Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเรียนรู้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ผ่านสื่อ Virtual Field Trip

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ผ่านสื่อ Virtual Field Trip

Description: การเรียนรู้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ผ่านสื่อ Virtual Field Trip

Search

Read the Text Version

6. พระปรางควัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่งดงามเปนศรสี งา ของพระนคร เปนพระราชปรารภของพระมหากษตั รยิ พ ระองคใ ด ก. รัชกาลที่ 1 ข. รัชกาลท่ี 2 ค. รชั กาลที่ 3 ง. รัชกาลที่ 4 7. พระพทุ ธรูปในขอ ใดทก่ี ลาวกนั วาเปน ฝพ ระหัตถของรชั กาลท่ี 2 อยดู วย ก. พระพุทธเทวปฏมิ ากร ข. พระพุทธธรณศิ รราชโลกนาถดิลก ค. พระพทุ ธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร ง. พระพทุ ธสิหังคปฏมิ ากร 8. อาณาจกั รแหง เจดยี  ประดษิ ฐานอยวู ัดใด ก. วดั อรณุ ราชวรารามราชวรมหาวหิ าร ข. วัดราชโอรสารามราชวรวหิ าร ค. วัดพระเชตพุ นวิมลมงั คลารามราชวรมหาวิหาร ง. วัดราชบพธิ สถติ มหาสีมารามราชวรวิหาร 9. วัดประจำรชั กาลในขอใดมีลักษณะผสมผสานระหวางศลิ ปะไทยกับตะวนั ตก ก. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ข. วดั ราชโอรสารามราชวรวิหาร ค. วดั พระเชตพุ นวมิ ลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ง. วดั ราชบพิธสถติ มหาสมี ารามราชวรวิหาร 10. วัดประจำรัชกาลในขอใดมภี าพอนุสรณถ งึ เหตกุ ารณก ารเกิดสุรยิ ุปราคาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก. วดั ราชประดษิ ฐสถติ มหาสมี ารามราชวรวิหาร ข. วดั ราชบพิธสถิตมหาสมี ารามราชวรวหิ าร ค. วดั ราชโอรสารามราชวรวิหาร ง. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เฉลย 1. ค 2. ง 3. ก 4. ค 5. ค 6. ข 7. ข 8. ค 9. ง 10. ก 95 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชุดที่ 4 พระอารามหลวงประจำรชั กาลกรงุ รตั นโกสนิ ทร 1 วดั ประจำรัชกาลท่ี 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวหิ าร พระพทุ ธไสยาสน หรือพระนอน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยูทางใตของพระบรมมหาราชวัง มีถนนทายวังค่ันอยู เดิมช่ือวัดโพธาราม สรางข้ึนสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเทพราชา ตอมาในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชไดท รงสถาปนาวดั โพธารามเปน พระอารามหลวง ทม่ี าของภาพ : ศลิ ปากร, กรม. นำชมกรงุ รตั นโกสนิ ทร. หนา 144. 96 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช เสด็จข้ึนครองราชยใน พ.ศ. 2325 จงึ โปรดเกลาฯ ใหปฏิสงั ขรณว ัดโพธารามที่ชำรดุ ทรุดโทรมมาก โดยใชเวลาบรู ณะถึง 12 ป (พ.ศ. 2332 - 2344) และไดพระราชทานนามใหมวา “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” ตอมารัชกาลที่ 4 ไดเปล่ียนนามสรอย ของวัดเปน “วัดพระเชตุพนวมิ ลมงั คลารามราชวรมหาวหิ าร” แตผูคนทว่ั ไปนิยมเรียกวา “วดั โพธิ”์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไดมีการปฏิสังขรณวัดพระเชตุพนฯ คร้ังใหญ ใชเวลานานถึง 16 ป จึงเสร็จสมบูรณ นับเปนจุดเริ่มตนของความรุงเรืองในดานศิลปะวิทยาการอยางแทจริง เนื่องจาก พระองคมีพระราชประสงคจะใหวัดโพธ์ิเปน “มหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน” จึงโปรดเกลาฯ ใหนำ ความรทู ัง้ เกา และใหม เชน ตำรายา วรรณคดี ประเพณี สุภาษิต จารกึ ลงในแผน ศลิ าประดับไวใ นบรเิ วณวัด ปจจบุ นั วดั พระเชตพุ นฯ มโี รงเรยี นแพทยแผนโบราณ เผยแพรว ิชาแพทยแผนโบราณของไทยดวย ในพระวิหารพระพุทธไสยาสนเปนที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสนหรือพระนอนองคงามที่สุด และมีขนาดใหญเปนลำดับที่สองของประเทศไทย จุดเดนขององคพระ คือ พระพุทธบาทแสดงฝมือชาง ประดับมุกงดงามมาก เปนภาพมงคล 108 ประการ ประกอบดวยภาพในชองส่ีเหล่ียมเล็ก ๆ ลอมรอบ ภาพวงจักรอยูตรงกลาง พระประธานในพระอุโบสถมีนามวา พระพุทธเทวปฏิมากร สันนิษฐานวาสรางขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมเปนพระประธานวัดคูหาสวรรค ธนบุรี รัชกาลที่ 1 โปรดเกลาฯ ใหอัญเชิญมาบูรณปฏิสังขรณ แลวประดิษฐานไวในวัดพระเชตุพนฯ ภายในองคพระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอบ ๆ พระประธาน เดิมประดิษฐานพระอัครสาวก 2 องค คือ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร เปนปฏิมากรรมในสมัย รัชกาลที่ 1 ตอ มารชั กาลที่ 3 โปรดเกลาฯ ใหหลอรูปพระอรหนั ตเ พ่ิมอีก 8 องค รวมเปน พระสาวก 10 องค วัดพระเชตุพนฯ เปนวัดท่ีมีพระเจดียประดิษฐานอยูเปนจำนวนมาก เรียกไดวาเปนอาณาจักร แหงเจดีย เชน พระเจดียรายถึง 71 องค เรียงรายอยูรอบพระอุโบสถ มีพระเจดียหยอมรวม 20 องค พระมหาเจดีย 4 องค ขนาดเทากัน โดยเฉพาะพระเจดียศรีสรรเพชญดาญาณ สรางขึ้นในรัชกาลท่ี 1 เพ่อื บรรจุพระพทุ ธรปู ศรีสรรเพชญอันเปนพระพทุ ธรูปทเ่ี คยประดิษฐานในพระวหิ ารหลวงกรุงศรีอยธุ ยา บรรณานุกรม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน, 2548. ศลิ ปากร, กรม. กองโบราณคด.ี นำชมกรุงรตั นโกสินทร. กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทรการพิมพ, 2525. 97 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ที่ 4 พระอารามหลวงประจำรัชกาลกรุงรตั นโกสินทร 2 วัดประจำรัชกาลท่ี 2 วัดอรณุ ราชวรารามราชวรมหาวหิ าร วัดอรณุ ราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ต้ังอยูทาง ทิศตะวันตกของแมน้ำเจาพระยา เหนือพระราชวังเดิม ของกรุงธนบุรี เปนวัดโบราณสรางต้ังแตสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกวาวัดมะกอกแลวเปลี่ยนเปนวัดมะกอกนอก ตอมา เปล่ียนเปนวัดแจงในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช ไดทรงปฏิสังขรณพระอุโบสถและพระวิหารหลังเกาที่อยู หนาพระปรางค ใ น รั ช ก า ล พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ พุ ท ธ ย อ ด ฟ า จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เ จ า ฟ า ก ร ม ห ล ว ง อิ ส ร สุ น ท ร ไ ด ท ร ง ป ฏิ สั ง ข ร ณ วั ด แ จ ง สืบตอมา จนเมื่อเสด็จข้ึนครองราชยเปนรัชกาลที่ 2 แลว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย โปรดเกลาฯ ใหสราง พระอุโบสถหลังใหม แลวเสร็จใน พ.ศ. 2363 ไดโปรดเกลาฯ พระราชทานนามวดั ใหมวา “วัดอรุณราชธาราม” พรอมจดั งานสมโภชใหญถ งึ 7 วนั 7 คืน ในสมัยรัชกาลท่ี 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลา- เจาอยูหัว ไดทรงปฏิสังขรณวัดอรุณราชวรารามท่ัวพระอาราม พรอมท้ังโปรดเกลาฯ ใหสรางพระปรางคเปนยอดมงกุฎ แตไ มทนั มีงานฉลองกส็ ้นิ รัชกาลเสยี กอ น ในสมัยรชั กาลที่ 4 พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา - เจาอยูหัว ไดทรงโปรดเกลาฯ ใหปฏิสังขรณและสรางมณฑป เพ่ิมเติม เม่ือเสร็จเรียบรอยไดพระราชทานนามวัดใหมวา วัดอรุณราชวราราม ดงั ท่เี รียกกันมาจนถงึ ปจ จบุ นั ที่มาของภาพ : ศิลปากร, กรม. นำชมกรงุ รัตนโกสนิ ทร. หนา 138. 98 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2438 เกิดเพลิงไหมพระอุโบสถ จึงโปรดเกลาฯ ใหปฏิสังขรณ พระอุโบสถใหม เม่ือเสร็จแลวจึงไดจัดงานฉลองพระอุโบสถพรอมกับงานพระราชพิธีทวีธาภิเษก โดยโปรดเกลาฯ ใหนำเงินที่เหลือจากการบริจาคของพระราชวงศานุวงศไปสรางโรงเรียนทวีธาภิเษก ในวดั อรุณราชวราราม ใน พ.ศ. 2452 โปรดเกลา ฯ ใหบรู ณปฏสิ ังขรณพระปรางคแ ละสิง่ อื่น ๆ ภายในวดั และไดส ถาปนา ขึ้นเปนพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผาพระกฐิน ดว ยกระบวนพยหุ ยาตราทางชลมารคเปนครัง้ แรก พระอุโบสถในวัดอรุณราชวรารามสรางข้ึนในสมัยรัชกาลท่ี 2 เปนแบบศิลปะสมัยอยุธยา ตอนปลาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกลาฯ ใหเสริมซุมรูปบุษบกยอดปรางคข้ึนที่มุขหนาเปนท่ีประดิษฐาน พระพุทธรูปฉลองพระองครัชกาลท่ี 2 สวนมุขหลังเปนท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองครัชกาลท่ี 3 และรัชกาลที่ 4 เมื่อเกิดเพลิงไหมพระอุโบสถภาพจิตรกรรมฝาผนังถูกทำลายเสียหายไปมาก รัชกาลท่ี 5 จงึ โปรดเกลา ฯ ใหเ ขียนข้ึนใหมโ ดยพยายามรกั ษารปู แบบเดิมไว ภายในพระอโุ บสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชยั มนี ามวา พระพทุ ธธรณศิ รราชโลกนาถดิลก สรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 กลาวกันวา พระพักตรของพระพุทธรูปเปนฝพระหัตถของรัชกาลที่ 2 ทรงปนหุนเอง และในพระพุทธอาสนของพระประธานในพระอุโบสถไดบรรจุพระบรมอัฐิรัชกาลท่ี 2 ไว สวนภายในบุษบกดานหนาตรงมุขนอกพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปนฤมิตเปนพระพุทธรูป ฉลองพระองคร ัชกาลที่ 2 ซ่งึ เปน พระพุทธรูปยืนทรงเครื่อง ปดทอง ประกอบดว ยพุทธลกั ษณะงดงาม โบราณสถานทีส่ ำคญั ทีส่ ดุ ของวดั อรณุ ราชวรารามคอื พระปรางค ซ่ึงรัชกาลท่ี 2 ทรงพระราชปรารภ ที่จะสถาปนาพระปรางคเดิม ซ่ึงสูงเพียง 8 วา ใหงดงามเปนศรีสงาแกพระนคร แตเมื่อโปรดเกลาฯ ใหลงมือปฏิสังขรณก็เสด็จสวรรคตเสียกอน รัชกาลท่ี 3 และรัชกาลท่ี 4 จึงสถาปนาตอจนสำเร็จบริบูรณ องคพระปรางคใหญ พระปรางคเล็ก มณฑป ซุมกำแพงแกว ทุกสวนประดับตกแตงดวยกระเบ้ืองเคลือบ ลวดลายสีตา ง ๆ อยางประณีต บางชน้ิ เปนรปู ลายกนก บางสวนประดับเปน ลายดอกไมตาง ๆ บรรณานกุ รม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน, 2548. ศิลปากร, กรม. กองโบราณคด.ี นำชมกรงุ รตั นโกสินทร. กรุงเทพฯ : อมรินทรก ารพมิ พ, 2525. 99 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชุดที่ 4 พระอารามหลวงประจำรัชกาลกรุงรตั นโกสนิ ทร 3 วัดประจำรัชกาลที่ 3 วดั ราชโอรสารามราชวรวหิ าร วัดราชโอรสารามราชวรวหิ าร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เดิมช่ือวัดจอมทอง สรางข้ึนในสมัยอยุธยา เปนวัดท่ีต้ังอยู เขตบางขุนเทยี น กรุงเทพมหานคร ในอดตี นน้ั เปน บริเวณนวิ าสสถานของพระประยูรญาติขางฝายพระบรม- ราชชนนีของพระองค คือ กรมสมเด็จพระศรีสลุ าลยั (เจา จอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 2) ท่ีมาของภาพ : http://www.dhammajak.net/board/files/111_939.jpg 100 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เม่ือ พ.ศ. 2363 มีขาวเขามายังพระนครวาพมาเตรียมทัพบุกไทยทาง เมืองกาญจนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย จึงโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ กรมหม่ืนเจษฎาบดินทร ตอมาคือรัชกาลท่ี 3 เปนแมทัพคุมไพรพลเสด็จไปสกัดทัพพมาที่ดานพระเจดีย 3 องค ณ ตำบลปากแพรก เมอื งกาญจนบรุ ี สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ไดเสด็จโดยกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ไดเสด็จประทับแรมหนาวัดและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม ณ วัดแหงน้ี โดยพระองคไดทรง อธิษฐานขอใหก ารไปราชการทพั ครัง้ นี้ไดร ับชยั ชนะ และเสด็จไปต้งั ทพั อยู ณ เมอื งกาญจนบรุ ี จนกระทงั่ ถึง พ.ศ. 2364 ปรากฏวาไมมีทัพพมายกเขามา จึงเสด็จยกทัพกลับพระนคร และไดทรงบูรณปฏิสังขรณ วัดจอมทองขึ้นใหมทั้งวัด โดยเสด็จมาประทับคุมงานและตรวจตราการสรางดวยพระองคเอง เสร็จแลว ไดท ูลเกลา ฯ ถวายเปน พระอารามหลวง พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลศิ หลานภาลยั จงึ ไดพระราชทานนามใหมว า วดั ราชโอรส ซ่ึงหมายถงึ วัดทพ่ี ระราชโอรส คือ สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ กรมหมนื่ เจษฎาบดินทรทรงสถาปนา ถอื วาเปน วัดประจำรัชกาลท่ี 3 สถาปตยกรรมวัดราชโอรสเปนศิลปะแบบจีน ตามพระราชนิยมของสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ กรมหม่ืนเจษฎาบดินทร ซ่ึงขณะนั้นทรงกำกับกรมทาทำการคากับจีน จึงทรงนิยมศิลปะแบบจีนมาก วัดราชโอรสเปนวดั แรกทม่ี ศี ลิ ปะจีนผสมกลมกลืน ตง้ั แตซ มุ ประตทู างเขาวัด ซ่งึ มีหลงั คาส่ชี ั้นตามแบบจีนเดน ชัด หนา บนั ของพระอโุ บสถและพระวหิ ารเปน แบบเรยี บ ๆ ตัดสว นทเี่ ปนชอฟา ใบระกา หางหงส หรอื ที่เรยี กวา สวนบนออก แตมกี ารประดับหนา บนั ดว ยกระเบ้อื งเคลอื บเปนลวดลายดอกไมและรูปสัตวตา ง ๆ ตามแบบจนี พระอุโบสถมีลักษณะทางสถาปตยกรรมผสมสานระหวางศิลปกรรมจีนและไทย หนาประตู มีนายทวารบาลเปนตุกตากระเบื้องเคลือบ 2 ตัว ขนาดใหญกวาคนจริงเปนรูปชาวจีนหนาตาดุดัน ดูนาเกรงขามเฝาประตูอยู ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเปนลายเครื่องบูชาและ ส่ิงมงคลแบบจีน สวนภายนอกพระอุโบสถมีศาลารายพระวิหารคต สถูปเจดียหินเปนศิลปะจีนเห็นชัดเจน สวนพระปรางคและพระเจดียยอ มมุ ไมสบิ สองเปน ศลิ ปะแบบไทย บรรณานกุ รม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2548. ศลิ ปากร, กรม. กองโบราณคดี. นำชมกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : อมรนิ ทรก ารพิมพ, 2525. 101 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชุดท่ี 4 พระอารามหลวงประจำรชั กาลกรุงรตั นโกสินทร 4 วดั ประจำรัชกาลท่ี 4 วดั ราชประดษิ ฐสถิตมหาสีมารามราชวรวหิ าร พระพุทธสหิ งั คปฏิมากร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เปนวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงโปรดเกลา ฯ ใหส รางข้นึ เมือ่ พ.ศ. 2407 ณ บริเวณสวนกาแฟใกลก ับพระบรมมหาราชวัง เพื่ออทุ ศิ ถวาย พระสงฆค ณะธรรมยุติกนิกายโดยเฉพาะ นบั เปนวดั ธรรมยุติวัดแรกทรี่ ัชกาลที่ 4 โปรดเกลา ฯ ใหส รางข้ึน ทมี่ าของภาพ : ศิลปากร, กรม. นำชมกรงุ รัตนโกสนิ ทร. หนา 203. 102 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ตอมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา- เจาอยูหัวไดปฏิสังขรณครั้งใหญ และโปรดเกลาฯ ใหแบงพระบรมอัฐิพระบรมชนกนาถลงในกลองศิลา นำไปบรรจุในพระพุทธอาสนในพระวิหาร ตอมา พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา เจา อยหู วั โปรดเกลา ฯ ใ ห ส ร า ง ห อ ไ ต ร ส ำ ห รั บ เ ก็ บ พ ร ะ ไ ต ร ป ฎ ก แ ล ะ คัมภีรธรรมตาง ๆ อยูขางพระวิหารใหม และ หอพระจอมประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 หลอเทาพระองคจริงขึ้นอีกขางหนึ่งคูกัน หอทั้งสอง เปนแบบปราสาทยอดปรางคแบบขอม พระวิหารหลวงในวัดราชประดิษฐมีรูปรางทรวดทรงงดงามมาก ประดับดวยหินออนท้ังหลัง หนาบันท้ังดานหนาและหลังเปนไมแกะสลักลวดลายท่ีวิจิตรประณีตนับเปนสถาปตยกรรมชั้นหนึ่งของไทย พระประธานในพระวิหารหลวง คือ พระพทุ ธสหิ งั คปฏมิ ากร เปน พระพุทธรูปปางสมาธิ ซงึ่ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูห ัว โปรดเกลาฯ ใหจำลองมาจาก “พระพทุ ธสิหิงค” บนผนังรอบ ๆ ภายในพระวิหารหลวงเปนภาพสีฝุน เขียนขนึ้ ในสมยั รัชกาลที่ 5 เปนภาพเทพยดา พระราชพิธีสิบสองเดือน และภาพสุริยุปราคา เปนอนุสรณถึงเหตุการณสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรง คำนวณการเกิดสุริยปราคาไดแมนยำ และมองเห็นไดชัดเจนที่ตำบลหวากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ เมื่อเสด็จกลับมาก็ประชวรไดรับไขมาเลเรียจากตำบลหวากอ ภาพน้ีจึงเปนภาพประวัติศาสตรท่ีบันทึก ความทรงจำใหน อ มรำลกึ ถงึ พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 4 บรรณานกุ รม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน, 2548. ศิลปากร, กรม. กองโบราณคด.ี นำชมกรงุ รัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : อมรนิ ทรก ารพมิ พ, 2525. ที่มาของภาพ : http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_3_118.jpg 103 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ท่ี 4 พระอารามหลวงประจำรัชกาลกรงุ รัตนโกสินทร 5 วดั ประจำรชั กาลที่ 5 วดั ราชบพิธสถิตมหาสมี ารามราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เปนวัดท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงโปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นเพ่ือเฉลิมพระเกียรติ เปนวัดประจำรัชกาลตามโบราณราชประเพณี ตอมา พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 7) ทรงรับภาระปฏิสังขรณเสมือนเปนวัดประจำรัชกาล พระองคด วย ปูชนียสถานในวัดราชบพิธ ตั้งอยูบน ไพทียกสูง ปูดวยหินออนทั้งบริเวณ ประกอบดวย พระอุโบสถ พระเจดยี  วหิ ารมขุ วิหารคต และศาลาราย ทั้งหมดประดับดวยกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค ซ่ึงพระอาจารยแดงชางเขียนมีชื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 เปน ผอู อกแบบลวดลาย แลว สง ไปทำกระเบ้อื งเคลือบ ณ เมอื งจีน และนำมาประดบั ปชู นยี สถานดงั กลาว พระพทุ ธอังคีรส ท่มี าของภาพ : ศลิ ปากร, กรม. นำชมกรงุ รัตนโกสินทร. หนา 215. 104 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

พระอุโบสถวัดราชบพิธ รูปทรงภายนอกเปน แบบไทยสว นภายในเปนแบบตะวันตก มีการตกแตง อยางประณตี งดงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนงั เปน เรื่องพุทธประวตั ิ พระประธานในพระอุโบสถ คอื พระพุทธ- อังคีรส เปนพระพุทธรูปหลอปางสมาธิ พระฉวีวรรณเปนทองคำทั้งองค เศวตฉัตรท่ีก้ันอยูเหนือองคพระ เดิมเปนเศวตฉัตรก้ันพระโกศพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ซึ่งเมื่อถวาย พระเพลิงพระบรมศพแลว รัชกาลท่ี 6 โปรดเกลาฯ ใหนำมาทรงพระประธานองคนี้ สวนที่ฐานชุกชี บรรจุพระบรมราชสรรี งั คารของรัชกาลท่ี 7 พระเจดียอยูหลังพระอุโบสถ เปนพระเจดียทรงไทยยอเหลี่ยมฐานคูหาประดับกระเบ้ืองเคลือบ ลายเบญจรงคทั้งองค พระเจดียน้ีถือเปนประธานของวัด โดยสรางข้ึนกอนอยูตรงกลาง แลวจึงสราง ปชู นียสถานอ่นื ๆ ลกั ษณะการกอ สรางดังกลา วเปนแบบฉบับการสรา งแบบโบราณ บรรณานุกรม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน, 2548. ศลิ ปากร, กรม. กองโบราณคด.ี นำชมกรุงรตั นโกสนิ ทร. กรุงเทพฯ : อมรินทรการพมิ พ, 2525. ท่มี าของภาพ : http://www.dhammajak.net/board/files/122_829.jpg 105 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ที่ 4 พระอารามหลวงประจำรัชกาลกรุงรตั นโกสนิ ทร POST-TEST คำชีแ้ จง ใหนกั เรียนเลือกคำตอบที่ถูกตอ งทีส่ ุดเพียงขอเดียวลงในกระดาษคำตอบ 1. วัดพระเชตพุ นวมิ ลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปนวัดประจำรชั กาลใด ก. พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ข. พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลศิ หลานภาลัย ค. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจา อยหู วั ง. พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจา อยหู ัว 2. วดั อรณุ ราชวรารามราชวรมหาวิหารเปนวดั ประจำรชั กาลใด ก. รัชกาลที่ 1 ข. รชั กาลท่ี 2 ค. รัชกาลท่ี 3 ง. รัชกาลท่ี 4 3. วัดราชประดษิ ฐสถิตมหาสมี ารามราชวรวิหารเปนวดั ประจำรัชกาลใด ก. รัชกาลที่ 2 ข. รชั กาลท่ี 3 ค. รชั กาลท่ี 4 ง. รชั กาลที่ 5 4. วดั ราชประดษิ ฐสถิตมหาสมี ารามราชวรวิหารเปนวดั ประจำรชั กาลใด ก. พระบาทสมเดจ็ พระนั่งเกลาเจา อยหู ัว ข. พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลาเจา อยหู วั ค. พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลาเจา อยูห ัว ง. พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลาเจาอยูหัว 5. วดั ราชโอรสารามราชวรวิหารเปนวัดประจำรัชกาลใด ก. รชั กาลที่ 3 ข. รชั กาลที่ 4 ค. รัชกาลที่ 5 ง. รัชกาลท่ี 6 106 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

6. วัดใดเปน วัดประจำรัชกาลท่ี 7 ก. วัดอรณุ ราชวรารามราชวรมหาวหิ าร ข. วดั ราชโอรสารามราชวรวหิ าร ค. วดั ราชประดษิ ฐสถติ มหาสมี ารามราชวรวหิ าร ง. วดั ราชบพิธสถติ มหาสมี ารามราชวรวหิ าร 7. สถาปตยกรรมของวัดประจำรชั กาลใดทีม่ ศี ิลปะจนี ผสมกลมกลนื ก. วดั อรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ข. วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ค. วัดมหาธาตุยวุ ราชรงั สฤษฎ์ิ ง. วดั ราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวหิ าร 8. วัดประจำรชั กาลในขอใดเปน “มหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน” ก. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ข. วดั พระเชตุพนวิมลมงั คลารามราชวรมหาวิหาร ค. วดั ราชโอรสารามราชวรวิหาร ง. วดั ราชบพิธสถติ มหาสมี ารามราชวรวิหาร 9. ขอใดเปน พระประธานวดั อรุณราชวรารามราชวรมหาวหิ าร ก. พระพุทธอังคีรส ข. พระพุทธเทวปฏิมากร ค. พระพทุ ธธรณศิ รราชโลกนาถดิลก ง. พระพุทธสิหงั คปฏมิ ากร 10. วดั ใดโปรดเกลาฯ ใหส รางขน้ึ เพ่อื อุทศิ ถวายพระสงฆค ณะธรรมยตุ กิ นกิ ายโดยเฉพาะ ก. วดั อรณุ ราชวรารามราชวรมหาวิหาร ข. วัดพระเชตพุ นวมิ ลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ค. วัดราชบพธิ สถิตมหาสีมารามราชวรวหิ าร ง. วัดราชประดษิ ฐสถติ มหาสมี ารามราชวรวิหาร เฉลย 1. ก 2. ข 3. ค 4. ค 5. ก 6. ง 7. ข 8. ข 9. ค 10. ง 107 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชุดที่ 5 อาหารไทย : ครวั ไทยสคู รวั โลก ความสอดคลอ งกับหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 การศึกษาชุดสื่อการเรียนรูประวัติศาสตรรัตนโกสินทร ชุดท่ี 5 อาหารไทย : ครัวไทยสูครัวโลก นักเรียนจะไดรับความรูซ่ึงสอดคลองกับมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด ชัน้ ป ดงั น้ี ส 4.1 เขา ใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยคุ สมยั ทางประวัตศิ าสตร สามารถใชว ิธีการทางประวัติศาสตรม าวเิ คราะหเหตุการณต า ง ๆ อยางเปนระบบ ม.3/ส 4.1 ขอ 1 วิเคราะหเร่ืองราวเหตุการณสำคัญทางประวัติศาสตร ไดอ ยา งมีเหตผุ ลตามวธิ กี ารทางประวตั ิศาสตร ม.3/ส 4.1 ขอ 2 ใชวิธีการทางประวัติศาสตรในการศึกษาเรื่องราวตาง ๆ ทต่ี นสนใจ ส 4.3 เขาใจความเปนมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปญญาไทย มีความรัก ความภมู ิใจ และธำรงความเปนไทย ม.3/ส 4.3 ขอ 3 วิเคราะหภูมิปญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร และอทิ ธิพลตอการพฒั นาชาตไิ ทย 108 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ท่ี 5 อาหารไทย : ครวั ไทยสูครวั โลก PRE-TEST คำชีแ้ จง ใหน กั เรียนเลือกคำตอบที่ถกู ตอ งที่สุดเพียงขอ เดียวลงในกระดาษคำตอบ 1. ขอ ใดคอื เอกลกั ษณข องอาหารไทย ก. การใชพ ืชสมุนไพรเปน สวนประกอบของอาหาร ข. การใชข าว ปลา และพชื ประเภทผกั ตา ง ๆ เปนสวนประกอบหลกั ค. การหลอมรวมวฒั นธรรมตา งชาติไดอ ยา งกลมกลืน ง. ถูกทุกขอ 2. ขอใดไมใ ชส วนประกอบของขนมไทยแตด้ังเดิม ก. แปง ข. นำ้ ตาล ค. มะพราว ง. ไขแดง 3. การนำพรกิ มาเปน สว นประกอบของอาหารเร่มิ ตนในสมัยใด ก. สโุ ขทัย ข. อยุธยา ค. ธนบุรี ง. รัตนโกสนิ ทร 4. ทา วทองกีบมา ภรรยาเจา พระยาวิชาเยนทร มีสวนสำคัญตออาหารไทยอยา งไร ก. เปน ผนู ำอาหารตะวนั ตกสูราชสำนกั ไทย ข. เปน ผูควบคมุ การปรงุ อาหารคุมหองเครอ่ื งคาวหวาน ค. เปนคนแรกทที่ ำใหอ าหารไทยมีการปรงุ รสชาตทิ ่หี ลากหลาย ง. เปนผูดัดแปลงขนมตะวันตกมาใชเ ปนสว นประกอบกบั ขนมไทย 5. ขนมทนี่ างมารี กียมาร เชื้อสายญป่ี นุ - โปรตุเกส เปน ผูคดิ คน ขึ้นคอื ขอใด ก. ขนมฝร่ังกฎุ จี ีน ข. ขนมเบือ้ งหนา ฝอยทอง ค. ทองหยบิ ทองหยอด ฝอยทอง ง. ถกู ทุกขอ 109 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

6. อาหารไทยของภาคใดท่ถี ือวา เปน ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมท่ผี สมผสานหลากหลายเชอ้ื ชาติ มากกวา ภาคอนื่ ก. ภาคเหนอื ข. ภาคกลาง ค. ภาคใต ง. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7. ขอใดคือเอกลักษณของอาหารของคนไทยภาคกลาง ก. มีความซับซอนและกรรมวธิ ใี นการปรุงหลากหลาย ข. อาหารทที่ ำจากปลาและผักเปน สวนประกอบสำคญั ค. การผสมผสานรสชาตขิ องเปร้ยี ว หวาน เคม็ เผ็ด ง. เปน อขู า ว อูนำ้ ทส่ี ำคญั ของประเทศไทยมาแตโ บราณ 8. คำวา เครอื่ งเคียง หรือเคร่อื งแนม มีความหมายตรงกับขอ ใด ก. อาหารท่เี พมิ่ รสเปรยี้ ว ข. ผักสดสำหรับน้ำพรกิ ทีเ่ ปนอาหารหลกั ของคนไทย ค. เครือ่ งจ้มิ ใชป ระกอบสำหรบั นำ้ พริกและเครือ่ งหวาน ง. อาหารที่จดั เพม่ิ ขนึ้ เพื่อชวยเสรมิ อาหารหลกั ในสำรบั 9. สำรบั อาหารของภาคกลางใน 1 สำรบั ประกอบดวยอาหารประเภทใดบา ง ก. นำ้ พริก ผกั สด ปลาทอด และแกงจดื ข. แกงเผด็ ปลาแหง เนอ้ื เคม็ และแตงโม ค. แกงเผ็ด แกงจดื ผัดหรอื ทอด และนำ้ พริก ง. ถูกทกุ ขอ 10. สง่ิ ทถ่ี ือไดวา เปน ภูมิปญญาของบรรพบุรษุ ไทยในการประกอบอาหารคอื ขอ ใด ก. ใชสมุนไพรเปนเครอ่ื งเทศสดประกอบอาหารไทย ข. ประยุกตแ ละปรับปรงุ อาหารจากตา งชาตมิ าผสมผสานกัน ค. มกี ารประดิษฐใ หง ดงาม และมรี สชาติหลากหลายจากผกั และผลไม ง. ถูกทกุ ขอ เฉลย 1. ง 2. ง 3. ข 4. ง 5. ค 6. ข 7. ค 8. ง 9. ค 10. ง 110 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ที่ 5 อาหารไทย : ครวั ไทยสูค รวั โลก 1 การหลอมรวมวัฒนธรรมในอาหารไทย อาหารไทยเปนที่รูจักเปนอยางดีของชาวตางชาติ ผดั ไทย ทั่วโลก เพราะมีเสนหที่รสชาติและการปรุงแตงใหมีลักษณะ นารับประทาน และเปนเอกลักษณอยางหน่ึงที่แสดงใหเห็น ถึงวัฒนธรรมไทย อาหารไทยแตละภูมิภาคนั้นมีรสชาติและ การสรางสรรคท ี่แตกตา งกันไปตามลักษณะภูมปิ ระเทศ วิถชี ีวติ ความเปนอยู ตลอดจนประเพณีความเชื่อ ดังนั้น อาหารไทย จึงมีประวัติศาสตรอันยาวนานท่ีเปนเอกลักษณของไทย และหลอมรวมวฒั นธรรมตางชาติอน่ื ๆ เขาไวด ว ยกัน อาหารไทยด้ังเดิมประกอบข้ึนอยางเรียบงาย ใชวัตถุดิบที่หาไดงายในทองถ่ินโดยมีสวนประกอบหลัก เชน พืชผักสวนครัว กุงหอยปูปลาในทองถ่ิน เมื่อประกอบกันเขาอยางงาย ๆ ก็กลายเปนอาหารที่มีคุณคา อุดมดวยสารอาหารท่ีจำเปน และมีการผสมผสานรสชาติหลากหลายใหถูกปากคนไทย คือ เปร้ียว เค็ม หวาน เผ็ด และขม เอกลักษณทางรสชาติอาหารเหลานี้มาจากพืชตาง ๆ เชน มะขาม มะกรูด ตะลงิ ปลงิ มะนาว สมแขก รวมทงั้ ผลไมบ างชนิด เชน มะมวง มะดนั ตางใหรสเปร้ยี วท่ีตางกนั สว นรสเค็ม ไดจากน้ำปลา กะป รสขมไดจากมะระ รสเผ็ดไดจากพริก พริกไทย และเคร่ืองเทศ ตอมาเม่ือมีผูคน หลากหลายเชื้อชาติเดินทางเขามาในแผนดินไทย ก็ไดนำวัฒนธรรมดานอาหารการกินเขามาเผยแพร และในท่ีสุดก็เกิดการหลอมรวมวัฒนธรรมดานอาหารขึ้น ซึ่งถือวาเปนเอกลักษณทางดานอาหารไทย ทบี่ รรพบุรษุ ไทยไดประดิษฐคิดคนขน้ึ ในอดีตที่ผานมา เหตุการณทางประวัติศาสตรบันทึกไววา พอคาอินเดียและจีนไดเดินทางเขามา เพื่อคาขายและตั้งถ่ินฐานในสยามมานานหลายศตวรรษ คนไทยไดรูจักอาหารจีน อาหารอินเดีย และอุปกรณ เครื่องใชในการรับประทานอาหารแบบจีน เชน ตะเกียบ และรจู ักเครื่องปรุงรสประเภทถั่วหมกั แตใ นทองถิน่ เอง ก็มีการผลิตน้ำปลาขึ้นใชปรุงรสอยูแลว จึงไดเกิดการหลอมรวมวัฒนธรรมขึ้นโดยงาย หรือสมัยอยุธยา พอคาอินเดีย อาหรับ หรือมุสลิมไดเดินทางมาคาขายกับโลกตะวันออก โดยเฉพาะการนำเคร่ืองเทศ กลับไปขายยังตะวันตก เมื่อพอคาเหลานี้เดินทางเขามาจึงเกิดการนำวัฒนธรรมดานอาหารการกินเขามาดวย เชน มีอาหารที่ปรุงรสและใสเคร่ืองเทศ อาทิ ผงกะหรี่ ลูกยี่หรา จันทนเทศ เปนตน คนไทยจึงรูจัก 111 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

“ขาวบุหรี่” คือขาวที่หุงใสเคร่ืองเทศตาง ๆ คร้ันเม่ืออยุธยาไดรูจักชาติตะวันตกชาติแรกคือ โปรตุเกส ท่ีเขามาในป พ.ศ. 2054 ก็ทำใหวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันตกไดเร่ิมเขามามีบทบาทในอาหารไทย เชน ขนมอบ การรูจักขนมในพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนรูจักการปรุงอาหารในลักษณะอ่ืน ๆ เชน อบ เคี่ยว ที่สำคัญคือการปรากฏข้ึนของขนมตระกูลทอง ซ่ึงทำจากไข เชน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองมวน หรือขนมเคก แบบตาง ๆ ซึง่ เชื่อกันวา เปน วฒั นธรรมอาหารหวานของชาวโปรตุเกส เมื่ออาหารจากวัฒนธรรมอ่ืนเขามาในสยามแลวไดถูกหลอมรวมเขาสูวัฒนธรรมอาหารแบบ พ้ืนเมือง คือปรับปรุงรสชาติใหถูกปากชาวสยามมากขึ้น หรืออาจปรับเปลี่ยนเครื่องปรุงใหสามารถใช วัตถุดิบพื้นเมืองมาเปนสวนประกอบก็ได เชน เพ่ิมรสชาติใหเผ็ดรอนมากข้ึน ปรับสีสันใหชวนรับประทาน หรือปรับปรงุ กรรมวธิ ีการปรงุ เพ่อื เปนการถนอมอาหารไวไ ดนานมากขน้ึ ผูที่มีบทบาทในการผสมผสานขนมไทยที่มีชื่อเสียงเปนท่ีรูจักกันทั่วไป คือ ทานผูหญิงวิชาเยนทร หรอื นามเดิมคอื นางมารี กยี ม าร ซ่ึงมเี ชอื้ สายญปี่ ุน - โปรตุเกส ภรรยาเจาพระยาวิชาเยนทร (คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก) ไดรับตำแหนงเปนทาวทองกีบมา ผูปรุงอาหารหลวงคุมหองเคร่ืองคาวหวาน ทาวทอง กีบมาไดนำอาหารโปรตุเกสท่ีใชไขแดงมาดัดแปลงใชกับสวนประกอบของขนมไทยด้ังเดิม คือ แปง น้ำตาล และมะพราว ทำใหเกิดขนมชนิดใหม คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง นับวาทาวทองกีบมาเปนผูสราง นวัตกรรมขนมไทยข้ึนมา อาหารที่มีลักษณะผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยนำอาหารตางชาติมาประยุกตใชสวนประกอบ ที่มใี นแผนดินไทยมาปรบั และปรุงแตง รสชาตใิ หมใหถ กู ปากคนไทยมหี ลายอยาง เชน แกงเผ็ด ที่มีสวนผสมเครื่องเทศและกะทิ มาจากชาวอินเดีย อาหรับ หรือมุสลิม แตคนไทย นำมาปรบั ปรุงโดยลดเครือ่ งเทศลง และใสส มุนไพรแบบไทย ๆ คือ ตะไคร ขา กระเทยี ม หอมแดง รากผกั ชี พริก พริกไทย ผวิ มะกรูด กะป ลงไปทำใหเกดิ แกงเผด็ แบบไทย ๆ ขนึ้ แกงฮังเล ตำรับดั้งเดิมมาจากพมา ขนมจีนน้ำเงี้ยวมาจากไทยใหญ ขาวซอยมาจากจีนฮอ คนไทยกไ็ ดดดั แปลงใหแปลกไปจากเดมิ ในสมัยรัตนโกสินทร ผูคนจากชาติตาง ๆ เขามาผสมผสานและตั้งถ่ินฐานในไทยมากขึ้น วฒั นธรรมอาหารไทยจงึ ไดป รับเปล่ียนและพัฒนามากขึ้นจนถงึ ทุกวันนี้ บรรณานุกรม ศลิ ปากร, กรม. นานาสาระวัฒนธรรมไทย เลม 2. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท อาทติ ย โพรดกั ส กรปุ จำกดั , 2544. __________. หม่ืนรอ ยพันผสาน. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท อาทติ ย โพรดักส กรุป จำกัด, 2546. ท่ีมาของภาพ : บรษิ ัท อทติ า พบั ลิเคช่ัน. เทีย่ วรอบโลก. หนา 62. 112 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชุดท่ี 5 อาหารไทย : ครัวไทยสูครัวโลก 2 คุณคา และภูมปิ ญ ญาในอาหารไทย ชาติไทยเปนชาติเกาแกท่ีสืบทอดวัฒนธรรมมาเน่ินนาน มีขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตท่ีมีเอกลักษณของตนเอง อาหารไทยเปนมรดกทางวัฒนธรรมและ ภูมิปญ ญาของบรรพชนทส่ี ืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ปจจบุ นั อาหารไทยไดรบั ความนิยมไปท่วั โลก ไมใ ชแ ตเ ฉพาะตม ยำกงุ ผดั ไทย มัสมน่ั แกงเขยี วหวาน และตมขา ไกเทา นั้น แตขาวเหนยี ว สมตำ ไกยาง และผลไมไทยตาง ๆ กเ็ ปนทีน่ ิยมมากเชน กนั คุณคาของอาหารไทยน้ันเต็มไปดวยสารอาหารที่ครบถวนตามหลักโภชนาการ เพราะสวนใหญ เปนพืชสมุนไพรที่หาไดตามธรรมชาติโดยไมตองพึ่งพายาฆาแมลงและสารปราบศัตรูพืช มีราคาถูก และสามารถหาไดต ลอดทง้ั ป ที่มาของภาพ : http://photo.wongnai.com/photos/2012/08/13/13bd2e6dd3754926a17d5c98243d3969.jpg 113 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

คุณคาทางโภชนาการของอาหารไทยข้ึนอยูกับสวนประกอบท่ีนำมาใชในการปรุงอาหาร เพราะ พืชผักและเนื้อสัตว เชน ปลา มีสารอาหารตาง ๆ ท่ีมีประโยชนแกรางกายทั้งสิ้น ผักท่ีมียอด อาทิ ยอดฟกทอง ยอดผักแมว ยอดผักกูด ยอดกระถิน ยอดผักหวาน ยอดผักบุง ฯลฯ ลวนแตมีวิตามิน ทจี่ ำเปน แกร า งกาย สว นผกั ที่มสี ีเหลอื ง สสี ม เชน ฟก ทอง แครอท มีสารอาหารท่ีบำรุงสายตา นอกจากน้ี ผักบางประเภทมีสรรพคุณเปนยาสำหรับปองกันโรคภัยไขเจ็บ เชน ใบและลูกยอ ยอดสะเดา ใบมะขาม มีฤทธิ์เปนยาระบาย หรือใชในการบำรุงสุขภาพ เชน ตำลึง หัวปลี สำหรับชวยเพิ่มน้ำนมใหมารดา หรือขงิ ขา กะเพรา มีสรรพคุณขับลม ปอ งกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส ท่ีสำคัญคือ อาหารไทยสวนใหญมีสวนประกอบท่ีเปนพืชผัก สมุนไพร และเคร่ืองเทศ เชน หอมแดง กระเทียม พริก ขิง ขา ตะไคร ท่ีมีสรรพคุณตอสุขภาพรางกาย เชน ชวยใหโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ลดการอดุ ตนั ของเสน เลอื ด แกท อ งอดื ทองเฟอ ขับลม ขับเหง่อื ชวยเจรญิ อาหาร ดงั น้ัน ดวยภูมิปญ ญาไทย เม่ือกินอาหารประเภทแกงกะทิซ่ึงเปนไขมันก็ไดหอม กระเทียม กระชาย ขา ท่ีอยูในเครื่องแกงกับมะเขือ ชวยลดไขมันจากกะทิลงได การกินอยูแบบไทยจึงเปนการกินอยูอยางมีคุณคาและรสชาติดี อีกทั้งยังไดรับ ความนิยมจากนานาประเทศมากยงิ่ ข้ึน นอกจากนี้ คนไทยรูจักดัดแปลงรูปทรงและรสชาติของพืชผักใหเปล่ียนแปลงไป มีรสชาติดีข้ึน ไมขมจนเกินไป เชน รูจักนำบอระเพ็ดซึ่งมีรสชาติขมมากมาแชอ่ิมใหมีรสหวาน หรือบางครั้งนำมาปรุงอาหาร ไมใหมีรสหวานจนเกินไป เชน ใสเกลือเพ่ือลดความหวาน ยิ่งไปกวาน้ันคนไทยยังมีฝมือในการแกะสลัก ผักผลไมใหวิจิตรบรรจง เชน แกะสลักฟกทองเปนโถลวดลายวิจิตรสำหรับใสอาหารที่ปรุงสำเร็จ หรือ แกะสลักเปนเรือสุพรรณหงส สลักแตงกวา มะเขือเทศใหมีรูปทรงตาง ๆ ที่งดงาม แกะสลักผลไมใหมี ลวดลายและสีสันงดงามขนึ้ อนั เปน การเพม่ิ มูลคาใหก ับอาหารไทย บรรณานุกรม ศลิ ปากร, กรม. นานาสาระวฒั นธรรมไทย เลม 2. กรุงเทพฯ : บริษทั อาทติ ย โพรดกั ส กรปุ จำกดั , 2544. __________. หมืน่ รอ ยพันผสาน. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั อาทติ ย โพรดักส กรปุ จำกัด, 2546. 114 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ที่ 5 อาหารไทย : ครัวไทยสคู รวั โลก 3 อาหารไทยในงานบุญตาง ๆ ประเทศไทยเปนประเทศท่ีมีงานบุญประเพณีตลอดท้ังป ประเพณีสวนใหญเกี่ยวของกับศาสนา และความเชื่อ ทำใหคนไทยไดคิดสรางสรรคอาหารสำหรับงานบุญตาง ๆ ที่สะทอนถึงความเช่ือของตน ออกมาดว ย อาหารในงานบุญน้ันแตกตางกันไปตามภูมิภาคตาง ๆ มีท้ังอาหารคาวและอาหารหวาน โดยเฉพาะอยางย่ิงอาหารหวานนั้นเปนอาหารในงานบุญท่ีนิยมทำเพื่อถวายพระสงฆ ในชนบททองถิ่น ของไทยงานบุญประเพณีมักไมขาดการกินขนมส่ีถวย หรือกินส่ีถวย ซึ่งเปนขนมหวานพื้นฐานของคนทั่วไป คือ ไขกบ นกปลอย มะลิลอย และอายต้ือ ไขกบคือเม็ดแมงลักน้ำกะทิ นกปลอยคือขนมลอดชอง มะลิลอยคือขาวตอก สว นอายตื้อคือขา วเหนียวดำนำ้ กะทิ นอกจากขนมสี่ถวยแลว ยังมีงานบุญประเพณีของคนไทยตลอดท้ังปท่ีมีอาหารคาวหวาน ประกอบ ดังเชน งานบุญขาวจ่ี ถือเปนงานบุญประเพณีของชาวอีสานที่จัดข้ึนในชวงฤดูหนาว เปนงานบุญ ท่ีชาวบานรวมกันจัดขึ้นกอนการเก็บเกี่ยวขาว ขาวจี่คือการกอกองไฟขึ้นกลางลานหมูบาน แลวนำขาวเหนียว มาปง หรือจใ่ี หสุก พรมน้ำเกลอื หรอื ทาไขไ กใหสกุ เหลอื ง เปน ของรบั ประทานเลน ได ท่ีมาของภาพ : http://www.buriramtime.com/_files/news/2010_09_24_122644_hpmfqb7g.jpg 115 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ฝอยทอง ขนมลา บุญเลี้ยงขนมเบ้ือง เปนทั้งงานพระราชพิธีท่ีจัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังและเปนงาน ที่ประชาชนท่ัวไปจัดข้ึน มักจัดในชวงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ เนื่องจากเปนชวงเวลาท่ีมีกุงชุกชุม ชาวบานจึงนำมันกุงมาทำขนมเบื้องเปนขนมเบ้ืองหนากุง และหากเปนพระราชพิธีมักมีการ เจรญิ พระพทุ ธมนตในพระราชวังกอนแลวจึงถวายเล้ียงขนมเบ้อื ง ในงานบุญที่เปนงานมงคล เชน งานแตงงาน งานขึ้นบานใหม เปนตน คนไทยมีความเช่ือวา เปน พธิ ีกรรมทีม่ คี วามเปน สริ ิมงคล จึงมกี ารจัดอาหารคาวหวานตาง ๆ ดว ย ขนมท่นี ิยมใชมักข้ึนตนดว ยคำวา ทอง ซึ่งถือเปนขนมสิริมงคล ไดแก ทองมวน ทองหยอด ฝอยทอง เพราะเช่ือวาผูรับประทานจะมี โชคลาภวาสนา หรือมีอายุยืนยาวตามชื่อของขนม หากเปนงานมงคลสมรสในบางพ้ืนที่ มักมีขนมทองถิ่น เชน ขนมสามเกลอ ที่มีลักษณะเปนลูกกลมสามลูกติดกันนำลงไปทอด ถาขนมติดกันทั้งสามลูกก็เส่ียงทายวา ชวี ติ คูสมรสจะยืนยาว อยางไรก็ตาม ในงานบุญท่ีชาวบานทำอุทิศใหกับผูที่ลวงลับไปแลว มักมีขนมลา ขนมกง ที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศแทนเสื้อผา และเหรียญเงินเพื่อใหบรรพบุรุษท่ีลวงลับไปไดรับบุญที่ลูกหลานอุทิศไปให จะเห็นไดวาอาหารไทยในงานบุญประเพณีตาง ๆ มีเปนจำนวนมาก นอกเหนือไปจากสำรับอาหาร คาวหวานปกติที่ชาวบานไดทำเพ่ือถวายพระสงฆแลว ยังมีอาหารคาวหวานบางประเภทที่ทำขึ้นเฉพาะ โดยเปนความเชอ่ื ของชาวบานในแตล ะทอ งถิน่ สอดแทรกอยอู ยางแนบแนน บรรณานกุ รม ศลิ ปากร, กรม. นานาสาระวัฒนธรรมไทย เลม 2. กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั อาทติ ย โพรดักส กรปุ จำกัด, 2544. __________. หม่ืนรอ ยพนั ผสาน. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั อาทิตย โพรดกั ส กรปุ จำกดั , 2546. ทม่ี าของภาพ : www.freedom.in.th http://www.the-than.com/food/food-b59.html 116 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

ชดุ ท่ี 5 อาหารไทย : ครัวไทยสูครวั โลก POST-TEST คำชีแ้ จง ใหน กั เรียนเลือกคำตอบทีถ่ ูกตองทีส่ ุดเพียงขอเดียวลงในกระดาษคำตอบ 1. ขอ ใดคอื เอกลกั ษณของอาหารไทย ก. ใชข า ว ปลา และพชื ประเภทผกั ตาง ๆ เปนสวนประกอบหลัก ข. การใชพืชสมุนไพรเปนสว นประกอบของอาหาร ค. การหลอมรวมวัฒนธรรมตา งชาติไดอยา งกลมกลนื ง. ถูกทกุ ขอ 2. ขอ ใดไมใ ชส ว นประกอบของขนมไทยแตด้งั เดิม ก. ไขแดง ข. มะพราว ค. นำ้ ตาล ง. แปง 3. การนำพริกมาเปน สว นประกอบของอาหารเรม่ิ ตน ในสมัยใด ก. สโุ ขทยั ข. อยธุ ยา ค. ธนบรุ ี ง. รตั นโกสนิ ทร 4. ทาวทองกบี มา ภรรยาเจา พระยาวิชาเยนทร มีสว นสำคญั ตอ อาหารไทยอยา งไร ก. เปน ผูนำอาหารตะวันตกสูราชสำนักไทย ข. เปนผคู วบคมุ การปรงุ อาหารคมุ หอ งเครอื่ งคาวหวาน ค. เปนผดู ัดแปลงขนมตะวันตกมาใชก บั สว นประกอบขนมไทย ง. เปนคนแรกที่ทำใหอาหารไทยมีการปรงุ รสชาติที่หลากหลาย 5. ขนมทน่ี างมารี กียม าร เชอื้ สายญี่ปุน - โปรตุเกส เปน ผคู ดิ คนข้นึ คือขอใด ก. ขนมฝรงั่ กฎุ จี นี ข. ขนมเบือ้ งหนา ฝอยทอง ค. ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ง. ถูกทุกขอ 117 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

6. อาหารไทยของภาคใดทถ่ี ือวา เปนประดิษฐกรรมทางวฒั นธรรมทีผ่ สมผสานหลากหลายเชือ้ ชาติ มากกวา ภาคอ่นื ก. ภาคกลาง ข. ภาคใต ค. ภาคเหนอื ง. ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื 7. ขอ ใดคือเอกลักษณของอาหารของคนไทยภาคกลาง ก. เปนอูขาว อนู ำ้ ทส่ี ำคัญของประเทศไทยมาแตโบราณ ข. การผสมผสานรสชาตขิ องเปร้ยี ว หวาน เค็ม เผด็ ค. อาหารท่ีทำจากปลาและผักเปนสวนประกอบสำคญั ง. มีความซบั ซอนและกรรมวิธีในการปรงุ หลากหลาย 8. อาหารในงานบญุ ทท่ี ำเพอ่ื อุทศิ ใหก ับผูท่ีลว งลบั ไปแลวตรงกับขอใด ก. ไขกบ นกปลอย ข. มะลิลอย สามเกลอ ค. ขาวจ่ี ขนมเบือ้ ง ง. ขนมกง ขนมลา 9. สำรบั อาหารของภาคกลางใน 1 สำรบั ประกอบดวยอาหารประเภทใดบาง ก. แกงเผ็ด ปลาแหง เนื้อเค็ม และแตงโม ข. แกงเผ็ด แกงจืด ผดั หรือทอด และนำ้ พรกิ ค. นำ้ พริก ผกั สด ปลาทอด และแกงจดื ง. ถกู ทุกขอ 10. ส่ิงที่ถอื ไดว าเปนภูมปิ ญญาของบรรพบุรษุ ไทยในการประกอบอาหารคอื ขอ ใด ก. ใชส มุนไพรเปน เครือ่ งเทศสดประกอบอาหารไทย ข. ประยกุ ตแ ละปรบั ปรุงอาหารจากตางชาตมิ าผสมผสานกนั ค. มกี ารประดิษฐใ หงดงาม และมีรสชาตหิ ลากหลายจากผกั และผลไม ง. ถูกทกุ ขอ เฉลย 1. ง 2. ก 3. ข 4. ค 5. ค 6. ก 7. ข 8. ง 9. ข 10. ง 118 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

บรรณานุกรม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. กรุงเทพฯ : ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2548. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. ธนบุรี ศรีรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ สกสค. ลาดพรา ว, 2553. โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. มรดกชา งศลิ ปไ ทย. กรุงเทพฯ : องคก ารคา ของคุรุสภา, 2512. คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช, ม.ร.ว. และคณะ. ลักษณะไทย : ภูมหิ ลัง. กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นาพานิช จำกดั , 2551. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจา บรมวงศเธอ กรมพระยา. ไทยรบพมา. พระนคร : แพรพ ทิ ยา, 2514. แนงนอย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ : ริเวอรบุคส จำกัด, 2543. ราชบัณฑิตยสถาน. ใตรมพระบารมี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช. กรุงเทพฯ : คณะบรรณาธิการ จัดทำสารานกุ รมประวตั ศิ าสตร, 2547. ศิลปากร, กรม. นานาสาระวัฒนธรรมไทย เลม 2. กรงุ เทพฯ : บรษิ ทั อาทิตย โพรดกั ส กรปุ จำกัด, 2544. __________. หม่ืนรอ ยพันผสาน. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท อาทติ ย โพรดักส กรปุ จำกัด, 2546. __________. กองจดหมายเหตุแหงชาติ. จดหมายเหตุการอนุรักษกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525. __________. กองโบราณคด.ี นำชมกรุงรตั นโกสนิ ทร. กรงุ เทพฯ : อมรินทรการพมิ พ, 2525. อทติ า พับลเิ คชัน่ , บริษทั . เทย่ี วรอบโลก. กรงุ เทพฯ : บริษทั อทติ า พบั ลิเคช่ัน, 2550. 119 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร

คณะผูจดั ทำ ท่ปี รกึ ษา เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน นายชนิ ภัทร ภมู ริ ัตน นายชัยพฤกษ เสรีรักษ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา นางเบญจลกั ษณ น้ำฟา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน นางสาววณี า อคั รธรรม ผูอำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางสกุ ญั ญา งามบรรจง ผเู ชีย่ วชาญดานการพัฒนาสอ่ื และการเรยี นรู ร.ท.หญิงสุดาวรรณ เครอื พานชิ ผูอำนวยการสถาบันสังคมศกึ ษา นางสาวเยาวลักษณ เตียรณบรรจง ผอู ำนวยการกลุมพฒั นาสือ่ การเรียนรู ผเู ขียน นางระวิวรรณ ภาคพรต นางสาวมาลี โตสกุล นางมนพร จนั ทรค ลอ ย ผูตรวจ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร รศ.วฒุ ิชยั มลู ศลิ ป ดร.ปรดี ี พศิ ภูมิวิถี บรรณาธกิ าร นางฟาฏนิ า วงศเลขา ผูรับผดิ ชอบโครงการ นางฟาฏนิ า วงศเ ลขา 120 Virtual Field Trip ประวัติศาสตร