Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore LK008-หนังสือพระมาลัยเถระเป็นใคร มาจากไหน

LK008-หนังสือพระมาลัยเถระเป็นใคร มาจากไหน

Description: LK008-หนังสือพระมาลัยเถระเป็นใคร มาจากไหน

Search

Read the Text Version

พระมาลัยเถระเปšนใคร? มาจากไหน? ISBN : 978-616-445-234-3 รวบรวม : พระมหาพจน์ สุวโจ, ดร. เรยี บเรยี ง : พระมหาถนอม อานนฺโท พมิ พคร้งั ท่ี ๑ : กันยายน ๒๕๖๐ จํานวนพมิ พ : ๒,๐๐๐ เล่ม ดาํ เนินการจัดพมิ พ สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ซอยกระทมุ่ ลม้ ๖ ถนนพทุ ธมณฑลสาย ๔ ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐-๒๔๒๙๒๔๕๒, ๐๙๘-๘๗๖๖๑๙๖ Email : [email protected]

คาํ นาํ ชาวพุทธไทยรู้จักพระมาลัยเถระเป็นอย่างดี นับตั้งแต่พระ พุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังประเทศไทยสมัยอดีตกาล และรู้จัก ใกลช้ ดิ มากขน้ึ เมอ่ื สถาบนั พระมหากษตั รยิ ใ์ หค้ วามสา� คญั เรอ่ื งราว ของพระมาลัย โดยสอดแทรกประวัติของท่านในประเพณีเทศน์ มหาชาติ ซึ่งสมัยอดีตนั้นประเพณีน้ีถือว่าเป็นงานใหญ่ที่พระ มหากษัตรยิ จ์ ะตอ้ งจัดขึ้นเป็นประจา� ทุกป นยั วา่ เปน็ ครรลองแหง่ การประพฤติเลยี นแบบการบา� เพ็ญบารมีของพระโพธิสัตวเ์ จ้า เรื่องราวของพระมาลัยเถระที่สอดแทรกในประเพณีเทศน์ มหาชาติน้ัน นอกจากจะมีบทบาทส�าคัญในฐานะผู้จุดประกาย ให้เกิดการเทศน์มหาชาติแล้ว พระเถระยังมีส่วนส�าคัญในการ เตมิ เตม็ เรอื่ งราวของโลกมนษุ ย์ โลกสวรรคแ์ ละยมโลกใหม้ าบรรจบ กนั โดยบงั เอิญ ด้วยเหตนุ น้ั ชาวพทุ ธไทยจงึ โหยหาพระเถระผทู้ รง อภญิ ญาเฉกเชน่ พระมาลัยเถระรูปน้ี หนังสือเล่มน้ีพยายามวิเคราะห์เรื่องราวของพระมาลัยเถระ อีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้มาก่อน หรือบาง คนรู้แล้วแต่ท�าเป็นเฉยเสีย โดยการวิเคราะห์คร้ังนี้เพื่อจะช้ีให้

เห็นวา่ เรือ่ งราวของพระมาลยั เถระกว่าจะมาสมบูรณ์ลงตัวดังเหน็ กันในปัจจุบัน มีการสอดแทรกบางเร่ืองบ้าง มีการตัดทอนบาง แห่งบา้ ง มีการเสริมหลกั ธรรมคำ� สอนบ้าง ทง้ั นีเ้ พอื่ ให้สอดคลอ้ ง ตามความต้องการของชาวไทย ขออนโุ มทนาญาตธิ รรมหลายทา่ นทช่ี ว่ ยกนั บรจิ าคปจั จยั เพอื่ พิมพ์หนังสือเล่มนี้ ด้วยเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ทั่วไป เพ่ือบังเกิดปัญญาพิจารณาด้วยเหตุและผล ขออ�ำนาจ คณุ พระศรรี ตั นตรยั จงดลบนั ดาลประทานพรใหท้ กุ ทา่ น จงประสบ ความสขุ สวัสดี และเจรญิ ดว้ ยพิพิธพรชัย ๔ ประการ คอื อายุ วรรณะ สุขะ และพละ ตลอดกาลทกุ เม่ือ เทอญฯ พระมหาถนอม อานนโฺ ท พระมหาพจน์ สุวโจ, ดร.

สารบญั ๑ ๔ ๑. ถน่ิ กําเนิดพระมาลยั เถระ ๗ เกรน่ิ น�า ๑๑ ดินแดนมาลัยเทศะ ๑๗ ประวตั พิ ระมาลัยเถระ ๒๐ วิเคราะห์ฉฉักกสูตร ๒๔ ๒๗ ๒. บทบาทพระมาลยั เถระ ๓๓ ประวัติแนวใหม่ ๓๗ พบพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสตั ว์ ๔๓ เทพเจา้ ฮินดรู ุ่งเรอื ง วเิ คราะหเ์ ปรยี บเทยี บ ๓. คติความเช่ือมหายาน เกรน่ิ น�า พระกษติ คิ รรภโ์ พธิสตั ว์ เปรียบเทยี บพระอวโลกิเตศวร

๔. เร่อื งราวตามคัมภีร ๔๙ เกรน่ิ นา� ๕๑ มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ ๕๗ เรอ่ื งราวพระมาลยั เถระแบบไทย ๖๕ ๗๐ ๕. พระมาลยั เถระทอ งนรกสวรรค ๗๒ พระเถระท่องยมโลก ๗๖ สถานภาพพญายมราช พระเถระทอ่ งโลกสวรรค์ พบพระศรีอารย์





๑ ถิ่นกําเนดิ พระมาลัยเถระ เกริ่นนา� ประเพณชี าวอสี าน เวลามงี านพธิ กี รรมโดยเฉพาะการทา� บญุ อฐั อิ ทุ ศิ สว่ นกสุ ศลไปใหแ้ กผ่ จู้ ากไปสปู่ รโลก นอกจากนมิ นตพ์ ระเจา้ พระสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์ฉันเช้าแลเพลแล้ว ส่ิงหนึ่งซ่ึงเป็นองค์ ประกอบขาดไม่ได้คือ ผ้าขาวผืนใหญ่กางก้ันด้านหลังพระสงฆ์ เสมอื นหนง่ึ ผา้ มา่ น บนเนอ้ื ผา้ แตง่ แตม้ เรอ่ื งราวเกย่ี วกบั พทุ ธศาสนา ไมว่ ่าจะเป็นพุทธประวตั ิ นิทานชาดกเกย่ี วกับพระโพธสิ ตั ว์ หรอื แม้แต่เรื่องพระเวสสันดรชาดกอันเป็นการสร้างมหาบารมีคร้ัง สุดท้ายของพระโพธสิ ัตว์เจ้า มีเรื่องราวหนึ่งซ่ึงผู้เขียนชื่นชอบติดตาติดใจคือพระมาลัย เถระ

เปน็ ภาพพระสงฆร์ ปู หนงึ่ ถอื ตาลปตั รใบตาล อากปั กริ ยิ าสงบ ส�ำรวมแต่แฝงด้วยเมตตาคุณ เหาะไปยังสวรรค์เมืองแมน เพื่อ สนทนาธรรมกับเหลา่ เทพยดาหรือพระอนิ ทร์กายเขียว บางภาพ เหาะลงไปยังเมืองนรกบาดาล ดินแดนอันร้อนระอุด้วยไฟของ ผู้เสวยอกุศลกรรมเก่าแต่หนหลัง นัยว่าเป็นการไปผ่อนปรน ความเร่าร้อนของเหล่าสัตว์นรก ผู้เดือดพล่านด้วยการทรมาน และจองจำ� ของนายนิรยบาล สมัยเด็กไม่คิดอะไรไปไกล เพียงแต่อัศจรรย์ใจว่าเพียงแค่ ถือตาลปัตรน้อยอันเดียว ก็เหาะเหินเดินดาวไปไหนต่อไหนได้ เชียวเหรอ มิน่าพระสงฆ์ท่านจึงนิยมใช้ตาลปัตรกัน สงสัยแต่ละ รูปคงจะเขา้ ออกนรกสวรรคก์ ันบ่อย แต่พออายุพรรษามากข้ึนได้รับรู้เรื่องมากมายหลายทาง อกี ทงั้ ไดไ้ ปศกึ ษาจารตี ประเพณแี ละคตคิ วามเชอ่ื ของชาวศรลี งั กา เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ ได้เหน็ เค้ารางความเป็นมาของพระมาลยั ผู้ถือตาลปัตรรูปนั้น เกิดความสนใจใคร่รู้เร่ืองราวของท่านข้ึนมา จงึ เปน็ เหตใุ หเ้ ทย่ี วไตถ่ ามพระเถระผใู้ หญแ่ ละนกั ปราชญห์ ลายทา่ น ได้รับค�ำตอบหลายแง่หลายมุม แต่ละมุมมองล้วนน่าสนใจทั้งส้ิน โดยเฉพาะมมุ ท่ไี ม่เจือปนด้วยเรื่องราวพระมาลยั ฉบับไทยแท้ 2

จึงเห็นว่าหากย้อนกลับไปดูจุดเร่ิมต้นของพระมาลัย น่าจะ ท�ำให้เราชาวพุทธไทยเข้าใจแจ่มชัด และจะยังเกิดศรัทธาต่อ ภูมิปัญญาและความเพียรของบรรพบุรุษเราชาวไทย ผู้พยายาม ปลกู ฝงั อนชุ นคนรนุ่ หลงั ดว้ ยการสรา้ งเรอื่ งราวใหเ้ หน็ เปน็ รปู ธรรม แตแ่ ฝงเรน้ นามธรรมอนั เปน็ ปญั ญาอยา่ งหลากหลาย นบั ตงั้ แตเ่ รอ่ื ง โลกียส์ ามัญจนถงึ โลกุตตระซ่ึงเปน็ วิสัยแหง่ การพน้ ทกุ ข์ บอกไว้แต่เบ้ืองต้นว่า เร่ืองราวพระมาลัยฉบับนีเ้ ปน็ เวอร์ชั่น ใหม่ตามสไตล์ของผู้เขียน ไม่ได้เชิญชวนท่านไปสรวงสวรรค์ เสพเสวยทพิ ยสมบตั ิ และไมไ่ ดน้ ำ� พาทา่ นไปสำ� รวจนรกภมู กิ อ่ นจะ 3

ย้ายส�ามะโนครัวไปอยู่จริง แต่หากเป็นการวิเคราะห์เรื่องราว พระมาลยั นบั ตัง้ แต่กา� เนิดเกิดมาจนถึงปัจจบุ ัน โดยเฉพาะเนน้ ช้ี วา่ พระมาลัยมีอทิ ธิพลและเปลย่ี นแปลงสงั คมไทยไปในทิศทางใด ส่วนผู้ใดสนใจเฉพาะเร่ืองราวตอนพระมาลัยไปโปรดชาว สวรรคห์ รอื โปรดสตั วน์ รกกส็ ามารถหาอา่ นได้ ซง่ึ ปจั จบุ นั มีตพี ิมพ์ เผยแพรห่ ลายทาง โดยเฉพาะทางอนิ เทอร์เนต็ มีให้เลอื กอา่ นเป็น จ�านวนมาก แต่ท้ังหลายทั้งปวงเรื่องราวของพระมาลัยดังกล่าว กไ็ มไ่ ด้ผดิ แผกแตกตา่ งกนั มากนกั ไมว่ ่าเรอื่ งราวจะเปน็ ไปอย่างไร ประเดน็ หลกั คอื จติ ใจแหง่ เรานเี้ อง จะสามารถนอ้ มนา� เนอ้ื หาสาระ ไปปฏบิ ัติให้เกดิ ประโยชน์ในชวี ติ ประจ�าวันไดม้ ากนอ้ ยเพียงไร กอ่ นท่ีเราจะรู้จกั พระมาลยั เถระนั้น เหน็ สมควรมาท�าความ รู้จักดินแดนบ้านเกิดท่านเสียก่อน เพราะถ่ินฐานบ้านเกิดย่อม เป็นเกณฑ์ชี้ให้เห็นวิถีชีวิตและคติความเช่ือ อันจะเป็นการช้ีชัด วา่ แทจ้ รงิ แล้วทา่ นเปน็ ใคร? มาจากไหน? ไม่แน่ทา่ นอาจเป็นพระสงฆ์ชาวไทยกเ็ ป็นได้ ดนิ แดนมาลัยเทศะ หากถือตามหลกั ฐานชาวศรีลังกา ค�าว่า “มาลยั ” มาจาก ศัพทว์ ่า “มาลยเทศะ แปลวา่ ดินแดนภเู ขาสูง” ซึ่งเปน็ บริเวณ 4

ตะวันตกของเกาะครอบคลุมต้ังแต่ตอนกลางของประเทศจนจรด ทะเลทางด้านทิศตะวันตก (ปัจจุบันคือมณฑลกลางและมณฑล วยัมบะ) สมยั อดีตดินแดนแห่งนร้ี วมเข้ากบั เขตโรหณระฏะ สมัย หลังมักเรียกอีกช่ือหนึ่งว่าทักขิณเทศะ หมายถึงดินแดนตอนใต้ ว่ากันว่ายามบ้านเมืองตกเป็นของอริราชศัตรูภายนอก กษัตริย์ สิงหลหลายพระองค์มักมาซุ่มซ่อนหนีราชภัยบริเวณนี้ ก่อนที่จะ รวบรวมผูค้ นกอบกบู้ ้านเมือง ด้านพระพุทธศาสนาน้ัน มาลยเทศะยังเป็นดินแดนแห่ง พระอรหันต์ มีอารามวิหารโด่งดังหลายแห่งไม่แพ้อนุราธปุระ เมืองหลวง ดังเช่นกัลยาณีวิหารแห่งเมืองกัลยาณีติสสะเป็นต้น คัมภีร์อังคุตตรนิกายอรรถกถาของพระพุทธโฆษาจารย์ อ้างถึง พระเถระรูปหน่ึงนามว่าสังฆรักขิตะผู้อาศัยอยู่ดินแดนมาลัย แต่ ไม่ระบุนามแห่งอารามวิหารน้ัน หากเป็นดังค�ำกล่าวอ้างแล้วไซร้ แสดงวา่ ดนิ แดนมาลยั เปน็ สถานแหง่ พระอรหนั ตไ์ มแ่ พอ้ นรุ าธปรุ ะ เมอื งหลวง หลักฐานอีกแห่งหนึ่งอ้างว่าดินแดนมลัยหมายถึงคาบสมุทร มาเลย์ เพราะมลยั มาจากคำ� วา่ “มลยั -อรู ”์ หมายถงึ ดนิ แดนภเู ขา หรอื เมืองแหง่ ขุนเขา ค�ำน้ีเองเพยี้ นมาเปน็ มาเลยใ์ นปัจจุบัน หาก เป็นเช่นน้ีแสดงให้เห็นว่าคาบสมุทรมาเลย์ มีผู้คนอยู่อาศัยยุค 5

เดียวกับอนุราธปุระของลังกา เพราะพระเถระท่ีเรากำ� ลังพูดถึง ท่านนน้ั มชี วี ติ อยปู่ ระมาณพุทธศักราช ๓๐๐-๔๐๐ มลยั เทศะหมายถงึ คาบสมทุ รมาเลยจ์ รงิ หรอื ไม่ เหน็ วา่ ผอู้ า่ น ควรไปตามสืบค้นเพิ่มเติมเอาเอง ได้ความอย่างไรแจ้งผู้เขียน ทราบดว้ ย จะได้เก็บเป็นหลกั ฐานวเิ คราะห์ต่อไป สว่ นตวั ของผเู้ ขยี นเชอื่ วา่ มลยั เทศะเปน็ ดนิ แดนบนเกาะลงั กา เพราะมีหลักฐานหนักแน่นชัดเจนกว่าคาบสมุทรมาเลย์ อีกทั้ง ร่องรอยพระพุทธศาสนาสามารถสืบค้นได้มากกว่าคาบสมุทร มาเลย์หลายเท่าตัว แม้นักประวัติศาสตร์ก็ชี้ชัดว่าดินแดนบน คาบสมทุ รมาเลยเ์ พงิ่ มากอ่ ตวั เปน็ สงั คมเมอื งประมาณพทุ ธศตวรรษ ที่ ๑๒ นี้เอง ด้วยเหตุผลนี้เองความน่าเช่ือถือจึงเป็นที่ยอมรับ ยากนัก แต่อย่างไรก็ตามก็ใช่ว่าจะปฏิเสธสิ้นเชิงเลยทีเดียว เพราะ ธรรมดาของประวัติศาสตร์ย่อมไม่สมบูรณ์ตายตัว ตราบใดท่ี หลกั ฐานเหล่าอ่ืนยงั ไม่มีการคน้ พบ บางทใี นอนาคตกาลภายหนา้ หากมีการค้นพบหลักฐานเพ่ิมเติมมากขึ้น ค�ำว่ามลัยเทศะบน คาบสมุทรคาบมาเลย์อาจจะถูกเปิดเผยจนสามารถเปลี่ยนแปลง ประวัตศิ าสตร์ก็เปน็ ได้ 6

ประวตั พิ ระมาลยั เถระ เมื่อเราทราบร่องรอยของมลยั เทศะเรียบรอ้ ยแลว้ บดั นเ้ี ห็น สมควรหันมากล่าวถึงประวัติของพระมาลัยเถระผู้เป็นต้นเร่ือง เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระมาลัยเถระเวอร์ชั่นศรีลังกาน้ันมีบุคลิกภาพ และอิทธิฤทธ์ิปาฏิหาริย์เหมือนเวอร์ช่ันไทยหรือไม่ และท่านมี ความส�าคัญอย่างไร นักบันทึกประวัติศาสตร์สมัยอดีตจึงจดจาร ชอ่ื ของทา่ นไว้ในคัมภีรร์ ะดบั ตา� นาน เบื้องต้นบอกไว้ก่อนว่าประวัติของพระมาลัยเถระนั้นมีสอง ช่วงระยะเวลา 7

ช่วงแรกเรียกว่าต�ำนาน เพราะมีบันทึกไว้ในคัมภีร์ต�ำนาน ระดับอรรถกาหลายเล่ม ชาวศรีลังกานั้นเรียกพระมาลัยเถระ มากมายหลายชื่อ ดังเช่น มลัยมหาเทวะบา้ ง มลยิ มหาเทวะบ้าง และมลิยเทวะบ้าง ท่านเห็นจะเป็นชาวมาลัยเทศะจริง เพราะ ธรรมดาพระศรีลงั กามกั นิยมใชช้ อ่ื หมบู่ า้ นนำ� หน้า ส่วนมหาเทวะ น่าจะเป็นชื่อฉายาทางพระพุทธศาสนา อันน้ีวิเคราะห์ตาม หลักฐานท่ีพบเห็น ผิดถูกอย่างไรเชื่อกันไปก่อน ใครเห็นแย้ง จากนคี้ ่อยยกหลักฐานมาคา้ นกนั หลักฐานไม่ไดบ้ อกวา่ ใครเปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ ระบแุ ต่เพยี งว่า ครน้ั บรรพชาครบ ๓ พรรษาไดไ้ ปพ�ำนกั พักอาศัยมหินทลารามก วิหาร โดยอุบาสิกาท่านหน่ึงเป็นผู้นิมนต์และท�ำหน้าที่อุปัฏฐาก เอกลักษณ์เฉพาะตัวของท่านคือค�ำให้พรแบบส้ันว่า สุขัง โหตุ ทกุ ขะ มุจจะ แปลว่า ขอใหม้ คี วามสขุ ขอใหพ้ ้นจากทกุ ข์ วา่ กนั ว่าตลอดไตรมาสท่านพูดแค่น้ัน คร้ันออกพรรษาแล้วบรรลุ พระอรหันต์ เจ้าอาวาสจึงมอบหมายให้เป็นตัวแทนสงฆ์แสดง ธรรมเทศนา วา่ กนั วา่ พระมหาเทวะไดแ้ สดงเทศนาจนรงุ่ เชา้ สดุ ทา้ ยอบุ าสกิ า ผู้อปุ ฏั ฐากเปน็ พระโสดาบนั 8

นับแต่น้ันมาท่านได้เดินทางจาริกแสดงธรรมทั่วเกาะลังกา มีพระหนุ่มเณรน้อยสามารถบรรลุธรรมเป็นจ�ำนวนมาก ท่าน เช่ียวชาญในการแสดงฉฉักกสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) ซึ่งเนื้อหาสาระกล่าวถึงกระบวนการเกิดดับของอายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ ผสั สะ เวทนา และตัณหา พระพุทธเจา้ ทรงตรสั เองโดยแสดงวา่ ธรรมเหลา่ นง้ี ามในเบอ้ื งตน้ งามในทา่ มกลาง และงามในทส่ี ดุ สมบรู ณพ์ รอ้ มทง้ั อรรถและพยญั ชนะ จนเปน็ เหตุ ใหพ้ ระสงฆ์ ๖๐ รูป ส้ินอาสวะกลายเป็นพระอรหันตข์ ีณาสพ 9

ตำ� นานยงั ระบอุ กี วา่ พระมาลยั เถระไดเ้ ขา้ รบั อาหารบณิ ฑบาต จากพระเจา้ ทฏุ ฐคามณอี ภัยพรอ้ มภกิ ษอุ ีก ๔ รูป ซ่ึงสมยั น้ันเปน็ ช่วงทพุ ภิกขภยั ข้าวปลาอาหารหาได้ยากนกั อาหารมือ้ นน้ั มาจาก การขายพระกุณฑลของพระองค์เอง ตรงน้ีชี้ให้เห็นว่าพระมาลัย เทวะมีความสำ� คัญเพียงไร นอกจากน้ัน ตำ� นานยังแต่งเชื่อมโยง ให้พระมาลัยเทวเถระเก่ียวข้องกับพระโพธิสัตว์ในลักษณะเป็น ผเู้ กดิ รว่ มชาติ สงั่ สมบญุ บารมมี าดว้ ยกนั จนบงั เกดิ เปน็ พระอรหนั ต์ ในภพสุดทา้ ย เรือ่ งราวของพระมาลัยเถระในต�ำนานมีแคน่ ้ี ประวัติของท่านในช่วงแรกน้ีดูเหมือนว่าธรรมดาไม่โลดโผน เหมือนส�ำนวนไทย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเพณีปฏิบัติตาม แบบอยา่ งพระมหนิ ทเถระ ผปู้ ระดษิ ฐานพระพทุ ธศาสนาบนเกาะ ลังกายังเหนียวแน่นอยู่ อันเนื่องมาจากพระมหินทเถระน้ันเน้น เรอื่ งวินัยเป็นหลัก โดยหลกี เลย่ี งการอวดอ้างอิทธฤิ ทธป์ิ าฏิหารยิ ์ หากจะแสดงจริงมักถ่ายโอนไปยังพระบรมสารีริกธาตุและต้น พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งถือเป็นหัวใจส�ำคัญเพ่ือยกย่องสรรเสริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้ังนีเ้ พ่ือมใิ หพ้ ระสาวกแสดงตนใหโ้ ดดเดน่ เหนอื พระศาสดาเจ้า 10

นอกจากน้ัน สมัยน้ียังให้ความส�าคัญเร่ืองพระธรรมเทศนา เป็นหลัก สังเกตได้จากนักแต่งต�านานเลือกท่ีจะบันทึกประวัติ ของพระเถระผู้เช่ียวชาญในการแสดงธรรมเทศนาเป็นเบ้ืองต้น สว่ นพระเถระผโู้ ดดเดน่ ดา้ นการแสดงปาฏหิ ารยิ ม์ กั ใหค้ วามสา� คญั น้อยกว่า อีกทั้งการปฏิสัมพันธ์กับกษัตริย์ก็มักกล่าวถึงพระสงฆ์ ผแู้ ตกฉานด้านคมั ภีร์และตา� ราก่อนใครอน่ื วเิ คราะหฉ์ ฉกั กสูตร ปิดท้ายเห็นสมควรวิเคราะห์ฉฉักกสูตรเสียก่อน เหตุเพราะ เห็นว่าเป็นพระสูตรท่ีพระมาลัยเทวเถระใช้เทศนาประจ�า และ 11

ประสบความสำ� เรจ็ ทกุ ครง้ั โดยเฉพาะเรอ่ื งราวในอรรถกถาจะเนน้ มากเป็นพิเศษ ราวกะว่าพระเถระถอดแบบวิธีเทศนามาจาก พระพุทธเจ้าเลยทีเดยี ว อันว่าเนื้อความแห่งฉฉักกสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดง ท่ีเชตวนั มหาวิหาร โดยเฉพาะเจาะจงพระสงฆเ์ ท่านนั้ และน่าจะ เป็นพระสงฆ์ท่ีมีภูมิปัญญาอันควรแก่การรู้แจ้งแล้ว เนื่องมาจาก หลักธรรมท่ีน�ำมาแสดงเป็นประการส�ำคัญ ส่วนท้ายสุดระบุว่า พระสงฆ์เหล่าน้ันคร้ันฟังพระธรรมเทศนาเร่ืองนี้แล้ว ต่างบรรลุ อรหันต์จนทราบชัดว่า “ชาติส้ินแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กจิ ที่ควรทำ� ได้ทำ� เสยี แลว้ กจิ อื่นเพอ่ื ความเป็นอย่างนม้ี ไิ ดม้ ี” เน้ือหาสาระของพระสูตรกล่าวถึงธรรมหมวด ๖ ประกอบ ด้วย อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ และตัณหา ๖ โดยอธบิ ายตน้ื ลกึ หนาบางของ พระธรรมเหลา่ นี้ตามล�ำดับขัน้ ตอนจากเบ้อื งต้นถึงปลายสุด หาก มองอกี ลกั ษณะหนง่ึ เหมอื นอธบิ ายปฏจิ จสมปุ บาทโดยยอ่ แตม่ อง อกี ดา้ นหนง่ึ เหมือนหลกั ธรรมปรากฏในอนัตตลกั ขณสูตร แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่ามองมุมไหนล้วนเป็นธรรมช้ันสูงท้ังส้ิน จุดประสงค์หลักเพื่อต้องการช้ีจุดส�ำคัญท่ีพระสงฆ์พากันมัวเมา 12

หลงใหลในตน เพื่อให้คลายความคิดจนเกิดความเบ่ือหน่ายใน สักกายะ แล้วพิจารณาสรรพส่ิงตามความเป็นจริงจนรู้แจ้งว่ามัน เป็นอนตั ตา มองอีกมุมหน่ึง ท�ำให้เห็นว่าชาวศรีลังกายุคนั้นมีภูมิปัญญา สามารถเขา้ ใจหลกั ธรรมคำ� สอนของพระพทุ ธเจา้ ได้ ชใี้ หเ้ หน็ วา่ การ ศึกษาของศรีลังกาสมัยน้ันประสบความส�ำเร็จสามารถเทียบเคียง อินเดียดินแดนชมพูทวีป เพราะหลักธรรมในฉฉักสูตรนั้นมีความ ลึกซึ้งยากเกินกว่าสามัญชนคนรากหญ้าจะเข้าใจ แต่การที่พระ 13

มาลยั เทวเถระเทยี่ วจารกิ เดนิ ทางเทศนาพระสตู รนต้ี ลอดเกาะลงั กา จนมีพระสงฆ์สามารถรู้ตามก็เป็นพยานชี้ถึงขีดความสามารถของ ชาวลังกาเปน็ อย่างดี ประเด็นเพิ่มเติมคือพระอรหันต์สมัยพระมาลัยเทวเถระน้ัน มีมากมายมหาศาลทง้ั เปน็ ชาวศรลี งั กาและต่างประเทศ สังเกตได้ จากสมยั พระเจา้ ทฏุ ฐคามณแี หง่ อาณาจกั รอนรุ าธปรุ ะโปรดใหว้ าง ศลิ าฤกษส์ รา้ งรวุ นั แวฬแิ สยะเจดยี ์ มพี ระสงฆอ์ รหนั ตข์ ณี าสพชาว ตา่ งประเทศเดินทางมาร่วมงานเปน็ จ�ำนวนมาก และนา่ แปลกคือ พระอรหนั ตข์ ณี าสพเหลา่ นนั้ หาไดพ้ ากนั แสดงอทิ ธฤิ ทธปิ์ าฏหิ ารยิ ์ แตอ่ ยา่ งใดไม่ กลบั พากนั สำ� รวมกายวาจาเปลง่ เพยี งสาธกุ ารเทา่ นน้ั ถา้ เปน็ เมืองไทยป่านนีพ้ ากันปดิ ฟา้ ปิดตะวนั กนั แล้ว หรือว่า ไมจ่ ริง ตำ� นานระบวุ า่ พระอรหนั ตข์ ณี าสพชาวศรลี งั กาแตล่ ะรปู ลว้ น เช่ียวชาญด้านการแสดงธรรม พูดภาษาชาวบ้านคือท่านพากัน แข่งขันแสดงธรรมมิได้แข่งกันอวดอ้างฤทธ์ิ แม้แต่สถาบันพระ มหากษัตริย์ผู้สนับสนุนพระสงฆ์เองก็ชื่นชอบการแสดงธรรมเช่น เดียวกัน ตัวอย่างเช่นพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยทรงข้ึนธรรมาสน์ แสดงธรรมแทนพระสงฆเ์ ลยทเี ดยี ว 14

ด้วยเหตุดังกล่าว พระมาลัยเทวเถระช่วงระยะเวลาแรกจึง เน้นอาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นหลัก โดยไม่สนใจอิทธิปาฏิหาริย์แต่ อย่างใด ส่วนเวอร์ชั่นช่วงระยะเวลาต่อมากลับมีการปรับเปลี่ยน บุคลกิ ภาพขึ้นใหม่ ดว้ ยการเพม่ิ อิทธฤิ ทธิ์ปาฏิหาริย์มากข้นึ ตรงนี้ เราจะมาวเิ คราะหก์ นั ในบทหนา้ ใครสนใจโปรดตดิ ตามตอนตอ่ ไป สว่ นคนอยากรู้เร่ืองนรกสวรรค์ตอ้ งอดใจรอนานหนอ่ ย 15



๒ บทบาทพระมาลัยเถระ ประวตั ิแนวใหม่ ตอนนี้เรามาว่ากันถึงเร่ืองราวของพระมาลัยเทวเถระในช่วง ระยะเวลาหลัง ซ่ึงเนื้อหาได้มาจากคัมภีร์สหัสสวัตถุปกรณ์และ ถา่ ยทอดมาเปน็ คมั ภรี ร์ สวาหนิ อี กี ชนั้ หนงึ่ วา่ กนั วา่ ฉบบั แทด้ ง้ั เดมิ บันทึกเป็นภาษาบาลีก่อนแล้วถอดแปลเป็นภาษาสิงหลอีกค�ารบ หน่ึง ระยะเวลาของเร่ืองราวช้ันหลังห่างจากช้ันแรกประมาณ หน่ึงพันปี และท่ีส�าคัญคือเรื่องราวเหล่านี้บันทึกโดยพระอรหันต์ชาว สงิ หล นนั้ หมายความวา่ หา้ มวจิ ารณห์ า้ มวเิ คราะห์ หากใครไมเ่ ชอ่ื ย่อมมีหนา้ มุ่งตรงสู่อบายภมู ถิ า่ ยเดยี ว

เน้ือเร่ืองเริ่มต้นกล่าวถึงพระมาลัยเทวเถระ (ต้นฉบับ เรียกว่ามลิยมหาเทวเถระ) เป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาด้าน ทิพยจักษุ ได้เห็นด้วยญาณว่าอุบาสกแห่งบ้านจูลคัลละเป็นผู้มี ศรัทธาอุปัฏฐากพระสงฆ์เป็นอย่างดี เป็นผู้มีบุญบารมี เม่ือกาย แตกทำ� ลายขนั ธแ์ ลว้ จะไปบงั เกดิ เปน็ เทวบตุ รผมู้ เหสกั ข์ พระเถระ ปรารถนาจะสงเคราะหจ์ งึ บนั ดาลฤทธน์ิ ำ� พาอบุ าสกไปเยย่ี มสวรรค์ ชนั้ ดาวดึงส์ เนอื้ หาในคมั ภรี บ์ อกวา่ ตอ้ งการพาอบุ าสกไปไหวพ้ ระจฬุ ามณี เจดีย์แห่งสวรรค์ช้ันดาวดึงส์ ซ่ึงภายในประดิษฐานพระเมาลี และพระเขยี้ วแกว้ จรงิ เทจ็ อยา่ งไรวา่ ไปตามตำ� รา สว่ นทา่ นใดเคย ไปมาแลว้ รบกวนแจ้งตวั ตนดว้ ย จะได้กนั ไว้เป็นพยาน แต่ยังไม่ได้ไหว้พระเจดีย์ อุบาสกไปเห็นพวกเทวดานางฟ้า เสยี กอ่ น โดยเฉพาะเหลา่ เทพบตุ รและเทพธดิ าผสู้ มบรู ณด์ ว้ ยทพิ ย สมบตั ิ และงามพรอ้ มดว้ ยรปู ร่างและพสั ตราภรณส์ วมใส่ ซึง่ เปน็ เทพบตุ รและเทพธดิ าผเู้ ปน็ บรวิ ารของพระศรอี รยิ เมตไตรยโพธสิ ตั ว์ ดว้ ยเปน็ สงิ่ แปลกใหมไ่ มเ่ คยเหน็ มากอ่ น อบุ าสกคงตน่ื ตาตนื่ ใจจึงคอยดึงชายจีวรสอบถามพระมาลัยเทวเถระด้วยความอยาก รู้อยากเห็น ไม่ว่าจะเป็นเทพบุตรผู้ทรงพัสตราภรณ์สีขาว สีแดง 18

สีทอง สีแก้วมณี และผู้ทรงพัสตราภรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการที่ พากันแห่แหนเดินผ่าน พระเถระน้ันท�ำหน้าที่เป็นล่ามสอบถาม บุรพกรรมเก่าแต่หนหลังของเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น ซ่ึงส่วน ใหญ่ล้วนบำ� เพ็ญทานและรกั ษาศีลเปน็ พื้น ถามว่า เหตใุ ดอบุ าสกจึงไมถ่ ามเอง ตอบว่า น่าจะเกิดอาการประหม่า เพราะเป็นคร้ังแรกที่ได้ มีโอกาสเดินทางมาสวรรค์โลกและพบเห็นทิพยสมบัติอันงดงาม อลงั การ คงละลานตาไปหมด ใจอยากรแู้ ตป่ ากคงพูดไมอ่ อกเลย 19

ต้องอาศยั พระเถระคอยเป็นลา่ มสอบถามให้ จะบอกว่าคนสามญั พดู กับเทวดาไมร่ เู้ รอ่ื งก็คงมิใช่ เพราะตอนทา้ ยเรือ่ งอุบาสกทา่ นน้ี ยังได้พูดคุยกบั พระศรีอรยิ เมตไตรยโพธิสัตวอ์ ยู่ อุบาสกน้ันคร้ันได้เห็นเหล่าเทพยดาและทราบถึงอดีตชาติ แตห่ นหลงั แลว้ คงประทบั ใจไมน่ อ้ ย เพราะคมั ภรี บ์ อกวา่ “ไดเ้ ปน็ ผู้มีจิตโสมนัส” เป็นเราท่านคงเกิดอาการไม่ต่างจากอุบาสกเป็น แน่ เพราะแค่เห็นชุดนาคเตรียมบวชยังปล้ืมใจน้�าตาไหล ไม่เชื่อ ลองถามคนทเี่ ปน็ พอ่ แมน่ าคดู หากเหน็ เทวดาจรงิ คงเปน็ บญุ ใหญ่ มหาศาล เผลออาจได้โชคตวั สองตัว พบพระศรีอรยิ เมตไตรยโพธสิ ัตว์ ไฮไลท์ของเร่ืองมาสรุปลงตรงพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ “ผู้มีเทวดาแปดหมื่นสี่พันองค์เป็นบริวาร” ซึ่งเดินทางมาไหว้ พระจุฬามณีเจดีย์ ความยง่ิ ใหญ่อลงั การของขบวนแหพ่ ระศรีอรยิ เมตไตรยโพธสิ ตั วน์ น้ั ทา� ใหอ้ บุ าสกตนื่ ตาตน่ื ใจยง่ิ นกั เพราะเทวดา ใหญ่นอ้ ยที่เหน็ มากอ่ นนั้นนกึ วา่ ยงิ่ ใหญ่แล้ว พระศรีอริยเมตไตรย โพธสิ ตั วย์ งั ยง่ิ ใหญอ่ ลงั การมากกวา่ หลายเทา่ จงึ สอบถามพระเถระ วา่ “นใี่ คร รงุ่ เรอื งดว้ ยสงา่ ราศี หาทเ่ี ปรยี บมไิ ด้ ไมม่ ใี ครเหมอื น สอ่ งสวา่ งทศิ ท้งั หลายเตม็ ท่ี มียศมาก ก�าลงั มาก” 20

พูดภาษาสมัยใหม่คือมาแบบฟลูทีมจัดเต็ม ไม่ได้มาไปรเวต เป็นการสว่ นตัวแต่อยา่ งใด ค�ำตอบของพระมาลัยเทวเถระน่าสนใจมาก “ผู้ซึ่งบ�ำเพ็ญ บารมีทั้งปวง ๑๖ อสงไขยแสดงธรรมแก่เทวดาท้ังหลาย คือ พระเมตไตรย หน่อพระชินสีห์ สัตว์ท่ีท�ำบุญ เกิดในดุสิตบุรี ปรารถนาเพราะเหตุแห่งผู้ใดผู้นั้นคือพระเมตไตรย หน่อ พระชินสีห์ พระผู้ซึ่งเกิดในนครเกตุมดี เป็นพระพุทธไม่มีใคร ยิ่งกว่า ปลดเปล้ืองโลกจากความทุกข์ คือพระเมตไตรยหน่อ พระชนิ สหี ์ คนจำ� นวนมากกระทำ� ทส่ี ดุ แหง่ ชาติ ในศาสนากลยี คุ 21

ซึ่งเป็นศาสนาของผู้ใด ในอนาคตผู้น้ันคือพระเมตไตรย หน่อ พระชนิ สหี ”์ ตรงนม้ี เี นอ้ื ความคลา้ ยกบั จกั กวตั ตสิ ตู ร ทฆี นกิ าย ปาฏกิ วรรค ต่างกันเพียงเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาเล็กน้อย หากมองผิวเผินเพียง ผา่ นตากจ็ ะไมเ่ หน็ ความตา่ งอนั ใด เปน็ ทนี่ า่ สงั เกตวา่ นเ้ี ปน็ ลกั ษณะ การแตง่ ตำ� ราของพระสงฆศ์ รลี งั กา เพราะนกั ปราชญช์ าวศรลี งั กา น้ันจะไม่คอยแต่งเติมเสริมเนื้อหาให้โลดโผนแตกต่างจากคัมภีร์ พระไตรปฎิ กนกั หากจะมบี า้ งกเ็ ปน็ ไปในทศิ ทางเดยี วกนั โดยไมใ่ ห้ เสยี เนอื้ ความแต่อยา่ งใด ลักษณะของเนอื้ หาในคมั ภีรร์ สวาหินกี ็เช่นเดยี วกนั พระศรอี รยิ เมตไตรยโพธสิ ตั วน์ น้ั ครนั้ เหน็ พระมาลยั เทวเถระ แล้ว ได้ลงจากราชรถเข้าไปนมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อสอบถามเปน็ สามกี จิ กรรมพอสมควรแล้ว ไดผ้ ินพระพกั ตร์ไป พบกบั อบุ าสกจงึ สอบถามพระเถระ ครน้ั ทราบวา่ เปน็ อบุ าสกผมู้ าก ด้วยศรัทธา จึงมอบผ้าทิพย์คู่หน่ึงให้แก่อุบาสก แล้วโอวาทว่า “ท่านจงอยา่ ประมาท” จากนั้นได้เชิญชวนพระเถระกับอุบาสกเดินประทักษิณรอบ พระจุฬามณีเจดยี ์พรอ้ มกนั 22

เรื่องราวมาจบลงตรงภาคมนุษยโลก เม่ือข่าวการไปเยือน สวรรค์โลกแพร่หลายออกไป ผู้คนทุกทิศานุทิศต่างแตกต่ืน หล่ังไหลมาสอบถามอุบาสกไม่ขาดสาย คัมภีร์มิได้บอกว่ามีพวก เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์หรือนักแสวงโชคมาค�ำนวณจ�ำนวนนับบ้าง หรือไม่ ระบุเพียงว่าอุบาสกยกผ้าทิพย์คู่นั้นขึ้นเป็นสาธกนิทาน แล้วอธิบายเร่ืองราวท่ีตนได้ยินได้เห็นมาจากสวรรค์โลกแก่ผู้คน เปน็ จำ� นวนมาก แลเมอื่ จตุ จิ ากอตั ภาพแลว้ กไ็ ปเกดิ ดสุ ติ บรุ ใี นสำ� นกั พระศรีอารยเมตไตรยนน้ั แล 23

หากเปรยี บเทยี บกบั เวอรช์ นั่ กอ่ น พระมาลยั เทวเถระในฉบบั นี้ดูโลดโผนตื่นเต้นมากกว่า เพราะมีฤทธานุภาพสามารถน�าพา กลั ยาณปุถชุ นไปเยย่ี มชมถงึ สวรรค์โลก พร้อมทง้ั มโี อกาสสนทนา กบั พระศรอี รยิ เมตไตรยโพธสิ ตั วด์ ว้ ย นอกจากนน้ั ยงั เสรมิ ตวั ละคร ข้ึนมาอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นอุบาสก หรือแม้แต่พระศรีอริย เมตไตรยโพธสิ ตั ว์ หากวิเคราะห์เจาะลึกจะเห็นว่าประเด็นส�าคัญของเรื่องราว ในคมั ภรี ร์ สวาหนิ เี ลม่ นม้ี งุ่ ไปทอี่ บุ าสก ภาษาปจั จบุ นั เรยี กวา่ ตอ้ งการ ให้อุบาสกเป็นจุดขาย ส่วนพระมาลัยเทวเถระและพระศรีอริย เมตไตรยโพธสิ ตั วน์ น้ั เปน็ เพยี งปจั จยั แวดลอ้ ม จะเรยี กวา่ แตง่ เรอื่ ง ราวของพระมาลัยเทวเถระและร้อยเรียงคติความเชื่อพระศรีอริย เมตไตรยโพธิสัตว์เข้ามาประกอบเรื่องราวใหส้ มบูรณค์ งไม่ผดิ ถามวา่ เพราะเหตไุ ร ตอบว่า เพราะปจั จยั ภายนอก เทพเจ้าฮนิ ดูรุง่ เรอื ง ปัจจัยภายนอกในท่ีนี้หมายถึงคติความเชื่อนอกพระพุทธ ศาสนา หากเราศึกษามิติของกาลเวลาจะเห็นว่าคัมภีร์รสวาหินี แต่งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับยุคอาณาจักรดัมพ 24

เดณิยะ ซ่ึงสมัยนี้ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าน้อยใหญ่เป็นที่รู้จัก แพรห่ ลายดาษดน่ื ตลอดเกาะลงั กา จากเดมิ ชาวพทุ ธมงุ่ ความสนใจ ในพระพุทธศาสนาก็เร่ิมถอยห่าง เพราะไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการแห่งจิตใจได้ ต่างกับเทพเจ้าท่ีสามารถให้ผลส�ำเร็จ ดังค�ำบนบานศาลกลา่ วเอาไว้ เทพเจา้ ผ้ทู รงฤทธานุภาพเหลา่ นน้ั ไดแ้ ก่ หนงึ่ นนั้ เปน็ เทพกตรคามะแหง่ เมอื งกตรคามะ ผทู้ รงมหทิ ธา นุภาพด้านความส�ำเร็จแห่งสรรพหน้าท่ีการงาน ประดิษฐานทาง ทศิ ตะวนั ออกของเกาะ นอกจากชาวบา้ นสามญั ชนแลว้ กษตั รยิ ์ 25

และขนุ นางนอ้ ยใหญต่ า่ งพากนั กราบไหวส้ กั การบชู า ลาภสกั การะ น้อยใหญ่จงึ หล่งั ไหลเข้าส่เู ทวาลยั แห่งนีม้ ากมายเหลือคณานับ สองนน้ั เปน็ เทพอบุ ลวนั หรอื วษิ ณแุ หง่ เมอื งเดวนิ วู ะระ ถอื กนั วา่ ทรงมหทิ ธานภุ าพไมด่ อ้ ยกวา่ เทพกตรคามะ ตำ� นานตา่ งเลา่ ขาน ถงึ อทิ ธฤิ ทธป์ิ าฏหิ ารยิ ข์ องเทพเจา้ องคน์ ม้ี ากมาย ในฐานะชว่ ยเหลอื ปกปอ้ งเกาะลงั กาใหพ้ น้ ภยั พบิ ตั หิ ลายตอ่ หลายครง้ั นอกจากปกปอ้ ง เกาะลงั กาแลว้ ยงั มภี าระหนา้ ทค่ี มุ้ ครองพระศาสนาของพระชนิ สหี ์ ด้วย ซึ่งต�ำแหน่งหน้าที่น้ีได้รับมอบหมายโดยตรงจากพระสัมมา สมั พุทธเจา้ ตง้ั แตส่ มยั ใกลพ้ ุทธปรนิ ิพพาน สามน้ันเป็นเทพสุมนะหรือสามันต์ ผู้ทำ� หน้าที่คุ้มครองรอย พระพุทธบาทท่ีศรีปาทะ ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ชาวลังกาให้ความ เคารพสงู สุดทุกเชอื้ ชาตศิ าสนา เปน็ เทพเจา้ อกี องค์หนงึ่ ทีส่ ถาบัน พระมหากษัตริย์ให้ความส�ำคัญ เห็นได้จากการสร้างทางข้ึนลง เขาศรปี าทะและบรจิ าคทรพั ยส์ รา้ งเทวาลยั แหง่ เมอื งรตั นปรุ ะอยา่ ง ยง่ิ ใหญ่อลงั การ สี่นั้นเป็นเทพวิภีศณะผู้ปรากฏนามตามภาษาไทยว่าพิเภก แม้จะเป็นเทพฝ่ายมารกลายมาเป็นฝ่ายธรรมะ แต่อิทธานุภาพก็ ยง่ิ ใหญไ่ มต่ า่ งจากเทพเหลา่ อนื่ ผใู้ ดปรารถนาบตุ รและความสำ� เรจ็ 26

หากบนบานศาลกล่าวอย่างถูกวิธีย่อมส�าเร็จทุกรายไป และน่า แปลกคือผู้ประกาศความศักด์ิสิทธิ์ของเทวานุภาพองค์นี้คือ พระสงฆ์ และหา้ นน้ั เปน็ เทพนาถะหรอื พระอวโลกเิ ตศวร แมจ้ ะมฤี ทธา นุภาพน้อยกว่าเทพเหล่าอ่ืน แต่อาศัยว่าพระสงฆ์เป็นผู้หนุนส่งก็ กลายเป็นที่รูจ้ ักแพร่หลายของชาวลงั กา อกี ท้ังมพี ธิ กี รรมโดดเดน่ มากกวา่ เทพเหลา่ อนื่ ซงึ่ ผทู้ า� หนา้ ทคี่ อื พระสงฆน์ น้ั เอง โดยเฉพาะ พระสังฆราชโตฏคามุเว ศรีราหุลเถระนัน้ ถือวา่ เปน็ ผู้ขบั เคลอ่ื น สรา้ งกระแสเทพองค์น้ีอย่างส�าคญั เพราะความมากอทิ ธพิ ลของเทพเหลา่ นแี้ ล จงึ ทา� ใหเ้ รอ่ื งราว ของพระมาลยั เถระเปล่ยี นรปู ไป วเิ คราะหเ์ ปรยี บเทยี บ ประเด็นที่บอกว่าเรื่องนี้เน้นความส�าคัญของอุบาสกเป็น ใหญน่ ั้น เพราะวา่ สมัยนน้ั ชาวพุทธน้อยใหญ่หนั ไปใหค้ วามสา� คญั กบั เทพเจา้ หมดสน้ิ ยอมตนเพอื่ บนบานขอพรจากเทพเจา้ โดยลมื ความสามารถแห่งตน การท่ีพระมาลัยเทวเถระน�าพาอุบาสกขึ้น ไปทศั นาจรบนสวรรคโ์ ลกนน้ั กช็ ใ้ี หเ้ หน็ วา่ ทพิ ยสมบตั ทิ พ่ี วกเทวดา 27

เสพเสวย ลว้ นเปน็ เพราะผลแหง่ ทานมยั และศลี มยั ของตนเทา่ นน้ั หาได้สำ� เรจ็ เพราะการบนบานขอพรจากเทพเจ้านอ้ ยใหญ่ไม่ ส่วนการวางต�ำแหน่งให้พระมาลัยเทวเถระเป็นเพียงผู้ช้ีทาง นัน้ ก็ถือว่าดำ� เนนิ ตามแบบอย่างของพระพุทธเจา้ ท่ที รงเนน้ ย�้ำว่า “อักขาตาโร ตะถาคะโต แปลว่า พระตถาคตเจ้าเปน็ เพียงผ้ชู ี้ ทางเท่านั้น” กรณีเชน่ น้ีมปี รากฏเหน็ เปน็ ปกตติ ามงานเขยี นของ พระสงฆน์ กั ปราชญช์ าวสิงหล โดยเฉพาะยุคสมยั ก่อนการเปลี่ยน ผา่ นเข้าสูพ่ ธิ ีกรรมแบบฮนิ ดใู นยคุ หลงั ประเด็นต่อมาคือเหตุใดจึงดึงพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ เข้ามาเก่ียวขอ้ ง คำ� ตอบแบบงา่ ยคอื ตอ้ งการคานอำ� นาจเทพเจา้ ฮนิ ดแู ละเทพ มหายานที่ก�ำลังโด่งดังแพร่หลาย เพราะพระศรีอริยเมตไตรย โพธิสัตว์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งผู้บ�ำเพ็ญบุญบารมีแล้วประสบ ความสำ� เรจ็ เปน็ จดุ ขายแบบไมต่ อ้ งโฆษณานบั แตย่ คุ หลงั พทุ ธกาล แล้ว การน�ำเร่ืองราวของพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์มาผูกเข้า กบั พระมาลยั เทวเถระ โดยการยกอบุ าสกเปน็ จดุ เดน่ กเ็ สมอื นการ อธบิ ายนามธรรมใหก้ ลายเปน็ รูปธรรม 28

พดู แบบชาวบา้ นคอื ยกคนประสบความสำ� เรจ็ แลว้ เปน็ จดุ ขาย สง่ิ จำ� เปน็ ทตี่ อ้ งแทรกเขา้ มาในเรอื่ งราวของพระมาลยั เทวเถระ เวอร์ช่ันน้ีคือการแสดงปาฏิหาริย์ ตรงน้ีผู้เขียนเห็นว่าเป็นเร่ือง จ�ำเป็นท่ีต้องเพ่ิมเข้ามา ประการหนึ่งเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระเถระ อรหนั ตผ์ ทู้ รงอภญิ ญาลว้ นสำ� แดงฤทธไิ์ ดเ้ ปน็ ปกตวิ สิ ยั อกี ประการ หน่ึงต้องการบอกเป็นนัยว่าพระอรหันต์มีฤทธานุภาพมากเพราะ สามารถน�ำพาอุบาสกไปเท่ียวชมสวรรค์ จึงมีอิทธานุภาพไม่แพ้ เทพเจ้าน้อยใหญส่ มัยนั้น จะเรียกวา่ ใชฤ้ ทธิข์ ม่ ฤทธ์ิก็ได้ 29

ผลส�ำเร็จจากเร่ืองพระมาลัยเทวเถระฉบับนี้เป็นอย่างไร ไมท่ ราบได้ ทราบแตเ่ พยี งวา่ ภายหลงั การปรากฏตวั ของพระมาลยั เทวเถระเวอร์ชั่นนี้ประมาณหนึ่งศตวรรษ ชาวพุทธศรีลังกาต่าง หนั หนา้ ไปพงึ่ พาเทวานภุ าพของเทพนอ้ ยใหญห่ มดสนิ้ ทงิ้ สจั ธรรม ความจรงิ ของพระพทุ ธเจา้ ไวเ้ บอ้ื งหลงั ตา่ งพากนั ยอมตนไปพงึ่ พงิ เทพเจา้ ฮนิ ดแู ละมหายานโดยอาศยั พธิ กี รรมเปน็ ตวั กำ� หนดวถิ ชี วี ติ ของสังคม สิง่ ทีส่ ลดใจยง่ิ ไปกว่าน้ันคือ พระสงฆซ์ ึง่ เป็นหลักของศรทั ธา ญาติโยมในฐานะผู้น�ำจิตใจ กลับพากันหลงใหลในพิธีกรรมบูชา เทพเจา้ น้อยใหญห่ มดสนิ้ บางรปู เปน็ เจ้าพิธีกรรมเสยี เอง บางรูป แต่งคัมภีร์สรรเสริญเทพเจ้า ต่างพากันหันหลังให้พระพุทธเจ้า มุ่งหน้าเสพสุขจากทักษิณาท่ีเกิดจากพิธีกรรมเซ่นไหว้เทพเจ้า มี สภาพไมต่ ่างอะไรกับเจา้ พธิ ีตามเทวาลยั เร่ืองราวเหล่านี้ชวนให้นึกถึงประเทศไทยในปัจจุบัน ซ่ึงเรา ทา่ นตา่ งรเู้ หน็ เปน็ อยา่ งดี กลวั เหลอื เกนิ วา่ หากไมม่ มี อื ทรงอำ� นาจ ยน่ื เขา้ มาปฏริ ปู พระศาสนา เหน็ ทวี า่ ไมช่ า้ นานเมอื งไทยคงจะเดนิ ตามศรลี ังกาดงั อดีต 30





๓ คติความเชื่อมหายาน เกร่นิ นา� สองตอนที่แล้วได้อธิบายเรื่องราวของพระมาลัยตามส�านวน ของชาวศรีลังกาเรียบร้อยแล้ว และเห็นว่าได้วิเคราะห์เจาะลึก ครบทุกด้าน หากใครมาบอกว่ายังไม่รู้เรื่องงานน้ีมีเคือง ถ้าใคร ยังไม่อ่านให้รีบกลับไปอ่านเสียแต่เด๋ียวนี้ เพราะจะได้จับต้นชน ปลายถูก เมื่อพระมาลัยเถระเดินทางมาพ�านักพักอาศัยอยู่ เมอื งไทย จะไดเ้ ขา้ ใจบคุ ลิกลกั ษณะของทา่ นอย่างชัดเจน กอ่ นทจ่ี ะเขา้ เรอ่ื งพระมาลยั แบบไทยแท้ เหน็ สมควรกลา่ วถงึ พระมาลัยเวอร์ชั่นจีนเสียก่อน เหตุที่ยกเอาเรื่องราวชาวจีนมา กล่าวก่อนน้ัน ก็เพราะมองเห็นว่าบางทีพระมาลัยเวอร์ชั่นไทย อาจถอดแบบหรือหยิบยืมเร่ืองราวมาจากจีน เพราะหลักฐานก็

บอกแลว้ วา่ บรรพบรุ ษุ ของไทยเราอพยพโยกยา้ ยมาจากจนี แผน่ ดนิ ใหญ่ บางทคี วามเชอ่ื เหลา่ นอี้ าจตดิ ตามมากบั ปสู่ งั กะสายา่ สงั กะสี สมยั ยงั ศรัทธายดึ ม่ันในมหายานกเ็ ป็นได้ การสบื คน้ คตคิ วามเชอื่ ของบรรพบรุ ษุ จงึ เหน็ วา่ เปน็ ประโยชน์ มากกวา่ เสยี เวลาเปลา่ มบี างคนแยง้ วา่ ไทยเรารบั ความเชอ่ื เรอื่ งมหายานมาจากเขมร อันเน่ืองจากว่าสมัยไทยก�ำลังต้ังหลักปักฐานหลายร้อยปีน้ัน ผู้ท่ี เป็นใหญ่เหนือชาวไทยคือเขมร กว่าเราจะปลดแอกแยกอิสระ สรา้ งชาตไิ ทยไดน้ น้ั กเ็ ปน็ เวลายาวนาน ดว้ ยเหตนุ นั้ ชว่ งระยะเวลา ดังกล่าวจึงหลีกเลี่ยงมิได้ท่ีไทยเราจ�ำต้องรับเอาอิทธิพลความเป็น เขมรแทบทุกด้าน โดยเฉพาะคติความเชื่อมหายานซึ่งเป็นที่รู้จัก แพรห่ ลายของชาวเขมรมายาวนาน หลักฐานเชงิ รูปธรรมคอื นคร วดั และนครธมนนั้ เอง แต่ผู้เขียนกลับเห็นต่างว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะธรรมดา คตคิ วามเชอ่ื แบบพทุ ธมกั ลงสรู่ ากหญา้ กอ่ นแลว้ จงึ จะยอ้ นขนึ้ ไปถงึ ตอนปลายยอด หมายถึงเป็นท่ีนับถือของสามัญชนเป็นปฐมแล้ว จึงกลายเป็นท่ียอมรับของสถาบันพระมหากษัตริย์ในท้ายสุด จากนน้ั สถาบนั กษตั รยิ จ์ งึ มกี ารปรบั ปรงุ ดดั แปลงพธิ กี รรมใหว้ จิ ติ ร 34

พสิ ดารมากขน้ึ เพ่อื ใหเ้ ป็นท่ีถกู อกถกู ใจของอาณาประชาราษฎร์ และผทู้ ี่ทำ� หนา้ ทอี่ อกแบบกม็ ใิ ช่ใครอืน่ กค็ อื พระสงฆเ์ รานีเ้ อง จึงเชื่อได้ว่าคติความเชื่อแบบมหายานดังกล่าวติดตามมากับ บรรพบุรุษไทยเราต้ังแต่เมืองจีนแผ่นดินใหญ่ ย่ิงเป็นเรื่องราว อภนิ ิหารของบคุ คลผูเ้ ป็นวีรบุรุษดว้ ยแล้ว ยงิ่ รบั รองไดว้ ่าคงไมไ่ ป เลียนแบบใครเป็นแน่ เพราะเร่ืองราวความภาคภูมิใจเช่นน้ีมักมี การสืบทอดในลักษณะเรื่องเล่าและประกอบเป็นพิธีกรรม เพื่อ ใหม้ กี ารเล่าขานและรักษาตอ่ เนอื่ งตราบเท่านาน 35

ตามคติพระพทุ ธศาสนามหายานน้นั เช่อื กนั วา่ พระพทุ ธเจา้ มี ๕ พระโคตร (บางทีเรียกวา่ พระชินพทุ ธะหา้ พระองค์) ไดแ้ ก่ วัชรโคตรหรือตระกูลแห่งปัญญามีพระอักโษภยะเป็นพระธยานิ พุทธ รัตนโคตรหรือตระกูลแห่งมณีรัตนะมีพระรัตนสัมภวะเป็น ธยานิพุทธ ปัทมโคตรหรือตระกูลแห่งดอกบัวมีพระอมิตาภะ เปน็ ธยานพิ ทุ ธ กรรมโคตรหรอื ตระกลู แหง่ การกระทำ� มพี ระอโมฆ สทิ ธเิ ปน็ ธยานพิ ทุ ธ และตถาคตโคตรหรอื ตระกลู ของพระพทุ ธเจา้ มีพระไวโรจนะเปน็ ธนายิพุทธ พระชินพุทธะห้าพระองค์น้ันล้วนมีดินแดนเป็นอาณาเขต แหง่ ตน จะทำ� การสิง่ ใดไม่ไดล้ งมอื ด้วยพระองคเ์ อง เปน็ แต่เพียง ส่งตัวแทนมาท�ำหน้าท่ีเท่าน้ันก็ใช้ได้ ซ่ึงผู้รับหน้าที่นั้นก็คือ พระโพธิสัตว์ พูดแบบชาวบ้านคือพระโพธิสัตว์เป็นภาคหน่ึงของ พระพทุ ธเจา้ เพราะทา่ นเปน็ กายละเอยี ดยากทปี่ ุถุชนคนธรรมดา จะสามารถเห็นได้ เรียกอกี อยา่ งหน่ึงวา่ กายทพิ ย์ หากพดู แบบนกั วชิ าการกค็ อื พระโพธสิ ตั วเ์ ปน็ อวตารปางหนงึ่ ของพระพทุ ธเจา้ น่ันเอง อนั นีเ้ ปน็ คตคิ วามเชอื่ มหายานเขา เราชาวพทุ ธเถรวาทอยา่ ไดต้ ติ งิ จนเหน็ วา่ เขานอกลนู่ อกทาง เพราะความเชอ่ื เหลา่ นเี้ กดิ ขนึ้ เพราะมีมิติของประวัติศาสตร์และกาลเวลาเป็นตัวบีบบังคับ อีก 36

ทง้ั มคี นนบั ถอื คอ่ นครงึ่ โลกกแ็ สดงวา่ เขากด็ พี อตวั บางทกี ารดเู บา ลัทธิอ่ืนโดยปราศจากศึกษาให้ถ่ีถ้วน ย่อมไม่ต่างอะไรกับหิ่งห้อย ทา้ แขง่ แสงพระสรุ ีย์ ส�าหรับเรื่องพระชินพุทธะห้าพระองค์น้ันยกไว้ก่อน เพราะ ไม่ไดเ้ กย่ี วขอ้ งกบั เร่อื งที่เราอยากจะรู้ เพราะเห็นว่าหากอธิบาย ขยายความมากไปกลัวจะหาทางลงไม่ได้ อีกท้ังรายละเอียดก็มี มากมายจนยากทจี่ ะสรปุ ใหเ้ ขา้ ใจไดใ้ นระยะเวลาอนั สนั้ หากทา่ น ใดสนใจเหน็ ควรไปสบื คน้ หาหนงั สืออ่านเอาเอง ซ่ึงปจั จุบนั มวี าง ขายเกล่ือนตลาด บอกไว้นิดหน่ึง คติความเช่ือเร่ืองพระพุทธเจ้าของมหายาน นั้น ชาวพุทธไทยถอดแบบมาอย่างไม่เกรงใจ ไม่เช่ือลองสังเกต การกราบไหวพ้ ระพทุ ธรูปของไทยว่าเราอ้อนวอนขออะไร? ส่วนผู้ที่เราจะต้องศึกษาวิเคราะห์ตรงนี้คือพระโพธิสัตว์ผู้มี บคุ ลิกลกั ษณะเหมือนพระมาลยั พระกษติ ิครรภโ์ พธสิ ัตว์ ความจริงพระโพธิสัตว์ของมหายานนั้นมีมากมายมหาศาล เหมือนเม็ดทรายในท้องทะเลหลวง แต่ที่เราจะน�ามาศึกษาคือ พระกษติ คิ รรภโ์ พธสิ ตั วเ์ ทา่ นน้ั พระโพธสิ ตั วพ์ ระองคน์ เี้ ปน็ สมั โภค 37

กายของพระอักโษภยพุทธเจ้า ซ่ึงจัดอยู่ในวัชรโคตรหรือตระกูล แห่งปัญญา ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังนับแต่สมัยพุทธกาล เพราะได้ รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรด สรรพสัตว์ในกามภูมิ ๖ จนกว่าพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ เป็นพระสมั มาสมั พุทธเจา้ อนั วา่ กามภมู ิ ๖ คอื เทวโลก มนษุ ย์ สตั วด์ ริ จั ฉาน อสรู เปรต และสัตวน์ รก 38

เรอ่ื งราวของทา่ นปรากฏในพระกษติ คิ รรภโ์ พธสิ ตั วม์ ลู ปณธิ าน สูตร ความย่อว่าสมัยหนึ่งท่านเกิดเป็นบุตรีแห่งตระกูลม่ังค่ังใน ชมพทู วีป มารดาเปน็ มิจฉาทิฐิไม่เช่ือมนั่ ในพระรัตนตรัย อกี ท้ังไม่ เชอื่ เรอ่ื งบญุ และบาป ครนั้ ตายวายสงั ขารแลว้ ไดไ้ ปเกดิ ในนรกภมู ิ และเสวยทกุ ขเวทนาดว้ ยผลแหง่ กรรมนน้ั บตุ รนี นั้ ครน้ั ทราบแนช่ ดั วา่ มารดาคงตกไปในนรกภมู แิ นแ่ ท้ และตอ้ งพานพบกบั ภาวะแหง่ ความเร่าร้อนทุกขท์ รมานแห่งวบิ ากจากกรรมเก่าแต่หนหลงั นางจึงสละทรัพย์สินศฤงคารทุกอย่างถวายแด่พระศาสนา และออกเจริญวิเวกภาวนาปรารถนาให้กุศลผลบุญส่งถึงมารดา แหง่ ตน ดว้ ยทานานภุ าพจงึ ดลบนั ดาลใหจ้ ติ นางลอ่ งลอยไปยงั นรก ขมุ นอ้ ยใหญ่ ไดเ้ หน็ สภาพของสตั วน์ รกทพี่ ากนั ครำ่� ครวญกบั วบิ าก แห่งกรรม จึงเกิดความสังเวชหดหู่ใจ ครั้นช่วยมารดาออกจาก ขุมนรกด้วยพลังแห่งบุญแล้ว จึงตั้งปณิธานต่อหน้าพระปฏิมา ปรารถนาช่วยเหลือสรรพสัตว์ท่ีเวียนว่ายอยู่ในนรกให้คลายจาก ความทุกขท์ รมาน จงึ เปน็ ท่มี าของคติธรรมประจ�ำใจวา่ “หากใน นรกไม่ว่างจากสัตว์ผู้เสวยทุกข์ทรมานแล้วไซร้ ตัวเราจะไม่ขอ สำ� เร็จพระอนุตตรสมั มาสมั โพธญิ าณ” เล่ากันว่าบรรดาสัตว์นรกผู้เสวยวิบากกรรมอันร้อนเร่าด้วย เปลวเพลิงนั้น เพียงแค่มีโอกาสได้พบพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ก็ 39

สามารถบรรเทาความทุกข์ร้อนได้คราวหน่ึง แม้หากมีโอกาสฟัง ธรรมจากทา่ นและปฏบิ ตั ติ าม ยอ่ มไดร้ บั อานสิ งสม์ ากมายมหาศาล นับแต่หลุดพ้นจากโซ่ตรวนแห่งนรกภูมิจนถึงบรรลุอนุตตรสัมมา สมั โพธญิ าณเลยทีเดียว เป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องราวของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์เน้น เรื่องของนรกภูมิเป็นหลัก โดยเฉพาะรายละเอียดของนรกแต่ละ ขมุ พรอ้ มทง้ั การทรมานของเหลา่ ยมบาล ซง่ึ มพี ญายมราชทำ� หนา้ ที่ เป็นผู้อธิบายวิบากกรรมของสัตว์นรกเหล่านั้น ตรงน้ีอาจเป็นไป ได้ว่าสมัยน้ันชาวจีนเร่ิมไม่สนใจหลักธรรมค�ำสอน ต่างพากัน เบอ่ื หน่ายแสวงหาประโยชนอ์ ันมิชอบเพื่อตน นักปราชญ์ผู้รอบรู้ จึงแต่งเร่ืองราวของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ข้ึนมา เพ่ือให้เป็น อุทาหรณ์สอนธรรมก็เป็นได้ การสนทนาระหว่างพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์กับพญายมราช ทำ� ใหเ้ หน็ มมุ มองชดั เจนวา่ ดว้ ยอานสิ งสแ์ หง่ บญุ กริ ยิ าวตั ถุ ๓ ยอ่ ม สามารถเปน็ เกราะปอ้ งกนั จากนรกภมู ไิ ด้ อกี ทงั้ สามารถเปน็ สะพาน เชอ่ื มโยงใหบ้ ิดามารดาหรอื ญาตพิ น่ี ้องไต่ออกจากนรกได้เช่นกัน ตรงนเ้ี องไปปรากฏในเรือ่ งราวของพระมาลยั แบบไทยแท้ แม้พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตรจะแต่งข้ึนมา ภายหลังพุทธกาลหลายรอ้ ยหลายพันปกี ต็ าม แต่ลักษณะการเลา่ 40