Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดความรู้โครงการย่อย 4-เกษม แสงนนท์ 5-3-65_ebook

ชุดความรู้โครงการย่อย 4-เกษม แสงนนท์ 5-3-65_ebook

Published by Kasem S. Kdmbooks, 2022-03-06 15:06:42

Description: ชุดความรู้โครงการย่อย 4-เกษม แสงนนท์ 5-3-65_ebook

Search

Read the Text Version

การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วถิ พี ุทธ ออนไลน์ คณะครุ โรงเรยี น ศาสตร์ เครอื ข่ายพนื้ ที่ นวัตกรรมการ เรียนรู้วถิ พี ทุ ธ ชมุ ชน อาชีวศกึ ษา ผศ.ดร.เกษม แสงนนท์ โครงการย่อยท่ี 4 ภายใต้แผนงานวจิ ัย เรอ่ื ง การพัฒนาพ้ืนทนี่ วตั กรรมวถิ พี ทุ ธ คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เครือข่ายพนื้ ทนี่ วตั กรรมการเรียนรู้วิถีพทุ ธ การสร้างเครือขา่ ยพน้ื ทีน่ วตั กรรมการเรยี นรูว้ ถิ ีพทุ ธ ภายใต้แผนงานวิจยั เรอื่ ง การพฒั นาพนื้ ท่ีนวตั กรรมวิถพี ุทธ ผศ.ดร.เกษม แสงนนท์ คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั พมิ พ์ครัง้ แรก มนี าคม 2565 จำนวน 100 เล่ม พมิ พท์ ่ี มหาจุฬาบรรณาคาร ศนู ย์หนังสือมหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังนอ้ ย จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา 2

คำนำ การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ภายใต้ แผนงาน วิจัยเรื่อง การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมวิถีพุทธ โดย คณะวิจัยได้ ดำเนินการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากแหล่งข้อมูลทตุ ยิ ภูมิ ควบคู่กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) โดย เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูล สำคัญ (Key Informants) กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์คณะครุศาสตร์ และ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายพื้นท่ีนวัตกรรมการ เรยี นร้วู ิถีพุทธ รวมถึงสมั ภาษณ์เชงิ ลกึ คณะครแู ละอาจารย์ 6 โรงเรยี น เพื่อ นำเสนอ ข้อมูลต่อการสนทนากลุ่มย่อย (focus Group Discussion) การ จัดสัมมนา และการสังเคราะห์ข้อมูลเข้าสู่ กระบวนการพัฒนา (Research and Development) การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ขยาย ความรู้จากพื้นที่นวัตกรรมห้องซี 500 ของคณะครุศาสตร์ ไปตามโรงเรียน ต่าง ๆ โดยเปิดให้เข้าชมและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเกิดเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรม หรือการเรียนการสอนตามโรงเรียนเพื่อเป็น เครือข่ายแหล่งเรียนรู้หรือพื้นนวัตกรรมการเรียนวิถีพุทธ ระหว่างองค์กร ภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์ ทวั่ ประเทศ และเครอื ข่ายภายนอกองคก์ ร หนว่ ยงานราชการ และโรงเรียน โดยใชค้ ณะครุศาสตร์เปน็ ศูนย์กลางภาคีนวัตกรรมการเรยี นรู้วถิ พี ุทธ หวังว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือคู่มือนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อสถานศึกษา หน่วยงานท่ีเกย่ี วขอ้ ง และเยาวชนผสู้ นใจตอ่ ไป ผศ.ดร.เกษม แสงนนท์ 3

สารบญั 5 6 • สรุปองค์ความรู้ท่ไี ดจ้ ากการวจิ ัย 32 • เครอื ข่ายพน้ื ท่นี วัตกรรมการเรียนรู้วิถพี ุทธ 39 • รูปแบบเครอื ข่ายพื้นท่นี วตั กรรมการเรยี นรวู้ ถิ พี ุทธ 44 • ผลการสรา้ งเครอื ข่ายพืน้ ท่นี วัตกรรมการเรียนรู้วถิ ีพทุ ธ • องคค์ วามรทู้ ไี่ ด้รบั 4

สรุปองคค์ วามรูท้ ไี่ ด้จากการวจิ ยั การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ขยาย ความรู้จากพื้นที่นวัตกรรมห้องซี 500 ของคณะครุศาสตร์ไปตามโรงเรียน ต่างๆ โดยเปิดให้เข้าชมและ ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเกิดเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกิจกรรม หรือการเรียนการสอนแนวแนวใหม่ สอน แบบบูรณาการของศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา นำไปพัฒนาตามโรงเรียน เพื่อเป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้หรือพื้นนวัตกรรมการเรียนวิถีพุทธเป็น ต้นแบบ และขยายผลเป็นเครือข่ายที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์ท่ัว ประเทศ และเครือข่ายภายนอกองค์กร หน่วยงานราชการ และโรงเรียน โดยใช้คณะครุศาสตร์เป็นศูนย์กลางภาคีนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ด้วย กระบวนการการสรา้ งเครือขา่ ยการเรียนรอู้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ 5

เครอื ข่ายพื้นทีน่ วตั กรรม การเรียนร้วู ถิ ีพทุ ธ 6

การสรา้ งเครอื ขา่ ยพ้ืนทน่ี วัตกรรมการเรยี นร้วู ถิ พี ทุ ธ ประเด็นท่ีคณะผู้วิจัยศึกษาเกี่ยวกับ “การสร้างเครือข่ายพื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ” พบว่า สภาพสังคมในปัจจุบันมีความ เจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การรับรู้ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยม การดำรงชีวิตแบบสังคมบริโภคนิยม หรือโลกแห่งการสื่อสารทางออนไลน์ มากกว่าจะมีการจะพูดคุยกันในครอบครัวหรือสังคม เพราะการใช้ เครื่องมือสื่อสารสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนในสังคมเปลี่ยนไปในทุก ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงมีการปฏิรูปการศึกษา เพอ่ื ให้ทนั สมยั และเทา่ ทันตอ่ ความเปลย่ี นแปลงของโลก พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธนั้นต้องยึดหลักวิถีพุทธโดยการ พัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาว่า จิตเป็นรากฐานสำคัญที่จะแสดงออกใน อากปั กริ ิยาทางรา่ งกาย หรอื แสดงออกทางใบหน้า และจิตใจ เมอ่ื ไดร้ บั การ อบรมย่อมมีสติ ย่อมมีความฉลาดรอบคอบ การเปลี่ยนแปลงในสังคม ปัจจุบันที่มีนวัตกรรม เทคโนโลยี สื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้เยาวชนหลง ผิดไปตามกระแสของสังคม ละทิ้งคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้การ ดำเนนิ ชวี ติ ขาดหลกั ธรรมยดึ เหนย่ี วจิตใจ การจัดกิจกรรมพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธต้องจัดทำ พื้นฐานก่อน เหมือนกับการสร้างบ้านที่จะต้องประกอบด้วยการตอก เสาเข็มให้แข็งแรง มีการจัดเตรียมพื้นที่การเรียนรู้ โดยกิจกรรมการจัด กจิ กรรมจากโครงงานคณุ ธรรม คอื การเรียนรทู้ ่ีไม่จำกัด องค์รวมแหง่ ความ ดี ที่ไร้ขีดจำกัด การทำความดีเชิงรุก พร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตอย่างเป็น วิทยาศาสตร์ แก่นการเรียนรู้คือ “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา” การจัดทำ โครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนและใช้ความรู้ที่ ตนเองได้มาบูรณาการ 7

การเครือข่ายเรื่องการศึกษา หรือจะสร้างเครือข่ายพื้นท่ี การศึกษาพิจารณาตั้งแต่โครงการย่อยหนึ่ง ผลงานคือเครือข่ายพื้นที่ นวัตกรรมวิถีพุทธ ขยายจากพืน้ ที่นวัตกรรมห้องซี 500 ของคณะครุศาสตร์ ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อเปิดให้เป็นการเรียรู้โดยเฉพาะเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกิจกรรม หรือการเรียนการสอนแนวแนวใหม่ สอน แบบบูรณาการของศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา ใช้พื้นที่นวัตกรรมห้องซี 500 เป็นศูนย์กลาง จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้หรือพื้นนวัตกรรมการเรียน วิถีพุทธ เป็นต้นแบบ และขยายผลเป็นเครือข่ายที่ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ทั่วประเทศ และเครือข่ายภายนอกองค์กร หน่วยงานราชการ และโรงเรียน โดยใช้คณะครุศาสตร์เป็นศูนย์กลางภาคีนวัตกรรมการเรียนรู้ วิถพี ทุ ธ1 พระครูโสภณรัตนบัณฑิต, ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ2 ให้ สัมภาษณ์ว่า ควรเป็นรูปแบบจากนามธรรมแล้วก็เป็นรูปธรรม คือเชิง วิชาการและนำสู่การปฏิบัติที่สมารถจับต้องเห็นผลได้จริง วิถีการถ่ายทอด ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาตั้งเป็นแนวทางการถ่ายทอด จึงจะเป็น การเรียนร้แู ละถ่ายทอดองค์ความรู้วธิ ีพุทธ สรุปว่า การจัดพื้นท่ีการถ่ายทอดการเรียนรู้วิถีพุทธที่เป็น นวัตกรรมต้องมีการจัดด้านกายภาพจัดสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีจิตใจ สงบและส่งเสริมการบริหารจิต เจริญปัญญา ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต จัด กิจกรรมที่บูรณาการไตรสิกขาโดยเน้น การกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วย 1 สนทนากลมุ่ ย่อย ผศ.ดร.ขันทอง วฒั นะประดษิ ฐ์, ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, ผศ.ดร. พงศพ์ ิชญ์ ตว่ นภษู า, รศ.ดร.โกนฏิ ฐ์ ศรที อง, พระปลัดระพิน พุทธฺ ิสาโร, ผศ.ดร. และดร.ลำพอง กลมกูล วันองั คาร ท่ี 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สถานที่ ห้องประชุม C 512 หลกั สตู รบัณฑติ ศึกษา ภาควชิ าบรหิ ารการศึกษา คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย. 2 พระครูโสภณรตั นบัณฑติ , ดร. ผูช้ ว่ ยอธกิ ารบดีฝา่ ยวชิ าการ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราช วทิ ยาลยั , 16 กมุ ภาพันธ์ 2564. 8

สติสัมปชัญญะรู้คุณค่าแท้ ด้านการสอน มีหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการ เรียนรู้ที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างชัดเจนต่อเนื่อง ด้าน บรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม แสวงหาปัญญา มี ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันทุกคน พยายามปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ที่ดแี ก่ผอู้ ่นื การเรียนรู้วิถีพอเพียงที่สำคัญจะช่วยทำให้เกิดการกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น เป็นการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนวถิ พี ุทธ คือ กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งทางด้านความประพฤติ ศีล สมาธิปัญญา เพื่อความเจริญงอกงามทุกขั้นตอนของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกิน อยู่ ดู ฟัง ในชีวิตประจำวันที่มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนา ตนจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เจริญสืบต่อไป และเนื่องจากพุทธศาสนามีหลักการพัฒนาว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะ ฝกึ ฝนและพัฒนาตนได้ ประกอบกบั วเิ คราะห์ผ้เู รยี นว่ามสี ติปญั ญา อปุ นิสัย ความพร้อม และภูมิหลังที่แตกต่างกัน การพัฒนาจึงเน้นที่ตัวผู้เรียนแต่ละ คนเป็นสำคัญโดยมีการบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมี สวนเกษตรวิถีพุทธ หรือทำการเกษตรไม่รบกวนธรรมชาติ แต่อาศัย ธรรมชาติจัดการกันเองเพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีพอย่างพอเพียง เช่น จากการทำการเกษตรที่ปรับสวนยางเป็นป่ายาง นาข้าวไม่ไถพรวน ใช้ ความได้เปรียบของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพบริการจัดการ โดยพึง่ พาตนเอง อยูไ่ ด้อยา่ งมคี วามสุข คำว่าพื้นที่นวัตกรรม ไม่ใช่เป็นแค่พื้นที่ใช้การเรียนการสอน เท่านั้น แต่ในที่นี้รวมถึงการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต หรือการสร้างรายได้ สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยความพอเพียง เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตจริง การ เรยี นร้เู ร่ืองการตลาด ก็เปน็ อีกส่วนหนึง่ เมื่อทำการเกษตรแลว้ ยึดหลักการ ที่ผลิตเพื่อกิน และเหลือจากเก็บไว้กินแล้ว ก็ควรจำหน่ายเพื่อหารายได้ เสริม แต่สิ่งที่นักเกษตรวิถพี ุทธควรศกึ ษาคือด้านการตลาด เพราะผลิตมาก 9

แล้ว แต่ไม่สามารถจัดจำหน่ายได้ ก็ประสบปัญหาได้ นวัตกรรมการเรียนรู้ วิถีพทุ ธต้องปรับแนวคดิ ใหมๆ่ มาใชใ้ นเชิงบรู ณาการใหเ้ กิดการเรียนรู้ได้ทุก พื้น เกิดนวัตกรรมทีห่ ลากหลายสอดคล้องแนวคิด “...พื้นที่นวัตกรรมควรมี ลักษณะเด่น คือ ควรมีต้นแบบที่เป็นองค์รวมของส่วนภูมิภาค ควรมี หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ร่วมกับองค์กรอิสระ ที่ทำงานประสานกัน ทำงานในด้านนี้ และควรเน้นนวัตกรรมที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาของ ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และสามารถสัมผัสได้จริง ทั้งนี้พื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถพี ทุ ธควรคุณลกั ษณะเดน่ 1) ควรเปน็ พ้นื ทที่ ี่ทกุ คนสามารถเขา้ มามสี ว่ นร่วม เข้าถึงองคค์ วามรู้ในด้านบรบิ ทของนวตั กรรม3 2) องคก์ รทที่ ำ หนา้ ท่รี ับผดิ ชอบควรมคี วามเปน็ เอกเทศและมคี วามหลากหลายในกิจกรรม ที่ดำเนินการ 3) ควรเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ที่แท้จริง เข้าถึงง่าย และมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง4 พระสาโรจน์ ธมฺมสาโร กล่าวว่า พื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธ ควรมีลักษณะเด่น คือ ควรมีการทดลองลงมือทำจาก การวางแผน เมื่อมีการวางแผนแล้วลงมือปฏิบัติ และการมีติดตาม ประเมินผลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ควรมีบุคลากรอาทิ นักเรียน ผู้ปกครอง หรือ ชุมชน ที่สามารถเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ และเข้าถึงพื้นที่นวัตกรรมการ เรยี นรู้ได้อย่างงา่ ย เพอื่ ให้เกดิ การเรยี นรอู้ ยา่ งต่อเนือ่ ง และเกิดการพฒั นา 4.1.1 การเรียนรวู้ ิถพี ทุ ธ 1. ด้านศีล วิถีชีวิตจะมีความมั่นคงและสามารถแก้ไขปัญหา ต่างๆ ในชีวิตที่จะเกิดขึ้นได้ เยาวชนคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาในทุกๆ ด้าน เป็นกลุ่มคนที่มีพลัง มีศักยภาพมาก การกระตุ้นให้เยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดี พัฒนาศักยภาพและพลังในเชิงสร้างสรรค์ สร้างให้นักเรียน เยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองพร้อมมีภูมิคุ้มกัน รู้ 3 พระอุดมสทิ ธนิ ายก,ผศ.ดร.,รองคณบดีคณะสงั คมศาสตร์ 6 มกราคม 2564. 4 พระมหาสมปอง ธานสิ สฺ โร, ผศ. อาจารย์ประจำหลกั สูตร มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลยั วทิ ยาเขตนครศรธี รรมราช, 4 กุมภาพนั ธ์ 2564 10

เท่ากันการเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม เป็น ทรัพยากรอันทรงคุณค่า เยาวชนจึงจำเป็นต้องมีความรูแ้ ละศีลธรรม และมี ค่านิยมในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมการเรียนรู้วิถีพุทธ “...จึงมี ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเยาวชนอย่างมีความและใช้ชีวิตด้วยความไม่ ประมาท ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วย ความเรียบร้อย มีความสงบสุข5 “...และการพัฒนาตนด้วยการรักษาศีล 5 เป็นการตามตนหลักพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางทีด่ ีในการประพฤตปิ ฏิบตั ิ ตนใหม้ ที กั ษะในการดำเนินชวี ิต เกง่ ดี มีสขุ สามารถนำหลักธรรมคำสอนที่ ไดร้ บั ไปประยกุ ต์ใชใ้ นชีวติ ประจำวนั คอื การพฒั นากาย โดยการแสดงออก ทางกริยามารยาทของชาวพุทธ มีพฤติกรรมที่ดีงามเหมาะสม6...” การ พัฒนาศีลโดยการอยู่ร่วมกับครอบครวั ชุมชน สังคม และบุคคลอ่ืนได้อยา่ ง มคี วามสุข การพฒั นาจติ ให้เป็นจิตทส่ี มบรู ณ์ มีสขุ ภาพจติ ที่ดี 2. ด้านสมาธิ สังคมไทยเปน็ สังคมแหง่ การทำงาน เป็นสังคมแห่ง ความเร่งรีบ ที่จะต้องแข่งกับเวลา ทุกคนต่างต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนเอง จงึ ทำให้ไมม่ เี วลาท่จี ะแลสขุ ภาพ หรอื การดูแลสขุ ภาพ มคี ่าใชจ้ ่ายสูง สังคม ก็เลยไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ จึงมีแนวทางการดูแล สุขภาพโดยใชใช้การปฏิบัติสมาธิ โดยเฉพาะที่คณะครุศาสตร์ จะมีการ เรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ก่อนทำ การเรียนการสอน ก็จะมีการเจริญสมาธิก่อนทุกครั้ง เปรียบได้กับเป็นการ ให้ยากับจิตใจ เพราะสมาธิจะทำให้สมองปลอดโปร่ง ร่างกายทำงานได้เป็น ปกติ และยังทำให้ เราควบคมุ อารมณ์ไดด้ ีมากข้ึน ลว้ นส่งผลดีตอ่ สขุ ภาพ ผู้ ที่เหนื่อยล้า จากการทำงาน หดหู่ คิดมาก จิตใจฟุ้งซ่าน เคร่งเครียด นอนไม่ 5 รศ.ดร.โกนิฎฐ์ ศรีทอง, 22 กมุ ภาพันธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. 6 พระมหาสุเทพ สปุ ณฺฑิโต,ผศ., 22 กุมภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหา จฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย. 11

หลับ หรือเจ็บป่วย โดยไม่ทราบสาเหตุ การทำสมาธิ มีส่วนช่วยจัดการกับ อาการ หรอื โรคบางชนดิ ได้ ความวิตกกงั วล ภาวะซึมเศรา้ เปน็ ตน้ 3. ด้านปัญญา การพัฒนาทางด้านปัญญา ให้เกิดปัญญาในการรู้ จริง รู้เท่าทันปัจจุบัน และรู้วิธีการป้องกัน รู้วิธีการแก้ไขปัญหา สามารถ สร้างภูมิต้านทานให้กับตนเองด้วยคุณธรรม นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จเพ่ือ เกื้อกูลแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติการเรียนรู้วิถีพุทธต้องมุ้งเน้น ฝึกฝนนักเรียนที่เป็นเยาวชน อันจะเป็นอนาคตของชาติ โดยใช้หลักธรรม สำคัญคือ หลักไตรลักษณ์ เน้นพฤติกรรมการแสดงออกมาผสานให้ กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันกับระบบการศึกษาในปัจจุบันเพื่อให้มี คุณลักษณะท่ีตอ้ งการ “...คุณธรรมพฒั นาเพือ่ ให้เกิดความดงี ามต่อเยาวชน ของชาติที่เป็นเสาหลักสำคัญในอนาคตของประเทศชาติ คือความเป็นวิถี พุทธที่งดงาม เยาวชนต่างเป็นพุทธมามกะนับถือพุทธศาสนามาแต่ กำเนิด7...” หากได้รับการปลูกฝังหน้าที่ความเป็นชาวพุทธอย่างถูกต้อง จะ เกิดความตระหนัก เกดิ ศรัทธาอย่างถูกตอ้ ง นำหลกั ธรรมไปปฏบิ ตั ิและดำเนนิ ชวี ติ ไดอ้ ย่างมคี วามสุข ทุกวันน้ีใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุโดยเฉพาะเทคโนโลยี ซึ่งในแต่ละอย่างมกี ารพฒั นา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อยา่ งสูงสดุ มุ่งเอาชนะ สิ่งต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น จนเกิดปัญหาที่ยากจะ แก้ไข การพัฒนาตนให้อยู่กับโลกปัจจุบันอย่างมีความสุข คือการเรียนรู้ วธิ กี ารต่างๆ มาช่วยสง่ เสริมโดยไม่มีผลย้อนกลับมาเกิดผลร้ายกับตัวเราเอง โดยใช้วิธีการพัฒนาจิต คือการนำเอาหลักพุทธศาสนามาใช้ฝึกเพื่อ เสริมสร้างจิตใจให้พรั่งพร้อมสมบรู ณ์ การมีจิตที่มสี ุขภาพดีมีจิตใจที่เปน็ สขุ สดชื่น ปลอดโปร่ง เบิกบาน สิ่งที่จะช่วยได้คือการฝกึ สติ การอยู่กับปจั จบุ ัน คือ การปล่อยวางในสิง่ ทีเ่ กดิ ขึน้ แล้ว ควบคุมความอยากท่ีไม่มีสิ้นสุดโดยไม่ 7 รศ.ดร.ประพนั ธ์ ศภุ ษร, 16 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลง กรณราช วิทยาลยั . 12

ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะและใช้หลักธรรมเกี่ยวข้องอริยสัจ 4 การฝึก อิริยาบถ เน้นการฝึกโดยการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้ถูกต้องมีมารยาทที่ งดงาม และปลอดภัยด้วยการเจริญสติ บ้านสี่หลัง คือ การนำความรู้ความ เข้าใจตลอดจนสติในพระกรรมฐานมาปฏิบัติตามขั้นตอน ทำให้รู้เท่าทัน ช่วยใหก้ ารปฏิบัติหน้าท่ใี นชวี ติ ประจำวันไม่เกดิ ปญั หา การสวดมนตท์ ำวัตร เป็นบทสวดธรรมนุสติ มีกิจกรรมการเข้าถึงพระรัตนตรัย คือ การน้อมรับ เอาคำสั่งสอนของพระรัตนตรัยเป็นเครอื่ งนำทางชีวิต ภาวนา ทำสมาธิ เพ่อื การพัฒนาจิต การพัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาว่า จิตเป็นรากฐานสำคัญที่ จะแสดงออกในอากัปกิริยาตลอดหน้า ใจ เมื่อได้รับการอบรมย่อมมีสติ ย่อมมีความฉลาดรอบคอบ องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา จะต้อง ประกอบด้วยคำสอนของศาสนา บุคลากรในศาสนา พิธีกรรม สถานที่และ วัตถุสำคัญทางศาสนา มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผนใน การประพฤตปิ ฏบิ ัติ ซ่ึงเป็นแนวปฏิบตั ิท่ที ำให้สมาชิกในสังคมสามารถดำรง อยู่ร่วมกนั ได้อยา่ งดี นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธเป็นการเรียนรู้ ศึกษาโดยนำหลัก พุทธธรรมหรอื องคค์ วามรู้ท่ีเปน็ คำสอนในพระพทุ ธศาสนามาประยุกต์ใช้ใน การจัดการศึกษา ปลูกฝังเพื่อให้เยาวชน ครอบครัว และคนในสังคม ได้ เข้าใจระบบวถิ ชี ีวิตตามธรรมชาติ วิธีการเรียนรู้ส่วนใหญ่นำไปสู่จุดเน้นของ การพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถ กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น คือใช้ปัญญาและเกิด ประโยชน์แท้จริงต่อชีวิต มีสมรรถภาพมีจิตใจที่ตั้งมั่นเข้มแข็งและสงบสุข และปัญญาที่มีความรู้ที่ถูกต้องมีศักยภาพในการคิดการแก้ปัญหาที่ เหมาะสม แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเนื่องจากยังขาดความเข้มแข็งทางสังคม หรอื เครอื ขา่ ยการบริหารเพอื่ ให้ความช่วยหรือแนวทางการบริหาร และการ พัฒนาแนวทางการเรยี นรู้ให้เป็นรูปแบบเดียวทัง้ ประเทศ 4.1.2 แนวทางการสร้างเครือข่าย 13

การสร้างเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่ม องค์กรที่สมัครใจ แลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน มี การจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ มีความ เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกัน และกัน เริ่มที่การสร้างความตระหนัก และการวางแผนร่วมกัน การศึกษา บริบท/จุดเด่น/ข้อจำกัด การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา/ตัดสินใจร่วมกัน การศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง/พัฒนาแนวคิดการจัดการศึกษาตามแนว วถิ ีพุทธ การพัฒนาคณุ ลักษณะบุคลากร การสร้างหลักสตู ร/นวัตกรรม การ ทดลองปฏิบัตกิ ารในสถานการณจ์ ริงและประเมนิ /ปรับปรงุ ซึง่ แนวทางการ สร้างเครือข่าย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ส่งผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงใน ด้านต่างๆ สังเคราะห์ได้ 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ตาม แนววถิ พี ทุ ธ และด้านการเรยี นรแู้ ละการปรบั ตัวของชุมชนทุกระดบั แนวการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ที่จะ ช่วยเสริมสร้าง และส่งเสริม เพื่อปลูกฝังให้เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน มีชีวิตที่ดี เจริญงอกงามมีความสุขแท้จริงและอยู่ร่วมสังคมกันอย่าง สรา้ งสรรคเ์ กอื้ กลู สามารถนำโลกไปในวิถีทถ่ี กู ต้อง/วถิ แี ห่งธรรม 4.1.3 ปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ วถิ ีพทุ ธ พัฒนาชุมชนตามหลักพุทธวิถีเป็นแนวทางในการสร้างวิถีชีวิต และวถิ ีความเป็นอย่ดู ว้ ยความเอือ้ เฟือ้ เผ่ือแผ่ ความเก้อื กูลกันในสงั คม และ การมีผลประโยชนร์ ่วมกัน 1. การสรา้ งคนด้วยการสรา้ งหลักคดิ แลว้ นำไปส่หู ลักการปฏบิ ัติ เพอื่ ใหเ้ กดิ หลกั ความยั่งยนื 2. การพฒั นาทต่ี รงความตอ้ งการของชุมชน 3. การสร้างกระบวนการทำงานรว่ มกันในพ้ืนทช่ี ุมชน 4. องค์ประกอบการเสรมิ สรา้ งเครอื ข่าย 14

การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นพื้นท่ี ส่งเสริมและสนับสนุนเกิดการสร้างนวัตกรรมโดยนำหลักพุทธธรรมมา พัฒนาเยาวชน เกิดความสามารถในการไต่ระดับพัฒนาการทางนวัตกรรม และเกิดการสร้างเครือข่ายนวัตกรรม (Innovation Network) เพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมระหว่างชุมชน สถาบันการศึกษา ผู้นำ ชุมชน มีการจัดกิจกรรมตา่ งๆ เพ่ือสร้างความสามารถดา้ นนวตั กรรม ดงั นี้ 1. การสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมวิถีพุทธ เป็นการ เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้วิถี พุทธ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและมีความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรม เช่น นวัตกรรมวิถีพุทธคืออะไร รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์และแนว ทางการพัฒนานวัตกรรมจากปราชญ์ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในการสร้าง อาชพี 2. การอบรมด้านนวัตกรรม เป็นการอบรมให้ความรู้เชิงลึกใน ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพุทธเกษตร การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า โดยจัดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งสถาบันการศึกษา และหน่วยงานใน ชุมชน เชน่ การออกแบบสินคา้ นวตั กรรม การตลาดนวตั กรรม 3. การเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม เป็นการให้บริการท่ี ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักภาพของผู้ประกอบการนวัตกรรมให้ สามารถแขง่ ขันได้ในตลาด 4. การส่งเสริมการลงทุนด้านนวัตกรรม เป็นการส่งเสริม ศกั ยภาพของผปู้ ระกอบการนวัตกรรมใหส้ ามารถขยายการลงทุนและขอรับ การสนบั สนนุ จากแหล่งทุนตา่ งๆ การนำเสนอโมเดลการขับเคลือ่ นพ้ืนท่ีนวตั กรรมแก่คณะครู และ ผู้บริหาร 6 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนเชียงรากน้อย วังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 2) โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์ วังน้อย จังหวัด 15

พระนครศรีอยธุ ยา 3) โรงเรยี นสามโกว้ ทิ ยาคม จงั หวดั อ่างทอง 4) โรงเรียน กุศลศึกษาวัดชัยพฤกษ์มาลา กรุงเทพมหานคร 5) โรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ 6) โรงเรียนวัดพิรุณศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ประกอบดว้ ย ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยต้นทาง เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษาของชุมชน ได้แก่ ปัจจัยด้านบริบทชุมชน สถานการณ์ ปัญหาทเ่ี กี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา และความตอ้ งการของชมุ ชน 1. ปัจจัยบริบทชุมชน ทั้ง 6 โรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน แต่ ละโรงเรยี นมสี ภาพบรบิ ทท่สี ่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมของผู้เรียน แต่ในขณะเดียวกันคุณลักษณะหลายประการของโรงเรยี นก็ยังมีศักยภาพที่ เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมของผู้เรียนอยู่อีกมาก แต่ยังขาดกระบวนการ นำมาใช้ในการพัฒนาทางการศกึ ษา8 2. ปัจจัยสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา สถานการณ์ปัญหาในมุมมองของโรงเรียนเป็นปัญหาคุณธรรมด้านวินัย ส่วนโรงเรียน เป็นปัญหาการล่วงละเมิดทางศีลธรรม และโรงเรียนมองว่า เป็นปัญหาการแสดงออกทางกายวาจาใจไม่เหมาะสม9 โดยภาพรวมแล้ว สภาพปัญหาเกี่ยวข้องกับวิถีการประพฤติปฏิบัติของครอบครัว วัด โรงเรียน/ครูและชมุ ชนรวมท้ังตัวนกั เรียนเองด้วย10 3. ปัจจัยความต้องการของโรงเรียน โรงเรียนต้องการให้มีการ ปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธเพื่อพัฒนาคุณธรรมนักเรียนให้มี คุณลักษณะที่พึงประสงค์คือเป็นผู้ครองตนอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม และ 8 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรียน โรงเรยี นกุศลศกึ ษาวดั ชยั พฤกษ์มาลา กรงุ เทพมหานคร 9 คณะครู และผู้บริหารโรงเรยี น โรงเรยี นวเิ ชียรกล่ินสคุ นธ์ วังน้อย จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา 10 คณะครู และผูบ้ ริหารโรงเรยี น โรงเรียนวัดพิรุณศาสตร์ จังหวดั ปทมุ ธานี 16

รกั ชาตศิ าสนา พระมหากษัตรยิ ์ด้วยการส่งเสริมใหเ้ รยี นรูว้ ัฒนธรรมวิถีพทุ ธ โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง ด้านความมีเมตตากรุณา การมี สัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และความเป็นผู้มีสัมมาทิฎฐิ และโรงเรียนต้องการ พัฒนาคุณธรรมให้นักเรียนเป็นผู้ที่ประพฤติดีประพฤติชอบด้วยกายวาจา ใจ11 ปัจจัยที่ 2 ปัจจัยเกื้อหนุน แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของ ชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดย ปัจจยั ภายในทำหนา้ ท่ีเปน็ ปจั จยั หลกั ในการพัฒนา ส่วนปจั จยั ภายนอกเป็น ปจั จัยเสริมใหช้ มุ ชนเกดิ ความมน่ั ใจในศักยภาพของตนเอง ดังน้ี 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นท่ี ชุมชนนำมาพัฒนาแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ประมวลได้ดังนี้คือ ปัจจัย แนวคิดและองค์ความรู้ในการจัดการศึกษา ปัจจัยแนวทางการพัฒนาแบบ องค์รวม ปัจจัยการบริหารจัดการและการวางแผนงานเชิงระบบ ปัจจัย ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด ปัจจัยทุนเดิม/ประสบการณ์วิชาชีพครู ปัจจัยองค์ความรู้หลักธรรมวิถีพุทธทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติปัจจัย ทุน วัฒนธรรม/ภูมิปัญญา/องค์ความรู้ท้องถิ่น/ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ปัจจัยคุณลักษณะบุคลากรทางการศึกษาและแกนนำชุมชน และปัจจัย สถาบันพุทธศาสนา/องค์กรสงฆ์ท้องถิ่น/สื่อบุคคลวิถีพุทธ ซึ่งถือว่าเป็น ปัจจัยแกนหลกั ในการสนบั สนนุ พลังการเรยี นรูว้ ถิ พี ุทธ 2. ปัจจยั ภายนอก ได้แก่ ปจั จยั นโยบายการปฏริ ูปการศกึ ษาของ รัฐ ปัจจัยแหล่งเรียนรู้ต้นแบบปัจจัยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายฆราวาสจาก สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ปัจจัยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายบรรพชิต ปัจจัย แนวคิดและองค์ความรู้ปัจจยั แหล่งสนบั สนนุ ทุนและแนวทางการวจิ ัย 4.1.4 องค์ประกอบเครือขา่ ยพน้ื ทนี่ วัตกรรมการเรียนรู้วิถพี ทุ ธ 11 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรยี น โรงเรียนพัฒนานคิ ม จงั หวัดลพบุรี 17

องค์ประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย มีการรับรู้และมุมมอง ท่ีเหมอื นกัน การมีวสิ ัยทัศนร์ ่วมกัน มคี วามสนใจหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในเครือข่าย มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน มีการ เกื้อหนุนพึ่งพากัน และมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยน ซึ่งตามหลักทาง พระพุทธศาสนา องค์ประกอบของเครอื ขา่ ย ประกอบด้วย 1. องคป์ ระกอบภายนอกทีด่ ี ได้แก่ มกี ลั ยาณมติ ร หมายถงึ รจู้ ัก หาผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อน หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทาง สังคมโดยทั่วไปที่ดี ที่เกื้อกูล ซึ่งจะชักจูง หรือกระตุ้นให้เกิดปัญญาได้ด้วย การฟัง การสนทนา ปรึกษา ซักถาม การอ่าน การค้นคว้า ตลอดจนการ รจู้ ักเลอื กใช้สือ่ มวลชนใหเ้ ป็นประโยชน์ 2. องค์ประกอบภายในที่ดี ได้แก่ โยนิโสมนสิการ หมายถึง การ ใช้ความคิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น คือ มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิด พิจารณา สืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออกให้เห็น ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย จนเข้าถึงความจริง และ แกป้ ัญหาหรือทำประโยชนใ์ ห้เกิดข้ึนได้12 กัลยาณมิตร เป็นปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้ปัจจัยภายในของ บุคคลทำงานปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการทำงาน คือ โยนิโส มนสิการ แปลว่า การทำในโดยแยบคาย คือ การู้จักคิดเป็นที่จริงมี 6 ประการ แต่ทเ่ี นน้ มากท่ีสดุ กค็ ือ “กัลยาณมิตร” กัลยาณมติ รชว่ ยกระตุ้นให้ เกิดโยนิโสมนสิการ เมื่อคนเรารู้จักคิดแล้ว ก็ทำให้เกิดปัญญาที่สามารถ แก้ไขปัญหาได้จริง ขั้นแรกเลยทำให้เกิดสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นข้อธรรมแรกของ ระบบ การดำเนินชีวิตที่ดีงามเรียกว่า “มรรค 8” เมื่อกัลยาณมิตรกระตุ้น ให้เกิดสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูกต้องแล้วก็จะนำไปสู่การกระทำที่ถูกต้อง ด้วย การปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่แรกจึงนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ เมื่อ 12 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรยี น โรงเรียนวิเชยี รกล่นิ สุคนธ์ วังน้อย จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา 18

กัลยาณมิตร สามารถกระตุ้นให้เกิดปัจจัยภายในแล้ว หน้าที่ของ กัลยาณมิตรจะทำอย่างไรต่อไป การดำเนนิ การของเครอื ขา่ ยการเรียนรู้วถิ พี ทุ ธ ควรตอ้ งพจิ ารณา องค์ประกอบที่มีสว่ นสัมพนั ธเ์ ก่ยี วข้องต่างๆ ดงั น้ี 1. วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตวั กันของบุคลากรในเครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธ ควรมีวิสัยทัศน์ที่เป็น เป้าหมายในอนาคตร่วมกัน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติภารกิจเพ่ือ ตอบสนองความต้องการหรอื การแก้ปัญหาได้ 2. สมาชิก เครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธในแต่ละเครือข่าย ถือ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่ายและมีความสำคัญเท่าเทียมกัน มี ความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการเครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธของตน บุคลากรสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้เป้าหมายในการพัฒนาการศึกษา ร่วมกนั เพอ่ื ใหก้ ารดำเนินงานของเครือขา่ ยเปน็ ไปอย่างเป็นระบบ 3. ผู้ประสานงานและกรรมการ เป็นคณะบุคคลที่คัดเลือกจาก สมาชิกเครือข่าย มีการผลัดเปลี่ยนทำหน้าที่ดำเนินงานของเครือข่าย ขับเคลื่อนไปด้วยการรวมพลังของสมาชิก โดยที่กรรมการร่วมเป็น คณะกรรมการการบริหารเครอื ข่าย 4. กิจกรรมการจัดกิจกรรมของเครือข่ายการเรียนรู้วิถีพทุ ธ ต้อง เป็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในเครอื ข่าย อาจเป็นกิจกรรมท่ี สมาชิกมีความสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ กิจกรรมจากการมีส่วนร่วม ตัดสินใจ ร่วมดำเนินการและร่วมทรัพยากรของสมาชิกด้วยกันเอง เกิด ความรว่ มมือกนั ภายในเครอื ข่ายถือเปน็ การสร้างความเข้มแขง็ แกเ่ ครือขา่ ย 5. ทรัพยากร เพื่อการดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพเครือข่าย การเรียนรู้วิถีพุทธ ต้องมีทรัพยากรต่างๆ ได้แก่งบประมาณ ความตั้งใจ การเสียสละ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร/ประสบการณ์วัสดุครุภัณฑ์เทคโนโลยีที่ 19

สามารถใช้ร่วมกันในเครือข่ายถือเป็นการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มคุณค่า ใหก้ ับเครือข่ายได้ดี13 4.1.5 ประโยชนข์ องเครือข่ายของการเรียนรู้วิถีพทุ ธ วิถีพุทธ หมายถึง วิถีวัฒนธรรมของชาวไทยส่วนใหญ่ หลักคำ สอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นเอกลักษณ์ที่ทั่วโลกตระหนัก และให้ การยอมรับพุทธธรรมเป็นความรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของ โลกและชีวิตที่แท้จริง14 และฝึกฝนให้ศาสนิกชนสามารถดำเนินชีวิตได้ อยา่ งถกู ตอ้ งและเหมาะสม15 ต้งั แต่ระดบั การดำเนนิ ชวี ิตของคนท่ัวไปในคือ การกิน การอยู่ การดู การฟังจนถึงระดับการดำเนินชวี ิตของนักบวช ผู้มุ่งมี ชีวิตที่บริสุทธิ์และในทุกระดับยงั ผลให้ศาสนิกชนมีความสุขพร้อมๆ กับช่วย ให้คนรอบข้างและสังคมมีความสุขพร้อมกันไป ในปัจจุบันวิทยาการ เทคโนโลยีและการสื่อสารเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนทั่วไปก่อให้เกิดความสับสนในการรับและ เลือกใช้ค่านิยม ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่อำนวยความ สะดวกในการดำเนินชีวิตและการสื่อสารในสังคมเท่านั้น แต่ยังเข้ามามี บทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มุมมอง วิธีคิด ทัศนคติค่านิยมทาง สังคม และวัฒนธรรมของผู้ใช้อีกด้วย16 ทำให้เด็กในยุคดิจิทัลจึงมีมุมมอง ความคิดที่แตกต่างออกกันไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธ ศาสนาเป็นความพยายามในการผสมผสานเอาหลักธรรมของ พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับวิชาสมัยใหม่17 ก่อให้เกิดการบูรณาการ หรือผสมผสานด้วยการพยายาม ในการที่จะใช้หลักไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับ 13 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรยี น โรงเรยี นพัฒนานิคม จงั หวัดลพบรุ ี 14 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรยี น โรงเรียนเชยี งรากน้อย วงั น้อย จงั หวัดพระนครศรอี ยธุ ยา 15 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรยี น โรงเรยี นสามโกว้ ทิ ยาคม จังหวดั อา่ งทอง 16 คณะครู และผูบ้ ริหารโรงเรียน โรงเรียนกศุ ลศึกษาวัดชัยพฤกษม์ าลา กรงุ เทพมหานคร 17 คณะครู และผบู้ ริหารโรงเรียน โรงเรียนวดั พิรณุ ศาสตร์ จงั หวดั ปทุมธานี 20

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนหล่อหลอมให้เกิดเป็นการพัฒนาทรัพยากร มนษุ ย์ด้วยพทุ ธบูรณาการเพอ่ื เป็นคนดีคนเก่งในศตวรรษที่ 21 เครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธ ก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้น บ้าน วัด โรงเรียนของเครือข่ายจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีความก้าวหน้าในอนาคต ทงั้ น้ีประโยชน์ท่เี กดิ กับเครือขา่ ยการเรียนรู้วถิ ีพทุ ธ ไดแ้ ก่ 1. เป็นการยกระดับคุณภาพของเครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธสู่ เปา้ หมายการปฏริ ูปการเรียนรู้ 2. เป็นการเชื่อมโยงบุคลากรจากส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งหมด วิธีการทำงาน ประสบการณ์ให้มีโอกาสทำงานร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความ เข้าใจกับผลงานท่ีมปี ระสทิ ธิภาพ 3. เป็นการสร้างความเชี่ยวชาญให้แก่สมาชิก โดยการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านต่างๆ ของโรงเรียนวิถีพุทธ ทั้งด้านการจัดการเรียน การสอน ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านทักษะประสบการณ์ เครือ่ งมอื แก่กัน และอีกหลายประการ 4. เป็นการรวมทรัพยากรเข้าด้วยกัน เพื่อการบรรลุผล ซึ่งไม่ ประสบความสำเร็จหากตา่ งคนตา่ งทำ 5. เป็นการแบ่งปันความคิดและปัญหา ทำให้ร่วมกันแก้ปัญหา เพอื่ ผลประโยชนร์ ่วมกนั การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขามา บูรณาการประยุกต์ใช้ในการบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนในภาพรวม โดย เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม แสวงหาปญั ญา และมีเมตตาเพอื่ มงุ่ เน้นพัฒนาผ้เู รยี น การนำวถิ พี ุทธสอนผา่ นวถิ ชี ีวิตประจำวนั และนวัตกรรมการสอน กิจกรรม เรียนรู้ผ่านการสัมผัส การคิด และการสร้างชิ้นงานออกมาอย่าง เป็นรูปธรรม ได้ฝึกทักษะการคิด การสังเกต การมีสมาธิจดจ่อ และทักษะ 21

การทำงานร่วมกับผู้อื่นจนสามารถประยุกตเกิดการสร้างชิ้นงานใหม่ขึ้นมา ไดใ้ นท่ีสุด จากการศึกษาเอกสาร การททวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์ เชงิ สนทนากลุม่ คณะครู และผ้บู รหิ าร 6 โรงเรียน พบว่า แนวทางการสร้าง เครือข่ายพ้นื ทีน่ วตั กรรมการเรยี นรวู้ ิถีพทุ ธ ประกอบดว้ ย ตารางที่ 1 หลักการสร้างเครือข่ายและพืน้ ทน่ี วัตกรรมการเรียนรูว้ ถิ พี ุทธ หลกั การ วิธดี ำเนินการ ความรู้ ความเข้าใจ การนำหลักไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ และ และการนำหลักวิถี ปัญญา มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากร พทุ ธไปใช้ มนุษย์จนหล่อหลอมให้เกิดเป็นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ด้วยพุทธบูรณาการเพื่อเป็นคนดี คนเก่งในศตวรรษที่ 21 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายพื้นที่ สร้างเครือข่ายพื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ได้แก่ ปัจจัยด้าน นวัตกรรมการเรียนรู้ บริบทชุมชน สถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ วถิ พี ุทธ การปฏิรูปการศึกษา และความต้องการของ ชุมชน ปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ ไดแ้ ก่ 1. ปัจจัยภายใน คือแนวคิดและองค์ความรู้ใน สร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ปัจจัยแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวม ปัจจัย การบริหารจัดการและการวางแผนงานเชิงระบบ ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ปจั จัยองคค์ วามรหู้ ลกั ธรรมวถิ ีพุทธท้งั ภาคทฤษฏี 22

หลกั การ วิธดี ำเนนิ การ และปฏิบัติปัจจัยทุนวัฒนธรรม/ภูมิปัญญา/องค์ ความรู้ท้องถิ่น/ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ปัจจัยคุณลักษณะบุคลากรและแกนนำชุมชน และปัจจัยสถาบันพุทธศาสนา/องค์กรสงฆ์ ท้องถิ่น/สื่อบุคคลวิถีพุทธ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัย แกนหลักในการสนบั สนุนพลงั การเรยี นรวู้ ถิ พี ทุ ธ 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษาของรัฐ ปัจจัยแหล่งเรียนรู้ ต้นแบบปัจจัยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายฆราวาสจาก สถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ปัจจัยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายบรรพชิต ปัจจัยแนวคิดและองค์ ความรปู้ จั จยั แหลง่ สนบั สนนุ ทุนและแนวทางการ วิจยั อ ง ค ์ ป ร ะ ก อ บ การรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน การมี เ ค ร ื อ ข ่ า ย พ ื ้ น ท่ี วิสัยทัศน์ร่วมกัน มีความสนใจหรือมี นวัตกรรมการเรียนรู้ ผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิก วิถพี ทุ ธ ในเครอื ข่าย มีการเสรมิ สรา้ งซึง่ กนั และกนั มีการ เกื้อหนุนพึ่งพากัน และมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิง แลกเปลย่ี น อ ง ค ์ ป ร ะ ก อ บ องคป์ ระกอบภายนอกทีด่ ี ได้แก่ มีกลั ยาณมติ ร เ ค ร ื อ ข ่ า ย พ ื ้ น ท่ี องค์ประกอบภายในท่ดี ี ไดแ้ ก่ โยนโิ สมนสิการ นวัตกรรมการเรียนรู้ ว ิ ถ ี พ ุ ท ธ ต า ม ห ลั ก พระพุทธศาสนา 23

หลักการ วธิ ดี ำเนนิ การ องค์ประกอบการ 1. วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ถือเป็น ด ำ เ น ิ น ก า ร ข อ ง จุดเริ่มต้นของการรวมตัวกันของบุคลากรใน เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธ ควรมีวิสัยทัศน์ที่เป็น วถิ ีพทุ ธ เป้าหมายในอนาคตร่วมกัน สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการหรือ การแกป้ ญั หาได้ 2. สมาชิก เครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธในแต่ ละเครือข่าย ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ เครือข่ายและมีความสำคัญเท่าเทียมกัน มีความ เป็นเอกภาพในการบริหารจัดการเครือข่ายการ เรียนรู้วิถีพุทธของตนบุคลากรสมัครใจเข้าร่วม กิจกรรม ภายใต้เป้าหมายในการพัฒนา การศึกษาร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานของ เครอื ข่ายเป็นไปอยา่ งเปน็ ระบบ 3. ผู้ประสานงานและกรรมการ เป็นคณะ บุคคลที่คัดเลือกจากสมาชิกเครือข่าย มีการ ผลัดเปลี่ยนทำหน้าที่ดำเนินงานของเครือข่าย ขับเคลื่อนไปด้วยการรวมพลังของสมาชิก โดยที่ กรรมการร่วมเป็นคณะกรรมการการบริหาร เครือข่าย 4. การจัดกิจกรรมของเครือข่ายการเรียนรู้วิถี พุทธ ต้องเป็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อ สมาชิกในเครือข่าย อาจเป็นกิจกรรมที่สมาชิกมี ความสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ กิจกรรมจากการ มีส่วนร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการและร่วม 24

หลักการ วิธีดำเนนิ การ ทรัพยากรของสมาชิกด้วยกันเอง เกิดความ รว่ มมือกันภายในเครือขา่ ยถอื เป็นการสร้างความ เขม้ แข็งแก่เครือข่าย 5. ทรัพยากร เพื่อการดำเนินการให้เกิด ประสิทธิภาพเครือข่ายการเรียนรู้วิถีพุทธ ต้องมี ทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ ความตั้งใจ การเสียสละ รวมทั้งขอ้ มูลข่าวสาร/ประสบการณ์ วัสดุครุภัณฑ์เทคโนโลยีที่สามารถใช้ร่วมกันใน เครือข่ายถือเป็นการพึ่งพาตนเอง และเพิ่ม คุณคา่ ใหก้ บั เครือข่ายไดด้ ี ป ร ะ โ ย ช น ์ ข อ ง 1. เป็นการยกระดับคุณภาพของเครือข่ายการ เครือข่ายของการ เรยี นรูว้ ถิ ีพุทธสเู่ ปา้ หมายการปฏิรปู การเรยี นรู้ เรียนรวู้ ิถพี ทุ ธ 2. เป็นการเชื่อมโยงบุคลากรจากส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งหมดวิธีการทำงาน ประสบการณ์ ให้มีโอกาสทำงานร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความ เข้าใจกับผลงานทม่ี ีประสิทธิภาพ 3. เป็นการสร้างความเชี่ยวชาญให้แก่สมาชิก โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านต่างๆ ทั้งด้านการ จัดการเรียนการสอน ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้าน ประชาสัมพันธ์ ด้านทักษะประสบการณ์ เครอ่ื งมอื แก่กัน 4. เป็นการรวมทรัพยากรเข้าด้วยกัน เพื่อการ บรรลุผล ซง่ึ จะไม่ประสบความสำเร็จหากต่างคน ต่างทำ 25

หลกั การ วิธดี ำเนนิ การ 5. เป็นการแบ่งปันความคิดและปัญหา ทำให้ ร่วมกนั แก้ปัญหาเพ่ือผลประโยชนร์ ว่ มกนั แนวทางการสร้าง เป็นการเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่ม เครอื ข่าย องค์กรที่สมัครใจ แลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดระเบียบ โครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็น อิสระ มีความเท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของ ความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและ กัน เริ่มที่การสร้างความตระหนัก และการ วางแผนรว่ มกัน การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ วิถีพุทธ จะช่วยเสริมสร้าง และส่งเสริม เพ่ือ ปลูกฝังให้เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชนมีชีวติ ที่ดี เจริญงอกงามมีความสุขแท้จริงและอยู่ร่วม สังคมกันอย่างสร้างสรรค์เกื้อกูล สามารถนำโลก ไปในวถิ ที ่ถี ูกต้อง/วถิ แี ห่งธรรม ก า ร จ ั ด ก ิ จ ก ร ร ม 1. การสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมวิถี ต่างๆ เพื่อสร้าง พุทธ เป็นการเผยแพร่ความรูเ้ บื้องต้นที่เกี่ยวข้อง ความสามารถด้าน กับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ นวัตกรรม เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและมีความเข้าใจ เกี่ยวกับนวัตกรรม เช่น นวัตกรรมวิถีพุทธคือ อะไร รวมถึงการถ่ายทอดประสบการณ์และแนว ทางการพัฒนานวัตกรรมจากปราชญ์ชุมชนท่ี ประสบผลสำเร็จ ในการสร้างอาชพี 26

หลกั การ วิธดี ำเนินการ 2. การอบรมด้านนวัตกรรม เป็นการอบรมให้ ความรู้เชิงลึกในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาพุทธเกษตร การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า โดย จัดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งสถาบันการศึกษา และหน่วยงานในชุมชน เช่น การออกแบบสินคา้ นวตั กรรม การตลาดนวตั กรรม 3. การเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม เป็น การให้บริการที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพ่ือ เสริมสร้างศักภาพของผู้ประกอบการนวัตกรรม ใหส้ ามารถแขง่ ขันได้ในตลาด 4. การส่งเสริมการลงทุนด้านนวัตกรรม เป็น การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ นวัตกรรมให้สามารถขยายการลงทุนและขอรับ การสนบั สนุนจากแหล่งทุนต่างๆ ปัจจัยการเสริมสร้าง 1) การสร้างคนด้วยการสร้างหลักคิด แล้ว เ ค ร ื อ ข ่ า ย พ ื ้ น ท่ี นำไปสู่หลักการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดหลักความ นวัตกรรมการเรียนรู้ ยงั่ ยืน วถิ พี ทุ ธ 2) การพฒั นาที่ตรงความตอ้ งการของชุมชน 3) การสร้างกระบวนการทำงานร่วมกันใน พนื้ ทช่ี ุมชน 4) องค์ประกอบการเสริมสรา้ งเครือข่าย 27

ตัวอย่างภาพกิจกรรม การสรา้ งเครอื ขา่ ยและเขา้ พบผบู้ รหิ ารโรงเรียนตา่ ง ๆ 28

29

30

31

รูปแบบเครือข่ายพนื้ ท่นี วตั กรรม การเรียนรวู้ ิถพี ทุ ธ 32

การสร้างรูปแบบเครือขา่ ยพน้ื ทนี่ วตั กรรมการเรยี นร้วู ถิ ีพุทธ พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการศึกษาที่เรียกว่าการศึกษา ตลอดชีวิต กล่าวคือ คนทุกคนที่เกิดมาต้องได้รับการพัฒนาโดยวิธีการใด วิธีการหนึ่งเสมอ ทั้งจากพ่อแม่ ครู เพื่อน และสถาบันต่างๆ จนเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ คุณวุฒิ คุณธรรม ในทางพระพุทธศาสนามองว่า คนเกิด มาต้องศึกษาอบรม ฝึกฝน จึงจะเป็นผู้เจริญได้ (ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ) คำ ว่า การศึกษา ในที่นี่ก็คือการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา เพอ่ื ให้บรรลุจดุ มุ่งหมายสูงสุดคือนิพพาน ผู้ท่ียงั ไมบ่ รรลุทงั้ ในชาติน้ี และชาติหน้า เรียกว่า เสขบุคคล ยังต้องศึกษาและพัฒนาตนอยู่รำ่ ไปสว่ นผู้ ที่บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดแล้ว เรียกว่า อเสขบุคคล ไม่ต้องศึกษาอีก ดังน้ัน การจัดการศึกษาตามแนววิถีพุทธ ก็คือการศึกษาตลอดชีวิตนั้นเอง อันนี้ เป็นหลกั การใหญ่ ส่วนทีน่ ำมากลา่ วเป็นการศึกษาภาพรวมถึงวิธกี ารจัดการ เรียนการสอน หลักการสอนตามหลักพุทธศาสนา สื่อการเรียนรู้ตามแนว พุทธ หลักคุณธรรมสำหรับผู้บริหาร บทบาทครูต่อการจัดการเรียนรู้ และ บทบาทนักเรียนต่อการเรียนการสอน เป็นแนวทางให้ผู้ศึกษาน ามาบูรณา การกับการจัดการศึกษา และมงุ่ พัฒนาผเู้ รียนตามเปา้ หมายทตี่ ัง้ ไว้ต่อไปได้ การพัฒนาเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ถือเป็น ขบวนการพัฒนารูปแบบสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรม ภายใต้โครงสร้าง และทิศทางการบริหาร และการปฏิบัติงาน เริ่มจากการมีผู้นำเครือข่าย ซึ่ง ผู้นำเครือข่ายนี้อาจเป็นทั้งปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล อาจเป็นคนใน ท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ โดยที่ผู้นำเครือข่ายจะเป็นผู้ กำหนดประเด็นที่ตนเองสนใจ เป็นผู้จุดประกายให้คนอื่นเริ่มรับรู้ในปัญหา ร่วมกัน ช่วยผลักดันให้การดำเนินการที่สามารถพัฒนาประเด็นการทำงาน และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายได้อย่างถูกวิธีและไม่ถูกครอบงำจาก อำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทำให้เสียรูปแบบการบริหารและพัฒนา 33

วิเคราะห์รูปแบบพื้นฐานของแนวทางการดำเนินการพัฒนา ซึ่งเป็นข้อมูล สำคัญที่สะท้อนให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการพัฒนาองค์การ บริหารงานและการปฏิบัติงานเพื่อสังคมบนพื้นฐานของหลักการ พระพุทธศาสนา กิน อยู่ พูดเป็น ได้ประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการ การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบรบิ ททางวัฒนธรรมของโรงเรียนวถิ พี ทุ ธ ทั้งนี้ สามารถสรุปแนวทางการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรม การเรยี นรู้วถิ พี ทุ ธ ได้ 4 มติ สิ ำคัญ ดงั นี้ 1. จดั กิจกรรมพื้นฐานชีวติ กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต เครือข่ายจัดกิจกรรมวิถีชีวิตประจำวัน ท่เี ปน็ การปฏบิ ตั บิ ูรณาการท้ัง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยเน้นการ มีวิถีชีวิต เรยี บง่าย หรอื วัฒนธรรมของ “การกิน อยู่ ดู ฟงั เปน็ ” ดว้ ยสติสัมปชญั ญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดำเนินตามพื้นฐานชีวิต เป็นกิจกรรมบน พื้นฐานการใช้ชีวิตประจำวันในสังคม ได้เรียนรู้และพัฒนาชีวิตโดยผ่าน กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา หรือการใช้ปัญญาเป็นฐานใน การดำรงชีวิต และมีเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาเขา้ ใจ ชีวิตแท้จริงสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และฝึกอบรมผู้เรียนให้รู้จักวางแผนชีวิตอยู่บนพื้นฐานตามกรอบ ของศีล สมาธิ ปัญญาเป็นสำคัญให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่เกดิ ขน้ึ ในชีวิตและสังคม และส่งเสริมทำกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ เป้าหมายและการขยายกิจกรรมบนพื้นฐานชีวิต มีความจำเป็นที่ผู้บริหาร ต้องระดมการมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดทิศทางการทำกิจกรรมที่จะระดม สมาชกิ ใหร้ ่วมกันทำกจิ กรรมตอ่ ไป 2. มติ เิ ครือขา่ ยการทำงาน เครือข่ายการทำงานที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน จะมีการพัฒนาเครือข่ายการทำงานเพื่อเข้ามาร่วมส่งเสริมศักยภาพการ 34

ทำงานเชิงประเด็นและระดับพื้นที่การทำงานร่วมกันจนเกิดเป็นเครือข่าย การทำงาน เนื่องจากการสร้างเครือข่ายการทำงานถือเป็นหนึ่งใน องค์ประกอบที่จะสร้างให้เกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนแนวทางการ พัฒนารูปแบบเครือข่ายการทำงาน การประสานความร่วมมือกับเครือข่าย โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้สร้างให้การทำงานอย่างเป็นระบบและมี เครือข่ายแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพของเครือข่ายและ ประสิทธิภาพการทำงานและยังเป็นการยกระดับศักยภาพการทำงาน ทั้ง มิติการสนับสนุน งบประมาณ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การ พัฒนาองค์ความรู้บุคลากร ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนการ ดำเนินกิจกรรม การพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่และหน่อยงานภาคเอกชน เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญ ที่จะ สนับสนุนให้เครือข่ายการทำงาน สามารถผลักดันประเด็นการทำงานให้ บรรลุผลสำเร็จได้ และการยึดมั่นแนวทางหรือหลักการจิตอาสาร่วม กิจกรรมและขยายเครือข่ายการทำงานจะเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่ช่วยให้ เครือข่ายกิจกรรมยังคงประสานความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรี ยนรู้กับ เครอื ข่ายอน่ื ๆ ได้ และยังสามารถทำงานรว่ มกนั ได้ 3. มติ ิกลมุ่ เป้าหมายสร้างเครือข่ายการทำงานร่วม มิติเป้าหมายการเพื่อดำเนินการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วม โดย ดำเนินการกิจกรรมวิถีพุทธทั้งสามกิจกรรมคือ 1) กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียง 2) กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ และ 3) กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ ซึ่งทาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินเนินกิจกรรมและ พฒั นาให้เปน็ ขบวนการเรียนร้ทู ่ียง่ั ยืน จะใชห้ ลกั การส่วนรว่ มสรา้ งเครือข่ายหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา มีกลุ่มเป้าหมายของ คือโรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ และ เครือข่ายชุมชน เพื่อนำกิจกรรมดังกลา่ วนำสูก่ ารปฏิบตั ิ เพื่อการแกไ้ ขปญั หาให้กบั ทุก คนอย่างเสมอภาค รวมทั้งคำนึงถึงหลักการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุขเสมอการดำเนิน 35

กิจกรรมที่มีประสิทธิภาพของขบวนการจึงถูกสะท้อน กรอบแนวคิดสำคัญมิติ เป้าหมายการเพือ่ ดำเนินการสรา้ งเครอื ข่ายการทำงานร่วมยดึ ถือปฏิบัตริ ่วมกนั 4. สรา้ งเครือขา่ ยพทุ ธนวตั กรรม คำวา่ พุทธนวัตกรรมหมายถึง การนำพระธรรมมาเพอ่ื พัฒนาวิถี ชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยสัมพันธ์กับการศึกษา เพราะสถาบันการศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่ให้การศึกษา ทางโลกทางธรรม เนื่องจากมหาวิทยาลัย ไม่ได้ให้แค่การศึกษาอย่างเดียว แต่ให้ทั้งบรรยากาศ วิธีการใช้ชีวิต นอกจากนี้การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืนต้องให้การศึกษาในหลายๆ ทาง ต้องเป็นการศึกษาที่ทำให้คนรูจ้ กั คิด กิน อยู่ พูดเป็นตามหลักโยนิโสมนกิ าร มีเหตุผล ย่อมสามารถเขา้ ถึงต้นเหตุ ของปัญหาได้ เพราะสถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศของการใฝ่เรียนรู้และ พัฒนาไตรสิกขา หรือส่งเสริมการมีวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมี ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน มีบรรยากาศของการเคารพอ่อนน้อม ถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีความเมตตา กรุณาต่อกัน ทั้งครูต่อ นักเรียน นักเรียนต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อครูด้วยกัน และสถานศึกษา ส่งเสรมิ ให้ บุคลากรและนักเรียนปฏิบตั ติ นเปน็ ตัวอย่างทดี่ แี ก่ผ้อู ่นื บรรยากาศพุทธนวัตกรรมเกดิ ข้นึ จากการปฏสิ ัมพนั ธ์ เอ้อื อาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกันส่ง เสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวง ปัญญา สร้างความตระหนักและศรัทธา รวมทั้งเสริมสร้างปญั ญาเข้าใจใน หลักการและวิธีดําเนินการร่วมกัน ผู้เกี่ยวขอ้ งทุกฝา่ ยโดยเฉพาะอย่างยิ่งครู และผู้บริหารเพียรพยายาม สนับสนุนโดยลักษณะต่างๆ และการปฏิบัติ ตนเอง สถานศกึ ษาวเิ คราะหจ์ ดั จดุ เน้นหรือรปู แบบรายละเอยี ดสง่ เสริมการ จัดกิจกรรมวิถีพุทธตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา จะมี จุดเน้นและรายละเอียด รูปแบบ ที่แตกต่างกันได้ บางสถานศึกษาเน้น ประยุกต์ในระดับกิจกรรมวิถีชีวิตประจําวัน สอดคล้องกับคณะครุศาสตร์ 36

กำลังดำเนินการ ภาพอันงดงามของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิถีพุทธเป็น ภาพที่สะท้อนถึงการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการเรียน การสอนและส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักไตรสิกขามาใช้ในการพัฒนา ผู้เรียน และแสดงถึง ความพยายามนําหลักพุทธธรรมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการ “สร้าง เครือข่ายพุทธนวัตกรรม” สามารถปรับเปลี่ยนพฤตกรรมที่พึงประสงค์ให้ เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เกิดขึ้นจากการจัดการ เรยี นรจู้ ากกจิ กรรมการพฒั นาการทงั้ 4 ดา้ นคอื 1. เครือข่ายด้านสังคม ได้ฝึกฝนมารยาทไทย การอยู่ ร่วมกัน การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น การเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ กล่าว ขอบคุณ และกล่าวคำว่าขอโทษ การกราบผู้ใหญ่ การแบ่งปันและ ความ อดทนตา่ งๆ 2. เครือข่ายด้านใจ การฝึกฝนจิตใจ ให้มีความอ้อนนอม ถ่อมตน โดยการสมาธิ แผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายตลอดถึงเจ้ากรรม นายเวร ปฏิบัติ เริ่มฝึกจิตใจแบบง่ายๆ ด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ ฝึก ความสงบ ดูลมหายเข้า ลมหายใจออก สอนใหก้ ตัญญกู ตเวทตอ่ ผ้มู ีพระคุณ เช่น พ่อ แม่ครู ปลูกฝังความเมตตา ฝึกให้เห็นความงามของธรรมชาติ ฝึก การอยรู่ ว่ มกันแบบง่ายๆ คือการปฏิบัตธิ รรมกัน 3. เครือข่ายด้านสติปัญญา สอนให้รู้จักพิจารณาว่า อะไร คือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและประโยชน์ต่อสังคมได้ เช่น ฝึกให้เด็กทาน ข้าวร่วมกันแบบง่ายๆ อาจจะเป็นข้าวกล้อง สอนให้เด็กเรียนรู้การบันการ ใช้ชีวิตแต่ละวัน ฝึกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ สรุปวิเคราะห์แต่ ละช่วงกิจกรรมที่เกิดขึ้น เด็กได้มีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะให้เด็ก เข้ามกิจกรรมเหลา่ นใี้ ชก้ ิจกรรมเป็นเครือ่ งมอื การพัฒนาดา้ นสตปิ ญั ญา 4. เครือข่ายด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อด้วยกิจกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธ เช่น กิจกรรมการทำการเกษตร การรักษาส่ิงแวดล้อม 37

ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับริบทสังคม ศาสนาวัฒนธรรม ไทย เพือ่ ให้เด็กมวี ฒั นธรรมการเรียนร้ทู ่ดี ีและการใชช้ ีวติ อยา่ งมคี วามสขุ 5. แนวทางการเสริมสร้างเครือขา่ ยการเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบของเครือข่ายพื้นที่ คือ พื้นที่มีวัตกรรมอะไร ในพน้ื ท่จี ากบรหิ ารศึกษาองคค์ วามรูก้ ิจกรรม พฒั นาพื้นทแี่ หลง่ เรียนรู้ และ รูปแบบกิจกรรมวิถีพุทธ พัฒนาเป็นรูปแบบเครือข่าย ประสานเชื่อมโยง เครือข่าย เช่น พัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนด้านวิถี พุทธอันมพี ระพทุ ธศาสนาเป็นพ้นื ฐาน แต่ทส่ี ำคัญคือ กจิ กรรมของโครงการ ย่อย 3 ได้กิจกรรมอะไร ให้เอากิจกรรมที่กล่าวมาเป็นเครือข่ายและ เป้าหมายจริงคือ ต้องกำหนดให้ชัด และเชิญทุกโรงเรียนมาเป็นเครือข่าย ของคณะครุศาสตร์ หรือมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่เครือข่ายด้วย เช่น กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงโดยการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน กิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ18 การดําเนินงานเครือข่าย โดยมีคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นองค์กรหลักใน การดําเนินการก่อตั้งและประสานงาน เทคนิควิธีการในการจัดตั้งเครือข่าย การเรียนรู้ การดําเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ การดําเนินกิจกรรม ร่วมกัน การสร้างพันธะสัญญา และการระดมทรัพยากรมาใช้ได้อย่าง เพียงพอ 18สนทนากลุม่ ยอ่ ย ผศ.ดร.ขันทอง วฒั นะประดษิ ฐ์, ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ,์ ผศ.ดร. พงศพ์ ิชญ์ ตว่ นภูษา, รศ.ดร.โกนฏิ ฐ์ ศรีทอง, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ.ดร. และดร.ลำพอง กลมกลู วันองั คาร ที่ 16 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2564 สถานที่ ห้องประชุม C 512 หลักสูตรบณั ฑติ ศึกษา ภาควิชาบรหิ ารการศกึ ษา คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั . 38

ผลการสร้างเครือขา่ ยพื้นท่ี นวตั กรรมการเรียนรวู้ ิถพี ทุ ธ 39

ประเมนิ ผลการสรา้ งเครือขา่ ยพน้ื ท่ีนวัตกรรมการเรียนร้วู ิถพี ุทธ การสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ ทางคณะครุศาสตร์ได้เชิญโรงเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนต่างๆ จะระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ก็ แล้วแตม่ าเปน็ เครือข่ายเพือ่ เสรมิ พลังหรอื เข้มแข็งของกิจกรรมวิถีพทุ ธ โดย ครุศาสตร์เป็นแม่งานหรือศูนย์ใหญ่ของประเทศ โดยให้มีส่วนร่วมพัฒนา เครือข่ายความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ มี กระบวนการ เรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสม สอดรับกับ การดำเนินชีวิตบนฐานวิถีพุทธ วิถีธรรม มีความเอื้ออาทร มีความสามัคคี เสียสละ มุ่งมั่น ที่จะพัฒนาตนได้ และยังมีการประเมินในที่นี่ น่าจะใช้ รปู แบบการเชิญทางโรงเรยี นเขา้ มาเยี่ยมกจิ กรรมที่จดั ขึ้น และมกี ารสัมมนา แลกเปลี่ยนรู้ด้วยกัน มีทัศนะคติเกี่ยวกับพื้นที่เครือข่ายนวัตกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธ ควรจะเพิ่มเติมอะไร หรือจะพัฒนาต่อยอด ในรูปแบบ ไหน จึงจะเหมาะสมกับวิถีพุทธ โดยเชิญระดับผู้บริหารโรงเรียนให้นำ นักเรียนเข้ามาศึกษาดูงานจะดีกว่า สร้างรูปแบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเอกสาร ถ้าหากประเมินด้วยเอกสารที่ส่งไป อาจจะไม่ได้ข้อเท็จจริงก็ ได1้ 9 การประเมินการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี พุทธ เป็นกระบวนการเก็บรวมรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ เครอื ข่าย เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ หรอื แผนทีไ่ ดว้ างไว้ หรือเป็นการเก็บ ข้อมูลโดยใช้ผลจากการวัดมาเปรียบเทียบ กับเกณฑ์แล้วตัดสินผลการ ดำเนินการ เครือข่ายเน้นการดำรงอยู่ของสายใยความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลที่ขยายครอบคลุมการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี พุทธ จะส่งผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มคน ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยเรื่องรูปแบบ 19อา้ งแลว้ . 40

และลกั ษณะของเครือข่ายมาอธบิ ายพฤตกิ รรมของบุคคลดว้ ย จะต้องมีการ ประเมินท้งั หมด 3 ระยะ 1. ระยะก่อนการดำเนินสร้างเครือข่าย เพื่อดูว่ามีความ เหมาะสม หรือความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เป็นการเชื่อมโยงใน ลักษณะของเครือข่าย หมายถึงการจัดการให้คนมานั่งสนทนาเรื่องการ สร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ “รวมกัน” เพื่อพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยน โดยไม่ได้ “ร่วมกัน” กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าจะ เปรียบเหมือน ก็เหมือนเอาก้อนอิฐมากองรวมกัน ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่ อย่างใด การเชื่อมโยงเข้าหากันจะเกิดขึ้นประโยชน์ ต่อเมื่อพัฒนาไปสู่ ระดับของการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันด้วย และไม่ใช่การรวบรวมรายชื่อบุคคลที่มีความสนใจเหมือนกันเท่านั้น ใน ระยะดำเนินการสร้างเครือข่ายต้องมีการจัดระบบให้กลุ่มบุคคลที่เป็น สมาชิกดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่เห็นพ้อง ด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเฉพาะกิจตามความจําเป็น เมื่อภารกิจบรรลุ เปา้ หมายแล้ว เครอื ข่ายก็อาจยบุ สลายไป แตถ่ ้ามคี วามจําเป็นหรอื มภี ารกจิ ใหม่อาจกลับมารวมตัวกันได้ใหม่ หรือจะเป็นเครือข่ายที่ดําเนินกิจกรรม อย่างตอ่ เน่ืองระยะยาวกไ็ ด้ 2. ระยะดำเนินการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการ ดำเนินการ ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้เหมือนกันถึงเหตุผลในการ เข้ามาร่วมกันเป็น เครือข่าย มีความเข้าใจในตัวปัญหาและมีจิตสํานึกใน การแก้ไขปัญหาร่วมกนั ประสบกับปัญหาอย่าง เดียวกันหรือต้องการความ ชว่ ยเหลอื ในลักษณะทค่ี ล้ายคลึงกนั ซึ่งจะสง่ ผลใหส้ มาชกิ ของเครือข่ายเกิด ความรู้สึกผูกพันในการดําเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือลดความ เดือดร้อนท่ี เกิดขึ้น การรับรู้และติดตามร่วมกันถือเปน็ หวั ใจของเครือขา่ ย ที่ทําให้เครือข่ายดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหากมีการติดตามรบั รู้ผล 41

ที่เกิดขึ้น จะมีการประสานงานและขอความร่วมมือยาก เพราะแต่ละคนจะ ติดอยู่ในกรอบความคิดของตัวเอง มองปัญหาหรือความต้องการไปคนละ ทิศละทาง หากสมาชิกของเครือข่ายจะมีความเห็นที่ต่างกันไม่ได้ เพราะ มุมมองที่แตกต่างช่วยให้เกิดการ สร้างสรรค์ในการทํางาน ในการที่ จะดึง ใครสักคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงานของเครือข่าย จําเป็นต้อง คํานึงถึงผลประโยชน์ทีเ่ ขาจะได้รับจากการเขา้ รว่ ม และประโยชนท์ ี่สมาชกิ แต่ละคนจะได้รับอาจแตกต่างกัน แต่ควรต้องให้ทุกคนและต้องเพียง พอทจี่ ะเป็นแรงจงู ใจใหเ้ ขาเข้ามีสว่ นรว่ มในทางปฏิบัตไิ ด้จรงิ 3. ระยะหลังดำเนินการ เพื่อดูผลสำเร็จ และผลกระทบจาก การดำเนินการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ซึ่งอาจจะ ต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่อเครือข่าย ระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการประเมินการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธ จะช่วยให้เกิดการดำเนินการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธให้ประสบความสำเร็จ และช่วยให้เกิดการพัฒนาการ ดำเนินการให้มุ่งไปสู่การจัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิตโดยมิติเครือข่ายการ ทำงาน มิติกลุ่มเป้าหมายสร้างเครือข่ายการทำงานร่วม และสร้างเครือขา่ ย พุทธนวัตกรรมในช่วงระยะหลังดำเนินสร้างเครือข่าย เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของการดำเนินการสู่ผลสัมฤทธิ์ตามวิสัยทัศน์ จนเกิด ความรู้สึกที่เกิดข้ึนเม่ือได้รับผลสําเร็จตามความมุ่งหมายหรือเป็นความรูส้ ึก ขั้นสุดท้ายที่ได้รับผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ความพึงพอใจเป็น ความรู้สึก ส่วนตัวที่รู้สึกเป็นสุขหรือยินดีที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งท่ี ขาดหายไป หรือสิ่งทที่ ําให้เกดิ ความไม่สมดลุ ความพึงพอใจเปน็ สงิ่ กําหนด พฤติกรรมที่จะแสดงออกของบุคคลซึ่งมีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติใน กจิ กรรม 42

เมื่อดำเนินการ “การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ วิถีพุทธ” คณะผู้วิจัยก็ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการสร้าง เครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธสู่การพัฒนารูปแบบการสร้าง เครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ และศึกษาแนวทางการ ประเมนิ ผลการสร้างเครือขา่ ยพืน้ ท่ีนวตั กรรมการเรยี นรู้วิถพี ุทธตอ่ ไป ภาพท่ี 2 ผลการสรา้ งเครอื ขา่ ยพืน้ ทน่ี วัตกรรม การเรยี นรู้วิถีพทุ ธ 43

องคค์ วามรทู้ ่ไี ด้รบั 44

องคค์ วามรู้ที่ได้รบั จากการศึกษาเรื่อง “การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธ” คณะผู้วิจัยพบว่า เครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี พุทธ ประกอบด้วย เยาวชน บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และหน่วยงานสถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการสร้าง เครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธสู่การพัฒนารูปแบบการสร้าง เครือข่ายพ้นื ที่นวัตกรรมการเรียนรู้วถิ ีพทุ ธ 1. กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตร ยง่ั ยนื เข้ามีส่วนร่วมกับชุมชน ปลูกฝังการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าแก่คนใน ชุมชน สร้างจิตสำนึกร่วมกันสู่การปฏิบัติเป็นกิจวัตร ปลูกฝังคุณค่าของน้ำ ตั้งแต่ระดับในโรงเรียน ไปจนถึงชุมชน ทำให้เกิดวินัยในการใช้น้ำอย่างรู้ คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้การประหยัดน้ำในชุมชนเป็น รูปธรรม สร้างกิจกรรมยุวพุทธเกษตรจึงเกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาที่เน้นการผลิต การบริโภคที่มีสติสัมปชัญญะ กำกับควบคุม มีอิทธิบาท 4 และดำเนินงานตามแนวทางสายกลาง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นการใช้แนวทางวิถีพุทธในการดำเนินกิจกรรม ส่งเสริมแนวคิดวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน สร้าง ระบบการเกษตรวิถีพุทธที่ยั่งยืนครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิด ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ นำไปสู่การ พง่ึ พาตนเอง และการพฒั นาคณุ ภาพชีวิตของยวุ พุทธเกษตร และผบู้ ริโภค 45

วธิ ีการดำเนนิ กจิ กรรม 1) ประชมุ ปรกึ ษาหารือ วเิ คราะหส์ ภาพปญั หาหรอื ความตอ้ งการ ทจ่ี ะทำการเกษตรแบบพทุ ธทม่ี ีความรับผิดชอบตอ่ สังคมผบู้ รโิ ภค 2) จัดตั้งกลุ่มเพื่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพื่อเสริมเป็น อาหารกลางวนั แก่นกั เรียนโดยตง้ั ชื่อกิจกรรม “ยวุ พุทธเกษตรพอเพยี ง” 3) นำเสนอ ขออนมุ ตั ดิ ำเนินกจิ กรรม 4) ดำเนินกจิ กรรมการผลิต ได้แก่ การปลกู ผกั ปลอดสารพษิ การ เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเลี้ยงหมู ทุกกิจกรรมเน้นให้นักเรียนวาง แผนการผลิต การรวมกลุ่ม การกำหนดหน้าที่แต่ละฝ่าย นำแนวทางวิถี พุทธมาเป็นหลักยึดในการทำงาน ได้แก่ อิทธิบาท 4 คือ ให้มีความรักที่จะ ทำงานนั้นๆ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม มีความมุมานะพยามที่จะ ทำงานให้สำเร็จ มุ่งมั่นเอาใจใส่ต่อหน้าที่ ใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ นอกจากนั้นยังเน้นให้ทุกคนยึดหลักทางสายกลางของ พระพุทธเจ้าซึ่งย่อแล้ว ได้แก่ ศีล เป็นเครื่องกำหนดทิศทางการปฏิบัติทาง กายและวาจา มีจิตใจเป็นสมาธิในการทำงาน เกิดสติปัญญาที่พิจารณาถึง แกน่ แทข้ องสภาพตา่ งๆ ทีเ่ กิดข้นึ ตามความเป็นจริง 5) นำแนวทางการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้เป็น ตัวชี้วดั ความสำเร็จของกจิ กรรม 6) สรุปเปน็ ผลการดำเนินงานที่จะเป็นแนวทางพัฒนาตอ่ ไป 2. กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ โดยใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเป็น ฐาน กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ พัฒนาเยาวชนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ เยาวชนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ใช้กระบวนการ ทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนิน 46

ชวี ิต โดยมีผ้บู รหิ าร และคณะครูเป็นกัลยาณมิตร ชว่ ยกนั พัฒนาดำเนินการ จัดการเรียนรู้ให้เยาวชนมีวิถีการทำงาน วิถีชีวิต วิถีการเรียนรู้ วิถี วัฒนธรรมต่างๆ ตามหลัก “ไตรสิกขา” ที่นำไปสู่ “ปัญญา” วิถีชีวิตท่ีดีงาม ตามหลักไตรสิกขาทั้ง 3 ดา้ น ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิต อย่างเป็นเน้ือ เดยี วกัน เพราะว่าหากขาดดา้ นใดด้านหนึ่งจะทำให้ชีวติ ไมส่ มบูรณท์ กุ ดา้ น 1) ฝึกฝนเรื่องศีล คือ กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติต่างๆ ให้สมบูรณ์ อย่าลืมกฎเกณฑ์ กติกาของสังคม เราเคารพเขา เขาเคารพเรา จึงอยู่ รว่ มกันได้ เม่อื เธอเปน็ นกั เรียน มนั จะมาพรอ้ มกับระเบียบ กฎของโรงเรียน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ ถ้าเธอไม่ส่งการบ้าน แต่เธอ จะต้องการเกรดดๆี ยอ่ มเป็นไปไมได้ บางคนไม่ชอบเกณฑท์ ่ีเขากำหนด แต่ จะเอาผลของความดีตอบแทน พอไม่ได้ก็เลยทุจริตให้ได้มา อันนี้ จะทำให้ เราไม่องอาจและสงา่ งามในทน่ี ้ันๆ 2) ฝึกฝนเรื่องสมาธิ คือ ความสุขและพึงพอใจในชีวิต พร้อมทั้ง การวางใจในยามแบกภาระหนัก หรือท้แท้ได้ เมื่อทำสิ่งใด ไม่พึงอาศัยแต่ รปู แบบ ข้อปฏิบตั ิภายนอกเทา่ น้นั เพราะแม้จะทำตามกฎระเบียบได้ ถ้าไม่ มีสุขกับสิ่งที่เป็น สิ่งที่ทำ เราก็อยู่อย่างไร้ค่า การทำใจให้มีสุขกับสิ่งที่เป็น จะทำให้เราเป็นอย่างมีค่า สร้างความภาคภูมิใจในตนเองอยู่เสมอ ล้างแก้ว ก็มีความสุขกับการล้างก้ว กวาดบ้านก็มีความสุขกับการกวาดบ้าน มี ความสุขและสนใจในทุกวิชาที่เรียน วิธีการในเรื่องนี้ คือ มีการฟังอย่าง ลึกซึ้งและสนใจเต็มร้อย มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างเต็มที่ และมีพลัง การทำความสุขในทุกขณะนี้ เป็นวิธีง่ายที่สุดในการใช้ชีวิตให้มีค่าและสงบ สุข ไม่ว่าเธอจะเป็นอะไร ทำอะไร ที่ไหนก็ตาม ความกังวลและฟุ้งซ่านจะ หายไป เม่อื ใสใ่ จ มอบหวั ใจให้กบั ส่ิงท่ที ำแล้ว 3) ฝึกฝนในเรื่อง ปัญญา คือ เหน็ คุณค่าของสิ่งตนเองเป็นและทำ อยู่ที่มีต่อชีวิตตนเองและสังคม มีอุดมการณ์ เมื่อสมบูรณ์ตามเกณฑ์ที่ 47

กำหนด มคี วามสขุ ในสง่ิ ท่ีทำ แต่ถ้าขาดคณุ คา่ ก็จะเบอื่ งา่ ย และเดินจากไป ในทสี่ ุด การมองเห็นคุณค่า เป้าหมาย และอุดมกาณ์ของสิ่งที่เราทำ จะ ทำให้เราเขา้ ถงึ สิง่ น้ันจริงๆ ได้ คนทีเ่ รียนไมส่ นกุ เพราะไมเ่ ข้าใจวา่ วิชานั้นมี ค่าต่อชีวิตอย่างไร ดังนั้นก็จะไม่ทุ่มเท สักว่าทำตามที่เขากำหนด ให้ผ่านๆ ไปอย่างไร้หัวใจและไร้ชีวิตชีวา เมื่อเรียนวิชาไหน ต้องรู้ให้ได้ว่าว่า วิชานั้น มีค่าต่อชีวิตเธอและโลกอย่างไร เมื่อแต่งกายออกไปเรียนขอให้รู้ว่า การ เป็นนักเรียน มีบุญแค่ไหน มีค่าเพียงใด มีเยาวชนอีกไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสได้ เรียน จบแล้วจะได้เอาความรู้ช่วยพ่อแม่ และชาติบ้านเมือง ขอให้มองเห็น คุณค่าในสิ่งที่ทำอยู่เสมอ เพราะเยาวชนส่วนมาก จะมองเห็นสิ่งทำไร้สาระ แตจ่ ะไปสนใจกบั การกิน นอนเลน่ เท่ยี ว เฟสบุคแทน ซ่งึ ทำให้ชวี ติ เป็นชวี ิต ขยะไป 3. กจิ กรรมเดินดว้ ยเทา้ กา้ วไปในบญุ สำหรบั เยาวชน กระบวนการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนา เพื่อให้เยาวชนได้ เริ่มเดินก้าวแรก ด้วยการพัฒนาจิต สร้างเปี่ยมด้วยศีลธรรม ปลูกฝังดำรง ตนอย่างมีวินัย รักษาจิตใจเข้มแข็งอย่างอ่อนโยน และดำเนินชีวิตอย่างมี ความสุข การก้าวเดินด้วย 5 สิ่งนี้ ด้วยความตั้งใจ ก็จะเป็นบุญต่อตนเองที่ จะมีย่างก้าวที่มั่นคงต่อชีวิต เป็นบุญต่อพ่อแม่ ที่ไม่ต้องมีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และเป็นบุญต่อสังคมที่จะมีเยาวชนซึ่งจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ร่วมกันสร้างและพัฒนาชาติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ประกอบด้วย 5 กจิ กรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมเพือ่ พัฒนาจิต 2) กจิ กรรมเปีย่ มด้วยศีลธรรม 3) กิจกรรมดำรงตนอย่างมีวินัย 4) กิจกรรมจิตใจเข้มแข็งอย่างอ่อนโยน และ 5) กจิ กรรมความสุข โดยกิจกรรมทั้ง 3 นี้ จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเครือข่าย โดย ในแต่ละพื้นที่ดำเนินกิจกรรม และร่วมกันแชร์ประสบการณ์ ปัญหาที่พบ แนวทางแก้ไข หรือผลสำเร็จทเ่ี กดิ จากการดำเนนิ กจิ กรรม เพือ่ ตอ่ ยอดออก 48

สู่พื้นที่ชุมชนอื่นๆ หรือ อาจเพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้นเพื่อเครือข่ายจะเติบโด ต่อยอดนวตั กรรม และเกิดกลไกการขบั เคล่อื นในการดำเนนิ การต่อไป พ้นื ทีน่ วัตกรรมวิถีพุทธ 1) ดำเนินกจิ กรรมตา่ งๆ ตามหลกั พระพทุ ธศาสนา 2) เสรมิ สรา้ งเยาวชนและคนในชมุ ชนสคู่ ณุ ภาพชีวติ ที่เหมาะสม 3) ส่งเสรมิ แนวคิดวิถีพอเพียง เศรษฐกิจเกษตรชมุ ชน 4) สอดคลอ้ งกบั บริบทชุมชน 5) พัฒนาอย่างยั่งยนื วัตถปุ ระสงคข์ องการจดั ตั้งพ้ืนที่นวตั กรรมการเรยี นรู้วถิ ีพทุ ธ 1) เพอ่ื พัฒนาเยาวชน และชุมชน 2) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมวิถีพุทธตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง 3) เพอ่ื เปดิ โอกาสใหเ้ ยาวชนได้คดิ ไดล้ งมอื ได้แกไ้ ข ได้เก็บเกี่ยว ได้ประสบการณ์ รูปแบบเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ประกอบดว้ ย 1) การจัดกจิ กรรมพ้ืนฐานชวี ิต 2) มิติเครอื ข่ายการทำงาน 3) มติ ิกลุม่ เป้าหมายสรา้ งเครอื ขา่ ยการทำงานร่วม 4) สร้างเครือขา่ ยพื้นทีพ่ ุทธนวตั กรรม 49

ภาพที่ 3 องค์ความรกู้ ารสร้างเครอื ข่ายพื้นท่นี วตั กรรมการเรียนรวู้ ถิ พี ทุ ธ องค์ความรู้จากการแสวงหาเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ จาก 5 โรงเรียนวิถีพุทธ จนเกิดความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น โดยมุ่งสร้างและ พัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ และพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่เรียนรู้ได้ เป็นองค์ความรู้ท่ี สามารถปฏิบัตไิ ด้ กรอบการจดั การองคค์ วามรู้ 1. รวบรวมข้อมลู 2. สงั เคราะหข์ อ้ มูล 3. สร้างองค์ความรู้ 4. แบง่ ปันความรู้ 5. ใชอ้ งคค์ วามรู้ 6. สรุปองคค์ วามรู้ 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook