0 ––
การวิจยั ทางการศึกษา Educational Research หนังสือเล่มน้ีเปน็ ส่วนหน่ึงของการจัดการเรยี นการสอน ในรายวชิ าเทคโนโลยสี อื่ สิง่ พมิ พ์ เรียบเรียงโดย นายมาวนิ ทองแลง รหสั นิสติ 60411714 สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร
คำนำ การเรยี บเรียงเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา เป็นส่วน หน่งึ ของการจดั การเรยี นการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีสื่อส่งิ พิมพ์ เรยี บเรยี งโดยนสิ ิต หลักสตู รศิลปศาสตร์บณั ฑิต (สาขาเทคโนโลยีสือ่ สารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร) ผู้เรียบเรยี งหวังวา่ การเรยี บเรียงครัง้ นม้ี ปี ระโยชนต์ ่อผสู้ นใจไม่มากกน็ ้อย เรยี บเรียงโดย มาวิน ทองแลง
สารบญั บทที่ 1 พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย ....................................................................... 6 1.1 ความหมายของการวิจยั ........................................................................ 6 1.2 ประโยชน์ของการวจิ ัย.......................................................................... 7 1.3 การจัดประเภทของการวิจยั .................................................................... 7 1.4 รปู แบบการวจิ ัย ...............................................................................11 1.5 จรรยาบรรณของนกั วิจัย ......................................................................22 บทที่ 2 การกาหนดปญั หาการวจิ ยั ....................................................................24 2.1 หลกั การกาหนดปญั หาการวจิ ยั ................................................................24 2.2 การวิเคราะหส์ าเหตุของปัญหาทจี่ ะนามาทาวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม ............................24 2.3 การกาหนดวัตถุประสงค์การวจิ ยั ..............................................................25 บทท่ี 3 การทบทวนเอกสารและงานวจิ ยั ท่ีเกยี่ วข้อง ..................................................28 3.1 แนวทางการทบทวนเอกสารและงานวิจัยทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ..........................................28 3.2 ตัวแปรและสมมติฐานในการวจิ ัย..............................................................29 บทท่ี 4 ใช้กระบวนการวิจยั เพือ่ แกไ้ ขปัญหาผเู้ รียน ...................................................33 4.1 แนวทางและวิธแี ก้ปัญหาผู้เรยี น...............................................................33 4.2 ข้นั ตอนวิจยั เพอ่ื แก้ไขปัญหาผเู้ รียน............................................................33 บทที่ 5 ประชากรและกล่มุ ตวั อยา่ ง ...................................................................38 5.1 ความหมายของประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง....................................................38 5.2 ลกั ษณะของกลมุ่ ตัวอย่างทด่ี ี ..................................................................39 5.3 การสมุ่ ตัวอยา่ งและการไดม้ าซง่ึ กลุ่มตวั อย่าง ..................................................40 บทที่ 6 เครอ่ื งมอื และการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ..........................................................48 6.1 ความหมายและประเภทของขอ้ มูล ............................................................48
6.2 ลกั ษณะของเครอ่ื งมือทด่ี ี......................................................................49 6.3 การสรา้ งเคร่อื งมือในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ...................................................49 6.4 การตรวจสอบคณุ ภาพของเครือ่ งมอื ..........................................................53 บทท่ี 7 การวเิ คราะหข์ ้อมลู ...........................................................................79 7.1. การวเิ คราะหข์ อ้ มูลเชิงปรมิ าณ ...............................................................79 7.2. การวเิ คราะห์ขอ้ มูลเชงิ คณุ ภาพ ...............................................................80 บทที่ 8 การเขยี นรายงานการวิจยั และการนาเสนอผลการวิจัย........................................82 8.1 สว่ นประกอบของรายงานการวจิ ยั .............................................................82 8.2 หลักการเขียนรายงานการวจิ ยั ................................................................92 8.3 การนาเสนอผลการวจิ ัย ..................................................................... 100 บรรณานุกรม....................................................................................... 110
6 บทท่ี 1 พน้ื ฐำนเกยี่ วกบั กำรวิจยั 1.1 ควำมหมำยของกำรวิจัย การวิจัย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Research” ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การ ค้นหาซ้าแล้วซ้าอีก ซึ่งความหมายของคาว่าวิจัย ทางด้านวิชาการได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ตา่ ง ๆ กัน เชน่ เบสท์ (Best, 1981 อ้างถึงใน บญุ เรียง ขจรศลิ ป์ , 2533 : 5) ได้ให้ความหมายของ การวิจัยไว้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นระบบระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ และคิด บันทึกการสังเกตที่มีการควบคุมเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปอ้างอิง หลักการหรือทฤษฎีซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการทางานและการควบคุมเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ ได้ รัตนะ บวั สนธ์ (2543, 3) ได้ใหค้ วามหมายของการวจิ ัยไวว้ า่ เป็นการหาความจริง เชิง สาธารณะด้วยวธิ กี ารทีเ่ รียกวา่ กระบวนการวิจัยซึง่ มีลักษณะเปน็ ระบบมีข้ันตอน ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (2543 : 21) สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัย คือการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบเพื่อทาความเข้าใจปัญหาและแสวงหาคาตอบ เปน็ กระบวนการที่อาศยั วิธีการทางวทิ ยาศาสตร์เปน็ หลกั บุญเรยี ง ขจรศลิ ป์ (2533 : 5) ได้ใหค้ วามหมายของคาว่า การวิจยั ทางดา้ นวิชาการ หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ เพ่ือตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ท่ีแน่นอน โดยอาศัยวิธีการทาง วทิ ยาศาสตร์ ดังน้ัน การวิจัยทางการศึกษาจึงหมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ท่ีเป็นความจริงเชิงตรรกะ (Logical) หรือความจริงเชิงประจักษ์ (Empirical) เพ่ือตอบ ปญั หาทางการศกึ ษาอยา่ งมีระบบ และมีวตั ถปุ ระสงค์ทแ่ี น่นอน โดยอาศยั วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นหลัก
7 1.2 ประโยชน์ของกำรวจิ ัย 1. ช่วยส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่าง ๆ ให้มีการค้นคว้า ข้อเท็จจริงมากย่ิงข้ึน ทั้งนี้เพราะว่าการวิจยั จะทาใหม้ ีการค้นควา้ หาความรใู้ หม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งทาใหว้ ทิ ยาการตา่ ง ๆ เจริญก้าวหนา้ มากยิ่งขึ้น ทงั้ ตวั ผู้วิจยั และผ้นู าเอาเอกสารการวิจัย ไปศึกษา 2. 2. นาความรู้ท่ีได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา โดยตรง ชว่ ยทาใหผ้ ูป้ ฏบิ ัตไิ ดเ้ ลือกวธิ ีปฏบิ ัติท่ีดที ่ีสดุ ก่อใหเ้ กิดการประหยดั 3. ช่วยในการกาหนดนโยบาย หรือหลักปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นไปด้วยความ ถูกต้อง เหมาะสมและมปี ระสทิ ธิภาพ 4. ช่วยให้ค้นพบทฤษฎีและส่ิงประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพ่ือให้มนุษย์ได้ดาเนินชีวิตอยู่ใน โลกอย่างมคี วามสุขสบาย 5. ช่วยพยากรณ์ผลภายหนา้ ของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง 1.3 กำรจดั ประเภทของกำรวิจัย การจัดประเภทการวิจัยทางการศึกษาน้ันสามารถจัดได้หลายแบบแล้วแต่ว่าจะใช้ อะไรเป็นเกณฑใ์ นการแบ่ง ซึง่ พอสรปุ ได้ดงั น้ี 1. ใช้ระเบยี บวิธวี จิ ัยเปน็ เกณฑใ์ นการแบง่ - เชิงประวตั ิศาสตร์ - เชงิ บรรยาย - เชิงทดลอง 2. ใช้จดุ มงุ่ หมายของงานวิจยั เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง - บรสิ ทุ ธ์ิ - ประยุกต์ - เชิงปฏิบัตกิ าร 3. ใช้ลกั ษณะและวิธกี ารวเิ คราะหข์ ้อมลู เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง - เชงิ ปริมาณ
8 - เชงิ คุณภาพ 4. ใช้ลกั ษณะศาสตร์และสาขาวชิ าทีเ่ กีย่ วข้องกบั การวจิ ยั เป็นเกณฑ์ในการแบง่ - วิทยาศาสตร์ - สังคมศาสตร์ - มนุษยศาสตร์ 5. ใช้วธิ ีการควบคมุ ตัวแปรเปน็ เกณฑใ์ นการแบ่ง - เชงิ ทดลอง - เชงิ กึ่งทดลอง - เชิงธรรมชาติ ระเบยี บวจิ ัยเป็นเกณฑใ์ นกำรแบง่ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical research)เป็นการวิจัยท่ีเน้นถึงการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนมาแล้วในอดีต (what was ?) ประโยชนข์ องการวจิ ยั ชนดิ นี้ก็คือ สามารถนามาใช้เปน็ แนวทางในการศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน หรือสามารถนามาใช้ประกอบการตัดสินใจ เพ่ือแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึน ในปจั จุบันไดด้ ้วย 1. การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจยั เชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็น การวิจัยที่เน้นถึงการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (what is ?) ในการ ดาเนนิ การวจิ ัย นกั วจิ ยั ไม่สามารถท่ีจะไปจัดสร้างสถานการณ์หรือควบคุมตัวแปรตา่ ง ๆ ได้ ตามใจชอบ การวิจัยแบบน้ีเป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้นอยู่ แลว้ เชน่ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และความสนใจต่อการเมือง มีการวจิ ัยหลาย ชนิดทจ่ี ัดไว้ว่าเปน็ การวจิ ยั เชิงบรรยายไดแ้ ก่ 2.1 การวิจยั เชิงสารวจ (Survey research) 2.2 การวิจยั เชงิ สงั เกต (Observational research) 2.3 การวจิ ยั เชงิ เปรียบเทยี บสาเหตุ (Causal Comparative) 2.4 การวจิ ัยเชงิ สหสัมพนั ธ์ (Correlational research) 2.5 การศกึ ษาเฉพาะกรณี (Case study)
9 3. การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยเพ่ือพิสูจน์ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ (what will be ?) โดยมีการจัดกระทา กับตัวแปรอิสระเพื่อศึกษาผลที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอ่ืนมิให้มี ผลกระทบต่อตัวแปรตาม ซึ่งนิยมมากทางด้านวิทยาศาสตร์ สาหรับทางด้านการศึกษา ค่อนข้างลาบาก ในแง่ของการควบคุมตัวแปรเกินลักษณะท่ีสาคัญของการวิจัยเชิงทดลอง คือ 3.1 ควบคุมตัวแปรเกินได้ (Control) 3.2 จดั การเปลยี่ นแปลงคา่ ของตัวแปรอิสระได้ (Manipulation) 3.3 สงั เกตได้ (Observation) 3.4 ทาซา้ ได้ (Replication) ใชจ้ ุดมุ่งหมำยของกำรวิจัยเปน็ เกณฑ์ในกำรแบ่ง 1. การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หมายถึง การวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพ่ือ การตอบสนองความอยากรหู้ รือมุ่งที่จะหาความรูเ้ ท่านน้ั โดยไม่ได้คานงึ วา่ จะนาผลการวิจัย ทีไ่ ด้ไปใชไ้ ด้หรือไม่ การวจิ ยั ประเภทนก้ี อ่ ให้เกิดทฤษฎีใหม่ ๆ ตามมา 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) หมายถึง การวิจัยท่ีมีจุดมุ่งหมาย เพ่ือนาผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ใน การแก้ปัญหา หรือปรับปรุงความเป็นอยู่และสังคมของ มนุษย์ใหด้ ขี ้นึ ได้แก่ การวจิ ัยทางดา้ นเศรษฐกจิ การเมอื ง การศกึ ษาเปน็ ตน้ 3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือวิจัยเฉพาะกิจ (Action research) เป็นการ วิจัยเพ่ือนาผลมาใช้แก้ปัญหาอย่างรีบด่วนหรือปัจจุบันทันที ซ่ึงมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อจะ นาผลท่ีได้มาใช้แก้ปัญหาเฉพาะเรื่องในวงจากัด โดยไม่ได้สนใจว่าจะใช้ประโยชน์หรือ แกป้ ัญหาอื่นไดห้ รอื ไม่ 4. การวิจัยสถาบัน ( Institutional research) เป็นการวิจัยที่มุ่ ง น า ผลการวิจัยมาใชเ้ พ่อื ปรบั ปรุงงานด้านการบรหิ ารของหนว่ ยงานหรือ สถาบนั น้ัน ๆ โดยไม่มี จดุ มงุ่ หมายในการนาผลการวิจยั ไปใช้กบั หน่วยงานหรอื สถาบนั อื่น ใช้ลักษณะและวธิ กี ำรวเิ ครำะหข์ อ้ มลู เปน็ เกณฑใ์ นกำรแบ่ง 1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยท่ีมุ่งค้นคว้า หาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติ โดยพยายามท่ีจะศึกษา ขอ้ มลู ด้านตา่ ง ๆ มาบรรยายถึงความสมั พันธ์ของ เง่อื นไขต่าง ๆ ท่เี กิดข้ึนกับสภาพแวดล้อม
10 ที่เป็นอยู่ การวิจัยเชิงคุณภาพน้ันเป็นการศึกษาค้นคว้าในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง การ รวบรวมข้อมูล จะให้ความสาคัญกับข้อมูลที่เก่ียวกับประวัติส่วนตัว แนวคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล วิธีการรวบรวมข้อมูล ได้แก่การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ แบบไม่เป็นทางการจะเป็นวิธีการหลักของการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้ วิธีการสรปุ บรรยายทฤษฎีและแนวคดิ ต่าง ๆ ในการอธบิ ายและวเิ คราะห์เหตกุ ารณ์ต่าง ๆ 2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นงานวิจัยที่มุ่งค้นคว้า ขอ้ เทจ็ จริง ต่าง ๆ เพ่อื หาข้อสรุปในเชิงปริมาณ เปน็ การศึกษาในแนวกวา้ งมากกว่าแนวลึก เพ่ือที่จะนาข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงไปใช้กับกลุ่มประชากร โดยอาศัย วิธีการทางสถิติ การรวบรวมข้อมูล เน้นหนักไปในทางปริมาณหรือค่าต่าง ๆ ที่สามารถวัด ได้ในเชิงปริมาณ วิธีการรวบรวม ข้อมูล มีหลายรูปแบบ เช่น การส่งแบบสอบถาม การ สัมภาษณ์ การสังเกต การสร้างสถานการณ์สมมตกิ ารทดลองและการทดสอบ เป็นต้น การ วเิ คราะห์ขอ้ มลู จะใช้วิธีการทางสถติ เิ ขา้ มาใช้ใน การวเิ คราะหข์ ้อมูล ใชล้ ักษณะศำสตร์และสำขำวิชำทเ่ี ก่ยี วกับกำรวิจยั เปน็ เกณฑใ์ นกำรแบง่ 1. การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับสังคม การเมือง การ ปกครอง การศึกษา เศรษฐกจิ เป็นต้น 2. การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยเก่ียวกับคุณค่าของมนุษย์ เช่น ภาษาศาสตร์ ดนตรี ศาสนา โบราณคดี ปรชั ญา เป็นตน้ 3. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม แพทย์ พยาบาล เทคนคิ การแพทย์ เภสชั ศาสตร์ เปน็ ตน้ ใชว้ ิธกี ำรควบคมุ ตัวแปรเปน็ เกณฑ์ในกำรแบ่ง 1. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพ่ือพิสูจน์ ความสมั พนั ธ์เชงิ สาเหตุ โดยมกี ารจดั สถานการณ์ทดลอง ดว้ ยการควบคมุ ระดบั ของตัวแปร ต้น และกาจัดอิทธิพลของตัวแปรภายนอกต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้ววัดผลตัวแปรตาม ออกมา 2. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) เป็นการวิจัยท่ี สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกที่ไม่ต้องการได้เพียง บางตัว เนื่องจากไม่สามารถสุ่ม ตวั อยา่ งให้เท่ากนั ได้
11 3. การวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความ จริงของ สภาพการณ์ในสังคม ใช้การสังเกตการณ์เป็นสาคัญ และสรุปผลโดยใช้การ วเิ คราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าอนุมาน และอปุ มาน 1.4 รูปแบบกำรวจิ ยั โครงรา่ งการวิจัย ควรมอี งค์ประกอบสาคัญดงั น้ี 1. ชื่อเรือ่ ง 2. ความสาคญั และทีม่ าของปญั หาการวจิ ัย 3. วัตถุประสงคข์ องการวิจยั 4. คาถามของการวิจยั 5. ทฤษฎแี ละงานวิจยั ทเี่ กีย่ วขอ้ ง 6. สมมตฐิ าน* และกรอบแนวความคดิ ในการวิจยั * 7. ขอบเขตของการวจิ ยั 8. การให้คานยิ ามเชงิ ปฏบิ ตั ิทจ่ี ะใช้ในการวจิ ยั * 9. ประโยชน์ทีค่ าดว่าจะไดร้ บั จากการวจิ ัย 10.ระเบยี บวิธวี จิ ัย 11.ระยะเวลาในการดาเนนิ งาน 12.งบประมาณคา่ ใช้จา่ ยในการวจิ ยั 13. บรรณานุกรม 14. ภาคผนวก* 15.ประวตั ิของผ้ดู าเนินการวิจยั * ไม่จาเป็นต้องมีทกุ โครงการ 1. ช่อื เรือ่ ง (the title) ชื่อเร่ืองควรมีความหมายส้ัน กะทัดรัดและชัดเจน เพ่ือระบุถึงเร่ืองท่ีจะทาการศึกษา วิจัย ว่าทาอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรม
12 ยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จาเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่อง ออกเป็น 2 ตอน โดยให้ช่ือในตอนแรกมีน้าหนักความสาคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็น เพยี งส่วนประกอบหรือสว่ นขยาย เชน่ “โรคตดิ ต่อทางเพศสมั พันธ์และการใชถ้ ุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรยี นชาย : การเปรียบเทยี บระหว่างนักเรยี นอาชีวศึกษากบั นกั เรียน มธั ยมศึกษาตอนปลายในกรงุ เทพมหานคร 2547” นอกจากนี้ ควรคานึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องท่ีต้องการศึกษาควรมีความ สอดคล้องกันการเลือกเรือ่ งในการทาวิจัยเปน็ จดุ เริ่มต้นท่สี าคัญ ที่ตอ้ งพิจารณารายละเอียด ต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ท่ีจะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัว เร่ืองของการวจิ ัย มขี อ้ ควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ 1.1 ความสนใจของผู้วจิ ัย ควรเลือกเรอื่ งที่ตนเองสนใจมากทสี่ ุด และควรเปน็ เร่ืองท่ไี มย่ ากจนเกินไป 1.2 ความสาคญั ของเร่อื งทจ่ี ะทาวจิ ยั ควรเลอื กเร่ืองทม่ี คี วามสาคัญ และนาไปใช้ปฏิบัตหิ รอื สรา้ งแนวความคดิ ใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะเก่ยี วกบั งานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรอื เชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ 1.3 เป็นเรื่องทสี่ ามารถทาวจิ ัยได้ เรื่องท่ีเลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทาวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเน่ืองจากปัญหา ต่างๆ เชน่ ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลา และการ บริหาร ดา้ นการเมอื ง หรอื เกินความสามารถของผู้วิจัย 1.4 ไมซ่ า้ ซอ้ นกับงานวจิ ัยทีท่ ามาแล้ว ซึ่งอาจมีความซ้าซ้อนในประเด็นต่างๆ ท่ีต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ช่ือ เร่ืองและ ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทาการวิจัย ระยะเวลาที่ทาการวิจัย วิธีการ หรอื ระเบยี บวิธขี องการวิจัย 2. ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ (background and rationale)
13 อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจาเป็นท่ีจะทา การวิจัย หรือ ความสาคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหา การวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสาคัญ รวมทั้งความจาเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะไดจ้ ากผลการวิจยั ในเร่ืองนี้ โดยผ้วู จิ ัยควรเรมิ่ จากการเขยี นปูพื้น โดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพท่ัวๆไปของปัญหาเป็น อย่างไร และภายในสภาพท่ีกล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดข้ึนบ้าง ประเด็นปัญหาท่ีผวู้ จิ ัยหยิบ ยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเก่ียวกับเร่ืองน้ี มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และ การศึกษาทเี่ สนอนจี้ ะช่วยเพม่ิ คณุ ค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร 3. วัตถปุ ระสงค์ของกำรวิจยั (objectives) เป็นการกาหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทาวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลมุ เครอื โดยบง่ ช้ถี งึ สิง่ ท่จี ะทา ทงั้ ขอบเขต และคาตอบทค่ี าดว่าจะ ได้รับ ทง้ั ในระยะส้นั และระยะยาว การตงั้ วตั ถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากร ท่ีเสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จาแนกไดเ้ ป็น 2 ชนิด คอื 3.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือส่ิงท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เก่ียวกับจุดมุ่งหมาย ในระดบั กวา้ ง จึงควรครอบคลมุ งานวิจยั ท่ีจะทาทั้งหมด ตวั อย่างเช่น เพ่ือศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเช้ือเอดส์ ครอบครัว และ ชมุ ชน 3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงส่ิงที่จะเกิดข้ึนจริง ใน งานวจิ ยั นี้ โดยอธบิ ายรายละเอียดว่า จะทาอะไร โดยใคร ทามากนอ้ ยเพยี งใด ทีไ่ หน เมื่อไร และเพอ่ื อะไร โดยการเรียงหัวขอ้ ควรเรียงตามลาดบั ความสาคัญ ก่อน หลงั ตัวอย่างเชน่ 3.2.1 เพ่ือศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครวั และชุมชน 3.2.2 เพ่ือศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเช้ือเอดส์ ครอบครัว และ ชมุ ชน
14 4. คำถำมของกำรวจิ ยั (research question ) เป็นส่ิงสาคัญที่ผู้วิจัยต้องกาหนดข้ึน (problem identification) และให้นิยามปัญหา นน้ั อย่างชัดเจน เพราะปัญหาทีช่ ัดเจน จะชว่ ยใหผ้ ู้วิจยั กาหนดวตั ถุประสงค์ ต้งั สมมตฐิ าน ให้นิยามตัวแปรท่ีสาคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่าน้ันได้ ถ้าผู้วิจัย ต้ังคาถามที่ไม่ ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทาให้การวางแผนในข้ัน ตอ่ ไป เกิดความสับสนได้ คาถามของการวจิ ยั ต้องเหมาะสม (relevant) หรอื สมั พันธ์ กบั เร่อื งท่ีจะศกึ ษา โดยควร มีคาถาม ทส่ี าคญั ทีส่ ุด ซ่งึ ผู้วิจัย ต้องการคาตอบ มากทส่ี ดุ เพอื่ คาถามเดยี ว เรยี กวา่ คาถาม หลัก (primary research question) ซ่ึงคาถามหลักน้ี จะนามาใช้เป็นข้อมูล ในการ คานวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกาหนดให้มี คาถามรอง (secondary research question) อีกจานวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคาถามรองน้ี เป็นคาถาม ที่เรา ต้องการคาตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสาคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของ การวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคาถามรองน้ีได้ ท้ังนี้เพราะ การคานวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้ คานวณเพอื่ ตอบคาถามรองเหล่าน้ี 5. ทฤษฎีและงำนวจิ ยั ท่เี กย่ี วขอ้ ง (review of related literatures) อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งท่ีผู้วิจัยได้มาจาก การศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ท้ังทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องกับ ปัญหาของผู้วิจัย รวมท้ังมองเห็นแนวทางในการดาเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดย จัดลาดับหัวข้อหรือเน้ือเรื่องที่เขียนตามตัวแปรท่ีศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็ จัดเรียงตามลาดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เก่ียวกับปัญหา นอกจากน้ีผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนท่ี สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธี การศกึ ษาฯลฯ การเขียนสว่ นนี้ทาให้เกดิ ประโยชน์ตอ่ การตงั้ สมมตฐิ านดว้ ย หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงาน เขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหน่ึง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมาก น้อยแค่ไหน สาหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit &
15 Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สาคัญไว้ โดยการ ให้ตอบคาถามต่อไปนี้ 5.1 รายงานนั้นได้มีการเช่ือมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซ่ึงศึกษามา กอ่ นแลว้ หรอื ไม่ 5.1.1 รายงานน้ันได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซ่ึง ตามความเป็นจริงแลว้ ควรใช้แหลง่ เอกสารปฐมภมู ิ (ตน้ ฉบบั ) ให้มากท่ีสุด 5.1.2 รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สาคัญท่ีเกี่ยวข้องกับปัญหาท่ีศึกษาครบ หมดหรือไม่ 5.1.3 รายงานไดค้ รอบคลมุ เอกสารใหมๆ่ หรอื ไม่ 5.1.4 รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เก่ียวกับ พฤติกรรม มากเกนิ ไป และมกี ารเน้นผลการวิจยั ดา้ นปฏิบตั จิ รงิ ๆ น้อยไปหรือไม่ 5.1.5 รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็น เพียงแต่ลอก ข้อความจากเอกสารตน้ ฉบบั มาเรยี งตอ่ กันเทา่ นั้น 5.1.6 รายงานน้ันเป็นแตเ่ พียงสรปุ ผลการศึกษาท่ีทามาแลว้ เท่านน้ั หรอื เป็นการ เขียนใน เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ท่ีศึกษามาแล้ว หรอื ไม่ 5.1.7 รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะท่ีเชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้า ในความ คิดอยา่ งชัดเจนมากน้อยแค่ไหน 5.1.8 รายงานไดน้ าผลสรุปของงานวิจยั และข้อเสนอแนะของการนาผลการวิจัย ไปใช้ ท้ังหมด มาเช่อื มโยงกบั ปัญหาทจ่ี ะศกึ ษามากน้อยแค่ไหน 5.2 รายงานน้ันได้มีการเช่ือมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิด หรือไม่
16 5.2.1 รายงานได้เช่ือมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ หรือไม่ 5.2.2 รายงานได้เปดิ ช่องโหวใ่ หเ้ หน็ ถึงกรอบแนวคิดอืน่ ทเ่ี หมาะสมกวา่ หรอื ไม่ 5.2.3 รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผล หรือไม่ 6. สมมติฐำน ( Hypothesis) แ ละกรอบแ น วคิดใน กำรวิจัย ( conceptual framework) การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคาตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนใน ลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานตอ้ งตอบวตั ถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถว้ นและทดสอบและวดั ได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนาเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมี ความเช่ือมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเร่ือง เช่น จะ ศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเม่ือเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทาเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยท่ีเป็นตัวกาหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจ กาหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยน้ีมีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปร เหล่านม้ี คี วามสัมพันธ์กนั อย่างไรกอ่ น แล้วจงึ เขียนสมมติฐานทร่ี ะบถุ ึงความสัมพนั ธร์ ะหว่าง ตวั แปรในลกั ษณะทีเ่ ปน็ ขอ้ ๆ ในภายหลัง 7. ขอบเขตของกำรวจิ ยั เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เน่ืองจาก ผ้วู ิจัยไม่สามารถทาการศกึ ษาไดค้ รบถว้ นทุกแง่ทุกมมุ ของปัญหานั้น จึงตอ้ งกาหนดขอบเขต ของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซ่ึงอาจทาได้โดยการกาหนดขอบเขต
17 ของเร่ืองให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกาหนดกลุ่มประชากร สถานทว่ี ิจยั หรอื ระยะเวลา 8. กำรให้คำนิยำมเชงิ ปฏบิ ัติทีจ่ ะใชใ้ นกำรวิจยั (operational definition) ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคา (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ท่ี จาเป็นต้องให้คาจากัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไมเ่ ชน่ น้ันแลว้ อาจมีการแปลความหมายไปไดห้ ลายทาง ตัวอย่างเชน่ คาวา่ คุณภาพชีวติ , ตวั แปรท่ีเกีย่ วกับความรู้ ทัศนคติ , ความพงึ พอใจ, ความปวด เป็นต้น 9. ประโยชน์ท่ีคำดวำ่ จะได้รบั จำกกำรวิจัย(expected benefits and application) อธิบายถึงประโยชน์ท่ีจะนาไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎี ใหม่ซ่ึงสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นาไปวางแผน และกาหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพ่ือหาแนวทางพัฒนาให้ดีข้ึน เป็นต้น โดยครอบคลุมท้ัง ผลในระยะส้ัน และระยะยาว ท้ังผลทางตรง และทางอ้อม และ ควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสาคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเร่ือง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะส้ัน ก็อาจจะได้แก่ จานวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนน้ัน ที่ดีข้ึน ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การ กระตุน้ ให้ประชาชน ในชมุ ชนนน้ั มีสว่ นร่วม ในการพฒั นาหมบู่ ้าน ของตนเอง 10. ระเบียบวิธวี จิ ัย (research methodology) เป็นการให้รายละเอียดเก่ียวกับขั้นตอนในการดาเนินการวิจัยว่าแต่ละข้ันตอนจาทา อย่างไร โดยทั่วไปเปน็ การให้รายละเอยี ดในเรอ่ื งตอ่ ไปนี้ คือ 10.1 วธิ ีวิจัย จะเลือกใชว้ ธิ วี ิจยั แบบใด เชน่ จะใชก้ ารวิจยั เอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจยั เชิงสารวจ การวจิ ัยเชิงคณุ ภาพ หรอื จะใชห้ ลายๆ วิธรี วมกนั ซง่ึ กต็ ้องระบุให้ชดั เจน วา่ จะใชว้ ธิ ีอะไรบา้ ง
18 10.2 แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จาก ทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สามะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐม ภูมิ จากการสารวจ การสนทนากลุ่ม การสงั เกต การสมั ภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เปน็ ตน้ 10.3 ประชากรท่ีจะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรท่ีต้องการศึกษา และ กาหนดคุณลักษณะของประชากรท่ีจะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตท่ีอยู่อาศัย บางคร้ังประชากรท่ีต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครวั เรือน หม่บู ้าน อาเภอ จงั หวัด ฯลฯ ก็ได้ 10.4 วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธกี ารสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมี จานวนเทา่ ใด จะเกบ็ ข้อมูลจากท่ไี หน และจะเข้าถึงกล่มุ ตัวอย่างไดอ้ ยา่ งไร 10.5 วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เคร่ืองมือและ ทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์ แบบมีแบบสอบถาม การสงั เกต หรอื การสนทนากลุ่ม เป็นต้น 10.6 การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทา อย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการ ทดสอบสมมติฐานจะทาอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถ ตอบคาถามของการวจิ ยั ทีต่ ้องการได้ 11. ระยะเวลำในกำรดำเนนิ งำน ผู้วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาท่ีจะใช้ในการดาเนินง านวิจัยท้ังหมดว่าจะใช้เวล าน าน เท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สาหรับแต่ละข้ันตอนของการวิจัย วิธีการเขียน รายละเอียดของหัวข้อน้ีอาจทาได้ 2 แบบ ตามที่แสดงไว้ในตัวอย่างต่อไปน้ี (การวิจัยใช้ เวลาดาเนนิ การ 12 เดือน) ตัวอยำ่ งท่ี 1 ก. ขั้นตอนการเตรยี มการ : ค้นหาชอื่ เรือ่ งหรือปัญหาที่จะทา (3 เดอื น) 1. ศกึ ษาเอกสารและรายงานการวิจยั ทีเ่ กี่ยวข้อง 2. ติดต่อหน่วยงานที่เก่ียวข้อง(ขออนุมัติดาเนินการ,ติดต่อผู้นาชุมชน,เตรียม ชมุ ชน) และรวบรวมขอ้ มูลต่างๆ ท่ีจาเป็น
19 3. สรา้ งเครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการวจิ ยั 4. จัดหาและฝึกอบรมผชู้ ว่ ยนักวิจัย 5. ทดสอบและแก้ไขเครื่องมือที่ใชใ้ นการวจิ ัย ข. ข้นั ตอนการเก็บขอ้ มูล (2 เดอื น) 6. เลอื กประชากรตัวอย่าง 7. สัมภาษณป์ ระชากรตัวอยา่ ง ค. ขัน้ ตอนการประมวลผลขอ้ มูลและการวิเคราะหข์ ้อมูล (3 เดือน) 8. ลงรหัส ตรวจสอบรหัส นาข้อมูลเข้าเครื่อง และทาการบรรณาธิการด้วย เครอ่ื ง คอมพิวเตอร์ 9. เขียนโปรแกรมเพ่ือทาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ตามท่ีกาหนด ไว้ รวมท้งั แปลผลขอ้ มูล ง. การเขียนรายงาน และการเผยแพร่ผลงาน (4 เดอื น) 10.เขียนรายงานการวิจยั 3 เดอื น 11.จดั พิมพ์ 1 เดือน ตวั อยำ่ งท่ี 2 ตารางปฏบิ ัติงานโดยใช้ Gantt Chart กิจกรรม เดอื น ม. ก. ม.ี เม. พ. ม.ิ ก. ส. ก. ต. พ. ธ. ก. กำรเตรียมกำร ค. พ. ค. ย. ค. ย. ค. ค. ย. ค. ย. ค. 1.การศึกษาเอกสารและงานวจิ ยั ท่ี เก่ยี วข้อง 2.การตดิ ต่อหนว่ ยงานและรวบรวม ข้อมลู ที่จาเป็น 3.สรา้ งเคร่อื งมือที่ใชใ้ นการวิจยั 4.จดั หาและฝึกอบรมผ้ชู ว่ ยนกั วจิ ยั
20 5.ทดสอบและแก้ไขเครื่องมือทใ่ี ชใ้ น การวจิ ยั ข. กำรเกบ็ ข้อมูล 6.สุ่มตัวอย่าง 7.สัมภาษณก์ ลุม่ ตวั อย่าง ค. กำรประมวลผลและกำรวิเครำะห์ ขอ้ มูล 8.ประมวลผลขอ้ มลู 9.วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ง. กำรเขยี นรำยงำนและกำรเผยแพร่ ผลงำน 10.เขยี นรายงาน 11.จดั พมิ พร์ ายงาน 2. งบประมำณ (budget) การกาหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะ ใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทาได้หลายวิธี ตัวอย่างหน่ึงของการแบ่ง หมวด คือ แบ่งเปน็ 8 หมวดใหญๆ่ ได้แก่ 12.1 เงนิ เดอื นและคา่ ตอบแทนบุคลากร 12.2 ค่าใชจ้ ่ายสาหรบั งานสนาม 12.3 คา่ ใช้จ่ายสานกั งาน 12.4 คา่ ครุภณั ฑ์ 12.5 คา่ ประมวลผลข้อมลู 12.6 คา่ พมิ พร์ ายงาน 12.7 คา่ จัดประชุมวิชาการ เพื่อปรกึ ษาเร่ืองการดาเนินงาน หรอื เพื่อเสนอผลงานวิจัย เมอ่ื จบ โครงการแลว้ 12.8 ค่าใชจ้ ่ายอน่ื ๆ
21 อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกาหนดรายละเอียดของการ เขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของ แหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อ โครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูง เกินไป โอกาสท่ีจะไดร้ บั การสนบั สนนุ กจ็ ะมนี อ้ ยมาก 13. เอกสำรอำ้ งอิง (references) หรือ บรรณำนกุ รม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อัน ได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพ่ือ ประกอบ การเอกสารวิจัยเร่ืองนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเร่ือง และก่อน ภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style 14. ภำคผนวก (appendix) สิง่ ทนี่ ยิ มเอาไว้ท่ภี าคผนวก เชน่ แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบนั ทึกข้อมูล เม่ือภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แตล่ ะภาคผนวก ให้ ขึน้ หนา้ ใหม่ 15. ประวตั ขิ องผูด้ ำเนินกำรวจิ ัย (biography) ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจยั มักจะใชป้ ระกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่ง ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยท่ีอยู่ในตาแหน่งสาคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตาแหน่งใด และใครเป็นท่ีปรึกษา โครงการ ประวัติผู้ดาเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา) ประวตั กิ ารทางาน และผลงานทางวิชาการต่างๆ
22 1.5 จรรยาบรรณของนักวจิ ยั \"นักวิจัย\" หมายถึง ผู้ท่ีดาเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบเพ่ือตอบ ประเด็นท่ีสงสัยโดยมีระเบียบวิธีอันเป็นท่ียอมรับในแต่ละศาสตร์ท่ีเกี่ยวข้องระเบียบวิธี ดังกล่าวจึงครอบคลุมท้ังแนวคิดมโนทัศน์ และวิธีการท่ีใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ ขอ้ มูล \"จรรยำบรรณ\" หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและ จริยธรรมในการประกอบอาชีพ ท่ีกลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพน้ันๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชพี ของตน สภาวจิ ัยแห่งชาตจิ งึ กาหนด \"จรรยำบรรณนกั วจิ ัย\" ไวเ้ ป็นแนวทางสาหรับนักวิจัย ยึดถือปฏิบัติ เพ่ือให้การดาเนินงานวิจัยต้ังอยู่บนพ้ืนฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการท่ี เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักด์ิศรีและ เกียรตภิ มู ิของนกั วิจยั ไว้ 9 ประการดังนี้ 1. นกั วจิ ัยต้องซื่อสัตย์และมคี ุณธรรมในทางวชิ าการและการจดั การ 2. นักวจิ ยั ตอ้ งตระหนักถงึ พนั ธกจิ ทีม่ ีต่อข้อตกลงในการวิจัย ต่อหน่วยงานท่ีสนับสนุน การวิจยั และต่อหนว่ ยงานท่ีสงั กดั 3. นกั วิจัยตอ้ งมีพืน้ ฐานความรู้ในสาขาวชิ าทท่ี าวจิ ัย 4. นกั วจิ ัยตอ้ งมคี วามรบั ผดิ ชอบต่อสิง่ ทีศ่ กึ ษาวิจัยไม่ว่าจะเปน็ สงิ่ มชี วี ิตหรือไมม่ ชี วี ิต 5. นักวจิ ยั ต้องเคารพศกั ด์ิศรี และสทิ ธิมนุษยท์ ี่เปน็ ตัวอย่างในการวจิ ัย 6. นกั วจิ ัยต้องมอี ิสระทางความคดิ โดยปราศจากอคติในทุกขน้ั ตอนของการทาวิจยั 7. นกั วจิ ยั ต้องนาผลงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ในทางทชี่ อบ 8. นกั วิจัยต้องเคาระความคดิ เหน็ ทางวิชาการของผู้อ่นื 9. นักวจิ ยั ตอ้ งมคี วามรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดบั
23
24 บทท่ี 2 กำรกำหนดปัญหำกำรวจิ ัย ในการทาวิจัย ผู้วิจัยจาเป็นต้องกาหนดประเด็นปัญหาท่ีต้องการศึกษาวิจัยให้ ชัดเจน ถามตนเองว่ามีความสนใจในเร่อื งใด ตอ้ งการตอบปัญหาอะไรหรือต้องการคาตอบ อะไร การศึกษาในปัญหาท่ีแคบแต่ลึกจะทาให้เกิดความชัดเจนในการทาวิจัยมากกว่า ศึกษาปัญหาท่ีกว้างจนจับอะไรไม่ได้ ก่อนอ่ืนผู้วิจัยต้องสารวจข้อมูลเก่ียวกับปัญหาหรือ เร่ืองทจี่ ะศึกษาน้ันๆว่ามีข้อมูลเพยี งพอหรือไม่ นัน่ กห็ มายความวา่ ผูว้ จิ ยั ต้องกาหนดปัญหา และวางแผนการวจิ ยั กอ่ น 2.1 หลกั กำรกำหนดปัญหำกำรวจิ ัย ในการกาหนดปญั หาการวจิ ยั มหี ลกั การกาหนดปัญหาดังนี้ (รวีวรรณ ชนิ ะตระกลู . 2536:17) 1. ศึกษาเรอ่ื งทีเ่ ก่ียวกับปญั หาที่จะศึกษา 2. เป็นประเด็นทนี่ า่ สนใจ 3. พยายามเลือกปัญหาใหม่ไม่ซ้ากับปัญหาเดิมท่ีมีผู้วิจัยไว้แล้วแต่ถ้ามีความ จาเป็นอาจศึกษาซ้าโดยเปลี่ยนระเบียบวธิ วี จิ ัยใหม่ 4. กาหนดขอบเขตของปญั หาให้ชัดเจน 5. ใชภ้ าษาทเ่ี ปน็ ทางวชิ าการ ไมใ่ ชภ่ าษาพูด มีความกะทดั รัดและใชค้ าถกู ตอ้ ง 6. ไมย่ ดื ยาวจนนา่ เบอื่ หนา่ ย 7. มีข้อมูลอ้างอิงทาให้น่าเช่ือถือ เพ่ือให้ผู้อ่านจะได้เข้าใจว่าเป็นปัญหาที่มี พนื้ ฐานมาจากข้อมูลเชงิ ประจกั ษ์ 8. จัดลาดบั ประเดน็ ปญั หาให้เปน็ ข้ันตอนตอ่ เน่ืองกนั ควรเริ่มจากปัญหาท่กี วา้ งๆ (แต่ไม่กว้างจนเกินไป) จากภูมิหลังทั่วไปของปัญหาและจบด้วยปัญหาท่ีเราจะศึกษาให้ ชัดเจน 9. เป็นประเดน็ ทน่ี า่ เปน็ ประโยชน์ ผลการวจิ ยั สามารถนาไปใช้ประโยชนไ์ ด้จริง 10. อย่ใู นวิจัยทผี่ วู้ ิจัยสามารถท่จี ะทาได้ท้ังในแง่ของเวลาและค่าใช้จา่ ย 2.2 กำรวเิ ครำะห์สำเหตุของปัญหำทจ่ี ะนำมำทำวิจัยได้อยำ่ งเหมำะสม แหลง่ ทมี่ ำของของปัญหำ
25 ผ้วู ิจยั สามารถค้นแหล่งที่มาของปัญหาทเ่ี ราสนใจจะศกึ ษาได้หลายทาง 1. จากการอ่านเอกสาร ได้ตารา บทความต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับเร่ืองที่ผู้วิจัย สนใจ โดยเฉพาะทฤษฎี 2. จากงานวิจยั ทีผ่ อู้ นื่ ทาไวแ้ ล้ว เช่น วารสารการวจิ ยั และปริญญานิพนธ์ หรอื วิทยานิพนธ์ ซ่ึงจะมขี ้อเสนอแนะสาหรบั การทาวจิ ยั ในครงั้ ต่อไป ซง่ึ ชว่ ยใหเ้ ป็นแนวทางใน การวิจัย 3. จากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ หรือบทคัดย่อรายงานการวิจัยท่ีได้ รวบรวมไวเ้ ป็นเลม่ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 4. จากขอ้ เสนอแนะหรือขอ้ คดิ ของผรู้ ู้ ผชู้ านาญ ในเรอื่ งทีต่ นสนใจ 5. จากขอ้ โตแ้ ยง้ หรอื วิพากษว์ ิจารณ์ของบุคคลในวงการทเ่ี ราสนใจ 6. จากการจัดสัมมนา และอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องท่ีผู้วิจัยสนใจอยู่ใน ขณะนัน้ 7. ศกึ ษาปัญหาจากสถาบนั หรอื หน่วยงานท่ีตนเองทางานอยู่ 8. ศึกษาจากหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ซ่ึงมักจะมีกรอบสาหรับ การ ทาวจิ ัยไว้ให้ 2.3 กำรกำหนดวัตถุประสงค์กำรวจิ ัย วตั ถุประสงค์ของการวิจยั เป็นทิศทางของการดาเนินการวิจัยเพื่อทาให้เกิดความ ชัดเจนว่าการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ต้องการศึกษาอะไรและด้านใดบ้าง มีวัตถุประสงค์หลักหรือ วัตถุประสงค์ย่อย ๆ อะไรบ้าง โดยปกติวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นส่วนหน่ึงท่ีจะช่วยทา ให้ชื่อเรื่องหรือปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยควร จดั เรียงตามลาดับความสาคัญ โดยขอ้ แรก ๆ ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ตรงหรือสอดคล้องกับ ช่ือเร่ืองหรือหัวข้อวิจัย ส่วนข้อต่อ ๆ ไปจึงเป็นวัตถุประสงค์ท่ีต้องการศกึ ษารองลงมา หลกั เกณฑก์ ำรเขียนวตั ถปุ ระสงค์ของกำรวจิ ยั 1. เขยี นใหส้ อดคล้องหรืออยู่ในขอบขา่ ยของประเด็นปัญหาการวิจยั 2. เขยี นเป็นประโยคบอกเลา่ ใหช้ ดั เจน และใชภ้ าษาที่เข้าใจงา่ ย 3. เขยี นใหค้ รอบคลุมเรื่องหรือประเดน็ ปัญหาที่ต้องการศึกษา และชี้ เฉพาะเจาะจง
26 วา่ ผูว้ จิ ัยตอ้ งการจะทาอะไร ตอ้ งการคน้ หาคาตอบอะไร 4. มีความเป็นไปได้ มขี อบเขตทพี่ อเหมาะและสามารถหาข้อมลู เพื่อตอบ คาถามหรือทดสอบได้ 5. เป็นแนวทางในการต้ังสมมติฐานการวิจัย การพิจารณาเลือกกลุ่ม ตวั อยา่ งและการเลอื กใชส้ ถติ เิ พ่อื การวิเคราะห์ข้อมลู ได้
27
28 บทท่ี 3 กำรทบทวนเอกสำรและงำนวิจัยทเ่ี กยี่ วข้อง เปน็ การเขียนรายงานผลการศึกษาเอกสารและงานวิจัยทีเ่ กี่ยวขอ้ งโดยมี วตั ถปุ ระสงค์เพื่อให้เห็นว่างานวจิ ยั เรอ่ื งนีม้ แี นวคิด ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยอ่ืน ๆ เป็น พน้ื ฐานการวางแผนการวิจัยอยา่ งไร และเพยี งใด ความสาคัญของการนาเสนอเนือ้ หาในบท น้ี นอกเหนือจากจะช้ีใหเ้ หน็ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวจิ ัยทเ่ี ป็นพื้นฐานของงานวจิ ัยเร่ืองน้ัน แลว้ ยงั จะเป็นข้อมลู ที่ช่วยให้คณะกรรมการท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์มีความม่ันใจว่า ผู้เสนอ เค้าโครงวิจัยนนั้ ๆ มีข้อมูลและแนวทางเพยี งพอที่จะดาเนินการวจิ ัยได้ การเขียนรายงานผลการศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องนี้ ผู้เสนอเค้าโครง วิจัยต้องคัดสรรสิ่งที่จะเขียนให้ดีทั้งส่ิงท่ีได้จากเอกสารท่ีเป็นงานวิจัยและเอกสารที่ไม่ใช่ งานวิจยั โดยเขยี นในลักษณะสังเคราะหส์ ่ิงทีค่ ้นควา้ มา ไมใ่ ช่เป็นเพียงการนาสิ่งที่ค้นคว้ามา เขียนเรียงต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ ก่อนลงมือเขียนจริงควรเริ่มด้วยการวางโครงเรื่องให้ สอดคลอ้ ง เหมาะสมกบั ปัญหาวิจยั โดยกาหนดโครงเรื่องเปน็ หัวข้อต่าง ๆ ซ่งึ มีทงั้ หวั ข้อใหญ่ หัวข้อรอง และ หัวข้อย่อย การนาเสนอรายละเอียดควรเริ่มต้นด้วยความนาหรืออารัมภบท ว่า จะนาเสนออยา่ งไร แบ่งเปน็ กี่ตอน แตล่ ะตอนมีหัวขอ้ ใดบา้ ง เป็นตน้ 3.1 แนวทำงกำรทบทวนเอกสำรและงำนวจิ ัยทเี่ กี่ยวข้อง 1. บทท่ี 2 จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ส่วนคือ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อวิจัย และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับหัวข้อวิจัย กรณีงานวิจัยท่ีเสนอเค้าโครงวิจัยที่ต้อง ตั้งสมมติฐานการวิจยั ให้เขียนสมมติฐานการวจิ ัยไว้ในบทที่ 1 ต่อทา้ ยกรอบแนวคิดในการวิจัย 2. การเขยี นแนวคิดทฤษฎีทีเ่ ก่ยี วข้อง จะตอ้ งประกอบด้วย 2.1 ความหมายของสิง่ ทจ่ี ะวิจัย (หรือเรื่องที่จะวิจยั ) 2.2 แนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกบั สิง่ ที่จะวจิ ยั 2.3 ระเบียบวิธีหรือเทคนิควิธกี ารวิจัยเฉพาะเรอื่ ง (ถา้ มี) 3. การเขียนผลงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง จะต้องประกอบด้วยผลงานวิจัยท้ังใน ประเทศและต่างประเทศ 4. การนาเสนอที่ดีเป็นการนาเสนอในลักษณะสังเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น การศึกษาที่เป็นวัตถุประสงค์หรือสมมติฐานการวิจัย ไม่ใช่การนาเสนอผลเป็นรายบุคคล ตามลาดบั ตัวอกั ษร หรอื ตามรายปี
29 5. การเขยี นสรปุ ตอนท้ายของแต่ละประเดน็ ทีน่ าเสนอ ผู้วิจัยตอ้ งใช้ภาษาของ ผูว้ ิจัยเอง 6. การอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องเขียน ให้ถูกต้องตามรูปแบบท่ีกาหนด 3.2 ตัวแปรและสมมตฐิ ำนในกำรวิจยั ตัวแปร (variable) หมายถึง คาหรือ ข้อความท่ีแสดงข้อมูลที่แปรเปลี่ยนได้ หรือ แสดงข้อมลู ท่ีมีค่าได้มากกว่า 1 คา่ เชน่ เพศ เป็นตวั แปร เพราะมี 2 เพศ คอื เพศหญิงและ เพศชาย ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียน เปน็ ตวั แปร เพราะนกั เรียนแตล่ ะคนมีผลสมั ฤทธิ์ทางการ เรียนต่างกัน หรือนักเรียนคนเดียวอาจจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ ได้รบั การพัฒนา ในการวิจัย ตัวแปร คือ ส่ิงที่ผู้วิจยั มุ่งศึกษา ตัวแปรมีหลายประเภท โดยท่ัวไป ตวั แปรท่ีใชใ้ นการวิจยั แบง่ เปน็ 2 ประเภท ได้แก่ 1. ตัวแปรอสิ ระ หรือตัวแปรตน้ (Independent variable) เปน็ ตัวแปร ต้นเหตุ ทีจ่ ะทาให้เกิดการเปลยี่ นแปลงหรอื การผนั แปรของตัวแปรอีกตวั หนง่ึ ทีเ่ รียกว่า ตัว แปรตาม 2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) เปน็ ตวั แปรท่ีเปน็ ผลจากการกระทาของ ตัวแปรอสิ ระ หลกั การเขียนตัวแปร 1. ถา้ สามารถระบุประเภทของตวั แปรได้ ใหร้ ะบุไวอ้ ยา่ งชดั เจตว่าตวั แปรใดเป็นตัว แปรอสิ ระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม แตถ่ า้ ไม่สามารถระบุประเภทของตวั แปรได้ ใหใ้ ช้คา ว่า ตัวแปรท่ีศึกษา ตัวอย่าง ชื่อเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งน้า ของชมุ ชน วัตถปุ ระสงค์ของกำรวจิ ัย เพ่ือศึกษาการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนในการพฒั นา แหล่งนา้ ของชมุ ชน
30 ตวั แปรที่ศกึ ษำ คือ การมสี ่วนร่วมของประชาชน มี 4 ด้าน ไดแ้ ก่ 1. การมีส่วนรว่ มในการศึกษาและใหข้ ้อมูล 2. การมสี ว่ นรว่ มในการวางแผน 3. การมสี ่วนรว่ มในการปฏบิ ตั หิ รอื ดาเนินงาน 4. การมสี ว่ นรว่ มในการติดตามและประเมินผล จากตัวอย่างถ้ากาหนดวัตถุประสงค์เพิ่มเติมว่า เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วม ของประชาชน จาแนกตามเพศ การศึกษา และอาชีพ การเขียนตัวแปรต้องระบุประเภทของ ตวั แปร เชน่ ตวั แปรอสิ ระ ไดแ้ ก่ เพศ การศกึ ษา และอาชีพ ตัวแปรตำม คือ การมีสว่ นร่วมของประชาชน มี 4 ดา้ น ได้แก่ 1. การมสี ่วนร่วมในการศกึ ษาและใหข้ อ้ มูล 2. การมีส่วนร่วมในการวางแผน 3. การมสี ่วนร่วมในการปฏบิ ัตหิ รอื ดาเนนิ งาน 4. การมสี ว่ นรว่ มในการติดตามและประเมินผล 2. ตัวแปรที่เลือกมาศึกษาต้องมีเหตุผล หรือข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ เช่น ตัวแปร อิสระ เพศ การศึกษา และอาชีพ จากตัวอย่างข้อ 1 ผู้วิจัยต้องมีเหตุผล หรือข้อมูล สนับสนุนเพียงพอว่าทาไมถึงเช่ือว่าประชาชนที่มีเพศ การศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มี ความร่วมมือต่างกัน เหตุผล หรือข้อมูลสนับสนุนต้องมาจากการศึกษามาแล้วอย่าง ละเอียด สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) สมมตฐิ านการวิจยั เปน็ ข้อความทีค่ าดคะเนคาตอบของปัญหาการวิจัยไว้ ล่วงหนา้ โดยคาตอบน้ันเปน็ การคาดคะเนอยา่ งมเี หตุผลบนพ้นื ฐานของทฤษฎี ประสบการณ์ หรอื ความเช่ือต่าง ๆ ของผูว้ จิ ยั สมมตฐิ านการวิจยั ที่ดตี ้องประกอบดว้ ยเกณฑ์ 2 ประการ คือ เป็นข้อความที่แสดงความสมั พันธร์ ะหวา่ งตัวแปรและมคี วามชัดเจนท่สี ามารถทดสอบ ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้
31 การเขียนสมมติฐานการวิจัยทีด่ ีจะต้องกระทาภายหลังที่ได้ศึกษาเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้วิจัยเห็นแนวทางวา่ ในเรื่องน้ัน ๆ ควรคาดหวังผลการวิจัยว่าน่าจะ เปน็ อย่างไร จงึ จะเขียนสมมตฐิ านการวิจัยได้ หลักเกณฑก์ ารเขียนสมมตฐิ านการวิจยั 1. ต้องสอดคลอ้ งกบั วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั และตอบปัญหาการวิจัยได้ 2. สามารถทดสอบดว้ ยข้อมลู และหลักฐานตา่ ง ๆ ได้ 3. มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง 4. ตัง้ สมมติฐานจากหลักของเหตผุ ลตามทฤษฎี ความรู้พื้นฐาน และหรือ ผลงานวจิ ยั ที่ ผ่านมา มใิ ชก่ ารตั้งสมมติฐานข้ึนมาโดยปราศจากหลกั ของเหตผุ ล 5. เขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ระบุทิศทาง ของความสัมพันธ์หรอื ความแตกตา่ งระหวา่ งตวั แปร
32
33 บทท่ี 4 ใชก้ ระบวนกำรวจิ ัยเพอื่ แกไ้ ขปญั หำผูเ้ รยี น การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหน่ึงของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซ่ึงเป็นการวิจัยท่ีมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนเฉพาะหน้าเป็นคร้ัง ๆ ไป หรือเป็นเรื่อง ใดเรื่องหน่ึงในช่วงระยะเวลาหน่ึง ผลการวิจัยท่ีค้นพบนี้ไม่สามารถนาไปใช้อ้างอิงกับกลุ่ม อ่ืน ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดข้ึนในวงจากัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะท่ี เช่น ปัญหาท่ี เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคาตอบมาอธิบายเฉพาะท่ีเกิดข้ึนในห้องที่ตน รบั ผดิ ชอบอยู่ เท่าน้นั ไมเ่ กยี่ วกบั ปญั หาของห้องเรยี นอื่น ๆ การศกึ ษาปัญหาลักษณะน้ี เรา เรียกว่า การวิจัยในช้ันเรียน (Classroom Action Research) ซึ่งเป็นรูปแบบของการวิจัย ท่ีครูกาลังให้ความสนใจเป็นอย่างย่ิง เพราะสามารถนาไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยใน สถานการณ์ที่เกิดข้ึนจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในช้ันเรียนเป็นวิธีการ วจิ ยั ทีอ่ อกแบบ และพฒั นาขนึ้ มาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบวา่ มีอะไรเกิดขนึ้ ในห้องเรียน บ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลท่ีจะนาไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนท่ีจะมีข้ึน ต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิง บรรยาย หรือการวจิ ัยเชิงทดลอง อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ เป็นวธิ กี ารศึกษา 4.1 แนวทำงและวิธีแกป้ ัญหำผู้เรียน เนอื่ งจากการวจิ ัยในชั้นเรียนเป็นรปู แบบหนึ่งของการวิจัยเชงิ ปฏบิ ตั ิการที่ ใชเ้ พื่อการศึกษาสภาพทเี่ กิดข้ึนภายในห้องเรียนโดยมีครูเป็นผ้ดู าเนินการ จึงมีหลกั การและ แนวคิดดงั นี้ 1. เปน็ การศกึ ษาคน้ คว้าทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั การเรียนการสอนในห้องเรยี น 2. เปน็ การหาแนวทางในการปรบั ปรงุ คุณภาพการเรยี นการสอนท่ี เกยี่ วขอ้ งกับหลกั สูตร วธิ สี อน การจดั กิจกรรม สื่อ แบบฝกึ และวธิ ีการวัดและประเมนิ ผล 3. เปน็ ประโยชนต์ อ่ การพัฒนาประสิทธภิ าพการเรยี นการสอน 4.2 ขัน้ ตอนวิจัยเพ่ือแก้ไขปญั หำผู้เรียน การวิจยั ในชน้ั เรียนมขี ้นั ตอนคล้ายกับการวิจยั ตามรูปแบบ เพ่ือให้ครูได้ ทราบขน้ั ตอนตา่ ง ๆ จงึ ได้แบ่งขนั้ ตอนของการวิจัยในชน้ั เรียนออกเปน็ 6 ขัน้ ตอน ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพปญั หาท่ีต้องการศึกษา (Focusing your Inquiry) เป็น ข้ันตอนแรกของการวิจัยทค่ี รูทาความเข้าใจ และศกึ ษาสภาพของปัญหาที่ต้องการศึกษาว่า
34 มคี วามเปน็ มาอย่างไร และมคี วามเกีย่ วขอ้ งกบั เร่ือง (ตัวแปร) ใดบ้าง วิธกี ารอาจใชก้ าร ประชมุ ร่วมกนั ระหว่างครทู ี่พบปัญหาคล้าย ๆ กัน โดยสภาพปญั หาต้องมีความเกี่ยวข้องกับ กจิ กรรมที่เกดิ ขึน้ ภายในหอ้ งเรียน หรืออาจเป็นสภาพของปัญหาตามท่ีไดน้ าเสนอในข้อ 9 2. การกาหนดปัญหาวิจัย (Formulating a Question) เป็นการกาหนด หัวขอ้ ของเร่ืองทต่ี ้องการทาวิจยั หรอื ท่ีเราเรยี กว่า ช่อื วจิ ัย ซงึ่ มีความสอดคล้องกับสภาพ ปญั หาท่ไี ด้ทาการศึกษามาก่อนหนา้ น้ี ปัญหาวิจยั ในช้นั เรยี นแต่ละเร่อื งไม่ควรใช้ระยะเวลา ในการศึกษานานเกนิ ไป โดยทั่วไปมกั ไม่เกิน 1 ภาคเรยี น หรือ1 ปีการศึกษา ปญั หาวิจยั ใน ชัน้ เรียนที่ดจี ะประกอบดว้ ยลกั ษณะท่ีสาคัญ 3 อยา่ ง คอื 2.1 ตอ้ งเปน็ เร่อื งท่ีมคี วามสาคัญตอ่ การเรยี นการสอน และนักเรยี น ซง่ึ อาจเป็นปัญหาทค่ี รตู ้องการแกไ้ ข ต้องการปรับปรุง หรอื ประเมินผลที่เกิดข้นึ จากการทา กจิ กรรมการเรียนการสอน 2.2 มีความสมั พนั ธ์กบั ปัญหาที่ต้องการศกึ ษา ถา้ ครูทาการศึกษา ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดข้นึ มีมากกว่าหนึ่งปัญหาแล้ว ทุกปญั หาท่ีทาการศกึ ษาต้องมี ความสัมพันธก์ นั ท่ีมลี ักษณะเป็นชดุ วจิ ัย (Batteries of Research) 2.3 เป็นปัญหาที่สามารถหาคาตอบได้ เนอื่ งจาก ปญั หาวิจัยในช้ัน เรียนเป็นปญั หาท่ใี ชข้ ้อมูล ซ่งึ รวบรวมไดจ้ ากห้องเรยี นในการตอบคาถามวิจยั ซ่งึ ต้องเปน็ ปัญหาที่ไม่กวา้ งมากเกินไป เพราะมฉิ ะนัน้ จะหาข้อมูลมาตอบคาถามวจิ ยั ไมไ่ ด้ หรือตอบได้ ไมส่ มบูรณ์ 3. ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยทเ่ี กี่ยวข้อง (Review of literature and resources related to your question) การทาวิจัยในช้นั เรียนมคี วามจาเป็นอยา่ งยงิ่ ท่ี ต้องอาศัยผลงานการศึกษาค้นคว้าของบุคคลอืน่ เป็นแนวทาง จะคดิ ว่าเราเปน็ คนแรกท่ีคิด ทาเปน็ คนแรกคงไม่ได้ถึงแมว้ ่าปญั หานนั้ จะไมซ่ ้ากับใครหรือยงั ไมเ่ คยมีใครศึกษามาก่อน เลยกต็ าม การท่ีผวู้ ิจยั จะนิยามปัญหาวิจยั ไดช้ ัดเจนเพียงใด สามารถทาการวจิ ัยไดห้ รือไม่ นน้ั จาเปน็ ท่ีจะต้องมีการศึกษาเอกสารงานวจิ ัยที่เกยี่ วข้องใหม้ าก ๆ ถ้าพจิ ารณาดูให้ดีแล้ว จะพบความจรงิ ประการหน่ึงว่าปัญหาทุกอย่างเปน็ ของเดมิ ท่มี ีอยู่ก่อนแล้วท้ังสิน้ การท่เี รา มองเหน็ ว่าเป็นปัญหาใหม่เพราะมีการแปลงรูปไปจากเดิมเทา่ นั้น แหลง่ สาคัญทส่ี ุดของ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกยี่ วข้อง คือ ห้องสมดุ เพราะหอ้ งสมดุ ถือวา่ เปน็ ที่ รวบรวมของหนังสอื ตารา และเอกสารตา่ ง ๆ มากมาย โดยเฉพาะหอ้ งสมดุ ของ
35 มหาวิทยาลยั หรอื สถาบนั การศึกษาทั้งหลาย โดยผ้วู ิจัยสามารถค้นคว้าหาความรทู้ ่ี เกย่ี วขอ้ งกบั ปญั หาวจิ ยั จากแหลง่ ความรู้ตอ่ ไปนี้ 3.1 หนงั สือ ตาราท่ีเกย่ี วข้องกับปญั หาวิจัยทีก่ าลังศกึ ษา 3.2 สารานกุ รมและท่รี วบรวมผลงานการวจิ ัยท่ีเก่ียวข้อง 3.3 วารสารการวจิ ัยสาขาตา่ ง ๆ 3.4 ปริญญานพิ นธ์ หรอื วิทยานิพนธ์ของผู้สาเร็จการศึกษาระดบั บณั ฑติ ศึกษา 3.5 หนังสือรวบรวมบทคดั ย่อปรญิ ญานพิ นธแ์ ละวทิ ยานิพนธ์ 3.6 หนงั สือพิมพท์ ง้ั รายวนั และรายสัปดาห์ นติ ยสารตา่ ง ๆ 3.7 Dissertation Abstract International (DAI) 3.8 ERIC Educational Documents Abstract (ERIC) 3.9 ระบบเครอื ข่ายข้อมูลทาง INTERNET 4. การรวบรวมข้อมูล (Collecting relevant data) เป็นส่ิงทจี่ ะช่วยใหค้ รู ตอบคาถามการวจิ ยั ในชนั้ เรียนไดถ้ ูกต้อง ลักษณะของขอ้ มูลทีด่ ตี ้องมคี วามสมั พันธ์โดยตรง กบั ปัญหาวิจัย ข้อมลู ท่ีใชส้ าหรบั การวจิ ัยในชนั้ เรียนได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ จากแบบ บนั ทกึ ที่ได้การสังเกตพฤติกรรมของนักเรยี น แบบทดสอบ แบบสอบถาม จากกล่มุ ทดลองที่ ครจู ัดข้ึน ข้อมลู ท่รี วบรวมได้ต้องอยภู่ ายใตก้ รอบของปัญหา ประเภทของข้อมลู ทีใ่ ชเ้ พือ่ การ วิจยั ในชัน้ เรียนแบง่ ออกได้เป็น นามบัญญัติ (Norminal Scale) เรียงลาดบั (Ordinal Scale) อนั ตรภาคชั้น (Interval Scale) และสัดสว่ น (Ratio Scale) ซ่งึ อาจอยูใ่ นรปู ของ ขอ้ มูลเชิงปริมาณ หรอื เชงิ คณุ ภาพก็ได้ การรวบรวมข้อมูลครูตอ้ งยึดถือคุณธรรมและ จริยธรรมของผวู้ ิจยั (Ethical Issues) อยา่ งเข้มงวด ไมม่ ีความลาเอียง หรืออคตใิ ด ๆ ทง้ั สิน้ มฉิ ะนน้ั ผลการศกึ ษาจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย 5. การวิเคราะหข์ ้อมลู และการแปลผล (Analyzing and interpreting the data) เป็นข้ันตอนที่ครูทาการประมวลผลข้อมลู ที่รวบรวมไดแ้ ล้วนาเสนอในรูปของ แผนภูมิ ตารางตา่ ง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรปู ของข้อมูลดิบก็ได้ รปู แบบของข้อมูลทนี่ าเสนออาจมี ลักษณะเป็นกลุ่ม เป็นรายบคุ คล หรอื ผลการทดสอบนยั สาคญั ทางสถิติ ซงึ่ ประกอบด้วย สถิตพิ รรณาต่าง ๆ ที่เกีย่ วข้องกบั ปญั หาวิจยั ในชนั้ เรียน การแปลผลการวเิ คราะหน์ ้ัน ครู ตอ้ งทาการอา่ นผลการวเิ คราะห์และทาการแปลผลออกมาเพอื่ ให้บุคคลอน่ื สามารถทา
36 ความเขา้ ใจในผลการวิเคราะหไ์ ด้ ในขั้นตอนนี้ไมค่ วรแสดงความคดิ เห็นใด ๆ ทีไ่ ม่มี หลกั การหรือเอกสารการวจิ ยั รองรับ ควรแปลผลตามผลการวเิ คราะหท์ ่ีได้รบั อย่างแท้จริง และไม่ควรมีอคตใิ นการแปลผล แต่ถ้ามขี ้อเสนอแนะใด ๆ ครสู ามารถเพิ่มเติมในส่วนท่ี เกย่ี วกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 6. การเขยี นรายงานการวิจยั (Reporting Results) เป็นขนั้ ตอนทีม่ ี ความสาคญั ต่อการเผยแพรผ่ ลการศกึ ษา พมิ พ์ด้วยตัวอักษรขนาด 16 pixels จะเป็น font อะไรก็ได้ แต่ผู้เขยี นขอเสนอแนะให้ใช้ font แบบ BrowalliaUPC รายงานการวจิ ยั ในช้ัน เรียนมี 3 สว่ น คอื 6.1 สว่ นหวั (Heading) เปน็ สว่ นท่ปี ระกอบดว้ ย ปก คานา สารบญั สารบญั ตาราง (ถ้ามี) บญั ชภี าพประกอบ (ถา้ มี) 6.2 สว่ นตัวรายงาน (Reporting) ส่วนประกอบของตวั รายงานมี 5 ส่วน ตามขนั้ ตอนของการวจิ ัยในช้ันเรียน แต่ละสว่ นมจี านวนหน้า ดงั นี้ 6.2.1 การศกึ ษาสภาพปญั หาที่ต้องการศกึ ษา 1 - 2 หนา้ 6.2.2 การกาหนดปญั หาวิจยั 1 - 2 หนา้ 6.2.3 ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยทเี่ กี่ยวข้อง 3 - 5 หน้า 6.2.4 การรวบรวมข้อมลู 2 - 4 หน้า 6.2.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล 2 - 4 หนา้ จานวน หน้าของงานวิจัยในชั้นเรียนส่วนนขี้ องแตล่ ะเรือ่ งรวมแล้วไมเ่ กนิ 17 หน้าแตถ่ ้ามีเอกสาร หรอื รายการใด ๆ ที่ต้องการเพิม่ เติมสามารถใสล่ งไปไดใ้ นส่วนของภาคผนวก 6.3 สว่ นทา้ ย (Tailing) เปน็ ส่วนทีป่ ระกอบดว้ ย บรรณานุกรม และ ภาคผนวก
37
38 บทที่ 5 ประชำกรและกลุ่มตัวอยำ่ ง 5.1 ควำมหมำยของประชำกรและกลุ่มตวั อย่ำง ประชำกร ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของส่ิงต่างๆทั้งหมดท่ีผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจ เป็นกลุม่ ของส่งิ ของ คน หรอื เหตกุ ารณ์ต่างๆ กล่มุ ตวั อย่ำง กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม(Sample)หมายถึง เป็นส่วนหนึ่งของประชากรท่ีผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดีหมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างๆที่สาคัญครบถ้วนเห มือนกับกลุ่ม ประชากร เปน็ ตวั แทนท่ีดขี องกลมุ่ ประชากรได้ การใช้กลุ่มตัวอย่างมาศึกษาค่าสถิติ (statistics) ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้จากการ วิเคราะห์กับกลุ่มตัวอย่าง อาจจะมีความผิดพลาดได้เมื่อนาไปใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter) หรือลักษณะของประชากร (characteristics of population) บางครั้ง ค่าสถติ ทิ ไ่ี ดอ้ าจประมาณต่ากว่าค่าพารามิเตอร์ (underestimation) หรอื ประมาณเกินกว่า ความเป็นจริงของลักษณะประชากร (overestimation) ซึ่งถ้าทาการศึกษาโดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างประชากรจากประชากรเดิม (parent population) ด้วยขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างเท่าเดิมโดยวิธีการสุ่ม(random) และใช้หลักการสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็น (probability sampling) ความแปรผันของการประมาณค่าพารามิเตอร์จากการแจกแจง ค่าสถิติท่ีนามาใช้ในการประมาณจะแปรผันตามขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจง ของค่าสถิตินี้จะมีลักษณะการแจกแจงเข้าสู่การแจกแจงปกติ (normal distribution) ซึ่ง เรียกว่าการแจกแจงเชิงสุ่ม (sampling distribution) โดยค่าคาดหวังของค่าสถิติตจะมีค่า เทา่ กบั ค่าพารามเิ ตอร์ ความแปรผนั หรือความคลาดเคล่ือนในการประมาณคา่ ใหเ้ ปน็ ความ เคล่ือนแบบสุ่ม (random error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการเลือก ตัวอย่าง (sampling error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคล่ือนมาตรฐาน (standard error) (เชิดศักด์ิ โฆวาสนิ ธ์. 2545 : 52) ในการวิจัย นักวิจัยไม่ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างหลายๆกลุ่มจากประชากรเดียวกัน เพอื่ หาการแจกแจงเชิงสุ่ม แตจ่ ะศึกษากบั กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เพ่ือหาการการแจก แจงของกลุ่มตัวอย่าง และให้ใช้ ทฤษฎี central limit theorem เช่ือมโยงความสัมพันธ์
39 ของการแจกแจงเชิงสุ่ม และการแจงแจงของประชากร ประมาณค่าพารามิเตอร์และค่า ความคลาดมาตรฐานโดยระบุความมั่นใจหรือความคลาดเคลอื่ นในการประมาณค่า ดังนน้ั ในการใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาแทนประชากรจาเป็นต้องคานึงถึง ความถูกต้อง (accuracy) ในการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งหมายถึง การไม่มีอคติ(bias)ในตัวอย่างที่ถูกเลือก หรอื กลา่ วได้วา่ โอกาสของการเลือกตวั อย่างมาศึกษาเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์สูงหรือต่า กว่าความเป็นจริงมีพอๆกัน นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงความแม่นยาในการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ (precision of estimate) ซึ่งความแม่นยาน้ีสามารถวัดได้จากค่า ความคลาดเล่ือนในการประมาณค่า โดยค่าความคลาดเลื่อนต่าจะให้ความแม่นยาในการ ประมาณค่าสูง ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนน้ีขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็น ความคลาดเคล่ือนจากการเลือกหน่วยตัวอย่าง(sampling error) ท่ีคาดเคลื่อนไปจาก คา่ พารามเิ ตอร์ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีอยู่สองหลักการใหญ่คือ 1) หลักการอาศัยความน่าจะเป็น (probability sampling) หรือการเลือกอย่างสุ่ม (random selection) ซง่ึ เปน็ หลักการทส่ี มาชิกของประชากรแตล่ ะหนว่ ยมีความน่าจะเป็น ในการถูกเลือกเท่าๆกันและทราบความน่าจะเป็นนั้น 2) ไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็น (nonprobability sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ความน่าจะเป็นในการถูกเลือก ของแต่ละหนว่ ยตัวอย่างไมเ่ ทา่ กนั หรือบางหนว่ ยมีโอกาสท่จี ะไม่ถูกเลือก ดังน้ันในการจะเห็นได้ว่าในการท่ีจะได้ว่าถ้าเราเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลัก ความน่าจะเปน็ จะทาใหก้ ารประมาณค่าพารามิเตอรไ์ ด้แมน่ ยากว่า 5.2 ลักษณะของกลุ่มตัวอยำ่ งที่ดี 1. กำรเลือกกลุ่มตัวอย่ำง การพิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างต้องคงไว้ซึ่งความเป็นตัวแทนของ ประชากร คือ 1.1 คณุ สมบตั ิและคณุ ลักษณะของความเปน็ ตวั แทน 1.2 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างควรมีจานวนเท่าใด จึงจะถือว่าเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด โดยมีความคลาดเคลื่อนผลการ
40 ทานายน้อยที่สุด หลักเกณฑ์น้ีมีอยู่ในตาราสถิติและตาราระเบียบวิธี วิจัย ซึ่งผวู้ จิ ัยสามารถหาอ่านและทาความเข้าใจได้ไม่ยาก 2. กำรส่มุ ตวั อยำ่ งและแผนกำรสุม่ การศึกษาจากประชากรเป็นเรื่องยาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องเลือกกลุ่ม ตัวอย่างมาทาการศึกษาแทน การเลือกกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ต้องสัมพันธ์และ สอดคล้องกับหน่วยวิเคราะห์ การสุ่มตัวอย่างต้องมีหลักเกณฑ์ เพ่ือให้ตัวอย่างท่ีเลือกมา ศึกษาเป็นตัวแทนของประชากรอย่างแท้จริง 3. ขนำดของกลุ่มตวั อยำ่ งท่ีเหมำะสม การระบุขนาดกลุ่มตวั อยา่ งโดยทั่วไปใช้การกาหนดและการเปดิ ตาราง สาเรจ็ รปู Taro Yamane หรอื ตารางกาหนดกลมุ่ ตัวอย่างของ Krejci and Morgan หรือ วธิ ีอ่นื ๆ 5.3 กำรสมุ่ ตวั อย่ำงและกำรไดม้ ำซึ่งกลุม่ ตวั อยำ่ ง ขั้นตอนกำรเลือกกลุ่มตวั อย่ำง กาหนด/นยิ ามประชากรเปา้ หมาย รวบรวมสมาชิกท้ังหมดของประชากร กาหนดหนว่ ยของการสุ่มตัวอยา่ ง วางแผนการเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ ง ทาการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เทคนิคกำรสมุ่ กลมุ่ ตวั อยำ่ ง 1.กำรส่มุ โดยไมค่ ำนงึ ถึงควำมนำ่ จะเปน็ ในบางครง้ั การเลือกกลุ่มตัวอยา่ งโดยอาศัยความนา่ จะเป็น โดยวิธีการสมุ่ อาจจะไม่ สามารถทาได้หรือทาได้ยาก การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นจึงถูก นามาใชซ้ ึง่ การเลอื กกลมุ่ ตัวอย่างแบบน้ีจะมลี ักษณะเป็นอัตวสิ ัย (subjective) ซงึ่ มกั จะทา ให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ขาดความแม่นยา ดังน้ันในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบน้ี มักจะใช้เม่ือไม่ต้องการอ้างอิงถึงลักษณะประชากร ส่วนใหญ่จะใช้กับงานวิจัยสารวจ
41 ข้อเท็จจริง (Exploration research) กับกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะและไม่ต้องการ เปรียบเทียบกับกลุ่มอ่ืนๆ นอกจากน้ียังมีเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการ เลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าเป็นจะมีค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยกว่าอาศัยความ น่าจะ เป็น 1.1 การสุม่ โดยบงั เอิญ (Accidental sampling) เปน็ การสมุ่ จาก สมาชิกของประชากรเป้าหมายท่ีเปน็ ใครก็ได้ท่สี ามารถให้ข้อมูลได้ครบถว้ น การสมุ่ โดยวิธีน้ี ไม่สามารถรับประกันความแม่นยาได้ ซ่ึงการเลือกวิธีน้ีเป็นวิธีที่ด้อยที่สุด เพราะเป็นการ เลอื กตวั อยา่ งท่มี ลี ักษณะสอดคล้องกับนิยามของประชากรทสี่ ามารถพบไดแ้ ละใช้เป็นอย่าง ไดท้ ันที 1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) เป็นการสุมตัวอย่างโดยจาแนก ประชากรออกเปน็ สว่ นๆก่อน (strata)โดยมีหลักจาแนกว่าตัวแปรทีใ่ ช้ในการจาแนกน้ันควร จะมคี วามสัมพันธ์กับตัวแปรที่จะรวบรวม หรอื ตัวแปรทส่ี นใจ และสมาชกิ ที่อยูแ่ ตล่ ะส่วนมี ความเปน็ เอกพนั ธ์ ในการสมุ่ แบบโควตา นี้มขี ้นั ตอนการดาเนินการดงั น้ี 1.2.1 พิจารณาตัวแปรที่สัมพันธ์กับลักษณะของประชากรที่ คาถามการวจิ ัยต้องการที่จะศึกษา เช่น เพศ ระดบั การศกึ ษา 1.2.2 พิจารณาขนาดของแต่ละส่วน (segment) ของประชากร ตามตามตัวแปร 1.2.3 คานวณค่าอัตราส่วนของแตล่ ะส่วนของประชากร กาหนด เป็นโควตาของตัวอยา่ งแตล่ ะกล่มุ ทีจ่ ะเลอื ก 1.2.4. เลือกตัวอย่างในแต่ละส่วนของประชากรให้ได้จานวน ตามโควตา 1.3 การสุม่ ตัวอยา่ งเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) หรือ บางคร้งั เรียกว่าการสุ่มแบบพจิ ารณา (judgment sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใชด้ ุลพินจิ ของผวู้ จิ ัยในการกาหนดสมาชิกของประชากรทจี่ ะมาเปน็ สมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง วา่ มี ลกั ษณะสอดคลอ้ งหรือเป็นตัวแทนท่ีจะศกึ ษาหรือไม่ ขอ้ จากัดของการสุ่มตวั อยา่ งแบบน้ี คอื ไมส่ ามารถระบุได้ว่าตวั อย่างที่เลือก จะยงั คงลักษณะดงั กล่าวหรอื ไม่เม่ือเวลาเปล่ยี นไป
42 1.4 การสุมกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) การ เลอื กกลมุ่ ตัวอย่างโดยถือเอาความสะดวกหรือความง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล ข้อจากัดของการสุ่ม แบบน้จี ะมลี ักษณะเหมอื นกับการสมุ่ โดยบงั เอญิ 1.5 การสุมตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์ (snowball sampling) เป็นการ เลอื กตวั อย่างในลักษณะการสร้างเครือข่ายข้อมูล เรยี กวา่ snowball sampling โดยเลือก จากหน่วยตัวอย่างกลุ่มแรก (จะใช้หรือไม่ใช้ความน่าจะเป็นก็ได้) และตัวอย่างกลุ่มนี้เสนอ บคุ คลอ่นื ท่ีมีลกั ษณะใกล้เคียงต่อๆไป ข้อจากัดของการสุ่มโดยไม่อาศยั ความน่าจะเปน็ 1. ผลการวจิ ยั ไมส่ ามารถอ้างอิงไปสูป่ ระชากรท้ังหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของ กลุ่มตวั อย่างเทา่ น้นั ข้อสรุปนั้นจะสรปุ ไปหาประชากรได้ตอ่ เมอ่ื กลุ่มตวั อยา่ งมี ลกั ษณะตา่ งๆทส่ี าคญั ๆเหมือนกบั ประชากร 2. กลุ่มตวั อยา่ งทไ่ี ดน้ น้ั ข้ึนอยู่กับการตดั สินใจของผูว้ จิ ยั และองค์ประกอบบางตวั ทไ่ี ม่ สามารถควบคุมได้ และไมม่ ีวิธกี ารทางสถิติอย่างไรทจ่ี ะมาคานวณความคลาด เคลอื่ นที่เกดิ จากการสุ่ม (sampling error) 2. กำรสุ่มโดยกำรคำนึงถึงควำมน่ำจะเป็น (probability sampling) 2.1 กำรสุ่มอยำ่ งง่ำย (Simple random sampling) สมาชิกทั้งหมดของประชากรเป็นอิสระซึ่งกันและกัน แล้วสุ่มหน่วยของการสุ่ม (Sampling unit) จนกว่าจะได้จานวนตามที่ต้องการ โดยแต่ครั้งที่สุ่ม สมาชิกแต่ละหนว่ ย ของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน ซ่ึงก่อนท่ีจะทาการสุ่มนั้น จะต้องนิยาม ประชากรให้ชัดเจน ทารายการสมาชิกท้ังหมดของประชากร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีท่ีทาให้ โอกาสในการของสมาชกิ แตล่ ะหน่วยในการถูกเลือกมีค่าเทา่ กนั ซึง่ สามารถทาได้ 2 วธิ ี คือ 2.1.1 การจบั ฉลาก 2.1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม (table of random number) ซ่ึงตัวเลข ในตารางได้มาจากการอาศัยคอมพิวเตอร์กาหนดค่า หรือบางครั้งสามารถใช้วิธีการดึง ตวั อย่างโดยอาศยั โปรแกรมสาเร็จรูป
43 ในการสุ่มอย่างง่าย มีข้อจากัดคือ ประชากรต้องนับได้ครบถ้วน ( finite population) ซึง่ บางครัง้ อาจสร้างปญั หาให้กับนักวจิ ัย 2.2 กำรสุ่มแบบเป็นระบบ (systematic sampling) ใชใ้ นกรณีท่ปี ระชากรมีการจัดเรียงอย่างไม่ลาเอยี ง 1) ประชากรหารด้วยจานวนกลมุ่ ตัวอยา่ ง (K = N/n) 2) ส่มุ หมายเลข 1 ถึง K (กาหนดสุ่มไดห้ มายเลข r ) 3) r จะเปน็ หมายเลขเรม่ิ ต้น ลาดับตอ่ ไป r + K, r +2K, r + 3K, ….. การสุ่มแบบเป็นระบบ โอกาสถูกเลือกของตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน เพราะเม่ือตัวอย่างแรกถูกสุ่มแล้ว ตัวอย่างหน่วยอ่ืนก็จะถูกกาหนดให้เลือก ตามมาโดยอัตโนมัติ โดยไมม่ ีการสุ่ม 3. กำรสมุ่ แบบแบ่งช้นั (stratified random sampling) เ ป็ น ก า ร สุ่ ม ก ลุ่ ม ตั ว อ ย่ า ง ท่ี แ บ่ ง ก ลุ่ ม ป ร ะ ช า ก ร อ อ ก เ ป็ น ก ลุ่ ม ย่ อ ย (subgroup or strata) เสียก่อนบน พื้นฐานของตัวแปรท่ีสาคัญทส่ี ่งผลกระทบต่อตัวแปรตาม โดยมหี ลักใน การจัดแบ่งกลุ่มแต่ละกลุ่มมีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) หรือกล่าวได้ว่า ในกลุ่ม เดียวกันจะมีลกั ษณะคลา้ ยคลึงกันตามกลมุ่ ยอ่ ยของตัวแปร แต่จะมีความแตกตา่ งระหวา่ ง กลุ่ม จานวนสมาชิกในกลุ่มย่อยจะถูกกาหนดให้เป็นสัดส่วน (proportion) ตามสัดส่วนท่ี ปรากฏในประชากร ซึ่งเรียกว่า การสุ่มแบบแบ่งชัดโดยใช้สัดสัด (proportion stratified sampling) การสุ่มแบบแบ่งช้ันจะมีความเหมาะสมกับงานวิจัยท่ีสนใจความแตกต่างของ ลกั ษณะประชากรในระหว่างกลมุ่ ยอ่ ย
44 4. กำรสุ่มตวั อย่ำงแบบกล่มุ (cluster sampling) ในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยจัดกระทากับรายการสมาชิกทุกๆ หน่วยของประชากรอาจทาได้ยากหรือทาไม่ได้เลย ดังน้ันแทนที่จะใช้วิธีการสุมจากทุก หน่วย นักวิจัยสามารถสุ่มจากกลุ่มที่ถูกจัดแบ่งไว้อยู่แล้ว ซ่ึงวิธีการแบบน้ีเรียกว่าการสุ่ม แบบกลุ่ม (cluster sampling) สิ่งท่ีควรคานึงถึงการสุ่มแบบกลุ่ม มีดังนี้ (เชิดศักด์ โฆ วาสนิ ธ.์ 2545 : 62) 4.1 ความแตกต่างของลกั ษณะท่ีจะศกึ ษาระหวา่ งกลุ่ม (cluster) มไี ม่ มาก หรือเรยี กวา่ มคี วามเปน็ เอกพันธ์ (homogeneous) 4.2 ขนาดของแตล่ ะกลุ่ม เท่ากันหรือแตกตา่ งกนั ไม่มากนัก เพราะเม่อื เลือกกลุ่มมาเป็นตัวอยา่ งแลว้ การประมาณค่าพารามิเตอร์ จะมลี ักษณะไม่อคติ (unbias estimation) มากกว่า กรณีท่กี ลุ่มตวั อย่างในแต่กลุ่มมีขนาดแตกตา่ งกนั มาก
45 4.3 ขนาดของกลมุ่ (cluster) ไมม่ ีคาตอบแน่นอนวาจานวนหนว่ ย ตวั อย่างทศี่ ึกษาในแต่ละกลุ่ม จะเปน็ เท่าใด ขึ้นอยู่กบั คาถามการวิจัยและความยากงา่ ยใน การเก็บข้อมูล 4.4 การใช้วิธกี ารสมุ แบบ multistage cluster sampling แทน่ การใช้ single – stage มเี หตุผลดังนี้ ขนาดของแต่ละกลมุ่ ที่มีอยู่มีขนาดใหญเ่ กนิ ไปเกินกว่าขนาดตามกาหลัง ทางเศรษฐกจิ สามารถหลีกเลีย่ งค่าใชจ้ ่ายทเ่ี กดิ ขน้ึ จากการแบ่งกลุ่ม ให้มขี นาดเลก็ ลงใน แตล่ ะกล่มุ ผลของการแบง่ กลุ่ม (clustering) แมจ้ ะมีขนาดเลก็ ลงแต่ในระหว่างกลมุ่ ท่จี ะศึกษายังมคี วามแตกต่างกันไม่มากนัก การเลอื กตัวอยา่ งของ compact cluster ให้ความยงุ่ ยากในกาเกบ็ รวบ รมข้อมลู 4.5 ขนาดขอกลมุ่ ตัวอยา่ งหรือจานวนกลุม่ (cluster) ท่ีตอ้ งการในการ เทยี บเคยี งจากการเลือกแบบการส่มุ อยา่ งง่าน (simple random sampling) ในการคานวณขนาดกล่มุ ตัวอย่าง โดยใช้จานวนทั้งหมดของ กลุ่ม ท่จี ดั แบ่งเป็นประชาการท่นี ามาใช้ในการคานวณ
46 4.6
47
48 บทที่ 6 เครื่องมอื และกำรเก็บรวบรวมข้อมลู 6.1 ควำมหมำยและประเภทของข้อมูล 1. ข้อมลู ข้อมลู หมายถึง ขอ้ เท็จจรงิ ที่ไดจ้ ากการรวบรวมโดยอาศัยเคร่ืองมือท่ีมี คณุ ภาพและวิธีการทเ่ี ชอื่ ถือได้ โดยอาจจะมลี ักษณะเปน็ ตวั เลข หรือบรรยายคณุ ลกั ษณะ 2. ประเภทของขอ้ มลู การแบ่งประเภทของขอ้ มลู สามารถแบง่ ได้เปน็ หลายลักษณะ ดงั ตอ่ ไปน้ี 2.1 แบง่ ตามลักษณะของขอ้ มลู 2.1.1 ขอ้ มูลเชงิ ปริมาณ เป็นลักษณะของขอ้ มูลที่เปน็ ตัวเลข หรือ เปน็ ข้อมลู ท่เี ชิงคณุ ลกั ษณะแตผ่ ้วู จิ ัยสามารถท่จี ะตคี วามให้มคี า่ เป็นตวั เลขได้ 2.1.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นลักษณะของข้อมูลท่ีบรรยาย คณุ ลักษณะเหตุการณ์ ทตี่ รงกับสง่ิ ทผ่ี ู้วจิ ัยต้องการ 2.2 แบ่งตามแหล่งข้อมลู 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บ รวบรวมได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง เช่น ข้อมูลที่ได้จาก แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ ขอ้ มูลประเภทนี้เปน็ ขอ้ มูลท่ีนา่ เชอ่ื ถอื มากท่สี ุด 2.2.2 ข้อมูลฑุติยภูมิ (Secondary Source) ข้อมูลลักษณะนี้ไม่ สามารถเก็บจากแหล่งกาเนิดได้โดยตรง เน่ืองจากอาจจะมีปัญหาอะไรบางอย่าง ดังน้ัน ลกั ษณะขอ้ มลู ประเภทนจ้ี งึ อาจจะมีความคลาดเคลอ่ื นเกิดขนึ้ ไดง้ า่ ย 2.3 แบ่งตามแหล่งทีม่ าของข้อมูล 2.3.1 ข้อเท็จจริง เป็นลักษณะของข้อมูลที่สามารถสังเกตได้ของ กล่มุ ตัวอยา่ ง และเปน็ ตวั แปรท่ีผูว้ จิ ัยสนใจที่จะศกึ ษา 2.3.2 ข้อมูลที่เก่ียวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ความเช่ือ ฯลฯ เป็นลักษณะของข้อมูลทไ่ี ม่สามารถสังเกตได้ 3. ควำมจำเปน็ ในกำรเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 เพือ่ นาคาตอบไปสูก่ ารวิจยั 3.2 ยังไม่มีใครรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่ จึงจาเป็นต้องมีการเก็บ รวบรวมขอ้ มูลให้ตรงกบั วัตถุประสงค์ทกี่ าหนดไว้ 3.3 ต้องนาขอ้ มลู ไปใช้ในการตัดสินใจ
49 การรวบรวมข้อมูลนั้นจะมีวิธีในการรวบรวมข้อมูลหลายวิธีด้วยกันซ่ึงจะ ขึ้นอยู่วัตถุประสงค์การวิจัยและพฤติกรรมที่ต้องการจะรวบรวม รายละเอียดในการ รวบรวมขอ้ มูล ดังน้ี 6.2 ลกั ษณะของเครอ่ื งมือทดี่ ี ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถวัดได้ตรงกับส่ิงที่ต้องการจะวัด และ วัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมลักษณะที่ต้องการการกาหนดความเที่ยงตรงตามเน้ือหา น้ันจะตอ้ งกาหนดนิยามตามทฤษฎีและแปลงเป็นนิยามเชิงปฏบิ ัตกิ าร เพ่ือหาตัวช้ีวัด ความเชื่อม่ัน (Reliability) หมายถึง ความคงท่ีในการวัดเมื่อวัดซ้า ๆ กันหลายคร้ังจะให้คา่ เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกนั การหาค่าความเช่ือมน่ั มีหลายวธิ กี ารดงั นี้ 1. วิธีการสอบซ้า 2. วธิ ีใชฟ้ อร์มค่ขู นาน 3. วธิ หี าความสอดคลอ้ งภายใน 3.1 วธิ แี บ่งครง่ึ 3.2 วธิ ขี องคูเดอร์ รชิ าร์ดสนั 3.3 วิธีสมั ประสทิ ธแ์ิ อลฟ่า อานาจจาแนก (Discrimination) เคร่ืองมือการวิจัยท่ีดีต้องสามารถจาแนกส่ิงต่าง ๆ ออก ตามคุณลกั ษณะที่ต้องได้ ประสิทธิภาพ (Effciency) เคร่ืองมือการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงมีประสิทธิภาพใน การใช้ได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว และประหยดั คา่ ใช้จา่ ยการสรา้ งเครื่องมือให้มีประสิทธภิ าพใน การใช้งานจึงต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายว่าจะใช้เครื่องมือกับกลุ่มใด ธรรมชาติหรือ ลักษณะพ้ืนฐานของกลุ่มเปา้ หมายเปน็ เช่นไร 6.3 กำรสร้ำงเครื่องมือในกำรเก็บรวบรวมขอ้ มลู การสรา้ งเครือ่ งมือในการวจิ ยั รวมทง้ั ขอ้ ดี และขอ้ เสีย ของเครื่องมือต่างๆ ดงั น้ี เครื่องมอื ทใ่ี ช้ในกำรวิจยั การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) : แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ มาตรวัด แบบบันทึก แบบรายการประเด็นที่ใช้ในการสนทนา กลุ่ม
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112