Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

Description: practical_guide

Search

Read the Text Version

ชว่ ยกนั สร้างคนดีให้บ้านเมือง ค่มู อื ปฏิบตั ิโรงเรียนคณุ ธรรม

คู่มือปฏิบตั โิ รงเรยี นคุณธรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2558 จำนวน 5,000 เล่ม เจา้ ของ ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มลู นิธิยุวสถิรคุณ โดยการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ปรกึ ษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมลู นิธิยุวสถิรคุณ นายปราโมทย์ โชติมงคล ผู้อำนวยการศนู ย์โรงเรียนคุณธรรม มลู นิธิยุวสถิรคุณ คณะผู้จัดทำ รองผู้อำนวยการศนู ย์โรงเรียนคุณธรรม มลู นิธิยุวสถิรคุณ รองศาสตราจารย์ปภัสวดี วีรกิตติ อาจารย์โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม นายปกาศิต เรี่ยมสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายยุทธศาสตร์ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง คณะทำงานขยายผลการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม นางสาวจงกล ทรัพย์สมบูรณ์ ที่ปรึกษาศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มลู นิธิยุวสถิรคุณ นายนพพร สุวรรณรุจิ คณะทำงานขยายผลการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม นางสาวศศิเพ็ญ วชิรเจริญทรัพย์ นักวิชาการศนู ย์โรงเรียนคุณธรรม มลู นิธิยุวสถิรคุณ นางสาวชนกกานต์ หอวรรณภากร ขอขอบคณุ ภาพประกอบ รองศาสตราจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ รปู เล่ม นายวัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ พิมพท์ ่ี บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด

คำนิยม เป้าหมายของการศึกษาคือ การสร้างคนดี คนเก่งและคนมีน้ำใจให้แก่บ้านเมือง โรงเรยี นทจ่ี ะจดั การศกึ ษาไดต้ ามเปา้ หมายขา้ งตน้ จงึ ตอ้ งเปน็ ทง้ั “โรงเรยี นคณุ ภาพ” และ “โรงเรยี น คุณธรรม” คุณภาพของการศึกษามีเหตุปัจจัยหลายประการ เหตุปัจจัยที่สำคัญที่สุด สองประการคือ (1) มีครูที่ศรัทธาในอาชีพครู มีความรู้อย่างดีในวิชาที่สอน และเป็นคนดี (2) มีการวางแผนและจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวิชาและหลักสตู ร สว่ นโรงเรยี นคณุ ธรรม เนน้ การสรา้ งคณุ ธรรมผา่ นการออกแบบขอ้ ปฏบิ ตั ขิ องผบู้ รหิ าร ครบู าอาจารย์ และนักเรียนทุกคน เป็นข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติกำหนดขึ้นเอง ตัวอย่างโรงเรียนคุณธรรมกว่าร้อยแห่งในหลายจังหวัด นับว่านอกจากส่งเสริมคุณธรรมแล้ว ยังมี ส่วนสำคัญทำให้คุณภาพดีขึ้นด้วย ขณะนเ้ี กดิ ความตอ้ งการพฒั นาโรงเรยี นคณุ ภาพและคณุ ธรรมอกี หลายแหง่ มลู นธิ ยิ วุ สถริ คณุ จงึ ได้ เชญิ นกั การศกึ ษา และผอู้ าสาสมคั รอกี มากมาย ชว่ ยกนั ถอดบทเรยี นจากโรงเรยี นทป่ี ฏบิ ตั แิ ลว้ และรวบรวม เ ป็นคู่มือปฏิบัติเล่มนี้ ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วม และหวังว่าจะได้ใช้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกรรมการมลู นิธิยุวสถิรคุณ 20 มกราคม 2558

คำนำ ในโอกาสตา่ งๆ ทท่ี า่ นประธานมลู นธิ ยิ วุ สถริ คณุ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ นายแพทยเ์ กษม วฒั นชยั องคมนตรี ได้ไปบรรยายเรื่อง “โรงเรียนคุณธรรม” ให้ครู อาจารย์ นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหาร องค์กร และพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการต่างๆ ในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา และท่านได้เขียนหนังสือเรื่อง “โรงเรียนคุณธรรม” มอบให้ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม นำไปเผยแพร่ จนถึงปัจจุบันได้จัดพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วเป็นจำนวนถึง 50,000 กว่าเล่มนั้น ท่านได้แนะนำให้ศูนย์โรงเรียน คณุ ธรรม จดั ทำหนงั สอื ทแ่ี สดงวธิ กี ารและขน้ั ตอนของการพฒั นาโรงเรยี นคณุ ธรรม แบบอา่ นงา่ ย เขา้ ใจงา่ ย และสามารถนำไปใช้ได้สะดวก ในลักษณะหนังสือ “คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม” เพื่อเผยแพร่ให้ โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยได้เรียบเรียงเนื้อหาสาระจากการบรรยาย ของประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ซึ่งท่านจะ ชี้แจงอธิบายแนวทางปฏิบัติในการเป็น “โรงเรียนคุณธรรม” ไว้ทุกครั้ง และศูนย์โรงเรียนคุณธรรม ได้ ศกึ ษาคน้ ควา้ หนงั สอื ทเ่ี ผยแพรเ่ กย่ี วกบั คณุ ธรรมและเพม่ิ เตมิ รายละเอยี ดบางหวั ขอ้ ใหช้ ดั เจนขน้ึ เพอ่ื ชว่ ยให้ ผู้อ่านที่มิได้ไปฟังด้วยตนเอง เข้าใจง่ายขึ้น ในทุกเวทีท่านจะย้ำเสมอว่า “ปัจจัยที่ทำให้โรงเรียน/องค์กร ป ระสบความสำเร็จคือ

“ตอ้ งทำทง้ั โรงเรยี น/ องคก์ ร และทกุ คนตอ้ งทำโดยแปลงคณุ ธรรมใหเ้ ปน็ จรยิ ธรรมหรอื พฤตกิ รรมที่ พึงประสงค์” ศนู ย์โรงเรียนคุณธรรมหวังว่า “คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม” เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่โรงเรียน ที่ประสงค์จะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรม และสำหรับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาเป็นองค์กรคุณธรรม เพื่อร่วมกันสร้างคนดีให้ประเทศชาติ นายปราโมทย์ โชติมงคล ผู้อำนวยการศนู ย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ 20 มกราคม 2558

“ความซีอ่ สัตยส์ จุ รติ เปน็ พนื้ ฐานของความดที ุกอยา่ ง. เด็กๆ จึงตอ้ งฝึกฝนอบรม ใหเ้ กิดมขี ้ึนในตนเอง เพื่อจกั ไดเ้ ติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน ์ และมชี ีวติ ทีส่ ะอาด ที่เจรญิ มนั่ คง” พระบรมราโชวาทที่พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2530

สารบัญ บทท่ี 1 | คุณธรรม และจริยธรรมคืออะไร - 9 - บทที่ 2 | ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม - 21 - บทท่ี 3 | รู้ได้อย่างไรว่าได้เป็นโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรมแล้ว - 39 - ภาคผนวก - 53 - เอกสารอ้างองิ - 66 -



บทที่ 1 คุณธรรมและจริยธรรม คืออะไร

“...คนทม่ี รี ะเบยี บวินยั นัน้ เปน็ ผู้ท่เี ข้มแขง็ เปน็ ผทู้ ่หี วังดีตอ่ ตนเอง เปน็ ผ้ทู ่จี ะมคี วามสำเร็จในอนาคต การปฏบิ ัติดว้ ยความมรี ะเบียบมวี นิ ยั การปฏิบตั ิน้ันสำเรจ็ ...” พระราชดำรัสพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตภาคใต้ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2524

ความหมายของคณุ ธรรมจรยิ ธรรม การให้ความหมายของคำว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มีหลากหลายมาก ทั้งทางด้านศาสนา และ ด ้านวิชาการ ซึ่งสามารถค้นคว้าหาอ่านเพื่อทำความเข้าใจและนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติได้ เช่น คุณธรรม หมายถึง ภาวะจิตใจที่เมื่อสำแดงความประพฤติออกมาแล้ว สังคมตัดสินออกมาว่า เปน็ จรยิ ะทด่ี ี จรงิ งาม ถา้ ใจเราคดิ ดี คดิ จรงิ และคดิ งาม และประพฤตอิ อกมาดี จรงิ งาม แสดงวา่ คนๆ นน้ั มคี ณุ ธรรม แตถ่ า้ ใจคดิ ชว่ั คดิ ไมจ่ รงิ (เทจ็ ) คดิ ไมง่ าม กจ็ ะมคี วามประพฤตชิ ว่ั เทจ็ และไมง่ าม ซง่ึ เรากจ็ ะ เรียกว่าคนไม่มีคุณธรรม ดังนั้น สังคมจึงต้องสร้างเครื่องตัดสินว่า อะไรคือดี จริง งาม คุณธรรมคือ ธรรมทเ่ี ปน็ คณุ หรอื สภาพคณุ งามความดี เรม่ิ ตง้ั แตค่ วามนกึ คดิ ความปรารถนา ความตง้ั ใจ คนทม่ี คี ณุ ธรรม เมื่อคิดดีแล้ว ย่อมแสดงพฤติกรรมคือคำพูดและการกระทำที่ปรากฏออกมาแล้ว สังคมตัดสินว่า ดี จริง และงาม คนทไ่ี มม่ คี ณุ ธรรม เมอ่ื คดิ ชว่ั แลว้ ยอ่ มแสดงพฤตกิ รรมคอื คำพดู และการกระทำทป่ี รากฏออกมา แ ล้ว สังคมตัดสินว่า เลว เท็จ อัปลักษณ์ จริยธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติหรือศีลธรรม หมายถึงคำพูดและการกระทำ ห รือพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ สถาน พ.ศ.2525 ใหค้ วามหมาย คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมวา่ หมายถงึ สภาพคณุ งามความดที ง้ั ทอ่ี ยภู่ ายในจติ ใจ และทแ่ี สดงออกทางกริ ยิ าทค่ี วรประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ทค่ี นในสงั คมนน้ั องค์กรนั้น หรือส่วนราชการนั้นได้ยอมรับนับถือกันมา หรือได้กำหนดร่วมกันขึ้นใหม่ และประพฤติปฏิบัติ 141

ร่วมกัน ยอมรับร่วมกันว่าข้อประพฤติอะไรเป็นสิ่งดี อะไรเป็นสิ่งชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควรทำ หรือ ไม่ควรทำ เครื่องตัดสินคุณธรรมหรือเครื่องฝึกฝนคุณธรรมมีหลายอย่าง เช่น ศาสนาธรรมหรือหลักศาสนา หลักนิติธรรมหรือหลักกฎหมาย หลักจริยธรรมหรือหลักของความประพฤติ ระบบธรรมาภิบาลในองค์กร ระบบคุณธรรมในครอบครัว ระบบความเชื่อ/ ค่านิยม/ ธรรมเนียมของสังคม และบุคคลตัวอย่างในสังคม เป็นต้น ศาสนาธรรมหรือคำสอนของทุกศาสนา มีหลักการใหญ่ๆ อยู่ 3 ข้อ ได้แก่ 1) ความสัตย์ ความจริง ไม่มีศาสนาใดสอนให้คนพูดโกหก หลอกลวง ทุกศาสนาสอนให้พูด ความจริงทั้งนั้น 2) ศักดิ์ศรีความเป็นคน ทุกศาสนาสอนให้ยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นคน ไม่ดูถูกคน 3) ให้มีความรักความเมตตาต่อกัน สว่ นจรรยาบรรณ หมายถงึ ประมวลความประพฤตทิ ผ่ี ปู้ ระกอบอาชพี การงานแตล่ ะอยา่ งกำหนด ขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสังคม จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็น แบบแผนในการประพฤตติ น ซง่ึ ผปู้ ระกอบการวชิ าชพี ทางการศกึ ษาตอ้ งปฏบิ ตั ติ าม เพอ่ื รกั ษาและสง่ เสริม เกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการ และสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ 12 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คมู่ ือปฏิบตั โิ รงเรียนคุณธรรม

ดังนั้น จะเห็นว่า จรรยาบรรณ คือ การนำเอาจริยธรรม หรือความประพฤติที่เหมาะสมสำหรับ บุคคลที่อยู่ในอาชีพใดอาชีพหนึ่งมาประมวลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บุคคลในกลุ่มอาชีพเดียวกันปฏิบัติตาม เปน็ การสรา้ งพฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงคส์ ำหรบั ผทู้ อ่ี ยใู่ นกลมุ่ อาชพี นน้ั ๆ กลา่ วคอื มกี ารยดึ ถอื คณุ ธรรมขอ้ ใดข้อ หนึ่งร่วมกัน การนำไปปรบั ใชใ้ นองคก์ รต่างๆ สำนกั ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ ไดจ้ ดั ทำคณุ ธรรมจรยิ ธรรมพน้ื ฐานในสงั คมไทยไวว้ า่ “คณุ ธรรมจรยิ ธรรม ทำให้มนุษย์ผู้ประพฤติปฏิบัติมีคุณค่า และส่งผลให้สังคมน่าอยู่และสงบสุข” ประกอบด้วย 1. ซื่อตรง หมายถงึ ความประพฤตทิ จ่ี รงิ ใจ ไมเ่ อนเอยี ง ไมค่ ดโกง ไมโ่ กหกหลอกลวงใคร ไมท่ ำ ผิดทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซื่อตรง จึงครอบคลุมถึง ซื่อสัตย์ ทั้งในด้านกาย วาจา ใจ ซื่อสัตย์ เป็นความประพฤติของ เฉพาะบุคคล แต่ซื่อตรง เป็นความประพฤติของตนเองและยังครอบคลุมไปถึงส่วนรวมทั้งองค์กรอีกด้วย ผู้ที่ซื่อตรง มีความซื่อสัตย์ในตนเองแล้ว ยังต้องไม่เพิกเฉย ไม่ยอมให้ผู้อยู่รอบข้างหรือ ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่อย่างทุจริต เบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง ต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพล 143

ของบุคคลที่ประพฤติมิชอบ อีกทั้งยังต้องหาทางยับยั้ง ต่อต้านการกระทำที่ทุจริตมิชอบอย่างสุดฤทธิ์ เพื่อผดุงไว้ซึ่งความถูกต้องในสังคม • ซื่อตรงต่อตนเอง คือ การไม่โกหกตนเอง ซื่อสัตย์สุจริตต่ออุดมการณ์ของตนเอง ไม่ฝืนใจ ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ปณิธานของตนเอง • ซ่ือตรงต่อบุคคลอ่ืน คือ ซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ เนรคุณผู้มีพระคุณ และไม่เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก • ซื่อตรงตอ่ เวลา คือ นัดหมายใคร หรือจะทำงานสิ่งใดก็ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ ไม่เอาเวลา ราชการไปทำประโยชน์ส่วนตัว • ซื่อตรงตอ่ วาจา คือ รับปากกับใครว่าจะทำสิ่งที่ดีและสุจริต ก็ให้กระทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ และจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี ทุจริต • ซ่ือตรงต่อหน้าที่ คือ ซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตนเอง ไม่ฉ้อราษฎร์ บังหลวง ไม่ละทิ้งหน้าที่ และปัดความรับผิดชอบ 2. มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นที่จะปฏิบัติตนในกรอบของขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ก ฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อพึงปฏิบัติ มีวินัยในตนเอง คือ ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนอย่างสม่ำเสมอ การมีวินัยใน สังคม คือ การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความรับผิดชอบ เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่กระทบกระทั่งกัน ทำให้ ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 14 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ อื ปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม

3. เสียสละเพื่อส่วนรวม หมายถงึ การยนิ ยอมและเตม็ ใจทจ่ี ะทำประโยชนใ์ หแ้ กส่ าธารณะ โ ดยไม่หวังผลตอบแทน การเสียสละไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม ถือว่าเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ช่วยให้ผู้อื่นหรือสังคมได้รับ ประโยชน์ อันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดคุณงามความดีแก่ผู้เสียสละ หรืออาจเรียกว่า ผู้มีจิตอาสาคือผู้เสียสละ แรงกายแรงใจให้แก่ผู้อื่นและสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก คนจะอยู่ อย่างปลอดภัยมีความสุขก็ต่อเมื่อสังคมโดยรวมอยู่ได้ 4. พอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางหรือดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานให้แก่ปวงชน ชาวไทย เพื่อให้คนไทยอยู่อย่างมีความสุข ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 เรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ผู้ปฏิบัติต้องกระทำพร้อมกันทุกเรื่อง ไม่เลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนี้ 4.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่มากไม่น้อยจนเกินไป หรือความพอใจใน สิ่งที่สมควรในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยจนก่อให้เกิดความขัดสน และไม่มากเกินไป จนฟุ่มเฟือย จนเกินกำลังของตนเองหรือไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 4.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอประมาณในมิติต่างๆ อย่างใช้ เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุ ปัจจัย ข้อมลู ที่เกี่ยวข้อง และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่าง รอบคอบ 145

4.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคต 4.4 เงอ่ื นไขความรู้ หมายถึง ผปู้ ฏบิ ตั ติ อ้ งมคี วามรอบรเู้ กย่ี วกบั วชิ าการตา่ งๆ อยา่ งรอบดา้ น และมีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน (เพื่อ วางแผน) และความระมัดระวังในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล 4.5 เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตใจที่ตระหนักในคุณธรรม และความ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต โดยเน้นความอดทน ความเพียร สติ ปัญญา และความรอบคอบ อนึ่ง ผู้ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องปฏิบัติตาม “เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม” ทั้งสองข้อคู่กันอย่างสมดุล หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง จะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ เช่น ถ้ามีความรู้ อย่างเดียวแต่นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ก็สามารถนำความเสียหายมาสู่ตนเองและสังคมได้ ใน ลักษณะเดียวกัน ถ้ามีคุณธรรมแต่ขาดความรู้ ก็อาจตัดสินใจอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อให้เกิดผลเสียหาย ได้เช่นเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ไดก้ ำหนดคณุ ธรรมพื้นฐาน ของคนไทยไว้ 8 ข้อ ได้แก่ 16 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ อื ปฏิบัตโิ รงเรียนคณุ ธรรม

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์: เป็นพลเมืองดี รักษาความเป็นไทย ยึดมั่นและปฏิบัติตนตาม 147 ห ลักศาสนา เคารพเทิดทนู สถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต: ประพฤติต่อตนเองและผู้อื่นตรงตามความเป็นจริง ทั้งด้านกาย วาจา ใจ 3. มีวินัย: ประพฤติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน สังคม 4. ใฝ่เรียนรู้: ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จาก แหลง่ เรยี นรตู้ า่ งๆ ทง้ั ภายในและภายนอกโรงเรยี นดว้ ยการเลอื กใชส้ อ่ื อยา่ งเหมาะสม และนำความรมู้ าใช้ ใ นการดำเนินชีวิตประจำวันได้ 5. อยู่อย่างพอเพียง: ดำเนนิ ชวี ติ อยา่ งพอประมาณ มเี หตผุ ล รอบคอบ มคี ณุ ธรรม มภี มู คิ มุ้ กัน ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 6. มุ่งมั่นในการทำงาน: ตง้ั ใจและรบั ผดิ ชอบในหนา้ ทก่ี ารงาน ทำงานดว้ ยความเพยี รพยายาม และอดทนจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย 7. รักความเป็นไทย: ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย กตัญญูต่อ ประเทศไทย เหน็ คณุ คา่ และใชภ้ าษาไทยในการสอ่ื สารไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งเหมาะสม พรอ้ มทง้ั อนรุ กั ษแ์ ละร่วม สืบทอดภมู ิปัญญาไทย 8. มีจิตสาธารณะ: ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน เข้าร่วมกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม

ครุ สุ ภาไดก้ ำหนดขอ้ บงั คบั วา่ ดว้ ยจรรยาบรรณของผปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศกึ ษา ประกอบดว้ ย 1. มีจรรยาบรรณต่อตนเอง คือ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ 2. มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ คือ ตอ้ งรกั ศรทั ธา ซอ่ื สตั ยส์ จุ รติ รบั ผดิ ชอบตอ่ วชิ าชพี และเปน็ ส มาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ 3. มีจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ คือ (1) ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตาม บทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า (2) ต้องสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ ทกั ษะ และนสิ ยั ทถ่ี กู ตอ้ งดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตาม บ ทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (3) ตอ้ งประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ (4) ตอ้ งไมก่ ระทำตนเปน็ ปฏปิ กั ษต์ อ่ ความเจรญิ ทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ข องศิษย์ และผู้รับบริการ (5) ตอ้ งใหบ้ รกิ ารดว้ ยความจรงิ ใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จาก การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 18 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏบิ ตั ิโรงเรยี นคุณธรรม

4. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 149 อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ 5. มีจรรยาบรรณต่อสังคม คือ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ ในปัจจุบันข้อมลู ข่าวสารต่างๆ เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลา คนรุ่นใหม่จึงต้องมี ทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันและก้าว ทันโลก จึงมีการเผยแพร่ให้ทุกคนตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี เช่น 1. มีความรบั ผดิ ชอบตอ่ การใชข้ อ้ มลู โดยตอ้ งคำนงึ ถงึ เรอ่ื งลขิ สทิ ธแ์ิ ละไมล่ อกเลยี นผลงานคนอน่ื ซึ่งจะทำให้ตนเองขาดการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในทางอ้อม 2. การใช้เทคโนโลยีในทางบวก เมื่อพบเห็นสิ่งที่ไม่ดีบนสื่อออนไลน์ ก็ไม่ควรจดจำหรือทำตาม 3. การใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง 4. มีทักษะความเป็นผู้นำบนโลกออนไลน์ เช่น การให้เกียรติผู้อื่น เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นต้น จะเห็นว่า คุณธรรมจริยธรรมสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของคนในทุกยุคทุกสมัยตลอดเวลา จนเป็น ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเรา เมื่อมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น จะมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับการนำนวัตกรรม นั้นๆ มาใช้อยู่เสมอ ในปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคนและความเชื่อมั่นในคุณค่า ของการสร้างคุณงามความดีว่า จะนำมาซึ่งความสุขของตนเองและองค์กรในที่สุด



บทที่ 2 ทำอย่างไร จึงจะพัฒนาเป็น โรงเรยี นคณุ ธรรมจรยิ ธรรม

“...การทำความดนี น้ั โดยมากเปน็ การเดนิ ทวนกระแสความพอใจ และความตอ้ งการของมนษุ ย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แตก่ ็จำเปน็ ตอ้ งทำ เพราะหาไม่ ความชว่ั ซึ่งทำได้ง่าย จะเขา้ มาแทนท่.ี ..” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2529 22 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มอื ปฏบิ ตั ิโรงเรยี นคณุ ธรรม

โรงเรียนคณุ ธรรมจรยิ ธรรม โรงเรยี นคณุ ธรรมจรยิ ธรรม หรอื เรยี กยอ่ ๆวา่ “โรงเรยี นคณุ ธรรม” หมายถงึ สถานศกึ ษาทผ่ี บู้ รหิ าร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริม ความดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็น พฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้อย่างยั่งยืน และนำไปขยายเครือข่ายได้ ห ลกั การ เมอ่ื ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาและคณะครสู นใจ และตดั สนิ ใจจะพฒั นาโรงเรยี นใหเ้ ปน็ โรงเรยี นคณุ ธรรม จะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้ 1. ความสมัครใจและเต็มใจ จะพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณธรรม ทุกคนควรตระหนักและ มั่นใจในคุณค่าและความสำคัญของการมีคุณธรรม ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนในโรงเรียนอยู่ร่วมกันได้อย่างมี ความสุข โดยอาศัยความคิดริเริ่มของคณะครูและการมีภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นหลักสำคัญ 2. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทุกคนในโรงเรียนร่วมกันทำ เป็นการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยร่วมกันคิด (วางแผน) ร่วมกันทำ และร่วมกันประเมินผล เพื่อปรับปรุงตนเองและโรงเรียนของเราเอง ให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น และร่วมกันลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้น้อยลงหรือหมดไป 243

3. มีการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ นำผลการประเมินมาปรับปรุง แผนการปฏิบัติงานคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยอาจกำหนดแผนการปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรมไว้อย่างน้อย คราวละ 1 ปี 4. โครงงานคุณธรรม จะเป็นไปตามบริบทของโรงเรียน ไม่เน้นการเพิ่มงบประมาณจาก ง บปกติ แนวปฏิบตั ใิ นการขับเคลื่อนส่โู รงเรียนคุณธรรมจริยธรรม แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน 2) การกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 3) การจัดทำโครงงานคุณธรรม 4) การลงมือร่วมกันปฏิบัติ 5) การนิเทศติดตามประเมินผลและเสริมแรงกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ขนั้ ตอนการชี้แจงทำความเข้าใจรว่ มกนั 1.1 จดั ประชมุ ชแ้ี จงผมู้ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งในโรงเรยี น สรา้ งความรคู้ วามเขา้ ใจ รบั ฟงั ความคดิ เหน็ เพอ่ื ความมน่ั ใจในการสมคั รใจทำงาน และตดั สนิ ใจรว่ มกนั ไดแ้ ก่ ผบู้ รหิ ารโรงเรยี น ครู นกั เรยี น ผปู้ กครอง บุคลากรทางการศึกษา พนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนชุมชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ค้าขายในโรงเรียน เป็นต้น 24 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” ค่มู ือปฏิบัตโิ รงเรยี นคณุ ธรรม

หากโรงเรียนสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับหนึ่งแล้ว ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง 245 ในลำดับกว้างออกไป เช่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 1.2 แตง่ ตง้ั และมอบหมายงานใหค้ ณะทำงานรบั ผดิ ชอบ ในการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และ การปรับปรุงแผนจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีวาระการทำงาน 1 ปี 1.3 สรปุ ขอ้ มลู พนื้ ฐานของโรงเรยี น โดยวเิ คราะหข์ อ้ มลู ปจั จยั ภายในของโรงเรยี น ไดแ้ ก่ จดุ แข็ง (ปัจจัยส่งเสริมการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้มีคุณภาพ) และจุดอ่อนหรือข้อด้อยของโรงเรียน รวมทั้ง วิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาส (สภาพภายนอกที่เอื้อให้โรงเรียนมีผลงาน เช่น ประชาชนต้องการให้ลูกหลานมีอาชีพ โรงเรียนจึงควรให้ความรู้ด้านทักษะอาชีพ เป็นต้น) และสภาพ ภายนอกที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของโรงเรียน เช่น เศรษฐกิจไม่ดี ชุมชนยากจนมาก เป็นต้น รวมทั้ง พิจารณาทบทวน วิสัยทัศน์ ปรัชญาต่างๆของโรงเรียนด้วย เพื่อให้โรงเรียนรู้จักตนเอง และเลือกใช้ ป ระโยชน์ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงของโรงเรียน 1.4 จดั เตรยี มผเู้ ขา้ ประชมุ ระดมสมอง โดยจดั กลมุ่ ผเู้ ขา้ ประชมุ ทม่ี ภี าระหนา้ ทค่ี วามรบั ผดิ ชอบ ในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น 1) กลุ่มครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครองและ คณะกรรมการสถานศกึ ษา 2) กลมุ่ นกั เรยี นแกนนำระดบั มธั ยมศกึ ษา 3) กลมุ่ นกั เรยี นระดบั ประถมศกึ ษา เป็นต้น การพิจารณาจัดประชุมแต่ละกลุ่มที่มีพื้นฐานหน้าที่ความรับผิดชอบใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ ในการมคี วามรู้ ความเขา้ ใจใกลเ้ คยี งกนั ทง้ั เรอ่ื งเกย่ี วกบั ปญั หา ความตอ้ งการพฒั นา และพฤตกิ รรมตา่ งๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน นอกจากนี้ ขนาดของกลุ่ม ควรมีปริมาณที่ช่วยให้ทุกคนในกลุ่ม มีโอกาสแสดง ความคิดเห็นได้ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้ในแผนงาน

1.5 จดั เตรยี มสถานที่ อปุ กรณ์ ตามทก่ี ำหนดไวใ้ นแผนงานตามความจำเปน็ สำหรบั การจดั หา วิทยากร ขอให้พิจารณาตามความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน 2. ขัน้ ตอนการกำหนดคณุ ธรรมเป้าหมายและคุณธรรมอัตลกั ษณ์ของโรงเรียน จัดประชุมระดมสมอง จะเลือกใช้กิจกรรมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือประชุมอภิปราย หารือ ฯลฯ ก็ได้ และดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 2.1 วิเคราะห์ปัญหา หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียน พฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิด ขึ้นในโรงเรียนอีก เช่น มาโรงเรียนสาย ลอกการบ้านเพื่อน เป็นต้น หรือ ช่วยกันวิเคราะห์หา พฤตกิ รรมที่พงึ ประสงค์ในโรงเรียน พฤติกรรมที่ต้องการเห็นได้ในโรงเรียน เช่น ช่วยติวเพื่อน เดินแถว ให้เป็นระเบียบ ทิ้งขยะให้เป็นที่ เป็นต้น โดยตัง้ คำถามให้ทุกคนคดิ ดังนี้ คำถาม : ในโรงเรียนนี้มีปัญหาอะไรบ้างที่อยากแก้ หรือ สิ่งดีๆ ที่ทุกคนอยากเห็น อยากทำมีอะไรบ้าง 2.2 รวบรวมและจดั กลมุ่ ความคดิ เหน็ ใหเ้ ปน็ เรอ่ื งๆ แลว้ สรปุ ความเขา้ ใจของทป่ี ระชมุ ใหต้ รงกนั 26 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คมู่ อื ปฏบิ ตั โิ รงเรยี นคณุ ธรรม

2.3 ค้นหาคุณธรรมเป้าหมาย โดยใช้ข้อมลู ความคิดเห็นของที่ประชุม (ตามข้อ2.1และ ข้อ2.2) ขอให้ที่ประชุมร่วมกันค้นหาคุณธรรมที่จะใช้แก้ปัญหาที่อยากแก้ หรือ คุณธรรมที่จะใช้เป็นหลักในการ ประพฤตปิ ฏบิ ตั สิ ง่ิ ทอ่ี ยากเหน็ อยากทำ เชน่ ความซอ่ื สตั ย์ ความรบั ผดิ ชอบ ความมนี ำ้ ใจ ความชว่ ยเหลอื เ กื้อกูลกัน เป็นต้น 2.4 จดั กลุ่ม “คุณธรรมเปา้ หมาย” ให้เป็นเรื่องๆ โดยรวบรวมรายการคุณธรรมเป้าหมายที่ได้ จากการระดมสมอง แล้วนำมาจัดกลุ่ม เลือกกลุ่มที่มีความหมายใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันกรณีมีคำศัพท์ แ ตกตา่ งกนั หลากหลาย ควรหารอื ในทป่ี ระชมุ และใหเ้ ลอื กใชค้ ำศพั ทท์ ม่ี คี วามเขา้ ใจตรงกนั ไมต่ อ้ งตคี วาม 2.5 จดั ลำดบั ความสำคญั ของคณุ ธรรมเปา้ หมาย โดยใหท้ ป่ี ระชมุ รว่ มกนั จดั ลำดบั ความสำคญั ของคณุ ธรรมเปา้ หมายทต่ี อ้ งการทำกอ่ นหลงั (กรณี ทป่ี ระชมุ เสนอความเหน็ เรอ่ื งคณุ ธรรมจำนวนหลายเรอ่ื ง มาก) ควรคัดเลือกมาเพียง 3 เรื่องก่อน เพื่อใช้เป็นคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน 2.6 กำหนดคณุ ธรรมเปา้ หมายใหเ้ ปน็ ทที่ ราบทว่ั กนั กลา่ วคอื คณุ ธรรมเปา้ หมาย หมายถงึ คุณธรรมที่ทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมกันกำหนดขึ้น โดยการคิดวิเคราะห์พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่โรงเรียน ต้องการให้เกิดขึ้น เป็นคุณธรรมที่มีคุณลักษณะที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ดีของโรงเรียน และสามารถ ใ ช้เป็นหลักในแก้ปัญหาส่วนใหญ่ของโรงเรียนได้ ในระยะเรม่ิ ตน้ ไมค่ วรกำหนดคณุ ธรรมเปา้ หมายจำนวนมากหลายขอ้ ควรกำหนดประมาณ 3 ข้อ เพื่อง่ายสะดวกต่อการพัฒนา 247

2.7 กำหนดพฤติกรรมบ่งช้ี/ข้อปฏิบัติท่ีเก่ียวข้องกับคุณธรรมเป้าหมาย โดยนำคุณธรรม เป้าหมายแต่ละข้อ มากำหนดรายละเอียดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติ ควรแบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมตามภาระ หน้าที่ความรับผิดชอบในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ในการคิดวิเคราะห์และเสนอแนะ พ ฤติกรรมบ่งชี้/ข้อประพฤติปฏิบัติของกลุ่มเดียวกันได้ 2.8 กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ให้เป็นท่ีทราบท่ัวกัน กล่าวคือ เมื่อนำคุณธรรมเป้าหมาย แต่ละข้อ มากำหนดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติเพิ่มเติมให้ครบแล้ว จะเรียกรวมว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์” ซึ่งหมายถึง คุณธรรมเป้าหมายที่มีการกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้/ข้อปฏิบัติไว้ด้วย ซึ่งจะจำแนกตามกลุ่ม เ ป้าหมาย เช่น ข้อปฏิบัติของครู ผู้บริหาร และนักเรียน เป็นต้น คุณธรรมอัตลักษณ์ จะใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่ม เป้าหมายแต่ละกลุ่ม พฤติกรรมบ่งชี้แต่ละข้อ จะใช้เป็นตัวชี้วัดที่แสดงความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง พฤตกิ รรมในโรงเรยี น หรอื พฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงคท์ โ่ี รงเรยี นตอ้ งการใหเ้ กดิ ขน้ึ มากนอ้ ยระดบั ไหน อยา่ งไร โรงเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ โดยมุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายใด จำนวนเท่าไร และเป้าหมายเชิงคุณภาพ โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไปในทิศทางที่ ดีขึ้น เป็นต้น 2.9 กำหนดนโยบายและ/หรือข้อตกลงร่วมกัน โดยนำเสนอผลการประชุมระดมสมองใน สว่ นของคณุ ธรรมเปา้ หมาย และ คณุ ธรรมอตั ลกั ษณ์ ทม่ี กี ารจำแนกพฤตกิ รรมบง่ ชข้ี องแตล่ ะกลมุ่ เปา้ หมาย แล้ว เพื่อให้ทุกคนที่เข้าประชุมมีความเข้าใจตรงกัน และร่วมกันกำหนดเป็นนโยบาย/ข้อตกลงว่าจะนำมา ปฏิบัติด้วยกัน โดยอาจนำเสนอในรปู ของตารางคุณธรรมอัตลักษณ์ ดังตัวอย่างนี้ 28 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ อื ปฏิบัตโิ รงเรียนคณุ ธรรม

คุณธรรมเปา้ หมาย พฤติกรรมบง่ ชี้/ขอ้ ปฏิบตั ิ (จำแนกตามกลมุ่ ) ผบู้ ริหาร ครู นกั เรียน ความซื่อสัตย์ - จัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส - เข้าสอนตรงเวลา - ไม่ลอกการบ้าน - พิจารณาความดีความชอบ - ไม่เอาเวลาราชการไป - ไม่โกหก ไม่พดู เท็จ อย่างถกู ต้องเป็นธรรม ทำประโยชน์ส่วนตัว ความรับผิดชอบ - มีความประพฤติดีเป็นแบบ - สอนให้นักเรียนรู้จักคิด - มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผือแผ่ทำ อย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับ วิเคราะห์ รู้จักการแก้ ประโยชน์ให้เพื่อนๆ ที่ บัญชา ปัญหาด้วยตนเอง ต้องการความช่วยเหลือ ความพอเพียง - มีแผนงานแผนเงินที่ - ใช้จ่ายสมฐานะ - ใช้จ่ายอย่างประหยัด สอดคล้องกัน - ใช้สื่อการสอนร่วมกัน - อดทน เสียสละเพื่อส่วน - ใช้จ่ายตามแผนงาน อย่างคุ้มค่า รวม 3. ขนั้ ตอนการจัดทำโครงงานคณุ ธรรม โครงงานคณุ ธรรม คือ โครงงานความดีเชิงรุก ที่เด็กคิด เด็กเลือก เด็กทำ ในรปู แบบของโครงงาน กลุ่ม ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงการทำความดี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อม ทางศีลธรรม และส่งเสริมการบ่มเพาะความดีผ่านกิจกรรมรปู แบบต่างๆ อย่างเป็นรปู ธรรมและเป็น ระบบ ขยายการมีส่วนร่วมไปยังบุคคลต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา” 249

การจดั ทำโครงงานคณุ ธรรม (Moral Project) จะแบง่ กลมุ่ ตามความสนใจโครงงานเรอ่ื งหนง่ึ เรอ่ื งใด หรอื อาจแบง่ ตามระดบั ชน้ั เรยี น แบง่ ตามชมรมความสนใจ แลว้ จดั เปน็ ประชมุ สมั มนาเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร หรอื ประชุมอภิปรายหารือ หรือประชุมระดมสมอง โดยมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 3.1 วิเคราะห์ปัญหา หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งกลุ่มต้องการให้โรงเรียนมีการแก้ไข โดยตั้งคำถามให้ทุกคนคิดวิเคราะห์ เช่น พฤติกรรมของเพื่อนๆ ที่อยากปรับปรุง หรือ คุณธรรมพื้นฐาน ของโรงเรียนมีข้อใดยังไม่ได้ทำบ้าง เป็นต้น คำถาม: ในโรงเรียนนี้มีปัญหาอะไรบ้างที่อยากแก้ (หรือสิ่งดีๆที่อยากทำมีอะไรบ้าง) 3.2 ควรจดั ลำดบั ปญั หาทสี่ ำคญั ดว่ นทส่ี ดุ ทท่ี กุ คนเหน็ พอ้ งตอ้ งกนั วา่ ควรรบี แกไ้ ข เลอื กมา 1 ปัญหาตามความเห็นของที่ประชุม คำถาม: ปัญหาข้อใดที่อยากแก้ไขมากที่สุด 30 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ ือปฏิบตั ิโรงเรยี นคณุ ธรรม

3.3 หาสาเหตขุ องปญั หา โดยนำปญั หาทค่ี ดั เลอื กแลว้ มาระดมสมองหาสาเหตขุ องปญั หานน้ั ๆ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุปัจจัยภายในและ/หรือปัจจัยภายนอกอย่างไรบ้าง อาจใช้การอภิปราย หาเหตุผล นำข้อมูลสถิติ ข้อเด่น ข้อด้อย ความเป็นไปได้ ความเร่งด่วนมาพิจารณาประกอบ เพื่อหาข้อยุติในการ ตัดสินใจเลือกเป็นประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไขมากที่สุด คำถาม: ปัญหาเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง มีข้อมูลประกอบการพิจารณาอะไรบ้าง 3.4 กำหนดเป้าหมายของการแก้ปัญหานั้นๆ โดยนำปัญหาที่คัดเลือกมากำหนดเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายเชิงปริมาณ หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นักเรียนชั้นไหน จำนวน เท่าไร ฯลฯ เป็นต้น และกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพ หมายถึง พฤติกรรมอะไรที่ต้องการให้เกิดขึ้น หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างไร คำถาม: ต้องการเปลี่ยนแปลงใคร/กลุ่มไหน จำนวนเท่าไร เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร 341

3.5 กำหนดช่ือโครงงาน ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย และ ควรสะท้อนกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่ เกี่ยวข้อง เช่น “โครงงานลด ละ เลิก บุหรี่-เมรัยฯ” “โครงงานรักษ์สัตว์ รักษ์สังคม” เป็นต้น 3.6 กำหนดวิธแี กไ้ ขปญั หา หรือ วิธีดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น จะมีแผนอย่างไร คำถาม: วิธีการแก้ไขแต่ละสาเหตุ ทำอย่างไรบ้าง 3.7 หลกั ธรรม/พระราชดำรสั /พระราชดำร/ิ คำสอน ใชห้ ลกั ธรรมอะไรเปน็ หลกั คดิ ในการดำเนิน โครงงาน นอ้ มนำพระราชดำรสั /พระราชดำร/ิ คำสอน อะไรมาเปน็ หลกั ในการดำเนนิ โครงงาน โครงงานแตล่ ะ โครงงานสามารถมีคุณธรรมหลายข้อเป็นหลักคิดในการปฏิบัติโครงงานได้ คำถาม: การดำเนินงานแก้ปัญหา จะใช้คุณธรรม/ พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน อะไรบ้างเป็นหลักคิด 32 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” ค่มู ือปฏบิ ตั โิ รงเรยี นคุณธรรม

3.8 การเชื่อมโยงไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน โดยที่ประชุมพิจารณาการเชื่อมโยง ไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ได้อย่างไร โครงงานแต่ละโครงงานสามารถเชื่อมโยงไปสู่คุณธรรม อัตลักษณ์หลายข้อได้ โดยพิจารณาถึงกระบวนการในการปฏิบัติโครงงานและคุณธรรมที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น คำถาม: โครงงานนี้นำไปสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ ของโรงเรียนได้อย่างไร 3.9 กำหนดวิธีการวัดและประเมินผล โดยกำหนดตัวชี้วัด เพื่อวัดหรือประเมินผลว่า มีการ เ ปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร ไปมากน้อยเพียงไรในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3.10 จดั ทำรา่ งเอกสารโครงงานคุณธรรม โดยรวบรวมข้อมูลทั้งหมด แล้วจัดทำเป็นเอกสาร ร่างโครงการ เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติสักระยะหนึ่ง แล้วปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท ข องโรงเรียน ก่อนนำไปใช้จริง ทั้งนี้ เนื่องจากโครงงานคุณธรรม เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาทักษะการคิด และการปฏิบัติงาน กลมุ่ ของนกั เรยี น จงึ ควรจดั ทำโครงงานฉบบั รา่ งแลว้ นำไปทดลองใชก้ อ่ นสกั ระยะ เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นไดเ้ รยี นรู้ แล้วปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ จนกลุ่มคิดว่าสามารถนำไปปฏิบัติให้ได้ผลตรงตามความต้องการได้แล้ว 343

3.11 จัดทำเป็นโครงงานคุณธรรม โดยนำข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการทดลอง ทุกขั้นตอน มาเรียบเรียงให้อ่านเข้าใจง่าย อาจใช้รูปแบบการเขียนโครงงานคุณธรรม หรือรูปแบบตาม ความเหมาะสมของโรงเรียน กรณมี ขี อ้ คดิ เหน็ ขอ้ ทกั ทว้ ง ผบู้ รหิ ารและคณะทำงานควรรว่ มกนั ชแ้ี จง และ/หรอื พจิ ารณาปรบั ปรุง แก้ไขแผนโครงงานให้แล้วเสร็จ และเผยแพร่ใช้เป็นโครงงานจริงต่อไป โครงงานคณุ ธรรม ประกอบด้วย 1.ชื่อโครงงาน 2.ความสำคัญของปัญหา 3.วัตถุประสงค์ 4.กลุ่มเป้าหมาย 5.แผนการดำเนินโครงงาน 6.งบประมาณ 7.หลักธรรมที่นำมาใช้ 8.ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ 9. วิธีการวัดและประเมินผล 10.ผู้รับผิดชอบโครงงาน 34 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มอื ปฏบิ ตั ิโรงเรียนคุณธรรม

4. ขน้ั ตอนการลงมือร่วมกันปฏิบตั ิ 4.1 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงงาน โดยอาจมีนักเรียนรวมกลุ่มกันเองเพื่อทำความดีตามความ สนใจ หรือ ครคู ัดเลือกเยาวชนแกนนำของโรงเรียนสัก 8-10 คน เป็นผู้รับผิดชอบโครงงาน มีครทู ี่ปรึกษา 1- 3 คน พจิ ารณาตามขอบเขตและขนาดของงาน สมาชกิ กลมุ่ ไมค่ วรจำกดั จำนวน ควรเปน็ ไปตามความ ส นใจและภาระงานที่ให้รับผิดชอบ 4.2 กำหนดเปา้ หมายการปฏิบตั ิงาน ทั้งในระยะสั้นในแต่ละเดือน และเป้าหมายระยะยาวใน แต่ละภาคการศึกษา 4.3 กำหนดปฏทิ นิ การปฏิบัติงาน 4.4 ลงมือปฏิบัติด้วยกันตามแผนปฏิบัติงาน ในทุกกิจกรรมนักเรียนจะได้เรียนรู้จากการ ลงมือทำ โดยการสังเกต คิดพิจารณาปรับปรุงกิจกรรมให้นำไปสู่ความสำเร็จ ประการสำคัญ ได้เรียนรู้ จากการร่วมกันทำงานเป็นทีมทำงานที่ดีด้วยกัน หลกั สำคญั ประการหนง่ึ ทช่ี ว่ ยในการรวมกลมุ่ ของนกั เรยี นใหท้ ำกจิ กรรมรว่ มกนั ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ คือ ความเป็นกัลยาณมิตร ทุกคนในกลุ่มจะทำงานอย่างสนุกสนานร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีความเป็น กลั ยาณมติ รซึ่งกันและกัน คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ได้แก่ 1) มีความน่ารัก ให้ความรู้สึกอยากร่วมงาน ด้วย อยากเขา้ ไปขอคำปรกึ ษาหารอื 2) มคี วามนา่ เคารพ ทำใหร้ สู้ กึ อบอนุ่ ใจ เปน็ ทพ่ี ง่ึ ได้ 3) อยากนำมาเปน็ ตวั อยา่ งในการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ 4) บอกสอนเป็น คือ รู้จักพูดให้ 345

เข้าใจ คอยให้คำแนะนำ ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดีได้ 5) พร้อมรับฟังคำปรึกษา ข้อซักถาม ข้อวิพากษ์ วิจารณ์โดยไม่ใช้อารมณ์ 6) สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจง่าย และแนะนำให้เรียนรู้เรื่องที่ ล ึกซึ้งยิ่งขึ้น 7) ไม่นำผิดทาง ผิดทำนองคลองธรรม หรือชักจงู ไปในทางเสื่อมเสียไม่เหมาะสม 4.5 เม่ือจบแต่ละกิจกรรมย่อย ให้ทำ AAR (After Action Review) เป็นการพูดคุยกัน เพื่อ ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และควรให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและการนำไป ป ระยุกต์ใช้ในสมุดเป็นรายบุคคล 4.6 เผยแพร่เอกสารโครงงานคุณธรรม โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมและการ ประชุมทุกขั้นตอน มาเรียบเรียงให้กระชับ อ่านเข้าใจง่าย อาจใช้รูปแบบการเขียนโครงงานคุณธรรม หรือ รูปแบบตามความเหมาะสมของโรงเรียน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสะดวกและทั่วถึงในการนำไปเผยแพร่ให้ ทุกคนทราบ นำไปใช้ และใช้ในการประเมินผลได้ 5. ขนั้ ตอนการนเิ ทศติดตามประเมินผลและเสรมิ แรงกนั ในการทำโครงงานต่างๆ ควรมีคณะทำงานทำหน้าที่นิเทศ ติดตามให้คำปรึกษาหารือ รวมทั้ง เป็นพี่เลี้ยงสอนงาน และให้ความช่วยเหลือแนะนำสิ่งที่จำเป็นอย่างมีกัลยาณมิตร เพื่อให้งานบรรลุผล ตามขั้นตอน เป้าหมายและกำหนดเวลาที่คาดหวังไว้ ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลังการ ทำงาน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยพิจารณาตาม ตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในโครงงาน เช่น ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีจิตอาสาเพิ่มขึ้น เป็นต้น ควรสร้าง 36 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มอื ปฏิบัตโิ รงเรียนคุณธรรม

การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อให้มีมุมมองด้าน การประเมินผลสำเร็จของงาน ทั้งจากภายในและภายนอกโรงเรียน นอกจากนี้ โรงเรียนควรกำหนดให้มีการเยี่ยมเยียน เยี่ยมชมโครงงานซึ่งกันและกัน โดยอาจจัด ในรูปแบบของตลาดนัดโครงงานคุณธรรม มีเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และ ช่วยผนึกกำลังกันให้เข้มแข็งในการร่วมกันทำความดี โครงงานอื่นๆของโรงเรียน ทั้งด้านวิชาการ ด้าน วินัยนักเรียน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆของคณะครู ทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงงานคุณธรรมหรือไม่เกี่ยวข้อง ก็ตาม ควรนับรวมว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมหนุน ให้เกิดการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมขึ้นในโรงเรียน คุณความดีจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้วยตนเอง การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน การเสริมแรงกันด้วย กิจกรรมต่างๆ เป็นการขยายงานไปให้ทั่วโรงเรียน จึงเป็นหลักประกันของการประพฤติคุณธรรมความดี จะคงอยู่และยั่งยืนตลอดไปในโรงเรียน และมีโอกาสที่จะขยายผลสู่ชุมชนเครือข่ายใกล้เคียงได้ต่อไป 347



บทที่ 3 ร้ไู ด้อย่างไรว่า ไ ด้เปน็ โรงเรยี นคุณธรรม จรยิ ธรรมแลว้

“...ความสขุ ความเจรญิ ทแี่ ทจ้ รงิ อันควรหวังน้ัน เกิดข้นึ ไดจ้ ากการกระทำ และความประพฤตทิ ี่เป็นธรรม มีลักษณะสร้างสรรค์ คอื อำนวยผลท่ีเปน็ ประโยชน์ทัง้ แกต่ ัว แกผ่ ้อู น่ื ตลอดถงึ ประเทศชาติโดยสว่ นรวมดว้ ย...” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2535 40 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คู่มือปฏิบัติโรงเรยี นคุณธรรม

เมื่อผู้บริหารและคณะครูตัดสินใจจะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมแล้ว ย่อมต้องการ ทราบผลว่า การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมมีความก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง และพฤติกรรมของครู นักเรียน ผู้บริหาร และ ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงคใ์ นโรงเรยี นเรอ่ื งใดเพม่ิ ขน้ึ มากหรอื นอ้ ย พฤตกิ รรมไมพ่ งึ ประสงคล์ ดลงมากหรอื นอ้ ย เป็นต้น ดังนั้น คณะผู้บริหารจึงจำเป็นต้องกำหนดกระบวนการบริหารงาน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนงาน พฒั นาคณุ ธรรมของโรงเรยี น ประกอบดว้ ย 1) การวางแผนงานคณุ ธรรม 2) สรา้ งกลไกการลงมอื ปฏบิ ตั งิ าน 3) กำหนดการตดิ ตามนเิ ทศงาน และ 4) ใหม้ กี ารประเมนิ ผลการปฏบิ ตั งิ าน ครบรอบบรหิ ารงาน ประมาณ 1 ปีแล้ว นำผลจากการประเมินผลงานมาปรับปรุงแผนงานคุณธรรมฉบับต่อๆ ไป การลงมือปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่องจะพัฒนาให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 1 . การวางแผนงานคณุ ธรรม แผนงานคณุ ธรรม หมายถงึ การกำหนดแนวทางการพฒั นาโรงเรยี นสโู่ รงเรยี นคณุ ธรรมอยา่ งเป็น ระบบ เพอ่ื ใหก้ ารดำเนนิ งานมปี ระสทิ ธภิ าพและบรรลเุ ปา้ หมายตามทค่ี าดหวงั ไว้ ประกอบดว้ ย การกำหนด วสิ ยั ทศั น์ เปา้ ประสงค์ วตั ถปุ ระสงค์ ยทุ ธศาสตร์ แผนปฏบิ ตั ิ และ ตวั ชว้ี ดั เพอ่ื การประเมนิ ผล ดงั ตวั อยา่ ง ดังนี้ 441

ผังแสดง แผนงานคณุ ธรรมจริยธรรม วิสยั ทัศน์ ช่วยกันสร้างคนดีให้สังคม เปา้ ประสงค์ 1. มีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนคุณธรรม 2. มีกลไกและเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนา โรงเรียนคุณธรรม 3. พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น 4. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนลดน้อยลง วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 2. เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยฝึกกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 3. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนให้น้อยลง ยุทธศาสตร์ 1. ผนึกกำลังของผู้บริหาร ครู และนักเรียนลงมือปฏิบัติคุณธรรมทั่วทั้งโรงเรียน ดำเนินงาน 2. บรู ณาการแผนงาน/โครงการ ทั้งด้านวิชาการตามกลุ่มสาระ งานวินัยนักเรียน กิจกรรมพัฒนานักเรียน และกิจกรรมเสริมหลักสตู ร เข้าไว้ในการพัฒนาโรงเรียน คุณธรรม แผนปฏิบตั ิ แผนพัฒนาโรงรียนคุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมเป้าหมาย 1.ความซ่ือสตั ย์ 2. ความรับผิดชอบ 3. ความพอเพยี ง 42 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ อื ปฏบิ ตั โิ รงเรยี นคณุ ธรรม

คณุ ธรรม 1. ความซอื่ สตั ย์ อตั ลกั ษณ์ ผ้บู ริหาร ครู นักเรยี น - ไม่แสวงหาผลประโยชน์ - ไม่เบียดเบียนเวลาราชการ - ใช้วาจาสุภาพ - ไม่โกหกและมีสัจจะ - ไม่สร้างความแตกแยกใน ไม่พูดคำหยาบ - ไม่เบียดเบียนเวลา หมู่คณะ - ไม่ลอกการบ้าน ราชการ - ห่างไกลยาเสพติด 2. ความรบั ผิดชอบ ผู้บริหาร คร ู นกั เรยี น - ตรงต่อเวลา - ตรงต่อเวลา - แต่งกายถูกระเบียบของ - รับผิดชอบต่อหน้าที่ - แต่งกายถูกระเบียบของ โรงเรียน - อดทน แก้ไขปัญหาให้ โรงเรียน - ยิ้มไหว้ ทักทาย ลุล่วงด้วยดี - สอนให้นักเรียนรู้จักคิด - มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อม - ตัดสินใจโดยใช้ข้อมลู เป็น วิเคราะห์ ถ่อมตน หลัก 3. ความพอเพียง ผู้บรหิ าร ครู นักเรียน - ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า - ประหยัดทรัพยากรของ - มีน้ำใจ เสียสละ ช่วยเหลือ - แผนงานของโรงเรียน โรงเรียน ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน สอดคล้องกับแผน - เสียสละ แบ่งปันต่อ - ประหยดั ไมใ่ ชจ้ า่ ยเกนิ ตวั งบประมาณ นกั เรยี น และเพอ่ื นรว่ มงาน - ประหยัดทรัพยากรของ - อบรม ให้ความรู้ สอน - ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ โรงเรียน งานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา - สอนงานเพื่อนร่วมงาน 443

โครงการ/โครงงาน/ โรงเรียนมีโครงการ/โครงงาน/กจิ กรรมพัฒนาคุณธรรม รวมทั้งสิ้น.…โครงงาน ได้แก่ กจิ กรรม 1. โครงการ.... 2. โครงงาน.... ฯลฯ. ตัวชีว้ ดั ในการ 1. มีกระบวนการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน พฒั นาโรงเรยี นสู่ 2. (ร้อยละ)จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์เพิ่มขึ้น โรงเรยี นคุณธรรม 3. (ร้อยละ)จำนวนครทู ี่มีพฤติกรรมพึงประสงค์เพิ่มขึ้น จริยธรรม 4. (ร้อยละ)จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดน้อยลง 5. มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และชุมชน 6. มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม และมีการบรู ณาการกับ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 7. มีการขยายเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม 8. มีภาคีความร่วมมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม คณะทำงาน 1.นาย/นาง/นางสาว......................................................ผู้อำนวยการโรงเรียน รับผิดชอบ 2. 3. 1.1 วิสยั ทศั น์ หมายถงึ สง่ิ ทโ่ี รงเรยี นมงุ่ หวงั ใหเ้ กดิ ขน้ึ ในอนาคต ซง่ึ ระดบั ผบู้ รหิ ารตอ้ งกำหนดขน้ึ และทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วม เช่น โรงเรียนมุ่งจะช่วยสร้างคนดีให้สังคม 1.2 เปา้ ประสงค์ (Ultimate Goal) หมายถึง เป้าหมายที่โรงเรียนมุ่งมั่นจะไปให้ถึงในอนาคต และต้องมีความสอดคล้องกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เช่น มุ่งให้มีกระบวนการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียน คุณธรรม 44 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” ค่มู ือปฏิบัติโรงเรยี นคุณธรรม

1.3 วตั ถปุ ระสงค์ เปน็ ขอ้ ความทแ่ี สดงถงึ แนวทางปฏบิ ตั ติ า่ งๆเพอ่ื ชว่ ยใหบ้ รรลตุ ามเปา้ ประสงค ์ที่ กำหนดไว้ ข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้ เช่น เพื่อพัฒน า (ซง่ึ จะสง่ ผลใหเ้ กดิ กระบวนการพฒั นาโรงเรีย น ความรว่ มมอื จากทกุ ภาคสว่ นในการพฒั นาโรงเรยี นคณุ ธรรม ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้) โ ด คำรเงนกินางราต1น.่า4งเๆชย่นทุที่โรธโงรศเงราเียรสนียตทนรำจ์ดอะยำผู่แเนนลึก้วินกมงำาาลไนวัง้จดา้วหกยมทาเปุกยภ็นถตาึงค้นสว ่วิธนีกมาารรใ่วนมระกดันัทบำรงาายนละแเอลีะยจดะทบี่จูระณนาำกมาารใแชผ้ในนงกาา นร/ อนึ่ง โรงเรียนควรพิจารณาแนวทางการบูรณาการงาน โครงการ โครงงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ โรงเรียนได้จัดทำขึ้นภายใต้แผนงานต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ ด้านวินัย ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้าน กิจกรรมเสริมหลักสตู ร เป็นต้น มาดำเนินการภายใต้เป้าหมายเดียวกันของโรงเรียน เพื่อประโยชน์ในการ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งงบประมาณ บุคลากร ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ประการ สำคัญผลงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการงานต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ส ร้างทีมงานที่ดี ซึ่งจะส่งผลที่ดีในการพัฒนาโรงเรียนในระยะยาว 1.5 แผนปฏบิ ัติ หมายถึง แผนงานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานคุณธรรม ประกอบด้วย คุณธรรม เป้าหมาย คุณธรรมอัตลักษณ์ โครงการ/โครงงาน/กิจกรรม และตัวชี้วัดในการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียน คุณธรรม 445

2. สร้างกลไกการลงมอื ปฏิบตั ิงาน โรงเรยี นพฒั นากลไกในการปฏบิ ตั งิ าน โดยเนน้ การสรา้ งความมสี ว่ นรว่ ม มคี ณะทำงานรบั ผดิ ชอบ มีนักเรียนแกนนำ มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการ ประเมินผล เป็นต้น 3 . กำหนดการติดตามนเิ ทศงาน ในช่วงของการปฏิบัติงาน ควรมีการนิเทศงานเป็นระยะๆ มีผู้รับมอบหมายให้เป็นผู้นิเทศติดตาม งาน สอนงาน ให้คำปรึกษาหารืออย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อให้งานเป็นไปในแนวทางที่กำหนดไว้ แก้ไข ป ัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที และ ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา การนิเทศติดตามงานจะเป็นการกระตุ้นส่งเสริม เสริมแรง ให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานให้ดำเนิน การอย่างราบรื่นจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงการติดตามให้คำแนะนำปรึกษาอย่าง กัลยาณมิตร การนิเทศติดตามงานอย่างต่อเนื่องจะเป็นหลักประกันที่ดีต่อความสำเร็จของการพัฒนา โรงเรียนคุณธรรม 46 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คูม่ ือปฏบิ ัตโิ รงเรียนคณุ ธรรม

4. การประเมนิ ผลการปฏิบตั งิ าน การประเมินผลจะช่วยให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การประเมินผลควรทำ 2 ระดับ ได้แก่ การประเมินผลในระดับโครงงานคุณธรรม และ การประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน ระดับ ความสำเรจ็ ของโครงงานคณุ ธรรมตา่ งๆจะสง่ ผลใหเ้ กดิ ผลสำเรจ็ ในภาพรวมของโรงเรยี น ดงั นน้ั การเลอื กใช้ ตวั ชว้ี ดั จงึ มคี วามสำคญั และมผี ลตอ่ การแสดงผลความสำเรจ็ แตกตา่ งกนั ตัวชี้วัด หมายถึง คุณลักษณะความประพฤติ พฤติกรรมที่ต้องการวัดหรือประเมิน ควรใช้คำที่ ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ และระบุการประเมินเชิงปริมาณ และ/หรือเชิงคุณภาพ เช่น • ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนนักเรียนที่กล้าแสดงออกในทางที่ดีเพิ่มมากขึ้น • ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : นักเรียนสร้างสรรค์กิจกรรมหน้าเสาธงอย่างหลากหลาย 4.1 การประเมนิ ผลในระดบั โครงงานคุณธรรม ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลโครงงานคุณธรรม อาจแบ่งออกตามช่วงเวลาของแผน 1. การเริ่มโครงงานคุณธรรม อาจใช้ตัวชี้วัดเพื่อประเมินการเตรียมความพร้อม และ กิจกรรมที่ปฏิบัติงานขั้นต้น เช่น • มีการประชุมสร้างความเข้าใจ • มีการแต่งตั้งคณะทำงาน • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมประชุมฟังคำชี้แจงฯลฯ เป็นต้น 447

2. ช่วงระยะกลางแผนของโครงงานคุณธรรม อาจใช้ตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการทำ กิจกรรมโครงงานในช่วงครึ่งแผนได้ผลอย่างไร เพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนปฏิบัติงาน เช่น • ร้อยละของโครงงานที่ปฏิบัติได้ตามแผนที่กำหนดไว้ • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมทำกิจกรรม/โครงงาน • จำนวนโครงงานที่เป็นไปตามแผน ฯลฯ เป็นต้น 3. เมอื่ ส้ินสดุ โครงงานคณุ ธรรม ควรใชต้ วั ชว้ี ดั เพอ่ื ประเมนิ ผลสำเรจ็ ของโครงงานคณุ ธรรม เชน่ • ร้อยละของกิจกรรม/โครงงานที่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด • ร้อยละของผู้สนใจเขาร่วมทำกิจกรรม/โครงงานตั้งแต่ต้นจนแล้วเสร็จ • พฤติกรรมที่พึงประสงค์(ที่กำหนดไว้ในโครงงาน)เพิ่มขึ้น • พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์(ที่กำหนดไว้ในโครงงาน)ลดน้อยลง ฯลฯ เป็นต้น 4.2 การประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน โรงเรียนแต่ละแห่งจะมีการจัดทำกิจกรรม/โครงงานคุณธรรมหลายเรื่องมากมาย บางโรงเรียนมี กิจกรรม/โครงงานแบ่งตามจำนวนห้องเรียน ชั้นเรียน ชมรม กลุ่มสนใจ เป็นต้น เมื่อประเมินผลระดับ โครงงานคุณธรรมแล้ว ให้นำผลมาใช้ประเมินผลภาพรวมของโรงเรียน โดยนำคุณธรรมเป้าหมายของ โรงเรียนทีไ่ ด้กำหนดไว้ มาใช้เป็นเป้าหมายในการประเมินผล แล้วนำคุณธรรมอัตลักษณ์ที่ระบุพฤติกรรม บ่งชี้มาเป็นหลักในการพิจารณาประกอบ แล้วจึงกำหนดตัวชี้วัดภาพรวม เช่น 48 | “ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง” คมู่ ือปฏิบตั โิ รงเรยี นคุณธรรม

คุณธรรมเป้าหมาย: ความรับผิดชอบ คุณธรรมอตั ลักษณข์ องผู้บริหาร: ตรงต่อเวลา ตัดสินใจโดยใช้ข้อมลู เป็นหลัก ตัวชว้ี ดั : พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเพิ่มขึ้น ตัวช้ีวัดภาพรวม จะใช้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน โดยพิจารณาจากเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ตัวชี้วัดภาพรวมที่สำคัญ ได้แก่ 1. มีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน 2. มีกลไกคณะทำงานและใช้โครงงานคุณธรรมเป็นเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือ ปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 3. พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น 4. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียนลดน้อยลง 5. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนจากทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารโรงเรียน ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน 6. มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม และมีการบูรณาการกับการจัดการ เรียนรู้ในชั้นเรียน 7. เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม 449