Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore LK-003หนังสือตามรอยพระพุทธบาทฯ

LK-003หนังสือตามรอยพระพุทธบาทฯ

Description: LK-003หนังสือตามรอยพระพุทธบาทฯ

Search

Read the Text Version

พระพทุสืบธบคานŒ ทหา๕ รอย 1

สื บ ค้ น ห า พ ร ะ พุ ท ธ บ า ท ๕ ร อ ย ISBN : 978-616-7821-50-4 รวบรวม : พระมหาพจน์ สุวโจ, ดร. เรยี บเรยี ง : พระมหาถนอม อานนฺโท พิมพ์ครัง้ ที่ ๑ : ตุลาคม ๒๕๕๙ จ�ำนวนพมิ พ์ : ๑,๕๐๐ เล่ม ด�ำ เ นิ น ก า ร จั ด พิ ม พ์ โ ด ย สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ซอยกระทุ่มล้ม ๖ ถนนพทุ ธมณฑลสาย ๔ ตำ� บลกระทุ่มล้ม อำ� เภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐-๒๔๒๙-๒๔๕๒, ๐๘-๕๔๒๙-๔๘๗๑ email:[email protected] 2

คำ� นำ� “รอยพระบาทใด อันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว บนหาดทรายแทบฝั่งแม่น�้ำนัมมทา เหนือภูเขาสัจพันธ์ เหนือ ยอดเขาสมุ นะ และทเ่ี มอื งโยนก ขา้ พเจา้ ขอนมสั การรอยพระบาท นั้นๆ ของพระมุนดี ้วยเศยี รเกลา้ ” สบื คน้ หาพระพทุ ธบาท ๕ รอย เปน็ หนงั สอื เชงิ ประวตั ศิ าสตร์ พระพุทธศาสนา ที่มีความเกี่ยวเน่ืองกับการประกาศศาสนาของ องค์สมเดจ็ พระสัมมาสมั พุทธเจา้ ของเรา โดยในวรรณกรรมภาษา บาลีน้ัน ได้แสดงหลักฐานกล่าวถึงพระพุทธบาทเพียง ๔ รอย เทา่ นัน้ สว่ นรอยที่ ๕ มีความเป็นมาอยา่ งไร ดงั น้ันท่านทั้งหลายที่ สนใจในเรื่องราวรอยพระพุทธบาท จะได้รับความกระจ่างแจ้งใน หนงั สอื เลม่ นี้ หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์ เพื่อสืบค้นหาประวัติความ เป็นมาของพระพุทธบาท ๕ รอย เพื่อตอบข้อสงสัยและความ คลางแคลงใจของทา่ นพทุ ธศาสนกิ ชนทั้งหลายผูใ้ คร่ตอ่ การศึกษา การรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลคร้ังนี้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก เพราะ

ท�ำเท่าท่ีสามารถสืบหาข้อมูลได้ แต่ก็พอจะตอบข้อสงสัยได้ใน ระดับหน่ึง ต่อเม่ือได้พบข้อมูลท่ีเป็นหลักฐานเพิ่มเติมมากกว่านี้ จึงจะได้น�ำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ยิ่งข้ึนในโอกาส ตอ่ ไป ขออนุโมทนาญาติโยมทุกท่านที่ช่วยกันบริจาคปัจจัยพิมพ์ หนังสือเล่มน้ี เพื่อหวังให้เกิดประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและส่ิงศักดิ์ท้ังหลาย จงปกป้อง คุ้มครองท่านท้ังหลาย ให้ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เจริญ ดว้ ยธรรม ๔ ประการ คอื อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทกุ ทา่ นเทอญฯ พระมหาถนอม อานนโฺ ท พระมหาพจน์ สวุ โจ, ดร.

สารบญั ๑๑ ๑๓ ๑. เกร่ินน�ำ ๑๖ - คาถาสรรเสริญพทุ ธคณุ ๑๘ - คาถานมัสการพระพุทธบาท ๔ รอย ๒๐ - คาถานมสั การพระพุทธบาท ๕ รอย ๒๓ - คาถาสรรเสรญิ พระรัตนตรัย ๒๖ - คาถาเสรมิ ท้าย ๓๓ ๒. ลกั ษณะของพระพทุ ธบาท ๓๙ - ตามนัยแหง่ ลกั ขณสูตร ๔๒ - ตามนยั แห่งคมั ภีรส์ ุมงั คลวลิ าสิน ี ๔๔ - วษิ ณุบาทกบั พุทธบาท ๓. รอยพระพุทธบาทในเกาะลังกา - โสฬสบณุ ยสถานศกั ด์ิสทิ ธิ ์ - รอยพุทธบาทท่ศี รปี าทะ - รอยพุทธบาทตามคมั ภรี ป์ ปัญจสทู นี

๔. รอยพระพุทธบาทในชมพูทวปี ๕๓ - พระพุทธบาท ๓ รอย ๕๔ - โยนกบุรีอยทู่ ่ีไหน? ๖๐ - มหาวิทยาลยั วลภี ๕. รอยพระพทุ ธบาทในพม่ารามญั ๖๖ - อาณาจกั รทวารวดี ๗๐ - พระเจา้ อโนรธามงั ชอ่ ๗๒ - รับความเช่อื มาจากเกาะลังกา ๖. รอยพระพุทธบาทในอาณาจกั รสโุ ขทัย ๗๙ - หลักฐานตามศิลาจารึก ๘๒ - พระมหาธรรมราชาลิไท ๘๖ - บ้านเมอื งเสริมศาสนา ๙๑ ๗. สัญลักษณม์ งคล ๑๐๘ ประการ ๑๐๑ ๘. อานิสงส์การบชู ารอยพระพทุ ธบาท หนังสืออ่านประกอบ



8

ñ àกรÔนè น�ำ ธรรมดาของชาวพุทธไม่ว่าชาติภาษาใด มักนิยมกราบไหว้ บูชาอนสุ รณ์สถานอนั เปน็ เครอ่ื งรา� ลึกนกึ ถึงองคส์ มเด็จพระสมั มา สัมพุทธเจ้า บ้างก็เป็นพระพุทธรูป บ้างก็เป็นต้นพระศรีมหาโพธ์ ิ บา้ งกเ็ ปน็ เจดยี ์ บา้ งกเ็ ปน็ พระธรรมคมั ภรี ์ บา้ งกเ็ ปน็ พระสารรี กิ ธาตุ แล้วแต่จริตหรือความช่ืนชอบของแต่ละกลุ่มคนตามประเพณี แหง่ ตน อนสุ รณบ์ างอยา่ งหากเปน็ ทรี่ จู้ กั แพรห่ ลาย มกั มกี ารสรา้ ง เพอ่ื เปน็ ทเี่ คารพสกั การะบชู ากนั ดาษดนื่ เฉกเชน่ รอยพระพทุ ธบาท ประเพณีการสักการะรอยพระพุทธบาทเห็นจะเกิดข้ึนท่ี อินเดียเป็นปฐม ก่อนจะมาแพร่หลายในประเทศศรีลังกา เพราะ มีหลักฐานปรากฏหลายแห่ง ทั้งด้านวรรณกรรมและโบราณคด ี ประเทศไทยกเ็ คยนา� คตคิ วามเชอื่ เรอ่ื งรอยพระพทุ ธบาทมาสรา้ งท่ี อาณาจักรสุโขทัย และพัฒนามาเป็นรูปธรรมชัดเจนสมัยอยุธยา หลักฐานก็คอื รอยพระพุทธบาททส่ี ระบรุ ีนัน้ แหละ

หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือสืบค้นหาพระพุทธบาท ๕ รอย ที่ปรากฏในคาถานมัสการรอยพระพทุ ธบาท ซงึ่ ชาวพุทธ ไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะแต่งเป็นคาถาเรียบง่ายสละสลวย ดว้ ยท�ำนอง ทำ� ใหต้ ิดปากคนอา่ นจนเป็นเหตใุ หส้ วดกนั ท่ัวไปตาม อารามวิหารน้อยใหญท่ วั่ ประเทศ ก่อนที่จะศึกษาวิเคราะห์พระพุทธบาท ๕ รอยน้ัน เห็น สมควรกล่าวถึงคาถานมัสการรอยพระพุทธบาทเสียก่อน ผู้เขียน เคยได้ยินพระศรีลังกาท่านสวดคาถานมัสการบทนี้ออกบ่อย ซึ่งเป็นเพียงครึ่งแรกเท่าน้ัน จึงได้ต้ังข้อสังเกตเป็นสมมติฐาน แต่เบอ้ื งตน้ หาไดใ้ ส่ใจศึกษาเพ่มิ เตมิ ไม่ เพราะมีการงานอยา่ งอื่น เป็นภาระอยู่ ต่อมาคร้ันได้สืบค้นเอกสารหลายแห่งท้ังไทยและ เทศแล้ว ท�ำให้ทราบว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในคาถานมัสการรอย พระพุทธบาทบทนี้หลายอย่าง จะเก็บไว้อ่านคนเดียวก็กลัวจะ เปน็ ความเหน็ แกต่ วั และนานไปกค็ งจะลืมเป็นธรรมดาวิสยั จึงคิดเห็นว่าหากเผื่อแผ่เป็นธรรมทานบ้างน่าจะเป็นกุศล อีกโสตหนง่ึ เบื้องต้นเรามาวิเคราะห์คาถานมัสการรอยพระพุทธบาท กันเสียก่อน ส่วนพัฒนาการความเชื่อเร่ืองรอยพระพุทธบาทของ คนศรีลังกา พม่า และไทย ค่อยมาวิเคราะห์กันทีหลัง เพราะ เห็นว่าหากได้ภาพเก่ียวกับความเป็นมาของพระคาถานมัสการ รอยพระพุทธบาทแล้ว ย่อมเป็นการง่ายต่อการท�ำความเข้าใจใน 10

รายละเอียด โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเรื่องราวระหว่างศรีลังกา พม่า และไทย วันทามิ พุทธงั ภะวะปาระตณิ ณงั ตีโลกะเกตุง ตภิ ะเวกะนาถงั โย โลกะเสฏโฐ สะกะลงั กเิ ลสงั เฉตฺวานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตงั ฯ ž ขา้ พเจ้าขอนมัสการพระพทุ ธเจ้า ผขู้ า้ มพ้นฝ่งั แหง่ ภพ ผู้ เป็นธงชัยแห่งไตรโลก ผู้เป็นนาถะเอกของไตรภพ ผู้ประเสริฐ ในโลก ตัดกิเลสทง้ั ส้ินไดแ้ ลว้ ช่วยปลุกปวงชนใหต้ ่ืน ž 11

หากเคยอ่านคาถาตามแบบฉบับของชาวศรีลังกา ไม่ว่าจะ เป็นการบูชาสิ่งใดก็แล้วแต่ ท้ังพุทธและพราหมณ์ มักจะเร่ิมต้น ด้วยการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ บางแห่งขยาย ออกไปถงึ พระรตั นตรยั บา้ งกม็ ี การสรรเสรญิ แบบนไ้ี มต่ า่ งจากการ ต้ังนะโมแบบบ้านเรา อาจเป็นเพราะชาวศรีลังกาให้ความส�ำคัญ พุทธภาวะนั่นเอง คาถาบทนี้เน้นความเป็นเลิศของพระพุทธเจ้า เหนือสามโลก โดยช้ีให้เห็นว่าเพราะพระพุทธองค์สามารถก�ำจัด อาสวะกิเลสได้สิ้นแล้ว จึงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ ทง้ั หลายทง้ั ปวง แตค่ วามจรงิ คอื ผแู้ ตง่ ตอ้ งการบอกวา่ พระพทุ ธเจา้ อยู่เหนือชาวศรีลังกาทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะนับถือบูชาสิ่งใดหรือ นับถือศาสนาไหน เพราะพระองค์เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาคือ ความรู้ เชื่อว่าคาถาบทน้ีแต่งข้ึนต้ังแต่ยุคแรกเริ่มสมัยพระพุทธ- ศาสนาเข้ามาเผยแผ่บนเกาะลังกาเป็นแน่แท้ เพราะสมัยน้ันเน้น พุทธคุณเป็นหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พูดแบบภาษา สมัยใหม่คือเน้นพระพุทธเจ้าเป็นจุดขาย ลักษณะเช่นน้ีพบเห็น ทั่วไปในคาถานมัสการหลายแห่ง โดยเฉพาะโสฬสบุณยสถานอัน ศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ หรอื สถานทศี่ กั ดส์ิ ทิ ธิ์ ๑๖ แหง่ ทวั่ เกาะลงั กา ซง่ึ ลว้ นแลว้ แต่เป็นสถานทพ่ี ระพทุ ธเจ้าเสด็จไปประทบั ทง้ั น้ัน 12

ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลเิ น จะ ตีเร ยัง สจั จะพันธะคริ เิ ก สุมะนา จะลัคเค ยัง ตัตถะ โยนะกะปเุ ร มุนโิ น จะ ปาทงั ตัง ปะทะวะลัญชะนะมะหัง สริ ะสา นะมามิ ฯ ž รอยพระบาทใด อันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว บนหาดทรายแทบฝั่งแม่น�้ำนัมมทา เหนือภูเขาสัจพันธ์ เหนือ ยอดเขาสุมนะ และท่ีเมืองโยนก ข้าพเจ้าขอนมัสการรอยพระ- บาทนั้นๆ ของพระมนุ ีด้วยเศียรเกล้า ž คาถาบทนเี้ ชอื่ วา่ แตง่ ทศ่ี รลี งั กา เพราะปรากฏหลกั ฐานดา้ น วรรณกรรมหลายเล่มระบุว่ามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเขา สุมนะ (ปจั จุบันเรยี กวา่ ศรปี าทะ) สว่ นรอยพระพทุ ธบาททีเ่ หลือ ไม่ว่าจะเป็นบนหาดทรายริมแม่น�้ำนัมมทา ภูเขาสัจพันธ์ หรือที่ เมืองโยนกบุรี ล้วนเป็นหลักฐานท่ีอ้างไว้ในคัมภีร์ช้ันอรรถกถา ซึ่งยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่าคัมภีร์เหล่าน้ันแต่งขึ้นสมัยใด แต่ เป็นท่ียอมรับกันว่ามีการเสริมความจนสมบูรณ์แบบตอนอยู่ ศรลี งั กานี้เอง ผู้เขียนเชื่อว่าคาถาบทนี้น่าจะแต่งข้ึนตอนพระพุทธศาสนา เขา้ มาเผยแผบ่ นเกาะลงั กาไม่นาน และผทู้ แี่ ตง่ คงไม่เกินพระเถระ 13

รุ่นแรก อาจจะเป็นคณะของพระมหินทเถระ หรืออาจจะเป็น พระเถระชาวศรีลงั กาผู้เป็นศษิ ยก์ ็เปน็ ได้ เหตุท่ีแตง่ ก็เพื่อต้องการ สร้างความเชื่อม่ันเร่ืองรอยพระพุทธบาทเหนือยอดเขาศรีปาทะ ซ่ึงเป็นหน่ึงในสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประทับ ขณะเสด็จ มาเกาะลังกาคร้ังที่ ๓ เพ่ือความสมเหตุสมผลจึงต้องอ้างถึงรอย พระพทุ ธบาทท่ีเหลือประกอบ หรอื ความเชอ่ื เร่อื งรอยพระพุทธบาท ๓ แหง่ บนชมพูทวปี มีมาก่อนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าเกาะลังกาแล้ว คร้ันภายหลัง พระเถราจารย์คงคิดหาวิธีเชื่อมโยงรอยพระพุทธบาทแห่งชมพู ทวปี ใหเ้ ขา้ กบั รอยพระพทุ ธบาททศี่ รปี าทะ ถอื ไดว้ า่ เปน็ การคดิ คน้ หาวิธอี ยา่ งมเี หตุผลลงตัว 14

คาถาสองบทเบื้องต้นดังกล่าวมา เป็นท่ีรู้จักแพร่หลาย ของชาวพุทธศรีลังกาเป็นอย่างดี ต่างพากันสวดสรรเสริญกันได้ ทุกเพศทุกวัย และทราบความหมายด้วย เพราะมีสอนตาม หลักสูตรในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งหากใครผ่านการ เรยี นการสอนเชน่ นน้ั มา ยอ่ มทอ่ งได้และเข้าใจเปน็ ธรรมดาวิสยั สรุปคือชาวพุทธศรีลังกาเชื่อเรื่องพระพุทธบาท ๔ รอย (เท่านั้น) เฉพาะท่ีปรากฏในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา แม้จะมีอีกหลาย แหง่ ทว่ั เกาะลงั กา แตก่ ใ็ หค้ วามสำ� คญั เพยี ง ๔ แหง่ เทา่ นน้ั ดงั คาถา ซึ่งระบุถึงแล้ว และบรรดาพระพุทธบาท ๔ รอยน้ัน มีเพียง แห่งเดียวที่ประดิษฐานในประเทศศรีลังกาคือศรีปาทะ ซ่ึงมี วรรณกรรมหลายเล่มแต่งประกอบพรรณนาความส�ำคัญเอาไว้ เฉกเชน่ คัมภีรส์ มันตกูฎวณั ณนาของพระเวเทหเถระ เปน็ ตน้ เป็นท่ีน่าสังเกตคือคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังการะบุว่า เหนือยอดเขาศรีปาทะนั้น มิใช่มีเฉพาะรอยพระพุทธบาทของ พระโคดมพุทธเจ้าเท่านั้น ก่อนน้ัน พระกกุสันธพุทธเจ้า พระ- โกนาคมนพุทธเจ้า และพระมหากัสสปพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จมา ประทบั รอยพระพทุ ธบาทเหนอื ขนุ เขาแหง่ น้เี ชน่ เดียวกนั เชอ่ื เหลอื เกนิ วา่ คตคิ วามเชอ่ื ของคนไทยเรอ่ื งพระพทุ ธบาท ๔ รอย คงมาจากคัมภรี ม์ หาวงศ์เป็นแน่ และน่าจะมีการเตมิ แตง่ ขยายเนื้อความโดยนักปราชญ์ชาวไทยอีกทอดหน่ึง ดังปรากฏ หลกั ฐานในคมั ภรี ์ตำ� นานมูลศาสนา เป็นตน้ 15

สุวณั ณะมาลเิ ก สุวณั ณะปัพพะเต สมุ ะนะกเู ฏ โยนะกะปเุ ร นัมมะทายะ นะทิยา ปัญจะปาทะวะรงั ฐานัง อะหงั วันทามิ ทูระโต ฯ ž ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานท่ีมีรอยพระบาท ๕ สถาน คือ สุวัณณมาลิกเจดีย์ สุวรรณบรรพต ภูเขาสุมนกูฏ โยนกบุรี และแม่นำ�้ นมั มทา ž คาถาบทนเ้ี หน็ ทจี ะแตง่ ทเ่ี มอื งไทยประมาณสมยั อาณาจกั ร สุโขทัย ผู้แต่งน่าจะเป็นพระสงฆ์ศรีลังกา หรือพระไทยท่ีไปบวช แปลงและศึกษาเล่าเรียนจารีตประเพณีของศรีลังกา โดยเฉพาะ การศึกษาตามแบบส�ำนักมหาวิหาร เหตุเพราะมีหลักฐานระบุถึง บณุ ยสถานศกั ด์ขิ องศรลี ังกา ๒ แหง่ กลา่ วคอื สุวรรณมาลกิ เจดยี ์ (ศรีลังกาเรียกว่า รุวันแวลิแสยเจดีย์) และสุมนกูฏ (ศรีลังกา เรียกว่า ศรีปาทะ) อีกประการหนึ่ง ช่วงน้ันส�ำนักของพระศรีลังกาได้ต้ังมั่น อยู่ที่เมืองพันแห่งอาณาจักรมอญ โดยมีพระเถระผู้ใหญ่นามว่า อทุ มุ พรคริ มี หาสวามี เปน็ สมภารเจา้ อาวาส ซง่ึ ชอื่ ของทา่ นกพ็ อ้ ง 16

กับส�ำนกั อุทมุ พรคิรีของศรลี งั กา (ศรีลงั กาเรยี กวา่ ทิมบลุ าคะละ) หลักฐานศรีลังการะบุว่า พระเถระสายน้ีเช่ียวชาญทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ได้รับราชูปถัมภ์มาต้ังแต่สมัยพระเจ้าปรากรม- พาหุมหาราช พระเถระกลมุ่ นน้ี า่ จะนำ� คตคิ วามเชอ่ื เรอื่ งรอยพระพทุ ธบาท เข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย และน่าจะแต่งคาถาประกอบ เพ่ือให้ ผคู้ นไดท้ อ่ งบน่ สรรเสรญิ รอยพระพทุ ธบาทดว้ ย หลกั ฐานจากจารกึ นครชมุ ระบวุ า่ พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดให้ไปพมิ พ์ “เอารอย ตีนพระเป็นเจ้าถึงสิงหลอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏ” แล้ว น�ำมาประดิษฐานไวท้ ่ีเมอื งศรีสชั นาลยั หนงึ่ เหนอื ยอดเขาสุมนกฏู เมืองสุโขทัยหนึ่ง เหนือจอมเขานางทองเมืองบางพานหนึ่ง และ เหนอื เขาทปี่ ากพระบาง (เขากบ) หนงึ่ แหง่ อาณาจกั รโปโฬนนารวุ ะ ดว้ ยเหตดุ ังกลา่ ว รอยพระพทุ ธบาทจึงแตกต่างออกไปจาก พระคาถาของศรีลังกาอันเป็นต้นเค้า ด้วยการเพิ่มรอยพระ- พุทธบาทเป็น ๕ รอย การเพิ่มเข้ามาดังกล่าวน่าจะเป็นการเสริม รอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานในอาณาจักรสุโขทัยเข้าไปด้วย เพื่อชีบ้ อกว่าสโุ ขทยั กเ็ ปน็ ดินแดนแห่งพระพทุ ธศาสนาไมต่ า่ งจาก ศรีลังกา นอกจากน้ัน ยังมีคัมภีร์แต่งประกอบว่าพระพุทธเจ้า เสด็จมาโปรดอาณาจักรสุโขทัยด้วย ดังเช่นคัมภีร์พระเจ้าเลียบ โลก เปน็ ต้น ไม่เช่อื ก็ลองหาคัมภีร์เลม่ ดังกลา่ วมาอา่ นดู 17

อิจเจวะมัจจนั ตะ นะมัสสะเนยยงั นะมัสสะมาโน ระตะนตั ตะยัง ยัง ปญุ ญาภสิ ันทัง วิปลุ ัง อะลัตถงั ตสั สานุภาเวนะ หะตนั ตะราโย ฯ ž ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซ่ึงพระรัตนตรัยใด อันบุคคลไหว้โดย อย่างเดียวน้ี ด้วยประการฉะนี้ ได้แล้วซ่ึงห้วงแห่งบุญอันไพบูลย์ ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรยั น้ัน จงขจัดอันตรายเสียเถิด ž หากอ่านดูเนื้อความของคาถาบทนี้ตลอดจะเห็นกล่ินอาย ของศรีลังกาอย่างชัดเจน เพราะคติความเช่ือของชาวศรีลังกาน้ัน ไม่มีใครน่าเคารพศรัทธามากเกินพระรัตนตรัยอีกแล้ว โดย เฉพาะการมองวา่ พระรตั นตรยั เปน็ เบา้ หลอมของมนษุ ยใ์ หส้ ามารถ ก้าวถึง มรรค ผล นพิ พาน ส่วนการบนบานเซ่นไหว้ ชาวศรีลังกา จะหันหน้าไปพ่ึงเทพเจ้า โดยเฉพาะจตุคามเทพผู้ปกปักรักษา เกาะลังกาและพระพุทธศาสนา ได้แก่ เทพวิษณุ เทพกตรคามะ เทพวิภีศณะ และเทพสามัน หากเปน็ พระไทยแตง่ คาถาบทนี้ นา่ จะมเี นอ้ื ความออกนอก ทางไปไกลกว่าน้ีเป็นแน่ เพราะสมัยน้ันคติความเชื่อเรื่องผีสาง เทวดาไม่ได้ลดลงตามที่คนสมัยปัจจุบันเข้าใจ หากแต่เป็นไปใน 18

ลักษณะเคียงคู่มีฐานะเสมอพระพุทธศาสนา เหตุเพราะสถาบัน กษัตริย์ยังอุปถัมภ์ให้ความส�าคัญไม่ต่างพระพุทธศาสนาแต่ อยา่ งใด เหตุท่ีผู้เขียนบอกว่าคาถาบทนี้เป็นประเพณีของศรีลังกา เพราะหลักฐานนับต้ังแต่คัมภีร์อรรถกถาเร่ือยมาจนถึงคัมภีร์ ยุคหลัง ล้วนเน้นให้ความส�าคัญพระรัตนตรัยเป็นส�าคัญ เพ่ิงมา ปรากฏพบเห็นว่าเทพเจ้าของฮนิ ดเู ขา้ มากลมกลนื กับพระพทุ ธรปู ก็สมยั หลงั นี้เอง 19

อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏเิ วทะยามิ โว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อปั ปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ ฯ ž ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอท้ังหลายพึงทราบไว้ว่า สังขาร ทั้งหลาย มีอันเส่ือมส้ินไปเป็นธรรมดา ขอท่านท้ังหลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ ประมาทเถิด ž เหตุท่ีเพิ่มคาถาบทน้ีเข้าเสริมตอนท้าย เห็นจะเป็นเพราะ ต้องการเชื่อมโยงถึงพระพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งเป็น ระยะเวลาช่วงสุดท้ายของพระพุทธเจ้า การเสริมคาถาบทน้ีท�ำ ให้เพิ่มน้�ำหนักคาถาท้ังหลายแต่เบื้องต้นได้อย่างสมบูรณ์ลงตัว โดยไม่มใี ครกล้าคดั ค้าน สรปุ คอื คาถานมสั การรอยพระพทุ ธบาทมพี ฒั นาการนบั แต่ ชมพูทวีป ผ่านเข้าศรีลังกา และน่าจะเข้าพม่าก่อนท่ีจะมาสิ้นสุด ที่ไทย ระยะเวลาการผ่านดังกล่าว คงต้องมีการวิเคราะห์อย่าง ละเอียด เพอื่ ให้ผอู้ า่ นทราบถงึ ที่มาที่ไปอย่างชัดเจน 20

ออกตัวแต่เบ้ืองต้นว่า หนังสือเล่มน้ีจะไม่เน้นวิเคราะห์ให้ ลกึ ซงึ้ จนกลายเปน็ งานวชิ าการ เพราะจะทา� ใหเ้ กดิ ความเบอ่ื หนา่ ย ส�าหรับผู้ต้องการทราบเน้ือความแต่เพียงจับเอาความ จึงจะ พยายามเขยี นใหอ้ า่ นงา่ ยมากทส่ี ดุ เทา่ ทจ่ี ะมากได ้ แตห่ ากอา่ นไมร่ ู้ เรื่องจรงิ ๆ ก็คงตอ้ งโทษวฏั สงสารก็แลว้ กัน คราวหนา้ เราจะมาร้จู ักปฐมบทของรอยพระพทุ ธบาท ว่ามี ก�าเนิดมาจากไหน มีคติความเชื่ออย่างไร เหตุใดจึงกลายเป็นส่ิง ส�าคัญเสมอเหมือนตน้ พระศรีมหาโพธ์ิ 21



ò ÅักɳТͧ¾รоØท¸บำท บทก่อนได้เกริ่นน�าด้วยการวิเคราะห์คาถาบูชารอยพระ- พุทธบาทไปพอสมควรแล้ว หากใครอ่านก็น่าจะจับความได้บ้าง (ถ้ายังไม่อ่านแนะนา� กลบั ไปอา่ นกอ่ น) เพราะสามารถจับประเด็น ความได้ว่า คติความเช่ือเช่นน้ีเริ่มมีมาตั้งแต่ที่ไหน และกว่า จะเปล่ียนผ่านมาถึงสยามประเทศเกิดอะไรข้ึนบ้าง โดยเฉพาะ ในลักษณะการสอดแทรกเพ่ิมเติมเน้ือความตามคติความเช่ือ แห่งตน ส�าหรับบทนี้มาพูดกันถึงความเช่ือ รอยพระพุทธบาทใน ชมพูทวีป ซึ่งเป็นต้นกระแสแห่งอารยธรรมส�าคัญของดินแดน อุษาคเนย ์ เนื้อหาเก่ียวกับรอยพระพุทธบาทท่ีปรากฏเด่นชัดพบเห็น ในลกั ขณสตู รแหง่ ทฆี นกิ าย ปาฏกิ วรรค ซงึ่ วา่ ดว้ ยมหาปรุ สิ ลกั ษณะ ๓๒ ประการ เฉพาะรอยพระพุทธบาทนั้น มีพรรณนาไว้วา่

๑) สปุ ตฏิ  ติ ปาโท มพี ระบาทราบเสมอเปน็ อนั ดี ๒) เหฏาปาทตเลสุ จกกฺ านิ ชาตานิ สหสสฺ ารานิ สเนมิ กานิ สนาภกิ านิ สพพฺ าการปรปิ รู าน ิ พนื้ ภายใตฝ้ า่ พระบาทมจี กั ร เกิดข้ึน มกี า� ข้างละพนั ซ่ ี มกี ง มีดุม บรบิ รู ณ์ด้วยอาการท้ังปวง ๓) อายตปณหฺ ิ มีส้นพระบาทยาว ๔) ทีฆงฺคลุ ี มีพระองคุลียาว ๕) มุทตุ ลนหตฺถปาสาโท มฝี า่ พระหตั ถแ์ ละฝา่ พระบาท ออ่ นนุ่ม ๖) ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มลี ายดจุ ตาข่าย ๗) อุสฺสงขฺ ปาโท มพี ระบาทเหมอื นสังข์ควา่� 24

หากตรวจสอบดูเน้ือหาเบื้องต้นจะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ดู เหมือนจะพิเศษเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น อีกท้ังแสดงถึงความ มหศั จรรยพ์ นั ลกึ ดว้ ยเฉกเชน่ ผมู้ บี ญุ ญาธกิ าร แตห่ ากทา่ นสละเวลา อ่านหน้าถัดไปจะเห็นความนัยซ่อนอยู่ว่า เหตุที่ได้ลักษณะพิเศษ เช่นนั้นเป็นเพราะผลานิสงส์จากการบ�ำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปาง ก่อน กลา่ วคือ ๑) เหตทุ ที่ รงมพี ระบาทราบเรยี บเปน็ อนั ดนี นั้ เพราะสมยั เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์แต่ชาตปิ างก่อน ไดเ้ ปน็ ผู้สมาทาน ยึดม่ันในกุศลกรรมบถ ๑๐ บ�ำเพ็ญทาน รักษาเบญจศีล และ อุโบสถศีล เลี้ยงดูมารดาบิดาอย่างดี บ�ำรุงสมณพราหมณ์ และ เคารพผู้ใหญใ่ นสกุล ๒) เหตุที่ทรงมีกงจักรเกิดข้ึนท่ีพระบาทท้ังสอง เพราะ สมัยเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์แต่ชาติปางก่อน ได้บ�ำเพ็ญ สาธารณประโยชนเ์ ปน็ จ�ำนวนมาก เช่น ปอ้ งกนั ระวงั ภัยมิใหผ้ ูค้ น เกดิ ความสะดงุ้ หวาดกลวั ดว้ ยโจรภยั และภยั เหลา่ อนื่ และทำ� หนา้ ท่ี ดแู ลผูค้ นดว้ ยธรรมะ ๓) เหตุท่ีทรงมีส้นพระบาทยาวและทรงมีพระองคุลียาว เพราะสมัยเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์แต่ชาติปางก่อน ได้ละเว้น จากปาณาติบาต มคี วามกรณุ าปราณีต่อสตั วท์ ้ังปวง ๔) เหตุที่ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ทรง มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย เพราะสมัยเสวย 25

พระชาตเิ ปน็ พระโพธสิ ตั วแ์ ตช่ าตปิ างกอ่ น เปน็ ผบู้ ำ� เพญ็ สงั คหวตั ถุ ๔ กล่าวคือ ด้วยรู้จักการให้ กล่าวค�ำเป็นที่รัก ประพฤติตนเป็น ประโยชน์ และมีความเปน็ ผู้มีตนเสมอตน้ เสมอปลาย ๕) เหตทุ ่ที รงมีพระบาทเหมอื นสงั ข์คว�่ำ เพราะสมยั เสวย พระชาติเป็นพระโพธิสัตว์แต่ชาติปางก่อน ทรงกล่าววาจาน่า เชอื่ ถอื ประกอบดว้ ยเหตุและผล จนสามารถสร้างประโยชน์สขุ ให้ เกิดแกส่ ตั ว์ท้งั ปวง พระพุทธพจน์เบื้องต้นนี้เป็นการยืนยันว่า เหตุที่พระพุทธ- องค์ทรงมีลักษณะพิเศษเหนือมนุษย์ มิได้เป็นเพราะภาวะความ เปน็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ หรอื เปน็ เอกสทิ ธเ์ิ ฉพาะพระศาสดาเอก ของโลก หากเกดิ จากบญุ เกา่ แตห่ นหลงั ทพี่ ระพทุ ธองคท์ รงบำ� เพญ็ มาหลายภพหลายชาติ และน่าสนใจคือลักษณะพิเศษเช่นนี้มิได้สงวนสิทธิ์เฉพาะ พระพุทธเจ้าเท่านั้น หากใครประพฤติตามแบบอย่างพระองค์ก็ สามารถมลี กั ษณะพเิ ศษเฉกเชน่ พระพทุ ธองคไ์ ด้ หากมองลกึ เขา้ ไป ด้วยการศึกษาประวัติพระอรหันตสาวกแล้วก็จะเห็นว่า หลายรูป มีลกั ษณะพิเศษเชน่ เดียวกัน ถดั มาเปน็ หลกั ฐานในคมั ภรี ส์ มุ งั คลวลิ าสนิ ี ซง่ึ เปน็ อรรถกถา แตง่ อธบิ ายคมั ภรี ส์ ตุ ตนั ตปฎิ ก ทฆี นกิ าย (ดใู นอรรถกถามหาปทาน สูตรแห่งมหาวรรค) ได้พรรณนาลักษณะพระพุทธบาทเพิ่มเติม 26

ขน้ึ อกี โดยชใี้ หเ้ หน็ วา่ จกั รทฝี่ า่ พระบาทนนั้ มลี วดลายวจิ ติ รตระการ จำ� นวน ๔๐ รปู ไดแ้ ก่ ๑) สตฺติ หอก ๒) สิรวิ จโฺ ฉ แวน่ ส่องพระจันทร์ ๓) นนฺท ิ กลอง ๔) โสวตฺถโิ ก สวสั ตกิ ะ ๕) วฏํสโก ดอกพดุ ซอ้ น ๖) วฑฺฒมานกํ ถาดทอง ๗) มจฉฺ ยคุ ลํ มัจฉาทง้ั คู่ ๘) ภทฺทปฐี ํ ภทั รบฐิ ๙) องฺกุโส ขอ ๑๐) ปาสาโท ปราสาท ๑๑) โตรณํ เสาระเนียด ๑๒) เสตจฺฉตฺต ํ เศวตฉตั ร ๑๓) ขคโฺ ค พระขรรค์ ๑๔) ตาลวณฏฺ ํ พัดใบตาล ๑๕) โมรหตโฺ ถ กำ� หางนกยงู ๑๖) วาลวีชนี พดั วาลวีชนี ๑๗) อุณหฺ ีสํ มงกฎุ ๑๘) มณิปตฺโต แกว้ มณี ๑๙) สมุ นทาม ํ พวงดอกมะลิ 27

๒๐) นีลุปฺปลํ ดอกอุบลเขียว ๒๑) รตฺตุปฺปลํ ดอกอุบลแดง ๒๒) เสตุปปฺ ล ํ ดอกอุบลขาว ๒๓) ปทมุ ํ ดอกปทุม ๒๔) ปุณฺฑริก ํ ดอกปุณฑริก ๒๕) ปณุ ฺณฆโฏ หมอ้ เต็มด้วยนำ�้ ๒๖) ปุณฺณปาฏ ิ ถาดเตม็ ดว้ ยน้ำ� ๒๗) สมุทโฺ ท สมุทร ๒๘) จกกฺ วาโฬ จักรวาล ๒๙) หิมวา ป่าหมิ พานต์ ๓๐) สิเนร ุ เขาสิเนรุ ๓๑-๓๒) จนทฺ ิมสรุ ิยา ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ ๓๓) นกขฺ ตฺตานิ ดาวนักษัตร ๓๔-๓๗) จตฺตาโร มหาทปี า ทวปี ใหญ่ทั้ง ๔ ๓๘-๓๙) เทวปริตตฺ ทปี สหสฺสานิ ทวปี น้อยสองพนั ทวปี ๔๐) อนฺตมโส จกฺกวตฺติรญฺโ ปริสํ อุปาทาย สพฺโพ จกฺกลกฺขณสฺเสว ปริวาโร โดยที่สุดหมายถึงบริวารของพระ- จกั รพรรดิดว้ ย ก็นบั เปน็ บริวารของจักรลักษณะเช่นกนั ลักษณะพระบาทดังกล่าวเบื้องต้น ไม่สามารถทราบได้ว่า เพม่ิ เตมิ ขนึ้ มาสมยั ใด เนอ้ื ความบอกแตเ่ พยี งวา่ เปน็ การเพม่ิ เขา้ มา ให้เต็มพร้อม (สัมพหุลวาระ) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นธรรมเนียม 28

ของการแตง่ อรรถกถา ซง่ึ พยายามขยายความหรอื เพม่ิ เตมิ ประเดน็ ไหนในพระไตรปฎิ ก ท่ยี ังไม่ชดั เจนให้แจม่ แจ้งขนึ้ แตก่ พ็ ยายามตี กรอบตนเองไม่ให้โลดโผนมากเกินไป อย่างไรเสียก็ท�ำให้เราเห็น ภาพวา่ ยคุ อรรถกถานนั้ ความเชอ่ื รอยพระพทุ ธบาทเรม่ิ มพี ฒั นาการ มากข้นึ หลักฐานตรงนี้น่าจะเป็นเหตุให้พระเถราจารย์ยุคต่อมา น�ำไปต่อยอดขยายความจนกลายเป็นสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการ 29

อกี นัยหนึ่ง ลกั ษณะ ๔๐ ประการเบื้องตน้ น้นั ทางศาสนา พราหมณเ์ ชอื่ วา่ เปน็ สญั ลกั ษณม์ งคล นยิ มนำ� ไปประกอบพธิ กี รรม ทางศาสนาในลักษณะเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของเทพเจ้าหรือ อาวุธของเทพเจ้า อาจเป็นไปได้ว่าลักษณะเหล่าน้ีเป็นสัญลักษณ์ ส�ำคัญของพราหมณ์และเป็นท่ีรับรู้แพร่หลายสมัยน้ัน พระเถรา จารย์เห็นว่าความมากอิทธิพลของพราหมณ์อาจมีผลต่อการ โน้มน้าวชาวพุทธ จึงจับสัญลักษณ์เหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหน่ึง ของพระศาสดาเจา้ บดั นเ้ี หน็ สมควรหนั มาวเิ คราะหห์ ลกั ฐานดา้ นประวตั ศิ าสตร์ กันบ้าง เพราะหากยึดความตามคัมภีร์อย่างเดียวย่อมได้แต่สาระ แตห่ าได้อรรถรสไม่ การวิเคราะหป์ ัจจัยภายนอกพระพทุ ธศาสนา จะท�ำใหเ้ ราเข้าใจอะไรหลายด้านมากกว่าท่เี ราคิด เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสมัยพุทธกาลน้ัน ทรงมีพุทธานุญาต ให้สาวกสาวิการ�ำลึกถึงและกราบไหว้เฉพาะสังเวชนียสถาน ๔ เท่าน้ัน และบรรดาสาวกสาวิกาก็คงไม่มีใครอุตริสร้างอะไรข้ึนมา เปน็ ตวั แทนของพระพุทธเจ้าเหมือนสมยั ปัจจบุ นั เหตุทเ่ี ปน็ ดงั น้ัน เพราะเคารพเชื่อฟังพระพุทธเจ้าประการหน่ึง อีกประการหน่ึง เป็นธรรมเนียมของชาวอินเดียยุคน้ันท่ีไม่นิยมสร้างอนุสรณ์สถาน ของศาสดา ซงึ่ เชอื่ วา่ เปน็ การไมแ่ สดงความเคารพ หรอื อาจเชอ่ื วา่ ทำ� ให้ความศกั ด์ิสิทธิล์ ดลง 30

แมแ้ ตพ่ ระพทุ ธพจนก์ ไ็ มบ่ นั ทกึ เปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษร จำ� ตอ้ ง ท่องบ่นดว้ ยวธิ ีมขุ ปาฐะ ครนั้ หลงั พทุ ธปรนิ พิ พานแลว้ นา่ จะมกี ารสรา้ งอนสุ รณร์ ำ� ลกึ นึกถึงองค์พระศาสดาแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ตนอยู่อาศัย พระเถราจารย์จึงได้จัดแบ่งสถานที่หรือส่ิงเคารพบูชาออกเป็น ๔ อยา่ ง เรียกว่าสัมมาสัมพทุ ธเจดีย์ หรือเจดยี ์ ไดแ้ ก่ ๑) ธาตเุ จดยี ์ หมายถงึ เจดียบ์ รรจพุ ระบรมสารรี ิกธาตุ ๒) บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งหรือสถานท่ีที่พระพุทธเจ้า เคยทรงใช้สอย เช่น ต้นโพธ์ิ สังเวชนียสถาน ๔ และสิ่งท้ังปวงที่ พระพทุ ธเจา้ เคยทรงบรโิ ภค เช่น บาตร จีวร และบรขิ ารอ่ืนๆ ๓) ธรรมเจดีย์ หมายถงึ เจดยี บ์ รรจุพระธรรม เช่น บรรจุ ใบลานจารกึ พทุ ธพจน์ และ ๔) อทุ เทสกิ เจดยี ์ หรอื เจดยี ส์ รา้ งอทุ ศิ พระพทุ ธเจา้ ไดแ้ ก่ พระพุทธรูป เปน็ ต้น รอยพระพุทธบาทน่าจะจัดเข้าไว้ในอุทเทสิกเจดีย์ เพราะ เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเป็นสัญลักษณ์ น้อมน�ำพุทธศาสนิกชนให้เกิดศรัทธาร�ำลึกนึกถึงพระพุทธองค์ มากขน้ึ 31

หลักฐานเก่ียวกับรอยพระพุทธบาทปรากฏเห็นคร้ังแรกที่ ภารหุตและสาญจี รอยพระพุทธบาทที่ภารหุตนั้นมีลักษณะเป็นพระบาทคู ่ สลกั ลงไปในแผน่ หนิ อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษท ่ี ๕ - ๖ สว่ นรอย พระพุทธบาทท่ีสาญจีเป็นการสลักบนเสาหิน อายุประมาณ พุทธศตวรรษท ี่ ๕ - ๖ เชน่ เดียวกนั นอกจากอายุจะใกล้เคียงกัน แล้ว ลักษณะของรอยพระพุทธบาทก็คล้ายคลึงกันด้วย เช่นมีรูป จกั รอนั หมายถึงพระธรรมจักรปรากฏอยูก่ ลางฝ่าพระบาททัง้ สอง นอกจากนั้น ยังพบเห็นรอยพระพุทธบาทที่ต�าบลติราธ ลุ่มแม่น้�าสวาต ประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ในเขตแคว้นคันธาระ โบราณ ลักษณะพระพุทธบาทเป็นรอยสกัดเว้าลงไปในก้อนหิน 32

มีตัวอักษรแบบขโรษฐีเขียนก�ำกับไว้ว่า “นี้คือรอยพระบาทของ พระพทุ ธเจา้ ศากยมนุ ”ี ซงึ่ นกั โบราณคดคี ำ� นวณระยะเวลาแลว้ วา่ นา่ จะประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๕ - ๖ สมัยหลวงจีนฟาเหยี นและ หลวงจีนเห้ียนจังเดินทางมาจาริกแสวงบุญก็กล่าวไว้ในบันทึก เชน่ กัน หลักฐานเหล่าน้ีช้ีให้เห็นว่ามีการนับถือรอยพระพุทธบาท มากอ่ นพทุ ธศตวรรษที่ ๕ - ๖ แลว้ บางทอี าจย้อนรอยถอยหลังไป ถึงสมัยพระเจ้าอโศกก็เป็นได้ สังเกตได้จากพระสมณทูตอินเดีย ท่ีเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเกาะลังกา ได้น�ำเอาคติ ความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาทไปด้วย ต่อมาได้แต่งคัมภีร์ อธิบายว่าพระพุทธเจ้าเสด็จเกาะลังกา แล้วทรงประดิษฐานรอย พระพทุ ธบาทไว้บนยอดเขาสุมนกฏู หรอื ศรีปาทะ ผู้เขยี นคิดเอาเองว่า การทีพ่ ระเถราจารย์คดิ สรา้ งคติความ เช่ือข้ึนมาคร้ังนี้ น่าจะมีเหตุผลอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่เบื้องหลัง และคงมิใช่ปัจจัยภายในเป็นตัวบังคับขับเคล่ือน น่าจะเป็นแรง กดดนั จากภายนอกเปน็ แน่ หากศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๔ - ๕ จะเห็นการอุบัติขึ้นของคติความเช่ืออย่างหน่ึง เรียกว่า วิษณุบาท ซ่ึงโด่งดังแพร่หลายจนยากท่ีผู้คนอินเดียจะปฏิเสธได้ ปรากฏการณ์วิษณุบาทเป็นผลสืบเน่ืองมาจากความมากอิทธิพล 33

ของเทพเจ้านามว่า วิษณุ แม้จะเป็นเทพเจ้าท่ีชาวอินเดียเคารพ นบั ถอื มาตงั้ แตส่ มยั พระเวทกจ็ รงิ แตค่ วามลงตวั เพง่ิ มาปรากฏเหน็ สมัยหลงั พุทธกาลไมน่ าน ความโด่งดังของเทพวิษณุมาจากการสร้างสรรค์ของพวก พราหมณ์ แตก่ ลายเปน็ ทรี่ จู้ กั แพรห่ ลายสมยั หลงั พทุ ธกาล อาจเปน็ เพราะเทพเจ้าองค์น้ีสามารถตอบสนองความต้องการทางจิต วิญญาณของชาวฮินดู ซ่ึงพากันโหยหาความเป็นเอกลักษณ์แห่ง ลทั ธิตน หลังจากตกเปน็ รองพทุ ธศาสนามาเนน่ิ นาน นบั จากสมัย พระเจ้าอโศกมหาราชเรอ่ื ยมา ความเช่ือในมหิทธานุภาพของเทพวิษณุคงจะเป็นท่ีแพร่ หลายดังกล่าวอ้าง และสถานท่ีแห่งใดเป็นบุณยสถานของพุทธ- ศาสนา ก็มักมีเทวาลัยของเทพวิษณุอยู่เคียงข้างเสมอ โดยมีการ แต่งนิทานเลา่ ขานอทิ ธิปาฏิหาริย์ของเทพวษิ ณเุ หนือพุทธ ดงั เชน่ วษิ ณบุ าทแห่งเมอื งพทุ ธคยา นิทานปรัมปราเล่าว่าคร้ังหน่ึงคยาสูรได้พรวิเศษจากพระ- พรหมว่า หากใครต้องการบรรลุโมกษะ เพียงแค่มองเห็นร่างตน ก็สามารถบรรลุโมกษะได้ นบั แตน่ ้นั มา มผี คู้ นหลง่ั ไหลมาเซน่ ไหว้ คยาสูรแล้วทัศนาจนบรรลุโมกษะมากต่อมาก ร้อนถึงเทพวิษณุผู้ ยง่ิ ใหญเ่ กรงวา่ จะเปน็ หนทางใหค้ นชวั่ ไดช้ อ่ ง จงึ เหาะมาแสดงฤทธิ์ เหยยี บเศยี รคยาสรู จมดนิ จงึ ปรากฏเปน็ รอยเทา้ ดงั เหน็ ในปจั จบุ นั 34

ไม่ว่าเรื่องราวเช่นน้ีจะเป็นจริงหรือไม่ แต่ช่างบังเอิญเหลือ เกนิ เพราะสถานท่ีดังกลา่ วไม่ไกลจากตน้ พระศรมี หาโพธิ ์ อันเปน็ สถานท่ตี รสั รู้ของพระพุทธเจ้า และสมัยนน้ั พระพทุ ธศาสนาก�าลัง โด่งดังแพร่หลาย หากให้ตีความคยาสูรนั้นไซร้หาใช่ใครอื่น คงหมายถงึ พระพุทธศาสนาของเราเป็นแน่ เมอื่ เจอปรปั วาทเชน่ น ี้ พระเถราจารยค์ งนง่ิ เฉยไมไ่ ด ้ จา� เปน็ ต้องแก้ไขสถานการณ์อย่างเร่งด่วน จึงมาสรุปลงตรงรอยพระ- พทุ ธบาท เสมอื นหนามยอกเอาหนามบง่ และขอ้ มลู นนั้ หากจะอา้ ง เฉพาะเน้ือความในพระไตรปิฎก ก็คงไม่เพียงพอที่จะต้านกระแส วิษณุบาทได้ จึงจ�าต้องเพิ่มลักษณะภายในรอยพระพุทธบาท มากขึน้ จงึ กลายมาเป็นสัญลักษณ์มงคล ๔๐ ประการ ดังปรากฏ ในคัมภีรส์ ุมังคลวิลาสนิ ดี ังกล่าว ท้ังหลายท้ังปวงเป็นเพียงการวิเคราะห์เท่าน้ัน อย่าได้ถือ ความเป็นจริงเป็นจังจนเห็นว่านอกธรรมนอกวินัย ผู้อ่านที่ชาญ ฉลาดย่อมสามารถเลือกเก็บเอาเฉพาะสิ่งท่ีเป็นประโยชน์ ส่วน การวเิ คราะหถ์ อื เสยี วา่ เป็นของประดับโลกให้ตระการตาเทา่ นัน้ 35



ó ร;รоØท¸บำทãนàกำÐŧั กำ เบ้อื งตน้ ควรท�าความเข้าใจกันก่อนว่า พระพทุ ธศาสนาเข้า มาเผยแผย่ ังเกาะลังกาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ ผเู้ ป็นประธาน สงฆ์ในการน�ามาคือพระมหินทเถระ พระราชโอรสของพระเจ้า อโศกมหาราช ส่วนสมณทูตเหล่าน้ันมาอย่างไร หรือเหตุใดจึง เลอื กมาเกาะลงั กา เหน็ วา่ เปน็ เรอื่ งของผอู้ า่ นตอ้ งไปเสาะหาความ รู้กันเอาเอง เพราะหากวิเคราะห์กันตรงนี้ เกรงว่าการสืบค้นรอย พระพทุ ธบาทคงจะเปน็ หนงั จนี กา� ลงั ภายใน กวา่ จะรวู้ า่ ใครคอื ใคร คงต้องกนิ เวลายาวนาน กล่าวโดยย่อคือ สมณทูตอินเดียมาคราวนั้น พกพาคัมภีร์ พระไตรปฎิ กและคมั ภรี อ์ รรถกถาตดิ ตวั มาดว้ ย ในลกั ษณะของการ ทรงจ�าด้วยปาก เรยี กวา่ มุขปาฐะ ประเดน็ คอื คตคิ วามเชอ่ื เรอื่ งรอยพระพทุ ธบาทปรากฏเหน็ ในคมั ภีร์อรรถกถา

เม่ือทราบความเบ้ืองต้นกันแล้ว ต่อแต่นี้ไปเห็นสมควรดู เรื่องอื่นกันก่อน แล้วค่อยย้อนมาวิเคราะห์รอยพระพุทธบาทใน คัมภีรอ์ รรถกถากนั ทีหลงั ข้อมูลทางประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า การประดิษฐานพระ- พุทธศาสนาของพระมหินทเถระและคณะประสบความส�ำเร็จ ภายในเวลาอนั รวดเรว็ มผี ศู้ รทั ธาพระพทุ ธศาสนาออกบวชปฏบิ ตั ิ ตามสมณทูตอินเดียเป็นจ�ำนวนมาก เป็นเหตุให้พระเจ้าเทวา- นัมปิยติสสะโปรดให้สร้างอารามวิหารหลายแห่ง เพื่อให้เพียงพอ ตอ่ กุลบุตรผ้อู อกบวชศึกษาพระธรรมวนิ ัยในบวรพระพทุ ธศาสนา หากวเิ คราะหล์ งไปในรายละเอยี ดจะเหน็ วา่ ผทู้ หี่ นั มานบั ถอื พระพุทธศาสนาและออกบวช มีเฉพาะกลุ่มปัญญาชนคนชั้นสูง เท่านั้น ส่วนสามัญชนคนรากหญ้าไม่สามารถเข้าใจหลักธรรม คำ� สอนอนั ลกึ ซงึ้ ของพระพทุ ธศาสนาเลย จงึ เปน็ เหตใุ หพ้ ระมหนิ ท- เถระทลู กษตั รยิ ล์ งั กาใหส้ รา้ งถปู ารามเจดยี บ์ รรจพุ ระธาตรุ ากขวญั และอัญเชิญหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากชมพูทวีปมาปลูกกลางเมือง อนรุ าธปรุ ะ เพอื่ เปน็ ทีส่ กั การบูชาของชนชาวเกาะลังกาทัง้ มวล ปรากฏว่าได้ผลตามความด�ำริของพระเถระ เพราะกลาย เปน็ ศนู ยร์ วมใจของชาวลงั กาทกุ รปู นาม 38

สมัยต่อมาการพระศาสนาเปล่ียนแปลงไป อาจเป็นเพราะ พระปฏิบัติเพื่อปฏิเวธลดน้อยลง ขณะท่ีพระปริยัติเพ่ิมจ�ำนวน มากข้ึน หรือชนชาวเกาะลังกาหันไปสักการบูชาความเช่ือด้ังเดิม แห่งตนก็ไม่ทราบได้ พระเถราจารย์น้อยใหญ่จึงปรึกษากัน ปรับกลยุทธ์ใหม่ สร้างแรงจูงใจให้คนหันกลับมาสู่พระศาสนา เหมอื นเดมิ ดว้ ยการแตง่ เรอื่ งราวพรรณนาวา่ พระพทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ มาเกาะลังกา ๓ ครั้ง และเสด็จไปประทับถึง ๑๖ แห่ง เรียกว่า โสฬสบุณยสถานศักด์ิสิทธ์ิ เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อให้ผู้คนสามารถ จดจ�ำจนฝงั ใจ จึงแตง่ คาถาประกอบไว้ด้วย มะหยิ ังคะณัง นาคะทปี ัง กัลยาณัง ปะทะลัญชะนัง ทิวากุหัง ทฆี ะวาปงิ เจติยญั จะ มตุ งิ คะณัง ติสสะมะหาวิหารญั จะ โพธงิ มะริจะวัฏฏยิ ัง โสณณะมาลิมะหาเจตงิ ถูปารามะภะยาคิรงิ เชตะวะนงั เสละเจตยิ งั ตะถากาจะระคามะกงั เอเต โสฬะสะฐานานิ อะหงั วนั ทามิ สพั พะทา ฯ ž ขา้ พเจา้ ขอยอกรไหว้วนั ทาเปน็ นติ ย์ ณ สถานท่ศี ักดสิ์ ิทธิ์ ๑๖ แห่งเหลา่ นี้ คือ มหยิ ังคณเจดยี ์ ๑ นาคทวปี เจดยี ์ ๑ กลั ยาณ เจดีย์ ๑ รอยพระพุทธบาทท่ีศรีปาทะ ๑ ทิวากุหเจดยี ์ ๑ ทฆี วาปี เจดีย์ ๑ มุติงคณเจดยี ์ ๑ ติสสมหารามเจดีย์ ๑ ต้นพระศรีมหาโพธ์ิ 39

๑ มริจวัฏฏิยเจดีย์ ๑ สุวรรณมาลิกเจดีย์ ๑ ถูปารามเจดีย์ ๑ อภยั คิรเี จดยี ์ ๑ เชตวนั เจดีย์ ๑ เสลเจดีย์ ๑ และกะตะระคาม เจดยี ์ ๑ ž ถามว่า คาถานี้แตง่ ขึ้นต้ังแตส่ มยั ใด ตอบวา่ ไมร่ ู้ ทราบแต่เพียงว่าประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ เมื่อพระพุทธ- โฆษาจารย์เดินทางมาเกาะลังกา เพ่ือปริวรรตคัมภีร์อรรถกถา จากภาษาสงิ หลเปน็ ภาษาบาลนี นั้ คาถาบทนเี้ ปน็ ทรี่ จู้ กั แพรห่ ลาย ตลอดเกาะลังกา จนท�ำให้พระพุทธโฆษาจารย์ต้องบันทึกไว้ใน งานเขียนของท่าน ผู้เขียนเห็นว่าคาถาบทน้ีน่าจะแต่งขึ้นก่อนการบันทึกพระ- ไตรปฎิ กลงในใบลานเปน็ แน่ (ก่อน พ.ศ. ๔๕๐) เหตเุ พราะคาถา บทนี้ไม่มีบันทึกไว้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา หรือแม้แต่คัมภีร์ เล่มอ่ืนใดสมัยน้ัน แต่มีการสืบต่อด้วยวิธีมุขปาฐะเน่ืองมาจนถึง ปจั จุบนั ผคู้ นทุกเพศทกุ วัยตา่ งท่องกันได้จนชนิ ปาก นอกจากนน้ั บุณยสถานศักดิ์สิทธิ์แต่ละแห่งล้วนมีคาถาแยกย่อยก�ำกับ เฉพาะตัว เฉพาะคาถาบชู ารอยพระพุทธบาทที่ศรปี าทะนั้น มีว่า 40

กลั ยาณิโต คะคะนะโต มุนี ยัตถะ คันตะวา ทสั เสสิ จักกะ วะระ ลักขะณะ ปาทะลญั ชัง ลงั กา มะหี วะระ วะธุ มกั โฏปะมานัง วนั ทามะหงั สมุ ะนะกฎู ัง สิลุจจะยัง ตงั ฯ ž พระมหามุนีเจ้าเสด็จกลับจากกัลยาณีบุรีโดยอากาศวิถี ทรงประทับรอยพระพุทธบาทอันประเสริฐ ณ ที่แห่งใด อุปมา ดั่งขุนเขาอันย่ิงใหญ่ในลังกาประเทศ ข้าพเจ้าขอน้อมวันทา- สุมนกฎู มหาบรรพต ณ ท่ีแห่งนั้นแล ž และอกี คาถาหนง่ึ วา่ 41

ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร ยงั สจั จะพันธะคริ ิเก สมุ ะนา จะ ลัคเค ยงั ตตั ถะ โยนะกะปุเร มุนโิ น จะ ปาทัง ตัง ปาทะลัญชะนะมะหัง สิระสา นะมามิ ฯ ž รอยพระบาทใด อันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว บนหาดทรายแทบฝ่ังแมน่ �ำ้ นมั มทา เหนือภเู ขาสัจพนั ธ์ เหนอื ยอด เขาสมุ นะ และทเี่ มอื งโยนก ขา้ พเจา้ ขอนมสั การรอยพระบาทนน้ั ๆ ของพระมนุ ดี ้วยเศียรเกล้า ž จึงเกิดปัญหาว่าสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ดงั กลา่ วอา้ งในคาถาอยู่ทใ่ี ด บัดนี้ถึงเวลาย้อนกลับไปเปิดอ่านคัมภีร์อรรถกถากันแล้ว ไม่เช่นน้ันจะไม่สามารถเชื่อมโยงคติความเชื่อรอยพระพุทธบาท ในประเทศศรีลังกาได้ เบื้องต้นเห็นสมควรจดจ�ำไว้ว่า รอย พระพทุ ธบาททเี่ กาะลงั กานน้ั มแี หง่ เดยี วคอื บนยอดเขาสมนั ตกฎู (สมุ นกูฏกเ็ รยี ก) ปจั จุบนั ร้จู กั กนั ในช่ือว่า ศรปี าทะ สว่ นฝรง่ั ขนาน นามว่า อดัมสพ์ ีค เรื่องราวเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทในคัมภีร์อรรถกถานั้น ปรากฏเห็นในคัมภีร์ปปัญจสูทนี ซ่ึงแต่งอธิบายพระสุตตันตปิฎก มชั ฌมิ นกิ าย (ดใู นอรรถกถาปณุ โณวาทสตู ร) ความวา่ พระพทุ ธเจา้ 42

เสด็จไปปราบดาบสสัจจพันธ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งพ�านักพักอาศัย ขนุ เขาแหง่ หนงึ่ ในแควน้ สนุ าปรนั ตะ ครน้ั ฟงั พระธรรมเทศนาแลว้ ดาบสสจั จพนั ธไ์ ดห้ ายพยศยอมตนเปน็ สาวกและบรรลอุ รหตั มรรค ในเวลาต่อมา พระพุทธองค์จึงทรงมอบหมายให้รักษาศรัทธา ของชาวแว่นแคว้นสุนาปรันตะนั้นแล พระสัจจพันธ์อรหันต์ได้ ทูลขอสิ่งส�าหรับสักการบูชา “พระศาสดาได้ทรงแสดงเจดีย์ คือ รอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บน ก้อนดนิ เหนยี วสด” รอยพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่งกล่าวถึงในพระสูตรเดียวกัน ความว่า คราวเดียวกันกับเสด็จไปโปรดสัจจพันธ์ดาบสน้ัน ครั้นเมื่อเสด็จถึงพานิชคาม พระพุทธองค์ได้ผ่านแม่น�้าชื่อว่า 43

นัมมทา ครั้งน้ันนัมมทานาคราชได้ศรัทธาต่อพระองค์นิมนต์ ให้เสด็จไปโปรดเหล่านาคายังนาคพิภพ พระพุทธองค์ได้แสดง พระธรรมเทศนาโปรดพวกนาคจนสมควรแก่เวลา คราวน้ัน นมั มทานาคราชไดท้ ลู ขอสงิ่ สำ� หรบั สกั การบชู า พระองคไ์ ดป้ ระทบั รอยพระพุทธบาทที่ฝั่งแม่น้�ำนัมมทา “รอยพระบาทนั้น คร้ัน เมอื่ คลืน่ ซัดมาก็ปิด เมื่อคลนื่ เลยไปกเ็ ปดิ กลายเป็นสงิ่ สักการะ ที่ย่งิ ใหญ่” รอยพระพทุ ธบาท ตามคมั ภรี อ์ รรถกถามเี พียงสองแหง่ ส่วนรอยพระพทุ ธบาททโ่ี ยนกบรุ นี ัน้ นกั วิชาการต่างพากนั สนั นษิ ฐานวา่ อยทู่ แี่ ควน้ คนั ธาระ (ปจั จบุ นั อยใู่ นประเทศปากสี ถาน และอัฟกานสิ ถาน) ซ่งึ สมัยนน้ั เป็นศูนยก์ ลางของพระพทุ ธศาสนา ทางอนิ เดียตอนเหนอื ประเดน็ ทเี่ ราควรศกึ ษาคอื แนวคดิ เรอื่ งรอยพระพทุ ธบาท เหล่าน้เี ข้ามายังเกาะลงั กาได้อย่างไร ผู้เขียนเห็นว่ารอยพระพุทธบาทในคัมภีร์ปปัญจสูทนี น่า จะติดตามมาพร้อมกับสมณทูตอินเดียสมัยพระมหินทเถระ แล้ว มีพัฒนาการกลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายสมัยหลัง ส่วนรอยพระ- พทุ ธบาททโ่ี ยนกบรุ นี นั้ สนั นษิ ฐานวา่ นา่ จะมากบั พระสงฆม์ หายาน ผู้เดินทางมาจากอินเดียตอนเหนือ แล้วเข้ามาพ�ำนักพักอาศัยกับ 44

พระสงฆ์แห่งส�ำนักอภัยคิรีวิหาร ซ่ึงเป็นผู้ชื่นชอบฝักใฝ่ค�ำสอน มหายาน และน่าจะเป็นท่ีนิยมแพร่หลายภายหลัง จนพระเถรา- จารยต์ ้องแต่งเป็นคาถา เหตุที่พูดเช่นน้ี เพราะคติความเชื่อเชิงพุทธในลังกา ส่วนมากเร่ิมต้นจากส�ำนักอภัยคิรีวิหาร ดังเช่น พระพุทธรูป พระไมตรียโพธิสตั ว์ หรอื แมแ้ ต่การสวดพระปรติ ร เปน็ ตน้ ถามว่า เหตุใดจึงต้องดึงรอยพระพุทธบาททั้งสามแห่งเข้า มารวมเป็นคาถาเดยี วกัน ตอบว่า เพอ่ื เชอ่ื มโยงรอ้ ยเรียงเรือ่ งราวใหเ้ ป็นเนอื้ เดียวกัน กับรอยพระพุทธบาทบนเกาะลังกา เพ่อื ทำ� ใหเ้ กดิ ความน่าเช่อื ถอื แกผ่ ้สู นใจมากขึน้ กล่าวตามต�ำนานเดิมน้ัน ขุนเขาสมันตกูฎเป็นท่ีอยู่ของ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นามว่าสุมนะ (ภาษาสิงหลเรียกว่าเทพสามัน) มีผู้คนนับถือแพร่หลายก่อนพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ศรีลังกานาน แลว้ ความยิง่ ใหญ่ของเทพสมุ นะดังกล่าว พระเถราจารยย์ ่อมรจู้ ัก เป็นอย่างดี ภายหลังต่อมาจึงโอนสัญชาติเทพองค์นี้จากเดิม เปน็ เทพของคนทอ้ งถน่ิ ใหก้ ลายเป็นเทพระดับชาตเิ สีย ถามว่า ท�ำเช่นไร ตอบวา่ ใชว้ ธิ แี ตง่ นทิ านปรมั ปราใหเ้ ชอื่ มโยงกบั พระพทุ ธเจา้ 45

เร่ืองมีอยู่ว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จเกาะลังกา ครง้ั ท่ี ๓ พรอ้ มพระอรหนั ตสาวก ๕๐๐ รปู เพอื่ ไปโปรดพญานาค- มณอี คั ขกิ ะแหง่ แควน้ กลั ยาณี ครน้ั เสรจ็ สนิ้ พทุ ธกจิ แลว้ ทรงรำ� ลกึ นึกถึงเทพสุมนะผู้สถิตอยู่ท่ีขุนเขาสมันตกูฎ จึงเหาะไปทางเวหา พรอ้ มพระอรหนั ตสาวกเหลา่ นนั้ ไดแ้ สดงธรรมโปรดสมุ นเทพบตุ ร จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นแล้วสุมนเทพบุตรได้ทูลขอสิ่งระลึก พระพุทธองค์จึงทรงเหยียบรอยบาทเบื้องซ้าย ไว้บนยอดมหา บรรพตสมนั ตกฎู ครี ี 46

เป็นที่น่าสนใจคือ เทพสุมนะองค์นี้เน้นพระคุณมากกว่า พระเดช อาจเป็นเพราะท่านเป็นพระโสดาบันหรือเปล่าไม่ทราบ ได้ แต่คุณสมบัติของท่านส่วนใหญ่มักช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปัดเป่า โรคภยั ไขเ้ จ็บใหม้ ลายหายสนิ้ นอกจากนนั้ ยงั สงเคราะห์ผูย้ ากจน เขญ็ ใจใหร้ �ำ่ รวยกลายเปน็ เศรษฐี หลักฐานเหล่านสี้ ามารถหาอ่าน ได้ในคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา ซ่ึงมีเนื้อหาพรรณนาเก่ียวกับ เทพสมุ นะและรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา นค้ี อื วธิ กี ารโอนสญั ชาตเิ ทพบตุ รทอ้ งถนิ่ ใหเ้ ปน็ เทพระดบั ชาติ นับแต่บัดน้ันมา ชาวศรีลังกาทุกหมู่เหล่าต่างมุ่งหน้าจาริก แสวงบุญ ข้ึนไปกราบไหว้รอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสมันตกูฏ จนกลายเปน็ ประเพณสี บื ตอ่ ถงึ ปจั จบุ นั เหตทุ ร่ี งุ่ เรอื งแพรห่ ลายนน้ั เป็นเพราะได้แรงกระตุ้นจากสถาบนั กษตั ริย์ ยคุ อาณาจักรอนุราธ ปรุ ะอาจจะยงั ไมเ่ ป็นท่ีรูจ้ กั แพรห่ ลายนกั สังเกตไดจ้ ากการบนั ทกึ ของหลวงจีนฟาเหยี นกอ็ ้างองิ เพียงนอ้ ยนดิ เท่าน้นั รอยพระพุทธบาทท่ีศรีปาทะมาเป็นที่รู้จักแพร่หลายสมัย พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ แห่งอาณาจักรโปฬนนารุวะ เมื่อพระองค์ เสด็จจาริกไปสักการบูชาถึงยอดเขา พร้อมให้สร้างทางข้ึนลง เพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้จาริกแสวงบุญ นอกจากน้ัน ยังโปรด ให้สร้างศาลาที่พักริมทางด้วย นับจากนั้นมา มีกษัตริย์หลาย พระองคป์ ระพฤตติ ามพระองคเ์ รอื่ ยมาจนถงึ สมยั อาณาจกั รแคนดี 47

รอยพระพุทธบาทแห่งศรีปาทะมาถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดสมัย อาณาจักรดัมพเดณยิ ะ เม่ือพระเจา้ ปรากรมพาหทุ ี่ ๒ โปรดให้เทว ประติราชเสนาบดี เดินทางไปขุดค้นหาอัญมณีบริเวณเมืองรัตน- ปุระ ภารกิจครั้งน้ันล้มเหลวหลายคร้ัง จนเสนาบดีถอดใจจะเดิน ทางกลบั เมอื งหลวงดว้ ยมอื เปลา่ แตม่ ชี พี ราหมณท์ า่ นหนง่ึ แนะนำ� ใหส้ กั การะเทพสมุ นะเสยี ครน้ั ประพฤตติ ามคำ� แนะนำ� แลว้ ภารกจิ ก็ประสบความส�ำเรจ็ สามารถขดุ คน้ อญั มณไี ดเ้ ป็นจำ� นวนมาก อนั น้วี ่าตามคมั ภีร์ เทจ็ จรงิ อย่างไรไมท่ ราบ ครั้นเทวประติราชเสนาบดีกราบทูลพระเจ้าปรากรมพาหุ ท่ี ๒ พระองคท์ รงเลอ่ื มใสยง่ิ นกั โปรดใหป้ น้ั รปู หลอ่ เทพสมุ นะแลว้ ทรงอุ้มอัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนยอดเขาสมันตกูฏใกล้วิหาร แห่งรอยพระพุทธบาท นับแต่น้ันมากิตติศัพท์แห่งรอยพระ- พุทธบาทแพร่หลายไปไกล เป็นเหตุเชิญชวนให้แขกต่างบ้านต่าง เมืองประสงคจ์ ะทัศนากันเปน็ จ�ำนวนมาก ทง้ั ฝรั่งและแขกมุสลมิ ส่วนพระไทยที่เดินทางมากราบไหว้รอยพระพุทธบาทแห่ง ศรีปาทะนั้น มีหลายกลุ่มหลายคณะต่างกรรมต่างวาระ แต่ที่มี กลา่ วไวเ้ ปน็ หลกั ฐานคอื กลมุ่ แรกเดนิ ทางมาเกาะลงั กาสมยั อาณา จักรโกฏเฏ ตรงกับอาณาจักรสุโขทัยและล้านนาของไทย ส่วน กลุ่มสองเป็นคณะของพระอุบาลีท่ีเดินทางมาประดิษฐานสยาม วงศ์บนผืนเกาะลงั กา สมยั อาณาจักรแคนดี 48


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook