Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพตามบริบทสุขภาวะปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพตามบริบทสุขภาวะปัจจุบัน

Published by watchara.tmc, 2020-08-30 20:45:40

Description: การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพตามบริบทสุขภาวะปัจจุบัน

Search

Read the Text Version

คำนำผู้จดั พมิ พ์ หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นจากการต่อยอดผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน จากกองทุนส่งเสริมงานวิจัย วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี งานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จหากเพียงแต่เก็บไว้ในห้องสมุดของ สถาบันการศึกษาและรายงานการวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมเพียงน้อยนิด การ เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพกอ่ ใหเ้ กิดประโยชนอ์ ยา่ งแท้จริง การจัดทำหนังสือน้ี เริ่มจากการทบทวนแนวคิดทฤษฏีทางการแพทย์ แผนไทยทเี่ ก่ยี วขอ้ งกับกลุ่มโรคเรอื้ รงั ซ่งึ เริ่มจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก่อนเป็นเบื้องต้น จากนิยามความหมาย กลุ่มอาการ นำไปสู่กลไกการเกิดโรค และ หลักการรักษาโรคตามทฤษฏีการแพทย์แผนไทยควบคู่ไปกับแนวทางการปฏิบัติ ทางการแพทยแ์ ผนปจั จุบนั (Clinical Practice Guideline) ขอขอบพระคณุ ผ้ทู รงคณุ วุฒิท้งั 2 ท่าน ศาสตราจารย์(พเิ ศษ) แพทย์หญิง สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ และอาจารย์ลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ ความอนุเคราะห์อา่ นและให้คำแนะนำความถูกต้องเน้ือหา รวมทั้งผู้เช่ียวชาญอีก 2 ท่าน คืออาจารย์ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ และ ภ.ก.พินิต ชินสร้อย ที่ให้ข้อมูลอันเป็น ประโยชน์สำคัญในการประยุกตใ์ ช้ภูมปิ ัญญาการแพทย์แผนไทยกับการดแู ลสุขภาพ ในกล่มุ โรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง ไว้ ณ ที่น้ี ขอบคณุ มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุ ี กองทนุ สง่ เสริมงานวิจัย ทีใ่ ห้ทนุ สนบั สนุน รวมถงึ คณะกรรมการบรหิ าร คณาจารย์ และเจ้าหนา้ ท่ฝี า่ ย ต่าง ๆ ของวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ทีไ่ ดใ้ ห้ความช่วยเหลือและสนบั สนนุ ในด้านอปุ กรณ์ เครอื่ งมอื และสถานทใี่ นการทำจัดทำหนังสือนี้ ดร.ปณุ ยนุช อมรดลใจ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2563

ก สารบัญ คำนิยม หน้า สารบญั ก สารบัญภาพ ข สารบัญตาราง ค ค บทนำ องค์ความรู้ภมู ิปัญญาการแพทยแ์ ผนไทยกบั การดูแลสุขภาพตามบรบิ ทสุขภาวะปจั จบุ นั 1 บทที่ 1 โรคเบาหวานตามแนวคดิ ทฤษฎี การแพทยแ์ ผนไทย 1.1 ความหมาย อาการและอาการแสดง ของโรคเบาหวาน 3 1.2 กลไกการเกดิ โรคเบาหวานตามทฤษฎี แพทยแ์ ผนไทย 21 บทท่ี 2 โรคความดันโลหิตสูงตามแนวคดิ ทฤษฎี การแพทยแ์ ผนไทย 2.1 ความหมายของโรคความดนั โลหิตสูง…….27 2.2 สมฏุ ฐานและมลู เหตกุ ารเกดิ โรคความดัน โลหิตตามคมั ภรี ์ 27 2.3 กลไกการเกดิ โรคความดันโลหติ สูงตาม ทฤษฎแี พทยแ์ ผนไทย 37 บทท่ี 3 การประยกุ ต์ใช้การแพทยแ์ ผนไทยในการดูแล สุขภาพผ้ปู ว่ ยโรคเบาหวาน 39

ข 3.1 โรคเบาหวานในทางการแพทย์ แผนปัจจุบัน 39 3.2 การประเมนิ ทางคลินกิ การวนิ จิ ฉัยโรค เบาหวาน 46 3.3 ภาวะแทรกซอ้ นเร้อื รงั ของโรค เบาหวาน 49 3.4 การบำบดั รักษาโรคเบาหวาน 51 3.5 หลกั การรักษาโรคเบาหวานตาม ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย 52 บทท่ี 4 การประยกุ ต์ใชก้ ารแพทยแ์ ผนไทย ในการดแู ลสุขภาพผปู้ ่วยโรคความดนั โลหิตสูง 4.1 คำนิยามและคำจำกัดความ ของโรคความดันโลหติ สูง 55 4.2 การจำแนกความรุนแรงของโรค ความดนั โลหิตสงู 57 4.3 การรักษาโรคความดันโลหติ สงู ตามแนวทางการแพทยแ์ ผนปจั จุบัน 61 4.4 การควบคมุ ความดันโลหิตในกลมุ่ ผู้ป่วยท่ีมีโรครว่ ม 66 4.5 การลดความเสยี่ งในผปู้ ว่ ยโรค ความดนั โลหิตสูง 74 4.6 หลกั การรักษาโรคความดนั โลหติ ตามทฤษฏีการแพทยแ์ ผนไทย 74 บทที่ 5 สรุปสาระสำคญั การประยุกตใ์ ชภ้ ูมปิ ัญญา การแพทยแ์ ผนไทยกบั การดูแลสขุ ภาพ 87 เอกสารอ้างอิง 94

ง สารบญั ภาพ หนา้ รูปภาพท่ี 1.1 กลไกลการเกิดโรคเบาหวาน 23 ทางการแผนไทย 25 31 รปู ภาพที่ 1.2 เสน้ ทางสภาวะไฟพกิ าร รปู ภาพท่ี 2.1 ลกั ษณะเสน้ เลือดของร่างกาย 32 รปู ภาพท่ี 2.2 ลกั ษณะหวั ใจและระบบ 37 ไหลเวียนเลือด รปู ภาพท่ี 2.3 กลไกเกดิ โรคความดันโลหติ สงู ตามหลกั ทฤษฎีการแพทย์ สารบัญตาราง หน้า ตารางท่ี 2.1 ตารางวิเคราะหธ์ าตุเทียบเคียง โรคความดันโลหติ สงู 33 ตารางท่ี 4.1 การจำแนกโรคความดันโลหิตสงู ตามความรนุ แรงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปี ข้ึนไป 58 ตารางที่ 4.2 จำนวนตำรบั ยาโรคลมอัมพฤกษ์- ลมอัมพาตในตำราการแพทย์แผนไทย 79 ตารางท่ี 4.3 รายชอื่ ตำรับยาและสว่ นประกอบยา รกั ษาโรคลมอัมพฤกษ์-อัมพาต ในคมั ภรี แ์ พทยแ์ ผนไทย 79 ตารางที่ 4.4 แสดงความถ่ขี องสมนุ ไพรในตำรบั ยารกั ษาโรคลมอัมพฤกษ์-ลมอมั พาต 85



1 บทนำ องค์ความรู้แพทยแ์ ผนไทยกับการดูแลสุขภาพ ตามบริบทสขุ ภาวะปจั จุบัน องค์ความรู้แพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพตามบริบทสุขภาวะ ปัจจุบัน นั้นเป็นภูมิปัญญาที่ให้การดูแลสุขภาพของคนไทยมาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบันด้วยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา แม้ว่าในขณะนี้การแพทย์แผน ปัจจุบันจะเป็นการแพทย์กระแสหลักแต่ปัญหาสุขภาพของคนไทยขยาย ขอบเขตเกนิ กวา่ การแพทย์กระแสหลกั จะตา้ นรบั ได้ครอบคลุมทกุ ปัญหา เช่น ปัญหาโรคไมต่ ดิ ต่อเรอื้ รงั โรคเครียดและโรคทเ่ี กดิ จากความเสอื่ ม การแพทย์ แผนไทยจึงกลับเข้ามาอยู่ในกระแสความต้องการของประชาชนจากบริบท ของสุขภาวะที่เปลี่ยนไป บุคลากรแพทย์แผนไทยให้บริการโดยการปฏิบัติท่ี อยู่บนพื้นฐานของความรู้ของศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย ในขณะเดียวกนั องค์ความรู้ดั้งเดิมกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง พฒั นาควบคกู่ นั ไป เพื่อดำรงไว้และต่อยอดภมู ปิ ญั ญาอันลำ้ คา่ ในการนำมาใช้ แก้ปัญหาสขุ ภาพดังกล่าว การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ ตามบริบท ณ ท่ีนี้จึงหมายถึง การนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมา ประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้อรังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู ซึ่งถอื เปน็ โรคไม่ตดิ ต่อเร้ือรังท่ีเป็นปัญหา สาธารณสุขสำคัญอยา่ งหนึง่ ของประเทศไทยและทัว่ โลก สำหรับโรคเบาหวาน สถิติคนไทยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว และโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ถือเป็นโรคที่มีความก้าวหน้าและมีความซับซ้อนในการรักษา และ

2 ต้องใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษา จากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวาน นานาชาติ International Diabetes Federation : IDF) รายงานว่ากุญแจ สำคัญนำไปสู่โรคเบาหวานคือเรื่องพฤติกรรมการกนิ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าใน ปี พ.ศ.2578 จะมีผู้ปว่ ยเปน็ โรคเบาหวานไดม้ ากถึง 600 ล้านคน [1] สำหรับ ประเทศไทยสถิติผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรคพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายของหญิงไทยสูงสุดเป็น อันดับ 1 และสถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มาก เปน็ อนั ดับ 4 รองจาก จนี อนิ เดยี ญ่ีปนุ่ [2] ในส่วนของโรคความดันโลหิตสูงก็จัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจาก ข้อมลู องคก์ ารอนามยั โลก พบว่า โรคความดันโลหติ สงู เป็นสาเหตุการตายทั่ว โลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด และมี การคาดการณว์ ่าจะมีความชุกของโรคความดันโลหติ สูงท่ัวโลกเพิ่มข้ึนถงึ เป็น 1.56 พนั ล้านคน ในปพี .ศ. 2568 โดยสาเหตสุ ว่ นใหญม่ าจากปัจจยั การดำเนนิ ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การมีกิจกรรมทางกายน้อย การบริโภคอาหารที่มี ส่วนประกอบของเกลือ และไขมันสูง การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบหุ ร่ี ซ่งึ นำมาสู่ภาระโรคทเี่ พม่ิ ข้ึน [3] ดงั นั้นเพอ่ื นำไปสกู่ ารบรู ณาการ การประยกุ ตใ์ ชอ้ งค์ความรู้ด้ังเดิม กับวิทยาศาสตร์การแพทย์ในยุคปัจจุบันให้สอดรับกับปัญหาสุขภาพของคน ไทย การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพตามทฤษฎี ธาตุสมุฏฐานและสมุฏฐานตรีธาตุ จึงจำเป็นต้องมีรวบรวมองค์ความรู้ของ ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยจากตำรา พระคมั ภีร์แพทยแ์ ผนไทยนำมาวิเคราะห์ วิจยั เพอื่ นำไปสู่การประยกุ ตใ์ ชอ้ ย่างถูกตอ้ งตรงกนั

3 บทท่ี 1 โรคเบาหวานตามแนวคิดทฤษฎีการแพทยแ์ ผนไทย 1.1 ความหมายของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานสมัยพทุ ธกาล โรคเบาหวานนนั้ เปน็ โรคทม่ี มี าตั้งแตส่ มยั พุทธกาลซ่งึ ปรากฏไว้ในบท สวดคิริมานนทสูตรหรือที่ชาวพุทธเรียกว่า “อาพาธสูตร” ว่าด้วยการหาย อาพาธของพระคิริมานนท์ โดยมีใจความตอนหนึ่งกล่าวถงึ โรคเบาหวาน แปล มาจากคำว่า มธุเมโห อาพาโธ โรคมธุเมห (เบาหวาน) คือโรคที่มูตร (ปัสสาวะ) เหมือนน้ำผึ้ง (น้าหวาน) ไหลซึมออกมามหี ลายชนิด คือ มุตตเมห มูลตไหลซึม สุกกเมห สุกก (เหงื่อ) ไหลซึม รัตตเมห (ไหลซึมออกเป็นสีแดง) ซึ่งคำอธิบายที่บอกว่าเป็นโรคทีม่ ีปัสสาวะหวานเหมือนน้ำผ้ึงตรงกับอาการที่ ช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวานในปัจจุบันและภาวะเหงื่อที่ไหลซึมออกมาก็เป็น อาการแสดงอย่างหน่ึงของโรคเบาหวานเม่อื ร่างกายมภี าวะนำ้ ตาลในเลือดต่ำ กวา่ ปรกติ [4] การสืบค้นโดยใชค้ ำว่า “เบาหวาน” ในพระคมั ภรี ์การแพทย์แผนไทย จึงไมป่ รากฏ ดังนน้ั โรคเบาหวานตามแนวคิดทฤษฎีการแพทย์แผนไทยจึงเป็น การเทียบเคยี งกลุ่มอาการหรืออาการแสดงทีป่ รากฏในคัมภีรต์ ่างๆเพื่อบูรณา การกบั การแพทย์แผนปัจจุบัน อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน อาการของโรคเบาหวานผู้ป่วยหลายคนอาจไม่มีอาการและอาการ แสดงให้ทราบ แต่สำหรับในรายที่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำ

4 บ่อย ปสั สาวะบอ่ ยและปรมิ าณมาก นำ้ หนักตวั ลดลงโดยไมม่ สี าเหตุ อย่างไรก็ ตามแพทย์ต้องใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากต้องทราบผลทันทีจะ ตรวจช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร จะมีค่า ≥200 มก./ดล.[5] ซ่ึง การตรวจเลอื ดเพอื่ วนิ จิ ฉัยโรคเบาหวานจะมกี ารวดั ระดบั น้ำตาลในเลือด ดงั น้ี ▪ วัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. ▪ การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับนำ้ ตาลในเลอื ดท่ี 2 ชัว่ โมง ถ้ามคี า่ ≥ 200 มก./ดล. ▪ การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (Hb A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจ และหอ้ งปฏิบตั กิ ารต้องได้รบั การรบั รองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง ยังมนี ้อยในประเทศไทย ดังนั้นจงึ ไมแ่ นะนำใหใ้ ชว้ ิธนี ี้ ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 กล่าวว่าการวินจิ ฉยั โรคเบาหวานขา้ งต้น ตอ้ งมีการตรวจยนื ยนั อกี ครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันใหม่ ด้วยวิธีเดียวกันหรือต่างกันในวันถัดไป อย่างไรก็ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงว่า สามารถตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ ตวั อยา่ งเลือดอันเดมิ หรอื อนั ใหม่กไ็ ด้ เพ่ือใหก้ ารวินจิ ฉยั โรคเบาหวาน [6] หากเทียบเคียงอาการที่ชัดเจนของโรคเบาหวาน อันได้แก่ หิวน้ำ บ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ กับพระ คัมภีร์แพทย์แผนไทยที่กล่าวถึง สาเหตุการเกิดโรค อาการผิดปกติของธาตุ และวิธีการตรวจโรคต่าง ๆ ได้แก่ คัมภีร์เวชศึกษา คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์โรคนิทาน คัมภีร์ธาตุวิภังค์ และคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ [7-8] ซึ่งได้กล่าวถึง

5 ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคคล้ายกันในเรือ่ งสมุฏฐานหรือสาเหตุที่ทำ ให้เกิดโรค แบ่งเป็นสมุฏฐาน 4 ประการ คือ ธาตุสมุฏฐาน อุตุสมุฏฐาน อายุ สมุฏฐาน กาลสมฏุ ฐาน มรี ายละเอียดดงั น้ี 1. ธาตุสมุฏฐาน หมายถึง โรคที่เกิดจากธาตุทั้ง 4 คือ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) 20 ประการ อาโปธาตุ (ธาตุนำ้ ) 12 ประการ วาโยธาตุ (ธาตลุ ม) 6 ประการ และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4 ประการ รวมเปน็ ธาตสุ มุฏฐาน 42 ประการ ➢ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) 20 ประการ ประกอบดว้ ย (1) ผมพิการ อาจทำให้ชา คัน เจ็บหนังศีรษะ ผมร่วง ผมหงอก เป็น รังแค (2) ขนพิการ ทำใหป้ วดทโ่ี คนเลบ็ ใหเ้ ลบ็ ถอด เป็นหนองทีโ่ คนเลบ็ ให้ เลบ็ เขียว เลบ็ ดำ ทำให้ฟกบวม ห้อเลือด (3) เล็บพิการ มักให้เจ็บต้นเล็บ ให้ต้นเล็บเขียว ต้นเล็บดำ ช้ำโลหิต ใหเ้ จ็บๆ เสียวๆ น้วิ มอื นวิ้ เท้า (4) ฟันพิการ มักให้เจ็บไรฟัน บางทีให้เป็นฝี รำมะนาด บางทีให้เป็น โลหิตไหลออกทางไรฟนั ใหฟ้ ันคลอน ฟนั โยก ฟันถอนออก (5) หนังพิการ ใหร้ อ้ นผิวหนังทวั่ สรรพางคก์ าย บางทใี ห้เปน็ ผ่ืนดุจเปน็ ผด ใหแ้ สบร้อนอย่เู นือง ๆ (6) เนื้อพิการ มักให้นอนสะดุ้ง หลับไม่สนิท ฟกบวม บางทีให้เป็นวง ข้ึนเป็น หัวดำ หัวแดง หัวเขียวทง้ั ตวั บางทีเป็นลมพษิ สมมุตว่า เป็นประดง เหอื ด หัด ตา่ ง ๆ (7) เอ็นพิการ มักให้เจ็บสะบัดร้อน สะท้านหนาว ให้ปวดศีรษะ เรียกวา่ ลมอัมพฤกษก์ ำเรบิ (8) กระดกู พิการ ทำใหเ้ มือ่ ยขบ ทุกขอ้ ทุกกระดกู (9) สมองกระดูกพิการ ทำให้ปวดศรี ษะเนือง ๆ

6 (10) มา้ มพิการ มกั ให้มา้ มหยอ่ น (11) หฤทัยพิการ ทำให้คลุ้มคล่ังดุจเป็นบ้า หรือให้หวิ โหย หาแรงมิได้ ให้ ทุรนทุรายยิง่ นกั (12) ตบั พิการ ใหต้ ับโต ตับทรุด เป็นฝใี นตบั และตบั พกิ ารต่าง ๆ (13) พงั ผดื พกิ าร ใหเ้ จบ็ ใหอ้ าเจยี น จุกเสียด กลับเขา้ เป็นเพื่อลม (14) ไตพกิ าร มักใหป้ วดท้อง แดกข้นึ แดกลง ปวดขบอย่เู นอื ง ๆ (15) ปอดพิการ มกั ให้ปวดศีรษะเป็นพิษ กระหายนำ้ อยู่เนอื ง ๆ (16) ไส้ใหญพ่ ิการ มกั ใหส้ ะอึก ใหห้ าว ให้เรอ (17) ไส้น้อยพิการ มักให้ผะอืด ผะอม ท้องขึ้นท้องพอง มักเป็นท้องมาร กระษัย บางทใี ห้ลงทอ้ ง ตกมกู เลอื ด เปน็ ไปต่าง ๆ (18) อาหารใหม่พกิ าร มักให้ลงท้อง ลงแดง มักให้อาเจียน และมกั ใหเ้ ปน็ ปว่ ง 7 จำพวก (19) อาหารเกา่ พกิ าร มักใหก้ นิ อาหารไม่รรู้ ส เปน็ ตน้ ท่ีจะให้เกดิ โรคต่าง ๆ เพราะอาหารแปลก สำแดง (20) มันสมองพิการ ให้ปวดศรี ษะ ให้ตาแดง ให้คลงั่ เรยี กสันนบิ าตต่อ กัน กบั ลม ดังนั้นหากพิจารณาอาการของโรคเบาหวานจากธาตุสมุฏฐาน ที่พบ ดงั น้ี อาการทางปถวีธาตุ (ธาตุดิน) เนื่องจากธาตดุ ินมลี กั ษณะแขง็ เปน็ ทตี่ ง้ั หรอื ทอ่ี าศยั ให้แสดงเหน็ รปู ทรง สสี รร เปรยี บเสมือนธาตทุ ี่รับเอาธาตอุ ่ืน ๆไว้ โรคหรอื อาการตา่ ง ๆ สุดท้ายปรากฎรอยโรคหรือพยาธิสภาพในปัถวี ดังน้ี 1) ยกนัง (ตับ) จากตำราโรคนิทานคำฉันท์ กล่าวว่า “ยะกะนัง กล่าวคือตับ ย่อมอยู่ลับชายอุรา ปกคลุมปิตตะหนา ใต้ถัน(เต้านม) นั้นเป็นท่ี อยู่ ยะกะนัง ตับพิการ ธาตุร้าวฉานมักก่อเพลง ยะกะบงั โทษเส็ง มกั เกิดกาฬ

7 ขึ้นในตับ อาการให้ร้อนกระวนอยาก กินน้ำมากดังขาดใจ ดูดดื่มเท่าใด ๆ บ่ หย่อนอยากอารมณ์เรอ มักกระหายซึ่งน้ำหนัก ยิ่งกินหนักก็ลงอ่อนลงไหลไม่ หยุดหย่อน และให้เยน็ สิน้ ทงั้ ตัว เหงอื่ อกเปน็ เมด็ ๆ ผลโพดเพศดนู า่ กลัว ” ซ่ึง อาการกระหายน้ำมาก จากโรคเบาหวาน ไม่สัมพนั ธ์กบั อาการ ยกนังพกิ าร ที่ กล่าวไว้ในคัมภีร์โรคนิทาน หรือคัมภีร์ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรง เช่น กาฬ (ก้อน) ขึ้นตับ เป็นหนักให้กระหายน้ำ เหงื่อออก ตัวเย็น หรือในคัมภีร์ธาตุ วิภังค์ ที่กล่าวถึง ตับพิการ เมื่อพิการเป็นโทษ 4 ประการ ล่วงเข้าลักษณะ อติสาร(อาการท้องเสียอย่างรุนแรง) คือ กาฬผุดขึ้นในตับ ให้ตับหย่อน ตับ ทรุด บางทีเป็นฝีในตับ ให้ลงเป็นเลือดสดๆ ออกมา อันนี้ คือ กาฬมูตรผุด ขึ้นต้นลิ้นกินอยู่ในตับ ลงเป็นเสมหะโลหิตเน่า (ถ่ายเป็นเลือด) ปวดมวนเป็น กาลัง ลงวันละ 20 หรือ 30 ครั้ง ตาแข็งและแดงเป็นสายเลือด ซึ่งเป็นล้วน เปน็ อาการสดุ ทา้ ยของโรคตับมากกว่า อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า ยกนัง คัมภีร์ได้กล่าวไว้เฉพาะในส่วนของตบั (Liver) แต่มิได้กล่าวถึง ตับอ่อน (Pancreas) ตับอ่อน ประกอบไปด้วยเซลล์ หลกั 2 เซลล์ คือ เซลลจ์ ากต่อมไรท้ อ่ (Endocrine gland) และเซลลจ์ ากตอ่ ม มีท่อ (Exocrine gland) โดยต่อมไร้ท่อจะมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด (โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลนิ (Insulin) และกลคู ากอน (Glucagon) ซงึ่ มหี นา้ ท่ี ควบคมุ ระดับนำ้ ตาลในเลอื ด และมีความสัมพนั ธก์ ับการเกิดโรคเบาหวาน) [9] ตับออ่ นเปน็ อวยั วะ หากดูตามคุณลกั ษณะจะเป็นธาตดุ นิ 2) ปับผาสัง (ปอด) จากพระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวไว้ว่า “ปับผา เมื่อภินที ธาตุฉลายร้ายหนักหนา คือปอดกำเริบร้าว ตำรากล่าวธาตุวิการ์ อาการเล่ห์หนึ่งว่า ดังไข้พิษเกิดกาฬใน กาฬกระทาย่ายีปอด แน่นอก ทอด

8 หอบหายใจ โครงรวนร้อนเบื้องใน กระหายน้ำไม่ห่างถอย เท่าไหร่ไม่ทราบ ซึม จับขันดื่มจนปอดลอย” ซึ่งกล่าวไว้ตรงกันในคัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ธาตุ วิภังค์และธาตุวิวรณ์ คือ มักให้ปวดศีรษะเป็นพิษ กระหายน้ำมาก อาการ ดังกล่าวมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อาการหอบ กระหายน้ำ ตามคัมภีร์กล่าวไว้ คล้ายอาการโรคปอด ปอดบวม ปอดอักเสบมากกว่า [10] ➢ อาโปธาตุ (ธาตนุ ้ำ) 12 ประการ ประกอบด้วย (1) ดีแตกหรือพิการ ทำให้คนไข้คลั่งไคล้ไหลหลง ละเมอเพ้อพก นอน สะดุ้งหวาดหวั่น บางทีให้ลงดุจกินยารุ ให้ลงเขียว ลงแดง ลงเหลือง ออกมา หมดสติ (2) เสมหะแตก ให้จับสะบัดร้อนสะบัดหนาวเป็นเวลา บางทีให้ลงท้อง เปน็ เสมหะ เป็นโลหติ เนา่ ให้ปวดมวน (3) หนองแตกหรือพิการ ทำให้ไหลออกมาเนือง ๆ ให้กายซูบผอม กิน อาหารไมร่ รู้ ส มกั เปน็ ฝีภายใน (4) โลหิตพิการหรือแตก แพทย์สมมุติว่าไข้กำเดา เพราะโลหิตกำเริบ ถ้า แตกก็เป็นพิษต่าง ๆ ผุดขึ้น มาภายนอก แพทย์สมมุติว่าเป็นรากสาด ข้าวไหม้ใหญ่ ขา้ วไหมน้ อ้ ย ที่เรยี กชื่อต่าง ๆ เพราะโลหติ กระจายแตก ซ่านออกผิวเนื้อ ส่วนข้างในก็กระทำพิษต่าง ๆ บางทีให้อาเจียนเป็น โลหิต บางทโี ลหิตแล่นเข้าจับหัวใจ ให้คล่งั เพ้อ บางทีให้ชกั เท้าหงกิ มือ กำ บางทีให้หนาว ให้ร้อน บางทีให้ขัดปัสสาวะ ให้น้ำปัสสาวะ เป็นสี ดำ แดง ขาว เหลอื ง เปน็ ไปต่าง ๆ (5) เหงื่อพกิ าร ให้เหงื่อตกหนัก ให้ตัวเย็นขาวซีด ให้สวิงสวาย หากำลัง มไิ ด้

9 (6) น้ำตาแตกหรือพิการ ให้ตามัว ให้น้ำตาตกหนัก ตาแห้ง ตาน้ัน เปน็ ดจุ เย่ือผลลำไย (7) มันเหลวพิการ กระจายออกทั่วสรรพางค์กาย ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง เว้นแต่อุจจาระ ปัสสาวะไม่เหลือง บางทีให้ลงท้อง ใหอ้ าเจียน ดุจเป็นปว่ งลง เพราะโทษนำ้ เหลือง (8) น้ำลายแตกหรือพิการ น้ำลายเหนียว บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นใน ลิน้ ในคอ (9) นำ้ มกู พิการหรือแตก ใหป้ วดในสมอง ให้นำ้ มกู ตก ให้ตามัว ให้ ปวดศีรษะ (10) มันข้นพิการหรือแตก ดุจโลหิตเสียก็เหมือนกัน ซึมซาบออก มาทางผิวหนังดุจผดผุดออกมา เป็นดวง บางทีแตกเป็น นำ้ เหลอื ง ใหป้ วดแสบปวดร้อนยิง่ นัก (11) ไขข้อพิการหรือแตก ไขข้อนี้มีอยู่ในกระดูก จะทำให้เมื่อยใน ข้อในกระดกู ทกุ แหง่ ดจุ ครากจากกนั ใหข้ ัดใหต้ ึงทกุ ข้อ (12) มูตรพิการหรือแตก ให้ปัสสาวะวิปลาส คือ แดง เหลือง และ เป็นนิ่วก็ดี บางทีเป็นดุจน้ำข้าวเช็ด ให้ขัดเบา ให้เจ็บหัวเหน่า ใหห้ ัวเหนา่ ฟก เปน็ น่วิ เปน็ มุตกติ เป็นสณั ฑฆาต กาฬข้นึ ในมตู ร ให้มูตรพกิ าร แปรไปตา่ ง ๆ อาการของโรคเบาหวานจากอาโปธาตุ จะพบว่าอาโปท้ัง 12 ประการ ไม่มอี าการท่ีมีลักษณะใกลเ้ คยี งหรอื แมแ้ ตป่ ัสสาวะ หรือมูตร เมื่อพิการจะเป็นนิ่ว ขัดปัสสาวะไม่ได้กล่าวถึง ปสั สาวะบ่อยหรอื ปสั สาวะหวาน

10 ➢ วาโยธาตุ (ธาตนุ ้ำ) 6 ประการ ประกอบดว้ ย (1) ลมอุทธังคมาวาตาพิการ ให้ดิ้นรน มือเท้าขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปมา ทรุ นทุราย ให้เรอบอ่ ย ๆ (2) ลมอโธมาวาตาพิการ ให้ยกมือยกเท้าไม่ได้ ให้เมื่อยขบทุกข้อทุก กระดกู ให้เจบ็ ปวดยงิ่ นัก (3) ลมกุจฉิสยาวาตาพิการ ให้ท้องขึ้นท้องลั่น ให้เจ็บในอก ให้สวิงสวาย ใหแ้ ดกขนึ้ แดกลง (4) ลมโกฏฐาสยาวาตาพิการ เหม็นคาวคอ ให้อาเจียน ให้จุกเสียด ให้ แดกในอก (5) ลมอังคมังคานุสารีวาตาพิการ ให้หูตึง เจรจาไม่ได้ยิน แล้วเป็นดุจ หิ่งห้อยออกจากตา ให้เมื่อย ต้นขาทั้งสองข้างดุจกระดูกจะแตก ให้ ปวดในกระดกู สนั หลัง ใหส้ ะบัดรอ้ นสะบดั หนาว อาเจยี นลมเปล่า กิน อาหารไมไ่ ด้ (6) ลมอัสสาสะปัสสาสะวาตาแตก จะได้ขาดสูญหามิได้ ถ้าสิ้นลมหายใจ แลว้ เมอ่ื ใด กต็ ายเมื่อนน้ั อาการของโรคเบาหวานจากวาโยธาตุ (ธาตลุ ม) พบวา่ กุจฉิสยาวาตา (ลมพัดในท้องนอกลำไส้) จากตำราการแพทย์ไทยเดิม แพทย์ศาสตร์ สงเคราะห์ฉบับอนรุ ักษ์ เล่มที่ 1 หน้า 38 ใจความตอนหนึ่งกล่าวว่าเดือน 8, 9, 10, ทั้ง 3 เดือนนี้ ว่าด้วยวาโยธาตุชื่อ “กุจฉิสยาวาตา” นั้นพิการ ให้ผอม เหลอื ง ให้เมอื่ ยทุกข้อทกุ ลำท่วั สรรพางคก์ าย ใหแ้ ดก ข้ึนแดกลง ให้ลั่นโครกๆ ให้หาวเรอวิงเวียนหน้าตา หูหนัก มักให้ร้อน ในอก ในใจ ให้ระทด ระทวย ย่อมให้หายใจสน้ั ยอ่ มให้เหม็นปากแลให้หวานปาก มักให้โลหิตออกทางจมูก

11 ทางปาก กินอาหารไม่รู้จักรส คือวาโยธาตุพิการ อาการเหล่าน้ีเป็นอาการ สุดท้ายหรือวาโยธาตุแตก ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ หากแต่ดูการหน้าที่ ของกุจฉิสยาวาตา เป็นลมที่ช่วยให้อวัยวะในช่องท้องเคลื่อนไหว กระเพาะ ลำไส้บีบรูดลงสู่ทวารหนัก หากกำเริบให้ท้องลั่น หิวบ่อย ท้องเดิน ปวดท้อง ถ่ายปัสสาวะบ่อย ดังนั่นจึงมีอาการของโรคเบาหวานบางรายที่มีอาการ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย ที่สัมพันธ์กับกุจฉิสยาวาตากำเริบ ในระยะท่ีวาโยธาตุ ยังไม่แตกหรอื ระยะสุดทา้ ย ➢ เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) 4 ประการ ประกอบด้วย (1) ปริณามัคคีแตก ให้ขัดในอกในใจ ให้บวมมือ บวมเท้า ให้ไอ เป็น มองคร่อ (2) ปริทัยหัคคีแตก มักให้มือเท้าเย็น ชีพจรไม่เดิน บางทีให้ตัวเย็นดุจ น้ำ แต่ภายในรอ้ น ให้รดน้ำอยู่มิได้ขาด บางทีใหต้ ัวเย็น และให้เสโท ตกดจุ เมล็ดขา้ วโพด (3) ชีรณัคคีแตก คือความชรานำพญามัจจุราช มาเล้าโลมสัตว์ทั้งปวง จะให้ชีวิตออกจากร่างกายนั้น ก็ให้คนไข้มีกายวิปริตต่าง ๆ คือ ให้ หน้าผากตึง ตาไม่รู้จักหน้าคน แล้วกลับรู้จักอีก กายนั้นสัมผัสสิ่งใด ก็ไมร่ สู้ กึ ตัว แลว้ กลับรู้สกึ อกี (4) สันตัปปัคคีพิการ ให้เยน็ ในอก กินอาหารพลันอิ่ม มักให้จุกเสียดขัด อกอาหารพลันแหลก มักอยากบ่อย ๆ” สันตัปปัคคีแตก เมื่อใด แก้ ไมไ่ ดต้ ายแล อาการทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) จะพบว่า สันตัปปัคคี (ไฟอบอุ่น ร่างกาย) จากตำราการแพทย์ไทยเดิม แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์

12 เล่มที่ 1 หน้า 18 กล่าวถึงไฟสันตัปปัคคี กล่าวไว้เช่นเดียวกับข้างต้น คือ “เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 ทั้ง 3 เดือนนี้ว่าด้วยเตโชธาตุอันชื่อว่าสันตัปปัคคี อันพิการ ให้เย็นในอก กินอาหารพลันอิ่ม มักให้จุกเสียดขัดอกอาหารพลัน แหลก มกั อยากบอ่ ย ๆ” อาการนของโรคเบาหวาน อันได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและ ปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ เทียบเคียงกบั พระคัมภีร์แพทย์ แผนไทยท่กี ลา่ วถึงธาตุทงั้ 42 ประการ ดจู ะยังไมเ่ หน็ ชดั เจนว่าบังเกิดจากธาตุ ใดกำเรบิ หยอ่ น หรอื พิการ 2. อุตุสมุฏฐาน ฤดูเป็นที่ตั้งของโรค หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจาก อิทธิพลของฤดูกาลต่าง ๆ ของปี ซึ่งในแต่ ละฤดูมีสภาพดินฟ้าอากาศท่ี เกิดข้ึนแตกตา่ งกันสง่ ผลให้ร่างกายแปรปรวน เนื่องจากร่างกายมคี วามค้นุ เคย อยู่ กับฤดูหนึ่งแต่เมื่อมีการเปลี่ยนฤดูร่างกายจะต้องปรับสภาพให้เข้ากับฤดู น้นั ๆ แต่ถา้ เป็นคราวทธ่ี าตตุ ่าง ๆ ใน รา่ งกายหมุนเวยี นปรบั เปลี่ยนไปไม่ทัน ตามฤดูจะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ โดยเฉพาะช่วงระหว่าง รอยตอ่ ของฤดู เชน่ ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ฤดูฝนต่อฤดูหนาว และฤดหู นาวต่อ ฤดูร้อน ฤดูกาลต่าง ๆ ที่แปร เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงย่อมมีส่วนทำให้เกิดการ เจ็บป่วยได้ ตามที่กล่าวไว้ว่า อุตุปรินามชาอาพาธา คือ การ เจ็บป่วยเกิด เพราะฤดูที่แปรไป ดังนั้นจึงจัดเอาฤดูเข้าเป็นสมุฏฐานของโรค การแบ่ง ฤดกู าลต่าง ๆ ของปใี นคมั ภีรแ์ พทยศาสตร์ สามารถแบง่ ออกเปน็ 3 อยา่ ง คือ ฤดู 3 ฤดู 4 และฤดู 6 (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห)์

13 ฤดูกบั อาการทางโรคเบาหวานน่าจะไม่ใชส่ าเหตโุ ดยตรงทีท่ ำให้เกิด อาการโรค อาจเป็นเหตุส่งเสริมให้อาการเป็นมากขึ้นในบางฤดูกาล เช่น ฤดู หนาวอาจจะปัสสาวะมากขึน้ หรือฤดรู อ้ นจะมกี ารกระหายน้ำมากขนึ้ เปน็ ตน้ 3. กาลสมุฏฐาน คือ เวลาเป็นที่ตั้งของโรค หรืออิทธิพลของ กาลเวลาเป็นเหตุของการเกิดโรค เนื่องมาจาก เวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ทกุ 24 ชัว่ โมงในหนง่ึ วัน จงึ ทำให้เกดิ การแปรปรวนของธาตตุ ่าง ๆ ในร่างกาย เวลาทเี่ กดิ การเจ็บปว่ ยสามารถบอกถงึ สมฎุ ฐานของโรคได้ ซง่ึ ในหน่งึ วนั มี 24 ชั่วโมงจะแบ่งเป็นเวลากลางวัน 12 ชั่วโมงและเวลากลางคืน 12 ชั่วโมง และ ใน 12 ชั่วโมงยังแบ่งออกเปน็ 4 ช่วงเวลา (ช่วงละ 3 ชว่ั โมง) ดงั น้ี - เวลา 06.00-09.00 น. และ 18.00-21.00 น. เป็นสมุฎฐาน อาโป พกิ ดั เสมหะ - เวลา 09.00-12.00 น. และ 21.00-24.00 น. เป็นสมุฎฐาน อาโป พิกัดโลหิต - เวลา 12.00-15.00 น. และ 24.00-03.00 น. เป็นสมุฎฐาน อาโป พกิ ัดดี - เวลา 15.00-18.00 น. และ 03.00-06.00 น. เป็นสมุฎฐาน วาโย พิกัดวาตะ ฤดูและกาลสมฏุ ฐานจะมลี ักษณะคลา้ ยกนั คือ ไม่ใช่สาเหตโุ ดยตรงท่ีทำ ใหเ้ กิดอาการโรค อาจเป็นเหตุส่งเสริม 4.อายุสมุฏฐาน คือ อายุเป็นที่ตั้งของโรค หรือการเจ็บป่วยที่เกิด จากอายุที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัยก็ จะเจ็บปว่ ยด้วยสมุฏฐานทแ่ี ตกต่างกัน แบง่ ออกเปน็ 3 วยั ดังน้ี

14 - ปฐมวัย คือ วัยเด็ก มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 16 ปี ในช่วงนี้เกิดการ เจ็บป่วยจากสมุฎฐานอาโป พิกัดเสมหะ และโลหิตมาระคนด้วย แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 8 ปีจะมีเสมหะเป็น สมุฏฐาน มีโลหิตแทรก และชา่ งอายุ 8 ปีถงึ 16 ปีจะมโี ลหิตเปน็ ส มฎุ ฐาน ยงั มเี สมหะแทรกอยู่ - มัชฌิมวัย คือ วัยกลางคน นับตั้งแต่อายุพ้น 16 ปีขึ้นไปถึงอายุ 32 ปี ในช่วงนี้เกิดการเจ็บป่วย จากสมุฎฐานอาโป พิกัดโลหิต 2 ส่วน และมีสมฎุ ฐานวาโย 1 สว่ นมาระคนกัน - ปัจฉิมวัย คือ วัยสูงอายุ นับตั้งแต่อายุพ้น 32 ปีข้ึนไปถึงอายุ 64 ปี ในชว่ งนเ้ี กดิ การเจบ็ ปว่ ยจาก สมุฎฐานวาโย และมสี มุฎฐานอาโป แทรก พิกัดเสมหะกับเหงอื่ จากอายุสมุฏฐานดังกล่าวข้างต้น สัมพันธ์กับโรคเบาหวานในกลุ่มที่ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มที่มีอายุ 70-79 ร้อยละ 20 อายุ 60-69 ร้อยละ 18 และในช่วงอายุ50-59 ร้อยละ 15 ซึ่งจัดอยู่ในช่วง ปัจฉิมวยั เป็นวัยท่มี ักเจ็บป่วยด้วยวาโยธาตุซง่ึ จะมีอาโปแทรก [2] จากพระคัมภีร์แพทย์แผนไทยคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์โรคนิทาน คัมภีร์ธาตุวิภังค์ และคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ที่กล่าวถึง สาเหตุการเกิดโรคจากธาตุ อุตุ และกาลสมุฏฐาน พบว่าอาการหลายอย่างยังไม่สัมพันธ์กับอาการของ โรคเบาหวาน หากแต่พบข้อมูลในคัมภีร์เวชศึกษา ที่กล่าวถึง มูลเหตุ 8 ประการ ในการก่อโรค ได้แก่ อาหาร อิริยาบถ ความร้อนและเย็น อดนอน อดข้าว อดน้ำ. กลั่นอุจจาระ กลั่นปัสสาวะ การทำงานเกินกาลัง ความ โศกเศร้าเสียใจ และโทสะมาก และคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ที่กล่าวถึงการบริโภค

15 อาหารผิดเวลา กินอิ่มยิ่งนักและอารมณ์โกรธ คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยท่ี กล่าวถึงสมุฏฐานธาตุพิกัดหรือพิกัดตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องสำคัญคือ พิกัด สมฏุ ฐานเตโชธาตุ (ไฟ) ไดแ้ ก่ พัทธะปิตตะ อพทั ธะปติ ตะ กำเดา จากอิทธิพล ของสงิ่ แวดลอ้ มร่วมกับพฤติกรรมการบรโิ ภค การทำงานเกนิ กำลงั สง่ ผลให้ตัว ควบคุมกำเริบขึ้น ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับพัฒนา) กล่าวถึงการทำงานของฮอร์โมนของร่างกาย การกำเริบของไฟในที่น้ีจึง อธิบายถึงกลไกการทำงานของธาตุไฟหรือปิตตะได้กับการหลั่งของอินซูลินท่ี เพ่ิมสูงข้ึนเพิม่ การจบั กับน้ำตาลท่ีมาจากการบริโภคของอาหารท่มี ีความหนัก เช่น อาหารหวาน อาหารมัน ไฟกำเริบทำให้ผู้ป่วยมีอาการ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย ผอมไม่มีไขมันน้ำหนักลด หิวบ่อยกินจุ ซึ่งเป็นอาการนำของ โรคเบาหวาน [11] ดังนั้นหากสรุป พระคัมภีร์แพทย์แผนไทยที่กล่าวถึง สาเหตุการเกิด โรค อาการต่าง ๆ เมื่อธาตุกำเรบิ หย่อน หรือพิการจากกลุ่มคัมภีร์ อันได้แก่ คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์เวชศึกษา คัมภีร์โรคนิทาน คัมภีร์ธาตุวิภังค์ และคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน จะมีเรื่อง มูลเหตุ 8 ประการ และอายุสมุฏฐานท่ีสอดคลอ้ งกัน คัมภีร์สำหรับแพทย์แผนไทยอีกกลุ่มที่กล่าวถึงโรคต่าง ๆ ในคัมภีร์ มี รายละเอยี ด ดงั นี้ 1) คมั ภีรฉ์ ันทศาสตร์ กลา่ วถงึ ไขป้ ระเภทต่าง ๆ เชน่ ไขเ้ อกโทษ ไข้ ทุวันโทษ ไข้ตรีโทษ และไข้สันนิบาต ทับ 8 ประการ ป่วง 8 ประการ 2) คัมภรี ์ตักศิลา กล่าวถึง ไข้ชนดิ ตา่ ง ๆ ไข้พิษ ไขก้ าฬ

16 3) คัมภรี ม์ หาโชตรัต กล่าวถงึ เกย่ี วกับโรคสตรี โรคโลหติ ระดูสตรี 4) คัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง การตั้งครรภ์ ลักษณะของเด็กที่ปกติ โรคทเ่ี กดิ ในเด็ก 5) คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึง ทับ 8 ประการ (ภาวะที่เกิดกับเด็ก) ประเภทไขต้ า่ ง 6) คัมภีร์สิทธิสาระสงเคราะห์ กล่าวถึง ลักษณะลำบองราหูอัน บังเกดิ ใน 12 เดือน 7) คมั ภีรค์ มั ภรี ม์ ขุ โรค กล่าวถงึ โรคในชอ่ งปากและคอ 8) คัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึง โรคระบบทางเดินอาหาร โดยพิจารณา จากอจุ จาระธาตุ 9) คัมภีร์อติสาร กล่าวถึง โรคในช่องท้องและโรคทางเดินอาหาร มี ปจั จุบนั กรรมอติสารและโบราณกรรมอตสิ าร 10) คัมภรี ์อุทรโรค กล่าวถงึ โรคในช่องท้อง โรคท้องมานต่าง ๆ 11) คมั ภรี ์มจุ ฉาปกั ขันทกิ า กล่าวถงึ โรคทเ่ี ก่ียวกับปัสสาวะต่าง ๆ 12) คัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคผิวหนัง และฝี ประกอบด้วย คัมภีร์ไพจิตร์ มหาวงศ์ กล่าวถึง ลักษณะและประเภทต่าง ๆ ของฝี คัมภีร์ทิพมาลา กล่าวถึง โรคฝีภายในร่างกาย และคัมภีร์วิถีกุฎฐโรค กล่าวถึง โรค เรื้อนตา่ ง ๆ 13) คมั ภีรช์ วดาร กลา่ วถงึ โรคลมอนั มีพิษตา่ ง ๆ 14) คัมภรี ์มัญชุสาระวิเชียร กลา่ วถึง ลมท่ที ำใหเ้ กดิ โรค และอาการต่าง ๆ ตามลกั ษณะของลม 15) คัมภรี ์อภัยสนั ตา กล่าวถึง โรคท่เี ก่ียวกบั ตา

17 16) คัมภีรก์ ษัย กล่าวถึง กษัยเกิดเป็นอุปปาติกะโรค และกษัยเกดิ แกก่ อง ธาตุ สมุฏฐาน รวม 26 ประการ คัมภีร์ที่กล่าวข้างต้น พบอาการใกล้เคียงกับโรคเบาหวาน ในกลุ่ม อาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มี สาเหตุ ดงั น้ี (1)คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะผิดปกติ โดยจัดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ทุราวสา 12 จำพวก ซึ่งเป็นลักษณะของสี ปัสสาวะทีผ่ ิดปกติ และปะระเมหะ 20 จำพวก เป็นลักษณะปัสสาวะผิดปกติ จากอุบัติเหตุเป็นโลหิตเน่า จากเพศสัมพันธ์ องคสูตร ช้ำรั่ว ซึ่งไม่สัมพันธก์ ับ โรคเบาหวาน ส่วนทุราวสา12 จำพวก คือ มุตฆาต มี 4 จำพวก มีลักษณะ ปัสสาวะเป็นสีแดง บ้างปนโลหิตช้ำ บ้างปนหนอง ไม่เกี่ยวข้องกับ โรคเบาหวาน สำหรับมุตกิจ มี 4 จำพวก กล่าวถึง ปัสสาวะออกมาเปน็ เลือด บ้างเป็นหนองบ้าง กับปัสสาวะออกมาเป็นเมือกคล่องๆ ขัดๆ หยดย้อย ดุจ น้ำมูกไหลเลือกออกมา ซงึ่ พิจารณาแล้วนา่ จะเปน็ ลักษะของตกขาวมากกวา่ ส่วนทุราวสา 4 จำพวก กล่าวถึง สีปัสสาวะมี 4 ลักษณะ ปัสสาวะ ออกมาเปน็ สขี าว ข่นุ ดังนำ้ ขา้ วเชด็ ปสั สาวะออกมาเป็น สเี หลือง ดงั นำ้ ขมิ้น สด ปัสสาวะออกมาเป็น โลหิตสดๆ แดงดังน้ำฝางต้ม และ ปัสสาวะออกมา เป็น สดี ำ ดงั นำ้ คราม ( นำ้ ครำ) ลักษณะปัสสาวะออกมาเป็น สีขาว ขุ่นดังน้ำข้าวเช็ด มีลักษณะ ใกล้เคียงกับผู้ป่วยเบาหวานในระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไต ซึ่ง นพ. สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล หัวหน้าสาขาวิชาวักกะวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริ ราชพยาบาล อธิบายถึง ”โรคไตวายเรื้อรัง” เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานที่มี

18 ปัญหาในการควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ดีจะเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลต่อ หลอดเลือดฝอยท่ไี ต จะมีนำ้ ตาลสะสมทีผ่ นงั หลอดเลอื ดทำให้ หลอดเลอื ดตบี และอุดตนั ในทส่ี ดุ จะพบการร่ัวของโปรตนี ออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะ ขุน่ ขาว [11] (2)คัมภีร์อภัยสันตา ซึ่งคัมภีร์กล่าวถึง ลักษณะต้อ 21 จำพวก แต่ละ จำพวกจะกล่าวลักษณะสั้นๆมิได้อธิบาย อาการหรือสาเหตุเฉพาะ เช่น ต้อ หมอก ลักษณะเห็นเป็นวงกลม เป็นเงาอยู่กลางตาดำ ต้อลาย เมื่อมองดูจะ เหน็ เปน็ แววอยู่กลางตาดำ ดงั นนั้ จงึ วเิ คราะห์ได้ไมช่ ัดเจน ในกรณีอาการของ โรคเบาหวานในระยะทมี่ ภี าวะแทรกซอ้ นทีต่ า [12] (3) คมั ภีร์สทิ ธสิ ารสงเคราะห์ กล่าวถงึ อาการกระหายน้ำมาก ซบู ผอม ซึ่งเป็นอาการของ สันนิบาตเจรียงอากาศ เมื่อบังเกิดมีอาการ ทำให้ผิวหน้า เหลืองดุจทาขมิ้น ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลือง มักให้เวียนศีรษะ ให้เจ็บแสบในจักษุ กระหายน้ำ มักให้เป็นดังจะหลับแล้วมิหลับเล่า ให้เจ็บในอก ให้ปัสสาวะ เหลอื ง ดจุ น้ำกรักอนั แก่ ดูส่งิ นานเห็น บรโิ ภคอาหารไม่ได้ ซูบผอม โทษทั้งนี้ เพราะเสมหะ1 ส่วน วาโย2 ส่วน ดี 4 ส่วน ระคนกัน จากอาการกระหายน้ำ มาก ซูบผอม จงึ ไม่ใชอ่ าการของโรคเบาหวาน (4) คัมภีร์กระษัย กระษัยที่เกิดเป็นอุปปาติกะโรค (เกิดขึ้นเอง) 18 จำพวก กล่าวถึง อาการซูบผอมซึงปรากฏ ในกระษัยลิ้นกระบือ อธิบายว่า เกิดเพราะ โลหิตลิ่ม ติดอยู่ชายตับ เป็นตัวแข็งยาวออกมาชายโครงด้านขวา มีสัณฐานดังลิ้นกระบือ กระทำให้ครั่นตัว ให้ร้อน จับเป็นเวลา ให้จุกให้แน่น อกบริโภคอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับเป็นนิจ ให้ร่างกายซูบผอมแห้งไป ครั้น นานเข้า กระษยั แตกออกเป็นโลหิต นำ้ เหลอื งซมึ ไปในลำไส้ใหญใ่ สน้ อ้ ย ให้ใส้

19 พองท้องใหญ่ ได้ชื่อว่า มานกระษัย น่าจะสัมพันธ์กับโรคตับมากกว่า ไม่ เก่ยี วกับอาการของโรคเบาหวาน (5)คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร กล่าวถึง โรคมูตร 20 ประการ ( โรค ปสั สาวะ) ซ่งึ ประกอบด้วย 1. น้ำปัสสาวะเป็นโลหติ 2. น้ำปสั สาวะเหลืองดงั ขม้ิน 3. นำ้ ปสั สาวะดังนำ้ นมโค 4. นำ้ ปัสสาวะดังน้ำขา้ วเช็ด 5. นำ้ ปัสสาวะดงั ใบไม้เน่า 6. นำ้ ปัสสาวะเปน็ ดงั นำ้ หนอง 7. นำ้ ปสั สาวะไหลซมึ ไป 8. นำ้ ปสั สาวะร้อน 9. นำ้ ปัสสาวะออกมาขัด 10.นำ้ ปัสสาวะดงั นำ้ ล้างเนอื้ 11.น้ำปัสสาวะขดั เพราะดใี หโ้ ทษ 12.น้ำปัสสาวะขดั เกดิ แตค่ วามเพยี รกลา้ 13.น้ำปัสสาวะขัดเกิดแต่ไข้ตรโี ทษ 14.น้ำปัสสาวะขดั เพราะโรคปะระเมหะใหโ้ ทษ 15.น้ำปัสสาวะขดั เพราะเปน็ นวิ่ 16. ไปปัสสาวะ วันละ 7 เวลา 17.ไปปสั สาวะ วันละ 10 เวลา 18. นำ้ ปัสสาวะขัด เพราะเสมหะให้โทษ

20 19. น้ำปสั สาวะขดั เพราะลมให้โทษ จากลักษณะน้ำปัสสาวะที่ลักษณะคล้ายกับโรคเบาหวาน เช่น น้ำ ปัสสาวะดงั น้ำขา้ วเช็ด อาจเกี่ยวขอ้ งกับการรัว่ ของโปรตีนออกมาในปัสสาวะ ทำใหป้ ัสสาวะขุ่น ขาว [12] ดังทก่ี ล่าวมาแล้ว และ ไปปสั สาวะ วันละ 7 เวลา ไปปัสสาวะ วันละ 10 เวลา หมายถึงปัสสาวะบ่อยซึ่งสัมพันธ์กับอาการของ โรคเบาหวาน ส่วนลักษณะ น้ำปัสสาวะไหลซึมไป เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ในกรณี เกิดการทำลายเส้นประสาทในร่างกาย ทำให้การสั่งงานระหว่าง สมองและอวัยวะที่ควบคุมโดยเฉพาะ “กระเพาะปัสสาวะ” มีการทำงาน ลดลง ดงั นั้นเวลากระเพาะปัสสาวะมนี ำ้ ปัสสาวะเต็มจึงไม่รู้สกึ ปวด ทำให้เกิด การคั่งของปัสสาวะ มผี ลให้เกดิ อาการดังกล่าวได้ จะเห็นว่าคัมภีร์แพทย์แผนไทยที่กล่าวถึงโรคต่าง ๆ มีอาการไม่มาก นักที่สัมพันธ์กับอาการของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามอาการของ โรคเบาหวานหากอฺธิบายตามทฤษฏีตรีธาตุ (Tridosha) [7-8] ที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์วรโยคสารและตำราอายุรเวทศึกษาว่า ตรีธาตุ คือ ปิตตะ วาตะ และ เสมหะ เป็นพลังควบคุมและประสานงานการทำงานของร่างกาย ตรีธาตุ ประกอบด้วย ▪ วาตะ ประกอบด้วยธาตุลม และอากาศ เป็นพลังแห่งการ เคลื่อนไหวของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ การหายใจ การไหลเวียนของเลือด ควบคมุ ลมปราณ จติ ใจ และเบญจอนิ ทรีย์ มคี ณุ สมบตั ิเยน็ แห้ง ไม่แน่นอน ▪ ปิตตะ ประกอบไปด้วยธาตุไฟกับน้ำ ควบคุมเกี่ยวกับ การย่อย อาหาร การเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ความร้อนของร่างกาย รวมท้ัง สติปญั ญา มคี ณุ สมบตั ิ รอ้ น มนั ขุ่นเคอื ง พล่งุ พลา่ น

21 ▪ เสมหะ (กผะ) ประกอบไปด้วยธาตุดินกับน้ำควบคุมเกี่ยวกับ การหลอ่ ลืน่ ยึดเหนีย่ วสว่ นต่าง ๆ ของรา่ งกาย หากทั้ง3 ทำงานไม่สมดุล การควบคุมร่างกายในส่วนต่าง ๆ ผิดปกติ ทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมาได้ ตามทฤษฏีตรีธาตุท่ี สอดคล้องกับอาการนำของโรคเบาหวาน ในคัมภีร์วรโยคสารที่กล่าวถึงตรี สมุฏฐาน สาเหตุการเจ็บป่วย 3 ประการ คือ วาตะสมุฏฐาน หมายถึง ความ เจ็บป่วยเกิดจากวาตะ มีอาการสอดคล้องกับโรคเบาหวาน เช่น เป็นตะคริว น้ำหนักลด ซูบผอม นอนไม่หลับ ตึงเครียด อ่อนล้า วิตกกังวล ผิวแห้ง เสม หะะสมุฏฐาน มีอาการหนักเนื้อตัว บวม เชื่องซึม ขี้เกียจ นอนมาก เบื่อ อาหาร รู้สึกอิม่ ทัง้ ท่ีท้องว่าง และปิตตะสมุฏฐาน มีอาการร้อนวูบวาบตามตวั ผ่ืนคัน ซึ่งปิตตะมีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมเกี่ยวกับการย่อยอาหาร การเผา ผลาญพลังงานในร่างกาย ความร้อนของร่างกาย หากสมุฏฐานทั้ง 3 ทำงาน ปกติ เรียกวา่ ตรธี าตุ หากแตท่ ำงานผิดปกติ เรียกวา่ ตรีโทษ [8] 1.2 กลไกการเกิดโรคเบาหวานเทยี บเคียงตามทฤษฎีแพทยแ์ ผนไทย การเกิดโรคเบาหวานตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย นอกจาก เทียบเคียงกับทฤษฎีธาตุทั้ง4 และตรีธาตุสมุฏฐาน ยังนำอาการที่ปรากฏใน ตำราการแพทยแ์ ผนไทยทส่ี อดคล้องกับอาการของโรคเบาหวาน

22 จากการศึกษาข้อมูลอาการสำคัญของโรคเบาหวานที่สอดคล้องใน ตำราแพทย์แผนไทย พบว่า อาการกระหายน้ำมาก จากตำราแพทยศ์ าสตร์ สงเคราะห์และคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณเล่ม1 ของขุน โสภิตบรรณา ลกั ษณ์ จำนวน 8 คมั ภีร์ ไดแ้ ก่ คมั ภีร์เวชศกึ ษา คมั ภีรธ์ าตวุ ภิ งั ค์ คัมภรี ธ์ าตุ วิวรณ์ คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา คัมภีร์ธาตุบรรจบ คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ และคัมภีร์อติสาร ได้กล่าวถึงอาการตามทฤษฏีการแพทย์แผนไทยจึงใช้เป็น ชุดอาการทีส่ ัมพนั ธ์กับโรคเบาหวานทางการแพทย์แผนปัจจุบนั โดยแบง่ เป็น 2 กลุ่ม ดังนีค้ ือ 1) กลุ่มอาการเริ่มเป็นโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ มาก กินจุ หิวบ่อย เหนื่อยง่าย กำลังเสื่อมถอย หนักเนื้อหนักตัว เกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน [13] 2) กลุ่มอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน คือ ชา/ปวดแสบ/ปวด ร้อน ตามปลายมือ ผิวหนังสาก คันตามผิวหนัง ตาพร่า หายใจมีกลิ่น หายใจ เร็ว เจ็บหน้าอก [14] เชื่อมโยงสมุฏฐานการเกิดโรคนำไปสู่กลไกการเกิดโรค ตามทฤษฏีแพทย์แผนไทย พบว่ามีหลายคัมภีร์ที่มีอาการใกล้เคียงสามารถ อธบิ ายกลไกโรคเบาหวานได้ ดังนั้นจึงสรุปแผนภาพกลไกการเกิดโรคเบาหวานทางการแผนไทย ดงั น้ี

23 รปู ภาพท่ี 1.1 กลไกลการเกดิ โรคเบาหวานทางการแผนไทย

24 มูลเหตุของการเกดิ โรค (1) ประเด็นการมีคอเลสเตอรอลสูงเกินปกติ พฤติกรรมสำคญั ชอบกินของ ทอด ของมัน ครีม เนย ชีส หรือของที่มีรสหวาน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเพ่ิม ความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวน [15] ซึ่งตรงกับคัมภีร์เวชศึกษา และ คัมภีร์ ธาตุวิวรณ์ ซึ่งกล่าวถึงอาหารและพฤติกรรมไว้ในส่วนของมูลเหตกุ ารเกิดโรค 8 ประการ อนั ประกอบดว้ ย 1. อาหาร 2. อริ ิยาบถ 3. ความร้อนและเยน็ 4. อดนอน อดขา้ ว อดนำ้ 5. กล่ันอจุ จาระ กลั่นปสั สาวะ 6. ทำงานเกนิ กำลัง 7. ความโศกเศร้าเสียใจ 8. โทสะมาก ไฟกำเรบิ (2) ไฟ วิเคราะห์เปรียบเทียบตามคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับ พัฒนา [16] กล่าวถึงการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย การกำเรบิ ของไฟจึง หมายถึงการหลั่งของอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นเพิ่มจั บกับน้ำตาลที่มาจากการ บริโภคของอาหารที่มีความหนัก เช่น อาหารหวาน อาหารมัน ไฟกำเริบใน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ กระหายน้ำ ผอมไม่มีไขมันน้ำหนักลด กระหายน้ำ หิว บ่อยกนิ จุ ซ่ึงเปน็ อาการนำของโรคเบาหวาน

25 ไฟหยอ่ น (3) เมื่อไฟกำเรบิ อยู่ระยะหนึ่งไฟจะอ่อนเพราะการกำเริบนานวันข้ึนจะทำ ให้ธาตุเข้าสู้สภาวะการทำงานน้อยลงประสิทธิภาพลดลงเรื่อย ๆ จนสุดท้าย เข้าสู่สภาวะธาตุพิการได้ เมื่อเข้าสู่สภาวะไฟหย่อนจะทำให้เกิดอาการ มือ เย็นเท้าเย็นเปรียบเทียบกับการพร่องของอินซูลิน เพราะการทำงานของตับ ออ่ นท่มี ากเกนิ ขดี จำกัด รปู ภาพท่ี 1.2 เส้นทางสภาวะไฟพกิ าร น้ำกำเรบิ (4) ในช่วงที่ไฟกำเริบขึ้น น้ำจะกำเริบตามธาตุไฟเพื่อคุมธาตุไฟ ตามที่มี กล่าวไวใ้ นตำราแพทยศ์ าสตรส์ งเคราะห์ฉบบั พัฒนา ในส่วนทว่ี า่ ดว้ ยเร่ืองธาตุ 4 สัมพันธ์ เมื่อธาตุไฟหย่อนลงจึงทำให้ธาตุน้ำกำเริบขึ้น เพราะ ธาตุไฟก็มี หน้าที่คุมธาตุน้ ำไม่ให้มากขึ้นเช่นกันเมื่อไฟธาตุอ่อนลงแล้วทำให้ธา ตุน้ำ กำเริบขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ แผลหายช้า ปัสสาวะบ่อย บวมมือบวมเท้า เพราะธาตนุ ้ำตกลงเบือ้ งล่างของร่างกายตามธรรมชาติของน้ำที่ไหลจากที่สงู

26 ลงสูเ่ บ้อื งต่ำ ตดิ เชอ้ื ท่ีผวิ หนัง แผลหายช้า ปากแหง้ ผิวแหง้ อาจมีสภาวะอ้วน ฉุขึ้น เพราะมนี ้ำซมึ ซาบอยู่ในร่างกายมาก [17] ธาตุลมหยอ่ น(5) เมื่อร่างกายมนี ้ำซึมซาบอยู่ในร่างกายมากทำให้ไปขัดขวางทางเดินของ ลมทำให้ลมเดินได้ไม่สะดวก นำไปสู่อาการหายใจเร็วเพื่อนำอากาศเข้าสู่ ร่างกายให้เพียงพอ ความไวต่อการสัมผัสลดลง ชา แสบร้อนตามปลายมือ ปลายเท้า เป็นตะคริว ปวดกล้ามเนื้อน่องเวลาเดิน การทรงตัวไม่ดี จอ ประสาทตาผิดปกติ stroke กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ท้องเสีย อวัยวะเพศ ไมแ่ ข็งตัว เปน็ ต้น จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานหากวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฏีตามคัมภีร์ แพทยแ์ ผนไทย กล่าวไว้ ตงั้ แต่ ธาตุ อตุ ุ อายุ และกาลสมุฏฐานจะสัมพันธ์กับ กลุ่มอาการของโรคเบาหวานไม่มากนัก หากแต่พจิ ารณาจากคัมภีร์เวชศึกษา เรอ่ื ง มูลเหตุ 8 ประการและอธิบายโดยเทยี บเคยี งกลไกการเกดิ โรคมีลกั ษณะ สัมพันธ์กนั มากกว่า

27 บทท่ี 2 โรคความดนั โลหติ สงู ตามแนวคดิ ทฤษฎกี ารแพทย์แผนไทย 2.1 ความหมายของโรคความดนั โลหิตสูง ความดันโลหิตสงู ตามแนวคดิ ทฤษฎีการแพทยแ์ ผนไทย ในตำรา การแพทยแ์ ผนไทย มไิ ด้เขยี นหรอื กล่าวเฉพาะตรงกนั หากแตจ่ ะพจิ ารณา ความสอดคล้องกับคำว่า “โรคลมขนึ้ เบอื้ งสูง” หรอื หทยั วาตะกำเรบิ ที่กล่าว ไว้ในพระคมั ภรี ซ์ ่งึ เทียบเคยี งถึงอาการ สาเหตุ 2.2 สมุฏฐานและมลู เหตุการณ์เกดิ โรคความดันโลหติ ตามคมั ภีร์ จากคมั ภรี ์แพทย์แผนไทยทไ่ี ด้กลา่ วไวในบทที่1 ถึงธาตุสมุฏฐาน มลู เหตุการณ์เกิดโรค ได้วิเคราะห์อาการและสาเหตุโรคที่เทียงกับโรคความดัน โลหิต ได้ดังนี้ อาการได้กล่าวถึงความผิดปกติของธาตุลม ( อังคมังคานุสารีวาตา ,ลมอุทธังคมาวาตาและลมอโธคมาวาตา) เดินผิดปกติไปจากเดิมส่งผลใหเ้ กดิ อาการกำเริบของหทยั วาตะกำเริบ ทำใหเ้ กดิ อาการตา่ ง ๆ เช่น ลมตีขึ้น ทำให้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะเป็นลมปะกัง แขนขา อ่อนเปลี้ยไม่มีกำลัง ทำให้แรงดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรในเส้น อัษฎากาศ (เส้น ชพี จร) เตน้ แรงกวา่ ปกติมูลเหตกุ ารณ์เกิดโรค เกิดเพราะลมอังคมังคานุสารวี า ตา ลมอุทธังคมาวาตา, ลมอโธคมาวาตา,ลมสุมนาวาตะ เดินไม่ปกติทำให้ หทัยวาตะกำเริบ ส่งผลให้แรงดันเลือดสูงขึ้น ลักษณะการกำเริบของลม เหล่านี้ไมได้เกิดพร้อมกันในคราวเดียวอาจเกิดเพราะลมใดลมหนึ่งกำเริบขน้ึ เป็นเหตุกอ่ น ผลจากการเกดิ ไฟธาตุ (ปติ ตะ) กำเรบิ อยู่เป็นเวลานาน สง่ ผลตอ่ ลมเดนิ ไม่ปกติ นานวันทำให้หทัยวาตะกำเริบ [16]

28 อีกประการหนึ่งเกิดจากมีประเมหะ / เสมหะ / มละ(ของเสีย หรือไขมัน) อุดกลั้นทางเดินของลม(ในหลอดเลือดและท่อทางเดินต่าง ๆ) และจากการกำเริบของกำเดา ซึ่งคือความร้อนจากอาหารหรือการเผาผลาญ อนั เนื่องจากบรโิ ภคอาหารท่ใี ห้โทษเกินประมาณ เช่น หวานมาก มันมาก เค็ม มาก เปรี้ยวมาก ทำให้โลหิตร้อนขึ้น ลมในระบบไหลเวียนพัดไม่ปกติ แปรปรวน ทำให้กำเดาอุ่นกายกำเริบ ส่งผลให้ลม โลหิตแลกำเดา ตีขึ้นเกิด เพราะ หทยัง (หัวใจ) เสื่อมชราแลพิการ ,ทำงานเกินกำลัง , พักผ่อนไม่ เพียงพอ เป็นผลให้หทยังทำงานไม่ปกตแิ ละแปรปรวน [4] ดังนั้นมูลเหตุสำคัญการเกิดโรค 8 ประการ ตามคัมภีร์เวชศึกษาได้ กล่าวถงึ ประกอบดว้ ย ▪ การอดนอน อดข้าว อดนำ้ ส่งผลต่อปติ ตะ(ไฟ) กำเริบ ▪ อาหารรสจัด (เค็มจัด หวานจัด มันจัด เผ็ดจัด) กระตุ้นการ ทำงานของปิตตะ(ไฟ ปรณิ ามัคคี /ไฟยอ่ ยอาหาร) ▪ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ทำงานหนัก เศร้าโศก กระทบร้อน กระทบเยน็ ถกู ฝน ทำให้ วาตะ/ลม กำเรบิ ▪ กินเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ดื่มสุรา อาหารร้อน โมโห โทโส ทำความ เพียรมาก จนหิวจัด ออกกำลังมาก เสพเมถุนมาก ทำให้ ปิตตะ/ ไฟ กำเริบ จากการรวบข้อมูลในคัมภีร์แพทย์แผนไทย ตำราการแพทย์ไทย เดิม แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับพัฒนาตอนที่ 2 ขยายความจากคัมภีร์ ชวดาร กล่าวถึงหัวใจ (หทัย) เปน็ ธาตดุ นิ อาจมลี ักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นปกติ พิการมาแต่กำเนิด หรือพิการจากโรคภายหลังก็ได้ หัวใจเป็นผู้ต้ัง

29 ต้นให้มีความดันโลหิต (หทัยวาตะ) ดันเลือดเข้าหลอดเลือดไปเลี้ยงท่ัว ร่างกาย หทัยวัตถุ ธาตุดิน หมายถึง ตัวหัวใจที่ทำหน้าที่สูบโลหิตไปเลี้ยง รา่ งกายเทา่ นั้น สว่ นหทยั วาตะ เป็นธาตลุ ม หมายถึงการทำงานของหัวใจ คือ ลมที่พัดเอาโลหิตออกไปจากหัวใจขณะที่หัวใจบีบตัวและรับโลหิตเข้าเม่ือ หวั ใจคลายตัว หทัยวาตะสามารถวัดออกมาเปน็ ปรมิ าณเลอื ดทอ่ี อกจากหัวใจ ต่อนาที การเต้นของหัวใจเป็นจำนวนครั้งต่อนาที แรงดันเลือดที่ออกจาก หัวใจเท่ากับความสูงของปรอท (ในเครื่องวัดแรงดันโลหิต) เป็นมิลลิเมตร ปรอท จังหวะการเต้นสม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบสื่อนำภายในเนื้อ หัวใจจากตัวกำหนดจังหวะ (อยู่ที่รอยต่อของหลอดเลือดดำใหญ่บนกับหวั ใจ ห้องบนขวา) สู่หัวใจห้องล่าง โดยปกติหัวใจห้องล่างจะเต้นตามจังหวะของ ห้องบนและจามจังหวะของตัวกำหนดจังหวะ ถ้าตัวกำหนดจังหวะเสียหรือ ระบบสื่อนำนี้เกิดขัดข้อง หัวใจอาจเต้นช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหัวใจห้องล่าง เต้นตามห้องบนบา้ งเตน้ ไม่ตามบ้าง หทัยวาตะนี้เป็นต้นกำเนิดของอังคมังคา นุสารีวาตา จงึ เปน็ ธาตุพิกัดของอังคมงั คานุสารวี าตาโดยตรง [16] หลอดเลือด เป็นส่วนสำคัญที่สามารถทำให้ความดันโลหิตผัน แปรได้ โดยเฉพาะหลอดเลอื ดแดงขนาดเลก็ ซึ่งทผ่ี นงั มีกลา้ มเนื้อบังคับขนาด รูของหลอดเลือด ถ้ากล้ามเนอ้ื นห้ี ดตัว รหู ลอดเลอื ดจะเลก็ ลง ความต้านทาน ตอ่ ความดันโลหิตต้นทาง (หทัยวาตะ) ก็จะเพิ่มขึ้น หัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้น ในการไล่เลือดเข้าระบบไหลเวียน ความดันโลหิตทั่วไปก็จะสูงขึ้น ผู้ที่มี ความเครยี ดมาก (สุมนากำเรบิ ) อาจมีการกระตนุ้ ศูนย์บีบหลอดเลือดมากกวา่ ปกติ ยังมีผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนถูกหลั่ง ออกมาตามปฏิกิริยาของร่างกายตามสิ่งแวดล้อม เช่น อะดรีนาลีน จากเนื้อ

30 ในของต่อมหมวกไตถูกหลั่งออกมาเมื่อตื่นเต้นตกใจ จะกระตุ้นให้หัวใจเต้น เร็วแรง และบีบหลอดเลอื ด ทำให้รสู้ ึกใจเต้นและความดันขน้ึ สูงได้ [18] อังคมังคานุสารีวาตา เป็นธาตุลม พัดทั่วทั้งร่างกาย พัดให้เลือดไหล ไปตามหลอดเลอื ดแดงและดำ ได้รับเลอื ดจากหัวใจโดยหทัยวาตะ ส่งมาดว้ ย แรงดันสูง เมื่อผ่านเข้าหลอดเลือด จะถูกความต้านทานของหลอดเลือด ทำ ให้แรงดันลดลงตามลำดับ สามารถวัดอังคมังคานุสารีวาตาออกมาได้เป็น มิลลิเมตรปรอท ซึ่งได้ค่าแตกต่างกันตามตำแหน่งและขนาดของหลอดเลือด ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หลอดเลือด แรงดันโลหิตของข้างซ้ายอาจจะต่าง กับข้างขวา คนไข้บางรายมีเนื้องอกหรือมดลูกขณะตั้งครรภ์แก่ไปกดหลอด เลอื ดแดงทไ่ี ปสไู่ ต ไตขา้ งนนั้ ไดร้ ับเลอื ดลดลง ทำใหเ้ กดิ สารเคมีอย่างหนึ่ง (เร นิน) ซึ่งยังผลให้แรงดันเลือดสงู ขึ้นและหัวใจทำงานเพ่ิมด้วย [4] ดังนั้นความ ดันโลหิตสูงจึงสมั พนั ธก์ บั การทำงานของ หทัยวัตถุ หทัยวาตะและสมุ นาวาตะ คล้ายกับการทำงานในระบบไหลเวียนเลือดทางแผนปัจจุบัน ตามรูปภาพ ท่ี 2.1 และ 2.2

31 รปู ภาพที่ 2.1 ลักษณะเสน้ เลอื ดของร่างกาย ท่มี า: https://biologydictionary.net/circulatory-system/

32 รปู ภาพที่ 2.2 ลกั ษณะหวั ใจและระบบไหลเวยี นเลือด ท่ีมา: https://www.pinterest.com/pin/375276581428474332

33 ประเด็นวเิ คราะห์ตามธาตสุ มฏุ ฐาน หากวิเคราะห์ตามธาตุสมุฏฐาน หมายถึง ธาตุท่ีเป็นท่ีตั้งที่แรก เกิดของโรค วิเคราะห์ธาตุที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เริ่มตั้งแต่เกิดจากปถวี ธาตุ ได้แก่ หทัย (หัวใจ) นหารู (เส้นเอ็น:หลอดเลือดแดง) อัฐิมิญชัง (ไข กระดูก) ปิหกัง (ไต) วาโยธาตุ ได้แก่ อังคมังคานุสารีวาตา (ลมพัดทั่ว ร่างกาย) อาโปธาตุ ได้แก่ โลหติ ตัง(เลือด) เมโท (มันข้น) วสา(มนั เหลว) เกิด ภาวะเสียสมดุลของ 3 ธาตุที่กล่าวมาส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง โดยจะ อธบิ ายเหตุผลตามตารางด้านล่างน้ี ตารางท่ี 2.1 ตารางวิเคราะห์ธาตุสมฏุ ฐานเทียบเคียงกับโรคความดนั โลหิตสงู ชอื่ ธาตุ หน้าทีป่ กติ การเสยี สมดลุ (กำเรบิ หย่อน พกิ าร) ถวธี าตุ หทยั สบู ฉดี เลือดไปเลีย้ ง (หัวใจ) รา่ งกาย กำเริบ ทำใหท้ ำงานมาก เกิด ปถวีธาตุ นหารู นำอาหารไปหลอ่ เลย้ี ง ความดันเลือดสูง ปวดศรี ษะ (เสน้ เอ็น หลอด รา่ งกาย กำเริบ มีความตึงตวั มากเกนิ ไป เลอื ดแดง) ทำใหค้ วามดนั เลือดสงู ปถวธี าตุ อฐั มิ ิญชงั สรา้ งเม็ดเลือดแดง (ไขกระดกู ) กำเรบิ ไขกระดกู ทำงานมาก สร้างปสั สาวะเพ่อื ขบั ถ่าย เกนิ เม็ดเลอื ดแดงมากเกนิ ทำให้ ปถวีธาตุ ปิหกงั ส่ิงท่ีรา่ งกายไมต่ ้องการท่ี ความดนั เลือดสูง หลอดเลอื ด (ไต) (ตอ่ มหมวกไต) ละลายน้ำได้ รกั ษาสมดุล สมองอุดตนั ง่าย น้ำกรด-ดา่ ง เกลอื ต่อม หย่อน ความดนั เลือดสงู เกิด หมวกไต สร้างฮอร์โมน เมื่อไตขาดเลือด ช่วยควบคมุ กำเรบิ ความดันโลหติ สูง หัว ใจเตน้ แรงเร็ว ต่ืนเต้นง่าย

34 ชือ่ ธาตุ หน้าทปี่ กติ การเสยี สมดลุ (กำเริบ ปถวีธาตุ ปหิ กัง หย่อน พกิ าร) (ไต) (ตอ่ มหมวกไต) การเต้นของหัวใจและ วาโยธาตุ อังคมัง ความดนั โลหติ กำเรบิ ความดันเลอื ดสูง ปวด คานสุ ารวี าตา (ลม ทำใหโ้ ลหติ ไหลไปหลอ่ หัว พัดท่ัวร่างกาย) เล้ยี งทว่ั รา่ งกาย อาโปธาตุ โลหิตตงั กำเริบ เลอื ดขน้ ทำใหห้ วั ใจ (เลอื ด) ขนส่งอาหารไปแลก ทำงานหนักขึน้ สง่ ผลใหห้ ัวใจ เปลี่ยนกับของเสียใน ออกแรงบีบตัวเองเพื่อสบู ฉดี อาโปธาตุ เมโท(มนั เนื้อเยื่อ ขนส่งฮอร์โมน เลอื ดไปเล้ยี งส่วนตา่ ง ๆ ขน้ ) วติ ามนิ ภูมิคุ้มกนั เก็บ ร่างกายมากขึน้ อาจเกดิ ความ ความร้อนจากอวยั วะที่ ดนั เลอื ดสงู ได้ อาโปธาตุ วสา(มนั ทำงานมาก เชน่ ตบั ไป เหลว) ถ่ายท้งิ ทางผวิ หนัง ทั้ง กำเริบ มมี าก ทำให้อว้ น สง่ ผล การระเหยและเหง่ือ ให้มีไขมันไปเบยี ดอวยั วะภาย หล่อลื่นไปอย่ใู ตผ้ ิวหนงั ในเลอื ดไหลไมส่ ะดวกจึงทำให้ ทัว่ ไป รวมทง้ั ทอ่ี ย่รู อบ หวั ใจตอ้ งสูบฉีดเลอื ดมากขึ้น อวัยวะภายในดว้ ย เป็น อาจเกดิ ความดันเลือดสูงได)้ พลังงานสะสม กำเรบิ มมี ากเกินไปในน้ำเลอื ด เคลอื่ นย้ายออกมาใช้ได้ เปน็ เหตขุ องเสน้ เลือดหวั ใจและ อยใู่ นนำ้ เลือด นำ้ เหลือง สมองอุดตนั หวั ใจทำงานหนกั นำ้ นม เป็นสารไขมนั ท่ีอยู่ เกดิ แรงดนั เพอ่ื สบู ฉีดเลอื ดมาก ระหวา่ งการขนยา้ ย เพราะมไี ขมันมาอดุ กนั้ อยู่ อาจ ออกมากับเหงอื่ ทำใหผ้ วิ เกดิ ความดันเลอื ดสูงได้ ไม่แห้ง ที่มาดดั แปลงจาก: ตำราการแพทยไ์ ทยเดมิ (แพทยศาสตร์สงเคราะห์) ฉบบั พัฒนา.

35 ประเด็นวเิ คราะหต์ ามอายุสมุฏฐาน บุคคลในอายุตา่ งๆกัน ย่อมมีการทำงานของร่างกายแตกตา่ งกัน การ รักษาจึงต้องพิจารณาอายุของคนไข้ด้วย เพราะทารกย่อมไม่ใช่ส่วนย่อของ ผู้ใหญ่ ในทางการแพทย์แผนไทยถือว่า บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปน้ัน หยดุ การเจริญเติบโตแล้ว จะมีก็แต่คงสภาพอยู่หรือคอ่ ยๆ เส่อื มไป “ช่วงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุดคือปัจฉิมวัย (วัย ชรา) เพราะระบบตา่ งๆ เร่มิ เส่อื มทำงานได้ไม่เต็มท่ี” ปัจฉมิ วัย (วยั ชรา) มอี ายตุ ้งั แต่ 30 ปีขน้ึ ไป ในชว่ งน้ถี ้าบุคคลใดเกิด เป็นโรคขึ้นจากสมุฏฐานใดๆ ก็ตาม วาตะ ซึ่งเป็นเจ้าสมฏุ ฐาน ย่อมเจือไปใน สมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็จะมีกำลังกว่าสมุฏฐานอื่นๆ อายุวาตะ นี้มี กำลัง 10 วัน ประเด็นวเิ คราะห์ตามตรธี าตุ ความดันโลหติ สูงของการแพทย์แผนไทยเกดิ จากสาเหตุของสมุฏฐาน ปติ ตะ วาตะ และเสมหะซ่ึงมลี กั ษณะและการทำหน้าท่ี ดงั น้ี ปิตตะ แสดงถึง สภาวะหดกระชับ สภาวะแพร่กระจาย พลังงาน ความรอ้ น ความแหง้ ปติ ตะควบคุมเกีย่ วกบั การยอ่ ยอาหาร การเผาผลาญ พลงั งานในรา่ งกาย ความรอ้ นของรา่ งกาย รวมทง้ั สตปิ ญั ญา เสมหะ สภาวะขยาย ดึงดูดเกาะกุม สะสมพอกพูน พลังความเย็น ความชื้น หน้าที่ ควบคุมเกี่ยวกับการหล่อลื่น ยึดเหนี่ยวส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย วาตะ แสดงถึงพลังการขับเคลื่อน การเคล่ือนไหว การไหลเวยี น การ ติดต่อ การเชื่อมโยง มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย

36 อวัยวะต่าง ๆ การหายใจ การไหลเวียนของเลือด ควบคุมลมปราณ จิตใจ และเบญจอนิ ทรยี ์ กล่าวคือ สมุฏฐานทั้ง 3 เกิดการติดขัดขึ้นภายในร่างกาย เช่น ที่ตับ ท่ี หลอดเลือด หลอดเลือดหัวใจ สมองฯ เกิดภาวะอุดตันของลิ่มเลือด ไขมัน (เสมหะ) ทำให้การไหลเวยี น(วาตะ) ตดิ ขัด สะสมพอกพูน จึงเกิดความร้อน ( ปิตตะ ) และมีแรงดันเกิดขึ้น เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ ทำให้หัวใจต้องออกแรง สูบฉีดโลหิตมากขึ้น ภาวะความดันโลหิตสูงจึงเกิดขึ้น และเพิ่มมากขึ้นหาก ไมไ่ ดร้ ับการแกไ้ ขทีส่ าเหตุ แนวทางการคัดกรองโรคความดนั โลหติ สงู ตามหลักการแพทย์แผนไทย การตรวจประเมนิ ตามหลกั การแพทย์แผนไทย ▪ การตรวจชีพจร ลักษณะการเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นเรว็ แรง ตน้ื หรอื สะดุด ลมเบ้อื งบนแลเบือ้ งต่ำเดินไมป่ กตแิ ละสมั พันธ์กัน ▪ ปวดหรือมนึ ศรี ษะบ่อยๆ ปวดหนกั ทา้ ยทอย ( กำด้นต้นคอ) แลเปน็ ลมปะกังบ่อยๆ ▪ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แขนและขาเปลี้ยไม่มีกำลงั

37 2.3 กลไกการเกดิ โรคความดันโลหิตสูงเทียบเคยี งตามทฤษฎแี พทยแ์ ผนไทย รูปภาพท่ี 2.3 กลไกเกดิ โรคความดนั โลหติ สูงตามหลกั ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

38 การพิจารณากลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูงสอดคล้องกันหลาย ประการ เช่น สาเหตุหรือมูลเหตุการเกิดโรค จะกล่าวถงึ มูลเหตุ 8 ประการที่ กลา่ วไวเ้ ชน่ เดียวกับคัมภรี ์เวชศึกษา ตั้งแต่การอดนอน อดนำ้ สง่ ผลตอ่ ปิตตะ (ธาตุไฟ) กำเริบ อาหารรสจัด (เค็มจัด หวานจัด มันจัด เผ็ดจัด) กระตุ้น การ ทำงานของปิตตะในส่วนของปริณามัคคีไฟ (ย่อยอาหาร) การกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ทำงานหนัก เศร้าโศก การกระทบร้อน กระทบเย็น ถูกฝน ทำให้ วาตะ/ลมกำเริบ การกินเผ็ด เปรี้ยว เค็ม การดื่มสุรา อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน โมโหโทโส การทำความเพียร เคร่งเครียดมาก จนหิวจัด การออกกำลังกาย มากเกนิ กำลงั การอดนอน เสพเมถุนมาก ลว้ นทำให้ ปิตตะ/ไฟ กำเริบ อายสุ มุฏฐานในกลุ่มผู้สูงอายุ/ปัจฉมิ วัย มวี าตะเป็นเจ้าเรือน มีโอกาส เกิดความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนวัยอื่น ในขณะที่ลมอโธคมาวาตาและลม อุทธังคมาวาตา อันหมายถึงลมเบื้องบนและลมเบื้องล่างซึ่งรวมไปถึงลมอังค มังคานุสารีวาตาพัดไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อลมสุมนาวาตะซึ่งเป็นลมกอง ละเอยี ดเดินไม่ปกตทิ ำให้ หทัยวาตะกำเรบิ แรงดันเลอื ดสูงขน้ึ ลมกำเริบไมไ่ ด้ เกิดพร้อมกันในคราวเดียว อาจเกิดเพราะลมใดลมกองใดกองหนึ่งกำเริบขึ้น เปน็ เหตุกอ่ น [21] นอกจากนี้เหตุเกิดจากมีประเมหะ / เสมหะ / มละ(ของเสียหรือ ไขมัน) อุดกลั้นทางเดินของลม (ในหลอดเลือดและท่อทางเดินต่าง ๆ) เกิด เพราะกำเดากำเริบอยู่นานวัน คอื ความร้อนจากอาหารหรือการเผาผลาญ อนั เนื่องจากบริโภคอาหารที่ให้โทษเกินประมาณ เช่น หวานมาก มันมาก เค็ม มาก เปรี้ยวมาก ทำให้โลหิตและกำเดาตีข้ึน ลมไหลเวียนพัดไม่ปกติ แปรปรวน ประการสุดท้าย เกิดเพราะหทยัง (หัวใจ) เสื่อมชราทำงานเกิน กำลัง พกั ผ่อนไมเ่ พียงพอ เปน็ ผลใหห้ ทยังทำงานไม่ปกตแิ ละแปรปรวน [4]

39 บทท่ี 3 การประยกุ ตใ์ ชก้ ารแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ ผู้ปว่ ยโรคเบาหวาน 3.1 โรคเบาหวานในทางการแพทยแ์ ผนปัจจุบนั 1) คำนยิ ามและคำจำกดั ความของโรคเบาหวาน เบาหวาน (Diabetes Mellitus :DM) หมายถึง ภาวะระดับน้ำตาล ในเลือดสูงซึ่งเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินสุลิน หรือการออกฤทธ์ิ ของอินสุลิน หรือทั้งสองอย่าง โดยมีการตรวจพบระดับน้ำตาลในพลาสมา หลังอดอาหารนาน 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose) มากกว่าหรือ เท่ากับ 126 mg/dL อย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ต่างกัน หรือระดับน้ำตาลใน พลาสมาที่ไม่เจาะจงเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dL ร่วมกับมีอาการ สำคญั ของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อยและมาก กระหายนำ้ บ่อย น้ำหนัก ลดไม่ทราบสาเหตุ [13] 2) สาเหตุของโรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของฮอรโ์ มนอนิ ซลู นิ อินซูลินเป็นฮอร์โมนท่ี ผลิตโดยตับอ่อน (ส่วนที่เรียกว่า เบต้าเซลล์ (Beta cell)) ทำหน้าที่ช่วยนำ น้ำตาล หรือกลูโคสในเลือด (ซึ่งได้จากอาหารท่ีกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาพวก แป้ง คาร์โบไฮเดรต ของหวาน) เข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญให้เป็น พลังงานสำหรบั การทำหนา้ ท่ีของอวัยวะต่าง ๆ ผูท้ เ่ี ป็นเบาหวานจะพบว่าตับ อ่อนผลิตอินซูลิน (Insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลยหรือผลิตได้ปรกติ แต่ ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง (เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin

40 resistance) เช่นทีพ่ บในคนอ้วน) เมือ่ ขาดอินซลู นิ หรอื อนิ ซลู ินทำหน้าท่ีไม่ได้ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยกว่าปรกติ จึงเกิดอาการคั่งของ น้ำตาลในเลือด และน้ำตาลก็ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ จึงเรียกว่า “เบาหวาน” ผ้ปู ว่ ยทเ่ี ป็นมาก คือมรี ะดบั น้ำตาลในเลอื ดสงู มากมักจะมอี าการ ปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปรกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมากจึงทำให้รู้สึกกระหาย น้ำมาก และเนือ่ งจากผปู้ ่วยไมส่ ามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเปน็ พลังงานจึง หันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กลา้ มเน้อื ฝ่อลีบ อ่อนเปล้ยี เพลียแรง 3) ชนิดของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานแบ่งเปน็ 4 ชนดิ แยกตามสาเหตุของการเกิดโรค ดังน้ี 1) โรคเบาหวานชนดิ ที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เปน็ ชนดิ ท่ีพบไดน้ อ้ ยแต่มคี วามรุนแรงและอันตรายสงู เปน็ ผลจากการทำงาน ของเบต้าเซลล์ทตี่ บั อ่อนขาดภมู ิคมุ้ กันของรา่ งกาย มกั พบในผู้ท่ีอายุน้อยกว่า 30 ปี รปู รา่ งไมอ่ ว้ น มีอาการปัสสาวะมาก กระหายน้ำ ดืม่ นำ้ มาก อ่อนเพลีย นำ้ หนักลด อาจจะเกดิ ขนึ้ ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ และรนุ แรง (มักพบในวยั เดก็ ) ซ่ึงใน บางกรณีพบภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (ketoacidosis) เป็นอาการ แสดงแรกของโรค หรอื มกี ารดำเนินโรคช้า ๆ จากระดับน้ำตาลทส่ี ูงปานกลาง แล้วเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน เมื่อมีการติดเชื้อหรือมีสิ่งกระตุ้น อื่น ซึ่งมักจะพบการดำเนินโรคในกรณีหลังนี้ในผู้ใหญ่ การตรวจทาง ห้องปฏบิ ตั ิการทสี่ นับสนุนคือ พบระดับ ซี-เป็ปไทด์ (C-peptide) ในเลือดต่ำ

41 มาก และ/หรือตรวจพบปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อส่วนของ islet cell ได้แก่ Anti-GAD, islet cell autoantibody, IA-2 2)โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T2DM) โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่สำคัญ 2 ประการ คือ การหลัง่ อนิ ซูลนิ จากเบต้าเซลลข์ องตบั อ่อนบกพร่อง และร่างกายมีภาวะ ด้ืออนิ ซลู นิ เป็นชนดิ ที่พบไดบ้ อ่ ยทสี่ ุด ในคนไทยพบประมาณร้อยละ 95 ของ ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นผลจากการมีภาวะดื้ออินซูลิน ร่วมกับการ บกพร่องในการผลิตอินซูลินท่ีเหมาะสม มักพบในคนอายุ 30 ปีขึ้นไป รูปร่าง ทว้ มหรืออว้ น อาจไม่มอี าการผิดปรกติ หรอื อาจมีอาการของโรคเบาหวานได้ อาการมักไม่รุนแรงและค่อยเป็นค่อยไป มักมีประวัติโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพ่อ แม่ หรือ พี่ น้อง โดยที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดนี้พบ มากเม่ือมีอายสุ ูงขึ้น มีน้ำหนกั ตัวเพิม่ ขึ้น การขาดการออกกำลังกาย และพบ มากข้ึนในหญิงท่มี ปี ระวตั ิการเปน็ เบาหวานขณะตง้ั ครรภ์ อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานทั้งสองชนิดสามารถมีอาการแสดงที่ คล้ายคลึงกันได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 1 และ 2 สามารถพบได้ในเด็ก และผู้ใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 บางรายสามารถเกิดภาวะ diabetic ketoacidosis ได้ทำให้การวินิจฉัยจากอาการแสดงทางคลินิกในช่วงแรกทำ ได้ยาก และต้องใชก้ ารตรวจทางห้องปฏิบัติการเพ่ิมเตมิ เชน่ การตรวจระดับ antibody หรือ C-peptide และใช้การตดิ ตามผู้ป่วยในระยะตอ่ ไปร่วมด้วย 3) โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการทีม่ ีภาวะดือ้ ต่ออินซูลินมากข้ึน ในระหว่างตั้งครรภ์ จากปัจจัยจาก รก หรืออื่น ๆ และตับอ่อนของมารดาไม่

42 สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการได้ สามารถตรวจพบ จาก การทำ oral glucose tolerance test (OGTT) ในหญิงมีครรภ์ในไตรมาสท่ี 2 หรือ 3 โดยจะตรวจที่อายุ ครรภ์ 24-28 สัปดาห์ด้วยวิธี “one-step” ซึ่ง เป็นการทำการตรวจครั้งเดียวโดยการใช้ 75 กรัม OGTT หรือ “two-step” ซึ่งจะใช้การตรวจกรองด้วย 50 กรัม glucose challenge test แล้วตรวจ ยืนยันด้วย 100 กรัม OGTT โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้มักจะ หายไปหลัง คลอด สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่พบระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร 126 มก./ดล.หรือมีค่า A1C 6.5% ในไตรมาสที่ 1 จะจัดอยู่ในผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวานอยู่เดิมแล้วก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะเป็นเบาหวานชนิดท่ี 1 หรือ ชนิดที่ 2 หรือ อาจจะเป็นเบาหวานชนิดอื่นๆ เช่น MODY ได้ การ วินิจฉัยแยกโรคว่าเป็นเบาหวานชนิด ใด มีความสำคัญต่อการดูแลรักษา ผ้ปู ่วยเหลา่ น้ีใหเ้ หมาะสม 4) โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ ( specific types of diabetes due to other causes) เป็นโรคเบาหวานที่มสี าเหตชุ ดั เจน ได้แก่ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่น MODY (Maturity- Onset Diabetes of the Young) โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคของตับอ่อน จากความผิดปกติของ ต่อมไร้ท่อ จากยา จากการติดเชื้อ จากปฏิกิริยา ภมู ิคุ้มกัน หรอื โรคเบาหวานทพี่ บรว่ มกับกลมุ่ อาการตา่ งๆ ผปู้ ่วยจะมีลกั ษณะ จำเพาะของโรคหรือกลุ่มอาการนัน้ ๆ หรอื มอี าการและอาการแสดงของโรคที่ ทำให้เกิดเบาหวาน 4) อาการของโรคเบาหวาน [13] อาการของโรคเบาหวานแบง่ ตามระดบั ความรุนแรงของโรค ไดด้ งั นี้

43 (1) ในรายที่เป็นไม่มาก (ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200 มก./ ดล.) ซึ่งพบได้เปน็ สว่ นใหญ่ในกลุ่มเบาหวานชนดิ ท่ี 2 ผู้ป่วยจะยงั รู้สึกสบายดี และไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และมักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจ ปัสสาวะหรือการตรวจเลอื ดในขณะทไี่ ปพบแพทย์ดว้ ยสาเหตอุ ื่นหรือจากการ ตรวจสขุ ภาพท่วั ไป (2) ในรายทีเ่ ป็นมาก (ระดับนำ้ ตาลในเลือดมากกวา่ 200 มก./ดล.) ซึ่งพบได้ในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงข้ัน รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมาก ๆ กระหายน้ำ บ่อย ปากแห้ง หิวบ่อยหรอื กนิ ขา้ วจุ รู้สกึ เหนื่อยงา่ ย ออ่ นเพลยี และบางราย อาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น ซึ่งอาการ ปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมาก ๆ เพราะฮอรโ์ มนอินซลู นิ ทผี่ ลติ ไดไ้ มเ่ พียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ จึงทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับเข้าสู่ เลือด จึงปล่อยออกมาพร้อมกับน้ำกลายเป็นปัสสาวะ ผู้ป่วยเบาหวานจึง ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก กระหายน้ำบ่อย เพราะสูญเสียน้ำจากการ ปัสสาวะบ่อยครั้ง ร่างกายจึงจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไปทำให้เกิดความ กระหายน้ำและอยากดื่มน้ำมากกว่าปกติ หิวบ่อยหรือกินจุ เพราะขาด ฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้เซลล์ไม่ได้รบั พลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่ง อาหารมากขึ้นด้วยการส่งสัญญาณออกมาด้วยอาการหิว เหนื่อยง่าย เพราะ น้ำตาลไม่สามารถเขา้ สู่เซลลเ์ พ่ือเผาผลาญเป็นพลังงานได้ (3) ในรายทเ่ี ปน็ เบาหวานชนดิ ที่ 2 ส่วนใหญจ่ ะไม่มอี าการแสดง ชัดเจน มีเพียงส่วนน้อยที่จะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจ ลดลงบา้ งเล็กนอ้ ย แต่บางรายอาจมีน้ำหนักตวั เพ่มิ ขึ้น ผ้ปู ่วยกลมุ่ นม้ี กั มีภาวะ

44 น้ำหนักตวั เกินหรอื โรคอว้ นอย่แู ต่เดิม ในรายท่เี ป็นเรอ้ื รงั มานานท้ังท่ีมีอาการ และไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน อาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีหรือโรค ตดิ เชอ้ื ราทผี่ วิ หนังบ่อย หรือเป็นแผลเรอ้ื รงั ทห่ี ายชา้ กว่าปกติ (โดยเฉพาะแผล ที่บริเวณเท้า) หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ชาหรือ ปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทาง เพศ เจ็บจุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต สายตามัวลง ทกุ ทีหรือต้องเปลีย่ นแวน่ สายตาบอ่ ย ฯลฯ นำ้ หนกั ลดลงผดิ ปกติ เพราะเซลล์ ไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ร่างกายจงึ หันมาเผาผลาญ กล้ามเนื้อและไขมันแทน จึงทำให้ร่างกายผอม กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ไม่มีไขมัน สายตามัว เห็นภาพไม่ชัด เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่ง ของน้ำตาลในเลนส์ตาจนจอประสาทตาเกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับ นำ้ ตาลสงู เป็นเวลานานจนเกดิ ความผิดปกติของจอประสาทตา ซ่ึงในบางราย อายอาจรุนแรงถึงข้นั ตาบอด (4) ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่าง ๆ มักเกิดข้ึนอยา่ ง รวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็น เดือน) ในผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติจากภาวะคีโตแอซโิ ดซสิ (Ketoacidosis) ผปู้ ว่ ยกลุ่มนม้ี ักมอี ายุนอ้ ยและรูปรา่ งผอม (5) เกณฑ์การวินจิ ฉัยโรคเบาหวาน การวนิ จิ ฉัยโรคเบาหวาน ทำไดโ้ ดยวิธีใดวธิ ีหนงึ่ ใน 4 วธิ ี ดงั ตอ่ ไปน้ี(9)