กเ็ สวยทกุ ขโทมนสั เพราะเหตทุ ถ่ี กู แทงนน้ั ได้ ป่วยการกล่าวถึงหอก ตั้งสามรอ้ ยเลม่ . คร้ังน้ันแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเทา่ ฝ่ามือ แลว้ ตรัสถามภกิ ษุทัง้ หลายวา่ ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำ�คัญความข้อน้ัน เปน็ อยา่ งไรเลา่ ? แผน่ หนิ ยอ่ มๆ ขนาดเทา่ ฝา่ มอื ทเ่ี ราถอื น้ี กบั ภเู ขาหลวงหมิ พานตอ์ ยา่ งไหนหนอแลใหญก่ วา่ กนั ? ขา้ แตพ่ ระองคผ์ เู้ จรญิ ! แผน่ หนิ ยอ่ มๆ ขนาดเทา่ ฝา่ มอื ทท่ี รงถอื น้ี มปี ระมาณนอ้ ยนกั เปรยี บเทยี บภเู ขาหลวงหมิ พานตแ์ ลว้ ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึง แมก้ ารเทยี บกนั ได้. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! ฉนั นน้ั เหมอื นกนั แล ทกุ ขโทมนสั ทบ่ี รุ ษุ ก�ำ ลงั เสวยเพราะการถกู แทงดว้ ยหอกสามรอ้ ยเลม่ เปน็ เหต ุ เปรยี บเทยี บทกุ ขข์ องนรกยงั ไมถ่ งึ แมค้ วามนบั ยงั ไมถ่ งึ แมส้ ว่ นแหง่ เสยี้ ว ยงั ไมถ่ งึ แมก้ ารเทยี บกนั ได.้ 69
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ๑.หมอ้ เคยี่ วน�ำ้ สม้ คอื ใหต้ อ่ ยกระบานศศี ะเลกิ ออกเสยี แลว้ เอาคิมคีบก้อนเหลกแดงใหญ่ใส่ลง ให้มนั สะหมองศีศะพลุ่ง ฟขู่ นึ้ ด่งั มอ่ เคย่ี วน�ำ้ ส้มพะอมู ๒.ขอดสงั ข์ คอื ใหต้ ดั แตห่ นงั จ�ำ ระเบอ้ื งหนา้ ถงึ ไพรปาก เบอ้ื งบนทงั สองขา้ งเปนกำ�หนด ถงึ หมวกหูทังสองขา้ งเปนก�ำ หนด ถงึ เกลยี วฅอชายผมเบอ้ื งหลงั เปนก�ำ หนด แลว้ ใหม้ นุ่ กระหมวดผม เขา้ ทงั สน้ิ เอาทอ่ นไมส้ อดเขา้ ขา้ งละคนโยกถอนคลอนสน่ั เพกิ หนงั ทังผมน้ันออกเสียแล้ว เอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำ�ระ ให้ขาวเหมอื นพรรณศรสี ังข์ ๓.ปากราหู คือ เอาขอเก่ียวปากให้อา้ ไว้แล้วตามประทปี ไวใ้ นปาก ไนยหนง่ึ เอาปากสวิ่ อนั คมนน้ั แสะแหวะผา่ ปากจนหมวก หทู ง้ั สองขา้ ง แลว้ เอาฃอเกย่ี วใหอ้ า้ ปากไวใ้ หโ้ ลหติ ไหลออกเตมปาก ๔.มาลัยไฟ คือ เอาผ้าชุ่มนำ้�มันพันให้ทั่วกายแล้วเอา เพลงิ จดุ ๕.คบมอื คอื เอาผา้ ชบุ น�ำ้ มนั พนั นวิ้ มอื สนิ้ ทงั ๑๐ นวิ้ แลว้ เอาเพลิงจุด ๖.รวิ้ สา่ ย คอื เชอื ดเนอ้ื ใหเ้ ปนแรง่ เปนรวิ้ อยา่ ใหข้ าด ให้ เนอ่ื งดว้ ยหนงั ตง้ั แตใ่ ตฅ้ อลงไปถงึ ขอ้ เทา้ แลว้ เอาเชอื กผกู จ�ำ ใหเ้ ดริ เหยยี บย�ำ่ รว้ิ เนอ้ื รว้ิ หนงั แหง่ ตนใหฉ้ ดุ ครา่ ตจี �ำ ใหเ้ ดริ ไปจนกวา่ จะตาย ๗.นุ่งเปลือกไม้ คือ เชือดเนื้อให้เน่ืองด้วยหนังเปนแร่ง เปนริ้ว แต่ใต้ฅอลงมาถึงเอวแล้วเชือดแต่เอวให้เปนแร่ง เปนร้ิว 70
เปิดธรรมทถ่ี ูกปดิ : ภพภูมิ ลงมาถึงข้อเท้า กระทำ�เน้ือเบื้องบนน้ันให้เปนร้ิวตกปกคลุมลงมา เหมือนนงุ่ ผา้ คากรอง ๘.ยนื กวาง คอื เอาหว่ งเหลกสวมขอ้ สอกทงั สองขอ้ เฃา่ ทงั สองขา้ งให้หม้นั แลว้ เอาหลกั เหลกสอดลงในวงเหลกแย่งขงึ ตรงึ ลง ไวก้ บั แผน่ ดนิ อยา่ ใหไ้ หวตวั ได้ แลว้ เอาเพลงิ ลนใหร้ อบตวั กวา่ จะตาย ๙.เกี่ยวเหย่ือเบ็ด คือ เอาเบดใหญ่มีคมสองข้างเก่ียว ทว่ั กาย เพกิ หนงั เนอ้ื แลเอนนอ้ ยใหญ่ ใหห้ ลดุ ขาดออกมากวา่ จะตาย ๑๐.เหรียญกษาปณ์ คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเน้ือให้ตก ออกมาจากกาย แต่ทลิ ะตำ�ลึงกว่าจะสนิ้ มังสะ ๑๑.แปรงแสบ คอื ใหแ้ ลส่ บั ฟนั ทวั่ กาย แลว้ เอาแปรงหวี ชุบนำ้�แสบกรีดครูดขุดเซาะหนังแลเน้ือแลเอนน้อยใหญ่ ให้ลอก ออกมาให้สน้ิ ใหอ้ ยแู่ ต่ร่างกระดกู ๑๒.กางเวียน คอื ให้นอนลงโดยขา้ งๆ หนึง่ แลว้ ใหเ้ อา หลาวเหลกตอกลงไปโดยชอ่ งหูใหแ้ น่นกบั แผน่ ดิน แลว้ จบั เทา้ ทงั สองหนั เวยี นไปดงั บุทคลท�ำ บังเวียน ๑๓.ตง่ั ฟาง คอื ท�ำ มใิ หเ้ นอ้ื พงั หนงั ขาด เอาลกู ศลี าบดทบุ กระดูกให้แหลกย่อยแล้วรวบผมเข้าทังสิ้น ยกข้ึนหย่อนลงกระท�ำ ใหเ้ นอื้ เปนกองเปนลอม แลว้ พบั หอ่ เนอื้ หนงั กบั ทงั กระดกู นน้ั ทอด วางไว้ ทำ�ดง่ั ตง่ั อันท�ำ ดว้ ยฟางซงึ่ ไวเ้ ชดเทา้ ๑๔.ราดด้วยน�้ำ มนั เดอื ดๆ คอื เค่ียวน้ำ�มนั ให้เดือดพลงุ่ พลา่ น แลว้ รดสาดลงมาแตศ่ ีศะกวา่ จะตาย 71
พทุ ธวจน - หมวดธรรม ๑๕.ให้สนุ ขั ท้ึง คือ ให้กักขังสนู ักขรา้ ยทังหลายไว้ ให้อด อาหารหลายวันให้เตมหยาก แล้วปล่อยออกให้กัดทึ้งเนื้อหนังกิน ให้เหลือแต่รา่ งกระดกู เปล่า กฎหมายตราสามดวง เลม่ ๔ (พิมพ์ตามตน้ ฉบับกฎหมายตราสามดวง ฉบับหลวง) หมวด พระไอยการกระบดศกึ พิมพค์ รงั้ ที่ ๒ ส�ำนักพมิ พ์ครุ ุสภา ปที ีพ่ ิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ 72
พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถกู ปิด : ภพภมู ิ ความทกุ ข์ในนรก 23 -บาลี อปุ ริ. ม. ๑๔/๓๓๔-๓๔๖/๕๐๔-๕๒๕. ภิกษุท้ังหลาย ! เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลังมี ประตตู รงกนั บรุ ษุ ผมู้ ตี าดยี นื อยรู่ ะหวา่ งกลางเรอื น ๒ หลงั นน้ั พึงเห็นมนุษย์กำ�ลังเข้าเรือนบ้าง กำ�ลังออกจากเรือนบ้าง กำ�ลงั เดนิ มาบ้าง กำ�ลงั เดนิ ไปบ้าง ฉนั ใด. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! ขอ้ นก้ี ฉ็ นั นน้ั เหมอื นกนั เรายอ่ ม มองเหน็ หมสู่ ตั วก์ �ำ ลงั จตุ ิ ก�ำ ลงั อบุ ตั ิ เลว ประณตี มผี วิ พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธ์ิ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซ่ึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรมไดว้ ่า สัตว์ผ้กู ำ�ลังเป็นอย่เู หล่าน้ปี ระกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ เชอ่ื มน่ั กรรมดว้ ยอ�ำ นาจสมั มาทฏิ ฐิ เมอ่ื ตายไปแลว้ เขา้ ถงึ สุคติโลกสวรรคก์ ม็ ี. สตั วผ์ กู้ �ำ ลงั เปน็ อยเู่ หลา่ น้ี ประกอบดว้ ยกายสจุ รติ วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ เชอ่ื มน่ั กรรมดว้ ยอ�ำ นาจสมั มาทฐิ ิ เมอ่ื ตายไปแลว้ บงั เกดิ ใน หม่มู นุษยก์ ม็ ี. 73
พุทธวจน - หมวดธรรม สตั วผ์ กู้ �ำ ลงั เปน็ อยเู่ หลา่ น ้ี ประกอบดว้ ยกายทจุ รติ วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เชอ่ื มน่ั กรรมดว้ ยอ�ำ นาจมจิ ฉาทฏิ ฐิ เมอ่ื ตายไปแลว้ เขา้ ถงึ เปรตวิสยั กม็ ี. สตั วผ์ กู้ �ำ ลงั เปน็ อยเู่ หลา่ น ้ี ประกอบดว้ ยกายทจุ รติ วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เชอ่ื มน่ั กรรมดว้ ยอ�ำ นาจมจิ ฉาทฏิ ฐิ เมอ่ื ตายไปแลว้ เขา้ ถงึ กำ�เนิดเดรจั ฉานกม็ .ี สตั วผ์ กู้ �ำ ลงั เปน็ อยเู่ หลา่ น ้ี ประกอบดว้ ยกายทจุ รติ วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เชอ่ื มน่ั กรรมดว้ ยอ�ำ นาจมจิ ฉาทฏิ ฐิ เมอ่ื ตายไปแลว้ เขา้ ถงึ อบาย ทุคติ วินบิ าต นรกก็ม.ี ภิกษุท้งั หลาย ! เหล่านายนิรยบาลจะจับสัตว์น้นั ทส่ี ว่ นตา่ งๆ ของแขนไปแสดงแกพ่ ระยายมวา่ “ขา้ แตพ่ ระองค ์! บุรุษนี้ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงอาชญาแก่บรุ ษุ นเ้ี ถิด”. ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ! พระยายมจะปลอบโยน เอาอก- เอาใจ ไตถ่ ามถงึ เทวทตู ท่ี ๑ กะสตั วน์ น้ั วา่ “พอ่ มหาจ�ำ เรญิ ! ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรอื ?” 74
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 562
- 563
- 564
- 565
- 566
- 567
- 568
- 569
- 570
- 571
- 572
- 573
- 574
- 575
- 576
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 576
Pages: