Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม

ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม

Description: ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม

Search

Read the Text Version

บรูไรนะบบดบเรนิหาากรราราุสรชากซารขาองลาม a ” Fl ii Iliimiiii: n - —1 :l 9 • PliSI *V* |pi«v| * I -ik /* !l iA .til AAÿ V •, 4 ta£t£«2WBBWb »e* 9& •-'fll s « Si_>y~

ระบบบริหารราชการของ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม จัดท�ำ โดย : ส�ำ นกั งานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 47/111 ถนนตวิ านนท์ ต�ำ บลตลาดขวัญ อ�ำ เภอเมอื ง นนทบรุ ี 11000 โทรศัพท์ 0 2547 1000,  โทรสาร 0 2547 1108 หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.จิรประภา อคั รบวร ท่ีปรกึ ษาโครงการ : นายสุรพงษ์ ชัยนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราชการใน ASEAN บรรณาธกิ าร : ดร.ประยรู อคั รบวร นกั วิจยั : นางสาวก่ิงดาว อนิ กอง นายชญานิน ประวิชไพบูลย์ นายอนชุ าติ เจรญิ วงศ์มิตร ผู้ประสานงานและตรวจทานคำ�ผดิ : นางสาวเยาวนุช สุมน เลขมาตรฐานประจ�ำ หนงั สอื : 978-616-548-154-0 จำ�นวนพิมพ์ : 5,400 เลม่ จำ�นวนหน้า : 200 หน้า พิมพท์ ี่ : กรกนกการพมิ พ ์ u2 r$ * sr

คำ�น�ำ สำ�นักงาน ก.พ. ในฐานะองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ภาครัฐ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบตามแผนงานการจัดต้ังประชาคม สงั คมและวฒั นธรรมอาเซยี นในการเพม่ิ ขดี ความสามารถของทรพั ยากรบคุ คล ในระบบราชการ จากการด�ำ เนนิ การทผี่ า่ นมาแมว้ า่ ส�ำ นกั งาน ก.พ. ไดด้ �ำ เนนิ การจดั อบรม หลกั สตู รความรเู้ กย่ี วกบั อาเซยี นใหแ้ กข่ า้ ราชการหลายครง้ั แตก่ ย็ งั ไมค่ รอบคลมุ บุคลากรภาครัฐซึ่งมีจำ�นวนมากกว่า 2 ล้านคน สำ�นักงาน ก.พ. จึงเห็นควร พัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ “อาเซียน กูรู” เพ่ือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบราชการ ซ่ึงมีความหลากหลายของประเทศสมาชิกอาเซียน ทง้ั 10 ประเทศ ใหแ้ กบ่ คุ ลากรภาครัฐ ซ่งึ จะเปน็ ประโยชน์ตอ่ การปฏิบตั ิงาน ของบคุ ลากรภาครฐั ทั้งนี้ทางสำ�นักงาน ก.พ. จึงทำ�ความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดทำ�หนังสือเรื่อง “ระบบบริหารราชการของ ประเทศอาเซียน” เพ่ือเสริมทักษะความรู้เก่ียวกับการบริหารราชการให้แก่ บุคลากรภาครัฐทุกระดับ หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับความรู้และเพลิดเพลิน ไปกับหนงั สือชดุ น้ี ส�ำ นกั งาน ก.พ. ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม I 3

ขอ้ คิดจากบรรณาธกิ าร หนังสือเรื่อง “ระบบบริหารราชการของประเทศอาเซียน” เป็นหนังสือ ท่ีจัดทำ�ข้ึนเพ่ือเสริมทักษะความรู้แก่ข้าราชการไทย เพ่ือเรียนรู้และเข้าใจ ระบบการบรหิ ารงานภาครฐั ของประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น อนั จะเปน็ ประโยชน์ ในการตดิ ต่อประสานงานกบั ขา้ ราชการของประเทศเหลา่ นใี้ นอนาคต โดยรูปแบบของหนังสอื ได้ปูความรู้ให้ผอู้ า่ นตง้ั แต่ประวัติ ขอ้ มลู เกีย่ วกบั ประเทศ วสิ ัยทัศน์ รวมถึงความเป็นมาของระบบราชการ นโยบายการเข้าสู่ ประชาคมอาเซยี น และทนี่ า่ จะเปน็ ประโยชนใ์ นการเรยี นรรู้ ะบบราชการของ ประเทศเหล่าน้ี คือเนื้อหาในส่วนของยุทธศาสตร์และภารกิจของแต่ละ กระทรวง ระบบการพฒั นาขา้ ราชการ ทา้ ยเลม่ ผเู้ ขยี นไดร้ วบรวมกฎหมายส�ำ คญั ท่ีควรรู้ และลักษณะเดน่ ของระบบราชการที่นา่ เรียนรู้ไว้ได้อย่างน่าสนใจ หนังสือระบบบริหารราชการของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 นี้ อาจมี เนอื้ หาแตกตา่ งกนั ไปบา้ ง  เนอื่ งจากผวู้ จิ ยั ไมส่ ามารถเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ของบางประเทศ ไดด้ ว้ ยขอ้ จ�ำ กดั ดา้ นภาษา และบางประเทศยงั ไมม่ กี ารจดั ท�ำ ยทุ ธศาสตรข์ อง รายกระทรวง ทางคณะผู้จัดทำ�หนังสือหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มน้ีจะมี สว่ นในการตดิ อาวธุ องคค์ วามรูภ้ าครฐั ใหก้ ับข้าราชการไทยไม่มากก็น้อย สดุ ทา้ ย ขอขอบคณุ เจา้ ของรปู ภาพและเวบ็ ไซตท์ ชี่ ว่ ยเผยแพรอ่ าเซยี นให้ เป็นหนึ่งเดยี วรว่ มกัน ดร.ประยรู อัครบวร บรรณาธิการ u4 r$ * sr

สารบัญ หนา้ 9 บทท่ี 10 1. ประวัตแิ ละขอ้ มลู ประเทศและรัฐบาล 10 1.1 ประวตั ิและขอ้ มลู ประเทศโดยยอ่ 13 1.1.1 ขอ้ มลู ทวั่ ไป 16 1.1.2 ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ 19 1.1.3 ประวตั ศิ าสตร ์ 20 1.1.4 ลักษณะประชากร 27 1.1.5 ข้อมูลเศรษฐกิจ 1.1.6 ข้อมลู การเมอื งการปกครอง 35 1.1.7 ลักษณะทางสงั คมและวฒั นธรรม 36 1.1.8 โครงสร้างพน้ื ฐานและระบบสาธารณูปโภค 1.1.9 ระบบสาธารณสุข 42 1.1.10 ระบบการศกึ ษา 43 1.1.11 ระบบกฎหมาย 50 1.1.12 ความสมั พนั ธร์ ะหว่างไทยกบั เนการาบรูไนดารุสลาม 54   1.2 ประวัตแิ ละขอ้ มูลรัฐบาลโดยย่อ 55 2. วสิ ยั ทัศน์ เปา้ หมาย และยทุ ธศาสตร์ 59 2.1 วิสยั ทัศน ์ 62 2.2 เปา้ หมาย 67 2.3 ยุทธศาสตร ์ 69 3. ประวัตคิ วามเปน็ มาของระบบราชการ 75 ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม I 5

หนา้ 4. ภาพรวมของระบบราชการ 85 4.1 รฐั บาล นโยบายรัฐบาล และนโยบายการเข้าสู่ 86 ประชาคมอาเซยี น 100 4.2 จำ�นวน และรายชื่อกระทรวงพรอ้ มทตี่ ิดตอ่ 109 4.3 จ�ำ นวนขา้ ราชการทวั่ ประเทศพรอ้ มคุณลกั ษณะหลกั 109 112 หรอื คณุ ลกั ษณะหลกั ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 116 4.3.1 จ�ำ นวนข้าราชการทั่วประเทศ 4.3.2 คณุ ลกั ษณะหลกั ของข้าราชการ 4.3.3 คณุ ลักษณะหลักของข้าราชการ ในการเขา้ สู่ประชาคมอาเซยี น 5. ยทุ ธศาสตร์ และภารกจิ ของแต่ละกระทรวง และหน่วยงานหลกั ที่รบั ผดิ ชอบงานทเี่ กีย่ วกับ ASEAN 119 5.1 ยทุ ธศาสตร์และภารกจิ ของแต่ละกระทรวง 120 5.2 หน่วยงานหลกั ทรี่ บั ผดิ ชอบงานท่เี ก่ียวกบั ASEAN 128   6. ระบบการพัฒนาขา้ ราชการ 133 6.1 ภาพรวมของการพฒั นาขา้ ราชการ 134 6.2 กลยทุ ธก์ ารพฒั นาขา้ ราชการ 137 6.3 หน่วยงานท่รี ับผดิ ชอบดา้ นการพฒั นาข้าราชการ 143 7. กฎหมายส�ำ คัญทค่ี วรรู้ 161 7.1 กฎระเบียบขา้ ราชการ 162 7.2 กฎหมายแรงงาน 7.3 กฎหมายเขา้ เมือง 167 7.4 กฎหมายครอบครัวอสิ ลาม 170 172 8. ลกั ษณะเดน่ ของระบบราชการทนี่ า่ เรียนรู้ 181 บรรณานกุ รม 196 u6 r$ * sr

สารบญั ภาพ หนา้ ภาพที่ 1 แผนทแ่ี สดงเขตทต่ี ้ังประเทศในอาเช่ยี น 14 ภาพท่ี 2 ทีต่ ้ังประเทศบรูไน 14 การคา้ ขายในอดตี 17 ภาพท่ี 3 พระราชวงั แหง่ ใหมข่ องกษตั ริยบ์ รไู น 19 ภาพท่ี 4 แหลง่ เกบ็ น้ํามนั 21 อตุ สาหกรรมทนี่ ำ�เขา้ 22 ภาพท่ี 5 รฐั สภาแห่งบรูไน 27 ภาพท่ี 6 แผนทเี่ ขตปกครองของบรูไน ภาพท่ี 7 แผนผงั โครงสร้างการปกครอง 29 ภาพที่ 8 31 ภาพที่ 9 ภาพท่ี 10 มหาวิทยาลัยบรไู น 44 ภาพท่ี 11 สมเด็จพระราชาธิบดีฮจั ญี ฮัสซานลั โบลเกียห์ มูอิซซดั ดนิ วดั เดาละห์ 57 ภาพท่ี 12 แสดงการขุดเจาะน้าํ มนั 70 ภาพท่ี 13 โครงสร้างข้าราชการพลเรือนบรูไน พ.ศ. 2552 111 ภาพที่ 14 รูปแบบการจดั การตามสมรรถนะ 112 ภาพที่ 15 สถาบันเพือ่ การสรา้ งผ้นู ำ�นวัตกรรม และความกา้ วหนา้ ภารกิจ 147 ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม 7

สารบญั ตาราง หน้า ตารางที่ 1 การคา้ รวม 24 ตารางท่ี 2 การสง่ ออก 25 ตารางที่ 3 การน�ำ เข้า 26 ตารางท่ี 4 จ�ำ นวนข้าราชการตามแต่ละกระทรวง 110 ตารางท่ี 5 หลักสูตรทใี่ ชฝ้ ึกอบรม 146 ตารางที่ 6 หนว่ ยงานทีด่ แู ลการพัฒนาทรพั ยกรมนุษย์ 157 ตารางที่ 7 ผทู้ ีจ่ บการศษึ าทุกระดับทเี่ ขา้ รับการฝึกอบรม 158 ตารางที่ 8 โปรแกรมการฝกึ อบรม 160 %&8 *\" v * s *

1 ประวตั ิและขอ้ มูลประเทศ และรฐั บาลโดยยอ่ ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม I 9

1.1 ประวตั แิ ละขอ้ มูลประเทศโดยยอ่ บรไู น (Brunei) หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam)  เปน็ ประเทศทอ่ี ยบู่ นเกาะบอรเ์ นยี ว  ในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ชายฝง่ั ทางดา้ นเหนอื จรดทะเลจนี ใต้ พรมแดนทางบก ท่ีเหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก เป็น ประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีปกครองโดยระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จงึ เปน็ ประเทศที่มีลกั ษณะพเิ ศษทีน่ า่ ศึกษาดงั น ้ี 1.1.1 ขอ้ มูลท่ัวไป ช่อื ประเทศอยา่ งเปน็ ทางการ เนการา บรไู น ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) หรือ บรไู น (Brunei) เมืองหลวง กรงุ บนั ดาร์ เสรี เบกาวนั (Bandar Seri Begawan) พืน้ ที่ 5,765 ตารางกโิ ลเมตรเปน็ ผนื ดนิ 5,270 ตารางกิโลเมตร (พื้นทรี่ อ้ ยละ 70 เปน็ ป่าเขตร้อน) และ เปน็ ผืนน้�ำ 500 ตารางกิโลเมตร เขตแดน ทศิ เหนอื ตดิ ทะเลจนี ใต้ ส่วนทศิ อื่นๆ ตดิ กบั รฐั ซาราวคั ประเทศมาเลเซยี ประชากร 415,717 คน (พ.ศ. 2555) วนั ชาติ 23 กุมภาพนั ธ์ 433*10 rgl±a*/ v*sa

ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ ประกอบดว้ ย พน้ื สเี หลือง หมายถึง ธงชาต ิ สุลต่าน มแี ถบสขี าวด�ำพาดทแยง จากขอบบนด้านซา้ ยผา่ นกลางผนื ธง มายังขอบลา่ งดา้ นขวา หมายถงึ รัฐมนตรที ี่ถวายงานรับใชอ้ งคส์ ลุ ต่าน และมีตราแผน่ ดนิ อยกู่ ลางผืนธง ประกอบด้วย สญั ลกั ษณ์ 5 อย่าง คอื ราชธวชั (ธง) พระกลด (รม่ ) ปีกนก 4 ตราแผ่นดิน ขน มอื สองขา้ ง และซีกวงเดอื นหรือ พระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่ง หงายข้ึนนน้ั ม ีขอ้ ความภาษาอาหรบั จารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า “น้อมรับ ใชต้ ามแนวทางของพระอลั เลาะห์ เสมอ” (“Always in service with God’s guidance”) เบ้ืองล่างสุดมี แพรแถบจารึกชอ่ื ประเทศไว้วา่ บรไู น ดารุสซาลาม (มาเลย:์ ‫ بروناي دار‬ ‫ )السلام‬แปลวา่ นคร แห่งสนั ติ สัญลักษณต์ ่างๆ มีความหมายดงั น้ี • ราชธวชั (Bendera) และพระกลด (Payang Ubor- Ubor) หมายถงึ สมเดจ็ พระราชาธิบดแี ห่งบรไู นดารสุ ซาลาม ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารุสซาลาม 11

(ของทั้งสองสิ่งน้ี นบั เปน็ เครือ่ งราช กกุธภณั ฑ์ตามคติบรไู น) • ปกี นก 4 ขน (Sayap) หมายถงึ การ พทิ กั ษ์ความยุตธิ รรม ความสงบ ความ เจริญ และสันติสขุ ของชาติ • มอื สองขา้ งทีช่ ขู น้ึ (Tangan หรือ Kimhap) หมายถงึ หนา้ ทข่ี องรฐั บาลที่ จะยกระดับความม่งั ค่ัง สนั ติสขุ และ ความวฒั นาถาวรให้เจริญรุ่งเรืองสบื ไป • ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถงึ ศาสนาอิสลาม อนั เปน็ ศาสนาประจ�ำ ชาติ ดอกซิมปอร์ (River Simpor ) หรือท่ ี ดอกไมป้ ระจ�ำชาติ คนไทยเรยี กวา่ ดอกส้านชะวา (Dille- nia) เป็นดอกไม้ประจ�ำท้องถ่ินบรูไน -- SL ทม่ี กี ลบี ขนาดใหญส่ เี หลอื ง หากบานเตม็ ท่ีแล้วกลบี ดอกจะมลี กั ษณะคลา้ ยรม่ m - พบเหน็ ได้ทวั่ ไปตามแม่น�ำ้ ของบรไู น และสีเขยี วของใบมีความหมายถึงการ พัฒนา 8 มกราคม 2527 ดอลลาร์บรไู น เข้าเปน็ สมาชิกอาเซียน สกุลเงนิ ตรา m *\"rs * s . u12

อตั ราแลกเปลยี่ น 1 ดอลล่ารบ์ รไู น ≈ 25.10 บาท 1 ดอลลารบ์ รูไน ≈ 1.37/1 ดอลลาร ์ สหรฐั ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 21.94 พันล้านดอลลาร์สหรฐั (GDP) รายได้ประชาชาติต่อหัว 50,500 ดอลลา่ ร์สหรฐั (GDP per Capita) สนิ ค้าสง่ ออก นำ้� มันดบิ กา๊ ซธรรมชาติ เมทิลแอลกอฮอล์ และปโิ ตรเลียม สนิ ค้าน�ำเข้า เคร่อื งจักรกล ผลิตภณั ฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ สินค้าอตุ สาหกรรมต่างๆ อาหารสัตวม์ ีชีวติ เครอื่ งใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องใช้ไฟฟ้า สนิ คา้ เกษตร อาทิ ข้าว และผลไม้ และผลติ ภัณฑ์เคมี 1.1.2 ลกั ษณะทางภมู ิศาสตร์ ขนาดพื้นทแ่ี ละอาณาเขตตดิ ตอ่ ประเทศบรูไนต้ังอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียวใน ทะเลจนี ใต้ ซึ่งอยทู่ างตะวนั ออกเฉียงใต้ของประเทศไทย มพี ื้นท่ี 5,765 ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่กว่าจังหวัดนครพนมและจังหวัดสุพรรณบุรี เลก็ นอ้ ย ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม 13

MYANMAR LAO PDR VII THAILAND PHILIPPINES MALAYSIA ICAPORE INDONESIA ภาพที่ 1 แผนท่ีแสดงเขตทีต่ ัง้ ประเทศในอาเซียน ทม่ี า: http://www.aseanaffairs.com อาณาเขตของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม ทางทศิ เหนอื และตะวนั ตก เฉยี งเหนือตดิ ทะเลจีนใต้  มคี วามยาวชายฝง่ั 161 กโิ ลเมตร  พรมแดน พน้ื ดนิ โดยรอบทางทศิ ตะวนั ออก ทศิ ใต้ และทศิ ตะวนั ตกตดิ กบั รฐั ซาราวกั สหพนั ธรฐั มาเลเซยี มีความยาว 381 กิโลเมตร BRUNEI i •Muara Muara Brunei Bay •0c •0 • •SOUTH CMS v S1 •Kualaÿ 20 mkPKmailenentsaainSgeai7Trni uto°nPgJeurlKauWudanaoRsdnaaaglnl*ggu#LimCbBBanaegngTdaewamraSnbeurirongSu•ndTLaraurws.ians 12 \\ Layongo °Lamunin Peradayan Forest Lumut Bangar Reserve Senoa •KualaBrlait® Kampung wSKunagmapi uMngau f <«&. e Batang Duri Baram Bad as Tutong 3 •V!i - <ÿ oLabi Ulu Irmbumng - Rampayoh® •Miri Belait National Park =3 I Bukit Teraju 0 Kampung A 1442m) Sukang Bukit Pagon •Kamnpung (lX5Unt) •Marudi M elilas MALAYSIA (iunung MALAYSIA Sarawak Mulu Sarawak National Park ภาพที่ 2 ท่ตี งั้ ประเทศบรไู น ท่มี า: http://www.apecthai.org/ 14 % n*

a* T wrW- If r I*' J: ’’\"'''or -.'-i •» S5S iIT- JEWS*3 ES e* i <>*. i •> .< SS» J £MSj I >'Xri' :i สภาพภูมิประเทศ ลกั ษณะภูมปิ ระเทศเปน็ ท่รี าบชายฝั่งทะเลและที่ราบหุบเขา ซึ่งเป็น ดนิ ตะกอนทแี่ มน่ ำ�้ พดั มาทบั ถม บรเิ วณทอี่ ยหู่ า่ งจากชายฝง่ั เขา้ ไปภายใน เกาะ สว่ นใหญ่เป็นเนนิ เขา ดินแดนทางภาคตะวันออกมลี กั ษณะขรขุ ระ และสูงกว่าตะวันตก มีพื้นท่ีราบอยู่ทางเหนือของประเทศ ลึกเข้าไปใน แผน่ ดนิ เปน็ เขตภเู ขา ภเู ขาทสี่ งู ทส่ี ดุ คอื ภเู ขาปากอน (Pagon) สงู 1,821 เมตรจากระดบั นำ้� ทะเล พน้ื ทป่ี ระมาณรอ้ ยละ 75 ยงั คงเปน็ ปา่ ทมี่ สี ภาพ อดุ มสมบรู ณ์ บรเิ วณชายฝง่ั มปี า่ ชายเลนและปา่ พรุ ชายหาดบรเิ วณภเู ขา และทร่ี าบภเู ขามีปา่ เต็งรงั และบรเิ วณภเู ขาสงู เป็นป่าดิบ บรไู นจงึ ยังคง มีทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้�ำส�ำคัญ 4 สาย คือ แม่น้�ำ เตม็ บูรง แม่นำ�้ เบอไลท์ แมน่ �้ำตตู ง และแมน่ �ำ้ บรไู น ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม 15

1.1.3 ปฟระวตั ิศาสตร์ สภาพภูมอิ ากาศ ประเทศบรไู นมสี ภาพภูมิอากาศเขตร้อน มอี ณุ หภูมแิ ละความชน้ื สูง และฝนตกเกือบตลอดท้ังปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 23-32 องศาเซลเซียส พน้ื ทส่ี ว่ นใหญเ่ ปน็ ปา่ ไมเ้ ขตรอ้ น สภาพภมู อิ ากาศโดยทวั่ ไปคอ่ นขา้ งรอ้ น ช้ืน ฝนตกชกุ ตลอดทง้ั ปี ระหว่างเดอื นตลุ าคมถึงเดอื นธันวาคมเปน็ ชว่ ง ที่ฝนตกชุกท่ีสุด[4] 1.1.3 ประวตั ศิ าสตร์ ประวัติศาสตร์ บรไู นมีประวตั ิความเปน็ มายาวนานตง้ั แตค่ ริสต์ศตวรรษท่ี 7 มีหลัก ฐานทเี่ ชอ่ื กนั วา่ บรเิ วณบรไู นในปจั จบุ นั เปน็ อาณาจกั รโปนิ (Po-ni) หรอื โบนิ (Boni) แตม่ าเปน็ ท่ีรจู้ กั กันมากในช่วงคริสตศ์ ตวรรษที่ 14 ถงึ คริสต์ ศตวรรษที่ 16 โดยบรูไนเปน็ ศูนยก์ ลางการค้าทีส่ �ำคัญบนเกาะบอรเ์ นียว อยบู่ นเสน้ ทางการคา้ จากประเทศจนี ผา่ นโมลกุ กะหรอื หมเู่ กาะเครอื่ งเทศ ไปสู่ประเทศตะวันตก และมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะ บอร์เนียวและส่วนหน่ึงของหมู่เกาะซูลู มีช่ือเสียงทางการค้า สินค้าส่ง ออกทีส่ �ำคัญในสมยั นน้ั ไดแ้ ก่ การบูร พริกไทย และทองค�ำ หลงั จากนน้ั บรไู นเสยี ดนิ แดนและเสอ่ื มอ�ำนาจลง เนอื่ งจากสเปนและ ฮอลันดาไดแ้ ผอ่ �ำนาจเข้ามา จนถงึ สมยั คริสตศ์ ตวรรษท่ี 19 ในปี พ.ศ. 2431 ด้วยความวิตกวา่ จะตอ้ งเสียดนิ แดนต่อไปอกี บรไู นจงึ ไดย้ ินยอม เป็นรัฐในอารกั ขาของประเทศองั กฤษ (British Protectorate) ตามข้อ ตกลง พ.ศ. 2443 (Agreement 1888) และตอ่ มาในปี พ.ศ. 2449 บรไู น 433*16 rgl±a*/ v*sa

ไดท้ �ำขอ้ ตกลงกับประเทศองั กฤษอกี ครง้ั คือ ข้อตกลงเสริม พ.ศ. 2448 และ พ.ศ. 2449 (Supplementary Agreement 1905 and 1906) และลงนามในสนธสิ ญั ญายนิ ยอมเปน็ รฐั ในอารกั ขาขององั กฤษอยา่ งเตม็ รปู แบบในปี พ.ศ. 2472 J I . pi 6 • r &‘ %A .t I, * r» ' 1 rj if >\\ * -f ภาพท่ี 3 การค้าขายในอดีต ทม่ี า: http://www.ahlulbait.org ประวตั ศิ าสตรส์ มยั ใหมข่ องบรไู นเรมิ่ จากการส�ำรวจแหลง่ นำ�้ มนั และ กา๊ ซธรรมชาตใิ นปี พ.ศ. 2472 ทรพั ยากรธรรมชาตนิ ไี้ ดเ้ ปลย่ี นเศรษฐกจิ ของประเทศจากการค้าพริกไทยและการบูรมาเป็นประเทศผู้ค้าน้�ำมัน ปิโตรเลียม แม้จะประสบปัญหาการค้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ เมือ่ สงครามยุติ เศรษฐกจิ กก็ ลับฟื้นคืนมาได้ ในปี พ.ศ. 2501 ประเทศองั กฤษตอ้ งการใหเ้ กดิ “สหพนั ธรฐั บอรเ์ นยี ว เหนอื ” ซึ่งจะประกอบด้วย รัฐซาราวัก รฐั บอรเ์ นียวเหนือ และรฐั บรไู น ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม 17

แตส่ ลุ ตา่ นฮจั ญี เซอร์ มดู า โอมาร์ อะลี ชยั ฟดุ ดนี (Sultan Haji Sir Muda Omar Ali Saifuddin) สุลต่านของบรูไนในขณะน้ันทรงไม่เห็นด้วย เน่อื งจากบรไู นมที รัพยากรน้�ำมันปิโตรเลียมขนาดใหญ่ หากเขา้ ร่วมเปน็ สหพันธรัฐบอร์เนียวเหนือรายได้จากน้�ำมันปิโตรเลียมจะต้องแบ่งให้ ประชาชนสว่ นอนื่ นอกจากชาวบรไู น จงึ ท�ำใหไ้ มเ่ กดิ สหพนั ธรฐั บอรเ์ นยี ว ขน้ึ ขณะเดยี วกนั กลบั มขี อ้ เสนอใหร้ วมบรไู นเขา้ กบั รฐั ตา่ งๆ ในคาบสมทุ ร มาลายูเป็นสหพันธรัฐมาเลเซียแทน สุลต่านโอมาร์ทรงเห็นด้วย เพราะ ชาวบรูไนเป็นกลมุ่ ชาติพนั ธุ์เดยี วกนั กบั ชาวมาลายู ระหว่างการเจรจาด�ำเนินการจัดตั้งสหพันธรัฐมาเลเซียอยู่น้ัน ในปี พ.ศ. 2505 บรูไนจัดให้มีการเลือกต้ังทั่วไป พรรครักยัตบรูไน/พรรค ประชาชนบอร์เนยี ว (Parti Rakyat Brunei/Borneo People’s Party) ชนะการเลือกต้ัง และได้เสนอให้บรูไนรวมกับรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัก แต่สุลต่านโอมาร์ทรงคัดค้าน พรรครักยัตบรูไนจึงก่อกบฏข้ึน โดยมี กองทพั แหง่ ชาตกิ าลมิ นั ตนั ภาคเหนอื ซงึ่ เปน็ กองทพั คอมมวิ นสิ ตเ์ ขา้ รว่ ม สลุ ตา่ นโอมารท์ รงขอกองทพั องั กฤษและกองทหารกรู ขา่ จากสงิ คโปรเ์ ขา้ ปราบปรามจนส�ำเร็จ นับจากนั้นเป็นต้นมาบรูไนได้ปกครองภายใต้กฎ อยั การศกึ สว่ นการรวมรฐั เปน็ สหพนั ธรฐั มาเลเซยี นนั้ ในชว่ งทา้ ยของการ เจรจาสุลต่านโอมาร์กลับทรงไม่เห็นด้วย และทรงต้องการให้บรูไนเป็น รฐั อิสระ แม้ตอ้ งเปน็ รัฐในอารกั ขาของประเทศอังกฤษตอ่ ไปกต็ าม ในปี พ.ศ. 2511 สลุ ตา่ นโอมารท์ รงสละราชสมบตั ใิ หแ้ กพ่ ระราชโอรส คอื สุลตา่ นฮัจญี ฮัสซานลั โบลเกียะห์ มอู ิซซดั ดนิ วดั เดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’issaddin Waddalah) ซึ่งทรงปกครอง ประเทศมาจนถงึ ปจั จุบนั [3] u18 r$ * sr

บรไู นท�ำขอ้ ตกลงกบั ประเทศองั กฤษอกี ครง้ั ในปี พ.ศ. 2514 ซง่ึ บรไู น ได้เปน็ ประเทศอสิ ระ แต่สุลต่านโบลเกยี ะห์ทรงขอให้ประเทศองั กฤษยงั คงรับผิดชอบดูแลกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศอยู่ก่อน จนกระทั่งถึงวันท่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2527 บรูไนจึงได้รับเอกราชจาก ประเทศอังกฤษ และได้อิสรภาพจากการอารักขาอังกฤษเมื่อวันท่ี 27 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2527 ll i rL . *' ' tail- i -* 1 rI mt i la V' 4 ภาพท่ี 4 พระราชวงั แห่งใหมข่ องกษตั รยิ ์บรูไน ท่ีมา: www.mydeal.com.my I 1.1.4  ลกั ษณะประชากร I ประเทศบรไู นมปี ระชากร 415,717 คน อตั ราการเพมิ่ ของประชากร รอ้ ยละ 3.5 ต่อปี ชนพ้ืนเมืองในประเทศบรไู น 7 ชนเผ่า ประกอบด้วย เผา่ มลายูบรูไน ดูซุน เบอไลต์ ตตู ง บซี ายา มรู ตุ และเกอดายัน แต่เพ่ือ ความเปน็ เอกภาพในดา้ นการเมอื งการปกครอง โดยภาพรวมทง้ั  7 ชนเผา่ ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม 19

ใช้ชอื่ เรยี กวา่ มลายู หรอื มาเลย์ ส�ำหรับประชากรภายในประเทศบรูไน หลากหลายเช้อื ชาติ แบง่ ออกเป็น เช้อื ชาติมาเลย์ 250,967 คน (รอ้ ยละ 67) จนี 56,187 คน (ร้อยละ 15) และอืน่ ๆ 67,424 คน (รอ้ ยละ 18) ศาสนาประจ�ำชาติของบรูไน คือ ศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอสิ ลามนกิ ายซุนนยี ์ (รอ้ ยละ 67)  แต่ใหเ้ สรีภาพประชาชนใน การเลอื กนบั ถอื ศาสนาอ่นื ได้ ปจั จบุ นั ไดแ้ ก่ ศาสนาพุทธนกิ ายมหายาน (ร้อยละ 13) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 10) และศาสนาอ่นื ๆ (รอ้ ยละ 10) 1.1.5 ขอ้ มูลเศรษฐกจิ เศรษฐกิจโดยรวมของบรูไนเกิดจากอุตสาหกรรมน�้ำมันปิโตรเลียม กา๊ ซธรรมชาติ และผลติ ภณั ฑป์ โิ ตรเลยี มอน่ื ๆ ทที่ �ำรายไดเ้ ขา้ ประเทศมาก ถงึ รอ้ ยละ 95 ของรายไดท้ งั้ หมด อตุ สาหกรรมดงั กลา่ วเปน็ ของรฐั ด�ำเนนิ การโดยรฐั บาล ซง่ึ สว่ นหนงึ่ เปน็ การลงทนุ รว่ มกบั บรษิ ทั ตา่ งชาติ นอกจาก นนั้ รายได้บางส่วนมาจากการลงทนุ ในธุรกจิ ตา่ งประเทศ ในปจั จบุ นั บรไู นพยายามสรา้ งแรงจงู ใจในการลงทนุ จากตา่ งประเทศ โดยการจัดตั้งกระทรวงพลังงานข้ึนใหม่ เพ่ือท�ำหน้าที่ดูแลและพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงาน และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจท่ีมีความ ช�ำนาญ แม้ไมไ่ ด้เปน็ มุสลมิ เขา้ มาด�ำรงต�ำแหนง่ ในคณะรัฐมนตรไี ด้ เพ่อื พัฒนาภาคเศรษฐกิจให้แข่งขันกับประเทศอื่นได้ รวมท้ังการปรับปรุง โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยให้มีสัดส่วนรายได้จากกิจการอื่นเพิ่มข้ึน เน่ืองจากปริมาณน้�ำมันดิบก�ำลังลดลงเร่ือยๆ รัฐบาลได้พยายามให้ 433*20 rgl±a*/ v*sa

ประชาชนมีรายไดจ้ ากการประกอบกิจการของตนมากข้ึน รฐั บาลบรไู น ได้มีนโยบาย Wawasan Brunei 2035 หรอื วิสัยทัศน์บรูไน พ.ศ. 2578 (Brunei’s Vision 2035) เพ่อื ก�ำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกจิ เชน่ ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมท่ีไม่ใช่ปิโตรเลียม ส่งเสริมการท่องเท่ียวอย่าง ยง่ั ยนื สง่ เสรมิ อตุ สาหกรรมอาหาร ธรุ กจิ ขนาดเลก็ หรอื SME ผลติ สนิ คา้ ท้องถ่ินโครงการ “หน่ึงหมู่บ้าน หน่ึงผลิตภัณฑ์ (One Villege One Product หรือ OVOP)” ที่มตี น้ แบบจากประเทศญป่ี ุ่น นอกจากนั้นยงั มีแนวทาง “การพฒั นาอยา่ งยั่งยืน” คอื การพฒั นาเศรษฐกจิ พรอ้ มกับ การรกั ษาส่งิ แวดล้อมทางธรรมชาติ สนิ คา้ สง่ ออก บรไู นจดั อยใู่ นประเทศทรี่ ำ�่ รวย เปน็ ผสู้ ง่ ออกนำ�้ มนั ตดิ อันดับ 3 ของโลก สินค้าส่งออกหลักที่ส�ำคัญของบรูไน คือ น�้ำมันดิบ ปิโตรเลยี ม ก๊าซธรรมชาติ เมทลิ แอลกอฮอล์ m.m- — -' r. *4 * i r- I •• m• Y ’M< *ÿV?. ,i: .» » .J&g&S&ZZ'o'ÿ’I*.r.1f•.. | •fc **> tl •\\ <4 •t **ÿ ll •4f|W «•> t- * ภาพที่ 5 แหลง่ เก็บน้�ำมนั ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารุสซาลาม 21

สนิ คา้ น�ำเขา้ ทส่ี �ำคญั คอื เครอ่ื งจกั รกล และผลติ ภณั ฑอ์ ตุ สาหกรรม ยานยนต์ สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนท่ีเหลือเป็นอาหารสัตว์มีชีวิต เครอ่ื งใชเ้ บ็ดเตลด็ และผลติ ภณั ฑ์เคมี โดยในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มมี ลู ค่าการน�ำเข้าสินค้าอยทู่ ี่ 3,349.3 ล้านดอลลารบ์ รูไน - 5* * -[&yt ภาพที่ 6 อตุ สาหกรรมที่น�ำเขา้ ท่ีมา: https://www.google.co.th ดา้ นการคา้ กบั ไทย ในปี พ.ศ. 2555 การคา้ รวมมมี ลู คา่ 632.89 ลา้ น ดอลลารส์ หรฐั (19,658.37 ลา้ นบาท) ไทยสง่ ออกไปบรไู นมลู คา่ 190.75 ล้านดอลลาร์สหรฐั (5,894.85 ลา้ นบาท) และน�ำเขา้ จากบรูไน 442.14 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั (13,763.52 ลา้ นบาท) โดยไทยเปน็ ฝา่ ยขาดดลุ การคา้ 251.4 ลา้ นดอลลาร์สหรัฐ (7,868.66 ล้านบาท) สินคา้ ท่สี ง่ ออกไปบรูไน ได้แก่ ข้าว น้�ำตาล หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ ผลติ ภณั ฑเ์ ซรามกิ ผลติ ภณั ฑย์ าง กระดาษและผลติ ภณั ฑก์ ระดาษ เปน็ ตน้ สินค้าน�ำเข้าจากบรูไน ได้แก่ น้�ำมันดิบ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและ ผลิตภณั ฑ์ & ? n :22

l hi i r. L &i ด้านการลงทุนมีหน่วยงานการลงทุนบรูไน (Brunei Investment Agency-BIA) รว่ มกบั กองทนุ บ�ำเหน็จบ�ำนาญขา้ ราชการ (กบข.) จดั ตง้ั กองทุนร่วมลงทนุ (Matching Fund) ในช่อื กองทนุ ไทยทวีทุน 1 มลู คา่ ประมาณ 90 ลา้ นดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2546 มีอายุกองทุน 8 ปี ทง้ั น้ี กองทนุ ไทยทวที นุ 1 ได้หมดอายุลงเมอื่ ปี พ.ศ. 2551 และเมื่อวัน ท่ี 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กบข. และ BIA จงึ ได้จดั ตงั้ กองทุนไทยทวีทนุ 2 มลู ค่าประมาณ 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มอี ายกุ องทนุ 10 ปี นอกจาก นี้ ยังมีการลงทุนภายใต้ BOI จ�ำนวน 1 โครงการ คอื โครงการเอเพ็กซ์ เซอรค์ ติ (ไทยแลนด)์ จ�ำกดั ซงึ่ เปน็ ธรุ กจิ จดั จ�ำหนา่ ยแผงวงจรไฟฟา้ สว่ น ไทยไปรว่ มทนุ ท�ำดา้ นก่อสร้าง ออกแบบ และร้านอาหาร ฯลฯ ดา้ นการคา้ รวม บรูไนเป็นคู่ค้าอนั ดับที่ 9 ของไทยในอาเซียน และ เปน็ คคู่ า้ อนั ดบั ที่ 52 ของไทยในโลก ในระยะ 5 ปีทีผ่ ่านมา (พ.ศ. 2552 -2556) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 413.68 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยในปี พ.ศ. 2556 การค้ารวมไทย-บรูไน มมี ูลค่า 712.75 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพม่ิ ขึ้นร้อยละ 12.62 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามูลค่า 380.34 ล้าน ดอลล่ารส์ หรฐั ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม 23

ตารางที่ 1 การคา้ รวม มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี ปริมาณการคา้ รวม สง่ ออก นำ�เข้า ดุลการค้า มูลค่า สดั ส่วน %A มลู ค่า %A มลู คา่ %A 2551 211.14 0.06 3.28 123.72 32.52 87.42 -21.29 36.30 (2008) 2552 226.57 0.08 7.31 117.39 -5.12 109.19 24.90 8.20 (2009) 2553 227.15 0.06 0.25 128.65 9.60 98.50 -9.79 30.15 (2010) 2554 269.05 0.06 18.44 137.04 6.52 132.01 34.02 5.02 (2011) 2555 632.89 0.13 135.23 190.75 39.19 442.14 234.93 -251.40 (2012) 2556 712.75 0.15 12.62 166.20 -12.87 546.55 23.61 -380.34 (2013) หมายเหตุ: สัดสว่ น = การค้าสองฝ่ายตอ่ การคา้ รวมของไทยทัง้ หมด, %A= % การเปลยี่ นแปลง ทม่ี า: ศนู ย์เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร โดยความร่วมมอื ของกรมศลุ กากร ทมี่ า: http://www.thaifta.com ด้านการส่งออก บรูไนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของไทยใน อาเซียน และเป็นตลาดสง่ ออกอนั ดับท่ี 75 ของไทยในโลก ในระยะ 5 ปี ทผ่ี า่ นมา (พ.ศ. 2552 – 2556) การสง่ ออกของไทยไปบรไู นมมี ลู คา่ เฉลย่ี ปลี ะ 148.01 ลา้ นดอลล่าร์สหรฐั โดยในปี พ.ศ. 2556 ไทยมีการส่งออก ไปยังบรูไนมูลค่า 166.20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทยท่ี ส�ำคญั 10 อนั ดบั แรก ไดแ้ ก่ รถยนต์ อปุ กรณแ์ ละสว่ นประกอบ ขา้ ว เหลก็ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคร่ืองจักรกลและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เคร่ืองนุ่งห่ม เคร่ือง ปรบั อากาศและสว่ นประกอบ อาหารสัตวเ์ ลย้ี ง 24 %T* S? . ® ®A si. it.

ตารางท่ี 2 การส่งออก มูลค่า : ลา้ นเหรียญสหรฐั ฯ รายการ 2553 2554 2555 2556 %A56/57 -10.16 1.รถยนต์ อุปกรณแ์ ละสว่ นประกอบ 47.2 38.1 69.7 62.7 -56.61 135.05 2.ขา้ ว 30.7 34.5 46.8 20.3 447.01 10.81 3.เหล็ก เหลก็ กลา้ และผลติ ภณั ฑ์ 1.0 1.3 8.4 19.7 41.65 -0.09 4.เคร่อื งจกั รกลแฃะสว่ นประกอบ 1.5 3.4 1.5 8.1 -3.32 48.54 5.ปนู ซเี มนต์ 2.8 3.9 4.0 4.5 3.00 -9.25 6.หม้อแปลงไฟฟา้ และสว่ นประกอบ 2.6 2.2 2.9 4.2 -23.78 -12.87 7.ผลติ ภัณฑ์ยาง 3.1 4.7 3.8 3.8 8.เคร่ืองนุ่งห่ม 2.7 2.8 2.5 2.4 9.เครือ่ งปรบั อากาศและสว่ นประกอบ 1.0 1.1 1.5 2.3 10.อาหารสัตว์เลี้ยง 1.5 1.6 2.1 2.2 รวม 10 รายการ 94.1 93.5 143.3 130.0 อื่นๆ 34.5 43.5 47.5 36.2 มูลค่ารวม 128.6 137.0 190.8 166.2 หมายเหต:ุ %A= % การเปล่ยี นแปลง ทีม่ า: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อื สาร โดยความรว่ มมือของกรมศลุ กากร ทม่ี า: http://www.thaifta.com ดา้ นการน�ำเขา้ บรไู นเปน็ ตลาดน�ำเข้าอันดบั ที่ 8 ของไทยในอาเซยี น และเป็นตลาดน�ำเข้าอนั ดับที่ 41 ของไทยในโลก ในระยะ 5 ปีทผ่ี า่ นมา (พ.ศ. 2552-2556) การน�ำเข้าของไทยจากบรูไนมีมูลค่าเฉล่ียปีละ 265.68 ลา้ นดอลล่ารส์ หรัฐ โดยในปี พ.ศ. 2556 ไทยมกี ารน�ำเขา้ จาก บรไู นมลู คา่ 546.55 ลา้ นดอลลา่ รส์ หรฐั เพม่ิ ขนึ้ จากปกี อ่ นรอ้ ยละ 23.61 สนิ ค้าน�ำเขา้ ทสี่ �ำคญั ของไทย 10 อันดับแรก ไดแ้ ก่ นำ�้ มันดบิ เคมภี ณั ฑ์ เหล็ก  เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์โลหะ  สัตว์น้�ำสด แช่เย็น ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม 25

แชแ่ ขง็ แปรรปู และกงึ่ ส�ำเรจ็ รปู สตั วแ์ ละผลติ ภณั ฑจ์ ากสตั ว์ สนิ แรโ่ ลหะ อื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เยื่อ กระดาษและเศษกระดาษ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตารางท่ี 3 การน�ำเข้า มูลคา่ : ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ฯ รายการ 2553 2554 2555 2556 %A56/57 34.69 1.น้�ำมันดบิ 82.6 104.9 395.8 533.1 -86.09 2,273.20 2.เคมีภัณฑ์ 11.3 22.5 45.1 6.3 364.71 3.เหลก็ เหลก็ กลา้ และผลติ ภณั ฑ์ 1.2 3.4 0.2 5.2780 961.09 4.ผลิตภัณฑโ์ ลหะ 0.0387 0.2491 0.1819 0.8453 155.44 5,212.00 5.สตั ว์น�้ำสด แชเ่ ยน็ แชแ่ ข็ง แปรรูป 0.0002 0.16.6 0.0275 0.2918 122.02 และก่ึงส�ำ เร็จรปู -66.69 -10.37 6.สตั วแ์ ละผลติ ภัณฑจ์ ากสตั ว์ 0.0491 0.0226 0.0956 0.2442 23.71 -64.93 7.สินแร่โลหะอืน่ ๆ เศษโลหะและผลติ ภณั ฑ์ 0.4669 0.0545 0.0025 0.1328 23.61 8.เคร่ืองจักรกลและสว่ นประกอบ 0.0849 0.1140 0.0554 0.1230 9.เยอ้ื กระดาษและเศษกระดาษ - 0.0453 0.1549 0.0516 10.สว่ นประดอบและอปุ กรณย์ านยนต์ 0.0013 0.0001 0.0463 0.0415 รวม 10 รายการ 94.1 131.6 441.7 546.4 อืน่ ๆ 2.7 0.4 0.5 0.2 มูลค่า 98.5 132.0 442.2 546.6 หมายเหตุ: %A= % การเปลยี่ นแปลง ท่มี า: ศนู ย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร โดยความรว่ มมอื ของกรมศลุ กากร ท่มี า: http://www.thaifta.com A 26 %f * *ÿ i i *• M.

1.1.6 ขอ้ มลู การเมอื งการปกครอง ประเทศบรูไนในอดีตเป็นเพียงแค่รัฐเล็กๆ ที่มีอิสระในการปกครอง ตนเอง แตเ่ พอ่ื ความอยรู่ อด บรไู นตอ้ งยอมอยใู่ ตก้ ารอารกั ขาขององั กฤษ จนสามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และบรูไนก็ยังคงรักษา สถานภาพทางการเมอื งไวไ้ ดเ้ ปน็ อยา่ งดี เพราะผปู้ กครองหรอื สลุ ตา่ นของ บรูไนพยายามหลกี เล่ียงไม่ยุ่งเกยี่ วกบั ความขดั แย้งของรฐั ต่างๆ[1] jr 1 A** » i ?i I ;\"*w ]a kI I [i-: it ภาพที่ 7 รฐั สภาแห่งบรไู น ที่มา: https://www.google.co.th/search? ปัจจุบันประเทศบรูไนยังคงเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซ่ึงเป็นประเทศเดียวในประชาคมอาเซียนที่ ปกครองด้วยระบบสุลต่าน โดยองค์สุลต่าน (Sultan) จะมีอ�ำนาจเด็ด ขาดเพียงผู้เดียว มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang Di-Pertuan Negara) และเปน็ ประมขุ สูงสดุ ของประเทศ (Head of State) สลุ ต่าน ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม 27

จะทรงด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะในการบริหาร ประเทศ นอกจากนน้ั พระองคย์ งั ด�ำรงต�ำแหนง่ รฐั มนตรกี ระทรวงกลาโหม และการคลัง โดยองคส์ ลุ ตา่ นจะมีอคั รเสนาบดีเปน็ ผ้ชู ว่ ย ซง่ึ พระองคจ์ ะ เป็นผู้แต่งตั้ง ลักษณะเด่นของความเป็นอธิปไตยของสุลต่านบรูไน คือ ความเปน็ เอกภาพและภราดรภาพของประชาราษฎร์ ประชาชนจะเคารพ ต่อสลุ ต่านผู้ทรงมีความยุตธิ รรม ซ่งึ สอดคลอ้ งกับหลักการของอสิ ลามท่ี เคารพเชอ่ื ฟงั ผ้นู �ำ (Ululamri) การปกครองของประเทศบรูไนเป็นการปกครองในรูปแบบรัฐเด่ียว แตเ่ ปน็ รฐั เดย่ี วแบบรวมศนู ยอ์ �ำนาจ (Centralization) ในดา้ นการบรหิ าร ราชการแผ่นดิน บรูไนไม่มีการกระจายอ�ำนาจทางการเมืองไปยังหน่วย การปกครองในระดับล่าง การบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นการส่ังการ ตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นล�ำดับชั้นจากสุลต่านและสมเด็จพระ ราชาธิบดลี งมาทีก่ ระทรวง (Ministry) หรอื หนว่ ยงานของรฐั (Depart- ment) ตอ่ ไปยงั เขตการปกครอง (Daerah/District) และตอ่ ไปยงั ต�ำบล (Mukim/Ward/Sub-district) และหมู่บ้าน (Kampung/Village) ซึ่ง เปน็ หนว่ ยการปกครองระดบั ลา่ งสดุ และเมอื่ หมบู่ า้ นตอ้ งการด�ำเนนิ การ ใดกจ็ ะเสนอเร่ืองไปยงั ต�ำบล ซ่งึ จะสง่ ต่อไปยงั เขตการปกครอง การทบี่ รไู นเปน็ ประเทศขนาดเลก็ ประชากรมปี ระมาณ 400,000 คน ท�ำใหร้ ัฐบาลสามารถด�ำเนนิ การให้บริการสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชน ได้โดยตรง มีเพียงไม่กี่รายการที่รัฐบาลต้องส่งต่อการด�ำเนินการไปยัง ต�ำบล(Mukim) และหมบู่ า้ น (Kampung) เชน่ การจ่ายเงนิ สวสั ดกิ ารแก่ ประชาชน การศาสนา การกฬี า หรอื การรวมชาวบา้ นพฒั นาหมบู่ า้ น แต่ การศกึ ษา การสาธารณสขุ การคมนาคมขนสง่ การพฒั นาเศรษฐกจิ ฯลฯ u28 r$ * sr

Brunei Labuan Victoria South > China Sea Bandar Seri Brunei Begawan 'Muara Bai/ Tutom :> r-$ Lawas' Brunei & Muara Kuala Belait Limbang* 'Bangar Tutong 'Seria wburont Miri 'Labi Marudi* Belait Mb Xz ) 20 Kilometers EAST MALAYSIA 20 Miles ภาพที่ 8. แผนที่เขตปกครองของบรไู น ทม่ี า: https://www.google.co.th/search?q ด�ำเนินการโดยกระทรวงหรือหน่วยงานที่เก่ียวข้องได้โดยตรง บุคลากร ของรฐั มปี ระมาณ 50,000 คน เกอื บทงั้ หมดนอี้ ยทู่ สี่ ว่ นกลางหรอื รฐั บาล สว่ นงบประมาณกด็ �ำเนนิ การโดยสว่ นกลางหรอื รฐั บาล งบประมาณราย จ่ายของประเทศในปี พ.ศ. 2554-2555 (ค.ศ. 2011-2012) รฐั บาลต้ังไว้ 5,130 ล้านดอลล่าร์บรูไน เป็นงบประมาณรายจ่ายของกระทรวง มหาดไทยเพยี ง 175 ลา้ นดอลลา่ รบ์ รไู น ซง่ึ เทศบาลต�ำบล (Mukim) และ หมบู่ า้ น (Kampung) จะไดร้ บั จากงบประมาณรายจา่ ยน้ี และทอ้ งถน่ิ เอง ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม 29

ก็ไม่มีรายได้เป็นของตนเองด้วย แมว้ ่าเทศบาลจะสามารถจดั เกบ็ รายได้ จากภาษที อ้ งทแี่ ละจากบรกิ ารสาธารณะ แตก่ ฎหมายกก็ �ำหนดใหจ้ ดั เกบ็ ไดไ้ มเ่ กนิ รอ้ ยละ15 ของงบประมาณรายจา่ ยทเี่ ทศบาลไดต้ งั้ ไว้ แตอ่ ยา่ งไร กต็ ามเพอื่ ใหเ้ กดิ สายงานการปกครองในประเทศ บรไู นจงึ แยกโครงสรา้ ง การปกครองไดด้ ังน้ี 1. เขตการปกครอง (District) หรือ Daerah ในภาษามาเลย์ เป็นหนว่ ยงานการปกครองระดบั ลา่ งจากกระทรวงแบ่ง เป็น 4 เขตการปกครอง ประกอบด้วย เขตการปกครองบรูไน-มูอารา (Brunei-Muara) เบอไลต์ (Belait) เตม็ บรู ง (Temburong) และตูตง (Tutong) 2. เทศบาล (Municipality) อยู่ในระดับชั้นเดียวกับเขตการปกครอง (Daerah/District) เป็น หนว่ ยการปกครองทอ้ งถน่ิ ทเ่ี ปน็ เมอื งหรอื ชมุ ชนเมอื ง การบรหิ ารงานขน้ึ ตอ่ กระทรวงมหาดไทย 3. ต�ำบล (Mukim/Ward) เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างต่อจากเขตการปกครอง มีก�ำนันใน ภาษามาเลย์เรยี กว่า Penghulu Mukim เปน็ ผนู้ �ำ 4. หม่บู า้ น (Kampung/Village) เป็นหน่วยการปกครองระดบั ล่างสุด ในภาษามาเลย์เรยี กวา่ Kampung หรือ Village ในภาษาอังกฤษ และผู้ใหญ่บ้านในภาษามาเลย์ เรียกว่า Ketua Kampung[1] โดยสรปุ โครงสร้างการปกครอง ดงั ภาพดา้ นล่างนี้ u30 r$ * sr

qmimtazttiiimmziiyiiiufi *• nvsmmumfitm I n7zmi<i 12 nj~mn f miitmuvBiJslmfinfi At ivnmnlnmm inftuw t dum flWulrim ) T miifni(Kampun ภาพทที่ ม่ี9า:แผhtนtผpัง:/โ/คwรwงสwร.า้kงpกi.าaรcป.tกhครอง ปรชั ญาในการปกครองประเทศ ปรชั ญาการปกครองประเทศทเี่ รยี กว่า MIB: Melayu Islam Beraja หรือ มลายู อสิ ลาม พระมหากษัตริย์[10a] เป็นแนวความคิดพ้ืนฐานของ บรไู นนบั ตงั้ แตก่ ารเกดิ ขน้ึ ของระบบสลุ ตา่ นในนครรฐั ประมาณศตวรรษ ที่ 14 และไดน้ �ำมาเกย่ี วพนั กบั หลกั กฎหมายของประเทศภายใตก้ ฎหมาย รัฐธรรมนญู ครั้งแรกทไ่ี ดม้ ีการร่างขึ้นในปี 1959 โดยการเชอ่ื มโยงไปถงึ ภาษามาเลย์ที่ประกาศให้เป็นภาษาประจ�ำชาติ ศาสนาอิสลามเป็น ศาสนาประจ�ำชาติ และการปกครองในระบบสลุ ตา่ นนบั เปน็ แนวทางการ ปกครองทส่ี �ำคญั ทสี่ ดุ ใชใ้ นการบรหิ ารการจดั การของรฐั ” [10a] แนวความคดิ ระบบบริหารราชการของเนการา บรไู น ดารุสซาลาม 31

พ้ืนฐานเหล่าน้ีได้มีการด�ำเนินการเร่ือยมาจนกระท่ัง ประเทศได้รับ อสิ รภาพจากอาณานคิ ม ในปี 1984 และสลุ ตา่ นไดป้ ระกาศวา่ ประเทศบรไู น น้นั คอื Negara Melayu Islam Beraja (a Malay Islamic Monarchi- cal State) (เมืองแห่งวัฒนธรรมมลายูภายใต้ศาสนาอิสลามโดยมีองค์ สุลต่านเป็นผู้ปกครองสูงสุดแห่งรัฐ) ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ภายใต้แนว ความคิดท่ีให้ความส�ำคัญ กับคุณค่าทางด้านวิถีวัฒนธรรมมลายู ที่มี ศาสนาอสิ ลามเปน็ แนวทางในการด�ำเนนิ ชวี ติ ของพลเมอื งและมรี ะบอบ การปกครองของประเทศนนั้ ภายใตร้ ะบบราชาธปิ ไตยโดยมสี ลุ ตา่ นเปน็ ประมขุ สงู สดุ ปรัชญาการปกครอง MIB ถูกน�ำมาเป็นวิถีท่ีต้องมีการกล่าวถึง ใน หลายๆวาระ ดังพระราชด�ำรัสขององค์สุลต่าน“ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อัลลอฮ์ ที่ได้ก�ำหนดให้ประเทศบรูไนดารุสสลามเป็นประเทศอิสลาม ตัง้ แตศ่ ตวรรษที่ 14 ด้วยเหตุผลดงั กลา่ ว บทบาทของศาสนาอิสลามน้ัน ได้เข้ามามีความส�ำคัญกับวิถีชีวิตของพวกเราจนถึงปัจจุบันผ่านการ พยายามของสลุ ตา่ นคนแรกของเราในประเทศนี้ และนค่ี อื ความตงั้ ใจของ ขา้ พเจา้ ในการทจ่ี ะสนบั สนนุ ใหร้ ฐั บาลของขา้ พเจา้ เพอื่ ใชแ้ นวทางอสิ ลาม ในการด�ำเนนิ การด้วยแนวทางของอะลิ สุนนะวลั ญามาอะฮ์ (Ahli Sun- nah Wal Jamaah) กลุ่มผู้ศรัทธาที่เจริญรอยตามแนวทางของท่าน ศาสดานบมี ฮุ มั หมดั )  เพอื่ ใชเ้ ปน็ แนวทางในการด�ำเนนิ ชวี ติ   และเปน็ พื้นฐานในการบริหารกิจการงานของรัฐบาลภายใต้กิจการของรัฐ”[10a] หรอื พระบรมราโชวาททว่ี า่ “...เมลด็ พนั ธท์ุ ที่ รงคณุ คา่ ทยี่ ง่ิ ใหญแ่ ละสงู สง่ คอื  รปู แบบของ MIB ซง่ึ ไมเ่ ปน็ ทส่ี งสยั เกย่ี วกบั ลกั ษณะใดๆของเมลด็ พนั ธ์ุ ทไ่ี ดง้ อกขนึ้ ดว้ ยความสมบรู ณบ์ นผนื แผน่ ดนิ บรไู น เพราะจากคณุ ลกั ษณะ ต่างๆ ทป่ี รากฎออกมา แสดงให้เหน็ วา่ มนั คอื เมลด็ พันธท์ุ ่ีมคี วามด้งั เดมิ u32 r$ * sr

จริงแท้ ซ่ึงมีอยู่เรียบร้อยแล้ว และอัลลอฮฺทรงก�ำหนดมาเพื่อชาว บรไู น...”[1] จากพระราชด�ำรัสหรือพระบรมราโชวาทดังกล่าว  ต่างสะท้อนถึง ความส�ำคัญของ MIB ซึ่งส่ือถงึ ความหมายดงั น้ี 1. M: Malayu หรือ มลายู ซง่ึ ค�ำวา่ “มลายู” ยังสามารถตคี วาม ถึงความเป็นเป็นชาวมลายูของชาวบรูไน ดังนั้นประเทศบรูไนจึงเป็น ประเทศของชาวมาลายู มีสุลต่านชาวมาลายูเป็นผู้ปกครองประเทศ มี วถิ ชี วี ติ ตามวฒั นธรรมมลายทู ส่ี บื ทอดกนั มา จนกลายเปน็ อดุ มคตขิ องคน บรูไนจนถึงปัจจุบัน ซง่ึ วิถแี ห่งคณุ ค่าวัฒนธรรมทีส่ �ำคัญพอสรปุ ได้ดังนี้ 1) วัฒนธรรมมลายูถือเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติและเป็นวิถีชีวิต ทท่ี รงคุณค่า 2) ภาษามลายูเป็นความม่ันคงท่ีแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของ ความเป็นภาษาแหง่ ชาติ 3) ศาสนาอิสลามเป็นวิถีท่ีการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณแี ละวฒั นธรรมของมลายูตอ้ งยึดมั่นตงั้ 4) ราชประเพณีเปน็ ระบบท่ีสอดคล้องกับวัฒนธรรมมลายู 2. I: Islam หรอื อิสลาม ค�ำวา่ “อสิ ลาม” ในที่น้หี มายถึง ศาสนา ทอ่ี ลั ลอฮไ์ ดป้ ระทานใหช้ าวมลายบู รไู นไดย้ ดึ ถอื เปน็ แบบแผนในการด�ำรง ชวี ติ ทอี่ ยรู่ ว่ มกบั เพอื่ นมนษุ ย์ ธรรมชาติ สงิ่ แวดลอ้ ม รวมทงั้ การปกครอง ประเทศต้องเป็นไปตามหลกั การอิสลาม ทเ่ี ปน็ แกนส�ำคญั ในการบรหิ าร การปกครองประเทศท่ีมีสุลต่านเป็นผู้น�ำ และมีรากฐานบนการกระ ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม I 33

ท�ำความดีท่ีก่อใเกดิ ประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ซ่ึงค�ำว่า “อิสลาม” ในบริบท ของบรไู นพอสรุปไดด้ ังน้ี 1) อิสลามเปน็ ศาสนาทีอ่ ลั ลอฮ์ประทานให้ 2) การกระท�ำแตค่ วามดเี ปน็ วถิ กี ารด�ำเนนิ ชวี ติ ทมี่ นั่ คง อนั เปน็ รากฐานของอสิ ลาม 3) อสิ ลามเปน็ ระบบปกครองทร่ี วมพระราชาและประชาชนให้ เป็นหนึง่ เดยี ว 3. B: Beraja คอื พระราชา หรอื พระมหากษัตรยิ ์ และในท่นี ห้ี มาย ถงึ ระบบการปกครองทมี่ อี งคส์ มเดจ็ พระราชาธบิ ดที รงเปน็ ประมขุ ซงึ่ ถกู วางรากฐานบนการตีความตามแนวของศาสนาอิสลามแบบบรูไนว่า อ�ำนาจการปกครองน้ัน เป็นรางวัลแห่งความไว้วางใจจากพระเจ้า ให้ พระองคป์ กครองประเทศดว้ ยความยตุ ธิ รรม มลายู อสิ ลาม พระมหากษตั ริย์ หรือ MIB เมอื่ ถกู วางรากฐานทาง ความคิดแลว้ รวมทั้งเกดิ ผลในทางปฏบิ ัติ ซง่ึ ท�ำใหเ้ กดิ ประโยชน์ในการ ปกครองดังนี้ 1. การปกครองทีม่ ีความม่ันคง เสถียรภาพ 2. ท�ำให้เกิดความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันของคนในชาติท่ีเป็น ชาตินิยมมาลาย-ู บรูไน เกดิ ความร่วมมอื ในการท�ำงานรว่ มกัน 3. สามารถป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูภายนอกได้ ซึ่งท�ำให้ สามารถรักษาเอกราชของชาตไิ วไ้ ด้ 4. การน�ำกฎหมายอิสลามมาใช้ ท�ำให้เกิดความเป็นธรรมในทัศน์ ของชาวมสุ ลิม 5. การเปดิ โอกาสใหใ้ ช้หลักการอิสลามอยา่ งเปดิ กว้าง ในสว่ นท่ี u34 r$ * sr

ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงของชาติ ท�ำให้การปกครองภายในหรือ การรกั ษาความสงบภายในท�ำไดส้ ะดวกง่ายขนึ้ 1.1.7 ลกั ษณะทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพสังคมของบรูไน ยังมีลักษณะพ้ืนฐานท่ียึดหลักครอบครัว ประชาชนมคี วามเปน็ อยอู่ ยา่ งสงบเรยี บงา่ ย ศาสนาอสิ ลามมบี ทบาทมาก ในการกําหนดพฤติกรรมทางสังคม สภาพการปกครองเป็นระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีการจัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของ ศาสนามุสลมิ และปฏบิ ตั ติ ามอย่างเคร่งครัด และภาษาท่ใี ช้กันในบรูไนมี ภาษามาเลย์ องั กฤษ และจีน ส�ำหรบั ชนพ้ืนเมืองมภี าษาเปน็ ของตนเอง ในโลกวฒั นธรรมบรไู นกม็ เี อกลกั ษณเ์ ฉพาะตน เรยี กวา่ โลกมลายู ทป่ี ฎบิ ตั ิ กนั มาจนกลายเปน็ อุดมคติของชาวบรไู นมาจนถงึ ปัจจบุ นั ซง่ึ คุณคา่ ของ วฒั นธรรม  และขนบธรรมเนยี มประเพณเี ปน็ ตวั ก�ำหนดวถิ ชี วี ติ ของชาว บรูไนว่าเปน็ สิ่งประเสรฐิ   กฎหมายสามารถลงโทษบุคคลทปี่ ฏเิ สธขนบ ธรรมเนยี มประเพณหี รอื ปฏบิ ตั ติ นฝา่ ฝนื วฒั นธรรมและประเพณที �ำหนา้ ท่ี จัดระเบียบสังคมและจัดระเบียบกฎหมาย ในสังคมมลายูบรูไนผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกประนามและ ลงโทษจากสงั คม เชน่ การเกิด การแต่งงาน เปน็ ตน้ วัฒนธรรมบรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย มาก จงึ มปี ระเพณี ภาษา และการแตง่ กายทคี่ ลา้ ยคลงึ กนั ซง่ึ สภุ าพบรุ ษุ จะแตง่ กายดว้ ยเส้อื แขนยาว ตวั เสื้อยาวถึงเขา่ นงุ่ กางเกงขายาวแล้วน่งุ โสร่ง เรียกวา่ บาจู มลายู (Baju Melayu) สว่ นชุดของสภุ าพสตรเี รียก ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม 35

ว่า บาจูกรุ งุ (Baju Kurung) จะแต่งกายดว้ ยเสอื้ ผา้ ทม่ี สี ีสันสดใส โดย มากมกั จะเปน็ เสอื้ ผา้ ทค่ี ลมุ รา่ งกายตงั้ แตศ่ รี ษะจรดเทา้ เปน็ การสะทอ้ น วัฒนธรรมและสังคมแบบอนุรกั ษ์นิยม I 1.1.8 โครงสรา้ งพนื้ ฐานและระบบสาธารณูปโภค I เนื่องจากประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร�่ำรวย จึงมีการพัฒนาระบบ การขนสง่ ทดี่ ี ชาวทอ้ งถน่ิ และนกั ทอ่ งเทย่ี วในประเทศบรไู นมตี วั เลอื กใน การใชบ้ รกิ ารได้หลายทาง อนั ไดแ้ ก่ การคมนาคมทางบก ประเทศบรไู นมที างหลวงสายหลกั สายเดยี ว คอื Muara–Jerudong– Tutong มีความยาวประมาณ 1,712 กิโลเมตร การใหบ้ ริการรถเช่าใน ประเทศบรไู นมรี าคาที่เหมาะสม รถเชา่ เป็นบริการการขนส่งทดี่ ีทส่ี ุดใน ประเทศบรไู น เนอื่ งจากมรี าคาทไ่ี มส่ ูง สะดวก และสามารถใชบ้ ริการได้ «.* *T ™ * V *iO 3 m£ mILr-j u ที่มา: https://www.google.co.th/search? 36 sf ® ST

ตลอดเวลา นอกจากน้ีรถประจ�ำทางก็มีราคาถูกและเป็นตัวเลือกท่ีง่าย ท่สี ุดของการขนสง่ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในบนั ดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan) ซง่ึ เปน็ เมืองหลวง มกี ารบริการรถโดยสารประจ�ำทาง 12 ชวั่ โมง/วนั ต้ังแตเ่ วลา 06.00-18.00 น. สามารถใช้บรกิ ารได้อย่าง งา่ ยดาย  สว่ นรถแทก็ ซจี่ ะมรี าคาแพงมาก  และยงั มอี ยเู่ ปน็ จ�ำนวนมาก การขนส่งผู้โดยสารสามารถเรยี กใชไ้ ดต้ ามความตอ้ งการ ส่วนการขนส่ง ผูโ้ ดยสารทางรถไฟจะไม่เปน็ ที่นยิ มในการเดนิ ทางประเภทน้ี การคมนาคมทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ในบรูไนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ1953) และสรา้ งสนามบินใหม่ในเมอื ง Mukim Berakas และเปิด ใช้งานในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ปจั จบุ นั ประเทศบรไู นมสี ายการบนิ พาณิชย์ คือ สายการบินรอยัลบรูไน ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติบรูไน กอ่ ตงั้ เมอื่ วนั ท่ี 18 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดยบรษิ ทั เอกชน จะเป็นผู้ถอื หุ้นเองทง้ั หมด  สายการบนิ รอยลั บรไู น มเี ท่ียวบินตรงจาก lift A iMiiaiiiaiiMdl ICnlllMIIIIMII KpML DMAS/ » •* ท่ีมา: http://www.chaoprayanews.com/ ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรไู น ดารสุ ซาลาม 37

บนั ดาร์ เสรี เบกาวนั (Bandar Seri Begawan) ไปยงั จดุ หมายปลายทาง หลายแหง่ ทวั่ โลก และยงั เชอ่ื มตอ่ ไปยงั จดุ ทสี่ �ำคญั ในเกาะบอรเ์ นยี ว เชน่ Kuching,  Gunung Mulu National Park  เนอ่ื งจากรอยัลบรูไนเปน็ สายการบินมุสลิม  จึงไม่สามารถรับรองด้วยเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ใน เทยี่ วบินได้ การคมนาคมทางนำ้� ประเทศบรไู นมที า่ เรอื ทข่ี นถา่ ยสนิ คา้ อยทู่ ง้ั หมด 6 แหง่ โดยแบง่ เปน็ ของภาครฐั 3 แหง่ และภาคเอกชน 3 แห่ง ทา่ เรอื ทั้ง 3 ทา่ ท่ีเปน็ ของ รัฐบาลบรูไน ได้แก่ 1) ท่าเรอื มัวรา ต้งั อยูท่ างทิศตะวนั ออกเฉียงเหนือหา่ งจากเมืองหลวง 27 กโิ ลเมตร เป็นท่าเรอื ที่ใหญ่ทส่ี ุดในประเทศ มคี วามลกึ 10 เมตร กว้าง 611 เมตร สามารถน�ำเรอื ขนาดใหญ่เข้าเทียบทา่ ได้ jfiI I jU A . ‘I wj f ทมี่ า: https://www.google.co.th/search? &38 *\"f5 . * ST art m

2) ทา่ เรือบนั ดาร์เสรเี บกาวนั เป็นท่าเรือเก่าแก่ ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกคร้ังที่ 2 รับเฉพาะเรือท่ีมี ความยาวไมเ่ กิน 30 เมตร และมคี วามลึกไม่เกิน 5 เมตร 3) ทา่ เรอื กัวลาบือเลต ต้ังอยู่ท่ีแม่น้�ำบือเลต รับเฉพาะเรือท่ีมีความยาว 60 เมตร เพราะ ทา่ เรอื ยาว 61 เมตร โดยมากเรอื ทเี่ ขา้ เทยี บทา่ มกั จะเปน็ เรอื จากประเทศ เพือ่ นบ้าน สว่ นทา่ เรอื เอกชนของบรไู นอกี 3 แหง่ ไดแ้ ก่ ทา่ เรอื ซเี รยี ทา่ เรอื ลมู ตู และทา่ เรอื ตนั หยงลรี งั โดยทา่ เรอื เอกชนสองแหง่ แรกมบี รษิ ทั เชลลบ์ รไู น เปน็ ผูด้ ูแล ใชใ้ นการขนส่งสินค้าประเภทแกส๊ ธรรมชาติและน้�ำมัน สว่ น ท่าเรือตันหยงลีรงั เป็นทา่ เรอื เพอ่ื ใช้ในการสง่ ออกไม้ซุง[26] ระบบไฟฟ้า หน่วยงานที่ดูแลกิจการไฟฟ้าของประเทศบรูไนชื่อว่าแผนกบริการ ไฟฟ้า (Department of Electrical Services-DES) เป็นหน่วยงานท่ี อยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน ดูแลตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่ง ระบบ จ�ำหนา่ ย จนถงึ ลกู คา้ ในลกั ษณะคลา้ ยกบั การไฟฟา้ โดยทวั่ ไปในอาเซยี น ก่อตั้งมาแลว้ 92 ปี เร่ิมตน้ ดว้ ยการตดิ ตงั้ เครื่องก�ำเนดิ ไฟฟา้ ดีเซลขนาด 22 กโิ ลวตั ต์ ส�ำหรบั การจา่ ยไฟครงั้ แรก และกระแสไฟฟา้ บรไู นในปจั จบุ นั คอื 240 โวลต์  โดยทีป่ ลกั๊ มาตรฐานมีสามขา  หรือเป็นหมุดส่ีเหลี่ยม ดังภาพ ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม I 39

G €> €> 1 ' i| ท่ีมา: http://www.dvdgame0nline.c0m เพ่ือสร้างความม่ันคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาแหล่งทรัพยากร น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งผลิตอาหารและส่ิง แวดลอ้ ม บรูไนจึงมีโครงการส�ำคญั ๆ ทีเ่ กยี่ วกับพลังงานทดแทน ได้แก่ 1. การไฟฟา้ บรไู นมกี ารกอ่ สรา้ งโรงไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ยเ์ มอื่ ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเปน็ โรงไฟฟา้ พลงั งานแสงอาทติ ย์แหง่ แรกของบรูไน และ ใหญ่ที่สดุ ในประเทศกลุ่มอาเซยี น ขนาด 1.2 MW จากแผนงาน 50 MW โดยการสนบั สนนุ จากประเทศญป่ี นุ่ (บรษิ ทั เจแปน มติ ซบู ชิ ิ คอรป์ อเรชนั่ จ�ำกัด)  และในด้านการส่งเสรมิ การใชพ้ ลงั งานทดแทน  การไฟฟา้ บรูไน มีแผนงานที่จะใหม้ สี ดั สว่ นการผลติ ไฟฟา้ จากพลงั งานทดแทนเพิ่มขน้ึ รอ้ ยละ 5 ในอกี 3 ปีขา้ งหนา้ และเปน็ สดั สว่ นนต้ี ลอดในอกี 20 ปี 2. จากการรายงานของ Brunei Times ประเทศบรูไนเปน็ ประเทศ ทม่ี คี า่ ไฟถกู ทส่ี ดุ ในบรรดาสมาชกิ ประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซยี น (AC) คา่ ไฟเฉลยี่ ตอ่ หนว่ ยอยทู่ ่ี 0.09 ดอลลา่ รส์ หรฐั (ประมาณ 2 บาทกวา่ ๆ)  นนั่ เป็นเพราะมกี ารอุดหนนุ คา่ ไฟจากภาครฐั H40 f5 ST * * r';*

3. มกี ารน�ำมเิ ตอรแ์ บบจา่ ยเงินลว่ งหนา้ (Prepaid) มาใชง้ าน โดย เรม่ิ ใชง้ านในปี พ.ศ. 2555 ทผ่ี า่ นมา ระบบโทรคมนาคม ประเทศบรูไนมฝี า่ ยดูแลงานดา้ นโทรคมนาคม (Telecoms)  ท่ีรบั ผิดชอบทั้งระบบการท�ำงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและระหว่าง ประเทศ   ระบบโทรคมนาคมในทน่ี รี้ วมถงึ โทรศพั ทบ์ า้ น  โทรศพั ทร์ ะหวา่ ง ประเทศ โทรสาร เทเล็กซ์ ระบบโทรศัพทเ์ คลอื่ นที่เซลลลู าร์ เพจเจอร์ โทรเลข  และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โทรศัพท์บ้านท้ังหมดในประเทศ บรไู นใชร้ ะบบโทรศพั ทแ์ บบดจิ ิตอล 4ua ทมี่ า: https://www.google.co.th ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรไู น ดารุสซาลาม I 41

1 1.1.9 ระบบสาธารณสุข k กระทรวงสาธารณสขุ เปน็ ผกู้ �ำหนดนโยบาย ดา้ นการสาธารณสขุ ของ ประเทศบรูไน เพ่อื ทจ่ี ะบริการให้ทั่วถงึ แก่ประชาชนทกุ หม่เู หลา่ ไม่แบง่ ชาติ ภาษา ศาสนา จงึ มนี โยบาย “สุขภาพดเี พอ่ื ทุกคน” (Health for All) โดยเนน้ ระบบการพฒั นาการตรวจรกั ษาสขุ ภาพใหเ้ ปน็ ไปตามความ ตอ้ งการของประชาชน  กระทรวงสาธารณสขุ มรี ฐั มนตรวี า่ การเปน็ ผบู้ รหิ ารสงู สดุ ซง่ึ มคี วามรบั ผดิ ชอบทกุ อยา่ งทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การสาธารณสขุ นอกจากรัฐมนตรีว่าการแล้ว ยังมีปลัดกระทรวงท�ำหน้าที่ช่วยวางแผน ปฏิบัติการ และผู้อ�ำนวยการกรมการแพทย์และสุขภาพเป็นผู้น�ำแผน ปฏบิ ตั กิ ารไปด�ำเนนิ การในด้านการบริการต่างๆ ในหลายโครงการ ประเทศบรูไนนับว่าเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่ให้ความส�ำคัญกับ สวัสดิการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ชาวบรูไนสามารถเข้ารับการรักษา 9 f rf: \\ * fh&m€r v - ‘ ทมี่ า: http://www.thaidentalmag.com 42 n&W •*> (f> * '*) lt>

พยาบาลของรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากน้ันยังมีการจัดการการ แพทยเ์ คล่ือนท่ี เพอ่ื รักษาพยาบาลประชาชนที่อย่ใู นพนื้ ทห่ี า่ งไกลความ เจริญทุรกนั ดาร ท่สี �ำคัญอกี อยา่ งคือในกองทัพบรไู นมศี นู ยพ์ ยาบาลเป็น หน่วยงานหนึ่งในกองทัพ และหากผู้ป่วยอยู่ในถ่ินทุรกันดารก็มีหน่วย แพทย์อากาศ กล่าวคือ นายแพทย์ท่ีไปรักษาต้องเดินทางโดย เฮลิคอปเตอร์ไปรักษาพยาบาลถึงท่ี การท่ีรัฐบาลบรูไนเอาใจใส่ดูแล สขุ ภาพของประชาชนอยา่ งดยี ง่ิ นบั วา่ มผี ลดตี อ่ การพฒั นาเศรษฐกจิ เปน็ อย่างมาก เพราะเมื่อมีสุขภาพดีก็ย่อมท�ำงานได้ผลดี มีประสิทธิภาพ มีรายได้ดี และท�ำให้เศรษฐกิจของชาวบรูไนดีข้ึน จึงส่งผลให้เศรษฐกิจ ของประเทศดขี ้นึ ตามไปดว้ ย 1.1.10 ระบบการศกึ ษา ระบบการศกึ ษาของประเทศบรไู น ดารสุ ซาลามไมม่ กี ารศกึ ษา ภาคบงั คบั แต่การศึกษาเป็นสากลและจดั ให้ฟรีส�ำหรับประชาชนทั่วไป การศกึ ษาแบง่ ออกเปน็ ระดบั กอ่ นประถมศกึ ษา 1 ปี ระดบั ประถมศกึ ษา 6 ปี ระดบั มธั ยมศึกษา 7-8 ปี ซ่งึ แบง่ เป็นระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ 3 ปี ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 2-3 ปี หรือในสายอาชวี ะ อกี 2 ป และ ระดบั เตรยี มอดุ มศกึ ษา 2 ปี และระดบั มหาวทิ ยาลัย 3-4 ปี ดังนี้ ระดบั ก่อนประถมศึกษา เดก็ ทกุ คนตอ้ งเขา้ ศกึ ษาในระดบั กอ่ นประถมศกึ ษา 1 ปี เมอ่ื อาย ุ 5 ปี หลังจากน้นั จงึ เขา้ ศกึ ษาในระดับประถมศึกษา ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม 43

r 1 L 4 iLi\" * Li ภาพท่ี 10 มหาวิทยาลัยบรไู น ระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับประถมศึกษาแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ ระดับ ประถมตน้ 3 ปี และประถมปลาย 2-3 ปี หลงั จากจบการศกึ ษาระดับ ประถมศกึ ษา 6 ป ี นกั เรยี นจะตอ้ งเขา้ รบั การทดสอบขอ้ สอบกลาง  (PCE:  Primary Certificate of Examination)  ซงึ่ การศกึ ษาในระดบั นม้ี ี จดุ ประสงคเ์ พ่ือปูพ้นื ฐานดา้ นการเขยี น การอ่าน และการค�ำนวณให้แก่ นักเรยี น เพ่ือจะได้น�ำความรู้เหล่านีไ้ ปใชใ้ นการพัฒนาตนเอง ระดบั มัธยมศกึ ษา การศกึ ษาระดบั มธั ยมศกึ ษารวมใชเ้ วลา 7-8 ปี (มธั ยมศกึ ษา 1-5 และ เตรียมอดุ มศกึ ษา 2 ป)ี u44 r$ sf * ST

ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้ มรี ะยะเวลา 3 ปี หลงั มัธยมศึกษาตอนตน้ แล้ว นกั เรียนตอ้ งทดสอบ BJCE (Brunei Junior Certificate of Edu- cation) จึงจะสามารถเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเลือก เรยี นวชิ าดา้ นชา่ งและเทคนคิ พนื้ ฐานทสี่ ถาบนั การศกึ ษาทางเทคนคิ และ อาชีวศกึ ษา ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย ระยะเวลา 2-3 ปี นักเรียนจะเลอื กเรยี นสายศิลป์ สายวทิ ย์ หรือสาย อาชพี ตามแตผ่ ลการสอบ BJCE หลกั จากเรยี นจบระดบั มธั ยมศกึ ษาตอน ปลายแล้ว (ระดับ 5) นักเรียนต้องสอบข้อสอบ Brunei-Cambridge General Certificate of Education: BCGCE “O” Level หรือส�ำเรจ็ การศกึ ษาระดบั 6 นกั เรยี นตอ้ งสอบขอ้ สอบ Brunei-Cambridge Gen- eral Certificate of Education: BCGCE “A” Level แลว้ จงึ จะมีสทิ ธิ์ เรยี นต่อระดบั เตรียมอุดมศกึ ษา มีระยะเวลา 2 ปี ระดับอาชวี ะ รับเด็กนักเรียนมัธยมต้นท่ีสนใจด้านการศึกษาและการฝึกหัดด้าน อาชีวะและเทคนิค โดยมกี รมการศึกษาดา้ นเทคนิค (Department of Technical Education-DTE) เปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบดแู ลการจดั การศกึ ษาดา้ น เทคนคิ และอาชวี ศกึ ษาและการฝกึ อบรม (Technical and Vocational Education and Training) และโปรแกรมเกีย่ วกบั การศกึ ษาต่อ (Con- tinuing Education-CE) ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม I 45

ระดบั ปริญญาตรี การศกึ ษาในระดับปรญิ ญาตรจี ะจดั ใหแ้ กน่ กั เรยี นท่มี ีผลการศกึ ษา ดีมีศักยภาพในการศึกษาต่อได้ หรือศึกษาในสาขาท่ีเป็นความต้องการ ของประเทศ ซ่ึงมีท้ังมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวะ เทคนิคต่างๆ และ วทิ ยาลัยตา่ งๆ โรงเรียนเอกชน (Non-Government Schools) โรงเรียนเอกชนมีบทบาทในการช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษา ของรฐั บาล  โดยโรงเรียนเอกชนท่ขี น้ึ ทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ มี 5 ประเภท ไดแ้ ก่ โรงเรียนภาคบังคบั ตามปกติ (ตง้ั แตร่ ะดบั อนบุ าล จนถึงระดับมัธยมศึกษา) โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสอนดนตรี โรงเรยี นสอนตดั เสอ้ื cF d _ t ft 7 fljV \\ 46 A \\ W-t> <*.* * * /%>.:<ÿ' ' V

ระบบการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2528 ก�ำหนดใหใ้ ชภ้ าษาองั กฤษ และ ภาษามาเลยใ์ นการสอนตง้ั แตร่ ะดบั อนบุ าลจนถึงประถมศึกษาปที ่ี 3 ครูจะสอนทุกวิชาด้วยภาษามาเลย์ ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษซึ่งใช้ภาษา อังกฤษในการสอน ส�ำหรับระดบั ประถมศกึ ษาปีท่ี 4 ข้นึ ไป โรงเรียนจะ ใช้ท้ังภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษในการสอน โดยภาษามาเลย์ใช้ ส�ำหรบั สอนวชิ าเกยี่ วกบั มาเลย์ ความรเู้ กย่ี วกบั ศาสนาอสิ ลาม พลศกึ ษา ศิลปะและการช่าง และวิชาหน้าที่พลเมือง ส่วนภาษาอังกฤษใช้ในการ สอนวชิ าวทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ ภมู ศิ าสตร์ ประวตั ศิ าสตร์ และภาษา องั กฤษ เปน็ ต้น[11] นโยบายและจดุ เนน้ ด้านการศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการบรูไน ดารุสซาลาม ได้จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2550-2555 และการจัดท�ำวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของบรูไน ดารุสซาลาม พ.ศ. 2578 โดยได้ให้ความส�ำคัญตอ่ การสร้างสังคมบนพน้ื ฐานแห่งทกั ษะ และความรอบรูภ้ ายใตร้ ะบบการศกึ ษา “World Class Education System” ท่ีส่งเสรมิ การเรยี นรู้ตลอดชีวติ โดยให้การศึกษา เปน็ หนง่ึ ใน 8 ยทุ ธศาสตรท์ สี่ �ำคญั ของประเทศ พรอ้ มทง้ั ไดใ้ ชเ้ งนิ กองทนุ พัฒนาในการลงทุนการศึกษาในอัตราร้อยละ 8.7 รวมท้ังการพัฒนา โครงสรา้ งดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร (ICT) ระบบการศึกษาของบรูไน ดารุสซาลาม ม่งุ ตอบสนองความตอ้ งการ ของศตวรรษที่ 21 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนสาขา วิชาการต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ สนั ติภาพและความรุ่งเรืองของชาติ ระบบบรหิ ารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม I 47

ยทุ ธศาสตรก์ ารจดั การศกึ ษาแหง่ ชาตขิ องบรไู น ดารสุ ซาลาม เนน้ ใน เรื่องต่างๆ ดังน้ี ● การลงทุนทางการศกึ ษาส�ำหรบั เดก็ ปฐมวัย ● การน�ำแนวปฏิบัตทิ ีด่ ีจากนานาชาตมิ าใชใ้ นการจัดการเรยี น การสอนของประเทศ ● การพฒั นาผเู้ รยี นในระดบั มธั ยมศกึ ษา อดุ มศกึ ษา และอาชวี ศกึ ษา เพอ่ื ตอบสนองความตอ้ งการของตลาดธุรกิจและอุตสาหกรรม ● การส่งเสริมสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และการ สอ่ื สาร (ICT) ส�ำหรบั ผเู้ รยี น ครู บคุ ลากรการศกึ ษา รวมทง้ั การบรู ณาการ ดา้ นเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร (ICT) ในหลกั สตู รของโรงเรยี น ● การด�ำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเปิด โอกาสใหส้ ามารถศกึ ษาต่อไดใ้ นระดับอุดมศึกษา ● การสง่ เสรมิ การวจิ ยั การพฒั นา และนวตั กรรม ทงั้ จากงบประมาณ ภาครฐั เอกชน และความร่วมมือกับตา่ งประเทศ ● การสง่ เสรมิ การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี นโดยการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ ● การพฒั นาการจดั การของสถาบันการศึกษา นอกจากน้ี บรูไน ดารุสซาลาม ยังใหค้ วามส�ำคญั ต่อการด�ำเนินงาน ในเรอื่ งตา่ งๆ ดังน้ี ● การเพ่ิมประสิทธิภาพในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียน วทิ ยาลัย และสถาบันอุดมศกึ ษา ● การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของ ผเู้ รยี นและสังคมในปจั จบุ ันและอนาคต ● การพัฒนาโรงเรียน เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ u48 r$ * sr

จดั การเรียนการสอน เชน่ การใชค้ อมพวิ เตอร์ หรือเทคโนโลยสี มัยใหม่ ในชน้ั เรยี น ● การพฒั นาผนู้ �ำนกั เรยี น การพฒั นาหนุ้ สว่ นความรว่ มมอื ในชมุ ชน และภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาองค์การวิชาชีพที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได ้ และมีประสทิ ธภิ าพ  อนั จะกอ่ ให้เกิดการพัฒนา การเรยี นการสอน ความร่วมมอื ด้านการศกึ ษาในภมู ิภาค บรไู น ดารสุ ซาลาม  ใหค้ วามสนใจในการพฒั นาความรว่ มมอื ทาง การศกึ ษาระดับตา่ งๆ ดังนี้ ● ระดบั การอุดมศึกษา - ความรว่ มมือดา้ นการวจิ ยั และพฒั นา - การพฒั นาสถาบันนานาชาติ - การส่งเสรมิ โครงการ Twining Schools - การแลกเปล่ยี นนกั เรยี นและบุคลากร ● ระดบั การอาชวี ศกึ ษา - การพฒั นาหลกั สตู รอาชีวศึกษา - การฝึกปฏบิ ัติงานของนกั เรยี นและบุคลากรในภาค อุตสาหกรรม - การสร้างนวัตกรรม ● ระดับการศกึ ษาพน้ื ฐาน - การพัฒนาเยาวชนให้มีพ้นื ความรทู้ ีแ่ ข็งแกรง่ ในดา้ นภาษา อังกฤษ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ การคิดค�ำนวณ ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารสุ ซาลาม I 49